Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 10

การประชุมวิชาการระดับชาติทางศิลปศาสตร์ประยุกต์ ครั้งที่ 6

(The 6th National Conference on Applied Liberal Arts : NCAA2017)

การศึกษาเปรียบเทียบการแปลคาสันธานเชื่อมวลีและประโยคที่มีเนื้อหาคล้อยตามกันในภาษาไทยและ
ภาษาอังกฤษในนิตยสารออกแบบและแฟชั่น
A CONTRASTIVE STUDY OF THE TRANSLATION OF ADDITIVE CONJUNCTIONS IN THAI
AND ENGLISH IN DESIGN AND FASHION MAGAZINES

สุทธิพงศ์ เพิ่มพูล
SUTTIPONG PERMPOON
ภาควิชาภาษาและวรรณคดีตะวันตก คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
sophiedior007@gmail.com

บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการใช้และการแปลคาสันธานเชื่อมวลีและประโยคที่มีเนื้อหาคล้อยตามกันใน
นิตยสารออกแบบและแฟชั่ นฉบับสองภาษา (อังกฤษและไทย) ที่ตีพิมพ์ในประเทศไทย การวิเคราะห์มุ่ง ประเด็นสาคัญที่
การศึก ษากลวิ ธีก ารแปลและกระบวนการหลากค าในการแปลค าเชื่อ มทั้งสองภาษา การเปลี่ย นตาแหน่ง การละ การ
ปรับเปลี่ยนความหมายเพื่อความเข้าใจและการเปลี่ยนหน้าที่ของคา การวิเคราะห์ทางภาษาพบว่าในการแปลคาสันธานจาก
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยในงานเขียนประเภทนิตยสารออกแบบและแฟชั่น ผู้แปลมักใช้กลวิธีหลากคาเพื่อให้ภาษาแปลดูเป็น
ธรรมชาติ การอภิปรายผลการศึกษากล่าวถึงรูปแบบ ลักษณะและแนวทางการแปลคาสันธานเชื่อมวลีและประโยคที่มีเนื้อหา
คล้อยตามกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้แปลงานเขียนในนิตยสารออกแบบและแฟชั่น และผู้ที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติม หรือต่อ
ยอดการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับคาสันธาน

คาสาคัญ: การแปล คาสันธานเชื่อมวลีและประโยคที่มีเนื้อหาคล้อยตามกัน นิตยสารออกแบบและแฟชั่น

ABSTRACT
This research is a contrastive study aimed at analyzing the characteristics and translation methods of
additive conjunctions in English and Thai in design and fashion magazines. The addictive Thai conjuncts’
semantic, syntactical and discourse forms, functions, positions as well as their relation to the entire relevant
texts and their English translations are examined. To further investigate some common translation methods
used by translators of design and fashion magazines, translations of the Thai additive conjunctions are
studied and compared. The analysis of the translations reveals that translators of design and fashion
magazines are aware of using different words when translating one exact English conjunction in a text to
avoid repetition of identical words. Additionally, using contextual inference, translators place more
importance on conveying intended message in the source language than merely employing word-for-word
substitution strategy. In this respect, it is recommended that translators should pay much attention to the
multiple meanings and interpretations of conjunctions in different languages.

Keywords: translation, additive conjunctions, design and fashion magazines


การประชุมวิชาการระดับชาติทางศิลปศาสตร์ประยุกต์ ครั้งที่ 6
(The 6th National Conference on Applied Liberal Arts : NCAA2017)

1. ความเป็นมาของปัญหา
คาสันธาน ตามความหมายโดยทั่วไปคือ คาหรือกลุ่มคาที่ใช้เชื่อมระหว่างคา วลี และประโยค สามารถจัดเป็นกลุ่ม
หนึ่งในประเภทของคา (word classes) ตามหลักไวยากรณ์แบบดั้งเดิม (traditional grammar) ในวิชาวากยสัมพันธ์ (syntax)
โดยมีหน้าที่สาคัญในระดับประโยค และปรากฏในประโยคความรวม (coordinate sentences หรือ compound
sentences)
ในทางวจนปฏิบัติศาสตร์ (Pragmatics) Schiffrin (1987) ให้ความหมายไว้ว่า คาสันธานคือตัวเชื่อม ตัวบ่งชี้ ตัว
เชื่อมโยงเนื้อความหรือตัวอ้างอิงถึงในระดับปริเฉท (ระดับเหนือประโยค) นอกจากนี้ นักภาษาศาสตร์คนอื่น ๆ เช่น Rouchota
(1998) และ Blakemore (1987) ผู้คิดค้นทฤษฎี Relevance Theory กล่าวว่าคาสันธานเป็นคาประเภทหนึ่งของความหมาย
ชี้บ่งเป็นนัยที่มีความหมายเดิมที่ยึดถือกันมาอย่างต่อเนื่อง (a type of Gricean conventional implicature) ตามความคิด
ของนักปรัชญา Grice (1975) ด้าน Halliday และ Hasan (1976) ให้คาจากัดความคาสันธานว่าเป็นเครื่องมือทางภาษาศาสตร์
ที่ช่วยสร้างความเชื่อมโยงความ (“linguistic devices that create cohesion”, p. 285)
หากพิจารณาประเภทของคาสันธานตามการแบ่งประเภทคาสันธานของ Warner (1985) และ Chalker (1996)
คาสันธานที่ทาหน้าที่เพิ่มข้อมูล หรือนาเสนอข้อมูลที่คล้อยตามกัน (adding) ได้แก่คาว่า moreover, in addition, on top
of that, besides, after all, above all, indeed, to cap it all, and, also, as well, too, likewise, equally เป็นต้น
ในทางภาษาศาสตร์ข้อความต่อเนื่อง (text linguistics) Crystal (1997) อธิบายว่า คาสันธาน (conjunctions)
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า junctions หรือ junctive expressions หมายถึงคาที่ใช้เชื่อมเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและมี
ความสัมพันธ์กันอย่างหนึ่งอย่างใดในข้อความ (text) โดยสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ 1) Conjunctions ใช้เชื่อมคา วลี
หรือประโยคที่มีสถานะเดียวกัน เช่นคาว่า and 2) Disjunctions ใช้เชื่อมคา วลี หรือประโยคที่จาเป็นต้องเลือก เช่นคาว่า or
3) Contrajunctions ใช้เชื่อมคา วลี หรือประโยคที่มีสถานะเดียวกันแต่มีความแตกต่างหรือขัดแย้งกัน เช่นคาว่า but และ 4)
Subordinators ใช้เชื่อมคา วลี หรือประโยคโดยที่คา วลี หรือประโยคหนึ่งต้องขึ้นอยู่กับอีกคา วลี หรือประโยคอีกชุดหนึ่ง
เช่นคาว่า because หรือ since
การศึกษาคาสันธานของกลุ่มผู้ใช้ภาษาต่างวัฒนธรรมชี้ให้เห็นถึงแนวคิดและขนบการใช้คาสันธานที่แตกต่างกันในแต่
ละวัฒนธรรม งานวิจัยการใช้คาเชื่อมภาษาอังกฤษที่ใช้โดยชาวอเมริกันเปรียบเทียบกับนักศึกษามหาวิทยาลัยฮ่อ งกงของ
Leung (2005) พบว่าคาสันธานหลักที่คนอเมริกันนิยมใช้คือคาว่า and or และ but ส่วนนักศึกษามหาวิทยาลัยฮ่องกง แม้จะ
มีความรู้เรื่องการใช้คาสันธานโดยรวมในระดับดี แต่ก็ยังมีข้อผิดพลาดด้านการใช้ทั้งในด้านการเลือกความหมาย การใช้
คาสันธานให้ถูกต้องตามโครงสร้างภาษาอังกฤษ การใช้เครื่องหมายวรรคตอนกับคาสันธานบางคาเมื่อวางอยู่ ณ ตาแหน่ง
เฉพาะ และความผิดพลาดเนื่องจากการถ่ายทอดคาสันธานในภาษาแปล (ภาษาจีน) แล้วหาคาเทียบเคียงภาษาอังกฤษ โดยไม่
วิเคราะห์ความหมายโดยรวม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม นักศึกษามหาวิทยาลัยฮ่องกงพยายามเลือกใช้คาสันธานที่หลากหลาย ทั้ง
ยังเลี่ยงไม่ใช้คาสันธานหลักที่ใช้ง่าย เช่น and or และ but แต่ใช้คาสันธานที่มีความซับซ้อนและใช้ยากกว่าคาสันธานหลัก
พื้นฐาน เช่น ใช้คาว่า however still nevertheless moreover besides งานวิจัยชิ้นนี้ถือเป็นงานวิจัยตัวอย่างที่เน้นศึกษา
เรื่องความถี่และการเลือกใช้คาสันธาน พร้อมกันนี้ยังได้อธิบายถึงสาเหตุของการพยายามใช้ คาสันธานให้หลากหลายใน
ข้อเขียนชิ้นหนึ่ง ๆ ว่า เป็นเพราะการเรียนการสอนในระดับก่อนมหาวิทยาลัยมีการเน้นย้าให้ผู้เรียนใช้คาสันธานในข้อเขียน
หนึ่ ง ๆ ให้ หลากหลาย และพยายามฝึ ก ใช้ ค าใหม่ ที่ ได้ เ รี ยนในบทเรี ยน เช่น เดี ยวกั น งานวิจั ย ของ Li (2009) ซึ่ งศึ ก ษา
ความสามารถในการใช้คาสันธานและข้อผิดพลาดในการใช้คาสันธานในการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย
ในประเทศญี่ปุ่น พบว่าความสามารถในการใช้ คาสันธานได้อย่ างถูกต้องนั้นมาจากการพัฒนาทั กษะเชิงรับ ( Receptive
Grammar Stage) ซึ่งหากผู้เรียนสามารถอ่านข้อเขียนและเข้าใจการใช้คาสันธานในข้อเขียนต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว ผู้เรียน
จะมีความสามารถในด้านการผลิตภาษาหรือการใช้ภาษาเช่นการเขียนหรือพูด (Productive Grammar Stage) คือสามารถ
เลือกใช้คาสันธานได้อย่างถูกต้อง ผลการศึกษาในงานวิจัยของลีสามารถเชื่อมโยงกับการศึกษาชิ้ นนี้ได้ในแง่การพิจารณา
ความสามารถของผู้แปล หากผู้คนเดียวกันสามารถแปลข้อเขียนที่มีคาสันธานได้ถูกต้องทั้งจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย
และภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ แสดงว่าผู้แปลพัฒนาทักษะทั้งด้านการรับหรือความเข้าใจ และด้านการผลิตหรือการใช้ภาษา
นอกจากนี้ งานวิจัยของลียังตั้งคาถามว่าหากในภาษาแม่มีคาสันธานหลากหลายมาก เมื่อต้องใช้หรือแปลคาสันธานในภาษาอื่น
การประชุมวิชาการระดับชาติทางศิลปศาสตร์ประยุกต์ ครั้งที่ 6
(The 6th National Conference on Applied Liberal Arts : NCAA2017)

ๆ ผู้ใช้จะเลือกใช้คาสันธานได้หลากหลายเช่นที่สามารถทาได้ในภาษาแม่หรือไม่
ในงานวิจัยเชิงเปรียบเทียบวิ เคราะห์ตัว เชื่อมข้อความที่แสดงความสัม พันธ์แ บบตรงกันข้ าม ( A Comparative
Analysis of Thai and English Contrastive Discourse Markers) ของโชติรส เพิ่มพิกุล (2542) พบว่าไม่มีคาแปลตัวเชื่อม
ข้อความที่แสดงความสัมพันธ์แบบตรงกันข้ามที่ใช้แทนกันได้โดยตรง (one-to-one correspondence) ในภาษาสองภาษา
(กรณีศึกษาภาษาอังกฤษและภาษาไทย) และคาบางคาเช่น on the contrary และ instead หรือ rather ไม่มีชนิดของคาและ
คาที่มีความหมายเท่าเทียมกับคาในภาษาอังกฤษทั้งสาม ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ ช่วยตีกรอบแนววิเคราะห์ด้านกลวิธีแปลและการ
เลือกความหมายคาแปลคาสันธานในฐานะที่เป็นตัวเชื่อมข้อความ (discourse markers) ตลอดจนยังเป็นงานต้นแบบในการ
เปรียบเทียบจานวนคาของการศึกษาคาสันธานในภาษาอังกฤษและไทยในการศึกษาชิ้นนี้ด้วย
การศึกษาเปรียบเทียบชิ้นนี้จะช่วยชี้แนวทางการแปลคาสันธานโดยคร่าวเมื่อผู้แปลต้องทาการแปลข้อความที่มี
คาสันธาน ผู้แปลจาเป็นต้องคานึงถึงประเด็นต่าง ๆ เช่น การเลือกความหมายที่ถูกต้อง คาสันธานทีน่ ิยมใช้ การใช้คาสันธานที่
หลากหลาย การเพิ่มคาสันธานในภาษาแปลคาสันธานในภาษาต้นฉบับ และจะเป็นประโยชน์ต่อผูส้ นใจศึกษาคาสันธานเชื่อม
วลีประเภทอื่น ๆ ทั้งในแง่การศึกษาและวิจัยภาษา หรือการแปล

2. วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการแปลคาสันธานในภาษาอังกฤษและไทยในนิตยสารออกแบบและแฟชัน่ โดยเน้นการ
วิเคราะห์ 1) กลวิธีการเลือกคา 2) กลวิธีการแปล 3) ความถี่ของการใช้คาสันธาน 4) การแปลเพิม่ และการเลีย่ งการแปลหรือ
การไม่แปลคาสันธาน และ 5) การแปลคาสันธานประเภทนีโ้ ดยใช้ความหมายรองหรือความหมายอื่นที่ใกล้เคียง

3. สมมติฐาน
ผู้แปลคาสันธานจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษในนิตยสารออกแบบและแฟชั่น เลือกคาแปลภาษาอังกฤษและเลือก
ถ่ายทอดความหมายของคาสันธานในภาษาต้นฉบับภาษาไทยโดยคานึงถึงเนื้อหา บริบท ความกลมกลืนและดุลยภาพของ
เนื้อหามากกว่าการเลือกคาแปลที่กาหนดไว้ในพจนานุกรมหรือ “คาแปลสาเร็จรูป” ที่นิยมใช้กันทั่วไป

4. วิธีการดาเนินการวิจัย
4.1 ผู้วิจัยสุ่มเก็บตัวอย่างคาสันธานแบบเจาะจง โดยเลือกตัวอย่างข้อมูลในช่วง 10 ปี จากนิตยสารแฟชั่นและการ
ออกแบบในช่วงปีคริสต์ศักราช 2006-2016 เพื่อให้ข้อมูลสะท้อนการใช้คาสันธานและการแปลคาสันธานใน
ปัจจุบันและเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลในช่วง 1 ทศวรรษ
4.2 นิตยสารแฟชั่นและการออกแบบในการวิจัย เป็นนิตยสารแฟชั่นกระแสหลัก คือ นิตยสารและวารสารที่รัฐบาล
ให้การสนับสนุน และนิตยสารที่มีขอดขายสูงสุด 10 อันดับแรก เนื่องจากจากการศึกษาขั้นต้น ผู้วิจัยพบว่า
นิตยสารแฟชั่นกระแสรองหรือนิตยสารทางเลือก ใช้ภาษาระดับกึ่งทางการหรือระดับสนทนาและแปลผิด
มากกว่านิตยสารแฟชั่นกระแสหลัก โดยใช้วิธีสุ่มช่วงเวลา และกระจายช่วงเวลาให้ครบ 10 ปี เช่น หนังสือ
รายงานประจาปีศูนย์ออกแบบและสร้างสรรค์แห่งประเทศไทย (TCDC Annual Report) ปี 2006 - 2016
นิตยสาร I-Design ฉบับเดือนกรกฎาคม สิงหาคม และธันวาคม ปี 2009 นิตยสารการออกแบบและสร้างสรรค์
แห่งราชอาณาจักรอังกฤษ (Craft and Design: A Creative Magazine for Creative People) ฉบับเดือนกุม
พาพันธ์ และเมษายน ปี 2008 และนิตยสารแอลแฟชั่นประเทศไทย (Elle) ฉบับเดือนมีนาคม และกันยายน ปี
2010 เป็นต้น
4.3 ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลซึ่งเป็นเป็นวลีหรือประโยคที่มีคาสันธานจากนิตยสารสองภาษา (อังกฤษ-ไทย) ที่เป็น
นิตยสารออกแบบและแฟชั่นต้นฉบั บภาษาอังกฤษและมีการแปลเป็น ภาษาไทย นิตยสารออกแบบแฟชั่ น
ภาษาอังกฤษ และภาษาไทยที่ไม่มีการแปล จากนั้นทาการวิเคราะห์และจัดกลุ่มข้อมูล โดยเลือกประโยคที่มี
ความจัดเจนด้านการใช้คาสันธานและการแปลคาสันธานเป็นประโยคตัวอย่างในการวิเคราะห์แต่ละหัวข้อ
การประชุมวิชาการระดับชาติทางศิลปศาสตร์ประยุกต์ ครั้งที่ 6
(The 6th National Conference on Applied Liberal Arts : NCAA2017)

4.4 ผู้วิจัยได้ทาการวิเคราะห์ภาษาและบทแปล โดยแบ่งประเภทการแปลตามกรอบแนวคิดทฤษฎีการแปล และทา


การเปรียบเทียบข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยระบุความถี่ด้วยอัตราร้อยละ เพื่อนาเสนอผลการศึกษา
อภิปรายผลและเสนอแนวทางการแปลคาสันธานเชื่อมวลีและประโยคที่มีเนื้อหาคล้อยตามกัน

5. ผลการวิจัย
5.1 กลวิธีการแปลคาสันธานเชื่อมวลีและประโยคที่มีเนื้อหาคล้อยตามกัน
5.1.1. การแปลคาสันธานโดยตรง
กลวิธีนี้ถือเป็นกระบวนการพื้นฐานและผู้แปลส่วนใหญ่เลือกใช้ โดยผู้แปลแปลคาสันธานในภาษาต้นฉบับด้วย
คาสันธานที่มีอยู่ในภาษาแปลโดยตรง การแปลหรือการแทนที่คาด้วยคาชนิดเดียวกันที่มีหน้าที่เดียวกันเช่นนี้ เป็นการสะท้อน
ให้เห็นถึงสากลลักษณ์ของภาษาประการหนึ่ง กล่าวคือ ภาษาทุกภาษาต่างก็มีมีชนิดคาที่ทาหน้าที่ทางไวยากรณ์พื้นฐาน เช่น
คานาม กริยา คุณศัพท์ ฯลฯ ดังนั้นเมื่อทาการแปลข้อความจากภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษา ผู้แปลจึง อาจสามารถใช้คาชนิด
เดียวกันที่มีอยู่ในภาษาแปลแทนที่คาที่ต้องการจะแปลนั้นได้เลย
ตัวอย่าง 1
นอกจากนี้นักออกแบบแฟชั่นที่ดีต้องมีความสามารถในการดูดซับวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเอง เพื่อใช้เป็น
รากฐานในการสร้างมุมมองและตัวตนของนักออกแบบ ขณะเดียวกันก็ต้องรู้จักเปิดรับวัฒนธรรมต่างถิ่นเพื่อเป็นแรง
บันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน
Moreover, good fashion designers should assimilate their local culture as a foundation for
creating their own identity, as well as look for inspiration by opening their eyes to other cultures.
5.1.2. การแปลคาสันธานโดยเลือกคาความหมายรองหรือคาสันธานอื่น ๆ ที่มีความหมายใกล้เคียงคาสันธานที่ต้อง
แปลแทน
ผู้แปลเลือกคาสันธานหรือคาแปลคาสันธานที่มีความหมายหรือจัดอยู่ในประเภทเดียวกัน ในที่นี้หมายถึงคาสันธานที่
เชื่อมวลีหรือประโยคที่มีเนื้อหาคล้อยตามกัน หรือคาสันธานที่เชื่อมความสนับสนุนหรือเพิ่มเติมข้อมูล ตัวอย่างเช่น การแปลคา
also ว่า ตลอดจน หรือ ทั้งนี้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะไม่นิยมเลือกใช้คาสันธานหรือคาแปลคาสันธาน also ดังกล่าว แต่เมื่อคา
also ปรากฏซ้า ๆ หลายครั้งในภาษาต้นฉบับ เมื่อผู้แปลเลือกใช้คาแปล และ และ ด้วย ไปแล้ว หากผู้แปลไม่ต้องการใช้
คาสันธานในภาษาฉบับแปลซ้า ๆ ผู้แปลก็อาจเลือกใช้คาสันธานหรือคาแปลคาสันธานเช่น ตลอดจน รวมถึง หรือ ทั้งนี้ ในการ
แปลคา also ก็ได้
ตัวอย่าง 2
It also provides information about the products and facilitates the use of products for
consumers before being discarded when no longer useful.
...ตลอดจนอานวยความสะดวกในการใช้งานให้กับผู้บริโภค ก่อนจะถูกนาไปทิ้งเมื่อหมดประโยชน์
ตัวอย่าง 3
Luum also came out with kitchen products like aprons and oven mitts in the shape of Thai
boxing trunks.
...รวมถึงนาศิลปวัฒนธรรมไทยอย่างมวยไทย มาทาเป็นของที่ใช้ในการทาครัวอย่างผ้ากันเปื้อนลายกางเกง
มวยไทย และที่จับของร้อนรูปผ้านวม เป็นต้น
ตัวอย่าง 4
Olive also began combining hemp and silk to create a line of higher-priced goods like
furniture, curtains, and bed headboards. These innovations have paved the way for the brand’s
continued success.
นอกจากนี้ Olive ยังนาวิธีการทอใยกัญชงผสมไหมที่คิดค้นได้มาผลิตเป็นสินค้าราคาสูง เช่น เฟอร์นิเจอร์
ผ้าม่าน หรือผ้าบุหัวเตียง ทาให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ปูแนวทางการผลิตสินค้าในแบรนด์ของตนเองต่อไป
การประชุมวิชาการระดับชาติทางศิลปศาสตร์ประยุกต์ ครั้งที่ 6
(The 6th National Conference on Applied Liberal Arts : NCAA2017)

ตัวอย่าง 5
เว็บไซต์แห่งนี้ยังทาหน้าที่เป็นชุมชนการออกแบบโดยมี TCDC CONNECT Directory ให้คุณค้นหารายชื่อ
เบอร์โทรศัพท์ และที่อยู่ของผู้ประกอบการ นักออกแบบ และผู้ผลิตได้ตรงใจ ตลอดจนจัดให้มีเว็บบอร์ดเพื่อเป็นพื้นที่
ในการแลกเปลี่ยนความรู้และทรรศนะด้านธุรกิจที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึง Matching Tool กระดานเพื่อการ
ค้นหาผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างหรือหุ้นส่วนทางธุรกิจ
This website also serves as an online creative business community, featuring
TCDCCONNECT Directory which offers a searchable list of names, phone numbers, and addresses
of entrepreneurs, designers and manufacturers. A web board serves as a forum on design business,
while Matching Tool board offers space for those who are looking to find employer, employee, or
business partner.
คาว่า while หรือ ในขณะเดียวกัน ทั้งในภาษาไทยและภาษาอั งกฤษ นอกจากจะเป็นคาสันธานที่ให้ข้ อมูลชุ ด
เหตุการณ์หรือการกระทากิจกรรมที่เกิดขึ้นพร้อมกันหรือเกิดในระยะเวลาใกล้เคียงกันแล้ว ยังเป็นคาสันธานเพิ่มข้อมูลหรือให้
รายละเอียด สนับสนุนข้อมูลได้อีกด้วย ดังนั้นการแปลคาว่า while ว่า รวมถึง แม้จะเป็นการเลือกความหมายของคาว่า while
ที่ไม่ใช่ความหมายแรก ๆ ที่คนทั่วไปนึกถึง แต่ถือเป็นการเลือกความหมายจากการตีความข้อมูล เป็นการพิจารณาคาโดยใช้
หน้าที่และประเภทของคาเป็นตัวกาหนดเลือกความหมาย
5.1.3. การเพิ่มคาสันธานในบทแปล
แม้ว่าในภาษาต้นฉบับจะไม่มีคาสันธานเชื่อมข้อความที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกันเข้าด้วยกัน แต่หากผู้แปลอ่านข้อความ
และเห็นความเชื่อมโยง และความโยงใยของถ้อยความที่ปรากฏแวดล้อมกัน ผู้แปลสามารถเพิ่มคาสันธานเพื่อช่วยให้ผู้อ่าน
เข้าใจเนื้อหาได้ง่ายยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง 6
The exhibition gives you a glimpse of the Princess’s world of imagination – from her sketches,
drawings and oil paintings, to her favourite films, books, and the Princess’s chosen emblem for her
collection, the peacock.
นอกจากนี้นิทรรศการยังพาคุณเข้าสู่โลกจินตนาการของเจ้าหญิงนักออกแบบ ผ่านภาพสเก็ตช์ ภาพเขียนฝี
พระหัตถ์ ตลอดจนภาพยนตร์ หนังสือ เพลง และงานศิลปะ รวมไปถึงนกยูง สัญลักษณ์สาคัญของคอลเลกชั่นใน
พระองค์
ประโยคที่ตัดมานี้ เป็นประโยคแรกของย่อหน้า จะเห็นได้ว่าในต้นฉบับภาษาอังกฤษไม่มีการใช้สันธานเชื่อมข้อมูลใด
ๆ แต่ในภาษาไทย มีการใช้คา นอกจากนี้ เพื่อโยงใยถึงข้อมูลที่อยู่ก่อนหน้า (ย่อหน้าก่อน) ลักษณะเช่นนี้ เป็นการช่วยยืนยันถึง
หน้าที่หนึ่งของคาสันธาน ซึ่งนอกจากจะทาหน้าที่เชื่อมความในระดับ คา กลุ่มคา และประโยคแล้ว อาจทาหน้าที่เชื่อมความ
ระดับอนุเฉท คือระดับย่อหน้า ซึ่งเป็นหน่วยทางภาษาศาสตร์ระดับเหนือประโยค (discourse) ที่ต้องการความเชื่อมโยงและ
ความเข้าใจระดับข้อความโดยรวม ซึ่งเมื่อพิจาณาเนื้อหาในย่อหน้า ก่อนหน้า ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ย่อหน้าที่
ตามมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมย่อหน้าก่อน ดังนั้นการเพิ่มคาสันธานในประโยคภาษาไทยประโยคนี้จึงช่วยให้ผู้อ่ านสามารถเชื่อมโยง
เนื้อหาได้ง่ายยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง 7
For the following year, TCDC will keep on moving forward despite challenging global situation.
และในปีต่อไป TCDC กาลังจะก้าวเข้าสู่การดาเนินงานท่ามกลางสถานการณ์โลก
ตัวอย่างข้างต้น แสดงให้เห็นถึงการใช้คาเชื่อมเพิ่มเติมข้อมูลโดยไม่มีความจาเป็น (การใช้อย่างฟุ่มเฟือย) ทั้งนี้ อาจ
เป็นเพราะวลี ผู้แปลและผู้ใช้ภาษาไทยส่วนหนึ่งนิยมใช้คา และ โดยไม่ได้มีความหมายหรือความจงใจเพื่อเพิ่มข้อมูล แต่ใช้เป็น
คาขึ้นต้นถ้อยความ (utterance) เมื่อต้องการพูดหรือกล่าวถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรืออาจจัดเป็นวลีติดปาก (catchphrase) ของคน
บางกลุ่ม เช่นในประโยค “ ...ครับ... และในวันนี้... เราจะได้พบกับศิลปินชื่อดังจากเกาหลี..” คาว่า และ ในที่นี้จึงมีลักษณะ
คล้ายคาอุทาน well ในภาษาอังกฤษ
การประชุมวิชาการระดับชาติทางศิลปศาสตร์ประยุกต์ ครั้งที่ 6
(The 6th National Conference on Applied Liberal Arts : NCAA2017)

5.2 การศึกษาเชิงเปรียบเทียบการแปลคาสันธานเชื่อมวลีและประโยคที่มีเนื้อหาคล้อยตามกัน
5.2.1. ตาแหน่งคาสันธานในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
จากการศึกษาพบว่า ในภาษาอังกฤษ ตาแหน่งที่คาสันธานเชื่อมวลีและประโยคที่มีเนื้อหาคล้อยตามกันปรากฏใน
ประโยคหรือในย่อหน้ามีความหลากหลายกว่าตาแหน่งของคาสันธานประเภทเดียวกันนี้ในภาษาไทย ตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดคือ
คาว่า also ซึ่งตาแหน่งการวางในประโยคภาษาอังกฤษมีตาแหน่งที่หลากหลาย ส่วนในภาษาไทย คาสัน ธานหลายคามี
ตาแหน่งการวางเฉพาะเพียงแห่งเดียว เช่น วางไว้หน้าประโยคเท่านั้น (คาว่า นอกจากนี้) วางไว้ก่อนคากริยาเท่านั้น (คาว่า ยัง)
และวางไว้หลังประโยคหรือส่วนท้ายสุดของข้อความเท่านั้น (คาว่า อีกด้วย)
ตัวอย่าง 8
We also encouraged Luum to develop a new line of products that would remain true to
the brand’s focus on “fun” while also reflecting the spirit of enjoyment.
เรา ยังตั้งโจทย์ให้ Luum ผลิต สินค้าไลน์ใ หม่ที่แสดงไอเดีย สนุกๆในสไตล์ของตัวเองเป็ นของที่ระลึ ก
สาหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบความทันสมัย โดยเก็บกลิ่นอายความสนุกไว้ได้อย่างเต็มเปี่ยม
หากต้องการแปลคาว่า also โดยรักษาตาแหน่งและโครงสร้างอย่างต้นฉบับภาษาอังกฤษ ผู้แปลอาจต้องเลือกใช้คา
ยัง เพราะคาสันธานอื่น ๆ เช่นคาว่า นอกจากนี้ หรือ และ ไม่สามารถวางไว้หน้าคากริยาได้
ตัวอย่าง 9
...รวมทั้งการจัดทาบันทึกข้อตกลงความร่วม มือโครงการพัฒนาฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมของวัสดุพื้นฐานและ
พลังงานของ ประเทศร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
TCDC also entered into a Memorandum of Cooperation on National Life Cycle Inventory
Database Development Project with the National Metal and Materials Technology Center.
ตาแหน่งของคาเชื่อมในภาษาไทยและภาษาอังกฤษของตัวอย่างนี้มีความแตกต่างกัน และหากพิจารณาเชิงโครงสร้าง
ภาษา จะเห็นได้ว่าประโยคข้างต้น มีการปรับโครงสร้างภาษาในภาษาต้นฉบับ คือ ในภาษาต้นฉบับภาษาไทยใช้คาเชื่อมตาม
ด้วยนามวลี ขณะที่ในภาษาแปลภาษาอังกฤษใช้โครงสร้างคาเชื่อมตามด้วยกริยาวลี และทาให้ข้อความในภาษาต้นฉบับกลาย
ประโยค ทั้งนี้เนื่องจาก ตาแหน่งของคาสันธาน also ในภาษาอังกฤษ มีตาแหน่งการวางคาที่หลากหลายกว่าคาสันธาน รวมทั้ง
หรือ ด้วย ในภาษาไทย ผู้แปลจึงสามารถปรับโครงสร้างและมีตัวเลือกคาแปลที่หลากหลาย
5.2.2. ความหลากหลายของคาสันธานในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
หากวิเคราะห์คาสันธานเชิงความหลากหลาย กล่าวคือ จานวนการมีคาสันธานใช้ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จาก
ตัวอย่างในการศึกษาชิ้นนี้ พบว่า ภาษาไทยมีคาสันธานเชื่อมวลีและประโยคที่มีเนื้อหาคล้อยตามกันมากกว่าภาษาอังกฤษ
อย่างไรก็ตาม งานศึกษาชิ้นนี้มุ่งชี้ให้เห็นถึงความหลากหลายในการเลือกคาแปลคาสันธานคาหนึ่ง ๆ ตัวอย่างเช่น คาว่า as
well as สามารถแปลได้ว่า และ ขณะเดียวกัน รวมไปถึง ด้วย
ตัวอย่าง 10
Moreover, good fashion designers should assimilate their local culture as a foundation for
creating their own identity, as well as look for inspiration by opening their eyes to other
cultures.
นอกจากนี้นักออกแบบแฟชั่นที่ดีต้องมีความสามารถในการดูดซับวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเอง เพื่อใช้เป็น
รากฐานในการสร้างมุมมองและตัวตนของนักออกแบบ ขณะเดียวกันก็ต้องรู้จักเปิดรับวัฒนธรรมต่างถิ่น
เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน
ตัวอย่าง 11
จากปีแรกแห่งการเริ่มต้นเพื่อกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และสร้างแหล่งความรู้ให้แก่สังคมไทย TCDC ได้
ก้าวสู่ปีที่สองแห่งการขยายองค์ความรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ ตลอดจนการพัฒนา
ผลิตภัณฑ์
In its first year, TCDC took on the task of laying the groundwork for creativity stimulation
and providing knowledge center for Thai society.
การประชุมวิชาการระดับชาติทางศิลปศาสตร์ประยุกต์ ครั้งที่ 6
(The 6th National Conference on Applied Liberal Arts : NCAA2017)

ในตัวอย่างที่ 11 แม้ว่าผู้ แปลมีตั วเลือ กคาแปลคาเชื่อมที่ห ลากหลายในภาษาอังกฤษ ในการแปลคาเชื่ อมจาก


ภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ เช่นคาว่า ตลอดจน กับ ยัง รวมถึง รวมทั้ง ผู้แปลยังนิยมใช้คาว่า and แม้ว่าจะสามารถใช้
คาเชื่อมอื่นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม เช่น ระดับภาษาและความยาวของข้อความและจานวนครั้งของคาแปลที่ใช้ซ้าไป
5.2.3. การแปลคาสันธานและโครงสร้างประโยคที่มีคาสันธาน
ลักษณะการเชื่อมคา วลี หรือประโยคประเภทเดียวกัน ซึ่งมีโครงสร้าง และรูปแบบเดียวกัน เห็นได้ชัดเจนทั้งใน
ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตัวอย่างเช่น ในภาษาอังกฤษ เมื่อส่วนที่อยู่ก่อนหน้าคาสันธานเป็นนามวลีที่มีปัจจัย –ing เป็น
นามวลีประเภทที่เป็น gerund ส่วนที่อยู่ตามหลังคาสันธานก็ต้องเป็น gerund ด้วยเช่นกัน ในภาษาไทย เมื่อส่วนที่อยู่หน้า
คาสันธานเป็นนามวลีที่ขึ้นต้นด้วยปัจจัย “การ” หรือ “ความ” ส่วนที่อยู่หลังคาสันธานก็ต้องเป็นนามวลีที่มีปัจจัย “การ” หรือ
“ความ” ด้วย ลักษณะอันเป็นสากลของกฎพื้นฐานของคาสันธานที่เชื่อมความที่ต้องมีความเท่าเทียมกันหรือมีลักษณะ
โครงสร้างแบบเดียวกันทาให้ผู้แปลต้องคานึงและยึดถือหลักการการแปลโดยรักษาโครงสร้างทางภาษาเช่นนี้ไว้
ตัวอย่าง 12
จากปีแรกแห่งการเริ่มต้นเพื่อกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และสร้างแหล่งความรู้ให้แก่สังคมไทย TCDC ได้
ก้าวสู่ปีที่สองแห่งการขยายองค์ความรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบตลอดจนการพัฒนา
ผลิตภัณฑ์
In its first year, TCDC took on the task of laying the groundwork for creativity stimulation
and providing knowledge center for Thai society.
ในบางกรณี ผู้แปลเลือกเปลี่ยนโครงสร้างบทแปล เช่น ผู้แปลใช้คาสันธานประเภทคาสันธานปรากฏคู่ (Correlative
Conjunctions) ในการแปลคาสันธานเดี่ยว ซึ่งอาจส่งผลต่อการปรับโครงสร้างประโยคด้วย เช่นในตัวอย่าง 13
ตัวอย่าง 13
In addition to emerging knowledge and technology, the audience saw Thailand’s potential
for becoming one of the internationally leading natural fiber plant providers.
นอกจากผู้ฟังจะได้รับรู้ถึงสถานการณ์ความรู้และเทคโนโลยีที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน ยังจะได้เห็นศักยภาพของ
ประเทศไทยที่จะก้าวไปสู่การเป็นผู้ผลิตพืชเส้นใยธรรมชาติในระดับสากลอีกด้วย
5.2.4. ลักษณะเด่นของคาสันธานในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
จากการศึกษา ผู้ศึกษาพบลักษณะเด่นบางประการของคาสันธานในภาษาไทย เช่น คาว่า กับ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว
สามารถใช้คาภาษาอังกฤษ and เป็นคาเทียบเคียงคาสันธานนี้ แต่อย่างไรก็ตาม คาว่า กับ มีลักษณะเฉพาะคือใช้เชื่อมสิ่งที่พูด
ถึงสองสิ่งเท่านั้น
ตัวอย่าง 14
ผลงาน “ของเล่นกลไกพื้นบ้าน” ไม่เพียงแต่สร้างความบันเทิงให้กับเด็กๆ เท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นถึงภูมิ
ปัญญา ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น รวมทั้งความผูกพันระหว่างคนกับสัตว์ที่เห็นได้จากการนา
ท่าทางของสัตว์ ชนิดต่างๆ มาถ่ายทอดผ่านชิ้นงานที่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างสนุกสนาน และน่าสนใจ
Thai folk mechanical toys are not only great fun for kids, but also depict local wisdom and
close relationship between humans and animals, interestingly presented through the
mechanical toys that imitate the animals’ postures and movements.
คาว่า กับ ในภาษาไทย เป็นคาเชื่อมที่ใช้เชื่อมคาหรือวลีสองชุด มีความหมายลึกกว่าคาว่า and นั่นหมายความว่า ใน
ภาษาไทยมีตัวเลือกการแปลคาว่า and โดยตรงมากกว่า 1 ตัวเลือก ผู้แปลต้องเลือกว่าจะแปลโดยตรงว่า และ หรือ กับ ในขั้น
แรก และอาจปรับบทแปลเพื่อความสละสลวยหรือเพื่อความเป็นธรรมชาติในขั้นที่สอง
ลักษณะเด่นของการใช้คาสันธานที่พบในการศึกษาชิ้นนี้อีกอย่างหนึ่งคือ เมื่อระดับของภาษาในข้อเขียนมีความเป็น
ทางการมาก หรือมีลั กษณะเป็นภาษาเฉพาะ เช่น มีการใช้คาราชาศัพท์ในข้อเขียนนั้น ๆ คาสันธานที่ปรากฏในข้อเขียน
ลักษณะนี้ก็มีความยาวและมีความเป็นทางการมากกว่าคาสันธานที่ปรากฏในข้อเขียนทั่วไปด้วย
การประชุมวิชาการระดับชาติทางศิลปศาสตร์ประยุกต์ ครั้งที่ 6
(The 6th National Conference on Applied Liberal Arts : NCAA2017)

ตัวอย่าง 15
และในโอกาสเดียวกันนี้ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ยังได้เสด็จเป็นองค์บรรยายใน
หัวข้อ PRESENCE OF THE PAST… ในโอกาสถัดมา TCDC ยังได้รับพระกรุณาธิคุณจากพระเจ้าหลานเธอ
พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ เพื่อจัดแสดงนิทรรศการ PRESENCE OF THE PAST…
นอกจากลักษณะเด่นของคาสันธานประเภทเชื่อมคาหรือวลีที่มีเนื้อหาคล้อยตามกันและเพิ่มเติมข้อมูลในภาษาไทยที่
ได้กล่าวสองลักษณะแล้ว ในภาษาไทย ยังมีคาสันธานบางคาที่ใช้เชื่อมความในระดับอนุเฉทหรือย่อหน้า (discourse) เช่นคาว่า
ทั้งนี้ และ อนึ่ง ซึ่งใช้เพื่อเพิ่มเติมข้อมูลในภาษาระดับกึ่งทางการหรือทางการ
ตัวอย่าง 16
ทั้งนี้ Material ConneXion® Bangkok เป็นสาขาของ Material ConneXion® ซึ่งปัจจุบันมี 4 สาขา
ตัวอย่าง 17
อนึ่ง งานแฟชั่นครั้งนี้เป็นการรวบรวมผลงานการออกแบบของดีไซเนอร์จาก แทนซาเนีย รวันดา บูร์กิ
นาฟาโซ และเคนยา
5.2.5. ความถี่ของการใช้คาสันธาน
จากการศึกษาคาสันธานชิ้นนี้ ผู้ศึกษาพบว่าแม้ว่าจะมีคาสันธานให้เลือกใช้ได้หลากหลาย ผู้เขียนและผู้แปลยัง
เลือกใช้คาสันธานที่เป็นคาดาด ในภาษาไทย ผู้แปลนิยมใช้คาสันธาน และ (ร้อยละ 57.4) ส่วนในภาษาอังกฤษ ผู้เขียนใช้คาว่า
and มากที่สุด (ร้อยละ 63.7) ส่วนคาสันธานที่ใช้น้อยที่สุดในภาษาไทยคือคาว่า กับ (ร้อยละ 6.2) ขณะที่คาสันธานที่ใช้น้อย
ที่สุดในภาษาอังกฤษคือคาว่า In addition to (ร้อยละ 7.1)
ตัวอย่าง 18
สาหรั บ นั ก เรี ย น นั กศึ ก ษา และผู้ ป ระกอบการ หน่ ว ยงานภาครั ฐ และเอกชน ในเขตกรุ งเทพฯ และ
ปริ ม ณฑล TCDC ได้ จั ด กิ จ กรรม Visit TCDC ขึ้ น โดยจั ด รถรั บ -ส่ ง คณะผู้ เ ข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมจาก
สถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่างๆ เพื่อเข้ามาเยี่ยมชมและใช้บริการของ TCDC โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
For students, entrepreneurs, as well as public and private organizations in the greater
Bangkok area, TCDC has organized the Visit TCDC Program, which offers participants an
opportunity to visit and make use of TCDC facilities at no charge, along with free pick-up
and drop-off bus services.

6. การอภิปรายและสรุปผล
จากวั ต ถุ ป ระสงค์ ก ารวิ จั ย ผู้ วิ จั ย พบว่ า ทั้ งผู้ แ ปลและผู้ เ ขี ย นข้ อ เขี ย นในนิ ต ยสารแฟชั่ น และการออกแบบทั้ ง
ภาษาอังกฤษและภาษาไทยใช้คาสันธานประเภทนี้อย่างหลากหลาย โดยในข้อเขียนชิ้นหนึ่ง ๆ ผู้เขียนและผู้แปลหลีกเลี่ยงการ
ใช้คาสันธานซ้า อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีคาสันธานที่ใช้เชื่อมวลีหรือประโยคที่มีเนื้อหาคล้อยตามกันให้เลือกใช้มากมาย ผู้เขียน
และผู้แปลยังเลือกใช้คาสันธาน และ หรือ and ซึ่งเป็นคาสันธานพื้นฐานในกลุ่มคาสันธานประเภทนี้ ในด้านการแปล ผู้แปล
สามารถเลือกใช้คาสันธานที่มีอยู่ในภาษาแปล โดยอาจเลือกจากความหมายหลักหรือคาแปลสันธานที่นิยมใช้กัน หรืออาจใช้
คาสันธานอื่น ๆ ที่อยู่ในประเภทเดียวกัน ซึ่งแม้ว่าจะไม่ใช่คาที่เป็นคาแปลความหมายแรกของคาสันธานนั้น ๆ แต่ก็สามารถใช้
ถ่ายทอดจุดประสงค์การเชื่อมโยงความได้เช่นกัน นอกจากนี้ ผลการวิจัยสอดคล้องกับสมมุตฐาน คือ ผู้แปลแปลคาสันธานโดย
คานึงถึงเนื้อหา บริบท ความกลมกลืนและดุลยภาพของเนื้อหามากกว่าการเลือกคาแปลที่กาหนดไว้ในพจนานุกรมหรือ
“คาแปลสาเร็จรูป ” ที่นิยมใช้กันทั่วไป แสดงถึงความสามารถของผู้แปลในการทาความเข้าใจและตีความภาษาต้นฉบับ
สอดคล้องกับผลงานวิจัยของ Li (2009) ที่ระบุว่าผู้แปลที่ใช้มีทักษะการแปลหรือทางานแปลอย่างสม่าเสมอ นอกจากจะแปล
คาสันธานได้ถูกต้องแล้ว ยังใช้คาแปลที่หลากหลายในบทแปลบทหนึ่ง ๆ และช่วยตอบคาถามในข้อเสนอแนะงานวิจัยของ Li
ที่ว่าหากในภาษาแม่ ของผู้แปลมีคาสันธานหลากหลายมาก เมื่อต้องใช้หรือแปลคาสันธานในภาษาอื่น ผู้ แปลจะเลือกใช้
คาสันธานได้หลากหลาย ทั้งนี้ ผลการศึกษาบางส่วน ชี้ให้เห็นว่า คาสันธานบางคา เช่น คาว่า and ในภาษาอังกฤษมีคาแปลที่
สามารถใช้แทนได้โดยตรง (one-to-one correspondence) ในภาษาไทย ซึ่งแตกต่างจากงานวิจัยของโชติรส เพิ่มพิกุล
(2542) ทีพ่ บว่าไม่มีคาแปลตัวเชื่อมข้อความที่แสดงความสัมพันธ์แบบตรงกันข้ามที่ใช้แทนกันได้โดยตรง
การประชุมวิชาการระดับชาติทางศิลปศาสตร์ประยุกต์ ครั้งที่ 6
(The 6th National Conference on Applied Liberal Arts : NCAA2017)

ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่า ภาษาไทยมีการใช้คาสันธานเชื่อมโยงความในระดับวาทกรรมหรือระดับปริเฉท มากกว่า


ภาษาอังกฤษ แม้ว่าในข้อเขียนต้นฉบับจะไม่มีคาสันธาน แต่เมื่อผู้แปลวิเคราะห์แล้วว่าเนื้อความต่าง ๆ ที่ปรากฏในข้อเขียนมี
ความเชื่อมโยงกันในลักษณะเป็นการเพิ่มเติมข้อมูล ผู้แปลมักเพิ่มคาสันธานในบทแปล ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะผู้แปลต้องการช่วย
สร้างความเชื่อมโยงให้กับเนื้อหาในข้อเขี ยนโดยรวม และเป็นการช่วยให้ผู้อ่านอ่านเข้าใจเนื้อหา ลาดับ ความสัมพันธ์ของ
เนื้อหาในข้อเขียนได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้แปลควรกระทา เพราะความจากัดความของการใช้คาสันธานตามที่ Halliday และ
Hasan (1976) ระบุไว้คือการคงไว้ซึ่งดุลยภาพหรือความสอดประสานของเนื้ อความในข้อความหนึ่ง ๆ ทั้งนี้ ตามชนิดและ
หน้าที่ของคา คาสันธานเป็นคาเชื่อมคา วลี หรือประโยคในทางวากยสัมพันธ์ แต่เมื่อคาสันธานปรากฏในตาแหน่งหน้าย่อหน้า
เป็นคาขึ้นต้นย่อหน้าใหม่ ใช้เชื่อมโยงเนื้อความในย่อหน้าใหม่กับเนื้อหาในย่อหน้าก่อน คาสันธานจะทาหน้าที่เป็นตัวเชื่อม
ข้อความ ซึ่งในทางวาทกรรม การใช้คาสันธานในฐานะเป็นตัวเชื่อมข้อความนี้ จากตัวอย่างที่ทาการศึกษาพบว่าในภาษาไทยมี
การใช้คาสันธานในหน้าที่นี้มากกว่าในภาษาอังกฤษ และมีคาสันธานเฉพาะบางคาที่ทาหน้าที่เป็นตัวเชื่อมข้อความ กล่าวคือ
มักใช้นาหน้าย่อหน้าใหม่ เช่นคา ทั้งนี้ อนึ่ง ซึ่งชนิดของคาทั้งสองเป็นคาสันธาน แต่ก็สามารถทาหน้าที่เป็นตัวเชื่อมข้อความได้
ในการศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างประโยคที่มคี าสันธานหรือตาแหน่งของคาสันธาน พบว่าในภาษาอังกฤษ คาสันธาน
หนึ่ง ๆ สามารถวางไว้ได้หลากหลายตาแหน่ง ต่างจากภาษาไทยที่คาสันธานหนึ่ง ๆ จะมีตาแหน่งเฉพาะตายตัว ไม่สามารถย้าย
หรือเปลีย่ นตาแหน่งได้ ซึ่งผูส้ นใจทางานวิจัยคาสันธาน อาจวิจัยเปรียบเทียบผลการวิจยั ข้อนี้กับการใช้หรือการแปลคาสันธาน
ประเภทอื่น ๆ เช่น คาสันธานเชื่อมความขัดแย้งกัน หรือความที่ต้องเลือกในภาษาไทย เพื่อนาเสนอรูปแบบการใช้คาสันธาน
หรือศึกษาพัฒนาการและความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงตาแหน่ง หรือการใช้คาชนิดนี้

7. เอกสารอ้างอิง
ปราณี บุญชุ่ม และ ภาสกร เกิดอ่อน. (ม.ป.ป.). หลักภาษาและการใช้ภาษา. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

พัชรี โภคาสัมฤทธิ์. 2548. การแปลอังกฤษเป็นไทย : ทฤษฎีและเทคนิค. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. 2552. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

สิทธา พินิจภูวดล. 2543. คู่มือนักแปลอาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.

สุพรรณี ปิ่นมณี. 2548. การแปลขัน้ สูง. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Blakemore, D. 1987. Semantics Constraints on Relevance. Oxford: Blackwell.


Carston, R. 1994. Conjunction and Pragmatics Effects. The Encyclopedia of Language and Linguistics.
Oxford: Pergamon, vol. 2, p. 692-698.
Chalker, S. 1996. Collins Cobuild English Guides 9: Linking Words. London: HarperCollins.
Crystal, D. 1997. Dictionary of Linguistics and Phonetics. Oxford: Blackwell.
Fraser, B. (Jul, 1999). What are discourse markers? Journal of Pragmatics 31 (7), p. 931-952.
Halliday, M. A. K. & Hasan, R. 1976. Cohesion in English. London: Longman.
การประชุมวิชาการระดับชาติทางศิลปศาสตร์ประยุกต์ ครั้งที่ 6
(The 6th National Conference on Applied Liberal Arts : NCAA2017)

Leung, C. 2005. A comparison of the use of major English conjunctions by American and Hong Kong
university students (Using the HKUST corpus, HKBU corpus and the ICLE corpus of American English).
Lunds: LUNDS University.
Li, M. 2008. College-level L2 English Writing Competence: Conjunctions and Errors. Polyglossia 15.
Nida, E.A. 1964. Toward a Science of Translating. The Netherlands: Leiden, I.J. Brill.

Permpikul. C. 1999. A Comparative Analysis of Thai and English Contrastive Discourse Markers: With a
Discussion of the Pedagogical Implications. Bonton: Boston University.

Rouchota, V. 1998. Connectives, Coherence and Relevance. Current Issues in Relevance Theory.
Amsterdam: John Benjamins.

Schiffrin, D. 1987. Discourse markers. Cambridge: Cambridge University Press.

Warner, R. G. 1985. Discourse connectives in English. New York: Garland Publishing.

You might also like