Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 15

เอกสารปรับพื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์

ห้องเรียนพิเศษ SME

s
คุณครูธัญพิชชา ศรีสมบัติ
s

ชื่อ.................................................สกุล..................................
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/7

โรงเรียนชุมพลวิทยาสรรค์ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์
ปรับพื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์
คุณครูธัญพิชชา ศรีสมบัติ

สารและสมบัติของสาร
สสาร คือ.............................................................................................................................
สาร คือ...............................................................................................................................
สมบัติของสาร หมายถึง ลักษณะเฉพาะตัวของสารที่สามารถบ่งบอกว่าสารชนิดนั้นคืออะไร สารแต่ละชนิด
จะมีสมบัติของสารที่สังเกตได้ คือ สี กลิ่น รส สถานะ เนื้อสาร ถ้าต้องการตรวจสอบว่าของเหลวใส
ไม่มีสี เป็นสารละลายน้ำตาลหรือสารละลายเกลือแกง ต้องทดสอบสมบัติเฉพาะตัว คือ รส หรือทดสอบ
การนำไฟฟ้า
• คำศัพท์เกี่ยวกับการจำแนกสาร
1. สารเนื้อเดียว
สารเนื้อเดียว (Homogeneous Substance) หมายถึง สารที่มีลักษณะของเนื้อสารผสมกลมกลืนกัน
เป็นเนื้อเดียว และมีอัตราส่วนของผสมเท่ากัน ถ้านำส่วนใดส่วนหนึ่งของสารเนื้อเดียวไปทดสอบจะมีสมบัติ
เหมือนกันทุกประการ เช่น น้ำกลั่นและเกลือแกง เป็นสารเนื้อเดียว เมื่อนำเกลือแกงใส่ในน้ำแล้วคนให้
ละลายจะได้สารละลายน้ำเกลือ ซึ่งเป็นสารเนื้อเดียวที่มีอัตราส่วนของน้ำและเกลือแกงเหมือนกันทุกส่วน
สารเนื้อเดียวมีได้ทั้ง 3 สถานะ คือ
1.สารเนื้อเดียวสถานะของแข็ง เช่น เหล็ก ทองคำ ทองแดง สังกะสี อะลูมิเนียม นาก ฟิวส์
ทองเหลือง หินปูน เกลือแกง น้ำตาลทราย เป็นต้น
2.สารเนื้อเดียวสถานะของเหลว เช่น น้ำ กลั่น น้ำ เกลือ น้ำ ส้มสายชู น้ำ อัดลม น้ำ มันพืช
เอทานอล น้ำเชื่อม น้ำนม เป็นต้น
3.สารเนื้อเดียวสถานะแก๊ส เช่น อากาศ แก๊สหุงต้ม แก๊สออกซิเจน แก๊สไนโตรเจน แก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น
นักวิทยาศาสตร์จำแนกสารเนื้อเดียวออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.สารบริสุทธิ์ (Pure Substance) เป็นสารเนื้อเดียวที่ประกอบด้วยสารเพียงอย่างเดียว ไม่มีสาร
อื่นเจือปน ได้แก่ ธาตุและสารประกอบ
2.สารไม่บริสุทธิ์ เป็นสารเนื้อเดียวที่ประกอบด้วยสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปด้วยอัตราส่วนที่
ไม่แน่นอน ไม่มีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้น สารที่เกิดใหม่จะมีสมบัติไม่คงที่ขึ้นอยู่กับปริมาณของสารบริสุทธิ์ที่
นำมาผสมกัน ได้แก่ สารละลาย คอลลอยด์
2. สารเนื้อผสม
สารเนื้อผสม (Heterogeneous Substance) หมายถึง สารที่มีลักษระของเนื้อสารคละกัน ไม่ผสม
กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน สารที่เป็นส่วนผสมแต่ละชนิดก็ยังคงแสดงสมบัติของสารเดิม เพราะเป็นการ
รวมกันทางกายภาพไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเกิดขึ้น เราสามารถใช้ตาเปล่าสังเกตและจำแนกได้ว่าสาร
เนื้อผสมนั้นประกอบด้วยสารใดบ้าง และสามารถแยกสารเหล่า นั้นออกจากกันได้โดยวิธีทางกายภาพ
ธรรมดา โดยไม่ทำให้สมบัติเดิมเปลี่ยนแปลงไป

1
ปรับพื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์
คุณครูธัญพิชชา ศรีสมบัติ

สารเนื้อผสมมีได้ทั้ง 3 สถานะ เช่น


1. สารเนื้อผสมสถานะของแข็ง เช่น ทราย คอนกรีต ดิน เป็นต้น
2. สารเนื้อผสมสถานะของเหลว เช่น นำ้คลอง นำ้โคลน นำ้จิ้มไก่ เป็นต้น
3. สารเนื้อผสมสถานะแก๊ส เช่น ฝุ่นละอองในอากาศ เขม่า ควันดำในอากาศ เป็นต้น

3. สารคอลลอยด์
คอลลอยด์ (colloid) เป็ น สารผสมที ่ ด ู เ หมื อ นจะเป็ น เนื ้ อ เดี ย วกั น โดยแบ่ ง เป็ น ส่ ว นเนื ้ อ เดี ย ว
(continous phase) และอนุภาคคอลลอยด์ (dispersed phase) ซึ่งตัวอนุภาคคอนลอยด์จะมีขนาดระหว่าง
10-7-10-4 เซนติเมตร หรือมากกว่าขนาดรูกระดาษเซลโลเฟน แต่น้อยกว่ารูกระดาษกรอง อนุภาคคอนลอยด์
จะเกาะตัว ใหญ่กว่าโมเลกุล แต่ไม่ใหญ่มากจะแยกชั้นชัดเจน เช่น นม ควัน เป็นอาทิ

4. สารแขวนลอย
สารแขวนลอย (Suspension) สารแขวนลอยเป็นสารผสมที่อนุภาคของแข็งมีขนาดใหญ่กว่า 1x10-4
เซนติเมตร แขวนลอยอยู่ในตัวกลางที่เป็นของเหลว มีลักษณะเป็นสารเนื้อผสมที่อนุภาคไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน
สามารถมองเห็นสารผสมได้อย่างชัดเจน อาจแขวนลอยอยู่ในของเหลวหรือตกตะกอนเมื่อตั้งทิ้งไว้
อนุภาคของสารแขวนลอยไม่สามารถผ่านกระดาษกรองและกระดาษเซลโลเฟนได้ เช่น ผงถ่านในน้ำ
คลอง น้ำโคลน น้ำส้มค้น น้ำจิ้มไก่ แป้งมันในน้ำ เป็นต้น

5. สารละลาย
สารละลาย (solution) หมายถึง สารเนื้อเดียวที่ไม่บริสุทธิ์ เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมา
รวมกัน สารละลายแบ่งส่วนประกอบได้ 2 ส่วนคือ
1. ตัวทำละลาย (solvent) หมายถึง สารที่มีความสามารถ ในการทำให้สารต่างๆ ละลายได้ โดยไม่
ทำปฏิกิริยาเคมีกับสารนั้น
2. ตัวละลาย (solute) หมายถึง สารที่ถูกตัวทำละลายละลายให้กระจายออกไปทั่วในตัวทำละลายโดย
ไม่ทำปฏิกิริยาเคมีต่อกัน
สารละลายมีทั้ง 3 สถานะ คือ สารละลายของแข็ง สารละลายของเหลว และสารละลายแก๊ส
สารละลายของแข็ง หมายถึง สารละลายที่มีตัวทำละลายมีสถานะเป็นของแข็ง เช่น ทองเหลือง นาก
โลหะบัดกรี สัมฤทธิ์ เป็นต้น
สารละลายของเหลว หมายถึง สารละลายที่มีตัวทำละลายมีสถานะเป็นของเหลว เช่น น้ำ เชื่อม
น้ำหวาน น้ำเกลือ น้ำปลา น้ำส้มสายชู น้ำอัดลม เป็นต้น
สารละลายแก๊ส หมายถึงสารละลายที่มีตัวทำละลายมีสถานะเป็นแก๊ส เช่น อากาศ แก๊สหุงต้ม ลูก
เหม็นในอากาศ ไอน้ำในอากาศ เป็นต้น
ตัวละลายแต่ละชนิดจะใช้ตัวทำละลายที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างตัวทำละลายและตัวถูก
ละลาย ซึ่งสารทั้ง 2 ชนิดนั้นจะต้องรวมเป็นเนื้อเดียวกันและไม่ทำปฏิกิริยาเคมีต่อกัน ตัวอย่างเช่น
- เกลือ น้ำตาลทราย สีผสมอาหาร จุนสี สารส้ม กรดเกลือ กรดกำมะถัน ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย
2
ปรับพื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์
คุณครูธัญพิชชา ศรีสมบัติ

- โฟม ยางพารา พลาสติก ใช้น้ำมันเบนซินเป็นตัวทำละลาย


- สีน้ำมัน โฟม พลาสติก แลคเกอร์ ใช้ทินเนอร์เป็นตัวทำละลาย
- สีน้ำมันใช้น้ำมันสนเป็นตัวทำละลาย
6. ของผสม (Mixture) หมายถึง คำที่เรียกรวม สารแขวนลอย คอลลอยด์ และสารละลาย
7. สารบริสุทธิ์ (Pure) หมายถึง สารบริสุทธิ์ คือสารเนื้อเดียวที่ประกอบด้วยสารเพียงชนิดเดียว สมบัติต่างๆ
จะคงที่ และเป็นสมบัติเฉพาะตัว สารบริสุทธิ์มีสมบัติที่สำคัญคือ มีจุดเดือด และจุดหลอมเหลวคงที่ แบ่ง
ออกเป็นธาตุ และสารประกอบ
8. ธาตุ (Elements) หมายถึง สารบริสุทธิ์ที่ประกอบไปด้วยสารเพียงชนิดเดียว ไม่สามรถแยกออกเป็นสารอื่น
อีกได้ เช่น
เลขอะตอม สัญลักษณ์ ชื่อธาตุ ชื่อธาตุภาษาอังกฤษ
1 H ไฮโดรเจน Hydrogen
2 He ฮีเลียม Helium
3 Li ลิเทียม Lithium
4 Be เบริลเลียม Beryllium
5 B โบรอน Boron
6 C คาร์บอน Carbon
7 N ไนโตรเจน Nitrogen
8 O ออกซิเจน Oxygen
9 F ฟลูออรีน Fluorine
10 Ne นีออน Neon
11 Na โซเดียม Sodium Natrium
12 Mg แม็กนีเซียม Magnesium
13 Al อะลูมิเนียม Aluminium หรือ Aluminum
14 Si ซิลิคอน Silicon
15 P ฟอสฟอรัส Phosphorus
16 S กำมะถัน หรือ ซัลเฟอร์ Sulfur หรือ Sulphur
17 Cl คลอรีน Chlorine
18 Ar อาร์กอน Argon
19 K โพแทสเซียม Potassium
20 Ca แคลเซียม Calcium
9. สารประกอบ (Compound) หมายถึง สารบิริสุทธิ์ที่เกิดจากธาตุ 2 ธาตุขึ้นไปรวมตัวกันด้วยวิธีทางเคมี
เช่น H2O น้ำ

3
ปรับพื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์
คุณครูธัญพิชชา ศรีสมบัติ

การละลายของสารในตัวทำละลาย
เราสามารถทราบได้ว่าสารละลายแต่ละชนิดนั้นมีสารใดเป็นตัวทำละลายและมีสารใดเป็นตัวละลาย โดย
มีวิธีการสังเกตตัวทำละลายและตัวละลายดังนี้
1. ใช้สถานะของสารละลายเป็นเกณฑ์ ถ้าสารละลายนั้นเกิดจากสารที่มีสถานะต่างกันละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
สารใดที่มีสถานะเดียวกันกับสารละลาย สารนั้นจะเป็นตัวทำละลาย เช่น
- น้ำเกลือ ประกอบด้วยน้ำเป็นตัวทำละลายและเกลือเป็นตัวละลาย
- น้ำเชื่อม ประกอบด้วยน้ำเป็นตัวทำละลายและน้ำตาลทรายเป็นตัวละลาย
- น้ำด่างทับทิม ประกอบน้ำเป็นตัวทำละลายและด่างทับทิมเป็นตัวละลาย
- น้ำอัดลม ประกอบด้วยน้ำเป็นตัวทำละลายและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวละลาย
2. ใช้ปริมาณของสารแต่ละชนิดเป็นเกณฑ์ ถ้าสารละลายนั้นเกิดจากสารที่มีสถานะเดียวกันละลายเป็นเนื้อ
เดียวกัน สารใดที่มีปริมาณมากกว่า สารนั้นจะเป็นตัวทำละลาย เช่น
- ทองเหลือง ประกอบด้วยทองแดงเป็นตัวทำละลายและสังกะสีเป็นตัวละลาย
- นิโครม ประกอบด้วยนิกเกิลเป็นตัวทำละลายและโครเมียมเป็นตัวละลาย
- นาก ประกอบด้วยทองแดงเป็นตัวทำละลายและทองคำเป็นตัวละลาย
- สัมฤทธิ์ ประกอบด้วยทองแดงเป็นตัวทำละลายและดีบุกเป็นตัวละลาย
สารละลาย
สารละลาย หมายถึง สารเนื้อเดียวที่ประกอบด้วยธาตุหรือสารประกอบตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมตัว
กัน โดยที่มีธาตุหรือสารประกอบตัวหนึ่งเป็นตัวทำละลาย ส่วนอีกตัวหนึ่งเป็นตัวละลาย สารละลายอาจอยู่ใน
สถานะของแข็ง ของเหลว หรือแก๊สก็ได้
เกณฑ์ที่จะกำหนดว่าสารใดเป็นตัวทำละลาย และสารใดเป็นตัวละลายให้พิจารณาจากปริมาณ และ
สถานะขององค์ประกอบ ดังนี้
1. ถ้าตัวทำละลายและตัวละลายอยู่ในสถานะเดียวกัน เช่น ของแข็งกับของแข็ง ของเหลวกับของเหลว
หรือ แก๊สกับแก๊ส จะกำหนดให้สารที่มีปริมาณมากกว่าเป็นตัวทำละลาย และสารที่มีปริมาณน้อยกว่าเป็นตัว
ละลาย เช่น สารละลายเอทิลแอลกอฮอล์ (แอลกอฮอล์ล้างแผล) ประกอบด้วย เอทิลแอลกอฮอล์ซึ่งเป็น
ของเหลว 70 % และน้ำ ซึ่งเป็นของเหลวเหมือนกัน 30% เนื่องจากเอทิลแอลกอฮอล์มีปริมาณมากกว่า จึง
จัดเป็นตัวทำละลาย และน้ำมีปริมาณน้อยกว่าจึงจัดเป็นตัวละลาย
2. ถ้าตัวทำละลายและตัวละลายอยู่ในสถานะต่างกัน เช่น ของแข็งกับของเหลว เมื่อผสมกันแล้ ว
สารที่มีสถานะเหมือนกับสารละลาย ให้ถือว่าสารนั้นเป็นตัวทำละลาย ส่วนสารที่มีสถานะต่างจากสารละลาย
จัดเป็นตัวละลาย เช่น เกลือ เป็นของแข็ง กับน้ำ ซึ่งเป็นของเหลว เมื่อรวมกันแล้วเป็นสารละลายที่เรียกว่า
น้ำเกลือ ซึ่งเป็นของเหลว ดังนั้นน้ำซึ่งมีสถานะเป็นของเหลว เหมือนกับสารละลายคือน้ำเกลือจึงจัดเป็นตัวทำ
ละลาย ส่วนเกลือซึ่งเป็นของแข็ง มีสถานะต่างจากสารละลายจึงจัดเป็นตัวละลาย
ชนิดของตัวทำละลาย ตัวทำละลาย แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
• ตัวทำละลายอินทรีย์ เป็นตัวทำละลายที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ (organic compound) เช่น เอทานอล
น้ำมันสน คลอโรฟอร์ม เฮกเซน
4
ปรับพื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์
คุณครูธัญพิชชา ศรีสมบัติ

• ตัวทำละลายอนินทรีย์ เป็นตัวทำละลายที่เป็นสารประกอบอนินทรีย์ (inorganic compound) เช่น น้ำ


กรดซัลฟิวริก กรดไนตริก
ความเข้มข้นของสารละลาย
ความเข้มข้นของสารละลาย หมายถึง ปริมาณของตัวละลายที่ละลายอยู่ในสารละลาย
สารละลายเข้มข้น หมายถึง สารละลายที่มีปริมาณของตัวละลาย ปนอยู่มากในหนึ่งหน่วยน้ำหนักหรือ
ปริมาตรของสารละลาย
สารละลายเจือจาง หมายถึง สารละลายที่มีปริมาณของตัวละลาย ปนอยู่น้อยในหนึ่งหน่วยน้ำหนักหรือ
ปริมาตรของสารละลาย
สารละลายอิ่มตัว หมายถึง สารละลายที่ไม่สามารถละลายตัวละลายได้อีกเนื่องจากมีตัวละลายอยู่มาก
ที่สุดที่อุณหภูมิห้อง
สารละลายอิ่มตัวยวดยิ่ง หมายถึง สารละลายที่มีตัวละลายอยู่ในปริมาณที่เกินกว่าอัตราที่ละลายได้ที่
อุณหภูมิห้อง
• ความเข้มข้นของสารละลาย
ความเข้มข้นของสารละลาย คือ ปริมาณของสารที่เป็นตัวละลายซึ่งละลายอยู่ในสารละลาย
1. ร้อยละ (percent) แบ่งออกเป็นดังนี้
1) ร้อยละโดยมวล (w/w) บอกถึงมวลของตัวละลายที่ละลายในสารละลาย 100 หน่วยมวล เช่น
สารละลายน้ำเชื่อมเข้มข้นร้อยละ 10 โดยมวล คือ ในสารละลายน้ำเชื่อม 100 กรัม ประกอบด้วย
น้ำตาล 10 กรัม
2) ร้อยละโดยปริมาตร (v/v) บอกถึงปริมาตรของตัวละลายที่ละลายในสารละลาย 100 หน่วย
ปริมาตร เช่น สารละลายเอทานอลเข้มข้นร้อยละ 15 โดยปริมาตร คือ ในสารละลาย เอทานอล
100 ลูกบาศก์เซนติเมตร ประกอบด้วยเอทานอล 15 ลูกบาศก์เซนติเมตร
3) ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร (w/v) บอกถึงมวลของตัวละลายในสารละลาย 100 หน่ว ย
ปริมาตร เช่น สารละลายเกลือแกง 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร ประกอบด้วยเกลือแกง 1 กรัม
2. ส่วนในพันส่วน (part per thousand ; ppt) เป็นหน่วยที่บอกมวลของตัวละลายที่มีปริมาณน้อย
ละลายในสารละลาย หรือตัวทำละลาย 1 พันส่วน
3. ส่วนในล้านส่วน (part per million ; ppm) เป็นหน่วยที่บอกมวลของตัวละลายที่มีปริมาณน้อยมาก
ละลายในสารละลายหรือตัวทำละลาย 1 ล้านส่วน (106 ส่วน) เช่น ปลาตัวหนึ่งมีปรอทปลอมปนอยู่
0.2 ppm หมายความว่า ในเนื้อปลา 1 ล้านกรัม จะมีปรอทอยู่ 0.2 กรัม
4. การบอกความเข้มข้น โดยดูจากปริมาณตัวละลายในสารละลาย แบ่งได้เป็นดังนี้
1) สารละลายเข้มข้น คือ สารละลายที่มีปริมาณตัวละลาย ละลายในสารละลายมาก เมื่อเทียบกับ
ตัวทำละลาย
2) สารละลายเจือจาง คือ สารละลายที่มีปริมาณตัวละลาย ละลายในสารละลายน้อย เมื่อเทียบ
กับตัวทำละลาย

5
ปรับพื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์
คุณครูธัญพิชชา ศรีสมบัติ

• การคำนวนหาความเข้มข้นของสารละลาย
1. ร้อยละโดยมวล , เปอร์เซ็นต์โดยมวล (%W/W , Mass Percentage) ใช้สำหรับสารละลายที่ตัวละลาย
และตัวทำละลายเป็นของแข็ง เป็นหน่วยที่บอกมวลของตัวละลายเป็นกรัมจากสารละลาย 100 กรัม
เช่น เหรียญบาททำด้วยโลหะผสม ซึ่งมีทองแดง 75% และ นิกเกิล 25% หมายความว่า ในเหรียญหนัก
100 กรัม มีทองแดง 75 กรัม ผสมอยู่กับนิกเกิล 25 กรัม

มวลของตัวถูกละลาย
%W/W = มวลของสารละลาย X 100

- สารละลายที่ประกอบด้วย NaHCO3 6.9 กรัม ละลายในน้ำ 100 กรัม จงคำนวณหาร้อยละโดยมวล


ในสารละลายนี้
วิธีทำ……………………………………………………………………………………………...
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
2. ร้อยละโดยมวล / ปริมาตร (%W/V , Volume Percentage) ใช้สำหรับสารละลายที่ตัวละลายเป็ น
ของแข็งละลายอยู่ในตัวทำละลายที่เป็นของเหลว เป็นหน่วยที่บอกมวลของตัวละลายเป็นกรัมจากสารละลาย
100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
เช่น น้ำเกลือเข้มข้น 9% โดยมวล/ปริมาตร หมายความว่า น้ำเกลือ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีเกลือ
แกงละลายอยู่ 9 กรัม
มวลของตัวถูกละลาย
%W/V = ปริมาตรของสารละลาย X 100
- สารละลายสารส้ม 150 cm3 มีสารส้มอยู่ 10 g อยากทราบว่าสารละลายสารส้ม มีความเข้มข้น
ร้อยละเท่าใดโดยมวล / ปริมาตร
วิธีทำ……………………………………………………………………………………………...
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………

6
ปรับพื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์
คุณครูธัญพิชชา ศรีสมบัติ

3. ร้อยละโดยปริมาตร , เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร (%V/V , Volume Percentage) ใช้สำหรับสารละลายที่


ตัวละลายและตัวทำละลายเป็นของเหลว เป็นหน่วยที่บอกปริมาณของตัวละลายเป็นลูกบาศก์เซนติเมตร
จากสารละลาย 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
เช่น น้ำส้มสายชูเข้มข้น 5% โดยปริมาตร หมายความว่า น้ำส้มสายชู 100 ลูกบาศก์เซนติเมตรมีกรดแอ
ซิติกหรือกรดน้ำส้มละลายอยู่ 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร

ปริมาตรของตัวถูกละลาย
%V/V = ปริมาตรของสารละลาย X 100
- สารละลายเอทานอล มีเอทานอล 25 cm3 และ น้ำกลั่น 50 cm3 อยากทราบว่าสารละลายเอทา
นอล มีความเข้มข้นร้อยละเท่าใดโดยปริมาตร
วิธีทำ……………………………………………………………………………………………...
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
• การเจือจางสารละลาย
เมื่อนำสารละลายที่มีความเข้มข้นค่าหนึ่งมาทำการเติมน้ำ (หรือเติมตัวทำละลาย) ลงไปอีก จะทำให้
ความเข้มข้นของสารละลายนั้นลดลง เรียกว่า “การเจือจางของสารละลาย”
หลักการ : สารละลายถูกเจือจางจะมีเนื้อของตัวถูกละลายอยู่เท่าเดิม
สูตรในการคำนวณ : จาก เนื้อของตัวถูกละลาย = ความเข้มข้น x ปริมาตร = C(V)
จะได้ว่า เนื้อสารก่อนเจือจาง = เนื้อสารหลังเจือจาง

C1V1 = C2V2
โดยที่ C1 คือ ความเข้มข้นของสารก่อนเจือจาง V1 คือ ปริมาตรของสารก่อนเจือจาง
C2 คือ ความเข้มข้นของสารหลังเจือจาง V2 คือ ปริมาตรของสารหลังเจือจาง
ตัวอย่างการเจือจางสารละลาย
- สารละลาย NaCl เข้มข้น 40%โดยมวลต่อปริมาตร มีปริมาตร จำนวน 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร
เติมน้ำลงไปจนมีปริมาตร 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร สารละลาย NaCl ที่ได้จะเข้มข้นกี่เปอร์เซ็นต์โดย
มวลต่อปริมาตร
วิธีทำ……………………………………………………………………………………………...
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
7
ปรับพื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์
คุณครูธัญพิชชา ศรีสมบัติ

• การผสมสารละลาย
เมื่อนำสารละลายที่มีความเข้มข้นค่าหนึ่งมาผสมกับสารละลายที่มีความเข้มข้นอีกค่า หนึ่งจะได้สารละลาย
ที่มีความเข้มข้นใหม่และมีปริมาตรรวมเท่าปริมาตรของสารละลายทั้งสองบวกกัน
หลักการ สารละลายใหม่จะมีปริมาณเนื้อตัวถูกละลายเท่าเนื้อห่วงตัวถูกละลายของสารตั้งต้นรวมกัน
สูตรในการคำนวณ : จาก เนื้อของสารละลายผสม = เนื้อของสารละลาย1 x เนื้อของสารละลาย2
จะได้ว่า
CรวมVรวม = C1V1 + C2V2
CรวมVรวม = C1V1 + C2V2 + C3V3
CรวมVรวม = C1V1 + (g1x100) + (g1x100)
โดยที่ Cรวม คือ ความเข้มข้นรวมของของผสม Vรวม คือ ปริมาตรรวมของของผสม
C1 คือ ความเข้มข้นของสารที่ 1 V1 คือ ปริมาตรของสารที่ 1
C2 คือ ความเข้มข้นของสารที่ 2 V2 คือ ปริมาตรของสารที่ 2
g1 คือ มวลของตัวถูกละลายครั้งแรก g คือ มวลของตัวถูกละลายครั้งสอง
ตัวอย่างการผสมสารละลาย
1. สารละลาย NaCl เข้ ม ข้ น 30% โดยมวลต่ อ ปริ ม าตร จำนวน 20 ลู ก บาศก์ เ ซนติ เ มตร ผสมกั บ
สารละลาย NaCl เข้มข้น 20% โดยมวลต่อปริมาตร จำนวน 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร สารละลายที่
เกิดขึ้นจากการผสมมีความเข้มข้นเท่าใร
วิธีทำ……………………………………………………………………………………………...
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
• การทดสอบความบริสุทธิ์ของสาร
มี 3 ประเภท คือ
1. การหาจุดเดือด ( Boiling Point ) การที่สารไม่บริสุทธิ์ หรือ สารละลายจุดเดือดไม่คงที่ เกิดจาก
อัตราส่วนระหว่างจำนวนโมเลกุลของตัวถูกละลาย และ ตัวทำละลาย เปลี่ยนแปลงไปโมเลกุลที่มีจุดเดือดต่ำ
จะระเหยไปเร็วกว่าทำให้สารที่มีจุดเดือดสูงใน อัตราส่วนที่ มากกว่าจึงเป็นผลให้จุดเดือดสูงขึ้นเรื่อย ๆ
โดยดูจากรูปที่แสดงเป็นกราฟ

2. การหาจุดหลอมเหลว ( Melting Point )จะสามารถทดสอบกับสารที่บริสุทธิ์และสารที่ไม่บริสุทธิ์ได้ โดย


– สารบริสุทธิ์จะมีจุดหลอมเหลวคงที่ และ มีอุณหภูมิช่วงการหลอมเหลวแคบ

8
ปรับพื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์
คุณครูธัญพิชชา ศรีสมบัติ

– สารไม่บริสุทธิ์จะมีจุดหลอมเหลวไม่คงที่ และ มีอุณหภูมิในช่วงการหลอมเหลวกว้างซึ่งอุณหภูมิฃ่วงการ


หลอม หมายถึง อุณหภูมิที่สาร เริ่มต้นหลอมจนกระทั่งสาร
นั้นหลอมหมดโดยในอุณหภูมิช่วงการหลอม
ถ้าแคบต้องไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส โดยดูจากรูปที่แสดงเป็นกราฟ

3. การหาจุดเยือกแข็ง ( Freezing Point )


จะสามารถทดสอบกับสารบริสุทธิ์ และ สารไม่บริสุทธิ์ ซึ่งไม่ค่อยนิยม
เพราะจะต้อง ใช้เวลานานมากในการหาจุดเยือกแข็ง โดย
– สารบริสุทธิ์จะมีจุดเยือกแข็งคงที่
– สารไม่บริสุทธิ์จะมีจุดเยือกแข็งไม่คงที่ โดยดูจากรูปที่แสดงเป็นกราฟ
• การแยกสาร
ใช้ในการแยกสารประกอบซึ่งมี 7 วิธี ได้แก่
1. การกลั่น
เหมาะสำหรับแยกของเหลวที่ปนเป็นเนื้อเดียวกัน โดยทำให้ของเหลวกลายเป็นไอ แล้วทำให้ควบแน่นเป็น
ของเหลวอีก แบ่งออก เป็น 2 ประเภท คือ
- การกลั่นธรรมดา เหมาะสำหรับสารที่มีจุดเดือดต่างกันประมาณ 80 องศาเซลเซียส ขึ้นไป แต่อุณหภูมิ
ตัง้ แต่ 40 องศาเซลเซียส ก็จะเกิดกระบวนการแล้ว
- การกลั่นลำดับส่วน เหมาะสำหรับสารที่มีจุดเดือดต่างกันเพียงเล็กน้อย ซึ่งจะมีข้อเสีย คือ จะใช้
พลังงานเป็นจำนวนมาก และมีความสลับซับซ้อน การกลั่นลำดับส่วนบางครั้งไม่ได้แยกสารให้บริสุทธิ์ แต่แยก
เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้ เช่น การแยกน้ำมันดิบ โดยจะแยกพวกที่มีจุดเดือดใกล้เคียงไว้ด้วยกัน แต่ถ้าสาร
ที่มีจุดเดือดใกล้เคียงกันมาก แต่ไม่มีเครื่องกลั่นลำดับส่วนก็สามารถกลั่นได้ด้วยเครื่องกลั่นธรรมดา แต่จะต้อง
กลั่นหลาย ๆ ครั้ง จนกระทั่งจุดเดือด และจุดหลอมเหลวคงที่

2. การใช้กรวยแยก
เหมาะสมกับสารที่เป็นของเหลว และ จะต้องเป็นสารที่ไม่ละลายต่อกัน หรือ จะต้องมีขั้วต่างกัน เช่น
น้ำ และ น้ำมัน

3. การกรอง เหมาะสำหรับของแข็งที่ไม่ละลายน้ำ หรือ ของแข็งที่ละลายน้ำ และ ไม่ละลายน้ำปนอยู่ด้วยกัน


เช่น หินปูน และ น้ำ

9
ปรับพื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์
คุณครูธัญพิชชา ศรีสมบัติ

4. การตกผลึก
เหมาะสำหรับสารที่สามารถละลายได้เป็นปรากฏการณ์ที่ตัวถูกละลายที่เป็นของแข็ง แยกตัวออกจาก
สารละลายได้เป็นของแข็งที่มีรูปทรงเรขาคณิต โดยสารใด ๆ ที่ละลายในน้ำอยู่ในจุดอิ่มตัวจะตกเป็นผลึก ถ้า
มากเกินพอจะเป็นการตกตะกอนของสาร

5. การสกัดด้วยไอน้ำ
เหมาะสมสำหรับการสกัดพวกน้ำมันหอมระเหยจากพืช และ การทำน้ำหอม (CH3COOH2O ) โดยมี
หลักสำคัญ ดังนี้
- จุดเดือดต่ำจะระเหยง่าย ถ้าเป็นสารที่มีจุดเดือดสูง
จะต้องการกลั่นโดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงความดันในระบบ
- สารส่วนใหญ่ไม่ละลายน้ำ
6. การสกัดด้วยตัวทำละลาย
เหมาะสมกับสารที่ระเหยง่าย โดยมีหลักสำคัญดังนี้
- ถ้าสารมีความสามารถในการละลายในตัวทำละลายต่างชนิดกันสามารถแยกสารออกจากกันได้
- หลักการเลือกตัวทำละลายที่ดี คือ ต้องเลือกตัวทำละลายที่ดี
คือ ต้องเลือกตัวทำละลายที่ละลายสารที่ต่างกัน การสกัดออกมามากที่สุด
และสิ่งเจือปนนั้นจะต้องติดมาน้อยที่สุด

7. การโครมาโทรกราฟี
เหมาะสมสำหรับการแยกสารที่มีความสามารถในการละลาย และ ดูดซับไม่เท่ากัน , สารที่มีปริมาณ
น้อย และ ไม่มีสี โดยหลักสำคัญ มีดังนี้
- ในการทดลองทุกครั้งจะต้องปิดฝา เพื่อป้องกันตัวทำละลายแห้ง ในขณะที่เคลื่อนที่บนตัวดูดซับ
- ถ้าสารเคลื่อนทีใกล้เคียงกันมาก แสดงว่าสารมีความสามารถในการละลาย และ ดูดซับได้ใกล้เคียง
และ จะแก้ไขได้โดย การเปลี่ยนตัวทำละลาย หรือ เพิ่มความยาวของดูดซับได้ แต่สารที่เคลื่อนที่ได้ระยะทาง
เท่ากันในตัวทำละลาย และ ตัวดูดซับใกล้เคียงกัน มักจะสรุปได้ว่าสารนั้นเป็นสารเดียวกัน
โดยวิธีนี้สามารถทำให้สารบริสุทธิ์ได้ โดยตัดแบ่งสารที่ต้องการละลายในตัวทำละลายที่เหมาะสม แล้ว
ระเหยตัวทำละลายนั้นทิ้งไป แล้วนำสารนั้นมาทำการโครมาโทรกราฟีใหม่ จนได้สารบริสุทธิ์

การคำนวณหาค่า Rf ( Rate of Flow ) เพื่อนำมาคำนวณค่าของสารละลาย


ค่า Rf = ระยะทางที่สารเคลื่อนที่ / ระยะทางที่ตัวทำละลายเคลื่อนที่
โดยค่า Rf ไม่มีหน่วย แต่มีค่าที่สูงสุดเท่ากับ 1
10
ปรับพื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์
คุณครูธัญพิชชา ศรีสมบัติ

ข้อสอบ เรื่องสารและสมบัติของสาร

คำชี้แจง ให้นักเรียนกาเครื่องหมายกากบาท () ทับตัวอักษร ก ข ค หรือ ง ที่ถูกต้อง


ที่สุดเพียงข้อเดียว ทำลงในกระดาษคำตอบ
1. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของสสาร
ก มีตัวตน ข มีมวลหรือน้ำหนัก
ค ต้องการที่อยู่อาศัย ง ไม่สามารถสัมผัสได้
2. ข้อใดไม่ใช่สสาร
ก คน ข เสียง
ค เก้าอี้ ง อากาศ
3. สมบัติของสารในข้อใดไม่ใช่สมบัติทางกายภาพ
ก สถานะ ข จุดเดือด
ค ความหนาแน่น ง การเกิดปฏิกิริยา
4. ข้อใดจัดเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร
ก น้ำเดือดกลายเป็นไอน้ำ ข การนำไฟฟ้าของลวดทองแดง
ค การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ง การละลายของน้ำตาลทรายในน้ำ
5. เหตุใดจึงต้องจำแนกสารออกเป็นหมวดหมู่
ก เพราะช่วยให้ศึกษาได้ง่ายขึ้น ข เพราะสสารมีสมบัติแตกต่างกัน
ค เพราะสสารมีสมบัติบางชนิดคล้ายกัน ง เพราะสสารแต่ละชนิดมีปฏิกิริยาต่างกัน
6. ข้อใดคือลักษณะของของเหลว
ก. ทะลุผ่านได้ง่ายมาก ข. มีปริมาตรไม่คงที่แน่นอน
ค. ไม่เปลี่ยนแปลงรูปร่าง ง. ฟุ้งกระจายได้อย่างรวดเร็ว
7. สารในข้อใดอยู่ในสถานะเดียวกัน
ก. น้ำ น้ำแข็ง ข. ดินโคลน น้ำโคลน
ค. ก้อนถ่าน ผงถ่าน ง. น้ำหวาน น้ำตาลทราย
8. สารในสถานะที่กำหนดให้ ข้อใดเรียงลำดับมีความหนาแน่นจากจากน้อยไปมาก
ก. ของเหลว ของแข็ง ก๊าซ ข. ก๊าซ ของเหลว ของแข็ง
ค. ของแข็ง ก๊าซ ของเหลว ง. ของแข็ง ของเหลว ก๊าซ
9. เกณฑ์ในการตัดสินว่าสารใดเป็นสารเนื้อเดียวคือ
ก การนำไฟฟ้า ข การผสมกันของส่วนผสมหรือเนื้อสาร
ค สมบัติทุกส่วนของสาร ง ความสามารถในการละลาย
10. ข้อใดจัดกลุ่มสารโดยใช้ลักษณะเนื้อสาร
ก. น้ำเกลือ น้ำตาล น้ำหวาน ข. น้ำเกลือ น้ำนมสด น้ำโคลน
ค. น้ำพริก น้ำนมสด น้ำเชื่อม ง. น้ำเกลือ น้ำหวาน น้ำโคลน

11
ปรับพื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์
คุณครูธัญพิชชา ศรีสมบัติ

11. การเปลี่ยนแปลงในข้อใดที่ไม่เกิดปฏิกิริยาประเภทดูดพลังงานความร้อน
ก. การจุดเทียนไข ข. การเผาผลาญอาหารในร่างกาย
ค. การละลายของน้ำแข็ง ง. การอัดแก๊สธรรมชาติลงในถังเก็บ
12. ข้อใดไม่ใช่ผลที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาเคมี
ก. การใช้น้ำยาล้างห้องน้ำ ข. การใช้ก้อนแก๊สบ่มผลไม้
ค. การเกิดสนิมของเหล็ก ง. การละลายของน้ำแข็ง
13. ข้อใดต่อไปนี้เป็นปฏิกิริยาดูดความร้อน
ก. การละลายของน้ำแข็ง
ข. การควบแน่นของไอน้ำเป็นหยดน้ำ
ค. น้ำในช่องแช่แข็งเปลี่ยนเป็นน้ำแข็ง
ง. น้ำร้อนตั้งทิ้งไว้ให้มีอุณหภูมิเท่าอุณหภูมิห้อง
14. ถ้านำสาร A , B , C ,และ D ชนิดละ 0.5 กรัม ไปละลายในน้ำ 15 กรัม วัดอุณหภูมิของน้ำ
ก่อนการละลาย และวัดอุณหภูมิของสารละลายได้ดังตาราง ข้อใดถูกต้อง

สาร อุณหภูมิของน้ำ 0C อุณหภูมิของสารละลาย 0C


A 25 32
B 25 24
C 25 33.5
D 25 23
ก. สาร A , B ข. สาร B , D
ค. สาร A , D ง. สาร B , C
15. ความร้อนแฝงเกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด
ก. พลังงานความร้อนที่ใช้ไปเพื่อการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร
ข. พลังงานและอุณหภูมิที่ใช้ไปเพื่อการเพิ่มปริมาณของสาร
ค. แรงที่ใช้ไปเพื่อการเปลี่ยนสถานะของสาร
ง. อุณหภูมิที่ใช้ไปเพื่อการลดปริมาณของสาร
16. การเปลี่ยนสถานะของสารจากของแข็งกลายเป็นไอเรียกว่าอะไร
ก. การระเหิด ข. การแผ่รังสี
ค. การควบแน่น ง. การคายความร้อน
17. อนุภาคของแก๊สจะมีการจัดเรียงตามข้อใด
ก. จับตัวอย่างหลวมๆ เคลื่อนไหวได้ยาก
ข. จับตัวอย่างหลวมๆ เคลื่อนไหวได้ง่าย
ค. จับตัวกันแน่น แรงยึดเหนี่ยวมีค่ามาก เคลื่อนไหวยาก
ง. อยู่อย่างกระจัดกระจาย อนุภาคการเคลื่อนที่อิสระ

12
ปรับพื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์
คุณครูธัญพิชชา ศรีสมบัติ

18. ข้อใดเป็นคุณลักษณะของสารที่อยู่ในสถานะของแข็ง
ก. มีรูปร่างตามภาชนะที่ใส่ ข. ทะลุผ่านได้
ค. บีบอัดให้เล็กลงได้ ง. รูปร่างไม่เปลี่ยนแปลง
19. การทำฝนเทียมเกี่ยวข้องกับข้อใด
ก. การเปลี่ยนสถานะจากแก๊สไปเป็นของเหลว
ข. การเปลี่ยนสถานะจากของเหลวไปเป็นของแข็ง
ค. การเปลี่ยนสถานะจากแข็งไปเป็นของเหลว
ง. การเปลี่ยนสถานะจากของเหลวไปเป็นแก๊ส
20. ข้อใดเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
ก. การเผาหญ้าแห้ง ข. การทำน้ำแข็ง
ค. การทำน้ำเชื่อม ง. การฉีกกระดาษ
21. ข้อใดเป็นคุณสมบัติของอนุภาคของ อะตอม ( atom )
ก. เป็นอนุภาคที่ใหญ่ที่สุด ข. เมื่อรวมกันเรียกว่าโมเลกุล
ค. เป็นอนุภาคที่เล็กที่สุดที่ไม่สามารถแบ่งย่อยได้อีก ง. ถูกทั้ง ข และ ค
22. อิเล็กตรอนเป็นอนุภาคที่แสดงอำนาจไฟฟ้าอย่างไร
ก. เป็น บวก ข. เป็น ลบ
ค. เป็น กลาง ง. ไม่แสดงอำนาไฟฟ้า
23. ข้อใดกล่าวถูก
ก. อิเล็กตรอนแสดงอำนาจไฟฟ้าเป็นกลาง
ข. อะตอมตั้งแต่เป็นอนุภาคที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
ค. โมเลกุลเป็นอนุภาคที่เล็กที่สุดที่ไม่สามารถแบ่งได้อีก
ง. อิเล็กตรอนในอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้ามีจำนวนเท่ากับจำนวนโปรตอน
24. CO32- มีชื่อโดยทั่วไปอย่างไร
ก. คาร์บอเนตไอออน ข. โซเดียมบอเนตไอออน
ค. คาร์บอนไดออกไซด์ ง. คาร์บอนไอออน
25. ข้อใดเป็นลักษณะของไอออนที่มีประจุลบ
ก. มีอิเล็กตรอนมากกว่าโปรตอน ข. มีอิเล็กตรอนน้อยกว่าโปรตอน
ค. มีอิเล็กตรอนเท่ากับโปรตอน ง. ไม่มีข้อถูก
26. ข้อใดเป็นโมเลกุลของน้ำ
ก. H2 O2 ข. H O2 ค. H2 O ง. H2 O-
27. ข้อใดแสดงสัญลักษณ์ของโมเลกุล
ก. O ข. H ค. CO32- ง. H2 O
28. ข้อใดเป็นสัญลักษณ์ของคลอไรด์ไอออน
ก. Cl ข. C ค. Cl- ง. C2-

13
ปรับพื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์
คุณครูธัญพิชชา ศรีสมบัติ

29. เป็นการรวมกันของอะตอมของธาตุตั้งแต่ 2 อะตอมขึ้นไปและแสดงสมบัติของสาร


ได้สมบูรณ์ คือข้อใด
ก. อะตอม ข. โมเลกุล ค. ไอออน ง. ธาตุ
30. สารใดที่มีอะตอมเดียวกันทั้งหมด เรียกว่า
ก. อะตอม ข. โมเลกุล ค. ไอออน ง. ธาตุ
31. สารในข้อเป็นสารเนื้อเดียวทั้งหมด
ก. ดิน เกลือแกง น้ำส้มสายชู
ข. คอนกรีต ดิน เกลือแกง
ค. ด่างทับทิม เกลือแกง ไอโอดีน
ง. เกลือแกง ดิน ไอโอดีน
32. สารในข้อใดเมื่อใส่ลงในน้ำแล้วเขย่าได้สารเนื้อผสม
ก. แป้ง ข. ผงชูรส ค. ดินประสิว ง. น้ำส้มสายชู
33. สารใดต่อไปนี้มีองค์ประกอบมากกว่า 1 ชนิด
ก. น้ำโซดา ข. แป้งมัน ค. น้ำกลั่น ง. น้ำตาลทราย
34. สารเนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบ 1 ชนิด
ก. น้ำเกลือ ข. น้ำโซดา ค. น้ำกลั่น ง. น้ำเชื่อม
35. สารในข้อใดเป็นธาตุอโลหะ
ก. ไฮโดรเจน ข. อลูมิเนียม ค. แมกนีเซียม ง. สังกะสี
36. ข้อใดไม่ใช่สมบัติของธาตุโลหะ (Metal)
ก. ไม่นำไฟฟ้า ข. นำไฟฟ้าได้
ค. มีจุดเดือดสูง ง. บางชนิดเป็นสารแม่เหล็ก
37. ข้อใดถูกต้อง
ก. เกลือ น้ำตาลทราย น้ำกลั่น ข. น้ำโคลน น้ำคลอง น้ำกลั่น
ค. น้ำนม ดิน น้ำตาลทราย ง. น้ำต่างทับทิม น้ำปลา น้ำโคลน
38. ข้อใดเป็นการจำแนกสารตามคุณสมบัติการนำไฟฟ้า
ก. ทองแดง ออกซิเจน สังกะสี ข. สังกะสี ดีบุก อลูมิเนียม
ค. คาร์บอนไดออกไซด์ ทองแดง ตะกั่ว ง. เหล็ก อลูมิเนียม คาร์บอนไดออกไซด์
39. ข้อใดเป็นการจำแนกสารตามสถานะ
ก. น้ำแข็ง น้ำกลั่น น้ำเกลือ ข. น้ำโคลน น้ำคลอง ผงถ่าน
ค. ฟองน้ำ น้ำแข็ง กระดาษ ง. ฟองน้ำ น้ำเกลือ น้ำกะทิ
40. ข้อใดเป็นการจำแนกสารตามเกณฑ์ความสามารถในการละลายน้ำ
ก. เกลือ น้ำตาลทราย กระดาษ
ข. ผงตะไบเหล็ก กระดาษ เกล็ดด่างทับทิม
ค. น้ำตาลทราย เกล็ดโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต เกลือ
ง. น้ำตาลทราย ผงตะไบเหล็ก เกล็ดด่างทับทิม
14

You might also like