Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 10

ขอบคุณภาพ Freepik.

com

เอกสารประชาสัมพั นธ์ข่าวสารด้านมาตรวิทยา
บนเว็บไซต์ www.mx.nimt.or.th
METROLOGY info
Vol.22 No.W3-2020
1
การวัดและประเมิน
ค่าความไม่เป็นเนื้อเดียว
ของเทอร์โมคัปเปิล
บทความนี้... จัดทําขึ้นเพื่ อให้ห้องปฏิบัติการสอบเทียบและผู้ท่ีสนใจ ได้รับ
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดและการประเมินค่าความไม่เ ป็นเนื้อเดียว
ของเทอร์โมคัปเปิล

สําหรับวงการมาตรวิทยาอุณหภูมิ ในสาขาการสอบเทียบเทอร์โมคัปเปิล
ของประเทศไทย ค่ า ความไม่ เ ป็ น เนื้ อ เดี ย วกั น ของสายเทอร์ โ มคั ป เปิ ล
(Thermocouple Inhomogeneity) เป็นเรื่องที่ยังมีความความสับสนอยู่
มาก ทั้งที่จริงแล้ว ในพฤติกรรมนี้เป็นสมบัติพ้ื นฐานของเทอร์โมคัปเปิลที่
สําคัญที่ส่งผลกระทบมากในการประเมินค่าความไม่แน่นอนในการสอบเทีย บ
เทอร์โมคัปเปิล และเป็นที่ยอมรับว่ามีจริงมานานในมาตรวิทยาระดับสากล

2 METROLOGY info
Vol.22 No.W3-2020
เอกสารประชาสัมพั นธ์ข่าวสารด้านมาตรวิทยา
บนเว็บไซต์ www.mx.nimt.or.th
้ เดียวของเทอร์โมคัปเปิล
ความไม่เป็นเนือ
(Thermocouple Inhomogeneity) คืออะไร ?

เทอร์โมคัปเปิ ลทุ กตั ว จะมี การเกิดสัญญาณแรงเคลื่ อน อิเล็กตรอนบนสายตัวนํา เนื่องจาก


แนวโน้ ม ในการเลื่ อ นค่ า ออกไป ไ ฟ ฟ้ า ( emf, electromotive ความแตกต่างของอุณหภูมิ
จากค่าที่สอบเทียบเมื่อถูกใช้ งาน force) ของเทอร์โมคัปเปิล เรียกว่า ตลอดช่วงสายตัวนําเทอร์โมคัปเปิล
โดยมี ค่ า มาก-น้ อ ย และช้ า -เร็ ว ปรากฏการณ์ ซี เ บค (Seebeck ตั้งแต่รอยต่อวัด/รอยต่อร้อน
แตกต่างกันไปตามชนิดของสาย effect) ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง (measuring/hot junction)
และ ลั ก ษ ณะ ก า ร ใ ช้ ง า น การ อุณหภูมิ/พลังงานความร้อน ไป ถึงรอยต่ออ้างอิง/รอยต่อเย็น
สอบเที ย บเทอร์ โ มคั ป เปิ ล ในระยะ เป็ น สั ญ ญาณแรงเคลื่ อ นไฟฟ้า (reference/cold junction)
จุ่ ม ในแหล่ ง อุ ณ หภู มิ ที่ แ ตกต่ า ง สัญญาณเอาท์พุท (E) ไม่ได้เ กิด
จากการใช้งาน จะกระทบต่อผลการ เฉพาะที่ปลายโพรบเทอร์โมคัปเปิล
สอบเทียบหากไม่ได้ประเมินค่าความ แต่ เ กิ ด ขึ้ น จากการไหลของ
ไม่แน่นอนเนื่องจากค่าความไม่ เป็ น
เนื้อเดียวของเทอร์โมคั ปเปิ ลอย่ าง
เหมาะสม
ค่ า ความไม่ เ ป็ น เนื้ อ เดี ย ว
ของเทอร์ โ มคั ป เปิ ล เกิ ด จาก
หลายปัจ จั ยทั้ งด้า นกายภาพและ
ทางเคมี เทอร์ โ มคั ปเปิ ล ที่ ผ ลิ ต
ใ หม่ จะ มี ความเ ป็ นเ นื้ อ เ ดี ย ว
ตลอดสาย แต่ เ มื่ อ ถู ก ใ ช้ งา น
บางส่วนของเทอร์โมคัปเปิ ลที่ จุ่ม
ในเตา สัมผัสโดนกับความร้อนจะ
มี ก ารเปลี่ ย นแปลงคุ ณ สมบั ติ
ทางโครงสร้างของเนื้อสาย
นอกจากนี้ การออกซิเ ดชัน
ที่อุณภูมิสูง การปนเปื้ อนทางเคมี
การเปลี่ ย นแปลงองค์ ป ระกอบ
ของอั ล ลอยด์ โครงสร้ า งผลึ ก
และการหั ก งอของสายเทอร์ โ ม-
คัปเปิล ล้วนส่งผลต่อค่าความไม่
เป็นเนื้อเดียวของเทอร์โมคัปเปิล

เอกสารประชาสัมพั นธ์ข่าวสารด้านมาตรวิทยา
บนเว็บไซต์ www.mx.nimt.or.th
METROLOGY info
Vol.22 No.W3-2020
3
ตารางที่ 1 แสดงค่าสัมประสิทธิ์ S - Seebeck coefficient หรือค่าความไวของการเปลี่ยนแปลง
เอาท์พุทในหน่วยไมโครโวลต์เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไป 1 องศาเซลเซียส
ของเทอร์โมคัปเปิลแต่ละชนิดที่อุณหภูมิแตกต่างกัน

เทอร์โมคัปเปิลแต่ละชนิด
มีคา่ Inhomogeneity แตกต่างกันหรือไม่ ?
เทอร์โมคัปเปิลที่เป็นกลุ่มโลหะพื้ นฐาน เช่น ชนิด K, N, J, E, T ที่สายผลิตจากโลหะผสม
(Alloy) เช่น ทองแดง โครเมียม และ นิเกิล มีโอกาสในการเกิดความไม่เป็นเนื้อเดียว มากกว่า
เทอร์โมคัปเปิลในกลุ่มโลหะชั้นสูง เช่น ชนิด S, R, B ที่ผลิตจากทองคําขาว (Platinum) และ
ทองคําขาวผสมโรเดียม (Platinum/Rhodium) ซึ่งมีคุณสมบัติทางวัสดุที่เสถียรแม้โดนความ
ร้อน ทําให้การเลื่อนค่าน้อยกว่ากลุ่มแรก ในขณะที่เทอร์โมคัปเปิลกลุ่มพิ เศษทําจากโลหะบริสุทธิ์
เ ช่ น ท อ ง คํ า แ ล ะ ท อ ง คํ า ข า ว ( Gold/Platinum) แ ล ะ ท อ ง คํ า ข า ว แ ล ะ พ า ล า เ ดี ย ม
(Platinum/Palladium) จะมีความเป็นเนื้อเดียวสูง และเกิดการเลื่อนค่าเกิดน้อยที่สุด

4 METROLOGY info
Vol.22 No.W3-2020
เอกสารประชาสัมพั นธ์ข่าวสารด้านมาตรวิทยา
บนเว็บไซต์ www.mx.nimt.or.th
ค่า Inhomogeneity ของ
่ า่ นการใช้งาน
เทอร์โมคัปเปิลใหม่และทีผ

เทอร์โมคัปเปิลใหม่ที่ใช้งานครั้งแรก จะมีค่าเอาท์พุทที่
แตกต่างมากเมื่อเทียบกับการใช้งานครั้งต่อไปเสมอ แม้ว่าจะ
ถูกใช้วัดที่อุณหภูมิเดียวกัน และเมือ
่ ใช้งานต่อไปในสภาวะเดิม
ในระยะหนึง่ การเลื่อนค่าจะมีแนวโน้มลดลง

อย่างไรก็ดี ความไม่เป็นเนื้อเดียวที่เพิ่ มขึ้นในสภาวะการ


ใช้งานที่ปนเปื้ อนมากและไม่เหมาะสม การขยับระยะจุ่มในการ
สัมผัสความร้อน เทอร์โมคัปเปิลจะมีการเลื่อนค่ามากขึ้นอย่าง
รวดเร็วตามระยะเวลาการใช้งาน

รูปที่ 2 ภาพบน - แสดงลักษณะอุณหภูมิ (T) ภายในและภายนอกเตา


ภาพกลาง - ค่า Seebeck coefficient (S) ของ
เทอร์โมคัปเปิลใหม่ ที่มีค่า S คงที่ และ
ผ่านการใช้งาน ณ ตําแหน่ง x
ภาพล่าง - การเปลี่ยนแปลงค่า Seebeck coefficient (S)
ที่ส่งผลต่อสัญญาณเอาท์พุท (E) ของ
เทอร์โมคัปเปิล

เอกสารประชาสัมพั นธ์ข่าวสารด้านมาตรวิทยา
บนเว็บไซต์ www.mx.nimt.or.th
METROLOGY info
Vol.22 No.W3-2020
5
การใช้ เทอร์โมคัปเปิล ควรเลือกใช้งานที่อุณหภูมิไม่เกินกว่าอุณหภูมิ
สูงสุดที่ใช้งานได้ ต้องระวังให้สายเทอร์โมคัปเปิลอยู่ในภาวะที่
“เทอร์โมคัปเปิล” ไม่ปนเปื้ อน โดยการเลือกปลอกช่องใส่เทอร์โมมิเตอร์และฉนวน
ต่างๆ ให้ปกป้องสายเทอร์โมคัปเปิลให้เหมาะสมกับ อุณหภู มิ แ ละ
วัดอุณหภูมิได้ยาวนาน
สภาวะการใช้งาน เพื่ อให้เกิดการปนเปื้ อนน้อยที่สุดระหว่างการ
และอ่านค่าถูกต้อง ใช้งาน ไม่ควรเปลี่ยนแปลงระยะจุ่ม ไม่ต่อสายเทอร์โมคัปเปิ ลเข้า
กับสายชดเชย หรือสายขยายระยะ ในบริเวณที่อุณหภูมิแปรปรวน
และต้ อ งพิ จารณาการประเมิ นค่ า ความไม่ แ น่ น อนทางการวั ด
เนื่ องจาก Thermocouple Inhomogeneity เสมอเมื่ อใช้ งาน
เทอร์โมคัปเปิล

การวัดและการประเมิน
“ค่าความไม่เป็นเนื้อเดียว” ของเทอร์โมคัปเปิล
ค่ า Thermocouple Inhomogeneity มี ผ ลกระทบมากในความ
ไม่แน่นอนทางการสอบเทียบของเทอร์โมคัปเปิล การทดสอบหาเพื่ อการ
ประเมินค่าความไม่เป็นเนื้อเดียว สามารถทําได้โดย
1. การใช้เครื่องกํ าเนิดความร้อน เช่น heat gun เคลื่อนที่ไ ป
ตามโพรบเทอร์ โ มคั ป เปิ ล ช้ า ๆ ขณะที่ ใ ห้ ทั้ ง รอยต่ อ วั ด และ
รอยต่ อ อ้ า งอิ ง อยู่ ท่ี เ ดี ย วกั น ที่ จุ ด อุ ณ หภู มิ ค งที่ 0 องศา
เซลเซียส และวัดหาความแตกต่างของแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่วัด
ได้ในแต่ละช่วง วิธีนี้ต้องใช้ตัวอ่านดิจิตอลโวลต์มิเ ตอร์ ที่ มี
ความละเอียดสูงเพราะสัญญาณที่ได้จะตํา่ มาก จึงไม่ค่อยเป็น
นิยม
2. การทดสอบค่ า Inhomogeneity ที่ นิ ย มคื อ ค่ อ ยๆ จุ่ ม
รอยต่อวัดเทอร์โมคัปเปิลลงแหล่งกําเนิดอุณหภูมิท่ีมีความ
เสถี ย รสู ง เช่ น อ่ า งนํ้ า มั น ควบคุ ม อุ ณ หภู มิ หรื อ fixed
point โดยวิธีน้ี จะเป็นการเปลี่ ยนระยะจุ่มเทอร์โมคัปเปิ ลให้
ผ่ า นระยะใช้ ง านที่ มี ค วามแตกต่ า งอุ ณ หภู มิ ม ากที่ สุ ด และ
สังเกตการเปลี่ยนแปลงของแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ได้

รูปที่ 3
ระบบทดสอบค่า Inhomogeneity
ของสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ

6 METROLOGY info
Vol.22 No.W3-2020
เอกสารประชาสัมพั นธ์ข่าวสารด้านมาตรวิทยา
บนเว็บไซต์ www.mx.nimt.or.th
ในอุดมคติ เทอร์โมคัปเปิลที่มีความเป็นเนื้อเดียว ควรให้สัญญาณเอาท์พุ ท
เท่ากันตลอดระยะจุ่ มลงแหล่งกําเนิดอุณหภูมิที่มีอุณหภูมิคงที่ ระหว่างที่ทํา การ
ทดสอบค่า Inhomogeneity ผลต่างของ emf ที่วัดได้เป็นค่าที่สะท้อนว่าเทอร์โม-
คั ป เปิ ล มี ค วามไม่ เ ป็ น เนื้ อ เดี ย วกั น การทดสอบค่ า ความไม่ เ ป็ น เนื้ อ เดี ย ว ความ
แตกต่างมากสุดของสัญญาณที่วัดได้ สามารถนํามาประเมินหาค่าความไม่แน่นอน
โดยให้ประเมินแบบครึ่งหนึ่งของการกระจายแบบสี่เหลี่ยม ทั้งนี้การประเมินความไม่
แน่นอนจาก Inhomogeneity ที่อุณหภูมิอ่ืนๆ สามารถใช้ได้ในรูปแบบเปอร์เซนต์
ของ emf จากค่าที่วัดได้ที่อุณหภูมิน้น ั
สําหรับการสอบเทียบสายเทอร์โมคัปเปิลที่มาเป็นม้วนใหญ่ ควรสุ่มตัวอย่าง
ตัดมาสร้างเทอร์โมคัปเปิลและทําการทดสอบอย่างน้อยสองตัวอย่าง โดยให้ใช้ค่า
มากที่สุดที่ได้มาประเมินเป็นค่าความไม่แน่นอนเนื่องจากค่า Inhomogeneity ของ
ม้วนนั้นได้

รูปที่ 4 แสดงตัวอย่างผลการทดสอบระบบทดสอบค่า Inhomogeneity

ค่า Inhomogeneity คํานวณได้จากสูตร

1 �𝐸𝐸 − 𝐸𝐸𝑟𝑟𝑟𝑟𝑟𝑟 �𝑚𝑚𝑚𝑚𝑚𝑚 − �𝐸𝐸 − 𝐸𝐸𝑟𝑟𝑟𝑟𝑟𝑟 �𝑚𝑚𝑚𝑚𝑚𝑚


𝐼𝐼𝐼𝐼ℎ𝑜𝑜𝑜𝑜𝑜𝑜𝑜𝑜𝑜𝑜𝑜𝑜𝑜𝑜𝑜𝑜𝑜𝑜𝑜𝑜 (%) = ± � � × 100
2 𝐸𝐸𝑟𝑟𝑟𝑟𝑟𝑟

เมื่อ E คือค่า output ของเทอร์โมคัปเปิลเมื่อทดสอบเที่ระยะต่างๆ


Eref คือค่าแรงดันจาก reference table ที่สอดคล้องกับอุณหภูมิ
ที่ทําการทดสอบ

เอกสารประชาสัมพั นธ์ข่าวสารด้านมาตรวิทยา
บนเว็บไซต์ www.mx.nimt.or.th
METROLOGY info
Vol.22 No.W3-2020
7
รูปที่ 5 ระบบทดสอบค่า Inhomogeneity ของสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ

ในกรณีที่ห้องปฏิบัติการไม่ ได้มีเ ครื่ องมือ สําหรั บการทดสอบค่า Inhomogeneity


การประเมินค่าความไม่แน่นอนจาก Inhomogeneity สํ าหรับเทอร์โมคัปเปิลที่ใหม่
สามารถประเมินโดยใช้ค่าที่แนะนํา (ตัวประกอบความไม่แน่นอนเท่ากับ 1) โดย EURAMET
[1]
ดังต่อไปนี้
• Type K and N: 0,1 % of temperature in °C
• Type R and S: 0,02 % of temperature in °C
• Type B: 0,05 % of temperature in °C
• Au/Pt and Pt/Pd: 0,01 % of temperature in °C
• All other types: 0,25 % of temperature in °C

สํ าหรับกรณีเทอร์โมคัปเปิลที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว และห้องปฏิบัติการไม่ได้มีระบบ
สําหรับการทดสอบค่า Inhomogeneity อย่างน้อยการประเมินค่าความไม่แน่นอน อาจ
พิ จารณา ให้ ค่ า Inhomogeneity ที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ เทอร์ โมคั ปเปิ ลสู งกว่ าเทอร์ โมคั ปเปิ ลที่ ใหม่
อย่างน้อย 20% ของเกณฑ์การยอมรับ Class 2 ของ IEC 60584-2 (หรือเทียบเท่า กั บ
standard tolerance ใน ASTM E230) สามารถนํามาประเมินหาค่าความไม่แน่นอนโดย
ให้ประเมินแบบปกติ ด้วยตัวประกอบความไม่แน่นอนเท่ากับ 1 [4]

8 METROLOGY info
Vol.22 No.W3-2020
เอกสารประชาสัมพั นธ์ข่าวสารด้านมาตรวิทยา
บนเว็บไซต์ www.mx.nimt.or.th
การสอบเทียบเทอร์โมคัปเปิลซํ้า ขึ้นอยู่กับความจําเป็น โดยเทอร์โมคัปเปิลในกลุ่มโลหะ
พื้ นฐาน Type K, N, J, E, N และ T นั้น เมื่อใช้งานมานานแล้วพบว่าเกิดการเลื่อนค่ามาก
เกิ น กว่ า เกณฑ์ ท่ี ตั้ ง ไว้ ควรพิ จารณาเปลี่ ย นใหม่ แทนการสอบเที ย บซํ้ า เนื่ อ งจากค่ า
Inhomogeneity มีค่ามาก และไม่สามารถปรับปรุงคืนสภาพได้เหมือนกับเทอร์โมคัปเปิลที่
มีพลาตินัมเป็นส่วนประกอบ ที่ใช้การอบบ่มความร้อนที่เหมาะสมในการปรับสถาพคุณสมบัติ
ทางวัสดุของสายให้กลับมาคืนสภาพดีข้น ึ และลดค่า Inhomogeneity ได้

ตารางที่ 2 ตัวอย่าง Tolerance และค่าความไม่แน่นอนเนื่องจาก Inhomogeneity


Type K ในหน่วยองศาเซลเซียส

ตารางที่ 3 ตัวอย่าง Tolerance และค่าความไม่แน่นอนเนื่องจาก Inhomogeneity Type R, S


ในหน่วยองศาเซลเซียส

เอกสารประชาสัมพั นธ์ข่าวสารด้านมาตรวิทยา
บนเว็บไซต์ www.mx.nimt.or.th
METROLOGY info
Vol.22 No.W3-2020
9
สรุป
ห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารที่ ทํ า การสอบเที ย บหรื อ ใช้ ง านเทอร์ โ มคั ป เปิ ล ควรพิ จารณาประเมิ น ค่ า ความไม่ แ น่ น อน
เนื่องจาก Inhomogeneity ด้วย โดยสามารถอ้างอิงคําแนะนําในเอกสารนี้ไปประยุกต์ใช้ในการประเมินค่าความไม่
แน่นนอน ให้เหมาะสมกับชนิดของเทอร์โมคัปเปิลและช่วงอุณหภูมิที่ใช้งาน
นอกจากนี้ เพื่ อให้การประเมินเป็นไปอย่างแม่นยํายิ่งขึ้น ห้องปฏิบัติการควรเตรียมความพร้อมและจั ดให้มี
ระบบทําการทดสอบหาค่าความไม่เป็นเนื้อเดียวกันของเทอร์โมคัปเปิล โดยสามารถขอคําปรึกษาเพิ่ มเติมได้จาก
ห้องปฏิบัติการอุณหภูมิ กลุ่มงานถ่ายทอดค่ามาตรฐานและความชื้น ฝ่ายมาตรวิทยาอุณหภูมิและแสง สถาบัน
มาตรวิทยาแห่งชาติ

เอกสารอ้างอิง เนื้อหาบทความ
โดย
[1] EURAMET Calibration Guide No. 8 Version 3.0
(02/2019), Calibration Guide, Calibration of ดร. อ้อยใจ อ่องหร่าย
Thermocouples, European Association of กลุ่มงานถ่ายทอดค่ามาตรฐานและ
National Metrology Institutes, 2019. ความชื้น
[2] Machin, J., Tucker, D. and Pearce, J., A ฝ่ายมาตรวิทยาอุณหภูมิและแสง
comprehensive survey of thermoelectric
homogeneity of commonly used thermocouple
types, Measurement Science and Technology, Graphic Design
Vol. 29, 2018. โดย
[3] Jahan, F. and Ballico, M., A Study of the
Temperature Dependence of Inhomogeneity in
Platinum-Based Thermocouples, in: Temperature:
ฐานิยา คัมภิรานนท์
Its Measurement and Control in Science and
Industry, Vol. 7 (2003) 469 – 473 กลุ่มงานสื่อสารองค์การ
[4] EURAMET Calibration Guide No. 8 Version 2.0
(02/2011), Calibration Guide, Calibration of
Thermocouples, European Association of สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ
National Metrology Institutes, 2011.
[5] ASTM E220, Standard test method for
calibration thermocouples by comparison
techniques, American Society for testing and www.nimt.or.th
Materials Volume 14.03, U.S.A., 2013.
[6] ASTM E230, Reference Tables, American Society
for testing and Materials Volume 14.03, U.S.A.,
2013.
[7] D.R. White and J.V. Nicholas, Traceable จุดประกายความคิด
temperatures : An Introduction to temperature สร้างแรงบันดาลใจ
measurement and calibration , 2nd ed., John เพื่ อขับเคลื่อนสังคมคุณภาพ
Wiley& Sons Ltd., England, 2001. ได้ที่ http://mx.nimt.or.th/
[8] R. E. Bentley, Thermocouple in Temperature
Measurement. Sydney: CSIRO Australia, 2003
หรือผ่านทาง Facebook
[9] National Institute of Metrology (Thailand),
TM/CG04/TT01/V02, Calibration guideline
Calibration of Thermocouple, 2015

10 METROLOGY info
Vol.22 No.W3-2020
เอกสารประชาสัมพั นธ์ข่าวสารด้านมาตรวิทยา
บนเว็บไซต์ www.mx.nimt.or.th

You might also like