Download as doc, pdf, or txt
Download as doc, pdf, or txt
You are on page 1of 5

สรุปย่อวิชาหนี้

อ.ปรเมศวร์
หนี้ คือ ภาระหน้าที่ของลูกหนี้ที่จะต้องปฏิบัติแก่เจ้าหนี้ ซึ่งมีทั้งการกระทำการ
การงดเว้นการกระทำการ และ การส่งมอบหรือโอนกรรมสิทธิ์ ให้แก่เจ้าหนี้
“หนี้” เป็นการพิจารณาจากด้านของลูกหนี้ แต่หากพิจารณาในด้านของเจ้าหนี้จะ
เรียกว่า “สิทธิเรียกร้อง”
บ่อเกิดแห่งหนี้มาจากการทำนิติกรรม การเกิดนิติเหตุ ความผิดตามความ
สัมพันธ์ตามนิติธรรมชาติ (ครอบครัว-มรดก) และภาระตามการปกครอง (ค่าภาษี-ค่า
ปรับ)

การปฏิบัติการชำระหนี้
- เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้อง (ม.๑๙๔)
- ถ้าไม่กำหนดชนิดของทรัพย์ที่ต้องชำระหนี้ ลูกหนี้ต้องส่งมอบทรัพย์ชนิดบาน
กลาง แต่ถ้าลูกหนี้ได้ส่งมอบทรัพย์หรือเจ้าหนี้แล้ว หรือเลือกชนิดทรัพย์ที่จะส่งมอบ
ด้วยความยินยอมของเจ้าหนี้ ให้ถือว่าทรัพย์ชนิดนั้นถูกกำหนดมาตั้งแต่ต้น (ม.๑๙๕)
- การชำระหนี้เป็นเงินต่างประเทศ ลูกหนี้สามารถชำระเป็นเงินไทยโดยคิดตาม
อัตราแลกเปลี่ยนขณะชำระ ณ สถานที่นั้น (ม.๑๙๖) แต่ถ้าเงินชนิดนั้นเลิกใช้แล้ว ให้
ถือว่าเงินชนิดนั้นไม่เคยระบุไว้เป็นสัญญา (ม.๑๙๗)
- ถ้าการชำระหนี้มีให้เลือกหลายอย่างซึ่งต้องชำระเพียงอย่างเดียว ลูกหนี้เป็นผู้มี
สิทธิเลือก เว้นแต่จะกำหนดให้เจ้าหนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือก(ม.๑๙๘) ผู้เลือกต้องต้องแสดง
เจตนาต่อคู่กรณี เมื่อเลือกแล้วให้ถือว่าเป็นการตกลงในการชำระหนี้มาตั้งแต่ต้น (ม.๑๙๙)
- ถ้ามีกำหนดเวลาให้เลือก ผู้มีสิทธิเลือกไม่เลือก สิทธิในการเลือกจะตกไปยังคู่กรณี
อีกฝ่ายหนึ่ง แต่ถ้าไม่กำหนดเวลาไว้ ฝ่ายที่ไม่มีเลือกต้องกำหนดเวลาให้ผู้มีสิทธิเลือกทำการ
เลือกในเวลาอันสมควร หากยังไม่เลือก ก็คู่สัญญาฝ่ายที่ไม่มีสิทธิเลือกเป็นผู้เลือก (ม.๒๐๐)
- ถ้าบุคคลภายนอกเป็ นผู้เลือก เมื่อเลือกแล้วให้แจ้งแก่ลูกหนี้ และลูกหนี้แจ้งให้เจ้า
หนี้ทราบว่าว่าเลือกชนิดใด ถ้าบุคคลภายนอกไม่เลือก ให้ลูกหนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือก (ม.๒๐๑)
- ถ้าการชำระหนี้มีหลายอย่าง ถ้าบางอย่างนั้นเป็นการพ้นวิสัยให้ชำระด้วยสิ่งที่ไม่
พ้นวิสัย (ม.๒๐๒)
การผิดนัดชำระหนี้
- กรณีมีกำหนดเวลาในการชำระหนี้ เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชำระ
ก่อนกำหนดเวลา แต่ลูกหนี้จะชำระก่อนกำหนดได้ แต่ถ้าไม่มีกำหนดเวลา เจ้าหนี้ต้อง
กำหนดเวลาให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน และเมื่อครบกำหนดเวลาแล้ว ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้
ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ (ม.๒๐๓, ๒๐๔) เว้นแต่มีพฤติการณ์ที่ไม่ใช่ความผิดของ
ลูกหนี้ซึ่งทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ตราบนั้นถือว่าลูกหนี้ยังไม่ผิดนัด (ม.๒๐
๕)
- หนี้ละเมิด ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิด (ม.๒๐๖)
- ลูกหนี้ขอปฏิบัติการชำระหนี้แล้วเจ้าหนี้ไม่รับชำระหนี้ เจ้าหนี้ไม่รับโดยไม่มี
เหตุตามกฎหมาย เจ้าหนี้ตกเป็ นผู้ผิดนัด (ม.๒๐๗)
- ในกรณีเจ้าหนี้ยังไม่รับชำระหนี้ เพราะเจ้าหนี้ยังต้องกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
ก่อน เมื่อลูกหนี้บอกกล่าวขอชำระหนี้ ถือว่าลูกหนี้ได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้แล้ว (ม.๒๐๘)
และถ้ากำหนดเวลาที่เจ้าหนี้ต้องกระทำการอย่างใดเป็นการแน่นอน ลูกหนี้จะขอปฏิบัติการ
ชำระหนี้ก็ต่อเมื่อถึงกำหนดเวลานั้น (ม.๒๐๙) กรณีนี้ถือว่าลูกหนี้ยังไม่ผิดนัด
- การชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนคู่กรณีต้องเสนอที่ทำการชำระหนี้ หากคู่กรณี
ไม่เสนอที่จะทำการชำระหนี้ถือคู่กรณีฝ่ ายนั้นผิดนัดชำระหนี้ (ม.๒๑๐)
- ในกรณีที่ลูกหนี้ขอปฏิบัติการชำระหนี้เมื่อหนี้ถึงกำหนด แต่ความจริงลูกหนี้ยังไม่
อยู่ในฐานะที่จะชำระหนี้ได้ กรณีถือว่าเจ้าหนี้ยังไม่ผิดนัด (ม.๒๑๑)
- ถ้ามิได้กำหนดเวลาชำระหนี้หรือลูกหนี้ขอชำระหนี้ก่อนกำหนด เจ้าหนี้มีเหตุ
ขัดข้องชั่วคราวไม่อาจรับชำระหนี้ได้ ไม่ถือว่าเจ้าหนี้ผิดนัด เว้นแต่ลูกหนี้จะบอกกล่าวล่วง
หน้าพอสมควร (ม.๒๑๒)
การบังคับชำระหนี้
- ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธินำคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อบังคับชำระหนี้ได้
(ม.๒๑๓) ในกรณีนี้สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องที่จะบังคับแก่ลูกหนี้กระทำการให้ได้ ศาลจะ
ให้บุคคลภายนอกทำแทนแล้วให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่าย หรือไม่สามารถบังคับให้ลูกหนี้ทำ
นิติกรรมได้ ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาแทน (ม.๒๑๓)
- เจ้าหนี้สามารถบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้โดยสิ้นเชิง เว้นแต่
ทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์ที่ติดจำนอง (ม. ๒๑๔) และทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่ง
การบังคับคดีตาม ป.วิแพ่ง มาตรา ๒๘๕, ๒๘๖

ค่าเสียหายที่ผู้ผิดนัดต้องรับผิดชอบนอกเหนือจากหนี้ที่ต้องชำระ
- เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ หากเกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ ลูกหนี้ต้องรับผิด
ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนด้วย (ม.๒๑๕) และในกรณีที่การชำระหนี้กลายเป็นการไร้
ประโยชน์แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้ไม่รับชำระหนี้ได้ และจะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะการไม่
ชำระหนี้ได้ด้วย (ม.๒๑๖)
- ลูกหนี้ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่เกิดจากความประมาท
เลินเล่อ หรือเพราะอุบัติเหตุอันเกิดในระหว่างผิดนัดจนทำให้การชำระหนี้กลายเป็นการพ้น
วิสัย เว้นแต่ถ้ามีการชำระหนี้ก็จะเกิดเหตุนั้นอยู่ดี (ม.๒๑๗) แต่ในกรณีที่การชำระหนี้กลาย
เป็นการพ้นวิสัย เพราะพฤติการณ์ที่ลูกต้องรับผิดชอบ ลูกหนี้ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน (ม.
๒๑๘) แต่ในกรณีที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยภายหลังที่ได้ก่อหนี้ หรือลูกหนี้กลายเป็น
ผู้ไม่สามารถชำระหนี้ และลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ ลูกหนี้หลุดพ้นจากการชำระหนี้ (ม.๒
๑๙)
- ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบในการกระทำของตัวแทนกับของบุคคลที่ตนใช้ในการชำระ
หนี้ และไม่สามารถยกเว้นความรับผิดไว้ล่วงหน้าตามมาตรา ๓๗๓ ได้ (ม.๒๒๐)
- กรณีเจ้าหนี้ผิดนัด ไม่อาจคิดดอกเบี้ยในหนี้ได้ (ม.๒๒๑)
- การเสียหาย และค่าทดแทนที่เรียกกันได้ต้องเป็นการเสียหาย และค่าทดแทนตาม
ปกติที่เกิดขึ้นได้ (ม.๒๒๒) และฝ่ายที่เสียหายมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วย ก็ต้องรับ
ผิดไปตามส่วนที่ก่อให้เกิด (ม.๒๒๓)
- ดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดคิดอัตราร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี เว้นแต่จะมีเหตุอื่นที่ชอบด้วย
กฎหมาย แต่คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยที่ผิดนัด(ดอกเบี้ยทบต้น) ส่วนค่าเสียหายอื่นต้องนำสืบ
พิสูจน์ให้ชัดเจน (ม.๒๒๔)
- การคิดดอกเบี้ยในค่าสินไหมทดแทนเพื่อราคาวัตถุอันเสียไปในระหว่างผิดนัดให้
คิดตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกะประมาณราคานั้นได้ (ม.๒๒๕)
-
การรับช่วงสิทธิ
- การรับช่วงสิทธิ คือ การที่บุคคลภายนอกที่มิใช่เจ้าหนี้เดิมเข้ารับสวมสิทธิของเจ้า
หนี้ (ม.๒๒๖) และในกรณีที่ลูกหนี้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ครบถ้วนแล้ว ลูกหนี้ย่อมเข้ารับช่วง
สิทธิจากเจ้าหนี้อันเกี่ยวกับทรัพย์หรือสิทธิ์นั้น (ม.๒๒๗)
- ในกรณีที่วัตถุแห่งการชำระหนี้เป็นพ้นวิสัย และลูกหนี้ได้ของมาแทนหรือได้ค่า
สินไหมทดแทนมา เจ้าหนี้จะเรียกเอาของหรือค่าสินไหมทดแทนก็ได้ และไม่เสียสิทธิที่เจ้า
หนี้จะเรียกจากลูกหนี้อีก แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินไปกว่าเจ้าหนี้จะได้รับ (ม.๒๒๘)
- การรับช่วงสิทธิตามกฎหมายจะสมบูรณ์ต่อเมื่อเจ้าหนี้เดิมได้รับชำระหนี้ครบเสีย
ก่อน บุคคลภายนอกจึงจะได้สิทธิของเจ้าหนี้มา (ม.๒๒๙, ๒๓๐)

การใช้สิทธิเรียกร้อง
- ถ้าลูกหนี้ขัดขืนหรือเพิกเฉย เจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องแทน เว้นแต่เป็นของลูก
หนี้ส่วนตัวโดยแท้ (ม.233) P126-127 ดูข้อสังเกต 128
- การใช้สิทธิเรียกร้องต้องฟ้ องศาลเรียกลูกหนี้ (ม.234 )
- เจ้าหนี้เรียกร้องได้เต็มจำนวนที่ยังค้างชำระ ถ้าจำเลย (ลูกหนี้ของลูกหนี้) ใช้
หนี้เท่าที่ลูกหนี้ค้างอยู่แก่เจ้าหนี้ คดีเป็นอันเลิก แต่ถ้าลูกหนี้เข้ามาเป็นโจทก์ในคดี
สามารถเรียกหนี้ทั้งหมดจากจำเลย (ม.235) P132 ข้อต่อสู้ของจำเลยที่มีต่อลูกหนี้ ใช้
ต่อสู้เจ้าหนี้ได้ (ม.236)
การเพิกถอนการฉ้อฉล
- ถ้าลูกหนี้ทำนิติกรรม เป็นเหตุให้เจ้าหนี้เสียเปรียบที่จะไม่ได้รับชำระหนี้ เจ้า
หนี้ขอเพิกถอนได้ถ้าบุคคลภายนอกรับรู้อยู่ด้วย แต่ถ้าบุคคลภายนอกกระทำโดยสุจริตก็
เพิกถอนไม่ได้ ยกเว้นการให้โดยเสน่หา (ม.237) แต่การเพิกถอนไม่กระทบสิทธิ
บุคคลภายนอก (ม.238) P145 เมื่อเพิกถอนแล้วเจ้าหนี้ทุกคนย่อมได้ประโยชน์ (
ม.239)
- การฟ้ องขอเพิกถอนต้องทำภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ได้รู้ต้นเหตุอัน
เป็นมูลเหตุ แต่ต้องไม่เกิน 10 ปี นับแต่เกิดเหตุ (ม.240)

ลูกหนี้และเจ้าหนี้หลายคน
- การชำระหนี้หรือได้รับชำระหนี้ของลูกหนี้หรือเจ้าหนี้หลายคนให้ถือว่าทุกคนต้องชำระ
หรือได้รับเท่ากัน (ม.290)
- ลูกหนี้ร่วมแต่ละคนอาจชำระหนี้โดยสิ้นเชิง หรือเจ้าหนี้จะเรียกจากคนใดคนหนึ่งก็ได้
(ม.291) เมื่อลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งชำระ ย่อมเป็นประโยชน์แก่ทุกคน ในกรณีลูกหนี้ร่วม
คนใดทำให้เสียประโยชน์ ไม่กระทบกระเทือนถึงลูกหนี้ร่วมคนอื่น (ม.292)
- การปลดหนี้ให้ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่งย่อมเป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้ร่วมคนอื่นด้วย (ม.293)
และเจ้าหนี้ร่วมผิดนัดแก่ลูกหนี้ร่วมคนหนึ่ง ย่อมเป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้ร่วมคนอื่นด้วย
(ม.294) ในกรณีที่เรื่องใดเป็นคุณและโทษแก่ลูกหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่ง ให้เป็นโทษ
เฉพาะลูกหนี้ร่วมคนนั้น P157 ดูคำอธิบาย
- ลูกหนี้ร่วมต้องรับผิดเท่ากัน เว้นแต่จะกำหนดเป็นอย่างอื่น (ม.296) และลูกหนี้ร่วมอาจ
ต้องชำระหนี้แทนกัน (ม.297)
- เจ้าหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่งมีสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้จากลูกหนี้ได้ (ม.298) ถ้าเจ้าหนี้ร่วม
คนหนึ่งผิดนัดย่อมจะเป็นโทษแก่เจ้าหนี้อื่นด้วย (ม.299) P167 คำถามท้ายมาตรา
โอนสิทธิเรียกร้อง
- หลักสิทธิเรียกร้องโอนได้เว้นแต่สภาพแห่งสิทธิจะไม่เปิดช่อง( ม.303 ) หรือสิทธิเรียก
ร้องนั้นศาลสั่งยึดไม่ได้ (ม.304)
- สิทธิเรียกร้องถ้ามีสิทธิจำนอง จำนำ หรือค้ำประกันติดอยู่ ย่อมติดไปกับสิทธิเรียกร้องนั้น
ด้วย (ม.305)
- การชำระหนี้เจาะจงแก่เจ้าหนี้โอนสิทธิเรียกร้องได้ต่อเมื่อทำเป็นหนังสือ ระหว่างเจ้าหนี้กับ
ผู้รับโอน และต้องบอกกล่าวให้ลูกหนี้ทราบเป็นหนังสือ (ม.306) ในกรณีมีการโอน
หลายราย รายใดบอกกล่าวก่อน ย่อมมีสิทธิดีกว่า (ม.307)
- ถ้าลูกหนี้ทราบคำบอกกล่าวโดยมิได้อิดเอื้อน จะยกข้อต่อสู้ ไม่ต้องชำระหนี้ไม่ได้ แต่ถ้าได้
ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้เดิมก็สามารถเรียกคืนได้ (ม.308) P180 บรรทัดที่ 8 และ 24
- การโอนสิทธิที่มีตราสาร (หนี้) จะต้องมีการสลักหลัง (ม.309) ลูกหนี้มีสิทธิที่จะ
สอบสวนตราสารเพื่อดูความถูกต้องก่อนชำระหนี้ แต่ถ้าลูกหนี้ทุจริตหรือประมาทในการ
ตรวจสอบรับชำระหนี้ไป ถือว่าหนี้นั้นไม่มีผล (ม.310) ถ้าในตราสารระบุตัวเจ้าหนี้
ผู้ทรงสารก็ดี ลูกหนี้ก็มีสิทธิสอบสวนด้วย (ม.311) และลูกหนี้ไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ที่มี
ต่อเจ้าหนี้เดิมเป็นข้อต่อสู้กับผู้รับโอนโดยสุจริตไม่ได้ (ม.312) และให้ใช้บังคับแก่
ตราสารที่ระบุว่าต้องชำระแก่ผู้ถือด้วย ลูกหนี้ก็มีสิทธิสอบสวนด้วยเหมือนกัน

You might also like