Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 6

Note:

ข้อความสีดำ = จำเป็นต้องใส่/ควรใส่
เหตุการณ์ 14 ตุลา (วันมหาวิปโยค) *ข้อความสีดำก็ใช่ว่าต้องใส่เสมอไปนะ*
ข้อความสีเทา = ใส่หรือไม่ใส่ ขึน้ อยูก่ ับดุลย
1) สาเหตุ/ที่มาที่ไป พินิจของคนในกลุม่

ในช่วงสงครามเย็น โลกของเราถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือ เสรีนิยม และคอมมิวนิสต์ แต่ละประเทศจะเลือกฝั่งที่ตนอยู่กัน สำหรับไทยนั้นเลือก


อยู่ฝั่งเสรีนิยม เพราะไทยให้สหรัฐอเมริกามาตั้งฐานทัพเพื่อไปตีเวียดนามใต้ (สงครามเวียดนาม) แลกกับเงินสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา
แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนในไทยจะเห็นด้วยกับรัฐบาลที่อยูฝ่ ั่งเสรีนิยม เพราะบางคนก็มีความคิดเข้าข้างคอมมิวนิสต์ จึงมีพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง
ประเทศไทยก่อตั้งขึ้นมา
ประเทศไทยปกครองด้วยรัฐบาลทหารมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่การทำรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และการรับช่วงต่อของจอมพล
ถนอม กิตติขจร ซึ่งทั้งคู่มีนโยบายมุ่งพัฒนาระบบเศรษฐกิจและการศึกษา ตามคำขวัญ น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก หมายถึง การทำให้ชาวบ้านเข้าถึง
สาธารณูปโภคพื้นฐานและมีชีวิตทีด่ ีขึ้น
จากนโยบายดังกล่าว ทำให้ชาวบ้านในชนบทมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่เมื่อชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น กลับทำให้ชาวบ้านเห็นความเหลื่อมล้ำทางสังคม
มากขึ้น และเห็นว่าเมื่อก่อนตัวเองมีชีวิตที่แย่แค่ไหน จึงทำให้ชาวบ้านมีความคิดในการต่อต้านรัฐบาลมากขึ้น เป็นผลให้ในช่วงนั้นมีการตั้งคำถาม
มากมายเกีย่ วกับรัฐบาล
เมื่อปกครองด้วยรัฐบาลทหารมาอย่างยาวนาน ชาวบ้านจึงอยากได้รฐั ธรรมนูญ จอมพลถนอม กิตติขจร สัญญาว่าจะร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จ
ในปี 2511 โดยรัฐธรรมนูญนั้นเปิดช่องให้รัฐบาลทหารได้ถูกเลือกกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง แต่เมื่อมีการเปิดประชุมสภาจริง สส.กลับไม่โอนอ่อนผ่อน
ตามให้รัฐบาลทหารถูกเลือกกลับมา มีการเปิดอภิปรายกันอย่างจริงจัง บวกกับปัญหาของสงครามเวียดนามที่ยดื เยื้อจนสหรัฐอเมริกามีท่าทีว่าจะถอน
ทหารออกจากไทยและปล่อยให้ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เจอสงครามกันเอง…
เมื่อมีปัญหาทั้งการเมืองทั้งภายนอกและภายใน จอมพลถนอม กิตติขจรจึงกลัวว่าตนจะไม่ได้รับเลือกให้กลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง จึงได้ทำ
การรัฐประหารตัวเอง และได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง
หลังจากจอมพลถนอม กิตติขจรได้กลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง ได้มีการสัญญาว่าจะร่างรัฐธรรมนูญใหม่ออกมา แต่การดำเนินการเป็นไปอย่าง
ล่าช้ามาก
ให้ผ้ฟู ังเข้าใจสถานการณ์ในตอนนั้น
ชนวนเหตุอื่นที่ทำให้บรรยากาศทางการเมืองแย่มากขึ้นมีดังตัวอย่างต่อไปนี้
- รัฐบาลดำเนินการบางอย่างที่กระตุ้นความคิดต่อต้านรัฐบาล เช่น การฉีกรัฐธรรมนูญทีต่ นร่าง
- พรรคคอมมิวนิสต์เดิมได้ก่อตั้งการรวมกลุ่มต่างๆ เช่น สหภาพแรงงาน สหพันธ์ชาวนาชาวไร่ ซึ่งเป็นการส่งเสริมในด้านต่างๆ ทำให้มีนกั ศึกษาใน
มหาวิทยาลัยเพิ่มมากขึ้น นักศึกษาเหล่านีเ้ ป็นกำลังสำคัญในการต่อต้านรัฐบาลช่วง 14 ตุลา เนื่องจากบรรยากาศในมหาวิทยาลัยเปิดโอกาสให้มีการ
เสวนา แลกเปลี่ยนความคิดกันอย่างกว้างขวาง
- มีวรรณกรรมมากมายที่เสนอแนวคิดฝ่ายซ้าย เช่น วารสารสังคมศาสตร์ปริทัศน์ ซึ่งมีการพูดถึงการต่อต้านสงครามเวียดนาม
- มีการรวมกลุ่มมากมายของนักศึกษาในสถานที่ต่างๆ การรวมกลุม่ ที่ใหญ่ที่สุดคือ ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.)*
- ในปี 2508 จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นนิสติ ของอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ไปเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ภายหลังเขาถูกยิง
เสียชีวิต นักศึกษาจึงออกมาเสวนา หนึ่งในหัวข้อนั้นคือการต่อต้าน ภัยขาว ภัยเหลือง และภัยเขียว
ภัยขาว หมายถึง คนสหรัฐอเมริกา ภัยเหลือง หมายถึง คนญี่ปุ่น
ภัยเขียว หมายถึง เผด็จการทหาร
ชนวนเหตุที่ได้กล่าวไปดังด้านบนเป็นเพียงชนวนเหตุเล็กๆน้อยที่ทำให้ประชาชนมีความคิดต่อต้านรัฐบาลมากขึ้น แต่ชนวนเหตุหลักๆที่ทำให้
เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาขึ้นมามี 4 เหตุการณ์ดังนี้
1) การล่าสัตว์ในทุ่งใหญ่นเรศวร มีเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบกตกในอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ตรวจพบว่ามีซากสัตว์ขนาดใหญ่เป็น
จำนวนมากในเฮลิคอปเตอร์นั้น ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติจากทั้ง 5 มหาวิทยาลัยจึงได้ไปสังเกตการณ์ พบว่า มีการตั้งแคมป์ล่าสัตว์ในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์
ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และยังพบอีกว่า คนที่เข้าไปตั้งแคมป์นั้นเป็นข้าราชการระดับสูงและนักธุรกิจประมาณ 60 คน เมื่อรัฐบาลทราบเรื่องจึงได้ออกมา
แถลงการณ์ว่าเป็นการปฏิบัตริ าชการลับ ไม่ใช่การเข้าไปล่าสัตว์ และได้ตั้งคณะกรรมการสอบขึ้นมา ผลการสอบออกมาบอกว่าเป็นการปฏิบัติราชการ
ลับจริงๆ ศนท.เป็นกลุ่มหลักที่ออกเคลื่อนไหวเรื่องนี้ ได้จัดงานอภิปรายและออกหนังสือชื่อว่า บันทึกลับจากทุ่งใหญ่ ในนั้นมีการเขียนเปิดโปงการล่า
สัตว์และเสียดสีรัฐบาล โดยให้รายละเอียดว่า คนที่ตั้งมาตรวจสอบไม่มีความเป็นกลาง มีแต่ทหารและรัฐบาลตรวจสอบตัวเอง
จอมพลประภาส จารุเสถียร และจอมพลถนอม กิตติขจร ได้ต่ออายุราชการอีก 1 ปี ชมรมรุ่นใหญ่รามคำแหงจึงออกหนังสือออกมา ชื่อว่า
มหาวิทยาลัยที่ยังไม่มีคำตอบ ในหนังสือเล่มนั้นเขียนพาดพิงถึงเหตุการณ์ในทุ่งใหญ่นเรศวรและการได้ต่ออายุราชการ จึงนำไปสู่ชนวนเหตุที่ 2
2) การประท้วงการจับกุมนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง เนื่องมาจากอธิการบดีของมหาวิทยาลัยรามคำแหงสั่งให้ลบชื่อนักศึกษาที่เป็น
คนทำหนังสือเล่มดังกล่าวออก 9 คน โดยให้เหตุผลว่า
- นักศึกษาตั้งชมรมโดยไม่ได้รับอนุญาต - ใช้สถานที่ชุมนุมเป็นครั้งคราวโดยพลการ
- เขียนหนังสือก้าวร้าวผู้อื่นด้วยถ้อยคำอันหยาบคาย ในทางที่ทำให้ผู้อื่นเกลียดชัง - ตำหนินักศึกษาที่ตั้งหน้าเล่าเรียนว่าเป็นคนเห็นแก่ตัว
จากเหตุการณ์นี้ ทำให้มีการชุมนุมของนักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัยเพื่อเรียกร้องให้ 9 คนดังกล่าวได้กลับเข้าไปเรียนอีกครั้ง และให้
อธิการบดีลาออก การชุมนุมได้ขยายข้อเรียกร้องให้รัฐบาลประกาศใช้รัฐธรรมนูญภายใน 6 เดือน สุดท้ายการชุมนุมจบด้วยนักศึกษาได้กลับเข้าเรียน
และอธิการบดีลาออก
3) การไม่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ หลังจากผ่านไป 6 เดือนแล้ว รัฐบาลยังคงไม่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ จึงมีการดำเนินการ รวบรวมรายชื่อ
ของนักศึกษา ข้าราชการ และนักวิชาการ เริ่มแจกใบปลิวและแปะโปสเตอร์ ผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหวถูกจับไป 11 คน โดยตั้งข้อหาว่า มั่วสุมชักชวนให้มี
การชุมนุมทางการเมือง ผิดประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 4 ที่ห้ามชุมนุมเกินกว่า 5 คน ภายหลังตำรวจมีการปฏิเสธไม่ให้เข้าเยี่ยมและประกันตัว ระหว่าง
นั้นมีนักศึกษาถูกจับเพิ่มมาอีก 1 คน รวมเป็น 12 คน
4) คำพูดของจอมพลประภาส จารุเสถียร มีการให้สัมภาษณ์ว่า กลุ่มผูเ้ รียกร้องรัฐธรรมนูญมีแผนจะล้มล้างรัฐบาล กล่าวหาว่าค้นพบ
เอกสารคอมมิวนิสต์ทั้งภาษาไทย อังกฤษ และจีนจำนวนมาก และยังมีการกล่าวในที่ประชุมของกระทรวงมหาดไทยว่าจะปราบปรามผู้ชมุ นุม คำพูดที่
คนนิยมยกขึ้นมาคือ เชื่อว่านิสิตนักศึกษาจะเสียไปราว 2% จากจำนวนเป็นแสนคน จำต้องเสียสละ เพื่อความอยู่รอดของบ้านเมือง
2) การชุมนุมซึ่งนำไปสู่เหตุการณ์ 14 ตุลา
วันที่ 8 ตุลาคม 2516 องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประกาศให้เลื่อนสอบอย่างไม่มีกำหนด มีการล่ามโซ่ที่ประตู ทำให้ลฟิ ต์
ใช้การไม่ได้ และเริ่มปักหลักชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันที่ 9 – 11 ตุลาคม 2516 ยังคงมีการชุมนุมต่อไปเรื่อยๆ มีนักศึกษา/นักเรียนจากที่อื่นมาสมทบเพิม่ เรื่อยๆ ในขณะที่รัฐบาลก็ยังไม่
ปล่อยตัวคนที่ถูกจับ และมีการปล่อยข่าวออกมาเรื่อยๆว่า พบหลักฐานว่าผู้ชุมนุมไปเกี่ยวข้องกับคอมมิวนิสต์ คาดว่าในวันนั้นมีการชุมนุมถึงหลักแสน
คน และมีความช่วยเหลือมาสมทบทั้งเงินและของบริจาคจากในและต่างประเทศ
วันที่ 12 ตุลาคม 2516 ศนท.ยื่นคำขาดแก่รัฐบาลว่า ให้ปล่อยตัวคนที่ถูกจับไปภายใน 24 ชั่วโมง โดยกำหนดเส้นตายในตอนเที่ยงของวันที่
13 ตุลาคม การชุมนุมได้ขยายไปยังมหาวิทยาลัยอื่นๆในต่างจังหวัดด้วย ผลจากการกดดันทั่วประเทศ รัฐบาลจึงประกาศให้สามารถประกันตัวคนที่ถูก
จับไปได้ แต่ผตู้ ้องหาทั้ง 13 คนปฏิเสธการประกันตัวเพราะไม่รู้จักคนที่มาประกันตัว ผู้ชุมนุมยืนยันให้ปล่อยตัวผู้ต้องหา ไม่ต้องมีการประกันตัว
ในคืนนั้น อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีการนำตัวแทน 2 คน เข้าเฝ้า ณ พระตําหนักจิตรลดารโหฐาน เพื่อกราบบังคมทูลทราบถึง
ความคิดและการกระทำของนักศึกษา
วันที่ 13 ตุลาคม 2516 รัฐบาลไม่มีการเคลื่อนไหวตามที่เรียกร้อง ในเวลาเที่ยงครึ่ง ผู้ชุมนุมจึงเคลื่อนขบวนไปที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
ในตอนเย็น ตัวแทนของศนท.ได้มโี อกาสเข้าพบจอมพลประภาส จารุเสถียร เขาให้สัญญาว่าจะปล่อยตัวผู้ต้องหา และจะร่างรัฐธรรมนูญภายใน 1 ปี
ตัวแทนศนท.ได้ไปเข้าเฝ้ารัชกาลที่ 9 และเคลื่อนขบวนไปที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อทำสัญญากันอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร สถานีวทิ ยุประกาศว่า
ยอมทำตามข้อเรียกร้องของศนท. จะมีการปล่อยตัวผู้ต้องหาและประกาศใช้รัฐธรรมนูญภายใน 1 ปี แต่กรมประชาสัมพันธ์กลับประกาศว่า บัดนี้
ปรากฎว่าได้มีบคุ คลบางคนที่มใิ ช่นักศึกษา ถือโอกาสอภิปรายโจมตีรัฐบาล และยุยงส่งเสริมให้เกิดความวุ่นวายต่อไป ผู้ชุมนุมจึงเคลื่อนขบวนไปที่
สวนจิตรลดา เพื่อหวังพึ่งพระบารมี
3) เหตุการณ์ 14 ตุลา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสผ่านทางวิทยุและโทรทัศน์ เมื่อเวลา 19.15 น. ความตอนหนึ่งว่า วันนี้เป็นวันมหาวิปโยค…


เกิดการปะทะกัน และมีคนได้รับบาดเจ็บ ความรุนแรงได้ทวีขึ้นทั้งพระนคร ถึงขั้นจลาจล…มีคนไทยด้วยกันต้องเสียชีวิต

นับแต่หลังเที่ยงคืนของวันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม นักเรียน นิสิตนักศึกษา และประชาชนที่ชุมนุมประท้วงกันมาหลายวันหลายคืน ก็มารวมกันอยู่บริเวณ


หน้าสวนจิตรลดาอย่างแน่นขนัด เวลาประมาณตี 5 ขณะที่มีการเริ่มสลายตัวของฝูงชน ก็เกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้น เชิดสกุล เมฆศรีวรรณ
นักหนังสือพิมพ์ที่ทั้งเห็นเหตุการณ์วิกฤตและสูญเสียดวงตาไปหนึ่งดวงในวันนั้น เล่าเป็นประจักษ์พยานว่า

ที่บริเวณหน้าสวนจิตรลดา ช่วงถนนพระราม 5 ใกล้กับถนนราชวิถี พ.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร ผู้แทนพระองค์ ได้อ่านพระบรมราโชวาทให้ฝูงชนฟังจบแล้ว


ฝูงชนก็เริ่มสลายตัวตามพระราชประสงค์…กลุ่มนักเรียนอาชีวะถือว่าเป็นหน่วยกล้าตายที่มีอาวุธพวกไม้ แป๊ปน้ำกันเกือบทุกคน ต่างได้ทงิ้ อาวุธพร้อมกับ
ทำลายระเบิดขวด ฝูงชนที่จะกลับทางถนนราชวิถี (กลับ) ถูกสกัดกั้นด้วยตำรวจคอมมานโด…ตำรวจเหล่านี้มไี ม้พลอง โล่ หวาย และปืนยิงแก๊สน้ำตา…
ภายใต้การบัญชาการ ของ พล.ต.ท.มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น (ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ) และ พล.ต.ต.ณรงค์ มหานนท์ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล)

ฝูงชน…เมื่อรู้แน่ว่าไม่ได้รับการอนุญาตให้ผา่ นออกไป…ก็เริ่มมีปฏิกิรยิ าด้วยการใช้ข้าวห่อขว้างปาใส่ตำรวจ…ฝูงชนที่ถูกสกัดกันรายหนึ่งได้ใช้ท่อนไม้


ขว้างใส่ถูกตำรวจได้รับบาดเจ็บนายหนึ่ง…หลังจากนั้นให้หลังไม่ถึงสิบนาที รถตำรวจที่ใช้ปราบจลาจลติดไซเรนสองคัน ก็พุ่งเข้าใส่กลุ่มฝูงชนโดยมี
ตำรวจคอมมานโดสวมหมวกกันน็อก ทั้งนครบาลและกองปราบพร้อมด้วยสองนายตำรวจผู้อื้อฉาวจากคดีทุ่งใหญ่…ก็ตามเข้าไปใช้กระบองหวดเข้าฝูง
ชนทันที ไม่ว่าเด็กหรือผู้หญิง การนองเลือดได้เริม่ จากจุดนี…้ สร้างความเคียดแค้นให้ฝูงชนมากขึ้น เมือ่ เห็นเด็กนักเรียนหญิงคนหนึ่งถูกเบียดตกคลอง…
และเด็กนักเรียนหญิงอีกคนหนึ่งถูกแก๊สน้ำตาจนล้มฟุบ…

ฝูงชนที่หนีได้ก็ปืนป้ายกำแพงเข้าไปในสวนสัตว์ และใช้ก้อนหินขว้างปาใส่ตำรวจ อีกส่วนหนึ่งก็กรูกันเข้าวังสวนจิตรฯ โดยมีมหาดเล็กเป็นคนเปิดให้เข้า


ไป การปะทะใช้เวลาประมาณ 15 นาที คือเริ่มตั้งแต่เวลา 6.30 ถึง 6.45 น.

(เชิดสกุล เมฆศรีวรรณ ฟ้าสางที่ข้างสวนจิตรฯ วันมหาปิติ)

จากจุดปะทะเล็ก ๆ ณ บริเวณหน้าสวนจิตรลดา เหตุการณ์กบ็ านปลายลุกลามไปอย่างที่ไม่มีใครคาดคิดไว้ รัฐบาลใช้กำลังทหารและตำรวจปราบปราม


ผู้ชุมนุมประท้วงอย่างรุนแรง ในขณะที่นักเรียนนิสติ นักศึกษา และประชาชนตอบโต้ด้วยการก่อความวุ่นวาย บุกเข้ายึดและทำลายสถานที่บางแห่งที่
เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจเผด็จการคณาธิปไตย พยายามยึดกรมประชาสัมพันธ์ที่ให้ข้อมูลข่าวสารที่บดิ เบือนตลอดจนสถานีตำรวจ

นับแต่ 10.00 น. เป็นต้นไป รัฐบาลได้ออกแถลงการณ์เป็นระยะ ๆ กล่าวหาว่ามีกลุ่มนักเรียนบุกรุกเข้าไปในพระราชฐานสวนจิตรลดา และก่อ


วินาศกรรม ในขณะเดียวกันก็เกิดข่าวลือแพร่สะพัดว่า นักศึกษาหญิงที่ถือธงไตรรงค์ในวันเดินขบวนถูกตำรวจตีตาย เด็กผู้ชายถูกถีบเตะตกคูน้ำจนตาย
สร้างความโกรธแค้นให้กับผู้ร่วมชุมนุมเป็นอย่างยิ่ง สถานการณ์รุนแรงหนักขึ้น
รัฐบาลส่งทหารและตำรวจออกปราบ มีทั้งรถถังและเฮลิคอปเตอร์ จุดปะทะและนองเลือดมีตลอดสายถนนราชดำเนิน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บางลำภู เป็นเวลาถึง 10 ชั่วโมง พร้อม ๆ กับมีคำสั่งห้ามประชาชนออกนอกบ้านระหว่าง 22.00 น.-05.30 น. ประกาศปิดโรงเรียนและ
สถาบันการศึกษาในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ และกำหนดให้บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และศิลปากรเป็นเขตอันตราย
เตรียมพร้อมที่จะทำการกวาดล้างใหญ่

14.00 น. สำนักงานกองสลากกินแบ่ง และตึก ก.ต.ป. ถูกไฟเผา นักเรียนและประชาชนต่อสู้อย่างทรหด ยึดรถเมล์ใช้วิ่งชนรถถัง แต่ก็ถูกยิงเสียชีวิต


ผู้บาดเจ็บถูกหามเข้าส่งโรงพยาบาลศิรริ าชตลอดเวลา

18.10 น. จอมพลถนอม กิตติขจร ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

19.15 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสทางวิทยุและโทรทัศน์ ทรงขอให้ทุกฝ่ายระงับเหตุแห่งความรุนแรง และทรงแต่งตั้ง


ศาสตราจารย์สญ
ั ญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ องคมนตรี และนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นนายกรัฐมนตรีแทน

23.30 น. ศาสตราจารย์สญ
ั ญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ปราศรัยทางโทรทัศน์ ขอให้ทุกฝ่ายคืนสู่ความสงบ และประกาศจะใช้รัฐธรรมนูญ
ภายใน 6 เดือน

อย่างไรก็ตาม 24.00 น. ของคืนวันนั้น จอมพลถนอม กิตติขจร ในตำแหน่งของผู้บัญชาการทหารสูงสุด ยังคงออกแถลงการณ์ว่ามีผู้ที่ “พยายามนำลัทธิ


การปกครองอื่นที่เลวร้ายมาล้มล้างการปกครองแบบประชาธิปไตย” จึงขอให้เจ้าหน้าที่ “ปฏิบัติหน้าทีจ่ นสุดความสามารถ” ซึ่งก็คือการปราบปราม
นักเรียน นิสติ นักศึกษาและประชาชนก็ยังคงดำเนินไป

ตลอดคืนนั้นมีการต่อสู้ระหว่างนักเรียน ประชาชน และตำรวจ ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลผ่านฟ้า ฝ่ายนักเรียนและประชาชนปักหลักสู้จากตึก


บริษัทเดินอากาศไทย และป้อมพระกาฬ ส่วนที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยมีการชุมนุมอยู่อีกเป็นจำนวนหมื่น ผู้นำศูนย์กลางนิสติ นักศึกษาฯ ขาดการ
ติดต่อ ซ้ำมีข่าวลือว่าบางคนเสียชีวิต เช่น เสกสรรค์ ประเสริฐกุล และเสาวนีย์ ลิมมานนท์ จึงมีการจัดตั้ง “ศูนย์ปวงชนชาวไทย” ขึ้นชั่วคราว เพื่อ
ประสานงานและคลี่คลายสถานการณ์ มีจิระนันท์ พิตรปรีชา เป็นหนึ่งในผู้ก่อการจัดตั้งนี้ คืนนั้นเสียงปืนยังดังประปราย ท้องฟ้าแถบถนนราชดำเนิน
เป็นสีแดง มีไฟควันพวยพุ่งอยู่เป็นหย่อม ๆ การต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยดําเนินไปตลอดคืน
4) ตอนจบ (15 ตุลาคม 2516)

ตลอดคืนทีผ่ ่านมา นักเรียนนิสิตนักศึกษาและประชาชนยังคงยืนหยัดชุมนุมกันหนาแน่นที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย คำประกาศเตือนและขู่ของรัฐบาลหา


เป็นผลไม่ กลับมีคนออกจากบ้านมาร่วมชุมนุมไม่ขาดระยะ รัฐบาลมีประกาศหยุดราชการในวันนี้เป็นกรณีพิเศษ และมีประกาศปิดธนาคารทุกแห่ง ใน
ขณะเดียวกัน นักเรียนนิสิตนักศึกษาและประชาชนก็ยืนหยัดต่อสู้อย่างเด็ดเดียว มีการลุกฮือเป็นจุด ๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร และในบางท้องที่ต่างจังหวัด
โดยเฉพาะที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลผ่านฟ้า และสถานีตำรวจนางเลิ้ง นักเรียนและประชาชนพยายามต่อสู้บุกเข้ายึดและเผาตลอดคืนจนรุ่งเช้า

จากข้อเท็จจริงที่ว่า แม้จอมพลถนอม กิตติขจร จะลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้วก็ตาม แต่ก็ยงั ดำรงตำแหน่งผู้บญ


ั ชาการทหารสูงสุดอยู่ และก็
ยังปรากฏว่า การปราบปรามนักเรียน นิสิตนักศึกษา และประชาชนยังดำเนินอยู่ต่อไป พร้อมกับมีแถลงการณ์ว่า มีผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ส่งพลพรรค
มีอาวุธร้ายแรงสวมรอยเข้ามา ยิ่งทำให้เห็นว่าเป็นการสร้างความเท็จ สร้างความโกรธแค้นและเกลียดชังยิ่งขึ้น ทำให้นักเรียน นิสิตนักศึกษา และ
ประชาชนเกิดพลังในการต่อสูต้ ่อไปแม้จะบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมากก็ตาม

จากการปราบปรามอย่างรุนแรงและไร้มนุษยธรรม ใช้ทั้งรถถัง เฮลิคอปเตอร์ อาวุธสงครามหนัก ทหารและตำรวจจำนวนร้อย ทำให้เกิดความขัดแย้งใน


วงการรัฐบาลอย่างหนัก มีทหารและตำรวจที่ไม่เห็นด้วย พลเอกกฤษณ์ สีวะรา ผู้บญ
ั ชาการทหารบก เองก็ไม่เห็นด้วยกับวิธีการรุนแรงนี้ ทางด้านทหาร
อากาศและทหารเรือก็เห็นด้วยกับทางฝ่ายของผู้บัญชาการทหารบก กลายเป็นแรงผลักดันให้จอมพลถนอม กิตติขจร ต้องลาออกจากตำแหน่ง และ
ท้ายที่สุด คณาธิปไตยทั้งสาม ถนอม-ประภาส-ณรงค์ (พันเอกณรงค์ กิตติขจร) ก็ต้องเดินทางออกจากประเทศไทยไป เหตุการณ์ทั้งหมดจึงสงบลงโดย
พลันทันที่ที่มีการประกาศว่าบุคคล ทั้ง 3 ได้เดินทางออกนอกประเทศ แล้วเมื่อ 18.40 น.

You might also like