Manual Bank Re Kaya

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 18

คูมือธนาคารขยะรีไซเคิล

เปลี่ยนขยะเปนเงินตรา
ชวยรักษาสิ่งแวดลอม

¨Ñ´·Óâ´Â
กลุมงานแผนสิ่งแวดลอม
สำนักงานสิ่งแวดลอมภาคที่ 14
130 ¶.ÇѴ⾸Ôì µ.ÁТÒÁàµÕé Í.àÁ×ͧ ¨.ÊØÃÒɮÏ¸Ò¹Õ 84000
â·ÃÈѾ· 0 7727 2789 â·ÃÊÒà 0 7727 2584
http://www.reo14.go.th â¤Ã§¡ÒÃÂØ·¸ÈÒʵϨѧËÇÑ´ÊØÃÒɮÏ¸Ò¹Õ »‚ 2554
คํานํา
องคประกอบของขยะมูลฝอยประกอบดวยขยะอินทรียป  ระมาณ
64 % ขยะรีไซเคิล ประมาณ 30 % ขยะทั่วไป ประมาณ 3 % และขยะ
อันตรายอีกประมาณ 3 % โดยขยะที่มีมูลคามากที่สุดก็คือขยะรีไซเคิล
เพราะสามารถนํากลับไปแปรรูปผลิตเปนผลิตภัณฑใหมได ทําใหมีการ
เปรียบเทียบวาขยะคือทอง ถาเราสามารถนําขยะรีไซเคิลมาใชประโยชน
ใหมไดทั้งหมดก็จะชวยใหลดการใชทรัพยากร และยังชวยใหเกิดรายได
กับตัวเราเอง ลดภาระใหกบ ั ทองถิน
่ ในการจัดสรรงบประมาณเพือ่ กําจัด
ขยะมูลฝอย
คูมือธนาคารขยะรีไซเคิล จัดทําเพื่อเผยแพรความรูความเขาใจ
ในเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับการดําเนินงานกิจกรรมธนาคารขยะรีไซเคิลใหแก
คณะครู และนักเรียน รวมทัง้ ประชาชนทัว่ ไปทีส่ นใจ ไดนาํ ไปใชเปนคูม อื
ในการทํากิจกรรมธนาคารขยะในโรงเรียน และชุมชน และนําไปสูก ารมี
สวนรวมในการแกไขปญหาและปองกันปญหาขยะมูลฝอยชุมชนไดตอ ไป
ในอนาคต

กลุมงานแผนสิ่งแวดลอม
กรกฎาคม 2554
สารบัญ
หนา
ธนาคารขยะรีไซเคิล 1

ขั้นตอนการดําเนินงานธนาคารขยะรีไซเคิล 2

คณะทํางานธนาคารขยะรีไซเคิล 3

หนาที่ของคณะทํางานธนาคารขยะรีไซเคิล 3

การเตรียมการเปดธนาคาร 5

การดําเนินการในวันเปดธนาคาร 7

การดําเนินการหลังปดธนาคาร 11

การติดตามประเมินผล 12

การสนับสนุน 12

ประโยชนอื่นๆ ของธนาคารขยะรีไซเคิล 13
ธนาคารขยะรีไซเคิล
จะดีกวาไหมถาเราทุกคน
จะชวยกันคัดแยกขยะรีไซเคิล
และแทนทีแ่ ตละคน แตละบาน
จะขายขยะกันเอง เรารวมกัน
จัดตัง้ “ธนาคารขยะรีไซเคิล”
ที่ เ ป น ตั ว กลางในการดํ า เนิ น
การนี้แทน

หลักการของธนาคารขยะรีไซเคิล
คือการสงเสริมการคัดแยกขยะมูลฝอย
โดยเริ่ ม ต น ที่ เ ยาวชนและชุ ม ชน และ
ใชโรงเรียนเปนสถานที่ทําการธนาคาร
ดํ า เนิ น การโดยให นั ก เรี ย นสมั ค รเป น
สมาชิกของธนาคารขยะรีไซเคิล และนํา
ขยะรีไซเคิลมาฝาก เจาหนาที่ธนาคาร
จะทําการคัดแยก และชั่งนําหนักแลว
คํานวณเปนจํานวนเงิน จากนั้นบันทึก
ลงสมุดคูฝาก โดยใชราคาที่ทางโรงเรียนประสานกับรานรับซื้อของเกา
เปนเกณฑ
ผลพลอยไดคือเยาวชนและนักเรียนจะมีรายไดจากการนําขยะ
มาฝากกับธนาคาร สวนธนาคารก็มีรายไดจากการเปนตัวแทนขายขยะ
รีไซเคิลใหกบ
ั รานรับซือ้ ของเกาและสามารถนํากําไรหลังหักคาใชจา ยใน
การดําเนินการไปเปนกองทุนเพือ่ การศึกษา หรือสนับสนุนกิจกรรมอืน ่ ๆ
ในโรงเรียนไดอีก

¤Ù‹Á×͸¹Ò¤ÒâÂÐÃÕä«à¤ÔÅ 1
วัตถุประสงค
1) เพื่อปลูกจิตสํานึกในการจัดการขยะและการรักษาสิ่งแวดลอม
ภายในชุมชน
2) เปนการชวยลดปริมาณขยะและเสริมสรางความรูในเรื่องการ
คัดแยกขยะที่ถูกตองเหมาะสม
3) เพื่อนําผลพลอยไดจากการตั้งธนาคารขยะมาตั้งเปนกองทุน
สนับสนุนกิจกรรมตางๆ ในชุมชน
4) เพื่อเปนการสรางรูปแบบการจัดการขยะโดยการมีสวนรวม
ของชุมชนในการดําเนินงาน
5) เพื่อเปนตัวอยางที่ดีในการจัดการขยะของชุมชน
อุปกรณ
1) เครื่องชั่งนําหนัก
2) สถานที่เก็บรวบรวมวัสดุรีไซเคิล
3) สมุดคูฝากและเอกสารบัญชี
ขั้นตอนการดําเนินงานธนาคารขยะรีไซเคิล

1 รับสมัครคณะทํางาน 2 คณะทํางานมีการประชุม

3 การจัดเตรียมสถานทีเ่ ก็บรวบรวมขยะ 4 การประชาสัมพันธ

5 การเปดธนาคารขยะรีไซเคิล 6 การประเมินผล

2 ¤Ù‹Á×͸¹Ò¤ÒâÂÐÃÕä«à¤ÔÅ
คณะทํางานธนาคารขยะรีไซเคิล
รั บ สมั ค รคณะทํ า งานจากนั ก เรี ย นใน
โรงเรี ย น โดยมี ค รู ที่ ป รึ ก ษากิ จ กรรมป น
หนึ่ ง ในคณะทํ า งานด ว ย ควรจั ด ตั้ ง คณะ
ทํางานไวสองชุด เพื่อสะดวกในการปฏิบัติ
งานและสามารถทําหนาที่แทนกันได คณะ
ทํางานตองมีการประชุมเพือ่ เตรียมงาน เชน
การประชาสัมพันธวางแผนกําหนดวัน และ
สถานทีเ่ ปดธนาคารขยะรีไซเคิล การกําหนด
ระยะเวลาการรับฝาก เวลาการขายขยะ
รีไซเคิล ฯลฯ และการดําเนินการตางๆ เพื่อ
เปดธนาคาร และการประเมินผลกิจกรรม
หนาที่ของคณะทํางาน
1. ผูจัดการธนาคารขยะ จํานวน 1 คน
มีหนาทีร่ บ
ั ผิดชอบการดําเนินงานในภาพรวม
ของธนาคารขยะ

2. ครูที่ปรึกษากิจกรรม จํานวน 1 คน
มี ห น า ที่ รั บ ผิ ด ชอบการดํ า เนิ น งานของ
ธนาคารขยะรี ไ ซเคิ ล การประสานร า น
รับซื้อของเกา และดูแลเกี่ยวกับการเงิน
ของโครงการ พรอมทั้งดูแลเอกสารเบิก
จายเงิน ซึ่งเอกสารทุกฉบับสามารถตรวจ
สอบได

¤Ù‹Á×͸¹Ò¤ÒâÂÐÃÕä«à¤ÔÅ 3
3. เจาหนาทีค่ ดั แยกขยะและชัง่ นาํ หนัก จํานวน
2 คน มีหนาที่คัดแยกและชั่งนําหนักขยะรีไซเคิลที่
สมาชิกนํามาฝาก
4. เจ า หน า ที่ จ ดบั น ทึ ก
จํ า นวน 1 คน มี ห น า ที่ รั บ
ผิ ด ชอบการจดบั น ทึ ก ราย
ละเอียดเกี่ยวกับสมาชิก ประเภท และปริมาณ
ขยะรีไซเคิล เพื่อสงตอใหเจาหนาที่คิดเงิน

5. เจาหนาที่คิดเงิน จํานวน 1 คน มีหนา


ทีร่ บ
ั ผิดชอบการคิดจํานวนเงินของขยะรีไซเคิล
ที่สมาชิกนํามาฝาก พรอมรับผิดชอบการฝาก-
ถอนเงินของสมาชิก
6. เจ า หน า ที่ บั ญ ชี
จํานวน 1 คน มีหนาที่ดูแล
รั บ ผิ ด ชอบเอกสาร การ
เงิน เชน สรุปยอดการนําฝากของสมาชิก สรุปยอด
รายรับรายจายของธนาคาร บันทึกยอดคงเหลือของ
ขยะรีไซเคิล ฯลฯ โดยตองทําการบันทึกทุกวันที่เปดทําการ

4 ¤Ù‹Á×͸¹Ò¤ÒâÂÐÃÕä«à¤ÔÅ
ภารกิจเบื้องตนที่เจาหนาที่ในคณะทํางานตองปฏิบัติงาน
1. จัดหาสถานที่ที่ใชใน
การจั ด เก็ บ ขยะรี ไ ซเคิ ล ก อ น
นําไปขาย ยึดหลักวาเปนสถาน
ที่ที่สามารถเก็บรวบรวมขยะ
รี ไ ซเคิ ล ได ป อ งกั น แดดฝน
ได ถ า มี พื้ น ที่ เ พี ย งพอควร
แยกประเภทขยะรีไซเคิลอยาง
ชั ด เจน เป น ช อ งสํ า หรั บ ขยะ
รีไซเคิลแตละประเภท เชน แกว โลหะ/อโลหะ พลาสติก กระดาษ เปนตน
ในกรณีที่ไมมีสถานที่เก็บรวบรวม สามารถใชวิธีการรับฝากตอน
เชา และใหรานรับซื้อของเกามารับซื้อในตอนเย็น
2. จัดหาอุปกรณที่จําเปนในการจัดทํา
ธนาคารขยะ เชน เครื่องชั่ง
3. ระบบเอกสารบัญชี เอกสารที่ตองจัด
เตรียม ไดแกจัดทําใบสมัครสมาชิกธนาคาร
ขยะรีไซเคิล ทะเบียนลูกคา ใบนําฝาก ใบถอน
เงิน สมุดคูฝ าก สมุดการนําฝาก และเอกสาร
ในการทําบัญชีที่จําเปน
การเตรียมการเปดธนาคาร
1. ติดตอประสานงานกับรานคาของเกาในเรือ่ งเกีย่ วกับราคาขยะ
รีไซเคิล ประเภทตางๆ เพื่อจัดทําตารางเปรียบเทียบราคาขยะรีไซเคิล
แตละประเภท (ราคาสามารถเปลีย่ นแปลงได) พรอมทัง้ กําหนดวันทีเ่ ขา
มารับซื้อจากธนาคาร

¤Ù‹Á×͸¹Ò¤ÒâÂÐÃÕä«à¤ÔÅ 5
2. การประชาสัมพันธ คณะทํางานควรเผยแพรความรูค วามเขาใจ
เรือ่ งขยะไซเคิลและธนาคารขยะ เพือ่ ใหเกิดความรวมมือในโรงเรียน โดย
การจัดบอรดนิทรรศการ การเดินบอกในแตละหองเรียน การแทรกใน
กิจกรรมของแตละรายวิชา เพือ่ ใหมสี มาชิกมาสมัครเขารวมกิจกรรมให
มากที่สุด
นอกจากนีท้ างโรงเรียนควรทําหนังสือแจงผูป
 กครองทราบถึงการ
เขารวมกิจกรรม ซึ่งจะเปนวิธีที่ไดรับความรวมมือเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ
ทําใหเกิดการคัดแยกขยะที่บานกอนนํามาฝากธนาคาร

3. การอบรมใหความรู ความเขาใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ และ


การใชประโยชนจากขยะในรูปแบบตางๆ กับผูที่เกี่ยวของ

6 ¤Ù‹Á×͸¹Ò¤ÒâÂÐÃÕä«à¤ÔÅ
การดําเนินการในวันเปดธนาคาร
รับสมัครสมาชิก
เริ่มแรกจะตองรับสมัครสมาชิกของธนาคาร โดยผูที่สนใจกรอก
รายละเอียดลงในใบสมัคร จากนั้นเจาหนาที่ธนาคารจะใหเลขที่สมาชิก
พรอมทัง้ ลงรายละเอียดในสมุดคูฝ าก โดยธนาคารจะเปนผูเ ก็บรวบรวม
สมุดคูฝากไวที่ธนาคาร ซึ่งสมาชิกสามารถขอดูไดในวันที่ธนาคารเปด
ทําการ

ใบสมัคร เลขที่ 001

ธนาคารขยะ
สาขา โรงเรียนไมมีขยะ
วันที่ 15 สิงหาคม 2554
ชื่อ เด็กหญิงสวย นารัก
วัน/เดือน/ป เกิด 1 มีนาคม 2546
การศึกษา โรงเรียนไมมีขยะ ชั้นประถมศึกษาปที่ 3
ที่อยู เลขที่ 9 หมูบานสะอาดจัง
ตําบล อากาศดี อําเภอ นําใส
จังหวัด รักสิ่งแวดลอม โทรศัพท 08x-xxx-xxxx
สวย นารัก
(ลงชื่อสมาชิก)
หลอ ใจดี
(เจาหนาที่)

¤Ù‹Á×͸¹Ò¤ÒâÂÐÃÕä«à¤ÔÅ 7
การฝาก
เมื่อสมาชิกนําขยะรีไซเคิลมาฝากที่ธนาคารใหดําเนินการดังนี้
1. สมาชิกเขียนใบนําฝากตามประเภทขยะรีไซเคิลที่นําฝาก แลว
นําใบนําฝากพรอมขยะรีไซเคิลที่นํามาสงใหเจาหนาที่คัดแยก

2. เจาหนาที่คัดแยก ทําการคัดแยกประเภทขยะตามใบนําฝาก
แลวชั่งนําหนัก เสร็จแลวสงใบนําฝากใหเจาหนาที่จดบันทึก
3. เจาหนาที่จดบันทึก เรียกสมาชิกเจาของบัญชีมาดูการชั่งนํา
หนัก และบันทึกขอมูลนําหนักของขยะรีไซเคิลลงในใบนําฝาก แลวสง
ใบนําฝากใหเจาหนาที่คิดเงิน

8 ¤Ù‹Á×͸¹Ò¤ÒâÂÐÃÕä«à¤ÔÅ
4. เจาหนาที่คิดเงินจากใบนําฝาก โดยเปรียบเทียบจากราคาที่รับ
ซื้อ แลวบันทึกลงใบนําฝาก

5. เจาหนาทีบ
่ ญ
ั ชีทาํ การลงบันทึกขอมูลในสมุดคูฝ าก เพือ่ เก็บเปน
หลักฐาน การฝาก-ถอนของสมาชิก

6. ผู จั ด การธนาคารตรวจสอบความถู ก ต อ งของใบนํ า ฝาก


(ชื่อ-สกุล เลขที่สมาชิก ราคาตอหนวยของขยะรีไซเคิล การคํานวณ
จํานวนเงินในแตละชอง และจํานวนเงินยอดรวมทัง้ หมด) และใหสมาชิก

¤Ù‹Á×͸¹Ò¤ÒâÂÐÃÕä«à¤ÔÅ 9
ตรวจดูความถูกตอง แลวทําการลงลายมือชื่อผูนําฝาก ผูจัดการลง
ลายมือชื่อในใบนําฝาก และสมุดคูฝากของสมาชิกรับรองความถูกตอง
การถอน
หากสมาชิกตองการถอนเงิน จะสามารถถอนไดกต็ อ เมือ่ ธนาคาร
ขยะรีไซเคิลเปดทําการครัง้ ตอไป และสมาชิกตองนําขยะรีไซเคิลมาฝาก
ในวันนั้นดวย จึงจะสามารถถอนเงินได

10 ¤Ù‹Á×͸¹Ò¤ÒâÂÐÃÕä«à¤ÔÅ
การดําเนินการหลังปดธนาคาร
จัดทําเอกสารทะเบียนลูกคา
หลังจากปดธนาคารแลวเจาหนาทีจ่ ะตองรวบรวมใบสมัครสมาชิก
มาลงในเอกสารทะเบียนคุมลูกคา เพือ่ เก็บขอมูลจํานวนสมาชิกทัง้ หมด
ที่เขารวมกิจกรรม

การขายขยะใหรานรับซื้อของเกา
ผูจ ด
ั การธนาคารขยะ และครูทป ี่ รึกษา
ประสานงานขายขยะใหแกรา นรับซือ้ ของเกา
ที่ติดตอไว โดยสวนใหญจะใหมารับซื้อขยะ
รีไซเคิลที่ธนาคารขยะในเวลาหลังเลิกเรียน
ของวนเปดธนาคารนั้น
สรุปการดําเนินการของธนาคาร
เจาหนาทีต่ อ งลงรายละเอียดในเอกสารสรุปการนําฝาก และควร
มีการสรุปผลการดําเนินงานในแตละเดือนและแจงใหแกสมาชิกของ
ธนาคาร โดยการจัดบอรดนิทรรศการประชาสัมพันธผลการดําเนินงาน
ณ บริเวณที่ทําการ

¤Ù‹Á×͸¹Ò¤ÒâÂÐÃÕä«à¤ÔÅ 11
การติดตามประเมินผล
พิ จ ารณาได จ ากปริ ม าณขยะรี ไ ซเคิ ล ที่ ร วบรวมได จ ากจํ า นวน
สมาชิกที่เขารวมกิจกรรม และจากกําไรในการซื้อขาย โดยควรติดตาม
อยางตอเนื่องเพื่อเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลง รวมทั้งยังอาจดูจาก
จํานวนครั้งที่สมาชิกแตละคนเขารวม ซึ่งจะบอกไดวา ธนาคารขยะชวย
จะชวยสรางใหเกิดนิสัยการคัดแยกขยะที่บานไดผลหรือไม
การสนับสนุน
ทางโรงเรี ย นควรให ก ารสนั บ สนุ น เพื่ อ ให ธ นาคารคงอยู แ ละ
สามารถดําเนินไปไดอยางตอเนื่อง เชน
- ใหเกียรติบัตรหรือเงินตอบแทนตามความเหมาะสมแกคณะ
ทํางาน
- แจกของที่ระลึกใหแกสมาชิกในเทศกาลตางๆ
- ใหโบนัสพิเศษแกสมาชิกที่มียอดเงินฝากสูง
- ใหโบนัสพิเศษหรือคะแนนพิเศษแกสมาชิกทีห ่ าสมาชิกมาเพิม่ ได

12 ¤Ù‹Á×͸¹Ò¤ÒâÂÐÃÕä«à¤ÔÅ
- การจัดทําหลักสูตรพิเศษเรื่องสิ่งแวดลอมใหนักเรียนไดเรียนรู
เรื่องการจัดการขยะ
- การจัดกิจกรรมการประดิษฐสิ่งของจากขยะรีไซเคิล แลวนําสิ่ง
ประดิษฐนั้นมาจําหนาย หรือแจกเปนของที่ระลึก
- ติดตามและขอความสนับสนุนจากองคกรปกครองสวนทองถิ่น
หรือองคกรสวนกลาง เชนกรมสงเสริมคุณภาพสิ่งแวดลอม

ประโยชนอื่นๆ ของธนาคารขยะรีไซเคิล
1. เยาวชนเกิ ด ความเข า ใจในคุ ณ ค า ของวั ส ดุ บ างประเภท ว า
สามารถนําไปใชประโยชนไดหลายครั้ง หรือสามารถเปลี่ยนเปนเงินได
2. ฝกนิสัยการออมทรัพยของเยาวชน
3. ช ว ยลดปริ ม าณการใช ท รั พ ยากรธรรมชาติ และใช
ทรัพยากรธรรมชาติไดอยางมีประสิทธิภาพสูงสุด
4. ชวยลดปญหาสิ่งแวดลอมทําใหสภาพแวดลอมดีขึ้น

¤Ù‹Á×͸¹Ò¤ÒâÂÐÃÕä«à¤ÔÅ 13
คณะผูจ ัดทํา
คณะผ
คูมือธนาคารขยะรีไซเคิล

ที่ปรึกษา
นายจุมพล ศิรสิ วัสดิ์ ผูอ าํ นวยการสํานักงานสิง่ แวดลอมภาคที่ 14

คณะทํางาน
นางอโณทัย ธีรสิงห นักวิชาการสิ่งแวดลอมชํานาญการ
นายคุณาสิน ไวยรัตน นักวิชาการสิ่งแวดลอมปฏิบัติการ
นายนพชัย สงเสียง นักวิชาการสิ่งแวดลอมปฏิบัติการ
นางสาวเพชรรุง กิมานันท ลูกจางปฏบัตงิ านกลุม งานแผนสิง่ แวดลอม

พิมพครั้งที่ 1 ปที่พิมพ 2554 จํานวน 1,000 เลม

You might also like