Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 17

รายงาน

เรื่อง การออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารสำหรับใช้ในอุทยานแห่งชาติจากใบตองตึง

จัดทำโดย

นางสาวสิรภักดิ์ศร เผือกผ่อง 6432477123

นางสาวสิรินดา ฉันทญาณสิทธิ์ 6432479423

นางสาวสิรินดา รองสกุล 6432480023

นายอัครพล อัครพลกุลธร 6432487423

นายชิษณุพงศ์ นะอ่อน 6530093021

นายภูมิพัฒน์ ไตรรัตน์ 6530319921

เสนอ

อาจารย์กฤษณา ศิรเลิศมุกุล

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 0201210 วัสดุและการจัดการวัสดุเหลือทิ้งเพื่อสังคมสีเขียว

ศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566


คำนำ
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 0201210 วัสดุและการจัดการวัสดุเหลือทิ้งเพื่อ สังคมสีเขีย ว
โดยมีจุดประสงค์เพื่อนำใบตองตึงซึ่งเป็นวัสดุทางการเกษตรมาออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารสำหรับใช้ในอุทยาน
แห่ ง ชาติ ทั ้ ง นี้ในรายงานนี้ประกอบด้วย ความสำคั ญของการออกแบบผลิต ภัณ ฑ์ ความรู ้ ท ั่ วไปเกี ่ยวกับ
ใบตองตึง การประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบ ตลอดจนความเชื่อมโยงของการออกแบบผลิตภัณฑ์ กับ
แนวคิดการขับเคลื่อนสู่สังคมสีเขียว

คณะผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อนี้ในการทำรายงาน เนื่องจากเป็นวัสดุทางการเกษตรที่มีความน่าสนใจ
อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร สร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน คณะผู้จัดทำ
หวังว่ารายงานฉบับนี้จะให้ความรู้ และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน หากมีข้อเสนอแนะประการใด ทางคณะผู้จัดทำ
ขอน้อมรับไว้ด้วยความขอบพระคุณยิ่ง

คณะผู้จัดทำ
สารบัญ
เรื่อง หน้า
บทที่ 1 บทนำ
ที่มาและความสำคัญของปัญหา 1
วัตถุประสงค์ 1
ประโยชน์ที่ได้รับ 2
บทที่ 2 แนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ความหมายของภาชนะบรรจุอาหาร 3
บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม 3
ภาชนะบรรจุจากวัสดุย่อยสลาย 4
การขึ้นรูปภาชนะบรรจุจากวัสดุย่อยสลาย 4
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับใบตองตึง 5
บทที่ 3 ขั้นตอนการทำงาน
การออกแบบผลิตภัณฑ์ 7
ขั้นตอนการประดิษฐ์ 9
แนวทางการใช้งานผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบ 11
บทที่ 4 แนวทางการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบ 12
บทที่ 5 สรุปผลการออกแบบผลิตภัณฑ์กับแนวคิดการขับเคลื่อนสู่สังคมสีเขียว 13
เอกสารอ้างอิง 14
1

บทที่ 1

บทนำ

ที่มาและความสำคัญของการออกแบบผลิตภัณฑ์

การออกแบบผลิตภัณฑ์ (product design) คือการออกแบบสิ่งของเครื่องใช้ เพื่อนำมาใช้สอยใน


ชีวิตประจำวัน โดยทำการผลิตสินค้าจำนวนมากเพื่อให้ผ่านไปยังผู้ บริโภค (consumer) ในวงกว้าง โดยที่
รูปแบบและคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถชักจูงผู้บริโภคให้เกิดความอยากซื้อผลิตภัณฑ์
นั้นๆ

บรรจุภัณฑ์อาหาร คือ บรรจุภัณฑ์ที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อรองรับอาหารโดยเฉพาะ เหตุเพราะอาหารนั้นมี


ความแตกต่ างจากวั สดุชนิดอื่น ๆ อีก ทั้ ง มีหลากหลายชนิ ด ทำให้ ในแต่ละบรรจุ ภั ณ ฑ์อ าหารนั้ น ยั งต้องมี
คุณสมบัติที่ต่างกันออกไปเพื่อให้รองรับอาหารได้ทุก ๆ ชนิด นอกจากนี้บรรจุภัณฑ์อาหารนิยมพิมพ์ ด ้ วย
ลวดลายต่ าง ๆ รวมไปถึง โลโก้ ลงบนตัวบรรจุ ภั ณ ฑ์ อ าหารเพื ่ อ ช่ วยในเรื ่ อ งของความสวยงาม โดดเด่ น
ซึ่งสามารถกระตุ้นยอดขาย และเพิ่มมูลค่าสินค้าได้เป็นอย่างดี

ภาชนะจากวัสดุธรรมชาติกำลังเป็น ที่ ต้ องการทั่ วโลกสืบเนื ่อ งจากนโยบายและเทรนด์ ของโลกที่


ประกาศเลิกใช้ถุงและภาชนะพลาสติกหลายชนิด ความต้องการของตลาดภาชนะที่ย่อยสลายได้ง่ายกำลังเป็นที่
จับตามองและเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศและตลาดส่งออก ปัจจุบันมีการวิจัยพัฒนานวั ตกรรมภาชนะ
จากวัสดุชีวภาพ ได้แก่ การนำใบไม้ เช่น ใบสัก ใบบัว กาบกล้วย ใยมะพร้าว ใบตองตึง เป็นต้น มาขึ้นรูปเป็น
ภาชนะ

จากที่กล่าวมาทั้งหมด คณะผู้จัดทำต้องการที่จะออกแบบผลิตภัณฑ์จากวัสดุทางธรรมชาติ คือ ใบตอง


ตึ ง เพื ่ อ นำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อ าหารสำหรับใช้ ในอุ ทยานแห่ ง ชาติ เพื ่ อ เป็ น การเพิ่มมู ลค่าของวั สดุทาง
การเกษตร สร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน อีกทั้งช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและลดปัญหาภาวะโลกร้อนอีก
ด้วย

วัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนาภาชนะบรรจุอาหารจากวัสดุทางธรรมชาติโดยใช้ใบตองตึงในการผลิต
2. เพือ่ ออกแบบผลิตภัณฑ์บรรจุอาหารให้เกิดการใช้งานได้จริง ตรงตามกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ
3. เพือ่ ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับแนวคิดการขับเคลื่อนสู่สังคมเขียว
2

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. เป็นแนวทางส่งเสริม การใช้ภาชนะบรรจุอาหารจากวัสดุทางธรรมชาติ เพื่อช่วยลดปัญหาที่เกิด ผล


กระทบต่อสิ่งแวดล้อม
2. เป็นแนวทางการพัฒนาอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน
3. ช่วยสนับสนุนการใช้วัสดุทางธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุดสอดคล้องกับแนวคิดการ
ขับเคลื่อนสู่สังคมสีเขียว
3

บทที่ 2

แนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ความหมายของภาชนะบรรจุอาหาร

ภาชนะบรรจุ อ าหารตามพระราชบั ญ ญั ต ิ อ าหาร พ.ศ. 2522 (ลงวั น ที ่ 13 พฤษภาคม 2522)


หมายความว่าวัตถุที่ใช้บรรจุอาหารไม่ว่าด้วยการใส่หรือห่อด้วยวิธีใด ๆ และได้มีการปรับปรุงคำนิยามเพิ่มเติม
มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 พ.ศ. 2528 เป็นวัตถุที่ใช้บรรจุอาหารไม่ว่าด้วยการใส่ หรือห่ อหรือ
ด้วยวิธีใดๆ และให้หมายความรวมถึงฝาหรือจุกด้วย

ในขณะที่ ปุ่น คงเจริญเกียรติ และสมพร คงเจริญเกียรติ ให้ความหมายของภาชนะบรรจุอ าหารไว้ ว่า


เป็นภาชนะที่ใช้สำหรับใส่ รองรับ หรือบรรจุอาหาร ทั้ งอาหารเหลว และอาหารแห้งเพื่อบริโภค โดยไม่ได้ทำ
หน้าที่เอื้ออำนวยความสะดวกในการขนย้ายและไม่ได้ทำหน้าที่ส่งเสริมการขายเมื่อวางจำหน่ายบนชั้น ณ จุด
ขายซึ่งได้แก่ จาน ชาม ถ้วย ถาด นอกจากนี้ความหมายของภาชนะบรรจุอาหารยังรวมไปถึงภาชนะหรื อ
โครงสร้างใด ๆ ที่ใช้เพื่อบรรจุ ห่อหุ้ม และรวบรวมผลิตภัณฑ์ให้เป็นหน่วย เพื่อนำส่งถึงผู้บริโภคในสภาพที่
สมบูรณ์ เป็นเครื่องใช้สำหรับใส่สิ่งของต่าง ๆ ซึ่งจะต้องปกปิดสิ่งของที่ถูกบรรจุอย่างมิดชิด

ความหมายข้างต้นพอสรุปได้ว่า ภาชนะบรรจุอาหาร หมายถึง วัตถุ หรือภาชนะที่ใช้สำหรับใส่ บรรจุ


ห่อ รอง และปกปิดอาหารทั้งอาหารเหลว และอาหารแห้งเพื่อนำส่งถึงผู้บริโภคในสภาพที่ สมบูรณ์ และพร้อม
บริโภคได้ด้วย จาน ชาม ถ้วย ถาด เป็นต้น

บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม

บรรจุภัณ ฑ์นอกเหนือ จากหน้าที่ปกป้อ งสิ นค้ าหรือ อาหาร สร้ างความสะดวกสบาย และสื ่ อ สาร
ทางการตลาดแล้วนั้น นับเป็นเรื่องน่ายินดี ถ้าวันนี้ผู้ประกอบการธุรกิจจะหันมาใช้บรรจุภัณฑ์สีเขียว เพื่อส่ง
มอบความสวยงาม และยังเป็นมิตรกับโลกและสิ่งแวดล้อมด้วยเทรนด์ใส่ใจอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยในหลาย
ประเทศเริ่มที่จะใส่ใจในการผลิตบรรจุภัณฑ์ Green Packaging เพื่อให้ความสำคัญกับการที่จะช่วยดูแลรักษา
โลกด้ วยการลดมลภาวะต่างๆทำให้บรรจุภัณ ฑ์ต ้อ งพั ฒนาและปรั บเปลี ่ย นไปตามเทรนด์ บรรจุ ภัณฑ์เพื่อ
สิ่งแวดล้อมนี้ด้วย

Green Packaging คือบรรจุภัณฑ์ที่นึกถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งได้มีบทบาทสำคัญต่อการค้า


ระหว่างประเทศ เนื่องจากบรรจุภัณฑ์นี้เป็นที่นิยมมากขึ้นทำให้แทนที่จะช่วยปกป้องสินค้าหรืออาหารแต่ก ลับ
เป็นมลภาวะต่อโลกก่อให้เกิดปัญหาขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
อีกทั้งยังส่งผลให้สัตว์โลกล้มตายเป็นจำนวนมากและก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนอีกด้วย จึงได้มีแนวคิดในการ
ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นการเลือกใช้วัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ หรืออาจจะเป็น
4

วัสดุที่มาจากธรรมชาติก็ได้ซึ่งการใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกจะทำให้เราตระหนักถึงภาวะโลกร้อนกันมากขึ้นเพราะ
ปัจจุบันนี้โลกของเราถูกทำลายมายาวนานจากปริมาณขยะที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ สามารถย่ อยสลายได้เอง
ตามธรรมชาติ หรือใช้ระยะเวลานานในการย่อยสลาย

ภาชนะบรรจุจากวัสดุย่อยสลาย

ภาชนะบรรจุจากวัสดุย่อยสลาย คือ ภาชนะบรรจุที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ มีการผุ พังและถูกย่อยสลาย


ด้วยจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ และกลับคืนสู่วิถีธรรมชาติได้ในระยะเวลาอันสั้น ในปัจจุบันมีการส่งเสริมให้ใช้
ภาชนะบรรจุที่ สามารถย่อ ยสลายได้ และมี ก ารศึ ก ษาเกี ่ ย วกั บการทำภาชนะบรรจุ ย ่อ ยสลายกัน มากขึ้น
ซึ่งโครงงานวิจัยหลายเล่มที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาภาชนะบรรจุจากการย่อยสลาย

วรภัทร ลัคนทินวงศ์ สามารถขึ้นรูปภาชนะที่ลักษณะเป็นถ้วยคลายโฟมจากแป้ง เพื่อบรรจุผักผลไม้สด


ที่ตัดแต่งพร้อมบริโภค และจากการทดสอบคุณสมบัติของภาชนะ โดยใช้ภาชนะบรรจุที่ทำจากแป้งมัน ผสมกับ
แป้งข้าวเหนียว ในอัตราส่วน 80:20 พบว่าสามารถทนทานต่อน้ำเย็นและน้ำร้อนได้ นาน 3.51 และ 3.22
ชั่วโมงตามลำดับ สำหรับแป้งมันสำปะหลังผสมกับแป้งถั่วเขียว ในอัตราส่วน 90:10 สามารถทนทานต่อน้ำเย็น
และน้ำร้อนได้นาน 3.21 และ 4.13 ชั่วโมงตามลำดับ และแป้งมันผสมกับแป้งเท้ายายม่อม อัตราส่วน 80:20
สามารถทนต่อน้ำเย็น และน้ำร้อ นได้น าน 4.21 และ 4.24 ชั่วโมงตามลำดั บ และในปี พ.ศ. 2545 เขาได้
ทำการศึกษาการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมต่อผักผลไม้สดและแปรรูปพร้อมบริโภค พบว่าสามารถขึ้นรูป
ถาดโฟมจากแป้ง ซึ่งได้จากมันสำปะหลังเป็นหลักผสมกับแป้งเท้ายายม่อม ในอัตราส่วน 80:20 และแป้งถั่ว
เขียว 90:10 ตามลำดับ มีค่าต้านแรงกดทับมากกว่าถาดโฟมที่ทำมาจาก Expanded Polystyrene (EPS)
ประมาณ 3 เท่า เมื่อทดสอบกับการใช้งานกับผักผลไม้สดตัดแต่งพร้อมบริโภคพบว่ายังมีอายุการใช้งานสั้น
ต้องปรับปรุงให้มีคุณสมบัติการซึมของน้ำและความชื้น

การขึ้นรูปภาชนะบรรจุจากวัสดุย่อยสลาย

การขึ้นรูปภาชนะบรรจุอาหารจากวัตถุดิบที่ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ สามารถทำได้หลายวิธี
ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่ใช้ในการขึ้นรูป โดยจะต้องควบคุมอุณหภูมิและเวลาให้เหมาะสมเพื่อให้ได้ ภาชนะที่ของลูก
และเหมาะสมกับการใช้งาน วิธีการขึ้นรูป ภาชนะบรรจุมีหลายวิธี เช่น วิธี เอ็กซ์ทรูซัน (Extrusion) วิธีทอด
(Frying) และวิธีอัดร้อน (Thermal Compression) โดยวิธีการขึ้นรูปภาชนะบรรจุที่พ บเห็นมากที่ส ุด คือ
วิธีอัดร้อน

วิธีการอัดร้อน (Thermal Compression)

การขึ้นรูปโดยวิธีการอัดร้อนใช้แม่พิมพ์แบบ Compression Molding เป็นการขึ้นรูปแบบประกบที่มี


ราคาถูกและง่ายต่อการพอลีเมอร์ โดยแม่พิมพ์มี 2 ชิ้นคือ แม่พิมพ์ตัวผู้ และแม่พิมพ์ตัวเมีย การขึ้นรูปจะใส่
วัตถุดิบในแม่พิมพ์ตัวเมียและปิดแม่พิมพ์ตัวผู้ลงมามีทั้งความร้อนและความดันทำให้เกิดการหลอมละลาย
5

พร้อมกับถูกอัดขึ้นรูป จะมีส่วนที่เหลือถูกขับออกมาบริเวณด้านข้างแม่พิมพ์ ในระหว่างการอาจจะเกิดไอน้ำ


มีผลให้เกิดแรงดันสูงอาจจะทำให้แม่พิมพ์เผยอขึ้นเล็กน้อยเวลาที่ใช้ในการขึ้นรูปต้องเพียงพอให้ชิ้นงานแข็งตั ว
แต่ถ้านานเกินไปชิ้นงานอาจจะกรอบหรือไหม้ได้

งามทิพย์ ภูวโรโดม และสายสนม ประดิษฐ์ดวง ได้ทำการศึกษาการพัฒนาภาชนะบรรจุจากแป้งมัน


สำปะหลัง โดยได้ทำเครื่องต้นแบบพร้อมแม่พิมพ์สำหรับการขึ้นภาชนะบรรจุจากแป้งมันสำปะหลัง และเพื่อ
พัฒนาสูตรแป้งที่เหมาะสมกับการขึ้นรูปโดยวิธีการอัดร้อน ซึ่งเครื่องขึ้นรูปต้นแบบ ทำงานโดยระบบไฮดรอลิก
มีแม่พิมพ์พร้อมแผ่นความร้อนฝังในแม่พิมพ์ ปรับอุณหภูมิได้สูงสุดถึง 300 องศาเซลเซียส สามารถปรับเวลาได้
เป็นหน่วยวินาที แม่พิมพ์ที่ออกแบบไว้เป็นทรงถ้วยกลมขนาดมิติภายนอก มีเส้นผ่า นศูนย์กลางด้ านบน 11.5
เซนติเมตร ด้านล่าง 6.5 เซนติเมตร ความสูง 5 เซนติเมตร และระยะห่างระหว่า งแม่พิมพ์ตัวผู้และตัวเมีย 3
มิลลิเมตร ทั้งหมด 8 ช่องทาง เมื่อทำการขึ้นแป้งผสมสูตรต่างๆ ทั้งหมด 18 สูตร พบว่ามี 3 สูตร ที่เหมาะสม
กับแม่พิมพ์ดังกล่าว โดยสามารถขึ้นรูปโดยใช้อุณหภูมิแม่พิมพ์ตั วผู ้ 180 องศาเซลเซียส แม่พิมพ์ตัวเมียมี
อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส ใช้เวลาในการขึ้นรูปทั้งหมดประมาณ 2 นาที สมบัติของภาชนะของแป้ งทั้ง สาม
สูตร มีความหนาแน่น 0.15-0.176 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติ เมตร ค่า Tensile Impact Energy อยู่ในช่วง
0.001-0.003 จูล ความต้านทานการซึมผ่านของไขมันมีค่ามากกว่า 1,800 วินาที ภาชนะที่ใช้ยังไม่ทนทานน้ำ
และในปี 2541 ได้ค้นพบภาชนะบรรจุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพซึ่งทำจากแป้งมันสำปะหลังโดยการขึ้นรูปโดย
วิธีอัดร้อนด้วย แม่พิมพ์ 2 ตัว ภาชนะที่ได้มีความหนาแน่นต่ำ สามารถขึ้นรูปได้หลายลักษณะ เช่น ถาด ถ้วย
และแก้ว นำไปใช้ทดแทนโฟมและพลาสติก

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับใบตองตึง

ใบตองตึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งใบ ต้น และราก โดยในแต่ละส่วนก็มีประโยชน์ที่แตกต่างกัน


ไป เช่น ลำต้นใช้ทำเสาต้นที ใบแห้งใช้มุงหลังคา ใบสดใช้ห่อข้าว รากใช้ต้มกินแก้ตับอักเสบ ต้นใช้ทาแผล
ภายนอก โดยสามารถนำไปผสมกับมหาหิงค์หรือน้ำมันมะพร้าว นอกจากนี้ยังนำใบไปทำกระเป๋าผ้า ผ้าม่าน
และอื่น ๆ รวมถึงส่งออกไปขายต่างประเทศเพื่อสร้างรายได้อีกด้วย

ลักษณะของใบตองตึง

ต้นตองตึง เป็นไม้ป่ายืนต้นใบลักษณะคล้ายต้นสักหรือต้นชาดในภาคอีสาน แต่ใบตองตึงไม่มีขน ใบที่


ยังไม่แก่คนในภาคเหนือโดยเฉพาะจังหวัดแม่ฮ่องสอน นิยมเก็บมาห่อของเช่นห่อข้าวห่อของจิปาถะคล้ายคล้าย
ใบตอง หรือใบบัวในภาคกลางนั่นแหละ ใบตองตึงเมื่อแก่และหล่นจากต้นเก็บมาจำนวนมากๆมาทำเป็นปรับมุง
หลังคากระท่อมคล้ายจากหรือแฝก มีความทนทานได้ 4-5 ปี คุณสมบัติการท่อมที่มุงด้วยใบตองตึง อยู่สบายไม่
ร้อนที่บ้านรักไทยชาวไทยเชื้อสายจีนอยู่นาน ทำบ้านด้วยดินเหนียวมุงหลังคาด้วยใบตองตึงอยู่ สบายกลมกลืน
กับธรรมชาติเมื่อผูกพังก็ย่อยสลายดูดีมีศิลปะน่าชมไม่มีปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม
6

ลักษณะสำคัญของใบตองตึง

ต้องตึงเป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 20-30 เมตรเป็นไม้ผลัดใบ ลำต้นตรง กิ่งอ่อนมีรอยแผล ใบ


ขนาดใหญ่เปลือกหนาสีน้ำตาลปนเทาอ่อน แต่เป็นร่องลึกไปตามยาวลำต้นเรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งแขนงมัก
คดงอ เนื้อไม้สีน้ำตาลแก้มแดง ใบ เป็นรูปไข่กว้าง 15-28 เซนติเมตร ยาว 15-40 เซนติเมตร เนื้อใบหนา
เกลี้ยงหรือมีขนกระจายห่างๆ โคนใบอยากเว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบใบจากเป็นคลื่นปลายใบสอบ ใบอ่อนสีน้ำตาล
แกมแดง กาหุ้มยอดอ่อนมีขนสั้นๆ สีเทาดอกสีม่วงแดงแดง ทั้งเป็นช่อเดียวและออกตามงามใบตอนปลายกิ่ง
โดยพบต้นพลวงแพร่กระจายทั่วไปในประเทศพม่าไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ในประเทศไทยพบมากทาง
ภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคกลาง และภาคตะวัน ชอบขึ้นตามที่ต่ำใกล้ชายห้วย หรือใกล้ที่ชุ่มชื้นที่
ระดับความสูง 100-1000 เมตรจากระดับน้ำทะเล

ใช้ประโยชน์ใบสดสามารถใช้ห่ออาหาร หรือสิ่งของได้เพราะมีขนาดใหญ่และหนา และเกษตรกรไร่


สตอเบอรี่ใช้รองใต้แถวต้น สตอเบอรี่เพื่อไม่ ให้ ผลสัมผั สดิ นซึ่ งทำให้ ผลเน่าหรือ ผิ วไม่สวย เมื่ออายุ 6-8 ปี
สามารถเก็บใบมาใช้ทำหลังคา ฝากั้นห้องหรือมุมบางที่อยู่อาศัยได้โดยจะเก็บช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน และ
เมื่ออายุ 12 ปีขึ้นไปจะมีชัน เอามาใช้ยาเรือ ถ้าเครื่องจักรสารต่างๆ สรรพคุณทางยา : ใบใช้เผาไฟแทรกน้ำปูน
ใส่แก้บิดเป็นมูกเลือดการขยายพันธุ์ : ต้นพลวง, ตองตึง หรือต้นกุงนี้ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เมล็ดมีลักษณะ
เหมือนเมล็ดต้นยาง คือเมล็ดกลมและมีปีกซึ่งปีกจะทำให้เมื่อแก่จัด เมล็ดร่วงจากต้นแล้วปลิวลมไปได้ไกล

“ตอง” เป็นคำพื้นเมืองทางเหนือที่ใช้เรียกส่วนใบของต้นไม้ในป่า โดยไม่ได้หมายถึงต้นกล้ วยเสมอไป


“ตึ ง ” คื อ ต้ น ไม้ในป่าเต็งรัง หรือ ป่าเบญจพรรณ ชื ่ อ สามั ญ “พลวง” ชื ่ อ วิ ท ยาศาสตร์ Dipterocarpus
Tuberculatus โดยตองตึงเป็นคำเรียก ยางพลวง ของกลุ่มคนท้องถิ่นทั้งภาคเหนือของประเทศไทย ส่วนทาง
ภาคอีสานเรียกว่า ตองกุง และชาวปกาเกอะญอ เรียกว่า ตะล่าออ หรือสะหละออ เป็นไม้ป่าตระกูลเดียวกับ
ยางนา สามารถพบได้ทุกภาคของประเทศไทยในบริเวณป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ มีขนาดความสูง 10-30
เมตร ใหญ่จะมีรูปร่างคล้ายใบบอนคือโครใบ ที่ติดกับก้านมีลักษณะลักษณะเว้าคล้ายรูปหัวใจ ขอบใบเป็นคลื่น
เล็ก กว้าง 15-35 เซนติเมตร ยาว 30-45 เซนติเมตร เมื่ออยู่บนต้นจะดูคล้ายใบสักแต่ไม่มีคนและหนากว่าใบ
แห้งจะกรอบเมื่อโดนน้ำจะอ่อนตัวและเหนียว กลุ่มคนภาคเหนือจะนำใบแห้งมามุงหลังคาสามารถใช้ได้นาน
ประมาณ 4 ปี ส่วนผลตองตึงจะออกช่วงเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม มีลักษณะเด่นคือปีกบินยาวประมาณ 10-
15 เซนติเมตร 2 ปีก เพื่อช่วยในการกระจายพัน ธุ์ ทั้งใบและผลจะมี เส้นลวดลายบนพื้ นผิวที ่ชัดเจนและ
สวยงาม

กิจกรรมการเก็บใบตองตึงในเวลาเช้าฤดูกาลเก็บใบตองตึงจะเริ่มขึ้น ตั้งแต่ปลายเดือนธั น วาถึง ปลาย


เดือนมีนาคม ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาปลายฤดูหนาวที่เป็นเวลาการร่วงหล่นของใบไม้จากลำต้น ผู้คนจะออกจากบ้าน
ตั้งแต่เวลา 05.00-06.00น. เพื่อมาเก็บใบตองตึงที่ยังมีความชื้นจากน้ำน้ำค้างยามฤดูหนาวไม่แห้งกรอบหรือฉีก
ขาดง่าย เพราะว่าฤดูร้อนจากแสงแดด และจะกลับมาในช่วงสายของวันนั้น
7

บทที่ 3

ขั้นตอนการทำงาน

การออกแบบผลิตภัณฑ์
8
9

ขั้นตอนการประดิษฐ์

1. นำใบไม้สดไปตากแดด 5 นาทีให้นิ่ม หากเป็นใบแห้ง นำใบไม้ไปชุบน้ำก่อน 1 นาที หากเป็นใบที่มี


ขนาดใหญ่ สามารถใช้ใบเดียวแบ่งเป็นสามส่วน 1 ใบ ใบที่มีขนาดเล็กใช้อย่างน้อย 3-5 ใบ

2. นำใบไม้ไปวางบนภาชนะที่ต้องการ (โดยใช้ภาชนะเป็นสแตนเลสหรือกระเบื้อง) อย่างน้อย 3-5 ชั้นขึ้น


ไป แล้วนำภาชนะอีกใบกดให้แน่น โดยเน้นให้ลายใบไม้ขวางกัน
10

3. ตัดใบไม้ตามขอบภาชนะ หนีบด้วยคลิปหนีบกระดาษให้แน่น

4. นำไปอบ ปิ้ง หรือตากแดด ให้ความชื้นในใบไม้หายไป หากใช้เตาอบลมร้อนหรือไมโครเวฟใช้อุณหภูมิ


ประมาณ 250 องศา ประมาณด้านละ 6 นาที แล้วแต่ความสดของใบไม้ โดยคว่ำภาชนะลงก่อนเมื่อ
เมื่อครบ 6 นาทีแล้ว จึงกลับด้านแล้วอบต่อไปอีก 6 นาที หากนำไปปิ้งกับเตาแก๊ส ใช้เวลาในการพลิก
ไปมาประมาณ 2-3 นาที ส่วนการนำไปตากแดด ขึ ้ น อยู ่ กับความร้ อนของแดด ส่ วนใหญ่ ใช้ เวลา
ประมาณ 4 ชั่วโมง
11

5. นำออกจากเตาอบ ไมโครเวฟ หรือเตาแก๊ส รอให้เย็น แกะออกจากแบบ

แนวทางการใช้งานผลิตภัณฑ์ท่อี อกแบบ

ภาชนะบรรจุอาหารที่ทำจากใบตองตึ งสามารถใช้ ใส่อ าหารและเครื ่อ งดื่ มต่างๆ ได้ ไม่ ว่าจะเป็น


อาหารแห้ง เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปต่าง ๆ ซึ่งภาชนะที่ทำจากใบตองตึงนี้สามารถใช้ใส่อาหารได้ทั้งร้อน
และเย็น
12

บทที่ 4

แนวทางการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบ

การประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบอย่างจานจากใบตองตึงที่ใช้ในอุทยานสามารถทำได้โดยการ
ติดต่อกับกลุ่มเป้าหมายของคุณอย่างเหมาะสม ดังนี้คือ

1. การเลือกกลุ่มเป้าหมาย : ค้นหากลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจในกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น นักเดินป่า นักเดิน


เขา หรือบุคคลที่รักการเดินทางในธรรมชาติ.

2. การสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจ : สร้างเนื้อหาที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ เช่น วิดีโอการใช้งานบรรจุ


ภัณฑ์จากใบตองตึงในการกลางแจ้ง รูปภาพของผู้คนที่ใช้ผลิตภัณฑ์ในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ

3. การใช้ช่องทางออนไลน์ : ใช้เครื่องมือออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย และบล็อกเพื่อการสร้างความ


ติดตามและเผยแพร่ข้อมูลให้กับกลุ่มเป้าหมายรวมทั้งผู้ที่สนใ

4. การให้ข้อมูลเชิงกิจกรรม : จัดกิจกรรมหรืออีเวนต์ที่เกี่ยวข้อง เช่น การนำผลิตภัณฑ์ไปใช้จริงในอุทยาน การ


จัดการประกวดถ่ายรูปหรือกิจกรรมอื่นๆ เพื่อเชื่อมโยงกับผู้คนที่สนใจ

5. การให้ความรู้และข้อมูล : ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งาน คุณสมบัติ และประโยชน์ของผลิตภัณฑ์อย่าง


ชัดเจนและสร้างความเข้าใจ

การประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบ คือ จานจากใบตองตึง เพื่อใช้ในอุทยานนั้นจะเน้นการสร้าง


ความสนใจและความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายผ่านช่องทางที่เหมาะสมและน่าสนใจ เพื่อเพิ่มโอกาสในการ
เผยแพร่และการนำผลิตภัณฑ์ไปใช้จริงในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมตามวัตถุประสงค์
13

บทที่ 5

สรุปผลการออกแบบผลิตภัณฑ์กับแนวคิดการขับเคลื่อนสู่สังคมสีเขียว

จานใบตองตึง ถือเป็นอีกหนึ่งบรรจุภัณฑ์ทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุทาง


ธรรมชาติ สามารถย่อ ยสลายได้เองและไม่ ร บกวนธรรมชาติ เช่ น จานชามที ่ ท ำจากใบไม้ เ หล่ านี ้ จ ะมี
ความสามารถในการใส่อาหารได้เหมือนจานชามที่ทำจาก โฟม พลาสติก และกระดาษทุกประการ สามารถ
ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม มีอายุการเก็บรักษานานในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และ
ด้วยความที่ผลิตมาจากวัสดุทางธรรมชาติไร้สารเคมีหรือสิ่งสังเคราะห์ จึงทำให้จานใบไม้มีความปลอดภัย และ
สะอาดแทบทั้งหมด
เมื่อประชาชน ครัวเรือน และชุมชน สามารถผลิตเอง จะได้ภาชนะบรรจุอาหารที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ
ที่หาได้ในพื้นที่ สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ลดการก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์
ในกระบวนการผลิต ประหยัดเงิน ไม่มีสารเคมีเจือปนในบรรจุภัณฑ์ ไม่เป็นพิษภัยต่อสุขภาพ ช่วยเพิ่มมูลค่า
ให้กับสินค้า และมีราคาประหยัด
14

เอกสารอ้างอิง

[1] กองอาหาร. ภาชนะบรรจุอาหาร (Food Packaging) [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://food.fda.moph.


go.th/media.php?id=512256961077714944&name=GMPKM_8.pdf (สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2567).

[2] ณัฐพงศ์ สุภัทรานนท์ , และนัยนา สุภัทรานนท์. นวัตกรรม จานใบไม้แฮนด์เมดโฮมเมด [ออนไลน์] .


แหล่ ง ที ่ ม า : https://hpc2appcenter.anamai.moph.go.th/academic/web/files/2563/
innovation/MA2563-001-04-0000000228-0000000123.docx. (สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2567).

[3] ประอรพิต กัษฐ์วัฒนา. รีวิว 3 ต้นแบบ ‘ภาชนะจากวัสดุธรรมชาติ ’ จากมันสมองคนไทย สร้างชื่อดัง


ไกลทั่วโลก [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.salika.co/2019/11/08/3-container-models-from-
natural/. (สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2567).

[4] รักษ์ป่าน่าน. ต้นตองตึง [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.rakpanan.org/Children/pages/


leaf9.aspx. (สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2567).

[5] รัชดาภรณ์ สรษณะ. การพัฒนาภาชนะบรรจุอาหารจากใบตองตามหลัก แนวคิด เศรษฐกิจพอเพีย ง


[ออนไลน์ ] . แหล่ง ที่ม า : https://foodsan.anamai.moph.go.th/th/no-foam/download/?did=
204462&id=72201&reload=. (สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2567).

[6] Autthapol. บรรจุภัณ ฑ์อาหาร คือ ? และมี ประเภทกั บหน้ า ที ่ อะไรบ้ า ง [ออนไลน์ ] . แหล่ ง ที ่ ม า :
https://thaifoodpackaging.com/blog/what-types-of-food-packaging/. (สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน
2567).

[7] Petromat. ภาชนะจากธรรมชาติ [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://petromat.org/home/natural-


food-container/. (สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2567).

[8] Teacher Nu. หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.teachernu.com /


2018/12/20/15/00/28/35/. (สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2567).

You might also like