Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 41

การป้องกัน

โดยชอบด้วยกฎหมาย
เเละ โครงสร้างความรับผิดทางอาญา
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 68

ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของ
ผู้อื่น ให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อ
กฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่
เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้น
ไม่มีความผิด
กฎหมายอาญา
กฎหมายอาญา ภาคทั่วไป
กฎหมายอาญา ภาคความผิด
*คำอธิบายกฎหมายอาญาภาค ๑
บทบัญญัติทั่วไป
: ดร.เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์
โครงสร้างความรับผิดทางอาญา
1.การกระทำครบองค์ 2.การกระทำที่ไม่มี 3.การกระทำที่ไม่มี เหตุลดโทษ
ประกอบที่กฎหมาย กฎหมายยกเว้นความ กฎหมายยกเว้นโทษ
บัญญัติ ผิด
1.1 มีการกระทำ กฎหมายให้อำนาจในการกระทำ การกระทำนั้นเป็นความผิด บุคคลนั้นกระทำความ
1.2 การกระทำครบองค์ประกอบ การกระทำนั้นจึงไม่เป็นความผิด เเต่กฎหมายยกเว้นโทษ ผิดเเละต้องรับโทษ เเต่
ภายนอกของความผิดในเรื่อง ศาลอาจใช้ดุลพินิจใน
นั้นๆ การลดโทษ ทำให้ผู้นั้น
1.3 การกระทำครบองค์ประกอบ ต้องรับโทษน้อยลง
ภายในของความผิดในเรื่องนั้นๆ เพิ่มเติม : โทษทางอาญา มีทั้งสิ้นกี่สถาน ?
1.4 ผลของการกระทำสัมพันธ์กับ
ก.4 ข.5 ค.6 ง.7
การกระทำ
คำถาม :
1. ในขณะนอนหลับ นาย ก. ละเมอโดยขาดสติ ใช้มือฟาดไปที่หน้าของ
นาย ข. จนได้รับบาดเจ็บ การกระทำของนาย ก.มีความผิดทางอาญา
หรือไม่
ก. ผิด ข. ไม่ผิด
2. นาย ค. เเละนาง ง. เป็นสามี-ภริยา จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย
วันหนึ่ง นาย ค. ได้ขโมยเงินส่วนตัวของนาง ง. ไป การกระทำของนาย
ก.มีความผิดทางอาญาหรือไม่
ก. ไม่ผิด ข. ผิด เเต่ไม่ต้องรับโทษ
ค. ผิด เเละต้องรับโทษ ง. ผิด เเต่มีมีเหตุลดโทษ
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
: โครงสร้างข้อที่ 2 เหตุยกเว้นความผิด
เหตุผลเพราะกฎหมายยอมรับความจริงที่ว่า รัฐไม่สามารถให้ความคุ้ม
ครองเเก่ประชาชนได้อย่างทันท่วงทีในทุกกรณี จึงจำเป็นต้องให้อำนาจเเก่
ประชาชนผู้บริสุทธิ์ในการขจัดปัดเป่าภยันตรายซึ่งกำลังจะมาถึงด้วยการใช้สิทธิ
ในการป้องกัน ,อุททิศ เเสนโกศิก, กฎหมายอาญาภาค 1, น.115
การใช้สิทธิป้องกัน คือ "การใช้บังคับกฎหมายด้วยตนเองประการหนึ่ง"
/ Self-defense is a type of enforcement of the law ,Johannes
Andenæs The General Part of the Criminal Law of Norway, p.153
หลักเกณฑ์ในการอ้าง
ป้องกันโดยชอบ
ประมวลกฎหมายอาญา

ด้วยกฎหมาย
ตาม ป.อ.มาตรา 68
ก า ร อ้ า ง ป้ อ ง กั น เ ป็ น เ ห ตุ ย ก เ ว้ น ค ว า ม ผิ ด
มาตรา 68
ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่น ให้
พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็น
ภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็น
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด

หลักเกณฑ์ในการพิจารณา
1. มีภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย
2. ภยันตรายนั้นใกล้จะถึง
3. ผู้กระทำจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิ ของตนเองหรือผู้อื่น ให้พ้นภยันตรายนั้น
4. การกระทำโดยป้องกันสิทธินั้นไม่เกินขอบเขต
หลักเกณฑ์ในการพิจารณา
มีภยันตราย
1. มีภยันตราย
เป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการ
ซึ่งเกิดจากการประทุษร้าย ประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย
อันละเมิดต่อกฎหมาย ละเมิดต่อกฎหมาย
1. มีภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย
มีภยันตราย
หมายถึง ภัยที่เป็นความเสียหายต่อ ชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ
ชื่อเสียง ทรัพย์สิน ฯลฯ ซึ่งเป็นสิทธิของบุคคล
ไม่มีภยันตราย
ฎีกาที่ 5664/2540 ยังไม่มีพฤติการณ์ที่จะส่อว่าผู้ตายจะชักปืนออกมายิง
ทำร้ายจำเลยและไม่ปรากฎว่าผู้ตายมีอาวุธปืน จึงถือว่ายังไม่มีภยันตรายที่จำเลยจำ
ต้องป้องกันแต่อย่างใด
ฎีกาที่ 5664/2540
ก่อนเกิดเหตุผู้ตายเข้ามาต่อว่าและตบหน้าจำเลย จำเลยโมโหจึงชักปืนยิงผู้
ตาย 3 นัด ซึ่งในขณะเกิดเหตุมีผู้อยู่ในเหตุการณ์เพียง 3 คน คือ อ. พยานโจทก์
จำเลย และผู้ตาย อ. ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยหรือผู้ตายมาก่อน จึงเป็นพยาน
คนกลาง พยานปากนี้จึงมีน้ำหนักมาก ยิ่งกว่านั้นเมื่อพิจารณาคำเบิกความของ
จำเลยแล้ว จำเลยเพียงแต่เกรงว่าผู้ตายจะชักปืนออกมายิงทั้งที่ยังไม่พฤติการณ์ที่จะ
ส่อว่าผู้ตายจะชักปืนออกมายิงทำร้ายจำเลยและไม่ปรากฎว่าผู้ตายมีอาวุธปืนจึง
ถือว่ายังไม่มีภยันตรายที่จำเลยจำต้องป้องกันแต่อย่างใดการกระทำของจำเลยจึงไม่
เป็นการป้องกันตามกฎหมาย
1. มีภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย
เป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย
หมายถึง ผู้ก่อภยันตรายนั้น ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะ
กระทำได้

ฎีกาที่ 6884/2543 จำเลยยอมรับว่าได้ใช้อาวุธปืนยิงในหมู่บ้านโดยใช่เหตุ อัน


เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย การที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจะเข้า
จับกุมจำเลย จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย
คำถาม :
1. นาย ก. เห็นว่านาย ข. ใส่สร้อยทอง นาย ก.จึงเเอบเดินเข้าไปหวังจะ
กระชากสร้อยทองดังกล่าว นาย ข. รู้ตัว จึงปัดไปที่มือของนาย ก. ได้
รับบาดเจ็บ นาย ข. จะอ้างว่าเป็นการกระทำโดยป้องกัน ได้หรือไม่
ก. ได้ เพราะ เป็นเเก้เเค้นที่นาย ก.จะกระชากสร้อยของตน
ข. ได้ เพราะ มีภยันตรายเกิดกับทรัพย์ของนาย ข. เเละภยันตรายนั้น
ละเมิดต่อกฎหมาย
ค. ไม่ได้ เพราะ ยังไม่มีภยันตรายเกิดขึ้นกับนาย ข.
ง. ไม่ได้ เพราะ สร้อยคอเป็นของ นาย ก.
1. มีภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย
ละเมิดต่อกฎหมาย
อาจจะเป็นได้ทั้ง กฎหมายเเพ่ง หรือกฎหมายอาญา ก็ได้
เช่น กรณี เป็นชู้กับภริยาของผู้อื่น (กฎหมายเเพ่ง)

ฎีกาที่ 378/2479*** ชายพบภริยาของตนกำลังร่วมประเวณีทำชู้กับชายอื่นจึงฆ่า


ภริยาและชายชู้ตายทั้งสองคนนั้นทันที เช่นนี้ ถือว่าเป็นการป้องกันเกียรติยศและ
ชื่อเสียง พอสมควรแก่เหตุ ไม่มีโทษ เทียบฎีกาที่ 3955/2847 เเละ 3861/2547***
ข้อสังเกต การอ้างป้องกันกรณีชู้
ต้องกรณีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย (/สามี) ฎีกาที่
249/2515
ต้องกระทำการป้องกัน ในขณะที่เกิดการร่วมประเวณี
ฎีกาที่ 378/2479 3861/2547

ข้อสังเกต การข่มเหงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม ตามมาตรา 72


ไม่จำเป็นต้องถึงขั้นผิดกฎหมาย
ฎีกาที่ 249/2515
จำเลยเห็นผู้ตายกำลังชำเราภริยาจำเลยในห้องนอน แม้ภริยาจำเลยจะมิใช่
ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็อยู่กินกันมา 13 ปี และเกิดบุตรด้วยกัน 6 คน
จำเลยย่อมมีความรักและหวงแหน การที่จำเลยใช้มีดพับเล็กที่หามาได้ในทันทีทันใด
แทงผู้ตาย 2 ที และแทงภริยา 1 ที ถือว่า จำเลยกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ

ข้อสังเกต การข่มเหงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม ตามมาตรา 72


ไม่จำเป็นต้องถึงขั้นผิดกฎหมาย
ฎีกาที่ 378/2479 ***
คดีได้ความตามข้อเท็จจริงว่าคืนวันเกิดเหตุจำเลยไปอาบน้ำเพื่อทำงาน ครั้นกลับมาไม่พบภรรยา
ได้เที่ยวตามหา ไปพบภรรยาตนกำลังนอนร่วมประเวณีกับผู้ตายในมุ้ง จึงคว้ามีดที่วางอยู่ปลายตีนมุ้ง
แล้วโถมเข้าคร่อมผู้ตายทั้งสองจนมุ้งชายคลุมผู้ตายทั้งสองไว้ แล้วจำเลยก็แทงด้วยมีดไม่เลือก
จนภรรยา และชายชู้ถึงแก่ความตายทั้งสองคน
ศาลฎีกาตัดสินว่าการที่ภรรยานอกใจสามีโดยไปกระทำชู้ด้วยผู้อื่น ย่อมแสดงให้เห็นว่าภรรยาได้
ร่วมมือกับชายชู้ทำลายเกียรติยศของสามี การที่ภรรยาทำชู้ย่อมถือกันว่าเป็นการเสื่อมเสียเกียรติยศ
ของชายอย่างร้ายแรง และการทำชู้ของภรรยานั้นจะสำเร็จได้ก็ต้องมีฝ่ายชายชู้มาร่วมมือด้วย ฉะนั้น
ทั้งชายชู้และภรรยาต่างได้ชื่อว่าก่อการทำชู้ขึ้น เป็นการเสื่อมเสียเกียรติยศของชายผู้เป็นสามี เมื่อ
จำเลยฆ่าผู้ตามทั้งสองตายในขณะร่วมประเวณีกันอยู่ จึงไม่มีโทษตามมาตรา 50 (กฎหมายเก่า) เพราะ
ได้ชื่อว่าเป็นการป้องกันเกียรติยศพอสมควรแก่เหตุให้ปล่อยจำเลยไป
ฎีกาที่ 3861/2547
แม้จำเลยเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ต. มีสิทธิป้องกันมิให้หญิงอื่นมามีความสัมพันธ์ฉัน
ชู้สาวกับสามีของตน แต่ขณะจำเลยพบโจทก์ร่วมนั้น โจทก์ร่วมกำลังนอนหลับอยู่กับ ต. เท่านั้น มิได้
กำลังร่วมประเวณีกัน พฤติการณ์เช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่ามีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิด
ต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง อันจำเลยจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของจำเลยแต่อย่าง
ใด การกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่การที่โจทก์ร่วมเข้าไปนอน
หลับอยู่กับ ต. สามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่เตียงนอนในฟาร์มเลี้ยงไก่ของ ต. เช่นนี้นับได้ว่า
เป็นการกระทำที่ข่มเหงจิตใจของจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม เมื่อจำเลยพบเห็นโดย
บังเอิญมิได้คาดคิดมาก่อนและไม่สามารถอดกลั้นโทสะไว้ได้ ใช้มีดฟันศีรษะโจทก์ร่วมไปในทันทีทันใด
การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ ตาม ป.อ. มาตรา 72 หาใช่เป็นการป้องกัน
โดยชอบด้วยกฎหมายดังที่จำเลยฎีกาไม่
ข้อพิจารณาเพิ่มเติม
ผู้ที่อ้างป้องกันได้ จะต้องไม่มีส่วนผิดในการก่อให้เกิดภยันตราย
เช่น
ผู้ที่ก่อภัยขึ้นในตอนเเรก ฎีกาที่ 2154/2519
ผู้ที่สมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้
ผู้ที่ยินยอมให้ผู้อื่นกระทำต่อตนเองโดยสมัครใจ
ผู้ที่ยั่วยุให้ผู้อื่นโกรธ
ฎีกาที่ 1665/2543
" การป้องกันโดยชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68
ต้องเป็นกรณีที่ผู้กระทำถูกกระทำฝ่ายเดียวก่อนจึงได้กระทำไป
เพื่อป้องกันสิทธิของตนเอง "
ฎีกาที่ 2154/2519
จำเลยกับพวกอีกคนหนึ่งเขามากลุ้มรุมชกต่อยผู้เสียหายกับพวกที่ใต้ถุนเรือนแล้วออกวิ่ง
หนี ผู้เสียหายกับพวกไล่ตามไป จำเลยใช้ปืนยิงผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยไม่เป็นการ
ป้องกัน เพราะจำเลยกับพวกเป็นฝ่ายก่อเรื่องก่อน การที่ผู้เสียหายกับพวกไล่ตามจำเลยไป
แล้วจำเลยยิงผู้เสียหาย เป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องจากการกระทำผิดครั้งแรกของจำเลยกับ
พวกยังไม่ขาดตอน
คำถาม สมมติถ้าผู้เสียหายวิ่งตามจำเลยทัน เเล้วทำร้ายจำเลย "
ผู้เสียหาย " จะสามารถอ้างป้องกันได้หรือไม่ ?
เทียบ ฎีกาที่ 2520/2529
ฎีกาที่ 2520/2529
จำเลยกับผู้ตายทะเลาะวิวาทกันจนชกต่อยกอดปล้ำกัน จำเลยไม่มีอาวุธเมื่อมีคนห้าม
จำเลยก็หยุดวิวาทกับผู้ตาย ผู้ตายวิ่งไปหยิบไม้มา จำเลยก็วิ่งหนีไปบนกุฎิของส.แสดงว่า
จำเลยไม่มีเจตนาที่จะวิวาทกับผู้ตายอีกแล้ว การที่ผู้ตายถือไม้ลูกกรงขนาดหน้าตัดกว้าง
5 ซม. ยาว 1 ม. ไล่ตีจำเลยขึ้นไปบนกุฎิ ส. ไม่เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกับการวิวาทครั้ง
แรก แต่ถือได้ว่าผู้ตายเป็นผู้ก่อเหตุขึ้นใหม่ที่จะทำร้ายจำเลย จำเลยจึงมีสิทธิที่จะกระทำ
เพื่อป้องกันตนเองให้พ้นจากการประทุษร้ายของผู้ตาย ไม้ที่ผู้ตายใช้ตีสามารถทำให้จำเลย
ตายได้ การที่จำเลยใช้มีดปอกผลไม้ที่พบอยู่ในที่เกิดเหตุแทงผู้ตายเพียงครั้งเดียว ในขณะที่
ผู้ตายทำร้ายอันเป็นการฉุกเฉินจำเลยย่อมไม่มีโอกาสไตร่ตรองว่าจะถูกอวัยวะสำคัญหรือไม่
จึงเป็นการกระทำป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ จำเลยไม่มีความผิดตาม ป.อ. ม.288
สรุป :
หลักเกณฑ์ในการพิจารณา
1. มีภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อ
กฎหมาย
2. ภยันตรายนั้นใกล้จะถึง
3. ผู้กระทำจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิ ของตนเองหรือผู้อื่น
ให้พ้นภยันตรายนั้น
4. การกระทำโดยป้องกันสิทธินั้นไม่เกินขอบเขต
หลักเกณฑ์ในการพิจารณา ภยันตรายนั้นใกล้จะถึง
2.ภยันตรายนั้นใกล้จะถึง ช่วงระยะเวลาในการใช้สิทธิ
ป้องกัน
2.ภยันตรายนั้นใกล้จะถึง
ภยันตรายนั้นใกล้จะถึง
หมายถึง การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายจะต้องเป็นการ
กระทำต่อภยันตรายที่ใกล้จะถึง
ช่วงระยะเวลาในการใช้สิทธิป้องกัน
เริ่มตั้งเเต่ ภยันตรายนั้นใกล้จะถึง รวมถึงเมื่อภยันตรายนั้นได้
มาถึงตัวผู้รับภัย ตลอดจนก่อนที่ภยันตรายนั้นสิ้นสุดลง

" หากไม่มีภยันตราย หรือภยันตรายได้ผ่านพ้นไปเเล้ว ย่อมไม่


สามารถอ้างป้องกันได้ "
คำถาม :
1. บนท้องถนน นาย ก. ได้ใช้มือทุบไปที่รถของ ข. เเล้วด่าทอด้วยถ้อยคำ
หยาบคาย ทำให้นาย ข.อารมณ์เสีย หงุดหงิดตลอดทั้งวัน ในเวลาต่อมา
นาย ข.ได้พบนาย ก. โดยบังเอิญ จึงวิ่งปรีเข้าไปชกนาย ก. จนบาดเจ็บ
เเละให้เหตุผลว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ข้ออ้างของนาย
ข. เป็นไปโดยชอบตามกฎหมายที่ท่านได้ศึกษามาหรือไม่ เพราะเหตุใด
ก. ถูกต้อง เพราะ เปิดก่อนได้เปรียบ
ข. ถูกต้อง เพราะ เป็นการกระทำต่อผู้ก่อภัย
ค. ถูกต้อง เพราะ เป็นการป้องกันต่อศักดิ์ศรีและ เกียรติยศ
ง. ไม่ถูกต้อง เพราะ ภยันตรายได้ผ่านพ้นไปเเล้ว
สรุป :
หลักเกณฑ์ในการพิจารณา
1. มีภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อ
กฎหมาย
2. ภยันตรายนั้นใกล้จะถึง (ใกล้จะถึง ถึงเเล้ว ยังไม่ขาดตอน)
3. ผู้กระทำจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิ ของตนเองหรือผู้อื่น
ให้พ้นภยันตรายนั้น
4. การกระทำโดยป้องกันสิทธินั้นไม่เกินขอบเขต
หลักเกณฑ์ในการพิจารณา เจตนาพิเศษ
3.ผู้กระทำจำต้องกระทำเพื่อ เป็นการกระทำโดยป้องกัน
ป้องกันสิทธิ ของตนเองหรือ ต่อผู้ก่อภัย เท่านั้น
ผู้อื่น ให้พ้นภยันตรายนั้น การป้องกันสิทธิของตนเอง
หรือ ของผู้อื่น
3.ผู้กระทำจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิ ของตนเองหรือผู้อื่น ให้พ้นภยันตรายนั้น
เจตนาพิเศษ
การกระทำที่จะอ้างป้องกันได้นั้น จะต้องเป็นการกระทำโดยมี
เจตนาพิเศษ(มูลเหตุจูงใจ) เพื่อป้องกันสิทธิของตนเองหรือผู้อื่น
เป็นการกระทำโดยป้องกัน ต่อผู้ก่อภัย เท่านั้น
การป้องกันสิทธิของตนเอง หรือ ของผู้อื่น
ทั้งนี้เอง จะต้องเป็นกรณีที่ตนเองมีสิทธิป้องกัน หรือผู้อื่น
นั้นมีสิทธิที่จะป้องกันตนเองได้อยู่เเล้ว ผู้กระทำจึงป้องกันเเทนผู้
อื่นได้ ฎีกาที่ 5698/2537***
ฎีกาที่ 5698/2537
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบิดาของจำเลยที่ 2 ได้สมัครใจวิวาทชกต่อยกับผู้เสียหาย จำเลยที่ 2
เข้าห้ามปรามมิให้ผู้เสียหายทำร้ายร่างกายจำเลยที่ 1 ผู้เสียหายกลับชกต่อยและเตะจำเลย
ที่ 2 จนเซไป แม้ ผู้เสียหายจะหวนกลับไปทำร้ายร่างกายจำเลยที่ 1 อีก ก็เป็นเหตุการณ์ที่
เกิดขึ้นต่อเนื่องในขณะที่วิวาทกัน จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิที่จะใช้เก้าอี้ตีผู้เสียหายเพื่อ
ป้องกันจำเลยที่ 1 ได้ ทั้งไม่อาจอ้างได้ว่าจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนเองด้วย
เพราะภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายที่เกิดแก่จำเลยที่ 2 เอง
คือ การถูกผู้เสียหายชกต่อยและเตะจนเซไปได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้
กระทำโดยบันดาลโทสะเพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรมตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 72
สรุป :
หลักเกณฑ์ในการพิจารณา
1. มีภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อ
กฎหมาย
2. ภยันตรายนั้นใกล้จะถึง
3. ผู้กระทำจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิ ของตนเองหรือผู้อื่น
ให้พ้นภยันตรายนั้น (มีเจตนาพิเศษ เพื่อป้องกันสิทธิของ
ตนเอง/ผู้อื่น เเละกระทำต่อผู้ก่อภัย)
4. การกระทำโดยป้องกันสิทธินั้นไม่เกินขอบเขต
หลักเกณฑ์ในการพิจารณา
4.การกระทำโดยป้องกันสิทธิ การป้องกันเกินสมควรเเก่เหตุ
การป้องกันเกินกว่ากรณีเเห่ง
นั้นไม่เกินขอบเขต
การจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน
(มาตรา 69)
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 69

ในกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 67 และมาตรา 68 นั้น ถ้าผู้


กระทำได้กระทำไปเกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งความ
จำเป็นหรือเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน ศาลจะ
ลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใด
ก็ได้ แต่ถ้าการกระทำนั้นเกิดขึ้นจากความตื่นเต้น ความตกใจ
หรือความกลัว ศาลจะไม่ลงโทษผู้กระทำก็ได้
4.การกระทำโดยป้องกันสิทธินั้นไม่เกินขอบเขต
การป้องกันเกินสมควรเเก่เหตุ
พิจารณา 2 ประการ ได้เเก่
1. ผู้ป้องกันได้กระทำการป้องกันสิทธิของตนเอง หรือของผู้อื่นให้พ้น
ภยันตรายนั้นด้วย วิถีทางที่น้อยที่สุด
หมายความว่า ผู้กระทำจะต้องใช้มาตรการขั้นต่ำสุด ในการกระทำ
เพื่อให้พ้นภัย ซึ่งหากไม่ใช้มาตราการดังกล่าวเเล้วก็จะไม่มีทางพ้น
ภยันตรายนั้นได้ หากมีวิธีการหลายอย่างในอันที่จะทำให้พ้นภยันตราย
ต้องใช้วิธีการที่ก่ออันตรายเเก่ผู้ก่อภัยน้อยที่สุด ฎีกาที่ 555/2530
2.ผู้ป้องกันได้กระทำการป้องกันโดยได้สัดส่วนกับภยันตราย
พิจารณาข้อเท็จจริงเป็นรายกรณี เช่น ไม้-ปืน รูปร่าง-การ
ป้องกัน ฎีกาที่ 2714/2528** เทียบ 2388/2537
ฎีกาที่ 2714/2528
ผู้เสียหายอายุ 18 ปี ส่วนจำเลยอายุ 16 ปี ผู้เสียหายรูปร่างล่ำสัน และมีลักษณะเป็น
ผู้ใหญ่กว่าจำเลย ผู้เสียหายเป็นฝ่ายก่อเรื่องโดยตบศีรษะจำเลย จำเลยจึงตบหลังตอบแล้ว
เข้ากอดกัน ผู้เสียหายชกและขึ้นเข่าที่ท้องหลายที จำเลยจึงใช้เหล็กตะไบสามเหลี่ยมที่มี
ติดตัวแทงถูกที่ชายโครงผู้เสียหาย 1 ทีในขณะกำลังถูกผู้เสียหายทำร้ายติดพันอยู่
ดังนี้เป็นเรื่องที่จำเลยจำเป็นต้องป้องกันตัวให้พ้นจากภยันตราย ที่ผู้เสียหายเป็นฝ่ายก่อ
ขึ้นการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ ไม่เป็นความผิด
ฎีกาที่ 2388/2537
โดยจำเลยที่ 1 เป็นหญิง ส่วนโจทก์ร่วมเป็นชายมีรูปร่างใหญ่กว่าจำเลยที่ 1 มาก ไม่มี
หนทางที่จะต่อสู้ได้จำเลยที่ 1 จึงใช้มีดซึ่งอยู่ในถุงย่ามที่สะพายติดตัวมาแทงโจทก์ร่วมเพื่อ
มิให้โจทก์ร่วมทำร้ายจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนให้พ้น
ภยันตรายซึ่งเกิดจากการที่ถูกโจทก์ร่วมประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็น
ภยันตรายที่ใกล้จะถึง แต่การที่จำเลยที่ 1 ใช้มีดแทงโจทก์ร่วมถึง 3 ครั้ง ตรงอวัยวะที่
สำคัญของร่างกาย จึงเป็นการกระทำที่เกินสมควรแก่เหตุ
4.การกระทำโดยป้องกันสิทธินั้นไม่เกินขอบเขต
การป้องกันเกินกว่ากรณีเเห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน
เป็นการกระทำโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อป้องกันสิทธิต่อภยันตรายที่ยังอยู่
ห่างไกล หรือต่อภยันตรายที่ผ่านพ้นไปเเล้ว

ฎีกาที่ 782/2520 การที่จำเลยยิงผู้เสียหายโดยเหตุที่ผู้เสียหายลักแตง 2-3 ใบราคาเล็ก


น้อย กระสุนถูกที่สำคัญตรงหน้าอก ย่อมเล็งเห็นได้ว่ามีเจตนาจะฆ่า จึงเป็นการกระทำที่เกิน
กว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน
ฎีกาที่ 1407/2537 การถูกตีอย่างแรงเช่นนี้เพียงครั้งเดียวผู้ตายก็ไม่อาจจะทำร้ายจำเลย
ได้ต่อไป การที่จำเลยตีซ้ำอีกจึงเป็นการกระทำเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน
การป้องกันเกินขอบเขต ไม่ว่าจะ
เป็นการป้องกันเกินสมควรเเก่เหตุ หรือ
เหตุลดโทษ เกินกว่ากรณีเเห่งการจำต้องกระทำเพื่อ
ผลของการกระทำป้องกัน ป้องกันผล ผู้กระทำมีความผิด
เกินของเขต เนื่องจากไม่ใช่การป้องกันโดยชอบ
มาตรา 69 เหตุลดโทษ ด้วยกฎหมาย
เเต่เป็นเหตุลดโทษ ซึ่งเป็นดุลพินิจ
ของศาลที่จะลดโทษให้หรือไม่ลงโทษ
เลยหรืออาจจะไม่ลดโทษให้เลยก็ได้
ความผิดอาญาบางประเภท
ความยินยอม หากผู้เสียหายยินยอมให้กระทำ
โดยบริสุทธิ์ใจ
เป็นเหตุยกเว้นความผิด
การกระทำนั้นย่อมไม่เป็นความผิด
สรุป :
หลักเกณฑ์ในการพิจารณา
1. มีภยันตราย ซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อ
กฎหมาย
2. ภยันตรายนั้นใกล้จะถึง
3. ผู้กระทำจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิ ของตนเองหรือผู้อื่น
ให้พ้นภยันตรายนั้น
4. การกระทำโดยป้องกันสิทธินั้นไม่เกินขอบเขต
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
1.มีภยันตราย ซึ่งเกิด 2.ภยันตรายนั้นใกล้จะ 3.เจตนาพิเศษเพื่อ 4.การกระทำไม่
จากการประทุษร้ายอัน ถึง ป้องกันสิทธิ ของ เกินขอบเขต
ละเมิดต่อกฎหมาย ตนเองหรือผู้อื่น ให้พ้น
ภยันตรายนั้น
1.1 นิยามของ 2.1 ภยันตรายนั้นใกล้จะถึง 3.1 มีเจตนาพิเศษ เพื่อ.... 4.1 เกินสมควรเเก่เหตุ
ภยันตรย 2.2 ช่วงระยะเวลาการใช้ 3.2 กระทำต่อผู้ก่อภัย วิถีทางที่น้อยที่สุด
1.2 การประทุษร้ายอัน สิทธิ เท่านั้น ได้สัดส่วนกับ
ละเมิดต่อกฎหมาย(ไม่มี ภยันตรายนั้นใกล้จะ ภยันตราย
กฎหมายให้อำนาจ) ถึง 4.2 การป้องกันเกิน
1.3 ละเมิดต่อกฎหมาย ภยันตรายนั้นได้มาถึง กว่ากรณีเเห่ง การจำ
ตัวผู้รับภัย ตลอดจน ต้องกระทำเพื่อ
ก่อนที่ภยันตรายนั้น ป้องกัน
สิ้นสุดลง

You might also like