2024 20240412003715-1

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 4

มานุษยวิทยากับการหันมามอง “ความไม่รู้”

ความไม่รู้ (ignorance) เป็น สภาวะของการขาดความรู ้ซึ่งมีอยู่หลายรู ป แบบ ตั้งแต่


ความบร ิสุทธิ์ไ ร้เดียงสา ความไม่สามารถเข้าถึง รับรู ้ หร ือเข้าใจข้อมูล บางอย่างได้ ตลอดไป
จนถึงการติดอยู่ในจิตสานึกที่ผิดพลาดซึ่งเป็นผลมาจากจุดยืนทางอุดมการณ์บางอย่าง รู ปแบบ
ที่หลากหลายของความไม่รู้นี้อาจมีมิติที่เหลื่ อมซ้อนกันได้จากคุณลักษณะบางประการที่ ก้า กึ่ง
หร ือไม่อาจแบ่งแยกได้ชัดเจน (Gershon & Raj 2000) อย่างไรก็ตาม สมมติฐ านเบื้องต้น
ของความสัมพันธ์ระหว่างรู ปแบบต่าง ๆ ของความไม่รู้มักเรมิ่ ต้นจากความไร้เดียงสาไปสู่การ
เข้าถึง รับรู ้ และทาความเข้าใจข้อมูลบางอย่างจนเกิดเป็นแนวคิดที่ซับซ้อน ซึ่งแนวคิดดังกล่าว
อาจให้ผลย้อนกลับในการแยกตัวเราออกจากการเข้าถึง รับรู ้ และทาความเข้าใจข้อมูลอีกอย่าง
จนกลายเป็นความไร้เดียงสาได้ในทางกลับกัน ผลลัพธ์ของการพิจารณาความสัมพันธ์ของความ
ไม่รู้แบบต่าง ๆ ในข้างต้นนี้ฉายให้เห็นว่า ความไม่รู้อาจไม่ใช่สภาวะที่แน่นิ่งของการขาดข้อมูลซึ่ง
รอให้ค วามรู ้ ที่เป็น วัตถุว ิสัย เข้ามาถมเติม แต่เป็น กลไกที่ มีพลวัตอัน เกี่ยวเนื่องกับความรู ้ ในตัว
ของมันเอง
ในระบบความคิดทางปรัชญา ทฤษฎีความรู ้ หร ือ ญาณว ิทยา (epistemology) ซึ่ง
ว่าด้วยการแสวงหาและเข้าถึงความรู ้ ถูกนาเสนอขึ้นโดยเจมส์ เฟรเดอร ิก เฟอร์ร ิเออร์ (James
Frederick Ferrier) ในขณะที่ทฤษฎีความไม่รู้ ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาให้เป็นคู่ตรงข้ามของทฤษฎี
ความรู ้ คือ agnoiology (ไม่พบคาแปลในภาษาไทย) เพื่ออธิบายความไม่รู้ กลับไม่แพร่หลาย
เท่าใดนัก (Gershon & Raj 2000) การเพิกเฉยหร ือไม่สนใจความไม่รู้เช่นนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผล
มาจากสมมติฐานที่ว่าความไม่รู้เป็น ปร ิมณฑลอันว่างเปล่าที่ไม่มีอะไรน่าสนใจ นอกจากนี้ การ
เปร ียบเปรยความไม่รู้ผ่านความมืดบอดยังได้สร้างความหวาดกลัวต่อความไม่รู้ เช่นเดียวกับการ
เปร ียบเปรยให้ความรู ้เป็นแสงสว่างนาทางให้กับผู้คนและขับเคลื่อนประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ทา
ให้ความรู ้ถูกให้คุณค่ามากกว่าความไม่รู้ ศาสตร์สมัยใหม่ จึงให้ความสาคัญกับการสร้างความรู ้
และมุ่งตรวจสอบเพื่อ กาจัด ข้ อ ผิด พลาด รวมถึง ส่งผ่ านความรู ้ ของศาสตร์ นั้น ๆ ไปสู่การลด
ช่องว่างของความไม่รู้ในยุคสมัยต่อ ๆ ไป (Mair et al. 2012)
ในทานองเดียวกัน ความรู ้ในว ิชามานุษยว ิทยาวางอยู่บนความรู ้ความเข้าใจโลกทัศน์ของ
คนอื่น กล่าวได้ว่า ความรู ้ความเข้าใจเกี่ยวกับคนอื่นถูกแสวงหาเพื่อเติมเต็มช่องว่างของความไม่
รู ้ โดยที่ค วามรู ้ในว ิชามานุษยว ิทยาดังกล่า วเป็นการสะสมเพิ่มพูนขึ้น ของสิ่งที่ผู้ค นที่ถูกศึกษา
อธิบายว่าโลก จักรวาลทัศน์ ความสัมพันธ์ทางสังคม ตลอดจนสิ่งต่าง ๆ ในการใช้ชีว ิตเป็นไป
อย่ า งไร รอย ดิ ล ลี ย์ (Roy Dilley) (2010) บอกว่ า ปั ญ หาส าคั ญ ของการค้ น คว้ า ทาง
มานุษยว ิทยาคือการมุ่งค้นหาว่าความรู ้ทางวัฒนธรรมของผู้คนถูกสื่อสาร ส่งผ่าน และเผยแพร่
อย่างไร โดยไม่สนใจอีกด้านหนึ่งของความรู ้ นั่นคือ ความไม่รู้ ในขณะที่ความรู ้ถูกพิจารณาว่า
เป็ น ผลผลิ ต ส าคั ญ ของการสร้ า งและพั ฒ นาที่ ค้ า จุ น สั ง คม ความไม่ รู้ ถู ก พิ จ ารณาว่ า เป็ น
ปรากฏการณ์เชิงลบซึ่งเป็นปัญหาต่อความก้าวหน้าและไม่นาไปสู่การสร้างสิ่งใหม่ ลักษณะของ
ความไม่รู้จึงไม่ใช่สิ่งอื่นใดนอกเสียจากการขาดความรู ้ซึ่งเป็นปัญหา อย่างไรก็ดี การศึกษาทาง
มานุษยว ิทยาระยะหลัง เร มิ่ หัน มาสนใจและตั้งคาถามกั บ ความไม่รู้ มากขึ้น ในแง่ ที่ค วามไม่ รู้ ไ ม่
เพียงเป็นผลมาจากการขาดความรู ้แต่เพียงเท่านั้น
ดิล ลี ย์ (2010) เสนอให้ มองว่า ความไม่รู้เป็น องค์ประกอบส่วนสร้างของความรู ้ ไม่ใช่
เพียงแค่ด้านตรงข้าม แต่ยังช่วยสร้างบทสนทนาระหว่างกันด้วย หากความรู ้ถูกสื่อสาร ส่งผ่าน
และแพร่กระจาย ความรู ้นั้นย่อมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่ถูกขับเคลื่อนด้วยศักยภาพของ
ความไม่รู้ ยิ่งไปกว่านั้น หากทั้งความรู ้และความไม่รู้เป็นองค์ประกอบบส่วนสร้างซึ่งกันและกัน
ทั้ ง สองย่ อ มเป็ น ผลลั พ ธ์ ข องทั้ ง การรู ้ แ ละการแสวงหาความรู ้ การท างานภาคสนามของนั ก
มานุษยว ิทยาเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจซึ่งอนุญาตให้ความไม่รู้ของตนเองกลายเป็น ยุทธศาสตร์ใน
การเร ียนรู ้ เข้าไปแฝงตัว และทาความเข้าใจคนอื่น ในทัศนะเช่นนี้ ความไม่รู้จึงไม่ใช่หลุ ม ดาที่
ว่างเปล่า แต่เป็นแรงขับให้เกิดผลผลิ ต การค้นคว้า และการแสวงหาความรู ้ใหม่ ๆ ตลอดจน
สร้างภาวะก้ากึ่งของความรู ้และความไม่รู้เพื่อปลดปล่อยตนเองออกจากพันธะของความยึดมั่น
ถือมั่นในความรู ้บางแบบ
การศึกษาชาวบักตามาน (Baktaman) ในนิวกินีของฟร ีดิก บาร์ธ (Fredik Barth)
(1975) ให้ ค วามสนใจกั บ การส่ ง ผ่ า นความรู ้ ลั บ ๆ (secret knowledge) ในกระบวนการ
ตระหนักรู ้ที่น าไปสู่ ปฏิ บั ติ การทางสั งคม (social praxis) ในขณะที่ผู้ห ญิ ง ชาวบั กตามานมี
บทบาทในการสนับสนุน มีเพียงผู้ชายที่มีส่วนร่วมในการส่งผ่านความรู ้ เด็กผู้ชายจะได้รับการ
บอกต่อข้อมูล และการทดสอบต่าง ๆ เพื่อเปลี่ยนผ่านไปเป็น ผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์และเข้าร่ว มกลุ่ ม
ย่อย (cult) เพื่อทาหน้าที่ต่าง ๆ เช่น การเพาะปลูก การล่าสัตว์ และการทาสงคราม การผลิต
ซ้ า (replication) ข้ อ มู ล ที่ ถู ก ส่ ง ผ่ า นกั น มาเกิ ด เป็ น ความรู ้ ซึ่ง ปราศจากคาอธิ บ ายประกอบ
(exegesis) ผู้ที่ได้รับความรู ้นั้นมาต้องอาศัยการตีความโดยไม่มีอุดมคติของความจร ิงที่เที่ยง
แท้ ข้ อ ค้ น พบในการศึ ก ษาของบาร์ ธ ชวนให้ หั น กลั บ มาทบทวนนิ ย ามของความรู ้ ใ นฐานะ
วัฒ นธรรมที่ ทุ กคนในสั งคมมี ร่ ว มกั น เขาเห็น ว่า โครงสร้ างสัง คมดั ง กล่ าวเป็ น ระบบของการ
ส่ ง ผ่ า นความรู ้ ต่ อ ๆ กั น กระนั้ น เอง สถานะของการเป็ น ผู้ ใ หญ่ ใ นการส่ ง ผ่ า นความรู ้ ลั บ ๆ
ดังกล่าวกลับอยู่ระหว่างผู้รู้กับผู้ไม่รู้ เพราะผู้ที่ได้รับความรู ้ต่อ ๆ กันมาก็ไม่สามารถรู ้ได้ว่าข้อมูล
ที่ถูกส่งผ่านมาถึงตนเป็น ข้อมูล เดียวกั บ ข้อ มูล ต้น ฉบั บหร ือไม่ มี ค วามผิดพลาดเกิดขึ้น ในการ
ตีค วามระหว่างทางหร ือไม่ อย่างไร ด้วยลั กษณะของข้อมูล ที่ ประสบการณ์ของความรู ้ไ ม่มีใคร
สามารถยืนยันได้ ความกากวมระหว่างความรู ้และความไม่รู้ดารงจึงอยู่ในฐานะสิ่งค้าจุนสังคม
แทนที่จะเป็นความรู ้
ตั ว อย่ า งอื่ น ๆ ที่ น่ า สนใจในการศึ ก ษาความไม่ รู้ ข องมานุ ษ ยว ท
ิ ยา เช่ น การปฏิ เ สธ
ความคิ ด เกี่ ย วกั บ หมอผี (shamanism) ของชาวแอมะซอนเผ่ า วาโอรานิ (Waorani) ใน
เอกวาดอ เคซี่ ไฮห์ (Casey High) (2012) อธิบายว่า แม้ปฏิบัติกการของพ่อมดหมอผีมัก
เป็นที่มาของความรู ้ในจักรวาลทัศน์ของสังคมแอมะซอน แต่ชาววาโอรานิที่แม้จะมีจักรวาลทัศน์

2
ร่วมกันกับชาวแอมะซอนเผ่าอื่น ๆ ก็ มักปฏิเสธเรอื่ งราวของเวทมนตร์คาถาและการกลายเป็น
หมอผี เนื่องจากสังคมวาโอรานิคานึงถึงความอันตรายของเวทมนตร์และไสยเวทย์ สถานะและ
ปฏิบัติการต่าง ๆ ของหมอผีภายในสังคมดังกล่าวจึงเป็นที่ถกเถียงและไม่เผยตัวในที่สาธารณะ
ว ีคาโก (Wekago) ชาววาโอรานิคนหนึ่งบอกกับไฮห์ว่า ครั้งหนึ่ง พ่อตาของเขาที่เป็นคนจาก
เผ่าอื่นเคยเสนอว่าจะสอนเวทมนตร์คาถาในการมองเห็นและเยียวยาโรคร้ายให้ แต่เขาปฏิเสธที่
จะเร ียนรู ้และยืนยันว่าขอไม่รู้เกี่ยวกับเรอื่ งดังกล่าว ไฮห์เห็นว่าในบร ิบทนี้ แทนที่จะเป็นความรู ้ ที่
ถูกให้คุณค่า เชิงบวกดังเช่น ในสังคมตะวันตก ความไม่รู้ต่างหากที่ถูกประเมิน คุณค่า ผ่านพลัง
ทางสังคมของเผ่าเพื่อให้ผู้ไม่รู้ปลอดภัยจากการถูกกล่าวหาเมื่อมีเหตุร้ายของเวทมนตร์และไสย
เวทย์เกิดขึ้นในสังคม โดยเฉพาะในสังคมที่ไม่เชื่อในรอื่ งเหตุบังเอิญ
อี ก ตั ว อย่ า งหนึ่ ง คื อ การศึ ก ษาการเขี ย นประวั ติ ศ าสตร์ นิ พ นธ์ แ บบอั ต ชี ว ประวั ติ
(autobiographical historiography) ที่เร ียกว่าจิบุนชิ (jibunshi) ของชุนซุเกะ โนซาวะ
(Shunsuke Nozawa) (2012) ในฐานะที่เป็นการเขียนประวัติศาสตร์ของคนธรรมดาซึ่งอยู่
นอกขนบความรู ้เชิงสถาบัน โดยให้ความสาคัญกับเรอื่ งเล่าในชีว ิตประจาวัน โนซาวะอธิบายว่า
จิ บุ น ชิ ไ ม่ เ พี ย งเป็ น การเขี ย นถึ ง ความรู ้ เ กี่ ย วกั บ ตนเองผ่ า นการสร้ า งตั ว บทในฐานะสั ญ ทาง
ประวั ติ ศ าสตร์ เ ท่ า นั้ น แต่ ยั ง เป็ น องค์ ป ระกอบของความหวั่ น ว ติ กลึ ก ๆ ในโลกสมั ย ใหม่ ใ น
ประเด็นการเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ของคนธรรมดาด้วย เขาอธิบายว่าการไม่รู้ตาแหน่ง
แห่งที่และความคู่ควรทางประวัติศาสตร์ของตนเองชี้ให้เห็นว่าความไม่รู้นามาซึ่งปฏิบัติการทาง
สังคมและการตามหาคุณค่าของตนเอง กล่าวโดยสรุ ปได้ว่า ตัวอย่างการศึกษาความไม่รู้ ท าง
มานุษยว ิทยาเหล่านี้เผยให้เห็นว่าการพิจารณาความไม่รู้ไม่เพียงเป็นด้านตรงข้ามของความรู ้ที่มี
คุ ณ ค่ า เชิ ง ลบอย่ า งที่ ผ่ า นมา แต่ เ ป็ น กลไกที่ มี พ ลั ง และเนื้ อ หาสาระให้ เ ข้ า ไปส ารวจและสร้ า ง
คาอธิบาย
...............................................................................................................................................................................................
ผู้เขียน
ว ิสุทธิ์ เวชวราภรณ์
นักว ิจัย ฝ่ายว ิจัยและพัฒนา ศูนย์มานุษยว ิทยาสิร ินธร (องค์การมหาชน)

รายการอ้างอิง
Barth, F. 1975. Ritual and Knowledge among the Baktaman of New Guinea. Oslo:
Universitetsforlaget.
Dilley, R. 2010. Reflections on Knowledge Practices and the Problem of Ignorance.
Journal of the Royal Anthropological Institute, 16, S176-S192.
Gershon, I. & Raj, D. S. 2000. Introduction: The symbolic capital of ignorance. Social
Analysis: The International Journal of Social and Cultural Practice, 44(2), 3-14.

3
High, C. 2012. Between Knowing and Being: Ignorance in Anthropology and Amazonian
Shamanism. In the Anthropology of Ignorance: An Ethnographic Approach. New
York: Palgrave Macmillan US.
Kirsch, T. G. & Dilley, R. 2015. Regimes of Ignorance. Regimes of Ignorance:
Anthropological Perspectives on the Production and Reproduction of Non-
knowledge. New York: Berghahn Books.
Mair, J. , Kelly, A. H. & High, C. 2012. Introduction: Making Ignorance an Ethnographic
Object. In the Anthropology of Ignorance: An Ethnographic Approach. New York:
Palgrave Macmillan.
Nozawa, S. 2012. Discourses of the Coming: Ignorance, Forgetting, and Prolepsis in
Japanese Life-historiography. In the Anthropology of Ignorance: An Ethnographic
Approach. New York: Palgrave Macmillan.

You might also like