Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 3

Quiz: Marxist Political Theory (833319) นางสาวธนพร จันทร (61241112)

The Marx Dictionary เป็นพจนานุกรมที่รวบรวมคำศัพท์ ความหมายและคำอธิบายเกี่ยวกับแนวคิด


ทฤษฎีของคาร์ล มาร์กซ์ นักคิดสายวิพากษ์ผู้เป็นเจ้าของทฤษฎีทุนนิยม (Capitalism) ไว้หลากหลายคำ ในที่นี้ผู้
เขียนจะขอยกมา 3 คำเพื่ออธิบายและเปรียบเทียบกับปรากฏการณ์ในสังคม ประกอบไปด้วย Alienation,
Freedom และ Woman โดยอ้างอิงจากบทเรียนและเอกสารประกอบการเรียนในวิชามาร์กซ์ซิสต์
สภาวะแปลกแยกหรือ Alienation เป็นหนึ่งในแนวคิดที่โด่งดังของมาร์กซ์อีกแนวคิดหนึ่งว่าด้วยสภาวะ
ที่เกิดขึ้นกับแรงงานในยุคทุนนิยมซึ่งหมายถึงสภาวะที่แรงงานถูกลดทอนคุณค่าหรือถูกทำให้ด้อยค่าลงไปจาก
สินค้าที่ตนผลิต มาร์กซ์กล่าวว่าสภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นต่อเมื่อการแรงงานทำงานอยู่ในยุคทุนนิยมหรือทำการ
ผลิตในยุคทุนนิยม ไม่ได้เกิดขึ้นจากตัวนายทุน เพราะมาร์กซ์เชื่อว่าทุนนิยมเป็นกลไกทางเศรษฐกิจที่กดขี่ขูดรีด
แรงงาน บังคับให้แรงงานต้องทำงานหนักและแลกมาด้วยค่าเงินอันน้อยนิด เมื่อแรงงานทำงานในกลไกทุนนิยม
ต่อไปเรื่อย ๆ ก็จะถูกลดทอนลงเป็นเพียงสินค้า แต่เป็นสินค้าที่มีค่าน้อยกว่าสินค้าที่ตนผลิต แรงงานมีแต่จนลง
และมีภาระงานที่มากขึ้น แต่สิ่งที่จะรวยกลับเป็นผลผลิตและนายทุน
ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสภาวะแปลกแยกคือ คนงานเกิดความแปลกแยกต่อสินค้าที่เขาผลิต ยิ่งทำการ
ผลิตมากขึ้น ยิ่งครอบครองน้อยลงเพราะต้องเสียแรงงานเพิ่มมากขึ้นไปกว่าเดิม ส่งผลให้มนุษย์ถูกครอบงำและ
อยู่ภายใต้กลไกการผลิตของทุนนิยม ยิ่งคนงานถูกกีดกันจากงาน กีดกันจากตัวเองและสิ่งที่รัก ก็ยิ่งมีความแปลก
แยกมากขึ้น เพราะอุทิศชีวิตให้แก่การทำงาน เนื่องจากนายทุนมองว่าเราเป็นเพียงฟันเฟื องเล็กๆ ที่ใส่เข้าไปใน
กระบวนการผลิต มาร์กซ์กล่าวว่ามันเหมือนกับในการนับถือศาสนาจากการที่เราเอาตัวเองและจิตใจไปผูกติดไว้
กับพระเจ้า ทำให้เรามีความแปลกแยกกับตัวเองเพิ่มมากขึ้น การยึดโยงและผูกติดตัวเองก็ยิ่งลดลง
ยิ่งแรงงานสร้างสินค้าได้ แรงงานกลับเหมือนถูกทำลาย ยิ่งผลงานของแรงงานทรงพลังมากเท่าไร
แรงงานก็ยิ่งหมดแรง, ผลลัพธ์ของมันคือ มนุษย์เหลือเพียงสัญชาตญาณ มนุษย์เหลือเพียงสัญชาตญาณดิบที่
ต้องการปลดปล่อยตนเองเพียงจากไม่กี่อย่างจากการกิน ดื่ม นอน สืบพันธุ์ เพราะต้องทนทุกข์กับงานที่ทำและ
การถูกกดขี่ของระบบทุนนิยม มาร์กซ์ได้จำแนกประเภทของสภาวะแปลกแยกอยู่ 4 ประการ ได้แก่ การแลกแยก
จากธรรมชาติ, แปลกแยกระหว่างตัวเองและคนอื่น ๆ, แปลกแยกจากเผ่าพันธุ์ตัวเองและท้ายที่สุดคือต่อต้านคน
อื่น ๆ ซึ่งนำไปสู่การเกิดขึ้นของสงครามและอาชญากรรม เนื่องจากไม่มีความเห็นใจต่อตนเองและผู้อื่น แรงงาน
จึงทำทุกวิถีทางเพื่อให้ตนเองมีชีวิตอยู่รอดและลดความตึงเครียดที่เกิดขึ้นจากงาน
Freedom หรืออิสระเสรีภาพในทัศนะของมาร์กซ์คือ กระบวนการการบรรลุอุดมการณ์และจุดมุ่งหมาย
ของมนุษยชาติทั้งหมด ความยุติธรรมทางสังคม ความบริสุทธิ์ ความมั่นคง ความปลอดภัยและความเจริญทาง
จิตใจและร่างกาย มาร์กซ์ให้ความเห็นว่าเสรีภาพส่วนบุคคลที่แท้จริงเป็นสิ่งเพียงสิ่งเดียวเท่านั้นที่จะสามารถ
พัฒนาอำนาจของบุคคลให้เป็นไปได้ในสังคมทุนนิยม มาร์กซ์ได้ให้ความเห็นว่าสิทธิเสรีภาพในสังคมทุนนิยม
นั้นจะเกิดขึ้นเฉพาะกับผู้ที่มีทรัพย์สินหรือชนชั้นนายทุนเท่านั้นไม่ใช่สำหรับชนชั้นกรรมาชีพหรือผู้ที่ยากจน
เพราะการกำหนดค่านิยมบรรทัดฐานถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับชนชั้นนายทุนเช่นกฎหมายในการถือครอง
ทรัพย์สินที่ดินไปจนถึงสิ่งที่สังคมนิยมล้วนแล้วแต่เป็นของชนชั้นนายทุนทั้งสิ้น
นายทุนจะใช้การจ้างแรงงานเพื่อเป็นเครื่องมือในการขูดรีดชนชั้นกรรมาชีพอย่างหนักหน่วงเพราะเห็น
ว่าแรงงานไม่มีเครื่องมือเงินลงทุนและมีแต่ความอดอยาก แรงงานจะต้องยอมอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่นายทุนได้
กำหนดเอาไว้ ซึ่งปัญหาจากความไม่เท่าเทียมการเอารัดเอาเปรียบของนายทุนต่อแรงงานอยู่เสมอ ทำให้แรงงาน
สูญเสียเสรีภาพ เพราะเสรีภาพมีส่วนสำคัญในการกำหนดชั่วโมงงาน เสรีภาพมีส่วนที่ทำให้คนไม่มีเวลาเท่า
เทียมกัน ไม่มีเวลาในการแสวงหาความเพลิดเพลินและความสุขให้แก่ชีวิต เสพย์งานศิลปะหรือการแสวงหาผล
ประโยชน์ส่วนตัว นำมาสู่การต่อสู้ทางชนชั้นของแรงงานต่อนายทุเพื่อให้ตนเองได้มีอิสรเสรีภาพ อิสระในการ
กำหนดชั่วโมงงาน ไม่ยอมจำนนต่อการกดขี่ของนายทุนอีกต่อไป เพื่อจะนำไปสู่ความเท่าเทียมกันทางสังคม
และสังคมจะเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ในยุคคอมมิวนิสต์ซึ่งถือว่าเป็นยุคสุดท้ายที่สังคมจะไม่มีการขัดแย้งทางชนชั้น
และทุกชนชั้นหรือทุกคนจะมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน
Woman มาร์กซ์กล่าวว่าการแต่งงานถือเป็นการกระจายอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันและนำไปสู่การเป็นทาส
ของผู้ชาย โดยผู้หญิงถือเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ชายทำให้ผู้หญิงไม่มีอิสระเสรีภาพ เพราะผู้หญิงไม่เคยได้รับ
สิทธิที่เท่าเทียมเหมือนกับผู้ชาย เช่น การเลือกตั้ง การทำงาน การศึกษา การเข้าสังคม และทรัพย์สินส่วนตัวเป็น
ผลมาจากการขูดรีดแรงงาน การแต่งงานจึงมาพร้อมกับภาระหน้าที่อันมากมายภายใต้เงื่อนไขทางสังคมที่
กำหนดไว้เป็นบรรทัดฐานว่าผู้หญิงต้องเป็นแม่บ้านแม่เรือน เป็นแม่ที่ดีของลูก ต้องดูแลบ้านให้สะอาดและ
ทำงานปรนนิบัติผู้ชายเป็นอย่างดี เรียกได้ว่าในยุคของมาร์กซ์ผู้หญิงถูกลดทอนคุณค่าให้เป็นเพียงทรัพย์สินชิ้น
หนึ่ง เป็นแรงงานที่ทำงานภายในบ้านไม่ใช่โรงงานและถูกกดให้ต่ำลงกว่าผู้ชายที่มีสิทธิ เสรีภาพมากกว่าผู้หญิง
แล้วทั้ง 3 คำเกี่ยวเนื่องกันอย่างไร?
ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่ผู้หญิงสูญสิ้นอิสรภาพไปภายหลังจากการตกเป็นทรัพย์สินของผู้ชายคือ การ
แต่งงานอย่างที่มาร์กซ์ได้กล่าวไว้ข้างต้น ผู้หญิงจะถูกจำกัดเสรีภาพไปจากที่ตนเองเคยมี เพราะหน้าที่ที่มาพร้อม
การแต่งงานและกฎเกณฑ์ของบรรทัดฐานทางสังคมที่บีบบังคับให้ผู้หญิงต้องปฏิบัติตัวอยู่ในกรอบ อยู่กับบ้าน
และครอบครัว ต้องคอยปรนนิบัติสามี ผู้หญิงหลายคนในยุคของมาร์กซ์ต้องยอมจำนนต่อการแต่งงานของผู้ชาย
โดยไม่เต็มใจ เพราะผู้หญิงถูกมองว่าเป็นเพียงสินค้า เป็นเพียงผู้ที่คอยรับใช้และผลิตลูกออกมาเท่านั้น ผู้หญิง
ไม่มีสิทธิ์ในการเลือกตั้ง ไม่มีสิทธิ์ออกความคิดเห็นทางการเมือง ไม่ได้รับการศึกษาเป็นต้น อีกหนึ่งตัวอย่างที่
เห็นได้ชัดเจนคือทัศนคติต่อผู้หญิงและผู้ชายของคนจีนที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยและจากประสบการณ์
ส่วนตัวของผู้เขียน
ทัศนคติของคนจีนที่มีต่อลูกผู้ชายคือ คนที่ต้องเป็นเสาหลักให้กับตระกูล ต้องเข้มแข็ง อดทน ทำงาน
หนักและสง่างาม ไม่ต้องทำอะไรมาก กลับกันผู้หญิงที่ต้องแต่งงานกับผู้ชายก็จะต้องมีลักษณะผิวพรรณที่ดี เป็น
แม่พันธุ์ที่ดี สวย เป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดีและที่สำคัญคือต้องออกลูกมาเป็นผู้ชาย หากเป็นลูกผู้หญิงก็จะถูกใช้
แรงงานอย่างหนักในการทำงานบ้านและงานอื่น ๆ โดยมีข้ออ้างจากผู้ใหญ่คือ เป็นการอบรมสั่งสอนเพื่อโตไป
จะได้ไปปรนนิบัติสามีในอนาคต ดังนั้นทฤษฎีและแนวคิดของมาร์กซ์ที่เคยเกิดขึ้นในหลายร้อยปี ก่อนทั้งการ
กดขี่แรงงาน ขูดรีด อิสรเสรีภาพในหนังสือที่มาร์กซ์เขียน กลับเป็นปัญหาที่ยังคงดำรงมาจนถึงยุคปัจจุบัน ผู้
เขียนจึงเกิดคำถามขึ้นว่าจริง ๆ แล้ว สิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในสังคมและการถูกกดขี่ การถูกริ
ดลอนสิทธิเสรีภาพ สิทธิที่ผู้หญิงจะเท่าเทียมกันกับผู้ชาย จะถูกขจัดไปได้โดยการนำประเทศเข้าสู่การเป็น
คอมมิวนิสต์อย่างที่มาร์กซ์ต้องการหรือไม่

You might also like