คู่มือการออกแบบเคเบิลใต้ดิน

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 191

¤Ù‹Á×Í

¡ÒÃÍ͡Ẻà¤àºÔÅ㵌´Ô¹

U N D E R G R O U N D C A B L E
¨Ñ´·Óâ´Â
¤³Ð·Ó§Ò¹¤Ù‹Á×Í¡ÒÃÍ͡Ẻà¤àºÔÅ㵌´Ô¹
ÊÒ§ҹÇÔÈÇ¡ÃÃÁ
I

คำนำ

คู่มือการออกแบบเคเบิลใต้ดินเล่มนี้ได้จัดทาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการเผยแพร่ให้ความรู้ใน
เรื่องของการออกแบบเคเบิลใต้ดินแก่พนักงานของ กฟภ. ที่ต้องปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการออกแบบ
ก่อสร้าง และควบคุมงาน สามารถนาความรู้ไปใช้ประกอบการปฏิบัติงานทาให้มีความสะดวก คล่องตัวและ
ถูกต้องตามหลักวิชาการซึ่งจะทาให้ระบบไฟฟ้าของ กฟภ. มีความมั่นคงยิ่งขึ้น
เนื้อหาในคู่มือเล่มนี้ ได้เรียบเรียงจากเอกสาร แบบมาตรฐาน กฟภ. มาตรฐานต่างประเทศ และ
ประสบการณ์การออกแบบ โดยในส่ ว นของเนื้อหาได้ผ่ านการพิจารณาจากหน่ว ยงานที่เกี่ยวข้อ ง เช่น
กองมาตรฐานไฟฟ้ า , ฝ่ า ยงานระบบไฟฟ้ า , และฝ่ า ยบริ ห ารโครงการพิ เ ศษ คณะท างานจั ด ท าคู่ มื อ
การออกแบบเคเบิลใต้ดิน ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ แบบต่างๆที่อ้างอิงในคู่มือการออกแบบเคเบิลใต้ดินเล่มนี้
สามารถค้นหาได้จาก http://intra.pea.co.th
คณะทางานฯ หวังว่าเนื้อหาในคู่มือการออกแบบเคเบิลใต้ดินเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อพนักงาน
ผู้ ป ฏิ บั ติ ง านที่ เ กี่ ย วข้ อ ง หากมี ข้ อ เสนอแนะประการใดโปรดแจ้ ง ให้ ฝ่ า ยงานระบบไฟฟ้ า ทราบ
(โทร.0 2590 5723) เพื่อแก้ไขปรับปรุงในโอกาสต่อไป

คณะทางานจัดทาคู่มือการออกแบบเคเบิลใต้ดิน
มีนาคม พ.ศ. 2560

นายมงคลชัย ปราชญ์บวร หัวหน้าคณะทางาน


นายตฤณ เสาวรา คณะทางาน
นายวัชระ ปานช้าง คณะทางาน
นายกนธี จารุมา คณะทางาน
นายบัณฑิต เพียดา คณะทางาน
นายธีริน แซ่เนี้ยว คณะทางาน
นายจิตติพงษ์ กล่อมจิตต์ คณะทางาน
นายสิริวิชช์ พรพันธ์วัชรเดช คณะทางานและเลขานุการ
II

สารบัญ
หน้า
คานา I
สารบัญ II
สารบัญตาราง V
สารบัญรูป VIII
คานิยาม XIII
บทที่ 1 Overview Underground systems 1
1.1 รูปแบบโครงการเคเบิลใต้ดินของ กฟภ. 1
1.2 รูปแบบการจ่ายไฟ 1
1.2.1 รูปแบบการจ่ายไฟของระบบเคเบิลใต้ดินแรงสูง 1
1.2.2 รูปแบบการจ่ายไฟของระบบเคเบิลใต้ดินแรงต่่า 4
1.3 รูปแบบการก่อสร้างงานโยธา 6
1.3.1 การก่อสร้างแบบเปิดหน้าดิน 6
1.3.1 การก่อสร้างแบบไม่เปิดหน้าดิน 6
1.4 รูปแบบการก่อสร้างงานไฟฟ้า 22
บทที่ 2 ขั้นตอนและวิธีการสารวจพื้นที่ 6
2.1 การศึกษาข้อมูลทางกายภาพก่อนด่าเนินการส่ารวจ 35
2.2 ข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ในพื้นที่ 36
2.3 การส่ารวจเบื้องต้นและร่วมประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 36
2.4 การส่ารวจงานก่อสร้างเคเบิลใต้ดิน 37
2.4.1 ข้อมูลระบบไฟฟ้าและสภาพการจ่ายไฟเดิม 37
2.4.2 ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ก่อสร้าง 38
2.4.3 ข้อมูลความต้องการใช้ไฟฟ้าในปัจจุบันและ
การพยากรณ์การใช้ไฟฟ้าในอนาคต 38
2.4.4 ข้อมูลระบบสาธารณูปโภคเดิมที่อยู่ใต้ดิน 38
2.4.5 ข้อมูลแผนงานก่อสร้างปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่ ที่จะจัดท่าเคเบิลใต้ดิน
หรือแผนพัฒนาเมือง 39
2.4.6 การก่าหนดรูปแบบและวิธีการก่อสร้างที่เหมาะสม
กับสภาพพื้นที่และงบประมาณโครงการฯ 39
2.4.7 ข้อมูลอื่นๆที่เป็นประโยชน์ 40
2.5 การเลือกต่าแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ 40
2.5.1 อุปกรณ์ส่าหรับระบบแรงต่่า 40
2.5.2 หม้อแปลงจ่าหน่าย 43
2.5.3 Ring Main Unit (RMU) 45
2.5.4 บ่อพักสาย (Manhole, Handhole) 45
2.5.5 ชุด Riser Pole ระบบแรงสูง 46
III

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 3 การออกแบบเคเบิลใต้ดิน 47
3.1 การค่านวณโหลดจุด Service Customer 47
3.2 การค่านวณขนาดหม้อแปลง 48
3.3 การพิจารณาเลือกขนาดสายไฟและแรงดันตก 50
3.3.1 การเลือกขนาดสายเคเบิลใต้ดินแรงต่่า 50
3.3.2 การเลือกสายเคเบิลใต้ดินแรงสูง 52
3.4 การค่านวณขนาดท่อและแรงดึงสาย 53
3.5 การพิจารณาจุดต่อ ground 68
3.6 การพิจารณาต่าแหน่งบ่อพักสาย 75
บทที่ 4 การประมาณราคาและขออนุมัติ 76
4.1 การถอดแบบ 76
4.2 การก่าหนดราคางานด้านโยธา 77
4.3 การก่าหนดราคางานด้านไฟฟ้า 77
4.4 ข้อก่าหนดและวิธีการประมาณราคา 78
4.5 ข้อก่าหนดและเงื่อนไขระหว่าง กฟภ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 79
บทที่ 5 ตัวอย่างการออกแบบงานเคเบิลใต้ดิน 81
5.1 โครงการปรับปรุงระบบจ่าหน่ายเป็นแบบเคเบิลใต้ดินบริเวณ 79
ถนนพระพันวษา จ.สุพรรณบุรี 81
5.1.1 หน่วยงานเจ้าของโครงการ 81
5.1.2 ลักษณะของโครงการ 81
5.1.3 ปริมาณงาน 81
5.1.4 ขนาดของโครงการ 83
5.1.5 วัตถุประสงค์ของโครงการ 83
5.1.6 ประโยชน์ของโครงการ 83
5.1.7 หน้าที่และความรับผิดชอบ 83
5.1.8 ขั้นตอนในการด่าเนินงาน 84
5.2 โครงการปรับปรุงระบบจ่าหน่ายเป็นแบบเคเบิลใต้ดินบริเวณ 79
รอบนอกพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 121
5.2.1 หน่วยงานเจ้าของโครงการ 121
5.2.2 ลักษณะของโครงการ 121
5.2.3 ปริมาณงาน 123
5.2.4 ขนาดของโครงการ 123
5.2.5 วัตถุประสงค์ของโครงการ 123
5.2.6 ประโยชน์ของโครงการ 123
5.2.7 หน้าที่และความรับผิดชอบ 123
IV

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
5.2.8 ขั้นตอนในการด่าเนินงาน 124
บทที่ 6 ถาม-ตอบ ปัญหาและอุปสรรค 158
บทที่ 7 มาตรฐานอ้างอิงที่เกี่ยวข้อง 171
V

สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้า
1.1 ตารางสรุประดับความลึกต่่าสุดของการวางท่อร้อยสายชนิดต่าง ๆ 19
1.2 คุณสมบัติของท่อร้อยสายไฟชนิดต่าง ๆ 21
2.1 การใช้ก่าลังไฟฟ้าสูงสุดของสถานีไฟฟ้าสุพรรณบุรี 36
2.2 การใช้ก่าลังไฟฟ้าสูงสุดของในแต่ละ Feeder
และจ่านวนหม้อแปลงจ่าหน่ายที่ต้องปรับปรุง 36
2.3 การใช้ก่าลังไฟฟ้าสูงสุดของในแต่ละหม้อแปลงจ่าหน่ายที่ต้องปรับปรุง 36
3.1 ข้อมูลมิเตอร์ที่รับไฟจากหม้อแปลงขนาด 160kVA 47
3.2 โหลดที่ประเมินได้ (Load Estimation) 48
3.3 การเลือกจ่านวนท่อสายไฟขั้นต่่า (Minimum Required) 54
3.4 ค่า PAF สูงสุดที่ยอมรับได้ของท่อร้อยสายไฟ 55
3.5 ค่าตัวแปรที่ใช้ในการค่านวณแรงดึงสายทั้งหมด 64
3.6 การค่านวณแรงดึงสายเคเบิลใต้ดินฯ ที่เกิดขึ้น ณ ต่าแหน่งต่างๆ 67
5.1 แสดงเงินลงทุนก่อสร้างเคเบิลใต้ดินของโครงการฯ 83
5.2 แสดงเงินลงทุนก่อสร้างเคเบิลใต้ดินของโครงการฯ 83
5.1 เงินลงทุนก่อสร้างเคเบิลใต้ดินของโครงการฯ 83
5.2 การใช้ก่าลังไฟฟ้าสูงของสถานีไฟฟ้าสุพรรณบุรี 85
5.3 ข้อมูลการใช้ก่าลังไฟฟ้าสูงสุดในแต่ละ Feeder และจ่านวนหม้อแปลงจ่าหน่าย 85
5.4 ข้อมูล Load Estimation ของ Feeder 1 ของหม้อแปลงบริเวณหน้าวัดสุวรรณภูมิ 107
5.5 ข้อมูล Load Estimation ของ Feeder 2 ของหม้อแปลงบริเวณหน้าวัดสุวรรณภูมิ 107
5.6 ข้อมูลมิเตอร์ที่รับไฟจากหม้อแปลงขนาด 160kVA บริเวณหน้าธนาคารกสิกรไทย 107
5.7 ข้อมูล Load Estimation ทั้ง 3 Feeder ของหม้อแปลงที่ติดตั้ง
บริเวณถนนจมื่นศรีข้อมูลมิเตอร์ ของ Feeder 1 (จ่ายไฟแบบเรเดียล) 111
5.8 การประเมินอัตราการเติบโตของโหลดหม้อแปลงที่ติดตั้งบริเวณ
ถนนจมื่นศรี ในอีก 5 ปีข้างหน้า 112
5.9 ข้อมูลมิเตอร์ที่รับไฟจากหม้อแปลงขนาด 250kVA บริเวณหน้าเทศบาลฯ 114
5.10 ข้อมูลมิเตอร์ที่รับไฟจากหม้อแปลงขนาด 250kVA ข้าง รพ. เจ้าพระยายมราช 112
5.11 ข้อมูล Load Estimation ทัง้ 4 Feeder ของ
Unit Substation ในที่ท่าการเทศบาลฯ 116
5.12 การประเมินอัตราการเติบโตของโหลดที่รับไฟจาก Unit Substation
ในอีก 5 ปีข้างหน้า 117
5.13 เงินลงทุนก่อสร้างเคเบิลใต้ดินของโครงการฯ 123
5.14 การใช้ก่าลังไฟฟ้าสูงของสถานีไฟฟ้าสุโขทัย 125
5.15 ข้อมูลการใช้ก่าลังไฟฟ้าสูงสุดในแต่ละ Feeder และจ่านวนหม้อแปลงจ่าหน่าย 125
5.16 ค่า PAF และ Jam Ratio ของระบบต่างๆ 128
VI

สารบัญตาราง (ต่อ)

ตารางที่ หน้า
5.17 ค่าพิกัดกระแสของสายไฟฟ้าทองแดงหุ้มฉนวนครอสลิ้งโพลีเอทีลีน (XLPE) 0.6/1kV 144
5.18 ข้อมูลมิเตอร์ที่รับไฟจากหม้อแปลงขนาด 160kVA บริเวณข้างคลองคูศาลผาด่า 145
5.19 ข้อมูล Load Estimation ของ Feeder 1 ของ Unit Substation
บริเวณศาลปู่ผาด่า 111
5.20 ข้อมูลมิเตอร์ที่รับไฟจากหม้อแปลงขนาด 160kVA 146
5.21 ข้อมูล Load Estimation ของ Feeder 1 ของ
หม้อแปลงบริเวณถนนสุขาภิบาล 12 147
5.22 ข้อมูลมิเตอร์ที่รับไฟจากหม้อแปลงขนาด 160kVA บริเวณ 7-11 เมืองเก่า 148
5.23 ข้อมูล Load Estimation ทั้ง 2 Feeder ของหม้อแปลงเดิม
บริเวณ 7-11 เมืองเก่า 117
5.24 ข้อมูล Load Estimation ของ Feeder 1 ของหม้อแปลง
บริเวณทางเข้าชุมชนสุโขทัยนคร 3 150
5.25 ตารางแสดงผลการค่านวณแรงดึงสายเคเบิลใต้ดิน
จาก Unit Substation – MH3 154
5.26 ตารางแสดงผลการค่านวณแรงดึงสายเคเบิลใต้ดิน
จาก Riser Pole 2 – MH3 156
VII

สารบัญรูป

รูปที่ หน้า
1.1 รูปแบบการจ่ายไฟระบบจ่าหน่ายแรงสูงแบบเหนือดิน 2
1.2 รูปแบบการจ่ายไฟระบบเคเบิลใต้ดิน แบบ Open Loop 2
1.3 รูปแบบการจ่ายไฟระบบเคเบิลใต้ดิน แบบ Open Loop 12
ที่มีวงจรเฉพาะส่าหรับผู้ใช้ไฟ 3
1.4 การติดตั้ง RMU หรือ Compact Unit Substation ในการตัดจ่ายระบบไฟฟ้า 4
1.5 การติดตั้ง Riser Pole และหม้อแปลงนั่งร้าน 12
ในซอยเพื่อการตัดจ่ายระบบไฟฟ้า 4
1.6 การจ่ายโหลด 60 % ของหม้อแปลงในสภาวะปกติ 12
ของการจ่ายไฟเคเบิลใต้ดินแรงต่่า 5
1.7 การ Tie Line ในสภาวะฉุกเฉินของการจ่ายไฟเคเบิลใต้ดินแรงต่่า 12
โดยหม้อแปลงจ่ายโหลดประมาณ 90 % ของพิกัดหม้อแปลง 5
1.8 มาตรฐานการก่อสร้างแบบ Direct Burial 6
1.9 มาตรฐานการก่อสร้างแบบ Semi-Direct Burial ส่าหรับระบบเคเบิลใต้ดินแรงสูง 2
(สามารถประยุกต์ใช้งานในระบบแรงต่่าได้) 8
1.10 มาตรฐานการก่อสร้างแบบ Semi-Direct Burial 2
ส่าหรับระบบเคเบิลใต้ดินแรงต่่า (ท่อโลหะ) 8
1.11 มาตรฐานการก่อสร้างแบบ Semi-Direct Burial 2
ส่าหรับระบบเคเบิลใต้ดินแรงต่่า (ท่ออโลหะ) 9
1.12 เปรียบเทียบมาตรฐานการก่อสร้างแบบ Semi-Direct Burial 2
ส่าหรับระบบเคเบิลใต้ดินแรงต่่า 9
1.13 ระดับความลึกของการก่อสร้างแบบ Semi-Direct Burial 2
ส่าหรับระบบเคเบิลใต้ดินแรงต่่า 10
1.14 รูปขั้นตอนการวางท่อแบบ Semi-Direct Burial 2
ส่าหรับระบบเคเบิลใต้ดินแรงต่่า 10
1.15 รูปคืนสภาพหลังก่อสร้างแบบ Semi-Direct Burial 2
ส่าหรับระบบเคเบิลใต้ดินแรงต่่า 10
1.16 รูปแบบหน้าตัดของ Duct Bank 11
1.17 รูปการก่อสร้าง Duct Bank 12
1.18 ข้อก่าหนดระดับความลึกของ Duct Bank 12
1.19 ตัวอย่าง 2x2 Precast Duct Bank 13
1.20 รูปแบบการก่อสร้างแบบ HDD 14
1.21 รูปแบบเจาะดึงท่อของ HDD 14
1.22 ขั้นตอนการเจาะของ HDD 15
1.23 ขั้นตอนการคว้านรูและดึงท่อกลับของ HDD 15
1.24 แบบมาตรฐานการก่อสร้าง Pipe Jacking 16
VIII

สารบัญรูป (ต่อ)

รูปที่ หน้า
1.25ขั้นตอนการก่อสร้าง Pipe Jacking 16
1.26ขั้นตอนการดันปลอกเหล็กของ Pipe Jacking 17
1.27มาตรฐานการก่อสร้างแบบ Small Sleeve Pushing 18
1.28ท่อ HDPE (High-Density Polyethylene) 20
1.29ข้อต่อแบบสวม(Coupling) และการต่อแบบเชื่อมด้วยความร้อน (Welding) 20
1.30ท่อ RTRC ( Reinforced Thermosetting Resin Conduit) และการต่อท่อ 20
1.31ท่อลูกฟูก (EFLEX หรือ Corrugate) 22
1.32องค์ประกอบพื้นฐานของระบบเคเบิลใต้ดิน 23
1.33องค์ประกอบของสายเคเบิลใต้ดินแรงสูง 22-33 kV 25
1.34องค์ประกอบของสายเคเบิลใต้ดินแรงสูง 115 kV 25
1.35การกระจายสนามไฟฟ้าของสายเคเบิลใต้ดิน 26
1.36ตัวอย่างหัวสายเคเบิลใต้ดิน 27
1.37ตัวอย่างหัวสายเคเบิลใต้ดินแบบ Porcelain Type 28
1.38ตัวอย่างหัวสายเคเบิลใต้ดินแบบ Slip On Type 28
1.39ตัวอย่างการต่อสายเคเบิลใต้ดินแบบ Slip On Type 29
1.40ตัวอย่างหัวสายเคเบิลใต้ดินแบบ Cold Shrink Type 29
1.41ตัวอย่างการต่อสายเคเบิลใต้ดินแบบ Slip On Type 30
1.42ตัวอย่างหัวสายเคเบิลใต้ดินแบบ Heat Shrink Type 30
1.43ตัวอย่างการต่อสายเคเบิลใต้ดินแบบ Heat Shrink Type 31
1.44ตัวอย่างรูปแบบเสาต้นขึ้นหัวสายเคเบิลใต้ดิน ระบบ 22 kV และ 33 kV 33
1.45ตัวอย่างรูปแบบเสาต้นขึ้นหัวสายเคเบิลใต้ดิน ระบบ 115 kV (แบบ SD-UG-3) 34
2.1 ข้อมูลทางกายภาพจากโปรแกรม Google Earth 35
2.2 ข้อมูลระบบไฟฟ้าจากโปรแกรม GIS 35
2.3 ข้อมูลระบบสาธารณูปโภคที่ได้รับจากเทศบาลฯ 37
2.4 การส่ารวจระบบจ่าหน่ายและจุดรับไฟเดิม 37
2.5 แนวการก่อสร้างเคเบิลใต้ดินที่หลบหลีกแนวสาธารณูปโภคต่างๆ 38
2.6 ป้ายเตือนแนวท่อส่งก๊าซ (ซ้าย) และแนวท่อระบายน้่า (ขวา) 39
2.7 การติดตั้งหม้อแปลงนั่งร้าน (ซ้าย) และการติดตั้ง
Compact Unit Substation (ขวา) 39
2.8 ชุด Riser Pole Low Voltage (ซ้าย) และ ชุด Service Line (ขวา) 40
2.9 การติดตั้งตู้มิเตอร์ (MTB) 41
2.10 ชุด Service Meter 41
2.11 ชุด ก่อนติดตั้งชุด Customer Service Line (ซ้าย)
และหลังติดตั้งชุด Customer Service Line (ขวา) 42
2.12 การติดตั้งตู้ Distribution Box (Tie Line) 42
IX

สารบัญรูป (ต่อ)

รูปที่ หน้า
2.13 รูปแบบการติดตั้งและองค์ประกอบหลักของ Compact Unit Substation 43
2.14 ชุดนั่งร้านหม้อแปลง 44
2.15 ต่าแหน่งในการติดตั้งหม้อแปลง 44
2.16 Ring Main Unit 45
2.17 การติดตั้งบ่อพักสาย 45
2.18 รูปแบบการติดตั้งเสา Riser Pole 1 วงจร 46
2.19 รูปแบบการติดตั้งเสา Riser Pole 2 วงจร 46
3.1 พิกัดกระแสสูงสุดและแรงดันตกของสาย 185 CV. 49
3.2 การจ่ายไฟของหม้อแปลงในสภาวะปกติ 49
3.3 การจ่ายไฟของหม้อแปลงในสภาวะฉุกเฉิน 50
3.4 พิกัดกระแสสูงสุดของสายเคเบิลใต้ดินแรงต่่าชนิด CV 51
3.5 กราฟของแรงดันตกส่าหรับสายเคเบิลใต้ดินแรงต่่า 50, 95 และ 185 CV 52
3.6 ตัวอย่าง Single Line แรงสูง 53
3.7 ค่าที่ก่าหนดของ Jam Ratio ใน IEEE 525-2007 55
3.8 การหาค่า Weight - Correction Factor (C ) ของสายเคเบิลใต้ดินฯ 2 เส้น 57
3.9 การจัดวางสายเคเบิลใต้ดิน ภายในท่อร้อยสาย 59
3.10 วิธีการติดตั้งมิเตอร์และการแปลงค่าที่วัดได้
เพื่อเทียบเคียงกับค่าแรงดึงจากการค่านวณ 60
3.11 แรงกดด้านข้าง 60
3.12 การโค้งงอของสายเคเบิลใต้ดิน 61
3.13 การตั้ง REEL สายเคเบิลใต้ดินที่ปากบ่อ MANHOLE เพื่อดึงลากสายเคเบิลใต้ดิน 62
3.14 การใช้สารหล่อลื่นช่วยในการดึงลากสายเคเบิลใต้ดิน 68
3.15 การต่อลงดินเพื่อป้องกันส่าหรับเคเบิลแร็ค ส่าหรับระบบ 22 และ 33 kV 69
3.16 การต่อลงดินเพื่อป้องกันส่าหรับเสารับเคเบิลแรงสูง
ส่าหรับระบบ 22,33 และ 115 kV 70
3.17 การต่อลงดินในบ่อพัก Manhole ส่าหรับเคเบิลแร็ค ส่าหรับระบบ 22 และ 33 kV
(กรณีมี Splice ส่าหรับต่อสายเคเบิลใต้ดิน ก็ให้ต่อลงดิน ณ จุดนี้) 71
3.18 การต่อลงดินทั้งสองปลาย (Both-Ends Bonding) 72
3.19 การต่อลงดินแบบหลายจุด (Multi-points Bonding) 72
3.20 การต่อลงดินข้างเดียว (Single-point Bonding) 73
3.21 การต่อลงดินแบบกึ่งกลาง (Middle-point Bonding) 73
3.22 การต่อลงดินแบบไขว้ (Cross-Bonding) 73
3.23 ก. และ ข. การต่อลงดินที่เสาต้น Riser Pole ส่าหรับระบบ 22 - 33 kV
ค. การต่อลงดินที่เสาต้น Riser Pole ส่าหรับระบบ 115 kV 74
X

สารบัญรูป (ต่อ)

รูปที่ หน้า
5.1 ข้อมูลทางกายภาพจากโปรแกรมทางภูมิศาสตร์. 84
5.2 ข้อมูลระบบไฟฟ้าจากโปรแกรม GIS 84
5.3 ข้อมูลสาธารณูปโภคที่ได้รับจากเทศบาลฯ . 85
5.4 สภาพระบบจ่าหน่ายในพื้นที่และจุดรับไฟเดิม 86
5.5 แนวของระบบสื่อสารและแนวท่อระบายน้่าใต้ดิน 86
5.6 ต่าแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ส่าหรับงานเคเบิลใต้ดิน 87
5.7 วิธีการดันท่อลอด (HDD.) 87
5.8 พื้นที่ก่อสร้างที่จ่าเป็นจะต้องเปิดหน้าดิน 88
5.9 ตัวอย่างแสดงการก่อสร้างด้วยวิธีดันท่อลอด 88
5.10 ตัวอย่าง Precast Duct Bank 89
5.11 ระดับความลึกของสายเคเบิลใต้ดิน 89
5.12 แนวสายเคเบิลและต่าแหน่งอุปกรณ์ระบบ 22kV 90
5.13 รูปแบบการจ่ายไฟระบบจ่าหน่าย 22kV 90
5.14 การรูปแบบการจ่ายไฟด้วย RMU และ Unit Substation 91
5.15 การรูปแบบการจ่ายไฟด้วยวิธีติดตั้งหม้อแปลงภายในซอย 91
5.16 การสร้างวงจรเฉพาะผู้ใช้ไฟ 92
5.17 รูปแบบการจ่ายไฟของระบบแรงต่่าแบบเคเบิลใต้ดิน 92
5.18 ชุด Riser Pole ระบบแรงสูงและระบบแรงต่่า 93
5.19 ชุดหม้อแปลงนั่งร้านและหม้อแปลงแขวน 93
5.20 บ่อพักสายเคเบิลใต้ดิน 94
5.21 ตู้ Ring Main Unit (RMU) 94
5.22 ตู้ Compact Unit Substation 95
5.23 ตู้ Distribution Box (DB) 95
5.24 ตู้ Meter Box 96
5.25 ชุด Service Line 96
5.26 ชุด Customer Service Line 97
5.27 ระบบจ่าหน่าย 22kV เดิม บริเวณแยกนางพิม 98
5.28 ระบบจ่าหน่าย 22kV แบบเคเบิลใต้ดินบริเวณแยกนางพิม 99
5.29 ระบบจ่าหน่าย 22kV เดิมช่วงถนนพระพันวษา 100
5.30 ระบบจ่าหน่าย 22kV เดิม บริเวณแยกเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี 101
5.31 ระบบจ่าหน่าย 22kV แบบเคเบิลใต้ดินบริเวณแยกเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี 102
5.32 ระบบจ่าหน่ายแรงต่่าเดิม ช่วงวัดสุวรรณภูมิ – แยกนางพิม 104
5.33 ระบบจ่าหน่ายแรงต่่าแบบเคเบิลใต้ดินช่วงวัดสุวรรณภูมิ – แยกนางพิม 106
5.34 ระบบจ่าหน่ายแรงต่่าแบบเคเบิลใต้ดินช่วงแยกนางพิม – วิทยาลัยอาชีวสุพรรณบุรี 108
XI

สารบัญรูป (ต่อ)

รูปที่ หน้า
5.35 ระบบจ่าหน่ายแรงต่่าแบบเคเบิลใต้ดินช่วงแยกนางพิม
– วิทยาลัยอาชีวสุพรรณบุรี (ต่อ) 110
5.36 ระบบจ่าหน่ายแรงต่่าเดิมบริเวณแยกเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี 113
5.37 ระบบจ่าหน่ายแรงต่่าแบบเคเบิลใต้ดินบริเวณแยกเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี 115
5.38 การ Tie Line ระหว่างหม้อแปลงบริเวณถนนจมื่นศรี
และ Unit Substation ในเทศบาลฯ 118
5.39 ข้อมูลทางกายภาพจากโปรแกรมทางภูมิศาสตร์ 124
5.40 ข้อมูลระบบไฟฟ้าจากโปรแกรม GIS 124
5.41 ข้อมูลสาธารณูปโภคที่ได้รับจากเทศบาลฯ 125
5.42 สภาพระบบจ่าหน่ายในพื้นที่และจุดรับไฟเดิม 125
5.43 แนวของระบบสื่อสารและแนวท่อระบายน้่าใต้ดิน 126
5.44 ต่าแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ส่าหรับงานเคเบิลใต้ดิน 126
5.45 การก่อสร้างด้วยวิธี Duct Bank (ซ้าย) และวิธี Semi Direct Burial (ขวา) 127
5.46 ตัวอย่างแสดงการก่อสร้างด้วยวิธีดันท่อลอด 127
5.47 รูปแสดงระดับความลึกของเคเบิลใต้ดินแรงสูงและเคเบิลใต้ดินแรงต่่า 128
5.48 ระดับความลึกของเคเบิลใต้ดินแรงต่่าหลังมิเตอร์ 129
5.49 แนวสายเคเบิลและต่าแหน่งอุปกรณ์ 129
5.50 รูปแบบการจ่ายไฟระบบจ่าหน่าย 22kV 130
5.51 การรูปแบบการจ่ายไฟด้วย RMU และ Unit Substation 130
5.52 การรูปแบบการจ่ายไฟด้วยวิธีติดตั้งหม้อแปลงภายในซอย 131
5.53 การสร้างวงจรเฉพาะผู้ใช้ไฟ 131
5.54 รูปแบบการจ่ายไฟของระบบแรงต่่าแบบเคเบิลใต้ดิน 132
5.55 ชุด Riser Pole ระบบแรงสูงและระบบแรงต่่า 132
5.56 ชุดหม้อแปลงนั่งร้านและหม้อแปลงแขวน 133
5.57 บ่อพักสายเคเบิลใต้ดิน 133
5.58 ตู้ Ring Main Unit (RMU) 134
5.59 ตู้ Compact Unit Substation 134
5.60 ชุด Tie Box 135
5.61 ตู้ Meter Box 135
5.62 ชุด Service Line 136
5.63 ชุด Customer Service Line 136
5.64 ชุด Service Meter 137
5.65 ชุด Meter Line 137
5.66 ระบบจ่าหน่าย 22kV แบบเคเบิลใต้ดินบริเวณพื้นที่
รอบนอกอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 138
XII

สารบัญรูป (ต่อ)

รูปที่ หน้า
5.67 ระบบจ่าหน่าย 22kV แบบเคเบิลใต้ดินบริเวณพื้นที่
รอบนอกอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย (ต่อ) 139
5.68 การต่อลงดินแบบหลายจุด 140
5.69 การระบบจ่าหน่ายแรงต่่าเดิม โดยแบ่งเป็น Zone ต่างๆ 141
5.70 การระบบจ่าหน่ายแรงต่่าใหม่แบบเคเบิลใต้ดิน โดยแบ่งเป็น Zone ต่างๆ 142
5.71 ค่าแรงดันตกในสายเคเบิลใต้ดินฉนวน XLPE ขนาด 185 mm2 143
5.72 การ Tie Line ระหว่าง Unit Substation บริเวณศาลปู่ผาด่า
กับหม้อแปลงบริเวณถนนสุขาภิบาล 12 148
5.73 การ Tie Line ระหว่าง หม้อแปลงบริเวณ 7-11 เมืองเก่า
กับหม้อแปลงในซอยสุโขทัยนคร 3 148
5.74 การพิจารณารูปแบบการลากสายจาก Unit Sub – MH3 153
5.75 การพิจารณารูปแบบการลากสายจาก R2 – MH3 155
XIII

คานิยาม

นิยามและข้อกาหนดทั่วไปที่ระบุไว้ในคู่มือการออกแบบเคเบิลใต้ดิน เล่มนี้ มีจุดมุ่งหายเพื่อสื่อ


ความหมายใช้เรียกชื่อและอธิบายลักษณะรูปแบบหรือการกระทาเพื่อให้ผู้ใช้คู่มือได้เข้าใจขอบเขตและ
ลักษณะอุปกรณ์หรือการกระทาที่กาหนดไว้ในคู่มือ

นิยาม
1. การออกแบบ หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อื่นสามารถมองเห็น
รับรู้ หรือสัมผัสได้ เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน แบบที่คิดออกมาอาจเป็นสิ่งที่เป็นไปได้จริง
หรือแบบที่เป็นลักษณะเพื่อฝัน เป็นเพียงนามธรรมก็ได้
2. ระบบไฟฟ้า หมายถึง ระบบจาหน่ายไฟฟ้าแรงต่า (L.V.) 230/400 โวลต์ ระบบจาหน่ายไฟฟ้าแรงสูง
(M.V.) 22 และ 33 เควี และระบบส่ง (H.V.) 115 เควี
3. การออกแบบระบบไฟฟ้า หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบระบบไฟฟ้า ซึ่งได้มาจากความคิด การสารวจ
และสภาพพื้นที่หน้างาน ตั้งแต่ระบบจาหน่ายไฟฟ้าแรงต่า (L.V.) จนถึงระบบส่ง (H.V.) ออกมาเป็น
ผลงาน ที่ผู้อื่นสามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้ เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน ซึ่งเป็นแบบ
สาหรับใช้ในการก่อสร้างต่อไป
4. ระบบเคเบิลใต้ดิน (Underground System) หมายถึง ระบบไฟฟ้าที่ก่อสร้างวิธีวางสายไฟไว้ใต้พื้นดิน
เพื่อความสวยงาม และความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
5. สถานีไฟฟ้าขนาดเล็ก (Compact Unit Substation) หมายถึง อุปกรณ์ในระบบไฟฟ้า ที่สามารถจ่าย
ไฟฟ้ าได้ห ลายทิศทาง (เลื อกจ่ ายได้ของวงจรสายป้อน) มี ความสวยงามกลมกลื นกับสภาพแวดล้ อ ม
การจ่ ายและดับ ไฟเพื่อบ ารุ งรั กษาง่าย รวมถึงมีความมั่นคงระบบไฟฟ้าสู ง แทนการจ่ายไฟระบบ 1
สายป้อน
6. Ring Main Unit (RMU) หมายถึง บริภัณฑ์ไฟฟ้าระดับแรงดันปานกลาง (22-33 เควี) ที่สามารถเปิด
ปิดวงจรขณะมีโหลดได้ และสามารถติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันทางด้านโหลดได้แล้วแต่ความต้องการ โดย
ส่วนมากใช้สาหรับจ่ายไฟฟ้าให้กับระบบ Open Loop แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าที่เป็นระบบเคเบิลใต้ดิน
7. Service Line (SL) หมายถึง ตู้บรรจุเซอร์กิตเบรกเกอร์ สาหรับเชื่อมต่อระบบเคเบิลใต้ดิน เข้ากับบ้าน
แต่ละหลังหรืออาคารพาณิชย์ โดยจะเชื่อมเข้ากับจุดรับไฟ หรือเมนชายคาเดิม
8. Riser Pole Low Voltage (RL) หมายถึง ตู้บรรจุเซอร์กิตเบรกเกอร์ สาหรับเชื่อมต่อสายเคเบิลใต้ดิน
เข้ากับสายจาหน่ายของระบบเหนือดินเดิม ซึ่งการติดตั้ง RL จะต้องติดตั้งนอกพื้นที่โครงการก่อสร้าง
เคเบิลใต้ดิน
9. Customer Service Line (CSL) หมายถึง ตู้บรรจุเซอร์กิตเบรกเกอร์ จ่ายไฟแรงต่าให้กับผู้ใช้ไฟ
ระบบ 22 เควี เดิม ที่ไม่สามารถติดตั้งหม้อแปลงในพื้นที่ได้ โดยจะต้องรับไฟจากหม้อแปลงของ กฟภ.
แทน โดยทั่วไปจะใช้ติดตั้งบริเวณจุดรับไฟเดิม และนิยมใช้เสา 9 เมตรถูกตัดให้มีความสูงเท่าเมนชายคา
XIV

10. Service Meter (SM) หมายถึง ชุดอุปกรณ์สาหรับจ่ายไฟให้กรณีที่เป็นบ้านเดี่ยว กรณีไม่สามารถนา


มิเตอร์มาไว้หน้าบ้านได้ ประกอบด้วยเสาขนาด 9 เมตร ท่อร้อยสาย ตู้บรรจุมิเตอร์ ตัวมิเตอร์ และ
อุปกรณ์ ประกอบอื่นๆ โดยตาแหน่งติดตั้งจะต้องอยู่ไม่ห่างจากจุดรับไฟเดิม เพื่อให้สามารถโยงสายหลัง
มิเตอร์เข้าบ้านแต่ละหลังได้
11. Meter Cabinet (MTB) หมายถึง ตูม้ ิเตอร์ แบบวางบนพื้น โดยเป็นรูปแบบที่ใช้โดยทั่วไป ตาแหน่งการ
วางตู้มิเตอร์ส่วนมากจะวางอยู่ระหว่างบ้านหรืออาคารที่เป็นเจ้าของมิเตอร์ และไม่ห่างไกลจากตาแหน่ง
บ้านเจ้าของมิเตอร์
12. Distribution Box (DB) หมายถึง ตู้จ่ายไฟแรงต่าแบบวางบนพื้น โดยภายในติดตั้งเมนเซอร์กิตเบรก
เกอร์และลูกย่อย เพื่อจ่ายไฟแรงต่าแยกไปแต่ละฟีดเดอร์ โดยทั่วไปตาแหน่งการวางตู้จ่ายไฟส่วนมากจะ
วางอยู่ใกล้ตาแหน่งหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อให้ความยาวสายเมนจากหม้อแปลงไฟฟ้ามีระยะทางสั้นที่สุด
13. เสาขึ้นสายเคเบิลใต้ดิน (Cable Riser Pole) หมายถึง เสาไฟฟ้าตาแหน่งจุดที่สิ้นสุดของการก่อสร้าง
แบบระบบเคเบิลใต้ดิน เพื่อที่จะต่อเชื่อมเข้ากับสายไฟฟ้าระบบเหนือดิน (Overhead system) ที่เป็น
สายเปลือยหรือสายหุ้มฉนวน
14. รูปแบบการจ่ายไฟแบบ N-1 หมายถึง การที่แหล่งพลังงานไฟฟ้ามีกาลังสารองหรือมีเครือข่ายที่
เพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าและสามารถจ่ายไฟได้แม้ว่าอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งหรือส่วนหนึ่งของ
ระบบเกิดชารุดเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้ โดยระบบ N-1 สามารถแบ่งระดับความเชื่อถือได้เป็น 3
ระดับคือ
ก. ระดับ 1 เป็นระดับที่สามารถจ่ายไฟได้อย่างต่อเนื่องไม่เกิดเหตุขัดข้องที่กระทบผู้ใช้ไฟเลย ระบบ
ไฟฟ้าในระดับ 1 นี้จึงจาเป็นต้องเป็นระบบขนาน (Parallel System) ที่สามารถจ่ายไฟทดแทนกัน
ได้ตลอดเวลา
ข. ระดับ 2 เป็นระบบไฟฟ้าที่สามารถจ่ายไฟกลับคืนให้ผู้ใช้ไฟได้ภายในเวลา 1 นาทีหลังจากที่เกิด
เหตุขัดข้องขึ้นในระบบ ซึ่งเรียกว่า ไฟดับช่วงสั้นๆ (A short duration power failure)
ค. ระดับ 3 เป็นระบบไฟฟ้าที่ต้องใช้เวลาในการจ่ายไฟกลับคืนให้ผู้ใช้ไฟมากกว่า 1 นาทีหลังจากที่
เกิดเหตุขัดข้องขึ้นในระบบ ซึ่งเรียกว่า ไฟดับเป็นเวลานาน (A long duration power failure)
เป้าหมายของการใช้หลักการแบบ N-1 ก็เพื่อลดการเกิดไฟดับในระบบไฟฟ้าให้น้อยลงทั้งจานวน
ครั้งและระยะเวลา จากเดิมที่เกิดไฟดับเป็นเวลานานในระดับ 3 จะดับในช่วงสั้นๆ ในระดับ 2 หรือไม่
เกิดไฟดับเลย (No power failure) ในระดับ 1
15. การจ่ายไฟแบบวงรอบเปิด (Open loop) หมายถึง การจ่ายไฟแบบเรเดียล แต่สามารถเลือกรับไฟ
ได้ อย่างน้อยหนึ่งแหล่งจ่าย หากวงจรหลักประสบปัญหาจนไม่สามารถจ่ายไฟได้ ก็สามารถที่จะย้ายไป
รับไฟจากแหล่งจ่ายอื่น โดยจะมีไฟดับในช่วงสั้นๆ และสามารถพัฒนาระบบให้เป็นแบบ Close Loop ได้
ในอนาคต
16. การจ่ายไฟแบบวงรอบปิด (Closed loop) หมายถึง การจ่ายไฟขนานตลอดเวลาระหว่างสองฟิดเดอร์
ขึ้นไปซึ่งอาจมาจากแหล่งจ่ายเดียวกันหรือต่างแหล่งจ่ายกัน จะมีผลในการลดหน่วยสูญเสีย และ
แรงดันไฟฟ้าในระบบจะดีกว่าและมีความมั่นคงมากกว่าการจ่ายไฟแบบ Open loop แต่อาจจะมี
ปัญหาในการจัดระบบ ป้องกัน เช่น ต้องใช้ Directional Over current relay แทน Over current
relay แบบธรรมดา ส่วนกระแสลัดวงจรในระบบมีค่าสูงขึ้น และถ้าเกิดฟอลท์ขึ้นจะทาให้ไฟดับหมดทั้ง
สองฟิดเดอร์ ระบบนี้จึงเหมาะสาหรับสายส่ง 69 KV ขึ้นไป ซึ่งจะทาให้ระบบสายส่งมีความมั่นคง ลด
ปัญหา Voltage swing เป็นต้น
XV

17. วงจรหลัก (Main Line) หมายถึง วงจรหลัก เพื่อจ่ายไฟให้ผู้ใช้ไฟของ กฟภ.


18. วงจรผู้ใช้ไฟ (Customer Line) หมายถึง วงจรผู้ใช้ไฟ เพื่อจ่ายไฟให้กับผู้ใช้ไฟเฉพาะราย
19. การจ่ายไฟแบบ Special Customer Feeder หมายถึง การนารูปแบบการจ่ายไฟแบบวงรอบเปิด
(Open loop) มาแยกจ่ายไฟเป็นวงจรหลักและวงจรผู้ใช้ไฟ โดยวงจรหลักจะจ่ายให้ผู้ใช้ไฟของ กฟภ.
ส่วนวงจร ผู้ใช้ไฟจะจ่ายให้ผู้ใช้ไฟเฉพาะราย ซึ่ง หากวงจรใดประสบปัญหาไม่สามารถจ่ายไฟได้ ก็
สามารถที่จะย้ายไปรับไฟจากอีกวงจรได้
บทที่ 1
Overview Underground Systems

โครงการเคเบิลใต้ดินของ กฟภ. นั้น เป็นโครงการเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ และเพิ่มความมั่นคงให้


ระบบไฟฟ้า
1.1 รูปแบบโครงการเคเบิลใต้ดินของ กฟภ.
โครงการเคเบิลใต้ดินของ กฟภ. สามารถแบ่งหลัก ๆ ได้ 4 ประเภท
- โครงการเคเบิลใต้ดินเมืองใหญ่ตามแผนงานของ กฟภ. ซึ่ง กฟภ. จะลงทุนด้านงานไฟฟ้า
และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ลงทุนด้านงานโยธา เช่น โครงการถนนท่าแพและช้างคลาน
จ.เชียงใหม่ ,โครงการถนนเพชรเกษม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ฯลฯ
- โครงการเคเบิลใต้ดินเมืองใหญ่นอกแผนซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลงทุนด้านงาน
โยธาและร้องขอให้ กฟภ. สนับสนุนด้านงานไฟฟ้า เช่น โครงการเคเบิลใต้ดินสมุทรสงคราม
- โครงการเคเบิ ล ใต้ดิน เมืองใหญ่นอกแผนซึ่งองค์กรปกครองส่ ว นท้องถิ่นเป็นผู้ ล งทุ น
ทั้งหมดเอง ทั้งด้านงานโยธาและงานไฟฟ้า เช่น โครงการเคเบิลใต้ดินถนนวิเศษกุล จ.ตรัง
- โครงการเคเบิลใต้ดิน ตามแผนงานของ กฟภ. ซึ่ง กฟภ. เป็นผู้ ลงทุนเองทั้งหมด เช่น
คชฟ.2 และ คชฟ.3

1.2 รูปแบบการจ่ายไฟ
1.2.1 รูปแบบการจ่ายไฟของระบบเคเบิลใต้ดินแรงสูง
กฟภ. ได้กาหนดเกณฑ์การจ่ายไฟสาหรับระบบไฟฟ้าในโซน 1 และโซน 2 ว่าต้องมี
การจ่ายไฟรูปแบบ N-1 เป็นอย่างน้อย คือถ้ามีแหล่งจ่ายไฟหายไปหนึ่งแหล่งจะต้องสามารถตัดจ่ายระบบ
ไฟฟ้าให้สามารถจ่ายไฟให้กับผู้ใช้ไฟได้ ดังรูปที่ 1.1 และโครงการเคเบิลใต้ดินส่วนใหญ่นั้น จะอยู่บริเ วณ
ชุมชนเมืองหรือแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งอยู่ใน โซน 1 หรือ โซน 2 ดังนั้นในการออกแบบเคเบิลใต้ดินนั้น จะต้อง
ออกแบบให้มีความมั่นคงสูง ด้วยเกณฑ์ N-1 ด้วยเช่นกัน ดังรูป 1.2 และ 1.3
2

สถานีไฟฟ้า 1
F1 F2
8 MVA ในสภาวะปกติ
พื้นที่โซน 1,2 มีการจ่ายไฟแบบ N - 1

F1 พื้นที่ดาเนินการ
เคเบิลใต้ดิน
สถานีไฟฟ้า 2

การจ่ายไฟแบบ Tie Line ระหว่างสายป้อน

รูปที่ 1.1 รูปแบบการจ่ายไฟระบบจาหน่ายแรงสูงแบบเหนือดิน

สายไฟฟ้าเหนือดินระบบ 22 และ 33 เควี

รับไฟจาก 2 สายป้อน

รูปที่ 1.2 รูปแบบการจ่ายไฟระบบเคเบิลใต้ดิน แบบ Open Loop


3

Transformer 1 Transformer 2 Transformer 3 Transformer 4


3 22,000-400/230 3 22,000-400/230 3 22,000-400/230 3 22,000-400/230
Customer PEA Customer PEA

S S S S

50 XLPE 50 XLPE 50 XLPE


S

S
185 SAC

C
185 SAC
Source 1 240 XLPE 240 XLPE
Source 2

50 XLPE 2 MVA (Customer Line) Maximum Rate 4 MVA


240 XLPE 8 MVA (Main Line) Maximum Rate 12 MVA

รูปที่ 1.3 รูปแบบการจ่ายไฟระบบเคเบิลใต้ดิน แบบ Open Loop ที่มีวงจรเฉพาะสาหรับผู้ใช้ไฟ

รูปแบบการจ่ายไฟแรงสูง ใต้ดิน (ระบบ 22kV และ 33kV) ของ กฟภ. จะเป็นรูปแบบ


Open Loop กล่าวคือ แต่ละสายป้อนมีการเชื่อมต่อถึงกันด้วย Tie Switch (SF6) โดยทั่วไปสายเมนเคเบิล
ของระบบจาหน่ายแรงสูงที่นามาใช้งานจะประกอบไปด้วยสายขนาดต่าง ๆ ดังนี้
- 50 XLPE, Cu. ใช้สาหรับวงจรเฉพาะผู้ใช้ไฟ
- 240 XLPE, Cu. ใช้เป็นวงจรหลักที่มีจานวนวงจรและความลึกไม่มาก
- 400 XLPE, Cu. ใช้เป็นวงจรหลักบริเวณหน้าสถานีไฟฟ้าหรือพื้นที่ที่มีจานวนวงจรหรือ
ระดับความลึกค่อนข้างมาก
- 500 XLPE, Cu. ใช้สาหรับวงจร Incoming กรณีหม้อแปลงอยู่ในสถานีไฟฟ้าของ กฟผ.

รูปแบบการการติดตั้งของอุปกรณ์ระบบเคเบิลใต้ดินของ กฟภ. ปัจจุบันมีใช้งานอยู่ 2 รูปแบบ คือ


- การติดตั้ง RMU เพื่อเปิดปิดระบบไฟฟ้า หรือติดตั้ง Compact Unit Substation
เพื่อเปิดปิด ระบบไฟฟ้า และจ่ายไฟแรงต่า ซึ่ง มีข้อดี คือ ระบบไฟฟ้า มีความมั่นคง เนื่องจากมีอุปกรณ์
ตัดตอนระบบภายใน RMU และ Compact Unit Substation ง่ายต่อการบริหารจัดการระบบ อีกทั้งยัง
ช่ว ยปรั บ ภูมิ ทัศน์ ใ ห้ ส วยงาม เนื่ องจากส่ ว นหม้ อแปลง และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่า งๆ จะอยู่ภ ายในตู้ห่ อหุ้ ม
(Enclosure) สาหรับข้อเสียจากการจ่ายไฟด้วยวิธีนี้ คือ RMU และ Compact Unit Substation มีราคา
แพงมาก อีกทั้งมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ เมื่อเปรียบเทียบกับอุปกรณ์ของระบบเหนือดิน จึงทาให้หาพื้นที่
ติดตั้งยากดังรูปที่ 1.4
- การติดตั้ง Riser Pole แทน RMU และติดตั้งหม้อแปลงภายในซอย สาหรับจ่ายไฟแรงต่า
ซึ่งมีข้อดี คือ ราคาไม่สูงมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับการติดตั้ง RMU และ Compact Unit Substation
แต่ข้อเสีย คือ จะปรากฏ เสา สายไฟฟ้าและหม้อแปลง อยู่ภายในซอย อีกทั้งการบริห ารจัดการระบบ
ก็ยุ่ งยากกว่าแบบแรก เนื่องจากอุปกรณ์ตัดต่อระบบเป็น สวิตซ์ใบมีด และมี ส่ว นที่มีไฟ (Live Part)
ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดกระแสลัดวงจร และทาให้ระบบไฟฟ้าเสียหายได้ดังรูปที่ 1.5
4

รูปที่ 1.4 การติดตั้ง RMU หรือ Compact Unit Substation ในการตัดจ่ายระบบไฟฟ้า

รูปที่ 1.5 การติดตั้ง Riser Pole และหม้อแปลงนั่งร้านในซอยเพื่อการตัดจ่ายระบบไฟฟ้า

1.2.2 รูปแบบการจ่ายไฟของระบบเคเบิลใต้ดินแรงต่า
เนื่องจากระบบเคเบิลใต้ดินนั้นเวลาเกิดความผิดพร่อง (Fault) ขึ้นในระบบไฟฟ้า
ในการตรวจสอบและซ่อมแซมต้องใช้เวลาดาเนินการนาน ดังนั้นในการออกแบบเคเบิลใต้ดินแรงต่าจึง
ออกแบบด้วยระบบ N-1 (เผื่อโหลดกรณีหม้อแปลงเครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียหาย) โดยในสภาวะปกติจะ
ก าหนดให้ หม้ อ แปลงจ่ า ยโหลดอยู่ ที่ 60 % ของขนาดพิ กั ด หม้ อ แปลง ดั ง รู ป ที่ 1.6 และเมื่ อ เกิ ด
5

ความเสียหายขึ้นกับหม้อแปลงเครื่องหนึ่ง จะให้หม้อแปลงเครื่องข้างเคียงช่วยจ่ายโหลดประมาณ เครื่องละ


30 % ดังรูปที่ 1.7

รูปที่ 1.6 การจ่ายโหลด 60 % ของหม้อแปลงในสภาวะปกติของการจ่ายไฟเคเบิลใต้ดินแรงต่า

รูปที่ 1.7 การ Tie Line ในสภาวะฉุกเฉินของการจ่ายไฟเคเบิลใต้ดินแรงต่า โดยหม้อแปลงจ่าย


โหลดประมาณ 90 % ของพิกัดหม้อแปลง
6

1.3 รูปแบบการก่อสร้างงานโยธา
ในการออกแบบงานโยธานั้น มี 2 รูปแบบหลัก ๆ ตามการประกอบเลขที่ 7101 คือ
การก่อสร้างแบบเปิดหน้าดิน (Open Cut)
- วิธีฝังดินโดยตรง (Direct Burial)
- วิธีร้อยท่อฝังดิน (Semi-Direct Burial)
- วิธีกลุ่มท่อคอนกรีต (Duct Bank)
- วิธีกลุ่มท่อคอนกรีตสาเร็จรูป (Precast Duck Bank)
การก่อสร้างแบบไม่เปิดหน้าดิน (No Dig)
- วิธีเจาะในแนวราบ (Horizontal Directional Drilling (HDD))
- วิธีดันท่อปลอกขนาดใหญ่ (Pipe Jacking)
- วิธีดันท่อปลอกขนาดเล็ก (Small Sleeve Pushing)
1.3.1 การก่อสร้างแบบเปิดหน้าดิน (Open Cut)
วิธี ฝั งดิ น โดยตรง (Direct Burial) เป็ นการขุ ดเปิด หน้ าดิน ทางานแล้ ว โรย
สายไฟฟ้าลงดินโดยตรง ซึ่งมีข้อดีในด้านการระบายความร้อนขณะจ่ายไฟ ซึ่งหากสภาพดินมีค่าความ
ต้านทานความร้อนต่าๆ จะทาให้ความสามารถในการนากระแสของสายเคเบิลใต้ดินดีกว่าการก่อสร้าง
ประเภทอื่น เนื่องจากฉนวนของสายไฟฟ้าสามารถทนความร้อนได้สูงสุด 90 OC ซึ่งเป็นแฟคเตอร์ที่กาหนด
ความสามารถในการจ่ายไฟของสายเคเบิลใต้ดิน ซึ่งมีรูปแบบการจัดวางและก่อสร้างดังรูปที่ 1.8

รูปที่ 1.8 มาตรฐานการก่อสร้างแบบ Direct Burial


7

ข้อดี ข้อเสีย
1. ขั้ น ตอนการก่ อ สร้ า งน้ อ ยกว่ า วิ ธี ก ลุ่ ม ท่ อ 1. ไม่สามารถป้องกันผลกระทบทางกลจาก
คอนกรีตและวิธีร้อยท่อฝังดิน จึงก่อสร้างได้ การขุดเจาะได้ทุกทิศทาง
ในระยะเวลาอันสั้น 2. ไม่สามารถเปลี่ยนขนาด การเพิ่มวงจร
2. ไม่ต้องคานึงเรื่องแรงดึงและแรงกดด้านข้าง หรือเปลี่ยนสายเคเบิลที่ชารุดได้โดยง่าย
ของสายเคเบิลใต้ดิน เนื่องจากไม่มีการดึง 3. เมื่ อ เกิ ด การลั ด วงจร อาจท าให้ ว งจร
ลากสายผ่านท่อร้อยสาย ข้างเคียงเสียหายได้
3. สามารถก่อสร้างหักโค้งหลบเลี่ยงอุปสรรค
กีดขวางต่างๆ ได้ดี
4. ไม่ต้องก่อสร้างบ่อพักสาย

วิธีร้อยท่อฝังดิน (Semi-Direct Burial) เป็นการพัฒนาต่อจากการก่อสร้างแบบ


Direct Burial โดยนาท่อ Corrugated, HDPE (High Density Polyethylene) หรือท่อ RTRC
(Reinforced Thermosetting Resin Conduit) เป็นต้น มาใช้ในการร้อยสายไฟฟ้าและมีการเผื่อท่อไว้
สาหรับการซ่อมแซมบารุงรักษาและการเพิ่มวงจรในอนาคต ซึ่งทาให้ความสามารถในการระบายความร้อน
ของสายเคเบิลใต้ดินน้อยลงและมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนเพิ่มขึ้น จากท่อร้อยสายและบ่อพักสาย แต่มีความ
สะดวกรวดเร็วในการก่อสร้างและบารุงรักษาระบบไฟฟ้า ซึง่ มีรูปแบบการก่อสร้างดังรูปที่ 1.9-1.15
8

รูปที่ 1.9 มาตรฐานการก่อสร้างแบบ Semi-Direct Burial สาหรับระบบเคเบิลใต้ดินแรงสูง


(สามารถประยุกต์ใช้งานในระบบแรงต่าได้)

รูปที่ 1.10 มาตรฐานการก่อสร้างแบบ Semi-Direct Burial สาหรับระบบเคเบิลใต้ดินแรงต่า (ท่อโลหะ)


9

รูปที่ 1.11 มาตรฐานการก่อสร้างแบบ Semi-Direct Burial สาหรับระบบเคเบิลใต้ดินแรงต่า (ท่ออโลหะ)

รูปที่ 1.12 เปรียบเทียบมาตรฐานการก่อสร้างแบบ Semi-Direct Burial สาหรับระบบเคเบิลใต้ดินแรงต่า


10

รูปที่ 1.13 ระดับความลึกของการก่อสร้างแบบ Semi-Direct Burial สาหรับระบบเคเบิลใต้ดินแรงต่า

รูปที่ 1.14 รูปขั้นตอนการวางท่อแบบ Semi-Direct Burial สาหรับระบบเคเบิลใต้ดินแรงต่า

รูปที่ 1.15 รูปคืนสภาพหลังก่อสร้างแบบ Semi-Direct Burial สาหรับระบบเคเบิลใต้ดินแรงต่า


11

ข้อดี ข้อเสีย
1. ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างน้อยกว่าวิธีกลุ่ม 1. ไม่สามารถป้องกันผลกระทบทางกลจาก
ท่อหุ้มคอนกรีต การขุดเจาะได้ทุกทิศทาง
2. การเปลี่ยนขนาด การเพิ่มวงจร การเปลี่ยน
สายเคเบิ ล ใต้ ดิ น ที่ ช ารุ ด สามารถท าได้
สะดวกในท่อสารองที่ออกแบบเตรียมไว้
3. เมื่ อ เกิ ด การลั ด วงจร จะไม่ ท าให้ ว งจร
ข้างเคียงเสียหาย
4. การดัดโค้งหลบหลีกอุปสรรค ทาได้ง่ายกว่า
วิธีกลุ่มท่อคอนกรีต

กลุ่มท่อหุ้มคอนกรีต (Concrete Encased Duct Bank) การก่อสร้างรูปแบบนี้


เป็นการก่อสร้างที่คานึงถึงการป้องกันการขุดเจาะจากบุคคลอื่น ซึ่งอาจทาให้เกิดความเสี ยหายกับสาย
เคเบิลใต้ดินได้ ซึ่งใช้ท่อ HDPE หรือท่อ RTRC แล้วหุ้มทับด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งเป็นการป้องกัน
ผลกระทบทางกล (Mechanical Protection) ให้กบั สายเคเบิลได้อย่างดี ทาให้มีราคาค่าก่อสร้างสูงขึ้นกว่า
2 แบบแรก และทาให้การระบายความร้อนของฉนวนแย่ลงความสามารถในการนากระแสจึงแย่ลงด้วย
และระยะเวลาในการก่อสร้างเพิ่มมากกว่าวิธีการ Semi-Direct Burial เพราะต้องรอให้คอนกรีตแข็งตัว
โดยปกติจะใช้ในการก่อสร้างระบบเคเบิลใต้ดินแรงสูงที่ก่อสร้างบนผิวจราจร ซึ่งเสี่ยงต่อการขุดเจาะจาก
หน่วยงานอื่นโดยมีรูปแบบดังรูปที่ 1.16-1.18

รูปที่ 1.16 รูปแบบหน้าตัดของ Duct Bank


12

รูปที่ 1.17 รูปการก่อสร้าง Duct Bank

รูปที่ 1.18 ข้อกาหนดระดับความลึกของ Duct Bank

ข้อดี ข้อเสีย
1. สายเคเบิลใต้ดินมีความมั่นคงปลอดภัยสูง 1. ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างมาก
โดยคอนกรี ต เสริ ม เหล็ ก ที่ หุ้ ม ท่ อ จะช่ ว ย 2. ความสามารถในการนากระแสจะลดลง
ป้องกันผลกระทบทางกลจากการขุดเจาะ เมื่อจานวนวงจรเพิ่มมากขึ้น
2. การเปลี่ยนขนาด การเพิ่มวงจร การเปลี่ยน
สายเคเบิ ล ใต้ ดิ น ที่ ช ารุ ด สามารถท าได้
สะดวกในท่อสารองที่ออกแบบเตรียมไว้
3. เมื่ อ เกิ ด การลั ด วงจร จะไม่ ท าให้ ว งจร
ข้างเคียงเสียหาย
4. รองรับวงจรได้มากในพื้นที่จากัด
13

วิธีกลุ่มท่อหุ้มคอนกรีตสาเร็จรูป (Precast Duct Bank) การก่อสร้างรูปแบบนี้


มีลักษณะการก่อสร้างเช่นเดียวกับกลุ่มท่อหุ้มคอนกรีต แต่การก่อสร้างไม่ได้ ตั้งแบบบ่อ วางท่อร้อยสาย ผูก
เหล็กเสริมและเทคอนกรีตที่บริเวณก่อสร้าง แต่จะเป็นการผลิตสาเร็จรูปเป็นท่อนๆ มีความยาวท่อนละ 3
เมตร เมื่อเปิดผิวถนนแล้ว จึงนามาเรียงวางต่อกัน ทาให้ก่อสร้างได้รวดเร็วกว่าการก่อสร้าง Duct Bank
และลดระยะเวลาในการเปิดหน้าดิน แต่ก็มีข้อด้อย คือ จะมีจุดต่อระหว่างท่อร้อยสายทุกๆ 3 เมตร ดังรูป
ที่ 1.19 การก่อสร้างด้วยวิธีนี้ หากก่อสร้างบริเวณจุดต่อของแต่ละท่อนไม่เรียบร้อย อาจเป็นอุปสรรคในการ
ดึงลากสาย

รูปที่ 1.19 ตัวอย่าง 2x2 Precast Duct Bank

ข้อดี ข้อเสีย
1. ก่อสร้างได้รวดเร็วกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ 1. จุ ด ต่ อ ระหว่ า งท่ อ ร้ อ ยสายทุ ก ๆ 3 ม.
วิธีกลุ่มท่อหุ้มคอนกรีต ลดระยะเวลาในการ หากก่ อ สร้ า งบริ เ วณจุ ด ต่ อ ของแต่ ล ะ
เปิดหน้าดินและการกีดขวางการจราจร ท่อนไม่เรียบร้อยอาจเป็นอุปสรรคในการ
2. สายเคเบิลใต้ดินมีความมั่นคงปลอดภัยสูง ดึงลากสาย
โดยคอนกรี ต เสริ ม เหล็ ก ที่ หุ้ ม ท่ อ จะช่ ว ย 2. ความสามารถในการนากระแสของสาย
ป้องกันผลกระทบทางกลจากการขุดเจาะ เคเบิ ล จะลดลงเมื่ อ จ านวนวงจรเพิ่ ม
3. การเปลี่ยนขนาด การเพิ่มวงจร การเปลี่ยน มากขึ้น
สายเคเบิ ล ใต้ ดิ น ที่ ช ารุ ด สามารถท าได้ 3. กรณีที่มีจานวนมาก จะทาให้โครงสร้าง
สะดวกในท่อสารองที่ออกแบบเตรียมไว้ แต่ล ะท่อนมีขนาดใหญ่และรับน้าหนั ก
4. เมื่ อ เกิ ด การลั ด วงจร จะไม่ ท าให้ ว งจร มาก ต้องใช้เครื่องจักรหนักในการยก
ข้างเคียงเสียหาย
5. รองรับจานวนวงจรได้ไม่มากในพื้นที่จากัด
14

1.3.2 การก่อสร้างแบบไม่เปิดหน้าดิน (No Dig)


วิธีเจาะในแนวราบ (Horizontal Directional Drilling (HDD)) การก่อสร้าง
รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่ไม่ต้องเปิดหน้าดินทางานตลอดแนวการก่อสร้าง จะเปิดเฉพาะตาแหน่งบ่อพักสาย
หรือบ่อรับ-บ่อส่ง สาหรับการเจาะดึงท่อ ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้เวลาในการดาเนินการและผลกระทบกับคน
ทั่วไปน้อย โดยความสามารถในการนากระแสจะใกล้เคียงกับรูปแบบ Semi-Direct Burial แต่มีค่าใช้จ่าย
ในการดาเนินการสูงกว่า (อ้างอิงราคาปี พ.ศ. 2559) เนื่องจากเครื่องจักรมีราคาสูง วิธีการนี้เหมาะสาหรับ
ใช้ก่อสร้างในพื้นที่ชุมชนเมืองที่การจราจรแออัด ไม่สามารถเปิดหน้าดินทางานได้ตลอดแนว ซึ่งในระบบ
แรงสูง ของ กฟภ. เรามักนิยมใช้วิธีการนี้ในการก่อสร้างเนื่องจากสะดวกและรวดเร็ว กระทบกับประชาชน
น้อย แต่ในระบบแรงต่า ยังไม่นิยมใช้เพราะว่าระดับความลึกในการวางแรงต่าน้อยไม่เกิน 1 เมตร ทาให้มี
ความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบจากการขุดเจาะของหน่วยงานอื่นได้ง่าย เนื่องจากไม่มีแผ่น คอนกรีตเสริม
เหล็ก Reinforced Concrete Slab ในการป้องกันการขุดเจาะรูปแบบของ HDD จะเป็นดังรูป 1.20-1.23

รูปที่ 1.20 รูปแบบการก่อสร้างแบบ HDD

รูปที่ 1.21 รูปแบบเจาะดึงท่อของ HDD


15

รูปที่ 1.22 ขั้นตอนการเจาะของ HDD

รูปที่ 1.23 ขั้นตอนการคว้านรูและดึงท่อกลับของ HDD

ข้อดี ข้อเสีย
1. มีความรวดเร็วในการก่อสร้าง ลดปัญหากีด 1. มีปัญหาในการระบุตาแหน่งและความ
ขวางการจราจร และด าเนิ น การก่อ สร้า ง ลึกของแนวสายเคเบิลใต้ดินหลังก่อสร้าง
เป็นช่วงๆ ได้ เสร็จ
2. การเปลี่ยนขนาด เพิ่มวงจร การเปลี่ยนสาย 2. ไม่ มีก ารป้ องกั นผลกระทบทางกลจาก
เคเบิลใต้ดินที่ชารุด สามารถทาได้สะดวกใน การขุดเจาะทุกทิศทาง
ท่อสารองที่ออกแบบไว้ 3. หากแนวเจาะตื้นเกินไป พื้นผิวด้านบน
3. สามารถก่อสร้ างหลบเลี่ ย งอุป สรรคต่างๆ อาจเกิดการยุบตัว ทาให้เสียหายได้
ที่อยู่ใต้ดินได้
16

วิธีดันท่อปลอกขนาดใหญ่ (Pipe Jacking) เป็นวิธีก่อสร้างท่อร้อยสายเคเบิลใต้


ดินโดยที่ไม่ต้องขุดเปิดผิวดินตลอดความยาวของท่ออีกวิธีหนึ่งหรือเรียกว่าวิธีการดันท่อ จึงจาเป็นต้องมี
เครื่องมือที่ใช้ดันท่อที่เรียกว่า Jacking Frame และจาเป็นต้องมีพื้นที่สาหรับติดตั้ง Jacking Frame นี้ด้วย
ซึ่งจะทาหน้าทีด่ ันปลอกโลหะหรือท่อคอนกรีตขนาดใหญ่ หลังจากนั้นจัดวางท่อร้อยสายไฟในปลอกและเท
ปูนหุ้มอีกชั้นเพื่อเสริมความแข็งแรงให้ปลอกเหล็กจึงมีค่าใช้จ่ายสูงมาก วิธีการนี้เหมาะสาหรับบริเวณหน้า
สถานีไฟฟ้าที่มีจานวนวงจรจานวนมาก และต้องการความปลอดภัยสูงเพราะมีปลอกเหล็ก หรือปลอกหุ้ม
คอนกรีตป้องกันการขุดเจาะ แต่จะทาให้ความสามารถในการจ่ายไฟฟ้าแย่ลง ดังนั้นบริเวณหน้าสถานีไฟฟ้า
จึงต้องใช้สายไฟฟ้าขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งมีรูปแบบการก่อสร้างดังรูป 1.24-1.26

รูปที่ 1.24 แบบมาตรฐานการก่อสร้าง Pipe Jacking

รูปที่ 1.25 ขั้นตอนการก่อสร้าง Pipe Jacking


17

รูปที่ 1.26 ขั้นตอนการดันปลอกเหล็กของ Pipe Jacking

ข้อดี ข้อเสีย
1. สายเคเบิลใต้ดินมีความมั่นคงปลอดภัยสูง โดย 1. ความสามารถในการน ากระแสของสาย
ท่อ เหล็ ก หรื อ ท่อ คอนกรี ต ขนาดใหญ่จ ะช่ ว ย เคเบิลจะลดลงเมื่อจานวนวงจรเพิ่มมากขึ้น
ป้องกันผลกระทบทางกลจากการขุดเจาะ 2. ค่ า ใช้ จ่ า ยสู ง มากเมื่ อ เปรี ย บเที ย บกั บ การ
2. การเปลี่ ย นขนาด การเพิ่ม วงจร การเปลี่ ย น ก่อสร้างแบบอื่นๆ
สายเคเบิลใต้ดินที่ชารุด สามารถทาได้สะดวก
ในท่อสารองที่ออกแบบเตรียมไว้
3. เมื่อเกิดการลัดวงจร จะไม่ทาให้วงจรข้างเคียง
เสียหาย
4. รองรับจานวนวงจรได้มาก
5. ลดปั ญ หาการกี ด ขวางการจราจร และ
ดาเนินการก่อสร้างเป็นช่วงๆ ได้

วิธีดันท่อปลอกเหล็กขนาดเล็ก (Small Sleeve Pushing) เป็นลักษณะการ


สร้างท่อร้อยสายลอดใต้ถนน โดยวิธีการดันท่อเหล็กชุบสังกะสี ซึ่งจะต้องใช้เครื่องจักรที่เหมาะสม เมื่อดัน
ท่อเสร็จจะวางท่อร้อยสายภายในท่อเหล็กชุบสังกะสีอีกครั้งหนึ่ง โดยจะมีช่องว่างอากาศระหว่างท่อเหล็ก
ชุบสังกะสีกับท่อร้อยสาย
18

รูปที่ 1.27 มาตรฐานการก่อสร้างแบบ Small Sleeve Pushing

ข้อดี ข้อเสีย
1. สายเคเบิ ล ใต้ ดิ น มี ค วามมั่ น คงปลอดภั ย สู ง 1. อาจมี ปั ญ หาเรื่ อ งการคว บคุ ม ทิ ศ ทาง
โดยท่ อ เหล็ ก ชุ บ สั ง กะสี จ ะช่ ว ยป้ อ งกั น การดันท่อ
ผลกระทบทางกลจากการขุดเจาะ
2. การเปลี่ยนขนาด การเพิ่มวงจร การเปลี่ยน
สายเคเบิลใต้ดินที่ชารุด สามารถทาได้สะดวก
ในท่อสารองที่ออกแบบเตรียมไว้
3. เมื่อเกิดการลัดวงจร จะไม่ทาให้วงจรข้างเคียง
เสียหาย

ด้วยวิธีการก่อสร้างทั้ง 7 วิธีดังที่ได้กล่าวมา สิ่งที่เราต้องพิจารณาคือเรื่องระดับความลึกของหลังท่อ


เทียบกับพื้นดิน พื้นทางเท้าหรือพื้นถนน ซึ่งพอสรุปได้ดังตารางที่ 1.1
19

ตารางที่ 1.1 ตารางสรุประดับความลึกต่าสุดของการวางท่อร้อยสายชนิดต่าง ๆ


Type Minimum Depth (mm.)
Pipe Jacking
Semi-Direct Direct Burial
Duct &
Burial with with Concrete HDD
Bank (Small Sleeve
Concrete Slab Slab
Pushing)
22-33 kV For
General 900 1200 - 1200 1200
Area
22-33 kV
Parallel
1500 1500 - 1500 1500
Road For
Highway
22-33 kV
Cross Road - - - 2500 2500
For Highway
400 V For
450 300 - 900 -
Side Road
400 V For
600 600 - 900 -
Street

ท่อร้อยสายไฟ
ท่ อ ร้ อ ยสายเคเบิ ล ที่ ใ ช้ ใ นงานก่ อ สร้ า งเคเบิ ล ใต้ ดิ น มี ด้ ว ยกั น หลายชนิ ด เช่ น ท่ อ HDPE,
ท่อ Corrugate และ ท่อ Fiberglass หรือท่อ RTRC ท่อแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติที่ดีแตกต่างกันไปดังนี้
ท่อ HDPE (High-Density Polyethylene)
ท่อชนิดนี้ใช้ในงานร้อยสายเคเบิลใต้ดินกันมากที่สุดใน กฟภ. เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ดีหลาย
อย่างเช่น ความสามารถรับแรงกดได้ดีมีผู้ผลิตหลายราย และราคาถูกกว่าท่อชนิดอื่นๆ ท่อชนิดนี้ ณ
ปัจจุบันผลิตขึ้นตาม มอก. 982-2556 ซึ่งใช้เป็นท่อน้าดื่ม แต่นามาประยุกต์ใช้ ในงานร้อยสายเคเบิลใต้ดิน
ขนาดของท่อกาหนดตามขนาดของ Outside Diameter แบ่งออกได้หลายชั้นคุณภาพ แต่ที่ กฟภ.ใช้อยู่คือ
ชั้นคุณภาพ PN 8 สาหรับงานวางท่อแบบ Semi Burial และ ชั้นคุณภาพ PN 10 สาหรับงานวางท่อแบบ
HDD ดังรูปที่ 1.28
20

รูปที่ 1.28 ท่อ HDPE (High-Density Polyethylene)

การต่อท่อ HDPE มีทั้งแบบใช้ข้อต่อสวม(Coupling) และแบบเชื่อมด้วยความร้อน (Welding)


ดังรูปที่ 1.29

รูปที่ 1.29 ข้อต่อแบบสวม(Coupling) และการต่อแบบเชื่อมด้วยความร้อน (Welding)

ท่อ RTRC ( Reinforced Thermosetting Resin Conduit)


ท่อชนิดนี้ทาจาก Fiberglass ที่ผ่านการอาบส่วนผสมแล้ว ( Resin, Epoxy ) พันทับแกนเหล็ก
ร้อนถักพันเป็นชั้นๆ (winding) บางบริษัทจะผลิตท่อเป็นสองประเภทคือ ท่อสีแดง และท่อสีดา ถ้าเป็น
ท่อสีแดงจะพัน Fiberglass ทั้งหมด 4 ชั้น ใช้ในงานฝังดินโดยตรง ถ้าเป็นท่อสีดาจะพัน Fiberglass
ทั้งหมด 6 ชั้น และใส่สาร Carbon Black เพื่อป้องกันรังสี UV ใช้ในการวางท่อบนพื้นดิน ขนาดของท่อ
กาหนดตามขนาดของ Inside Diameter การต่อท่อชนิดนี้จะมีอยู่ 2 วิธี คือวิธีสวมอัด(Gasket-type joint)
และแบบเกลียว (Screw) โดยวิธีสวมอัด ท่อด้านหนึ่งจะเป็นท่อบานใส่ซีลยางไว้สองชั้นเมื่อต่อท่อตรงเข้า
ไปจนสุ ดจะติดแน่ น มาก และซีล ยางจะป้องกันการรั่ว ซึมของน้าได้ดี ส่ ว นวิธีแบบเกลี ยวจะเหมือนกั บ
การต่อท่อทั่วๆ ไป ดังรูปที่ 1.30

รูปที่ 1.30 ท่อ RTRC ( Reinforced Thermosetting Resin Conduit) และการต่อท่อ


21

ตามมาตรฐาน National Electric Code Handbook 1999 (NEC) ในหัวข้อ Article 347-
Nonmetallic Conduit ได้เรียกชื่อท่อ Reinforced Thermosetting Resin Conduit ไว้หลายชื่อ คือ
Rigid Nonmetallic Fiberglass Conduit หรือ Fiberglass Reinforced Epoxy Conduit โดยได้แบ่ง
ประเภทของท่อ RTRC ไว้ 2 ชนิดคือ
- RTRC Type BG ใช้สาหรับงานฝังดินโดยตรงจะมีคอนกรีตห่อหุ้มตัวท่อหรือ
ไม่มีก็ได้ ( BG = Below Ground)
- RTRC Type AG ใช้สาหรับงานวางเหนือดินหรือฝังดิน ถ้าฝังดินจะมีคอนกรีต
ห่อหุ้มตัวท่อหรือไม่มีก็ได้ ใช้ในสถานที่ที่มิดชิดหรือเปิดโล่งก็ได้ (แต่ต้องไม่มีแรงใด
มากระทาให้ท่อเสียหาย) ( AG = Above Ground)

ตารางที่ 1.2 คุณสมบัติของท่อร้อยสายไฟชนิดต่าง ๆ

Property HDPE CORRUGATE RTRC


High Density High Density
Material Fiberglass
Polyethylene Polyethylene
Weight (ท่อ 6 นิ้ว) ~3.77 kg/m ~2.0 kg/m ~1.52 kg/m
Coefficient of Friction ~0.5 ** ~0.3 ~0.385
Inner Surface of Pipe Smooth Corrugate Smooth
Corrosion Resistance Good Good Good
Flame Resistance No No Yes
Cable Fusion Yes Yes No
Maximum Working ~80 0C ~80 0C 110 0C
Temp.
Connecting Method Welding , Coupling Screwing Gasket and
Screwing
- - ~ 1900 lbs/ft *
การรับแรงกด
(ท่อ 5 นิ้ว)

* ข้อมูลผลการทดสอบจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Reference No. SPT-005/40 วันที่ 10 มีนาคม 2540
** ใช้ค่าตาม IEEE 525-1992 หน้า 36

ท่อลูกฟูก (EFLEX หรือ Corrugate)


ท่อชนิดนี้เป็นท่อสาหรับงานระบบไฟฟ้าที่ทามาจาก High-Density Polyethylene มีลักษณะ
เป็นลูกฟูก โค้งงอได้ง่าย ในการขนส่งจะม้วนมาเป็นขดยาวประมาณ 50 - 100 เมตร หรือมากกว่านั้นได้
ตามแต่ความสามารถของผู้ผลิตและการขนส่ง ดังรูปที่ 1.31
22

ข้อดีของท่อชนิดนี้ก็คือ น้าหนักเบา สามารถวางท่อได้ยาวมากกว่าท่อชนิดอื่นโดยไม่ต้ องมีข้อต่อ


แรงเสียดทานน้อย เนื่องจากมีพื้นผิวที่สัมผัสระหว่างท่อกับสายไฟน้อยลง สามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวาง
ได้ง่าย แต่ข้อเสียก็คือทาความสะอาดภายในท่อได้ยาก การต่อท่อจะใช้แบบ Screwing

รูปที่ 1.31 ท่อลูกฟูก (EFLEX หรือ Corrugate)

ท่อเหล็ก
ท่อเหล็กเป็นท่อร้อยสายไฟฟ้าเหล็กกล้าเคลือบสังกะสีประเภทที่ 3 (ผนังท่อหนา) สอดคล้องตาม
มอก. 770 หรื อเทีย บเท่า และในบริ เวณที่ ไม่ รับแรงกดทับ จะใช้ ท่อ ประเภท IMC เช่น บริ เวณท่ อขึ้ น
ของ Service Line
ท่อ PVC
ท่อ PVC เป็นท่อร้อยสายไฟฟ้าพีวีซีแข็ง สอดคล้องตาม มอก.216 หรือเทียบเท่า และใช้สาหรับ
ร้อยสายเคเบิลใต้ดินแรงต่า 400/230 V เท่านั้น

1.4 รูปแบบการก่อสร้างงานไฟฟ้า
ในการออกแบบงานไฟฟ้านั้น จะมี อุปกรณ์หลั ก ๆ คือ สายเคเบิ ลใต้ดิ น อุปกรณ์ต่ อสาย
ต้น Riser Pole อุปกรณ์สวิชชิ่งหม้อแปลง และตู้จ่ายไฟแรงต่า อุปกรณ์สาหรับ Service ลูกค้า ดังรูปที่ 1.32
23

รูปที่ 1.32 องค์ประกอบพื้นฐานของระบบเคเบิลใต้ดิน

สายเคเบิลใต้ดิน
สายเคเบิลใต้ดินที่ใช้งานในการไฟฟ้าต่างๆ มีหลายชนิด ในช่วงเวลา 10 ปี ก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่
ใช้ชนิด ฉนวนกระดาษ-น้ามัน ฉนวนกระดาษและก๊าซ ฉนวน XLPE , PE หรือ EPR แต่ในช่วงหลังนี้
ส่วนใหญ่นิยมใช้สายเคเบิลชนิดฉนวน XLPE มากขึ้น เดิมสายเคเบิลใต้ดินชนิดฉนวน Low pressure
oil fill ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถใช้งานได้อย่างมีความเชื่อถือได้สูงตลอด 40 กว่าปีที่ผ่านมา อย่างไรก็
ดีในช่วงการติดตั้งและใช้งานจาเป็นต้องใช้พนักงานที่มีประสบการณ์ สูงและมีระบบการควบคุมที่ยุ่งยาก
และเมื่อน้ามันเกิดรั่ว อาจทาให้เกิดการลัดวงจรและเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ฉนวน XLPE จึงถูกนามาใช้งาน
มากขึ้นเนื่ องจากการติดตั้ง การใช้งาน และการบารุงรักษาไม่ยุ่งยาก ปัจจุบันสายเคเบิล ใต้ดินที่ กฟภ.
ใช้งานเป็นชนิดฉนวน XLPE ทั้งระดับแรงดันปานกลาง (Medium voltage cables) 22-33 kV และ
แรงดันสูง (High voltage cables) 115 kV (กฟภ.จัดหาสายเคเบิลตามสเปคเลขที่ R-777/2539 สาหรับ
สาย 22-33 kV และสเปคเลขที่ R-500/2544 สาหรับสาย 115 kV ) ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังรูปที่ 1.33-1.34

โครงสร้างของสายไฟฟ้าใต้ดิน
1) Conductor (ตัวนา) ทาหน้าที่นากระแสไฟฟ้า ทาจากอะลูมิเนียมหรือทองแดง มีหลาย
ลักษณะดังนี้
1.1) Solid Conductor ใช้เป็นตัวนาของสายไฟฟ้าขนาดเล็ก ไม่นิยมใช้ในสายขนาดใหญ่
เนื่องจากดัดงอได้ยาก
1.2) Round Strand Conductor (ตัวนาตีเกลียว) ใช้เป็นตัวนาของสายไฟฟ้าทั่วๆ ไป
และสายเปลือย
24

1.3) Compact Strand Conductor (ตัวนาอัดแน่น) ใช้เป็นตัวนาของสายไฟฟ้าหุ้มฉนวน


ทั่วๆไปโดยการนาตัวนาตีเกลียวมาบีบอัดให้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กลง เมื่อนาไปใช้ ในสายหุ้มจะช่วย
ลดวัสดุที่นามาหุ้มได้
1.4) Segmental Conductor ใช้ในสายเคเบิลใต้ดินขนาดใหญ่ที่ต้องการให้มี Current
Carrying Capacity สูง แต่ละ Segment จะประกอบด้วยตัวนาตีเกลียวแล้วอัดให้เป็นรูป Segment
โดยแต่ละ Segment จะหุ้มด้วยฉนวน ข้อดีของตัวนาชนิดนี้ก็คือมี AC Resistance ต่า เนื่องจาก Wire
ในแต่ละ Segment มีการ Transpose เข้าออกระหว่างส่วนนอกและส่วนในของตัวนา ทาให้ Skin Effect
Factor ต่า
1.5) Hollow Core Conductor ใช้เป็นตัวนาของ Oil Fill Cable โดยใช้ท่อกลางตัวนา
ในการส่งน้ามัน ปัจจุบันมีการนามาใช้กับสายเคเบิลใต้ดินที่ใช้ Solid Dielectric ที่ต้องการนากระแสสูงๆ
โดยใช้น้าหรืออากาศผ่านเข้าไปในท่อกลางตัวนาเพื่อระบายความร้อน
2) Conductor Screen ทาจากวัสดุกึ่งตัวนา (Conductor Shield) ซึ่งอาจเป็นผ้าอาบ
Carbon หรือเป็น Extrude Layer ของสารสังเคราะห์พวกพลาสติกผสมตัวนา มีหน้าที่ทาให้ผิวสัมผัสของ
ตัวนากับฉนวนเรียบไม่มีช่องว่างที่มีศักย์ไฟฟ้าสูงตกคร่อมซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิด Partial Discharge
3) Insulation (ฉนวน) เป็ นส่ ว นที่ส าคั ญที่สุ ด ของสายเคเบิล ใต้ ดินมีห น้าที่กั นไม่ใ ห้
กระแสไฟฟ้าเกิดการรั่วไหลหรือลัดวงจรจนเกิดการสูญเสียต่อระบบไฟฟ้า และอาจเกิดอันตรายต่อบุคคล
ที่ไ ปสั ม ผั ส ได้ คุ ณ ภาพของสายเคเบิ ล ฯจะขึ้ น อยู่ กับ วั ส ดุ ที่ ใ ช้ ท าฉนวนซึ่ ง มี อยู่ ด้ ว ยกั น หลายชนิ ด เช่ น
Polyvinyl Chroride (PVC) หรือ Polyethylene (PE) ซึ่งนิยมใช้ในระบบแรงต่า, Oil Impregnated
Paper, Crosslinked Polyethylene (XLPE) และ Ethylene Propylene Rubber (EPR) ซึ่งนิยมใช้ใน
ระบบแรงสูง
4) Insulation Screen ทาหน้าที่เช่นเดียวกับ Conductor Screen คือลดแรงดันไฟฟ้าตก
คร่อมบริเวณผิวสัมผัสของ Insulation และ Metallic Screen วัสดุที่ใช้ทา Insulation Screen
จะเหมือนกับ Conductor Screen หรือเรียกว่า Insulation Shield
5) Metallic Screen ทาหน้าที่เป็น Ground สาหรับสายไฟฟ้าแรงสูงและเป็นทางให้
กระแสไฟฟ้าไหลกลั บ ในกรณีที่ เกิ ดการลั ดวงจร บางครั้ ง Metallic ยั งท าหน้ าที่ เป็ น Mechanical
Protection หรือทาหน้าที่เป็นชั้นกันน้าในกรณีของสายเคเบิลใต้น้า (Submarine Cable) หรือทาหน้าที่
รักษาความดันภายในสาหรับ Oil Fill Cable Metallic Screen อาจเป็น Tape หรือ Wire ทาด้วย
ทองแดงหรืออะลูมิเนียมหรืออาจจะเป็น Lead Sheath (ปลอกตะกั่ว) หรือ Corrugate Aluminium
Sheath (ปลอกอะลูมิเนียมลูกฟูก)
6) Reinforcement หรือ Armour เป็นชั้นที่เสริมเพื่อให้ สายเคเบิลมีความทนทานต่อ
Mechanical Force จากภายนอกที่อาจจะทาให้สายเคเบิลชารุดเสียหาย โดยเฉพาะสายเคเบิลใต้น้าหรือ
สายเคเบิลที่ฝังดินโดยตรง บางครั้งยังใช้เป็นตัวรับแรงดึงในการลากสายด้วย วัสดุที่ใช้ทาได้แก่ Steel
Tape, Steel Wire หรือ Aluminium Wire
7) Water Blocking Tape เป็นชั้นที่เสริมขึ้นมาในกรณีของสายเคเบิลใต้ดินแรงสูงที่ใช้ใน
บริเวณที่ชื้นแฉะเพื่อป้องกันน้าไหลเข้าไปตามแนวสายเคเบิลในกรณีที่ Jacket ของสายเคเบิลฯมีการชารุด
จากการลากสายทาให้ส่วนที่เป็นฉนวนสัมผัสกับน้าเป็นระยะทางยาว สายเคเบิลจึงมีโอกาสชารุดสูง Water
Blocking Tape นี้ทาจากสารสังเคราะห์และมี Swellable Powder (สารที่ดูดซึมน้าเข้าไปแล้วขยายตัว
มีลักษณะเป็นผงคล้ายแป้ง) โดยทั่วไปจะอยู่ระหว่างชั้น Insulation Screen กับ Jacket
25

8) Laminated Sheath เป็นชั้นกันน้าตามแนวขวางในสายเคเบิลแรงสูงมีลักษณะเป็นเทป


โลหะหุ้มด้วย Plastic ทั้งสองหน้าจากนั้นนามาห่อรอบ Ground Screen โดย Plastic ที่ผิวนอกและผิวใน
ของเทปจะถูกละลายให้ติดกันเป็นเนื้อเดียวทาให้สามารถป้องกันไม่ให้โมเลกุลของน้าแพร่ผ่านเข้าไปยัง
ฉนวนได้
9) Non Metallic Sheath หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า Jacket ทาหน้าที่ป้องกันแรงกระแทก
เสียดสีต่างๆขณะติดตั้งสายเคเบิล วัสดุที่ใช้ทามี PVC, PE

รูปที่ 1.33 องค์ประกอบของสายเคเบิลใต้ดินแรงสูง 22-33 kV

รูปที่ 1.34 องค์ประกอบของสายเคเบิลใต้ดินแรงสูง 115 kV


26

รูปที่ 1.35 การกระจายสนามไฟฟ้าของสายเคเบิลใต้ดิน

จากรู ป การกระจายสนามไฟฟ้าของสายเคเบิล ใต้ดิน จะเห็ นว่าจาเป็นต้องมีชั้น Conductor


screen เพื่อป้องกันการเกิดโคโรน่า และต้องเพิ่มชั้น Insuration screen เพื่อทาให้สนามไฟฟ้าที่เกิดขึ้น
สม่าเสมอ ไม่เกิด Over Stress ที่จุ ดใดๆ และจะต้องทาการต่อลงดินทุก ๆ ช่ว ง 500 เมตรเพื่อให้
ศักย์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นไม่ทาลายฉนวนของสายไฟฟ้า

Cable Terminator and Splicing


เหตุผลที่ต้องมีตัวต่อสาย Terminator หรือ Splicing นั้นเพราะ ณ จุดที่สายเคเบิลไปสิ้นสุดลง
ต้องมีการทาหั ว สายเคเบิ ล เพราะการที่ส าย Shield สิ้ นสุ ดลงจะทาให้ ส นามไฟฟ้าหนาแน่นบริเวณนั้น
ซึ่งหากไม่ทาให้สนามไฟฟ้ากระจายสม่าเสมอ ฉนวนบริเวณนั้นจะเสียหายได้ หรือว่าช่วงระหว่าง Riser
Pole ไกลมากกว่าความยาวสายที่ผลิตได้ หรือว่าไม่สามารถดึงสายได้เนื่องจากแรงดึงเกิน จึงจาเป็นต้องมี
การต่อสายไฟด้ ว ยอุ ป กรณ์ต่ อสายเพื่อควบคุ มการเบี่ย งเบนสนามไฟฟ้ าให้ ส ม่ าเสมอไม่ใ ห้ เกิ ด Stress
ณ จุดใดๆ มากเกิน จนทาให้ฉนวนเสียหายได้ ดังรูปที่ 1.36
27

รูปที่ 1.36 ตัวอย่างหัวสายเคเบิลใต้ดิน

หัวต่อสายเคเบิลเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบเข้ากับสายเคเบิลที่มี Shield เพื่อให้สามารถนาไปใช้


ในการเชื่อมต่อกับสายอากาศหรืออุปกรณ์แรงสูงอื่นๆ เพื่อให้ ส ามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าในสายเคเบิ ล
ดังกล่าวผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ซึ่งสามารถแบ่งชนิดของ Teminator
ได้ 4 ชนิด คือ

- Porcelain Type เป็นหัวต่อสายเคเบิลสาเร็จรูปมาจากโรงงานในหนึ่งรุ่นใช้ได้กับสาย


หลายขนาดมีคุณสมบัติป้องกันความชื้นและน้าด้วยคุณสมบัติของน้ายาหล่อ ( Compound )ที่บรรจุอยู่
ภายในและทนต่อสภาพแวดล้อมที่รุนแรงได้ดีแต่มีข้อเสียก็คือมีขนาดใหญ่ น้าหนักมากการติดตั้งหัวต่อสาย
เคเบิลต้องใช้ความระมัดระวังเพราะอาจตกแตกได้ ดังรูป 1.37
28

รูปที่ 1.37 ตัวอย่างหัวสายเคเบิลใต้ดินแบบ Porcelain Type

- Slip On Type เป็นหัวต่อสาเร็จรูปมาจากโรงงานหรือเป็นชิ้นส่วนมาจากโรงงานผลิต


ติดตั้งได้เร็วแต่มีข้อเสียคือใช้แรงในการดันหัวต่อสายเคเบิลใต้ดิน แต่ละรุ่นจะใช้ได้เฉพาะของขนาดสาย
เคเบิลนั้น ซึ่งต้องมีขนาดฉนวนเหมาะกันพอดี มิฉะนั้นจะเกิดช่องอากาศภายใน ทาให้เกิดความเสียหายและ
มีชิ้นส่วนประกอบกันหลายชิ้นส่วน คือ อุปกรณ์ควบคุมความเครียด ผิวฉนวน ปีกฉนวน ดังรูป 1.38-1.39

รูปที่ 1.38 ตัวอย่างหัวสายเคเบิลใต้ดินแบบ Slip On Type


29

รูปที่ 1.39 ตัวอย่างการต่อสายเคเบิลใต้ดินแบบ Slip On Type

- Cold Shrink Type เป็นหัวต่อสาเร็จรูปมาจากโรงงานผลิต (อุปกรณ์ควบคุมความเครียด


ผิวฉนวน และปีกฉนวน)ในหนึ่งรุ่นใช้กับสายเคเบิลฯได้หลายขนาด สามารถป้องกันความชื้น น้า ทางกล
และ สารเคมี ด้วยแรงหดรัดและคุณสมบัติซิลิโคนโพลิเมอร์ ขั้นตอนการติดตั้งน้อย ไม่ซับซ้อน ด้วยการ
หดรัดอัตโนมัติและหัวต่อสาเร็จรูป ไม่ต้องใช้เครื่องเป่าไฟ ทาให้ปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงานและใช้เวลาน้อย
ในการปฏิบัติงาน ดังรูป 1.40-1.41

รูปที่ 1.40 ตัวอย่างหัวสายเคเบิลใต้ดินแบบ Cold Shrink Type


30

รูปที่ 1.41 ตัวอย่างการต่อสายเคเบิลใต้ดินแบบ Slip On Type

- Heat Shrink Type เป็นหัวต่อสายที่เป็นชิ้นส่วนมาจากโรงงานผู้ผลิต ในหนึ่งรุ่นใช้กับ


สายเคเบิ ล ฯได้ ห ลายขนาดมี ข้ อ เสี ย คื อ ต้ อ งใช้ เ ครื่ อ งมื อ เป่ า ไฟและความร้ อ นซึ่ ง อาจเป็ น อั น ตรายกั บ
ผู้ ป ฏิบั ติงานได้ ต้องใช้ความเชี่ย วชาญมากในการเป่าไฟเพื่อให้ การหดสม่าเสมออีกทั้ง มีชิ้นส่ ว นที่ต้อ ง
ประกอบกันหลายชิ้นส่วน หลายขั้นตอน (อุปกรณ์ควบคุมความเครียด ผิวฉนวน ปีกฉนวน) เพื่อติดตั้งหัวต่อ
สายเคเบิลฯ ดังรูป 1.42-1.43

รูปที่ 1.42 ตัวอย่างหัวสายเคเบิลใต้ดินแบบ Heat Shrink Type


31

รูปที่ 1.43 ตัวอย่างการต่อสายเคเบิลใต้ดินแบบ Heat Shrink Type

ปัจจุบันการติดตั้ง Terminator และ Splicing ไม่ยุ่งยาก เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตได้จัดเตรียม


อุปกรณ์ต่างๆให้พร้อม ปัญหาหลักของการติดตั้ง คือขั้นตอนการเตรียมสายเคเบิลฯ (Cable preparation)
ซึ่งการปลอก Jacket , Semi Conducting Layer และ Wire Screen ต้องอาศัยความละเอียด
ประณีต ต้องไม่ทาให้ Insulation เกิดบาดแผลจากการปอกสายเพราะจะนาไปสู่การเกิด Partial
Discharge ที่บริเวณบาดแผลนั้นจนลามไปถึงการเกิด Insulation Breakdown ได้รวมถึงขณะทาการทา
ความสะอาดผิว Insulation ก็จะต้องระมัดระวังไม่ให้มีเศษของ Semi Conducting และเศษผงอื่นๆ
ติดอยู่เด็ดขาดเพราะจะทาให้เกิด Partial Discharge เช่นกัน
ส่วนสายดินที่จะต่อลงดินให้ยึดตามขนาดของสาย Wire Screen เช่น สาย 240 และ 400
ต.มม. ใช้สายดินขนาด 25 ต.มม.
Cable Riser Pole ระบบ 22 และ 33 kV
Cable Riser Pole ในระบบ 22 และ 33 เควี โดยปกติจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลัก ดังนี้
- สวิตช์ตัดตอนแรงสูงหนึ่งขา 22 kV หรือ 33 kV ขนาด 600 A ชนิดติดตั้งในสถานีเปลี่ยน
แรงดัน พร้อมอุปกรณ์ติดตั้งสวิตช์ตัดตอนแรงสูง (Disconnecting Switch, Station class and
Mounting Accessories) เป็นอุปกรณ์ใช้ตัดตอนวงจร ไฟฟ้าในขณะที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า (โหลด) โดยวิธีใช้
ไม้ชักฟิวส์ ซึ่งมีระดับ BIL เช่นเดียวกับที่อยู่ในสถานีไฟฟ้า โดยยึดให้มั่นคงเข้ากับอุปกรณ์ติดตั้งสวิตช์
- กับดักเสิร์ จ (Lightning Arrester) ทาหน้าที่ป้องกันไม่ให้ ฉนวนของสายเคเบิลใต้ดิน
เสียหายเนื่องจากแรงดันเสิร์จ (แรงดันสูงจากฟ้าผ่า จากการสับสวิตช์หรืออื่นๆ) โดยจะรักษาระดับแรงดันไว้
ไม่ให้มีค่าเกินกว่าที่ฉนวนของสายเคเบิลใต้ดินหรืออุปกรณ์ทนได้ ปัจจุบันกับดักเสิร์จที่ กฟภ. ใช้งานอยู่ใน
ระบบจาหน่าย 22 kV จะมีค่าพิกัดแรงดัน(Ur) 20 - 21 kV สาหรับระบบจาหน่าย 22 kV ที่ไม่มีการต่อลง
ดินผ่านความต้านทานที่สถานีไฟฟ้า และพิกัดแรงดัน(Ur) 24 kV สาหรับระบบจาหน่าย 22 kV ที่มีการต่อ
ลงดินผ่านความต้านทานที่สถานีไฟฟ้า (NGR) และ ค่าพิกัดแรงดัน(Ur) 30 kV สาหรับระบบจาหน่าย 33
kV ส่วนค่าความทนได้กระแสฟ้าผ่า นั้น ถ้าติดตั้งในบริเวณหน้าสถานีไฟฟ้า ใช้ขนาด 10 kA และในไลน์
ระบบจาหน่ายใช้ขนาด 5 kA
32

- หัวเคเบิล (Terminator or Cable Riser) สาหรับสายเคเบิลใต้ดิน 22 kV หรือ 33 kV


ทาหน้าที่กระจายสนามไฟฟ้าเนื่องจากผลของสนามไฟฟ้าเบี่ยงเบน ไม่ให้มีสนามไฟฟ้าหนาแน่นที่ปลาย
สายตัวนาต่อลงดิน (Shield) ลด Stress ที่เกิดที่ปลายสาย Shield ซึ่งจะทาเป็น Stress Relief Cone หรือ
ใช้ High Permittivity Material ก็ได้ ณ ตาแหน่งปลายสาย Shield
- ห่วงรัดสาย (Cable Grip) สาหรับสายเคเบิลใต้ดิน 22 kV หรือ 33 kV ทาหน้าที่รัดสาย
เคเบิลฯ จานวน 3 เส้นเข้าด้วยกัน (เพื่อที่จะได้ไม่มีผลจากฟลักซ์แม่เหล็ก ทาให้ไม่เกิ ดความร้อนเพิ่มขึ้นที่
สายเคเบิล ฯ ) แล้วแขวนยึดด้วยสลักเกลียวเข้ากับเสา คอร. เหตุผลเพื่อเป็นตัวช่วยรับน้าหนักในแนวดิ่ง
ของสายเคเบิลฯ ทั้ง 3 เส้น ทาให้ไม่มีแรงดึงไปกระทากับส่วนที่ต่ออยู่กับหัวเคเบิล (termination) ได้
- Airseal Compound ใช้สาหรับอุดช่องว่างบริเวณที่สายเคเบิลฯ โผล่ออกจากปลายท่อ
ร้อยสาย เพื่อป้องกันไม่ให้น้าเข้าไปในท่อร้อยสาย
- ท่อเหล็กกล้าเคลือบสังกะสีหรือท่อ HDPE PN 6.3 มอก.982 ใช้สาหรับป้องกันสาย
เคเบิล ฯ ทางด้านแรงกล สัตว์ หรื อน้ าเข้าสายเคเบิลฯ โดยตรง ซึ่งท่อเหล็กกล้ า สามารถใช้ร้อยสาย
เคเบิลฯ จานวน 3 เส้นต่อท่อได้ เนื่องจากไม่มีผลจาก ฟลักซ์แม่เหล็ก ทาให้ไม่เกิดความร้อนขึ้นที่สาย
เคเบิลฯ
- โครงเหล็กกันท่อร้อยสาย (Conduit Steel Guard) ใช้สาหรับป้องกันท่อร้อยสาย ซึ่งจะ
เป็นการป้องกันสายเคเบิลฯ ไปในตัว ซึ่งจะบอกให้บุคคลหรือรถ ที่สัญจรผ่านไปมา ได้ทราบว่า ณ จุดนี้ ได้
มีการติดตั้งท่อร้อยสายขึ้น ซึ่งจะได้เพิ่มความระมัดระวังขึ้น ขณะที่กาลังจะสัญจรผ่านจุดดังกล่าวนี้ โดย
โครงกั้นสามารถติดตั้งได้ทั้งทิศทางเดียวกัน และทิศตรงข้ามกับการจราจร แต่ทั่วไปนิยมติดตั้งในทิศตรง
ข้ามกับการจราจร
- สายต่อลงดินและแท่งหลักดิน (Ground Wire and Ground rod) จะมีความสาคัญเป็น
อย่างยิ่ง เนื่องจากสายต่อลงดินจะเป็นตัวนากระแสฟ้าผ่าหรือกระแสลัดวงจรลงดิน และแท่งหลักดินจะ
ช่วยกระจายประจุฟ้าผ่าหรือนากระแสลัดวงจรที่เกิดขึ้น ผลที่ตามมาคือ จะทาให้เกิดแรงดันมีค่าระดับ
ต่างกันในแต่ละจุดภายในสายต่อลงดินบน Cable Riser Pole ดังนั้นถ้าสายต่อลงดินขาดหรือหลุด จะทา
ให้ไม่มีจุดกราวด์อ้างอิง ทาให้เกิดแรงดันสูงคร่อมอุปกรณ์บน Cable Riser Pole เกินกว่าที่อุปกรณ์ทนได้
เกิดการ Breakdown ตามมาในที่สุด
- ท่อ PVC แข็ง พร้อมอุปกรณ์ยึด ใช้สาหรับสวมสายต่อลงดิน เพื่อปกปิดไม่ให้บุคคล
สัมผัสสายโดยตรง ซึ่งเมื่อเกิดฟ้าผ่าหรือลัดวงจรขึ้น เมื่อบุคคลไปสัมผัสโดยตรงในเวลานั้น จะทาให้เกิด
อันตรายเนื่องจากแรงดันสัมผัสขึ้นได้
โดยรายละเอียดของอุปกรณ์อื่นที่ไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้ ให้ดูตามที่ระบุไว้ในแบบมาตรฐาน กฟภ.
ดังรูปที่ 1.44
33

รูปที่ 1.44 ตัวอย่างรูปแบบเสาต้นขึ้นหัวสายเคเบิลใต้ดิน ระบบ 22 kV และ 33 kV

Cable Riser Pole ระบบ 115 kV


Cable Riser Pole ในระบบ 115 เควี โดยปกติจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลัก ดังนี้
- กับดักเสิร์จ (Lightning Arrester) สาหรับระบบแรงดัน 115 kV มีหลักการเช่นเดียวกับ
ระบบจาหน่าย 22 kV และ 33 kV โดยตัวโครงสร้างจะมีขนาดใหญ่และน้าหนักมากกว่า จะติดตั้งจานวน 1
ชุดต่อเฟสไม่ว่าสายไฟจะเป็นเส้นเดี่ยวหรือคู่ก็ตาม และไม่ว่าจะติดตั้ง Cable Riser Pole ที่หน้าสถานี
ไฟฟ้าหรือในไลน์ระบบสายส่ง จะใช้ขนาดเดียวคือ 10 kA
- หัวเคเบิล (Terminator or Cable Riser) สาหรับสายเคเบิลใต้ดิน 115 kV หลักการ
เช่นเดียวกับระบบจาหน่าย 22 kV และ 33 kV แต่ตัวโครงสร้างจะมีขนาดใหญ่และน้าหนักมากกว่า
- โครงเหล็กรองรับติดตั้งหัวสายเคเบิลใต้ดิน ล่อฟ้าแรงสูง (Supporting Structure) ทา
หน้าที่รองรับติดตั้งหัวสายเคเบิลใต้ดินและล่อฟ้าแรงสูง เนื่องจากในระบบ 115 kV ทั้งหัวเคเบิลฯ และกับ
ดักเสิร์จ จะมีน้าหนักมากกว่าระบบจาหน่าย จึงต้องออกแบบให้มีโครงเหล็กรองรับ ซึ่งปัจจุบันได้กาหนด
เป็นชุดรองรับซึ่งประกอบด้วยวัสดุเหล็กทุกชิ้นที่ใช้งานไว้แล้ว (ระบุเป็นวัสดุเลขที่ 01060021)
- แคล้มป์ประกับสายเคเบิลใต้ดิน (ทาด้วยไม้) มีอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนที่ยึดประกับสาย
เคเบิลฯ เข้ากับเสา คอร. ทาหน้าที่คล้ายห่วงรัดสาย (Cable Grip) และส่วนที่ยึดประกับสายเคเบิลฯ
บริเวณใต้หัวเคเบิลฯ ทาหน้าที่คล้ายห่วงรัดสายและบังคับให้สายเคเบิลฯ มีแนวตรงก่อนเชื่อมเข้ากับหัว
เคเบิลฯ โดยที่แคล้มป์ทั้ง 2 ส่วนดังกล่าว จะต้องทาด้วยไม้เท่านั้น เพื่อป้องกันฟลักซ์แม่เหล็กที่ไม่สมดุล
จากการหักล้างกันไม่หมด เนื่องจากการติดตั้งแคล้มป์ประกับสายเคเบิลฯ จะประกับเพียง 1 เฟส หรือ 2
เฟส ซึ่งไม่ครบทั้ง 3 เฟส
- ท่อร้อยสายที่ไม่ใช่โลหะ (Non - Metallic Conduit) ใช้สาหรับป้องกันสายเคเบิลฯ
ทางด้านแรงกล สัตว์ หรือน้าเข้าสายเคเบิลฯ โดยตรง ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เป็นท่อ HDPE PN 6.3 มอก.982
สาหรับเหตุผลที่ไม่นาโลหะ (Metallic Conduit) มาใช้งาน เนื่องจากในสายส่งระบบ 115 kV จะร้อยสาย
เคเบิลฯ จานวน 1 เส้นต่อท่อ ดังนั้นถ้าร้อยในท่อโลหะก็จะเกิดฟลักซ์แม่เหล็ก มีผลทาให้เกิดความร้อน
34

เพิ่มขึ้นที่สายเคเบิลฯ ได้ และค่าความนากระแสไฟฟ้าของสายเคเบิลฯ ก็จะลดลงตามมาจนถึงไม่สามารถ


จ่ายได้ในที่สุด
สาหรับ Airseal Compound โครงเหล็กกันท่อร้อยสาย (Conduit Steel Guard) สายต่อลง
ดินและแท่งหลักดิน (ground Wire and Ground rod) รวมทั้งท่อ PVC แข็ง พร้อมอุปกรณ์ยึดใช้สาหรับ
สวมสายต่อลงดิน เพื่อปกปิดไม่ให้บุคคลสัมผัสสายโดยตรง ก็มีหลักการเช่นเดียวกับระบบจาหน่าย 22 kV
และ 33 kV โดยรายละเอียดของอุปกรณ์อื่นที่ไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้ให้ดูตามที่ระบุไว้ในแบบมาตรฐาน กฟภ.
ดังรูปที่ 1.45

หัวเคเบิล กับดักเสิ ร์จ

รูปที่ 1.45 ตัวอย่างรูปแบบเสาต้นขึ้นหัวสายเคเบิลใต้ดิน ระบบ 115 kV (แบบ SD-UG-3)


บทที่ 2
ขั้นตอนและวิธีการสารวจพื้นที่
2.1 การศึกษาข้อมูลทางกายภาพก่อนดาเนินการสารวจ
ในการรวบรวมข้อมูลเพื่อวางแผนการสารวจแนวก่อสร้างเคเบิลใต้ดินตามแผนงาน จะใช้โปรแกรม
ทางด้านแผนที่ เช่น Google Earth, GIS เพื่อศึกษาเส้นทาง ระบบไฟฟ้า และสาธารณูปโภคเบื้องต้น
เพื่อเป็นการเตรียมข้อมูลและพิจารณาปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และตาแหน่งตั้งอุปกรณ์เบื้องต้นของงาน
ก่อสร้างเคเบิลใต้ดิน

รูปที่ 2.1 ข้อมูลทางกายภาพจากโปรแกรม Google Earth

รูปที่ 2.2 ข้อมูลระบบไฟฟ้าจากโปรแกรม GIS


36

2.2 ข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ในพื้นที่
ในการออกแบบเคเบิ ล ใต้ดิน ต้องมีข้อมูล ในด้านระบบไฟฟ้า มาช่ว ยประกอบรายการคานวณ
ก่อนดาเนินการสารวจ จึงจาเป็นต้องมีข้อมูลการใช้ไฟฟ้าภายในพื้นที่ ได้แก่ การใช้กาลังไฟฟ้าสูงสุดของ
สถานีไฟฟ้า การใช้ไฟฟ้าสูงสุดของแต่ละสายป้อน (Feeder), ขนาดและจานวนของหม้อแปลงรวมถึงโหลด
สูงสุดของหม้อแปลงทั้งของผู้ใช้ไฟและของ กฟภ. ในบริเวณที่จะต้องปรับปรุงเป็นเคเบิลใต้ดิน สาหรับ
ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้สามารถสอบถามได้จาก การไฟฟ้าฯ ในแต่ละพื้นที่

ตารางที่ 2.1 การใช้กาลังไฟฟ้าสูงสุดของสถานีไฟฟ้าสุพรรณบุรี


ปี พ.ศ. 2557 2558 2559 2560 2561 2562
กาลังไฟฟ้าสูงสุด 46.6 MW 48.7 MW 51.4 MW 53.6 MW 55.6 MW 57.8 MW
Growth Rate - 4.51% 5.54% 4.28% 3.73% 3.96%

ตารางที่ 2.2 การใช้กาลังไฟฟ้าสูงสุดของในแต่ละ Feeder และจานวนหม้อแปลงจาหน่ายที่ต้องปรับปรุง


Feeder F1 F10 หม้อแปลง กฟภ. ผู้ใช้ไฟ
Peak Load 4.8MW 5.2MW จานวน 8 เครื่อง 15 เครื่อง

ตารางที่ 2.3 การใช้กาลังไฟฟ้าสูงสุดของในแต่ละหม้อแปลงจาหน่ายที่ต้องปรับปรุง


ชื่อหม้อแปลง ขนาดติดตั้ง โหลดสูงสุด (Peak Load)
7-11 100 kVA 30%
ธนาคาร SCB 250 kVA 25%
ธนาคาร KBANK 160 kVA 40%
PEA 01 250 kVA 60%

2.3 การสารวจเบื้องต้นและร่วมประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เมื่อรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นแล้ว จากนั้นจึงทาการสารวจสภาพพื้นที่เบื้องต้น โดยจะเน้นในส่วน
ที่คาดว่าจะเกิดปัญหาขึ้น หลังจากนั้นจึงนาข้อมูลที่ได้มาใช้ในการประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
เทศบาล หน่วยงานระบบสื่อสาร หน่วยงานท้องถิ่นต่าง ๆ เพื่อขอข้อมูลและแผนผังระบบสาธารณูปโภค
ภายในพื้นที่ พร้อมร่วมกาหนดแนวทางในการก่อสร้างโครงการเคเบิลใต้ดิน
37

รูปที่ 2.3 ข้อมูลระบบสาธารณูปโภคที่ได้รับจากเทศบาลฯ

2.4 การสารวจงานก่อสร้างเคเบิลใต้ดิน
หลังจากได้มีการสรุปแนวทางการก่อสร้างจากที่ประชุมแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการสารวจสภาพ
พื้นที่ก่อสร้าง เพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ ที่มีความจาเป็นต่อการออกแบบ ซึ่งข้อมูลสาคัญที่ได้จากการสารวจ
จะประกอบไปด้วย
2.4.1 ข้อมูลระบบไฟฟ้าและสภาพการจ่ายไฟเดิม
ผู้สารวจจะต้องเก็บข้อมูลของระบบไฟฟ้าบริเวณพื้นที่ก่อสร้างเคเบิลใต้ดิน เช่น การจ่ายไฟ
ระบบ 22 เควี และระบบแรงต่า จ านวนวงจร ชนิดและขนาดสายตัว นาเป็นเท่าใด ขนาดและจานวน
หม้อแปลงในพืน้ ที่ก่อสร้างทั้งของ กฟภ. และผู้ใช้ไฟ จุดรับไฟเดิมของบ้านแต่ละหลัง ตลอดจนโหลดทั้งหมด
ในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งจะพบว่าการเก็บข้อมูลทั้ง หมดจะใช้เวลาค่อนข้างมาก ดังนั้น การศึกษาข้อมูล
ทางกายภาพจากโปรแกรมทางภูมิศาสตร์ และข้อมูลระบบไฟฟ้าจากโปรแกรม GIS มาประกอบ จะช่วย
ลดเวลาในการทางาน และข้อมูล ที่ได้มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การถ่ายภาพพื้นที่สารวจไว้
จะช่วยให้การเก็บรายละเอียดและข้อมูลของพื้นที่ครบถ้วน และมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น

จุดรับไฟเดิม
สภาพการจ่ายไฟเดิม

รูปที่ 2.4 การสารวจระบบจาหน่ายและจุดรับไฟเดิม


38

2.4.2 ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ก่อสร้าง
สภาพของพื้ น ที่ ก่ อ สร้ า ง เช่ น ความหนาแน่ น ของชุ ม ชน ขนาดและลั ก ษณะของตึ ก
หรืออาคาร ระยะเขตทาง ความกว้างถนน ความกว้างทางเท้า จะเป็นตั วกาหนดแนววางเคเบิลใต้ดิน และ
วิธีการที่จะก่อสร้างเคเบิลใต้ดินที่เหมาะสม โดยในการพิจารณาอาจใช้พื้นที่ ทางเท้าก่อนเป็นอันดับแรก
แต่ถ้าพื้นที่ไม่เพียงพอ อาจจะต้องพิจารณาวางสายเคเบิลอยู่ใต้ผิวจราจร ต่อไป
2.4.3 ข้อมูลความต้องการใช้ไฟฟ้าในปัจจุบันและการพยากรณ์การใช้ไฟฟ้าในอนาคต
ในการออกแบบขนาดของอุปกรณ์ต่างๆ การกาหนดรูปแบบจ่ายไฟที่เหมาะสม จะพิจารณา
จากข้อมูลการใช้งานของโหลดภายในพื้นที่ แต่ระบบเคเบิลใต้ดินนั้น เมื่อก่อสร้างแล้วการปรับปรุงรูปแบบ
การจ่ายไฟใหม่จะทาได้โดยยาก เพื่อเป็นการลดปัญหาดังกล่าว จึงจาเป็นต้องมีการวางแผนการจ่ายไฟ
ไว้อย่างน้อย 5 ปี ล่วงหน้า โดยจะต้องมีการคานวณเผื่อขนาดโหลดซึ่งสามารถดูได้จากตัวอย่างของรายการ
คานวณ

รูปที่ 2.5 แนวการก่อสร้างเคเบิลใต้ดินทีห่ ลบหลีกแนวสาธารณูปโภคต่างๆ

2.4.4 ข้อมูลระบบสาธารณูปโภคเดิมที่อยู่ใต้ดิน
สาหรับข้อมูลสาธารณูปโภคใต้ดิน ผู้สารวจต้องประสานงานและขอข้อมูลจากหน่วยงาน
ที่เกี่ย วข้อง ตามที่กล่าวมาข้างต้น แต่บางครั้งข้อมูลที่ได้รับอาจไม่ครบถ้วน จึงจาเป็นต้องมีการส ารวจ
แนวสาธารณูปโภคต่างๆ โดยอาศัยการสังเกตแนวฝาท่อสาธารณูปโภค หรือป้ายแสดงคาเตือน
39

แนวท่ อระบายนา้

รูปที่ 2.6 ป้ายเตือนแนวท่อส่งก๊าซ (ซ้าย) และแนวท่อระบายน้า (ขวา)


2.4.5 ข้อมูลแผนงานก่อสร้าง ปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่ ที่จะจัดทาเคเบิลใต้ดินหรือแผนพัฒนาเมือง
แผนการพัฒนาเมืองในแต่ละปีขององค์กรปกครองส่ วนท้องถิ่น หรือของผู้ ประกอบการ
เอกชนรายใหญ่ จะทาให้ ทราบความต้องการใช้ไฟฟ้า ในอนาคต เพื่อให้ ผู้ ออกแบบสามารถนามาใช้ใน
การประเมินความต้องการใช้ไฟฟ้า และได้มีการออกแบบสาหรับรองรับโหลดเหล่านี้ไว้ เช่น การเลือกขนาด
หรือจานวนวงจรของสายเคเบิล การเผื่อบ่อพักสาย หรือการสารองท่อร้อยสายที่เหมาะสม
2.4.6 การกาหนดรูปแบบและวิธีการก่อสร้างที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และงบประมาณโครงการฯ
ได้แก่ การเลือกรูปแบบติดตั้งหม้อแปลงโดยใช้ Compact Unit Substation หรือติดตั้งบน
หม้อแปลงนั่งร้าน (Platform) การวางสายเคเบิลใต้ดินด้วยวิธีก่อสร้ างแบบเปิดหน้าดิน หรือแบบไม่เปิด
หน้าดิน เป็นต้น การก่อสร้างในพื้นที่ชุมชนแออัด มีทางเท้าแคบรูปแบบการติดตั้งหม้อแปลงจะเลือกวิธีการ
ก่อสร้างโดยการติดตั้งบนหม้อแปลงนั่งร้าน เนื่องจากไม่มีพื้นที่ติดตั้ง Compact Unit Substation หรือ
RMU หรือในกรณีที่ต้องการประหยัดงบประมาณก็จะเลือกใช้วิธีก ารติดตั้งหม้อแปลงนั่งร้านแทนการใช้
Compact Unit Substation เช่นกัน เนื่องจากมีราคาที่ถูกกว่าค่อนข้างมาก

รูปที่ 2.7 การติดตั้งหม้อแปลงนั่งร้าน (ซ้าย) และการติดตั้ง Compact Unit Substation (ขวา)


40

2.4.7 ข้อมูลอื่นๆที่เป็นประโยชน์
ได้ แ ก่ ข้ อ มู ล สภาพการจราจรในพื้น ที่ ในแต่ ล ะช่ ว งเวลา หรื อ ระยะเวลาที่ จ ะสามารถ
ดาเนินการก่อสร้างเคเบิลใต้ดินได้ เพื่อที่จะได้ร่วมกาหนดแนวทางการก่อสร้างเคเบิลใต้ดิน เพื่อให้เกิดผล
กระทบต่อประชาชนภายในพื้นที่น้อยที่สุด

2.5. การเลือกตาแหน่งติดตั้งอุปกรณ์
ในการส ารวจพื้ น ที่นั้ น จะต้องกาหนดจุด ที่จะติ ดตั้ง อุ ปกรณ์ต่า ง ๆ ของระบบเคเบิล ใต้ ดิน อั น
ประกอบไปด้วย
2.5.1 อุปกรณ์สาหรับระบบแรงต่า
1. Service Line (SL) เป็นอุปกรณ์สาหรับเชื่อมต่อระบบเคเบิลใต้ดิน เข้ากับบ้านแต่ละหลัง
หรืออาคารพาณิชย์ โดยจะเชื่อมเข้ากับจุดรับไฟ หรือเมนชายคาเดิม จะเลือกบริเวณตาแหน่งเสาเดิมและ
ใกล้หม้อแปลง เพื่อป้องกันการไหลย้อนของกระแสไฟฟ้า(ลดหน่วยสูญเสียในระบบ) ตามการประกอบเลขที่
7405 สาหรับการกาหนดจุดติดตั้งนั้น ให้พิจารณาว่ามีพื้ นที่ติดตั้งหรือไม่ เพราะตู้เบรกเกอร์ของ Service
Line มีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ จุดนาสายขึ้ นจากใต้ดินติดสาธารณูปโภคอื่นๆหรือไม่ และถ้าต้องทุบและคืน
สภาพค่าใช้จ่ายที่ต้องดาเนินการสูงไปหรือไม่ เช่น ทุบพื้นหินแกรนิต หรือ ผนังร้านทอง นอกจากนี้ควร
คานึงถึงเรื่องระยะทาง เพื่อป้องกันปัญหาแรงดันตกเกินค่ามาตรฐานซึ่งกาหนดไว้ที่ 8%
2. Riser Pole Low Voltage (RL) เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อสายเคเบิลใต้ดินเข้ากับสาย
จาหน่ายของระบบเหนือดินเดิม ตามการประกอบเลขที่ 7422 การติดตั้ง RL ควรจะอยู่ในตาแหน่งที่
ไม่บดบังทัศนียภาพ บริเวณโครงการ และการก่อสร้างไม่ติดแนวสาธารณูปโภคใต้ดิน จึงเลือกติดตั้ง RL
เข้าไปในซอยลึกประมาณ 10 เมตร หรือตามความเหมาะสม

รูปที่ 2.8 ชุด Riser Pole Low Voltage (ซ้าย) และ ชุด Service Line (ขวา)
41

3. Meter Box (MTB) เป็นอุปกรณ์สาหรับใส่มิเตอร์ จะนามาใช้ ในกรณีที่มีมิเตอร์


ไฟสาธารณะหรือมิเตอร์แขวนเสาและไม่สามารถย้ายมิเตอร์มาไว้หน้าบ้านได้ เนื่องจากตาแหน่งวางตู้มิเตอร์
จะต้องไม่ห่างจากตาแหน่งบ้านเจ้าของมิเตอร์มากนั ก จึงแนะนาให้วางอยู่ระหว่างบ้านหรืออาคารที่เป็น
เจ้าของมิเตอร์ เพื่อป้องกันปัญหาเจ้าของพื้นที่ไม่ยอมให้ดาเนินการก่อสร้าง นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาพื้นที่
วางบ่อพักสายของตู้มิเตอร์ว่าสามารถวางได้หรือไม่ โดยบ่อพักสายของตู้มิเตอร์ก็มี 2 แบบ คือ แบบที่วาง
ใต้ตู้มิเตอร์ และแบบที่บ่อพักยื่นไปบนถนน ตามการประกอบเลขที่ 7411 – 7414

รูปที่ 2.9 การติดตั้งตู้มิเตอร์ (MTB)

4. Service Meter (SM) เป็นอุปกรณ์สาหรับจ่ายไฟให้กรณีที่เป็นบ้านเดี่ยว และไม่สามารถ


ย้ ายมิเ ตอร์ มาไว้ห น้ า บ้ านได้ โดยต าแหน่ง ติดตั้งจะต้องอยู่ไม่ห่ า งจากจุ ดรับไฟเดิมของบ้านแต่ล ะหลั ง
โดยทั่วไปจะใช้ตาแหน่งเสาเดิม สาหรับเสาที่ ใช้จะเป็นเสาขนาด 9 เมตร นามาตัด ตัดให้มีความสูงเพียงพอ
จะโยงสายหลังมิเตอร์เข้าบ้านแต่ละหลังได้

รูปที่ 2.10 ชุด Service Meter


42

5. Customer Service Line (CSL) เป็นอุปกรณ์จ่ายไฟแรงต่าให้กับผู้ใช้ไฟระบบ 22 เควี


เดิม ที่มีขนาดไม่เกิน 250 kVA ติดตั้งอยู่ในที่สาธารณะและไม่สามารถย้ายเข้าไปอยู่ในที่ของผู้ใช้ไฟเองได้
โดยจะต้องรั บ ไฟจากหม้อแปลงของ กฟภ. แทน โดยทั่ว ไปจะใช้ติดตั้งบริเวณจุด รับไฟเดิมหรือ ใช้เสา
9 เมตรถูกตัดให้มีความสูงเท่าเมนชายคา

รูปที่ 2.11 ชุด ก่อนติดตั้งชุด Customer Service Line (ซ้าย)


และหลังติดตั้งชุด Customer Service Line (ขวา)

6. TIE BOX (TB) เป็นอุปกรณ์ที่มีไว้สาหรับถ่ายเทโหลด กรณีหม้อแปลงเครื่องหนึ่งเสียหาย


จะใช้หม้อแปลงเครื่องข้างเคียงช่วยจ่ายโหลด ผ่านเบรกเกอร์ในตู้ TIE BOX ซึ่งจะติดตั้งบริเวณทางเท้า หรือ
ที่สาธารณะอื่นๆ ที่เหมาะสม ลักษณะของตูจ้ ะคล้ายตู้ Meter Box แต่ทาการติดตั้งเบรกเกอร์แทนมิเตอร์

รูปที่ 2.12 การติดตั้งตู้ Distribution Box (Tie Line)


43

2.5.2 หม้อแปลงจาหน่าย
การพิจารณาติดตั้งหม้อแปลง เนื่องจากโครงการเคเบิลใต้ดินของ กฟภ. ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในบริเวณ
ใจกลางเมืองหรือศูนย์กลางการท่องเที่ยว ดังนั้นระบบไฟฟ้าบริเวณนั้นต้องมีความมั่นคง สามารถถ่ายเท
โหลดได้เวลาเกิดปัญหา อีกทั้งหม้อแปลงผู้ใช้ไฟเฉพาะรายที่มีขนาดไม่เกิน 250 kVA บางรายจะติดตั้งอยู่
บนที่สาธารณะทาให้ต้องยุบจ่ายไฟด้วยแรงต่าแทน ดังนั้นหม้อแปลงที่ใช้ในการออกแบบส่วนใหญ่จะมี
ขนาดใหญ่โดยประมาณ 315 kVA - 500 kVA ซึ่งต้องติดตั้งบนนั่งร้านหม้อแปลง ทาให้เวลาพิจารณาจุด
ติดตั้งต้องพยายามหาจุดติดตั้งตามซอย , ที่สาธารณะ หรือที่ส่วนราชการในการติดตั้ง โดยปกติจะติดตั้ง
ในซอย ซึ่งจะเข้าซอยไปโดยประมาณ 10-20 เมตร แต่ถ้าไม่มีพื้นที่ต้องเข้าไปลึกกว่านั้นก็ต้องพิจารณาถึง
แรงดันตกที่จะเกิดขึ้นด้วยว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ ซึ่งมีรูปแบบการติดตั้ง 2 รูปแบบ
1. Compact Unit Substation เป็นอุปกรณ์ที่มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ห้องแรงสูง
จะบรรจุ RMU ไว้ตัดต่อระบบแรงสูง ห้องหม้อแปลงไว้บรรจุหม้อแปลง และห้องแรงต่าจะบรรจุอุปกรณ์
ป้ อ งกั น แรงต่ า จะพิ จ ารณาเลื อ กใช้ เ ป็ น อั น ดั บ แรกส าหรั บ ติ ด ตั้ ง หม้ อ แปลงในกรณี ที่ มี พื้ น ที่ เ พี ย งพอ
โดยทั่ว ไปจะดาเนิ น การของติ ดตั้งในพื้ นที่ราชการ เช่น วัด โรงเรียน โรงพยาบาล เทศบาลฯ เป็นต้ น
เพราะจาเป็นต้องใช้พื้นที่ติดตั้งค่อนข้างมาก (การติดตั้งซึ่งใช้พื้นที่โดยประมาณ กว้างxยาว = 3x4 เมตร)

รูปที่ 2.13 รูปแบบการติดตั้งและองค์ประกอบหลักของ Compact Unit Substation


44

2. หม้อแปลงแขวน หรือหม้อแปลงนั่งร้าน โดยทั่วไปจะใช้วิธีติดตั้งภายในซอยหรือถนน


สายรองที่ไม่มีแผนก่อสร้างเคเบิล ใต้ดิน เพื่อให้ถนนสายหลักที่จะดาเนินโครงการก่อสร้างมีทัศนียภาพ
ที่สวยงาม สาหรับพื้นที่ติดตั้งหม้อแปลงจะต้องมีพื้นที่เพียงพอสาหรับการติดตั้งและบารุงรักษาในอนาคต
นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาว่า ตาแหน่งหม้อแปลงอยู่ใกล้พื้นที่ที่บุคคลเข้าถึงได้ด้วยหรือไม่ เช่น หน้าต่าง
ดาดฟ้า เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดกับบุคคล นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาทางไฟฟ้าให้เป็นไปตามมาตรฐาน

รูปที่ 2.14 ชุดนั่งร้านหม้อแปลง

สาหรับตาแหน่งติดตั้งหม้อแปลงในแต่ละจุด ควรห่างกันไม่เกิน 500 เมตร เนื่องจากสายเคเบิล


ใต้ดินที่ กฟภ. ใช้เป็นสายเมน เป็นสาย CV ขนาด 185 mm2 เมื่อจ่ายไฟเต็มพิกัดสายที่ประมาณ 300A
จะสามารถจ่ายไฟได้ไกลที่สุด 260 เมตร โดยค่าแรงดันตกจะมีค่าประมาณ 5% ในสภาวะปกติ ซึ่งไม่เกิน
ค่ามาตรฐานของ กฟภ. ตามการประกอบเลขที่ 7123

Tr.1 ≤ 500m. Tr.2

≤ 260m. TB ≤ 260m. TB
TB

รูปที่ 2.15 ตาแหน่งในการติดตั้งหม้อแปลง


45

2.5.3 Ring Main Unit (RMU)


เป็น Switchgear ในระบบจาหน่ายไฟฟ้าแรงสูง มีหน้าที่ตัดต่อและป้องกัน ความเสียหายจากการ
ใช้กระแสเกินพิกัดหรือการลัดวงจร การจะติดตั้ง RMU ได้นั้นจะต้องมีพื้นที่อย่างน้อย 2 x 1.5 เมตร และ
จะต้องไม่ขวางหน้าบ้านหรืออาคาร นอกจากนี้ยังต้องไม่ติดสาธารณูปโภคต่างๆ ใต้ดินด้วย

รูปที่ 2.16 Ring Main Unit

2.5.4 บ่อพักสาย (Manhole, Handhole)


การหาตาแหน่งบ่อพักสายเป็นสิ่งสาคัญมาก เพราะจะต้องมีพื้นที่เพียงพอสาหรับวางบ่อพักสาย
และต้องไม่มีสาธารณูปโภคอื่นๆ กีดขวาง ซึ่งแต่ละบ่อไม่ควรอยู่ห่างกันเกิน 200 เมตร ทั้งนี้ต้องคานึง ถึง
ผู้ ใช้ ไฟรายใหม่ ห ลั ง จากโครงการส าเร็ จ แล้ ว เพราะอาจจะต้ องท าการต่ อสายจากบ่อ พัก สายดังกล่ า ว
เพื่อจ่ายให้กับผู้ใช้ไฟรายใหม่

รูปที่ 2.17 การติดตั้งบ่อพักสาย


46

2.5.5 ชุด Riser Pole ระบบแรงสูง


ตามที่ได้กล่าวรายละเอียดชุด Riser Pole ไว้แล้วในตอนต้น ซึ่งชุด Riser Pole นี้เป็นอุปกรณ์
เชื่อมต่อระหว่างระบบเหนือดินและเคเบิลใต้ดิน หรือทาหน้าที่ตัดต่อระบบไฟฟ้า แทน RMU สาหรับ
ตาแหน่งของ Riser Pole ส่วนใหญ่จะติดตั้งภายในซอย เฉพาะบริเวณซอยที่จาเป็นต้องมีระบบแรงสูง
เข้าไปจ่ ายหรื อว่าจ าเป็ น ต้องติดตั้งหม้ อแปลง โดยจะให้ เข้าซอยไปไม่น้อยกว่า 10 เมตร หรือตาม
ความเหมาะสม เพื่อรักษาทัศนียภาพของถนนสายหลัก นอกจากนี้ตาแหน่งปักเสา จะต้องไม่ อยู่ในตาแหน่ง
หัวมุมถนนหรือจุดที่สุ่มเสี่ยงที่จะถูกรถชนอีกด้วย ซึ่งถ้ามีพื้นที่เพียงพอจะไม่ควรติดตั้ง Riser Pole 2 ชุด
ที่ต้นเดียวกัน แต่ถ้าไม่มีพื้นที่เพียงพอก็สามารถจะติดตั้งได้ ซึ่งมีรูปแบบการติดตั้งดังรูปที่ 2.18 – 2.19

รูปที่ 2.18 รูปแบบการติดตั้งเสา Riser Pole 1 วงจร

รูปที่ 2.19 รูปแบบการติดตั้งเสา Riser Pole 2 วงจร


บทที่ 3
การออกแบบเคเบิลใต้ดิน

หลังจากการสารวจพื้นที่เก็บสภาพ ณ ปัจจุบันทั้งทางกายภาพ คือสภาพถนน อาคารบ้านเรือน


ท่อประปา ท่อน้าทิ้ง และอื่น ๆ และเก็บระบบไฟฟ้าเดิมทั้งแรงสู ง หม้อแปลง แรงต่า เมนชายคา จากนั้น
ผู้สารวจจะนาข้อมูลมาใช้พิจารณาออกแบบเคเบิลใต้ดินอีกครั้ง โดยมีขั้นตอนต่างๆ เป็นดังต่อไปนี้

3.1 การคานวณโหลดจุดบริการผู้ใช้ไฟ (Customer Service Point)


ในการออกแบบระบบไฟฟ้าแรงต่า เพื่อให้ได้ขนาดหม้อแปลง สายเคเบิลและอุปกรณ์ป้องกัน
ที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่นั้นๆ จาเป็นต้องนาข้อมูลจากการสารวจ เช่น ขนาดมิเตอร์ ตาแหน่งจุดรับไฟเดิม
ตาแหน่งติดตั้งหม้อแปลง มาช่วยพิจารณา สาหรับวิธีออกแบบและคานวณหาขนาดโหลดของจุด Service
Customer ต่างๆ เช่น SL , CSL , MTB , RL จะมีขั้นตอนวิธีการคานวณหาดังนี้
- สารวจขนาดติดตั้งและจานวนมิเตอร์ และวงจรการจ่ายไฟจากหม้อแปลงแต่ละเครื่อง
- วัดโหลดสูงสุดของหม้อแปลงแต่ละฟีดเดอร์ หรือแต่ละเครื่อง
- หาค่า Co-Incident Factor ของหม้อแปลงแต่ละเครื่อง หรือของพื้นที่โครงการ
- การประเมินโหลดจุด Service Customer

ตัวอย่างการคานวณหาโหลด Service customer


การจ่ายไฟ Zone 1 (ระบบเดิม) มีหม้อแปลงขนาด 160kVA (Peak Load 39.26%) และ
ข้อมูลมิเตอร์ Zone 1 (ระยะสายเมนแรงต่าไกลสุดประมาณ 292 m.)

ตารางที่ 3.1 ข้อมูลมิเตอร์ที่รับไฟจากหม้อแปลงขนาด 160kVA


ขนาด จานวน กระแสสูงสุด ขนาด จานวน กระแสสูงสุด
มิเตอร์ มิเตอร์
5(15) 82 1,230 15(45) 2 90
1 เฟส 3 เฟส
10(30) 3 90
15(45) 3 135
กระแส 1 เฟส (IL-N) 1,455 กระแส 3 เฟส (IL-L) 90
S1P 334.6kVA S3P 62.35kVA
หมายเหตุ กระแสโหลดคานวณได้จากผลรวมของ (ขนาดมิเตอร์ x จานวนมิเตอร์ชนิดนั้น)
S1P  VL  N I L  N ;VL  N  230V , S 3 P  3VL  L I L  L ; VL  L  400V

- คานวณหาค่า Co – Incident Factor (การใช้งานโหลดพร้อมกันในแต่ละพื้นที่)

S PeakLoad 160kVA x 39.26%


Co  Incident Factor    0.16
S1P  S3P (334.6  62.35)kVA
48

*** กรณีที่คานวณค่า Co-Incident Factor มาแล้วมีค่าน้อยกว่า 0.3 เห็นควรใช้ค่า 0.33 แทน


กรณีที่คานวณค่า Co-Incident Factor มาแล้วมีค่ามากกว่า 0.3 เห็นควรให้นาค่า
Growth Rate มา Forecast Load ตามความเหมาะสมซึ่งควรจะมีค่ามากกว่า 10 %
เมื่อคานวณหาค่า Co-Incident Factor (CIF) ได้แล้ว ให้นาค่าที่ได้มาคูณกับโหลดติดตั้งมิเตอร์
ในแต่ละ Service customer เพื่อหาขนาดโหลดที่ประเมินได้ (Load Estimation) ดังตารางที่ 3.2

ตารางที่ 3.2 โหลดที่ประเมินได้ (Load Estimation)


Meter Installation Load Load
Name 1 phase 3 phase Installation CIF Estimation
5/15 A 15/45 A 30/100 15/45 30/60 30/100 (kva) (kVA)
SL1 1 4 1 2 130.20 0.33 42.97
SL2 5 1 2 221.49 0.33 73.09
MTB1 4 41.40 0.33 13.66
SL3 6 3 155.63 0.33 51.36
SL4 2 5 1 1 1 200.67 0.33 66.22
SL5 1 7 1 1 176.36 0.33 58.20
MTB2 2 20.70 0.33 6.83

เมื่อได้โหลดประเมินแล้ว ให้นาโหลดประเมินไปเขียน Single Line แรงต่า เพื่อใช้ในการจัดการ


รูปแบบการจ่ายไฟใหม่ต่อไป

3.2 การคานวณขนาดหม้อแปลง
จากขั้นตอนที่แล้ ว เราจะได้ Single Line แรงต่า และโหลดประเมินของจุด Service
Customer แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการจัดวางตาแหน่งหม้อแปลงให้เหมาะสมลงในแบบและ single line
แรงต่า เพื่อใช้ในการคานวณขนาดหม้อแปลงติดตั้งที่เหมาะสม โดยมีขั้นตอนดังนี้
- กาหนดตาแหน่งหม้อแปลงลงในแบบแผนผัง โดยทั่วไปกาหนดให้หม้อแปลงแต่ ละเครื่องมี
ระยะห่างกันโดยประมาณ 500 เมตร เนื่องจากสายเคเบิลใต้ดินแรงต่าสูงสุดที่ใช้คือขนาด 185 ต.มม. ชนิด
CV ซึ่งสามารถจ่ายโหลดได้ประมาณ 300 A ที่ระยะทาง 260 เมตร แล้วแรงดันตกไม่เกิน 5% ดังรูป 3.1
49

รูปที่ 3.1 พิกัดกระแสสูงสุดและแรงดันตกของสาย 185 Cv.

เมื่อได้ single line การจัดโหลดของหม้อแปลงแต่ละเครื่องแล้วก็สามารถรวมโหลดของหม้อแปลง


แต่ ล ะเครื่ อ งได้ หลั ง จากนั้ น ให้ น าโหลดหม้ อ แปลงแต่ ล ะเครื่ องมาหารด้ ว ย 0.6 เนื่ อ งจากก าหนดให้
หม้อแปลงติดตั้งแต่ละเครื่องจ่ายโหลดไม่เกิน 60 % เพื่อใช้ในการถ่ายเทโหลดดังรูปที่ 3.2-3.3

รูปที่ 3.2 การจ่ายไฟของหม้อแปลงในสภาวะปกติ


50

รูปที่ 3.3 การจ่ายไฟของหม้อแปลงในสภาวะฉุกเฉิน

3.3 การพิจารณาเลือกขนาดสายเคเบิลใต้ดินและแรงดันตก
3.3.1 การเลือกขนาดสายเคเบิลใต้ดินแรงต่า
เมื่อได้แบบแผนผังและ Single line แรงต่า ซึ่งมีการกาหนดขนาดโหลดที่ประเมินไว้แล้ว
ขั้นตอนต่อไปให้ทาการเลือกขนาดสายไฟฟ้าตามขนาดโหลดที่เหมาะสม โดยที่สายเมนโดยปกติเราจะใช้
ขนาด 185 CV ซึ่งสามารถรองรับกระแสสูงสุดได้ 300 A เนื่องจากในการออกแบบเรากาหนดว่าต้อง
สามารถถ่ายเทโหลดไปช่วยจ่ายหม้อแปลงเครื่องข้างเคียง กรณีเ กิดความเสียหายกับหม้อแปลงเครื่องนั้น
(N-1) จึงทาให้ เราต้องประเมิน ว่าสามารถจ่ายโหลดในแต่ล ะฟีดเดอร์รวมกันทั้งสภาวะฉุกเฉินได้ไม่เกิน
300 A (บางกรณีอาจจะเกินได้แต่ไม่เกิน 360 A) โดยพิกัดกระแสสูงสุดของสายไฟแต่ล ะขนาดสามารถดูได้
จากมาตรฐานเลขที่ 7121 ดังรูปที่ 3.4 ซึ่งกรณีที่ส ายเมนขนาด 185 CV ไม่สามารถรองรับกระแส
ขณะถ่ายเทโหลดได้ จาเป็นต้องมีการเพิ่มวงจรแรงต่าเพื่อให้สามารถถ่ายเทโหลดได้ตามความเหมาะสม
หลังจากนั้นให้พิจารณาแรงดันตกที่ไม่เกิน 5 % โดยดูตามมาตรฐาน เลขที่ 7123 ดังรูปที่ 3.5
51

รูปที่ 3.4 พิกัดกระแสสูงสุดของสายเคเบิลใต้ดินแรงต่าชนิด CV


52

รูปที่ 3.5 กราฟของแรงดันตกสาหรับสายเคเบิลใต้ดินแรงต่า 50 , 95 และ 185 CV

โดยปกติสายเคเบิลใต้ดินแรงต่าที่ กฟภ. ใช้จะมีอยู่ประมาณ 3 ขนาด คือ 50 , 95 และ 185 ต.มม.


(ใช้กับวงจรเมน) แต่เราก็สามารถออกแบบให้ใช้สายเคเบิลใต้ดินแรงต่าขนาดอื่นๆได้ตามความเหมาะสม
ของโหลดที่เราออกแบบ เช่นสายเมนที่ออกจากหม้อแปลงสามารถใช้ขนาด 240 ต.มม. ได้เพื่อลดจานวน
วงจรที่ออกจากหม้อแปลง ซึ่งจะพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป
3.3.2 การเลือกสายเคเบิลใต้ดินแรงสูง
เมื่อเราออกแบบเลือกขนาดสายเคเบิลใต้ดินแรงต่าและขนาดหม้อแปลงแล้ว สามารถ
เขียน single line แรงต่าและแผนผังแรงต่าได้แล้ว หลังจากนี้เราก็มาพิจารณาการตัดจ่ายและเลือกขนาด
สายเคเบิลใต้ดินแรงสูง โดยปกติจะแยกวงจรแรงสูงออกเป็น 2 ระบบคือสายเมนและสายสาหรับผู้ใช้ไฟ
ดังรูปที่ 3.6
53

Transformer 1 Transformer 2 Transformer 3 Transformer 4


3 22,000-400/230 3 22,000-400/230 3 22,000-400/230 3 22,000-400/230
Customer PEA Customer PEA

S S S S

50 XLPE 50 XLPE 50 XLPE


S

S
185 SAC

C
185 SAC
Source 1 240 XLPE 240 XLPE
Source 2

50 XLPE 2 MVA (Customer Line) Maximum Rate 4 MVA


240 XLPE 8 MVA (Main Line) Maximum Rate 12 MVA
รูปที่ 3.6 ตัวอย่าง Single Line แรงสูง

โดยวงจรแรงสู ง นี้ จะน าเข้ า เฉพาะซอยที่ มี แ รงสู ง เข้ า หรื อ มี ห ม้ อ แปลงที่ ต้ อ งรั บ ไฟแรงสู ง
และบริเวณที่มีผู้ใช้ไฟแรงสูง ซึ่งจะต้องมีแหล่งจ่ายไฟ (Source) อย่างน้อย 2 แหล่งจ่าย ที่เข้ามาจ่ายไฟ
บริเวณโครงการเพื่อความมั่นคงของระบบ (N-1) ในวงจรสายสาหรับผู้ใช้ไฟนั้น บริเวณต้นทางจะติดตั้ง
อุปกรณ์ตัดตอนเพื่อป้องกันกระแสเกิน เช่น Fuse (สาหรับต้น Riser Pole หรือ RMU ) หรือ Circuit
Breaker (สาหรับ RMU)
โดยปกติสายเคเบิลใต้ดินแรงสูงที่ กฟภ. ใช้จะมีอยู่ประมาณ 5 ขนาด คือ 50 , 95 , 240 (ใช้เป็น
สายเมน) , 400 (ใช้บริเวณหน้าสถานี) และ 500 ต.มม. (ใช้กับวงจร incoming) แต่เราก็สามารถออกแบบ
ให้ใช้สายเคเบิลใต้ดินแรงสูงขนาดอื่นๆได้ตามความเหมาะสมของโหลดที่เราออกแบบ
สาหรับแรงดันตกภายในสายเคเบิลใต้ดินของระบบจาหน่ายแรงสูงนั้น จะพิจารณาโดยการจาลอง
ระบบโดยใช้โปรแกรม Load Flow (DIGSILENT) แต่โดยทั่วไปการปรับปรุงระบบจาหน่ายเดิมจากระบบ
เหนือดินเป็นเคเบิลใต้ดิน ค่าแรงดันตกภายในสายจะมีค่าลดลงเนื่องจากค่าอิมพีแดนซ์ ของสายเคเบิลใต้ดิน
มีค่าน้อยกว่าสายเคเบิลอากาศ

โดยที่ สายเคเบิลอากาศขนาด 185 mm2. มีค่าความต้านทาน R=0.45996 ohm/km.


สายเคเบิลใต้ดินขนาด 240 mm2. มีค่าความต้านทาน R=0.0754 ohm/km.

3.4 การเลือกท่อร้อยสายไฟและแรงดึงสาย
เมื่อได้ขนาดสายไฟที่เราออกแบบไว้แล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการเลือกท่อสาหรับร้อยสายไฟ ซึ่งมี
กาหนดที่ต้องพิจารณาดังนี้
- จานวนท่อ
- ชนิดและขนาดท่อร้อยสายไฟ
- การคานวณแรงดึงสาย
54

จานวนท่อร้อยสายไฟ
ในการพิจารณาจานวนท่อร้อยสายไฟนั้น จะพิจารณาจากจานวนสายไฟที่ใช้ โดยมีข้อพิจารณา
ดังตารางที่ 3.1

ตารางที่ 3.3 การเลือกจานวนท่อสายไฟขั้นต่า (Minimum Required)


จานวนท่อทีใ่ ช้งาน 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15
จานวนท่อทีส่ ารอง 1 1 1 2 1 2 2 2 3 2 4 3 2 4 3
จานวนท่อทีก่ อ่ สร้าง 2 3 4 6 6 8 9 10 12 12 15 15 15 18 18

ชนิดและขนาดท่อร้อยสายไฟ
โดยทั่วไป กฟภ. จะพิจารณาใช้ท่ออโลหะชนิด HDPE ในการร้อยสายเคเบิลใต้ดิน แต่ถ้ามีกรณี
พิเศษก็สามารถเลือกท่อร้อยสายไฟชนิดอื่นๆ ได้ เช่น ท่อเหล็ก (กรณีที่ต้องรับแรงหรือมีความเสี่ยงต่อการ
ขุดเจาะมาก) หรือท่อ RTRC ซึ่งมีความทนทานและไม่ลามไฟ (ท่อ RTRC ใช้ กรณีมีจำนวนวงจรมำกๆ
และมีรูปแบบกำรก่อสร้ ำงที่เสี่ยงต่อการลามไฟ ทาให้วงจรอื่นๆ เสียหายด้วย) โดยขนาดท่อร้อยสายไฟ
ให้พิจารณาจาก Percent Area Filled (PAF) , ค่า Jam Ratio (กรณีร้อยสายมากกว่า 1 เส้นในท่อ) และ
ค่า Clearance ซึ่งมีการพิจารณาดังนี้

Percent Area Filled (PAF)


PAF คือ อัตราส่วนการใช้พื้นที่ในท่อของสายเคเบิลใต้ดิน ซึ่งมีข้อกาหนดให้สามารถใช้ได้สูงสุด
ตามตารางที่ 3.2 โดยเราสามารถคานวณค่า PAF ได้จากสูตร

พื้นที่หน้าตัดรวมภายนอกของสาย
พื้นที่หน้าตัดภายในของท่อ

(3.1)
โดยที่ n = จานวนสายเคเบิลใต้ดินในท่อ
d = เส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกของสายเคเบิลใต้ดินหน่วย : มม.
D = เส้นผ่าศูนย์กลางภายในของท่อร้อยสายไฟหน่วย : มม.
55

ตารางที่ 3.4 ค่า PAF สูงสุดที่ยอมรับได้ของท่อร้อยสายไฟ


Percent Area Filled
ชนิ ดของสายไฟฟ้ า
1 เส้น 2 เส้น 3 เส้น 4 เส้น มากกว่า 4 เส้น
สายไฟฟ้ าทุกชนิ ด 53 31 40 40 40
สายไฟฟ้ าชนิ ดมีปลอกตะกัว่ หุ ้ม 55 30 40 38 35

Jam Ratio
Jam Ratio เป็นอัตราส่วนที่บ่งบอกความเสี่ยงของการขัดกันเวลาดึงสายเคเบิลที่มากกว่า
1 เส้น โดยใน IEEE 525-2007 ได้ให้นิยามค่าไว้ดังรูปที่ 3.7

รูปที่ 3.7 ค่าที่กาหนดของ Jam Ratio ใน IEEE 525-2007

จากรูปที่ 3.7 พอสรุปได้ว่าค่า Jam Ratio ไม่ควรอยู่ในช่วง 2.8-3.0 ในช่วงที่มากกว่า 3 จะไม่เกิด


jamming และในช่วงที่น้อยกว่า 2.8 ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะเกิด jamming แต่เมื่อพิจารณา PAF ที่ 40% ของ
PAF แล้วจะได้ Jam ratio เท่ากับ 2.74 แต่กรณีที่มีการดัดโค้งงอท่อร้อยสายจะทาให้ เส้นผ่าศูนย์กลาง
ภายในของท่อร้อยสายมีค่าเพิ่มขึ้น 5% ซึ่ง Jam Ratio เพิ่มเป็น 2.87 ทาให้เข้าไปอยู่ในช่วงที่มีโอกาสเกิด
jamming ได้ ดังนั้นในกรณีที่ร้อยสายไฟผ่านท่อที่มีการโค้งงอหน้างาน (ไม่ใช่โค้งงอจาก Elbow) จึงควร
เลือกใช้ท่อที่มีค่า Jam Ratio มากกว่า 3 เท่านั้น ซึ่งสูตรสาหรับการหาค่า Jam Ratio คือ
กรณีสายเคเบิลใต้ดิน จานวนไม่เกิน 3 เส้น ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเดียวกัน ร้อยอยู่ภายในท่อ
เดียวกัน
(3.2)
56

*** ที่ใช้ 1.05 คูณเพราะมีการเผื่อเส้นผ่านศูนย์กลางภายในของท่อเพิ่มเนื่องจากการดัดโค้งท่อ***


กรณีสายเคเบิลใต้ดิน จานวนมากกว่า 3 เส้น ร้อยอยู่ภายในท่อเดียวกัน

Jam ratio = 3D / (n1d1 + n2d2 + n3d3 + … + …) (3.3)

โดยที่ D หมายถึง เส้นผ่านศูนย์กลางภายในท่อร้อยสายไฟฟ้า (มม.)


n1, n2, n3, …. หมายถึง จานวนสายเคเบิลใต้ดิน ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1, 2, 3, ….
d1, d2, d3, …. หมายถึง เส้นผ่านศูนย์กลางของสายเคเบิลใต้ดิน กลุ่มที่ 1, 2, 3, ..

ซึ่งค่า Jamming ratio จะลดลง เมื่อมีการเพิ่มขึ้นของจานวนสายเคเบิลใต้ดิน โดยปกติแล้ว


Jam ratio ที่มีค่าอยู่ในช่วง 2.8 - 3.0 เป็นช่วงค่าที่ไม่เหมาะสมสาหรับการดึงลากสาย

Clearance
ค่า Clearance เป็นค่าที่บอกถึงช่องว่างระหว่างสายด้านบนสุดกับผนังภายในของท่อ ซึ่งต้องมีค่า
ไม่น้อยกว่า 0.5 นิ้ว ซึ่งสามารถหาได้จากสูตรดังนี้

- ( - ) √ -( ) (3.4)
-

การคานวณแรงดึงสาย
ในการลากดึงสายเคเบิลในท่อนั้น เราต้องคานึงถึงแรงดึงสายเคเบิล (Pulling Tension) และ
ค่าแรงกดด้านข้าง (Side Wall Pressure) เพื่อป้องกันความเสียหายกับสายเคเบิลใต้ดิน ซึ่งจะทาให้อายุ
การใช้งานของสายเคเบิลใต้ดินน้อยลง หรืออาจจะเกิดลัดวงจรได้ ซึ่งพอสรุปวิธีการคานวณได้ดังนี้
- แบ่งช่วงของการดึงสายเคเบิลใต้ดินเป็นส่วน ๆ เช่นแยกทางตรงและทางโค้ง
- ให้ค่าแรงดึงเริ่มต้นเท่ากับ 100 kg. เป็นค่าแรงดึงทาให้ Roll สายเคเบิลเริ่มหมุน
- ค่าความเสียดทานให้มีค่าอยู่ในช่วง 0.15-0.35 โดยปกติให้ใช้ค่า 0.25 กรณี จะใช้ค่า
น้อยกว่า 0.25 ต้องระบุว่าต้องใส่สารหล่อลื่นเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ
- หาค่า Weight - Correction Factor (C)
- คานวณค่าแรงดึง โดยแรงดึงเริ่มต้นของช่ว งคือแรงดึงที่คานวณได้จากช่วงก่อนหน้า
ซึ่งต้องมีค่าไม่เกินค่าสูงสุดที่ยอมรับได้ตามมาตรฐานของ กฟภ.
- คานวณค่าแรงกดด้านข้าง โดยให้คานวณในช่วงทางโค้ง ซึ่งต้องมีค่าไม่เกินค่าสู งสุ ด
ที่ยอมรับได้ตามมาตรฐานของ กฟภ. คือ 744 kg./m.
- แรงดึงที่คานวณได้เป็นแรงดึงในสาย แต่กรณีลากดึงสายจริง แรงดึงที่วัดได้เป็นค่าแรงดึง
ที่มิเตอร์ ซึ่งจะต้องทาการแปลงค่าเพื่อเปรียบเทียบอีกครั้งหนึ่ง
57

สูตรสาหรับคานวณแรงดึงสายเคเบิล
Weight - Correction Factor (C)
เมื่อมีการติดตั้งสายเคเบิลใต้ดินในช่องเดินสายไฟฟ้า และมีจานวนของสายเคเบิลใต้ดินมากกว่า
หนึ่ งเส้ น ในกรณีเ ช่น นี้ จ ะมีแ รงลั พธ์เ กิดขึ้ น โดยแรงลั พ ธ์ทั้ง หมดจะเกิดขึ้ นที่ระหว่า งสายเคเบิล ใต้ดิ น
กับท่อร้อยสาย ซึ่งจะมีค่ามากกว่าน้าหนักรวมทั้งหมดของสายเคเบิลใต้ดิน ดัง นั้น Weight - Correction
Factor จะกาหนดได้จาก Sum(F) / Sum(w) โดยที่ W จะหมายถึงน้าหนักของสายเคเบิลใต้ดิน
ในรูปที่ 3.8 เป็นการแสดงถึงการคานวณ Weight - Correction Factor ของสายเคเบิลใต้ดิน สองเส้นที่มี
เส้นผ่านศูนย์กลางเดียวกัน



W F1
F2 F1
 1
1 1

โดยที่ F1 = W/cos = F2 ดังนั้น (F1 + F2) / 2W = C

รูปที่ 3.8 การหาค่า Weight - Correction Factor (C ) ของสายเคเบิลใต้ดินฯ 2 เส้น

สาหรับการคานวณค่า Weight - Correction Factor ภายใน กฟภ. จะสรุปค่าที่นาไปใช้งาน


โดยจานวนสายเคเบิลใต้ดินฯ ภายในท่อไม่เกิน 3 เส้นเท่านั้น ซึ่งสรุปได้ดังนี้

d แบบ Cradled : C = 1+(4/3)[d/(D-d)]2

D แบบ Triangular : C = 1/ [1-(d/(D-d))2]1/2

โดยที่ d หมายถึง เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกสายเคเบิลใต้ดิน (OD) (มม.)


D หมายถึง เส้นผ่านศูนย์กลางภายในท่อร้อยสาย (ID) (มม.)
58

การจะเลือกใช้ค่า C แบบใดนั้นจะต้องหาอัตราส่วนระหว่าง D/d ก่อน นั่นคือ


หาก D/d > 3.0 ค่า C จะใช้เป็นกรณีแบบ Cradled
และ D/d < 2.5 ค่า C จะใช้เป็นกรณีแบบ Triangular

ค่าอัตราส่วนระหว่าง D/d ที่มีค่าอยู่ระหว่าง 2.5 - 3.0 จะทาให้เกิด Jamming ในการ


ออกแบบควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ค่าอัตราส่วนระหว่าง D/d อยู่ในช่วงค่าดังกล่าว

การลากสายเคเบิลใต้ดิน ทาได้ 2 วิธี คือ


- พูลลิ่งอาย (Pulling Eye)
เหมาะสาหรับลากสายขนาดใหญ่ที่ต้องใช้แรงดึงมากๆ โดยจะบัดกรี พูลลิ่งอายติดกับสาย
ตัว น าของสายเคเบิ ล ใต้ดิ น หรื อเป็ น แบบอื่นๆก็ตาม แรงดึงที่มากที่สุ ดเมื่อลากโดยใช้พูล ลิ่ งอาย จะมุ่ ง
ประเด็น ไปที่ต้องการให้ส ายตัว นามีความปลอดภัยมากที่สุดเมื่อเกิดมีการดึงขึ้นโดยปกติแล้ วค่าแรงดึง
จะขึ้นอยู่กับขนาดและชนิดของตัวนา ฉนวนของสายเคเบิลใต้ดิน และวิธีในการดึงสายเคเบิลใต้ดิน
ในกรณีที่ตัวนาเป็นทองแดง จะมีค่าดังนี้

Tm = 0.008 NACM (ปอนด์ : lb)


= 7.162 2 NAmm (กิโลกรัม : kg)
ในกรณีที่ตัวนาเป็นอะลูมิเนียม จะมีค่าดังนี้

Tm = 0.004 NACM (ปอนด์ : lb)


= 3.581 NAmm
2 (กิโลกรัม : kg)

โดยที่ Tm หมายถึง แรงดึงสูงสุดที่สามารถยอมรับได้ (ปอนด์หรือกิโลกรัม)


ACM หมายถึง พื้นที่หน้าตัด (circular mils)
2
Amm2 หมายถึง พื้นที่หน้าตัด (mm )
N หมายถึง จานวนตัวนา
ในกรณีที่ดึงสายตัวนาเดี่ยวจานวน 3 เส้น ค่า N จะมีค่าเท่ากับ 2 และในกรณีที่ดึ งสายตัวนาเดี่ยว
มากกว่า 3 เส้นขึ้นไป ที่มีขนาดเดียวกัน แรงดึงในสายไม่ควรเกิน 60% ของแรงดึงสูงสุดในแต่ละตัวนา
ดังนั้นจะได้ว่า
ในกรณีที่ตัวนาเป็นทองแดง จะมีค่าดังนี้

Tm = 0.0048 NACM (ปอนด์ : lb)


= 4.297 NAmm
2 (กิโลกรัม : kg)

ในกรณีที่ตัวนาเป็นอะลูมิเนียม จะมีค่าดังนี้
59

Tm = 0.0024 NACM (ปอนด์ : lb)


= 2.148 NAmm
2 (กิโลกรัม : kg)

ทั้งนี้ค่าแรงดึงสูงสุดสาหรับสายตัวนาแกนเดียวจานวน 1 เส้นทุกกรณีดังกล่าวข้างต้น ไม่ควรมีค่า


เกินกว่า 5,000 ปอนด์ (2,268 กิโลกรัม) และในกรณีที่มีสายตัวนามากกว่าสองเส้นขึ้นไป ค่าแรงดึงสูงสุด
ไม่ควรมีค่าเกิน 6,000 ปอนด์ (2,722 กิโลกรัม) แต่ถ้าจะใช้ค่าแรงดึงในสายที่มากกว่าค่าลิมิตที่กาหนดไว้นี้
จะต้องได้รับการรับรองและยืนยันจากบริษัทผู้ผลิตก่อน

การจัดวางแบบกระทะหงาย การจัดวางแบบรูปสามเหลี่ยม

รูปที่ 3.9 การจัดวางสายเคเบิลใต้ดิน ภายในท่อร้อยสาย

- พูลลิ่งกริป (Pulling Grip or Basket Grip) แบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ


1) สายเคเบิลใต้ดิน ชนิดที่มีปลอกตะกั่วหุ้ม (Lead – sheathed cable) โดยใช้ชนิด
basket-weave เป็นตัวจับ แรงดึงไม่ควรเกิน 1,500 ปอนด์ (680 กิโลกรัม) ต่อเส้น โดยที่ความหนา
ของเปลือกสายเคเบิลใต้ดิน จะหาได้จากสูตร

Tm = Km πt ( D – t ) (ปอนด์)

โดยที่ Tm หมายถึง แรงดึงสูงสุดที่สามารถยอมรับได้ (ปอนด์หรือกิโลกรัม)


t หมายถึง ความหนาของปลอกตะกั่ว (นิ้ว)
D หมายถึง เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของสายเคเบิลใต้ดินฯ (นิ้ว)
มีค่าคงที่เท่ากับ 3.14
Km มีค่า 200 – 1,500 ปอนด์ต่อตาราง
นิ้ว (ขึ้นอยู่กับ Lead alloy)
* สาหรับสายเคเบิลใต้ดิน มีเปลือกสายเป็น นีโอพรีน (Neoprene jackets) ค่าแรงดึงสูงสุด จะมีค่า
ไม่เกิน 1,000 ปอนด์ (453 กิโลกรัม)

2) สายเคเบิลใต้ดิน ชนิดที่เปลือกสายไม่ใช่ตะกั่ว (Nonleaded jacketed cable) เช่น


PVC และ PE เป็นต้น มีค่าแรงดึงสูงสุดเป็น
Tm = 1,000 ปอนด์ (453 กิโลกรัม) / เส้น
60

ตามข้อ 1 และ 2 เป็นแรงดึงสูงสุดที่สามารถยอมรับได้ ถือว่าเป็นค่าที่ปลอดภัยในการลากสาย


เคเบิลใต้ดิน โดยที่สายเคเบิลใต้ดินไม่เป็นอันตรายเนื่องจากการยืดตัวของสายตัวนาหรือเปลือกสาย ซึ่ง จะ
มีผลทาให้อายุการใช้งานของสายเคเบิลใต้ดิน สั้นลง
3) สาหรับสายเคเบิลใต้ดินชนิดโคแอ๊คเชียล (Coaxial) ไทรแอ๊คเชียล (Triaxial) และ
ชนิดพิเศษอื่นๆ (Special cable) แรงดึงสายเคเบิลใต้ดิน ควรจะเป็นไปตามข้อแนะนาของบริษัทผู้ผลิต

T = แรงดึงที่เกิดขึ้นจริ ง

M = ค่าที่อ่านได้จากมิเตอร์

 = มุมของสลิง
รูปที่ 3.10 วิธีการติดตั้งมิเตอร์และการแปลงค่าที่วัดได้เพื่อเทียบเคียงกับค่าแรงดึงจากการคานวณ

แรงกดด้านข้าง (Side Wall Pressure)


เมื่อทาการดึงสายเคเบิลใต้ดิน ผ่านส่วนที่เป็นโค้งของช่องเดินสายไฟฟ้า เช่น ท่อร้อยสาย หรือกรณี
ที่ต้องการม้วนสายในล้อ ในกรณีดังกล่าวจะทาให้เกิดความดันขึ้นระหว่างสายเคเบิลใต้ดินฯ และท่อร้อย
สายหรือล้อ ซึ่งแรงดันดังกล่าวจะอธิบายในเทอมของแรงดึงหารด้วยรัศมีความโค้ ง หรือ T/R ถ้ามีแรงกด
มากๆ จะทาให้ดึงลากเคเบิลลาบากหรือถ้าฝืนลากเคเบิลโดยใช้แรงดึงที่มากเกิน ค่าที่กาหนดไว้ จะทาให้
เปลือกนอกของเคเบิลชารุดได้
สาหรับตัวนาเดี่ยวแรงกดด้านข้างสูงสุดที่ยอมรับได้ จะมีค่า 744 กิโลกรัม/เมตร นอกจากนี้ค่า T/R
จะไม่ขึ้นอยู่กับการเปลี่ ยนมุมของทิศทาง เช่น การโค้งของตัวท่อร้อยสาย แต่จะขึ้นอยู่กับแรงดึงออกจาก
ข้องอและรั ศมี ของการโค้ งงอ ซึ่ งรั ศมี ดังกล่ าวก็ คือ รั ศมี ด้ านในของท่อนั่ นเองโดยจะพิ จารณาได้ จาก
รูปที่ 3.11

 
 
R
T T
R

รูปที่ 3.11 แรงกดด้านข้าง


61

แรงกดด้านข้าง (T/R) : แรงต่อหนึ่งหน่วยความยาว = 2T sin /2R


ในกรณีที่  มีค่าน้อย ทาให้ค่า sin  มีค่าเท่ากับ  ดังนั้น 2T sin /2R = T / R
และสามารถสรุปค่าแรงกดด้านข้างของสายเคเบิลใต้ดิน ที่ใช้ภายใน กฟภ. ได้ดังนี้

- ดึงเคเบิล 1 เส้น/ท่อ
SWP = Tout / R

- ดึงเคเบิล 3 เส้น/ท่อ ( กรณีสายเคเบิลใต้ดิน วางแบบ Cradled )


SWP = (3C-2)Tout / (3R)

- ดึงเคเบิล 3 เส้น/ท่อ ( กรณีสายเคเบิลใต้ดิน วางแบบ Triangular )


SWP = CTout / (2R)

โดยที่ Tout หมายถึง แรงดึงที่ออกจากท่อโค้ง (ปอนด์หรือกิโลกรัม )


R หมายถึง รัศมีด้านในของท่อ (ฟุตหรือเมตร)
C หมายถึง Weight-correction factor

การโค้งงอของสายเคเบิลใต้ดิน (Cable Bending)


การดึงลากสายเคเบิลใต้ดิน ภายในท่อช่วงทางโค้ง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสาย
เคเบิลใต้ดิน และยิ่งติดตั้งในเคเบิลเทรย์หรือแร็ค การดึงลากสายย่อมจะก่อให้เกิดความเสียหายมากขึ้น
ทั้งนี้เพราะเป็นแผ่นโลหะ (Sheet metal) และมีสกรูหรือโบลต์ที่เป็นตัวทาให้ฉนวนเสียหายได้ เป็นผลให้
คุณสมบัติทางฟิสิกส์ ของสายเคเบิลใต้ดิน เสื่อมสภาพอันเกิดจากแรงดึงหรือแรงกดที่กระทาต่อด้านข้าง
(Side Wall Pressure) ดังนั้นสิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ คือ รัศมีส่วนโค้งของสายเคเบิลใต้ดิน
โดยยิ่งมีค่ามาก ค่าแรงกดที่กระทาต่อด้านข้างยิ่งลดลง ซึ่งจะเพิ่มคุณสมบัติทางฟิสิกส์ ของสายเคเบิลใต้ดิน
ให้ดียิ่งขึ้น ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว รัศมีส่วนโค้งของสายเคเบิลใต้ดิน จะมีความสาคัญอย่างยิ่งในการดึงลาก
สายเคเบิลใต้ดิน ซึ่ง กฟภ. ได้กาหนดเป็นค่ามาตรฐานใช้งาน โดยมีรายละเอียดดังนี้

รูปที่ 3.12 การโค้งงอของสายเคเบิลใต้ดิน


62

- สาหรับสายเคเบิลใต้ดินแรงต่าและคอนโทรลเคเบิล
R (รัศมีส่วนโค้งของสายเคเบิลใต้ดิน) อย่างน้อยเท่ากับ 12 d

- สาหรับสายเคเบิลใต้ดินแรงสูง
R (รัศมีส่วนโค้งของสายเคเบิลใต้ดิน) อย่างน้อยเท่ากับ 15 d

โดยที่ d หมายถึง เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกสายเคเบิลใต้ดิน (OD) (มม.)

การคานวณในเรื่องของสายเคเบิลใต้ดินในท่อร้อยสายไฟฟ้า
บทความนี้จะกล่าวถึงหัวข้อที่ควรระมัดระวังในการดึงลากสายเคเบิลใต้ดินและวิธีการคานวณแรงดึง
ที่จาเป็นต้องทราบเพื่อเป็นแนวทางในการควบคุมตรวจสอบ

รูปที่ 3.13 การตั้ง REEL สายเคเบิลใต้ดินที่ปากบ่อ MANHOLE เพื่อดึงลากสายเคเบิลใต้ดิน


63

แรงดึงที่เกิดกับสายเคเบิลใต้ดิน จะมี 4 ลักษณะ

1) แรงดึงสายทางตรง
สูตร T = WLCF
MH1 MH2
L

2) แรงดึงสายช่วงลาดเอียง

กรณี ดึงขึ้น : Tup = WL(CF COS SIN )



กรณี ดึงลง : Tdown = WL(CF COS SIN )
3) แรงดึงสายช่วงทางโค้งแนวราบ

ROUTE OF DUCT

สูตร TOUT = TIN Cosh (CF) + Sinh (CF) TIN2 + (WR)2


หรือ TOUT = TIN e CF (IEEE แนะนาให้ใช้ทางโค้งแนวราบและแนวดิ่งเป็นสูตรเดียวกัน)

4) แรงดึงสายช่วงโค้งขึ้น-ลง

สู ตร TOUT = TIN e CF


64

โดยจะแสดงค่าตัวแปรที่ใช้ในการคานวณแรงดึงสายทั้งหมด ตาม
ที่ 3.3 ซึ่งโดยปกติแรงดึงสายเคเบิลใต้ดิน ที่คานวณได้จากสมการช่วงทางโค้งแนวราบ (ข้อ 3) และช่วงโค้ง
ขึ้น-ลง (ข้อ 4) จะมีค่าใกล้เคียงกัน ดังนั้นเพื่อให้จดจาสู ตรได้ง่ายและสะดวกต่อการคานวณ ในทาง
ปฏิบัติการคานวณเรื่องแรงดึงสายเคเบิลใต้ดิน ส่วนมากจะใช้เพียง 3 สูตร คือสูตรในข้อ 1 , 2 และ 4
เท่านั้น

ตารางที่ 3.5 ค่าตัวแปรที่ใช้ในการคานวณแรงดึงสายทั้งหมด


Symbol Unit Drscription
T,Tin,Tout,Tmax กก. แรงดึงเคเบิลในลักษณะต่างๆ
W กก./ม. น้าหนักสายเคเบิลใต้ดิน
L ม. ความยาวสายเคเบิลใต้ดินช่วงที่พิจารณา
F - ความเสียดทานของท่อ
C - Weight – correction factor
e - Exponential
 Radian มุมที่สายเคเบิลใต้ดินเลียวโค้ง
D มม. เส้นผ่านศูนย์กลางภายในของท่อร้อยสาย
D มม. เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของสายเคเบิลใต้ดิน
R ม. รัศมีการเลียวโค้งของสายเคเบิลใต้ดิน
∞ - มุมของการลาดเอียงจากแนวระดับ
Sin, Cos, Sinh,Cosh - ตรีโกณมิติ
65

ตัวอย่างการคานวณแรงดึง
จากรูปให้ตรวจสอบว่าการดึงลากสายจะมีปัญหาหรือไม่
CB
ข้อมูล
1. ใช้สายเคเบิลใต้ดินขนาด 240 ต.มม มี OD. = 42 มม.
น้าหนัก = 12.18 กก. / กม. / 3 เส้น
2. ใช้ท่อ HDPE PN 6.3 ขนาด ID = 144.6 มม.
Friction (F) = 0.4
3. ใช้ Pulling Eye จับตัวนา ในการดึงลากสายเคเบิลใต้ดิน
หาค่า Percent Area Fill (PAF) โดยร้อยสายเคเบิล 3 เส้นต่อท่อ ค่า PAF ต้อง
ไม่เกิน 40 %
2
d 
PAF  n     100
D 
2
 42 
PAF  3     100
 144 . 6 
PAF  25 . 309 %  40 % OK
หาค่า Jam Ratio
Jam Ratio = 1 . 05  D
d
144 . 6
= 1 . 05 
42
= 3.615 > 3.0 OK

หาค่า Weight Correction Factor ( C ) โดยที่


D/d = 144.6/42
= 3.44 > 3.0 (สายวางตัวแบบ CRADLED)
C  1  (4/3) x [d/(D  d)] 2
C  1  (4/3) x [42/(144.6  42)] 2
= 1.223

การดึงลากสายเคเบิลใต้ดินจะพิจารณาวิธีการดึง 2 วิธีคือ
วิธีที่ 1 ตั้ง Reel สายเคเบิลใต้ดินที่ Control Building ดึงจาก Control Building (CB) ไป D
TA = TIN + WLCF ; TIN = Reel Back Tension = 50 Kg
= 50 + (12.18 x 14.4 x 1.223 x 0.4)
= 135.80 kg
66

TB = TA e CF ;  = 60O x 3.1416 / 180O = 1.0472


= 135.80 x e 1.223x0.4x1.0472
= 226.67 kg
TC = TB + WLCF
= 226.67 + ( 12.18 x 53.5 x 1.223 x 0.4 )
= 545.45 kg
TD = TC e CF ;  = 90O x 3.1416 / 180O = 1.5708
= 545.45 x e 1.223x0.4x1.5708
= 1,176.20 kg

ตรวจสอบ
TMAX = 7.162 nAmm 2
= 7.162 x 2 x 240
= 3,437.76 kg
แต่จะใช้แรงดึงสายเคเบิลใต้ดิน ไม่เกิน 2,722 kg ดังนั้น 2,722 kg > 1,176.20 kg ..OK และ
ถ้าใช้ Pulling Grip จับที่เปลือกสาย จะไม่ผ่าน (1,176.20 kg > 2 x 453 kg ) )
SWP ( ที่จุด A-B ) = (3C-2)TB / 3R
= (3x1.223-2)x226.67 / (3x12.8)
= 9.85 kg / m < 450 kg / m OK
SWP ( ที่จุด C-D ) = (3C-2)TD / 3R
= (3x1.223-2)x1,176.20 / (3x1)
= 654.36 kg / m > 450 kg / m NO

วิธีที่ 2 ตั้ง Reel สายเคเบิลใต้ดินที่จุด D ดึงจาก D ไป Control Building(CB)


TC = TIN e CF ; TIN = Reel Back Tension = 50 Kg
= 50 x e 1.223x0.4x1.5708 ;  = 90O x 3.1416 / 180O = 1.5708
= 107.8 kg

TB = TC + WLCF
= 107.8 + ( 12.18 x 53.5 x 1.223 x 0.4 )
= 426.57 kg
TA = TB e CF ;  = 60O x 3.1416 / 180O = 1.0472
= 426.57 x e 1.223x0.4x1.0472
= 711.99 kg
67

T CB = TA + WLCF
= 711.99 + (12.18 x 14.4 x 1.223 x 0.4)
= 797.79 kg
ตรวจสอบ
TMAX = 7.162 nAmm 2
= 7.162 x 2 x 240
= 3,437.76 kg
แต่จะใช้แรงดึงสายเคเบิลใต้ดินฯ ไม่เกิน 2,722 kg ดังนั้น 2,722 kg > 797.79 kg OK และถ้าใช้
Pulling Grip จับที่เปลือกสาย จะผ่านเช่นกัน (797.93 kg < 2 x 453 kg )

SWP ( ที่จุด D-C ) = (3C-2)TC / 3R


= (3x1.223-2)x107.8 / (3x1)
= 59.97 kg / m < 450 kg / m OK
SWP ( ที่จุด B-A ) = (3C-2)TA / 3R
= (3x1.223-2)x711.99 / (3x12.80)
= 30.95 kg / m < 450 kg / m OK

สรุปเป็นตารางการคานวณแรงดึงสายเคเบิลใต้ดินฯ ที่เกิดขึ้น ณ ตาแหน่งต่างๆ ได้คือ

ตารางที่ 3.6 การคานวณแรงดึงสายเคเบิลใต้ดินฯ ที่เกิดขึ้น ณ ตาแหน่งต่างๆ


วิธีที่ 1 วิธีที่ 2 Side wall Pressure
ที่จุด
ดึงจาก CB ไป TMAX ดึงจาก D TMAX
ตาแหน่ง CB ไป D D ไป CB
D ไป CB
CB 0.00 - 797.79 797.79
A 135.80 - 711.99 -
9.85 (OK) 30.95 (OK)
B 226.67 - 426.57 -
C 545.45 - 107.8 -
D 1,176.20 1,176.2 0.00 - 654.43 (OK) 59.97 (OK)
0
สรุป
1.จากการตรวจสอบจะเห็นว่าทิศทางการดึงลากสายเคเบิลใต้ดินที่แตกต่างกันจะทาให้ได้ค่าแรงดึง
ใช้งานที่แตกต่างกันและมีผลทาให้สายอาจชารุดได้หากใช้วิธีการดึงลากสายเคเบิลใต้ดินวิธีที่ 1 (ดึงจาก
Control Building (CB) ไป D )
2.ส่วนใหญ่ค่าแรงดึงที่ใช้งานจะไม่เกินค่าแรงดึงสูงสุดของสายเคเบิลใต้ดิน แต่ปัญหาที่พบบ่อยๆ
และเป็นจุดสาคัญ (แต่มักมองข้าม) คือ ค่าแรงกดที่สายเคเบิลใต้ดินกระทากับผนังภายในท่อ (Side wall
Pressure) เพราะส่วนใหญ่ในช่วงเข้าโค้ง ถ้ารัศมีช่วงเข้าโค้งสั้นๆ จะมีปัญหานี้ เกิดขึ้นทันทีกับอีกประเด็น
68

หนึ่งก็คือ ทิศทางที่ป้อนสายควรจะป้อนในจุดที่ใกล้ช่วงทางโค้งหรือที่จุดโค้งจะทาให้ลดแรงกดที่ผนังท่อ
ด้านในได้มาก

รูปที่ 3.14 การใช้สารหล่อลื่นช่วยในการดึงลากสายเคเบิลใต้ดิน

3.5 การต่อลงดิน (Grounding)


การต่อลงดินของระบบไฟฟ้ากาลัง หมายถึง การฝังแท่งสายดินไว้ใต้ดินที่ตาแหน่งต่างๆ และ
ต่อเชื่อมเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยสายตัวนาที่เรียกว่า สายดิน หรือสายป้องกัน ในตาแหน่งที่เป็นส่วนหนึ่ง
ของวงจรไฟฟ้า ซึ่งการต่อลงดินในระบบเคเบิลใต้ดินของ กฟภ. สามารถแบ่งลักษณะของการต่อลงดิน
ได้เป็น 2 ลักษณะด้วยกัน คือ
1) การต่อลงดินเพื่อป้องกัน
ส่ ว นต่างๆของอุป กรณ์ไฟฟ้าในระบบเคเบิล ใต้ดิน โดยปกติจะไม่ใช่เป็นส่ ว นหนึ่งของวงจร
กระแสไฟฟ้าแต่เนื่องจากเกิดการเสื่อมสภาพของฉนวนไฟฟ้าเนื่องจากเมื่อมีแรงดันไฟฟ้าสูงเกิน (Surge
Voltage) และเกิดการเบรคดาวน์ผ่านหรือฉนวนไฟฟ้าทะลุ ทาให้ส่วนที่เป็นโลหะของอุปกรณ์ไฟฟ้านั้น
อยู่ภายใต้แรงดันไฟฟ้า ที่มีขนาดพอที่ทาให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้ เช่น เคเบิลแร็ค (Cable Rack)
เสารับเคเบิลแรงสูง (H.T. Cable Racking pole) ที่อยู่ภายในบ่อพักสาย Manhole หรือ Handhole
หรือ ที่สายต่อลงดิน (Shield Wire) ของสายเคเบิลใต้ดิน เนื่องจากสายเคเบิลใต้ดิน เมื่อมีกระแสไหลผ่าน
จะทาให้เกิดแรงดันเหนี่ยวนาขึ้นที่สายต่อลงดิน (Shield Wire) ซึ่งในหลักการจะออกแบบกาหนดให้
แรงดันไฟฟ้าสัมผัสเกิดที่สายต่อลงดิน มีค่าไม่ เกิน 65 V ดังนั้นจึงจาเป็นต้องมี การป้องกันอันตรายที่จะ
เกิ ด กั บ ผู้ ป ฏิ บั ติ ง านจากแรงดั น ไฟฟ้ า สั ม ผั ส สู ง เกิ น ไป ด้ ว ยการต่ อ สายดิ น ให้ กั บ อุ ป กรณ์ ไ ฟฟ้ า ต่ า งๆ
โดยเรียกการต่อลงดินนี้ว่า “ การต่อลงดินเพื่อป้องกัน ”
2) การต่อลงดินเพื่อการทางานของระบบ
เป็น การต่อ ลงดิน ของอุป กรณ์ไ ฟฟ้า ในระบบ เพื ่อ วัต ถุป ระสงค์ใ ห้ร ะบบมีเ สถีย รภาพ
ในการทางานยิ่งขึ้น เช่น การต่อลงดินของหม้อแปลงไฟฟ้า และการต่อลงดินของหม้อแปลงกระแสไฟฟ้า
การต่อลงดินของสายกลางในระบบไฟฟ้า และการต่อลงดินของข่ายงานไฟฟ้าผ่านตัวความต้านทานไฟฟ้า
เป็นต้น สาหรับระบบเคเบิลใต้ดิน จะเป็นการต่อลงดินของสายต่อลงดิน (Shield Wire) ของสายเคเบิล
69

ใต้ดิน เช่นเดียวกับการต่อลงดินเพื่อป้องกัน เนื่องจากว่าสายเคเบิลใต้ดินจาเป็นต้องมีการต่อลงดินด้านใด


ด้ า นหนึ่ ง ของสายเคเบิ ล ใต้ ดิ น เสมอ (สายต่ อ ลงดิ น (Shield Wire) ห้ า มปล่ อ ยลอยทั้ ง สองด้ า น
เพื่อให้สนามไฟฟ้าจากสายตัวนากระจายไปยังสายต่อลงดิน (Shield Wire) อย่างสม่าเสมอ ป้องกันการเกิด
เบรคดาวน์ที่ฉนวน XLPE ของสายเคเบิลใต้ดิน และกรณีการต่อลงดินที่เสาต้น Riser Pole (มีการต่อลงดิน
ของกับดักเสิร์จและปลายสายเคเบิลใต้ดิน) ซึ่งกาหนดให้ความต้านทานดินรวมมีค่าไม่เกิน 2 โอห์ม สาหรับ
ระบบ 115 kV และไม่เกิน 5 โอห์ม (ในอนาคตอาจกาหนดให้ไม่เกิน 2 โอห์ม) สาหรับระบบจาหน่าย
22 & 33 kV (ยอมให้มีค่าไม่เกิน 25 โอห์ม สาหรับในพื้นที่ยากแก่การทาค่าความต้านทานดิน) เพื่อให้
แรงดันไฟฟ้าต่อดิน (UE) มีค่าไม่เกินกว่าที่อุปกรณ์ไฟฟ้าบนเสาต้น Riser Pole จะทนได้ โดยเรียก
การต่อลงดินนี้ว่า “ การต่อลงดินเพื่อการทางานของระบบ ”

การต่อลงดิน (Grounding) ของระบบเคเบิลใต้ดินของ กฟภ.


- การต่อลงดินเพื่อป้องกัน ตามรูปที่ 3.15-3.16 จะแสดงรูปแบบการต่อลงดินที่เคเบิล แร็ค
(Cable Rack) และเสารับเคเบิลแรงสูง (H.T. Cable Racking pole) ที่อยู่ภายในบ่อพักสาย Manhole
หรือ Handhole

รูปที่ 3.15 การต่อลงดินเพื่อป้องกันสาหรับเคเบิลแร็ค สาหรับระบบ 22 และ 33 kV


70

รูปที่ 3.16 การต่อลงดินเพื่อป้องกันสาหรับเสารับเคเบิลแรงสูงสาหรับระบบ 22,33 และ 115 kV

โดยค่าความต้านทานดินที่ต่ออยู่ในบ่อพัก Manhole ควรมีค่าไม่เกิน 5 โอห์ม และยอมให้มี


ค่าไม่เกิน 25 โอห์ม สาหรับในพื้นที่ยากแก่การทาค่าความต้านทานดิน
สาหรับรูปแบบการต่อลงดิน ภายในบ่อพัก Manhole จะแสดงได้ดังรูปที่ 3.17 และสามารถ
ดู ร ายละเอี ย ดเพิ่ ม เติ ม ได้ จ ากแบบมาตรฐานการก่ อ สร้ า งของ กฟภ. แบบเลขที่ SA1-015/31023
การประกอบเลขที่ 7341 ทั้งนี้ตาแหน่งในการติดตั้งเคเบิลแร็ค และเสารับเคเบิลแรงสูง จะระบุไว้ในแบบ
Manhole แต่ละชนิดนั้นๆ
71

รูปที่ 3.17 การต่อลงดินในบ่อพัก Manhole สาหรับเคเบิลแร็ค สาหรับระบบ 22 และ 33 kV (กรณี


มี Splice สาหรับต่อสายเคเบิลใต้ดิน ก็ให้ต่อลงดิน ณ จุดนี้)

- การต่อลงดิน เพื่อการทางานของระบบ ตามที่ได้กล่ าวมาแล้ ว ว่า ในระบบเคเบิล ใต้ดิน


สายต่อลงดิน (Shield Wire) ของสายเคเบิลใต้ดิน จะต้องมีการต่อลงดินด้านใดด้านหนึ่งเสมอ เพื่อป้องกัน
การเกิดเบรคดาวน์ที่ฉนวน XLPE ทาให้ระบบไฟฟ้ามีเสถียรภาพในการทางานยิ่งขึ้น และสามารถพิจารณา
รายละเอี ย ดเพิ่ ม เติ ม ได้ จ ากแบบมาตรฐานการก่ อ สร้ า งของ กฟภ. แบบเลขที่ SA1-015/46005
การประกอบเลขที่ 7131 ซึ่งสามารถแยกรูปแบบการต่อลงดินในระบบ กฟภ. ตามระดับแรงดัน ได้ดังนี้
72

ข้อกาหนดการต่อลงดินสาหรับสายเคเบิลใต้ดิน ระบบ 22 -33 kV


- การต่อลงดินทั้งสองปลาย (Both-Ends Bonding) สาหรับระยะทางไม่เกิน 500 ม.

รูปที่ 3.18 การต่อลงดินทั้งสองปลาย (Both-Ends Bonding)

- การต่อลงดินแบบหลายจุด(Multi-points Bonding) สาหรับระยะทางมากกว่า 500 ม.

รูปที่ 3.19 การต่อลงดินแบบหลายจุด (Multi-points Bonding)

โดยหลักการแล้ ว การต่อลงดิน ของระบบ 22 – 33 kV กรณีระยะทางไม่เกิน 500 ม.


จะสามารถต่อลงดินเป็นแบบข้างเดียว (Single-point Bonding) ได้ด้วย แต่เนื่องจากเมื่อต่อลงดินแบบ
ข้างเดียวแล้ว ค่าความสามารถในการนากระแสของสายเคเบิลใต้ดิน (Ampare) จะมีค่าสูงกว่าการต่อลงดิน
แบบทั้งสองปลาย (Both-Ends Bonding) เพียงเล็กน้อย แต่เพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติงานที่จะต้องทา
การบารุงรักษาไม่ว่าจะเป็นที่ตู้สวิตช์ภายในสถานีฯ หรือที่เสาต้น Riser Pole การต่อลงดินของสายเคเบิล
ใต้ดิน ของ กฟภ. ระบบแรงดัน 22 – 33 kV จึงกาหนดให้ต่อลงดินเป็นแบบทั้งสองปลาย (Both-Ends
Bonding) แทน (ยอมให้ส ายเคเบิล ใต้ดินจ่ายกระแสได้น้อยกว่า) ซึ่งก็จะไปสอดคล้ องกับการต่อลงดิน
เพื่อป้องกัน (บุคคล) ด้วย
73

ข้อกาหนดการต่อลงดินสาหรับสายเคเบิลใต้ดินระบบ 115 kV
- การต่อลงดินข้างเดียว (Single-point Bonding) สาหรับระยะทางไม่เกิน 500 ม.

รูปที่ 3.20 การต่อลงดินข้างเดียว (Single-point Bonding)

- การต่อลงดินแบบกึ่งกลาง(Middle-point Bonding) สาหรับระยะทาง 500 –1,000 ม.

รูปที่ 3.21 การต่อลงดินแบบกึ่งกลาง (Middle-point Bonding)

- การต่อลงดินแบบไขว้ (Cross-Bonding) สาหรับระยะทางมากกว่า 1,000 ม.

รูปที่ 3.22 การต่อลงดินแบบไขว้ (Cross-Bonding)


74

ซึ่งตามทฤษฎี สายเคเบิลใต้ดินระบบ 115 kV ในทุกกรณีไม่ว่าระยะทางจะเป็นเท่าใดก็ตาม


ให้ต่อลงดินเป็นลักษณะโผล่ปลายข้างหนึ่งไว้เสมอ ห้ามต่อทั้งสองปลายสายเคเบิลใต้ดินลงดินอย่างเด็ดขาด
เนื่ องจากจะมีกระแสไหลวนภายในสายต่อลงดิน (Shield Wire) ได้ เมื่อมีกระแสไหลวน ก็จะเกิด
ความร้ อนขึ้น ภายในสายเคเบิ ล ใต้ดิน และสะสมมากจนสายเคเบิล ใต้ ดิน ระเบิดหรือช ารุ ดได้ ดังนั้ น
เมื่อจ าเป็ น ต้องต่อสายต่อลงดิน (Shield Wire) เป็นลั กษณะโผล่ปลายข้างหนึ่งไว้ สายเคเบิล ใต้ดิน
เมื่อนากระแส จะทาให้เกิดแรงดันเหนี่ยวนาขึ้นที่ปลายสายต่อลงดิน แต่ก็ถูกจากัดให้มีค่าไม่เกิน 65 V
(UB : แรงดัน สั มผั ส ) เพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ ปฏิบัติงานที่จะต้องทาการบารุงรักษา ตามที่ได้กล่ า ว
ไว้แล้วข้างต้น

ข้อกาหนดการต่อลงดิน ที่เสาต้น Riser Pole

ก. ข.

ค.
รูปที่ 3.23 ก. และ ข. การต่อลงดินที่เสาต้น Riser Pole สาหรับระบบ 22 - 33 kV
ค. การต่อลงดินที่เสาต้น Riser Pole สาหรับระบบ 115 kV
75

อุปกรณ์ที่ใช้ต่อสายระหว่างสายเปลือยกับสายเคเบิลใต้ดินที่โผล่พ้นขึ้นมาเหนือดิน จะเรียกว่า
หัวเคเบิล (Termination) และเมื่อนาอุปกรณ์ไปติดตั้งอยู่บนเสาที่มีสายเคเบิลใต้ดินที่โผล่พ้นขึ้นมาเหนือดิน
ก็จ ะเรี ย กว่า เสาต้น Riser Pole ตามทฤษฎีที่จุดต่อสายระหว่างสายเปลื อยกับสายเคเบิล ใต้ดิน
หรือระหว่างสายที่มีฉนวนมีค่าไม่เท่ากัน จาเป็นจะต้องติดตั้งกับดักเสิร์จเพื่อป้องกันไม่ให้ฉนวนของสาย
เสียหายเนื่องจากแรงดันเสิร์จ (แรงดันสูงจากฟ้าผ่า จากการสับสวิตช์ หรืออื่นๆ) โดยจะรักษาระดับแรงดัน
ไว้ไม่ให้มีค่าเกินกว่าที่อุปกรณ์ทนได้ ดังนั้นที่เสาต้น Riser Pole จะมีการติดตั้งกับดักเสิร์จอยู่ด้วย
โดยด้านบนกับดักเสิร์จจะต่อเข้ากับสายตัวนา และด้านล่างจะต่อเข้ากับสายต่อลงดินของสายเคเบิลใต้ดิน
และทั้งคู่จะต่อเข้ากับสายต่อลงดินของระบบ เพื่อต่อเข้ากับหลักดินต่อไป
ตามที่ ไ ด้ ก ล่ า วไว้ แ ล้ ว ว่ า ที่ เ สาต้ น Riser Pole จะต้ อ งมี ค่ า ความต้ า นทานที่ ต่ า
ซึ่งตามมาตรฐาน กฟภ. จะกาหนดไว้ไม่เกิน 2 โอห์ม สาหรับระบบ 115 kV และไม่เกิน 5 โอห์มสาหรับ
ระบบจาหน่าย 22 & 33 kV (ยอมให้มีค่าไม่เกิน 25 โอห์ม สาหรับในพื้นที่ยากแก่การทาค่าความต้านทาน
ดิน) เพื่อให้แรงดันไฟฟ้าต่อดินมีค่าไม่เกินกว่าที่อุปกรณ์ไฟฟ้าบนเสาต้น Riser Pole จะทนได้
ข้อสาคัญสาหรับ กรณีการต่อลงดินของสายเคเบิลใต้ดินฯ ระบบ 115 kV ที่ให้ต่อลงดิน
ข้างเดียว (Single-point Bonding) ให้ต่อลงดินที่เสาต้น Riser Pole และปลายสายต่อลงดิน (Shield
Wire) อีกข้างหนึ่ง ให้ปล่อยลอยไว้ที่อีกหัวเคเบิล ภายในสถานีไฟฟ้า

3.6 การพิจารณาติดตั้งบ่อพักสาย
ชนิดของบ่อพักสายนั้น เราจะพิจารณาจากจานวนวงจรที่จะเดินท่อผ่าน และรัศมีความโค้ง
ของสาย ซึ่งเป็นข้อจากัดในการเลือกชนิดบ่อพักสาย เช่น บ่อพักสาย 2T-8 สามารถร้อยสายไฟได้ขนาด
สูงสุดไม่เกิน 400 ต.มม. สาหรับระบบ 22 เควี และ 240 ตร.มม. สาหรับระบบ 33 เควี เป็นต้น
ต าแหน่ ง บ่ อ พั ก สายนั้ น เราจะพิ จ ารณาจากการเลี้ ย วเข้ า ไปจ่ า ยโหลดให้ ผู้ ใ ช้ ไ ฟ
จากการพิจารณาแรงดึงแล้ วจ าเป็ นต้องต่อสาย หรือการพิจารณาค่า Grounding เมื่อพิ จารณาแล้ วทั้ ง
3 กรณี ตรงไหนจาเป็นต้องมีบ่อพักสาย ก็ดาเนินการติดตั้งบ่อพักสาย โดยปกติบ่อพักสายควรอยู่ห่างกันไม่
เกิน 250 เมตร แต่ส าหรั บเคเบิล ใต้ดิน เมืองใหญ่นั้น ควรจะมีระยะบ่อไม่เกิน 150 เมตร เพื่ออนาคต
ถ้ามีผู้ใช้ไฟเกิดขึ้นจะได้ไม่ต้องไปต่อสายที่ระยะทางไกลมาก ซึ่งจะทาให้ค่าก่อสร้างสูง
บทที่ 4
การประมาณราคา
การประมาณราคา จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือราคางานโยธาและราคางานไฟฟ้าโดย
2 งานนี้จะแบ่งย่อยออกเป็น 3 งานย่อยคือ แผนกแรงสูง แผนกหม้อแปลง และแผนกแรงต่่า

รูปที่ 4.1 แผนผังรายละเอียดการประมาณราคา

4.1 การถอดแบบ
เมื่อได้แบบแผนผังที่ออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการถอดแบบประมาณ
ราคา ซึ่งมีความส่าคัญค่อนข้างมากเนื่องจากข้อมูลดังกล่าวจะใช้เป็นข้อมูลในการประมาณราคา ซึ่งได้มี
ตัวอย่างรูปแบบการถอดประมาณการ4.1 ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 แผนกดังนี้
- แผนกแรงสูง
- แผนกหม้อแปลง
- แผนกแรงต่่า

ในการถอดแบบนั้นจะด่าเนินการถอดแบบเป็นช่วง ๆ ตามลักษณะการตัดสายเคเบิล เช่น


จาก Riser 1 ถึง Riser 2, Riser 3 ถึง Riser 4 เป็นต้น โดยการวัดจะวัดระยะตามสเกลของแผนผังซึ่งจะมี
การเพิ่มระยะในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
- สายเคเบิลใต้ดินแรงสูงต้องประมาณการเพิ่มสายเคเบิลขึ้นเสาไฟฟ้าไว้ต้นละ 10 เมตร จนถึง
หัวเคเบิล (ใต้ดิน 3 เมตร และอยู่เหนือดิน 7 เมตร)

4.1
ตัวอย่างรูปแบบการถอดประมาณการ
77

- แผนกแรงต่่าให้เพิ่มประมาณการระยะจากบ่อ (Handhole) ถึงชุด Service Line (SL) หรือตู้


Meter Cabinet (MTB) แล้วแต่ระยะห่างจากแนวสายเคเบิลถึงชุด SL, MTB และให้เพิ่มสาย
เคเบิลแรงต่่าขึ้น SL, MTB, DB ประมาณ 10 เมตร

4.2 การประมาณราคางานโยธา
ราคางานโยธาประกอบด้วย
แผนกแรงสูง - วิธีการก่อสร้าง - Duct Bank
- Semi- Direct Buried
- HDD (Horizontal Directional Drilling)
- Direct Burial
- บ่อพักสาย Manhole
- ท่อโค้งขึ้นเสา (Elbow)
- คืนสภาพถนน
- หลักบอกแนวสายเคเบิล
ถ้าออกแบบวิธีการก่อสร้างด้วยวิธีการเปิดหน้าดิน ผู้ประมาณการจะต้องคิดค่าคืนสภาพ
ถนนด้วยตามปริมาณที่ด่าเนินการ เช่นเดียวกับการวางบ่อพักสาย (Manhole) ก็จะต้องคิดค่าคืนสภาพ
ถนนด้วย ทั้งนี้การคิดค่าคืนสภาพถนนนั้น จะต้องสังเกตจากสภาพผิวถนนเดิมว่าเป็นถนนประเภทใด

แผนกหม้อแปลง - ฐานตู้ Ring Main


- ฐานตู้ Compact Unit Substation

แผนกแรงต่่า - วิธีการก่อสร้าง - Duct Bank


- Semi- Direct Buried
- HDD (Horizontal Directional Drilling)
- Direct Burial
- บ่อพักสาย Handhole
- คืนสภาพถนน
- หลักบอกแนวสายเคเบิล
- ชุดจ่ายไฟแรงต่่าแบบเมนชายคา Service Line (SL - งานโยธา)
- ชุดจ่ายไฟแรงต่่าแบบติดเสา Riser Pole Low Volt (RL - งานโยธา)
- ฐานตู้ Meter Box (MTB)
- ฐานตู้ Distribution Box (DB) For Tie Line

4.3 การประมาณราคางานไฟฟ้า
ราคางานไฟฟ้าประกอบด้วย
แผนกแรงสูง - สายเคเบิลใต้ดินแรงสูง (22-33 kV)
- ชุด Riser
- Fault Indicator
78

- Termination Kit
- ชุดต่อสาย (Splice)
- เสาไฟฟ้า
- โครงเหล็กกั้นเสา (Steel guard)
- Separable Insulated Connector 3 way
ในส่วนของชุด Riser ตามเอกสารการประกอบเลขที่ 7603 และ 7611 นั้น ได้ถอดประมาณ
การจนถึง สวิตซ์ใบมีด ส่วนของหัวเสาบนสุดแยกออกมาเพื่อความสะดวก เพราะชุดหัวเสานั้นในแต่ละพื้นที่
มีความต้องการที่ไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ได้แยกชุดเข้า ปลายสาย (Termination Kits) ออกจากชุด Riser
เพราะจะได้มีการออกแบบสายเคเบิลใต้ดินได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น
แผนกหม้อแปลง - Cable Ladder พร้อมตู้ Breaker ด้านหลังหม้อแปลง (งานไฟฟ้า)
- ชุดนั่งร้านหม้อแปลง
- ชุดหม้อแปลงแขวน
- หม้อแปลงไฟฟ้า
- Ring Main Unit (RMU) พร้อมชุด Termination Kits
- Compact Unit Substation พร้อมชุด Termination Kits
- ฟิวส์ลิงค์
- เสาไฟฟ้า

แผนกแรงต่่า - สายเคเบิลใต้ดินแรงต่่า ( 400 V)


- ชุดต่อสาย (Y-Tab)
- ชุดจ่ายไฟแรงต่่าแบบเมนชายคา Service Line (SL - งานไฟฟ้า)
- ชุดจ่ายไฟแรงต่่าแบบติดเสา Riser Pole Low Volt (RL - งานไฟฟ้า)
- ตู้ Meter Box (MTB)
- ตู้ Distribution Box (DB) For Tie Line
- เสาไฟฟ้าแรงต่่า
4.4 ข้อกาหนดราคาและวิธีประมาณราคา
1) ราคามาตรฐานพัสดุ และผลิ ตภัณฑ์คอนกรี ต ของ กฟภ. ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงทุกๆ
ไตรมาส และแต่ละภาคจะมีราคางานคอนกรีตที่ไม่เท่ากัน พัสดุหลักจะเป็นพัสดุรหัส 10 หลัก ของ กฟภ.
สามารถดาวน์โหลดได้จาก อินทราเน็ท (Intranet) ของ กฟภ. โดยการล๊อกอินที่เอ็กซ์ทราเน็ท (Extranet)
แล้วเลือกที่ ระบบบริหารพัสดุ และราคามาตรฐานพัสดุ
2) ราคางานโยธาจาก กองบริการงานโยธา (กบย.) 4.2 หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
- วิธีการก่อสร้าง - กลุ่มท่อคอนกรีต (Duct Bank)
- การร้อยท่อฝังดิน (Semi-Direct Burial)
- การเจาะในแนวราบ (HDD (Horizontal Directional Drilling))
- การฝังดินโดยตรง (Direct Burial)

4.2
ตัวอย่างการขอราคางานโยธาจาก กบย.
79

- บ่อพักสาย (Manhole, Handhole)


- ท่อโค้งขึ้นเสา (Elbow)
- โครงเหล็กกั้นเสา (Steel guard)
- คืนสภาพถนน
- หลักบอกแนวสายเคเบิล
- ฐานตู้ Meter Box (MTB)
- ฐานตู้ Ring Main
- ฐานตู้ Compact Unit Substation

3) อุปกรณ์ที่ไม่มีราคาให้สอบถามราคาจากบริษัทจ่านวน 3 บริษัท เพื่อเปรียบเทียบราคา


และใช้ราคาที่ถูกที่สุด หากสอบถามไม่ได้ 3 บริษัทให้ขออนุมัติผู้บังคับบัญชาตามสายงานเป็นกรณี ๆ ไป
4) หลักเกณฑ์จัดท่าประมาณการค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง, รื้อถอน, ย้ายระบบไฟฟ้า ฉบับ
ปรับปรุง พ.ศ. 2557 ซึ่งใช้เป็นเอกสารอ้างอิงราคา
- ราคาค่าแรงในการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ของ กฟภ.
- การคิดค่าควบคุมงาน คิดที่ 30% ของค่าแรงทั้งหมด
- การคิดค่าขนส่ง
อุปกรณ์แผนกแรงสูงและแผนกแรงต่่า คิดค่าขนส่ง 5% ของค่าอุปกรณ์
อุปกรณ์แผนกหม้อแปลง คิดค่าขนส่ง 1.5% ของค่าอุปกรณ์
- ค่าเบ็ดเตล็ด 5% ของค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมด
- ค่าใช้จ่ายในการด่าเนินการ
อุปกรณ์แผนกแรงสูงและแผนกแรงต่่า คิดค่าใช้จ่ายในการด่าเนินการ 5% ของ
ค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมด
อุปกรณ์แผนกหม้อแปลง คิดค่าใช้จ่ายในการด่าเนินการ 2% ของค่าใช้จ่ายรวม
ทั้งหมด

4.5 ข้อกาหนดและเงื่อนไขของ กฟภ.


1) การแจ้ งค่าใช้จ่ า ยในกรณีขององค์ กรปกครองส่ ว นท้ องถิ่น เป็นผู้ ร้องขอให้ กฟภ.
ด่าเนินการด่าเนินโครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นเคเบิลใต้ดิน และเมื่องานแล้วเสร็จส่งมอบทรัพย์สินให้
กฟภ. โดย กฟภ. จะเป็นผู้ส่ารวจออกแบบหรือให้ความเห็นชอบแบบในกรณี ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เป็นผู้ออกแบบเอง ส่าหรับงานก่อสร้าง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นผู้ด่าเนินการเองทั้งหมดก็ได้
โดยมีเจ้าหน้าที่ของ กฟภ. ร่วมควบคุมงานก่อสร้างโดยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขแนบ หรือจะให้ กฟภ.
ด่ า เนิ น การเฉพาะงานไฟฟ้ า หรื อ ทั้ ง หมดก็ ไ ด้ ทั้ ง นี้ กฟภ. จะไม่ เ รี ย บเก็ บ ค่ า ใช้ จ่ า ยในการออกแบบ
ตรวจสอบแบบ และค่าควบคุมงาน4.3 รวมถึงค่าปรับปรุงและรื้อถอน4.4 ด้วย
2) กรณีโครงการนอกแผนของ กฟภ. การลงทุนค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็น
เคเบิลใต้ดินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องเป็นผู้ลงทุน 100% ทั้งงานไฟฟ้าและงานโยธาในเบื้องต้น

4.3
ตามอนุมัติ ผวก. ลว. 4 มีนาคม 2549
4.4
ตามอนุมตั ิ ผวก. ลว. 22 ตุลาคม 2528
80

หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องการงบประมาณสนับสนุนจาก กฟภ. จะต้องท่าหนังสือถึง กฟภ.เพื่อขอ


งบประมาณสนับสนุน โดย กฟภ. จะพิจารณาสนับสนุนงบในส่วนของงานไฟฟ้าทั้งหมดรวมถึงการลงทุน
Compact Unit Substation4.5 ด้วย
3) ถ้าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องการที่จะเป็น ผู้ด่าเนินการเองทั้งหมด หรือส่วนใดส่วน
หนึ่ง จะต้องท่าหนังสือสัญญารับประกันคุณภาพผลงานเป็นเวลา 2 ปี นับจากวันที่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นเรียบร้อยแล้ว และจั ดท่าหนังสือค้่าประกันของธนาคารที่ การไฟฟ้าส่วน
ภูมิภาคเชื่อถือ ในวงเงินร้อยละ 10 ของราคารวมทั้งหมดที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ด่าเนินการ
เพื่อประกันคุณภาพงานต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโดยมีเงื่อนไข4.6 ทั้งนี้เงื่อนไขอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้

“ เงื่อนไขต่างๆ ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องปฏิบัติ ”
1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องก่อสร้างระบบจ่าหน่ายเคเบิลใต้ดินแรงสูง,แรงต่่า และ
หม้อแปลงตามแบบที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคออกแบบให้และจะต้องก่อสร้างตามมาตรฐานของการไฟฟ้าส่วน
ภู มิ ภ าค โดยอุ ป กรณ์ ที่ จ ะน่ า มาใช้ ง านต้ อ งผ่ า นการทดสอบคุ ณ ภาพจากการไฟฟ้ า ส่ ว นภู มิ ภ าคก่ อ น
ด่าเนินการติดตั้ง ทั้งนี้ จะต้องส่งรายชื่อวิศวกรผู้ควบคุมงานและบริษัทผู้รับจ้างให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ก่อนด่าเนินงานก่อสร้าง
2 การไฟฟ้ า ส่ ว นภู มิ ภ าคจะแต่ ง ตั้ ง ผู้ แ ทนของการไฟฟ้ า ส่ ว นภู มิ ภ าคเพื่ อ ควบคุ ม ดู แ ล
การก่อสร้างอย่างไรก็ตามองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังคงจะต้องรับผิดชอบต่ออุปัทวเหตุ หรือ ภยันตราย
ความเสี ยหายใดๆ ที่เกิดจากการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่ วนท้องถิ่น หรือ ผู้ รับจ้างขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นเอง
3 กรณีที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มีความจ่าเป็นต้องเปลี่ยนแปลง แก้ไข ระบบจ่าหน่ายเคเบิล
ใต้ดินแรงสูง,แรงต่่า และหม้อแปลง ระหว่างการก่อสร้างเพื่อความเหมาะสมและสอดคล้องกับการใช้ไฟ
องค์กรปกครองส่ ว นท้องถิ่น จะต้องด่าเนินการตามรูปแบบที่แก้ไขใหม่ โดยองค์กรปกครองส่ วนท้องถิ่น
เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด
4 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องท่าสัญญารับประกันคุณภาพผลงานต่อการไฟฟ้าส่วน
ภูมิภาค ตามแบบฟอร์มที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคก่าหนดเพื่อรับประกันคุณภาพผลงานเป็นเวลาไม่น้อยกว่า
2 ปี ก่อนที่จะเข้าด่าเนินการก่อสร้าง

4.5
ตามอนุมตั ิ ผวก. ลว. 27 สิงหาคม 2557
4.6
ตัวอย่างหนังสือหนังสือสัญญารับประกันคุณภาพผลงาน
บทที่ 5
ตัวอย่างการออกแบบงานเคเบิลใต้ดิน
5.1 โครงการปรับปรุงระบบจาหน่ายเป็นแบบเคเบิลใต้ดินบริเวณถนนพระพันวษา (แยกเทศบาล
เมืองสุพรรณบุรี – แยกนางพิม) จ.สุพรรณบุรี
5.1.1 หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (งานระบบไฟฟ้า), กรมการท่องเที่ยว (งานโยธา)
5.1.2 ลักษณะของโครงการ :
- เป็ น โครงการที่ ก รมการท่ อ งเที่ ย ว ขอให้ กฟภ. ช่ ว ยปรั บ ปรุ ง ภู มิ ทั ศ น์ แ ละพั ฒ นา
แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว โดยเปลี่ ย นระบบจ่ า หน่ า ย 22 เควี และระบบแรงต่่ า 400 โวลต์
จากสายอากาศเป็ นระบบเคเบิลใต้ดิน บริเวณถนนพระพันวษา ระยะทางประมาณ
1.5 กิโลเมตร
- กฟภ. เป็ น ผู้ ส่ ารวจออกแบบ และประมาณการค่ าใช้จ่า ยในการปรับปรุงระบบไฟฟ้ า
เป็นแบบเคเบิลใต้ดิน
- กฟภ. ลงทุนและด่าเนินการก่อสร้างงานระบบไฟฟ้า กรมการท่องเที่ยวลงทุนและก่อสร้าง
งา นโ ยธ า โ ด ยก รม กา รท่ อง เที่ ยว จะ ต้ อ งก่ อส ร้ า งต าม แบ บแ ละ มา ตร ฐ า น
ของ กฟภ.
- กฟภ. จะแต่งตั้งผู้แทนส่าหรับควบคุมดูแลงานโยธาให้กรมการท่องเที่ยวอีกขั้นหนึ่ง
- เมื่ อ ก่ อสร้ า งงานโยธาแล้ ว เสร็จ กรมการท่ อ งเที่ ย วจะต้ อ งส่ ง มอบทรั พ ย์สิ น ให้ กฟภ.
จากนั้น กฟภ. จะด่าเนินการก่อสร้างงานระบบไฟฟ้า
5.1.3 ปริมาณงาน :
1) งานระบบไฟฟ้า
แผนกแรงสูง (งานเคเบิลใต้ดิน)
- ปั ก เสา คอร.ขนาด 12.00 เมตร, 12.20 เมตร จ่ านวน 1 ต้ น และ 6 ต้ น
ตามล่าดับ
- ติดตั้ง Riser Pole ส่าหรับเสา 12.00 - 12.20 เมตร จ่านวน 20 ชุด
- ร้ อยสายเคเบิ ล ใต้ดิ น XLPE ระบบ 22 เควี ตัว น่ าทองแดงชนิดแกนเดี่ย ว
ขนาด 50 ต.มม. และ 240 ต.มม. ระยะทาง 577 เมตร และ 1,428 เมตร
ตามล่าดับ
- ติดตั้ง Ring Main Unit (2 Switch 2 Fuse) จ่านวน 1 ชุด
- ติดตั้ง Fault Indicator จ่านวน 14 ชุด
แผนกหม้อแปลง
- รื้อถอนหม้อแปลงระบบ 3 เฟส 22,000 - 400/230 โวลต์ 100 เควีเอ จ่านวน
2 เครื่อง (ทรัพย์สินผู้ใช้ไฟ) แล้วน่ากลับมาใช้งานใหม่ทั้งหมด
- ปักเสา คอร. ขนาด 12.20 เมตร ประกอบชุดนั่งร้านหม้อแปลง จ่านวน 1 ต้น
พร้อมเทคอนกรีตหุ้มโคนเสา
82

- ติดตั้งหม้อแปลงระบบ 3 เฟส 22,000 – 400/230 โวลต์ 500 เควีเอ จ่านวน


1 เครื่อง
- ติดตั้ง Compact Unit Substation จ่านวน 3 ชุด (หม้อแปลงขนาด 250 และ
630 เควีเอ ชนิดละ 1 และ 2 เครื่อง ตามล่าดับ)
แผนกแรงต่่า (งานเคเบิลใต้ดิน)
- ปักเสา คอร.ขนาด 9 เมตร และเสา คอร.ขนาดสู งเท่าเมนชายคา (เบิกเสา
9 เมตร แล้วน่ามาตัด) จ่านวน 4 ต้น และ 1 ต้น ตามล่าดับ
- ติดตั้งชุดหัวเคเบิลแรงต่่า (LT. Cable Riser) จ่านวน 13 ชุด
- ร้อยสายเคเบิลใต้ดินแรงต่่า ตัวน่าทองแดงชนิดแกนเดี่ ยว (CV) ขนาด 95 ต.มม.
และ 185 ต.มม. ระยะทาง 212 เมตร และ 2,026 เมตร ตามล่าดับ
- ติดตั้งชุดจ่ายไฟแรงต่่า (Service Line) จ่านวน 20 ชุด
- ติดตั้งชุดมิเตอร์จ่ายไฟแรงต่่า (Service Meter) จ่านวน 1 ชุด
- ติดตั้ง Meter Cabinet จ่านวน 4 ตู้
- ติดตั้ง Distribution Box จ่านวน 1 ตู้
แผนกแรงต่่าหลังมิเตอร์ (งานเคเบิลใต้ดิน)
- ปักเสา คอร.ขนาด 6.00 เมตร จ่านวน 5 ต้น
- ร้อยสายเคเบิลใต้ดินแรงต่่าหลังมิเตอร์ ตัวน่าทองแดงชนิดแกนเดี่ยว (CV) ขนาด
25 ต.มม. ระยะทาง 45 เมตร
2) งานโยธา
แผนกแรงสูง (งานเคเบิลใต้ดิน)
- ก่อสร้างบ่อพัก Manhole Type 2T-8 (ไม่ตอกเสาเข็ม) จ่านวน 15 บ่อ
- ก่อสร้างท่อร้อยสายไฟ HDPE แบบ Horizontal Directional Drilling ชนิด PN
10 ขนาด 2-160 มม., 4-160 มม. และ 6-160 มม. เป็นระยะทาง 278 เมตร,
534 เมตร และ 301 เมตร ตามล่าดับ
- ก่อสร้างท่อร้อยสายไฟ HDPE แบบ Semi Direct Burial ชนิด PN 8 ขนาด
2-160 มม. และ 6-160 มม. เป็นระยะทาง 25 เมตร และ 5 เมตร ตามล่าดับ
แผนกแรงต่่า (งานเคเบิลใต้ดิน)
- ก่อสร้างบ่อพัก Handhole Type HH-1 (ไม่ตอกเสาเข็ม) จ่านวน 36 บ่อ
- ก่อสร้างท่อร้อยสายไฟ HDPE แบบ Horizontal Directional Drilling ชนิด
PN 10 ขนาด 2-90 มม., 4-90 มม. และ 6-90 มม. เป็นระยะทาง 309 เมตร,
988 เมตร และ 25 เมตร ตามล่าดับ
- ก่อสร้างท่อร้อยสายไฟ HDPE แบบ Semi Direct Burial ชนิด PN 8 ขนาด
2-90 มม., 4-90 มม. และ 6-90 มม. เป็นระยะทาง 85 เมตร, 8 เมตร และ
7 เมตร ตามล่าดับ
- ก่อสร้างท่อร้อยสายไฟแบบ Precast Duct Bank ขนาด 2x2 (ใช้ท่อ HDPE
Ø90 มม.PN.8 ) ระยะทาง 276 เมตร
83

แผนกแรงต่่าหลังมิเตอร์ (งานเคเบิลใต้ดิน)
- ก่อสร้างร้อยสายไฟฝังดินด้วยท่อ HDPE ชนิด PN.10 ขนาด 1-50 มม., 2-50 มม.
ระยะทาง 9 เมตร, 14 เมตร ตามล่าดับ
5.1.4 ขนาดของโครงการ :

ตารางที่ 5.1 เงินลงทุนก่อสร้างเคเบิลใต้ดินของโครงการฯ


รูปแบบการก่อสร้าง
แผนก งานโยธา งานไฟฟ้า
ค่าก่อสร้าง (บาท) ค่าควบคุมงาน (บาท) ค่าก่อสร้าง (บาท)
ระบบแรงสูง 16,737,000.- 1,686,038.- 15,012,000.-
แผนกหม้อแปลง 455,000.- 22,500.- 12,200,000.-
ระบบแรงต่า่ 8,498,000.- 1,170,514.- 12,119,000.-
ระบบแรงต่า่ หลังมิเตอร์ 44,000.- 2,036.- 119,000.-
รวมเป็นเงิน 25,734,000.- 2,881,088.- 39,450,000.-
ผู้ลงทุน กรมการท่องเที่ยว กฟภ.
5.1.5 วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1) ปรับปรุงทัศนียภาพและพัฒนาถนนพระพันวษาให้เป็นแหล่ งท่องเที่ยว (ถนนคนเดิน )
ตามนโยบายของรัฐบาล
2) ป้ อ งกั น อั น ตรายที่ เ กิ ด จากการพาดโยงระบบสายไฟฟ้ า ขึ ง อากาศ ซึ่ ง อาจสร้ า ง
ความเสียหายต่อคน หรือทรัพย์สิน
3) ปรับปรุงความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า
5.1.6 ประโยชน์ของโครงการ :
1) ปรับปรุงทัศนียภาพและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งช่วยสร้างความเจริญให้กับพื้นที่
2) ปรับปรุงรูปแบบการจ่ายไฟให้มีความมั่นคงเพิ่มและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดปัญหา
ไฟตก ไฟดับ และความสูญเสียในระบบไฟฟ้า
3) แก้ไขปัญหาการรบกวนระบบสื่อสาร (การเกิดโคโรนา) และปลอดภัยจากผลกระทบ
จากปรากฏการณ์ฟ้าผ่า
4) เพิ่มความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน เนื่องจากแก้ปัญหาเรื่องระยะห่างระหว่างไฟฟ้า
โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชน ซึ่งปัจจุบันยากต่อการท่าการปักเสาพาดสาย
5.1.7 หน้าที่และความรับผิดชอบ
1) ร่วมส่ารวจสภาพพื้นที่ เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพ ระบบจ่าหน่ายไฟฟ้าเดิม และ
รูปแบบการก่อสร้างที่เหมาะสม
2) ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการท่องเที่ยว เทศบาลฯ หน่วยงาน
ระบบสื่อสาร เพื่อร่วมบูรณการให้การด่าเนินงานต่างๆ เป็นไปอย่างราบรื่น และเกิด
ผลกระทบต่อประชาชนในพื้นทีน่ ้อยที่สุด
3) ออกแบบ ค่านวณ และประมาณราคางานปรับปรุ งระบบจ่าหน่ายเป็นแบบเคเบิลใต้ดิน
โดยพิ จ ารณา จากความเหมาะสมทางวิศ วกรรม (มาตรฐาน กฟภ. และ วสท.)
84

ความเหมาะสมทางกายภาพ ผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ และความเหมาะสมทาง


เศรษฐศาสตร์
5.1.8 ขั้นตอนในการดาเนินงาน
1) ศึกษาข้อมูลระบบไฟฟ้าและสาธารณูปโภคต่างๆในพืน้ ที่
เป็นการเตรียมข้อมูลในด้านต่างๆ เพื่อน่ามาใช้ในการวางแผนก่อนจะท่าการส่ารวจ
(Survey) จริง โดยข้อมูลที่ท่าการศึกษาจะประกอบไปด้วย
1.1) ข้อมูลทางกายภาพจากโปรแกรมทางด้านภูมิศาสตร์

แยกนางพิม

ข้อมูลทางกายภาพ
จาก Google Earth

เทศบาล
เมือง
สุพรรณบุรี
แยกเทศบาล

รูปที่ 5.1 ข้อมูลทางกายภาพจากโปรแกรมทางภูมิศาสตร์


1.2) ข้อมูลระบบไฟฟ้าเดิมจากโปรแกรม GIS

หอคอยบรรหารแจ่มใส

ถนนพระพันวษา ข้อมูลระบบไฟฟ้าที่ได้จาก GIS

รูปที่ 5.2 ข้อมูลระบบไฟฟ้าจากโปรแกรม GIS


85

1.3) ปริมาณการใช้ไฟฟ้าและจ่านวนอุปกรณ์ในพื้นที่
การใช้ก่าลังไฟฟ้าสูงสุดของสถานีไฟฟ้าสุพรรณบุรี (ข้อมูลจากกองวิเคราะห์และ
วางแผนระบบไฟฟ้า)

ตารางที่ 5.2 การใช้ก่าลังไฟฟ้าสูงของสถานีไฟฟ้าสุพรรณบุรี


ปี พ.ศ. 2557 2558 2559 2560 2561 2562
ก่าลังไฟฟ้าสูงสุด 46.6 MW 48.7 MW 51.4 MW 53.6 MW 55.6 MW 57.8 MW
Growth Rate - 4.51% 5.54% 4.28% 3.73% 3.96%

การใช้ก่าลังไฟฟ้าสูงสุดของในแต่ละ Feeder และจ่านวนหม้อแปลงจ่าหน่าย


ทีต่ ้องปรับปรุง

ตารางที่ 5.3 ข้อมูลการใช้ก่าลังไฟฟ้าสูงสุดในแต่ละ Feeder และจ่านวนหม้อแปลงจ่าหน่าย


หม้อแปลง กฟภ. ผู้ใช้ไฟ Feeder F1 F10
จ่านวน 8 เครื่อง 15 เครื่อง Peak Load 4.8MW 5.2MW

1.4) ข้อมูลสาธารณูปโภคใต้ดินที่ได้รับจากเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี

รูปที่ 5.3 ข้อมูลสาธารณูปโภคที่ได้รับจากเทศบาลฯ


86

2) การสารวจสภาพพื้นที่ : เป็นการเก็บข้อมูลต่างๆ ที่จะน่ามาใช้ในงานออกแบบ


ซึ่งประกอบไปด้วย
2.1) การส่ารวจระบบจ่าหน่ายและจุดรับไฟเดิม

จุดรับไฟเดิม
สภาพการจ่ายไฟเดิม

รูปที่ 5.4 สภาพระบบจ่าหน่ายในพื้นที่และจุดรับไฟเดิม


2.2) แนวสาธารณูปโภคใต้ดนิ ต่างๆ

แนวของระบบสื่อสาร
แนวท่อระบายน้าและท่อดักน้าเสีย

รูปที่ 5.5 แนวของระบบสื่อสารและแนวท่อระบายน้่าใต้ดิน


87

2.3) ต่าแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ : อุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่ ต้องขออนุญาตเบื้องต้นจาก


เจ้าของพื้นที่

Unit Sub 2 Unit Sub 3

ตาแหน่งตั้ง Tr.ผู้ใช้ไฟ Distribution box

รูปที่ 5.6 ต่าแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ส่าหรับงานเคเบิลใต้ดิน


2.4) รูปแบบการวางท่อร้อยสาย : ส่วนใหญ่ใช้วิธีการดันท่อลอด (Horizontal
Directional Drilling, HDD.)

รูปที่ 5.7 วิธีการดันท่อลอด (HDD.)


เนื่องจาก
- เทศบาลฯ ขอให้ด่าเนินการด้วยวิธีไม่เปิดหน้าดิน
- สาธารณูปโภคใต้ดินแม้จะมีมาก แต่มีแนวที่ชัดเจน
- เป็นย่านการค้าและเศรษฐกิจ มีการจราจรคับคั่ง
88

ยกเว้น บางช่วงในการก่อสร้าง จ่าเป็นที่จะต้องเปิดหน้าดิน จากข้อจ่ากัดในด้าน


การก่อสร้าง

ไปแยกเทศบาลฯ

ก่อสร้างแบบเปิดหน้าดินระยะทาง 280 เมตร

รูปที่ 5.8 พื้นที่ก่อสร้างที่จ่าเป็นจะต้องเปิดหน้าดิน


เนื่องจาก
- มีแนวท่อต่างๆเป็นจ่านวนมาก
- ก่อสร้างด้วย Precast Duct Bank เพื่อลดระยะเวลาในการท่างาน

การก่อสร้างด้วยวิธีดันท่อลอด (Horizontal Directional Drilling)

รูปที่ 5.9 ตัวอย่างแสดงการก่อสร้างด้วยวิธีดันท่อลอด

ข้อดี
- เป็ น วิ ธี ก่ อ สร้ า งแบบไม่ เ ปิ ด หน้ า ดิ น จึ ง เหมาะส่ า หรั บ พื้ น ที่ ที่ ไ ม่ ส ามารถเปิ ด
หน้าดินได้
- เป็นการก่อสร้างโดยใช้หัวเจาะน่าร่อง แล้วดึงท่อกลับ (ท่อ HDPE)
- มีความสะดวก คล่องตัวในการท่างาน
- ลดปัญหาเรื่องการจราจรได้ดีกว่า วิธีเปิดหน้าดิน
89

การก่อสร้างด้วย Precast Duct Bank

รูปที่ 5.10 ตัวอย่าง Precast Duct Bank

- เป็นวิธีก่อสร้างแบบเปิดหน้าดิน เหมาะกับพื้นที่ที่มีระบบสาธารณูปโภคใต้ดิน
เป็นจ่านวนมาก
- เป็นคอนกรีตหุ้มหล่อส่าเร็จ ยาวท่อนละ 3 เมตร มีชุดข้อต่อเพื่อที่ จะน่าคอนกรีต
แต่ละท่อนมาต่อกัน
- แก้ปัญหาเรื่องระยะเวลาในการเปิดถนน เนื่องจากไม่ต้องรอคอนกรีตเซ็ตตัว

ระดับความลึกของสายเคเบิล

ระบบ 22 เควี ระดับความลึก ≥ 1.5 m. ระบบแรงต่า่ ระดับความลึก ≥ 0.6 m.

≥0.6 m.

≥1.5 m.

รูปที่ 5.11 ระดับความลึกของสายเคเบิลใต้ดิน


90

2.5 บันทึกข้อมูลต่าแหน่งติดตั้งอุปกรณ์และแนวสายเคเบิล

จุดเริ่มต้นโครงการฯ

รูปที่ 5.12 แนวสายเคเบิลและต่าแหน่งอุปกรณ์ระบบ 22kV

3) รูปแบบการจ่ายไฟ
3.1 รูปแบบการจ่ายไฟระบบจ่าหน่าย 22kV

F1 F2 สถานีไฟฟ้า 1
8 MVA ในสภาวะปกติ
พื้นที่โซน 1,2 มีรูปแบบการจ่ายไฟแบบ N-1

F1 พื้นที่ดาเนินการ
สถานีไฟฟ้า 2 เคเบิลใต้ดิน

การจ่ายไฟแบบ Tie Line ระหว่างสายป้อน

รูปที่ 5.13 รูปแบบการจ่ายไฟระบบจ่าหน่าย 22kV


91

ส่าหรับวงจรของ กฟภ. ปัจจุบันมีใช้งาน 2 รูปแบบ


1. การติดตั้ง RMU เพื่อตัดต่อระบบ และติดตั้ง Unit Substation ส่าหรับจ่ายไฟแรงต่่า
2. การติดตั้ง Riser Pole แทน RMU และติดตั้งหม้อแปลงแอบภายในซอยส่าหรับ
จ่ายไฟแรงต่่า
ส่าหรับวงจรของผู้ใช้ไฟแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบเช่นกัน
1. การใช้ RMU สร้างวงจรเฉพาะผู้ใช้ไฟ
2. การใช้ Riser Pole สร้างวงจรเฉพาะผู้ใช้ไฟ

3.1.1) การจ่ายไฟด้วย RMU และ Unit Substation


3.3.3 การจ่ายไฟด้วย RMU และ Unit Substation
Customer Line Customer
Line
ระบบแรง
Main Line Main Line
ต่า

Customer Customer Line


Line Line ผู้ใช้ไฟ

Main Line Main Line

รูปที่ 5.14 การรูปแบบการจ่ายไฟด้วย RMU และ Unit Substation

3.1.2) การจ่ายไฟด้วยวิธีติดตั้งหม้อแปลงภายในซอย

ระบบแรงต่า ระบบแรงต่า
Main Line Main Line

Main Line Main Line

รูปที่ 5.15 การรูปแบบการจ่ายไฟด้วยวิธีติดตั้งหม้อแปลงภายในซอย


92

3.1.3) การสร้างวงจรเฉพาะผู้ใช้ไฟด้วย

หม้อแปลงผู้ใช้ไฟ

การต่อเข้าหม้อแปลงผู้ใช้ไฟ การสร้างวงจรเฉพาะผู้ใช้ไฟ
รูปที่ 5.16 การสร้างวงจรเฉพาะผู้ใช้ไฟ

3.1.4) รูปแบบการจ่ายไฟระบบจ่าหน่ายแรงต่่า
หม้อแปลงจะท่างานในสภาวะปกติที่ 60% และสามารถจ่ายไฟชดเชย Feeder อื่น
ในสภาวะฉุกเฉินได้
Tr.1 Tr.2
60% 60%สภาวะปกติ 60% 60%
30% 30% Open 30% 30%
TB TB TB
Tr.1 Tr.2
90% สภาวะฉุกเฉิน 0%
30% 60% Close 30% 30%
TB TB TB
รูปที่ 5.17 รูปแบบการจ่ายไฟของระบบแรงต่่าแบบเคเบิลใต้ดิน
93

4) อุปกรณ์และสัญลักษณ์ที่ติดตั้งในระบบเคเบิลใต้ดิน
4.1) Cable Riser - เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างระบบไฟฟ้าเหนือดินและระบบ
ไฟฟ้าใต้ดิน

สัญลักษณ์

(ระบบ 22kV)

RL
(ระบบแรงต่า)

รูปที่ 5.18 ชุด Riser Pole ระบบแรงสูงและระบบแรงต่่า

4.2) หม้อแปลง - เป็นอุปกรณ์แปลงแรงดันไฟฟ้าจากระบบแรงสูงให้เป็นระบบแรงต่่า


เพื่อจ่ายก่าลังไฟฟ้าให้กับโหลดแรงต่่า (บ้านและอาคารต่างๆ)

สัญลักษณ์

รูปที่ 5.19 ชุดหม้อแปลงนั่งร้านและหม้อแปลงแขวน


94

4.3) บ่อพักสาย (Manhole) - เป็นบ่อคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยชนิดของบ่อพักสาย


จะขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งาน เช่น การลากสาย ทิศทางของท่อร้อยสาย จ่านวนท่อร้อยสาย และการ
ตัดต่อสาย

สัญลักษณ์

รูปที่ 5.20 บ่อพักสายเคเบิลใต้ดิน

4.4) Ring Main Unit (RMU) - เป็น Switch Gear แรงสูงในระบบจ่าหน่ายไฟฟ้าแรงสูง


มีหน้าที่ตัดต่อและป้องกัน ความเสียหายจากการใช้กระแสเกินพิกัดหรือการลัดวงจร

Main Line Main Line

สัญลักษณ์

RMU
Customer Line

รูปที่ 5.21 ตู้ Ring Main Unit (RMU)


95

4.5) Compact Unit Substation - เป็นอุปกรณ์ที่มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ห้องแรงสูง


จะบรรจุ RMU ไว้ตัดต่อระบบแรงสูง ห้องหม้อแปลงไว้บรรจุหม้อแปลง และห้องแรงต่่าจะบรรจุอุปกรณ์
ป้องกันแรงต่่า
Main Line Main Line

สัญลักษณ์
Transformer
Unit Sub.

รูปที่ 5.22 ตู้ Compact Unit Substation

4.6) Distribution Box (DB) – เป็นตู้ส่าหรับกระจายสายแรงต่่าให้ผู้ใช้ไฟ สามารถเชื่อมโยง


วงจรแรงต่่าระหว่างหม้อแปลงเพื่อจ่ายในสภาวะฉุกเฉินได้ (Tie Load)

TR.1 TR.2

CB. TIE
Adjustable

CB.ย่ อย

สัญลักษณ์
DB

รูปที่ 5.23 ตู้ Distribution Box (DB)


96

4.7) Meter Box - เป็นตู้ส่าหรับใส่มิเตอร์ส่าหรับรองรับสายเคเบิลใต้ดิน

สัญลักษณ์ Outlet
Meter Line
MTB

Main Line

รูปที่ 5.24 ตู้ Meter Box

4.8) Service Line (SL) - เป็นชุดอุปกรณ์จ่ายไฟแรงต่่าให้กับผู้ใช้ไฟประเภท โดยการติดตั้ง


จะต้องวางเพื่อจ่ายไฟเข้ากับเมนชายคาเดิมได้

สัญลักษณ์
SL

รูปที่ 5.25 ชุด Service Line


97

4.9) Customer Service Line - เป็นชุดอุปกรณ์จ่ายไฟแรงต่่าให้กับผู้ใช้ไฟเฉพาะราย


อาจเกาะขึ้นผนัง หรือปักเสาสูง 3 ม. เพื่อเป็นจุดขึ้น กรณีที่ไม่สามารถเกาะผนังได้

สัญลักษณ์
CSL

รูปที่ 5.26 ชุด Customer Service Line


98

5) การออกแบบระบบจาหน่าย 22kV เป็นแบบเคเบิลใต้ดินบริเวณถนนพระพันวษา

F1

- หม้อแปลง กฟภ.
- หม้อแปลงผู้ใช้ไฟ สวนเฉลิมภัทรราชินี

พื้นที่ปัจจุบนั ไม่ได้ปักเสา
เชื่อมวงจรทั้งสอง

แยกนางพิม

F10 ถนนพระพันวษา

จุดเริ่มต้นโครงการฯ

รูปที่ 5.27 ระบบจ่าหน่าย 22kV เดิม บริเวณแยกนางพิม


99

F1

สวนเฉลิมภัทรราชินี

- หม้อแปลง กฟภ.
- หม้อแปลงผู้ใช้ไฟ

Unit
Sub.

เชื่อมโยง F1 และ F10 แยกนางพิม

F1 ถนนพระพันวษา
0

จุดเริ่มต้นโครงการฯ

TR.

รูปที่ 5.28 ระบบจ่าหน่าย 22kV แบบเคเบิลใต้ดินบริเวณแยกนางพิม


100

ข้อมูลระบบจ่าหน่าย 22kV เดิมบริเวณแยกนางพิม


- มีวงจรที่ 1 และ วงจรที่ 10 จากสถานีไฟฟ้าสุพรรณบุรี พาดผ่าน (F1 = 4.8 MW, F10 =
5.6 MW)
- วงจรที่ 10 จะผ่านถนนพระพันวษาเพียงบางช่วง
- ปัจจุบันวงจรที่ 1 และ วงจรที่ 10 ไม่ได้เชื่อมต่อถึงกัน
- มีหม้อแปลง กฟภ. 4 เครื่อง ที่จะต้องรื้อถอนและติดตั้งหม้อแปลงใหม่เพื่อจ่ายไฟทดแทน เพื่อที่จะ
ปรับปรุงทัศนียภาพตามถนนสายหลักภายในโครงการฯ

ระบบจ่าหน่าย 22kV แบบเคเบิลใต้ดินบริเวณแยกนางพิม


- จะปรับปรุงเป็นเคเบิลใต้ดินเฉพาะวงจรที่พาดผ่านถนนสายหลัก
- ติดตั้ง Unit Substation และหม้อแปลงนั่งร้านภายในซอย เพื่อจ่ายไฟทดแทนหม้อแปลง
กฟภ. เดิม
- มีการเชื่อมวงจร F1 และ F10 เข้าด้วยกัน เพื่อปรับปรุงระบบให้เป็น Open Loop Line
- วงจร กฟภ. จะใช้สายทองแดงหุ้มฉนวน XLPE แบบ Single Core 12/20(24kV) ขนาด
240 ต.มม. รองรับโหลดไม่เกิน 12.5MW ส่าหรับวงจรผู้ใช้ไฟ จะใช้สายทองแดงหุ้มฉนวน XLPE
แบบ Single Core 12/20(24kV) ขนาด 50 ต.มม. รองรับโหลดไม่เกิน 4 MW
- ส่าหรับหม้อแปลงผู้ใช้ไฟ จะจ่ายไฟคืนผ่านวงจรเฉพาะผู้ใช้ไฟ

ระบบ 22kV เดิมไม่ได้ผ่านถนนสายหลัก


F1
0

ถนนพระพันวษา

รูปที่ 5.29 ระบบจ่าหน่าย 22kV เดิมช่วงถนนพระพันวษา

- ไม่มรี ะบบจ่าหน่าย 22kV เดิมพาดผ่านบริเวณช่วงถนนพระพันวษา จึงปรับปรุงเฉพาะระบบแรงต่่า


101

ระบบจาหน่าย 22kV เดิมบริเวณแยกเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี

F1 - หม้อแปลง กฟภ.
0 - หม้อแปลงผู้ใช้ไฟ

การจ่ายไฟให้โรงพยาบาลเป็นแบบเรเดียล

แยกเทศบาล

รูปที่ 5.30 ระบบจ่าหน่าย 22kV เดิม บริเวณแยกเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี


102

F10 - หม้อแปลง กฟภ.


- หม้อแปลงผู้ใช้ไฟ

Unit Sub. เพื่อเพิ่มความมั่นคง จึงปรับปรุงระบบเป็น Loop Line

Unit Sub.

แยกเทศบาลฯ

RMU.

รูปที่ 5.31 ระบบจ่าหน่าย 22kV แบบเคเบิลใต้ดินบริเวณแยกเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี


103

ข้อมูลระบบจ่าหน่าย 22kV เดิมบริเวณแยกเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี


- วงจรที่จ่ายไฟให้โรงพยาบาลฯ มีการจ่ายไฟแบบเรเดียล
- มีหม้อแปลง กฟภ. 3 เครื่อง ที่จะต้องรื้อถอนและติดตั้งหม้อแปลงใหม่เพื่อจ่ายไฟ
ทดแทน เพื่อที่จะปรับปรุงทัศนียภาพตามถนนสายหลักภายในโครงการฯ
ระบบจ่าหน่าย 22kV แบบเคเบิลใต้ดินบริเวณแยกเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี
- ติดตั้ง Unit Substation เพื่อจ่ายไฟทดแทนหม้อแปลง กฟภ. เดิม
- เนื่ อ งจากโหลดโรงพยาบาลเป็ น โหลดส่ า คั ญ จึ ง ได้ เ ปลี่ ย นรู ป แบบการจ่ า ยไฟช่ ว งนี้ เ ป็ น แบบ
Loop Line
- ส่าหรับหม้อแปลงผู้ใช้ไฟ จะจ่ายไฟคืนผ่านวงจรเฉพาะผู้ใช้ไฟ
- วงจร กฟภ. จะใช้สายทองแดงหุ้มฉนวน XLPE แบบ Single Core 12/20(24kV) ขนาด
240 ต.มม. ส่ าหรั บ วงจรผู้ ใช้ไฟ จะใช้ส ายทองแดงหุ้ มฉนวน XLPE แบบ Single Core
12/20(24kV) ขนาด 50 ต.มม.
- การพิจารณาต่าแหน่งวางบ่อพัก จะค่านวณแรงดึงสายและแรงกดด้านข้างก่อนเสมอ ซึ่ง ส่าหรับ
งานนี้จะไม่แสดงการค่านวณไว้ ให้ดูในงานตัวอย่างที่ 2
104

6) ตัวอย่างการออกแบบระบบจาหน่ายแรงต่าเป็นแบบเคเบิลใต้ดินบริเวณถนนพระพันวษา

แยกนางพิม

วัดสุวรรณภูมิ
400kVA(33%)
แกรนด์คัลเลอร์แล็ป
250kVA (47%)

รูปที่ 5.32 ระบบจ่าหน่ายแรงต่่าเดิม ช่วงวัดสุวรรณภูมิ – แยกนางพิม


105

6.1) พิจารณาการจ่ายไฟของระบบจาหน่ายแรงต่าเดิมช่วงวัดสุวรรณภูมิ – แยกนางพิม (รูปที่ 5.32)


a) พิจารณาหม้อแปลงขนาด 400kVA (Peak Load 33%) หน้าวัดสุวรรณภูมิ (2 Feeder)

ตารางที่ 5.2 แสดงข้อมูลมิเตอร์ที่รับไฟจากหม้อแปลงขนาด 400kVA บริเวณหน้าวัดสุวรรณภูมิ


ขนาด จานวน กระแส ขนาด จานวน กระแส
มิเตอร์ (เครื่อง) สูงสุด มิเตอร์ (เครื่อง) สูงสุด
1 เฟส 5(15) 14 210A 3 เฟส 15(45) 4 180A
15(45) 31 1,395A 30(100) 1 100A
กระแส 1 เฟส (IL-N) 1,605A กระแส 3 เฟส (IL-L) 280A

จากข้อมูล สามารถค่านวณหาขนาดโหลดมิเตอร์ (Smeter) และ CIF ได้ตามสมการ


S1P  VL N I L N  (230)(1605)  369.15kVA
S 3 P  3VL L I L L  3 (400)(280)  193.9kVA
S Meter  S1P  S 3 P  563.05kVA
S Peakload 400  0.33
จะได้ Co – Incident Factor CIF    0.23
STotal 563.05
เนื่องจาก CIF มีค่าน้อยกว่า 0.3 ให้ใช้ค่า CIF = 0.33 ในการค่านวณ เพื่อรองรับโหลดในอนาคต

b) พิจารณาหม้อแปลงขนาด 250kVA (Peak Load 47%) บริเวณร้านแกรนด์คัลเลอร์แล็ป


(2 Feeder)

ตารางที่ 5.3 แสดงข้อมูลมิเตอร์ที่รับไฟจากหม้อแปลงขนาด 250kVA บริเวณร้านแกรนด์คัลเลอร์แล็ป

ขนาด จานวน กระแส ขนาด จานวน กระแส


มิเตอร์ (เครื่อง) สูงสุด มิเตอร์ (เครื่อง) สูงสุด
1 เฟส 5(15) 16 240A 3 เฟส 15(45) 6 270A
15(45) 14 630A
30(100) 1 100A
กระแส 1 เฟส (IL-N) 970A กระแส 3 เฟส (IL-L) 270A
จากข้อมูล สามารถค่านวณหาขนาดโหลดมิเตอร์ (Smeter) และ CIF ได้ตามสมการ
S1P  VL N I L N  (230)(970)  223.1kVA
S 3 P  3VL L I L L  3 (400)(270)  187.1kVA
S Meter  S1P  S 3 P  410.2kVA
S Peakload 250  0.47
จะได้ Co – Incident Factor CIF    0.29
STotal 410.2
เนื่องจาก CIF มีค่าน้อยกว่า 0.3 ให้ใช้ค่า CIF = 0.33 ในการค่านวณ เพื่อรองรับโหลดในอนาคต
106

ในการออกแบบจะพิจารณาค่าแรงดันตกให้มีค่าไม่เกิน
5% ในสภาวะปกติ และไม่เกิน 10% ในสภาวะฉุกเฉิน

260 500
m. m.
โหลดมิเตอร์ 20 เครื่อง จาก Tr.สุวรรณภูมิ
และโหลด F1 จาก Tr.แกรนด์คัลเลอร์แล็ป

แยกนางพิม

วัดสุวรรณภูมิ

322 m.

รูปที่ 5.33 ระบบจ่าหน่ายแรงต่่าแบบเคเบิลใต้ดินช่วงวัดสุวรรณภูมิ – แยกนางพิม


107

6.2) พิจารณาการจ่ายไฟใหม่ของระบบจาหน่ายแรงต่าแบบเคเบิลใต้ดินช่วงวัดสุวรรณภูมิ–แยกนางพิม
(รูปที่ 5.33)
a) จากรูปที่ 5.3.3 โหลด F1 (รับไฟแบบเคเบิลใต้ดิน) ของหม้อแปลงขนาด 400 kVA บริเวณ
หน้าวัดสุวรรณภูมิ มีข้อมูล Load Estimation ดังตารางที่ 5.4

ตารางที่ 5.4 ข้อมูล Load Estimation ของ Feeder 1 ของหม้อแปลงบริเวณหน้าวัดสุวรรณภูมิ


Name Meter Installation Load CIF Load
1P 3P Installation Estimation
5(15) 15(45) 30(100) 15(45) (kVA) (kVA)
SL1 13 134.55 0.33 44.4
SL2 7 72.45 0.33 23.9
RL2 12 6 1 2 188.85 0.33 62.3
รวม 12 26 1 2 395.85 0.33 130.6

ขนาดของกระแสที่ไหลภายในสายใต้ดิน (185 CV.,Cu) ในสภาวะปกติ


พิกัดกระแสในสาย 185 CV.,Cu ที่ความลึก 0.6 ม.
จ่านวนวงจร (วงจร) 1 2 3
พิกัดกระแส (A) 330 298 274
เลือกใช้วงจรใต้ดินแรงต่่า 1 วงจร จะได้การรับภาระของสายเคเบิลเป็น
130.6 188.5
Feeder 1 I Normal   188.5 A % Load Normal   100  57.1%
3  0.4 330
ส่าหรับรูปแบบการจ่ายไฟเป็นแบบเรเดียล เนื่องจากไม่สามารถหาพื้นที่ติดตั้งตู้ DB ได้
b) โหลด F2 ของหม้อแปลงขนาด 400 kVA บริเวณหน้าวัดสุวรรณภูมิ (ระบบเหนือดิน) มีข้อมูล
Load Estimation ดังตารางที่ 5.5

ตารางที่ 5.5 ข้อมูล Load Estimation ของ Feeder 2 ของหม้อแปลงบริเวณหน้าวัดสุวรรณภูมิ


1.
2.

Name Meter Installation Load CIF Load


1P 3P Installation Estimation
5(15) 15(45) 15(45) 30(100) (kVA) (kVA)
เหนือดิน 14 11 4 1 356.1 0.33 117.5
รวม 14 11 4 1 356.1 0.33 117.5
ขนาดของโหลดสูงสุดของหม้อแปลง 400kVA บริเวณหน้าวัดสุวรรณภูมิ
STR  S F1  S F 2  130.6  117.5  248.1kVA
248.1
หม้อแปลงจะรับภาระ % LoadTR  100  62%
400
108

รูปที่ 3 ระบบจาหน่ายแรงต่าเดิมช่วงแยกนางพิม – วิทยาลัยอาชีวสุพรรณบุรี


บุรี

แยกนางพิม

F2

แกรนด์คัลเลอร์แล็ป หน้า ธ.กสิกรไทย


250kVA (47%) 160kVA (71%)
S=113.6kVA
F1

รูปที่ 5.34 ระบบจ่าหน่ายแรงต่่าแบบเคเบิลใต้ดินช่วงแยกนางพิม – วิทยาลัยอาชีวสุพรรณบุรี


109

6.3) พิจารณาการจ่ายไฟระบบจาหน่ายแรงต่าเดิมช่วงแยกนางพิม – วิทยาลัยอาชีวสุพรรณบุรี (รูปที่ 5.34)


a) หม้อแปลงขนาด 400kVA (Peak Load 33%) บริเวณหน้าวัดสุวรรณภูมิ (2 Feeder)
CIF = 0.18
b) หม้อแปลงขนาด 250kVA (Peak Load 47%) บริเวณร้านแกรนด์คัลเลอร์แล็ป (2 Feeder)
CIF = 0.29
c) หม้อแปลงขนาด 160kVA (Peak Load 71%) หน้าธนาคารกสิกรไทย (1 Feeder) มีข้อมูล
มิเตอร์ดังตารางที่ 5.6

ตารางที่ 5.6 ข้อมูลมิเตอร์ที่รับไฟจากหม้อแปลงขนาด 160kVA บริเวณหน้าธนาคารกสิกรไทย


ขนาด จานวน กระแส ขนาด จานวน กระแส
มิเตอร์ (เครื่อง) สูงสุด มิเตอร์ (เครื่อง) สูงสุด
1 เฟส 5(15) 20 300 3 เฟส 15(45) 3 135
15(45) 6 270 30(100) 1 100
30(100) 1 100
กระแส 1 เฟส (IL-N) 670 กระแส 3 เฟส (IL-L) 235

จากข้อมูล สามารถค่านวณหาขนาดโหลดมิเตอร์ (Smeter) และ CIF ได้ตามสมการ


S1P  VL  N I L  N  (230)(670)  154.1kVA
S 3 P  3VL  L I L  L  3 (400)(235)  162.8kVA
S Meter  S1P  S 3 P  316.9kVA
S Peakload 160  0.71
จะได้ Co – Incident Factor CIF    0.36
STotal 316.9

ในการพิจารณาค่า CIF ให้เลือกใช้ค่า CIF ที่สูงที่สุด คือ 0.36 แต่ค่าดังกล่าวมี ค่ามากกว่า 0.3 เพื่อให้
ระบบเคเบิล ใต้ดินสามารถรองรับ โหลดในอนาคตได้ จึงควรมีการออกแบบให้ รองรับโหลดในอีก 5 ปี
ข้างหน้า
110

แยกนางพิม

630kVA
โหลดมิเตอร์ 30 เครื่อง จาก Tr.สุวรรณภูมิ
โหลด F2 จาก Tr.แกรนด์คัลเลอร์แล็ป
โหลด จาก Tr.หน้าธนาคารกสิกรไทย ถ.จมื่นศรี
260 m.

รูปที่ 5.35 ระบบจ่าหน่ายแรงต่่าแบบเคเบิลใต้ดินช่วงแยกนางพิม – วิทยาลัยอาชีวสุพรรณบุรี (ต่อ)


111

6.4) พิจารณาการจ่ายไฟของระบบจาหน่ายแรงต่าแบบเคเบิลใต้ดินช่วงแยกนางพิม –วิทยาลัย


อาชีวสุพรรณบุรี (รูปที่ 5.35)
ระบบจ่ายไฟใหม่จะเป็นหม้อแปลงที่ติดตั้งบริเวณถนนจมื่นศรี โดยรองรับโหลดที่รับไฟจากหม้อแปลง
บริเวณหน้าวัดสุวรรณภูมิ, หม้อแปลงบริเวณร้านแกรนด์คัลเลอร์แล็ป และโหลดจากหม้อแปลงหน้าธนาคาร
กสิกรไทย โดยมีข้อมูล Load Estimation ของแต่ละ Feeder ดังตารางที่ 5.7

ตารางที่ 5.7 ข้อมูล Load Estimation ทั้ง 3 Feeder ของหม้อแปลงที่ติดตั้งบริเวณถนนจมื่นศรี


ข้อมูลมิเตอร์ ของ Feeder 1 (จ่ายไฟแบบเรเดียล)
Name Meter Installation Load CIF Load
1P 3P Installation Estimation
5(15) 15(45) 30(100) 15(45) (kVA) (kVA)
SL5 4 8 1 3 213.1 0.36 76.7
SL7 15 4 2 155.5 0.36 56
รวม 19 12 1 5 368.6 0.36 132.7

ข้อมูลมิเตอร์ ของ Feeder 2 (จ่ายไฟแบบเรเดียล)


Name Meter Installation Load CIF Load
1P 3P Installation Estimation
15(45) 30(100) 15(45) 30(100) (kVA) (kVA)
SL6 5 1 2 1 206.4 0.36 74.3
SL8 12 2 170.2 0.36 61.3
รวม 17 3 2 1 376.6 0.36 135.6

ข้อมูลมิเตอร์ ของ Feeder 3 (รองรับการ Tie Line กับ F1 ของ Unit Substation บริเวณหน้าเทศบาลฯ)
Name Meter Installation Load CIF Load
1P 3P Installation Estimation
5(15) 15(45) 30(100) 15(45) (kVA) (kVA)
SL9 3 2 2 1 108.2 0.36 39
SL10 7 1 2 109.6 0.36 39.5
SL11 4 1 1 55.4 0.36 19.9
รวม 14 3 3 4 273.2 0.36 98.4
112

เนื่องจากค่า CIF สูงกว่า 0.3 จึงต้องมีการประเมินอัตราการเติบโตของโหลดในอีก 5 ปีข้างหน้า ดังตารางที่ 5.8

ตารางที่ 5.8 การประเมินอัตราการเติบโตของโหลดหม้อแปลงที่ติดตั้งบริเวณถนนจมื่นศรี ในอีก 5 ปีข้างหน้า


Year 2013 2014 2015 2016 2017 2018
Growth Rate - 4.51% 5.54% 4.28% 3.73% 3.96%
SF1 (kVA) 132.7 138.7 146.4 152.6 158.3 164.6
SF2 (kVA) 135.6 141.7 149.6 156 161.8 168.2
SF3 (kVA) 98.4 102.8 108.5 113.2 117.4 122

พิกัดกระแสในสาย 185 CV.,Cu ที่ความลึก 0.6 ม. โดยวางสาย 3 วงจรในแนวท่อร้อยสายเดียวกัน


จ่านวนวงจร (วงจร) 1 2 3
พิกัดกระแส (A) 330 298 274
164.6 237.6
Feeder 1 I Normal   237.6 A % Load Normal  100  86.7%
3  0.4 274

168.2 242.8
Feeder 2 I Normal   242.8 A % Load Normal   100  88.6%
3  0.4 274

122 176.1
Feeder 3 I Normal   176.1A % Load Normal  100  64.3%
3  0.4 274

รวมโหลดทั้ง 3 Feeder = SF1 + SF2 + SF3 = 454.7kVA


113

หน้าเทศบาลฯ
250kVA(74%)

ข้าง รพ.
250kVA(68%)

รูปที่ 5.36 ระบบจ่าหน่ายแรงต่่าเดิมบริเวณแยกเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี


114

6.5 พิจารณาการจ่ายไฟของระบบจาหน่ายแรงต่าเดิมบริเวณแยกเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี (รูปที่ 5.36)


a) หม้อแปลงขนาด 250kVA (Peak Load 74%) หน้าเทศบาลฯ

ตารางที่ 5.9 ข้อมูลมิเตอร์ที่รับไฟจากหม้อแปลงขนาด 250kVA บริเวณหน้าเทศบาลฯ


ขนาด จานวน กระแส ขนาด จานวน กระแส
มิเตอร์ (เครื่อง) สูงสุด มิเตอร์ (เครื่อง) สูงสุด
1 เฟส 5(15) 4 60A 3 เฟส 15(45) 5 225A
15(45) 31 1,395A
30(100) 4 400A

กระแส 1 เฟส (IL-N) 1,885A กระแส 3 เฟส (IL-L) 225A

จากข้อมูล สามารถค่านวณหาขนาดโหลดมิเตอร์ (Smeter) และ CIF ได้ตามสมการ


S1P  VL  N I L  N  (230)(1,885)  433.6kVA
S 3 P  3VL  L I L  L  3 (400)(225)  155.9kVA
S Meter  S1P  S 3 P  589.5kVA
S Peakload 250  0.74
จะได้ Co – Incident Factor CIF    0.32
STotal 585.9

b) หม้อแปลงขนาด 250kVA (Peak Load 68%) ข้าง รพ. เจ้าพระยายมราช

ตารางที่ 5.10 ข้อมูลมิเตอร์ที่รับไฟจากหม้อแปลงขนาด 250kVA ข้าง รพ. เจ้าพระยายมราช


ขนาด จานวน กระแส ขนาด จานวน กระแส
มิเตอร์ (เครื่อง) สูงสุด มิเตอร์ (เครื่อง) สูงสุด
1 เฟส 5(15) 15 225A 3 เฟส 15(45) 8 260A
15(45) 26 1,170A 30(100) 1 100A
30(100) 2 200A
กระแส 1 เฟส (IL-N) 1,595A กระแส 3 เฟส (IL-L) 360A

จากข้อมูล สามารถค่านวณหาขนาดโหลดมิเตอร์ (Smeter) และ CIF ได้ตามสมการ


S1P  VL  N I L  N  (230)(1,595)  366.9kVA
S 3 P  3VL  L I L  L  3 (400)(360)  249.4kVA
S Meter  S1P  S 3 P  616.3kVA
S Peakload 250  0.68
จะได้ Co – Incident Factor CIF    0.28
STotal 616.3
115

โหลด Tr. 250kVA หน้าเทศบาลฯ +


โหลด Tr. 250kVA ข้าง รพ. + โหลดไฟถนน
310
m.
(5(15) = 2, 15(45) = 16 และ 15(45)3P = 2)
โหลดมิเตอร์ 20 เครื่อง เปลี่ยนไปรับไฟจาก Unit
Sub ที่ลานจอดรถ รพ.แทน

Unit Sub
ลานจอดรถ รพ.

รูปที่ 5.37 ระบบจ่าหน่ายแรงต่่าแบบเคเบิลใต้ดินบริเวณแยกเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี


116

6.6) พิ จ ารณาการจ่ า ยไฟของระบบจ าหน่ า ยแรงต่ าแบบเคเบิ ล ใต้ ดิ น บริ เ วณแยกเทศบาล


เมืองสุพรรณบุรี (รูปที่ 5.37)
a) โหลดมิเตอร์ที่รับไฟจาก Unit Substation ในที่ทาการเทศบาลฯ
ระบบจ่ายไฟใหม่จะใช้ Compact Unit Substation จ่ายไฟให้กับโหลดมิเตอร์ โดยโหลดทีร่ ับไฟ
จาก Compact Unit Substation นี้เป็นโหลดจากหม้อแปลงบริเวณหน้าเทศบาลฯ (ยกเว้นโหลดมิเตอร์
20 เครื่องให้รับไฟจาก Compact Unit Substation บริเวณลานจอดรถ รพ. แทน) , โหลดของหม้อแปลง
ข้าง รพ. เจ้าพระยายมราช และโหลดไฟถนน (12kVA) ในการค่านวณให้เลือกใช้ค่า CIF ที่สูงที่สุด คือ 0.32
แต่ค่าดังกล่าวมีค่ามากกว่า 0.3 เพื่อให้การออกแบบขนาดอุปกรณ์สามารถรองรับโหลดในอนาคต จึงมีการ
ค่านวณหาขนาดโหลดในอีก 5 ปีข้างหน้าได้

ตารางที่ 5.11 ข้อมูล Load Estimation ทั้ง 4 Feeder ของ Unit Substation ในที่ท่าการเทศบาลฯ
ข้อมูลมิเตอร์ ของ Feeder 1 (รองรับการ Tie Line)
Name Meter Installation Load CIF Load
1P 3P Installation Estimation
5(15) 15(45) 30(100) 15(45) (kVA) (kVA)
SL12 8 1 1 136.97 0.32 43.83
SL14 4 1 72.6 0.32 23.2
SL15 6 1 31.05 0.32 9.9
SL16 5 51.75 0.32 16.6
รวม 6 19 1 2 292.37 0.32 93.53

ข้อมูลมิเตอร์ ของ Feeder 2 (รองรับการ Tie ด้วยระบบเหนือดิน)


Name Meter Installation Load CIF Load
1P 3P Installation Estimation
15(45) 30(100) 15(45) 30(100) (kVA) (kVA)
SL17 4 41.4 0.32 13.2
RL11 10 1 1 1 227.7 0.32 72.9
รวม 14 1 1 1 269.1 0.32 86.1

ข้อมูลมิเตอร์ ของ Feeder 3 (ต่อแบบเรเดียล)


Name Meter Installation Load CIF Load
1P 3P Installation Estimation
5(15) 15(45) 30(100) 15(45) (kVA) (kVA)
RL12 15 10 2 2 263.6 0.32 84.4
รวม 15 10 2 2 263.6 0.32 84.4
117

ตารางที่ 5.11 ข้อมูล Load Estimation ทั้ง 4 Feeder ของ Unit Substation ในที่ท่าการเทศบาลฯ (ต่อ)
ข้อมูลมิเตอร์ ของ Feeder 4 (ต่อแบบเรเดียล)
Name Meter Installation Load CIF Load
1P 3P Installation Estimation
15(45) 30(100) 15(45) 30(100) (kVA) (kVA)
SL18 5 2 2 1 229.4 0.32 73.4
รวม 5 2 2 1 229.4 0.32 73.4

ตารางที่ 5.12 การประเมินอัตราการเติบโตของโหลดที่รับไฟจาก Unit Substation ในอีก 5 ปีข้างหน้า


เนื่องจากค่า CIF สูงกว่า 0.3 จึงต้องมีการประเมินอัตราการเติบโตของโหลดในอีก 5 ปีข้างหน้า ดังตารางที่ 5.12
Year 2013 2014 2015 2016 2017 2018
Growth Rate - 4.51% 5.54% 4.28% 3.73% 3.96%
SF1 (kVA) 93.53 97.7 103.2 107.6 111.6 116
SF2 (kVA) 86.1 90 95 99 102.7 106.8
SF3 (kVA) 84.4 88.2 93.1 97.1 100.7 104.7
SF4 (kVA 73.4 76.7 81 84.4 87.6 91

พิกัดกระแสในสาย 185 CV.,Cu ที่ความลึก 0.6 ม. โดยวางสาย 2 วงจรในแนวท่อร้อยสายเดียวกัน


(F1 วางร่วมกับ F2 และ F3 วางร่วมกับ F4)
จ่านวนวงจร (วงจร) 1 2 3
พิกัดกระแส (A) 330 298 274
116 167.4
Feeder 1 I Normal   167.4 A % Load Normal   100  56.2%
3  0.4 298

106.8 154.1
Feeder 2 I Normal   154.1A % Load Normal  100  51.7%
3  0.4 298

104.7 151.1
Feeder 3 I Normal   151.1A % Load Normal  100  50.7%
3  0.4 298

91 131.3
Feeder 4 I Normal   131.3 A % Load Normal  100  44.1%
3  0.4 298

รวมโหลดทั้ง 4 Feeder = SF1 + SF2 + SF3 + SF4 + โหลดไฟถนน (12kVA) = 430.5kVA


118

b) การออกแบบรองรับการจ่ายไฟในสภาวะฉุกเฉิน
ในสภาวะฉุกเฉินสายป้อนของ Feeder 3 จากหม้อแปลงบริเวณถนนจมื่นศรี ถูกออกแบบให้สามารถ
Tie Line กับโหลดของ Feeder 1 ซึ่งรับไฟจาก Compact Unit Substation บริเวณหน้าเทศบาลฯ ได้
454.7
หม้อแปลงบริเวณถนนจมื่นศรี จึงมีค่า  757.83kVA เลือกหม้อแปลงติดตั้ง 800 kVA
0.6
หม้อแปลงบริเวณหน้าเทศบาลฯ จึงมีค่า 430.5  717.5kVA เลือกหม้อแปลงติดตั้ง 800 kVA
0.6
แต่หม้อแปลงขนาด 800 kVA ทาง กฟภ. ไม่นิยมใช้งาน อีกทั้งวงจรส่าหรับ Tie Line มีเพียง
1 Feeder ดังนั้น จึงใช้วิธีพิจารณาขนาดโหลดสูงสุดจากการ Tie Load เพื่อหาขนาดหม้อแปลง
ขนาดของโหลดสูงสุดขณะ Tie Load
1. กรณีติดตั้งหม้อแปลงนั่งร้านบริเวณถนนจมื่นศรี
S (TieLoad) = S (หม้อแปลงบริเวณถ.จมื่นศรี) + S (F1, Unit Sub หน้าเทศบาลฯ)
= 454.7 + 116 = 570.7 kVA
เลือกติดตั้งหม้อแปลงขนาด 630kVA
2. กรณีติดตั้ง Unit Substation บริเวณหน้าเทศบาลฯ
S (TieLoad) = S (Unit Sub หน้าเทศบาลฯ) + S (F3, หม้อแปลงบริเวณ ถ.จมื่นศรี)
= 430.5 + 122 = 552.5 kVA
เลือกติดตั้ง Unit Substation ขนาด 630kVA

630kVA 630kVA
หม้อแปลง Unit Substation
122 kVA TB 116kVA ในเทศบาลฯ
ถนนจมื่นศรี
F3 176.1A 167.4A F1

รูปที่ 5.38 การ Tie Line ระหว่างหม้อแปลงบริเวณถนนจมื่นศรี และ Unit Substation ในเทศบาลฯ
119

4. ปัญหาและอุปสรรค
1. โครงการนี้ มี ค วามเกี่ ย วข้ อ งกั บ หลายหน่ ว ยงาน จ่ า เป็ น ที่ จ ะต้ อ งหาแนวทางร่ ว มกั น
ที่ทุกหน่วยงานยอมรับ และสามารถท่างานร่วมกันได้ เช่น ความพร้อมในการด่าเนินการ
ก่อสร้างของแต่ละหน่วยงาน, ข้อจ่ากัดด้านงบประมาณ, ขั้นตอน ระเบียบและระยะเวลา
การด่าเนินการภายในของแต่ละหน่วยงาน
2. การเก็บข้อมูลระบบไฟฟ้าเดิม เช่น ชนิดและขนาดของอุปกรณ์ไฟฟ้า (มิเตอร์ สายไฟฟ้า),
การเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าเข้าอาคารแต่ละหลัง ซึ่งในบางพื้นที่ข้อมูล ต่างๆเหล่านี้ ยากแก่การ
สังเกตและเข้าถึง
3. การตรวจสอบระบบสาธารณูปโภคเดิม เช่น ท่อน้่า ท่อระบายน้่า ท่อระบบสื่อสาร เป็นไปได้
ยาก เนื่ องจากไม่มีอุป กรณ์ที่จ ะช่ว ยในการส่ ารวจ โดยในปั จจุบันได้อ้างอิงจากแบบระบบ
สาธารณูปโภคเดิมจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่
4. ปัญหาการใช้พื้นที่ใต้ดินของแต่ละหน่วยงาน ในกรณีเขตทางแคบ
5. ปัญหาจากสิ่งปลูกสร้าง หรือการต่อเติมอาคาร ทีล่ ้่าเข้าไปในเขตทางหรือที่สาธารณะ
6. ปัญหาการพยากรณ์โหลดในพื้นที่ชนบท/ธุรกิจ เพื่อใช้ในการออกแบบระบบไฟฟ้าแบบเคเบิล
ใต้ดิน
7. การหาต่าแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ เช่น หม้อแปลง, ชุด Riser, Distribution Box, RMU, Unit
Substation, Manhole และ Handhole เป็นไปได้ยาก
8. ในการออกแบบจะต้องพิจารณาความเหมาะสมทั้งทางกายภาพ วิศวกรรมและเศรษฐศาสตร์
9. ในการออกแบบจะต้องใช้ความรู้ทางวิศวกรรมในหลายๆด้าน มาใช้ในการแก้ปัญหาเพื่อให้เกิด
ความสะดวก ปลอดภัยทั้งจากการใช้งานและการบ่ารุงรักษาในอนาคต
5. สรุปผลสาเร็จและประโยชน์ที่ได้รับ
ผลสาเร็จ : โครงการนี้สามารถด่าเนินการออกแบบ ประมาณการราคา ในการก่อสร้างเสร็จ
ตามก่าหนด ตามหลักวิศวกรรมและเป็นที่ยอมรับได้ของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อด่าเนินการ
ก่ อ สร้ า งเสร็ จ แล้ ว ก็ จ ะบรรลุ ผ ลตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ที่ ไ ด้ ก ล่ า วข้ า งต้ น คื อ ปรั บ ปรุ ง ทั ศ นี ย ภาพ
เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ป้องกัน อันตรายจากการพาดโยงสาย และเพิ่มค่าความเชื่อถือได้ให้กับ
ระบบไฟฟ้า
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. การเรียนรู้เกี่ยวกับการท่างานส่ารวจสภาพพื้นที่จริง เพื่อให้เข้าใจปัญหาและคิดค้นแนวทาง
การแก้ไข เพื่อให้การด่าเนินการก่อสร้างและบ่ารุงรักษาเกิดปัญหาน้อยที่สุด
2. การประสานงานกับ หน่ ว ยงานต่ างๆ ที่ จะต้อ งท่า งานร่ว มกั น และได้ รับ รู้ร ะเบี ยบของแต่ ล ะ
หน่วยงาน
3. มีการศึกษาเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะน่ามาช่วยในการส่ารวจ ออกแบบ หรือการด่าเนินงานก่อสร้าง
4. มีแนวคิดในการปรับปรุงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ยากต่อการหาพื้นที่ติดตั้งให้มีความเหมาะสมมากกว่า
ปัจจุบัน
120

5. การเรียนรู้หลักวิศวกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการด่าเนินงาน ซึ่งเป็นงานวิศวกรรมเฉพาะด้าน


จึงเป็นประสบการณ์ส่าคัญในโครงการต่อๆไป และสามารถน่าความรู้มาประยุกต์ใช้กับงานอื่นๆ
ที่อาจมีความเกี่ยวข้องกันได้
6. การเรี ย นรู้ ข้ อ จ่ า กั ด ของเครื่ อ งมื อ ที่ จ ะน่ า มาปฏิ บั ติ ง าน เพื่ อ ให้ ด่ า เ นิ น งานก่ อ สร้ า ง
ได้อย่างเหมาะสมและมีความปลอดภัยในขณะท่าการก่อสร้างและการบ่ารุงรักษา
7. ปั จ จุ บั น ได้ ก ารมี ก ารพั ฒ นาซอร์ ฟ แวร์ ส่ า หรั บ ช่ ว ยในการค่ า นวณ เพื่ อ ลดระยะเวลาและ
ข้อผิดพลาดในการท่างาน
121

5.2 โครงการปรับปรุงระบบจําหน่ายไฟฟ้าเป็นแบบเคเบิลใต้ดินบริเวณรอบนอกพื้นที่อุทยาน
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
5.2.1. หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
5.2.2. ลักษณะของโครงการ :
- กระทรวงมหาดไทย ได้มอบนโยบายให้ กฟภ. เสนองานปรับปรุงระบบจําหน่ายไฟฟ้า
เป็ น แบบเคเบิ ล ใต้ ดิ น บริ เ วณรอบนอกพื้ น ที่ เ ขตอุ ท ยานประวั ติ ศ าสตร์ โดยมี อุ ท ยาน
ประวั ติ ศ าสตร์ สุ โ ขทั ย รวมอยู่ ด้ ว ย เพื่ อ ปรั บ ภู มิ ทั ศ น์ ใ ห้ มี ค วามสวยงามเป็ น ระเบี ย บ
เรียบร้อย รวมทั้งเป็นการสร้างความมั่นคงและปลอดภัยด้านระบบไฟฟ้า
- กฟภ. จึงได้จัดทําแผนงานดังกล่าวอยู่ในโครงการเพิ่มความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้ า
ระยะที่ 3 (คชฟ.3)
- กฟภ. เป็นผู้ลงทุนและดําเนินการก่อสร้างการปรับปรุงระบบไฟฟ้าทั้งหมด
- มีระยะเวลาดําเนินการ 3 ปี (2556 - 2559)
5.2.3. ปริมาณงาน :
1) งานระบบไฟฟ้า
แผนกแรงสูง (งานเคเบิลใต้ดิน)
- ปักเสา คอร.ขนาด 12.20 เมตร จํานวน 15 ต้น พร้อมเทคอนกรีตหุ้มโคนเสา
- ติดตั้ง RISER POLE สําหรับเสา 12.20 เมตร จํานวน 30 ชุด
- ร้อยสายเคเบิลใต้ดิน XLPE ระบบ 22 เควี ตัวนําทองแดงชนิดแกนเดี่ยว ขนาด
50 ต.มม. และ 240 ต.มม. ระยะทาง 354 เมตร และ 5,918 เมตร ตามลําดับ
- ติดตั้ง Ring Main Unit (2 Switch 2 Fuse) จํานวน 2 ชุด
- ติดตั้ง Fault Indicator จํานวน 13 ชุด
แผนกหม้อแปลง
- รื้อถอนหม้อแปลงระบบ 1 เฟส 22,000 – 460/230 โวลต์ ขนาด 30 เควีเอ
จํานวน 2 เครื่อง แล้วนํากลับมาติดตั้งใช้งานใหม่ (ทรัพย์สินผู้ใช้ไฟ)
- ปักเสา คอร. ขนาด 12.20 เมตร ประกอบชุดนั่งร้านหม้อแปลง จํานวน 5 ต้น
- ติดตั้งหม้อแปลงระบบ 3 เฟส 22,000 – 400/230 โวลต์ ขนาด 250 และ 315 เควีเอ
จํานวน 1 เครื่อง และ 2 เครื่อง ตามลําดับ
- ติดตั้ง Compact Unit Substation ขนาด 250 เควีเอ ระบบ 22 เควี จํานวน 1 ชุด
แผนกแรงต่ํา (งานเคเบิลใต้ดิน)
- ปักเสา คอร.ขนาด 9.00 เมตร และเสา คอร.ขนาดสูงเท่ าเมนชายคา (เบิกเสา
9.00 เมตร แล้วนํามาตัด) จํานวน 13 และ 16 ต้น ตามลําดับ
- ติดตั้งชุดหัวเคเบิลแรงต่ํา (LT. Cable Riser) จํานวน 16 ชุด
- ร้อยสายเคเบิลใต้ดินแรงต่ํา ตัวนําทองแดงชนิดแกนเดี่ยว (CV) ขนาด 25, 50 และ
185 ต.มม. ระยะทาง 88 , 354 และ 2,768 เมตร ตามลําดับ
122

- ติดตั้งชุดจ่ายไฟแรงต่ํา (Service Line) จํานวน 31 ชุด


- ติดตั้งชุดมิเตอร์จ่ายไฟแรงต่ํา (Service Meter) จํานวน 13 ชุด
- ติดตั้ง Meter Cabinet จํานวน 61 ตู้
- ติดตั้ง Distribution Box จํานวน 4 ตู้
แผนกแรงต่ําหลังมิเตอร์ (งานเคเบิลใต้ดิน)
- ปักเสา คอร.ขนาด 6.00 เมตร จํานวน 56 ต้น
- ร้อยสายเคเบิลใต้ดินแรงต่ําหลังมิเตอร์ ตัวนําทองแดงชนิดแกนเดี่ยว (CV) ขนาด
25 ต.มม. ระยะทาง 899 เมตร
2) งานโยธา
แผนกแรงสูง (งานเคเบิลใต้ดิน)
- ก่อสร้างบ่อพัก Manhole Type 2T-8 (ไม่ตอกเสาเข็ม) จํานวน 32 บ่อ
- ก่อสร้างท่อร้อยสายไฟ แบบ Duct Bank ขนาด 2x1 และ 2x2 (ใช้ท่อ HDPE
Ø160 มม.PN.6.3 ) ระยะทาง 2,380 และ 58 ม. ตามลําดับ
- ก่อสร้างท่อร้อยสายไฟ HDPE แบบ Semi Direct Burial ชนิด PN.8 ขนาด
2-160 และ 4-160 มม. ระยะทาง 3,366 และ 86 เมตร ตามลําดับ
- ก่อสร้างท่อร้อยสายไฟ HDPE แบบ Horizontal Directional Drilling ชนิด PN
10 ขนาด 2-160 และ 4-160 มม. ระยะทาง 106 และ 44 เมตร ตามลําดับ
แผนกแรงต่ํา (งานเคเบิลใต้ดิน)
- ก่อสร้างบ่อพัก Handhole Type HH-1 (ไม่ตอกเสาเข็ม) และ HH-2 (ไม่ตอก
เสาเข็ม) จํานวน 18 และ 31 บ่อ ตามลําดับ
- ก่อสร้างท่อร้อยสายไฟแบบ Duct Bank ขนาด 2x1 (ใช้ท่อ HDPEØ 75 มม.
PN.8) ระยะทาง 53 เมตร
- ก่อสร้างท่อร้อยสายไฟแบบ Duct Bank ขนาด 2x1 (ใช้ท่อ HDPEØ 90 มม.
PN.8) ระยะทาง 1,293 เมตร
- ก่อสร้างท่อร้อยสายไฟ แบบ Semi Direct Burial ชนิด PN.10 ขนาด 2-75 มม.
ระยะทาง 389 เมตร
- ก่อสร้างท่อร้อยสายไฟ HDPE แบบ Semi Direct Burial ชนิด PN.10 ขนาด 2-90
และ 4-90 มม. ระยะทาง 1,466 และ 12 เมตร ตามลําดับ
- ก่อสร้างท่อร้อยสายไฟ HDPE แบบ Horizontal Directional Drilling ชนิด PN 10
ขนาด 2-90 มม. ระยะทาง 13 เมตร
แผนกแรงต่ําหลังมิเตอร์ (งานเคเบิลใต้ดิน)
- ก่อสร้างท่อร้อยสายไฟฝังดินด้วยท่อ HDPE ชนิด PN.10 ขนาด 1-50, 2-50 และ
3-50 มม. ระยะทาง 326 , 117 และ 6 เมตร ตามลําดับ
123

5.2.4. ขนาดของโครงการ :

ตารางที่ 5.13 เงินลงทุนก่อสร้างเคเบิลใต้ดินของโครงการฯ


แผนก รูปแบบการก่อสร้าง
โยธา (บาท) ไฟฟ้า (บาท)
แรงสูง 32,173,000 45,928,000
หม้อแปลง 152,000 4,317,000
แรงต่ํา 11,746,000 17,965,000
แรงต่ําหลังมิเตอร์ 535,000 899,000
รวมเป็นเงิน 44,606,000 69,109,000
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 113,715,000 บาท

5.2.5 วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1) เพื่อปรับปรุงระบบจําหน่ายไฟฟ้าเป็นเคเบิลใต้ดินในบริเวณพื้นที่รอบนอกเขตอุทยานฯ
ให้มีความมั่นคง และปลอดภัย
2) เพื่อให้ภูมิทัศน์บริเวณรอบนอกพื้นที่เขตอุทยานฯ มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
3) จัดทําแผนและแนวทางการจัดหางบประมาณในการปรับปรุงระบบจําหน่ายไฟเป็นเคเบิล
ใต้ดินระหว่าง กฟภ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4) ป้องกันอันตรายที่เกิดจากการพาดโยงระบบสายไฟฟ้าขึงอากาศ ซึ่งอาจสร้างความเสียหาย
ต่อคน หรือทรัพย์สิน
5) ปรับปรุงความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า
5.2.6 ประโยชน์ของโครงการ :
1) ปรับปรุงทัศนียภาพและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งช่วยสร้างความเจริญให้กับพื้นที่
2) ปรับปรุงรูปแบบการจ่ายไฟให้มีความมั่นคงเพิ่มและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดปัญหา
ไฟตก ไฟดับ และความสูญเสียในระบบไฟฟ้า
3) แก้ไขปัญหาการรบกวนระบบสื่อสาร (การเกิดโคโรนา) และปลอดภัยจากผลกระทบจาก
ปรากฏการณ์ฟ้าผ่า
4) เพิ่มความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน เนื่องจากแก้ปัญหาเรื่องระยะห่างระหว่างไฟฟ้า
โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชน ซึ่งปัจจุบันยากต่อการทําการปักเสาพาดสาย
5.2.7 หน้าที่และความรับผิดชอบ
1) สํารวจสภาพพื้นที่ เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพ ระบบจําหน่ายไฟฟ้าเดิม และ
รูปแบบการก่อสร้างที่เหมาะสม
2) ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมศิลปากร เจ้าหน้าที่อุทยานฯ เทศบาลฯ
หน่วยงานระบบสื่อสาร เพื่อร่วมบูรณการให้การดําเนินงานต่างๆ เป็นไปอย่างราบรื่น
เกิดผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่น้อยที่สุดและไม่เกิดความเสียหายต่อโบราณวัตถุ
3) ออกแบบ คํานวณ และประมาณราคางานปรับปรุงระบบจําหน่ายเป็นแบบเคเบิลใต้ดิน
โดยพิจารณาจากความเหมาะสมทางวิศวกรรม (มาตรฐาน กฟภ. และ วสท.)
124

5.2.8 ขั้นตอนในการดําเนินงาน
1) ศึกษาข้อมูลระบบไฟฟ้าและสาธารณูปโภคต่างๆในพื้นที่
เป็นการเตรียมข้อมูลในด้านต่างๆ เพื่อนํามาใช้ในการวางแผนก่อนจะทําการสํารวจ
(Survey) จริง โดยข้อมูลที่ทําการศึกษาจะประกอบไปด้วย
1.1) ข้อมูลทางกายภาพจากโปรแกรมทางด้านภูมิศาสตร์

ไปสุโขทัย

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
วัดตระพังทอง

รูปที่ 5.39 ข้อมูลทางกายภาพจากโปรแกรมทางภูมิศาสตร์

1.2) ข้อมูลระบบไฟฟ้าเดิมจากโปรแกรม GIS

อุทยานประวัติศาสตร์
สุ โขทัย ถนนเทศบาลฯเมืองเก่า

รูปที่ 5.40 ข้อมูลระบบไฟฟ้าจากโปรแกรม GIS


125

1.3) ปริมาณการใช้ไฟฟ้าและจํานวนอุปกรณ์ในพื้นที่
การใช้กําลังไฟฟ้าสูงสุดของสถานีไฟฟ้าสุโขทัย (ข้อมูลจากกองวิเคราะห์และวางแผน
ระบบไฟฟ้า)
ตารางที่ 5.14 การใช้กําลังไฟฟ้าสูงของสถานีไฟฟ้าสุโขทัย
ปี พ.ศ. 2557 2558 2559 2560 2561 2562
Growth Rate - 3.83% 4.91% 3.91% 3.20% 3.46%
กําลังไฟฟ้าสูงสุด (MW) 92.3 95.8 100.5 104.4 107.7 111.4

ตารางที่ 5.15 ข้อมูลการใช้กําลังไฟฟ้าสูงสุดในแต่ละ Feeder และจํานวนหม้อแปลงจําหน่าย


การใช้กําลังไฟฟ้าสูงสุดของในแต่ละ Feeder
Feeder F6 F8
Peak Load 2.7MW 3.1MW

1.4 ข้อมูลสาธารณูปโภคใต้ดินที่ได้รับจากเทศบาลตําบลเมืองเก่า (บริเวณทางเข้าอุทยานฯ)

รูปที่ 5.41 ข้อมูลสาธารณูปโภคที่ได้รับจากเทศบาลฯ


2) การสํารวจสภาพพื้นที่ : เป็นการเก็บข้อมูลต่างๆ ที่จะนํามาใช้ในงานออกแบบ ซึ่งประกอบไปด้วย
2.1) การสํารวจระบบจําหน่ายและจุดรับไฟเดิม

สภาพการจ่ายไฟเดิม จุดรับไฟเดิม

รูปที่ 5.42 สภาพระบบจําหน่ายในพื้นที่และจุดรับไฟเดิม


126

2.2) แนวสาธารณูปโภคใต้ดินต่างๆ

แนวท่อระบายน้ํา

แนวท่อประปา

รูปที่ 5.43 แนวของระบบสื่อสารและแนวท่อระบายน้ําใต้ดิน


2.3) ตําแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ : อุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่ ต้องขออนุญาตเบื้องต้นจากเจ้าของพื้นที่

Unit Sub RMU

รูปที่ 5.44 ตําแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ สําหรับงานเคเบิลใต้ดิน


2.4) รูปแบบการวางท่อร้อยสาย : เลือกใช้วิธีการเปิดหน้าดิน (Open - Cut) เนื่องจาก
- เพื่อป้องกันความเสียหายต่อโบราณสถานหรือโบราณวัตถุภายในพื้นที่
- ถนนส่วนใหญ่เป็นถนนลาดยาง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการคืนสภาพผิวจราจรไม่สูงมากนัก
- ในการก่อสร้ างหากขุดพบโบราณสถานและโบราณวัตถุในพื้นที่ขณะก่อสร้าง
ให้หยุดดําเนินการและรีบแจ้งเจ้าหน้าที่อุทยานฯ
ยกเว้น ช่วงข้ามถนนและช่วงข้ามกําแพงดิน จะใช้วิธีดันท่อลอด (HDD.)
127

รูปที่ 5.45 การก่อสร้างด้วยวิธี Duct Bank (ซ้าย) และวิธี Semi Direct Burial (ขวา)
การก่อสร้างกลุ่มท่อคอนกรีต (Duct Bank)
- ใช้ในกรณีที่วางสายเคเบิลบนถนน เพื่อให้การป้องกันผลกระทบทางกลนั้นดีที่สุด
- มีท่อสํารอง สําหรับร้อยสายใหม่ในกรณีที่สายเดิมชํารุด หรือกรณีต้องการเพิ่มวงจร
การร้อยท่อฝังดิน (Semi Direct Burial)
- ใช้ในกรณีที่วางสายเคเบิลบนทางเท้า เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการก่อสร้าง
- ลดค่าใช้จ่ายในการดําเนินงาน
- มีท่อสํารอง สําหรับร้อยสายใหม่ในกรณีที่ สายเดิมชํารุด หรือกรณีต้องการเพิ่มวงจร
การก่อสร้างด้วยวิธีดันท่อลอด (Horizontal Directional Drilling)

รูปที่ 5.46 ตัวอย่างแสดงการก่อสร้างด้วยวิธีดันท่อลอด

ข้อดี
- ใช้กับพื้นที่ทไี่ ม่สามารถเปิดหน้าดินได้
- ก่อสร้างได้รวดเร็ว
- เหมาะสมจะใช้ในพื้นที่ ทีม่ ีแนวสาธารณูปโภคอื่นๆ ชัดเจน
128

2.6) ขนาดของท่อร้อยสาย HDPE


ท่อ HDPE เป็นท่อที่ กฟภ. นิยมนํามาใช้งาน เนื่องจากมีความยืดหยุ่น สามารถ
ดัดโค้ ง ได้ และมีร าคาไม่ สู งมากนั กเมื่อเปรีย บเทียบกั บท่ อ ตามมาตรฐาน กฟภ. ประเภทอื่ นๆ ในการ
ออกแบบจําเป็นที่จะต้องคํานวณขนาดท่อให้เหมาะสมกับขนาดเคเบิล เพื่อป้องกันการการชํารุดจากการ
ร้อยสาย สําหรับวิธีการพิจารณาจะประกอบไปด้วย
a) Percentage Area Fill (PAF) : เป็นการพิจาณาหน้าตัดรวมสูงสุดของสายเทียบ
กับพื้นที่หน้าตัดภายในท่อ โดยกรณีร้อยสายตั้งแต่ 3 เส้นขึน้ ไปจะต้องมีค่า PAF ≤ 40%
d
PAF = n( ) 2 × 100%
D
โดยที่ d = Overall Diameter ของสายเคเบิล n = จํานวนสายเคเบิลภายในท่อร้อยสาย
D = Inside Diameter ของท่อร้อยสาย
b) Jam Ratio: เป็นการพิจาณาโอกาสที่จะเกิดการไขว้ของสายจนไม่สามารถ
ลากสายต่อไปได้ ซึ่งตามมาตรฐาน กฟภ. จะต้องมีค่า Jam Ratio ≥ 3.0
D
Jam Ratio = 1.05( ) กรณีมีสายเคเบิล 3 เส้น
d
3D
Jam Ratio = กรณีมีสายเคเบิลมากกว่า 3 เส้น
( n1d1 + n 2d 2 + n3d 3 + ...)

โดยที่ Overall Diameter ของสายเคเบิล (d) D = Inside Diameter ของท่อร้อยสาย

ตารางที่ 5.16 ค่า PAF และ Jam Ratio ของระบบต่างๆ


ระบบ ขนาดสายเคเบิลหลัก ขนาดท่อร้อยสาย PAF Jam Ratio
แรงสูง 22kV 240mm2 (42mm.) 160mm.(PN8) 26.61% 3.53
แรงต่ํา 185mm2 (23.5mm.) 90mm.(PN8) 33.34% 2.4
หลังมิเตอร์ 25mm2 (11.5mm.) 50mm.(PN8) 7.98% 5.3

2.7) ระดับความลึกของสายเคเบิล

ระบบแรงต่ํา ระดับความลึก ≥ 0.6 m.

ระบบ 22 เควี ระดับความลึก ≥ 1.5 m.

รูปที่ 5.47 รูปแสดงระดับความลึกของเคเบิลใต้ดินแรงสูงและเคเบิลใต้ดนิ แรงต่ํา


129

ระดับความลึก ≥ 0.6 m.

400
600

รูปที่ 5.48 ระดับความลึกของเคเบิลใต้ดินแรงต่ําหลังมิเตอร์


3.2.5 บันทึกข้อมูลตําแหน่งติดตั้งอุปกรณ์และแนวสายเคเบิล

แนวแรงสูง
แนวสายเคเบิลและตําแหน่งของอุปกรณ์ แนวแรงต่ํา

จุดเริ่มต้นโครงการฯ

รูปที่ 5.49 แนวสายเคเบิลและตําแหน่งอุปกรณ์


130

3) รูปแบบการจ่ายไฟ
3.1) รูปแบบการจ่ายไฟระบบจําหน่าย 22kV

8 MVA ในสภาวะปกติ F1 F2 สถานีไฟฟ้า 1


พื้นที่ Zone 1,2 มีรูปแบบการจ่ายไฟแบบ N-1

F1 พื้นที่ดําเนินการ
สถานีไฟฟ้า 2 เคเบิลใต้ดิน

การจ่ายไฟแบบ Tie Line ระหว่างสายป้อน

รูปที่ 5.50 รูปแบบการจ่ายไฟระบบจําหน่าย 22kV

สําหรับวงจรของ กฟภ. ปัจจุบันมีใช้งาน 2 รูปแบบ


1. การติดตั้ง RMU เพื่อตัดต่อระบบ และติดตั้ง Unit Substation สําหรับจ่ายไฟแรงต่ํา
2. การติดตั้ง Riser Pole แทน RMU และติดตั้งหม้อแปลงแอบภายในซอยสําหรับ
จ่ายไฟแรงต่ํา
สําหรับวงจรของผู้ใช้ไฟแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบเช่นกัน
1. การใช้ RMU สร้างวงจรเฉพาะผู้ใช้ไฟ
2. การใช้ Riser Pole สร้างวงจรเฉพาะผู้ใช้ไฟ
3.1.1) การจ่ายไฟด้วย RMU และ Unit Substation
3.3.3 การจ่ายไฟด้วย RMU และ Unit Substation
Customer Line Customer
Line
ระบบแรง
Main Line Main Line

Customer Customer Line


Line Line ผู้ใช้ไฟ

Main Line Main Line

รูปที่ 5.51 การรูปแบบการจ่ายไฟด้วย RMU และ Unit Substation


131

3.1.2) การจ่ายไฟด้วยวิธีติดตั้งหม้อแปลงภายในซอย

ระบบแรงต่าํ ระบบแรงต่าํ
Main Line
Main Line

Main Line Main Line

รูปที่ 5.52 การรูปแบบการจ่ายไฟด้วยวิธีติดตั้งหม้อแปลงภายในซอย


3.2.3) การสร้างวงจรเฉพาะผู้ใช้ไฟด้วย

หม้อแปลงผูใ้ ช้ไฟ

การต่อเข้าหม้อแปลงผูใ้ ช้ไฟ การสร้างวงจรเฉพาะผู้ใช้ไฟ


รูปที่ 5.53 การสร้างวงจรเฉพาะผู้ใช้ไฟ
132

3.2.3 รูปแบบการจ่ายไฟระบบจําหน่ายแรงต่ํา
หม้อแปลงจะทํางานในสภาวะปกติที่ 60% และสามารถจ่ายไฟชดเชย Feeder อื่น
ในสภาวะฉุกเฉินได้
Tr.1 Tr.2
60% 60%สภาวะปกติ 60% 60%
30% 30% Open 30% 30%

TB TB TB
Tr.1 Tr.2
90% สภาวะฉุกเฉิน 0%
30% 60% Close 30% 30%

TB TB TB
รูปที่ 5.54 รูปแบบการจ่ายไฟของระบบแรงต่ําแบบเคเบิลใต้ดิน

4) อุปกรณ์และสัญลักษณ์ทตี่ ิดตั้งในระบบเคเบิลใต้ดิน
4.1) Cable Riser – เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างระบบไฟฟ้าเหนือดินและระบบ
ไฟฟ้าใต้ดิน

สัญลักษณ์

(ระบบ 22kV)

RL
(ระบบแรงต่ํา)

รูปที่ 5.55 ชุด Riser Pole ระบบแรงสูงและระบบแรงต่ํา


133

4.2) หม้อแปลง - เป็นอุปกรณ์แปลงแรงดันไฟฟ้าจากระบบแรงสูงให้เป็นระบบแรงต่ํา


เพื่อจ่ายกําลังไฟฟ้าให้กับโหลดแรงต่ํา (บ้านและอาคารต่างๆ)

สัญลักษณ์

รูปที่ 5.56 ชุดหม้อแปลงนั่งร้านและหม้อแปลงแขวน


4.3) บ่อพักสาย (Manhole) - เป็นบ่อคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยชนิดของบ่อพักสาย
จะขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งาน เช่น การลากสาย ทิศทางของท่อร้อยสาย จํานวนท่อร้อยสาย และการ
ตัดต่อสาย

สัญลักษณ์

รูปที่ 5.57 บ่อพักสายเคเบิลใต้ดิน


134

4.4) Ring Main Unit (RMU) - เป็น Switch Gear แรงสูงในระบบจําหน่ายไฟฟ้าแรงสูง


มีหน้าที่ตัดต่อและป้องกัน ความเสียหายจากการใช้กระแสเกินพิกัดหรือการลัดวงจร

Main Line Main Line

สัญลักษณ์

RMU
Customer Line
รูปที่ 5.58 ตู้ Ring Main Unit (RMU)
4.5) Compact Unit Substation - เป็นอุปกรณ์ที่มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ห้องแรงสูง
จะบรรจุ RMU ไว้ตัดต่อระบบแรงสูง ห้องหม้อแปลงไว้บรรจุหม้อแปลง และห้องแรงต่ําจะบรรจุอุปกรณ์
ป้องกันแรงต่ํา
Main Line Main Line

สัญลักษณ์
Transformer
Unit Sub.

รูปที่ 5.59 ตู้ Compact Unit Substation


135

4.6) Tie Box (TB) - เป็นตู้เชื่อมโยงวงจรแรงต่ําระหว่างหม้อแปลงเพื่อจ่ายในสภาวะฉุกเฉินได้

CB. TIE
Adjustable

TR.1 TR.2

สั ญลักษณ์

รูปที่ 5.60 ชุด Tie Box


4.7) Meter Box - เป็นตู้สําหรับใส่มิเตอร์สําหรับรองรับสายเคเบิลใต้ดิน

สั ญลักษณ์ Outlet
Meter Line
MTB

Main Line

รูปที่ 5.61 ตู้ Meter Box


136

4.8) Service Line (SL) - เป็นชุดอุปกรณ์จ่ายไฟแรงต่ําให้กับผู้ใช้ไฟประเภท โดยการติดตั้ง


จะต้องวางเพื่อจ่ายไฟเข้ากับเมนชายคาเดิมได้

สั ญลักษณ์
SL

รูปที่ 5.62 ชุด Service Line

4.9) Customer Service Line - เป็นชุดอุปกรณ์จ่ายไฟแรงต่ําให้กับผู้ใช้ไฟเฉพาะราย


อาจเกาะขึ้นผนัง หรือปักเสาสูง 3 ม. เพื่อเป็นจุดขึ้น กรณีที่ไม่สามารถเกาะผนังได้

สั ญลักษณ์
CSL

รูปที่ 5.63 ชุด Customer Service Line


137

4.10) Service Meter - เป็นชุดอุปกรณ์จ่ายไฟแรงต่ําสําหรับผู้ใช้ไฟเฉพาะรายประเภทบ้านเดี่ยว

สั ญลักษณ์
SM

รูปที่ 5.64 ชุด Service Meter

4.11) Meter Line – เป็นชุดจ่ายไฟแรงต่ําหลังมิเตอร์

สั ญลักษณ์ 6m.

รูปที่ 5.65 ชุด Meter Line


138
5) การออกแบบและคํานวณ
F6 สถานีฯสุ โขทัย

หม้อแปลง กฟภ.
ระบบจําหน่ าย 22 เควี เดิม หม้อแปลงผูใ้ ช้ไฟ
ระบบเหนือดิน
F6 เคเบิลใต้ดิน

F8
จุดรับไฟของอุทยานฯ

จุดรับไฟของอุทยานฯ
F8 สถานีฯสุ โขทัย
พื้นที่อุทยานฯสุ โขทัย

จุดรับไฟของอุทยานฯ

รูปที่ 5.66 ระบบจําหน่าย 22kV แบบเคเบิลใต้ดินบริเวณพื้นที่รอบนอกอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย


139

F6 สถานีฯสุ โขทัย

หม้อแปลง กฟภ.
ระบบจําหน่ าย 22 เควี ใหม่
หม้อแปลงผูใ้ ช้ไฟ
F6
ระบบเหนือดิน
SF6 เคเบิลใต้ดิน
F8
จุดรับไฟของอุทยานฯ

RMU
จุดรับไฟของอุทยานฯ

พื้นที่อุทยานฯสุ โขทัย Unit Sub

F8 สถานีฯสุ โขทัย
จุดรับไฟของอุทยานฯ

RMU

รูปที่ 5.67 ระบบจําหน่ายแบบเคเบิลใต้ดินบริเวณพื้นที่รอบนอกอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย (ต่อ)


140

ข้อมูลระบบจําหน่าย 22kV เดิมบริเวณรอบนอกอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย


- มีวงจรที่ 6 และ วงจรที่ 8 จากสถานีไฟฟ้าสุโขทัย พาดผ่าน (F6 = 2.7MW, F8 = 3.1MW)
- ปัจจุบันวงจรที่ 6 และ วงจรที่ 8 ไม่ได้เชื่อมต่อถึงกัน
- หม้อแปลงติดตั้งทั้งหมดในบริเวณพื้นที่ที่ต้องการปรับปรุงฯ มีขนาด ≤ 250kVA

ระบบจําหน่าย 22kV บริเวณรอบนอกอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยหลังปรับปรุงเป็นเคเบิลใต้ดิน


- จะปรับปรุงเป็นเคเบิลใต้ดินเฉพาะวงจรที่พาดผ่านถนนสายหลัก
- รูปแบบการจ่ายไฟไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก เนื่องจากโหลดส่วนใหญ่เป็นโหลดบ้านเรือน
- ติดตั้ง Unit Substation และหม้อแปลงไว้ภายในซอย เพื่อจ่ายไฟทดแทนหม้อแปลง กฟภ. เดิม
- มีการเชื่อมวงจร F6 และ F8 เข้าด้วยกัน เพื่อปรับปรุงระบบให้สามารถ Tie Line ระหว่างสายป้อนได้
- สําหรับจุดจ่ายไฟให้อุทยานฯ ได้มีการติดตั้ง RMU รองรับไว้เพื่อรองรับการปรับปรุงระบบจําหน่าย
ภายในอุทยานฯ ให้เป็นแบบเคเบิลใต้ดินในอนาคตเช่นกัน
- วงจร กฟภ. จะใช้สายทองแดงหุ้มฉนวน XLPE แบบ Single Core 12/20(24kV) ขนาด 240 ต.มม.
รองรับโหลดไม่เกิน 12.5MW สําหรับวงจรผู้ใช้ไฟ จะใช้สายทองแดงหุ้มฉนวน XLPE แบบ Single
Core 12/20(24kV) ขนาด 50 ต.มม. รองรับโหลดไม่เกิน 3 MW
- เนื่องจากหม้อแปลงของผู้ใช้ไฟแต่ละเครื่องอยู่ห่างกันค่อนข้างมาก จึงเชื่อมหม้อแปลงผู้ใช้ไฟ
เข้ากับสายป้อนหลักของ กฟภ. แทนที่การสร้างวงจรเฉพาะผู้ใช้ไฟ
- การพิจารณาตําแหน่งวางบ่อพัก จะคํานวณแรงดึงสายและแรงกดด้านข้างก่อนเสมอ
- การต่อลงดินจะใช้การต่อลงดินแบบหลายจุด (Multi - Points Bonding) เนื่องจากสายเคเบิล
ในแต่ละช่วงมีความยาวเกิน 500 เมตร

รูปที่ 5.68 การต่อลงดินแบบหลายจุด


141

6) การออกแบบระบบจําหน่ายแรงต่ําแบบเคเบิลใต้ดนิ บริเวณพื้นที่รอบนอกอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

(การจ่ายไฟเป็นแบบเรเดียล)

รูปที่ 5.69 การระบบจําหน่ายแรงต่ําเดิม โดยแบ่งเป็น Zone ต่างๆ


142

(มีการ Tie Line ระหว่างสายป้อนของแต่ละหม้อแปลง)

250kVA

รูปที่ 5.70 การระบบจําหน่ายแรงต่ําใหม่แบบเคเบิลใต้ดิน โดยแบ่งเป็น Zone ต่างๆ


143

6.1) แรงดันตกภายในสาย
เพื่อป้องกันปัญหาแรงดันตกในการออกแบบจะกําหนดระยะทางของสายป้อนให้มีระยะทางไม่เกิน
260 ม. เพื่อรักษาระดับแรงดันตกภายในสายให้มีค่าไม่เกิน 5% และระยะระหว่างหม้อแปลง 2 เครื่อง
ไม่เกิน 500 เมตร เพื่อรักษาระดับแรงดันตก ให้ไม่เกิน 10% ในสภาวะฉุกเฉิน (มีการ Tie Load)

กระแสสูงสุดของสาย 185CV,Cu. มีค่าประมาณ 300A

260 ม. 500 ม.

รูปที่ 5.71 ค่าแรงดันตกในสายเคเบิลใต้ดินฉนวน XLPE ขนาด 185 mm2


144

6.2) พิกัดกระแสของสายเคเบิลใต้ดิน
ในการออกแบบจะต้องคํานวณให้ขนาดสายเคเบิลสามารถรองรับพิกัดกระแสใช้งานของโหลดได้
จากตารางที่ 5.16 จะพบว่าจํานวนวงจรใช้งาน และระดับความลึก มีผลต่อค่าพิกัดกระแสใช้งานของสายเคเบิล

ตารางที่ 5.17 ค่าพิกัดกระแสของสายไฟฟ้าทองแดงหุ้มฉนวนครอสลิ้งโพลีเอทีลีน (XLPE) 0.6/1kV


145

6.3) ตัวอย่างการคํานวณงานเคเบิลใต้ดนิ ระบบแรงต่าํ บริเวณโดยรอบอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย


A) การจ่ายไฟ Zone 1 (ระบบเดิม) แสดงดังรูปที่ 5.68 ประกอบด้วย
หม้อแปลงขนาด 160kVA บริเวณข้างคลองคูศาลผาดํา Feeder สําหรับจ่ายภายในตัวเมือง
(Peak Load 39.26%)
ข้อมูลมิเตอร์ Zone 1 (ระยะสายเมนแรงต่ําไกลสุดประมาณ 292 m.)

ตารางที่ 5.18 ข้อมูลมิเตอร์ที่รับไฟจากหม้อแปลงขนาด 160kVA บริเวณข้างคลองคูศาลผาดํา


ขนาด จํานวน กระแสสูงสุด ขนาด จํานวน กระแสสูงสุด
มิเตอร์ 5(15) 82 1,230 มิเตอร์ 15(45) 2 90
1 เฟส 10(30) 3 90 3 เฟส
15(45) 3 135
กระแส 1 เฟส (IL-N) 1,455 กระแส 3 เฟส (IL-L) 90

S1P = VL− N I L− N = (230)(1455) = 334.65kVA


S 3 P = 3VL− L I L− L = 3 (400)(90) = 62.35kVA
S Meter = S1P + S 3 P = 397kVA
S Peakload 160 × 0.3926
จะได้ Co – Incident Factor CIF = = = 0.16
S Total 397

ค่า CIF มีค่าน้อยกว่า 0.3 ให้ใช้ค่า CIF = 0.33 ในการคํานวณ เพื่อรองรับโหลดในอนาคต


B) ปรับปรุงระบบใหม่ให้มกี ารจ่ายไฟภายใน Zone 1A (ระบบใหม่) แสดงดังรูปที่ 2 ประกอบด้วย
ติดตั้ง Unit Substation บริเวณศาลปู่ผาดํา โดยจะกําหนดขนาดโหลดในแต่ละ Feeder ไว้ที่
ประมาณ 150kVA
เพื่อให้สายเคเบิลรองรับได้ในสภาวะปกติที่ 60%

ตารางที่ 5.19 ข้อมูล Load Estimation ของ Feeder 1 ของ Unit Substation บริเวณศาลปู่ผาดํา
ข้อมูลมิเตอร์ Zone 1A ของ Feeder 1
Name Meter Installation Load CIF Load
1P 3P Installation Estimation
5(15) 10(30) 15(45) 15(45) (kVA) (kVA)
SL1 3 10.35 0.33 3.42
SL2 5 1 24.1 0.33 7.95
SL3 5 17.25 0.33 5.69
SM1 1 31.18 0.33 10.29
SM2 1 69 0.33 22.77
MTB1 4 13.8 0.33 4.55
MTB2 4 13.8 0.33 4.55
MTB3 4 13.8 0.33 4.55
146

ข้อมูลมิเตอร์ Zone 1A ของ Feeder 1 (ต่อ)


Name Meter Installation Load CIF Load
1P 3P Installation Estimation
5(15) 10(30) 15(45) 15(45) (kVA) (kVA)
MTB4 4 13.8 0.33 4.55
MTB5 1 2 1 55.3 0.33 18.25
MTB6 3 1 20.7 0.33 6.83
MTB9 2 6.9 0.33 2.28
MTB10 1 1 13.8 0.33 4.55
MTB11 3 10.35 0.33 3.42
MTB12 2 6.9 0.33 2.28
RL1 18 62.1 0.33 20.49
RL2 18 62.1 0.33 20.49
รวม 81 3 5 2 476.28 0.33 157.17

พิกัดกระแสในสาย 185 CV.,Cu ที่ความลึก 0.6 ม.


จํานวนวงจร (วงจร) 1 2 3
พิกัดกระแส (A) 330 298 274
Zone 1A : เลือกใช้วงจรใต้ดินแรงต่ํา 1 วงจร จะได้การรับภาระของสายเคเบิลเป็น
157.17 226.85
Feeder 1 I Normal = = 226.85 A % Load Normal = × 100 = 29.6%
3 × 0.4 330

C) การจ่ายไฟ Zone 5 (ระบบเดิม) แสดงดังรูปที่ 5.68 ประกอบด้วยหม้อแปลงขนาด 160kVA


(Peak Load 34.64%)

ตารางที่ 5.20 ข้อมูลมิเตอร์ที่รับไฟจากหม้อแปลงขนาด 160kVA


ข้อมูลมิเตอร์ (ระยะสายเมนแรงต่ําไกลสุดประมาณ 245m.)
ขนาด จํานวน กระแสสูงสุด
มิเตอร์ 5(15) 68 1,020
1 เฟส 10(30) 5 150
15(45) 4 180
กระแส 1 เฟส (IL-N) 1,350

S Meter = S1P = 3VL− N I L− N = (230)(1,350) = 310.5kVA


S Peakload 160 × 0.3464
จะได้ Co – Incident Factor C= = = 0.18
S Total 310 .5
147

D) ปรับปรุงระบบใหม่ให้มกี ารจ่ายไฟภายใน Zone 5A แสดงดังรูปที่ 5.69 ประกอบด้วย


ติดตั้งหม้อแปลงภายบริเวณถนนสุขาภิบาล 12 (ไสลือไทย)

ตารางที่ 5.21 ข้อมูล Load Estimation ของ Feeder 1 ของหม้อแปลงบริเวณถนนสุขาภิบาล 12


ข้อมูลมิเตอร์ Zone 5A ของ Feeder ที่ 1
Name Meter Installation Load CIF Load
1P Installation Estimation
5(15) 10(30) 15(45) (kVA) (kVA)
SM5 1 3.45 0.33 1.14
SM6 1 3.45 0.33 1.14
MTB43 2 6.9 0.33 2.28
MTB44 4 13.8 0.33 4.55
MTB45 3 10.35 0.33 3.42
MTB46 3 10.35 0.33 3.42
MTB47 2 6.9 0.33 2.28
MTB48 1 1 3.45 0.33 1.14
MTB49 3 10.35 0.33 3.42
MTB50 2 6.9 0.33 2.28
RL3 46 5 3 158.7 0.33 52.37
รวม 68 5 4 234.6 0.33 77.42
ขนาดของกระแสที่ไหลภายในสายใต้ดิน (185 CV.,Cu) ในสภาวะปกติ
พิกัดกระแสในสาย 185 CV.,Cu ที่ความลึก 0.6 ม.
จํานวนวงจร (วงจร) 1 2 3
พิกัดกระแส (A) 330 298 274
Zone 5A : เลือกใช้วงจรใต้ดินแรงต่ํา 1 วงจร จะได้การรับภาระของสายเคเบิลเป็น
77.42 111.7
Feeder 1 I Normal = = 111.7 A % Load Normal = x100 = 33.8%
3 × 0.4 330

ในสภาวะฉุกเฉินได้ออกแบบให้สายป้อนของ Zone1A และ Zone5A สามารถ Tie Load ทดแทนกันได้


151.17
หม้อแปลง Zone1A จึงมีค่า = 251.95kVA เลือกหม้อแปลงติดตั้ง 315 kVA
0.6
77.42
หม้อแปลง Zone5A จึงมีค่า = 129.03kVA เลือกหม้อแปลงติดตั้ง 160 kVA
0.6
148

ขนาดของโหลดสูงสุดขณะ Tie Load จะมีค่า


S TieLoad = S F 1, Zone 1 + S F 1, Zone 5 A = 157 .17 + 77 .42 = 234 .59 kVA

ดังนั้น หม้อแปลง Zone 5A จะต้องเพิ่มขนาดเป็น 315 kVA เพื่อสามารถจ่ายไฟในสภาวะ Tie Load ได้

Zone1A Zone5A
315kVA 315kVA
Unit Sub หม้อแปลง
157.17kVA DB 77.42kVA ถนนสุขาภิบาล 12
ศาลปู่ผ่าดํา
226.85A 117.7A

รูปที่ 5.72 การ Tie Line ระหว่าง Unit Substation บริเวณศาลปู่ผาดํา


กับหม้อแปลงบริเวณถนนสุขาภิบาล 12

E) การจ่ายไฟ Zone 2 (ระบบเดิม) แสดงดังรูปที่ 5.68 ประกอบด้วย


หม้อแปลงขนาด 160kVA บริเวณ 7-11 เมืองเก่า (Peak Load 67.4%)

ตารางที่ 5.22 ข้อมูลมิเตอร์ที่รับไฟจากหม้อแปลงขนาด 160kVA บริเวณ 7-11 เมืองเก่า


ข้อมูลมิเตอร์ Zone 2 (ระยะสายเมนแรงต่ําไกลสุดประมาณ 286 m.)
ขนาด จํานวน กระแสสูงสุด ขนาด จํานวน กระแสสูงสุด
5(15) 61 915 15(45) 2 90
มิเตอร์ 10(30) 8 240 มิเตอร์ 30(100) 2 200
1 เฟส 15(45) 24 1,080 3 เฟส
20(30) 1 30
30(100) 1 100
กระแส 1 เฟส (IL-N) 2,365 กระแส 3 เฟส (IL-L) 290
S1P = VL− N I L− N = (230)(2365) = 543.95kVA
S 3 P = 3VL− L I L− L = 3 (400)(290) = 200.92kVA
S Meter = S1P + S 3 P = 744.87kVA
S Peakload 160 × 0.674
จะได้ Co – Incident Factor CIF = = = 0.15
S Total 744 .87

ค่า CIF มีค่าน้อยกว่า 0.3 ให้ใช้ค่า CIF = 0.33 ในการคํานวณ เพื่อรองรับโหลดในอนาคต


149

F) ปรับปรุงระบบใหม่ให้มีการจ่ายไฟภายใน Zone 2A แสดงดังรูปที่ 5.69 ประกอบด้วย

ตารางที่ 5.23 ข้อมูล Load Estimation ทัง้ 2 Feeder ของหม้อแปลงเดิมบริเวณ 7-11 เมืองเก่า
ข้อมูลมิเตอร์ Zone 2A ของ Feeder 1
Name Meter Installation Load CIF Load
1P 3P Installation Estimation
5(15) 10(30) 15(45) 15(45) (kVA) (kVA)
SL4 1 1 1 48.4 0.33 15.97
SL5 2 1 1 24.15 0.33 7.97
SL6 1 1 1 41.52 0.33 13.70
SL7 1 2 24.15 0.33 7.97
SM3 1 10.35 0.33 3.42
MTB13 3 10.35 0.33 3.42
ข้อมูลมิเตอร์ Zone 2A ของ Feeder 1 (ต่อ)
Name Meter Installation Load CIF Load
1P 3P Installation Estimation
5(15) 10(30) 15(45) 15(45) (kVA) (kVA)
MTB14 3 1 20.7 0.33 6.83
MTB15 3 1 17.25 0.33 5.69
MTB16 1 1 10.35 0.33 3.42
MTB17 4 13.8 0.33 4.55
MTB18 2 1 1 24.15 0.33 7.97
MTB19 4 13.8 0.33 4.55
MTB20 2 1 1 24.15 0.33 7.97
MTB21 2 1 13.8 0.33 4.55
MTB22 1 1 2 13.8 0.33 4.55
MTB23 2 1 17.25 0.33 5.69
MTB24 1 1 2 31.05 0.33 10.25
รวม 35 9 10 3 359.02 0.33 118.48

ขนาดของกระแสที่ไหลภายในสายใต้ดิน (185 CV.,Cu) ในสภาวะปกติ


พิกัดกระแสในสาย 185 CV.,Cu ที่ความลึก 0.6 ม.
จํานวนวงจร (วงจร) 1 2 3
พิกัดกระแส (A) 330 298 274
150

Zone 2A : เลือกใช้วงจรใต้ดินแรงต่ํา 1 วงจร จะได้การรับภาระของสายเคเบิลเป็น


118.48 171
Feeder 1 I Normal = = 171 A % Load Normal = × 100 = 51.8%
3 × 0.4 330

G) การจ่ายไฟ Zone 3 (ระบบเดิม) แสดงดังรูปที่ 5.68 ประกอบด้วย


หม้อแปลงขนาด 160kVA บริเวณโค้ง ก. ไก่ (Peak Load 74.19%) มี Feeder สําหรับใช้ไฟ
เฉพาะกิจภายในอุทยานฯ เพื่อเป็นการลดภาระหม้อแปลง จึงทําการย้ายโหลดบางส่วนไปรับจาก
หม้อแปลงบริเวณทางเข้าชุมชนสุโขทัยนคร 3 โดยมีการลดขนาดของโหลดมิเตอร์
เนื่องจาก Zone ดังกล่าวอยู่ใกล้เคียงกับบริเวณ Zone 2 จึงเลือกใช้ค่า C = 0.33 ในการคํานวณ

H) ปรับปรุงระบบใหม่ให้มกี ารจ่ายไฟภายใน Zone 3A แสดงดังรูปที่ 5.69 ประกอบด้วย


ติดตั้งหม้อแปลงบริเวณทางเข้าชุมชนสุโขทัยนคร 3 (เพื่อลดภาระหม้อแปลงบริเวณโค้ง ก.
และบริเวณ 7-11 เมืองเก่า)

ตารางที่ 5.24 ข้อมูล Load Estimation ของ Feeder 1 ของหม้อแปลงบริเวณทางเข้าชุมชนสุโขทัยนคร 3


ข้อมูลมิเตอร์ Zone 3A ของ Feeder 1
Name Meter Installation Load CIF Load
1P 3P Installation Estimation
5(15) 10(30) 15(45) 15(45) 30(100) (kVA) (kVA)
SL9 2 6.9 0.33 2.28
SL10 2 1 17.25 0.33 5.69
SL11 2 1 17.25 0.33 5.69
SL12 2 6.9 0.33 2.28
MTB25 1 1 2 20.7 0.33 6.83
MTB26 2 1 1 24.15 0.33 7.97
MTB27 1 1 72.73 0.33 24.00
MTB28 3 31.05 0.33 10.25
MTB29 1 3 34.5 0.33 11.39
MTB30 1 1 10.35 0.33 3.42
MTB31 2 2 69.25 0.33 22.85
MTB32 2 92.35 0.33 30.48
MTB33 2 2 27.6 0.33 9.11
MTB34 3 10.35 0.33 3.42
MTB35 1 3 34.5 0.33 11.39
MTB36 4 13.8 0.33 4.55
รวม 26 3 16 4 1 489.63 0.33 161.58
151

ขนาดของกระแสที่ไหลภายในสายใต้ดิน (185 CV.,Cu) ในสภาวะปกติ


พิกัดกระแสในสาย 185 CV.,Cu ที่ความลึก 0.6 ม.
จํานวนวงจร (วงจร) 1 2 3
พิกัดกระแส (A) 330 298 274
Zone 3A : เลือกใช้วงจรใต้ดินแรงต่ํา 1 วงจร จะได้การรับภาระของสายเคเบิลเป็น
161.58 161.58
Feeder 1 I Normal = = 233.2 A % Load Normal = × 100 = 49%
3 × 0.4 330

ในสภาวะฉุกเฉินได้ออกแบบให้สายป้อนของ Zone2A และ Zone3A สามารถ Tie Load


ทดแทนกันได้
118.48
หม้อแปลง Zone2A จึงมีค่า = 197.46kVA เลือกหม้อแปลงติดตั้ง 250 kVA
0.6
161.58
หม้อแปลง Zone3A จึงมีค่า = 269.3kVA เลือกหม้อแปลงติดตั้ง 315 kVA
0.6
ขนาดของโหลดสูงสุดขณะ Tie Load จะมีค่า
S TieLoad = S F 1, Zone 1 + S F 1, Zone 5 A = 157 .17 + 77 .42 = 234 .59 kVA

หม้อแปลง Zone 2A จะต้องเพิ่มขนาดเป็น 315 kVA เพื่อสามารถจ่ายไฟในสภาวะ Tie Load ได้

Zone2A Zone3A
315kVA 315kVA
หม้อแปลง หม้อแปลง
118.48 kVA DB 161.58kVA ซอยสุโขทัยนคร 3
บริเวณ 7-11
226.85A 117.7A

รูปที่ 5.73 การ Tie Line ระหว่าง หม้อแปลงบริเวณ 7-11 เมืองเก่า


กับหม้อแปลงในซอยสุโขทัยนคร 3
152

7) การคํานวณขนาดแรงดึงสายงานเคเบิลใต้ดินบริเวณรอบนอกอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
สําหรับระบบจําหน่ายแรงสูง (22 kV) แบบจะร้อยสายเคเบิล 3 เส้น ภายในท่อเดียวกัน โดยค่าพารามิเตอร์
ต่างๆ ที่นํามาใช้งานจะมีค่าเป็นดังต่อไปนี้
ขนาดสายเคเบิล 240 ต.มม. XLPE, d = 42 มม. Weight (W) = 3.62 kg/m/เส้น
ท่อที่ใช้งาน 160 มม. HDPE PN 8, D = 141 มม.
Reel Back Feeder (TIN) = 100 kg, Friction = 0.25 (ค่าเฉลี่ย)
(3C − 2)
SWP =
3R
2
⎛ 4⎞ ⎡ d ⎤
C = 1+ ⎜ ⎟× ⎢ ⎥ = Weight Correction Factor = 1.24
⎝ 3 ⎠ ⎣ (D − d ) ⎦
ค่าแรงดึงสูงสุดแบบ = 2,722 กก./เส้น, แรงกดด้านข้างสูงสุด = 744 กก./ม.
Type 1: แรงดึงสายทางตรง T = WLCF

Type 2: แรงดึงสายช่วงลาดเอียง T = WL (CF cos α ± sin α )


TUP = (+), TDOWN = (−)

Type 3: แรงดึงสายช่วงทางโค้งแนวราบ
TOUT = TIN cosh(CFθ ) + sinh(CFθ ) TIN2 + (WR) 2

Type 4: แรงดึงสายช่วงโค้งขึ้นลง TOUT = T IN e CF θ

หมายเหตุ 1. แรงดึงสาย Type 3 มีค่าใกล้เคียงกับ Type 4 เพื่อง่ายต่อการคํานวณจะเลือกใช้


Type 4 ในการคํานวณแรงดึงสายช่วงทางโค้งแนวราบแทน
2. การคํานวณแรงดึงสายเคเบิล สามารถอ้างอิงได้จากการประกอบเลขที่ 7124
153

7.1) การคํานวณแรงดึงสายเคเบิลใต้ดินจาก Unit Sub 250kVA – MH3

C1

รูปที่ 5.74 การพิจารณารูปแบบการลากสายจาก Unit Sub – MH3

ช่วงที่ 1 : ลากสายจากผ่าน ELBOW ของ Unit Substation (ลากสายช่วงโค้งขึ้นลง)


TIN = แรงดึงเริ่มต้น = 100 kg รัศมีโค้ง Elbow 1.6 m. มุม 90 o
TA = TIN eCFθ โดยที่ θ = (90o /180o) x3.1416 = 1.5708 Radian
TA = 100e1.24x0.25x1.5708 = 162.7kg
(3C − 2) ⎛ (3 × 1.24 ) − 2 ⎞
SWP = × TA = ⎜ ⎟ × 162 .7 = 58 .3kg / m.
3R ⎝ 3 × 1 .6 ⎠

ช่วงที่ 2 : ลากสายจาก Unit Substation --> C1 (ลากสายช่วงโค้งแนวราบ)


TA = 162.7 kg รัศมีโค้ง 6 มุม 107 o
TB = TA eCFθ โดยที่ θ = (107o /180o) x3.1416 = 1.8675 Radian
TB = 162.7e1.24x0.25x1.8675 = 290.3kg
(3C − 2) ⎛ (3 × 1.24 ) − 2 ⎞
SWP = × TB = ⎜ ⎟ × 290 .3 = 27 .7 kg / m.
3R ⎝ 3× 6 ⎠

ช่วงที่ 3 : ลากสายจาก C1 --> MH1 (ลากสายช่วงทางตรง)


TB = 290.3 kg ระยะทางตรง 14 เมตร
TC = TB + WLCF = 290.3 + [(3.62x3) x14x1.24x0.25] = 337.4kg
154

ช่วงที่ 4 : ลากสายภายใน Manhole 1 (ลากสายช่วงโค้งแนวราบ)


TC = 337.4 kg รัศมีโค้ง 1 มุม 90o
TD = TC eCFθ โดยที่ θ = (90o /180o) x3.1416 = 1.5708 Radian
TD = 337.4e1.24x0.25x1.5708 = 549.1kg
(3C − 2) ⎛ (3 × 1.24 ) − 2 ⎞
SWP = × TD = ⎜ ⎟ × 549 .1 = 314 .8kg / m.
3R ⎝ 3 ×1 ⎠

ช่วงที่ 5 : ลากสายจาก MH1 --> MH2 (ลากสายช่วงทางตรง)


TD = 549.1 kg ระยะทางตรง 69 เมตร
TF = TD + WLCF = 549.1 + [(3.62x3) x69x1.24x0.25] = 781.4kg

ช่วงที่ 6 : ลากสายภายใน Manhole 2 (ลากสายช่วงโค้งแนวราบ)


TF = 781.4 kg รัศมีโค้ง 1 มุม 90o
TG = TF eCFθ โดยที่ θ = (90o /180o) x3.1416 = 1.5708 Radian
TG = 781.4e1.24x0.25x1.5708 = 1,271.6kg
(3C − 2) ⎛ (3 × 1.24 ) − 2 ⎞
SWP = × TG = ⎜ ⎟ × 1271 .6 = 728 .9 kg / m.
3R ⎝ 3 ×1 ⎠

ช่วงที่ 7 : ลากสายจาก MH2 --> MH3 (ลากสายช่วงทางตรง)


TG = 1271.6 kg ระยะทางตรง 229 เมตร
TH = TG + WLCF = 1271.6 + [(3.62x3) x229x1.24x0.25] = 2,042.6kg

จากผลการคํานวณตั้งแต่ช่วงที่ 1 ถึงช่วงที่ 7 สามารถสรุปผลการคํานวณได้ดังตารางที่ 5.17

ตารางที่ 5.25 ตารางแสดงผลการคํานวณแรงดึงสายเคเบิลใต้ดินจาก Unit Substation – MH3


ช่วง Type รายละเอียด L Degree R แรงดึง SWP Status
เริ่มต้น - แรงดึงเริ่มต้น - - - 100.0 - -
Unit Sub 4 ช่วงโค้งขึ้นลง - 90 1 162.7 58.3 OK
Unit Sub - C1 4 ช่วงโค้งแนวราบ - 107 6 290.3 27.7 OK
C1 - MH1 1 ช่วงทางตรง 14 - - 337.4 - OK
MH1 4 ช่วงโค้งแนวราบ - 90 1 549.1 314.8 OK
MH1-MH2 1 ช่วงทางตรง 69 - - 781.4 - OK
MH2 4 ช่วงโค้งแนวราบ - 90 1 1,271.6 728.9 OK
MH2–MH3 1 ช่วงทางตรง 229 - - 2,042.6 - OK
155

7.2) การคํานวณแรงดึงสายเคเบิลใต้ดินจาก Riser Pole 2 – MH3

รูปที่ 5.75 การพิจารณารูปแบบการลากสายจาก R2 – MH3


ช่วงที่ 1 : ลากสายจากผ่าน ELBOW ของ Riser Pole 2 (ลากสายช่วงโค้งขึ้นลง)
TIN = แรงดึงเริ่มต้น = 100 kg รัศมีโค้ง Elbow 1.6 m. มุม 90 o
TA = TIN eCFθ โดยที่ θ = (90o /180o) x3.1416 = 1.5708 Radian
TA = 100e1.24x0.25x1.5708 = 162.7kg
(3C − 2) ⎛ (3 × 1.24 ) − 2 ⎞
SWP = × TA = ⎜ ⎟ × 162 .7 = 58 .3kg / m.
3R ⎝ 3 × 1 .6 ⎠
ช่วงที่ 2 : ลากสายจาก R2 --> MH4 (ลากสายช่วงทางตรง)
TA = 162.7 kg ระยะทางตรง 10 เมตร
TB = TA + WLCF = 162.7 + [(3.62x3) x10x1.24x0.25] = 196.4kg
ช่วงที่ 3 : ลากสายภายใน Manhole 4 (ลากสายช่วงโค้งแนวราบ)
TB = 196.4 kg รัศมีโค้ง 1 มุม 90o
TC = TB eCFθ โดยที่ θ = (90o /180o) x3.1416 = 1.5708 Radian
TC = 196.4e1.24x0.25x1.5708 = 319.6kg
(3C − 2) ⎛ (3 × 1.24 ) − 2 ⎞
SWP = × TC = ⎜ ⎟ × 319 .6 = 183 .2 kg / m.
3R ⎝ 3 ×1 ⎠
ช่วงที่ 4 : ลากสายจาก MH4 --> MH3 (ลากสายช่วงทางตรง)
TC = 319.6 kg ระยะทางตรง 214 เมตร
TD = TC + WLCF = 319.6 + [(3.62x3 ) x214x1.24x0.25] = 1,040.1kg
156

ตารางที่ 5.26 ตารางแสดงผลการคํานวณแรงดึงสายเคเบิลใต้ดินจาก Riser Pole 2 – MH3


ช่วง Type รายละเอียด L Degree R แรงดึง SWP Status
เริ่มต้น - แรงดึงเริ่มต้น - - - 100.0 - -
R2 4 ช่วงโค้งขึ้นลง - 90 1 162.7 58.3 OK
R2-MH4 1 ช่วงทางตรง 10 - - 196.4 - OK
MH4 4 ช่วงโค้งแนวราบ - 90 1 319.6 183.2 OK
MH4-MH3 1 ช่วงทางตรง 214 - - 1,040.1 - OK

4. ปัญหาและอุปสรรค
1. โครงการนี้ มี ค วามเกี่ ย วข้ อ งกั บ หลายหน่ ว ยงาน จํ า เป็ น ที่ จ ะต้ อ งหาแนวทางร่ ว มกั น
ที่ทุกหน่วยงานยอมรับ และสามารถทํางานร่วมกันได้ เช่น ความพร้อมในการดําเนินการ
ก่อสร้างของแต่ละหน่วยงาน, ข้อจํากัดด้านงบประมาณ, ขั้นตอน ระเบียบและระยะเวลาการ
ดําเนินการภายในของแต่ละหน่วยงาน
2. การเก็บข้อมูลระบบไฟฟ้าเดิม เช่น ชนิดและขนาดของอุปกรณ์ไฟฟ้า (มิเตอร์ สายไฟฟ้า),
การเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าเข้าอาคารแต่ละหลัง ซึ่งในบางพื้นที่ข้อมูลต่างๆเหล่านี้ยากแก่การ
สังเกตและเข้าถึง
3. การตรวจสอบระบบสาธารณูปโภคเดิม เช่น ท่อน้ํา ท่อระบายน้ํา ท่อระบบสื่อสาร เป็นไปได้
ยาก เนื่ องจากไม่ มีอุปกรณ์ที่ จะช่วยในการสํารวจ โดยในปัจจุบันได้ อ้างอิ งจากแบบระบบ
สาธารณูปโภคเดิมจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่
4. ปัญหาการใช้พื้นที่ใต้ดินของแต่ละหน่วยงาน ในกรณีเขตทางแคบ
5. ปัญหาจากสิ่งปลูกสร้าง หรือการต่อเติมอาคาร ที่ล้ําเข้าไปในเขตทางหรือที่สาธารณะ
6. ปัญหาการพยากรณ์โหลดในพื้นที่ชนบท/ธุรกิจ เพื่อใช้ในการออกแบบระบบไฟฟ้าแบบเคเบิลใต้ดิน
7. การหาตําแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ เช่น หม้อแปลง, ชุด Riser, Distribution Box, RMU, Unit
Substation, Manhole และ Handhole เป็นไปได้ยาก
8. ในการออกแบบจะต้องพิจารณาความเหมาะสมทั้งทางกายภาพ วิศวกรรมและเศรษฐศาสตร์
9. ในการออกแบบจะต้องใช้ความรู้ทางวิศวกรรมในหลายๆด้าน มาใช้ในการแก้ปัญหาเพื่อให้เกิด
ความสะดวก ปลอดภัยทั้งจากการใช้งานและการบํารุงรักษาในอนาคต
5. สรุปผลสําเร็จและประโยชน์ที่ได้รบั
ผลสําเร็จ : โครงการนี้สามารถดําเนินการออกแบบ ประมาณการราคา ในการก่อสร้างเสร็จ
ตามกําหนด ตามหลักวิศวกรรมและเป็นที่ยอมรับได้ของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อดําเนินการ
ก่ อ สร้ า งเสร็ จ แล้ ว ก็ จ ะบรรลุ ผ ลตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ที่ ไ ด้ ก ล่ า วข้ า งต้ น คื อ ปรั บ ปรุ ง ทั ศ นี ย ภาพ
เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ป้องกันอันตรายจากการพาดโยงสาย และเพิ่มค่าความเชื่อถือได้ให้กับ
ระบบไฟฟ้า
157

ประโยชน์ที่ได้รับ
1. การเรียนรู้เกี่ยวกับการทํางานสํารวจสภาพพื้นที่จริง เพื่อให้เข้าใจปัญหาและคิดค้นแนวทาง
การแก้ไข เพื่อให้การดําเนินการก่อสร้างและบํารุงรักษาเกิดปัญหาน้อยที่สุด
2. การประสานงานกั บ หน่ ว ยงานต่ า งๆ ที่ จ ะต้ อ งทํ า งานร่ ว มกั น และได้ รั บ รู้ ร ะเบี ย บของแต่ ล ะ
หน่วยงาน
3. มีการศึกษาเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะนํามาช่วยในการสํารวจ ออกแบบ หรือการดําเนินงานก่อสร้าง
4. มีแนวคิดในการปรับปรุงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ยากต่อการหาพื้นที่ติดตั้งให้มีความเหมาะสมมากกว่า
ปัจจุบัน
5. การเรียนรู้หลักวิศวกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงาน ซึ่งเป็นงานวิศวกรรมเฉพาะด้าน
จึงเป็นประสบการณ์สําคัญในโครงการต่อๆไป และสามารถนําความรู้มาประยุกต์ใช้กับงานอื่นๆ
ที่อาจมีความเกี่ยวข้องกันได้
6. การเรี ย นรู้ ข้ อ จํ า กั ด ของเครื่ อ งมื อ ที่ จ ะนํ า มาปฏิ บั ติ ง าน เพื่ อ ให้ ดํ า เนิ น งานก่ อ สร้ า งได้
อย่างเหมาะสมและมีความปลอดภัยในขณะทําการก่อสร้างและการบํารุงรักษา
7. ปั จ จุ บั น ได้ ก ารมี ก ารพั ฒ นาซอร์ ฟ แวร์ สํ า หรั บ ช่ ว ยในการคํ า นวณ เพื่ อ ลดระยะเวลา
และข้อผิดพลาดในการทํางาน
บทที่ 6
ถาม - ตอบ ปัญหางานเคเบิลใต้ดินของ กฟภ.

การวางแผน งบประมาณ และการจัดทาโครงการ


ถาม พื้นที่ที่มีความเหมาะสมที่จะจัดทาโครงการเคเบิลเบิลใต้ดิน ควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ ควรเป็นพื้นที่ที่มีโหลดค่อนข้างอิ่มตัว และมีอัตราการเพิ่มขึ้นของโหลดไม่มาก เนื่องจากเมื่อทาการ
ปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นแบบเคเบิลใต้ดินแล้วการที่จะแก้ไขเพิ่มเติม หรือซ่อมบารุง จะทาได้ยาก
ดังนั้น หากเป็ นพื้น ที่ที่มีโ หลดอิ่มตัว และอัตราการเพิ่มขึ้นของโหลดไม่มากจะทาให้ผู้ ออกแบบ
สามารถ วิเคราะห์ และวางแผนการจ่ายไฟในพื้นที่ได้ อย่า งเป็นระบบ นอกจากนี้ ลั กษณะทาง
กายภาพของพื้นที่ควรมีความเหมาะสม เช่น เป็นพื้นที่เมืองสาคัญ / เมืองใหญ่ / เมืองท่องเที่ยว
หรือเมืองประวัติศาสตร์ โดยอยู่ในโซนพื้นที่ 1,2,3 ที่ กฟภ. กาหนด
ถาม โครงการเคเบิลใต้ดินสาหรับเมืองใหญ่ ของ กฟภ. เริ่มดาเนินการเมื่อใด มีที่ใดบ้าง งบประมาณ
เท่าใด และแต่ละแห่งจ่ายไฟเมื่อใด
ตอบ โครงการเคเบิลใต้ดินสาหรับเมืองใหญ่ ได้ดาเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 9 ระหว่างปี 2545-2549 โดย ได้คัดเลือกพื้นที่เมืองใหญ่ เทศบาล หรือองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ที่มีความพร้อมทางด้านงบประมาณร่วมดาเนินโครงการฯ กับ กฟภ. โดย กฟภ. เป็น
ผู้ลงทุนงานในส่วนระบบไฟฟ้า และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลงทุนในส่วนของงานโยธา ซึ่ง
กฟภ. ได้จัดสรรงบประมาณสาหรับดาเนินโครงการฯ เป็นเงิน 1,107 ล้านบาท โดยพื้นที่ที่ กฟภ.
ได้ดาเนินโครงการฯ มีดังนี้
1) ถนนพัทยาสาย 1 จ.ชลบุรี (จ่ายไฟ ปี 2550)
2) ถนนนิพัทธ์อุทิศ 1,2,3 และถนนเสน่ห์หานุสรณ์ จ.สงขลา (จ่ายไฟ ปี 2551)
3) ถนนท่าแพ – ช้างคลาน จ.เชียงใหม่ (จ่ายไฟ ปี 2551)
4) ถนนสุนทรวิจิตร จ.นครพนม (จ่ายไฟ ปี 2552)
5) ถนนสมุทรศักดารักษ์ จ.มุกดาหาร (จ่ายไฟ ปี 2552)
6) ถนนนเรศวร จ.พิษณุโลก (จ่ายไฟ ปี 2552)
7) ถนนถลาง จ.ภูเก็ต (จ่ายไฟ ปี 2553)
8) ถนนศรีจันทร์ (ระยะที่ 1 ) จ.ขอนแก่น (จ่ายไฟ ปี 2553)
9) ถนนศรีจันทร์ (ระยะที่ 2 ) จ.ขอนแก่น (จ่ายไฟ ปี 2554)
10) ถนนหน้าเมือง จ.สุราษฎร์ธานี (จ่ายไฟ ปี 2554)
11) ถนนเลียบชายหาดกะรน จ.ภูเก็ต (จ่ายไฟ ปี 2554)
12) ถนนประจักษ์ศิลปาคม และถนนเจนจบทิศ จ.หนองคาย (จ่ายไฟ ปี 2555)
13) ถนนเพชรเกษม จ.สงขลา (จ่ายไฟ ปี 2555)
14) ถนนกระบี่, ดีบุก ,ภูเก็ต และเทพกษัตรี จ.ภูเก็ต (จ่ายไฟ ปี 2555)
159

ถาม ที่ผ่ านมา การร่ ว มมือ ด าเนิ น การเพื่ อปรับ ปรุง ระบบไฟฟ้า ลงใต้ ดิน ระหว่ าง กฟภ. กับ องค์ ก ร
ปกครองส่วนท้องถิ่น มีรูปแบบ เหมือนหรือแตกต่างกัน อย่างไรบ้าง
ตอบ ในการดาเนินการที่ผ่ านมา มีรู ปแบบความร่วมมือในการปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นเคเบิล ใต้ดิน
มีรูปแบบที่แตกต่างกัน ดังนี้
1) กฟภ. เป็นผู้ลงทุนงานระบบไฟฟ้า และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ลงทุน
งานระบบโยธา โดย กฟภ. เป็นผู้ดาเนินการก่อสร้างทั้งหมด เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วทรัพย์สินเป็น
ของ กฟภ. เช่น โครงการเคเบิลใต้ดินสาหรับเมืองใหญ่
2) กฟภ.เป็นผู้ลงทุนค่าก่อสร้างระบบไฟฟ้าและงานระบบโยธา และเป็นผู้ดาเนินการ
ก่อสร้างเอง เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วทรัพย์สินเป็นของ กฟภ. เช่น งานปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นเคเบิล
ใต้ดินรอบอุทยานประวัติศาสตร์ และ พระตาหนัก ต่างๆ
3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ล งทุนค่าก่ อสร้างระบบไฟฟ้าและงานโยธา
ทั้งหมดเอง โดย กฟภ. เป็นผู้ดาเนินการก่อสร้างทั้งหมด เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วทรัพย์สินเป็นของ
กฟภ. ได้แก่ งานที่ไม่ ได้อยู่ ในแผนโครงการของ กฟภ. แต่ องค์กรปกครองส่ว นท้องถิ่นมีความ
ประสงค์ขอปรับทัศนียภาพเพื่อความสวยงาม
4) กฟภ. เป็นผู้ลงทุนงานระบบไฟฟ้า และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ลงทุน
งานระบบโยธา โดย กฟภ. เป็นผู้ดาเนินการก่อสร้างงานระบบไฟฟ้า ส่วนเทศบาลขอดาเนินการ
ก่อสร้ างงานระบบโยธาเองตามแบบของ กฟภ. หรือที่ กฟภ. เห็ นชอบเมื่อก่ อ สร้างเสร็จแล้ ว
ทรัพย์สินเป็นของ กฟภ.
5) กฟภ. เป็นผู้ลงทุนงานระบบไฟฟ้า และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ลงทุน
งานระบบโยธา โดย กฟภ. เป็นผู้ดาเนินการก่อสร้างงานระบบไฟฟ้า ส่วนเทศบาลขอดาเนินการ
ก่อสร้างงานระบบโยธาเองตามแบบของ กฟภ. หรือที่ กฟภ. เห็นชอบ เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ ว
ทรัพย์สินระบบไฟฟ้าเป็นของ กฟภ. ส่วนทรัพย์สินงานระบบโยธา ยังเป็นทรัพย์สินขององค์กร
ปกครองส่ว นท้องถิ่น แต่ให้ กฟภ. ใช้งาน เช่น งานโครงการเคเบิล ใต้ดินส าหรับเมืองใหญ่
ทีถ่ นนพัทยาสาย 1 และถนนจอมเทียนสาย 2 จ.ชลบุรี
ถาม การดาเนินโครงการเคเบิลใต้ดินสาหรับเมืองใหญ่ มีการแบ่งแยกความรับผิดชอบระหว่าง กฟภ.
กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างไร
ตอบ กฟภ. เป็นผู้ลงทุน ค่าก่อสร้างงานระบบไฟฟ้า และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลงทุน ค่าก่อสร้าง
งานโยธา
160

ถาม ถ้าองค์กรปกครองส่ว นท้องถิ่น มีความประสงค์จะปรับปรุงเป็น ระบบจาหน่ายเป็น เคเบิลใต้ดิน


โดยไม่ได้อยู่ในแผนงานโครงการของ กฟภ. จะต้องลงทุนอย่างไร
ตอบ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องเป็นผู้ลงทุนค่าก่อสร้างทั้งหมด โดย กฟภ. เป็นผู้ออกแบบและ
ดาเนินการก่อสร้าง
ถาม การดาเนินโครงการปรับปรุงระบบจาหน่ายเป็นเคเบิลใต้ดินของ กฟภ. มีรูปแบบของการลงทุน
ระหว่าง กฟภ. กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างไร
ตอบ ที่ผ่านมา กฟภ. มีโครงการที่ปรับปรุงระบบจาหน่ายเป็นเคเบิลใต้ดิน หลายโครงการ เช่น โครงการ
เคเบิลใต้ดินสาหรับเมืองใหญ่ , คชฟ.3 โดยมีสัดส่วนของการลงทุน ดังนี้
1) โครงการเคเบิลใต้ดินสาหรับเมืองใหญ่ กฟภ. เป็นผู้ลงทุนงานระบบไฟฟ้า และ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ลงทุนงานโยธา
2) โครงการเพิ่มความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า ระยะที่ 3 (คชฟ.3) เช่น งานปรับปรุง
ระบบจาหน่ายเป็นแบบเคเบิลใต้ดินบริเวณรอบอุทยานประวัติศาสตร์ และโครงการปรับปรุงระบบ
ไฟฟ้าเป็นเคเบิลใต้ดินให้พระตาหนักต่างๆ ซึ่ง กฟภ. เป็นผู้ลงทุนทั้งงานระบบไฟฟ้าและงานโยธา
ถาม ในการปรับปรุงระบบจาหน่ายเป็นเคเบิลใต้ดินตามโครงการต่างๆ ของ กฟภ. ได้รวมระบบท่อ
สื่อสารและท่อสาหรับร้อยสายไฟถนนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยหรือไม่ อย่างไร
ตอบ งบประมาณที่ กฟภ. จัดสรรเพื่อดาเนินโครงการ ให้ปรับปรุงฯ เฉพาะในส่วนที่เป็นทรัพย์สินของ
กฟภ. เท่านั้น จะไม่ได้รวมงานสาหรับระบบสื่อสารของหน่วยงานอื่น และท่อร้อยสายของโคมไฟ
ถนนซึ่งหน่วยงานดังกล่าว จะต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อดาเนินการให้สอดคล้องกับแผนงานของ
กฟภ. ต่อไป
ถาม ในการดาเนิ น โครงการปรั บ ปรุ ง ระบบจ าหน่า ยเป็ นเคเบิล ใต้ดิ น มีรู ปแบบการลงทุ นหรือ การ
ก่อสร้างทีต่ ่างไปจากรูปแบบที่กล่าวมาแล้วบ้างหรือไม่ อย่างไร
ตอบ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่ง เช่น เมืองพัทยา เทศบาลนครเชียงใหม่ ขอเป็นผู้ดาเนินการ
ก่อสร้างงานโยธาเองตามแบบของ กฟภ. หรือที่ กฟภ. เห็นชอบ
ถาม ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ลงทุนงานโยธา หรือลงทุนพร้อมก่อสร้างงานโยธาเอง
ทรัพย์สินในส่วนของงานโยธา จะต้องโอนให้ กฟภ. หรือไม่ อย่างไร
ตอบ ในเงื่อนไขการก่อสร้างที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ลงทุนงานโยธา กฟภ. จะระบุให้ทรัพย์สิน
งานโยธาเป็น ของ กฟภ. เพื่อความสะดวกในการใช้งานและบารุงรักษา ทั้งนี้ บางกรณีองค์กร
ปกครอง ส่ ว นท้ อ งถิ่ น ขอเป็ น ผู้ ด าเนิ นการก่ อสร้ างเองตามแบบที่ กฟภ. เห็ น ชอบแต่ ไม่ ไ ด้ โ อน
ทรัพย์สินให้ กฟภ. เช่น ถนนพัทยาสาย 1, ถนนจอมเทียนสาย 2
ถาม ในการก่อสร้างเคเบิลใต้ดิน เทศบาล หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถขอเป็นผู้ดาเนินการ
ก่อสร้างงานส่วนโยธาเอง ได้หรือไม่ อย่างไร
161

ตอบ เนื่องจากเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ กฟภ. จะต้องเป็นผู้จ่ายไฟและดูแลระบบเคเบิลใต้ดิน ดังนั้น ขอ


เป็น ผู้ดาเนินการก่อสร้ างเอง ทั้งงานระบบไฟฟ้าและระบบโยธาโดยขอให้ เทศบาลหรือ องค์กร
ปกครอง ส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ลงทุนในส่วนงานระบบโยธาเท่านั้น แต่ที่ผ่านมา มีเทศบาล หรือ องค์กร
ปกครอง ส่วนท้องถิ่นบางแห่ง เช่น เมืองพัทยา เทศบาลนครเชียงใหม่ ขอจัดหางบประมาณพร้อม
ดาเนินการก่อสร้างงานโยธาเอง กฟภ. จึงไม่สามารถเข้าไปควบคุมงานก่อสร้างได้ เนื่องจากไม่ใช่
คู่สัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง ทาให้การก่อสร้างไม่เป็นไปตามแบบเนื่องจากผู้ควบคุ มงานขาดความ
เข้าใจในการก่อสร้างและการใช้งานระบบโยธาของ กฟภ. ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว
เช่นนี้ กฟภ. จึงขอเป็นผู้ดาเนินการก่อสร้างเอง
ถาม เมื่อย้ายมิเตอร์แรงต่าที่ติดตั้งอยู่บนเสาไปอยู่ในตู้มิเตอร์ การปรับปรุงสายแรงต่าหลังมิเตอร์ซึ่งเป็น
ทรัพย์สินของผู้ใช้ไฟมีวิธีการดาเนินการอย่างไร จะต้องเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากผู้ใช้ไฟหรือไม่
ตอบ เนื่องจากเป็นโครงการฯ ของ กฟภ. ดังนั้น เมื่อย้ายมิเตอร์ไปอยู่ในตู้มิ เตอร์แล้ว สายแรงต่าหลัง
มิเตอร์ ซึ่งปกติเป็นทรัพย์ของผู้ใช้ไฟ กฟภ. จะดาเนินการปรับปรุงให้โดยไม่เ รียกเก็บค่าใช้จ่ายจาก
ผู้ใช้ไฟ
ถาม ในพื้นที่ ก่อสร้างเคเบิลใต้ดินของ กฟภ. มีการประกาศโซนเพื่อให้ผู้ ใช้ไฟ หรือผู้ขอใช้ไฟในอนาคต
ได้ทราบ เพื่อให้ผู้ใช้ไฟดาเนินการให้สอดคล้องกับแผนของ กฟภ. หรือไม่ อย่างไร
ตอบ กฟน. มีการประกาศโซนพื้น ที่เพื่อที่จะให้ ผู้ ใช้ไฟหรือผู้ ขอใช้ไฟในอนาคต จัดเตรียมพื้ นที่ห รือ
อุปกรณ์ ในการติดตั้งเคเบิลใต้ดินให้สอดคล้องกับประกาศของ กฟน. แต่ สาหรับ กฟภ. ยังไม่มีการ
ประกาศ โซนพื้นที่เคเบิลใต้ดินดังกล่าว จึงอาจจะทาให้ผู้ขอใช้ไฟเกิดความสับสนในการจัดเตรียม
อุปกรณ์และออกแบบระบบไฟฟ้าภายใน ตลอดจนค่าใช่จ่ายในการขยายเขตที่มีราคาสูงกว่าระบบ
สายอากาศ
ถาม อัตราค่าธรรมเนียมการใช้ไฟฟ้าของ กฟภ. ที่เรียกเก็บกับผู้ใช้ไฟในระบบเคเบิลใต้ดิน กับระบบ
สายอากาศ เป็นอัตราเดียวกันหรือไม่ อย่างไร
ตอบ อัตราค่าธรรมเนีย มการใช้ไฟทั้งระบบเคเบิลใต้ดินและระบบสายอากาศของ กฟภ. เป็นอัตรา
เดียวกัน สาหรับ กฟน. มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ไฟฟ้าที่แตกต่างกันระหว่างระบบเคเบิลใต้
ดินกับระบบสายอากาศ

การเตรียมการก่อนสารวจ
ถาม การเตรียมตัวก่อนการสารวจ จะต้องศึกษาข้อมูลขั้นเตรียมการสารวจ อย่างไร
ตอบ ก่อนการส ารวจผู้ สารวจจะต้องศึกษาสภาพพื้นที่ ดาเนินการ เพื่อกาหนดขอบเขตการทางานที่
ชัดเจนและจะต้องศึกษาสภาพการจ่ายไฟในบริเวณที่จะปรับปรุงเป็ นเคเบิลใต้ดินเบื้องต้นเสียก่อน
จากโปรแกรมทางภูมิศาสตร์ เช่น Google earth หรือ ระบบ GIS ของ กฟภ. เพื่อจะได้จัดเตรียม
162

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโครงการ เพื่อนาไปติดต่อประสานงานขอข้อมูลระบบสาธารณูปโภคและ
ข้อมูลที่จาเป็นต้องใช้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การสารวจพื้นที่
ถาม การสารวจพื้นที่สาหรับออกแบบเคเบิลใต้ดิน จะต้องติดต่อหน่วยงานใดบ้าง
ตอบ ในการส ารวจพื้ น ที่ ผู้ ส ารวจ ควรที่ จ ะต้ อ งมี ข้ อ มู ล ระบบสาธารณู ป โภคที่ เ กี่ ย วข้ อ ง เพื่ อ ใช้
ประกอบการออกแบบ โดยหน่วยงานที่จะต้องติดต่อประกอบไปด้วย หน่วยงานที่เป็นเจ้าของพื้นที่
ได้แก่ กรมทางหลวง , เทศบาล , อบจ. , อบต. หรือ เมืองพัทยา แล้ ว แต่กรณี นอกจากนี้ยังมี
หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การประปา (ท่อน้าประปา) , ทีโ อที (ท่อระบบสื่อสาร) และ
ผู้ประกอบการเคเบิลท้องถิ่น เป็นต้น
ถาม อุปกรณ์/เครื่องมือ ที่ใช้สารวจพื้นที่ มีอะไรบ้าง
ตอบ อุป กรณ์ที่ใช้ ส ารวจเก็บ ข้อมู ล ได้ แก่ ดิ นสอ/ปากกาและอุปกรณ์เครื่องเขียน, สมุ ดจดบั น ทึก ,
เข็มทิศ, ล้อวัดระยะทาง, เทปวัดระยะทาง, กล้องบันทึกภาพ/วีดีโอ
ถาม กฟภ. มีเครื่องมือที่ใช้ระบุหรือตรวจหาท่อสาธารณูปโภคใต้ดินหรือไม่
ตอบ กฟภ. มีอุปกรณ์ที่ชื่อ GPR (Ground Penetration Radar) ใช้สาหรับตรวจหาและระบุตาแหน่ง
หรือแนวท่อ วัตถุใต้ดิน
ถาม ข้อมูลที่ได้จากการสารวจพื้นที่ มีอะไรบ้าง
ตอบ การสารวจพื้นที่หน้างานจะต้องเก็บข้อมูลที่จาเป็นเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาและออกแบบ ดังนี้
1) ข้อมูลระบบไฟฟ้าและสภาพการจ่ายไฟเดิม
2) ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ก่อสร้าง
3) ข้อมูลการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคต
4) ข้อมูลระบบสาธารณูปโภคเดิม
5) ข้อมูลแผนการก่อสร้าง ปรับปรุง และพัฒนาพื้นที่ หรือแผนพัฒนาเมืองในปัจจุบันและ
อนาคตของส่วนราชการและเอกชนในพื้นที่
6) ข้อมูลการกาหนดแนวการวางสายใต้ดินที่จะทาการออกแบบ
7) ข้อมูลการกาหนดรูปแบบและวิธีการก่อสร้างที่เหมาะสม
8) ข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาพการจราจรในพื้นที่ก่อสร้าง ช่วงเวลาการปฏิบัติการ
ที่เหมาะสมปริมาณน้าที่เคยท่วมสูงสุดในพื้นที่ ข้อมูลการรับน้าหนักของดินเพื่อวางอุปกรณ์
ถาม มีวิธีการเลือกแนววางสายเคเบิลใต้ดินอย่างไร
ตอบ ในการเลือกแนวเพื่อวางสายเคเบิลใต้ดิน จะต้องพิจารณาถึง ความสะดวกในการก่อสร้างและ
บารุงรักษาในอนาคตด้วย โดยแนววางสายเคเบิลจะต้องไม่ทับซ้อน หรือกีดขวางกับแนวระบบ
163

สาธารณูปโภคอื่น ดังนั้นผู้สารวจจึงต้องหาข้อมูลระบบสาธารณูปโภคเดิมให้มากที่สุด เพื่อจะได้


ออกแบบหลบหลีกท่อดังกล่าว
ถาม การเก็บข้อมูลระบบจาหน่ายเดิม ทาเพื่ออะไร และมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ การเก็บข้อมูลระบบจาหน่ายเดิม จะช่วยให้ผู้สารวจรู้สภาพการจ่ายไฟเดิมเพื่อนามา วิเคราะห์
วางแผนงาน และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเทียบกับข้อมูลที่ได้จัดเตรียมไว้ก่อนการสารวจ
และสามารถออกแบบปรับปรุงเป็นระบบเคเบิลใต้ดินได้เหมาะสมที่สุด
ถาม ในการสารวจพื้นที่ มีวิธีหาแนวท่อสาธารณูปโภคและความลึกของท่อที่อยู่ใต้ดิน ได้อย่างไร
ตอบ การหาแนวและความลึ ก ของท่ อ สาธารณู ป โภค เช่ น ท่ อ น้ าประปา ท่ อน้ าทิ้ ง ท่ อ ร้ อ ยสาย
ระบบสื่อสารของทีโอที ท่อร้อยสายไฟถนน สามารถติดต่อได้จากหน่วยงานเจ้าของท่อเพื่อขอดูจาก
แบบก่อสร้าง นอกจากนี้ยังสามารถสังเกตจากลักษณะทางกายภาพได้อี กทางหนึ่ง เช่น สังเกตจาก
ฝาบ่อระบายน้า ฝาบ่อพักของทีโอที แนวการขุดและคืนสภาพผิวถนนวางท่อประปา เป็นต้น
ถาม การเก็บข้อมูลจุดรับไฟเดิมของผู้ใช้ไฟ ทาเพื่ออะไร มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ เมื่อได้ปรับปรุงเป็นระบบเคเบิลใต้ดินแล้ว การจ่ายไฟคืนให้ผู้ใช้ไฟจะต้องจ่ายผ่านสายใต้ดิน ซึ่งการ
เก็บข้อมูลจุดรับไฟเดิมของผู้ใช้ไฟจะช่วยให้สามารถจ่ ายไฟคืนได้ครบถ้วน นอกจากนี้ในตาแหน่ง
ขึ้นของชุด SL (Service Line), RL (Riser pole low voltage) และ CSL (Customer service
line) จะต้องมีบ่อพักเพื่อแยกสายออกจากวงจรหลัก จึงเป็นการกาหนดตาแหน่งบ่อ พักสายไปใน
คราวเดียวกันด้วย
ถาม มีวิธีในการเลือกตาแหน่งและวิธีการขึ้นชุด Service Line (SL) ที่เหมาะสมกับลักษณะของอาคาร/
ตึกแถว/บ้านเดี่ยว อย่างไร
ตอบ เนื่องจากชุด SL จะต้องยึดเกาะติดกับผนังอาคาร ดังนั้น ผู้สารวจออกแบบจะต้องเลือกตาแหน่ง
การขึ้นชุด SL ให้เหมาะสม โดยเลือกมุมตึกแถวหรือผนังกึ่งกลางระหว่างห้องที่สามารถติดตั้ง SL
ได้โดยไม่กีดขวางอาคาร และจุดขึ้นไม่ติดท่อสาธารณูปโภค เพื่อเชื่อมสายเคเบิลใต้ดินที่ออกจากชุด
SL เข้ากับสายเมนชายคาเดิมได้สะดวก

การออกแบบงานไฟฟ้า
ถาม ในการออกแบบเคเบิลใต้ดิน หลักสาคัญ ในการพิจารณาวางระบบคืออะไร
ตอบ เนื่องจากระบบเคเบิลใต้ดิน เมื่อก่อสร้างเสร็จจะเพิ่มเติม แก้ไข หรือซ่อมแซม ได้ค่อนข้างลาบาก
ดังนั้นในการออกแบบจะต้องจัดเตรียมระบบให้มีความมั่นคงมากที่สุด โดยหากมีอุปกรณ์ในระบบ
ตัวหนึ่งตัวใดชารุดเสียหาย ระบบก็ยังไม่สูญเสียความสามารถในการจ่ายไฟ จึงต้องออกแบบให้เป็น
N-1
164

ถาม ในการออกแบบระบบเคเบิลใต้ดิน สามารถเลือกใช้สายเคเบิลชนิด 3 แกน หรือ 4 แกน ได้หรือไม่


ตอบ แม้ว่าผู้ผลิตจะสามารถผลิตสายเคเบิลใต้ดินได้ทั้งแบบ 1 แกน และแบบ 3 แกน (ระบบแรงสูง)
หรือ 4 แกน (ระบบแรงต่า) ก็ตาม แต่ปัจจุบัน กฟภ. ยังไม่มีสเปคของสายเคเบิลชนิดหลายแกนให้
เลือกใช้งานจึงต้องออกแบบใช้สาย 1 แกน เท่านั้น
ถาม การประเมินโหลดสาหรับงานเคเบิลใต้ดิน ทาอย่างไร
ตอบ 1) การประเมินโหลดที่ใช้ไฟอยู่แล้ว ทาได้โดยคานวณตามขนาดโหลดที่ติดตั้ง แล้วคิดเป็น
สัดส่วนโดยตรงกับค่าคูณลด (Co-incident factor) ของปริมาณการใช้ไฟสูงสุดของโหลดบริเวณ
นั้นๆ ทั้งนี้ สาหรับพื้นที่ที่อาจมีการเติบโตของโหลดในอนาคตได้อีก ให้ เผื่อโหลดในอนาคตไว้ด้วย
ตามความเหมาะสม
2) การประเมิ น โหลดที่ ยั ง ไม่ ไ ด้ ใ ช้ ไ ฟ เช่ น โครงการบ้ า นจั ด สรร ท าได้ โ ดยการค านวณตาม
ขนาดโหลดที่ติดตั้งหรือขนาดที่ดินตามหลักเกณฑ์
ทั้ ง นี้ ประเมิ น โหลด ทั้ ง 2 กรณี จะให้ ห ม้ อ แปลงจ่ า ยไฟที่ 60% ของพิ กั ด หม้ อ แปลง
เมื่อออกแบบเป็น N-1 และให้ หม้อแปลงจ่ายไฟที่ 80% ของพิกัดหม้อแปลง เมื่อออกแบบเป็น
แบบเรเดียล
ถาม การคานวณหาขนาดสายและการเลือกใช้สายเคเบิลใต้ดิน ทาอย่างไร
ตอบ ประเมินโดยคิดตามขนาดโหลดติดตั้ง และให้คานึงถึงจานวนวงจร ระดับความลึก และวิธีการฝัง
สายเคเบิล เพื่อนามาคานวณหาขนาดสายเคเบิล ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติ ขนาดสายที่ กฟภ. เลือกใช้
เพื่อความสะดวกในการใช้งานของระบบแรงสูงมีขนาด 50, 120, 240, 400 ต.มม. และระบบแรง
ต่ามีขนาด 50, 95, 185 ต.มม.
ถาม การคานวณและเลือกขนาดหม้อแปลง ทาอย่างไร
ตอบ เมื่อคานวณโหลดได้แล้ว ให้พิจารณาดังนี้
1) กรณีออกแบบให้หม้อแปลงสามารถจ่ายไฟชดเชยหม้อแปลงข้างเคียงได้ ให้จ่ายไฟที่ 60% ของ
พิกัดหม้อแปลง
2) กรณีออกแบบให้หม้อแปลงไม่สามารถจ่ายไฟชดเชยหม้อแปลงข้างเคียงได้ ให้จ่ายไฟที่80%
ของพิกัดหม้อแปลง
ถาม ผู้ใช้ไฟที่อยู่ในพื้นที่ก่อสร้างเคเบิลใต้ดิน ต้องติดตั้ง RMU ทุกรายหรือไม่
ตอบ เนื่องจาก RMU เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาสูง ทาให้ผู้ใช้ไฟที่จะติดตั้ง RMU จะเป็นผู้ใช้ไฟรายใหญ่ที่
ต้องการความมั่นคงในการจ่ายไฟสูง เนื่องจาก RMU สามารถตัดต่อโหลดได้สะดวก สาหรับผู้ใช้ไฟ
รายย่อยและผู้ใช้ไฟที่ไม่ต้องการความมั่นคงสูงก็อาจจะไม่ไ ด้ติดตั้ง RMU ไว้ ซึ่งปัจจุบัน กฟภ. ยัง
ไม่มีหลักเกณฑ์บังคับให้ผู้ใช้ไฟจะต้องติดตั้ง RMU จึงได้แต่แนะนาผู้ขอใช้ไฟรายใหม่ให้ติดตั้ง
เท่านั้น สาหรับ ผู้ใช้ไฟรายเดิม ที่ไม่ได้ติดตั้งและไม่มีความประสงค์ที่จะติดตั้ง ก็ยังคงรับไฟผ่าน
อุปกรณ์ตัดต่อแบบที่ต้องปลดโหลดออกก่อน
165

ถาม มีวิธีในการเลือกใช้ RMU ให้เหมาะสมกับงานอย่างไร


ตอบ การติดตั้ง RMU จะพิจารณาเลือกจานวน Compartment ให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น การใช้
RMU ที่มี4 Compartment (2 IN 2 OUT) จะนามาใช้เชื่อมโยงวงจรหลัก 2 Compartment
โดยอุปกรณ์ตัดต่อภายในเป็นแบบ disconnecting switch และแยกจ่ายให้ผู้ใช้ไฟในระบบแรงสูง
2 Compartment โดยอุปกรณ์ตัดต่อภายในเป็นแบบ disconnecting switch with fuse หรือ
circuit breaker ตามความเหมาะสม
ถาม ขนาด Compact Unit substation ที่ กฟภ. นิยมใช้งาน มีขนาดเท่าใด
ตอบ กฟภ. มีสเปค Compact Unit substation ให้เลือกใช้ 2 ขนาด คือ ขนาดไม่เกิน 630 เควีเอ
และขนาดไม่เกิน 1000 เควีเอ โดยใช้พื้นที่ติดตั้ง ประมาณ 2.5 x 3.5 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับ
แรงดันและผลิตภัณฑ์ด้วย
ถาม มีวิธีการจ่ายไฟให้ผู้ใช้ไฟแรงสูงในพื้นที่ก่อสร้างเคเบิลใต้ดินอย่างไร
ตอบ 1) ผู้ใช้ไฟที่ติดตั้งหม้อแปลง และ RMU. ภายใน เพื่อความมั่นคงของระบบ สามารถรับไฟผ่าน
RMU. ได้ 2 ทาง หรือหากไม่ติดตั้ง RMU. เพื่อรับไฟแบบ 2 ทาง กฟภ. สามารถจ่ายไฟให้ได้โดย
จ่ายจากวงจรผู้ใช้ไฟจาก RMU. หรือ Riser pole ของ กฟภ. ที่ออกแบบติดตั้งไว้ภายนอกโดย
จ่ายไฟเป็นเรเดียลแยกต่างหากจากวงจรหลัก
2) ผู้ใช้ไฟที่ติดตั้งหม้อแปลง แต่ ไม่ติดตั้ง RMU. ภายใน กฟภ. สามารถจ่ายไฟให้ได้โดยจ่ายจาก
วงจรผู้ใช้ไฟจาก RMU. หรือ Riser pole ของ กฟภ. ที่ออกแบบติดตั้งไว้ภายนอก โดยจ่ายไฟเป็น
เรเดียลแยกต่างหากจากวงจรหลัก
ถาม หม้อแปลงเฉพาะรายขนาดเล็ก เช่น 100, 160 และ 250 เควีเอ ที่แขวนเสาเดี่ยวในไลน์ระบบ
จาหน่ายของ กฟภ. เนื่องจากไม่มีพื้นที่ภายในสาหรับติดตั้ง เมื่อได้ปรับปรุงเป็นเคเบิลใต้ดินแล้ว
จะออกแบบย้ายหม้อแปลงเหล่านี้ ไปไว้ที่ใด
ตอบ หม้อแปลงเฉพาะรายขนาดไม่เกิน 250 เควีเอ เมื่อต้องปรับปรุงเป็นเคเบิ ลใต้ดินและผู้ใช้ไฟไม่มี
พื้นทีต่ ิดตั้งหม้อแปลงภายใน กฟภ. สามารถจ่ายไฟแรงต่าให้แก่ผู้ใช้ไฟรายนั้นๆ ได้ จากชุด CSL แต่
ยังคงคิดค่าไฟจากอัตราแรงสูงตามสัญญาการซื้อขายไฟเดิม สาหรับหม้อแปลงเดิมให้คืนผู้ใช้ไฟ
ถาม ระบบจาหน่ายแรงต่า เมื่อปรับปรุงเป็นเคเบิลใต้ดินจะต้องออกแบบเป็น Loop โดยมี ตู้ Tie-line
Box (TB) เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยง เสมอไปหรือไม่
ตอบ ในการออกแบบระบบจาหน่ายแรงต่า หากต้องการความมั่นคง ให้ออกแบบสายแรงต่าที่จ่ายมา
จากหม้อแปลงต่างเครื่องกัน ให้เชื่อมโยงผ่านตู้ TB ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและดุลพินิจของ
ผู้ออกแบบว่าต้องการความมั่นคงของระบบจาหน่ายแรงต่าเพียงใด ซึ่งหากเป็นไม่จาเป็นหรือมี เหตุ
ที่ไม่สามารถเชื่อมโยงผ่านตู้ TB ได้ ก็สามารถออกแบบเป็นเรเดียลได้เช่นกัน
166

ถาม สามารถต่อสาย/ต่อแยกสาย ภายในบ่อพักแรงสูง/แรงต่า ได้หรือไม่ อย่างไร


ตอบ ในการต่อสายหรือต่อแยกสายภายในบ่อพักแรงสูง/แรงต่า ของระบบเคเบิลใต้ดิน สามารถกระทา
ได้โดยช่างผู้เชี่ยวชาญ ซึ่ง กฟภ. มีสเปคอุปกรณ์ดังกล่าวให้ใช้งานแล้ว
ถาม มีหลักในการเลือกพื้นที่วาง Compact Unit substation / RMU อย่างไร
ตอบ 1) เป็นตาแหน่งศูนย์กลางของกลุ่มโหลดที่จะจ่ายไฟ
2) มีพื้นที่สาหรับติดตั้งโดยไม่กีดขวางทางสัญจรและฐานรากไม่ติดท่อสาธารณูปโภคใต้ดิน
3) สามารถเข้าปฏิบัติงานและบารุงรักษาได้สะดวก
4) ไม่บดบังทัศนียภาพหรือทาให้ขาดความกลมกลืนกับพื้นที่ก่อสร้าง
5) ไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดรถชน / น้าท่วมขัง หรืออาจเสียหายจากการกระทาอื่นๆ
ถาม มีวิธีระบุตาแหน่งลัดวงจร (fault) ของระบบเคเบิลใต้ดิน อย่างไร
ตอบ เนื่ องจากสายเคเบิ ล จะถูกฝั งไว้ทั้งหมด การตรวจหาจุดลั ดวงจร จะกระทาได้ยาก จึงต้องใช้
อุปกรณ์ เพื่อช่วยในการหาตาแหน่งจุดลัดวงจร โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Fault indicator ซึ่งจะติด
ตั้งอยู่ใน Compact Unit substation/RMU หรือติดที่ไลน์บริเวณต้น Riser pole
ถาม ระยะห่างระหว่างเคเบิลใต้ดินของ กฟภ. กับสาธารณูปโภคอื่น เป็นเท่าไหร่
ตอบ ตามหนังสือระบบเคเบิลใต้ดิน ของ กมฟ. ตารางที่ 3.9 หน้า 92 (เล่มสีเขียว)
ถาม ระบบแรงสูง , แรงต่า สามารถออกแบบอยู่ในบ่อพักเดียวกัน ได้หรือไม่ เพราะอะไร
ตอบ ในการออกแบบเคเบิลใต้ดิน จะไม่อนุญาตให้สายแรงสูง และสายแรงต่า อยู่ภายในท่อหรือบ่อพัก
สายเดียวกัน เพราะหากเกิดการลัดวงจรที่สายแรงสูงอาจจะทาให้สายแรงต่าเสียหายไปด้วย
ถาม โคมไฟถนนและระบบส่องสว่างของเทศบาล ที่อยู่ที่เสาของ กฟภ. เมื่อปรับปรุงเป็นระบบเคเบิลใต้
ดินแล้ว จะต้องทาอย่างไร
ตอบ เทศบาลจะต้องจัดหางบประมาณ และออกแบบก่อสร้างระบบโคมไฟส่องสว่างแยกต่างหากจาก
ระบบไฟฟ้าของ กฟภ. โดย กฟภ. จะเป็นผู้จัดเตรียมจุดรับไฟและมิเตอร์ไว้ให้
ถาม ในการเลือกเสาต้น Riser pole ควรใช้เสาต้นเดิม มาปรับปรุง หรือ ปักเสาใหม่
ตอบ การก่อสร้างเสาต้น Riser pole โดยเลือกปักเสาใหม่ จะทาให้ไม่ต้องดับไฟในระหว่างการก่อสร้าง
และเมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ว จึงเชื่อมระบบเข้าด้วยกัน ลดปัญหาการดับไฟบ่อยครั้ง แต่ในการเลือก
ตาแหน่งปักเสาเพิ่มเพื่อสร้าง Riser pole อาจจะต้องพิจารณาให้มีความเหมาะสม เนื่องจากผู้ที่
ได้รับผลกระทบจากการปักเสาใหม่อาจไม่ ยินยอม ทั้งนี้ หากเลือกใช้เสาเดิม ขอให้อยู่ ในสภาพ
ที่เหมาะสม เช่น ตาแหน่งเหมาะสม เสาไม่ เอียง ไม่บิ่น ไม่เก่าจนไม่น่าจะนามาใช้งาน หรื อ ไม่ มี
อุปกรณ์บนหัวเสาเดิมจานวนมากจนไม่เหมาะแก่การ นามาใช้งาน
167

ถาม การต่อลงดิน (Grounding) ของระบบจาหน่ายแบบเคเบิลใต้ดินมีกี่วิธี และเลือกใช้อย่างไร


ตอบ การต่อลงดินตามมาตรฐาน กฟภ. สาหรับระบบจาหน่าย มี 2 แบบ (การประกอบเลขที่ 7131)
ได้แก่ 1) การต่อลงดินแบบสองปลาย ใช้เมื่อสายเคเบิลมีระยะทางไม่เกิน 500 เมตร
2) การต่อลงดินแบบหลายจุด ใช้เมื่อสายเคเบิลมีระยะทางมากกว่า 500 เมตร
ถาม การออกแบบเคเบิลใต้ดินลอดใต้ถนนทางหลวง จะต้องมีบ่อพักก่อนขึ้นต้น Riser pole หรือไม่
ตอบ การออกแบบเคเบิลใต้ดินลอดถนน ไม่จาเป็นต้องมีบ่อพัก เนื่องจากสามารถลากสายจาก Riser
pole ต้นหนึ่งไปยัง Riser pole อีกต้นหนึ่งที่อยู่ฝั่งตรงข้ามถนนได้เลย นอกจากจะไม่ยุ่งยากในการ
ก่อสร้างบ่อพักในเขตทางแล้ว ยังประหยัดเงินลงทุนค่าบ่อพักสายที่มีราคาแพงอีกด้วย ทั้งนี้ หาก
เกิดการ ชารุดเสียหายของสายเคเบิลในช่วงดังกล่าว จะจัดซ่อมโดยการเปลี่ยนสายใหม่ ทั้งเส้น
ถาม ที่ผ่านมา กฟภ. เคยมีงานออกแบบเคเบิลใต้ดินโดยวิธีการฝังตรง (Direct burial) บ้างหรือไม่
ตอบ การก่อสร้างเคเบิลใต้ดินโดยวิธีการฝังตรง มีข้อดีที่ต้ นทุนต่ากว่าการก่อสร้างวิธีอื่น แต่มีข้อด้อยคือ
การป้องกันแรงทางกลไม่แข็งแรงเหมือนวิธีร้อยท่อ หรือ วิธีคอนกรีตหุ้มท่อ การเพิ่มวงจรทาได้ยาก
และหากเกิดลัดวงจรอาจจะทาให้วงจรข้า งเคียงเสียหายไปด้วย แต่ กฟภ. เคยออกแบบก่อสร้าง
เคเบิลใต้ดินด้วยวิธีดังกล่าวนี้ บนเกาะช้าง จ.ตราด ระยะทางประมาณ 2.5 กม. จานวน 2 วงจรซึ่ง
พื้นที่ก่อสร้างเป็นภูเขา ไหล่ทางแคบ คดเคี้ยว ไม่ สามารถวางบ่อพักและวางท่อร้อยสายได้
ถาม ถ้าหน่วยงานระบบสื่อสารขอร้อยสายร่วมในบ่อพักของ กฟภ. สามารถทาได้หรือไม่ อย่างไร
ตอบ กฟภ. ไม่อนุญาตให้น าสายสื่ อสารร้อยร่ว มในบ่อพักของ กฟภ. เพราะการปฏิบัติงานจะทาได้
ลาบาก เนื่องจากเป็นทรัพย์สินของแต่ละหน่วยงาน หากเกิดการลัดวงจรจะทาให้สายสื่อสารเสีย
หายไปด้วยและเรื่องของความปลอดภัยในการทางาน

การออกแบบงานโยธา
ถาม รูปแบบการออกแบบฝังสายเคเบิลใต้ดินมีกี่วิธี อะไรบ้าง
ตอบ 2 รูปแบบ ได้แก่
1) รูปแบบเปิดหน้าดิน (Open cut) มี 4 วิธี ได้แก่
1.1 ฝังดินโดยตรง (Direct burial)
1.2 ร้อยท่อฝังดิน (Semi-direct burial)
1.3 กลุ่มท่อหุ้มคอนกรีต (Concrete encased duct bank)
1.4 กลุ่มท่อหุ้มคอนกรีตสาเร็จรูป (Precast concrete encased duct bank)
2) รูปแบบไม่เปิดหน้าดิน (Non open cut or No dig) มี 3 วิธี ได้แก่
2.1 การเจาะในแนวราบ (Horizontal Directional Drilling) หรือ HDD.
2.2 การดันท่อปลอกขนาดใหญ่ (Pipe Jacking)
2.3 การดันท่อปลอกเหล็กขนาดเล็ก (Small sleeve pushing)
168

ถาม มีวิธีการเลือกใช้ชนิดบ่อพักแรงสูง / แรงต่า อย่างไร


ตอบ 1) เลือกบ่อให้เหมาะกับระดับแรงดัน เช่น ระบบ 115, 22, 33 เควี และระบบแรงต่า
2) เลือกบ่อให้เหมาะกับการใช้งาน เช่น บ่อทางตรง, บ่อทางโค้ง, บ่อแยกสาย และบ่อต่อสาย
3) เลือกบ่อให้เหมาะกับขนาดสายและจานวนวงจร
4) เลือกบ่อให้เหมาะสมกับระดับความลึกของท่อร้อยสาย เช่น บ่อพักคอสั้น หรือ คอยาว
ถาม ระยะห่างระหว่างบ่อพักแรงสูง / แรงต่า ที่เหมาะสม เป็นอย่างไร
ตอบ ระยะห่างระหว่างบ่อพักที่เหมาะสมในทางตรง ไม่ควรเกิน 250-300 เมตร โดยแรงดึงสูงสุดที่ใช้
งานไม่เกินค่าที่กาหนดไว้ ในการประกอบเลขที่ 7124 สาหรับในทางโค้ง ให้ พิจารณาระยะทาง
ค่าแรงกดด้านข้าง (Side wall pressure) ด้วยทั้งนี้ การออกแบบระยะห่างที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับ
พื้นที่ก่อสร้างด้วย ซึ่งในทางปฏิบัติมักจะมีระยะห่างระหว่างบ่อต่ากว่าที่ระบุไว้ เนื่องจาก มีการวาง
บ่อบริเวณทางแยก หรือบริเวณปากซอย หรือจุดแยกเพื่อจ่ายให้ผู้ใช้ไฟ
ถาม การออกแบบเผื่อโหลดในอนาคตสาหรับงานโยธา ทาอย่างไร
ตอบ เนื่องจากในการก่อสร้างงานโยธา เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ ว จะแก้ไขเพิ่ม เติมหรือปรับปรุง ได้ยาก
ดังนั้นใน การออกแบบจึง ควรออกแบบเผื่อการเพิ่มขึ้นของโหลดในอนาคตไว้ด้วย ซึ่งอาจจะทาได้
โดยการวางท่อร้ อยสายส ารองไว้เผื่ อ จานวนวงจรที่จะเพิ่มขึ้ น หรือ การก่อสร้างบ่ อพักไว้ตาม
ทางแยกหรือที่ดินเปล่าที่อาจจะมีโหลดเพิ่มในอนาคตไว้ด้วย
ถาม การเลือกใช้บ่อพักแรงสูง/แรงต่า แบบมีเข็มและไม่มีเข็ม พิจารณาอย่างไร
ตอบ การพิจารณาว่าจะใช้บ่อพัก แรงสูงแบบมีเข็มหรือไม่ ให้ดูจากค่าแรงแบกทานของดิน (Bearing
Capacity) หากมีค่าน้อยกว่า 8 ตัน/ตร.ม. ให้ใช้บ่อพักแบบมีเข็ม ส าหรับบ่อพักแรงต่า กฟภ.
ยังไม่มีแบบก่อสร้างที่ใช้เข็ม
ถาม การเลือกใช้บ่อพักชนิดคอสั้น/คอยาว มีวิธีพิจาณาอย่างไร
ตอบ ในการเลือกใช้บ่อพักชนิดคอสั้น / คอยาว ขึ้นอยู่กับระดับความลึกของแนวท่อร้อยสาย
ถาม การเลือกวิธีออกแบบก่อสร้างท่อร้อยสายด้วยวิธี เปิด / ไม่เปิด หน้าดิน พิจารณาอย่างไร
ตอบ 1) ให้พิจารณาจากสภาพพื้น เช่น ความหนาแน่นของชุมชน สภาพจราจร/การปิดถนน
ความต้องการของหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ หรือระดับความลึก ของท่อร้อยสาย ซึ่งจะทาให้การ
ก่อสร้าง ด้วยวิธีเปิดหน้าดินมีความยุ่งยาก หรืออาจส่ง ผลกระทบต่องานก่อสร้าง ก็ให้เลือกการ
ก่อสร้างแบบไม่เปิดหน้าดิน
2) ให้ พิ จ ารณาจากสิ่ ง กี ด ขวางใต้ ดิ น หรื อ ท่ อ สาธารณู ป โภคต่ า งๆ เช่ น ท่ อ แก๊ ส ท่ อ น้ ามั น
ท่อประปา ท่อระบายน้าทิ้ง ท่อของระบบสื่ อสาร หรือพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่อาจมีวัตถุโ บราณ
169

ใต้ผิวดินซึ่งหากก่อสร้างด้วยวิธีไม่เปิดหน้าดิน อาจก่อให้เกิดความเสียหาย เนื่องจากไม่สามารถระบุ


ตาแหน่งทีแ่ น่นอน และควบคุมทิศทางการก่อสร้างได้ ก็ให้เลือกวิธีแบบเปิดหน้าดิน
ถาม ท่อร้อยสายของ กฟภ. มีกี่ชนิด และมีวิธีเลือกใช้อย่างไร
ตอบ ในการก่อสร้างท่อร้อยสายที่ กฟภ. อนุญาตให้นามาใช้งานได้ มีดังนี้ ท่อ HDPE , ท่อลูกฟูก ,
ท่อโลหะ และท่อไฟเบอร์กลาส แต่ในทางปฏิบัติ ท่อ HDPE จะถูกนามาใช้งานเป็นส่วนใหญ่
เนื่องจากเหตุผลเรื่องราคา การขนส่ง และความสะดวกในการก่อสร้าง กล่าวคือสามารถใช้งานได้
ทั้งวิธีเปิด/ไม่เปิดหน้าดิน (HDD.)
ถาม มีวิธีเลือกใช้ PN ของท่อ HDPE อย่างไร
ตอบ PN (Pressure Norminal) หรือ ความดันระบุ เป็นการระบุค่าความสามารถของการทนต่อแรงดัน
(Pressure) ของน้ าที่กระทาต่อท่อ HDPE โดยการเลือกใช้ท่อ HDPE จะพิจารณาค่า PN ให้
เหมาะสมกับระดับความลึกของแนวท่อ โดยอ้างอิงตามการประกอบเลขที่ 7504
ถาม เครื่อง HDD. Machine ที่ กฟภ. มีใช้งาน สามารถลากท่อได้จานวนกี่ท่อและระยะทางไกลเท่าใด
ตอบ เครื่อง HDD. Machine ที่ กฟภ. มีใช้งานมีกาลังเครื่องที่สามารถลากท่อ HDPE ขนาด 160 มม.
ได้คราวละ 4 - 6 ท่อ ระยะทาง ไม่เกิน 80 - 100 เมตร
ถาม การการก่อสร้างสร้างท่อร้อยสายใต้ดิน มีการออกแบบงานโยธาเผื่อไว้สาหรับระบบสาธารณูปโภค
อื่น เช่น ทีโอที กสท. เคเบิลท้องถิ่น หรือไฟถนน หรือไม่
ตอบ ในการออกแบบวางท่อร้อยสายของ กฟภ. จะออกแบบเฉพาะท่อร้อยสายที่ใช้งานกับระบบของ
กฟภ. จึงไม่ได้ออกแบบเผื่อท่อร้อยสายที่เป็นทรัพย์สินของหน่วยงานอื่นๆ
ถาม ในการออกแบบก่อสร้ างท่อร้ อยสายด้ว ยวิธี HDD. จะต้องพิจารณาเรื่องพื้นที่สาหรับตั้งเครื่อง
HDD. อย่างไร
ตอบ เนื่องจากเครื่อง HDD. มีความยาวประมาณ 5 เมตร ซึ่งอาจจะมากหรือน้อยกว่านี้ ขึ้นอยู่กับขนาด
ของเครื่อง และเมื่อรวมขนาดของ Rod ที่มีความยาวท่อนละ 3 เมตร การตั้งเครื่อง HDD.
ที่เหมาะสมจึงใช้พื้นที่อย่างน้อย 8 เมตร ห่างจากแนวเจาะ ทั้งนี้ หากมีพื้นที่การปฏิบัติงานน้อย
กว่านี้ ให้ขึ้นอยู่กับเทคนิคการทางานของผู้ก่อสร้าง
ถาม ในกรณีที่ก่อสร้างเคเบิลใต้ดินลอดถนนทางหลวงแผ่นดิน จะต้องออกแบบก่อสร้างที่ความลึกเท่าใด
ตอบ ตามข้อตกลงของกรมทางหลวงในการอนุญาตให้ กฟภ. ก่อสร้างท่อลอดถนน ซึ่งระบุให้ท่อลอด
ถนนอยู่ต่าจากระดับผิวจราจร ไม่น้อยกว่า 3 เมตร และต่ากว่าดินเดิม ไม่น้อยกว่า 1 เมตร
ถาม ถ้าในการออกแบบเคเบิลใต้ดินจะต้องมีการก่อสร้างบ่อพักและอยู่ในพื้นที่ทางหลวงแผ่นดิน จะต้อง
ออกแบบให้บ่อพักมีระดับความลึกเท่าใด
170

ตอบ ตามข้อตกลงของกรมทางหลวงในการอนุญาตให้ กฟภ. ก่อสร้า งบ่อพักในพื้นที่ทางหลวง ให้


ด้านบน ของบ่อพักจะต้องอยู่ต่าจากระดับผิวจราจร ไม่น้อยกว่า 3.50 เมตร
ถาม ในกรณีทกี่ ่อสร้างท่อร้อยสายไฟขนานไปกับแนวถนนของกรมทางหลวง จะต้องก่อสร้างให้มีระดับ
ความลึกของท่อร้อยสายอยู่ที่เท่าใด
ตอบ ตามข้อตกลงของกรมทางหลวงในการอนุญาตให้ กฟภ. ก่อสร้า งท่อร้อยสายในแนวขนานกับผิว
จราจรที่ระดับความลึกจากระดับผิวจราจร ไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร
ถาม Precast Duct bank คืออะไร และมีการนามาใช้ในระบบของ กฟภ. บ้างหรือไม่ อย่างไร
ตอบ Precast Duct bank คือ Duct bank สาเร็จรูป ที่มีท่อร้อยสายไฟอยู่ภายในและหุ้มด้วยคอนกรีต
เพื่อป้องกันแรงทางกล โดย Precast Duct bank จะถูกหล่อสาเร็จรูปเป็นท่อน ๆ ละ 3 เมตร เมื่อ
นามาติดตั้งใช้งานก็จะนาแต่ละท่อนมาวางต่อกันโดยมีข้อต่อสวมเป็นอุปกรณ์ยึดระหว่างท่อน ซึ่ง
การก่อสร้างด้วย Precast Duct bank จะสามารถลดเวลาการก่อสร้างและลดผลกระทบที่อาจจะ
เกิดจากการเปิดผิว จราจรได้ ปั จจุบัน กฟภ. ได้ออกแบบใช้งานก่อสร้างสายส่ง 115 เควี เพื่อ
จ่ายไฟให้สถานีฯ พัทยากลาง ระยะทางประมาณ 1 กม. โดยแนว Precast Duct bank จะอยู่ใต้
แนวถนนพัทยากลางที่ระดับความลึก 1.5 เมตร
ถาม การเลือกตาแหน่งวางบ่อพักสายที่เหมาะสมควรพิจารณาอย่างไร
ตอบ 1) เป็นตาแหน่งที่เหมาะสมแก่การจ่ายไฟ
2) เป็นตาแหน่งที่ไม่ติดท่อสาธารณูปโภคอื่นๆ
3) เป็นตาแหน่งที่ไม่กีดขวางทางเข้าออกจากซอยหรือทางแยก
บทที่ 7
มาตรฐานเคเบิลใต้ดิน

7.1. บ่อพักสายใต้ดินชนิด manhole


แบบ 2T - 1 และ 2T - 2 ใช้ในบริเวณที่รับน้้าหนักรถรวมน้้าหนักบรรทุกไม่เกิน 25
ตัน ติดตั้งในต้าแหน่งหัวมุมหรือทางแยก โดยต่อสายเคเบิลฯ ภายในได้ และสามารถรับสายเคเบิลฯ
(XLPE) ได้สู งสุ ด 12 วงจร ขนาดไม่เกิน 400 ตารางมิลลิ เมตร ตามแบบมาตรฐานเลขที่ SA1-
015/31030 (การประกอบเลขที่ 7301) และแบบมาตรฐานเลขที่ SA1-015/31032 (การประกอบ
เลขที่ 7302) ตามล้าดับ
แบบ 2T - 3 ใช้ในบริเวณที่รับน้้าหนักรถรวมน้้าหนักบรรทุกไม่เกิน 25 ตัน ติดตั้งใน
ต้าแหน่งหัวมุมหรือทางแยก ใช้ในการเลี้ยวโค้งสายเคเบิลฯ เท่านั้น โดยห้ามต่อสายเคเบิลฯ ภายใน
และสามารถรับสายเคเบิลฯ (XLPE) ได้สูงสุด 12 วงจร ขนาดไม่เกิน 400 ตารางมิลลิเมตร ตามแบบ
มาตรฐานเลขที่ SA1-015/31034 (การประกอบเลขที่ 7303)
แบบ 2T - 8 ใช้ในบริเวณที่รับน้้าหนักรถรวมน้้าหนักบรรทุกไม่เกิน 18 ตัน ติดตั้งใน
ต้าแหน่งหัวมุมหรือทางแยก โดยต่อสายเคเบิลฯ ภายในได้ และสามารถรับสายเคเบิลฯ (XLPE) ได้
สูงสุด 4 วงจร โดยระบบ 22 เควี ใช้สายขนาดไม่เกิน 400 ตารางมิลลิเมตร และระบบ 33 เควี ใช้
สายขนาดไม่เกิน 240 ตารางมิลลิเมตร ตามแบบมาตรฐานเลขที่ SA1-015/38011 (การประกอบ
เลขที่ 7309)
แบบ 2S - 3 ใช้ในบริเวณพื้นทางเท้าหรือบนดินที่รับน้้าหนักภาระไม่เกิน 4 ตัน
ติดตั้งในต้าแหน่งทางตรง โดยห้ามต่อสายเคเบิลฯ ภายใน และสามารถรับสายเคเบิลฯ (XLPE) ได้
สูงสุด 2 วงจร ขนาดไม่เกิน 120 ตารางมิลลิเมตร ตามแบบมาตรฐานเลขที่ SA1-015/49006 (การ
ประกอบเลขที่ 7318)
แบบ 2S - 4 ใช้ในบริเวณพื้นทางเท้าหรือบนดินที่รับน้้าหนักภาระไม่เกิน 4 ตัน
ติดตัง้ ในต้าแหน่งทางตรง โดยต่อสายเคเบิลฯ ภายในได้ และสามารถรับสายเคเบิลฯ (XLPE) ได้สูงสุด
2 วงจร ขนาดไม่เกิน 120 ตารางมิลลิเมตร ตามแบบมาตรฐานเลขที่ SA1-015/49007 (การประกอบ
เลขที่ 7319)
แบบ 2C - 2 ใช้ในบริเวณพื้นทางเท้าหรือบนดินที่รับน้้าหนักภาระไม่เกิน 4 ตัน
ติดตัง้ ในต้าแหน่งหัวมุม โดยห้ามต่อสายเคเบิลฯ ภายใน และสามารถรับสายเคเบิลฯ (XLPE) ได้สูงสุด
2 วงจร ขนาดไม่เกิน 120 ตารางมิลลิเมตร ตามแบบมาตรฐานเลขที่ SA1-015/49010 (การประกอบ
เลขที่ 7320)
แบบ 2C - 3 ใช้ในบริเวณพื้นทางเท้าหรือบนดินที่รับน้้าหนักภาระไม่เกิน 4 ตัน
ติดตัง้ ในต้าแหน่งหัวมุม โดยห้ามต่อสายเคเบิลฯ ภายใน และสามารถรับสายเคเบิลฯ (XLPE) ได้สูงสุด
2 วงจร ขนาดไม่เกิน 120 ตารางมิลลิเมตร ตามแบบมาตรฐานเลขที่ SA1-015/49011 (การประกอบ
เลขที่ 7321)
แบบ HH-1 ใช้ในบริเวณพื้นผิวจราจรที่มีรถน้้าหนักบรรทุก 18 ตันผ่าน โดยสามารถ
รับสายเคเบิลใต้ดินได้สูงสุด 3 วงจร และขนาดสายไม่เกิน 185 ต.มม. (สาย CV หรือ NYY) ตามแบบ
มาตรฐานเลขที่ SA1-015/46009 (การประกอบเลขที่ 7360)
172

แบบ HH-2 ใช้ในบริเวณทางเท้า โดยสามารถรับสายเคเบิลใต้ดินได้สูงสุด 3 วงจร


และขนาดสายไม่เกิน 185 ต.มม. (สาย CV หรือ NYY) ตามแบบมาตรฐานเลขที่ SA1-015/46010 (การ
ประกอบเลขที่ 7361)

7.2. การติดตั้งตู้มิเตอร์แรงสูง
การติดตั้งมิเตอร์ระบบ 22 kV แบบภายในอาคาร ตามแบบเลขที่ SA1-015/39011
(การประกอบเลขที่ 7702)
การติ ด ตั้ ง มิ เ ตอร์ ร ะบบ 22 kV แบบภายนอกอาคาร ตามแบบเลขที่ SA1-
015/39012 (การประกอบเลขที่ 7703)

7.3. ตู้จ่ายไฟแรงต่่า (distribution box)


ให้พิจารณาเลือกใช้งานตามลักษณะรูปแบบการจ่ายกระแสไฟฟ้าของระบบจ้าหน่ายแรงต่้าว่า
เป็นแบบเรเดียล (radial system) หรือวงรอบเปิด (open-loop system) ตามแบบ preliminary
เลขที่ SA1-015/49027
7.4. ตู้มิเตอร์ ( meter cabinet)
เป็นไปตามแบบมาตรฐานของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดังนี้
1) การติดตั้งมิเตอร์แรงต่้า 1 เฟส 2 สาย ตั้งแต่ 1-2 เครื่อง ตามแบบเลขที่ SA1-
015/49015 (การประกอบเลขที่ 7406) และ SA1-015/51012 (การประกอบเลขที่ 7411)
2) การติดตั้งมิเตอร์แรงต่้า 1 เฟส 2 สาย ตั้งแต่ 3-4 เครื่อง ตามแบบเลขที่ SA1-
015/49016 (การประกอบเลขที่ 7407) และ SA1-015/51013 (การประกอบเลขที่ 7412)
3) การติดตั้งมิเตอร์แรงต่้า 3 เฟส 4 สาย ตั้งแต่ 1-2 เครื่อง ตามแบบเลขที่ SA1-
015/49017 (การประกอบเลขที่ 7408) และ SA1-015/51014 (การประกอบเลขที่ 7413)
4) การติดตั้งมิเตอร์แรงต่้า 3 เฟส 4 สาย ตั้งแต่ 3-4 เครื่อง ตามแบบเลขที่ SA1-
015/49018 (การประกอบเลขที่ 7409) และ SA1-015/51015 (การประกอบเลขที่ 7414)

7.5. พิกดั กระแสของสายเคเบิลใต้ดินแรงสูง


ส้าหรับสาย XLPE ระบบ 22 และ 33 kV ขนาด 240 และ 400 ตารางมิลลิเมตร
สามารถเลือกพิกัดกระแสใช้งาน ได้ตามแบบเลขที่ SA1-015/42025 (การประกอบเลขที่ 7133) ทั้งนี้
ขนาดของสายเคเบิล ให้พิจารณาจากกระแสใช้งานสูงสุดของโหลด ส้าหรับสาย XLPE ขนาด 50
ตารางมิลลิเมตร ให้พิจารณาจากเอกสารของบริษัทผู้ผลิต

7.6. รูปแบบการก่อสร้างระบบเคเบิลใต้ดินแรงสูง
ให้ พิ จ ารณาเลื อ กรู ป แบบการก่ อ สร้ า งให้ เ หมาะส มกั บ สภาพหน้ า งาน และ
สภาพแวดล้ อมการก่อสร้างเคเบิ ล ใต้ดินในแต่ละรูปแบบตามแบบเลขที่ SA1-015/59005 (การ
ประกอบเลขที่ 7101)และสามารถดูรายละเอียดของแต่ละรูปแบบได้ในแบบมาตรฐาน ดังนี้
แบบร้ อ ยท่ อ ฝั ง ดิ น ส้ า หรั บ ท่ อ ร้ อ ยสายประเภทอโลหะ ตามแบบเลขที่ SA1-
015/36017 (การประกอบเลขที่ 7502)
173

แบบการเดินสายเคเบิล ใต้ดินแรงสู ง แบบฝั่งดินโดยตรง ตามแบบเลขที่ SA1-015/57019


(การประกอบเลขที่ 7503)
แบบภาพสเก็ตซ์ รูปหน้าตัดของ Precast Duct Bank ตามแบบเลขที่ SA1-015/57018
แบบกลุ่ ม ท่ อ หุ้ ม คอนกรี ต (duct bank) ตามแบบเลขที่ SA1-015/31016
(การประกอบเลขที่ 7201)
แบบ horizontal directional drilling (HDD) ตามแบบเลขที่ SA1-015/49003
(การประกอบเลขที่ 7504)
แบบการวางท่อร้อยสายลอดใต้ถนนโดยวิธีดันท่อเหล็ก แบบเลขที่ SA1-015/44018 (การ
ประกอบเลขที่ 7506)

7.7. เสาต้นติดตั้งหัวเคเบิล (termination cable riser pole)


เป็นไปตามแบบมาตรฐานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดังนี้
เสาต้นสุดท้ายระบบ 22 kV แบบเลขที่ SA4-015/35003 (การประกอบเลขที่ 7603)
เสาในไลน์ระบบ 22 kV 3-4 วงจร แบบเลขที่ SA1-015/37023 (การประกอบเลขที่ 7604)
เสาต้นสุดท้ายระบบ 33 kV แบบเลขที่ SA4-015/35013 (การประกอบเลขที่ 7611)

7.8. การต่อลงดิน
การออกแบบการต่อลงดิน ให้พิจารณาต่อลงดินที่บ่อพักชนิด manhole ดังนี้
1) การต่อลงดินส้าหรับสายเคเบิลใต้ดินให้พิจารณาตามระยะทางของระบบเคเบิลใต้
ดินตามแบบมาตรฐานเลขที่ SA1-015/46005 (การประกอบเลขที่ 7131) โดย
- ระยะทางของสายเคเบิลจากหัวเคเบิลถึงหัวเคเบิลไม่เกิน 500 เมตร ให้พิจารณาการต่อลงดินเป็น
แบบ ต่อลงดินทั้งสองปลาย (both-ends bonding)
- ระยะทางของสายเคเบิลจากหัวเคเบิลถึงหัวเคเบิลมากกว่า 500 เมตร ให้พิจารณาการต่อลงดินเป็น
แบบ ต่อลงดินแบบหลายจุด (multi-points bonding)
2) การต่อลงดิน ที่บ่อพักชนิด Manhole ให้ พิจารณาตามแบบมาตรฐานเลขที่
SA1-015/31023 (การประกอบเลขที่ 7341) โดยค่าความต้านทานดินไม่เกิน 5 โอห์ม โดยกรณีที่
แก้ไขค่า

7.9. ขนาดของสายเคเบิลใต้ดินแรงต่่า
ขนาดของสายเคเบิ ล ใต้ ดิ น แรงต่้ า สามารถเลื อ กได้ จ ากพิ กั ด กระแสใช้ ง าน ตามแบบเลขที่
SA1-015/48018 (การประกอบเลขที่ 7121) ทั้งนี้ขนาดของสายเคเบิลฯ ให้พิจารณาจากกระแสใช้
งานสูงสุดของโหลด
7.10. เปอร์เซ็นต์แรงดันตก
ก้าหนดให้สายเคเบิลใต้ดินแรงต่้ามีเปอร์เซ็นต์แรงดันตก ตั้งแต่หม้อแปลงไฟฟ้าจนถึงมิเตอร์ ตัวสุดท้าย
ต้องไม่เกิน 8% ซึ่งความยาวสายไฟฟ้าสูงสุดที่ใช้งาน ดูตามแบบเลขที่ SA1-015/49014 (การ
ประกอบเลขที่ 7123)
174

7.11. รูปแบบการก่อสร้างระบบเคเบิลใต้ดินแรงต่่า
ให้ พิ จ ารณาเลื อ กรู ป แบบการก่ อ สร้ า งให้ เ หมาะสมกั บ สภาพหน้ า งาน และ
สภาพแวดล้อม การก่อสร้างเคเบิลใต้ดินในแต่ละรูปแบบ ดูรายละเอียดในแบบมาตรฐาน ดังนี้
แบบร้อยท่อฝั งดิน ส้ าหรับท่อร้อยสายประเภทโลหะ (RSC) ตามแบบเลขที่ SA1-
015/36022 (การประกอบเลขที่ 7402)
แบบร้ อ ยท่ อ ฝั ง ดิ น ส้ า หรั บ ท่ อ ร้ อ ยสายประเภทอโลหะ ตามแบบเลขที่ SA1-
015/36023 (การประกอบเลขที่ 7403)
แบบการเดิ น สายเคเบิ ล ใต้ ดิ น แรงต่้ า แบบฝั่ ง ดิ น โดยตรง ตามแบบเลขที่ SA1-
015/57017 (การประกอบเลขที่ 7404)
แบบกลุ่มท่อหุ้มคอนกรีต (duct bank) ตามแบบเลขที่ SA1-015/31016 (การ
ประกอบเลขที่ 7201) โดยใช้แบบดังกล่าวประยุกต์ก่อสร้างใช้งานเป็นระบบเคเบิลใต้ดินแรงต่้าได้
แบบ horizontal directional drilling (HDD) ตามแบบเลขที่ SA1-015/49003
(การประกอบเลขที่ 7504) โดยใช้แบบดังกล่าวประยุกต์ก่อสร้างใช้งานเป็นระบบเคเบิลใต้ดินแรงต่้าได้
แบบการวางท่อร้ อ ยสายลอดใต้ถนนโดยวิธีดัน ท่อเหล็ กปลอกขนาดเล็ ก (small
sleeve pushing method) ตามแบบเลขที่ SA1-015/38008 (การประกอบเลขที่ 7505) โดยใช้
แบบดังกล่าวประยุกต์ก่อสร้างใช้งานเป็นระบบเคเบิลใต้ดินแรงต่้าได้
ทั้งนี้รูปแบบการก่อสร้างแบบร้อยท่อฝังดิน แบบร้อยท่อฝังดิน ที่ต้องใช้บ่อพักสาย
ให้ใช้แบบเลขที่ SA1-015/36017 (การประกอบเลขที่ 7502) ประยุกต์ก่อสร้างใช้งานเป็นระบบ
เคเบิลใต้ดินแรงต่้าได้

7.12. การเชื่อมสายที่เมนชายคาตัวอาคาร (Riser wall at building)


ในกรณีที่ต้องการเชื่อมต่อสายเคเบิลใต้ดินแรงต่้าเข้ากับระบบจ้าหน่ายแรงต่้าที่เมนชายคาตัวอาคาร ให้
ติดตั้งตามมาตรฐาน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตามแบบเลขที่ SA1-015/49013 (การประกอบเลขที่
7405) ทั้งนี้ท่อร้อยสายขึ้นของผู้ใช้ไฟฟ้าต้องขึ้นในที่ของผู้ใช้ไฟฟ้าเท่านั้น ห้ามขึ้นที่เสาไฟฟ้าของการ
ไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
U N D E R G R O U N D C A B L E

Í͡Ẻ¾ÔÁ¾·Õè : ¡Í§¡ÒþÔÁ¾ ½†Ò¸ØáÒÃ

You might also like