Cannel Design

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 142

เอกสาารประกอบบการสอน

022207421 การรออกแแบบคคลองแและอาคารส่สงน้ํา
(Des
sign of Canal
C and Conveeyance S
Structuures)

อ.ดดร.ยุทธนาา ตาละะลักษมณ์
ณ์
ภาควิชาวิศววกรรมชลลประทานน
คณ
ณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงงแสน มหาวิทยาาลัยเกษตตรศาสตร์ร์
เอกสารประกอบการสอน
02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

อ.ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์
ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พฤษภาคม ๒๕๕๖
ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

รหัสวิชา 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา 3 (2-3-6)


Design of Canal and Conveyance Structures

พื้นฐาน 021203332 การออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก

Course Description
ลักษณะทั่วไปของระบบส่งน้ําชลประทาน การวางแนวระบบส่งน้ํา การออกแบบรูปตัดคลองส่ง
น้ําประเภทคลองดินและคลองดาด การออกแบบส่วนต่อเชื่อม การออกแบบรางน้ําและสะพานน้ํา การ
ออกแบบอาคารน้ําตก การออกแบบท่อลอดเหลี่ยม การออกแบบไซฟอน และการเขียนแบบทางวิศวกรรม
General characteristic of irrigation systems, irrigation systems layout, design of
earth canal and concrete lining canal section, design of transition, design of bench and
elevated flume, design of drop structure, design of box culvert, design of inverted
siphon and engineering drawing.

ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์
ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

Course Outline

จํานวนชั่วโมง กิจกรรม
สัปดาห์ที่ หัวข้อ หมายเหตุ
บรรยาย-ปฏิบตั ิ การเรียน-การสอน
1 ลักษณะทั่วไปของระบบส่งน้ํา 2-3 บรรยาย ปฏิบัติและดูงาน
ชลประทาน ภาคสนาม
2-3 การวางแนวระบบส่งน้ํา 4-6 บรรยายและปฏิบัติ
4-6 การออกแบบคลองส่งน้ํา 6-9 บรรยายและปฏิบัติ
7-8 การออกแบบช่วงต่อเชื่อมและ 4-6 บรรยายและฝึกการออกแบบ
การเขียนแบบ
9 สอบกลางภาค 3 สอบข้อเขียน
10-12 การออกแบบสะพานน้ําและ 6-9 บรรยาย ยกตัวอย่าง และฝึก
รางน้ํา การออกแบบและเขียนแบบ
13-14 การออกแบบท่อลอดสี่เหลี่ยม 4-6 บรรยายและฝึกการออกแบบ
15 การออกแบบท่อไซฟอน 2-3 บรรยาย และยกตัวอย่าง
16 การออกแบบอาคารน้ําตก 2-3 บรรยาย และยกตัวอย่าง
และอาคารลดระดับ
17 สอบปลายภาค 3 สอบข้อเขียน

ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์
ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

คํานํา

เอกสารประกอบการสอนนี้ ใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชา 02207421 การออกแบบคลองและ


อาคารส่ งน้ํา ซึ่งเป็ นรายวิชาเฉพาะบั งคั บในหลั กสูตรวิศวกรรมศาสตรบั ณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา-
ชลประทาน พ.ศ.2551
เอกสารนี้จัดทําขึ้นโดยรวบรวมเนื้อหา และตัวอย่างรายการคํานวณ จากเอกสาร รายงานทางวิชาการ
ของหน่วยงานราชการ และเอกสารประกอบการสอนของอาจารย์ผู้ที่เคยสอนในรายวิชานี้มาก่อน โดยนํามา
ปรับปรุงให้มีความชัดเจน มีลําดับสอดคล้องตาม Course outline และครบถ้วนตามรายละเอียดรายวิชา
(Course description) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของรายวิชาเพื่อให้นิสิตสามารถออกแบบคลอง และอาคารส่งน้ําใน
ระบบส่งน้ําได้ รวมทั้งสามารถทําการเขียนแบบทางวิศวกรรมได้ด้วย
คุณงาม ความดี ที่เกิดจากเอกสารฉบับนี้ที่ได้นําไปใช้ประโยชน์ขอมอบแด่อาจารย์ทุกท่านที่ได้สั่งสอน
ข้าพเจ้ามานับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ข้อผิดพลาดที่อาจปรากฏอยู่ในเอกสารนี้ ข้าพเจ้าขออภัยมา ณ ที่นี้ และ
น้อมรับความผิดพลาดเพื่อไปแก้ไขต่อไป

ยุทธนา
พฤษภาคม 2556

ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์
ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

สารบัญ
หน้า

บทที่ 1 บททั่วไปของระบบส่งน้ําชลประทาน 1
1.1 ความหมายของคําที่ควรรู้ 1
1.2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโครงการชลประทาน 3
1.3 ลักษณะทัว่ ไปของระบบชลประทาน 4
1.4 คลองส่งน้ําชลประทาน 5
บทที่ 2 การวางแนวระบบส่งน้ํา 10
2.1 การรวบรวมข้อมูลเพื่อการออกแบบ 10
2.2 หลักการเบื้องต้นในการออกแบบ 10
2.3 การวางแนวระบบส่งน้ํา 10
2.4 หน้าที่และคุณสมบัติของคลองส่งน้ํา 13
2.5 ขั้นตอนในการวางแนวคลอง 14
บทที่ 3 การออกแบบคลองส่งน้าํ 19
3.1 ส่วนสัดของคลองส่งน้ํา 19
3.2 การเลือกใช้ลาดผิวน้ําในคลอง 21
3.3 การพิจารณารูปตัดขวางของคลองส่งน้ํา 22
3.4 เกณฑ์กําหนดขนาดคลองส่งน้ําดาดคอนกรีตตามมาตรฐานของกรมชลประทาน 27
3.5 ตัวอย่างการคํานวณขนาดคลองส่งน้ํา 30
บทที่ 4 ช่วงต่อเชื่อม 34
4.1 ชนิดของช่วงต่อเชื่อม 34
4.2 การออกแบบทางชลศาสตร์ 35
4.3 ตัวอย่างการออกแบบช่วงต่อเชื่อม 36

สารบัญ -i- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

สารบัญ (ต่อ)
หน้า

บทที่ 5 รางน้าํ หรือ สะพานน้ํา 46


5.1 การออกแบบทางชลศาสตร์ 46
5.2 ตัวอย่างการออกแบบ BENCH FLUME 50
5.3 ตัวอย่างการออกแบบสะพานน้ํา 62
บทที่ 6 ท่อลอดถนนสีเ่ หลี่ยม 80
6.1 การออกแบบทางชลศาสตร์ 80
6.2 ตัวอย่างการออกแบบท่อลอดถนนชนิดท่อเหลี่ยม 83
บทที่ 7 ท่อเชือ่ ม 98
7.1 การออกแบบทางชลศาสตร์ 98
7.2 ตัวอย่างการออกแบบท่อเชื่อม 101
บทที่ 8 อาคารน้ําตก 123
8.1 อาคารน้ําตกแบบกําแพงตั้ง 123
8.2 ตัวอย่างการออกแบบอาคารน้ําตกแบบกําแพงตั้ง 125
เอกสารอ้างอิง 133

สารบัญ -ii- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 3.1 ค่าสัมประสิทธิค์ วามขรุขระของ Manning (Manning’s n) 24
สําหรับชนิดของพื้นที่ผิวทางน้ําชนิดต่างๆ
ตารางที่ 3-2 ค่า Freeboard ของคลองส่งน้ําดาดคอนกรีต 28
ตารางที่ 3.3 ความหนาของคอนกรีตดาด และความยาวของแผ่นคอนกรีต 29
ตารางที่ 6-1 ความลึกและความหนาของ Cutoff ที่ความลึกของน้ําในคลองต่างๆ 82
ตารางที่ 6-2 ค่าแรงกระแทกจากล้อรถที่ความหนาดินทับหลังท่อต่างๆ 83

สารบัญ -iii- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

สารบัญรูป
หน้า
รูปที่ 1-1 ลักษณะของอาคารชลประทานต่างๆ 1
รูปที่ 1-2 ลักษณะทั่วไปของโครงการชลประทาน 2
รูปที่ 1-3 ลักษณะระบบชลประทานโดยทั่วไป 5
รูปที่ 1-4 ลักษณะทั่วไปคลองส่งน้ํา 6
รูปที่ 1-5 การเรียกชื่อคลองส่งน้ํา 7
รูปที่ 1-6 ประเภทคลองตามความสัมพันธ์ระหว่างระดับผิวดินกับระดับน้ําสูงสุด 9
รูปที่ 2-1 รูปตัดทั่วไปคลองส่งน้ําบริเวณที่ลาดเชิงเขา 11
รูปที่ 2-2 ลักษณะภูมิประเทศทั่วไป 12
รูปที่ 2-3 แนวคลองตามที่ลาดเชิงเขาและที่ราบกว้างใหญ่ 13
รูปที่ 2-4 การวางระบบระบายน้ําในพื้นที่โครงการ 16
รูปที่ 2-5 การวางแนวคลองสายใหญ่ใรพื้นที่โครงการ 17
รูปที่ 2-6 การวางแนวคลองสายซอยในพื้นที่โครงการ 18
รูปที่ 3-1 มาตรฐานรูปตัดตามขวางของคลองส่งน้ํา 19
รูปที่ 3-2 แบบมาตรฐานระบบส่งน้ําและระบายน้ํา คลองส่งน้ํา 20
รูปที่ 3-3 การไหลแบบสม่ําเสมอ 21
รูปที่ 4-1 ช่วงต่อเชื่อมของอาคารในคลองส่งน้ําแบบต่างๆ 34
รูปที่ 5-1 รางน้ํา และสะพานน้ํา 46
รูปที่ 5-2 แปลนและรูปตัด Bench flume 48
รูปที่ 5-3 แปลนและรูปตัด Elevated flume 49
รูปที่ 6-1 ท่อลอดถนน 81
รูปที่ 6-2 ขนาดและน้ําหนักของรถ H20-44 82
รูปที่ 7-1 ท่อลอดคลองส่งน้ําธรรมชาติ 100
รูปที่ 8-1 อาคารน้ําตกแบบกําแพงตั้ง 124

สารบัญ -iv- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

บทที่ 1 บททั่วไปของระบบส่งน้ําชลประทาน

1.1 ความหมายของคําทีค่ วรรู้


ตามพระราชบั ญ ญั ติ ก ารชลประทานหลวง พ.ศ.2485 ได้ บั ญ ญั ติ ค วามหมายของคํ า ต่ า งๆ ในงาน
ชลประทานไว้ในมาตรา 4 ดังนี้
การชลประทาน หมายความว่า กิจการที่กรมชลประทานจัดทําขึ้นเพื่อให้ได้มาซึ่งน้ํา หรือเพื่อกัก เก็บ
รักษา ควบคุม ส่ง ระบายหรือแบ่งน้ําเพื่อเกษตรกรรม การพลังงาน การสาธารณูปโภคหรือการอุตสาหกรรม
และหมายความรวมถึงการป้องกันความเสียหายอันเกิดจากน้ํากับรวมถึงการคมนาคมทางน้ําซึ่งอยู่ในเขต
ชลประทานด้วย
เขตชลประทาน หมายความว่า เขตที่ดินที่ทําการเพาะปลูกซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการชลประทาน
ประตูน้ํา หมายความว่า สิ่งที่สร้างขึ้นในทางน้ําเพื่อให้เรือแพผ่านทางน้ําที่มีระดับต่างกันได้
ทํานบ หมายความว่า สิ่งที่สร้างขึ้นในทางน้ําเพื่อกั้นไม่ให้น้ําไหลผ่านหรือข้ามไป
ฝาย หมายความว่า สิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อทดน้ําในทางน้ําซึ่งจะส่งเข้าสู่เขตชลประทานโดยให้น้ําที่เหลือจาก
ความต้องการท้นขึ้นแล้วไหลข้ามไปได้
เขื่อนระบาย หมายความว่า สิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อทดหรือกักน้ําในทางน้ําอันเป็นที่มาแห่งน้ําซึ่งจะส่งเข้าสู่
เขตชลประทานโดยมีช่องปิดเปิดได้
ประตูระบาย หมายความว่า สิ่งที่สร้างขึ้นในทางน้ําเพื่อทด กัก กั้น หรือระบายน้ํา ณ ที่อื่นอันมิใช่ที่มา
แห่งน้ําซึ่งจะส่งเข้าสู่เขตชลประทานโดยมีช่องปิดเปิดได้
ท่อเชื่อม หมายความว่า สิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อให้น้ําไหลลอดหรือข้ามสิ่งกีดขวาง
สะพานทางน้ํา หมายความว่า สิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อให้น้ําไหลข้ามทางน้ําหรือที่ต่ํา
ปูม หมายความว่า สิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อบังคับน้ําให้ไหลผ่านจากทางน้ําในระดับหนึ่งตกไปสู่ทางน้ําอีกระดับ
หนึ่ง
คันคลอง หมายความว่า มูลดินที่ถมขึ้นเป็นคันยาวไปตามแนวคลอง
ชานคลอง หมายความว่า พื้นที่ระหว่างขอบตลิ่งกับเชิงคันคลอง
อาคารในลักษณะต่างๆ แสดงในรูปที่ 1-1

ประตูนา้ํ

ทํานบ
รูปที่ 1-1 ลักษณะของอาคารชลประทานต่างๆ

บททั่วไป -1- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

ฝาย

เขื่อนระบายน้ํา

สะพานน้ํา

ท่อเชื่อม

คันคลอง
ปูม ชานคลอง

รูปที่ 1-1 (ต่อ)ลักษณะของอาคารชลประทานต่างๆ


บททั่วไป -2- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์
ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

1.2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโครงการชลประทาน
โครงการชลประทานทุกแห่งจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่สําคัญ ได้แก่ พื้นที่ดิน การปลูกพืช แหล่ง
น้ํา หัวงานของโครงการชลประทานและระบบส่งน้ําของโครงการชลประทานดังรูปที่ 1-2 โดยมีรายละเอียด
ต่อไปนี้ (ที่มา :http://province.rid.go.th/phrae/maeyom/page/km_water1.html available 31 May
2013)
(1) พื้นที่ดิน โครงการชลประทานทุกโครงการต้องมีพื้นที่ดินหรือพื้นที่เพาะปลูกที่จะได้ประโยชน์จาก
การชลประทานเสมอ ซึ่งขอบเขตของพื้นที่จะมีขนาดเล็กหรือมีขนาดใหญ่เพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับสิ่งต่างๆ หลาย
ประการ เช่นจํานวนน้ําจากแหล่งน้ําที่สามารถนํามาใช้ทําการชลประทานได้สภาพภูมิประเทศและลักษณะดิน
ตลอดจนจํานวนเงินลงทุนและนโยบายในการสร้างโครงการชลประทานแห่งนั้นๆเป็นต้น พื้นที่ดินของโครงการ
ชลประทาน แบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ
(ก) พื้นที่โครงการ (Project area) หมายถึง พื้นที่ทั้งหมดที่อยู่ภายในเขตโครงการชลประทาน
ประกอบด้วย พื้นที่บริเวณที่สามารถส่งน้ําไปให้เพาะปลูกได้รวมกับพื้นที่บริเวณที่ไม่ได้รับน้ํา ซึ่งพื้นที่ไม่ได้รับ
น้ําจากการชลประทาน ได้แก่พื้นที่หมู่บ้านถนน ที่สาธารณะ หนอง บึง และแหล่งน้ําธรรมชาติ โขดเขาพื้นที่ไม่
เหมาะแก่การปลูกพืช และพื้นที่ระดับสูงไม่สามารถส่งน้ําให้ได้เป็นต้น

ขอบเขตพื ้นที่โครงการ

ระบบส่งนํ ้า

หัวงาน

แหล่งนํ ้า

รูปที่ 1-2 ลักษณะทั่วไปของโครงการชลประทาน


(ดัดแปลงมาจาก แผนทีแ่ สดงที่ตั้งและขอบเขตโครงการระบบส่งน้ําห้วยทา อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ)

บททั่วไป -3- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

(ข) พื้นที่ชลประทาน (Irrigated area) หมายถึง พื้นที่ภายในเขตโครงการชลประทานส่วนที่


ได้รับน้ําจากระบบส่งน้ําต่างๆและสามารถนําน้ําไปใช้ประโยชน์เพื่อการเพาะปลูกได้โดยทั่วไปพื้นที่ชลประทาน
จะมี จํา นวนน้อ ยกว่ า พื้นที่ ทั้ง หมดของโครงการซึ่ ง ตามปกติ แ ล้ วพื้ น ที่ช ลประทานในเขตโครงการมัก จะมี
ประมาณร้อยละ 80 - 90 ของพื้นที่ทั้งหมดและพื้นที่ชลประทานนี้จะเป็นพื้นที่ใช้ในการวางโครงการและเป็น
องค์ประกอบสําคัญที่เกี่ยวข้องกับจํานวนน้ําที่โครงการชลประทานจะต้องการใช้ทําการเพาะปลูกเพิ่มเติมจาก
ฝนในฤดูกาลต่างๆ
(2) การปลูกพืช วิธีการปลูกพืชและพืชที่ปลูกเป็นองค์ประกอบสําคัญอย่างหนึ่งของโครงการชลประทาน
ในการพิจารณาจัดทําโครงการชลประทานแต่ละแห่งนั้นควรต้องมีการกําหนดไว้แต่แรกเริ่มว่าในเขตพื้นที่
ชลประทานต้องการปลูกพืชประเภทใดจึงจะเหมาะสมกับคุณภาพดิน จะปลูกพืชแต่ละชนิดในเนื้อที่จํานวน
เท่าใดในช่วงเวลาใด เหล่านี้เป็นต้นเพื่อจะได้ประกอบการพิจารณาว่าโครงการชลประทานที่กําหนดจะก่อสร้าง
ขึ้นนั้นมีความต้องการน้ําจํานวนเท่าใด ในเวลาต่างๆรวมทั้งเพื่อเป็นข้อมูลในการออกแบบและจัดการส่งน้ํา
สําหรับระบบส่งน้ําของโครงการและระบบแจกจ่ายน้ําในไร่นาให้เหมาะสมอีกด้วย
(3) แหล่งน้ํา หมายถึง แหล่งน้ําที่นํามาใช้ประโยชน์ในการชลประทานนั้นได้แก่ แหล่งน้ําบนผิวดิน และ
แหล่งน้ําใต้ผิวดิน
(4) หัวงานของโครงการชลประทานจาก อภิธานศัพท์เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ํา
ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2553 แสดงความหมายของคําว่า "หัวงาน" (Headworks) ของโครงการชลประทาน
หมายถึงบรรดากิจการหรือสิ่งก่อสร้างทั้งหมดซึ่งสร้างไว้ที่แหล่งน้ําอันเป็นต้นน้ําของโครงการชลประทานเพื่อ
จัดหาหรือเก็บกักน้ําให้มีจํานวนเพียงพอกับความต้องการของพื้นที่ชลประทานทั้งหมดหรือเพื่อยกน้ําให้สูง
พอที่จะส่งต่อไปยังพื้นที่เพาะปลูกให้ได้อย่างทั่วถึงนอกจากนั้นยังหมายรวมถึง สิ่งก่อสร้างประกอบต่างๆที่สร้าง
อยู่ในบริเวณดังกล่าวอีกด้วย
(5) ระบบส่งน้ําและระบายน้ําของโครงการชลประทาน การนําน้ําหรือส่งน้ําจากหัวงานของโครงการ
ชลประทานไปให้พื้นที่เพาะปลูกทุกแห่งในเขตโครงการ และการระบายน้ําส่วนเกินออกจากพื้นที่เพาะปลูก ก็
เป็นกิจกรรมที่เป็นหัวใจสําคัญของโครงการชลประทานซึ่งโครงการชลประทานทุกแห่ งจําเป็นต้องมีการ
ก่อสร้างระบบส่งน้ําโดยระบบส่งน้ําที่มีราคาถูกและนิยมก่อสร้างกัน ได้แก่ระบบส่งน้ําซึ่งประกอบด้วยคลองส่ง
น้ําและสิ่งก่อสร้างที่คลองประเภทและขนาดต่างๆ กันเพื่อใช้นําน้ํา ควบคุม และบังคับน้ําจนสามารถส่งน้ําไป
ตามคลองซึ่งมีความลาดเทไปถึงพื้นที่เพาะปลูกทุกแห่งด้วยแรงโน้มถ่วงของโลกตามจํานวนน้ําที่ต้องการได้

1.3 ลักษณะทั่วไปของระบบชลประทาน
ระบบส่ ง น้ํ า ชลประทาน หมายถึ ง ทางน้ํ า ที่ จั ด สร้ า งขึ้ น เพื่ อ นํ า น้ํ า จากแหล่ ง น้ํ า ให้ ไ หลไปสู่ พื้ น ที่
เพาะปลูกให้เพียงพอกับความต้องการน้ําของพืช ตามขนาดพื้นที่เพาะปลูก และตรงตามเวลาที่พืชต้องการ
ระบบชลประทานโดยทั่วไปจะต้องประกอบไปด้วย แหล่งน้ํา ระบบส่งน้ํา ระบบแจกจ่ายน้ํา ระบบให้
น้ํา และระบบระบายน้ํา ถนนและทางลําเลียง พืช เกษตรกร และเจ้าหน้าที่ชลประทาน (วราวุธ, 2545) ดังรูป
ที่ 1-3
การส่ ง น้ํ า ชลประทาน เป็ น การนํ า น้ํ า จากแหล่ ง น้ํ า เข้ า สู่ ร ะบบส่ ง น้ํ า ชลประทานเพื่ อ ไปยั ง พื้ น ที่
เพาะปลูก ให้เพียงพอกับความต้องการน้ําของพืช ตามขนาดพื้นที่เพาะปลูก และตรงตามเวลาที่พืชต้องการ
ลักษณะทั่วไปของระบบส่งน้ําชลประทานที่ใช้กันอาจแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
- ระบบส่งน้ําแบบเปิด เป็นระบบส่งน้ําที่ใช้ทางน้ําเปิด (Open channel) ในการลําเลียงน้ํา ซึ่งให้น้ํา
ไหลไปโดยอาศัยแรงโน้มถ่วง (Gravitation)

บททั่วไป -4- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

- ระบบส่งน้ําแบบปิด เป็นระบบส่งน้ําที่ใช้ทางน้ําปิด (Closed conduit) เป็นทางลําเลียงน้ํา ซึ่งน้ํา


จะเคลื่อนที่โดยอาศัยแรงดัน (Pressurized flow)
สําหรับในรายวิชานี้ จะศึกษาเฉพาะระบบส่งน้ําชลประทานที่เป็นระบบทางน้ําเปิดซึ่งประกอบด้วย
คลองส่งน้ํา และสิ่งก่อสร้างหรืออาคารประเภทต่างๆ ที่สร้างขึ้นในคลองเพื่อใช้ควบคุมน้ําเพื่อให้สามารถส่งน้ํา
ไปตามคลองซึ่งมีความลาดเทไปถึงพื้นที่เพาะปลูกทุกแห่งตามจํานวนที่ต้องการโดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก
ในการทําให้น้ําไหลไปได้

รูปที่ 1-3 ลักษณะระบบชลประทานโดยทั่วไป (วราวุธ, 2545)

1.4 คลองส่งน้ําชลประทาน
การนําน้ําจากหัวงานหรือแหล่งน้ําไปยังพื้นที่เพาะปลูกหรือพื้นที่ชลประทาน ตามปกติจะก่อสร้าง
คลองส่งน้ําเข้าไป แต่คลองบางตอนจะต้องสร้างเป็นอาคารส่งน้ําแทนการก่อสร้างคลอง เช่น สร้างเป็นอุโมงค์์
ท่อส่งน้ํา รางน้ํา หรือท่อเชื่อม เป็นต้น เพื่อให้สามารถส่งน้ําผ่านอุปสรรค หรือสิ่งกีดขวางไปได้ ในโครงการ

บททั่วไป -5- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

ชลประทานที่มีระบบและพื้นที่ชลประทาน คลองส่งน้ําเป็นสิ่งสําคัญและจําเป็นที่สุดของโครงการชลประทาน
และสิ้นเงินค่าก่อสร้างมากกว่างานอย่างอื่น เพราะโครงการชลประทานหนึ่งมีคลองหลายสาย รวมกันแล้วมี
ความยาวมาก ต้องเสียเงินค่าซื้อที่ดินและค่าขุดคลองมาก(อรุณ, 2534)
คลองส่งน้ําเป็นรางเปิด (open channels) หรือร่องน้ําขนาดใหญ่ซึ่งขุดขึ้นในดินหรือถมขึ้นบนดิน
เพื่อนําน้ําเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูกคลองส่งน้ํามี 2 ชนิด ดังรูปที่ 1-4คือ
1) คลองดิน (earth canals) เป็นคลองส่งน้ําที่ขุดดินหรือถมดินให้เป็นรูปคลองส่งน้ําตามที่
ออกแบบ
2) คลองดาด (lined canals) เป็นคลองส่งน้ําที่ขุดดินหรือถมดินให้เป็นรูปคลองส่งน้ํา และดาดผิว
คลองส่งน้ําด้วยวัสดุที่น้ํารั่วซึมไม่ได้ ซึ่งในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ใช้คอนกรีต

คลองดิน คลองดาดคอนกรีต
ที่มา : http://moiraontheroad.blogspot.com/ ที่มา :http://www.const1-rid4.com/ks/po255317.html
รูปที่ 1-4 ลักษณะทั่วไปคลองส่งน้ํา

คลองส่งน้ําแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ตามลักษณะและหน้าที่ได้ ดังนี้


1) คลองส่งน้ําสายใหญ่่ (Main Canal) เป็นคลองส่งน้ําที่ขุดแยกออกมาจากแหล่งน้ําต้นทุน เพื่อรับ
น้ําเข้าไปในเขตโครงการชลประทาน เนื่องจากคลองจะต้องรับน้ําไปให้เนื้อที่เพาะปลูกทั้งหมดในโครงการหรือ
เนื้อที่เพาะปลูกอันกว้างใหญ่่ ปริมาณน้ําที่ส่งไปในคลองมีมาก คลองมีขนาดใหญ่่และมีความสําคัญมากกว่า
คลองสายอื่น จึงเรียกว่า คลองสายใหญ่่ คลองสายใหญ่่นี้จะมีเพียงสายเดียวหรือสองสายจะขุดออกทางฝั่งเดียว
หรือทั้งสองฝั่งของลําน้ําหลักก็ได้ ทั้งนี้ แล้วแต่เขตส่งน้ําของโครงการและแผนผังการส่งน้ํา ตามปกติคลองสาย
ใหญ่่จะมีแนวคลองอยู่บนพื้นที่ซึ่งสูงที่สุดในเขตโครงการ
2) คลองส่งน้ําสายซอย หรือคลองซอย (Lateral) เป็นคลองส่งน้ําที่ขุดแยกออกมาจากคลองสาย
ใหญ่่ เพื่อรับน้ําไปส่งให้แก่พื้นที่เพาะปลูก ซึ่งคลองซอยสายนั้นควบคุมอยู่ คลองซอยจะมีแนวคลองอยู่บนที่สูง
เช่นเดียวกัน ตามข้างคลองซอยจะมีท่อส่งน้ําเข้านา (Farm turnout) ฝังไว้เป็นระยะ ๆ ไปตลอดคลอง เพื่อส่ง
น้ําเข้าแปลงเพาะปลูก ซึ่งทําได้ 2 วิธี คือ
- ปล่อยน้ําออกจากท่อส่งน้ําเข้านาแล้วให้ไหลบ่าท่วมไปบนผิวดิน
- ปล่อยน้ําออกจากท่อส่งน้ําเข้านาลงสู่คูนา ให้คูนารับน้ําไปแจกจ่ายแก่พื้นที่เพาะปลูกอีกที
หนึ่ง เพื่อให้้น้ําแพร่กระจายไปสู่พื้นที่เพาะปลูกทั่วถึงกันดีขึ้น
คลองส่งน้ําสายใหญ่อาจจะมีคลองซอยแยกออกไปหลายสาย และคลองซอยเหล่านี้อาจแยกออกจาก
คลองส่งน้ําสายใหญ่ทางฝั่งเดียวกันหรือสองฝั่งก็ได้ ทั้งนี้แล้วแต่เขตส่งน้ําและสภาพของพื้นที่ดินในเขตโครงการ

บททั่วไป -6- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
ว น
คณะวิศวกรรรมศาสตร์ กําแพงงแสน มหาวิทยาลัลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การอออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

3) คลอองส่งน้ําสายแแยกซอย หรือคลองแยกซอ
อ อย (Tertiary)) เป็นคลองสส่งน้ําขนาดเล็ก ซึ่งแยก
ออกจากกคลองซอยอีกที ก หนึ่ง เพื่อรับน้ําไปส่งให้้พื้นที่เพาะปลูลูกทั่วเขตโครงการ คลองแแยกซอยมีลักษณะและ

หน้าที่เช่นเดี
น ยวกับคลอองซอย คลองงซอยสายหนึ่งจะมี ง คลองแยยกซอยกี่สายก็ก็ได้ และจะแยกออกจากททางฝั่งไหน
หรือทั้งสองฝั
ส ่งของคลลองซอยก็ได้ ตามคลองแยยกซอยอาจมีคลองส่ ค งน้ําเล็ล็กๆ แตกแยกกออกไปอีก แต่
แ ก็เรียก
คลองส่งน้นําเล็กๆ เหล่านี
า ้ว่า คลองแยกซอย เหมือนกั
อ น

การเรียกชื่อคลองส่
ค งน้ํา จะเรียกตามลําดั า บที่คลองสาายนั้นแยกอออกจากคลองสสายหลัก โดยใใช้การหัน
ไปตามทิศทางการไหลลของน้ําเป็นตััวกําหนด ดังรูปที่ 1-5เช่น
- 1L-1R-RM MC หมายถึึง คลองส่งน้้าํ สายแยกซอยยสายที่ 1 ซึ่งแยกออกทางฝั่งซ้าย (1L) ของคลอง

ส่งน้ําสายซซอยสายที่ 1 ซึ่งแยกออกททางฝั่งขวา (3RR) ของคลองสส่งน้ําสาย
ใหญ่ฝั่งขวา(RMC)

รูปที่ 1-5 การเรียกชื่อคลองส่


ค งน้ํา
(ที่มา :htttp://kmcennter.rid.go.thh/kmc16/wichakarn/datta/general.hhtmavailablle 15 July 2009)

นอกจากจะแแบ่งประเภทคคลองส่งน้ําตามลักษณะและหน้าที่ดังกลล่าวมาแล้ว ยัังสามารถแบ่งประเภท ง
คลองตามมความสัมพันธ์ น ระหว่างระดัดับผิวดินกับระะดับน้ําสูงสุด ได้อีก 3 ประะเภท (อรุณ, 22534) ดังแสดดงในรูปที่
1-6 คือ
- คลอองประเภทจมดิดิน เป็นคลองงประเภทที่ระดั ะ บน้ําสูงสุดในคลองอยู่เสมมอหรือต่ํากว่าระดั
า บผิว
ดินเดิม มักเป็นคลองสส่งน้ําประเภททที่ทําหน้าที่เก็บกักน้ํา หรือเป็นช่วงตอนขของคลองส่งน้ําที่ผ่านที่เนินหรื
น อที่สูง
และไม่ต้องส่งน้ําออกจากคลองส่งน้นํา คลองชนิดนี ด ้มีความแข็งแรงดี ก่อสร้ร้างง่ายเพราะะตัวคลองวางอยู่บนดิน
เดิมทั้งหมมด
- คลอองประเภทกึ่งลอยล เป็นคลอองประเภทที่ระดั ร บน้ําสูงสุดอยู
ด ่สูงกว่าระะดับผิวดินเดิมเล็
ม กน้อย
และเป็นคลองที
ค ่นิยมอออกแบบใช้งานนอยู่ในปัจจุบัน เพราะให้ประสิทธิภาพในนการส่งน้ําได้ด้ดี ส่งน้ําออกจจากคลอง
ได้ง่าย ไมม่มีปัญหาในการส่งน้ํา คลอองแบบนี้ตัวคลลองส่วนใหญ่วางอยู
ว ่บนพื้นดินเดิม

บททั่วไป -7- ดร.ยุทธนา ตาละลั


ต กษมณ์
ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

- คลองลอยหรือเหมืองฟู เป็นคลองประเภทที่ระดับก้นคลองสูงกว่าหรือใกล้เคียงกับระดับผิว
ดินเดิม ดังนั้นตัวคลองทั้งหมดจะวางอยู่บนดินถม มีปัญหาในด้านการก่อสร้างและรั่วซึมมาก คลองประเภทนี้
มักเป็นช่วงตอนของคลองส่งน้ําที่วางแนวผ่านที่ลุ่ม ในกรณีที่ระดับก้นคลองสูงกว่าระดับดินเดิมมาก อาจ
หลีกเลี่ยงไปก่อสร้างเป็นสะพานน้ําจะปลอดภัยและบํารุงรักษาง่ายกว่า

บททั่วไป -8- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

รูปที่ 1-6 ประเภทคลองตามความสัมพันธ์ระหว่างระดับผิวดินกับระดับน้ําสูงสุด

บททั่วไป -9- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

บทที่ 2 การวางแนวระบบส่งน้ํา

2.1 การรวบรวมข้อมูลเพื่อการออกแบบ
ในรายวิชานี้ จะกล่าวถึงเฉพาะข้อมูลที่จําเป็นการออกแบบระบบส่งน้ําชลประทาน ซึ่งข้อมูลทุติยภูมิ
เท่านั้น ส่วนข้อมูลเบื้องต้นที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้กล่าวไว้ในรายวิชาอื่นๆ แล้วผู้ออกแบบจําเป็นต้องมีข้อมูล
ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาใช้ประกอบในการพิจารณาคือ
(1) แผนที่ภูมิประเทศ ได้แก่ แผนที่แสดงระดับชั้นความสูงของผิวดินในพื้นที่ขอบเขตโครงการและ
บริเวณใกล้เคียง และแสดงรายละเอียดต่างๆ ได้แก่ ถนน ลําน้ํา อาคารบ้านเรือน และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ที่มีอยู่
มาตราส่วนที่ใช้ควรเหมาะสมกับงาน เช่น 1:10,000 สําหรับวางแนวคลองสายใหญ่และคลองซอย และ
1:4,000สําหรับงานออกแบบคลองส่งน้ํา และ 1:500 สําหรับออกแบบอาคารเฉพาะแห่ง เป็นต้น
(2) ที่ตั้งหัวงาน ในกรณีที่แหล่งน้ําต้นทุนเป็นน้ําผิวดิน จําเป็นจะต้องทราบตําแหน่งที่ตั้งและลักษณะ
ของหัวงานด้วยว่าเป็นหัวงานประเภท อ่างเก็บน้ํา เขื่อนระบายน้ํา ฝาย หรือสถานีสูบน้ํา ระดับน้ําสูงสุดต่ําสุด
และระดับที่ใช้อาคารบังคับได้
(3) เนื้อดิน ข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อดินที่จําเป็นต้องใช้ในการกําหนดประเภทของระบบส่งน้ํา ซึ่งอาจหาได้
จากแผนที่กําหนดประเภทดิน (Land Classification Map) ซึ่งจัดทําโดยกรมพัฒนาที่ดิน แผนที่ดังกล่าวนี้จะ
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชนิดของดิน ความเหมาะสมของดินนั้นต่อการปลูกพืชชนิดต่างๆ ความสามารถในการอุ้มน้ํา
ของดิน และคุณสมบัติในการระบายน้ํา เป็นต้น
(4) การใช้ที่ดิน ได้แก่ ข้อมูลการใช้พื้นที่ในเขตโครงการ พื้นที่ป่า พื้นที่น้ําท่วม ที่อยู่อาศัยและอื่นๆ ที่
มีอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งแนวโน้มในการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ในอนาคตด้วย ทั้งนี้ ข้อมูลการ
ใช้ที่ดินจะถูกรวมอยู่ในแผนที่ภูมิประเทศ

2.2 หลักการเบื้องต้นในการออกแบบ (Principle of Canal Design)


เพื่อที่จะให้ระบบส่งน้ําที่จะสร้างขึ้นทําหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ การออกแบบควรจะตั้งอยู่บนพื้นฐาน
ดังต่อไปนี้ (อดุล, 2537) คือ
(1) ระบบส่งน้ําต้องสามารถส่งน้ําให้แก่พื้นที่เพาะปลูกที่กําหนดไว้ ในปริมาณหรืออัตราที่เหมาะสมได้
อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม และในเวลาที่พืชต้องการ
(2) มีค่าลงทุนที่เหมาะสมในแง่เศรษฐกิจและฐานะทางการเงินของประเทศ
(3) การส่งน้ําและบํารุงรักษาทําได้ง่าย
(4) มีความเหมาะสมในแง่วิศวกรรมและเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจสังคมและความรู้พื้นฐาน
ของเกษตรกร
(5) มีความคล่องตัว ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงการปลูกพืชหรือวิธีการให้น้ําไปบ้าง ระบบส่งน้ําก็
ยังคงทําหน้าที่ได้

2.3 การวางแนวระบบส่งน้ํา
หลักสําคัญของการวางแนวคลองส่งน้ํา ก็คือ ต้องพยายามให้คลองวางอยู่ในแนวที่จะทําให้น้ําไหลออก
จากคลองไปสู่พื้นที่เพาะปลูกหรือคลองที่มีขนาดเล็กกว่าได้สะดวก นั่นก็คือ คลองจะต้องวางอยู่ในแนวซึ่งมี
ระดับสูงในเขตส่งน้ําที่คลองรับผิดชอบ แนวดังกล่าวนี้จะขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่ ซึ่งอาจแบ่ง
ออกได้เป็น 2 ลักษณะด้วยกัน คือ บริเวณที่ราบระหว่างเชิงเขา และบริเวณที่ราบกว้างใหญ่ (อดุล, 2537)

การวางแนวระบบส่งน้ํา -10- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

(1) บริเวณที่ราบระหว่างเชิงเขา ลักษณะพื้นที่เพาะปลูกซึ่งมักจะมีแนวยาวและมีความลาดเทจาก


เชิงเขาหรือเนินลงมาหาทางน้ําซึ่งอยู่ตรงกลาง ดังนั้น แนวคลองสายใหญ่ก็จะวางให้ไต่ลัดเลาะไปตามแนวเส้น
ขอบเนินซึ่งเป็นขอบบนของบริเวณที่ราบซึ่งกําหนดให้เป็นพื้นที่รับน้ํา ส่วนแนวคลองจะอยู่ไกลจากทางน้ําซึ่ง
อยู่ตรงกลางมากเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับระดับน้ําใช้การของหัวงานและความลาดเทตามยาวของคลองที่เลือกใช้ ใน
กรณีที่พื้นที่ระหว่างแนวคลองกับทางน้ํามีความกว้างมากก็จําเป็นต้องมีคลองซอยซึ่งจะวางอยู่บนสันเนินย่อย
ซึ่งยื่นเป็นพู่ออกมาจากชายลาดเขา คลองซอยในลักษณะภูมิประเทศเช่นนี้จะวางทํามุมเกือบตั้งฉาก หรือตั้ง
ฉากกับแนวเส้นขอบเนินและจะมีอยู่เพียงด้านเดียวของคลองสายใหญ่ ทางน้ําซึ่งอยู่ตรงกลางทําหน้าที่เป็นทาง
ระบายน้ําสายใหญ่ของพื้นที่ ส่วนทางระบายน้ําสายซอยก็จะอยู่ระหว่างคลองซอย ถ้าหากการส่งน้ําเข้านาทํา
โดยการฝังท่อส่งน้ําจากคูส่งน้ําซึ่งรับน้ําจากคลองซอย ระยะระหว่างคลองซอยไม่ควรจะอยู่ห่างกันมากจนทํา
ให้คูส่งน้ํายาวเกินไป ระยะที่เหมาะสมประมาณ 1,000 ถึง 1,500 เมตร และระยะระหว่างคูน้ําไม่ควรจะไกล
กว่า 300 เมตร
ในกรณีที่พื้นที่รับน้ําซึ่งอยู่ระหว่างคลองสายใหญ่กับทางระบายน้ําประมาณ 300-400 เมตร คลอง
ซอยอาจจะทําหน้าที่เป็นคูส่งน้ํา และจะวางเคียงคู่ไปกับคลองสายใหญ่เพื่อให้สะดวกต่อการควบคุมการส่งน้ํา
โดยปกติแล้งจะไม่ติดตั้งท่อส่งน้ําเข้านาจากคลองส่งน้ําสายใหญ่โดยตรง เพราะจะทําให้มีปัญหาในเรื่องการ
บริหารการส่งน้ํามาก

รูปที่ 2.1 รูปตัดทั่วไปคลองส่งน้ําบริเวณที่ลาดเชิงเขา

(2) บริเวณที่ราบกว้างใหญ่ แนวคลองส่งน้ําในพื้นที่ที่เป็นที่ราบกว้างใหญ่จะต้องอยู่ในแนวที่มีระดับ


พื้นที่สูงสุดเช่นเดียวกับในกรณีแรก แต่ในกรณีนี้จะวางอยู่ในแนวสันเนินหลักของพื้นที่ ซึ่งทําให้คลองตัดตั้งฉาก
กับแนวเส้นขอบเนิน การส่งน้ําสามารถทําได้ทั้งสองฝั่งคลอง ส่วนแนวคลองซอยก็จะแยกออกทั้งสองฝั่งของ
คลองสายใหญ่ คูส่งน้ําอาจจะอยู่เพียงด้านเดียวหรือทั้งสองด้านของคลองซอยก็ได้ ระยะห่างระหว่างคลองซอย
และคูส่งน้ํายังคงใช้กฎเกณฑ์เดียวกันกับกรณีแรก คือ ระยะห่างระหว่างคลองซอยจะไม่ทําให้คูส่งน้ํายาวเกิน
กว่า 1,000 ถึง 1,500 เมตร และระยะระหว่างคูส่งน้ําไม่ไกลกว่าประมาณ 300 เมตร
ในบริเวณที่เป็นที่ราบกว้างใหญ่จะไม่มีทางระบายน้ําที่เด่นชัด เหมือนกับในกรณีที่เป็นที่ราบระหว่าง
เชิงเขา แต่คลองระบายยังคงอยู่ในแนวที่เป็นร่องซึ่งพิจารณาได้จากเส้นขอบเนิน ในทางปฏิบัติอาจจําเป็นต้อง
ขุดคลองระบายน้ําขึ้นเพื่อให้สามารถระบายน้ําได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ราบ
การรับน้ําชลประทานเข้าแปลงนาทั้งสองกรณี ทําโดยการใช้ท่อส่งน้ําเข้านาซึ่งปกติใช้ท่อซีเมนต์ขนาด
เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.20-0.30 เมตร ท่อส่งน้ําเข้านาจะติดตั้งตามแนวคูส่งน้ําหรือคลองซอยขนาดเล็ก แต่จะไม่

การวางแนวระบบส่งน้ํา -11- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

ติดตั้งในคลองส่งน้ําสายใหญ่ หรือคลองซอยขนาดใหญ่ เพื่อความสะดวกต่อการบริหารงานส่งน้ํา คูส่งน้ําหรือ


คลองซอยขนาดเล็กที่ทําหน้าที่จ่ายน้ําไม่ควรยาวเกินกว่า 1,500 เมตร และรับผิดชอบพื้นที่โดยประมาณ 300-
400 ไร่ ในกรณีที่จําเป็นต้องให้คูส่งน้ํายาวเกินกว่า 1,500 เมตร ควรพิจารณาดาดคูเพื่อลดการสูญเสียน้ํา
เนื่องจากการรั่วซึมและเพื่อให้สามารถส่งน้ําไปถึงท้ายคูได้รวดเร็ว
ตามวิธีการวางระบบชลประทานที่กล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า การวางระบบชลประทานจําเป็นต้องใช้
แผนที่ภูมิประเทศที่มีรายละเอียดพอสมควร โดยทั่วไป การวางแผนแนวคลองสายใหญ่หรือคลองซอยจะต้องใช้
แผนที่มาตราส่วนอย่างน้อย 1:10,000 ที่มีเส้นชั้นความสูงอย่างน้อยทุก 1.0 เมตร สําหรับคูส่งน้ําจําเป็นต้องใช้
แผนที่มาตราส่วนใหญ่ขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ชลประทานที่เป็นทุ่งราบกว้างใหญ่ควรมีเส้นชั้นความสูงทุก
0.5 เมตร หรือน้อยกว่า

รูปที่ 2.2 ลักษณะภูมิประเทศทั่วไป

การวางแนวระบบส่งน้ํา -12- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

แนวคลองที่ลาดเชิงเขา

แนวคลองที่ราบกว้ างใหญ่

รูปที่ 2.3แนวคลองตามที่ลาดเชิงเขาและที่ราบกว้างใหญ่

2.4 หน้าที่และคุณสมบัติของคลองส่งน้ํา
คลองส่งน้ํามีหน้าที่รับน้ําจากต้นน้ําไปสู่พื้นที่ดินในเขตโครงการ เพื่อให้คลองส่งน้ําทําหน้าที่ได้ดี คลอง
ส่งน้ําทุกประเภท ทุกสาย และทุกตอน จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ (กรมชลประทาน, 2547)
(1) มีขนาดใหญ่พอที่จะส่งน้ําไปได้ตามที่ต้องการ ซึ่งปริมาณน้ําที่ต้องส่งเข้าคลองจะมีค่าเท่ากับชล
ภาระคูณด้วยเนื้อที่ชลประทานซึ่งคลองสายนั้นควบคุมอยู่ ปริมาณน้ําดังกล่าวนี้เป็นปริมาณน้ําที่จะต้องส่งให้
เนื้อที่เพาะปลูกตลอดเวลา แต่ถ้าเป็นการส่งน้ําแบบรอบเวร ระยะเวลาส่งน้ําหรือเวลาที่น้ําไหลในคลองจะ
น้อยลง ฉะนั้น ปริมาณน้ําที่จะต้องส่งเข้าคลองให้พอใช้ภายในระยะเวลาอันสั้น จะต้องเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ
บ้าง กล่าวโดยทั่วไป ขนาดคลองส่งน้ํามีความสัมพันธ์กับวิธีการส่งน้ํา เมื่อคลองส่งน้ําสายใหญ่นําน้ําผ่านเนื้อที่
เพาะปลูก ซึ่งแม้ว่าโดยหลักการแล้วจะไม่ให้มีท่อส่งน้ําเข้านาในคลองส่งน้ําสายใหญ่ เนื่องจากจะทําให้การ
บริหารจัดการทําได้ยาก แต่ในทางปฏิบัติคลองส่งน้ําสายใหญ่ก็จะแจกจ่ายน้ําผ่านท่อส่งน้ําเข้านาไปตามทาง
เรื่อยๆ รวมทั้งจ่ายน้ําเข้าคลองซอยสายต่างๆ ด้วย ซึ่งคลองซอยและคลองแยกซอยก็จะแจกจ่ายน้ําด้วยวิธีการ
เดียวกัน ฉะนั้น ปริมาณน้ําในคลองแต่ละสายจะลดน้อยลงไปทุกที จนกระทั่งหมดน้ําที่ท่อส่งน้ําเข้านาท่อ
สุดท้าย ขนาดคลองส่งน้ําจึงค่อยๆ เรียวเล็กลงไปสู่ปลายคลอง การที่จะกําหนดให้แน่นอนว่า คลองส่งน้ําตอน
ใดจะต้องจ่ายน้ําเท่าใดนั้นต้องอาศัยแผนที่แสดงระดับดิน ซึ่งได้แบ่งเขตส่งน้ําไว้ เพราะเราต้องทราบแน่นอนว่า
พื้นที่ในเขตโครงการบริเวณใดจะรับน้ําจากคลองสายไหนได้สะดวกที่สุด แล้วจึงคํานวณขนาดคลองสายนั้น
สรุปได้ว่า ขนาดของคลองส่งน้ําขึ้นอยู่กับ
- ชลภาระ
- วิธีการส่งน้ํา
- พื้นที่ส่งน้ํา
(2) มีระดับน้ําใช้การ (F.S.L.) สูงพอที่จะส่งน้ําได้ทั่วถึง ทั้งนี้ ระดับน้ําใช้การเต็มที่ (F.S.L.) ในคลอง
จะสูงพอที่จะส่งไปท่วมพื้นดิน ซึ่งต้องการใช้น้ําได้สะดวกเพียงไรนั้นย่อมแล้วแต่การเลือกใช้ลาดผิวน้ําในคลอง
ให้เหมาะสมกับความลาดเทของแผ่นดิน ถ้าจะให้น้ําในคลองขึ้นถึงระดับพื้นดินตามแนวคลองได้ตลอดคลอง

การวางแนวระบบส่งน้ํา -13- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

หรือแทบตลอดคลองแล้ว ลาดผิวน้ําในคลองต้องราบมาก แต่บางคราวเราจะให้ลาดผิวน้ําในคลองราบเกินไป


ไม่ได้เพราะกระแสน้ําในคลองจะอ่อน ตะกอนจะตกจมได้มาก การเลือกใช้ลาดผิวน้ําในคลองจึงอยู่ที่การ
พิจารณาแล้วตัดสินใจว่าจะยอมให้น้ําในคลองขึ้นถึงระดับพื้นดินตามแนวคลองได้ตลอดแนวคลอง แต่คลองจะ
ตื้นเขินบ้าง (คือใช้ลาดผิวน้ําค่อนข้างราบ) หรือจะยอมให้น้ําในคลองขึ้นถึงระดับพื้นดินตามแนวคลองได้ไม่
ตลอดคลอง แต่คลองไม่ตื้นเขิน (คือใช้ลาดผิวน้ําค่อนข้างชัน) อย่างไรก็ดี ลาดผิวน้ําในคลองจะราบกว่าลาด
แผ่นดินตามแนวคลองเสมอ
ตามปกติ ระดับน้ําใช้การเต็มที่ในคลอง (F.S.L.) ต้องสูงกว่าระดับพื้นดินตามแนวคลองพอสมควร จึง
จะส่งน้ําไปยังพื้นที่ข้างคลองได้สะดวก เกณฑ์ที่กําหนดใช้มีดังนี้
(ก) ในทําเลซึ่งเป็นทุ่งราบอยู่ระหว่างเชิงเขา 2 ฟากข้างแม่น้ําซึ่งคลองสายใหญ่จะไต่เลาะไปตาม
เชิงเขา แต่คลองซอยจะแยกออกมาตามสันเนินย่อย สภาพของพื้นที่จะมีความลาดเทมากจากคลองสายใหญ่ลง
มาหาแม่น้ํา ระดับน้ําใช้การเต็มที่ (F.S.L.) ในคลองสายใหญ่ให้อยู่เสมอกับระดับพื้นดินตามแนวคลองก็พอแล้ว
แต่ระดับน้ําใช้การเต็มที่ (F.S.L.) ในคลองซอยควรจะสูงกว่าระดับพื้นดินบ้างเล็กน้อย
(ข) ในทําเลซึ่งเป็นที่ราบกว้างใหญ่่ มีความลาดเทของพื้นดินน้อย ระดับน้ําใช้การเต็มที่ในคลอง
(F.S.L.) ต้องอยู่สูงกว่าระดับพื้นดินมาก ถ้าเป็นคลองสายใหญ่อาจต้องสูงกว่าอย่างน้อย 0.80 – 1.00 ม. หรือ
มากกว่านี้ สําหรับคลองซอย 0.30 – 0.50 ม.
(3) คลองส่งน้ําจะต้องไม่ตื้นเขินหรือถูกกัดทําลายเนื่องจากความเร็วของกระแสน้ํา นอกจากนี้ สิ่งที่
ต้องระวังในการวางแนวคลองส่งน้ํา คือ
(ก) การใช้โค้งแนวคลองแคบเกินไปหรือใช้รัศมีสั้นเกินไป จะทําให้กระแสน้ํากัดตลิ่งคลองด้าน
ท้องคุ้งของโค้ง
(ข) การใช้ลาดตลิ่งคลอง (Side Slope) ชันเกินไปจนดินตลิ่งทรงตัวอยู่ไม่ได้ก็จะเลื่อนพังลง
คลอง
(ค) เวลาฝนตกหนัก น้ําฝนจะไหลเซาะคันคลองและลาดตลิ่งคลองพังลงคลองได้

2.5 ขั้นตอนในการวางแนวคลอง
สําหรับขั้นตอนในการวางแนวคลองสายใหญ่และคลองซอยลงในแผนที่ภูมิประเทศ ควรดําเนินการ
เป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้ (อดุล, 2537)
ขั้นที่ 1 วางระบบระบายน้ํา
การดําเนินงานในขั้นแรก ผู้ออกแบบต้องพิจารณาจัดวางระบบระบายน้ําก่อน โดยยึดลําน้ํา
ธรรมชาติ เ ป็ น ทางระบายน้ํ า สายใหญ่ ลํ า น้ํ า สาขาเป็ น ทางระบายน้ํ า สายซอย ตลอดจนใช้ ที่ ร าบลุ่ ม ตาม
ธรรมชาติซึ่งเมื่อฝนตกลงมาบนพื้นที่ภายในโครงการแล้ว น้ําฝนที่เหลือใช้จะต้องไหลมาตามที่ราบลุ่มนั้น โดย
สังเกตจากเส้น Contour เป็นหลัก ในขั้นต้นนี้จะได้ระบบระบายโดยหยาบๆ ทําให้ทราบทิศทางการไหลของ
น้ําจากน้ําฝน ซึ่งถ้าฝนตกลงมาภายในพื้นที่โครงการชลประทานนั้นๆ แล้วน้ําจะถูกระบายไปตามทิศทางที่ได้
จัดวางไว้ตามลําดับจนถึงลําน้ําขนาดใหญ่ดังแสดงในรูปที่ 2.4
ขั้นที่ 2 วางแนวคลองส่งน้ําสายใหญ่
ในลําดับแรกจะต้องจัดวางแนวคลองส่งน้ําสายใหญ่ โดยหลักการก็คือ พยายามวางแนวคลอง
สายใหญ่ให้เดินไปตามแนวระดับพื้นดินที่สูงที่สุดในพื้นที่โครงการ สําหรับพื้นที่ซึ่งเป็นที่ราบระหว่างเนินเขาทั้ง
สองฟากแม่น้ํา แนวคลองส่งน้ําสายใหญ่จะต้องไต่ไปตามลาดเชิงเขาออกไป และห่างจากแม่น้ําออกไปให้มาก
ที่สุดที่จะทําได้ ในลักษณะเช่นนี้จะวางแนวคลองส่งน้ําสายใหญ่จากหัวงานได้ 2 สาย คือ คลองสายใหญ่ฝั่งซ้าย

การวางแนวระบบส่งน้ํา -14- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

และคลองสายใหญ่ฝั่งขวา ซึ่งเลียบไปทางฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของแม่น้ํา และจะมีแนวเกือบขนานไปกับเส้น


Contour การวางแนวคลองส่งน้ําของพื้นที่ในลักษณะเช่นนี้ ในวิธีปฏิบัติจริงควรจะทําการลากเส้น FlyLine
โดยการกําหนดลาดตามยาว (Longitudinal slope) ของคลองส่งน้ําเสียก่อน ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่จะทําให้ทราบได้
ว่า ในระยะทางคลองเป็น กม. จะต้องลดระดับน้ําลงเท่าไร (กี่ ซ.ม.) เส้น FlyLine นี้จะเขียนลากไปตามเส้น
Contour จะมีลักษณะเป็นเส้นโค้งไปตามแนวของเส้น Contour เลยทีเดียว แต่จะลดระดับลงเรื่อยตาม
จํานวน กม. ของคลองที่วิ่งไป และมีการกําหนดการสูญเสีย Head เนื่องจากอาคารตัดผ่านกับทางน้ําธรรมชาติ
หรืออาคารวัดน้ํากลางคลอง ซึ่งมีแนวทางที่พอจะกําหนดได้ว่า ระยะทางเท่าใดจึงจะต้องใช้อาคารวัดน้ําหนึ่ง
ตั ว จากวิ ธีนี้ก็จ ะได้เส้ นๆ หนึ่ งซึ่ งเป็ นตัวแทนแนวคลองส่ง น้ํ าตามทฤษฎีค วรจะมีลักษณะโค้งไปตามเส้ น
Pattern ของเส้น Contour ในลําดับต่อไปให้พิจารณาตัดเส้นโค้งเหล่านี้ให้เป็นเส้นตรง และกําหนดใช้โค้งของ
คลองตามความเหมาะสม ในการตัดแนวคลองให้เป็นเส้นตรงนี้ ถ้าลักษณะพื้นที่โครงการราบเรียบจะไม่เกิด
ปัญหามากนัก แต่ถ้าพื้นที่เป็นลูกคลื่นก็จะเกิดปัญหา cut & fill เป็นจํานวนมากซึ่งปัญหาในข้อนี้ควรจะ
ระมัดระวังและควรหลีกเลี่ยงแนวคลองซึ่งต้องเดินไปในพื้นที่ที่ต้อง cut ให้มากที่สุด เพราะการวางแนวคลอง
cut จะเป็นตัวปัญหาในการก่อสร้าง เช่น ประสบปัญหาน้ําใต้ดิน และปัญหาในด้านการส่งน้ําและบํารุงรักษา
อันเกิดจากการกัดเซาะจากน้ําฝนของดินบริเวณลาดและคันคลองลงสู่คลองส่งน้ํา ซึ่งเป็นปัญหาในเรื่องตะกอน
ตกทับถมลงในคลองเป็นจํานวนมาก ยากแก่การบํารุงรักษาที่จะให้สภาพใช้งานดีดังเดิม หรือในบางครั้งการแก่
ไขต้องทําเป็น interception drain คือทําคลองขนานไปอีกเส้นหนึ่งเพื่อดักน้ําและตะกอนให้ไหลไปลงที่อื่น
เป็นการสิ้นเปลืองเพิ่มมากขึ้น ปัญหาด้านการก่อสร้าง พบว่า ในบริเวณที่มีน้ําใต้ดินสูงจะเป็นอุปสรรคแก่การ
ก่อสร้างเป็นอย่างมาก เพราะไม่สามารถก่อสร้างตามแบบได้ จากการตรวจสอบในสนามพบว่า ในบางกรณีการ
วางแนวคลองให้ต่ําลงไปห่างจากแนวเดิมประมาณ 20-30 เมตร สามารถแก้ปัญหาได้อย่างดี เพราะฉะนั้น การ
Balance cut & fill ในสมัยดั้งเดิมที่เคยปฏิบัติกันมาจะใช้ไม่ได้ผลสมควรจะเดินแนวคลองไปบน fill มากกว่า
ผ่านไปใน cut เนื่องจากปัญหาการยกระดับน้ําในคลองให้สูง อุปสรรคในการก่อสร้าง และการดูแลบํารุงรักษา
ดังกล่าวข้างต้น ตัวอย่างลักษณะการวางแนวคลองสายใหญ่ดังรูปที่ 2.5
ขั้นที่ 3 การวางคลองส่งน้ําสายซอย
ซึ่งเป็นคลองส่งน้ําที่แยกจากคลองส่งน้ําสายใหญ่หรือคลองแยกเพื่อนนําน้ําไปจ่ายในพื้นที่
ข้างเคียง ปกติคลองส่งน้ําสายซอยจะวิ่งไปในแนวสันเนินสูงสุด (Ridge) ของพื้นที่ เพื่อส่งน้ําให้แก่พื้นที่ทั้งสอง
ข้างที่คลองนั้นผ่านไป สิ่งที่ควรคํานึงถึงคือ ระยะทางจากคลองส่งน้ําสายซอยไปจนถึงจุดที่ไกลที่สุดที่จะเป็น
แนว Drain จะต้องอยู่ในระยะที่กําหนดไว้ในเกณฑ์การออกแบบ ทั้งนี้จะออกแบบเผื่อไว้ในกรณีที่ทําระบบ
ชลประทานในแปลงนา การขุดคูส่งน้ําภายในแฉกส่งน้ําจะต้องมีความยาวไม่เกินที่กําหนดไว้ ในบางกรณีอาจ
จําเป็นต้องเพิ่มจํานวนคลองส่งน้ําสายซอยให้มากขึ้นเพื่อให้ระบบการแพร่กระจายน้ําภายในแฉกส่งน้ําได้
สมบูรณ์มากขึ้น แสดงตัวอย่างการวางแนวคลองซอยในรูปที่ 2.6

การวางแนวระบบส่งน้ํา -15- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


รูปที่ 2.4 การวางระบบระบายน้้าในแผนที่ภูมิประเทศ
รูปที่ 2.5 การวางแนวคลองส่งน้้าสายใหญ่ในแผนที่
ภูมิประเทศ
รูปที่ 2.6 การวางแนวคลองส่งน้้าสายซอยในแผนที่
ภูมิประเทศ
ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

บทที่ 3 การออกแบบคลองส่งน้ํา

คลองส่ งน้ํ า จะต้ องมี ข นาด และรูปร่ างที่เ หมาะสมเพื่ อให้ ส ามารถส่งได้ ตามปริม าณที่ กํ าหนด การ
ออกแบบคลองส่งน้ําเป็นการกําหนดขนาด หรือสัดส่วนของคลองส่งน้ําให้สามารถได้ตามปริมาณน้ําที่กําหนด

3.1 ส่วนสัดของคลองส่งน้ํา
มาตรฐานรู)ตัดขวางคลองส่งน้ํา ดังรูปที่ 3.1 ส่วนสัดของคลองส่งน้ําที่จะต้องพิจารณามี 5 อย่าง (อรุณ,
2534) คือ
1) ลาดผิวน้ําในคลอง (water surface slope in canal)
2) รูปตัดขวางของคลอง (cross section of canal) ซึ่งประกอบด้วย
- ความกว้างของก้นคลอง (bed width of canal = b)
- ความลึกของน้ําในคลอง (depth of water in canal = d)
- ลาดตลิ่งคลอง (side slopes of canal = SS) โดยทั่วไป คลองดาดคอนกรีตใช้ 1:1.5
3) คันคลอง (embankments)
4) ชานคลอง (berms)
5) เขตคลอง (right-of-way)

รูปที่ 3.1 มาตรฐานรูปตัดตามขวางของคลองส่งน้ํา

ลักษณะทั่วไปของคลองส่งน้ําได้แสดงตามแบบมาตรฐานคลองส่งน้ําของกรมชลประทาน ดังแสดงใน
รูปที่ 3.2 คลองส่งน้ําบางสายมีชานคลองแต่บางสายก็ไม่มี ทั้งนี้แล้วแต่การพิจารณาของผู้ออกแบบ จะเห็นได้
ว่า คลองส่งน้ําอาจก่อสร้างในดินขุด ดินถม หรือดินขุดและดินถมบางส่วน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและ
การกําหนดของผู้ออกแบบ ถ้าดินที่ขุดจากคลองมีมากก็จะพอทําคันคลองบนสองฝั่งคลอง แต่ถ้ามีไม่มากพอ
จะต้องขุดบ่อยืมดิน (Borrow pits) เพื่อเอาดินมาช่วยทําคันคลอง เพราะฉะนั้นรูปตัดขวางของคลองส่งน้ําจึงมี
ได้ต่างๆ กันหลายแบบ

การออกแบบคลองส่งน้ํา -19- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

รูปที่ 3.2 แบบมาตรฐานระบบส่งน้ําและระบายน้ํา คลองส่งน้ํา

การออกแบบคลองส่งน้ํา -20- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

3.2 การเลือกใช้ลาดผิวน้ําในคลอง

การคํานวณอัตราเร็วของน้ํา (V) ในทางน้ําเปิดทุกชนิด ลาดผิวน้ํา (S) เป็นสิ่งสําคัญและมีอิทธิพลที่จะ


ทําให้ไหลไปได้โดย gravity ไม่มีลาดผิวน้ํา น้ําจะไม่ไหล ถ้าลาดผิวน้ํายิ่งชันน้ําจะยิ่งไหลแรงขึ้น ถ้ายิ่งราบก็จะ
ยิ่งไหลช้าลง

ตามปกติ ใ นการออกแบบคลองส่ ง น้ํ า จะกํ า หนดให้ ก ารไหลของน้ํ า ในคลองเป็ น แบบสม่ํ า เสมอ


(Uniform flow) นั่นคือ ลาดก้นคลอง (SO) ขนานกับลาดผิวน้ํา (SW) และขนานกับลาดเส้นพลังงาน (Sf) หรือ
SO = SW = Sf ดังรูป 3.3

1 2

E.G.L. hf y1=y2
V12/2g Sf
1
V22/2g
Sw

y1
y2
Flow y2=y1
2
S0 Bed
z1 z2 So = Sw = Sf
Datum

รูปที่ 3.3 การไหลแบบสม่ําเสมอ (ธัญดร, 2551)

ลาดผิวน้ําในคลองไม่จําเป็นต้องมีค่าเดียวกันตลอดคลอง จะชันในบางตอนแล้วราบในบางตอนก็ได้
เช่น ตอนต้นคลองใช้ลาดผิวน้ํา 1:8,000 ตอนกลางคลองใช้ลาดผิวน้ํา 1:10,000 และตอนปลายคลองใช้ลาด
ผิวน้ํา 1:12,000 เช่นนี้ก็ได้ แต่ถ้าสามารถทําได้แล้วควรใช้ลาดผิวน้ําในคลองค่าเดียวกันตลอดคลอง ถ้าลาดผิว
น้ําในคลองตอนใดไม่เหมาะกับลาดพื้นดินตามแนวคลอง ควรใช้วิธีลดระดับน้ําในคลองลงโดยการสร้างอาคาร
น้ําตก (drops) หรือ รางเท (chutes)

ลาดผิวน้ําในคลองมีความสัมพันธ์กับอัตราเร็วของน้ําในคลอง ดังจะเห็นได้จาก Manning’s formula


ซึ่งใน ค.ศ. 1889 นายช่างไอริชผู้หนึ่งชื่อ Robert Manning ได้คิดสูตรนี้ขึ้น ซึ่งต่อมาได้รู้จักกันแพร่หลาย โดย
มีรูปสมการดังนี้

V = 1/n R2/3 Sf1/2

เมื่อ V = อัตราเร็วเฉลี่ยของน้ําในทางน้ําเปิด เป็น เมตร/วินาที

การออกแบบคลองส่งน้ํา -21- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

n = roughness coefficient ซึ่งเรียกทั่วไปว่า “The Manning’s n” ดูตารางที่ 3.1


R = hydraulic radius เป็น เมตร
= A/P
A = เนื้อที่รูปตัดขวางของทางน้ําเปิดที่น้ําไหลผ่านเป็น เมตร2
P = wetted perimeter เป็น เมตร
Sf = slope of energy grade line

Manning’s formula มีกําเนิดจากสูตรต่างๆ ถึง 7 สูตร และขึ้นอยู่กับ data ที่ได้จากการทดลองของ


Bazin และได้แสดงให้เห็นจริงโดยการสังเกตการณ์รวม 170 ครั้ง มีผู้นิยมใช้ Manning’s formula คํานวณ
อัตราเร็วเฉลี่ยของน้ําในรางเปิดหรือคลองที่เป็น uniform flow กันมาก เพราะได้ผลใกล้เคียงความจริงและ
คํานวณได้ง่ายและรวดเร็วกว่าสูตรอื่นด้วย ในปัจจุบัน งานของกรมชลประทานใช้ Manning’s formula

กล่าวได้ว่า การเลือกใช้ลาดผิวน้ําในคลองไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอน ทั้งนี้แล้วแต่


- ลาดพื้นดินตามแนวคลองส่งน้ํา
- ลักษณะและปริมาณของตะกอนที่ไหลมากับน้ํา
- ลักษณะเนื้อดินตามแนวคลองที่น้ําจะพัดพาไปได้ กรณีออกแบบเป็นคลองดิน
- ดุลยพินิจของผู้ออกแบบ

3.3 การพิจารณารูปตัดขวางของคลองส่งน้ํา

ได้กล่าวมาแล้วว่า รูปตัดขวางของคลองส่งน้ําที่สําคัญต่อการส่งน้ํา ประกอบด้วย


- ความกว้างของก้นคลอง (b)
- ความลึกของน้ําในคลอง (d)
- ลาดตลิ่งคลอง (SS)

ความกว้างของก้นคลอง (b) และความลึกของน้ําในคลอง (d) มีความสําคัญมากและเกี่ยวกับ


hydraulic properties ของคลอง การเลือกใช้ความกว้างของก้นคลอง (b) และความลึกของน้ําในคลอง (d)
สําหรับปริมาณน้ํา (Q) จํานวนหนึ่งนั้น มีวิธีเลือกได้หลายวิธีเพื่อให้เหมาะกับสภาพของท้องถิ่น คือ
1) ถ้ามีตะกอนไหลมากับน้ํามาก ควรเลือกใช้ส่วนสัดของคลองที่จะไม่ตื้นเขินเพราะตะกอนตกจมใน
คลอง นั่นคือ ให้ใช้ค่า b/d ต่ําๆ จะทําให้ค่า V สูงขึ้น ที่อัตราการไหลเท่ากัน
2) ถ้าไม่มีตะกอนมากและไม่มีการรั่วซึมของน้ําออกจากคลองมาก ควรเลือกใช้ส่วนสัดของคลองที่จะ
ส่งน้ําได้สะดวกที่สุด
3) ถ้ามีการรั่วซึมของน้ําออกจากคลองมาก ควรเลือกใช้ส่วนสัดของคลองที่จะเกิดการรั่วซึมน้อยที่สุด
นั่นคือ มีค่า P น้อยที่สุด

สั ด ส่ ว นของคลองที่ เ หมาะกั บ สภาพอย่ า งหนึ่ ง อาจไม่ เ หมาะกั บ สภาพอย่ า งอื่ น ก็ ไ ด้ เช่ น คลองที่
ออกแบบได้ให้ป้องกันการตื้นเขินเพราะตะกอนตกจมอาจส่งน้ําไม่ได้สะดวก หรือเกิดการรั่วซึมของน้ําออกจาก
คลองมากก็ได้ ผู้ออกแบบไม่สามารถออกแบบคลองให้เหมาะกับสภาพทุกอย่างในเวลาเดียวกันได้ เพราะฉะนั้น

การออกแบบคลองส่งน้ํา -22- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

ในการออกแบบคลองจึงต้องพิจารณาว่าสภาพใดจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่คลองมากที่สุด ก็ต้องเลือกใช้
ส่วนสัดของคลองที่จะป้องกันความเสียหายนั้นได้ โดยยอมให้มีข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพอื่นได้บ้าง
เมื่อ ค.ศ. 1895 Mr. Kennedy ได้ตั้งสูตรสําหรับอัตราเร็วของน้ําในคลองซึ่งจะไม่กัดทําลายตัวคลอง
และเกิดตะกอนตกจม รู้จักกันทั่วไปว่า Kennedy’s critical velocity ดังนี้

VO = Cdm

ในเมื่อ VO = critical velocity คือ กระแสน้ําที่จะไม่กัดทําลายตัวคลองและไม่เกิดตะกอนตกจม


C = coefficient ซึ่งมีค่าเปลี่ยนได้ตามลักษณะของตะกอนในน้ํา เช่น
= 0.365 สําหรับตะกอนละเอียดและเบามาก
= 0.544 สําหรับตะกอนละเอียดและเบา
= 0.586 สําหรับตะกอนทรายหยาบและเบา
= 0.645 สําหรับตะกอนดินทรายหยาบ
= 0.770 สําหรับตะกอนทรายหยาบและหนัก
กรมชลประทานใช้
C = 0.350 สําหรับตะกอนในลําน้ําต่างๆ ในทุ่งราบตอนกลาง
= 0.547 สําหรับตะกอนในลําน้ําต่าง ๆ ในภาคเหนือและภาคอื่นที่มี
ลักษณะหยาบกว่าตะกอนในทุ่งราบตอนกลาง
d = ความลึกของน้ําในคลองหรับคลองที่มีรูปตัดแน่นอน (regular section)

หรือ = เนื้อที่รูปตัดขวางของคลองที่น้ําไหลผ่าน
ความกว้างของผิวน้ําในคลอง

สําหรับคลองที่มีรูปตัดไม่แน่นอน (irregular section)


m = index
= 0.64 หรือ 0.66 หรือ 2/3

Kennedy’s critical velocity เป็นหลักในการคํานวณออกแบบคลองดิน โดยพยายามทําให้อัตราเร็ว


ของน้ําในคลอง (V) เท่ากับ critical velocity (V0) หรือให้ใกล้เคียงกันมากที่สุด คือ จะยอมให้คลองตื้นเขิน
หรือ ถูกน้ํากัดทําลายได้บ้างเล็กน้อย ซึ่งผู้ออกแบบจะต้องเลือกใช้ขนาดคลอง (หมายถึง b และ d) ต่าง ๆ กัน
จนกว่าจะได้ผลตามที่ต้องการ

ในการออกแบบรูปตัดขวางของคลองส่งน้ํานั้นจะต้องคํานวณอัตราเร็วของน้ําในคลอง (V) ก่อน เมื่อเอา


อัตราเร็วของน้ําคูณกับเนื้อที่รูปตัดขวางของคลองที่น้ําไหลผ่าน (A) ก็จะได้ปริมาณน้ําที่ไหลในคลอง (Q) นั่นคือ

Q = AV

การออกแบบคลองส่งน้ํา -23- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

ถ้า slope (S) = 10,000 (หรือ 0.0001) หรือมากกว่าและ R มีค่า 1 ถึง 30 ฟุต ค่าของ n สําหรับ
Manning’s formula ให้ใช้ตามค่าในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 3-1 ค่าสัมประสิทธิค์ วามขรุขระของ Manning (Manning’s n) สําหรับชนิดของพื้นที่ผิวทางน้ําชนิด


ต่างๆ
สภาพ
ชนิดของผิวทางน้ํา
ดีมาก ดี ปานกลาง เลว
คลองส่งน้ําและคูนา้ํ
คลองดินที่มีแนวตรงและรูปตัดสม่ําเสมอ 0.017 0.020 0.0225* 0.025
คลองที่ลาดตลิ่งเป็นดินปนกรวดปนหิน 0.028 0.030 0.033 0.035
คลองดินที่ก้นคลองมีดินปนกรวด ตลิ่งมีหญ้าขึ้น 0.025 0.030 0.035 0.040
คลองที่ขุดผ่านหินและตกแต่งผิวเรียบ 0.025 0.030 0.033* 0.035
คลองขุดผ่านหินขรุขระและรูปตัดไม่สม่ําเสมอ 0.035 0.040 0.045 -
คลองดินที่คดเคี้ยวมาก 0.0225 0.025* 0.0275 0.030
คลองดาดคอนกรีต 0.012 0.014* 0.016 0.018
รางน้าํ หรือสะพานน้ํา
คอนกรีตผิวเรียบ 0.012 0.014* 0.016* 0.018
ไม้ผิวขัดเรียบ 0.010 0.012* 0.013 0.014
ไม้ผิวไม่เรียบ 0.011 0.013* 0.014 0.015
โลหะรูปครึ่งวงกลมผิวเรียบ 0.011 0.012 0.013 0.015
โลหะรูปครึ่งวงกลมผิวเป็นลอน 0.0225 0.025 0.0275 0.030
ท่อชนิดต่างๆ
เหล็กหล่อไม่ฉาบผิว 0.012 0.013 0.014 0.015
เหล็กหล่อฉาบผิวเรียบ 0.011 0.012* 0.013* -
เหล็กดําไม่ฉาบผิว 0.012 0.013 0.014 0.015
เหล็กดําอาบสังกะสี 0.013 0.014 0.015 0.017
ทองเหลือผิวเรียบ หรือหลอดแก้ว 0.009 0.010 0.011 0.013
ดินเผาใช้ทําท่อน้ําโสโครก 0.011 0.012 0.014 0.017
อิฐก่อใช้เป็นท่อน้ําโสโครก 0.012 0.013 0.015 0.017
คอนกรีต 0.012 0.013 0.015* 0.016
ไม้ 0.010 0.011 0.012 0.013
ที่มา: การวางแผนและออกแบบระบบส่งน้ําชลประทาน คณาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน, 2546.
หมายเหตุ: * เป็นค่าที่แนะนําให้ใช้ในการออกแบบทางน้ํา

ลาดตลิ่งคลอง (side slopes of canal = SS) ลาดตลิ่งคลองนี้คํานวณไม่ได้ ต้องเลือกใช้ให้เหมาะ


กับสภาพของดินที่จะขุดคลอง หรือที่จะถมให้เป็นรูปคลอง กล่าวคือ
(1) ลักษณะเนื้อดิน (soil textures)
เป็นดินเหนียว ดินธรรมดา ดินร่วน ดินปนทราย ดินปนกรวด ดินดาน ฯลฯ

การออกแบบคลองส่งน้ํา -24- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

(2) โครงสร้างของดิน (soil structures)


เป็นดินเนื้อละเอียดแน่น หรือเนื้อโปร่งร่วน ฯลฯ
(3) ลักษณะของงานก่อสร้าง
เป็นคลองที่ขุดในดินเดิมตามปกติ หรือเป็นคลองที่เกิดจากการถมดินให้เป็นรูปคลอง
(4) วิธีการขุดคลอง
ใช้ขุดด้วยแรงคน หรือขุดด้วยเครื่องจักร

ความประสงค์สําคัญของการเลือกใช้ลาดตลิ่งคลองให้เหมาะกับสภาพต่างๆ ดังกล่าวก็คือ เพื่อให้


ลาดตลิ่งคลองสามารถต้านทานกระแสน้ํา (กรณีที่เป็นคลองดิน) และทรงตัวอยู่ได้อย่างถาวร ดินลาดตลิ่งคลอง
จะตั้งอยู่ได้ชันเท่าใดนั้นยากที่จะกําหนดได้แน่นอน แต่ตามปกติลาดตลิ่งคลองจะชันกว่า Angle of repose
หรือ angle of internal friction ของดินชนิดนั้นไม่ได้ และสําหรับดินชนิดเดียวกันมุมทรงตัวของลาดตลิ่ง
คลองในดินขุดจะชันกว่าในดินถม

นอกจากลาดตลิ่งคลองจะพังทลายเพราะต้านทานกระแสน้ําไม่ได้ หรือทรงตัวอยู่ไม่ได้แล้ว ยังอาจ


พังทลายเพราะสาเหตุอื่นอีกหลายอย่าง เป็นต้นว่าคลื่นในคลองที่เกิดจากลมและเรือ (ในกรณีที่ใช้คลองส่งน้ํา
สําหรับเดินเรือด้วย) จะเซาะลาดตลิ่งคลองบริเวณระดับผิวน้ําให้เป็นโพรงลึกเข้าไปในตลิ่ง ดินลาดตลิ่งข้างบน
ที่ไม่มีฐานรองรับก็จะเลื่อนพังลงมา หรือในขณะฝนตกหนัก น้ําฝนจะไหลลงคลอง และกัดดินลาดตลิ่งคลองพัง
หรือ ถูกคนและสัตว์เหยียบย่ําทําลาย ดังนั้น คลองที่ใช้งานไปนานปี ลาดตลิ่งคลองจะเปลี่ยนไปและทําให้รูป
ตัดขวางของคลองที่ออกแบบไว้เปลี่ยนไปด้วย

อย่างไรก็ดี การเลือกใช้ลาดตลิ่งคลอง ให้เหมาะสมกับสภาพของดินก็พอจะกําหนดได้ดังต่อไปนี้


- สําหรับการขุดในพื้นดินดาน ใช้ลาด 1:1/4
- สําหรับการขุดในพื้นหินแตกร้าวและดินดานแข็ง ใช้ลาด 1:1/2
- สําหรับการขุดในพื้นกรวดแน่นและดินเหนียวที่ ใช้ลาด 1:3/4
เกือบเป็นดินดาน
- สําหรับการขุดในดินปนกรวดทรายแน่นและ ใช้ลาด 1:1
ดินเหนียวธรรมดาค่อนข้างแห้ง
- สําหรับการขุดหรือถมในดินธรรมดา ใช้ลาด 1:1 1
2
และในดินที่มีกรวดปนอยู่บ้างไม่แน่นนัก
- สําหรับการขุดหรือถมในดินธรรมดา ใช้ลาด 1:2
ค่อนข้างร่วน
- สําหรับการขุดหรือถมในดินปนทราย ใช้ลาด 1:3
ค่อนข้างร่วน
- สําหรับการขุดในดินชายทะเล ใช้ลาด 1:4 ถึง 1:5

คันคลอง (Embankments) คันคลอง คือ คันดินซึ่งตั้งอยู่บนสองฝั่งคลอง และมีแนวขนานไปกับ


แนวคลอง มีลักษณะและหน้าที่ดังต่อไปนี้

การออกแบบคลองส่งน้ํา -25- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

1) เป็นที่ทิ้งดินซึ่งขุดขึ้นมาในเวลาขุดคลองโดยไม่ได้ทําหน้าที่อย่างใดเลย
2) เป็นคันดินที่ทําหน้าที่ป้องกันไม่ให้น้ําในคลองไหลออกไปจากคลอง หรือไม่ให้น้ําภายนอกไหลเข้า
มาในคลอง

สําหรับคันคลองที่ไม่ได้ทําหน้าที่เป็นคันกั้นน้ํา การกําหนดขนาดคันคลองไม่สู้จะมีปัญหานัก คง
เพียงแต่คอยระวังให้ลาดข้างคันคลองหรือลาดตลิ่งคันคลองเหมาะสมกับดินที่ถมเท่านั้น เพื่อไม่ให้คันคลองพัง
ลงคลองหรือทลายออกไปทับที่ดินข้างคลองได้ แต่คันคลองที่ทําหน้าที่เป็นคันกั้นน้ํา การกําหนดขนาด การ
ก่อสร้าง การบํารุงรักษาคันคลองเป็นเรื่องสําคัญที่จะต้องทําให้ถูกต้องและมั่นคงแข็งแรง เพราะถ้าคันคลอง
ตอนใดขาดจะกระทบกระเทือนการส่งน้ําในช่วงคลองที่อยู่ถัดจากช่องขาดลงไป และน้ําที่ไหลออกจากคลอง
ทางช่องขาดจะทําความเสียหายแก่พื้นที่เพาะปลูกที่อยู่ใกล้เคียงกับช่องขาดได้มาก

สัดส่วนของคันคลองที่ทําหน้าที่เป็นคันกั้นน้ําซึ่งจะต้องพิจารณามี 3 อย่าง คือ


- ลาดตลิ่งคันคลอง
- ระดับหลังคันคลอง
- ความกว้างของหลังคันคลอง

ระยะหรือความสูงจากระดับน้ําใช้การเต็มที่ในคลอง (F.S.L.) ถึงระดับหลังคันคลอง (T.B.) เรียกความ


สูงเผื่อล้น (Freeboard, F) ของคลอง (ระยะ fe ในรูปที่ 3.1) ในการออกแบบคลอง จะต้องกําหนดความสูงเผื่อ
ล้นให้สูงพอที่น้ําจะไม่ล้นข้ามหลังคันคลองในขณะที่ระดับน้ําในคลองสูงกว่าระดับใช้การเต็มที่ผิดปกติอย่าง
รวดเร็ ว ซึ่ ง อาจเกิ ด ขึ้ น จากสาเหตุ ต่ า งๆ เช่ น จากการอั ด น้ํ า ด้ ว ยประตู ร ะบายทดน้ํ า กลางคลอง การไม่
ระมัดระวังในการเปิดประตูระบายน้ําในคลอง เกิดอุบัติเหตุในขณะส่งน้ําเข้าคลองเต็มที่ อิทธิพลของคลื่นใน
คลอง การเลื่อนพังของตลิ่งคลอง เกิดฝนตกหนัก มีน้ําไหลเข้ามาในคลองมาก เหล่านี้เป็นต้น

ตามปกติความสูงเผื่อของคลองที่ขุดในดินเท่าที่เคยใช้กันมีดังต่อไปนี้
สําหรับคูน้ําขนาดเล็ก ใช้ F = 0.30 เมตร
สําหรับคลองซอยขนาดเล็ก ใช้ F = 0.50 เมตร
สําหรับคลองซอยขนาดกลาง ใช้ F = 0.30+0.25d เมตร
คลองของโครงการเจ้าพระยา ใช้ F = 0.20+0.20d เมตร
ในเมื่อ d = ความลึกของน้ําในคลองเป็นเมตร
สําหรับคลองสายใหญ่ ใช้ F = 1.50 – 2.00 เมตร

การออกแบบคลองส่งน้ํา -26- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

3.4 เกณฑ์กําหนดขนาดคลองส่งน้ําดาดคอนกรีตตามมาตรฐานของกรมชลประทาน

กรมชลประทาน ซึ่งเป็นหน่วยราชการที่ปฏิบัติงานด้านการออกแบบระบบส่งน้ํามาเป็นเวลานาน ได้


กําหนดมาตรฐานการออกแบบระบบส่งน้ําและระบายน้ํา โดยการรวบรวมจากเอกสารทางวิชาการต่างๆ และ
จากประสบการณ์ที่ได้ดําเนินงานด้านการสํารวจ ออกแบบและใช้งานมาเป็นเวลานาน (กรมชลประทาน,
2547) ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

1. ลาดท้องคลอง (S)
ในการออกแบบคลองส่งน้ํา โดยปกติจะกําหนดให้การไหลเป็นแบบ Uniform flow ดังนั้น เมื่อ
กล่าวถึ งลาดท้ องคลอง จะหมายถึ งลาดผิวน้ํานั่ นเอง ค่าความลาดท้ องคลองจะสัม พันธ์ กับความเร็ว ของ
กระแสน้ําและระดับน้ําใช้การเต็มที่ (Full Supply Level, F.S.L.) โดยทั่วไป ลาดท้องคลองส่งน้ํา (S) จะอยู่
ระหว่าง 1:1,000 ถึง 1:10,000 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
- ลาดแผ่นดินตามแนวคลองส่งน้ํา
- ลักษณะและปริมาณตะกอนที่ไหลมากับน้ํา
- ตามพินิจพิจารณาของผู้ออกแบบ

2. รูปตัดขวางของคลองส่งน้ํา
การเลือกรูปตัดขวางของคลองส่งน้ํานั้น จะพิจารณาจากรูปตัดที่เล็กที่สุดและสามารถรับปริมาณ
น้ําได้มากที่สุด ซึ่งจะใช้อัตราส่วน B/D และค่า S.S. เป็นตัวกําหนด
โดยที่ B = ความกว้างท้องคลอง (Bed width of canal) ไม่น้อยกว่า 0.50 ม.
D = ความลึกของน้ําในคลอง (Depth of water in canal)
S.S. = ลาดข้างคลอง (Side slope) จะอยู่ระหว่าง 1:1 ถึง 1:2
สําหรับคลองส่งน้ําที่เป็นคลองดาดคอนกรีต อัตราส่วน B/D ที่เหมาะสมจะอยู่ระหว่าง 0.5 ถึง 2.0

3. คันคลองส่งน้ํา
ความกว้างคันคลอง ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการใช้และความจําเป็นด้านการจราจร โดยจะ
กําหนด ดังนี้
1. คันคลองที่ไม่ได้ใช้เป็นถนนจะมีความกว้าง 2.00 ม.
2. คันคลองที่ใช้เฉพาะการบํารุงรักษาจะมีความกว้าง 4.00 ม.
3. เป็นถนนลูกรังหรือราดยางชั้นเดียวจะใช้ 6.00 ม.
4. สําหรับคันคลองที่เป็นทางเชื่อมระหว่างถนนหลัก หรือมีผู้ใช้ถนนหนาแน่นจะกําหนดการราด
ยางตามมาตรฐานกรมทางหลวง และกําหนดความกว้างคันคลองไว้ 9.00 ม.

ความสูงของคันคลองส่งน้ํา หรือ Freeboard ของคันคลอง คือ ระยะที่วัดจากระดับน้ําสูงสุด


จนถึงระดับคันคลองส่งน้ํา จะกําหนดตามความจุของคลอง โดยดูรายละเอียดได้จากตารางที่ 3-2 แสดงระยะ
เผื่อพ้นน้ํา (Freeboard)

การออกแบบคลองส่งน้ํา -27- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

ความลาดคันคลองส่งน้ํา (Side Slope, S.S.) ถ้าคันคลองสูงกว่าดินเดิมไม่เกิน 2.00 ม.


กําหนดให้ลาดด้านข้าง ตั้ง : ราบ = 1 : 1.5 แต่ถ้าเกิน 2.00 ม. กําหนดให้ลาดด้านข้าง = 1 : 2.0

4. ชานคลอง (Berms)
สําหรับคลองที่ขุดลึกมากๆ หรือบริเวณเชิงเขาที่จะต้องมีการตัดดิน จะมีชานคลองเป็นชั้นๆ ทุก
ความลึก 3.00 ม. เพื่อป้องกันการพังทลายของลาดดิน อีกทั้งจะสามารถใช้เป็นทางเพื่อทําการบํารุงรักษา ค่า
ความกว้างชานคลองกําหนดไว้ระหว่าง 1-2 ม. ตามขนาดของคลองและให้ลาด (Slope) ของชานคลองเท่ากับ
12%

5. ระยะเผื่อพ้นน้ํา (Freeboard)
ระยะเผื่อพ้นน้ํา (Freeboard) สําหรับคลองดาดคอนกรีต จะมี 2 ค่า คือ
1. ค่าความสูงของคันคลอง
2. ค่าของขอบคอนกรีตดาด คือ ระยะที่วัดจากระดับน้ําสูงสุดจนถึงขอบคอนกรีตดาด กําหนด
ตามเกณฑ์ ดังนี้

ตารางที่ 3-2 ค่า Freeboard ของคลองส่งน้ําดาดคอนกรีต


ปริมาณน้ํา Freeboard ของขอบคอนกรีตดาด Freeboard ของคันคลอง
3
(ม. /วินาที) (ม.) (ม.)
< 1.00 0.15 0.45
1.00 – 2.50 0.20 0.60
2.50 – 5.00 0.25 0.70
5.00 – 10.00 0.35 0.85
> 10.00 0.50 1.00
ที่มา: กรมชลประทาน, 2547

6. ความโค้งของคลองส่งน้ํา
ค่ารัศมีความโค้งสําหรับคลองดาดคอนกรีต โดยทั่วไปกําหนดไว้ไม่น้อยกว่า 3 เท่าของความกว้าง
หน้าตัดผิวน้ําในคลองที่ระดับน้ําใช้การเต็มที่ (F.S.L.) ถ้าคันคลองเป็นถนนลาดยางจะต้องกําหนดให้ปลอดภัย
ตามมาตรฐานของกรมทางหลวง แต่ถ้ามีความจําเป็นต้องวางแนวคลองให้มีรัศมีน้อยกว่าที่กําหนด ในการ
ออกแบบอาจจะต้องเพิ่ม Guide vane เพื่อกระจายการไหลของน้ําให้มากที่สุด และจะต้องเพิ่ม Head Loss
บริเวณโค้งนี้ด้วย

7. รายละเอียดอื่น ๆ
ความหนาของคอนกรีตดาดคลอง ได้ปรับมาจากมาตรฐานของกรมชลประทานสหรัฐดังตารางที่
3-3 ในความยาวของแผ่นคอนกรีตแต่ละช่วง จะต้องมีการเซาะร่องป้องกันการแตกร้าวไว้ด้วย โดยจะกําหนด
ความหนาของคอนกรีตดาด และความยาวของแผ่นคอนกรีต (Groove spacing) ดังนี้

การออกแบบคลองส่งน้ํา -28- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

ตารางที่ 3.3 ความหนาของคอนกรีตดาด และความยาวของแผ่นคอนกรีต


ปริมาณน้ํา ความหนาของ ความยาวของ ปีกข้างคลอง
3
(ม. /วินาที) แผ่นคอนกรีต (ซ.ม.) แผ่นคอนกรีต (ม.) (ซ.ม.)
< 1.00 6 3.00 15
1.00 – 2.50 6 3.00 20
2.50 – 5.00 7 3.00 20
5.00 – 10.00 7 3.50 30
10.00 – 15.00 8 4.50 30
ที่มา: กรมชลประทาน, 2547

- สําหรับคลองส่งน้ําดาดคอนกรีตขนาดใหญ่ ที่มีความลึกของน้ําตั้งแต่ 1.00 ม. ขึ้นไป และเป็น


คลองจม จะต้องพิจารณาเพิ่ม Flap valve weephole ที่บริเวณลาดของคลองส่งน้ําด้วย สําหรับคลองที่ใหญ่
มากๆ ควรมีการคํานวณแรงดันน้ําและเพิ่ม weephole ที่ท้องคลองด้วย

การออกแบบคลองส่งน้ํา -29- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

3.5 ตัวอย่างการคํานวณขนาดคลองส่งน้ํา

คลองซอย 1L ยาว 3.500 ก.ม. ควบคุมเนื้อที่ซึ่งแบ่งออกเป็นแฉกส่งน้ําต่าง ๆ ดังรูป


ให้คํานวณขนาดคลองซอยสายนี้ เมื่อกําหนดให้
เนื้อที่ชลประทาน (irrigable area) = 80% ของเนื้อที่ทั้งหมด
ชลภาระ (water duty) = 0.20 ลิตร/วินาที/ไร่
S = 1 : 8,000
n = 0.018
SS = 1 : 11
2

พื้นทีส่ ่งน้ําของคลองซอย 1L (อรุณ, 2534)

การออกแบบคลองส่งน้ํา -30- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

วิธีคํานวณ การคํานวณจะใช้ Manning’s formula ก่อนคํานวณขนาดคลองส่งน้ํา จะต้องทําบัญชีแฉกส่ง


น้ํา คือ ตารางแสดงจุดที่จะฝังท่อส่งน้ําเข้านา (Farm turnout) เลขที่ประจําแฉกส่งน้ํา ปริมาณน้ําที่จะส่งให้
แฉกส่งน้ํา และปริมาณน้ําที่จะต้องส่งผ่านคลองในช่วงต่างๆ ดังต่อไปนี้

ระยะทาง แฉกส่งน้ํา เนื้อที่แฉกส่งน้าํ ปริมาณน้ํา ปริมาณน้ํา


(กม.) เลขที่ (ไร่) ประจําแฉก ที่ต้องส่ง
จาก ถึง R L ทั้งหมด ชป. (ม.3/วินาที) (ม.3/วินาที)
0 + 000 0 + 200 - - - 3.200
0 + 200 0 + 800 1 1500 1200 0.240
2 2000 1600 0.320 2.640
0 + 800 1 + 600 3 2400 1920 0.384
4 2500 2000 0.400 1.856
1 + 600 2 + 600 5 2500 2000 0.400
6 2400 1920 0.384 1.072
2 + 600 3 + 500 7 3500 2800 0.560
8 3200 2560 0.512 0.000
รวม 20000 16000 3.200 0

ปริมาณน้ําประจําแฉก
แฉก 1 ขวา = 0.0002 x 1,200 = 0.240 ม.3/วินาที
แฉก 2 ซ้าย = 0.0002 x 1,600 = 0.320 ม.3/วินาที
แฉก 3 ขวา = 0.0002 x 1,920 = 0.384 ม.3/วินาที
แฉก 4 ซ้าย = 0.0002 x 2,000 = 0.400 ม.3/วินาที
แฉก 5 ขวา = 0.0002 x 2,000 = 0.400 ม.3/วินาที
แฉก 6 ซ้าย = 0.0002 x 1,920 = 0.384 ม.3/วินาที
แฉก 7 ขวา = 0.0002 x 2,800 = 0.560 ม.3/วินาที
แฉก 8 ซ้าย = 0.0002 x 2,560 = 0.512 ม.3/วินาที

รวม 8 แฉก = 0.0002 x 16,000 = 3.200 ม.3/วินาที

การออกแบบคลองส่งน้ํา -31- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

รูปตัดที่ 1 จาก ก.ม. 0+000 ถึง ก.ม. 0+200 ปริมาณน้ําที่จะต้องส่ง = 3.200 ม.3/วินาที

1 d
z
b
สมมติให้ b = 2.60 เมตร
d = 1.35 เมตร
A = (b + 1.5 d) d
= [2.60 + (1.5 x 1.35)] 1.35
= 6.244 ม.2
P = b + 2d 1 z 2
= 2.60 + (2 x 1.35 1 1.5 2 )
= 7.467 เมตร
R = A/P
= 6.244 / 7.467
= 0.836 เมตร
1 2 / 3 1/ 2
V = R S
n
1
0.836 2 / 3 1 / 8000 
1/ 2
=
0.018
= 0.551 เมตร/วินาที
Q = AV
= 6.244 x 0.551
= 3.442 ม.3/วินาที > Qrequired OK
b/d = 2.60 / 1.35
= 1.926 อยู่ระหว่าง 0.5 – 2.0 OK

สําหรับ รูปตัดที่ 2 จาก ก.ม. 0+200 ถึง ก.ม. 0+800


รูปตัดที่ 3 จาก ก.ม. 0+800 ถึง ก.ม. 1+600
รูปตัดที่ 4 จาก ก.ม. 0+600 ถึง ก.ม. 3+500
คงคํานวณขนาดได้เช่นเดียวกัน
จากการคํานวณขนาดรูปตัดขวางของคลองซอยสายนี้ อาจนําผลการคํานวณมารวมไว้ในตารางโดย
อ้างอิงระยะต่าง ๆ ตามรูปมาตรฐานคลองส่งน้ํา ดังต่อไปนี้

การออกแบบคลองส่งน้ํา -32- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

Q A v R n S ss b d t Wc Bm fb fe HL HR TL TR RL RR
3.442 6.244 0.551 0.836 0.018 1:8000 1:1.5 2.60 1.35 0.07 0.20 1.00 0.25 0.70 2.05 2.05 2.00 6.00 10.00* 14.00*
* คํานวณจาก ระยะตามรูปตัดขวางของคลอง + ระยะของลาดคันคลองตามแนวนอน + 2

การออกแบบคลองส่งน้ํา -33- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
ว น
คณะวิศวกรรรมศาสตร์ กําแพงงแสน มหาวิทยาลัลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การอออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

บททีที่ 4 ช่วงต่อเชื
เ ่อม

ช่ ว งต่ อ เชื่ อ ม หรื อ Transsition เป็ น อ าคารที่ ส ร้ า งขึ


ง ้ น ในทางน้น้ํ า เมื่ อ มี ก ารเเปลี่ ย นรู ป ตั ดการไหล

โดยทั่วไปป เพื่อให้การเปลี่ยนรูปตัดของทางน้
ด ํา (Water
( prism) เป็นแบบค่อยๆ เปลี่ยยน ซึ่งจะใช้ทัท้ังทางเข้า
(Inlet) และทางออก
แ (Outlet) ขอองอาคาร แลละตําแหน่งที่มีมการเปลี่ยนรู น ปตัดคลอง โดยมีจุดประะสงค์เพื่อ
(Young, 1978)
(1) ทําให้การไหลลของน้ําราบเรีรียบ
(2) ลดการสูญเสียพลังงาน
(3) ลดการกัดเซาาะในคลอง
(4) ลดระดับผิวน้ําท่วมขังที่อาคารระบายน้าํ (Cress-drainage structture)
(5) เพิ่มเสถียรภาพของอาคารรที่เชื่อมต่อโดดยการเพิ่มควาามต้านทานต่อการซึมลอดดใต้อาคาร
(Percolaation)
(6) ป้องกันดินถมมท้ายอาคาร

4.1 ชนิดของช่
ด วงต่อเชื
เ ่อม
ช่วงต่อเชื่อมขของอาคารในแนวคลอง (Innline canal structure transitions)
t โโดยทั่วไป ช่วงต่อเชื่อม
คอนกรีตสํ
ต าหรับ Inlinne canal struuctures มี 3 ประเภท (ปฏิฏิภาณ, ม.ป.ปป.) คือ
(1) Streeamlined warp
w transition เป็นรูปแบบที
แ ่คล้อยตตามแนวเส้นการไหล (Streaamlines)
ส ติทางชลฃฃศาสตร์ดีมากก (Best hydrraulic propeerty) เหมาะกักับอาคารขนาดใหญ่ที่มี
ให้มากที่สุด จึงให้คุณสมบั
ปริมาณนน้ําผ่านมาก แต่มีความยุ่งยาากในการก่อสร้
ส าง
(2) Straaight-warp transition เป็นแบบที่ดัดัดแปลงมาจาากแบบแรก เเพื่อให้ก่อสร้างง่
า าย แต่
คุณสมบัติตทิ างชลศาสตตร์จะไม่ดีนัก เหมาะกับอาคคารขนาดใหญ
ญ่และขนาดกลลาง
(3) Brokken-back transitionหหรือ Dogleg เป็นแบบที่ก่อสร้
อ างง่าย คุณ
ณสมบัติทางชชลศาสตร์
พอใช้ได้ เหมาะกับอาคคารชลประทาานขนาดเล็กและอาคารในร
แ ระบบส่งน้ําทัวไป
ว่

Broken baack

รูปที่ 4--1 ช่วงต่อเชื่อมของอาคารใ


อ ในคลองส่งน้าแบบต่
าํ างๆ
การออกแบบ transition -34- ดร.ยุทธนา ตาละลั
ต กษมณ์
ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

4.2 การออกแบบทางชลศาสตร์
(1) ความยาวช่วงต่อเชื่อม
- ในอาคารขนาดใหญ่ และ
ต้องการคุณสมบัติทางชลศาสตร์ที่ดีทีสุด มุมที่
FSL.
เกิดจากเส้นผิวน้ําสูงสุดตัดกับลาดด้านข้าง ทํา
มุมกับแนวศูนย์กลางของช่วงต่อเชื่อม ( ) ให้
ใช้เท่ากับ 27 1/2Oสําหรับช่วงต่อเชื่อมด้าน CL 
เหนือน้ํา และเท่ากับ 22 1/2O สําหรับช่วง
ต่อเชื่อมด้านท้ายน้ํา
- ในอาคารขนาดใหญ่ และต้องการประหยัดค่าก่อสร้าง อาจใช้  = 25Oทั้งด้านเหนือน้ําและ
ท้ายน้ํา
- กรณีอาคารขนาดเล็กและทําหน้าที่อัดน้ํา (Check) อาจใช้ = 30Oสําหรับช่วงต่อเชื่อมด้าน
เหนือน้ํา
(2) Transition Loss
การคํานวณหา Losses (ยกเว้น Friction Loss เพราะมีค่าน้อยมาก) ใน Transitions จะใช้ค่า
Inlet Coefficient (Ki) และ Outlet Coefficient (Ko) ตามลักษณะของ Transition ต่อไปนี้เป็นตัวคูณกับ
ความแตกต่างของ Velocity Head ณ ที่จุดปลาย Transition ต่อกับคลองและ ณ ทีจ่ ุดต่อกับปากท่ออีกจุด
หนึ่ง (hV)

ชนิดหรือลักษณะ Transition-Closed Conduit Ki Ko


Broken Back - หน้าตัดสี่เหลี่ยมผืนผ้า 0.30 0.50
Broken Back - ท่อกลมหรือท่อสี่เหลี่ยมผืนผ้า 0.40 0.70
คลองรูปสี่เหลีย่ มคางหมู - ท่อกลม 0.50 1.00
Through – The bank 0.78 1.00
V 2
V 
2
Transition Loss (Inlet) = Ki  2
 1

2g 2g
 
 V2
2
V1 
2
Transition Loss (Outlet) = Ko   
2g 2 g
 

การออกแบบ transition -35- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

4.3 ตัวอย่างการออกแบบช่วงต่อเชื่อม

ในการศึกษารายวิชานี้ จะพิจารณาเฉพาะการออกแบบโครงสร้างช่วงต่อเชื่อมชนิด Broken back

จงออกแบบ OUTLET TRANSITION เชื่อมต่อระหว่างหน้าตัดสี่เหลี่ยมผืนผ้า และคลองรูปสี่เหลี่ยมคางหมู


(สันติ, 2555)

ข้อมูลหน้าตัดสี่เหลี่ยมผืนผ้า
- ความกว้าง 2.20 เมตร
- ความสูง 3.00 เมตร

ข้อมูลคลองรูปสี่เหลี่ยมคางหมู
- ก้นคลองกว้าง 2.60 เมตร
- ความลึกของน้ํา 1.79 เมตร
- ความลาดเทด้านข้าง 1 : 1.50 เมตร
- ความสูงของคลอง 2.10 เมตร
ข้อมูลของระดับต่างๆ ดูในรูปที่ 2

เกณฑ์กําหนดในการออกแบบ
- ดินถมอัดแน่น ,  1.9 ตัน / ม.3
- ดินอิ่มตัวด้วยน้ํา , sat 2.2 ตัน / ม.3
- มุมแรงเสียดทานภายในของดิน ,  30 องศา
- Bearing Capacity ของดิน 10 ตัน / ม.2
- คอนกรีตเสริมเหล็ก ,  2.4 ตัน / ม.3
- เหล็กรับอุณหภูมิ 0.15% ในทุกผิว
- กําหนดให้ใช้ COVERING 5 เซนติเมตร
- การออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็กให้ใช้ตามหลักการของ Working Stress
Ms = As.fs.j.d โดย fs = 1,500 กก. / ซม.2 และ j = 0.885
2
Mc = R.b.d โดย R = 11.995
vc = V
bd
u = V
o. j.d
- คานที่ไม่เสริมเหล็กรับแรงเฉือน ,vc 3.8 กก. / ซม.2
- ข้อกําหนดอื่นๆ ให้ใช้ตามมาตรฐานรายละเอียดการเสริมเหล็กในอาคารคอนกรีต (กรมชลประทาน,
2535)

การออกแบบ transition -36- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

วิธีทํา
Length of transition = 1.5  1.79  0.5  2.00  0.5  2.20
tan 22.5

= 6.97 m.
กําหนดใช้ L = 7.00 m.
ทําการกําหนดรูป PLAN และ LONGITUDINAL SECTION ได้ดังรูปที่  และ 
Design reinforcement of-
ใช้หน้าตัด B-B ซึ่งเป็นหน้าตัดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
0.20 SURCHARGE 0.3 T/m.2

3.0
P2
P1
P1

0.30 O+

2.20 0.30

สมมติว่าไม่มีนา้ํ ใต้ดิน
ดินถมอัดแน่นมีความหนาแน่น 1,900 kg/m3
Internal friction angle,  30o
ka = 1
3
Su = 300 kg/m2
ออกแบบกรณีวิกฤตเมื่อน้ําใน transitionไม่มี
P1 = 1 KaSOIL H2
2
= 1 
0.5   1900   3 
0 .3 

2

3  2 
= 3142.13 kg/m.
P2 = ka.Su.H
= 1
 300  3  0.15  = 315 kg/m.
3
Vmax = 3142.13 + 315 = 3457.13 kg/m.
Mmaxรอบจุด O =  3  0.15 
3142 .13     315 
3.15
 3  2
Mmax = 3795.36 (kg-m)/m.
เกณฑ์ที่ใช้ในการออกแบบคอนกรีตและเหล็ก
dm = M / Rb = 3795.36  100
11.995  100
= 17.79 ซม.

การออกแบบ transition -37- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

dv = V = 3457 .13 = 9.10 ซม.


v c .b 3.8  10
Use t = 30 ซม.
Covering = 5 ซม.
d = 25 ซม.
As = M = 3795.36  100
fs. j.d 1500  0.885  25
2
As = 11.44 ซม.
Use  16 @ 0.20 + 12 @ 0.20 ได้
2 2
As = 10.05 + 5.65 = 15.70 ซม. > 11.44 ซม. OK.
ใช้เหล็กรับอุณหภูมิ 0.15% ของหน้าตัด
Ast = Asmin = 0.0015  100 30
2
= 4.50 ซม.
2
Use  12 @ 0.20 ได้ As = 5.65 ซม. > 4.50 ซม.2 OK.

CL
P2
3.15 P1
O
1.25
1800 kg

4126.11 kg-m
1285.71 kg/m
Weight of side wall = 1
 (0.20  0.30)  3.00  2400
2
= 1800 kg/m.
Upward soil reaction = 2  1800 = 1285.71 kg/m.2
2.80  1.00
Moment at CL =  4126 .11  1285 .71 
1.25 2
 1800  1.25
2
Moment at CL =  4126.11  1004.46  2250
= -2880.57 kg-m/m.
As = 2880.57  100 = 8.68 ซม.2
1500 0.885 25
Use 16 @0.20ได้ As = 10.05 ซม.2 > 8.68 ซม.2 OK.
หาระยะ 
M for bars  16 @ 0.20 = 10.05  1500 0.885
25
100
= 3335.34 kg-m
2
 4126.11  1285.71  1800 
2
= -3335.34

การออกแบบ transition -38- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

 = 0.546 ซม. Use 0.80 ซม.


การลดเหล็กทีก่ ําแพง
กําหนดให้ลดเหล็กที่ความลึก 1.80 m. จากขอบกําแพง
P1 = 1 1
  1900  1.8 2 = 1026 kg
2 3
P2 = 1
 300  1.8 = 180 kg
3
Mmax = 1026 
1.8
 180 
1.8 = 777.6 kg-m
3 2
As = 777.60  100 = 2.79 ซม.2 < Ast
1500  0.885  26  5
Use  12 @ 0.20ได้ As = 5.65 ซม.2(เสริมเหล็กอย่างน้อยเท่ากับ Ast)
Design reinforcement of  - 
Use section  -  for designing
Height of vertical wall = 1.8 m.
Height of sloped wall = 0.85 m.
Thickness of slab = 0.25 m.

CL

1.80 P2 = 180
P1= 1026
1.275
SOIL SURCHARGE
0.85
1.25 918 kg. 972 kg.

748.51 kg/m.

การออกแบบ transition -39- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

P1 = 1
 1900 
1.8 2 = 1026 kg/m.
3 2

P2 = 1
 300  1.8 = 180 kg/m.
3

Weight of vertical wall = 1


 0.20  0.25  1.8  2400
2

= 972 kg/m.
Weight of sloped wall = 0.25 1.53  2400

= 918 kg/m.
 Upward soil reaction = 972  918
1.25  1.275

= 748.51 kg/m.2/m.
MA = 1026 
1. 8
 180 
1 .8 = 777.6 kg-m.
3 2

(เสริมเหล็กรับโมเมนต์ผิวนอก)
As = 777.6  100 = 2.93 ซม.2 Use  12 @ 0.20
1500 0.885  25  5

Ast = 0.0015  25  100 = 3.75 ซม.2 As = 5.65 ซม.


2

MB = 1.8 748.51 1.275 2


1.8 9181.275
1026  0.85   180  0.85    9721.275
 3  2  2  2

= 1487 .70  608 .40  315  585 .23  1239 .3

= 586.57 kg-m/m (เสริมเหล็กรับโมเมนต์ผิวนอก)


As = 586.57  100 = 2.21 ซม.2 Use  12 @ 0.20
1500  0.885  25  5

MCL = 1.8 1.8 2.525 1.275


1026    0.85   180  0.85   748.51
2
 918  1.25   9721.275  1.25
 3   2  2  2 

MCL = 1487 .70  315  2386 .11  1732 .73  2454 .30

= +1.78 kg-m/m (เสริมเหล็กรับโมเมนต์ผิวนอก)


As = 1.78  100 = 0.0067 ซม.2 Use  12 @ 0.20
1500  0.885  25  5

การออกแบบ transition -40- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

A
1.00

CL
0.15

1.30
3.15
1 :1.5

0.20

รู ปที่ 1 HALF PLAN OF TRANSION


1 :1.5
แนวศูนย์ กลางของอาคาร

7.00
0.10
0.25

0.10
0.20

CL
A

การออกแบบ transition -41- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

+22.23

2.10
0.05

0.20
+20.13

1.00

0.20
0.20
REINFORCEMENT OF -

1:1.5

รู ปที่ 2 SECTION A-A


7.00
C
C
REINFORCEMENT OF  -
2.86 m.

0.30

0.30
0.10
B

B
+19.67

0.20
ELASTIC FILLER

+22.67

3.0
0.30
0.25

การออกแบบ transition -42- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

0.20

12 @ 0.20
1.80
12 @ 0.20
3.0 12 @ 0.20

 12 @ 0.20 16 @ 0.20


1.20

0.30

0.95 0.95
0.30 2.20 0.30
SECTION B-B
0.20

แนวศูนย์ กลาง
ของอาคาร 12 @ 0.20
1.80 12 @ 0.20
VARIED  12 @ 0.20

VARIED 16 @ 0.20


 12 @ 0.20
 12 @ 0.20
VARIED
 12 @ 0.20
VARIED  12 @ 0.20
 16 @ 0.20

REINFORCEMENT OF - 

การออกแบบ transition -43- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

แนวศูนย์ กลางของอาคาร 0.20

 12 @ 0.20
 12 @ 0.20
VARIED
 12 @ 0.20
VARIED

VARIED
 12 @ 0.20
 12 @ 0.20
VARIED  12 @ 0.20

 12 @ 0.20

REINFORCEMENT OF - 

การออกแบบ transition -44- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


2.86 m. REINFORCEMENT OF  - 
REINFORCEMENT OF  - 
ELASTIC FILLER B

การออกแบบ transition
C +22.23
ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน

+22.67
 12 @ 0.20 0.05
 12 @ 0.20 BOTH FACES
FAR FACE
BOTH FACES
 12 @ 0.20
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 12 @ 0.20 2.10
3.0  16 @ 0.20

-45-
 12 @ 0.20 +20.13
 12 @ 0.20
+19.67  12 @ 0.20
1.00
0.30  12 @ 0.20
0.25 1:1  16 @ 0.20
0.30 C 0.20
0.20
7.00

B
รูปที่ 3 SECTION A-A พร้ อมการเสริมเหล็ก

ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์
02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา
ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
ว น
คณะวิศวกรรรมศาสตร์ กําแพงงแสน มหาวิทยาลัลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การอออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

บทที่ 5 รางน้
ร าํ หรือ สะพานน้
ส ํา

รางน้ํา สะพานน้น้ํา หรือริน (Flume or Eleevated Flumme) เป็นอาคคารนําน้ําที่ทําหน้าที่เชื่อมคลองส่งน้ํา


สายเดียวกั
ว น ในบริเวณ
ณที่ไม่สามารถถขุดคลอง หรือทํ
อ าได้ด้วยคววามยากลําบาาก หรือใช้ค่าลลงทุนสูง
ชนิดของรางน้
ด ําหรื ร ํา (Bench flume) แลละสะพาน
ห อสะพานน้ํา ที่ใช้ในงานชชลประทานมี 2 แบบ คือ รางน้
น้ํา (Elevvated flumee)

Elevatedd flume

Bencch flume

รูปที่ 5-11 รางน้ํา และสสะพานน้ํา

5.1 การออกแบบทางงชลศาสตร์
Young et.all.(1978)ได้กําหนดลักษณะทางชลศาสตรร์ในการออกแแบบรางน้ํา ดังงนั้
(1) การไไหลของน้ําใน Flume ให้เป็นแบบ Subccritical Flow w
(2) สัดส่วนระหว่างคววามกว้างของ Flume ต่อความลึ ค กของนน้ํา , (B/D) กําหนดให้อยูระหว่
ร่ าง 1
ถึง 3
(3) ความมลาดของก้น Flume ไม่ควรชั ว นกว่า 1: 500
(4) ความมเร็วของน้ําในนรางน้ําไม่เกิน 3.50 เมตร//วินาที
(5) ระยะะพ้นน้ํา (Freeboard) ที่ Transition Cut off ต่อกับคลองดาดดคอนกรีต จะะใช้เท่ากับ
Freeboaard ของคลองงส่งน้ําณ ตําแหน่
แ งนั้นๆ

ระยะะความลึกของง Cut off ขออง Transitionn ใช้ค่าดังนี้


ความลึกของน้ํา C
Cutoff wall
ที่ Cutoff (d), ม. ความลึกอย่างน้อย , ม. ม ความมหนาอย่างน้น้อย , ม.
0.00 – 0.90
0 0.60 0.15
0.91 – 1.80
1 0.75 0.20
>1.800 0.90 0.20

0 HV , ระะดับผิวน้ําต่ําลง
(6) Losss ที่ inlet transition = 0.3 ล 1.3HV

การออกแบบ Flume -46- ดร.ยุทธนา ตาละลั


ต กษมณ์
ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

(7) Loss ที่ outlet transition = 0.5 HV , ระดับผิวน้ําสูงขึ้น 0.5HV


(8) Friction loss ใน Flume (hf) = L Sf
L = Length of Flume ,ม.
v2n 2
Sf = Slope of Flume =
R 4/3
(9) Total headloss (HT) = 0.3HV + hf + 0.5HV
เมื่อ HV = Difference in velocity head at canal and flume
section , ม.

การออกแบบ Flume -47- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

H
v2

H
v1

รูปที่ 5-2 แปลนและรูปตัด Bench flume

การออกแบบ Flume -48- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

รูปที่ 5-3 แปลนและรูปตัด Elevated flume

การออกแบบ Flume -49- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

5.2 ตัวอย่างการออกแบบ BENCH FLUME

จงออกแบบ BENCH FLUMEที่มีอัตราการไหล 15.20 cms. คลองดินรูปสี่เหลี่ยมคางหมูด้านเหนือน้ําและ


ด้านท้ายน้ําของ FLUME มีข้อมูลดังต่อไปนี้ (สันติ, 2555)
b = 5.00 m.
d = 2.50 m.
A = 21.875 m.2
P = 14.013 m.
R = 1.561 m.
Side Slop 1 : 1.5
n = 0.025
bed slope 1 : 6000
V = 0.695 m/s
Q = 15.20 cms.
Allowable losses 0.35 m.

การออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็กให้ใช้ตามหลักการของ Working stress


MS = AS.fS.j.d โดย fs= 1,500 กก.ซม.2 และ j = 0.885
vC = V
b.d
u = V
o. j.d
2
MC = R.b.d โดย R = 11.995

El. 102.50
El. 102.15

El. 100.00
El. 99.65
Flume
Sta. 1+000 Sta. 1+220

รูปที่ 1 Canal and structure profile

การออกแบบ Bench Flume -50- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

วิธีทํา สมมติ Vmax ใน flume = 3.0 m/s


 A = Q = 15.20 = 5.067 m.2
V 3
อัตราส่วน อยู่ระหว่าง 1 ถึง 3
b
d
เลือกใช้ b = 2
d
d = 2d
A = bd = 2d2 = 5.067 m.2
 d = 1.592 m.
b = 3.18 m. use 3.20 m.
 bd = 3.2  1.6 = 5.12 m.2
V = 15.20 = 2.97 m/s.
5.12

จากสมการ Manning , n = 0.016 (ของ Flume)


V = 1
R S 2/3 1/ 2 ……….
n

R = 5.12 = 0.8 m.
3.2 + 2 (1.6 )

จากสมการที่ 
n V
S1/2 =
R 2/3
= 0.016  2.97 = 0.05514
(0.8) 2 / 3
S = 0.003041 = 1 : 328.84

ความลาดเทท้อง Flume เท่ากับ 1:329 ซึง่ ชันกว่า 1 : 500 ฉะนั้นเลือกใช้ใหม่โดย


กําหนดความลาดเทท้อง Flume 1 : 1,000
b = 2d
A = 2d2
P = 4d
2d 2
d
R = A = =
P 4d 2

การออกแบบ Bench Flume -51- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

สมการ Manning
V = 1
R 2 / 3 SO
1/ 2

n
2/3
15.20 = 1 d
  (1 / 1,000)1 / 2
2d 2 0.016 2
d8/3 = 6.104
d = 1.97 m.
b = 2  1.97 = 3.94 m. ใช้ 4.0 ม.

หา d ใหม่จากสมการ Manning
Q = 1
AR 2 / 3 SO1 / 2
n
2/3
15.20 = 1  4d 
4d    (1 / 1,000)1 / 2
0.016  4  2d 
จากวิธี trial และ error
d = 1.95 m.
V = Q
A
15.2
= = 1.95 m/s.
4  1.95

ในกรณีที่ไม่สามารถกําหนดความลาดเทท้อง Flume ได้เอง ก็ต้องใช้ความลาดเทตามผิวดินที่แนว Flume


จะต้องผ่านไป

Free board ของ Flume


F = 0.2 + 0.1d (Spce. ของ RID)
F = 0.2 + 0.1(1.95) = 0.395 m.
d+F = 0.395 + 1.95 = 2.345 ใช้ 2.4 ม.
เลือกใช้ Broken – back transition โดย
Inlet Transition 1 = 27.5o และ loss = 0.3 hv
Outlet Transition 2 = 22.5o และ loss = 0.5 hv

การออกแบบ Bench Flume -52- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

3.75 5.0 3.75

2.5
1
1.5 5.0

1.95

4.0

ขอบผิวนํา้
3.75 3.75
4.25 4.25
6.25 1 2 6.25
2.0 2.5 2.5 2.0

CL ของคลองและ FLUME
INLET T. FLUME OUTLET T.

รูปที่ 2 การหาความยาวของ Transition

4.25
Inlet Transition , L = = 8.16 ใช้ 9.0 ม.
tan 27.5
Outlet Tansition, L = 4.25 = 10.26 ใช้ 11.0 ม.
tan 22.5
ระยะระหว่าง Sta 1+000 และ Sta 1+220
L = 1220-1000 = 220 ม.
ความยาว Flume, Lf = 220-11-9 = 200 ม.
Δ hv = 1.95  0.695  2x91.81
2 2 = 0.169 ม.
Inlet Transition loss = 0.3hv = 0.3(0.169) = 0.051 ม.
Oultet Transition loss = 0.5hv = 0.086 ม.
Loss in flume = SfLf = SoLf

การออกแบบ Bench Flume -53- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

1
= x 200 = 0.20 ม.
1000
Total loss = 0.051+0.20+0.086 = 0.34 ม. ใกล้เคียง 0.35 ม.

กรณี Broken-back transition


Inlet Transition จะมีระดับน้ําลดลง
WS = 1.3 hv = 1.3(0.169) = 0.22 ม.
Outlet Transition จะมีระดับน้ําเพิ่มขึ้น
WS = 0.5 hv = 0.5(0.169) = 0.085 ม.

ดูรายละเอียดได้จากเอกสารแนบท้ายตัวอย่าง
El. 102.50
El. 102.265
El. 102.065
2.5 El. 102.15
So = 1 : 1000
1.95 El. 100.115
El. 100.315
El. 100 El. 99.65 2.5

Sta. 1+ 000 Sta. 1+ 009 Sta. 1+ 209 Sta. 1+220

INLET BENCH FLUME OUTLET

TRANSITION TRANSITION

รูปที่ 3 Profile ของระดับพืน้ และผิวน้าํ ของคลองและ Flume


ตรวจสอบความลาดเทของ Transition
100.315  100
ความลาดเทของ Inlet transition = = 1:28.57 น้อยกว่า 1:6 OK
9
ความลาดเทของ Outlet transition = 100.115  99.65 = 1:23.66 น้อยกว่า 1:6 OK
11

ออกแบบด้านโครงสร้าง พิจารณา Flume ยาว 1.00 m.และสมมติความหนาพื้น 0.25 เมตร


w1 = wh = 2.4 1,000 = 2,400 kg/m
Vmax = P = 1 wh = 0.5  2400  2.4
2
= 2,880 kg
Mmax =  2.4 0.25  = 2,664 kg-m
2,800   
 3 2 

การออกแบบ Bench Flume -54- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

2.4
W1
0.25
2,880 kg. 2,664 kg.-w
FORCE SHEAR MOMENT
รูปที่ 4 การวิเคราะห์ SHEAR และ MOMENT ที่กําแพง

dm = M = 2,664  100 = 14.9 ซม.


Rb 11.995  100
dv = V (โดย vc = 3.8 ksc)
vc b
2,880
= = 7.60 ซม.
3.8  100
ฉะนั้นเลือกใช้ความหนาของโคนกําแพง = 20 ซม.โดย
d = 15 ซม.
และcovering = 5 ซม.
กรณีนี้ใช้กําแพงมีความหนาเท่ากันตลอด
ออกแบบพื้นวิเคราะห์กรณี flume ไม่มีน้ํา
นน.กําแพง = 2 0.2  2.4  1.0  2,400
= 2,304 kg
นน.แผ่ใต้ฐาน, w2 = 2,304 = 523.64 kg/m
4.40
4 .2
Vmax = 523.64  = 1099.64 kg.
2
Mmax อยู่กลาง flume
2 4 .2 2
= w
l + 2,664 = 523.64   2,664
2
8 8
Mmax = 1154.63 +2,664
= 3818.63 kg-m
3818.63 100
dm = = 17.84 ซม.
11.995 100
dv = 1099.64 = 2.89 ซม.
3.8  100

การออกแบบ Bench Flume -55- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

4.40
พลิกรู ปลง

W2 = 523.64 kg/m
2,664 2,664

4.20
SHEAR
1099.64

MOMENT
3818.63 1099.64

2,664 2,664

รูปที่ 5 การวิเคราะห์แรง SHEARและ MOMENT ที่พื้นของ BENCH FLUME

ฉะนั้นเลือก ใช้ความหนาพื้น = 25 ซม. โดย


d = 20 ซม.
covering = 5 ซม.
เสริมเหล็กในกําแพงผิวใน
Asที่โคนกําแพง = M
fs  j  d
= 2,664  100
1500  0.885  15
2
= 13.38 ซม.
เหล็กเสริมรับอุณหภูมิ พิจารณา 0.2% ของหน้าตัด
Ast = 0.002  20  100 = 4 ซม.2

พิจารณาเหล็กเสริมที่ระดับ 1.40 ม. จากยอดกําแพงเพื่อลดปริมาณเหล็กที่กําแพง จากรูปที่ 4


w = 1.4  1,000 = 1,400 kg/m

การออกแบบ Bench Flume -56- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

M = 1  l
 wl 
2  3
= 1 .4
0.5  1,400  1.4 
3
= 457.33 kg-m
As = 457.33100 = 2.30 ซม.2 น้อยกว่า Ast
1,500  0.88515

ซึ่งน้อยกว่า Astฉะนั้นใช้เหล็กจํานวน 4 ซม.2

เลือกขนาดเหล็กที่กําแพง
- ผิวด้านในตั้งแต่ยอดกําแพงถึงระดับ 1.40 เมตร
As = Ast = 4.0 ซม.2
เลือกเหล็ก 12 mm @ 0.28 มี As = 4.04 ซม.2และ o = 13.46ซม.
ตั้งแต่ระดับ 1.40 เมตรถึงโคนกําแพง ขาดเหล็กอยู่
Asที่ขาด = 13.38 – 4.04 = 9.34 ซม.2
เลือกเหล็ก 20 mm@ 0.28 โดยมี
As = 11.22 ซม.2 และ o = 22.44 ซม.
สรุปเหล็กผิวในที่กําแพง ตั้งแต่ระดับ 1.40 เมตรถึงโคนกําแพง
12 mm @ 0.28 มี As = 4.04 และ o = 13.46
20 mm @ 0.28 มี As = 11.22 และ o = 22.44
รวม As = 15.26 และ o = 35.90
2
ซึ่ง As = 15.26 ซม. มากกว่า 13.38 แสดงว่าเหล็กมีปริมาณเพียงพอ

ตรวจสอบแรงยึดหน่วง (Bond stress) ที่โคนกําแพง


สําหรับเหล็กรับแรงดึงที่มีขนาด 20 mm (กรณีเหล็กอื่นๆ)
Bond stress ต้องไม่เกิน 21.4 กก./ซม.2 หรือ ksc
V
u =
o. j.d
= 2,880 = 6.04 <21.4 ksc OK
35.90  0.885  15

เหล็กเสริมที่พื้นผิวบน
As ที่กลางพื้น = 3818.63  100 = 14.38 ซม.2
1500  0.885  20
As ที่ขอบปลาย = 2664  100 = 10.03 ซม.2
1500  0.885  20
ฉะนั้นเลือกใช้เหล็กดังนี้
12 mm @ 0.28 As = 15.26 ซม.2 และ o = 35.9 ซม.
20 mm @ 0.28
ตรวจสอบ Bond stress ที่ขอบปลายของพื้น (ติดกําแพง)

การออกแบบ Bench Flume -57- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

u = 1099.64 = 1.73 < 15.1 ksc OK


35.9  0.885  20

เหล็กเสริมที่กําแพงผิวนอกเป็นเหล็กรับอุณหภูมิ Ast คือ


12 mm @ 0.28 มี As = 4.04 ซม.2 >4 ซม.2 OK

เหล็กเสริมที่พื้นผิวล่างเป็นเหล็กรับอุณหภูมิ
Ast = 0.002  25  100 = 5 ซม.2
เลือกใช้เหล็ก
12 mm @0.22 มี As = 5.14 ซม.2 >5 ซม.2 OK

เปลี่ยนเหล็กรับอุณหภูมิที่ผิวนอกของกําแพงเป็น
12 mm @0.22 เพื่อให้สะดวกและง่ายในการก่อสร้าง

เหล็กรับอุณหภูมิที่เป็นเหล็กจุดที่กําแพงยังคงใช้
12 mm @0.28

เหล็กรับอุณหภูมิที่เป็นเหล็กจุดที่พื้นใช้
12 mm @0.22

ตรวจสอบ Bearing ของฐาน พิจารณากรณีที่น้ําเต็ม flume


Bearing load = นน. Flume + นน.น้ํา
ความกว้างของ flume

นน.ของ flume = 2(2.4  0.2  1.0) 2400 + (4.4  0.25 1.0)2400


= 2304 + 2640 = 4944 kg/1 m.
นน. น้ําเต็ม flume = (4  2.4  1)1000 = 9600 kg/1 m.
Bearing load = 4944  9600 = 3305.45 kg/m2
4.4 1.0
= 3.305 Ton/ m2

Bearing load ต้องไม่เกิน Bearing capacity ของดิน


กรณี Bearing load เกิน Bearing Capacity ของดินอาจจะต้องตอกเข็มรองรับ flume หรืออาจจะพิจารณา
ขยายความกว้างของ flume กรณีที่มีการตอกเสาเข็ม การวิเคราะห์ด้านโครงสร้างของพื้นจะเปลี่ยนไป ขอให้
ไปดูรายละเอียดในวิชา foundation หรือดูตัวอย่างการวิเคราะห์จากตัวอย่างของประตูระบายน้ําปากคลอง

การออกแบบ Bench Flume -58- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

4.00 0.20
12 mm. @ 0.22
12 mm. @ 0.28
1.40
12 mm. @ 0.28
2.40

20 mm. @ 0.28
12 mm. @ 0.28 1.00

0.25

4.40

รูปที่ 6 แสดงการเสริมเหล็กหน้าตัด FLUME

การออกแบบ Bench Flume -59- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

INLET TRANSITION

E.G.L แนวราบ
V12/2g hL
ผิวนํา้ E.G.L
2
V2 /2g ผิวนํา้
FLOW
y1
FLOW
พืน้ คลอง
y2
Z 
แนวราบ พืน้ FLUME

ใช้หลักการของการอนุรักษ์พลังงานระหว่างหน้าตัด  และ 
V12 V2 2
z  y1  = y2   hL
2g 2g
 V22 V12 
z  y1  y 2 =     h L
 2g 2g 
y 2  z  y1  = -  hv – 0.3  hv = -1.3  hv

แสดงว่าระดับน้ําที่หน้าตัด  ต่ํากว่าระดับน้ําที่หน้าตัด  อยู่เท่ากับ 1.3  hv

การออกแบบ Bench Flume -60- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

OUTLET TRANSITION

hL V22/2g
E.G.L แนวราบ
V12/2g ผิวนํา้
ผิวนํา้
FLOW
FLOW y2
y1 พืน้ คลอง
พืน้ FLUME แนวราบ Z

 
ใช้หลักการของการอนุรักษ์พลังงานระหว่าง  และ 
V2 V2 2
y1  1 = z  y 2  hL
2g 2g
V12 V22
 hL = z  y 2  y1
2g 2g
z  y 2  y1 = h v  0.5h V = +0.5  hv

แสดงว่าระดับน้ําที่หน้าตัด สูงกว่าระดับน้ําที่หน้าตัด  อยู่เท่ากับ 0.5  h

การออกแบบ Bench Flume -61- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

5.3 ตัวอย่างการออกแบบสะพานน้าํ
ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นการออกแบบสะพานน้ําในระบบส่งน้ําดิบของการประปานครหลวง ซึ่งดําเนินการ
โดยบริษัททีมคอนซัลติ้ง เอนจิเนียร์ จํากัด และบริษัทแอสดีคอน คอร์ปอเรชั่นจํากัด แสดงรายละเอียดการ
ออกแบบเฉพาะหน้าตัดช่วงกลางของอาคาร โดยมีการเปลี่ยนแปลงการคํานวณเล็กน้อยโดยเฉพาะ Footing
วัตถุประสงค์ของตัวอย่างนี้ก็เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้ถึงหลักเกณฑ์ในการออกแบบ และการแยกส่วนต่างๆ ในการ
วิเคราะห์ (สันติ, 2555)

'
fc = 175 ksc.
fc = 78.8 ksc.
fs = 1,500 ksc.
n = 10
k = 0.344
j = 0.885
R = 11.995
d = 4.51 m. (Covering = 4 cm.)
b' = (0.25+0.40)2 = 0.325 m.
kd = 1.55 m. from top < 4.15 m.

แสดงว่าแนวแกนสะเทิน (N.A) อยู่เหนือพื้น elevated flume


ดังนั้นความกว้างของคอนกรีตที่รับแรงอัด = 2 b'

การออกแบบ Elevated Flume -62- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

พิจารณา flumeเป็นu-shape beam


วิเคราะห์ flume ยาว 1.0 เมตร
น้ําหนักจรบนทางเดิน = 2  750 = 1,500 kg/m.
น้ําหนักน้ํา = 4.15(6.5)(1,000) = 26,975 kg/m.
น้ําหนักflume = [0.4(7.3)+2(1.0)(0.2) + 12 (0.25+0.40)(3.95)] (2,400)
= 14,130 kg/m.
w = 1,500 + 26,975 + 14,130 = 42,605 kg/m.

WL2 42,605(10)2
M = 8
= 8(1,000)
= 532.56 t.m.
11.995(20.325)(451)2
Mc = R(2 b' ) d 2 = (1,000)

= 1585 t.m
M < Mc
532.56(1,0 00)
As = M
f s .j.d
= (1,500)(0.885)(4.51)

= 88.95 cm  6.5 m width


2

cm 1 m width
2
= 13.69

2
เลือกใช้เหล็กขนาด DB 20 @ 0.20 ( A s = 15.71 cm )
42,605(10)
V = WL
2
= 2
= 213,025 kg.
V 213,025
v = (2b' )d = (232.5)(451)
= 7.27 ksc.
vc = 3.8 ksc.
Vc = 3.8 (232.5)(451) = 111,397 kg.
V' = V - Vc = 213,025 – 111,397
= 101,628 kg.
A v .f v .d
S = V'

การออกแบบ Elevated Flume -63- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

2
ใช้เหล็กตั้งของกําแพงรับแรงเฉือน (DB 16, As = 4.02 cm )
(4.02)(1,500)(451)
S = 101628
= 26.76 cm > 20 cm. OK.

ใช้ DB 16 @ 0.20 เป็นเหล็กตั้งรับแรงเฉือน

พิจารณากําแพงเป็น Simple beamโดยมี span. เท่ากับ 10.0 เมตร


น้ําหนักจรบนทางเดิน = 750 kg/m
น้ําหนักน้ํา = 4.15 (6.5) 2
(1,000) = 13,487.5 kg/m
น้ําหนัก flume = 14,130/2 = 7,065 kg/m
w = 750 + 13,487.5 + 7065 = 21,302.5 kg/m
WL2 21,302.5 (10)2
M = 8
= 8 (1,000)
= 266.28 t.m
2
Mc = R B . R b'. d ; RB เท่ากับตัวคูณปรับลดกรณีคานแคบ
= 0.981 (11.995)(0.325)(415+20)2 (1,000) = 723.65 t.m
M < Mc
266.28 (1,000) 2
As = M
fs. j. d
= (1,500)(0.885)(4.35)
= 46.11 cm

เลือกใช้เหล็ก 10 – DB 25 ( A s = 49.09 cm 2 )
V = wL
2
= 21,302.5
2
(10)
= 106,512.5 kg
vc = 3.8 (32.5) (435) = 53,722.5 kg
V' = V - Vc = 106,512.5 – 53,722.5 = 52,790 kg

ใช้เหล็กเสริมแนวตั้งของกําแพงรับแรงเฉือน (ดู U-shape beam)

การออกแบบ Elevated Flume -64- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

แผ่นพืน้ ทางเดินโดยพิจารณาต่อความยาว 1 เมตร


LL บนทางเดิน = 750  1.0 = 750 kg/m.
DL ของทางเดิน = 0.2  1.00  2,400 = 480 kg/m.
w = 750 + 480 = 1,230 kg/m.
1,230 (0.75)2
M = w 2l 2 = 2
= 345.94 kg/m.
As = M
fs. j. d
= 345.94
(1,500)(0.885)(0.16)
= 1.63 cm
2

เลือกใช้เหล็ก DB 12 @ 0.20 ( A s = 5.65 cm 2 )


V = w L = 1,230(0.75) = 922.5 kg
dv = V
b vc
= (100) 922.5
(3.8)
= 2.43 cm< 16 cm O.K.

พิจารณากําแพงเป็น Cantilever beamโดยมีแรงดันน้ําเป็นแรงกระทํา

p = γ w (H) = 1.0 (4.15) = 4.15 ตัน/ม.2


P = ½ (4.15) (4.15) = 8.611 ตัน
M = 8.611 (4.15/3) = 11.912 ตัน-เมตร
2 11.995 (1.0) (36)2
Mc = Rb d
(1,000)
= 15.54 ตัน-เมตร
> M

การออกแบบ Elevated Flume -65- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

11.912 (1,000)
dm = M
Rb
= 11.995
= 31.5 ซม. < 36
O.K.
8.611 (1,000)
dv = V
b vc
= (100) (3.8)
= 22.7 ซม. < 36
O.K.
As = M
fs. j. d
= 11.912 (1,000)
(1,500) (0.865) (0.36)
= 24.93 ซม.2

2
เลือกใช้เหล็ก DB 16 @ 0.20 + DB 20 @ 0.20 ( A s = 25 76 cm )
และ Σ o = 25.13 + 31.42 = 56.55 ซม.

ตรวจสอบความหนาของแผ่นพื้น flume
w1 = 3.95(0.25)(2.4) = 2.370 ตัน
w2 = 1 (0.15)(3.95)(2.4)
2
= 0.711 ตัน
w3 = 0.4(0.4)(2.4) = 0.384 ตัน
w4 = 0.2(1.0)(2.4) = 0.48 ตัน
w5 = 750(1.0)/1,000 = 0.75 ตัน
w = 4.695 ตัน
4.695(1,000)
dv = V
b vc
= 100(3.8)

= 12.36 ซม. <36 ซม. O.K.

ตรวจสอบแรงยึดหน่วง, u ที่โคนกําแพง
8.611(1,000)
u = V
Σo.j . d
= (25.1331.42)(0.885)(36)

= 4.8 ksc. < 21.4 ksc. O.K.

2
หาตําแหน่งความลึกจากขอบกําแพงที่จะใช้เหล็ก DB 16 @ 0.20 ( A s = 10.05 cm )
M1 = A s . f s .j .d ; d = 0.25-0.04+ 0.15 (H)
4.15
(1)
2
M2 = ½ γ H .H
3
(2)
H3
(1) = (2) ; 10.05(1,500)(0.885)(0.21+0.036H) = ½ (1,000) 3
3
H - 2.882H – 16.81 = 0

การออกแบบ Elevated Flume -66- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

H = 2.934 m.
ดังนั้นเลือกความสูงที่จะหยุดเหล็กที่ 2.50 m. จากขอบบนของ flume

ออกแบบพื้นเป็น Fixed end beam

น้ําหนักน้ํา = 4.15 (1,000) = 4,150 kg/m


น้ําหนักพื้น = 0.40 (2,400) = 960 kg/m
w = 4,150 + 960 = 5,110 kg/m
 (6.9) 2
M = -11,912 + 5,110 8
= 18,499 kg.m
5,110 (6.9)
V = wL
2
= 2
= 17,630 kg
2
Mc = Rb d = 11,995(1.0) (36) 2 = 15,545 kg.m
 Mc (M  Mc )
As = fs. j. d
+ f s (d - d')
15,545 (18,49915,545) 2
= (1,500)(0.885)(0.36) + (1,500)(0.360.04) = 38.7 cm

เลือกใช้เหล็ก DB 20 @ 0.20 + DB 25 @ 0.20 ( A s = 40.25 cm 2 )


As

= f sM. j. d = (1,500)(0. 11,912
885)(0.36)
= 24.93 cm
2

2
เลือกใช้เหล็ก DB 16 @ 0.20 + DB 20 @ 0.20 ( A s = 25.76 cm )
ตรวจสอบแรงเฉือน
Vc = vc . b.d = 3.8(100)(36) = 13,680 kg
'
V = V- Vc = 17,630-13,680 = 3,950 kg

ถ้าพิจารณาให้เหล็กเสริมทางแนวนอนเป็นเหล็กรับแรงเฉือนด้วย
2
เหล็กบน : DB 16 @ 0.20 + DB 20 @ 0.20 ( A s = 25.76 cm )
2
เหล็กล่าง : DB 20 @ 0.20 + DB 25 @ 0.20 ( A s = 40.25 cm )

การออกแบบ Elevated Flume -67- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

2
ปริมาณเหล็กเสริมรวม = 25.76 + 40.25 = 66.01 cm /m
ดังนั้นเหล็กเสริมในแนวนอนจะรับแรงเฉือน
= V' = 3,950
As 66.01

= 60 ksc< f v = 1,500 ksc. O.K.

ออกแบบ Cap Beam


น้ําหนักจรบนทางเท้า = 750 (2)(10) 1,000 = 15 ตัน
น้ําหนักน้ํา = 4.15(6.50)(10)(1.0) = 269.75 ตัน
น้ําหนัก Flume = [0.2(1.0)(10)(2) + 12 (0.25 + 0.40)(3.95)(10)(2) +
0.4 (7.3)(10)] 2.4 = 141.30 ตัน
น้ําหนัก Cap beam = 0.5 (0.7)(2.4) = 0.84 ตัน/เมตร
น้ําหนักรวมบน Cap beam = 15 + 269.75 + 141.30 = 426.05 ตัน
426.05 (1,000)
แรงกดบน Cap beam = (50) (730)
'
= 11.70 ksc< 0.25 fc = 43.8 ksc O.K.

(15 269.75141.30)
น้ําหนักกระจายบน Beam = 7.3
+ 0.84
= 59.20 ตัน/เมตร
ระยะของเสา = 1.20 m.
ขนาดของเสา = 0.40  0.40 m.
 ความยาวสุทธิของช่วงคาน, L = 1.20 – 0.40 = 0.80 m.
 1 WL'2 1 (59.201,000) (0.80) 2 = 4,210 kg-m.
M = 9
= 9
 1 WL'2
M = 11
= 1
11
(59.201,000) (0.80) 2 = 3,444 kg-m.
M (cantilever) = 1 WL'2 = 1 (59.201,000) (0.35) 2 = 3,626 kg-m.
2 2

 M(max) = 4,210 kg-m.

การออกแบบ Elevated Flume -68- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

2 2
Mc = Rb d = 11.995(0.50) (66) = 26,125 kg-m.
4,210 2
As = M
f s .j . d
= 1,5000.8850.66
= 4.81 cm

V = 1.15 w2L' = 1.1559.201,0000.80/2 = 27,232 kg.


o = V
u . j. d
= 27,232
12.10.88566
= 38.53 cm

(สําหรับ DB 25 mm จะได้ u = 12.10 ksc)

ใช้ 5–DB25, As= 24.54 cm 2 , o = 39.27 cm.


27,232
v = V
bd
= 5066
= 8.25 > 3.8 ksc.
Vc = 3.85066 = 12,540 kg.
'
V = V- Vc = 27,232-12,540 = 14,692 kg.

2
ใช้ Stirrup 2-RB9, As = 21.27 = 2.54 cm
2.541,20066
S = Av . fv . d
V
= 14,692
= 13.70 cm.

การออกแบบ Elevated Flume -69- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

ใช้ Stirrup 2-RB9 @ 0.125

ออกแบบเสา
แรงสูงสุดตามแนวแกนของเสา = 2 V = 227,232 = 54,464 kg. สําหรับเสาสั้น
P = 0.85 A g (0.25 f c  + A s f s / A g )
2
Ag = 4040 = 1,600 cm

2
ใช้ 4-DB 25, As = 19.63 cm

P = 0.851,600(0.25175+19.631,500/1,600)
= 84,528 kg. >54,464 kg. (หรือ 27,232 2) O.K.

4 –DB25

RB 9 @ 0.20

ตรวจสอบเสายาว
h = Height of Column = 3.00 m.
r = Radius of gyration ของเสา = 0.3 t
= 0.30.40 = 0.12 m.

การออกแบบ Elevated Flume -70- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

P(long)
R = P(short)
= 1.07-0.008 h
r

= 1.07-0.008 3.00
0.12
= 0.87
P(long) = R  P(short)
= 0.8784,528 = 73,539 kg. > 54,464 O.K.

ตรวจสอบแรงที่ลมกระทํา

4.15

0.40
0.40

50 kg/m2

(4.15) 2
 MA = 50 2
= 431 kg-m.
As
req.
= M
fs . j . d
= 431
(1,500)(0.885)(0.36)

= 0.9 cm 2 /m.
2
< DB 16 @ 0.20 + DB 20 @ 0.20 ( A s = 25.76 cm ) O.K.

พิจารณา Shear ที่หัวเสา


Cap beam จะต้องรับผิดชอบโครงสร้างยาว10.00 m.
แรงลมกระทําด้านข้าง = 50 (4.55)(10.00)
= 2,275 kg / 1 cap beam
2,275
= 7
= 325 kg / 1 เสา
v = V
bd
= 325
(40)(36)

= 0.23 ksc < 3.8 ksc. O.K.

การออกแบบ Elevated Flume -71- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

วิเคราะห์ฐานราก

น้ําหนักจรบนทางเท้า = 0.75(2)(10) = 15 ตัน


น้ําหนักของน้ํา = 1.0(4.15)(6.50)(10) = 270 ตัน
น้ําหนักรางน้ําทั้งหมด = [0.2(1.0)(10)(2)+0.4(7.3)(10) + ½ (0.25+0.4)
(3.95)(10)(2)](2.4) = 142 ตัน
น้ําหนัก Cap beam = [0.7(8.3)(0.5)+2(0.4)(0.5)(0.5)](2.4) = 8 ตัน
น้ําหนัก Column = 7(0.4)(0.4)(11)(2.4) = 30 ตัน
น้ําหนัก Bracing = 12(0.8)(0.4)(0.4)(2.4) = 4 ตัน
ดิน = [8.3(2.2)(2.0) – 7(0.4)(0.4)(2.0)](2.15) = 74 ตัน
Pile cap = 8.3(0.6)(2.2)(2.4) = 27 ตัน
รวม = 570 ตัน
M = 2.275(14.575) = 33.16  34 ตัน-เมตร
แรงกระทําในแนวราบ = 2.275(1,000)
2(7)
= 162.5 กก. pile

การออกแบบ Elevated Flume -72- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

< 1 kippile ( 453 กก. pile) O.K.

d2 = 2( (1.2) 2 + (2.4) 2 + (3.6) 2 ) = 40.32


P = V  Σ M.d
N
Σ d2

P1 = P2 = 1 570 34(3.6)
( - ) = 39.20 ตัน
2 7 40.32

P3 = P4 = 1 570 34(2.4)
( - ) = 39.70 ตัน
2 7 40.32

P5 = P6 = 1 570 34(1.2)
( - ) = 40.21 ตัน
2 7 40.32
34(0)
P7 = P8 = (
1 570
2 7
- 40.32 ) = 40.71 ตัน
P9 = P10 = 1 570 34(1.2)
( - ) = 41.22 ตัน
2 7 40.32

P11 = P12 = 1 570 34(2.4)


( - ) = 41.73 ตัน
2 7 40.32

P13 = P14 = 1 570 34(3.6)


( - ) = 42.23 ตัน
2 7 40.32

การออกแบบ Elevated Flume -73- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

สรุปแรงในแนวแกนของเสาเข็ม
เสาเข็ม P (t) H (t) N (t)
N1 = N2 30.20 3.775 30.44
N3 = N4 39.70 4.9625 40.01
N5 = N6 40.21 5.026 40.52
N7 = N8 40.71 5.089 41.03
N9 = N10 41.22 5.153 41.54
N11 = N12 41.73 5.216 42.05
N13 = N14 42.23 5.279 42.56
ค่าเฉลี่ย 40.71

ตรวจสอบแรงดึงในเสาเข็ม (กรณีไม่มีน้ําและไม่คิดดินบน pile cap)


V = 570 – 270 – 74 = 226 ตัน
เสาเข็มที่มีโอกาสที่จะเกิดแรงดึงคือ P1 และ P2 โดย
P1 = P2 = 1 226 34(3.6)
( - ) = 14.625 ตัน
2 7 40.32
แสดงว่าเสาเข็ม P1 และ P2 ยังเกิด compression O.K.

ออกแบบฐานราก (footing)

ความกว้างประสิทธิผลของ Footing
ใช้เสาเข็มคอนกรีตขนาด 0.400.40 จํานวน 2 ต้นต่อหนึ่งเสา และเนื่องจากแรงลมและ
น้ําหนักทั้งหมดทําให้เกิดแรงกดที่หัวเสาเข็ม มีค่าต่างกันไม่มาก จึงพิจารณาใช้ค่าเฉลีย่ ในการออกแบบ

การออกแบบ Elevated Flume -74- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

 แรงต่อหนึ่งเสาเข็ม = 40,715 กก.


ศูนย์กลางเสาเข็มห่างจากขอบเสา = 0.60 - 0.40
2
= 0.40 เมตร
โมเมนต์ที่ขอบเสา = 140,7150.40 = 16,286 กก.-ม.
dm = M
Rb
16,286100
= 11.995120
= 33.64 ซม.

ใช้ความหนา Footing = 60 ซม. และ d = 54 ซม.


V = 40,715 กก.
vc = 0.53 f c' = 0.53 175 = 7.01 ksc.
40,715
v = V
bd
= 12054
= 6.28 ksc. < 7.01 O.K
16,286100
As = M
fs. j. d
= 1,5000.88554

= 22.72 ตร.ซม.
3.23 f c'
u = 
 35 ksc.
ใช้เหล็กข้ออ้อยขนาด 25 มม.
3.23 175
u = 2.5
= 17.1 ksc. < 35 O.K.
o = V
u . j. d
= 40,715
17.10.88554

= 49.82 ซม. 1.20 เมตร


= 41.52 ซม. เมตร

ใช้เหล็กข้ออ้อยขนาด 25 มม. @ 0.18,


As = 27.27 ตร.ซม.
o = 43.63 ซม.

การออกแบบ Elevated Flume -75- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

Check deflection ของ flume


 = 5 WL4
384 EI

W = DL of flume = 141.3 t. 10 m= 141.3 kg.


E = 2  10 5 ksc.
หาตําแหน่ง N.A.(จากส่วนล่างของพื้น flume)
x [0.4(7.3)+2(1.0)(0.2)+ ( 12 ) (0.25+0.4)(3.95)(2)]
= 0.4(7.3)(0.2)+2(0.2)(1.0)(4.45)+2(0.25)(3.95)(2.175)+
2 ( 12 ) (0.15)(3.95)(1.717)
x = 1.304 m.
INA = 1 (7.3) (0.4) 3 +(7.3)(0.4) (1.104) 2 +2( 1 )(1.0) (0.2) 3 +
12 12

2(1.0)(0.2) (3.146) 2 +2( 121 )(0.25) (3.95) 3 +2(0.25)(3.95) (1.071) 2 +


3
2 ( 361 ) (0.15) (3.95) +2 ( 12 ) (0.15)(3.95) (0.413) 2
4
= 13.006 m
5(141.3)(10) 4
 =
384(2105 )(13.006)

= 0.0071 cm. < L360

การออกแบบ Elevated Flume -76- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

= 2.8 cm. O.K.

ถ้ารวมน้ําหนักน้ํา
5(269.75141.3)(104 )
 =
384(2105 )(13.006)

= 0.0206 cm. < 2.8 cm. O.K.

การออกแบบ Elevated Flume -77- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

การออกแบบ Elevated Flume -78- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

การออกแบบ Elevated Flume -79- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

บทที่ 6 ท่อลอดถนนสีเ่ หลี่ยม

6.1 การออกแบบทางชลศาสตร์
ในการออกแบบท่อลอดถนน (Road Crossing) ไม่ว่าจะเป็นท่อกลม หรือท่อเหลี่ยม (Box culvert)
ดังรูปที่ 6-1มีเกณฑ์ในการคํานวณออกแบบทางชลศาสตร์ดังต่อไปนี้
1) กําหนดให้การไหลของน้ําเป็นแบบไหลเต็มท่อ (Full Flow) และให้ Transition ที่เชื่อมต่อกับ
คลองเป็นแบบ Broken Back Type สําหรับกรณีที่ต้องการอัดน้ํา จะกําหนดให้อาคารอัดน้ําเป็นแบบ Check
and Pipe Inlet
2) Convergence loss ที่ Inlet Transition , HI = 0.4HV ม.
3) ความลาดสูงสุดของพื้น Inlet และ Outlet Transition = 1:4 (max)(ตั้ง:ราบ)
Inlet Transition
= 1:6 (max)(ตั้ง:ราบ)
, Outlet Transition
4) ความสูงของน้ําท่วมปากทางเข้าท่ออย่างน้อย = 1.5HV แต่ไม่น้อยกว่า0.08 ม.
5) ความเร็วสูงสุดในท่อไม่เกิน = 1.5ม./วินาที
6) Friction Loss ในท่อคํานวณจากHf = L x Sf
เมื่อ L = ความยาวท่อ, ม.
V2n2
Sf =
R4/3
7) Divergence loss ที่ Outlet Transition , HO = 0.7HV ม.
8) ความลึกของน้ําท่วมปากท่อ = 1.5HV ≥0.08 m.
9) ระยะพ้นน้ํา (Freeboard) ของอาคารมีเกณฑ์ดังนี้
ระยะพ้นน้ําที่ Cutoff = ระยะพ้นน้ําของคลองที่ Cutoff
ระยะพ้นน้ําที่กําแพงปากท่อ (Headwall)= 1.20เท่าของระยะพ้นน้ําของคลองที่ Cutoff
10) ความลึกของน้ําท่วมเหนือปากท่อทางออก  (Depth of outlet opening) ม. (outlet
1
6
submergence)
11) ค่า Head loss ที่กําหนดให้ใช้มักไม่เกิน 0.20 ม.
12) ความลึกและความหนาของ Cutoff ใช้เกณฑ์ดังนี้

การออกแบบ Box Culvert -80- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

รูปที่ 6-1 ท่อลอดถนน

การออกแบบ Box Culvert -81- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

ตารางที่ 6-1 ความลึกและความหนาของ Cutoff ที่ความลึกของน้ําในคลองต่างๆ


ความลึกของน้ํา ความลึกของ Cutoff Walls ความหนาของ Cutoff Walls
(เมตร) (เมตร) (เมตร)
0 – 1.00 0.50 0.20
1.01 – 2.00 1.00 0.30
2.01 – 3.00 1.50 0.40
มากกว่า 3.00 อย่างน้อย 2.00 0.50

13) การตรวจสอบแรงลอยตัวของท่อ คิดกรณีที่ไม่มีน้ําในท่อ ไม่มีดินทับหลังท่อ และคิดน้ําหนัก


คอนกรีตเสริมเหล็กที่จมน้ํา
14) ตรวจสอบ Percolation path ตามลักษณะชั้นดิน ในกรณีไม่มีข้อมูลดินมักใช้ Cw = 5.0
15) ความลึกของดินทับหลังท่อ จะต้องไม่น้อยกว่า 0.60 ม.
16) รถที่วิ่งข้ามท่อใช้หลักเกณฑ์ของ ASSHTO Standard น้ําหนักของล้อรถสําหรับถนน H20-44
ดังรูปที่ 6-2 แรงกดคิดจากน้ําหนักกดของล้อหลังทั้งคู่แผ่ออกเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มคี วามยาวด้านละ 1.75 ของ
ความลึก โดยที่
- ความหนาของดินทับหลังท่อไม่เกิน 0.60 ม. คิดน้ําหนักล้อรถโดยตรงสู่ผิวท่อ ไม่ต้องแผ่เป็นมุม
O
45
- ความหนาของดินทับหลังท่อเกิน 2.40 ม. ไม่ต้องคิดน้ําหนักจากล้อรถ
- ความหนาของดินทับหลังท่อไม่เกิน 0.90 ม. ต้องเพิ่มแรงกระแทก ดังตารางที่ 6-2

ตารางที่ 6-2 ค่าแรงกระแทกจากล้อรถที่ความหนาดินทับหลังท่อต่างๆ


ความหนาดินทับหลังท่อ (ม.) แรงกระแทก (%ของน้ําหนักกด)
0.61 - 0.89 10
0.31 - 0.59 20
0.30 หรือน้อยกว่า 30

รูปที่ 6-2 ขนาดและน้ําหนักของรถ H20-44


การออกแบบ Box Culvert -82- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์
ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

6.2 ตัวอย่างการออกแบบท่อลอดถนนชนิดท่อเหลี่ยม
จากตัวอย่างการออกแบบอาคารในคลองส่งน้ํา (สันติ, 2555)
1. เกณฑ์กําหนดขนาด
อัตราการไหล 4.134 ม.3/วินาที
คลองด้านเหนือน้ําและท้ายน้ํามีขนาดเท่ากันและมีหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู โดยมีข้อมูลดังนี้
- ความกว้างก้นคลอง ,b 2.5 เมตร
- ความลึกการไหล ,d 1.66 เมตร
- ความสูงคลอง 2.00 เมตร
- ลาดตลิ่ง (ระยะตั้ง : ระยะราบ) 1 : 1.50 เมตร
ความยาวท่อ 18.0 เมตร
ค่าสัมประสิทธิค์ วามขรุขระ 0.014
จากรูปที่ 1 ค่าระดับต่างๆ มีดังนี้
ร.น.ส.1 +279.871ม.(รทก.)
ร.น.ส.2 +279.721ม.(รทก.)
ร.1 +278.211 ม.(รทก.)
ร.2 +278.061 ม.(รทก.)
ร.5 +280.842 ม.(รทก.)

2. เกณฑ์กําหนดในการออกแบบ
- ความเร็วของน้ําในท่อไม่เกิน 1.50 ม./วินาที
- ดินทับหลังท่อไม่น้อยกว่า 0.90 ม.
- ความลาดเทพื้น TRANSITION ไม่เกิน 1 ต่อ 4.0
- ดินถมอัดแน่น , 1.9 ตัน/ม3
- ดินอิ่มตัวด้วยน้ํา , 2.2 ตัน/ม3
- มุมแรงเสียดทานภายในของดิน ,  30 องศา
- Bearing Capacity ของดิน 10 ตัน/ม2
- Friction factor ใต้ฐาน 0.6
- คอนกรีตเสริมเหล็ก, 2.4 ตัน/ม3
- เหล็กรับอุณหภูมิ 0.2 % ในทุกผิว

การออกแบบ Box Culvert -83- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

รูปที่ 2 หน้าตัดสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ปากท่อและปลายท่อ
ปากท่อหรือกําแพงปลายท่อ
รูปที่ 1 รูปตัดตามยาวของแนวท่อลอด

0.15
0.15

การออกแบบ Box Culvert -84- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

- กําหนดให้ใช้ COVERING 5 เซนติเมตร


- การออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็กให้ใช้ตามหลักการของ Working stress
Ms = A s .f s .j.d โดย f s = 1,500 กก./ซม2. และ j = 0.885
V
vc =
bd
V
u =
 o  j d
Mc = R.b.d2

โดย R = 11.995
- คานที่ไม่เสริมเหล็กรับแรงเฉือน , vC = 3.8 กก./ซม.2

3. วิธีทํา สมมติออกแบบพื้นท่อด้านบน (TS1) เท่ากับ 0.25 ม. และพื้นท่อด้านล่าง (TS2) เท่ากับ 0.25 เมตร
ออกแบบขนาดท่อ
A = Q/V = 4.134/1.5 = 2.756 ม.2
เลือกใช้ท่อขนาด (L  H) = 2.00  2.00 ม.2
AP = 4.00 ม.2
VP = 4.134/4.00 = 1.034 ม./วินาที
น้อยกว่า 1.50 ม./วินาที OK
2
hVP = VP /2g
= 1.0342/(2 9.81) = 0.0545 ม.

ออกแบบ INLET TRANSITION

LTU
ขอบผิวน้ํา
 ขอบผิวน้ํา = 27.5o
1.5  1.66
ความกว้าง ความกว้างของหน้าตัด
ก้นคลอง 2.50 การไหล 2.30 สี่เหลีย่ มผืนผ้าปากท่อ

การออกแบบ Box Culvert -85- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

LTU= 
1.5  1.66 
2 .5 2 .3 
 
 / tan 27 .5
o
 = 4.98 ม.
 2 2 
หรือ
LTU= 3H = 3  2.0 = 6.00 ม.
เลือกใช้ LTU = 6.00 เมตร
พื้นที่หน้าตัดการไหลในคลอง
A = 2.5  1.5 1.66 1.66 = 8.283 ม.2
V = Q = 4.134 = 0.499 ม./วินาที
A 8.283
hVC = Velocity head ในคลอง
V2
hVC = = 0.0127
2g
hV = hVP - hVC
= 0.0545 – 0.0127 = 0.041 ม.
1.5hV = 0.062 < 0.08 ม.
ฉะนั้นใช้น้ําท่วมปากท่อไม่น้อยกว่า 8 ซม. ในกรณีนี้เลือกใช้ 10 ซม.
ร.3 = ร.น.ส.1 – น้ําท่วมท่อ – ความสูงของท่อ (H)
= 279.871 – 0.10 -2.00
= 277.771 ม.(รทก.)
เนื่องจากดินทับหลังท่อต้องไม่น้อยกว่า 0.90 ม.ฉะนั้นหาระดับ ร.3 ได้อีกวิธี คือ
ร.3 = ร.5 – 0.90 – 0.25 – 2.0
= 280.842 – 0.90 – 0.25 – 2.0
= 277.692 ม.(รทก.)
เลือกใช้ระดับ ร.3 = 277.661 ม.(รทก.)
ตรวจสอบความชันของ INLET TRANSITION (SIN)
SIN = (278.211 – 277.661) / 6
= 1 ต่อ 10.91 ความชันน้อยกว่า 1 ต่อ 4.00 OK
ความสูงกําแพงปากท่อ
HHU = H + ความหนาเปลือก + ความหนาดินทับหลังท่อ + 0.10
= 2.0 + 0.25 +0.30 +0.10= 2.65 ม.
เลือกใช้ HHU = 2.65 ม.

การออกแบบ Box Culvert -86- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

ออกแบบท่อ
Wetted perimeter เมื่อน้ําเต็มท่อ P = 8.0 ม.
R = A/P
= (2  2)/8.0 = 0.50 ม.
n = 0.014
Sf = VP2 n 2 / R 4 / 3 ………..ระบบเมตริก
Sf = FRICTION SLOPE
= (1.034  0.14)2 / (0.5)4/3
= 0.000528

ความยาวท่อ 18.0 เมตร และความชันท่อไม่น้อยกว่า 0.005


ระดับ ร.4 = ระดับ ร.3 – (18.0  0.005)
= 277.571
เลือกใช้ระดับ ร.4 = +277.561 ม.(รทก.)
ความลาดชันแนวท่อ = (277.661 – 277.561) /18.0
= 1 ต่อ 180ซึ่งมีความลาดชันมากกว่า 1 ต่อ 200 OK
TOTAL LOSS ผ่านท่อลอด (HT)
HT = 0.4hV + ( L  Sf ) + 0.7 hV
= 0.4 ( 0.041 ) + ( 18.0  0.000528 ) + 0.7 ( 0.041 )
= 0.0546 ม.
ALLOWABLE LOSS = รนส.1 – รนส. 2
= 279.871 – 279.721
= 0.15 ซึ่งมากกว่า 0.0528 OK

ออกแบบ OUTLET TRANSITION


= 22.5o ขอบผิวน้ํา
ขอบผิวน้ํา 
1.5  1.66

2.30 การไหล 2.50 ความกว้างก้นคลอง

ความกว้างของหน้าตัด 1.5  1.66


สี่เหลีย่ มผืนผ้าปลายท่อ
ขอบผิวน้ํา

LTD

การออกแบบ Box Culvert -87- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

 2.5  2.3 
LTD = 1.5  1.66  2   2  / tan 22.5

  

= 6.25 เลือกใช้ 6.50 เมตร


ความลาดชันของพื้น OUTLET TRANSITION (SOU)
SOU = (ระดับ ร.2 – ระดับ ร.4) / LTD
= (278.061 – 277.561) / 6.5
= 1 ต่อ 13 ลาดชันน้อยกว่า 1 : 4.0 OK

การออกแบบโครงสร้าง
ดินทับหลังท่อ = ระดับ ร.5 – ระดับ ร.4 – ความสูงท่อ – ความหนาท่อด้านบน
= 280.842 – 277.561 -2.0 -0.25
= 1.031 เมตร หรือ 3.382 ฟุต
พิจารณาน้ําหนักดิน 1900 กก./ม.3
นน. ดินทับหลังท่อ 1.03  1900 = 19.57 กก./ม.2
นน. เปลือกท่อด้านบน 0.25  2400 = 600 กก./ม.2
น้ําหนักกดของล้อรถ พิจารณารถบรรทุก 2 คัน แล่นสวนกันได้
พิจารณาจากรูปที่ 3 นําหนักกดของล้อรถแผ่กระจายมาซ้อนกัน
0.4 W = 16,000 ปอนด์ = 7273 กก.
นน.กดของล้อรถ 2  7273 = 2672 กก./ม.2
3.02 (1.03  1.75)
ดินถมทับหลังท่อหนาเกิน 3 ฟุต ไม่คิด Impact Load จากล้อรถ
น้ําหนักกดจากล้อรถ
0.4 W 0.4W 0.4W0.4W
6’ 4’
6’

1.03 ม. หรือ 3.38 ฟุต

3.02 ม.
FLOW ท่อ

รู ปที่ 3 การกระจายของ WEEL LOAD

การออกแบบ Box Culvert -88- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

* แรงกระทําต่อกําแพง AD
มี ข นาดเท่ า กั บ แรงที่ ก ระทํ า
ต่อกําแพง BC

รูปที่ 4 แรงทีก่ ระทําต่อท่อลอด

w1 = 1957 + 600 +2672 5229 กก./ม.2


สมมติ INTERNAL FRICTION ANGLE ของดิน 30 องศา
1  sin 30
w2 = KaSOIL h โดย Ka = = 1/3
1  sin 30
1  0.25 
=  1900  1.03  
3  2 
= 731.5 กก./ม.
(ใช้น้ําหนักดินถมอัดแน่น 1900 กก.ม.3)
1  0.25 
w3 =  1900  1.03  0.25  2.0  
3  2 
= 2156.5 กก./ม.
2  2  0.25  2400
น้ําหนักกําแพงท่อ 2 ด้าน =
2.50  1.00
= 960 กก./ม.
w4 = 5229 + 960 = 6189 กก./ม.
การแผ่กระจายของน้ําหนักน้ําในท่อลงดินใต้ฐาน
2  2  1  1000
= = 1600 กก./ม.2
2.50  1.00

การออกแบบ Box Culvert -89- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

น้ําหนักเปลือกท่อด้านหลัง
= 0.25  1.00  2400 = 600 กก./ม.
BEARING LOAD ลงดิน
= 6189 + 1600 + 600 = 8389 กก./ม.2
ดินฐานรากต้องรับน้ําหนักบรรทุกปลอดภัยไม่น้อยกว่า 9 ตัน/ตารางเมตร ถ้าไม่ใช่ก็ต้องพิจารณาตอก
เสาเข็มเพื่อรับน้ําหนักแทนดิน ใช้วิธี MOMENT DISTRIBUTION ในการกระจายโมเมนต์

ช่วงคาน ค่า K อัตราส่วน K/EI


AB 4 EI / 2.25 1.778
BC 4 EI / 2.25 1.778
CD 4 EI / 2.25 1.778
DA 4 EI / 2.25 1.778

โดย คาน AB, BC, CD และ DA , มีค่า I = 1


1.00 0.253
12
หาค่า FIXEDEND MOMENT ของแต่ละคาน
M FAB = M FBA = 1
W1L21
12

= 1
 5229  2.25 2 = 2205 กก.-ม.
12
M FCD = M FDC = 1
 6189  2.25 2 = 2611 กก.-ม.
12
1 2
  731.5  2.25    2156.5  731.5 2.25
1
M FBC = M FAD = 2
 12  30
= 549 กก.-ม.
 731.5  2.252   2156.5  731.5 2.252
1 1
M FCB = M FDA =
12 20
= 669 กก.-ม.

การออกแบบ Box Culvert -90- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

+2206 กก.– ม. w1 = 5229 กก./ม. -2206 กก.– ม.


-549 กก.– ม. +549 กก.– ม.
A A B B
w3 = 731.5 กก./ม.

w4 =
2156.5 กก./ม.
D C
D C
+669.3 กก.-ม. -669.3 กก.– ม.
-2611 กก.– ม. +2611 กก.– ม.
w4 = 6189 กก./ม.

รู ปที่ 5 โมเมนต์ ทเี่ กิดในแต่ ละคานก่อนการกระจาย

ตารางที่ 1 การวิเคราะห์การถ่ายโอนโมเมนต์โดยวิธี Moment Distribution


JOINT A B C D
MEMBER AD AB BA BC CB CD DC DA
K 1.778 1.778 1.778 1.778 1.778 1.778 1.778 1.778
CYCLE DF 0.5 0.5 0.5 0.5 0.5 0.5 0.5 0.5
MOMENT -549.07 2206.00 -2206.00 549.07 -669.30 2611.00 -2611.00 669.30
1
DISTRIBUTION -828.47 -828.47 828.47 828.47 -970.85 -970.85 970.85 970.85
CARRY OVER 485.43 414.23 -414.23 -485.43 414.23 485.43 -485.43 -414.23
2
DISTRIBUTION -449.83 -449.83 449.83 449..83 -449.83 -449.83 449.83 449.83
CARRY OVER 224.91 224.91 -224.91 -224.91 224.91 224.91 -224.91 -224.91
3
DISTRIBUTION -224.91 -224.91 224.91 224.91 -224.91 -224.91 224.91 224.91
CARRY OVER 112.46 112.46 -112.46 -112.46 112.46 112.46 -112.46 -112.46
4
DISTRIBUTION -112.46 -112.46 112.46 112.46 -112.46 -112.46 112.46 112.46
CARRY OVER 56.23 56.23 -56.23 -56.23 56.23 56.23 -56.23 -56.23
5
DISTRIBUTION -56.23 -56.23 56.23 56.23 -56.23 -56.23 56.23 56.23
CARRY OVER 28.11 28.11 -28.11 -28.11 28.11 28.11 -28.11 -28.11
6
DISTRIBUTION -28.11 -28.11 28.11 28.11 -28.11 -28.11 28.11 28.11
SUM -1341.94 1341.94 -1341.94 1341.94 -1675.75 1675.75 -1675.75 1675.75

การออกแบบ Box Culvert -91- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

1342 กก.– ม. w1 = 5229 กก./ม. 1342 กก.– ม.


1342 กก.– ม. 1342 กก.– ม.
A A B B
W3 = 731.5 กก./ม.
1209 กก. 1209 กก.
5883 กก. 5883 กก.

6963 กก. W4 =
2040 กก. 6963 กก. 2040กก.
2156.5 กก./ม.
D C
D C
1676 กก.-ม. 1676 กก.– ม.
1676 กก.– ม. w4 = 6189 กก./ม. 1676 กก.– ม.

รูปที่ 6 โมเมนต์และ SHEAR ที่เกิดในแต่ละคานหลังจากมีการกระจาย

การออกแบบ Box Culvert -92- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

รูปที่ 7 SHEAR DIAGRAM

รูปที่ 8 MOMENT DIAGRAM

การออกแบบ Box Culvert -93- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

จากการวิเคราะห์ SHEAR และ BENDING MOMENT


คาน AB
M 1967  100
dm = = = 12.8 ซม.
Rb 11.995  100
V 5883
dv = = = 15.8 ซม.
bv 100  3.8
เลือกใช้ d = 20 ซม. และ COVERING = 5.00 ซม.
AS รับโมเมนต์บวกกลางคาน (เหล็กผิวล่าง)
+ M
AS =
fs  j  d
1967  100
= = 7.41 ซม.2
1500  0.885  20
AS รับโมเมนต์ลบปลายคาน (เหล็กผิวบน)
- 1342  100
AS = = 5.05 ซม.2
1500  0.885  20
เหล็กรับอุณหภูมิ
ASt = 0.002  100  25 = 5.00 ซม.2
คาน CD
2241  100
dm = = 13.67 ซม.
11.995  100
6963
dv = = 18.32 ซม.
100  3.80
เลือกใช้ d = 20 ซม. และ COVERING = 5.00 ซม.
AS รับโมเมนต์บวกกลางคาน (เหล็กผิวบน)
+ 2241 100
AS = = 8.44 ซม.2
1500  0.885  20
AS รับโมเมนต์ลบปลายคาน (เหล็กผิวต่างๆ)
- 1676  100
AS = = 6.31 ซม.2
1500  0.885  20
เหล็กรับอุณหภูมิ
ASt = 0.002  100  25 = 5.00 ซม.2

การออกแบบ Box Culvert -94- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

คาน BC และคาน AD
1676  100
dm = = 11.82 ซม.
11.995  100
2040
dv = = 5.37 ซม.
100  3.80
เลือกใช้ d = 20 ซม. และ COVERING = 5.00 ซม.
AS รับโมเมนต์ลบ (เหล็กผิวนอก)
- 1676  100
AS = = 6.31 ซม.2
1500  0.885  20
ส่วนเหล็กผิวในใช้เหล็กรับอุณหภูมิ = 5.00 ซม.2

กําหนดขนาดเหล็ก
คาน AB
- เหล็กผิวล่าง
16 @ 0.26 AS = 7.73 ซม.2 และ O =
19.33 ซม.
- เหล็กผิวบน
16 @ 0.30 AS = 6.70 ซม.2 และ O = 16.76 ซม.

คาน CD
- เหล็กผิวบน
16 @ 0.23 AS = 8.74 ซม.2 และ O =
21.85 ซม.
- เหล็กผิวล่าง
16 @ 0.30 AS = 6.70 ซม.2 และ O = 16.76 ซม.

คาน BC และ AD
- เหล็กผิวนอก
16 @ 0.30 AS = 6.70 ซม.2 และ O =
16.76 ซม. - เหล็กผิวบน
12 @ 0.22 AS = 5.14 ซม.2 และ O = 17.14 ซม.
ตรวจสอบ BONDING STRESS (u)
- ดูจากเกณฑ์การคํานวณคอนกรีตเสริมเหล็กของกรมชลประทาน

การออกแบบ Box Culvert -95- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

คาน AB
V 5883
u = =
o  j d 16.76  0.885  20
= 19.83 กก./ซม.2 มากกว่า 18.90 กก./ซม.2

ซึ่งแสดงว่า O ของเหล็ก 16 @ 0.30 ไม่พอแต่ในทางปฏิบัติมีการเสริมเหล็กผิวนอกของกําแพงยืน


เข้ามาที่พื้น AB ด้วย ฉะนั้นตรงปลายคานเสมือนมีเหล็ก 2 ชุด คือ
1) 16 @ 0.30 และ 2) 16 @ 0.30

คาน CD
เหล็กรับแรงดึงที่ปลายคานเป็นเหล็กผิวล่าง
u = 6963 = 23.47 > 18.9
16.76  0.885  20
แต่เหตุผลเดียวกับคาน AB คือเสมือนมีเหล็ก 16 @ 0.30 2 ชุด O= 33.52 ซม.2

 u = 6963 = 11.47 < 18.9 OK


33.52  0.885  20

คาน BC และ AD
เหล็กรับแรงดึงปลายคานเป็นเหล็กผิวนอก
2040
u = = 6.87  18.9 OK
16.76  0.885 20

การออกแบบ Box Culvert -96- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

รูปที่ 9 เหล็กเสริมในหน้าตัดท่อลอด

การออกแบบ Box Culvert -97- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

บทที่ 7 ท่อเชื่อม
ท่อเชื่อม (Siphon) ในทีน่ ี้เป็นท่อลอดแบบหนึ่ง ซึ่งให้น้ําไหลเต็มท่อภายใต้ความดัน (Under
Pressure) และช่วงกลางระหว่างหัวกับท้ายท่อจะแอ่นโค้งต่ําลงหรือหักงอลง ดังแสดงในรูปที่ 7-1 ซึ่งเรียก
เฉพาะว่า Inverted Siphon ดังนั้นจะเลือกอาคารชนิดนี้ สําหรับให้คลองลอดใต้ร่องน้ําหรือทางระบายน้ําหรือ
ถนนในเมื่อมีขอ้ จํากัด ดังต่อไปนี้
(ก) ถ้าปริมาณน้ําในคลองส่งน้ําน้อยกว่าปริมาณน้ําในร่องระบายน้ํา จะให้คลองส่งน้ําลอดใต้ร่อง
ระบายน้ํา
(ข) ถ้าปริมาณน้ําในร่องระบายน้ําน้อยกว่าปริมาณน้ําในคลองส่งน้ํา จะให้ร่องระบายน้ําลอดใต้คลอง
(ค) ในกรณีที่คลองส่งน้ําไปตัดผ่านถนนจะพิจารณาถึงระดับน้ําสูงสุดในคลองส่งน้ํา (F.S.L.) กับระดับ
หลังถนนเป็นเกณฑ์กําหนดดังต่อไปนี้
- ถ้าระดับน้ําสูงสุด (F.S.L.) ในคลองต่ํากว่าระดับหลังถนนมากกว่า 0.50 เมตร จะใช้ทอ่ ลอด
(Culvert) ชนิดไม่อยู่ภายใต้ความดันสําหรับให้คลองส่งน้าํ ลอดใต้ถนน
- ถ้าระดับน้ําสูงสุด (F.S.L.) ในคลอส่งน้ําต่ํากว่าระดับหลังถนนน้อยกว่า 0.50 เมตร จะใช้ท่อ
เชื่อม (Siphon) ลอดใต้ถนนโดยกําหนดให้หลังท่อต้องต่ํากว่าระดับถนน 0.60เมตร เป็นอย่างน้อย
(ง) ข้อจํากัดของขนาดท่อเชื่อม และความเร็วของน้ําในท่อและมาตรการสําหรับการบํารุงรักษา มีดังนี้
- ขนาดไม่ควรน้อยกว่า 0.60เมตร สําหรับความยาวไม่เกิน 20เมตร
- ขนาดจะไม่น้อยกว่า 0.80เมตร สําหรับความยาวเกิน 20เมตร
- ความเร็วของน้าํ ในท่อไม่น้อยกว่า 1.50เมตร/วินาที และไม่ควรเกิน 3.00เมตร/วินาที

7.1 การออกแบบทางชลศาสตร์
ในการออกแบบท่อเชื่อม (Siphon) มีเกณฑ์ในการคํานวณออกแบบทางชลศาสตร์ดังต่อไปนี้
1) กําหนดให้การไหลของน้ําในท่อลอดเป็นแบบ Under Pressure Full Flow
2) Convergence loss ที่ Inlet Transition (Hi) = 0.4HV ม.
เมื่อ HV = Difference in velocity heads at pipe and canal, ม.
3) ในกรณีทมี่ ีอาคารอัดน้ํา Loss ที่ Check (Hck) = 0.5HV ม.
เมื่อ HV = Difference in velocity heads at check opening and
upstream canal section, ม.
4) Loss ที่บานอัดน้ํา (Hg) = 1.0HV ม.
เมื่อ HV = Difference in velocity heads at the gate opening and
the upstream canal section, ม.
5) Friction Loss ในท่อ (Hf) = L Sf ม.
เมื่อ L = ความยาวท่อ, ม.
2 2
n V
Sf = 4/3
R

การออกแบบ Siphon -98- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

n = 0.014
V = Full velocity in pipe, ม./วินาที
ζ VP2
6) Bend losses (Hb) =
2g
เมื่อ VP = ความเร็วของน้ําในท่อ
ζ = สัมประสิทธิ์สําหรับ Bend losses
7) Divergence loss ที่ Outlet Transition (HO) = 0.7HV ม.
เมื่อ HV = Difference in velocity heads at pipe and canal, ม.
8) Transition Friction Losses ไม่คิด
9) เพื่อเป็น Safety Factor ผลรวมของ Losses ต่างๆ ให้เพิ่มขึ้น 10%
10) ความเร็วสูงสุดในท่อกําหนดไว้ดังนี้ = 1.50ม./วินาที สําหรับท่อลอดที่ไม่ยาวนัก
= 3.0ม./วินาที สําหรับท่อยาว
11) ความลาดสูงสุดที่ Inlet และ Outlet Transition = 1:4(max)(ตั้ง:ราบ),
Inlet Transition
= 1:6(max)(ตั้ง:ราบ),
Outlet Transition
12) ความลาดสูงสุดของท่อช่วงต้นและช่วงปลาย = 1:2 (max) (ตั้ง:ราบ)
13) ความลาดก้นท่อช่วงกลางไม่น้อยกว่า 1:200
14) ความสูงของน้ําท่วมปากทางเข้าท่ออย่างน้อย = 1.5HV แต่ไม่น้อยกว่า 0.08 ม.
15) ความลึกของน้ําท่วมเหนือปากท่อทางออก (Outlet Submergence) 
1
(Depth
6
of outlet opening) ม.
16) ระยะพ้นน้ําต่างๆ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่ใช้กบั ท่อลอดถนน

การออกแบบ Siphon -99- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

MIN. (D/COS2) / 6
MIN. = 1.5 HV
TOP OF LINING

รูปที่ 7-1 ท่อลอดคลองส่งน้ําธรรมชาติ

การออกแบบ Siphon -100- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

7.2 ตัวอย่างการออกแบบท่อเชื่อม
การคํานวณออกแบบท่อเชื่อมในตัวอย่างนี้ ได้กําหนดให้ใช้ค่าของแรงเค้นดัด แรงเฉือน และแรงยึด
สําหรับเหล็กและคอนกรีต ดังนี้ (ปฏิภาณ, ม.ป.ป.)
fS = 1,400 ksc.
fC่ = 175 ksc.
n = 12
p = 0.0113
j = 0.87
k = 0.40
R = 13.7
- แรงเค้นดัด (Flexural stress)
งานทั่วไป fC = 0.45 fC่ = 79 ksc.
งานฐานราก fC = 0.03fC่ = 5.2 ksc.
- แรงเค้นดัด (Sheering stress)
งานคานที่มีเหล็กปลอก vC = 0.12fC่ = 21 ksc.
งานฐานราก vC = 0.03 fC่ = 5.2 ksc.
- แรงเค้นยึด(Bond stress)
งานคาน u = 0.045fC่ = 7.9 ksc.
งานฐานราก vC = 0.045fC่ = 7.9 ksc.
- แรงเค้นกด(Bearing stress)
กดเต็มพื้นที่ vC = 0.25fC่ = 44 ksc.
33% ของพื้นที่ vC = 0.375fC่ = 66 ksc.

การออกแบบ Siphon -101- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

การออกแบบ Siphon -102- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

การออกแบบ Siphon -103- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

การออกแบบ Siphon -104- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

การออกแบบ Siphon -105- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

การออกแบบ Siphon -106- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

การออกแบบ Siphon -107- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

การออกแบบ Siphon -108- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

การออกแบบ Siphon -109- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

การออกแบบ Siphon -110- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

รูปที่ 1 การคํานวณเสริมเหล็กท่อโดยวิธี Transformed area

การออกแบบ Siphon -111- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

107

106 112

การออกแบบ Siphon -112- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

รูปที่ 2 การเสริมเหล็กท่อเชือ่ มที่ระดับความลึก 25-30 เมตร

การออกแบบ Siphon -113- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

การออกแบบ Siphon -114- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

รูปที่ 3 ผิวน้ําและการหาพื้นที่ผิวน้ําในท่อ

การออกแบบ Siphon -115- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

การออกแบบ Siphon -116- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

รูปที่ 4 ลักษณะการติดตั้งทางทิ้งน้ําเข้ากับท่อเชื่อมและ Manhole

การออกแบบ Siphon -117- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

รูปที่ 5แรงดันที่กระทํากับ Manhole และ Shear-Moment Diagram

การออกแบบ Siphon -118- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

การออกแบบ Siphon -119- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

การออกแบบ Siphon -120- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

รูปที่ 6 การเสริมเหล็ก Manhole

การออกแบบ Siphon -121- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

รูปที่ 7 รูปตัดของ Manhole และการเสริมเหล็ก

การออกแบบ Siphon -122- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

บทที่ 8 อาคารน้าํ ตก
อาคารน้ําตก (Drop structure) หรือ อาคารลดระดับ เป็นอาคารทีส่ ร้างขึ้นในระบบส่งน้ําเมื่อระดับ
พื้นดินตามแนวคลองลดลงอย่างรวดเร็ว หรือเมื่อความลาดเทของพื้นดินชันกว่าความลาดของคลองส่งน้ํา ซึ่งหาก
วางแนวคลองต่อไปเรื่อยๆ ท้องคลองจะลอยสูงกว่าพื้นดินมาก ทําให้ไม่เหมาะกับการใช้งาน และยังเสียค่าก่อสร้าง
สูง จึงต้องสร้างอาคารน้ําตกเพื่อลดระดับท้องคลองส่งน้ําลง อาคารน้ําตกที่นิยมใช้กันอยูแ่ บ่งตามลักษณะรูปร่าง
ได้ 3 ชนิด ดังนี้ (ปฏิภาณ, ม.ป.ป.)
1) อาคารน้ําตกแบบกําแพงตั้ง (Vertical drop)
2) อาคารน้ําตกแบบรางเท (Inclined drop or Chute drop)
3) อาคารน้ําตกแบบท่อ (Pipe drop)
ในที่นี้ จะพิจารณาเฉพาะ อาคารน้ําตกแบบกําแพงตั้ง
8.1 อาคารน้าํ ตกแบบกําแพงตั้ง

อาคารน้ําตกแบบกําแพงตัง้ หรือ อาคารน้ําตกแนวดิ่ง (Vertical Drop Structure) เป็นอาคารที่ลด


ระดับน้ํา และท้องคลองลงในแนวดิ่ง ดังแสดงในรูปที่ 1-5 เหมาะสมสําหรับคลองซอยหรือคลองขนาดเล็กซึ่งมี
อัตราการไหลไม่มากที่ต้องการลดระดับลงน้ําไม่เกิน 1.50เมตร การไหลของน้ําผ่านอาคารจะเป็นการไหลแบบ
Free flow อัตราการไหลคํานวณได้ดังนี้

Q = (2/3)CBH3/2 2g

เมื่อ Q = อัตราการไหล, ม.3/วินาที


C = Coefficient of discharge = 0.65
B = Over flow crest length , ม.
H = Head or Water depth above the crest upstream, ม.
ส่วนการป้องกันการกัดเซาะเนื่องจากแรงน้ําด้านท้ายอาคารทําได้โดยการออกแบบให้เป็น Stilling
Pool ซึ่งความยาวของ Stilling Pool คํานวณได้จากสูตร

L = 2.5 + 1.1 (dc/h) + 0.7 (dc/h) 3 dCh )

เมื่อ L = Length of Stilling Pool, ม.


dc = Critical depth, ม.
h = Different Height between B.L. of canal upstream and
downstream, ม.
(จาก Canals and Related Structure, Chap.5 Canal Structure)

การออกแบบ drop -123- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

PRECAST CONCRETE DECK

b1 B b2

PLAN

PRECAST CONCRETE DECK

F.S.L
TOP OF CHECK WALL
H F.S.L
d1 MAX = 1.5 m

Q d2
FLOW
V

L1 MIN = 2.0 m. L2 L3 MIN = 2.0 m.

Ld LI

รูปที่ 8-1 อาคารน้ําตกแบบกําแพงตั้ง

การออกแบบ drop -124- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

8.2 ตัวอย่างการออกแบบอาคารน้าํ ตกแบบกําแพงตั้ง

ตัวอย่างนี้ เป็นการออกแบบ VERTICAL DROP WITH NOTCH CONTROL(สันติ, 2555)


ข้อมูลการออกแบบ
1. คลอง
เหนือน้ํา ท้ายน้าํ
อัตราการไหล, Q 0.907 0.907 ม.3/วินาที
ความกว้างก้นคลอง, b 0.80 0.80 ม.
ความลึกของน้ํา, d 0.80 0.80 ม.
ความสูงคอนกรีตดาดคลอง, Hc 1.00 1.00 ม
ความสูงหลังคันคลอง, Hb 1.30 1.30 ม.
ลาดด้านข้างคลอง, 1: m 1: 1.5 1: 1.5
ลาดพื้นคลอง, Ls 1: 4000 1: 4000
สัมประสิทธิ์แมนนิ่ง, n 0.016 0.016
ระดับก้นคลอง, INV +91.592 +90.592 ม.(รทก.)
ระดับน้ําสูงสุดในคลอง, รนส. +92.392 +91.392 ม.(รทก.)

2. CONTROL NOTCH
พิจารณาตรงตําแหน่ง CONTROL NOTCH
ความกว้างพื้น, B  bu B = 0.8 ม.
ความสูงกําแพง NOTCH, T  du T = 0.85 ม.
ดูรูปประกอบ
Z = T + (Hcu - du) = 0.85+ (1-0.8) = 1.05 ม.
ปริมาณน้ําไหลข้าม WING WALL ไม่น้อยกว่า 0.25 Qd
Qw = 0.227 ม.3/วินาที
ความยาว WING WALL L = B + 3T
= 0.8 + 3(0.85) = 3.35 ม.
ความสูงน้ําเหนือ WING WALL = Hcu - T
= 1 - 0.85 = 0.15 ม.

ปริมาณน้ําไหลข้าม WING WALL Q = C d L H 3/ 2

= 1.82  3.35  0.15 3/ 2


= 0.354 > 0.227 ม.3/วินาที OK.

การออกแบบ Vertical drop -125- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

คํานวณหา NORMAL DEPTH ในคลอง เมื่อ Q เท่ากับ 0.2 Qd และใช้สมการ MANNING


 เมื่อ Q = 0.189 จะได้ความลึก du = 0.37 ม.
หาค่าความลาดเอียงของช่อง NOTCH (S) โดยกําหนดค่า P และใช้ Q เท่ากับ 1.0Qdและ 0.2Qd
C d 2g T 3/ 2  P   S  T 
2 4
สมการไหลผ่าน NOTCH Q =
3  5 
Q P Cd T หรือ du +0.05 S
0.189 0.25 0.65 0.37+0.05 0.33
0.907 0.25 0.65 0.80+0.05 0.52

เลือกใช้ S = 0.55 และ P = 0.25 ม.


N = P + 2 S T
= 0.25 + 2(0.55)(0.85) = 1.185 ม.

3. STILLING BASIN
คํานวณหา CRITICAL DEPTH ตรง CONTROL NOTCH จากสมการต่อไปนี้
2 3
Q
= A c

g N

(0.907 ) 2 [( P  Sy c ) y c ] 3
=
9.81 [ P  2Sy c ]

[(0.25  0.55y c ) y c ] 3
0.0839 =
0.25  2(0.55) y c

Trial + Error ได้ yc = 0.7 ม.


Ac = 0.444
Vc = Q
= 0.907 = 2.04 ม./วินาที
Ac 0.444

Vc2
hvc = = 0.212ม.
2g
h = รนส.1 - รนส.2
= 92.392 - 91.392 = 1.0 ม.

เลือกใช้ R = 0.20 ม.
F = h + R
= 1.0+0.20 = 1.20 ม.

การออกแบบ Vertical drop -126- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

ใช้หลักการของพลังงานระหว่างหน้าตัดการไหลตรง NOTCH และหน้าตัดการไหล (1) ใน STILLING BASIN


Vc2 V12
F + yc + = d1 +
2g 2g
2
1  0.907 
1.2 + 0.7 +0.212 = d1 +  
2  9.81  ( 0.8  1.5d 1 ) d 1 
 
0.0419
2.112 = d1 +

(0.8  1.5d1 ) d 1 
2

TRIAL AND ERROR ได้ d1 = 0.143 ม.


ตรวจสอบ FROUDE NUMBER
V1 = 0.907 / [(0.8+1.5 x 0.143)0.143]
= 0.907/0.145 = 6.25 ม/วินาที
2
A = 0.145 ม
ความกว้างผิวน้ํา Bw = 0.8+ 2(1.5)(0.143)
= 1.229
V
Fr1 = = 5.81 >1SUPERCRITICAL FLOW
gA / B w

ใช้หลักการของ MOMENTUM ขณะเกิด HYDRAULIC JUMP ในทางน้ํารูปสี่เหลี่ยมคางหมู เพื่อหา d2


M1 = M2
Q2 Q2
 d1A1 =  d2A2
gA 1 gA 2
2 2
Q 2 d1 Q2 d 2
 ( 2md1  3B) =  ( 2md 2  3B)
gA 1 6 gA 2 6
2
Q 2 d1 Q2 d2
2
 ( d  B) =  ( d  B) …..… (1)
gA 1 2 1 gA 2 2 2
A1 = (0.8 + 1.5 x 0.143)(0.143) = 0.145 ม.2
แทนค่าลงในสมการที่ (1)
( 0.907 ) 2 ( 0.143) 2 ( 0.907) 2 d 2
 ( 0.143  0.8) =  2 ( 0. 8  d 2 )
9.81x 0.145 2 9.81( 0.8  1.5d 2 )d 2 2
0.0839 d 2
0.598 =  2 ( 0. 8  d 2 )
( 0.8  1.5d 2 )d 2 2

TRIAL AND ERROR ได้ d2 = 0.82 ม.

การออกแบบ Vertical drop -127- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

ตรวจสอบ FROUDE NUMBER


A2 = (0.8 + 1.5 x 0.82) 0.82 = 1.665 ม.2
Bw2 = 0.8 + 2 x 1.5 x 0.82 = 3.26 ม.
V2 = 0.907 / 1.665 = 0.545 ม./วินาที
0.545
Fr 2 = = 0.243 < 1
9.811.665 / 3.26
ซึ่งเป็นการไหลแบบ SUBCRITICAL
L3 = Ld + Lj
= Vc 2F/ g + 3d2
= 2.04 2 1.2 / 9.81  3 0.82
= 3.469
เลือกใช้ L3 = 3.6 เมตร*

4. TRANSITION

L1 = 3 du = 3  0.8 = 2.4 ม.
เลือกใช้ 2.5 ม.
L4 = 4 dd = 40.8 = 3.2 ม.
เลือกใช้ 3.5 ม. *
L2 = T = 0.85 เลือกใช้ 1.0 ม. *

5. WEIGHTED CREEP RATIOและUPLIFT


จากการจําแนกเนื้อดินประเภท COURSE SAND มี Cw = 5.0
เลือกออกแบบความลึกของ CUTOFF ดังนี้
H1 = 0.6 และ H2 = 0.6 เมตร
H3 = 0.7 และ H4 = 0.7 เมตร
ดูรูปประกอบ
VERTICAL PATH, Lv = (2H1 - 0.15) + (2H2 - 0.15 - 0.20) + (F-0.2+0.20) + (H3 - 0.20)
+ (H3 + R -0.15) + (2 H4 - 0.15)
Lv = 2(0.6) - 0.15 + [2(0.6) - 0.15 -0.20] + [1.2 - 0.2 + 0.20]
+ [0.7 - 0.20] + [0.7 + 0.20 - 0.15] + [2(0.7-0.15)]
= 5.60

การออกแบบ Vertical drop -128- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

HORIZONTAL PATH, LH = (L1 + L2 + L3 + L4) / 3


= (2.5 + 1.0 + 3.6 +3.5) / 3
= 3.53 ม.
Max. Head = F+T
= 1.2 + 0.85 = 2.05 ม.
Cw = 5.60  3.53
2.05
= 4.45 < 5.0 ไม่ผ่าน
ต้องเพิ่ม CREEPING PATH, L = 2.05(5) - (5.60+3.53)
= 1.12 ม.
พิจารณาเพิ่มความลึกของ CUTOFF
H1 = 0.8ม. และ H2 = 0.8 ม. *
H3 = 0.8ม. และ H4 = 0.8 ม.
คํานวณ Lvใหม่ได้ Lv = 6.80 ม.
6.80  3.53
Cw = = 5.04 > 5.0 OK.
2.05
ตรวจสอบความยาวของอาคารว่าเกิด SHORT PATH หรือไม่
Min L1 = 1.2 (H1 - 0.15) = 0.78 < 2.5 OK.
Min L2 = 1.2 (H2 - 0.20) = 0.72 < 1.0 OK.
Min L4 = 1.2 (H3 + R - 0.15) = 1.02 < 3.5 OK.

ขั้ น ตอนต่ อ ไปให้ พิ จ ารณาคํ า นวณระดั บ ต่ า งๆ (ดู รู ป ประกอบ) จากขนาดต่ า งๆ ที่ อ อกแบบได้ และ
ตรวจสอบความลาดเทของ INLET TRANSITON (ช่วง L1) ต้องไม่เกิน 1: 4 และตรวจสอบความลาดเทของ
OUTLET TRANSITION (ช่วง L4) ต้องไม่เกิน 1: 4 ถ้าเกินให้ปรับแก้ความยาว L1และ L4

การออกแบบ Vertical drop -129- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

การออกแบบ Vertical drop -130- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

การออกแบบ Vertical drop -131- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

การไหลผ่าน NOTCH

P
B

กรณี COMPLETE FLOW หรือ FREE FLOW


.2 4
Q = C d 2g d 3/ 2 ( P   S  d )
3 5
Cd = สัมประสิทธิ์ของการระบายน้ํา
= 0.65 ถึง 0.70
P = ความกว้างพื้นช่อง
S = ลาดข้างช่อง NOTCH
d = ความลึกของน้ําเหนือพื้นช่อง NOTCH ก่อนน้ําโค้งตัว

การออกแบบ Vertical drop -132- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์


ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 02207421 การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา

เอกสารอ้างอิง
กรมชลประทาน. 2535. มาตรฐานรายละเอียดการเสริมเหล็กในอาคารคอนกรีต. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์
การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ.
กรมชลประทาน. 2547. มาตรฐานการคํานวณออกแบบระบบส่งน้ําและระบายน้ํา. โรงพิมพ์สํานักเลขา
คณะรัฐมนตรี, กรุงเทพฯ.
กําจร ศาศวัต. 2532. ข้อมูลแผนทีเ่ พื่อใช้ในการออกแบบ. เอกสารประกอบการบรรยาย, กองฝึกอบรม กรม
ชลประทาน, กรุงเทพฯ.
คณาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน. 2546. การวางแผนและออกแบบระบบส่งน้ําชลประทาน.
สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ธัญดร ออกวะลา. 2551. การไหลในทางน้าํ เปิด. เอกสารประกอบการสอนวิชากลศาสตร์ของของไหล
ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปฏิภาณ อมาตยกุล. ม.ป.ป. การออกแบบอาคารชลประทานในระบบการส่งน้ํา. เอกสารคําสอนวิชาการ
ออกแบบอาคารชลประทานในระบบการส่งน้ํา, ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรมศาสตร์
กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พรบ.การชลประทานหลวง พ.ศ.2485. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 59 ตอนที่ 62 วันที่ 22 กันยายน 2485.
วราวุธ วุฒิวณิชย์. 2545. การออกแบบระบบชลประทานในไร่นา. พิมพ์ครั้งที่ 1. สํานักพิมพ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สันติ ทองพํานัก. 2555. ตัวอย่างการอกแบบอาคารในคลองส่งน้ํา. เอกสารประกอบการสอนวิชา 02207421
การออกแบบคลองและอาคารส่งน้ํา ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ กําแพงแสน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อรุณ อินทรปาลิต. 2534. ชลกรฉบับพิเศษ “72 ปี อาจารย์อรุณ อินทรปาลิต” สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรม
ชลประทานในพระบรมราชูปถัมภ์, นนทบุรี.
อดุล วรรณจนา. 2537. การวางแผนและออกแบบระบบส่งน้ํา. ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะ
วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน, นครปฐม.
http://province.rid.go.th/phrae/maeyom/page/km_water1.htmlavailable 31 May 2013
Young, R. B. et.al. 1978. Design of small canal structures. Department of the Interior, Bureau
of Reclamation, Colorado USA.

เอกสารอ้างอิง -133- ดร.ยุทธนา ตาละลักษมณ์

You might also like