มะเร็งเต้านม

You might also like

Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 5

มะเร็งเต้านม…“รู้เร็วรักษาหายได้”

คุณรู้หรือไม่ว่า !?!
มะเร็งเต้านม เป็นโรคมะเร็งอันดับ 1 ในผู้หญิงไทยและมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี “ไม่มีวัคซีนป้ องกันเหมือน
มะเร็งปากมดลูก”
“ผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็ นมะเร็งเต้านมได้ ”
สัญญาณอันตราย
 พบก้อนหรือเนื้อที่เป็นไตแข็งผิดปกติตรงบริเวณเต้านม
 มีน้ำเหลืองและเลือดไหลจากหัวนม
 ผิวหนังบริเวณเต้านมเปลี่ยนไปจากเดิม ไม่ว่าจะเป็ นรอยบุ๋มหรือผิวหนังบวมหนาตึง เหมือนผิวของเปลือกส้ม
 หัวนมถูกดึงรั้งจนผิดปกติ
 ผิวหนังบริเวณลานหัวนมมีลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น มีผื่นคันที่เป็นๆ หายๆ
 ขนาดและรูปร่างต่างกันอย่างผิดปกติ
การวินิจฉัยโรค
 การตรวจ แมมโมแกรม (Mammogram) จะมีประโยชน์มากในการตรวจหามะเร็งเต้านมขนาดเล็กเพราะ
สามารถตรวจได้ตั้งแต่ยังคลำก้อนไม่พบ แต่ประโยชน์นี้จะใช้ได้ดีในคนที่เริ่มสูงอายุ (มากกว่า 40 ปี ) ซึ่งเนื้อเต้า
นม จะไม่หนาแน่นมาก การตรวจแมมโมแกรมจะเห็นรายละเอียดได้มาก แต่ในส่วนคนอายุน้อยจะแปลผล
แมมโมแกรมยาก และในกรณีที่พบก้อน ก็ไม่สามารถบอกได้ว่าก้อนนั้นเป็ นน้ำหรือเป็ นก้อนเนื้อ
 การตรวจ อัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) มีข้อเด่นที่สามารถใช้ในคนอายุน้อยอีกทั้งยังสามารถช่วยวินิจฉัยว่าก้อน
ต่างๆ ในเต้านมเป็ นน้ำหรือเป็ นก้อนเนื้อ
ทำให้การวางแผนการรักษาเป็ นไปได้ง่ายขึ้น
การรักษา
1. การผ่าตัด การผ่าตัดเป็ นจุดเริ่มต้นของการรักษามะเร็งเต้านม โดยต้องมีการวางแผนอย่างละเอียดในทุกขั้น
ตอน ไม่ว่าจะเป็ นการเลือกว่าจะผ่าตัดวิธีไหนเหมาะสมกว่ากันระหว่างการผ่าตัดแบบตัดออกทั้งหมด และการ
ผ่าตัดแบบสงวนเต้า ทั้งยังต้องเสริมสร้างเต้านมขึ้นมาทันทีพร้อมกันไปเลยหรือไม่ ทั้งยังต้องพิจารณาเรื่องการ
ผ่าตัดในส่วนของต่อมน้ำเหลืองด้วยว่าต้องผ่าตัดออกมาด้วยหรือไม่หรือจะต้องตรวจต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลดู
ก่อน
2. การฉายแสง หลังการผ่าตัดสงวนเต้ามีความจำเป็ นต้องฉายแสง ในกรณีก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ หรือมีการกระ
จายของเซลล์มะเร็งไปที่ต่อมน้ำเหลือง
3. การใช้ยาเคมีบำบัดและยาต้านฮอร์โมน หลังการผ่าตัด หากก้อนมะเร็งมีขนาดโตกว่า 1 ซม. หรือมีการกระจาย
ของเซลล์มะเร็งไปที่ต่อมน้ำเหลือง

สิ่งที่คุณอาจสงสัย ??
…..ว่าเป็ น มะเร็งเต้านม
ก้อนที่เต้านม ไม่เจ็บสิน่ากลัว
ผู้หญิงส่วนใหญ่เมื่อมีอาการเจ็บเต้านม มักจะเริ่มสังเกตและคลำที่เต้านมส่วนหนึ่ง จะพบก้อนร่วมด้วย อีก
ส่วนหนึ่งคือไม่พบก้อนหรือไม่แน่ใจ ควรเข้าพบแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าไม่เป็นมะเร็งเต้า
นม ซีสมักจะเจ็บ ส่วนมะเร็งมักจะไม่เจ็บ ในบรรดาก้อนที่เต้านมนั้น มีโรคกลุ่มหลัก ๆ อยู่ 3 กลุ่ม คือ
1) ซีสเต้านม
2) เนื้องอกเต้านม (ไม่ร้าย)
3) มะเร็งเต้านม
ซีสที่เต้านมจะมีการเปลี่ยนแปลงตามรอบเดือนโตก่อนรอบเดือนมาและเล็กลงหลังรอบเดือนมาแล้ว ส่วน
ใหญ่แล้วผู้ป่ วยที่มีซีสมักจะเจ็บที่ก้อน ซึ่งผิดกับกลุ่มเนื้องอกหรือมะเร็ง ซึ่งมักจะไม่ค่อยเจ็บพบว่าร้อยละ
90 ของคน ที่เป็ นมะเร็งเต้านม ระยะเริ่มแรกจะมีแต่ก้อนไม่มีอาการเจ็บผู้หญิงหลายๆ คน มีความเข้าใจ
ผิดคิดว่าก้อนที่ไม่เจ็บคงไม่เป็ นไร และทิ้งไว้จนกระทั่งก้อนมะเร็งใหญ่โตขึ้นมากแล้วจึงรู้สึกเจ็บได้
สงสัยว่าเป็ นมะเร็งเมื่อไร
สังเกตถ้าก้อนที่เป็นมะเร็งเต้านมมักจะแข็งและขรุขระ แต่อาจเป็ นก้อนเรียบๆ ได้ อาการอื่น ๆ อาจพบ
ผิวหนังที่เต้านมบุ๋มลงไปคล้ายลักยิ้ม หรือมีรูปร่างของ
เต้านมผิดไปจากเดิม หรืออาจมีแผลที่หัวนมและรอบหัวนมหรือมีน้ำเหลืองหรือน้ำเลือดไหลออกจากหัวนม
บางรายคลำพบก้อนบริเวณรักแร้และนานๆ ครั้ง
จะพบมะเร็งเต้านมที่มีอาการบวมแดงคล้ายการอักเสบที่เต้านม นอกจากอาการผิดปกติที่เต้านมแล้ว การ
ตรวจเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม (Mammogram)
และ อัลตราซาวด์ (Ultrasound) ยังสามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมขนาดเล็ก ตั้งแต่ยังไม่มีอาการได้ โดย
อาจพบก้อนหรือจุดหินปูนในเนื้อเต้านมได้
ตรวจเลือดและยีน (gene) บอกได้ไหมว่าเป็ นมะเร็งเต้านม
การตรวจเลือดเพื่อหามะเร็งเต้านมนั้น มีความแม่นยำค่อนข้างต่ำ เนื่องจากผู้ที่เป็ นมะเร็งเต้านมจะพบผล
ตรวจเลือดเกี่ยวกับมะเร็ง เช่น CA153, CEA ผิดปกติ
น้อยกว่าร้อยละ 20 ขณะเดียวกันผู้ที่มีผลเลือดปกติ ก็อาจเป็ นมะเร็งเต้านมอยู่แล้วส่วนการตรวจยีน เช่น
gene BRCA1, BRCA2 ซึ่งจะมีความผิดปกติในมะเร็งเต้านมที่เป็ นกันทั้งครอบครัว หากตรวจพบก็ไม่ได้
หมายความว่า กำลังเป็ นมะเร็งอยู่เพียงแต่ทำให้รู้ว่าโอกาสจะพบมะเร็งเต้านมในคน ๆ นั้นมีมากกว่าคน
ทั่วไปและยีนดังกล่าวก็พบได้เพียงร้อยละ 5 – 10 ของผู้ป่ วยมะเร็งเต้านมทั้งหมด ดังนั้นหากตรวจยีนดัง
กล่าวแล้วปกติก็ยังมีสิทธิ์เป็ นมะเร็งเต้านมอยู่ไม่น้อย
รู้อย่างนี้แล้วกันไว้ดีกว่า…ด้วยการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็ นประจำ
พบแพทย์ตรวจเมื่อมีอาการสงสัย
อย่าปล่อยไว้เพราะไม่เจ็บ และตรวจแมมโมแกรมประจำปี ตั้งแต่อายุ 40 ปี ขึ้นไป

มะเร็งเต้านมเป็ นโรคร้ายที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่มีปัจจัยหนุนคือฮอร์โมนเอสโต


รเจน
ความจริงแล้วมะเร็งเต้านมมีหลายชนิด แต่ที่พบบ่อยที่สุดคือ ชนิดที่เกิดจากท่อน้ำนม เมื่อเซลล์มะเร็งแบ่ง
ตัวจนทะลุเนื้อเยื่อของท่อน้ำนมเข้าไปถึงท่อน้ำเหลืองหรือเส้นเลือดก็จะแพร่กระจายไปตามส่วนต่าง ๆ ของ
ร่างกาย เช่น กระดูก ตับ ปอด หรือสมอง
จุดเด่นของมะเร็งเต้านมคือ ไม่มีอาการให้ทรมาน ไม่เจ็บ ไม่ปวด มีเพียงก้อนเนื้อให้สัมผัสได้ แต่ไม่รู้สึก
หลายคนละเลยจนเข้าสู่ระยะลุกลาม ปล่อยทิ้งไว้จนเกิดอาการที่ตามมา เช่น เต้านมบวมผิดปกติ แตก เน่า
เป็นแผลแล้วค่อยไปพบแพทย์ ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้นก็ไม่สามารถรักษาให้หายได้แล้ว
ความเสี่ยงสูงในวัย 40
จากสถิติพบว่า อายุเฉลี่ยของคนไข้ที่พบมะเร็งเต้านมมากที่สุดคือ 40 ปี ขึ้นไป ซึ่งจริง ๆ แล้ว เซลล์
มะเร็งอาจจะก่อตัวก่อนหน้านั้น แต่เพิ่งมาตรวจพบในช่วงวัยดังกล่าว เพราะมะเร็งเต้านมค่อนข้างโตช้า
กว่าจะโตจากขนาด 1 เซนติเมตรไปสู่ 2 เซนติเมตรต้องใช้เวลาประมาณ 90 – 180 วัน ดังนั้นกว่าจะ
เปลี่ยนแปลงจากเซลล์เดียวจนมีขนาด 1 เซนติเมตรได้จึงต้องใช้เวลาเป็นปี แสดงว่าก่อนจะตรวจพบด้วย
ตัวเอง เซลล์มะเร็งอาจจะเริ่มก่อตัวแล้วก็เป็ นได้
ส่วนกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมคือ บุคคลที่มีญาติใกล้ชิดเป็ นมะเร็งเต้านมเกิน 2 คนขึ้นไป
เช่น แม่ พี่สาว หรือน้องสาว คนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงสูงกว่าคนอื่นถึง 10 เท่า และมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งเร็ว
ขึ้น ดังนั้นจึงต้องตรวจหาความผิดปกติด้วยตัวเองตั้งแต่เนิ่น ๆ รวมถึงตรวจด้วยเครื่องดิจิทัลแมมโมแกรม
(Digital Mammogram) และอัลตราซาวนด์ (Ultrasound)

ยิ่งพบเร็ว โอกาสหายยิ่งมาก
ปัจจัยที่ช่วยให้ผู้ป่ วยมะเร็งเต้านมมีโอกาสรักษาให้หายได้ มีอยู่ 2 ปัจจัยคือ ค้นพบให้เร็วและรักษาให้มี
คุณภาพ ด้วยความที่มะเร็งเต้านมเป็ นเซลล์มะเร็งที่เกิดกับอวัยวะภายนอก สามารถคลำหาได้ด้วยมือ ผู้
หญิงที่เป็ นมะเร็งเต้านมเกินกว่าร้อยละ 85 จึงมักจะมาพบแพทย์หลังจากคลำพบก้อนที่เต้านม แต่นั่นไม่ใช่
อาการเริ่มต้น เพราะกว่าจะคลำเจอต้องเป็นก้อนมะเร็งที่ใหญ่ไม่น้อยกว่า 1 เซนติเมตรไปแล้ว
ถ้าหากอยากพบเร็วกว่านั้น วิธีที่จะช่วยได้คือการตรวจด้วยเครื่องดิจิทัลแมมโมแกรม ซึ่งสามารถหา
เซลล์ที่ผิดปกติได้ตั้งแต่ขนาดเล็กระดับมิลลิเมตร เมื่อพบบริเวณก้อนเนื้อต้องสงสัยแล้วตรวจเพิ่มเติมด้วย
เครื่องอัลตราซาวนด์ร่วมกับการตรวจชิ้นเนื้อก็จะวินิจฉัยได้ว่าก้อนเนื้อนั้นเป็ นเซลล์มะเร็งหรือไม่
ถึงแม้ว่ามะเร็งเต้านมจะยังป้ องกันไม่ได้ แต่สามารถตรวจคัดกรองได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ ดังนั้นนอกจาก
ตรวจด้วยวิธีคลำด้วยตนเองแล้วควรให้แพทย์ตรวจทุก 3 – 5 ปี สำหรับผู้หญิงที่อายุ 40 ปี ขึ้นไปควรตรวจ
คัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรมและอัลตราซาวนด์ทุกปี หากคนในครอบครัวเป็ นมะเร็งอาจต้อง
ตรวจเร็วขึ้นตั้งแต่อายุ 35 ปี เพราะหากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จะทำให้ได้รับการรักษาได้อย่างทัน
ท่วงที และอาจจะไม่ต้องสูญเสียเต้านมไป

ระยะของมะเร็งเต้านม
ระยะของมะเร็งเต้านมแบ่งออกเป็ น
ระยะ 0
ระยะเริ่มต้นของเซลล์มะเร็ง ยังไม่ลุกลามไปยังเนื้อเยื่อของเต้านม เซลล์มะเร็งระยะ 0 รักษาหายได้
ระยะที่ 1
ก้อนมะเร็งมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตรและยังไม่ลุกลามถึงต่อมน้ำเหลือง
ระยะที่ 2
ก้อนมะเร็งมีขนาดระหว่าง 2 – 5 เซนติเมตรและเริ่มลุกลามไปสู่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ แต่ยังไม่แพร่
กระจายไปสู่อวัยวะอื่น
ระยะที่ 3
ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร ลุกลามเข้าไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้แล้ว แต่ก็ยังไม่แพร่
กระจายไปสู่อวัยวะอื่น
ระยะที่ 4
มะเร็งได้แพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่นเรียบร้อยแล้ว
หากตรวจพบตั้งแต่ระยะที่ 0 ซึ่งยังไม่มีก้อนมะเร็งจะสามารถรักษาให้หายได้ 100% แต่หากพบ
ก้อนมะเร็งที่ขนาดไม่ถึง 1 เซนติเมตร เปอร์เซ็นต์การรักษาหายจะลดลงเหลือ 98% และถ้าเข้าสู่
ระยะที่ 1 ที่ก้อนมะเร็งมีขนาด 1 – 2 เซนติเมตรแล้ว โอกาสหายจะเหลือเพียง 80% เท่านั้น เพราะ
ยิ่งก้อนมะเร็งใหญ่ขึ้น โอกาสที่เซลล์มะเร็งจะหลุดไปยังอวัยวะอื่นยิ่งมากขึ้น ดังนั้นยิ่งตรวจพบ
เร็ว ยิ่งมีโอกาสหายได้มากกว่า

ตัดเต้าทิ้งหรือผ่าตัดแบบสงวนเต้า รักษาแบบไหนเลือกได้
ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้า สามารถตรวจหาได้ว่า ใครเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมด้วยวิธีการตรวจทาง
พันธุกรรม (Genetic Testing) ซึ่งมักทำในกรณีที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความผิดปกติในครอบครัว ถ้าพบยีน
ผิดปกติ วินิจฉัยได้เลยว่าโอกาสเสี่ยงที่จะเป็ นมะเร็งเต้านมมีสูงถึง 80% และการผ่าตัดเพื่อป้ องกันการเกิด
มะเร็งเต้านมในกรณีนี้สามารถที่จะลดไม่ให้เกิดมะเร็งเต้านมได้ประมาณ 90%
สำหรับผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมระยะ 0 การรักษาด้วยการผ่าตัดมีโอกาสหายได้เกือบ 100% ในผู้หญิงที่
เป็นมะเร็งเต้านมระยะที่ 1 และก้อนมีขนาดน้อยกว่า 1 เซนติเมตร การผ่าตัดเพียงอย่างเดียวนั้นสามารถที่
จะรักษาให้หายได้ประมาณ 90%
การตรวจพบว่าเป็ นมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก สามารถเลือกได้ว่าจะผ่าตัดเฉพาะจุดที่เป็ นมะเร็ง (ผ่าตัด
แบบสงวนเต้าหรือตัดเฉพาะบางส่วน) หรือจะเลือกการผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด ถ้าเลือกการผ่าตัดแบบ
สงวนเต้าต้องทำควบคู่กับการฉายรังสีรักษาเต้านมที่เหลือ แต่ถ้าเลือกการผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมดไม่
จำเป็ นต้องรับการฉายรังสีรักษาหลังรับการผ่าตัด ซึ่งทั้งสองวิธีให้ผลการรักษาที่เหมือนกันคือ ผู้ป่ วยมี
โอกาสจะหายจากมะเร็งได้เกือบ 100% โดยไม่ต้องให้เคมีบำบัด
แต่หากพบมะเร็งเต้านมในระยะที่ใหญ่ขึ้น คือ ตั้งแต่ระยะที่ 1 ตอนปลาย เป็ นต้น ต้องผ่าตัดด้วยการรักษา
เต้านมออกทั้งหมด ทั้งยังต้องรักษาเสริมด้วยยาเคมีบำบัดและฮอร์โมน เพื่อลดโอกาสในการกลับมาเป็ นซ้ำ
ทั้งนี้เราจะทำให้เต้านมกลับสู่รูปร่างเดิมหรือใกล้เคียงด้วยการเสริมซิลิโคนหรือใช้กล้ามเนื้อส่วนอื่นมาสร้าง
เป็นเต้านมใหม่ ให้คนไข้สามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้อย่างมั่นใจ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และปราศจาก
ปมด้อยเกี่ยวกับหน้าอก

You might also like