Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 445

คํ า นิ ย ม

อธิบายได้อย่างครอบคลุม
แสดงความเข้าใจในระดับลึกที่ยอดเยี่ยมมาก
(Times Literary Supplement)

ผู้เขียนทั้งสองเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ
ผลิตงานประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัยที่มีชีวิตชีวา และน่าอ่านมาก
(Financial Times)

การศึกษาประเทศไทย ที่มีกรอบความคิดที่ชัดเจนมาก
และลุ่มลึกอย่างยิ่ง
(BBC History Magazine)

ข้อมูลเพียบ อ่านแล้ววางไม่ลง
(South East Asia Research)
คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร ได้ผลิตงานที่วิเศษจริงๆ
ตีความได้เก่ง ท้าทายผู้อ่าน รวบรวมงานวิจัยล่าสุดทั้งภาษาไทย
และอังกฤษ และวิเคราะห์แบบฉีกแนว น่าประทับใจที่สุด
(Malcom Falkus, Bangkok Post)

เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ไทยเล่มแรก ที่เป็น “ประวัติศาสตร์”


ในความหมายสมัยใหม่ ใครที่อยากรู้ที่มาของสังคมปัจจุบัน
จุดแข็ง จุดอ่อน และศักยภาพ สู่อนาคตในโลกที่ไร้เสถียรภาพ
ต้องอ่านให้ได้
(Journal of the Siam Society)

สนองตอบความต้องการของทั้งผู้อ่านทั่วไป
และนักศึกษาที่เรียนประวัติศาสตร์
และแง่มุมต่างๆ ของสังคมไทย จากอดีตถึงปัจจุบัน
(ฉลอง สุนทราวาณิชย์, The Nation)
คริส เบเคอร์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร

กรุงเทพมหานคร สํานักพิมพ์มติชน ๒๕๕๗


ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย • คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร
พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์มติชน, มีน�คม ๒๕๕๗
พิมพ์ครั้งที่ ๒ (ปรับปรุงใหม่) : สำ�นักพิมพ์มติชน, สิงห�คม ๒๕๕๗
ราคา ๓๙๕ บาท

ข้อมูลทางบรรณานุกรม
เบเคอร์, คริส. ประวัติศ�สตร์ไทยร่วมสมัย. พิมพ์ครั้งที่ ๒.
กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๗. ๔๑๖ หน้�.--(วิช�ก�ร).
๑. ไทย--ประวัติศ�สตร์--กรุงรัตนโกสินทร์สมัยประช�ธิปไตย. ๒. ไทย-ก�รเมืองและก�รปกครอง
I. ผ�สุก พงษ์ไพจิตร, ผู้แต่งร่วม. II. ชื่อเรื่อง
923.2593
ISBN 978 - 974 - 02 - 1265 - 2

ที่ปรึกษ�สำ�นักพิมพ์ : อ�รักษ์ คคะน�ท, สุพจน์ แจ้งเร็ว, สุช�ติ ศรีสุวรรณ,


ปิยชนน์ สุทวีทรัพย์, ไพรัตน์ พงศ์พ�นิชย์, นงนุช สิงหเดชะ

ผู้จัดก�รสำ�นักพิมพ์ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ • รองผู้จัดก�รสำ�นักพิมพ์ : รุจิรัตน์ ทิมวัฒน์


บรรณ�ธิก�รบริห�ร : สุลักษณ์ บุนป�น • บรรณ�ธิก�รสำ�นักพิมพ์ : พัลลภ ส�มสี
หัวหน้�กองบรรณ�ธิก�ร : สุภชัย สุช�ติสุธ�ธรรม, อพิสิทธิ์ ธีระจ�รุวรรณ • ผู้ช่วยบรรณ�ธิก�ร : เตือนใจ นิลรัตน์
พิสูจน์อักษร : ว�สน� พุ่มพัดตุน, โชติช่วง ระวิน • กร�ฟิกเลย์เอ�ต์ : อรอนงค์ อินทรอุดม
ภ�พปก : ตะวัน วัตุย� • ออกแบบปก : สุลักษณ์ บุนป�น
ศิลปกรรม : ม�ลินี มนตรีศ�สตร์ • ประช�สัมพันธ์ : ตรีธน� น้อยสี

หากท่านต้องการสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้จ�านวนมากในราคาพิเศษ
เพื่อมอบให้วัด ห้องสมุด โรงเรียน หรือองค์กรการกุศลต่างๆ
โปรดติดต่อโดยตรงที่ บริษัทงานดี จ�ากัด โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๓ โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒

www.matichonbook.com
บริษัทมติชน จำากัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบ�ลนฤม�ล ประช�นิเวศน์ ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๑๒๓๕ โทรส�ร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘
แม่พิมพ์สี-ขาวดำา : กองก�รเตรียมพิมพ์ บริษัทมติชน จำ�กัด (มห�ชน) ๑๒ ถนนเทศบ�ลนฤม�ล ประช�นิเวศน์ ๑
เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๒๔๐๐-๒๔๐๒
พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มติชนป�กเกร็ด ๒๗/๑ หมู่ ๕ ถนนสุข�ประช�สรรค์ ๒ ตำ�บลบ�งพูด อำ�เภอป�กเกร็ด
นนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖ โทรส�ร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗
จัดจำาหน่ายโดย : บริษัทง�นดี จำ�กัด (ในเครือมติชน) ๑๒ ถนนเทศบ�ลนฤม�ล ประช�นิเวศน์ ๑
เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ต่อ ๓๓๕๐-๓๓๕๓ โทรส�ร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒
Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd.
12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand

หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยหมึกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เพื่อปกป้องธรรมชาติ ลดภาวะโลกร้อน และส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของผู้อ่าน
ส า ร บั ญ

ค�ำนิยม (๒)
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ (๑๕)
บทควำมพิเศษโดย สุจิตต์ วงษ์เทศ (๑๗)
บทควำมพิเศษโดย นิธิ เอียวศรีวงศ์ (๑๙)
บทควำมพิเศษโดย ดร.วีรพงษ์ รำมำงกูร (๒๔)
ค�ำน�ำผู้เขียน (๒๘)

ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย ๑
๑. ก่อนกรุงเทพฯ ๒
การก่อตัวของชุมชนในที่ราบลุ่มเจ้าพระยา ๕
เมือง ๙
เจ้าและรัฐ ๑๑
เมืองชายฝั่งทะเลเป็นใหญ่ ๑๔
สมัยของการพาณิชย์ ๑๗
สังคมอยุธยาตอนปลาย ๒๐
พุทธศาสนาและสถาบันกษัตริย์ ๒๖
เสียกรุง ๓๐
สรุป ๓๓
๒. การเปลี่ยนผ่านของระบอบดั้งเดิม ทศวรรษ ๒๓๒๐ ถึงทศวรรษ ๒๔๐๐ ๓๖
จากอยุธยาถึงกรุงเทพฯ ๓๗
การแผ่ขยายดินแดน ๓๙
ตระกูลขุนนางใหญ่และกษัตริย์พุทธมามกะ ๔๒
เศรษฐกิจตลาดขยายตัว ๔๖
เจ้าสัว ๔๙
ความเจริญ ๕๓
แรงงานเกณฑ์ แรงงานอิสระ ๖๐
สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ๖๓
สรุป ๖๕

๓. การปฏิรูป ทศวรรษ ๒๔๐๐ ถึงทศวรรษ ๒๔๕๐ ๖๖


ความเสื่อมสลายของระบอบการปกครองแบบเดิม ๖๗
การบริหารประเทศ ๗๓
การปักปันอาณาเขต ๘๐
สร้างพลเมือง ๘๕
สร้างความเป็นไทย ๘๖
สร้างพลเมืองที่ดีกว่า ๙๑
สถาบันกษัตริย์ ทันสมัย และอลังการ ๙๔
การละคร สถาปัตยกรรม และประวัติศาสตร์ ๙๙
นักคิดสามัญชน ๑๐๓
ขีดจ�ากัดของความศิวิไลซ์ ๑๐๕
สรุป ๑๑๐

๔. ชาวนา พ่อค้า และข้าราชการ ทศวรรษ ๒๔๑๐ ถึงทศวรรษ ๒๔๗๐ ๑๑๔


ภูมิทัศน์และสังคมชนบทเปลี่ยนรูป ๑๑๕
สังคมชาวนารายเล็ก ๑๒๐
เมืองท่าในสมัยอาณานิคม ๑๒๖
การค้าข้าวและการอุตสาหกรรมสมัยเริ่มแรก ๑๓๐
สังคมเมืองหลวงของรัฐชาติ ๑๓๕
ภูมิทัศน์และสังคม กรุงเทพฯ ๑๓๘
สรุป ๑๔๓

๕. ชาตินิยมหลายมิติ ทศวรรษ ๒๔๕๐ ถึงทศวรรษ ๒๔๘๐ ๑๔๖


สมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่ยอมตาย ๑๔๘
การสร้างพื้นที่สาธารณะ ๑๕๐
การปฏิเสธสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ๑๕๓
สร้างความเป็นไทยเสียใหม่ ๑๕๘
ลูกจีนกับกระแสชาตินิยม ๑๕๙
การปฏิวัติ ๒๔๗๕ ๑๖๒
ความเจริญและความชอบธรรม ๑๗๐
การพุ่งขึ้นของกองทัพ ๑๗๔
การสร้างวัฒนธรรมหลังสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ๑๗๖
โลกที่ลัทธิชาตินิยมต่างๆ แข่งกัน ๑๘๐
มหาประเทศ มหาอาณาจักรไทย ๑๘๓
สงครามโลกครั้งที่ ๒ ๑๘๘
สรุป ๑๙๒

๖. สมัยอเมริกันและพัฒนาการ ทศวรรษ ๒๔๘๐ ถึงทศวรรษ ๒๕๑๐ ๑๙๖


จากสงครามโลกสู่สงครามภายใน ๑๙๘
การอุปถัมภ์จากสหรัฐ ภัยคอมมิวนิสต์ และทหารนิยม ๒๐๓
พัฒนาการและกลุ่มทุน ๒๑๒
เกษตรบุกเบิกเขตที่ราบสูง ๒๑๘
สังคมชาวนากับระบบตลาด ๒๒๓
บ้านกับเมือง ๒๒๗
อวสานของศักดินา ๒๒๙
สรุป ๒๓๒

๗. อุดมการณ์หลากหลาย ทศวรรษ ๒๔๘๐ ถึงทศวรรษ ๒๕๑๐ ๒๓๔


รัฐทหาร ๒๓๖
การแผ่ขยายอ�านาจของรัฐชาติ ๒๓๙
การฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์ ๒๔๓
ขบวนการฝ่ายซ้าย ๒๕๑
ป่าล้อมเมือง ๒๕๔
นักศึกษา ๒๕๖
ฝ่ายซ้าย ๒๖๑
ฝ่ายปฏิรูป ๒๖๓
ฝ่ายขวา ๒๖๕
ทางออก ๒๗๑
สรุป ๒๗๓

๘. โลกาภิวัตน์และสังคมมวลชน ๒๗๖
เศรษฐกิจเมืองเฟื่องฟู ๒๗๘
มังกรผงาดลาย ๒๘๓
สร้างชนชั้นกลาง ๒๘๘
ชนชั้นคนงานอาบเหงื่อต่างน�้า ๒๙๐
สังคมชนบทปรับตัว ๒๙๕
ชนบทฮึดขึ้นสู้ ๓๐๑
สมัยสังคมมวลชน : สิ่งพิมพ์ ๓๐๘
สังคมมวลชน : การคมนาคมและสือ่ สาร ๓๑๐
เฉลิมฉลองความหลากหลาย ๓๑๔
พรมแดนภายใน ๓๑๙
ความวิตกกังวลของฝ่ายอนุรักษนิยม ๓๒๒
สรุป ๓๒๔

๙. การเมือง จาก พ.ศ. ๒๕๑๙ ๓๒๖


อุดมการณ์ของชาติและเอกลักษณ์ของชาติ ๓๒๘
ทหารการเมือง และ “เปรมาธิปไตย” พ.ศ. ๒๕๒๓-๒๕๓๗ ๓๓๐
พระมหากษัตริย์สถาบันสูงสุด ๓๓๔
ธุรกิจการเมือง ๓๔๐
นักธุรกิจงัดข้อกับทหาร : สมัยชาติชาย ๒๕๓๑-๒๕๓๔ ๓๔๓
วิกฤตการเมือง พ.ศ. ๒๕๓๔-๒๕๓๕ ๓๔๖
การปฏิรูป หรือ “ธนกิจการเมือง” ๓๕๑
วิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๔๐ ๓๕๗
ปฏิกิริยากับวิกฤต ๓๖๐
ไทยรักไทย ๓๖๓
รัฐประหาร ๒๕๔๙ ๓๗๒
เสื้อแดง ๓๗๗
จากพฤษภาคมประท้วงถึงพฤษภาคมรัฐประหาร ๓๘๓
สรุป ๓๘๖
ปัจฉิมบท : รัฐเข้มแข็งและสันติสุขของประชาชน ๓๘๗
เชิงอรรถ ๓๙๒
เกี่ยวกับผู้เขียน ๔๑๔

แผนที่
๑. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้บริเวณผืนแผ่นดินใหญ่ ๔
๒. เมืองและอาณาจักรโบราณ ๑๘
๓. ภูมิการเมืองก่อนการปฏิรูปสมัยรัชกาลที่ ๕ ๗๗
๔. เส้นพรมแดนสยาม วาดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕-๒๔๕๒ ๘๔
๕. ประเทศไทยในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ๑๘๙
๖. ประเทศไทยร่วมสมัย ๒๘๔
๗. ผลการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๕๔ ๓๖๕

แผนภาพ
๑. ประมาณการประชากรภายในพรมแดนประเทศไทยสมัยใหม่ ๓๓
๒. รายได้ต่อหัวตามราคาจริง พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๕๕๔ ๒๗๙

รูปภาพ
๑. พระราชวังหลวงที่กรุงศรีอยุธยาสมัยพระเจ้าปราสาททอง
(ภำพขยำยมำจำกภำพเขียน “กรุงศรีอยุธยำ”
วำดโดย ดำวิด และโยฮันเนส วิงโบนส์ ชำวฮอลันดำ) ๒๐
๑๒. ริมฝั่งแม่น�้า กรุงศรีอยุธยาสมัยพระเพทราชา
(ภำพจำก สมุดรำยวันของเอนเยลเบิร์ต แกมป์เฟอร์
Engelbert Kaempfer) ๒๔
๑๓. พระสงฆ์เดินทางไปลังกา (ภำพเขียนจำกสมุดภำพไตรภูมิ) ๒๘
๑๔. ภาพเขียน “กรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๔๖๖” (บน)
และ “แม่น�้ากับเรือในบางกอก” (ล่าง)
วาดโดย ดร.จอร์ช ฟินเลย์สัน (George Finlayson)
นักธรรมชาติวิทยาที่เข้ามาส�ารวจสยามและเวียดนาม
ในปี ค.ศ. ๑๘๒๑ และ ๑๘๒๒ (ภำพจำก THAI ART & CULTURE :
Historic Manuscripts from Western Collections.
Heny Ginsburg. Silkworm Books. 2000) ๔๗
๑๕. ครอบครัวของเจ้าสัวสมัยรัชกาลที่ ๕ (หอจดหมำยเหตุแห่งชำติ) ๕๒
๑๖. ชีวิตประจ�าวันของสามัญชน ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนัง
ต้นรัตนโกสินทร์ (ภำพ Steve Van Beek) ๕๔
๑๗. (ซ้าย) พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ในฉลองพระองค์กษัตริย์สยาม
ถ่ายภาพโดย จิตร จิตราคนี, (ขวา) พ.ศ. ๒๔๐๗ ในฉลองพระองค์
แบบขุนนางจีน โดยผู้วาดนิรนาม และ (ล่าง) ภาพวาดทรงห้อมล้อม
ด้วยนางสนม โดยผู้ติดตามของขุนนางฝรั่งเศส กงต์ เดอ โบวัวร์
ที่เข้าเฝ้าเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๙ ๗๒
๑๘. ขุนนางไทยสมัยรัชกาลที่ ๔ ก่อนอิทธิพลของชาติตะวันตก
หม่อมราโชทัย (ม.ร.ว.กระต่าย อิศรางกูร) เครื่องแต่งกาย
และของตกแต่งมาจากหลายประเทศในเอเชีย ไทย จีน เปอร์เซีย
อาหรับ อินเดีย เฉพาะหนังสือเท่านั้นที่เป็นของฝรั่ง
(ภำพจำก หอจดหมำยเหตุแห่งชำติ) ๘๐
๑๙. พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทันสมัยและเปิดเผยพระองค์
ปลายรัชสมัย (ภำพจำก หอจดหมำยเหตุแห่งชำติ) ๙๘
๑๐. สถาบันกษัตริย์และประวัติศาสตร์ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าวชิราวุธ
ทอดพระเนตรโบราณวัตถุ พ.ศ. ๒๔๕๐
(ภำพจำก หอจดหมำยเหตุแห่งชำติ) ๑๐๑
๑๑. ภาพริมฝั่งแม่น�้าเจ้าพระยายังเป็นป่าในสมัยก่อนการขยายตัว
ของนาบุกเบิก วาดโดย อองรี มูโอต์ พ.ศ. ๒๔๐๑
(ภำพจำก สยำมสมำคม) ๑๑๖
๑๒. หญิงท�างาน เป็นลูกหลานของเชลยศึกชาวลาวซึ่งถูกกวาด
มาอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี สันนิษฐานว่าเป็นภาพวาดจากรูปถ่าย
โดย จอห์น ทอมสัน ที่ไปเยือนเพชรบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘-๒๔๐๙
(ภำพจำก สยำมสมำคม) ๑๒๒
๑๓. คนจีนอพยพบนเรือมาจากจีนใต้
(ภำพจำก Thai Labor Museum) ๑๓๓
๑๔. ภาพถ่ายแสดงชาวบ้านเล่นพนันข้างถนนสมัยรัชกาลที่ ๕
ผู้หญิงยังไว้ผมสั้น ทั้งหญิงและชายยังนุ่งผ้า ห่มสไบหรือคล้องผ้า
โดยไม่มีการตัดเย็บ (ภำพจำก หอจดหมำยเหตุแห่งชำติ) ๑๓๙
๑๕. การ์ตูนจากหนังสือพิมพ์ “ศรีกรุง” พ.ศ. ๒๔๗๔
เสียดสีสังคมสยามสมัยก่อน พ.ศ. ๒๔๗๕ ๑๕๔
๑๖. นักปฏิวัติที่ปารีส พ.ศ. ๒๔๗๐ จากซ้ายไปขวา ควง อภัยวงศ์,
ปรีดี พนมยงค์, เทพ อภัยวงศ์ และหลวงวิจิตรวาทการ
(ภำพจำก หอจดหมำยเหตุ มหำวิทยำลัยธรรมศำสตร์) ๑๖๓
๑๗. ชาติอิสระและติดอาวุธ รูปปั้นนูนต�่าที่ฐานของอนุสาวรีย์
ประชาธิปไตย พ.ศ. ๒๔๘๒ โดย ศิลป์ พีระศรี (Corrado Feroci)
เป็นครั้งแรกที่สามัญชนปรากฏตัวในประติมากรรมของรัฐชาติ
แต่ในบทบาทหลักเป็นทหาร (ภำพ ธ�ำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์) ๑๗๙
๑๘. แผนที่แสดงเส้นการเดินทางของชาวไทโบราณสู่สยาม
จัดพิมพ์โดยกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๔๗๙ ๑๘๔
๑๙. ผู้ที่ได้รับรางวัลที่ ๑ การประกวดเครื่องแต่งกายประเภทเวลาบ่าย
และในโอกาสพิเศษ คงจะเป็น พ.ศ. ๒๔๘๔ หรือ ๒๔๘๕
สมัยที่จอมพล ป. รณรงค์ให้เมืองไทยก้าวเข้าสู่ความทันสมัย
(ภำพจำก หนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงครำม ครบรอบศตวรรษ
จัดพิมพ์โดยมูลนิธิจอมพล ป. พ.ศ. ๒๕๔๐) ๑๘๗
๒๐. ทหารอเมริกันพักรบที่หาดพัทยา
(ภำพจำก หนังสือพิมพ์ The Nation) ๒๑๐
๒๑. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขณะเดินทางไปตรวจราชการ
จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ ๒๕-๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๖
(ภำพจำก หนังสืองำนศพจอมพลสฤษดิ์) ๒๓๗
๒๒. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สั่งยิงเป้า ครอง จันดาวงศ์
และทองพันธ์ สุทธิมาศ เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๔
ที่ลานบินใกล้จังหวัดสกลนคร (ภำพ สะอำด อังกูรวัธ) ๒๔๒
๒๓. พระมหากษัตริย์นักพัฒนา โครงการปลูกพืชทดแทนฝิ่น
และโครงการชลประทาน ทศวรรษ ๒๕๑๐
(ภำพจำก หนังสือพิมพ์ The Nation) ๒๔๙
๒๔. มวลชนเข้าร่วมการเมือง หนึ่งวันก่อนเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖
(ภำพจำก หอจดหมำยเหตุ มหำวิทยำลัยธรรมศำสตร์) ๒๖๐
๒๕. คนงานหญิงที่โรงงานฮาร่า ไม่ยอมถูกปลดจากงาน โดยเข้ายึดโรงงาน
และด�าเนินการผลิตต่อไปภายใต้ระบบสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๑๗ ๒๖๖
๒๖. นักศึกษาบาดเจ็บเลือดอาบหน้าในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หลังจากที่ทหารบุกเข้าควบคุมเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
(ภำพจำก หอจดหมำยเหตุ มหำวิทยำลัยธรรมศำสตร์) ๒๗๐
๒๗. ผู้สนับสนุน พคท.ในพิธีมอบอาวุธให้กับกองทัพไทยที่อุ้มผาง
ธันวาคม ๒๕๒๕ (ภำพจำก หนังสือพิมพ์ The Nation) ๒๗๒
๒๘. เกษตรกรเดินสู่การเมือง การประท้วงโครงการ คจก.
บนถนนมิตรภาพ เดือนมิถุนายน ๒๕๓๕
(ภำพจำก หนังสือพิมพ์ The Nation) ๓๐๓
๒๙. รถมอเตอร์ไซค์ญี่ปุ่นช่วยโยงชนบทไทย
กับตลาดและชาติ (ภำพ Steve Van Beek) ๓๑๑
๓๐. พฤษภาทมิฬ ผู้ประท้วงรายหนึ่งที่ถูกตีที่ถนนราชด�าเนิน
เมื่อคืนวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๓๕
(ภำพจำก หนังสือพิมพ์ The Nation) ๓๔๙
๓๑. ทักษิณ ชินวัตร ฉลองชัยชนะสงครามปราบยาเสพติด
(ภำพจำก หนังสือพิมพ์ Bangkok Post) ๓๗๑
๓๒. เสื้อแดงชุมนุมใหญ่ พฤษภาคม ๒๕๕๓
(ภำพจำก ศูนย์ภำพมติชน-ข่ำวสด) ๓๘๒
คํ า นํ า สํ า นั ก พิ ม พ์

“การเมืองเป็นเรื่องใกล้ตัว” วลีนี้เพิ่งปรากฏอยู่ในบริบทสังคมไทยอย่าง
ชัดเจนในระยะเวลาเพียงไม่เกิน ๑๐ ปีนี้เท่านั้น หากย้อนกลับไปดูเหตุการณ์ใน
ประวัติศาสตร์ จะเห็นได้ว่าวิกฤตทางการเมืองเกิดขึ้นหลายครั้ง แต่ยังไม่เคยมี
ครั้งใดที่คนจากทุกภาคส่วนให้ความสนใจเหตุบ้านการเมืองทั่วทุกหัวระแหงเช่น
ใน พ.ศ. นี้
การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจึงนับว่ามีความส�าคัญมากส�าหรับวิถีชีวิตของ
ผู้คน และเราเชื่อมาตลอดว่า “การอ่าน” คือช่องทางหนึ่งที่จะท�าให้เข้าใจใน
เรื่องราวต่างๆ ได้ดีขึ้น ดังนั้น เราจึงเลือกที่จะน�าเสนอ “ประวัติศาสตร์ไทย
ร่วมสมัย” หนังสือที่เขียนโดย คริส เบเคอร์ (นักประวัติศาสตร์) และ ผำสุก
พงษ์ไพจิตร (นักเศรษฐศาสตร์การเมือง) ทั้งสองท่านเป็นนักวิชาการที่มีผลงาน
เขียนและแปลร่วมกันหลายเล่ม เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ
โดยก่อนที่หนังสือเล่มนี้จะมาอยู่ในมือผู้อ่านคนไทย ได้ผ่านสายตาชาว
ต่างชาติมาแล้วในรูปแบบภาษาอังกฤษ เพราะใช้เรียนกันในวิชาประวัติศาสตร์
การเมืองของเอเชียในมหาวิทยาลัยหลายแห่งในต่างประเทศ รวมถึงบุคลากรชาว
ต่างชาติที่จะมาประจ�าหน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทยก็กล่าวขานถึงหนังสือเล่มนี้
จึงเรียกได้ว่า “ฝรั่งอ่านแล้ว แต่คนไทยเพิ่งจะได้อ่าน”
ผู้เขียนทั้งสองท�าให้เราเห็นภาพของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม
ไทยได้กระจ่างชัดขึ้น ผ่านภาษาที่กระชับ เข้าใจง่าย ครอบคลุมทุกมิติ ไม่ว่าจะ
เป็นด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการเมือง นับตั้งแต่ก่อนที่ “รัฐชาติ”

()
จะถือก�าเนิดขึ้น จนถึงการก�าเนิด “รัฐชาติ(ไทย)” และถูกขับดันให้ส�าแดงพลัง
ตัวตนจนซึมลึกอยู่ในวิถีชีวิตประจ�าวันของคนในชาติอย่างแนบเนียน อธิบาย
ถึงสาเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดวิกฤตทางการเมืองและเศรษฐกิจหลายครั้งหลายครา
วิพากษ์ความซับซ้อนในการเปลี่ยนขั้วอ�านาจแย่งชิงความเป็นผู้น�าและก�าหนด
ทิศทางในการบริหารประเทศโดยกลุ่มทุนใหม่ จนพัฒนามาสู่ “การเมืองเรื่อง
(สองสี) ของคนไทยทุกคน” ในยุคปัจจุบัน
กระทั่งไม่ว่าเราเดินไปบนถนนสายไหน ตรอกซอกซอยใด ก็มักจะได้ยิน
คนพูดถึงความเหลื่อมล�้าในสังคมไทย บ้างก็พูดถึงเหตุการณ์ทางการเมือง นัก
การเมือง พรรคการเมือง และนโยบายต่างๆ ของพรรคนั้นพรรคนี้ เกิดการ
วิพากษ์วิจารณ์กันไปต่างๆ นานา ตามแต่การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของแต่ละคน
ในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กก็เกิดชุดความคิดหลากหลาย แรกๆ อาจสื่อสารกัน
เฉพาะกลุ่มในสิ่งที่คิดเห็นตรงกัน จากนั้นก็แพร่กระจายสู่วงกว้างอย่างรวดเร็ว
หากเราไม่ได้มองเพียงว่า ความแตกต่างทางความคิดที่แบ่งขั้ว แบ่งฝัก
แบ่งฝ่ายเช่นนี้ ท�าหน้าที่แสดงความแตกแยกของผู้คนในสังคมเท่านั้น เพราะ
อีกนัยหนึ่งอาจกล่าวได้ว่า ความเห็นต่างเหล่านี้ก�าลังท�าหน้าที่แสดงถึง “พัฒนา
การ” ด้านการเมือง การปกครอง ของผู้คนทุกชนชั้นในสังคมไทยเป็นอย่างดี
และเราได้แต่หวังว่า พลังของการอ่านโลก อ่านความจริง จะสามารถ
พัฒนาและยกระดับความคิดของผู้คนในสังคมให้หลุดพ้นจากความทรงจ�าเก่าๆ
ที่เราควรเรียนรู้ได้จากประวัตศิ าสตร์กันเสียที

ส�านักพิมพ์มติชน

()
บทความพิเศษ :
ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย
สุจิตต์ วงษ์เทศ

“รัฐชำติไทยที่เรำรู้จักในปัจจุบัน ก่อตัวขึ้นเมื่อในช่วง ๒๐๐ กว่ำปีมำนี้


ชื่อประเทศ เขตแดน เมืองหลวง ควำมเป็น ‘ไทย’ ในฐำนะเป็นชำติหนึ่ง และ
รูปแบบของรัฐบำล ล้วนเป็นสิ่งใหม่ทั้งสิ้น เพิ่งคิดประดิษฐ์ขึ้นมำในช่วงเวลำ
ดังกล่ำว ชื่อ ‘ประเทศไทย’ ก็ตั้งขึ้นอย่ำงเป็นทำงกำรเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ นี้เอง
แม้ว่ำจะได้ใช้ชื่อ ‘เมืองไทย’ มำนำนกว่ำนี้แล้ว”

ที่ยกมานี้เป็นข้อความย่อหน้าแรกสุดของหนังสือ ประวัติศาสตร์ไทย
ร่วมสมัย โดย คริส เบเคอร์ และ ผำสุก พงษ์ไพจิตร มีประเด็นส�าคัญมากคือ
ข้อความว่า
“ความเป็น ‘ไทย’ ในฐานะเป็นชาติหนึ่ง--ล้วนเป็นสิ่งใหม่ทั้งสิ้น” เพิ่ง
คิดประดิษฐ์ขึ้นมาในช่วง ๒๐๐ กว่าปีมานี้เท่านั้น
ไม่ใช่ ๗๐๐ ปี, ๘๐๐ ปี หรือพันๆ ปี อย่างที่ทางการไทย (โดยเฉพาะ
ในเครื่องแบบ) ใช้ครอบง�าป่าวร้องก้องโลกมานาน
หนังสือเล่มนี้ไม่มีแหล่งก�าเนิดคนไทยจากเทือกเขาอัลไต, ไม่มีคนไทย
ถูกรุกรานจากจีนจนต้องอพยพถอนรากถอนโคนลงทางใต้, ไม่มีอาณาจักรน่าน
เจ้าเป็นของคนไทย, ไม่มีเรื่องคนไทยปลดแอกจากเป็นข้าขอม และไม่มีสุโขทัย
เป็นราชธานีแห่งแรกของไทย ฯลฯ
มีแต่ความเป็นมาของดินแดนและผู้คนอันหลากหลายชาติพันธุ์ ซึ่ง
ผมเห็นว่าเป็นแนวทางสากลก้าวหน้าที่สุด แต่การศึกษาไทยไม่คุ้น เพราะถูก

( )
ครอบง�าจากสิ่งพิกลพิการมานับศตวรรษ
คริสและผาสุกบอกไว้ในประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัยว่า ราว พ.ศ.๒๐๕๐
ชาวโปรตุเกสได้รับการบอกเล่าว่าที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างคือ “เมืองไทย”
(หน้า ๓๐)
หลังบันทึกของชาวโปรตุเกสราว ๒๐๐ ปี ชาวฝรั่งเศสก็ได้รับการบอก
เล่าอีกว่า คนในเมืองไทยเรียกตัวเองว่า “คนไทย” และเป็น “ไทยน้อย” (หมาย
ถึงลาวลุ่มน�้าโขง)
ถ้าจริงตามนี้ แสดงว่าความเป็นคนไทยและเมืองไทยมีขึ้นบริเวณลุ่มน�้า
เจ้าพระยาราว ๕๐๐ ปีมานี้เอง ไม่ได้มีตั้งแต่อยู่เทือกเขาอัลไตตามต�าราแห่งชาติ
ที่นั่งเทียนยกเมฆ
บริเวณลุ่มน�้าเจ้าพระยามีขอบเขตพื้นที่เหนือสุดราวจังหวัดอุตรดิตถ์
(พ้นขึ้นไปไม่ไทย แต่เป็นลาว) ใต้สุดราวจังหวัดเพชรบุรี (ต�่าลงไปไม่ไทย แต่
เป็นชาวนอกชาวเทศ)
มีผู้บอกผมว่าหลายคนไม่พอใจค�าอธิบายอย่างนี้ แล้วมีปฏิกิริยาด่าทอ
ต่อต้านมากทางสื่อสาธารณะ แต่ผมไม่เห็น และไม่ได้อ่าน เพราะใช้งานเฟซบุ๊ก
ไม่เป็น ไม่เคยใช้
ถ้าจริงตามที่มีผู้บอกเล่ามา ก็ขอแนะน�าให้ท่านที่ไม่พอใจหาอ่านพยาน
หลักฐานและค�าอธิบายอีกในหนังสือประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัยของคริสกับ
ผาสุกเล่มนี้ และเล่มอื่นๆ
คนส่วนมากถูกครอบง�าด้วยประวัติศาสตร์แห่งชาติ ว่าด้วยชนชาติไทย
ที่มีแต่เรื่องราวของราชวงศ์และสงคราม
จึงไม่รู้ว่ากว่าจะเป็นคนไทยและประเทศไทย มีอย่างอื่นอีกมากนักที่
ส�าคัญกว่า หรือส�าคัญพอๆ กัน

ที่มำ : คอลัมน์สยำมประเทศไทย, มติชนรำยวัน อังคำรที่ ๑ เมษำยน ๒๕๕๗

( )
บทความพิเศษ :
ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย
นิธิ เอียวศรีวงศ์

ผมเชื่ อ มานานแล้ ว ว่ า หนึ่ ง ในเครื่ อ งมื อ การครอบง� า ส� า คั ญ ที่ ม นุ ษ ย์


สามารถกระท�าต่อกันได้คือความทรงจ�าเกี่ยวกับอดีต เพราะความทรงจ�ามีส่วน
อย่างมากในการที่เราสร้างอัตลักษณ์ขึ้นมา หรือบอกแก่ตนเองและผู้อื่นว่า ฉัน
เป็นใคร มาจากไหน และพึงมีความสัมพันธ์กบั คนอื่นอย่างไร
ประวัติของตระกูล ซึ่งไม่จ�าเป็นต้องออกมาในรูปของเรื่องราวเพียง
อย่างเดียว อาจออกมาในรูปไม้คานเลี่ยมทอง รูปเล่ากงไว้เปีย หรือค�าประกาศ
พระราชทานนามสกุล ฯลฯ ล้วนมีส่วนก�าหนดอัตลักษณ์ของลูกหลานในตระกูล
กลุ่มคน ไม่ว่าในตระกูล สมาคม โรงเรียน มหาวิทยาลัย บริษัท ชนชั้น
หรือชาติ ฯลฯ จึงต้องมีความทรงจ�าร่วมกัน หากมีความพยายามจะครอบง�าสูง
ก็ยิ่งมีความจ�าเป็นจะต้องยึดกุมความทรงจ�านั้นให้มั่นคงปลอดภัยจากการแทรก
แซงให้แข็งแรงเพียงนั้น
และด้วยเหตุดังนั้น ผมจึงมีความใฝ่ฝันมานานว่า สักวันหนึ่งผมคง
สามารถเขียนหนังสือประวัติศาสตร์ไทยได้สักเล่ม ซึ่งเหมาะที่คนทั่วไปจะอ่าน
หรือเหมาะที่จะใช้อ่านแนะน�าส�าหรับนักเรียนที่ไม่ประสงค์จะเรียนประวัติศาสตร์
แต่ต้องรู้ประวัติศาสตร์เป็นพื้นฐาน ผมหวังว่าจะเป็นหนังสือประวัติศาสตร์ที่
เสนอความทรงจ�าอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่เปิดโอกาสให้คนกลุ่มใดใช้อดีตเป็นเครื่อง
มือในการครอบง�าคนอื่นอย่างง่ายๆ อีก เพราะความทรงจ�าส�านวนของผมจะ
เปิดพื้นที่ให้แก่คนทุกกลุ่มในประวัติศาสตร์ ได้เข้ามามีบทบาทตามที่เป็นจริงใน
อดีต

( )
ไม่มีค�าประณามพจน์ให้ใคร และไม่มีค�าประณามหยามเหยียดให้ใคร
อีกเหมือนกัน แต่จะท�าให้เข้าใจเงื่อนไขต่างๆ ที่แวดล้อมการกระท�าและความ
คิดของบุคคล สถาบัน องค์กร และกลุ่มคนในอดีต
แต่ผมก็ไม่เคยสามารถท�าความใฝ่ฝันให้เป็นจริงได้ เพราะรู้ว่าความรู้
ความสามารถของตนยังไม่พอ ได้แต่ฝันๆ ไปโดยไม่ได้เตรียมตัวเองให้พร้อม
จะท�าได้มาหลายสิบปี
บัดนี้ถึงเวลาที่ผมไม่ต้องใฝ่ฝันแล้ว เพราะมีคนท�าอย่างที่ผมอยากท�า
ไปแล้ว ซ�้าท�าได้ดีกว่าที่ผมจะมีความสามารถท�าได้เองเสียอีก นั่นคือ อาจารย์
ผาสุก พงษ์ไพจิตร และอาจารย์คริส เบเกอร์ ได้เขียนประวัติศาสตร์ไทยร่วม
สมัยขึ้น แต่เดิมเขียนเป็นภาษาอังกฤษตามค�าเชิญของส�านักพิมพ์มหาวิทยาลัย
เคมบริดจ์ ตอนนี้ท่านได้แปลออกเป็นภาษาไทย และจัดพิมพ์เรียบร้อยแล้ว
โดยส�านักพิมพ์มติชน
เวลาที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่า “ร่วมสมัย” โปรดระวัง เพราะมันไม่ได้
หมายความว่าเมื่อวานนี้ หนังสือเล่มนี้ครอบคลุมเนื้อหาอย่างสรุปๆ มาตั้งแต่
ก่อนประวัติศาสตร์ แต่ตัวเนื้อหาไม่สู้มีความส�าคัญเท่ากับความเข้าใจเกี่ยวกับ
เนื้อหา เช่น เข้าใจว่าคนไทยอพยพลงมาเป็นใหญ่เหนือคนชาติอื่นทั้งหมดใน
แหลมทอง ก็ท�าให้เรามองบทบาทของ “ชาติ” เราในการปกครองไปอย่างหนึ่ง
หากเข้าใจว่า ที่เรียกคนไทยในปัจจุบันนั้นร้อยพ่อพันแม่ ทั้งกลุ่มชาติ
พันธุ์ที่หลากหลายซึ่งอยู่ในดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ และทั้ง
อีกหลายกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพเข้ามาหรือถูกกวาดต้อนเข้ามา เราก็มองบทบาท
ของ “ชาติ” ในการปกครองไปอีกอย่างหนึ่ง ความเข้าใจที่แตกต่างกันต่อประวัติ
ศาสตร์โบราณ เป็นประเด็นหลักอันหนึ่งของการช่วงชิงความหมายของค�าว่า
“ชาติ” ในจินตนาการเกี่ยวกับชาติในสมัยหลัง จึงจ�าเป็นต้องพูดถึงไว้อย่างย่อๆ
มาตั้งแต่ต้น
ส่วนใหญ่ของเนื้อหาประวัติศาสตร์ร่วมสมัยคือ ตั้งแต่ประมาณ ๒๐๐
กว่าปีที่ผ่านมา อันเป็นเรื่องราวของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดในสังคมไทย ทั้งใน
ทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ภูมิปัญญา ฯลฯ จนท�าให้เกิดเมืองไทย
ที่เราพบเห็นอยู่ในทุกวันนี้ แม้ว่าพูดถึงความเปลี่ยนแปลงหลายด้าน แต่ก็มอง
เห็นความสัมพันธ์ของด้านต่างๆ อยู่ตลอดเวลา เช่น ความจ�าเป็นที่จะต้องหา
ตลาดใหม่นอกจีนหลังสงครามฝิ่นไปแล้ว ท�าให้เราต้องหันไปหาตลาดที่ฝรั่ง

()
ครอบง�ามากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และการ “เปิดประเทศ” ก็เป็นทางเลือก
หนึ่งที่ตอบสนองประโยชน์ของคนหลายกลุ่มในขณะนั้น ไม่ได้เกิดจากการมอง
การณ์ไกลของผู้น�าเพียงอย่างเดียว
ความสามารถในการเชื่อมโยงปัจจัยหลากหลายด้าน ทั้งภายในภายนอก
ทั้งที่มาจากชนชั้นน�าและมาจากคนเล็กคนน้อยหลากหลายประเภทเช่นนี้แหละ
ที่ท�าให้ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัยสร้างพลวัตหรือพลังขับเคลื่อนประวัติศาสตร์
จากเนื้อหาของประวัติศาสตร์เอง (historicism) พลังขับเคลื่อนความเปลี่ยน
แปลงในประวัติศาสตร์ไทยในทัศนะของนักประวัติศาสตร์ไทยรุ่นก่อน คือผู้น�า
หรือพระมหากษัตริย์ แต่พลวัตที่แคบอย่างนั้น หยั่งไม่ถึงความสลับซับซ้อน
ของความเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์ ฉะนั้น หากหนังสือเล่มนี้ถูกอ่านอย่าง
แพร่หลายมากขึ้น ก็จะเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อความเปลี่ยนแปลงทางสังคมของ
คนไทยจ�านวนมาก
(ซึ่งก็จะยกระดับความขัดแย้งทางการเมืองไปสู่อะไรที่สร้างสรรค์กว่า
ปัจจุบัน เช่น เปลี่ยนไปสู่นโยบายแทนบุคคล)
ความหลากหลายจึงเป็นหัวใจส�าคัญของประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย
ไม่แต่เพียงมีความหลากหลายของชาติพันธุ์เท่านั้นที่ประกอบกันขึ้นเป็นพสกนิกร
(subject) ของรัฐไทยโบราณหลายรัฐ แต่ยังมีความหลากหลายทางสถานะทาง
เศรษฐกิจ-สังคม (ชนชั้น?) อีกด้วย คนทั้งหมดเหล่านี้ล้วนเป็น “ตัวละคร” ของ
เรื่อง มีบทบาทและมีส่วนในการท�าให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์
ไทย หรืออย่างน้อยก็ท�าให้อนุชนเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของสังคมได้ชัดขึ้น
โดยที่เขาเหล่านั้นอาจไม่ได้คิดถึง “ชาติ” เลย เพียงแต่ตอบสนองต่อเงื่อนไข
ในชีวิตที่เปลี่ยนไปเพื่อรักษาหรือเพิ่มพูนประโยชน์ ทั้งในทางเศรษฐกิจและทาง
อื่นๆ ของตนเอง กลายเป็นพลังขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในสังคม
โดยไม่มีใครตั้งใจ
เหมือนความเปลี่ยนแปลงนานาชนิดที่เราพบได้ในชีวิตจริงของเราเอง
ดังนั้น นอกจากพระมหากษัตริย์ เจ้านาย เจ้าประเทศราช ขุนนาง เจ้า
สัว ข้าศึก ฯลฯ แล้ว ยังมีตัวละครอีกมากมายในประวัติศาสตร์ พ่อค้าจีนที่
เที่ยวเร่รับซื้อข้าวจากชาวนาก็เป็นตัวละครหนึ่ง กระฎุมพีข้าราชการที่ไร้เส้นใน
ระบบราชการก็เป็นตัวละครหนึ่ง แรงงานอพยพชาวอีสานก็เป็นตัวละครหนึ่ง
พุ่มพวง ดวงจันทร์, สายัณห์ สัญญา, สมรักษ์ ค�าสิงห์ จนแม้แต่กษิต ภิรมย์

()
ก็มีบทบาทที่ต้องกล่าวถึงในประวัติศาสตร์ไทยแบบนี้
บางครั้งก็กล่าวถึงบทบาทของเขา บางครั้งก็กล่าวถึงเขาในฐานะเป็นตัว
แทนของแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงบางอย่าง บางครั้งก็เป็นตัวแทนของกลุ่มคน
ประเภทเดียวกับเขา...ใครๆ ก็มีชื่อในประวัติศาสตร์ได้ โดยไม่จ�าเป็นต้องเป็น
มหาบุรุษหรือมหาผู้ร้าย
กว่าจะเล่าประวัติศาสตร์ให้ครอบคลุมไปหมดทุกส่วน ทั้งไม่ทิ้งความ
ซับซ้อนซ่อนเงื่อนของพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ด้วยได้เช่นนี้ อาจารย์ผาสุก
และอาจารย์คริสต้องใช้หลักฐานมากมายและหลากหลายประเภทมาก หาก
นักเรียนประวัติศาสตร์อ่านหนังสือนี้ด้วยความสังเกตหลักฐานที่ถูกน�ามาใช้ก็คง
ได้ประโยชน์ เพราะไม่แต่เพียงเอกสารของทางราชการ หรือสิ่งพิมพ์ร่วมยุคสมัย
เท่านั้นที่บอกให้เราประมาณได้ว่า ได้เกิดอะไรขึ้นในอดีต ภาพยนตร์ เรื่องสั้น
เพลงลูกทุ่ง บทกวีร่วมสมัย วรรณคดี ตลกทีวี ส�านวนภาษาวัยรุ่น ฯลฯ ล้วน
แฝงนัยยะบางอย่างที่ทา� ให้เราเข้าใจความคิดและการกระท�าของคนในแต่ละสมัย
และสาเหตุหรือเงื่อนไขที่ท�าให้เขาเป็นอย่างที่เขาเป็น และท�าอย่างที่เขาท�า
ทั้งหมดเหล่านี้เขียนขึ้นด้วยภาษาเรียบง่าย ไม่มีศัพท์แสงวิชาการที่ยาก
แก่ความเข้าใจทั้งของผู้อ่าน (และบางครั้งผู้เขียนด้วย) อ่านสนุก เพราะเป็น
เรื่องราวที่เป็นเหตุเป็นผลส่งทอดกันไปตามล�าดับแห่งตรรกะธรรมดาของมนุษย์
ปัจจุบัน (คือไม่ใช่สักแต่ตามล�าดับของเวลา)
เป็นเรื่องน่ายินดีที่หนังสือนี้ได้ถูกแปล (และเขียน) ในภาษาไทยแล้ว
ผมเชื่อว่าจะเป็นหนังสือที่ต้องถูกพิมพ์ซ�้าแล้วซ�้าอีกไปอีกหลายปี คงปรากฏใน
บัญชีหนังสือต้องอ่านของนักศึกษาสายสังคมศาสตร์ทุกแขนง เป็นการปูพื้น
ความรู้ประวัติศาสตร์ไทยที่กระชับและดีท่สี ุด โดยไม่ต้องเสียเวลาพูดในชั้นเรียน
ในขณะเดียวกัน ก็เหมาะแก่คนไทยทั่วไปจะอ่าน แม้แต่ที่จบการศึกษาไปแล้ว
ก็ตาม เพราะเมื่อคนไทยมองอดีตไปในแนวนี้ ก็จะท�าให้คนไทยต้องตั้งค�าถาม
กับตนเองในเรื่องอื่นๆ อีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นในทางเศรษฐศาสตร์ การเมือง
สังคม วัฒนธรรม จริยธรรมและศีลธรรม ความยุติธรรม ระเบียบทางสังคม
ฯลฯ อย่างน้อยก็ท�าให้ต้องตั้งค�าถามกับข้อสรุปที่ตัวถูกสอนให้ยึดถือมานาน
แล้วอาจได้ค�าตอบเหมือนเดิมก็ได้ แต่จะเป็นครั้งแรกที่ท�าให้ต้องคิดทบทวน
อะไรต่อมิอะไรที่ถอื ๆ กันมาโดยไม่เคยตั้งค�าถาม
ในโลกนี้มีหนังสืออยู่สองประเภท หนึ่งคือหนังสือที่อ่านแล้วท�าให้เราเป็น
อย่างที่เราเป็นหนักแน่นขึ้น รัดกุมขึ้น มั่นใจมากขึ้น ฯลฯ หนังสืออีกประเภท

()
หนึ่งคือหนังสือที่อ่านแล้วท�าให้เราอาจกลายเป็นคนใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม มากบ้าง
น้อยบ้างแล้วแต่บุคคล
ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย เป็นหนังสือประเภทหลังนี้

ที่มำ : พิมพ์ครั้งแรก มติชนสุดสัปดำห์ ฉบับประจ�ำวันที่ ๒-๘ พฤษภำคม ๒๕๕๗

()
บทความพิเศษ :
คนไทยกับประวัติศาสตร์
ดร.วีรพงษ์ รามางกูร

คนไทยโดยส่วนรวมแล้วไม่ค่อยสนใจประวัติศาสตร์เมื่อสมัยเรียน
หนังสือวิชาประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์สากลล้วนแต่เป็นวิชาบังคับ
แต่เรียนจบแล้วคนส่วนใหญ่ก็จะลืมไปหมดเมื่อเติบโตขึ้น สังเกตจากวงสนทนา
ทุกคนก็จะลืมไปหมดแล้ว แทบจะไม่มีใครจ�าอะไรได้เลย ถ้าใครยังพอยังจ�าได้
ก็จะเป็นกรณีพิเศษ
อาจจะเป็นไปได้ว่า การบันทึกประวัติศาสตร์ของเรามีข้อบกพร่องหลาย
อย่าง เพราะการไม่สนใจบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ที่ตนพบเห็นหรือได้ยิน เพราะ
ไม่เป็นอุปนิสัยของคนไทย อีกทั้งผู้ที่รู้หนังสือก็มีน้อย รู้หนังสือกันก็แต่ในแวดวง
ของพระภิกษุ ส่วนผู้หญิงนั้นดูจะเป็นข้อห้ามไม่ให้เรียนหนังสือ แม้ว่าอยากจะ
เรียนก็ค่อนข้างล�าบาก เพราะการเรียนหนังสือต้องเรียนกับพระภิกษุในวัด จะ
สอนจะเรียนในบ้านก็คงล�าบาก ก็เลยเป็นนิสัยประจ�าชาติตกทอดมาแต่โบราณ
กาลมาจนถึงทุกวันนี้
ไม่เหมือนประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศจีน เวียดนาม ญี่ปนุ่ เนื่อง
จากมีระบบสอบเข้ารับราชการ การเรียนหนังสือ เพื่อให้อ่านออกเขียนได้ แต่ง
โคลงกลอนได้ จึงเป็นวิถีทางอันหนึ่งที่จะท�าให้ได้เข้าสู่ระบบราชการ การท�ามา
ค้าขาย เลื่อนฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมได้
เมื่อมีคนรู้หนังสือเป็นวงกว้าง ก็คงจะเป็นปัจจัยอันหนึ่งที่ท�าให้มีผู้จด
บันทึก เหตุการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประเพณีของ
ท้องถิ่น ของประชาชน ในด้านต่างๆ และรวบรวมท�าเป็นประวัติศาสตร์อย่าง

()
เป็นระบบได้
ความที่ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ ริเริ่มเป็นระบบขึ้นจาก
ผลงานของสมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงราชานุภาพและต่างชาติ ซึ่งส่วนใหญ่ก็มี
พื้นฐานมาจากพระราชพงศาวดาร อันเป็นการบันทึกเรื่องราวในราชวงศ์ต่างๆ
เสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้เป็นการวิเคราะห์ในแง่การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา
วัฒนธรรม ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างยิ่ง
ประเทศไทยแม้ว่าจะไม่ใช่ประเทศใหญ่โต แต่ท้องถิ่นแต่ละท้องถิ่นต่าง
ก็มีเอกลักษณ์ของตนเอง ทั้งในด้านทรัพยากรธรรมชาติ ชนเผ่า ความรู้สึกนึกคิด
คุณค่าของสังคม การท�ามาหากิน การด�ารงชีวิต ผู้คนในแต่ละท้องถิ่นน่าจะได้
ทราบประวัติความเป็นมาของท้องถิ่นตนว่าเป็นอย่างไร แต่ขณะนี้คนส่วนใหญ่
ไม่เคยรู้เลยว่าท้องถิ่นของตนมีความเป็นมาอย่างไร
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้มีโอกาสอ่านต้นฉบับหนังสือเรื่อง “ประวัติศำสตร์
ไทยร่วมสมัย” ของ ดร.คริส เบเคอร์ กับ ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร ซึ่งจัดพิมพ์โดย
ส�านักพิมพ์มติชน เมื่อได้รับต้นฉบับซึ่งมีความยาวถึง ๔๓๒ หน้าก็ตั้งใจอ่าน
ใช้เวลาอ่านไม่กี่วันก็อ่านจบ เพราะผู้เขียนทั้งสองท่านมีผลงานที่โดดเด่นทาง
ด้านประวัติศาสตร์ ได้รับรางวัลดีเยี่ยมอยู่เป็นจ�านวนมาก อีกทั้ง ดร.ผาสุก
พงษ์ไพจิตร ก็เป็นผู้ที่รู้จักคุ้นเคยกันมาเป็นเวลานานกว่า ๔๐ ปี เคยสอนหนังสือ
อยู่ด้วยกันที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ ดร.ผาสุก
จบการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์มาจากมหาวิทยาลัยโมแนช ประเทศออสเตรเลีย
ก่อนที่จะไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ เช่นเดียวกับ
ดร.คริส เบเคอร์ ซึ่งก็มีผลงานที่ดีเด่นตีพิมพ์ออกมามากมายเช่นเดียวกัน
หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานที่ใช้ข้อมูลหลักฐานทางเอกสารต่างๆ มากมาย
จนไม่อาจคิดได้ว่าส�าหรับคนสองคนจะสามารถค้นคว้าอ่านหนังสือและเอกสาร
ได้มากมายได้ถึงขนาดนี้ ที่ส�าคัญคือ สามารถบันทึกเรื่องราวอย่างเป็นระบบ
เพื่อผลิตออกมาเป็นเอกสารที่น่าจะมีความส� าคัญที่สุดส�าหรับผู้ที่สนใจประวัติ
ศาสตร์ไทย
เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ในค�าน�าของผู้เขียนแม้ว่าผู้เขียนจะยอมรับว่า
เป็นหนังสือที่ “เน้นให้รัฐชาติเป็นแกนเรื่อง” กล่าวคือ “รัฐ” เป็นประธานของเรื่อง
แต่การด�าเนินเรื่องก็ไม่ได้มีแต่เรื่องราวความเป็นมาเป็นไปของ “รัฐ” เท่านั้น
เริ่มตั้งแต่ความเป็นมาของ “คนไทย” ก่อนที่จะมี “รัฐชาติ” ใน ๒ บท
แรก เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจสภาพภูมิศาสตร์ การก่อตัวขึ้นของสังคม เศรษฐกิจ

()
อาชีพ การผลิต การค้า การก่อตัวขึ้นของเมือง ศาสนาพุทธเถรวาท การหลั่งไหล
ของชนเผ่าต่างๆ รวมทั้งคนจีนแต้จิ๋วและไม่ใช่แต้จิ๋ว จึงก่อให้เกิดสังคมที่ผสม
ผสานระหว่างคนหลายเชื้อชาติในเมืองไทย ความเป็นมาดังกล่าวย่อมกระทบ
ต่อสถาบันทางการเมือง การทหาร ระบบราชการ การบริหารราชการแผ่นดิน
ในยุคก่อนการสถาปนา “รัฐชาติ” ขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย
ด้วยอิทธิพลของลัทธิอาณานิคมในศตวรรษที่ ๑๙ ความจ�าเป็นที่จะต้อง
สร้าง “รัฐ” สมัยใหม่ก็ปรากฏเป็นของจริงมากขึ้น เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในยุโรป
มิฉะนั้นความเป็น “รัฐ” อาจจะไม่เหลืออยู่เลย
ในแต่ละช่วงของการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ของกรุงรัตนโกสินทร์
มาจนถึงปัจจุบัน ได้แสดงให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่าง “รัฐ” กับสังคม เศรษฐกิจ
รวมทั้งพลังจากต่างประเทศอย่างละเอียดลออที่สุดไว้ในหนังสือเล่มเดียวกัน
ท�าให้มองเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงของ “รัฐไทย” ในมิติต่างๆ อย่างครบถ้วน
ไม่ใช่เฉพาะเรื่องในศูนย์กลางอ�านาจรัฐเท่านั้น แต่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงใน
เมืองรอบนอก สังคมในหัวเมืองส�าคัญ รวมทั้งสังคมชนบทด้วย
เนื่องจาก ดร.ผาสุกเป็นนักเศรษฐศาสตร์ด้วย หนังสือเล่มนี้จึงให้นา�้ หนัก
เน้นไปถึงประวัติศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศไทยด้วยว่า
โครงสร้างสถาบันและพลังทางเศรษฐกิจตลอดระยะเวลากว่า ๓๐๐ ปีที่ผ่านมา
มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ปัจจัยการผลิตที่ส�าคัญคือ ที่ดิน แรงงาน ทุน
และเทคโนโลยี เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร มีความเป็นมาอย่างไร มีอิทธิพลต่อการ
จัดการกับทรัพยากรต่างๆ นั้นอย่างไร
การปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ในทศวรรษที่ ๒๔๐๐ ถึงทศวรรษที่ ๒๔๕๐
ช่วงการหลั่งไหลเข้ามาของอิทธิพลทางการเมือง เศรษฐกิจ การค้าระหว่างประ
เทศของตะวันตก ท�าให้ “รัฐชาติ” ของไทยต้องท�าอะไรหลายอย่าง เพื่อปริวรรต
ตามอิทธิพลของตะวันตก ซึ่งหลายอย่างก็ยังเป็นปัญหาที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน
เช่น ปัญหาการปักปันเขตแดน เป็นต้น
ความล้มเหลวของ “คณะทหาร” ภายหลังการปฏิวัติ พ.ศ.๒๔๗๕ อัน
เกิดจากการประนีประนอมระหว่างคณะราษฎร และคณะบุคคลที่อยู่ในระบอบ
เก่า ซึ่งระยะหลังมีการน�ามาวิเคราะห์ จากงานวิจัยของประวัติศาสตร์ในยุคหลังๆ
ประวัติศาสตร์ร่วมสมัยจริงๆ ก็คงเป็นยุคหลังการท�ารัฐประหารของ
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี ๒๕๐๐ และตามมาด้วยการปฏิวัติตัวเองในปี
๒๕๐๑ คณะปฏิวัติของจอมพลสฤษดิ์ยังยึดครองอ�านาจเรื่อยมาจนถึงเหตุการณ์

()
๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ แม้ว่าจอมพลสฤษดิ์ นายกรัฐมนตรี จะถึงแก่อสัญกรรม
ไปแล้วในปลายปี ๒๕๐๖
เหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ เมื่อมีการรัฐประหาร สภาพบ้านเมืองก็
เปลี่ยนไป จนกระทั่งมีการประท้วงครั้งใหญ่ในปี ๒๕๓๕ เพื่อโค่นล้มรัฐบาล
ของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร
หนังสือเล่มนี้รวบรวมข้อมูลที่เป็นข้อมูลสาธารณะไว้อย่างสมบูรณ์ เรื่อย
มาจนถึงก�าเนิดของพรรคไทยรักไทย ซึ่งเป็นคู่ต่อสู้ที่ส�าคัญของพรรคประชาธิ-
ปัตย์ จนถึงองค์กรอิสระที่ก้าวเข้ามามีบทบาททางการเมือง เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลปกครอง คณะกรรมการ ป.ป.ช. คณะกรรมการการเลือกตั้ง และศาลยุติ
ธรรม ที่มีประเพณีมาตลอดว่าไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองในสายตาของประ
ชาชนก็เริ่มเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น
บทบาทของการสื่อสารโทรคมนาคมท�าให้การเปลี่ยนแปลงมีอัตราเร่ง
มากขึ้นในระยะสิบกว่าปีที่ผ่านมาท�าให้เกิดความตื่นตัวทางการเมืองในต่างจังหวัด
อันเป็นปัจจัยให้ประชาชนในต่างจังหวัดสามารถแสดงออกผ่านทางสื่อต่างๆ
หลายช่องทาง นอกจากสื่อกระแสหลัก
ส�าหรับประวัติศาสตร์ร่วมสมัยที่บุคคลที่เกี่ยวข้องยังมีชีวิตอยู่ โครง
สร้างทางการเมือง โครงสร้างทางสังคมยังคงด�ารงอยู่ บางทีก็เป็นการยากที่จะ
เสนอข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลสาธารณะ แต่ส�าหรับข้อมูลที่เป็นสาธารณะแล้วหนังสือ
เล่มนี้ได้บรรจุไว้อย่างกว้างขวางและครบถ้วน ซึ่งจะเป็นข้อมูลให้นักประวัติ
ศาสตร์ได้ใช้เป็นพื้นฐานในการถกเถียงและท� าวิจัยเพื่อค้นคว้าความจริงต่อไป
ในอนาคต
เรื่องสุดท้ายที่ขอชมเชยก็คือ ผู้เขียนได้ไปค้นหารูปภาพเก่าและใหม่มา
พิมพ์ลงไว้มากมาย หลายๆ รูปก็เคยเห็นแล้วแต่จ�าไม่ได้ แต่หลายๆ รูปก็ยัง
ไม่เคยเห็น ท�าให้หนังสือทรงคุณค่ามากยิ่งขึ้น
ใครที่สนใจประวัติศาสตร์ไทย ไม่ควรพลาดที่จะมีไว้เป็นหนังสืออ้างอิง
ต่อไป
ขอแสดงความยินดีกับคุณคริสและอาจารย์ผาสุกอย่างจริงใจ

ที่มำ : พิมพ์ครั้งแรก หนังสือพิมพ์มติชนรำยวัน, พฤหัสบดีที่ ๒๐ มีนำคม ๒๕๕๗

( )
คํ า นํ า ผู้ เ ขี ย น

การเขียนประวัติศาสตร์ที่พบเห็นกันอยู่เสมอนั้นก็เพื่อสนับสนุนรัฐชาติ
จึงมีแนวโน้มที่จะจินตนาการว่า “ชาติเป็นตัวประธาน แม้จะพัฒนาตามยุค
สมัย แต่เป็นหนึ่งเดียวตลอด เป็นตัวตนเช่นนั้นไม่เปลี่ยนแปลง” (ประเสนจิต
ทวารา Prasenjit Duara) ในงานประวัติศาสตร์หลายเล่ม “ชาติ” จะเป็นอะไร
ที่มีอยู่เสมอ เกิดขึ้นแล้วเป็นธรรมชาติ แต่เพิ่งจะเป็นรูปธรรมในฐานะรัฐชาติ
โดยเฉพาะเมื่อนักประวัติศาสตร์แนวรัฐชาตินิยมยิ่งท�าให้เด่นขึ้น
อย่างไรก็ตาม เริ่มมีนักประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบันที่อยากจะหลีกเลี่ยง
การเขียนประวัติศาสตร์ดังกล่าว โดยเลือกที่จะเขียนเกี่ยวกับผู้คน สิ่งของ ความ
คิด ท้องถิ่น ภูมิภาค หรือโลกทั้งมวล ขอให้เป็นอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่ชาติ หรือไม่ก็
เขียนงานประเภทที่สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างชาติ และการผลิตสร้าง
ประวัติศาสตร์ของชาตินั้นเอง
หนังสือเล่มนี้ เน้นให้รัฐชาติเป็นแกนเรื่อง แต่ไม่ได้มองรัฐชาติเป็นหนึ่ง
เดียวตลอด หรือไม่เปลี่ยนแปลงเลย ในทางตรงกันข้าม ผู้สร้างรัฐชาติมีตัวตน
และปะทะประสานกับพลังทางสังคมต่างๆ โดยตลอด ดังนั้น เนื้อเรื่องหลัก
ประการหนึ่งของหนังสือนี้คือ ที่มาของความเป็นชาติในเมืองไทย อธิบายว่า
ความคิดเรื่องชาติเกิดขึ้นอย่างไร กลไกของรัฐชาติก่อร่างสร้างขึ้นอย่างไร และ
เมื่อสร้างแล้วมีพลังทางสังคมต่างๆ พยายามใช้กลไกนั้นอย่างไร
เนื้อเรื่องหลักประการที่สองคือ วิวัฒนาการของพลังทางสังคมที่มีบท
บาทในการเกิด การเติบโต และการท�างานของชาติและรัฐชาติไทย ดังนั้น

( )
เนื้อหาในบทต่อๆ ไปหลังจากความน�าในบทนี้แล้วนั้น จึงจะขยายความเกี่ยวกับ
เนื้อเรื่องหลักทั้งสองที่กล่าวมานี้สลับกันไป

ประมาณปี ๒๕๔๓ ส�ำนักพิมพ์มหำวิทยำลัยเคมบริดจ์ ได้ขอให้เรา


เขียนประวัติศาสตร์ไทยเป็นภาษาอังกฤษ ส�าหรับผู้อ่านที่เป็นนักศึกษาและผู้
สนใจทั่วไป เราใช้เวลา ๒-๓ ปีค้นคว้าหาข้อมูลส�าหรับเขียนหนังสือนี้ ร่าง
แรกที่เขียนนั้นเริ่มตั้งแต่หลักฐานโบราณคดียุคต้นๆ เรื่อยเรียงไปถึงการอพยพ
ของชาวไท อาณาจักรไทยุคต้น การแพร่ขยายของศาสนาพุทธนิกายเถรวาท
เมืองไทยสมัยอยุธยา และกรุงเทพฯ จวบจนสมัยปัจจุบัน แต่ส�านักพิมพ์มหา
วิทยาลัยเคมบริดจ์ต้องการพิมพ์หนังสือขนาดย่อมที่เน้นพัฒนาการช่วง ๒๐๐ ปี
สุดท้ายเท่านั้น ดังนั้น เราจึงเขียนอีกฉบับหนึ่งและเน้นเฉพาะช่วงสมัยใหม่ท่ี
พัฒนาเป็นรัฐชาติไทย
ปรากฏเป็น A History of Thailand พิมพ์ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ประ
สบความส�าเร็จมาก จนทางส�านักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ต้องพิมพ์ใหม่
(reprinted) ทุกปีอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ได้ขอให้เราปรับปรุงเป็น edition ที่ ๒
ในปี ๒๕๕๒ และอีกครั้งหนึ่งในปี ๒๕๕๖ ฉบับภาษาไทยนี้ปรับปรุงจากเล่ม
ภาคภาษาอังกฤษ
เรายังคงรูปแบบของการเขียนและการอ้างอิงแบบสากลในฉบับภาษา
อังกฤษไว้ (เช่นการเขียนแบบกระชับ) ส�านักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ขอ
ให้เราจ�ากัดการอ้างอิง เพื่อไม่ให้หนังสือยาวเกินไป ดังนั้น เราจึงมีเชิงอรรถ
ก็ต่อเมื่อบอกแหล่งที่มาของค�ากล่าวโดยผู้พูดเองในเครื่องหมายค�าพูดเท่านั้น
ในการเรียบเรียง ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย เล่มนี้ผู้เขียนได้ประโยชน์
จากงานค้นคว้าวิจัยทางด้านประวัติศาสตร์ไทยในช่วง ๒๐ ปีที่ผ่านมาเป็นอย่าง
มาก ซึ่งส่วนมากเป็นผลงานของนักประวัติศาสตร์ไทยและนักวิชาการแขนงอื่น
เนื่องจากเราได้จ�ากัดการอ้างอิง จึงจะกล่าวถึงนักเขียนหลักๆ ที่เราได้ใช้งานของ
ท่านแบ่งตามหัวเรื่องดังนี้
ประวัติศาสตร์ก่อนกรุงเทพฯ ศรีศักร วัลลิโภดม พิเศษ เจียจันทร์-
พงษ์ สุเนตร ชุตินธรานนท์ สรัสวดี อ๋องสกุล ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ธีรวัต
ณ ป้อมเพชร Geoff Wade ; สังคมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น นิธิ เอียว-
ศรีวงศ์ สายชล สัตยานุรักษ์ พวงทอง รุ่งสวัสดิทรัพย์ ภวัครพันธุ์ Neil A.
Englehart Volker Grabowsky Hong Lysa N. A. Battye Patrick

( )
Jory Junko Koizumi ; การปฏิรูป รัชกาลที่ ๕ ไชยันต์ รัชชกูล ทวีศักดิ์
เผือกสม อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล ม.ร.ว.รุจยา อาภากร
กุลลดา เกษบุญชู-มี้ด ธงชัย วินิจจะกูล Craig Reynolds Tamara Loos
David Streckfuss Ian Brown ; สังคมเมือง พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร
พรรณี บั ว เล็ ก จ� า นงศรี รั ต นิ น สุ พ จน์ แจ้ ง เร็ ว พอพั น ธ์ อุ ย ยานนท์ ;
สังคมชาวนา ฉัตรทิพย์ นาถสุภา David Johnston Atsushi Kitahara ;
ชาตินยิ มหลายมิติ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ชนิดา พรหมพยัคฆ์ เผือกสม เออิจิ
มู ร าชิม า กอบเกื้อ สุ ว รรณทัต เพีย ร ธ�า รงศัก ดิ์ เพชรเลิศ อนัน ต์ สายชล
สัตยานุรักษ์ เฉลิมเกียรติ ผิวนวล มรกต เจวจินดา ไมยเออร์ วิชิตวงศ์ ณ
ป้อมเพชร เพ็ญพิสุทธิ์ อินทรภิรมย์ Matthew Copeland Scot Barmè
E. B. Reynolds ; สมัยอเมริกันและพัฒนาการ ทักษ์ เฉลิมเตียรณ ณัฐพล
ใจจริง ชัยอนันต์ สมุทวณิช สุรชาติ บ�ารุงสุข ฉลอง สุนทราวาณิชย์ สมศักดิ์
เจียมธีรสกุล สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล เกษียร เตชะพีระ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ David Fineman Kevin Hewison Philip Hirsch ;
สังคมและการเมืองร่วมสมัย ประจักษ์ ก้องกีรติ ธงชัย วินิจจะกูล ยศ สันต-
สมบัติ สุจิต บุญบงการ ประภาส ปิ่นตบแต่ง สมชัย ภัทรธนานันท์ เอนก
เหล่าธรรมทัศน์ เกษียร เตชะพีระ อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ธีรยุทธ บุญมี
เวียงรัฐ เนติโพธิ์ Katherine Bowie James Ockey Duncan McCargo
M. K. Connors
ขอขอบพระคุณศาสตราจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่กรุณาแก้ค�าผิดบางค�า
เพื่อการจัดพิมพ์ครั้งที่ ๒
ขอขอบคุณองค์กรและเพื่อนที่ช่วยหารูปภาพ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนังสือพิมพ์ The Nation หนัง
สื อ พิ ม พ์ Bangkok Post สยามสมาคม พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ แ รงงานไทย เอนก
นาวิกมูล ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ธ�ารงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ชัชวาลย์ ชาติ-
สุทธิชัย ดาวเรือง แนวทอง เอกรินทร์ ลัทธศักดิ์ศิริ แคน สาริกา ไกรฤกษ์
นานา นัน ทิย า ตั้ง วิสุ ท ธิจิต พนา จัน ทรวิโ รจน์ พิริย ะ ไกรฤกษ์ โกวิท
สนั่นดัง สะอาด อังกูรวัธ ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา สง่า ลือชาพัฒนพร
โสมสุดา ลียะวณิช สุภัตรา ภูมิประภาส วารุณี โอสถารมย์ Steve Van
Beek Nick Nostitz

()
ขอขอบคุณ วันรวี รุ่งแสง ที่ได้ช่วยกรุณาขัดเกลาส�านวนในร่างแรกๆ
มิตรวิชาการหลายท่านที่ช่วยสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับค�ากล่าวโดยเจ้าตัวของผู้พูด
ที่เป็นภาษาไทย รวมทั้งศาสตราจารย์เออิจิ มูราชิมา พอล แฮนด์ลีย์ สมฤดี
นิโครวัฒนายิ่งยง อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี ส�าหรับในกรณีที่ค�ากล่าวที่อ้างถึงเป็น
ภาษาอังกฤษมาแต่เดิม (หรือรายงานมาเป็นภาษาอังกฤษ) เราปรับให้เป็นภาษา
ไทยในตัวบท แล้วคัดลอกภาษาอังกฤษของเดิมไว้ในเชิงอรรถ ขอขอบคุณ
สุภาภรณ์ ตรงกิจวิโรจน์ นัชญากรณ์ กิจตระกูล ไพรินทร์ พลายแก้ว ที่ช่วย
เรื่องการพิมพ์และเอกสารอย่างดีเยี่ยม
ขอขอบคุณ คุณปานบัว บุนปาน แห่งส�านักพิมพ์มติชน เป็นอย่างสูง
ที่จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้อย่างดีเยี่ยม
การพิมพ์ครั้งที่ ๒ นี้ ผู้เขียนได้ขยายความถึงการรัฐประหารเมื่อวันที่
๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ด้วย
คริส เบเคอร์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร

()

ก่อนกรุงเทพ
รัฐชาติไทยที่เรารู้จักในปัจจุบัน ก่อตัวขึ้นเมื่อในช่วง ๒๐๐ กว่าปมานี้
ชื่อประเทศ เขตแดน เมืองหลวง ความเป็น “ไทย” ในฐานะเป็นชาติหนึ่ง และ
รูปแบบของรัฐบาล ล้วนเป็นสิ่งใหม่ทั้งสิ้น เพิ่งคิดประดิษฐ์ขึ้นมาในช่วงเวลา
ดังกล่าว ชื่อ “ประเทศไทย” ก็ตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ นี้เอง
แม้ว่าจะได้ใช้ชื่อ “เมืองไทย” มานานกว่านี้แล้ว เขตแดนปักปันกันเมื่อ พ.ศ.
๒๔๓๐-๒๔๕๒ “กรุงเทพฯ” เป็นเมืองหลวงเมือ่ พ.ศ. ๒๓๒๕
“ไทย” ในฐานะเป็นชาติ และกระบวนการสร้างกลไกรัฐชาติ ก่อตัว
ขึ้นมาในช่วงหลายป และยังคงปรับแปรเปลี่ยนแปลงไป จนล่วงเข้ามาในภาวะ
ร่วมสมัย ณ ปัจจุบัน
เป็นที่ชัดเจนว่ารัฐชาตินี้ ได้รับมรดกตกทอดจากอดีตหลายสิ่งหลาย
อย่าง บทนี้จึงจะบรรยายให้เห็นแนวโน้มประวัติศาสตร์หลักๆ ที่ส่งผลกับโครง
ร่างของมรดกประวัติศาสตร์นี้
ชุมชนบนที่ราบลุ่มเจ้าพระยา มีวิวัฒนาการมาหลายศตวรรษก่อนหน้า
โดยมีรูปแบบที่มีความคล้ายคลึงกับสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่นๆ เป็น
ภูมิประเทศเขตร้อน มีป่าเขตร้อนชื้น ผู้คนตั้งรกรากเป็นกลุ่มๆ ตามเมืองใหญ่
มีเจ้าครอบครอง สิ่งร้อยรัดผู้คนเข้าด้วยกันคือความสัมพันธ์ส่วนตัวแบบนาย
กับบ่าว ยุคสมัยของสงคราม ตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๗ จนถึงกลางพุทธ
ศตวรรษที่ ๒๑ มีการรบพุ่งกันบ่อยครั้ง ระบบกษัตริย์ชายชาติทหารมีอา� นาจ
ยิ่งใหญ่จึงก่อตัวขึ้นโดยได้รับการหนุนช่วยด้วยพิธีกรรมตามลัทธิพราหมณ์
ความมั่งคั่งจากการค้าต่างแดน และระบบเกณฑ์แรงงานเพื่อการสงคราม
แต่จากประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ทั้งภูมิภาคเริ่มสงบร่มเย็น การ
ค้าระหว่างประเทศขยายขึ้น “อยุธยา” กลายเป็นเมืองท่าใหญ่ของเอเชียแห่ง

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
 


"



#


$ 
% 


! 

%#


(&&&
'&&&
(&&
&)&&

แผนที่ ๑ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้บริเว ผืนแผ่นดินให ่


หนึ่ง โดยมีเครือข่ายการค้าระหว่างประเทศที่กว้างขวางนับจากเปอร์เซียไปจรด
เมืองจีน ระบบการเมืองและเศรษฐกิจจึงเริ่มเปลี่ยนแปลง เห็นได้จากที่เศรษฐ
กิจการค้าขยายตัว ระบบเกณฑ์แรงงานเริ่มเสื่อมสลาย ชนชั้นสูงก่อตัวแข็งแรง
ขึ้น และศาสนาพุทธนิกายเถรวาทน�าความคึกคักและพลังใหม่ๆ มาสู่ชุมชน

การก่อตัวของชุมชน นทีราบลุ่มเจ้าพระยา
แผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเขตที่อุดมสมบูรณ์และ
มีความหลากหลายทางชีวภาพแห่งหนึ่งของโลก ด้านทิศเหนือ แนวภูเขาเป็น
เส้นแบ่งแยกภูมิภาคออกจากจีน ลงมาทางใต้มีทิวเขาหลายเทือกเรียงรายกัน
แนวภูเขาพาดออกไปเสมือนนิว้ มือที่กางออก (แผนที่ ๑) ที่ราบระหว่างเทือกเขา
เหล่านี้ได้รับความอบอุ่นจากอุณหภูมิของเขตร้อน ขณะเดียวกันได้รับน�า้ จาก
แม่น�้าสายใหญ่ทั้งห้า เกิดจากหิมะที่ละลายไหลรินมาจากภูเขาสูงของเอเชียด้าน
ในไกลถึงทิเบต และยังมีลมมรสุมพัดผ่านน�าฝนมาตกชุกชุมปีละ ๔-๖ เดือน
อากาศร้อนผนวกกับความชุ่มชื้นสูงท�าให้บริเวณแถบนี้อุดมสมบูรณ์เป็นที่สุด
พื้นที่นี้โดยธรรมชาติเป็นป่าชัฏทึบ ทั้งป่าไม้ผลัดใบทางด้านเหนือ แล้วค่อยๆ
ขยับขยายเป็นป่าดิบชื้นทางด้านใต้ และป่าชายเลนแน่นหนาตามแนวชายฝั่ง
ทะเล อดีตกาลโพ้น สัตว์ป่าหลากชนิดอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ได้ดีกว่ามนุษย์
ทั้งช้าง วัวป่า ควายป่า เก้งกวาง ลิงค่าง เสือ งู จระเข้ แมลงหลากชนิด และ
จุลินทรีย์ต่างๆ
ผู้คนมีอยู่เพียงจ�านวนน้อยในช่วงแรกๆ จากหลายแสนปีท่ีแล้ว มีร่อง
รอยของชุมชนล่าสัตว์และเก็บหาผลหมากรากไม้ที่พักพิงอยู่ตามถ�้า แต่หลัก
ฐานเหล่านี้ก็มีน้อยและไม่ชัดเจนมากนัก การตั้งถิ่นฐานเพิ่มขึ้นหลังจากมีการ
ปลูกข้าวและผลิตเครื่องใช้ท�าด้วยส�าริดประมาณ ๔,๐๐๐ ปีก่อนปัจจุบัน และ
เพิ่มขึ้นอีกมากในยุคเหล็กตั้งแต่ประมาณเมื่อ ๒,๕๐๐ ปีก่อนปัจจุบัน
การตั้งถิ่นฐานในยุคโลหะนี้ พบว่าส่วนมากอยู่บนเนินล้อมรอบด้วยคูนา�้
ทั้งนี้อาจจะเพื่อความปลอดภัย และอาจจะขุดไว้เพื่อเป็นที่เก็บน�้าด้วย ชุมชน
โบราณนี้ปลูกข้าว เลี้ยงวัวควายและสุนัข ยังคงล่าสัตว์เก็บหาผลไม้และอาหาร
อื่นๆ ในป่า สิ่งของมีค่า เช่น ลูกปัด และกลองมโหระทึก เพื่อใช้ในพิธีกรรมได้
จากการค้าทางไกล นักโบรำ คดีสงสัยว่ำน่ำจะมีคนกลุ่มใหม่เข้ำมำในภูมิภำค

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ในยุคนี้ โดยเป็นผู้ที่น�ำเอำเทคนิคกำรปลูกข้ำว กำรผลิตโลหะ กำรเลี้ยงสัตว์
และภำษำ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า กลุ่มภาษามอญ เขมร เข้ามา คนกลุ่มใหม่นี้น่า
จะกระจายไปตามชายฝั่งทะเล แต่คงจะอพยพไปสู่บริเวณด้านในตามฝั่งแม่น�้า
จนไปถึงเขตที่ราบสูง เนื่องจากเป็นบริเวณซึ่งถากถางได้ง่ายกว่าและตั้งถิ่นฐาน
ได้โดยมีโรคภัยไข้เจ็บน้อยกว่า
เมื่อประมาณ พ.ศ. ๔๐๐ ได้มีการติดต่อค้าขายกับอินเดีย ซึ่งมีความ
เป็นเมืองที่พัฒนาแล้ว อินเดียจึงเป็นแหล่งที่มาของความรู้และเทคโนโลยี
ชุมชนใหญ่เริ่มก่อตัวขึ้น โดยเฉพาะตามบริเวณที่ราบลุ่มแม่น�้ าโขงตอนล่าง ที่
ราบลุ่มเจ้าพระยา และเขตชายฝั่งทะเลของแหลมทองทั้งสองฟาก เมื่อประมาณ
พ.ศ. ๑๐๕๐ ชุมชนที่บริเวณทั้งสองนี้รับตัวเขียนที่ยืมมาจากอินเดียใต้ เขียน
ภาษาเขมรและมอญ ที่ดินแดนเขมร ชาวนาเชี่ยวชาญการกักเก็บน�้าจากฝน
ทะเลสาบ และแม่น�้า ท�าให้เลี้ยงชุมชนใหญ่ที่หนาแน่นได้ ผู้ปกครองเกณฑ์
ผู้คนในชุมชนใหญ่มาใช้ ปรับเอาความรู้เกี่ยวกับการอยู่ในเมือง การก่อสร้าง
ศาสนา และการปกครองมาจากอินเดีย จึงสามารถสร้างชุมชนเมือง ระบบรัฐ
และระบบกษัตริย์ เมืองหลวงอันวิจิตรพิสดารที่เมืองพระนคร (นครวัด) กลาย
เป็นแบบอย่างที่เมืองเล็กๆ ชื่นชูและเลียนแบบกันทั่วไปหมด ทั้งที่บริเวณที่ราบ
สูงโคราชและชุมชนตามที่ราบในลุ่มแม่น�้าเจ้าพระยา
วัฒนธรรมมอญ เขมรสมัยแรกนี้มีศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณชาย ังทะเล
และต่อมากระจายเข้าไปในเขตแผ่นดินใหญ่ ในสมัยต่อๆ มา ผู้คนและ
วัฒนธรรมอีกสายหนึ่งเคลื่อนเข้ามาจากทางด้านเหนือผ่านหุบเขามา
กลุ่มภาษาซึ่งรู้จักกันในนาม “ตระกูลไท” น่าจะมีแหล่งก�าเนิดในบรรดา
ผู้คนซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของแม่น�้าแยงซี ก่อนที่จีนฮั่นจะขยับขยายลงมาใน
บริเวณนี้จากทางเหนือเมื่อ ๒,๕๐๐-๓,๐๐๐ ปีก่อนปัจจุบัน เมื่อกองทัพของ
ฮั่นเข้ามาครอบครองชายฝั่งทะเลตอนใต้ของจีนเมื่อประมาณ ๑,๘๐๐ ปีก่อน
ปัจจุบัน ผู้คนกลุ่มภาษาตระกูลไทบางกลุ่ม ถอยร่นไปตั้งหลักแหล่ง ณ ที่ราบ
หุบเขาด้านในของชายฝั่งทะเล เมื่อกาลเวลาผ่านไปหลายศตวรรษ บางกลุ่ม
เคลื่อนย้ายไปทางทิศตะวันตก
และในที่ สุ ด กลุ ่ ม ภาษาไทส� า เนี ย งต่ า งๆ ก็ ก ระจายไปตามบริ เ วณ
วงแหวนครอบคลุมประมาณ ๑ ๐๐๐ กิโลเมตร จากเขตลึกด้านในของแคว้น
กวาง ี ไปจนถึงที่ราบของแม่น�้าพรหมบุตร ผู้คนเหล่านี้คงจะน�าเอาความรู้

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


เรื่องการปลูกข้าวใช้น�้าจากล�าธารไหลรินจากภูผามาด้วย
พวกเขาเลือกแหล่งที่ตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่ราบแอ่งภูเขาซึ่งมีลา� ธารเป็น
แหล่งน�้าให้ปลูกข้าวได้ อาจจะมีความสามารถด้านการรบพุ่งด้วยเนื่องจากต้อง
ปกป้องตนเองจากการเผชิญหน้ากับจีน ทั้งนี้ คนกลุ่มอื่นมองพวกเขาว่าเป็น
นักรบฉกาจฉกรรจ์ ผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนที่พวกไทจะเข้ามาบางส่วน ได้แก่
กลุ่มมอญ-เขมร ถอยร่นขึ้นไปบนภูเขาสูง กลุ่มอื่นๆ ยอมอยู่ร่วมกับผู้มาใหม่
ที่เป็นผู้น�าชาวนา-นักรบ ค่อยๆ พูด “ภาษาไท” ไปด้วย และบางกลุ่มสูญเสีย
อัตลักษณ์ของกลุ่มตนเองไปในท้ายที่สุด
กลุ่มไทมักจะตั้งหลักแหล่ง ณ บริเวณที่ราบลุ่มแม่นา�้ ที่กว้างใหญ่ในเขต
ภูเขาสูง ทั้งนี้เฉพาะบริเวณแม่น�้าโขงเท่านั้นที่บางพวกเคลื่อนย้ายลงมาทางใต้
โดยตั้งถิ่นฐานตามชายฝั่งแม่น�้าตลอดเป็นแนว และข้ามภูเขาไปสู่บริเวณต้นน�้า
ของแม่น�้าเจ้าพระยา อาจเป็นเพราะว่ากลุ่มไทนี้หนีพวกมองโกลซึ่งรุกไล่มาใน
ช่วง พ.ศ. ๑๘๑๐-๑๘๕๐ หรือเดินทางมาค้าขาย หรือเพียงแต่มาเสาะหาบริเวณ
ที่มีคนอาศัยอยู่น้อย ช่วงแรกๆ กลุ่มนี้หยุดตั้งถิ่นฐานตามแนวเชิงเขา ใช้น�้ า
ในธารที่ไหลลงจากภูเขาเพื่อท�าการเพาะปลูก และมียอดภูเป็นบริเวณศักดิ์สิทธิ์
ท้ายที่สุดขยับขยายเข้าตั้งหลักแหล่ง ณ ที่ราบลุ่ม
กลุ่มใหม่ที่เข้ามา อยู่ร่วมกับผู้ที่อยู่มาก่อนได้ เพราะว่ามีเทคนิคการ
ปลูกข้าวที่ก�าหนดให้ต้องการที่ดินคนละพื้นที่กับกลุ่มเก่าเนื่องจากใช้แหล่งน�้า
ที่ต่างกัน พวกมอญ-เขมรเก็บกักน�้ าฝนในบาราย พวกไทปรับความช� านาญ
การใช้น�้าจากล�าธาร ภูเขา มาเป็นใช้น�้าจากแม่น�้า ในท้ายที่สุด “ภาษาไท” ึ่ง
ณ ปัจจุบันคือ “ภาษาไทย” นั้นกลายเป็นภาษาหลักของเขตลุ่มน�้าเจ้าพระยา
ถึงกระนั้นภาษาไทยเองมีร่องรอยของการผสานกับภาษาของกลุ่มต่างๆ ไทย
รับเอารากศัพท์และหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเรียบเรียงถ้อยค�ามาจากภาษาเขมร
(และอาจจะมาจากภาษามอญด้วย) ด้วยเหตุฉะนี้ ภาษาไทยจึงต่างจากภาษา
ในกลุ่มตระกูลไทอื่นๆ (นักภาษาศาสตร์รายหนึ่งเรียกว่า เขมร-ไทย) ชาวยุโรป
สมัยแรกที่เข้ามาเยือนไทยคิดว่าผู้คนส่วนมากพูดภาษามอญ
กลุ่มชาวไทเข้ามาเมื่อไร และภาษาเปลี่ยนแปลงไปเมื่อไรนั้นไม่ชัดเจน
จารึกที่เขียนในภาษาไทยหลักแรกเมื่อ พ.ศ. ๑๗๒๒ พบที่นครสวรรค์ แต่
หลักอื่นที่พบใต้นครสวรรค์ลงไป สลักด้วยตัวเขียนในภาษาเขมร มอญ หรือ
อินเดีย จวบจนถึงราว พ.ศ. ๑๙๕๐ บ่งชี้ว่าภาษาเหล่านี้มีสถานะสูง ครั้นถึง

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย
ราว พ.ศ. ๒๐๕๐ ชาวโปรตุเกสได้รับการบอกเล่าว่าที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง
คือ “เมืองไทย”
แม้ว่าจะได้มีกลุ่มต่างๆ อพยพเข้ามาในที่ราบลุ่มเจ้าพระยาเป็นระยะๆ
แต่ประชากรของย่านนี้ก็ยังเบาบาง เมื่อมีการถากถางป่า พื้นดินที่ถูกถากถาง
อุดมสมบูรณ์มาก แต่ในสภาพธรรมชาติไม่เหมาะส�าหรับตั้งถิ่นฐาน เพราะเป็น
บริเวณที่มีสัตว์ร้ายชุกชุม รวมทั้งโรคภัยไข้เจ็บ เช่น มาลาเรีย และไข้ป่าต่างๆ
ฤดูร้อนที่ยาวนานท�าให้ที่ที่ห่างไกลจากแหล่งน�า้ ไม่เหมาะส�าหรับการตั้งหลักแหล่ง
ผู้คนจึงตั้งถิ่นฐานตามริมฝั่งแม่น�้าหรือชายฝั่งทะเล นอกบริเวณที่ราบนี้จึงยังคง
เป็นป่าทึบจนกระทั่งเมื่อ ๒๐๐-๓๐๐ ปีมานี้เอง
สภำพประชำกรเบำบำง หมายความว่า มีที่ว่ำงเสมอส�ำหรับผู้อพยพมำ
ใหม่ ซึ่งก็ได้ท�าให้สังคมมีความสลับซับซ้อนเพิ่มขึ้นโดยตลอด ชาวกะเหรี่ยง
เข้ามาตั้งรกรากบนภูเขาด้านทิศตะวันตกของที่ราบลุ่มเจ้าพระยา มาจากไหน
และมากันเมื่อไรก็หลงลืมกันไปแล้ว กลุ่มชาวมอญเข้ามาด้านตะวันตกเป็น
ระยะๆ โดยข้ามภูเขามาเพื่อลี้ภัยจากปัญหาการเมือง ณ ถิ่นเดิม ชาวมาเลย์
ล่องเรือมาจากเกาะต่างๆ เข้ามาตั้งถิ่นฐานบนเขตชายฝั่งทะเลของบริเวณด้าม
ขวานของแหลมทอง ชาวจีนอพยพมาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙
พ่อค้าจีนผสมปนเปเข้ากันไปกับชุมชนตามเขตเมืองท่ารอบๆ อ่าวไทย และลง
ไปด้านใต้ของแหลมทอง ที่ราบสูงโคราชเริ่มมีประชากรเพิ่มขึ้นจากประมาณ
พ.ศ. ๒๒๕๐ เมื่อชาวลาว ชาวกุย อพยพมาจากบริเวณแม่นา�้ โขง และบริเวณ
ที่ราบสูงทางเหนือมีชาวภูเขาขยับย้ายเข้ามา หลังจากที่จีนฮั่นรุกไล่เข้ามาสู่จีนใต้
สภาวะประชากรเบาบาง ท�าให้มีการแย่งชิงคน การตั้งหลักแหล่งต้อง
การผู้คนเพื่อสร้างเมือง และปองกันตัวเอง ผู้น�าต้องการคนเพื่อช่วยท�านา ท�า
การค้า สร้างบ้าน ผลิตของมีค่าและเป็นบริวาร ช่วงแรกๆ มีการน�าทาสมาจาก
จีนและจากเกาะต่างๆ ของมลายู การสงครามเป็นไปเพื่อกวาดต้อนผู้คนมาใช้
กองทัพที่มีชัยชนะกลับบ้านพร้อมกับทรัพย์สินที่ยึดมาและเชลยเป็นพรวน ช่าง
ฝีมือมีค่าตัวสูง ส่วนเชลยสงครามทั่วๆ ไปถูกน�ามาเป็นคนรับใช้หรือส่งไปตั้ง
ถิ่นฐาน ณ เขตบุกเบิกใหม่ๆ เพื่อผลิตข้าวปลาอาหารและเพิ่มจ�านวนผู้คนที่จะ
ถูกเกณฑ์แรงงาน จนกระทั่ง ๑๐๐-๑๕๐ ปีน้ีเองก็ยังมี “ประเพ ีตีข่ำ” โดยมี
ชุมชนซึ่งตั้งตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญในการเสาะแสวงหาทาส ลักพาผู้คนจากชุมชน
ภูเขา หรือจากรัฐเพื่อนบ้าน พาไปขายตามเมืองในเขตที่ราบลุ่ม

คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


เมอง
บริเวณที่มีการตั้งถิ่นฐานนั้นมักอยู่ห่างไกลกัน โดยมีภูเขา มีป่าชัฏ หรือ
มีทะเลขวางกั้นออกจากกัน หน่วยการปกครองขั้นรากฐานคือเมือง ต้นแบบมา
จากการตั้งหลักแหล่งตามที่ราบลุ่มในหุบเขา ที่มีก�าแพงล้อมรอบ เป็นที่พ�านัก
อาศัยของผู้ปกครองหรือ “เจ้า” ชุมชนจะกระจุกกันเป็นกลุ่มๆ ล้อมรอบเมือง
ที่เป็นศูนย์กลาง แทนที่จะกระจายออกไปเป็นแนวกว้าง ทั้งนี้เพื่อปกป้องเมือง
จากศัตรู สัตว์ร้าย และโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ
นักวิชาการบางคนเสนอว่ า สภำวะประชำกรเบำบำง หมายความว่ า
ที่ดินมีอยู่เหลือเฟอและแทบจะไม่มีค่ำอะไร อันที่จริงไม่เป็นเช่นนั้นเลย ที่ดิน
ที่อุดมสมบูรณ์และอยู่ในแหล่งที่เหมาะสมมีน้อยและมีค่ามาก
ช่วงระยะแรกที่มีการก่อตั้งเมือง “เจ้า” เป็นเสมือนเจ้าที่ดินบริหาร
จัดการที่ดินและการเพาะปลูก เมื่อชุมชนขยายใหญ่และมีความ ับ ้อนมาก
ขึ้น เจ้าจึงผันตัวเองเป็นผู้ปกครองมากขึ้นๆ
หมู่บ้านบริหารจัดการที่ดินโดยชาวบ้านเป็นเจ้าของร่วมกัน และมีการ
จัดสรรที่ดินให้สอดคล้องกับจ�านวนคนและความต้องการด้านอาหารของครอบ
ครัว ชาวบ้านร่วมมือกันเพื่อสร้างเหมืองฝายและระบบส่งน�า้ ครอบคลุมบริเวณ
กว้าง เป็นระบบชลประทานเพื่อปลูกข้าว การแบ่งชนชั้นในสังคมก่อตัวขึ้น ผู้
เข้ามาตั้งหลักแหล่งกลุ่มแรกๆ มักเขยิบฐานะเป็นตระกูลชั้นน�า มีอภิสิทธิ์เหนือ
ที่ดิน โดยต้องพร้อมที่จะจับอาวุธเพื่อปกป้องชุมชนเมื่อจ� าเป็นด้วย ขั้นต่อมา
ผู้ที่มาตั้งหลักแหล่งในภายหลังอาจจะมีสิทธิเข้าถึงที่ดินได้ เฉพาะในฐานะเป็นผู้
ที่พึ่งพาตระกูลชั้นน�าเหล่านี้ เชลยสงครามหรือทาสที่ซื้อหามาอาจไม่มีสิทธิที่จะ
เข้าถึงที่ดินแต่อย่างใด ผู้คนต้องส่งส่วยให้เจ้า ส่วนมากจะให้เป็นสิ่งของ และ
บริการด้านแรงงาน เช่น ช่วยสร้างและซ่อมแซมวัง ลูกหลานและญาติของเจ้า
และตระกูลชั้นน�าอื่นๆ ที่ช่วยบริหารดูแลกิจการของเมืองก็ได้รับส่วยและบริการ
แรงงานจากหมู่บ้านตามแต่จะก�าหนด
เมืองที่เกิดขึ้นตามชาย ั งแม่น�้าบริเวณที่ราบลุ่มและรอบๆ ชาย ั ง
ทะเลแตกต่างกันไปเล็กน้อย แหล่งตั้งถิ่นฐานที่นิยมกันมากคือคุ้งน�้าคดเคี้ยว
โดยจะมีการขุดคลองตรงส่วนที่แคบที่สุดเพื่อสร้างเป็นคูเมืองโดยรอบ เมือง
แบบนี้เมื่อเปรียบเทียบกับเมืองในหุบเขา จะมีประชากรที่ท�ามาหากินโดยการ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย
ค้าขายมากกว่า และประชากรที่จะพึ่งพิงการท�านามีน้อยกว่า ผู้ปกครองเป็น
ผู้ซึ่งตั้งตัวขึ้นมาเพราะสั่งสมความมั่งคั่งจากการค้ามากกว่าที่จะเป็นผู้ที่สืบสาย
มาจากตระกูลเก่าหรือเป็นนักรบ
ส�าหรับ “เมือง” เหล่านี้ เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นที่จะพัฒนาต่อไปเป็น
เมืองใหญ่ได้ อาจเป็นเพราะว่าเมื่อชุมชนขยายใหญ่ขึ้นจึงสุ่มเสี่ยงที่จะเกิด
ปัญหาโรคระบาด หรือถูกโจมตีเพื่อแย่งชิงผู้คนและทรัพย์สิน

ประวัติของสุโขทัยสมัยต้นๆ มีต�านานการอพยพผู้คนทั้งเมืองไปยังเขต
ของชาวมอญ เนื่องจากปัญหาโรคระบาด ในต�านานหริภุญไชยหรือล�าพูน คน
ทั้งเมืองถูกกองทัพกวาดต้อนไปจนหมดสิ้น ที่ราบลุ่มแม่น�้ามูลที่อีสานในยุค
ก่อนประวัติศาสตร์ เคยมีชุมชนตั้งหลักแหล่งอยู่หลายร้อยแห่ง แต่ ๔๐๐ ปี
ต่อมากลับกลายเป็นบริเวณไร้ผู้คนไปเสียสิ้น เมืองท่าตามชายฝั่งทะเลมักจะ
ถูกศัตรูหรือโจรสลัดเข้าโจมตีอยู่เสมอ ในพงศาวดารนครศรีธรรมราชสมัย
ต้นๆ เมืองก่อตั้งขึ้น ถูกทิ้งร้างแล้วก่อตั้งขึ้นมาใหม่ ซ�้ าแล้วซ�้าอีก สงขลาถูก
“ท�าลาย” ถึง ๒ ครั้งเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๒๑ การผันแปรของภูมิประเทศอาจ
ท�าลายเมืองได้ แหลมสทิงพระซึ่งมีการตั้งถิ่นฐานในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
แหล่งใหญ่ที่สุดของบริเวณด้ามขวานแหลมทอง ถูกทิ้งร้างเมื่อเขตชายฝั่งทะเล
ขยับเขยื้อนไป แหล่งที่เคยเป็นที่ตั้งเมืองในที่ราบเจ้าพระยาหลายเมืองถูกทิ้ง
ร้าง หรือชุมชนย้ายออกไปเมื่อแม่น�้าเปลี่ยนเส้นทาง
มีเมืองไม่กี่แห่งที่ประชากรตั้งหลักแหล่งเป็นที่ทางอยู่เป็นเวลายาวนาน
โดยไม่ได้ย้ายไปมาดังที่เกิดขึ้นในกรณีอื่นๆ ทั้งนี้อาจจะเป็นท�าเลเหมาะสม
ดังนั้น ความคิดเรื่อง “ชัยภูมิ” ึ่งหมายถึง “ที่แห่งชัยชนะ” จึงเป็นสาขาหนึ่ง
ของความรู้ท้องถิ่น
“ชัยภูมิ” หรือสถานที่เหมาะสมเพื่อตั้ง “เมือง” นั้นต้องเป็นที่ซึ่งสร้าง
คูรอบเมืองได้ง่ายหรือมีอยู่บ้างแล้ว มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น ภูเขาสูง หรือที่
แม่น�้าสบกัน อันมีน�้าและแหล่งผลิตอาหารอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งสภาพอากาศ
เหมาะสม ผู้ปกครองอาจจะจัดให้ “ชัยภูมิ” ดีขึ้นได้ด้วย ดังจะเห็นได้ในค�า
ประกาศศิลาจารึกของสุโขทัยที่เลื่องชื่อ ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ผู้ปกครองโฆษณา
เมืองเพื่อดึงดูดผู้ที่จะเข้ามาตั้งถิ่นฐาน โดยอวดโอ่ถึงความสามารถด้านการ
สงครามซึ่งจะปกป้องผู้คนได้ การันตีว่ามีอาหารอุดม (“ในน�้ำมีปลำ ในนำมี
ข้ำว”) ให้สัญญาว่ามีความเป็นธรรม เก็บภาษีต�่า และให้เสรีภาพในการค้าขาย

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ป่าวประกาศถึงการละเล่นและเทศกาลต่างๆ (“ใครจักมักเหล้นเหล้น ใครจักมัก
หัวหัว ใครจักมักเลื้อนเลื้อน”) และท้ายที่สุด กล่าวเน้นถึงจ�านวนวัดและศาล
ความวิจิตรพิสดาร และความหลากหลาย๑

เจ้า ละรั
ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๘ และ ๒๐ มีการปฏิวัติยุทธศาสตร์การ
สงคราม ซึ่งส่งผลให้เจ้าซึ่งมักใหญ่ใฝ่สูงสามารถขยายอาณาจักรได้ ส่วนหนึ่ง
เกิดจากการใช้อาวุธปืน เริ่มจากปืนใหญ่จากจีนและอาหรับ และต่อมาคือการ
ใช้ปืนคาบศิลาและปืนใหญ่คุณภาพดีกว่าจากโปรตุเกส นอกจากนี้การปฏิวัติ
ยุทธศาสตร์การสงครามเกิดจากการใช้ช้างและม้าเพื่อการขนส่งเพิ่มขึ้น มีวิธี
การเกณฑ์คนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และอาจจะมีจ�านวนคนให้เกณฑ์มากขึ้น
เพราะว่าสภาพดินฟ้าอากาศดีขึ้น ท�าให้ผลิตอาหารได้มากขึ้นด้วย
เจ้าที่ต้องการเป็นใหญ่ เริ่มแรกเลยตีเอาเมืองที่อยู่ใกล้เคียงเข้ามารวม
กันเป็นกลุ่มเมือง ตามเขตภูเขา แว่นแคว้นต่างๆ ก่อตัวขึ้นโดยยึดโยงกันเป็น
เมืองตามลุ่มแม่น�้าเป็นแหล่งๆ ไป เจ้าจะส่งบุตรชายหรือเครือญาติไปปกครอง
เหนือเมืองที่พ่ายแพ้ ผู้ปกครองจะกวาดต้อนหรือชักจูงให้ช่างฝีมือที่เชี่ยวชาญ
งานต่างๆ มาช่วยสร้างเมืองของตนให้วิจิตรและมีชื่อเสียงกว่าเมืองอื่นๆ มักจะ
เชิดชูศาสนาพุทธ เพราะได้รับความนิยมมากในยุคนี้
ตั้งแต่ราวๆ พ.ศ. ๙๕๐ ศาสนาพุทธได้เข้ามาแพร่ขยายอยู่ในบริเวณ
ที่ราบลุ่มเจ้าพระยาแล้ว แต่มาร่วมกับเทพเจ้าของอินเดีย ึ่งคงจะไม่ได้มีการ
แบ่งแยกกันชัดเจนว่าเป็นศาสนาอะไร หรือมีประเพณีปฏิบัติต่างกันอย่างไร
ครั้นตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๑๗๐๐ พระสงฆ์ได้น�าเอาขนบศาสนาพุทธ
เถรวาทจากศรีลังกาเข้ามา หลักฐานพงศาวดารศาสนาชี้ว่า ศำสนำพุทธนี้แพร่
กระจำยออกไปอย่ำงกว้ำงขวำงดังไฟปำ เนื่องจากผู้คนเลื่อมใสกันมาก เจ้า
สนับสนุนให้ก่อสร้างวัดอันวิจิตร อุปถัมภ์พระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงในการเรียนพระ
อภิธรรม เก็บรักษาพระอัฐิ และสร้างพระพุทธรูป โดยเชื่อว่าเป็นแหล่งรวมของ
อ�านาจด้านจิตวิญญาณ
เมืองใหญ่ที่เติบโตขึ้นมาค่อยๆ พัฒนาคล้ายเป็นศูนย์กลางอ�านาจของ
กลุ่มเมืองย่อย ทางทิศเหนือของลุ่มแม่น�้าเจ้าพระยา เมืองที่มีอ�านาจมากคือ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
“เชียงใหม่” ซึ่งพระยามังรายสถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๙
ณ ท�าเลซึ่งถือว่าเป็นชัยภูมิชั้นยอด พระยามังรายคงจะเป็นเจ้าชายไทที่มีเชื้อ
สายมอญ-เขมร ตั้งตัวเป็นใหญ่ ณ แคว้นริมแม่น�้าปิง และสยบเจ้าเมืองอื่นๆ
ที่ตั้งเรียงรายตามลุ่มน�้าอื่นไปทางทิศตะวันออก เมื่อพระองค์สวรรคต ผู้คน
นับถือเป็นวิญญาณบรรพบุรุษผู้ให้ก�าเนิดแคว้นที่ขยายใหญ่ขึ้นนี้ และเจ้าองค์
ต่อๆ มาก็ต้องเลือกสรรมาจากผู้สืบเชื้อสายตระกูลศักดิ์สิทธิ์นี้เป็นเวลาถึง ๒๐๐
ปี เชียงใหม่พัฒนาเป็นเมืองศูนย์กลางอ�านาจอย่างแท้จริงในสมัยของเจ้าเมือง
รุ่นต่อๆ มา ผู้ซึ่งสร้างวัดอันวิจิตรตระการตาเป็นจ� านวนมาก และผู้ได้สร้าง
สายสัมพันธ์เป็นพันธมิตรผ่านการอภิเษกสมรสกับเจ้าผู้ครองเมืองต่างๆ ไปทาง
ตะวันออกจรดแม่น้�าน่าน และไปทางเหนือข้ามแม่น�้าโขงไป ภูมิภาคนี้รู้จักกัน
ในนาม “ล้านนา” ส่วนด้านทิศตะวันออก เชื้อสายของพระเจ้าฟ้างุ่มที่หลวงพระ
บางสถาปนาอาณาจักร “ล้านช้าง” ครอบคลุมบริเวณลุ่มแม่น้�าโขงตอนกลางและ
แควใหญ่น้อย
พวกเมืองไทยที่อยู่ตามเชิงเขาเหนือพื้นราบของลุ่มน�้าเจ้าพระยา ก่อตั้ง
กลุ่มเมืองอีกแห่งหนึ่ง ณ จุดเริ่มแรก เมืองใหญ่ของกลุ่มคือ “สุโขทัย” ซึ่งมี
ต�านานเล่าขานว่า “พระร่วง” เป็นผู้ก่อตั้งให้เป็นเมืองพุทธที่มีชื่อกระฉ่อนไกล
ต่อมาตระกูลนี้ย้ายไปพิษณุโลก อาจเป็นเพราะว่าที่พิษณุโลกเจ้าเมืองสามารถ
ป้องกันเมืองจากศัตรูได้ง่ายกว่าที่สุโขทัย กลุ่มเมืองในบริเวณนี้ไม่มีชื่อเฉพาะ
ที่โด่งดัง เมืองเพื่อนบ้านไปทางใต้เรียกขานกันว่า “เมืองเหนือ”
กลุ่มเมืองอีกแห่งหนึ่งก่อตัวขึ้นในบรรดาเมืองท่าทางด้านล่างของแม่น�้า
ในที่ราบลุ่มเจ้าพระยา และรอบๆ ชายทะเลด้านบนของอ่าวไทย โดยเฉพาะ
๔ เมืองซึ่งสถาปนาขึ้นหรือสถาปนาใหม่ภายใต้อิทธิพลเขมรเมื่อพุทธศตวรรษ
ที่ ๑๖-๑๗ คือ เพชรบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี และอยุธยา หลังจากที่ตระกูล
ผู้น�าของเมืองเหล่านี้แก่งแย่งกันเป็นใหญ่ ผู้น�าที่อยุธยาผงาดขึ้นมาเหนือตระกูล
อื่นๆ จีนเรียกย่านนี้ว่า “เสียน” ( ian) ซึ่งโปรตุเกสเรียกเพี้ยนไปเป็นสยาม
เมืองศูนย์กลางแต่ละแห่งแผ่ขยายอิทธิพลเหนือเมืองใกล้เคียงในรูป
แบบเฉพาะ เจ้าที่ยอมสยบสวามิภักดิยังคงเป็นเจ้าอยู่ แต่อาจจะต้องส่งบุตร
สาวหรือน้องสาวให้เป็นบาทบริจาริกาของเจ้าเมืองใหญ่ บางทีอาจจะต้องส่ง
บุตรชายเข้ามารับใช้ด้วย เท่ากับเป็นตัวประกันให้เมืองขึ้นสวามิภักดิ
ในกรณีพิเศษ เจ้าเมืองใหญ่อาจจะยกหญิงสาวสูงศักดิ์ให้มาเป็นภริยา
ของเจ้าเมืองเล็ก หญิงสาวนี้อาจท�าหน้าที่ข่าวกรองไปด้วย เมืองที่ถูกสยบจะ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ต้องส่งบรรณาการส่วนมากจะเป็นสิ่งของมีค่าหรือหายาก ต่อมาก�าหนดบรรณา
การให้เป็นมาตรฐานคือ ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง อันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของ
มลายู นอกจากนั้นเจ้าเมืองใหญ่จะให้เครื่องสูงแสดงยศศักดิ์เป็นการตอบแทน
และเพื่อเสริมสถานะของเจ้าเมืองเล็ก บางทีเจ้าเมืองใหญ่จะให้สิ่งที่มีประโยชน์
ด้วย เช่น อาวุธและระบบการบริหารเมือง เจ้าเมืองใหญ่รับรองว่าจะช่วยปกป้อง
เมืองเล็กจากศัตรู และเจ้าเมืองเล็กก็ต้องตอบแทนด้วยการส่งทหารไปช่วยรบ
เมื่อเจ้าเมืองใหญ่ต้องการเคลื่อนกองทัพ แต่ในทางปฏิบัตินั้นการสนองต่อข้อ
ตกลงที่ว่านี้ มิใช่ว่าจะเป็นสิง่ ที่แน่นอนเสมอไป
หลักการของพันธมิตรทางการเมืองดังที่กล่าวมาคือ เจ้าเมืองใหญ่จะ
ไม่ท�าให้เมืองเล็กกลืนไว้ในเมืองใหญ่ แต่จะช่วยให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อจะเป็น
เมืองขึ้นที่เพิ่มอ�านาจและชื่อเสียงของเมืองใหญ่ เจ้าเมืองใหญ่จะไม่โอ้อวด
ถึงอาณาเขตที่กว้างใหญ่ แต่จะกล่าวถึงจ�านวนของเมืองที่ขึ้นอยู่กับตน จอร์ช
คอนโดมินัส เรีย กระบบนี้ว ่ า “ o nt” หรือ “การเก็บ ไว้ ใ นกรอบ”
ด้วยหลักการดังกล่าว หมู่บ้านจึงถูกครอบครองภายในเมือง และเมืองเล็กถูก
ครอบครองภายใต้อิทธิพลของเมืองที่เหนือกว่าขึ้นไป โดยอาจจะมีหลายระดับ
ขั้นก็ได้ นักวิชาการบางท่านใช้ค� าว่า ม ล (mandala) หรือ รัฐแบ่งแยก
(segmentary state) หรือกลุ่มรัฐ (galactic polity) (อันแตกต่างจากรัฐเดีย่ ว)
เป็นค�าเรียกระบบการเมืองนี้ แต่ “การเก็บไว้ในกรอบ” เป็นค�าอธิบายให้เห็นถึง
กลไกที่อยู่เบื้องหลังนั่นเอง
ระบบดังกล่าวอาจมีวิวัฒนาการมาในกลุ่มเมืองตามที่ราบลุ่มหุบเขา
ต่างๆ แต่ก็คงมีการรับเอาแบบอย่างบางประการจากระบบบรรณาการของจีน
ซึ่งเมืองที่เขตชายทะเลได้รู้เห็นและเกี่ยวข้องด้วยมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๘
จักรพรรดิจีนก�าหนดให้ “รัฐเถื่อน” ส่งบรรณาการ โดยขอให้จักรพรรดิจีนยืนยัน
การแต่งตั้งเจ้าองค์ใหม่ และยอมรับว่าวัฒนธรรมจีนเหนือกว่า จักรพรรดิจีน
ตอบแทนด้วยการส่งเครื่องสูงไปให้และรับที่จะปกป้องเมืองที่ส่งบรรณาการ ใน
ทางปฏิบัติจักรพรรดิจีนแทบจะไม่เคยส่งกองทัพเพื่อมาปราบเมืองบรรณาการที่
กระด้างกระเดื่อง หรือเพื่อปกป้องเมืองไหนเลย แต่ “รัฐเถื่อน” โอนอ่อนตาม
ความประสงค์ของจีน เนื่องจากได้ประโยชน์จากการค้าขายกับจีนซึ่งเป็นตลาด
ใหญ่สุด
เมืองท่าบางแห่งในเอเชียอาคเนย์เลียนแบบจากจีน สร้างความสัมพันธ์
แบบบรรณาการกับเมืองใหญ่ที่ผงาดขึ้นมาเพื่อที่จะได้เข้าถึงตลาดที่ก�าลังรุ่ง

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
เรือง เจ้าผู้ครองศูนย์กลางแห่งอ�านาจเหล่านี้จดบันทึกเมืองบรรณาการเอาไว้
ในศิลาจารึกหรือพงศาวดารเพื่อแสดงอิทธิพลอันยิ่งใหญ่
เครือข่ายความสัมพันธ์ทางการทหารและการค้ามีความยืดหยุ่นและ
ลื่นไหล เมืองศูนย์กลางใหญ่ๆ รุ่งเรืองขึ้นมาแล้วก็ดับไป ณ ที่ไกลปืนเที่ยง
เมืองย่อยๆ ลงมาสร้างสายสัมพันธ์กับหลายเมืองใหญ่ขนานกันไปสองแห่งหรือ
มากกว่านั้น นอกจากนั้นแล้วระดับความส�าคัญของสัมพันธภาพต่างๆ นี้ขึ้นๆ
ลงๆ ลื่นไหลไปตามกาลเทศะ
จาก พ.ศ. ๑๙๐๐ ต่อมากลุ่มเมือง ๔ แห่งที่ผงาดขึ้นมาในบริเวณ
รอบๆ ที่ราบลุ่มเจ้าพระยา ล้านนา ล้านช้าง เมืองเหนือ สยาม เริ่มแข่งขัน
แย่งชิงความเป็นใหญ่ระหว่างกัน ก่อให้เกิดสงครามเป็นครั้งคราวเป็นเวลาหนึ่ง
ศตวรรษ เจ้าเกณ ์ทหารเป็นจ�านวนมากมาใช้ ท�าให้ขนาดของกองทัพใหญ่
ขึ้น ชุมชนกลายเป็นสังคมทหาร และจริยธรรมแบบทหารเพิ่มความส�าคัญ
กองทัพขนาดใหญ่รุกไล่ทา� ลายเมือง และบังคับเคลื่อนย้ายผู้คน ท�าลาย
พืชผลที่ปลูกกันเอาไว้ และท�าให้เกิดโรคระบาดแพร่กระจายไป ท้ายที่สุดแล้ว
ไม่มีเมืองไหนมีชัยอย่างชัดเจน กองทัพอยุธยายึดเชียงใหม่ได้เมื่อกลางพุทธ
ศตวรรษที่ ๒๑ แต่ก็ไม่สามารถยึดไว้ได้ยาวนาน เมืองใหญ่อาจท�าลายซึ่งกัน
และกั น และกวาดต้ อ นเชลยไปเป็ น จ�า นวนมาก รวมทั้ ง ยึ ด เอาพระพุ ท ธรู ป
และทรัพย์สินมีค่าไป แต่ความห่างไกลกันท� าให้ไม่อาจ “เก็บไว้ในกรอบ”
(embo ment) ได้อย่างถาวร จากกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ สงครามเหล่านี้
เริ่มเบาบางลง

เมองชาย งทะเลเปน หญ่


“ความมั่งคั่ง” ที่สั่งสมมาจากการค้ามีผลต่อเนื่องถึง “ภูมิรัฐศาสตร์”
ที่ลุ่มลึกและยาวนาน การค้าทางทะเลเพิ่มขึ้นพร้อมๆ กับการต่อเรือมีประสิทธิ
ภาพสูงขึ้น จากพุทธศตวรรษที่ ๑๘ อยุธยารุกคืบเข้าครอบครองบริเวณด้าม
ขวานทอง และไปทางเหนือด้านแผ่นดินใหญ่ด้วย ทั้งนี้ เพื่อควบคุมสินค้าป่า
และสินค้าแปลกๆ ที่จีนต้องการ เช่น ไม้หอม งาช้าง นอแรด ขนนกสีสดใส
อยุธยาเสนอสนองบรรณาการให้จักรพรรดิจีนเป็นอย่างดี จึงเป็นเมืองคู่ค้าที่จีน
พอใจ ครั้นถึงช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ อยุธยาเข้าครอบครองเส้นทางการ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ค้าที่ข้ามด้ามขวานแหลมทอง เท่ากับสร้างเส้นทางการค้าใหม่ที่โยงดินแดนด้าน
ตะวันออกกับตะวันตกของด้ามขวาน ส่งผลให้สามารถหลีกเลี่ยงเส้นทางเดิม
ที่มีโจรสลัดชุกชุมในบริเวณช่องแคบมะละกาได้ อยุธยาจึงร�่ารวยขึ้น เพราะเป็น
ศูนย์กลำงกำรค้ำ (entrepot) ที่เชื่อมหลายแหล่งตลาดเข้าด้วยกัน ทั้งจีนด้าน
ทิศตะวันออก อินเดียและอาหรับด้านทิศตะวันตก และหมู่เกาะมลายูไปทาง
ด้านทิศใต้ ชาวโปรตุเกสซึ่งเดินทางเข้ามาเมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ กล่าว
ขานถึงอยุธยาว่าเป็น ๑ ใน ๓ เมืองมหาอ� านาจของเอเชีย คู่เคียงกับจีนและ
วิชัยนคร (Vijayanagar) ที่อินเดีย
อยุธยาแผ่ขยายอ�านาจไปยัง “หัวเมืองเหนือ” ได้ ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะ
รบชนะหรือเข้าครอบครองเป็นหลัก แต่เป็นการควบรวมอย่างแยบยลผ่าน
กลไกทางสังคมและวัฒนธรรมด้วย อยุธยานั้นมั่งคั่งและเป็นศูนย์กลางการค้า
จึงสามารถซื้อปืนจากโปรตุเกสและว่าจ้างทหารโปรตุเกสได้ แต่เมืองทางเหนือ
มีประชากรมากจึงเกณฑ์ทหารได้มากกว่าเมื่อจ�าเป็น แถมยังเชี่ยวชาญในการรบ
พุ่งจึงมักจะป้องกันตนเองได้
ในภาวะสงคราม ผู้คนจากหัวเมืองเหนือถูกกวาดลงไปที่อยุธยา แต่
บ้างคงเข้ามาเองเพราะเห็นโอกาสในเมืองที่รุ่งเรืองขึ้น ตระกูลชั้นน�าของหัวเมือง
เหนือก็ยังได้สร้างสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชนชัน้ ปกครองที่อยุธยาผ่านการแต่งงาน
กัน นักรบฝ่ายเหนือเข้ามาเป็นแม่ทัพให้อยุธยา ขุนนางฝ่ายเหนือเข้าตั้งรกรากที่
อยุธยา และสอดประสานเข้ากันได้กับตระกูลขุนนางชั้นน�าของอยุธยา เมื่อเวลา
ผ่านไปอยุธยาเองก็ค่อยๆ รับเอาระบบการบริหาร สถาปัตยกรรม วิถีปฏิบัติทาง
ศาสนา และแม้กระทั่งภาษาที่ใช้ประจ�าวันของเพื่อนบ้านที่เมืองเหนือมาเป็นของ
ตนเอง อยุธยาได้เปรียบในด้านท�าเลการค้า จึงเป็นเมืองหลวงของเครือข่ายรัฐ
ที่ขยายใหญ่ขึ้นนี้ได้
แต่พิษณุโลก ท�าหน้าที่เสมือนเมืองหลวงแห่งที่ ๒ (จนบางทีชาวโปรตุ
เกสเรียกว่าเป็นรัฐแฝดหรือเมืองแฝด) เพราะว่าพิษณุโลกตั้งอยู่ ณ จุดยุทธ
ศาสตร์ในการรบกับล้านนา ท้ายที่สุดแล้วขุนนางฝ่ายเหนือกลับกลายเป็นผู้
สถาปนากษัตริย์ที่อยุธยา โดยเมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๒ พระมหาธรรมราชา เจ้าเมือง
พิษณุโลก ขึ้นเสวยราชย์แทนราชวงศ์อยุธยาเดิมได้
ช่วงระยะเดียวกันนี้ การค้าได้จุดประกายให้อยุธยาแข่งขันกับเมืองท่า
ทั้งทางด้านตะวันออกและตะวันตก ที่ราบลุ่มอิรวดีและเขตสามเหลี่ยมปากน�้า
โขง มีเมืองซึ่งได้พัฒนาขึ้นจากการค้าทางทะเลและได้ประโยชน์จากการอพยพ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ของผู้คนลงมาทางใต้เสมือนเช่นที่เกิดขึ้นในบริเวณที่ราบลุ่มเจ้าพระยา ไปทาง
ทิศตะวันตก หงสาวดีเติบใหญ่ข้ึนและมีอ�านาจเหนือเมืองหลวงพม่าที่อังวะ ไป
ทางทิศตะวันออก นครวัดถูกทิ้งร้างเมื่อเมืองหลวงของเขมรย้ายไปตั้งที่ละแวก
ณ ที่ราบลุ่มปากแม่น�้าโขง ดังนั้น เมืองหลวง-เมืองท่า หงสาวดี อยุธยา และ
ละแวก จึงแก่งแย่งกันเพื่อเข้าควบคุมแหล่งของสินค้าป่าที่มีค่าและเป็นที่ต้อง
การของตลาดที่เมืองจีน
กษัตริย์ของ ๓ อาณาจักรนี้แก่งแย่งกันเป็นใหญ่ ยิ่งเมื่อท้องพระ
คลังเต็มไปด้วยก�าไรจากการค้า และยังสามารถเกณ ์ทหารได้จากบ้านปาใน
เขตแผ่นดินใหญ่เป็นจ�านวนมาก พร้อมทั้งจ้างทหารรับจ้างชาวต่างประเทศได้
วัดวาอารามก็เต็มไปด้วยพระพุทธรูปและทองที่ได้มาจากการรุกรานเพื่อนบ้าน
ได้ส�าเร็จ
กษัตริย์ทั้งสามองค์นี้จึงมีจินตภาพว่าตัวเองเป็นจักรวาทิน หรือผู้พิชิต
โลก ดังที่ได้มีการบรรยายไว้ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง ส�าหรับการแข่งขันกัน
เป็นใหญ่นี้ ด้านทิศตะวันตกได้เปรียบกว่า อาจเป็นเพราะว่าทิศนั้นคือแหล่งที่มา
ของปืนใหญ่และทหารรับจ้างจากโปรตุเกส สยามยาตราทัพไปโจมตีเมืองหลวง
เขมรเสียราบคาบและแต่งตั้งกษัตริย์เขมรซึ่งยอมสยบกับอยุธยา หงสาวดีเรียก
ร้องให้สยามยอมรับสภาพเป็นเมืองขึ้น และร่วมมือกับขุนนางฝ่ายเหนือเข้าโจมตี
และยึดอยุธยาได้เมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๒ หงสาวดีกวาดผู้คนไปเป็นจ�านวนมาก รวม
ทั้งช่างฝีมือ พระพุทธรูป และทรัพย์สินมากมาย ยึดเอาช้างและเครื่องบรรณา
การมีค่า ทั้งยังจับสมาชิกของพระราชวงศ์ไปเป็นบาทบริจาริกาและเป็นตัวประกัน
อย่างไรก็ตาม การที่จะพยายามยึดโยงเมืองใดเมืองหนึ่ง “เก็บไว้ใน
กรอบ” (embo ment) ดูจะยิ่งยากมากทีเดียว ทั้งนี้เพราะว่าเมืองเหล่านี้ต่าง
อยู่ห่างไกลกันและมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน อิทธิพลของสยามเหนือเขมร
เสือ่ มถอยลงเมือ่ “ญวน” ผงาดขึน้ มาเป็นคู่แข่งท้าทายสยามได้ ท�านองเดียวกัน
พระนเรศวร เจ้าชายสยามที่หงสาวดีจับเป็นตัวประกันไปเมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๒ หนี
การควบคุม ประกาศจะไม่ขึ้นกับหงสาวดี หลังจากนั้นใช้เวลา ๑๕ ปี ตลอด
ช่วงที่ครองราชย์ (พ.ศ. ๒๑๓๓-๒๑๔๘) ท�าสงครามเพื่อที่จะต้านทานการรุกราน
จากพม่า และเพื่อสถาปนาอยุธยาให้เป็นใหญ่ในลุ่มแม่น้�าเจ้าพระยาตอนล่าง
อีกครั้ง
หลังรัชสมัยพระนเรศวร ยุคสงครามเริ่มถึงทางตัน เมืองหลักบนผืน
แผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนมากถูกรุกรานปล้นสะดมอย่าง

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ราบคาบอย่างน้อยหนึ่งครั้งในช่วง ๑๐๐ ปีท่ีผ่านมา ผู้คนเริ่มกระด้างกระเดื่อง
ไม่ยอมร่วมมือกับกษัตริย์ในการรบพุ่งเพียงเพื่อสนองตัณหาอ� านาจของเจ้า
ราวๆ พ.ศ. ๒๑๐๗ นั้นเชลยที่ถูกกวาดต้อนไปหงสาวดีก่อกบฏครั้งใหญ่ ที่
อื่นๆ ผู้คนก็ต่อต้านหรือหลีกเลี่ยงสงครามโดยใช้วิธีต่างกันไป เช่น ติดสินบน
นายที่เกณฑ์ทหาร บ้างหนีไปบวชพระ หรือหนีไปอยู่ในป่าห่างไกลเสีย ดังนั้น
เจ้าจึงเผชิญอุปสรรคนานัปการในการเตรียมทัพให้ยิ่งใหญ่เท่ากับที่เคยท�าได้ใน
อดีต หลายเมืองลงทุนก่อสร้างก�าแพงเมืองด้วยอิฐ ขยายคูรอบเมืองให้กว้าง
ขึ้น และติดตั้งปืนใหญ่เพื่อต้านทานศัตรูให้ได้ผลมากขึ้น ช่วงปี พ.ศ. ๒๑๓๐-
๒๑๔๕ ความพยายามตีเมืองต่างๆ ล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า กองทัพจึงสลายตัว

สมัยของการพาณิชย์
เมื่ อ สงครามสงบสั ง คมก็ รุ ่ ง เรื อ ง หลั ง จากที่ พ ระนเรศวรเถลิ ง ราชย์
“อยุธยา” คือราชธานี เป็นศูนย์อ�านาจของที่ราบลุ่มเจ้าพระยา ล้อมรอบด้วย
เมืองใหญ่ๆ หรือมหานคร แต่ละแห่งมีตระกูลเจ้าภายใต้อิทธิพลของอยุธยา
ครอบครองอยู่ รวมทั้งเมืองเก่าที่ภาคเหนือ เมืองท่าต่างๆ รอบอ่าวไทย เมือง
ตามเส้นทางขนส่งสินค้าข้ามไปยังฝั่งทะเลด้านทิศตะวันตกที่บริเวณด้ามขวาน
ทองและหัวเมืองที่ควบคุมเส้นทางไปโคราชทางทิศตะวันออก และกาญจนบุรี
ทางทิศตะวันตก ไกลออกไปจากเมืองเหล่านี้ก็คือเมืองบรรณาการที่รายรอบ
อยู่ ความสวามิภักดิ์ของหัวเมืองรอบนอกเหล่านี้ขึ้นๆ ลงๆ เพราะว่ามีเมือง
ใหญ่กว่าอื่นๆ ที่ส่งอิทธิพลเหนือเมืองเหล่านี้ด้วย บางครั้งหัวเมืองบางแห่งก็
กระด้างกระเดื่องกับอยุธยาเพราะไปขึ้นกับเมืองใหญ่อื่นๆ หรือบางแห่งก็สวามิ
ภักดิ์กับเจ้ามากกว่าหนึ่งแห่ง หัวเมืองบริเวณรอบนอกที่ว่านี้ รวมทั้งเมืองท่า
ต่างๆ ตามบริเวณด้ามขวานทองลงไปทางใต้ซึ่งขึ้นอยู่กับเจ้าทางมลายูด้วย และ
ยังมีเมืองที่เขมร ลาว ล้านนา ไทยใหญ่ ซึ่งล้วนแล้วแต่ถ่วงดุลอ�านาจระหว่าง
อยุธยากับเวียดนาม จีน หรือพม่า คือมีความสัมพันธ์กับทุกๆ ศูนย์อ�านาจเหล่า
นี้เพื่อถ่วงดุลกัน
อยุธยารุ่งเรืองขึ้นอีกครั้งในฐานะเป็นเมืองท่าเปดเชื่อมเส้นทางการค้า
ระหว่างด้านตะวันออกและตะวันตก ไปทางตะวันออกนั้น โตกุกาวาที่ญี่ปุ่น

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
   

 
    

# 





!"







 
$ !
%&$'
 
 


( 
 $ 
$ &$ 
$)
' $   
( 
  $ 

   +!  
*'
$
!  (

แผนที่ ๒ เมืองและอำ ำจักรโบรำ


เปิดท�าการค้าด้วยแบบมีเงื่อนไข ไปทางตะวันตก จักรวรรดิ า าวิด (Safavid)
และโมกุล (Mughal) เป็นตลาดใหญ่ และเป็นแหล่งผลิตสินค้ามีค่าหลายชนิด
เส้นทางขนส่งสินค้าข้ามด้ามขวานทองที่อยุธยาควบคุมอยู่ เป็นที่นิยมของพ่อค้า
แถบเอเชียมากขึ้น หลังจากที่พวกโปรตุเกสและดัตช์ (Dutch) เข้ามาครอบง�า
เส้นทางสายใต้ที่ช่องแคบมะละกา ดังนั้น อยุธยาจึงเจริญเติบโตจนอาจเป็น
เมืองใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นเมืองที่มีความเป็นสากลมาก
แห่งหนึ่งในภูมิภาค มีชุมชนจีน ญวน จาม มอญ โปรตุเกส อาหรับ อินเดีย
เปอร์เซีย ญี่ปุ่น และชุมชนมาเลย์ต่างๆ จากหมู่เกาะ ตั้งถิ่นฐานอยู่รายรอบ
พวกดัตช์เข้ามาเมื่อ พ.ศ. ๒๑๔๗ เพื่อแย่งส่วนแบ่งการค้ากับญี่ปุ่นและตั้งชุมชน
เพิ่มขึ้นมา ฝรั่งเศสและอังกฤษก็ตามเข้ามาตั้งถิ่นฐาน
ราชส� า นั ก อยุ ธ ยาใช้ ป ระโยชน์ จ ากผู ้ ค นเหล่ า นี้ โดยเลื อ กรั บ เอาชาว
มาเลย์ อินเดีย ญี่ปุ่น และโปรตุเกสเข้ามาเป็นทหารรักษาวัง จ้างจีนและเปอร์
เซียเป็นข้าราชการมีต�าแหน่งดูแลการค้า จ้างช่างชาวดัตช์ให้ต่อเรือ จ้างวิศวกร
ฝรั่งเศสและอิตาเลียนให้ออกแบบป้อมปราการและการชลประทาน จ้างอังกฤษ
และอินเดียเป็นผู้ว่าราชการหัวเมือง และจ้างชาวจีน ชาวเปอร์เซียเป็นแพทย์
นอกจากนี้ยังมีชาวญี่ปุ่นคนหนึ่ง (ยามาดะ นางามาสะ) ชาวเปอร์เซียคนหนึ่ง
(เฉกอะหมัด) และต่อมากรีกคนหนึ่ง (คอนสแตนติน ฟอลคอน) รับราชการ
มีต�าแหน่งและอ�านาจสูงในราชส�านัก
“พระมหากษัตริย์” โดยเฉพาะ พระนารายณ์ (พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑)
เปิดรับความรู้ใหม่ๆ ด้วยการส่งราชทูตไปแลกเปลี่ยนกับประเทศเนเธอร์แลนด์
ฝรั่งเศส และเปอร์เซีย พร้อมทั้งรับเอาแบบของเสื้อผ้าอาภรณ์และสถาปัตย
กรรมจากเปอร์เซีย ยุโรป และจีน มาปรับใช้ ในการบริหารจัดการกับความเป็น
“เมืองสำกล” ของอยุธยานั้น พระมหากษัตริย์ยอมให้มีเสรีภาพทางศาสนา รวม
ทั้งการแผ่ขยายศาสนาคริสต์จนเป็นที่ประทับใจของชาวยุโรป (ซึ่งในเวลาเดียว
กันนั้นเองก็สู้รบฆ่าฟันกันด้วยเรื่องศาสนาที่ยุโรป) แต่การเปิดกว้างดังกล่าว
ท�าให้พวกฝรั่งเศสและเปอร์เซียหลงเชื่อไปว่าอาจจะชักชวนให้กษัตริย์และชาว
สยามเปลี่ยนศาสนาได้ ความหลงผิดนี้ท�าให้เกิดเหตุวิกฤตเมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๑
จน อลคอนถูกประหารชีวิต ฝรั่งเศสถูกไล่ออกไป และอังกฤษต้องหลีกหนี
ออกจากสยาม

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ภาพที่ ๑ พระรำชวังหลวงที่กรุงศรีอยุธยำสมัยพระเจ้ำปรำสำททอง

สังคมอยุ ยาตอนปลาย
ในสมัยของการพาณิชย์นี้กษัตริย์อยุธยามีอ�านาจเป็นที่สุด เนื่องจาก
ร�่ารวยด้วยก�าไรจากการค้า มีทหารรับจ้างช่วยรักษาความปลอดภัย และมีผู้
เชี่ยวชาญจากหลายประเทศช่วยการงานต่างๆ กษัตริย์ได้รับก�าไรสูงสุดจากการ
ผูกขาดการค้าระหว่างประเทศ นอกจากนั้นยังมีรายได้จากภาษีที่เพิ่มขึ้นเพราะ
ว่าเศรษฐกิจภายในประเทศขยายตัว ค่าใช้จ่ายด้านการสงครามก็ลดลง ทรง
ใช้ทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นลงทุนสร้างพระราชวังใหม่ๆ ที่อลังการอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
อีกทั้งพระอารามหลวงแห่งใหม่และที่ปฏิสังขรณ์ใหม่ จัดให้มีเทศกาลต่างๆ ที่
เลื่องลือ และเมื่อกีย์ ตาชาร์ด บาทหลวงนิกายเจซูอิตจากฝรั่งเศส เดินทาง
มาอยุธยาและได้ไปเยี่ยม วัดพระศรีสรรเพชญ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐ เขาอุทานว่า
“ไม่เห็นอะไรอย่ำงอื่นเลย นอกจำกทอง...ตื่นตำตื่นใจอย่ำงเหลือแสนเมื่อเห็นรูป
เคำรพเพียงชิ้นเดียวที่ลำ�้ ค่ำยิ่งกว่ำสินทรัพย์ในโบสถ์ทั้งหมดของยุโรป” ๒ บรรดา
ขุนนางใหญ่เมื่อไม่ต้องท�าสงคราม ก็เอาเวลาและพละก�าลังไปคล้องช้าง ล่าเสือ
แข่งเรือ และประลองฝีมือสัประยุทธ์ต่างๆ ราชส�านักฟื้นฟูและส่งเสริมการแต่ง
กาพย์ โคลง กลอน และศิลปะการแสดง ที่ยกย่องเชิดชูชัยชนะและกามกรีฑา
ของพระมหากษัตริย์และเทวา

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


อ�านาจของกษัตริย์ถูกท�าให้ดูยิ่งใหญ่มากขึ้นไปอีก แฝงด้วยความลี้ลับ
และพิธีกรรมมากมาย พระเจ้ำปรำสำททอง (พ.ศ. ๒๑๗๒-๒๑๙๙) ฟื้นฟูอารย
ธรรมเขมรเป็นส่วนหนึ่งของไทย ราชวงศ์อ้างว่า “สืบสายสัมพันธ์” โยงไปได้ถึง
กษัตริย์สมัยนครวัด น�าพราหมณ์จากอินเดียเข้ามาประกอบพิธีกรรมที่พิสดาร
ในพระราชส�านัก สร้างวัดโดยอิงแบบแปลนของนครวัด มีนัยว่าเป็นที่สถิตของ
ทั้งเทวะและกษัตริย์ในเวลาเดียวกัน ทรงขยายพื้นที่ของพระราชวังหลวง ล้อม
รอบด้วยก�าแพงสูงหลายชั้นโดยมีทางเข้าแคบๆ เท่านั้น (ดูภาพที่ ๑) องค์พระ
มหากษัตริย์เป็นที่ต้องห้าม ทรงปรากฏพระองค์ในที่สาธารณะเพียงปีละไม่กี่ครั้ง
ในวโรกาสพิเศษเท่านั้น และมีข้อห้ามไม่ให้มอง ชาวดัตช์ที่มาจากประเทศ
สาธารณรัฐ เมื่อได้เห็นพระราชส�านักและพิธีกรรมต่างๆ ถึงกับกล่าวว่า “กำร
คำรวะแบบนี้น่ำจะใช้ส�ำหรับเทวะผู้ศักดิ์สิทธิ์มำกกว่ำจะใช้ส�ำหรับองค์พระมหำ
กษัตริย์ ึ่งเป็นมนุษย์” แต่ส�าหรับชาวฝรั่งเศสผู้นิยมเจ้าแล้วเป็นสิ่งตื่นตาตื่นใจ
จนกล่าวว่า “แถบถิ่นตะวันออกนี้ ไม่มีรัฐไหนอีกแล้วที่องค์กษัตริย์จะยิ่งใหญ่
มากไปกว่าสยาม” ๓
สังคมอยุธยาตอนปลายนั้นแบ่งออกเป็น ๒ ชนชั้นคือ กลุ่มขุนนางที่
รับใช้กษัตริย์สักประมาณสองพันคนและครอบครัวของเขา และผู้ที่ถูกเกณ ์
ให้เสียสละแรงงานบางส่วนเพื่อรับใช้ครอบครัวชนชั้นน�าทั้งหลาย
ขุนนำงสมัยอยุธยาตอนปลายมีโครงสร้างที่สลับซับซ้อน มีต� าแหน่ง
หน้าที่เป็นทางการก�าหนดไว้อย่างชัดเจนในท�าเนียบ แต่ละต�าแหน่งมีราชทิน
นามและยศก�ากับ ฐานะต�่าสูงวัดได้ด้วยหน่วยที่เรียกว่า “ศักดินา” ๔ ระบบการ
บริหารราชการแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน คือ ส่วนแรกดูแลพระราชวังและเมืองหลวง
รวมทั้งการจัดเก็บข้าวจากนาหลวง ดูแลแรงงานของหลวง รักษาความสงบเรียบ
ร้อย บริหารจัดการพระราชส�านัก และตัดสินคดีความในเมืองหลวงและราชธานี
ส่วนที่ ๒ ดูแลกิจการทหาร ความสัมพันธ์กับเมืองใหญ่ และประเทศราช (เมือง
บรรณาการ) ส่วนที่ ๓ ดูแลการค้าระหว่างประเทศ ชุมชนชาวต่างชาติ และ
ดูแลพระคลัง ส่วนที่ ๔ คือพราหมณ์ ซึ่งเกี่ยวโยงกับเรื่องพิธีกรรม โหร และ
การบันทึกจดหมายเหตุ
การรับราชการ เป็นอภิสิทธิ์เฉพาะของตระกูลขุนนาง โดยจะถวายตัว
บุตรชายให้เริ่มงานเป็นมหาดเล็กในราชส�านัก การเลื่อนขั้นหลังจากนั้นขึ้นอยู่
กับความสามารถเฉพาะตัว เส้นสายของครอบครัวและพระราชอัธยาศัย ตระ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
กูลขุนนางอาจจะเขยิบฐานะของตนโดยถวายบุตรสาวให้เป็นบาทบริจาริกา ด้วย
ความหวังว่าบุตรสาวจะได้เป็นสนมคนโปรดของกษัตริย์และมีบทบาทส�าคัญใน
การเมืองราชส�านักอันซับซ้อน สถานะของขุนนางระดับต่างๆ ดูได้จากเครื่อง
ประกอบยศ มักเป็นหีบหมากและของมีค่าแบ่งเป็นหลายระดับ บางครั้งขุนนาง
ชั้นสูงจะได้รับข้าทาส ที่ดิน และผลผลิตบนที่ดินนั้นๆ ด้วย ขุนนางอวดโอ่
แสดงสถานะของตนในที่สาธารณะพร้อมกับแสดงหีบหมำกประจ� ำต�ำแหน่ง
และขบวนของข้ำทำสบริวำรไปตามถนน ขุนนางมีรายได้จากสิ่งของพระราช
ทานเหล่านี้ รวมทั้งแสวงหารายได้ที่มาจากต�าแหน่งทางการของตน โดยชัก
เปอร์เซ็นต์จากภาษีที่เก็บให้หลวงหรือจากค่าปรับ หรือจากรับสินบน
สมัยสงคราม ชายฉกรรจ์ทุกคน (รวมทั้งผู้หญิงบางคน) ที่ไม่ใช่ขุนนาง
ถูกเกณฑ์แรงงานหรือถูกน�ามาเป็นคนรับใช้ภายใต้ระบบที่รับมาจากกลุ่มชนชาว
ไทที่เคยตั้งถิ่นฐานบนภูเขา ไพร่ส่วนใหญ่ต้องลงชื่อในบัญชี อยู่ภายใต้การดูแล
ของนายหรือมูลนาย หากผู้ใดหลีกเลี่ยงก็จะไม่ได้รับการคุ้มครองของนาย และ
สูญเสียสิทธิต่างๆ เช่น สิทธิในการเข้าถึงศาลเมื่อเกิดคดีความ ไพร่ถูกเกณฑ์
มาท�างานเป็นระยะๆ เช่น เดือนเว้นเดือน หรือครั้งละครึ่งปี
เมื่อการสงครามเบาบางลง แรงงานเกณ ์จะถูกใช้ท�างานอย่างอื่น
เช่น สร้างวัดและวัง หามเสลี่ยง พายเรือ หรือแบกหามของขึ้นลงเรือส�าเภา
กษัตริย์และขุนนางผู้ใหญ่ควบคุม และบางทีก็แก่งแย่งแรงงานเกณ ์เหล่านี้
ระหว่างกันเอง วิถีปฏิบัติของอยุธยาเป็นแบบอย่างให้เมืองอื่นๆ ลอกเลียน
เชลยสงครำมไม่ต้องเข้าเกณฑ์ และมีสถานะเช่น ทำส ไพร่อาจขาย
ตัวเองเป็นทาส หรือถูกบังคับให้เป็นทาสเพราะเป็นหนี้หรือถูกท�าโทษ หัวหน้า
ครอบครัวอาจขายเมียหรือลูกให้เป็นทาส ฐานะเป็นทาสเป็นระบบสืบทอด ลูก
ทาสก็เป็นทาส ทาสมีราคาซื้อขายหรือไถ่ตัวได้ ระบบควบคุมแรงงานนี้ครอบ
คลุมมาก จนพ่อค้ายุโรปไม่อาจหาลูกจ้างได้นอกเสียจากว่าจะขอความร่วมมือ
จากขุนนางให้ช่วย และไม่อาจหาคนงานรับจ้างได้เลย หากทางการก�าลังเกณฑ์
คนเป็นทหารเพื่อการสงคราม หรือเพื่องานโยธาขนาดใหญ่
บทบาทของผู้หญิง ผู้ชาย แตกต่างกันไปตามสถานะทางสังคม ใน
บรรดาสามัญชน ผู้หญิงจะท�างานเต็มก�าลัง ชาวต่างชาติที่เข้ามาเยือนสยามทั้ง
จีนเมื่อสมัยอยุธยาตอนต้น ไปจนถึงฝรั่งเศสและเปอร์เซียเมื่อแผ่นดินพระ
นารายณ์ และชาวอังกฤษเมื่อสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ล้วนตั้งข้อสังเกตว่า
“กำรงำนส่วนให ่นั้นผู้ห ิงเป็นคนท� ำเสียทั้งสิ้น” บางคนอธิบายว่า นี่เป็น

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


เพราะระบบแรงงานเกณฑ์ ท�าให้ผู้ชายต้องจากครอบครัวไปเป็นเวลาประมาณ
ครึ่งปี ในบริเวณที่ราบลุ่มเจ้าพระยานั้น ครัวเรือนชนบทมักจะให้ความส�าคัญ
กับสายเลือดข้างฝ่ายชายและฝ่ายหญิงพอๆ กัน และแบ่งมรดกให้เท่าๆ กัน
การนับถือผีซึ่งอยู่ควบคู่กับศาสนาพุทธนั้นผู้ท�าพิธีกรรมพิเศษจ�านวนมากเป็น
ผู้หญิง ในเรื่องขุนช้ำงขุนแผน อันเป็นเรื่องเล่าพื้นบ้าน ตัวละครฝ่ายหญิงมี
บทบาทเด่น บทบาทด้านเศรษฐกิจชัดเจนและมีความเป็นตัวของตัวเองสูง
หากแต่ในบรรดาตระกูลขุนนางและราชวงศ์นั้น ผู้หญิงเปรียบเสมือน
สินทรัพย์อย่างหนึ่ง หัวหน้าครอบครัวมีเมียหลายคน เพื่อแสดงความเป็นใหญ่
และเพื่อเพิ่มจ�านวนทายาทสืบตระกูล ครอบครัวใช้ลูกสาวเพื่อสร้างสายสัม
พันธ์กับตระกูลหรือราชวงศ์อื่นๆ ตามกฎหมายนั้น ผู้หญิงเป็นสมบัติของชาย
เริ่มจากพ่อต่อมาก็ผัว (การแต่งงานนั้นประหนึ่งคือการขายลูกสาวจากพ่อสู่บุตร
เขยหรือสามี) และหากถูกขายมาก็เป็นสมบัติของเจ้าของที่ซื้อตัวมาเป็นทาส
โคลงกลอนของราชส�านักบอกให้เห็นว่าผู้หญิงเป็นสิ่งของสวยงามและเป็นส่วน
ประกอบของเนื้อเรื่องเท่านั้น ไม่ใช่ตัวละครที่มีบทบาทและสาระอะไร พงศาว
ดารอยุธยาทั้งหมดนั้นกล่าวถึงผู้หญิงระดับน�าแค่สองคน คนหนึ่งมีภาพเสมอ
เหมือนผู้ชาย แปลงตัวเป็นนักรบชายชาติทหาร (พระศรีสุริโยทัย) และอีกคน
หนึ่งมีเพศวิถีที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของราชวงศ์ (ท้าวศรีสุดาจันทร์)
ในสมัยของการพาณิชย์ สังคมอยุธยาเริ่มปรับเปลี่ยน ความเปลี่ยน
แปลงทวีขึ้นหลังแผ่นดินพระนารายณ์ ที่ส�าคัญคือ การขยายตัวของเศรษฐกิจ
การค้ากอปรกับที่สงครามเบาบางลง ท�าให้ระบบเกณฑ์แรงงานคลอนแคลนลง
ไป ผู้คนจ�านวนมากใช้เงินติดสินบนนายให้ลบชื่อพวกเขาออกจากบัญชีแรงงาน
เกณฑ์ บางคนก็ไปขึ้นอยู่กับนายที่ไม่เคร่งครัดมาก บางคนยอมขายตัวเป็นทาส
เพื่อหาเงินมาท�าธุรกิจ และเพื่อถูกละเว้นไม่ต้องเข้าเกณฑ์ บางคนหนีไปบวช
พระ หลายๆ คนไปอยู่ป่าลึกเพื่อให้นายตามไม่พบ ในสมัยราชวงศ์บ้านพลู
หลวง (พ.ศ. ๒๒๓๑-๒๓๑๐) ราชส�านักเกณฑ์แรงงานมาเป็นทหารได้ไม่กี่พันคน
กษัตริย์ออกกฎหมายเพื่อปรับปรุงการลงบัญชี ลงโทษนายที่รับสินบน ห้ามไพร่
ขายตัวลงเป็นทาส แฉโพยพระปลอมและสืบหาผู้ที่แอบไปอยู่ภายใต้การปกป้อง
ของขุนนาง การออกกฎหมายดังกล่าวครั้งแล้วครั้งเล่า บ่งชี้ถึงว่าระบบเกณฑ์
แรงงานเริ่มใช้ไม่ได้ผลมากขึ้นทุกที
“ขุนนาง” ก็มีการเปลี่ยนแปลงในสมัยนี้ เมื่อครั้งที่สงครามชุกชุมนั้น
บางคนที่มีฝีมือเป็นนักรบอาจจะไต่บันไดสังคมเขยิบฐานะของตนเองได้หากรบ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ภาพที่ ๒ ริม ังแม่น�้ำ กรุงศรีอยุธยำสมัยพระเพทรำชำ
(สมุดรำยวันของเอนเยลเบิร์ต แกมป์เฟอร์ Engelbert Kaempfer)

ชนะ เมื่อลู่ทางดังกล่าวลดความส�าคัญลง ยังมีอีกสองช่องทาง ทางหนึ่งคือได้


ท�างานกับ “พระคลัง” ซึ่งดูแลการค้าต่างแดน หลายต�าแหน่งนั้นกษัตริย์จ้าง
คนต่างชาติ เพราะพวกเขามีความช�านาญเฉพาะ และเพราะว่าควบคุมได้ง่ายกว่า
ดังนั้น ขุนนางไทยที่รับราชการในพระคลังจึงมีจ�านวนน้อยแต่เด่นมาก พวกเขา
ร�่ารวยได้เร็ว มีโอกาสค้าขายกับต่างเมือง และอยู่ในฐานะที่จะเรียกร้อง “ของ
ก�านัล” จากพ่อค้าต่างแดนที่มาอยุธยา
อีกลู่ทางหนึ่งคือผ่านการเมืองของราชส�านัก ซึ่งเกิดขึ้นตลอดเวลา แต่
จะคึกคักสุดขีดในช่วงของการสืบราชสมบัติ ผู้ที่จะขึ้นครองราชย์ต้องเป็นเชื้อ
สายของพระราชวงศ์ และน่าจะเป็นเชื้อสายใกล้ชิดของกษัตริย์องค์ก่อน แต่ก็
ไม่มีกฎหมายสืบราชสมบัติที่ชัดเจนแน่นอน ในทางปฏิบัตินั้น การสืบราชสมบัติ
ส่วนมากเป็นผลของการประลองพละก�าลังกันระหว่างน้องชาย พี่ชาย และบุตร
ชายของกษัตริย์องค์ก่อน ในสมัยสงคราม การประลองพละก�าลังดังกล่าวเป็น
เรื่องเข้าใจได้ และก็ดูมีเหตุผลเพราะว่าเป็นวิธีคัดเลือกกษัตริย์นักรบ แต่มาถึง
สมัยปลอดสงครามหลังแผ่นดินพระนเรศวร การสืบราชสมบัติกลายเป็นการ
แก่งแย่งกัน มิใช่เพียงในบรรดาสมาชิกของพระราชวงศ์ แต่ยังรวมทั้งกลุ่ม
ขุนนางและทหารรักษาพระองค์ผู้ซึ่งสนับสนุนตัวเก็งที่แข่งขันกันขึ้นครองราชย์
ด้วยความหวังให้ตัวเองได้ขยับฐานะ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


การแก่งแย่งกันนี้เริ่มด้วยรบพุ่งกันที่ใจกลางเมืองหลวง และจบลงที่
การก�าจัดขุนนางและสมาชิกของพระราชวงศ์ที่เป็นชายของ ายพ่ายแพ้ ผู้ ึ่ง
อาจจะพยายามแย่งชิงราชบัลลังก์อีกในกาลต่อมา ขุนนาง ึ่งช่วยให้กษัตริย์
ครองราชย์ได้ส�าเร็จจะได้รางวัลเป็นต�าแหน่ง ศ งคาร ทรัพย์สิน ความมั่งคั่ง
และเกียรติยศ
ตระกูลขุนนางใหญ่พยายามที่จะสะสมทรัพย์และชื่อเสียงตลอดหลาย
ชั่วอายุคน ในบริเวณรอบนอกเมืองหลวงนั้น ขุนนางมักจะสืบทอดต�าแหน่ง
ภายในตระกูลเดียวกัน ที่เมืองหลวง ขุนนางใหญ่ถวายลูกชายให้เป็นมหาดเล็ก
เสนอตัวลูกสาวเป็นบาทบริจาริกา และพยายามเลือกอยู่ฝ่ายของราชส�านักข้างที่
จะได้ขึ้นครองราชย์ แต่กษัตริย์จ�ากัดการก่อตัวของตระกูลขุนนางที่มีอ�านาจสูง
โดยเวียนต�าแหน่งไปตามตระกูลต่างๆ ไม่ยอมให้ตระกูลใดตระกูลหนึ่งสืบทอด
ต�าแหน่งส�าคัญได้นาน อีกทั้งเก็บภาษีเมื่อขุนนางตาย และควบคุมขุนนาง
เคร่งครัดเพื่อปองกันไม่ให้สะสมทรัพย์ กษัตริย์มักจะหาเหตุลงโทษเรื่องการ
รับสินบน ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดา ผู้ตกเป็นจ�าเลยจะถูกประหารชีวิตในที่
สาธารณะเพื่อประจานให้ตระกูลเสียหาย หลังจากนั้นจัดสรรเมียและทาสให้
กับขุนนางอื่นๆ และจะเปิดเรือนให้ผู้คนเข้าไปฉกชิงสิ่งของได้ ชาวต่างชาติที่
ไปเยือนอยุธยาตั้งข้อสังเกตว่า ขุนนางผู้ใหญ่อยู่เรือนโอ่อ่าและล้อมรอบไปด้วย
ข้าทาสบริวารจ�านวนมาก แต่มักไม่สะสมสมบัติที่เปิดเผยยึดได้ง่าย เพชรเป็น
ที่นิยมมากเพราะว่าง่ายที่จะเก็บง�าให้มิดชิด
ในสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง ตระกูลขุนนางใหญ่เข้มแข็งขึ้น ส่วนหนึ่ง
เป็นเพราะว่าแบบแผนการค้าเปลี่ยนแปลงไป หลังจากเหตุการณ์วิกฤต พ.ศ.
๒๒๓๑ พ่อค้าอังกฤษและฝรั่งเศสละทิ้งอยุธยา พ่อค้าชาวดัตช์ยังคงอยู่แต่ความ
ใส่ใจอยู่ที่อื่น และท้ายที่สุดก็จากไปเมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๘ อยุธยาหันไปค้ากับจีน
และมลายูทางทิศใต้ จีนต้องการข้าวจากสยามเพื่อเลี้ยงผู้คน จึงให้มีการค้า
แบบอิสระมากขึ้น สยามเป็นแหล่งข้าวที่จีนพอใจ ชาวจีนเดินทางอพยพมา
ตั้งถิ่นฐานที่สยาม จนกลายเป็นชุมชนใหญ่ถึงประมาณ ๒๐ ๐๐๐ คน เมื่อ
พ.ศ. ๒๒๗๘ อย่างน้อยชาวจีน ๒ คนเขยิบฐานะเป็นถึงพระคลัง คนแรกนั้น
บาทหลวงฝรั่งเศสบันทึกว่า “ตั้งเพื่อนชำวจีนของตนให้ได้ต�ำแหน่งส�ำคั มำก
ที่สุด...ผลก็คือชำวจีนข ะนี้ท�ำกำรค้ำขำยทุกอย่ำงในรำชอำ ำจักร” ๕ จีนบาง
คนแต่งงานกับผู้หญิงชั้นสูง บางคนค้าข้าว ผลิตก๋วยเตี๋ยว สุรา และเลี้ยงหมู
เศรษฐกิจตลาดคึกคักขึ้นในบริเวณรอบๆ เมืองหลวง ตลาดหลายแห่งที่อยุธยา

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
คลาคล�่าไปด้วยเรือขนส่งผลผลิตจากลุ่มน�้าเจ้าพระยา ราชส�านักเพิ่มจ�านวน
เหรียญตราที่ใช้กัน ออกกฎหมายก�ากับสัญญาการค้า เชื้อเชิญเจ้าภาษีนายอากร
ให้ประมูลเก็บภาษี ที่ดินมีราคาซื้อขายกัน สินค้าน�าเข้า เช่น ผ้า เครื่องปั้น
ดินเผา เครื่องแก้ว สินค้าเหล็ก มีคนต้องการมาก
การปล้นสะดมเพิ่มขึ้น จึงเกิด “ไพร่มั่งมี” คือไพร่ร�่ารวยก่อตัวขึ้น
ติดสินบนขุนนางเพื่อให้ได้ต�าแหน่งและยศถาบรรดาศักดิ์อยู่เนืองๆ ที่เมือง
หลวง การค้าท�าให้ขุนนางร�่ารวยและมีอ�านาจมากขึ้น จึงเริ่มสั่นคลอนระเบียบ
สังคมที่กษัตริย์เคยควบคุมได้
การท�าสงครามเพื่อสืบราชสมบัติเกิดขึ้นน้อยลง และมักจะจ�ากัดอยู่ใน
กลุ่มพระราชวงศ์ ดังนั้น ขุนนางจึงไม่เสียหายมาก ตระกูลใหญ่ไม่กี่ตระกูล
มีโอกาสสะสมไพร่และทรัพย์สินหลายชั่วอายุคน บ้างก็เป็นครอบครัวท้องถิ่น
บ้างก็มาจากตระกูลพราหมณ์ที่เชี่ยวชาญด้านพิธีกรรมในราชส�านัก บ้างเป็นตระ
กูลนักรบเชื้อสายมอญซึ่งลี้ภัยมา นอกจากนั้นยังมีตระกูลพ่อค้า ชาวเปอร์เซีย
และจีน ทีละน้อยๆ ตระกูลอภิสิทธิ์ชนเริ่มแสวงหามิเพียงแต่ความก้าวหน้าของ
พวกเขา แต่ยังพยายามจ�ากัดอ�านาจของกษัตริย์ เมื่อถึงเวลาที่จะแย่งชิงกันสืบ
ราชสมบัติ ขุนนางที่ต่างจังหวัดบางคนเป็นขบถ แต่ไม่มีใครคุกคามเมืองหลวง
ได้จริงๆ กลุ่มชาวนาที่อยู่ไกลปืนเที่ยงและอ�านาจรัฐบางทีก็รวมตัวกัน แล้ว
เคลื่อนขบวนเข้าโจมตีเมืองหลวงแต่ก็จะสู้ปืนใหญ่ไม่ได้ การต่อต้านอ� านาจ
กษัตริย์ที่ไม่โจ่งแจ้งก็มี เห็นได้จากวิถีปฏิบัติทางพุทธศาสนา

พุท ศาสนา ละส าบันกษัตริย์


พุทธศาสนาเถรวาทต่างจากพุทธศาสนานิกายอื่นๆ ตรงที่ให้ความส�าคัญ
กับพระสงฆ์และวัตรปฏิบัติ หน้าที่ของพระสงฆ์นั้นเพื่อปกปักรักษาธรรมะ
หรือค�าสั่งสอนของพระพุทธเจ้าโดยถือวินัยเคร่งครัด พระสงฆ์บางรูปศึกษา
พระคัมภีร์ รักษาไว้โดยลอกพระคัมภีร์ครั้งแล้วครั้งเล่า และสั่งสอนฆราวาส
ตามพระคัมภีร์นั้น พระบางรูปสอนโดยปฏิบัติเสมือนที่พระพุทธเจ้าด�าเนินชีวิต
เพื่อให้เป็นตัวอย่างกับผู้อื่น พร้อมทั้งเข้าใจโลกอย่างลึกซึ้งด้วยการถือสันโดษ
และท�าสมาธิ หน้าที่ของฆราวาสซึ่งรวมทั้งเจ้าผู้ปกครองนั้นคือ ค�้าจุนพระสงฆ์
ด้วยการอุปถัมภ์และปกปักรักษาศาสนา

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ศาสนาพุทธแนวเถรวาทได้รับการยอมรับและแพร่ขยายอย่างรวดเร็ว
ในบริเวณที่ราบลุ่มเจ้าพระยาก็ด้วยเหตุผลเดียวกับที่อื่นๆ กล่าวคือ หลักการ
เปดกว้างและหลักการความเท่าเทียมกันของศาสนาพุทธนิกายนี้สอดคล้องกับ
รสนิยมของสังคมเมือง เช่น ชายทุกคนมีโอกาสที่จะบวชพระได้ ฆราวาสทุกคน
มีโอกาสที่จะอุปถัมภ์ค�้าจุนศาสนา และเข้าถึงการหลุดพ้นจากโลกียวัตถุในโลก
ปัจจุบันได้ (นิพพาน)
ในทางปฏิบัติ เถรวาทแท้ๆ นั้นปะปนอยู่กับวิถีปฏิบัติของศาสนาอื่นๆ
่ึงรวมทั้งการบวงสรวงเทวรูป ินดู ความเชื่อเกี่ยวกับอิทธิ ทธิของผี โดยเฉพาะ
อ�านาจที่จะท�านายล่วงหน้าและส่งอิทธิพลสู่อนาคต
เจ้าที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประทับใจกับเทพเจ้าฮินดู เพราะว่าเจ้าโยง
อ�านาจของตัวเองกับอ�านาจของเทพเจ้าฮินดูได้ (พระนารายณ์ พระศิวะ) ตาม
ตัวอย่างที่เห็นได้ที่นครวัด ดังนั้น กษัตริย์อยุธยาจึงรับพราหมณ์เข้ามาช่วย
วางแผนและประกอบพิธีกรรมในวัง แต่ที่สยามลัทธิฮินดูก็ไม่ได้รับความนิยม
จนมีคนนับถือกันอย่างกว้างขวาง สิ่งที่เกิดขึ้นคือเทพเจ้าฮินดูกลายเป็นสาวก
ของพระพุทธเจ้า และได้รับการยอมรับเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เสมือนผีมีอิทธิฤทธิ์ของ
ท้องถิ่น (เช่น นิยมให้สิงสถิตอยู่ในศาลพระภูมิ) ดังนั้น พิธีกรรมที่พราหมณ์
ประกอบกิจในรั้วในวังจึงไม่ได้แผ่ขยายออกไปไกลเกินเขตรั้ววังมากนัก (ยกเว้น
ในการตั้งศาลพระภูมิ)
นอกจากนั้น เจ้าเห็นช่องที่จะยึดโยงเอาอิทธิฤทธิ์เหนือธรรมชาติของ
ผีสางเทวดา หรือสิ่งปาฏิหาริย์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีปฏิบัติในพุทธศาสนา
เจ้ายึดโยงตัวเองกับอ�านาจอิทธิฤทธิ์ของผีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในท้องถิ่น พระพุทธ
รูปศักดิ์สิทธิ์ ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ แม่น�้าศักดิ์สิทธิ์ ช้างเผือก พระธาตุของพระพุทธ
เจ้าที่ฝังอยู่ในเจดีย์ และฤ ษีรักสันโดษ อย่างไรก็ตาม การยึดโยงดังกล่าวนั้น
จะต้องได้รับความเห็นชอบจากพระสงฆ์ ดังนั้น เจ้าและสถาบันสงฆ์จึงต่อรอง
กันในเรื่องที่ว่าฝ่ายใดจะมีบทบาทเป็นผู้นา� ด้านจิตวิญญาณและเป็นผู้น�าทางการ
เมือง สถาบันสงฆ์ต้องมีเจ้าคุ้มครองและอุปถัมภ์ และเพื่อเป็นการตอบแทน
เจ้าอาจจะเรียกร้องอ�านาจด้านการบริหารเหนือพระสงฆ์ รวมทั้งเรียกร้องให้
สถาบันสงฆ์ยอมรับบทบาทด้านการปกครองของเจ้า สถาบันสงฆ์ก็จะต่อรอง
กับเจ้าให้ปกครองโดยเห็นแก่ประโยชน์ของผู้คน ทั้งจากมิติทางด้านวัตถุและ
ด้านจิตวิญญาณด้วย เป็นการตอบแทนการยอมรับอ�านาจของเจ้า

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
สมัยที่มีการรบพุ่งอยู่ตลอดเวลา พระสง ์วิจารณ์เจ้าในกรณีที่เรียก
เก็บภาษีสูง เกณ ์ผู้คนไปท�าสงครามแม้แต่ในช่วง ดูท�านา ฉุดฉวยผู้หญิง
หรือยึดทรัพย์สินไปตามใจชอบ ่าสัตว์เพื่อความสนุก ดื่มสุราเมามาย หรือ
ไม่ก็มีพ ติกรรมเลวร้ายเป็นตัวอย่างไม่ดีให้กับ ราวาส ส�านักสงฆ์ใหญ่บาง
แห่งบันทึกพงศาวดารมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์เจ้าเป็นรายๆ ไป และเขียนสดุดี
เจ้าที่ปกป้องเมืองจากผู้รุกรานด้วยความเชี่ยวชาญ ปกครองประชาชนด้วยความ
เที่ยงธรรม มีความเมตตากรุณาเห็นอกเห็นใจ และแน่นอนว่าให้ความค�้ าจุน
พระพุทธศาสนาและพระสงฆ์ ผลของกระบวนการต่อรองที่ละเอียดอ่อนดัง
กล่าวจึงเกิดหลักการ “ธรรมราชา” คือเจ้าที่ปกครองตามหลักธรรมหรือค�าสอน
ของพระพุทธเจ้า ตามแบบอย่างของจักรพรรดิอินเดียคือพระเจ้ำอโศกมหำรำช
ในพงศาวดารไทย ตัวแบบธรรมราชาคือ “เจ้า” ของสมัยสุโขทัย โดยกษัตริย์
องค์ท้ายๆ ใช้ธรรมราชาเป็นชือ่ ของพระองค์
หลังราวๆ ปี พ.ศ. ๒๑๕๐ พุทธศาสนาแนวเถรวาทได้รับความนิยมสูง
มีการสร้างวัดใหม่ๆ เป็นจ�านวนมาก ทั้งนี้อาจเกี่ยวเนื่องกับที่การค้าขยายตัว

ภาพที่ ๓ พระสง ์เดินทำงไปลังกำ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


และชนชั้นสูงเป็นอิสระมากขึ้น มีการขยายวิหารให้กว้างใหญ่ขึ้นเพื่อให้รับคน
ได้มาก เจ้าลงทุนในโครงการต่างๆ เหล่านี้ แต่ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนของขุน
นาง กษัตริย์อุปถัมภ์พราหมณ์มากกว่าพุทธ พระนารายณ์ทรงสร้างหรือซ่อม
วัดไม่กี่วัด ไม่ค่อยทรงออกงานพิธีกรรมของพุทธ และดูเหมือนว่าราชส� านักจะ
เต็มไปด้วยขุนนางมุสลิมและคริสเตียน วิกฤตใน พ.ศ. ๒๒๓๑ พระสงฆ์จัดตั้ง
ฆราวาสให้จับอาวุธเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อสายของพระนารายณ์เป็นกษัตริย์องค์
ต่อไป
กษัตริย์ที่สืบต่อจากพระนารายณ์ไม่ได้เป็นสมาชิกของพระราชวงศ์ แต่
ได้รับการยอมรับจากพวกขุนนาง กษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงลดการอุปถัมภ์
พราหมณ์ แต่ค�้าจุนพระสงฆ์เพิ่มขึ้นมากอย่างชัดเจน พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
(พ.ศ. ๒๒๗๖-๒๓๐๑) และขุนนางในสมัยของพระองค์ สร้างและซ่อมวัดเป็น
จ�านวนมากเสียจนภูมิทัศน์เหนือขอบฟ้าของอยุธยาเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ทรง
ถือวัตรปฏิบัติตามแนวพุทธอย่างเคร่งครัดจนทรงได้รับสมญาว่า “พระธรรม
รำชำ” พระเกียรติคุณเลื่องลือไปถึงศรีลังกาถิ่นก�าเนิดของพุทธเถรวาท โดย
ศรีลังกาได้ส่งคณะสงฆ์มาขอให้อยุธยาส่งพระสงฆ์ไปช่วยฟื้นฟูสถาบันสงฆ์เถร
วาทที่เสื่อมถอยที่ศรีลังกาเสียใหม่
ขุนนางชื่นชูพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แต่ก็แสวงหาอ�านาจที่จะมาก�ากับ
พระมหากษัตริย์ด้วย พวกเขารับเอาอัคคัญญสูตร คัมภีร์ศาสนาพุทธสมัย
แรกๆ ที่บอกว่ากษัตริย์มีวิวัฒนาการมาจากครั้งที่สังคมไร้กฎเกณฑ์บังคับให้
ผู้คนรวมตัวกัน “เลือก” คนที่ดีที่สุดเป็นกษัตริย์ ในประวัติของสมัยอยุธยา
ตอนปลายที่ขุนนางเขียนขึ้นนั้น กล่าวถึงว่าการสืบราชสันตติวงศ์ทุกครั้งนั้น ที่
ประชุมของขุนนางเป็นผู้เลือกกษัตริย์ แต่นี่ก็เป็นเพียงการจารึกตามความมุ่ง
หวังมากกว่าจากความจริง ทั้งขุนนางและพระสงฆ์ต่างเน้นว่า กษัตริย์จะต้อง
พิสูจน์ตัวเองอยู่เสมอว่า ดีที่สุดที่จะเป็นผู้ปกครองด้วยการกระท�าตามหลัก
ทศพิธ ราชธรรม คือ จริย วัต รที่พ ระเจ้ า แผ่ น ดิน ควรประพฤติเ ป็ น หลัก ธรรม
ประจ�าพระองค์ หรือคุณธรรมผู้ปกครองเมืองมี ๑๐ ประการ ได้แก่ ทาน ศีล
บริจาค อาชวะ มัทวะ ตบะ อักโกธะ อวิหิงสา ขันติ อวิโรธนะ
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา ึ่งคงจะเขียนในสมัยนี้นั้นท�านาย
ไว้ว่า เมืองจะล่มถ้าหากไม่มีการยึดถือหลักธรรมดังกล่าว

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ด้วยพระมหำกษัตริย์มิได้ทรงทศพิธรำชธรรม์ จึงเกิดเข็ เป็นมหัศจรรย์สิบหกประกำร
คือเดือนดำวดินฟำจะอำเพศ อุบัติเหตุเกิดทั่วทุกทิศำน
มหำเม จะลุกเป็นเพลิงกำ เกิดนิมิตพิสดำรทุกบ้ำนเมือง
-----
กระเบื้องจะเฟองฟูลอย น�้ำเต้ำอันลอยนั้นจะถอยจม
-----
กรุงศรีอยุธยำเขษมสุข แสนสนุกยิ่งล�้ำเมืองสวรรค์
จะเป็นเมืองแพศยำอำธรรม์ นับวันจะเสื่อมสู เอย

เสียกรุง

และแล้วใน พ.ศ. ๒๓๑๐ อยุธยาถูกโจมตีจนเสียเมืองให้กับพม่าเป็น


ครั้งที่ ๒ ความหายนะรุนแรงมากจนในงานประวัติศาสตร์ต่อๆ มาให้ภาพว่า
พม่าเป็นผู้รุกรานสยามโดยตลอด และการป้องกันเมืองไทยจากการรุกรานของ
พม่า จึงเป็นสาระหลักของประวัติศาสตร์ไทย อันที่จริงนั้นการสงครามก่อน
หน้านี้ซึ่งจบลงเมื่อราวๆ พ.ศ. ๒๑๕๐ ได้น�าความสงบมาสู่ภูมิภาค เนื่องจากมี
การแบ่งอ�านาจกันลงตัว คือพม่ามีอิทธิพลอยู่เหนือดินแดนด้านในจากอังวะไป
ถึงรัฐไทยใหญ่ ล้านนา ล้านช้าง และสิบสองปันนา ส�าหรับอยุธยามีอ�านาจ
ครอบคลุมเขตชายฝั่งจากด้านคอขวานของแหลมทองไปจรดทิศตะวันออกที่
เขมร สงครามเป็นการกระทบกระทั่งกันเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น แทบจะไม่มีความ
ขัดแย้งระหว่างสยามและพม่าเป็นเวลาถึง ๑๕๐ ปี
การที่พม่าเข้าโจมตีเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ เป็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ทั้งนี้
เป็นเพราะพระราชวงศ์ใหม่ที่พม่ามีความทะเยอทะยาน ต้องการแผ่ขยายอิทธิพล
ไปทุกทิศทาง แรงจูงใจคือหวังที่จะเข้าควบคุมบริเวณด้ามขวานทอง แต่ใน
ครั้งนี้ต่างจากครั้งก่อนๆ ตรงที่อังวะต้องการก�าจัดอยุธยาออกไปจากสารบบ
ของเมืองคู่แข่งเลยทีเดียว
ในช่วงปลอดสงครามเมื่อ ๑๕๐ ปก่อนหน้านั้น อยุธยาร�่ารวยขึ้นและ
พัฒนาเป็นสังคมเมืองที่จัดเจนมากขึ้น วัฒนธรรมมวลชนก่อตัวขึ้นในรูปของ
เพลงยาว ละคร และมหรสพตามวัด แม้แต่กวีหลวงก็เขียนนิราศและเรื่อง

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ราวเกี่ยวกับความรักมากกว่าจะเขียนเกี่ยวกับชัยชนะของสงครามและเรื่องเกิน
จริงของพระราชวงศ์ คนธรรมดาทั่วๆ ไปด�าเนินชีวิตประจ�าวันได้โดยไม่ต้อง
บังคับเกณ ์ไปท�าสงคราม และอุดมการณ์เรื่องความจงรักภักดียังไม่ลงหลัก
ปักฐาน
เมื่อกองทัพพม่ารุกเข้ามา ชาวอยุธยาหลีกเลี่ยงที่จะถูกเกณฑ์ไปเป็น
ทหารโดยติดสินบนมูลนาย บ้างก็หนีเข้าไปอยู่ในป่าลึกห่างไกลจากเส้นทางของ
กองทัพ เจ้าเมืองที่อยุธยาขอให้ช่วยเหลือนั้นมีไม่กี่แห่งที่ส่งทหารมา เมืองต่างๆ
ที่อยู่ตามทางที่พม่าเดินทัพสู่อยุธยามุ่งปกป้องตนเองก่อนอื่น และส่วนมากก็
ยอมจ�านนกับพม่าเพื่อหลีกเลี่ยงหายนะ บางกลุ่มบางพวกถูกกวาดต้อนเป็น
เชลยรวมไปกับกองทัพพม่า บางพวกเข้าร่วมกับพม่าเสียเลยเพื่อหาประโยชน์ที่
จะได้ฉกฉวยทรัพย์สิน ขุนนางอยุธยาพยายามที่จะต่อรองกับพม่าโดยอ้างถึง
มนุษยธรรมตามหลักศาสนาพุทธซึ่งพวกเขาได้เคยพยายามใช้ก�ากับพฤติกรรม
ของกษัตริย์สยาม

เปรียบเหมือนหนึ่งช้างสารที่สู้กัน บรรดาพืชพรรณไม้แล
ใบหญ้าที่เกิดขึ้นตามพื้นแผ่นดินก็มีแต่จะแหลกละเอียดย่อยยับไป
...เพราะฉะนั้นให้ท่านทูลเจ้านายของท่านให้ยอมท�าไมตรีเป็นทอง
แผ่นเดียวกันเสีย... เท่ากับ ว่าพระเจ้าแผ่นดินทั้งสองประเทศมี
พระทัยประกอบด้วยพระกรุณาไพร่ฟ้าประชาชนมิให้เดือดร้อน๖

กษัตริย์อยุธยาตระหนักดีว่าไม่สามารถเกณฑ์ทหารได้พอเพียง จึงได้
สร้างก�าแพงให้สูงขึ้น ขยายคูเมืองให้กว้างขึ้น และซื้อปืนประเภทต่างๆ เป็น
จ�านวนมาก จนพม่าเองงวยงงไปเมื่อพบปืนเหล่านี้สะสมอยู่ในคลังสรรพาวุธ
หลังกรุงแตก ยุทธศาสตร์ป้องกันเมืองดังที่ว่ามานี้ ยันศัตรูไว้ได้เพียงฤดูกาล
เดียวเท่านั้น ระหว่างที่รอให้น�้าหลากจากลมมรสุมประจ�าปี เพื่อสลายการโอบ
ล้อมซุ่มโจมตี
แต่พม่ายกทัพมาถึง ๓ ทัพ รวมกันแล้วจึงเป็นกองทัพที่ใหญ่มากกว่า
ครั้งใดๆ ในประวัติศาสตร์ช่วงนั้น กองทัพพม่าตั้งค่ายนอกเมืองอยุธยาใน
บริเวณวัดที่สร้างอยู่บนเนิน จึงตั้งมั่นอยู่ได้กว่า ๒ ปีแม้จะมีปัญหาน�้ าท่วม
ดังนั้น ข้าวปลาอาหารในเมืองจึงร่อยหรอ ท�าให้ผู้คนจ�านวนมากหลีกหนีออก

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ไปแบบเงียบๆ ก�าแพงเมืองพังทลายลงเมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๓๑๐ พงศาว
ดารพม่าจารึกว่า “ดังนั้นเมืองจึงถูกท�ำลำย” ๗
เปาหมายของพม่านั้นไม่ต้องการบังคับให้อยุธยาเป็นประเทศราชส่ง
บรรณาการ แต่ต้องการก�าจัดไม่ให้เป็นคู่แข่ง การท�าลายนั้นจึงมุ่งไปที่ทุกสิ่ง
ไม่ใช่แต่เพียงถาวรวัตถุ แต่รวมถึงผู้คน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ และต�ารา
ต่างๆ อะไรที่เคลื่อนย้ายได้ก็จะเอาไปไว้ที่อังวะ ซึ่งการกวาดต้อนและยึดของ
ทั้งหลายนั้นรวมทั้งกลุ่มขุนนาง ช่างฝีมือ พระพุทธรูป หนังสือ ต� ารา และอาวุธ
ตามที่มีจารึกไว้นั้น กวาดสมาชิกพระราชวงศ์ไปถึงสองพันคน อะไรที่เอาไป
ไม่ได้ก็ท�าลายเสียสิ้น พังก�าแพงและระเบิดคลังสรรพาวุธเสียราบเรียบ วังและ
วัดที่เคยเป็นสัญลักษณ์ของอยุธยาในฐานะเป็นศูนย์กลางของกษัตริย์และศาสนา
ถูกท�าลายจนเหลือเพียงเถ้าถ่าน๘
การสู้รบด�าเนินต่อไปกว่า ๔๐ ปี บริเวณรอบๆ อยุธยาแทบจะปลอด
ผู้คนอย่างสิ้นเชิง การโจมตีนั้นเริ่มแรกมาทางล้านนา ระหว่างทางก็จับเชลย
เผาเอาทอง และหาเสบียงกรัง นอกจากนั้น การโจมตีของพม่าใน พ.ศ. ๒๓๑๕
๒๓๑๗ และ ๒๓๑๙ สร้างความหายนะแก่ล้านนามากเสียจนเชียงใหม่ถูกทิ้ง
เป็นเมืองร้าง และบริเวณกว้างด้านทิศเหนือของเมืองก็มีผู้คนอพยพออกไปเป็น
จ�านวนมาก พ.ศ. ๒๓๒๘-๒๕๒๙ พม่ากลับมาโจมตีอีก คราวนี้น�าทัพมากว่า
หนึ่งแสนคน แบ่งเป็นเก้ากอง (สงครามเก้าทัพ) ด้านเหนือสุดที่เข้ามาคือที่ล้านนา
ด้านใต้สุดที่เข้ามาคือระนอง ทัพผ่านไปที่ใดก็สร้างความหายนะเป็นบริเวณ
กว้างขวาง พิษณุโลกและหัวเมืองเหนืออื่นๆ ถูกทิ้งร้าง
ท้ายที่สุดพม่าถูกไล่ออกไปจากล้านนาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๕ ถึง ๒๓๔๗
แต่เชียงใหม่ถูกท�าลายจนมีสถานะเพียงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง และบริเวณภาคเหนือ
นี้ก็ไม่ได้มีผู้คนกลับมาอาศัยอยู่ดังเดิมจนถึงทศวรรษ ๒๔๑๐ ทางใต้นั้นการ
รบพุ่งกับพม่าเป็นครั้งคราวด�าเนินไปจนถึง พ.ศ. ๒๓๖๒ ฝรั่งผู้มาเยือนนคร
ศรีธรรมราชคนแรกใน พ.ศ. ๒๓๖๙ บอกว่า เมืองนี้ “ดูเสมือนจะไม่ได้ฟ น”
จากสงครามกับพม่าเลย และ “มีคนน้อยมำก กำรค้ำก็ไม่ค่อยมี ทรัพยำกรต่ำง
ก็ไม่ค่อยมีเสียเลย” ๙ แม้กระทั่งที่เมืองส�าคัญที่ราบลุ่มเจ้าพระยา เช่น ราชบุรี
ซึ่งถูกเผาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ นั้นก็ยังคงเป็นเมืองร้างอยู่จนถึง พ.ศ. ๒๓๔๓ บาง
ส่วนยังถูกทิ้งร้างอยู่จนถึงทศวรรษ ๒๔๒๐

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


70

60

50
ประชากร (ล้าน)

40

30

20

10

0
2343
2353
2363
2373
2383
2393
2403
2413
2423
2433
2443
2453
2463
2473
2483
2493
2503
2513
2523
2533
2543
2553
แผนภาพที่ ๑ ประมำ กำรประชำกรภำยในพรมแดนประเทศไทยสมัยใหม่
หมำยเหตุ : ประมำ กำรจ�ำนวนประชำกรสมัยต้นรัตนโกสินทร์นนั้ อิงกับ
ข้อมูลใน B. . Terwiel, Through Travellers’ Eyes : An Approach
to Early Nineteenth Century Thai History (Bangkok : E itions
uang Kamol, ) ส�ำหรับจ�ำนวนประชำกรจำกหลัง พ.ศ. ๒๔๔๔
ได้มำจำกส�ำมะโนประชำกรทุกสิบปี

สรุป

ภูมิทัศน์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปัจจุบัน คือภาพนาข้าวผืนใหญ่
ลายตาหมากรุก ไม่ได้บ่งบอกถึงสภาพภูมิศาสตร์ในอดีตแต่อย่างใด ในสมัย
นั้นภูเขาและที่ราบปกคลุมไปด้วยป่าไม้ ในแผ่นดินพระนารายณ์ อยุธยาส่ง
หนังกวางเป็นสินค้าออกถึงปีละประมาณสองแสนแผ่น บ่งบอกถึงความอุดม
สมบูรณ์ของป่าและสัตว์ป่า การตั้งถิ่นฐานของผู้คนกระจัดกระจายไป และอยู่
กันเป็นหย่อมๆ ตามชายฝั่งของระบบแม่น�้า สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประ
ชากรที่อาศัยอยู่ ณ บริเวณที่มาเป็นประเทศไทยในปัจจุบันน่าจะมีอยู่เพียงหนึ่ง
ถึงสองล้านคน (แผนภาพที่ ๑)๑๐ ทางน�้าเป็นเส้นทางคมนาคมที่ดีที่สุด ดังนั้น
ระบบแม่น�้าจึงเป็นตัวก�าหนดความต่างด้านวัฒนธรรม พุทธศตวรรษที่ ๒๑
ใช้ภาษาไทยกันในบริเวณเจ้าพระยาตอนล่างแล้ว (ใช้กันมานานเท่าไรตรงนี้ไม่

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ชัดเจน) ความมั่งคั่งจากการค้าท�าให้อยุธยาเป็นเมืองส�าคัญของบริเวณนี้ แต่
การตั้ง ถิ่น ฐานที่อ ยู ่ ห ่ า งๆ กัน เป็ น หลัก ฐานบ่ ง บอกว่ า การเมือ งในแถบนี้ก็มี
ลักษณะกระจัดกระจาย กล่าวคือ แต่ละชุมชนใหญ่มีเจ้าผู้ปกครอง พร้อม
ทั้งมีวิถีการเมืองและประเพณีของตนเอง อยุธยาและเมืองคู่แข่งอื่นๆ ขยาย
อิทธิพลโดยชักจูงให้เจ้าเมืองอื่นๆ เข้าสวามิภักดิ์และส่งบรรณาการ ก่อนที่
อยุธยาจะเสียกรุงครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ นั้น อยุธยามีอิทธิพลเหนือเมือง
ต่างๆ ในลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างและมีอิทธิพลแบบหลวมๆ เหนือเจ้าลาวและ
เขมรไปทางตะวันออก และเหนือเมืองท่าตามบริเวณชายฝั่งทะเลไปทางใต้ของ
แหลมทองที่มีทั้งไทย-จีน-มลายูอาศัยอยู่
โครงสร้างสังคมก่อนสมัยใหม่ มีรากฐานอยู่ที่ความสัมพันธ์แบบนาย
กั บ บ่ า ว คื อ ชาวนาขึ้ น กั บ เจ้ า ครองเมื อ งในพื้ น ที่ ทาสขึ้ น กั บ นาย ไพร่ ขึ้ น กั บ
มูลนายซึ่งมีหน้าที่ก�ากับการเกณฑ์แรงงาน ขุนนางชั้นผู้น้อยขึ้นกับผู้อุปถัมภ์
ขุนนางชั้นผู้ใหญ่และเจ้าประเทศราชสวามิภักดิ์กับกษัตริย์ และกษัตริย์ขึ้นกับ
จักรพรรดิจีน แต่ละระดับความสัมพันธ์เหล่านี้ ผู้น้อยต้องให้ของ (เป็นผลผลิต
หรือช่างมีฝีมือ) หรือแรงงานเพื่อตอบแทนที่ได้รับการปกป้องจากภัยผู้รุกราน
ส�าหรับเมืองธรรมดาๆ ล�าดับชั้นของสังคมไม่ซับซ้อนมาก แต่ที่เมืองใหญ่เช่น
อยุธยา กษัตริย์และขุนนางชั้นผู้ใหญ่สะสมทรัพย์ศฤงคารจากการท�าสงคราม
การค้าขาย และสร้างระบบช่วงชั้นสังคมที่ซับซ้อนและลึกซึ้ง

การขยายตัวของการค้าขายในเอเชีย ท�าให้กษัตริย์อยุธยาสะสมความ
มั่งคั่ง สรรพาวุธ ทหารรับจ้าง และช่าง มือต่างๆ รวมทั้งเทคโนโลยีจากยุโรป
เปอร์เ ีย และจีน กษัตริย์สถาปนาอ�านาจให้มั่นคงและส�าแดงให้ได้รับรู้กันใน
ท้องถิ่นผ่านพิธีกรรม และใช้ทหารแผ่ขยายอ�านาจออกไป ึ่งบางครั้งก็ปะทะ
กับกษัตริย์เมืองอื่นที่ท�าเช่นเดียวกัน เช่น กับอังวะ เขมร และเวียดนาม

ช่วงเวลาร้อยปีสุดท้ายของแผ่นดินอยุธยา การขยายตัวของเศรษฐกิจ
พาณิชย์เริ่มกร่อนเซาะพระราชอ�านาจและการทหาร ชนชั้นสูงที่ก่อตัวขึ้นแสวง
หาวิธีปกป้องความมั่งคั่งจากรุ่นตัวไปสู่รุ่นลูกหลานต่อไป คนธรรมดาๆ ต่อต้าน
ที่ต้องท�างานให้กษัตริย์ขุนนางและสละชีวิตเพื่อการสงคราม การที่ศาสนาพุทธ
ได้รับความนิยมสูงขึ้นน่าจะสะท้อนความต้องการมีชีวิตของตนเอง ความกระ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ด้างกระเดื่องต่อระบบศักดินาเดิมส่งผลให้อยุธยาสุ่มเสี่ยงที่จะถูกโจมตีจากพม่า
อย่างไม่คาดคิดใน พ.ศ. ๒๓๑๐ ในระยะสั้น เหตุการณ์นี้ท�าลายการค้าและ
ลดทอนความมั่งคั่ง อีกทั้งน�ากองทัพและวัฒนธรรมทหารสู่ความส�าคัญอีกครั้ง
แต่ในระยะยาว การเสียกรุงครั้งนั้นกลับปูทางไปสู่ความเจริญเติบโตของระบบ
เศรษฐกิจ ตลาด และระบบสังคมใหม่

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
การเปลียนผ่านของระบอบ ังเ ิม
ทศวรรษ ๒๓๒
งทศวรรษ ๒๔
แม้ว่าพระนครศรีอยุธยาจะถูกท�าลายอย่างราบคาบ แต่ระบบการค้าและ
การปกครองแบบดั้งเดิมยังอยู่ในความทรงจ� า ยากที่จะลบเลือนไปได้ เมือง
หลวงแห่ ง ใหม่ ก ่ อ ตั ว ขึ้ น ทางด้ า นใต้ ข องแม่ น�้ า เจ้ า พระยา ณ บริ เ วณธนบุ รี -
กรุงเทพฯ เป็นชัยภูมิที่เหมาะกว่าเพื่อการค้าและป้องกันภัยจากศัตรู ชนชั้นน�า
เก่าถือว่า “กรุงเทพฯ” คืออยุธยาที่ถูกฟื้นฟูขึ้นใหม่ แต่ที่จริงต่างกันมาก ใน
ยุคสงครามครั้งนี้ อิทธิพลของกองทัพสยามขยายขึ้นไปทางเหนือ ใต้ และตะวัน
ออก เป็นอาณาบริเวณกว้างกว่าครั้งใดในอดีต เนื่องจากผู้คนถูกกวาดต้อนจาก
ที่ต่างๆ มาอยู่บริเวณลุ่มน�้าเจ้าพระยา ท�าให้บริเวณนี้คลาคล�่าไปด้วยผู้คนหลาก
หลายเชื้อชาติ ตระกูลขุนนางเก่าซึ่งรอดชีวิตจากสงครามเป็นกลุ่มผู้น�าส�าคัญ ณ
เมืองหลวงแห่งใหม่
ความเปลี่ยนแปลงส�าคัญเป็นเรื่องเศรษฐกิจ การค้ากับจีนที่เฟื่องฟู
เมื่อสมัยอยุธยาตอนปลาย ยังคงด�าเนินต่อไปและยิ่งเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจเพื่อการ
ค้าขยายตัวอย่างรวดเร็ว ณ ที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตลอดลงไปถึงแหลมมลายู โดย
มีผู้ประกอบการและแรงงานชาวจีนเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก ความเติบโตของ
เศรษฐกิจเพื่อการค้าสร้างสังคมใหม่ และได้ท�าให้ทัศนคติและวิธีคิดของชนชั้น
น�าเปลี่ยนไปด้วย ฝรั่งกลับเข้ามาติดต่ออีก และน�าเอาความคิดเรื่อง “ความ
เจริญ” เข้ามา อีกทั้งแรงคุกคามของเจ้าอาณานิคม บ่งบอกแนวโน้มสู่ยุคของ
ความเปลี่ยนแปลง

จากอยุ ยา งกรุงเทพ
หลังเสียกรุงครั้งที่ ๒ ได้ไม่นาน กลุ่มก๊วนใหม่ๆ หลายกลุ่มก่อตัวขึ้น
พระเจ้าตากสินพุ่งขึ้นเป็นผู้น�าที่เข้มแข็งที่สุด ก�าเนิดของพระเจ้าตากสินมีความ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
คลุมเครือ น่าจะเป็นบุตรชายของจีนอพยพเชื้อสายแต้จิ๋ว มีอาชีพเป็นนักพนัน
หรือไม่ก็พ่อค้า มีพระมารดาเป็นคนไทย พระเจ้าตากสินคงจะมีอาชีพเป็นนาย
เกวียนค้าขายตามหัวเมือง แล้วติดสินบนข้าราชการจนได้เป็นเจ้าเมืองตากไกล
โพ้น ไม่ได้มาจากตระกูลเจ้าที่มีสิทธิเป็นผู้ปกครอง แต่เป็นผู้น�ามีพรสวรรค์ดึง
ดูดใจคนจ�านวนมากได้ ทรงรวบรวมสมัครพรรคพวกจากบรรดาพ่อค้าจีน นัก
เสี่ยงโชค และขุนนางระดับล่าง แล้วจึงตั้งเมืองหลวงใหม่ที่ “ธนบุรี” เป็นบริเวณ
ล้อมรอบด้วยบึงแต่เหมาะส�าหรับการป้องกันตัวจากศัตรู และยังอยู่ตรงกันข้าม
กับชุมชนจีนที่ท�าการค้ามานานที่บางกอก ทรงใช้เส้นสายกับพ่อค้าจีนน� าเข้า
ข้าวเพื่อประทังชีวิตในบริเวณที่เสียหายมากๆ และเริ่มฟื้นฟูการค้าเพื่อหาราย
ได้เข้าคลัง ทรงน�าเอาประเพณีกษัตริย์ชายชาตินักรบและสังคมทหารกลับมา
โปรดให้สักข้อมือชายที่ถูกเกณฑ์ และทรงเข้าร่วมท�าสงครามในฐานะเป็นแม่ทัพ
พระเจ้าตากสินเป็นผู้น�ามีพรสวรรค์เฉพาะตัว เปดเผยในท�านองเดียว
กับผู้น�าแบบผู้มีบุญ ึ่งเคยก่อการกบฏที่อยุธยาแต่ก่อนเก่า นับว่าแตกต่างจาก
ระบบกษัตริย์ที่ล้อมรอบไปด้วยพิธีกรรมและความลี้ลับสมัยอยุธยาตอนปลาย
อย่างสิ้นเชิง
เมื่อการรบพุ่งเบาบางลง ผู้คนเริ่มกลับมาด�าเนินชีวิตปกติ ตระกูล
ขุนนางที่รอดมาได้นั้น มีเพียงไม่กี่รายพร้อมที่จะรับใช้ผู้ปกครองใหม่ซึ่งไม่ได้
มาจากวงศ์เจ้า ต่อมาพวกเขาถูกกีดกันออกไป เพราะว่าพระเจ้าตากสินถูก
ห้อมล้อมด้วยนักเสี่ยงโชค นักรบ ซึ่งต่างได้รับบ�าเหน็จความชอบที่ได้ช่วยเหลือ
พระองค์มาตั้งแต่ต้นให้ได้ต�าแหน่งสูงทั้งที่เมืองหลวงและที่หัวเมือง ข้อยกเว้น
ก็พอมี เช่น “นำยบุ มำ” ที่มาจากตระกูลขุนนางมอญเก่า ต่อมาบุญมาน�าพี่ชาย
คือ “นำยทองด้วง” เข้ามารับราชการด้วย พี่น้องทั้งสองกลายเป็นแม่ทัพเอก
ของพระเจ้าตากสิน ตระกูลขุนนางเก่าอื่นๆ ยอมรับนายทองด้วงเป็นผู้น�าของ
กลุ่ม แต่พวกเขาไม่พอใจที่ถูกกีดกันออกไปจากต�าแหน่งส�าคัญ อีกทั้งไม่ค่อย
จะยอมรับพระเจ้าตากสินเพราะว่าทรงมีพื้นเพเป็นสามัญชน มีนักเสี่ยงโชคเป็น
พวก และปฏิบัติตนแตกต่างจากระบบเจ้าที่พวกเขาเคยคุ้นเคย พวกเขารับไม่
ได้ เมื่อพระเจ้าตากสินทรงอ้างว่ามีอ�านาจอภินิหาร และทรงยกย่องพระองค์
เองเหนือกว่าพระสงฆ์ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ ขุนนางเก่าเหล่านี้ก่อการ
รัฐประหารและปลงพระชนม์พระเจ้าตากสิน ด้วยเหตุผลที่ว่าทรงเสียพระสติ
ต่อจากนั้นได้ก�าจัดพระญาติและผู้สนับสนุน แล้วจึงสถาปนานายทองด้วงเป็น
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอด าจุ าโลก แห่งราชวงศ์จักรี ซึ่งค�าว่า “จักรี”

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


มาจากราชทินนามของนายทองด้วงในสมัยก่อนหน้า
ราชวงศ์ใหม่หันกลับไปเลียนแบบประเพณีอยุธยา อันเป็นปฏิกิริยากับ
สมัยของพระเจ้าตากสินที่ถูกมองว่า “ผิดบูรำ รำชประเพ ี” ๑ พระพุทธยอด
ฟ้าจุฬาโลกทรงย้ายเมืองหลวงจากที่เดิมไปฝั่งตรงข้ามแม่น�้าที่กรุงเทพฯ สร้าง
เลียนแบบแผนที่ของอยุธยาซึ่งอยู่บนเกาะเกิดจากการตัดคลองตรงคอคอด
บริเวณคุ้งแม่น�้า ค�าว่า “อยุธยา” อยู่ในชื่อเมืองหลวงใหม่ด้วย ากอิฐจากวัด
และวังส�าคัญๆ ที่อยุธยาก็ถูกน�ามาใช้สร้างพระราชวังใหม่ที่กรุงเทพฯ โปรด
ให้สรรหาเอกสารงานเขียนที่หลงเหลืออยู่มาเรียบเรียงช�าระใหม่ ทั้งกฎหมาย
พงศาวดาร พระคัมภีร์ศาสนา และต� าราเกี่ยวกับแง่มุมต่างๆ ของระบบการ
ปกครอง พิธีราชาภิเษกของพระองค์ถูกเลื่อนไปจนกระทั่งแน่ใจว่าสามารถท� า
ได้เหมือนกับของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
แต่การ น ูทุกอย่างเพื่อให้เหมือนที่อยุธยานั้นฉาบฉวย ลึกลงไปคือ
ความเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายมหาศาล

การ ผ่ขยาย ิน น
สังคมทหารที่ก่อตัวขึ้นมาใหม่ เริ่มแรกเป็นไปเพื่อปกป้องตนเอง แต่
ผลที่ตามมาคือกรุงเทพฯ แผ่ขยายอิทธิพลเหนือดินแดนอื่นๆ เป็นอาณาบริเวณ
กว้างไกลกว่าที่เคยเป็นมา
ทางด้านทิศเหนือและใต้ ทัพสยามปราบปรามเมืองต่างๆ ซึง่ ระส�่าระสาย
เพราะพม่ารุกราน และสยบให้เป็นเมืองประเทศราชส่งบรรณาการแก่กรุงเทพฯ
หลังจากนั้นจึงมุ่งแผ่ขยายอิทธิพลไปทางด้านทิศตะวันออก
ก่อนเสียกรุง อยุธยาเป็นเจ้าประเทศราชเหนือเมืองท่าต่างๆ ที่แหลม
มลายู แต่ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับเมืองท่าเหล่านี้ก็เป็นไปแบบหลวมๆ
เท่านั้น นับจากกลางสมัยอยุธยา (คริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ ราวๆ สมัยพระมหา
จักรพรรดิ) มานั้น บริเวณทางใต้มีผู้คนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และทวีความส�าคัญขึ้น
ชาวมาเลย์ที่เคยอยู่ตามเกาะต่างๆ อพยพหนีชาวดัตช์เข้ามาตั้งหลักแหล่งที่
แหลมมลายูมากขึ้น พ่อค้าจีนที่ไม่พอใจการควบคุมการค้าที่จีนก็เข้ามาตั้งหลัก
แหล่งตามเมืองท่า ท�าให้การผลิต “ดีบุก” และการปลูก “พริกไทย” ขยายตัวได้
อยุธยาจึงเริ่มใส่ใจที่จะเข้าควบคุมแหลมมลายูและทรัพยากรมีค่าเหล่านี้ โดย

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ใช้นครศรีธรรมราชให้เป็นเมืองหน้าด่าน และส่งกองเรือลงไปก�ากับดูแล แต่
ก็ไม่ได้ประสบความส�าเร็จเท่าที่หวัง หลังจากเสียกรุงแล้ว ทั้งพระเจ้าตากสิน
และพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกส่งกองทัพลงใต้ เจ้าเมืองใต้ให้การต้อนรับอย่าง
อบอุ่น สยามจึงสถาปนาอิทธิพลเหนือเมืองต่างๆ ไปถึง “เคดาห์” (ไทรบุรี) และ
“ตรังกานู”
ความพยายามขับไล่พม่าออกไปยังท�าให้สยามแผ่ขยายอิทธิพลไปกว้าง
ไกลกว่าเดิมในบริเวณทางด้านเหนือและด้านทิศตะวันออก เชียงใหม่ตกเป็น
เมืองขึ้นของพม่าตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๐๑ ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๑๓-๒๓๔๗ พระเจ้า
ตากสินและพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ช่วยให้เจ้ากาวิละ ขับไล่พม่าออกไป
และสถาปนาเชียงใหม่ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เจ้าที่ครองเชียงใหม่หลังจากที่เจ้ากาวิละ
ถึงแก่พิราลัย ยังส่งบรรณาการให้กรุงเทพฯ แม้ว่าจะไม่พอใจนัก พระเจ้า
ตากสินโจมตีได้เมืองเวียงจันทน์ แล้วจับราชบุตรของเจ้าลาวลงมาเป็นตัวประกัน
ที่กรุงเทพฯ ทั้งยังเผาเมืองหลวงของเขมรเป็นจุณ และทรงแต่งตั้งเจ้าองค์ใหม่
ให้เป็นหูเป็นตาแทนกรุงเทพฯ ทรงน�าเอาระบบบรรณาการแบบเดิมเหนือเมือง
ขึ้นเหล่านี้มาใช้อีก โดยบังคับให้ส่งของป่าเป็นส่วยแก่กรุงเทพฯ เพื่อขายเป็น
สินค้าออกไปยังจีน
ครั้น พ.ศ. ๒๓๔๗ กรุงเทพฯ ก็สามารถหยุดยั้งอิทธิพลพม่าได้ส�าเร็จ
แต่กรุงเทพฯ ยังคงแผ่ขยายแสนยานุภาพด้านการทหารต่อไปอีกหลายทศวรรษ
จากปลายรัชกาลที่ ๒ (พ.ศ. ๒๓๕๒-๒๓๖๗) เริ่มจะควบคุมบริเวณที่ราบสูง
โคราชซึ่งยังมีประชากรเบาบางและยังมีทรัพยากรอุดม จึงต้องท� าสงครามกับ
เจ้าอนุวงศ์ที่เวียงจันทน์ ซึ่งก็ต้องการควบคุมทรัพยากรดังกล่าวเช่นกัน พ.ศ.
๒๓๗๐-๒๓๗๑ กองทัพสยามท�าลายเวียงจันทน์และราชวงศ์ลาวจนราบคาบ
ท�านองเดียวกับที่พม่าท�ากับอยุธยาเมื่อ ๖๐ ปีที่แล้ว เชลยลาวถูกกวาดต้อนมา
ตั้งรกรากอีกฟากแม่น�้าโขง ท�าให้อีสานส่งส่วยของป่าให้กับกรุงเทพฯ ได้มากขึ้น
ในท�านองเดียวกัน กรุงเทพฯ แผ่ขยายอิทธิพลไปที่เขมร และปี ๒๓๗๖
รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔) ส่งกองทัพสยามไปตีเอาดินแดนเขมร๒ โปรด
ให้แม่ทัพ “คิดอ่ำนจัดกำรตีเมืองเขมรมำขึ้นกรุงเทพ ให้ได้เหมือนอย่ำงแต่
ก่อน ถ้ำไม่ได้มำขึ้นก็ให้ท�ำลำยล้ำงเมืองเขมรให้เป็นปำให้เหลือแต่แผ่นดินกับ
ภูเขำแม่น�้ำล�ำคลองเท่ำนั้น กวำดต้อนน�ำครอบครัวมำใส่บ้ำนเมืองไทยเสียให้หมด
อย่ำให้เหลือเลย ให้ท�ำให้เมืองเขมรเหมือนกับเมืองเวียงจันทน์ครั้งเจ้ำอนุนั้นก็
เป็นกำรดีเหมือนกัน” ๒

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


การท�าสงครามเหล่านี้มีเปาประสงค์ที่จะหันเหเส้นทางการค้าของปาไป
ที่กรุงเทพฯ โดยให้ส่ง “กระวาน” และสินค้าปาอื่นๆ เพื่อเอาไปขายจีน ให้
กวาดต้อนเชลยเขมรมาตั้งถิ่นฐานใหม่ น�าครอบครัวเจ้าเขมรมาอยู่กรุงเทพฯ
เพื่อเตรียมตัวให้เป็นเจ้าเมืองประเทศราชในอนาคต
มีเพียงทางด้านทิศตะวันตกเท่านั้นที่กรุงเทพฯ ไม่สามารถแผ่ขยาย
อิทธิพลได้ส� าเร็จ ได้ส่งทัพไปโจมตีทวายถึงสองครั้งก็ไม่ได้ผล และเมื่อได้
พยายามเข้าควบคุมเส้นทางขนส่งสินค้าข้ามแหลมมลายูก็ไม่ส�าเร็จอีก เพราะ
ว่าถูกพม่าตีโต้
โดยสรุป กรุงเทพฯ ต้อนเอารัฐประเทศราชรอบนอกที่ทิศใต้ เหนือ
และตะวันออก ให้อยู่ภายใต้อ�านาจได้ พระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๑ บันทึก
ว่า “ครั้งนั้นพระเกียรติยศก็แผ่ผ้ำนไปทั้งสี่ทิศ...พระรำชอำ ำจักรกว้ำงขวำงยิ่ง
กว่ำพระเจ้ำแผ่นดินครั้งกรุงเก่ำ” ๓
ยุคสมัยแห่งความชุลมุนวุ่นวายนี้ ท�าให้มีการโยกย้ายผู้คนไปทั่วบริเวณ
แอ่งเจ้าพระยา เมื่อครั้งเสียกรุง พ.ศ. ๒๓๑๐ เชลยไทยก็ถูกกวาดต้อนไปพม่า
เสียมากมาย และยังมีผู้คนที่อพยพโยกย้ายเพื่อหนีทัพพม่าและหนีศึกสงคราม
ขับไล่พม่าอีกหลังจากนั้น การแผ่ขยายอิทธิพลของกรุงเทพฯ จึงมีเป้าประสงค์
ประการหนึ่งคือกวาดต้อนผู้คนมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองหลวงและบริเวณโดยรอบ
กองทัพของพระเจ้าตากสินกวาดต้อนเชลยจ�านวนหลายพันจากยวนล้ำนนำ ลำว
เวียงจันทน์ ลำวพวน ไทยด�ำ และเขมรมา กวาดต้อนชาวมลำยูมาครั้งเมื่อท�า
ศึกกับหัวเมืองทางใต้ นอกจากนั้น มอญอีก ๓๐,๐๐๐-๔๐,๐๐๐ คน ก็ได้
อพยพเข้ามาสวามิภักดิ์กับสยาม
ทศวรรษ ๒๓๔๐ กองทัพสยามและล้านนายังบุกขึ้นเหนือเพื่อยึด เขิน
ลื้อ และไทยให ่ หลังจากที่รบชนะเวียงจันทน์เมื่อปี ๒๓๗๐ ก็ได้กวาดต้อน
เชลยมากว่า ๑๕๐,๐๐๐ คน จากจ�านวนนี้ ประมาณ ๕๐,๐๐๐ คน ตั้งบ้านเรือน
ที่แอ่งเจ้าพระยา ทศวรรษ ๒๓๗๐ กรุงเทพฯ ส่งกองทัพไปลาวถึง ๖ ครั้ง
กวาดต้อนเชลยมาจากฝั่งซ้ายของแม่น�้าโขงจนเมืองถูกทิ้งร้าง และน�าพวกลำว
พวนมาจากทุ่งไหหิน น�าไทยด�ำจำกสิบสองจุไท เขมร และเวียดนำมมาด้วย
เชลยที่ตั้งรกรากอยู่รอบๆ กรุงเทพฯ ถูกใช้เป็นแรงงานช่วยสร้างเมือง
หลวงใหม่ พวกที่ตั้งรกรากอยู่แถบที่ราบลุ่มภาคกลางนั้นให้ท�านาเพื่อเพิ่มผล
ผลิตข้าว กลุ่มอื่นๆ ถูกกวาดต้อนไปอยู่อีสานเพื่อหาของปาที่กรุงเทพฯ ต้องการ
ขายให้จีน

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ตระกูลขุนนาง หญ่ ละกษัตริย์พุท มามกะ
ตระกูลขุนนางอยุธยาเก่า ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นชนชั้นสูงที่กรุงเทพฯ
ได้ส�าเร็จ
หลังจากที่อยุธยาถูกท�าลายไปเมื่อปี ๒๓๑๐ นั้น มีผู้ตั้งตัวเป็นใหญ่
ตามชุมชนต่างๆ ประหนึ่ง “รัฐธรรมชาติ”๔ ผุดขึ้นทั่วไปเป็นดอกเห็ดตามหัว
เมืองต่างๆ พวกหัวหน้าหรือผู้น�าแก๊งก๊วนเหล่านั้น บ้างก็เป็นพ่อค้า บ้างก็เป็น
นักเสี่ยงโชค บ้างก็เป็นขุนนางเก่า และยังมีพระที่มีพรสวรรค์พิเศษดึงดูดผู้คน
ได้ พระเจ้าตากสินทรงบดขยี้ทุกคนที่ตั้งตัวเป็นใหญ่แล้วท้าทายพระองค์ แต่
ทรงสนับสนุนและให้ยศถาบรรดาศักดิกับผู้น�าท้องถิ่นใดที่เข้ามาสวามิภักดิ
โดยจะไม่เข้าไปแทรกแ งกิจการภายในของผู้นา� เหล่านี้มากนัก กษัตริย์องค์
แรกๆ ของราชวงศ์จักรีใช้กลยุทธ์ท�านองเดียวกันนี้ แม้ว่าจะมีข้อยกเว้นอยู่บ้าง
ตระกูลเจ้าเมืองในเขตหัวเมืองเหล่านี้ มิช้ามินานก็กลายเป็นระบบตกทอดสู่ลูก
หลาน ตัวอย่างเช่นที่ราชบุรี ตระกูลวงศำโรจน์ ผูกขาดต�าแหน่งเจ้าเมืองและ
ต�าแหน่งส�าคัญอื่นๆ อยู่เป็นเวลาเกือบ ๑๐๐ ปี จาก พ.ศ. ๒๓๕๕-๒๔๔๐ ที่
แหลมมลายู สองตระกูลที่ได้ช่วยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกท�าสงคราม สามารถ
รักษาต�าแหน่งเจ้าเมืองไว้ได้กว่าร้อยปี และยังส่งญาติไปครองเมืองอื่นๆ อีก
แม่ทัพซึ่งกรุงเทพฯ ส่งไปอีสาน และต่อมาได้รับต�าแหน่งเป็นเจ้าเมือง ก็ท�าการ
สืบทอดต่อไปถึงลูกหลานเหมือนกัน เจ้าเมืองทั้งหลายนี้สวามิภักดิ์กับกรุงเทพฯ
แต่ก็มีอ�านาจและปฏิบัติตัวเสมือนดั่งกษัตริย์องค์น้อยๆ สร้างวัด แต่งตั้งเจ้า
อาวาส เป็นประธานในการประกอบพิธีกรรมส� าคัญ กะเกณฑ์ผู้คนมาใช้ และ
ผูกขาดการค้า แม้แต่เมืองใหม่ๆ ที่ไม่ส�าคัญนักที่อีสาน เจ้าเมืองก็ท�าตัวเสมือน
เป็น “กษัตริย์องค์น้อย”๕ เช่นกัน
ที่กรุงเทพฯ ก็คล้ายกัน ตระกูลขุนนางใหญ่เพิ่มพูนอ� านาจขึ้น พ.ศ.
๒๓๑๐ และ พ.ศ. ๒๓๒๕ เป็นจุดเปลี่ยนของพระราชวงศ์ พระพุทธยอด า
จุ าโลก ไม่ได้ทรงพยายามอ้างอิงถึงสายเลือดกษัตริย์เก่าในพระองค์ พระ
ราชวงศ์ใหม่สถาปนาขึ้นโดยกลุ่มตระกูลขุนนางซึ่งในช่วงศตวรรษก่อนหน้า
พยายามหาวิธีจ�ากัดควบคุมสถาบันกษัตริย์ เป็นที่น่าสังเกตว่า พระราชพิธี
ราชาภิเษกของพระพุทธยอด าจุ าโลก และกษัตริย์องค์ต่อๆ มา เริ่มต้น
ด้วยพราหมณ์สถาปนาองค์กษัตริย์ด้วยอ�านาจวิเศษของลัทธิพราหมณ์ หลัง

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


จากนั้นเสนาบดีแต่ละคนถวายดินแดน ผู้คน สรรพาวุธ และเครื่องใช้อื่นๆ ของ
แต่ละกระทรวงให้กับกษัตริย์ ประหนึ่งเสนาบดีมีสิทธิเหนือกระทรวงเหล่านี้มา
ก่อนแล้ว๖
ตระกูลขุนนาง ึ่งอยู่รอดมาได้หลังจากเสียกรุง และโดยเฉพาะไม่กี่
รายที่เกี่ยวโยงกับพระราชวงศ์จักรีนั้นก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นมี
ตระกูลขุนนางรุ่นใหม่ซึ่งพุ่งขึ้นมาเพราะเป็นนักรบประสบความส�าเร็จ และเข้า
ด�ารงต�าแหน่งแทนที่ขุนนางเก่าซึ่งเสียชีวิตหรือถูกจับเป็นเชลยไปในการสู้รบต่างๆ
ตระกูลขุนนางส�าคัญสิบกว่ารายผูกขาดต�าแหน่งใหญ่ที่กรุงเทพฯ สมรสกันเอง
หรือสมรสกับสมาชิกของพระราชวงศ์จักรี มีบทบาทส�าคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ
การค้าโดยไม่ถูกจ�ากัดโดยพระราชอ�านาจ บางตระกูลรุ่งเรืองและอลังการเทียบ
เคียงได้กับพระราชวงศ์ทีเดียว โดยเฉพาะตระกูล “บุนนาค” ซึ่งมีเชื้อสายสืบ
ไปได้ถึงต้นตระกูลชาวเปอร์เซียที่มาสยามเมื่อแผ่นดินพระนเรศวร คนส�าคัญ
ของครอบครัวนี้เป็นข้าหลวงของพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมัยที่รับราชการ
กับพระเจ้าตากสิน สมาชิกของตระกูลบุนนาคด�ารงต�าแหน่งเสนาบดีที่กลาโหม
มหาดไทย และกรมท่าหนึ่งหรือสองต� าแหน่งอยู่เสมอ ตลอดชั่ว ๔ อายุคน
ต�าแหน่งทั้งสามนี้แบ่งกันควบคุมหัวเมืองทั่วสยามอันเป็นประเพ ีป ิบัตมิ าก่อน
ปี ๒๓๑๐ และถือปฏิบัติต่อมาในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ แต่ละกระทรวงเปรียบ
เสมือนเป็นรัฐย่อยๆ และดูแลการคลังของตนเองแยกออกจากกัน ครั้นถึง
ทศวรรษ ๒๓๙๐ บุนนาคผู้พี่และผู้น้องหัวหน้าครอบครัว มีค� าว่า “องค์” ซึ่ง
ปกติใช้ส�าหรับพระราชวงศ์เป็นค�าน�าหน้าต�าแหน่ง
สิ่งใหม่ในสมัยของต้นรัตนโกสินทร์ คือ “กษัตริย์” เป็นอันดับแรก
ของผู้เสมอกัน (primus inter pares) หมายความว่า มีอ�ำนำจมำกกว่ำตระกูล
ขุนนำงให ่อื่น ไม่มำกนัก ลักษณะเด่นบางประการซึ่งเคยเป็นของเฉพาะ
องค์กษัตริย์ ขณะนั้นขุนนางใหญ่อ่ืนก็มีได้ เช่น มีคณะละครของตนเองได้ ซึ่ง
ในสมัยก่อนนั้นพระราชวงศ์เท่านั้นจะมีได้ ผ้าและเครื่องแต่งกายบางประเภท
ที่เคยสงวนไว้เฉพาะพระราชวงศ์ ถูกเลียนแบบกระจายไปในบรรดาขุนนาง
อย่างกว้างขวาง ละครที่แสดงทั่วไปถึงกับเลียนแบบฉลองพระองค์และพระราช
กกุธภัณฑ์ที่เป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์ จนกระทั่งต้องมีกฎหมายห้าม
พระพุทธยอด าจุ าโลกทรงมีบทบาทน�าในการฟื้นฟูกรุงเทพฯ แต่
พระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเน้นไปที่บทบาททางพิธีกรรม และทรงปล่อยให้

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ขุนนางใหญ่ดูแลด้านการบริหารราชการแผ่นดิน พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมี
บทบาทสูงทั้งในฐานะกษัตริย์และในเรื่องการค้าขาย แต่พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
หวนกลับไปให้ขุนนางมีบทบาทและอ�านาจสูง แม้ว่าจะทรงมีพระราชปรารภเป็น
ครั้งคราวถึงว่า มีขุนนางน้อยมากซึ่งเข้าร่วมประชุมในคณะมนตรีของพระองค์
หรือเข้าร่วมในพระราชพิธีกรรมส� าคัญ การสืบราชสมบัติแต่ละครั้งมีความ
ตึงเครียดมากบ้างน้อยบ้าง เพราะว่ามีความเป็นไปได้เสมอว่าจะเกิดการพลิกผัน
เสมือนเหตุการณ์เมื่อปี ๒๓๑๐ หรือ ๒๓๒๕ ดังที่พระจอมเกล้าฯ ทรงแสดง
ความวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้ในพระราชสาส์นถึงนางแอนนา เลียวโนเวนส์
ใจความว่า “ผู้คนทั่วไปรวมทั้งคนพื้นถิ่นและชำวต่ำงชำติที่นี่ ดูเหมือนจะพอใจ
พระองค์และพระรำชวงศ์น้อยกว่ำ อีกทั้งมีควำมมุ่งหวังสูงกว่ำกับอีกครอบครัว
หนึ่ง” ๗
ตระกูลขุนนางใหญ่ๆ เพิ่มจ�านวนสมาชิกครอบครัวด้วยการมีภรรยา
หลายคน จะได้มีลูกชายที่มีพรสวรรค์มากพอที่จะจรรโลงตระกูลต่อไปในฐานะ
ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ และต้องมีลูกสาวมากพอที่จะไปแต่งงานกับครอบครัวชนชั้น
น�าอื่นๆ เป็นเครือข่ายความสัมพันธ์กัน พระราชวงศ์เป็นตัวอย่าง จ�านวนของ
พระราชโอรสและพระราชธิดาของพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่
๑ คือ ๔๒ (จาก ๒๘ พระมารดา) พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เจ้าอยู่หัวรัชกาล
ที่ ๒ คือ ๗๓ (๔๐ พระมารดา) พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ คือ ๕๑ (๓๗
พระมารดา) พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ คือ ๘๒ (๓๕ พระมารดา)
และพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ คือ ๗๗ (๓๖ พระมารดา) ตระกูล
อื่นๆ ด�าเนินรอยตาม
บาทหลวงปาลเลกัว ์ซึ่งพ�านักอยู่ที่กรุงเทพฯ จาก พ.ศ. ๒๓๘๑ จนถึง
พ.ศ. ๒๔๐๕ กล่าวว่า “ ‘เศรษฐี’ จ�ำนวนมำกมีภรรยำสองคน ขุนนำงอำจมีเป็น
โหล สำมสิบ สี่สิบ หรือมำกกว่ำนั้น” ๘ จ�านวนลูกสาวลูกชายที่มีกันก็น่าทึ่ง
ทีเดียว เช่น ต้นตระกูลไกร กษ์มีลูกหญิงชายถึง ๕๐ คน สองพี่น้องผู้น�าของ
ตระกูลบุนนาคซึ่งเป็นใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีลูกชายรวมกันถึง ๔๓ คน
ตระกูลขุนนางใหญ่เท่านั้นที่จะได้รับอนุญาตให้ต้ังบ้านเรือนรอบๆ วังหลวง
สถานที่พ�านักดังกล่าวเปรียบเสมือนเมืองเล็กๆ นั่นทีเดียว ตระกูลบุนนาคได้
รับพระราชทานที่ดินผืนใหญ่สองฟากแม่น�้าที่ส�าเพ็ง จึงสร้างวัด ๓ แห่ง ขุดคลอง
และสร้างบ้านเรือนให้กับลูกหลานที่มีเป็นจ�านวนมาก พ่อค้าและช่างฝีมือพากัน
มาตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ๆ กับอ�านาจและผู้ที่จะอุปถัมภ์พวกเขาได้ เมืองหลวง

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


จึงประกอบด้วยเมืองย่อยๆ แบบนี้อยู่จ�านวนมาก
แนวโน้มสู่กษัตริย์พุทธมามกะซึ่งได้ก่อตัวมาก่อน พ.ศ. ๒๓๑๐ นั้น
ท้ายที่สุดก็เป็นจริง ลัทธิพราหมณ์ยังคงอยู่ พิธีกรรมของพระราชวงศ์ยังคง
ด�าเนินไป และที่ตั้งเมืองหลวงแห่งใหม่มีนามว่ารัตนโกสินทร์ หมายถึง “แก้ว
ของพระอินทร์” หรือ “กรุงเทพ เมืองของเทพ” (ฝรั่งเท่านั้นที่ยังใช้ชื่อหมู่บ้าน
เดิมว่า บางกอก, Bangkok) องค์พระมหากษัตริย์เป็นของต้องห้ามและมีความ
ลี้ลับอีกครั้งหนึ่ง แต่ความชอบธรรมของพระราชวงศ์ไม่ได้เกิดจากความโยง
กันระหว่างกษัตริย์และเทพตามความเชื่อสมัยนั้น กษัตริย์ทรงเป็นพระโพธิสัตว์
หรือผู้มีจิตวิญญาณพิเศษกว่ามนุษย์ผู้ซึ่งได้สะสมบุญบารมีมาแต่ชาติปางก่อน
หลายชาติ กลับชาติมาเกิดเพื่อปกครองด้วยธรรม และจะเป็นพระพุทธเจ้าใน
อนาคต ความชอบธรรมของกษัตริย์ไม่ได้เกิดจากชาติวุฒิหรือการสืบสายพระ
ราชวงศ์เพียงเท่านั้น (ซึ่งมีการขาดตอน) แต่ยังเป็นเพราะ “ควำมโยงใยกับชำติ
ปำงก่อน” ๙ ของเชื้อสายพระพุทธเจ้าในประวัติศาสตร์
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดให้แปลพงศาวดารลังกา ชื่อ “มหาวงศ์”
ซึ่งแสดงปรัชญานี้ให้เป็นภาษาไทย พระราชพงศาวดาร ึ่งเขียนขึ้นในสมัยนี้
นั้น จินตนาการ “พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ” เป็นกษัตริย์ในอุดมคติ ขณะที่ให้
ภาพกษัตริย์องค์อื่นๆ ในสมัยอยุธยาตอนปลายล้วนแล้วแต่ด้อยคุณภาพ ไม่
ว่าจะมองจากมิติของนักปกครอง มิติความเป็นพุทธมามกะ หรือมิติของความ
เป็นนักรบ กษัตริย์กรุงเทพฯ องค์ใหม่ได้รับความชื่นชอบในฐานะเป็นผู้ปกปัก
ศาสนาพุทธจากพม่าผู้รุกราน (แม้จะเป็นพุทธเช่นกัน) ชัยชนะหรือดินแดนลาว
และเขมรเป็นความชอบธรรม เพราะว่าชาวลาวและเขมรได้เข้ามาอยู่ในพระบรม
โพธิสมภารของกษัตริย์ซึ่งมีพุทธธรรมสูงกว่าเจ้าผู้ปกครองพวกเขาก่อนหน้า
ภายใต้ทฤษฎีนี้ เป้าหมายหลักของระบอบกษัตริย์คือช่วยให้ผู้คนก้าว
ขึ้นสู่บันไดจิตวิญญาณเพื่อบรรลุถึงจุดหมายสูงสุดคือ “นิพพาน” หรือความหลุด
พ้นจากความทุกข์ในโลกีย์ทั้งมวล ดังนั้น กษัตริย์จึงต้องมีหน้าที่มิใช่เพียงทรง
สร้างวัดวาอารามและปกปองพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ยังต้องทรงปฏิบัติพระ
ราชกรณียกิจอื่นๆ ที่ส�าคัญยิ่งยวดคือต้องทรงปองกันไม่ให้พระพุทธศาสนา
เสื่อมสลายจนกระทั่งสูญหายไปจากโลก ดังที่มีการคาดการณ์ไว้ในพระคัมภีร์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องทรงช�าระให้คณะสง ์มีความบริสุทธิ และช�าระพระ
คัมภีร์ให้ถูกต้องเป็นครั้งเป็นคราว พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงตรากฎหมาย
หลายฉบับเพื่อปรับปรุงวัตรปฏิบัติของสงฆ์ซึ่งได้เกิดความหย่อนยานในสมัย

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
พระเจ้าตากสิน โปรดให้คณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ช�าระพระไตรปิฎก พระคัมภีร์หลัก
ของพระพุทธศาสนา และโปรดให้เรียบเรียง “ไตรภูมิกถา” ขึ้นใหม่ ๒ ส�านวน
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเห็นว่าไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ไม่ควรเป็น
พุทธแบบพิธีกรรมเท่านั้น แต่ “ให้รู้เนื้อควำมภำษำไทยในพระบำ ีนั้นจงทุก
สิกขำบท ข้อศีล ...ให้เข้ำใจในภำษำไทย” ๑๐ ดังนั้น จึงทรงก่อตั้งโรงเรียนสงฆ์
เสียใหม่ และโปรดให้แปลคัมภีร์หลายเล่มให้เป็นภาษาไทย ทรงตรากฎหมาย
ห้ามชนไก่และการผิดศีลอื่นๆ ดังที่อารัมภบทของกฎหมายอธิบายว่า “ทุกวันนี้
ตั้งพระทัยแต่จะท�ำนุบ�ำรุงพระวรพุทธศำสนำไพร่ฟำประชำกรให้อยู่เย็นเป็นสุข
ให้ตั้งอยู่ในคติธรรมทั้ง ๕ ด�ำรงจิตจตุรัสบ�ำเพ็ ศีลำทำน จะได้สู่คติภูมิมนุษย
สมบัตินิพพำนสมบัติเป็นประโยชน์แก่ตน” ๑๑ ขุนนางใหญ่น้อยต้องด�าเนินชีวิต
ตามครรลองของหลักจริยธรรมตามวัตรปฏิบัติของส�านักสงฆ์ ผนังวัดมีรูปวาด
ค�าสอนของพระพุทธเจ้า โดยส่วนมากมาจากเรื่องชาดกซึ่งแสดงให้เห็นว่าพระ
พุทธเจ้าทรงบรรลุถึงเป้าหมายด้านจิตวิญญาณตลอด ๕๐๐ ชาติก่อนที่จะทรง
บรรลุถึงนิพพานได้อย่างไร พระชาติที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ “พระเวสสันดร”
พระชาติสุดท้ายที่บ่งบอกคุณธรรมของการบ�าเพ็ญทานบารมี กษัตริย์ทรงจัด
ให้มีการเทศน์มหาชาติ (เทศน์เรื่องพระเวสสันดร) ประจ�าปีที่วัดพระศรีรัตน
ศาสดารามหรือวัดพระแก้ว อันเป็นที่ประดิษฐาน “พระแก้วมรกต” พระคู่บ้าน
คู่เมือง และต่อมาทรงสนับสนุนการเทศน์มหาชาติทั่วพระราชอาณาจักร พิธีกรรม
นี้สั่งสอนหลักจริยธรรม และในขณะเดียวกันแสดงบุญญาธิการของกษัตริย์ใน
ฐานะพระโพธิสัตว์

เศรษ กิจตลา ขยายตัว


พระเจ้าตากสินทรงส่งเสริมให้ชาวจีนอพยพเข้ามาช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งพระชนนีเป็น บุตรสาวคนงามของตระกูลเจ้าสัว
ที่รุ่มรวยของอยุธยาทรงสานต่อนโยบายดังกล่าว จีนอพยพไหลหลั่งเข้ามาเพิ่ม
ขึ้นตลอดช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น หลังจากเสียกรุง กรุงเทพฯ ไม่ได้
ควบคุมเส้นทางการค้าด้านเหนือของแหลมมลายู ดังนั้น การค้าต่างประเทศ
จึงมุ่งไปทางตะวันออก โดยเฉพาะกับจีน เมื่อฝรั่งเข้ามาเยือนกรุงเทพฯ ทศวรรษ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ภาพที่ ภำพเขียน “กรุงเทพ พ.ศ. ๒๔ ” (บน) และ “แม่น�้ำกับเรือในบำงกอก”
(ล่ำง) วำดโดย ดร.จอร์ช ฟนเลย์สัน (George inlayson) นักธรรมชำติ
วิทยำที่เข้ำมำส�ำรวจสยำมและเวียดนำมในปี ค.ศ. ๑๘๒๑ และ ๑๘๒๒
(ภำพจำก THAI ART & CULTURE : Historic Manuscripts from
Western Collections. Heny Ginsburg. Silkworm Books. 2000)
๒๓๖๐ พบว่าแม่น�้าเจ้าพระยาเต็มไปด้วยส�าเภาจีน (ดูภาพที่ ๔) พวกเขาบันทึก
ว่าชาวจีนเป็นคนส่วนใหญ่ของเมืองกรุงเทพฯ บ่งบอกถึงความส�าคัญของชาว
จีนอพยพ แม้ว่าฝรั่งอาจจะประมาณการคลาดเคลื่อนไปบ้าง เมื่อถึงปี ๒๓๗๘
ชุมชนจีนที่ส�าเพ็งก็ได้กลายเป็นตลาดที่มีการค้าขายคึกคักมาก ตลอดเส้นทาง
ยาวถึง ๓ กิโลเมตรตามแนวถนนปูด้วยอิฐเผา

“มีทั้งร้านขายของแห้ง ร้านอะไหล่ ร้านขายเครื่องมือ ร้าน


ช่างเหล็ก ร้านช่างไม้ ร้านท�าถังไม้ บ่อนพนัน ร้านขายของช�า ซ่อง
โสเภณี ร้านผลไม้ ร้านผัก ร้านปลา ร้านขายไก่ ร้านขายหมู ร้าน
ขายยา และร้านเหล้า”๑๒

จีนอพยพรุ่นแรก ส่วนใหญ่เกี่ยวโยงกับการค้าข้าวระหว่างสยามและ
จีนที่ก�าลังรุ่งเรือง ตามมาด้วยคนที่หลีกลี้ความยากจนและความวุ่นวายทางการ
เมืองที่จีนตอนใต้ จีนอพยพเข้ามาประมาณ ๗,๐๐๐ คนทุกปีในช่วงทศวรรษ
๒๓๖๐ เพิ่มขึ้นเป็น ๑๔,๐๐๐ คน ใน พ.ศ. ๒๔๑๓ หลังจากที่หาเลี้ยงชีพอยู่ที่
สยามได้สัก ๒-๓ ปี ประมาณครึ่งหนึ่งเดินทางกลับถิ่นก�าเนิด แต่พวกที่ตัดสิน
ใจตั้งถิ่นฐานในสยามนับรวมกันได้ถึง ๓๐๐,๐๐๐ คน เมื่อทศวรรษ ๒๓๙๐
ส่วนมากรับจ้างเป็นกุลีแบกหามของที่ท่าเรือและที่อื่นๆ ในกรุงเทพฯ บ้างก็
จับจองที่ดินบริเวณชายขอบของที่ราบลุ่มปากแม่น�้าเจ้าพระยาเพื่อปลูกผักขาย
ในเมือง
ประมาณราว พ.ศ. ๒๓๕๓ เริ่มมีคนจีนลงทุนปลูกอ้อย จนต่อมาเมื่อ
ทศวรรษ ๒๓๙๐ “อ้อย” ก็ได้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจส�าคัญของกรุงเทพฯ เป็น
วัตถุดิบผลิต “น�้าตาล” เพื่อส่งออก จีนอพยพบางส่วนล่องไปตามล�าแม่น�้าแล้ว
ตั้งรกรากตามเมืองต่างๆ เป็นเจ้าของร้านช�า เป็นพ่อค้าส่งพืชผลไปกรุงเทพฯ
เป็นเจ้าของโรงงานหีบน�้าตาล โรงเหล้า โรงเผาอิฐ อู่ต่อเรือ โรงงานบ่มใบยาสูบ
โรงงานเลื่อยไม้ และโรงงานตีเหล็ก ที่บริเวณรอบๆ อ่าวไทยเรื่อยลงไปทาง
แหลมมลายูนั้น เมืองท่าใหญ่น้อยมีคนจีนอยู่เป็นส่วนมาก บ้างก็เข้าไปตั้งรกราก
บนแผ่นดินลึกเข้าไปจากทะเลเพื่อปลูกยางพารา พริกไทย และท�าเหมืองดีบุก
ชาวจีนเป็นคนรุ่นแรกๆ ที่บุกเบิกเศรษฐกิจตลาด เช่น ที่สวรรคโลก ชาวจีนแคะ
น�าเบี้ยบ่อนท�าด้วยดินเผาเข้ามาใช้ จนกลายเป็น “เงินตราท้องถิ่น” รุ่นแรก

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


พ.ศ. ๒๓๗๓ เ อร์จอห์น ครอ อร์ด ทูตอังกฤษเรียกจีนอพยพว่าเป็น
“สินค้ำน�ำเข้ำที่มีค่ำที่สุดจำกจีนสู่สยำม”๑๓ รัฐบาลตระหนักถึงความส�าคัญนี้ดี
จึงยกเว้นไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน เพราะว่าจะท�าให้พวกเขาค้าขายไม่ถนัด แต่
เก็บภาษี “รายหัวหรือค่าผูกปี้” ทุก ๓ ปี รัฐบาลเก็บภาษีการค้าจากพวกเขาด้วย
และพบว่านี่เป็นวิธีเพิ่มรายได้ของรัฐที่ดีกว่าผูกขาดการค้าต่างประเทศแบบเดิม
รัฐบาลจึงจ้างพ่อค้าจีนให้ท�าหน้าที่เก็บภาษีเป็นเจ้าภาษีนายอากรมากขึ้น
แต่เดิมมาสยามส่งสินค้าป่าไปขายที่จีนเป็นหลัก แต่ครั้นถึงทศวรรษ
๒๓๖๐ มีสินค้าออกเพิ่มขึ้นอีกหลายชนิด ได้แก่ ข้าว น�้าตาล ปลา และเนื้อแห้ง
ภาชนะท�าจากดีบุก ผ้า น�้ามัน สีย้อมผ้า สินค้าเหล่านี้ต้องปลูกหรือผลิตขึ้นมา
และก็คนจีนอีกนั่นแหละที่เป็นคนท�า ต่อมาคนอื่นๆ ก็เข้ามาผลิตด้วย เมื่อเวลา
ผ่านไป ผู้คนมีวิถีชีวิตโยงอยู่กับเศรษฐกิจตลาดมากกว่าระบบแรงงานเกณฑ์
ศาสตราจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ บรรยายว่าสังคมเมืองมีความเป็นกฎุมพีมากขึ้น๑๔

เจ้าสัว
ตระกูลเจ้าสัวจ�านวนหนึ่งรุ่งเรืองขึ้นมาโดยได้รับการอุปถัมภ์จากพระ
ราชวงศ์ พวกเขาเริ่มจากเป็นพ่อค้า แล้วช่วยกษัตริย์หรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ค้า
ขาย จากทศวรรษ ๒๓๗๐ หลายคนได้เป็นเจ้าภาษีนายอากร คือได้รับสัมปทาน
เก็บภาษีมีมูลค่าสูง ได้แก่ ภาษีรังนกเก็บจากเกาะชายฝั่งทะเลทางใต้ ภาษีสุรา
ฝิ่น และบ่อนการพนันในเมือง กษัตริย์ทรงให้ต� าแหน่งและราชทินนามท�าให้
สถานะของพวกเขาสูงส่งขึ้น ผู้ที่ประสบความส�าเร็จมากได้ต�าแหน่งโช ึก เป็น
หัวหน้าของชุมชนจีนที่เมืองหลวง ตระกูลเจ้าสัวใหญ่บางรายอพยพมาสยาม
ตั้งแต่สมัยอยุธยา เช่น ต้นตระกูลไกร กษ์ เริ่มแรกเป็นพ่อค้าเรือส�าเภาสมัย
พระเจ้าตากสินโปรดให้เป็นทูตไปเมืองจีน ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ดูแลการค้าต่างประเทศให้กับกษัตริย์ อีกหลายๆ ตระกูลเข้ามาสยามในช่วงที่
การค้าไทย-จีนขยายตัวในช่วงนี้ ตระกูลชั้นน�าจ�านวนมากเป็น “จีนฮกเกี้ยน”
และก็ยังมี “จีนแต้จิ๋ว” และ “จีนแคะ”
บางครอบครัวประสบความส�าเร็จสูง ก่อตั้งเป็นตระกูลใหญ่ สร้างเส้น
สายด้วยการถวายลูกสาวให้เป็นบาทบริจาริกาของกษัตริย์ หรือให้แต่งงานกับ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ตระกูลใหญ่ๆ ของกรุงเทพฯ และตระกูลพ่อค้าที่เป็นหุ้นส่วนการค้าที่เมืองจีน
และที่อื่นๆ บางตระกูลสามารถสืบทอดมิใช่แต่เพียงธุรกิจการค้าให้กับลูกหลาน
แต่ยังส่งต่อราชทินนามให้ลูกหลานอีกด้วย หัวหน้าตระกูล โชติกะพุกกะณะ
รุ่งเรืองขึ้นมาเพราะได้คุมเรือส�าเภาของกษัตริย์ไปค้ากับจีน ต่อมาได้เป็นโชฎึก
เมื่อทศวรรษ ๒๓๙๐ และลูกหลานอีก ๒ รุ่นได้สืบทอดเป็นโชฎึกเช่นกันอีก
๕๐ ปีต่อมา เจ้าสัวรับใช้กษัตริย์ในกิจการต่างๆ และนอกเหนือจากการค้าเรือ
ส�าเภาตระกูลโชติกะพุกกะณะน�าเข้าสินค้า เช่น เครื่องถ้วยชามตามค�าสั่งให้กับ
ในวัง และท�าหน้าที่เป็นผู้พิพากษาศาลพิเศษที่ตั้งขึ้นเพื่อช�าระความที่เกิดกับคน
จีนด้วยกัน บางคนเข้ารับราชการในกระทรวงต่างๆ ต้นตระกูลกัลยาณมิตร
นั้นได้ต�าแหน่งเป็นเสนาบดีดูแลการจดทะเบียนแรงงานเกณฑ์ และได้เป็นถึง
เจ้าพระยา ทศวรรษ ๒๓๙๐ ลูกหลานสองคนมีต�าแหน่งสูงถึงระดับเจ้าพระยา
เช่นกัน ในระยะต่อมา เทียน โชติกเสถียร พ่อค้าเรือส�าเภาให้กับกษัตริย์อีกราย
หนึ่งก็เข้ารับราชการ และช่วยก่อตั้งกระทรวงพระคลังสมัยพระจุลจอมเกล้าฯ
และบุตรชายคนหนึ่งได้ตามเสด็จเมื่อเสด็จประพาสอินเดียใน พ.ศ. ๒๔๑๔ (ดู
บทต่อไป)
ตระกูลจีนใหญ่เหล่านี้ยกระดับสถานภาพทางสังคมของตนเองได้เพราะ
ท�างานกับพระราชส�านัก แม้กระทั่งเจ้าสัวตระกูลใหญ่ที่สุดยังต้องอิงความอุปถัมภ์
ค�้าจุนจากสมาชิกของตระกูลเจ้านายชั้นสูงในพระราชวงศ์ จะต้องถวายของขวัญ
และจะได้รับราชทินนามที่สูงขึ้นๆ เป็นการตอบแทน พระจุลจอมเกล้าฯ ทรงพอ
พระทัยบุตรสาวของตระกูลพิศลยบุตรผู้หนึ่ง และโปรดให้น�ามาถวายตัวอยู่ใน
พระราชวังชั้นใน สองสามปีต่อมา พระญาติของพระเจ้าอยู่หัวสองพระองค์ทรง
มีพระชายาเป็นบุตรสาวจากตระกูลพิศลยบุตร ตระกูลเจ้าสัวอื่นๆ ก็สร้างสาย
สัมพันธ์กับสมาชิกพระราชวงศ์ในลักษณะเดียวกัน
ตระกูลเจ้าสัวเหล่านี้รุ่มรวยมหาศาล ค หาสน์ของตระกูลโชติกะพุกกะณะ
ตั้งอยู่บนเนื้อที่ ๑๐๐ ไร่ริม ังแม่น�้าเจ้าพระยา กษัตริย์ทรงชักจูงให้เจ้าสัวใช้
เงินลงทุนก่อสร้างและ ่อมแ มวัดไทยพุทธรวมทั้งศาลเจ้าจีน ให้ขุดคลองเพื่อ
ใช้เป็นเส้นทางเดินเรือเพื่อการค้า ในสมัยต่อมาที่ “ความเจริญ” เป็นประเด็น
แห่งยุคสมัย ทรงให้พวกเขาสร้างโรงพยาบาลและโรงเรียน
ตลอดรัชกาลที่ ๒ (พ.ศ. ๒๓๕๒-๒๓๖๗) และโดยเฉพาะรัชกาลที่ ๓
(พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔) บทบาทจีนอพยพในสังคมเมืองหลวง สะท้อนให้เห็น

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ในเรื่องของแฟชั่นและรูปแบบของสิ่งของเครื่องใช้ที่นิยมกัน เครื่องถ้วยชามจีน
รูปสลักหินจีนที่มากับเรือส�าเภา (ใช้เป็นตุ้มถ่วงน�า้ หนัก) ใช้ประดับประดาวัดวา
อารามแห่งใหม่เป็นจ�านวนมาก รองเท้าแตะและเสื้อคลุมไหมจีนเป็นส่วนหนึ่ง
ของพัสตราภรณ์ราชส�านัก เฟอร์นิเจอร์จีนที่นา� เข้ามาเพื่อตกแต่งวัดและคฤหาสน์
ใหญ่ให้ดูโอ่อ่า วรรณกรรมคลาสสิกจากจีนได้รับความนิยมจนแปลเป็นภาษา
ไทยให้อ่านกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเรื่องสำมกก
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงค้าขายกับจีน ทรงสร้างวัดพุทธโดยใช้รูป
แบบสถาปัตย์จีน ช่างจีน และวัสดุจีน ตัวนาคซึ่งมักใช้เป็นลายประดับขอบ
หลังคาของวัดไทย ถูกทดแทนด้วยมังกรจีน ภายในโบสถ์วิหารก็มีการน� าลาย
นกกระยาง ดอกเบญจมาศ และทิวทัศน์จากต�านานจีนเข้ามาวาดทดแทนทิวทัศน์
และภาพแบบไทย เมื่อการค้าเรือส�าเภาซบเซาลงหลังปี ๒๓๙๐ เพราะว่าการ
ค้ากับฝรั่งเฟื่องฟูขึ้นแทน พระนั่งเกล้าฯ ทรงสร้างวิหารเป็นรูปเรือส�าเภา เพื่อ
ระลึกถึงบทบาทของการค้าเรือส�าเภาในการสร้างเมืองหลวงใหม่ พระจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัวโปรดให้วาดพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ในฉลองพระองค์แบบขุนนาง
จีนระดับสูง และทรงสร้างพระราชวังพักร้อนและสวนเพื่อความเพลิดเพลินแบบ
จีนที่บางปะอิน
เจ้าสัวใหญ่รับวัฒนธรรมไทยอย่างกระตือรือร้น ส่วนมากมีเมียเป็นคน
ไทย และมักจะมีหลายคน แม้ว่าอาจจะมีบ้านอื่นๆ อีกที่เมืองจีนด้วยก็ตาม
พวกเขาอุปถัมภ์ค�้าจุนวัดวาอารามและมีพฤติกรรมอื่นๆ ตามประเพณีที่ผู้ลาก
มากดีเขาท�ากัน หลวงอภัยวานิช สอน รุ่มรวยขึ้นมาจากที่เป็นนายอากรรังนก
ต่อจากบิดา และจากการพัฒนาที่ดิน จึงลงทุนตั้ง “วงมโหรีและค ะละครเป็น
ของตนเองตำมสมัยนิยมของคฤหบดีผู้มีทรัพย์ในสมัยนั้น” จน “ชำวบ้ำนพูดกัน
กระฉ่อนออกไปทั้งบำงว่ำ ‘เจ้ำสัวสอนมีเมียละครทั้งโรง มโหรีทั้งโรง’ ” ๑๕
เจ้าสัวเป็นชนชั้นน�ากลุ่มเล็กๆ ที่มั่งคั่งมีสถานะสูง ประสบความส�าเร็จ
และปรับตัวเข้ากับสังคมไทยได้ดี เป็นแบบอย่างให้จีนอพยพอื่นๆ ซึ่งไม่โอ่อ่า
เท่าอีกหลายหมื่นคน ทั้งที่กรุงเทพฯ และหัวเมืองต่างๆ ได้ลอกเลียนเอาอย่าง
“ลูกจีน” หรือลูกหลานของจีนอพยพ สอดประสานเข้ากันได้กับสังคมสยามอย่าง
แนบเนียน ทั้งนี้เพราะพวกเขาตั้งหลักปักฐานอยู่เนิ่นนาน แต่งงานกับคนไทย
เป็นที่ยอมรับของพระราชวงศ์ และปรับตัวรับวัฒนธรรมไทย (ดูภาพที่ ๕) พ.ศ.
๒๔๒๗ ชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่งบรรยายขั้นตอนการปรับตัวของลูกจีนว่า

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ภาพที่ ครอบครัวของเจ้ำสัวสมัยรัชกำลที่ ๕

ชาวจีนที่มีสายเลือดจีนบริสุทธิ์ ที่ไหนๆ ก็เห็นได้ชัด ดูได้


จากตาหยีเล็ก โหนกแก้มสูง รูปร่างบอบบาง สวมใส่เสื้อผ้าแบบ
จีนดั้งเดิม พูดไทยด้วยความยากล�าบาก ออกเสียงพยัญชนะไทย
ที่มีเสียงแผ่วไม่ได้จึงขาดหายไป กลุ่มคนจีนที่ยืนอยู่ใกล้ๆ นุ่ง
กางเกงขาบาน รูปร่างผอม ผิวขาว หน้าตาใช้ได้ พวกเขาเป็นลูก
หลานของจีนอพยพรุ่นแรก เป็นผลพวงของการแต่งงานกับสาว
ท้องถิ่น แต่ก็ยังเหมือนพ่อมากกว่าข้างแม่ โดยเฉพาะในมิติของ
จริยธรรม ออกเสียงตัว ‘ร’ ได้ไม่ชัดเพราะเหมือนพ่อ พวกเขา
ยอมรับวิถีของบ้านเกิดเพียงอย่างเดียวคือ แทนที่จะใช้ชุดสีน�้าเงิน
ก็ใช้ ‘ผ้ำห่ม’ คือผ้าฝ้ายผืนที่คนพื้นถิ่นใช้คลุมไหล่และหน้าอก...
ลูกหลานที่เป็นรุ่นที่ ๓ และ ๔ ยิ่งมีจ�านวนมากกว่า พวกเขาเลิก
ใช้กางเกงขาบานอย่างสิ้นเชิง นุ่งผ้าแทน และแม้ว่าบางคนยังคง
ไว้หางเปียก็ตาม...แม่ของเขามีบทบาทในการเลี้ยงดูมากกว่าพ่อ
แผ่นดินที่เขาเกิดจะนับพวกเขาเป็นลูกแท้ๆ จากนี้ไปมันจะเป็น
บ้านเกิดของเขา๑๖

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ความเจริญ

เศรษฐกิจตลาดที่รุ่งเรืองและกลุ่มสังคมใหม่ๆ ส่งผลให้เกิดวิธีคิดแบบ
ใหม่ๆ ปลายสมัยอยุธยาก็มีคนหยิบมือหนึ่งซึ่งเกี่ยวพันกับการค้าต่างประเทศ
และเปิดรับความคิดใหม่ๆ ที่มาจากโลกตะวันออกหรือจากโลกตะวันตกแล้ว
ครั้นสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ทั้งการค้าและวิธีคิดแบบใหม่กระจายไปสู่คนหมู่
มากยิ่งขึ้น ผู้คนหันมาให้คุณค่ากับการอ่านออกเขียนได้และการเรียนรู้มาก
ขึ้น วรรณกรรมเพื่อมวลชนใหม่ๆ ึ่งเ อง ูพร้อมๆ กับที่เมืองหลวงรุ่มรวย
ขึ้นเมื่อทศวรรษ ๒๓๖๐ สะท้อนให้เห็นคุณค่าใหม่ๆ เหล่านี้ “พระเอก” นั้น
มีทั้งคนธรรมดา ไม่ใช่แต่จะต้องเป็น “เจ้าชาย” และ “เทพ” เหมือนวรรณกรรม
สมัยอยุธยา ตัวเอกไม่จ�าเป็นต้องอยู่ในกรอบของชาติก�าเนิดและโชคชะตา แต่
สามารถสร้างชีวิตตนเองได้ ความรักมีความเป็นส่วนตัวและปลอดจากขีดจ�ากัด
ของครอบครัว จารีต หรือสถานะทางสังคมมากขึ้น ชาติก�าเนิดสูงและความ
เก่งกล้าด้านการสงครามไม่ใช่เป็นหนทางสู่ความรุ่งเรืองเพียงสถานเดียวอย่าง
แต่ก่อน “เงิน” ก็เป็นหนทางให้เลื่อนชั้นทางสังคมได้
“นิราศ” ได้รับความนิยมสูงในสมัยนั้น เป็นโคลงกลอนเล่าเรื่องการ
เดินทาง วรรณกรรมประเภทนี้เปิดโอกาสให้ผู้เขียนบรรยายความเปลี่ยนแปลง
ที่เกิดขึ้นในสังคมของเขาได้อย่างกว้างขวางและตื่นตาตื่นใจ แทนที่จะเป็นเพียง
เรื่องของเทพเจ้าและกษัตริย์เท่านั้น “สุนทรภู่” กวีเอกแห่งยุคสมัยและลูกศิษย์
ชื่อ “นายมี” ประทับใจกับท่าเรือคลาคล�่าไปด้วย “เรือขึ้นล่องแวะจอดตลอด
หลำม พวกเจกจีนสินค้ำใบชำชำม” เสียงจ๊อกแจ๊กจอแจโต้เถียงกัน “ผู้คนมำก
มำยหลำยภำษำ” และพ่อค้า “มีเงินทองท�ำทวีภำษีเสริม เมียน้อยน้อยพลอยเป็น
สุขไรจุกเจิม” ๑๗ และสุนทรภู่ได้สังเกตว่าเงินก�าลังมี “อิทธิพล” เปลี่ยนแปลง
สังคม

ถึงบางหลวงล่วงล่องเข้าคลองเล็ก ล้วนบ้านเจ๊กขายหมูอยู่อักโข
เมียขาวขาวสาวสวยล้วนรวยโป หน้าอกโอ้อายใจมิใช่เล็ก
ไทยเหมือนกันครั้นขอเอาหอห้อง ต้องขัดข้องแข็งกระด้างเหมือนอย่างเหล็ก
มีเงินงัดคัดค้างเหมือนอย่างเจ๊ก ดังลวดเหล็กลนร้อนอ่อนละไม๑๘

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ภาพที่ ชีวิตประจ�ำวันของสำมั ชน ปรำก ในจิตรกรรม ำผนังสมัยต้นรัตนโกสินทร์

นอกจากนั้นสุนทรภู่ยังเขียนเรื่อง “พระอภัยม ี” เป็นกลอนแบบชาว


บ้านซึ่งล้อเลียนชนชั้นสูงโดยกลับตาลปัตรแบบแผนการเขียนแบบดั้งเดิมเสีย
งานชิ้นนี้กลายเป็นวรรณกรรมที่ผู้คนนิยมอ่านกันมาก

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


จิตรกรรมในวัดของเมืองหลวง มีภาพชีวิตในเมืองมากขึ้น บอกให้เห็น
วิถีประจ�าวันที่พลุกพล่าน เขียนเป็นฉากหลังของภาพพระประวัติพระพุทธเจ้า
หรือเรื่องชาดก และบางครั้งแสดงทิวทัศน์ของกรุงเทพฯ แสดงหมุดหมาย เช่น
แม่น�้า สถาปัตยกรรมที่เป็นลักษณะของกรุงเทพฯ เช่น ห้องแถวชาวจีน และ
แม้แต่การบันทึกเหตุการณ์ส�าคัญในประวัติศาสตร์ (ดูภาพที่ ๖)
สังคมเมืองใหม่นี้เปิดรับกับความคิดใหม่ๆ ที่ฝรั่งหรือชาวตะวันตกน� า
เข้ามา ฝรั่งกลับเข้ามาสยามอีกครั้งเมื่อทศวรรษ ๒๓๕๐ คนแรกที่กลับมาคือ
กงสุลโปรตุเกส ตามมาด้วยบรรดากลุ่มทูต หมอสอนศาสนา และพ่อค้าฝรั่ง
เช่น โรเบิร์ต ันเตอร์ ที่เข้ามาตั้งบ้านอยู่ที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี ๒๓๖๔ นักธุรกิจ
ใหญ่ห้อมล้อมราชส�านัก ยินดีตอบรับนวัตกรรมจากตะวันตกที่ให้ประโยชน์กับ
ธุรกิจของพวกเขา ปรับวิธีท� าบัญชี และการเดินเรือมาใช้ สร้างเรือโดยเลียน
แบบเรือก�าปั่นฝรั่งมีประสิทธิภาพมากกว่า พ.ศ. ๒๓๖๗ เจ้า ามงกุ ผู้จะทรง
ขึ้นครองราชย์เป็นพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวช อาจจะเพื่อทรงหลีกเลี่ยง
ความขัดแย้งกับพระเชษฐาคือรัชกาลที่ ๓ เจ้าฟ้ามงกุฎและพระอนุชาอีกพระ
องค์หนึ่งคือเจ้า าจุ ามณี รวมทั้งข้าราชส�านักหนุ่มหยิบมือหนึ่งติดต่อกับฝรั่ง
ในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะหมอสอนศาสนาบางคนที่ถกเถียงด้านวิชาการกัน ด้วย
สายสัมพันธ์ดังกล่าวนี้ สมาชิกของกลุ่มเจ้าฟ้ามงกุฎได้ฝกปรือภาษาอังกฤษและ
ภาษาฝรั่งอื่นๆ เรียนรู้การพิมพ์หนังสือ น�าเข้าหนังสือจากต่างประเทศ ประทับ
ใจกับเครื่องไม้เครื่องมือ เทคโนโลยีใช้เครื่องจักรไอน�้ า และความแม่นย�าด้าน
คณิตศาสตร์ของดาราศาสตร์
ขุนนางตระกูลบุนนาคก็ประทับใจเช่นกัน เมื่อนางแอนนา เลียวโนเวนส์
ไปเยี่ยมที่คฤหาสน์ในปี ๒๔๐๕ เธอตั้งข้อสังเกตถึงความหรูหราแบบตะวันตกว่า

คฤหาสน์ของ ฯพณฯ ท่าน ภายในเต็มไปด้วยลายแกะ


สลักและชุบทองสง่างามทั้งการออกแบบและสีสัน ซึ่งเข้ากันได้แนบ
เนียนกับผ้าม่านหรูหราห้อยเป็นชั้นๆ จากหน้าต่าง ให้ภาพที่เจริญ
ตา เราเดินกันไปเนิบๆ ขณะที่ล่ามน�าเราเข้าไปที่ห้องกว้างเป็นขั้น
จากต�่าไปสูง ปูพรม มีอัจกลับห้อย ประดับประดาแบบยุโรปราคา
แพงที่สุด... รอบๆ ตัวเมื่อมองไปทางไหนก็ตื่นตากับแจกันหายาก
แก้วและหีบประดับด้วยอัญมณี ถ้วยชามส่งแสงแวววับ รูปสลัก

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
น้อยๆ ดูบอบบาง สง่างาม ล้วนของดีๆ จากเอเชีย จากยุโรป ของ
เก่าและของสมัยใหม่ ผสมผสานกันระหว่างความโอ่อ่าแบบเถื่อนๆ
กับความสง่าของศิลป์รุ่นใหม่กว่า๑๙

ฝรั่งมังค่าไม่ได้เพียงแต่น�าโอกาสใหม่ๆ มาให้สยามเท่านั้น แต่ยังเป็น


การคุกคามแบบใหม่ด้วย จักรวรรดินิยมอังกฤษที่อินเดียเริ่มแผ่ขยายออกสู่
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อังกฤษสร้างฐานที่มั่นที่ปีนังและสิงคโปร์ เข้าพัฒนา
อุตสาหกรรมดีบุกและขยายอิทธิพลด้านการทูตเข้าสู่แหลมมลายูด้านเหนือ เมื่อ
ถึงทศวรรษ ๒๓๖๐ อังกฤษก็คัดง้างกับอิทธิพลของสยาม ณ บริเวณแหลม
มลายู และเริ่มเจรจาข้อตกลงเกี่ยวกับการปักปันเขตแดน อีกเรื่องหนึ่ง กอง
ก�าลังทหารอังกฤษที่อินเดียรุกเข้าพม่า และท�าสงครามที่ยืดเยื้อกันเมื่อปี ๒๓๖๙
ส่งผลให้อังกฤษเข้ายึดครองยะไข่ และชายฝั่งทะเลมอญ (ทวาย มะละแหม่ง
มะริด) เริ่มแรกสยามยินดีที่ได้เห็นศัตรูเก่าพ่ายแพ้ และคิดที่จะเป็นพันธมิตร
กับอังกฤษเพื่อเข้าควบคุมด้านเหนือของแหลมมลายูอีกครั้ง แต่ในท้ายที่สุด
แล้ว ราชส�านักสยามเข้าใจดีว่า ชัยชนะเหนือพม่าของอังก ษ เป็นความเปลี่ยน
แปลงที่มีนัยส�าคัญยิ่งแห่งยุคสมัย คือเป็นสัญญาณว่าเกิดการปฏิวัติด้านการ
ทหารขึ้นแล้ว ประกอบด้วยปืนเบา เรือปืนท�าด้วยเหล็ก อาวุธเหล่านี้สามารถ
ที่จะคุกคามเมืองท่าโดยไม่มีทางป้องกันตัว และยังมีกองทหารชาวอินเดียจ�านวน
มาก ซึ่งอังกฤษพร้อมที่จะเสียสละเพื่อชัยชนะ นวัตกรรมทั้งหลายนี้นั้น สยาม
ไม่สามารถเลียนแบบอย่างได้ทั้งสิ้น
ความพ่ายแพ้ของพม่า ตอกย�้าว่าชาวตะวันตกกระหายดินแดน ขุนนาง
สยามคนหนึ่งกล่าวหาชาวอังกฤษคนแรกที่มาเยือนสยามเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๕ ว่า
เข้ามาเพื่อ “สอดแนมรำชอำ ำจักรของสยำม ก่อนที่อังกฤษจะเคลื่อนขบวนเรือ
รบเข้ำมำโจมตี” ๒๐ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะทรงใกล้สวรรคตบนพระแท่นเมื่อ
พ.ศ. ๒๓๙๔ ทรงคาดว่า “กำรศึกสงครำมข้ำง วนข้ำงพม่ำก็เห็นจะไม่มีแล้ว
จะมีอยู่ก็แต่ข้ำงพวก รั่ง ให้ระวังให้ดีอย่ำให้เสียทีแก่เขำได้” ๒๑ ต่อมาเมื่อเรือ
ปรัสเซียล�าหนึ่งเข้ามาที่กรุงเทพฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงถามกัปตันเรือ
ตรงไปตรงมาความว่า ปรัสเซียก�าลังแสวงหาอาณานิคมอยู่หรือ “เพรำะว่ำ รั่ง
มักจะขยำยอิทธิพลของพวกเขำจนกระทั่งจักรวรรดิทั้งหมดเป็นของพวกเขำ” ๒๒
ภัยคุกคามอีกประการหนึ่งคือ น หลังจากที่อังกฤษประสบความ
ส�าเร็จขายฝิ่นที่จีน พ่อค้าอังกฤษแสวงหาตลาดที่อื่นๆ ที่มีคนจีนอาศัยอยู่ พ่อ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ค้าฝรั่งคนแรกที่มาสยามเมื่อปี ๒๓๖๔ น�าเอาฝิ่นมาด้วย ต่อมาหมอสอนศาสนา
เดินทางมาจากสิงคโปร์ในเรือที่มีฝิ่นซุกอยู่เต็มไปหมด พ.ศ. ๒๓๘๒ รัฐบาล
สยามออกกฎหมายห้ามน�าเข้าและขายฝิ่น แต่ส�าหรับพ่อค้าแล้ว ผลก�าไรเกิน
คุ้มที่จะเสี่ยง นอกจากว่ารัฐบาลเป็นห่วงถึงผลกระทบต่อผู้คนและเกรงว่าการ
ติดยาจะระบาดไปสู่คนไทยแล้ว ยังเกรงว่าฝิ่นจะท�าให้ผู้ค้ามั่งคั่งมหาศาล กลุ่ม
แก๊งก็จะแก่งแย่งกันค้าฝิ่นนี้ และจะเกิดความชุลมุนวุ่นวายขึ้น
จากมุมมองของชนชั้นน�าสยามนั้น ความน่าพิสมัยของ “ความเจริญ”
และภัยคุกคามจากการล่าอาณานิคม เกี่ยวข้องกันอยู่ จนเป็นภาวะที่กลืนไม่
เข้าคายไม่ออก พวกเขาเข้าใจดีว่า ฝรั่งกลุ่มใหม่คิดว่าตัวเองเหนือกว่าชาติอื่น
และเชื่อว่าความเหนือกว่านี้ให้ความชอบธรรมในอันที่จะเข้ายึดครองอาณาเขต
เพื่อที่จะน�า “ความเจริญ” และน�า “คนที่อยู่ในมุมมืด” ก้าวเข้าสู่โลกสมัยใหม่
บันทึกของขุนนางอังกฤษรุ่นแรกๆ ที่เข้ามาสยามบ่งบอกว่า ได้พยายามแสดง
ให้ขุนนางสยามเห็นความเหนือกว่าของพวกเขามากที่สุดเท่าที่จะท� าได้ ครอ
อร์ดเขียนไว้ในปี ๒๓๖๕ ว่าเรือปืนสองล�า “จะสำมำรถท�ำลำยเมืองหลวงได้
และไม่มีทำงเป็นไปได้เลยที่จะมีกำรต่อต้ำนจำกผู้คน ึ่งถือตัวว่ำแน่ แต่อ่อนแอ
พวกนี้” ๒๓ หมอสอนศาสนา เดวิด อาบีล เข้ามาสยามเมื่อทศวรรษ ๒๓๗๐
เขียนว่า สยามมีด้านมืดคือ ทาส ฝิ่น การพนัน นับถือรูปเคารพ สมบูรณาญา
สิทธิ์ “กำรพูดจำ และกำรแต่งกำยน่ำบัตสี น่ำอับอำย” เขาบรรยายว่าทาส
“ท�ำงำนมีโ ่ล่ำมประหนึ่งเสียงแกลงแกลงของโ ่ตรวนคือเพลงที่บรรเลงเสนำะ
หูของนำยที่ดุร้ำย” และสรุปว่า “สภำวะทำงกำรเมืองและจริยธรรมของสยำม
เป็นภำพมืดมิด” ๒๔ เอ เอ นีล ใน พ.ศ. ๒๓๙๕ เขียนบรรยายภาพของสยาม
ที่รู้จักกันทั่วไปเป็นครั้งแรก โดยให้ภาพที่ดีกว่าเล็กน้อยว่า คนไทย “อย่ำงดีที่
สุดก็กึ่งปำเถื่อน...ถูกกดเอำไว้และท่ำทีขี้ขลำด...ถูกครอบง�ำด้วยควำมไม่รู้ โง่
เขลำเป็นที่สุด แถมเชื่อในไสยศำสตร์ อีกทั้งไร้ ึ่งจริยธรรมและคุ ธรรมใด ”
และนีลยังสรุปแบบเจ้าอาณานิคมว่า

ถ้ามีการปกครองที่ดีกว่านี้ ประเทศไหนเล่าในโลกตะวัน
ออกจะแข่งกับสยามได้ ผืนดินและผลผลิตอุดมสมบูรณ์ มีสินค้า
มีค่า เหมืองแร่และยางไม้ เครื่องเทศและพริกไทย ข้าวและน�้าตาล
คุณภาพดีและถูกที่สุด เต็มไปด้วยผลไม้ที่อร่อยที่สุดในโลก...เปรียบ
เทียบกับสยาม มีไม่กี่ประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยผลผลิตที่เหมาะ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
และเป็นที่ต้องการในตลาดยุโรป และมีไม่กี่ประเทศที่เปิดโอกาส
ให้สะสมเงินทองได้มากอย่างนี้...จะเป็นที่น่าเสียดายเหลือเกิน ถ้า
หากมหาอ�านาจยุโรปอื่นๆ จะปิดกั้นไม่ให้เราฉวยโอกาสงามที่เอื้อ
อ�านวยเช่นนี้ ๒๕

ฝรั่งมีความอยากรู้อยากเห็นด้วย ทูตที่ส่งมาล้วนเก็บข้อมูลด้านประวัติ
ศาสตร์ สินค้าที่ขาย สมรรถนะด้านการทหาร และสภาพการเมือง พ.ศ. ๒๓๖๗
เจมส์ โลว์ จากกองทหารราบของเมืองมัทราสที่อินเดีย วาดแผนที่ของ “สยาม
กัมพูชา และลาว” ให้กับเจ้านายของเขา ท�าให้เขาได้รับรางวัลถึง ๒,๐๐๐ ดอลลาร์
สเปน พ.ศ. ๒๓๗๖ พ่อค้าชื่อ ที. อี. มัลลอค ส่งรายงานแสดงชื่อของเมืองต่างๆ
ในสยาม พร้อมจ�านวนประชากร ไปที่ส�านักงานอังกฤษที่เบงกอล คงจะได้มา
จากรายงานใบส�ามะโนครัว ปลายทศวรรษ ๒๓๗๐ ข้าราชการอังกฤษเดินเท้า
จากพม่าขึ้นมาผ่านล้านนาและรัฐไทยใหญ่ไปสิบสองปันนา พวกเขาแสดงตัว
เป็นเอเย่นต์ค้าขาย แต่ท�าแผนที่ตลอดเส้นทาง บันทึกสิ่งที่พบเห็นเรื่องเศรษฐกิจ
พื้นถิ่น นับจ�านวนปืนใหญ่รอบๆ วัง เดินสังเกตและสอบถามทั่วไปหมดเกี่ยว
กับสภาพการเมือง
ชาวสยามที่ได้สังเกตเห็นพฤติกรรมทั้งหลายนี้เริ่มหวาดกลัวว่าฝรั่งจะ
เอาข้อมูลไปท�าอะไร จึงมีข่าวลือกันไปทั่วว่าอังกฤษหวังจะยึดเมืองไทยเป็นเมือง
ขึ้น พ.ศ. ๒๔๐๑ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรารภใจความว่า “ข ะนี้ชำว
อังกฤษแวะเข้ำมำและเข้ำมำเกี่ยวกับสยำม ดูเหมือนว่ำพวกเขำรู้ทุกสิ่งทุกอย่ำง
ที่ควรจะรู้เกี่ยวกับสยำมอย่ำงถูกต้อง” ๒๖
ราชส�านักสยาม ณ จุดเริ่มแรกกีดกันฝรั่งออกไปให้อยู่ห่างๆ จากราวๆ
ทศวรรษ ๒๓๖๐ ยอมเซ็นข้อตกลงการค้าซึ่งโดยสาระไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร
ที่ส�าคัญ โรเบิร์ต ันเตอร์ เป็นพ่อค้าฝรั่งคนเดียวซึ่งมีร้านที่กรุงเทพฯ มิช้า
มินานเขาด�าเนินรอยตามชาวต่างชาติในอดีต คือจัดหาอาวุธและของใช้ฟุ่มเฟือย
ที่ราชส�านักต้องการ ท�าตัวเป็นคนกลางติดต่อกับฝรั่งอื่นๆ และก็เหมือนกับที่
เกิดขึ้นกับพ่อค้าฝรั่งในสมัยก่อนๆ คือเมื่อเขามีอ�านาจมากเกินไป ก็ถูกเนรเทศ
ออกจากสยามเมื่อปี ๒๓๘๗
ขุนนางทีห่ ้อมล้อมพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั และชนชัน้ น�ากลุ่มอืน่ ๆ ระทึก
ใจกับเรื่อง “ความเจริญ” ทางวัตถุของฝรั่ง แต่ไม่ชอบที่หมอสอนศาสนาคริสต์

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


โจมตีพระพุทธศาสนา และร�าคาญที่ฝรั่งอ้างว่าความก้าวหน้าด้านวัตถุและด้าน
จริยธรรมของพวกเขานั้นเกี่ยวเนื่องโยงใยกันอยู่ กลุ่มพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พยายามที่จะแยกความก้าวหน้าทางวัตถุออกจากจริยธรรม เจ้าพระยาทิพากร
วงษ์ ข�า บุนนาค หนึ่งในกลุ่มนี้ เขียนบทความหลายชิ้นเพื่อสอนเยาวชน
ต่อมารวบรวมลงพิมพ์เป็นหนังสือใน พ.ศ. ๒๔๑๐ ชื่อ “แสดงกิจจำนุกิจ” นับ
เป็นหนังสือเล่มแรกๆ เล่มหนึ่งของไทย เจ้าพระยาทิพากรวงษ์ปฏิเสธการมอง
โลกแบบพุทธดั้งเดิม กระตุ้นให้เด็กๆ เรียนวิทยาศาสตร์สมัยใหม่และยอมรับ
ทัศนคติแบบวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสภาพกายภาพของโลกชนชั้นน�ากลุ่มนี้เข้าใจ
ด้วยว่าเขาต้องละทิ้งการมองกาลเวลาว่าเป็นวัฏจักรเกิดแล้วดับซ�้าแล้วซ�้าอีก
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยอมรับความคิดที่ว่ามนุษย์ไม่ได้อยู่ในกรอบของ
ชะตากรรม แต่สามารถปรับปรุงโลกให้ดีขึ้นได้ และยอมรับว่ามนุษย์เป็นผู้สร้าง
ประวัติศาสตร์
พระองค์ทรงวิจัยค้นคว้าและเขียนประวัติศาสตร์สยาม เจ้าพระยา
ทิพากรวงษ์เรียบเรียงพระราชพงศาวดารส�านวนใหม่ ึ่งบรรยายว่ากษัตริย์
ทรงสร้างประวัติศาสตร์แทนที่จะเพียงแต่ตอบสนองมีปฏิกิริยากับลางบอกเหตุ
และชะตากรรม
ชนชั้นน�ากลุ่มนี้อภิปรายอย่างเผ็ดร้อนกับเพื่อนที่เป็นหมอสอนศาสนา
และพิมพ์บทสรุปของการอภิปรายเป็นหนังสือส่วนที่สองของ แ าน ”
โดยเจ้าพระยาทิพากรวงษ์แนะน�าให้ผู้อ่านปฏิเสธศาสนาคริสต์ เสนอข้อโต้แย้ง
ว่า ทุกศาสนารวมทั้งพุทธและคริสต์มักจะมีเรื่องของอภินิหารและอิทธิฤทธิ์ของ
ผีปนเปอยู่กับความเชื่อพื้นบ้าน แต่เมื่อแยกเอาสิ่งเหล่านี้ออกไป ศีลของพุทธ
มีเหตุมีผล เป็นวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์มากกว่าที่ทางศาสนาคริสต์เชื่อว่าพระเจ้า
เป็นผู้มีอ�านาจก�าหนดสิ่งต่างๆ ในโลก พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวว่า
“เรำจะไม่รับสิ่งที่เรำคิดว่ำเป็นศำสนำที่งมงำย” ๒๗
ระหว่างที่ทรงผนวชอยู่ในช่วง พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔ เจ้าฟ้ามงกุฎทรง
ก่อตั้งธรรมยุติกนิกายขึ้น เหตุผลประการหนึ่งก็เพื่อท�าให้ศาสนาพุทธบริสุทธิ์
ปราศจากองค์ประกอบซึ่งเป็นเหตุให้ฝรั่งวิจารณ์ อีกประการหนึ่งเป็นการสาน
ต่ อ พระประสงค์ ข องพระพุ ท ธยอดฟ้ า จุ ฬ าโลก ที่จ ะท� า ให้ พ ระพุ ท ธศาสนามี
ความชอบธรรมเป็นเสาหลักของจริยธรรมในการจัดระเบียบสังคมมากกว่าเดิม
นิกายใหม่เสนอวัตรปฏิบัติที่เข้มงวดกว่าเดิมตามแบบอย่าง ภี ปฏิเสธ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
การใช้นิทานชาดกเพื่อการสอนและเทศน์ ลดความส�าคัญของคัมภีร์ไตรภูมิกถา
และหลีกเลี่ยงวัตรปฏิบัติที่ประยุกต์มาจากลัทธิพราหมณ์หรือการนับถือผี นิกาย
นี้เล็ก มีพระสงฆ์ ๑๕๐ รูป เมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎทรงขึ้นเสวยราชย์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๔
แต่ทรงอิทธิพลยิ่ง เนื่องเพราะผู้ก่อตั้งคือกษัตริย์

รงงานเกณ ์ รงงานอิสระ
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สยามแบ่งเป็นสองสังคมซึ่งมีพื้นฐานต่างกัน
เหลื่อมซ้อนกันอยู่ที่กรุงเทพฯ และบริเวณรอบๆ
สถานหนึ่ง สังคมเก่าสมัยอยุธยา ึ่งมีฐานรากอยู่ที่ความสัมพันธ์ส่วนตัว
มีการแบ่งชั้นทางสังคมเป็นทางการ และแรงงานเกณฑ์ถูกฟื้นฟูขึ้นใหม่อย่างเห็น
ได้ชัด ระหว่างที่มีการศึกสงครามและความวุ่นวาย ระบบควบคุมแรงงานแบบ
เดิมจึงถูกน�ากลับมาใช้อีก ไพร่ทุกคนตามกฎหมายต้องสังกัด “มูลนาย” ล่วง
มาจนถึงทศวรรษ ๒๓๘๐ ไพร่ถูกเกณฑ์เป็นทหารเพื่อท�าสงครามกับเมืองด้าน
ทิศตะวันออก กองทัพที่รบกับเขมรครั้งใหญ่สุด ประมาณการว่าเกณฑ์ผู้คน
ได้ถึงหนึ่งในสิบของชายฉกรรจ์จากบริเวณแอ่งเจ้าพระยาตอนล่างและที่ราบสูง
โคราช นอกจากนั้นยังใช้แรงงานเกณฑ์เพื่อกิจการในวังและตามบ้านขุนนาง
ทั้งหลายเพื่องานโยธา สร้างและซ่อมแซมเมืองหลวง เก็บของป่าเพื่อส่งเป็นส่วย
แก่ราชส�านักแล้วขายเป็นสินค้าออก ขุนนางและเจ้าพนักงานเป็นจ�านวนมาก
ดูแลและจัดการแรงงานเกณฑ์เหล่านี้
ที่บริเวณหัวเมือง การควบคุมแรงงานยิ่งเข้มงวด ฝรั่งรุ่นแรกๆ ที่ได้
เข้าไปในบริเวณเหล่านี้ รายงานว่า ร้อยละ ๕๐ ถึง ๐ ของผู้คนมีสถำนภำพ
เสมือน “ทำส” แบบใดแบบหนึ่ง หลายๆ คนเริ่มแรกเป็นเชลยศึกที่ถูกกวาด
ต้อนมา หรือถูกเกณฑ์เป็นทหารเพื่อท�าสงครามทางใต้และตะวันออก บ้างก็ถูก
น�าเข้ามาอย่างจงใจ มีกฎหมายพูดถึงทาสที่ “ไถ่มาแต่ท้องส�าเภา”๒๘ ในภูมิ
ภาคที่ไกลออกไปอีก บางคนมีอาชีพไปตีหมู่บ้านบนเขาและหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกล
แล้วลักพาผู้คนเอามาขายในเมืองและบริเวณที่ราบลุ่ม บ้างก็ตกเป็นแรงงานใน
ควบคุมของผู้อื่นเพราะว่าถูกโทษอาญา เนื่องจากเป็นหนี้ บ้างก็ขายตัวเอง และ
มักจะขายลูก ญาติ หรือบ่าว ก หมาย พ.ศ. ๒๓๔๘ ห้ามผู้ใดขายพี่น้องท้อง

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


เดียวกันหรือหลานปูย่าตายาย แต่ขายผู้อื่นได้ ตัวบทก หมายก�าหนดราคา
ื้อ ขายตามอายุ เพศ และสภาพอื่นๆ ความเป็นทาสตกทอดถึงลูกหลานได้
เชลยศึกจ�านวนมากให้ตั้งรกรากเป็นชาวนา ผู้ที่โชคร้ายหน่อยถูกใช้
ท�างานโยธา พวกที่ถูกลักพาตัวมาจากเขตภูเขามักถูกขายให้กับขุนนางเพื่อเป็น
ข้ารับใช้ส่วนตัว บางคนนายส่งไปหาเงินโดยให้รับจ้างหามของ รับจ้างเป็นผู้น� า
คาราวาน และเป็นควาญช้าง บ้างต้องท�างานในไร่นาของผู้อุปถัมภ์ ทั้งทาสและ
ไพร่อยู่ในภาวะถูกกะเกณฑ์และบังคับได้ ที่ภาคใต้ ชาวนาบ่นว่าขุนนางเก็บภาษี
ตามใจชอบ ไม่มีหลักเกณฑ์แน่นอน บางทีเข้ายึดเอาผลผลิต และลากตัวพวก
เขาไปเป็นแรงงานเกณฑ์ ใครที่ฮึดขึ้นสู้ ถูกล่ามโซ่ตรวนแล้ว “ถูกบีบจนตำย” ๒๙
หรือบางทีถูกทิ้งตากแดดให้ตาย
อีกสถานหนึ่ง สังคมใหม่มีฐานรากอยู่ที่เศรษฐกิจตลาดที่ก�าลังก่อตัว
ขึ้นเป็นเส้นขนานกับสังคมแบบเก่า ในช่วงแรกๆ แรงงานและผู้ประกอบการ
มาจากชาวจีนอพยพ แต่ต่อมาตลาดก็ดึงเอาคนอื่นๆ เข้ามาร่วมวงด้วย ชาวนา
บริเวณที่ราบภาคกลางปลูกข้าวเพื่อส่งออก หรือขายให้กับผู้ที่ไม่ได้ท�านา ซึ่งมี
จ�านวนเพิ่มขึ้น บ้างปลูกอ้อยเพื่อส่งให้โรงงานหีบอ้อยของคนจีน ตัดไม้ให้กับ
อู่ต่อเรือ หรือเป็นช่างผลิตสิ่งของส่งตลาดที่ก�าลังขยายตัว ขุนนางก็ร่วมขบวน
เป็นผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น บางคนก็ท�ากิจการเอง แต่บางคนก็ร่วมเป็นหุ้นส่วน
กับชาวจีน หรือเป็นผู้อุปถัมภ์ชาวจีน ตระกูลใหญ่ๆ บางตระกูลที่โยงใยใกล้ชิด
พระคลัง โดยเฉพาะตระกูลบุนนาค จะมีกิจการค้าขายหลายประเภท รวมทั้ง
การส่งออก การน�าเข้า และการท�าไร่ขนาดใหญ่
นับวัน เศรษฐกิจแบบเก่าบนพืน้ ฐานของแรงงานเกณ ์ และเศรษฐกิจ
เพื่อตลาดแบบใหม่ ต่างแก่งแย่งกันเพื่อเข้าถึงทรัพยากรที่ต้องใช้ โดยเฉพาะ
แรงงาน เมื่อถึงทศวรรษ ๒๓๖๐ ค่าตัวของทาสเขยิบขึ้นไปจนสูงกว่าที่ทาง
การก�าหนดไว้ กษัตริย์และขุนนางพยายามเข้าควบคุมจ�านวนแรงงานตามวิธี
แบบดั้งเดิม ราชส�านักออกกฎหมายหลายฉบับเพื่อก�ากับการเกณฑ์แรงงานดังที่
เคยเป็นมาในอดีต แต่การออกกฎหมายเดิมๆ เป็นหางว่าวซ�า้ แล้วซ�า้ อีก สะท้อน
ว่าออกมาแล้วไม่ได้ผล ไพร่หลีกลี้ไปท�างานในเศรษฐกิจตลาดมากขึ้น กษัตริย์
และขุนนางก็แก่งแย่งกันดึงแรงงานเกณฑ์ที่มีจ�านวนน้อยลงที่เหลืออยู่มาไว้ที่
ตัวเอง กษัตริย์ทรงลดหย่อนจ�านวนเดือนที่ต้องเข้าเกณฑ์ ขุนนางเสนอแรง
จูงใจมาแข่งขัน ต่อมาจึงมีกฎหมายลงโทษขุนนางที่ขยักไพร่หลวงเอาไว้ใช้เอง

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสั่งให้จดทะเบียน “ไพร่หลวง” เมื่อ พ.ศ.
๒๓๙๘ และทรงแปลกพระทั ย ที่ พ บว่ า มี จ� า นวนน้ อ ยมาก การยกทั พ ไปตี
ประเทศรอบสยามลดลงจากทศวรรษ ๒๓๘๐ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะหาเกณ ์
แรงงานได้น้อยลงกว่าแต่ก่อน
ไพร่หนีเกณฑ์แรงงานได้หลายวิธี บ้างหลบไปซ่องสุมกันตามหมู่บ้าน
ห่างไกลในป่า ราชส�านักจะต้องส่งกองทหารออกไปกวาดต้อนพวกเขากลับมา
แต่หลายๆ ครั้งก็ไปซื้อของป่าจากพวกเขาเพื่อเอามาขายเป็นสินค้าออก บ้าง
เลือกไปอยู่ในความอุปถัมภ์ของนายซึ่งไม่ใช้งานพวกเขาหนักเกินไป บ้างก็ติด
สินบนเจ้าพนักงานเพื่อให้จัดตัวเองอยู่ในประเภทได้รับยกเว้นที่จะถูกเกณฑ์
แรงงาน ทะเบียนไพร่แห่งหนึ่งมีรายงานดังนี้ “ในปี ๒๔๑๐ สำมในห้ำของชำย
ฉกรรจ์ได้รับกำรยกเว้นไม่ต้องถูกเก ์ เพรำะว่ำเป็นเจ้ำพนักงำนหลวง พระ
ทำส ทุพพลภำพ ขอทำน สติไม่ดี หรือถูกผีเข้ำ สมเด็จ กรมพระยำด�ำรง
รำชำนุภำพทรงประมำ กำรไว้เมื่อทศวรรษ ๒๔๑๐ ว่ำสี่ในห้ำของชำยฉกรรจ์
หลีกเลี่ยงที่จะถูกเก ์แรงงำน”
สมาชิกของชนชั้นน�าที่ท�าการค้าขายหรือโยงใยอยู่กับเศรษฐกิจเพื่อตลาด
ส่งเสริมให้ไพร่เป็นแรงงานอิสระมากขึ้นๆ จากทศวรรษ ๒๓๗๐ ผู้คนเริ่มจ่าย
เงินเพื่อทดแทนการถูกเกณฑ์ เมื่อถึงทศวรรษ ๒๓๘๐ มีคนเลือกหนทางนี้มาก
เสียจนรัฐบาลต้องจ้างกรรมกรจีนท�างานโยธาแทน ทศวรรษ ๒๓๙๐ เงินจาก
ผู้ที่ยอมจ่ายเงินแทนการเข้าเกณฑ์ เป็นรายได้สูงสุดของรัฐ ขุนนางที่ท�าการ
ค้าเสนอให้พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยกเลิกเกณฑ์แรงงานรอบๆ เมืองหลวง
แต่ไม่ส�าเร็จ “ทำสน�้ำเงิน” หรือผู้ที่ลดตัวลงเป็นทาสเพราะติดหนี้เพิ่มสูงขึ้น
บาทหลวงปาลเลกัว ์ ประมาณการว่า “อย่ำงน้อย หนึ่งในสำมของประชำกร”
มีสถานภาพเป็นทาสดังที่กล่าวมา๓๐ เมื่อขายตัวเองเป็นทาส “ไพร่” สามารถ
หาเงินจ�านวนหนึ่งและหลีกเลี่ยงการถูกเกณฑ์ “ทำสน�้ำเงิน” บางคนจ่ายเงิน
คืนเจ้าหนี้โดยท�างานให้เป็นการทดแทนค่าน�้าเงิน ขณะที่คนอื่นๆ ท�างานใน
เศรษฐกิจตลาดหาเงินสดมาจ่ายหนี้ ดังนั้น การลดตัวลงเป็นทาสรอบๆ บริเวณ
เมืองหลวงจึงกลับกลายเป็นวิธีปลดปล่อยไพร่ที่อยู่ใต้การควบคุมให้กลายเป็น
“แรงงานเสรี” ส�าหรับระบบเศรษฐกิจตลาดนั่นเอง
ความสัมพันธ์ชาย หญิงก็เริ่มปรับเปลี่ยน โดยสะท้อนสังคมที่มี ๒
ระบบทับ ้อนกันอยู่นี้ ส�าหรับสังคมใหม่ในระบบเศรษฐกิจตลาด สถานภาพ
ของหญิงที่เป็นสมบัติของชายตามก หมายถูกท้าทาย

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


สุภาษิตสอนหญิงที่สุนทรภู่คงจะเป็นผู้เขียนนั้นแตกต่างจากต�าราก่อน
หน้าซึ่งสอนภรรยาว่าจะต้องปรนนิบัติสามีอย่างไร โดยตระหนักว่าผู้หญิงชั้นสูง
อยากจะมีสิทธิ์มีเสียงในการเลือกสามีด้วยตนเองจึงให้ค�าแนะน�าว่า ควรเลือก
สำมีอย่ำงชำ ฉลำด สอนว่ำจะช่วยครอบครัวท�ำกิจกำรค้ำ ซึ่งเริ่มส�าคัญขึ้น
ส�าหรับผู้หญิงในชนชั้นนี้ได้อย่างไร จากสุภาษิตสอนหญิง พบว่าผู้หญิงจ�านวน
มากไม่ได้อยู่ในลักษณะต้องพึ่งพาสามีดังที่กฎหมายบันทึกไว้ อาจจะเป็นด้วย
เหตุผลนี้กระมัง ใน พ.ศ. ๒๔๑๑ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ยกเลิกสิทธิ
ของสามีที่จะขายภรรยาหรือลูกโดยไม่ได้รับความยินยอมของภรรยา เพราะว่า
า ทนี ่ พ า นผ น า ๓๑
แต่ขณะที่พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยอมรับทัศนคติแบบใหม่ในสังคม
ตลาด ก็ทรงเพิ่มสิทธิแบบดั้งเดิมให้กับหัวหน้าครอบครัวชนชั้นสูง ในอันที่จะ
ปฏิบัติกับผู้หญิงเสมือนเป็นทรัพย์สินชิ้นหนึ่งด้วย ทรงก� าหนดว่าผู้หญิงที่มี
สถานะต�่าหรือเป็นชนชั้นกลางเลือกสามีของตัวเองได้ แต่ไม่ให้สิทธิเช่นเดียวกัน
นี้กับสตรีสูงศักดิ์ เพราะว่าสตรีสูงศักดิ์จะเลือกใครเป็นสามีอาจส่งผลต่อชื่อเสียง
ของวงศ์ตระกูลด้วย การปรับก หมายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ จงใจก�าหนดว่า ผู้ชาย
สามารถที่จะ ื้อทาสเป็นภรรยาและขายเธอได้ในภายหลัง ส�าหรับตระกูลซึ่งมี
ศักดินาสูงกว่า ๔๐๐ นั้น พระจอมเกล้าฯ ทรงก�าหนดให้บิดามีสิทธิตามกฎหมาย
เหนือภรรยาและลูกสาวมากขึ้น ในท�านองเดียวกันเจ้าพระยาทิพากรวงษ์ ผู้ซึ่ง
สนับสนุนส่งเสริม “ความเจริญ” ที่แข็งขันที่สุดคนหนึ่ง เขียนหนังสือสนับสนุน
การมีภรรยาหลายคน การใช้ลูกสาวเสมือนเป็นสินทรัพย์ ยังคงมีความส�าคัญ
ต่ออิทธิพลของตระกูลใหญ่

สน ิสัญญาเบาว์ริง
ช่วงปลายรัชกาลที่ ๓ และต้นรัชกาลที่ ๔ ยิ่งเกิดความตึงเครียดเพิ่ม
ขึ้นในบรรดาชนชั้นน�าด้วยกันเอง ในประเด็นที่เกี่ยวโยงกันด้วยเรื่องเศรษฐกิจ
ระบบสังคม และที่จะจัดการกับตะวันตกอย่างไรดี คนหัวเก่าต้องการกันฝรั่ง
ออกไปห่างๆ และรักษาความสมานฉันท์ในสังคมเอาไว้อย่างเหนียวแน่น โดย
เฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมไพร่และทาสแบบดั้งเดิม กลุ่มนี้เข้มแข็งมากในสมัย
รัชกาลที่ ๓ ทรงเปลี่ยนจากการค้าผูกขาดโดยราชส�านักมาเป็นระบบเจ้าภาษี

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
นายอากร แต่ทรงปฏิเสธข้อเรียกร้องของฝรั่งให้เปิดการค้าให้เสรีมากขึ้น ทรง
พึ่งระบบเกณฑ์แรงงานแบบเดิมเพื่อท�าสงครามกับเขมร
คนหัวใหม่เชื่อว่ายิ่งค้ากับฝรั่งมากเท่าใด ยิ่งมีแรงงานเสรีและยิ่งเข้าถึง
เทคโนโลยีมากขึ้น จะกระตุ้นให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต สร้างรายได้สู่รัฐบาลและ
เพิ่มความมั่งคั่งของเอกชน ผู้นา� ของกลุ่มนี้คือหัวหน้าของตระกูลบุนนาค และ
ปัญญาชนคนชั้นสูงที่ห้อมล้อมเจ้าฟ้ามงกุฎ พ.ศ. ๒๓๘๕ อังกฤษสยบจีนด้วย
สงคราม น บอกให้เห็นผลของการท้าทายข้อเรียกร้องเพื่อ “การค้าเสรี”
ผลกระทบของสงครามนี้คือ ท�าลายการค้าเรือส�าเภาระหว่างสยามและ
จีนอย่างสิ้นเชิง และโน้มน้าวให้สยามหันไปค้าขายกับ รั่งเป็นการทดแทน ชัย
ชนะของอังก ษเป็นหมุดหมายว่าอินเดียและจีน ึ่งเคยเป็นที่มาของวัฒนธรรม
สยามแต่ดั้งเดิม ตกอยู่ภายใต้ความครอบง�าของตะวันตก ดังนั้น ชนชั้นน�า
ของไทยจึงต้องเบนสายตาไปทางตะวันตกอย่างช่วยไม่ได้
พ.ศ. ๒๓๙๔ ตระกูลบุนนาคมีบทบาทส�าคัญในการเถลิงราชย์ของพระ
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมาชิกของกลุ่มหัวใหม่ได้รับรางวัลมีบรรดาศักดิ์สูงขึ้น
และมีอ�านาจมากขึ้น พวกเขาเสนอว่า ไม่มีประโยชน์อันใดที่จะปกปองกำรค้ำ
เรือส�ำเภำด้วยกำรเก็บภำษีต่ำงระดับ ในข ะที่กำรเดินเรือของตะวันตกมีควำม
เหนือกว่ำทำงด้ำนกำรสร้ำงควำมมั่งคั่งอย่ำงเห็นได้ชัด กลุ่มนี้มีความเห็นว่า
การห้ามน�าเข้าฝิ่นก่อนหน้านี้ มีผลเพียงแต่เพิ่มก�าไรมหาศาลและกระตุ้นการ
สงครามระหว่างกลุ่มแก๊งต่างๆ เท่านั้นเอง
พ.ศ. ๒๓๙๘ พระจอมเกล้าฯ ทรงเชิญเ อร์จอห์น เบาว์ริ่ง ผู้ส�าเร็จ
ราชการอังกฤษที่ฮ่องกง เมืองหลวงการค้าฝิ่นของอังกฤษ ให้มาเจรจาสนธิ
สัญญาการค้ากับสยาม สนธิสัญญานี้ยกเลิกระบบผูกขาดการค้าโดยราชส� านัก
ที่ยังหลงเหลืออยู่ ปรับภาษีการเดินเรือจีนและอังกฤษให้เท่ากัน ยอมให้อังกฤษ
มีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเหนือพลเมืองอังกฤษ และยอมให้อังกฤษน�าเข้าฝิ่น
มาขายในสยามผ่านการผูกขาดของรัฐบาลไทย เบาว์ริ่งโอ้อวดว่าสนธิสัญญานี้
ส�าแดงชัยชนะของลัทธิการค้าเสรี ส�าหรับราชส�านักไทย การค้าฝิ่นผูกขาดกลาย
เป็นแหล่งที่มาของรายได้รัฐบาลสูงสุด
จีนเคยเป็นประเทศส�าคัญยิ่งส�าหรับสยามในช่วง ๑๕๐ ปที่ผ่านมา
แต่สนธิสัญญาเบาว์ริ่งนี้ คือหมุดหมายว่าสยามได้เบนสายตาไปจากจีน เพ่งสู่
ตะวันตก

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


สรุป
การศึกสงครามกับพม่าที่ยาวนานทั้งก่อนและหลังเสียกรุงครั้งที่สอง
ท�าให้แนวโน้มสู่การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคมชะงักงันอยู่ชั่วขณะ
และได้น�าเอาระบบทหารและการควบคุมผู้คนแบบดั้งเดิมกลับมาใช้อีก แต่จาก
ราวๆ ปี พ.ศ. ๒๓๔๐ ก้าวย่างของการเปลี่ยนแปลงด�าเนินต่อไป ตระกูลขุนนาง
ใหญ่มีอ�านาจมากกว่าเดิม ทั้งที่เมืองหลวงและที่หัวเมือง พวกเขาสถาปนาระบบ
สืบทอดต�าแหน่งและผลประโยชน์ภายในตระกูล อ� านาจของสถาบันกษัตริย์
จ�ากัดลงบ้าง
ด้วยการค้ากับจีนที่รุ่งขึ้น กอปรกับจ�านวนผู้อพยพชาวจีนสู่สยามที่สูง
ขึ้น เศรษฐกิจตลาดขยายตัวในบริเวณที่ราบลุ่มเจ้าพระยา และเรื่อยลงไปทาง
แหลมมลายู ภายใต้ผลกระทบดังกล่าว ระบบสังคมเริ่มปรับเปลี่ยน ผู้คนหลีก
ลี้ออกจากระบบควบคุมแรงงานแบบเดิมๆ ตระกูลเจ้าสัวใหญ่กลุ่มใหม่เขยิบเข้า
เป็นสมาชิกของชนชั้นน�า ภายในตระกูลชั้นสูงดั้งเดิมเองนั้น สมาชิกหลายคน
เข้าท�ากิจการค้าขาย วิธีคิดและการมองโลกจึงเปลี่ยนไปด้วย
เมื่อฝรั่งหวนกลับมาอีก เกิดความตระหนกว่าจะเข้ามายึดสยามเป็น
เมืองขึ้น แต่ชนชั้นน�าสยามก็อยากรู้อยากเห็นมากทีเดียวเกี่ยวกับเรื่องวิทยา
ศาสตร์ เครื่องไม้เครื่องมือ และความคิดเรื่องความเจริญของฝรั่ง คนหัวใหม่
ในบรรดาชนชั้นน�าเพ่งไปที่ตะวันตก เสนอให้สยามค้าขายกับฝรั่งมากขึ้น และ
ปลดปล่อยแรงงานให้เสรีขึ้น เมื่อตระกูลบุนนาคอยู่เบื้องหลังการขึ้นครองราชย์
ของพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั เมือ่ พ.ศ. ๒๓๙๔ และมีการเซ็นสนธิสญ ั ญาเบาว์รงิ่
อีก ๔ ปีต่อมา เหล่านี้คือสัญญาณว่าอิทธิพลของกลุ่มหัวใหม่พุ่งขึ้นแล้ว
หลังสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง สยามเปดกว้างรับสิ่งต่างๆ จากตะวันตกเพิ่ม
ขึ้น ประเด็นส�าคัญที่ชนชั้นน�าจะต้องสนใจเปลี่ยนไป นั่นก็คือจะปฏิรูปการ
ปกครองอย่างไรดี เพื่อรับกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการคุกคามจาก
เจ้าอาณานิคมตะวันตก

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
การป ิรูป
ทศวรรษ ๒๔
งทศวรรษ ๒๔๕
สมัยรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ “สยาม” ปรับแปลงสู่ความเป็นรัฐชาติ
เป็นปรากฏการณ์ใหม่อย่างสิ้นเชิง อำ ำบริเว ที่รวบรวมเข้ำมำอยู่ในขอบ
ขัน สีมำอันเดียวกันนี้ ล้วนแต่มีประวัติศำสตร์ ภำษำ วั นธรรม ศำสนำ และ
ประเพ ีที่ต่ำงกันไป “ภาษาไทย” ใช้กันทั่วไปแถบที่ราบลุ่มแม่น�้าเจ้าพระยา
เลาะเรื่อยลงไปทางตอนเหนือของแหลมมลายู แต่ในทางปฏิบัติก็ยังมีภาษาถิ่น
และส�าเนียงที่ผิดแผก คนกรุงเทพฯ กับคนเชียงใหม่นั้นอาจสื่อกันไม่ได้ ใน
ช่วง ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา จ�านวนเชลยศึกที่ถูกกวาดต้อนมาจากดินแดนรอบนอก
และชาวจีนที่อพยพเข้ามา ท�าให้สังคมมีความหลากหลายยิ่งขึ้น ระบบบริหาร
ราชการแผ่นดินเดิมที่ไม่เป็นหนึ่งเดียว เปิดช่องให้ท้องถิ่นคงความแตกต่างอยู่ได้
ความคิดเรื่องชาติ รัฐชาติอันหนึ่งอันเดียว เชื้อชาติ เอกลักษณ์ของชาติ
และระบบบริหารราชการรวมศูนย์ เป็นสิ่งที่ก�าหนดมาจากเบื้องบน ประยุกต์
มาจากตัวแบบของยุโรปแล้วน�ามาปรับใช้ เหตุผลส่วนหนึ่งนั้นเพื่อต่อต้านการ
คุกคามของเจ้าอาณานิคม และก็เพื่อทดแทนระบบการปกครองและควบคุม
สังคมแบบเก่า ซึ่งเสื่อมประสิทธิภาพเนื่องจากสังคมได้เปลี่ยนไป และไม่อาจ
สนองความต้องการใหม่ๆ ของระบบเศรษฐกิจตลาดได้

ความเสอมสลายของระบอบการปกครอง บบเ ิม
ครั้นถึงรัชกาลที่ ๔ สังคมสยามส่วนกลาง คือภาคกลางปัจจุบัน ได้
เปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างสิ้นเชิง ทั้งนี้ เป็นผลของการแผ่ขยายแสนยานุภาพ
ทางการทหารของกรุงเทพฯ และเศรษฐกิจการค้าที่รุ่งเรืองขึ้น ความเปลี่ยนแปลง

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
นี้ท�าลายฐานรากของเสถียรภาพทางการเมืองที่เคยโยงอยู่กับความสัมพันธ์ส่วน
บุคคล
ชาวจีนเข้ามาอยู่ในสยามถึงประมาณ ๓ แสนคนแล้ว ส่วนมากอพยพ
เข้ามาในช่วงสองรุ่นอายุก่อนหน้า เริ่มแรกรัฐบาลพยายามควบคุมคนจีนโดย
รับเอาหัวหน้าชุมชนจีนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบราชการ และให้หัวหน้าเหล่านี้
รับผิดชอบความประพฤติและสวัสดิการของคนจีนในสังกัด วิธีนี้เป็นหลัก
ปฏิบัติมาแต่อดีต แต่ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เปลี่ยนไป ชาวจีนไม่ได้เกาะ
กันเป็น “ชุมชน” ที่มีหัวหน้าเป็นตัวตน แต่อยู่กันกระจัดกระจายแบ่งเป็นหลาย
“กก” หลายกลุ่ม เคลื่อนย้ายไปมาไม่อยู่กับที่กับทาง จนท�าให้การควบคุมแบบ
เก่าขาดประสิทธิภาพ ชาวจีนจับกลุ่มกันท�างานตามท่าเรือ โรงสีข้าว โรงงาน
น�้าตาล และเหมืองดีบุกเป็นกลุ่มใหญ่กว่าที่เคยเป็นมา มักจะอยู่ห่างไกลจาก
กรุงเทพฯ จึงยากแก่การควบคุมดูแล โดยเฉพาะที่เหมืองดีบุกแถบแหลมมลายู
ซึ่งก�าลังขยายตัว การจลาจลปะทุขึ้นเป็นครั้งเป็นคราว ในทศวรรษ ๒๓๘๐
และทศวรรษ ๒๔๑๐ มีความวุ่นวายเกิดขึ้นที่แหล่งปลูกอ้อยด้ำนตะวันออกของ
กรุงเทพ จนต้องส่งกองทหารไปก�าราบ เมืองระนองทางตอนใต้เกือบจะถูก
ยึดไป เมื่อคนงานเหมืองแร่ดีบุกก่อการจลาจลในทศวรรษ ๒๔๑๐ รัฐบาลส่ง
เรือรบไปปราบ แต่ม็อบคนจีนตอบโต้โดยเผาเมืองภูเก็ตแล้วฉกชิงข้าวของ ที่
กรุงเทพฯ เมื่อคนงานจีนนัดหยุดงานกันก็ท�าให้ท่าเรือเป็นง่อยไปทันที ภาวะ
เช่นนี้ท�าให้รัฐบาลฝันร้ายว่า ชำวจีนอำจยึดครองกรุงเทพ ได้
พ.ศ. ๒๔๓๒ แกงคนจีนคู่ตรงข้ามต่อสู้กันเป็นการใหญ่ใจกลางเมือง
หลวงเป็นเวลาถึง ๓ วัน
เช่นเดียวกับผู้อพยพทุกหนทุกแห่ง ชาวจีนก่อตั้งสมาคมเพื่อช่วยเหลือ
ระหว่างกันและกัน และเพื่อปกป้องตนเอง แต่รัฐบาลมองว่าเป็น “อั้งยี่” หรือ
สมาคมลับ เกรงกลัวว่าองค์กรดังกล่าวลักลอบน�าฝิ่นเข้ามา ต้มเหล้าเถื่อน และ
ตั้งบ่อนพนัน แถมยังติดอาวุธอีกด้วย บางครั้งเมื่อทางการเข้าสืบค้นเรื่องค้า
ฝิ่นและต้มเหล้าเถื่อนก็ถึงกับยิงปืนตอบโต้จนกระทั่งใช้ปืนใหญ่ก็มี สมัยที่
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนำค) เป็นใหญ่อยู่ในรัชกาลที่ ๔
นั้น ได้ใช้กุศโลบาย “เลี้ยงอั้งยี่” และให้พวกเขาดูแลกันเอง
นอกจากชาวจีนแล้วยังมีกลุ่มคนอื่นอีกที่หลีกลี้จากระบบควบคุมคน
แบบเดิม บ้างออกไปท�านาไร่ ณ ที่บุกเบิกใหม่ๆ ปลูกข้าวเพื่อเลี้ยงคนกรุงเทพฯ
เพื่อส่งออกไปจีน และเพื่อเลี้ยงกองทัพเมื่อมีสงคราม ทศวรรษ ๒๓๗๐ มีการ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ขุด คลองไปทางทิศตะวันออกและตะวันตกของกรุง เทพฯ เพื่อขนส่ งทหาร
คลองช่วยทดน�้าออกจากบริเวณทุ่งมีน�้าขัง และดึงดูดผู้คนที่แสวงหาที่ท�านา
ให้มาตั้งบ้านเรือน
พื้นที่บุกเบิกใหม่ๆ ที่เปิดขึ้น ยิ่งท�าให้ชาวนาหลีกหนีการเกณฑ์แรงงาน
และการควบคุมได้ ส่วนมากแล้วรัฐบาลก็ไม่ได้ปิดกั้นตรงนี้ แต่พยายามจะ
ขยายขอบข่ายการเก็บภาษีจากผลผลิต การค้า และการละเล่น อย่างไรก็ตาม
จากทศวรรษ ๒๓๙๐ เริ่มวิตกกังวลที่มี “โจร” เพิ่มขึ้นในเขตชนบท ทศวรรษ
ต่อมาความวิตกกังวลกลายเป็นความกลัวแบบปักใจ โจรบางคนเป็นชาวนา
ที่มีปัญหาข้าวล่ม หรือโชคร้ายด้วยเหตุอื่นๆ บ้างก็ค้าฝิ่น เหล้า และติดบ่อน
บ้างลักขโมยวัวควายเป็นอาชีพ บ้างเป็นเพียง “นักเลง” ที่ปกป้องหมู่บ้านของ
ตนจากผู้รุกรานอื่นๆ รวมทั้งจากเจ้าหนี้และเจ้าภาษี โจรลอบโจมตีกองเกวียน
ที่ขนส่งเงินภาษีกลับกรุงเทพฯ ขโมยข้าวจากยุ้งฉางของทางการ และยึดครอง
ที่ดิน บ้างกลายเป็นผู้น�าที่ชาวบ้านนิยมชมชอบ จนแต่งเพลงเยินยอที่โจรตอบ
โต้อ�านาจของทางการได้ บางพื้นที่นั้นชาวบ้านเอาอย่างอั้งยี่ก่อตั้งชมรมขึ้นมา
เพื่อปกป้องตนเองและเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย
ไกลออกไปที่ดินแดนลาว ึ่งกรุงเทพฯ ผนวกเข้ามาอยู่ใต้อิทธิพล
ตั้งแต่สมัยพระเจ้าตากสิน “ผู้มีบุญ” มักได้รับการสนับสนุนจากชาวลาวให้เป็น
กบฏต่อกรุงเทพฯ โดยที่ “ผู้มีบุญ” สัญญาจะเปลี่ยนโลก และน�าสังคมสู่ยุค
พระศรีอาริย์ที่มีความเป็นธรรมและอุดมสมบูรณ์
สนธิสัญญา “เบาว์ริ่ง” และสนธิสัญญาการค้าที่ท�ากับฝรั่งชาติอื่นๆ
หลังจากนั้น ได้กระตุ้นเศรษฐกิจตลาดให้ขยายตัว แต่ก่อปัญหากับระบบการ
บริหารราชการแผ่นดินแบบเดิม สนธิสัญญาให้อ�านาจนอกอาณาเขตแก่คนอยู่
ใต้อาณัติฝรั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้สิทธิไปขึ้นศาลกงสุลของประเทศเขา แทน
ที่จะขึ้นศาลไทย พ่อค้าที่มาจากพม่าที่อังกฤษยึดครอง หรือมาจากเขตอินโดจีน
ของฝรั่งเศสมักใช้สิทธิพิเศษนี้ ไม่เชื่อฟังเจ้าพนักงานไทย หลีกเลี่ยงไม่เสียภาษี
และท�าธุรกิจผิดกฎหมาย พ่อค้าจีนหลายคนมีสถานะเป็นคนในอาณัติของฝรั่ง
หรื อ เป็ น คู ่ ค ้ า กั บ คนในอาณั ติ ข องฝรั่ ง เพื่ อ ที่ จ ะหลี ก เลี่ ย งกฎหมายและการ
ควบคุมของรัฐไทย ชาวจีนบางคนเข้ารีตเสียก็มี เป็นวิธีขอรับความคุ้มครอง
จากรัฐบาลเจ้าอาณานิคม หากข้าราชการสยามพยายามปราบปรามกิจกรรม
ของคนเหล่านี้ก็เกรงว่าจะเป็นประเด็นความขัดแย้งซึ่งเจ้าอาณานิคมอาจจะถือ
เป็นมูลเหตุเข้ายึดครองสยามได้

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
นอกจากนั้น รัฐบาลยังมีภารกิจใหม่ที่ยิ่งซับซ้อนมากขึ้นเมื่อเศรษฐกิจ
เปลี่ยนแปลง เจ้าพนักงานรายงานว่า “ทุกวันนี้คดีของรำษ ร ึ่งเกี่ยวข้อง ึ่งกัน
และกันอยู่ตำมโรงศำลต่ำง ทั้งปวงนั้นมีมำกขึ้นทุกวัน เพรำะอำไศรยรำษ ร
พลเมืองมีกำรค้ำขำยเกี่ยวข้องพัวพันถึงกันมำกขึ้น” ๑ ฝรั่งที่มาเยือนเขตหัว
เมืองรายงานว่า “เต็มไปด้วยโจทก์จ�ำเลยที่ไม่ได้รับควำมพึงพอใจ คดีที่ยังไม่
ตัดสิน และนักโทษที่ยังไม่ได้ถูกตัดสิน” ๒
ส�าหรับความคิดเชิงวิชาการ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเอนเอียงไป
ทางตะวันตก แต่เรื่องการบริหารพระราชอาณาจักรที่เผชิญความไร้ระเบียบ
มากขึ้นนั้น พระองค์ทรงยึดโยงอยู่กับวิธีการแบบดั้งเดิม ทรงฟื้นฟูพิธีกรรม
หลวงจ�านวนมากที่ได้ร่วงโรยไปตั้งแต่ครั้งเสียกรุง รวมทั้งพิธี “ตรียัมปวาย”
หรือพิธีโล้ชิงช้าประจ�าปี เสด็จประพาสหัวเมืองส�าคัญๆ และพระราชทานเงิน
ให้ซ่อมแซมและท�านุบ�ารุงวัดใหญ่ที่ทรงสถาปนาเป็น “วัดหลวง” โปรดให้มี
พระราชพิธีถือน�้าพระพิพัฒน์สัตยาเป็นนิจปีละ ๒ ครั้ง ในพิธีนี้เจ้าเมืองและ
กรมการเมืองชุมนุมกัน มักเป็นที่วัดหลวง หันหน้าไปทางที่ตั้งของเมืองหลวง
แล้ว “ดื่มน�้าสาบาน” เพื่อแสดงความจงรักภักดี
เพื่อป้องกันเมืองจากศัตรู ไม่เพียงทรงสร้างป้อมใหม่ ๖ แห่ง แต่ทรง
สร้างหลักเมืองใหม่ ผูกดวงเมืองใหม่ และทรงประดิษฐ์พระสยามเทวาธิราชขึ้น
ใหม่ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อปกป้องพระราชอาณาจักร ตามประเพณีดั้งเดิมนั้น
หมู่บ้านและเมืองมี “ผี” หรือ “เสื้อเมือง” เป็นศูนย์กลางของความเป็นอันหนึ่ง
อันเดียว แต่ก่อนหน้านี้ไม่มีผีปกป้องทั้งพระราชอาณาจักร
เมื่อมีการค้นพบซากปรักหักพังของเมืองพระนคร นครวัด พระจอม
เกล้าเจ้าอยู่หัวทรงส่งกองทหารเพื่อไปรื้อถอนปราสาทแห่งหนึ่งมาประกอบใหม่ที่
กรุงเทพฯ เพื่อเพิ่มอ�านาจศักดิ์สิทธิ์ของเมืองหลวง แต่ต้องทรงล้มเลิกความคิด
ดังกล่าวเพราะปราสาทนั้นใหญ่เกินไป และกองทหารสยามที่ส่งไปถูกซุ่มโจมตี
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงออกประกาศหลายฉบับ ึ่งไม่ใช่เป็นค� าสั่ง
ด้านการบริหาร แต่มีลักษณะเป็นแนวทางชี้น�าการท�างานและการปฏิบัติตน
ของทั้งเจ้าพนักงานรัฐและราษ รทั่วไป ในท�านองเดียวกันกับการปกครอง
ของจักรพรรดิจีน บางประกาศพยายามเพิ่มความพิเศษของพระมหากษัตริย์
และท�าให้แตกต่างจากส่วนอื่นๆ ของสังคมไทย ทรงตั้งกฎก�ากับการใช้ราชาศัพท์
ซึ่งใช้ “ค�ำเขมร” ค่อนข้างมาก ทรงห้ามบรรยายองค์กษัตริย์ ทรงห้ามรับบาท
บริจาริกาที่มีพื้นเพเป็นคนชนบท และทรงมีค�าสั่งให้ใช้ปฏิทินตามปีรัชกาล ทรง

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ก�าหนดระดับชั้นภายในพระราชวงศ์ข้ึนอยู่กับพระชนมายุ สถานภาพของพระ
มารดาและล�าดับศักดิ์กับกษัตริย์ซึ่งครองราชย์อยู่ รวมทั้งบรรดาศักดิ์ที่ส�าแดง
ล�าดับชั้นอย่างละเอียด ทรงเปลี่ยนกฎหมายมรดกจ�ากัดขอบเขตไม่ให้ระบบ
การมีภรรยาหลายคนท�าให้ทรัพย์สมบัติของครอบครัวโดยเฉพาะของพระราช
วงศ์กระจัดกระจายไป
งานพระราชนิพนธ์ด้านประวัติศาสตร์ของพระองค์เองและพระราช
พงศาวดารที่ได้รับการช�าระในรัชสมัยของพระองค์นั้น พยายามพิสูจน์ให้เห็น
การสืบสันตติวงศ์ทาง ายพระบิดาอย่างถูกต้องว่าเป็นแบบแผนปกติของประวัติ
ศาสตร์ไทย ทรงก�าหนดค�าน�าหน้านามของคนทุกล�าดับชั้นตั้งแต่กษัตริย์ลงไป
จนถึงทาส ทรงห้ามสามัญชนซึ่งร�่าเรียนจากวัดได้รับต�าแหน่งในกระทรวงส�าคัญ
“เพรำะว่ำจะต้องพระรำชประสงค์แต่คนที่มีชำติตระกูลเป็นบุตรขุนนำง” ๓ เนื่อง
เพราะทรงใช้วิถีปฏิบัติตามประเพณีดั้งเดิม พระจอมเกล้าฯ จึงทรงมุ่งมั่นใน
การสร้างพระราชอาณาจักรที่ทุกคนมีล�าดับชั้นชัดเจนภายใต้กษัตริย์ท่ีทรงยศ
สูงขึ้น
ขณะเดียวกันทรงมองไปที่ตะวันตกด้วยในบางเรื่อง เมื่อทรงส่งพระ
ราชบรรณาการไปจีนเพื่อให้ทางจีนยืนยันการสืบสันตติวงศ์อย่างเป็นทางการ
ดังที่เคยเป็นมา หลังจากที่คณะทูตที่ส่งไปถูกซุ่มโจมตีโดยกลุ่มกบฏก็ไม่ได้
ทรงพยายามอีก แต่กลับทรงเห็นว่ากระบวนการทั้งหมดเป็นเรื่องไร้สาระ ต่อมา
พ.ศ. ๒๔๐๐ ทรงแต่งตั้งตัวแทนจ�านวน ๒๗ คนเดินทางไปอังก ษ เพื่อรวบ
รวมข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์การขนส่ง และสถาบันการเมือง จากปี ๒๔๐๓
ทรงจ้างฝรั่งเป็นที่ปรึกษารัฐบาล และทรงมุ่งหมายน�า “ความเจริญ” มาสู่สยาม
ทรงพยายามรวบรวมการเก็บภาษีไว้ที่ส่วนกลาง ทรงตรากฎเกณฑ์ส� าหรับผู้
ปกครองหัวเมืองและประเทศราช ทรงสนับสนุนให้ราษฎรถวายฎีกาถึงกษัตริย์
และทรงมีจินตนาการว่า พระองค์ทรงเป็นพระมหำกษัตริย์ปกครองเหนือเอกรัฐ
หรือพระรำชอำ ำจักรหนึ่งเดียวที่เป็นเอกรำช ทรงบอกนำงแอนนำ เลียวโนเวนส์
ครูสำวที่ทรงจ้ำงมำสอนภำษำและกิริยำมำรยำทแบบอังกฤษให้กับพระรำชโอรส
ว่ำอยำกจะทรง ทา า พ่ ่ ี แ น๔
ในทางปฏิบัติ พระราชอ�านาจจ�ากัดโดยอ�านาจของครอบครัวขุนนางใหญ่ และ
โดยข้ออ่อนของกลไกรัฐเอง
รัชสมัยของพระองค์เป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่าน เนื่องจากว่าทั้ง
สังคมภายในและสังคมโลกก�าลังเคลื่อนเข้าสู่ยุคใหม่ (ภาพที่ ๗)

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ภาพที่ ( ้ำย) พระเจ้ำอยู่หัวรัชกำลที่ ๔ ในฉลองพระองค์กษัตริย์สยำม
ถ่ำยภำพโดย จิตร จิตรำคนี
(ขวำ) พ.ศ. ๒๔๐๗ ในฉลองพระองค์แบบขุนนำงจีน โดยผู้วำดนิรนำม
และ (ล่ำง) ภำพวำดทรงห้อมล้อมด้วยนำงสนม โดยผู้ติดตำมของขุนนำง
รั่งเศส กงต์ เดอ โบวัวร์ ที่เข้ำเ ำเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐
ระบบการบริหารแผ่นดินแบบดั้งเดิมนั้นผูกติดอยู่กับความสัมพันธ์
ส่วนตัวซึ่งนับวันแต่จะเสื่อมประสิทธิภาพลงไปทุกที ผู้คนเป็นอิสระจากความ
ผูกพันดังกล่าวที่เคยโยงพวกเขากับรัฐ ความพยายามของชนชั้นน�าที่จะใช้พระ
พุทธศาสนาเป็นรากฐานของการสร้างวินัยสังคม และท�าให้ล�าดับชั้นแบบเดิมๆ
คงอยู่อย่างเหนียวแน่นได้ผลเพียงบางส่วนเท่านั้น ผู้ปกครองเก็บภาษีจาก
เศรษฐกิจตลาดที่ก�าลังขยายตัว ขณะเดียวกันผู้ประกอบการตักตวงก�าไร ทั้ง
สองกลุ่มต้องการวิธีการใหม่ๆ ที่จะก�ากับควบคุมผู้คน เคลื่อนย้ายทรัพยากร
เพื่อเศรษฐกิจและปกป้องสินทรัพย์ที่พอกพูนขึ้น

การบริหารประเทศ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระ
ราชบิดาใน พ.ศ. ๒๔๑๑ และตลอดรัชสมัยของพระองค์ซึ่งกินเวลา ๔๒ ปีนั้น
ระบบการปกครองแบบเดิมเปลี่ยนเป็นแบบรัฐชาติ
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระชนมายุ ๑๕ ชันษาเมื่อเสด็จขึ้น
ครองราชย์ โดยมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็น
ผู้ส�าเร็จราชการ ในช่วงที่ทรงเป็นยุวกษัตริย์นี้ ได้เสด็จประพาสเพื่อทอดพระ
เนตร “ความเจริญ” ด้วยพระองค์เองยังอาณานิคมฝรั่งที่สิงคโปร์ ชวา มลายู
พม่า และอินเดีย พ่ า แ า ที่ ทา ท
า ่น ๕

ทรงส่งสมาชิกพระราชวงศ์ไปศึกษาที่สิงคโปร์ โปรดให้แปลรัฐธรรมนูญ
ของบางประเทศในยุโรปเป็นภาษาไทย และทรงประทับใจกับกฎหมายในสมัย
ของนโปเลียน เมื่อทรงบรรลุนิติภาวะเป็นกษัตริย์โดยสมบูรณ์ทรงแสดงปณิธาน
ที่ “ตั้งแต่เสด็จบรมรำชำภิเศกเถลิงถวัลยรำชสมบัติ ตั้งพระรำชหฤทัยจะด�ำรง
รักษำพระนครขอบขันธสีมำ ทั้งพระบรมวงศำนุวงศ์ ข้ำรำชกำรแลรำษ รให้
ถำวรวั นำยิ่งขึ้นไป” ๖ ภายใน ๑ เดือน พระองค์ทรงก่อตั้งพระคลังใหม่ที่รวม
ศูนย์ ทรงแต่งตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์
โดยมีสมาชิกจากพระบรมวงศ์ หลังจากนั้นไม่นานทรงแถลงโครงการ “ปฏิรูป”
ได้แก่ สิ่งที่สภำที่ปรึกษำรำชกำรแผ่นดินควรกระท�ำและสิ่งที่ควรยกเลิก สิ่งที่
ทรงประกำศจะยกเลิกนั้นรวมทั้งกำรเก ์แรงงำน ระบบทำสและกำรพนัน

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ส�ำหรับสิ่งที่ควรจะท�ำคือกำรป ิรูปศำลยุติธรรม กำรสร้ำงระบบรำชกำร ต�ำรวจ
และกองทัพ ให้มีเงินเดือนประจ�ำ กำรพั นำเกษตร และกำรศึกษำ
นักปฏิรูปคิดว่าการยกเลิกระบบควบคุมแรงงานเป็นความส�าคัญอันดับ
ต้นๆ เหตุผลส่วนหนึ่งนั้นเพื่อโต้กลับข้อวิจารณ์จากฝรั่ง นางแอนนา เลียว
โนเวนส์ มีชื่อเสียงขึ้นมาเนื่องเพราะหล่อนให้ภาพว่า ชนชั้นน�ำสยำม “ด�ำมืด
ด้วยควำมหลงผิด เชื่อในเรื่องโชคลำง ระบบทำส และควำมตำย” ๗ อีกส่วน
หนึ่งนั้นเพื่อเพิ่มจ�านวนคนงานให้กับระบบเศรษฐกิจตลาด สมเด็จเจ้าพระยา
บรมมหาศรีสุริยวงศ์ เมื่อด�ารงต�าแหน่งผู้ส�าเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะที่
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ยังทรงเป็นยุวกษัตริย์นั้น ได้ร่างข้อเสนอให้ออกกฎ
หมายเลิกทาสอย่างสิ้นเชิง หรือให้เก็บภาษีจนการใช้ทาสต้องถูกยกเลิกไปใน
ที่สุด ในขณะนั้นพวกหัวเก่าต่อต้านและไม่ยอมรับข้อเสนอใดๆ ทั้งสิ้น เพราะ
จะลดสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของพวกเขาอย่างถึงรากถึงโคนเลยทีเดียว
ดังนั้น เพื่อเอาใจกลุ่มนี้ กษัตริย์จึงทรงมีข้อเสนอให้ยกเลิกเฉพาะทาสบางประเภท
และท�าแบบค่อยเป็นค่อยไป ประกำศเมื่อเดือนสิงหำคม พ.ศ. ๒๔๑๗ ก�ำหนด
ว่ำผู้ใดก็ตำม ึ่งเป็นทำสในเรือนเบี้ยจำกปี ๒๔๑๑ ให้เป็นไทแก่ตนเองเมื่ออำยุ
ครบ ๒๑ ปี และห้ำมผู้ที่เกิดหลังปี ๒๔๑๑ ขำยตัวเอง หรือถูกขำยให้เป็นทำส
เมื่ออำยุ ๒๑ ปี ประกาศนี้หมายความว่า ทาสประเภทอื่นยังมีอยู่ได้ ได้แก่
ทาสสินไถ่ ทาสเชลยศึก การขายเด็กเป็นทาส และพระองค์ไม่ได้ทรงเปลี่ยน
ระบบเกณฑ์แรงงาน ณ จุดนี้ นักปฏิรูปเช่นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริย
วงศ์คาดหวังให้มีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วกว่านี้ แต่คงจะยอมรับนโยบายประนี
ประนอมเป็นความจ�าเป็นในทางการเมือง
“ขุนนาง” ที่เป็นพ่อค้าเห็นด้วยกับกษัตริย์ในเรื่องการปฏิรูประบบแรง
คน แต่ในเรื่องการปฏิรูประบบภาษีอากรและกระบวนการยุติธรรมนั้นเกิด
ความขัดแย้งกันระหว่างกษัตริย์ฝ่ายหนึ่ง และกลุ่มของสมเด็จเจ้าพระยาบรม
มหาศรีสุริยวงศ์อีกฝ่ายหนึ่ง พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงก่อตั้ง “กรมพระ
คลัง” เพื่อดูแลเจ้าภาษีนายอากรทั้งหมด ซึ่งก่อนหน้านั้นส่งเงินให้คลัง ๑๗ แห่ง
พระองค์ทรงก่อตั้งศาลใหม่เพื่อพิจารณาคดีจ�านวนหนึ่ง ซึ่งในท�านองเดียวกับ
เรื่องภาษี กระจายอยู่ที่ศาลต่างๆ ภายใต้หลายกระทรวง การรวมศูนย์อ�านาจ
ในสองเรื่องนี้จะส่งผลลดรายได้และอ�านาจของขุนนางใหญ่ทันที ขณะที่เพิ่ม
อ�านาจของกษัตริย์ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์และขุนนางใหญ่
อื่นๆ จึงขัดขวางอย่างเต็มที่ โดยขู่จะท�าการรัฐประหาร (“วิกฤตวังหน้า” เมื่อ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๑๗) ท�าให้กษัตริย์ทรงต้องปรับแผน และด�าเนินการ
ปฏิรูปแบบค่อยเป็นค่อยไป
จากการที่ ก ษั ต ริ ย ์ ท รงมี พ ระชายาได้ เ ป็ น จ�า นวนมาก พระเจ้ า อยู ่ หั ว
รัชกาลที่ ๕ จึงทรงมีพระอนุชาและพระเชษฐาร่วมพระมารดาและต่างพระมารดา
เป็นจ�านวนมาก พระองค์ทรงจัดตั้งพระอนุชาและพระเชษฐาเหล่านี้ พร้อมทั้ง
สมาชิกหนุ่มของตระกูลขุนนางใหญ่ เช่น ตระกูลบุนนาค แสงชูโต และอมาตยกุล
ขึ้นเป็นกลุ่มซึ่งเรียกตัวเองว่า “สยามหนุ่ม” เข้าท�านองเป็นกลุ่มที่ตรงกันข้ามกับ
“สยามเก่า” ซึ่งเป็นเรื่องของอดีต
“สยามหนุ่ม” อภิปรายถกเถียงกันในประเด็นเรื่อง “ความเจริญ” และ
“การปฏิรูป” ทรงชักจูงให้สยามหนุ่มทดลองท�างานในระบบราชการแบบตะวัน
ตก และจัดตั้งกองทหารแบบตะวันตกภายในพระราชส�านัก
อีกทศวรรษหนึ่งต่อมา เมื่อขุนนางใหญ่คนไหนถึงแก่พิราลัยหรือเกษียณ
อายุ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงโยกย้ายเจ้าภาษีนายอากรภายใต้การดูแล
ของขุนนางใหญ่นั้นให้เข้ามาอยู่ใต้กรมพระคลังเสีย และทรงแต่งตั้งผู้ที่เห็นด้วย
กับพระองค์เข้าด�ารงต�าแหน่งแทน พ.ศ. ๒๔๒๘ ทรงแต่งตั้งพระอนุชาคือ กรม
พระนราธิปฯ ให้ดูแลกรมพระคลัง และอีก ๓ ปีต่อมา รายได้จากภาษีเหล้า
ฝิ่น และการพนันทั้งหมดก็พ้นจากการควบคุมของตระกูลบุนนาค รายได้รัฐบาล
เพิ่มจาก ๑ ล้าน ๖ แสนบาท เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๗ เป็น ๕๗ ล้านบาทใน พ.ศ.
๒๔๔๙-๒๔๕๐ นี่คือฐานการเงินของระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
การใช้จ่ายด้านการทหารคือหนึ่งในการลงทุนระดับแรกๆ จากเงินรายได้
รัฐที่เพิ่มขึ้น ขณะเมื่อยังทรงมีฐานะเป็นยุวกษัตริย์ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕
ทรงทดลองก่อตั้งกองทหารรักษาพระองค์ขึ้น ๕๐๐ นาย ภายในพระราชส�านัก
ทรงจัดตั้งองค์กรและใช้ระบบการฝกทหารตามแบบอย่างของกองทหารอังกฤษ
มีอาวุธทันสมัยมาจากยุโรป ส�าหรับสมาชิกของกองทหารนี้ทรงคัดเลือกมาจาก
ตระกูลขุนนาง ได้รับเงินเดือนประจ�า เป็นข้าราชการกลุ่มแรกที่ได้สิทธิพิเศษนี้
กลางทศวรรษ ๒๔๑๐ หลังจากการทดลองนี้แล้วจึงใช้บทเรียนปรับ “ทหำรหน้ำ”
ซึ่งเดิมรักษาพระมหานคร ไพร่ในกอง “ทหำรหน้ำ” เก่าถูกถอดถอน เกณฑ์คน
ใหม่เข้าด�ารงต�าแหน่งคราวละ ๕ ปี มีเงินเดือนประจ� า แล้วยังจ้างทหารยุโรป
มาฝก ซื้อปืนไรเฟิล สร้างค่ายทหารใกล้ๆ กับพระราชวัง (ต่อมาเป็นกระทรวง
กลาโหม) ขณะนั้นกอง “ทหำรหน้ำ” ยังเล็กอยู่คือประมาณ ๔,๔๐๐ นาย แต่
เพียงพอที่จะไล่ล่าโจร ข่มพวกอั้งยี่ และป้องกันดูแลพระมหานครเมื่อจ�าเป็น

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
“ทหารหน้า” มีความส�าคัญกับโครงการหลักของกลุ่ม “สยามหนุ่ม”
คือสร้างระบบการบริหารราชการใหม่ มีโครงสร้างเป็นรูปพีระมิดทดแทนระบบ
ขุนนางหัวเมืองแบบเดิม เมื่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงขึ้นครองราชย์นั้น
ระบบการบริหารในเขตหัวเมืองยังโยงอยู่กับกระทรวงต่างๆ ไม่เป็นอันหนึ่งอัน
เดียวกัน (ดูแผนที่ ๓) ๘ หัวเมืองชั้นในตามทฤษฎีแล้วมีระบบภาษีใกล้เคียง
กับที่กรุงเทพฯ มีระบบเกณฑ์ทหารยามสงคราม และมีการแต่งตั้งเจ้าเมืองจาก
กรุงเทพฯ แต่ในทางปฏิบัติ เจ้าเมืองหลายรายสืบทอดต�าแหน่งสู่รุ่นลูกหลาน
สืบๆ กันมา หัวเมืองชั้นนอกปกครองโดยเจ้าเมืองท้องถิ่นผู้ซึ่งต้อง “ส่งส่วย”
เป็นสินค้าของป่า ขณะที่เจ้าประเทศราชส่งบรรณาการเป็นพิธีกรรมเท่านั้น
ประเทศราชซึ่งถูกผนวกเข้ามาผ่านระบบรวมศูนย์อา� นาจการบริหารไว้ที่
กรุงเทพฯ รายแรกๆ คือล้านนาหรือเชียงใหม่ ส�าหรับสยามแล้ว การที่บริษัท
ท�าไม้ของอังกฤษเข้าท�าไม้บริเวณป่าภาคเหนือที่ล้านนา เปิดช่องให้เจ้าอาณานิคม
หาทางบุกรุกสยามได้ เจ้ำเชียงใหม่มีปัญหากับบริษัทท�าไม้ของอังกฤษโดยตก
เป็นหนี้บริษัทจนมีคดีความกันชั้นศาล เปิดโอกาสให้พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕
ทรงเข้าช่วยถอดถอนหนี้ และด�าเนินการเจรจา สนธิสัญญาอังก ษ สยาม เมื่อ
พ.ศ. ๒๔๑๗ เพื่อจ�ากัดการท�าไม้ของบริษัทอังกฤษ และทรงส่ง “ข้าหลวง” หรือ
ผู้ส�าเร็จราชการจากกรุงเทพฯ เข้าก�ากับรัฐบาลที่ล้านนา
ข้าหลวงเดินทางถึงเชียงใหม่ในฐานะหัวหน้าของกองทหารซึ่งจัดตั้งขึ้น
ใหม่ ได้รับเงินเดือนประจ�าเป็นทหารประจ�าการถาวร กษัตริย์ทรงรับสั่งถึง
ข้าหลวง (เป็นพระอนุชาต่างพระมารดา) ว่า “เรำก็ไม่ได้คิดจะก�ำรื้อถอนวงษ
ตระกูลมิให้เปนประเทศรำช เปนแต่อยำกจะถือยึดเอำอ�ำนำจที่จริง...แต่เปนกำร
จ�ำเปนที่จะต้องท�ำกำรอย่ำงนี้ด้วยสติปั ำเปนมำกกว่ำอ�ำนำจก�ำลัง ต้องอย่ำ
ให้ลำว คือเชียงใหม่ เหนว่ำเปนกำรบีบคั้นกดขี่” ๙
ข้าหลวงค่อยๆ น�าเอาระบบภาษีแบบกรุงเทพฯ เข้ามาใช้ แต่งตั้งกรม
การเมือง ข้าราชการ และดูแลการสัมปทานท�าไม้เสียเอง ขุนนางที่หัวเมืองบ่น
ว่าล้านนาก�าลังถูกทึ้งถึงกระดูก และกรมการเมืองบางรายก่อกบฏ ข้าหลวงเอา
ใจขุนนางโดยสถาปนาให้มีราชทินนามที่โอ่อ่าและให้เงินเบี้ยหวัดจ�านวนมาก
แต่ก็ค่อยๆ กันพวกเขาออกไปจากระบบการบริหารราชการ ส่งภาษีเข้ากรุงเทพฯ
และก่อตั้งระบบราชการ ตามรูปแบบโครงสร้างพีระมิด ยอดอยู่ที่กรุงเทพฯ แผ่
การควบคุมไปถึงระดับท้องถิ่น

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


,()#'/!1

%"

1
%
%&%
94&<,%
(2#8 1
6
(2"1 :#'
-7'3
'# %

2:#9#'
1 9%6-(1)!8'#1
%9

%%8(
%:)

;'1
1#'

9%6-9%'"1
/&1

+7#''!7'4 -&7&1 2"1+0


4
1 !7'4 "'14 !7'4
'79#.
'1!7'4 + " /93 9'1 9+4&%'1

%;
9#'!7'4 #'//!-
3
2 '1
 '=&*'4
++1'!7'4
"+%7"'11'

=&1
/0?)"1
#01 '*'4''%'1
(1
$89> 5 9%6-0@ < 5@ %,1=&
#0(7 9%6-0@ < 5@ (1;,%
+(1 "1 4 9%6-0@ < 5@ '%1
+8( 9%6-0@ (15@ %,1=&
"/(3+ 7&/(1 '1%0'/:/ 9%6-0@ (15@ (1;,%
='!7'4 9%6-"'/9*'15@ %,1=&
9%6-"'/9*'15@ (1;,%
'01 8 9+ "'/:+(7%9%6-=%<9:
:,(-%8('/!79#1/!19%6-91 @0

9%1%1

แผนที่ ๓ ภูมิกำรเมืองก่อนกำรป ิรูปสมัยรัชกำลที่ ๕


โครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินแบบใหม่ที่ล้านนา คล้ายคลึงกับ
ที่พบเห็นในประเทศอาณานิคมของอังก ษที่อินเดีย และกลายเป็นแบบอย่าง
ที่น�าไปใช้กับภาคอื่นๆ ในสยาม กรุงเทพฯ ส่งข้าหลวงไปก�ากับหัวเมืองไกล
ออกไปที่หลวงพระบาง หนองคาย โคราช อุบลฯ และภูเก็ต ทุกๆ แห่งมีกอง
ทหารไปประจ�าการ เจ้าเมืองเดิมยังอยู่ แต่มีฐานะเป็นเพียงเจ้าเมืองในนาม ไม่
มีอ�านาจแท้จริง และเมื่อสิ้นชีพจะถูกทดแทนโดยเจ้าเมืองซึ่งแต่งตั้งมาจาก
กรุงเทพฯ และมักจะเป็นสมาชิกของพระราชวงศ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ พระเจ้า
อยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงแต่งตั้งพระอนุชาต่างพระมารดาที่ทรงโปรดปราน คือ
สมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงราชานุภาพ เป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย น�าเอา
ระบบจัดใหม่ที่หัวเมืองรอบนอกมาปรับเพื่อใช้ในมณฑลชั้นใน ตระกูลเจ้าเมือง
ซึ่งมีลักษณะกึ่งสืบทอดถูกทดแทนด้วยเจ้าเมืองที่แต่งตั้งมาจากกรุงเทพฯ
พ.ศ. ๒๔๔๒ ออกกฎหมายรับรองโครงสร้างการบริหารแผ่นดินอย่าง
เป็นทางการ ครั้นถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๗ กระทรวงมหาดไทยได้แต่งตั้งข้าราชการ
ถึง ๓,๐๐๐ นาย ไปประจ�าหัวเมืองต่างจังหวัด ตระกูลเก่าๆ และวิธีปฏิบัติเก่าๆ
ยังคงอยู่ แต่ในทางทฤษฎีแล้ว พวกเขาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบราชการ
ภายใต้โครงกรอบรูป “พีระมิด” ที่มีกระทรวงมหาดไทยก�ากับอยู่ด้านบนสุด
จาก พ.ศ. ๒๔๔๕ ข้าราชการได้รับเงินเดือนจากกรุงเทพฯ ไม่ใช่จากการกินเมือง
แบบเดิม ก่อนหน้านี้นั้น เจ้าเมืองบริหารงานจาก “จวน” หรือบ้านของตนเอง
ภายใต้ระบบใหม่เจ้าเมืองต้องไปท�างาน “ที่ว่าการมณฑล” ซึ่งสร้างใหม่ที่ใจกลาง
หัวเมือง ตามแบบอย่างของประเทศอาณานิคมอังกฤษ มีทั้งส�านักงาน เรือนจ�า
ที่พักของข้าราชการ ก่อสร้างเป็นแบบมาตรฐานโอ่อ่าใหญ่โต ด้วยประสงค์ให้
แสดงอ�านาจ สมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงฯ ทรงเรียกระบบใหม่ว่า “เทศาภิบาล”
หรือการก�ากับดูแลพื้นที่
การปฏิรูประบบศาลก็เป็นไปในท�านองเดียวกัน โดยใน พ.ศ. ๒๔๓๔
ตั้งกระทรวงยุติธรรม ปีต่อมาย้ายทุกคดีความที่กรุงเทพฯ จากกรมต่างๆ น�ามา
พิจารณาที่ศาลภายใต้กระทรวงนี้ เริ่มจาก พ.ศ. ๒๔๔๕ กรุงเทพฯ ส่งข้าหลวง
ไปต่างจังหวัดเพื่อจัดระบบศาลภายใต้ระบบเดียวกัน กฎหมาย พ.ศ. ๒๔๕๑
ก�าหนดให้ทุกศาลอยู่ภายใต้กระทรวงยุติธรรม และก�าหนดหลักปฏิบัติในกระ
บวนการยุติธรรมตามแบบอย่างของศาลตะวันตก
โดยทั่วไปปฏิกิริยาจากหัวเมืองชั้นในมีไม่มากนัก ตระกูลขุนนางเก่าเป็น

คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


จ�านวนมากไม่พอใจที่พวกเขามีรายได้และอ�านาจน้อยลง แต่ต�าแหน่งก็ไม่ได้ถูก
ยกเลิก และยังเกษียณได้อย่างมีศักดิ์ศรี บุตรชายได้รับการสนับสนุนให้เข้า
โรงเรียนซึ่งเป็นช่องทางสู่ระบบราชการใหม่ คนรุ่นใหม่ของตระกูลชนชั้นน�าเก่า
ดูเหมือนว่าจะน้อมรับนิยาม “ความเจริญ” ของรัชกาลที่ ๕ เนื่องเพราะเป็น
วิธีที่จะคงสถานภาพของพวกเขาเอาไว้ภายใต้ภาวะที่โลกก�าลังเปลี่ยนแปลงไป
แต่ที่หัวเมืองรอบนอกไกลออกไป ปฏิกิริยาคือ “การกบฏ”
พ.ศ. ๒๔๓๘ หมู่บ้านที่ขอนแก่นหลายแห่งกบฏและกีดกันไม่ให้ข้า
ราชการเข้ามาควบคุมพวกตนได้ถึง ๓ ปี พ.ศ. ๒๔๑๒-๒๔๑๓ กว่า ๓,๐๐๐ คน
ต่อต้านระบบบริหารใหม่ที่เชียงใหม่ พ.ศ. ๒๔๔๔ กบฏ ๒,๕๐๐ คนเข้าร่วมกับ
“กบฏผีบุญ” ที่อุบลฯ พ.ศ. ๒๔๔๕ รัฐที่ภาคใต้ขู่ที่จะก่อการกบฏ ผู้ก่อการ
กบฏที่ภาคเหนือเข้ายึดเมืองแพร่และยังมีเหตุการณ์ที่ไม่ร้ายแรงเท่าที่ล�าปาง
และล�าพูน กบฏเหล่านี้คือปฏิกิริยากับภาษีใหม่เป็นส่วนใหญ่ บ้างก็เกิดจากที่
กรมการเก่าๆ ไม่พอใจที่ถูกลดบทบาท บ้างก็ได้รับแรงหนุนจากเจ้าเมืองเดิมที่
สูญเสียอ�านาจ
ที่ล้านนา ผู้ก่อการกบฏเข้าโจมตีส�านักงานราชการที่สร้างขึ้นใหม่ และ
ประกาศว่าจะขับไล่ข้าราชการสยามและเจ้าภาษีนายอากรจีนออกไปให้จงได้ ทั้ง
ที่ล้านนาและอีสาน กบฏเหล่านี้โยงกับประเพณี “กบฏผีบุญ” ผู้ซึ่งอ้างว่าจะยึด
อ�านาจจากผู้ปกครองเดิมและจัดตั้งสังคมใหม่ที่ดีกว่า กบฏที่อีสานเข้ายึดเมือง
เขมรำฐที่ฝั่งแม่น�้าโขง และมุ่งไปปลดปล่อยเมืองอุบล ประกาศว่าต้องการสร้าง
อาณาจักรซึ่งไม่ได้อยู่ใต้การปกครองของสยามหรือฝรั่งเศส
รัฐบาลไม่ได้เตรียมรับมือกับแรงต่อต้านขนาดนี้ แต่กบฏเหล่านี้ปราบ
ไม่ยาก เพราะว่ารัฐบาลมีทั้งปนใหญ่และอาวุธปนอื่นๆ ขณะที่ ายกบฏใช้
เพียงอาวุธพื้นถิ่นและเชื่อว่าน�้ามนต์ศักดิสิทธิของผู้มีบุญที่เป็นผู้น�าจะท�าให้
พวกเขาอยู่ยงคงกระพัน ที่อีสาน กองทหารจากกรุงเทพฯ อ้างว่าได้ฆ่าฝ่าย
กบฏถึง ๒๐๐ ราย โดยฝ่ายรัฐบาลไม่เสียชีวิตเลยแม้แต่คนเดียว ที่ล้านนา
ผู้น�า ๑๓ คนถูกจับกุมใส่ขื่อคาอยู่ ๓ วัน และถูกโทษประหารในท้ายที่สุด ที่
ภาคใต้ เจ้าเมืองปัตตานีชาวมาเลย์ถูกจ� าคุกอยู่ถึง ๒ ปี หลังจากที่รัฐบาล
กรุงเทพฯ ส�าแดงแสนยานุภาพขนาดนี้ การกบฏจึงค่อยๆ หายไป แต่กบฏก็
ได้สร้างความตระหนกตกใจแก่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ และทางราชส� านัก
เป็นอย่างยิ่ง จึงชะลอการปฏิรูปลงพักหนึ่งโดยเฉพาะที่ล้านนา

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย
ภาพที่ ขุนนำงไทยสมัยรัชกำลที่ ๔ ก่อนอิทธิพลของชำติตะวันตก
หม่อมรำโชทัย (ม.ร.ว.กระต่ำย อิศรำงกูร) เครือ่ งแต่งกำย
และของตกแต่งมำจำกหลำยประเทศในเอเชีย ไทย จีน
เปอร์เ ีย อำหรับ อินเดีย เฉพำะหนังสือเท่ำนั้นที่เป็นของ รั่ง

การปกปนอาณาเขต

พร้อมๆ กับการปรับเปลี่ยนสู่ระบบบริหารราชการแผ่นดินแบบใหม่ก็
มีการปรับเปลี่ยนด้านภูมิรัฐศาสตร์ด้วย ระบบเดิมมีรากฐานอยู่ที่เมือง อาณา
เขตของแต่ละเมืองไม่ชัดเจน และความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างเจ้าผู้ครองนคร
ทั้งหลายเป็นเรื่องหลัก ระบบใหม่มีรากฐานอยู่ที่ “อาณาเขต” มีเส้นกั้นเขตแดน
แน่นอน ความสัมพันธ์ส่วนตัวส�าคัญน้อยลง ซึ่งระบบใหม่นี้ ธงชัย วินิจจะกูล
เรียกขานว่า “ภูมิกายา” หรือ “ o ody” ๑๐
ระบบดั้งเดิมไม่มีการปักปันอาณาเขตดังเช่นเส้นที่ขีดในแผนที่ หรือ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


แนวเขตบนแผ่นดิน เมืองที่ติดกัน ๒ แห่ง มักจะสร้างสัญลักษณ์เป็นจุดปัน
เขตแดนโดยก่อเป็น “กองหินทรงสามเหลี่ยม” ขึ้นมา หรือมี “เจดีย์” หรือมี
“ป้อม” เก็บภาษีบนเส้นทางที่เชื่อมศูนย์กลางของเมืองทั้งสอง เมืองส่วนใหญ่
แบ่งแยกออกจากกันด้วยผืนป่าขนาดใหญ่ที่ไม่มีใครอาศัยอยู่ เช่น เทือกเขา
ที่กั้นไทยกับพม่า และในสมัยนั้นผืนป่าหรือเทือกเขาดังกล่าว “ไม่มีขึ้นแก่ผู้ใด
มาแต่โบราณ” ๑๑ เจ้าผู้ปกครองประสงค์จะให้บริเวณรอยต่อระหว่างเมืองเป็น
เสมือน “ทางเงินทางทอง เปดอิสระส�าหรับพ่อค้าวาณิชย์” หรืออีกนัยหนึ่งเป็น
ช่องทางเพื่อการค้าและการสร้างอิทธิพล แทนที่จะเป็นตัวปิดกั้นการค้าและความ
สัมพันธ์ระหว่างกัน ณ บริเวณไกลปืนเที่ยง เจ้าเมืองอาจสวามิภักดิ์เป็นประเทศ
ราชกับกษัตริย์มากกว่าหนึ่ง และความสัมพันธ์ดังกล่าวอาจลื่นไหลไปตามสถาน
การณ์ที่เปลี่ยนไปได้
ครั้นอังกฤษกลายเป็นเพื่อนบ้านของสยามทางทิศใต้และทิศตะวันตก
เมื่อทศวรรษ ๒๓๖๐ นั้น อังกฤษได้ขอให้สยามปักปันเขตแดนระหว่างกันให้
ชัดเจน ในชั้นแรกราชส�านักสยามรู้สึกแปลกใจและร�าคาญใจกับการร้องขอ
ดังกล่าว และยอมท�าตามแบบไม่ค่อยเต็มใจนัก
จากทศวรรษ ๒๔๐๐ เป็นต้นมา แรงกดดันจากประเทศมหาอ�านาจมี
ความสลับ ับ ้อนขึ้น อังกฤษค่อยๆ รุกรานแย่งดินแดนทางตอนใต้จากสยาม
และใน พ.ศ. ๒๓๙๕-๒๓๙๖ เข้ายึดกุมเอาดินแดนอีกส่วนหนึ่งของพม่า ฝรั่งเศส
ก็รุกเข้ามาทางด้านตะวันออกยึดไ ่ง่อน และต่อมาเมื่อปี ๒๔๐๖ ผนวกเขมร
เข้าอยู่ในความดูแล สยามเร่งรีบเซ็นสนธิสัญญาว่าเขมรอยู่ภายใต้ความดูแล
ของทั้งฝรั่งเศสและสยาม โดยให้เหตุผลว่านี่เป็นเพียงผลของการที่เขมรเคย
เป็นประเทศราชของทั้งเวียดนามและสยามพร้อมๆ กัน เมื่อฝรั่งเศสเข้าเกาะ
กุมเวียดนามเป็นอาณานิคม เขมรจึงต้องอยู่ในพิทักษ์ของฝรั่งเศสร่วมกับไทย
แต่ รั่งเศสต้องการมากกว่านั้น ความใ ันของ รั่งเศสในฐานะเจ้าอาณา
นิคมกลับไปกลับมาระหว่าง ๒ สิ่ง คือ การหาเส้นทางไปจีนทางด้านเหนือของ
อินโดจีน หรือถ้าไม่ได้ก็จะขอเพียงรางวัลปลอบใจ คือขยายอิทธิพลเข้าสู่เอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้มาทางลาว เขมร และไทย
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๙-๒๔๑๐ หลังจากที่การ์นิเยร์และลาเกรพบว่าไม่อาจ
เดินทางเรือไปตามล�าน�้าโขงให้ถึงเมืองจีนได้ ข้าราชการฝรั่งเศสที่อินโดจีนประ
กาศว่า “ควำมประสงค์ของเรำคือท�ำให้จักรวรรดิ รั่งเศสเป็นจริงขึ้นมำ ตำมที่

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
พวกเรำบำงคนได้ใ ันไว้ และจักรวรรดินี้จะต้องแผ่ขยำยจำกกวำงตุ้งและ
ยูนนำนไปจนถึงบริเว กรุงเทพ ” ๑๒ นอกจากนั้น ฝรั่งเศสยังน�าเอาแนวคิด
แบบตะวันตกอีกหนึ่งเข้ามา คือ การอ้างสิทธิเข้าครอบครองอาณาบริเวณโดย
ใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ฝรั่งเศสเริ่มมองหาเอกสารซึ่งแสดงว่าเวียดนาม
เคยครอบครองดินแดนที่อยู่ระหว่างฮานอย-ไซ่ง่อน และกรุงเทพฯ เพื่อว่าผู้ที่
เข้ายึดกุมเวียดนามได้คือฝรั่งเศสจะสามารถอ้างความชอบธรรมเป็นเจ้าเหนือ
เขตแดนเหล่านั้นได้ด้วย
ขณะเดียวกัน นักธุรกิจฝรั่งเริ่มเข้ามาหาประโยชน์ในสยาม บริษัทท�าไม้
อังกฤษหลายแห่งเริ่มท�าไม้ที่พม่าก่อนแล้วเขยิบเข้ามาตัดไม้ในดินแดนล้านนา
บริษัทเหมืองดีบุกพยายามขยับขยายเข้าสู่สยามจากแหลมมลายูที่ตกเป็นของ
อังกฤษแล้ว กลุ่มบริษัททั้งสองอุตสาหกรรมนี้ได้รับสัมปทานจากเจ้าเมืองที่เป็น
ประเทศราชของสยาม ที่กรุงเทพฯ นักเก็งก�าไร รั่งเสนอโครงการขุดคลองที่
“คอคอดกระ” ขอท�าเหมืองแร่หลายชนิด และสร้างทางรถไ เป็นโครงข่าย
ที่สะท้อนความใ ันของเจ้าอาณานิคมที่จะแผ่ขยายอิทธิพลทั่วภูมิภาค ใน
สถานการณ์แบบนี้ สยามเริ่มมองเห็นว่าการมีเส้นแบ่งเขตแดนที่ชัดเจนเป็นวิธี
ป้องกันตัวเองที่ดี พ.ศ. ๒๔๒๓ รัฐบาลสยามจ้างนักส�ารวจชื่อเจมส์ แมคคาร์ที
จากอินเดีย ส่งเขาไปท�าแผนที่ ณ บริเวณชายแดนโดยเฉพาะที่อีสานไกลโพ้น
แมคคาร์ทีเดินทางไปกับกองทหารประหนึ่งว่าถูกส่งขึ้นไปเพื่อปราบ “จีนฮ่อ” ซึ่ง
คงจะเป็นพวกที่ลี้ภัยสืบเนื่องจากเหตุการณ์กบฏไต้ผิงที่จีนใต้ แต่หน้าที่แท้จริง
ของกองทหารคือเป็นตัวเสริมและยืนยันอาณาเขตที่แมคคาร์ทีก�าลังท�าแผนที่
ก�ากับอยู่ โดยปักธงช้างไทย มอบราชทินนามให้กับผู้น�าท้องถิ่น สร้างค่ายทหาร
และสักเลกเพื่อเกณฑ์แรงงาน แผนที่ของแมคคาร์ทีพิมพ์ใน พ.ศ. ๒๔๓๐
แสดงอาณาเขตสยามจากสิ บ สองปั น นาลงใต้ ไ ปตามเทื อ กเขาอั น นั ม ที่ เ ขมร
(แผนที่ ๔) ธงชัย วินิจจะกูล กล่าวว่าแผนที่นี้ “แปรควำมปรำรถนำออกมำเป็น
ระบบสั ะ” ๑๓
ส�าหรับเขตแดนทางใต้และตะวันตกที่เชื่อมกับอาณานิคมอังกฤษนั้น
สยามและอังกฤษบรรลุข้อตกลงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ และ ๒๔๕๒ แบ่งเมืองที่
เคยเป็นประเทศราชของทั้งมลายูและสยามให้แก่กัน แต่การเจรจากับฝรั่งเศส
มีความยุ่งยากมากกว่า เพราะว่าฝรั่งเศสได้ท�าแผนที่ของตนเองและเอาหลักฐาน
เอกสารท้องถิ่นมาเป็นข้ออ้างในการเข้าครอบครองดินแดนย้อนไปในประวัติ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ศาสตร์ พร้อมทั้งส่งกองทหารเข้าประจ�าการ ณ บริเวณที่ถกเถียงกัน ในที่สุด
ความขัดแย้งระหว่างสยามและ รั่งเศสเรื่องเขตแดนยุติลงด้วยก�าลัง ไม่ใช่
ด้ ว ยแผนที่ ห รื อ หลั ก ฐานทางประวั ติ ศ าสตร์ โดยที่ พ.ศ. ๒๔๓๖ ฝรั่ ง เศส
ผนวกเอาฝั่งตะวันออกของแม่น�้าโขง ใต้ลงมาจากชายแดนจีนเป็นของตน สยาม
ตอบโต้ฝรั่งเศส โดยพยายามเกณฑ์ทหารจ�านวน ๑๘๐,๐๐๐ นาย เป็นกองทัพ
ใหญ่ที่สุดที่สยามเคยมีมาในช่วง ๑๐๐ กว่าปี แต่หาเกณฑ์ทหารได้เพียงไม่กี่
หมื่นเท่านั้น กองทหารบางหน่วยรบกับทหารฝรั่งเศสใกล้แม่น�้าโขง ด้านฝรั่ง
เศสก็ส่งเรือรบสองล�ามาทอดสมออยู่หน้าสถานทูตฝรั่งเศสที่กรุงเทพฯ เรียก
ร้องให้สยามจ่ายค่าทดแทนความเสียหาย และขอให้ถอนทหารออกจากฝั่งตะวัน
ออกของแม่น�้าโขง เมื่อรัฐบาลสยามลังเล ฝรั่งเศสจึงปิดท่าเรือกรุงเทพฯ และ
เรียกร้องให้สยามก�าหนดให้ฝั่งตะวันตกของแม่น�้าโขงเป็นเขตปลอดทหารเป็น
ระยะทาง ๒๕ กิโลเมตร อีกทั้งให้สยามยอมให้ชาวเวียดนาม ลาว และเขมร
ที่อยู่ในเมืองไทยเป็นคนในอารักขาของฝรั่งเศส เหตุการณ์นี้รู้จักกันในนาม
“เหตุการณ์ปากน�้า”
ผลของเหตุการณ์ปากน�้าคือ “สนธิสัญญา” ึ่งก�าหนดให้แม่น�้าโขง
เป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างสยามและ รั่งเศส โดยตัดรัฐลาวที่หลวงพระบาง
เวียงจันทน์ เขมรตอนเหนือ และส่วนใหญ่ของสิบสองปันนาและสิบสองจุไทย
ออกจากแผนที่สยาม ึ่งแมคคาร์ทีเป็นคนวาดไว้อย่างทะเยอทะยานนั้นเสีย
อังกฤษเป็นอุปสรรคไม่ยอมให้ฝรั่งเศสผนวกสยามเข้าเป็นดินแดนใน
อาณัติของฝรั่งเศส แต่อังกฤษและฝรั่งเศสมีข้อตกลงกันอย่างไม่เป็นทางการ
แบบลับๆ ว่า สยามจะถูกบีบให้ยกดินแดนด้านทิศตะวันออกให้ รั่งเศส และ
แหลมมลายูทางใต้ให้อังก ษ ข้าหลวงของอังกฤษและฝรั่งเศสที่มลายูและที่
อินโดจีนพยายามท�าให้ความใฝ่ฝันของตนบรรลุผลเป็นจริง แต่หลัง พ.ศ.
๒๔๔๓ รัฐบาลของอังกฤษและของฝรั่งเศสยกเลิกความใฝ่ฝันนี้เสีย เพราะว่า
ต้องร่วมเป็น “พันธมิตร” กันที่ยุโรป เพื่อป้องกันไม่ให้เยอรมนีเป็นใหญ่จน
คุกคามตน สนธิสัญญาระหว่าง พ.ศ. ๒๔๔๕ และ ๒๔๕๒ ก�าหนดเขตแดน
ของสยามที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน
สยามได้มีเขตแดนชัดเจน ณ บัดนั้น รัฐต่างๆ ณ บริเวณชายขอบ
สูญหายไป ตามท ษ ีตะวันตก ึ่งสยามยอมรับนั้น เมืองหลวงที่กรุงเทพฯ
มีอ�านาจอธิปไตยหนึ่งเดียวแบ่งแยกมิได้เหนือดินแดนภายในขอบเขตใหม่น้ี

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
12






'3) 
%&0
%4
+(#(
 %&
 2
+#
1
.& #
" 3
$
%&'()*



0..((.78
#$ #9 
+!&
2


!

4
5

6
B)?!!*)

%

(5.&0.%16(.78#9
%01:(9 .#9 .(%16&#9 
;2<="&$>:."+#0.%16;(?%9#9 
,-%./0 '1(.%4@>&0.%16;(?%9#9 
#0%&59,A%4@>&0.%16;(?%9#9
'();(?%9&@!#9 .(%16&#9 
13)0(.-.(0(%4@>&0.%16(.78#9
&3)&0(> 0$#9
7 B)?!!*)#9 
7 &)?"+40(CC#9 

&-
B)?!!*)

แผนที่ เส้นพรมแดนสยำม วำดเมื่อ พ.ศ. ๒๔ ๕-๒๔๕๒


สร้างพลเมอง
ในสมัยเดียวกัน “ทาส” และ “ไพร่” ในสังกัดของมูลนายทั้งหลาย
กลายเป็นพลเมืองซึ่งในทางทฤษฎีมีความสัมพันธ์โดยตรงกับรัฐสยาม
พ.ศ. ๒๔๔๐ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงด�าเนินการปฏิรูปอีกขั้นหนึ่ง
เพื่อยุติระบบทาส ทรงห้ามผู้ที่เกิดในปีนั้นเป็นต้นไปไม่ให้ขายตัวเองหรือถูกขาย
ลงเป็นทาส หลังจากนี้แล้วจึงเหลืออยู่แค่ “ทาสสินไถ่” และเชลยศึกชราไม่กี่
ราย (จนหมดสิ้นไปเมื่อทาสถูกยกเลิกอย่างสิ้นเชิงในปี ๒๔๕๕) การยกเลิก
ระบบเกณฑ์แรงงานนั้นเป็นเรื่องซับซ้อนกว่า เพราะว่ามีผลกระทบถึงกองทัพ
ซึ่งส�าคัญเพราะปกปักรักษาคณะที่ทา� แผนที่เพื่อรบกับฝรั่งเศสเป็นครั้งเป็นคราว
เพื่อปราบโจร เพื่อควบคุมจีนเวลาเกิดจลาจล และเพื่อปราบปรามกบฏตามเขต
ชายขอบ จากปลายทศวรรษ ๒๔๑๐ และ ๒๔๒๐ ช่วงต้นๆ พระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๕ ทรงหาทางชักจูงผู้คนให้ผละจากขุนนางมาท�างานให้กับราชส�านัก
ได้ส�าเร็จ หลังจากนั้นใน พ.ศ. ๒๔๔๐ ทรงแต่งตั้งพระอนุชาต่างพระมารดา
ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงกลาโหม และทรงรับสั่งให้วางแผนการเกณ ์ทหาร
เป็นกองทัพประจ�าการถาวร
สมาชิกของพระราชส�านักจ�านวนมากไม่เห็นพ้องกับโครงการดังกล่าว
โต้แย้งว่าสยามไม่อาจคิดแข่งขันกับกองทัพฝรั่ง และไม่ควรท�าเช่นนั้นเพราะว่า
จะท�าให้ฝรั่งขุ่นเคืองอีกด้วย แต่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงยืนยันว่าจะต้อง
มีกองทหารประจ�าการ เพราะนัน่ คือสิง่ ทีร่ ฐั ชาติสมัยใหม่ต้องมี นอกจากนัน้ แล้ว
ความจ�าเป็นที่แท้จริงนั้นไม่ใช่ภัยรุกรานจากภายนอกหรือเจ้าอาณานิคม แต่เป็น
ภัยจากภายใน รัฐบาลกลางจ�าเป็นจะต้องมีอ�านาจเหนือดินแดนภายในขอบเขต
ใหม่ของพระราชอาณาจักร จึงต้องมีกองทหารเพื่อควบคุมประชาชนภายในเขต
แดนดังกล่าวให้อยู่ภายใต้พระมหากษัตริย์
พระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์ได้เสด็จไปศึกษาการทหารที่ยุโรป พระ
ราชโอรสที่ส�าเร็จกลับมาพระองค์แรกใน พ.ศ. ๒๔๔๐ มีหน้าที่วางแผนจัดตั้ง
กองทัพใหม่ กบฏเมื่อปี ๒๔๔๒ และ ๒๔๔๕ และความยุ่งยากที่ตามมา ท�า
ให้พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เชื่อมั่นในแผนการของพระองค์ยิ่งขึ้น และผู้ที่เคย
ต่อต้านโครงการของพระองค์ก็เปลี่ยนใจ พระองค์ทรงอธิบายความว่า การ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
เกณ ์ทหารประจ�าการเป็นสิ่งจ�าเป็น และถ้าท�าไม่ส�าเร็จก็เหมือนกับยอมสูญ
เสียล้านนาไป ๑๔ ดังนั้น จึงทรงรีบเร่งเกณฑ์ทหารประจ�าการที่สามจังหวัดเพื่อ
ปราบปรามกบฏ และภายในปี ๒๔๔๘ ก็ขยายการเกณฑ์ไปทั่วประเทศ เก็บ
ภาษีรัชชูปการกับทุกคน (รวมทั้งจีนและต่างชาติอื่นๆ จากปี ๒๔๕๓) การใช้
จ่ายด้านการทหารเพิ่มจากหนึ่งล้านบาทในปี ๒๔๓๑ เป็น ๑๓ ล้านบาท ในปี
๒๔๕๓-๒๔๕๔ เมื่อสยามมีกองทหารประจ� าการ ๒๐,๐๐๐ นาย ทหารเรือ
๕,๐๐๐ นาย และมีทหารส�ารองของทั้งสองเหล่าทัพอีก รวมกันกว่า ๕๐,๐๐๐
นาย
พลเมืองทุกคนขณะนี้เป็นคนของพระราชา ทุกคนมีความสัมพันธ์กับ
รัฐสยามผ่านการเสียภาษีและการถูกเกณฑ์ทหาร อีกนัยหนึ่งพวกเขาถูกสร้าง
ใหม่เป็นกลุ่มคนเชื้อชาติเดียวกัน

สร้างความเปนไทย

การกลับเข้ามาของฝรั่งอีกครั้งหนึ่งสมัยต้นรัตนโกสินทร์ และการที่
สยามต้องท�าสนธิสัญญากับฝรั่งหลายฉบับหลังจากนั้น ท�าให้มีการอภิปรายกัน
ถึงลักษณะของผู้คนที่อยู่ ในดินแดนสยามและความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขา
เหล่านั้น โดยทั่วไป ภาษาเป็นมาตรวัดว่าใครมาจากไหนและต่างกันอย่างไร
ชาวต่างชาติทั้งหมดถูกเรียกรวมๆ ว่า “สิบสองภาษา” หรือ “สี่สิบภาษา” ใน
สมัยรัชกาลที่ ๓ ที่บานประตูวัดโพธิ์มีภาพเขียนแสดงคนแต่ละชาติ ๒๗ ภาพ
ด้วยกัน รวมทั้งคนไทยด้วย และมีกลอนอธิบายลักษณะเฉพาะของแต่ละชาติ
ก�ากับแต่ละภาพ ทั้งภาพและกลอนส�าแดงความต่างเชื้อชาติไม่ใช่แต่เพียงด้าน
ภาษา แต่ยังรวมถึงรูปร่างหน้าตา บุคลิก และการแต่งกายอีกด้วย ส�าหรับ
คนไทยมีบทกลอนก�ากับดังนี้

รูปสยามงามนุ่งเม้น แมนมา ผจงฤ


นัคเรศสฤษฎิรักษ์เรือง ฤทธิตั้ง
มาตยาอโยทธยา ยลขนาด นี้พ่อ
รบือเดชทั่วทั้งหล้า แหล่งแสยง ฯ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


อัตตลัดพิลาศเสื้อ สวมตน
ปูมนุ่งพุงพัสตรถแมง โอบอ้อม
รังสรรค์สกัลสกนธ์ รจิตร โอ่เอย
แสดงแห่งหอไท้พร้อม เพริศพอ ฯ๑๕

ค�าบรรยายเกี่ยวกับคนไทยนี้ไม่ได้ครอบคลุมทุกคนในสยาม กล่าวถึง
“ขุนนาง” เท่านั้น และส�าแดงรูปลักษณ์ของชนชั้นน�าไทยเป็นหนึ่งในบรรดาผู้ที่
จัดว่ามีอ�านาจเหนือผู้อื่น
ชนชั้นปกครองอาจกล่าวถึงตัวเองว่าเป็น “ไทย” แต่ในสมัยนั้นราช
ส�านักยังโอ้อวดถึงความหลากหลายของคนเชื้อชาติต่างๆ ภายในประเทศด้วย
พระราชอ�านาจของกษัตริย์แผ่ไปเหนือทุกผู้ทุกเหล่าที่ “เข้ำมำพึ่งพระบรมโพธิ
สมภำร” เมื่อเวลาเจรจากับต่างชาติ รัฐเรียกตัวเองว่า “สยาม” พระจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยว่า “กรุงสยาม” และพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕
ทรงลงพระปรมาภิไธยว่า “สยามินทร์” (สยาม อินทร์) ตามวิธีคิดแบบเดิม
สยำมอาจจะหมายถึงเมืองหลวง หรือรวมบริเวณที่เมืองหลวงมีอิทธิพลอยู่ด้วย
ก็ได้ ส�าหรับบริเวณชายขอบไกลออกไปนั้น เรียกชื่อตามภาษาหรืออัตลักษณ์
ด้านเชื้อชาติ เช่น ลำวอีสำน ลำวพำยัพ เขมร มลำยู หรือแขก เป็นการตอกย�้า
อิทธิพลของจักรวรรดิสยามเหนือผู้คนสารพัดเชื้อชาตินั่นเอง
เมื่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสอินเดีย ใน พ.ศ. ๒๔๑๕
นั้น ทรงแนะน�าพระองค์เองว่าเป็น “กษัตริย์สยามทรงพระราชอ�านาจเหนือ
ลาวและมลายู”๑๖
ที่ยุโรปมีการพัฒนาตกผลึกเป็นแนวคิดที่ว่า ประเทศชาติเป็นรูปธรรม
ทางการเมืองของ “เชื้อชาติ” ra จากทศวรรษ ๒๔๒๐ ฝรั่งเศสใช้แนวคิด
นี้เป็นเครื่องมือรุกรานสยาม โดยอ้างว่าคนลาวแม้จะมีภาษาใกล้เคียงกับคน
สยาม แต่เป็นเชื้อชาติหนึ่งแยกออกไปเห็นได้ชัดเจน ขณะเดียวกันคนสยาม
ไม่ใช่เชื้อชาติเพราะว่าผสมปนเปกับชาวจีน ดังนั้น คนสยามแท้ๆ จึงเป็นชน
กลุ่มน้อยในประเทศของตนเอง และโดยแท้จริงเป็น “ค ำธิปไตยกระจิริด
ครอบง�ำไพร่ฟ ำข้ำแผ่นดิน” ๑๗ ในวาทกรรมนี้ หากฝรั่งเศสยึดเอาสยามเป็น
อาณานิคมจะปลดปล่อยคนส่วนใหญ่ของสยามให้เป็นอิสระ ในสนธิสัญญาที่
ลงนามกันหลังเหตุการณ์ปากน�้าเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ ฝรั่งเศสสื่อความคิดนี้ใน

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย
ระดับหนึ่งโดยก�าหนดว่า ชำวอินโดจีนที่ข ะนั้นอยู่ในสยำมมีสถำนภำพเป็น
คนในบังคับ รั่งเศส เป็นอิสระจำกสยำม ต่อจำกนั้น รั่งเศสขยำยขอบเขต
ของคนในบังคับออกไป นับรวมลูกหลำนของผู้ที่อพยพข้ำมแม่น�้ ำโขงมำตั้งแต่
ปี ๒ ๗๑ และต่อมำขยำยรวมไปถึงทั้งลูกหลำนชำวลำวและเขมรทุกคน และ
แม้แต่คนจีนที่ต้องกำรอยู่ในบังคับ รั่งเศสเพื่อควำมสะดวกในธุรกิจกำรค้ำ
ราชส�านักสยามไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง ขุนนางบางคนเสียดสีว่ากษัตริย์เองอาจจะ
มีเลือดเขมรมากพอจะเป็นคนในบังคับฝรั่งเศสกระมัง ชาวสยามจ�านวนมาก
ยอมอยู่ใต้บังคับฝรั่งเศสเพื่อหลีกเลี่ยงถูกเกณฑ์แรงงาน นักธุรกิจฝรั่งเศสวาง
แผนที่จะท�ากิจการในสยามโดยใช้คนในบังคับฝรั่งเศส
ราชส�านักสยามเรียนรู้ที่จะใช้วาทกรรมเรื่องเชื้อชาติด้วย ค�าว่า “ชาติ”
ซึ่ง ณ จุดเริ่มต้นหมายถึงก�าเนิด หรือที่มา หรือวัฏสงสารการเวียนว่ายตายเกิด
ใช้ให้หมายถึงกลุ่มคนที่มีต้นก�าเนิดเดียวกัน การนิยามความเป็นชาติไทยมี ๒
วิธี คือ วิธีแรกเอาความหมายเก่าว่า “ชาติ” เป็นกลุ่มคนที่พูดภาษาเดียวกัน
และปรับให้ผู้ที่พูดภาษากลุ่มไทอื่นๆ เป็นคนไทยด้วย ทั้งนี้ ข้าหลวงเทศาภิบาล
ตามหัวเมืองที่อีสานและล้านนาได้รับค�าสั่งให้บอกกับเจ้าเมืองท้องถิ่นว่า ไทยกับ
ลำวเป็นชำติเดียวกันและพูดภำษำเดียวกันอยู่ภำยใต้รัฐเดียวกัน สมเด็จฯ กรม
พระยาด�ารงราชานุภาพทรงกล่าวว่า “...เรียกว่ำ ชำวสยำมบ้ำง ลำวบ้ำง เฉียง
บ้ำง ฉำนบ้ำง เงี้ยวบ้ำง ลื้อบ้ำง เขินบ้ำง ข�ำติบ้ำง อำหมบ้ำง ฮ่อบ้ำง...ที่แท้พวก
ที่ได้นำมต่ำง ดังกล่ำวมำนี้ล้วนเป็นชนชำติไทย พูดภำษำไทย และถือตัวว่ำเป็น
ไทยด้วยกันทั้งนั้น...” ๑๘
วิธีที่สอง ผู้ที่อาศัยอยู่ในอาณาเขตเดียวกันและเป็นข้าราชบริพารของ
กษัตริย์องค์เดียวกัน ถือว่าเป็นคนไทย ข้าหลวงจากกรุงเทพฯที่ล�าปางกล่าว
ในงานเลี้ยงครั้งหนึ่งว่า “คนสยำมและลำวไม่ต่ำงกัน ทุกคนเป็นข้ำรำชบริพำร
ของพระเจ้ำอยู่หัว” ๑๙ เมื่อสยามมีกรณีพิพาทกับอังกฤษด้วยเรื่องเขตแดน
พ.ศ. ๒๔๒๘ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงผนวกสองนิยามเข้าด้วยกัน เมื่อ
ทรงกล่าวใจความว่า “ไทย ลาว และเงี้ยวต่างถือว่าเป็นคนชาติเดียวกัน พวก
เขาล้วนเคารพเราในฐานะเจ้าเหนือหัวสูงสุดของพวกเขา ดูแลทุกข์สุขให้กับ
พวกเขา” ๒๐
แนวคิดที่ว่าชาติคือชุมชนวัฒนธรรมก่อตัวขึ้นมาเริ่มแรกจากการใช้
ภาษาเดียวกัน ปรากฏอยู่ในแบบเรียนเล่มแรกๆ ที่ใช้ในโรงเรียนใหม่ (ดูเบื้อง
หน้า) ในแบบเรียนนี้ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เขียนว่า “เรำเกิดมำเป็นไทย

คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ด้วยกัน...เป็นชำติเดียวกัน พูดภำษำเดียวกัน จะไม่ให้เรำรักกันและช่วยเหลือ
กันมำกกว่ำที่เรำรักชำติอื่น ที่เป็นคนต่ำงชำติต่ำงภำษำอย่ำงไรได้” ๒๑ ชุมชน
วัฒนธรรมนี้ยังก่อตัวขึ้นจากศาสนาเดียวกัน (ศาสนาพุทธ) และประวัติศาสตร์
เดียวกัน นอกจากนั้นชาติยังเป็นแนวคิดทางการเมือง ซึ่งเรียกร้องให้สมาชิก
มีความจงรักภักดีและเสียสละเพื่อชาติ
รัฐบาลเปลี่ยนชื่อบริเวณต่างๆ ให้สะท้อนแนวคิดใหม่นี้ มณฑลใหม่ๆ
ซึ่งก่อตั้งขึ้นหลังจาก พ.ศ. ๒๔๔๒ นั้นไม่ได้เรียกว่าเป็น ลำว เขมร มลำยู แขก
หรือ อะไรท�า นองนี้อีก ต่ อ ไป แต่ ตั้ง ชื่อ ใช้ ค�า ภาษาบาลี- สัน สกฤต เช่ น อุ ด ร
พำยัพ บูรพำ ซึ่งบางชื่อมีความหมายว่าเป็นเมืองทางเหนือ ตะวันออก หรือทิศ
อื่นๆ ของประเทศ ที่มีกรุงเทพฯ เป็นจุดศูนย์กลาง สมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงฯ
ทรงอธิบายว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ในมณฑลเหล่านี้ “อันที่จริงเป็นชน ‘ชำติไทย’”
เพราะฉะนั้น พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ “จึงทรงพระรำชด�ำริให้แก้ลักษ ะกำร
ปกครอง เปลี่ยนเป็นอย่ำงพระรำชอำ ำเขต (King om) ประเทศไทยรวม
กัน” ๒๒
สนธิสัญญาระหว่างประเทศในฉบับภาษาไทยนับจาก พ.ศ. ๒๔๔๕ นั้น
ไม่ใช้ค�าว่า “สยาม” แต่ใช้ค�าว่า “ประเทศไทย” หรือราชอาณาจักรไทย หมาย
ความว่าประเทศหรือราชอาณาจักรของคนสัญชาติไทย และเรียกประชาชนที่
อยู ่ ใ นราชอาณาจัก ร “สัญ ชาติไ ทย” แปลเป็ น ภาษาอัง กฤษในสนธิสัญ ญาว่ า
“of Thai nationality” ด้วยเหตุว่าประเทศและชาติเป็นสิ่งเดียวกัน รัฐบาล
ไทยกล่าวว่าสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของคนในอาณัติฝรั่ง ซึ่งอาศัยอยู่ในประ
เทศไทยเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม ยอมรับไม่ได้ จึงยืนยันให้ประเทศเจ้าอาณานิคม
ยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของบุคคลในอาณัติของตน เป็นส่วนหนึ่งของ
สนธิสัญญาเขตแดน เพื่อที่จะบรรลุเป้าประสงค์น้ี รัฐบาลไทยจ�าต้องยอมยก
ดินแดนจ�านวนมากเป็นการชดเชย พ.ศ. ๒๔๕๐ สยามยอมสละการอ้างสิทธิ
เหนือมณฑลเขมร คือ เสียมเรียบ พระตะบอง และศรีโสภณ เพื่อแลกกับที่
ฝรั่งเศสยินยอมยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต พ.ศ. ๒๔๕๒ จ�ายอมสละรัฐ
มลายู คือ ไทรบุรี เคดาห์ กลันตัน ตรังกานู และปะลิส ให้แก่อังกฤษด้วย
เหตุผลเดียวกัน (ดูแผนที่ ๔)
ราชส�านักสยามรับเอาค�าใหม่มาใช้คือ ประเทศชาติ หรือชาติประเทศ
ซึ่งสอดคล้องกับค�าภาษาอังกฤษ “nation stat ” ที่เอาสองเรื่องมาต่อกัน ท�า
ให้มีทั้งจุดแข็งและจุดสับสน จากมุมหนึ่ง “ไทย” ในขณะนั้นหมายถึงใครก็ได้

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย
ที่อาศัยอยู่ภายในขอบเขตของราชอาณาจักรไทย ความคิดนี้รองรับตามพระ
ราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. ๒๔๕๖ ซึ่งก�าหนดว่าผู้ที่เกิดภายในขอบเขตประเทศ
ไทยสามารถอ้างสัญชาติไทยได้ แต่จากอีกมุมหนึ่ง “ไทย” หมายถึงผู้คนถูก
หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวด้วยภาษา และอาจจะด้วยความเป็นเชื้อชาติหรือชนชาติ
เดียวกัน
รัฐบาลไทยเสนอความเป็นไทยอันเป็นหนึ่งเดียวนี้แก่ต่างชาติ แต่ภาย
ในสังคมไทยเองนั้น ราชส�านักยังคงรักษาความต่าง ข้าหลวงที่ส่งไปดูแล
บริเวณหัวเมืองไกลออกไปตามชายขอบถูกสั่งให้เน้นอัตลักษณ์เดียวกันระหว่าง
ลาวและคนสยามเมื่อพูดกับฝรั่ง แต่ให้คงความต่างระหว่างไทย-ลาวเอาไว้เป็น
การส่วนตัว ค�าบรรยายเกี่ยวกับสยามที่ส่งไปพร้อมกับการแสดงนิทรรศการ
ระหว่างประเทศที่เซนต์หลุยส์ สหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ แบ่ง “ชนชาติ
ไทยที่ยิ่งใหญ่” ออกเป็น ๓ ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกได้แก่ ชำวสยำมหรือคน
ไทยเดิม “ซึ่งกลุ่มนี้เท่านั้นได้ยอมรับอารยธรรมตะวันตก และด�ารงเอกราชไว้
ได้ท่ามกลางมวลประเทศของโลก” ส่วนที่สองคือ ไทยให ่และลำว ผู้ซึ่งเป็น
“เชื้อชาติเดียวกัน” และส่วนที่สามคือผู้คนเชื้อชาติเพื่อนบ้านใกล้เคียง เช่น
เขมร มลำยู และพม่ำ ซึ่ง “เดิม...เป็นเชลยศึก” แต่ได้ “แต่งงำนกับคนสยำม
และล้วนแต่พูดภำษำสยำม” ๒๓ แบบเรียนแยกระหว่างผู้ที่พูดภาษาไทยได้ถูก
ต้องแล้ว และผู้ที่ต้องปรับปรุงตนเองเพื่อที่จะได้มีคุณสมบัติเป็นสมาชิกของ
ชาติไทยได้อย่างเต็มที่
ชนชั้นน�าเริ่มให้นิยาม ความเป็นชาติไทย ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นหลังจากได้
เดินทางไปหัวเมืองและเห็นความแตกต่างหลากหลาย พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จประพาสหัวเมืองทั้งขณะที่ทรงผนวชและหลังจากทรงขึ้นครองราชย์แล้ว
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสต่างจังหวัดบ่อยครั้งยิ่งกว่า โดยทรง
ปลอมพระองค์และทรงสนุกสนานเมื่อมีคนจ�าได้ สมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงฯ
และข้าราชการอื่นๆ ซึ่งมีหน้าที่แผ่ขยายระบบบริหารราชการใหม่ไปทั่วอาณาเขต
ยิ่งเดินทางมากกว่าอีก ทุกคนจดบันทึกเกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็นระหว่างการเดินทาง
เหมือนกับที่ฝรั่งก่อนเคยท�ามาแล้ว จากทศวรรษ ๒๔๒๐ เริ่มมีงานเขียนว่า
ด้วยกลุ่มคนที่พบในรัฐชาติใหม่
งานเขียนเหล่านี้จ�าแนกผู้คนออกเป็น ๓ ช่วงชั้นใหญ่ๆ ณ ระดับล่าง
ที่สุด คือผู้ที่อาศัยอยู่บนดอย นายพลผู้หนึ่งมีหน้าที่ท�าแผนที่และปกป้องบริเวณ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ชายแดน บรรยายถึงคนกลุ่มนี้ว่า อยู่ปำ แปลก เถื่อน สกปรก กึ่งเปลือย และ
ไม่มีทำงเจริ ระดับเหนือขึ้นมาคือชาวนาในบริเวณที่ราบลุ่ม สมเด็จฯ กรม
พระยาด�ารงฯ ทรงบรรยายลักษณะคนกลุ่มนี้ว่า พอจะคุ้นเคยกันมำกกว่ำ ไม่
ดุร้ำย และผลิตสินค้ำที่เป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจ แต่กระนั้นการด�าเนินชีวิต
ค่อนข้างพื้นๆ และเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์โชคลาง ณ ระดับบนสุดคือ เจ้า า
และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ พวกเขาฝันใฝ่จะเป็นผู้ศิวิไล ์ ซึ่งค�าไทยเรียกขาน
ตามค�าฝรั่ง “civilized” ส�าแดงเป้าประสงค์จะให้มี “ความเจริญ” ตามแบบ
อย่างตะวันตก อันจะท�าให้พวกเขามีสิทธิน�าคนอื่นๆ ที่อยู่ภายในหรือภายนอก
เขตแดนของประเทศ ดังนั้น “ชนชาติไทย” จึงเป็นทวิลักษณะ นั่นคือทั้งเป็น
หนึ่งเดียวและแบ่งแยก

สร้างพลเมองที ีกว่า
รัฐชาติใหม่ ถือความชอบธรรมที่จะก�ากับประชาชนที่มาจากหลากหลาย
ภูมิหลังและความคิดซึ่งได้ถูกรวมเข้ามาอยู่ในอาณาเขตเดียวกันให้อยู่ในกรอบ
วินัยเดียวกัน ใช้กองทัพประจ�าการที่เพิ่งสร้างขึ้นใหม่ ควบคุมให้เกิดความสงบ
เรียบร้อยภายในประเทศเป็นงานด้านหลัก พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงเรียก
กองทหารที่ส่งไปปราบกบฏที่ภาคเหนือใช้ค�าภาษาอังกฤษทับศัพท์ว่า “an ar y
of o ation” (กองประจ�าเพื่อยึดพื้นที่) ๒๔ ต�ารวจก็จัดตั้งขึ้นใหม่เมื่อรัฐบาล
ตัดสินใจยกเลิกบ่อนการพนัน โดยเริ่มแรกใช้เพื่อควบคุมอั้งยี่ นอกจากนั้น
ที่ว่าการจังหวัดทุกแห่งมีเรือนจ�าเป็นมาตรฐาน
กรมหลวงราชบุ รี (พระเจ้ ำ บรมวงศ์ เ ธอ พระองค์ เ จ้ ำ รพี พั นศั ก ดิ์
กรมหลวงรำชบุรีดิเรกฤทธิ์) พระราชโอรสองค์หนึ่งในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕
ส�าเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และได้รับมอบหมายให้ทรงสร้าง
ระบบตุลาการ ทรงอยากจะเลือกแนวทางของกฎหมายอังกฤษที่พัฒนาขึ้นบน
รากฐานของ ประเพณี และ วิธีปฏิบัติในอดีต (common law) แต่ต้องเปลี่ยน
เป็นระบบทีใ่ ช้ ประมวลก หมาย เป็นลายลักษณ์อกั ษร (codified roman law)
ด้วยเหตุผลที่ว่าพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เชื่อว่าฝรั่งจะประทับใจกับระบบหลังนี้
มากกว่า จึงร่างประมวลกฎหมายอาญาแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ นอกจากนั้น

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
กรมหลวงราชบุรีทรงประสงค์จะให้ระบบตุลาการแยกออกจากระบบราชการ
อย่างสิ้นเชิง แต่อีกนั่นแหละ ทรงต้องยอมตามพระประสงค์ของพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๕ เนื่องจากทรงได้เคยศึกษาระบบอาณานิคมซึ่งน� าเอาระบบตุลาการ
และระบบข้าราชการมารวมกันเพื่อให้การควบคุมพลเมืองเข้มข้นขึ้น
ดังนั้น รัฐชาติจึงมีเครื่องไม้เครื่องมือพร้อมเพรียงเพื่อควบคุมพลเมือง
อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวแล้วรัฐต้องหล่อหลอมประชาชนให้เป็นพลเมืองดี
ของชาติ
ตั้งแต่ช่วงต้นรัตนโกสินทร์มาแล้วที่รัฐมุ่งหวังใช้พระพุทธศาสนาเพื่อ
สอนและสร้างวินัยแก่สังคม รัฐชาติปรับหลักการนี้มาใช้เช่นเดียวกัน ทั้งพระ
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงแต่งตั้งสมาชิกพระราช
วงศ์ต่อเนื่องกันมาให้เป็นพระสังฆราช จาก พ.ศ. ๒๔๑๗ พระสังฆราชล้วน
แล้วแต่เป็นสมาชิกของนิกายฝ่ายปฏิรูปคือ “ธรรมยุต” พ.ศ. ๒๔๓๖ พระเจ้า
อยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงมอบหมายให้พระเจ้าน้องยาเธอที่ทรงอยู่ในสมณเพศคือ
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระอนุชาต่างพระมารดา
ผู้จะทรงเป็นพระสังฆราชในอนาคต ให้ดูแลมหาเถรสมาคมเพื่อปรับปรุงการฝก
อบรมของพระสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๔๑ ทรงย้ายสมเด็จฯ กรมพระยาวชิรญาณฯ ให้
ไปพัฒนาการศึกษาขั้นปฐม โดยขยายระบบโรงเรียนวัดแบบเดิมออกไปให้กว้าง
ขวางขึ้น สมเด็จฯ กรมพระยาวชิรญาณฯ ทรงเริ่มด้วยการส่งพระธรรมยุตไป
ส�ารวจตามจังหวัดต่างๆ รายงานที่ส่งกลับมาแสดงให้เห็นความหลากหลายของ
ผู้คน และวิถีปฏิบัติทางศาสนาภายในเขตแดนของสยามประเทศเดียวกัน
วัดท้องถิ่นมีคัมภีร์และวิถีปฏิบัติของตนเอง พระสง ์ที่วัดต่างจังหวัด
ต้องท�านา และมีส่วนร่วมในวันนักขัต กษ์ของหมู่บ้าน เทศน์โดยใช้นิทาน
พื้นบ้านประกอบ และมีความรู้น้อยเกี่ยวกับคัมภีร์ศาสนา เช่น พระไตรป ก
หลังจากได้อ่านรายงานนี้ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงมอบหมายให้
สมเด็จฯ กรมพระยาวชิรญาณฯ จัดระเบียบคณะสงฆ์ให้มีวิถีปฏิบัติและมีวินัย
เป็นมาตรฐานเดียวกัน พระราชบัญญัติคณะสง ์ซึ่งเป็นผลตามมาใน พ.ศ.
๒๔๔๕ จัดอันดับพระสงฆ์เป็นช่วงชั้นจากระดับบนคือพระมหากษัตริย์และพระ
สังฆราชลงมา ให้พระสงฆ์เรียนจากหลักสูตรมาตรฐาน จัดให้มีการสอบตาม
ระดับคุณวุฒิต่างๆ ที่ด�าเนินการจากส่วนกลาง และก�าหนดให้เทศนาสั่งสอน
จากต�าราซึ่งทางการอนุมัติแล้ว วัดใหม่ต้องสร้างตามแบบที่กา� หนดเป็นมาตรฐาน

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


สมเด็จฯกรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงชักชวนให้พระสงฆ์ที่ล้านนายกเลิกประ
เพณีปฏิบัติดั้งเดิมที่มีมาก่อนเก่า และทรงรวบรวมพระสงฆ์มีชื่อเสียงจากบริเวณ
อีสานซึ่งมักมีการกบฏและจากภาคใต้ให้เข้ามาอยู่ในนิกายธรรมยุต ทรงคาดหวัง
ให้ “พระสง ์...เป็นทำงเชื่อมให้สนิทในระหว่ำงรัฐบำลกับรำษ ร” ๒๕
สมเด็จฯ กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงด�าเนินการเรื่องการ กอบรม
พระสง ์ และจัดท�าต�ารามาตรฐานเพื่อใช้ในโรงเรียนประถมใหม่ นักเรียน
ทุกคนต้องเรียนอ่านเขียนภาษาไทย ศาสนาพุทธ และเลขคณิต พ.ศ. ๒๔๖๔
บั ง คั บ ให้ เ ด็ ก ทุ ก คนเรี ย นถึ ง ขั้ น ประถม เริ่ ม แรกทุ น มี น ้ อ ย ครั้ น ถึ ง พ.ศ.
๒๔๖๘ เด็กอายุ ๗ ๑๔ ป ได้เข้าโรงเรียนร้อยละ ๔๐
เป้าประสงค์หนึ่งของการมีหลักสูตรมาตรฐานคือสอนเด็กให้มีความ
ประพฤติถูกต้องเหมาะสม ทศวรรษ ๒๔๔๐ เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี
(หม่อมรำชวงศ์เปีย มำลำกุล) ได้แต่งต�าราเพื่อการนี้ เจ้าพระยาพระเสด็จฯ สืบ
เชื้อสายมาจากตระกูลขุนนาง และเป็นคนแรกๆ ที่ได้เข้าศึกษาในโรงเรียนใหม่
เคยบวชในนิกายธรรมยุตที่วัดบวรนิเวศ และเคยเป็นเลขานุการของสมเด็จฯ
กรมพระยาด�ารงฯ เจ้าพระยาพระเสด็จฯ เขียนหนังสือ ผ ี เพื่อสอน
ให้คนมีการศึกษารุ่นใหม่ได้มีมารยาทเรียบร้อย เป็นที่น่านับถือน่าชื่นชอบ มี
เกียรติเป็นที่น่าดูน่าชม มีอุปนิสัยดี ไม่เห็นแก่ตัว น่าเชื่อถือได้ และเว้นว่างจาก
อบายมุขทั้งมวล นับว่าเป็นหลักประพฤติปฏิบัติส�าหรับข้าราชการในอุดมคติ
ต่อมาเจ้าพระยาพระเสด็จฯ ก้าวขึ้นเป็นหัวหน้าโรงเรียนสอนข้าราชการ หนังสือ
สมบัติผู้ดี เป็นจุดเริ่มของต�าราเรียนมารยาทให้กับนักเรียนและพลเมืองโดย
ทั่วไป
“ความเจริญ” ต้องการพลเมืองที่มีสุขภาพดีเป็นจ�านวนมาก ดังนั้น
รัฐชำติใหม่จึงเริ่มใส่ใจกับเรื่องสุขภาพของประชาชน โรงพยาบาลแห่งแรกตั้ง
ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ คือ โรงพยาบาลศิริราช และโรงเรียนแพทย์แห่งแรกตั้ง
ขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๓๓ หลังจากที่ “กาฬโรค” ระบาดติดต่อกันระหว่างปี ๒๔๔๗
และปี ๒๔๔๙ รัฐบาลออกกฎเกณฑ์ว่าด้วยการสาธารณสุขเพื่อป้องกันและ
ควบคุมทั้งกาฬโรคและ “อหิวาตกโรค” นอกจากนั้น ยังก่อตั้งสุขาภิบาลเป็น
ครั้งแรก เพื่อดูแลรักษาความสะอาดของบริเวณและสถานที่สาธารณะ ออก
พระราชบัญญัติ พ.ร.บ. พ.ศ. ๒๔๖๐ เพื่อให้มีการท�าส�ามะโนประชากรเป็น
ระยะๆ และลงทะเบียนการเกิด ตาย และการมีถิ่นฐานด้วย

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ส าบันกษัตริย์ ทันสมัย ละอลังการ
พร้อมๆ กับสิ่งสร้างใหม่ คือ รัฐชาติ และ พลเมือง สถาบันกษัตริย์
ก็ได้ปรับเปลี่ยนรูปสู่ความทันสมัยและอลังการ
ประการแรก สถาบันสร้างฐานการเงินใหม่ พระคลังข้างที่ซึ่งแต่เดิม
ท�าหน้าที่จัดสรรผลก�าไรจากการค้าต่างประเทศของราชส�านักให้กับสมาชิกของ
พระราชวงศ์ มีกิจกรรมเพิ่มขึ้น โดยให้ทุนแก่สมาชิกพระราชวงศ์และขุนนาง
ไปเรียนต่างประเทศ ใน พ.ศ. ๒๔๓๓ เปลี่ยนชื่อเป็น กรมพระคลังข้างที่ และ
มีหน้าที่ลงทุนพระราชทรัพย์ของสถาบันกษัตริย์ในธุรกิจต่างๆ โดยได้รับงบ
ประมาณระหว่างร้อยละ ๕ ถึงร้อยละ ๒๐ ของรายได้รัฐขณะนั้น ในสมัย
รัชกาลที่ ๕ กรมพระคลังข้างที่ลงทุนโรงสีข้าว สร้างห้องแถวบนถนนตัดใหม่ของ
กรุงเทพฯ และสร้างตลาดในย่านการค้าของต่างจังหวัด ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๕๓
กรมพระคลังข้างที่คือเจ้าของที่ดินรายใหญ่ที่สุดในประเทศ และยังร่วมทุนกับ
ต่างชาติเพื่อก่อตั้งวิสาหกิจในกิจการรถไฟ ไฟฟ้า ธนาคาร ปูนซีเมนต์ เหมือง
ถ่านหิน และกิจการเรือกลไฟ
ประการต่อมา ก่อนหน้านี้สมาชิกของพระราชวงศ์เคยถูกกันออกไปจาก
ต�าแหน่งระดับสูง แต่ในขณะนี้พระบรมวงศ์ได้เข้ามีบทบาทสูงในระบบรัฐบาล
เมื่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงก่อตั้ง “อภิรัฐมนตรี” ประกอบด้วย ๑๒
เสนาบดี ใน พ.ศ. ๒๔๓๕ นั้น เสนาบดี ๙ ต�าแหน่งตกอยู่กับพระอนุชาหรือ
พระเชษฐา ทั้งจากพระมารดาเดียวกันหรือต่างพระมารดา ใน พ.ศ. ๒๔๒๘
ทรงส่งพระราชโอรสพระองค์โต ๔ พระองค์ไปศึกษาที่ต่างประเทศ และเมื่อ
ศึกษาส�าเร็จกลับมานับจากประมาณปี ๒๔๓๘ เป็นต้นไป ทรงแต่งตั้งพระราช
โอรสและพระบรมวงศ์อื่นๆ ให้ด�ารงต�าแหน่งระดับสูงในกระทรวงกลาโหมและ
กระทรวงอื่นๆ
พระราชวงศ์ทรงมีฐานะพิเศษในโรงเรียนใหม่ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาเพื่อฝกคน
ให้เข้ารับราชการ สมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงฯ ทรงก่อตั้งโรงเรียนสวนกุหลาบ
ขึ้นเพื่อให้การศึกษาแก่ผู้ที่จะรับราชการ ในช่วงต้นโรงเรียนนี้รับแต่เพียงโอรส
ของเจ้าฟ้าและบุตรชายของขุนนางใหญ่ที่สุด หลังจากที่สามัญชนบางรายสมัคร
เข้าเรียนได้ จึงมีการปรับค่าเล่าเรียนให้สูงขึ้นเพื่อกันไม่ให้สามัญชนได้เข้าเรียน
มากนัก โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ก่อตั้ง พ.ศ. ๒๔๔๐ เพื่อเตรียมนักเรียนไป

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


เรียนต่างประเทศ ก็มีความเข้มงวดในท�านองเดียวกัน สมเด็จฯ กรมพระยา
ด�ารงฯ ทรงเห็นว่า “เป็นผู้ดีโดยสกุลหรือโดยฐานะอันสมควร” จึงจะได้เรียนใน
โรงเรียนมหาดเล็กหลวง๒๖
โรงเรียนส�าหรับ กหัดวิชาข้าราชการ ายพลเรือน ก่อตั้ง พ.ศ. ๒๔๔๒
ในชั้นแรกมีบุตรหลานของขุนนางเพียงไม่กี่คนมาเข้าเรียน จนเมื่อเปลี่ยนชื่อ
เป็นโรงเรียนมหาดเล็กหลวง นั่นแหละจึงดึงดูดลูกท่านหลานเธอได้มากขึ้น
โรงเรียนสอนวิชาทหารบก ก่อตั้ง พ.ศ. ๒๔๔๐ รับเฉพาะผู้ที่มีชาติก�าเนิดสูง
คือเป็นพระราชวงศ์หรือเป็นบุตรหลานขุนนาง ต่อมา พ.ศ. ๒๔๔๙ กฎเกณฑ์
เรื่องชาติก�าเนิดยิ่งเข้มงวดขึ้น และใน พ.ศ. ๒๔๕๒ จัดให้มีห้องเรียนเฉพาะ
ส�าหรับลูกชายของครอบครัวชนชั้นสูงเท่านั้น พ.ศ. ๒๔๕๓ นายทหารยศพลโท
ขึ้นไปทุกคนล้วนเป็นพระราชวงศ์
ส�าหรับต�าแหน่งระดับสูงอื่นๆ รัฐบาลพอใจที่ปรึกษาต่างชาติมากกว่า
จาก พ.ศ. ๒๔๐๓ รัฐบาลจ้างที่ปรึกษาต่างชาติไม่กี่คนเข้าท�างานเป็นผู้เชี่ยวชาญ
ไม่กี่ปีหลังจากวิกฤตปากน�้า พ.ศ. ๒๔๓๖ จ�านวนที่ปรึกษาต่างชาติเพิ่มขึ้นมาก
เป็นชาวอังกฤษ ๕๘ ราย ชาวเยอรมัน ๒๒ ราย ชาวเดนมาร์ก ๒๒ ราย ชาว
อิตาลี ๘ ราย และอื่นๆ อีก ๒๐ ราย ที่ปรึกษาเหล่านี้ไม่ได้เพียงน�าความเชี่ยว
ชาญเฉพาะทางเข้ามา เช่น ด้านการเงิน แต่ยังช่วยให้สยามสามารถจัดการกับ
การคุกคามของอ�านาจอาณานิคมได้ด้วย พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงตั้งข้อ
สังเกตว่า “กำรที่เรำใช้ รั่งนั้น แปลว่ำใช้ต�ำรำส�ำเร็จ คือเอำที่เขำ” ๒๗
โดยทั่วไปแล้วราชส�านักมักโยงกับยุโรปเป็นแหล่งของอ�านาจและความรู้
พ.ศ. ๒๔๑๙ แฟชั่นการแต่งกายของบุรุษที่ราชส�านักเริ่มเลียนแบบฝรั่ง ผมยาว
ขึ้น ไว้หนวด ใส่ถุงเท้า และสวมรองเท้า ครั้นถึงทศวรรษ ๒๔๓๐ ก็ขยับขยาย
เป็นนุ่งกางเกง ใส่สูทที่ตัดเย็บเฉพาะตัว สวมหมวก และแต่งเครื่องแบบส�าหรับ
โอกาสพิเศษที่มีพิธีการ เมื่อกษัตริย์เสด็จประพาสยุโรป นิตยสาร Tailor an
Cutter (ช่างตัดเสื้อ) ลงข่าวว่า า ท นผ ี น่น
ี ๒๘ ทศวรรษ ๒๔๑๐ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ โปรดให้สร้างพระที่นั่ง
จักรีมหาปราสาทตามแบบอิตาลี แต่ส่วนบนที่เป็นหลังคาแบบไทยเพื่อเอาใจ
ผู้นิยมแบบดั้งเดิม พ.ศ. ๒๔๕๐ โปรดให้สร้างพระที่นั่งอนันตสมาคมที่อลังการ
สไตล์คลาสสิก สร้างด้วยหินอ่อนจากคาร์เรรา (Carrera) หินแกรนิตจากมิลาน
ทองแดงจากเยอรมนี และเซรามิกจากเวียนนา พระที่นั่งองค์ใหม่นี้เด่นอยู่ทาง

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
เข้าสู่พระราชวังดุสิตที่สร้างขึ้นใหม่ มีทั้งพระต�าหนักแบบยุโรปและแบบอื่นเพื่อ
สมาชิกของพระราชวงศ์ กษัตริย์และขุนนางน�าเข้าของประดับบ้านจากยุโรป
เพื่อสร้างความโอ่อ่าให้กับที่พ�านัก
พ.ศ. ๒๔๔๐ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้ง
แรก นับเป็นนโยบายการทูตที่ชาญฉลาดทีเดียวหลังจากที่เกิดวิกฤตปากน�้าเมื่อ
๔ ปีก่อนหน้า รัฐมนตรีฝรั่งเศสผู้ดูแลอาณานิคม ตระหนักในความส�าคัญนี้
โดยกล่าวว่าการเสด็จประพาสนี้ “จะเป็นกำรสร้ำงภำพพจน์ว่ำรำชอำ ำจักรสยำม
่ึงทรงได้รับกำรถวำยต้อนรับเฉกเช่นกษัตริย์ของประเทศในยุโรป เป็นประเทศ
ศิวิไล ์ ที่ควรได้รับกำรป ิบัติเฉกเช่นมหำอ�ำนำจยุโรปแห่งหนึ่ง” ๒๙ นอกจาก
นั้น เป็นโอกาสที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ จะได้ทอดพระเนตรความศิวิไลซ์ด้วย
พระองค์เอง และยังเป็นการแสดงให้พสกนิกรได้เห็นภาพของกษัตริย์ยุคใหม่
ท่ามกลางราชนิกุลระดับน�าของโลก
กษัตริย์ยุคใหม่ตามแนวทางของตะวันตก ทรงเปดให้สาธารณชนได้
มองพระองค์มากขึ้น เมื่อสมัยต้นรัตนโกสินทร์น้ันยังมีทหารโก่งธนูน�าหน้า
ขบวนเสด็จพระราชด�าเนินเพื่อห้าม ูงชนได้เห็นพระวรกายของกษัตริย์ หลัง
จากที่นักธนูท�าให้ผู้หญิงคนหนึ่งบาดเจ็บ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ จึงจ�ากัดบทบาทอยู่
ที่เพียงข่มขู่ไม่ให้ประชาชนแสดงความกระด้างกระเดื่อง พระเจ้าอยู่หัวรัชกาล
ที่ ๔ โปรดให้ยกเลิกโก่งธนู และโปรดให้ผู้คนเฝ้าดูพิธีกรรมของราชส�านักและ
การเสด็จประพาสหัวเมือง พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดให้ประชาชนเห็น
พระวรกายและรูปเสมือนมากยิ่งขึ้นไปอีก และโปรดให้ฉาย ให้วาด และปั้นพระ
บรมรูป โปรดให้ประทับพระบรมฉายาลักษณ์ลงบนเหรียญ แสตมป์ รูปที่ระลึก
และโปสการ์ด ทรงขับรถม้าพระที่นั่งรอบๆ กรุงเทพฯ โดยเปิดประทุนรถม้า
และต่อมาทรงขับรถยนต์พระที่นั่ง (ดูภาพที่ ๙) จาก พ.ศ. ๒๔๔๒ ในงาน
ประจ�าปีของวัดเบญจมบพิตร เสด็จพระราชด�าเนินปะปนไปกับกลุ่มผู้ติดตาม
ที่เลือกสรรมาแล้ว พ.ศ. ๒๔๕๑ พระบรมรูปทรงม้า ได้รับการประดิษฐานที่
ด้านหน้าของพระที่นั่งอนันตสมาคม นับเป็นพระบรมรูปชิ้นแรกที่ไม่ได้สร้าง
ตามขนบทางศาสนาพุทธ พระบรมรูปทรงม้าแสดงความเป็นตัวตนที่ยิ่งใหญ่
ของกษัตริย์ ณ ใจกลางเมืองหลวง
ช่วงท้ายรัชกาล กษัตริย์ยุคใหม่ทรงแสดงพระองค์กับพสกนิกรในพิธี
กรรมอย่างอลังการ เมืองหลวงเปลี่ยนรูปโฉมใหม่ เมื่อโปรดให้สร้างถนน
ราชด�าเนินตามแบบอย่างของ Champs Elysées ที่ปารีส เพื่อแห่ขบวนรับ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


เมื่อเสด็จนิวัติจากยุโรปครั้งที่ ๒ ใน พ.ศ. ๒๔๕๐ และในการเฉลิมฉลองการ
ครองราชสมบัติครบ ๔๐ ป ใน พ.ศ. ๒๔๕๑ การเฉลิมฉลองทั้งสองครั้งนี้
จัดแสดงให้เห็นความเจริญต่างๆ ที่ได้บังเกิดขึ้นตลอดรัชสมัย หน่วยงานของ
รัฐบาลสร้างซุ้มเฉลิมฉลองและตั้งขบวนรถประดับให้เห็นความก้าวหน้าด้านการ
เกษตร การแพทย์ การภาษี การรถไฟ การโทรเลข และการไฟฟ้า สามปีต่อมา
พระมงกุ เกล้าฯ พระราชโอรสผู้ทรงสืบราชสมบัติพระองค์ต่อมา โปรดให้มี
พิธีราชาภิเษกเป็นครั้งที่ ๒ โดยมีราชนิกุลระดับสูงเสด็จมาจากอังกฤษ รัสเซีย
กรีซ เดนมาร์ก สวีเดน และญี่ปุ่น เข้าเฝ้าในพระราชพิธีเฉลิมฉลองซึ่งใช้เวลา
๑๓ วัน มีทั้งงานมหกรรมและใช้เงินร้อยละ ๘ ของงบประมาณทั้งหมดของ
ประเทศ
การปฏิรูปบางเรื่องมีเป้าประสงค์เพื่อโฆษณาและจรรโลงความยั่งยืน
ของพระราชวงศ์จักรี ดังทีพ ่ ระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวว่า “พระเจ้ำแผ่นดิน
ก็ทรงเป็นมนุษย์” และ “ที่เป็นเจ้ำแผ่นดินครั้งนี้ ครั้นจะว่ำไปได้เป็นด้วยอ�ำนำจ
เทวดำก็จะเป็นอันลบหลู่บุ คุ ของท่ำนผู้หลักผู้ให ่ ที่ต่ำงพร้อมใจกันอุปถัมภ์
ค�้ำชูให้เป็นเจ้ำแผ่นดิน” อย่างไรก็ตาม ทรงอ้างว่าการสืบทอดความสามารถ
เหล่านี้นั้นล้วนแล้วแต่อยู่ในสายเลือดของราชนิกุล นผ ีแ
แ า น ท า ๓๐ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดการเรื่อง
การสืบราชสมบัติประสบความส�าเร็จอย่างดียิ่ง โดยโปรดให้พระราชโอรสที่ทรง
โปรดที่สุดคือ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ผู้มียศศักดิ์สูงกว่าพระองค์ใด และ
โปรดให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้ดูแลกระ
บวนการทั้งหมด พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงรับวิถีปฏิบัติของตะวันตกมา
ปรับใช้เพื่อความยั่งยืนของพระราชวงศ์จักรี ทรงยกเลิก “วังหน้ำ” และทรงรับ
เอาความคิดเรื่องรัชทายาทของฝรั่งมาปฏิบัติ โปรดให้ ช�ำระก ม เ ียรบำล
โดยอิงฐานความคิดบุตรชายคนโตเป็นผู้สืบตระกูลของยุโรปน�ามาปรับใช้กับ
ระบบมีภริยาหลายคนในคราวเดียวกัน พ.ศ. ๒๔๕๙ พระมงกุ เกล้าฯ ทรงเน้น
เรื่องความต่อเนื่องยิ่งขึ้นไปอีก โดยพระราชทานพระนามของพระมหากษัตริย์
แห่งราชวงศ์จักรีทุกพระองค์เสียใหม่ว่า พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี เรียง
ล�าดับจาก ๑, ๒, ๓ และเรื่อยไป โปรดให้วาดพระบรมสาทิสลักษณ์ของแต่ละ
พระองค์ จากความทรงจ�าถึงกษัตริย์องค์ต้นๆ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรง
เลื อ กพระมเหสี เ จ็ ด องค์ แ รก จากพระกนิ ษ ฐภคิ นี ต ่ า งพระมารดาและพระ
ภาคิไนย ลูกพี่ลูกน้อง ดังนั้นจึงทรงจ�ากัดสายเลือดสืบตระกูลอยู่ในวงศ์ของ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย
ภาพที่ พระเจ้ำอยู่หัวรัชกำลที่ ๕ ทันสมัยและเปดเผยพระองค์ ปลำยรัชสมัย

พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเท่านั้น โปรดให้ใช้ “จุลศักรำช” เริ่มต้นจากปีที่ก่อตั้ง


กรุงเทพฯ และพระราชวงศ์จักรี และโปรดให้มีวันหยุดเพื่อฉลองวันก่อตั้งพระ
ราชวงศ์จักรีและวันพระราชสมภพของกษัตริย์
ในรัชกาลที่ ๕ สถาบันกษัตริย์ได้ความมั่นคงทางการเงิน ความต่อเนื่อง
ของพระราชวงศ์ มีบทบาทเด่นในรัฐบาลยุคใหม่ เป็นหมุดหมายของ “ความ
เจริญ” ที่อิงกับตะวันตกและโลกสมัยใหม่ ในด้านสถำปัตยกรรม และพิธีกรรม
ต่ำง ของเมืองหลวงใหม่ สถาบันกษัตริย์มีบทบาทน�าสูงยิ่ง ทั้งนี้ในการนิยาม
“สมบูรณาญาสิทธิราชย์” ของพระราชวงศ์ รัชกาลที่ ๕ ทรงปรับนิยามนี้มาจาก
ประมวลก หมำยของจักรพรรดินโปเลียนแห่ง รั่งเศส (Co e Napoleon)
ดังนี้

คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


พระเจ้ า แผ่ น ดิ น ย่ อ มมี พ ระราชอาญาสิ ท ธิ เ ด็ ด ขาดโดย
พระราชหฤไทยไม่มีสิ่งใดยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีกแล้ว พระเจ้าแผ่นดิน
มีพระศักดานุภาพเป็น อาทิเช่น ๑) ย่อมเป็นเจ้าเป็นใหญ่ผู้ปกครอง
แผ่นดินที่พึ่งที่พ�านักของอาณาประชาราษฎร ๒) เป็นที่เกิดแห่ง
ความยุตธิ รรม ๓) เป็นที่เกิดแห่งยศถานันดรศักดิ์ ๔) เป็นจอมพหล
พลโยธาที่ระงับดับทุกข์เข็ญของบ้านเมืองโดยสงคราม ฤ จะเป็น
ไมตรีกับประเทศใดประเทศหนึ่ง พระเจ้าแผ่นดินจะทรงการอันใด
ไม่ผิดไม่มีอ�านาจอันใดจะพิจารณาท�าโทษได้เลย๓๑

การละคร ส าปตยกรรม ละประวัติศาสตร์


ชนชั้นน�าไทยนิยมชมชอบตะวันตก พร้อมๆ กันนั้นก็รู้สึกว่าสยามจะ
ต้องมีมรดกทางวัฒนธรรมของตนเองที่โดดเด่นเพื่อให้สมศักดิศรีที่จะเป็นรัฐ
ชาติ ตั้งแต่ช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ราชส�านักพยายามฟื้นฟูและรักษาวัฒนธรรม
ราชส�านักสยามในช่วงปลายสมัยอยุธยาเอาไว้ โดยเฉพาะการแสดงโขนและ
ละครจากบทรำมเกียรติ์ (ปรับจากรามายณะของอินเดีย) และอิเหนำ (เนื้อเรื่อง
เดิมมาจากชวา) จนเป็นประเพณีปฏิบัติที่ขาดไม่ได้เสียเลยที่พระมหากษัตริย์
แต่ละพระองค์จะต้องแต่งละครที่อิงตอนใดตอนหนึ่งของเรื่องทั้งสองนี้ รัช
สมัยของพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ นั้นได้มีการฟื้นฟู
การแสดงแบบคลาสสิก ซึ่งหมดความนิยมไปหลังจากเสียกรุงขึ้นมาใหม่อย่าง
จงใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กำรแสดงโขน ได้ปรับให้สมัยใหม่ขึ้น เพิ่มเทคนิคการ
จัดแสดงบนเวทีตามแบบอย่างของยุโรปด้วย นอกจากนั้น ยังฟื้นฟูกำรแต่ง
โคลงกลอนตามแบบที่นิยมกันครั้งสมัยอยุธยา โดยมีเนื้อเรื่องมาจากวรรณคดี
บาลี-สันสกฤต พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ โปรดให้
ตั้งชื่อสถานที่ต่างๆ เสียใหม่โดยใช้ค�าสันสกฤตหรือบาลี เพราะฟังดูไพเราะและ
ศิวิไลซ์มากกว่าค�าไทยหรือค�าลาวของคนธรรมดาสามัญ
การผสมผสานระหว่างของเดิมกับสิ่งใหม่จากตะวันตก เห็นได้ในกรณี
ของสถาปัตยกรรม โรงเรียนมหำดเล็กหลวง (ต่อมาเป็นโรงเรียนวชิราวุธ) สร้าง
ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ อิงแบบอย่างของโรงเรียนพับลิคสกูลของอังกฤษ แต่จงใจ
ให้เป็นไทยเห็นได้จากรูปแบบและการประดับตัวตึก วัดเบ จมบพิตร โดด

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย
เด่นมากในสมัยนั้น เป็นแบบอย่างของสถาปัตยกรรมไทยโบราณในอุดมคติผสม
กับรสนิยมยุโรป เช่น ก�าแพงหินอ่อนคาร์เรรา และหน้าต่างกระจกสีแบบโกธิค
ส�าหรับภาพวาดฝาผนังโบสถ์ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ออกแบบตามประ
เพณีไทยโบราณ แต่วาดขึ้นโดยศิลปากรชาวอิตาลีตามแบบสมัยเรอเนสซองส์
นอกจากนั้น ราชส�านักยังรับวิธีคิดร่วมสมัยจาก รั่ง โดยเฉพาะวิชา
สังคมศาสตร์ ึ่งสะท้อนความเชื่อว่ามนุษย์มีความสามารถที่จะเปลี่ยนโลกได้
นอกจากความสนใจในมานุษยวิทยาดังทีก่ ล่าวถึงก่อนหน้านีแ้ ล้ว ประวัตศิ าสตร์
ยังเป็นอีกแขนงวิชาที่ได้รับความนิยมสูง
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงความส�าคัญของประวัติศาสตร์
ในสมัยที่ผู้คนประทับใจกับความคิดเรื่องความเจริญเป็นอย่างยิ่ง พระองค์
เสด็จ ประพาสโบราณสถานและทรงรวบรวมแหล่ ง ข้ อ มู ล ทางประวัติศ าสตร์
ทรงพระราชนิพนธ์ประวัติศาสตร์สยามฉบับย่อเป็นภาษาอังกฤษ พระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๕ โปรดให้เฉลิมฉลองประวัติศาสตร์สยามเป็นส่วนหนึ่งของงานฉลอง
ครั้งใหญ่ที่จัดขึ้นในช่วงรุ่งเรืองสูงสุดแห่งรัชสมัยของพระองค์ โดยจัดขึ้นท่าม
กลางซากปรักหักพังของกรุงเก่าเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ ในปีนั้นเพิ่งเสด็จพระราช
ด�าเนินกลับจากยุโรปเป็นครั้งที่ ๒ พระราชปาฐกถาที่ทรงแสดงในงานนี้ทรง
มีข้อสังเกตว่า

ประเทศทั้งหลายซึ่งได้ควบคุมกันเปนชาติแลเปนประเทศ
ขึ้น ย่อมถือว่าเรื่องราว ประวัติศาสตร์ ของชาติตนแลประเทศ
ตน เปนสิ่งส�าคัญซึ่งจะพึงศึกษาแลพึงสั่งสอนกัน ให้รู้ชัดเจนแม่น
ย�า เปนวิชาอันหนึ่งซึ่งจะได้แนะน�าความคิดแลความประพฤติ ซึ่ง
จะพึงเหนได้เลือกได้ในการที่ผิดแลชอบชั่วแลดี เปนเครื่องชักน�า
ให้เกิดความรักชาติแลรักแผ่นดินของตัว๓๒

ทรงกล่าวว่า ประเทศเหล่านี้มีการรวบรวมประวัติศาสตร์ย้อนหลังไป
อย่างน้อยเป็นพันป และทรงประกาศจัดตั้ง “สมาคมโบราณคดี” เพื่ออุทิศตน
ในการรวบรวมประวัติศาสตร์ดังกล่าวส�าหรับสยามในท�านองเดียวกัน ปีต่อมา
พระมงกุฎเกล้าฯ พระราชโอรสเสด็จประพาสสุโขทัย และได้ทรงน�าเนื้อหาของ
ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ไปเทียบเคียงปูชนียสถานที่ศิลาจารึกเอ่ยถึงกับซากปรักหัก
พังที่ทรงพบบนพื้นดิน (ภาพที่ ๑๐) ทรงพิมพ์เรื่องราวการเสด็จประพาสครั้ง

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ภาพที่ ๑ สถำบันกษัตริย์และประวัติศำสตร์
สมเด็จ เจ้ำฟำวชิรำวุธทอดพระเนตรโบรำ วัตถุ พ.ศ. ๒๔๕๐
นั้นของพระองค์ เพื่อ “ให้คนไทยรู้สึกขึ้นมำบ้ำงว่ำชำติไทยเรำไม่ใช่ชำติใหม่
และไม่ใช่ชำติที่เป็นคนปำหรือที่เรียกตำมภำษำอังกฤษ ‘อัน ิวิไล ์’ ” ๓๓
พระมงกุ เกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงราชานุภาพ
ทรงสถาปนาสุโขทัยเป็น “เมืองหลวงแห่งแรกของคนไทย” และเป็นจุดเริ่มต้น
ของประวัติศาสตร์ต่อเนื่องมาจนถึงอยุธยาและธนบุรี เรื่อยมาจนถึงกรุงเทพฯ
พ.ศ. ๒๔๕๘ สมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงฯ ทรงขัดแย้งกับพระมงกุฎ
เกล้าฯ และทรงลาออกจากต�าแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ขณะนั้นทรง
ศึกษาวิจัยประวัติศาสตร์อยู่แล้ว และหลังจากนั้นทรงอุทิศพระองค์ให้กับงานด้าน
ประวัติศาสตร์อย่างเข้มข้น อีก ๒ ทศวรรษต่อมาทรงพระนิพนธ์งานเขียนกว่า
๕๐ เล่ม รวมทั้งต�ารา เล่าเรื่องการเดินทาง และงานศึกษาด้านมานุษยวิทยา
แต่ส่วนใหญ่เป็นงานด้านประวัติศาสตร์ พ.ศ. ๒๔๖๓ ทรงพิมพ์หนังสือรู้จักกัน
เป็นอย่างดีในชื่อ ท พ า ซึ่งประสบความส�าเร็จเป็นอย่างสูง และหนังสือ
เล่มนี้ยังคงเป็นหนังสือประวัติศาสตร์ไทยที่มีชื่อเสียงที่สุด ทรงให้ภาพว่าพม่า
เป็นศัตรูตลอดกาล พม่าเป็น “อื่น” ซึ่งช่วยนิยามสยามในฐานะรัฐชาติหนึ่ง
หนังสือเล่มนี้ท�าให้ประเทศชาติที่เพิ่งจะตั้งขึ้นมานี้มีประวัติย้อนหลังไปถึง ๔๐๐
ปี เต็มไปด้วยสงครามกับชาวพม่า หนังสือนี้ให้ภาพกษัตริย์ไทยเป็นศูนย์กลาง
ของประวัติศาสตร์ และเน้นบทบาทของพระนเรศวรและพระพุทธยอด าจุ า
โลก เป็นวีรบุรุษที่ปกปองอิสรภาพของชาติอย่างกล้าหาญ หนังสือบรรยาย
ถึงการเสียกรุงทั้งสองคราวอย่างยืดยาว คือการเสียกรุงเมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๒ และ
พ.ศ. ๒๓๑๐ ว่าเป็นความหายนะครั้งใหญ่ของชาติที่เกิดจากการขาดความสามัคคี
ในชาติ โดยเฉพาะในบรรดาขุนนาง หนังสือเล่มนี้ยังน�าสามัญชนเข้ามาเป็นส่วน
หนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติไทย โดยกล่าวถึง “บ้านบางระจัน” ซึ่งต่อสู้กับพม่า
อย่างอาจหาญเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ โดยไม่ได้รับความช่วยเหลือจากเมืองหลวงเลย
ชาวบ้านบางระจันฮึดสู้ด้วยความจงรักภักดีและด้วยการปลุกระดมจากพระสงฆ์
เพียงรูปเดียว
สมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงฯ ทรงให้นิยามความเป็นไทยจากประวัติ
ศาสตร์ว่ามีองค์ประกอบ ๓ ประการ คือ “ควำมจงรักอิสระของชำติอย่ำงหนึ่ง
ควำมปรำศจำกวิหิงสำอย่ำงหนึ่ง ควำมฉลำดในกำรประสำนประโยชน์อย่ำง
หนึ่ง” ๓๔ ด้วยคุณลักษณะเหล่านี้ ผู้คนที่มาจากหลากหลายเชื้อชาติได้กลาย
เป็น “ชนชาติไทย” ด้วยการส�าแดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และ
ยอมรับภาษาไทย

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


นักคิ สามัญชน
ราชส�านักและตระกูลขุนนางใหญ่ มีบทบาทน�าและก�ากับควบคุมโอกาส
ที่จะได้รับการศึกษาสมัยใหม่ มีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศ และได้งานที่ดี
แต่ก็ไม่อาจผูกขาดทุกสิ่งอย่างเต็มที่ สามัญชนหัวดีจ�านวนน้อยส่วนหนึ่งมี
โอกาสได้รับการศึกษาสูงหรือไปเรียนต่อต่างประเทศ พวกเขาประทับใจกับแนว
คิดเรื่องความเจริญของตะวันตกเช่นกัน แต่แรงบันดาลใจต่างกัน แม้ว่านักคิด
สามัญชนมีจ�านวนน้อยนิด แต่สามารถสื่อกับผู้อื่นได้ผ่านสิ่งพิมพ์ซึ่งเป็นการสื่อ
สารแบบใหม่ในสมัยนั้น หมอสอนศาสนาน�าการพิมพ์ภาษาไทยเข้ามาเมื่อ
พ.ศ. ๒๓๗๙ เริ่มแรกการพิมพ์จ�ากัดอยู่กับโบสถ์คริสต์และราชส�านัก ครั้น
ทศวรรษ ๒๔๑๐ มีโรงพิมพ์เกิดขึ้นนอกสองสถาบันนี้ด้วย
กุหลาบ ต ษณานนท์ มีพ่อเป็นจีนเกิดในเมืองไทย แต่งงานกับลูกสาว
ของข้าราชการชั้นผู้น้อย ไปโรงเรียนวัดและได้บวชเรียน เนื่องจากเป็นคนเก่ง
จึงเตะตาอาจารย์และคนในวังระดับล่าง ซึ่งช่วยให้กุหลาบได้เรียนต่อ กุหลาบ
ท�างานกับบริษัทฝรั่งถึง ๑๕ ปี เดินทางไปทั่วเอเชีย พูดได้หลายภาษา และเป็น
หนอนหนังสือ เมื่อกุหลาบกลับมาตั้งรกรากที่กรุงเทพฯ เมื่อทศวรรษ ๒๔๒๐
เขาจึงเป็นหนึ่งในกลุ่มเอกชนคนแรกๆ ที่ตั้งโรงพิมพ์อิสระขึ้น เขารู้จักมักคุ้น
กับคนในราชส�านัก จึงสามารถหยิบยืมต้นฉบับจากหอสมุดในวัง แอบคัดลอก
เอาไว้ และต่อมาจึงพิมพ์ออกขาย เขาริเริ่มท� าวารสารชื่อ า ภท มี
คนอ่านสัก ๑,๐๐๐ คน วารสารนี้พิมพ์บทความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และ
วัฒนธรรม ซึ่งกุหลาบเรียบเรียงขึ้นจากเอกสารซึ่งเขาลักลอบเอามาอ่าน และ
ยังมีความเรียงซึ่งเขาเขียนเองเกี่ยวกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่เพิ่งเกิดใน
สมัยนั้น ท้ายที่สุดเขาถูกฟ้องศาล เนื่องจากได้เพิ่มเติมปรับเปลี่ยนเนื้อความ
ในต้นฉบับที่เขาพิมพ์ใหม่ และคงจะเป็นเพราะด้วยสาเหตุที่ว่า เขาได้กล้าหาญ
ที่จะพิมพ์ความรู้ ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นทรัพย์สินลี้ลับของราชส�านัก
เทียนวรรณ วัณณาโภ ก็ได้ท�าให้ราชส�านักขัดเคืองด้วย พ่อแม่เป็น
สามัญชนต้นตระกูลสืบสายมาจากขุนนาง คล้ายกับกุหลาบตรงที่ร�่าเรียนมาจาก
โรงเรียนวัด ได้บวชเรียนและเกี่ยวพันอยู่กับราชส�านักอยู่บ้าง เขาเริ่มอาชีพค้า
ขายและเดินทางไปถึงสิงคโปร์ แต่ต่อมากลับมาศึกษาภาษาอังกฤษและกฎหมาย
มีชื่อเสียงเป็นทนายช่วยคนยากจน วิพากษ์วิจารณ์ว่าชนชั้นน� าเอาเปรียบและ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ฉ้อราษฎร์บังหลวง มีคนตักเตือนไม่ให้เขาพูดจาโผงผางเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
ท้ายที่สุดถูกจ�าคุกตลอดชีวิตเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๕ ด้วยข้อหาละเมิดระเบียบปฏิบัติ
ด้านกฎหมายในการด�าเนินอาชีพเป็นทนายของเขา เขาถูกจ�าคุกอยู่ถึง ๑๖ ปี
และออกจากคุกมาพร้อมๆ กับงานเขียนเป็นจ�านวนมาก หลังจากนั้นได้จัดท�า
วารสารซึ่งต่อต้านการเกณฑ์แรงงาน และการมีภรรยาหลายคนพร้อมๆ กัน
เขาไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลสนับสนุนการพนัน เขาไม่พอใจระบบรัฐบาลไม่มีตัวแทน
และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขาตั้งค�าถามว่า เหตุใดการเมืองจึงเป็นเรื่องของราช
ส�านักอย่างสิ้นเชิง เขาประทับใจที่ญี่ปุ่นต้านทานอาณานิคมได้ และแถมยัง
เอาอย่างตะวันตกเรื่อง “ความเจริญ” ได้อีก เขาเสนอว่าญี่ปุ่นประสบความ
ส�าเร็จเพราะว่ามีขบวนการเพิ่มความเข้มแข็งของชาติซึ่งมีสารพัดคนรวมพลัง
ขณะที่ในสยาม ชนชั้นน�าที่ราชส�านักกีดกันผู้อื่นอย่างจงใจ
นักคิดสามัญชนอีกคน ทิม สุขยางค์ ครอบครัวค้าเรือแพ เรียนหนังสือ
โรงเรียนวัด ได้บวชเรียน และมีผู้อุปถัมภ์เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ พ.ศ. ๒๔๒๑
เขาพิมพ์ น า น า ว่าด้วยการเดินทัพสู่อีสาน นิราศกล่าวหาว่าสมเด็จ
เจ้ำพระยำบรมมหำศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนำค) ผู้วำงแผนกำรเดินทัพนี้ท�ำงำน
ผิดพลำด น�ำไปสู่ควำมล้มเหลวและกำรสู เสียเลือดเนื้อ นิราศให้ภาพสามัญ
ชนเป็นเหยื่อของความไร้ประสิทธิภาพและการฉ้อราษฎร์บังหลวงของผู้นา� ขุนนาง
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า “หนังสือนิรำศนี้กล่ำวควำม
เหลือเกินไปต่ำง ” ๓๕ และจากการพิจารณาคดี ศาลตัดสินจ�าคุกทิมและให้
ท�าลายหนังสือเสีย
ทั้ ง นี้ กุ ห ลาบ เที ย นวรรณ และทิ ม ล้ ว นมี พ้ื น เพมาจากครอบครั ว
สามัญชน เล่าเรียนที่วัดตามประเพณีเดิม ได้รับการอุปถัมภ์จากราชส� านักบ้าง
และในด้านการงานและการค้ามีความเกี่ยวโยงกับฝรั่งบ้าง จากทศวรรษ ๒๔๒๐
มีโรงเรียนสมัยใหม่เพิ่มมากขึ้น ท�าให้ลูกหลานสามัญชนมีโอกาสได้เข้าโรงเรียน
ที่ลูกหลานตระกูลชั้นน� าได้เรียนอยู่ แม้ว่าราชส� านักประสงค์ที่จะจ� ากัดการ
ศึกษาสมัยใหม่ให้อยู่ในกลุ่มของชนชั้นสูง แต่ความต้องการก�าลังคนมีการศึกษา
เพื่อรับราชการเป็นความจ�าเป็นเร่งด่วน ลูกหลานของพระราชวงศ์และขุนนาง
จ�านวนไม่น้อยพบว่าโรงเรียนสมัยใหม่ยากเกินไปหรือไม่คู่ควรกับพวกเขา พระ
เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงเคี่ยวเข็ญให้พวกเขาร�่าเรียน แต่ไม่ทรงประสบความ
ส�าเร็จมากนัก ครอบครัวจีนและสามัญชนคนไทยอื่นๆ จึงฉกฉวยโอกาสที่เปิด

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ขึ้น ดังนั้น โรงเรียนกฎหมาย โรงเรียนทหาร และโรงเรียนข้าราชการพลเรือน
จึงมีลูกหลานของครอบครัวสามัญชนที่พร้อมจะจ่ายค่าเล่าเรียนเข้าเรียนกัน
อย่างคับคั่ง สามัญชนที่ได้รับการศึกษาสมัยใหม่เหล่านี้ บางคนเจริญรุ่งเรือง
ในงานที่ท�า และได้รับการเลื่อนขั้นอย่างรวดเร็ว แต่ส่วนมากยังถูกกีดกันและ
พบว่าลูกหลานของครอบครัวผู้ดีซึ่งมีเส้นสายใหญ่กว่า ก้าวกระโดดไปเร็วกว่า
โดยเฉพาะในฝ่ายทหารนั้นไม่มีสามัญชนด� ารงต�าแหน่งระดับสูงสุดเลย แม้ว่า
พวกเขาอยู่ในกลุ่มนายทหารระดับกลางๆ เป็นจ�านวนมากที่สุด
ทั้งเทียนวรรณ และกุหลาบ เขียนชื่อตัวเองเลียนแบบฝรั่ง คือมีตัวย่อ
(ต.ว.ส. วั ำโภ, ก.ศ.ร. กุหลำบ) พวกเขาก็ประทับใจกับแนวคิดใหม่ๆ ที่
มาจากตะวันตกหลายเรื่องในท�านองเดียวกับนักคิดของราชส�านัก เช่น ความ
คิดที่ว่ามนุษย์เป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ แนวคิดเรื่องรัฐชาติ และแนวคิดเรื่อง
“ความเจริญ” แต่ก็มีความต่างคือ ขณะที่นักคิดราชส�านักได้ความคิดใหม่เรื่อง
อ�านาจอาญาสิทธิ์ของกษัตริย์ปกป้องอธิปไตยของชาติและน�าชาติไปสู่ความเจริญ
นักคิดสามัญชนกลับได้แรงบันดาลใจว่าชาติในอุดมคตินั้นไม่มีการจัดช่วงชั้น
ทางสังคมและการกีดกั้น ท�าให้พลเมืองมีส่วนร่วมในการสร้างความเจริญได้
ความคิดนี้เป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นต่อมา เมื่อพวกเขาเข้ารับราชการ เขา
ได้รับความรู้สมัยใหม่ แต่ก็พบด้วยว่าชาติก�าเนิดยังมีความส�าคัญ การกีดกัน
และการแบ่งช่วงชั้นสูงต�่าคงอยู่ องค์ประกอบเหล่านี้กลับเป็นพลังน�าไปสู่การ
เปลี่ยนแปลง

ขี จํากั ของความศิวิไล ์

ภายในกลุ่มชนชั้นน�ามีการอภิปรายกันว่าน่าจะมีการปฏิรูปอะไรที่จ�าเป็น
เพื่อท�าให้สามารถรับมือกับตะวันตกได้ พ.ศ. ๒๔๒๗ เมื่อฝรั่งเศสยึดครอง
อินโดจีนและอังกฤษท�าสงครามรุกเข้าสู่พม่าตอนเหนือ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาล
ที่ ๕ ได้ตรัสถามพระองค์เจ้าป ษ างค์ พระภาคิไนยซึ่งเป็นหัวหน้าคณะทูต
ที่ฝรั่งเศส ว่ำจะรักษำอิสรภำพของสยำมไว้ได้ด้วยวิธีใด ใน ๑๑ รายชื่อที่ลง
นามในบันทึกตอบค�าถามนี้ประกอบด้วย พระอนุชาต่างพระมารดาสามพระองค์
ซึ่งพ�านักอยู่ในยุโรปขณะนั้น ค�าตอบของทั้ง ๑๑ ท่าน เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
๒๔๒๘ มีใจความว่า สยามอยู่ในภาวะอันตราย เพราะว่าชาติตะวันตกเชื่อว่า
พวกเขามีความเหนือกว่า จึงมีหน้าที่ที่จะน�าความก้าวหน้าและความศิวิไล ์มา
สู่มวลมนุษย์ทุกแห่งหน “ชำติเล็กน้อยนั้น ถึงชำติใด ...ให้อยู่ในควำมปกครอง
ของชำติหนึ่งชำติใดในยุโรปแล้วชำติทั้งปวงคงจะต้องได้ผลประโยชน์มำกขึ้น
เป็นแน่” นัยก็คือประเทศมหาอ�านาจตะวันตกอาจจะหาเหตุเข้ายึดครองประเทศ
ที่ไม่สามารถน�าความเจริญ ความยุติธรรม การค้าเสรี และไม่อาจให้การปกป้อง
ดูแลคนต่างชาติได้อย่างสมบูรณ์ “ยุโรปไม่นับถือสยามแต่อย่างใด” เพราะ
เชื่อว่า “กำรรักษำกรุงสยำมในทุกวันนี้ไม่มีเสนำบดีแลเจ้ำพนักงำนกรมใดเอำใจ
ใส่ในพนักงำนหน้ำที่ของตน มีผู้บ�ำรุงรักษำแลคิดกำรแผ่นดินอยู่ก็แต่ ำละออง
ธุลีพระบำทพระองค์เดียว” ๓๖
ดังนั้น ทั้ง ๑๑ ท่านจึงแนะน�าว่า “มีทางเดียวที่จะจัดการบ�ารุงรักษา
ตามทางยุโรปทั้งปวง...เหตุฉะนี้จึ่งจะต้องจัดการบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงพระ
ราชประเพณีของเก่าให้เป็นประเพณี คอนสติติวชันใหม่ตามทางชาวยุโรป”
และ “ต้องให้มนุษย์มีความสุขเสมอกัน แลถือก หมายอันเดียว แลในเรื่อง
เก็บภาษีแลสักเลกต้องให้ความยุติธรรม” ๓๗

บันทึกซึ่งตอบค�าถามของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เสนอค�าแนะน�าให้
สยามมีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง มีคณะรัฐมนตรี มีข้าราชการซึ่งได้รับเงินเดือน
ประจ�าที่มีการคัดเลือกและเลื่อนขั้นตามความดีความชอบ ให้ทุกคนเท่าเทียม
กันภายใต้กฎหมายเดียวกัน ให้ยุติการฉ้อราษฎร์บังหลวง และให้มีเสรีภาพใน
การแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนะน�าให้มีรัฐธรรมนูญ การปฏิรูป
เหล่านี้จะส่งผล “ให้รำษ รมีควำมคิดรู้สึกว่ำ กำรกดขี่แลอยุติธรรมต่ำง ไม่มี
อีกต่อไปแล้ว จึ่งจะมีควำมรักต่อบ้ำนเมือง จนเห็นชัดว่ำกรุงสยำมนั้นเป็นเมือง
ของรำษ รแลจะต้องบ�ำรุงรักษำ...แลเมื่อรำษ รมีควำมรักบ้ำนเมืองอย่ำงยิ่ง
ดังนี้แล้ว ก็นับว่ำได้เป็นทหำรอันให ่ปองกันได้จริง” ๓๘ ตัวแบบซึ่งผู้เขียนบันทึก
นี้มีอยู่ในใจคือ “ญี่ปุ่น” ประเทศในเอเชียซึ่งเริ่มเอาอย่างตะวันตกแล้ว
บันทึกนี้ท�าให้พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงขีดเส้นจ� ากัดว่า สยามน่า
จะตามอย่างตะวันตกถึงขนาดไหน ในค�าตอบของพระองค์ต่อบันทึกนี้นั้นทรง
โต้เถียงว่าประเพณีการปกครองแต่โบราณของสยามนั้นแตกต่าง พระมหากษัตริย์
ของยุโรปได้ถือปฏิบัติวิถีสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนท�าให้มีปฏิกิริยาเข้าควบคุม

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


โดยใช้รัฐสภาและรัฐธรรมนูญ แต่พระมหากษัตริย์สยามทรงปกครองด้วยหลัก
จริยธรรมตามศาสนาพุทธ ดังนั้น

ที่กรุงสยามนี้ ยังไม่มีเหตุการณ์อันใดซึ่งเป็นการจ� าเป็น


แล้วจึงเป็นขึ้นเหมือนประเทศอื่นๆ ประเทศอื่นๆ ราษฎรเป็นผู้ขอ
ให้ท�า เจ้าแผ่นดินจ�าใจท�า ในเมืองเรานี้เป็นแต่พระเจ้าแผ่นดิน
คิดเห็นว่าควรจะท�า เพราะจะเป็นการเจริญแก่บ้านเมืองและเป็น
ความสุขแก่ราษฎรทั่วไป จึงได้คิดท�า...และการที่จะปกครองบ้าน
เมืองเช่นประเทศสยามนี้ ตามอ�านาจอย่างเช่นเจ้าแผ่นดินประเทศ
อื่นๆ คือประเทศยุโรปก็จะไม่สามารถปกครองบ้านเมืองได้ และ
จะไม่เป็นที่ชอบใจของราษฎรทั่วหน้าด้วย...ปรกติราษฎรย่อมเชื่อ
ถือเจ้าแผ่นดินว่าเป็นผู้อยู่ในความยุติธรรม และเป็นผู้รักใคร่คิด
จะท�านุบ�ารุงราษฎรให้อยู่เย็นเป็นสุขกว่าผู้อื่นทั้งสิ้นทั่วหน้ากัน๓๙

พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงเห็นว่าพระองค์เพิ่งช่วงชิงได้อ�านาจมา
จากเสนาบดีกลุ่มเก่า และทรงเน้นว่าถ้าจะมี “รัฐสภา” ก็ยังไม่มีผู้เหมาะสมที่จะ
เป็นสมาชิก ดังที่ทรงวินิจฉัยว่า

ถ้าจะมีปาลิเมนต์จะไม่มีผู้ใดซึ่งสามารถเป็นเมมเบอได้สัก
กี่คน และโดยว่ามีเมมเบอเหล่านั้นเจรจาการได้ก็ไม่เข้าใจในการ
ราชการทั้งปวงทั่วถึง เพราะว่าไม่มีความรู้และการฝกหัดอันใดแต่
เดิมเลย...ราษฎรคงจะเชื่อเจ้าแผ่นดินมากกว่าผู้ซึ่งจะมาเป็นเมม
เบอออฟปาลิเมนต์ เพราะปรกติทุกวันนื้ราษฎรย่อมเชื่อถือเจ้า
แผ่นดินว่าเป็นผู้อยู่ในความยุติธรรม และเป็นผู้รักใคร่คิดจะท�านุ
บ�ารุงราษฎรให้อยู่เย็นเป็นสุขยิ่งกว่าผู้อื่นทั้งสิ้นทั่วหน้ากันเป็นความ
จริง๔๐

และทรงมีความเห็นว่า หากจะปฏิรูป รัฐบาลจะต้องมีอ�านาจหนึ่งเดียว


แบ่งแยกไม่ได้
ขุนนางใหญ่ตอกย�้าข้อเสนอของพระองค์ โดยฟื้นฟูทฤษฎีกษัตริย์ดั้ง
เดิมและเรียบเรียงใหม่ในข้อเขียนว่าด้วยชาติและรัฐ ซึ่งเป็นภาษาใหม่ พระยา

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) จากตระกูลบุนนาค และหนึ่งในบุคคลนอกพระราช
วงศ์ที่ด�ารงต�าแหน่งเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ เสนอความคิดซึ่งเชื่อถือกันมาอย่างน้อย
ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศว่า พระมหากษัตริย์แต่เดิมนั้นได้รับเลือกจาก
ประชาชนอย่างพร้อมเพรียงกันเนื่องเพราะความดีงามด้านจริยธรรมของพระ
องค์ “ที่แผ่นดินเหล่ำนี้ทั่วพระรำชอำ ำจักร เข้ำใจว่ำเป็นของพระบำทสมเด็จ
พระเจ้ำอยู่หัวทั้งสิ้น ได้ด�ำรงโดยรำชประเพ ีที่บรรพบุรุษของเรำผู้เป็นประชุมชน
ยกขึ้นเป็นชำติต้ังรำชประเพ ีเป็นขัติย หรือกษัตริย์...เลือกสรรค์เอำตระกูลวงศ์
อันหนึ่ง ึ่งมีคุ ธรรมโดยปรีชำ ำ อันสำมำรถอำจจะ...เป็นประมุขประธำน
ของหมู่ประชุมชน ึ่งตั้งเป็นชำตินั้น” ๔๑ ข้าราชการได้รับการศึกษาจากฝรั่งเศส
ผู้หนึ่ง ให้ภาพการต่อต้านฝรั่งเศสเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามปกป้องศาสนา
พุทธ และเสนอว่า “เรำมีแต่จะต้องสำมักคีรวมกัน อำษำต่อสู้รำชปัจำมิศ เอำ
ก�ำลังกำยและชีวิตรเข้ำสนองพระเดชพระคุ พระบำทสมเด็จพระบรมกระษัตริย
เพื่อจักปองกันมิให้มิจฉำทิฐิมำย�่ำยีพระพุทธสำศนำ เพื่อจัดปองกันมิให้สัตรู
มำแย่งชิงเอำบ้ำนเกิดเมืองบิดรของเรำทั้งหลำย และเพื่อจักปองกันควำมเปน
อิศรภำพของชำติไทย” ๔๒
เหตุการณ์ ร.ศ.๑๑๒ ที่ปากน�้าเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ เร่งเร้าให้ชนชั้นน�า
สยามยิ่งกลัวว่าจะถูกประเทศล่าอาณานิคมยึดครอง พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕
ทรงย�้าแล้วย�้าอีกถึงความศักดิ์สิทธิ์ของชาติ และหน้าที่หลักของพลเมืองที่ต้องมี
ความสามัคคี ความเป็นหนึ่งเดียว เพื่อปกป้องชาติ ในสมัยนั้น ก.ศ.ร.กุหลาบ
ผู้กระด้างกระเดื่องถูกฟ้องศาล และพระองค์เจ้าป ษ างค์ พระภาคิไนยซึ่ง
เป็นหัวหน้าจัดท�าบันทึกข้างต้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ ถูกประณาม และทรงลี้ภัยไป
ต่างประเทศ พ.ศ. ๒๔๔๗ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง
พ า า า า า า ี กล่าวถึงว่าพระมหากษัตริย์คือศูนย์
รวมของชาติ และทรงเห็นว่าสยาม “ควรจะรวมควำมคิดเข้ำเป็นกลำงให้ลงเป็น
อันหนึ่งอันเดียวกัน...อำศัยเจ้ำแผ่นดินเป็นหลัก” ๔๓
ณ ช่วงท้ายของสมัยรัชกาลที่ ๕ และหลังจากนั้น สมเด็จฯ กรมพระยา
ด�ารงฯ ทรงนิยามลักษณะของพระมหากษัตริย์สยามเสียใหม่ เห็นได้จากชุด
งานบรรยายและงานเขียน ในอดีตนั้น พระมหากษัตริย์ทรงให้ความคุ้มครอง
ประชาชน ซึ่งท�าให้สามารถด�าเนินรอยตามหลักค�าสอนศาสนาพุทธสู่แนวทาง
ของนิพพาน ปัจจุบันสมัย บทบาทของพระองค์เป็นไปเพื่อน�า “ความเจริญ” มา

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


สู่สยาม ทั้งพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาส
ไปทั่วประเทศเสมือนพระธุดงค์เพื่อทรงเรียนรู้ปัญหาของประชาชน สิ่งที่พระ
มหากษัตริย์ทรงกระท�าทั้งสิ้นทั้งปวงนั้น เป็นการอุทิศพระวิริยะอุตสาหะเพื่อ
ปรับปรุงความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นทั้งสิ้น สมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงฯ
ทรงกล่าวไว้ว่า “วิธีปกครองของไทยเป็นอย่างบิดาปกครองบุตร หรือเรียกตาม
ภาษาอังก ษว่า at rnal o rn nt ยังใช้เป็นหลักปกครองประเทศ
สยามมาจนทุกวันนี้”๔๔ ผลก็คือพระมหากษัตริย์ “ของราษฎร” และ “เพื่อ
ราษฎร” ผู้ซึ่งทรงได้อ�านาจมาจากความรักของประชาชน สมเด็จฯ กรมพระยา
ด�ารงฯ ทรงอ้างว่าการเปิดเผยพระองค์ของพระมหากษัตริย์ต่อสาธารณชน โดย
เฉพาะจากพระบรมรูปทรงม้าขนาดมหึมาและการยอมให้พสกนิกรผู้อาลัยใน
พระองค์ได้มีโอกาสถวายความเคารพต่อพระบรมศพของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาล
ที่ ๕ ซึ่งนับเป็นเรื่องใหม่ของราชส�านัก ท�าให้เกิดความใกล้ชิด จนกระทั่ง “รำษ ร
จึงมำเกิดควำมรู้สึกรักใคร่, ึ่งมิได้เคยรู้สึกต่อพระเจ้ำแผ่นดินมำช้ำนำนแล้ว,
เมื่อเสด็จสวรรคตลงแล้ว รำษ รจึงมีควำมเศร้ำโศกจริง ทั่วถึงกัน” ๔๕
ลักษณะใหม่ของความเป็นพระมหากษัตริย์เช่นที่ว่ามานั้น สมเด็จฯ
กรมพระยาด�ารงฯ ทรงมีนัยว่า เป็นเรื่องเฉพาะของราชวงศ์จักรี งานด้านประ
วัติศาสตร์ของพระองค์แสดงว่าพระเจ้าตากสิน (ซึ่งไม่ใช่ราชวงศ์จักรี) ทรงล้ม
เหลวในฐานะพระมหากษัตริย์ ในฐานะผู้อุปถัมภ์ศิลปะโบราณ และในฐานะ
ผู้น�าศาสนาพุทธ เพราะว่าพระองค์ไม่ได้มาจากขนบประเพณีเช่นนั้น สมเด็จฯ
กรมพระยาด�า รงฯ ทรงบรรณาธิก ารพงศาวดารของรัต นโกสิน ทร์ ส มัย ต้ น ๆ
อย่างพิถีพิถัน จนให้ภาพว่าลักษณะของความเป็นพระมหากษัตริย์ดังกล่าวนั้น
มีจุดเริ่มมาตั้งแต่เมื่อก่อตั้งพระราชวงศ์ ทรงเสนอว่าพระราชวงศ์ครอบง�ารัฐบาล
เพราะว่าล้วนแล้วแต่ได้รับการศึกษาด้านการปกครอง อุทิศตนให้กับการท�างาน
ตามแบบอุดมคติ ซึ่งท�าให้ได้รับความนับถือจากประชาชนอย่างกว้างขวาง และ
ดังนั้นจึงสามารถส่งผ่านสถานะดังกล่าวสู่ผู้สืบราชสมบัติ การให้ภาพเช่นนี้
ของสมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงฯ มีนัยว่าการปกครองโดยรัฐธรรมนูญไม่จ�าเป็น
และอะไรที่จะฉีกแนวออกไปจากภาวะครอบง�าโดยพระราชวงศ์จักรีจะเป็นการ
ถอยหลัง ทรงเรียบเรียงไว้ใน พงศาวดารรัชกาลที่ ๕ ความว่า “ถ้าไม่มีพระเจ้า
แผ่นดิน บ้านเมืองจะเป็นจลาจล” ๔๖

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
สรุป
ทศวรรษ ๒๔๑๐ ถึงทศวรรษ ๒๔๔๐ มีความเปลี่ยนแปลงอย่างมหา
ศาลเกิดขึ้น สืบเนื่องมาจากความเขม็งตึงทางสังคมในระบบเศรษฐกิจตลาด
ทั้งยังมีวิธีคิดแบบใหม่ๆ ในบรรดากฎุมพีและชนชั้นน�า รวมทั้งภาวะการคุกคาม
และโอกาสที่มากับการเปิดประเทศกับตะวันตก สยามหลีกเลี่ยงการตกเป็น
อาณานิคมได้ส�าเร็จ ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสภาพทางภูมิศาสตร์และช่วง
เวลาสยามกลายเป็นประเทศกันชนระหว่างฝรั่งเศสและอังกฤษ ซึ่งต่างก็ทะเยอ
ทะยานที่จะยึดครองดินแดน แต่พอดีเป็นช่วงที่สมัยของการยึดครองดินแดน
สิ้นสุดลงพอดี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะวิถีปฏิบัติที่สืบทอดมาจากสมัยอยุธยาคือ
การรับเอาคนต่างชาติเข้ารับราชการ เป็นการประนีประนอมเสมือนเป็นกึ่งอาณา
นิคมกลายๆ อีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะชนชั้นน�าสยามโอบรับเอาความคิดเรื่อง
ความเจริญและประวัติศาสตร์จากยุโรป รวมทั้งเทคโนโลยีของการท�าแผนที่
ระบบราชการแบบอาณานิคม ตัวบทกฎหมาย และการเกณฑ์ทหาร อย่างเต็มใจ
ในกรอบโบราณราชประเพณี อ�านาจของพระมหากษัตริย์แผ่ขยายไป
เหนือผู้ที่ “เข้ามาอาศัยร่มพระบรมโพธิสมภาร” หน้าที่ของรัฐบาลโดยพระมหา
กษัตริย์คือให้ที่พ�านักพักพิงจากการรุกรานของศัตรูภายนอก และสร้างความ
มั่นคงภายใน โดยการตรวจตราและจัดการกับปัญหาการทะเลาะวิวาท
ความสัมพันธ์ซึ่งประกอบเป็นโครงสร้างรัฐนั้นคือ ความสัมพันธ์ส่วน
ตัว ไพร่นบนอบต่อนาย ผู้อุปถัมภ์-ผู้อยู่ใต้อุปถัมภ์ เกี่ยวโยงกันภายในระบบ
ราชการ ความจงรักภักดีของเจ้าเมืองระดับรองลงมาหรือเจ้าหัวเมืองต่อพระ
มหากษัตริย์ส�าแดงให้ประจักษ์ด้วยพิธีกรรม เช่น ดื่มน�้าพิพัฒน์สัตยา ในระบบ
นี้ รายได้จากภาษี แรงงานเกณฑ์ และสินค้าแปลกๆ ที่มีค่า หลั่งไหลจากผู้อยู่ที่
ฐานของพีระมิดล่างสุด ขึ้นไปสู่ผู้อยู่สูงขึ้นไป เพื่อคงสถานภาพของคนระดับ
สูง ประชาชนต้องเกี่ยวโยงกับราชส�านักในขอบเขตจ�ากัด (ภาษี การเกณฑ์แรง
งาน การตัดสินคดีความ) และโดยส่วนมากแล้วเป็นความโยงใยผ่านตัวกลาง
เช่น เจ้าภาษี นายอากร และมูลนาย
รัฐชาติใหม่ก�าหนดมาจากการปักปันเขตแดน ทุกคนที่อยู่ภายในขอบ
เขตที่ปักปันขึ้นและได้รับ “สัญชาติ” คือสมาชิกของชาติและเป็นพลเมืองของ
รัฐ หน้าที่ของรัฐไม่ใช่แต่เพียงให้ความคุ้มครอง แต่ต้องบรรลุถึง “ความเจริญ”

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ด้วย เพื่อบรรลุเป้าประสงค์ดังกล่าว จึงต้องสร้างโทรเลขและทางรถไฟ จัดการ
กับกิจการศาสนาและการศึกษา เพื่อปรับปรุงวิธีคิดของประชาชน และจัดหา
บริการด้านสาธารณสุขเพื่อให้มีสุขภาพดีมีความสามารถเพิ่มขึ้น ต่อจากนี้ รัฐ
มีความชอบธรรมที่จะแทรกแซงชีวิตของพลเมืองมากกว่าเดิม ประชาชนต้อง
สัมพันธ์กับข้าราชการที่แต่งตั้งมาจากส่วนกลาง ข้าราชการเข้ามาเก็บภาษี ส�ารวจ
ส�ามะโนประชากร มาตรวจตรา มาเกณฑ์ทหาร และอื่นๆ อีกมากมาย ประ
ชาชนต้องยอมรับโครงการที่ส่งมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนา การศึกษา และการ
เรียนรู้ที่จะเป็น “พลเมือง”
ในระยะแรกๆ โครงการต่างๆ ของรัฐชาติใหม่ทา� ได้เฉพาะในเมืองหลักๆ
เนื่องจากเงินทุนและจ�านวนของข้าราชการไม่เพียงพอ นอกจากนั้นแล้ว โครง
สร้างและความคิดแบบเดิมๆ ยังคงอยู่ไม่หดหายไปได้ง่ายๆ ความสัมพันธ์ส่วน
ตัวและความสัมพันธ์ของเครือข่ายครอบครัวยังมีความส�าคัญทั้งในและนอก
ระบบราชการ ทัศนคติแบบเก่าๆ ึ่งก�าหนดความเป็นใหญ่โดยใช้สถานภาพ
ทางสังคม ยังมีการผลิต �้าในความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการและชาวนา แต่
ความสัมพันธ์แบบเดิมๆ นี้ที่หลงเหลืออยู่ต้องประนีประนอมกับอ�านาจที่มากับ
รัฐที่มีการก�าหนดเป็นหลักการไว้ และอ�านาจของรัฐก็ค่อยๆ ขยายออกไปเมื่อ
เวลาผ่านไปหลายสิบป แต่กระบวนการไม่ได้เกิดอย่างราบรื่นนัก ตลอดสมัย
รัชกาลที่ ๕ มีข่าวลือว่าจะมีการรัฐประหาร ทั้งจากกลุ่มหัวเก่าที่สูญเสียประโยชน์
และจากกลุ่มนักปฏิรูปที่ผิดหวัง บางส่วนของมหาเถรสมาคมไม่พอใจที่วัดเสีย
บทบาทในการศึกษา ณ เขตหัวเมืองที่อีสานมีแรงต้านอย่างต่อเนื่อง หลังจาก
ที่เกิดกบฏเมื่อทศวรรษ ๒๔๔๐ ที่ล้านนา ครูบาศรีวิชัย น�าขบวนต่อต้านการ
รวมศูนย์อ�านาจและการก�าหนดระบบสงฆ์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันหมด แต่
การต่อต้านส่วนใหญ่ไม่รุนแรง คือเป็นการหาประโยชน์จากช่องว่างของระบบ
รัฐชาติที่ยังไม่สมบูรณ์ดี
ประชาชนเป็นเพียงไทยมุงผู้จ้องดูการสร้างรัฐชาติสยาม เขตแดนของ
สยามถูกปักปันเป็นผลจากที่มหาอ�านาจอาณานิคมปักปันเขตแดนของตัวเอง
ก่อน “ชาติ” คือสิ่งที่จินตนาการขึ้นมาเพื่อให้พอดีกับพื้นที่ที่หลงเหลืออยู่นี้
และโอบรวมเอาทุกคนที่อยู่ภายในขอบเขตนั้นเข้าด้วยกัน โครงสร้างด้านการ
ปกครองก็ปรับมาจากที่ประเทศเจ้าอาณานิคมใช้อยู่

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
การสร้างชาติและรัฐชาติ เกิดขึ้นเป็นคู่ขนานกับการเพิ่มขึ้นของพระ
ราชอ�านาจและอุดมการณ์ของระบบกษัตริย์ใหม่ ชาติจึงไม่ใช่การรวมตัวของ
ประชาชนที่หลากหลายประเภท แต่เป็นความเป็นหนึ่งเดียวอันศักดิสิทธิ โดย
มีสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ยอดเป็นสัญลักษณ์ คือชาติสมบูรณาญาสิทธิราชย์

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ชาวนา พ่อค้า ละข้าราชการ
ทศวรรษ ๒๔๑
งทศวรรษ ๒๔๗
รัฐ ชาติเป็นเรื่องใหม่ สังคมก็เปลี่ยนโฉมใหม่ ทั้งนี้เป็นผลของการเปลี่ยน
แปลง ๒ ขั้นตอนด้วยกัน
เริ่มจากช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง ภูมิทัศน์และสภาพสังคมชนบท
ณ ที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างปรับเปลี่ยนไป ผู้คนอพยพเข้ามาจับจองที่ดินเพื่อ
ท�านาเป็นจ�านวนมาก ที่ดินเหล่านี้ล้วนเคยเป็นป่า เป็นหนองน�้าหรือถูกทิ้งร้าง
มาก่อนทั้งสิ้น ช่วงทศวรรษ ๒๓๙๐ ต่อเนื่องไปจนถึงทศวรรษ ๒๕๑๐ เนื้อที่
เพาะปลูกเพิ่มขึ้นในอัตราสูงกว่าประชากร ปรากฏการณ์นี้แตกต่างจากดินแดน
อื่นๆ ในเอเชียในสมัยเดียวกัน สังคมชาวนาที่บังเกิดขึ้นเป็นสังคมบุกเบิก
ประกอบด้วยชาวนารายเล็กมีที่นาของตนเองเป็นหลัก แทบไม่มีเจ้าที่ดินขนาด
ใหญ่ จนเมื่อความเป็นเมืองพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วช่วงหลังราวๆ พ.ศ. ๒๕๑๐
ชาวนารายเล็กก็ยังมีสัดส่วนถึงร้อยละ ๘๐ ของประชากรทั้งหมด และเป็นพลัง
หลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
ประชากรเมืองก็เป็นเรื่องใหม่ด้วย โดยเฉพาะที่กรุงเทพฯ ชาวจีนที่
อพยพเข้ามาจากจีนตอนใต้อย่างไม่ขาดสาย ได้เข้าครอบง�าเศรษฐกิจกรุงเทพฯ
นอกจากนั้นแล้ว พ่อค้าฝรั่งและที่ปรึกษาชาวฝรั่งเป็นชนชั้นน�ากึ่งอาณานิคมกลุ่ม
ใหม่ ขณะเดียวกันสามัญชนคนชั้นกลางกลุ่มเล็กๆ เริ่มก่อตัวขึ้น สนองรับกับ
บทบาทใหม่ที่กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงของรัฐชาติรัฐหนึ่ง

ูมิทัศน์ ละสังคมชนบทเปลียนรูป
ชาวยุโรปที่เข้ามาเยือนสยามในทศวรรษ ๒๓๖๐ บอกว่าที่ราบลุ่มเจ้า
พระยาส่วนใหญ่ยังเป็นป่า เต็มไปด้วยสุมทุมพุ่มไม้และช้างป่า อีกทั้งบริเวณ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ภาพที่ ๑๑ ภำพริม ังแม่น�้ำเจ้ำพระยำยังเป็นปำในสมัยก่อนกำรขยำยตัวของนำบุกเบิก
วำดโดย อองรี มูโอต์ พ.ศ. ๒๔๐๑

ใกล้ทะเลหรือแม่น�้ามีพื้นที่ชุ่มน�้าเต็มไปด้วยหญ้าคาและจระเข้ ผู้คนจึงตั้งหลัก
แหล่งใกล้ๆ ฝั่งแม่นา�้ ใหญ่ แม้กระทั่งบริเวณริมฝั่งแม่น�้าเจ้าพระยา จากปากน�้า
ถึงกรุงเทพฯ และเลยไปอีก สองฟากฝั่งแม่นา�้ ส่วนมากยังดู “ทิ้งร้ำง ปลอดคน”
และเต็มไปด้วยป่าทึบ (ดูภาพที่ ๑๑) ในสมัยอยุธยานาข้าวกระจุกตัวอยู่บริเวณ
ที่ราบระหว่างแม่น�้าจากชัยนาทลงไปปากแม่น�้าเจ้าพระยา สมัยต้นรัตนโกสินทร์
เมื่อการส่งออกข้าวไปเมืองจีนเพิ่มขึ้น นาข้าวก็ยังกระจุกตัวอยู่แถบนี้ จนประมาณ
พ.ศ. ๒๓๙๐ ๓ ใน ๔ ของที่ราบลุ่มภาคกลางก็ยังเป็นที่รกร้าง และประชากร
ในบริเวณนี้ก็คงมีประมาณ ๕ แสนคนเท่านั้น
๑๐๐ ปต่อมา ชาวบ้านเข้ามาตั้งบ้านเรือนโดยเฉลี่ยปละประมาณ ๗
พั น ครั ว เรื อ น และขยายที่ น าเพิ่ ม ขึ้ น อี ก ๒ แสนไร่ เมื่ อ ถึ ง พ.ศ. ๒๔๙๓
บริเวณด้านล่างของที่ราบลุ่มเจ้าพระยามีคลองขุดตัดผ่านไปมาเสมือนตาหมาก
รุกและที่นาผุดขึ้นทุกหนแห่ง

การเปลี่ยนรูปโฉมเริ่มสมัยต้นรัตนโกสินทร์ จีนอพยพน�าเมล็ดพันธุ์
ผักหลายหลากชนิดเข้ามาปลูก มีการท�าไร่พริกไทย ไร่อ้อย และพืชอื่นๆ เพื่อ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


การค้า จากทศวรรษ ๒๓๕๐ ไพร่หลีกเลี่ยงการเข้าเวรเพื่อไปท�าไร่บุกเบิก เริ่ม
แรกพวกเขาปลูกอ้อยเป็นส่วนใหญ่ แต่ช่วงทศวรรษ ๒๔๑๐ ตลาดอ้อยซบเซา
ลงเพราะน�้าตาลจากยุโรปและชวาราคาถูกกว่า จากนั้น ข้าว ก็ได้กลายเป็นพืช
เศรษฐกิจส�าคัญและสินค้าออกหลัก ในประเทศอาณานิคมฝรั่งรอบๆ เมือง
ไทย การขยายตัวของจ�านวนคนที่ท�างานในเมืองหรือในไร่ปลูกพืชเศรษฐกิจที่
ไม่ใช่อาหาร ท�าให้ความต้องการข้าวเพิ่มอย่างรวดเร็ว ค่าขนส่งทางเรือที่ลดลง
จากการใช้เรือกลไฟท�าให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าหนักๆ เช่นข้าวลดลงเป็นอย่าง
มาก ฉะนั้น การส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นเป็นประมาณปีละ ๑ แสนตัน เมื่อทศวรรษ
๒๔๐๐ และเพิ่มขึ้นอีก ๕ เท่าในช่วง ๔๐ ปีข้างหน้า
ทศวรรษ ๒๓๖๐ และ ๒๓๗๐ ชาวนาบุกเบิกเพิ่มจ�านวนโดยเข้าจับ
จองที่ดิน ณ บริเวณชายขอบด้านทิศตะวันออกและตะวันตกของที่ราบลุ่มเจ้า
พระยา และตามบริเวณชายฝั่งคลองซึ่งขุดขึ้นเพื่อเป็นเส้นทางขนส่งทางเรือ
จากทศวรรษ ๒๔๐๐ พระมหากษัตริย์มีนโยบายขุดคลอง เป็นการเปดโอกาส
ให้สมาชิกพระราชวงศ์ที่เพิ่มจ�านวนอย่างรวดเร็วได้จับจองที่ดิน ทรงขุดคลอง
ใหม่หลายแห่งและโปรดให้แบ่งที่ดินสองฝั่งคลองให้กับบรรดาพระญาติ ขุนนาง
ใหญ่ด�าเนินรอยตาม เช่น ตระกูลบุนนาค ซึ่งขุดคลองไปทางทิศตะวันตก และ
ตระกูลขุนนางระดับรองลงมาอื่นๆ ก็ลงทุนในโครงการที่เล็กกว่า ทศวรรษ
๒๔๓๐ ตระกูลสนิทวงศ์ ลงทุนโครงการใหญ่ขุดคลองที่ทุ่งรังสิตเพื่อทดน�้าออก
จากบริเวณกว้างขวางถึง ๑.๕ ล้านไร่ พระมหากษัตริย์ทรงเข้าเป็นหุ้นส่วน
โครงการขุดคลองเหล่านี้แบ่งที่ดินสองฝั่งคลองเป็นผืนใหญ่ๆ ขนาด ๑,๕๐๐
ถึง ๓,๐๐๐ ไร่ โดยมีไพร่ในสังกัดของตระกูลขุนนางเป็นแรงงาน และยังมีชาว
บ้านอพยพมาจากอีสานเพื่อมาเช่าที่ดินและท�างานรับจ้างเป็นลูกนาอีกด้วย
รัฐบาลออกกฎหมายที่ดินเพื่อให้สิทธิในที่ดิน ท�าการส�ารวจรังวัดและ
ออกโฉนด ท� าให้ราคาที่ดินบริเวณคลองรังสิตพุ่งขึ้นจากไร่ละ ๕ บาท เป็น
๓๗.๕ บาท ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๕ และ พ.ศ. ๒๔๔๗ สมาชิกพระราชวงศ์บาง
รายถวายฎีกาเพื่อให้ทรงอนุญาตโครงการขุดคลองอีก
พ.ศ. ๒๔๔๒ พระอนุชาต่างพระมารดาพระองค์หนึ่งทรงตั้งข้อสังเกต
ว่า ในบรรดากิจการทั้งหลายที่ผู้ดีไทยน่าจะลงทุน คงยากที่จะหาโครงการใดให้
ผลก�าไรดีเท่าการ ื้อขายที่ดิน และในเรื่องที่ดินประเภทต่างๆ การให้เช่าที่นา
ท�าก�าไรดีที่สุด๑

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
แต่แนวโน้มไปสู่การเกิดระบบ “เจ้าที่ดิน” อย่างกว้างขวางในสมัยนั้น
หยุดชะงัก
การปลูกอ้อยเหมาะกับระบบการท�าไร่ขนาดใหญ่ แต่ส�าหรับข้าวนั้น
ชาวนารายเล็กเหมาะสมกว่า ชาวนาจึงบุกเบิกพื้นที่เข้าตั้งถิ่นฐานเพื่อปลูกข้าว
แถบสองฝั่งคลอง คุ้นเคยกับการเข้าถากถางที่ดินใหม่โดยได้สิทธิการจับจอง
เสมือนเป็นที่ดินของตนเอง และไม่คุ้นเคยกับระบบ “เจ้าที่ดิน” เจ้าของที่ดิน
จ�า นวนมากก็ไ ม่ มีป ระสบการณ์ เ รื่อ งการบริห ารที่ดิน ให้ เ ช่ า ดัง นั้น ครั้น ถึง
ทศวรรษ ๒๔๓๐ บริเ วณทุ ่ ง รัง สิต จึง “พบกร ีพิพ ำทเรื่อ งที่ดิน เกือ บทุ ก
แปลง” ๒ ชาวบ้านมักจะรวมหัวกันเลี้ยงนักเลงใจถึงเอาไว้ให้มาช่วยคุ้มครอง
พวกเขา และกีดกันพวกที่มาเก็บค่าเช่าหรือภาษีออกไปจากหมู่บ้าน เจ้าของที่
ก็โต้กลับโดยว่าจ้างพวกหัวไม้ “พร้อมปน ดำบ และ อำวุธอืน่ ” ๓ ให้มาไล่ชาวนา
ออกไปจากที่ดินของตน ส�านักงานของโครงการขุดคลองรังสิตเองยังต้องมีปืน
ประจ�า
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงตัดสินพระทัยหยุดยั้งพัฒนาการไปสู่
ระบบขุนนางเจ้าที่ดิน ทศวรรษ ๒๔๒๐ นโยบายปฏิรูประบบบริหารราชการ
ก�าลังส่งผลลดทอนฐานเศรษฐกิจของตระกูลขุนนางใหญ่ ขณะเดียวกันก็ทรง
มีรับสั่งให้ข้าราชการจัดสรรที่ดินบริเวณสองฝั่งคลองที่ขุดใหม่ให้กับครอบครัว
ชาวนา อีกทั้งให้ยึดเอาที่ดินซึ่งเจ้าของปล่อยทิ้งร้างไว้เป็นของรัฐเสีย นอกจาก
นั้นทรงปฏิเสธโครงการขุดคลองที่ตระกูลขุนนางเสนอมาอีก และหลังปี ๒๔๔๓
มีสมาชิกพระราชวงศ์พยายามเสนอโครงการก็ทรงปฏิเสธด้วย
ชาวนารายเล็กได้เริ่มจับจองที่นาไกลออกไปจากบริเวณสองฝั่งคลอง
ขุด ช่วงทศวรรษ ๒๔๒๐ กระบวนการนี้ขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เป็นผล
สืบเนื่องมาจากนโยบายเลิกทาส (จากปลายทศวรรษ ๒๔๑๐) ที่เพิ่มจ�านวนผู้
เป็นไทแก่ตนเองและต้องการจับจองที่นาเพื่อท�ากินด้วย แต่รัฐบาลไม่มีนโยบาย
ขยายการให้เอกสารสิทธิ์ท่ีเป็นโฉนดในบริเวณที่บุกเบิกใหม่ๆ นี้ สิ่งที่เกิดขึ้น
คือ ทางการยอมให้ชาวนาจับจองที่ดินว่างเปล่าได้ และจะได้รับเอกสารแสดง
การจับจองตราบเท่าที่ท�าการเพาะปลูกในที่ดินนั้นเท่านั้น
ต่อจากนี้ไป เอกชนไม่มีบทบาทในการขุดคลองทดน�้าออกจากแอ่งหนอง
ต่างๆ เพื่อให้ปลูกข้าวได้ รัฐบาลเข้ามารับหน้าที่แทน รัฐบาลจ้าง าน เดอร์
ไ ดเดอะ (van der Heide) วิศวกรชาวดัตช์ให้ ร่างแผนโครงการทดน�้าและ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ชลประทานขนาดใหญ่ ที่จะครอบคลุมที่ราบลุ่มปากแม่น�้าทั้งหมด พ.ศ. ๒๔๔๕
รัฐบาลตัดสินใจระงับโครงการนี้ไว้ก่อนด้วยเหตุผลที่ว่าต้องใช้ต้นทุนสูงมาก
อย่างไรก็ตาม กรมชลประทานด�าเนินการจัดท�าโครงการขุดคลองย่อยๆ หลาย
แห่งจบสิ้นในปีถัดมา บริเวณที่ราบลุ่มทั้งหมดแถวปากแม่น�้าจึงเต็มไปด้วย
คลองขุดเหมือนตาหมากรุก ชาวบ้านเข้ามาจับจองที่ท�านากันอย่างกว้างขวาง
จนพื้นที่นาเพิ่มขึ้นเป็น ๑๐ ล้านไร่ เมื่อ ๔-๕ ทศวรรษให้หลัง
ช่วงแรก ชาวบ้านจับจองที่ท�านาแถบปากแม่น�้าเจ้าพระยา ภายหลัง
จากที่รัฐบาลสร้างทางรถไ ไปโคราช เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓ เชียงใหม่ พ.ศ. ๒๔๖๔
และขอนแก่ น พ.ศ. ๒๔๗๖ แล้ ว นั้ น มี ก ารจั บ จองที่ น าขยายออกไปรอบๆ
บริเวณสถานีรถไฟใหม่เพื่อปลูกข้าวส่งออกไปต่างประเทศ ท�าให้พื้นที่ปลูกข้าว
เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยปีละ ๑ แสน ๘ หมื่นไร่ทีเดียว ส�าหรับระบบการถือครอง
ที่ดินนั้นก็คล้ายๆ กับที่กรุงเทพฯ ที่ดินบางแห่งมีเจ้าที่ดินจับจองเป็นเจ้าของ
ที่ภาคเหนือ ตระกูลเจ้าดั้งเดิมเข้ายึดที่นาบริเวณที่ราบหุบเขาที่อุดมสมบูรณ์ หลัง
จากที่ต้องสูญเสียภาษีและรายได้จากการให้สัมปทานป่าไม้ไปเมื่อกรุงเทพฯ เข้า
ควบคุมกิจการเหล่านี้เสียเอง ตระกูลเจ้าบางรายน�าฝูงช้างเข้ามาขับไล่ชาวนา
ออกไปจากที่ดิน หรือปล่อยข่าวลือว่ามีผีปอบอยู่ในพื้นที่ บ้างสร้างระบบชล
ประทานเพื่อขยายเนื้อที่เพาะปลูก ที่ภาคใต้และอีสาน ใกล้ๆ สถานีรถไฟใหม่
ตระกูลขุนนางใหญ่ ผู้ใหญ่บ้าน พ่อค้ารุ่มรวย และเจ้าภาษีนายอากรก็ท�าอย่าง
เดียวกัน คือจับจองที่ดินขนาดใหญ่ โดยใช้วิธีการคล้ายๆ กัน
อย่างไรก็ตาม เจ้าที่ดินขนาดใหญ่หลายรายไม่สามารถเก็บที่ดินเอาไว้
ได้ในระยะยาว การเพิ่มพื้นที่ท�านาส่วนใหญ่แล้วเกิดจากชาวบ้านที่เป็นไทแก่
ตนเองจับจองมา ในบริเวณทางเหนือของเชียงใหม่ พวกเขาเข้าตั้งรกรากใน
ที่ที่ถูกทิ้งร้างมาตั้งแต่สมัยหลังเสียกรุงครั้งที่ ๒ ที่อีสานชาวนาบุกเบิกจับจอง
ที่ดินใหม่เลาะเรื่อยไปตามแนวฝั่งแม่น�้าชี-มูล ที่ภาคใต้พวกเขาถากถางที่รกร้าง
บริเวณที่ราบระหว่างภูเขาและทะเลทางด้านทิศตะวันออกของแหลมมลายู ครั้น
ถึง พ.ศ. ๒๔๘๐ พบว่าเพียง ๑ ใน ๔ ของที่นาภาคกลางอยู่ในมือของเจ้าที่ดิน
ที่เหลืออีก ๓ ใน ๔ เป็นของชาวนารายเล็ก ที่ภาคเหนือ เจ้าที่ดินเป็นเจ้าของ
๑ ใน ๕ ที่อีสานแทบจะไม่มีเจ้าที่ดินที่ส�าคัญเลย
โดยสรุป การเปดพื้นที่นาใหม่ๆ โดยชาวนาบุกเบิก ได้สร้างสยาม
ให้เป็นสังคมชาวนารายเล็กนั่นเอง

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
สังคมชาวนารายเลก
ก่อนหน้านี้ชาวบ้านอยู่รอบๆ เมืองศูนย์กลาง แต่ขณะนี้การตั้งบ้านเรือน
กระจายไปทั่วๆ ในบริเวณที่ปลูกข้าวได้นั้น “หมู่บ้าน” ก่อตัวขึ้นตามชายคลอง
และริมฝั่งแม่น�้า ผู้คนอพยพไปมากันคึกคักมากขึ้น มีผู้เข้ามาตั้งถิ่นฐานจาก
ทั่วสารทิศ เช่น หมู่บ้านใหม่แห่งหนึ่งก่อตัวขึ้นโดยชาวบ้านที่อพยพมาจากภูเขา
สูง ต่อมาอีกกลุ่มหนึ่งเดินทางมาจากบริเวณที่ราบสูง และต่อมาอีกมีคนอพยพ
มาจากชายทะเลทางใต้แถบแหลมมลายู เพื่อความปลอดภัยหลายๆ ครอบครัว
มักจะอพยพมาตั้งบ้านเรือนเป็นกระจุกอยู่ใกล้ๆ กัน และมักจะเกี่ยวดองเป็น
ญาติกัน หลายๆ ครอบครัวอาจจะอพยพเคลื่อนย้ายไปมากกว่าหนึ่งครั้งในชั่ว
อายุคนหนึ่ง
วงจรชีวิตของพระสงฆ์ก็เปลี่ยนไปเพื่อสนองรับกับความเปลี่ยนแปลง
พระบางรูปเดินทางออกจากวัดในเมืองแล้วแวะเวียนไปที่หมู่บ้าน จะจ� าวัดหรือ
พักที่ส�านักสงฆ์เฉพาะช่วงเข้าพรรษา ณ ที่ใดที่หนึ่ง เมื่อหมู่บ้านลงหลักปักฐาน
ได้สักพักและมีฐานะดีขึ้น ก็จะสร้างวัดและนิมนต์ให้พระสงฆ์ที่แวะเวียนมา
ชั่วคราวเหล่านี้เข้าพ�านักที่วัดอย่างถาวร
แม้ว่าหมู่บ้านส่วนมากจะก่อตั้งขึ้นใหม่ๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะ
ขาดเสีย ึ่งประเพณีและวัฒนธรรมที่เป็นของตัวเอง อันที่จริงแล้ววัฒนธรรม
หมู่บ้านเข้มแข็งขึ้นมาได้ ก็เพราะต้องผ่านอุปสรรคหลากหลาย และความร่วม
มือกันภายในชุมชนท�าให้วัฒนธรรมชาวบ้านยังคงอยู่ได้อย่างเหนียวแน่น หมู่
บ้านส่วนใหญ่จะมี “ศำลปูตำ” คือศำลบรรพบุรุษ โดยอาจใช้เสา ก้อนหิน หรือ
ต้นไม้ใหญ่ใจกลางหมู่บ้านเป็นตัวแทน พิธีกรรมนับถือผีส่งเสริมความร่วมมือ
กัน การสร้างวินัยภายในกลุ่ม อีกทั้งเอื้อกับความสามัคคีและความเป็นอิสระ
ของชุมชน ผู้มาเยือนจากแดนไกลที่เข้ามาในเขตชนบทลึกๆ เข้าไปพบว่าชาว
บ้านพยายามหลีกเลี่ยงที่จะพบปะกับพวกข้าราชการ ถ้าคิดว่าเป็นพวกข้าราชการ
ชาวบ้านจะหนีเข้าป่าไปก่อน เนื่องจากกลัวว่าจะมาเกณฑ์แรงงาน
หมู่บ้านที่บริเวณบุกเบิกก็มีความลงตัวทางด้านเศรษฐกิจด้วย พวกเขา
ใช้เครื่องมือเกษตรแบบง่ายๆ ที่ท�าได้เอง วัวควายซื้อหาจากพ่อค้าต่าง นับว่า
เป็นการลงทุนหลักสถานเดียว ส่วนใหญ่ท�านาหว่านมากกว่านาด�า และจะเลือก
เมล็ดพันธุ์ที่โตเร็วพร้อมๆ ไปกับน�้าป่าที่ไหลหลากมาทุกปี แทบจะไม่รู้จักการ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ใช้ปุยเลย ผลผลิตต่อไร่จึงมักจะต�่ามาก แต่เนื่องจากสภาพของภูมิศาสตร์เขต
ร้อนชื้นมีปุยธรรมชาติที่พัดบ่ามากับน�้าป่า และบริเวณที่ดินที่มีมาก ผลผลิตต่อ
หัวในบริเวณที่ราบลุ่มเจ้าพระยาจะสูงกว่าที่อื่นๆ ในเอเชีย สูงกว่าแม้กระทั่งที่
ญี่ปุ่นซึ่งเป็นการท�านาแบบใช้แรงงานเข้มข้นมากกว่าที่อื่นๆ
สภาพธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ท�าให้มีอาหารหลายอย่าง เช่น ปลา ผัก
และผลไม้ มีวัตถุดิบเพื่อสร้างบ้านและท�าเครื่องมือ มีสมุนไพรส�าหรับใช้เป็น
ยา และมีไม้เพื่อท�า น วงจรชีวิตชาวนาสอดคล้องกับสภาพธรรมชาติและ
ฤดูกาลท�านาช่วงหน้าฝน ผนวกกับการล่าสัตว์และหาของป่าเพื่อใช้ในชีวิตประจ�า
วันช่วงนอกหน้านา มีประเพณีแลกแรงหรือลงแขก โดยเฉพาะในฤดูเก็บเกี่ยว
หรือเมื่อจะต้องสร้างบ้าน การท�างานร่วมกันในโครงการใหญ่เช่นนี้เป็นโอกาส
ให้เฉลิมฉลองหรือเป็นงานนักขัตฤกษ์ พร้อมทั้งเป็นช่วงเวลาที่หนุ่มสาวมีโอกาส
เกี้ยวพาราสีกัน
ไม่ว่าชายหรือหญิงก็ท�างานในไร่นาเหมือนกัน แม้แต่การไถนา (ดู
ภาพที่ ๑๒) ช่วงนอกหน้านา ชาวบ้านเอาผลผลิตที่เหลือใช้หรือสินค้าที่มีคน
ต้องการไปขายให้กับหมู่บ้านใกล้เคียง และอาจจะเอาไปขายเลยบริเวณหมู่บ้าน
ของตนไปอีกฟากของภู ลัดทุ่งไปหรือไปที่เขตชายฝั่งทะเล นักค้าทางไกลเหล่า
นี้เป็นผู้หญิงก็มี และอาจพบเห็นได้ในบรรดาเจ้าของเรือที่ขนส่งข้าวไปขายตาม
แม่น�้าล�าคลองต่างๆ ก่อนการเลิกทาส ทาสีมีราคามากกว่าทาส เพราะว่าใน
สายตาของนายจ้าง “แรงงำนผู้ห ิงมีค่ำมำกกว่ำแรงงำนชำยอย่ำงแน่นอน” ๔
ระบบการผลิตมุ่งพึ่งตนเอง สมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงฯ เสด็จตรวจ
ราชการมณฑลอุดรและมณฑลอีสาน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ ทรงบันทึกสภาพหมู่
บ้านอีสานว่า “กำรกินของชำวบ้ำนแถวนี้ท�ำได้เอง เกือบไม่ต้อง ื้อหำสิ่งอันใด...
ไม่มีใครเป็นบ่ำว ไม่มีใครเป็นนำยใคร...ไม่ใคร่มีใครจะสะสม แต่จะว่ำยำกจน
ก็ไม่ได้ เพรำะเลี้ยงตัวได้โดยผำสุกไม่อัตคัต” ๕ พ.ศ. ๒๔๗๓-๒๔๗๔ คาร์ล
ิมเมอร์แมน (Carle immermann) นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัย
ฮาร์วาร์ด ท�าการส�ารวจสถิติการเกษตรของชนบทไทยเป็นครั้งแรก พบว่าทั่วทุก
แห่งชาวบ้านผลิตเพื่อกินใช้เองภายในครัวเรือนก่อนจะขายเมื่อเหลือกิน จนมี
ค�ากล่าวว่า “เห็นน้องจึงจะขำย” คือจะรอจนเห็นผลผลิตในฤดูปัจจุบันก่อนว่า
เป็นอย่างไร จึงจะขายส่วนเกินของฤดูที่แล้ว นั่นคือชาวบ้านให้ความส�าคัญกับ
ความมั่นคงด้านอาหารก่อนสิ่งอื่นใด เศรษฐกิจของหมู่บ้านที่อยู่ห่างจากตัว

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ภาพที่ ๑๒ ห ิงท�ำงำน เป็นลูกหลำนของเชลยศึกชำวลำว ึ่งถูกกวำดต้อนมำอยู่ที่
จังหวัดเพชรบุรี สันนิษฐำนว่ำเป็นภำพวำดจำกรูปถ่ำยโดย จอห์น ทอมสัน
ที่ไปเยือนเพชรบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘-๒๔๐
เมืองใหญ่หรือสถานีรถไฟ ยังคงมีระบบการผลิตที่ “ใกล้เคียงกับพึ่งตนเอง” ๖
ขณะเดียวกันครัวเรือนชาวนารายเล็กเหล่านี้ก็ยังผูกโยงอยู่กับตลาด
ข้าวของโลก แม้ว่าจะห่างไกลกัน ทั่วทั้งที่ราบลุ่มแม่น�้าเจ้าพระยานั้นไม่มีถนน
ใหญ่และดีและสะพานก็มีน้อย การขนส่งใช้เพียงแม่น�้ าและล�าคลองเท่านั้น
พ่อค้าจีนซึ่งเดินทางขึ้นล่องตามล�าน�้าเป็นตัวเชื่อมตลาดโลกกับชาวนาที่หมู่บ้าน
พ่อค้าพายเรือไปติดต่อซื้อข้าวส่วนเกินจากชาวบ้าน แล้วจัดหาเรือ “เอี้ยมจุ๊น”
ขนส่งข้าวไปที่โรงสีที่มักตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น�้าเจ้าพระยารอบๆ กรุงเทพฯ บ้างอยู่
ใกล้ๆ สถานีรถไฟ และบริเวณที่แม่น�้าสบกัน เช่น ที่นครสวรรค์
ครั้นถึงทศวรรษ ๒๔๔๐ “ข้าว” ได้กลายเป็นสินค้าส่งออกส�าคัญที่สุด
และเป็นแหล่งรายได้หลักของรัฐบาล ทั้งรัฐบาล เจ้าของโรงสี และพ่อค้าอยาก
จะส่งเสริมให้การท�านาบุกเบิกขยายตัวต่อไป และเพิ่มปริมาณข้าวส่วนเกินที่
ชาวนาพอใจจะขายออกมา แต่ความพยายามของพวกเขาก็มีขีดจ�ากัด รัฐบาล
ก�าหนดอำกรค่ำนำขึ้นใหม่เมื่อทศวรรษ ๒๔๔๐ ท�าให้อีก ๒๐ ปีต่อมา อากร
ค่านาและภำษีรัชชูปกำร เป็นแหล่งรายได้ส�าคัญของรัฐบาล แต่ชาวนาก็เรียนรู้
วิธีที่จะขอยกเว้นอากรค่านาด้วยเหตุว่าท�านาไม่ได้ผล และด้วยการขอความเห็น
ใจจากข้าราชการในพื้นที่ สยามไม่ได้เอาอย่างระบบการบริหารจัดการที่ดินและ
ภาษีที่ดินของประเทศอาณานิคม ซึ่งบังคับให้ชาวนาเพิ่มทั้งผลผลิตและภาษีที่
ต้องเสียให้แก่รัฐบาล ช่วงเศรษฐกิจตกต�่าใน พ.ศ. ๒๔๗๒ รัฐบาลได้รับใบ ีกา
ขอยกเว้นอากรค่านาเป็นจ�านวนมาก จนต้องลดอัตราอากรค่านา และในท้าย
ที่สุดรัฐบาลยกเลิกทั้งอากรค่านาและเงินรัชชูปการ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑
รัฐบาลพูดถึง “ความเจริญ” อยู่เนืองๆ แต่ก็ไม่ได้มีนโยบายอะไรที่จะส่ง
เสริมการเกษตร ปลายรัชกาลที่ ๕ ชนชั้นน�าบางคนชี้ให้เห็นว่าเนื่องจากพลเมือง
ของรัฐชาติสยามส่วนใหญ่เป็นชาวนา ด้วยเหตุฉะนี้ ชาติจะเจริญก็ต้องท�านุ
บ�ารุงภาคเกษตร พ.ศ. ๒๔๕๐ พระองค์เจ้าดิลกนพรัตน์ พระราชโอรสใน
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงเรียบเรียงวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่องชนบท
สยามในรัชกาลที่ ๕ ทรงเกริ่นน�าว่า “น่ำแปลกที่ไม่มีงำนเขียนเกี่ยวกับภำค
เกษตรของสยำมเลย ทั้ง ที่ก็เป็นรัฐเกษตรมำตลอด” และทรงสรุปว่า “จวบจน
เร็ว นี้ ชำวนำไทยแทบไม่เคยได้รับกำรเกื้อหนุนจำกรัฐบำล” และถึงจะได้ก็
ค่อนข้างจ�ากัด๗ พระองค์ทรงเสนอให้รัฐบาลส่งเสริมการศึกษาให้ชาวนา สร้าง
เครือ ข่ า ยการขนส่ ง จัด ตั้ง สถาบัน เงิน กู ้ ส�า หรับ ชาวนา และส่ ง เสริม การวิจัย

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
เทคโนโลยีการเกษตร
พ.ศ. ๒๔๕๔ พระยาสุ ริ ย านุ วั ต ร อดี ต รั ฐ มนตรี ค ลั ง เขี ย นหนั ง สื อ
ทรัพยศาสตร์ ซึ่งเป็นต�าราเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของไทย เสนอว่า “ควำมเจริ
ของกรุงสยำม ึ่งต้องอำศัยกำรท�ำนำเป็นให ่ยิ่งกว่ำอย่ำงอื่นดังทุกวันนี้ จะ
เจริ เร็วและช้ำก็ต้องสุดแล้วแต่ผลประโยชน์ที่ชำวนำจะได้มำกและน้อยเป็น
ส�ำคั ” ๘ แต่รัฐบาลให้ความส�าคัญกับการเกษตรน้อยกว่าการสร้างทางรถไฟ
เพื่อป้องกันประเทศ (ใช้ขนส่งทหารได้) โครงการปลูกสร้างเพื่อแสดงความโอ่อ่า
ของราชส�านัก และโครงการสร้างรัฐชาติอื่นๆ ในความเห็นของเจ้าฟ้าพระองค์
อื่นๆ พระองค์เจ้าดิลกนพรัตน์ “ไม่เต็มบำท...ไร้สำระ”๙ ที่ทรงกระตือรือร้นที่จะ
ปรับปรุงการเกษตรสยามเสียเหลือเกิน กระทั่งพระองค์ทรงกระท� าอัตวินิบาต
กรรม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖
พระมงกุ เกล้าฯ ทรงมีปฏิกิริยาไม่พอพระทัยหนังสือ ทรัพยศำสตร์
ทรงมีพระราชด�ารัสว่า “ข้ำพเจ้ำ...เป็นคนเดียวที่ได้เที่ยวใน...สยำมเกือบทั่ว ทั้ง
ได้เคยเที่ยวต่ำงประเทศมำมำกแล้ว...จึงทรนงยืนยันได้ว่ำ ไม่มีประเทศใดจะมี
คนจนหรือขัดสนน้อยเท่ำกรุงสยำมเลย” ๑๐ ทรงห้ามการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์
และห้ามเผยแพร่หนังสือทรัพยศำสตร์ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ความคิดดังกล่าว
กระจายไป
ส�าหรับพ่อค้าข้าวซึ่งอยากที่จะให้ชาวนาเพิ่มการผลิตข้าวนั้น รัฐบาลก็
แทบไม่ได้ช่วยอะไร เมื่อ ิมเมอร์แมนท�าการส�ารวจภาคเกษตรสยาม เมื่อ พ.ศ.
๒๔๗๓-๒๔๗๔ นั้น เขาแปลกใจที่พบว่าชาวนาใช้สินเชื่อน้อยมากเหลือเกิน จะ
กู้เงินก็ต่อเมื่อต้องใช้เงินส�าหรับโอกาสพิเศษหรือเผชิญกับภัยพิบัติ แต่จะไม่กู้
เงินเอามาใช้เพื่อการผลิตตามปกติ ถ้ายืมเงินก็จะยืมจากเพื่อนบ้าน ในย่านที่
การผลิตเพื่อขายพัฒนาไปมากๆ เท่านั้น ที่ชาวจีนเจ้าของโรงสีหรือพ่อค้าข้าว
จะให้กู้เงินก้อนใหญ่
เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต�่า รัฐบาลเกรงว่าหนี้สินจะท�าให้ชาวนาล้ม
ละลายจนสูญเสียที่ดินกันเป็นแถว และอาจจะเกิดความวุ่นวาย แต่ก็ไม่เกิด
เพราะว่าชาวนาไม่มีเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินอย่างชัดเจน เจ้าหนี้จึงไม่อาจเอา
เอกสารสิทธิ์เป็นตัวค�้าเงินกู้และยึดที่ดินเมื่อผู้กู้ไม่ใช้หนี้ อาจมีการซื้อขายที่ดิน
กันไปมาภายในชุมชนเท่านั้น แต่ส�าหรับคนภายนอก ไม่มีหลักประกันตาม
กฎหมายเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และจะมีปัญหาหากมีคนท้องถิ่นไม่เห็นด้วย

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


กับการเปลี่ยนมือ พ่อค้าอาจจะให้กู้แบบขายฝาก แต่ก็ยากที่จะยึดเอาที่ดินมา
เป็นกรรมสิทธิ์หากลูกหนี้เบี้ยว ภาวะเศรษฐกิจตกต�่า พ.ศ. ๒๔๗๒ และภาวะ
เศรษฐกิจ บเ าในช่วงปอื่นๆ นั้น ชาวนามีรายได้ลดลงและล�าบาก แต่ไม่สูญ
เสียที่ดิน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ พ่อค้าข้าวและเจ้าของโรงสีต่างหากที่ล้มละลาย
พ่อค้าต้องดึงดูดใจให้ชาวนารายเล็กขายข้าว โดยเอาสินค้าบริโภคมา
ล่อให้ซื้อ เช่น หมูเค็ม ปลาแห้ง ผ้า และของใช้ในบ้าน ถึงกระนั้นชาวนาโดย
ทั่วไปก็ไม่ได้ต้องการมีของใช้อะไรมากมาย จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ ๒
อุบัติขึ้น ครัวเรือนชาวนาแม้ในบริเวณที่ปลูกข้าวเพื่อส่งออกก็ยังคงทอผ้าใช้เอง
อย่างน้อยก็เอาไว้ใช้ในโอกาสพิเศษ การค้าขายที่มีอยู่ทั่วไปในพื้นที่ มักเป็น
เรื่องของการแลกของกันที่ตลาดซึ่งติดนัดกันเป็นครั้งคราว สินค้า เช่น เกวียน
และเครื่องมือท�าด้วยโลหะก็ท�ากันภายในหมู่บ้าน ช่างก็คือชาวนานั่นเอง นิทาน
พื้นบ้านมักเสียดสีว่าพ่อค้าชาวจีนและเจ้าของร้านช�าค้าก�าไรเกินควร แต่ก็ยอม
รับกันว่าต้องพึ่งพากันอยู่ ความไม่พึงพอใจไม่เคยปะทุเป็นความรุนแรง แม้
ในช่วง ึ่งชาวนาล�าบากมากครั้งที่ราคาข้าวตกในภาวะเศรษฐกิจตกต�่าครั้งใหญ่
พ.ศ. ๒๔๗๒ หรือในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒
ดังนั้น ชาวนารายเล็กในบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางจึงถูกดึงเข้าสู่เศรษฐ
กิจตลาดอย่างช้าๆ และไม่เต็มที่ แต่เศรษฐกิจตลาดก็ขยายไปตลอดเวลา เพราะ
การคมนาคมขนส่งที่ดีขึ้นเป็นใจ จากทศวรรษ ๒๔๗๐ การท�านาด�าเริ่มเข้า
ทดแทนนาหว่านในหลายพื้นที่ ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น และครัวเรือนชาวนาก็มี
ข้าวส่วนเกินที่จะขายได้มากขึ้น การส่งออกข้าวพุ่งขึ้นถึงจุดสูงสุด ช่วงก่อน
สงครามโลกครั้งที่ ๒ จนส่งออกได้ถึง ๑.๕ ล้านตัน คิดเป็น ๓ เท่าของที่เคย
ส่งออกเมื่อ ๔๕ ปีก่อนหน้า
เจ้าของที่ดินขนาดใหญ่บางราย ไม่อาจบริหารจัดการนาเช่าและราคา
ข้าวที่เหวี่ยงไปมารุนแรง จึงไม่อาจรักษาที่ดินผืนใหญ่เอาไว้ได้ แม้กระนั้นก็
ตาม ทศวรรษ ๒๔๖๐ ในบริเวณคลองรังสิต เจ้าที่ดินขนาดใหญ่ถึง ๑๒๗ ราย
เป็นเจ้าของที่โดยเฉลี่ยรายละ ๓,๐๐๐ ไร่ รวมทั้งตระกูลสนิทวงศ์ พระมหา
กษัตริย์ และขุนนางใหญ่อื่นๆ อีก แต่นอกบริเวณคลองขุดเหล่านี้นั้นชาวนา
ส่วนใหญ่มีที่นารายละ ๒๕-๔๐ ไร่ สามารถใช้แรงงานในครัวเรือนท�านาในพื้นที่
ขนาดนี้เพื่อกินใช้เอง และมีส่วนเกินเพื่อขายบ้าง

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
เมองท่า นสมัยอาณานิคม
ครั้นสงครามโลกครั้งที่ ๑ เศรษฐกิจของกรุงเทพฯ เขตปลูกข้าวส่งออก
และป่าไม้สักที่ภาคเหนือได้ผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจเอเชียภายใต้
การควบคุมของมหาอ�านาจอาณานิคมโดยเฉพาะอังกฤษ ข้าวส่งออกมีมูลค่า
สูงถึง ๓ ใน ๔ ของสินค้าออกทั้งหมด ทั้งนี้ข้าวส่งออกส่วนใหญ่ (๓ ใน ๔)
ก็ถูกขนถ่ายไปยังเมืองท่าของอังกฤษ ที่ฮ่องกง และสิงคโปร์ โดยเรือเดินทะเล
ของอังกฤษและเยอรมนี
ผู้มาเยือนกรุงเทพฯ เมื่อกลางสมัยรัตนโกสินทร์ มักตั้งข้อสังเกตด้วย
ความแปลกใจว่า กรุงเทพฯ ยังดูเหมือนบ้านนอกเหลือเกิน ดังค�าบรรยายที่ว่า
เห็น “นำข้ำวกว้ำงไกลสุดลูกหูลูกตำ” เริ่มจากก�าแพงวังเลยทีเดียว หรือพบ “ปำ
ร่มครึ้ม” อยู่หลังตลาดส�าเพ็งที่จอแจ และทั้งเมืองดูประหนึ่งเป็น “สวนสลับกับ
บ้ำน วัด และวัง” ๑๑
พ.ศ. ๒๓๙๙ หลังจากที่เซ็นสนธิสัญญาเบาว์ริ่งได้ ๒-๓ เดือน “บริษัท
บอร์เนียว” ของอังกฤษก็ถือก�าเนิดขึ้นที่กรุงเทพฯ แต่การค้าภายใต้ระบบอาณา
นิคมขยายตัวไปอย่างช้าๆ แรกทีเดียวบอร์เนียวไม่ได้ท�าอะไรมากไปกว่าส่ง
ออกพริกไทยจากจันทบุรี พ.ศ. ๒๔๐๑ บริษัทอเมริกันแห่งหนึ่งลงทุนสร้างโรง
สีข้าวด้วยเครื่องจักรไอน�้า และใน พ.ศ. ๒๔๐๕ บริษัทอังกฤษอีกเจ้าสร้างโรงงาน
น�้าตาลใช้เครื่องจักรไอน�า้ การค้าที่ขยายตัวไปท�าให้เงินตราขาดแคลน ดังนั้น
รัฐบาลจึงอนุญาตให้ใช้เงินดอลลาร์เม็ก ิกัน และเริ่มผลิต “เงินบาท” เป็น
เหรียญเงิน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๓ อีก ๑๐ ปีต่อมาบริษัทฝรั่งเพิ่มขึ้นอีก ส่วนมาก
เป็นสาขาของบริษัทที่ด�าเนินกิจการอยู่ที่อินเดียหรือที่ชวา ครั้นปี ๒๔๒๓ มีโรง
สีข้าว ๑๒ แห่ง ปี ๒๔๖๘ เพิ่มเป็น ๘๔ แห่ง เรือส�าเภาค่อยๆ หายไป เรือกล
ไฟของบริษัทเยอรมันเข้ามาเป็นใหญ่ในกิจการเดินเรือ ทศวรรษ ๒๔๒๐ บริษัท
อังกฤษเข้าท�าไม้ที่ล้านนา และล่องซุงลงมาตามล�าน�้าเจ้าพระยา บริษัทบอร์เนียว
เข้ามาท�าไม้หลังจากนั้นคือ พ.ศ. ๒๔๔๒ อีก ๑๐ ปีต่อมาก็ปรากฏโรงเลื่อยที่
มีบริษัทอังกฤษเป็นเจ้าของหลายแห่งกระจุกตัวอยู่ทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ
พ.ศ. ๒๔๓๓ วอริงตัน สมิธ (H. Warrington Smyth) เดินทางมาถึง
กรุงเทพฯ โดยคาดหวังว่าจะพบเมืองที่สง่างามดังที่ผู้มาเยือนก่อนหน้าเขาได้
บรรยายไว้ แต่เขาเขียนบันทึกด้วยความแปลกใจว่า

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


กรุงเทพฯ เวนิสแห่งตะวันออกซึ่งข้าพเจ้าได้เคยอ่านค�า
บรรยายว่าให้ความชุ่มชื่นแก่จิตวิญญาณ มีวังทองอร่ามเรืองและ
วัดวาที่วิจิตรพิสดาร หายไปไหน? มองไปข้างหน้า เราเห็นแต่เพียง
รอตเตอร์แดม Rotterdam แห่งตะวันออก ฝั่งโคลน ท่าเรือและ
สพานเรือ โรงสีนา่ เกลียดน่าชังเป่าควันโขมง บ้านเรือนรูปทรงเหยเก
ตั้งอยู่บนเสาไม้โยเย เขื่อนกั้นคลื่น และคลองทั้งสองข้าง เรือกลไฟ
ล�าย่อมหลายสิบล�า เอี้ยมจุ๊นบรรทุกข้าวจอดเป็นแถวเต็มไปหมด
เรือล�าเลียงแบบส�าเภามีเสาเรือสูงเป็นแถวๆ และท้ายที่สุดล�าที่ใหญ่
โตมาก คือเรือกลไฟของอังกฤษ เรือก�าปั่นของนอร์เวย์และสวีเดน
สูงโย่งกว่าปล่องไฟโรงสีน่าเกลียด๑๒

ทันทีที่กิจการไม้และข้าวส่งออกลงหลักปักฐานช่วงทศวรรษ ๒๔๒๐
ธุรกิจอื่นที่เกี่ยวโยง เช่น ธนาคาร บริษัทรับจัดการ ธุรกิจค้าปลีก และธุรกิจ
บริการอื่นๆ ของชาติตะวันตกก็กรูกันเข้ามาให้บริการกับชุมชนฝรั่งที่เติบโตขึ้น
และขายสินค้าต่างๆ นานา เพื่อสนองความต้องการของนอกที่ราชส�านักนิยม
ดังที่นายสมิธที่กล่าวถึงข้างต้นตั้งข้อสังเกตว่า

อันเกี่ยวกับ เทนนิส คริกเก็ต ดินเนอร์ และชีวิตคลับที่


โยงใยกันอยู่นั้น กรุงเทพฯ ก็คล้ายกับเมืองท่าอื่นๆ นอกจากว่า
ดูจะมีความเป็นสากลมากกว่า ที่โต๊ะหนึ่ง อาจจะพบทั้งชาวเดนมาร์ค
ชาวเยอรมัน ชาวอิตาเลียน ชาวดัตช์ ชาวเบลเยียม ชาวอเมริกัน
และชาวอังกฤษนั่งอยู่๑๓

ความเป็นสากลนี้สะท้อนว่า สยามก�าลังเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจ
แบบอาณานิคมมากขึ้นทุกที แต่ไม่ใช่เป็นข้าของเจ้าอาณานิคมที่เป็นนายใหญ่
หนึ่งเดียว ความจริงข้อนี้เป็นขีดจ�ากัดต่อการขยายตัวของธุรกิจฝรั่ง กรณี
ของ ไม้สัก รัฐบาลสยามยอมให้บริษัทฝรั่งเป็นใหญ่ แต่ก็ปักปันขอบเขตที่จะ
ได้สัมปทานท�าไม้เป็นบริเวณและจ�ากัดการขยายพื้นที่ ส�าหรับเหมืองแร่ดีบุก
บริษัทฝรั่งที่มลายูขอให้รัฐบาลไทยขยายเครือข่ายทางรถไฟสายใหม่ข้ามไปชาย
ทะเลด้านทิศตะวันตกซึ่งเป็นแหล่งดีบุกที่ดีที่สุด รัฐบาลสยามปฏิเสธ บริษัท
ดีบุกของอังกฤษส่วนใหญ่จึงขยายกิจการที่มลายูมากกว่าสยาม อุตสำหกรรม

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ยำงก็ขยับขยายจากทางเหนือของมลายูมาที่ภาคใต้ของสยาม แต่รัฐบาลสยาม
ไม่อนุญาตให้ต่างชาติได้สัมปทานปลูกยางเนื้อที่ขนาดใหญ่ดังที่พวกเขาอยากได้
นักธุรกิจ รั่งที่อยากลงทุนสร้างทางรถไ พยายามชักจูงใจให้รัฐบาล
สยามท�าโครงการขยายเครือข่ายทางรถไ ที่จะสนองความใ ันของนักล่า
อาณานิคมอังก ษและ รั่งเศส แต่รัฐบาลสยามไม่เต็มใจ และท้ายที่สุดตัดสิน
ใจสร้างทางรถไ เพื่อเหตุผลความมั่นคงของสยามเอง ยังมีนักธุรกิจจาก
ประเทศอาณานิคมที่หวังจะขุดคอคอดกระตามแบบอย่างของคลองสุเอ หรือ
ปานามา แต่รัฐบาลสยามก็ปฏิเสธ
ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๕๗ มีชาวฝรั่งมาลงทุนที่สยามคิดเป็นจ� านวนเงิน
ประมาณ ๖๕ ล้านเหรียญสหรัฐ ไม่ถึงครึ่งของเงินลงทุนที่อินโดจีน ประมาณ
๑ ใน ๓ ของที่มลายู และ ๑ ใน ๑๐ ของที่ชาวดัตช์ลงทุนที่ชวา
แม้ว่าเศรษฐกิจแบบอาณานิคมที่สยามจะไม่ใหญ่โตมากนัก แต่ก็ส่งผล
กร่อนเซาะความมั่งคั่งของเจ้าสัวที่สยาม ก�าไรที่เคยได้จากการค้าขายร่อยหรอลง
การค้าเรือส�าเภาถดถอยมากหลังปี พ.ศ. ๒๓๙๘ เจ้าภาษีนายอากรส่วนใหญ่ถูก
ยกเลิกเมื่อรัฐบาลใช้ข้าราชการเก็บภาษีแทนพวกเขา การแข่งขันกันเพื่อเก็บ
ภาษีฝิ่น สุรา และการพนันที่ยังหลงเหลืออยู่นั้นเข้มข้นมาก ท�าให้ผลก�าไรลดลง
อย่างฮวบฮาบ จนเกิดกรณี “ล้มละลาย” กันบ่อยครั้ง พ.ศ. ๒๔๔๙ รัฐบาล
ตัดสินใจว่าจะเริ่มยกเลิกเจ้าภาษีนายอากรเหล่านี้ทั้งหมด
การที่ราชส�านักลุ่มหลงกับโลกตะวันตก มีผลกระทบถึงสถานะและ
บทบาทของบรรดาเจ้าสัวทั้งหลายด้วย เมื่อชนชั้นน�าไทยหันไปนิยมใช้เสื้อผ้า
และเครื่องประดับซื้อได้ที่ร้านขายของน�าเข้าจากยุโรป จนกลายเป็นเครื่องเสริม
สถานภาพทางสังคมที่ขาดไม่ได้แล้ว ก็ลดความต้องการสินค้าราคาแพงที่เจ้าสัว
เคยน�าเข้าจากเมืองจีน นอกจากนั้น รัฐบาลยังจ้างที่ปรึกษาฝรั่งมากกว่าที่จะ
เรียกหาใช้บริการจากชาวจีนที่มีความช�านาญด้านการบริหารจัดการอย่างเคย
เจ้าสัวบางตระกูล จึงเบนเข็มไปค้าข้าว ค้าไม้สกั เดินเรือ และท�ากิจกรรม
ได้ก�าไรสูงอื่นๆ ซึ่งก�าลังเฟื่องฟู ตระกูลโชติกะพุกกะ ะสร้างโรงสีข้าวสมัยใหม่
และส่งออกข้าวคุณภาพดีไปยุโรป อีกสองตระกูลเจ้าสัวคือ โสภโ ดร (กิม เสง
ลี) และเลำหะเศรษฐี ก็เป็นผู้บุกเบิกด้านโรงสีข้าว ตระกูลอื่นๆ ซื้อที่ดิน สร้าง
ห้องแถว ลงทุนสร้างตลาด และได้ประโยชน์จากราคาที่ดินที่พุ่งขึ้น ตระกูล
พิศลยบุตร ได้รับสัมปทานขุดคลองสาธรที่ชานเมืองทางด้านใต้ของกรุงเทพฯ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


และได้สร้างบ้านไม้แบบอาณานิคมที่โอ่อ่าตามชายคลอง คฤหาสน์เหล่านี้เป็น
ที่นิยมของชาวยุโรปและชนชั้นน�าของไทย
ทศวรรษ ๒๔๓๐ ตระกูลเจ้าสัวใหญ่ดั้งเดิมจ�านวนหนึ่งตัดสินใจร่วม
มือกันก่อตั้งธนาคารและบริษัทเดินเรือขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพวกเขาแสวงหา
ธุรกิจใหม่ๆ เพื่อที่จะทดแทนรายได้ที่เคยได้จากการเป็นเจ้าภาษีนายอากร ส่วน
หนึ่งเป็นเพราะพวกเขาได้แรงบันดาลใจจากชาตินิยมจีน และประสงค์ที่จะแข่ง
กับนักธุรกิจยุโรป แต่ก็ขาดความเชี่ยวชาญในกิจการใหม่ๆ เหล่านี้ อีกทั้งไม่
สามารถหาเงินทุนจ�านวนมากพอที่จะท�าสงครามราคากับบริษัทฝรั่ง อีกประการ
หนึ่งปัญหาผลผลิตข้าวเสียหายช่วง พ.ศ. ๒๔๔๗-๒๔๕๑ ท�าให้ไม่มีข้าวส่งออก
โรงสีขาดก�าไร ธนาคารซึ่งให้โรงสีเหล่านี้กู้เผชิญภาวะล้มละลาย ธุรกิจเดินเรือ
ก็เป็นหนี้และต้องขายไป ตระกูลเจ้าสัวใหญ่หลายตระกูลประสบปัญหา รวมทั้ง
ตระกูลพิศาลบุตรซึ่งได้เป็นผู้บุกเบิกกิจการโรงสีข้าว และตระกูลพิศลยบุตร
ซึ่งเคยมีสัดส่วนถึงร้อยละ ๔๐ ของธุรกิจค้าข้าวช่วงก่อนวิกฤตครั้งนี้
ตระกูลซึ่งมีเส้นสายกว้างขวาง ร้องขอความช่วยเหลือจากพระมหา
กษัตริย์ พระคลังข้างที่มีฐานะได้เปรียบเนื่องจากสะสมทุนมาจากเงินภาษีของ
รัฐบาล ก่อตั้งธนาคารไทยพาณิชย์ มีเงินทุนมากพอที่ฟันฝ่าวิกฤตได้ ธนาคาร
ให้กู้กับทั้งผู้ประกอบการ ขุนนางและเจ้าสัว เจ้าสัวหลายตระกูลประคองตัวอยู่
ได้จากเงินกู้ดังกล่าวสักพักหนึ่ง แต่ก็ต้องสูญเสียกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ได้
สะสมมาหลายชั่วอายุคนก่อนหน้า ได้แก่ โรงสีข้าว ห้องแถว และที่นาแถวรังสิต
ให้กับพระคลังข้างที่ หรือกับธนาคารไทยพาณิชย์ เมื่อไม่สามารถคืนหนี้ได้ตาม
ก�าหนดเวลา
หลังจากวิกฤตครั้งนี้ ไม่มีตระกูลเจ้าสัวใหญ่สมัยกลางรัตนโกสินทร์
คนใดที่อยู่รอดมาได้ในฐานะเป็นผู้ประกอบการในอนาคต ผลกระทบของวิกฤต
แพร่กระจายไปกระทบสังคมพ่อค้านายวาณิชระดับล่างๆ ลงมาเป็นลูกโซ่ ดังที่
กวีนายบุศย์ ได้บรรยายไว้ใน น า า พ ว่า

ท้องส�าเพ็งเล็งแลแต่สะอาด ร้านตลาดรวยเรียงเคียงขนาน
ที่ขายดีมีก�าไรหัวใจบาน ที่ปิดร้านล้มละลายหมายบังคับ
หนังสือปิดติดทวารเป็นการห้าม มีแขกยามเฝ้าอยู่ดูก�ากับ
แสนสงสารแต่เจ้าของลงต้องยับ ถูกยึดทรัพย์ล้มตึงสิ้นพึ่งพิง๑๔

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
การค้าข้าว ละการอุตสาหกรรมสมัยเริม รก
ขณะที่ตระกูลเจ้าสัวใหญ่ก�าลังประสบภาวะล่มสลาย ผู้ประกอบการกลุ่ม
ใหม่พัฒนาขึ้น ส่วนมากก็คือ ชาวจีนอพยพ ซึ่งเข้ามาสยามหลัง พ.ศ. ๒๔๐๐
ชาวจีนที่ต้องการหลีกหนีจากความยากไร้และปัญหาการเมืองที่จีนใต้
อพยพเข้ามาสยามเพิม่ จ�านวนขึน้ ช่วงทศวรรษ ๒๔๒๐ เรือกลไฟเริม่ วิง่ ระหว่าง
กรุงเทพฯ และเมืองท่าที่จีนตอนใต้ ระหว่างปี ๒๔๒๕ และ ๒๔๕๓ ชาวจีน
เดินทางมาสยามถึง ๑ ล้านคน จากจ�านวนนี้ประมาณ ๓ แสน ๗ หมื่นคนตั้ง
หลักแหล่งอยู่สยามเป็นการถาวร หลังจากที่เข้ามาจ�านวนมากขนาดนี้ เกือบครึ่ง
หนึ่งของประชากรกรุงเทพฯ จึงเป็นคนจีน และในกลุ่มนี้ ประมาณ ๓ ใน ๕
เป็นจีนแต้จิ๋ว ตามด้วย “จีนแคะ” และ “ไหหน�า”
ณ จุดเริ่มแรกบริษัทฝรั่งเป็นใหญ่ในธุรกิจค้าข้าว แต่ก็อยู่ได้ไม่นาน
อดีตพ่อค้าเรือส�าเภาและเจ้าภาษีนายอากรจีน พบว่าไม่เป็นการยากเลยที่จะซื้อ
หาเครื่องจักรและจ้างวิศวกรชาวสก๊อต หรือเยอรมันมาดูแล ครั้นเมื่อเจ้าสัว
รายแรกๆ แสดงให้เห็นว่าท�าได้ ชาวจีนอพยพอื่นๆ ก็ท�าตามบ้าง อากรเต็ง
ประสบความส�าเร็จมากที่สุด เขาอพยพมาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕ เริ่มแรกเป็นจับกัง
รับจ้างแล้วก็เปิดร้าน ต่อมาโชคช่วยได้เมียดี จึงเปลี่ยนฐานะเป็น “เจ้าภาษีนาย
อากร” ระดับกลางที่ภาคเหนือ ทศวรรษ ๒๔๒๐ ลงทุนก�าไรสร้างโรงสีข้าว ๕
แห่ง โรงเลื่อยไม้ ๑ แห่ง และอู่เรือ ลูกชายท�ากิจการต่อเนื่องมา เขาเอาก�าไร
ลงทุนธนาคาร บริษัทเดินเรือ และสวนยาง ครั้นต้นทศวรรษ ๒๔๔๐ ตระกูล
ของอากรเต็งติดอันดับเป็นหนึ่งในบรรดาเจ้าสัวชั้นน�า พ.ศ. ๒๔๕๕ คนจีนเป็น
เจ้าของโรงสีข้าวถึง ๕๐ แห่ง ขณะที่ฝรั่งลดบทบาทลงไป พ.ศ. ๒๔๘๖ ฝรั่งเป็น
เจ้าของโรงสีข้าวเพียง ๑ แห่งจากทั้งหมด ๘๔ แห่ง
อากรเต็งและนักธุรกิจจีนอื่นๆ ค้าขายชนะชาวยุโรป เพราะว่าพวกเขา
มีสายสัมพันธ์โยงใยกับเครือข่ายพ่อค้าจีนซึ่งซื้อข้าวจากชาวนาตามหมู่บ้านใน
เขตชนบทต่างๆ และเพราะว่าพวกเขาสามารถบริหารจัดการแรงงานกุลีจีนได้
เก่งกว่า อีกทั้งพัฒนาเครือข่ายการค้าในบริเวณรอบๆ ภูมิภาคอีกด้วย ส�าหรับ
บางตระกูลเช่นหวั่งหลีนั้น กิจการที่กรุงเทพฯ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเครือข่าย
ภูมิภาค ตระกูลหวั่งหลีมีฐานอยู่ที่กวางตุ้ง แล้วได้พัฒนาเครือข่ายการค้าชาย
ทะเลไปที่ฮ่องกง สิงคโปร์ กรุงเทพฯ และไซ่ง่อน พ.ศ. ๒๔๑๔ ลูกชายคน

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


หนึ่งตั้งรกรากที่กรุงเทพฯ แต่งงานกับตระกูลเจ้าสัวเก่า คือ โปษยานนท์ สร้าง
โรงสีใช้เครื่องจักรสมัยใหม่ และส่งออกข้าวไปยังเครือข่ายของครอบครัวรอบๆ
ภูมิภาค ต่อมาตระกูลนี้ขยายธุรกิจไปโดยมีโรงสีสี่แห่ง ท�าธุรกิจน�าเข้าผ้า การ
ประกันภัย การเดินเรือ และพัฒนาที่ดิน
ผู้ประกอบการชาวจีนหลายรายรุ่มรวยขึ้นจากการขยายตัวของธุรกิจ
ค้าข้าว แต่ก็ล่มสลายเมื่อเผชิญปัญหาราคาตก และปัญหาอัตราแลกเปลี่ยน
ผัน ผวนเกิด จากภาวะตลาดโลกแปรปรวนในช่ ว งวิก ต ป ๒๔๔๗ ๒๔๕๑
ธุรกิจของอากรเต็งเสียหายมากทั้งธนาคารและการเดินเรือ แต่ก็รอดตัวมาได้
แม้ว่าในที่สุดก็เผชิญมรสุมราคาตกอีกช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ และคราวนี้
ล่มสลายอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม ตระกูลธุรกิจที่ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ มาได้กลับแข็งแกร่ง
ขึ้น บางตระกูลรอดมาได้เพราะว่าเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายภูมิภาคที่เข้มแข็ง
บ้างก็ถีบตัวขึ้นมาจากการเป็นพ่อค้าข้าวรายเล็ก ภายหลังจากที่เจ้าสัวใหญ่ล่ม
สลายไป พวกเขาปรับตัวกับความผันแปรของตลาดโลกได้เป็นอย่างดีด้วยการ
ท�าธุรกิจครบวงจร (เช่น มีทั้งโรงสีข้าว ขนส่ง ธนาคาร ประกันภัย) ที่มีความ
เกี่ยวเนื่องกัน และมีเครือข่ายธุรกิจที่ร่วมมือกันเพื่อผลประโยชน์อย่างกว้างขวาง
ตระกูลหวั่งหลี ประสบความส�าเร็จสูงสุดในสมัยนี้ จากช่วงสงคราม
โลกครั้งที่ ๑ (พ.ศ. ๒๔๕๗ ๒๔๖๑) เป็นต้นไป หวั่งหลีแก้ปัญหาตลาดโลก
ผันแปรสูงด้วยการก่อตั้งธนาคารขึ้นมาเพื่อจัดการกับอัตราแลกเปลี่ยน และ
การส่งเงินกลับประเทศจีน รวมทั้งก่อตั้งธุรกิจประกันภัยของตนเอง เจ้าของ
โรงสีข้าวรายใหม่ๆ ท�าตามอย่างของหวั่งหลี
ต้นตระกูลบูลกุลและมาทองเจ็งอพยพมาเมืองไทยท�าอาชีพรับจ้าง ต่อ
มาได้งานเป็นผู้ช่วยวิศวกรชาวเยอรมันสร้างและซ่อมแซมเครื่องสีข้าว เขาจึง
สะสมความช�านาญและเงินมากพอที่จะเปิดโรงสีข้าวของตัวเองได้ในปี ๒๔๖๐
นับเป็นโรงสีข้าวที่ใหญ่ที่สุดในขณะนั้น อีก ๑๐ ปีต่อมา บูลกุลบุตรชายสร้าง
อีกโรงหนึ่ง และก่อตั้งธนาคาร บริษัทประกันภัย กิจการเดินเรือ และเครือข่าย
บริษัทต่างๆ ทั้งที่ฮ่องกงและสิงคโปร์ ในลักษณะคล้ายกัน ตระกูลล�่า �า ขยับ
จากธุรกิจท�าไม้ เข้าท�ากิจการค้าข้าวแบบครบวงจรเมือ่ ทศวรรษ ๒๔๖๐
หลังจากภาวะเศรษฐกิจซบเซาปี ๒๔๗๒ “ห้าตระกูลใหญ่” (ได้แก่
หวั่งหลี ล�่าซ�า บูลกุล บุลสุข เอี่ยมสุรีย์) ควบคุมมากกว่าครึ่งหนึ่งของการค้า

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ข้าวทั้งหมด ตระกูลเหล่านี้ผูกพันกันมากขึ้นโดยการสมรสกันข้ามไปมาระหว่าง
เหล่าตระกูลจากส�าเนียงภาษาต่างๆ ด้วย นอกจากนั้นยังร่วมกันก่อตั้งสมาคม
โรงสีข้าวเพื่อควบคุมราคาข้าว
ทศวรรษ ๒๔๖๐ ทั้งบริษัท รั่งและจีนเริ่มสนใจธุรกิจอุตสาหกรรม
เพราะต่างเห็นว่ากรุงเทพฯ ขยายเป็นเมืองใหญ่จนมีตลาดเพียงพอที่จะรองรับ
สินค้าต่างๆ เช่น ไม้ขีดไฟ ตะปู สบู่ พลุไฟ ยา บุหรี่ น�า้ มัน ผ้า กระดาษ อิฐ
รองเท้า เฟอร์นิเจอร์ และการบริการ เช่น ไฟฟ้า น�้าประปา และการขนส่ง ผู้
ประกอบการซึ่งประสบความส�าเร็จรายแรกๆ บางรายก็คือลูกหลานของตระกูล
เจ้าสัวเก่า ซึ่งได้รับการศึกษา และได้มีโอกาสมองเห็นพฤติกรรมการบริโภคของ
ข้าราชการชั้นน�ารุ่นใหม่ๆ นั่นเอง นายบุญรอด ได้เข้าโรงเรียนหลวงแห่งหนึ่ง
ต่อมาท�างานที่โรงสีข้าวของอากรเต็ง และบริษัทท�าไม้ของฝรั่ง ก่อนที่จะตั้งบริษัท
ค้าไม้ของตนเอง หลังจากที่เขาเดินทางไปยุโรป จึงพยายามน�ารถเข้ามาขาย ท�า
กิจการเรือเมล์และบริษัทเดินอากาศ ก่อนที่จะปิงไอเดียท�า “โรงเบียร์” เปิดขึ้น
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖
นายเลิศ เป็นลูกพี่ลูกน้องห่างๆ ของนายบุญรอด เริ่มจากเป็นเสมียน
ที่บริษัทฝรั่งแห่งหนึ่ง ต่อมาน�าเข้าจักรเย็บผ้าและรถยนต์ หลังจากนั้นเขาท�า
กิจการรถเมล์ และเอาก�าไรลงทุนซื้อที่และท�ากิจการพัฒนาที่ดิน
ผู้ประกอบการรายอื่นๆ ก็มีพื้นเพเป็นชาวจีนอพยพใหม่ รุ่นเดียวกับ
พวกพ่อค้าข้าวใหญ่ เช่น นายมังกร สามเสน ท�ากิจการโรงสีข้าวก่อนที่จะตั้ง
โรงงานท�าน�้ามันมะพร้าวและโรงงานน�้าตาล นายโกศล ุนตระกูล เคยเป็นเจ้า
ของตลาดก่อนที่จะตั้งโรงน�้าแข็งแห่งแรกๆ
กรุงเทพฯ ต้องการแรงงานจ�านวนมากเพื่อท�างานที่ท่าเรือ โรงสีข้าวและ
สาธารณูปโภคใหม่ๆ ทศวรรษ ๒๔๕๐ เฉพาะโรงสีข้าวอุตสาหกรรมเดียวก็
จ้างคนงานระหว่าง ๑ หมื่น ถึง ๒ หมื่นคน หากนับรวมคนงานจับกังทั่วๆ ไป
ทั้ ง หมดด้ ว ยก็ เ ป็ น เรื อ นแสน หรื อ คิ ด เป็ น ประมาณ ๑ ใน ๔ ของประชากร
กรุงเทพฯ ทั้งหมด คนงานส่วนใหญ่เป็นชาวจีน แม้ว่าเริ่มมีคนไทยท�างานรับ
จ้างมากขึ้นแล้วภายหลังการเลิกทาส และเมื่อมีรัฐวิสาหกิจ เช่น “การรถไ ”
สภาพการท�างานและวิถีชีวิตย�่าแย่ ท�าให้จับกังส่วนมากสูบฝิ่นเพื่อลืม
ความล�าบากกาย แม้ว่าจะไม่ได้สูบฝิ่นมาก่อน บางทีลูกจ้างก็ประท้วงสภาพการ
ท�างานที่ย�่าแย่ พ.ศ. ๒๔๒๖ คนงานท่าเรือหยุดงานท�าให้ท่าเรือเป็นง่อยไปเลย
เมื่อลูกจ้างโรงสีข้าวหยุดงานใน พ.ศ. ๒๔๒๗ และ ๒๔๓๕ รัฐบาลต้องส่งทหาร

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ภาพที่ ๑๓ คนจีนอพยพบนเรือมำจำกจีนใต้

ไปสลายการชุมนุม แล้วเนรเทศหัวโจก พ.ศ. ๒๔๔๐ รัฐบาลออกกฎหมาย


ต่อต้านสมาคมลับ (อั้งยี่) ซึ่งเชื่อว่าโยงกับขบวนการแรงงาน พ.ศ ๒๔๔๘ ก่อตั้ง
หน่วยต�ารวจพิเศษ ซึ่งอีกไม่นานมีชื่อเสียงว่าควบคุมย่านคนงานจีนด้วยความ
รุนแรง
พ.ศ. ๒๔๕๓ คนงานจีนที่กรุงเทพฯ นัดหยุดงานขนานใหญ่ สาเหตุ
หนึ่งเพื่อประท้วงที่รัฐบาลยกเลิกภาษีทุก ๓ ป ผูกป ที่เก็บจากคนจีน ให้มา
เสีย “รัชชูปการ” เป็นรายปเหมือนคนไทยอื่นๆ ส�าหรับชาวจีนแล้วภาษีใหม่
เก็บในอัตราสูงกว่าภาษีเก่า
หลังจากที่มีชาวจีนอพยพทยอยกันเข้ามาในช่วง ๕๐ ปีก่อนหน้า ชุมชน
จีนที่กรุงเทพฯ จึงเติบใหญ่และซับซ้อน บางคนตัดสินใจเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ
สังคมไทย ก่อนหน้านี้กฎหมายแบ่งแยกชาวจีนออกไป โดยยกเว้นไม่ต้องถูก
เกณฑ์แรงงาน แต่ถูกผูกปี้และต้องไว้หางเปีย พ.ศ. ๒๔๔๘ รัฐบาลยกเลิกการ
เกณ ์แรงงานโดยสิ้นเชิง และยกเลิกการผูกปในป ๒๔๕๒ หลังจากที่เกิดการ
ปฏิวัติจีนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ “หางเปีย” กลายเป็นสัญลักษณ์ของความล้าหลัง
ชาวจีนส่วนมากจึงเลิกไว้เปีย การแต่งตัวก็เปลี่ยนไป โดยหันมาใช้เสื้อผ้าแบบ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ฝรั่งแทนที่จะเป็นแบบไทยหรือจีน โดยแบบฝรั่งถือว่าเป็นแบบกลางๆ “นาย
บุศย์” ตั้งข้อสังเกตเรื่องการแต่งตัวที่ส�าเพ็งในช่วงนั้นไว้ดังนี้

ถนนเล็กเจ๊กไทยออกไขว้เขว เดินทางปนเปหลีกกระทบหลบไม่ไหว
สุดสังเกตเหตุผลเจ๊กปนไทย ใครเป็นใครมิได้แน่ด้วยแปรปรวน
สมัยใหม่ไขว้เขวท�าเลเสีย จีนตัดเปียเป็นไทยเหลือไต่สวน
มาเกิดมีวิปริตติดกระบวน กลับผันผวนผิดชาติประหลาดใจ๑๕

แต่คนจีนย่านอื่นๆ ยังคงความเป็นชาวจีนไว้ เมื่อหญิงชาวจีนอพยพมา


สยามมากขึ้น (ทศวรรษ ๒๔๖๐ หนึ่งในห้าของจีนอพยพเป็นผู้หญิง) จึงมีการ
แต่งงานภายในกลุ่มคนจีนด้วยกันมากขึ้น การส่งลูกชายกลับไปเรียนที่เมือง
จีน เหตุผลหนึ่งเพื่อให้ไปรับวัฒนธรรมจีน แต่ส่วนมากให้ไปเรียนภาษาจีนจน
อ่านเขียนได้ ทั้งที่สยามและประเทศรอบๆ นั้น “ภาษาจีน” มีความส�าคัญใน
วงการธุรกิจ เพราะว่าเอกสารทุกอย่างใช้ภาษาจีน หลัง พ.ศ. ๒๔๕๖ เมื่อชาว
จีนต้องใช้นามสกุลไทย ก็ยังคงแซ่เดิมเอาไว้ในนามสกุลไทย
ชุมชนพ่อค้าจีนเริ่มที่จะก่อตั้งสถาบันต่างๆ เพื่อสนับสนุนวิถีชีวิตและ
ธุรกิจในเมืองของพวกเขา จีนกวางตุ้งก่อตั้งสมาคมจีนกวางตุ้งขึ้นเมื่อปี ๒๔๒๐
จีนกลุ่มอื่นๆ ก็ก่อตั้งสมาคมของพวกตนตามกันมา พ.ศ. ๒๔๕๑ ก่อตั้งสภา
หอการค้าจีนเพื่อเป็นกระบอกเสียงให้กับนักธุรกิจจีน โรงเรียนจีนแห่งแรกก็
เกิดขึ้นในช่วงนี้ จนในปี ๒๔๘๑ เพิ่มเป็น ๒๗๑ แห่ง หนังสือพิมพ์จีนฉบับแรก
ออก พ.ศ. ๒๔๔๘ โรงพยาบาล สมาคม าปนกิจศพ และสมาคมต่างๆ ผุด
ขึ้นจากทศวรรษ ๒๔๕๐ มีนักธุรกิจจีนระดับน�าเป็นผู้สนับสนุนด้านการเงินและ
เป็นกรรมการ
ความสัมพันธ์ระหว่างชาวจีนและราชส�านักผู้เคยอุปถัมภ์พวกเขาก็
เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้เป็นเพราะราชส�านักเบนความสนใจไปที่ตะวันตกสถาน
หนึ่ง อีกสถานหนึ่งนั้นเป็นเพราะชาวจีนที่กรุงเทพฯ ร�่ารวยขึ้น เป็นอิสระขึ้น
และมีการจัดองค์กรทางสังคมของพวกเขาเองด้วย ดังที่สมาชิกของชนชั้นน�า
สยามรายหนึ่งได้ตั้งข้อสังเกตไว้เมื่อปี ๒๔๕๙ ความว่า ในอดีตชาวจีนมักจะเข้า
พบเจ้าฟ้าและขุนนาง หรือเจ้าหน้าที่ระดับสูง และสนิทสนมกับคนไทย เดี๋ยวนี้
พวกเขาเปลี่ยนไป ไม่เห็นความจ�าเป็นที่จะต้องไปเยี่ยมเยือนหรือท�าความพอใจ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ให้ใคร พวกเขาท�ากิจการขนาดใหญ่ ลงทุนโรงสีข้าว และบริษัทการค้าด้วยเงิน
เป็นแสนเป็นล้านโดยไม่ต้องไปสร้างความสัมพันธ์กับใคร๑๖

สังคมเมองหลวงของรั ชาติ
สังคมกรุงเทพฯ เปลี่ยนโฉมเพื่อรับกับบทบาทใหม่คือ เมืองหลวงของ
รัฐชาติ หลังการปฏิรูประบบบริหารที่รวมศูนย์อ�านาจ รายได้รัฐหลั่งไหลเข้า
กรุงเทพฯ อ�านาจรัฐแผ่กระจายออกไป ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๓ และ ๒๔๖๒
จ�านวนของ “ข้าราชการ” ที่ได้รับเงินเดือนประจ�าเพิ่มขึ้นจากเพียง ๑๒,๐๐๐ เป็น
๘๐,๐๐๐ พ.ศ. ๒๔๕๙ โรงเรียนข้าราชการพลเรือน ได้ควบรวมเข้ากับสถาบัน
อื่นๆ เป็นจุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้กลายเป็นช่องทางสู่การเป็นข้าราชการ
ระดับสูง ส�านักงานใหม่ๆ สร้างขึ้นรอบๆ บริเวณศูนย์กลางเมืองหลวงเก่า หน่วย
ทหารถาวรแห่งใหม่อยู่ไกลออกไป รอบๆ ส�านักงานราชการเหล่านี้ต่อมาพัฒนา
เป็นถิ่นเพื่ออยู่อาศัยของข้าราชการระดับกลาง ชุมชนพ่อค้า และธุรกิจบริการ
ต่างๆ
ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่คือชนชั้นน�าของกรุงเทพฯ แก่นของกลุ่มนี้คือ สมาชิก
พระราชวงศ์ และลูกหลานตระกูลขุนนาง ซึ่ง พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรง
ชักชวนให้เข้ารับราชการ อาจกล่าวได้ว่าการเป็นข้าราชการกินเงินเดือนประจ� า
เป็นทางออกให้กบั ปัญหาที่ว่าจะเลี้ยงคนในราชนิกุลที่เพิ่มจ�านวนขึ้นมากได้อย่างไร
ในสมัยนั้น เงินเดือนของข้าราชการมากพอที่จะเลี้ยงทั้งครอบครัวได้ ขณะที่
ประเพณี “กินเมือง” หรือได้ประโยชน์จากต�าแหน่งยังคงตกค้างอยู่ รัฐบาล
ใหม่ชักจูงให้ผู้ปกครองและตระกูลใหญ่ตามหัวเมืองส่งลูกชายเข้าโรงเรียนและ
วิทยาลัยก่อตั้งใหม่ เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความจงรักภักดีต่อรัฐชาติใหม่
เจ้าสัวใหญ่บางตระกูลหลุดรอดจากภาวะเสื่อมสลาย เพราะส่งลูกชาย
เรียนและได้อาชีพใหม่ บ้างส่งไปเรียนภาษาอังกฤษที่สิงคโปร์หรือที่ปีนัง บ้าง
เข้าโรงเรียนคริสต์ที่กรุงเทพฯ ซึ่งก็สอน “ภาษาอังกฤษ” บ้างใช้เส้นสายส่งลูก
เข้าโรงเรียนหลวงที่ก่อตั้งเพื่อลูกหลานของชนชั้นสูงโดยเฉพาะ ลูกหลานคน
หนึ่งของหลวงอภัยวานิช เจ้าสัวและนายอากรเก่า เป็นสามัญชนคนเดียวที่ได้
เข้าโรงเรียนในวัง และต่อมาได้เรียนกับบาทหลวงชาวอเมริกัน เนื่องจากเก่ง

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ภาษาอังกฤษจึงได้งานที่บริษัทบอร์เนียว และต่อมามีต� าแหน่งเป็นล่ามที่กรม
ต�ารวจ ได้รับการเลื่อนชั้นเป็นหัวหน้าใหญ่ และลูกหลานของเขาในสายตระกูล
จาติกวณิชด�าเนินรอยตามโดยเข้ารับราชการหรือเป็นนักวิชาชีพในระบบราชการ
และเศรษฐกิจสมัยใหม่
การรับคนและการเลื่อนขั้นภายในระบบราชการแบบดั้งเดิมนั้นอาศัย
อยู่ที่ว่ารู้จักกับผู้ใหญ่เป็นส่วนตัว ึ่งวิธีการดังกล่าวก็ยังตกค้างอยู่แม้หลังการ
ปฏิรูป ข้าราชการชั้นผู้น้อยอิงแอบอยู่กับผู้ใหญ่ในกระทรวงและสามารถเลื่อน
ชั้นขึ้นไปโดยอาศัยทั้งที่ต้องฉลาด ต้องรับใช้เจ้านายเป็นการส่วนตัว และเล่น
เส้นเล่นสายให้ถูกจังหวะ ยศต�าแหน่งยังมีความส�าคัญ สมาชิกพระราชวงศ์มี
ค�าน�าหน้าชื่อ เพื่อแสดงพระยศที่โยงกับพระมหากษัตริย์ลดหลั่นกันไป ข้าราช
การทุกคนที่อยู่ระดับสูงกว่างานสารบรรณ มีบรรดาศักดิ์ และราชทินนาม (เจ้า
พระยาธรรมศักดิ์มนตรี ฯลฯ) ตามแบบอย่างที่ถือปฏิบัติตั้งแต่ครั้งอยุธยา
พระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. ๒๔๕๖ ก�าหนดให้ทุกคนต้องมี
นามสกุล สมาชิกพระราชวงศ์ใช้นามสกุลเฉพาะ และมี “ กรุงเทพ ” ต่อท้าย
(ต่อมาเปลี่ยนเป็น “ณ อยุธยา”) คล้ายๆ กับลอร์ด ตามด้วยชื่อเมือง พบเห็นใน
การตั้งต�าแหน่งขุนนางที่ยุโรป ตระกูลระดับน�าเขตหัวเมืองขอพระราชานุญาต
ให้ระบุเมืองถิ่นก�าเนิดในนามสกุลของพวกเขาเช่นกัน (ณ ระนอง ณ สงขลา
ณ เชียงใหม่) ตระกูลใหญ่อื่นๆ รวมทั้งเจ้าภาษีนายอากร ปรับเปลี่ยนราชทินนาม
ของตัวเองในขณะนั้นหรือของอดีตหัวหน้าตระกูลเป็นนามสกุลของครอบครัว
(ภิรมย์ภักดี พิบูลสงคราม) พระมงกุฎเกล้าฯ ทรงชื่นชอบกับการพระราชทาน
นามสกุล เป็นค�าสันสกฤตส�าหรับตระกูลใหญ่ๆ ซึ่งขอพระราชทานนามสกุล
ราชทินนามและนามสกุลแสดงให้เห็นระดับชั้นสูงต�่าในระบบราชการสมัยใหม่
เสมือนดังระดับชั้นก�าหนดโดยหีบหมากพระราชทานซึ่งขุนนางถือแสดงต�าแหน่ง
ของตนในอดีตนั่นทีเดียว
นอกเหนือจากตระกูลใหญ่ๆ เหล่านี้แล้ว หน่ออ่อนของชนชั้นกลางถือ
ก�าเนิด ได้แก่ ข้าราชการชั้นผู้น้อย ครู ผู้จัดการ และนักวิชาชีพที่ท�างานให้กับ
รัฐชาติและระบบเศรษฐกิจตลาด มีเพียงจ�านวนน้อยเท่านั้นที่เลื่อนชั้นตัวเองมา
จากตระกูลชาวนา สามัญชนคนชั้นกลางใหม่ส่วนใหญ่แล้วพัฒนามาจากข้าราช
การและตระกูลพ่อค้าที่กรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่
บางคนประสบความส�าเร็จจากที่ได้งานเป็นกัมประโด (comprador)
ท�าหน้าที่ติดต่อระหว่างบริษัทฝรั่งกับลูกค้าหรือหุ้นส่วนคนพื้นถิ่น กัมประโด

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


รุ่นแรกๆ เคยท�างานที่ท่าเรือในประเทศอาณานิคม พูดภาษาอังกฤษได้ดี เช่น
แสง จินแสง เวชชาชีวะ มาจากตระกูลพ่อค้าเรือส�าเภาที่ค้าขายขึ้นล่องบริเวณ
อ่าวไทยด้านตะวันออก เมื่อเรือกลไฟเข้ามาแทนเรือส�าเภา ครอบครัวจึงส่งแสง
เข้าโรงเรียนคริสต์ ต่อมาได้เข้าท�างานในบริษัทอีสต์เอเชียติก แสงส่งลูก (หลง)
ไปเรียนแพทย์และเข้ารับราชการในกระทรวงสาธารณสุข ต่อมาได้เป็นรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ตระกู ล อื่ น ๆ เข้ า ท� า งานในบริ ษั ท ร่ ว มทุ น ระหว่ า งราชส� า นั ก และฝรั่ ง
เทียน ี้ สารสิน ลูกหมอจีนซึ่งอพยพมาสยามเมื่อต้นรัตนโกสินทร์ เรียนหนังสือ
เก่งจึงได้รับการอุปถัมภ์จากขุนนางผู้ใหญ่และบาทหลวงชาวอเมริกันผู้ซึ่งส่งเขา
ไปเรียนแพทย์ที่นิวยอร์ก เมื่อเรียนส�าเร็จกลับมาเข้ารับราชการมีหน้าที่สร้าง
ระบบสาธารณสุขในกองทัพ เขาก้าวหน้าในการงาน มีต� าแหน่งสูงในกองทัพ
และเป็นกรรมการบริหารของบริษัทที่ราชส�านักลงทุนหลายแห่ง บุตรชายของเขา
หลายคนเป็นนักวิชาชีพในระบบราชการและในภาคเอกชน
ลูกหลานของตระกูลอื่นๆ มีตา� แหน่งในระบบราชการที่ขยายเร็ว สามัญ
ชนสามคน ต่อมาเป็นใหญ่ในทางการเมืองเป็นตัวอย่างส�าแดงให้เห็นการเปลี่ยน
แปลง นายปรีดี พนมยงค์มาจากครอบครัวไทย-จีนที่อยุธยา เป็นญาติกับ
ตระกูลขุนนางที่นั่นอย่างใกล้ชิด แต่ฝ่ายครอบครัวปรีดีทา� การค้า พ่อเป็นชาวนา
จับจองที่นาทางตอนเหนือของโครงการทุ่งรังสิต (แต่ไม่ประสบความส�าเร็จสัก
เท่าไร) นายปรีดีเข้าโรงเรียนวัดทั้งที่อยุธยาและกรุงเทพฯ ต่อมาลุงช่วยให้เข้า
โรงเรียนสวนกุหลาบ และโรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม นายปรีดี
เรียนเก่งมากจึงได้ทุนของกระทรวงไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศส ได้รับปริญญาเอกกลับ
มาสอนที่โรงเรียนกฎหมายและท�างานที่กรมร่างกฎหมาย หลวงวิจิตรวาทการ
(กิมเหลียง วั นปฤดำ) เริ่มต้นชีวิตในลักษณะคล้ายๆ กัน เขาเกิดที่อุทัยธานี
ครอบครัวเป็นชาวจีนพ่อค้ารายเล็ก แต่รับวัฒนธรรมไทย ไปโรงเรียนวัด ญาติ
ห่างๆ ที่เป็นพระช่วยให้เข้าโรงเรียนวัดมหาธาตุที่กรุงเทพฯ เนื่องจากเรียนหนังสือ
เก่งมาก จึงได้เข้าเป็นครู เขาเรียนภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสด้วยตัวเอง
ต่อมาได้เป็นเสมียนที่กระทรวงการต่างประเทศ สอบได้ดีจึงได้เป็นเลขาทูต
ที่ปารีส นายแปลก พิบูลสงคราม มีประวัติคล้ายคลึงกัน ครอบครัวของเขา
ท�าสวนผลไม้ทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ ไปโรงเรียนวัด และใช้เส้นสายของ
ครอบครัวเข้าเรียนโรงเรียนทหาร จากนั้นเขาสอบเข้าโรงเรียนนายร้อย ในปี
สุดท้ายเขาสอบได้คะแนนสูงสุด จึงได้รับทุนให้ไปเรียนต่อที่วิทยาลัยทหารที่

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ฝรั่งเศส
สามัญชนอื่นๆ ก้าวหน้าขึ้นเมื่อได้รับการศึกษาสมัยใหม่ แต่อาจจะขยับ
ขยายไปมีอาชีพอื่น นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ เป็นลูกของเสมียนรถไฟ ไป
โรงเรียนวัด และโรงเรียนทหารก่อนจะเข้าโรงเรียนเทพศิรินทร์ที่มีชื่อโด่งดัง เมื่อ
จบก็เข้ารับราชการแต่พบว่าไม่เจริญเนื่องจากไม่มีเส้นสายที่เหมาะสม จึงหันไป
สอนภาษาอังกฤษและแปลหนังสือก่อนที่จะผันตัวเป็น “นักหนังสือพิมพ์” และ
“นักเขียน” มีชื่อเสียง
สามัญชนใหม่ๆ เหล่านี้มาจากภูมิหลังหลากหลาย ทั้งจากเมืองกรุง
และหมู่บ้าน บ้างเป็นไทย บ้างเป็นจีน บ้างมาจากตระกูลพ่อค้า บ้างจากตระกูล
ข้าราชการ พวกเขาเขยิบฐานะสูงขึ้นหลังจากได้ร�่าเรียนในโรงเรียนที่รัฐบาลและ
ฝรั่งตั้งขึ้น มักจะมองตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคมใหม่ หมายถึงผู้ที่ก่อร่างสร้าง
ตัวจากความสามารถของตนเอง ไม่ใช่จากชาติก�าเนิด เมื่อได้เข้าโรงเรียนชั้นน�า
และเมื่อเข้ารับราชการ ได้กระทบไหล่กับขุนนางอภิสิทธิ์ชน จึงมักจะตระหนัก
ถึงการแบ่งชั้นในสังคม พวกเขาเป็นคนส่วนน้อย แต่เป็นส่วนส�าคัญของสังคม
เมืองใหม่

ูมิทัศน์ ละสังคม กรุงเทพ


กรุงเทพฯ เป็นแหล่งรวมของอ�านาจรัฐรวมศูนย์ เป็นเมืองท่าส่งออก
ข้าวและไม้สัก มีประชากรเมืองที่หนาแน่นที่สุดของประเทศ พ.ศ. ๒๓๙๓ อาจ
มีประชากรเพียง ๑๐๐,๐๐๐ คน แต่อีก ๖๐ ปีต่อมาเพิ่มเป็นประมาณ ๓๖๐,๐๐๐
คน จนมีขนาดใหญ่กว่าเมืองรองลงไปถึง ๑๒ เท่า เมื่อทศวรรษ ๒๓๙๐ เป็น
เมืองที่ประชากรส่วนมากยังอาศัยอยู่บนแพริมแม่น�้า และใช้ทางน�้าเพื่อการสัญจร
เนื่องจากทางถนนมักจะเป็นหล่มโคลน เดินทางแทบไม่ได้ ต่อมาขยับขยาย
เป็นเมืองบนบก โดยถนนแห่งแรกสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ อีก ๓๓ ปีต่อมา
(พ.ศ. ๒๔๓๓) กรุงเทพฯ ก็ยังมีถนนยาวเพียงประมาณ ๑๔ กิโลเมตรกว่าๆ
เท่านั้น อย่างไรก็ตาม อีก ๑๐ ปีต่อมา (พ.ศ. ๒๔๔๓) สองข้างทางถนนใหม่ๆ
ที่สร้างขึ้นก็เต็มไปด้วยวังต่างๆ และส�านักงานของหน่วยงานราชการที่โอ่อ่า อีก
ทั้งห้องแถวของพ่อค้าชาวจีน

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ภาพที่ ๑ ภำพถ่ำยแสดงชำวบ้ำนเล่นพนันข้ำงถนนสมัยรัชกำลที่ ๕ ผู้ห ิงยังไว้ผมสั้น
ทั้งห ิงและชำยยังนุ่งผ้ำ ห่มสไบหรือคล้องผ้ำโดยไม่มีกำรตัดเย็บ

การแต่งเนื้อแต่งตัวของคนเมืองก็เปลี่ยนไป สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
และตอนกลาง ชาวจีนมักนุ่งกางเกงและเสื้อกุยเฮง ขณะที่คนไทยและอื่นๆ ยัง
นุ่งโสร่งหรือผ้าถุง หรือคาดผ้าขาวม้า โดยพวกผู้หญิงจะมีผ้าคาดอกด้วย ทูต
ฝรั่งตกใจที่พบว่าแม้แต่สมาชิกพระราชวงศ์ก็ยังแต่งตัวท�านองเดียวกัน จึงบันทึก
แสดงความแปลกใจว่า แม้จะแต่งตัวค่อนไปทำง “กึ่งปำเถื่อน” แต่ก็ฉลำด
เฉลียว ชนชั้นน�าไทยตระหนักดีถึงนัยของทัศนคติดังกล่าวที่โยงการแต่งตัวกับ
ความ “ศิวิไล ์”
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งให้ผู้ที่เข้าเฝ้าสวมเสื้อเพื่อความศิวิไลซ์
ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ทั้งชายหญิงที่ราชส�านักสวมใส่เสื้อผ้าที่ตัดเย็บให้พอดี
ตัวทั้งท่อนบนและท่อนล่างทั้งสิ้น ข้าราชการสมัยใหม่ที่มักต้องท�างานร่วมกับ
ที่ปรึกษาชาวยุโรป เอาอย่างโดยสวมใส่กางเกงและเสื้อแบบฝรั่ง อีกทั้งคนท�างาน
บริษัทฝรั่งก็แต่งตัวเช่นเดียวกัน นับเป็นแฟชั่นของชนชั้นน�า เป็นแบบอย่างให้
กับคนอื่นๆ ในสังคมเมือง คนงานชายยังเปลือยอก ขณะที่คนอื่นใช้ผ้าคาดอก
ใส่เสื้อเชิ้ตในที่สาธารณะ (ดูภาพที่ ๑๔) ครั้นถึงปลายรัชกาลที่ ๕ ชาวเมืองของ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
สยามสวมเสื้อผ้าตลอดตัวทั้งหมดแล้ว
กรุงเทพฯ เปลี่ยนจากที่เคยเป็น “เมืองปอมเมืองท่า” fort and ort
เป็นเมืองหลวงของรัฐชาติใหม่ เป็นศูนย์กลางการส่งออกข้าวและไม้สักที่คึกคัก
ยิ่ง ภูมิทัศน์และกายภาพของเมืองสะท้อนให้เห็นลักษณะเด่นที่แตกต่างสอง
ประการนี้
บริเวณด้านเหนือและตะวันตก เป็นศูนย์กลางของรัฐชาติที่มีกษัตริย์
เป็นใหญ่ เมื่อรายได้รัฐเพิ่มขึ้นจึงสร้างถนนใหม่ๆ เริ่มจากเกาะรัตนโกสินทร์
ไปทางทิศเหนือและตะวันตก ถนนเหล่านี้เป็นที่ตั้งของวังต่างๆ และคฤหาสน์
ของตระกูลใหญ่ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบราชการใหม่ พระราชวงศ์ทรงสร้าง
วังตาม สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ขึ้นที่ดุสิต มีทั้งวังที่สร้างด้วยไม้สักและคฤหาสน์
เลียนแบบยุโรป รอบๆ วังเหล่านี้ ส�านักงานและบ้านเรือนของข้าราชการผุดขึ้น
อีกทั้งมีค่ายทหาร วัด และโรงเรียน
ย่านการค้าของกรุงเทพฯ กระจุกตัวอยู่บริเวณฝั่งแม่น�้าเจ้าพระยาทาง
ด้านทิศใต้ ริมฝั่งแม่น�้ามีส�านักงานและตึกรามของบริษัทฝรั่ง อีกทั้งสถานทูต
โรงแรมโอเรียนเต็ล โรงสีข้าว โกดังสินค้า ส�านักงานบริษัทอีสต์เอเชียติก หลุยส์
ทีเลียวโนเวนส์ และบริษัทบอร์เนียว ไปทางตะวันออกของฝั่งแม่น�้าที่ว่านี้คือ
บำงรัก เป็นย่านของชาวยุโรป มี “ถนนเจริ กรุง” เป็นศูนย์กลาง รัฐบาลสร้าง
ถนนนี้เมื่อทศวรรษ ๒๔๐๐ เพื่อให้ชาวยุโรปได้ตั้งบ้านเรือน เดินเล่น และใช้รถ
ม้า สถานทูต ธนาคาร และส�านักงานของบริษัทฝรั่งล้วนแต่กระจุกตัวอยู่ย่านนี้
ทั้งสิ้น อีกทั้งยังมีร้านขายของ ร้านขายยา สนามม้า ตลาดบางรัก ซึ่งขายเนื้อวัว
เนื้อแกะ ผักที่ชาวยุโรปกิน และ Bangkok nited Club ซึ่งเป็น “สถานที่
สังสรรค์สุดเหวี่ยงของสังคม รั่งในกรุงเทพฯ” ๑๗
ที่ริมฝั่งแม่น�้ายังมีคฤหาสน์โอ่อ่ารูปทรงเด่นของตระกูลพ่อค้าจีนระดับ
น�าอยู่เรียงราย อยู่ในบริเวณกว้างขวาง มีบ้านหลายหลังส�าหรับสมาชิกครอบครัว
ขยาย มักมีโรงงานสร้างขนาบอยู่ด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งเป็นศาลเจ้า จุดเด่นริม
ฝั่งแม่น�้าอีกอย่างคือ โรงสีข้าว โกดัง และปล่องไฟสูงมีควันด�าพุ่งโขมงเมื่อเผา
แกลบ โรงสีไฟรุ่นแรกๆ ตั้งอยู่แถบชานเมือง แต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ ได้
กระจายไปทั่วใจกลางเมืองริมฝั่งแม่นา�้ ด้านตะวันตก มองไปที่ขอบฟ้าเห็นปล่อง
ไฟสูงแข่งกับยอดเจดีย์วัดและยอดมณฑปของวังหลวง
ถัดจากบริเวณริมฝั่งแม่น�้าเข้ามาทั้งสองฟากฝั่งคือบ้านเรือนของชุมชน
จีน ชาวฮกเกี้ยนชอบอยู่แถบฝั่งธนบุรี แต้จิ๋วชอบฝั่งพระนคร แหล่งค้าขายเก่า

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ที่ส�ำเพ็งกระจายไปทางด้านทิศใต้และตะวันออก มีถนนและตลาดขายของเฉพาะ
ต่างชนิด ร้านขายของเป็นห้องแถวสองชั้น ครอบครัวอยู่อาศัยชั้นบน ขายของ
ชั้นล่าง นอกจากนั้นจะมีทั้งศาลเจ้าและวัดกระจัดกระจายอยู่เป็นระยะๆ เพราะ
ชาวจีนแม้ยังรักษาขนบประเพณีของถิ่นที่มาก็รับเอาวัฒนธรรมไทยด้วย
ชาวต่างถิ่นผู้มาเยือนกรุงเทพฯ ประทับใจกับความเป็นสากล “ถนน
แออัดด้วยชำวสยำม ชำวจีน มำเลย์ ทมิ ชำวเบงกอล แขกปำทำน... พม่ำ
ชำวศรีลังกำ ชำวชวำ เขมร วน ลำว ไทยให ่ และมอ ” ๑๘ แต่ในส�ามะโน
ประชากรฉบับแรกที่เชื่อถือได้และมีรายละเอียดเมื่อปี ๒๔๒๖ ชาวสยามและ
จีนรวมกันมีมากถึงร้อยละ ๙๗ ของคนกรุงเทพฯ ทั้งหมด คนอื่นๆ มีสัดส่วน
น้อยนิด และพบว่าชาวจีนคิดเป็น ๑ ใน ๔ ของประชากร ซึ่งต�่ากว่าที่ฝรั่งเคย
ประมาณการไว้ว่าชาวจีนมีสัดส่วนครึ่งหนึ่ง เป็นไปได้ว่า ส�ามะโนประชากร
ป ๒๔๒๖ ครอบคลุมถึงเขตท�านาตามชานเมืองด้วย และอีกเหตุผลหนึ่งคือ
ลูกจีนจ�านวนมาก และลูกหลานของเชลยชาวมาเลย์ ลาว เขมร ถือว่าตัวเอง
เป็น “คนไทย” แล้ว ส�าหรับอาชีพมีการแบ่งแยกชัดเจน คนจีนมีมากถึง ๓
ใน ๕ ในภาคการค้า และ ๓ ใน ๕ ของครอบครัวจีนอยู่ในอาชีพนี้ ส�าหรับชาว
สยามที่กรุงเทพฯ นั้นส่วนใหญ่ท�าการเกษตร แบกหาม หรือถูกเกณฑ์แรงงาน
ภาคราชการมีชาวสยามเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็อาจเป็นผลจากการแจงนับสัญชาติ
ให้สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องเชื้อชาติแนวใหม่ อันที่จริง หน่วยงานรัฐ เช่น กรม
ศุลกากร เมื่อทศวรรษ ๒๔๔๐ มีข้าราชการระดับล่าง “มีอยู่ด้วยกันหลำยชำติ
หลำยภำษำ มีทั้งชำวไทย จีน ี่ปุ น รั่ง แขกปำทำนหรือเรียกกันสมัยนั้นว่ำ
แขกหัวโต ลังกำ มลำยู จีน บ้ำบำ และพวกลูกครึ่ง” ๑๙
บทบาทหญิง ชายแตกต่างกันไปตามสถานะทางสังคม ในหมู่ชนชั้น
สูง ผู้ชายเป็นใหญ่ ระบบราชการดั้งเดิมนั้นบทบาทของนักรบมีความส� าคัญยิ่ง
จึงมีแต่ผู้ชายทั้งสิ้น และหลักการนี้ก็ยังคงอยู่ ชาวจีนที่อพยพมาไทยล้วนเป็น
ชายเสียทั้งหมดจนถึงทศวรรษ ๒๔๕๐ ตระกูลพ่อค้ามีระบบชายเป็นใหญ่เต็มที่
ในท�านองเดียวกันไม่มีผู้หญิงสักคนเดียวในบรรดาผู้น� าด้านธุรกิจชาวฝรั่งใน
รูปภาพที่ลงพิมพ์ในหนังสือสมัยนั้น
ส�าหรับครอบครัวชาวจีนและข้าราชการ ผู้หญิงเป็นเพียงเครื่องมือเพื่อ
สร้างเสริมสถานะของตระกูลหรือเพื่อสร้างสะพานไปสู่ความส�าเร็จด้านอื่นๆ
ผู้หญิงมีหน้าที่ผลิตลูกชาย ซึ่งจะสืบสายตระกูลไปเบื้องหน้า และผู้หญิงยังมี
บทบาทเชื่อมความสัมพันธ์กับผู้อุปถัมภ์และหุ้นส่วนธุรกิจ พ่อบ้านตระกูลจีน

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
มีเมียหลายคนทั้งที่เมืองไทย เมืองจีน และบางทีก็ได้เมียที่เมืองท่าในประเทศ
อื่นๆ ด้วย
ภายใต้ระบบชายเป็นใหญ่ ก็ไม่ใช่ว่าผู้หญิงจะไร้อา� นาจเสียเลยทีเดียว
ในวังนั้นสตรีบางคนมีบทบาทสูง รวมทั้งการดูแลพระคลัง พระราชสาส์นของ
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ แสดงให้เห็นว่าทรงให้ความส�าคัญกับความเห็นของ
พระราชินีที่ทรงโปรดปราน โปรดให้ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
(พระองค์เจ้ำเสำวภำผ่องศรี) ด�ารงต�าแหน่งผู้ส�ำเร็จรำชกำรแทนพระองค์ เมื่อ
เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ขุนนางเรื่อง ี่แผน น
ของ ม.ร.ว.คึก ทธิ ปราโมช (พ.ศ. ๒๔๙๓) มีผู้หญิงเป็นแกนของครอบครัว
และเนื้อเรื่อง
ตามก หมายนั้น เงิน ทองและอสัง หาริม ทรัพ ย์ ึ่ง เจ้ า สาวได้ รับ เมื่อ
แต่งงานจะเป็นของ ายหญิงเท่านั้น ผู้หญิงบางคนจึงใช้สินทรัพย์ในส่วนนี้
ลงทุนท�าธุรกิจของตนเอง ในกลุ่มครอบครัวจีน ผู้หญิงมักมีกลุ่มของ “ขาไพ่”
ที่นิยมเล่นไพ่ปอกและไพ่นกกระจอก ซึ่งจะมีการเจรจาต่อรองเรื่องการแต่งงาน
ระหว่างครอบครัวต่างๆ ในวงขาไพ่น้ีเพื่อขยายเครือข่ายธุรกิจและครอบครัว
นอกจากนั้น แม้ระบบชายมีเมียหลายคนจะแพร่หลาย แต่ผู้สืบตระกูลอาจจะ
ไม่ใช่ชายเสมอไป เมื่อโรคอหิวาต์ระบาดช่วงหน้าร้อนชาวจีนที่เพิ่งมามักตกเป็น
เหยื่อของโรคนี้ พ่อค้าจีนบางคนให้ทรัพย์สมบัติเป็นมรดกแก่ลูกสาวด้วย ประ
การหนึ่งก็อาจจะท�าตามประเพณีไทยที่แบ่งมรดกให้ลูกทุกคนพอๆ กัน อีกประ
การหนึ่งเป็นเพราะว่าลูกชายอาจต้องอพยพย้ายไปท�าธุรกิจครอบครัวที่อื่น ขณะ
ที่ลูกสาวจะอยู่กับที่ มีตระกูลเจ้าสัวเก่าแก่ตระกูลหนึ่งที่ยกมรดกให้ลูกสาวเป็น
หลัก หญิงจีนจ�านวนมากท�าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และเป็นเจ้าของโรงรับจ�าน�า
บรรดาสามัญชนวัยท�างานทั่วไป บทบาทของผู้หญิงต่างจากที่กล่าวมา
มาก ผู้หญิงท�างานกันแทบทุกคน แม่ค้าแม่ขายตามข้างถนนและตลาดน�้าเห็น
ได้ทั่วไป จนทางการเองยังตั้งผู้หญิงให้เป็นผู้ดูแลตลาดต่างๆ ผู้หญิงชาวบ้าน
ปลูกข้าวและปลูกผักบริเวณชานเมือง ท�างานในโรงงานและสาธารณูปโภคต่างๆ
ดังที่ วอริงตัน สมิธ รายงานไว้ว่า พ แ า า า ผ า น
า น นทา พ น น านแ น ท ๒๐
วัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ในกลุ่มชนชั้นน�า กอปรกับวัฒนธรรมผู้หญิง
ท�างานเป็นฐานรากของบริการเพศพาณิชย์ ท่าเรือและบริเวณตลาดส�าเพ็งเป็น
ถิ่นที่อาศัยของชายชาวจีนที่อพยพมาคนเดียว จึงเป็นแหล่งโรงน�้าชาและซ่อง

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ผู้หญิงหากิน รัฐบาลตั้งนายอากรเก็บภาษีจากธุรกิจนี้ สมัยรัชกาลที่ ๕ มีการ
น�าเข้าหญิงสาวจากญี่ปุ่นมาให้บริการทางเพศ ผู้ชายจากตระกูลขุนนางซึ่งเคย
เอาทาสเป็นเมีย หันไปหาบริการเพศพาณิชย์ การขยายตัวของการศึกษาระดับ
สูง ข้าราชการ และนักวิชาชีพที่กรุงเทพฯ ท�าให้เกิดการกระจุกตัวของสังคมผู้ชาย
จึงมีวิธีการใหม่ๆ ในบริการเพศพาณิชย์ พบเห็นผู้หญิงหากินยืนข้างถนนอยู่
ทั่วไป ดังที่นักหนังสือพิมพ์รายงานความว่า ไม่ว่าจะไปที่ไหนในกรุงเทพฯ ไม่
อาจหลีกเลี่ยงที่จะพบเห็นผู้หญิงเหล่านี๒๑

พ.ศ. ๒๔๕๑ รัฐบาลออกก หมายควบคุม ่อง เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย
ดูแลสุขภาพของสาธารณชน แต่เพศพาณิชย์แบบผิดกฎหมายขยายตัวเร็วกว่า
ที่ทางการจะควบคุมได้ โรงหนังกลายเป็นแหล่งที่จะหา “อีตัว” ได้อีกแหล่งหนึ่ง
ครั้นถึงทศวรรษ ๒๔๖๐ กรุงเทพฯ ก็มีทั้งคลับเฉพาะสมาชิกและเพิงข้างถนน
ที่มีโชว์เร้าอารมณ์ ภาพยนตร์ไทยเสียงในฟิล์มรุ่นแรกๆ ทา (พ.ศ. ๒๔๗๕)
ชายผู้หนึ่งทอดทิ้งภรรยาและใช้ชีวิตหาความภิรมย์จากย่านโลกีย์ของกรุงเทพฯ
จนกระทั่งสิ้นเนื้อประดาตัวไปไหนไม่รอด จึงหวนกลับบ้านและสนใจจริยธรรม
อีกครั้งหนึ่ง นักหนังสือพิมพ์รายหนึ่งเตือนว่า กรุงเทพ จะเป็นเหมือนปำรีส
ไปแล้ว

สรุป
การยกเลิกระบบเกณฑ์แรงงานและระบบทาส และการเข้ามาของบริษัท
ฝรั่งเจ้าอาณานิคม ท�าให้เศรษฐกิจ สังคม และภูมิทัศน์ของเมืองไทยเปลี่ยน
แปลงไปอย่างรวดเร็ว
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ และ ๕ ที่ราบลุ่มเจ้าพระยาปรับเปลี่ยนจากที่เคย
เป็นป่าหนอง พัฒนามาเป็นทุ่งนาข้าวแผ่กระจายทั่วไป แรงงานอิสระกลายเป็น
ชาวนาบุกเบิก มีบทบาทส�าคัญที่เลี้ยงประชากรส่วนใหญ่ และเป็นตัวขับเคลื่อน
ระบบเศรษฐกิจชาติ สยามกลายเป็นสังคมของชาวนารายเล็ก แต่สังคมชาวนา
ผูกติดอยู่กับหมู่บ้าน พวกเขาห่างไกลจากชีวิตการเมืองของประเทศ
ในเวลาเดียวกันกรุงเทพฯ เปลี่ยนจาก “เมืองป้อมเมืองท่า” เป็นศูนย์
กลางเพื่อธุรกิจอาณานิคมและเมืองหลวงของรัฐชาติ ส่งผลให้เกิดพลังทางสังคม

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
กลุ่มใหม่ๆ ตระกูลขุนนางใหญ่และตระกูลเจ้าสัวที่เคยท�าการค้าเรือส�าเภาและเป็น
เจ้าภาษีนายอากร ผันตัวเองสู่ชนชั้นน�าในระบบราชการของรัฐชาติใหม่ ชนชั้น
น�าด้านธุรกิจที่มีพื้นเพเป็นคนจีนพุ่งขึ้น หลายตระกูลเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย
ธุรกิจระดับภูมิภาค พวกเขายังคงยึดถือวัฒนธรรมจีน โดยเฉพาะการส่งลูก
หลานกลับไปร�่าเรียนที่เมืองจีนถิ่นก�าเนิด ต่อมาเริ่มพาภรรยาจากเมืองจีนมา
เมืองไทย ธุรกิจของพวกเขาไม่จ�าเป็นต้องพึ่งพาการอุปถัมภ์จากกลุ่มศักดินาอีก
ต่อไป และไม่ได้มีราชทินนามหรือเกี่ยวโยงกับชนชั้นน�าระดับสูงของสยาม เมื่อ
ร�่ารวยและเพิ่มจ�านวนมากขึ้น กลุ่มนักธุรกิจชาวจีนกลุ่มใหม่นี้จึงสร้างชุมชนของ
ตนเองและสถาบันสนับสนุน เช่น สมาคมแซ่ โรงเรียนจีน และสมาคมช่วยเหลือ
กันเอง
การยกเลิกระบบเกณฑ์แรงงานและทาสท�าให้แรงงานเป็นอิสระ อีกทั้ง
การลงทุนด้านสาธารณูปโภคที่กรุงเทพฯ ท�าให้ชนชั้นกรรมกรกลุ่มใหม่ถือก�าเนิด
ครั้นเมื่อการศึกษาสมัยใหม่ ระบบราชการและธุรกิจสมัยใหม่ขยายตัวไป ชนชั้น
กลางสามัญชนกลุ่มเล็กๆ ก็ก่อตัวขึ้น สมาชิกของกลุ่มใหม่นี้มักมาจากสังคมไทย-
จีนเขตหัวเมือง พวกเขาห่างไกลจากวัฒนธรรมประเพณีของราชส�านักดั้งเดิม
และตระหนักรู้ว่าตัวเองเป็นกลุ่มบุกเบิกของสังคมและวัฒนธรรมเมืองใหม่
พลังสังคมเมืองกลุ่มใหม่ๆ เหล่านี้ ท้าทายแนวคิดของรัฐสมบูรณาญา
สิทธิว่าด้วยเรื่องชาติและรัฐชาติ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ชาตินิยมหลายมิติ
ทศวรรษ ๒๔๕
งทศวรรษ ๒๔๘
ตลอดปลายสมัยของพระองค์ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ และผู้ใกล้ชิด
ให้เหตุผลว่า สยำมจ�ำเป็นต้องมีรัฐเข้มแข็ง และมีกำรบริหำรจัดกำรแบบรวม
ศูนย์อ�ำนำจ เพื่อให้สยำมเจริ เป็นหนึ่งในประเทศส�ำคั ของโลก สูตรที่ว่านี้
คือจุดเริ่มของวิสัยทัศน์ซึ่งปรากฏให้เห็นซ�้าแล้วซ�้าอีกในแวดวงการเมืองไทย
แนวคิดแบบเดียวกันถูกปรับเปลี่ยนเมื่อบริบทของสังคมโลกและสังคมท้องถิ่น
เปลี่ยน และหวนกลับมาอีกหลายครั้งในการณ์เบื้องหน้า สมัยนี้ยังได้ก�าเนิด
ศัพท์แสงที่เกี่ยวโยง โดยเฉพาะความสามัคคี ความเป็นหนึ่งเดียว และจินต
ภาพของชายชาญนักรบผู้กล้า ส�าแดงให้เห็นจากพระบรมรูปทรงม้า และจินตนา
การเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยที่มีเรื่องราวของสงครามหลายครั้งหลายคราเป็น
เหตุการณ์น�าเรื่อง
อีกวิสัยทัศน์ที่ตรงกันข้ามนั้น ก่อตัวขึ้นท่ามกลางสังคมเมืองใหม่ที่
เติบโตขึ้นมาจากการค้าอาณานิคม และจากการสร้างความเป็นรัฐชาตินั่นเอง
ในสังคมนี้ความสัมพันธ์แบบระบบอุปถัมภ์ดั้งเดิมถูกทดแทนด้วยระบบตลาด
มีความคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสังคม ทั้งนี้ด้วยการคิด
ค�านึงถึงสถานภาพของตัวเองในฐานะเป็นพ่อค้าและนักวิชาชีพอิสระ และด้วย
การที่มีโอกาสเปรียบเทียบสยามกับโลกภายนอกที่ก�าลังเผชิญความเปลี่ยนแปลง
อย่างพลิกผัน คนรุ่นใหม่รับเอาความคิดเรื่องรัฐชาติและความเจริญมาปรับ
เสียใหม่ พวกเขาท้าทายการนิยามว่า “ชาติ” หมายถึงผู้ที่จงรักภักดีต่อพระ
มหำกษัตริย์ พวกเขาเสนอว่า “ความเจริญ” ไม่ได้เป็นเรื่องเฉพาะของชนชั้นน�า
และยังเรียกร้องว่า เปำประสงค์ของรัฐชำติคือ ควำมผำสุกของสมำชิกแห่งรัฐ
ชำตินั้น ทุกคน

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
การปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ล้มเลิกกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิ
ราชย์ การปฏิวัตินั้นมีแรงบันดาลใจมาจากวิสัยทัศน์ที่สอง และมีก� าลังสนับ
สนุนจากทหารประจ�าการจัดตั้งขึ้นเมื่อปลายรัชกาลที่ ๕ แต่การปรับความหมาย
ของ “ชาติ” ซับซ้อนมาก เพราะว่าสยามมีประชาชนชาวจีนจ�านวนมาก การปรับ
เป้าประสงค์ของรัฐชาติก็ซับซ้อนมากด้วย เพราะว่าสยามเป็นส่วนหนึ่งของโลก
ที่แตกแยกด้วยสงครามระหว่างความคิดชาตินิยมสองแบบ

สมบูรณาญาสิท ิราชย์ไม่ยอมตาย
แม้ว่าพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ จะไม่ทรงยอมรับการลดทอนพระราช
อ�านาจใดๆ ก็ตาม แต่มีผู้เสนอว่า เมื่อทรงพระประชวรหนักจนใกล้สวรรคต
พระองค์ทรงมีพระราชด�ารัสว่า น า แ พ
นทนทีที่ น า น าแ น า น า
า น แ น ่น ๑
ครั้งทรงพระเยาว์ (ชนมพรรษา ๑๑-๒๒) พระมงกุ เกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๖ เสด็จไปเรียนที่ประเทศอังกฤษ ทรงสนพระทัยด้านศิลป์ วรรณ
กรรม ประวั ติ ศ าสตร์ และโดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง การละคร ทรงแปลงานของ
เชกสเปียร์ กิลเบิร์ต แอนด์ซัลลิวัน ทรงสร้างโรงละคร และทรงพระราชนิพนธ์
บทละครถึง ๑๘๐ เรื่อง อีกทั้งบทความเรียงอีกนับไม่ถ้วน ทรงมีพระสหาย
ชายที่พระองค์โปรดซึ่งทรงน�าเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพระราชส�านัก และต่อมา
ได้รับต�าแหน่งเป็นขุนนาง รัชกาลที่ ๖ ทรงด�าเนินรอยตามพระราชบิดาในเรื่อง
การเชิดชูความโอ่อ่าของพระราชส�านักอย่างเต็มที่ โดยทรงเฉลิมฉลองพระราชพิธี
ราชาภิเษกอย่างอลังการ ทรงสร้างพระราชวังใหม่ ๓ แห่ง ทรงก่อตั้ง “เสือปำ”
เป็นกองรักษาพระองค์ และเป็นเครื่องแสดงความจงรักภักดีต่อพระราชบัลลังก์
ทรงก่อหนี้เป็นจ�านวนมากจนคณะเสนาบดีต้องยอมให้ทรงกู้เงินจากต่างประเทศ
เพื่อหลีกเลี่ยงคดีล้มละลาย รัชสมัยของพระองค์นั้นได้เห็นกลุ่มทหารพยายาม
ก่อการ “รัฐประหาร” อย่างน้อย ๒ ครั้ง และเป็นไปได้ว่าอีกครั้งหนึ่งนั้นเกิด
จากภายในวังเอง
พระมงกุฎเกล้าฯ ทรงปฏิเสธข้อแนะน�าของพระราชบิดาเรื่องการพระ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ราชทานรัฐสภาและรัฐธรรมนูญ ทรงตั้งข้อสังเกตว่า “อย่ำลืมว่ำสภำพของประ
เทศยุโรปกับเมืองไทยผิดกันอยู่ ฉะนั้นสิ่ง ึ่งเป็นคุ ส�ำหรับเขำอำจเป็นโทษ
ส�ำหรับเรำได้” ๒ บรรดาคณะเสนาบดีชุดแรกที่ทรงแต่งตั้งประกอบด้วยสิบพระ
ำติ และหนึ่งคนนอกเท่านั้น ส�าหรับคณะเสนาบดีชุดต่อๆ มา มีขุนนางและ
สามัญชนที่พระองค์โปรดปรานเข้ามาทดแทน ท�าให้กลุ่มอนุรักษนิยมในราชส�านัก
ไม่พอใจ
รัชกาลที่ ๖ ทรงตระหนักดีว่าขุนนางบางกลุ่มต้องการปรับเปลี่ยนการ
รวมศูนย์อ�านาจที่เกิดขึ้นในรัชสมัยก่อนหน้า ทรงตระหนักดีด้วยว่ากลุ่มอื่นๆ
ที่อยู่นอกอภิสิทธิ์ชนมีทัศนคติวิพากษ์วิจารณ์ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
(ดูเบื้องหน้า) ทรงบรรยายให้กับข้าราชการ และทรงพระราชนิพนธ์บทความ
หลายชิ้นส่งพิมพ์ในหน้าหนังสือพิมพ์ เป็นพระราชวินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องชาติ
และชาตินิยม ทรงมีทฤษฎีว่ามนุษย์มาร่วมอยู่เป็นสังคมแล้วเลือกพระมหา
กษัตริย์ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกันเอง จากจุดนั้นพระราช
อ�านาจจึงเป็นสมบูรณาญาสิทธิ์และท้าทายไม่ได้ การสืบราชสมบัติเป็นไปภาย
ในพระราชวงศ์เดียวกันเพื่อเสถียรภาพ รัฐเปรียบเสมือนร่างกายซึ่งทุกๆ ส่วน
มีบทบาทเฉพาะ พระมหากษัตริย์คือสมอง อวัยวะส่วนอื่นๆ ไม่ควรตั้งค�าถาม
เมื่อสมองสั่งงานลงมา หน้าที่คือต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตาม

ชาติบ้านเมืองเปรียบเหมือนเรือ พระราชาธิบดีคือนาย
เรือ ประชาชนคือผู้ที่ไปด้วยกันในเรือล�านั้น
เราอยู่ในเรือล�าเดียวกัน เพราะฉะนั้น หน้าที่ต้องช่วยกัน
พาย ถ้าแม้ไม่พายถึงแม้ว่าไม่เอาตีนราน�้า เป็นแต่นั่งอยู่เฉยๆ ก็
หนักเรือเปล่าๆ...ถ้าจะพายก็จับพายขึ้นและอย่าเถียงนายท้าย๓

พระราชนิพนธ์เสนอว่า ชาตินิยมและกษัตริย์นิยมคือสิ่งเดียวกัน ความ


จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์หมายถึงความรักชาติ เพราะว่าพระมหากษัตริย์
คือตัวแทนของชาติ หน้าที่ของคนทั่วไปนั้นเพียงแต่สามัคคี เชือ่ ฟัง และกตัญ ู
จนถึงจุดที่เสียสละตนเองได้ “ถ้ำเมื่อถึงเวลำที่มีภัยอันตรำยมำสู่ประเทศบ้ำน
เมืองของเรำแล้ว แม้ใครไม่ท�ำใจยอมสละชีวิตของตนเองเพื่อปองกันชำติบ้ำน
เมือง ก็จงเลิกเป็นไทยเสียเถิด” ๔ พระองค์ทรงชักชวนให้ชาวสยามสามัคคีกัน
เพื่อปกป้อง “ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์” ค�าขวัญนี้ดัดแปลงมาจาก

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ค�าขวัญภาษาอังกฤษ “Go , King, an Country” (พระเจ้า พระมหากษัตริย์
และประเทศ) โดยความต่างคือในค�าขวัญอังกฤษสามส่วนนี้แยกออกจากกัน
แต่ใน “ค�าขวัญรัชกาลที่ ๖” ทั้งสามเป็นเรื่องเดียวกัน พระมหากษัตริย์คือตัว
แทนของชาติ ชาวพุทธ และผู้ปกป้องทั้งชาติและศาสนา วลีดังกล่าวผนวกแนว
คิดเรื่องพระราชอ�านาจไว้ในถ้อยค�าสมัยใหม่ของทฤษฎีรัฐชาติ พ.ศ. ๒๔๖๐
โปรดให้ออกแบบธงชาติใหม่เป็น ธงชาติ ๓ สี เพื่อให้กองทหารสยามที่ส่งไป
ช่วยรบกับฝ่ายพันธมิตรที่ยุโรปน�าไปใช้ และทรงมีพระราชด�ารัสเนื้อความว่า
สีน�้ำเงิน ขำว และแดง ไม่ใช่เพียงเข้ำกันได้กับธงของประเทศพันธมิตรอื่น
แต่ยังเป็นตัวแทนของ องค์ประกอบของชำตินิยมของพระองค์ สีขำวคือ
พระพุทธศำสนำ สีน�้ำเงินคือพระมหำกษัตริย์ และสีแดงคือเลือดของคนไทยที่
พร้อมจะสละเพื่อปกปองชำติ

การสร้างพนทีสา ารณะ
หญิง-ชายไทยซึ่งก่อร่างสร้างตัวด้วยตัวเอง ไม่น่าจะรับได้กับการที่ต้อง
มีหน้าที่ยอมรับสภาพที่ก�าหนดให้โดยไม่มีปากเสียงอะไรเลย โลกนอกสยาม
ก�าลังเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผันและรวดเร็ว พระราชวงศ์ในประเทศอื่นๆ ซึ่ง
พระราชวงศ์จักรีทรงคุ้นเคยด้วยในสมัยรัชกาลที่ ๕ บ้างก็หมดความส�าคัญลง
หรือล่มสลายไปภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ คนไทยจ� านวนมากมีโอกาส
เห็นสังคมอื่นๆ และเปรียบเทียบกับสยาม คนไทยจ�านวนน้อยส่วนหนึ่งเดิน
ทางไปต่างประเทศ คนอื่นๆ เห็นความแตกต่างของสังคมฝรั่งที่กรุงเทพฯ อีก
หลายๆ คนได้ร�่าเรียนจนอ่านออกเขียนได้และสนใจอ่านหนังสือและวารสาร
ต่างๆ หนังสือพิมพ์น�าเข้ามาจากสิงคโปร์และปีนัง นับจากทศวรรษ ๒๔๒๐
หนังสือแปลจากนวนิยายประโลมโลกย์จากยุโรปได้รับความนิยม ภาพยนตร์
เปิดช่องให้ได้เห็นวัฒนธรรมฝรั่งและวิถีการด�าเนินชีวิตที่แตกต่างนอกเหนือ
จากที่อ่านจากนวนิยาย โรงหนังเปิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ ครั้นถึงปี
๒๔๕๓ ก็มีภาพยนตร์ฉายตามโรงในกรุงเทพฯ เป็นตารางเวลาประจ�าวัน
ทศวรรษ ๒๔๓๐ หนังสือพิมพ์และวารสารในประเทศแพร่ขยายไป
วารสารรุ่นแรกๆ พิมพ์ครั้งละไม่กี่ร้อยเล่ม ครั้นถึงช่วงปี ๒๔๔๔-๒๔๔๙ วาร

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


สารของ เทียนวรรณ พิมพ์ครั้งละ ๑,๐๐๐ เล่ม กลางทศวรรษ ๒๔๖๐ วารสาร
ที่มีคนชอบมากๆ พิมพ์ครั้งละ ๕,๐๐๐ เล่ม ปี พ.ศ. ๒๔๗๐ มีโรงพิมพ์ถึง
๑๒๗ แห่ง และมีส�านักพิมพ์ ๑๔ แห่ง หนังสือพิมพ์ ศรีกรุงรายงานว่า “มี
หนังสือแปลก แปลกทั้งภำพรูปลักษ ะและใจควำมวำงขำย อยู่เหลือที่จะ
ค ำนับ มำกมำยก่ำยกอง จนผู้ ื้อเ อมิรู้จะเลือกอย่ำงใด” ๕ เรื่องสั้นโดยนัก
เขียนไทยเริ่มปรากฏตัวเมื่อต้นทศวรรษ ๒๔๖๐ ตามด้วยนวนิยายไทย พ.ศ.
๒๔๗๐ ภาพยนตร์เงียบเรื่องแรกที่คนไทยสร้างเพื่อฉายเก็บเงินจากคนดู มีผู้
เข้าชมถึง ๑๒,๐๐๐ คนในช่วง ๔ วันแรกที่เปิดตัว
นักเขียนและผู้อ่านผู้ชมพุ่งความสนใจไปที่เนื้อหาเรื่องราวของผู้คน
ที่ก�าหนดชีวิตตัวเองได้ อีกทั้งเรื่องความทุจริตและความอยุติธรรมของสังคม
ภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
นักเขียนบางคนสนใจประวัติศาสตร์และท้าทายค�าอ้างของฝ่ายเจ้าที่ว่า
พระมหากษัตริย์เป็นพลังหนึ่งเดียวที่ขับเคลื่อนประวัติศาสตร์ ขุนนางใหญ่บาง
คนรวบรวมเขียนประวัติศาสตร์ความเป็นมาของตระกูลตนเองแล้วพิมพ์เป็น
หนังสือ ก.ศ.ร. กุหลาบ เคยรับจ้างสืบค้นและเขียนประวัติของตระกูลผู้อื่น
พระสงฆ์บางรูปเขียนอัตชีวประวัติด้านศาสนาของตนเอง นักธุรกิจรุ่นใหม่ๆ
บางรายเขียนเรื่องราวความส�าเร็จในการท�าธุรกิจของพวกเขา (เช่น นายบุญรอด
เศรษฐบุตร และนายโกศล ฮุนตระกูล) บางครั้งงานเขียนเหล่านี้ท้าทายที่ราช
ส�านักผูกขาดว่าใครก�าหนดประวัติศาสตร์แบบตรงๆ เช่น นักเขียนประวัติศาสตร์
ทหารรายหนึ่งชี้ให้เห็นว่า พระมหากษัตริย์สามารถปกป้องประเทศชาติได้ใน
อดีตเพราะว่า “ไพร่ฟ ำข้ำแผ่นดิน ึ่งเป็นชำติเดียวกับพระองค์มีควำมรักชำติ
ของตน” ๖ นักเขียนอีกรายหนึ่งเรียบเรียงประวัติของกระทรวงต่างๆ สมัยรัตน
โกสินทร์เพื่อที่จะแสดงว่า “พระองค์ท่ำนพระองค์เดียวจะทรงปองกันประเทศ
และชำติให้เจริ ถำวรคงอยู่ได้เช่นนั้นหรือ จ� ำเป็นจะต้องมีเสนำอ�ำมำตย์รำช
เสวกช่วย” ๗ งานเขียนเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า คนต่างๆ นานาได้มีคุณูปการกับ
“ความเจริญ” ของชาติ
หลายเรื่องราวเชิดชูความสามารถเฉพาะตัวเหนือกว่าชาติก�าเนิด กุหลาบ
สายประดิษฐ์ ศรีบูรพา เขียนนวนิยายเรื่อง ผ า (พ.ศ. ๒๔๗๑) กล่าวถึง
เรื่องราวของลูกชายช่างไม้มีพรสวรรค์ร�่าเรียนจนได้เป็นผู้พิพากษา นวนิยาย
อีกเล่มของเขา า ี (พ.ศ. ๒๔๗๕) บรรยายถึงความไม่เท่าเทียมเกิด
จากความมั่งคั่งและอภิสิทธิ์ “เมืองไทยไม่ใคร่ช่วยให้ใครมีหวังในเรื่องโอกำส

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
เมืองไทยมักให้คนที่ท�ำผิดแต่ค�ำสำปแช่ง �้ำเติม...เมืองไทยยังขำดมำกในกำร
ปลุกปลอบและเห็นอกเห็นใจ” ๘
นวนิยายที่โด่งดังมากเรื่องแรกโดยหม่อมเจ้าอากาศด�าเกิง ชื่อ
แ ี (พ.ศ. ๒๔๗๒) เป็นเรื่องคนรุ่นใหม่ไปนอก แล้วรับเอาแนวคิดวิจารณ์
สยาม ต่อมามุ่งมั่นที่จะมีบทบาทเปลี่ยนสังคม ในภายหลังนักเขียนอื่นๆ เลียน
แบบเนื้อเรื่องนี้ซ�้าแล้วซ�้าเล่า
นักเขียนทั้งชายและหญิงวิจารณ์ระบบชายมีภริยาหลายคนว่า ไม่ยุติ
ธรรมกับผู้หญิง เป็นสัญลักษณ์ความล้าหลังของสยาม และยังเอื้อกับวัฒนธรรม
ผู้หญิงหากิน นักเขียนรุ่นใหม่วาดภาพว่าในสังคมอุดมคติ คนที่มีความสามารถ
เป็นผู้ได้รับการเลื่อนชั้นและการยกย่อง หญิงชายมีความเท่าเทียมกันเพราะว่า
ผู้หญิงได้รับการศึกษา สังคมเชิดชูระบบผัวเดียวเมียเดียว การแต่งงานเกิดขึ้น
เพราะความรักและความพึงพอใจระหว่างกัน
สตรีสูงศักดิ์ดื้อแพ่งและไม่เห็นด้วยกับกฎหมายที่ออกในรัชกาลที่ ๔
ก�าหนดให้ผใู้ หญ่ของตระกูลศักดินาเลือกหาคูค่ รองให้กบั บุตรสาวได้ ภาพยนตร์
เงียบเรื่อง นา า (พ.ศ. ๒๔๖๖) ชูประเด็นเกี่ยวกับการแต่งงานข้าม
ชนชั้น ในเรื่องสั้น แ น น ่ ของดอกไม้สด (หม่อมหลวงบุปผา
กุญชร นิมมานเหมินท์) แสดงให้เห็นว่านางเอกที่ปฏิเสธบทบาทแบบหญิงโบราณ
ที่สงบเสงี่ยมเจียมตัวโดยสิ้นเชิง สามารถที่จะเปลี่ยนชายที่เคยเอาแต่ใจตัวเอง
และมีทัศนคติโบราณ ให้เป็นสามีที่ดีและพลเมืองในอุดมคติได้
กุหลาบ สายประดิษฐ์ ใช้ค�าว่า น ให้หมายถึงความเชื่อมั่น
ในความเป็นมนุษย์ สะท้อนความคิดความรู้สึกของนักเขียนและนักอ่านสามัญ
ชนรุ่นใหม่
หนังสือพิมพ์พัฒนาขึ้นมาในบริบทของสังคมดังกล่าวด้วย จากทศวรรษ
๒๔๓๐ เป็นต้นมา หนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ เสนอวาทกรรมต่อต้านทัศนคติของ
ราชส�านักว่าด้วยชาติและชาตินิยม พ.ศ. ๒๔๖๐ หนังสือพิมพ์ า เรียก
ตัวเองว่าเป็น “หนังสือพิมพ์โปลิทิก” ฉบับแรก และหนังสือพิมพ์รายวันด้านการ
เมือง า า เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕
หนังสือพิมพ์บางฉบับวิจารณ์ความสุรุ่ยสุร่ายและพฤติกรรมฉีกแนวของ
พระมงกุฎเกล้าฯ ซึ่งพระองค์ก็ได้เข้าร่วมการอภิปรายกับพวกนักหนังสือพิมพ์
ด้วย โดยในปี พ.ศ. ๒๔๕๕ ได้ทรงซื้อหนังสือพิมพ์พ พ ท เพื่อเป็นกระบอก
เสียง ทรงโต้เถียงว่า “คนสมัยใหม่” หรือ “คนสด” (ย่อมาจาก ภาษาอังกฤษ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


sophisticated) ที่ได้รับการศึกษาจากเมืองนอกกลายเป็น “ครึ่งไทย” และ
“clap traps” (ปากดี)๙ ทรงเห็นว่าการรับเอาความคิดจากฝรั่ง (โดยเฉพาะเรื่อง
ประชาธิปไตย) ไม่เหมาะสมกับเมืองไทย พ.ศ. ๒๔๕๙ ทรงยุติการร่วมอภิปราย
ในหน้าสิ่งพิมพ์ โดยทรงหันมาปราบปราม โปรดให้ร่างพระราชบัญญัติหนังสือ
พิมพ์ที่เข้มงวดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ แต่ทรงลังเลที่จะใช้ ด้วยทรงเกรงปฏิกิริยา
ด้านลบจากต่างประเทศ จึงทรงใช้กฎหมายความมั่นคงปิดหนังสือพิมพ์บางฉบับ
แต่ในที่สุด พ.ศ. ๒๔๖๖ ก็ทรงออกพระราชบัญญัติหนังสือพิมพ์ที่จ�ากัดบทบาท
ของสื่อ ภายใต้กฎหมายฉบับนี้ได้ทรงด�าเนินคดีกับเจ้าของหนังสือพิมพ์จ�านวน
มากในข้อหาเป็นอันตรายกับความมั่นคงและหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แท่น
พิมพ์ ๘ เครื่องถูกยึด และหนังสือพิมพ์ ๑๗ ฉบับถูกปิด
แต่มาถึงจุดนี้นั้น พื้นที่สาธารณะ ถือก�าเนิดขึ้นแล้วอย่างมั่นคง

การป ิเส สมบูรณาญาสิท ิราชย์


ตลอดทศวรรษ ๒๔๖๐ นักหนังสือพิมพ์ก้าวไปไกลกว่าเพียงวิพากษ์
ความคิดเห็นของรัชกาลที่ ๖ พวกเขาปฏิเสธระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
และถกเถียงกับราชส�านักในประเด็นชาตินิยมในมุมมองแนวกว้าง โดยมีเหตุ
ผลหลายประการ
ประการแรก พวกเขาจับประเด็นวาทกรรมเรื่องความเจริญและความ
ศิวิไลซ์ โดยให้นิยามว่า “ความเจริญ” คือสภาวะที่ “มีเครื่องบ�ำรุงควำมงำมและ
ควำมสุขของมนุษย์มำก...ควำมเจริ ทั้งหลำยแหล่จะมีขึ้นได้ก็ด้วยควำมพำก
เพียรพยำยำมของมนุษย์” ๑๐ ส�าหรับ “ศิวิไลซ์” ก็ได้ให้นิยามเสียใหม่ว่าหมาย
ถึง “คนที่ประพฤติตนเป็นผู้ดี มีควำมสุภำพรำบเรียบ และมีควำมตั้งใจที่จะท�ำ
ประโยชน์ให้บ้ำนเมืองของตนเจริ ขึ้นอยู่เสมอ” ๑๑
พวกเขาตั้งค�าถามว่า หากความเจริญระดับชาติดังกล่าวคือเปาหมาย
ของรัฐชาติแล้วไ ร้ เหตุไฉนสยามจึงยากจนเมื่อเปรียบเทียบกับยุโรป และ
แม้เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเอเชียอื่นๆ เช่น ญี่ปุ น บ้างอธิบายว่าที่เป็น
เช่ น นั้น เพราะสยามมีก ารแบ่ ง ขั้ว ระหว่ า งผู ้ ป กครองกับ ผู ้ ถู ก ปกครองชัด เจน
ท�าให้อภิสิทธิ์ชนจ�านวนหยิบมือหนึ่ง “ท�ำนำบนหลังคน” (ดูภาพที่ ๑๕) ชน

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ภาพที่ ๑ กำร์ตูนจำกหนังสือพิมพ์ “ศรีกรุง” (พ.ศ. ๒๔๗๔) เสียดสีสังคมสยำม
สมัยก่อน พ.ศ. ๒๔๗๕

ชั้นน�าลังเลที่จะพัฒนาการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้กับผู้หญิงและคนจน
เพราะพวกเขาเชื่อว่า กำรศึกษำน�ำไปสู่ควำมวุ่นวำย จึงต้องการปกป้องความ
ได้เปรียบด้านเศรษฐกิจของคนส่วนน้อยเอาไว้ “และจะมีสักครึ่งเปอร์เ นต์ของ
พลเมืองไหมที่เจริ อย่ำงนี้” ๑๒ สังคมที่เปิดกว้างจะได้ประโยชน์จากมันสมอง
ของสมาชิกทุกคน แต่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สาปให้สยามถูกปกครอง
โดยคนจ�านวนน้อยนิด เลือกสรรมาจากชาติก�าเนิดมากกว่าคุณสมบัติ กุหลาบ
สายประดิ ษ ฐ์ เขี ย นว่ า “....พระรำชวงศ์ อ ำจมี ทั้ ง ที่ ฉ ลำดและโง่ . ..ประชำชน
ตระหนักยิ่งขึ้นทุกข ะว่ำชำติก�ำเนิดของบุคคลไม่ใช่เครื่องบ่งบอกถึงควำมดี
มนุษย์” ๑๓ ในความเห็นของกุหลาบ

ถ้าปล่อยให้เป็นเช่นนั้นอยู่เรื่อยๆ ไปแล้ว และผู้ใหญ่เกิด


ด�าริอะไรโง่ๆ ขึ้นมาไม่หยุดหย่อน และพวกผู้น้อยซึ่งมีปัญญา ซึ่ง
ในบางคราวก็อาจมีความเห็นดีๆ ได้นั้น จะทัดทานไว้ก็มิฟังแล้ว
ก็อาจเป็นเหตุให้บ้านเมืองประสบล่มจมได้ หรืออย่างน้อยก็ไม่มีวัน
เจริญก้าวหน้าเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านเขาได้เป็นแน่ ๑๔

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ประการที่ ส อง สมบู ร ณาญาสิ ท ธิ ร าชย์ ท� า ให้ ก ารทุ จ ริ ต และความไร้
ประสิทธิภาพเฟื่องฟู การ์ตูนที่เป็นส่วนส�าคัญของหนังสือพิมพ์แนวนี้ แสดง
ให้เห็นขุนนางและข้าราชการยัดเงินเข้ากระเปากางเกงตนเอง หรือไม่ก็วิ่งหนีไป
กับถุงเงินที่โกงมาได้ บ้างก็เขียนเป็นภาพแสดงว่า “กรุงเทพ เปนปลิงตัวให ่
ึ่งคอยดูดเอำเลือดจำกม ลแลจังหวัดต่ำง ...ปล่อยให้เปนปำเปนเถื่อนไป
ก่อน” ๑๕ นายทหารระดับกลางผู้หนึ่งกล่าวว่า การที่พระมหากษัตริย์ทรงมี
อ�านาจพระองค์เดียวโดยเด็ดขาดเป็น “บ่อเกิดแห่งกำรเอำเงินแผ่นดินไปเลี้ยง
คนเป็นจ�ำนวนมำก โดยคนเหล่ำนั้นไม่ต้องท�ำงำน และกำรที่ไม่มีควำมสำมำรถ
มำคำรำคำ ังอยู่นั้น ท�ำให้กำรงำนเสียและเสื่อมโทรมทั้งชำติ” ๑๖
ประการที่สาม สมบูรณาญาสิทธิราชย์ส่งเสริมนักลงทุนต่างชาติมากกว่า
ผลประโยชน์ของชาติ ราชส�านักประทับใจกับอะไรๆ ของฝรั่ง อีกทั้งเป็นตัว
อย่างน�าการบริโภคสินค้านอกอย่างมากมายจนเป็นแฟชั่น ส่งผลเสียกับเศรษฐ
กิจ นอกจากนั้นยังท�าสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ท�าให้ไทยเสียเปรียบ และ
ยอมให้ฝรั่งครอบง�าเศรษฐกิจ
รำชส�ำนักชำตินิยมเสนอว่า พระมหากษัตริย์แต่เพียงล�าพังสามารถน�า
พาชาติสู่ความเจริญได้ แต่คนรุ่นใหม่โต้กลับอย่างกลับหัวกลับหางเลยทีเดียว
ดังที่นายทหารระดับกลางผู้หนึ่งกล่าวว่า การที่กษัตริย์ทรงมีอ� านาจองค์เดียว
เด็ดขาด “เป็นศูนย์กลำงควำมอยุติธรรมทั้งหลำย และไม่มีอะไรที่จะปรับปรุง
แก้ไขได้เลย” ๑๗
ภายใต้กรอบแนวคิดที่ว่ามานี้ บรรดาคนรุ่นใหม่ของสังคมเมืองแต่ละ
กลุ่มต่างก็มีเป้าประสงค์เฉพาะกลุ่ม นักธุรกิจอยากให้รัฐชาติส่งเสริมเศรษฐกิจ
ทุนนิยมภายในประเทศ กล่าวหาว่าผู้น�าในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ยอม
ท�าสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ทา� ให้ไทยเสียเปรียบ และท�าให้สินค้าน�าเข้าเป็น
ที่นิยมจนท�าให้ไทยเป็นทาสฝรั่งแม้ในบ้านของตนเอง๑๕ นักธุรกิจต้องการให้
รัฐบาลเพิ่มภาษีน�าเข้า และจัดหาสินเชื่อราคาถูกเพื่อ “ให้มีกำรอุตสำหกรรมที่
ถำวรขึ้นในประเทศสยำม ให้กรรมกรไทยและจีนได้มีงำนท�ำ นอกจำกนั้นก็เพื่อ
ให้กรุงสยำมมีสินค้ำของตนเองไม่ต้องอำศัยของต่ำงประเทศ” ๑๘
ข้ำรำชกำรสำมั ชนเรียกร้องให้การเลื่อนขั้นนั้นขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ
และผลงาน แต่พวกเขาพบว่า การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้น และระดับเงินเดือนนั้น
ก�าหนดโดยชาติวุฒิ เส้นสาย และความจงรักภักดีต่อราชบัลลังก์ทั้งสิ้น พวก

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
เขาเรียกร้องให้ใช้ระบบการสอบ ให้จัดระบบเงินเดือนเป็นมาตรฐาน การเลื่อน
ขั้นให้ขึ้นอยู่กับอาวุโสและผลงาน สรุปว่าจะต้องมี “หลักวิชา” คือหลักการด้าน
กฎหมายและความมีเหตุมีผล พระมงกุฎเกล้าฯ ทรงเสนอว่า ระบบราชการ
ของสยามเป็นไปตาม “หลักราชการ” หรือหลักการรับใช้พระราชา กฎเกณฑ์
และวิถีปฏิบัติของระบบราชการไทย ไม่มีกฎหมายก�ากับจนถึง พ.ศ. ๒๔๗๑
ข้อเรียกร้องของคนงานเมืองก็ใช้ภาษาของชาตินิยม พ.ศ. ๒๔๖๕-๒๔๖๖
คนงานรถรางนัดหยุดงานเพื่อเพิ่มค่าจ้าง ผู้น�าคนงานประกาศความว่า ที่นัด
หยุดงานก็เพื่อบอกให้นายจ้างชาวต่างชาติและขุนนางที่โหดร้ายรู้ว่า คนไทยไม่ใช่
ทาส และชาติไทยจะต้องเป็นอิสระ
แต่หัวใจของกลุ่มที่ไม่พอใจระบอบเดิมคือคนรุ่นใหม่ที่เข้ารับราชการ
เป็นทหารประจ�าการซึ่งเพิ่งก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๕๕ รัฐบาลพบว่ามีกลุ่มนาย
ทหารชั้นผู้น้อยวางแผนจะโค่นล้มกษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ อาจจะมีนาย
ทหารเกี่ยวโยงอยู่ถึง ๓ ๐๐๐ นาย ผู้น�าของกลุ่มชักจูงให้นายทหารเข้าร่วมด้วย
โดยชี้ให้เห็นการใช้อ�านาจสมบูรณาญาสิทธิ์ที่บิดเบือน เช่น การสอพลอ การใช้
จ่ายฟุ่มเฟือยเพื่อส่วนตัว การยึดที่ดินโดยไม่มีหลักเกณฑ์
พวกเขาไม่ชอบ “เสือป่า” ที่พระมงกุฎเกล้าฯ ทรงก่อตั้งขึ้น และความ
ไม่พอใจนี้กระพือขึ้นเมื่อรับสั่งให้ลงอาญาเฆี่ยนนายทหารในที่สาธารณะ พวก
เขาไม่พอใจเมื่อ “ผู้ที่มีเจตนำอันแรงกล้ำที่จะประกอบกิจกำรให้เป็นล�่ำเป็นสัน
มักไม่มีโอกำสท�ำได้ เพรำะท่ำนผู้ให ่ไม่สนับสนุน” ๑๙ พวกเขาเชื่อว่า

วิธีปกครองประเทศ โดยมีกระษัตริย์อยู่เหนือกฎหมาย
(แอ็บโซลู๊ตมอนนากี)...เป็นวิธีที่ร้ายแรงมาก เพราะกระษัตริย์มี
อ�านาจเต็มที่...จะท�าการชั่วร้ายอย่างหนึ่งอย่างใดก็ท�าได้...เงินผล
ประโยชน์ส�าหรับแผ่นดินที่เก็บได้มานั้นกระษัตริย์จะรวบรวมเอา
มาบ�ารุงความศุกแลความรื่นเริงในส่วนตัว...เพราะฉนั้นเงินที่จะใช้
ในการบ�ารุงบ้านเมืองจึงไม่มีเหลือ๒๐

ต้นแบบของพวกเขาคือญี่ปุ่นดังที่กล่าวว่า “ยี่ปุนเป็นประเทศเล็กน้อย
ในเอเ ียก็จริง แต่ยี่ปุ นมีอ�ำนำจเท่ำเทียมกับมหำประเทศก็เพรำะได้จัดกำร
เปลี่ยนแปลงประเพ ีกำรปกครองได้แล้ว” ๒๑ พวกเขำเชื่อว่ำสยำมจะเจริ ได้

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


จะต้องมีกำรเปลี่ยนแปลงระบอบกำรปกครองเฉกเช่นที่เกิดใน ี่ปุ นสมัยจักร
พรรดิเ มจิ ดัง นั้น พวกเขำจึง มีแ ผนกำรร่ ำ งรัฐ ธรรมนู พวกเขำเสนอให้
เปลี่ยนค�ำขวั ‘ชำติ ศำสนำ และพระมหำกษัตริย์’ เป็น ‘ชำติ ศำสนำ และ
บ้ำนเมือง’
นายทหาร ๒๓ นาย ถูกลงโทษจ�าคุกเป็นเวลา ๒๐ ปี ในทั้งหมดนี้
๒๑ ราย มาจากครอบครัวสามัญชน และ ๒ ราย ที่มียศสูงสุดเป็นแพทย์
พระมงกุฎเกล้าฯ เสด็จสวรรคต เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ พระปกเกล้าเจ้า
อยู่หัว ทรงครองราชย์สืบต่อมา ทรงปลดขุนนางคนโปรดของพระเชษฐาออก
จากต�าแหน่ง และทรงประกาศว่ารัฐบาลจะปฏิรูประบบภาษี นโยบายเศรษฐกิจ
และระบบราชการ รวมทั้งโครงสร้างของรัฐบาล “เพื่อเรียกความเชื่อมั่นของ
ประชาชนกลับคืนมาอีกครั้ง”๒๒ นักหนังสือพิมพ์คาดหวังที่จะเห็นการเปลี่ยน
แปลง แต่ในทางปฏิบัตินั้น พระองค์ทรงมุ่งลดความแตกแยกภายในราชส�านัก
และ “ต้องหำทำงปองกันไม่ให้มีพระมหำกษัตริย์ที่ไม่ฉลำด” ๒๓ ทรงตั้งคณะ
อภิรัฐมนตรี และทรงแต่งตั้งพระบรมวงศ์อาวุโสที่สุด ๕ พระองค์เป็นสมาชิก
ขององค์กรใหม่นี้ ทรงตั้งกรรมการองคมนตรี โดยที่สมาชิกทั้ง ๔๐ รายไม่มี
สามัญชนเลย มีแต่สมาชิกของพระราชวงศ์และขุนนางทั้งสิ้น นักหนังสือพิมพ์
จึงวิจารณ์ว่า “ร่ำงก หมำยที่คนจ�ำพวกนี้ร่ำงขึ้นอำจเอนเอียงไปเป็นประโยชน์แก่
คนชั้นสูง เพรำะว่ำปรำก ว่ำองคมนตรีล้วนเป็นพวกชั้นสูงทั้งสิ้น” ๒๔
พระปกเกล้าฯ ทรงพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะมี รัฐธรรมนูญ และ
“อัครมหาเสนาบดี” (คือนายกรัฐมนตรี) แม้ว่ารัฐธรรมนูญที่โปรดให้ร่างขึ้น
จะยังคงด�ารงสถานะและอ�านาจของพระมหากษัตริย์อย่างเต็มที่ แต่ราชส�านัก
และที่ปรึกษาฝรั่งคัดค้านอย่างหนัก สมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงราชานุภาพ ซึ่ง
ขณะนั้นทรงเป็นที่ปรึกษาอาวุโสฝ่ายราชส�านัก ทรงรู้สึกว่า “อ�ำนำจชื่อเสียงของ
พระมหำกษัตริย์จะคลอนแคลนลงในสำยตำของรำษ ร” ๒๕ ดังนั้น ถึงแม้ว่า
เสียงวิพากษ์วิจารณ์จากสาธารณชนจะดังขึ้นๆ แต่พระมหากษัตริย์ยังทรงยึดติด
อยู่กับแนวคิดแบบพ่อขุนอุปถัมภ์ในอุดมคติ พ.ศ. ๒๔๗๔ พระปกเกล้าฯ ทรง
ให้สัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์อเมริกันว่า “พระมหำกษัตริย์คือบิดำของรำษ ร...
และป ิบัติต่อพวกเขำเสมือนเป็นลูกมำกกว่ำเป็นไพร่ฟำ รำษ รเชื่อฟังพระองค์
เป็นเพรำะควำมรักต่อพระองค์ ไม่ใช่เพรำะควำมกลัว” ๒๖

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
สร้างความเปนไทยเสีย หม่
นักประวัติศาสตร์เฉกเช่น สมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงฯ พูดถึงชาติ แต่
เขียนเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ นักวิชาการรุ่นใหม่ของสังคมเมืองเป็นผู้สร้าง
ความเป็นชาติไทยในแง่ใหม่คือ หมายถึงราษฎรไทย และให้ราษฎรมีบทบาทใน
ประวัติศาสตร์
พ.ศ. ๒๔๗๑ ข้าราชการระดับกลาง ขุนวิจิตรมาตรา (สง่ำ กำ จนำค-
พัน ธุ ์ ) พิม พ์ ห นัง สือ ท เขาได้ ข ้ อ มู ล มาจากเทอเรีย ง เดอ ลาคูเ ปรี
(Terrien de Lacouperie) ชาวฝรั่งเศสซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องจีน และหมอ
สอนศาสนาชื่อ วิลเลียม ี. ดอดด์ (William C. Dodd) คนหลังนี้เดินทางไป
เยือนจีนตอนใต้ และเขียนหนังสือ น า ท (The Tai Race, ค.ศ. ๑๙๒๓)
เกี่ยวกับกลุ่มต่างๆ ที่พูดภาษาตระกูลไทที่นั่น เขาเสนอว่า ไท นี้ถือก�าเนิดขึ้น
เมื่อ ๒,๐๐๐ ปีก่อนคริสตกาลทางตอนเหนือของจีน ต่อมาเคลื่อนตัวลงมาทาง
ใต้โดยแบ่งออกเป็น “การอพยพครั้งใหญ่” ๗ ครั้ง และเข้ามาอยู่สยามหลังจาก
ที่อำ ำจักรน่ำนเจ้ำของพวกเขาที่ยูนนำนถูกท�าลายไป
ขุนวิจิตรมาตราเรียบเรียงเรื่องราวดังกล่าวในหนังสือ ท เป็น
ประวัติศาสตร์ประเภทใหม่ที่มีชนชาติเป็นแกนกลางไม่ใช่ราชวงศ์ดังในกรณี
ประวัติศาสตร์ของสมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงฯ ขุนวิจิตรมาตราขยายความเรื่อง
การอพยพของคนไทยย้อนกลับไปในอดีต โดยเสนอว่า คนไทยต้องมำจำกเขต
ภูเขำอัลไต “อันเป็นบ่อเกิดของพวกมงโกลด้วยกัน” ๒๗ นอกจากนั้นเขาขยาย
ประวัติศาสตร์มาถึงปัจจุบัน และได้แสดงแผนที่ของดินแดนที่สูญเสียไป สืบ
เนื่องจากการท�าสนธิสัญญากับฝรั่งเศสที่อินโดจีน ซึ่งดินแดนที่สูญเสียไปนั้น
รวมทั้งเขมรและลาว เป้าประสงค์ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า ไทย “เป็นชาติมนุษย์
ที่นับว่าส�าคัญของโลกจ�าพวกหนึ่ง” ๒๘
พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวำทกำร) กลับจากฝรั่งเศส
พ.ศ. ๒๔๗๐ เป็นนักเขียนสารพัดเรื่อง นักหนังสือพิมพ์ นักจัดรายการวิทยุ
เขาดัดแปลงเนื้อเรื่องในประวัติศาสตร์ของขุนวิจิตรมาตรา น�ามาใส่ไว้ในงานชุด
า า (พ.ศ. ๒๔๗๒) ของเขา หลวงวิจิตรฯ เสนอว่าแกนกลาง
ประวัติศาสตร์ทุกประเทศคือการก้าวหน้าของชนชาติมาเป็นประเทศชาติ และ
ให้ประวัติของชนชาติไทยมีแห่งที่ในประวัติศาสตร์โลกเคียงบ่าเคียงไหล่กับประ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


เทศอื่นๆ เขาทึกทักว่าไทยเป็นชนชาตินักรบสอดคล้องกับรูปด้ามขวานของ
แผนที่ประเทศ ประวัติศาสตร์สากล นี้เป็นหนังสือยอดขายดีเล่มแรกที่ไม่ใช่
นวนิยายของไทยก็ว่าได้ ส่วนหนังสือ หลักไทย ของขุนวิจิตรมาตรา ได้รับพระ
ราชทานรางวัลจากรัชกาลที่ ๗ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑
นักเขียนอื่น อยำกจะปรับภำษำไทยให้เป็นรำกฐำนของควำมเป็นไทย
อีกทั้งเป็นแหล่งที่มำของวิถีชีวิตและวั นธรรมดั้งเดิม พวกเขาวิจารณ์การใช้
ค�าภาษาอังกฤษมากขึ้น แนวโน้มที่รัฐบาลมักนิยมค�าสันสกฤตเมื่อคิดค�าใหม่ๆ
ค�าราชาศัพท์ที่มาจากภาษาเขมร และวิจารณ์ราชส�านักที่ใช้ค�าน�าหน้าต�าแหน่ง
ยาวๆ ว่า ท�ำให้พั นำกำรของชำติช้ำลง ศัพท์น�ำเข้ำเหล่ำนี้ไม่เหมำะสมกับคน
สยำม ึ่งมีควำมเป็นไท และเป็นภัยกับอิสรภำพของประเทศ พวกเขาอยาก
ท�าให้ภาษาไทยเป็นค�าง่ายๆ อยากให้ยกเลิกค�าน�าหน้าต�าแหน่งยาวๆ ที่ก�าหนด
สถานภาพสังคม และเป็นต้นเหตุของความแตกแยกในชาติและยังขัดแย้งกับ
หลักการประชาธิปไตย ความเรียง ๙ ตอนซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ศรีกรุง
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ พูดถึงว่า “ชีวิตของชำติไทยอยู่ที่ภำษำไทยโดยตรง” ๒๙
ชาตินิยมสามัญชน เปลี่ยนนิยาม “ชาติ” จากผู้คนที่อยู่ในเขตแดนที่
ก�าหนดและร้อยรัดกันด้วยความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ มาเป็นชุมชน
ของคนที่มีเชื้อชาติเดียวกัน มีประวัติศาสตร์ยาวนานร่วมกัน และพูดภาษา
เดียวกัน

ลูกจีนกับกระ สชาตินิยม
วาทกรรมว่าด้วยชาติและชาตินิยม ก่อความยุ่งยากให้กับชาวสยามซึ่ง
มีเชื้อสายจีน
ส�าหรับโลกใหม่ที่ประกอบด้วยชาติต่างๆ ประเด็นเรื่องถิ่นก�าเนิดและ
อัตลักษณ์ ต้องมีความชัดเจนคล้ายๆ กับเรื่องเขตแดน พ.ศ. ๒๔๕๒ เมืองจีน
ออกกฎหมายยอมให้ชาวจีนโพ้นทะเล ซึ่งเกิดจากบิดาที่เป็นคนจีนมีเชื้อชาติจีน
ได้ พ.ศ. ๒๔๕๖ สยามออกกฎหมายให้ “เชื้อชำติไทย” แก่ผู้ที่บิดาเป็นคนไทย
หรือผู้ที่เกิดในเขตแดนของประเทศไทย ข้อก�าหนดข้อหลังนี้เปิดโอกาสให้ลูก
หลานชาวจีนอพยพ “กลำยเป็นคนไทย” แต่กฎหมายจีนหมายความว่า ชำวจีน

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ในเมืองไทยอำจจะมี ๒ เชื้อชำติ ดังนั้น จึงเพิ่มมิติความซับซ้อนให้กับประเด็น
เรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
จุดนี้ส�าคัญ เพราะว่าชาติในขณะนี้มีความหมายใหม่ทางการเมือง พ.ศ.
๒๔๕๑ ุนยัดเ ็น ผู้น�าจีนเยือนกรุงเทพฯ เพื่อเรี่ยไรเงินเอาไปรณรงค์ล้มจักร
พรรดิจีน และก่อตั้งรัฐชาติจีนขึ้น คนจีนในเมืองไทยสนับสนุนเขาอย่างเต็มที่
พรรคกกมินตังของซุนยัดเซ็นอุดหนุนหนังสือพิมพ์จีนที่กรุงเทพฯ และหนังสือ
พิมพ์นี้พิมพ์งานเขียนที่สนับสนุนความคิดชาตินิยมและการปฏิวัติ รัฐบาลไทย
เป็นกังวลที่ชุมชนจีนในไทยเข้าพัวพันกับการเมืองจีน และกลัวว่าแนวคิดระบอบ
สำธำร รัฐ และกำรป ิวัติจะชักน�าให้คนไทยสนใจเห็นการเปลี่ยนแปลงใน
สยามด้วย ไม่น่าแปลกใจที่รัฐบาลไทยหวาดกลัว เพราะในขณะนั้นนายปรีดี
พนมยงค์ ซึ่งต่อมาน�าการปฏิวัติสยาม พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้แรงบันดาลใจทางการ
เมืองเมื่อเขาได้ฟังการโฆษณาชวนเชื่อของพรรคก๊กมินตั๋งที่ตลาดอยุธยา กลุ่ม
นายทหารมีแผนการล้มล้างกษัตริย์ที่กล่าวถึงข้างต้นเกิดขึ้น ๔ เดือน หลังจาก
ที่ซุนยัดเซ็นโค่นล้มราชวงศ์แมนจูเมื่อปี ๒๔๕๔
ความกริ่งเกรงของราชส�านักทวีขึ้น เพราะชาวจีนกลุ่มใหม่เพิ่มขึ้นเร็ว
มาก พวกเขาครอบง�าการลงทุนและเป็นส่วนใหญ่ของคนงานในเมือง มิถุนายน
พ.ศ. ๒๔๕๓ คนจีนนัดหยุดงานครั้งใหญ่ท�าให้กรุงเทพฯ เป็นง่อยถึง ๓ วัน
พระมงกุฎเกล้าฯ ทรงเตือนให้ระวังถึงมหาภัยของคนจีน๓๐ และในทศวรรษ
๒๔๖๐ และ ๒๔๗๐ มีชาวจีนอพยพเข้ามาอีกระลอกใหญ่ เพิ่มคนในสยามขึ้น
อีกครึ่งล้านคน
ทัศนคติของราชส�านักต่อคนจีนได้รับอิทธิพลจาก รั่ง ในช่วงเวลา
นั้นฝรั่งมักให้ภาพอารยธรรมจีนอยู่ในภาวะเสื่อมสลาย ชนชั้นน�าสยามกระตือ
รือร้นที่จะเป็นผู้ศิวิไลซ์ จึงด�าเนินรอยตามฝรั่ง พระมงกุ เกล้าฯ ทรงเอาอย่าง
ชนชั้นอภิสิทธิ์ที่ยุโรปซึ่งปราบชาวยิว ทรงเรียกคนจีนว่าเป็น “ยิวแห่งบูรพำทิศ”
พ.ศ. ๒๔๕๖ ทรงพระราชนิพนธ์ความเรียงภายใต้ชื่อเรื่องดังกล่าวว่าชาวจีน
ปฏิเสธที่จะปรับตัวรับวัฒนธรรมสยาม ขาดความจงรักภักดี คาดหวังว่าจะได้
อภิสิทธิ์ บูชาเงินเป็นพระเจ้า และเป็นกาฝากเศรษฐกิจ เสมือน “ตัวบ่ำงที่ดูจ
เลือดแห่งคนฉนั้น ” ๓๑
พระราชนิพนธ์อื่นๆ ของพระองค์ ทรงชี้ความต่างระหว่างคนจีนซึ่งตั้ง
รกรากและกลายเป็นคนไทย เช่น เจ้าสัวขุนนางหรือพ่อค้าใหญ่ กับคนจีนซึ่งมา
อยู่แบบชั่วครั้งชั่วคราวเป็นกุลีรับจ้าง นโยบายรัฐบาลสอดคล้องกับการแบ่งคน

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


จีนออกเป็นชนชั้นดังกล่าว ลูกจ้างผู้ใดนัดหยุดงานถูกจ�าคุกหรือเนรเทศ ขณะ
ที่นักธุรกิจอยู่รอดปลอดภัย
กกมินตังมีสภาพผิดกฎหมายเหมือนองค์กรการเมืองอื่นๆ แต่ก็ปฏิบัติ
งานได้ โดยเฉพาะในกลุ่มนักธุรกิจชั้นน�า มีหอการค้าจีนอยู่หน้าฉาก ผู้น�าของ
ก๊กมินตั๋งบางคนอยู่ใต้สิทธิสภาพนอกอาณาเขต เช่น เ ียว ุดเส็ง หัวหน้าของ
ทั้งก๊กมินตั๋งและหอการค้าจีนเกิดที่สยาม แต่ได้รับการคุ้มครองจากอังกฤษ
เนื่องจากบิดาเป็นจีนฮกเกี้ยนมาจากมะละกา เป็นเจ้าของโรงสีข้าว ประสบความ
ส�าเร็จที่สยาม พ.ศ. ๒๔๗๑ ก๊กมินตั๋งหาสมาชิกที่สยามได้ประมาณ ๒๐,๐๐๐
คน
พ.ศ. ๒๔๖๗ เกิดกลุ่มฝ่ายซ้ายขึ้นในขบวนการกกมินตัง ซึ่งสะท้อน
การพุ่งขึ้นของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในก๊กมินตั๋งที่เมืองจีน และแสดงให้เห็นพัฒนา
การของนักวิชาการอิสระที่สยามเองด้วย ในกลุ่มนี้หลายคนเป็นครูโรงเรียนจีน
หรือเป็นนักเขียนให้กับหนังสือพิมพ์จีนที่กรุงเทพฯ เมื่อเจียงไคเช็กก�าจัดฝ่าย
คอมมิวนิสต์ออกไปจากก๊กมินตั๋งที่เซี่ยงไฮ้เมื่อปี พ.ศ ๒๔๗๐ นักเคลื่อนไหว
หลายคนหนีมาอยู่ที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งที่สยาม ปเดียวกันนั้นเอง
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงระบุชาวจีนเป็น ๑ ใน ๗ “ปัญหาของสยาม” ทรง
ตั้งข้อสังเกตถึงจ�านวนจีนอพยพที่พุ่งขึ้น ทรงปรารภว่าคนจีนในสยาม “ตั้งใจ
คงความเป็นจีนไว้” พร้อมน�าอันตรายที่มากับ “ควำมคิดใหม่ ในจีนที่แทรก ึม
เข้ำมำ” ทรงปรารภว่า “จะท�ำอย่ำงไรจึงจะท�ำให้ชำวจีนกลำยเป็นสยำมเหมือน
ในอดีตผ่ำนมำ” ๓๒
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ กองทัพญี่ปุ่นปะทะกับกองก�าลังก๊กมินตั๋งที่
จี้หนาน บนคาบมหาสมุทรชานดองประเทศจีน ทหารฝ่ายก๊กมินตั๋งเสียชีวิต
และบาดเจ็บ ๕,๐๐๐ คน เหตุการณ์นี้ปลุกเร้าความรู้สึกชาตินิยมจีนขึ้นมาก
ผู้น�าชาวจีนที่กรุงเทพฯ เคลื่อนไหวเพื่อคว�่าบาตรสินค้าญี่ปุ่น จนท�าให้สินค้า
ญี่ปุ่นสู่ไทยลดลงครึ่งหนึ่งทันที รัฐบาลไทยพยายามปิดกั้นไม่ให้แนวคิดปฏิวัติ
กระจายตัวไปอย่างกว้างขวาง เริ่มต้นด้วยจับกุมผู้ที่แจกใบปลิวเรียกร้องให้คน
งานและชาวนาไทยลุกฮือขึ้น สั่งห้ามงานเขียนของซุนยัดเซ็นซึ่งมีนักธุรกิจลูกจีน
แปลเป็นไทย แต่รัฐบาลไทยก็ยังหลีกเลี่ยงที่จะขัดแย้งกับชุมชนจีนในเมืองไทย
แบบตรงๆ ไม่ได้ห้ามการต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น และไม่ได้จ�ากัดการเข้ามาของชาว
จีนอพยพอย่างจริงจัง หลังจากที่ “หอการค้าจีน” ออกมาต่อต้านมาตรการดัง
กล่าว

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
“ชาตินิยมจีน” เกิดขึ้นเคียงคู่ไปกับ “ชาตินิยมไทย” แม้ว่าจะเป็น
ภาวะที่กระอักกระอ่วน ในด้านหนึ่ง ชาวจีนหลายคนในเมืองไทย ึ่งลงหลัก
ปักฐานค่อนข้างมั่นคงแล้วให้ความสนใจกับชาตินิยมไทยที่ก�าลังก่อตัวรวดเร็ว
พวกเขาไม่พอใจที่พระมงกุฎเกล้าฯ ทรงพัดกระพือความรู้สึกไม่เป็นมิตรกับ
พลเมืองไทยเชื้อสายจีน พวกเขาสนับสนุนหนังสือพิมพ์ภาษาไทยแนวชาตินิยม
สยาม ผนวกค�าไทยเข้ากับนามสกุลที่ยังคงภาษาจีน และก่อตั้งสโมสรจีนสยำม
เพื่อแสดงว่าพวกเขาสนับสนุนชาตินิยมไทย ทศวรรษ ๒๔๗๐ คนจีนสยาม
เหล่านี้มีความหวังว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในการเมืองสยาม
อีกด้านหนึ่ง ผู้สนับสนุนชาตินิยมไทยบางคนเริ่มสร้างจินตนาการว่า
คนจีนเป็นศัตรูของไทย โดยกล่าวหาว่าพ่อค้านักธุรกิจทั้งจีนและฝรั่งนักล่า
อาณานิคม ดูดเลือดคนไทยจนถึงไขกระดูก กลุ่มนี้เสนอว่าชาวจีนอพยพที่เข้า
มาเมืองไทยอย่างล้นหลามท�าให้ “คนไทยไม่มีงำนท�ำในประเทศของตนเอง” ๓๓
จึงเรียกร้องให้รัฐบาลควบคุมสินค้าน�าเข้า จ�ากัดการอพยพเข้าเมืองไทย จัดหา
เงินทุนเพื่ออุตสาหกรรมและช่วยให้คนไทยมีงานท�า หนังสือพิมพ์ที่เป็นกระ
บอกเสียงของกลุ่มฉบับหนึ่งมีชื่อว่า “ไทยแท้”

การป ิวัติ ๒๔๗๕


วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๐ คณะบุคคลทั้ง ๗ นัดพบกันที่กรุงปารีส
และในช่วงสัปดาห์หลังจากนั้นร่วมกันวางแผนท�าการ “ปฏิวัติ” ที่เมืองไทย
คณะบุ ค คลนี้ ป ระกอบด้ ว ย นั ก เรี ย นโรงเรี ย นทหำร คน (รวมทั้ ง แปลก
ขีตตะสังคะ หรือหลวงพิบูลสงครำม) นักเรียนก หมำยหนึ่งคน (ปรีดี พนม-
ยงค์ หรือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม) อีก ๓ คนเป็นนักเรียนวิทยาศาสตร์หนึ่ง
ทนายความหนึ่ง และรองเอกอัครราชทูตที่กรุงปารีสอีกหนึ่ง กลุ่มนี้เรียกตัวเอง
ว่า “คณะราษ ร” โดยใช้ค�าว่า รำษ ร แทนประชาชน เป็นค�าที่หนังสือพิมพ์
ที่กรุงเทพฯ ใช้เพื่อแสดงความตรงกันข้ามกับ “ผู้ปกครอง”
มันสมองหรือผู้น� าของกลุ่มได้แก่ นายปรีดี พนมยงค์ นักเรียนกฎ
หมายที่เปรื่องปราด ขณะนั้นมีอายุได้ ๒๗ ปี (ดูภาพที่ ๑๖) การศึกษาวิชา
กฎหมายตามแนวทางของฝรั่งเศส ท�าให้นายปรีดีมองเห็นความส�าคัญของการ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ภาพที่ ๑ นักป ิวัติที่ปำรีส พ.ศ. ๒๔๗๐ จำก ้ำยไปขวำ ควง อภัยวงศ์,
ปรีดี พนมยงค์, เทพ อภัยวงศ์ และหลวงวิจิตรวำทกำร

ก�าหนดให้พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ จากการศึกษาเศรษฐศาสตร์การ
เมือง นายปรีดีรับเอาแนวคิดหลักในยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ ที่ว่า รัฐ
เป็นเครื่องมือที่ทรงอ�านาจในการน�าสังคมสู่ความเติบโตทางเศรษฐกิจและ
ความเสมอภาคมากขึ้น การประชุมที่กรุงปารีสครั้งนั้น “คณะราษ ร” ก�าหนด
เป้าประสงค์ ๒ ประการ ประการที่หนึ่ง เปลี่ยนพระมหำกษัตริย์ในระบอบ
สมบูร ำ ำสิทธิรำชย์เป็นพระมหำกษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนู ประการที่
สอง ใช้อ�ำนำจรัฐด�ำเนินนโยบำยเพื่อควำมเจริ ด้ำนเศรษฐกิจและด้ำนสังคม
ผ่ำนหลักหกประกำร ซึ่งเป็นข้อสรุปของเนื้อหาที่หนังสือพิมพ์ไทยได้พูดถึงใน
ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ได้แก่ “รักษำควำมเป็นเอกรำชทั้งหลำย...รักษำควำม
ปลอดภัยในประเทศ...บ� ำรุงควำมสุขสมบูร ์ของรำษ รในทำงเศรษฐกิจ...
ให้รำษ รได้มีสิทธิเสมอภำคกัน...ให้รำษ รได้มีเสรีภำพ...ให้กำรศึกษำอย่ำง
เต็มที่” ๓๔
คณะราษ รทั้ง ๗ คนชักชวนนักเรียนอื่นๆ ที่ยุโรปให้เข้าร่วมขบวน
การด้วยอย่างลับๆ และต่อมาขยายเข้าสู่สยามหลังจากที่พวกเขาเดินทางกลับ
บ้าน อีก ๒-๓ ปีต่อมา กลุ่มส�าคัญที่เข้าร่วมขบวนด้วย ได้แก่ นำยทหำรชั้น

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ผู้ให ่ ซึ่งส่วนมากมีพื้นเพเป็นสามัญชน และได้รับการศึกษาจากโรงเรียนทหาร
ที่ยุโรป (โดยเฉพาะที่เยอรมนี) หัวหน้าของกลุ่มนี้คือ พลเอกพระยาพหลพล
พยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ซึ่งอธิบายว่า เขาเข้าร่วมเพราะเกิดความรู้สึก
ว่ารัฐบาลในขณะนั้นมีข้าราชการระดับสูงและพระบรมวงศ์ด�าเนินการต่างๆ
ตามอ�าเภอใจ และไม่พร้อมที่จะให้ความสนใจกับคนตัวเล็กๆ เลย “ในเบื้องต้น
ทีเดียว เกิดควำมรู้สึกว่ำ รำชกำรบ้ำนเมืองในเวลำนั้น ดูพวกข้ำรำชกำรผู้ให ่
และพวกเจ้ำนำยท�ำกันตำมอ�ำเภอใจ ไม่ใคร่จะเอำใจใส่ในควำมเห็นของผู้น้อย” ๓๕
ปลายทศวรรษ ๒๔๖๐ สื่อมวลชนเปลี่ยนจุดเน้นจากบทวิจารณ์ระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นข้อเสนอให้เปลี่ยนการปกครอง มีบทความที่อธิบาย
ความหมายของรัฐธรรมนูญ และประโยชน์ของการมีระบอบรัฐสภามากขึ้น
บ้างสนับสนุนให้มีระบอบสาธารณรัฐ กลุ่มคอมมิวนิสต์ใต้ดินแจกใบปลิวว่า
ด้วยการปฏิวัติ ขณะที่โลกเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต�่าปี ๒๔๗๒ ข้อวิจารณ์
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์พุ่งสู่ขีดสูงสุด เมื่อกลุ่มนักธุรกิจเสนอให้รัฐบาล
ช่วยประคับประคองระบบเศรษฐกิจ
ทว่า พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชปรารภแบบเสียดสี “
า นี แ า า า ทา แผน า า
๓๖
ี ี น่น และใน พ.ศ. ๒๔๗๐ รัฐบาลของพระองค์ก�าหนด
ให้การสอนวิชาเศรษฐศาสตร์เป็นความผิดทางอาญา
รัฐบาลพยายามที่จะจัดท�างบประมาณโดยไม่ให้ขาดดุล โดยได้ปลด
ข้าราชการออก ตัดงบประมาณด้านการศึกษา และเพิ่มภาษีเงินได้ส�าหรับผู้มี
เงินเดือนประจ�า รัฐบาลตรวจสอบพบการคอร์รัปชั่นในหลายหน่วยงาน แต่
ข้าราชการชั้นผู้น้อยเท่านั้นที่โดนลงโทษ เมื่อรัฐบาลยังคง ระบบมาตรฐานทองค�า
(gold standard) เอาไว้ตามค�าแนะน�าของที่ปรึกษาฝรั่ง ถูกวิจารณ์ว่าท�าให้ค่า
เงินบาทเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ส่งออกข้าวได้น้อยลง และตอกย�้าว่าไทยอยู่ภายใต้
การชี้น�าของต่างชาติ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๕ พระปกเกล้าฯ ตรัส
กับนายทหารว่า

การที่จะรบกับการเงินนั้นย่อมมืดแปดด้าน แม้แต่ผู้ที่
เป็นเอกซเปอด ก็เถียงกันคอแตก...ไม่เคยประสพการยากล�าบาก
เช่นนี้เลย เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่าจะพลาดพลั้งไปบ้าง ก็หวังว่าจะ
ได้รับอภัยจากข้าราชการและประชาชนชาวสยาม ๓๗

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ข้าราชการระดับสูงบางคนไม่พอใจสถานการณ์ดังกล่าวอย่างยิ่ง รัฐบาล
ร่างกฎหมายต่อต้านบอลเชวิค (พรรคฝ่ายซ้ายที่รัสเซียซึ่งต้องการล้มระบบซาร์)
แต่ต่อมาปรับให้เป็นกฎหมายควบคุมผู้มีความเห็นขัดแย้งกับรัฐบาล โทษสูงสุด
ถึงประหารชีวิต หนังสือพิมพ์ถูกปิดมากขึ้น มีการใช้ความรุนแรงข่มขู่นักหนังสือ
พิมพ์บางคน รัฐบาลใช้กฎหมายคนเข้าเมืองเนรเทศนักเขียนปากกล้าหลายคน
ต้น พ.ศ. ๒๔๗๕ รัฐบาลได้รับ ีกาหลายฉบับจากชาวนาและนักธุรกิจ
เรียกร้องให้ด�าเนินนโยบายเศรษฐกิจเสียใหม่ หนังสือพิมพ์และวารสารต่างๆ
ลงบทความวิเคราะห์ปัจจัยซึ่งมีผลต่อความเจริญและความเสื่อมถอยของชาติ
มีข่าวลือตามร้านกาแฟว่าจะมีการปฏิวัติ พระบรมวงศ์ที่เป็นเสนำบดีองค์หนึ่ง
เสนอว่ำ พระมหำกษัตริย์ควรมีแผนกำรศึกษำเพื่อสนับสนุนระบอบสมบูร ำ ำ
สิทธิรำชย์ ตามแบบอย่างที่มุสโสลินีท�าเพื่อส่งเสริมลัทธิฟาสซิสม์ที่อิตาลี แต่
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชด�าริว่า

ความนิยมและนับถือในองค์สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอย่าง
ที่เคยเป็นมาก่อน ฉันเห็นว่าจะกลับฟื้นขึ้นอย่างแต่ก่อนไม่ได้อีก
แล้ว เพราะว่าคนที่เป็นบิดาของเด็กๆ ที่ก�าลังเรียนอยู่เดี๋ยวนี้เคย
ชินและชอบการนินทาพระเจ้าแผ่นดินเสียจนติดตัวแล้ว ๓๘

เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ คณะราษ รมีสมาชิกประมาณ ๑๐๐ คน


เป็นนายทหารประมาณครึ่งหนึ่ง พวกเขาใช้เวลาประมาณ ๓ ชั่วโมงในเช้าวัน
ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ จับกุมผู้บัญชาการทหารรักษาพระองค์ จับกุมพระ
บรมวงศ์และคนสนิทประมาณ ๔๐ ราย และประกาศว่าระบอบสมบูรณาญา
สิทธิราชย์ได้ถูกโค่นล้มลงแล้ว ความไม่พึงพอใจระบอบที่มีอยู่สูงท� าให้การ
ปฏิวัติประสบความส�าเร็จ ประชาชนเข้าคิวเพื่อสมัครเป็นสมาชิกคณะราษฎร
กลุ่มธุรกิจและคนงานต้อนรับการปฏิวัติ จดหมายแสดงการสนับสนุนหลั่งไหล
เข้ามาจากเขตภูธร ผู้ท่ีต่อต้านมีน้อยและไร้ความส�าคัญ มีเหตุการณ์ยิงกัน
เพียงครั้งเดียวและไม่มีใครเสียชีวิต นายปรีดี พนมยงค์อธิบายว่า ค ะรำษ ร
ท�ำกำรป ิวัติเพื่อสร้ำงเศรษฐกิจชำตินิยม เพื่อควำมเป็นธรรมในสังคม เพื่อ
มนุษยธรรม และให้มีกำรบังคับใช้ก หมำยกับทุกคนโดยไม่มีข้อยกเว้น ตำม
หลักกำรนิติรัฐ ดังข้อความในประกาศคณะราษ ร ฉบับที่ ๑

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
กษัตริย์คงทรงอ�านาจเหนือกฎหมายอยู่ตามเดิม ทรง
แต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณความรู้ ให้ด�ารงต�าแหน่ง
หน้าที่ส�าคัญๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร์ ปล่อยให้ข้าราชการใช้อ�านาจ
หน้าที่ในทางทุจริต รับสินบนในการก่อสร้างซื้อของ...ยกพวกเจ้าขึ้น
ให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร ปกครองโดยขาดหลักวิชา...ปล่อยให้
บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม ดังที่จะเห็นได้จากความตกต�่าใน
ทางเศรษฐกิจและความฝืดเคืองในการท�ามาหากิน...รัฐบาลของ
กษัตริย์เหนือกฎหมายมิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้...ก็เพราะรัฐบาล
ของกษัตริย์มิได้ปกครองประเทศเพื่อราษฎร...รัฐบาลของกษัตริย์
ได้ถือเอาราษฎรเป็นทาส (ซึ่งเรียกว่า ไพร่บ้าง ข้าบ้าง) เป็นสัตว์
เดียรัจฉาน ไม่นึกว่าเป็นมนุษย์...๓๙

ค ะอภิรัฐมนตรี และ กรรมกำรองคมนตรี ถูกเพิกถอน พระญาติ


และผู้นิยมเจ้าประมาณ ๑๐๐ คน ถูกปลดออกจากต�าแหน่งทั้งฝ่ายทหารและ
พลเรือนระดับสูง วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ คณะราษ รประกาศรัฐธรรมนูญ
เริ่มต้นด้วยข้อความในมาตรา ๑ ว่า “อ�านาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษ ร
ทั้งหลาย” รัฐธรรมนูญฉบับนี้สถาปนารัฐบาลในรูปของสภำผู้แทนรำษ ร และ
“ค ะกรรมกำรรำษ ร”
คณะราษฎรยึดอ�านาจได้อย่างง่ายดาย แต่ในเบื้องลึกสถานการณ์ไม่
ราบรื่น ช่วงค�่าของวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ นั้นเอง พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
และผู้ใกล้ชิดประชุมกันเพื่ออภิปรายกันว่า “จะยอมตำมค�ำเรียกร้องของค ะ
รำษ รหรือจะต่อสู้” ๔๐ ฝ่ายทหารในที่ประชุมต้องการเคลื่อนก�าลังจากเขตภูธร
เพื่อยึดพระนคร พระปกเกล้าฯ ทรงปฏิเสธการกระท�าใดๆ ึ่งจะน�าไปสู่ความ
รุนแรงจนมีการสูญเสียเลือดเนื้อ และทรงตัดสินพระทัยที่จะร่วมมือกับคณะ
ราษ ร แต่ ายนิยมเจ้าก็ได้จัดตั้งองค์กรขึ้นมาด้วยจุดประสงค์ที่จะยึดอ�านาจ
คืน พวกเขากระจายข่าวลือว่าการปฏิวัติเป็นแผนการของ “คอมมิวนิสต์” ท�า
การติดต่อกับอุปทูตของประเทศมหาอ�านาจ ขอให้เข้าแทรกแซงเพื่อก�าจัดภัย
คอมมิวนิสต์นี้เสีย อดีตอธิบดีกรมต�ารวจจ้างคนขับรถลากให้นัดกันหยุดงาน
และสร้างความวุ่นวายที่พระนคร
คณะราษฎรตั้งป้อมป้องกันส�านักงานของพวกเขา บางคนพกปืนเพื่อ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ป้องกันตัว และด�าเนินการอย่างระมัดระวัง พวกเขาขอพระราชทานอภัยโทษ
ที่ได้ใช้ค�าค่อนข้างจะรุนแรงกับพระมหากษัตริย์ในประกาศคณะราษฎรฉบับ
ที่ ๑ และเห็นพ้องกับค�าแนะน�าของพระองค์ที่ทรงเสนอให้ถือว่ารัฐธรรมนูญ
ของคณะราษฎรเป็นฉบับชั่วคราว และพระองค์ควรมีส่วนร่วมในการร่างฉบับ
ถาวร คณะราษฎรยอมให้ข้าราชการชั้นอาวุโส ๒๕ นาย เข้าเป็นสมาชิกของ
สภาผู้แทนราษ รชั่วคราว และเชื้อเชิญข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ๘ นายให้จัดตั้ง
รัฐบาลชุดแรก โดยมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ก้อน หุตะสิงห์ เป็นหัวหน้า
รัฐบาล พระยามโนปกรณ์ฯ เป็นสมาชิกขององคมนตรีในจ�านวนไม่กี่รายซึ่ง
ไม่ใช่พระญาติ และภริยาเคยเป็นนางสนองพระโอษฐ์ของพระราชินี รัฐธรรม
นูญฉบับถาวรให้อ�านาจกับพระมหากษัตริย์มากขึ้น และประกาศใช้ในวันที่
๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ ในฐานะที่เป็นของขวัญจากราชส�านัก
เบื้องหลังภาพที่ดูราบรื่นนี้ คือการต่อสู้กันอย่างถึงพริกถึงขิงระหว่าง
กลุ่มอ�านาจเก่าและใหม่ในช่วง ๓ ปีต่อมา โดยประเด็นความขัดแย้งส�าคัญสอง
เรื่องเกี่ยวโยงกับพระราชสมบัติและอ�านาจตามรัฐธรรมนูญของพระมหากษัตริย์
หนังสือพิมพ์หลายฉบับพยายาม “สืบสวนน� าจ�านวนทรัพย์สมบัติ”
ของเจ้ามาเปดเผย เช่น หนังสือพิมพ์หลักเมือง อ้างว่า “ทรัพย์สินของของเจ้ำ
เมืองไทยเรำนี้แต่ละองค์มำกกว่ำเงินทุนของสยำม” ๔๑ และเร่งเร้าให้รัฐบาล
ใหม่ยึดที่ดินจากพระราชวงศ์และตระกูลอภิสิทธิ์ชน และให้ใช้ทรัพย์สมบัติ
เหล่านี้ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ รัฐบาลไม่ได้ด�าเนินรอยตามข้อเสนอนี้ แต่ได้เตรียม
ออก พ.ร.บ.มรดก และภำษีมรดก ขณะเดียวกันนายปรีดีได้ร่างเค้าโครงการ
เศรษฐกิจ มีข้อเสนอหลักชักชวนให้น�าที่ดินทั้งหมดกลับมาเป็นของชาติโดย
ความสมัครใจ
ข้อเสนอดังกล่าวท�าให้พระราชวังตระหนกตกใจ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงพระญาติว่า “ฉันฉุนเหลือเกิน อยำกเล่นบ้ำอะไร
ต่ำง จัง แต่กลัวนิดหน่อยว่ำพวกเจ้ำจะถูกเชือดคอหมดเท่ำนั้น...เรำอยู่ที่นี่ก็
คิดแปลนอะไรกันต่ำง จนหัวยุ่งเสมอ” ๔๒ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์
า ความเรียงฉบับยาวตอบโต้เค้ำโครงกำรเศรษฐกิจของนายปรีดี โดย
ทรงเห็นว่า “เค้ำโครงกำรเศรษฐกิจ” ของนายปรีดีเป็น “อันเดียวอย่ำงแน่นอน
กับที่ประเทศรัสเ ียใช้อยู่ สตำลินจะเอำอย่ำงหลวงประดิษฐ์ หรือหลวงประ
ดิษฐ์ จะเอำอย่ำงสตำลิน ก็ตอบไม่ได้” ๔๓

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ทรงยืนยันว่าพระมหากษัตริย์ควร
เป็นผู้แต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกึ่งหนึ่ง และมีอ�านาจยับยั้งกฎหมาย แต่
นายปรีดีต้านทานข้อเสนอดังกล่าวได้ส�าเร็จ ทรงกดดันให้พระยามโนปกรณ์ฯ
และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่อื่นๆ ในรัฐบาลแยกตัวออกจากคณะราษฎร พระยา
มโนปกรณ์ฯ ชักชวนให้คณะรัฐมนตรีปฏิเสธเค้าโครงการเศรษฐกิจของนายปรีดี
และส่งกองทหารไปข่มขู่สภาผู้แทนราษฎรให้ปฏิเสธเช่นเดียวกัน เมื่อสภาไม่
ยอมท�าตาม พระยามโนปกรณ์ฯ จึงยุบสภาด้วยเหตุผลที่ว่าเค้าโครงการเศรษฐ
กิจนั้น “ไปในทำงอันมีลักษ ะเป็นคอมมิวนิสต์...เป็นตรงกันข้ำมแก่ขนบธรรม
เนียมประเพ ีของชำวสยำม” ๔๔ นายปรีดีลี้ภัยไปต่างประเทศ และผู้สนับสนุน
เขาถูกถอดถอนออกจากคณะรัฐมนตรี นายพลผู้นิยมเจ้าสองนายได้รับการ
เลื่อนชั้นให้สูงขึ้น และนายทหารระดับล่างที่เป็นฝ่ายคณะราษฎรถูกย้ายออกไป
ต่างจังหวัด รัฐบาลผ่านพระราชบัญญัติคอมมิวนิสต์อย่างรวดเร็ว และให้นิยาม
ว่า “คอมมิวนิสต์” คือทฤษฎีที่ยกเลิกทรัพย์สินส่วนบุคคลเป็นบางส่วนหรือโดย
สิ้นเชิง

แต่ชัยชนะของพระยามโนปกรณ์ฯ อยู่ได้ไม่นาน ปหนึ่งต่อมาใน


เดือนมิถุนายน ๒๔๗๖ นายทหารหนุ่ม ายคณะราษ รก่อการรัฐประหาร
เพิกถอนรัฐบาลพระยามโนปกรณ์ฯ และถอดถอนผู้นิยมเจ้าออกจากกองทัพ
หลายคน คณะรัฐประหารแต่งตั้งนายทหารชั้นผู้ใหญ่ด�ารงต�าแหน่งรัฐมนตรี
แต่เลือกสรรอย่างพิถีพิถัน เชิญนายปรีดีกลับประเทศ

ายนิยมเจ้าสร้างข่าวลือว่าจะมีการจลาจล ึ่งจะเปดช่องให้ต่างชาติ
เข้าแทรกแ ง เดือนตุลาคม กลุ่มนายทหารฝ่ายนิยมเจ้าซึ่งบางคนถูกคณะ
ราษฎรถอดถอนออกจากต�าแหน่งเมื่อ ๒-๓ เดือนก่อนหน้านี้ คุมกองก�าลังก่อ
การกบฏ โดยมีพระองค์เจ้าบวรเดชเป็นหัวหน้า พระองค์เจ้าบวรเดชทรงเป็น
พระญาติของพระปกเกล้าฯ และทรงเป็นอดีตเสนาบดีกลาโหมก่อนปี ๒๔๗๕
กลุ่มกบ ตั้งใจน�ำ กองทหำรจำกต่ำงจังหวัดเข้ำยึดพระนคร แต่เพียง
กองเท่ำนั้นที่ผ่ำนเข้ำมำถึงชำนเมือง ที่เหลือถูกปดกั้น กองก�ำลังที่พระนคร
ปกปองค ะรำษ รเต็มที่ ภำคธุรกิจเอกชนและองค์กรต่ำง รวบรวมเงินและ
สมัครใจช่วยบริกำรด้ำนต่ำง เพือ่ ช่วยปกปองพระนคร

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ไม่มีฝ่ายไหนอยากให้ความขัดแย้งบานปลายเป็นการรบพุ่งกัน และ
การปะทะกันก็ดูเหมือนเป็นไปเพื่อขู่ขวัญซึ่งกันและกันมากกว่า คณะราษ ร
ประกาศทางวิทยุกระจายเสียงและแจกใบปลิวประณามการกระท�าของกลุ่ม
พระองค์เจ้าบวรเดชว่าเป็นการกบฏและโจรผู้ร้าย ายพระองค์เจ้าบวรเดช
ตอบโต้ด้วยการโปรยใบปลิวจากเครื่องบิน กล่าวหาคณะราษ รว่าคุมขังพระ
ปกเกล้าฯ ไว้ หลังจากยิงปืนใหญ่ใส่กัน ฝ่ายพระองค์เจ้าบวรเดชถอยร่นไป
ตั้งรับที่โคราช และต่อมาไม่ช้าบุคคลระดับน�าฝ่ายกบฏหนีไปต่างประเทศโดย
ส่วนใหญ่ไปไซ่ง่อน มีผู้เสียชีวิต ๒๓ ราย คณะราษฎรจับกุมที่เหลือและจ�าคุก
๒๐๓ ราย นายทหารชั้นผู้ใหญ่ ๒ รายถูกด�าเนินคดีและได้รับโทษประหารชีวิต
เจ้าฟ้าพระองค์หนึ่งต้องโทษจ�าคุกตลอดชีพ ช่วง ๒ ปีต่อมา มีความพยายาม
ก่อการรัฐประหารโค่นล้มคณะราษฎรอีก ๒ ครั้ง ส�าหรับครั้งแรกนั้นพระราช
วงศ์ ๒ พระองค์ และผู้ร่วมก่อการอีก ๑๓ คนถูกจ�าคุก
เมื่อกบฏบวรเดชเกิดขึ้น พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชด�าเนินทางเรือไป
ภาคใต้ไม่ได้ทรงสนับสนุนอย่างเปิดเผย ภายหลังทรงขอให้มีนิรโทษกรรมแก่
ฝ่ายกบฏ ค ะรำษ รเชื่อว่าพระองค์ทรงช่วยวางแผนและการเงิน ซึ่งต่อมามี
หลักฐานว่าทรงให้เงินและก�าลังใจ ๔๕ หลังจากการเจรจาต่อรองเป็นเวลานาน
พระองค์ทรงยินยอมเสด็จกลับพระนคร แต่เสด็จประพาสยุโรป ๓ เดือนหลัง
จากนั้นด้วยเหตุผลว่า เสด็จพระราชด�าเนินไปรักษาพระองค์ ขณะประทับที่
ยุโรป ทรงปฏิเสธที่จะลงพระปรมาภิไธยกฎหมายที่ผ่านสภา รวมทั้งพระราช
บัญญัติที่พระองค์ทรงเชื่อว่าจะท�าให้พระคลังข้างที่เข้าอยู่ใต้การควบคุมของ
รัฐบาล และท�าให้พระมหากษัตริย์ต้องทรงเสียภาษีมรดก นอกจากนั้นทรงไม่
เห็นด้วยกับประมวลกฎหมายใหม่ที่จะลดพระราชอ�านาจ รัฐบาลร้องขอให้เสด็จ
พระราชด�าเนินกลับประเทศ แต่พระปกเกล้าฯ ทรงเรียกร้องให้รัฐบาลเปลี่ยน
เนื้อหาของ “รัฐธรรมนูญ” เพื่อเพิ่มพระราชอ� านาจ รวมทั้งให้ทรงมีอ� านาจ
ยับยั้งก หมายได้ เดือนมีนาคม ๒๔๗๘ ขณะประทับที่ยุโรป ทรงประกาศ
สละราชสมบัติ
รัฐบาลเลือกพระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระภาติยะของพระปกเกล้าฯ
เป็นผู้สืบราชสมบัติต่อไป ในขณะนั้นยังทรงพระเยาว์ (๑๐ ชันษา) และยังทรง
ศึกษาอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ หลังจากนั้นเป็นเวลาถึง ๑๖ ปี ประเทศไทยไม่มี
พระมหากษัตริย์ประทับอยู่ในประเทศ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ความเจริญ ละความชอบ รรม
ความพ่ายแพ้ของ กบ บวรเดช ยุติการต่อสู้กันในที่เปิดเผย ค ะ
รำษ รจ�าต้องส�าแดงให้เห็นว่า รัฐบาลหลังสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สามารถที่
จะตอบสนองความมุ่งหวังของสังคมที่ก�าลังผันแปร
หลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ คณะราษฎรแบ่งออกได้เป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มพลเรือน น�าโดยนายปรีดี พนมยงค์ และกลุ่มทหาร น�าโดยนายแปลก
ขีตตะสังคะ หรือหลวงพิบูลสงคราม แต่ละกลุ่มมีทัศนคติแตกต่างเกี่ยวกับ
บทบาทและเป้าประสงค์ของรัฐซึ่งพวกเขาได้ยึดมาจากฝ่ายนิยมเจ้า
ทัศนคติด้านการเมืองของนายปรีดีก่อตัวขึ้นมาจากส� านักคิดแนวเสรี
นิยมของฝรั่งเศสผสมกับแนวคิดสังคมนิยมแบบยุโรป บทบาทรัฐนั้นคือจัด
บริบทให้ปัจเจกบุคคลมีโอกาสพัฒนาตัวเองได้อย่างเต็มความสามารถ บริบทนี้
ต้องประกอบด้วย หลักการนิติรัฐ ระบบศาลสถิตยุติธรรม นโยบายเศรษฐกิจ
แผนการศึกษาและสาธารณสุข นายปรีดีได้รับแรงสนับสนุนจากนักธุรกิจ
เอกชน ผู้น�าคนงาน และนักการเมืองต่างจังหวัด ซึ่งคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะ
มีรัฐบาลแนวเสรีนิยมมากขึ้น
หลวงพิบูลฯ และฝ่ายทหาร โดยเปรียบเทียบมักจะมองว่ารัฐคือตัว
ส�าแดงความตั้งใจใฝ่ฝันของประชาชน รัฐมีหน้าที่เปลี่ยนปัจเจกบุคคลโดยใช้
การศึกษา การออกกฎหมาย และการจัดการด้านวัฒนธรรม แม้ว่าจะต่างกัน
มาก แต่ทั้งสองกลุ่มร่วมมือกันมาโดยตลอดจนถึงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ด้วย
เกรงว่าฝ่ายนิยมเจ้าจะท�าการกบฏล้มล้างพวกตนได้ส�าเร็จ
ส�าหรับกลุ่มของนายปรีดีนั้น “ความเจริญ” ึ่งรัฐต้องรับผิดชอบท�าให้
เกิดขึ้น หมายรวมถึงความเจริญทางเศรษฐกิจ ในภาวะเศรษฐกิจซบเซาเมื่อ
ทศวรรษ ๒๔๗๐ พ่อค้า ผู้ประกอบการ และชาวนาต่างเรียกร้องให้รัฐบาลใหม่
ช่วยเหลือพวกเขา รัฐบาลในประเทศต่างๆ ทั่วโลกต้องเข้าแทรกแซงระบบ
เศรษฐกิจเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต�่า ในเมืองไทยมีการร่างแผนเศรษฐกิจ
ถึง ๗ ฉบับเสนอแก่รัฐบาลใหม่ และยังมีข้อเสนอด้านการวางแผนเศรษฐกิจ
อื่นๆ ในหน้าหนังสือพิมพ์อีกหลายฉบับ
เค้าโครงการเศรษฐกิจ ซึ่งนายปรีดีเสนอแก่รัฐบาลใน พ.ศ. ๒๔๗๖ มี
ข้อเสนอหลัก ๒ ประการคือ ประกำรที่หนึ่ง ที่ดินทั้งหมดรัฐบาลจะรับซื้อจาก

  คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ทุกคน “รัฐบาลจะต้องเป็นผู้จัดการเศรษฐกิจเสียเอง” ท�าการเพิ่มผลผลิตต่อไร่
โดยใช้เทคโนโลยีที่ดีกว่าเดิม ให้ชาวนาทุกคนเป็นข้าราชการรับเงินเดือนประจ�า
ประกำรที่สอง รัฐเข้าด�าเนินการลงทุนด้านอุตสาหกรรมและวิสาหกิจการค้า
ทั้งนี้เพื่อทดแทนการน�าเข้า ใช้เงินทุนจากภาษี และเงินกู้จากธนาคารชาติแห่ง
ใหม่ มาตรการเหล่านี้จะสนองความมุ่งหวังของสยามสู่ “ความเจริญ” ด้าน
เศรษฐกิจและฉุดผู้คนออกจากความยากจน มาตรการเหล่านี้จะบ่อนท�าลาย
ฐานเศรษฐกิจของพระราชวงศ์และตระกูลอภิสิทธิ์ชนนิยมเจ้าที่ได้ก่อตัวขึ้นมา
ในรุ่นที่แล้ว โดยที่ได้ใช้อ�านาจรัฐเข้าครอบครองที่ดิน และใช้เงินภาษีเอามา
ลงทุนในธุรกิจ
ภายหลังจากที่เกิดวิกฤตการเมืองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ เค้าโครงการเศรษฐ
กิจของนายปรีดีนี้ถูกลืมเลือนไปอย่างเงียบๆ หลังจากที่พระปกเกล้าฯ ทรงสละ
ราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘ กรมพระคลังข้างที่ถูกแยกออกเป็น ๒ ส่วน คือ
ส่วนที่เป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ หมายถึงทรัพย์สินหรือสิทธิในทรัพย์สินส่วน
พระองค์ของพระมหากษัตริย์ก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ และส่วนที่เป็นทรัพย์สิน
ของสถาบันพระมหากษัตริย์ ได้รับการยกเว้นภาษี ส�าหรับส่วนที่ ๒ นี้ซึ่งส่วน
มากเป็นที่ดินใจกลางกรุงเทพฯ และหุ้นในบริษัท เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ กระ
ทรวงกำรคลังเข้าเป็นผู้บริหารจัดการ แต่ข้อเสนอให้ยึด บังคับซื้อ หรือเก็บภาษี
ทรัพย์สินจากตระกูลอภิสิทธิ์ชนนั้นถูกแขวนไป ครั้นถึงประมาณปี ๒๔๗๘
รัฐมนตรีด้ำนเศรษฐกิจจัดตั้งหลายโครงการช่วยเหลือชาวนาเผชิญปัญหาราคา
สินค้าเกษตรตกต�่าด้วยการเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์ และส่งเสริมการมีงานท�าใน
อาชีพใหม่ๆ แต่มาตรการเหล่านี้ไม่ประสบความส�าเร็จมากนัก เนื่องจากรัฐบาล
ขาดความตั้งใจที่แน่วแน่และกลไกรัฐที่จะด�าเนินการไม่พรั่งพร้อม
กลุ่มของนายปรีดีมุ่งเน้นไปที่รูปแบบอื่นๆ ของ “ความเจริญ” นาย
ปรีดีจัดท�าประมวลกฎหมายใหม่จนเสร็จสิ้น อนึ่ง โครงการนี้เริ่มขึ้นเมื่อทศวรรษ
๒๔๔๐ แต่ถูกประวิงให้ล่าช้ามาโดยตลอด ประมวลกฎหมายใหม่ยกเลิกการ
ให้สิทธิพิเศษกับอภิสิทธิ์ชน ยกเลิกกฎหมายที่ให้มีหลายเมียได้ และยกเลิก
กฎที่ก�าหนดให้บิดามารดาเลือกคู่แต่งงานให้บุตรสาว รัฐบาลของคณะราษ ร
เพิ่ม เงิน ลงทุน ด้ า นการศึก ษา เพิ่ม จ� า นวนนัก เรีย นระดับ ประถมศึก ษาจาก
๗๐๐ ๐๐๐ เป็น ๑.๗ ล้านคน ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๑ และ ๒๔๘๒ นายปรีดี
จัดการสร้างมหาวิทยาลัยแห่งที่ ๒ คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย  
เพื่อให้ฝกข้าราชการแนวใหม่เข้าท�างานให้กับรัฐบาลหลังสมบูรณาญาสิทธิราชย์
นอกจากนั้นยังได้ขยายระบบเทศบำล และเพิ่มเงินลงทุนสร้ำงถนน โรงพยำบำล
และกำรผลิตไฟฟำ
พ.ศ. ๒๔๗๘ นายปรีดีเดินทางไปลอนดอนเพื่อเจรจาขอลดอัตราดอก
เบี้ยเงินกู้จากรัฐบาลอังก ษ และเพื่อเริ่มการเจรจาปรับเปลี่ยนสนธิสัญญาที่ท�า
ไว้กับประเทศตะวันตกตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๙๘ อันมีผลจ�ากัดอธิปไตยของสยาม
ด้านการภาษี และได้ให้ชาติตะวันตกมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเหนือสยาม
สนธิสัญญาเหล่านี้ถูกปรับเปลี่ยนใหม่หมดในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๑ และ
หลังจากนั้นสยามก็ได้เพิ่มอัตราภาษีขาเข้าเพื่อปกป้องอุตสาหกรรม
ค ะรำษ ร ำยพลเรือนข้ำงนำยปรีดี ประสบความส�าเร็จในการน�า
สยามสู่ “ความเจริญ” ตามสมควร แต่ความพยายามสร้างความชอบธรรมให้
กับระบอบการปกครองใหม่ผ่านระบบผู้แทนรำษ ร ไม่ได้ก้าวหน้าไปเท่าที่ควร
รัฐธรรมนูญฉบับถาวร ซึ่งประกาศใช้เมื่อเดือนธันวาคม ๒๔๗๕ ก�าหนดให้มี
สภาเดียวโดยมีสมาชิก ๒ ประเภท ครึ่งหนึ่งมาจากการเลือกตั้ง อีกครึ่งหนึ่ง
มาจากการแต่งตั้ง โดยทฤษฎีคณะรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบกับสภานี้ แต่ก็อาจ
จะครอบง�าสภาได้โดยใช้สมาชิกแต่งตั้งครึ่งหนึ่งนั้น ต้นป ๒๔๗๖ กลุ่มนิยม
เจ้ากลุ่มหนึ่งพยายามก่อตั้งพรรคการเมือง แต่พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรง
ยินยอม และทรงพยายามท�าให้พรรคการเมืองทั้งหมดผิดกฎหมาย ซึ่งรวมทั้ง
ค ะรำษ รด้วย ต่อมาสมำชิกสภำผู้แทนรำษ รเสนอร่างพระราชบัญญัติ
พรรคการเมือง แต่รัฐบาลก็ปฏิเสธ ด้วยกลัวว่าถ้าผ่านกฎหมายนี้จะเอื้อให้
กลุ่มนิยมเจ้าหวนคืนสู่อ�านาจได้อีก
ย้อนหลังไปเมื่อก่อนเกิดปฏิวัติ ๒๔๗๕ ผู้น�าของคณะราษ รได้ตั้ง
สัตย์ปฏิญาณที่จะร่วมหัวจมท้ายกันแม้ว่าจะมีความแตกแยกเป็น ัก ายภาย
ในคณะราษ รด้วยกันเอง การเปลี่ยนตัวหัวหน้าของรัฐบาล ๙ ครั้งระหว่าง
ป ๒๔๗๕ จนถึงป ๒๔๘๔ ก็ได้เกิดขึ้นจากการอภิปรายและเจรจาต่อรองกัน
เป็นการภายในแบบปดโดยไม่มีคนนอกเข้าเกี่ยวข้องด้วยทั้ง ๙ ครั้ง
หลายกลุ่มพวกที่ได้สนับสนุนการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ต่อมาเกิดความผิด
หวัง นักธุรกิจบางคนได้รับแต่งตั้งเข้าสภา และได้สิทธิจัดตั้งสภำหอกำรค้ำ
แต่ไม่อาจชักชวนให้รัฐบาลด�าเนินนโยบายสนับสนุนผู้ประกอบการคนไทยได้
อย่างจริงจัง ผู้น�าของชุมชนพ่อค้าจีนไม่พอใจที่เห็นสัญญาณของชำตินิยมไทย

  คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ที่รวมถึงการออกกฎจ�ากัดโรงเรียนจีน ส�าหรับฝ่ายคนงานได้สิทธิจัดตั้งสมำคม
แรงงำนได้เป็นครั้งแรก แต่เมื่อพวกเขาสนับสนุนให้คนงานโรงสีข้าวนัดหยุด
งาน ผู้น�าคนงานกลับถูกจับและสมาคมถูกคุกคาม ส�าหรับนักหนังสือพิมพ์
ฝีปากกล้าซึ่งได้มีบทบาทวิจารณ์ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และได้ช่วยสร้าง
บรรยากาศที่เอื้อกับการปฏิวัติก็ไม่ได้มีสิทธิ์มีเสียงอะไรมากนัก ระหว่างเดือน
มิถุนายนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ รัฐบาลสั่งปดหนังสือพิมพ์ ๑๐ ฉบับ
และอีกหลายฉบับถูกปดอีกระหว่างป ๒๔๗๖ และ ๒๔๗๘ ขณะเดียวกัน
รัฐบาลให้เงินอุดหนุนหนังสือพิมพ์ที่เป็นมิตรกับคณะราษ ร
พ.ศ. ๒๔๗๖ พระสงฆ์ ๒,๐๐๐ รูป จาก ๑๒ จังหวัด สนับสนุนข้อเรียก
ร้องของมหำเถรสมำคมให้ท�าการปฏิรูประบบสง ์ แต่หัวหน้าคณะปฏิรูปถูก
กล่าวหาว่าเป็นกบฏและถูกบังคับให้สึกจากสมณเพศหลังกบ บวรเดช รัฐบาล
ออกกฎหมายปกป้องรัฐธรรมนูญที่ก�าหนดให้รัฐบาลคุมขังหรือเนรเทศผู้กระด้าง
กระเดื่องไปต่างจังหวัดได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการศาล
นายปรีดีมีความประสงค์ท่ีจะให้ “ชาติ” และ “รัฐธรรมนูญ” เป็นศูนย์
รวมแห่งใหม่ของความจงรักภักดี นายปรีดีปราศรัยทางวิทยุ ชักชวนให้ราษฎร
รักชาติและปกป้องรัฐธรรมนูญ เพราะว่า “รัฐธรรมนู นี้เองจะเป็นสิ่งที่ท�ำให้
พวกเรำทั้งหลำยมีควำมกลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน” ๔๖ ให้พระสงฆ์และ
ครูช่วยอธิบายให้ประชาชนได้ซาบซึ้งถึงความส�าคัญของรัฐธรรมนูญ ต่อมา
รัฐบาลก�าหนดให้ วันที่ ๑๐ ธันวาคม เป็น “วันรัฐธรรมนูญ” และแจกจ่ายแบบ
จ�าลองรัฐธรรมนูญบนพานแว่นฟ้าที่ย่อส่วนลงมา ไปยังจังหวัดต่างๆ เพื่อให้
ราษฎรเฉลิมฉลองในวันนั้นทุกปี ในลักษณะเดียวกับที่พระพุทธรูปส�าคัญได้
รับการเฉลิมฉลองในเทศกาลพิเศษ ต่อมาวันรัฐธรรมนูญค่อยๆ เขยิบขึ้นเป็น
วันหยุดส�าคัญของชาติ ทางการจัดให้มีการสวนสนาม การแข่งขันด้านศิลปะ
การฟ้อนร�า และการประกวด “นางสาวสยาม” ใน “งำนฉลองรัฐธรรมนู ’” จัด
โดยกระทรวงมหาดไทย เพื่อแสวงหาตัวแทนความดีของ “ชาติพันธุ์ของเรา” ๔๗
พ.ศ. ๒๔๘๒ รัฐบาลสร้าง “อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย” เป็นอนุสาวรีย์ท่ี
ใหญ่ที่สุดในพระนคร ออกแบบเพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของประเพณีไทย ตั้งอยู่
กึ่งกลางถนน า า นน ถนนที่สร้างโดยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย  
การพุ่งขนของกองทัพ
กลุ่มนายทหารหนุ่มผู้กุมกระบอกปืนค่อยๆ คืบคลานขึ้นเป็นใหญ่ใน
คณะราษ ร ทั้งนี้ การปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ การรัฐประหารครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ.
๒๔๗๖ และการสยบกบ บวรเดชจะส�าเร็จได้ ต้องอาศัยกลุ่มนายทหารหนุ่มที่
คุมกองก�าลังประจ�าพระนคร หลังจากกบ บวรเดชผ่านพ้นไปแล้ว รัฐมนตรี
กระทรวงกลำโหมเสนอว่า การรักษาความสงบเป็นปัญหาใหญ่ยิ่งที่สุด ดังนั้น
“ทหาร” ซึ่งมีไว้เพื่อชาติเพียงสถานเดียว ต้องอยู่เป็นศูนย์กลางของการเมือง
แม้ว่าสถานะทางการเงินของประเทศไม่ม่ันคง แต่กองทัพเรียกร้องให้เพิ่มงบ
ทหาร โดยได้รับถึงร้อยละ ๒๖ ของงบประมาณรวมของประเทศนับจาก พ.ศ.
๒๔๗๖-๒๔๘๐ อีกทั้งจ�านวนทหารประจ�าการเพิ่มขึ้น ๒ เท่าตัว
ภายในกลุ่มทหารหนุ่มนี้ หลวงพิบูลฯ แปลก ขีตตะสังคะ โดดเด่น
เป็นหัวหน้าและได้รับต�าแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมเมื่อต้นปี ๒๔๗๗ เขาเสนอว่า
ในบรรดา ๔ สถาบันหลักของสยาม ได้แก่ พระมหำกษัตริย์ รัฐสภำ ระบบ
รำชกำร และกองทัพ กองทัพเท่านั้นที่ยืนยง ขณะที่รัฐสภำโดยเปรียบเทียบ
อาจจะถูกยกเลิกด้วยสาเหตุและสถานการณ์ต่างๆ๔๘ กองทัพจัดตั้งสถานีวิทยุ
ของตนเอง และออกอากาศค�าขวัญของหลวงพิบูลฯ ที่ว่า “ชำติคือบ้ำน ทหำร
คือรั้ว” เขากล่าวว่า หำกปรำศจำกกองทัพ สยำมจะถูกลบไปจำกแผนที่ของโลก
เขาให้กระทรวงกลาโหมจัดท� าภาพยนตร์ชื่อ ท า ท (พ.ศ. ๒๔๗๘)
เพื่อเชิดชูวีรกรรมความรักชาติ เป็นเรื่องราวเมื่อสยามถูกโจมตีจากต่างชาติ
พระเอกและนางเอกเสียสละชีวิตรักเพื่อปกป้องชาติไทย
หลวงพิบูลฯ และพรรคพวกสนใจรัฐบาลทหารในประเทศอื่นๆ ที่ก�าลัง
เชิดชูอุดมการณ์ชาตินิยมในขณะนั้น ต่อมา พ.ศ. ๒๔๗๖ เขาติดต่อกับทูต
ี่ปุ นเพื่อขอความช่วยเหลือในกรณีที่มหาอ�านาจตะวันตกเข้าแทรกแซงสยาม
ต่อมาความสัมพันธ์นี้พัฒนาสืบเนื่องไปสู่ความร่วมมือและความเห็นพ้องต้องกัน
ในเรื่องอื่นๆ พ.ศ. ๒๔๗๘ เมื่อมีการก่อตั้งสมาคมญี่ปุนสยาม พรรคพวกของ
หลวงพิบูลฯ มีส่วนร่วม พ.ศ. ๒๔๗๗ เขาก่อตั้งกลุ่มยุวชน เป็นขบวนการ
เยาวชนทหารที่เลียนแบบการฝกอบรมทหารที่อังกฤษและสหรัฐอเมริกา หลัง
จากที่เขาส่งนายทหารในกลุ่มคนหนึ่งซึ่งเป็นลูกครึ่งไทย-เยอรมันไปรับการฝก
ทหารที่เยอรมนี ได้ศึกษาเกี่ยวกับการก่อตัวของพรรคนาซีที่เยอรมนี เมื่อกลับ
มาได้ปรับกลุ่มยุวชนจนคล้ายกับยุวชนฮิตเลอร์

  คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ หลวงพิบูลฯ เข้ารับต�าแหน่ง “นายก
รัฐมนตรี” แต่จากป ๒๔๗๘ เป็นต้นมามีความพยายามลอบสังหารหลวง
พิบูลฯ ๓ ครั้ง โดยครั้งหนึ่งนั้นพยายามสังหารทั้งคณะรัฐมนตรี จากค�าบอก
เล่าของหม่อมเจ้าศุภสวัสดิฯ การลอบสังหารดังกล่าว “มีกำรวำงแผนอย่ำง
แยบยลและเกือบจะท�ำได้ส�ำเร็จ” ๔๙ หนึ่งเดือนหลังด�ารงต�าแหน่งนายกรัฐมนตรี
หลวงพิบูลฯ อ้างว่าได้ค้นพบแผนการล้มรัฐบาลเพื่อน�าระบอบเดิมกลับคืนมา
จึงสั่งให้จับกุมผู้ร่วมขบวนการ ๗๐ ราย รวมทั้งสมาชิกของคณะราษฎรรุ่นต้นๆ
และผู้นิยมเจ้าคนส�าคัญบางราย หลังจากที่คนเหล่านี้ถูกด�าเนินคดี ๑๕ รายถูก
ลงโทษประหาร ๒ รายถูกเนรเทศ และอีก ๓ ราย (รวมทั้งพระองค์เจ้ารังสิตฯ)
ถูกตัดสินประหารชีวิต แต่ได้รับการอภัยโทษและถูกคุมขังพร้อมกับคนอื่นๆ อีก
๑๙ ราย รายละเอียดของการด�าเนินคดีในชั้นศาลได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่เพื่อ
แสดงให้เห็นแผนการลับเพื่อโค่นล้มรัฐบาลโดยกลุ่มผู้นิยมเจ้า รัฐบาลด�าเนิน
คดีกับพระปกเกล้าฯ ที่ทรงโยกย้ายเงินจ�านวน ๔.๒ ล้านบาทจากกรมพระคลัง
ข้างที่เข้าบัญชีธนาคารส่วนพระองค์ที่ต่างประเทศ รัฐบาลยึดพระราชวังของ
พระองค์แห่งหนึ่ง ห้ามน�าพระบรมฉายาลักษณ์ติดในที่สาธารณะ และเพิกถอน
กระทรวงวัง ผู้นิยมเจ้าที่หลงเหลืออยู่หลายคนเดินทางออกนอกประเทศ
หลังจากเป็นนายกรัฐมนตรี หลวงพิบูลฯ แต่งตั้งตนเองเป็นผู้บัญชา
การทหารบก รัฐมนตรีกลาโหม มหาดไทย และ ต่อมา ต่างประเทศ คณะ
รัฐมนตรีที่เหลือครึ่งหนึ่งเป็นนายทหาร งบประมาณทหารพุ่งขึ้นเป็นร้อยละ
๓๓ ของงบประมาณรวมของประเทศ เมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)
กลุ่มหนึ่ง (ส่วนมากมาจากภาคอีสาน) ต่อต้านการเพิ่มงบทหารและมาตรการ
อื่นๆ ที่เพิ่มอ�านาจกองทัพ หลวงพิบูลฯ ตัดสินใจยุบสภา เมื่อกลุ่มฝ่ายค้านนี้
ได้รับเลือกตั้งเข้าสภาอีกครั้ง และมีทีท่าว่าจะไม่สนับสนุนงบประมาณประจ� าปี
ของรัฐบาล หลวงพิบูลฯ เริ่มใช้ พ า า น ซึ่งไม่ต้องผ่านสภาใน พ.ศ.
๒๔๘๓ ก่อนที่จะถึงก�าหนดตามรัฐธรรมนูญ ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมา
จากการเลือกตั้งทั้งหมด หลวงพิบูลฯ ผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อ
ให้คง ส.ส. ที่มาจากการแต่งตั้งกึ่งหนึ่งเอาไว้อีก ๑๐ ปี (จนถึง พ.ศ. ๒๔๙๖)
พ.ศ. ๒๔๘๔ หลวงพิบูลฯ แต่งตั้งตนเองเป็น “จอมพล” ส�าหรับ
ต�าแหน่งนี้นั้น ก่อนหน้าเป็นต�าแหน่งส�าหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์
เท่านั้น ต้นปี ๒๔๘๕ จอมพล ป. เรียกตัวเองว่า “ท่านผู้น�า” ให้หนังสือพิมพ์
เผยแพร่ค�าขวัญ เช่น “เชื่อผู้น�ำ ชำติพ้นภัย” มีค�าสั่งให้ทุกบ้านติดรูปท่านผู้นา�

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย  
ออกกฎหมายหลายฉบับในลักษณะอ�านาจนิยม เช่น กฎหมายควบคุมหนังสือ
พิมพ์ และการจับกุมผู้ต้องสงสัยได้ทันทีทันใด นักวิจารณ์กล่าวว่า จอมพล ป.
เลียนแบบมุสโสลินี และถึงขนาดสถาปนาตนเองในระดับเดียวกับประธานาธิบดี
หรือพระมหากษัตริย์ จอมพล ป. อธิบายว่า การรณรงค์นี้ก็เพื่อแสดงว่าประ
ชาชนทั้งชาติสามารถกระท�าการเสมือนเป็นหนึ่งเดียวได้ ๕๐

การสร้างวั น รรมหลังสมบูรณาญาสิท ิราชย์


จอมพล ป. และหลวงวิจิตรฯ ร่วมมือกันใช้อ�านาจรัฐก่อรูปวัฒนธรรม
ส�าหรับสยามหลังสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขึ้นเสียใหม่
ดังที่ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ก่อนหน้านี้ หลวงวิจิตรฯ เป็นตัวอย่างของคนรุ่น
ใหม่ในทศวรรษ ๒๔๖๐ เขามีพื้นเพเป็นครอบครัวชนชั้นสามัญชน แต่โดดเด่น
ขึ้นมาเพราะมีพรสวรรค์และมีโอกาสได้รับการศึกษา ได้รับราชการในกระทรวง
การต่างประเทศ มีโอกาสไปประจ�าที่เมืองนอก จึงเห็นสยามในบริบทสากลโลก
หลังจากเดินทางกลับบ้านเกิดช่วงต้นทศวรรษ ๒๔๗๐ เขาสร้างชื่อให้ตัวเองเป็น
นักเขียน นักพูดรายการวิทยุ และเชิดชูอุดมการณ์ชาตินิยมเต็มที่
สมั ย นั้ น หลวงวิ จิ ต รฯ เป็ น นั ก อนุ รั ก ษนิ ย ม ที่ เ ห็ น ความส� า คั ญ ของ
กษัตริย์กับชาติไทย เขารู้จักกับกลุ่มนำยปรีดีที่ปารีส แต่ไม่ได้รับการชักชวน
ให้ร่วมเป็นสมาชิกแรกๆ ของค ะรำษ ร ทั้งนี้อาจเป็นเพราะความนิยมเจ้า
ของเขาในสมัยนั้น ช่วง พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๗๖ เขาท�างานด้านประชาสัมพันธ์ให้
กับกลุ่มนิยมเจ้า แต่ค่อยๆ เปลี่ยนทัศนคติในเวลาต่อมา โดยเข้ามาช่วยฝ่าย
คณะราษฎรช่วงเกิดกบ บวรเดช จากปี ๒๔๗๗ เป็นต้นมา เขาเป็นฝ่ายจอมพล
ป. เต็มก�าลัง ด�ารงต�าแหน่งรัฐมนตรี และอธิบดีกรมศิลปำกร ด้วยต�าแหน่ง
ด้านราชการนี้ กอปรกับมีพรสวรรค์ในเรื่องวัฒนธรรมสามัญชน พร้อมทั้งได้แรง
สนับสนุนจาก จอมพล ป. หลวงวิจิตรฯ จึงมีโอกาสก่อรูปมิติใหม่ของ “สยาม”
ในฐานะเป็น “รัฐชาติ” ในประวัติศาสตร์
พ.ศ. ๒๔๗๖ มีพระราชบัญญัติจัดตั้งกรมศิลปากรขึ้นมาใหม่ เมื่อ
หลวงวิจิตรฯ เป็นอธิบดี ได้ใช้กรมนี้เพื่อสร้างวัฒนธรรมสาธารณะสมัยหลัง
สมบู ร ณาญาสิ ท ธิ ร าชย์ หลั ง จากที่ พ ระปกเกล้ า ฯ ทรงสละราชสมบั ติ กรม
ศิลปากรก็ได้รับมรดกเป็นนักดนตรี ช่างศิลป์ และนักแสดงจากราชส�านักเป็น

  คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


จ�านวนมาก หลวงวิจิตรฯ จึงรวบรวมบุคลากรเหล่านี้ก่อตั้งคณะละครแห่งชาติ
ขึ้นใหม่ หลวงวิจิตรฯ เขียนบทละครเร้าใจเรื่องความรักชาติ โดยใช้เค้าเรื่อง
เดิมที่มีอยู่แล้วแต่งดัดแปลงการแสดงให้เลียนแบบตะวันตกแทนที่จะเป็นแบบ
ในวังดั้งเดิม ใช้เพลงสากลประกอบ เป็นการผสมผสานการร้องเพลงแบบไทย
เดิมเข้ากับท�านองเพลงสากล
หลวงวิจิตรฯ เชื่อในเรื่อง “มนุสสปฏิวัติ”๕๑ คือศักยภาพของผู้คนที่
จะปรับเปลี่ยนตัวเองและโลก เขาเขียนต�าราเกี่ยวกับการปรับปรุงตนเอง เช่น
สมอง ก�ำลังควำมคิด และวิธีท�ำงำนและสร้ำงอนำคต เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้คน
ได้ปรับแปลงตัวเองให้ทันสมัยและประสบความส�าเร็จ เขาจินตนาการสมัย
สุโขทัยเป็นสังคมอุดมคติ เป็นต้นแบบความศิวิไลซ์ของสยาม ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะ
ว่าสุโขทัยมีสถาบันกษัตริย์เป็นแบบฉบับตามพระราชนิพนธ์ของพระมงกุฎเกล้าฯ
แต่เพราะสุโขทัยมีอิสรภาพซึ่งเป็นแกนกลางของ “ควำมเป็นไทยแท้” หลวง
วิจิตรฯ อ้างว่าความเป็นอิสระเสรีส�าคัญมาก เพราะเปิดโอกาสให้ทุกคนแสดง
ความสามารถให้กับชาติ ภาพของสุโขทัย ึ่งหลวงวิจิตรฯ วาดไว้นั้นมีความ
สร้างสรรค์สูงด้านศิลปะและภาษา อีกทั้งมีประสิทธิภาพในการผลิตสิ่งของ
ต่างๆ เพราะว่าผู้คนมีเสรีภาพในการผลิต ส�าหรับหลวงวิจิตรฯ แล้ว “บรรพ
บุรุษของเรำได้สร้ำงวั นธรรมอันสูงยิ่งไว้ให้แก่เรำ” ๕๒ หลังจากชาติไทยเข้า
สู่จุดสูงสุดในสมัยสุโขทัย ความศิวิไลซ์ของสยามเสื่อมถอยลงในสมัยอยุธยา
เพราะว่ารับเอาวิถีปฏิบัติและความเชื่อจากเขมรมาใช้ เช่น ระบบทำส และความ
เชื่อเรื่อง เทวรำชำ
หลวงวิจิตรฯ เห็นว่า ประวัติศาสตร์สร้างขึ้นจากความส�าเร็จที่ยิ่งใหญ่
ส่วนบุคคล เมื่อเขากลับเมืองไทยเขาได้เขียนหนังสือเรื่อง า (พ.ศ.
๒๔๗๑) โดยรวบรวมประวัติย่อของบุคคลส� าคัญของโลก ได้แก่ นโปเลียน
บิสมาร์ค ดิสเรลลี แกลดสตัน โอกูโม โตชิมิชิ (สมัยเมจิ) และมุสโสลินี อีก
๔ ปีต่อมาเขาเขียนหนังสือเรื่อง นี ด้วยความชื่นชมว่าบุคคลเหล่านี้เป็น
มหาบุรุษเพราะได้ท�าคุณประโยชน์ให้กับชาติของเขา ส�าหรับหลวงวิจิตรฯ แล้ว
“มนุษย์มีสั ชำต ำ รักพวก รักหมู่ รักครอบครัว รักเพื่อนร่วมชำติ...” เพราะ
ฉะนั้น “กำรแบ่งส่วนมนุษย์ออกเป็นชำติ เป็นกำรแบ่งที่ถูกต้องตำมก ธรรม
ชำติ” หน้าที่ของคนคือ “ถือชำติเป็นส�ำคั ท�ำอะไรต้องนึกถึงคนทั้งชำติ ไม่
เพ่งเล็งเฉพำะผลประโยชน์ของพวกใดพวกหนึ่ง...และสมำนชำติให้กลมเกลียว
กัน” ๕๓

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
หลวงวิจิตรฯ เขียนบทละครเชิดชูพระนเรศวร และพระเจ้ำตำกสิน เป็น
มหาบุรุษ ผู้ซึ่งปกป้องสยามจากศัตรูที่เป็นเพื่อนบ้านคือพม่า แต่วีรกรรมดัง
กล่าวไม่จ�ากัดเฉพาะกับกษัตริย์เท่านั้น ในบทละครที่ได้รับความนิยมสูง เช่น
เรื่อง พ (พ.ศ. ๒๔๗๙) ตัวเอกคือหญิงสาวสามัญชนที่ปลุกเร้าให้
สามัญชนอื่นๆ ลุกขึ้นต่อต้านการรุกรานจากพม่า ไทยเป็นชาตินักรบ ไม่ใช่แต่
เพียงผู้ชายเท่านั้น แต่รวมทั้งผู้หญิงด้วย บทละครอีกเรื่องหนึ่ง คือ า
เชิดชูท้าวเทพกษัตรีย์และท้าวศรีสุนทร หญิงสองพี่น้องที่ปกป้องภูเก็ตจากการ
รุกรานของพม่าได้ส�าเร็จ ศิลป พีระศรี (Corrado Feroci) ประติมากรชาว
อิตาลี ซึ่งร�่าเรียนปั้นรูปในสไตล์ที่มุสโสลินีพอใจมาก ได้มาท�างานกับหลวง
วิจิตรฯ ที่กรมศิลปำกร เขาได้สร้างสรรค์รูปปั้นที่เชิดชูสามัญชนทั้งผู้หญิงและ
ผู้ชายในการสร้างชาติตามแนวทางของหลวงวิจิตรฯ ซึ่งจะเห็นได้ที่ อนุสาวรีย์
ประชาธิปไตย (ดูภาพที่ ๑๗) อีกทั้งรูปปั้นของท้าวสุรนารี ผู้ปกป้องโคราชจาก
ลาว เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๑ และรูปปั้นแสดงวีรกรรมของชาวบ้านบางระจันที่ท้าทาย
ทหารพม่าเมื่อคราวเสียกรุง พ.ศ. ๒๓๑๐
หลวงวิจิตรฯ สาธยายถึงบุคลิกภาพของคนไทยว่า “นิสสัยก่อสร้ำง...
นิสสัยรักควำมประ ีต...นิสสัยงอกงำม...นิสสัยต่อสู้” ๕๔ ด้วยนิสัยต่อสู้นี้ คน
ไทยจึงเป็นชนชาติมีอ�านาจสูงในสุวรรณภูมิ และด้วยนิสัยก่อสร้างและนิสัยรัก
ความประณีต สยามมีอารยธรรมที่เจริญมาก และ “สยำมก�ำลังเป็นหัวใจแห่ง
สุวรร ภูมิ เหมือนเอเธนส์เป็นหัวใจของกรีก” ๕๕ เพราะฉะนั้น เชื้อชาติอ่ืนๆ จึง
อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งภายในเขตแดนสยาม บทละครเรื่อง า น เขียน
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ แม่ทัพสมัยพระนเรศวรประกาศว่า “เขมรเป็นชื่อสมมุติแท้
พวกเรำในแหลมทองนี้ทั้งแหลม พวกเดียวกันทั้งนั้น” แต่สยามไทยเป็น “พี่
ใหญ่” บทละครเรื่อง พ นผา เขียนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓ “ทั้งญวน แกว
และเขมร ล้วนเป็นไทย” ๕๖ า แ น ี อีกบทละครหนึ่งที่เชิดชูไทยใหญ่
และไทยเป็นเชื้อชาติเดียวกัน พ า ท ี (พ.ศ. ๒๔๘๑) ให้จินตภาพว่าราชินี
ล้านนาช่วยรวมล้านนากับสยาม
ส�าหรับหลวงวิจิตรฯ แล้ว คนไทยคือผู้ที่เกิดในสยามเหมือนดังที่พระ
ราชบัญญัติเชื้อชาติก�าหนดไว้ ดังนั้น เชื้อชาติจึงมีความหลากหลาย ในบทเพลง
ของเขาชื่อ ท คนเหล่านี้ถูกหลอมรวมกันอย่างลึกลับเป็นหนึ่งเดียว
ดังค�าร้องที่ว่า “โลหิตสำยเดียว กลมเกลียวกันไว้ อย่ำแตกแยกไป เป็นหลำย
ล�ำธำร” ๕๗ เพลงชาติที่เขียนในสมัยนี้ ส�าแดงความรู้สึกอย่างเดียวกันดังเนื้อ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ภาพที่ ๑ ชำติอิสระและติดอำวุธ รูปปันนูนต�ำ่ ที่ฐำนของอนุสำวรีย์ประชำธิปไตย
พ.ศ. ๒๔๘๒ โดย ศิลป์ พีระศรี (Corra o eroci) เป็นครั้งแรกที่สำมั ชน
ปรำก ตัวในประติมำกรรมของรัฐชำติ แต่ในบทบำทหลักเป็นทหำร
ร้องท่อนที่ว่า “ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย”
หลวงวิจิตรฯ ไม่ค่อยได้สนใจมวลชนเท่าไรนัก เขาเชื่อว่าพวกเขาจน
เพราะเกียจคร้านเกินไปที่จะ “มนุสสปฏิวัติ” เขาเสนอว่ารัฐธรรมนูญการันตี
ความเป็นธรรมในสังคมโดยไม่ต้องให้มวลชนมีส่วนร่วม รัฐซึ่งมวลชนมีการ
ศึกษาสูงจึงจะเป็นประชาธิปไตย พรรคกำรเมือง “เปรียบเหมือนมันสมองของ
ชำติ” เขาอ้างถึงอริสโตเติลเมื่อกล่าวว่า “ตั้งแต่เวลำที่เกิดมำบำงคนมีเครื่อง
หมำยติดตัวมำส�ำหรับเป็นคนอยู่ใต้บังคับบั ชำ และบำงคนส�ำหรับจะบังคับ
คนอื่น” ๕๘
เนื่องจากหลวงวิจิตรฯ เลือกละคร เพลง ภาพยนตร์ และวิทยุ เป็น
สื่อความคิดของเขา ึ่งเข้าถึงผู้คนทั่วไปที่ไม่ต้องมีการศึกษามาก่อนมากนัก
และเพราะว่างานของเขาถูกผนวกและ ึม ับเข้าไปในแบบเรียนของระบบการ
ศึกษาที่ขยายตัวไป อิทธิพลของเขาจึงกว้างขวาง กินลึก และมีอิทธิพลยืนนาน

ลกทีลัท ิชาตินิยมต่าง ข่งกัน


เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ิตเลอร์บุกเข้าออสเตรีย ณ จุดนี้ชาตินิยม
ที่ก่อตัวขึ้นในสยามไม่ว่าจะเป็นแนวทางเสรีนิยมของนายปรีดี แนวทางทหาร
ของจอมพล ป. และความจงรักภักดีต่อจีนแผ่นดินใหญ่ของบรรดาลูกจีนในไทย
ทุกแนวทางเกี่ยวโยงกับแนวคิดชาตินิยมที่แก่งแย่งกันเป็นใหญ่ในระดับโลก
เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ กองทัพญี่ปุ่นบุกเข้าประเทศจีน ญี่ปุ่น
ได้ยึดครองแมนจูเรียตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๔ แล้ว การบุกครั้งนี้นั้นท�าให้สงคราม
ระหว่างญี่ปุ่นกับจีนปะทุขึ้นอย่างเต็มที่ ได้กระตุ้นกระแสชาตินิยมในบรรดา
คนจีนสยาม และส่งผลให้มีการจัดตั้งองค์กรและหนังสือพิมพ์ที่ต่อต้านญี่ปุ่น
พรรคคอมมิวนิสต์จีนที่สยำม ฝักฝ่ายต่างๆ ในพรรคกกมินตัง และกลุ่มชาวจีน
อื่นๆ ร่วมมือกันขายพันธบัตรสงคราม ส่งข้าวและสิ่งของต่างๆ ไปให้กองก�าลัง
ของก๊กมินตั๋ง และยังส่งอาสาสมัคร ๒,๐๐๐ คนไปช่วยก๊กมินตั๋งรบกับญี่ปุ่น
นอกจากนั้นองค์กรชาวจีนที่กล่าวมานี้ คว�่ าบาตรสินค้าญี่ปุ่นที่สยามอีกครั้ง
พ่อค้าที่น�าเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นถูกแบล็กเมล์ให้จ่ายเงินบริจาค พ่อค้า ๖๑ ราย
ถูกฆาตกรรมเพราะว่าไม่ท�าตามข้อเรียกร้อง

  คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


มาถึงจุดนี้คณะราษ รได้ปฏิบัติกับทั้งประเทศจีนและกับลูกจีนที่เมือง
ไทยอย่างระมัดระวัง รัฐบาลจ�ากัดบทบาทของโรงเรียนจีน แต่ก็ยกเลิกข้อจ�ากัด
นี้เสียเมื่อหอการค้าจีนแสดงความไม่พอใจ พ.ศ. ๒๔๗๙ รัฐบาลต้อนรับคณะ
ทูตจากก๊กมินตั๋ง หลวงวิจิตรฯ แต่งเพลงเกี่ยวกับจีน-ไทยสามัคคีเพื่อประกอบ
ละครเรื่อง พ า น แต่การคว�่าบาตรสินค้าญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐
ท�าให้รัฐบาลได้ตระหนักถึงอ�านาจของพ่อค้าจีนในเศรษฐกิจไทย และโอกาส
ที่ว่า การเมืองระหว่างประเทศจะก่อปัญหาให้เศรษฐกิจไทยได้ อีกทั้งท�าให้
รัฐบาลเป็นกังวลว่า ชาวจีนสยามจะเข้าข้างใคร ถ้าสยามเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น
ในสงคราม นอกจากนี้ การที่พ่อค้าจีนหลายคนถูกฆาตกรรมเพราะไปสนับ
สนุนญี่ปุ่น ท�าให้ความกลัว “อั้งยี่” หวนกลับมาอีก
กรก าคม พ.ศ. ๒๔๘๑ หลวงวิจิตรฯ แสดงปาฐกถาอ้างถึงการเปรียบ
เทียบระหว่างชาวจีนกับยิวที่ยุโรป ึ่งพระมงกุ เกล้าฯ ทรงเคยมีพระราชด�ารัส
ไว้ หลวงวิจิตรฯ ขยายความเพิ่มเติมว่า “ยิวไม่มีประเทศอยู่เป็นถิ่นฐำนหลัก
แหล่ง...ไม่ได้ส่งเงินออกไปที่อื่น...จะเทียบกับจีนไม่ได้ จีนเขำท�ำเงินได้ เขำส่ง
เงินไปประเทศดังนี้ เรำจะพูดว่ำจีนยิ่งกว่ำยิวก็พูดได้” ๕๙ เขายังเขียนละครอีก
เรื่องชื่อ นาน า (พ.ศ. ๒๔๘๒) ให้ภาพคนจีนผลักไสคนไทยออกจากแผ่นดิน
เกิดของพวกเขา
รั ฐ บาลเพิ่ ม ค่ า ธรรมเนี ย มคนจี น อพยพเข้ า ไทยอี ก เป็ น สองเท่ า ปิ ด
ธนาคาร ๒ แห่งที่ส่งเงินกลับไปประเทศจีน และจับกุมอั้งยี่ จับกุมนักธุรกิจ
จีน อีกทั้งผู้เคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อต่อต้านสินค้าญี่ปุ่นและจัดหาเงินทุน
ส่งไปจีน ปิดหนังสือพิมพ์จีนแทบทุกฉบับเหลือไว้เพียงฉบับเดียว ก�าหนดกฎ
เกณฑ์เข้มงวดและเข้าก�ากับโรงเรียนจีน จนถูกปิดไปหลายแห่ง ยกเว้นเพียง
๒ โรงเรียน
รัฐบาลเริ่มโครงการสร้างเศรษฐกิจ “นิยมไทย” โดยเหตุผล ๓ ประ
การ หนึ่ง คือเพื่อเตรียมตัวหากเกิดสงคราม สอง เพื่อให้รัฐวิสาหกิจไทย
แข่งขันกับวิสาหกิจฝรั่งและจีน และสาม เพื่อช่วยเหลือชาวนาซึ่งเป็นมวลชน
ของประเทศ ปลายทศวรรษ ๒๔๗๐ กระทรวงกลำโหมเริ่มลงทุนตั้งรัฐวิสาหกิจ
เพื่อที่สยามจะผลิตสินค้ายุทธศาสตร์ได้เอง เช่น น�า้ มัน และเครื่องนุ่งห่ม ยิ่ง
เมื่อแนวโน้มที่จะเกิดสงครามระหว่างกลุ่มชาตินิยมต่างๆ ปรากฏให้เห็นชัดเจน
ขึ้น รัฐบาลไทยก็ยิ่งขยายการลงทุนเพื่อเตรียมรับสภาวะสงครามมากขึ้นไปอีก

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย  
พ.ศ. ๒๔๘๑ เมื่อชาวจีนต่อต้านสินค้าญี่ปุ น รัฐบาลก่อตั้งบริษัทข้าว
ไทยขึ้น รัฐมนตรีเศรษฐการอธิบายว่า “โดยที่สินค้ำข้ำว ึ่งเป็นสินค้ำส�ำคั ที่สุด
ของประเทศ ได้ตกอยู่ในมือคนต่ำงด้ำวแทบทั้งสิ้น และโดยที่คนต่ำงด้ำวได้ก่อ
ควำมยุ่งยำกให้เกิดแก่สินค้ำอันนี้หลำยครั้งหลำยครำว” จอมพล ป. เพิ่มเติม
ว่า “ปั หำเรื่องข้ำวเป็นกระดูกสันหลังของประเทศ...ควำมจริงรำษ รปลูกข้ำว
ได้ แต่รำษ รจนเพรำะถูกคนกลำงบีบคั้น” ๖๐ บริษัทข้าวไทยเช่าโรงสีของเอกชน
ที่มีอยู่แล้วมาจัดการ และในท้ายที่สุดเข้าควบคุมร้อยละ ๗๐-๘๐ ของการค้า
ข้าวทั้งหมด นอกจากนั้นรัฐบาลยังก่อตั้งบริษัทเป็นจ�านวนมากเพื่อจัดจ�าหน่าย
สินค้าเข้าและสินค้าบริโภคอื่นๆ จากกรุงเทพฯ ลงไปสู่ตลาดท้องถิ่น
พ.ศ. ๒๔๘๒ รัฐบาลเข้าผูกขาดกิจการบุหรี่และเกลือ สงวนอาชีพและ
กิจการบางอย่างส�าหรับคนไทย รวมทั้งอาชีพขับรถแท็กซี่ โรงฆ่าหมู การประมง
ปลูกยางพารา และกิจการปั มน�้ามัน ตั้งค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนคนต่าง
ด้าวรายละ ๔ บาท และเพิ่มภาษีที่เก็บจากร้านค้า ป้ายโฆษณา ภาษีรายได้
อัตราภาษีโรงฝิ่นและบ่อนพนัน
พ.ศ. ๒๔๘๔ รัฐบาลจัดท� าแผนอุตสาหกรรมแห่งชาติ ให้กระทรวง
กลาโหมลงทุ น ในอุ ต สาหกรรมยุ ท ธศาสตร์ ส�า คั ญ เพิ่ ม ขึ้ น รวมทั้ ง เหมื อ งแร่
โรงงานฟอกหนัง โรงงานน�้าตาล การเดินเรือ บุหรี่ ยางพารา เกลือ การประมง
และโรงงานไฟฟ้า โรงงานเหล่านี้ส่วนใหญ่เคยเป็นของบริษัทเอกชน (คนจีน)
มาก่อนแทบทั้งสิ้น
จากปลายทศวรรษ ๒๔๗๐ รั ฐ บาลตั้ ง คณะกรรมการขึ้ น มา ๒ ชุ ด
เพื่อพิจารณาว่าจะท�าอย่างไรกับประเด็นเรื่องสัญชาติส�าหรับคนจีนจ�านวนมาก
ึ่งได้เดินทางอพยพเข้ามาเมืองไทยในช่วง ๒ ๓ ทศวรรษที่ผ่านมา ลูกจีน
รุ่นแรกๆ ที่เกิดเมืองไทยบางคนได้เรียกร้องขอสัญชาติไทย แต่ขณะนั้นเมือง
ไทยยังไม่มีกฎหมายรับรองการเปลี่ยนสัญชาติเป็นไทย เดือนเมษายน พ.ศ.
๒๔๘๒ รัฐบาลออกกฎหมายที่ท�าให้ชาวจีนเปลี่ยนสัญชาติเป็นไทยได้ตราบที่
พวกเขาละทิ้งความจงรักภักดีต่อประเทศจีน และพิสูจน์ความจงรักภักดีต่อ
สยามด้วยการพูดภาษาไทย เปลี่ยนชื่อเป็นไทย และส่งลูกไปโรงเรียนไทย ใน
ช่วงปีแรกมีคนที่ผ่านบทพิสูจน์นี้เพียง ๑๐๔ ราย แต่เป็นกลุ่มส�าคัญเนื่องจาก
ล้วนเป็นพ่อค้าร�่ารวย เช่น เจ้าของเหมือง และเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม
ท�าให้รัฐบาลมีกลุ่มผู้ประกอบการ “ไทย” ที่อาจจะถูกดึงเข้ามาช่วยบริหารจัด
การรัฐวิสาหกิจใหม่ๆ ที่ก่อตั้งขึ้นมาหลายแห่ง

  คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


นายมา บูลกุล (เปลี่ยนสัญชาติ จากอังกฤษที่ฮ่องกงเป็นไทย) ช่วย
บริ ห ารบริ ษั ท ข้ า วไทยของรั ฐ บาล นายวิ ล าศ โอสถานนท์ ลู ก เขยของผู ้ น�า
ก๊กมินตั๋งคนหนึ่ง และนายจุลินทร์ ล�่า �า ผู้มาจากครอบครัวพ่อค้าข้าวใหญ่
ช่วยบริหารเครือข่ายรัฐวิสาหกิจด้านการจัดจ� าหน่ายสินค้าต่างๆ ภายใต้ภาพ
รัฐบาลไทยด�าเนินนโยบายชาตินิยมช่วงภาวะสงครามนี้ เบื้องลึกลงไปคือการ
เมืองว่าด้วยสามัญชนลูกจีนเชื้อชาติไทย การพุ่งขึ้นของธุรกิจที่มีลูกจีนเป็นเจ้า
ของ และความเกี่ยวโยงกันของสองปัจจัยนี้ในภาวะที่ละเอียดอ่อน

มหาประเทศ มหาอาณาจักรไทย
หลังการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ ไม่นานนักฝ่ายทหารในคณะราษฎรวาง
แผนเรียกร้อง “ดินแดนที่เสียไป” กับตะวันตก ภายใต้สนธิสัญญาระหว่างประ
เทศที่เซ็นสัญญากันเมื่อทศวรรษ ๒๔๔๐
พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๔๗๙ กระทรวงกลาโหมพิมพ์ชุดแผนที่แสดงให้เห็น
เรื่องราวการอพยพมาของชาวไตหรือไทที่ ขุนวิจิตรมาตรา เขียนเล่าไว้ในหนังสือ
ท เป็นแผนที่บอกให้เห็นเขตชายแดนอาณาจักรไทยในจินตนาการจาก
สมัยน่านเจ้ามาจนถึงสมัยกรุงเทพฯ (ดูภาพที่ ๑๘) แผนที่ฉบับหนึ่งแสดงอาณา
จักรสยามที่สมบูรณ์ ประกอบด้วย บริเวณเจ็ดอาณาเขตซึ่งสูญเสียไปให้กับพม่า
และมหาอ�านาจอาณานิคมระหว่าง พ.ศ. ๒๓๔๐ และ พ.ศ. ๒๔๕๒
ภายหลังจากที่ฮิตเลอร์เข้ายึดครองออสเตรีย (พ.ศ. ๒๔๘๑) นักวิชา
การสายทหารรายหนึ่งอ้างว่า พม่า เวียดนาม เขมร และมาเลเซีย ล้วนมาจาก
เชื้อชาติไทยด้วยกันทั้งสิ้น และด้วยเหตุฉะนี้จึงควรมารวมกับสยาม พ.ศ.
๒๔๘๒ ส�ำนัก รั่งเศสแห่งปลำยบุรพทิศ (Ecole Franæaise d’ E treme-
Orient) น�าแผนที่ฉบับหนึ่งมามอบให้กับหลวงวิจิตรฯ ซึ่งแสดงให้เห็นอาณา
บริเวณที่ผู้คนพูด “ภาษาไท” กระจายไปทั่วบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ
ตอนใต้ของจีน
หลวงวิจิตรฯ ตื่นเต้นมาก และกล่าวในการ “ปาฐกถาเรื่องการเสียดิน
แดนไทยให้แก่ รั่งเศส” (๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒) ว่า “ถ้ำหำกเรำได้ดินแดน
ที่เสียไปนั้นคืนมำ เรำมีหวังที่จะเป็นมหำประเทศ...ในไม่ช้ำเรำจะเป็นประเทศ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย  
ภาพที่ ๑ แผนที่แสดงเส้นกำรเดินทำงของชำวไทโบรำ สู่สยำม
จัดพิมพ์โดยกระทรวงกลำโหม พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๔๗
ที่มีดินแดนรำว ,๐๐๐,๐๐๐ ตำรำงกิโลเมตร และมีพลเมืองไม่น้อยกว่ำ ๔๐
ล้ำนคน เรำจะเป็นมหำประเทศ” ๖๑ หลวงวิจิตรฯ เริ่มที่จะรณรงค์เรียกร้อง
“ดินแดนที่เสียไป” โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางส่วนของเขมรและลาว เขาเดินทาง
ไปที่ชายแดนไทยที่แม่น�้าโขง แล้วต่อยอดเจดีย์พระธาตุพนมอันเป็นศูนย์กลาง
ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ส�าหรับโลกของชาวลาวขึ้นไปอีก ๓๐ เมตร เพื่อให้สูงเด่นเป็น
ที่ประจักษ์ชัดเจนยิ่งขึ้นแก่ชาวลาวภายใต้การครอบครองของฝรั่งเศสที่อยู่อีก
ฟากฝั่งของแม่น�้าโขง
รัฐบาลแจกจ่ายแผนที่แสดง “ดินแดนที่เสียไป” ยังโรงเรียนต่างๆ ราย
การวิทยุของทหารพูดถึงการสร้าง “มหาอาณาจักรไทย” เลียนแบบฮิตเลอร์
บทความในหน้าหนังสือพิมพ์และการเดินขบวนที่ท้องถนนเพื่อเรียกร้อง “ดิน
แดนที่เสียไป” ช่วยท�าให้แนวคิดนี้เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง หลวงวิจิตรฯ ให้
เหตุผลว่า “ต่อไปนี้เรำจ�ำจะต้องเป็นมหำประเทศ หรือมิฉะนั้นก็ต้องล่มจม...
จ�ำนวนประเทศเล็ก จะต้องถูกกลืนหำยไปในประเทศให ่...ประเทศเล็ก
น้อย จะหมดไป เหลือแต่ประเทศให ่ รูปกำรของโลกต้องเป็นเช่นนี้อย่ำง
แน่นอน” ๖๒ จอมพล ป. กล่าวแรงกว่านี้ว่า “ถ้ำไม่อยำกเป็นขี้ข้ำต้องเป็นมหำ
อ�ำนำจ” ๖๓
พ.ศ. ๒๔๘๒ รัฐบาลก�าหนดแบบแผนปฏิบัติอันดีงามที่ประชาชนควร
ยึดถือและปฏิบัติตาม เรียกว่า “รัฐนิยม” เริ่มแรกมี ๗ ประการ ต่อมาขยาย
เป็น ๑๒ แล้วออกกฎหมายก�ากับเพื่อการบังคับใช้นโยบายเหล่านี้ แง่หนึ่งอาจ
มองว่าเป็นความพยายามท�าให้สยามเข้มแข็งขึ้นภายใต้บริบทของสงครามโลก
ซึ่งสยามไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่ในอีกแง่หนึ่งแสดงถึงว่า รัฐบาลจอมพล ป. มี
ปรัชญาความเชื่อการใช้อ�านาจรัฐเพื่อสร้างชาติและวัฒนธรรมขึ้นใหม่โดยการ
ก�าหนดจากส่วนบนบังคับลงล่าง
เนื้อหาหลักประการแรกของรัฐนิยม คือ การฉีกสยามออกจากอดีตแห่ง
ความนิยมเจ้า รัฐนิยมฉบับที่ ๑ ประกาศเมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๒ เปลี่ยน
ชื่อประเทศจากสยามเป็น “ประเทศไทย” เพราะว่า “รัฐบำลเห็นสมควรใช้ชื่อ
ประเทศให้ต้องตำมชื่อเชื้อชำติและควำมนิยมของประชำชนชำวไทย”
รัฐนิยมอีกฉบับให้ยกเลิกบรรดาศักดิ์ที่มีมาตั้งแต่สมัยสมบูรณาญา
สิทธิราชย์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ก�าหนดให้วันปฏิวัติ ๒๔ มิถุนายน (พ.ศ. ๒๔๗๕)
เป็น “วันชาติ” และต่อมาถือเป็นวันหยุดราชการส�าคัญ มีการสวนสนามและ
การแสดงทางวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๔๘๕ รัฐบาลผ่านพระราชบัญญัติคณะสง ์

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย  
ลดบทบาทของธรรมยุติกนิกายจากสถานภาพพิเศษ ลดอ�านาจของพระสังฆราช
ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และเพิ่มอ�านาจของสภาสงฆ์
เนื้อหาหลักประการที่ ๒ ของรัฐนิยม คือมาตรการที่จะท�าให้ประชาชน
คนไทยเป็น “ไทยแท้” รัฐนิยมฉบับที่ ระบุ “ให้ใช้ค�ำว่ำ ‘ไทย’ แก่ชำวไทย
ทั้งมวลไม่แบ่งแยก” โดยจอมพล ป. ปราศรัยว่า “ต้องจ�ำว่ำไทยเรำมีไทยใหม่
มำก ถ้ำเรำมีประเทศไทยแล้ว เรำก็สำมำรถปนไทยแท้เข้ำกับไทยใหม่ให้เข้ำกัน
สนิทได้ แล้วท�ำงำนเพื่อชำติอันเดียวกัน” ๖๔ หมายความว่ารัฐบาลจะกดดันและ
ช่วยลูกจีนและคนชาติอื่นๆ ให้พูดภาษาไทยและปฏิบัติตนเหมือนคนไทย
รัฐนิยมฉบับที่ ๔ ก�าหนดพิธีกรรมแสดงความเคารพสัญลักษณ์ของ
ชาติ เช่น ธงไทย และเพลงชาติ รัฐนิยมฉบับที่ ๑ ก�าหนดให้ทุกคนต้องเรียน
ภาษาไทย พูดภาษาไทยภาคกลาง และเพื่อที่จะช่วยให้อ่านและเขียนภาษาไทย
ได้อย่างง่ายดาย รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อปรับภาษาไทยโดยลด
จ�านวนอักขระ ให้สะกดค�าตามเสียง ก�าหนดให้ใช้สรรพนามที่ไม่ได้แสดงสถานะ
และเพศ พร้อมทั้งก�าหนดมาตรฐานการทักทายเสียใหม่ เช่น ใช้ค�าว่า “สวัสดี”
พ.ศ. ๒๔๘๕ รัฐบาลก่อตั้ง สภำวั นธรรมแห่งชำติ ขึ้นเพื่อให้นิยามและแพร่
ขยายวัฒนธรรมไทย
เนื้อหาหลักประการที่ ๓ ของรัฐนิยมคือความเป็นหนึ่งเดียว จะไม่มี
การแบ่งแยกเป็นชาวไทยเหนือ ชาวไทยอีสาน ฯลฯ แต่จะมีเพียง “ชาวไทย”
คณะกรรมการอีกชุดหนึ่งลบค�าว่า “ลาว” “เงี้ยว” และค�าบรรยายอื่นๆ เกี่ยวกับ
เชื้อชาติที่ไม่ใช่ไทยออกจากเพลงที่ขับร้องกัน
เนื้อหาหลักประการที่ ๔ เป็นประเด็นเรื่องความเจริญ คนไทยต้อง
ช่วยเศรษฐกิจด้วยวิธีการต่างๆ เช่น พึ่งตนเองได้และซื้อของไทย นอกจากนั้น
รัฐนิยมยังก�าหนดมาตรฐานการแต่งตัว การปฏิบัติตนในที่สาธารณะ และการ
ด�าเนินชีวิตในสังคม ทั้งนี้เพื่อจะได้ไม่ถูกต่างชาติวิจารณ์ว่าประเทศไทยไม่
ศิวิไลซ์ รัฐนิยมส่งเสริมให้ประกวดกำรแต่งกำยแบบ “สมัยใหม่” (ดูภาพที่ ๑๙)
คนไทยต้องมีระเบียบวินัยในที่สาธารณะ ต้องเข้าแถวรอคิวอย่างเรียบร้อย และ
ไม่ขีดเขียนเลอะเทอะที่สาธารณะ แนะน�าให้รับวัฒนธรรมตะวันตกบางประการ
เช่น ใช้ช้อนส้อม ใส่หมวก จุมพิตภรรยาก่อนออกจากบ้าน รัฐนิยมฉบับหนึ่ง
เป็นเรื่องกิจวัตรประจ�าวันของคนไทย ก�าหนดตารางเวลาประจ�าวันเพื่อเป็นแบบ
อย่างไว้ให้ด� าเนินรอยตามในการแบ่งเวลาส� าหรับท�างาน รับประทานอาหาร
พักผ่อน หรือท�ากิจการพิเศษ (เช่น ท�าสวนครัว) และนอนหลับ

  คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ภาพที่ ๑ ผู้ที่ได้รับรำงวัลที่ ๑ กำรประกวดเครื่องแต่งกำยประเภทเวลำบ่ำย
และในโอกำสพิเศษ คงจะเป็น พ.ศ. ๒๔๘๔ หรือ ๒๔๘๕
สมัยที่จอมพล ป. ร รงค์ให้เมืองไทยก้ำวเข้ำสู่ควำมทันสมัย
เนื่องจากความเจริญโยงกับจ�านวนและสุขภาวะของประชากร จอมพล
ป. ตั้งใจเพิ่มจ�านวนคนไทยให้ได้ถึง ๔๐ ล้าน อีกทั้งให้แข็งแรงขึ้น มีสุขภาพ
ดีขึ้น จึงเกิดโครงการโภชนาการแห่งชาติขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๘๑ นายแพทย์ผู้ดูแล
โครงการรายงานว่า “ขณะ นี้เราก�าลังอยู่ในระยะของการปฏิวัติ ดังนั้น จึงขอให้
เราปฏิวัติในเรื่องอาหารการกินของประชาชนด้วยอีกประการหนึ่ง”๖๕ รัฐบาล
แนะน�าให้คนไทยกินโปรตีนมากขึ้น ก�าหนดให้พละศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของผัง
การเรียนระดับโรงเรียน และเพิ่มงบประมาณด้านสาธารณสุขและความสะอาด
รัฐนิยมก�าหนดให้สาธารณชนได้รับการศึกษาด้านโภชนาการ รัฐบาลจัดงาน
วันแม่เพื่อเชิดชูความดีของแม่และส่งเสริมให้มีลูกหลายคน ก่อตั้งกระทรวง
สาธารณสุขขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๘๒
เนื้อหาที่ห้าของรัฐนิยมเป็นเรื่องความมั่นคง ในรัฐนิยมฉบับที่สองนิยาม
ว่าอะไรคือการทรยศต่อชาติ เนื้อหาในส่วนนี้โฆษณาให้ประชาชนได้ซึมซับผ่าน
รายการวิทยุเป็นบทสนทนาระหว่างนายมั่นและนายคง ซึ่งชื่อทั้งสองคนนี้มา
จากค�าว่าความมั่นคง มีค�าขวัญ เช่น “มาลาน�าไทยไปสู่อ�านาจ”
จอมพล ป. อธิบายว่า โครงการทั้งหมดท�าไปเพราะว่ารัฐบาลต้องปฏิรูป
และสร้างมิติต่างๆ ของสังคมใหม่ โดยเฉพาะวัฒนธรรมที่ใช้ในความหมายว่า
คือความเติบโต ความงาม ความเรียบร้อย ความเจริญ ความเป็นหนึ่งเดียว
และศีลธรรมชาติ ๖๖
พ.ศ. ๒๔๘๗ รัฐบาลก�าหนด “หลักปฏิบัติ ความกล้าหาญ วีรกรรม
๑๔ ประการ” เลียนแบบบูชิโด (Bushido) หลักปฏิบัติของนักรบซามูไรญี่ปุ่น
ซึ่งหลวงวิจิตรฯ และคนอื่นๆ นิยมชมชอบอยู่ รัฐนิยมฉบับนี้เขียนว่า คนไทย
รักชาติมากกว่าชีวิตตนเอง และให้นิยามคนไทยเป็นนักรบ นับถือศาสนาพุทธ
ขยันขันแข็ง รักความสงบ พึ่งตนเอง ใฝ่หาความเจริญ และจงรักภักดีต่อผู้น� า

สงคราม ลกครังที ๒
กลุ่มจอมพล ป. ได้สร้างสายสัมพันธ์ไว้กับญี่ปุ่นอย่างแน่นหนา แต่
ถึงกระนั้นรัฐบาลจอมพล ป. ก็มีเป้าประสงค์หลักที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้ไทยเข้าไป
พัวพันกับสงครามระหว่างประเทศมหาอ�านาจด้วยการพยายามถ่วงดุลระหว่าง

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


"5

"6

"


"(-%+&/
.

"6

2

-$4%19*#-#**,!092
 -#5":.67%)%&!$+-
(#-"8$*-"(/(,-!' 
4"$*5%+.-(,
(#-"8$*-"(/(,-!' 
$,8#7)40#2092#7)8#!'  
4 $,"%-#3092#7)8#!' 
4

แผนที่ ประเทศไทยในระหว่ำงสงครำมโลกครั้งที่ ๒
ฝ่ า ยพั น ธมิต ร และฝ่ า ยตรงกัน ข้ า มคือ ฝ่ า ยอัก ษะ เมื่อ ฝรั่ง เศสพ่ า ยแพ้ แ ก่
ฮิตเลอร์ ตามด้วยญี่ปุ่นบุกเข้าอินโดจีน จอมพล ป.ได้ฉวยโอกาสในเดือน
มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ส่งกองทหารข้ามชายแดนไปยึดครองบางส่วนของเขมร
ที่ รั่งเศสครอบครองอยู่ ผลของการปะทะกันระหว่างไทยและฝรั่งเศสไม่ชัดเจน
แต่รัฐบาลจอมพล ป. ชิงประกาศว่า “ไทยชนะ” และจัดพิธีสวนสนามเพื่อเฉลิม
ฉลองและก่อสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิขึ้น (ประดับด้วยประติมากรรมลอยตัว
รายรอบแสดงวีรกรรมทหารไทย โดย ศิลป์ พีระศรี) ญี่ปุ่นเข้าแทรกในฐานะ
เป็นตัวกลางเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อบรรลุข้อตกลง ได้ผลว่าฝรั่งเศสยอมยกบริเวณ
ที่เรียกร้องให้ไทย ๒ แห่ง (แผนที่ ๕)
ด้วยเหตุฉะนี้ จอมพล ป. จึงเท่ากับเป็นหนี้ญี่ปุ่น เมื่อญี่ปุ่นแจ้งให้เขา
ทราบว่าญี่ปุ่นจะยกพลขึ้นบกที่เมืองไทยเพื่อเข้าโจมตีอังกฤษที่มลายูและที่พม่า
จอมพล ป. ก็ได้ชักจูงให้คณะรัฐมนตรียอมท�าตามค�าขอของญี่ปุ่น เพื่อที่เมือง
ไทยจะได้ “ดินแดนที่เสียไป” กลับคืนมาอีกเป็นการแลกเปลี่ยน ดังนั้น กอง
ก�าลังญี่ปุนจึงยกพลขึ้นบกเมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ขั้นแรกรัฐบาล
ไทยยินยอมเพียงให้กองก�าลังญี่ปุ่นผ่านไปประเทศอื่น แต่ในเดือนมกราคม
พ.ศ. ๒๔๘๕ ได้ ป ระกาศสงครามเป็ น ทางการกั บ อั ง กฤษและสหรั ฐ อเมริ ก า
จอมพล ป. บอกกับคณะรัฐมนตรีความว่า ไทยไม่ควรปล่อยให้ ี่ปุ นสร้ำง
เอเชียแต่เพียงล�ำพัง ถ้าไทยเข้าร่วม ญี่ปุ่นจะซาบซึ้งกับไทย และยังเสนอความ
เห็นว่าถึงเวลาที่ไทยจะประกาศสงครามโดยอยู่ฝ่ายเดียวกับผู้ที่จะได้รับชัยชนะ๖๗
เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ด้วยความเห็นชอบจากญี่ปุ่น รัฐบาลส่งกองทัพ
ไทยขึ้นเหนือเพื่อยึดครองดินแดนพม่าที่รัฐไทยใหญ่
จอมพล ป. มีจินตนาการว่า ไทยเป็นหุ้นส่วนกับ ี่ปุ นโดยร่วมมือกัน
ก�ำจัดมหำอ�ำนำจเจ้ำอำ ำนิคมตะวันตกออกไปจำกเอเชีย หลวงวิจิตรฯ ได้รับ
การเลื่อนขั้นให้ด�ารงต�าแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศขณะนั้นฝันว่า เมืองไทยจะ
ยกระดับเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมเอเชียใต้ ๖๘ ดังนั้น “เราจะต้องพร้อมใจ
ขอใช้ค�าว่า ไทยอารยธรรมในเอเ ีย ” ๖๙ แต่ในความเป็นจริง ี่ปุนป ิบัติต่อ
ไทยเสมือนรัฐในครอบครอง ทหารญี่ปุ่นดูถูกไทยว่าด้อยกว่า และรัฐบาลญี่ปุ่น
ก็หาประโยชน์จากเศรษฐกิจอย่างไม่ปรานีปราศรัยในฐานะไทยเป็นผู้จัดหาเสบียง
เพื่อการสงคราม ครั้นถึงกลางปี ๒๔๘๖ ผู้นา� ที่เมืองไทยตระหนักว่าญี่ปุ่นก�าลัง
จะแพ้สงคราม จึงพยายามที่จะผ่อนคลายความสัมพันธ์ที่เคยแนบแน่น
ญี่ปุ่นตระหนักดีจึงพยายามกระชับความสัมพันธ์โดย “นายกรัฐมนตรี

  คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ญี่ปุ่น” เดินทางมาเยือนไทย และให้การรับรองอย่างเป็นทางการว่าไทยเข้าครอบ
ครอง ๔ รัฐที่แหลมมลายู และ ๒ รัฐที่ไทยใหญ่ แต่จอมพล ป. ปฏิเสธที่จะ
เข้าร่วมในการประชุมวงไพบูลย์แห่งเอเชียบูรพาที่โตเกียวในเดือนพฤศจิกายน
พ.ศ. ๒๔๘๖ และได้ส่งคนน�าสารไปติดต่อกับฝ่ายพันธมิตรโดยผ่านไปทางจีน
จอมพล ป. บอกกับแม่ทัพคนหนึ่งว่า “ า น า แพ
น า า นี า นนแ า ๗๐
รัฐบาลไทยเริ่มส่งข่าว
ราชการลับให้กับ ายพันธมิตรและเตรียมแผนการต่อต้านญี่ปุน
“สงคราม” เพิ่มช่องห่างระหว่างค ะรำษ ร ำยทหำรที่นิยมชมชอบ
รัฐบาลทหารฝ่ายอักษะ กับค ะรำษ ร ำยพลเรือนที่ได้ไปเรียนที่อังกฤษและ
ฝรั่งเศสและนิยมชมชอบฝ่ายพันธมิตร หลังจากญี่ปุ่นเข้าไทย นายปรีดี พนม
ยงค์ หั ว หน้ า ของฝ่ า ยพลเรื อ นถู ก ดั น ให้ อ อกจากคณะรั ฐ มนตรี และไปเป็ น
ผู ้ ส�า เร็ จ ราชการแทนพระองค์ นายปรี ดี เ ริ่ ม จั ด ตั้ ง ขบวนการเสรี ไ ทย เพื่ อ
ทัดทานญี่ปุ่นและส่ง จ�ากัด พลางกูร ไปเมืองจีนเพื่อติดต่อกับฝ่ายพันธมิตร
กลางปี ๒๔๘๖ ในเวลาเดียวกัน นักเรียนและคนไทยอื่นๆ ที่อังกฤษและสหรัฐ
จัดตั้งกลุ่มเสรีไทยเสนอตัวเข้าช่วยฝ่ายพันธมิตร หัวหน้าเสรีไทยที่สหรัฐคือ
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เอกอัครราชทูตไทย
ต้นป ๒๔๘๗ “เสรีไทย” กลุ่มในและนอกประเทศติดต่อกันได้ จึงส่ง
คนและอาวุธใช้การโดดร่มเข้าเมืองไทยเพื่อสู้กับญี่ปุน ทั้งเสรีไทยใต้ดินของ
นายปรีดี และรัฐบาลของจอมพล ป. ให้ความช่วยเหลืออย่างลับๆ
เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ กลุ่มของนายปรีดีผลักดันจอมพล ป.
ออกจากอ�านาจได้ส�าเร็จ เพื่อเพิ่มโอกาสที่ไทยจะได้เจรจากับฝ่ายพันธมิตร และ
ไม่ถูกจัดวางเป็นศัตรูของพันธมิตร ขบวนการเสรีไทยต้องการที่จะแสดงให้เห็น
การต่อต้านญี่ปุ่นที่ลุกฮือขึ้นเพื่อที่จะประกาศจุดยืนของไทย แต่ฝ่ายพันธมิตร
ห้ามปรามเอาไว้ ดังนั้น จึงมีเพียงการต่อต้านไม่กี่แห่งเมื่อสงครามสิ้นสุดลง
อังกฤษต้องการลงโทษและครอบง�าไทยช่วงหลังสงคราม โดยเฉพาะต้องการ
ได้ข้าวจากไทยเอาไปให้กับอาณานิคมของตนซึ่งเผชิญปัญหาข้าวยากหมากแพง
เป็นอย่างยิ่ง แต่สหรัฐอเมริกาไม่เห็นด้วยกับการที่มหาอ� านาจอาณานิคมจะ
หวนคืนเข้าครอบครองเอเชียอีก และแสดงให้ไทยเห็นชัดเจนว่า สหรัฐจะปฏิบัติ
กับไทยเสมือนเป็น “ประเทศซึ่งถูกศัตรูเข้ายึดครอง” (คือไม่ได้เป็นฝ่ายญี่ปุ่น)
นายปรีดีต้องการกระชับแรงสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาดังกล่าวนี้ จึงเชื้อเชิญ
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ให้เดินทางกลับจากสหรัฐ เพื่อด�ารงต�าแหน่ง นายกรัฐ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย  
มนตรี และเป็นหัวหน้าคณะเจรจาสันติภาพอย่างเป็นทางการ ท้ายที่สุดอังกฤษ
พอใจที่ไทยยอมส่งข้าวให้ เพื่อชดเชยความเสียหายช่วงสงครามให้อังกฤษ และ
สหรัฐก็ได้ยืนยันว่าเขตแดนของประเทศไทยจะต้องหวนกลับไปสู่สถานะก่อน
สงคราม

ขณะที่กลุ่มนิยมเจ้าแนวปฏิรูปสมัยรัชกาลที่ ๕ ต้องการให้มีรัฐเข้มแข็ง
ในลักษณะอ�านาจนิยม เพื่อที่สยามจะได้อยู่รอดเป็นหนึ่งในประเทศส�าคัญของ
โลก สามัญชนแนวชาตินิยมกลับเสนอว่า เปาประสงค์หลักของรัฐชาติคือ
ความอยู่ดีมีสุขของคนในชาติ นั่นคือต้องสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจเพื่อ
ให้ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศได้ประโยชน์ ด้วยการท�านุบ�ารุงการเกษตร
อุตสาหกรรม และด้วยการยุติความเอารัดเอาเปรียบจากชนชั้นน�าดั้งเดิมและโดย
ประเทศเจ้าอาณานิคม นอกจากนั้นรัฐจะต้องลงทุนจัดหาการบริการสาธารณะ
รวมทั้งการศึกษา การสาธารณสุข และการคมนาคมการขนส่ง โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งต้องสร้างสถาบันใหม่ๆ หลักการนิติรัฐ และรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นเครื่องมือ
จ�ากัดหรือห้ามอ�านาจเก่าขึ้นมาเป็นใหญ่ พร้อมทั้งส่งเสริมอ�านาจให้แก่กลุ่มใหม่ๆ
วิสัยทัศน์ที่สองเกี่ยวกับบทบาทรัฐชาตินี้ ตั้งใจให้แตกต่างฉีกแนวออก
ไปจากจินตภาพความเป็นชายชาญหาญกล้า นักหนังสือพิมพ์วิจารณ์ระบบชาย
มีภรรยาหลายคนเป็นจุดสุดยอดของอ�านาจดั้งเดิม นวนิยายและเรื่องเล่าเต็มไป
ด้วยตัวเอกหญิงที่เชื่อมั่นในตัวเอง รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๔๗๕ ให้สิทธิแก่ชาย
และหญิงเท่าเทียมกัน แม้แต่หลวงวิจิตรฯ ยังเขียนบทละครหลายเรื่องมีนาง
เอกเป็นตัวชูโรง ดึงเอาผู้หญิงในอดีตมาเป็นนางเอกในละครและรูปปั้นที่ถาวร
แม้ว่าผู้หญิงเหล่านี้มีพฤติกรรมค่อนไปทางเป็นนักรบ
แต่วิสัยทัศน์ที่สองนี้ไม่ค่อยมั่นคงนัก ผู้สนับสนุนการปฏิวัติ พ.ศ.
๒๔๗๕ หลักๆ เป็นข้าราชการของรัฐชาติ ค่อนข้างจะเชื่อถือในความสามารถ
ของรัฐชาติที่จะแปรรูปเศรษฐกิจและสังคมจากบนลงล่าง พวกเขาไม่แน่ใจ
ว่ามีฐานมวลชนระดับล่างที่พร้อมจะลุกฮือช่วยปกป้องคณะราษฎรจากการรัฐ
ประหารซ้อนโดยฝ่ายนิยมเจ้าได้ คณะราษฎรฝ่ายทหารของจอมพล ป. ได้รับ

  คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


อิทธิพลความคิดแนวฟาสซิสม์ มีภาพของผู้นา� ทหารที่เข้มแข็งในอุดมคติ ผู้นา�
ที่เข้มเข็งนี้จะสร้างสังคมหนึ่งเดียวที่มีระเบียบวินัย น�าสังคมก้าวสู่ความทันสมัย
และเจริญเติบโตอยู่รอดปลอดภัยในโลกที่ชาตินิยมหลายแบบแข่งขันกัน าย
ทหารน�าโดยจอมพล ป. นี้สร้างวิสัยทัศน์รัฐเข้มแข็ง ่ึงใกล้เคียงกับวิสัยทัศน์
ของราชส�านักสมัยรัชกาลที่ ๕ ขาดแต่เพียงไม่มีกษัตริย์เท่านั้น
ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๘๘ เศรษฐกิจไทยซบเซา เพราะว่าญี่ปุ่นดูดซับเงิน
ทองข้าวของเพื่อการสงคราม กรุงเทพฯ ถูกบอมบ์จากฝ่ายพันธมิตรมากกว่า
๔,๐๐๐ ครั้ง ส่งผลให้ประมาณร้อยละ ๖๐ ของประชากรต้องหลบภัยไปนอก
พระนคร ญี่ปุ น ึ่งเป็นแบบอย่าง “ความเจริญ” ของเอเชียพ่ายแพ้สงคราม
และผู้น�า ายไทยพยายามปฏิเสธว่าไทยอยู่ข้างญี่ปุ นเพื่อรักษาอิสรภาพใน
กระบวนการต่อรองเพื่อสันติภาพ แนวคิดเรื่องรัฐเข้มแข็งจึงขาดความน่า
เชื่อถืออย่างน้อยก็เป็นการชั่วคราว นวัตกรรมบางอย่างของจอมพล ป. ถูก
ยกเลิก รวมทั้งรัฐนิยมเรื่องการแต่งกาย การประพฤติตนในสังคม การปฏิรูป
ภาษาไทย และหลักปฏิบัติของนักรบบูชิโด แม้กระทั่งชื่อของสยามที่ถูกเปลี่ยน
เป็น “ประเทศไทย” ก็หวนกลับมาเป็น “สยาม” อีกชั่วคราวในเดือนกันยายน
พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นเวลา ๓ ป แต่เฉพาะในภาษาอังก ษ
อย่างไรก็ตาม นวัตกรรมหลายอย่างของจอมพล ป. และหลวงวิจิตรฯ
คงอยู่ เพราะได้รับการยอมรับจากสังคมเมืองยุคใหม่ หลวงวิจิตรฯ สร้างคน
ไทยให้เป็นทั้งพลเมืองของรัฐชาติหนึ่ง และเป็นผู้มีประวัติศาสตร์ มีลักษณะ
นิสัยของชาติ เขาแนะน�าว่าคนไทยควรจะปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อเป็นพลเมือง
สมัยใหม่ของโลก เขาช่วยข้าราชการใหม่ให้มีจินตภาพเป็นผู้น�าอุปถัมภ์ที่จะช่วย
ลดความทุกข์ยาก และเพิ่มความอยู่ดีมีสุขให้กับชาวนาที่ล้าหลังและไร้อ�านาจ
การเมือง
จอมพล ป. และหลวงวิจิตรฯ สร้างวิสัยทัศน์รัฐชาติของเขาจากราก
ฐาน ึ่งพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ สมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงฯ และพระมงกุ
เกล้าฯ ทรงวางเอาไว้แล้ว แทนที่จะขุดรากถอนโคนฐานนี้และเริ่มใหม่ จอม
พล ป. และหลวงวิจิตรฯ ยังคงมีจินตนาการว่าไทยเป็นชาติที่มีคุณลักษณะ
เป็นนักรบถูกย�่ายีโดยเพื่อนบ้านและประเทศมหาอ�านาจ แต่รอดมาได้เพราะ
ว่ามีผู้น�าช่วยสร้างความเป็นหนึ่งเดียวและอุทิศตนเพื่อความเจริญ แม้ว่า คณะ
ราษ รจะท�าการปฏิวัติและน�าพระมหากษัตริย์ไว้ใต้รัฐธรรมนูญ แต่ไม่เคย

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย  
พยายามเคลื่อนไปสู่ระบอบสาธารณรัฐ และยังคงปฏิบัติกับมวลชนเสมือนเป็น
“ไทยมุง” ที่จับตาดูการเมืองอยู่ห่างๆ ขณะที่การเมืองถูกขับเคลื่อนไปโดยการ
รัฐประหารและแผนซ้อนแผนของกลุ่มอ�านาจระดับน�าจ�านวนหยิบมือหนึ่งซ�้าแล้ว
ซ�้าเล่า
นับว่าเป็นการเมืองของเมืองหลวงในสังคมที่มีชาวนาเป็นคนส่วนใหญ่
ของประเทศ ชนชั้นน�าประกอบด้วย ผู้นิยมเจ้า ฝ่ายทหาร นักธุรกิจ และนัก
วิชาชีพที่แวดล้อมนายปรีดี แต่ละกลุ่มต้องการมีอิทธิพลเหนือกลไกส่วนกลาง
ของรัฐชาติใหม่ แต่สงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้ก่อการเปลี่ยนแปลง ๒ ประการ
ที่ส่งผลให้การเมืองนี้ถึงกาลยุติ ประการหนึ่ง ภาวะสงครามท�าให้รัฐบาลต้อง
เข้าแทรกแซงระบบเศรษฐกิจมากขึ้น เศรษฐกิจคลอนแคลนและผันแปรเป็น
อย่างยิ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้างมากกว่าเดิม เศรษฐกิจวิกฤตช่วง
หลังสงครามน�าความทุกข์ยากสู่มวลชน และกระตุ้นการเคลื่อนไหวทางการเมือง
ระดับมวลชน ประการที่สอง สงครามดึงเมืองไทยให้เข้าเกี่ยวโยงกับการเมือง
ระหว่างประเทศอย่างแนบแน่น โดยมีจีน โซเวียตรัสเซีย ญี่ปุ่น และมหาอ�านาจ
ตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาเป็นตัวละครหลัก เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒
สิ้นสุดลง ประเทศมหาอ�านาจแยกเป็นค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายทุนนิยม แต่
ละค่ายมีวิสัยทัศน์เรื่องบทบาทรัฐเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองอันพึง
ปรารถนาต่างกันไป การต่อสู้เพื่อให้นิยามรัฐชาติไทย และการเข้าควบคุมรัฐ
จึงต้องปรับแปลงภายใต้บริบทของสงครามเย็นนี้

  คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


สมัยอเมริกัน ละพั นาการ
ทศวรรษ ๒๔๘
งทศวรรษ ๒๕๑
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สหรัฐกลายเป็นผู้อุปถัมภ์และได้เข้าแทรกแ ง
การเมืองและเศรษฐกิจไทยลุ่มลึกมากกว่าที่มหาอ�านาจใดๆ เคยท�ากับสยามมา
ก่อน ในสมัยอาณานิคมอังกฤษและฝรั่งเศสได้พุ่งความสนใจไปที่กลุ่มประเทศ
อาณานิคมของตนเอง และไม่ได้ใส่ใจกับสยามมากนัก สหรัฐถือเป็นโอกาสที่
จะหล่อหลอมไทยให้เป็นพันธมิตรและฐานที่มั่นเพื่อที่จะช่วยด� าเนินนโยบาย
ต่อต้านการแผ่ขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสม์ในเอเชีย สหรัฐต้องการสร้าง
เสริมเพิ่มความสามารถให้ไทยด�าเนินบทบาทนี้ได้ส�าเร็จ โดยได้เข้ามาช่วยฟื้นฟู
กองทัพและส่งเสริมให้ไทยมีรัฐบาลทหารเผด็จการที่เข้มแข็ง หลังจากที่บทบาท
ของทหารได้ซบเซาไปในช่วงที่สงครามโลกครั้งที่ ๒ ก�าลังจะสิ้นสุดลง
สหรั ฐ มุ ่ ง หวั ง ให้ ไ ทยเป็ น สมาชิ ก ของ “โลกเสรี นิ ย ม” ภายใต้ ภ าวะ
สงครามเย็น ึ่งหมายถึงการต่อสู้กันด้านอุดมการณ์ระหว่าง ายโลกเสรีที่มี
อเมริกาเป็นหัวหอก กับประเทศคอมมิวนิสต์ ึ่งมีโ เวียตรัสเ ียและจีนเป็น
หัวหอก สหรัฐจึงส่งเสริม “พัฒนาการ” หมายถึงความเติบโตด้านเศรษฐกิจ
ภายใต้ระบอบทุนนิยมเอกชน และเพื่อให้รัฐไทยมี “ความมั่นคงของชาติ” จึง
ให้เงินช่วยเหลือเป็นจ�านวนมาก เพื่อช่วยขยายขอบข่ายและบทบาทกลไกของ
รัฐชาติที่จะเข้าก�ากับและครอบง�าสังคมได้กว้างขวางและลุ่มลึกกว่าที่เคยมีมาก่อน
ภายใต้สภาพดังกล่าว ชนชั้นน�าใหม่พุ่งขึ้น ประกอบด้วยนายพล ข้า
ราชการระดับสูง และผู้น�าของวิสาหกิจขนาดใหญ่ใหม่ๆ กลุ่มธุรกิจสามารถหา
ประโยชน์จากก�าลังแรงงานและทรัพยากรธรรมชาติอย่างเต็มที่ ภายใต้ระบอบ
เผด็จการและอุดมการณ์พัฒนา ชนบทไทยปรับแปลงอีกรอบหนึ่ง เมื่อเกษตร
บุกเบิกได้ขยายเข้าสู่บริเวณที่เคยเป็นป่าเขาบนที่ราบสูง อีกทั้งเกษตรกรราย
เล็กเข้าพัวพันเกี่ยวโยงกับเศรษฐกิจระบบตลาดอย่างเต็มที่ ภายใต้บริบทการ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
เปลี่ ย นแปลงนั้ น ระบบสั ง คมและการเมื อ งแบบดั้ ง เดิ ม ค่ อ ยเลื อ นหายไปใน
ประวัติศาสตร์

จากสงคราม ลกสู่สงคราม าย น
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ไทยได้รับความเสียหายทางเศรษฐกิจและ
เผชิญภาวะความวุ่นวายทางการเมือง รัฐบาลของจอมพล ป. ล่มลงใน พ.ศ.
๒๔๘๔ ท�าให้นายปรีดี พนมยงค์กลับมาเป็นใหญ่อีกครั้ง นายปรีดีสานต่องาน
สืบสานประชาธิปไตยที่ท�าค้างอยู่ โดยเข้าควบคุมการผ่านรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ.
๒๔๘๙ ซึ่งก�าหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ฝ่าย
พลเรือนของค ะรำษ รที่ยังหลงเหลืออยู่ ผนวกกับกลุ่มเสรีไทย ร่วมมือกัน
ก่อตั้งพรรคการเมืองเพื่อสนับสนุนนายปรีดี นายปรีดีถอดถอนนายทหารฝ่าย
ของจอมพล ป. และออกกฎหมายเพื่อจ�ากัดบทบาทของทหารในการเมือง เขา
ตระหนักดีว่าแรงงานเมืองมีบทบาทส�าคัญขึ้นเนื่องจากการขยายตัวของทุนนิยม
โดยรัฐสมัยจอมพล ป. จึงสนับสนุนให้มีก หมำยคุ้มครองสิทธิและปกปองคน
งำน อีกทั้งสนับสนุนประเทศเพื่อนบ้านที่เรียกร้องอิสรภาพจากมหาอ�านาจอาณา
นิคม
นายปรีดีมีวิสัยทัศน์ว่าประเทศไทยอาจจะด�าเนินบทบาทพิเศษเป็น
แบบอย่างและคู่มิตร ช่วยให้เพื่อนบ้านเป็นไทจากเจ้าอาณานิคม และสถาปนา
ประชาธิปไตยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ส�าเร็จ
แต่พลังอื่นๆ ในสังคมไม่ได้เห็นพ้องกับนายปรีดี ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่
จะลดทอนบทบาทของกลุ่มทหาร ซึ่งเคยมีอา� นาจสูงมากก่อนหน้านี้ กองทัพไทย
ที่จอมพล ป. ส่งไปบุกไทยใหญ่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ ต้องยาตราทัพกลับบ้าน เสีย
หน้าและโกรธมากที่รัฐบาลไม่ได้หนุนช่วยเมื่อต้องล่าทัพกลับ และแถมยังไม่
สามารถเรียกร้อง “ดินแดนที่เสียไป” กลับคืนมา บรรดานายพลทั้งหลายไม่
พอใจเลย พวกเขาจับตาดูกลุ่มนักธุรกิจและนักการเมืองใหม่ที่จับมือกันได้ผล
ประโยชน์ ในบริบทของระบบบริหารที่ได้ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕
ายนิยมเจ้าก็หวนกลับมาอีก ดูเป็นเรื่องน่าแปลกทีเดียวที่ว่านายปรีดี
ผู้ ึ่งต่อต้านระบบเจ้า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ นั้นกลับเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงแผ้วถาง

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ทางสะดวกให้กลุ่มนิยมเจ้าหวนคืนถิ่น หลังจากที่เขาถูกผลักออกจาก “คณะ
รัฐมนตรี” โดยได้รับแต่งตั้งให้เป็น “ผู้ส�าเร็จราชการแทนพระองค์” เมื่อป
๒๔๘๔ นายปรีดีได้มีโอกาสสร้างสายสัมพันธ์อันดีกับสมาชิกของพระราชวงศ์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมเด็จพระนางเจ้าร�าไพพรรณี
ในฐานะที่เขาเป็นหัวหน้ำขบวนกำรเสรีไทย นายปรีดีมีโอกาสได้ใกล้ชิด
กับสมาชิกพระราชวงศ์ที่เข้าร่วมอยู่ในขบวนการเสรีไทยที่อังกฤษ จากปี ๒๔๘๗
เขาได้น�าผู้นิยมเจ้ากลับเข้ามาในวงการเมืองอีกครั้ง อาจเป็นเพราะต้องการให้
พวกเขาถ่วงดุลอ�านาจกับจอมพล ป. และกองทัพ นายปรีดีได้ “นิรโทษกรรม”
นักโทษการเมือง ๖๑ ราย ส่วนใหญ่ก็คือฝ่ายนิยมเจ้าที่ถูกจอมพล ป. ลงโทษ
จ�าคุก และส�าหรับพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากที่พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์
นายปรีดีได้คืน “พระราชอิสริยยศ” ซึ่งจอมพล ป. ปลดออกไป
เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๘๘ นายปรีดีเชิญ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ให้
เดินทางกลับจากสหรัฐเพื่อด�ารงต�าแหน่ง “นายกรัฐมนตรี” และในเดือนธันวาคม
ได้เชื้อเชิญให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จพระราชด�าเนิน
นิวัติพระนครเป็นการชั่วคราว เพื่อเฉลิมฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพครบ
รอบ ๒๑ พระชันษา ในโอกาสนั้น ราชนิกุลจ�านวนมากซึ่งได้ลี้ภัยไปต่างประ
เทศได้เดินทางกลับไทย และผู้นิยมเจ้าอื่นๆ ที่เคยเก็บตัวเงียบอยู่ก็ออกสังคม
อีกครั้งหนึ่ง มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าพวกเขายัง “กริ่งเกรง...เพรำะคิดว่ำอำจจะถูก
ยึดทรัพย์สิน” และ “ผู้ที่มีควำมคิดสุดขั้ว ก็ยังไม่สิ้นหวังว่ำอำจจะฟนฟูระบอบ
สมบูร ำ ำสิทธิรำชย์ขึ้นมำได้อีก เพื่อให้พวกเขำได้หวนคืนเอำอภิสิทธิ์ที่หำย
ไปกลับมำ” ๑ ม.ร.ว.เสนีย์ และน้องชายคือ ม.ร.ว.คึก ทธิ ก่อตั้ง “พรรคประ
ชาธิปัตย์” เพื่อคานอ�านาจนายปรีดีในรัฐสภา แต่ดังที่ ม.ร.ว.เสนีย์เคยตั้งข้อ
สังเกตไว้ แม้ว่านายปรีดีจะแสดงความโน้มเอียงเป็นมิตรกับเจ้าอย่างไร “แต่
พวกเรำไม่เคยหมดควำมสงสัยเลยว่ำ นำยปรีดีเป็นคอมมิวนิสต์” ๒
ปัญหาเศรษฐกิจหลังสงคราม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเงินเฟ้อซึ่งพุ่ง
ขึ้นสูงถึงมากกว่าร้อยละ ๑,๐๐๐ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๑ ท�าให้การเมืองทวีความ
ซับซ้อนขึ้น ข้าราชการจ�านวนไม่น้อยที่เงินเดือนไม่ได้ปรับตามเงินเฟ้อ บางคน
เพิ่มรายได้ด้วยการคอร์รัปชั่น บ้างก็ท�าความผิดด้านอื่นๆ เนื่องจากการค้าติด
ขัด ของกินใช้ประจ�าวันจึงขาดแคลน คนงานค่าจ้างต�่าได้รับผลกระทบอย่างจัง
พวกเขารวมตัวกันทางการเมืองมาก่อนหน้านี้แล้ว บ้างได้เข้าร่วมขบวนการเสรี
ไทย บ้างได้เข้าร่วมในการเคลื่อนไหวของฝ่ายซ้ายช่วงสงคราม ยิ่งเมื่อปัญหา

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ข้าวยากหมากแพงปะทุขึ้น ยิ่งเร่งเร้าให้คนงานเข้าร่วมเดินขบวนประท้วงและ
ก่อตั้งสหภาพแรงงาน พ.ศ. ๒๔๘๘ บรรดาคนงานโรงสีข้าว คนงานท่าเรือ คน
งานโรงงานปูนซีเมนต์ โรงงานน�้ามัน และโรงไม้นัดหยุดงาน สมาคมสหอาชีวะ
กรรมกรแห่งประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐ และอีก ๒ ปีต่อมามี
สมาชิก ๖๐,๐๐๐ คน เนื่องจากฝ่ายพันธมิตรได้โดดร่มทิ้งอาวุธยุทโธปกรณ์
แก่ประเทศไทยเป็นจ�านวนมากในช่วงสงคราม และรัฐบาลยึดอาวุธได้อีกเมื่อ
ญี่ปุ่นแพ้สงคราม ไทยจึงมีอาวุธปืนประเภทต่างๆ กระจายอยู่ทั่วไปจนกล่าวกัน
ว่า “จะ ื้อปนเนี่ย ง่ำยยังกะ ื้อเบียร์ ักแก้วนั่นแน่ะ” ๓
ผู้น�าทางการเมืองกลุ่มต่างๆ ในขณะนั้นแสวงหาแรงสนับสนุนกลุ่มของ
ตนจากพลังทางการเมืองใหม่ๆ เหล่านี้ กลุ่มของนายปรีดีสนับสนุนองค์กรคน
งาน และใช้งบประมาณจากภาครัฐอุดหนุนการเดินขบวน ฝ่ายทหารร่วมมือกับ
นายธนาคารจ้างนักเขียนฝ่ายซ้ายฝีมือดีจัดท�าหนังสือพิมพ์เพื่อโจมตีฝ่ายศัตรู
ภาวะสับสนเช่นที่ว่านี้ถึงจุดสูงสุดเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
เสด็จสวรรคตโดยอาวุธปน เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ ไม่เคยมีค�าอธิบาย
สาเหตุของการสิ้นพระชนม์นี้อย่างสมเหตุสมผล นักการเมืองฝ่ายนิยมเจ้า
โดยเฉพาะ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ และ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช พุ่งค�ากล่าวหาไปที่นาย
ปรีดี มหาดเล็กในวัง ๓ คน มีคนหนึ่งที่เกี่ยวโยงกับนายปรีดี ต่อมาถูกจับกุม
และในท้ายที่สุดถูกลงโทษประหาร อธิบดีกรมต� ารวจ ผู้ด�าเนินการสืบสวน
สอบสวนเป็นพี่เขยของสองพี่น้องตระกูลปราโมช ต่อมาศาลพบว่าอธิบดีคนนี้
ติดสินบนพยานเพื่อให้ใส่ร้ายนายปรีดี พระอนุชาของพระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัวอานันทมหิดล คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรง
สืบราชสมบัติเป็น พระมหากษัตริย์ องค์ต่อมา และได้เสด็จพระราชด�าเนินกลับ
ไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทรงศึกษาต่อให้ส�าเร็จ
วันที่ ๘ พ ศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐ กองทัพบกยึดอ�านาจด้วยการรัฐ
ประหาร โดยมีจอมพล ป. เป็นผู้น�า แต่คนวางแผนเป็นทหารผ่านศึกที่ไปรบ
ไทยใหญ่เมื่อปี ๒๔๘๕ บุคคลส�าคัญคือ จอมพลผิน ชุนหะวั แม่ทัพที่ไปรบ
ไทยใหญ่ เผ่ำ ศรียำนนท์ ลูกเขยและคนสนิท และสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชา
การกองพลที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้ควบคุมก�าลังทหารที่พระนคร ทั้งนี้ จอมพลผินอ้าง
ว่าท�ารัฐประหารเพราะฝ่ายเสรีไทยของนายปรีดีก�าลังจะปฏิวัติเปลี่ยนไปสู่ระบอบ
สาธารณรัฐ คณะรัฐประหารประกาศว่ากระท�าการเพื่อศักดิ์ศรีของกองทัพ เพื่อ
ให้ชัดแจ้งเรื่องการปลงพระชนม์ และเพื่อจัดตั้งรัฐบาลที่ “จะยึดมั่นในหลักกำร

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ชำติ ศำสนำ พระมหำกษัตริย์” ๔ นับว่าเป็นการฟื้นฟูสูตรชาตินิยมของพระมงกุฎ
เกล้าฯ แต่เบื้องลึกฝ่ายนิยมเจ้ามีบทบาทด้วย
เอกอัครราชทูตอังกฤษรายงานว่า รัฐประหาร ครั้งนี้เป็น “กระบวนกำร
ำยขวำมีกำรสนับสนุนจำกพระรำชวงศ์” ๕ ผู้ส�าเร็จราชการแทนพระองค์ (พระ
องค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์) ประกาศรับรัฐประหารเป็นทางการภายใน ๒๔ ชั่วโมง
สองสัปดาห์ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงส่งพระราชสาส์น
มาจากสวิตเซอร์แลนด์มีเนื้อความตอนหนึ่งว่า “ทุก คนที่ร่วมป ิบัติกำรครั้ง
นี้ได้ตกลงแน่วแน่ว่ำไม่ต้องกำรช่วงชิงอ�ำนำจหำควำมดีใส่ตนเลย มีจุดประสงค์
เพียงแต่จะให้รัฐบำลใหม่...ได้เข้ำมำบริหำรรำชกำร ท� ำนุบ�ำรุงประเทศให้เจริ
รุ่งเรืองและปลดเปลื้องควำมยุ่งยำก” ๖
ช่วง ๕ ปให้หลัง ายรัฐประหารและ ายผู้สนับสนุนนายปรีดี ยัง
แก่งแย่งอ�านาจกันอยู่ เมื่อจอมพล ป. และพวกยึดอ�านาจได้ส�าเร็จ นายปรีดี
และพรรคพวกอีก ๒ ๓ คนลี้ภัยไปต่างประเทศอย่างหวุดหวิด คณะรัฐประหาร
ถอดถอนนายทหารที่เป็นพวกเสรีไทย และเอาคนของตนเข้าด�ารงต�าแหน่ง
กรรมการรัฐวิสาหกิจและธนาคารแทนคนของนายปรีดีจนหมดสิ้น
พ.ศ. ๒๔๙๑ นักกำรเมืองอีสำนที่สนับสนุนนายปรีดีถูกจับและโดนข้อ
กล่าวหาว่าวางแผนกบฏ แต่ต่อมาได้รับการปลดปล่อย เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.
๒๔๙๒ นายปรีดีลอบเข้ากรุงเทพฯ โดยพยายามยึดอ�านาจและใช้อาวุธปืนที่
หลงเหลืออยู่ในกลุ่มเสรีไทย ส ษดิ ธนะรัชต์ ส�าแดงความส�าคัญของกองพล
ที่ ๑ โจมตีฝ่ายของนายปรีดีที่พระราชวังได้ส�าเร็จ (จึงมีชื่อเรียก “กบฏวังหลวง”)
นายปรีดีต้องลี้ภัยอีกครั้งและอย่างถาวร หนึ่งเดือนต่อมา ส.ส. ที่สนับสนุนนาย
ปรีดี ๓ คน และพรรคพวกอีกหนึ่งคนถูกยิงเสียชีวิตขณะถูกต�ารวจควบคุมตัว
ต่อมาอีกเดือนหนึ่ง ส.ส. อีกคนที่นิยมนายปรีดีก็ถูกยิงหลังจากที่ได้เข้ามอบตัว
กับต�ารวจ
มิ ถุ น ายน พ.ศ. ๒๔๙๔ นายทหารเรื อ ฝ่า ยนายปรี ดี ที่ ห ลงเหลื อ อยู ่
พยายามท�ารัฐประหาร โดยจับกุมตัวจอมพล ป. ขณะก�าลังท�าพิธีรับมอบเรือรบ
จากรัฐบาลสหรัฐ(กบฏแมนฮัตตัน) ทหารฝ่ายรัฐบาลกลับทิ้งระเบิดจมเรือกลาง
แม่น�้าเจ้าพระยา จนจอมพล ป. ต้องว่ายน�า้ กลับเข้าฝั่งเอง แสดงให้เห็นว่าขณะ
นั้นอ�านาจอยู่ในมือของสฤษดิ์และเผ่า จอมพล ป. เป็นเพียงผู้นา� รัฐบาลในนาม
หลังจากนั้นกองทัพเรือถูกลิดรอนอ�านาจอย่างสิ้นเชิง ฝ่ายนายปรีดีถึงคราวพ่าย
แพ้แก่อ�านาจปืน

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ภายหลังรัฐประหาร พ.ศ. ๒๔๙๐ พรรคประชาธิปัตย์ฝ่ายนิยมเจ้าเข้า
เป็นใหญ่ในคณะรัฐมนตรี ขณะที่บรรดานายทหารกุมอ�านาจอยู่เบื้องหลัง แต่
ทั้งสองฝ่ายนี้ไม่ได้มีเป้าประสงค์เดียวกันด้านนโยบายใดๆ ยกเว้นความเป็น
ปรปักษ์ต่อนายปรีดีและต่อต้านเสรีนิยมทางการเมืองเท่านั้น ฝ่ายนิยมเจ้าอยาก
ฟื้นฟูระบอบการปกครองและระบบสังคมแบบดั้งเดิมบางประการ จอมพล ป.
มองตัวเองเป็นผู้พิทักษ์ชาติสมัยใหม่ ตลอดเวลา ๔ ปี จนถึง พ.ศ. ๒๔๙๔
ทั้งสองฝ่ายแก่งแย่งกันแต่งตั้งคนส�าคัญในคณะรัฐบาลและต�าแหน่งต่างๆ เมื่อ
ฝ่ายรัฐบาลปฏิเสธไม่ตั้งเผ่าเป็นอธิบดีกรมต�ารวจ เขาท้ารัฐมนตรีกระทรวง
มหาดไทยที่เป็นคนของพรรคประชาธิปัตย์ให้ดวลปืนกัน
พ.ศ. ๒๔๙๔ “พรรคประชาธิปัตย์” เตรียมร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่จะ
เพิ่มพระราชอ�านาจของพระมหากษัตริย์ให้ทรงแต่งตั้งวุฒิสมาชิก มีอ�านาจ
เหนือกองทัพ ยับยั้งร่างพระราชบัญญัติถอดถอนรัฐมนตรี ออกพระราชก�าหนด
และปฏิรูปรัฐธรรมนูญได้
ฝ่ายกองทัพไม่เห็นด้วย จึงพยายามชักจูงให้พระมหากษัตริย์ซึ่งยังทรง
ศึกษาอยู่ต่างประเทศทรงปรับลดพระราชอ�านาจในร่างรัฐธรรมนูญนั้น เมื่อไม่
ประสบความส�าเร็จ จึงด�าเนินการใช้กา� ลังในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๔
ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชด�าเนินนิวัติ
พระนครเพียง ๑ วัน ฝ่ายกองทัพก่อการรัฐประหารอีกครั้ง (รัฐประหารเงียบ)
ผลักพรรคประชาธิปัตย์ออกไป และยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับนั้นเสีย แต่นา� ฉบับ
พ.ศ. ๒๔๗๕ มาใช้หลังจากปรับเล็กน้อย และจัดตั้งคณะรัฐมนตรี ๒๕ นายที่
มีฝ่ายทหารอยู่ถึง ๑๙ นาย “ผู้ส�าเร็จราชการแทนพระองค์” ปฏิเสธที่จะเซ็นรับ
รัฐธรรมนูญใหม่ แต่ก็ไม่มีผลแต่อย่างใด การเลือกตั้งและการแต่งตั้งรัฐสภา
ครอบง�าโดยทหารด�าเนินไป ขณะที่บรรดาฝ่ายนิยมเจ้าถูกลดฐานะเป็นเพียง
หุ้นส่วนรองในกลุ่มอ�านาจใหม่ กองทัพครอบง�ารัฐบาลเป็นเวลามากกว่า ๒๐ ปี
ให้หลัง
ายกองทัพอ้างว่า ทา า ี เพราะว่าคอมมิวนิสต์เข้า
เกาะกุมรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี ข้ออ้างนี้แสดงจุดเปลี่ยนที่ส�าคัญยิ่ง การ
ต่อสู้กันภายในกลุ่มชนชั้นน�าเพื่อเข้าควบคุมรัฐไทยนับจากนี้ไป เกิดขึ้นภาย
ใต้บริบทการต่อสู้ทางอุดมการณ์ระดับนานาชาติระหว่าง ายโลกเสรีและโลก
คอมมิวนิสต์ สงครามเย็น

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


การอุป ัม ์จากสหรั ัยคอมมิวนิสต์ ละทหารนิยม
การเจรจาสันติภาพ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๘ ๒๔๘๙ นั้น สหรัฐแสดงตน
เป็นผู้ปกป้องไทยจากอังกฤษที่พยายามแผ่อ�านาจ เริ่มแรกนั้นสหรัฐสนใจไทย
ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจญี่ปุ่น แต่ขบวนการฝ่ายซ้าย
ที่ต่อต้านอาณานิคมในประเทศเพื่อนบ้านของไทยขยายตัวออกไป มีการปฏิวัติ
คอมมิวนิสต์ในประเทศจีน สหรัฐตกลงส่งทหารไปเกาหลีใต้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓
สหรัฐสนใจไทยในฐานะเป็นพันธมิตรและฐานทัพเพื่อท�า “สงครามเย็น” หรือ
สงครามต่อต้านการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสม์ในเอเชีย
ภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. ๒๔๙๐ จอมพล ป. ขอความช่วยเหลือ
ด้านอาวุธและการเงินจากสหรัฐเพื่อสร้างกองทัพไทยให้เข้มแข็ง แรกๆ สหรัฐ
ยังเห็นจอมพล ป. เป็นศัตรูมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ ๒ แต่ ๒ ปีต่อมาสหรัฐ
เปลี่ยนท่าทีเนื่องจากมีความจ�าเป็นต้องหาพันธมิตร ขณะเดียวกัน จอมพล ป.
และพรรคพวกก็ฉลาดที่จะใช้ค�าพูดต่อต้านคอมมิวนิสต์และจีนเพื่อจูงใจสหรัฐ
ให้เข้าอุปถัมภ์รัฐบาลไทย
เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๙๒ หลังจากที่เหมาเจอตุงปฏิวัติเข้ายึดจีนได้
ส�าเร็จ สหรัฐกันงบประมาณสูงขึ้นถึง ๗๕ ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อเกื้อหนุนมิตร
ในเอเชียเช่นไทย และอนุมัติจ่ายเงินที่ญี่ปุ่นเป็นหนี้ไทยอยู่ช่วงสงครามจ� านวน
๔๓.๗ ล้านปอนด์คืนให้แก่ไทย มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ สหรัฐกดดันให้รัฐบาล
จอมพล ป. ประกาศรับรอง รัฐบาลเบาไดที่เวียดนาม ซึ่งเป็นรัฐบาลหุ่นของ
ฝรั่งเศสที่สหรัฐให้การสนับสนุนเต็มที่ (เพราะว่าต่อต้านคอมมิวนิสต์) และตบ
รางวัลด้วยเงินช่วยเหลือไทย ๑๕ ล้านเหรียญสหรัฐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๓
ไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ส่งทหารและเสบียงไปช่วยสหรัฐรบกับเกาหลี
เหนือที่เกาหลีใต้ จอมพล ป. แจ้งกับรัฐสภาว่าการส่งทหารไปจ�านวนหยิบมือ
เป็นการแสดงน�้าใจของมิตร ซึ่งไทยก็จะได้รับการตอบแทนจากสหรัฐมากมาย ๗
อีกเดือนหนึ่งต่อมา สหรัฐให้เงินช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจแก่ไทย ๑๐ ล้านเหรียญ
สหรัฐ ธนาคารโลกให้กู้เงิน ๒๕ ล้านเหรียญสหรัฐ และสหรัฐเริ่มส่งอาวุธยุทโธ
ปกรณ์ให้ไทย
ขณะนั้นสหรัฐวิตกกังวลและยังไม่แน่ใจว่าจะได้รับแรงสนับสนุนจาก
รัฐบาลของจอมพล ป. ในการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสม์อย่างจริงจัง จึงเร่งเร้าให้

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
จับกุมพวกหัวเอียงซ้ายซ�้าแล้วซ�้าอีก อีกทั้งเข้าช่วยจัดท�าหลักฐานปลอมต่างๆ
เพื่อท�าให้การจับกุมดูสมเหตุสมผล สถานทูตอเมริกันเชื่อว่ายังไม่มีการแปล
ค�าประกาศเจตนาคอมมิวนิสต์ (Communist Manifesto) เป็นภาษาไทย จึงได้
ให้เงินอุดหนุนวิลเลียม เก็ดนีย์ นักภาษาศาสตร์ชาวอเมริกัน และจิตร ภูมิศักดิ
กวีและนักวิชาการสายมาร์กซิสม์ ให้แปลหนังสือนี้เป็นภาษาไทย แต่โครงการนี้
ท�าไม่ส�าเร็จ
“นำยพล” ทั้งหลายไม่ได้เป็นกังวลกับฝ่ายซ้ายที่เมืองไทยมากมายนัก
จอมพล ป. บอกกับรัฐสภาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒ ว่าคอมมิวนิสต์ในเมืองไทยไม่ใช่
สาเหตุของความวุ่นวายในขณะนั้น๘ ความต่างระหว่างรัฐบาลไทยและอเมริกัน
มีอยู่ว่า สหรัฐวิตกว่าเอเชียจะถูกอุดมการณ์คอมมิวนิสต์เขมือบ แต่จอมพล ป.
และผู้น� าไทยอื่นๆ เพ่งไปที่ความสัมพันธ์อันซับซ้อนกับมหาอ� านาจจีน และ
ชุมชนจีนในไทยเป็นหลัก โดยจอมพล ป. หวังที่จะหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาด้านลบ
จากจีน ขณะเดียวกันก็ตระหนักว่าความช่วยเหลือจากสหรัฐนั้นส�าคัญ และ
มองเห็นโอกาสที่จะใช้นโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ปราบปรามศัตรู เช่น พรรค
พวกของนายปรีดี และชาวจีนในไทยที่ต่อต้านรัฐบาล
เมื่อจีนรวมประเทศได้ในป ๒๔๙๒ ความรู้สึกชาตินิยมของคนจีนใน
เมืองไทยพลุ่งขึ้นมาอีก “ชื่อจีน” จึงกลับมาเป็นที่นิยม จ�านวนเด็กเข้า “โรงเรียน
จีน” เพิ่มขึ้นเป็น ๑๗๕,๐๐๐ คน คิดเป็น ๑๐ เท่าของสมัยก่อนที่จอมพล ป.
จะเข้าควบคุมโรงเรียนจีนในทศวรรษ ๒๔๗๐ คนจีนส่งเงินกลับบ้านเกิดเพิ่ม
ขึ้น พร้อมกันนั้นความขัดแย้งระหว่างก๊กมินตั๋งและฝ่ายคอมมิวนิสต์มักปะทุขึ้น
เป็นการตีกันบนท้องถนนที่กรุงเทพฯ รัฐบาลจึงโต้กลับใช้นโยบายควบคุมคน
จีนดังที่เกิดขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ จะเห็นได้ว่ารัฐบาลจอมพล ป. มอง
ว่า “คอมมิวนิสต์” เป็นปัญหาโยงกับคนจีน ดังนั้น การปราบปรามคอมมิวนิสต์
กับการควบคุมคนจีนจึงเป็นนโยบายที่เกิดขึ้นควบคู่กันไปอย่างช่วยไม่ได้
จากปลาย พ.ศ. ๒๔๙๓ รัฐบาลเริ่มคุกคามสื่อ เนรเทศชาวจีนที่ยุ่งเกี่ยว
กับการเมือง สลายสหภาพแรงงาน อีกทั้งใช้กองทัพ และมหำเถรสมำคม แพร่
กระจายการโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อ ต่ อ ต้ า นคอมมิว นิส ต์ และสหรัฐ ก็ก ดดัน ให้
รัฐบาลไทยท�ามากกว่านี้ วันที่ ๑๐ พ ศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๕ รัฐบาลจับกุม
าย ้ายที่หลงเหลืออยู่และพรรคพวกของนายปรีดีในข้อหาวางแผนท�า รัฐ
ประหาร นอกจากนั้นก็ปราบ “ขบวนการสันติภาพ” ซึ่งองค์กรนี้มีฐานอยู่ที่

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


สต็อกโฮล์ม งานหลักคือต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์ จีนสนับสนุนองค์กรนี้เพื่อที่
จะกดดันสหรัฐให้ลดบทบาทด้านการทหารที่จีนและเกาหลี สมาชิกบางคนของ
ขบวนการสันติภาพที่กรุงเทพฯ เป็นฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์ และบางคนเป็น ำย
้ำยอิสระ เช่น กุหลาบ สายประดิษฐ์ กว่า ๑ พันคนถูกจับกุม ส่วนใหญ่เป็น
คนจีนและถูกเนรเทศ แต่ศัตรูอื่นๆ ของรัฐบาล เช่น นักศึกษา นักเคลื่อนไหว
ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภรรยาและบุตรชายนายปรีดีถูกร่างแหไปด้วย
รัฐบาลรีบเร่งผ่านพระราชบัญญัติปองกันการกระท�าอันเป็นคอมมิวนิสต์
พ.ศ. ๒๔๙๕ เขียนครอบคลุมให้เอาผิดกับใครก็ได้ที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล หลัง
จากนั้นรัฐบาลจับกุมคนไทย ๓๗ คน รวมทั้งกุหลำบ สำยประดิษฐ์ นักหนังสือ
พิมพ์ ประธานของสหพันธ์แรงงานและสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศ
ไทย (พคท.) หลายคน ปิดหนังสือพิมพ์และร้านหนังสือฝ่ายซ้าย เดือนธันวาคม
๒๔๙๕ ส.ส. มีชื่อเสียงที่สนับสนุนนายปรีดีกับพวกอีก ๔ คนถูกต�ารวจลูกน้อง
ของพลต�ารวจเอกเผ่า ศรียานนท์ รัดคอแล้วเผา เดือนมีนาคม ๒๔๙๖ ผู้พิมพ์
หนังสือพิมพ์ฝ่ายซ้ายฉบับหนึ่งถูกยิงสิ้นชีวิตขณะดื่มน�้ าผึ้งพระจันทร์ พ.ศ.
๒๔๙๗ ส.ส. พวกนายปรีดีอีกคนหนึ่งถูกฆ่ารัดคอแล้วเอาศพผูกกับเสาคอน
กรีตโยนทิ้งลงแม่น�้าเจ้าพระยา ในยุคนั้น พลต�ารวจเอกเผ่าให้ค�าขวัญต�ารวจว่า
“ไม่มีอะไรใต้ดวงอำทิตย์ที่ต�ำรวจไทยท�ำไม่ได้”
รัฐบาลควบคุมโรงเรียนจีนอย่างเข้มงวดอีกครั้ง ท�าให้จ�านวนนักเรียน
ลดลงไปประมาณ ๒ ใน ๓ อีกทั้งเพิ่มค่าธรรมเนียมคนต่างด้าวจาก ๑๐๐
เป็น ๔๐๐ บาท ห้ามส่งเงินกลับประเทศจีน น�ากฎหมายปกป้องบางอาชีพส�าหรับ
คนไทยกลับมาใช้ ปรับพระราชบัญญัติสัญชาติท�าให้การเปลี่ยนสัญชาติเป็นไทย
ท�าได้ยากขึ้น และห้ามแสดงงิ้วที่กรุงเทพฯ
สหรัฐพอใจมาตรการเหล่านี้มาก เดือนกรกฎาคม ๒๔๙๖ คณะมนตรี
ความมั่นคงของสหรัฐเสนอให้ไทยเป็น “ปอมปราการต่อต้านคอมมิวนิสต์” เพื่อ
“ขยำยอิทธิพลของสหรัฐและท�ำให้อิทธิพลนี้ให้เป็นที่ยอมรับในเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ทั้งหมด” ๙ ครั้นฝรั่งเศสพ่ายแพ้แก่อินโดจีนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ สหรัฐ
จัดตั้งองค์กร SEATO หรือองค์การสนธิสัญญาปองกันภูมิภาคเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ สปอ. ขึ้น และรับที่จะช่วยปกป้องไทยจากศัตรู หลังจากนั้นเริ่มช่วย
สร้างถนนยุทธศาสตร์เข้าสู่อีสาน ช่วยปรับปรุงท่าเรือ และสนามบินเพื่อการทหาร
และด�าเนินโครงการสงครามจิตวิทยา พุ่งเป้าไปที่ชาวนาและข้าราชการ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ประเทศไทยกลายเป็น “รัฐในอุปถัมภ์” ของสหรัฐ แต่ผลพวงคือ
ความแบ่งแยกในกลุ่มผู้ปกครองระหว่าง ายทหารและ ายต�ารวจ
เริ่มจากเดือนมกราคม ๒๔๙๔ สหรัฐส่งอาวุธยุทโธปกรณ์มาให้ไทย
เป็นจ�านวนมากพอส�าหรับกองพันทหาร ๙ กองพัน พ.ศ. ๒๔๙๖ เงินช่วยเหลือ
เพื่อการทหารจากสหรัฐมีมูลค่ามากกว่า ๒ เท่าครึ่งของงบประมาณกองทัพไทย
ทั้งหมด ในฐานะเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอกส ษดิ
ธนะรัชต์ ไปเยือนวอชิงตันเพือ่ เจรจาขอเงินช่วยเหลือเพิม่ ขึน้ อีก เมือ่ มีผอู้ ปุ ถัมภ์
กระเปาใหญ่ขนาดนี้ สฤษดิ์จึงมีอิทธิพลในกองทัพสูงยิ่ง เขารวบรวมกองทหาร
ที่กรุงเทพฯ เข้ามาอยู่ภายใต้กองก�าลังของเขาคือกองทัพภาคที่ ๑ ประกอบด้วย
นายทหารที่มีความจงรักภักดีต่อเขา พ.ศ. ๒๔๙๗ เขาก้าวขึ้นเป็นผู้บัญชาการ
กองทัพบก และได้รับพระราชทานยศ “จอมพล”
พร้อมกันนั้น ีไอเอ หรือหน่วยงานสืบราชการลับสหรัฐ เข้าช่วยต�ารวจ
ให้มีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่พรั่งพร้อม เริ่มแรกใน พ.ศ. ๒๔๙๓-๒๔๙๔ อุดหนุน
การเงินให้ต�ารวจด�าเนินโครงการต่อต้านคอมมิวนิสต์แบบลับๆ จากบริเวณภูเขา
ภาคเหนือของไทยสู่จีนใต้ แต่ประสบความล้มเหลว ซีไอเอสร้างความสัมพันธ์
ใกล้ชิดกับเผ่า อธิบดีกรมต�ารวจ และในเวลาต่อมาก็ได้จัดหาอาวุธต่างๆ ให้
ได้แก่ รถถัง รถหุ้มเกราะ เครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ เรือเร็ว และส่งที่ปรึกษา
ซีไอเอมาช่วยฝกอบรม ท�าให้กรมต�ารวจเป็นเสมือนกองทัพอีกหนึ่ง ส่งผลให้
สฤษดิ์และเผ่าเป็นคู่แข่งกัน ทั้งสองฝ่ายมีก�าลังพลพอๆ กัน ต�ารวจ ๔๘,๐๐๐
นาย ทหาร ๔๕,๐๐๐ นาย ต่างแก่งแย่งกันเป็นใหญ่ในธุรกิจและกิจการผูกขาด
ให้ผลก�าไรสูงซึ่งตั้งขึ้นสมัยนายปรีดี ทั้งสองเดินทางไปเยือนสหรัฐใน พ.ศ.
๒๔๙๗ และกลับมาพร้อมกับสัญญาที่สหรัฐตกลงจะให้ความช่วยเหลือเป็นเงิน
๒๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐในกรณีของสฤษดิ์ และ ๓๗ ล้านดอลลาร์สหรัฐในกรณี
ของเผ่า ทั้งสองแย่งกันเข้าควบคุมการค้าฝิ่น และใน พ.ศ. ๒๔๙๓ เกือบจะ
ปะทะกันเพื่อแย่งชิงว่าใครจะได้เป็นผู้ค้าฝิ่นในปีนั้น
ทั้งสองต่างหวังที่จะเป็นผู้สืบทอดทางการเมืองต่อจากจอมพล ป. พ.ศ.
๒๔๙๘ พลต�ารวจเอกเผ่าขอให้สหรัฐสนับสนุนตนให้กระท�าการรัฐประหารเพื่อ
ล้มจอมพล ป. แต่สหรัฐไม่เห็นด้วย จอมพล ป. อยู่รอดด้วยกุศโลบายลดทอน
ความขัดแย้งระหว่างทั้งสองฝ่าย และสหรัฐสนับสนุนจอมพล ป. มากขึ้น
จอมพล ป. หวนกลับไปด�าเนินนโยบายที่ “คณะราษ ร” ได้ตั้งเปา
เอาไว้ คือการสร้างรัฐชาติให้เป็นผู้ดูแลสวัสดิการของประชาชน และเพื่อให้

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ประชาชนจงรักภักดีต่อรัฐชาติ แต่แทนที่จะใช้รัฐนิยมเพื่อเปลี่ยนพ ติกรรม
ของผู้คนอย่างที่ท�ามาก่อนหน้า กลับประยุกต์เอาธรรมเนียมการปกครองแบบ
เดิมมาใช้ นั่นคือ “รัฐบาล” เป็นผู้อุปถัมภ์ศาสนาพุทธ โดยท�าการซ่อมแซมวัด
๕,๕๓๕ แห่ง และสร้างวัดใหม่อีก เมื่อจอมพล ป. เดินทางไปดูงานที่ต่างจังหวัด
ก็จะไปเยี่ยมวัดส�าคัญๆ จึงน�าเงินบริจาคและพระพุทธรูปไปมอบให้ นอกจากนี้
รัฐบาลยังให้เงินอุดหนุนคณะนาฏศิลป์ ซ่อมแซมสถานที่ส�าคัญทางประวัติศาสตร์
เริ่มจากที่พิมาย อยุธยา และเชียงแสน
สถาปนา “สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ” ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑ และปรับ
เป็น “กระทรวง” ใน พ.ศ. ๒๔๙๕

หลวงวิจิตรวาทการแต่งบทละครหลายเรื่องเพื่อเฉลิมฉลอง “พ่อขุน
รามค�าแหง” แห่งสุโขทัย และบุคคลส�าคัญอื่นๆ ในประวัติศาสตร์ไทย เขา
ยกเลิกความใฝ่ฝันให้ไทยเป็นมหาอ�านาจ แต่เขียนว่า “ถ้ำเรำสำมำรถสร้ำงลัทธิ
ถือชำติให้ ังเข้ำในจิตใจของคน เหมือนอย่ำงที่คอมมิวนิสต์เขำสำมำรถเอำลัทธิ
คอมมิวนิสม์ให้คนถือเหมือนศำสนำได้ เรำก็ไม่ต้องวิตกที่ลัทธิคอมมิวนิสม์จะ
เข้ำมำครอบคลุมประเทศเรำ” ๑๐
จอมพล ป. ไม่ต้องการให้ฝ่ายนิยมเจ้าแผ่ขยายไป จึงกีดกันไม่ให้พระ
มหากษัตริย์เสด็จพระราชด�าเนินไปนอกกรุงเทพฯ ท�าให้ทางราชส�านักไม่พอใจ
ที่เขาขยายขอบข่ายของรัฐครอบคลุมกิจการด้านวัฒนธรรมซึ่งฝ่ายเจ้าเคยมี
บทบาทผูกขาดอยู่ พ.ศ. ๒๕๐๐ จอมพล ป.จัดงานเฉลิมฉลองพระพุทธศาสนา
ครบรอบ ๒,๕๐๐ ปีอย่างยิ่งใหญ่ พระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงเข้าร่วม ด้วยเหตุผล
ทรงพระประชวร

พ.ศ. ๒๔๙๘ จอมพล ป. ประกาศว่าจะ น ูประชาธิปไตย เพื่อคาน


กับอ�านาจเงินและอาวุธของทั้งสฤษดิ์และเผ่า ด้วยการเปิดให้ตั้งพรรคการเมือง
ได้ ลดความเข้มงวดการควบคุมสื่อ สัญญาว่าจะปลดปล่อยนักโทษการเมือง
ยกเลิกขีดจ�ากัดต่อคนจีน ยอมให้มีการอภิปรายกันในพื้นที่สาธารณะที่เรียก
ว่า “ไฮด์ปำร์ก” ผ่านพระราชบัญญัติแรงงานให้มี “สหภาพแรงงาน” โดยถูก
กฎหมาย วางแผนให้มีการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. ๒๕๐๐ แม้ว่าจะมีแรงต้าน
จากฝ่ายนิยมเจ้า แต่จอมพล ป. ก็ออกกฎหมายที่ดินก�าหนดให้เป็นเจ้าของที่ดิน

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ได้สูงสุดเพียง ๕๐ ไร่ นอกจากนั้น ยังรณรงค์ให้มีการปราบปรามการค้าฝิ่น
และเรียกร้องให้คณะรัฐมนตรีเลิกยุ่งเกี่ยวกับธุรกิจ (แต่ไม่ประสบความส� าเร็จ
ทั้งสองเรื่อง) ส�าหรับด้านการต่างประเทศ จอมพล ป. อยากจะถอยห่างจาก
สหรัฐบ้าง ฟื้นฟูสัมพันธไมตรีกับจีนใหม่โดยส่งตัวแทนไปพบกับเหมาเจอตุง
อย่างลับๆ และตกลงที่จะมีสัมพันธไมตรีอย่างเป็นทางการในอนาคต การค้า
ขายและการเดินทางไปจีนท�าได้ง่ายขึ้น ผู้น�าของชุมชนจีนที่กรุงเทพฯ อีกทั้งฝ่าย
ซ้ายบางคนเดินทางไปเยือนปักกิ่ง
เมื่อมีข่าวออกมาว่า จอมพล ป. กล่าวกับปาล พนมยงค์ ว่า “บอกพ่อ
ของหลำนด้วยนะว่ำลุงอยำกให้กลับมำช่วยลุงท�ำงำนให้ชำติ ลุงคนเดียวสู้กับ
ศักดินำไม่ไหวแล้ว” ๑๑ ฝ่ายนิยมเจ้าจึงแสวงหาความร่วมมือจากสฤษดิ์ สถาน
ทูตอังกฤษได้รายงานว่าจอมพลสฤษดิ์ พระองค์เจ้าธานีฯ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช
และ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ประชุมกันเพื่อวางแผนโต้กลับรัฐบาลจอมพล ป.
แรกๆ สหรัฐพอใจที่จอมพล ป. สนับสนุนประชาธิปไตย แต่สหรัฐก็
ต้องการให้ไทยพึ่งพาสหรัฐในฐานะเป็นรัฐใต้อุปถัมภ์ ดังนั้น นโยบายของ
จอมพล ป. จึงไม่สอดคล้องกับเปาประสงค์หลักของสหรัฐนัก ทั้งนี้ เมื่อการ
ควบคุมสื่อผ่อนคลายลง บรรดาหนังสือพิมพ์ต่างๆ ลงบทความไม่เห็นด้วยกับที่
สหรัฐมีบทบาทเพิ่มขึ้นในเมืองไทย อีกทั้งส�าแดงแรงสนับสนุนจีนอย่างเปิดเผย
พรรคฝ่ายซ้ายจึงผุดขึ้นอีก
เมื่อเข้าใกล้การเลือกตั้งในป ๒๕๐๐ พรรคการเมืองและหนังสือพิมพ์
ที่เป็นตัวแทนของเผ่าและจอมพล ป. (ขณะนั้นจับมือกันแล้ว) และสฤษดิ์ฉวย
โอกาสช่วยกระพือการต่อต้านสหรัฐ และการสนับสนุนจีน
เมื่อภาพยนตร์เรื่องเดอะ คิง แอนด์ ไอ (The King and I) ๑๒ ฉายที่
สหรัฐ สื่อที่เมืองไทยยิ่งออกมาประณามสหรัฐ
พลต�ารวจเอกเผ่าและจอมพล ป. ชนะการเลือกตั้ง แต่ส ษดิกล่าวหา
ว่าทั้งสองโกงการเลือกตั้ง เป็นนัยว่าสหรัฐมีบทบาทเกี่ยวข้องด้วย วันที่ ๑๘
กันยายน ๒๕๐๐ ส ษดิท�า “รัฐประหาร” ส�าแดงอานุภาพของกองทัพภาคที่ ๑
อีกครั้ง ท�าให้ทั้งเผ่า และจอมพล ป. ลี้ภัยไปต่างประเทศ สหรัฐกริ่งเกรงว่า
เงินที่ใช้ไปเพื่อท�าให้ไทยเป็นรัฐใต้อุปถัมภ์ของตนจะเสียเปล่า และไม่ได้ประทับ
ใจกับสฤษดิ์มากนัก เห็นว่าทั้งขี้เมา ขี้โกง ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง หนังสือ
พิมพ์ในสังกัดของสฤษดิ์โจมตีสหรัฐมากที่สุด และเมื่อเกิดการรัฐประหาร ทหาร

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ของสฤษดิ์ก็เกือบจู่โจมส�านักงานซีไอเอ เนื่องจากซีไอเอเกี่ยวพันกับเผ่าซึ่งเป็น
คู่แข่งของสฤษดิ์
แต่สฤษดิ์ต้องการแรงหนุนจากสหรัฐในฐานะ “ผู้อุปถัมภ์” เพื่อให้เขา
คงความเป็นใหญ่ในกองทัพได้มั่นคง ดังนั้น สฤษดิ์จึงเอาใจสหรัฐโดยแต่งตั้ง
นายพจน์ สารสิน เป็น “นายกรัฐมนตรี” นายพจน์เรียนที่สหรัฐ เคยเป็นเอก
อัครราชทูตประจ�ากรุงวอชิงตัน และในขณะนั้นเป็นเลขาธิการของ SEATO
ผลของการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ นั้น รัฐสภามี ส.ส.
ฝ่ายซ้ายซึ่งสฤษดิ์ไม่อาจควบคุมได้ง่ายๆ แม้ว่าจะใช้เงินสินบนเป็นจ�านวนมาก
ต้นปี ๒๕๐๑ สฤษดิ์เดินทางไปรักษาตัวที่สหรัฐ และเข้าพบเพื่อปรึกษาหารือ
กับประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ และรัฐมนตรีดัลลัส ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๐ เดือน
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ จอมพลส ษดิก่อการรัฐประหารอีกครั้งหนึ่ง ประกาศกฎ
อัยการศึก ปิดรัฐสภา ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ห้ามพรรคการเมือง และจับกุมนัก
การเมือง นักหนังสือพิมพ์ นักวิชาการ และนักเคลื่อนไหวหลายร้อยคน สหรัฐ
แสดงความพอใจและให้เงินความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ ๒๐ ล้านเหรียญสหรัฐ
กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐลงบันทึกว่า นี่ไม่ใช่รัฐประหำร แต่เป็น “ควำม
พยำยำมของกลุ่มผู้ปกครองในข ะนั้นที่จะท�ำให้สถำนภำพของตนมั่นคงด้วย
วิธีเป็นระเบียบ” ๑๓ ส�าหรับสฤษดิ์แล้วนี่คือการ “ปฏิวัติ”
หลังรัฐประหาร (พ.ศ. ๒๕๐๑) สฤษดิ์สถาปนาความเป็นหนึ่งเดียวของ
กองทัพ โยกย้ายอาวุธยุทโธปกรณ์และหน่วยกองก�าลังออกจากต�ารวจ เอาไป
ไว้ที่กองทัพบก คนของสฤษดิ์ในกองทัพภาคที่ ๑ เข้าด�ารงต�าแหน่งส�าคัญใน
กองทัพและคณะรัฐมนตรี เงินช่วยเหลือด้านทหารจากสหรัฐทั้งหมดส่งตรงเข้า
สู่ฝ่ายทหารก่อนอื่น
การควบรวมอ�านาจของสฤษดิ์ รวมถึงการปราบปรามฝ่ายซ้ายและฝ่าย
เสรีนิยมที่ต่อต้านรัฐบาล ท�าให้สหรัฐมีความมั่นใจมากขึ้นที่จะใช้เมืองไทยเป็น
ฐำนทัพ ยิ่งเมื่อสงครามกลางเมืองปะทุขึ้นที่ลาวเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ ยิ่งท�าให้
เมืองไทยเป็นหัวหอกต่อต้านคอมมิวนิสต์ที่ส�าคัญในสายตาของสหรัฐยิ่งขึ้นไป
อีก พ.ศ. ๒๕๐๕ สหรัฐรับที่จะปกป้องไทยจากการถูกคอมมิวนิสต์โจมตี น�า
กองเรือที่ ๗ มาประจ�าการที่อ่าวไทย และเคลื่อนกองก�าลังทหาร ๑ หมื่นนาย
มาที่ไทย ซึ่งไม่นานหลังจากนั้นก็ถูกถอนออกไปและส่งกลับมาใหม่อีกใน พ.ศ.
๒๕๐๗ โดยเพิ่มจ�านวนขึ้นเรื่อยๆ จนในปี ๒๕๑๒ จ�านวนทหารบกและทหาร

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
อากาศอเมริกันในเมืองไทยมีมากถึง ๔๕,๐๐๐ คน ฝูงเครื่องบินรบเข้าโจมตี
เวียดนามเหนือเป็นครั้งแรกจากฐานทัพไทยในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๗
สามในสี่ ข องลู ก ระเบิ ด ที่ ส หรั ฐ ทิ้ ง เพื่ อ โจมตี เ วี ย ดนามเหนื อ และลาวระหว่ า ง
ปี ๒๕๐๗ และ ๒๕๑๑ น�าไปโดยฝูงเครื่องบินรบจากฐานทัพ ๗ แห่งที่ภาค
ตะวันออกของไทย จากปี ๒๕๐๓ สหรัฐว่าจ้างทหารไทยอย่างลับให้ไปรบที่ลาว
ใน พ.ศ. ๒๕๑๐ ทหารไทยจ�านวนประมาณ ๑๑,๐๐๐ ราย ไปร่วมรบเคียงบ่า
เคียงไหล่กับทหารอเมริกันที่เวียดนามใต้
นับจาก พ.ศ. ๒๕๐๕ สหรัฐให้เงินช่วยเหลือแก่ต�ารวจตระเวนชายแดน
และองค์กรต่อต้านผู้ก่อการร้ายภายในเมืองไทยเป็นจ�านวนมาก เงินช่วยเหลือ
ด้านการทหารเพิ่มขึ้นสี่เท่าช่วงปี ๒๕๐๓-๒๕๑๓ และสูงสุดในปี ๒๕๑๒ คือ
๑๒๓ ล้านเหรียญสหรัฐ ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเป็นเส้นขนาน
ในระดับพอๆ กัน โดยส่วนใหญ่พุ่งไปที่กรมต�ารวจและโครงการของกองทัพ
งบประมาณเพื่อการป้องกันประเทศของฝ่ายทหารเพิ่มขึ้นในอัตรามากกว่านี้
ด้วยความสนับสนุนจากสหรัฐและจากเงินภาษีของประชาชนเอง คือเพิ่มจาก
ประมาณ ๒๐ ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ช่วง พ.ศ. ๒๔๙๓-๒๕๐๓ เป็น ๒๕๐
ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ช่วง พ.ศ. ๒๕๑๓-๒๕๑๘ “ดอลลาร์” จึงท�าให้รัฐทหาร
ของไทยเป็นหนึ่งเดียวและแข็งแกร่งขึ้น

ภาพที่ ๒ ทหำรอเมริกันพักรบที่หำดพัทยำ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


สหรัฐสร้างสถานทูตใหม่ที่อลังการที่กรุงเทพฯ และแต่งตั้ง วิลเลี่ยม
โดโนวาน (William Donovan) อดีตนายทหารสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ มี
สมญานามแบบคาวบอยว่า “Wild Bill” เป็นเอกอัครราชทูต ตัวเขาเองเรียก
ต�าแหน่งเอกอัครราชทูตในไทยว่า “ทูตนักรบ” (warrior-ambassa or) ๑๔ ภาย
หลังจากที่สหรัฐก่อตั้งส�านักงาน SEATO ที่กรุงเทพฯ องค์กรของสหประชาชาติ
องค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ และมูลนิธิอเมริกันจ� านวนมากด�าเนินรอยตาม
จ�านวนประชากร “ฝรั่ง” ที่กรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นชาวอเมริกันเสีย
มากอย่างเห็นได้ชัด แตกต่างจากสมัยอาณานิคมที่ฝรั่งมีหลายเชื้อชาติ กรุงเทพฯ
และพัทยา ได้รับเลือกเป็นแหล่งท่องเที่ยวช่วงพักรบ “rest & recreation” ของ
ทหารอเมริกัน โดยมีทหารอเมริกัน ๔๕,๐๐๐ คนมาเที่ยวในปี ๒๕๑๐ (ดูภาพ
ที่ ๒๐) ถนนเพชรบุรีที่กรุงเทพฯ กลายเป็น “แหล่งอเมริกัน” เต็มไปด้วยบาร์
ไนต์คลับ ซ่อง และอาบอบนวด สถานเริงรมย์แบบนี้กระจุกตัวอยู่รอบๆ ฐาน
ทัพอเมริกันในที่ต่างๆ เช่นกัน ทั้งนี้ อุตสาหกรรมเพศพาณิชย์ในเมืองไทยนั้น
มีมานานแล้ว แต่แสงสีและความเปิดเผยของสถานบริการเป็นสิ่งใหม่
ประมาณการว่าจ�านวนผู้หญิงหากินที่กรุงเทพฯ มีมากถึง ๓๐๐,๐๐๐
คน พลเอกประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอยากให้
มีมากกว่านี้ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและท�าให้เศรษฐกิจเฟื่องฟู จนถึงราวๆ
พ.ศ. ๒๕๐๐ เมืองไทยยังไม่มีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นเรื่องเป็นราว
ห้องพักที่ได้มาตรฐานมีเพียง ๘๗๑ ห้อง และมีนักท่องเที่ยวต่างชาติปีละประ
มาณ ๔ หมื่นคน พ.ศ. ๒๕๐๒ จึงจัดให้มีหน่วยงานดูแลด้านการท่องเที่ยว
เป็นส่วนหนึ่งของแผนเศรษฐกิจ ปลายทศวรรษ ๒๕๐๐ สร้างลานบินแห่งใหม่
ที่ดอนเมืองเพื่อรองรับเครื่องบินไอพ่น จ�านวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจึงเพิ่มเป็น
กว่า ๖ แสนคนในปี ๒๕๑๓ จนการท่องเที่ยวน�ารายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ
เข้ามาติดอันดับที่ ๕ กลุ่มใหญ่ที่สุดคือนักท่องเที่ยวชาวอเมริกัน และมีโรงแรม
สมัยใหม่ผุดขึ้น ท�าให้จ�านวนห้องพักเพิ่มขึ้นกว่า ๗ พันห้อง
กรุงเทพฯ เปลี่ยนรูปโฉมทั้งด้านกายภาพ บรรยากาศ และรสนิยมของ
ผู้คน ย่านชานเมืองใหม่ๆ ผุดขึ้นรอบๆ โรงเรียน ร้านค้า โรงภาพยนตร์ และ
คลับส�าหรับฝรั่ง ครอบครัวชนชั้นน�าชอบตั้งบ้านเรือน ณ ชานเมืองนี้เช่นนั้น
เพราะมีสถานภาพสูงและมูลค่าอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเร็ว ของนอกโดยเฉพาะ
ยี่ห้อดังๆ จากสหรัฐกลายเป็นเครื่องส�าแดงสถานภาพสังคมชั้นสูง สมัยอเมริกัน
ให้นิยามว่าอะไรทันสมัย และน่าจูงใจส�าหรับชนชั้นกลางเมือง

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
พั นาการ ละกลุ่มทุน
สหรัฐตั้งเป้าที่จะส่งเสริมเศรษฐกิจระบบตลาดเสรีในไทย เพื่อผนวก
ไทยให้อยู่ค่ายเดียวกับสหรัฐอย่างแนบแน่นในภาวะสงครามเย็น
ประธานาธิบดีทรูแมน กล่าวถึง “development” (พัฒนาการ) ใน
ปาฐกถาครั้งเข้ารับต�าแหน่ง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐ จอมพลส ษดิเข้าใจดีว่าพัฒนา
การคือแนวคิดส�าคัญของยุทธศาสตร์สหรัฐในระดับโลก และเป็นมโนทัศน์ใหม่
ที่จะช่วยสร้างความชอบธรรมของรัฐชาติ อีกนัยหนึ่งก็คือ “ความเจริญ” ในค�า
พูดใหม่สมัยอเมริกันนั่นเอง รัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ใช้ “พัฒนาการ” เสมือน
มนต์ขลัง เขากล่าวว่า “งำนส�ำคั ของเรำในระยะป ิวัตินี้คืองำนพั นำ ได้แก่
งำนพั นำกำรเศรษฐกิจ กำรศึกษำ กำรปกครอง และทุกสิ่งทุกอย่ำง” ๑๕ และ
ตั้งค�าขวัญ เช่น “งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข”
หลังจากที่เขาท�ารัฐประหาร จอมพลสฤษดิ์เชื้อเชิญให้คณะผู้เชี่ยวชาญ
จากธนาคารโลก เข้ามาท�ารายงานด้านเศรษฐกิจของไทย รายงานฉบับนี้ต่อมา
แปลงเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ ๑ เริ่มต้นใช้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ แผน
เศรษฐกิจนี้ไม่เห็นด้วยกับนโยบายพัฒนาโดยรัฐวิสาหกิจ ที่รัฐบาลก่อนหน้า
ด�าเนินการมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง และประกาศว่า “ประกำรส�ำคั
ของโครงกำรพั นำเพื่อสำธำร ชนจึงเป็นกำรส่งเสริมให้เกิดควำมเจริ ก้ำว
หน้ำทำงเศรษฐกิจขึ้นในภำคเอกชน” ๑๖
สหรัฐช่วยก่อตั้งหน่วยงานภาคราชการ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเศรษฐกิจ
ได้แก่ สภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ (ต่อมาคือส�านักงานคณะกรรมการพัฒนา
การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) ส�านักงบประมาณ ส�านักงานส่งเสริมการลง
ทุน และปรับโครงสร้างธนาคารชาติเสียใหม่ ส่งผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกันจ�านวน
มากเข้ามาช่วยด�าเนินงาน จอมพลสฤษดิ์ยกเลิกพระราชบัญญัติแรงงานสมัย
จอมพล ป. ที่อนุญาตให้จัดตั้งสหภาพแรงงานได้ และในช่วงแรกๆ ท� าการ
ปราบปรามสหภาพแรงงานอย่างหนัก แต่ที่ปรึกษาชาวอเมริกันเสนอให้ทา� แบบ
ค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้น รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ออกกฎหมายหลายฉบับเพื่อ
ก�ากับควบคุมแรงงานเมือง และก่อตั้งส�านักงานเพื่อดูแลคนงานเป็นการเฉพาะ
ข้าราชการกลุ่มแรกที่รับเข้าท�างานในส�านักงานใหม่ๆ เหล่านี้มักได้รับ
การศึกษาจากยุโรป ต่อมาสหรัฐช่วยพัฒนาข้าราชการรุ่นใหม่ที่มีวิธีคิดแบบ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


อเมริกัน ส่งข้าราชการระดับผู้ใหญ่ไปฝกงาน ดูงานที่สหรัฐระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๔-
๒๕๒๘ ให้ทุนคนไปเรียนที่สหรัฐถึง ๑,๕๐๐ คน (ส่วนมากโดยทุนฟูลไบรท์)
จ�านวนนักศึกษาไทยจบมหาวิทยาลัยอเมริกันเพิ่มจากไม่กี่ร้อยคนเมื่อทศวรรษ
๒๔๙๐ เป็น ๗ พันคนในกลางทศวรรษ ๒๕๒๐
แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรกๆ ๓ เป้าหมายคือ ส่งเสริมให้มีการใช้
ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศอย่างเข้มข้นเพื่อเพิ่มอัตราความเติบโตของ
เศรษฐกิจ ถ่ายโอนส่วนเกินจากชนบทเพื่อการลงทุนในเศรษฐกิจเมือง และส่ง
เสริมให้มีการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นเพื่อน�าเข้าเทคโนโลยี นักธุรกิจจาก
สหรัฐได้รับอนุญาตให้เข้าลงทุนในเมืองไทยเป็นเจ้าของกิจการได้เต็ม ๑๐๐
เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ชาติอื่นๆ ต้องถือหุ้นข้างน้อย บริษัทธุรกิจของสหรัฐเริ่ม
เข้ามาลงทุนตั้งแต่ต้นทศวรรษ ๒๕๐๐ แต่ไม่มากนัก มักมุ่งไปที่กิจการเหมือง
แร่และน�้ามัน สินค้าบริโภคมีบ้าง เช่น โคคาโคล่า และมีโครงการเกี่ยวเนื่องกับ
สงครามที่อินโดจีน ส�าหรับนักธุรกิจอเมริกันแล้ว เศรษฐกิจไทยยังไม่น่าสนใจ
เท่าไรนัก ทั้งอยู่ไกลและมีความเสี่ยงสูง ผู้ที่ได้ประโยชน์จากยุทธศาสตร์ส่งเสริม
นายทุนกลับเป็นกลุ่มธุรกิจชาวไทยจีนที่ตั้งตัวได้แล้ว
นักธุรกิจกลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ “ผู้ยิ่งใหญ่
ทั้งห้า” ในกลุ่มผู้ค้าข้าวขยับขยายเข้าสู่กิจการอื่นๆ ที่ต่อเนื่องกันแบบการค้า
ครบวงจร และมีครอบครัวนักธุรกิจชาวจีนเก่าจ�านวนหนึ่งที่อยู่ในเมืองไทยตั้ง
นานแล้วเข้าลงทุนด้านอุตสาหกรรม พวกเขาต่อสายกับกลุ่มนักการเมืองหลัง
สมัย ๒๔๗๕ จึงท�าให้สามารถอยู่รอดและเข้มแข็งขึ้น แม้ว่าจะต้องเผชิญกับ
ความวุ่นวายช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ และหลังจากนั้น
กระบวนการสะสมทุนเข้มขึ้น สมัยสงครามธุรกิจหลายแห่งประสบ
ความเสียหาย แต่บางกลุ่มกลับท�าก�าไรได้มหาศาล นักธุรกิจชาวจีนหลายราย
ปฏิเสธไม่ร่วมมือกับญี่ปุ่นเพราะว่าไม่พอใจที่ญี่ปุ่นบุกจีน แต่คนอื่นๆ ร่วมมือ
ด้วยเพราะได้ก�าไรดี และยังได้ประโยชน์จากที่นโยบายบีบธุรกิจชาวจีนผ่อน
คลายลง ทหารญี่ปุ่นเข้าทางสมาคมหอการค้าจีนเพื่อหาเสบียงต่างๆ ดังนั้น
บางบริษัทจึงท�าก�าไรได้มาก พวกพ่อค้าเศษเหล็กกลุ่มหนึ่งรุ่งขึ้นเพราะญี่ปุ่น
ซื้อเหล็กท�าอาวุธ หลังสงครามครอบครัวหนึ่งในกลุ่มนี้ (พรประภา) ขยับขยาย
สู่กิจการน�าเข้า และต่อมาลงทุนประกอบรถยนต์ญี่ปุ่น อีกรายกลายเป็นผู้ผลิต
เหล็กรายใหญ่ของไทย (สหวิริยา) และอีกรายพัฒนาเป็นผู้ผลิตเครื่องจักรบีบ
อ้อยเพื่อโรงงานน�้าตาลและกลายเป็นเจ้าของโรงงานน�้าตาลที่ส�าคัญ (อัศดาธร)

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
พ.ศ. ๒๔๘๘ นักธุรกิจระดับน�ารายหนึ่งถูกยิงตายข้างถนนอาจจะเป็นเพราะมี
คนรังเกียจว่านักธุรกิจนี้ได้ก�าไรมหาศาลจากญี่ปุ่นช่วงสงคราม
อีกสาเหตุหนึ่ง เมื่อนักธุรกิจฝรั่งต้องถอยออกจากเอเชียไป เปิดช่อง
ให้นักธุรกิจไทยจีนเข้ามาแทน เช่น ธุรกิจธนาคาร นายชิน โสภณพนิช เป็น
พ่อค้ารายเล็กที่เดินทางไปมาระหว่างเมืองไทยและจีน ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๗-
๒๔๘๘ เขาเป็นสมาชิกคนหนึ่งของกลุ่มที่ลงทุนในกิจการหลายอย่าง รวมทั้ง
การค้าทอง สุรา โรงภาพยนตร์ ไม้ขีดไฟ และธุรกิจธนาคาร เขาช่วยก่อตั้ง
ระบบขายเงินตราต่างประเทศและธุรกิจส่งเงินข้ามแดน แทนที่ธนาคารฝรั่งซึ่ง
หยุดกิจการไปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๗ กลุ่มธุรกิจของนายชินก่อตั้งธนาคารกรุงเทพ
เป็น ๑ ใน ๗ ธนาคารที่ตั้งขึ้นในช่วงนั้น
ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลงภายหลังจากเกิดความวุ่นวายเมื่อสงครามจบ
แต่ก็กระเตื้องขึ้นเมื่อเศรษฐกิจทั่วเอเชียบูมจากสงครามเกาหลีช่วงปี ๒๔๙๓-
๒๔๙๕ และจากการที่ ส หรั ฐ เพิ่ ม เงิ น ช่ ว ยอุ ป ถั ม ภ์ ไ ทยด้ า นเศรษฐกิ จ มากขึ้ น
ธนาคารที่ก่อตั้งขึ้นใหม่กลายเป็นหัวใจของชนชั้นธุรกิจที่พุ่งขึ้นมาหลังจากการ
ปฏิวัติที่จีนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ รายได้ของพ่อค้าที่โยงกับการให้บริการส่งเงินไป
เมืองจีนหดหาย จึงต้องเบนความสนใจมาที่ของเศรษฐกิจภายในประเทศไทย
เอง ธนาคารเหล่านี้ขยายสาขาไปเขตต่างจังหวัดเพื่อดูดซับเงินออมของชาวนา
และพ่อค้าท้องถิ่น และเอาเงินนี้ไปลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ที่ตลาดเอื้ออ�านวย อีก
ทั้งให้ธุรกิจครอบครัวที่ท�ากิจการเกี่ยวโยงกันอยู่ได้กู้ยืม พวกเขาสร้างเครือข่าย
ธุรกิจไปทั่วเอเชีย และแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการค้าระหว่างกัน สร้างสายสัมพันธ์
ใกล้ชิดกับบรรดานายพลที่ยึดอ�านาจโดยรัฐประหารเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐ จึงได้รับ
การคุ้มครองทางการเมือง และมีช่องทางท�าธุรกิจที่ให้ก�าไรดี “ธนาคารกรุงเทพ”
เติบโตเร็วหลังจากได้เงินอัดฉีดจากรัฐบาล ช่วยแก้วิกฤตสภาพคล่องได้ทันท่วงที
ธุรกิจรถยนต์ของ ตระกูลพรประภา รุ่งเรืองหลังจากที่รัฐบาลซื้อรถเมล์ และ
ก�าหนดว่ารถแท็กซี่ต้องเป็นยี่ห้อนิสสันเท่านั้น ตระกูลเตชะไพบูลย์ สร้างอาณา
จักรสุรา หลังจากที่รัฐบาลขายโรงเหล้าของรัฐให้ถูกๆ
ตระกูลธนาคารและนักธุรกิจที่เกี่ยวโยงกัน ได้ผลประโยชน์มากจากช่อง
ทางการลงทุนที่เปิดขึ้นเมื่อสหรัฐเข้าช่วยพัฒนาเศรษฐกิจไทย นโยบายกระตุ้น
การส่งออกสินค้าเกษตร และส่งเสริมให้เกษตรกรขยับขยายสู่การปลูกพืชเศรษฐ
กิจใหม่ๆ นอกเหนือจากข้าว (วิเคราะห์ในตอนต่อไป) ได้เพิ่มก�าไรจากการค้า
และการแปรรูปสินค้าเกษตรใหม่เพื่อการส่งออก ตระกูลหวั่งหลี กลายเป็น

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่ง ตระกูลเจียรวนนท์ ที่เริ่มจากเป็น
ผู้น�าเข้าเมล็ดพันธุ์ผักเมื่อก่อนสงคราม ลงทุนสร้างโรงงานท�าอาหารสัตว์ ใช้
วัตถุดิบในประเทศ แล้วจึงขยับขยายสู่ธุรกิจเลี้ยงไก่แบบครบวงจร กลายเป็น
บริษัทแปรรูปสินค้าเกษตรรายใหญ่ที่สุดในนามเจริญโภคภัณฑ์หรือซีพี (CP)
กลางทศวรรษ ๒๕๐๐ เป็นต้นไป ความต้องการสินค้าต่างๆ จากเศรษฐ
กิจเมืองเพิ่มขึ้นรวดเร็ว ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการผลิตภายใน
ประเทศเพื่อทดแทนการน�าเข้า โดยเพิ่มภาษีน�าเข้า ส่งผลให้การผลิตสินค้า
อุตสาหกรรมเฟื่องฟูขึ้นได้ ธุรกิจครอบครัวที่เคยเป็นตัวแทนขายสินค้าน�าเข้า
จึงเชื้อเชิญผู้ผลิตต่างประเทศเป็นหุ้นส่วนก่อตั้งโรงงานผลิตสินค้าในประเทศ
ด้วยกันเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีน�าเข้า พ.ศ. ๒๕๐๕ ตระกูลพรประภา ชักจูง “บริษัท
นิสสัน” ที่ญี่ปุ่นมาก่อตั้งโรงงานประกอบรถยนต์ อีก ๒ ปีต่อมา “จักรยานยนต์
ยามาฮ่า” ก็ตามเข้ามา ตระกูลสหวิริยาซึ่งเริ่มจากกิจการค้าเศษเหล็ก ขยับขยาย
ตั้งโรงงานท�าตะปูและรั้วลวดหนาม ต่อมาขยายสู่การผลิตเหล็กเพื่อการก่อสร้าง
แล้วจึงร่วมมือกับหุ้นส่วนญี่ปุ่นผลิตสินค้าเหล็กที่ซับซ้อนขึ้น ตระกูลโชควัฒนา
เริ่มจากธุรกิจน�าเข้าสินค้าญี่ปุ่นช่วงสงคราม ต่อมาชักชวนกลุ่มไลอ้อนของญี่ปุ่น
ให้ร่วมผลิตยาสีฟันและผงซักฟอก และเพิ่มจ�านวนสินค้าบริโภคที่ผลิตในเครือ
สหพัฒน์จนเป็นเจ้าในด้านนี้
ความต้องการบริการด้านต่างๆ ขยายตัวตามมา ตระกูลจิราธิวัฒน์ เป็น
ผู้บุกเบิกด้านกิจการค้าปลีกมาตั้งแต่ปลายทศวรรษ ๒๔๘๐ แต่รุ่งเรืองขึ้นหลัง
จากที่เปิด “ห้างเซ็นทรัล” ที่สีลมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ เพื่อสนองความต้องการของ
นอกในสมัยอเมริกันนิยม ตระกูลอัมพุช เริ่มจากธุรกิจตัวแทนเหล้าน�าเข้า
ต่อมาลงทุนโรงอาบอบนวด โรงหนัง โรงแรม และร้านอาหาร เพื่อสนองลูกค้า
อเมริกันและคนไทยที่ต้องการบริการบันเทิงประเภทต่างๆ ต่อมาขยับขยาย
เข้าลงทุนในกิจการค้าปลีกสมัยใหม่ (กลุ่มเดอะมอลล์) และธนาคาร (ธนาคาร
เอเชีย)
ตระกูลธุรกิจที่พุ่งขึ้นมาบางราย ก่อร่างสร้างตัวและร�่ ารวยมาตั้งแต่
สมัยรัชกาลที่ ๕ ในธุรกิจการค้าข้าว ไม้ และการค้าในภูมิภาค (เช่น ตระกูล
ล�่าซ�า, หวั่งหลี) แต่ส่วนมากแล้วเป็นชาวจีนอพยพที่เข้ามาเมืองไทยแบบมี
เพียง “เสื่อผืนหมอนใบ” ในระยะระหว่างสงครามโลกทั้งสองครั้ง โดยหนีวิกฤต
การเมืองและเศรษฐกิจที่เมืองจีน หลัง พ.ศ. ๒๔๙๒ (ปฏิวัติจีน) พวกเขากลับ
จีนไม่ได้ จึงมุ่งมั่นสร้างครอบครัวและธุรกิจเพื่ออนาคตของตัวเองในเมืองไทย

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ตระกูลเหล่านี้รุ่งเรืองได้เพราะท�างานหนัก เก็บออมเพื่อเอาไปลงทุนในธุรกิจ
ให้ความส�าคัญกับการศึกษาของลูก พัฒนาเครือข่ายครอบครัวและแซ่ รวมถึง
สร้างเส้นสายทางการเมือง
โดยรวมมีประมาณ ๓๐ ตระกูลที่นับได้ว่าเป็นเ ียนธุรกิจในสมัยนั้น
เพราะว่ามีทุนพรั่งพร้อมและได้ความคุ้มครองทางการเมือง พวกเขาพัฒนา
เป็นวิสาหกิจขนาดใหญ่ที่ขยายกิจการไปกว้างขวางสู่อสังหาริมทรัพย์ โรงแรม
โรงพยาบาล ธุรกิจการเงิน การประกัน และกิจการอื่นๆ เพื่อให้ลูกชาย และ
บางทีก็ลูกสาว มีธุรกิจของตนเอง
ตระกูลระดับน�ามีบทบาทสูงใน สมาคมชื่อแ ่ และ มูลนิธิเพื่อการกุศล
ลูกหลานของเขาดองกันไปดองกันมา ข้ามชื่อแซ่และส�าเนียงภาษา ลงทุนร่วม
กันในหลายกิจการเพื่อแบ่งผลก�าไรและกระจายความเสี่ยง ธนาคาร ๑๓ แห่ง
ใหญ่มีบทบาทเด่นที่สุด พวกเขารวมตัวกันชักจูงให้รัฐบาลออกกฎหมายห้าม
ตั้งธนาคารใหม่ และกีดกันธนาคารต่างชาติ เงินฝากของธนาคารเพิ่มขึ้นใน
อัตราร้อยละ ๒๐ ต่อปีเป็นเวลาถึง ๒๐ ปี (ทศวรรษ ๒๕๐๐-๒๕๒๐) ธนาคาร
ใหญ่สุด ๔ แห่งโตเร็วที่สุด มีบริษัทในเครือหลายร้อยแห่ง แต่งตั้งนายทหารใน
คณะรัฐมนตรีเป็นกรรมการบริษัท นักธุรกิจรองลงมาเป็นธุรกิจครอบครัวระดับ
ห้องแถวจ�านวนมาก มีพื้นเพและความทะเยอทะยานคล้ายๆ กัน
พ.ศ. ๒๕๐๙ นักวิชาการอเมริกันชื่อเ รด ริกส์ (Fred Riggs) เรียก
นักธุรกิจไทยจีนระดับน�าว่า “ผู้ประกอบกำรนอกคอก” ๑๗ หมายความว่ามี
สถานะทางสั ง คมต�่ า เนื่ อ งจากมี เ ชื้ อ สายจี น และต้ อ งเป็ น รองข้ า ราชการและ
จอมพลที่มีอ�านาจการเมืองเหนือกว่า อันที่จริงสถานการณ์ซับซ้อนกว่านี้ และ
มีความยืดหยุ่นมากกว่าที่ริกส์ให้ภาพ ตามกฎหมายลูกจีนที่เกิดในเมืองไทย
(รุ่น ๒) มีสัญชาติไทยได้รับการยอมรับเป็นพลเมืองคนหนึ่งของรัฐชาติไทย
และลูกของเขา (รุ่น ๓) มีสิทธิเป็นคนไทยเต็มที่ รวมทั้งการออกเสียงเลือกตั้ง
สมัคร ส.ส. และเข้าสมัครเป็นทหารก็ได้ ตระกูลจีนเด่นๆ ซึ่งเข้ามาเมืองไทย
ตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ และ ๕ หรือก่อนหน้า มาถึงจุดนี้ได้กลืนกลายเป็นส่วนหนึ่ง
ของชนชั้นน�า “เดิม” ไปแล้ว ลูกหลานแต่งงานกับเชื้อสายของราชนิกุล ได้รับ
การศึกษาดีจนได้เข้ารับราชการมีต�าแหน่งใหญ่ในราชการทหารและพลเรือน
เป็นนักวิชาชีพ เป็นอาจารย์ และเป็นเทคโนแครต บางคนเป็นตัวเชื่อมระหว่าง
ครอบครัวจีนรุ่นหลังๆ กับระบบราชการ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


เช่น ตระกูลสารสิน เด่นขึ้นเป็นหนึ่งในตระกูลข้าราชการส�าคัญที่สุด
ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ถึงกระนั้น พจน์ สารสิน ก็ยังเป็นผู้อุปถัมภ์
ผู้ประกอบการชาวจีนรุ่นใหม่ที่ต่อมากลายเป็นตระกูลธุรกิจที่ส� าคัญของเศรษฐ
กิจไทย นั่นคือเจริญ สิริวัฒนภักดี เขามาจากครอบครัวธรรมดามาก ต่อมา
เป็นใหญ่ในธุรกิจสุรา พจน์ลงทุนในธุรกิจสุรากับเจริญ การันตีเงินกู้ให้เขา และ
ช่วยเพิ่มสถานภาพทางสังคมที่สอดคล้องกับความมั่งคั่งของเขา ท� านองเดียว
กับนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นทายาทของจีนแคะ เข้ามาไทยเมื่อรัตนโกสินทร์
ตอนต้น แต่งงานกับตระกูลมอญมีชื่อเสียง นายอานันท์ไปเรียนที่อังกฤษ กลับ
มารับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ แต่ต่อมาลาออกไปท�างานกับบริษัท
ธุรกิจขนาดใหญ่ และกลายเป็นบุคคลส�าคัญที่เชื่อมระหว่างรัฐบาลกับบริษัท
ธุรกิจขนาดใหญ่
ตระกูลธุรกิจใหญ่ที่กล่าวมา ใช้อ�านาจเงินและเส้นสายทางการเมือง
เพื่อขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่ขวางหน้า แต่ส�าหรับชาวจีนอพยพรุ่นใหม่ทั่วๆ ไป
ประเด็นเรือ่ งการได้สญ ั ชาติไทยมีความยุ่งยากกว่า แม้ว่าหนทางกลับไปบ้านเกิด
ที่เมืองจีนจะปิดลงใน พ.ศ. ๒๔๙๒ แต่หลายๆ คนก็ยังหวังว่าจะมีโอกาสกลับ
ไปอีก ครอบครัวของคนจีนยังคงภูมิใจในวัฒนธรรมดั้งเดิม ยังพูดภาษาจีน
และรักษาประเพณีจีนที่เขาจ�าได้ ตัวละครใน า า ท นวนิยาย
ชีวิตชาวจีนที่กรุงเทพฯ หวังว่าจะเป็นคนจีนตราบที่ยังมีชีวิตอยู่ “แต่บางขณะ
๑๘

ลูกอายเรื่องความพ่ายแพ้ แพ้อย่างหมดประตูสู้...ไม่อาจรักษาความเป็นคนจีน
ไว้ได้”๑๙ ชุมชนจีนตามห้องแถวยังคงใช้ “ภาษาจีน” ติดต่อท�าธุรกิจ และในชีวิต
ประจ�าวัน ส่วนใหญ่ใช้ภาษา “แต้จิ๋ว”
รั ฐ บาลมี จิ น ตนาการว่ า “วั ฒ นธรรมไทย” เป็ น อั น หนึ่ ง อั น เดี ย ว จึ ง
พยายามให้ชาวจีนอพยพกลืนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชาติไทย โดยเฉพาะให้
พูดภาษาไทยกลางและส�าแดงความจงรักภักดี ความเชื่องช้าในการให้สิทธิเป็น
คนไทยอย่างสมบูรณ์ และการที่ชาวจีนถูกโจมตีเป็นครั้งคราวในที่สาธารณะ
เอื้อให้ข้าราชการและนายพลสามารถบีบคนจีนให้จ่ายเงินสินบน หลังจากที่จีน
เปลี่ยนเป็นคอมมิวนิสต์ (พ.ศ. ๒๔๙๒) สหรัฐยิ่งกดดันให้รัฐบาลไทยด�าเนิน
มาตรการบีบรัดคนจีนในไทย แต่นี่เป็นสภาวการณ์ชั่วคราวเท่านั้น เนื่องจาก
มีชาวจีนอพยพมามากช่วงระหว่างสงคราม คนอยู่ในเมืองจึงเป็นคนไทยเชื้อสาย
จีนเสียมาก เมื่อรัฐบาลส่งเสริมให้เศรษฐกิจเมืองขยายตัว พวกเขาก็มั่งคั่งขึ้น
อย่างรวดเร็ว ในท้ายที่สุดจ�านวนที่มากและเงินที่มีจะมีผลสะเทือนถึงการเมือง

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
เกษตรบุกเบิกเขตทีราบสูง
พ.ศ.สองพันห้าร้อยสี่ ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม
ชาวบ้านต่างมาชุมนุม มาประชุมที่บ้านผู้ใหญ่ลี
ต่อไปนี้ผู้ใหญ่ลีจะขอกล่าว ถึงเรื่องราวที่ได้ประชุมมา
ทางการเขาสั่งมาว่า ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดและสุกร
ฝ่ายตาสีหัวคลอนถามว่า สุกรนั้นคืออะไร?
ผู้ใหญ่ลีลุกขึ้นตอบทันใด สุกรนั้นไซร้คือหมาน้อยธรรมดา

เพลง ผ ี นี้เป็นที่นิยมมากใน พ.ศ. ๒๕๐๗ เป็นเรื่องราวของ


“ผู้ใหญ่บ้าน” ที่ไปประชุมรับฟังเอาศัพท์แสงของทางการมาบอกเล่ากับชาวบ้าน
ว่าควรท�าอะไร โดยที่ตัวเองก็ไม่เข้าใจว่าหมายถึงอะไร เพลงจึงเยาะหยันความ
หลงใหลได้ปลื้มกับ “ความพัฒนา” โดยที่ข้าราชการส่วนกลางสั่งให้ชาวบ้านท�า
อย่างนี้อย่างนั้น
การเปลี่ยนรูปภูมิทัศน์และสังคมชนบทไทยรอบที่ ๒ เกิดขึ้นช่วงหลัง
สงครามโลกครั้งที่ ๒ ทั้งนี้ การบุกเบิกเพื่อท�านาข้าวรอบแรกได้ผ่านไปแล้ว
๑๐๐ ปี ที่ดินบริเวณที่ราบลุ่มเจ้าพระยาและแม่น�้าอื่นๆ ถูกจับจองเกือบหมด
ประชากรก็เพิ่มขึ้นในอัตราสูงถึงร้อยละ ๓ ต่อปีเมื่อทศวรรษ ๒๔๙๐ เนื่อง
จากภาวะปลอดสงคราม อาหารอุดมสมบูรณ์ขึ้น และการควบคุมโรคติดต่อได้
ผลบ้างแล้ว การบุกเบิกที่ดินเพื่อการเพาะปลูกจึงต้องขยายไปสู่บริเวณห่างออก
ไปจากที่ราบลุ่มน�้า และเขตชายทะเลสู่เขตที่ราบสูง
บริเวณดังกล่าวยังเป็นป่าอยู่เสียมาก ชุกชุมด้วยไข้ป่าและโรคร้ายอื่นๆ
ที่ท�าให้คนขยาดไม่กล้าเข้าไปตั้งถิ่นฐาน โรคไข้ป่านี้เองที่คร่าชีวิตเชลยศึกซึ่ง
ญี่ปุ่นบังคับให้สร้างทางรถไฟเพื่อไปพม่าช่วงสงครามโลก บนไหล่เขามีชุมชน
ต่างๆ อาศัยอยู่ รวมทั้งชาวกะเหรี่ยง ชาวม้ง มูเซอร์ และอาข่า แล้วยังมีชุมชน
ที่หนีความวุ่นวายที่ภาคใต้ของจีนแล้วค่อยๆ อพยพเข้ามาอีกตั้งแต่สมัยสงคราม
โลกครั้งที่ ๒ เป็นต้นมา บริเวณแถบนี้ถูกผูกโยงเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติด
ข้ามชาติ ท�าให้ชุมชนบริเวณเขาสูงมีรายได้จากการปลูกฝิ่น นักค้าไม้บุกป่าเพื่อ
ตัดไม้มีค่า
ระหว่างเขตภูเขาสูงกับเขตที่ราบลุ่มคือบริเวณ “ที่ราบสูง” แหล่งที่ใหญ่

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ที่สุดคือที่ราบสูงโคราช ครอบคลุมบริเวณเกือบ ๑ ใน ๓ ของพื้นที่ทั้งหมดของ
ประเทศ
ทศวรรษ ๒๔๙๐ ความเปลี่ยนแปลง ๓ ประการท� าให้ชาวบ้านเข้าไป
บุกเบิกท�าไร่ท�านาในที่ราบสูงได้ ประกำรแรก โครงการปราบโรคมาลาเรียท�า
ให้อัตราการตายจากโรคนี้ลดลงจาก ๒๐๖ ต่อ ๑๐๐,๐๐๐ คน เมื่อปี ๒๔๕๒
ลดลงเหลือ ๒ ต่อ ๑๐๐,๐๐๐ คน ในปี ๒๕๓๐ ประกำรที่สอง สหรัฐให้เงิน
อุดหนุนเพื่อสร้างทางหลวงใช้ในสงครามต่อต้านคอมมิวนิสต์ที่อินโดจีน เริ่ม
จากถนนมิตรภาพเชื่อมกรุงเทพฯ กับอีสาน สร้างในช่วง พ.ศ. ๒๔๙๘-๒๕๐๐
ประกำรที่สำม ยุทธศาสตร์การพัฒนาใหม่นั้น มุ่งใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่าง
เข้มข้นเพื่อเพิ่มอัตราความเติบโตทางเศรษฐกิจ รัฐบาลสร้างเขื่อนเพื่อการชล
ประทาน และเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าหลายแห่ง ส่งเสริมให้ท�ากิจการเหมืองแร่
และธุรกิจเกษตรขนาดใหญ่ โดยให้สิทธิพิเศษต่างๆ และการอุดหนุน ยกเลิกข้อ
จ�ากัดการท�าไม้เพื่อป้อนโรงงานไม้ขีดไฟ กระดาษ การก่อสร้าง และอุตสาหกรรม
อื่นๆ การลงทุนเหล่านี้เพิ่มรายได้และสร้างอุปสงค์ส�าหรับสินค้าเกษตรอย่าง
กว้างขวาง
หัวหอกน�าการบุกเบิกในบริเวณที่ราบลุ่มเจ้าพระยาคือเสียมขุดคลอง
แต่ส�าหรับเขตที่ราบสูงคือเลื่อยของนักค้ำไม้ พวกเขาโค่นป่า ป่าแล้วป่าเล่า
เพื่อสร้างถนน เขื่อน ท�าเหมืองแร่ สร้างฐานทัพอเมริกัน หรือเพียงเพื่อตัดไม้
ขาย คนงานหลายคนหลังจากเสร็จโครงการเหล่านี้แล้วบ้างก็ตั้งรกรากอยู่ใกล้ๆ
แล้วถากถางพื้นที่เพิ่มขึ้นไปอีกเพื่อท�านาไร่ของตัวเอง ในช่วงประมาณ ๑๐ ปี
หลังจากนั้น หลายพื้นที่แบบนี้มีคนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานสามระลอกด้วยกัน
กลุ่มแรกคือนักค้าไม้และชาวไร่บุกเบิกที่ท�าไร่หมุนเวียนแล้วตามนักค้าไม้ไป
ป่าแปลงใหม่ กลุ่มต่อมาคือชาวนาจากพื้นราบที่เข้ามาท�านา บางทีก็อพยพ
ไปมาระหว่างที่ท�านาเดิมกับแหล่งท�านาใหม่นี้ หรืออพยพไปมาระหว่างที่ท�าไร่
เดิมกับที่ใหม่ กลุ่มที่ ๓ คือแรงงานรับจ้างไร้ที่ดิน ถูกบีบมาจากเขตท�านาที่อื่น
ซึ่งเต็มไปด้วยผู้คนยากจนอยู่แล้ว จะมีคนกลางพาพวกเขาใส่รถกระบะมา หรือ
มีเอเย่นต์ค้าพืชผลพามาให้ท� าไร่ในที่ที่เขาจับจองไว้ พ่อค้าพวกนี้จะเช่ารถ
แทรกเตอร์ช่วยเตรียมดิน ให้สินเชื่อปลูกพืชไร่ แล้วบังคับซื้อผลผลิต ผู้ประ
กอบการเหล่านี้อาจท�างานให้กับพ่อค้าส่งออก โรงงานแปรรูปสินค้าเกษตรต่างๆ
ที่ผุดขึ้นทั่วไปบริเวณหัวเมืองเขตที่ราบสูงนี้ เช่น โรงงานท�าน�้าตาล น�้ามันพืช
ยางแผ่น อาหารสัตว์ และผลไม้กระปอง

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ด้วยพลังตลาดและกระบวนการต่างๆ ดังที่กล่าวมา การบุกเบิกเพื่อ
ท�าไร่บนที่ราบสูงก็ขยายพื้นที่ออกไปอย่างรวดเร็วเหมือนไ ลามทุ่ง ภายใน
เวลาเพียง ๔๐ ปเท่านั้น พื้นที่เพาะปลูกของประเทศเพิ่มขึ้นถึง ๓ เท่า และ
ส่วนใหญ่ของพื้นที่ใหม่ก็คือบริเวณที่ราบสูงที่อีสานและภาคเหนือ ในพื้นที่
ใหม่ทั้งหมดประมาณครึ่งหนึ่งปลูกข้าว และที่เหลือปลูกพืชไร่ ไร่อ้อยผุดขึ้น
บริเวณที่เนินรอบๆ ที่ราบลุ่มเจ้าพระยา ยางพารา และปาล์มน�้ามันขยายไป
บริเวณชายฝั่งลงไปทางใต้ ไร่สับปะรดเข้าแทนที่ป่าทางภาคตะวันตก ขณะที่
การเลี้ยงควายและคอกวัวเพิ่มขึ้นในบริเวณเชิงเขาระหว่างลุ่มเจ้าพระยาและ
ที่ราบสูงโคราช ไร่ใบยาสูบกระจายไปทั่วบริเวณหุบเขาภาคเหนือ
แต่พื้นที่บางแห่งสูญเสียความอุดมสมบูรณ์อย่างรวดเร็วเมื่อหน้าดินถูก
ชะท�าลาย ฝนฟ้าก็ไม่แน่นอน อีกทั้งความชื้นของหน้าดินก็หายไปเมื่อไม้ถูกโค่น
บางแห่งที่มีดินเค็มอยู่ใต้ดิน เกลือผุดขึ้นมาหน้าดินหลังจากมีการใช้การชล
ประทานสักพักหนึ่ง พืชไร่ที่จะทนสภาพดินที่เลวแบบนี้ เหลือเพียงข้าวโพด
และมันส�าปะหลัง ซึ่งต่อมากลายเป็นพืชหลักของบริเวณที่ราบสูง เป็นวัตถุดิบ
ให้กับโรงงานท�าแป้งมัน และโรงงานอาหารสัตว์ ชาวไร่บริเวณดังกล่าวมักมี
ที่ดินเฉลี่ยรายละ ๒๕ ไร่ ครอบคลุมทั้งบริเวณที่ปลูกข้าวได้ในที่ลุ่ม และที่ปลูก
พืชไร่บนที่เนิน ระหว่างทศวรรษ ๒๔๙๐-๒๕๑๐ มีฟาร์มเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยปีละ
ประมาณ ๗ หมื่นราย บนพื้นที่บุกเบิกใหม่ทั้งหมด ๒ ล้านไร่
าร์มเหล่านี้ก็คือปาที่สูญหายไปนั่นเอง ปาเคยคลุมเนื้อที่ถึง ๒ ใน
๓ ของประเทศเมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ แต่ ๓๐ ปต่อมาเหลืออยู่เพียง ๑ ใน
๓ รัฐบาลไทยเองได้มีส่วนส่งเสริมการท�าลายปานี้เพราะต้องการ “ส่งออก
สินค้าเกษตร” เพิ่มขึ้นเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อขบวนการ
คอมมิวนิสต์แพร่เข้าไปในบริเวณป่าเมื่อต้นทศวรรษ ๒๕๑๐ รัฐบาลก็ได้ส่งเสริม
การตัดป่าให้มากขึ้นไปอีก เพื่อไม่ให้เป็นที่หลบภัยของคอมมิวนิสต์ สร้างถนน
ยุทธศาสตร์เข้าไปในป่า และส่งชาวนาชาวไร่บุกเบิกเข้าไปจับจองที่ท�ากินสอง
ข้างทางถนนเหล่านี้ เผาป่าบริเวณรอบๆ ฐานที่มั่นของพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง
ประเทศไทย (พคท.) อนุญาตให้นักค้าไม้ได้ท�าสัมปทานป่าไม้ โดยก�าหนดให้
ปลูกป่าด้วย แต่ไม่ได้ดูแลให้ปลูกป่าจริงๆ ดังนั้น เมื่อถึง พ.ศ. ๒๕๒๙ ป่า
ครึ่งประเทศจึงอยู่ใต้สัมปทานป่าไม้ทั้งหมด กลางทศวรรษ ๒๕๑๐ พบว่าป่า
ได้สูญหายไปในอัตราประมาณ ๖ แสนไร่ต่อปี

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


เริ่มแรก การท�าไร่บุกเบิกในพื้นที่ใหม่ๆ นี้เกิดขึ้นและแผ่ขยายไปโดย
รั ฐ บาลตามไม่ ทั น เมื่ อ มี ก รณี พิ พ าทเรื่ อ งที่ ดิ น คู ่ ก รณี ก็ จ ะใช้ พ ละก�า ลั ง เข้ า
ตัดสินแทนที่จะใช้กฎหมาย ปลายทศวรรษ ๒๕๐๐ รัฐบาลเริ่มเป็นกังวลว่าฐาน
ที่มั่นของคอมมิวนิสต์แพร่กระจาย และตระหนักว่าหากปล่อยให้ “อ�านาจเถื่อน”
เป็นวิถีปฏิบัติเสียแล้วก็จะผลักให้ชุมชนหันไปสนับสนุนฝ่ายคอมมิวนิสต์ยิ่งขึ้น
ไปอีก ด้วยเงินสนับสนุนจากสหรัฐ รัฐบาลไทยจึงขยายหน่วยราชการเข้าไป
ในเขตนี้ เริ่มด้วยส่งหน่วยต�ารวจและทหารท�าหน้าที่ปราบปรามคอมมิวนิสต์
ต่อมาสร้างโรงเรียนและส�านักงานต่างๆ เพื่อด�าเนินโครงการช่วยเหลือชุมชน
มีเป้าหมายชนะใจและเปลี่ยนความคิดของชาวนาให้หันมาจงรักภักดีกับรัฐบาล
ไทย รัฐบาลได้สร้างถนน ขุดบ่อน�้า ต่อสายไฟ และให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิด
ภัยธรรมชาติ
สังคมเกษตรที่พัฒนามาจากการท�าไร่บุกเบิกบริเวณที่ราบสูงนี้ โยงกับ
เศรษฐกิจระบบตลาดอย่างเต็มที่ตั้งแต่ต้น จึงต่างจากสังคมชาวนาปลูกข้าว ึ่ง
มุ่งไปที่การท�านาแบบพออยู่พอกินก่อนขายเมื่อผลิตเหลือกิน
ในกรณีนั้นการผนวกเข้ากับเศรษฐกิจระบบตลาดเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็น
ค่อยไป หมู่บ้านที่ราบสูงใหม่ๆ บางแห่งก็เริ่มจากชาวบ้านที่เป็นพี่น้องกันเข้ามา
ตั้งรกรากเป็นพวกเดียวกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วมาจากร้อยพ่อพันแม่และมาจาก
ที่ต่างๆ ช่วงแรกๆ นั้นมีหลายคนที่อพยพมาจากเขตนาข้าวไปอยู่ในภาคอีสาน
แล้วต่อมาหลายคนจากภาคอีสานก็ขยับขยายลงไปทางใต้เพื่อหาที่ดินใหม่ๆ
แถบชายทะเล บางหมู่บ้านมีระบบบริหารจัดการชุมชนระหว่างกันเพื่อแก้ไข
ปัญหาต่างๆ ในสภาพแวดล้อมใหม่ แต่ส่วนมากแล้วไม่มี
ชาวไร่บุกเบิกที่ราบสูงแทบจะไม่มีใครท�าแบบพออยู่พอกิน เขาปลูก
พืชไร่เพื่อขายเป็นหลัก ต้องใช้เงินซื้อเมล็ดพันธุ์ ปุ ย และยาฆ่าแมลง อีกทั้ง
ต้องเช่าเครื่องจักรเพื่อเตรียมดินและเก็บเกี่ยวพืชผล บรรดาพวกที่ปลูกผัก
อ้อย เพื่อป้อนโรงงาน หรือเลี้ยงไก่ มักต้องผูกโยงกับระบบ “เกษตรพันธะ
สัญญา” (contract farming) ที่บริษัทธุรกิจเกษตรขนาดใหญ่จัดหาทุกอย่าง
ให้ โดยใช้แรงงานจากชาวไร่เท่านั้น แล้วชาวไร่ก็ต้องขายผลผลิตให้บริษัทเหล่า
นี้ในราคาที่ตกลงกัน โดยจะมีการคิดค�านวณต้นทุนต่างๆ ไว้แล้ว ชาวไร่ข้าว
โพดและมันส�าปะหลังได้เงินล่วงหน้าเป็นรายปีจากพ่อค้าคนกลางในพื้นที่และ
ต้องขายผลผลิตให้พ่อค้าเหล่านี้ในราคาที่พ่อค้าก�าหนดเช่นกัน มีชาวไร่ส่วน
น้อยเท่านั้นที่มีที่นาพอจะปลูกข้าวไว้กินเอง และแม้จะมีที่นาก็อาจจะไม่มีข้าว

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
พออยู่พอกินได้ทั้งปี เพราะว่าฝนฟ้ามีความไม่แน่นอนสูงนั่นเอง ดังนั้น ชาวไร่
บุกเบิกเขตที่ราบสูงเหล่านี้ จึงพึ่งตลาดเพื่อขายพืชผล เอาเงินสดมาซื้อหาของ
กินใช้ประจ�าวัน เศรษฐกิจของท้องถิ่นจึงพึ่งพิงหรืออยู่ในก�ากับของปัจจัยภาย
นอกหมู่บ้านเป็นหลัก ซึ่งรวมทั้งวัตถุดิบเพื่อการผลิต (เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ ย
ฯลฯ) สินเชื่อ และการอุปถัมภ์จากภาครัฐ ขณะที่เงินรายได้มาจากการขายพืชผล
ออกสู่ตลาดภายนอก
ในเขตนี้ ผู้น�า ท้องถิ่น ได้แก่ผู้ที่ได้ประโยชน์จากการไหลเวียนของ
ธุรกรรมเข้าและออกจากหมู่บ้าน คือกลุ่มพ่อค้าพืชผลที่ท�าหน้าที่ให้กู้เงินด้วย
และมักจะเป็นคนเชื้อสายจีนมีเส้นสายโยงใยกับพ่อค้าอื่นๆ ในตัวเมืองและที่
อื่นๆ อย่างกว้างขวาง อีกกลุ่มหนึ่งก็คือพ่อค้าไม้ที่โยงกับเจ้าของโรงเลื่อย เจ้า
ของรถขนส่งและรถเมล์ที่เชื่อมชุมชนท้องถิ่นกับโลกภายนอก อาจจะรวมทั้งนาย
ต�ารวจใหญ่ในพื้นที่ นายทหารประจ�าการที่ภูมิภาค และนายอ�าเภอที่มีอ�านาจรัฐ
อยู่ในก�ามือ สามารถให้ความอุปถัมภ์คา�้ จุนในรูปแบบต่างๆ ได้ ต�าแหน่งก�านัน
ส�าคัญมาก เพราะเป็นตัวเชื่อมระหว่างเครือข่ายเศรษฐกิจกับอ�านาจรัฐ ดังนั้น
จึงแข่งขันกันอย่างดุเดือดเพื่อให้ได้ต�าแหน่งนี้ ผู้น�าท้องถิ่นมักเป็นชายและรู้จัก
กันดีในวงเหล้า อ�านาจเศรษฐกิจผนวกกับอ�านาจรัฐท�าให้พวกเขาสามารถหา
ก�าไรจากธุรกิจผิดกฎหมายและคอร์รัปชั่นในรูปแบบต่างๆ เช่น การลักลอบตัด
ไม้ การลักลอบค้าของผิดกฎหมาย และการเข้ายึดครองที่ดินสาธารณะพร้อม
ทั้งการออกเอกสารสิทธิ์เหนือที่ดินเหล่านั้น ฯลฯ
ชาวไร่บุกเบิกที่อพยพมามักยากจน และไม่สามารถปรับเปลี่ยนฐานะ
ของตัวเองได้ ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๕-๒๕๐๖ มีการประเมินจ�านวนครอบครัว
ยากจนเป็นครั้งแรก พบว่า ๓ ใน ๔ ของครัวเรือนอีสานมีรายได้ตา�่ กว่าระดับ
ความยากจน (poverty line) หมายถึงระดับรายได้ที่ท� าให้ครอบครัวหนึ่งๆ
โดยเฉลี่ยจะมีปัจจัย ๔ เพื่อประทังชีวิตอยู่ได้ พ.ศ. ๒๕๓๑ สัดส่วนของครัว
เรือนยากจนลดลงเหลือประมาณครึ่งหนึ่ง ครัวเรือนจ�านวนน้อยมีโฉนดที่ดิน
แสดงเอกสารสิทธิ์ รัฐบาลไม่ได้ขยายระบบโฉนดที่ดินให้ครอบคลุมบริเวณ
ที่ราบสูง ดังนั้น พื้นที่ที่จับจองท�าไร่กันส่วนใหญ่จึงมีเพียงใบแสดงการเสียภาษี
(ภบท.๕)
พ.ศ. ๒๕๐๗ รัฐบาลก�าหนดว่าร้อยละ ๔๐ ของพื้นที่ของประเทศต้อง
เป็นเขตป่า และเริ่มท� าแผนที่เพื่อกันไม่ให้ชาวบ้านเข้าตั้งรกรากท� ามาหากิน
พร้อมๆ กับที่การบุกเบิกที่ป่าท�าพืชไร่ด�าเนินไปเป็นคู่ขนาน (ดังที่บรรยายไป

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ก่อนหน้า) เมื่อถึง พ.ศ. ๒๕๑๗ พบว่าชาวบ้าน ๕-๖ ล้านคนได้เข้าอาศัยอยู่ใน
บริเวณที่ทางการเรียกว่า “ป่า” ในแผนที่ ชาวบ้านจึงถูกตราหน้าว่าเป็น “ผู้บุกรุก”
ไม่อาจได้เอกสารสิทธิ์ใดๆ เหนือที่ดินที่ครอบครอง ปลายทศวรรษ ๒๕๓๐
จ�านวน “ผู้บุกรุก” ป่าของทางการเพิ่มเป็น ๑๐-๑๒ ล้านคน มากกว่า ๑ ใน ๓
ของประชากรชนบททั้งหมดของประเทศ

สังคมชาวนากับระบบตลา
พัฒนาการเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นส่งผลเปลี่ยนสังคมชาวนาอย่างสิ้นเชิง
หลัง พ.ศ. ๒๔๘๘ “องค์กรโลกบาล” ต้องการเห็นไทยเพิ่มผลผลิตข้าวให้มี
ส่วนเกินที่จะเอาไปช่วยเลี้ยงประเทศอื่นๆ ในเอเชียที่ผลิตข้าวไม่พอกิน และเพื่อ
ช่วยให้เอเชียทั้งหมดมีความมั่นคงด้านอาหารในระยะยาวเมื่อประชากรเพิ่มขึ้น
“ธนาคารโลก” และองค์กรอื่นๆ จึงเข้ามาช่วยไทยขยายโครงการชลประทาน
โดยรื้อฟื้นเอาโครงการซึ่ง าน เดอร์ ไ ดเดอะ ได้ร่างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕
แต่ไม่ได้สร้างสมัยนั้น จึงน�ามาปรับปรุงและด�าเนินการที่ภาคกลาง เริ่มจากสร้าง
“เขื่อนชัยนำท” ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ และอีกทศวรรษต่อมาก็สร้างเขื่อนอีก ๒
แห่งทางตอนเหนือของแม่น�้าเจ้าพระยา เขื่อนเหล่านี้ช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะ
น�้าท่วมหรือภาวะขาดแคลนน�้ารุนแรง มีการขุดคลองเป็นเครือข่ายเพื่อกระจายน�้า
และท�าให้น�้าไหลเวียนจากเขื่อนสู่ที่ราบลุ่มปลูกข้าวในภาคกลางสม�า่ เสมอขึ้น
ในระยะเริ่มแรกโครงการเขื่อนขนาดใหญ่เหล่านี้ไม่ได้ให้ผลเป็นที่น่า
พอใจนัก จนกระทั่งเกิด “การปฏิวัติเขียว” เมื่อปลายทศวรรษ ๒๕๐๐ คือการ
ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวให้ผลผลิตสูงต่อไร่ ได้น�าเอาพันธุ์ข้าวใหม่ซึ่งองค์การวิจัยข้าว
ที่ฟิลิปปินส์พัฒนาขึ้น มาปรับให้สอดคล้องกับสภาพพื้นดินในเมืองไทย เมล็ด
พันธุ์ใหม่ๆ เหล่านี้ต้องใช้น�้ามากจึงจะได้ผล เมื่อเอามาผนวกกับชลประทานที่
พรั่งพร้อมขึ้นจึงช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวต่อไร่ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งต้องใช้ปุยเคมี
และยาฆ่าแมลงด้วย ทั้งสองอย่างนี้จึงเพิ่มต้นทุนขึ้นด้วย รถไถเดินตามพัฒนา
ที่ประเทศจีนเรียกว่า “ควายเหล็ก” ก็น�ามาผลิตและใช้กันอย่างกว้างขวาง ทด
แทนควายตัวจริง เทคโนโลยีใหม่ทา� ให้ชาวนาภาคกลางสามารถผลิตข้าวได้ปีละ
๒-๓ ครั้ง ทั้งนี้ ระบบชลประทานจากเขื่อนท�าให้มีน�้าใช้ได้ยาวนานขึ้น ข้าวพันธุ์
ใหม่สุกเร็วขึ้น และควายเหล็กช่วยร่นระยะเวลาการเตรียมดิน

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
โครงการน�้าขนาดเล็กอื่นๆ ของรัฐบาลให้ผลคล้ายๆ กันในภูมิภาคอื่นๆ
เช่น “โครงการแม่แตง” ท�าให้ชาวนาที่ลุ่มน�้าเชียงใหม่มีน�้าใช้อุดมสมบูรณ์และ
เป็นระยะเวลานานขึ้น เขื่อนที่สร้างตามสาขาย่อยของแม่น�้าเจ้าพระยาทางตอน
เหนือช่วยลดปัญหาน�้าท่วมหรือภาวะน�้าแล้งรุนแรง ในท�านองเดียวกัน “ าย
ที่ล�าน�้ามูล ชี” ที่อีสานช่วยคงระดับน�้า และโครงการย่อยอื่นๆ ที่สร้างตามบริเวณ
ปลูกข้าวแนวชายทะเลลงไปทางด้านใต้ก็ให้ผลคล้ายๆ กัน
การใช้นวัตกรรมต่างๆ ท�าให้ผลผลิตข้าวต่อไร่ที่บริเวณภาคกลางเพิ่ม
ขึ้นถึง ๒ เท่าภายในเวลา ๓๐ ป การส่งออกข้าวจึงพุ่งขึ้นอีกท�าให้ไทยกลาย
เป็นประเทศส่งข้าวออกมากที่สุดในโลก ประชาชนก็ได้ประโยชน์ สัดส่วนของ
ครัวเรือนที่มีรายได้ต�่ากว่าเส้นความยากจนที่ภาคกลางลดลงจาก ๒ ใน ๕ เมื่อ
พ.ศ. ๒๕๐๕ ๒๕๐๖ เป็นเพียง ๑ ใน ๘ อีก ๑๓ ปต่อมา พ.ศ. ๒๕๑๙

ศาสตราจารย์โทโม ูกิ นักมานุษยวิทยาชาวญี่ปุ่นที่เคยมาศึกษาหมู่


บ้านไทยภาคกลางเมื่อทศวรรษ ๒๕๐๐ หวนกลับมาศึกษาอีกครั้งเมื่อทศวรรษ
๒๕๑๐ เมื่อเขามาครั้งแรกยังเป็นเพียงชุมชนชาวนาบุกเบิกรายเล็ก ใช้แรงงาน
ในครัวเรือนและเทคโนโลยีแบบดั้งเดิม แต่อีก ๑๐ ปีต่อมา เขาพบการเปลี่ยน
แปลงที่พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ ควายหายไป มีแต่รถไถเดินตาม การลงแขก
แทบจะไม่มีเหลือ แต่มีเอเย่นต์เข้ามาช่วยจัดหาแรงงานเพื่อเกี่ยวข้าวเป็นกลุ่มๆ
เมล็ดพันธุ์ใหม่เข้าแทนที่เมล็ดพันธุ์ข้าวแบบเดิม ท�าให้มีการใช้ปุ ยเคมีและยา
ฆ่าแมลงอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ทัศนคติ” และ “วัฒนธรรม”
เปลี่ยนไป ชาวบ้านซึ่งเคยเชื่อและมีพิธีกรรมบวงสรวงแม่โพสพเพื่อให้ข้าวได้
ผลบอกเขาว่า “แม่โพสพก็สู้ปุยเคมีไม่ได้” ๑๙
นักมานุษยวิทยาผู้นี้และคนอื่นกลัวกันว่าสังคมชาวนาไทยที่เปลี่ยนแปลง
สู่ระบบตลาดอย่างพลิกผัน ผนวกกับภาวะประชากรเพิ่มเร็ว จะท�าให้ขนาดของ
การถือครองที่ดินต่อหัวลดลงและจะส่งผลให้สังคมชาวนาแตกแยก นอกจาก
นั้น ประเทศอื่นๆ การปฏิวัติเขียวให้ประโยชน์กับชาวนารายใหญ่มากกว่าชาวนา
รายเล็ก ใครๆ จึงคาดการณ์เช่นเดียวกันกับกรณีของไทย แต่ปรากฏว่าประสบ
การณ์ของไทยที่ภาคกลางแตกต่างอย่างมีนัยส�าคัญ
ชาวนารายเล็กที่ภาคกลางสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่โดยไม่มีอุปสรรค
ขวางกั้นเหมือนประเทศอื่นๆ เมื่อประชากรเพิ่มขึ้น ขนาดของที่ถือครองต่อ
ครอบครัวลดลงจากเฉลี่ยครัวเรือนละ ๒๕ ไร่ เป็น ๑๙ ไร่ แต่ยังสามารถ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ หรือหาที่นาเช่าเพื่อเพิ่มพื้นที่ท�านาของครอบครัวได้
โดยเช่าที่จากครัวเรือนอื่นที่อาจเปลี่ยนอาชีพหลักไปแล้ว มีการอพยพอีกรอบ
ภายในเขตลุ่มน�้าโดยชาวนาไปหาซื้อหรือเช่าที่นาใกล้น�้าหรือใกล้ตลาด ชาวนา
รายเล็กไม่ได้สูญหายไป แต่จ�านวนกลับเพิ่มขึ้น โดยกลายเป็นชาวนาที่พึ่งตลาด
เพิ่มขึ้น อาจจะยังใช้แรงงานในครัวเรือนอยู่บ้าง แต่ต้องปรับตัวสู่ตลาด โดยหา
ความรู้ ซื้อเทคโนโลยีใหม่ๆ จ้างแรงงาน และเช่านาเพิ่ม
ชาวนาที่มีทักษะเป็นผู้ประกอบการ สามารถหาประโยชน์จากตลาดและ
สะสมความมั่งคั่งจนซื้อที่ดินเพิ่มขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ในขณะเดียวกันนั้นเจ้า
ของที่ดินขนาดใหญ่แบบเจ้าที่ดินบางราย ก็ฉวยโอกาสขายที่ดินซึ่งราคามีแนว
โน้มสูงขึ้น ภาวะการกระจุกตัวของที่ดินในมือของเจ้าที่ดินรายใหญ่เพิ่มขึ้น
เพียงเล็กน้อยและชาวนารายเล็กท�านาบนที่นาของตนเอง (อาจจะบวกการเช่า
บ้าง) ยังคงเป็นภาพที่ไม่ได้เปลี่ยนไปมากนัก
ณ ระดับล่างนั้น จ�านวนของครัวเรือนไร้ที่ดินหรือมีที่ดินน้อยค่อยๆ
เพิ่มจ�านวนขึ้น ในทศวรรษ ๒๕๑๐ ประมาณ ๑ ใน ๕ ของครัวเรือนที่ภาค
กลางและที่ภาคเหนือไร้ที่ดิน และประมาณ ๑ ใน ๑๐ มีที่ดินน้อย เป็นค� าถาม
ว่าพวกเขาอยู่ได้อย่างไร ส่วนใหญ่โดยเฉพาะที่ภาคเหนืออยู่ได้ด้วยการเช่า
ที่นาแล้วแบ่งผลผลิตกับเจ้าของนา (แบ่งให้เจ้าของ ๔ ใน ๕) หรือไม่ก็เป็นแรง
งานรับจ้าง
ความเปลี่ยนแปลงที่ส�าคัญ คือ ชาวนารายเล็กขณะนี้เข้าผนวกและ
พึ่งพิงระบบตลาดมากกว่าแต่ก่อน พวกเขาเช่ารถแทรกเตอร์เพื่อปรับระดับ
พื้นที่ท�าให้ได้รับน�้าชลประทานสะดวกขึ้น ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ใหม่ๆ ที่ให้ผลผลิต
ต่อไร่สูง ต้องซื้อปุยเคมีและยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ต้องลงทุนซื้อรถไถเดินตาม
และเครื่องสูบน�้า บางคนเลิกปลูกข้าวหันไปปลูกผลไม้ ผัก อ้อย หรือพืชที่ให้
มูลค่าเพิ่มสูง หลายคนปลูกข้าวพันธุ์ใหม่เพื่อขายส่งออก แต่ตัวเองไม่ชอบกิน
จึงต้องซื้อข้าวจากชาวนาอื่นที่ปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง หรือซื้อจากตลาด การทอผ้า
และการท�าอุตสาหกรรมครัวเรือนเดิมค่อยหดหายไป ขณะที่ร้านรวงและตลาด
นัดขายของจากในเมืองเพิ่มมากขึ้น รัฐบาลส่งเสริมให้สินเชื่อแก่เกษตรกรมาก
ขึ้นโดย พ.ศ. ๒๕๐๙ ก่อตั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ธกส. ใน
พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้สินเชื่อเพื่อการเกษตรปีละ ๑๙ พันล้านบาท และ พ.ศ. ๒๕๑๘
รัฐบาลก�าหนดให้ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อเพื่อการเกษตร คิดเป็นร้อยละ ๕
ของสินเชื่อธนาคารทั้งหมด

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ชาวนารายเล็กเขตที่ราบลุ่มก็ต้องติดต่อกับภาครัฐบาลมากขึ้น เหมือน
กับในกรณีของเขตที่ราบสูง โรงเรียน ต�ารวจ และอ�าเภอ กระจายไปทั่วเขต
ชนบท แต่ที่ต่างกันคือรัฐบาลออกเอกสารสิทธิ์เป็นโฉนดให้กับชาวนา เมื่อ
ก่อนชาวนาใช้น�้าฝนน�้าท่า แต่สิ่งใหม่คือ “ปัจจุบันน�้าก็ยังมีนาย” และชาวนาก็
ต้องติดต่อกับข้าราชการต่างๆ เพื่อให้ได้ส่วนแบ่งน�้าชลประทาน
เหมือนกับเขตที่ราบสูง กลุ่มผู้น�าท้องถิ่นปรากฏตัวขึ้นท�าหน้าที่เป็นตัว
กลางระหว่างชาวบ้านกับพ่อค้าและข้าราชการที่อยู่นอกหมู่บ้าน บางคนผูกขาด
กิจการหลายอย่างจนร�่ารวย ดังที่เพลงลูกทุ่งยอดนิยมเพลงหนึ่งกล่าวเสียดสีไว้

พูดถึงความรวย ใครไม่เท่าฉัน ทั่วทั้งเมืองสุพรรณ


เรียกเศรษฐีใหญ่ ฉันเป็นเศรษฐีใหญ่ ที่ใจกว้าง
แม้แต่ขุนช้าง สู้ไม่ได้ ทั้งวัวและควาย ที่บ้านฉัน
ก็ยังจับเลี่ยมฟัน เสียทุกตัวไป ฉันมีทั้งโรงสี โรงขายเสา
โรงงานท�าเตา โรงขี้ไต้ ทั้งโรงน�้าแข็ง โรงน�้าขาว
โรงน�้าตาลเมา ละเพิ่งสร้างใหม่ ทั้งโรงท�าเหล็ก โรงไฮโล
โรงงานถั่วโป ทั้งเล็กใหญ่ โรงเผาโรงผี มีมากนัก
เออแต่ก็ว่าโรงพัก นะฉันไม่เข้าใกล้ ๒๐

“ฉัน” ในเพลงนี้เป็นเจ้าแม่ นับว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ผู้ทา� การค้าและ


เจ้าของเรือเอี้ยมจุ๊นมักเป็นผู้หญิง แต่โดยทั่วไปแล้วในสังคมชนบท ต� าแหน่ง
ทางสังคมของผู้หญิงมีแนวโน้มลดลงในช่วง ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา หลังจากที่ระบบ
เกณฑ์แรงงานถูกยกเลิกไป และการท�านาไร่เป็นหลักแหล่งขยายตัว ผู้ชายก็
มีบทบาทน�าในเรื่องการเกษตร และเมื่อต้องติดต่อกับพ่อค้าข้าว พ่อค้าพืชไร่
และข้าราชการซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาย ผู้ชายจึงเข้าทดแทนผู้หญิงในเรื่องการค้า
ด้วย การนับถือผีแต่ดั้งเดิมซึ่งผู้หญิงมีบทบาทสูงในพิธีกรรมค่อยๆ หายไป ขณะ
เดียวกันพิธีกรรมด้านพุทธศาสนาซึง่ มีพระเป็นใหญ่เข้ามีบทบาทกว้างขวางขึ้น
แทบทุกหนแห่งการแลกแรงหรือการลงแขกค่อยๆ ลดความส�าคัญลง
ชาวบ้ า นอาจจะยัง ร่ ว มมือ กัน บริห ารจัด การระบบเหมือ งฝายเพื่อ การแบ่ ง น�้า
(ภาคเหนือ) หรือการชลประทานระบบอื่นๆ ร่วมจัดงานบุญและร่วมดูแลวัด
ด้วยกัน แต่พวกเขาต้องติดต่อกับรัฐและตลาดมากขึ้นๆ ในฐานะปัจเจกบุคคล

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


บ้านกับเมอง
สมัยของการพัฒนา เป็นตัวเร่งให้มีการอพยพจากชนบทสู่เมือง ก่อน
หน้านี้การท�านาไร่บุกเบิกได้ดึงคนสู่ชนบทเป็นเวลากว่าศตวรรษ คนงานโรงสี
ข้าว โรงเลื่อยไม้ ท่าเรือ และกิจการอื่นๆ ที่เฟื่องฟูขึ้นสมัยเศรษฐกิจภายใต้
ระบบอาณานิคม ล้วนเป็นคนอพยพมาจากเมืองจีน ชาวบ้านไม่ค่อยเข้าเมือง
เพราะว่ายังมีโอกาสจับจองที่ดินใหม่ และค่าจ้างแรงงานภาคเกษตรก็สูง ท�าให้
ไม่มีแรงดึงให้ย้ายจากชนบทสู่เมือง
จากทศวรรษ ๒๔๖๐ ชาวบ้านเริ่มมุ่งสู่เมืองหลังจากที่เผชิญปัญหาภัย
แล้งและราคาข้าวตกในตลาดโลก พ.ศ. ๒๔๙๒ จีนอพยพสู่ไทยยุติลง อีก ๒
ทศวรรษต่อมา เศรษฐกิจเมืองขยายตัว ความต้องการคนงานเพิ่มขึ้น ท�าให้ค่า
จ้างในเมืองสูงขึ้นเมื่อเทียบกับชนบท ดังนั้นจึงเป็นแรงดึงดูดให้มีการอพยพสู่
เมืองเพิ่มขึ้น ถนนหนทางที่ดีขึ้น และการบริการรถเมล์ ท�าให้การเดินทางสะดวก
ขึ้น ช่วง พ.ศ. ๒๕๐๓-๒๕๑๓ ประชากรของกรุงเทพฯ เพิ่มจาก ๑.๘ ล้านเป็น
๓ ล้าน เพิ่มความต้องการคนงานขับรถ คนรับใช้ในบ้าน คนงานร้านอาหาร
และคนงานก่อสร้าง อีกทั้งทหารอเมริกันที่เข้ามาเพื่อใช้ไทยเป็นสถานที่พักผ่อน
หลังการรบที่เวียดนามก็ได้ท�าให้ธุรกิจเพศพาณิชย์เฟื่องฟูขึ้นอย่างรวดเร็ว จาก
ทศวรรษ ๒๕๑๐ เริ่มมีนายหน้าติดต่อส่งคนงานไทยไปท�างานต่างประเทศ โดย
เฉพาะที่ตะวันออกกลาง
รูปแบบของการอพยพมีหลายมิติ วัยรุ่นจากหมู่บ้านไปเรียนหนังสือต่อ
ในเมือง ไปท�างานหาเงิน หรือไม่ก็ไปเที่ยวเล่นเพื่อหาประสบการณ์ บ้างพ�านัก
อยู่เมืองสองสามปี แต่บ้างก็อยู่ถาวรไปเลย กลับไปหมู่บ้านเมื่อเกษียณอายุ
แล้วเท่านั้น ขณะเดียวกันหลายคนอพยพไปมาเป็นช่วงระยะสั้นๆ ปีละหลาย
ครั้ง งานนาไร่พึ่งหน้าฝนใช้เวลาอย่างมากก็ครึ่งปี เวลาที่เหลือจึงไปหางานที่อ่ืน
บางคนอพยพกลับไปกลับมาเมื่อว่างจากการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว ปลาย
ทศวรรษ ๒๕๑๐ พบว่าชาวบ้านประมาณ ๑.๕ ล้านคน เคลื่อนย้ายไปมาระหว่าง
บ้านและเมืองเป็นการอพยพตามฤดูกาลดังที่กล่าวมา แรกๆ นั้นแรงงานอพยพ
ส่วนมากมาจากบริเวณภาคกลางเพราะอยู่ใกล้เมืองใหญ่ และเพราะว่าพื้นที่ท�ากิน
ขาดแคลน ครั้นปลายทศวรรษ ๒๕๑๐ ชาวบ้านจากอีสานเข้าร่วมขบวนแรงงาน
อพยพช่วงนอกหน้านา คนงานอพยพหญิงและชายสัดส่วนเกือบพอๆ กัน

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
การเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างบ้านและเมืองสะท้อนให้เห็นในเนื้อหาของ
เพลงลูกทุ่งที่นิยมกันเมื่อทศวรรษ ๒๕๐๐ และ ๒๕๑๐ ดนตรีมีต้นแบบมา
จากเพลงพื้นบ้านภาคกลางที่เป็นแหล่งแรงงานอพยพส่วนใหญ่นั่นเอง แต่เพลง
ลู ก ทุ ่ ง พุ ่ ง ขึ้ น สู ่ ค วามนิ ย มสู ง เพราะการขยายตั ว ของเครื อ ข่ า ยวิ ท ยุ ร ะดั บ ชาติ
พัฒนาการของเทปเพลง และการสร้างถนนที่ท�าให้คณะดนตรีเพลงลูกทุ่งเดิน
สายไปแสดงตามหมู่บ้านต่างๆ ทั่วประเทศ นักร้องมีชื่อมักจะมาจากบ้านนอก
อาทิ “พุ่มพวง ดวงจันทร์” ราชินีเพลงลูกทุ่งเป็นแรงงานเด็กช่วยพ่อแม่ตัดอ้อย
ที่สุพรรณบุรีมาก่อน และ “สำยั ห์ สั ำ” นักร้องลูกทุ่งอีกคนก็เคยเป็น
ชาวนา

...ความรู้มเี พียงแค่ชั้น ป.๔ ผมสัญจรจากดอนเจดีย์


สุพรรณบุรีดินแดนบ้านป่า นักร้องคนซือ่ ทีช่ อื่ สายัณห์ สัญญา
เป็นเด็กบ้านนอกคอกนา เสี่ยงโชคชะตามากับเสียงเพลง...
(“นักเพลงคนจน”)

เนื้อหาของเพลงบ่งบอกความตื่นเต้นผสมความเศร้าที่ต้องจากบ้านไป
เมือง หลายเพลงบรรยายชีวิตเมืองเป็นคนขับรถบรรทุก เด็กเสิร์ฟ กระเปา
รถเมล์ สาวฉันทนา คนงานโรงงาน และคนงานในธุรกิจเพศพาณิชย์ เพลง
ครวญถึงนาล่ม ภัยธรรมชาติ ความข้นแค้นที่บีบให้พวกเขาต้องอพยพออกไป
เพลงเหล่านี้กล่าวเตือนว่าคนเมืองจะดูถูกว่า “จนและเหม็นสำบ” บอกให้สาวๆ
ที่จากบ้านมาตระหนักถึงภัยของผู้ชายชาวเมือง หลายๆ เพลงเน้นว่าเมืองเป็น
เพียงที่พักพิงชั่วครั้งชั่วคราว และนักร้องตั้งใจกลับบ้านให้ได้เร็วที่สุด เช่น เพลง
“ชมกรุง” อ้อนวอนแฟนสาวที่ยังอยู่หมู่บ้านว่า

งามแท้หนอบางกอก สวยไม่หยอกอบอวลด้วยไอหอมฟุ้ง
เหตุฉะนี้นี่เล่า เมื่อยามสาวบ้านนาเจ้ามาอยู่กรุง
เจ้าจึงลืมท้องทุ่ง หลงกรุงลืมท้องทุ่งดินแดนดง
ชมกรุงถึงกรุงจะงามแจ่มตา แต่ท้องนาข้าเองก็ลืมไม่ลง
ผู้หญิงเมืองกรุง ถึงเจ้าจะงามสูงส่ง
สาวบ้านนาแดนดง ใจข้าพะวงมิลืมเลือนเลย
(เพลิน พรหมแดน “ชมกรุง”)

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ความมีชีวิตชีวาของเพลงลูกทุ่ง เฉลิมฉลองความตื่นตาตื่นใจกับแสง
สีของเมือง แต่เนื้อหาของเพลงย�้าเน้นความยากล�าบาก ความมุ่งหวังที่จะคง
ความสัมพันธ์กับบ้าน หลายๆ เพลงหวนหาถึงหมู่บ้านที่สงบร่มเย็น ครอบ
ครัวอบอุ่น สาวคนรัก ชายคนรัก ที่ทิ้งอยู่เบื้องหลัง พุ่มพวงร้องเพลงท่อน
หนึ่งว่า

เมื่อสุริยนย�่าสนธยา
หมู่นกกาก็บินมาสู่รัง
ให้มาคิดถึงท้องทุ่งนาเสียจัง
ป่านฉะนี้คงคอยหวัง
เมื่อไหร่จะกลับบ้านนา
(“นักร้องบ้ำนนอก”)

อวสานของศัก ินา
ชนชั้นน�าตระกูลใหญ่ด�ารงอยู่ได้ภายหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ แต่บทบาท
และความส�าคัญลดลง ๑๖ ปีหลังจากนั้น เมืองไทยไม่มีพระมหากษัตริย์ครอง
ราชย์ที่กรุงเทพฯ เพื่อเป็นศูนย์รวมของสังคมแบบดั้งเดิม พระราชวงศ์หลาย
พระองค์ทรงสูญเสียต�าแหน่งส�าคัญในกองทัพและในระบบราชการฝ่ายพลเรือน
ต�าแหน่งและบรรดาศักดิ์ตามแบบอยุธยายุติลงจาก พ.ศ. ๒๔๗๕ และถูกยก
เลิกไปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ (บางคน เช่น หลวงพิบูลสงคราม และหลวงวิจิตรวาท
การ ใช้บรรดาศักดิ์เป็นนามสกุล) ข้าราชการใช้ “ชื่อตัวเอง” และ “นามสกุล”
ของครอบครัว ในฐานะเป็นปัจเจกบุคคล แทนที่จะเป็นระดับขั้นหรือต�าแหน่ง
ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้ การศึกษาของข้าราชการใหม่โดยเฉพาะที่จบ
จากธรรมศาสตร์ เน้นว่า ข้ำรำชกำรรับใช้รัฐบำลมำกกว่ำที่จะรับใช้พระมหำ
กษัตริย์เช่นในอดีต
ภาวะเงินเฟ้อช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้ลดค่าเงินของเงินเดือนข้า
ราชการเป็นอย่างมาก ท�าให้สถานะของข้าราชการไม่สูงส่งดังก่อนเก่า ถึงกระนั้น
ก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่สมบูรณ์ ค�าเรียกยังคงใช้ว่า “ข้าราชการ” หรือ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ผู้รับใช้พระราชา
ตระกูลใหญ่ซึ่งเคยเป็นฐานรากของชนชั้นน�าดั้งเดิมมีลักษณะเปลี่ยนไป
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายที่ทรงมีพระชายา
หลายองค์ และเท่ากับว่าทรงสนับสนุนระบบดังกล่าว พระมงกุฎเกล้าฯ ทรง
มีพระมเหสีพระองค์เดียว และพระราชธิดา ๑ พระองค์ ตลอดรัชกาลพระ
ปกเกล้าฯ ทรงมีพระมเหสีพระองค์เดียวเช่นกัน คือ สมเด็จพระนางเจ้าร�าไพ
พรรณี ไม่ทรงมีพระราชโอรสหรือพระราชธิดา
ประมวลก หมาย พ.ศ. ๒๔๗๘ ยอมรับคู่สมรสเพียงคนเดียว ผู้ชาย
ตระกูลชนชั้นสูงยังคงด�าเนินรอยตามระบบหลายภริยา โดยอาจปรับพฤติกรรม
ไปบ้าง เช่น มีทีละคน คือเลิกคนเก่าก่อนถึงจะมีคนใหม่ หรือถ้ามีหลายคน
พร้อมๆ กันก็แยกบ้านกันอยู่ ลูกหลานตระกูลระดับน�าหลายคน ขัดขืนไม่ยอม
ให้พ่อแม่เลือกคู่ครองให้ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้หมายความว่าตระกูลใหญ่ๆ
ไม่อาจขยายอิทธิพลด้วยการมีลูกมากๆ จากหลายภริยา หรือโดยจัดการแต่ง
งานลูกหลานกับตระกูลใหญ่ๆ ด้วยกันเป็นเครือข่ายกว้างขวางออกไป เมื่อท�า
เช่นนั้นได้จ�ากัดขึ้น อิทธิพลและอภิสิทธิ์ที่เคยมีอยู่เหนือต�าแหน่งส�าคัญในภาค
ราชการและรัฐบาลก็พลอยผ่อนคลายลงไปด้วย
หนังสือ ี่แผน น ของ ม.ร.ว.คึก ทธิ ปราโมช (พ.ศ. ๒๔๙๓) เป็น
นวนิยายแสดงให้เห็นการแตกสลายของตระกูลขุนนางในระบบศักดินาตระกูล
หนึ่ง เมื่อสมาชิกรุ่นใหม่ด�าเนินอาชีพต่างๆ ที่หลากหลาย อีกทั้งฝักใฝ่ความ
คิดทางการเมืองที่เป็นคู่แข่ง และแต่งงานนอกสังคมชั้นสูงดั้งเดิมหรือกับคน
ต่างชาติ (ฝรั่ง คนจีน) คฤหาสน์ประจ�าตระกูลถูกท�าลาย เพราะระเบิดลงเมื่อ
พ.ศ. ๒๔๘๗ เป็นสัญญาณแสดงถึงความล่มสลายของตระกูลในท้ายที่สุด
รัฐยุติบทบาทเป็นกลไกที่ช่วยเกื้อหนุนชนชั้นสูงด้านรายได้และแหล่ง
ของการสะสมทุนในธุรกิจ เงินเบี้ยหวัดส�าหรับราชนิกุลสิ้นสุดลงใน พ.ศ. ๒๔๗๕
ตระกูลใหญ่อื่นๆ สูญเสียต�าแหน่งโอ่อ่าที่ไม่ต้องท�างานหนักแต่รายได้ดี อสังหา
ริมทรัพย์และการลงทุนในกิจการต่างๆ ของพระราชวงศ์ ซึ่งส่วนใหญ่สะสมมา
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ นั้น เดิมบริหารจัดการโดย “กรมพระคลัง” เมื่อ พ.ศ.
๒๔๗๗ รัฐบาลจัดตั้ง “ส�านักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” ขึ้นมาดูแล
แทน และอยู่ภายใต้กระทรวงการคลัง ตระกูลใหญ่อื่นๆ หวนกลับไปพึ่งอสังหา
ริมทรัพย์และทรัพย์สินซึ่งครอบครัวได้สะสมในช่วง ๕๐ ปีที่ผ่านมา ที่ดินย่าน

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


การค้าในเมืองที่ราคาพุ่งขึ้นกลายเป็นแหล่งรายได้ที่จรรโลงครอบครัวเหล่านี้
แต่สินทรัพย์อื่นๆ มูลค่าลดลงเพราะหมดสมัยนิยมและเผชิญกับปัญหาราคา
เฟ้อพุ่งสุดขีดจากภาวะสงคราม อีกทั้งวัฒนธรรมมีภริยาหลายคนซึ่งเคยเป็น
ตัวเกื้อหนุนตระกูลใหญ่ ขณะนี้กลับส่งผลลบเพราะครอบครัวแตกแยก และ
กองมรดกต้องถูกแบ่งปันกันไประหว่างลูกๆ หลายคน หนังสือบันทึกความ
ทรงจ�าเล่มหนึ่งบรรยายถึงเมื่อพระนางเจ้าร�าไพพรรณี และผู้เขียนซึ่งเป็นผู้ร่วม
รับมรดกส่วนพระองค์ของพระปกเกล้าฯ แบ่งกองมรดกกันโดยจับฉลากโฉนด
ที่ดิน แล้วจึงแบ่งสิ่งของที่เคลื่อนย้ายได้ที่พระราชวังสุโขทัย หลังจากแบ่งกัน
แล้วนั้นมีการประมูลขายหลายสิ่งหลายอย่างออกไปทันทีให้กับชาวจีนผู้ค้าของ
เก่า อีกทั้งพูดถึงว่าของมีค่าบางส่วนที่ได้รับมรดกมาต่อมาก็สูญหายไปเพราะ
ไร้การดูแล๒๑
การศึกษาเป็นปัจจัยหนุนช่วยลูกหลานตระกูลใหญ่ที่ยั่งยืนที่สุด พระ
เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงส่งเสริมให้พระบรมวงศ์และตระกูลขุนนางอื่นลงทุน
ส่งลูกชายไปเรียนสูงเพื่อช่วยความเจริญของประเทศ ต่อมาการไปเรียนนอก
โดยเฉพาะที่ยุโรปเป็นวิถีปฏิบัติในกลุ่มชนชั้นน�า ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒
สมาชิกของพระราชวงศ์และลูกหลานตระกูลชั้นน�าอื่นๆ หลายคนเป็นนักวิชา
ชีพ นักวิชาการ อาจารย์ เทคโนแครต นักวิทยาศาสตร์ นายแพทย์ และศิลปิน
ที่มีชื่อเสียง
ราชนิกุลและสมาชิกของตระกูลขุนนางดั้งเดิมจ� านวนหนึ่งร่วมงานกับ
“คณะราษฎร” ด้วยเห็นพ้องกันด้านโลกทัศน์ เช่น พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร
ด�ารงต�าแหน่งทางการทูต และมีบทบาทด้านนโยบายต่างประเทศอย่างแข็งขัน
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สมาชิกพระราชวงศ์ที่ลี้ภัยไปต่างประเทศพากันเดิน
ทางกลับพระนครเป็นจ�านวนมาก แต่เพียงไม่กี่รายที่มีบทบาทส�าคัญในการเมือง
ม.ร.ว.เสนีย์ และ ม.ร.ว.คึก ทธิ ปราโมช เป็นกรณียกเว้น การฟื้นฟูสถาบัน
พระมหากษัตริย์ (ดูบทต่อไป) มุ่งไปที่พระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี พระราช
โอรส และพระราชธิดา “พระยศ” ซึ่งแสดงความเป็นราชนิกุล (พระองค์เจ้า,
หม่อมราชวงศ์, หม่อมหลวง) ยังคงใช้อยู่ และแสดงสถานภาพทางสังคมเฉพาะ
แต่พลังที่ขับเคลื่อนสังคมและการเมืองในขณะนั้นเป็นกลุ่มใหม่จากฝ่ายนายพล
นักธุรกิจ และเทคโนแครต

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
สรุป
สงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นเส้นแบ่งระหว่างยุคสมัย ความทรงจ�าเกี่ยว
กับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เลือนราง ตระกูลใหญ่แตกสลาย มหาอ�านาจ
เจ้าอาณานิคมถอยออกไป แนวความคิดชาตินิยมโดยสามัญชนเมื่อทศวรรษ
๒๔๖๐ และ ๒๔๗๐ ถูกเบียดตกขอบ ทดแทนด้วยชาตินิยมแนวทหารช่วง
สงครามโลก และด้วยพลังของแรงต่อต้านคอมมิวนิสต์หลังสงครามโลกครั้ง
ที่ ๒
สหรัฐผนึกเมืองไทยเข้าร่วมเป็นพันธมิตรและเป็นฐานที่มั่นเพื่อรณรงค์
สงครามต่อต้านคอมมิวนิสต์ที่เอเชีย (สงครามเย็น) แนวความคิดเรื่อง “ความ
เจริญ” สมัยอาณานิคม และนิยามใหม่โดยสามัญชนว่าคือการก่นสร้างความ
เป็นพลเมืองของรัฐชาติ ถูกทดแทนด้วยแนวความคิดเรื่อง “พัฒนาการ” ที่ส่ง
เสริมธุรกิจเอกชน ผู้ประกอบการเชื้อสายจีนที่อพยพมาไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
กลุ่มใหม่ที่มาในระหว่างสงครามโลกสองครั้ง ได้โอกาสทางเศรษฐกิจที่เปิด
กว้างขึ้นเมื่อนักธุรกิจฝรั่งถอยร่นออกไปช่วงสงคราม และต่อมาก็ได้ประโยชน์
จากนโยบายพัฒนาการเศรษฐกิจที่สหรัฐมีส่วนช่วยอุดหนุนด้านการเงิน การ
ไหลเข้ามาของเงินลงทุน การที่รัฐบาลสนับสนุนธุรกิจเอกชน และการมีระบบ
ราชการที่เอื้ออ�านวย จากทศวรรษ ๒๔๙๐ เศรษฐกิจไทยเจริญเติบโตในอัตรา
ร้อยละ ๗ ต่อปี ซึ่งนับว่าสูงในบรรดาประเทศก�าลังพัฒนา
ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนี้เป็นผลจากการน�าทรัพยากรธรรมชาติ
รวมทั้งก�าลังแรงงานมาใช้สร้างก�าไรอย่างเข้มข้น โดยไม่ค�านึงถึงต้นทุนต่างๆ
แต่อย่างใด การเกษตรบุกเบิกระลอกที่สองที่ขยายสู่บริเวณที่ราบสูง ท�าให้ที่
ป่าแปรเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรขยายวงกว้างต่อไปอีก เกษตรกรรายเล็กถูก
ผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจระบบตลาด และเข้าอยู่ภายใต้การชี้นา�
การอุปถัมภ์ของรัฐบาลมากขึ้น ขณะเดียวกันชาวบ้านจ�านวนมากถูกเบียดขับ
ออกจากสังคมชนบท อพยพเข้าท�างานในโรงงานและธุรกิจบริการเมื่อเศรษฐกิจ
เมืองเจริญเติบโต
สมัยอเมริกัน นักวิชาการฝรั่งเริ่มสนใจศึกษาเมืองไทย ส� าหรับช่วง
ก่อนหน้านี้นั้น เนื่องจากไทยไม่ตกเป็นอาณานิคมฝรั่งจึงมีคนสนใจศึกษาน้อย
นักวิชาการอเมริกันให้ภาพเมืองไทยเป็นสังคมไม่มีสีสันทางการเมือง ประชาชน
ว่านอนสอนง่าย ระบบการปกครองเป็นแบบพ่อกับลูก (พ่อขุนอุปถัมภ์) และเป็น

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


สังคมตามประเพณี (traditional) นักสังคมวิทยาพบว่าสังคมไทยมี “โครง
สร้างหลวม” (loosely structured) หมายความว่าไร้สถาบันและไร้วิถีการผนึก
ก�าลังกันเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม (collective action) นักมานุษยวิทยาอธิบาย
ว่าพุทธศาสนาแนวเถรวาทเน้นไปที่การสร้างบุญกุศลเพื่อโลกหน้าไม่ใช่โลกนี้
เ รด ริกส์ (Fred Riggs) เสนอว่าการเมืองแบบอมาตยาธิปไตย (bureaucratic
polity) คือการเมืองที่ปราศจากประชาธิปไตย แต่ก�าหนดโดยข้าราชการ เกิด
ขึ้นเพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้ว “ผู้ประกอบการชาวจีน” มักจะต้องพึ่งพิงการ
อุปถัมภ์ค�้าจุนจากฝ่ายข้าราชการนั่นเอง นักประวัติศาสตร์ผลิตซ�้าเรื่องเล่าของ
สมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงราชานุภาพ ว่าด้วยพระราชประเพณีน�าโดยพระมหา
กษัตริย์ย้อนหลังกลับไปสู่ “ยุคทอง” ของสุโขทัย ตามด้วยสมัยอยุธยา
มีนักวิชาการฝรั่งบางคนเข้าไปพินิจพิเคราะห์ถึงวัฒนธรรมหลากหลาย
ที่พบเห็นได้ในชุมชนต่างจังหวัด พบว่าวัฒนธรรมพื้นบ้านบ่งบอกประเพณีการ
ต่อต้านการปฏิวัติ และต่อต้านการพุ่งขึ้นของทหารนิยม แต่นักวิชาการอเมริกัน
กระแสหลักก็ยังให้ภาพว่าเผด็จการทหารที่เกาะกุมสังคมว่านอนสอนง่ายและ
ได้รับความชอบธรรมจากพระมหากษัตริย์น้ัน เป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ
ที่คาดหวังได้ตามปกติ หากวิเคราะห์ถึงประวัติศาสตร์ สภาพทางสังคมและ
วัฒนธรรมของเมืองไทย เผด็จการทหารจะคงอยู่ต่อไปโดยจะไม่ถูกท้าทาย
ถึงกระนั้นก็ตาม ผลกระทบของสงครามเย็นต่อเมืองไทยมีความสลับ
ซับซ้อน สหรัฐสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการทหารในประเทศไทย แต่ที่สหรัฐเอง
กลับเป็นตัวอย่างของสังคมอุดมคติที่เชิดชูอุดมการณ์เสรีนิยมและระบอบการ
ปกครองโดยประธานาธิบดี นักเรียนไทยไปเรียนที่สหรัฐมากขึ้น ผู้ที่อยู่ในเมือง
ไทยเองก็ ไ ด้ มี โ อกาสซึ ม ซั บ วั ฒ นธรรมดั ง กล่ า วที่ แ สดงออกผ่ า นวรรณกรรม
เพลง และภาพยนตร์ ผู้ที่ต่อต้านอาณานิคมใหม่ เผด็จการทหาร และระบบ
นายทุนที่เอาเปรียบสูง ได้แรงบันดาลใจเกี่ยวกับสังคมทางเลือก ทั้งจากสิ่งที่มี
อยู่ในสังคมไทยก่อนอเมริกาเข้ามีบทบาทสูง และทั้งจากเรียนรู้ประสบการณ์
ของสังคมอื่นๆ ที่มีอุดมการณ์ตรงกันข้ามกับอเมริกา กุญแจส� าคัญที่จะท�าให้
ความสับสนว่าเมืองไทยจะก้าวไปทางไหนกระจ่างขึ้นคือนิสิตนักศึกษารุ่นใหม่

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
อุ มการณ์หลากหลาย
ทศวรรษ ๒๔๘
งทศวรรษ ๒๕๑
สมัยพัฒนาการดึงผู้คนให้เข้ามาผูกโยงอยู่กับระบบตลาดในเศรษฐกิจ
ระดับชาติอย่างแนบแน่นกว่าเดิม รัฐชาติมีอ�านาจเหนือผู้คนสูงขึ้นเพราะได้ให้
ความส�าคัญกับ “ความมั่นคง” ของประเทศในช่วงสงครามเย็น เนื่องจากมี
เงินทุนและมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ รัฐชาติจึงสามารถแผ่อ� านาจเหนือสังคมได้
อย่างลุ่มลึก และขยายเครือข่ายการก�ากับควบคุมลงไปยังหมู่บ้านและเขตภูเขา
สูงกว้างขวางขึ้น การแก่งแย่งแข่งขันกันเพื่อเข้าเกาะกุมชี้น� ารัฐชาติจึงส่งผล
สะเทือนต่อชีวิตและผลประโยชน์ของผู้คนเป็นจ�านวนมาก ท�าให้คนสนใจและ
มีบทบาทในการเมืองมากขึ้นด้วย
ปลายทศวรรษ ๒๔๙๐ สหรัฐมีบทบาทชักน�าสามกลุ่มส�าคัญ ซึ่งปีน
เกลียวกันอยู่ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕ ให้เข้ามาเป็นพันธมิตรกัน นั่นคือ ฝ่ายนายพล
นักธุรกิจ และฝ่ายนิยมเจ้า พันธมิตรนี้ทรงพลัง พวกเขาร่วมมือกันฟื้นฟู และ
เสริม สร้ า งวิสัย ทัศ น์ รัฐ เผด็จ การเข้ ม แข็ง มีค วามสามัค คีเ ป็ น แกนกลาง เพื่อ
บรรลุเป้าหมายของพัฒนาการเศรษฐกิจและการท�าลายล้างลัทธิคอมมิวนิสม์
ซึ่งเป็นศัตรูจากภายนอกในสมัยนั้น แต่พลังของพันธมิตร ๓ ฝ่ายนี้ถูกบ่อน
ท�าลายเพราะนายพลใช้อ�านาจในทางที่ผิด และยอมด�าเนินรอยตามนโยบาย
สหรัฐอย่างสุดขั้ว แรงต้านการเอาเปรียบจากระบบเศรษฐกิจทุนนิยมปะทุขึ้น
การต่อต้านความครอบง� าโดยสหรัฐก่อตัวขึ้น ฝ่ายคอมมิวนิสต์เริ่มสงคราม
กองโจร โดยได้รับแรงสนับสนุนจากนักวิชาการรุ่นเก่า นักเคลื่อนไหวรุ่นใหม่
และชาวนาที่ถูกเอาเปรียบ ถ้อยแถลงแสดงความไม่เห็นด้วยกับระบบทหารเป็น
ใหญ่ ระบบเผด็จการและเศรษฐกิจระบบนายทุนแบบสุดขั้ว ทั้งจากมุมมอง
ของฝ่ายซ้าย ฝ่ายเสรีนิยม ฝ่ายชาตินิยม ฝ่ายพุทธ และวาทกรรมอื่นๆ กระท� า
โดยผ่านนิสิตนักศึกษา

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
รั ทหาร
จอมพลส ษดิ ธนะรัชต์ เป็นตัวอย่างนายทหารรุ่งเรืองขึ้นมาจากความ
อุปถัมภ์ของสหรัฐ พบเห็นได้ในประเทศอื่นในช่วงสงครามเย็น (ภาพที่ ๒๑)
พื้นเพเป็นครอบครัวสามัญชนจากอีสาน เข้าโรงเรียนทหาร เป็นนายทหารอาชีพ
เขาตั้งตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นผู้บัญชาการ
ทหารบก เป็นอธิบดีกรมต�ารวจ และรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการ เขาสนับ
สนุนหลักการแบบทหาร คือมีระเบียบวินัย ความสามัคคี และผู้น�าเข้มแข็ง ซึ่ง
รวมถึงการลงโทษประหารชีวิตผู้ที่ลอบวางเพลิงและผู้กระท�าความผิดทางอาญา
อื่นๆ อย่างเฉียบขาด
การเถลิงอ�านาจของจอมพลส ษดิ ส่งผลให้ฝ่ายทหารรวมตัวกันใหม่
เพื่อเป็นปรปักษ์กับโครงการสถาปนารัฐธรรมนูญที่ได้เริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕
เขาเสนอว่าระบอบรัฐธรรมนูญล้มเหลว เพราะว่าน�าเข้าจากตะวันตก จึงไม่
เหมาะสมกับสภาพของเมืองไทย เขาอ้างว่ารัฐบาลโดยทหารเหมาะสมที่สุด
เพราะว่าทหารไม่จ�าเป็นต้องได้รับความนิยมจากประชาชน “เรำท�ำงำนกันด้วย
ควำมสุจริตใจ ด้วยวิชำควำมรู้ ด้วยดุลยพินิจอันเที่ยงธรรม ไม่อยู่ภำยใต้อิทธิพล
กำรบีบบังคับ ไม่ต้องห่วงใยในกำรที่จะต้องแสดงตนเป็นวีรบุรุษ เพื่อประโยชน์
แก่กำรเลือกตั้งในครำวหน้ำ” ๑ เขาให้ภาพตนเองเป็นพ่อขุน หรือผู้ปกครองที่
เป็นเสมือนบิดาปกครองบุตร ตามต�านานการปกครองของกษัตริย์สมัยสุโขทัย
เขาเสนอว่านี่คือ “ประชาธิปไตยแบบไทย” ที่สอดคล้องกับประเพณีด้ังเดิม เขา
สยบฝ่ายค้านทุกรูปแบบ โดยอ้างว่าเป็นการคุกคามจากฝ่าย “คอมมิวนิสต์”
เมื่อเขาถึงแก่อนิจกรรมใน พ.ศ. ๒๕๐๖ (ด้วยโรคตับเพราะดื่มสุรามาก) ผู้ใต้
บังคับบัญชาที่คุมกองทัพภาคที่ ๑ พุ่งขึ้นด�ารงต�าแหน่งแทนที่เสมือนเป็นการ
เลื่อนขั้นภายในกองทัพ จอมพลถนอม กิตติขจร ด�ารงต�าแหน่งนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีกลาโหม โดยมีจอมพลประภาส จารุเสถียร ด�ารงต�าแหน่งรอง
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีมหาดไทย
กลุ่มนายพลแบ่งสรรผลประโยชน์จากเงินดอลลาร์สหรัฐที่หลั่งไหลเข้า
มามากมาย นอกจากจะท�าให้งบประมาณของรัฐบาลเพิ่มขึ้นแล้ว ยังท�าให้ผล
ก�าไรของวิสาหกิจเอกชนสูงขึ้นด้วย พวกเขาก่อตั้งบริษัทเพื่อขายสินค้าและ
บริการต่างๆ ให้กับหน่วยงานของรัฐบาล โดยเฉพาะบริษัทก่อสร้าง บริษัทประกัน

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ภาพที่ ๒๑ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ข ะเดินทำงไปตรวจรำชกำร
ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ ๒๕-๒๗ กุมภำพันธ์ ๒๕๐

ภัย และบริษัทน�าเข้า เข้าท�าธุรกิจในกิจการด้านทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ การ


ค้าไม้ที่เริ่มจากการตัดไม้เพื่อสร้างเขื่อน ขยายถนน และเพื่อท�าลายล้างฐานที่มั่น
ของขบวนการกองโจรฝ่ายคอมมิวนิสต์ พวกเขาจัดสรรที่ดินที่เปิดขึ้นหลังจาก
ตัดถนนใหม่ เมื่อจอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อนิจกรรมนั้น กองมรดกของเขามีที่ดิน
กว่า ๒๒,๐๐๐ ไร่ นายพลเก็บค่าป่วยการจากการซื้ออาวุธ ได้ประโยชน์จากที่
สหรัฐเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศหลายรูปแบบ เช่น นายทหารอากาศรายหนึ่ง
มีธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อจัดท�าโครงการพักผ่อน (R R) ให้กับทหารอเมริกัน จอม
พลกองทัพอากาศอีกรายมีกิจการรถบรรทุกเพื่อขนส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ให้กับ
กองทัพสหรัฐ นอกจากนั้น พวกเขาสนับสนุนครอบครัวธุรกิจส�าคัญๆ โดยได้
ต�าแหน่งเป็นกรรมการบริษัท อีกทั้งหุ้นลมเป็นการตอบแทน จอมพลสฤษดิ์เป็น
กรรมการบริษัท ๒๒ แห่ง จอมพลประภาส ๔๔ แห่ง
กลุ่มนายทหารระดับน�ากลายเป็นชนชั้นปกครอง มีการแต่งกายและ
พิธีกรรมเฉพาะกลุ่ม อ้างถึงความบริสุทธิ์และสิทธิพิเศษ จอมพลเข้าด� ารง
ต�าแหน่งบริหารของรัฐวิสาหกิจ ต�าแหน่งเกียรติยศด้านการกีฬาและองค์กร
สังคมต่างๆ ขณะเดียวกันก็เชิดชูวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ สร้างความชอบธรรม

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ให้กบั ระบบกินเมืองแบบดัง้ เดิมทีใ่ ห้อภิสทิ ธิข์ นุ นางใหญ่หาประโยชน์จากต�าแหน่ง
เพื่อส่วนตัว จอมพลสฤษดิ์สะสมภริยาน้อยเป็นจ�านวนมาก สนใจนางงามเป็น
พิเศษ ทรัพย์สินหลังอนิจกรรมประมาณค่าได้ถึง ๒.๘ พันล้านบาท ล้วนแล้ว
แต่สะสมมาในช่วงที่เป็นนายกรัฐมนตรีคิดเป็นประมาณร้อยละ ๓๐ ของงบ
ประมาณเพื่อการลงทุนในงบประมาณประจ�าปีตลอดช่วงสมัยที่เขาเป็นนายกฯ
ท้ า ยที่ สุ ด รั ฐ บาลยึ ด ทรั พ ย์ สิ น จ� า นวน ๖๐๔ ล้ า นบาท เป็ น เงิ น ที่ ไ ด้ ม าไม่ ถู ก
กฎหมาย มีภริยาน้อยกว่า ๕๐ คน และบุตรหญิง-ชายแสดงตัวเพื่อขอส่วนแบ่ง
จากกองมรดกที่เหลือ นักหนังสือพิมพ์ลงข่าวเกี่ยวกับจ�านวนภริยา รูปภาพและ
เรื่องราวชีวิตของพวกเธอกันอย่างสนุกสนาน
เมื่อรัฐบาลทหารที่สืบต่อจากจอมพลส ษดิถึงกาลล่มสลาย พ.ศ. ๒๕๑๖
บุคคลส�าคัญในคณะรัฐบาลก็ถูกยึดทรัพย์ประมาณ ๖๐๐ ล้านบาท พฤติกรรม
ของชนชั้นปกครองเหล่านี้ถูกเอาอย่างและสะท้อนให้เห็นได้ท่ัวไปในสังคม เห็น
ได้จากการประกวดนางงามที่เฟื่องฟู ธุรกิจเพศพาณิชย์ที่บูมอย่างสุดขีด และ
คอร์รัปชั่นที่สูงขึ้น ป. อินทรปาลิต และนักเขียนอื่นๆ เขียนนวนิยายได้รับ
ความนิยมเป็นเรื่องราวเชิดชูวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ ที่ไม่ว่าจะเป็นอ้ายเสือใจ
หาญ หรือต�ารวจใจกล้า ล้วนแล้วแต่เป็นฮีโร่ทั้งสิ้น
ระบอบเผด็จการทหารมีภาพสะท้อนในรูปของ “ผู้ยิ่งใหญ่” ทั่วไปใน
สังคม ย้อนไปในอดีต “ผู้ยิ่งใหญ่” พบเห็นได้ที่เขตหัวเมืองต่างจังหวัดตั้งแต่
ปลายรัชกาลที่ ๕ เมื่อเศรษฐกิจระบบตลาดเติบโตขึ้น แต่ระบบบริหารจัดการ
ของรัฐบาลและระบบนิติรัฐในขณะนั้นยังไม่ลงหลักปักฐาน จากปลายทศวรรษ
๒๔๙๐ บรรดา “นักเลง” หรือ “พ่อเลี้ยง” ในแต่ละท้องถิ่นมีบทบาทเด่นชัดขึ้น
เพราะมีรายได้จากการค้าพืชไร่ การค้าไม้ รับเหมางานก่อสร้างจากรัฐบาล ท� า
ธุรกิจแบบผูกขาด เช่น เป็นเอเย่นต์ค้าเหล้า พวกที่อยู่รอบๆ ฐานทัพของสหรัฐ
จะหารายได้จากการค้ายาเสพติด ตั้งบ่อนการพนัน ธุรกิจเพศพาณิชย์ ค้าอาวุธ
และลักลอบค้าสินค้าเถื่อนอื่นๆ ข้าราชการที่ถูกส่งมาต่างจังหวัด พบว่าต้อง
ท�างานร่วมมือกับ “ผู้ยิ่งใหญ่” ของท้องถิ่น แทนที่จะเป็นผู้ควบคุมพวกเขา
ขณะเดียวกัน นายพล นายทหารก็ชักจูงให้ข้าราชการเป็นหุ้นส่วนในกิจการค้า
ไม้ ธุรกิจก่อสร้าง และธุรกิจหาก�าไรอื่นๆ บางครั้งบางคราวจอมพลสฤษดิ์และ
ผู้สืบทอดอ�านาจก็ประกาศว่าจะก�าจัดนักเลงหัวไม้ให้สิ้นซาก แต่จริงๆ แล้วคน
ที่ถูกก�าจัดก็คือพวกหัวไม้ที่ไม่ยอมร่วมมือกับนายพลเท่านั้น

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


การ ผ่ขยายอํานาจของรั ชาติ

ด้ ว ยเงิ น ความช่ ว ยเหลื อ จากสหรั ฐ และจากรายได้ รั ฐ บาลที่ เ พิ่ ม ขึ้ น


ระบบราชการแผ่ขยายออกไปได้มาก จ�านวนข้าราชการเพิ่มขึ้น มีการก่อตั้ง
ส�านักงานใหม่ๆ เพื่อดูแลการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อการจัดเก็บและวิเคราะห์
ข้อมูลในมิติต่างๆ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะสหรัฐต้องการท�าความเข้าใจเมืองไทย
ให้มากขึ้น ตลอดสมัยนี้รัฐบาลทหารอธิบายว่า กำรขยำยกลไกรัฐจ�ำเป็นเพื่อ
ควำมมั่นคงของประเทศชำติ
กลไกรัฐที่เพิ่มขึ้นมาก่อตั้งขึ้นภายใต้ระบบราชการวมศูนย์อ�านาจตาม
แบบของประเทศเจ้าอาณานิคม โดยมีศูนย์รวมแห่งอ�านาจอยู่ที่ผู้ว่าราชการ
จังหวัดและนายอ�าเภอ ก�ากับโดยกระทรวงมหาดไทย ส�านักงานของกรมกอง
ใหม่ๆ ผุดขึ้นเด่นชัดกลางหัวเมืองต่างจังหวัด รูปแบบก่อสร้างเป็นมาตรฐาน
เดียวกัน ส�าแดงความเป็นหนึ่งเดียวของรัฐชาติ เห็นชัดว่าต่างจากวัฒนธรรม
พื้นถิ่น ในท�านองเดียวกัน เครื่องแบบที่สวมใส่ก็บ่งบอกความเป็นหนึ่งเดียว
และความต่างด้วย มีการก่อตั้งอ�าเภอใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ส่งข้าราชการจากส่วนกลาง
เข้าควบคุมเขตภูธรอย่างกว้างขวางและลุ่มลึกมากขึ้น ก่อนสมัยนี้ต่างจังหวัด
หลายแห่งโดยเฉพาะเขตเกษตรบุกเบิกบริเวณที่ราบสูง เคยอยู่ในก� ากับของ
“ผู้ยิ่งใหญ่” ในท้องถิ่น โดยฝ่ายข้าราชการมีบทบาทน้อย แต่สมัยพัฒนาทาง
การเริ่มเข้าควบคุมมากขึ้น พ.ศ. ๒๕๐๒ จอมพลสฤษดิ์ส่งกองทหารเข้าไปจับ
กุมมือปืนและเจ้าพ่อท้องถิ่นที่จังหวัดชลบุรีได้เป็นร้อย
รัฐบาลมีบทบาทสูงขึ้นในชีวิตของคนธรรมดาสามัญทั่วไป โดยเฉพาะ
แถบชนบทวงนอกของศูนย์กลางเมืองใหญ่ ซึ่งในอดีตแทบจะไม่ค่อยได้ยุ่งเกี่ยว
กับรัฐบาลเลย เริ่มจากที่รัฐบาลจัดหาให้ประชาชนมีสาธารณูปโภคมากขึ้น เช่น
การสาธารณสุข การจัดหาเมล็ดพันธุด์ แี ละปุย โครงการคุมก�าเนิด การชลประทาน
น�า้ ประปา และถนนหนทางทัว่ เขตชนบท ขณะเดียวกันก็เพิม่ ข้อจ�ากัดต่อพลเมือง
เช่น กฎเกณฑ์ใหม่เรื่องไม่ให้สิทธิ์ในที่ท�ากินในเขตป่า หรือสิทธิ์ในทรัพยากร
ธรรมชาติอื่นๆ บัตรประจ�าตัวประชาชน และ ทะเบียนบ้าน มีความส�าคัญเพิ่ม
ขึ้น เพราะเป็นหลักฐานแสดงความเป็นพลเมืองเพื่อการติดต่อหรือได้รับบริการ
จากภาครัฐ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
เงินความช่วยเหลือที่ได้เพิ่มขึ้นมาจากสหรัฐ ท�าให้รัฐบาลสามารถด�าเนิน
โครงการระดับชาติซึ่งริเริ่มมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ แต่ติดขัดเรื่องการเงินอยู่
จึงไม่ได้ด�าเนินการอย่างเต็มที่ โครงการประถมศึกษาขยายขอบข่ายออกไป
นอกเมืองใหญ่ ท�าให้เด็กชาวชนบทได้เข้าเรียนกันอย่างทั่วถึงมากขึ้น ดังนั้น
จึงได้เห็นโรงเรียนมีแบบก่อสร้างเป็นมาตรฐานผุดขึ้นเด่นชัดท่ามกลางหมู่บ้าน
เด็กๆ แต่งชุดนักเรียน ส�าแดงความต่างและเป็นมาตรฐานเหมือนกันหมดทุก
ท้องที่ การศึกษาระดับชั้นประถม สอนภาษาไทยกลางต่างจากที่เด็กชนบทพูด
อยู่ที่บ้าน การสอนวิชาประวัติศาสตร์และวิชาสังคม ตอกย�้าอุดมการณ์ “ชาติ
ศาสนา พระมหากษัตริย์” แบบเรียนสอนให้เด็กซื้อของไทย รักเมืองไทย รัก
ความเป็นไทย มีชีวิตแบบคนไทย พูดภาษาไทย และเชิดชูวัฒนธรรมไทย๒
พุทธศาสนาผูกโยงกับบทบาทของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นนี้ พระคัมภีร์ใน
ภาษาพื้นบ้านมีวัฒนธรรมพื้นถิ่นเป็นองค์ประกอบ ถูกทดแทนด้วยเอกสารที่ส่ง
มาจากส่วนกลาง รัฐบาลชักจูงให้บรรดาชายหนุ่มบวชเป็นพระมากขึ้น โดย
เฉพาะที่อีสาน เพราะเห็นว่าอีสานเสี่ยงที่จะเป็นคอมมิวนิสต์มากที่สุด เนื่องด้วย
ว่าจนที่สุดและอยู่ใกล้กับอินโดจีน พ.ศ. ๒๕๐๗ อธิบดีกรมการศาสนาที่เป็น
นายทหารริเริ่มโครงกำรพระธรรมทูต ส่งพระสงฆ์ไปเยี่ยมเยือนอีสานแดนไกล
พระสงฆ์เหล่านี้ไม่แต่เพียงสอนพระพุทธศาสนา แต่ช่วยชาวบ้านจัดท�าโครงการ
พัฒนา อธิบายเรื่องกฎหมาย และเตือนให้ชาวบ้านระวังภัยคอมมิวนิสต์ พระ
สงฆ์ที่มีชื่อเสียงในพื้นที่ได้รับการชักจูงให้เข้าสู่ “นิกำยธรรมยุต”
โครงการเหล่านี้ก้าวไปไกลกว่าในสมัยรัชกาลที่ ๕ ผู้ทรงริเริ่มสร้างความ
เป็นหนึ่งเดียวของชาติไทยแต่ถูกจ�ากัดเพราะขาดทรัพยากร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในภูมิภาคที่ผู้คนพูด นับถือ หรือมีวัฒนธรรมอันต่างไปจากมาตรฐานในอุดมคติ
ระดับชาติ โครงการสมัยจอมพลสฤษดิ์พยายามให้ประชาชนยอมรับ “ความ
เป็นหนึ่งเดียว” และ “ความเป็นไทย” ด้านภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมอย่าง
แข็งขัน จนท�าให้มีแรงต้านการบังคับให้เหมือนกันนี้ ซึ่งแสดงออกมาในรูปของ
การปกป้องอัตลักษณ์และวิถีปฏิบัติของพื้นถิ่น รัฐบาลมองการต่อต้านเป็นการ
ท้าทาย “ความมั่นคงของชาติ” เพราะว่าชุมชนห่างไกลมีประวัติศาสตร์และวัฒน
ธรรมที่โยงใยกับเขตแดนอื่นนอกชายแดนไทยซึ่งขณะนั้นตกอยู่ใต้อิทธิพลของ
ลัทธิคอมมิวนิสม์ รัฐบาลเป็นห่วง ๒ ภาค
ภำคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ อีสำน มีประชากรถึง ๑ ใน ๓ ของ
ประเทศส่วนใหญ่พูดภาษาลาว(อีสาน) ที่อีสานใต้พูดภาษาเขมรหรือกูย ภาค

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


อีสานนี้มีคนจนมากกว่าภาคอื่นๆ เพราะว่าดินไม่ดีและเผชิญภาวะฝนทิ้งช่วง
บ่อยครั้ง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕ นักการเมืองระดับน�าของท้องถิ่นต่อต้านการรวม
ศูนย์อ�านาจที่กรุงเทพฯ และเรียกร้องให้รัฐบาลจัดสรรเงินงบประมาณมาช่วยลด
ความเสียเปรียบของภาคอีสานมาโดยตลอด หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ผู้นา�
บางคนคาดหวังว่าจะมีการปรับเปลี่ยนเขตชายแดนไทย โดยอยากให้รวมอีสาน
เข้ากับบริเวณที่พูดภาษาลาวนอกประเทศ ผู้น�าอีสานมักถูกจ�าคุกหรือถูกลอบ
ฆ่าทุกครั้งที่รัฐบาลทหารปราบปรามฝ่ายตรงข้าม พ.ศ. ๒๕๐๒ ศิลา วงศ์สิน
ชาวนาผู้ประกาศตนเป็น “ผีบุญ” (กบฏผีบุญ) ก่อตั้งอาณาจักรอิสระในหมู่บ้าน
ที่โคราช มีลูกบ้านจ�านวนหนึ่งเป็น “ข้าแผ่นดิน” ต�ารวจจึงเข้าปราบปราม หลัง
จากนั้นศิลาถูกประหารชีวิตต่อหน้าสาธารณชนที่โคราชนั้นเอง ต่อมาอดีต ส.ส.
๒ คนจัดตั้ง “พรรคอีสาน” ภายใต้อุดมการณ์สยามนิยม เรียกร้องให้รัฐบาล
จัดสรรเงินพัฒนาอีสานมากขึ้น จอมพลสฤษดิ์กล่าวหาว่าหัวหน้าพรรคอีสาน
ฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสม์และการแบ่งแยกดินแดน ครอง จันดาวงศ์ ชาวนา
อาชีพเป็นครู มีลูกศิษย์ลูกหามากมายที่ช่ืนชอบอุดมการณ์สังคมนิยมและพึ่ง
ตนเองของศิลา ต่อมาครองถูกจ� าคุก ๕ ปี ในข้อหาว่าก่อการกบฏ และถูก
ประหารชีวิตต่อหน้าสาธารณชนที่บ้านเกิด จังหวัดสกลนคร (ดูภาพที่ ๒๒)
ภำคใต้ ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และพูดภาษามลายู
ตั้งแต่ทศวรรษ ๒๔๗๐ รัฐบาลภายใต้จอมพล ป. พยายามให้ชาวใต้เหล่านี้พูด
ภาษาไทย แต่งตัวแบบไทย และบังคับให้ปิดโรงเรียนปอเนาะ และเลิกใช้ศาล
อิสลาม ผู้น�าศาสนาอิสลามต่อต้านรัฐบาล โดยมีแรงบันดาลใจจากขบวนการ
ต่อต้านเจ้าอาณานิคมที่ประเทศมุสลิมอื่นๆ บ้างขอให้รัฐบาลอังกฤษที่มลายูช่วย
เหลือ บ้างเรียกร้องให้ใช้ระบบสหพันธรัฐ (federal system) ซึ่งจะท� าให้พวก
เขาสามารถด�าเนินวิถีชีวิตตามวัฒนธรรมความเชื่อของชาวมุสลิม และยังเป็น
ส่วนหนึ่งของประเทศไทยอยู่ได้
ผู้น�าทีโ่ ดดเด่นทีส่ ุดคือ ัจยีสุหลง โตะมีนา ถูกตั้งข้อหากบฏ เมื่อ พ.ศ.
๒๔๙๑ ประชาชนจึงลุกฮือที่ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ท้ายที่สุดมีผู้เสีย
ชีวิตประมาณ ๖๐๐ คน ภายในเวลา ๖ เดือน ฮัจยีสุหลงถูกจับขังคุก และคง
จะถูกต�ารวจพรรคพวกของพลต�ารวจเอกเผ่า ศรียานนท์ลอบสังหารเมื่อ พ.ศ.
๒๔๙๗ ต่อจากนี้ครูมุสลิมก่อตั้งโรงเรียนปอเนาะ สอนภาษายาวี และหลักการ
ของศาสนาอิสลาม ขณะที่ผู้น�าชุมชน เช่น ลูกชายของฮัจยีสุหลง ได้รับเลือกตั้ง

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ภาพที่ ๒๒ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สั่งยิงเปำ ครอง จันดำวงศ์
และทองพันธ์ สุทธิมำศ เมื่อวันที่ ๑ พฤษภำคม พ.ศ. ๒๕๐๔
ที่ลำนบินใกล้จังหวัดสกลนคร

เป็น ส.ส. และเรียกร้องมาตรการต่างๆ เป็นตัวแทนให้กับชาวมุสลิมในรัฐสภา


คล้ายๆ กับกรณีของภาคอีสาน จอมพลสฤษดิ์กล่าวหาผู้น�าเหล่านี้ว่าแบ่งแยก
ดินแดนและจับพวกเขาขังคุก หลังจากที่พ้นโทษออกมา หลายคนหลบหนีไป
อยู่ประเทศมาเลเซีย องค์กรใต้ดินถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนศาสนาอิสลามและ
สังคมนิยม
ที่เมืองปัตตานี ึ่งเคยเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรมุสลิมภายใต้การ
ปกครองของสุลต่านมากว่า ๓๐๐ ปก่อน เกิดขบวนการขึ้นมาเมื่อป ๒๕๑๑

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


น�าโดยสมาชิกของตระกูลขุนนางเก่าในพื้นที่ ึ่งได้รับการศึกษาในแถบเอเชีย
ใต้ และมุ่งมั่นที่จะก่อตั้งรัฐอิสลามอิสระขึ้น
ที่ภำคเหนือบริเว ภูเขำสูง มีประชากรชาวเขาประมาณ ๒ แสน ๕ หมื่น
คน ส่วนใหญ่ท�าไร่เลื่อนลอย นับจากทศวรรษ ๒๔๘๐ เป็นต้นมา บางหมู่บ้าน
ปลูกฝิ่นเพื่อขายออกนอกประเทศ พ.ศ. ๒๕๐๒ รัฐบาลมีแผนการยุติการปลูก
ฝิ่น จ�ากัดการท�าไร่เลื่อนลอยไม่ให้เพิ่มขึ้นโดยชักจูงให้ชาวเขาช่วยปกป้องเขต
แดนไทย และบูรณาการพวกเขาให้มีส่วนร่วมช่วยพัฒนาเศรษฐกิจไทย ๓ รัฐบาล
ส่งครูไปสอนตามโรงเรียนในหมู่บ้านชาวเขาเพื่อให้พูดภาษาไทยกลาง และมี
ความจงรักภักดี ส่งพระสงฆ์ไปประจ�าภายใต้โครงการ “ธรรมจำริก” เพื่อชักจูง
ให้นับถือศาสนาพุทธ แต่กลับเลื่องลือกันว่า “กษัตริย์ม้ง” จะมาเกิด แล้วจะมี
แต่ความรุ่งเรืองและความเป็นธรรม พ.ศ. ๒๕๑๐-๒๕๑๑ เกิด กบฏชาวม้ง ขึ้น
ที่ ๔ จังหวัดภาคเหนือ ฝ่ายทหารปราบปรามโดยทิ้งระเบิดนาปาล์มเหนือหมู่
บ้านชาวเขา
รัฐบาลทหารเชื่อว่าจะสามารถสร้างรัฐชาติไทยที่มีความเป็นหนึ่งเดียวได้
โดยทุกคนพูดภาษาไทยกลาง จงรักภักดี เป็นชาวนานับถือศาสนาพุทธ มุ่งมั่น
ร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจไทยตามการชี้นา� ของรัฐบาลที่กรุงเทพฯ ทุกคนเหมือน
กันหมดภายในเขตแดนประเทศไทย แต่ชุมชนบางกลุ่มในภูมิภาคที่เพิ่งถูก
ผนวกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยไม่นานนัก และเพิ่งถูกควบคุมโดย
รัฐบาลกลางที่กรุงเทพฯ เมื่อไม่นานมานี้เองยังหวงแหนวิถีชีวิตซึ่งต่างจากที่รัฐ
ไทยมีจินตนาการ จึงถูกกระตุ้นให้เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของ
ตัวเอง

การ น ูส าบันพระมหากษัตริย์
จอมพลสฤษดิ์และสหรัฐร่วมกันพื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์ หลังจาก
ที่ถูกบดบังไปตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕ นายพลไทยและรัฐบาลสหรัฐเชื่อว่าสถาบัน
มีบทบาทเป็นศูนย์รวมความสามัคคี และมีความส�าคัญต่อเสถียรภาพทางการ
เมือง ในขณะเดียวกันก็ยังต้องพึ่งพิงฝ่ายทหาร และแรงสนับสนุนจากสหรัฐ
การฟื้นฟูนี้เริ่มขึ้นอย่างจริงจังเมื่อจอมพล ป. หมดอ�านาจไปเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
แต่รากฐานของกระบวนการถูกจัดวางไว้แล้วตั้งแต่ปลายสงครามโลกครั้งที่ ๒
ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ อดีตรัฐมนตรีในสมัย
ศักดินา และขณะนั้นเป็นที่ปรึกษาอาวุโสแห่งราชส�านัก บรรยายเรื่อง า น
พ า า โดยมีพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลและสมาชิกของพระ
ราชวงศ์ทรงรับฟัง พระองค์เจ้าธานีฯ เสนอแบบจ�าลองสมัยสุโขทัย มีพระมหา
กษัตริย์ซึ่งทรงเป็นพระมหาสมมุติราช ผู้ทรงด�าเนินรอยตามหลักการทศพิธราช
ธรรม และ “มีควำมชอบธรรมในฐำนะเป็นพระมหำกษัตริย์ที่ทรงตั้งอยู่ในคุ
ธรรมควำมถูกต้อง” ๓ พระองค์เจ้าธานีฯ ทรงเน้นบทบาทของพระมหากษัตริย์
เป็นผู้ปกป้องประชาชนและพระพุทธศาสนา แบบจ�าลองนี้ต่างจากแนวความ
คิดที่ว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นศูนย์รวมของชาติ ซึ่งเป็นหลักการได้รับการ
เชิดชูมาครั้งสมัยรัชกาลที่ ๕ จนถึงรัชกาลที่ ๗ นับเป็นการย้อนกลับไปสู่ทฤษฎี
อันเป็นที่นิยมในช่วงต้นรัตนโกสินทร์
ในความเห็นของพระองค์เจ้าธานีฯ รัฐธรรมนูญเป็น “แนวคิดจาก
เมืองนอกอย่างสิ้นเชิง” ไม่มีที่ทางในประเพณีไทย เพราะว่าจริยธรรมและ
ความเป็นปราชญ์ของพระมหากษัตริย์คือแหล่งที่มาของก หมายอย่างแท้จริง
พระองค์เจ้าธานีฯ ทรงสรุปว่า “บ้ำนเมืองของเรำเจริ รุ่งเรืองและหลีกเลี่ยง
หำยนะมำได้ใน ๑๕๐ ปีแรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ก็ด้วยพระปั ำและพระ
รัฐประศำสนนัยของพระมหำกษัตริย์ และยังมองไม่เห็นว่ำเรำจะรักษำควำม
รุ่งเรืองเช่นว่ำนั้นต่อไปได้อย่ำงไรโดยไม่มีพระมหำกษัตริย์ที่ดี” ๔ ผู้นิยมเจ้าซึ่ง
เดินทางกลับมาพระนครอีกรายหนึ่งกล่าวว่า ผู้แทนของประชาชนได้รับเลือก
มาแต่ละคนจากกลุ่มประชาชนบางกลุ่ม และโดยแท้จริงไม่ได้เป็นตัวแทนของ
ประชาชนทั้งมวล เพราะว่าพระมหากษัตริย์เท่านั้นที่สามารถเป็นตัวแทนได้
“ผู้แทนเหล่ำนี้แต่ละคนได้รับเลือกจำกคนพวกหนึ่งหรือหมู่หนึ่งเท่ำนั้น และ
ว่ำตำมควำมเป็นจริงแล้ว หำได้เป็นตัวแทนของประชำชนทั่วไปทั้งหมดไม่” ๕
พระองค์เจ้าธานีฯ ทรงตั้งข้อสังเกตว่า ตามประเพณีนั้นสถาบันพระ
มหากษัตริย์ “ด�ำรงอยู่ในสำยตำของสำธำร ะโดยตลอด ทั้งในวรร กรรม
ในบทเทศน์ และทุก ช่องทำงกำรสื่อสำร” ๖ พระองค์และพระองค์เจ้ารังสิตฯ
(พระบรมวงศ์อาวุโสและผู้ส�าเร็จราชการแทนพระองค์) ทรงดัดแปลง พิธีกรรม
หลวงขึ้นใหม่เพื่อให้แสดงความอลังการของสถาบันพระมหากษัตริย์ และเป็น
การขยายโครงการของสมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงราชานุภาพ ที่จะให้สาธารณชน

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ได้เห็นองค์พระมหากษัตริย์ในที่สาธารณะอย่างเปิดเผย เมื่อพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัติพระนคร พระราชกรณียกิจวันแรกๆ เต็ม
ไปด้วยการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ช่วงเวลาที่เหลือทรงปฏิสันถารกับพสกนิกร
กลุ่มต่างๆ โปรดให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เข้าเฝ้า เสด็จพระราชด�าเนินเยือนหน่วย
ต่างๆ ของกองทัพ โปรดให้ผู้น�าชาวมุสลิมและผู้น�าชาวจีนได้เข้าเฝ้า ทรงออก
รายการวิทยุ และเสด็จพระราชด�าเนินไปต่างจังหวัดเพื่อโปรดให้พสกนิกรได้
เข้าเฝ้า พระราชกรณียกิจครั้งเสด็จนิวัติพระนครเพียงระยะสั้นๆ นี้บ่งบอก
บทบาทใหม่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ผูกโยงกับพิธีกรรมอย่างแนบแน่น
แต่เพื่อส่งเสริมความนิยมจากพสกนิกร แตกต่างจากแนวความคิดบทบาทพระ
มหากษัตริย์สมัยก่อน พ.ศ. ๒๔๗๕ ซึ่งเน้นไปที่ความสมัยใหม่ (modernity)
เป็นตะวันตก และไม่ค่อยใกล้ชิดกับพสกนิกร
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชผู้ทรงสืบราชสันตติ
วงศ์ต่อมา เสด็จนิวัติพระนครเป็นการชั่วคราวขณะที่ทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศ
สวิตเซอร์แลนด์ ในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ พระองค์ทรง
เข้าร่วมพิธีกรรมต่างๆ รวมทั้งพระราชพิธีราชาภิเษกและพระราชพิธีอภิเษก
สมรส แต่หลังจากที่พระองค์เสด็จพระราชด�าเนินนิวัติเมืองไทยเป็นการถาวร
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๔ การฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์กลับชะลอลงชั่วคราว ทั้งนี้
เพราะจอมพล ป. ปิดกั้นความพยายามของนักการเมืองฝ่ายนิยมเจ้าที่จะน�าพระ
ราชอ�านาจกลับคืนมาผ่านรัฐธรรมนูญ ตลอดทศวรรษ ๒๔๙๐ จอมพล ป.
จ�ากัดพระราชกรณียกิจของพระเจ้าอยู่หัวในกิจการสาธารณะ โดยเน้นการ
ประกอบพิธีกรรมที่โยงกับสถาบันเป็นการเฉพาะ นอกเหนือจากนั้นแล้ว พระ
มหากษัตริย์ทรงด�าเนินพระราชกรณียกิจเป็นกิจกรรมส่วนพระองค์ เช่น ทรง
วาดรูป ทรงถ่ายรูป ทรงเรือใบ และทรงดนตรีแจ๊ส
หลังจากจอมพลสฤษดิ์กระท�าการรัฐประหาร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ทุกสิ่ง
ทุกอย่างเปลี่ยน เริ่มแรกมีรายงานว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในท�านอง
เดียวกับทางสหรัฐ ทรงเห็นว่าจอมพลสฤษดิ์ “ทุจริตและค่อนข้างจะเถื่อนๆ” ๗
แต่จอมพลสฤษดิ์มาจากกลุ่มนายทหารรุ่นใหม่ซ่ึงไม่มีส่วนเกี่ยวโยงกับการปฏิวัติ
๒๔๗๕ แต่อย่างใด ในช่วงทศวรรษ ๒๔๙๐ นั้นเขาปลีกตัวออกห่างจากจอมพล
ป. ผู้มีท่าทีเป็นปรปักษ์กับพระราชส�านักก่อนการรัฐประหาร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐
และ ๒๕๐๑ ทั้งสองครั้ง จอมพลสฤษดิ์เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ในวันที่เกิดการรัฐประหาร พ.ศ. ๒๕๐๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มี
พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจอมพลสฤษดิ์เป็น “ผู้รักษาพระนคร
ฝ่ายทหาร”
จอมพลสฤษดิ์ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่า “ข้ำพเจ้ำเป็นผู้รักษำพระ
นครและมีอ�ำนำจหน้ำที่ในกำรออกค�ำสั่งได้ตำมก หมำย เพรำะว่ำเป็นพระบรม
รำชโองกำร” ๘ ได้มีการแจกส�าเนาพระบรมราชโองการฉบับนี้แก่หนังสือพิมพ์
ต่างๆ เป็นการยืนยันความชอบธรรมในการกระท�าของจอมพลสฤษดิ์
หนึ่งวันหลังการรัฐประหาร จอมพลสฤษดิ์ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงให้การสนับสนุน หลัง
จากการรัฐประหาร พ.ศ. ๒๕๐๑ จอมพลสฤษดิ์ประกาศว่า “ในกำรป ิวัติครั้ง
นี้ ถึงหำกจ�ำเป็นจะต้องเปลี่ยนสถำบันแห่งชำติในทำงหนึ่งทำงใด แต่สิ่งหนึ่ง
ึ่งค ะป ิวัติจะไม่ยอมให้มีกำรเปลี่ยนแปลงคือระบอบที่มีพระมหำกษัตริย์
ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ” ๙
จอมพลสฤษดิ์ ยกเลิกพระราชบัญญัติที่ดิน สมัยจอมพล ป. ซึ่งพระ
มหากษัตริย์ทรงไม่เห็นด้วย และเปลี่ยนวันชาติจากวันครบรอบปฏิวัติ ๒๔๗๕
เป็นวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เขา
เชื่อว่าอ�านาจแผ่จากเบื้องบนลงมาสู่เบื้องล่าง จากองค์พระมหากษัตริย์ ไม่ใช่
ว่ามาจากประชาชน เขาเชื่อว่าผู้ปกครองคือ “พ่อบ้านพ่อเมือง” ของครอบครัว
ใหญ่ “บ้ำนเมืองเป็นเหมือนครอบครัวให ่...นักปกครองต้องถือว่ำพลเมืองที่
อยู่ในควำมปกครองนั้นไม่ใช่คนอื่น แต่เป็นพี่น้องลูกหลำนในครอบครัวเดียว
กัน” ๑๐ นายถนัด คอมันตร์ ต่อมาด�ารงต�าแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการต่าง
ประเทศในสมัยจอมพลสฤษดิ์ อธิบายว่า

สาเหตุส�าคัญของการไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองของเรา
ในอดีตอยู่ที่การน�าเอาระบบของต่างประเทศทั้งดุ้นมาใช้กับประเทศ
เรา โดยมิได้มีการตระเตรียมอย่างรอบคอบ...หากเรามองดูประวัติ
ศาสตร์ของชาติเราแล้ว ก็จะเห็นได้อย่างดีว่าประเทศนี้ท�างานได้ดี
กว่าและเจริญรุ่งเรืองกว่าภายใต้บุคคลที่มีอ�านาจเพียงคนเดียว ไม่
ใช่ผู้มีอา� นาจแบบทรราชย์ แต่ทว่าเป็นผู้มีอา� นาจที่สามารถประสาน
สามัคคีในชาติให้เกิดขึ้นได้ในทุกหมู่เหล่า๑๑

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


จอมพลส ษดิส่งเสริมให้ขยายบทบาทของพระมหากษัตริย์ และใน
พ.ศ. ๒๔๙๘ จอมพล ป. ได้ยินยอมให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ
พระราชด�าเนินไปอีสาน ทรงดึงดูดพสกนิกรให้มาเข้าเฝ้าและชมพระบารมีอย่าง
ล้นหลาม จาก พ.ศ. ๒๕๐๑ การเสด็จพระราชด�าเนินไปเยี่ยมเยียนราษฎรที่
จังหวัดต่างๆ กลายเป็น “พระรำชกร ียกิจ” ที่สม�่าเสมอ และเสด็จพระราช
ด�าเนินไปทั่วทุกภาคของประเทศ นอกจากนั้น เสด็จพระราชด�าเนินไปต่าง
ประเทศในฐานะเป็นตัวแทนของประเทศไทย ให้ภาพเมืองไทยเป็นประเทศสมัย
ใหม่ในค่ายของ “โลกเสรี” ต่อมาพระราชกรณียกิจในพิธีกรรมของสถาบันพระ
มหากษัตริย์เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนและเพิ่มมากขึ้น มีการพื้นฟูพระราช
ประเพณีทอดผ้าพระกฐินให้แก่พระสงฆ์ในพระอารามหลวงบริเวณพระนคร
และต่อมาที่วัดต่างจังหวัดด้วย พร้อมกันนั้นฟื้นฟูการเสด็จพระราชด�าเนินโดย
ขบวนเรือแห่ทางชลมารคที่วิจิตรตระการตา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระ
ราชทานพระพุทธรูปและพระเครื่องให้แก่วัดและหน่วยงานราชการ เมื่อเสด็จ
พระราชด�าเนินเยี่ยมเยือนต่างจังหวัด ต่อมาทรงแต่งตั้ง “ผู้แทนพระองค์” ไป
ทอดผ้าพระกฐิน และถวายพระพุทธรูปให้แก่วัดต่างๆ อย่างกว้างขวาง สหรัฐ
อุดหนุนโครงการผลิตพระบรมฉายาลักษณ์ เพื่อแจกจ่ายแก่พสกนิกรทั่วประเทศ
พ.ศ. ๒๕๐๕ จอมพลสฤษดิ์แก้ไข พระราชบัญญัติคณะสง ์ โดย
ยกเลิกพระราชบัญญัติ พ.ศ. ๒๔๘๔ ของจอมพล ป. ที่จ�ากัดบทบาทของพระ
มหากษัตริย์ในสถาบันสงฆ์เสีย หวนกลับไปสู่ระบบการจัดองค์กรสงฆ์สมัย
รัชกาลที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๔๕) และยกสถานะของนิกายธรรมยุตให้มีอ�านาจการ
ควบคุมภายในมหาเถรสมาคม พระพิมลธรรม เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุในนิกาย
มหายาน เสนอแนวทางบริหารคณะสงฆ์ตามหลักประชาธิปไตย แต่ถูกทาง
การกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ และถูกทางการฟ้องศาลและจับสึก ม.ล.ปน
มาลากุล ราชนิกุลซึ่งเดินทางกลับพระนครหลังจากที่ได้ลี้ภัยไปต่างประเทศได้
รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงศึกษำธิกำร มีการช�าระแบบเรียนใช้ในโรงเรียน
ให้เน้นพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมของชาติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยในเรื่องกำรพั นำชนบท
หลังจากเสด็จกลับจากยุโรปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๔ พระองค์เจ้าธานีฯ ได้จัดให้
พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) ถวายบทเรียนเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย
พระยาอนุมานราชธนเคยรับราชการเป็นพนักงานกรมศุลกากร เป็นนักวิชาการ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
สมัครเล่น ได้รวบรวมต�านานเรื่องเล่าและนิทานพื้นบ้าน อีกทั้งเรียบเรียงงาน
เฉลิมฉลองและพิธีกรรมประจ�าปีตามฤดูกาลของชาวบ้าน และได้ศึกษาการผสม
ผสานระหว่างการนับถือผีและการนับถือพระพุทธศาสนาในชีวิตประจ�าวันของ
ชาวบ้านเอาไว้อย่างละเอียด ในความเห็นของพระยาอนุมานราชธน สังคมหมู่
บ้ำนชนบทมีความเป็นตัวของตัวเอง พึ่งตนเองได้ ไม่ค่อยได้เปลี่ยนในกระแส
ของความทันสมัย

และข้อส�าคัญมนุษย์ทุกคนต้องการความสุขและความ
สนุกสบาย พูดเฉพาะชาวนา ถ้าไม่หมกมุ่นด้วยอบายมุขมีการพนัน
เป็นต้น ก็มีความสุขหาน้อยไม่ เพราะมีความต้องการน้อยอย่าง
เป็นความสุขอันเป็นไปตามลักษณะของสิ่งแวดล้อม คือธรรมชาติ
เมื่อมีพอกินพอใช้แล้วก็เป็นสุข...ข้าพเจ้าเล่าชีวิตของชาวนา ซึ่งเป็น
ชีวิตอย่างเงียบๆ ไม่โลดโผนไม่ก้าวหน้า และไม่มีอ�านาจวาสนา เป็น
อย่างไรก็เป็นอยู่อย่างนั้น ๑๒

ราวๆ พ.ศ. ๒๕๐๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงก่อตั้งที่เพาะ


พันธุ์ปลา าร์มทดลอง และ าร์มโคนมขึ้นในบริเวณพระราชวังสวนจิตรลดา
ทรงวางแผนท�าโครงการชลประทานเพื่อการเกษตรขึ้นที่อา� เภอหัวหิน ใกล้ๆ กับ
พระราชวังไกลกังวล และทรงตระหนักถึงศักยภาพของระบบชลประทานเพื่อ
การเกษตรขนาดเล็ก ทรงขอความร่วมมือจากกรมชลประทาน จัดหาแหล่งพื้นที่
เพื่อสร้างโครงการชลประทานเมื่อเสด็จพระราชด�าเนินเยี่ยมเยือนพสกนิกรชนบท
ทรงส่งเสริมโครงการเพาะปลูกพืชทดแทนฝิ่นในบรรดาชาวเขาที่ภาคเหนือ (ดู
ภาพที่ ๒๓) สมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงส่งเสริมหัตถกรรมพื้นบ้านของครัว
เรือนชาวเขา
ภาพยนตร์ที่พระองค์ทรงถ่ายไว้ขณะเสด็จพระราชด�าเนินเยี่ยมเยือน
พสกนิกรในที่ต่างๆ ได้รับการเผยแพร่ผ่านสื่อโทรทัศน์ ม.ล.ปน มาลากุล
เป็นผู้บริหารจัดการการแพร่ภาพดังกล่าวตระหนักถึงความส�าคัญของการสื่อสาร
ภาพยนตร์เหล่านั้น ต่อมาพระราชกรณียกิจเมื่อเสด็จเยือนหมู่บ้านต่างๆ ก็ได้
รับการแพร่ภาพให้พสกนิกรได้รับรู้เป็นประจ�า จากจุดเริ่มที่พระองค์ทรงเรียนรู้
นิทานและวัฒนธรรมพื้นถิ่นจากพระยาอนุมานราชธน ไปจนถึงเมื่อ ม.ล.ปิ่น
มาลากุล แพร่ภาพพระราชกรณียกิจของพระองค์ผ่านรายการโทรทัศน์ ในเวลา

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ภาพที่ ๒๓ พระมหำกษัตริย์นักพั นำ โครงกำรปลูกพืชทดแทน น
และโครงกำรชลประทำน ทศวรรษ ๒๕๑๐
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีภาพเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระ
วิริยะอุตสาหะเปรียบเสมือน “พ่อบ้านพ่อเมือง” ปกครองพสกนิกรชาวนาที่เป็น
เสมือนลูกหลานที่เรียบร้อย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจรรโลงความสัมพันธ์กับกลุ่มส�าคัญ
ในสังคม โดยทรงพระราชทานพระราชวโรกาสให้บุคคลและคณะบุคคลเข้า
ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลเฉพาะโครงการ หรือเพื่อโดยเสด็จพระราช
กุศลตามพระราชอัธยาศัย ปลายทศวรรษ ๒๔๙๐ โปรดให้มี “โครงกำรรับ
เงินบริจำคเพื่อโดยเสด็จพระรำชกุศล” เพื่อบรรเทาแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ รวมทั้ง
ปัญหาการระบาดของอหิวาตกโรค ในปีต่อๆ มาพระราชทานพระราชวโรกาส
ให้มีการถวายเงินเพื่อโดยเสด็จพระราชกุศลต่างๆ ได้กลายเป็นวิธีสร้างบุญกุศล
โดยเฉพาะส�าหรับนักธุรกิจที่ก�าลังรุ่งเรือง ต้องการโดยเสด็จพระราชกุศลให้เป็นที่
ตระหนักในสังคมวงกว้าง ได้มีการฟื้นฟูการพระราชทาน “เครื่องรำชอิสริยำภร ์”
ให้แก่ข้าราชการ ต่อมาได้มีการเพิ่มชั้นของเครื่องราชฯ และเหรียญตราต่างๆ
อีกทั้งขยายขอบข่ายผู้ที่จะได้รับพระราชทานให้รวมถึงผู้ถวายเงินเพื่อโดยเสด็จ
พระราชกุศล และผู้ท่ีด�ารงความดีและท�าคุณประโยชน์แก่สังคม
ในท�านองเดียวกัน ขอบข่ายของผู้ที่สมควรได้รับพระราชทานน�้าสังข์
และรับพระราชทานเพลิงศพได้รับการขยายออกไปให้รวมถึงชนชั้นน� าที่กว้าง
ขวางขึ้น จ�านวนของพระราชกรณียกิจ พระราชพิธี และการโปรดให้เข้าเฝ้า
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีบทบาทเพิ่มจากปีละประมาณ ๑๐๐ ครั้ง
ราวๆ ปี ๒๕๐๐ เป็นปีละ ๔๐๐ ครั้งสมัยจอมพลสฤษดิ์ และเพิ่มเป็นปีละ ๖๐๐
ครั้งราวๆ ปี ๒๕๑๕ พระราชวงศ์ทรงให้ความส�าคัญเป็นพิเศษในความสัมพันธ์
กับฝ่ายกองทัพ ข้าราชการระดับสูง และคณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ แต่ก็ได้ทรงแสวง
หาโอกาสที่จะทรงมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนธุรกิจและชนชั้นกลางนักวิชาชีพที่เพิ่ม
จ�านวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แม้ว่าโครงการหลวงในชนบทจะสอดคล้องกับ “พั นำกำร” ของรัฐบาล
จอมพลสฤษดิ์ แต่โครงการมีจุดเน้นที่ชาวนารายเล็กและชาวนาชายขอบ ผู้ซึ่ง
มักอยู่ในฐานะเสียเปรียบ สับสน และไม่ค่อยได้ประโยชน์จาก “พัฒนาการ”
และแม้ว่ากองทัพและรัฐบาลสหรัฐจะได้มีบทบาทฟื้นฟูสถาบันพระมหา
กษัตริย์ ผลที่เกิดขึ้นต่างจากความตั้งใจอยู่บ้าง แนวโน้มสู่ความนิยมอเมริกัน
ในสังคมทั่วไปส�าแดงความเป็น “สมัยใหม่” แต่กลับท� าให้สถาบันพระมหา
กษัตริย์เป็นสัญลักษณ์ของชาติและประเพณี การทุจริตของฝ่ายนายทหารและ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


พรรคพวกเปิดโอกาสให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้น�าด้านจริยธรรม ผลสะเทือน
ของพัฒนาการเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนผู้คนจ�านวนมากแทบตั้งตัว
ไม่ทัน ได้ชูบทบาทพระมหากษัตริย์ในฐานะผู้คุ้มครองคนเสียเปรียบ
การร่วมมือเป็นพันธมิตรกันระหว่างกองทัพ พระราชส�านัก และกลุ่ม
นักธุรกิจในสมัยของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยมีสหรัฐเป็นผู้อุดหนุนใหญ่
ให้ประโยชน์กับทุกฝ่าย สหรัฐได้ตั้งฐานทัพที่เมืองไทย สถาบันพระมหากษัตริย์
ได้รับการฟื้นฟู นายทหารเถลิงอ�านาจและได้รับผลก�าไร ธุรกิจเฟื่องฟู แต่ผล
ได้เหล่านี้ล้วนมีต้นทุน อีกทั้งยังก่อให้เกิดพลังทางสังคมใหม่ๆ

ขบวนการ าย ้าย
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ขบวนการคอมมิวนิสต์ที่สยามจ�ากัดอยู่ใน
กลุ่มชาวจีน (ส่วนใหญ่กระจุกที่กรุงเทพฯ) และกลุ่มชาวญวน (ภาคอีสาน)
ด�าเนินการแบบโพ้นทะเลเพื่อเกื้อหนุนการปฏิวัติที่ประเทศบ้านเกิด สาขาของ
พรรคคอมมิวนิสต์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อต้นทศวรรษ ๒๔๗๐ แต่มีคนไทยเพียงหยิบ
มือที่เข้าร่วมด้วย รัฐบาลประสบความส�าเร็จในการจับกุมและเนรเทศพวกหัว
เอียงซ้าย และไม่ได้คิดว่าพวกเขาคุกคามความมั่นคงของสยามเท่าใดนัก
แต่ช่วงทศวรรษ ๒๔๘๐ ขบวนการฝ่ายซ้ายแปรเปลี่ยนเป็นองค์กรที่
มีอิทธิพลสูงขึ้น หลายๆ คนเป็นลูกจีนเกิดในเมืองไทยรุ่น ๒ ครูในโรงเรียน
จีนโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนสิ่นหมินชักจูงให้เข้าร่วมขบวนการ พวกเขาไม่ได้
เพียงต้องการสนับสนุนการปฏิวัติที่เมืองจีน แต่เริ่มแพร่กระจายแนวความคิด
คอมมิวนิสต์ในสังคมไทยด้วย นักเคลื่อนไหวต่อต้านญี่ปุ่นที่ถูกจับตัวได้เมื่อ
พ.ศ. ๒๔๘๑ ถูกจองจ�าอยู่หลายปีในคุกแห่งเดียวกับนักโทษกบ บวรเดช ณ
“มหาวิทยาลัยคุก” แห่งนี้ ฝ่ายซ้ายสอนยุทธศาสตร์การเมืองให้กับ “อภิสิทธิชน”
ฝ่ายนิยมเจ้า ขณะที่ “อภิสิทธิ์ชน” สอนภาษาและวัฒนธรรมไทยให้กับฝ่ายซ้าย
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย พคท. ได้รับการก่อตั้งขึ้นใหม่
เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ มีนโยบายขับไล่ “โจร ี่ปุ น” ออกไปและส่ง
เสริมประชาธิปไตย ช่วงสงครามพวกคอมมิวนิสต์จัดตั้งสมาคมเพื่อสวัสดิการ
ส�าหรับคนงานเรือ รถไฟ ท่าเรือ โรงเลื่อย และโรงสี บางกลุ่มมุ่งไปที่การ
ก่อกวนและซุ่มท�าลายแบบลับ พ.ศ. ๒๔๘๗ พคท.จัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครเพื่อ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ต่อต้านญี่ปุ่น โดยร่วมมือเคียงบ่าเคียงไหล่กับขบวนการเสรีไทย และมีเหตุ
การณ์ปะทะกับทหารญี่ปุ่นเล็กน้อยก่อนสงครามยุติ๑๐ ครั้นเมื่อสงครามสิ้นสุด
ลงขบวนการ พคท.มีเป้าประสงค์จะเปลี่ยนการเมืองไทยแบบพลิกแผ่นดิน
ช่วง ๒ ป หลังสงคราม พคท.มีโอกาสท�างานการเมืองโดยเปดเผย
เพราะในการเจรจาสันติภาพ สหภาพโ เวียตรัสเ ียมีข้อแม้ให้รัฐบาลไทย
ยกเลิกพระราชบัญญัติคอมมิวนิสต์ ใน พ.ศ. ๒๔๘๙ เพื่อที่จะยอมรับไทยเข้า
เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ
พรรคประกาศว่าไม่มียุทธศาสตร์ปฏิวัติ แต่จะด�าเนินการทางการเมือง
ผ่านช่องทางรัฐสภาและสหภาพแรงงาน ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ส.ส. จาก
สุราษฎร์ธานี ซึ่งรณรงค์ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติคอมมิวนิสต์ ประกาศตัวเป็น
สมาชิกพรรคอย่างเปิดเผย พรรคได้ใช้ช่วงจังหวะของความวุ่นวายทางเศรษฐกิจ
หลังสงคราม ช่วยจัดตั้งสหภาพแรงงานและประสานให้คนงานโรงสีข้าวนัดหยุด
งานครั้งใหญ่ ๒ ครั้ง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๘ และ พ.ศ. ๒๔๙๐ ต่อมาก่อตั้งสมาคม
สหอาชีวะกรรมกรขึ้นในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๙๐ และจัดการเดินขบวนครั้ง
ใหญ่เพื่อเฉลิมฉลองวันแรงงานในปี ๒๔๘๙ และ ๒๔๙๐ หนังสือพิมพ์ของ
พรรคชื่อ า น เป็นหนังสือพิมพ์ใต้ดินมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๕ โผล่ขึ้นบนดิน
เป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ในปี ๒๔๘๗ หนังสือพิมพ์คอมมิวนิสต์ภาษาจีน
่ น า ปรากฏตัวขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๘
สมาชิกพรรครุ่นแรกซึ่งได้เดินทางไปจีนเพื่อช่วยท� าการรบช่วงปฏิวัติ
เดินทางกลับไทย ในจ�านวนนี้ อุดม ศรีสุวรรณ ชาวจีนไทยใหญ่ได้รับการศึกษา
จากโรงเรียนคริสต์ ต่อมาเป็นนักเขียนคอลัมน์คนส�าคัญให้กับหนังสือพิมพ์
มหำชน และเป็นนักทฤษฎีหลักของพรรค
นักศึกษาต่างจังหวัดหัวดี ทั้งลูกจีนและไทยที่เข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียน
หนังสือต่อ บางคนซาบซึ้งกับแนวคิดสังคมนิยม จิตร ภูมิศักดิ พ่อเป็นเสมียน
รับราชการอยู่ที่ปราจีนบุรี เข้าเรียนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ.
๒๔๙๓ เขียนบทวิจารณ์ศาสนาพุทธตามแนวคิดของมาร์กซ์ คณะกรรมการนัก
ศึกษาก่อตั้งขึ้นที่ธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๔๙๖ สมาชิกบางคนของกลุ่มเข้าร่วมกับ
พคท. หลังจากที่จอมพลสฤษดิ์รัฐประหาร พ.ศ. ๒๕๐๐
ชนชั้นกลางที่มีพื้นเพเป็นสามัญชนสนใจแนวคิดสังคมนิยม เช่น สุภา
ศิริมานนท์ เป็นหนึ่งในนักหนังสือพิมพ์ชาตินิยมช่วงปลายทศวรรษ ๒๔๖๐ ต่อ
มาท�างานเป็นผู้ช่วยนายปรีดี พนมยงค์ บางครั้งบางคราวเป็นเวลาถึง ๑๕ ปี เขา

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ใช้เวลาที่ไปต่างประเทศอ่านวรรณกรรมฝ่ายซ้าย สุภาเรียนรู้และพัฒนาตนเอง
เป็นนักสังคมนิยม พ.ศ. ๒๔๙๔ ตีพิมพ์งานวิเคราะห์ลัทธิมาร์กซ์ กุหลาบ
สายประดิษฐ์ นักหนังสือพิมพ์และนักเขียน ทศวรรษ ๒๔๖๐ แต่งนวนิยาย
ช� า แหละอภิ สิ ท ธิ์ ช น ปลายทศวรรษ ๒๔๗๐ เดิ น ทางไปเยื อ นญี่ ปุ ่ น ได้ รั บ
ปริญญานิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ช่วงสงคราม และแปลต� ารา
ลัทธิสังคมนิยมของยุโรป หลังจากใช้เวลาอยู่ที่ออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๒
เขาพิมพ์นวนิยายเรื่องสั้นหลายเรื่องเกี่ยวกับการแบ่งชนชั้นในสังคมไทย
แ น แสดงเนื้อหาทฤษฎี ราคาจากมูลค่าแรงงาน “มันพวกไหนกัน
แน่วะที่สร้ำงทุกสิ่งทุกอย่ำงขึ้นมำ มันเงินหรือแรงกันแน่วะ” ๑๓ นักเขียนฝ่าย
ซ้ายบางคนไม่ได้สมัครเป็นสมาชิก พคท. เช่น สุภา และกุหลาบ ซึ่งร่วมมือกับ
ผู้นิยมนายปรีดีอีก ๒-๓ คนออกวารสาร า น ที่ “ไม่ได้จูงจมูกผู้อ่ำน” ๑๔
แต่มีนักเขียนที่เปลี่ยนข้างชัดเจนได้แก่ อัศนี พลจันทร ผู้มาจากตระกูลอภิสิทธิ์
ชน จบนิติศาสตร์จากธรรมศาสตร์ รับราชการ เขียนบทกวีให้กับ า น และ
เป็นสมาชิกพรรคใน พ.ศ. ๒๔๙๗
จาก พ.ศ. ๒๔๙๐ พคท. ได้รับอิทธิพลจากนักคิดนักเขียนที่กลับมา
จากจีน และเริ่มรับเอาแนวทางของเหมาเจ๋อตุงที่เสนอการปฏิวัติจากฐานของคน
ชนบท พ.ศ. ๒๔๙๓ อุดม ศรีสุวรรณ เสนอแนวทางนี้เป็นระบบในหนังสือ
ท ่ น เป็นการเขียนประวัติศาสตร์ไทยใหม่ภายใต้กรอบของมาร์กซิสต์
วิเคราะห์ว่าปฏิวัติ ๒๔๗๕ ล้มเหลวเพราะไม่มีฐานมวลชนสนับสนุน และสรุป
ว่าเมืองไทยเป็นรัฐกึ่งศักดินา กึ่งเมืองขึ้น คล้ายๆ กับจีนก่อนเหมาเจ๋อตุง ด้วย
เหตุฉะนี้ จึงต้องมีการปฏิวัติเหมือนที่เกิดในเมืองจีน โดยมีทั้งคนงานเมืองและ
ชาวนาเป็นหัวหอกน�าการปฏิวัติ
ภายในกลุ่มฝ่ายซ้ายเอง มีส่วนหนึ่งที่พยายามโยงพุทธศาสนากับลัทธิ
มาร์กซิสม์เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นฐานน�าไปสู่ความเป็นธรรมในสังคม นักเคลื่อน
ไหวหลายคนชอบความคิดของปรัชญาพุทธ เช่น แนวคิดของพระพุทธทาส ผู้
ซึ่งหลีกห่างออกจากมหาเถรสมาคมโดยได้ไปจ�าพรรษาอยู่ที่วัดสวนโมกข์ วัดป่า
ในสุราษฎร์ธานี ทศวรรษ ๒๔๘๐ พระพุทธทาสเริ่มพิมพ์หนังสือเสนอค�าสอน
ซึ่งเป็นการตีความพระไตรปิฎกที่ให้ความหมายต่อปัจเจกบุคคลมากขึ้นและ
สอดคล้องกับพุทธศำสนำเพื่อสังคม กุหลาบ สายประดิษฐ์ ปฏิบัติธรรมที่สวน
โมกข์ เขียนบทความลงในวารสารของพระพุทธทาส และสรุปแนวคิดค�าสอน
ของท่านในหนังสือพิมพ์ฝ่ายซ้ายที่กรุงเทพฯ สมัคร บุราวาศ เป็นนักธรณีวิทยา

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ได้รับการศึกษาจากลอนดอน เขาแปลงานของสตาลิน สอนปรัชญาที่ส�านัก
ปรัชญาพุทธแห่งหนึ่ง ไปปฏิบัติธรรมที่สวนโมกข์ และเขียนหนังสือเปรียบเทียบ
พุทธศาสนาแบบพระพุทธทาสกับลัทธิมาร์กซิสม์ นายปรีดีกะว่าจะก่อตั้งสาขา
ของสวนโมกข์ที่อยุธยา และเมื่อลี้ภัยไปจีนในช่วงต่อมา ได้เขียนบทความเป็น
ชุดต่อเนื่องกันในหนังสือพิมพ์ที่กรุงเทพฯ ว่าด้วย า น น
ผู้นิยมนายปรีดีรายหนึ่งกลับจากปักกิ่งแล้วก่อตั้งพรรคศรีอารยะเมตไตร เป็น
ชื่อพระพุทธเจ้าองค์ต่อไปซึ่งจะทรงมาโปรดเพื่อให้บังเกิดสังคมอุดมคติ คล้ายๆ
กับเป้าหมายสังคมอุดมคติหลังการปฏิวัติของลัทธิมาร์กซ์

ปาล้อมเมอง
ปลายปี ๒๔๙๑ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย พคท. ก่อตั้ง
ขึ้นด้วยแรงบันดาลใจจากขบวนการปฏิวัติที่จีนตัดสินใจด�าเนินรอยตามแนวทาง
ปฏิวัติของเหมาเจ๋อตุง จัดตั้งขบวนการชาวนา เจ้าหน้าที่พรรคเริ่มเข้าท�างานตาม
หมู่บ้าน โดยเฉพาะที่อีสานซึ่งพวกเขาเคยจัดตั้งหน่วยต่อต้านญี่ปุ่น มีการประชุม
พรรคอย่างลับๆ เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ๒๔๙๕ ยืนยันยุทธศาสตร์ “ปลุก
ระดมมวลชนเรือนแสนเรือนล้ำนเข้ำสู่ชนบท” ๑๕ แต่ยุทธศาสตร์นี้มีผู้ไม่เห็นด้วย
รวมทั้งประเสริฐ ทรัพย์สุนทร อย่างไรก็ตาม เมื่อฝ่ายรัฐบาลปราบปรามขบวน
การสันติภาพอย่างกว้างขวางในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๕ นักเคลื่อนไหว
และสมาชิกพรรครุ่นแรกๆ ที่อีสานและภาคใต้หลายคนถูกจ�าคุก สมาชิกพรรค
ที่เหลือหลบหนีไปเข้ารับการอบรมที่สถาบันมาร์กซิสต์-เลนินนิสต์ที่ปักกิ่ง หลัง
จากนั้นกิจกรรมของพรรคหยุดชะงักไป ๕ ปี ที่ปักกิ่ง ประเสริฐเสนอว่า ยุทธ
ศาสตร์ปาล้อมเมือง ไม่ถูกจุด เขาต้องการให้พรรคเข้าสู่อ�านาจด้วยการเลือก
ตั้ง เขาถูกไล่ออกจากพรรค และหลังจากรัฐประหารปี ๒๕๐๐ เขาเสนอตัวท�า
งานให้สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ผู้ที่ไปอบรมกลับจากปักกิ่งปลายทศวรรษ ๒๔๙๐ การประชุมพรรค
ครั้งที่ ๓ ใน พ.ศ. ๒๕๐๔ ยืนยันยุทธศาสตร์ “ป่าล้อมเมือง” และการต่อสู้โดย
ใช้อาวุธ ย้ายส�านักงานใหญ่ของพรรคออกจากเมือง สมาชิกพรรคหลายคนที่
เป็นฝ่ายอุดมการณ์ เช่น อุดม ศรีสุวรรณ และนักคิดนักเขียน จิตร ภูมิศักดิ
เดินทางสู่ป่าอีสาน

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


มีกลุ่มคนที่เดือดร้อนพร้อมจะร่วมมือกับพรรค เช่น นักวิชาการซึ่ง
อึดอัดและไม่พอใจรัฐบาลเผด็จการทหาร ชาวนาชาวไร่ซึ่งคับข้องใจถูกเศรษฐกิจ
ระบบตลาดเอาเปรียบ และผู้คนชายขอบไกลออกไปซึ่งต่อต้านรัฐรวมศูนย์
อ�านาจที่พยายามบังคับให้ทุกคนเป็นหนึ่งเดียวด้านวัฒนธรรมและภาษา อีก
ทั้งขยายเครือข่ายระบบราชการเข้าก�ากับชาวบ้านทั่วทุกหัวระแหง พคท. ตั้ง
ฐานที่มั่นแห่งแรกที่ป่าภูพาน จังหวัดสกลนคร จังหวัดที่ ครอง จันดาวงศ์ ถูก
ประหารเมื่อไม่นานมานี้เอง ฐานที่มั่นแห่งที่ ๒ อยู่ที่บริเวณภูเขาทางภาคใต้
โยงกับขบวนการแบ่งแยกดินแดนของชาวมุสลิม และขบวนการคอมมิวนิสต์ที่
มาเลเซีย ฐานที่มั่นที่ ๓ อยู่ที่ภาคเหนือซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากหมู่บ้านชาว
เขาจ�านวนมาก รวมทั้งชาวม้ง เย้า และลั้วะ ด้วยความร่วมมือจากจีน วิทยุเสียง
ประชำชนแห่งประเทศไทย (สปท.; Voice of the People of Thailand, VOPT)
ก็ถ่ายทอดเสียงจากเมืองคุนหมิง และการล�าเลียงเสบียงต่างๆ โดยใช้เส้นทาง
ผ่านประเทศลาว
ขบวนการปฏิวัติขยายไปอย่างรวดเร็วในสังคมชนบท ึ่งชาวบ้านรู้สึก
ว่าชีวิตของพวกเขาถูกก�ากับและแทรกแ งทั้งจากครู ต�ารวจ และนายทุน โดย
มีมหาอ�านาจอเมริกาอยู่เบื้องหลัง
การปะทะกันโดยบังเอิญระหว่างต�ารวจตระเวนชายแดนและกองก�าลัง
ของ พคท. เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๐๘ หรือ “วันเสียงปนแตก” เป็นจุดเริ่ม
ของการต่อสู้โดยใช้ก�าลังอาวุธ จ�านวนการปะทะกันระหว่างกองก�าลังติดอาวุธ
ของ พคท.กับฝ่ายปราบปรามของฟากรัฐบาลเพิ่มขึ้นจากวันละครั้งเมื่อทศวรรษ
๒๕๐๐ เป็นวันละ ๓ ครั้ง ในปี ๒๕๒๐
กองทั พ ไทยถื อ ว่ า ขบวนการปฏิ วั ติ คื อ การรุ ก รานจากศั ต รู ต ่ า งแดน
สหรัฐต้องการให้ไทยเป็นฐานทัพที่จะท�าสงครามอินโดจีน และในช่วงแรกๆ ไม่
ค่อยได้ใส่ใจกับขบวนการ พคท. มากนัก กองทัพไทยใช้มาตรการทหารแบบ
ครอบจักรวาล โดยทิ้งบอมบ์และนาปาล์มลงใส่ “หมู่บ้านสีแดง” และใช้วิธีการ
ฆ่าท�าลายแบบป่าเถื่อน เช่น เผาทหารของ พคท.ที่ถูกจับได้ทั้งเป็นๆ ไม่มีความ
พยายามใดๆ ที่จะเข้าใจหลักการของขบวนการซุ่มโจมตีแบบเหมาเจ๋อตุงเลย
ดังนั้น การโจมตีฐานที่มั่นของ พคท. เช่น ภูหินร่องกล้า และเถิง เมื่อ พ.ศ.
๒๕๑๕ จึงล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ความพยายามที่จะส่งทหารของรัฐบาลไปประจ�า
ที่หมู่บ้านสีแดง และจัดตั้งชาวบ้านให้ต่อต้าน พคท. มักจะล้มเหลว เพราะว่า
ทหารใช้อ�านาจเครื่องแบบและปืนข่มเหงชาวบ้าน ปล้นสะดม และกระท�าช�าเรา

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
สาวชาวบ้าน
พ.ศ. ๒๕๑๒ กองทัพพบว่าบริเวณที่ฝักใฝ่ พคท.นั้นมีถึง ๓๕ จังหวัด
จากทั้งหมด ๗๑ จังหวัด พ.ศ. ๒๕๑๘ กองทัพไทยประมาณการว่า พคท.มี
ก�าลังติดอาวุธถึง ๘ พันคน หมู่บ้าน ๔๑๒ แห่งอยู่ภายใต้อาณัติของ พคท.
อย่างสิ้นเชิง และอีก ๖ พันแห่งมีชาวบ้านประมาณ ๔ ล้านคนอยู่ภายใต้อิทธิพล
ของ พคท.ในบางระดับ
พ.ศ. ๒๕๑๐ ต�ารวจจับกุมสมาชิกพรรคบางคนที่ไม่เห็นด้วยกับยุทธ
ศาสตร์ป่าล้อมเมืองได้ และมีประเสริฐ ทรัพย์สุนทรด้วยคนหนึ่ง กองอ�านวย
การรักษาความมั่นคงภายใน หรือ กอ.รมน. ก่อตั้งขึ้นโดยสหรัฐ เมื่อ พ.ศ.
๒๕๐๗ เพื่อประสานงานต่อต้าน พคท. โดยฝ่ายรัฐดึงประเสริฐและสมาชิก
พรรคบางคนที่ถูกจับได้นี้ให้มาช่วยวางแผนล้ม พคท. ที่ได้ผลกว่าที่เป็นอยู่
กอ.รมน. เริ่มปฏิบัติการระดับหมู่บ้าน โดยจัดตั้งกลุ่มหมู่บ้านป้องกัน
ตนเองขึ้น สหรัฐอัดฉีดเงินลงสู่ท้องถิ่นผ่านโครงการเร่งรัดพัฒนาชนบท รพช.
อย่างมโหฬาร แต่ฝ่ายกองทัพไทยคัดค้านไม่ยอมรับยุทธศาสตร์นี้อย่างกว้าง
ขวาง และได้ใช้ความล้มเหลวในทุกกรณีเป็นข้ออ้างให้ยังคงใช้ปืนและมาตรการ
รุนแรงในการปราบปราม กองทัพพยายามท�าลายป่าซึ่งเป็นฐานที่มั่นของ พคท.
ผลลัพธ์คือระหว่าง พ.ศ. ๒๕๑๖-๒๕๒๑ พื้นที่ป่าประมาณ ๖ ล้านไร่ถูกท�าลาย
ในแต่ละปี ถึงกระนั้นผู้เชี่ยวชาญของ กอ.รมน. คนหนึ่งก็ยังสรุปว่า “ควำมจริง
ที่ป ิเสธไม่ได้ก็คือกำรลุกฮือของประชำชนและกำรป ิวัติคอมมิวนิสต์ก�ำลังแผ่
ขยำยอย่ำงรวดเร็วและแทบไม่ได้ถูกปรำบปรำมมำกว่ำสิบปี ไม่ว่ำจะเป็นภำค
เหนือ อีสำน กลำง หรือภำคใต้ คอมมิวนิสต์มีฐำนที่มั่นคงในปำทึบ ึ่งกอง
ก�ำลังของรัฐบำลไม่ว่ำจะเป็นต�ำรวจหรือทหำรไม่พร้อมที่จะบุกทะลวงเข้ำไป” ๑๖
พ.ศ. ๒๕๑๙ รัฐบาลประเมินว่าฝ่ายคอมมิวนิสต์ ๒,๑๗๓ คน และ
ฝ่ายรัฐบาล ๒,๖๔๒ คน ได้เสียชีวิตไปจากการปะทะกัน ๓,๙๙๒ ครั้ง นับจาก
พ.ศ. ๒๕๐๘

นักศกษา
ขบวนการ พคท. เป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของการต่อต้านรัฐบาลเผด็จ
การทหารซึ่งสหรัฐหนุนหลังอยู่ ในสังคมเมืองมีการต่อต้านในรูปแบบอื่นๆ ที่

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ได้รับอิทธิพลจากภาวะสงครามเย็นของโลก ก่อให้เกิดการแบ่งแยกออกเป็น
อุดมการณ์ฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา ใช้ศัพท์แสงที่เกี่ยวโยงเช่น ลัทธิคอมมิวนิสม์
การปฏิวัติ โลกเสรี แต่ขบวนการต่อต้านเหล่านี้เจือปนด้วยแนวคิดชาตินิยม
พุทธนิยม การปกปักรักษาวัฒนธรรมไทย และสะท้อนความมุ่งหวังของกลุ่ม
นักธุรกิจและชนชั้นกลางด้วย
ความกระตือรือร้นที่จะ “พัฒนา” เมืองไทยอย่างรวดเร็วได้เพิ่มจ�านวน
ผู้คนที่ได้รับการศึกษาสูง ผู้มีการศึกษาระดับปริญญาตรีเพิ่มจากเพียง ๑๘,๐๐๐
คน เป็น ๑๐๐,๐๐๐ คน ระหว่างปี ๒๕๐๔-๒๕๑๕ ขณะเดียวกันจ� านวนผู้ที่
ไปเรียนนอก โดยเฉพาะที่สหรัฐเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คนเรียนสูงไม่ต้องเป็น
ลูกผู้ลากมากดี หรือมาจากครอบครัวชนชั้นสูง คนต่างจังหวัดก็เดินทางมาเรียน
มหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ มากขึ้น สะท้อนให้เห็นในนวนิยายเรื่องสั้นร่วมสมัย
มีตัวเอกเป็นหญิงสาวหรือชายหนุ่มที่หลีกหนีจากความจนได้เพราะการศึกษา
แต่ก็ยังเป็นคนมีอุดมคติ คิดถึงคนอื่นที่โชคไม่ดีเท่าตัวเองและยังถูกสังคมเอา
เปรียบ รัฐบาลปราบปรามกิจกรรมทางการเมืองในรั้วมหาวิทยาลัยอย่างแข็งขัน
สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ตั้งข้อสังเกตว่า “ล่วงเข้ำ พ.ศ. ๒๕๐๐ ไม่มีนักวิชำกำรหลง
เหลืออยู่เลย...ทหำรคุมมหำวิทยำลัยเต็มที่” ๑๗ จากกลางทศวรรษ ๒๕๐๐ นัก
ศึกษาเริ่มแสดงความไม่พึงพอใจให้เห็นในวารสารต่างๆ วารสาร า
ท นที่สุลักษณ์จัดท�าขึ้นในปี ๒๕๐๖ มีแนวความคิดที่ประสานสังคมนิยม
กับพุทธศาสนาเพื่อสังคม นักเขียนหลักๆ เช่น สุลักษณ์ และ สุจิตต์ วงษ์เทศ
วิจารณ์ที่เมืองไทยรับวิถีด�าเนินชีวิตและความคิดแบบอเมริกันจ๋า โดยเห็นว่าให้
ความส�าคัญกับวัตถุมากเกินไปจนเป็นการท�าลายวัฒนธรรมไทย
ต้นทศวรรษ ๒๕๑๐ า ท น และวารสารอื่นๆ เริ่มพิมพ์
บทความเขียนโดยนักศึกษาที่เรียนอยู่มหาวิทยาลัยต่างประเทศ บทความเหล่านี้
พูดถึงขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนาม และการก่อตัวขึ้นของอุดมการณ์ฝ่าย
ซ้ายที่สหรัฐและที่ยุโรป หลังจากนั้นนิสิตนักศึกษาที่เมืองไทยเริ่มแปลงานเขียน
เกี่ยวกับแนวคิดฝ่ายซ้ายใหม่ (New Left) จากยุโรปและสหรัฐ ขบวนการซ้าย
ใหม่ ไม่ได้มีจุดเน้นอยู่ที่กิจกรรมของพรรคหรือของสหภาพแรงงาน แต่อยู่ที่
ขบวนการนักศึกษาและพลังทางสังคมอื่นหลายรูปแบบ นักวิชาการรุ่นใหม่เขียน
งานวิเคราะห์สังคมไทยร่วมสมัยใช้แนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมือง เน้นไปที่ความ
ยากจน การเอาเปรียบชาวนาชาวไร่ ภาวะย�่าแย่ของคนงานเมือง และสาเหตุที่
ระบบสังคมดั้งเดิมไร้ความเป็นธรรม มีการน�างานเขียนของนักคิดฝ่ายซ้ายก่อน

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
สงครามโลกครั้งที่สองมาจัดพิมพ์ใหม่รวมทั้งงานของกุหลาบ สายประดิษฐ์ ซึ่ง
ได้ลี้ภัยไปอาศัยอยู่เมืองจีนตั้งแต่เมื่อสฤษดิ์ก่อการรัฐประหาร และจิตร ภูมิศักดิ์
ผู้ซึ่งได้เข้าร่วมขบวนกับ พคท. เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ จนถูกยิงเสียชีวิตที่ภูพานในปี
๒๕๐๙ กลุ่มวรรณศิลป์และกลุ่มเสวนาต่างๆ ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด พ.ศ. ๒๕๑๕
นักศึกษาธรรมศาสตร์กลุ่มหนึ่งพิมพ์ภ า โจมตีจักรวรรดินิยมอเมริกาใน
เมืองไทย
ไม่ได้มีเพียงกลุ่มนิสิตนักศึกษาเท่านั้นที่พร้อมจะวิจารณ์เผด็จการทหาร
ต้นทศวรรษ ๒๕๑๐ พระราชด�ารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่บางครั้ง
ตรัสกับนิสิตนักศึกษา เริ่มมีเนื้อหาเกี่ยวโยงถึงการเมือง ทรงมีพระราชปรารภ
ถึงการใช้ความรุนแรงของกองทัพ ซึ่งบางครั้งดูเหมือนว่าจะส่งผลผลักดันให้
ชาวบ้านเข้าร่วมขบวนการ พคท. ทรงมีพระราชด� ารัสถึงความพยายามของ
กองทัพที่จะย้ายชาวบ้านออกจากป่า ทรงตระหนักว่าชาวนาชาวไร่ไม่พอใจที่
รัฐบาลเข้าแทรกแซงชีวิตของพวกเขา ทรงตั้งข้อสังเกตว่าคอมมิวนิสต์จากภาย
นอก “ยุแหย่ให้ประชำชนในประเทศไทยนี้เข้ำใจว่ำจะต้องต่อสู้เพื่อเสรีภำพ ต้อง
ต่อสู้เพื่อให้ประชำชนมีอิสรภำพในกำรท� ำมำหำกิน ึ่งบำงทีก็มีควำมจริงบ้ำง
เพรำะในบ้ำนเมืองไทยมีผู้ ดเคืองแร้นแค้นเป็นจ�ำนวนไม่น้อย” ๑๘ ทรงเริ่ม
วิจารณ์ว่า “ทุนนิยม” ส่งเสริมระบบคุณค่าที่ท�าลายหลักการมนุษยธรรมตาม
แนวทางพุทธ ทรงกระตุ้นให้นักศึกษารณรงค์ต่อต้านการคอร์รัปชั่นที่เฟื่องฟู
ภายใต้รัฐบาลเผด็จการ ขณะเดียวกันทรงเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงแบบค่อย
เป็นค่อยไป และทรงไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติ มีรายงานว่าทรงมีพระราชด�ารัส
กับเอกอัครราชทูตอังกฤษเป็นการส่วนพระองค์ว่า “ต้องก�ำกับควบคุมนักศึกษำ”
เพราะว่าการเดินขบวนประท้วงของนักศึกษา “ผิดมำก” ๑๙
พ.ศ. ๒๕๑๑ ทรงกระตุ้นให้รัฐบาลทหารร่างรัฐธรรมนูญที่สัญญาไว้
เมื่อสิบปีที่แล้ว และให้น�าระบอบรัฐสภาประชาธิปไตยกลับมา รัฐธรรมนูญ ฉบับ
พ.ศ. ๒๕๑๑ เลียนแบบรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ ซึ่งทหารอยู่เบื้องหลัง ก�าหนด
ให้วุฒิสภามาจากการแต่งตั้งมีหน้าที่ก�ากับรัฐสภา แม้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มี
ขีดจ�ากัดเช่นนั้น แต่เมื่อรัฐสภาเปิด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือบรรดา ส.ส.
กลับส�าแดงความกล้ามากกว่าแต่ก่อน โดยได้ใช้รัฐสภาเป็นโอกาสวิจารณ์และ
เสนอให้จ�ากัดระบอบเผด็จการทหาร พวกเขาไม่ยอมผ่านพระรำชบั ัติงบ
ประมำ เรีย กร้ อ งให้ รัฐ บาลจัด สรรเงิน งบประมาณเพื่อ การพัฒ นาเขตต่ า ง
จังหวัดมากขึ้น เปิดโปงคอร์รัปชั่น

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


นายกรัฐมนตรี จอมพลถนอม กิตติขจร ในขณะนั้นตกใจที่ว่า ส.ส.กล้า
เข้ามาก้าวก่ายและพยายามจ�ากัดอ�านาจและอภิสิทธิ์ของกองทัพ จนถึงกับกล่าว
ว่า “เป็นนักกำรเมืองมำนำน ยังไม่เคยเห็น ส.ส.ก่อควำมยุ่งยำกให้ถึงขนำดนี้
บำงคนถึงกับโจมตีตัวนำยก ด้วยเรื่องส่วนตัว” ๒๐
พ ศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔ จอมพลถนอมท�ารัฐประหารรัฐบาลตัวเอง
ยกเลิกรัฐธรรมนูญและยุบสภา
พ.ศ. ๒๕๑๑ นักศึกษาเริ่มเดินขบวนประท้วงเรื่องสงครามเวียดนาม
คอร์รัปชั่น และประเด็นอื่นที่เกี่ยวโยง พ.ศ. ๒๕๑๕ พวกเขามีขบวนการจัดตั้ง
เป็นระบบและมีท่าทีท้าทายรัฐบาลมากขึ้น พคท.ตระหนักดีถึงศักยภาพของ
ขบวนการนักศึกษา จึงเริ่มพิมพ์เผยแพร่วรรณกรรมฝ่ายซ้ายและชักจูงผู้น�านัก
ศึกษาให้เข้าร่วมกับพรรค แต่แนวคิดฝ่ายซ้ายเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งของ
อุดมการณ์ทางเลือกที่อภิปรายกันในขณะนั้น ซึ่งก็ยังมีแนวคิดประชาธิปไตย
เสรีนิยมด้วย นอกจากนั้น ยังมีแนวทางพุทธเรื่องความเป็นธรรมในสังคมและ
แนวทางชาตินิยมที่ต่อต้านสหรัฐและญี่ปุ่นเพราะเอาเปรียบเมืองไทย นักศึกษา
และนักเคลื่อนไหวจ�านวนมากมีพื้นเพมาจากครอบครัวชนบท (โดยเฉพาะจาก
ภาคใต้) พวกเขามักเป็นคนแรกของครอบครัวชนชั้นกลางระดับล่างหรือระหว่าง
ล่างถึงกลางที่ได้เรียนถึงขั้นมหาวิทยาลัย และมักเป็นพวกหัวกะทิด้วย ธีรยุทธ
บุญมี ลูกของทหารสิบเอก สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้เป็นที่ ๑ ของนักเรียนทั่ว
ประเทศ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ลูกของช่างต่อเรือหาปลา เป็นนักศึกษาคณะ
รัฐศาสตร์ที่ปราดเปรื่องทีเดียว
เดือนพ ศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ธีรยุทธสร้างขบวนการประท้วงสินค้า
ญี่ปุ่น มิถุนายน ๒๕๑๖ การประท้วงนี้เริ่มเรียกร้องให้ฟื้นฟูรัฐธรรมนูญและ
ระบอบประชาธิปไตย บรรดานายพลทั้งหลายปฏิเสธที่จะเจรจากับขบวนการ
นักศึกษา จับกุมผู้น�าของเขา ฝ่ายรัฐบาลประชุมกันที่กระทรวงมหาดไทย อาจ
จะท�าการปราบปรามผู้เรียกร้อง “เชื่อว่ำนิสิตศึกษำจะเสียไปรำว ๒ เปอร์เ ็นต์
จำกจ�ำนวนเป็นแสนคน” โดยอ้ำงว่ำ “จ�ำต้องเสียสละ เพื่อควำมอยู่รอดของบ้ำน
เมือง” ๒๑ กับสาธารณชนกองทัพอ้างว่านักศึกษาอยู่ในอาณัตขิ อง “คอมมิวนิสต์”
สื่อหนังสือพิมพ์สนับสนุนนักศึกษาในระดับหนึ่ง วันที่ ๑๓ ตุลาคม
๒๕๑๖ ูงชนประมาณ ๕ แสนคน ร่วมขบวนประท้วงที่อนุสาวรีย์ประชาธิป
ไตยเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญ (ดูภาพที่ ๒๔) และพร้อมกันนั้นมีการชุมนุมกัน
ที่ต่างจังหวัดด้วย กองทัพตัดสินใจปล่อยหัวหน้านักศึกษาที่ถูกจับ แต่การ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ภาพที่ ๒ มวลชนเข้ำร่วมกำรเมือง หนึ่งวันก่อนเหตุกำร ์ ๑๔ ตุลำคม ๒๕๑
ประท้วงมีชีวิตของตัวเองแล้ว ในบ่ายวันเดียวกันนั้น ฝูงชนเคลื่อนขบวนไปที่
พระราชวังสวนจิตรลดา เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการปราบปรามของรัฐบาลทหาร และ
เพื่อที่จะขอพึ่งพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการท�าความประนี
ประนอม
ผู้น�านักศึกษาขอให้รัฐบาลทหารสัญญาว่าจะร่างรัฐธรรมนูญภายใน ๑
ปี รัฐบาลยินยอม หลังจากนั้นผู้น�านักศึกษาได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัว แต่การสลายการชุมนุมในเช้าวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ กลับกลายเป็น
ความรุนแรง ทหารยิงปืนเข้าใส่ฝูงชน ท�าให้ผู้ชุมนุมเสียชีวิต ๗๗ คน และบาด
เจ็บอีก ๘๕๗ คน เหตุการณ์ที่รัฐบาลสลายการชุมนุมอย่างรุนแรงจนเลือด
นองถนนราชด�าเนิน ท�าให้รัฐบาลทหารเสียความชอบธรรมอย่างสิ้นเชิง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และกลุ่มทหาร ายตรงกันข้ามกับรัฐบาล
ผลักดันให้ “สามทรราชย์” คือ จอมพลถนอม จอมพลประภาส และพันเอก
ณรงค์ บุตรชายจอมพลถนอม ต้องลี้ภัยการเมืองออกนอกประเทศได้ส�าเร็จ
ปรากฏการณ์ใหม่สุดคือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งนาย
สัญญา ธรรมศักดิ ผู้พิพากษาและหนึ่งในองคมนตรีเป็นนำยกรัฐมนตรีคนใหม่
และโปรดให้มีการก�าหนดกระบวนการร่ำงรัฐธรรมนู ฉบับใหม่เพื่อฟื้นฟูรัฐสภา
การล่มสลายของรัฐบาลเผด็จการทหาร ท�าให้ขบวนการนักศึกษามีพื้นที่ในประ
วัติศาสตร์การเมืองไทย และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีฐานะเป็นพลัง
พิเศษนอกรัฐธรรมนูญ มีอ�านาจตัดสินปัญหาความขัดแย้งที่แบ่งแยกชาติไทย
อย่างสุดขั้ว

าย ้าย
เหตุ ก ารณ์ ๑๔ ตุ ล า ๒๕๑๖ เปิ ด ศั ก ราชของการอภิ ป ราย ความ
ขัดแย้ง การทดลองสิ่งใหม่ๆ และการเปลี่ยนแปลง เมื่อพวกนายพลใหญ่ถูก
ผลักออกไป สิ่งที่เกิดขึ้นทันทีทันใดคือบางกลุ่มสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงอย่าง
ถอนราก แต่บางกลุ่มพยายามที่จะสร้างรัฐและระบบสังคมหลังเผด็จการทหาร
ที่อยู่กลางๆ
ปีต่อมา (๒๕๑๗) มีการเดินขบวนประท้วงที่ท้องถนนเกือบทุกวัน เพื่อ
ผลักดันให้รัฐบาลฟื้นฟูรัฐสภาประชาธิปไตย เพื่อรณรงค์ให้สหรัฐยุติการใช้ไทย

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
เป็นฐานทัพเพื่อโจมตีอินโดจีน และเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมทั้งด้านเศรษฐกิจ
และสังคม มหาวิทยาลัยหลายแห่ง โดยเฉพาะธรรมศาสตร์ กลายเป็นห้อง
ประชุมเพื่ออภิปรายการเมือง งานเขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒน
ธรรมไทยผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด ผลงานของจิตร ภูมิศักดิ ได้รับการพิมพ์ใหม่ซ�้า
แล้วซ�้าอีก และเป็นที่ยกย่องอย่างสูง โดยเฉพาะข้อเขียนที่เสนอให้วรรณกรรม
และศิลปะต้องมีบทบาทเปลี่ยนการเมือง และผลงานซึ่งท้าทายประวัติศำสตร์
นิพนธ์แบบดั้งเดิม โดยที่เขาวิเคราะห์ว่าสยามเป็นสังคมศักดินาและพระมหา
กษัตริย์เป็น “เจ้ำที่ดินให ่” ๒๒ พคท.มีบทบาทส่งเสริมให้ขบวนการนักศึกษา
เคลื่อนไปทางซ้าย
ขบวนการนักศึกษา จุดประกายให้ความเดือดร้อนซึ่งได้ก่อตัวขึ้นมา
แต่ถูกเก็บกดเอาไว้ในช่วงการ “พัฒนา” เมื่อ ๒ ทศวรรษที่ผ่านมามีโอกาสปะทุ
ขึ้น กรณีพิพาทระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง และการประท้วงกฎหมายแรงงาน
ที่ไร้ความเป็นธรรมเพิ่มขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ ๒๕๑๐ บานปลายเป็นการนัด
หยุดงานหลายครั้งหลายคราในปี ๒๕๑๕ ตลอด ๒ ปีต่อมามีการนัดหยุดงาน
๕๐๑ และ ๓๕๗ ครั้งตามล�าดับ มากกว่าที่เกิดขึ้นในปีก่อนๆ ส่วนใหญ่คนงาน
เรียกร้องให้เพิ่มค่าจ้างและปรับปรุงสภาพการท�างาน กลาง พ.ศ. ๒๕๑๗ เมื่อ
คนงาน ๖ พันคนในโรงงานทอผ้าที่กรุงเทพฯ นัดหยุดงานประท้วงที่นายจ้าง
เลิกจ้างคนงานเพราะขายของไม่ออก นักศึกษาเข้าช่วยโดยก่อตั้งองค์กรประสาน
ขบวนการแรงงาน และผลักดันให้มีการปฏิรูปกฎหมายแรงงาน รัฐบาลตอบ
สนองด้วยการเพิ่มค่าจ้างขั้นต�่ า เข้าด�าเนินการไกล่เกลี่ยการนัดหยุดงานและ
ออกกฎหมายแรงงานใหม่ที่ยอมให้จัดตั้งสหภาพแรงงาน และให้มีกลไกเพื่อ
ไกล่เกลี่ยกรณีพิพาท
เริ่มจาก พ.ศ. ๒๕๑๗ ชาวนาที่ภาคเหนือและภาคกลางตอนเหนือเริ่ม
ประท้วงเพื่อให้รัฐบาลอุดหนุนราคาข้าว ควบคุมอัตราค่าเช่า และให้จัดสรรที่ดิน
ท�ากินให้กับชาวนาไร้ที่ดิน เดือนมิถุนายนปีเดียวกันชาวนาประมาณ ๒ พันคน
เดินขบวนเข้ากรุงเทพฯ รัฐบาลตอบสนองโดยมีโครงการอุดหนุนราคาข้าวและ
ออกกฎหมายควบคุมอัตราค่าเช่านา แต่ไม่มีกลไกอะไรที่จะน�าโครงการเหล่านี้
ไปสู่การปฏิบัติ ข้าราชการในพื้นที่ได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านที่เดือดร้อน
เป็นจ�านวนมาก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องถูกเจ้าหนี้หลอกยึดที่ดิน ชาวนาร้องเรียนว่า
ข้าราชการท้องถิ่นมักเข้าข้างเจ้าของที่ดินและเจ้าหนี้ ปลายปี ๒๕๑๗ พวกเขา
ก่อตั้งสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย องค์กรนี้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


มีสาขากระจายไป ๔๑ จังหวัด และมีสมาชิกประมาณ ๑.๕ ล้านคน ผู้น�าของ
สหพันธ์ชาวนาฯ เดินทางไปยังหมู่บ้านต่างๆ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิพลเมือง
ของพวกชาวบ้าน
ในการชุมนุมที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๑๗ มีพระสงฆ์
หนุ่มๆ เข้าร่วมขบวนแถวต้นๆ พระหนุ่มจากครอบครัวชาวนาที่สุราษฎร์ธานี
อธิบายการเข้าร่วมใจความว่า พวกท่ำนเห็นใจชำวนำชำวไร่ ึ่งเป็นสันหลังของ
ประเทศ เพรำะพวกท่ำนเองก็เป็นลูกหลำน จึงไม่อำจหันหลังให้เมื่อชำวนำชำว
ไร่ต้องกำรควำมช่วยเหลือ ๒๓ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ นักศึกษาชาวนา
และคนงานประกาศตั้งพันธมิตร ๓ ฝ่าย เพื่อรณรงค์ความเป็นธรรมในสังคม
เริ่มด้วยกรณีชาวนา

ายป ิรูป
ขบวนการนักศึกษา ท�าให้เผด็จการทหารล่มสลาย แต่ผู้ก�าหนดระบอบ
การเมืองใหม่หลังจากนั้นเป็นพลังส่วนอื่นของสังคมเมือง โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจ
ในช่วง ๒๕ ที่ปีผ่านมา ภาคธุรกิจเอกชนได้มีฐานะร�่ารวยขึ้น เจนจัดโลกและ
มีความมั่นใจในตัวเองสูงขึ้นมาก ดังนั้น นักธุรกิจใหญ่ระดับน�าจึงไม่ต้องการ
สยบอยู่ใต้การชี้น�าของนายพล และไม่ต้องการแบ่งปันผลก�าไรให้กับพวกเขาดัง
ที่เป็นมาในอดีตอีกต่อไป กลุ่มธุรกิจใหญ่แสวงหาอ� านาจทางการเมืองเพื่อให้
พวกเขามีส่วนก�าหนดนโยบายได้ นอกจากนี้มีกลุ่มเทคโนแครตนักวิชาการระดับ
น�าจ�านวนน้อยกลุ่มหนึ่งต้องการจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
มากกว่าเพื่อการทหาร ทั้งนักธุรกิจและนักวิชาชีพ เกรงกลัวการแบ่งขั้วสู่เผด็จ
การทหาร หรือสู่ฝ่ายซ้าย พวกเขาอยากเห็นการปฏิรูปสายกลาง
ม.ร.ว.คึก ทธิ ปราโมช พุ่งขึ้นเป็นตัวแทนของนักปฏิรูปกลุ่มนี้ เขา
เป็นราชนิกุล ซาบซึ้งกับศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมของในวัง ขณะเดียวกันจบมหา
วิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และปฏิบัติตนดั่งผู้ดีอังกฤษ เคยรับราชการแต่ลาออกมา
ท�างานธนาคาร และต่อมาท�ากิจการหนังสือพิมพ์ เขาอยู่ท่ามกลางสังคมนัก
ธุรกิจสมัยใหม่ และอวดอ้างถึงสายของบรรพบุรุษจีนด้วยความภูมิใจ เขาเดิน
ทางไปต่างจังหวัดเพราะธุรกิจของเขาและอ้างว่าเข้าใจชาวนาเป็นอย่างดี พ.ศ.
๒๕๑๗ เขาก่อตั้ง พรรคกิจสังคม มีนักธุรกิจใหญ่เข้าร่วมด้วยหลายคน

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์พอใจสังคมดั้งเดิม ไม่เห็นด้วยกับการใช้อ�านาจรัฐปรับ
เปลี่ยนสังคมแบบบนลงล่างตามแนวทางสังคมนิยม และไม่เห็นด้วยกับการ
ตีความพุทธศาสนาแบบท่านพุทธทาส (พุทธทำสภิกขุ) ซึ่งมีนัยสร้างสังคมที่มี
ความเท่าเทียมกันเป็นพื้นฐาน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ได้อภิปรายในประเด็นเหล่านี้กับ
ท่านพุทธทาสผ่านรายการวิทยุ และเขียนนวนิยายที่ประยุกต์เนื้อเรื่องมาจาก
เรื่องราวของ ดอน คำมิลโล (Don Camillo) ในชุดเรื่องสั้นจำกอิตำลี ให้ชื่อ
ภาษาไทยว่า ผแ เนื้อเรื่องเป็นความขัดแย้งระหว่างความเชื่อพื้นบ้านแนว
พุทธกับลัทธิคอมมิวนิสม์ เขาสนับสนุนการแบ่งแยกอ�านาจ ๓ ฝ่าย (บริหาร
กฎหมาย และศาล) เพื่อป้องกันการใช้อ�านาจแบบผิดๆ เขาเชื่อว่าพระมหา
กษัตริย์เปี่ยมด้วยคุณธรรมและอ�านาจตามรัฐธรรมนูญ เป็นแรงต้านเผด็จการ
ได้ชะงัดที่สุด เขาสนับสนุนให้รัฐบาลกระจายรายได้เพื่อก�าจัดความยากจน อัน
เป็นมูลเหตุให้คอมมิวนิสต์ลงหลักปักฐานได้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์และพี่ชาย (ม.ร.ว.
เสนีย์ ปราโมช) เขียนความเรียงให้ภาพสมัยสุโขทัยเป็นสังคมอุดมคติมีเสรีภาพ
ภายใต้พระบารมีของพระมหากษัตริย์ซึ่งทรงปกครองเหมือนพ่อปกครองลูก
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เป็นตัวแทนของแนวคิดที่เชื่อมโยงระหว่างนายทุนเสรีนิยมประชา
ธิปไตยน�าโดยชนชั้นน�า พระมหากษัตริย์กอปรด้วยคุณธรรมและรัฐบาลอุปถัมภ์
ซึ่งนักธุรกิจจ�านวนมากและชนชั้นกลางเมืองพอใจเป็นทางเลือกหลังเผด็จการ
ทหาร
ปลาย พ.ศ. ๒๕๑๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้ง สมัชชา
แห่งชาติ ด้วยพระองค์เอง และองค์กรนี้เลือกสภานิติบัญญัติเพื่อท�าหน้าที่รัฐสภา
ชั่วคราว และเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ร่างเสร็จ พ.ศ. ๒๕๑๗
เลียนแบบรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๔๘๙ ของนายปรีดี พนมยงค์ แต่ที่ต่างคือ มี
“วุฒิสภา” มาจากการแต่งตั้ง และมีตัวองค์กรตรวจสอบอื่นๆ
ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. ๒๕๑๘ พรรคฝ่ายซ้ายหลายพรรคได้รับ
เลือกเป็น ส.ส. ถึง ๑ ใน ๓ ที่ภาคอีสาน แต่ไม่ค่อยประสบความส�าเร็จในภาค
อื่น นายพลสนับสนุนพรรคอนุรักษนิยม เช่น พรรคชาติไทยอยู่เบื้องหลัง
นักธุรกิจและนักวิชาชีพได้เป็น ส.ส. แต่ละกลุ่มได้เสียงกลุ่มละ ๑ ใน ๓ ของ
ทั้งหมด ไม่มีพรรคใดได้เสียงข้างมาก ดังนั้น การตั้ง รัฐบาลผสม หลายพรรค
จึงยุ่งยาก ในท้ายที่สุด ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ประสบความส�าเร็จเป็นผู้น�าจัดตั้งรัฐบาล
ผสม แม้ว่า “พรรคกิจสังคม” ของเขาจะมี ส.ส. เพียง ๑๘ คนเท่านั้น

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ม.ร.ว.คึก ทธิพยายามรอมชอมกับกลุ่มต่างๆ โดยลดทอนข้อเรียกร้อง
ให้เปลี่ยนแปลงสังคมแบบถอนราก และให้โอกาสชนชั้นน�าดั้งเดิมและชนชั้น
น�าด้านธุรกิจกลุ่มใหม่ประนีประนอมระหว่างกัน เป็นพันธมิตรเพื่อการเมือง
ใหม่และเพื่อหลีกเลี่ยงการเมืองแบบสุดขั้วของสงครามเย็น
จากปี ๒๕๑๑-๒๕๑๒ สหรัฐเริ่มพ่ายแพ้ในสงครามเวียดนาม และเริ่ม
ต้นถอนตัวออกไป ประธานาธิบดีนิกสัน (Ni on) เดินทางไปปักกิ่งและตกลง
ที่จะถอนทหารออกจากเวียดนาม เริ่มแรกการเปลี่ยนแปลงนี้ หมายความว่า
บทบาทของเมืองไทยสูงขึ้นในฐานะเป็นฐานทัพที่ดูแลการถอนทหารออกของ
สหรัฐจากอินโดจีน สหรัฐย้ายทหารและเครื่องบินรบจากเวียดนามสู่ไทย ทหาร
ไทยเข้าร่วมรบที่ลาวและกัมพูชา แต่ความไม่พอใจบทบาทสหรัฐในเมืองไทย
กลับสูงขึ้น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เจรจากับสหรัฐให้ถอนทหารออกจากประเทศไทย
เขาเดินทางไปปักกิ่งเพื่อพบกับเหมาเจ๋อตุง และฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูต
กับจีนอย่างเป็นทางการ เขาไม่สนับสนุนขบวนการนักศึกษาในการจัดตั้งองค์กร
แรงงานและชาวนาชาวไร่ รัฐบาลของเขาจัดท�าโครงการเงินผัน เพื่อพัฒนาชาว
บ้านระดับรากหญ้า มีเป้าประสงค์ลดความยากจนและหยุดยั้งการแพร่ขยาย
ของลัทธิคอมมิวนิสม์
แนวทางสายกลางๆ แบบนี้ได้รับแรงหนุนอย่างกว้างขวาง แต่อยู่ไม่ได้
เพราะเกิดขบวนการฝ่ายขวาที่ใช้ความรุนแรง

ายขวา
ปฏิกิริยาจากฝ่ายขวาเริ่มขึ้นปลายปี ๒๕๑๗ และใช้เวลา ๒ ปีก่อตัว
พวกขวาจัด ายทหารได้รับการอุปถัมภ์จากสหรัฐที่ซาบซึ้งในอุดมการณ์สงคราม
เย็น (คือต้องการล้มล้างฝ่ายซ้ายให้สิ้นซาก) ไม่สามารถยอมรับแนวทางอื่นใด
นอกเสียจากความพ่ายแพ้ของกองก�าลัง พคท. พวกเขาปฏิเสธที่จะแก้ปัญหา
โดยใช้แนวทางการเมือง และกล่าวหานายทหารซึ่งสนับสนุนยุทธศาสตร์ดังกล่าว
ว่าเป็นคอมมิวนิสต์ พวกเขาตื่นตระหนกเมื่อเห็นการแพร่กระจายของอุดม
การณ์และองค์กรมวลชนที่ท้าทายสังคมในอุดมคติอันมีกองทัพเป็นผู้ก� ากับ
อย่างแข็งขัน เขาตกใจที่สหพันธ์ชาวนาชาวไร่สามารถก่อตั้งขึ้นมาได้ และที่คน

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ภาพที่ ๒ คนงำนห ิงที่โรงงำนฮำร่ำ ไม่ยอมถูกปลดจำกงำน โดยเข้ำยึดโรงงำน
และด�ำเนินกำรผลิตต่อไปภำยใต้ระบบสหกร ์ พ.ศ. ๒๕๑๗
งานนัดหยุดงานครั้งแล้วครั้งเล่า แถมยังประสบความส�าเร็จได้ขึ้นค่าจ้าง และ
ข้อเรียกร้องอื่นก็ได้รับการตอบสนอง เขาไม่พอใจเลยที่พระสงฆ์เข้าร่วมช่วย
สร้างความชอบธรรมให้กับขบวนการ แถมนักศึกษายังยอมรับแนวคิดและศัพท์
แสงของมาร์กซิสต์อย่างกว้างขวาง พวกเขากลัวว่าการประท้วงในเมืองจะโยง
กับขบวนการ พคท. ป่าล้อมเมืองและขบวนการปฏิวัติที่อินโดจีน จึงรณรงค์ให้
ทหารสหรัฐตั้งมั่นอยู่ที่เมืองไทยต่อไปอีก หรือไม่ก็มอบอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ
ให้กับกองทัพไทยเสีย ช่วง พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๑๙ กลุ่มธุรกิจ ราชส�านัก และ
ชนชั้นกลางเมืองทั่วๆ ไป ยกเลิกโครงการที่จะสถาปนาระบอบรัฐสภาประชาธิป
ไตย และพร้อมใจกันสนับสนุนให้กองทัพเข้าควบคุมสถานการณ์
ปลาย พ.ศ. ๒๕๑๗ กอ.รมน. และกระทรวงมหาดไทย สนับสนุนการ
จัดตั้งขบวนกำรนวพล รณรงค์ให้ชาวบ้านสนับสนุนกองทัพโดยอิงชาติและพระ
มหากษัตริย์เป็นสัญลักษณ์ นวพลนัดชุมนุมใหญ่ตามจังหวัดต่างๆ ในการ
ประชุมแต่ละครั้ง นวพลปลุกเร้าฝูงชนด้วยค�าถาม เช่น “พวกท่ำนรักพระบำท
สมเด็จพระเจ้ำอยู่หัวของท่ำนหรือไม่ ท่ำนรักประเทศไทยหรือไม่ ท่ำนเกลียด
คอมมิวนิสต์หรือไม่” นวพลมุ่งหาสมาชิกจากกลุ่มนักธุรกิจและข้าราชการท้องถิ่น
ครั้นปลาย พ.ศ. ๒๕๑๘ อ้างว่ามีสมาชิกประมาณ ๑ ล้านคน
เจ้าหน้าที่ของ กอ.รมน. จัดตั้งกระทิงแดง เป็นขบวนการเพื่อต่อต้าน
การลุกขึ้นสู้ของมวลชน และจาก พ.ศ. ๒๕๑๘ ชักจูงนักเรียนโรงเรียนอาชีวะ
และเยาวชนที่ตกงานเข้าร่วมในขบวนการให้ช่วยสลายการชุมนุมของนักศึกษา
และพันธมิตรโดยใช้ไม้กระบอง ปืน และปาระเบิดมือ ระหว่างเดือนเมษายน
ถึงเดือนสิงหาคม ผู้น�าของสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย ๑๗ คน ถูก
ฆาตกรรม (๓ รายถูกฆ่าเสียชีวิตไปแล้วก่อนหน้านี้) ส่งผลให้สหพันธ์ฯ ล่ม
สลาย หลังจากที่รัฐบาลคึกฤทธิ์ถอนตัวออกจากความพยายามไกล่เกลี่ยกรณี
พิพาทแรงงานอย่างเงียบๆ เมื่อคนงานนัดหยุดงานถูกปาระเบิด ถูกยิงปืนใส่
หรือถูกกลุ่มแก๊งเข้าใช้โซ่ฟาดฟัน หรือแม้แต่มีการใช้รถดับเพลิงวิ่งเข้าสู่ฝูงชน
(ดูภาพที่ ๒๕) ภายในเวลาเก้าเดือน นายจ้างเลิกจ้างคนงาน ๘,๑๐๐ คน ส่วน
ใหญ่มีสาเหตุมาจากการนัดหยุดงาน ผู้นา� คนงานหลายคนถูกจับด้วยข้อหาเป็น
“คอมมิวนิสต์”
ขบวนการลูกเสือชาวบ้าน จัดตั้งขึ้นมาโดยต�ารวจตระเวนชายแดนเมื่อ
พ.ศ. ๒๕๑๔ เพื่อคานกับขบวนการคอมมิวนิสต์ องค์กรจัดให้ชาวบ้านเข้าแคมป์

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ฟังการบรรยายแนวชาตินิยม เล่นเกมส์เป็นทีม ร้องเพลงปลุกใจให้รักชาติ เข้า
ร่วมพิธีกรรมสาบานตนแสดงความจงรักภักดี แล้วได้รางวัลเป็นผ้าผูกคอและ
เข็มกลัดพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เดือนเมษายน ปี ๒๕๑๘ ฝ่ายคอมมิวนิสต์ยึดไซ่ง่อนและพนมเปญได้
ส�าเร็จ และในวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๑๘ พระมหากษัตริย์ลาวถูกโค่นลง ท�าให้
ชนชั้นน�าและชนชั้นกลางที่กรุงเทพฯ ตื่นตระหนกเป็นอย่างยิ่ง ต้น พ.ศ. ๒๕๑๙
องค์กรลูกเสือชาวบ้านขยายกิจกรรมสู่กรุงเทพฯ และเมืองอื่นๆ จ�านวนผู้เข้า
ร่วมกิจกรรมสูงถึง ๒ ล้านคน ในจ�านวนนี้รวมทั้งนักธุรกิจ ข้าราชการ และ
ภริยาของผู้มีหน้ามีตาในสังคม ขบวนการลูกเสือชาวบ้านได้กลายเป็น “ขบวน
การของคนเมืองได้รับการสนับสนุนทั้งด้านการเงินและด้านการเมืองจากชนชั้น
สูงและชนชั้นกลางที่ตื่นตระหนก” และซึ่ง “มีแนวโน้มสู่ฟาสซิสม์” ๒๔
จากต้น พ.ศ. ๒๕๑๙ ายทหารและ ายขวากลุ่มต่างๆ โจมตีกลุ่มที่
ก�าลังพยายามสร้างประชาธิปไตยโดยใช้ความรุนแรง หนังสือพิมพ์และสถานี
วิทยุในก�ากับของ ายทหารปายสีว่ารัฐสภาเป็นอีกหนทางหนึ่งสู่ชัยชนะของ
คอมมิวนิสต์ ผู้น�ากองทัพบังคับให้ ม.ร.ว.คึก ทธิยุบสภา แทนที่จะยอมให้รับ
เอาพรรคสังคมนิยมเข้าร่วมเป็นรัฐบาล
นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ผู้พิพากษา ออกรายการโทรทัศน์ต่อต้าน
คอมมิวนิสต์เต็มที่ โดยโจมตีว่า ลัทธิคอมมิวนิสม์ ขบวนกำรนักศึกษำ และกำร
เมืองแนวก้ำวหน้ำ เป็นพันธมิตร ำยที่แยกจำกกันไม่ออก เดือนมกราคม
พระกิตติวุ โฒ พระสงฆ์ซึ่งโยงใยอยู่กับองค์กร นวพล เสนอให้รัฐบาลลาออก
และเปิดทางให้กับสภาการปฏิรูปแห่งชาติ เท่ากับเป็นข้อเสนอให้รัฐประหารจาก
ฝ่ายพระสงฆ์
เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน อาจารย์ธรรมศาสตร์
ที่เป็นหัวหน้ำพรรคสังคมนิยมถูกลอบยิงเสียชีวิต
การเลือกตั้งเมื่อเดือนเมษายน ๒๕๑๙ พรรคชำติไทยที่สนับสนุนฝ่าย
ทหาร รณรงค์ภายใต้ค�าขวัญ “ขวำพิ ำต ้ำย” ในวันเลือกตั้งนั้นมีคนถูกฆ่าตาย
ถึง ๓๐ คน และส�านักงานของพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายพรรคหนึ่งถูกปาระเบิด
จนไฟไหม้ พรรคของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์แพ้การเลือกตั้ง แต่พี่ชายคือ ม.ร.ว.เสนีย์
ปราโมช ได้เป็นนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าพรรคประชำธิปัตย์ และด�าเนิน
รอยตามนโยบายปฏิรูป ฝ่ายกองทัพและพรรคพวกพันธมิตรทางการเมือง
ด�าเนินการให้พรรคของ ม.ร.ว.เสนีย์แตกแยก

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


เดือนมิถุนายน พระกิตติวุ โฒให้สัมภาษณ์ว่า การ ่า าย ้าย…

อันนั้นอาตมาก็เห็นว่าควรจะท�า คนไทยแม้จะนับถือพุทธ
ก็ควรจะท�า แต่ก็ไม่ใช่ถือว่าเป็นการฆ่าคนเพราะว่าใครก็ตามที่ท�าลาย
ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มันไม่ใช่คนสมบูรณ์ คือต้องตั้งใจ
ว่า เราไม่ได้ฆ่าคน แต่ฆ่ามาร ซึ่งเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน...
การฆ่าคนหนึ่งเพื่อรักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ไว้ ถือว่าเป็น
บุญกุศล...เหมือนเราฆ่าปลาแกงใส่บาตรพระ ๒๕

หลังจากนั้นเมื่อถูกตั้งค�าถาม ก็ยังเสนออีกว่าเป็นความชอบธรรมที่จะ
ฆ่าคนสัก ๕๐,๐๐๐ คน เพื่อให้คนไทย ๔๒ ล้านคนมีความสุข
ฝ่ายกองทัพรณรงค์ให้ภาพว่าใครก็ตามที่เสนอให้เปลี่ยนสังคมและการ
เมืองทุกรูปแบบเป็นคอมมิวนิสต์ ไม่ใช่คนไทย และเป็นกบฏทั้งสิ้น เป็นศัตรู
ของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แม้แต่ผู้ที่พยายามอยู่กลางๆ รวมทั้งรัฐบาล
น�าโดยพรรคประชาธิปัตย์และนายทหาร และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่สนับสนุน
พรรคประชาธิปัตย์ ล้วนถูกประณามว่าเป็น “คอมมิวนิสต์” และมักจะถูกคุกคาม
ด้วยความรุนแรง
จุดจบของเกมการเมืองก็มาถึงโดยไม่ยากนัก สิงหาคม ๒๕๑๙ จอมพล
ประภาส จารุเสถียร หนึ่งใน “สำมทรรำชย์” ที่ลี้ภัยไปต่างประเทศหลังเหตุการณ์
๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เดินทางกลับประเทศไทย แต่ต้องออกจากประเทศทันที
หลังจากที่นักศึกษาเดินขบวนประท้วง และนักศึกษา ๒ คนเสียชีวิตเมื่อกลุ่ม
“กระทิงแดง” โจมตี วันที่ ๑๙ กันยายน จอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายก
รัฐมนตรี กลับประเทศไทย เข้าบวชเป็นสามเณรที่วัดบวรนิเวศ ซึ่งเป็นวัดหลวง
ส�าคัญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชด�าเนิน
ไปที่วัด อีกไม่กี่วันต่อมา คนงานสองคนที่ติดโปสเตอร์ประท้วงการกลับมาของ
จอมพลถนอมถูกแขวนคอ หนังสือพิมพ์ ำยขวำฉบับหนึ่งพิมพ์รูปถ่ายละคร
ซึ่งนักศึกษาจ�าลองขึ้น ประโคมข่าวว่าตัวละครที่แสดงตอนถูกแขวนคอ ถูกแต่ง
หน้าให้ละม้ายคล้ายสมเด็จพระบรมโอรสำธิรำช สยำมมกุ รำชกุมำร สถานี
วิทยุทหารแห่งหนึ่งออกข่าวเรียกร้องให้ประชาชนฆ่านักศึกษาที่มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ ต�ารวจตระเวนชายแดนหลายหน่วยเคลื่อนขบวนเข้ากรุงเทพฯ
พร้อมๆ กับกลุ่ม “ลูกเสือชาวบ้าน” และ “กระทิงแดง”

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ภาพที่ ๒ นักศึกษำบำดเจ็บเลือดอำบหน้ำในมหำวิทยำลัยธรรมศำสตร์
หลังจำกที่ทหำรบุกเข้ำควบคุมเมื่อวันที่ ตุลำคม ๒๕๑

เช้ารุ่งของวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ เริ่มมีการยิงจรวด ปน และมิสไ ล์


ต่อต้านรถถังเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ดูภาพที่ ๒๖) นักศึกษาที่
พยายามจะหนีออกมาถูกท�าร้ายอย่างทารุณ ถูกกระท�าช�าเราหรือถูกเผาทั้งเป็น
นอกรั้วมหาวิทยาลัย จ�านวนนักศึกษาที่ถูกฆ่าเสียชีวิตอย่างเป็นทางการมีจา� นวน
๔๓ คน ต�ารวจ ๒ คน กว่า ๓ พันคนถูกจับในวันเดียวกัน และ ๕ พันคน
ในเวลาต่อมา เย็นวันนั้นเอง ซีกหนึ่งของฝ่ายทหารก่อการรัฐประหารยึดอ�านาจ
นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ผู้ด�าเนินรายการโทรทัศน์ และผู้พิพากษาที่ต่อต้าน
คอมมิวนิสต์ได้รับแต่งตั้งเป็นนำยกรัฐมนตรี ประกาศว่า ประเทศต้องใช้เวลำ
อีก ๑๒ ปีกว่ำจะร่ำงรัฐธรรมนู และหวนกลับสู่ระบอบประชำธิปไตยอีกครั้ง
หนังสือ ำย ้ำยถูกห้ำมและถูกเผำ วำรสำรแนวก้ำวหน้ำถูกปด ส�ำนักพิมพ์ถูก
คุกคำม และห้ำมกำรชุมนุมทำงกำรเมือง
เนื่องจากการปราบปรามฝ่ายซ้ายโดยใช้ความรุนแรงได้ด� าเนินมาเป็น
เวลา ๑๘ เดือนก่อนหน้านี้แล้ว นักเคลื่อนไหวฝ่ายคนงานและชาวนาหลายคน
ได้เข้าร่วมขบวนการกับ พคท.ที่ในป่ามาก่อนแล้ว หลังเหตุการณ์ ๖ ตุลา ๒๕๑๙
อีก ๓ พันกว่าคนเข้าร่วมขบวนการ พคท. ด้วยเหตุผลที่หลากหลาย ทั้งที่เป็น

  คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


เรื่องความคิดทางการเมืองและเพื่อความปลอดภัยของตัวเอง และมีคนที่เดิน
ทางหนีไปต่างประเทศอีกจ�านวนหนึ่ง

ทางออก
ฝ่ายกองทัพและพรรคพวกที่เป็นพันธมิตรกัน ได้ใช้กระสุนปืนและ
บอมบ์เข้าปราบปรามขบวนการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากอย่างราบคาบ เหตุ
การณ์รุนแรงเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นจุด
จบที่น่าขนพองสยองเกล้า ส่งผลสะเทือนต่อสังคมอย่างรุนแรง จึงเป็นจุดเริ่ม
ของ “สิ่งใหม่” อีกด้วย
สหรัฐแพ้สงครามที่อินโดจีน นี่ไม่ใช่เพียงการพ่ายแพ้สงครามกองโจร
ในสนามรบเท่านั้น ยังพ่ายแพ้กับผู้ต่อต้านสงครามที่สหรัฐและที่อื่นๆ ทั่วโลก
อีกด้วย ช่วง พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๑๙ สหรัฐถอนกองทหารออกจากเมืองไทย ได้
ให้เงินความช่วยเหลือด้านการทหารก้อนใหญ่แก่ไทย และยังคงให้เงินอุดหนุน
ต่อเนื่องมาอีกหลายปี แม้จะเป็นจ�านวนเงินที่ลดลงแต่กองทัพไทยตั้งตัวได้แล้ว
เนื่องจากสามารถควบคุมอ�านาจรัฐไว้ได้ในก�ามือ กองทัพจึงเพิ่มงบทหารในงบ
ประมาณประจ�าปีถึง ๓ เท่าตัวในช่วง ๖ ปีต่อมา ด้วยข้ออ้างที่ว่าต้องป้องกัน
ประเทศจากคอมมิวนิสต์ที่อินโดจีน แต่ในความเป็นจริงไม่เคยต้องท�าสงคราม
กับประเทศใดเลยอย่างที่กลัวเกรงกัน ผลของการได้รับการอุปถัมภ์ค�้าจุนจาก
สหรัฐอย่างถึงลูกถึงคน เพื่อให้ช่วยต่อต้านคอมมิวนิสต์ ท�าให้กองทัพไทยมี
แสนยานุภาพสูง มีการคอร์รัปชั่นสูง กองทัพใหญ่เกินความจ�าเป็น แตกออก
เป็นกลุ่มเป็นเหล่าภายใน และน�าตัวเองเข้ามีบทบาททางการเมืองการปกครอง
เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างอ�านาจส�าคัญ ช่วง ๑๐ ปีต่อมา
กลุ่มต่างๆ ภายในกองทัพแก่งแย่งกันเข้าถึงอ�านาจทางการเมืองเพื่อ
แสวงหารายได้และแก่งแย่งกันส่งอิทธิพลต่อแนวทางของนโยบาย ระหว่างปี
๒๕๒๐-๒๕๒๓ มีรัฐประหารอีก ๓ ครั้ง ล้มเหลวครั้งหนึ่ง (พ.ศ. ๒๕๒๐) อีก
๒ ครั้งนั้น “นำยพล” ได้เป็นนายกรัฐมนตรีทั้งสองครั้ง แม้ว่าฝายกองทัพจะ
โฆษณาชวนเชื่อว่าพวกเขาคือความมั่นคงของประเทศ แต่รัฐบาลทหารก็ไม่ใช่
รากฐานของการเมืองที่มีเสถียรภาพแต่อย่างใด

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย  
ภาพที่ ๒ ผู้สนับสนุน พคท. ในพิธีมอบอำวุธให้กับกองทัพไทย
ที่อุ้มผำง ธันวำคม ๒๕๒๕

นิสิตนักศึกษาที่ “เข้าปา” เพื่อหนีจากเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙


เพิ่มจ�านวนกองก�าลังฝ่าย พคท. สูงสุดถึงระดับ ๑ หมื่นคนในปี ๒๕๒๒ การ
ปะทะกันกับเจ้าหน้าที่ก็เพิ่มขึ้นจนมีการล้มตายกันโดยเฉลี่ยปีละ ๑,๐๐๐ คน
ระหว่างปี ๒๕๒๐-๒๕๒๒ แต่นักศึกษาที่เข้าป่าอึดอัดใจที่ต้องอยู่ใต้ข้อก� าหนด
ของ พคท. เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ผู้น�านักศึกษาที่เข้าป่าบ่นว่า “ควำมขัดแย้ง
ระหว่ำงผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครองเริ่มปะทุขึ้นอีก ทว่ำครั้งนี้มันขึ้นในปำไพร
ปั หำเสรีภำพและประชำธิปไตยระอุลำมไปทั่วทุกขุนเขำ” ๒๖ นักศึกษาซึ่งมี
ประสบการณ์ต่อสู้กับทหารและชนชั้นกลางในเมืองแล้ว ไม่แน่ใจว่ายุทธศาสตร์
“ปาล้อมเมือง” ของ พคท. ตามแนวทางของเหมาเจ๋อตุงจะประสบความส�าเร็จ
ในเมืองไทย นอกจากนั้นมีข่าวว่าในการปฏิวัติตามแนวของเหมาโดย “เขมร
แดง” ที่กัมพูชาจนมีการฆ่าคนเป็นจ�านวนมาก ยิ่งท�าให้พวกนักศึกษาไม่เห็น
ด้วยกับยุทธศาสตร์นี้
พ.ศ. ๒๕๒๑-๒๕๒๒ รัฐบาลคอมมิวนิสต์ของเอเชียทะเลาะกันเอง
เวียดนามรุกเข้ายึดกัมพูชา และจีนตอบโต้โดยเข้าโจมตีเวียดนาม พคท.แตก
ออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ ายที่สนับสนุนเวียดนาม และ ายที่สนับสนุนจีน การ
แตกคอกั น นี้ ท� า ให้ เ งิ น อุ ด หนุ น และการส่ ง กองเสบี ย งให้ พคท. จากจี น และ
เวียดนามมีปัญหาติดขัด วิทยุเสียงประชาชน แห่งประเทศไทยที่จีนสนับสนุนอยู่
ที่คุนหมิงถูกปิดลง

  คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ภายใต้สภาพดังกล่าว ฝ่ายพลเรือนและทหารกลับมาสนับสนุน แนว
ทางแก้ปัญหาการเมืองไทยในแนวทางสายกลาง ซึ่งล้มเหลวไปในช่วงปี ๒๕๑๗-
๒๕๑๙ รัฐบาลน�าโดย นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่าง
สุดขั้วจนสร้างความอึดอัดไปทั่ว อยู่ได้เพียง ๑ ปีก็เกิดรัฐประหาร ท�าให้แผน
การร่างรัฐธรรมนูญที่ก�าหนดไว้ถึง ๑๒ ปีร่นระยะเวลาลงมา รัฐบาลใหม่น�าโดย
พลเอกเกรียงศักดิ ชมะนันทน์ หวนกลับมาใช้นโยบายแนวเดียวกับ ม.ร.ว.
คึกฤทธิ์ ปราโมช คือสร้างสัมพันธไมตรีทางการทูตกับจีน และเจรจาต่อรองเพื่อ
ให้จีนถอนการสนับสนุน พคท. เสีย ภายในกองทัพเองนั้น กลุ่มที่สนับสนุน
ให้ใช้ยุทธวิธีทางการเมือง ผนวกกับยุทธวิธีทางการทหารแก้ปัญหาการซุ่มโจมตี
จาก พคท. เป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลสูง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งได้ใช้ยุทธ
ศาสตร์ดังกล่าวจนประสบความส�าเร็จที่อีสานแล้ว ขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารบก
ควบกับรัฐมนตรีกลาโหมในปี ๒๕๒๒ และขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในปี ๒๕๒๓
ด้วยความช่วยเหลือจาก A อย่างต่อเนื่อง รัฐบาลไทยอุดหนุน
ด้านการพัฒนาชนบทอย่างมากมาย ขณะที่กองทัพไทยเข้าจู่โจมซุ่มโจมตีฐาน
ที่มั่นที่เหลือของ พคท. และเสนอการ “นิรโทษกรรม” ให้กับผู้ท่ียอมมอบตัว
นักศึกษาส่วนใหญ่จึงออกจากป่าระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๒ ถึงปี ๒๕๒๔ ส�าหรับ
กองก�าลังของ พคท.เองก็ออกมามอบตัวและมอบอาวุธให้กับรัฐบาลไทยระหว่าง
ปี ๒๕๒๕ และ ๒๕๒๖ (ภาพที่ ๒๗) หลังจากที่ขาดผู้อุปถัมภ์ (จีนและเวียด
นาม) สมาชิกพรรคที่เหลือถูกจับกุมเมื่อพยายามที่จะประชุมใหญ่พรรคใน พ.ศ.
๒๕๓๐ สงครามประชาชนจึงอวสาน

สรุป
กลางทศวรรษ ๒๔๘๐ ในบรรดาขุนนางดั้งเดิม ข้าราชการใหญ่ นายพล
และนักธุรกิจใหม่ๆ ผู้เป็นองค์ประกอบหลักของชนชั้นน�ากลุ่มแคบๆ ในสังคม
ไทย มีความคาดหวังต่อรัฐชาติหรืออุดมการณ์แตกออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่ง
หวังจะมีชาติที่มีมิติความหลากหลาย เสรีนิยม ยุติธรรม มีความเสมอภาค ภาย
ใต้หลักการนิติรัฐ (ทุกคนอยู่ใต้กฎหมายอันเดียวกัน) รัฐธรรมนูญ และการมี
ผู้แทนในระบอบประชาธิปไตย อีกฝ่ายหนึ่งต้องการคงไว้ซึ่งรัฐอุปถัมภ์ที่มี
หน้าที่ปกป้อง สร้างวินัย และให้การศึกษาอบรมแก่พลเมืองภายใต้ระบบโครง

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย  
สร้างสังคมที่มีการแบ่งชนชั้นเป็นผู้ใหญ่ผู้น้อยชัดเจน
ช่วง ๓ ทศวรรษต่อมา ภายใต้บริบทของความขัดแย้งกันระหว่างโลก
เสรีนิยม และโลกคอมมิวนิสต์ที่ท�าสงครามเย็นกันอยู่ ความมุ่งหวังของทั้งสอง
ฝ่ายนี้ถูกกลืนและบดบังไป การที่สหรัฐอุปถัมภ์เมืองไทยอย่างเต็มที่ ช่วยเร่ง
อัตราการพัฒนาสู่เศรษฐกิจทุนนิยม ช่วยท�าให้รัฐบาลเผด็จการทหารแข็งแกร่ง
ช่วยฟื้นฟูบทบาทของพระมหากษัตริย์ อีกทั้งช่วยขยายบทบาทของรัฐในการ
ควบคุมสังคมมากขึ้นกว่าเดิม
การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคมที่ตามมาอย่างเร่งเร้า กอปรกับ
การแพร่ขยายของลัทธิมาร์กซิสม์ กระตุ้นให้นักวิชาการ นักศึกษา ชาวนา คน
งาน และชุมชนชนบทชายขอบ ร่วมกันต่อต้านระบบทุนนิยม จักรวรรดินิยม
โดยอเมริกา และเผด็จการทหาร
ครั้นกลางทศวรรษ ๒๕๑๐ นักธุรกิจและเทคโนแครตจ�านวนหนึ่งเริ่ม
หาหนทางหลีกหนีออกจากภาวะการประชันกันแบบสุดขั้วระหว่างเผด็จการด้าน
หนึ่งกับฝ่ายคอมมิวนิสต์อีกด้านหนึ่ง ม.ร.ว.คึก ทธิเสนอสูตรใหม่ว่าด้วยทุน
นิยมเสรีนิยม ประชาธิปไตยแบบจ�ากัด และรัฐบาลอุปถัมภ์ที่ยึดโยงเข้าด้วย
กันด้วยคุณธรรมของพระมหากษัตริย์ แต่ปลอดจากการอุปถัมภ์ของทั้งสหรัฐ
และจากเผด็จการทหาร วิสัยทัศน์นี้ถูกกดเอาไว้ในช่วงที่มีการปะทะกันระหว่าง
ปี ๒๕๑๘-๒๕๑๙ แต่ผุดขึ้นมาใหม่อีกหลังจากการตกตะลึงกับเหตุการณ์
รุนแรงเมื่อ ๖ ตุลา ๒๕๑๙ วิสัยทัศน์นี้ได้กลายเป็นแนวทางน�าอนาคตหลัง
จากนั้น
ความหวังสู่สังคมอุดมคติของขบวนการนักศึกษา เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๖
ล่มสลายไป เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ออกจากป่าในปี ๒๕๓๑ และประกาศว่า
ตัวเองคือ “สิ่งช�ำรุดทำงประวัติศำสตร์” ๒๗ แต่คนที่เข้าร่วมกับขบวนการนัก
ศึกษายังมีบทบาทส่งผลสะเทือนต่อสังคมอีกหลาย ๑๐ ปีต่อมา หลังจากที่
พวกเขาประสบความส�าเร็จในการโค่นล้มเผด็จการทหาร (๑๔ ตุลา ๒๕๑๖)
และได้เข้าร่วมขบวนการ พคท. พวกเขาไม่ล่มสลายไป แต่ได้รับกลับเข้าสู่สังคม
และสามารถจะปรับฐานะของตัวเองไต่เต้าขึ้นไปตามขั้นบันไดสังคมถึงระดับ
ชนชั้นน�า บ้างมีผลงานด้านวิชาการที่มีเนื้อหาท้าทาย และฉีกแนวออกไปจาก
งานเขียนงานวิเคราะห์สังคมการเมืองไทยตามแนวทางของนักวิชาการอเมริกัน
บ้างก็มีผลงานเป็นเพลง เรื่องสั้น สังคมวิทยาแนววิพากษ์ และผลงานด้าน
วัฒนธรรมอื่นๆ ที่สร้างกระแสปลุกเร้าประชาธิปไตย ความเป็นธรรมในสังคม

  คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ความเมตตาเพื่อนมนุษย์ตามแนวทางพุทธที่ได้แพร่กระจายไปในสังคมไทย
อย่างกว้างขวาง ในบรรดา “เพลงเพื่อชีวิต” ซึ่งวงดนตรี เช่น “คาราวาน”
“กรรมาชน” ได้ปลุกเร้าการเดินขบวนของนักศึกษาและการเข้าสู่ป่า เพลง คน
กับควำย ที่มีชื่อเสียงมากของวงคาราวาน แสดงความหวังที่จะมีสังคมที่ดีขึ้น

คนก็คนท�านาประสาคน คนกับควายท�านาประสาควาย
คนกับควายความหมายมันลึกล�้า ลึกล�้าท�านามาเนิ่นนาน แข็งขัน
การงานมาเนิ่นนาน ส�าราญเรื่อยมาพอสุขใจ ไปเถิดไปพวกเราไป
เถิด ไป ไปเถิด ไปแบกไถไปท�า นา ยากจนหม่ น หมองมานานนัก
นานนักน�้าตามันตกใน ยากแค้นล�าเค็ญในหัวใจ ร้อนรุ่มเพียงใด
ไม่หวั่นเกรง เป็นบทเพลงเสียงเพลงแห่งความตาย ความเป็นคน
สลายลงไปพลัน กฎุมพีกินแรงแบ่งชนชั้น ชนชั้นชาวนาจึงต�่ าลง
เหยียดหยามชาวนาว่าป่าดง ส�าคัญมั่นคงคือความตาย

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย  
ลกา ิวัตน์ ละสังคมมวลชน
สงครามเย็นทีเ่ อเชียผ่อนคลายลงหลังจากทีส่ หรัฐถอนตัวออกจากอินโดจีน
(พ.ศ. ๒๕๑๘) สหรัฐยังคงค�้าจุนรัฐบาลไทยด้านการทหาร แต่ความสัมพันธ์
เหินห่างลง ในระดับโลกกระแสสังคมนิยมตกต�่า ส่งผลให้เมืองไทยพัฒนาไป
สู่ระบบตลาดตามแนวทางเสรีนิยมต่อไปอย่างแข็งขัน ช่วงแรกที่อเมริกาถอน
ตัวออกไปจากภูมิภาค เมืองไทยต้องปรับตัวอยู่บ้าง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและ
การเมือง (เงินความช่วยเหลือและเงินค่าใช้จ่ายด้านการทหารลดลงฮวบฮาบ)
แต่ต่อมาก็ฟื้นตัวได้เมื่อ “ญี่ปุ น” และประเทศกลุ่ม “เสือเอเชีย” (สิงคโปร์
ไต้หวัน ฮ่องกง เกาหลีใต้) เฟื่องฟูและหันมาลงทุนในประเทศเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้มากขึ้น การเปิดเสรีด้านการค้าตามด้วยการเงิน ส่งผลให้อุตสาหกรรม
และความเป็นเมืองขยายตัวต่อไปในอัตราเร่งเร้า และเป็นตัวผนึกเศรษฐกิจไทย
ให้โยงเข้ากับเศรษฐกิจโลกแนบแน่นยิ่งขึ้นไปอีก การสิ้นสุดของสงครามเย็น
ยังส่งผลบวกโดยประเทศเพื่อนบ้านที่เคยท�าสงครามกันกลับกลายเป็น “ตลาด”
ส�าหรับระบายสินค้าไทย และเป็นแหล่งที่มาของแรงงานและทรัพยากรธรรมชาติ
เพื่อการอุตสาหกรรม
ต้นทศวรรษ ๒๕๓๐ หลังจากที่ “จีน” กบดานอยู่กว่า ๔๐ ป ก็กลับ
ผงาดขึ้นเป็นมังกรเศรษฐกิจที่มีอนาคตไกล มีความส� าคัญต่อเศรษฐกิจไทย
และที่ทางของเมืองไทยในประชาคมโลกเป็นอย่างยิ่ง
เศรษฐกิจไทยเปลี่ยนแปลงไปในอัตราที่สูงขึ้นในช่วงทศวรรษ ๒๕๑๐
ถึงทศวรรษ ๒๕๔๐ บทบาทของภาคชนบทลดลง ขณะที่เมืองพุ่งขึ้น เศรษฐกิจ
และสังคมโดยรวมเปิดรับกับภายนอกหรือผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโลกาภิวัตน์
มากขึ้น ชาวนาลดความส�าคัญลงอย่างเห็นได้ชัดเจน ทั้งในระบบเศรษฐกิจและ
วัฒนธรรมระดับชาติ พลวัตและพลังต่างๆ ของสังคมกระจุกตัวอยู่ทเี่ มืองทัง้ สิน้

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
กรุงเทพฯ ยังเป็นเมืองใหญ่ที่สุด มีประชากรกว่า ๑๐ ล้านคน และได้
สมญาว่า “เมืองโตเดี่ยวให ่สุดของโลก” เมื่อเปรียบเทียบกับเมืองใหญ่รอง
ลงมาในเมืองไทยคือโคราช กรุงเทพฯ มีประชากรมากกว่าถึง ๔๐ เท่า ธุรกิจ
เจริญรุ่งเรือง ชนชั้นกลางเพิ่มจ�านวนและส�าแดงบทบาทส�าคัญของกลุ่มตนเอง
ชัดเจนมากขึ้น ชาวชนบทจ�านวนมากถูกดึงออกจากหมู่บ้านห่างไกล เข้ามา
ท�างานรับจ้างที่กรุงเทพฯ ท�าให้ชนชั้นคนงานเพิ่มขึ้นมาก นอกจากนั้น การ
ศึกษาที่สูงขึ้น การคมนาคมที่รวดเร็วขึ้น และการขยายตัวของสื่อมวลชนได้
ก่นสร้างสังคมมวลชนใหม่ขึ้นมา เป็นสังคมประกอบด้วยผู้คนที่หลากหลาย
จึงเกิดค�าถามใหม่ที่ท้าทายวาทกรรมว่าด้วย “ชาติไทย” ของทางการ

เศรษ กิจเมองเ อง ู
ช่วง ๒๕ ปี นับแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๔๐ มีการเปลี่ยนแปลงด้านประ
ชากรที่ส�าคัญ อัตราการเกิดลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะการคุมก�าเนิดที่ได้ผล
เพราะว่าคนมีฐานะดีขึ้น และเพราะว่าคนหนุ่มสาวเลื่อนการมีลูกออกไปเพื่อ
เรียนต่อหรือเพื่อตั้งเนื้อตั้งตัวให้ได้เสียก่อน ดังนั้น อัตราการเพิ่มของประชากร
จึงลดลงจากร้อยละ ๓ ต่อปี เมื่อทศวรรษ ๒๔๙๐ เหลือเพียงร้อยละ ๑ ต่อปี
เมื่อทศวรรษ ๒๕๓๐ อย่างไรก็ตาม จ�านวนคนในวัยท�างานเพิ่มขึ้นสูงสุดเมื่อ
ทศวรรษ ๒๕๑๐ และ ๒๕๒๐ เพราะเกิดตั้งแต่สมัยทศวรรษก่อนหน้าขณะ
อัตราการเกิดยังสูงอยู่
ณ ช่วงเวลา ๒๕ ปีดังกล่าว เศรษฐกิจเมืองพัฒนารุดหน้าไปกว่าก่อน
มาก มูลค่าของผลิตภัณ ์มวลรวมประชาชาติ เพิ่มขึ้น ๕ เท่า และ
GDP ต่อหัวเพิ่มขึ้น ๓ เท่า (แผนภาพที่ ๒) ส�าหรับก�าลังแรงงานทั้งหมดของ
ประเทศนั้น ประมาณ ๑ ใน ๔ อพยพมาจากภาคเกษตร จ�านวนของประชากร
กรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นกว่า ๓ เท่า (จาก ๓ ล้านเป็นกว่า ๑๐ ล้าน) พ.ศ. ๒๕๑๘
กรุงเทพฯ มีตึกสูงเพียง ๒ แห่งท่ามกลางตึกแถวจ�านวนมหาศาล แต่เมื่อถึง
ปลายทศวรรษ ๒๕๓๐ นักธุรกิจใฝ่ฝันว่าจะสร้างตึกสูงที่สุดของโลกยังใจกลาง
กรุงเทพฯ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


)
พันบาท (ตามราคาปี

แผนภาพที่ ๒ รำยได้ต่อหัวตำมรำคำจริง พ.ศ. ๒๔ ๔-๒๕๕๕

เริ่มแรกการพุ่งขึ้นของเมืองเป็นไปอย่างช้าๆ “เหตุการณ์ ๑๔ ตุลา


๑๖” และ “๖ ตุลา ๑๙” ท�าให้การลงทุนทั้งในและจากต่างประเทศหยุดชะงัก
ลง หลังตุลาคม ๒๕๑๙ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรีขณะนั้นคาด
หวังว่าเมื่อการเมืองมีเสถียรภาพขึ้น นักลงทุนจากต่างประเทศจะแห่กันมาลงทุน
อีก บอกว่า “ผมมีวิสัยทรรศน์ เป็นเงินดอลลำร์ เงินมำร์คเยอรมัน...ล้วนไหล
เข้ำเมืองไทยเป็นล้ำนเป็นแสน” ๑ แต่จริงๆ แล้วเงินดอลลาร์กลับไหลออก
เพราะว่าสหรัฐถอนฐานทัพออกไป บริษัทอเมริกันจ�านวนมากเกรงว่าเมืองไทย
จะตกเป็นคอมมิวนิสต์จึงยังปิดกิจการในไทย นอกจากนั้นแล้ว “นายพล” ที่
เข้ามาเป็นใหญ่ในรัฐบาลขณะนั้นยังมีทีท่าเป็นปฏิปักษ์กับฝ่ายธุรกิจเอกชนอยู่
เห็นได้จากการที่มีนายทหารเสนอว่า ระบบนายทุนของไทยขาดการควบคุมและ
เอาเปรียบสูง จึงผลักไสให้ผู้คนหันไปฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสม์ (ดูบทต่อไป)
แม้ว่าดอลลาร์สหรัฐจะไหลออก แต่เงินเยนกลับไหลเข้า ญี่ปุ่นเข้ามา
ลงทุนที่เมืองไทยตั้งแต่ราวๆ พ.ศ. ๒๕๐๕ ครั้นทศวรรษ ๒๕๒๐ เงินลงทุน
จากญี่ปุ่นสูงกว่าจากสหรัฐเกือบ ๓ เท่า ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในกิจการประ
กอบรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า นอกจากนั้นก็ยังมีการลงทุนในอุตสาหกรรม
ที่ใช้แรงงานเข้มข้นโดยเฉพาะสิ่งทอ ทั้งเพื่อขายในเมืองไทยเองและเพื่อส่งออก
ทศวรรษ ๒๕๒๐ จึงได้เห็นสินค้ายี่ห้อญี่ปุ่นตามร้านสรรพสินค้าทั่วไปแทนที่จะ
เป็นยี่ห้ออเมริกัน ดังที่มีนักกวีแต่งกลอนเสียดสีเอาไว้ว่า

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
เช้าตื่นขึ้นมารีบคว้าก่อน
ไวท์ไลอ้อน สีฟันมันหนักหนา
เนชั่นแนล หม้อหุงปรุงน�้าชา
แต่ผมทาน�้ามันชื่อ ตันโจ

นุ่งผ้าไทยโทเรเทโตร่อน
ครั้นถึงตอนออกไปคาด ไ โก้
ข่าวประชาสัมพันธ์ฟัง ันโย
เอารถ โตโยต้า ขับไปรับแฟน๒

การล้อเลียนเสียดสีแบบนี้ก็มี แต่ไม่มีการเดินขบวนประท้วงต่อต้าน
เหมือนที่นักศึกษาเคยเดินขบวนต่อต้านสินค้าญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ หรือการ
ประท้วงนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น (ทานากะ) ที่มาเยือนไทยในปี ๒๕๑๘ ทศวรรษ
๒๕๒๐ รัฐบาลญี่ปุ่นปรับปรุงภาพพจน์ของตัวเองในเมืองไทย โดยลงทุนด้าน
วัฒนธรรม เช่น สนับสนุนให้นักศึกษา นักวิชาการ สื่อ มีโอกาสไปรู้จักสังคม
ญี่ปุ่น เพื่อให้คนไทยยอมรับญี่ปุ่นมากขึ้น บริษัทญี่ปุ่นซึ่งเข้ามาลงทุนเลือกหุ้น
ส่วนไทยที่เป็นเจ้าของบริษัทขนาดใหญ่ และยินยอมให้หุ้นส่วนคนไทยบริหาร
ด้านการตลาด การท�าสัญญากับรัฐบาล และการประชาสัมพันธ์
การร่วมทุนท�าธุรกิจกับบริษัทญี่ปุ่น ช่วยเพิ่มความเข้มแข็งให้กับธุรกิจ
ระดับน�าของไทย เมื่อระบอบประชาธิปไตยหวนกลับมาอีกครั้งหนึ่งหลัง พ.ศ.
๒๕๒๐ นักธุรกิจระดับแนวหน้าของไทยก็ได้เข้าร่วมก่อตั้ง “พรรคการเมือง”
บ้างก็สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง หรือพยายามกดดันให้เกิดนโยบายที่เอื้อธุรกิจ
พ.ศ. ๒๕๒๓ บุ ญ ชู โรจนเสถี ย ร อดี ต ประธานกรรมการใหญ่ ข องธนาคาร
กรุงเทพ ขณะนั้นด�ารงต�าแหน่งรองนำยกรัฐมนตรีดูแลด้านนโยบายเศรษฐกิจ
เสนอให้รัฐบาลและนักธุรกิจร่วมมือกันสร้าง “บรรษัทประเทศไทย”๓ ตามแบบ
อย่างหนังสือชื่อ apan Inc. ว่าด้วยความส�าเร็จของเศรษฐกิจญี่ปุ่น บุญชู
ต้องการให้รัฐบาลบริหารจัดการประเทศไทยเสมือนเป็นบริษัทธุรกิจแห่งหนึ่ง
ความพยายามนี้ล้มเหลว แต่ผู้น�าด้านธุรกิจก็ได้ชักจูงให้รัฐบาลด�าเนินนโยบาย
เศรษฐกิจไปในแนวทางที่เอื้อกับวิสาหกิจเอกชน โดยส่งแรงกดดันผ่านสมาคม
อุตสาหกรรม หอการค้า และสมาคมธนาคาร พ.ศ. ๒๕๒๔ รัฐบาลก่อตั้งคณะ
กรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน ก.ร.อ. เพื่อให้เกิดการประสานงานกันระหว่าง

  คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


คณะกรรมการจากสมาคมต่างๆ เหล่านี้กับรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ผู้น�าธุรกิจ
ได้ใช้ลู่ทางนี้ลดปัญหาความล่าช้าในการท�างานของภาคราชการ และลดทอน
กฎเกณฑ์ที่เป็นขีดจ�ากัดต่อการด�าเนินธุรกิจ รวมทั้งปัญหาการคอร์รัปชั่น กลุ่ม
นักธุรกิจเริ่มที่จะแสวงหาอิทธิพลทางการเมืองเพื่อให้สอดคล้องกับอ�านาจทาง
เศรษฐกิจของพวกเขาที่เพิ่มพูนขึ้น
บุ ญ ชู มี แ ผนให้ เ มื อ งไทยด� า เนิ น รอยตามแนวทางของญี่ ปุ ่ น และเสื อ
เศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ ฮ่องกง) โดยให้ไทย
ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อส่งออก ตั้งแต่ต้นทศวรรษ ๒๕๑๐ เทคโนแครต
เขียนยุทธศาสตร์ดังกล่าวลงในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (แผน ๕ ปี)
อย่างไรก็ตาม ความหวังนี้ต้องรออีกสักพัก ตราบเท่าที่เกษตรส่งออกและการ
ปกป้องอุตสาหกรรมภายใน (แม้จะมีไม่มาก) ยังคงสร้างความเติบโตทางเศรษฐ
กิจ กลุ่มนักธุรกิจไทยที่ได้ประโยชน์จากนโยบายเหล่านี้ยังไม่อยากให้รัฐบาล
เปลี่ยนนโยบาย และถึงแม้ว่าธนำคำรโลกจะเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปรับโครง
สร้างอุตสาหกรรมสู่การส่งออก เพื่อแลกกับการที่จะอนุมัติเงินกู้ให้เมื่อกลาง
ศตวรรษ ๒๕๒๐ ก็ตามที ในทางปฏิบัติยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก การ
ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึน้ บ้าง แต่อัตราเพิ่มไม่สูง
การเปลี่ยนนโยบายเกิดขึ้นหลังจากที่เผชิญกับวิกฤต เริ่มที่รายได้จาก
การส่งสินค้าออกเกษตรชะลอตัวลง พร้อมๆ กับที่เงินอุดหนุนจากสหรัฐเริ่ม
หดหาย ตามด้วยวิกฤตราคาน�้ามันพุ่ง พ.ศ. ๒๕๒๓-๒๕๒๔ ที่เพิ่มต้นทุนการ
น�าเข้ าน�้ามัน ขั้นแรกรัฐบาลพยายามชะลอผลลบโดยตรึงราคาน�้ามันเอาไว้
ทั้งนี้รัฐเข้าอุดหนุนบางส่วน พร้อมกันพยายามเพิ่มเงินรายได้จากเงินตราต่าง
ประเทศด้วยการเพิ่มนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ และการส่งคนงานไทยไป
ท�างานที่ตะวันออกกลาง แต่ก็ไม่เพียงพอ พ.ศ. ๒๕๒๖-๒๕๒๗ เศรษฐกิจไทย
ถดถอย ลูกหนี้หยุดจ่ายเงินคืนธนาคาร ธนาคารแห่งหนึ่งล้ม รัฐบาลต้องเข้า
ค�้าจุน ธนาคารอีกแห่งหนึ่งและบริษัทเงินทุนหลายแห่งเผชิญปัญหา กระทรวง
การคลังขาดเงินที่จะจ่ายคืนดอกเบี้ยและเงินต้นให้กับเจ้าหนี้ต่างประเทศตาม
ก�าหนด
เทคโนแครตและนักธุรกิจที่สนับสนุนการปฏิรูปนโยบายสู่การส่งออก
สินค้าอุตสาหกรรม ฉวยโอกาสปรับยุทธศาสตร์ทันที เดือนพ ศจิกายน พ.ศ.
๒๕๒๗ รัฐบาลไทยลดค่าเงินบาทถึงร้อยละ ๑๔.๗ ผู้บัญชาการทหารบกออก
รายการโทรทัศน์เรียกร้องให้รัฐบาลกลับล�า แต่เทคโนแครตต้านทานได้ส�าเร็จ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย  
นักธุรกิจระดับน�าสนับสนุนการเปลี่ยนยุทธศาสตร์ รัฐบาลเริ่มจะปรับเปลี่ยน
“ระบบภาษี” และด�าเนินมาตรการส่งเสริมการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อ
ส่งออก
ปัจจัยภายนอกประการหนึ่งที่ท�าให้การปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์เป็นไป
ได้อย่างสมบูรณ์คือ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ สหรัฐและญี่ปุ่นประชุมกัน
เพื่อแก้ปัญหาความวุ่นวายในตลาดการค้าเงินตราต่างประเทศของโลก ภายหลัง
จากที่โลกเผชิญกับวิกฤตราคาน�้ามันพุ่งขึ้นอย่างพรวดพราด การประชุมกัน
ครั้งนั้นน�าไปสู่การตกลงที่รู้จักกันว่า la a A ords โดยญี่ปุ่นยอมปล่อยให้
ค่าเงินเยนเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเงิน ดอลลำร์สหรัฐและเงินสกุลอื่นๆ ที่
โยงกับเงินดอลลาร์ เช่น เงินบำท อีก ๔ ปีต่อมาค่าเงินบาทในรูปของเงินเยน
ลดลงครึ่งหนึ่ง ท�าให้มูลค่าสินค้าออกจากไทยสู่ญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นถึง ๓ เท่า ไทยจึง
เข้าร่วมขบวนแบบจ�าลองเอเชีย (Asian model) เป็นเศรษฐกิจส่งออกสินค้า
อุตสาหกรรมอีกรายหนึ่ง
บริษัท เอกชนของไทยและที่ร ่ ว มทุ น กับ ต่ า งชาติใ นขณะนั้น เป็ น กลุ ่ ม
แรกๆ ที่ได้ประโยชน์จากสถานการณ์ใหม่ ธนาคารและบริษัทเงินทุนยินดีที่จะ
ให้บริษัทเหล่านี้กู้เงินเพื่อขยายการลงทุน สินค้าออกของไทยเพิ่มขึ้นในอัตรา
ร้อยละ ๒๔ ต่อปี นับจาก พ.ศ. ๒๕๒๗-๒๕๓๒ มีเสื้อผ้าส�าเร็จรูป ของเด็กเล่น
กระเปา ดอกไม้ประดิษฐ์ และสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นอื่นๆ เป็นตัวน�า
ต่อมาบริษัทในญี่ปุ่นต้อง “หนีจำกค่ำเยนสูง” (ค�าขวัญที่ญี่ปุ่นในขณะ
นั้น) เพราะว่าค่าเงินเยนสูงท�าให้สินค้าผลิตที่ญี่ปุ่นแพงขึ้นในตลาดโลก ต้อง
ย้ายฐานการผลิตออกจากญี่ปุ่นไปยังที่ที่มีต้นทุนต�่ากว่า จึงแห่กันเข้ามาลงทุน
ในไทยและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคด้วย อีกไม่นานบริษัทจากไต้หวัน ฮ่องกง
เกาหลีใต้ก็เผชิญภาวะค่าเงินสูงด้วย จึงเข้ามาลงทุนอีกระลอกหนึ่ง จาก พ.ศ.
๒๕๓๑ เงินลงทุนทางตรงจากประเทศเอเชียตะวันออกเหล่านี้ไหลสู่เมืองไทย
อย่างมากมาย บางบริษัทเข้ามาผลิตสินค้าอุตสาหกรรมใช้แรงงานเข้มข้น เช่น
ของเด็กเล่น กระเปา รองเท้า (โดยเฉพาะจากไต้หวัน) แต่หลายบริษัทเข้ามา
ลงทุนในกิจการที่ใช้เทคโนโลยีเข้มข้น เช่น แผงวงจรไฟฟ้า ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์
สินค้าไฟฟ้า และชิ้นส่วนรถยนต์ โดยการลงทุนในเมืองไทยเป็นส่วนหนึ่งของ
เครื อ ข่ า ยการผลิ ต สิ น ค้ า ในหลายประเทศของบริ ษั ท ลงทุ น เหล่ า นี้ ครั้ น ต้ น
ทศวรรษ ๒๕๓๐ “มินิแบ” บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ได้ย้ายการผลิต

  คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ร้อยละ ๖๐ ของการผลิตทั่วโลกของบริษัทมาที่ไทย จนกลายเป็นเอกชนผู้จ้าง
แรงงานไทยรายใหญ่ที่สุด
พ.ศ. ๒๕๓๔ รัฐบาลผ่อนคลายกฎเกณฑ์ที่ก�ากับอุตสาหกรรมรถยนต์
ลงอย่างมาก จึงจูงใจให้บริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นและต่อมาสหรัฐเพิ่มเงินลงทุนที่ไทย
จาก พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นต้นไป การส่งออกสินค้าใช้เทคโนโลยีเข้มข้นเพิ่มขึ้นใน
อัตราสูงสุด กระทั่งระหว่าง พ.ศ. ๒๕๓๖-๒๕๓๙ เรียกได้ว่ามีโรงงานญี่ปุ่นเปิด
ใหม่ ๑ แห่ง ทุกๆ ๓ วัน
การท่องเที่ยวก็เติบโตในช่วงเดียวกัน หลังจากเศรษฐกิจถดถอยช่วง
ต้นทศวรรษ ๒๕๒๐ รัฐบาลเริ่มส่งเสริมอย่างหนักเพื่อเพิ่มรายได้เป็นเงินตรา
จากต่างประเทศ เมื่อตั๋วเครื่องบินราคาลดลง ส่งผลให้ตลาดการท่องเที่ยว
ขยายตัวต่อไปอีก มีการสร้างที่พักชายทะเลและรีสอร์ตตามเกาะต่างๆ เพื่อ
รองรับนักท่องเที่ยวจากถิ่นหนาว ส�าหรับนักท่องเที่ยวจากแถบเอเชียด้วยกัน
ก็สนใจมาแสวงบุญตามวัดพุทธ นักธุรกิจปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมเพศพาณิชย์
ที่เฟื่องฟูขึ้นช่วงสงครามเวียดนามให้สอดคล้องกับรสนิยมของนักท่องเที่ยวกลุ่ม
ใหม่ จ�านวนนักท่องเที่ยวเข้าไทยจึงเพิ่มขึ้นจากปีละไม่กี่แสนคนเมื่อต้นทศวรรษ
๒๕๑๐ เป็น ๑๒ ล้านคนราวๆ พ.ศ. ๒๕๔๓
เศรษฐกิจไทยไม่ได้พึ่งเกษตรเป็นหลักอีกต่อไป การเปลี่ยนแปลงนี้
เกิดขึ้นเร็วมาก กลางทศวรรษ ๒๕๒๐ ผลผลิตภาคเกษตรยังคงมีสัดส่วน
เกือบครึ่งของการส่งออกทั้งหมด แต่อีก ๑๐ ปต่อมาสัดส่วนนี้ลดลงเหลือประ
มาณร้อยละ ๑๐ กว่าๆ

มังกรผงา ลาย
เศรษฐกิจเฟื่องฟูท�าให้ภาคเมืองโดยเฉพาะกรุงเทพฯ ยิ่งมีบทบาทน�า
ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ปรับแปรนักธุรกิจซึ่งส่วนใหญ่เป็น
ไทยเชื้อสายจีน ให้เป็นชนชั้นน�าที่มั่งคั่ง มั่นใจในสถานะทางสังคมและมีอิทธิพล
ทางการเมืองเพิ่มขึ้น บรรดาคนไทยเชื้อสายจีนทั้งในแวดวงธุรกิจ ข้าราชการ
และนักวิชาชีพ เกิดความมั่นใจและภาคภูมิใจที่เป็นเชื้อสายของชาวจีนอย่างเห็น
ได้ชัดเจน

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย  
- ) &



&




%
- ) 0! &
'&
.
& -!*"
"+&)  
& +/%
(+/ & ") &
".
- ,


    %,(

)
%& , "+& &)
/ & +)%
.

& & +)




++) +(

/
"+&
& +)
& )+)
+ -#
& +)
+)
- +)
$"
%+)

+

$"

+&&)
& 0
 )&
,-1

&
&)

แผนที่ ประเทศไทยร่วมสมัย
บรรษัทขนาดใหญ่จากรุ่นเก่าก่อนเติบโตและแตกแขนงไปสู่กิจการใหม่ๆ
อย่างต่อเนื่อง แต่การเปิดเสรีการเงินและเศรษฐกิจเฟื่องฟูก็ได้เปิดโอกาสให้
นักธุรกิจรุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดด้วย หลายคนเริ่มกิจการที่ต่างจังหวัด นักธุรกิจที่
รุ่งมากที่สุดในช่วงนี้คือ ทักษิณ ชินวัตร พื้นเพมาจากครอบครัวธุรกิจมีหลักมี
ฐานที่เชียงใหม่ เขาลงทุนในกิจการสาขาใหม่คือ “โทรคมนาคม” โดยได้รับ
สัมปทานจากรัฐบาลท�าโทรศัพท์มือถือ ดาวเทียม และได้ประโยชน์จากตลาด
หลักทรัพย์ที่ก�าลังรุ่ง ภายในเวลาเพียง ๕ ปี ช่วงทศวรรษ ๒๕๓๐ มูลค่า
ทรัพย์สินของเขาพุ่งขึ้นจนมากกว่า ๒ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ครอบครัวธุรกิจ
ใหม่อื่นๆ ก็มั่งคั่งขึ้นจากการท�าธุรกิจโทรคมนาคม อสังหาริมทรัพย์ การค้าปลีก
สมัยใหม่ และธุรกิจอื่นๆ ซึ่งโยงกับตลาดภายในประเทศที่ก�าลังเฟื่องฟูสุดขีด
ตระกู ล ธุ ร กิจ ขนาดใหญ่ ทั้ง หลายเมื่อ มั่ง คั่ง ขึ้น และมีค วามส�า คัญ ต่ อ
ระบบเศรษฐกิจไทยมากขึ้น จึงมีความมั่นใจในสถานภาพทางสังคมและทาง
การเมืองสูงขึ้น ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๒ แทบไม่มีจีนกลุ่มใหม่อพยพเข้ามาไทยอีก
ดังนั้น ครอบครัวไทยเชื้อสายจีนแทบทั้งหมดจึงอยู่ในรุ่นที่ ๓ เป็นอย่างน้อย
หรือรุ่นต่อมา ลูกหลานของตระกูลระดับน�ามีโอกาสเข้าสู่เส้นทางของอภิสิทธิ์ชน
โดยได้รับการศึกษาเคียงบ่าเคียงไหล่กับลูกหลานของชนชั้นน�าดั้งเดิม จาก
ทศวรรษ ๒๕๐๐ การแต่งงานกันระหว่างครอบครัวธุรกิจใหญ่และตระกูลผู้ดี
ดั้งเดิมเป็นที่ยอมรับกันมากขึ้น และยิ่งพบเห็นได้บ่อยในภาวะที่เศรษฐกิจเฟื่องฟู
หลัง พ.ศ. ๒๕๒๘ บุตรชายของตระกูลจิราธิวัฒน์ เจ้าของกิจการค้าปลีกสมัย
ใหม่ (เซ็นทรัล) แต่งงานกับราชนิกุล บุตรชายและทายาทของตระกูลโสภณ
พนิช เจ้าของธนาคารกรุงเทพ แต่งงานกับบุตรสาวของตระกูลข้าราชการใหญ่
สมาชิกคนส�าคัญๆ ของตระกูลขุนนางดั้งเดิมมีชื่อเป็นกรรมการบรรษัทขนาด
ใหญ่ หนังสือพิมพ์ธุรกิจฉบับใหม่และแมกกาซีนด้านธุรกิจปกฉูดฉาดหลาย
ฉบับบ่งบอกความส�าเร็จของบรรษัทขนาดใหญ่ ส�านักพิมพ์ออกหนังสือว่าด้วย
ประวัติส่วนตัวของผู้ก่อตั้งบรรษัทใหญ่ เฉลิมฉลองความส�าเร็จของพวกเขา
และเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นเอาอย่าง
ตระกูลธุรกิจทั้งใหญ่และเล็กส่งลูกหลาน (โดยเฉพาะผู้ชาย แต่ก็ไม่
เสมอไป) ไปเรียนสูงๆ ที่เมืองนอกมากขึ้น เมื่อกลับมาให้เข้ารับราชการหรือ
ท�างานวิชาชีพ เทคโนแครตจ�านวนมากที่ท�างานตามกระทรวงและมีบทบาท
ต่อนโยบายก็มาจากตระกูลเหล่านี้นั่นเอง ปวย อึงภากรณ์ เป็นตัวอย่างของ
เทคโนแครตรุ่นแรกๆ บิดาเป็นคนจีนมีอาชีพค้าส่งปลา ได้รับทุนให้ไปเรียน

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย  
ที่อังกฤษ และไต่เต้าได้เป็นถึง “ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย” เมื่อ พ.ศ.
๒๕๐๒ ด้วยอายุเพียง ๔๓ ปี เขาก่อตั้งทุนธนำคำรชำติ ส่งผลให้คนอื่นๆ ที่
หัวดีมีโอกาสด�าเนินรอยตาม ลูกหลานของตระกูลร�่ารวยหลายคนไปเรียนต่อ
ที่สหรัฐ กลับมามีต�าแหน่งสูงในกระทรวงต่างๆ เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย
หรือเป็นนักบริหาร นักวิชาชีพตามวิสาหกิจเอกชน เส้นแบ่งเดิมระหว่างข้าราช
การไทยและธุรกิจจีนเลือนรางลง
ครั้นเมื่อวิสำหกิจเอกชนกลายเป็นพลังขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ นัก
วิชาการเชื้อสายจีนเรียกร้องให้มีการยอมรับบทบาทของชาวจีนในประวัติศาสตร์
ซึ่งนักชาตินิยมรุ่นก่อน (เช่น หลวงวิจิตรวาทการ) นิยามว่าเป็นประวัติศาสตร์
“ไทย” โดยเฉพาะ พ.ศ. ๒๕๒๙ นักประวัติศาสตร์ เช่น นิธิ เอียวศรีวงศ์ เขียน
หนังสือ า ท พ า น ี เริ่มต้นด้วยการอภิปรายค�าว่า
“เจ๊ก” ปกติเป็นค�าไม่สุภาพที่ใช้เรียกคนจีนหรือลูกจีน แต่นิธิบอกว่า “สังคม
ที่มีพลังคือสังคมที่ปล่อยให้มีควำมหลำกหลำยในวั นธรรม ควำมแตกต่ำงของ
วิถีชีวิต, ค่ำนิยม และรสนิยมของ คือควำมมั่งคั่งทำงวั นธรรมอย่ำงหนึ่ง
ของสังคมไทย” ๔

นิธิและชาญวิทย์ เกษตรศิริท�าการศึกษาวิจัยและมีข้อค้นพบว่า ผู้ก่อ


ตั้งพระราชวงศ์ที่อยุธยาและกรุงเทพฯ น่าจะมีเชื้อสายจีน บ่งบอกว่าชาวจีนมี
ความส�าคัญมาเนิ่นนานในประวัติศาสตร์สยาม นิธิบรรยายให้เห็นบทบาทของ
ชาวจีนในระบบเศรษฐกิจการค้าและสังคม “ก มพี” สยามสมัยต้นรัตนโกสินทร์
ซึ่งนักประวัติศาสตร์แนวชาตินิยมได้ละเลยที่จะกล่าวถึงอย่างสิ้นเชิง กวีและ
นักเขียน สุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวถึงตัวเองเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ ว่าเป็น “เจกปนลำว”
มีนัยว่าเชื้อสายของคน “ไทย” มักปนเปกันในท�านองนี้
ทศวรรษ ๒๕๒๐ ประเทศจีนเปิดรับกับโลกภายนอก ประสบความ
ส�าเร็จสูงจนกลายเป็นมหาอ�านาจเศรษฐกิจในอีก ๑๐ ปีต่อมา ยิ่งท�าให้คนไทย
เชื้อสำยจีนภาคภูมิใจกับความเป็นจีนของตนมากขึ้นไปอีก ครอบครัวลูกจีน
เดินทางกลับไปเยือนถิ่นก�าเนิดและสืบสานความสัมพันธ์กับเครือญาติ บริษัท
เจริญโภคภัณฑ์ของตระกูลเจียรวนนท์ ซึ่งบรรพบุรุษก็เป็นชาวจีนอพยพมาอยู่
ไทย กลายเป็นหนึ่งในบรรษัทต่างชาติรายใหญ่ซึ่งลงทุนในประเทศจีน ต่อมา
บริษัทไทย-จีนอื่นๆ ด�าเนินรอยตาม มีคนนิยมเรียนภาษาจีนเพิ่มขึ้น ทั้งด้วย
เหตุผลความภูมิใจด้านเชื้อชาติ และเพื่อให้ท�าธุรกิจกับจีนได้คล่องตัว กระทั่ง
“หอการค้ า ไทย” พิ ม พ์ ว ารสารสองภาษาคื อ มี ทั้ ง บทความภาษาไทยและจี น

  คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ปลายทศวรรษ ๒๕๒๐ รัฐบาลยกเลิกข้อห้ามไม่ให้ผู้สมัคร ส.ส. ใช้ชื่อแซ่จีน
จิตรา ก่อนันทเกียรติ หนึ่งในนักเขียนหนังสือขายดีมาก เขียนเกี่ยวกับขนบ
ธรรมเนียม พิธีกรรม และวัฒนธรรมจีน ให้กับผู้อ่านซึ่งได้หลงลืมประวัติและ
วัฒนธรรมจีนของบรรพบุรุษไปบ้างแล้ว หนังสือประวัติของตระกูลไทย-จีน
หลายตระกูลใหญ่ก็ขายดี เช่น หนังสือที่รวบรวมตระกูลเจ้าสัวใหญ่ชื่อ ชีวิต
ต�ำนำนของเจ้ำสัว แสดงภาพมังกรทองผงาดบนปกสีแดง มีชื่อรองว่า “จำกเสื่อ
ผืนหมอนใบ สู่ธุรกิจให ่สุดของไทย” ๕
ช่วงที่เศรษฐกิจไทยเฟื่องฟูสุดขีดนั้น ความภาคภูมิใจในเหล่ากอจีน
สะท้อนให้เห็นในวรรณกรรมและละครโทรทัศน์ ลอดลำยมังกร เป็นเรื่องของ
ลูกจีนข้างถนนคนหนึ่งที่โตขึ้นเป็นเจ้าของบรรษัทใหญ่ เรื่องนี้ร้อยกรองมาจาก
ประวัติชีวิตของนักธุรกิจจีนหลายคนที่ประสบความส�าเร็จจากการก่อร่างสร้าง
ตัวเอง ละครชุดนี้ได้รับความนิยมสูงยิ่ง มีผู้ชมอย่างล้นหลาม กระทั่งนักรัฐ
ศาสตร์ ดร.เกษียร เตชะพีระ เปล่งอุทานว่าปรากฏการณ์นี้คือ “ป ิวัติก มพี”
ในแวดวงบันเทิง ๖ ต่อจากลอดลำยมังกร มีละครโทรทัศน์อีกมากที่มีเนื้อหา
เกี่ยวกับแง่มุมของชีวิตชาวจีนอพยพตามมาเป็นแถว ต่อมาค�าว่า “มังกร” ใช้
หมายถึงความส�าเร็จด้านธุรกิจการค้าของนักธุรกิจไทย-จีน อีกทั้งเพลงประ
กอบละครลอดลำยมังกร ก็กลายเป็นเพลงเฉลิมฉลอง “มังกร”

จากแผ่นดินถิ่นโพ้นทะเล ด้วยเรือน้อย ล่องลอยสุดไกลแสนไกล


หอบติดมาเสื่อผืนหมอนใบ สู่อ่าวไทยแผ่นสยาม
ดังมังกรซ่อนสุมกายาหลบหลีกมาสุดไกลจากไฟสงคราม...
สร้างต�านาน การค้าให้คนประจักษ์ เข้าชิงชัย ในชั้นเชิงธุรกิจ
ด้วยปัญญาความคิดที่พลิกแพลง...
ผ่านคืนวันอันพากเพียร เหม่อมองเหรียญ เศษตังค์ ครั้งยังซ่อนกาย
เมื่อมังกรเริ่มผงาดลาย ตั้งใจหมายตอบแทนพระคุณผืนดิน ๗

พ.ศ. ๒๕๓๙ นักร้องชายขวัญใจวัยรุ่นรายหนึ่ง เจาะจงบ่งบอกความ


เป็นจีนโดยนุ่งกางเกงและเสื้อกุยเฮง ไว้หางเปีย เรียกตัวเองว่า โจอี้ บอย เป็น
ที่นิยมสุดขีดเมื่อร้องเพลงแรป กำกี่นั้ง (ไม่ใช่อื่นใคร “พวกเดียวกัน”) ต้น
ทศวรรษ ๒๕๔๐ พบว่าดารานางแบบและนักร้องสาวที่ได้รับความนิยมต้อง
สวยแบบ “หมวยๆ” สักหน่อย ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ไม่ได้เป็นที่นิยม แม้แต่มิส

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ไทยแลนด์เวิร์ลด์ก็ดูจะสวยแบบหมวยๆ มากขึ้นในระยะนั้น นักธุรกิจระดับ
แนวหน้ารายหนึ่งรื้อสร้างใหม่ (deconstruct) อัตลักษณ์ความเป็นไทยของ
เขา เมื่อประกาศว่าเขามี “เชื้อชาติกวางตุ้งร้อยเปอร์เซ็นต์เกิดเมืองไทย”๘
สมัยจอมพล ป. รัฐบาลตั้งใจที่จะบูรณาการชาวจีนอพยพให้เป็นส่วน
หนึ่งของชาติไทย ในแง่หนึ่งโครงการนี้ประสบความส�าเร็จอย่างสูง ชาวจีน
เรียนภาษาไทย รับวิถีชีวิตแบบไทยๆ และมองตัวเองเป็นพลเมืองของชาติไทย
แต่ในขณะเดียวกันคนไทย-จีนก็ได้ช่วยหล่อหลอมวัฒนธรรมเมืองแบบใหม่ที่มี
องค์ประกอบของภาษา รสนิยม และสุนทรียศาสตร์ที่เป็นมรดกตกทอดมาจาก
วัฒนธรรมจีนด้วย ไม่เป็นเรื่องยากที่จะตระหนักว่า เชื้อสายและชาติไม่ใช่สิ่ง
เดียวกัน

สร้างชนชันกลาง
เริ่มแรกนั้นการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยมีเป้าหมายพัฒนาก�าลังคน
เพื่อเข้ารับราชการ ปลายทศวรรษ ๒๕๐๐ นักวิชาการอเมริกัน เดวิด วิลสัน
(David Wilson) ตั้งข้อสังเกตเกินเลยไปหน่อยว่า คนไทยที่ได้รับการศึกษาสูง
นอกเหนือจากกลุ่มข้าราชการ ก็เห็นจะมีแต่นักหนังสือพิมพ์ที่ต้องยึดอาชีพนี้
เพราะว่าสอบไม่ผ่าน สหรัฐได้ให้เงินช่วยรัฐบาลไทยขยายการเรียนการสอน
ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยต่างจังหวัดเริ่มขึ้นเมื่อปลายทศวรรษ ๒๕๐๐
มหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกคือ รามค�าแหง เกิดขึ้นเมื่อปี ๒๕๑๔ และจากปี
๒๕๒๐ มหาวิทยาลัยเอกชนเพิ่มขึ้นหลายแห่ง จากปี ๒๕๑๓-๒๕๔๓ จ�านวน
ผู้จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพิ่มขึ้น ๒๐ เท่า เป็น ๓.๔ ล้านคน และไม่ได้
เข้ารับราชการเท่านั้น จ�านวนมากท�างานเป็นนักวิชาชีพ ผู้บริหาร และผู้จัดการ
ในภาคเอกชน
ภาคเอกชนให้เงินเดือนสูงกว่าในภาคราชการมาก ส่วนต่างนี้ยิ่งถีบตัว
สูงขึ้นหลังปี ๒๕๒๙ เป็นต้นไป เพราะว่าเศรษฐกิจเฟื่องฟูมาก เมื่อมีรายได้สูง
ขึ้นก็ย้ายจากที่เคยอยู่ห้องแถวตามย่านเก่าในกรุงเทพฯ ไปซื้อบ้านจัดสรรตาม
หมู่บ้านชานเมือง ปลายทศวรรษ ๒๕๒๐ ความต้องการที่อยู่อาศัยแบบนี้จุด
ประกายให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และการสร้างบ้านจัดสรรผุดขึ้นในบริเวณ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ชานเมืองกรุงเทพฯ ที่เคยเป็นทุ่งนา หนองน�้า และสวนผลไม้ ปรากฏการณ์นี้
ไม่ใช่เพียงเปลี่ยนที่อยู่เท่านั้น แต่ยังเปลี่ยนวัฒนธรรม จากที่เคยอยู่ใกล้ชิดกัน
ในระบบห้องแถวใจกลางเมือง ไปอยู่บ้านเดี่ยวแยกห่างออกจากกัน และยัง
เปลี่ยนจากครอบครัวขยาย คืออยู่ด้วยกันหลายชั่วอายุคนในบ้านเดียวกัน เป็น
การอยู่แบบครอบครัวเดียวพ่อแม่ลูก ป้ายโฆษณาโครงการบ้านจัดสรรจูงใจ
ผู้ซื้อด้วย “ชีวิตใหม่” ณ ที่แห่งใหม่
แบบแผนการบริโภคก็ปรับเปลี่ยนไปตามกระแสอิทธิพลวัฒนธรรม
ตะวันตกและญี่ปุน สมัยอเมริกันนั้น คนไทยมีโอกาสสังเกตเห็นวิถีชีวิตแบบ
ตะวันตกในกรุงเทพฯ บ้างก็ในการที่หลายคนได้ไปเรียนนอก
การลดภาษีน�าเข้าเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเปิดเสรีด้านเศรษฐกิจจาก
ปี ๒๕๒๗ และเมื่อเปิดกว้างยิ่งขึ้นในปี ๒๕๓๔-๒๕๓๕ ยิ่งท�าให้สินค้าน�าเข้า
ราคาถูกลง หนังฝรั่งได้รับความนิยมมาก ครัวเรือนสามารถติดจานแซทเทล
ไลท์เพื่อรับข่าวสารและเคเบิลทีวี การค้าปลีกปรับสู่ระบบทันสมัยเพื่อสนอง
ความต้องการใหม่ๆ ของผู้บริโภคที่รวยขึ้น ห้างสรรพสินค้าแบบธรรมดาๆ
สมัยอเมริกันล้าสมัย ศูนย์การค้าขนาดมโหฬารเข้าแทนที่ ตบแต่งอย่างโอ่อ่า
ประหนึ่งเฉลิมฉลองการจับจ่ายใช้สอยเป็นเสน่ห์ที่น่าหลงใหล
บทบาทหญิง ชายในกลุ่มชนชั้นกลางใหม่มีความ ับ ้อน เฉกเช่น
ครอบครัวคนงานไร้ มือทั่วไปที่หญิงท�างานเยี่ยงชาย หญิงชนชั้นกลางมีการ
ศึกษากลุ่มใหม่ก็ออกท�างานเป็นคนงานคอปกขาว เมื่อรัฐบาลส่งเสริมการเรียน
ขั้นอุดมศึกษาจากต้นทศวรรษ ๒๕๑๐ นั้น ช่วงแรกผู้หญิงยังตามผู้ชายไม่ทัน
แต่ต่อมาไล่ทันอย่างรวดเร็ว ปลายทศวรรษ ๒๕๓๐ จ�านวนคนเรียนจบมหา
วิทยาลัยเป็นหญิงมากกว่าชาย ก�าลังแรงงานที่จบขั้นอุดมศึกษาทั้งหมดมีสัดส่วน
ของชายและหญิงพอๆ กัน ทั้งนี้ครอบครัวธุรกิจมักสนับสนุนให้ลูกสาวเรียน
วิชาชีพที่จะเป็นประโยชน์กับธุรกิจครอบครัว (นักบัญชี การบริหารธุรกิจ) และ
ปล่อยให้ลูกสาวได้เรียนต่อสูงๆ ขึ้นไป ขณะที่ให้ลูกชายเข้ามาช่วยธุรกิจของ
ครอบครัวอย่างเร็วที่สุด
ผลก็คือ สถิติรายงานว่า ปลายทศวรรษ ๒๕๓๐ มีผู้หญิงท�างานวิชาชีพ
และงานด้านเทคนิคมากกว่าผู้ชาย ส�าหรับธุรกิจแขนงใหม่ๆ เช่น การเงิน
ผู้หญิงมีบทบาทน�าในหลายด้าน กระทั่งต�าแหน่ง “รองผู้ว่าการธนาคารแห่ง
ประเทศไทย” เป็นผู้หญิงหลายคน พ.ศ. ๒๕๔๙ ธาริษา วัฒนเกส ขึ้นเป็นผู้ว่า

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
หญิงคนแรก ในครอบครัวธุรกิจจีนไทยระดับน�า ลูกสาวบางคนมีโอกาสเป็น
ผู้บริหารใหญ่ เพราะเคยมีประสบการณ์ดูแลอสังหาริมทรัพย์และการเงินของ
ครอบครัว และบางครั้งเพราะว่าลูกสาวเก่งกว่าลูกชาย นักธุรกิจหญิงประสบ
ความส�าเร็จสูงเป็นแบบอย่ างให้กับคนอื่น เช่น นางชนัตถุ์ ปยะอุย ในเครือ
โรงแรมดุสิตธานี และศุภลักษณ์ อัมพุช จากกลุ่มเดอะมอลล์
แต่ครอบครัวธุรกิจจีน-ไทยจ�านวนมากยึดถือระบบชายเป็นใหญ่ ใน
ธุรกิจบันเทิงทั่วไปผู้ชายมีบทบาทสูง ละครโทรทัศน์จ�านวนมากมีเนื้อหาค่อนไป
ทางควบคุมผู้หญิง โดยให้ภาพผู้หญิงเป็นรองชายเสมอ มักเป็นผู้ใช้อารมณ์
ความรู้สึกไม่ค่อยมีเหตุผล และจะมีจุดจบที่แสนเศร้า ยิ่งเป็นคนทะเยอทะยาน
มากยิ่งจะจบแบบเศร้าสุดๆ
มองไปที่แวดวงการเมืองก็ถูกครอบง�าโดยผู้ชายตั้งแต่ระดับล่างไปถึง
บน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘ “ผู้ใหญ่บ้านหญิง” มีเพียงร้อยละ ๒ ของทั้งหมด ข้า
ราชการหญิงพบเห็นได้ทั่วไประดับกลางและล่าง แต่เมื่อถึงระดับข้าราชการ
อาวุโส สัดส่วนที่เป็นหญิงจะลดน้อยลงอย่างทันที สัดส่วนของ ส.ส. หญิงก็
น้อยและไม่เคยมากกว่าร้อยละ ๑๕ ด้วยเหตุฉะนี้จึงพบว่า กฎหมายไทย
สะท้อนระบบชายเป็นใหญ่อย่างชัดเจนและเปลี่ยนแปลงช้ามาก ดังนั้น ผู้หญิง
จึงยังเสียเปรียบชายอยู่เสมอ โดยเฉพาะกฎหมายครอบครัว (เช่น ภรรยาฟ้อง
ร้องสามีเรื่องมีชู้ได้ยากกว่าถ้าสามีจะฟ้องภรรยา) ผู้ชายยังคงมีเมียน้อยหรือ
เที่ยวโสเภณีเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไป แต่บังคับให้ผู้หญิงท�าตามมาตรฐานที่
แตกต่าง

ชนชันคนงานอาบเหงอต่างนํา
นโยบายเศรษฐกิจที่ส่งเสริมอุ ตสาหกรรมส่งออกจากกลางทศวรรษ
๒๕๒๐ ท�าให้เมืองเจริญเติบโตเร็ว ความต้องการแรงงานประเภทต่างๆ จึงเพิ่ม
ขึ้นมาก แต่ชนบทประสบปัญหาวิกฤตหลายประการ (ดูเบื้องหน้า) ผลักดัน
ให้คนออกจากหมู่บ้านเข้าเมืองหางานท�า ระหว่างปี ๒๕๒๘-๒๕๓๘ นั้นคน
งานโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเท่าตัวเป็น ๕ ล้านคน ช่วงที่เศรษฐกิจเฟื่องฟู
สุดขีดจากต้นทศวรรษ ๒๕๓๐ คนชนบทย้ายเข้ามาท�างานในอุตสาหกรรมและ

  คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ภาคบริการปีละล้านคนโดยเฉลี่ยเป็นเวลาถึง ๕ ปีติดต่อกัน เริ่มแรกก็จะเข้า
มาท�างานในเมืองเป็นครั้งคราว กลับไปกลับมาระหว่างเมืองกับหมู่บ้าน ต่อมา
จึงตั้งรกรากอยู่ในเมืองแบบถาวร แรงงานอพยพรุ่นแรกก็มาจากต่างจังหวัด
รอบๆ กรุงเทพฯ นี่เอง ครั้นปลายทศวรรษ ๒๕๒๐ คนอีสานเข้ามาท�างานที่
กรุงเทพฯ มากเสียจนภาษาอีสานเป็นภาษาพูดอันดับที่ ๒ ของเมืองหลวง
ระหว่างปี ๒๕๑๖-๒๕๑๙ ขณะที่การเมืองมวลชนเฟื่องฟู คนงานเรียก
ร้องให้มีกฎหมายรับรองให้คนงานก่อตั้งสหภาพและสหพันธ์แรงงาน ซึ่งหลัง
รัฐประหาร พ.ศ. ๒๕๑๙ รัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียรได้ยกเลิกกฎหมายนี้
และให้สัญญากับนักลงทุนต่างชาติว่าจะไม่มีการนัดหยุดงานใดๆ พ.ศ. ๒๕๒๔
รัฐบาลให้สิทธิคนงานนัดหยุดงานแต่ก็ยังถูกควบคุมอยู่ด้วยมาตรการต่างๆ
กฎหมายแรงงานฉบับใหม่อนุญาตให้ตั้งสมาคมได้ แต่ให้ด�าเนินงานที่เกี่ยวโยง
กับประเด็นแรงงานเท่านั้น ห้ามด�าเนินการทางการเมืองใดๆ ฝ่ายทหารเข้า
แทรกแซงกิจกรรมของสมาคมคนงานเพราะกลัวว่าจะฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสม์
วิธีหลักที่ใช้คือ ให้ควำมอุปถัมภ์ค�้ำจุนผู้น�ำคนงำน เพื่อชักจูงให้เป็นพวก แล้ว
พยำยำมใช้วิธีแบ่งแยกแล้วปกครอง คือท�าให้คนงานแตกคอกันเอง รัฐบาลจัด
ให้มีระบบ “ไตรภาคี” ระหว่างคนงาน นายจ้าง และรัฐบาล เพื่อก�าหนดอัตรา
ค่าจ้างขั้นต�่าและเจรจากรณีพิพาทแรงงาน ข้าราชการที่ดูแลคนงานใช้วิธีเลือก
อุปถัมภ์บางกลุ่มเป็นวิธีควบคุมคนงาน เมื่อรัฐบาลตั้งเป้าที่จะดึงดูดนักลงทุน
ต่างประเทศสู่ไทย ก็ได้โฆษณาว่าคนงานไทยว่านอนสอนง่าย
อย่างไรก็ตาม ในภาวะที่ความต้องการแรงงานมีสูง และการเมืองเริ่ม
ปรับตัวสู่ “ระบอบประชาธิปไตย” ในช่วงทศวรรษ ๒๕๒๐ องค์กรแรงงานมี
โอกาสเข้มแข็งขึ้นชั่วขณะ ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๓๒-๒๕๓๓ สหภาพเรียกร้องให้
รัฐบาลผ่าน พ.ร.บ.ประกันสังคม ให้แก่คนงานได้ส�าเร็จ คนงานจึงได้รับค่า
รักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย ได้รับเงินทดแทนเมื่อเสียชีวิตขณะท�างาน มีการปรับ
ค่าจ้างขั้นต�่าให้สูงขึ้น สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจทัดทานไม่ให้รัฐบาลแปรรูป
รัฐวิสาหกิจได้ส�าเร็จ แต่ชัยชนะเหล่านี้ไม่ยืนยง หลังจากที่ทหารก่อการรัฐ
ประหารอีกใน พ.ศ. ๒๕๓๔ รัฐบาลทหารห้ามคนงานในรัฐวิสาหกิจตั้งสหภาพ
ภาคเอกชนก็มีข้อจ�ากัดมากมาย สมาชิกสหภาพจึงลดลงเหลือเพียงร้อยละ ๕
ของคนงานอุตสาหกรรมทั้งหมด ผู้น�าคนงานรายหนึ่งที่คัดค้านข้อห้ามนี้หาย
ตัวไป (ถูกอุ้ม) อย่างไร้ร่องรอยโดยสิ้นเชิง

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย  
ยิ่งรัฐบาลเป็นปรปักษ์กับคนงาน ก็ยิ่งส่งเสริมให้นายจ้างละเมิดหรือ
หลีกเลี่ยงกฎหมายคุ้มครองคนงาน โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าและการผลิตสินค้า
ใช้แรงงานเข้มข้นอื่นๆ เป็นกลุ่มแรกๆ ที่เติบโตมากในช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟู
บ้างก็จัดระบบการผลิตแบบโรงงานในกฎเกณฑ์ของกฎหมายแรงงาน บ้างก็ใช้
ระบบเหมาช่วงให้คนงานรับงานไปท�าที่บ้านแล้วจ่ายเงินตามผลงานเป็นชิ้นๆ ไป
(เช่ น ค่ า เย็ บ เสื้ อ ตั ว ละ ๑๐ บาท) (sub-contract-work) ปลายทศวรรษ
๒๕๒๐ ระบบแบบหลังนี้จ้างคนงานถึง ๘ แสนคนเพื่อตัดเย็บเสื้อผ้า อุตสาห-
กรรมเพชรพลอย รองเท้า และของเด็กเล่นก็ใช้ระบบเดียวกัน แม้แต่กรณีที่ใช้
ระบบโรงงาน เช่น ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ นายจ้างก็จ้างคนงานประจ�าแต่น้อย
จ้างคนงานชั่วคราวเสียมาก หรือให้ท�างานแบบเหมาช่วงภายในโรงงานนั้นเอง
ทั้งนี้เพื่อลดต้นทุนการผลิตโดยหลีกเลี่ยงที่จะต้องจัดหาสวัสดิการต่างๆ ให้หาก
จ้างเป็นคนงานประจ�าตามกฎเกณฑ์ของกฎหมายแรงงาน การส�ารวจโรงงานที่
ย่านอุตสาหกรรมชานเมืองกรุงเทพฯ ย่านหนึ่งในปี ๒๕๓๑ พบว่าร้อยละ ๖๑
ของคนงานท�างานภายใต้ระบบเหมาช่วงงาน หรือการท�างานเป็นชิ้น ไม่ใช่เป็น
คนงานมีเงินเดือนประจ�า
อุตสาหกรรมใช้เทคโนโลยีซึ่งเริ่มมีบทบาทส�าคัญตั้งแต่ปลายทศวรรษ
๒๕๒๐ ต้องใช้คนงานมีทักษะสูงและเป็นคนงานถาวร ไม่ใช่พวกที่อพยพไปๆ
มาๆ สภาพการท�างานในโรงงานประเภทนี้ดีกว่าโรงงานที่ผลิตสินค้าใช้แรงงาน
เข้มข้นแต่เทคโนโลยีต�่า ดังนั้นจึงมีผู้อยากท�างานประเภทนี้มากกว่า ถึงกระนั้น
ก็ตามยังมีความไม่มั่นคงสูง กระบวนการผลิตของโรงงานที่เข้ามาตั้งในเมือง
ไทยมักเป็นการประกอบชิ้นส่วนที่ใช้แรงงานค่อนข้างมาก และต้องการคนงาน
อายุน้อยมีสายตาดีและใช้มือได้อย่างว่องไว โรงงานเหล่านี้ไม่จ้างคนงานอายุ
เกิน ๔๐ หรือต้องไม่เกิน ๓๐ นอกจากนั้นยังเป็นโรงงานที่สามารถเคลื่อนย้าย
ไปประเทศอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย (footloose) เพราะว่าไม่ใช้เงินลงทุนมาก
ต้นทศวรรษ ๒๕๓๐ “บริษัทมินิแบ” เป็นนายจ้างรายเดียวที่จ้างคนงานมาก
ที่สุด แต่อีก ๕ ปีต่อมาก็ลดจ�านวนคนงานลงเหลือเพียง ๑ ใน ๕ เนื่องจาก
ย้ายโรงงานบางส่วนไปประเทศอื่นที่ค่าจ้างถูกกว่า “บริษัทผลิตดิสก์ไดรฟ์”
ย้ายจากสิงคโปร์มาไทยเมื่อปลายทศวรรษ ๒๕๓๐ ท�าให้สาขานี้เป็นนายจ้าง
รายใหญ่ที่สุดในบรรดาโรงงานอุตสาหกรรมด้วยกัน แต่อีก ๑๐ ปีต่อมาก็ย้าย
ออกไปอยู่ที่จีน

  คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


คนงานโรงงานอุตสาหกรรมส่วนมากแล้วไม่มีเงินบ�านาญ และไม่มี
เงินชดเชยเมื่อตกงาน ดังนั้น ส่วนใหญ่จึงไม่ทิ้งครอบครัวที่ชนบทไปอย่าง
สิ้นเชิง แต่ผูกสายสัมพันธ์เอาไว้ เพราะครอบครัวที่ชนบทยังเป็นเสมือนการ
ประกันสังคมของพวกเขา พ.ศ. ๒๕๔๐ เกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในเมือง
ไทย (ดูข้างหน้า) คนงานนอกภาคเกษตรประมาณ ๑ ใน ๘ รวมทั้งหมด ๒
ล้านคนตกงานเกือบทันทีในเวลาไม่กี่เดือน หลายคนต้องกลับบ้านเป็นที่พักพิง
ชั่วคราวขณะที่หางานใหม่ แต่คนงานจ�านวนมากซึ่งได้หันหลังให้กับหมู่บ้านเดิม
โดยตั้งรกรากที่เมืองมาพักหนึ่งแล้วนั้น พวกเขาสูญเสียหลักประกันในชีวิตที่
ชนบทอย่างสิ้นเชิง จึงต้องยอมท�างานในโรงงานนรก (sweat shops) ขายของ
ข้างถนน หรือรับจ้างในกิจการบริการเล็กๆ น้อยๆ เพื่อยังชีพอยู่ในเมือง
เมื่อคนงานถูกบีบจากกฎหมายแรงงานที่ไม่ให้สหภาพมีสิทธิเสรีภาพ
อย่างเต็มที่เหมือนในประเทศพัฒนาแล้ว แถมสหภาพยังอ่อนแอลงด้วยระบบ
อุปถัมภ์และการควบคุมอย่างเข้มงวดจากฝ่ายรัฐบาล คนงานนักเคลื่อนไหวจึง
แสวงหาทางเลือกอื่น คนงานแถบย่านโรงงานบริเวณชานเมืองของกรุงเทพฯ
จัดตั้งกลุ่มเรียกว่า “กลุ่มย่านอุตสาหกรรม” กระจายอยู่ทั่วไป พวกเขาประท้วง
ที่โรงงานช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และโยงใยเป็นพันธมิตรกับเอ็นจีโอ (NGO-
Non Governmental Organizations) และนักเคลื่อนไหวสังคม หลังจาก
เกิดเหตุเพลิงไหม้โรงงำนผลิตตุกตำเคเดอร์ เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๖ จน
มีคนงานเสียชีวิตมากถึง ๑๘๘ คน บาดเจ็บ ๕๐๐ คน คนงานใน “กลุ่มย่าน
อุตสาหกรรม” เหล่านี้รณรงค์ให้รัฐบาลก�าหนดกฎเกณฑ์ด้านสุขภาพและความ
ปลอดภัยในที่ท�างานให้ดีขึ้น
บริษัทหลายแห่งพอใจจ้างคนงานหญิงมากกว่าชาย ไม่ใช่เพราะว่าค่า
จ้างคนงานหญิงต�่ากว่า แต่เป็นเพราะทักษะความเชี่ยวชาญของพวกเธอด้วย
จากกลางทศวรรษ ๒๕๒๐ ๓ ใน ๕ ของคนงานใหม่ในโรงงานอุตสาหกรรม
เป็นผู้หญิง ครั้นถึง พ.ศ. ๒๕๓๘ ประมาณกึ่งหนึ่งของคนงานโรงงานอุตสาห
กรรมทั้งหมดเป็นหญิง ๗ ใน ๑๐ อุตสาหกรรมส่งออกระดับน�าจ้างคนงาน
หญิงสูงถึงร้อยละ ๘๐ นอกโรงงานก็มีคนงานหญิงเป็นจ�านวนมาก คนงาน
หญิงแบกอิฐในงานก่อสร้างเป็นเรื่องปกติธรรมดา เป็นพนักงานขายตามห้าง
ร้านขายก๋วยเตี๋ยว ร้านข้าวแกงข้างถนน เร่ขายเสื้อยืดตามตลาดนัด และเป็น
พนักงานต้อนรับแขกที่โรงแรมและบาร์ต่างๆ กลางทศวรรษ ๒๕๓๐ ในบรรดา
ผู้อพยพออกจากชนบทเพื่อหางานท�า พบว่าเป็นหญิงมากกว่าชาย อัตราการ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย  
เกิดของประชากรโดยรวมลดลงอย่างฮวบฮาบเมื่อหญิงสาวแต่งงานช้าลงเพราะ
ท�างาน วิถีครอบครัวชนบทก็เปลี่ยน หนุ่มสาวที่เพิ่งแต่งงานเมื่อมีลูกจะทิ้งไว้
ให้พ่อแม่ดูแล แล้วทั้งผัวเมียก็เข้าเมืองไปท�างานหาเงิน จนหมู่บ้านบางแห่งที่
อีสานมีแต่คนแก่และเด็กหลงเหลืออยู่ เพลงชื่อ าน ของพงษ์สิทธิ์ ค�ำภีร์
มีเนื้อความตอนหนึ่งว่า

โอ้ละหน่อ หล้าเอ๋ย เกิ๋นมันทุกข์มักยากฮ่าย หากินกะ


บ่กุม บ่อิ่ม ผู้บ่าวผู้สาว หนีเข้ากรุงเทพฯ เหลือแต่ผู้เฒ่ากับเด็ก
น้อย ได้แต่ท่าแต่คอยพวกเข้าฮั่นหล่า มาซ่อยแผ่นดินเกิด๙

เมื่อผู้หญิงท�างานหาเงินได้ด้วยตนเอง สถานะของเธอในครอบครัวและ
สังคมขยับสูงขึ้น งานเทศกาลนักขัตฤกษ์ซ่ึงเคยเป็นหมุดหมายเปลี่ยนฤดูกาล
เกษตร กลายเป็นโอกาสให้คนหนุ่มสาวกลับจากเมืองสู่เหย้าเพื่อเยี่ยมเยือน
พ่อแม่ท�าบุญที่วัด อวดโอ่ให้ชาวบ้านได้เห็นความรุ่มรวย พบหน้าลูก พร้อมทั้ง
สานสายสัมพันธ์กับครอบครัวและชุมชนบ้านเกิด
เมื่อตลาดแรงงานตึงตัวขึ้นช่วงกลางทศวรรษ ๒๕๓๐ ได้มีแรงงาน
ต่างด้าวทะลักเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน ครั้นถึง พ.ศ. ๒๕๓๗ ประมาณ
การว่าแรงงานอพยพต่างชาติเหล่านี้เข้ามาท�างานอยู่ในเมืองไทยถึง ๔ แสนคน
๓ ปีต่อมาเพิ่มเป็น ๑-๓ ล้านคน (ทั้งนี้ไม่มีใครแน่ใจว่าจ�านวนที่แท้จริงเป็น
เท่าไรกันแน่) หรืออาจจะสูงถึงร้อยละ ๑๐ ของก�าลังแรงงานของไทยทั้งหมด
ส่วนมากแล้วก็จะมาจากพม่า ลาว และจีน พวกเขารับจ้างท�างานหาปลา (จน
กระทั่งท่าเรือหาปลาหลายแห่งมีแต่คนงานพม่า) ท�าสวนผลไม้ ท�างานบ้าน และ
ท�างานในโรงงานนรก โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าเป็นจ�านวนมากย้ายไปตั้งที่ชายแดน
ไทยใกล้กับพม่า แล้วจ้างคนงานพม่าราคาถูก พ.ศ. ๒๕๓๘ รัฐบาลไทยจัด
ระบบเพื่อให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาท�างานโดยถูกกฎหมายได้ แต่เมื่อเศรษฐกิจ
ตกต�่า พ.ศ. ๒๕๔๐ ก็พยายามผลักดันพวกเขากลับบ้านเกิด แต่ไม่ประสบความ
ส�าเร็จสักเท่าไร หลังจากนั้นช่วงปลาย พ.ศ. ๒๕๔๓ น�าระบบให้ใบอนุญาต
ท�างานกลับมาใช้อีกแต่จ�ากัดบริเวณและสาขาการผลิต ทว่าเพียงส่วนน้อย
เท่านั้นที่ลงทะเบียนเป็นคนงานต่างด้าวถูกกฎหมาย ส่วนใหญ่แล้วมักจะเข้า
มาท�างานโดยตกลงกันเองระหว่างผู้จ้างและลูกจ้าง เมื่อเป็นดังนั้นคนงานผิด
กฎหมายเหล่านี้ก็ไม่ได้รับการคุ้มครองและขาดสิทธิทุกอย่าง ได้รับค่าจ้างเพียง

  คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ร้อยละ ๕๐-๖๐ ของที่ลูกจ้างคนไทยได้รับ ใครที่บังอาจโต้เถียงกับนายจ้างก็
เสี่ยงที่จะถูกทุบตีหรือถูกฆ่าตายก็ได้ ครั้นถึงทศวรรษ ๒๕๔๐ พวกเขาได้กลาย
เป็นแรงงานชั้น ๒ ของไทย โดยมีจ�านวนระหว่าง ๒-๓ ล้านคนทีเดียว
การจดบันทึกผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ในเมืองไทย เริ่มขึ้นเมื่อราวๆ
พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยพบในกลุ่มรักร่วมเพศชาย (เกย์) ก่อนเพื่อน ครั้นต้นทศวรรษ
๒๕๓๐ การติดเชื้อเอดส์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะเมืองไทยมีกิจการเพศ
พาณิชย์ที่ใหญ่มาก โดยเฉพาะที่ภาคเหนือ ท�าให้ไทยเป็นศูนย์กลางของโรค
ระบาดนี้ ราวๆ พ.ศ. ๒๕๓๘ พบว่าประมาณร้อยละ ๒ ของประชากรที่มีเพศ
สัมพันธ์ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) โรคเอดส์จึงเป็นสาเหตุการตายที่ร้ายแรงที่สุด
กระทั่งรัฐบาลต้องด�าเนินนโยบายเพื่อระงับการแพร่กระจายของโรคนี้ ซึ่งธุรกิจ
เพศพาณิชย์ก็ให้ความร่วมมือเป็นอันดี เพราะมิฉะนั้นก็จะไม่สามารถอยู่รอด
ดังนั้น ภายในปี ๒๕๓๘ อัตราการติดเชื้อเอดส์ใหม่ลดลง เมืองไทยจึงกลับ
กลายเป็นตัวแบบที่ใช้ระบบชุมชนเป็นวิธีควบคุมการติดเชื้อให้กับประเทศอื่นๆ
แต่การติดเชื้อก็ยังกระจายออกไปนอกชุมชนเพศพาณิชย์ เพราะว่าชายที่ติดเชื้อ
แล้วน�าไปแพร่ให้กับภรรยาและแฟนสาว พ.ศ. ๒๕๔๓ พบว่าคนไทยประมาณ
๖ แสนคนติดเชื้อเอดส์แล้ว

สังคมชนบทปรับตัว
กลางทศวรรษ ๒๕๑๐ คาดการณ์กันว่า สังคมชาวนาโดยเฉพาะที่ภาค
กลาง น่าจะปรับเปลี่ยนเป็นสังคมเกษตรพาณิชย์ ผลิตเพื่อขายเป็นหลัก โดย
บางส่วนต้องเป็นแรงงานไร้ที่ดิน เนื่องจากจ�านวนประชากรล้นเกินที่ดิน อีกทั้ง
ไม่อาจสู้กับอ�านาจตลาดและต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น แต่ราคาสินค้าเกษตรมี
แนวโน้มถดถอย อย่างไรก็ตาม ต้นทศวรรษ ๒๕๒๐ เศรษฐกิจไทยหักเหไป
โดยภาคเกษตรลดความส�าคัญลง ภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนในจีดีพี (GDP)
สูงกว่าภาคเกษตรในปี ๒๕๒๗ และสัดส่วนของมูลค่าสินค้าออกอุตสาหกรรม
สูงกว่าเกษตรในปี ๒๕๒๘ ครั้น พ.ศ. ๒๕๔๓ พบว่ามูลค่าสินค้าเกษตรลดลง
เหลือเพียงร้อยละ ๑๐ ของจีดีพี ส�าหรับการส่งออกเกษตรเหลือร้อยละ ๗
ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด เท่ากับว่าเกษตรไม่ได้เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย  
ไทยอีกแล้ว ดังนั้น ทั้งรัฐบาลและภาคเอกชนจึงใส่ใจน้อยลง บริษัทเกษตร
ยักษ์ใหญ่ เช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ (หรือซีพี) ก็ยังหันไปลงทุนในกิจการโทร
คมนาคม บริษัทผลิตน�้าตาลหันไปลงทุนกิจการโรงแรม บรรดาเจ้าสัวเจ้าของ
โรงสีข้าวลงทุนสร้างศูนย์การค้าใหญ่โตหลายแห่งที่กรุงเทพฯ
วิก ตที่ดิน (ที่จะส่งผลให้มีชาวนาไร้ที่ดินจ�านวนมาก) ไม่ได้เกิดขึ้น
อย่างกว้างขวางดังที่คาดการณ์กันเอาไว้ ทั้งนี้เพราะคนชนบทออกไปท�างานใน
เมืองได้ เฉพาะที่ภาคกลางแรงงานเกษตรลดลงจาก ๓.๕ ล้านคน เหลือเพียง
๒.๕ ล้านคน ช่วงที่เศรษฐกิจไทยเฟื่องฟูขึ้นมาสมัย พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๓๘
เกษตรกรเผชิญปัญหาขาดแรงงานรับจ้าง จึงต้องลงทุนซื้อเครื่องจักรและปัจจัย
การผลิตที่ประหยัดแรงงาน เช่น รถแทรกเตอร์ รถเกี่ยวข้าว ยาฆ่าหญ้า ฯลฯ
เมื่อคนในเมืองต้องการสินค้าเกษตรสูงขึ้น และชาวนาเข้าถึงพืชพันธุ์ใหม่และ
เทคโนโลยีใหม่ได้ง่ายขึ้น ท�าให้เกษตรกรที่ยังอยู่ในพื้นที่สามารถขยับขยายไป
ผลิตสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าสูง บางคนท�านาปีละถึง ๓ ครั้ง บางคนเลิกท�านา
แต่ปรับเปลี่ยนไปปลูกผลไม้และผักต่างๆ ให้คนเมืองบริโภค บ้างก็ปลูกพืช
ชนิดใหม่ เช่น “ข้าวโพดอ่อน” ป้อนโรงงานกระปองเพื่อส่งออกนอก ทศวรรษ
๒๕๓๐ เกษตรกรจ� า นวนมากปรั บ ที่ น าให้ เ ป็ น บ่ อ เลี้ ย งกุ ้ ง (ใช้ น�้ า เค็ ม ) และ
สามารถหาก�าไรมากพอภายใน ๒ ปี เทียบเท่ากับการท�านาประมาณ ๓๐ ปี
แม้จะเสี่ยงกับปัญหาโรคกุ้งและดินเค็มเป็นอย่างมากก็ตาม
นับเป็นครั้งแรกในช่วง ๑๕๐ ปที่พื้นที่ปลูกข้าวในเขตที่ราบเจ้าพระยา
ลดลง
บริเวณอื่นที่มีสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติเหมาะสมและอยู่ใกล้ตลาด
เมืองก็เปลี่ยนแปลงในลักษณะคล้ายกัน ที่เชียงใหม่ชาวนาปรับนาข้าวให้เป็น
สวน “ลิ้นจี่” และ “ล�าไย” เพื่อส่งออกไปเมืองจีน ที่ชายฝั่งทะเลแถบภาคใต้
เกษตรกรท�าฟาร์มเลี้ยงปลาและกุ้ง ที่ลุ่มน�้าชี-มูลตอนล่างของอีสาน เกษตรกร
พบว่าทุ่งนาดินเค็มเหมาะกับการปลูก “ข้าวหอมมะลิ” ที่ทั้งคนไทยและตลาด
ต่างประเทศติดใจ ในบริเวณเหล่านี้เกษตรกรรายเล็กท�านาโดยใช้แรงงานใน
ครัวเรือนยังคงอยู่ได้ แต่ก็โยงกับตลาดสูงขึ้นมาก คนรุ่นเด็กและหนุ่มสาวมัก
จะอพยพออกไปเรียนหนังสือหรือไม่ก็ท�างานในเมือง ถนนหนทางการคมนาคม
ขนส่งที่ดีขึ้นและถูกขึ้น อีกทั้งมีบริการรถบัสทั่วถึง ท�าให้พวกเขาเดินทางแบบ
ไปเช้า-เย็นกลับ หรือกลับบ้านทุกเสาร์-อาทิตย์ได้

  คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ชาวบ้านบางส่วนมีรายได้จากการผลิตสินค้าเกษตรที่มูลค่าเพิ่มสูง
และเงินที่แรงงานอพยพส่งกลับบ้าน นอกจากนั้นการกระจายอ�านาจสู่ท้องถิ่น
ท�าให้มีเงินงบประมาณใช้จ่ายในหมู่บ้านมากขึ้น กระตุ้นให้มีอาชีพและร้านค้า
เพื่อท�ากิจการหลากชนิดในหมู่บ้าน เช่น ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อีสานนักวิจัย
พบว่ามี “เจ้ำหน้ำที่สำธำร สุข แรงงำนรับจ้ำง ข้ำรำชกำรท้องถิ่น นักกำรเมือง
ท้องถิ่น ช่ำงเย็บผ้ำ หมอดู คนขำยเนื้อ คนขำยของข้ำงถนน นักดนตรี ผู้รับ
เหมำ พ่อค้ำข้ำว...ธุรกิจหลำกหลำยประเภท เช่น ร้ำนเสริมสวย ร้ำนตัดผมชำย
ให้เช่ำรถ ให้เช่ำแทรคเตอร์ โรงสี อู่ ่อมรถ ร้ำนช�ำ และร้ำนอำหำรขนำดเล็ก” ๑๐
ชนบทที่รุ่มรวยจึงมีลักษณะเหมือน “เมือง” มากขึ้นเรื่อยๆ
หมู่บ้านที่สภาพธรรมชาติไม่เอื้ออ�านวยหรืออยู่ไกลเมืองนั้น วิถีชีวิต
ยากเข็ญกว่า เกษตรกรเผชิญสองปัญหา ประการแรกคือ ราคาสินค้าเกษตร
ตกต�่ามาโดยตลอดจากทศวรรษ ๒๕๑๐ เป็นปรากฏการณ์ระดับโลก ถ้าหาก
ว่าเราคิดค�านวณราคาของรถจักรยานยนต์เป็นจ�านวนข้าวที่ต้องขายไปซื้อ พบว่า
ราคาของรถจักรยานยนต์แบบพื้นฐานเพิ่มขึ้น ๓-๕ เท่าในช่วง ๓๐ ปี ยิ่งที่ดิน
ไม่อุดมสมบูรณ์ หรือยิ่งอยู่ห่างไกลปืนเที่ยงเท่าไร ก็ยิ่งไม่อาจปรับเปลี่ยนจาก
ที่เคยปลูกข้าว ข้าวโพด และมันส�าปะหลังซึ่งราคาตกต�่า จึงหันไปปลูกพืชหรือ
ท�าอย่างอื่นที่ได้ราคาดีกว่าได้
ด้วยเหตุฉะนี้ เกษตรกรจ�านวนมากจึงเลื่อนไถลจมลงไปกับหนี้ที่พอก
พูนขึ้น ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๔๓ มูลค่าของหนี้ที่ธนาคารเพื่อการเกษตร
และสหกรณ์การเกษตร หรือ ธกส. เพิ่มขึ้นถึง ๑๐ เท่า (จาก ๒๕ เป็น ๒๕๖
พันล้านบาท) รัฐบาลพยายามเลี่ยงปัญหา โดยชักจูงให้เกษตรกรขยับขยายไป
ปลูกพืชอื่นๆ แต่ไม่ค่อยได้ผลเท่าไรนัก บางโครงการล้มเหลวเพราะว่าสภาพ
ธรรมชาติไม่เอื้ออ�านวย บางโครงการล้มเหลวเพราะข้าราชการไม่เก่งหรือท�างาน
แบบขอไปทีเท่านั้นเอง เช่น กร ีที่รัฐบำลน�ำเข้ำวัวจำกต่ำงประเทศ น�ามาขาย
ให้ชาวบ้านเพื่อเลี้ยงให้ตกลูก โดยให้ไปกู้ยืมเงิน ธกส.มาซื้อวัว แต่ปรากฏว่า
วัวที่ซื้อมาล้วนเป็นหมัน จนถูกเรียกว่า “วัวพลำสติก” บางโครงการล้มเหลว
เพราะว่ากระทรวงเกษตรฯ แนะน�าให้เกษตรกรทุกคนท�าเหมือนกันหมด ผล
ก็คือ สินค้าล้นตลาด
เกษตรกรบางคนที่เผชิญกับมรสุมตลาดผันผวนบ่อยครั้ง จึงหลีกหนี
ปัญหาด้วยการพยายามถอนตัวออกจากตลาดในบางระดับ บางชุมชนกลุ่มคน
ในชนบทร่วมมือกันจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ ธนำคำรข้ำว ธนำคำรควำย และกลุ่ม

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อลดทอนการพึ่งพาภายนอก ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม
(จังหวัดฉะเชิงเทรา) หลังจากเป็นหนี้เป็นสินจากการท�าไร่มันส�าปะหลัง ตัดสินใจ
ปรับที่นาที่เหลืออยู่ท�าเกษตรผสมผสานใช้หลักการพออยู่พอกิน ต่อมาเขาได้
กลายเป็นหนึ่งใน “ปรำช ์ชำวบ้ำน” ที่สนับสนุนแนวทางเกษตรผสมผสานนี้
พ.ศ. ๒๕๓๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชด�าริแบบ
จ�าลองการจัดพื้นที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยและมีชีวิตอย่างยั่งยืนเรียกว่า “เกษตร
ท ษ ีใหม่” ที่มีหลักการ “พออยู่พอกิน” และ “พึ่งตนเอง” ตามแนวทางพุทธ
ศาสนา
ยุทธศาสตร์นี้เป็นสิ่งบันดาลใจ แต่อาจจะยากในทางปฏิบัติ ครัวเรือน
เกษตรจ�านวนมากอยู่รอดได้โดยท�าเพื่อกินเองและเพื่อขายในตลาดพร้อมกัน
พวกเขายังคงปลูกข้าวเพื่อเลี้ยงตนเอง แม้ว่าราคาข้าวจะไม่ดี และอาจจะขาด
ทุนแทบทุกเมื่อ บ้างเก็บหาของป่ามากินมาใช้บ้าง และบางแห่งยังคงแลกเปลี่ยน
ภายในชุมชนโดยไม่ได้ใช้ระบบตลาดเต็มที่ ขณะเดียวกันนี้ก็ส่งสมาชิกรุ่นเยาว์
ออกไปหางานท�าในเมืองมากขึ้นๆ เพื่อให้ได้เงินสดส่งกลับบ้านด้วย พ.ศ.
๒๕๓๘ เกือบ ๒ ใน ๓ ของรายได้ครัวเรือนเกษตรที่เป็นเงินสด ได้มาจากการ
ท�างานนอกภาคเกษตร (ส�าหรับเขตอีสานแล้วสัดส่วนนี้สูงถึง ๔ ใน ๕) ซึ่งรวม
ทั้งร้อยละ ๔๓ จากรายได้ที่เป็นค่าจ้างแรงงาน ครัวเรือนใช้รายได้ที่เป็นเงินสด
นี้เพื่อซื้อของกินใช้ประจ�าวัน เพื่อการลงทุนท�าการเกษตร (ที่ขาดทุน) และส่งลูก
ไปเรียนในเมือง ด้วยความหวังว่าจะไม่ต้องเป็นเกษตรกรเหมือนพ่อแม่
ปั ญ หาประการที่ ส อง คื อ เศรษฐกิ จ เมื อ งที่ เ อง ู ขึ้ น ได้ แ ย่ ง เอา
ทรัพยากรที่ดิน น�้า และปา ึ่งเกษตรกรรายเล็กได้เคยใช้ประโยชน์ไปเสีย
เป็นจ�านวนมาก
รอบๆ กรุงเทพฯ บ้านจัดสรรและโรงงานเข้าทดแทนนาข้าวที่ทุ่งรังสิต
ซึ่งเคยเป็นถิ่นบุกเบิกท�านาข้าวที่ใช้น�้าจากคลองรังสิตเมื่อ ๑๐๐ ปีก่อน ทาง
ด้านทิศตะวันออกที่อีสเทิร์น ีบอร์ด เคยเป็นถิ่นบุกเบิกปลูกมันส�าปะหลังและ
ปอก็ได้ปรับเปลี่ยนเป็นนิคมอุตสาหกรรมไปเสียมาก ที่ภาคเหนือตามบริเวณ
หุบเขาสวยงามมีรีสอร์ตผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด การสร้างถนนหนทางก็ต้องใช้เนื้อที่
ที่เคยเป็นนาเป็นป่า อีกทั้งการสร้างสนามกอล์ฟ (มากกว่า ๑๐๐ แห่งในช่วง
เศรษฐกิจบูมสุดขีด) การท�าเหมืองกรวด ท�าซีเมนต์เพื่อสร้างถนนและสิ่งก่อสร้าง
อื่นๆ การท�าเขื่อนขนาดใหญ่เพื่อสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังน�้าเพื่อให้คนเมืองมีไฟฟ้า
ใช้ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ดึงเนื้อที่นาไร่และป่าเขาออกไปจากมือเกษตรกรทั้งสิ้น

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ทศวรรษ ๒๕๓๐ พบว่าเนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ ๒
หลังจากที่ พคท.พ่ายแพ้ กรมปาไม้เริ่มเข้าควบคุมบริเวณป่าเสื่อมโทรม
ซึ่ง พคท.เคยมีอิทธิพลอยู่ แต่ในช่วง ๓๐ ปีที่ผ่านมา ครึ่งหนึ่งของป่าก็สูญ
สภาพความเป็นป่าแล้ว บริษัทธุรกิจเกษตรขนาดใหญ่ชักจูงให้กรมป่าไม้ให้
สัมปทานแก่เอกชนเช่าที่ดินป่าเสื่อมโทรมในราคาถูกเพื่อ “ปลูกป่าพาณิชย์” เป็น
โครงการขนาดใหญ่และระยะยาว บริษัทเอกชนจ�านวนมากได้โอกาสเช่าที่ดิน
แล้วปลูกป่า “ยูคาลิปตัส” และอื่นๆ เพื่อตัดไม้ป้อนโรงงานกระดาษ หมู่บ้าน
ใกล้เคียงต่อต้านเพราะว่าพวกเขาสูญเสียป่าธรรมชาติที่เขาเคยใช้ในชีวิตประจ�า
วัน และเพราะว่าป่ายูคาฯ กินน�้ามากท�าให้บริเวณรอบๆ แห้งผาก นักเคลื่อน
ไหวพบว่าบริษัทเอกชนที่มีเส้นใหญ่ทางการเมืองได้ฉวยโอกาสเข้าควบคุมบริเวณ
ป่าที่ยังมีสภาพสมบูรณ์ ชาวบ้านที่อีสานบางพื้นที่ต่อต้านโดยท�าลายรถแทรก
เตอร์ที่เอกชนใช้ปรับพื้นที่เพื่อปลูกป่ายูคาฯ ท�าลายกล้าไม้ยูคาฯ และเผาส�านัก
งานของกรมป่าไม้
ต้น พ.ศ. ๒๕๓๒ เกิดแผ่นดินถล่มจากภูเขาที่ภาคใต้ ท�าลายหมู่บ้าน
๒ แห่งอย่างราบคาบ เหตุการณ์น้ีส่งผลให้รัฐบาลยกเลิกสัมปทานท�าไม้ทั่ว
ประเทศ และประกาศปดปาไม่ให้เอกชนเข้าท�าไม้อีกต่อไป อันที่จริงแล้วการ
ลักลอบท�าไม้แบบผิดกฎหมายยังคงด�าเนินต่อไปโดยเฉพาะในบริเวณชายแดน
กับพม่า มีการตัดไม้ที่เขตแดนไทย แล้วส่งไปตีตราที่พม่าให้ดูเหมือนเป็นไม้
มาจากพม่า (บางทีก็เป็นเพียงการท�าเอกสารให้เป็นเช่นนี้ ไม่ได้มีการขนส่งกัน
จริงๆ) หลายๆ พื้นที่ยังคงสร้างรีสอร์ตบนพื้นที่ป่ากันซึ่งๆ หน้า จากปี ๒๕๓๒
ถึงปี ๒๕๓๘ นั้น ป่าหายไปถึง ๗ ล้านไร่ ชาวบ้านเริ่ม “บวชต้นไม้” โดยเอา
ผ้าจีวรไปพันต้นไม้ใหญ่ไว้ เสมือนเป็นการบวชพระ เพื่อป้องกันไม่ให้คนมาตัด
พ.ศ. ๒๕๓๘ ชาวบ้านที่ภาคเหนือร่วมมือกันบวชต้นไม้ถึง ๕๐ ล้านต้นเพื่อร่วม
เฉลิมฉลองการครองราชย์ครบรอบ ๕๐ ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั
การสร้างเขื่อนเพื่อไ าและเพื่อการชลประทานก็ได้แย่งที่ดินป่าและ
สิทธิในการหาปลาไปจากชาวบ้าน เขื่อนแห่งแรกสร้างที่ด้านเหนือของแม่น�้า
เจ้าพระยาตอนบน ซึ่งส่งผลให้น�้าท่วมในหุบเขาเป็นบริเวณกว้างที่มีคนอยู่ไม่
มาก แต่พื้นที่ที่เหมาะสมที่จะสร้างเขื่อนเช่นนั้นหดหายไปอย่างรวดเร็ว ครั้น
ปลายทศวรรษ ๒๕๒๐ เขื่อนที่เตรียมจะสร้างจะกั้นแม่น�้าที่ชาวบ้านหาปลาเลี้ยง
ชีวิตอยู่ และจะท�าให้น�้าท่วมบริเวณหมู่บ้านที่มีคนอยู่หนาแน่นเป็นจ�านวนมาก
ชาวบ้านที่ถูกผลกระทบจึงรวมตัวกันประท้วง

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
“น�้า” เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีการแก่งแย่งกันรุนแรง โดยเฉพาะในบริเวณ
ที่ราบลุ่มเจ้าพระยา ซึ่งในช่วงหน้าแล้งจะต้องได้น�้ามาเพิ่มจากเขื่อนที่เก็บกักน�้า
ทางตอนเหนือ เมื่อเกษตรกรภาคเหนือก็เพิ่มพื้นที่ในการเพาะปลูกพืชเช่นกัน
จึงมีน�้าเหลือให้เก็บกักในเขื่อนน้อยลง ขณะเดียวกันกรุงเทพฯ ก็ใช้น�้ามากขึ้น
จากที่เคยใช้ ๐.๕ แสนลูกบาศก์เมตรต่อวัน ใน พ.ศ. ๒๕๒๑ เพิ่มเป็น ๗.๕
แสนลูกบาศก์เมตรต่อวันใน พ.ศ. ๒๕๔๓ และระหว่าง พ.ศ. ๒๕๓๖-๒๕๓๗
ผลกระทบของสภาวะภูมิอากาศผันผวนที่เรียกว่า “เอลนิโญ” ท�าให้ฝนตกน้อย
กว่าปกติมาก ปริมาณน�้าในเขื่อนต่างๆ จึงลดลงไปด้วย กรมชลประทานต้อง
ประกาศห้ามเกษตรกรปลูกพืชหรือท�านาครั้งที่ ๒ ในช่วงหน้าแล้งตามบริเวณ
ที่ราบลุ่มเจ้าพระยา เกษตรกรหลายคนปฏิเสธที่จะท�าตาม และต่อต้านไม่ให้
เจ้าหน้าที่รัฐเข้าควบคุมประตูน�้า นี่คือจุดเริ่มต้นที่ภาคราชการเริ่มพูดถึง “วิก ต
น�้า” และมีข้อเสนอว่าจ�าเป็นต้องเก็บภาษีน�้า อีกทั้งก�ากับควบคุมการชลประ
ทานเพื่อให้มีน�้าพอเพียงกับความต้องการที่กรุงเทพฯ
ที่น่านน�้าบริเวณชายฝั่งทะเลก็เป็นจุดความขัดแย้งแก่งแย่งกัน จาก
กลางทศวรรษ ๒๕๐๐ การจับปลาทะเลมีปริมาณเพิ่มขึ้นจาก ๔ แสนตัน เป็น
๓ ล้านตันต่อปี เรือประมงเพิ่มขึ้นรวดเร็ว เครื่องมืออวนลากพร้อมเครื่องมือ
สื่อสารที่ทันสมัย เพิ่มประสิทธิภาพการจับปลาอย่างมาก และรัฐบาลก็ส่งเสริม
การส่งออกอาหารทะเลแช่แข็ง ดังนั้น ถึงทศวรรษ ๒๕๓๐ ปริมาณปลาและกุ้ง
ในทะเลจึงลดลงอย่างฮวบฮาบ เจ้าของเรือประมงขนาดใหญ่จึงใช้อวนลากหา
ปลาแถบบริเวณชายฝั่งด้วย ท�าให้ชาวประมงรายย่อยใช้เรือเล็กและเครื่องมือ
ประมงแบบพื้นบ้าน เช่น โปะ โพงพาง รั้ว ไซมาน และลอบเพื่อหาปลาชายฝั่ง
หาปลาได้น้อยลง ทั้งๆ ที่กฎหมายห้ามเรือประมงขนาดใหญ่เข้ามาใช้อวนลาก
อวนรุนในบริเวณ ๓ กิโลเมตรจากฝั่ง แต่การบังคับใช้กฎหมายนี้ก็ไม่ได้ผล
กลางทศวรรษ ๒๕๓๐ จึงเห็นชุมชนประมงบริเวณชายฝั่งทะเลเรียกร้องให้เจ้า
หน้าที่รัฐบังคับใช้กฎหมาย เมื่อไม่ได้ผล บางทีก็ปิดล้อมท่าเรือเพื่อเป็นการ
ประท้วง
“พัฒนาการเศรษฐกิจ” เริ่มตั้งแต่ “สมัยอเมริกัน” พึ่งทรัพยากรธรรม
ชาติโดยไม่ได้ค�านึงถึงผลกระทบที่จะตามมา ได้ปรับเปลี่ยนเมืองไทยจากที่เคย
มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์กลายมาเป็นขาดแคลนภายในชั่วอายุคน
เดียวเท่านั้น ประมาณ ๓๐ ป

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ช่องว่างรายได้ระหว่างคนรวยและคนจนเพิ่มขึ้นกว่าเดิมในช่วง ๔๐ ปี
โดยรากฐานแล้ว ปัญหานี้สะท้อนความต่างระหว่างเมืองและชนบท และโดย
เฉพาะอย่างยิ่งระยะห่างระหว่างคนกรุงเทพฯ กับคนที่อยู่ในเขตชนบทไกลออก
ไป ที่บริเวณภูเขาภาคเหนือ ที่เขตชายแดนภาคใต้ และที่อีสานซึ่งขาดแคลน
ทรัพยากรแทบทุกอย่าง

ชนบท ขนสู้
คนชนบทปกป้องตนเองจากการถูกเอาเปรียบและทรัพยากรถูกแย่งชิง
โดยร่วมมือกับองค์กรพัฒนาเอกชน (เรียกย่อๆ ว่า อพช. หรือเอ็นจีโอ หรือ
Non-Governmental Organization)
อพช. รุ่นแรกๆ ก่อตัวขึ้นช่วงทศวรรษ ๒๕๐๐ เป็นต้นมา ปรมาจารย์
ของพวกเขาคือ ดร.ปวย อึงภากรณ์ เทคโนแครต (ผู้เชี่ยวชาญที่จ�าเป็นในการ
บริหารจัดการเศรษฐกิจสมัยใหม่) ที่มีชื่อเสียงเด่นมาก เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่
สนใจความเป็นธรรมในสังคม อีกคนหนึ่งคือ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักเคลื่อนไหว-
นักเขียนแนวพุทธศาสนาเพื่อการมีชีวิตที่สมดุล ภายหลังเหตุการณ์ “๖ ตุลา”
ทั้งสองต้องลี้ภัยไปต่างประเทศ เพราะถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ จน ดร.
ปวยนั้นไม่ได้กลับมาอยู่เมืองไทยอีก จากปลายทศวรรษ ๒๕๑๐ คนที่เคยเป็น
นักเคลื่อนไหวสมัย “๑๔ ตุลา” และ “๖ ตุลา” (๒๕๑๖-๒๕๑๙) หลายคนหัน
มาจับงาน อพช. ด้วยพวกเขาอยากเปลี่ยนแปลงสังคมโดยใช้แนวทางสันติ
ต้นทศวรรษ ๒๕๒๐ ขบวนการ “พระนักพัฒนา” เริ่มเผยแพร่ความคิดที่ว่า
พระสงฆ์ควรจะท�างานพัฒนาเพื่อปรับปรุงสังคมในโลกนี้
ต้นทศวรรษ ๒๕๒๐ นักเคลื่อนไหวหลายคนใน อพช. รุ่นแรกๆ นี้
เริ่มเสนอว่า นโยบายพัฒนาแบบบนลงล่าง คือก�าหนดมาจากภาครัฐบาลส่วน
กลางโดยไม่ให้ภาคประชาชนมีบทบาทเลย ไม่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิต
ของคนส่วนใหญ่ แต่ได้ท�าให้สังคมยุ่งเหยิงและแตกแยก
การพัฒนาแบบบนลงล่าง เรียกร้องให้ชาวบ้านเปลี่ยนวิถีชีวิต เปลี่ยน
การผลิตเป็นแบบสมัยใหม่ เป็นวิทยาศาสตร์ และคิดแบบการค้าในระบบตลาด
มากขึ้น แต่นักเคลื่อนไหวเสนอว่า การพัฒนาควรมีรากมาจากความรู้ของชาว

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
บ้านเอง ควรพยายามท�าให้วัฒนธรรมพื้นถิ่นแข็งแกร่งขึ้น อีกทั้งรักษาความ
สัมพันธ์แบบหมู่บ้านเอาไว้ เพราะสิ่งเหล่านี้มีคุณค่า มีความหมายต่อมนุษยชาติ
สอดคล้องกับระบบคุณค่าของพุทธศาสนามากกว่าระบบคุณค่าของสังคมเมือง
อุตสาหกรรม ดร.เสรี พงศ์พิศ เคยเป็นบาทหลวงนิกายคาทอลิก และเป็น
อาจารย์มหาวิทยาลัย เสนอให้ชาวบ้านเป็นตัวของตัวเอง

การพัฒนาชุมชนในชนบททุกวันนั้นส่วนใหญ่ยังเป็นการ
‘ยัดเยียด’ แนวคิดจากภายนอก ซึ่งถือว่าตนเองรู้มากกว่า...จ�าเป็น
ต้องเข้าใจวัฒนธรรมชุมชน วิธีคิดวิธีให้คุณค่า วิธีปฏิบัติและโลก
ทรรศน์ของชาวบ้าน และให้พวกเขามีบทบาทหลักในการพัฒนา
ชุมชนของตนเอง๑๑

แนวทางนี้เรียกว่า “แนวคิดวัฒนธรรมชุมชน” ได้กลายเป็นหลักการ


หนึ่งที่ชี้น�าการท�างานของ อพช.เป็นจ�านวนมาก
กลางทศวรรษ ๒๕๒๐ ขบวนการสิ่งแวดล้อมเป็นตัวหนุนช่วยอีกแรง
หนึ่ง พ.ศ. ๒๕๒๕ รัฐบาลมีโครงการสร้าง “เขื่อนน�้ำโจน” ซึ่งจะส่งผลให้น�้าท่วม
ผืนป่าขนาดใหญ่ที่ยังหลงเหลืออยู่ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นบริเวณ
ถึง ๒๒๓ ตารางกิโลเมตร หลายกลุ่มเข้าร่วมขบวนการปกป้องป่า ทั้งชาวบ้าน
ที่จะถูกไล่ที่เป็นจ�านวนมาก นักเคลื่อนไหวจากบริเวณใกล้เคียง นักหนังสือพิมพ์
นักวิชาการ พระสงฆ์ นักร้อง อพช.ไทย และ อพช.ด้านสิ่งแวดล้อมจากต่าง
ประเทศ ผลคือ การประท้วงได้ผล รัฐบาลเลื่อนโครงการออกไป และท้ายที่สุด
ยกเลิกไปใน พ.ศ. ๒๕๓๑ ประสบการณ์นี้ท�าให้มี อพช.เกิดใหม่อีกหลายแห่ง
ท�าหน้าที่เป็นตัวเชื่อมการประท้วงของชาวบ้านกับชนชั้นกลางเมืองที่เห็นใจและ
ร่วมกับขบวนการสิ่งแวดล้อมระดับนานาชาติ
ช่วงที่มีการปราบปราม พคท. ฝ่ายกองทัพและกองก�าลังติดอาวุธไม่
เป็นทางการข่มขู่ชาวบ้านขนาดหนัก บางคนที่ขัดขืนก็ “ถูกจัดกำร” ด้วยวิธีการ
ต่างๆ ท�าให้ชาวบ้านหวาดกลัวและไม่กล้าประท้วง แต่จากปี ๒๕๒๕ สถาน
การณ์ดีขึ้น จึงมีผู้น�าชาวบ้านกลุ่มใหม่ขึ้นมา บ้างเคยท�างานกับ อพช. มาก่อน
เช่น จอนิ โอ่โดเชา บ้างได้เรียนสูงแล้วกลับหมู่บ้านเพื่อเป็นครู บ้างเคยท�างาน
ในเมือง เช่น บ�ารุง คะโยธา เคยเป็นคนงานอพยพ และผู้น�าคนงานที่กรุงเทพฯ
สมัย “๑๔ ตุลา” และ “๖ ตุลา” (พ.ศ. ๒๕๑๖-๒๕๑๙)

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


กลางทศวรรษ ๒๕๓๐ ขบวนประท้ ว งหลายกรณี ร ่ ว มมื อ กั น จั ด ตั้ ง
องค์กรใหม่ ชาวบ้านอีสานประท้วงโครงการเกษตรที่ล้มเหลวท�าให้พวกเขา
เป็นหนี้กันมากมาย ชาวบ้านอีกหลายกลุ่มประท้วงโครงการจัดที่ท�ากิน หรือ
คจก. ซึ่งฝ่ายกองทัพจะย้ายชาวบ้านจ�านวนประมาณ ๖ ล้านคนออกจากป่า
๑,๒๕๓ แห่งที่ “จับจอง” อยู่ ชาวบ้านทั้งสองกลุ่มนี้ได้จับมือกันเพื่อต่อต้านที่
รัฐบาลจะจัดตั้งสภำเกษตรแห่งชำติ อันจะท�าให้บริษัทเกษตรขนาดใหญ่ ไม่ใช่
เกษตรกรรายเล็กมีบทบาทก�าหนดนโยบายเกษตร การประท้วงเหล่านี้ส่งผล
ให้เกิดองค์กรใหม่คือ สมัชชาเกษตรกรรายย่อยแห่งภาคอีสาน สกย.ป. ใน
ช่วงใกล้กัน ชาวบ้านที่ประท้วงถูกย้ายออกจากป่าในเขตภูเขา ก่อตั้งเครือข่าย
เกษตรภาคเหนือ คกน.
ชาวบ้านจึงคิดยุทธศาสตร์การประท้วงใหม่ๆ ขึ้น พ.ศ. ๒๕๓๕ การ
ต่อต้านโครงการ คจก.นั้น ชาวบ้านเดินขบวนจากอีสานเข้าสู่กรุงเทพฯ โดยใช้
เส้นทางถนนมิตรภาพ สร้างในสมัยอเมริกันเป็นถนนสมัยใหม่สายแรกเชื่อม
“อีสาน” กับ “กรุงเทพฯ” (ดูภาพที่ ๒๘) รัฐบาลส่งรัฐมนตรีนั่งเฮลิคอปเตอร์
มาเจรจาข้อตกลงที่ข้างถนน ก่อนที่ขบวนจะเข้าถึงเมืองหลวง หลังจากนั้นโครง
การ คจก.ถูกยกเลิก

ภาพที่ ๒ เกษตรกรเดินสู่กำรเมือง กำรประท้วง “โครงกำร คจก.”


บนถนนมิตรภำพ เดือนมิถุนำยน ๒๕ ๕

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ช่วง ๓ ปีต่อมา กลุ่มเกษตรกรอีสานได้ใช้ยุทธศาสตร์เดียวกันนี้เรียก
ร้องให้รัฐบาลช่วยจัดการแก้ไขปัญหาหนี้สิน ราคาสินค้าเกษตรตกต�่า การเข้า
ถึงป่า เรียกร้องเงินทดแทนการสูญเสียที่ดินในโครงการสร้างเขื่อน และเรียกร้อง
ให้ยกเลิกโครงการเขื่อนที่ยังไม่ได้สร้างด้วย เครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือเดิน
ขบวนประท้วงในลักษณะคล้ายกันที่เชียงใหม่ เรียกร้องสิทธิที่ท�ากินและสิทธิ
พลเมืองของชาวเขา ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ เกิดองค์กรประสานกลุ่มประท้วง
ทั้งหลายขึ้นใหม่คือ สมัชชาคนจน เป็นเครือข่ายโยงกลุ่มประท้วงเข้าภายใต้ร่ม
ธงเดียวกัน ไม่มีผู้น�า แต่มีกลุ่ม “ที่ปรึกษำ” จาก อพช.หลายแห่ง การตั้งชื่อ
มีนัยให้เห็นความต่างระหว่างชนบทยากจนกับเมืองร�่ารวย “สมัชชาคนจน” ได้
รวบรวมเกษตรกรอีสาน รวมถึงชาวเขาที่เรียกร้องสัญชาติไทยและสิทธิในที่ท�า
กิน และชุมชนประมงพื้นบ้านภาคใต้ที่ถูกประมงอวนรุนอวนลากรุกราน และ
ยังมีกลุ่มคนงานเมืองอีก ๒-๓ กลุ่มที่เผชิญปัญหาเข้าร่วม
พ.ศ. ๒๕๓๙ “สมัชชาคนจน” น�ากลุ่มผู้ประท้วงหลายพันคนเข้ามาที่
กรุงเทพฯ และได้ข้อตกลงกับนายกรัฐมนตรีในหลายกรณี แต่ต่อมาภายหลัง
ผลการเจรจานี้ตกไปเมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาล พ.ศ. ๒๕๔๐ “สมัชชาคนจน” น�า
ชาวบ้านกว่า ๒ หมื่นคน ปักหลักประท้วงที่กรุงเทพฯ เป็นเวลา ๙๙ วันอย่าง
ต่อเนื่อง จนในท้ายที่สุดมีข้อตกลงกับรัฐบาลที่รวมถึงการชดใช้เงินทดแทน
๔.๗ พันล้านบาทให้กับชาวบ้านซึ่งสูญเสียที่ดินจากโครงการสร้างเขื่อน ตกลง
ให้ผู้จับจองพื้นที่ป่ามาก่อนสามารถอยู่ในป่าได้ และจะมีการประเมินโครงการ
สร้างเขื่อนที่ยังไม่ได้สร้างเสียใหม่ แต่แล้วก็มีการเปลี่ยนรัฐบาลอีกในปลายปี
เดียวกัน ท�าให้รัฐบาลใหม่ยกเลิกข้อตกลงทั้งหมดอีกครั้ง
“สมัชชาคนจน” เป็นขบวนการทางสังคมที่สื่อมวลชนให้ความสนใจ
และได้รับการกล่าวขานถึงในพื้นที่สาธารณะในช่วงที่การประท้วงของชาวบ้านรุ่ง
ถึงจุดสูงสุด เศรษฐกิจวิก ต พ.ศ. ๒๕๔๐ ยิ่งเพิ่มความคับข้องใจให้กับชาว
บ้านเป็นทวีคูณ หลังจากค่าเงินบาทลดลง ราคาสินค้าเกษตรตกต�่า แต่ปุย-ยา
ฆ่าแมลงแพงขึ้น คนงานอพยพตกงานต้องกลับชนบท เงินรายได้จากค่าจ้างที่
แรงงานเคยส่งกลับบ้านก็หดหาย ต้นปี ๒๕๔๗ องค์กรชาวบ้านหลายแห่งเรียก
ร้องให้รัฐบาลช่วยเรื่องหนี้สิน ๒ ปีต่อมาเกษตรกรหลายกลุ่มปิดถนนหลวง
ในภูมิภาคหรือเดินขบวนเข้ากรุงเทพฯ เรียกร้องให้รัฐบาลอุดหนุนราคาสินค้า
เกษตร “สมัชชาคนจน” เรียกร้องให้จ่ายเงินชดเชยการสูญเสียที่ดินจากโครง
การเขื่อนอีก และให้เปิดประตูกั้นน�้าที่ “เขื่อนปำกมูล” เขื่อนที่ได้ส่งผลกระทบ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


กับการประมงในแม่น�้ามูล ชุมชนหาปลาที่บริเวณเขื่อนตั้งแคมป์ที่หน้าท�าเนียบ
รัฐบาลเพื่อเรียกร้อง ที่ภาคเหนือชาวบ้านประท้วงที่รัฐบาลยังคงด�าเนินนโยบาย
ขับไล่เกษตรกรที่ตั้งรกรากอยู่ในเขตป่ามาเป็นเวลานานออกไป โดยประกาศให้
เป็นป่าสงวนแห่งชาติ ชาวเขาก็ประท้วงที่พนักงานรัฐมักพยายามขับไล่พวกเขา
ออกจากป่าโดยมักจะใช้ความรุนแรงด้วย
ชาวบ้านกล้าหาญขึ้นในการประท้วงโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่
ึ่งรัฐบาลต้องการสร้างโดยไม่ปรึกษาหารือกับพวกเขา และไม่ประเมินผล
กระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมเสียก่อน
ผู้ประท้วงไม่อาจต้านโครงกำรสร้ำงท่อแกสที่ยาดานา จังหวัดกาญจนบุรี
ได้ ท่อแก๊สนี้ขนส่งแก๊สจากพม่าผ่านป่าเข้ามาทางด้านตะวันตก แต่ผู้ประท้วง
ประสบความส�าเร็จหยุดยั้ง (อย่างน้อยชั่วคราว) โครงกำรสร้ำงสถำนีผลิตไฟฟำ
ด้วยถ่ำนหินที่ชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันออกได้ (บ่อนอก และบ้านกรูด) หลัง
จากที่กรรมาธิการเขื่อนโลก (World Commission on Dams) มีความเห็นว่า
เขื่อนปากมูลไม่ควรสร้างเพราะมีผลกระทบทางลบมากกว่าผลได้ การไฟฟ้าฝ่าย
ผลิต (กฟผ.) ก็ยกเลิกโครงการผลิตไฟฟ้าพลังน�้าอื่นๆ รัฐบาลยกเลิกโครงการ
สร้างท่อขนส่งแก๊สข้ามแหลมมลายูที่ภาคใต้ของไทย หลังจากมีการปะทะกัน
ระหว่างนักประท้วงและต�ารวจ ๓ ครั้ง ในหลายจังหวัด ชาวบ้านต่อต้านโครง
กำรบ�ำบัดของเสียจำกโรงงำนที่จะสร้างมลภาวะให้กับชุมชนของเขา
โดยสรุป ขณะที่เศรษฐกิจเมืองดึงดูดโครงการลงทุนต่างๆ และรัฐบาล
ก็ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี แต่การปรับเปลี่ยนสู่เศรษฐกิจทุนนิยมอย่าง
เต็มที่ของภาคเกษตรกลับไม่ก้าวหน้า ชนบทยังคงเป็นเศรษฐกิจชาวนารายเล็ก
แม้ว่าพวกเขาจะโยงใยกับเศรษฐกิจตลาดมากขึ้นกว่าเดิม ความส�าคัญของ
เศรษฐกิจชนบทต่อเศรษฐกิจรวมระดับชาติลดลงอย่างรวดเร็ว แต่จ�านวนคน
ในภาคเกษตรลดลงในอัตราช้ากว่า พ.ศ. ๒๕๔๓ ประชากรเกษตรยังเหลืออยู่
ถึงร้อยละ ๔๐ ของทั้งประเทศ ในระบอบรัฐสภาประชาธิปไตยที่ผลประโยชน์
ของเมืองเป็นใหญ่ พวกเขาไม่มีอ�านาจแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม จากปลาย
ทศวรรษ ๒๕๓๐ ชาวบ้านสามารถเพิ่มพื้นที่ทางการเมืองในสื่อมวลชน ในการ
ประชุมทางวิชาการ บนทางหลวงและบนท้องถนนที่กรุงเทพฯ (การเดินขบวน
ประท้วง) ดังที่ผู้น�าชาวบ้านคนหนึ่งกล่าวไว้ว่ำ “ทหำรอ�ำนำจอยู่ที่ปน พวกนัก
ธุรกิจอ�ำนำจอยู่ที่เงิน...แต่ในประสบกำร ์ของคนจน อ� ำนำจของคนจนอยู่ที่
ตีน” ๑๒

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ชาวนาไม่ได้เป็น “กระดูกสันหลังของชาติ” คือผู้สร้างความมั่งคั่งให้
แก่ประเทศเช่นก่อนเก่า และจากอดีตที่เคยมีบทบาทเป็นพลังเงียบอยู่เบื้องหลัง
ความสงบเรียบร้อยทางการเมืองอย่างที่มีจินตนาการกันก็ได้เปลี่ยนไป เมื่อการ
ประท้วงจากภาคชนบทเพิ่มขึ้น ฝ่ายรัฐต้องเปลี่ยนนโยบายหันมาเอาใจเกษตรกร
ปลายทศวรรษ ๒๕๒๐ รัฐบาลลดภาษีภาคเกษตรและเริ่มให้เงินอุดหนุน โครง
การพยุงราคาสินค้าเกษตรแบบต่างๆ เริ่มแรกท�าเป็นระยะสั้นๆ หรือจ�ากัดเขต
แต่ต่อมาค่อยๆ ขยายขอบข่ายออกไปและสม�่าเสมอขึ้น ครั้น พ.ศ. ๒๕๔๙
รัฐบาลให้เงินอุดหนุนราคาข้าวถึง ๑ ใน ๔ ของการผลิตข้าวทั้งหมด ทั้งนี้
นโยบายเป็นผลของการมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนั่นเอง พรรคการเมือง
เสนอโครงการดังกล่าวเพราะเป็นที่นิยม และเพราะมีผลทันตาเห็นในการลด
จ�านวนคนยากจน บ่งบอกถึงผลส�าเร็จของนโยบายลดความยากจน
รัฐบาลยังเพิ่มเงินค่าใช้จ่ายในการสร้างถนนซึ่งเชื่อมโยงหมู่บ้านกับตลาด
สร้างระบบชลประทาน ขยายงานโครงการช่วยเหลือเกษตรกรด้านต่างๆ (ให้
ความรู้ การแจกเมล็ดพันธุ์ดี ฯลฯ) และโครงการพัฒนาชุมชนหลายด้าน โครง
การเหล่านี้นอกจากจะเพิ่มรายได้แล้วยังท�าให้ชาวบ้านมีงานท�าทั้งแบบท�าเต็ม
เวลาหรือท�างานบางเวลา นอกจากนั้น รัฐบาลยังสนับสนุนให้ภาคธุรกิจเอกชน
ขยายโครงการผลิตสินค้าเกษตรแบบพันธะสัญญา (contract farming) ทั้ง
ในการผลิตผลไม้ ผัก ดอกไม้ ถั่วเหลือง และข้าวหอมมะลิ เกษตรกรและ
นักวิชาการบางส่วนไม่เห็นด้วยกับการเกษตรแบบพันธะสัญญาเพราะเห็นว่าเอา
เปรียบเกษตรกร แต่โดยทั่วไปแล้วเกษตรกรตอบรับโครงการดังกล่าวด้วยดี
เพราะว่าช่วยลดความเสี่ยง น�าเงินลงทุนเข้ามา และไม่ต้องหาตลาดเอง ขณะ
เดียวกันรัฐบาลต้องขอความช่วยเหลือจากธนาคารโลก ท�าโครงการออกโฉนด
ที่ดินให้ผู้ถือครองที่ดินเกษตรได้มากกว่า ๑๒๕ ล้านไร่ ซึ่งโฉนดทั้งหมดนี้ครอบ
คลุมที่ดินเกษตรนอกเขตป่าสงวนหรืออุทยานแห่งชาติเกือบทั้งสิ้น
ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไม่ได้ท�าให้สังคมชนบทปรับแปรไปอย่างถึง
รากถึงโคน แต่ได้ช่วยด�ารงสภาพของเกษตรครัวเรือนรายเล็กเอาไว้ ครัวเรือน
เกษตรรายเล็กยังคงพึ่งเศรษฐกิจเมืองให้แบ่งปันความมั่งคั่งให้กับพวกเขาผ่าน
แรงงานอพยพ จากการส�ารวจหมู่บ้านแห่งหนึ่งในอีสาน เมื่อทศวรรษ ๒๕๔๐
พบว่าสมาชิกของครัวเรือนอพยพไปท�างานในจังหวัดต่างๆ ทั่วเมืองไทยถึง ๑๖
จังหวัด และยังไปต่างประเทศ รวมทั้งลาว มาเลเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง ญี่ปุ่น และ
เนเธอร์แลนด์ ๑๓

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


นอกจากนั้นแล้ว เงินรายได้ที่คนงานอพยพส่งกลับมาบวกกับการใช้
จ่ายของภาครัฐบาลในโครงการสาธารณูปโภคต่างๆ และเงินอุดหนุนภาคเกษตร
ได้ค่อยๆ ท�าให้เศรษฐกิจหมู่บ้านปรับแปรไปจนมีลักษณะของความเป็นเมือง
มากขึ้น ชาวบ้านเปิดร้านเสริมสวย ร้านตัดผม ท�าธุรกิจให้เช่ารถ เปิดร้านขาย
ของช�า ร้านอาหารขนาดเล็ก และหลายคนท�างานรับราชการในพื้นที่นั้นเอง
เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว คนชนบทในต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ มีราย
ได้ต่อหัวโดยเฉลี่ยมากกว่ารุ่นพ่อแม่ถึง ๓ เท่า (ตามราคาจริง) ความคาดหวัง
ในชีวิตที่สูงขึ้น จึงเป็นเรื่องธรรมดา ขณะเดียวกันนั้นรายได้ของผู้ท�างานนอก
ภาคเกษตรเต็มที่สูงกว่านี้มาก ครัวเรือนจึงส่งเสริมให้ลูกได้รับการศึกษาสูง เพื่อ
จะได้ไม่ต้องเป็นเกษตรกรเหมือนรุ่นปู่ย่าตายายหรือตัวเอง
ชาวบ้านรุ่นใหม่ต่างไปจากรุ่นพ่อแม่อย่ างสิ้นเชิง ขณะที่พ่อแม่ของ
เขามีวิถีชีวิตโยงอยู่กับชุมชนพื้นถิ่นเป็นหลัก แต่คนรุ่นใหม่เดินทางไปท�างานที่
กรุงเทพฯ ที่ไต้หวัน หรือที่อื่นๆ และชีวิตประจ�าวันเกี่ยวโยงกับโลกภายนอก
เป็นนิจศีล ผ่านโทรทัศน์ และส�าหรับหลายๆ คนผ่านอินเตอร์เน็ต พวกเขามอง
เห็นความไม่เท่าเทียมที่พุ่งสูงในเมืองไทย ไม่ใช่แต่เพียงช่องว่างระหว่างรายได้
ของคนกลุ ่ ม ต่ า งๆ แต่ เ ห็ น ความต่ า งของคุ ณ ภาพและความมี อ ยู ่ ข องบริ ก าร
สาธารณะ “ความต่าง” อย่างมากมายในสถานภาพสังคม ศักดิ์ศรี และความ
ยอมรับนับถือกันตามล�าดับชั้นในสังคม
ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ ความไม่พอใจสืบเนื่องมาจากความไม่เท่า
เทียมกัน การถูกเลือกปฏิบัติส�าแดงให้เห็นได้จากวาทกรรมทางการเมือง ที่
ผู้ร่วมขบวนประท้วงใน พ.ศ. ๒๕๕๓ อธิบายว่า “ส�ำหรับพวกเรำแล้ว ประชำ
ธิปไตยหมำยควำมถึงควำมเสมอภำค...เรำอยำกเห็นควำมเสมอภำค ด้ำน
ด้ำนก หมำย กำรเมือง และกำรศึกษำ” ทั้งนี้ ไม่ใช่เพราะว่าความไม่เท่าเทียม
ได้เพิ่มสูงขึ้น (อันที่จริงตัวชี้ทางสถิติในภาพรวมแสดงให้เห็นว่าได้ลดลงบ้าง
แล้ว) แต่เป็นเพราะว่าผู้คนได้รับรู้ถึงความต่างจึงไม่พอใจ
ส�าหรับรุ่นพ่อแม่ รัฐบาลเป็นอะไรที่อยู่ห่างไกลและค่อนข้างจะชั่วร้าย
แต่ส�าหรับชาวบ้านรุ่นใหม่สถานการณ์มีความซับซ้อนขึ้น ส�าหรับสังคมชนบท
รัฐบาลมีบทบาททั้งเป็นผู้อุปถัมภ์ เป็นนายจ้าง และเป็นประหนึ่งนายแบงก์
ดังนั้น ผู้คนจึงมีความคาดหวังว่ารัฐบาลมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ และพวก
เขาเองก็ได้ถูกดึงเข้าไปเกี่ยวโยงกับการเมืองในการเจรจาต่อรองกับรัฐบาลใน
ทุกระดับ นับจากระดับการปกครองส่วนท้องถิ่นไปจนถึงระดับชาติ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
องค์ประกอบต่างๆ อันได้แก่ ระดับรายได้ที่สูงขึ้น ความคาดหวังต่อ
ชีวิตที่เปลี่ยนไป ความไม่พอใจความเหลื่อมล�้า และความคาดหวังกับบทบาท
ของรัฐบาลที่สูงขึ้น จะแปรเปลี่ยนการเมืองไทยไปอย่างสิ้นเชิงในช่วงต้นคริสต์
ศตวรรษที่ ๒๑

สมัยสังคมมวลชน : สิงพิมพ์
ช่วง ๒๕ ปีหลัง “๑๔ ตุลา” (๒๕๑๖) สังคมมวลชนก่อตัวขึ้น ผู้คนผูก
โยงเข้ากับระบบเศรษฐกิจระดับชาติมากขึ้น การสื่อสารท�าให้คนใกล้ชิดกันมาก
ขึ้น การขยายแพร่กระจายของสื่อสารมวลชนเป็นกระจกเงาสะท้อนสังคม ท�าให้
ผู้คนตระหนักรู้เขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมชาติ
พ.ศ. ๒๕๑๘ จ�านวน ๙ ใน ๑๐ ของคนท�างานเรียนถึงประถมศึกษา
เป็นอย่างน้อย แต่เพียงร้อยละ ๖ หรือ ๑ ล้านเศษเท่านั้นที่จบมัธยมหรือสูง
กว่า และพวกหลังนี้ส่วนใหญ่เข้ารับราชการ เชื่อกันว่าเหมาะแล้วส�าหรับสังคม
ที่มีชาวนาเป็นคนส่วนมาก เพราะชาวนาไม่จ�าเป็นต้องเรียนสูง
แต่เมื่อเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเฟื่องฟูขึ้นจาก พ.ศ. ๒๕๒๘ ความต้อง
การก�าลังคนที่มีความสามารถเพื่อท�างานอุตสาหกรรมจึงเพิ่มขึ้น รัฐบาลเพิ่ม
งบประมาณเพื่อการศึกษาจาก ๑ ใน ๖ ของทั้งหมดเป็นร้อยละ ๒๕ เพิ่มชั้น
เรียนระดับมัธยมในโรงเรียนต่างจังหวัด ยกเว้นค่าเล่าเรียน ให้อาหารกลางวัน
และชุดนักเรียนฟรี เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายของครอบครัว ดังนั้น จ�านวนผู้ที่จบ
มัธยม หรือสูงกว่าจึงเพิ่มขึ้นมากกว่า ๑๐ เท่า เป็น ๑๐ ล้านคน ในปี ๒๕๔๕
จ�านวนคนอ่านหนังสือและสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ ก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตาม
ตัว ทศวรรษ ๒๕๓๐ แม้แต่เมืองเล็กๆ ต่างจังหวัดก็มีร้านขายหนังสือพิมพ์
นิตยสารและหนังสือต่างๆ อย่างน้อย ๑ แห่งมักจะเรียงหนังสือพิมพ์ไว้ด้านหน้า
ด้านหลังจะมีสต๊อกของหนังสืออ่านเล่น บางแห่งมีเป็นพันเล่ม ราคาไม่แพง
เพราะต้นทุนการผลิตยังต�่าอยู่ ผู้คนซื้อหามาอ่านได้
เนื้อหาของนวนิยายและเรื่องสั้นยังคงพูดถึงสภาพสังคม แต่อารมณ์
ความหวังไม่แจ่มใสเมื่อเทียบกับเรื่องเขียนก่อน “๖ ตุลา ๑๙” ดังเช่น นวนิยาย
เรื่องค�ำพิพำกษำ ของชาติ กอบจิตติ (พ.ศ. ๒๕๒๔) หนังสือที่นิยมอ่านกันเป็น

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ประเภทเริงรมย์หรือที่เรียกว่า “นิยายประโลมโลกย์” นักเขียนมีชื่อและใช้นาม
ปากกา เช่น ทมยันตี และกฤษ ำ อโศกสิน เป็นเรื่องราวชีวิตของครอบครัว
ความรัก หรือนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ นวนิยายเป็นเสมือนกระจกเงาสะท้อน
การก่อตัวของชนชั้นกลางเมืองและอัตลักษณ์ ต้นทศวรรษ ๒๕๓๐ นักเขียน
รุ่นใหม่ เช่น ปราบดา หยุ่น เขียนหนังสือที่โดนใจคนวัยรุ่นที่เติบโตขึ้นมาสมัย
โลกาภิวัตน์
หนังสือประเภทนิตยสารขายดีที่นิยมกันมากเป็นเรื่องสะท้อนชีวิตจริง
ประเภทหวือหวามีชื่อเตะตา เช่น ชีวิตต้องสู้ เป็นเนื้อหาเรื่องอาชญากรรม ความ
รัก เรื่องลึกลับ โศกนาฏกรรมชีวิต อีกประเภทก็เช่น คู่สร้ำงคู่สม อ่านแล้ว
ท�าให้รู้สึกดีมีความสุข เป็นเรื่องราวความส�าเร็จในชีวิต ความสมหวัง การฟันฝ่า
อุปสรรคได้
วงการหนังสือพิมพ์เ อง ูขึ้นเมื่อทศวรรษ ๒๕๑๐ เฉพาะ พ.ศ.
๒๕๑๗ ปเดียว รัฐบาลออกใบอนุญาตให้หนังสือพิมพ์รายวันถึง ๑๗๗ ราย
บางฉบับ เช่น The Nation (เดอะ เนชั่น พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ) และประชำ
ธิปไตย ฉีกแนวออกไปจากหนังสือพิมพ์รายวันทั่วไปโดยแสดงจุดยืนชัดเจน
หลัง “๖ ตุลา ๑๙” รัฐบาลควบคุมสื่อเข้มงวดแต่เพียงปีเดียว พ.ศ. ๒๕๒๐
มติชนรำยวัน ถือก�าเนิดเป็นหนังสือพิมพ์คุณภาพ อีก ๓ ปีต่อมาออก มติชน
สุดสัปดำห์ มีเนื้อหาวิเคราะห์การเมือง ต่อมาพัฒนาเป็นนิตยสารที่มีบทวิพากษ์
วิจารณ์ เรื่องสั้น และคอลัมน์ประเภทให้ความรู้ทั่วไป รวมทั้งเรื่องต่างประเทศ
และคอลัมน์บันเทิง ท�าให้ส�านักพิมพ์อื่นๆ เลียนแบบ ช่วงหลังเศรษฐกิจเฟื่องฟู
พ.ศ. ๒๕๒๘ สนธิ ลิม้ ทองกุล เปิดตัวหนังสือพิมพ์รายวันผู้จดั กำร เพือ่ นักธุรกิจ
เนื้อหามีทั้งข่าวเศรษฐกิจ การเมือง ประสบความส�าเร็จ ส่งผลให้มีการเลียนแบบ
เช่นกัน
พ.ศ. ๒๕๓๔ นักหนังสือพิมพ์ประสบความส�าเร็จเรียกร้องให้รัฐบาล
ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีฉบับที่ ๔๒ ซึ่งออกในสมัยธานินทร์ กรัยวิเชียรเป็น
นายกฯ ให้อ�านาจรัฐบาลยุติการพิมพ์เป็นการชั่วคราวหรือเพิกถอนใบอนุญาต
ของหนังสือพิมพ์ได้ เมื่อฝ่ายกองทัพก่อการรัฐประหาร พ.ศ. ๒๕๓๔ และ
พยายามน�าระบบเซ็นเซอร์กลับมาใช้อีกด้วยการข่มขู่หนังสือพิมพ์หลายฉบับที่
ไม่ฟังเสียงรัฐบาล
ครั้นถึงกลางทศวรรษ ๒๕๓๐ ผู้ใหญ่ ๒ ใน ๓ ในเขตเมืองอ่านหนังสือ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
พิมพ์รายวัน และ ๑ ใน ๕ ที่ชนบทประมาณครึ่งหนึ่งอ่านไทยรัฐ และร้อยละ
๖-๗ อ่านหนังสือพิมพ์มติชน ตามหัวเมืองใหญ่ เช่น เชียงใหม่มีหนังสือพิมพ์
ท้องถิ่นมักเป็นรายปักษ์ แต่หนังสือพิมพ์ส่วนมากพิมพ์ที่กรุงเทพฯ
ส�าหรับสิ่งพิมพ์อื่นที่นิยมกันมากนั้นไม่มีอะไรเทียบประเภทฮำวทู (how
to) คือสอนให้ท�าอะไรเป็น ท�าธุรกิจ รักษาสุขภาพ ประสบความส�าเร็จในชีวิต
ส่วนตัว หนังสือประเภทนี้ช่วยให้คนเมืองรุ่นใหม่มีความรู้เรื่องแนวทางชีวิตและ
การปรับตัว ที่ไม่อาจหาได้จากสถานศึกษาหรือจากค�าสอนของพ่อแม่ ที่ขายดี
มากใช้เนื้อหา “บทเรียน” หรือสิ่งเตือนใจจากวรรณกรรมจีน เช่น เปำบุ้นจิ้น
สำมกก และต�ำรำพิชัยสงครำมของ ุนวู
หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสารสะท้อนชีวิตจริง นวนิยายประโลมโลกย์
และฮำวทู คือสื่อที่แบ่งปันและให้บทเรียนด้านประสบการณ์ ความหวั่นไหว
ความคาดหวังของชนชั้นกลางเมืองของไทยนั่นเอง

สังคมมวลชน : การคมนาคม ละสอสาร


พ.ศ. ๒๕๐๒ นักมานุษยวิทยา ไมเคิล มอร์มัน (Michael Moerman)
ต้องขี่ม้าโดยใช้เวลาถึง ๒ วันครึ่งเพื่อเข้าไปยังหมู่บ้านที่เขาศึกษาในจังหวัด
พะเยา เมื่อเขากลับออกมาอีกครั้งในปี ๒๕๓๐ เขาใช้เวลาเพียง ๙๐ นาทีเท่า
นั้น ปัจจัยส�าคัญ ๔ ประการที่ท�าให้ความสัมพันธ์ของหมู่บ้านกับโลกภายนอก
เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ได้แก่ ถนนลาดยาง รถทัวร์ โทรทัศน์ และรถจักรยาน
ยนต์ญี่ปุ่น (ดูภาพที่ ๒๙)
สหรัฐช่วยสร้างถนนไปต่างจังหวัดเมื่อทศวรรษ ๒๕๐๐ และ ๒๕๑๐
ไปยังฐานทัพอากาศสหรัฐที่อีสาน ทศวรรษ ๒๕๒๐ กองทัพไทยเริ่มสร้างถนน
สู่ฐานที่มั่นของกองก�าลัง พคท. โครงการเร่งรัดพัฒนาชนบทใช้เงินสหรัฐสร้าง
ถนนลาดยางในหมู่บ้าน ตลอดทศวรรษ ๒๕๒๐ และ ๒๕๓๐ นักการเมือง
ท้องถิ่นและบริษัทรับเหมาสนับสนุนการสร้างถนนไปเรื่อยๆ ครั้นถึงประมาณ
พ.ศ. ๒๕๓๓ มีทางถนนลาดยางเข้าถึงหมู่บ้านทุกแห่ง จะยกเว้นก็เฉพาะที่อยู่
บนเขตเขาสูงบางแห่งเท่านั้น ใครๆ ก็อาจขึ้นรถทัวร์จากใจกลางจังหวัดทุกแห่ง
เข้ากรุงเทพฯ ใช้เวลาเพียงชั่วข้ามคืนเท่านั้น

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ภาพที่ ๒ มอเตอร์ไ ค์ ี่ปุนช่วยโยงชนบทไทยกับตลำดและชำติ

บริษัท ี่ปุ นเริ่มประกอบรถจักรยานยนต์ที่เมืองไทยเมื่อหลังสงคราม


โลกครั้งที่ ๒ ต่อมาท�าการผลิตด้วย ครั้นปี ๒๕๑๘ ยอดขายสูงถึงปีละ ๑
แสน ๕ หมื่นคัน ยิ่งเมื่อเศรษฐกิจพัฒนาเร็วขึ้น คนงานอพยพส่งเงินกลับบ้าน
สม�่าเสมอขึ้น ยอดขายรถจักรยานยนต์ก็ยิ่งเพิ่มสูงเป็น ๒ ล้านคันต่อปีก่อนที่
จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ ส่วนใหญ่ขายให้ชาวบ้านต่างจังหวัด
นั่นเอง พ.ศ. ๒๕๓๘ พบว่าครัวเรือนชนบท ๓ ใน ๕ มีรถจักรยานยนต์ใช้
ดังนั้น “รถจักรยานยนต์” จึงเป็นการปฏิวัติก ารขนส่งส�าหรับชนบทไทยเลย
ทีเดียว เนื่องจากราคาถูก ไปไหนก็ได้แม้ถนนจะไม่ดีหรือไม่มีถนน เกษตรกร
ขี่รถจักรยานยนต์ไปท�านา แม่บ้านใช้ไปตลาด เด็กไปโรงเรียน ทุกคนขี่รถจักร
ยานยนต์ไปเที่ยวงานวัด
ครั้น พ.ศ. ๒๕๒๓ แทบทุกครัวเรือนในเมืองมีโทรทัศน์ไว้ดู แต่เฉพาะ
ในชนบทประมาณ ๑ ใน ๓ อีก ๑๐ ปีต่อมารัฐบาลญี่ปุ่นให้เงินรัฐบาลไทย
ช่วยขยายไ าสู่ชนบท ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความต้องการใช้สินค้าไฟฟ้าให้มากขึ้น
สถานีวิทยุโทรทัศน์ก็ขยายก�าลังเครื่องส่งให้ครอบคลุมเขตต่างจังหวัดด้วย เมื่อ
คนงานอพยพส่งเงินกลับบ้านเพิ่มขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ ๒๕๒๐ เป็นต้นมา
“โทรทัศน์” ก็เป็นสินค้าระดับต้นๆ ที่ครัวเรือนนิยมมาก ครั้น พ.ศ. ๒๕๓๘
ครัวเรือนชนบทถึงร้อยละ ๙๐ มีโทรทัศน์ไว้ดู

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ขณะที่รัฐบาลต้องยกเลิกการควบคุมสื่อสิ่งพิมพ์ก็ตระหนักดีถึงบทบาท
และอิทธิพลของสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะโทรทัศน์ จึงควบคุมเข้มงวด จน
ถึงทศวรรษ ๒๕๓๐ นั้น กองทัพหรือหน่วยงานรัฐเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ออก
ใบอนุญาตให้กับสถานีโทรทัศน์ ๔ แห่ง และสถานีวิทยุอีกกว่า ๔๐๐ แห่ง
ทั้งสิ้น ดังนั้น เนื้อหาของสื่ออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้จึงอยู่ในความควบคุมอย่าง
ใกล้ชิด “ข่าววิทยุ” ก็คือข่าวของส�านักสื่อภาครัฐนั่นเอง “ข่าวโทรทัศน์” จะเริ่ม
ด้วยข่าวในพระราชส�านัก ตามด้วยข่าวของฝ่ายทหาร ตามด้วยข่าวด้านกิจการ
พลเรือนลดหลั่นเป็นล�าดับไป ไพรม์ไทม์หรือเวลาที่มีผู้ชมจ�านวนมาก จ�ากัดไว้
ส�าหรับละครทีวีที่ออกอากาศติดต่อกันไปเป็นชุด นอกจากนั้น มีรายการพิเศษ
เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ กองทัพ เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่
ควรระลึกถึงเพื่อสนับสนุนหลักการ “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์”
เนื้อหาของสื่อโทรทัศน์นี้ค่อยๆ เปลี่ยนไปจนมากพอที่จะเป็น “กระจก
เงา” สะท้อนภาพของสังคมไทยได้ ประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๓ สถานีวิทยุโทรทัศน์
ปรับผังรายการข่าวเสียใหม่ โดยจัดข่าวในพระราชส�านักเป็นหมวดหมู่เฉพาะ
แยกออกไป และยกเลิกการเสนอรายงานข่าวแบบลดหลั่นกันลงมาอย่างที่ท�า
ในอดีต หลายรายการท�าสัญญาว่าจ้างให้บริษัทข้างนอกจัดท�า เปิดโอกาสให้
บริษัท เช่น วอชด็อก (Watchdog) และเครือเนชั่น (Nation Group) ผลิต
รายการที่มีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์และการอภิปรายการเมืองเป็นอิสระขึ้น ละคร
โทรทัศน์ผลิตในประเทศเพิ่มจ�านวนและคุณภาพ มักจะดัดแปลงมาจากนวนิยาย
มีชื่อเสียงอยู่แล้วและเป็นเสมือนกระจกสะท้อนการก่อตัวของชนชั้นกลาง ทุกๆ
คืนประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ใหญ่ในเมืองนั่งดูละครโทรทัศน์ ส�าหรับคนที่ไม่ได้
ดูด้วยเหตุผลใดก็ตาม ยังสามารถหาอ่านได้จากหนังสือพิมพ์รายวันหลายฉบับ
ที่ลงเรื่องเป็นตอนขนานกับละครโทรทัศน์
เนื้อหาของละครโทรทัศน์นั้นส่วนใหญ่เน้นไปที่วิถีชีวิตของชนชั้นกลาง
ที่นิยมกันมากมีโครงเรื่องคล้ายกัน เช่น ปัจเจกชนก้าวหน้าในชีวิตธุรกิจและ
ครอบครัวแม้จะมีอุปสรรคมากมาย ครอบครัวชนชั้นกลางร�่ารวยแต่ยังยึดมั่น
ในจริยธรรม คุณธรรม ชนะอ�านาจ การต่อสู้กับระบบพรรคพวกเครือญาติ
ความรุนแรง และคอร์รัปชั่น นอกจากนี้ ละครยังแสดงและแบ่งปันรสนิยม
ด้านแฟชั่นเสื้อผ้า การตกแต่งบ้าน การพูดจา และการวางตัวในสังคมของชนชั้น
กลาง

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ทศวรรษ ๒๕๓๐ เมื่อจ�านวนผู้ชมเขตต่างจังหวัดขยายออกไป อีกทั้ง
พวกเขารุ่มรวยขึ้นด้วย รายการโทรทัศน์จึงถูกปรับเปลี่ยนให้สนองความต้องการ
ของกลุ่มนี้ด้วย ในละครโทรทัศน์ทั่วๆ ไป “ตัวละคร” ที่เป็นชาวบ้านมักมีภาพ
เป็นตัวตลก แต่นำยฮ้อยทมิ พระเอกเป็นชาวบ้านอีสาน ไม่ได้เป็นตัวตลก
หรือคนใช้ เป็นคนเอาจริงเอาจังและฟันฝ่าอุปสรรคนานัปการอย่างชาญฉลาด
และกล้าหาญ นักแสดงที่เป็นคนกรุงเทพฯ พยายามเป็นคนอีสานทั้งท่าทางและ
พูดส�าเนียงอีสานแบบน่าชวนหัว มีรายการแบบเกมโชว์ที่ผู้ด�าเนินรายการและ
นักแสดงที่สร้างชื่อเป็นนักแสดงตามไนต์คลับแบบตลกคาเฟ่มาก่อน จงใจเพื่อ
สนองความเริงรมย์ของผู้ชมคนงานอพยพจากชนบท “ดีเจ” หรือผู้จัดรายการ
เพลงตามสถานีวิทยุเปิดเพลงที่ใช้ส�าเนียงตามภูมิภาค ดีเจบางคนพูดภาษาถิ่น
ด้วย
เพลงยอดนิยมก็เป็นกระจกเงาสะท้อนสังคมอีกบานหนึ่งเหมือนกัน
วงเพื่อชีวิต “คาราวาน” กลับออกมาจากป่าเมื่อปี ๒๕๒๕ “คาราบาว” เป็น
วงดนตรีใหม่ ช่วยท�าให้ดนตรีในแนวเพลงเพื่อชีวิตได้รับความนิยมต่อไปอีก
โดยยังคงมีเนื้อหาด้านการเมืองอยู่บ้าง พ.ศ. ๒๕๒๗ เพลงเมดอินไทยแลนด์
ของคาราบาวดังสุดๆ ระดับชาติ เพลงลูกทุ่งของภาคกลางเป็นที่นิยมจนมีการ
จัดทัวร์คอนเสิร์ตตามจังหวัดต่างๆ ตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ ๒๕๐๐ เป็นต้นไป
เพลงลูกทุ่งสะท้อนชีวิตเศร้าและความหวังของคนงานอพยพในเมือง คนฟัง
เพลงลูกทุ่งขยายทั่วประเทศ เพราะซื้อเทปมาฟังหรือเปิดวิทยุฟังรายการเพลง
ลูกทุ่งตามสถานีต่างๆ พ.ศ. ๒๕๓๕ เมื่อราชินีเพลงลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์
เสียชีวิตด้วยวัยเพียง ๓๑ ปี ผู้ที่เดินทางไปร่วมไว้อาลัยพุ่มพวงในงานศพของ
เธอ มีทั้งนายกรัฐมนตรี อีกทั้งพระบรมวงศ์ระดับสูง ทศวรรษ ๒๕๓๐ เพลง
ลูกทุ่งเป็นรายการยอดฮิตตามสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ นักร้องเพลงลูกทุ่ง
โดดเด่นจนกลายเป็นดาราระดับชาติ ได้รับเชิญไปร้องเพลงที่โตเกียวและลอส
แอนเจลิสเพื่อสร้างความเริงรมย์ให้กับคนไทยที่นั่น หมอล�ำอีสานก็ปรับให้
ทันสมัยและได้รับความนิยมสูง รวมทั้งเพลงกันตรึมที่ร้องกันแถวชายแดนเขมร
บริษัทผลิตเทปเพลงใหญ่ เช่น แกรมมี่ เริ่มส่งเสริมนักร้องเพลงลูกทุ่ง อีกทั้ง
นักร้องเพลงปอปสไตล์ญี่ปุ่นและฝรั่ง ส�าหรับตลาดเมืองไทย แกรมมี่สร้าง
วั นธรรมดำรำระดับชาติขึ้นมา โดยผสมผสานดนตรี ละครโทรทัศน์ และโหม
ด้วยการโฆษณา

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
พื้นที่สาธารณะเปิดขึ้นให้วีรบุรุษและวีรสตรีส ามัญชนได้เปิดเผยตัว
เรื่อยเรียงกันไป หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ พระจากหมู่บ้านที่โคราช ช่วยท�าให้
พระเครื่องรำงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในหมู่ทหารโดยเชื่อว่าใช้เพื่อป้องกันภัย
ต่อมาคนอื่นๆ นิยมใช้เพื่อให้ร�่ารวยและโชคดี เกิดการสร้างรายได้จากการผลิต
พระเครื่องรางและเงินบริจาคพอกพูนปีละหลายร้อยล้านบาท หลวงพ่อคูณน�า
เงินรายได้ไปสร้างโรงเรียนและสวัสดิการอื่นๆ บุคคลส�าคัญในสังคมรวมทั้ง
ราชนิกุล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “นักการเมือง” เดินทางมาเยี่ยมคารวะ โดยที่หลวง
พ่อจะต้อนรับด้วยการเขกหัวให้พร ใช้ค�า “กูมึง” เป็นลักษณะเฉพาะตัวของ
หลวงพ่อ แม้ว่าใครอาจจะมองว่าล้าสมัยหรือว่าไม่สุภาพก็ตาม
พุ่มพวง ดวงจันทร์ เป็นแรงงานเด็กไร้การศึกษาแต่กลายเป็นราชินีนัก
ร้องลูกทุ่ง เมื่อเธอเสียชีวิตด้วยวัยอันเยาว์ ใน พ.ศ. ๒๕๓๔ “สมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ได้เสด็จฯ ไปงานศพของเธอ และนายก
รัฐมนตรีในขณะนั้นกล่าวค�าไว้อาลัย ณ วัดที่บ้านของพุ่มพวง กลายเป็นที่ร�าลึก
ถึงเธอ เขำทรำย แกแล็ก ี่ ชกมวยชนะคู่แข่งถึง ๑๖ ครั้ง จากการท้าชิงทั้งหมด
๑๙ ครั้ง ได้เป็นแชมเปี้ยนมวยสากล ต่อมาแสดงภาพยนตร์และเป็นดาราราย
การโทรทัศน์ สมรักษ์ ค�ำสิงห์ เป็นนักมวยไทยคนแรกที่ได้เหรียญทองในกีฬา
โอลิมปิก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ พุ่งขึ้นเป็นวีรบุรุษทันที อีก ๘ ปีต่อมา ปวี ำ
ทองสุก นักกีฬายกน�้าหนักก็กลายเป็นหญิงไทยคนแรกที่ชนะได้เหรียญทองใน
กีฬาโอลิมปิก รัชนก อินทนนท์ ผันตัวเองเป็นแชมเปี้ยนแบดมินตันของโลก
เมื่ออายุเพียง ๑๘ ปี กลางทศวรรษ ๒๕๓๐ ละครตลกออกอากาศทางโทรทัศน์
ที่ได้รับความนิยมสูงมาก เล่นโดย “ดาวตลก” ที่เคยแสดงตามวงลูกทุ่งต่าง
จังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “หม�่ำ จกมก” หรือ เพ็ชรทำย วงษ์ค�ำเหลำ
หลวงพ่อคูณ สมรักษ์ ปวีณา รัชนก และหม�่ า บุคคลเหล่านี้ล้วนมี
พื้นเพเป็นชาวบ้านอีสาน ศาสนา กี า เพลง และละครตลก มีมิติขยาย
กระจกชนชั้น และก้าวข้ามก�าแพงจิตวิทยาที่แบ่งชนชั้นจากสมัยศักดินา

เฉลิมฉลองความหลากหลาย
พื้นที่สาธารณะ (public space) ในสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อมวลชนอิเล็ก
ทรอนิกส์ (วิทยุ โทรทัศน์ วิดีโอ) คือกระจกเงาที่สะท้อนสังคมในภาวะความ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


เปลี่ยนแปลง แสดงให้เห็นรสนิยม พฤติกรรมสังคม ความคาดหวังในชีวิต
และแม้กระทั่งความคิดทางการเมือง กล่าวได้ว่า เป็นกระจกเงาบานใหม่หนึ่ง
เดียวของชาติ สื่อแทบทั้งหมดอยู่ที่กรุงเทพฯ และสะท้อนสังคมเมือง ดังนั้น
จึงเป็นตัวน�าในการสร้างแบบแผนชีวิตให้ทุกคนในชาติเอาอย่างและอยากจะ
เหมือน ขณะเดียวกันก็เป็นกระจกเงาที่สะท้อนความหลากหลายของสังคมมาก
ขึ้นทุกที
ที่ได้เห็นชัดเจนประการหนึ่งคือศาสนา พุทธศาสนาในรูปแบบของการ
บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ชั่วขณะ และการท�าบุญตามวัดก�าลังอยู่ในช่วงขาลง แต่
พุทธศาสนารูปแบบใหม่ๆ ก�าลังอยู่ในช่วงขาขึ้น โดยมีการคมนาคมและการ
สื่อสารสมัยใหม่เป็นตัวหนุนช่วย ทัวร์ไหว้พระ เป็นที่นิยมมาก พระมีชื่อจะมี
คนขึ้นมาก ทั้งพระภิกษุสงฆ์ซึ่งมรณภาพแล้วหรือซึ่งยังมีชีวิตอยู่ พระสงฆ์
ชื่อดังหลายรูปได้รับความนิยมมากจากอุบาสก อุบาสิกา ที่ฟังท่านเหล่านี้เทศน์
ตามวิทยุ ฟังจากเทป หรือเป็นเพราะท่านปรากฏตัวในข่าวโทรทัศน์และหนังสือ
พิมพ์ พระพยอม กัลยาโณ เทศน์สอนวิถีการด�าเนินชีวิตในเมืองแบบสมัยใหม่
หลวงตามหาบัว มีชื่อเพราะปฏิบัติธรรมเคร่งครัดและมีอ�านาจพิเศษ หลวงพ่อ
คูณ ปลุกเสกเครื่องรางของขลังมีอภินิหาร พร้อมทั้งมีบุคลิกติดดินตรงไปตรง
มาแบบชาวบ้านอีสาน พระสงฆ์เหล่านี้มีผู้นับถือเป็นลูกศิษย์ลูกหาจ�านวนมาก
และยังจัดสรรเงินบริจาคท�าโครงการกุศลและการก่อสร้างสถานที่ส�าคัญในชุมชน
เช่น โรงเรียน มากมาย
ทางการอาจต้องการควบคุมการปฏิบัติทางศาสนาแต่ไม่เคยได้ผลเต็มที่
ในภาวะความเปลี่ยนแปลงดังที่บรรยายมาข้างต้นนี้ ได้เกิดพฤติกรรมความเชื่อ
และศาสนารูปแบบใหม่ คนที่เคลื่อนย้ายออกไปอยู่ในถิ่นที่ซึ่งไม่คุ้นเคยยิ่ง
แสวงหาสิ่งจะปกปักรักษาตัวเอง เพื่อที่จะเผชิญกับความไม่แน่นอนใหม่ๆ ได้
ไม่ใช่เรื่องภูมิอากาศหรือโรคร้ายแบบเดิมๆ แต่เป็นความเสี่ยงในการท�าธุรกิจ
โอกาสแต่งงาน ผลสอบ และสถานะทางสังคม พระเครื่องติดตัวยิ่งเป็นที่นิยม
เพื่อช่วยปัดเป่าโชคร้ายและความเสี่ยงนานาชนิด วารสารหลายฉบับพิมพ์ราย
ละเอียดถึงการประดิษฐ์พระและเครื่องรางของขลังต่างๆ อีกทั้งบรรยายสรรพ
คุณพลังอ�านาจความขลังและค่าเช่า การปลีกตัวไปแสวงหาธรรมและนั่งกรรม
ฐานเป็นที่นิยมของผู้ที่รู้สึกว่าตัวเองรู้จักชีวิตตามสมควรแล้ว คนทั่วไปเสาะหา
ความช่วยเหลือในเรื่องธุรกิจและปัญหาส่วนตัว บ้างแสวงหาที่ยึดเหนี่ยวเพื่อ
ความมั่นใจในเรื่องต่างๆ นับตั้งแต่การตัดสินใจทางธุรกิจ จนกระทั่งจะฝันว่า

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ซื้อ “ลอตเตอรี่” (สลากกินแบ่งรัฐบาล) เบอร์อะไรดี ต้องไปบนบานศาลกล่าว
ขอพรจากพระพรหม ศาลพระภูมิ หรือจากเจ้าแม่กวนอิม จากพระที่มีชื่อเป็น
มงคล เช่น หลวงพ่อเงิน และแม้แต่จากวิญญาณของนักร้องราชินีลูกทุ่ง พุ่มพวง
ดวงจันทร์ จากพระบรมรูปทรงม้าของรัชกาลที่ ๕ บนถนนราชด�าเนิน และกลาย
เป็นศูนย์กลางของลัทธิ “เสด็จพ่อ” ก่อตัวขึ้นมาจากกลุ่มชนชั้นกลางที่กรุงเทพฯ
ซึ่งเป็นกังวลกับภาวะไร้เสถียรภาพด้านเศรษฐกิจและการเมือง บ้างก็ไปขอพร
เพื่อความเป็นสิริมงคล ต่อมาผู้นับถือกระจายออกไปในกลุ่มคนต่างจังหวัด
จนมีรถทัวร์น�าผู้เชื่อถือเข้ามาบูชาและขอพรที่กรุงเทพฯ
“วัดพุทธ” ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับคนจีนอพยพมาเมืองไทยในอดีต (เช่น
วัดพนัญเชิง ที่อยุธยา) ได้รับการอุปถัมภ์และการประดับประดาจากชนชั้นกลาง
เชื้อสายจีนฐานะดี จนมีบรรยากาศประหนึ่งศาลเจ้าจีน
พระสงฆ์บางรูปเป็นที่นิยมเพราะเสนอพระพุทธศาสนาแนวปฏิรูปเสมือน
เป็นนิกายใหม่ อย่างเช่น สมณะโพธิรักษ์ (รัก รักษ์พงษ์) พ.ศ. ๒๕๑๖ ปฏิเสธ
การปกครองของมหาเถรสมาคม โดยคืนใบสุทธิและอ้างสิทธิก่อตั้งนิกายใหม่
เสนอแนวทางสันโดษแบบเคร่งครัดตามแนวพระป่าให้กับชาวเมือง เป็นที่รู้จัก
กันในนามขบวนกำรสันติอโศก เมื่อมีผู้นิยมมากและเข้าไปโยงใยกับเรื่องการ
เมือง ถูกบังคับให้สึกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒ หลังจากนั้นลูกศิษย์ลูกหาส่วนใหญ่
ปลีกตัวไปก่อตั้งชุมชนพึ่งตนเองที่ต่างจังหวัด
ส�ำนักธรรมกำย ก่อตั้ง พ.ศ. ๒๕๓๒ เริ่มจากที่คนนิยมพระสงฆ์รูปหนึ่ง
มีชื่อเสียงด้านท�าสมาธิ ต่อมาใช้การตลาดที่ชาญฉลาดจนได้รับความนิยมจาก
นักเรียน นิสิต นักศึกษา และบรรดานักวิชาชีพวัยหนุ่มสาว เห็นว่าการท�าสมาธิ
เป็นลู่ทางสู่ความส�าเร็จทั้งด้านจิตวิญญาณและทางโลก ส�านักธรรมกายสร้าง
ศูนย์ศาสนาพุทธใหญ่ที่สุดแถบชานเมืองกรุงเทพฯ สามารถดึงดูดให้ผู้คนเข้า
ร่วมพิธีทางศาสนาได้พร้อมกันมากกว่าแสนคน พ.ศ. ๒๕๔๑ หลังจากที่ลูก
ศิษย์ลูกหาอ้างว่าได้เห็นภาพมหัศจรรย์บนท้องฟ้าระหว่างการท�าสมาธิพร้อมๆ
กัน เจ้าส�านักถูกตรวจสอบในข้อกล่าวหาว่าใช้วิธีการตลาดเพื่อหาเงินบริจาค
ไม่เหมาะสม และอาจใช้เงินบริจาคแบบไม่โปร่งใส
แม้ว่าความพยายามที่จะปฏิรูปมหาเถรสมาคมพุ่งขึ้นมาอีกหลัง พ.ศ.
๒๕๔๐ แต่ก็ดูเหมือนว่ายังผิดฝาผิดตัว วิถีปฏิบัติพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมถูก
ทดแทนด้วย “ตลาดด่วนศาสนา” เป็นพุทธพาณิชย์ หรือมีการน�าความเชื่อเรื่อง
ปาฏิหาริย์เครื่องรางของขลังมาใช้เพื่อความส�าเร็จทางโลกเข้ามาปะปน จนเป็น

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


การค้าความลี้ลับและจิตวิญญาณเพื่อทางโลกไปเสียสิ้น๑๒
ความหลากหลายของสังคมปรากฏในประวัติศาสตร์ไทยส�านวนใหม่
ที่ลงพิมพ์ในวารสารอ่านเล่นและหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊คมากกว่าในหนังสือแนววิชา
การเคร่งครัด น เสนอบทความจ�านวนมากแสดงจุดยืนแตกต่าง
จากแนวคิดเรื่องความต่อเนื่องของพระมหากษัตริย์ และแนวคิดเรื่อง “ชนชาติ
ไทย” เป็นโครงสร้างหลักของประวัติศาสตร์ไทยแบบทางการ ศิลปวั นธรรม
มองว่ารัฐชาติคือเขตแดนก�าหนดโดยแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แล้วบรรยายให้เห็น
ความหลากหลายด้านเชื้อชาติ สังคม และวัฒนธรรม ภายในเขตแดนนี้ สุจิตต์
วงษ์เทศ บรรณาธิการของวารสารนี้เสนอว่า “คนไทยอยู่ที่นี่” ๑๔ หมายความว่า
บรรพบุรุษหลักๆ ของรัฐชาติสมัยใหม่คือผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณเมืองไทยนี้มา
ช้านานแล้ว และก็คือชุมชนต่างๆ ซึ่งนักโบราณคดีสมัยใหม่ได้ศึกษาไว้ ไม่ใช่
คน “ไท” ซึ่งอพยพมาจากทางเหนือดังที่ต�าราประวัติศาสตร์ไทยทั่วไปเขียนเอา
ไว้ ศรีศักร วัลลิโภดม ท�าวิจัยรวบรวมหลักฐานสนับสนุนแนวคิดดังกล่าว
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ไทยเป็นเรื่องราวของการแผ่กระจายเครือข่ายการค้า
ส่งผลให้เกิดชนชาติต่างๆ ที่ผสมปนเปกันไปมาเป็นสังคมที่ซับซ้อนจนต้องมี
การพัฒนาระบบการเมืองที่จะจัดการกับความหลากหลายต่างๆ ได้ เป็นประวัติ
ศาสตร์ที่เกือบไม่ให้พื้นที่กับพระมหากษัตริย์และนักรบมากเท่ากับที่ต�าราประวัติ
ศาสตร์ไทยตีความเอาไว้ งานของ ธิดา สาระยา ยิ่งไม่ให้ความส�าคัญกับเรื่อง
เชื้อชาติ โดยเสนอว่าไทยคือ “อำรยธรรม” ตั้งอยู่บนประเพณีความเชื่อพุทธ
ศาสนาแนวเถรวาท ๑๕
ความหลากหลายต่างๆ ดังที่กล่าวมาถูกบดบังให้ดูเหมือนไม่มีภายใต้
นิยามชนชาติ “ไทย” แต่กระจกเงาสะท้อนสังคมส่องให้เห็นความหลากหลาย
ต่างๆ ขบวนการประท้วงที่พุ่งขึ้นเมื่อทศวรรษ ๒๕๒๐ ได้ใช้อัตลักษณ์ของ
ชุมชนตนเองเป็นแรงสนับสนุน ตัวอย่างเช่น ชาวกะเหรี่ยงบนภูเขาภาคเหนือ
อ้างถึงสิทธิที่จะตั้งถิ่นฐานในป่าเนื่องจากพวกเขามีความรู้พิเศษเกี่ยวกับต้นไม้
และการรักษาไฟป่า ทศวรรษ ๒๕๓๐ นักวิชาการตามมหาวิทยาลัยภูมิภาค
จัดพิมพ์สารานุกรมว่าด้วยวัฒนธรรมที่ภาคใต้และอีสาน ชี้ให้เห็นถึงประเพณี
ที่แตกต่างจากสิ่งที่เกิดขึ้นในบริเวณภาคกลางและที่เมืองหลวง นักวิชาการเช่น
“ศรีศักร” เจาะจงถึงต้นตอควำมหลำกหลำยของกลุ่มคนที่ถูกผนวกเข้ามาอยู่
ในแผนที่ซึ่งก�าหนด “รัฐชาติไทย” บ้างอพยพเข้ามาเอง บ้างถูกกวาดต้อนมา
ด้วยเป็นเชลยสงคราม หรือเกิดจากการแย่งชิงผู้คน การท่องเที่ยวส่งเสริมให้

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ท้องถิ่นต่างๆ ชูประเด็นเรื่องอัตลักษ ์เฉพาะของพื้นที่เป็นจุดขายดึงดูดนัก
ท่องเที่ยว นักวิจัยรุ่นใหม่ที่ศึกษาประวัติศาสตร์ชนชาติ มีสมมติฐานว่า วั น
ธรรม “ไทย” ต้นต�ารับจะพบเห็นได้ที่ชุมชน “ไท” นอกเมืองไทยเท่านั้น
รัฐบาลไทยยังคงส่งเสริม “วัฒนธรรมไทย” โดยมอบหมายให้คณะ
กรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเป็นผู้ด�าเนินงาน เช่น “ปีร รงค์วั นธรรมไทย
๒๕ ๗” คณะกรรมการยอมรับว่าวัฒนธรรมไทยมาจากหลายสาย แต่ก็ยัง
เสนอว่ามีการประสานเป็นองค์รวมหนึ่งเดียวจากสองส่วน หนึ่งคือวัฒนธรรม
ชั้นสูงของพระพุทธศาสนา ศิลปะ และวิถีปฏิบัติแห่งราชส�านัก สองคือวัฒน
ธรรมพื้นถิ่น และระบบสังคมใกล้ชิดมีรากฐานอยู่ที่ระบบเครือญาติของชุมชน
ชนบท
นิยามวัฒนธรรมไทยอย่างเป็นทางการข้างต้นนี้ ยิ่งวันก็ยิ่งไม่สอดคล้อง
กับวิถีชีวิตและสภาพแวดล้อมของชุมชนเมืองทั้งหลายโดยเฉพาะที่กรุงเทพฯ
นับจากสมัยอเมริกันเป็นต้นมาที่วัฒนธรรมบริโภคนิยมเฟื่องฟูขึ้นนั้น ภาษาที่
ใช้สื่อความหมายกันในวัฒนธรรมบริโภคนิยมนี้ก็คือภาษาอังกฤษ (โดยเฉพาะ
ยี่ห้อต่างๆ) นโยบายการเปิดเสรีที่เพิ่มบทบาทของการแสวงหาก�าไรในระบบ
เศรษฐกิจเมื่อทศวรรษ ๒๕๒๐ อีกทั้งผลของการปฏิวัติด้านการสื่อสารและ
โทรคมนาคมได้เพิ่มปริมาณของสินค้าและบริการที่มาจากต่างประเทศ ความ
สัมพันธ์ของผู้คนในชีวิตประจ�าวัน ทั้งที่เกิดขึ้นบนรถไฟฟ้า ตามศูนย์การค้า
ใหญ่ๆ หรือในบริษัทธุรกิจต่างๆ มีความต่างจากภาพความสัมพันธ์ใกล้ชิดแบบ
เครือญาติภายในชุมชนชนบท หรืออุดมคติของวงผู้ดี หรือวงสุภาพชนในบรรดา
ข้าราชการและชนชั้นสูง ซึ่งเป็นแบบอย่างของวัฒนธรรมไทยที่ทางการเห็นว่า
เหมาะสม ทั้งนี้สังคมของชุมชนเมืองได้มีการพัฒนาวัฒนธรรมหรือวิถีปฏิบัติ
ของพวกเขาเองขึ้นใหม่ โดยแทบจะไม่ได้โยงกับสิ่งที่ถูกก�าหนดให้เป็นวัฒนธรรม
ไทยที่เหมาะสมนั้นเลย คนหนุ่มสาวหาความเริงรมย์จากภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด
ฟังเพลงปอปจากญี่ปุ่นและเกาหลี ดูฟุตบอลจากยุโรป ศิลปะการแสดงแบบ
ดั้งเดิม เช่น ร�าไทย โขน หาดูได้ยากขึ้นทุกที จนแทบจะหาดูไม่ได้เป็นรายการ
เริงรมย์ตามปกติ เว้นแต่จะต้องไปดูตามโรงแรมหรือร้านอาหารบางแห่งที่จัด
เตรียมแบบย่นย่อหรือปรับเอามาแสดงให้นักท่องเที่ยวต่างชาติดูเท่านั้น
ความหลากหลายที่เห็นได้ในกระจกสังคม หรือที่สะท้อนผ่านสื่อสาร
มวลชนต่างๆ บอกให้เห็นว่า ข้ออ้าง “วัฒนธรรมไทย” หรือ “รัฐชาติไทย” มี
นิยามเคร่งครัดตายตัว มีศูนย์รวมอยู่ด้วยกันเป็นหนึ่งเดียวนั้นน่าจะใช้ไม่ได้

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ภาพที่เห็นเป็นอะไรที่ลื่นไหลกว่าและขึ้นอยู่กับการตีความเสียมาก ฝ่ายอนุรักษ
นิยมบางคนยังคงมีจินตภาพของ “ความเป็นไทย” ว่าคือมารยาทแบบสุภาพชน
ของสังคมที่มีช่วงชั้นลดหลั่นกันไป ฝ่ายที่ยังยึดโยงอยู่กับประเพณีดั้งเดิมค้น
หา “ความเป็นไทย” โดยอิงอยู่กับความสัมพันธ์ใกล้ชิดแบบเครือญาติของชาว
บ้านชนบทไทยดั้งเดิมที่นับวันจะเลือนหายไป อย่างไรก็ตาม นักโฆษณายัง
ดึงดูดลูกค้ามวลชนให้ดื่มเบียร์และเครื่องดื่มชูก�าลัง โดยใช้ “ความเป็นไทย”
แต่ได้ให้ค�านิยามใหม่ เช่น ความหาญกล้าของนักมวยไทย หรือนักรบในต�านาน
ประวัติศาสตร์ไทย

พรม น าย น
แต่รัฐชาติมีพรมแดนภายในแฝงอยู่ จากสมัยอเมริกันที่มีพัฒนาการ
เศรษฐกิจเป็นต้นมา ผู้ปกครองของไทยและชนชั้นกลางเมือง มีภาพว่าเมือง
ไทยเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ที่ผูกโยงอยู่กับประเทศพัฒนาแล้วของโลกอย่างใกล้ชิด
ใครก็ตามที่ไม่สามารถ หรือไม่ประสงค์ที่จะตามให้ทันกับความสมัยใหม่ สุ่ม
เสี่ยงที่จะตกขบวนรถไฟ และสูญเสียความเป็นสมาชิกของรัฐชาติ จากมุมมอง
นี้ ชุมชนเมืองทันสมัยมากกว่าชุมชนชนบท ชาวบ้านส่วนใหญ่ดูเหมือนยอมรับ
การพัฒนา และสอบผ่านได้เป็นพลเมืองของรัฐชาติถึงแม้ว่าอาจจะมีสถานะ
เป็นพลเมืองชั้นสองก็ตาม แต่ใครที่ต้านทานการพัฒนาจากส่วนกลาง ด้วย
ประสงค์ที่จะปกปักวิถีชีวิตแบบท้องถิ่น มักจะถูกกล่าวหาว่าไม่รักชาติ หรือ
“ไม่เป็นคนไทย” ผู้ที่อยู่ไกลปืนเที่ยงอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงที่สุดในประเด็นนี้ โดย
เฉพาะผู้ที่มีภูมิล�าเนาอยู่บนเขา ทศวรรษ ๒๔๙๐ มีการแก้ไขพระราชบัญญัติ
สัญชาติไทย ท�าให้ผู้ที่เกิดในเขตแดนไทยบางกลุ่มเหล่าไม่อาจมีสัญชาติไทย
ได้ ทั้งนี้เป้าประสงค์หลักก็เพื่อปิดกั้นไม่ให้เด็กที่เป็นลูกของผู้ลี้ภัยจากประเทศ
เพื่อนบ้านมาเมืองไทย ได้สัญชาติไทย ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากคือลูกของชาว
ไทยภูเขา บางคนได้รับเอกสารแสดงสถานภาพบางระดับ บางคนไม่มีเอกสาร
อะไรรับรอง แทบทุกคนมีสถานภาพไม่ชัดเจน จึงท�าอะไรไม่ค่อยได้ เมื่อไม่มี
สัญชาติไทยก็ถูกกีดกันและเป็นเหตุให้ภาครัฐปฏิบัติกับพวกเขาด้วยอคติและ
บางครั้งด้วยความรุนแรง ปัญหาป่าเสื่อมโทรมเนื่องจากถูกพ่อค้าไม้ตัดท�าลาย

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
หรือเนื่องจากนโยบายหรือการกระท�าของกองทัพ หน่วยงานรัฐและการรุกเข้าท�า
เกษตรสมัยใหม่โดยคนพื้นราบ ถูกเหมารวมว่าเป็นผลจากการที่ชาวเขาเผาป่า
ท�าไร่หมุนเวียนและปลูกฝิ่น ด้วยข้อกล่าวหานี้ชาวไทยภูเขาจ�านวนมากจึงไม่มี
สิทธิถือครองที่ดินและสิทธิความเป็นพลเมืองด้านอื่นๆ ด้วย
พรมแดนภายในอีกหนึ่งเส้น กั้นประชากรมุสลิมที่สามจังหวัดภาคใต้
สุด แม้ว่านโยบายทางการของรัฐคือยอมรับศาสนาทุกศาสนา แต่รัฐไทยยังคง
ไม่ไว้ใจชุมชน ึ่งปฏิเสธที่จะบูรณาการกับสังคมไทยอย่างเต็มที่ทั้งในเรื่องภาษา
และวิถีปฏิบัติศาสนา
ชาวไทยมุสลิมจากจังหวัดภาคใต้ ไม่กี่มากน้อยมีโอกาสเป็นครู ข้า
ราชการ หรือทหาร โครงการพัฒนาแบบครึ่งๆ กลางๆ ที่ขาดทั้งเนื้อหา เงินทุน
และบุคลากรที่เหมาะสมกับสภาพความต้องการของชุมชนพื้นถิ่น มีส่วนท�าให้
บริเวณสามจังหวัดภาคใต้มีชุมชนที่จนที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ การที่เจ้า
หน้าที่รัฐหลายภาคส่วนไม่ยอมรับศาสนาอิสลาม หรือไม่ยอมรับภาษายาวีของ
ท้องถิ่น ท�าให้ชุมชนมุสลิมก่อตั้งโรงเรียนปอเนาะของตนเอง และส่งหนุ่มสาว
ไปร�่าเรียนที่ประเทศมุสลิม เช่น ที่เอเชียใต้หรือที่ตะวันออกกลาง หลายคน
เมื่อจบการศึกษาก็ไปท�างานที่มาเลเซีย และบ้างก็ใช้ระบบศาลที่กลันตันของ
มาเลเซียตัดสินคดีความตามหลักกฎหมายของอิสลาม การที่ชาวไทยมุสลิม
ภาคใต้มีความสัมพันธ์กับมาเลเซียแบบนี้ ยิ่งท�าให้รัฐไทยมีอคติต่อพวกเขา
ผลที่เกิดขึ้นคือ ชาวไทยมุสลิมรู้สึกแปลกแยกออกจากสังคมไทย เป็นแรงผลัก
ให้พวกเขาโอบรับสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกมุสลิมนอกเมืองไทยที่ก�าลังผันแปรอย่าง
รวดเร็ว โดยเฉพาะแนวโน้มสู่อิสลามแนวเคร่งครัด สภาวการณ์ดังกล่าวส่ง
ผลให้เกิดความตึงเครียดและความขัดแย้งแบบรุนแรงเมื่อทศวรรษ ๒๔๙๐
ปะทุอีกครั้งเมื่อทศวรรษ ๒๕๑๐ และอีกครั้งเมื่อช่วง พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๔๗
ในครั้งหลังนี้ความรุนแรงปะทุขึ้นมาเมื่อชุมชนเรียกร้องให้พวกเขาได้มีพื้นที่
วัฒนธรรมของชุมชนเองหรือมิฉะนั้นก็ขอแยกเป็นอิสระ
ตั้งแต่ทศวรรษที่ ๒๕๑๐ ขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่ภาคใต้รางเลือน
ไป นักการเมืองมุสลิมเชื้อสายมาเลย์กลุ่มหนึ่ง รวมทั้งบุตรชายของฮัจยีสุหลง
โต๊ะมีนา ประสบความส�าเร็จได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ภายใต้ระบอบรัฐสภาประ
ชาธิปไตย คนหนึ่งได้ต�าแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่ าการกระทรวงมหาดไทยเมื่อปี
๒๕๔๔ ดูเหมือนว่าประชาธิปไตย ความเติบโตทางเศรษฐกิจ และการก�ากับ
ควบคุมแบบสุขุมที่ได้ผลโดยฝ่ายทหาร ได้ส่งผลลดทอนความสุดโต่งลงได้

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


แต่ทางการไทยวิตกกังวลว่า ขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่ติมอร์ตะวัน
ออกและอะเจะห์ อีกทั้งการเติบโตของอิสลาม ายรุนแรงในสากลโลกอาจจะ
กระตุ้นให้ขบวนการหวนกลับมาใหม่ที่ภาคใต้ของไทย
พ.ศ. ๒๕๔๕ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรทหารที่ก�ากับภาคใต้
ให้ต�ารวจเข้าท�าหน้าที่ควบคุมแทน ฝ่ายต�ารวจได้รับรายงานลับว่า ขบวนการ
แบ่งแยกดินแดนคึกคักขึ้น จึงพยายามตัดไฟแต่ต้นลมด้วยการจับกุมแบบลับๆ
และวิสามัญฆาตกรรม ความพยายามดังกล่าวไม่ได้ผลดี กลับส่งผลเสียคือ
วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๔๗ คลังอาวุธทหารที่จังหวัดนราธิวาสถูกโจรปล้น และ
อาวุธปนประมาณ ๔๐๐ กระบอกหายไป ในช่วง ๔ ปีหลังจากเหตุการณ์นี้
ผู้คนประมาณ ๓ พันคนถูกฆ่าใน ๓ จังหวัดภาคใต้ ส่วนใหญ่ถูกยิงหรือถูกวาง
ระเบิดขนาดย่อม ผู้ที่เป็นเหยื่อสังหารส่วนใหญ่ ได้แก่ ทหารและเจ้าพนักงาน
รัฐ มักเป็นคนพุทธ แต่ก็มีมุสลิมด้วย อาจจะเป็นผู้ที่ร่วมมือกับฝ่ายรัฐ
ผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อการร้ายบางคนคาดเดาว่า จะมีความรุนแรงเพิ่ม
ขึ้นด้วยความช่วยเหลือจาก “อัลไคดำ” และเครือข่ายสากลอื่นๆ ของโลกมุสลิม
แต่ที่จริงไม่เป็นเช่นนั้น เหตุการณ์ความไม่สงบคงเป็นเหตุการณ์รายเล็ก และ
กระจุกตัวอยู่ที่สามจังหวัดหรือใกล้ๆ กับเมืองสงขลาเท่านั้น เหตุการณ์ความ
ไม่สงบขนาดใหญ่ก็ดูเหมือนจะเน้นไปที่สัญลักษณ์ระดับท้องถิ่น วันที่ ๒๘
เมษายน ๒๕๔๗ ชาวบ้านมุสลิม ๑๐๗ คน ถูกทางการยิงเสียชีวิตที่ในมัสยิด
กรือแ ะ จังหวัดปัตตานี และ “๒๘ เมษำยน” ก็เป็นวันครบรอบการลุกขึ้นสู้
ใน พ.ศ. ๒๔๙๑ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการแบ่งแยกดินแดนช่วงสมัยใหม่
มัสยิดกรือแ ะ เป็นสัญลักษณ์ให้ร�าลึกถึงอดีตของปัตตานี เป็นอาณาจักรอิสระ
จากสยาม ผู้ที่เสียชีวิตไปรวมตัวกันที่มัสยิดหลังจากที่มีการวางระเบิดในพื้นที่
เป็นระลอกมาก่อนหน้า และดูเหมือนว่าพวกเขาจะเป็นฝ่ายเชื้อเชิญการสังหาร
หมู่นี้เพื่อเป็นการส�าแดงความเสียสละ เดือนตุลาคม ๒๕๔๗ อีก ๗๘ คนเสีย
ชีวิตเพราะขาดอากาศหายใจเมื่อพวกเขาถูกมัดมือมัดเท้าแล้วถูกวางซ้อนทับกัน
บนรถกระบะ หลังจากที่ถูกจับขณะประท้วงที่อ�าเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
การที่จะท�าความเข้าใจกับขบวนการแบ่งแยกดินแดนเป็นเรื่องยากมาก
เพราะไม่มีการประกาศเจตนาและไม่มีข้อเรียกร้องอย่างเป็นทางการ การปราบ
ก็ยากเพราะมีโครงสร้างที่แยกเป็นหน่วยย่อยๆ ที่ไม่เป็นระบบ และไม่อาจจะชี้
ตัวผู้น�าได้ ความเห็นชอบกับขบวนการแบบไม่เปิดเผย ความไม่พอใจที่ทางการ
ไทยจัดการกับเหตุการณ์กรณีตากใบและกรือแซะ อีกทั้งความหวาดกลัว ท�าให้

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ชุมชนชาวบ้านหลีกเลี่ยงที่จะร่วมมือกับฝ่ายความมั่นคงของรัฐ ความส�าคัญ
ทางการเมืองของขบวนการก็ยังยากที่จะเข้าใจเพราะบริเวณ ๓ จังหวัดภาคใต้
มีสภาพพิเศษเกี่ยวโยงกับที่เป็นเมืองชายแดนห่างไกล กลุ่มกบฏต่างๆ หน่วย
งานต่างๆ ของฝ่ายความมั่นคงและนักการเมืองท้องถิ่นแก่งแย่งกันหาก�าไรจาก
การลักลอบค้าข้าว น�้ามัน ยาเสพติด เหล้าและการค้าแรงงาน การสังหารที่เกิด
ขึ้นทุกวันเป็นเสมือนฝีเน่าเฟะที่ใครๆ ก็เห็นและสังเวชใจ แต่ไม่อาจวิเคราะห์
หาสาเหตุได้ง่ายๆ หรือท�าให้ทุเลาเบาบางลง หรือแม้แต่จะเพียงเยียวยาให้ฝ่าย
อนุรักษนิยมลดความเคลือบแคลงใจลง

ความวิตกกังวลของ ายอนุรักษนิยม
ความเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวางเมื่อกลางทศวรรษ ๒๕๓๐ สร้าง
ความตระหนกแก่กลุ่มที่รู้สึกว่ าอะไรๆ ช่างเกิดเร็วเกินกว่ าจะรับได้ ระบบ
เศรษฐกิจเปิดรับกับอิทธิพลจากภายนอกอย่างมหาศาล ทุนจากต่างประเทศ
เข้ามีบทบาทน�า กรุงเทพฯ กลายเป็นเมืองสากล หลังจากวิกฤตเศรษฐกิจปี
๒๕๔๐ นั้น นักธุรกิจได้ร่วมมือกันเพื่อผลักดันให้มีนโยบายเศรษฐกิจที่ปกป้อง
พวกเขาบ้าง นักเคลื่อนไหวบางกลุ่มพยายามสร้างขบวนการ “ชาตินิยมใหม่”
เพื่อที่จะน�ากลุ่มต่างๆ มาร่วมมือกัน บางคนมีจินตนาการว่าไทยก�าลังสูญเสีย
อัตลักษณ์ด้านวัฒนธรรมภายใต้กระแสของโลกาภิวัตน์ โฆษณารายหนึ่งให้ภาพ
ฝรั่งก�าลังสอนให้คนไทยแสดงลีลา “สยามเมืองยิ้ม” ที่เลื่องชื่อ ขณะที่ความ
เป็นเมืองก�าลังพุ่งขึ้นสุดขีด บางคนบ่นหวนหาถึงระบบคุณค่าของชุมชนที่เข้าใจ
ว่ามีมาแต่ดั้งเดิมเป็นหัวใจของสังคมชนบท
บางคนแสดงความวิตกกังวลว่า ความร�่ารวยของ “กลุ่มคนรวยใหม่”
ที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วและการใช้เงินเพื่อกิจกรรมต่างๆ ของพวกเขาก�าลังเปลี่ยน
การเมืองที่เคยมีระเบียบไปอย่างสิ้นเชิง เป็นการเมืองไร้ระเบียบ จึงพยายามหา
วิธีเยียวยา รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ก่อตั้ง “องค์กรอิสระ” ใหม่ๆ ขึ้นมีเป้าหมาย
เพื่อลดการคอร์รัปชั่น ในบรรดานักการเมืองและการซื้อเสียง องค์กรความ
โปร่งใสสากล ก่อตั้งสาขาที่กรุงเทพฯ ปลายทศวรรษ ๒๕๓๐ นักวิชาการและ
สารคดีโทรทัศน์เปิดโปงการคอร์รัปชั่นในวงการต�ารวจ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


บางคนผลักดันให้ส�านักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ก.พ. ก�าหนด
กฎเกณฑ์และจรรยาบรรณข้าราชการในภาคราชการเพื่อเป็นแนวปฏิบัติอย่าง
เป็นทางการ ข้อเรียกร้องดังกล่าวขยายไปถึงจรรยาบรรณส่วนตัวด้วย โดย
เฉพาะอย่างยิ่งมาตรฐานการแต่งตัวและพฤติกรรมทางเพศของเยาวชนภายใต้
อิทธิพลของความเป็นเมืองและกระแสโลกาภิวัตน์ บ้างก็วิตกกังวลว่าการใช้
ภาษาไทยก�าลังวิบัติ และจะท�าให้เอกลักษณ์ของชาติเสื่อมสลายเพราะว่าคน
ไทยรุ่นใหม่ใช้ค�าแปลกๆ ทั้งที่คิดเองหรือได้รับอิทธิพลมาจากฝรั่งหรือภาษาอื่น
ส�าเนียงเปลี่ยนไปจากเดิม เรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับพฤติกรรมของพระสงฆ์ก็ท�าให้
วิตกกังวลว่าศาสนาพุทธจะเสื่อมเช่นเดียวกัน
ทัศนคติเหล่านี้พบเห็นได้และแข็งขันมากในหมู่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่
มักมีพื้นเพมาจากตระกูล “ผู้ดีเก่า” พวกเขาวิตกกังวลว่าสถานภาพทางสังคม
ของเขาจะเสื่อมถอยลง คือมีบทบาทน้อยลงในสังคมวงกว้าง แต่ก็พบว่าทัศน
คติดังกล่าวได้รับแรงสนับสนุนจากบรรดาชนชั้นกลางที่เป็นข้าราชการระดับกลาง
และล่างด้วย อีกทั้งคนงานคอปกขาวและนักธุรกิจรายเล็ก ซึ่งมีจินตภาพตัวเอง
เป็นพลเมืองดีในสังคมที่เงินก�าลังเป็นใหญ่มากกว่าหลักการ
ขบวนการและทัศนคติเหล่านี้ โดยส่วนมากแล้วไม่มีความเป็นหนึ่งเดียว
แต่กระเส็นกระสายไป มีช่วงหนึ่งสั้นๆ เมื่อต้นทศวรรษ ๒๕๒๐ ต่อ ๒๕๓๐
ที่จ�าลอง ศรีเมือง กลายเป็นศูนย์รวมของทัศนคติต่างๆ ที่กล่าวมา จ�าลอง
เสนอตัวเป็นตัวแทนของพลังจรรยาบรรณที่จะต่อสู้กับคอร์รัปชั่น (ดูเบื้องหน้า)
แต่ ห ลั ง จากเหตุ ก ารณ์ วิ ก ฤตปี ๒๕๓๕ บทบาทของจ� า ลองก็ ถ ดถอยไป คน
จ�านวนมากมุ่งไปที่สถาบันพระมหากษัตริย์ให้เป็นผู้น�าด้านจรรยาบรรณ พระ
มหากษัตริย์ทรงมีพระราชด�ารัสต่อต้านคอร์รัปชั่นและทรงเน้นให้หา “คนดี”
มาปกครองประเทศ ทรงกล่าวถึงสิ่งเหล่านี้บ่อยครั้งเมื่อทรงมีพระราชด�ารัส
เนื่องในวันพระราชสมภพของทุกปี
มีความพยายามเอาแนวคิดเรื่อง “ความเป็นไทย” มาสนับสนุนโครง
การอนุรักษนิยมต่างๆ ทางการก็ตอบสนองโดยในปี ๒๕๔๕ ก่อตั้งกระทรวง
วัฒนธรรมขึ้น กระทรวงร่างแผนแม่บทเพื่อก�าหนดบทบาทของตนเอง เริ่ม
ด้วยให้นิยามความเป็นไทยที่โยงกับความหลากหลาย แต่ต่อมามีทัศนคติเข้ม
งวดขึ้น ด้วยความหวังว่าจะก�าหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย การแต่ง
ตัว และการประพฤติปฏิบัติส่วนตัวแบบ “ไทย” ที่ถูกต้อง

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
สรุป
ภายในชั่วอายุคนรุ่นเดียวเริ่มจากทศวรรษ ๒๕๒๐ ได้เกิดการเปลี่ยน
แปลงรวดเร็วในสังคมไทยอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เศรษฐกิจทุนนิยมใน
เขตเมืองได้ก่อตัวขึ้นแล้วตั้งแต่สมัยอเมริกัน จากฐานตรงนี้นั้นตระกูลธุรกิจ
ขนาดใหญ่ก็ได้ร�่ารวยขึ้น และยังมีฐานะทางสังคมและการเมืองสูงขึ้นด้วย ชน
ชั้นกลางเมืองประเภทคนงานนั่งโต๊ะกลุ่มใหม่ก็เพิ่มจ�านวน พวกเขาโอบรับรส
นิยมและวัฒนธรรมบริโภคแบบตะวันตก และแนวคิดปัจเจกชนนิยม (ปัจเจก
หรือบุคคลแต่ละคนเป็นใหญ่ที่สุด ส�าคัญกว่าสังคม) อย่างเต็มที่ เศรษฐกิจ
ทุนนิยมในเขตเมืองดึงดูดแรงงานอพยพจากชนบทเข้า ก่อร่างเป็นชนชั้นขาย
แรงงานที่เพิ่มจ�านวนขึ้นมากมาย
รัฐชาติไทยไม่อาจเก็บรักษาพรมแดน “ความเป็นไทย” เอาไว้ตาม
แบบฉบับเคร่งครัดที่ทางการมีจินตภาพ ด้วยปัจจัยภายนอกที่ถาโถมเข้ามา
อย่างไม่หยุดยั้ง ตัวบ่งชี้ความส�าคัญของปัจจัยภายนอกบางประการ ได้แก่
การค้าระหว่างประเทศโดยรวม (มูลค่าสินค้าเข้าบวกสินค้าออก) มีสัดส่วนเพิ่ม
จากร้อยละ ๔๐ ของ GDP เมื่อทศวรรษ ๒๕๑๐ เป็นร้อยละ ๑๒๐ เมื่อ พ.ศ.
๒๕๔๓ เงินลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มจากเพียงร้อยละ ๑ ของ GDP เป็นมาก
กว่าร้อยละ ๑๐ ในช่วงเดียวกัน นักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มจากไม่กี่พันเป็น ๑๒
ล้านคน คนงานมาจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว เขมร และคนงานไทย
เองเดินทางไปท�างานที่ญี่ปุ่น ไต้หวัน ตะวันออกกลาง สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้
และที่ยุโรป ข้อมูลข่าวสาร ภาพ และความคิดใหม่ๆ ถาโถมเข้ามาผ่านสื่อดาว
เทียม การถ่ายทอดโทรทัศน์ ภาพยนตร์ วิดีโอ อินเตอร์เน็ต
เศรษฐกิจเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ จากพลังของโลกาภิวัตน์ ปัจจัย
ภายนอกต่างๆ และสังคมไทยก็ได้รับอิทธิพลมากมายจากโลกภายนอกอย่าง
เต็มที่ทั้งด้านรสนิยมและความคิดใหม่
นอกจากผลพวงของโลกาภิวัตน์ ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ คือพัฒนา
การสู่สังคมมวลชน จนถึงราวๆ พ.ศ. ๒๕๐๐ นั้น ช่องทางที่ความคิดใหม่ๆ
และการแบ่งปันสิ่งใหม่ๆ จะกระจายสู่คนไทยในวงกว้างยังมีไม่มาก เพราะการ
สื่อสารคมนาคมยังจ�ากัดอยู่ จึงยังเป็นสังคมค่อนข้างปิด รัฐบาลเป็นเครือข่าย
ระดับชาติหนึ่งเดียว แต่จากทศวรรษ ๒๕๑๐ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมหันต์

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


เนื่องจากมีการสร้างถนนลาดยางมากมายหลายสาย รถทัวร์ และรถจักรยาน
ยนต์ช่วยย่นย่อการเดินทางระหว่างชุมชนต่างๆ สื่อสารมวลชนระดับชาติ สร้าง
กระจกเงาบานใหญ่สะท้อนให้สังคมได้มองเห็นตัวเองร่วมกัน เป็นความหลาก
หลายทางชนชาติที่ประกอบเป็นสังคมไทย อีกทั้งความซับซ้อนของประวัติ
ศาสตร์ที่สั่งสมมา ความหลากหลายของวิถีปฏิบัติด้านศาสนา และช่องว่างเกิด
จากความต่างทางสังคม ภาพที่เห็นท�าให้จินตภาพที่ว่า “รัฐชาติเป็นหนึ่งเดียว”
นั้นแตกกระจาย
ภาวะเศรษฐกิจเฟื่องฟูโยงกับกระบวนการโลกาภิวัตน์ และการพุ่งขึ้น
ของสังคมมวลชนใหม่จะส่งผลท้าทายประเพณีการเมืองอุปถัมภ์แบบดั้งเดิม

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
การเมอง จาก พ ศ ๒๕๑๙
เศรษฐกิจและสังคมที่ได้เปลี่ยนไปอย่างพลิกผันตั้งแต่สมัยอเมริกัน ส่ง
ผลให้การเมืองเปลี่ยนอย่างพลิกผันเช่นกัน
หลังเหตุการณ์ “๖ ตุลา ๑๙” ชนชั้นน�าไทย ๓ กลุ่มส�าคัญ คือ ข้าราช
การชั้นผู้ใหญ่ ราชส�านัก และกองทัพ ยังคงยึดติดอยู่กับภาพลักษณ์ของสังคม
ชนบทไทยที่ว่านอนสอนง่าย สยบรับการแบ่งชั้นเป็นสังคมผู้ใหญ่ผู้น้อย และ
การเมืองที่กีดกันคนระดับล่างออกไปอยู่ชายขอบ คือไม่มีส่วนร่วมในกระบวน
การตัดสินนโยบายที่กรุงเทพฯ ทั้ง ๓ กลุ่มประสงค์ที่จะเป็นผู้ชี้น�าระบบการ
ปกครองเสมือนพ่อปกครองลูกหรือที่เรียกว่าระบบพ่อขุนอุปถัมภ์ ต้องการรักษา
จินตภาพดังกล่าวเอาไว้ให้พ้นจากทั้งภัยคุกคามโดยลัทธิคอมมิวนิสม์และการ
คืบเข้ามาของเศรษฐกิจทุนนิยม นายพลและชนชั้นน�าข้าราชการร่วมกันวางแผน
ก่นสร้างสังคมสมานฉันท์ และ “ประชาธิปไตย” ที่มีกลุ่มตนเป็นผู้ชี้นา� แต่เมือง
ไทยก�าลังเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นสังคมเมืองมากขึ้นทุกที อีกทั้งอ�านาจของฝ่าย
นักธุรกิจสูงขึ้นมากเทียบกับข้าราชการ อีกนัยหนึ่งสังคมไทยไม่ได้ว่านอนสอน
ง่ายอีกต่อไป แต่เรียกร้องสิ่งต่างๆ จากรัฐบาลกลางมากขึ้น
โดยสรุป กระแสความเป็นอุตสาหกรรม ความเป็นเมือง ขบวนการ
โลกาภิวัตน์ และกระแสสังคมมวลชน ได้ทา� ลายจินตภาพของการเมืองแบบพ่อ
ปกครองลูกไปแล้ว
ตลอดทศวรรษ ๒๕๒๐ สมาชิกสภาผู้แทนราษ ร หรือ ส.ส. ที่ส่วน
ใหญ่มีพื้นเพเป็นนักธุรกิจและกลุ่ม “ประชาสังคม” ที่อยู่นอกรัฐสภาผลักดันให้
กองทัพกลับกรมกองเสีย คือพยายามให้กองทัพลดการเข้าแทรกแซงการเมือง
ในระบอบรัฐสภาประชาธิปไตย แต่กองทัพไม่เห็นพ้องด้วย จึงไม่ค่อยคืบหน้า

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ในมิตินี้และไม่สามารถบรรลุผลส�าเร็จเต็มที่ เมื่อกลุ่มนายพลพยายามที่จะฟื้นฟู
อ�านาจของทหารในช่วง พ.ศ. ๒๕๓๔-๒๕๓๕ กลายเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่ส�าคัญ
ยิ่ง เพราะว่าหลังจากปี ๒๕๓๕ บทบาทและเกียรติภูมิของกองทัพลดลงอย่าง
ฮวบฮาบ ขณะที่พื้นที่ทางการเมืองของฟากประชาสังคมและรัฐสภาขยายขอบ
ข่ายออกไปอย่างกว้างขวาง สร้างความหวังว่าการเมืองไทยจะเปลี่ยนสู่ระบอบ
รัฐสภาประชาธิปไตยได้มั่นคงขึ้น โดยมีพลังของขบวนการโลกาภิวัตน์หนุนช่วย
อีกทั้งความมั่นใจและกิจกรรมสนับสนุนประชาธิปไตยจากสังคมมวลชน เป็น
พลังทางการเมืองที่เน้นให้ความส�าคัญกับความอยู่ดีมีสุขของสังคมและชาติ ดู
เหมือนว่าจะเป็นกระแสน�าในพื้นที่ทางการเมืองที่ถูกเปิดกว้างขึ้น แต่ประเพณี
ความเชื่อเรื่องรัฐเผด็จการที่เข้มแข็งยังมีรากลึกในสังคมไทย
เมื่อฝ่ายธุรกิจขนาดใหญ่ร่วมมือกับการเมืองใหม่แบบ “ประชานิยม”
เพื่อที่จะลดอ�านาจของข้าราชการ ได้จุดประกายความขัดแย้งครั้งใหญ่จนเปิด
ช่องให้กองทัพกลับมาแทรกแซงการเมืองอีกครั้ง และเป็นภัยกับระบบรัฐสภา
ประชาธิปไตยเป็นอย่างยิ่ง

อุ มการณ์ของชาติ ละเอกลักษณ์ของชาติ
ความรุนแรงที่คนไทยกระท�าต่อกันในเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
ส่งผลสะเทือนต่อสังคมไทยอย่างแรง เหตุการณ์นี้ได้ท�าลายภาพสังคมไทย
เป็นชาติรักสันติและก้าวหน้า ต่อมา กองอ�านวยการรักษาความมั่นคงภายใน
กอ.รมน. ที่ก่อตั้งขึ้นสมัยสงครามเย็นเริ่มแสวงหาแนวทางสร้างความสมานฉันท์
ระหว่างประชาชนในชาติ เพื่อที่ว่าประชาชนมีใจเป็นหนึ่งเดียว กอ.รมน.ปรึกษา
กับนักวิชาการได้ข้อสรุปว่า ค�าขวัญ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ “ยังขำด
ควำมเร้ำใจหรือเป็นสิ่งที่ห่ำงไกลตัวเกินไป และไม่สำมำรถใช้เป็นอุดมกำร ์ของ
ชำติ” ๑ ได้อีกต่อไป เนื่องจากสังคมได้ปรับแปรอย่างรวดเร็วภายในชั่วอายุคน
ที่ผ่านมา พวกเขาจึงคิดว่าเมืองไทยต้องการ “เอกลักษณ์แห่งชาติ” เพื่อที่จะข้าม
พ้นความขัดแย้งสุดโต่งเมื่อทศวรรษ ๒๕๑๐ และ “อุดมการณ์แห่งชาติ” ซึ่ง
สอดคล้องกับความคาดหวังว่าอนาคตจะสดใสขึ้น ในท�านองเดียวกับที่ลัทธิ
คอมมิวนิสม์ได้ให้ความหวังกับคนเป็นจ�านวนมากในหลายปีที่ผ่านมา

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


โครงการนี้สรุปว่าค�าขวัญใหม่น่าจะเป็น “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
และประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ค�าขวัญสูตรใหม่
แตกต่างจากสูตรเก่าใน ๒ ประการ ประการที่หนึ่ง พระมหากษัตริย์มีบทบาท
สูงขึ้นเป็นศูนย์รวมความสามัคคีของชาติ เมื่อเปรียบเทียบกับชาติและศาสนา
ประการที่สอง ประชาธิปไตยเป็นตัวแปรเพิ่มขึ้นมา ด้วยความตระหนักว่าเหตุ
การณ์ “๑๔ ตุลา” และ “๖ ตุลา” (๒๕๑๖ และ ๒๕๑๙) บ่งบอกว่ามวลชน
ส�าแดงพลังเรียกร้องเสรีภาพ การมีส่วนร่วม และการแสดงออกมากจนเกิน
กว่าที่จะกดเอาไว้ได้อีกต่อไป รัฐไม่ได้โฆษณาส่งเสริม “อุดมการณ์ของชาติ”
เสมือนแนวคิดปัญจศีลที่อินโดนีเซีย แต่รัฐใช้เป็นเครื่องมือที่จะจูงใจน�ามวลชน
สู่การเปลี่ยนแปลงในแนวทางที่ชนชั้นน�าต้องการ ต้นทศวรรษ ๒๕๒๐ รัฐบาล
ก่อตั้งส�านักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ และส�านักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ
ขึ้น นอกจากนั้นยังมีการออกวารสารใหม่และรายการวิทยุเพื่อเสริมโครงการ
ดังกล่าว
จากผลงานวิจัย กอ.รมน. พบว่าชาวนาที่มีสัดส่วนถึงร้อยละ ๘๐ ของ
ประชากร เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์และศาสนาพุทธ ไม่สนใจการเมือง
ดังนั้นจึงสรุปว่า ชาวนาเพียงต้องการท�ามาหากินให้ได้ในระดับอันพอควร โดย
มีข้าราชการช่วยดูแลพวกเขาเหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน กอ.รมน.พิมพ์
หนังสือเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ ให้ภาพสังคมไทยเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด และแทบ
ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเลยตั้งแต่สมัยสุโขทัย ณ จุดสูงสุดของพีระมิดคือพระมหา
กษัตริย์ รองลงมาคือระบบราชการที่ทรงสร้างขึ้นมา “เมื่อทรงพบว่ำไม่สำมำรถ
บริหำรจัดกำรภำรกิจของชำติด้วยพระองค์เองแต่เพียงผู้เดียวได้” ๒ และที่ฐาน
ล่างใหญ่สุดของพีระมิดคือชาวนาซึ่งวิถีชีวิตไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเลย ยังคงเป็น
หมู่บ้านสันติสุข เป็นสังคม “ที่ป ิบัติระบบประชำธิปไตยแบบบริสุทธิ์ท่สี ุด” ๓
กระทรวงมหาดไทยมีโครงการให้ “การศึกษาทางการเมือง” เพื่อเตรียม
ประชาชนส�าหรับประชาธิปไตย ผลงานวิจัยของกระทรวงเองมีข้อสรุปว่า คน
ไทยยังไม่พร้อมส�าหรับประชาธิปไตย เพราะว่าไม่ได้รับการอบรมสั่งสอนมา
อย่างดี ขาดจริยธรรม ไม่จริงจัง หรือไม่ก็มักจะถูกจูงจมูกได้ง่าย จึงรณรงค์ให้
การศึกษาเพื่อที่จะให้คนไทยซึมซับอุดมการณ์ของชาติ และรู้หน้าที่ความเป็น
พลเมือง แต่ไม่ใช่ให้รู้สิทธิและเสรีภาพ
ส�านักงานเอกลักษณ์ของชาตินิยาม “ประชาธิปไตยแบบไทย” ว่าคือ
รัฐบาลที่ดี ที่เคารพสิทธิ (ไม่ได้นิยามว่าคืออะไร?) และความมุ่งหวังของประ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ชาชน ดังนั้น จึงเป็นทางเลือกให้กับประชาชนแทนลัทธิคอมมิวนิสม์ รัฐบาล
ที่ดีจะได้มาก็โดยต้องปกครองด้วย “คนดี” แทนที่จะเป็นสถาบันตัวแทนของ
ประชาชน
ประโยคที่ว่า “ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ได้
ถูกเขียนลงไปในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ บ้างตั้งแต่ฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๒ ขณะนี้
ได้กลายเป็นมาตรฐาน ประวัติศาสตร์ถูกปรับให้สะท้อนความโยงใยระหว่าง
สถาบันพระมหากษัตริย์และความคืบหน้าสู่ประชาธิปไตยของไทย พ.ศ. ๒๕๒๓
พระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รับการประดิษฐานที่
หน้าอาคารรัฐสภา โครงการนี้ริเริ่มมานานแล้ว แต่เพิ่งมีเงินทุนท� าส�าเร็จหลัง
พ.ศ. ๒๕๑๙ พระบรมรูป คือเครื่องแสดงประวัติศาสตร์ที่จับต้องได้ว่า พระ
เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ทรงสถาปนาประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในเมืองไทยโดยพระ
ราชทานรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ ไม่ใช่ “คณะราษฎร” ใน
จินตภาพใหม่นี้ การปฏิวัติโดยคณะราษฎรเป็นความผิดพลาด ส่งผลให้ประเทศ
ถล�าเข้าสู่ระบบทหารแบบฟาสซิสต์และเสี่ยงกับระบบคอมมิวนิสต์
ข้อความที่สลักไว้บนฐานพระบรมรูปคือ ถ้อยแถลงของพระองค์เมื่อ
ทรงสละราชสมบัติ ใน พ.ศ. ๒๔๗๘ ว่า “ข้ำพเจ้ำไม่ยินยอมยกอ�ำนำจทั้งหลำยของ
ข้ำพเจ้ำให้แก่ผู้ใดค ะใดโดยเฉพำะเพื่อใช้อ�ำนำจโดยสิทธิขำด และโดยไม่ฟัง
เสียงอันแท้จริงของประชำรำษ ร” ด้วยวาทกรรมนี้ สถาบันพระมหากษัตริย์
จึงกลายเป็นต้นตอของประชาธิปไตย

ทหารการเมอง ละ เปรมา ิปไตย พ ศ ๒๕๒๓ ๒๕๓๗


ฝ่ายทหารแสดงบทเป็นตัวน�าเพื่อให้บรรลุสู่วิสัยทัศน์การปกครองแบบ
พ่อขุนอุปถัมภ์และอนาคตทางการเมืองของชาติ
รัฐประหาร ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ น�าทหารกลับสู่อ�านาจ ทหารได้มีบทบาท
น�าในการเมืองไทยมาถึง ๔๐ ปี โดยมีช่วงว่างเว้นเพียงระยะสั้นๆ ๒ ครั้งเท่านั้น
ดังนั้น อิทธิพลของทหารจึงหยั่งรากลึกในสังคมไทย แต่การที่สหรัฐเข้ามาช่วย
อุปถัมภ์ค�้าจุนกองทัพแล้วถอนตัวออกไปก่อผลสะเทือนตามสมควร จ� านวน
ของนายพลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (มากกว่า ๑ พันคน) ท�าให้นายทหารระดับบน

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


แข่งขันกันเลื่อนขั้นอย่างเข้มข้น จากทศวรรษ ๒๔๗๐-๒๔๙๐ กองทัพภาค
ที่ ๑ มีบทบาทน�าการเมืองเนื่องจากคุมก�าลังที่กรุงเทพฯ แต่หลังจากนั้นได้เกิด
ศูนย์กลางอ�านาจขึ้นในกองทัพหลายศูนย์ การต่อต้าน พคท.ส่งผลให้กองทัพ
ระดับภูมิภาค เพิ่มจ� านวนทหารในสังกัดและมีความส� าคัญขึ้น ที่กรุงเทพฯ
หน่วยงานทหาร เช่น กอ.รมน.มีทั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ และบทบาทส�าคัญด้าน
ยุทธศาสตร์เพิ่มขึ้นมา นอกจากนี้การต่อต้าน พคท.ได้ท� าให้เกิดกลุ่มทหาร
ระดับกลางๆ ที่ตื่นตัวทางการเมืองขึ้นหลายกลุ่ม พวกเขาอภิปรายถกเถียงกัน
บ้างเขียนบทความลงวารสารทหารเกี่ยวกับประเด็นที่ว่า ท� าไมกองทัพจึงท�า
สงครามกับประชาชน และจะต่อต้านคอมมิวนิสต์ด้วยแนวทางทางการเมือง
อย่างไร
กลุ่มนายทหารระดับกลางมีความส�าคัญเพราะคุมกองก�าลังและอาวุธ
นายพลที่แก่งแย่งอ�านาจกันต้องพึ่งพานายทหารระดับกลางเหล่านี้ทั้งสิ้น “ค ะ
ทหำรหนุ่ม” หรือยังเติร์ก ( oung Turk) เป็นนายทหารระดับกลางประมาณ
๙๐ คน จับกลุ่มกันเมื่อต้นทศวรรษ ๒๕๑๐ มีบทบาทส�าคัญในการเมืองสมัย
รัฐประหาร หลัง “๖ ตุลา” ส่วนใหญ่จบโรงเรียนทหารที่สหรัฐและได้ไปรบกับ
เวียดกงที่เวียดนาม พวกเขารังเกียจคอมมิวนิสต์อย่างเต็มที่ (หลายคนมีบทบาท
สลายการชุมนุมเมื่อ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙) และยังรังเกียจทุนนิยมด้วย ส� าหรับ
คณะทหารหนุ ่ ม แล้ ว ชาวนาเป็ น “กระดู ก สัน หลัง ของชาติ” พวกเขาเชื่อ ว่ า
คอมมิวนิสต์เฟื่องฟูขึ้นมาได้เพราะนายทุนเอาเปรียบมากเกินไป นายทุนนี้เอง
ที่ท�าลายชาติ สถาบัน และทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ใช่แต่เพียงสร้างความทุกข์ยากให้
กับผู้คน๔ พวกเขาไม่เชื่อถือระบอบรัฐสภา เพราะเห็นว่านักธุรกิจสามารถก�ากับ
การเลือกตั้งได้ พวกเขาเชื่อว่ากองทัพมีสิทธิและหน้าที่ที่จะกุมอ�านาจรัฐเพื่อจัด
การกับความแตกแยกในสังคม พวกเขาตระหนกตกใจที่สถานภาพของกองทัพ
ตกต�่าลงใน พ.ศ. ๒๕๑๖ โดยวิเคราะห์ว่าเป็นเพราะนักธุรกิจและนายพล เช่น
จอมพลถนอมและจอมพลประภาสร่วมมือกันฉ้อราษฎร์บังหลวง เนื่องจาก
คณะทหารหนุ่มคุมกองก�าลังที่กรุงเทพฯ จึงมีบทบาทส�าคัญท�าให้การรัฐประหาร
ทั้ง ๒ ครั้งในปี ๒๕๑๙ และ ๒๕๒๐ ประสบความส�าเร็จ
“ทหำรประชำธิปไตย” ส่วนใหญ่ก่อก�าเนิดมาจาก กอ.รมน. และทหาร
เสนาธิการ พวกเขาได้ช่วยคิดยุทธศาสตร์ต่อต้านคอมมิวนิสต์ และเคยท�างาน
ร่วมกับสมาชิก พคท.ที่ในภายหลังถอนตัวออกมา เช่น ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
กลุ่มนี้เหมือนกับคณะทหารหนุ่มตรงที่เชื่อว่าปัญหาคอมมิวนิสต์เกิดจากทุนนิยม
เพราะว่า “ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม...ท�ำให้กลุ่มเศรษฐกิจบำงกลุ่มมีโอกำส
และสำมำรถใช้อิทธิพลผูกขำดทำงเศรษฐกิจได้ อันเป็นผลท�ำให้เกิดไม่เป็นธรรม
ในสังคม และควำมยำกไร้ทำงวัตถุในหมู่ประชำชน และมีส่วนก่อให้เกิดเงื่อนไข
สงครำม” ๕ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ผู้น�าคนหนึ่งของทหารประชาธิปไตยเสนอ
ว่า ที่ร้ายที่สุดคืออิทธิพลที่หยั่งรากลึกในสังคมชนบท ถ้าพวกเขาไม่พอใจบางคน
คนคนนั้นอาจต้องตาย อาจถูกฆ่าตาย๖
คณะทหารหนุ่มนับถือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในฐานะเป็นนาย
ทหารมือสะอาด และได้ช่วยให้พลเอกเปรมก้าวขึ้นเป็น นำยกรัฐมนตรี เมื่อปี
๒๕๒๓ แต่พลเอกเปรมไม่ได้พึ่งพิงพวกเขาเลย การก้าวขึ้นสู่อ�านาจของพลเอก
เปรมนั้นเป็นเพราะอีกเหตุหนึ่งด้วยคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระ
หนักว่าพลเอกเปรมเป็นนายทหารที่จงรักภักดีต่อพระราชวงศ์ พลเอกเปรม
ไม่ได้เห็นคล้อยตามไปกับอุดมการณ์แคบๆ ของคณะทหารหนุ่ม แต่เข้าใจดี
ถึงความจ�าเป็นที่จะต้องประนีประนอมกับนักธุรกิจในฐานะเป็นพลังอ�านาจหนึ่ง
ในสังคม พ.ศ. ๒๕๒๔ เขาแต่งตั้งนายทหารและนักธุรกิจบางคนเป็นรัฐมนตรี
สร้างความไม่พอใจให้กับคณะทหารหนุ่ม จึงก่อการรัฐประหาร เมื่อ ๑ เมษายน
๒๕๒๔ (ต่อมามีชื่อเรียกว่า “รัฐประหาร ๑ เมษา” หรือ “รัฐประหารเอพริลฟูลส์”)
แต่พลเอกเปรมหลีกเลี่ยงได้ โดยหลบหนีไปอยู่ค่ายทหารที่โคราช พร้อมทั้งน�า
พระราชวงศ์เสด็จพระราชด�าเนินไปด้วย ส่งผลให้คณะทหารหนุ่มต้องยอมยก
ธงขาว หัวหน้ากลุ่มถูกจ�าคุกชั่วขณะเท่านั้น เพราะพลเอกเปรมเชื่อว่าพวกเขา
จะเป็นประโยชน์ในอนาคต พ.ศ. ๒๕๒๘ คณะทหารหนุ่มก่อการรัฐประหาร
อีกครั้งแต่ล้มเหลวอีก หลังจากนั้นผู้น�าของกลุ่มถูกปลดประจ�าการ กลุ่มจึง
สลายตัวไป
ทหารประชาธิปไตยยืดหยุ่นกว่าคณะทหารหนุ่ม พลเอกเปรมพึ่งพิง
พวกเขาช่วยวางแผนกวาดล้างคอมมิวนิสต์ที่หลงเหลืออยู่และหวนคืนสู่ระบอบ
รัฐสภาประชาธิปไตย ยุทธศาสตร์นี้คือประกาศ ๒ ฉบับที่ออกใน พ.ศ. ๒๕๒๓
และ ๒๕๒๕ ที่เรียกว่า ค�ำสั่งที่ ๒๕๒ และ ๕ ๒๕๒๕ แสดงเจตจ�านง
ว่ารัฐไทยภายใต้การน�าของกองทัพจะด�าเนินมาตรการเพื่อก�าจัดสาเหตุของลัทธิ
คอมมิวนิสม์และความไม่พึงพอใจต่อรัฐไทย

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ขจัดเหตุแห่งความไม่เป็นธรรมในสังคมทุกระดับตั้งแต่
ท้องถิ่นถึงระดับชาติ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประ
พฤติ มิ ช อบในวงราชการอย่ า งเฉี ย บขาด ท�า ลายการกดขี่ ขู ด รี ด
ทั้งสิ้น สร้างความปลอดภัยให้เกิดแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประ
ชาชน๗

เป้าหมายดังกล่าวจะบรรลุได้ก็ด้วยการ “ท�าลายการผูกขาดตัดทอน
ทางเศรษฐกิจ”๘ และกระจายรายได้ให้เกิดความเสมอภาค ในท�านองเดียวกับ
การอภิปรายเรื่องอุดมการณ์ชาติ นโยบายเน้นไปที่ “ประชาธิปไตย” และ “ส่ง
เสริมและสนับสนุนให้ประชาชนทุกชนชั้นและสาขาอาชีพได้มีส่วนร่วมทางการ
เมือง” แต่ก็ไม่ได้สนับสนุนระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนอย่างเต็มที่ ภัย
คอมมิวนิสต์ยังคงเป็นเหตุผลให้กองทัพสามารถอ้างถึงหน้าที่อัน “ศักดิ์สิทธิ์”
ที่จะเป็นผู้ปกครองโดยชอบธรรม
ภายใต้การน�าของพลเอกเปรม ยุทธศาสตร์ “ประชาธิปไตยแบบบริหาร
จัดการ” ครอบคลุมทั้งที่รัฐสภา ตลอดไปถึงระดับหมู่บ้าน รัฐธรรมนูญฉบับ
ใหม่ก�าหนดให้รัฐสภาอยู่ภายใต้การควบคุมของวุฒิสภาที่แต่งตั้งมาจากฝ่ายทหาร
เสียเป็นส่วนใหญ่ พลเอกเปรมเป็นนายกรัฐมนตรีกว่า ๘ ปี (๒๕๒๓-๒๕๓๑)
ด้วยแรงสนับสนุนโดยตรงจากกองทัพและโดยนัยจากราชส�านัก ต�าแหน่งรัฐ
มนตรีหลักๆ (กลาโหม มหาดไทย คลัง และต่างประเทศ) ตกอยู่กับฝ่ายทหาร
และเทคโนแครตที่ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจ ต�าแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงอื่นๆ
จัดสรรให้กับ ส.ส. ทั้งนี้รัฐสภาและการเลือกตั้งทั่วไปได้รับการฟื้นฟูขึ้นตั้งแต่
พ.ศ. ๒๕๒๒ นายทหารบางรายลาออกจากราชการเพื่อลงสมัคร ส.ส. เพื่อจะ
ได้สนับสนุนพลเอกเปรมในรัฐสภาได้โดยตรง การบริหารจัดการประชาธิปไตย
ลักษณะดังกล่าวในช่วงนี้เรียกว่า “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” หรือ “เปรมาธิปไตย”
(Premocracy)
รัฐบาลจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อปรับปรุงชีวิตของคนชนบทมากขึ้น
ทั้งนี้เพื่อขจัดสาเหตุของลัทธิคอมมิวนิสม์ แผนพั นำเศรษฐกิจและสังคมแห่ง
ชำติ ฉบับที่ ๕ (๒๕๒๔-๒๕๒๙) ก�าหนดเป้าประสงค์ของความเสมอภาคทาง
สังคมและเศรษฐกิจเป็นครั้งแรกด้วยเหตุผล “ความมั่นคงของชาติ” โครงการ
ขจัดความยากจนระบุหมู่บ้านจนที่สุดจ�านวน ๑๒,๖๕๒ แห่ง (ร้อยละ ๖๐ อยู่

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ที่อีสาน) ที่ต้องได้รับการดูแลด้านการจัดหาน�้า ถนน โรงเรียน การชลประทาน
การไฟฟ้า และการปรับปรุงดิน พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เสนอและดูแลโครง
การอีสำนเขียว โดยมีกองทัพเป็นผู้จัดท�าการชลประทานขนาดเล็กและโครงการ
พัฒนาอื่นๆ แต่นโยบายเหล่านี้ก็ไม่ได้ลดทอนความไม่เท่าเทียมที่เพิ่มขึ้น ใน
ท�านองเดียวกัน ความพยายามลดบทบาทของทุนขนาดใหญ่ก็ไม่ประสบความ
ส�าเร็จมากนัก แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๕ แสดงความ
ตั้งใจที่จะก�าจัดการผูกขาดในกิจการธนาคาร อุตสาหกรรม แต่ไม่บังเกิดผลเป็น
ชิ้นเป็นอัน
กองทัพสร้างเครือข่ายการรณรงค์โฆษณาชวนเชื่อและระวังระไวไม่ให้
มีการฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสม์ โดยเฉพาะตามหมู่บ้าน ฟื้นฟู “ลูกเสือชาวบ้าน”
ขึ้นอีกหลังจากที่ซาไปก่อนหน้านี้ (พ.ศ. ๒๕๒๐) ลูกเสือชาวบ้านได้รับแรงหนุน
จากทั้งฝ่ายทหาร ข้าราชการ นักธุรกิจ และกลุ่มนิยมเจ้า มีสมาชิกมากถึง ๓
ล้านคน พ.ศ. ๒๕๒๑ กอ.รมน.และกระทรวงมหาดไทยจัดตั้งกลุ่มไทยอำสำ
ปองกันชำติ ท�าการฝกและติดอาวุธให้กับเหล่าไทยอาสาป้องกันชาติในหมู่บ้าน
๕ หมื่นแห่ง ท�าหน้าที่การข่าวและเฝ้าระวัง กลุ่มกระทิงแดงและกลุ่มอื่นๆ เช่น
สันตินิมิตรท�าหน้าที่เฝ้าระวังขนานกันไป สถานีวิทยุของทหารถ่ายทอดรายการ
โฆษณาชวนเชื่อทั้งเช้าและค�่าจากหอกระจายเสียงที่สร้างขึ้นกลางหมู่บ้าน นัก
เคลื่อนไหวชาวบ้านฝ่ายซ้ายถูกจัดการแบบเงียบๆ ผู้ใหญ่ใน กอ.รมน. รายหนึ่ง
กล่าวในภายหลังว่า “ทำงกำรมี ‘กลุ่มไล่ล่ำ’ เพื่อติดตำมผู้น�ำคอมมิวนิสต์ที่ทำง
กำรมีชื่ออยู่แล้ว แล้วก็...โปง...เรียบร้อย ก็กลับบ้ำนพักผ่อนได้สบำย ” ๙

พระมหากษัตริย์ส าบันสูงสุ
ด้วยแรงหนุนของพลเอกเปรม และโครงการต่างๆ ของส�านักงานเอก
ลักษณ์ของชาติ บทบาทของพระมหากษัตริย์ในสังคมพัฒนาต่อไปภายใต้ ๓
มิติหลัก
มิติแรก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมุ่งไปที่ “โครงการหลวง”
เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของครัวเรือนชนบท สอดคล้องกับความสนพระทัย
ส่วนพระองค์อยู่แล้วด้วย พ.ศ. ๒๕๒๓ รัฐบาลจัดสรรเงินงบประมาณแผ่นดิน

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


เพื่อโครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์พัฒนาชนบทโดยรวม สภา
พัฒน์ฯ จัดตั้งส�านักงานพิเศษเพื่อการนี้โดยเฉพาะ โดยยืมตัวข้าราชการระดับ
สูงของกรมชลประทานมาช่วยงาน หน่วยงานเพื่อการพัฒนา ๖ หน่วยได้รับการ
ก่อตั้งขึ้นที่พระราชวังภูมิภาค ๖ แห่ง ภารกิจขยายจากจุดเน้นในช่วงก่อนหน้าที่
การชลประทานและชาวไทยภูเขา ครอบคลุมไปถึงโครงการพัฒนาชนบทแทบ
ทุ ก ประเภท พระบรมฉายาลั ก ษณ์ ข องพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว และ
สมาชิกของพระราชวงศ์ขณะทรงงานพัฒนาในที่ต่างๆ เป็นจุดเด่นของรายการ
ข่าวโทรทัศน์ประจ�าวัน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนเกษตรกรรายเล็กในภาวะ
ของความเปลี่ยนแปลงและความเป็นเมือง พ.ศ. ๒๕๓๔ ทรงมีพระราชด�ารัสว่า

เราไม่อยากจะเป็นประเทศก้าวหน้าอย่างมาก เพราะถ้า
เราเป็นประเทศก้าวหน้าอย่างมาก ก็จะมีแต่ถอยหลัง...แต่ถ้าเรามี
การบริหารแบบเรียกว่าแบบ ‘คนจน’ แบบที่ไม่ติดกับต�ารามากเกิน
ไป ท�าอย่างมีสามัคคีนี่แหละ คือเมตตากัน ก็จะอยู่ได้ตลอดไป๑๐

พ.ศ. ๒๕๓๗ พระองค์ทรงเสนอโครงกำรเกษตรผสมผสำนแบบปลอด


สำรพิษ ซึ่งจะท�าให้เกษตรกรรายย่อยพึ่งตนเองได้เต็มที่และเป็นอิสระจากตลาด
สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงอธิบายว่า “คนชนบทกับคนรวยใน
กรุงเทพ ึ่งถือว่ำศิวิไล ์ มีควำมเข้ำใจผิด ึ่งกันและกัน คนชนบทไทยบอก
ว่ำพวกเขำไม่ได้รับกำรเหลียวแล เรำพยำยำมที่จะอุดช่องว่ำงนี้เสีย โดยอยู่กับ
เขำในที่ห่ำงไกล” ๑๑ พ.ศ. ๒๕๒๗ ส�านักงานเอกลักษณ์ของชาติถวายสมญานาม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าเป็น “พระมหากษัตริย์เกษตรกร” และ “พระ
มหากษัตริย์นักพัฒนา”
ต้ น ทศวรรษ ๒๕๓๐ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงสนพระทั ย
ปัญหาในเขตเมืองด้วย ทรงพยายามแก้ปัญหาน�้าท่วมที่กรุงเทพฯ ทรงมองหา
ลู่ทางตัดถนนและทางหลวงสายใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อช่วยลดปัญหาจราจรแออัด
แต่สื่อสิ่งพิมพ์และโทรทัศน์ก็ยังให้ภาพที่เน้นบทบาทการพัฒนาชนบทของพระ
องค์เป็นหลัก
มิติที่สอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นไปที่การเฉลิมฉลอง
ต่างๆ เกี่ยวโยงกับประวัติศาสตร์ที่ต่อเนื่องยาวนาน และความอลังการของ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
สถาบันพระมหากษัตริย์และวัฒนธรรมไทย การสมโภชกรุงเทพฯ ๒๐๐ ปีเมื่อ
พ.ศ. ๒๕๒๕ การเฉลิมฉลองครบรอบ ๗๐๐ ปีลายสือไทย พ.ศ. ๒๕๒๖ ตาม
ด้วยการเฉลิมฉลองพระราชสมภพครบ ๖๐ พระชันษาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ การ
เฉลิมฉลองที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดเมื่อ พ.ศ.
๒๕๓๑ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลกเมื่อ พ.ศ.
๒๕๓๕ พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระบรมราชชนนี เมื่อ
พ.ศ. ๒๕๓๘ การเฉลิมฉลองกาญจนาภิเษกครบรอบทรงครองราชย์ ๕๐ ปี
พ.ศ. ๒๕๓๙ เฉลิมฉลองพระราชสมภพครบรอบ ๗๒ พระชันษา พ.ศ. ๒๕๔๒
และเฉลิมฉลองสมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชสมภพครบรอบ ๗๒
พระชันษา พ.ศ. ๒๕๔๗ สิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวโยงกับความต่อเนื่องของสถาบันพระ
มหากษัตริย์ เป็นองค์ประกอบส�าคัญในโครงการปีวัฒนธรรมไทย พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งส�ำนักงำนเอกลักษ ์ของชำติเป็นผู้ริเริ่ม บริเวณเมืองเก่าของกรุงเทพฯ ที่
“เกาะรัตนโกสินทร์” เป็นใจกลางของการเฉลิมฉลองเหล่านี้ กรุงเทพมหานคร
วางแผนฟื้นฟูโบราณสถานต่างๆ เพื่อให้บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ได้หวนกลับคืน
สู่สภาพอดีตสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว
และเพื่อหวนคืนพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ด้ังเดิม ซึ่งต่อมามีตึกใหม่ เช่น มหำวิทยำลัย
ธรรมศำสตร์และกำรเมือง สร้างหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ การหมอบคลานเป็น
ที่นิยมอีกครั้ง๑๒ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นกลไกก�ากับไม่ให้มีการ
วิพากษ์วิจารณ์พระราชวงศ์แบบที่เคยเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ ๒๔๖๐
มิติที่สาม สถาบันพระมหากษัตริย์ยิ่งถูกโยงให้เกี่ยวพันกับพระพุทธ
ศาสนา ประชาชนทั่วไปเห็นการประกอบพิธีกรรมส�าคัญโดยพระราชวงศ์ผ่าน
การแพร่ภาพทางโทรทัศน์เป็นประจ�า กรมศิลปากรส่งเสริมหนังสือไตรภูมิพระ
ร่วงให้ได้รับความสนใจอีกครั้งหนึ่ง ไตรภูมิพระร่วงคือต�าราสมัยสุโขทัย มี
เนื้อหาอธิบายว่าความแตกต่างของบุญด้านศาสนาที่สะสมมาเป็นบ่อเกิดของ
สถานภาพสูงต�่าในสังคม พระมหากษัตริย์มีบุญญาธิการสะสมมามากจึงอยู่
ณ จุดสูงเด่นที่สุดในสังคม พ.ศ. ๒๕๒๖ มีการสัมมนาที่อภิปรายคุณค่าของ
ไตรภูมิพระร่วงในวิถีชีวิตร่วมสมัย การปกครองและความมั่นคงของชาติ พระ
บาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงสนพระทั ย ลู ก ศิ ษ ย์ ผู ้ สื บ ทอดพระอำจำรย์ มั่ น
ภูริทตโต พระสงฆ์ที่อีสาน ผู้ซึ่งได้อุทิศตนด�าเนินชีวิตอย่างสันโดษ มีชื่อเสียง
เรื่องการท�าสมาธิอย่างเข้มข้น พระอาจารย์มั่นมรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒
ต่อมาศิษย์ของท่านกล่าวอ้างว่าพระอาจารย์มั่นได้บรรลุอรหันต์ กลุ่มศิษยา

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


นุศิษย์ที่เป็นนักธุรกิจและข้าราชการระดับน�าของประเทศและราชตระกูล สนับ
สนุนวิถีปฏิบัติทางศาสนาของพระอาจารย์มั่น และเริ่มอุทิศตนให้การอุปถัมภ์วัด
ที่มีส�านักของท่านตั้งอยู่มาตั้งแต่ปลายทศวรรษ ๒๕๐๐ พระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัวทรงนิมนต์พระภิกษุศิษย์ของพระอาจารย์มั่นที่ยังมีชีวิตอยู่มาที่กรุงเทพฯ
และทรงสร้างส�านักสงฆ์ให้เป็นที่พ�านัก เสด็จพระราชด�าเนินเยือนส�านักสงฆ์ที่
สกลนครอันเป็นสถานที่ที่พระอาจารย์มั่นมรณภาพ ทั้งยังได้เสด็จไปพระราช
ทานเพลิงศพของพระสงฆ์ที่เป็นศิษย์ใกล้ชิดของพระอาจารย์มั่น ๓ รูป
พ.ศ. ๒๕๓๐ ส�ำนักรำชเลขำธิกำรจัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งข้อสังเกตว่า การปกครองของพระมหากษัตริย์ไทย
“ไม่ได้เกิดจากลัทธิเทวราชย์แต่อย่างใด แต่เป็นเพราะความเห็นชอบของเสนาบดี
ทั้งหลาย” ดังนั้น “ความชอบธรรมของพระมหากษัตริย์ไทยจึงขึ้นอยู่กับหลัก
การหนึ่งเดียวที่ว่าทรงสร้างประโยชน์และความสุขให้กับประเทศชาติเพียงใด”๑๓
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชด�ารัสมีนัยถึงทฤษฎีที่ทรงได้รับเลือก
จากชุมชนสมมุติให้เป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อพระราชทานบทสัมภาษณ์แก่นัก
หนังสือพิมพ์ต่างประเทศว่า “หำกประชำชนไม่ต้องกำรเรำ เขำก็ทิ้งเรำได้มั้ง ” ๑๔
พระราชด�ารัสในโอกาสวันพระราชสมภพและในโอกาสอื่นๆ ได้รับความ
สนใจเป็นพิเศษเสมือนค�าสอน เนื้อหาหลักที่ทรงเน้นย�้าเสมอคือเรื่องความ
สามัคคี และความจ�าเป็นที่ต้องมีคนดีปกครองประเทศ บางครั้งพระองค์ทรง
แสดงความไม่เห็นด้วยกับความแตกสามัคคีในระบอบการปกครองประชาธิปไตย
ผ่านตัวแทน “คนหนึ่งก็พูด พูด พูด แล้วคนหนึ่งก็ขัด ขัด ขัด ขัดกัน จนกลำย
เป็นกำรแก้กันที่กำรเมือง” ๑๕ ข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ผู้ใกล้ชิด บางครั้งแสดง
ความเห็นชัดเจน ม.ร.ว.ทองน้อย ทองใหญ่ ราชเลขาธิการ มีความเห็นว่ารัฐ
ธรรมนูญของไทย “เป็นแบบฝรั่งเศสโดยรากฐาน เป็นแบบอเมริกันโดยอุดม
คติ” ๑๖ ส�านักงานเอกลักษณ์ของชาติก็เขียนว่ารัฐธรรมนูญเป็น “แนวคิดมาจาก
ต่างประเทศ” ๑๗
พ.ศ. ๒๕๓๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์พระ
มหำชนก ดัดแปลงมาจากชาดก เรื่องราวเกี่ยวกับอดีตชาติของพระพุทธเจ้า
เนื้อหาคือพระมหาชนกทรงสูญเสียพระราชอาณาจักร แต่ทรงได้รับกลับคืนมา
อีกหลังจากที่ทรงผ่านการทดสอบซึ่งส�าแดงอ�านาจของความเป็นพระมหากษัตริย์
ทรงครองราชย์เป็นเวลาหลายพันปี แต่เมื่อทรงตระหนักว่าทรัพย์สมบัติทั้ง
หลายไม่มีความหมายอันใด จึงทรงปลีกพระองค์ถือสันโดษ พระบาทสมเด็จ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
พระเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนส�านวนดั้งเดิม โดยเพิ่มเติมเนื้อหาที่เป็นค�าสอนเกี่ยว
กับความอดทนอดกลั้น และพระมหาชนกทรงเลื่อนการปลีกพระองค์สู่สันโดษ
ออกไป จนกระทั่งหลังจากที่ได้ทรงชักจูงให้ประชาชนเปลี่ยนใจจากความโลภที่
เป็นต้นตอของการท�าลายล้าง เพื่อด�าเนินชีวิตที่สมดุลโดยผ่านการศึกษาและ
การพัฒนาแบบยั่งยืนในการใช้เทคโนโลยีดั้งเดิม พระมหำชนกทรงอธิบายว่า
เหล่านี้เป็นความจ�าเป็นเพราะ “นับแต่อุปรำช จนถึงคนรักษำช้ำง คนรักษำม้ำ
และนับแต่คนรักษำม้ำจนถึงอุปรำช และโดยเฉพำะเหล่ำอมำตย์ ล้วนจำริกใน
โมหภูมิทั้งนั้น พวกนี้ขำดทั้งควำมรู้วิชำกำร ทั้งควำมรู้ทั่วไป คือควำมส�ำนึก
ธรรมดำ” ๑๘
เมื่อที่ปรึกษาระดับอาวุโสซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระบรมวงศ์สิ้นพระชนม์
(เช่น พระองค์เจ้าธานีฯ พ.ศ. ๒๕๑๗) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้ง
ที่ปรึกษากลุ่มใหม่ที่ไม่ใช่ราชนิกุลแต่มีคุณลักษณะเด่นในสังคมสมัยใหม่ รวม
ทั้งนายพลจากสมัยสงครามเย็น (เช่น พลเอกเปรม ติณสูลานนท์) เทคโนแครต
ผู้ซึ่งมีความเห็นสอดคล้องกับพระองค์ในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
ผู้น�าด้านธุรกิจจากตระกูลไทย-จีนเก่า และผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและรัฐ
ธรรมนูญ
ภาพที่แสดงให้เห็นถึงการอุทิศพระองค์เพื่อเกษตรกร พระราชพิธีที่
สม�่าเสมอ ความเป็นศูนย์รวมของอัตลักษณ์ชาติและการครองราชย์ท่ียืนยาว
เพิ่มพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้สูงเด่นตลอดเวลา เมื่อทรง
เริ่มครองราชย์นั้น พระองค์ยังคงเป็นสัญลักษณ์ของความสมัยใหม่แบบตะวันตก
ในลักษณะคล้ายคลึงกับกรณีของรัชกาลที่ ๔ จนถึงรัชกาลที่ ๗ เนื่องจากทรง
ได้รับการศึกษาจากยุโรป แต่เมื่อพระองค์เจ้าธานีฯ ทรงถวายค�าแนะน�า และ
ต่อมาทรงใช้พระราชวินิจฉัยด้วยพระองค์เอง ก็ได้ทรงกลายเป็นสัญลักษณ์ของ
ประเพณีในภาวะเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง
ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ลัทธิประเพณีดังกล่าวนี้ได้รับการส่งเสริม
จากทั้งฝ่ายทหารและฝ่ายธุรกิจเอกชนเพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสม์ โดยพระ
มหากษัตริย์มีภาพเป็นพ่อขุนอุปถัมภ์ของชาติที่มีชาวนาเป็นพสกนิกรที่จงรัก
ภักดีและปลอดจากความเดือดร้อน แต่เมื่อปัญหาคอมมิวนิสต์ซบเซาลง และ
ชาวนาลดความส�าคัญลง พร้อมกันนั้นกลับกระด้างกระเดื่องขึ้น ภาพที่กล่าวมา
ข้างต้นจึงใช้ไม่ได้อีกต่อไป ข้าราชส�านักและผู้นิยมเจ้ารุ่นใหม่ๆ เฉลิมฉลอง
พระมหากษัตริย์เป็นธรรมราชา และเป็นเสาหลักของจริยธรรมที่จะคานกับความ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


โลภที่ เ กิ น เลยของฝ่ า ยทหารและธุ ร กิ จ เอกชน หนั ง สื อ King Bhumibol
Adulyadej : Thailan ’s Gui ing Light พิมพ์โดย Bangkok Post เนื่อง
ในโอกาสเฉลิมฉลองกาญจนาภิเษก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ บรรยายว่า พระมหา
กษัตริย์เป็น “ดวงประทีปแห่งความหวัง สัญลักษณ์ของความสามัคคี...เสา
หลักของเสถียรภาพ” ทรงงานเพื่อให้ข้ามพ้น “‘พลังของความโลภ’ ซึ่งเกิดจาก
การร่วมมือกันระหว่างนักลงทุน นักการเมือง และข้าราชการหน้าเลือด” ๑๙ โดย
สรุป ภาพของพระมหากษัตริย์ได้รับการสร้างใหม่ให้เป็นความหวังของชนชั้น
กลางกลุ่มใหม่
พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้าราชการ-นักการเมืองรายหนึ่งพิมพ์หนังสือ พระรำช
อ�ำนำจ อ้างว่า “พระมหากษัตริย์ไทยทรงมีพระราชสถานะที่ชัดเจนแตกต่างกับ
พระมหากษัตริย์ของชาติใดๆ ในโลกนี้” การเปลี่ยนการปกครองเมื่อ พ.ศ.
๒๔๗๕ “มิได้หมายความว่ารัฐธรรมนูญมีฐานะเหนือกว่าสถาบันพระมหากษัตริย์
แต่อย่างใด...ฐานะของพระมหากษัตริย์ไทยมิได้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ” หนังสือ
เล่มนี้เสนอว่า ปฏิวัติ ๒๔๗๕ ล้มเหลว และ “ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ยังไม่
รู้จักวิถีชีวิตและความเชื่อที่ถูกต้องในลัทธิประชาธิปไตย ประชาชนรู้แต่ว่าบ้าน
เมืองมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแต่ต้องมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุขอยู่”๒๐ ผู้เขียนบอกว่า ข้อพิสูจน์คือความจริงที่ว่ารัฐธรรมนูญทุกฉบับ
พระมหากษัตริย์ต้องทรงลงพระปรมาภิไธย ข้อพิสูจน์อีกประการคือพระมหา
กษัตริย์ได้รับความเคารพนับถืออย่างสูงยิ่ง หนังสือเล่มนี้พิมพ์แพร่หลายมาก
และมีคนถือติดตัวเป็นการแสดงความจงรักภักดี
การเฉลิมฉลองที่พระองค์ทรงครองราชย์ครบรอบ ๖๐ ปีเมื่อวันที่ ๙
มิถุนายน ๒๕๔๙ ยิ่งใหญ่อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน รัฐบาลประกาศการเฉลิม
ฉลองทั้งปี พระมหากษัตริย์และพระราชินีที่ยังครองราชย์อยู่ทั่วโลกทรงได้รับ
เชิญให้มาร่วมการสมโภช โดย ๒๕ ประเทศเสด็จมาเองหรือทรงส่งตัวแทน
ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๕๐ มีการเฉลิมฉลองวันพระราชสมภพครบรอบ ๘๐ พระ
ชันษา และ พ.ศ. ๒๕๕๔ มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ การสวม
ใส่เสื้อผ้าสีเหลืองอันเป็นสีวันพระราชสมภพกลายเป็นเครื่องแสดงความจงรัก
ภักดี
โดยสรุป สัญลักษณ์พระราชอ�านาจของพระมหากษัตริย์ เป็นตัวแปร
ส�าคัญในสมัยของการเมืองบนพื้นที่สาธารณะ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ุรกิจการเมอง
นักทฤษฎีของชนชั้นน�าที่อยู่เบื้องหลังส�านักงานเอกลักษณ์ของชาติ กลุ่ม
ทหารการเมืองกลุ่มต่างๆ และผู้นิยมเจ้ารุ่นใหม่ๆ ทุกกลุ่มมีจินตนาการว่า รัฐ
ไทยน่าจะมีบทบาทควบคุมธุรกิจเอกชนที่จะเป็นผลเสียกับชาวนา แต่สิ่งที่เกิด
ขึ้นเป็นไปในอีกทางหนึ่ง เมื่อระบบรัฐสภาเป็นตัวแทนประชาชนได้รับการฟื้นฟู
กลับมาใหม่ พ.ศ. ๒๕๒๒ นักธุรกิจกระโดดเข้าเล่นการเมืองทันที การที่ฝ่าย
กองทัพได้กีดกันขบวนการของชาวนาและคนงานอย่างสิ้นเชิงจึงเปิดโอกาสให้
ฝ่ายธุรกิจเข้าสู่รัฐสภาได้อย่างสะดวกง่ายดายโดยไม่มีคู่แข่ง สัดส่วนของสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่มาจากนักธุรกิจเพิ่มขึ้นจาก ๑ ๓ เป็น ๒ ๓ ระหว่าง
ปี ๒๕๒๒ ถึงปี ๒๕๓๑
พรรคการเมือง ๓ พรรคน�า ได้แก่ กิจสังคม ชำติไทย และประชำ
ธิปัตย์ หัวหน้าพรรคทุกคนมียศศักดิ์ แสดงให้เห็นสถานะสูงตามแบบสังคม
ดั้งเดิม ม.ร.ว.คึกฤทธิ์และ ม.ร.ว.เสนีย์ จากตระกูลปราโมช ในกรณีของพรรค
กิจสังคม และประชาธิปัตย์ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ในกรณีของพรรคชาติ
ไทย แต่แรงสนับสนุนทางการเงินและพลังขับเคลื่อนพรรคเหล่านี้มาจากชุมชน
ธุรกิจของกรุงเทพฯ ทั้งสิ้น กิจสังคมเป็นที่ต้องตาต้องใจนักธุรกิจ “สมัยใหม่”
โดยเฉพาะที่ ร ่ ว มทุ น กั บ บริ ษั ท ต่ า งชาติ พรรคชาติ ไ ทยมี แ รงหนุ น จากกลุ ่ ม
อุตสาหกรรมสิ่งทอและธุรกิจร่วมทุนกับญี่ปุ่น ประชาธิปัตย์มีนายทุนจากธุรกิจ
เกษตรขนาดใหญ่หนุนหลัง ธนาคารซึ่งยังคงมีบทบาทน�าในโลกธุรกิจ ไม่ได้มี
ภาพโยงกับพรรคใดเป็นพิเศษ แต่มีอิทธิพลในทุกพรรค
เริ่มแรกนั้นนักธุรกิจใหญ่ของกรุงเทพฯ ก�ากับพรรคเหล่านี้ทั้งสิ้น แต่
ร้อยละ ๙๐ ของ ส.ส.มาจากหน่วยเลือกตั้งต่างจังหวัด ภายใน ๑๐ ปีต่อมา
นักธุรกิจท้องถิ่นซึ่งร�่ารวยขึ้นมาจากการขยายตัวของเศรษฐกิจหัวเมือง ขยับเข้า
เป็น ส.ส.ในรัฐสภา และในท้ายที่สุดเข้าควบคุมพรรคส�าคัญๆ
จนถึงสมัยพัฒนา หัวเมืองต่างจังหวัดเป็นที่ตั้งของส� านักงานราชการ
เป็นหลัก มีประชากรเพียงไม่กี่พันคน ย่านการค้าก็ไม่ใหญ่โต แต่จากทศวรรษ
๒๕๐๐ ภาพนี้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง นับจากการขยายตัวของการค้าพืชไร่ ตาม
ด้วยสหรัฐใช้จ่ายเงินด้านการทหารในบางจังหวัด (สร้างฐานทัพอากาศ ส่งทหาร
มาประจ�าการ) ตามด้วยการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคต่างๆ (ถนน ไฟฟ้า

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


โรงเรียน) ของรัฐบาลไทยเองเพื่อโยงชุมชนท้องถิ่นให้ใกล้ชิดกับศูนย์กลางชาติ
ที่กรุงเทพฯ มากขึ้น และเมื่อเศรษฐกิจท้องถิ่นปรับแปรไปด้วยเงินลงทุนเหล่านี้
กิจการอื่นๆ ก็เกิดขึ้นตามมาเพื่อสนองความต้องการด้านการขนส่ง การคมนาคม
การค้าปลีก การบริการและการบันเทิงต่างๆ นักธุรกิจต่างจังหวัดที่ประสบ
ความส�าเร็จบางคนมาจากตระกูลขุนนางเก่าหรือตระกูลข้าราชการ อีกหลายคน
เป็นลูกหลานของจีนอพยพรุ่น ๒ หรือ ๓ กฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆ ที่มี
อยู่ไม่ได้เป็นอุปสรรคกับการด�าเนินธุรกิจ เพราะไม่ได้บังคับใช้อย่างเคร่งครัด
หรือไม่ก็เป็นเพราะนักธุรกิจมีวิธีการหลีกเลี่ยงได้อย่างแยบยล ผลก�าไรสูงมัก
เกี่ยวโยงกับกิจกรรมนอกกฎหมาย หรือผิดกฎหมาย เช่น การค้าไม้เถื่อน การ
ลักลอบน�าเข้าสินค้าโดยไม่เสียภาษี การพนันผิดกฎหมาย หรือเป็นกิจการที่
ต้องได้รับความร่วมมือจากข้าราชการโดยตรง เช่น การรับเหมางานก่อสร้างจาก
ภาครัฐ การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การจับจองที่สาธารณะมาใช้เป็นของเอกชน
ผู้ที่จะท�าธุรกิจแบบนี้ได้ต้องเป็นคนใหญ่คนโตและต้องได้รับความร่วมมือจาก
ข้าราชการท้องถิ่น นอกจากนักธุรกิจจะแบ่งผลก�าไรเป็นค่าตอบแทนให้กับเจ้า
หน้าที่รัฐที่ช่วยเหลือแล้วก็ยังช่วยงานราชการในมิติอื่นๆ เช่น สนับสนุนการ
รณรงค์ต่างๆ และการเฝ้าระวัง นักธุรกิจท้องถิ่นต่างสนับสนุนขบวนการลูกเสือ
ชาวบ้านอย่างแข็งขัน
นักธุรกิจที่รุ่งขึ้นมาแบบนี้ ทั้งร�่ารวย ทั้งมีอิทธิพลสูง เพราะท�าหน้าที่
เป็นตัวเชื่อมระหว่างชาวบ้านและโลกภายนอก ด้านหนึ่งพวกเขาใกล้ชิดกับ
พ่อค้าในหมู่บ้าน ผู้รับเหมาก่อสร้าง ก�านันผู้ใหญ่บ้าน และทหารต�ารวจในพื้นที่
อีกด้านหนึ่ง เขาสานสัมพันธ์กับข้าราชการ นักการเมือง และนักธุรกิจระดับชาติ
ดังนั้น จึงมีโอกาสพึ่งพิงเครือข่ายไม่เป็นทางการที่ภาครัฐเองอาศัยเพื่อที่จะควบ
คุมในพื้นที่ (เช่น ลูกเสือชาวบ้าน) นอกจากนั้นพวกเขาออกเงินช่วยสร้างโรง
เรียน ท�าบุญงานศพ หรือช่วยเหลือชาวบ้านเมื่อเจ็บป่วยเดือดร้อน เป็นบุญคุณ
กับชาวนา นานวันอิทธิพลของพวกเขาสูงขึ้นๆ จนถูกเรียกขานว่าเป็น “ผู้มี
อิทธิพล” หรือ “อ�านาจมืด” หรือ “เจ้าพ่อ” มีนัยว่ามีอ�านาจเหนือเจ้าหน้าที่รัฐ
ดังที่นายต�ารวจระดับสูงท่านหนึ่งสรุปถึงอิทธิพลของเจ้าพ่อว่า “กลุ่มของเจ้ำพ่อ
ทั้งหลำยเปรียบเสมือนกับสำมเหลี่ยม ยอดสุดคือกลุ่มผู้มีอิทธิพล ้ำยและขวำ
ของสำมเหลี่ยมคือมือปนและข้ำรำชกำรที่ ักใ ในตัวเจ้ำพ่อ” ๒๑
สภาพไร้กฎหมาย การใช้ก�าลัง และเส้นสายกับเจ้าหน้าที่ ท�าให้นักธุรกิจ
ประเภทเจ้าพ่อสะสมก�าไรขยายกิจการได้รวดเร็ว และประสบความส� าเร็จใน

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ระบอบรัฐสภาประชาธิปไตย
การเลือกตั้งแต่ละครั้ง นักธุรกิจท้องถิ่นหน้าใหม่จะอาศัยเครือข่ายที่
หมู่บ้าน เงิน แรงหนุนจากเจ้าหน้าที่ การเสนอโครงการจูงใจชาวบ้าน การข่มขู่
และการโกงเพื่อให้ได้คะแนน
ผู้ออกเสียงเลือกพวกเขาจากหลายเหตุผล บ้างเป็นเพราะถูกซื้อเสียง
บ้างเป็นเพราะเห็นว่าจะเป็นตัวแทนน�าผลประโยชน์มาให้ได้ การเลือกตั้งทั่วไป
ในปี ๒๕๒๒, ๒๕๒๖, ๒๕๒๙ และ ๒๕๓๑ พบว่าสัดส่วนของ ส.ส. มีพื้นเพ
เป็นนักธุรกิจต่างจังหวัดสูงขึ้นทุกครั้ง รายที่เด่นๆ ก็เช่น นายบรรหาร ศิลป
อาชา ลู ก จี น อพยพรุ ่ น ๒ ชาวตลาดสุ พ รรณบุ รี ร�่ า รวยจากการผู ก ขาดขาย
คลอรีนให้กับการประปาของเทศบาลเมือง น�าก�าไรลงทุนรับเหมาก่อสร้างตาม
ด้วยค้าขายที่ดิน การขนส่ง ปัมน�า้ มัน และกิจการอื่นๆ ในพื้นที่ เขาได้รับเลือก
ตั้งเป็น ส.ส.ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๑๘ มีชื่อเสียงสามารถดึงเงินงบประมาณเข้า
สุพรรณบุรีได้อักโข ส่งผลให้ธุรกิจของเขาเจริญเติบโตไปด้วย ชาวสุพรรณชอบ
ใจผลงาน และจะเลือกเขากลับมาทุกครั้ง
ส.ส.ต่ำงจังหวัดสามารถดึงเงินงบประมาณจากส่วนกลางเข้าสู่จังหวัด
ของตน แม้จะไม่ได้เป็นระบบนัก แต่ก็ท�าให้เงินสะพัดไปนอกกรุงเทพฯ ได้
มากขึ้น บทบาทของ ส.ส.จึงโยงหัวเมืองเข้ากับศูนย์กลางการเมืองที่กรุงเทพฯ
ได้แนบแน่นกว่าอดีต ขณะเดียวกัน ส.ส.หน้าใหม่ได้ประโยชน์หลายสถาน
ทั้งมีสถานะทางสังคมที่สูงขึ้น ขยายโอกาสทางธุรกิจ และมีอ�านาจเหนือกฎหมาย
มากขึ้น
พ.ร.บ.พรรคการเมือง ฉบับ พ.ศ. ๒๕๒๒ และ พ.ศ. ๒๕๒๖ บังคับ
ให้ ส.ส.สังกัดพรรค แต่พรรคก็เป็นเพียงการรวมกลุ่มเพื่อต่อรองให้ได้ต�าแหน่ง
รัฐมนตรีและก�ากับนโยบายได้ นายทหารและข้าราชการยังผูกขาดต� าแหน่ง
กระทรวงส�าคัญ (คลัง กลาโหม มหาดไทย) พรรคการเมืองได้คุมกระทรวง
รองๆ ลงมา โดยเฉพาะที่มีงบก่อสร้างและจัดซื้อจัดจ้างมหาศาล (เช่น ศึกษา
คมนาคม) หรือเป็นกระทรวงที่กา� กับธุรกิจต่างๆ (เกษตร อุตสาหกรรม) รัฐสภา
กลายเป็นสถานที่เพื่อเจรจาเรื่องธุรกิจโดยเฉพาะโครงการก่อสร้าง การเมืองจึง
เสมือนเป็นธุรกิจ ผู้สมัคร ส.ส.ลงทุนเลือกตั้งแล้วหาทางคืนก�าไรเมื่อส�าเร็จได้
เป็น ส.ส.ด้วยการคอร์รัปชั่นรูปแบบต่างๆ หรือใช้อ�านาจท�าให้ก�าไรจากธุรกิจ
ของเขาสูงขึ้น พรรคการเมืองไม่ได้ก่อร่างขึ้นมาจากอุดมการณ์และการระดม
มวลชนเป็นสมาชิกอย่างกว้างขวาง ผู้ที่จะเป็นหัวหน้าพรรคต้องมีทุนพอที่จะ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


จ่ายเงินให้ลูกพรรคเป็นประจ�าเพื่อจูงใจให้พวกเขาไม่ย้ายพรรค ครั้นทศวรรษ
๒๕๓๐ ก่อนการเลือกตั้งแต่ละครั้งจะต้องมีการซื้อขายตัวผู้สมัครกันระหว่าง
พรรคต่างๆ บางทีก็ใช้เงินเพื่อชักจูงให้ ส.ส.ออกเสียงในรัฐสภาด้วย พลเอก
เปรม ติณสูลานนท์ปรับคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละครั้ง และให้มีการเลือกตั้ง
ทุกๆ ๒ ปีครึ่ง เพื่อให้มุ้งต่างๆ เวียนกันได้รับประโยชน์

นัก ุรกิจงั ข้อกับทหาร : สมัยชาติชาย ๒๕๓๑ ๒๕๓๔


ตลอดระยะเวลา ๘ ปีในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ความ
สัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับทหารปีนเกลียวกัน หลังจากที่สหรัฐยุติความช่วยเหลือ
ด้านการทหาร กองทัพหันมาพึ่งงบประมาณประจ�าปี โดยสัดส่วนของงบทหาร
เพิ่มจากร้อยละ ๑๗ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ และเป็นร้อยละ ๒๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘
แต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และคณะรัฐมนตรีส่วนใหญ่มีพื้นเพธุรกิจ
ต้องการใช้เงินงบประมาณเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจมากกว่า ขณะเดียวกันก็
ต้องการลดบทบาททหารในรัฐวิสาหกิจและการควบคุมวิทยุและโทรทัศน์ สื่อ
มวลชนเริ่มตั้งค�าถามเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่นการจัดซื้ออาวุธ (ค่าคอมมิสชั่นจาก
การซื้ออาวุธ) และที่นายพลระดับสูงมีอภิสิทธิ์ต่างๆ
จาก พ.ศ. ๒๕๒๗ บรรดา ส.ส.โจมตีงบประมาณทหารว่าสูงเกินไปและ
การด�าเนินงานมีลับลมคมใน พ.ศ. ๒๕๒๘ และ ๒๕๓๐ รัฐสภาปฏิเสธข้อเสนอ
ให้ต่ออายุบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญซึ่งให้ทหารมีอภิสิทธิ์ในการเมือง การ
เลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๓๑ สื่อและพรรคการเมือง เรียกร้องให้พลเอกเปรมเกษียณ
ตัวเอง และเสนอให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส. พลเอกเปรมต้องโอนอ่อน
ตามค�าเรียกร้อง และพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรคชาติไทย ได้เป็น
นายกรัฐมนตรีคนต่อมา
ชีวิตการเมืองของพลเอกชาติชายสะท้อนการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
ในช่วงรุ่นที่แล้วได้เป็นอย่างดี เมื่อเกิดการรัฐประหาร พ.ศ. ๒๔๙๐ เขาน�ากอง
ทหารม้าเข้าควบคุมกรุงเทพมหานคร หลังจากจอมพลสฤษดิ์พุ่งขึ้นเป็นนายกฯ
พ.ศ. ๒๕๐๐ เขาออกจากทหารไปเป็นนักการทูต พลเอกชาติชายและพวกพ้อง
พี่น้องที่ “ซอยราชครู” ท�าธุรกิจด้านการเงิน อุตสาหกรรมสิ่งทอร่วมทุนกับญี่ปุ่น

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
พ.ศ. ๒๕๑๘ กลุ่มซอยราชครูก่อตั้งพรรคชาติไทย พลเอกชาติชายลงเลือกตั้งที่
โคราช โดยมีสายสัมพันธ์กับเหล่าทหารและนักธุรกิจท้องถิ่นที่นั่น พ.ศ. ๒๕๓๑
ชาติไทยกลายเป็นพรรคการเมืองประสบความส�าเร็จได้รับแรงหนุนจากนักธุรกิจ
ท้องถิ่นนอกกรุงเทพฯ
คณะรัฐมนตรีของรัฐบาลพลเอกชาติชายตั้งเป้าลดทอนอ�านาจอมาตยา
ธิปไตย (ข้าราชการเป็นใหญ่) โดยให้ ส.ส.และรัฐมนตรีมีอ�านาจสูงขึ้น ต�าแหน่ง
รัฐมนตรีกระทรวงหลัก (กลาโหม คลัง มหาดไทย) จัดสรรให้ ส.ส. ไม่ใช่ให้
นายพล หรือเทคโนแครต รัฐมนตรีโยกย้ายข้าราชการระดับสูงออกจากต�าแหน่ง
ส�าคัญในกระทรวงและกรรมการรัฐวิสาหกิจ แต่งตั้งคนของกลุ่มตนเข้าไปแทน
แสดงให้เห็นว่าข้าราชการต้องฟังรัฐมนตรี รัฐสภาลงมติตัดงบทหาร เรียกร้อง
ให้ทหารใช้เงินแบบโปร่งใสตรวจสอบได้ และตั้งค�าถามถึงเรื่องการรับเงินเปอร์
เซ็นต์จากบริษัทค้าอาวุธ รัฐบาลยกเลิก พ.ร.บ.กำรพิมพ์ ที่ออกสมัยเผด็จการ
ทหาร
สภำพั น์ ถูกลดบทบาทในการควบคุมการใช้งบประมาณเพื่อการ
พัฒนาและโครงการขนาดใหญ่ เช่น อีสเทิร์นซีบอร์ด พลเอกชาติชายก่อตั้ง
“บ้ำนพิษ ุโลก” เป็นคณะที่ปรึกษาให้กับรัฐบาล น�าโดยนายไกรศักดิ ชุณหะวัณ
บุตรชาย และมีนักวิชาการอื่นร่วมงาน พวกเขาเสนอให้รัฐบาลด�าเนินนโยบาย
เป็นอิสระจากเทคโนแครตในกระทรวงต่างๆ
การก�าหนดนโยบายในช่วงนี้สะท้อนภาวะที่ทหารถูกลดบทบาท หลัง
จากที่ได้ก�ากับประชาธิปไตยไทยมาจากป ๒๕๑๙ เป็นความพยายามของ าย
พรรคการเมืองที่จะย้ายอ�านาจออกจาก ากข้าราชการพลเรือนและทหารมาอยู่
ในก�ามือของคณะรัฐมนตรีและ ายนักธุรกิจ
ทีม ที่ป รึก ษาบ้ า นพิษ ณุ โ ลก เสนอนโยบาย “เปลี่ย นสนำมรบให้ เ ป็ น
สนำมกำรค้ำ” คือเลิกมองประเทศเพื่อนบ้านอินโดจีนเป็นศัตรู แต่เป็นโอกาส
ขยายตลาดสินค้า การลงทุน และแหล่งทรัพยากร นโยบายนี้คือความต่อเนื่อง
จากสมัยนายกฯ คึกฤทธิ์ (พ.ศ. ๒๕๑๘) ยุติการแบ่งเป็นฝักฝ่ายภายในภูมิภาค
เพราะสงครามเย็น ปฏิเสธแนวทางของกองทัพที่เน้นความมั่นคง หันไปสู่เรื่อง
การค้าเพื่อก�าไร จึงเป็นการท้าทายฝ่ายกองทัพซึ่งเคยควบคุมนโยบายต่างประ
เทศและการค้าชายแดนมาในอดีต
ฝ่ายข้าราชการ โดยเฉพาะกองทัพ ไม่พอใจรัฐบาลพลเอกชาติชายที่
กร่อนเซาะอ�านาจและทุบหม้อข้าวด้วย ปลายทศวรรษ ๒๕๒๐ คณะนายทหาร

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


กลุ่มใหม่สังกัด “จปร. รุ่น ๕” มีบทบาทเด่นในกองทัพทั้ง ๓ เหล่า พวกเขา
ชูประเด็นความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ศรัทธานักการ
เมือง เห็นว่าทหารท�าธุรกิจได้และพวกเขาเองก็ร�่ารวยจากธุรกิจรับเหมาและกิจ
การอื่นๆ คือไม่ต่อต้านทุนนิยม ซึ่งตรงนี้แตกต่างจากคณะทหารหนุ่มและทหาร
ประชาธิปไตย พ.ศ. ๒๕๓๒ คณะนายทหาร “จปร. รุ่น ๕” ด�ารงต�าแหน่ง
ส�าคัญทั้งในกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ และเริ่มบ่อนท� าลาย
รัฐบาลพลเอกชาติชาย ปัญหาการคอร์รัปชั่นในรัฐบาลเป็นชนวนให้คณะทหาร
รุ่น ๕ ได้รับแรงสนับสนุนจากฟากประชาชน
รัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งมีอ�านาจเหนือการจัดสรรงบประมาณประ
จ�าปีเพิ่มขึ้น สมัยชาติชายนั้นเศรษฐกิจเติบโตในอัตราสูงเป็นตัวเลข ๒ หลัก
ท�าให้งบประมาณประจ�าปีขยายใหญ่ขึ้นด้วย โครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่
จ�าเป็นเพื่อการพัฒนาผุดขึ้นเป็นเงาตามตัว ถนน ท่าเรือ โทรคมนาคม โรงเรียน
และโครงการอื่นๆ อีกมาก ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ นายบรรหาร ศิลปอาชาเป็น
ส.ส.ที่เก่งในการจัดสรรงบประมาณประจ�าปีไปให้จังหวัดของเขาได้ เพราะเป็น
รัฐมนตรีคลัง ส.ส.บางคนจึงเริ่มจับตาวิจารณ์ ส.ส.ด้วยกันที่ใช้เงินแบบผิดๆ
การขยายตัวขึ้นของ “ธนกิจการเมือง” (การแสวงหาเงินเพื่อเพิ่มอ�านาจ
ทางการเมือง ซึ่งอาจเป็นการซื้อเสียง ซื้อ ส.ส. ฯลฯ โดยเบียดบังจากงบประ
มาณ หรือใช้ต�าแหน่งหาเงินโดยมิชอบ) ท�าให้ชนชั้นกลางไม่พอใจมาก พ.ศ.
๒๕๓๘ กรุงเทพฯ เลือกพลตรีจ�าลอง ศรีเมือง เป็น “ผู้ว่าฯ กทม.” เขาเคยเป็น
หนึ่งในคณะทหารหนุ่ม และสนับสนุนขบวนการพุทธปฏิรูป หรือ “สันติอโศก”
เขาสัญญาจะแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นให้สิ้นซาก พ.ศ. ๒๕๓๑ เขาก่อตั้งพรรคพลัง
ธรรม พ.ศ. ๒๕๓๒-๒๕๓๓ สื่อเบนความสนใจจากเรื่องทหารรับสินบน การ
ซื้ออาวุธ เป็นเรื่องนักการเมือง (รมต.) รับเปอร์เซ็นต์ โครงการขนาดใหญ่ ค�าว่า
“คอร์รัปชั่น” มาจากศัพท์ภาษาอังกฤษ หมายถึงการฉ้อราษฎร์บังหลวงติดตลาด
พบเห็นได้ประจ�าวันในหน้าหนังสือพิมพ์รายวัน ค�าโบราณ “กินเมือง” จากอดีต
หมายถึงเจ้าเมืองหารายได้โดยเรียกเก็บเงินหรือสิ่งของจากราษฎร ในสมัยของ
นายกฯ ชาติชาย ได้รับขนานนามทันสมัยว่า “บุฟเฟ่ต์คาบิเนต”
สื่อรายงานเปดโปงการคอร์รัปชั่น ท�าให้ชนชั้นกลางไม่ไว้ใจรัฐบาลชาติ
ชายมากขึ้นๆ สอดคล้องกับเปาประสงค์ของทหาร “จปร.รุ่น ๕” ดังนั้น ใน
วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ กลุ่มนายพลก่อการรัฐประหารยึดอ� านาจจาก
พลเอกชาติชาย

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
วิก ตการเมอง พ ศ ๒๕๓๔ ๒๕๓๕
รัฐประหาร (ปี ๒๕๓๔) ครั้งนี้ คือการเปลี่ยนผ่านที่ซับซ้อน ในแง่หนึ่ง
เป็นการถอยหลังสู่อดีต ฝ่ายกองทัพเดินเกมเพื่อปกป้องอ�านาจของกลุ่มตนเอง
และต้องการแสดงบทบาททหารชี้น�าพัฒนาการสู่ประชาธิปไตย นำยพล จปร.
รุ่น ๕ อ้างว่าท�ารัฐประหารเพื่อยุติการคอร์รัปชั่น และให้ไขข้อกล่าวหาสืบเนื่อง
จากการลอบปลงพระชนม์สมาชิกของพระราชวงศ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ คณะทหาร
ยุบสภา ตั้งตัวเองเป็นคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ รสช. ต่อมา
ก่อตั้งพรรคการเมืองชื่อสำมัคคีธรรม ชื่อเหล่านี้โยงกับอุดมการณ์ทหารว่าด้วย
การสร้างความสามัคคีและความเรียบร้อยจากบนลงล่าง
คณะ รสช. คัดเลือกคณะบุคคลเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะท�า
ให้ฝ่ายทหารสามารถควบคุมการท�างานของรัฐสภาผ่านวุฒิสภาได้ ข้าราชการ
ผู้ใหญ่สนับสนุนรัฐประหารเงียบๆ เพราะว่าก�าจัดนักการเมืองที่มาจากการเลือก
ตั้งซึ่งเข้ามาระรานอ�านาจของฝ่ายข้าราชการ
อีกแง่หนึ่งนั้น รัฐประหารบ่งบอกความคาดหวังของฟากธุรกิจเอกชนที่
กรุงเทพฯ และชนชั้นกลางที่รังเกียจ “ธนกิจการเมือง” ของบรรดานักการเมือง-
นักธุรกิจ โดยเฉพาะจากต่างจังหวัด รสช.แต่งตั้งคณะกรรมการให้ตรวจสอบ
ทรัพย์สินของคณะรัฐมนตรีรัฐบาลชาติชาย พบว่ารัฐมนตรีหลายคนร�่ารวยผิด
ปกติ ต่อมาคณะ รสช.แต่งตั้ง นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนำยกรัฐมนตรี
และเลือกนักเทคโนแครตระดับน�าเป็นคณะรัฐมนตรี
ในช่วงที่ไม่มีรัฐสภา รัฐบาลใหม่ถือโอกาสด�าเนินการ “ปฏิรูปเศรษฐ
กิจ” ในแนวทางเสรีนิยมหลายประการ และในระยะแรกเป็นที่ชื่นชอบของ
บรรดานักธุรกิจและชนชั้นกลางของกรุงเทพฯ
แต่ท้ายที่สุดเป้าประสงค์ของกองทัพกับของภาคเอกชนขัดแย้งกัน นำย
พล จปร.รุ่น ๕ ก็ไม่แตกต่างจากเผด็จการทหารก่อนหน้าที่ไม่อาจแยกระหว่าง
ผลประโยชน์สาธารณะและผลประโยชน์ส่วนตน ทั้งนี้ การท�ารัฐประหารก็เพื่อ
รักษาผลประโยชน์ส่วนตนด้วย พวกเขาร�่ารวยมาก่อนแล้วจากการท�าธุรกิจ
หลายอย่าง และพร้อมที่จะส�าแดงความยิ่งใหญ่อยู่เสมอ หนึ่งในคณะ รสช.
เคยกล่าวไว้ในงานเลี้ยงรุ่นครั้งหนึ่งว่า ไม่มีอะไรที่พวกเขาควบคุมไม่ได้นอกจาก
เดือนและดาว นายพลอีกรายถูกแฉภาพเด็ดในอินเตอร์เน็ตกับอดีตนางงามชื่อ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ดัง รสช.ได้ควบคุมกระทรวงกลาโหม ด�าเนินการซื้ออาวุธที่รัฐบาลชาติชายเคย
ปฏิเสธทันที นอกจากนั้นยังได้กระทรวงคมนาคม และอนุมัติโครงกำรโทรศัพท์
ล้ำนเลขหมำยให้กับบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และยืนยันอนุมัติโครงกำร
ดำวเทียมของนักธุรกิจดาวรุ่ง ทักษิณ ชินวัตร
แต่นายกฯ อานันท์ ซึ่ง รสช.เลือกมาด้วยมือ กลับสั่งให้ทบทวนโครง
การโทรศัพท์ ๓ ล้านเลขหมาย ด้วยได้กลิ่นคอร์รัปชั่นตั้งราคาสูงเกินควร และ
ปัญหาการทับซ้อนผลประโยชน์ (ญาติสนิทของสมาชิกคณะ รสช.รายหนึ่งเป็น
เขยกับเจ้าของบริษัทซีพี) เมื่อรัฐบาลต่างประเทศและนักการเงินระดับโลกเตือน
นักท่องเที่ยวและนักลงทุนให้หลีกเลี่ยงประเทศที่ท�ารัฐประหาร เศรษฐกิจไทย
ซบเซาลงทันที อีกทั้งมีผลลบจากปัญหาสงครามที่ตะวันออกกลาง (Gulf War)
นอกจากอัตราความเติบโตลดลงแล้ว ตลาดหลักทรัพย์ไทยยังทรุดด้วย แรง
หนุน รสช.จากฝ่ายธุรกิจเอกชนจึงอ่อนตัวลง
ในภาวะดังกล่าวเมื่อรัฐบาลประกาศร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีบท
เฉพาะกาลให้ทหารมีอ�านาจเหนือรัฐสภาอีก ๔ ปี อีกทั้งมาตราอื่นๆ ที่เพิ่มอ�านาจ
ของทหาร ฝ่ายชนชั้นกลางเริ่มลังเลที่จะสนับสนุน รสช.ด้วย นักเคลื่อนไหวจึง
ฟื้นฟู ครป. หรือคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยขึ้นมาอีก ผู้น�า ครป.
อธิบายว่า “ต้อง” ประท้วงเนื้อหาของรัฐธรรมนูญซึ่ง “มีเป้าสถาปนาอ�านาจของ
กองทัพ” เพื่อแสดงให้เห็นว่า “ทหารไม่สามารถอ้างว่าได้รับแรงหนุนจากทั้งประ
เทศ”๒๒ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระ
ราชด�ารัสเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพว่า “แต่เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วก็พอใช้ได้
ถ้าอยากจะเปลี่ยน ปีหน้าก็เปลี่ยนได้...ถ้าท�างานไม่ดี คือท�างานไม่ราบรื่น ก็
เปลี่ยนได้”๒๓ สถานการณ์จึงผ่อนคลายลง แต่เป็นเพียงชั่วขณะ ต้นปี พ.ศ.
๒๕๓๕ คณะ รสช.ยุติด�าเนินคดีกับรัฐมนตรีที่ถูกข้อหาคอร์รัปชั่น ซึ่งรัฐมนตรี
เหล่านี้หลายคนต่อมาได้เข้าร่วมกับ พรรคสำมัคคีธรรมที่ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุน
รสช.
พรรคสามัคคีธรรมชนะการเลือกตั้งเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
ได้ ส.ส.จ�านวนมากที่สุด จึงเตรียมก่อตั้งรัฐบาล แต่ผู้ที่พรรคเลือกให้เป็น
ว่าที่นายกรัฐมนตรีต้องถอนตัว เพราะถูกสงสัยว่าพัวพันกับการค้ายาเสพติด
พลเอกสุจินดา คราประยูร หัวหน้าคณะ รสช. จึงเข้าด�ารงต�าแหน่งนายกรัฐ
มนตรีแทน ซึ่งขัดกับที่กล่าวไว้ก่อนหน้าที่ว่าจะไม่รับต�าแหน่งนายกฯ รัฐบำล
พลเอกสุจินดำประกอบด้วยนายทหารและนักการเมืองประเภท “ธนกิจการเมือง”

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
รวมทั้งนายบรรหาร ศิลปอาชา รั้งต�าแหน่งรัฐมนตรีคมนาคม คณะ รสช.กลาย
ร่างจากที่เป็นคู่ปรับกับธนกิจการเมืองเป็นผู้อุปถัมภ์
เมื่ อ ครป.ประท้ ว งอี ก ครั้ ง ในเดื อ นพฤษภาคม ๒๕๓๕ ชนชั้ น กลาง
เมืองสนับสนุนเต็มที่ โดยมีพลตรีจ�าลอง ศรีเมือง ผู้ว่าฯ กทม.ขณะนั้น (ได้รับ
เลือกตั้งด้วยเสียงท่วมท้น พ.ศ. ๒๕๓๓) เป็นผู้น�า วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ.
๒๕๓๕ ผู้ประท้วงประมาณ ๒ แสนคนดาหน้ากันที่กรุงเทพฯ สื่อให้ฉายาว่า
“ม็อบมือถือ” ต่างจากสมัย “๑๔ ตุลา” และ “๖ ตุลา” ตรงที่ครั้งนี้เป็นชนชั้น
กลางฐานะปานกลางถึงดี ใช้มือถือกันเป็นแถว แต่ที่จริงก็มีคนงานอพยพจาก
ชนบท คนงานโรงงานทั่วไป และนักศึกษาเข้าร่วมด้วยเป็นจ�านวนมาก นอก
จากนั้นก็มีขบวนการประท้วงในท�านองเดียวกันที่เมืองใหญ่นอกกรุงเทพฯ
รสช.ตอบกลับด้วยแผนยุทธศาสตร์ต่อต้านคอมมิวนิสต์ ใช้ทหารพราน
น�าเข้ามาจากเขตชายแดนพร้อมอาวุธครบมือปราบปรามฝูงชน ความรุนแรงต่อ
เนื่องกันถึง ๓ คืน (ดูภาพที่ ๓๐) ทหารยิงปืนเข้าใส่ฝูงชน ตึกรามและรถบัสถูก
เผา พลตรีจ�าลอง ศรีเมืองถูกจับกุม พลเอกสุจินดาอ้างว่าการเดินขบวนประ
ท้วงคือการโจมตีชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ โดยกล่าวมีใจความว่า พวก
เขำต้องกำรท�ำลำยระบบรัฐบำล ล้มล้ำงประชำธิปไตยอันมีพระมหำกษัตริย์เป็น
ประมุข แล้วน�ำรัฐบำลที่จะยิงปนกลใส่ผู้คนบนท้องถนนเข้ำมำ ๒๔
สถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลถ่ายทอดเฉพาะภาพที่ผู้ประท้วงท�าลายทรัพย์
สินของทางราชการ แต่ข่าว CNN และ BBC แสดงความรุนแรงที่ทหารยิง
ปืนใส่ฝูงชน ภาพข่าวนี้ถูกลอกลงเทปแล้วขายไปทั่ว แม้ว่ารัฐบาลพลเอก
สุจินดาประกาศห้าม แต่หนังสือพิมพ์ไม่ท�าตาม กลับรายงานเต็มที่ คืนวันที่
๒๐ พฤษภาคม ซึ่งดูเหมือนว่าความรุนแรงจะด�าเนินต่อไปถึงจุดสูงสุด พลเอก
สุจินดาและพลตรีจา� ลองเข้าเฝ้าเบื้องพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ยุติความรุนแรง
รัฐบาลพลเอกสุจินดาลาออก รัฐธรรมนูญได้รับการแก้ไข นายอานันท์
ปันยารชุนด�ารงต�าแหน่งนายกรัฐมนตรีรัฐบาลชั่วคราวอีกครั้งในเดือนกันยายน
๒๕๓๕ หลังการเลือกตั้งทั่วไปเมืองไทยมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งอีก
สถานภาพและบทบาททางการเมืองของกองทัพ เสียหายยับเยินไม่เป็น
ชิ้นดี จ�านวนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์เดือนพ ษภาคม ๒๕๓๕ เริ่มแรกประ
มาณการสูงถึง ๒-๓ ร้อยคน แต่ต่อมาลดลงเหลือ ๔๐-๖๐ คน ประชาชนมี
ปฏิกิริยาสวนกลับรุนแรงชั่วระยะหนึ่ง ถึงขนาดถุยน�้าลายใส่ทหารที่แต่งเครื่อง

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ภาพที่ ๓ “พฤษภำทมิ ” ผู้ประท้วงรำยหนึ่งที่ถูกตีที่ถนนรำชด�ำเนิน
เมื่อคืนวันที่ ๑๗ พฤษภำคม ๒๕ ๕

แบบตามท้องถนน และโรงพยาบาลบางแห่งปฏิเสธให้การรักษาพยาบาล นาย


อานันท์ปลดนายทหารในคณะ รสช.ที่มีส่วนพัวพันกับความรุนแรงและสั่งย้าย
ผู้บัญชาการทหารอากาศออกจากการบินไทย เขาแต่งตั้งผู้บัญชาการทหารบก
ซึ่งสัญญาว่าจะกันกองทัพออกจากการเมือง ผู้บัญชาการทหารบกคนต่อๆ มา
รับปากเช่นเดียวกัน
กองทั พ ถู ก ลดบทบาททางการเมื อ งเรื่ อ ยมา พ.ศ. ๒๕๓๘ เมื่ อ วุ ฒิ
สมาชิกครึ่งหนึ่งหมดอายุ ผู้ได้รับแต่งตั้งใหม่ซึ่งส่วนมากเป็นพลเรือน บริษัท
ต่างๆ หลีกเลี่ยงการแต่งตั้งทหารเป็นกรรมการบริษัท งบประมาณทหารใน
งบประมาณทั้งหมดลดลงจากร้อยละ ๒๒ ในปี ๒๕๒๘ และเป็นเพียงร้อยละ
๑๓ ในปี ๒๕๓๙ และเหลือร้อยละ ๖ ในปี ๒๕๔๙ รายได้ไม่เป็นทางการ
(จากค่าคอมมิสชั่นต่างๆ) ก็ลดลงด้วยเพราะว่าโครงการซื้ออาวุธ โครงการก่อ
สร้าง และโครงการอื่นๆ ของกองทัพถูกตรวจสอบเข้มข้นขึ้น นายทหารระดับ
กลางๆ และต�่าลงมาเริ่มหารายได้พิเศษ โดยท�างานนอกเวลาเป็นการ์ดรักษา

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ความปลอดภัย หรือเสนอตัวให้ความคุ้มครองสถานบันเทิงเริงรมย์ต่างๆ ที่ท� า
ผิดกฎ (เช่นเปิดเกินเวลา ฯลฯ) มีนายพลถึงประมาณ ๗๐๐ ราย (ครึ่งหนึ่ง
ของทั้งหมด) ที่ไม่มีงานอะไรเป็นชิ้นเป็นอันในกองทัพ หลายคนใช้เวลาเล่น
กอล์ฟ หรือแสดงทักษะความเป็นผู้น�าโดยเป็นประธานสมาคมกีฬาต่างๆ
กองทัพจึงแสวงหาบทบาทใหม่ๆ เพื่อให้สามารถรักษาสถานภาพทหาร
เอาไว้ไม่ให้ถดถอยลงไปอีก พ.ศ. ๒๕๓๗ พิมพ์สมุดปกขำวอ้างถึงความส�าคัญ
ของกองทัพที่จ�าเป็นต้องปกป้องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของชาติในภาวะที่
ประเทศเพื่อนบ้านแก่งแย่งกันหาตลาดใหม่ๆ และแหล่งทรัพยากรทางเศรษฐ
กิจ๒๕ เอกสารอื่นๆ มีข้อเสนอให้ทหารมีบทบาทพัฒนาเศรษฐกิจมากขึ้น หน่วย
ทหารบางแห่งเปิดค่ายมีกิจการต่างๆ ให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมและร่วมกิจกรรม
เพื่อช่วยการท่องเที่ยว หลัง พ.ศ. ๒๕๓๘ กองทัพเสนอตัวเป็นตัวกลางไกล่
เกลี่ยปัญหาความขัดแย้งในท้องถิ่นที่เกิดจากการพัฒนาเศรษฐกิจ
ความพยายามต่างๆ นี้ไม่อาจชักจูงให้ ส.ส.หลงลมฝ่ายกองทัพ งบ
ประมาณทหารยิ่งถูกตัดหลังจากที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี ๒๕๔๐ รัฐบาลน�าโดย
พรรคประชาธิปัตย์ (นายกฯ ชวน) จงใจยกเลิกประเพณีรัฐมนตรีกลาโหมเป็น
นายพล ยกเลิกกฎหมายการกระท�าอันเป็นคอมมิวนิสต์ที่เคยให้อ�านาจพิเศษ
แก่กองทัพ นอกจากนั้นยังแต่งตั้งพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็น ผบ.ทบ. และ
มอบหมายให้ปฏิรูปกองทัพให้ทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดจ�านวนทหาร
ประจ�ากองและจ�านวนนายพลลง
ถึงกระนั้นก็ตาม สถาบันกองทัพก็ได้ต้านทานความพยายามปฏิรูปให้
ปรับตัวด้วยการเพิกเฉย โครงการปฏิรูปกองทัพให้สมัยใหม่ไม่บังเกิดผลอะไร
เป็นชิ้นเป็นอัน จ�านวนนายพลที่ได้รับการแต่งตั้งลดลงเพียงเล็กน้อย ความ
พยายามดึงเอาที่ดินในความควบคุมของกองทัพออกมาใช้เพื่อกิจการอื่นๆ ก็
ไม่ได้ผล กองทัพยังคงควบคุมสถานีโทรทัศน์ ๒ ช่องและสถานีวิทยุอีกหลาย
ร้อยแห่ง และยังคงใช้สื่อส�าคัญเหล่านี้โฆษณาชวนเชื่อถึงบทบาทความส�าคัญ
ของกองทัพในชาติ นอกจากนั้นทหารยังได้ภาพพจน์ที่ดีในสายตาของสาธารณ
ชนเพราะว่ามีความสัมพันธ์กับสถาบันพระมหากษัตริย์ การส�ารวจทัศนคติเมื่อ
ปลายทศวรรษ ๒๕๔๐ พบว่ากองทัพเป็นสถาบันที่ประชาชนนิยมชมชอบสูงกว่า
ต�ารวจ และ ส.ส.
ท้ายที่สุดโลกาภิวัตน์เป็นตัวช่วยให้กองทัพได้บทบาทที่แสวงหา ชาย
แดนไทยเต็มไปด้วยคนงานอพยพผิดกฎหมาย การค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติด

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


การค้าของเถื่อน ผู้ก่อการร้าย และการค้าอาวุธเถื่อนที่เพิ่มขึ้นมาก ทศวรรษ
๒๕๔๐ มีแรงงานเถื่อนอพยพไปมาหลายแสนคน อีกทั้งการค้ายาบ้าเป็นล้านๆ
เม็ด การก�ากับดูแลชายแดนจึงพุ่งขึ้นเป็นหน้าที่ทางการของฝ่ายทหารที่ส�าคัญ
และยังเป็นช่องทางหารายได้อีกด้วย พ.ศ. ๒๕๔๔ ฝ่ายทหารด�าเนินการปราบ
ปรามยาเสพติดตามเขตชายแดนไทยพม่าเพื่อไม่ให้ยาบ้าเข้าไทย เป็นการปฏิบัติ
การทางทหารที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่การรณรงค์ต่อต้านคอมมิวนิสต์สมัยอดีตทีเดียว
ขณะเดียวกันก็มีเรื่องของข้าราชการทหารเกี่ยวโยงเป็นกรรมการบริษัทที่ฟอกเงิน
ก�าไรจากการค้ายาเสพติดด้วย
สมัยทหารเป็นใหญ่ดูเหมือนว่าจะสิ้นสุดลงจริงๆ การไม่เข้ายุ่งเกี่ยวกับ
การเมือง และด�าเนินบทบาทใหม่ตามแนวชายแดนดังกล่าว ท�าให้กองทัพเริ่ม
สะสมสถานภาพใหม่ในฐานะเป็นทหารอาชีพ โดยมีพลเอกสุรยุทธ์เป็นตัวแบบ
แต่ถึงกระนั้นจ�านวนของทหารก็ไม่ได้ลดลง โดยเฉพาะจ�านวนนายพล กองทัพ
ยังคงเป็นเจ้าของสื่อวิทยุและโทรทัศน์ อีกนัยหนึ่ง กองทัพยังอ้างถึงบทบาท
ทางการเมืองของทหารในฐานะผู้ธ�ารง “ความมั่นคงของชาติ” แนวคิดนี้เป็น
วัฒนธรรมที่ได้ฝังรากลึกในกลุ่มของทหารไปแล้ว และยังสืบทอดจากรุ่นถึงรุ่น
อย่างแข็งขัน

การป ิรูป หรอ นกิจการเมอง


การที่ฝ่ายกองทัพถอยร่นออกจากแถวหน้าของการเมือง ได้เปิดพื้นที่
ทางการเมืองซึ่งฝ่ายธุรกิจเอกชนและนักเคลื่อนไหวหวังจะเข้าไปทดแทนอย่าง
เต็มที่
วิกฤตการเมืองปี ๒๕๓๕ ส่งผลลบกับเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะการ
ท่องเที่ยวและการลงทุนจากต่างชาติ ท�าให้นักธุรกิจตระหนักว่าไม่อาจไว้ใจให้
นายพลบริหารจัดการเศรษฐกิจไทยภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ได้ ๓ สมาคม
ธุรกิจส�าคัญในภาคการค้า อุตสาหกรรม และธนาคาร ซึ่งโดยปกติจะไม่แสดง
ความเห็นทางการเมืองในที่สาธารณะแบบโจ่งแจ้ง คราวนี้ออกโรงเรียกร้องให้
ระบอบรัฐสภาประชาธิปไตยหวนคืนมาโดยเร็ว นักธุรกิจระดับน�าของกรุงเทพฯ
หลายคนแสดงความตั้งใจจะเข้าเล่นการเมืองด้วยตัวเอง

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ขณะเดียวกันนักวิชาการมีข้อเสนอว่าเหตุการณ์ พ ษภา ๒๕๓๕ เป็น
“ทำงแยก” (ชัยอนันต์ สมุทวณิช) หรือเป็น “จุดเปลี่ยนแห่งยุคสมัย” (ธีรยุทธ
บุญมี) สู่โอกาสที่จะก�าจัดซากเดนของระบอบเผด็จการทหารที่เป็นมาประมาณ
ครึ่งศตวรรษ นักเคลื่อนไหวประชาธิปไตยเสนอให้มีการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ
อย่างถึงรากถึงโคนเพื่อเปลี่ยนดุลอ�านาจระหว่างรัฐและประชาสังคมเสีย ปลด
ปล่อยสื่อโทรทัศน์จากการควบคุมของฝ่ายกองทัพ ปฏิรูประบบการศึกษาให้
พุ่งเป้าไปที่การสร้างทักษะและความคิดสร้างสรรค์แทนที่เรื่องการสร้างชาติ กระ
จายอ�านาจประชาธิปไตยสู่ท้องถิ่น ทดแทนระบบรวมศูนย์อ�านาจของกระทรวง
มหาดไทย
ตอนแรกดูเหมือนว่ารัฐสภาจะเป็นช่องทางให้บรรลุถึง “จุดเปลี่ยน”
นี้ได้ สื่อสิ่งพิมพ์ให้ภาพการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๓๕ ว่าเป็น
การแข่งกันระหว่าง “มาร” หมายถึงผู้สนับสนุน รสช. และ “เทพ” หมายถึง
ายปฏิรูปการเมือง
หลังวิกฤตปี ๒๕๓๕ “พรรคการเมือง” แบ่งออกได้เป็น ๒ ฝ่าย หนึ่ง
คือฝ่าย “เทพ” มีพรรคประชำธิปัตย์ เป็นผู้น�าหัวขบวน ช่วงที่เกิดวิกฤต พ.ศ.
๒๕๓๔-๒๕๓๕ พรรคนี้ปรับภาพพจน์ให้สะท้อนความมุ่งหวังของภาคธุรกิจและ
ชนชั้นกลางเมือง สามารถดึงเอานายธนาคารและเทคโนแครตมีชื่อมาเป็นสมาชิก
พรรค ท�าให้พรรคมีความน่าเชื่อถือว่ามีทีมงานที่จะบริหารจัดการเศรษฐกิจไทย
ในกระแสโลกาภิวัตน์ได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังดึงนักการเมืองรุ่นใหม่เข้า
ร่วมขบวน ท�าให้พรรคมีความเป็นสมัยใหม่แตกต่างจากพรรคอื่นๆ ซึ่งเต็มไป
ด้วยนักธุรกิจต่างจังหวัด ประชาธิปัตย์ได้รับแรงหนุนจากคนกรุงเทพฯ และ
ชาวปักษ์ใต้ ซึ่งมีสัดส่วนของชนชั้นกลางเมืองสูง จากที่มีเมืองท่าส�าคัญหลาย
แห่งตลอดชายฝั่งทะเลและยังเป็นเศรษฐกิจส่งออกยางพารา ดีบุก อาหารทะเล
และการท่องเที่ยวที่คึกคัก ประชาธิปัตย์มีภาพพจน์สนับสนุนอุดมการณ์เสรี
นิยม สัญญาจะน�าเศรษฐกิจไทยสู่ความทันสมัยโดยการปฏิรูประบบกฎหมาย
และสถาบันที่เกี่ยวโยง ส่งเสริมให้เพื่อนบ้าน (โดยเฉพาะพม่า) ก้าวเป็นประชา
ธิปไตย และพยายามดันทหารออกจากการเมืองให้ได้ส�าเร็จ ประชาธิปัตย์เป็น
พรรคการเมืองที่ประสบความส�าเร็จสูงสุดในช่วงนี้ ได้เป็นพรรคจัดตั้งรัฐบาล
ตลอดยกเว้นเพียง ๒๘ เดือนจากเดือนกันยายน ๒๕๓๕ ถึงเดือนมกราคม
๒๕๔๔
อีกฝ่ายหนึ่งนั้นคือนักการเมืองที่ได้สนับสนุนพลเอกชาติชายมาก่อน

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


แล้ววิ่งเข้าหาพรรคสำมัคคีธรรม ของ รสช. ซึ่งส่วนใหญ่มาจากจังหวัดในภาค
กลางและภาคอีสานที่มีเศรษฐกิจเกษตรเป็นหลักและความเป็นเมืองเพิ่งจะพุ่ง
ขึ้นอย่างรวดเร็วในสมัยการพัฒนา นักการเมืองเหล่านี้สนใจเศรษฐกิจท้องถิ่น
ต้องการดึงงบประมาณประจ�าปีไปยังเขตเลือกตั้งของตนเองเป็นหลัก มองเพื่อน
บ้านเป็นโอกาสที่จะขยายการค้าและการลงทุนของธุรกิจเช่นเดียวกับพลเอก
ชาติชาย พวกเขาพร้อมที่จะร่วมมือกับฝ่ายกองทัพเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
“รัฐสภา” ไม่สามารถปฏิรูปการเมือง (แก้ไขรัฐธรรมนูญ) ตามความ
มุ่งหวัง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าแรงกดดันให้มีการปฏิรูปจางหายไปอย่างรวดเร็ว
เมื่อการเมืองมีเสถียรภาพถึงระดับหนึ่ง นักธุรกิจที่เคยวางแผนจะเข้าเล่นการ
เมืองก็หาเงินลูกเดียว ชนชั้นกลางที่เคยเรียกร้องการปฏิรูปก็รามือไปเหมือนกัน
เพราะว่าการเมืองไม่ได้เป็นอุปสรรคกับการท�ามาหากินอีกต่อไปแล้ว นอกจาก
นั้น ส.ส.ส่วนมากซึ่งรวมทั้งจากพรรคประชาธิปัตย์ด้วย ยังคงได้คะแนนเสียง
จากผู้ออกเสียงในเขตชนบท ซึ่งไม่ได้ติดใจกับประเด็นที่สร้างวิกฤตการเมือง
ช่วงปี ๒๕๓๔-๒๕๓๕ สักเท่าไรเลย
ดังนั้น ผลที่เกิดขึ้นคือการประนีประนอมกันระหว่างข้าราชการกับนัก
การเมืองรุ่นใหม่ นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนำยก
รัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕ อดีตเป็นทนายความในเมืองเล็กๆ ที่ภาคใต้ มี
ท่าทีสุภาพเหมือนข้าราชการทั่วๆ ไป ท�างานแบบระมัดระวัง ยึดติดกับกฎเกณฑ์
และระบบกฎหมายเคร่งครัด ไม่ได้แทรกแซงการท�างานของข้าราชการพลเรือน
เหมือนสมัยพลเอกชาติชาย เขาไม่ได้ตั้งคณะที่ปรึกษาขึ้นมาแข่งกับเทคโนแครต
แต่ได้คืนอ�านาจต่างๆ ให้กับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ตามเดิม อาจพูดถึงการปฏิรูป
ระบบราชการอยู่บ้าง แต่ไม่ได้เกิดผลเป็นชิ้นเป็นอัน มีการแบ่งสรรอ�านาจและ
ผลก�าไรระหว่างข้าราชการกับนักธุรกิจ-นักการเมืองอย่างลงตัวทุกระดับจาก
ท้องถิ่นถึงระดับชาติ การเมืองหลายพรรคหวนกลับไปสู่สมัยทศวรรษ ๒๕๒๐
คือมีการปรับคณะรัฐมนตรีเฉลี่ยปีละครั้ง ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้มุ้งต่างๆ เวียน
กันได้เป็นรัฐมนตรี
การจัดการดังกล่าวเท่ากับหลีกเลี่ยงการปฏิรูปโดยสิ้นเชิงนั่นเอง การ
แก้ไขรัฐธรรมนูญบังเกิดผลเป็นเพียงการปรับเล็กๆ น้อยๆ ข้อเสนอให้เปด
เสรีระบบสื่อได้ผลเป็นเพียงการตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้นมาอีกหนึ่งแห่ง T
การอภิปรายเรื่องการกระจายอ�านาจสู่ท้องถิ่นถูกปดกั้นและการปฏิรูประบบการ
ศึกษาก็เลื่อนออกไป

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
การประนีประนอมกันระหว่าง ส.ส. และข้าราชการ ส่งผลลัพธ์ ๒ ประ
การ ประการหนึ่งคือ การท�าลายทรัพยากรธรรมชาติเพื่อประโยชน์ของเอกชน
และภาครัฐทวีความเข้มข้นขึ้น (การก�ากับดูแลไม่ได้ผล และไม่มีการปรับปรุง)
องค์กรภาครัฐเองบุกรุกที่ดิน แม่น�้าเพื่อสร้างเขื่อนและสาธารณูปโภคขนาดใหญ่
อื่นๆ กรมป่าไม้ประกาศเขตอุทยานแห่งชาติเพิ่มขึ้น เท่ากับปฏิเสธสิทธิในที่
ท�ากินของชาวไทยภูเขา และชาวนารายเล็กที่จับจองพื้นที่ป่ามาเนิ่นนาน นัก
การเมือง ข้าราชการ และพรรคพวกนักธุรกิจ ใช้อิทธิพลเข้าครอบครองที่ดิน
เพื่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม ปลูกป่าเพื่อตัดไม้ส่งโรงงานกระดาษ ท�าเหมืองย่อย
หิน ท�าสนามกอล์ฟ และสร้างบ้านจัดสรร คนท้องถิ่นที่ต้องพึ่งพิงทรัพยากร
ธรรมชาติในชีวิตประจ�าวัน เสียเปรียบและจ�าเป็นต้องเดินขบวนประท้วง พ.ศ.
๒๕๒๑ รัฐบาลพบว่ามีการเดินขบวนประท้วง ๔๘ ครั้ง พ.ศ. ๒๕๓๗ เพิ่มเป็น
๙๙๘ ครั้ง ส่วนใหญ่เกิดที่ชนบทและเกี่ยวโยงกับการแก่งแย่งทรัพยากรธรรม
ชาติ
ประการที่สอง ช่วง พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๔๐ รัฐบาลไม่สามารถบริหารจัด
การระบบเศรษฐกิจ ให้ด�าเนินไปอย่างราบรื่นภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ได้ ทั้งนี้
เห็น ได้ ชัด เจนเมื่อนายบรรหาร ศิล ปอาชา เป็ น นายกรัฐ มนตรีใ นปี ๒๕๓๘
ขณะที่เศรษฐกิจฟองสบู่เริ่มส�าแดงปัญหา นายบรรหารเชี่ยวชาญในการดึงงบ
ประมาณประจ�าปีไปที่เขตเลือกตั้งของตัวเอง ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการ
เศรษฐกิจมหภาคอย่างเพียงพอ เขาเลือกรัฐมนตรีคลังคนแรกเป็น ส.ส.หน้า
ใหม่ คนต่อมาเป็นเทคโนแครตที่อยู่ในอาณัติของเขา เขาปลดประธำนกรรม
กำรก�ำกับตลำดหลักทรัพย์ เพราะเถียงกันเรื่องส่วนตัว ผู้ว่ำกำรธนำคำรชำติ
ลาออกเมื่อธนาคารแห่งหนึ่งล้ม ส่งผลให้หลังจากนั้นใครๆ ที่มีคุณสมบัติเป็น
ผู้ว่าการฯ ได้ต่างก็ปฏิเสธจะร่วมงานด้วย ครั้นเมื่อปี ๒๕๓๙ พลเอกชวลิต
ยงใจยุทธ เป็นนายกฯ สัญญาจะจัด “ดรีมทีม” (dream team) มาบริหารจัด
การระบบเศรษฐกิจ แต่หาคนเหมาะสมไม่ได้ ไม่กี่เดือนต่อมา รัฐมนตรีคลัง
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และปลัดกระทรวงการคลัง พากันลาออก
ต้องแต่งตั้งผู้ที่ไม่ค่อยเหมาะสมนักเป็นแทน ยิ่งเมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะวิกฤต
นักวิชาการและนักธุรกิจเรียกร้องให้รัฐบาลหาผู้เชี่ยวชาญนอกกลุ่ม ส.ส.เข้ามา
ช่วยบริหารจัดการ
เหตุการณ์พ ษภา ๒๕๓๕ ไม่ได้จบลงที่การปฏิรูปเพื่อสั่งลาสมัยทหาร
เป็นใหญ่ แต่เป็นการประนีประนอมกันระหว่างข้าราชการกับนักธุรกิจ นักการ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


เมืองที่ได้บ่อนท�าลายข้อเสนอให้ “ปฏิรูป” เปดช่องให้สามารถแสวงหาก� าไร
จากการใช้ทรัพยากรแบบเข้มข้นจนส่งผลทางลบกับชุมชนท้องถิ่น และละเลย
การบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจชาติ
ขณะที่รัฐสภาเผชิญความยุ่งยากไม่อาจผ่านก หมำยป ิรูป และปัญหา
สังคมทับทวีขึ้น ได้มีการถกเถียงกันถึงอนาคตของสังคมไทยอย่างเข้มข้นในเวที
สาธารณะ การเมืองนอกรัฐสภาได้เบ่งบานเข้ายึดกุมพื้นที่ทางการเมืองที่เปิดขึ้น
เมื่อฝ่ายทหารถอยร่นลงจากเวทีไป การอภิปรายแบ่งออกเป็น ๒ ส�านักคิด
ส�ำนักคิดแรกคือนักทันสมัยนิยม เชื่อว่าการที่เศรษฐกิจเติบโตเร็วใน
บริบทของโลกาภิวัตน์จะปรับเปลี่ยนเมืองไทยให้เป็นสังคมทันสมัยเหมือนอย่าง
ประเทศพัฒนาแล้ว ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช เสนอว่า ชนชั้นน�าดั้งเดิมที่มี
อ�านาจอยู่ในรัฐชาติจะหมดความส�าคัญลง “โดนข้ามผ่านไป”๒๖ ดร.ธีรยุทธ
บุญมี ผู้น�านักศึกษาสมัย “๑๔ ตุลา” (๒๕๑๖) ต่อมาเป็น “ผู้วิจารณ์สังคม”
ท�านายว่า อ�านาจในสังคมไทยจะเปลี่ยนผ่านจากรัฐไปสู่สังคม จากข้าราชการ
ไปสู่นักธุรกิจ เทคโนแครต และชนชั้นกลาง๒๗ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เสนอว่า
เพื่อคานกับ “ธนกิจการเมือง” จะต้องเปลี่ยนชาวนาสู่ความทันสมัย โดยให้พวก
เขาร�่ารวยขึ้นและให้ได้รับการศึกษาสูงขึ้น เพื่อที่ชาวนาจะได้กลายเป็นปัจเจก
เหมือนผู้คนในเมืองและชนชั้นสมัยใหม่อื่นๆ “เมื่อเราท�าลายความสัมพันธ์แบบ
อุปถัมภ์เพื่อปลดชาวบ้าน...จะกลายเป็น ‘ปัจเจกชน’ เยี่ยงชาวเมืองและชุมชน
สมัยใหม่อื่นๆ...ก้าวสู่... ‘ประชาสังคม’ ...เพราะว่ามีแต่ ‘ประชาสังคม’ เช่นนี้จึง
จะชี้น�าก�ากับรัฐและควบคุมถอดถอนผู้ปกครองได้จริง” ๒๘
อีกส�านักหนึ่งคือ ท้องถิ่นนิยม หรือชุมชนนิยม มีความหวังว่าหลัก
ปรัชญาศาสนาพุทธในเรื่องความพอดี การพึ่งตนเอง และสมดุลระหว่างกาย
และจิต หลักจริยธรรมการแบ่งปันช่วยเหลือกันในสังคมชาวนา จะช่วยสร้าง
สังคมที่มีความยุติธรรมและสงบสุข นักเคลื่อนไหวสังคม นักวิชาการ และ
เทคโนแครตรุ่นอาวุโสกลุ่มหนึ่งจัดตั้งสถำบันชุมชนท้องถิ่นพั นำ เพื่อกระตุ้น
การปฏิรูปโดยคนท้องถิ่นเอง และจัดท�าร่างแผนปฏิรูปการศึกษาและสาธารณสุข
พวกเขาผลักดันให้เกิด “แผน ๘” (๒๕๔๐-๒๕๔๔) เป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมฉบับแรกที่เป็นผลมาจากการปรึกษาหารือกับภาคประชาสังคม โดย
ต้องการเปลี่ยนจากที่เคยเน้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก สู่พัฒนา
การที่มีคนเป็นศูนย์กลาง แผนนี้มีเป้าที่จะ “ช่ว ยแก้ปัญหาการพัฒนาที่ขาด

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ความสมดุลคือ เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน” โดย “เปิด
โอกาสให้องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเอกชน ชุมชน และประชาชน เข้ามามีส่วน
ร่วมในกระบวนการพัฒนาประเทศมากขึ้น” ๒๙
ช่วง พ.ศ. ๒๕๓๗-๒๕๔๐ ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปจากกลุ่มต่างๆ ตก
ผลึกเป็นข้อเรียกร้องให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พ.ศ. ๒๕๓๗ อมร จันทร
สมบูรณ์ ข้าราชการอาวุโส พิมพ์หนังสือ รัฐธรรมนู นิยม เสนอรายละเอียด
ส�าหรับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เขาเห็นว่ารัฐสภามีอ�านาจมากเกินไป ขาดประ
สิทธิภาพในการผ่านกฎหมายออกมา และยังไร้เสถียรภาพซึ่งเห็นได้จากรัฐบาล
ผสมที่ขัดแย้งกันตลอด พ.ศ. ๒๕๓๘ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ชักจูงให้นายบรรหาร
ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ยินยอมให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญเตรียมร่าง
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นอิสระจากรัฐสภา
อานั น ท์ ปั น ยารชุ น เป็ น หั ว หน้ ำ สภำร่ ำ งรั ฐ ธรรมนู เขาเคยด� า รง
ต�าแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัย รสช. และได้กลายเป็นหนึ่งในผู้น� าขบวนการ
ปฏิ รู ป สภาร่ า งฯ ปรั บ รั ฐ สภาตามแนวทางที่ อ มร จั น ทรสมบู ร ณ์ เ สนอ คื อ
เปลี่ยนกฎเกณฑ์การเลือกตั้งใหม่เพื่อปูทางไปสู่ระบบพรรคการเมืองใหญ่ ๒
พรรค นายกรัฐมนตรีมีอ�านาจมากขึ้น
สภาร่างฯ เสนอให้มีองค์กรใหม่เพื่อคานอ�านาจกับรัฐสภา เช่น คณะ
กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อป้องกัน
การคอร์รัปชั่นและการใช้อ�านาจในทางที่ผิด เพิ่ม ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคอีก
๑๐๐ คนที่ได้มาจากการออกเสียงเลือกพรรค แล้วแปลงเป็นจ�านวน ส.ส.ตาม
บัญชีรายชื่อเป็นสัดส่วนกับจ�านวนเสียงเลือกพรรคที่ได้ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มบทบาท
ของคนส่วนกลางที่กรุงเทพฯ ในรัฐสภา ที่ส�าคัญคือ ก�าหนดให้ผู้สมัคร ส.ส.
ต้องจบปริญญาตรี มาตรานี้ท�าให้คนถึงร้อยละ ๙๙ ที่ชนบทสมัครเป็น ส.ส.
ไม่ได้ (เพราะการศึกษาไม่ถึง)
เอ็นจีโอเสนอมาตราที่มีเนื้อหาเปลี่ยนดุลอ�านาจเอียงไปข้างประชาชน
และชุมชนมากขึ้น ดังนั้น ร่างรัฐธรรมนูญจึงมีหลายมาตราที่ยืนยัน “สิทธิและ
เสรีภาพของชนชาวไทย” อย่างกว้างขวาง สถาปนาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
ลดบทบาทของกองทัพและรัฐบาลที่เคยควบคุมสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสนับสนุน
การกระจายอ�านาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


วิก ตเศรษ กิจ พ ศ ๒๕๔
พ.ศ. ๒๕๔๐ บริบทของการอภิปรายเรื่องอนาคตสังคมไทยเปลี่ยนไป
อย่างสิ้นเชิง เพราะว่าวิกฤตเศรษฐกิจได้ท� าให้ผู้คนเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับ
ปัจจุบัน
พ.ศ. ๒๕๓๔-๒๕๓๗ เศรษฐกิจไทยเติบโตในอัตราตัวเลข ๒ หลักติด
ต่อกันถึง ๔ ปี สร้างปัญหามากมาย รถติดอย่างหนักที่กรุงเทพฯ เป็นตัวอย่าง
แสดงว่าสาธารณูปโภคไม่พอเพียง ค่าจ้างจริงเพิ่มขึ้นบ้างเมื่อแรงงานส่วนเกิน
ถูกดูดซับ วิศวกร ช่างฝีมือ และนักวิทยาศาสตร์ขาดตลาด เพราะว่าผู้วางแผน
ด้านก�าลังคนไม่ได้คาดการณ์ว่าจะมีอุตสาหกรรมใช้เทคโนโลยีเข้มข้นแห่กันมา
ลงทุนอย่างมากมาย
ปลายทศวรรษ ๒๕๒๐ ธนำคำรโลกได้เร่งเร้าให้รัฐบาลไทยเปิดเสรี
ระบบการเงิน โดยให้ธนาคารต่างชาติเข้ามาลงทุนมากขึ้น เพราะเชื่อว่าจะเพิ่ม
ประสิทธิภาพด้านเศรษฐกิจ เทคโนแครตแนวปฏิรูปก็เห็นคล้อยตามกัน โดย
เชื่อว่าการเปิดเสรีการเงินจะเพิ่มจ�านวนผู้ประกอบการหน้าใหม่และลดการผูก
ขาดโดยนักธุรกิจหน้าเดิมๆ ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๓๒-๒๕๓๖ รัฐบาลยอมให้
“เงินบาท” แลกเปลี่ยนเป็นเงินสกุลอื่นๆ ได้โดยเสรี ยกเลิกการควบคุมอัตรา
ดอกเบี้ย เปิดให้ชาวต่างชาติซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ได้มากขึ้น และจัดตั้ง
กิจการวิเทศธนกิจขึ้น (BIBF) เพื่อเปิดโอกาสให้ กำรธนำคำรนอกประเทศ
(off-shore banking) สามารถให้กู้ในตลาดไทยได้
การปฏิรูปเหล่านี้เกิดขึ้นในช่วงที่ประเทศพัฒนาแล้วเติบโตช้าลง และ
มีเงินทุนล้นเกินความต้องการ ผลักดันนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนใน
เศรษฐกิจแถบเอเชียที่เติบโตเร็วกว่ารวมทั้งไทยด้วย
ธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์จากญี่ปุ่นและประเทศตะวันตกเข้ามาตั้ง
สาขาในกรุงเทพฯ เงินทุนจากภายนอกไหลเข้าเมืองไทยระลอกแล้วระลอกเล่า
เฉพาะปี ๒๕๓๓ ปีเดียว เงินลงทุนจากต่างประเทศนอกเหนือจากเงินลงทุนทาง
ตรง (FDI) มีมูลค่ามากกว่าที่เข้ามาในช่วง ๑๐ ปีก่อนหน้า ระหว่างปี ๒๕๓๑-
๒๕๓๙ หนี้ต่างประเทศของภาคเอกชนไทยเพิ่มขึ้น ๑๐ เท่า ดัชนีตลาดหลัก
ทรัพย์เพิ่มจาก ๔๐๐ จุด ก่อนเปิดเสรีระบบการเงิน สู่จุดสูงสุดที่ ๑,๗๕๓ จุด
ในเดือนมกราคม ๒๕๓๗

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
เศรษฐกิจไทยมีอัตราการลงทุนสูงอยู่แล้ว และมีอัตราการออมพอเพียง
แต่ช่วงเศรษฐกิจบูม (พ.ศ. ๒๕๓๘) อัตราการลงทุนสูงกว่าอัตราการออมร้อยละ
๘.๑ ของ GDP ส่วนต่างนี้คือ “หนี้ต่ำงประเทศ” สะท้อนให้เห็นในดุลบัญชีเดิน
สะพัดขาดดุลร้อยละ ๘.๑ เช่นกัน
เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากอัตราค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นและปัญหา
สาธารณูปโภคไม่พอเพียง อัตราก�าไรในธุรกิจการผลิตเพื่อส่งออกได้ลดลง เงิน
ที่ไหลเข้ามาจากต่างประเทศจึงลงทุนในกิจการเพิ่มผลิตผลค่อนข้างน้อย จ�านวน
มากมุ่งไปที่กิจกรรมซึ่งมีการคาดการณ์ผลได้เกินจริง และการลงทุนแบบเก็ง
ก�าไรโดยเฉพาะในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๘ เริ่มมองเห็นรอยปริของ
เศรษฐกิจ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ดิ่งหัวลง ตลาดอสังหาฯ เริ่มเป็นปัญหา อัตรา
การส่งออกชะลอตัว แต่เงินทุนจากต่างประเทศยังไหลเข้ามาไม่หยุดยั้ง ด้วยนัก
ลงทุนต้องการหาก�าไรจากสิ่งที่ธนาคารโลกเรียกว่า “มหัศจรรย์เศรษฐกิจเอเชีย
ตะวันออก” ขณะเดียวกันเทคโนแครตและนักธุรกิจพอใจกับผลงานการเปิด
เสรีทางการเงิน ไม่ต้องการหยุดยั้ง “เศรษฐกิจฟองสบู่” ธนาคารชาติมีมาตรการ
ก�ากับตลาดการเงินแต่ไม่มีผล และปฏิเสธที่จะลอยตัวค่าเงินบาท
ปลาย พ.ศ. ๒๕๓๙ นักลงทุนต่างชาติไม่มั่นใจเศรษฐกิจไทยจึงเริ่มถอน
เงินออกและนักค้าเงินเริ่มโจมตีค่าเงินบาท ธนาคารชาติอัดฉีดเงิน ๕ แสนล้าน
บาทเพื่อพยุงสถาบันการเงิน และใช้เงินส�ารองเกือบทั้งหมดที่มีอยู่เพื่อปกป้อง
ค่าเงินบาท แต่ไม่พอเพียงเมื่อเทียบกับมูลค่าเงินทุนของนักเก็งก�าไรนานาชาติ
รัฐบาลไทยจึงต้องขอให้ไอเอ็มเอฟ (International Monetary Fund) ช่วยจัด
หาเงิน (ส่วนใหญ่ได้มาจากประเทศแถบเอเชีย) ให้ไทยกู้จ�านวน ๑๗.๒ พันล้าน
ดอลลาร์สหรัฐ โดยมีข้อแม้ว่าไทยต้องลอยตัวค่าเงินบาทในวันที่ ๒ กรกฎาคม
๒๕๔๐ เพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ลดงบประมาณรายจ่ายภาครัฐร้อยละ ๒๐
เพิ่มอัตราดอกเบี้ย และปิดสถาบันการเงินที่อ่อนแอ นอกจากนั้นต้องท�าการ
ปฏิรูปเศรษฐกิจไทยให้เสรีมากขึ้น และยอมให้นักธุรกิจต่างชาติเข้ามาลงทุนได้
โดยสะดวกต่อไป
ชุดนโยบำยของไอเอ็มเอฟ ไม่ได้สร้างความมั่นใจให้กับนักธุรกิจต่าง
ชาติ เงินที่ได้ไหลเข้ามาตั้งแต่การเปิดเสรีการเงินไหลออกเกือบหมดภายใน ๒ ปี
ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์ลดลงกว่าครึ่ง ก่อนขยับขึ้นมาเล็กน้อย บริษัท
ไทยที่กู้เงินต่างประเทศมีภาระหนี้เพิ่มขึ้นทันทีและในทางปฏิบัติก็ล้มละลายแล้ว
และขาดสภาพคล่อง ส่งผลให้ธนาคารซึ่งเป็นตัวกลางกู้เงินมาเผชิญกับปัญหา

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


มหาศาล ลูกหนี้ยุติการจ่ายคืนเงินธนาคาร ผู้บริโภคก็หยุดใช้เงิน กว่า ๒ ล้าน
คนตกงาน
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑ เศรษฐกิจไทยติดลบร้อยละ ๑๑ เป็นปรากฏการณ์
ครั้งแรกในรอบ ๔๐ ปที่เศรษฐกิจไทยได้เติบโตในอัตราเฉลี่ยร้อยละ ๗ ต่อป
มาโดยตลอด และไม่เคยต�่ากว่าร้อยละ ๔
กลาง พ.ศ. ๒๕๔๑ ไอเอ็มเอฟต้องยกเลิกชุดนโยบายที่บังคับให้ไทย
ปฏิบัติตาม เพราะท�าให้เกิดปัญหาสังคมอย่างกว้างขวาง นักธุรกิจก็ไม่พอใจ
และนักวิเคราะห์ทั่วโลกก่นด่าว่าเป็นชุดนโยบายที่ผิดพลาดอย่างสิ้นดี รัฐบาล
ไทยจึงเริ่มด�าเนินนโยบายใหม่ไปตามแนวทางของเคนส์ (เพิ่มงบประมาณขาด
ดุล ลดดอกเบี้ย) สืบเนื่องกันไปโดยรัฐบาลใหม่ในปี ๒๕๔๔ ต่อมาในปี ๒๕๔๖
เศรษฐกิจเริ่มผงกหัวขึ้น
ภาวะเฟื่องฟูและฟองสบู่แตกท� าให้เศรษฐกิจไทยเปลี่ยนโฉมไปโดย
สิ้นเชิง นับจากหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ธุรกิจใหญ่ของไทยโดยเฉพาะกลุ่ม
ธุรกิจที่ผูกโยงอยู่กับธนาคารหลักๆ เป็นหัวจักรของระบบเศรษฐกิจ แต่เมื่อ
เกิดวิกฤต ๒๕๔๐ ประมาณ ๑ ใน ๓ ของกลุ่มธุรกิจใหญ่เหล่านี้หายไป ที่
เหลืออยู่ส่วนใหญ่ก็มีขนาดและบทบาทที่เล็กลง ธนาคารใหญ่ยังอยู่ แต่หัน
ไปให้บริการรายย่อย (consumer banking) โดยให้กู้กับบริษัทธุรกิจลดลง
ธนาคารไม่ได้เป็นศูนย์กลางของเครือข่ายธุรกิจการค้าอีกต่อไป
บทบาทของบริษัทต่างชาติพุ่งขึ้น รัฐบาลลดข้อจ�ากัดต่อนักลงทุนต่าง
ชาติในกิจการธนาคาร อสังหาฯ และสาขาอื่นๆ ส่งผลให้เงินลงทุนไหลเข้ามา
ซื้อบริษัทที่ล้มละลายโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม และฉวยโอกาสลงทุนใน
กิจการอื่นๆ เมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้น แต่นักลงทุนไทยยังตั้งตัวไม่ติด ค่าเงินบาท
ที่ลดลงท�าให้สินค้าออกไทยขายดี โดยมีบรรษัทลงทุนข้ามชาติเป็นผู้ผลิตส�าคัญ
บริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของโลกซื้อหุ้นจากหุ้นส่วนที่ล้มละลาย และปรับสู่การ
ส่งออกท�าให้ไทยเป็นผู้ส่งออกยานยนต์ติดอันดับที่ ๑๑ ของโลกใน พ.ศ. ๒๕๔๓
บริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่ของโลกจากยุโรปสร้างห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ๑๕๐ แห่ง
ในเวลา ๑๐ ปี และมีส่วนแบ่งในตลาดค้าปลีกมากกว่าครึ่ง
บริษัทไทยที่ประคองตัวอยู่ได้นั้นส่วนมากแล้วอยู่ในกลุ่มบริการ ซึ่งกฎ
หมายยังปกป้องไม่ให้ต่างชาติเข้ามาได้ง่ายๆ ผู้น�าภาคธุรกิจหลัง พ.ศ. ๒๕๔๐
เป็นคนหน้าใหม่ในธุรกิจบริการ เช่น ทักษิ ชินวัตร ท�าธุรกิจมือถือ ตระกูล
มำลีนนท์ ท�ากิจการบันเทิง และวิชัย รักศรีอักษร เจ้าของบริษัทคิงเพาเวอร์

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ขายสินค้าปลอดภาษี เจริ สิริวั นภักดี น่าทึ่งที่สุด ธุรกิจน�้ าเมาที่เขาได้
สัมปทานเกือบผูกขาดจากรัฐบาลท�าเงินให้เขามหาศาล แม้เศรษฐกิจจะซบเซา
แต่คนดื่มเหล้าพอใจสินค้าราคาถูกของเขาไม่เสื่อมคลาย รายได้จึงไม่ลดลงมาก
เขาท�าธุรกิจใช้เงินสดตลอดเนื่องจากมีเงินในมือมากพอ และธนาคารต่างชาติก็
ไม่อยากให้เขากู้เพราะเห็นว่าไม่โปร่งใส เขาจึงไม่มีหนี้ต่างประเทศ เขากว้านซื้อ
ที่ดินจากเพื่อนนักธุรกิจกระเปาแห้งอื่นๆ และได้กลายเป็นนักพัฒนาที่ดินและ
เจ้าของไร่ขนาดใหญ่ท่ีสุดของประเทศก็ว่าได้
หลังวิกฤตเศรษฐกิจ ไทยยิ่งผนวกเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลกแนบ
แน่นขึ้นไปอีก เห็นได้จากสัดส่วนของสินค้าออกและเงินทุนต่างชาติใน GDP
บรรษัทลงทุนข้ามชาติเป็นใหญ่ในธุรกิจส่งออก ขณะที่นักธุรกิจไทยหันไปเอาดี
ด้านอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจบริการ

ป ิกิริยากับวิก ต
ความสูญเสียจากวิกฤตท�าให้เสียงเรียกร้องสู่การเปลี่ยนแปลงดังกระหึ่ม
ขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นการเมืองที่ว่าได้นา� เศรษฐกิจสู่ความหายนะ
ช่วง ๒ ปีก่อนวิกฤต ได้เห็นการต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อย่าง
มากมาย ส.ส.และข้าราชการเห็นว่าจะท�าให้อ�านาจของพวกเขาลดลง ต�ารวจ
ชั้นผู้ใหญ่ นายพล สมาชิกวุฒิสภา ก�านัน ผู้ใหญ่บ้าน ล้วนออกมาคัดค้าน นัก
การเมืองต่างจังหวัดประเภทเจ้าพ่อชักชวนลูกเสือชาวบ้านให้ออกมาต่อต้าน แต่
ชะตาของร่างรัฐธรรมนูญถูกก�าหนดโดยเศรษฐกิจวิกฤต ๒๕๔๐ นักธุรกิจและ
ชนชั้นกลางที่กรุงเทพฯ ต�าหนิว่า วิกฤตเกิดขึ้นเพราะนักการเมืองบริหารจัดการ
ไม่ดี เห็นว่ารัฐธรรมนูญใหม่เท่านั้นจะก�ากับควบคุมนักการเมืองได้ คนงาน
ปกขาวเดินขบวนสนับสนุนให้ผ่านร่างรัฐธรรมนูญ
รัฐสภาลงมติเห็นด้วยเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๐ วันเดียวกับที่
รัฐบาลยินยอมตามข้อแม้ของไอเอ็มเอ
หลังจากที่ปล่อยให้ค่าเงินบาทลอยตัวเมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๔๐ แล้ว
เศรษฐกิจถล�าเข้าสู่ภาวะวิกฤตอย่างรวดเร็ว นักธุรกิจและชนชั้นกลางเมืองเรียก
ร้องให้รัฐบาลพลเอกชวลิตลาออกไป พวกเขาต้องการให้พรรคประชาธิปัตย์

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


และทีมงานด้านเศรษฐกิจกลับเข้ามาบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจแทน บางคน
เสนอให้ฝ่ายกองทัพเข้าแทรกโดยตรง แต่พวกนายพลยืนดูอยู่ห่างๆ เงียบๆ
เดือนพ ศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๐ รัฐบาลพลเอกชวลิตลาออก พรรค
ประชาธิปัตย์ร่วมกับพรรคเล็กพรรคน้อยอื่นๆ จัดตั้งรัฐบาลโดยไม่ต้องมีการ
เลือกตั้งทั่วไป
พรรคประชำธิปัตย์ชักชวนให้ไอเอ็มเอฟปรับรายละเอียดของชุดนโยบาย
เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเร็วขึ้น แต่กว่าจะท�าได้ส�าเร็จเศรษฐกิจก็ทรุดเสียจนมี
บริษัทล้มละลายเป็นจ�านวนมาก ผู้คนตกงานกันทั่วไปท�าให้ปัญหาสังคมบาน
ปลาย ประชาธิปัตย์ไม่กล้าขัดแย้งกับไอเอ็มเอฟ (เป็น “เด็กดี” ของไอเอ็มเอฟ)
ทั้งๆ ที่นโยบายที่ไอเอ็มเอฟเสนอไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ ดังนั้น ความ
นิยมรัฐบาลจึงถดถอยลง และเศรษฐกิจก็ซบเซาอย่างหนักต่อเนื่องกัน ๓ ปี
เมื่อวิกฤตเศรษฐกิจรุนแรง ท�าให้ผู้คนผิดหวังกับโลกาภิวัตน์ บางคน
วิเคราะห์ว่าโลกาภิวัตน์ท�าให้เมืองไทยตกเป็น “ทำส” บ้างสรุปว่าไทยไม่พร้อม
รับมือกับโลกาภิวัตน์ ไม่ตระหนักรู้ถึงความเสี่ยง แม้กระทั่งผู้ชื่นชอบเสรีนิยม
เต็มที่และเคยต่อต้านไม่ให้ไทยปฏิเสธโลกาภิวัตน์โดยปิดประตูกับโลกภายนอก
ก็ยอมรับว่า จ�าเป็นต้องปรับปรุงให้สถาบันต่างๆ ในเมืองไทยเข้มแข็ง เพื่อ
อยู่รอดและเติบโตภายใต้ภาวะโลกเปลี่ยนแปลงเร็ว ผู้สนับสนุนท้องถิ่นนิยม
พุ่งขึ้นมาเป็นแนวคิดน�า โดยชี้ว่าวิกฤตเป็นผลพวงของแนวทางการพัฒนาจาก
อดีต พระนักวิชาการ พระธรรมป ก (ป.อ. ปยุตโต) กล่าวว่า “ปัจจัยที่ท�ำให้
เรำพลำด อยำกจะมีข้อสังเกตว่ำเกิดจำกกำรลงพั นำประเทศไปในแนวที่ต้อง
พึ่งพำภำยนอกมำกเกินไปหรือไม่ เรำไม่พยำยำมยืนอยู่ด้วยตัวเอง” ๓๐
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแสดงความเห็นสอดคล้องกันนี้ในพระ
ราชด�ารัสเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐

การจะเป็นเสือนั้นไม่ส� าคัญ ส�าคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจ


แบบพอมีพอกิน...หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับ
ตัวเอง...ต้องถอยหลังเข้าคลอง จะต้องอยู่อย่างระมัดระวัง และ
ต้องกลับไปท�ากิจการที่อาจจะไม่ค่อยซับซ้อนนักคือใช้เครื่องมือ
อะไรที่ไม่หรูหรา แต่อย่างไรก็ตาม มีความจ�าเป็นที่จะถอยหลัง
เพื่อที่จะก้าวหน้าต่อไป ถ้าไม่ท�าอย่างที่ว่านี้ ก็จะแก้วิกฤติการณ์
นี้ยาก๓๑

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ในระยะสั้นพระราชด�าริดังกล่าวสมเหตุสมผล เมื่อผู้คนที่ตกงานจาก
เศรษฐกิจเมืองต้องกลับไปพึ่งพิงครอบครัวที่หมู่บ้าน หน่วยงานรัฐหลายแห่ง
สนับสนุนชุมชนให้ท�าโครงการช่วยคนตกงาน เอ็นจีโอชักชวนให้ธนาคารโลก
ท�าโครงการช่วยสังคมกับเครือข่ายชุมชนที่พวกเขามีบทบาทโดยตรง แทนที่จะ
ให้ฟากรัฐบาลเป็นผู้ท�า ทั้งนี้เพื่อให้สร้าง “ทุนทำงสังคม” (social capital) โยง
กับโครงการ เช่น สวัสดิการต่างๆ การศึกษา ศูนย์ดูแลเด็กเล็ก และโครงการ
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ศ.นพ.ประเวศ วะสี เรียกร้องให้ท�า “สงครำมกู้ชำติ” เพื่อสร้างสังคม
ใหม่จากชุมชนระดับล่างขึ้นไปให้เป็น “เศรษฐกิจที่เชื่อมโยงเป็นบูร ำกำรกับ
เรื่องสังคมวั นธรรมและสิ่งแวดล้อม หรือเป็นเศรษฐกิจวั นธรรม” ๓๒
ประเวศขอให้รัฐบาลเน้นเรื่องเกษตร ซึ่งถูกทอดทิ้งไปเมื่อความสนใจ
เพ่งไปที่อุตสาหกรรม แม้ว่าเกษตรยังเป็นที่พึ่งของประชากรครึ่งหนึ่งของประ
เทศอยู่ กลุ่มประท้วงต่างๆ ที่ชนบทขอให้รัฐบาลปลดหนี้เกษตรกรยากไร้ แทน
ที่จะเน้นช่วยเฉพาะนักธุรกิจและนายธนาคาร และเรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุน
ราคาสินค้าเกษตรที่ตกต�่า บางคนที่ตกงานเข้าจับจองที่ดินถูกทิ้งร้าง และนัก
เคลื่อนไหวเรียกร้องการปฏิรูปที่ดิน เพื่อต้านกับแนวโน้มที่ดินเกษตรถูกเปลี่ยน
มือไปเป็นของนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และนักเก็งก�าไรที่ดิน
ไอเอ็มเอฟ และนักวิชาการนานาชาติ วิเคราะห์ว่าวิกฤตเกิดจากปัญหา
“พรรคพวกนิยม” (cronyism) พวกเขาเห็นว่าทุนนิยมแบบเอเชียไร้น�้ายา ควร
ปล่อยให้ล่มสลายไป แล้วให้นักลงทุนจากประเทศที่มีทุนนิยมก้าวหน้าเข้ามา
ลงทุนแทน แต่นักธุรกิจท้องถิ่นไม่ยอมรับการวิเคราะห์แบบนี้ และรู้สึกว่า
รัฐบาล เทคโนแครต และพรรคประชาธิปัตย์ทอดทิ้งพวกเขา ต้น พ.ศ. ๒๕๔๑
นักธุรกิจรวมตัวกันเดินขบวนส่งตัวแทนไปวอชิงตัน และวิจารณ์นโยบาย “อาณา
นิคมใหม่” ของไอเอ็มเอฟอย่างหนัก
สาธารณชนไม่ได้สนับสนุนนักธุรกิจเหล่านี้นักในช่วงแรกๆ แต่ในช่วง
ปี ๒๕๔๑-๒๕๔๒ นั้นผลกระทบทางลบของวิกฤตขยายวงออกไป และการเดิน
ขบวนประท้วงก็ขยายวงออกไปด้วย แม้กระทั่งผู้น�า เช่น อานันท์ ปันยารชุน
ผู้สนับสนุนโลกาภิวัตน์ค่อนข้างมากก็ยังสนองรับกับแนวทางพึ่งตนเองให้เป็น
วิธีจัดการกับวิกฤตเพื่อรักษา “วิถีกำรด�ำรงชีวิตของคนไทย” ๓๓ มีการท�าโครง
การต่างๆ เน้นไปที่สร้างความเข้มแข็ง การพึ่งตนเอง เพื่อลดทอนผลกระทบ

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


หลวงตามหาบัว ได้รับเงินบริจาค ๒ พันล้านบาท และทองอีก ๑.๗ ตัน เพื่อ
ให้รัฐบาลเอาไปใช้ช�าระหนี้ นอกจากนี้ การปกป้องชาติจากโลกาภิวัตน์ยังเป็น
เนื้อหาของภาพยนตร์เพลงและละครโทรทัศน์ กระทั่ง พ.ศ. ๒๕๔๒ ภาพยนตร์
เรื่องบำงระจัน ได้รับความนิยมสูง เป็นประวัติศาสตร์จากแบบเรียนสรรเสริญ
ชาวบ้านต่อสู้กับพม่าสมัยเสียกรุงเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ พระนำงสุพรร กัลยำ
จากกึ่งต�านานเกี่ยวกับพระพี่นางของพระนเรศวร ผู้ทรงกู้อิสรภาพสยามจาก
พม่า กลายเป็นเทพธิดาผู้ซึ่งอาจจะปกปักนักธุรกิจจากวิกฤต
กลุ่ม “ชาตินิยมใหม่” ก่อตัวจากนักวิชาการและนักธุรกิจจ�านวนหนึ่ง
คาดหวังที่จะ “ปลุกเร้าความคิดและจิตวิญญาณนี้ให้แข็งกล้า กระทั่งผลิดอก
ออกผลเป็นการปฏิบัติ สู่การจัดตั้ง ขบวนการชาตินิยมใหม่ เป็นหัวหอกของ
การต่อสู้เพื่อกอบกู้ชาติไทยให้รอดพ้นจากการถูกต่างชาติครอบง�า”๓๔
พ.ศ. ๒๕๔๓ วิกฤตเศรษฐกิจเริ่มทุเลาลง แต่ประเด็นเรื่องการปกป้อง
ชาติ สัง คมเข้ ม แข็ง ชนบทถู ก ทอดทิ้ง ความจ�า เป็ น ที่ต ้ อ งมียุ ท ธศาสตร์ ก าร
พัฒนาแนวใหม่ และการประเมินสถานะของไทยในโลกาภิวัตน์ ได้ถูกปลุกเร้า
ขึ้นอย่างจริงจัง

ไทยรักไทย
ท้ายที่สุดแล้ววิกฤตเศรษฐกิจและการอภิปรายถกเถียงกัน จบลงด้วย
การฟื้นฟูประเพณีรัฐเข้มแข็งขึ้นอีก แต่ในครั้งนี้ได้รับแรงหนุนจากนักธุรกิจ
ขนาดใหญ่ที่ต้องการให้อ�านาจรัฐเข้าช่วยปกป้องพวกเขาจากโลกาภิวัตน์ และ
จากการเมืองมวลชนในกรอบของประชาธิปไตย
เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ทักษิณ ชินวัตร ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย
เขาเป็นนักธุรกิจใหญ่ประสบความส�าเร็จสูงตั้งแต่ก่อนวิกฤต สามารถสะสม
ความมั่งคั่งมูลค่าเกือบ ๒ พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในเวลา ๕ ปี จากที่เขา
ท�าธุรกิจมือถือเป็นกิจการกึ่งผูกขาดโดยได้สัมปทานจากรัฐบาล และน� าบริษัท
เข้าตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น ราวๆ ปี ๒๕๓๗ เขาลงเล่นการ
เมือง ให้ภาพเป็นนักธุรกิจสมัยใหม่ในธุรกิจไฮเทค เขาก่อตั้งพรรคไทยรักไทย
ขึ้นโดยได้รับแรงหนุนจากลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่รอดมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ เช่น

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
เจริญโภคภัณฑ์ ธนาคารกรุงเทพ บริษัทแกรมมี่ และบริษัทในธุรกิจบริการที่
พึ่งตลาดภายในเป็นหลัก บริษัทเหล่านี้ได้รับการปกป้องจากกฎหมายธุรกิจ
ต่างด้าว จึงยังไม่ถูกต่างชาติซื้อไป นักธุรกิจใหญ่สนใจการเมืองครั้งนี้ คล้ายๆ
กับที่เคยเกิดขึ้นหลังวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี ๒๔๗๕ ปี ๒๔๘๙ ปี ๒๕๑๖ และ
ปี ๒๕๓๕ ในครั้งก่อนๆ นั้นนักธุรกิจใหญ่หมดความสนใจการเมืองอย่างรวด
เร็ว แต่ในครั้งนี้พวกเขามีอา� นาจทางเศรษฐกิจมากขึ้น และวิกฤตท�าให้ตระหนัก
ถึงความจ�าเป็นต้องเข้ายึดกุมอ�านาจรัฐ เพื่อให้ช่วยบริหารจัดการกับโลกาภิวัตน์
ในแนวทางที่เป็นประโยชน์กับพวกเขา ทักษิณเสนอตัวเองเป็นนักธุรกิจตัวฉกาจ
ที่จะช่วยให้ทั้งบริษัทขนาดเล็กและใหญ่ฟื้นตัวจากวิกฤตได้อย่างฉับพลัน
พรรคใหม่นี้จับกระแสความรู้สึกหลังวิกฤตได้ดี ชื่อพรรคไทยรักไทย
สะท้อนอารมณ์ชาตินิยมที่พุ่งขึ้นในขณะนั้น พรรคชูค�าขวัญ “คิดใหม่ ท�ำใหม่
เพื่อคนไทยทุกคน” และสัญญาว่าจะปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานของประเทศทุกด้าน
เพื่อให้ไทยแข็งแกร่งทันสมัย และพร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทายของโลกยุค
ใหม่ แสดงวิสัยทัศน์สร้างความแข็งแกร่งเพื่อให้จัดการกับโลกาภิวัตน์ได้ พรรค
ติดต่อกับเอ็นจีโอและนักเคลื่อนไหวที่ชนบทให้ช่วยคิดแผนการหาเสียงเลือกตั้ง
ที่ตระหนักถึงผลกระทบของวิกฤตต่อภาคชนบท ได้แก่ โครงกำรปลดหนี้ให้
เกษตรกร กองทุนหมู่บ้ำนละล้ำน และโครงกำร ๐ บำทรักษำทุกโรค ค�า
โฆษณาของพรรคใช้ศัพท์แสงท้องถิ่นเรื่องการเพิ่มอ�านาจให้ชุมชนและการพัฒนา
จากรากหญ้า ทั้งนี้ ศ.นพ.ประเวศ วะสี หลวงตามหาบัว และขบวนการชาว
ชนบทหลายแห่ง ล้วนสนับสนุนพรรคใหม่
แรงหนุนจากประชาชนในระดับรากหญ้า จูงใจให้เจ้าพ่อท้องถิ่นต่างๆ
ให้การสนับสนุนกับพรรคใหม่ ด้วยตระหนักว่าพรรคประชาธิปัตย์และพรรค
ร่วมรัฐบาลคงต้องแพ้การเลือกตั้งเนื่องจากไปอิงอยู่กับนโยบายของไอเอ็มเอฟ
ทักษิณใช้เงินจ�านวนมากในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง วางแผนอย่างแนบเนียน
ประสานงานดี และมียุทธศาสตร์เด่นอย่างที่ไม่มีพรรคใดท�ามาก่อน ผลของ
การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. ๒๕๔๔ คือพรรคไทยรักไทยได้ ส.ส. ๒๔๘ คน จาก
ทั้งหมด ๕๐๐ คน ขาดไปเพียง ๒ คนก็จะได้เสียงข้างมากในรัฐสภา หลังจาก
นั้นดึงอีก ๒ พรรคเข้ามาร่วมกับพรรคไทยรักไทย (รวมทั้งพรรคของพลเอก
ชวลิต) จนในท้ายที่สุดมี ส.ส.ในพรรคเกือบ ๓๐๐ คน ส่งผลให้พรรคประชา
ธิปัตย์ซึ่งเคยปักหลักแน่นที่ภาคใต้และเป็นพรรคใหญ่ที่สุด กลายเป็นพรรครอง
ลงมา

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


:'(0:' 7$5<.:'

$+    "(/13"'


:'(0:'   13:'$+  
"(/13"'   %6&39:'$+ 
13:'  .5< ;
.5< ; 

#)1(7)5.0=7!5=. . 9!8


2 * 0=-&,,78)/
,,8!!!04(1'5<.$((

$+    $+   


:'(0:'   7$5<.:'  
"(/13"'  "(/13"'  
13:'   %6&39:'  
.5< ;  .5< ; 

แผนที่ ผลกำรเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๕๔


นอกจากจะแข็งแกร่งจากที่มีเสียงข้างมากในรัฐสภาแล้ว ทักษิณยังได้
ประโยชน์จากรัฐธรรมนูญใหม่ที่คณะผู้ร่างตั้งใจจะให้นายกรัฐมนตรีมีอ�านาจสูง
และให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ ทักษิณใช้ประโยชน์จากการสื่อสารสมัยใหม่เต็มที่
ออกรายการคุยกับประชาชนทางวิทยุทุกวันอาทิตย์ ทักษิณบอกเล่าถึงกิจกรรม
ที่ท�าเพื่อประชาชน เป็นตัวเด่นในหน้าหนังสือพิมพ์และข่าวทีวี รัฐบาลของ
ทักษิณด�าเนินนโยบายที่ให้สัญญาไว้ภายในปีแรกที่เป็นรัฐบาล ส่งผลให้แรง
หนุนจากสาธารณชนพุ่งขึ้นไปอีก
ทักษิณให้สัญญาว่าจะไม่แต่เพียงท�าให้เศรษฐกิจ นจากวิก ต แต่
จะท�าให้เมืองไทยยกระดับเป็นสมาชิกของประเทศพัฒนาแล้วในกลุ่มโออี ีดี
โดยจะปรับเปลี่ยนให้ข้าราชการท�างานในระบบที่เกื้อหนุนธุรกิจภาค
เอกชนอย่างเต็มที่ เขากล่าวว่า “บริษัทก็คือประเทศ ประเทศก็คือบริษัท...
บริหารเหมือนกัน”๓๕
ทักษิณท�าตามอย่างพลเอกชาติชาย ในกรณีที่โยกย้ายข้าราชการอาวุโส
ในกระทรวงและรัฐวิสาหกิจเพื่อให้พวกเขาสมยอม จัดตั้งคณะที่ปรึกษาจ�านวน
มาก เพื่อดึงเอากระบวนการก� าหนดนโยบายออกจากกระทรวงมาอยู่ที่คณะ
รัฐมนตรี และปฏิรูประบบราชการทั้งโครงสร้าง ทักษิณเรียกตัวเองว่า ”นำยก
รัฐมนตรี ีอีโอ” (CE ) เขาเสนอให้เรียกผู้ว่าราชการจังหวัดและทูตว่า “ผู้ว่า
ซีอีโอ” และ “ทูตซีอีโอ” ด้วย แล้วจัดประชุมใหญ่ผู้ว่าและทูตซีอีโอทั่วประเทศ
เพื่ออบรมให้มีบทบาทใหม่เป็นผู้ส่งเสริมความเติบโตของเศรษฐกิจ ด�าเนินโครง
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ สั่งให้สถาบันการเงินภาครัฐ (เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตร
และสหกรณ์, ธนาคารกรุงไทย) ให้เงินกู้แก่ธุรกิจในสาขาที่มีความส�าคัญสูงและ
บริษัทที่ได้รับเลือกแล้ว เขาจ้างที่ปรึกษาชาวต่างประเทศให้มาเสนอโครงการ
เพิ่มขีดแข่งขัน ท�าให้บริษัทธุรกิจที่โยงกับรัฐบาลใหม่ได้ประโยชน์จากโครงการ
ปรั บ ลดหนี้ แ ละนโยบายส่ ง เสริ ม ธุ ร กิ จ เอกชนต่ า งๆ อั ต ราความเติ บ โตของ
เศรษฐกิจขยับสูงขึ้นตั้งแต่ปี ๒๕๔๕ และดัชนีตลาดหลักทรัพย์พุ่งขึ้นตั้งแต่ปี
๒๕๔๖ ทักษิณสัญญาว่าจะน�าเมืองไทยเป็นหนึ่งใน “โออีซีดี” หรือสโมสรของ
ประเทศร�่ำรวย ให้ได้ในสมัยที่ ๒
ทุนนิยมสมัยทักษิณผูกโยงกับประชานิยมแบบใหม่ ชุดนโยบายที่ใช้
หาเสียงเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้รับความนิยมสูง และยิ่งเพิ่มขึ้นเมื่อรัฐ
บาลด�าเนินการ ๓ โครงการหลักอย่างรวดเร็ว เหตุหนึ่งเป็นเพราะประชาชน
มีสวัสดิการดีขึ้น โดยเฉพาะผลของโครงการ “๓๐ บาทรักษาทุกโรค”

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


อีกเหตุหนึ่งเป็นเพราะโครงการต่างๆ ขยายระบบทุนนิยมไปยังกลุ่ม
ชาวนารายเล็ก ปรับเปลี่ยนชาวนากึ่งพึ่งตนเองให้เป็นชาวนานายทุน โดยให้พวก
เขาได้กู้เงินและมีตลาด แต่ประชานิยมของทักษิณไม่ใช่เรื่องของนโยบายสถาน
เดียว เขาเข้าถึงประชาชนและได้รับความนิยมจากผู้คนด้วยวิธีการที่แปลกใหม่
ส�าหรับวัฒนธรรมการเมืองของไทยที่ผ่านมา นอกจากจะพูดคุยกับประชาชน
ทางรายการวิทยุทุกอาทิตย์แล้ว ทักษิณยังจัดให้มีการประชุม “ค ะรัฐมนตรี
สั จร” ไปยังจังหวัดต่างๆ เขาเดินทางเยี่ยมหมู่บ้านกับรัฐมนตรีและข้าราชการ
ผู้ติดตามเป็นแถว เท่ากับน�ารัฐบาลมายังชุมชนท้องถิ่น เขาสัญญาที่จะก�าจัด
ความยากจนและท�าโครงการน�าร่องที่อีสานเป็นเรียลลิตี้โชว์ทางโทรทัศน์ เมื่อ
เป็นรัฐบาลครบเทอมก็มีการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. ๒๕๔๘ พรรคเปลี่ยนค�าขวัญ
ให้ยิ่งเป็นประชานิยมว่า “พรรคไทยรักไทย หัวใจคือประชำชน” พรรครณรงค์
หาเสียงเลือกตั้งโดยสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือประชาชนตั้งแต่นอนเปลไป
จนถึงตาย
ต้น พ.ศ. ๒๕๔๖ ทักษิณประกาศ “สงครามยาเสพติด” ยาบ้าราคาถูก
ระบาดเข้าไทยจากพม่า ขยายตลาดได้รวดเร็วหลังวิกฤตเศรษฐกิจ (คนตกงาน
ขายยาบ้าได้เงินเร็ว) จนขยายเข้าไปตามโรงเรียน ทักษิณให้เวลาต�ารวจและ
ข้าราชการท้องถิ่นสามเดือนเพื่อปราบยาบ้า ในช่วงนั้นมีคนถูกยิงตาย ๒,๕๐๐
คน รัฐบาลอ้างว่าเหล่านี้คือนักค้ายายิงกันเองเพื่อปิดปาก แต่มีผู้เกรงว่าต�ารวจ
เองได้รับแรงจูงใจให้ฆ่า (วิสามัญฆาตกรรม) ไม่ว่าจะเป็นผู้ท�าผิดจริงหรือเป็น
ผู้บริสุทธิ์ เพื่อสนองนโยบายรัฐบาลที่ก�าหนดเป้าจ�านวนผู้ค้ายาที่ต้องถูกด�าเนิน
การ เมื่อเจ้าหน้าที่องค์การสหประชาชาติแสดงความเป็นห่วงเรื่องนี้ ทักษิณโต้
กลับว่า “ยูเอ็นไม่ใช่พ่อผม” แต่ผลการส�ารวจทัศนคติ (opinion polls) ชี้ว่า
ประชาชนสนับสนุนทักษิณในเรื่องนี้อย่างล้นหลาม
ทักษิณเป็นนักการเมืองที่ได้รับความนิยมสูงกว่านักการเมืองใดๆ ภาย
ใต้ระบบการเลือกตั้ง ชาวบ้านต่างจังหวัดให้การต้อนรับแบบเดียวกับที่ให้กับ
ดารานักร้องชั้นน�า แต่ขณะที่ชาวบ้านร้านถิ่นยิ่งสนับสนุนเขา ชนชั้นน�าที่ทรง
อิทธิพลในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ๆ กลับลดความนิยมลง
สาเหตุบางส่วนเกิดจากไม่ประทับใจพื้นเพธุรกิจ และการที่ทักษิณใช้
อ�านาจความเป็นนายกฯ ส่งเสริมธุรกิจส่วนตัว ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปปี ๒๕๔๔
เขาถูกข้อหา “ซุกหุ้น” (ไม่รายงานหุ้นจ�านวนมากที่อยู่ในชื่อของคนรับใช้ตาม
ที่กฎหมายก�าหนดครั้งที่ยังเป็น “รัฐมนตรี” เมื่อปี ๒๕๔๐-๒๕๔๑) ศาลรัฐ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ธรรมนูญพิพากษาว่าไม่ผิด แต่ค�าพิพากษาแปลกและอาจไม่โปร่งใส นโยบาย
ส่งเสริมธุรกิจเอกชนในรัฐบาลของเขาดูเหมือนจะให้ประโยชน์กับนักธุรกิจวงใน
ที่ใกล้ชิดกับเขาจ�านวนหยิบมือ หลายๆ มาตรการให้ประโยชน์กับธุรกิจครอบ
ครัว “ชินวัตร” มูลค่าทรัพย์สินของครอบครัวทักษิณ เพิ่มขึ้น ๓ เท่าหลังจาก
เป็นรัฐบาลได้ ๔ ปี ส่วนใหญ่เป็นมูลค่าหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่ฟื้นตัวอย่างมาก
แต่รัฐบาลก็ได้มีมาตรการที่ช่วยเหลือธุรกิจของครอบครัวเขาด้วยอย่างชัดเจน
เมื่อถูกสื่อมวลชนวิจารณ์มากขึ้นๆ รัฐบาลทักษิณควบคุมสื่อโทรทัศน์
และวิทยุเพิ่มขึ้น ควบคุมนักหนังสือพิมพ์โดยใช้ทั้งพระเดชพระคุณ สื่อไหนแตก
แถวจะไม่ได้รับงบโฆษณา ครอบครัวของเขาซื้อหุ้นใหญ่ในกิจการโทรทัศน์ ITV
ทีวีเสรีแห่งเดียวที่ก่อตั้งเมื่อปี ๒๕๓๕ ช่องอื่นๆ ถูกสั่งให้เสนอข่าวที่เอื้อกับ
รัฐบาลเท่านั้น บรรดานักวิชาการที่วิจารณ์แบบตรงไปตรงมาถูกโจมตี เอ็นจีโอ
ถูกข้อหาว่าประท้วงเพียงเพื่อให้ได้เงินทุนจากต่างชาติ องค์กรชุมชนที่ปกป้อง
ผลประโยชน์ท้องถิ่นถูกตราหน้าว่าเป็น “อนาธิปไตย” และเป็นศัตรูของชาติ
รัฐบาลทักษิณลดบทบาทขององค์กรอิสระที่ก่อตั้งโดยรัฐธรรมนูญ ฉบับ
พ.ศ. ๒๕๔๐ เพื่อตรวจสอบการคานอ�านาจฝ่ายบริหาร ทักษิณต้องการ “การ
เมืองนิ่ง” และแสดงความชื่นชมระบบการเมืองที่สิงคโปร์และมาเลเซียที่ฝ่ายค้าน
ไม่มีอ�านาจอะไร เมื่อกล่าวค�าปราศรัยเพื่อหาเสียงจะให้ภาพว่าเขาเป็นคนของ
ประชาชน และย�้าว่าเขาต้องต่อสู้กับชนชั้นน�ากลุ่มเก่าที่มุ่งรักษาอภิสิทธิ์ของพวก
เขา และท�าตนเป็นอุปสรรคกับการที่ทักษิณพยายามท�าทุกอย่างเพื่อมวลชน
เขาเสนอว่าระบบตรวจสอบและถ่วงดุล สิทธิมนุษยชน การอภิปรายสาธารณะ
และแม้แต่ฝ่ายค้าน ล้วนเป็นอุปสรรคกับการท�างานเพื่อประชาชนของเขาทั้งสิ้น
เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘ “พรรคไทยรักไทย” ชนะการเลือกตั้ง
สมัยที่ ๒ แบบถล่มทลาย โดยได้คะแนนเสียงถึงร้อยละ ๖๗ ของทั้งหมด มี
ส.ส.ได้รับเลือกตั้ง ๓๗๗ คน จากทั้งหมด ๕๐๐ คน โดยควบคุมภาคเหนือ
อีสาน ภาคกลาง แต่ที่กรุงเทพฯ “ประชาธิปัตย์” พรรคฝ่ายค้านได้ ส.ส.ลดลง
และกระจุกตัวอยู่ที่ภาคใต้ (แผนที่ ๗)
การเลือกตั้งสมัยแรก ทักษิณได้รับแรงหนุนจากชนชั้นน�า ในสมัยที่ ๒
มีความแตกต่าง ผู้นิยมเจ้าจัดๆ มองว่าความนิยมทักษิณที่พุ่งสูงเด่นท้าทาย
สถาบันพระมหากษัตริย์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี กล่าว
ในการปาฐกถาครั้งหนึ่ง แนะน�าไม่ให้นิยมชมชอบคนรวยที่ไม่เหมาะสมจะได้รับ
การนับถือ ช่วง พ.ศ. ๒๕๔๖-๒๕๔๗ องคมนตรีบางท่านแสดงปาฐกถาหลาย

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ครั้งโจมตีการคอร์รัปชั่นและการสะสมทรัพย์สินล้นเกิน และบ่อยครั้งอ้างถึง
พระราชด�ารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันฉลองพระราชสมภพ
เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ที่ว่า

ปัจจุบันนี้ทุกคนทราบดีว่าประเทศดูเหมือนว่าจะหายนะ
...มีคนละมาตรฐาน เขาเรียกภาษาอังกฤษว่า double standard
...เมืองไทยไม่เคย ก่อนนี้ไม่มีเท่าไหร่...แต่ว่าเดี๋ยวนี้...เราก็ต้องมี
บ้าง๓๖

ทักษิณตระหนักดีว่าเขาเสี่ยงที่จะขัดแย้งกับกองทัพ เมื่อเขาเปลี่ยนวิธี
ปกครองเมืองไทยโดยโอนอ�านาจจากข้าราชการมาอยู่ที่นักการเมือง พลเอก
ชาติชายเคยพยายามท�าคล้ายๆ กัน และถูกท�ารัฐประหารมาแล้วเมื่อ พ.ศ.
๒๕๓๔ ทักษิณเคยเรียนโรงเรียนเตรียมทหารเพื่อเป็นนายร้อยต� ารวจ จึงมี
เพื่อนร่วมรุ่นโรงเรียนนายร้อยรุ่น ๑๐ เมื่อเขาเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรก
เขาเลื่อนขั้นเพื่อนทหารร่วมรุ่นหลายคนซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ ๕๐ ต้นๆ
เหมือนทักษิณ จึงยังห่างไกลจากต� าแหน่งสูง ทักษิณเลื่อนขั้นญาติของเขา
พลเอกชัยสิทธิ ชินวัตร ให้เป็นผู้บัญชาการทหารบกได้ใน พ.ศ. ๒๕๔๖ และ
แต่งตั้งญาติอีกคนหนึ่งเป็นปลัดกระทรวงกลาโหม แต่ต้องย้ายพลเอกชัยสิทธิ์
ออกในปี ๒๕๔๗ การเลือกที่รักมักที่ชังในการแต่งตั้งนายทหารประจ�าปีแบบนี้
สร้างความขัดเคืองให้กับนายทหารอาวุโสกว่าที่ถูกข้ามไป และยังสร้างความไม่
พอใจให้กับนายทหารเก่านอกประจ�าการ เช่น พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และ
พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่คาดหวังจะมีบทบาทด้วย
การโจมตีทักษิณครั้งแรกๆ เกี่ยวโยงกับนโยบาย ๓ จังหวัดภาคใต้
พ.ศ. ๒๕๔๕ ทักษิณยกเลิกหน่วยงานที่กองทัพเป็นผู้ก�ากับ ศอ.บต. และให้
ต�ารวจควบคุมแทน การปราบปรามยาเสพติด รวมทั้งการท�าวิสามัญ าตกรรม
ช่วงสงครามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๖ ดูเหมือนว่าจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความ
รุนแรงครั้งใหม่
หลังจากที่มีเหตุการณ์ “ปล้นอาวุธปืน” จากหน่วยเก็บอาวุธที่จังหวัด
นราธิวาสเมื่อเดือนมกราคม ๒๕๔๗ (ดูก่อนหน้านี้) ได้เกิดความรุนแรงที่ ๓
จังหวัดภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) ไม่เว้นแต่ละวัน รวมทั้งการฆ่า
และการวางระเบิด ช่วงแรกทักษิณปรามาสว่าเป็น “โจรกระจอก” และให้ตา� รวจ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
จัดการจับกุมและแก้ปัญหาเสีย แต่ยุทธศาสตร์นี้ยิ่งท�าให้ความขัดแย้งบาน
ปลาย หลังการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. ๒๕๔๘ องคมนตรี ๒ รายเรียกร้องให้
รัฐบาลเปลี่ยนนโยบาย อ้างถึงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแนะน�าให้
ด�าเนินยุทธศาสตร์แบบ “เข้ำใจ เข้ำถึง และพั นำ” ทักษิณจึงจ�าใจแต่งตั้งค ะ
กรรมำธิกำรสมำนฉันท์แห่งชำติ ขึ้น
ชนชั้นกลางที่กรุงเทพฯ แรกๆ ก็ตอบรับที่ทักษิณสัญญาจะท�าให้เศรษฐ
กิจรุ่งเรือง มีเพียงนักเสรีนิยมออกมาต่อต้านที่ทักษิณไม่สนใจเรื่องหลักการ
สิทธิ เสรีภาพ และวิถีประชาธิปไตย พวกเขาวิจารณ์ที่ทักษิณใช้อ�านาจรัฐให้
ผลประโยชน์กับธุรกิจครอบครัวตัวเองและเพื่อนพ้องวงใน แต่ครั้น พ.ศ.
๒๕๔๘ เมื่อทักษิณขยายชุดนโยบายประชานิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ชนชั้นกลางเริ่ม
เป็นกังวลว่าพวกเขาจะเสียอ�านาจทางการเมือง และยังเป็นผู้ที่ต้องจ่ายต้นทุน
ของทั้งนโยบายประชานิยมและผลก�าไรของธุรกิจครอบครัวของเขา หลังจาก
ที่นักธุรกิจใกล้ชิดทักษิณพยายามซื้อหนังสือพิมพ์มติชน (อาจจะเพื่อปิดปาก)
บรรดาสื่อทั้งหลายรวมหัวกันวิจารณ์รัฐบาลที่พยายามข่มขู่สื่อสิ่งพิมพ์ เสียง
วิจารณ์รัฐบาลเพิ่มมากขึ้น ขณะนั้น สนธิ ลิ้มทองกุล เจ้าของหนังสือพิมพ์
ผู้จัดกำร และรายการโทรทัศน์เมืองไทยรำยสัปดำห์ เมื่อเขาวิพากษ์ทักษิณ
อย่างรุนแรง รายการของเขาถูกยกเลิก หลังจากนั้นเขาจัดรายการเดียวกันนี้
ตามที่สาธารณะต่างๆ เป็นประจ�าให้มีลักษณะเหมือนการชุมนุมประท้วงตาม
ท้องถนน เขาเรียกความสนใจและปลุกเร้าอารมณ์ของผู้ชมโดยอ้างว่าทักษิณ
เป็นภัยกับสถาบันพระมหากษัตริย์
ปลาย พ.ศ. ๒๕๔๘ การชุมนุมของสนธิ ลิ้มทองกุลได้ซาลงไป แต่ใน
เดือนมกราคม ๒๕๔๙ ตระกูลชินวัตรขายบริษทั “ชินคอร์ปอเรชั่น” ให้กับบริษัท
เทมาเส็กของรัฐบาลสิงคโปร์เป็นเงิน ๗๓ พันล้านบาท โดยไม่เสียภาษีใดๆ แม้
แต่บาทเดียว รัฐบาลได้แก้กฎหมายหลายจุด และยังกลับค�าตัดสินคดีภาษีก่อน
หน้าเพื่อไม่ให้บริษัทชินฯ ต้องเสียภาษี สร้างความสะอิดสะเอียนอย่างแรง สนธิ
ร่วมมือกับนักเคลื่อนไหวมือเก่า รวมทั้งจ�าลอง ศรีเมือง ชุบชีวิตการชุมนุมของ
เขาขึ้นใหม่ภายใต้ร่มของพันธมิตรประชำชนเพื่อประชำธิปไตย (พธม.) เสียงลือ
ว่าทหารจะปฏิวัติเพื่อก�าจัดทักษิณออกไปกระหึ่มขึ้น และดูเหมือนว่าบางส่วน
ของกองทัพประสานกับ พธม. การชุมนุมพุ่งเป้าให้ภาพทักษิณและพรรคไทย
รักไทยเป็นภัยต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ อ้างว่าได้ค้นพบแผนการเปลี่ยนไทย
เป็นสาธารณรัฐ (มีประมุขเป็นประธานาธิบดี) เมื่อสมาชิกพรรคไทยรักไทย

  คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ภาพที่ ๓๑ ทักษิ ชินวัตร ฉลองชัยชนะสงครำมปรำบยำเสพติด

บางคนไปประชุมกันที่ฟินแลนด์ และกล่าวหาว่าทักษิณหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
ผู้ชุมนุมใส่เสื้อสีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พวก
เขาเรียกร้องให้พระมหากษัตริย์ทรงถอดถอนทักษิณจากต�าแหน่งนายกรัฐมนตรี
แต่ทรงปฏิเสธว่าค�าเรียกร้องนี้ “ไม่มีเหตุไม่มีผล”๓๗
ทักษิณตอบกลับด้วยการประกาศ “ยุบสภา” และก�าหนดให้มี “การ
เลือกตั้งทั่วไป” ในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ พรรคประชาธิปัตย์และพรรค
ายค้านอื่นๆ รวมหัวกันไม่ลงสมัครเลือกตั้ง ท�าให้พรรคไทยรักไทยได้ชัยชนะ
อีกครั้ง แต่ถูกข้อกล่าวหาว่าชนะโดยผิดก หมายเลือกตั้ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯ ให้ทักษิณเข้าเฝ้า ซึ่งหลัง
จากนั้นทักษิณประกาศจะถอยออกจากการเมือง หลังจากพระมหากษัตริย์ทรง
มีพระราชด�ารัสเรียกร้องให้ฝ่ายตุลาการมีบทบาทสูงขึ้น “เพื่อให้การปกครอง
แบบประชาธิปไตยต้องด�าเนินการไปได้”๓๘
ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ และการเลือกตั้งครั้ง
ต่อไปก�าหนดขึ้นในเดือนตุลาคม ๒๕๔๙ ทักษิณกระโจนเข้าสู่การเมืองอีกครั้ง
และอ้างว่า “มีผู้มีบำรมี และองค์กรนอกรัฐธรรมนู ต้องกำรจะล้มล้ำงรัฐธรรมนู

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย  
ท�ำลำยประชำธิปไตย”
พลเอกเปรมกล่าวกับทหารว่า “รัฐบำลก็เหมือนกับจอกกี้ คือเข้ำมำดูแล
ทหำร แต่ไม่ใช่เจ้ำของทหำร เจ้ำของทหำรคือชำติและพระบำทสมเด็จพระเจ้ำ
อยู่หัว” ๓๙
ความทะเยอทะยานของทักษิณทั้งในเรื่องการเมืองและการท� าธุรกิจ
เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้กลุ่มต่างๆ ซึ่งโดยปกติอยู่แยกกัน หันมาร่วมมือกันต่อ
ต้านเขา ฝ่ายนิยมเจ้า ทหาร และข้าราชการ (ฝ่ายอนุรักษนิยม) เกรงว่าทักษิณ
จะท�าให้เมืองไทยเปลี่ยนเร็วและมากไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ นักปฏิรูปใน
กลุ่มนักวิชาการและชนชั้นกลางเสรีนิยมวิตกที่ทักษิณมีทั้งเงิน มีทั้งความนิยม
จากรากหญ้า (จากชุดนโยบายประชานิยม) และลักษณะอ� านาจนิยม ฉะนั้น
การต่อต้านทักษิณ กลายเป็นการต่อต้านระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน

รั ประหาร ๒๕๔๙
คืนวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ขณะที่ทักษิณก�าลังกล่าวค�าปราศรัย
ที่ส�านักงานสหประชาชาติที่นิวยอร์ก ทหารก่อการ “รัฐประหาร” ยึดอ�านาจ
จากรัฐบาล แม้ว่ารัฐประหารจะเป็นเรื่องธรรมดาในเมืองไทย แต่นี่เป็นครั้งแรก
ในรอบเกือบ ๕๐ ปีที่ทหารน�ารถถังออกมายึดอ�านาจแล้วประสบความส�าเร็จ
แม้ว่าจะท�าได้โดยไม่มีความรุนแรงใดๆ แต่ก็ได้มีการลองก�าลังกันมาก่อนหน้า
หัวหน้าผู้ก่อการครั้งนี้คือ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ด�ารงต�าแหน่งผู้บัญชาการ
ทหารบก เมื่อปี ๒๕๔๘ หลังจากที่พระมหากษัตริย์ทรงปฏิเสธที่จะรับรองผู้ที่
ทักษิณเสนอมา ๓ เดือนให้หลังพลเอกสนธิโยกย้ายนายทหารกว่า ๓๐๐ นาย
เพื่อลดอิทธิพลของนายทหารที่เป็นพันธมิตรกับทักษิณ ในคืนวันรัฐประหารนั้น
ผู้ก่อการน�ารถถังออกมากั้นไม่ให้กองทหารที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นฝ่ายทักษิณออก
มาต้านได้
คณะผู้ก่อการฯ ใช้สัญลักษณ์แสดงว่าเป็นฝ่ายนิยมเจ้าด้วยการใช้ริบบิ้น
สีเหลืองประดับที่ปลายปืน รถถัง และกลัดที่เครื่องแบบของทหาร เริ่มแรก
คณะผู้ก่อการฯ เรียกตัวเองว่า ค ะป ิรูปกำรปกครองในระบอบประชำธิปไตย
อันมีพระมหำกษัตริย์ทรงเป็นประมุข ต่อมาตัดให้เหลือเพียง ค ะป ิรูปกำร

  คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ปกครองในระบอบประชำธิปไตย (คปค.) เพราะว่าชื่อแรกมีนัยโยงถึงพระมหา
กษัตริย์ พลเอกสนธิเลือกพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เจ้านายเดิมของเขาและ
ขณะนั้นด�ารงต�าแหน่งหนึ่งในองคมนตรีมาเป็นนายกรัฐมนตรี คณะผู้ก่อการฯ
ฉีกรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ทิ้งเสีย สัญญาว่าจะร่างฉบับใหม่ขึ้นมาแทนที่และจะจัด
ให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายใน ๑ ปีกว่า
คณะผู้ก่อการฯ อ้างว่า รัฐบาลทักษิณมีพฤติกรรมเข้าข่ายหมิ่นพระบรม
เดชานุภาพ แทรกแซงองค์กรรัฐธรรมนูญ และสร้างความแตกแยกในสังคม
แต่ก็เป็นโอกาสที่ฝ่ายกองทัพจะขึ้นสู่อ�านาจด้วย นายพลหวนคืนเป็นข่าวในหน้า
หนึ่งของหนังสือพิมพ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการของรัฐวิสาหกิจและต�าแหน่ง
ส�าคัญอื่นๆ อีกครั้ง ช่วง ๒ ปีหลังการรัฐประหาร กระทรวงกลาโหมได้รับงบ
ประมาณประจ�าปีเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ ๕๐ โครงการซื้ออาวุธวงเงินสูงหวนกลับ
มาอีก กองทัพเข้าอ�านวยการควบคุมการรักษาความสงบใน ๓ จังหวัดภาคใต้
หลังจากที่ทักษิณโยกย้ายให้ต�ารวจเข้าด�าเนินการเมื่อปี ๒๕๔๕
เป้าหมายหลักของรัฐบาลรัฐประหาร ก็เพื่อปรับดุลอ�านาจทางการเมือง
เสียใหม่ด้วยการก�าจัดอ�านาจของทักษิณ ลดบทบาทของนักการเมืองที่ได้อ�านาจ
จากการเลือกตั้ง (ส.ส.) และน�าอ�านาจกลับคืนให้กับฝ่ายข้าราชการและทหาร
ตัวแบบของโครงการนี้คือสมัยหลัง “๖ ตุลา ๑๙” เมื่อครั้งที่ผู้ก่อการรัฐประหาร
หลายคนมีบทบาทในการปราบปรามขบวนการคอมมิวนิสต์ เอกสารลับของ
คณะผู้ก่อการฯ แสดงว่ากลุ่มของพลเอกสนธิมีจินตภาพว่า นักเคลื่อนไหวสมัย
ทศวรรษ ๒๕๑๐ ที่อยู่ในพรรคเพื่อไทย เป็นหัวหอกของแผนการคอมมิวนิสต์
ที่เข้ามาฝังตัวอยู่ในการเมืองเลือกตั้ง นายพลกล่าวถึงการท� า “สงครามเพื่อ
ประชาชน” และ “สงครามเพื่อพระมหากษัตริย์” รัฐบาลรัฐประหารเอาอย่าง
กองก�าลังติดอาวุธแบบไม่เป็นทางการที่เคยท�าในอดีตสมัยปราบคอมมิวนิสต์
โดยจัดตั้งหน่วยทหารพิเศษส่งไปที่หมู่บ้านภาคเหนือและอีสาน เพื่อชักชวนให้
ชาวบ้านเลิกสนับสนุนทักษิณและพรรคไทยรักไทย
ต่อมาศาลตัดสินให้ยุบพรรคไทยรักไทยเพราะท�าผิดกติกาเลือกตั้งเมื่อ
ป ๒๕๔๙ ห้ามผู้บริหารพรรค ๑๑๑ คนลงสมัครรับเลือกตั้งหรือรับต�าแหน่ง
ทางการเมืองเป็นเวลา ๕ ป และยึดทรัพย์สินจากทักษิณและครอบครัวชินวัตร
เป็นมูลค่า ๙ หมื่นล้านบาท ทักษิณและสมาชิกของครอบครัวบางคนถูก
ด�าเนินคดีคอร์รัปชั่น

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย  
สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่แต่งตั้งโดยคณะผู้ก่อการฯ ร่าง
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีเนื้อหาลดอ�านาจของนายกรัฐมนตรี ลดบทบาทของ
รัฐสภา พยายามจะปกป้องฝ่ายข้าราชการจากการแทรกแซงของนักการเมือง
และให้อ�านาจผู้พิพากษาชั้นผู้ใหญ่แต่งตั้งกรรมการขององค์กรอิสระที่มีบทบาท
ก�ากับฝ่ายบริหารของรัฐบาล (คณะรัฐมนตรี) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผ่าน
พ.ร.บ.ความมั่ น คงภายใน ฟื ้ น คื น กองอ�า นวยการรั ก ษาความมั่ น คงภายใน
(กอ.รมน.) ที่เคยท�าหน้าที่ปราบคอมมิวนิสต์สมัยสงครามเย็นขึ้นมาใหม่ ผ่าน
พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระท�าความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่มีบทลงโทษรุนแรง
ด้วยเครื่องมือเหล่านี้ กองทัพคาดหวังว่าจะฟื้นคืนบทบาทก�ากับการเมืองระดับ
ชาติได้ ตามแบบอย่างทีพ่ ลเอกเปรม ติณสูลานนท์เคยท�าได้เมือ่ ทศวรรษ ๒๕๓๐
คณะผู้ก่อการพยายามชักจูงนักการเมืองให้ออกจากพรรคไทยรักไทย แล้วเข้า
พรรคใหม่ที่พร้อมจะร่วมมือกับโครงการของคณะผู้ก่อการฯ
แต่ความพยายามของรัฐบาลรัฐประหารและทหารที่จะใช้ก� าลังก�ากับ
ควบคุมพลังสังคมที่สนับสนุนทักษิณนั้นไม่ประสบความส�าเร็จ คณะรัฐมนตรี
ภายใต้การน�าของนายกฯ พลเอกสุรยุทธ์มาจากข้าราชการเกษียณเสียส่วนมาก
นั้น สูญเสียความนิยมอย่างรวดเร็ว เมื่อได้ภาพว่าไม่สามารถที่จะบริหารจัดการ
และปกครองสังคมไทยที่มีความสลับซับซ้อนขึ้นมากได้ ประชาชนที่ได้ประโยชน์
จากนโยบายประชานิยมของทักษิณ และผู้ที่รู้สึกว่าพวกเขามีที่ยืนบนพื้นที่ทาง
การเมืองในสังคมไทยแล้ว ไม่ยอมที่จะถูกดันให้หวนกลับไปสู่ภาวะชายขอบ
ได้อีก ตามหมู่บ้านต่างๆ ชาวบ้านมีความตื่นตัวทางการเมืองโดยตระหนักรู้ใน
“สิทธิพลเมือง” มากขึ้นกว่าช่วงทศวรรษ ๒๕๑๐ พวกเขาไม่พอใจกับที่ทหาร
พยายาม “บังคับ” ให้เขาเลิกสนับสนุนทักษิณด้วยสงครามจิตวิทยาต่างๆ และ
แม้ว่าทักษิณจะลี้ภัยอยู่นอกประเทศ แต่เขาอยู่ใกล้ชิดกับผู้สนับสนุนเขาตลอด
ผ่านอินเตอร์เน็ต ผ่านข่าวใหญ่ที่เขาซื้อทีมฟุตบอลของอังกฤษ แมนเชสเตอร์ซิตี้
แม้ว่าพรรคไทยรักไทยจะถูกยุบไปแล้วแต่นักการเมืองในพรรคปฏิเสธที่จะอยู่
นิ่งเฉย และยังคงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลรัฐประหารอย่างสม�่าเสมอ
พรรคไทยรักไทยเกิดใหม่เป็นพรรคเล็กภายใต้ชื่อ “พรรคพลังประชำ
ชน” เมื่อรัฐบาลรัฐประหารก�าหนดการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนธันวาคม ๒๕๕๐
ทักษิณชักชวนสมัคร สุนทรเวช ให้เป็นหัวหน้าพรรค ใช้ค�าขวัญ “เลือกสมัคร
ได้ทักษิณ” คือค�าสัญญาที่จะน�านโยบายของพรรคไทยรักไทยกลับมานั่นเอง
เมื่อมีการลงประชามติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ในเดือน

  คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


สิงหาคม ๒๕๕๐ สัดส่วนรับ : ไม่รับรัฐธรรมนูญ ๕๘ : ๔๒ น้อยกว่าที่รัฐบาล
รัฐประหารคาดหวังไว้ หลังจากที่ได้ลงทุนใช้เงินภาษีของประชาชนรณรงค์ให้
ประชาชนสนับสนุนรัฐธรรมนูญอย่างสุดก�าลัง นายพลใช้ทั้งการขู่เข็ญและหว่าน
เงินเพื่อให้นักการเมืองมีประสบการณ์ย้ายพรรคมาร่วมกับพรรคใหม่ที่จะแข่งขัน
กับพรรคพลังประชาชน แต่ส่วนมากปฏิเสธ ดังนั้น ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ
ธันวาคม ๒๕๕๐ พรรคพลังประชาชนได้ ส.ส.หย่อนจากที่จะได้เป็นรัฐบาลเสียง
ข้างมากเพียงเล็กน้อย แต่ชนะขาดลอยที่ภาคเหนือ อีสาน และรอบๆ กรุงเทพฯ
ซึ่งมีคนงานอพยพจากภาคเหล่านี้อยู่มาก พรรคประชาธิปัตย์ชนะที่ภาคใต้และ
ใจกลางกรุงเทพฯ การแบ่งภาคชัดเจนระหว่าง ๒ พรรคใหญ่นี้แสดงให้เห็นว่า
ทักษิณเป็นตัวแบ่งแยกผู้ออกเสียงเลือกตั้ง
สมัคร สุนทรเวชจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ๓ สัปดาห์ต่อมา ทักษิณเดินทาง
กลับเมืองไทย ก้มศีรษะจุมพิตแผ่นดินเมื่อลงจากเครื่องบินทันที รัฐบาลใหม่
ประกาศแผนการที่จะปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ และขัดขวางไม่ให้ศาล
ด�าเนินคดีกับทักษิณและกับญาติมิตรของเขา
การรั ฐ ประหารไม่ ไ ด้ ล ดบทบาทของทั ก ษิ ณ เหนื อ รั ฐ สภาและคณะ
รัฐมนตรี ดังนั้น พลังต่างๆ ที่ต่อต้านเขาจึงเบนเข็มไปที่กลไกศาลและการ
ประท้วงบนท้องถนน
ศาลสถิตยุติธรรมเคยมีบทบาทน้อยในการเมืองไทย จนกระทั่งเมื่อเกิด
สถานการณ์ยุ่งยากหลังการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. ๒๕๔๙ และพระมหากษัตริย์
ทรงมีพระราชด�ารัสเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๙ พระราชทานแก่ ตุลำกำรศำล
ีกำ ว่า “ผู้พิพำกษำศำล ีกำมีสิทธิที่จะพูด ที่จะตัดสิน ฉะนั้น ก็ขอให้ท่ำนได้
พิจำร ำดู กลับไปพิจำร ำ ไปปรึกษำกับผู้พิพำกษำศำลอื่น ศำลปกครอง
ศำลรัฐธรรมนู ว่ำควรที่จะท�ำอะไร” ๔๐
๑ ปีต่อมาหลังรัฐประหาร ศาลเริ่มมีบทบาทในการเมืองมากขึ้นกว่าเดิม
นักการเมืองหลายคนพ้นจากต�าแหน่ง ในกรณีประธานรัฐสภานั้นศาลตัดสินว่า
โกงการเลือกตั้ง ในกรณีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนั้นเพราะท�า
ผิดรัฐธรรมนูญ และในกรณีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพราะกรอก
รายการทรัพย์และหนี้ไม่ถูกต้อง ต่อมาภริยาของทักษิณถูกศาลตัดสินว่าผิดใน
คดี “หลีกเลี่ยงภาษี” ส่วนทักษิณเองก็ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ด�ารง
ต�าแหน่งทางการเมืองลงโทษจ�าคุก ๒ ปี ด้วยความผิดฐาน “เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ
มีผลประโยชน์ทับซ้อน” เมื่อภริยาซื้อที่ดินจากทางการขณะทักษิณเป็นนายก

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย  
รัฐมนตรี (กรณีทุจริตที่ดินรัชดาภิเษก)
ทักษิณเดินทางไปต่างประเทศก่อนที่ศาลจะตัดสินคดี ต่อมาเดือน
กันยายน ๒๕๕๑ สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ต้องพ้นจากต�าแหน่ง เมื่อ
ศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาว่าการเป็นพิธีกรในรายการโทรทัศน์ “ชิมไปบ่นไป”
โดยมีการรับเงิน “ค่าจ้าง” จากบริษัทจัดรายการ ขณะด�ารงต�าแหน่งนายกฯ
ขัดกับรัฐธรรมนูญ

ขณะเดียวกันนั้น สนธิ ลิ้มทองกุลและพันธมิตรประชาชนเพื่อประชา


ธิปไตย พธม. ก็ได้พลิกฟื้นการประท้วงบนท้องถนนขึ้นมาอีก เดือนพฤษภา
คม ๒๕๕๑ กลุ่มจัดตั้งเวทีประท้วงใกล้กับท�าเนียบรัฐบาล นายทหารชั้นผู้ใหญ่
และอภิสิทธิ์ชนส�าคัญหลายคนเข้าร่วมขบวน และกลุ่มของเขาได้รับเงินบริจาค
จากนักธุรกิจ ท�าให้สามารถจัดตั้งเวทีส�าหรับกล่าวปราศรัยและจัดรายการต่างๆ
โดยนักแสดงระดับน�า เชื่อมต่อกับดาวเทียมเพื่อแพร่ภาพผ่านโทรทัศน์เอเอสทีวี
(ASTV) ไปสู่ผู้รับชมได้อย่างกว้างขวาง ผู้เข้าร่วมชุมนุมใส่เสื้อสีเหลือง มีคา�
ขวัญสนับสนุนพระมหากษัตริย์
สนธิเรียกร้องให้ล้มรัฐบาลที่สนับสนุนทักษิณ และยิ่งกว่านั้นยังเสนอ
“การเมืองใหม่” หมายถึงว่าประเทศไทยควรยกเลิกหลักการออกเสียงเลือกตั้ง ๑
คน ๑ เสียงเสีย เพราะว่าการเลือกตั้งชนะกันด้วยเงิน (ซื้อเสียงหรือใช้นโยบาย
ประชานิยม) ดังนั้น ผลของการเลือกตั้งจึงขาดความชอบธรรม กษิต ภิรมย์
อดีตนักการทูตที่หันมาสนับสนุน พธม. ร้องหาการเมืองที่มีคุณธรรม
ต�าแหน่ง “นายกรัฐมนตรี” ภายหลังจากที่สมัคร สุนทรเวชหลุดพ้น
ถูกทดแทนด้วย สมชาย วงศ์สวัสดิ น้องเขยของทักษิณ ท�าให้ผู้ประท้วงกลุ่ม
“เสื้อเหลือง” หรือ พธม. เข้ายึดท�าเนียบรัฐบาล เหตุการณ์ความรุนแรงทวีขึ้น
รวมทั้งเกิดการปะทะกันเมื่อต�ารวจพยายามสลายเครื่องกีดขวางเพื่อเข้าท�าเนียบ
รัฐบาล ฝ่ายทหารปฏิเสธครั้งแล้วครั้งเล่าที่จะท�าตามค�าขอจากฝ่ายรัฐบาลให้
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน พธม.ส่งคนไปก่อกวนส� านักงานของรัฐบาลและ
เข้าปิดล้อมสนามบินเป็นการชั่วคราว เดือนธันวาคมผู้ชุมนุมฝ่าย พธม.จ�านวน
มากเข้าล้อมสนามบินสุวรรณภูมิ ท�าให้ต้องปิดสนามบิน ๑ สัปดาห์ ส่งผลให้นัก
ท่องเที่ยว ๓ แสน ๕ หมื่นคนเดินทางไม่ได้ และสร้างความเสียหายแก่เศรษฐ
กิจอย่างมหาศาล ทหารปฏิเสธที่จะควบคุมไม่ให้ผู้ประท้วงเข้ายึดสนามบินหรือ
ให้ยุติการประท้วง

  คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาอีกครั้ง คราวนี้ตัดสินยุบพรรคที่แตกลูกมา
จากพรรคไทยรักไทย (ผู้บริหารพรรครายหนึ่งโกงการเลือกตั้ง) ท�าให้รัฐบาลล้ม
กลุ่มผู้ประท้วงของ พธม.ออกจากสนามบิน ทหารและผู้นา� ด้านธุรกิจเอกชนช่วย
กันสถาปนารัฐบาลใหม่เป็นรัฐบาลผสมหลายพรรค น�าโดยพรรคประชาธิปัตย์
อภิสิทธิ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลของเขาจัดสรรเงินงบประมาณ
ให้ กอ.รมน. เป็นจ�านวน ๑ พันล้านบาท เพื่อรณรงค์ก�าจัดอิทธิพลของทักษิณ
มุ่งไปที่ภาคอีสาน
รัฐประหาร ๒๕๔๙ และผลพวงที่ตามมาหลังจากนั้น สร้างความเสีย
หายมหาศาลแก่สถาบันและประเพณีประชาธิปไตยที่ได้ก่อร่างสร้างกันขึ้นมา
ในช่วง ๓๐ ปที่แล้ว
รัฐประหารเป็นไปได้อีก ทหารเข้ามีบทบาททางการเมืองอีก “รัฐธรรม
นูญ” ซึ่งเขียนโดยผู้ร่างที่ทหารคัดสรรมาเป็นตัวจ�ากัดบทบาทของรัฐสภา ขบวน
การประท้วงรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนี้มีชนชั้นน�าเดิมและชนชั้นกลางสนับ
สนุน ได้สร้างความปั่นป่วนให้กับรัฐบาลขณะที่พวกเขาเองได้รับภูมิคุ้มกันจาก
ศาลหรือฝ่ายความมั่นคงเต็มที่ ศาลสถิตยุติธรรมเข้าเกี่ยวโยงกับการเมืองอย่าง
เต็มตัว ขณะที่บางคนนิยมชมชอบว่าจรรโลงหลักนิติธรรม แต่ฝ่ายวิจารณ์ก็ว่า
ศาลมีอคติทางการเมือง ทั้งทหาร และ พธม. อ้างว่าปฏิบัติการไปเพื่อปกป้อง
สถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ก็ได้น�าสัญลักษณ์ของสถาบันเข้าสู่ศูนย์กลางของ
การเมืองประจ�าวัน พธม.เสนอว่า เมืองไทยควรยกเลิกหลักการ “๑ คน ๑
เสียง” ทั้งสถาบันประชาธิปไตยและสถาบันพระมหากษัตริย์ถูกน�ามาปะทะกัน
เป็นวิกฤต

เสอ ง
รัฐประหารและความพยายามที่จะก�าจัดอิทธิพลของทักษิณโดยใช้กลไก
ของกองทัพ กระบวนการยุติธรรม และการประท้วงบนท้องถนน ช่วยกระตุ้น
ให้มี “ขบวนการมวลชน” อย่างเปิดเผยเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมือง
ไทย
นักเคลื่อนไหวกลุ่มเล็กๆ หลายกลุ่มประท้วงการรัฐประหารเมื่อเดือน
กันยายน ๒๕๔๙ ปีต่อมาพวก “พรรคไทยรักไทย” ที่ถูกยุบไปเข้าร่วมขบวน

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ด้วย จากเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๐ ทักษิณซึ่งลี้ภัยอยู่ต่างประเทศเริ่มแสดงตัว
ในขบวนการประท้วงที่เกิดขึ้น ครั้งแรกๆ โทรศัพท์เข้ามาปราศรัยกับผู้ประท้วง
ต่อมาเปิดเทปที่เตรียมไว้ล่วงหน้า และท้ายที่สุดใช้วิดีโอลิงก์ถ่ายทอดผ่านดาว
เทียมให้รับชมได้ทั่วไปตามหมู่บ้านที่ภาคเหนือและอีสาน บริเวณที่จงรักภักดี
กับทักษิณมากๆ กลุ่มประท้วงก่อตั้งขึ้นหลายกลุ่ม มักโยงอยู่กับดีเจสถานีวิทยุ
ชุมชนหรือวิทยุทั่วไป กระทั่งวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๐ กลุ่มแนวร่วมประชา
ธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ นปช. ก็เปิดตัวขึ้นเป็นร่มธงของกลุ่มต่างๆ
ที่ประท้วงการรัฐประหาร ๒๕๔๙ นปช.จัดการชุมนุมประท้วงที่หน้าบ้านของ
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี โดยกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังรัฐ
ประหาร ผู้ที่เข้าร่วมการชุมนุมของ นปช.ที่กรุงเทพฯ เพิ่มขึ้น เมื่อผู้คนที่ผิดหวัง
กับรัฐบาลรัฐประหารมากขึ้นและความกลัวทหารลดลง
หลังการเลือกตั้งเดือนธันวาคม ๒๕๕๐ นปช.สลายตัวไป แต่ฟื้นฟูขึ้น
มาใหม่อีกเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๑ เพื่อต่อต้านกลุ่มประท้วงของ พธม.ที่
เข้มข้นและรุนแรงขึ้นทุกขณะ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๑ รัฐบาลนายกฯ สมัคร
สุนทรเวชเปิดตัวรายการโทรทัศน์ “ควำมจริงวันนี้” เพื่อคานกับรายการที่สนธิ
ลิ้มทองกุลถ่ายทอดมาจากเวทีประท้วงของ พธม. พิธีกรทั้ง ๓ รายในรายการ
“ความจริงวันนี้” ใส่เสื้อเชิ้ตสีแดงเป็นเครื่องแบบ ตั้งแต่เกิดรัฐประหาร ผู้ประ
ท้วงบางคนใส่สีแดงมาก่อนแล้ว ต่อจากนี้ไป “สีแดง” ได้กลายเป็นเครื่องหมาย
ของกลุ่มเหล่านี้ นอกจากนั้นแล้วสีแดงยังเป็นตัวแทนของประชาชนในธงชาติ
ไทย และพรรคไทยรักไทยก็ได้ใช้สีแดงเป็นสัญลักษณ์ของพรรค ทั้งในกรณี
ไทยรักไทยและพลังประชาชน บางทีสีแดงอาจจะเป็นสีที่แข่งกับสีเหลืองได้ดี
ที่สุด
จากกลางปี ๒๕๕๑ กลุ่มเสื้อสีแดงจะชุมนุมกันเป็นจ�านวนมากในสนาม
กีฬาขนาดใหญ่ ผู้ร่วมชุมนุมจะนั่งรถบัสมาจากภาคเหนือและอีสาน มักจะได้รับ
เงินอุดหนุนจากนักการเมืองพรรคของทักษิณ บางส่วนของผู้ชุมนุมก็คือแรงงาน
อพยพ โดยเฉพาะคนขับรถแท็กซี่และมอเตอร์ไซค์รับจ้างที่กรุงเทพฯ และยัง
ได้รับแรงสนับสนุนจากนักวิชาการ นักเคลื่อนไหว และนักวิชาชีพในเมืองที่รู้สึก
ว่าการเมืองหลัง “รัฐประหาร ๒๕๔๙” และ “การเมืองใหม่” ของ พธม. เป็นภัย
กับหลักการและวิถีประชาธิปไตย หลายคนเคยต่อต้านทักษิณมาก่อนว่าเป็นภัย
กับประชาธิปไตย ขณะนี้พวกเขาต่อต้าน พธม. เพราะเห็นว่าเป็นภัยมากกว่า
ในการชุมนุมประท้วงของทั้งสอง าย การปะทะกันเล็กๆ น้อยๆ เกิดถี่

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ขึ้น ายหนึ่งคือกลุ่มที่ใส่เสื้อสีเหลืองและอ้างว่าพวกเขาก�าลังปกปองสถาบัน
พระมหากษัตริย์ อีก ายหนึ่งใส่เสื้อสีแดงและอ้างว่าก�าลังปกปองประชาธิปไตย
หลังจากที่รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี สมชาย วงศ์สวัสดิ์ถูกยุบไป และ
รัฐบาลผสมน�าโดยพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นมาแทนที่เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
นปช.ก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมขึ้น และในเดือนมีนาคม ๒๕๕๒ ตั้งเวที
ประท้วงนอกท�าเนียบรัฐบาลเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์ลาออก และ
จัดการเลือกตั้งใหม่ ทักษิณแสดงตัวผ่านวิดีโอลิงก์เป็นประจ�าเกือบทุกวัน ขณะ
ที่ตัวเองลี้ภัยอยู่ท่ีเมืองดูไบ เขากล่าวหาว่าฝ่ายนายพล โดยเฉพาะพลเอกเปรม
และพลเอกสุรยุทธ์ อยู่เบื้องหลังการรัฐประหารเพื่อก�าจัดเขา ทักษิณแสดงตัว
เป็นหนึ่งเดียวกับขบวนการประชาธิปไตยนับตั้งแต่การปฏิวัติ ๒๔๗๕ ตลอดไป
ถึงเหตุการณ์ “๑๔ ตุลา” และเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ ๒๕๓๕” แต่ยอมรับ
ว่าเขาไม่พอใจที่ศาลก�าลังด�าเนินคดียึดทรัพย์สินของเขาที่ทางการอายัดไว้หลัง
การรัฐประหารด้วย วาทศิลป์ของเขามีสีสันขึ้นเรื่อยๆ “ถ้ำเมื่อไรเสียงปนแตก
ทหำรยิงประชำชน ผมจะเข้ำไปน�ำพี่น้องเดินเข้ำกรุงเทพ ทันที ผมจะไม่ยอม
แล้วเผด็จกำรแบบนี้” ๔๑
วันหยุดสงกรานต์ กลางเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ กลุ่มคนขับรถ
แท็กซี่เริ่มกีดขวางการจราจรที่กรุงเทพฯ เสื้อแดงกลุ่มหนึ่งเดินทางไปพัทยา
และก่อกวนการประชุมสุดยอดอาเซียน แล้วเดินทางกลับมากีดขวางการจราจร
ที่กรุงเทพฯ อีก ในวันที่ ๑๓ เมษายน ทหารน�าก�าลังพล ๑๐,๐๐๐ นายมุ่งสู่
กรุงเทพฯ เพื่อสลายการชุมนุมบนท้องถนนให้หมดสิ้น แกนน�าฝ่ายผู้ประท้วง
๑๓ รายเข้ามอบตัว ค่ายที่ชุมนุมถูกรื้อออก สถานีดาวเทียมเสื้อแดงและสถานี
วิทยุหลายแห่งถูกปิด และเว็บไซต์จ�านวนมากถูกบล็อก ทางการรายงานว่า
มีคนตายเพียง ๒ รายจากปฏิบัติการนี้ แต่จ�านวนทหารที่ใช้และการที่ผู้ชุมนุม
จุดไฟเผารถเมล์ ๕๒ คันเพื่อปกป้องตนเอง บ่งบอกว่าความรุนแรงเพิ่มดีกรีขึ้น
อย่างมีนัยส�าคัญ
ขบวนการคนเสื้อแดงยังคงเพิ่มจ� านวนต่อไป ส่วนใหญ่เกิดจากการ
เคลื่อนไหวในพื้นที่ เช่น ที่จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มซึ่งเรียกตัวเองว่า “เสื้อแดง”
เพิ่มจากร้อยละ ๕ เป็น ๒๔ นปช.ตั้งโรงเรียนการเมืองเพื่ออบรมคราวละ ๒-๓
วัน ส่วนใหญ่จัดที่อีสานและภาคเหนือ บางแห่งขึ้นป้าย “หมู่บ้านเสื้อแดง” มี
นักพูดฝีปากเก่ง ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และจตุพร พรหมพันธุ์ เป็นที่ชื่นชอบในการ
ชุมนุมประท้วง และออกอากาศซ�้าทางโทรทัศน์

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ต้นป ๒๕๕๓ “ขบวนการเสื้อแดง” เตรียมการประท้วงที่กรุงเทพฯ
โดยเริ่มจัดการชุมนุมเพื่อหาเงินบริจาคในจังหวัดแถบภาคอีสานและภาคเหนือ
วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๓ คนเสื้อแดงหลายพันคนเดินทางเข้ากรุงเทพฯ
มากับรถกระบะใส่เสื้อสีแดง เปิดเพลงเสียงดัง สร้างบรรยากาศเสมือนงานเทศ
กาล เริ่มแรกทีเดียวพวกเขาได้รับการต้อนรับอบอุ่นจากทั้งคนงานอพยพที่
กรุงเทพฯ และมนุษย์เงินเดือนชาย-หญิง โดยสาระอย่างเป็นทางการแล้ว ขบวน
การนี้เรียกร้องให้รัฐบาลจัดการเลือกตั้งใหม่ แต่ผู้ร่วมชุมนุมจ�านวนมากมีเป้า
หมายแตกต่าง
ความพยายามที่จะเจรจากับรัฐบาลล้มเหลวภายใน ๒ วัน อาจจะเป็น
เพราะทักษิณเข้าแทรกแซง ขณะที่ผู้ร่วมชุมนุมส่วนมากต้องการชุมนุมโดยสันติ
แต่มีส่วนน้อยที่เชื่อว่าความรุนแรงเท่านั้นจึงจะได้ผล ในวันที่ ๑๐ เมษายน
๒๕๕๓ เมื่อฝ่ายทหารพยายามสลายการชุมนุมเคลียร์พื้นที่ การปะทะกันเกิดขึ้น
และมีการยิงกัน กลุ่มที่ถูกเรียกว่า “ชายชุดด�า” อาจจะเป็นทหารนอกแถว และ
อดีตทหารพรานปาระเบิดใส่ทหาร ท�าให้พลโทร่มเกล้ำ ธุวธรรมเสียชีวิต และ
มีผู้ชุมนุมกว่า ๒๐ คนเสียชีวิต ส่วนใหญ่ถูกยิงด้วยกระสุนความเร็วสูง หลัง
จากนั้นไม่นานผู้ประท้วงย้ายไปชุมนุมที่ถนน “ราชประสงค์” ใจกลางย่านธุรกิจ
ของกรุงเทพฯ บรรดามนุษย์เงินเดือนและคนงานคอปกขาวที่เคยมีใจให้กับเสื้อ
แดง ลดความมีใจลงเมื่อการประท้วงก่อกวนวิถีชีวิตปกติเป็นเวลาเนิ่นนานขึ้น
วั น ที่ ๑๙ พ ษภาคม ๒๕๕๓ ทหารใช้ ก� า ลั ง เข้ า สลายการชุ ม นุ ม
อาคารร้านค้าที่อยู่หลังกลุ่มผู้ประท้วงถูกจุดไ เผา รวมทั้งอาคารในบริเวณ
อื่นๆ และส�านักงานรัฐบาล ๔ แห่งที่ต่างจังหวัดถูกเผาด้วย การประท้วงครั้ง
นี้เนิ่นนานถึง ๘ สัปดาห์ ท้ายที่สุดมีคนตายกว่า ๙๐ คน ในจ�านวนนี้ ๘๐
คนเป็นผู้ประท้วง และ ๑๐ คน เป็น ายรักษาความมั่นคง

“ขบวนการเสื้อแดง” ส�าแดงพัฒนาการมวลชนที่ก่อตัวขึ้นมาในช่วง
หลายสิบปี ผู้ร่วมขบวนไม่ใช่ “คนจน” แต่มักเป็นประชาชนที่เริ่มลืมตาอ้าปาก
ก�าลังมีรายได้เพิ่มขึ้น มีความคาดหวังในชีวิตที่สูงขึ้น มีความคิดความอ่านที่
กว้างขวางขึ้น จากเดิมเป็นคนงานอพยพและได้ข้อมูลข่าวสารจากการสื่อสาร
ใหม่ๆ ที่หลากหลาย พวกเขาคับข้องใจกับความไม่เท่าเทียมหลายด้าน รวมทั้ง
โอกาสและการได้รับความนับถือ พวกเขามักจะมาจากภาคเหนือและอีสานซึ่ง
เป็นเขตที่มีรากวัฒนธรรมเฉพาะ แต่ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยามเมื่อ

  คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔ พวกเขาไม่พอใจ “๒ มาตรฐาน” หมายถึงการที่ศาล
และกองทัพเลือกปฏิบัติระหว่างคนเสื้อเหลืองและคนเสื้อแดงแตกต่างกัน แต่
ลึกๆ ก็คับข้องใจกับความต่างในสังคมโดยรวม พวกเขาเรียกตัวเองว่า “ไพร่”
และเรียกฝ่ายตรงข้ามว่า “อ�ามาตย์” ซึ่งเป็นค�าศักดินาเดิม เพื่อเสียดสีทัศนคติ
แบบแบ่งชั้นของบรรดาข้าราชการและนักการเมือง ที่มีทัศนคติว่าข้าราชการเป็น
นายคน พวกเขาไม่ได้คิดจะล้มล้างรัฐบาลแต่อย่างใด แต่ต้องการเปลี่ยนรัฐบาล
เพื่อที่พวกเขาจะเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการก�าหนดนโยบายได้เต็มที่และยุติ
ธรรม นี่คือกลุ่มประชาชนที่ได้เรียนรู้และได้ประโยชน์จากการกระจายอ�านาจ
สู่ท้องถิ่น (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ตั้งแต่ปลายทศวรรษ ๒๕๓๐ และได้
ประโยชน์จากนโยบายแนวประชานิยมของรัฐบาลทักษิณ พวกเขาเข้าใจความ
ส�าคัญของการเลือกตั้งว่าเป็นกลไกที่จะน�าผลได้มาให้พวกเขาได้เพิ่มขึ้นจากการ
จัดสรรทรัพยากรภาษีของประเทศ ผู้ร่วมชุมนุมเสื้อแดงรายหนึ่งกล่าวว่า “คน
กรุงเทพ เค้ำอำจจะมีชีวิตที่ดีอยู่แล้ว ไม่ต้องอำศัยกำรเลือกตั้งเพื่อกำรเปลี่ยน
แปลง แต่ส�ำหรับพวกเรำไม่ใช่” ๔๒
สถาบันเก่าๆ และชนชั้นกลางของไทยจ�านวนมากต่อต้านทั้งทักษิณ
และการเมืองที่เขาเป็นตัวแทน ทักษิณโจมตีวัฒนธรรมและความเป็นใหญ่ของ
ข้าราชการ เขาพยายามเข้าควบคุมกองทัพไว้ในก� ามือ ชนชั้นกลางหวั่นไหว
รู้สึกว่าทักษิณเป็นภัยคุกคามมากขึ้นๆ ยิ่งเมื่อทักษิณได้รับความนิยมสูง พวก
เขารังเกียจเห็นว่าทักษิณไม่มีมาตรฐานจรรยาบรรณ หลายๆ คนเคยสนับสนุน
ทั ก ษิ ณ มาก่ อ น แต่ เ มื่ อ ทั ก ษิ ณ ท� า ให้ ผิ ด หวั ง ก็ เ จ็ บ แค้ น ประหนึ่ ง คู ่ รั ก อกหั ก
ปฏิกิริยาที่ออกมาในแนว “อนุรักษนิยม” สะท้อนความกลัว “ม็อบ” หรือความ
กลัวคอมมิวนิสต์ในสมัยสงครามเย็นที่ยังไม่ได้เลือนรางไป
การปะทะกันอย่างรุนแรงเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓ ส� าแดงให้เห็น
รอยร้าวในสังคมที่ล�้าลึก ยังมิทันที่ควันปืนจะจางหายก็ปะทะกันอีก ว่าด้วย
ความทรงจ�าและการตีความหมายของเหตุการณ์ ฝ่ายเสื้อแดงมีภาพเหตุการณ์
เป็นหมุดหมายแสดงว่า รัฐบำลและทหำรกระท�ำกำรรุนแรงกับประชำชนที่ต่อสู้
เพื่อประชำธิปไตย โดยไม่พูดถึงองค์ประกอบความรุนแรงจากฝ่ายของผู้ชุมนุม
เอง ฝ่ายเสื้อเหลืองระบายภาพของขบวนการเสื้อแดงว่า โดยรำกฐำนแล้วรุนแรง
และ “ก่อกำรร้ำย” มีทักษิ เป็นผู้บงกำรเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของทักษิ เอง
โดยละเลยความประสงค์ของคนร่วมขบวนที่เป็นส่วนใหญ่อย่างสิ้นเชิง

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย  
ภาพที่ ๓๒ เสื้อแดงชุมนุมให ่ มีนำคม-พฤษภำคม ๒๕๕

ตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ เป็นต้นมา กลุ่มคนเสื้อเหลืองได้เรียกร้องให้พระมหา


กษัตริย์เข้าแทรกแซงการเมือง พวกเขาชูสีเหลืองอันเป็นสีแห่งวันพระราชสมภพ
เป็นเครื่องแบบ ชูค�าขวัญปกป้องสถาบัน และกล่าวหาว่าทักษิณประสงค์ที่จะ
ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อที่จะคานกับการที่ทักษิณมีมวลชนเป็นฐาน
เสียงเลือกตั้ง กลุ่มคนเสื้อเหลืองเสนอว่า พลังอ�ำนำจจำกกำรชนะเสียงเลือกตั้ง
ต้องมีสมดุลด้วยหลักจรรยำบรร พวกเขาเสนอพระมหากษัตริย์เป็นสัญลักษณ์
หรือเครื่องมือของพลังจริยธรรม
โดยสรุป “ขบวนการเสื้อเหลือง” หาประโยชน์จากสัญญะอ�านาจของ
สถาบันพระมหากษัตริย์ในพื้นที่การเมืองสาธารณะ ส่งผลให้สถาบันตกอยู่ใน
ความเสี่ยง จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์ทันที ฝ่ายอนุรักษนิยมตอบโต้ซ�้าแล้วซ�้าอีกว่า
พระมหำกษัตริย์ทรง “อยู่เหนือกำรเมือง” ขณะเดียวกันการด�าเนินคดีหมิ่นพระ
บรมเดชานุภาพเพิ่มขึ้น คดีที่ขึ้นสู่ศาลในอดีตเฉลี่ยปีละคดีในช่วง พ.ศ. ๒๔๙๒-
๒๔๙๙ และเพิ่มขึ้นเป็น ๑๐ คดีจาก พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๕๓๕ และพุ่งเป็น ๑๑๑
คดีต่อปี ระหว่างปี ๒๕๔๘-๒๕๕๒ คดีเด่นๆ ๒-๓ รายถูกพิพากษาจ�าคุกเป็น
เวลานาน
การก่อตัวขึ้นของขบวนการกลุ่มคนเสื้อเหลืองและแดง ดึงดูดคนเป็น
จ�านวนมากให้เข้าร่วมแสดงบทบาทในวิถีการเมืองมากขึ้นกว่าอดีต และยังมี

  คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


มากกว่านี้อีกที่ไม่ได้ออกมาที่ท้องถนน แต่อยู่ในบ้าน ในพื้นที่ที่เข้าร่วมผ่านการ
ดูรายการโทรทัศน์ดาวเทียมที่ถ่ายทอดการประท้วง และผ่านรายการวิทยุท้องถิ่น
เมืองไทยพลิกผันเป็นสังคมการเมืองที่ตื่นตัวตื่นรู้อย่างทันทีทันใด

จากพ ษ าคมประท้วง งพ ษ าคมรั ประหาร


พรรคประชำธิปัตย์เคยเป็นพรรคที่ประสบความส�าเร็จสูงสุดเมื่อปลาย
ทศวรรษ ๒๕๓๐ ต่อเนื่องถึงต้นทศวรรษ ๒๕๔๐ แต่ล้มเหลว ไม่อาจตาม
กระแสการเมืองมวลชนในกลางทศวรรษ ๒๕๔๐ ต่อทศวรรษ ๒๕๕๐ พรรคนี้
มีฐานมาจากกลุ่มนิยมเจ้ามาแต่เดิม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสมัยที่ชวน หลีกภัย
เป็นหัวหน้าพรรค มีภาพสอดประสานกับความเป็นข้าราชการทั้งในแง่วัฒนธรรม
และพฤติกรรม พรรคเป็นรัฐบาลช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้ด�าเนิน
นโยบายตามค�าแนะน�าของไอเอ็มเอฟอย่างเคร่งครัด จึงสูญเสียแรงสนับสนุน
จากบรรดานักธุรกิจและชนชั้นกลางที่เคยเป็นแฟน เมื่อทักษิณผันตัวเองเป็น
ผู้น�าพันธุ์ใหม่ของมวลชน ทักษิณล้อเลียนประชาธิปัตย์ว่าเป็นส่วนหนึ่งของยุค
เก่าและชนชั้นน�าเก่า
พ.ศ.๒๕๔๘ อภิสิทธิ เวชชาชีวะรับต�าแหน่งหัวหน้าพรรค และมีกรณ์
จาติกวณิชเป็นมือขวา ทั้งสองมีพื้นเพมาจากครอบครัวจีนที่ได้อพยพมาเมือง
ไทยเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ต้นตระกูลได้ดีเป็นขุนนางและกลายเป็นส่วนหนึ่ง
ของชนชั้นน�า ทั้งสองร�่าเรียนที่โรงเรียนคนชั้นสูงคืออีตั้น และมหาวิทยาลัย
ออกซ์ฟอร์ดที่อังกฤษ กรณ์เคยประสบความส�าเร็จเป็นนักธุรกิจการเงิน ขณะ
ที่อภิสิทธิ์มีชวน หลีกภัยเป็นผู้สนับสนุนส�าคัญให้เป็นทายาทการเมืองต่อจากเขา
ในพรรค ขณะที่ “ประชาชน” กลายเป็นตัวแปรส�าคัญในการเมืองไทยขึ้นมานั้น
ผู้น�าพรรคประชาธิปัตย์กลับไม่ค่อยมีเสน่ห์ดึงดูดใจประชาชนระดับล่างเสียเลย
อีกทั้งมีข้ออ่อนด้านมนุษยสัมพันธ์กับมวลชน พรรคตั้งเป้าที่จะกันไม่ให้ทักษิณ
กลับเมืองไทย แต่ก็ต่อต้านพลังทางการเมืองใหม่ๆ ที่ยึดทักษิณเป็นผู้น�าของเขา
พรรคประชาธิปัตย์ตั้งเป้าให้ตัวเองเป็นผู้ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และ
รับเอา “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระองค์เป็นแนวทางด�าเนินชีวิต มุ่งเน้นหลัก
การอดออม และคิดอย่างรอบคอบแบบที่ภาคราชการสนับสนุน แต่มวลชนพบ
ว่าไม่มีเสน่ห์ดึงดูดใจให้ท�าตาม

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย  
พ.ศ.๒๕๕๓-๒๕๕๔ อภิสิทธิ์เข้าร่วมขบวนกับกลุ่มเสื้อเหลืองเพื่อล้ม
รัฐบาลที่โยงกับทักษิณ เมื่อเขาด�ารงต�าแหน่งนำยกรัฐมนตรี ในเดือนธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๕๑ หลังจากที่ศาลและกองทัพเข้าแทรกแซงการเมือง เขาจึงเผชิญกับ
ปรปักษ์ที่ไม่พอใจว่า ศำลและทหำรได้ช่วยล้มรัฐบำลเดิมที่มำจำกกำรเลือกตั้ง
อภิสิทธิ์ถูกมวลชนห้อมล้อมเข้าทุบตีรถที่เขานั่งอยู่ถึง ๒ ครั้ง รัฐบาลภายใต้
การน�าของอภิสิทธิ์ก�ากับควบคุมสื่ออย่างเข้มงวด และอย่างกว้างขวางกว่าที่เคย
เป็นมานับจากสมัยของทหารสิ้นสุดลง การปิดหนังสือพิมพ์ของกลุ่มเสื้อแดง
คุกคามวิทยุชุมชน และสถานีโทรทัศน์ของเสื้อแดงถูกก่อกวนบางครั้งบางคราว
การบล็อกเว็บบอร์ดเป็นพันๆ และคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเพิ่มพูน ระหว่าง
ที่มีการชุมนุมประท้วงปี ๒๕๕๓ นั้น อภิสิทธิ์หลบไปค้างอยู่ที่ค่ายทหารแห่งหนึ่ง
หลังเหตุการณ์รุนแรงครั้งนั้น เขาพูดซ�้าแล้วซ�้าเล่าเหมือนกับที่ฝ่ายกองทัพประ
กาศอยู่เสมอว่า ทหำรไม่ได้ ่ำผู้ชุมนุมคนใดเลย พรรคประชาธิปัตย์ยึดโยง
ตัวเองกับสถาบันเก่า ได้แก่ กองทัพและสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเต็มที่
ต่อมาพรรคพวกที่เป็นผู้น�าพรรคที่ภาคเหนือและอีสานค่อยๆ สลายตัวไป
ตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ เป็นต้นมาพรรคต้องยอมรับ (ไม่เต็มใจนัก) ว่าต้อง
แข่งขันกับทักษิณด้านนโยบายประชานิยม เมื่อได้จัดตั้งรัฐบาลจึงไม่ได้ยกเลิก
นโยบายที่ทักษิณริเริ่ม ยกเว้นนโยบายอุดหนุนราคาสินค้าเกษตร และได้เพิ่ม
สวัสดิการว่าด้วยเงินสงเคราะห์คนชรากับการศึกษาฟรี ๑๒ ปี แต่พรรคไม่อาจ
ละทิ้งวัฒนธรรมเจ้าขุนมูลนาย ก่อนการเลือกตั้งทั่วไป รัฐบาลอภิสิทธิ์เปิดตัว
ชุดนโยบายโดยมีเป้าหมายเพื่อเอาใจคนระดับล่างในกรุงเทพฯ โดยประกาศว่า
เป็น “ของขวัญ” ที่รัฐบาลจะให้กับชาติ
หลังเหตุการณ์พฤษภาคม ๒๕๕๓ อภิสิทธิ์รอจนคิดว่าความรู้สึกต่อ
ต้ า นรั ฐ บาลผ่ อ นคลายลง จึ ง ประกาศการจั ด การเลื อ กตั้ ง ครั้ ง ใหม่ ใ นเดื อ น
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ก่อนหน้านี้พรรคฝ่ายทักษิณตั้งพรรคใหม่ชื่อ “เพื่อ
ไทย” แต่ยังไม่ประกาศชื่อผู้น�าพรรค ประชาธิปัตย์อาจคาดหวังช่วงชิงเกมใน
ขณะที่พรรคฝ่ายตรงข้ามก�าลังระส�่าระสาย แต่เพื่อไทยเลือก ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
น้องสาวทักษิณเป็นหัวหน้าพรรคทันที ทักษิณประกาศว่าเขาเลือกยิ่งลักษณ์
เพื่อเป็น “โคลน (clone)” หรือตัวตายตัวแทนของเขา ค�าขวัญของพรรคคือ
“ทักษิ คิด เพื่อไทยท�ำ” แม้ว่าทักษิณจะยังอยู่ต่างประเทศ แต่การเลือกตั้ง
ทั่วไปครั้งนั้นเป็นประเด็นที่เกี่ยวโยงกับประวัติผลงานของเขา และปฏิกิริยาของ
มวลชนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งรัฐประหาร ๒๕๔๙ อย่างชัดเจน

  คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ผลของการเลือกตั้งสะท้อนการแตกขั้วการเมืองบนท้องถนนที่แบ่งออก
เป็น ๒ ขั้ว (ดูแผนที่ ๗) ตลอดทั่วทั้งภาคเหนือและอีสาน เขตเลือกตั้งทุก
เขตให้คะแนนกับพรรคเพื่อไทยอย่างถล่มทลาย ตลอดภาคใต้ เขตเลือกตั้งให้
คะแนนกับประชาธิปัตย์อย่างท่วมท้น พรรคเล็กพรรคน้อยไม่ได้คะแนนมากเลย
ที่ส�าคัญคือ ตัวก�ำหนดชัยชนะ ตัดสินกันที่พรรคมากกว่าที่เคยเป็นมาในอดีต
ความรุนแรงช่วงการเลือกตั้งและการซื้อเสียงลดลงอย่างมีนัยส�าคัญ เมื่อเปรียบ
เทียบกับการเลือกตั้งทั่วไปครั้งก่อนๆ
“เพื่อไทย” ได้คะแนนเสียงเพิ่มประมาณร้อยละ ๒๕ จากการเลือกตั้ง
ปี ๒๕๕๓ และชนะขาดลอย ได้จ�านวน ส.ส. ๒๖๕ คน จาก ส.ส.ทั้งหมด ๕๐๐
คน พรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส.รองลงมาที่ ๑๕๙ คน
ผลการเลือกตั้งที่ชัดเจนนี้ช่วยลดความตึงเครียดลงบ้างในระยะสั้น
กลุ่มเสื้อเหลืองยังพยายามที่จะรณรงค์เพื่อล้มรัฐบาลเพื่อไทย แต่ไม่อาจได้รับ
แรงสนับสนุนอย่างพอเพียง ยิ่งลักษณ์กล่าวปราศรัยในโอกาสรับต�าแหน่งนายก
รัฐมนตรี เน้นย�้าความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และใช้ความอ่อนหวาน
แสวงหามิตรภาพจากนายพล เอาใจด้วยการเพิ่มงบกองทัพ และสัญญาว่าจะ
ไม่เข้าแทรกแซงการจัดโผทหาร (การแต่งตั้งและเลื่อนขั้น) ประจ�าปี
ผู้ไม่เห็นด้วยออกมาประท้วงที่ท้องถนน ส่วนมากเป็นชนชั้นกลางชาว
กรุงเทพฯ แต่ก็มีกลุ่มอื่นๆ ด้วย เมื่อรัฐบาลประกาศล้มเลิกร่าง พ.ร.บ.นิรโทษ
กรรมนี้ ผู้ประท้วงยังคงเรียกร้องต่อไปให้ยุติ “ระบอบทักษิณ” และให้มีการ
ปฏิรูปการเมือง สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์น�าการ
รณรงค์เพื่อ “ปิดกรุงเทพฯ” โดยกระจายเวทีประท้วงถาวรหลายจุด
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตัดสินใจ “ยุบสภา” และจัดการเลือกตั้งในวันที่ ๒
กุมภำพันธ์ ๒๕๕๗ แต่ผู้ประท้วงเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองก่อนการ
เลือกตั้ง และพรรคประชาธิปัตย์ไม่เข้าร่วมการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง ส่งผลให้การ
เลือกตั้งไม่สมบูรณ์ กลุ่มนายพลเกษียณ ข้าราชการ หมอ รวมทั้งอธิการบดี
มหาวิทยาลัยเรียกร้องให้รัฐบาลลาออก วันที่ ๗ พฤษภำคม ศาลรัฐธรรมนูญ
ถอดถอนนายกฯ ยิ่งลักษณ์พ้นจากต�าแหน่งในกรณีย้ายเลขาฯ สภาความมั่นคง
แห่งชาติไม่ชอบด้วยกฎหมาย วันที่ ๒๒ พฤษภำคม พลเอกประยุทธ์ จันทร์-
โอชา ผบ.ทบ. ยึดอ�านาจ
รัฐประหารครั้งนี้เข้มงวดที่สุดตั้งแต่เมื่อปี ๒๕๑๙ คณะรักษาความ
สงบแห่งชาติ (คสช.) เรียกบุคคลมากกว่า ๒๐๐ คน เข้าพบ คสช. และจับกุม

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย  
ผู้ขัดค�าสั่ง บางคนหนีไปต่างประเทศ คสช.ประกาศว่าจะอยู่ในอ�านาจอย่างน้อย
๑๘ เดือน เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่และด�าเนินการปฏิรูปอื่นๆ

สรุป
เศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงในอัตราที่เร่งเร้านับจากทศวรรษ ๒๕๑๐ เรื่อย
มา เศรษฐกิจเฟื่องฟูเป็นเวลานาน ตามด้วยภาวะ “ฟองสบู่แตก” ปรับแปร
รายได้ เพิ่มความเป็นเมือง ยกสถานะของนักธุรกิจให้สูงขึ้นบนบันไดของสังคม
และเปิดเมืองไทยสู่วัฒนธรรมและเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์มากขึ้น
สังคมมีความสลับซับซ้อนเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกลุ่ม
คนงานคอปกขาวชนชั้นกลาง และคนงานอพยพไปมาระหว่างชนบทเมืองเพิ่ม
จ�านวนอย่างรวดเร็ว ชุมชนท้องถิ่นเปิดรับกับอิทธิพลจากภายนอกทันทีทันใด
เมื่อถนนหนทาง รถโดยสาร มอเตอร์ไซค์ โทรทัศน์ และมวลชนใหม่ผุดขึ้น
สะท้อนให้เห็นได้จากสื่อระดับชาติที่ดาหน้าขึ้นมา วาทกรรมเก่าว่าด้วยเชื้อชาติ
ชาติ ประวัติศาสตร์ บุคลิกประจ�าชาติ และวัฒนธรรมชาติ แตกกระจายเพราะ
ความหลากหลายที่เป็นความจริง
“การเมือง” ก้าวไม่ทันการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายทั้งปวง เมื่อไม่เคยมี
ขบวนการชาตินิยม สงคราม หรือวิกฤต สถาบันเก่าคือสถาบันพระมหากษัตริย์
กองทัพและระบบข้าราชการ ยังคงมีบทบาทเหนือรัฐ ความก้าวหน้าสู่การเมือง
ประชาธิปไตยและความเสมอภาคยังคงเป็นไปแบบครึ่งๆ กลางๆ การลุกขึ้นสู้
ของนักศึกษา-คนงาน-ชาวนา เมื่อทศวรรษ ๒๕๑๐ ท�าให้สมัยของเผด็จการ
ทหารถึงจุดอวสาน แต่ก็ไม่ได้ถูกท�าลายอย่างสิ้นเชิง ต่อมาภายหลังชนชั้นน�า
นักธุรกิจท้องถิ่นถูกดึงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคณาธิปไตยชนชั้นปกครอง ผ่าน
การเลือกตั้งทั่วไปมีเงินเป็นใบเบิกทาง แต่อ�านาจของภาคราชการไม่ได้ลดทอน
ลงสักเท่าใด ขณะเดียวกันนั้นสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ได้รับการส่งเสริม ขยับ
ขยายบทบาทเป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคี ความเป็นหนึ่งเดียวของชาติ และ
ที่พึ่งยามเกิดวิกฤตการเมือง ทหารยังคงอ้างถึงสิทธิที่จะแทรกแซงการเมือง
ส�าแดงให้เห็นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๔ และขู่คุกคามในกาละอื่น ภายใต้การบริหาร
การจัดการที่ลงตัวแบบนี้ ระบบเศรษฐกิจเฟื่องฟูแต่ทรัพยากรธรรมชาติเสียหาย
ยับเยิน และความตึงเครียดทางสังคมเขม็งตัวขึ้น

  คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


วิกฤตเศรษฐกิจ ๒๕๔๐ ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจใหญ่ประมาณ ๑ ใน ๓
ล่มสลาย สร้างปัญหาสังคม กร่อนเซาะความชอบธรรมของทั้งเทคโนแครตและ
นักการเมือง-นักธุรกิจท้องถิ่น เปิดทางให้พลังทางการเมืองใหม่ๆ เผยอตัวขึ้น
นักธุรกิจใหญ่ที่กรุงเทพฯ ที่สะบักสะบอมจากวิกฤตเศรษฐกิจ จึงต้อง
การรัฐที่จะช่วยพวกเขาบริหารจัดการโลกาภิวัตน์ มวลชนชนบทจ�านวนมากที่มี
รายได้เพิ่มขึ้นมีความคาดหวังที่เปลี่ยนไป และคับข้องใจกับสังคมที่มีความไม่
เท่าเทียมหลายแง่มุม พวกเขาเริ่มตระหนักถึงศักยภาพของการเมืองที่มี “การ
เลือกตั้ง” เป็นตัวน�าการเปลี่ยนแปลง
ทักษิณ ชินวัตรพุ่งสู่อ�านาจ สัญญาจะสร้างรัฐเป็นมิตรกับนักธุรกิจและ
น�าเมืองไทยเป็นหนึ่งในโลกที่หนึ่ง เมื่อเขาได้อ�านาจ เขาเสนอตัวเองเป็น “ผู้น�า
ของประชาชน” ผู้ที่จะท�าให้ความฝันของนักธุรกิจชั้นน�า และผู้ที่ก�าลังไต่บันได
สังคมสู่ความร�่ารวยได้ประสบกับความฝันนั้น
ทักษิณส่งเสริมทุนนิยมขนาดใหญ่ ประชานิยม และผลประโยชน์ของ
ธุรกิจครอบครัวของเขา ความส�าเร็จของเขากระตุ้นให้สถาบันเก่าต่อต้านอย่าง
มโหฬาร ได้แก่ สถาบันทหาร กษัตริย์ ข้าราชการ ทั้งหมดจับมือกับชนชั้นกลาง
เมืองที่ขาดความมั่นคงและความมั่นใจ พ.ศ.๒๕๔๙ ทหารส�าแดงสิทธิเข้าแทรก
แซงการเมือง ตุลาการถูกชักน�าเข้าช่วย และชนชั้นกลางออกไปประท้วงที่ท้อง
ถนน อิงกับอ�านาจเชิงสัญญะของสถาบันกษัตริย์
ปรากฏการณ์นี้กลับกระตุ้นให้เกิดขบวนการมวลชนการเมืองที่เปดเผย
เป็นครั้งแรก ในรูปของขบวนการเสื้อแดง ึ่งไม่ต้องการให้ล้มรัฐหรือทุนนิยม
แต่เรียกร้องให้พวกเขามีโอกาสได้ประโยชน์จากทุนนิยม และส่วนแบ่งที่ยุติ
ธรรมจากการบริหารจัดการทรัพยากรของประเทศโดยรัฐ แต่ในขณะเดียวกัน
มีขบวนการชนชั้นกลางเมืองที่ต่อต้านการเมืองประชานิยม และต้องการการ
เมืองที่ปลอดการคอร์รัปชั่น แต่รัฐประหารเดือนพ ษภาคม ๒๕๕๗ ส�าแดง
พลังร่วมของสถาบันหลักทั้งหลายและชนชั้นกลางว่ายังได้เปรียบในระยะสั้น

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ป จ ฉิ ม บ ท :
รั เข้ม ขง ละสันติสุขของประชาชน
ตั้งแต่รัฐชาติก่อตัวขึ้นในสยาม ได้เกิดวิสัยทัศน์ว่าด้วยเปาประสงค์แห่ง
รัฐ แยกออกเป็นสองกระแส แต่ละกระแสต่างมีวิวัฒนาการไปตามกาลเวลา
กระแสแรกฟักตัวขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๕ ด้วยความคิดว่ารัฐสมบูรณาญา
สิทธิ์ที่เข้มแข็งจ�าเป็นเพื่อปกป้องสยามจากเจ้าอาณานิคม และสร้างความสงบ
ภายใน จะได้มี “ความเจริญ” เป็นประเทศส�าคัญในโลก ชนชั้นน�าราชส�านัก
มีสิทธิเป็นผู้น�า เพราะระบบกษัตริย์สืบทอดมายาวนาน ไร้ซึ่งความเห็นแก่ตัว
ปกครองด้วยหลักวิชา เป็นเจ้าแห่งความศิวิไลซ์ ประชาชนเพียงแต่ต้องสามัคคี
น้อมรับอ�านาจโดยสงบ
ต่อมารัฐบาลเผด็จการทหารได้ฟื้นฟูและปรับสูตรส�าเร็จนี้ โยกย้ายพระ
มหากษัตริย์ออกจากศูนย์อ�านาจ แต่คงส่วนอื่นของกระแสนี้ไว้ รัฐเข้มแข็งยัง
จ�าเป็นเพื่อก�าจัดภัยภายนอก (คอมมิวนิสต์) และภัยภายใน (คนจีน) จะได้มี
“ความเจริญ” หรือ “การพัฒนา” และอยู่รอดในโลกที่รัฐชาติต่างแย่งกันชิงความ
เป็นใหญ่ ชนชั้นน�าทหารมีสิทธิเป็นผู้น�า เพราะว่าชาติไทยเป็นชาตินักรบ ทหาร
ไร้ซึ่งความเห็นแก่ตัว มีหลักวิชาและผูกขาดความรุนแรง จอมพลสฤษดิ์ประ
สานชนชั้นน�าราชส�านักกับชนชั้นน�าทหารเข้าด้วยกันภายใต้กระแสนี้
สูตรปรับใหม่ดังกล่าว รัฐชาติต้องยอมรับการบังเกิดขึ้นของชนชั้นกลาง
เมืองซึ่งมีความมุ่งหวังของตนเอง ขณะที่ประวัติศาสตร์แบบพงศาวดารมองไม่
เห็นประชาชน แต่หลวงวิจิตรฯ ให้ภาพประชาชนไทยในประวัติศาสตร์มีชีวิตชีวา
เป็นอิสรชนในเศรษฐกิจระบบตลาดเสรี และเปลีย่ นสถานภาพทางสังคมได้ ชาว
เมืองของสยามเป็นผู้น�าความเจริญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะเป็น “ข้าราชการ”
ดูแลประชาชนซึ่งยังไม่ทันสมัย ประชาชนจึงยังคงต้องน้อมรับอ�านาจโดยสงบ
และเชื่อฟังผู้ปกครอง

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
ทักษิณ ชินวัตร และพรรคพวกนักธุรกิจ ฟื้นฟูสูตรรัฐเข้มแข็งอีก และ
ปรับเปลี่ยนให้ทันกาลกับระบบเศรษฐกิจสังคมมวลชนร่วมสมัย อ้างถึงความ
จ�าเป็นจะต้องมีรัฐเข้มแข็งเพื่อที่จะปกป้องชาติไทยจากภัยภายนอกคือ “โลกา
ภิวัตน์” และภัยภายในคือ “ความขัดแย้งในสังคม” เพื่อที่เมืองไทยจะได้ก้าว
กระโดดเป็นหนึ่งในประเทศชั้นน�าของโลก ชนชั้นน�านักธุรกิจ-นักการเมืองใหม่
มีสิทธิเป็นผู้น�าเพราะว่าท�าเพื่อ “ประชาชน” เท่านั้น โดยใช้หลักวิชา (หลักการท�า
ธุรกิจ) และมีความมั่งคั่งเพียงพอที่จะชนะการเลือกตั้งได้
วิสัยทัศน์กระแสแรกนี้ แม้จะปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลาบ้าง แต่มี
ลักษณะเด่นเห็นได้ชัดเจน หนึ่ง เป็นเกราะคุ้มกันให้ชนชั้นน�าฝ่ายการเมืองได้
สะสมความมั่งคั่งอย่างเต็มที่ ทั้งในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สมัยรัฐบาล
ทหาร และสมัยทักษิณ สอง มีจุดเน้นที่ชาติต้องมีความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว
แต่แบ่งเป็นชนชั้นลดหลั่นกันไปด้วย บ้างเป็นไทยมากกว่าอื่นๆ สาม เน้น
คุณค่าความเป็นชาย ยอมให้มีการเอาเปรียบสตรีเพศด้วยระบบหลายเมีย หรือ
พฤติกรรมท�านองเดียวกัน สี่ ช่วงที่วิสัยทัศน์แรกเป็นกระแสน�า เกิดขึ้นเมื่อ
รัฐใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชาติของตนเอง นั่นคือ การปราบกบฏเมื่อ
พ.ศ. ๒๔๔๒-๒๔๔๕ การฆาตกรรมนักการเมืองคู่แข่งเมื่อทศวรรษ ๒๔๙๐
การสังหารนิสิต-นักศึกษา ประชาชน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ และ ๒๕๑๙ พฤษภา
ทมิฬ ๒๕๓๕ สงครามยาเสพติด ๒๕๔๖
ข้ออ้างที่ว่าต้องมีรัฐเข้มแข็ง เพื่อป้องกันภัยภายนอกและภัยภายใน
อีกทั้งจะต้องมีเพื่อให้บรรลุถึงความเจริญและการก้าวสู่ประเทศชั้นน�าของโลกนี้
ได้ปักหลักเป็นจารีตนิยมน�าของการเมืองไทย
วิสัยทัศน์กระแสที่สองเป็นคู่ตรงกันข้าม ก่อตัวขึ้นจากความคิดค�านึง
ของนักวิชาการ นักคิดสามัญชน เมื่อสมัยรัชกาลที่ ๕ และต่อมา ภายใต้
กระแสนี้ จุดมุ่งหมายของรัฐชาติคือความอยู่ดีมีสุขของมวลสมาชิก ไม่ใช่การ
เป็นประเทศส�าคัญในโลก ศัตรูของกระแสนี้ไม่ใช่ภัยจากภายในและภายนอก
แต่เป็นจารีตนิยมรัฐเข้มแข็งนั่นเอง
วิสัยทัศน์กระแสที่สองไม่เน้นความเป็นหนึ่งเดียว แต่ชูประเด็นความ
หลากหลาย เรียบเรียงประวัติศาสตร์ใหม่ชี้ให้เห็นว่า รัฐชาติเกิดจากการผนวก
ผู้คนจากหลากหลายแหล่งที่และวัฒนธรรม ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับต�านานความ
สามัคคีและความต่อเนื่องมาในประวัติศาสตร์ โต้แย้งสมมุติฐานเรื่องอ�านาจและ
อภิสิทธิ์ของจารีตรัฐเข้มแข็ง ให้มีหลักการนิติรัฐ รัฐธรรมนูญ และสถาบันการ

  คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


เมืองประชาธิปไตยอื่นๆ ข้อเสนอนี้มีมาตั้งแต่ปี ๒๔๒๘ แต่นายปรีดี พนมยงค์
และคณะราษฎร น�ามาด�าเนินการเป็นครั้งแรกเมื่อปี ๒๔๗๕ มีความพยายาม
ซ�้าอีกในปี ๒๔๘๙, ๒๕๑๗ และ ๒๕๓๕
วิสัยทัศน์กระแสที่สอง หยิบฉวยแนวคิดจากภายนอกเพื่อน� ามาคาน
กับจารีตรัฐเข้มแข็ง นักคิดสามัญชนสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้แรงบันดาลใจจาก
รัฐบาลเมจิที่ญี่ปุ่น นักเขียนและนักการเมืองสมัยรัชกาลที่ ๖ และ ๗ รับอุดม
การณ์เสรีนิยมและสังคมนิยมจากยุโรป นักคิดของชนชั้นกลางเมือง ช่วงหลัง
สงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้แรงบันดาลใจทั้งจากแนวคิดสังคมนิยมและเสรีนิยม
ของตะวันตก นักปฏิรูปในสมัยโลกาภิวัตน์โอบรับเรื่องสิทธิมนุษยชน ประชา
สังคม และประชาธิปไตยทางตรง ความเป็นสากลด้านความคิดนี้เป็นทั้งจุดแข็ง
และจุดอ่อน ผู้สนับสนุนวิสัยทัศน์รัฐเข้มแข็ง ต้านวิสัยทัศน์กระแสที่สอง โดย
ประณามว่า “ไม่เป็นไทย” กระแสที่สองโต้กลับโดยท�าให้ความคิดของพวกเขา
มีกลิ่นอายของพื้นถิ่นด้วยการโยงกับพระพุทธศาสนา
ทั ก ษิ ณ ชิ น วั ต ร รั บ วิ สั ย ทั ศ น์ รั ฐ เข้ ม แข็ ง ขณะเดี ย วกั น ก็ รั บ กระแส
สวัสดิการมวลชน ให้ภาพตนเองเป็นผู้น�าคนเดียวที่สามารถท�าได้ แต่ท�าไม่
ส�าเร็จ ผู้ต่อต้านก�าจัดเขาออกไปและเอาคืนวิสัยทัศน์รัฐเข้มแข็งมาจัดการเอง
โดยครั้งนี้อ้างว่าต้องเพิ่มพลังให้สถาบันข้าราชการ กองทัพ และสถาบันกษัตริย์
เพื่อเป็นเกราะปกป้องรัฐชาติไทยจากภัยที่มาจากทุนนิยมสามานย์และประชา
นิยมไร้ความรับผิดชอบ ซึ่งจะน�าประเทศสู่หายนะ
วัฒนธรรมการเมืองต่างๆ สร้างจารีตของตัวเองเกี่ยวกับเป้าประสงค์
ของรัฐชาติ วิสัยทัศน์รัฐเข้มแข็งที่ก่อตัวตั้งแต่จุดก�าเนิดของรัฐชาติไทยยังคง
มีอิทธิพลสูงมาก เพราะว่าได้ลงหลักปักฐานเป็นแนวคิดน�ามานาน เป็นเครื่องมือ
ที่นักการเมืองรุ่นต่อมาอาจน�าไปใช้
แต่การผลักดันวิสัยทัศน์รัฐเข้มแข็ง เผชิญกับแรงต่อต้านที่มีมวลชน
เป็นฐานแน่นหนา อาจจะถึงเวลาของวิสัยทัศน์กระแสที่สองที่จะลงหลักปักฐาน

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย  
เ ชิ ง อ ร ร
บทที ๑
๑ นักวิชาการบางท่านเชื่อว่าศิลาจารึกหลักนี้ ที่อ้างว่าจ�าหลักเมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๕ นั้น
ทั้งหมด หรือบางส่วนสร้างขึ้นภายหลัง แต่การใช้ข้อมูลของศิลาจารึกเป็นหลักฐาน
แสดงความส�าคัญของชัยภูมิก็ยังใช้ได้อยู่
๒ Guy Tachard, A Relation of the Voyage to Siam (Bangkok : White
Orchid Press, ), pp. - .
๓ Francois Caron and Joost Schouten, A True Description of the
Mighty Kingdoms of Japan And Siam, ed. John Villiers (Bangkok :
Siam Society, ), p. ; Nicolas Gervaise, The Natural and
Political History of the Kingdom of Siam, tr. and ed. John Villiers
(Bangkok : White Lotus, ), p. .
๔ ศักดินาน่าจะหมายถึง “อ�านาจเหนือที่นา” และเริ่มแรกคงจะหมายถึงที่นาที่ได้รับ
พระราชทาน ครั้นถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย จึงได้กลายเป็นตัวเลขแสดงระดับชั้น
ของแต่ละต�าแหน่ง ในระยะหลังค�านี้ถูกใช้ให้หมายถึงระบบสังคมก่อนสมัยใหม่
เทียบเคียงได้กับ “ฟิวดัล” ที่ยุโรป
๕ Alain Forest, Les Missionnaires franæçais au Tonkin et au Siam xviie–
xviiie sièçcles. Livre I : Histoire du Siam (Paris : L’Harmattan, ),
p. .
๖ ค�ำให้กำรชำวกรุงเก่ำ (กรุงเทพฯ : หอจดหมายเหตุ, ๒๕๔๔), น. ๑๕๗.
๗ Luang Phraison Salarak, ‘Intercourse between Burma and Siam as
recorded in Hmannan azawindawgyi’, Journal of the Siam Society
, ( ), p. .
๘ F. H. Turpin, A History of the Kingdom of Siam, tr. B. O. Cartwright
(Bangkok : White Lotus, ), p. .

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย  
๙ Henry Burney December in The Burney Papers, Vol. II, Pt.
IV (Bangkok: Vajiranana Library, ), p. .
๑๐ นับจาก พ.ศ. ๒๔๕๔ เป็นต้นมา แผนภาพนี้ใช้ข้อมูลจากที่ปรับมาจากส�ามะโนประ
ชากร ข้อมูลส�าหรับปีก่อนหน้านั้น เป็นการประมาณการจากที่เทอเวียล (B. J.
Terwiel) และสเติร์นสไตน์ (L. Sternstein) ได้ท�าไว้

บทที ๒
๑ นิธิ เอียวศรีวงศ์, กำรเมืองไทยสมัยพระเจ้ำกรุงธนบุรี (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒน
ธรรม, ๒๕๒๙), น. ๕๔๔.
๒ ก.ศ.ร. กุหลาบ, อำนำมสยำมยุทธ ว่ำด้วยกำรสงครำมระหว่ำงไทยกับลำว เขมร และ
วน. เล่ม ๒, กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา, ๒๕๑๔, หน้า ๗๘๘ อ้างถึงใน Puang-
thong Rungswasdisab, “War and trade : Siamese intervention in
Cambodia, - ,” PhD thesis, Wollongong niversity ( ),
p. .
๓ พระรำชพงศำวดำรกรุงรัตนโกสินทร์รัชกำลที่ ๑ ฉบับเจ้ำพระยำทิพำกรวงศ์ , นิธิ
เอียวศรีวงศ์ บรรณาธิการ (กรุงเทพฯ : อมรินทร์ ๒๕๓๙), น. ๑๙๑.
๔ เป็นค�าที่ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ประดิษฐ์ใช้ใน กำรเมืองไทยสมัยพระเจ้ำกรุงธนบุรี
๕ Jean-Baptiste Pallegoi , Description of the Thai Kingdom of Siam,
tr. W. E. J. Tips (Bangkok : White Lotus ), p. .
๖ พระรำชพงศำวดำรกรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ รั ช กำลที่ ๑ ฉบั บ เจ้ ำ พระยำทิ พ ำกรวงศ์ ,
น. ๕๐-๖๑.
๗ ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอังกฤษว่า “general people both native and foreig-
ners here seem to have less pleasure on me and my descendants
than their pleasure and hope on another amiable family” พระราชสาส์น
ถึงแอนนา เลียวโนเวนส์. ๖ เมษายน ๒๔๑๑, พิมพ์ใน ศิลปวั นธรรม ๒๕, ๕
(มีนาคม ๒๕๔๗), น. ๑๕๖.
๘ Pallegoi , Description, p. .
๙ Patrick Jory, “The Vessantara Jataka, barami, and the Boddhisatta-
kings : the origin and spread of a Thai concept of power,” Cross-
roads , ( ).
๑๐ สายชล สัตยานุรักษ์, พุทธศำสนำกับแนวคิดทำงกำรเมืองในรัชสมัยพระบำทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟำจุ ำโลก (พ.ศ. ๒ ๒๕-๒ ๕๒) (กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๔๕)
น. ๑๑๓.

  คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


๑๑ นิธิ เอียวศรีวงศ์, ประวัติศำสตร์รัตนโกสินทร์ในพระรำชพงศำวดำรอยุธยำ (กรุง
เทพฯ : มติชน, ๒๕๒๓), น. ๘๑.
๑๒ B. J. Terwiel, Through Travellers’ Eyes : An Approach to Early Nine-
teenth Century Thai History (Bangkok : Editions Duang Kamol, ),
p. , uoting W. Dean.
๑๓ John Crawfurd, Journal of an Embassy from the Governor-General
of India to the Courts of Siam and Cochin China (London : Henry
Colbourn and Richard Bentley, ), vol. II, pp. - .
๑๔ นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปำกไก่และใบเรือ : รวมควำมเรียงว่ำด้วยวรร กรรมและประวัติ
ศำสตร์ต้นรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ : อมรินทร์, ๒๕๒๗)
๑๕ พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร นำยแม่ : ต�ำนำนห ิงจีนสยำม (กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์
พับลิเคชั่นส์, ๒๕๕๕) น. ๙๖.
๑๖ M. Hardouin ท�างานในกงสุลฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๔๒๗ อ้างใน Rujaya Abhakorn,
“Ratburi, an inner province : local government and central politics in
Siam, - ,” PhD thesis, Cornell niversity ( ), p. .
๑๗ อ้างใน นิธ,ิ ปำกไก่และใบเรือ, น. ๓๐๙, ๒๒๓, ๓๑๖.
๑๘ นิรำศเมืองเพชร อ้างใน นิธ,ิ ปำกไก่และใบเรือ, น. ๓๑๕.
๑๙ Anna Leonowens, The English Governess at the Siamese Court
(Singapore : O ford niversity Press, ), pp. - .
๒๐ Hong Lysa, Thailand in the Nineteenth Century : Evolution of the
Economy and Society (Singapore : Institute of Southeast Asian
Studies, ), p. .
๒๑ พระรำชพงศำวดำรกรุงรัตนโกสินทร์รัชกำลที่ ของเจ้ำพระยำทิพำกรวงศมหำ
โกษำธิบดี (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๓๘) น. ๑๕๒.
๒๒ Bernd Martin, “The Prussian e pedition to the Far East ( - ),”
Journal of the Siam Society , ( ).
๒๓ บันทึกลงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๓๖๕ ใน The Crawfurd Papers (Bangkok :
Vajiranana Library, ).
๒๔ Anthony Farrington (ed.), Early Missionaries in Bangkok : The Jour-
nals of Tomlin, Gutzlaff and Abeel 1828-1832 (Bangkok : White Lotus,
), pp. , .
๒๕ F. A. Neale, Narrative of a Residence at the Capital of the Kingdom
of Siam (Bangkok : White Lotus, ), pp. , .

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย  
๒๖ พระราชสาส์นถึงทูตที่ลอนดอน พ.ศ. ๒๔๐๑ ไม่พบต้นฉบับเดิม ที่อ้างถึงนี้เป็น
ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษใน M.R. Seni Pramoj and M.R. Kukrit Pramoj,
A King of Siam Speaks (Bangkok : Siam Society), .
๒๗ Alabaster อ้างถึงพระราชด�ารัส ใน Henry Alabaster, The Wheel of the
Law : Buddhism Illustrated from Siamese Sources (London : Trubner,
), p. .
๒๘ พระไอยการทาษ มาตรา ๑๐ ก หมำยตรำสำมดวง (กรุงเทพฯ : องค์การค้าของ
คุรุสภา, ๒๕๓๗) เล่ม ๒ น. ๒๙๒ และดู R. Lingat, L’esclavage prive dans
le vieux droit siamois (Paris : Editions Domat-Montchrestien, ),
p. .
๒๙ Peter Vandergeest, “Hierarchy and power in pre-national Buddhist
states,” Modern Asian Studies , ( ), p. .
๓๐ Pallegoi , Description, p. .
๓๑ ประชุมประกำศรัชกำลที่ ๔, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และคณะบรรณาธิการ (กรุงเทพฯ
: มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย, ๒๕๔๘), น. ๔๙๖.

บทที ๓
๑ ร.ต.ท.เสถียร ลายลักษณ์, ประชุมกฎหมายประจ� าศก ๑๒ “ประกาศจัดตั้งกระ
ทรวงยุติธรรม” อ้างใน อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์, กำรเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของ
ชนชั้นผู้น�ำไทยตั้งแต่รัชกำลที่ ๔ ถึงพุทธศักรำช ๒๔๗๕ (กรุงเทพฯ : ส�านักพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๑) น. ๑๕๑.
๒ H. Warrington Smyth, Five Years in Siam : From 1891 to 1896 (New
ork, Charles Scribner’s Sons, ), II, p. .
๓ “ประกาศพระสงฆ์ที่จะสึกมารับราชการ” ในประชุมประกำศรัชกำลที่ ๔, ชาญวิทย์
เกษตรศิริ บรรณาธิการ, น. ๔๔.
๔ ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอังกฤษว่า “doubtless without hesitation, abolish
slavery...for the distinguishing of my reign.” พระราชสาส์นถึงแอนนา
เลียวโนเวนส์ ลงวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๔๐๗ พิมพ์ใน ศิลปวั นธรรม ๒๕, ๓
(มกราคม ๒๕๔๗), น. ๘๕.
๕ ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอังกฤษทรงพระนิพนธ์ พ.ศ. ๒๔๑๗ “selecting what
may be safe models for the future prosperity of this country” อ้างใน
N. A. Battye, “The military, government and society in Siam, 1868-
1910 : politics and military reform during the reign of King Chula-
longkorn,” (PhD thesis, Cornell niversity, ), p. .

  คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


๖ “ประกาศว่าด้วยตั้งเคานซิลและพระราชบัญญัติ” ใน ชัยอนันต์ สมุทวณิช และ
ขัตติยา กรรณสูต, เอกสำรทำงกำรเมือง-กำรปกครองไทย พ.ศ. ๒๔๑๗-๒๔๗๗.
(กรุงเทพฯ : โครงการต�าราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สมาคมสังคมศาสตร์
แห่งประเทศไทย, ๒๕๑๘), น. ๑๗.
๗ Leonowens, English Governess, p. .
๘ แผนที่นี้เขียนจากเอกสาร ปี พ.ศ. ๒๔๐๙. อ้างถึงใน Rujaya, “Ratburi”, pp. - .
๙ สรัสวดี อ๋องสกุล, ประวัติศำสตร์ล้ำนนำ (เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,
๒๕๓๙), น. ๓๕๙.
๑๐ ธงชัย วินิจจะกูล, ก�ำเนิดสยำมจำกแผนที่ : ประวัติศำสตร์ภูมิกำยำของชำติ. (กรุง
เทพฯ : ส�านักพิมพ์อ่าน และคบไฟ, ๒๕๕๖).
๑๑ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ อ้างใน ธงชัย, ก�ำเนิดสยำมจำกแผนที,่ น. ๙๖.
๑๒ Le Myre de Vilers, ข้าหลวง อินโดจีน ฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๔๒๔ อ้างใน gover-
nor of French Indochina in , uoted in Patrick Tuck, The French
Wolf and the Siamese Lamb : The French Threat to Siamese Inde-
pendence 1858-1907 (Bangkok : White Lotus, ), p. .
๑๓ ธงชัย, ก�ำเนิดสยำมจำกแผนที่, น. ๒๐๓.
๑๔ Battye, “Military, government and society.”
๑๕ ทวีศักดิ์ เผือกสม, คนแปลกหน้ำนำนำชำติของกรุงสยำม. (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒน
ธรรม, ๒๕๔๖), น. ๓๑-๒.
๑๖ ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอังกฤษว่า “King of Siam and Sovereign of Laos and
Malay” King Chulalongkorn’s Journey to India 1897. (Bangkok : River
Books, ), p. .
๑๗ ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอังกฤษว่า “oligarchie lilliputienne.” David Streck-
fuss, “The mi ed colonial legacy in Siam : origins of Thai racialist
thought,” in L. J. Sears (ed.), Autonomous Histories, Particular
Truths : Essays in Honor of John R. W. Smail (Madison : niversity
of Wisconsin, ), p. .
๑๘ สายชล สัต ยานุ รัก ษ์ , สมเด็จ กรมพระยำด�ำ รงรำชำนุ ภ ำพ กำรสร้ ำ งอัต ลัก ษ ์
“เมืองไทย” และ “ชั้น” ของชำวสยำม. (กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๔๖), น. ๗๔.
๑๙ ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอังกฤษว่า “Thai and Lao are of the same chat and
speak the same language within a single kingdom” เป็นค�ากล่าวของ
ข้าหลวงตามที่รองกงสุลอังกฤษบันทึกไว้ อ้างใน Nigel Brailey, “The Origins
of the Siamese Forward Movement in Western Laos, - ” (PhD
thesis, niversity of London, ), p. .

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
๒๐ ธงชัย, ก�ำเนิดสยำมจำกแผนที่, น. ๑๗๐.
๒๑ พระไพศาลศิลปศาสตร์ กับหลวงอนุกิจวิธูร, ธรรมจริยำ เล่ม ๒ (กรมศึกษาธิการ
บางขุนพรหม โรงพิมพ์อักษรนิติ์, ร.ศ. ๑๒๔) น. ๑๐๔.
๒๒ สมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงราชานุภาพ, “เรื่องลานช้าง” ใน นิทำนโบรำ คดี (พิมพ์
ครั้งที่ ๑๐, กรุงเทพฯ : เขษมบรรณกิจ, ๒๕๐๒). น. ๓๘๐.
๒๓ ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอังกฤษว่า “who alone have assimilated Western
civilization and maintained an independent position among the
nations of the world” อ้างใน A. Carter, The Kingdom of Siam (New
ork : G. P. Putnam’s Sons, ), p. .
๒๔ Battye, “Military, government and society”, p. .
๒๕ “พระประวัติตรัสเล่า สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรส” ใน พระรำชประวัติรัชกำล
ที่ ๕ ก่อนเสวยรำชย์ (กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๐๔) น. ๒๒๔.
๒๖ สมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงราชานุภาพ อ้างใน นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, กำรป ิวัติ
สยำม พ.ศ. ๒๔๗๕ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการต� าราสังคมศาสตร์และมนุษย
ศาสตร์, ๒๕๓๕), น. ๖๔.
๒๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระรำชหัตถเลขำและหนังสือกรำบ
บังคมทูลของเจ้ำพระยำพระเสด็จสุเรนทรำธิบดี แต่ยังมีบรรดำศักดิ์เป็นพระมนตรี
พจนกิจ และพระยำวิสุทธสุริยศักดิ์ ร.ศ. ๑๑ -๑๑๘ (พระนคร, ๒๕๐๔), น. ๓๐๖.
๒๘ อ้างใน M. Peleggi, Lords of Things: The Fashioning of the Siamese
Monarchy’s Modern Image (Honolulu : niversity of Hawaii Press,
), p. .
๒๙ อ้างใน Tuck, French Wolf, p. .
๓๐ อ้างใน อรรถจักร์, กำรเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์, น. ๓๗-๘.
๓๑ อ้างใน อรรถจักร์, กำรเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์, น. ๑๕๓.
๓๒ “สมาคมสืบสวนของบุราณในประเทศสยาม พระราชด�ารัสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๕” ศิลปำกร ๑๒, ๒ (๒๕๑๑), น. ๔๒.
๓๓ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, เที่ยวเมืองพระร่วง. (กรุงเทพฯ : จุฬา
ลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๔), น. ๙.
๓๔ สายชล, สมเด็จกรมพระยำด�ำรงรำชำนุภำพ : กำรสร้ำงอัตลักษ ์ ‘เมืองไทย’ และ
‘ชั้น’ ของชำวสยำม. (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, ๒๕๔๖), น. ๑๑๕.
๓๕ พรรณี บัวเล็ก, สยามในกระแสธารแห่งการเปลี่ยนแปลง: ประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่
สมัยรัชกาลที่ ๕ (กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๑๙๙๘), น. ๖๗.
๓๖ “ค�ากราบบังคมทูลถวายความเห็นการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ. ๑๐๓” ใน
ชัยอนันต์ และขัตติยา, เอกสำรทำงกำรเมือง-กำรปกครอง, น. ๔๒, ๔๙.

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


๓๗ เรื่องเดียวกัน, น. ๔๙-๕๐.
๓๘ เรื่องเดียวกัน, น. ๕๑.
๓๙ “พระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน” ๘ มีนาคม ๒๔๓๑ ใน ชัยอนันต์
และขัตติยา, เอกสำรทำงกำรเมือง-กำรปกครอง, น. ๑๒๔.
๔๐ ชัยอนันต์ และขัตติยา, เอกสำรทำงกำรเมือง-กำรปกครอง, น. ๑๒๔-๕.
๔๑ เจ้าพระยาภาสกรวงศ์, เรื่องท�ำสวน (พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร,
๒๔๗๐), น. ๒๕.
๔๒ “เรื่องฝรั่งเศสกับไทย” ธรรมศำสตร์วินิจฉัย, ๒ (๒๔๓๖), น. ๓๐-๔.
๔๓ “พระบรมราชาธิบายว่าด้วยความสามัคคี แก้ความในคาถาที่มีในอามแผ่นดิน” ใน
ชัยอนันต์ และขัตติยา, เอกสำรทำงกำรเมือง-กำรปกครอง, น. ๑๓๑.
๔๔ สายชล, สมเด็จ กรมพระยำด�ำรง , น. ๑๑๔-๕.
๔๕ สายชล, สมเด็จ กรมพระยำด�ำรง , น. ๑๔๙.
๔๖ พระรำชพงศำวดำรกรุงรัตนโกสินทร์รัชกำลที่ สมเด็จพระเจ้ำบรมวงศ์เธอ กรม
พระยำด�ำรงรำชำนุภำพ, พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงาน าปนกิจศพนางสาวธิติ บุนนาค
๒๖ เมษายน ๒๕๒๒, น. ๗๑.

บทที ๔
๑ อ้างใน D. B. Johnston, “Rural society and the rice economy in Thai-
land, - ” (PhD thesis, ale niversity, ), p. .
๒ F. H. Giles พ.ศ. ๒๔๔๑ อ้างใน Johnston, “Rural society”, p. .
๓. Joachim Grassi พ.ศ. ๒๔๓๕ อ้างใน Johnston, “Rural society”, p. .
๔ H. S. Hallett, A Thousand Miles on an Elephant in the Shan States
(Bangkok : White Lotus, ), p. .
๕ ฉั ต รทิ พ ย์ นาถสุ ภ า, เศรษฐกิ จ หมู ่ บ ้ ำ นไทยในอดี ต (กรุ ง เทพฯ : สร้ า งสรรค์ ,
๒๕๔๐), น. ๖๘.
๖ Carle C. immermann, Siam : Rural Economic Survey 1930-31 (Bang-
kok : White Lotus, ), p. .
๗ Prince Dilok Nabarath, Siam’s Rural Economy under King Chula-
longkorn, tr. W. E. J. Tips (Bangkok : White Lotus, ),
p. .
๘ พระยาสุริยานุวัตร, ทรัพยศำสตร์ (กรุงเทพฯ : พิฆเณศ, ๒๕๑๘), น. ๗๓.
๙ Prince Dilok Nabarath, Siam’s Rural Economy, Introduction, p. ii.
๑๐ พระราชด�ารัสวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ใน ไสว วัฒนเศรษฐ, เกียรติคุณพระ

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
มงกุฎเกล้าฯ กษัตริย์นักปราชญ์ของชาติไทย (พระนคร : วัฒนาพานิช, ๒๕๐๐),
น. ๕๓๗.
๑๑ Farrington, Early Missionaries, p. , .
๑๒ Smyth, Five Years, I, p. .
๑๓ Smyth, Five Years, I, p. .
๑๔ แต่งในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๕๕ กับ พ.ศ. ๒๔๖๔ โสมทัต เทเวศร์, กรุงเทพ ใน
นิรำศ (กรุงเทพฯ : เรืองศิลป์, ๒๕๒๑), น. ๔๔.
๑๕ โสมทัต, กรุงเทพ ในนิรำศ, น. ๔๔.
๑๖ อ้างถึงใน Seksan Prasertkul, ‘The transformation of the Thai state
an economic change ( - )’, PhD thesis, Cornell niversity
( ), pp. - .
๑๗ J. Antonio, Guide to Bangkok and Siam (Bangkok : Siam Observer
Press, ), p. .
๑๘ Arnold Wright and Oliver T. Breakspear, Twentieth Century Impres-
sions of Siam : Its History, People, Commerce, Industries and Re-
sources (London: Lloyd’s Greater Britain Publishing Company, ),
p. .
๑๙ เสฐียรโกเศศ, ฟนควำมหลัง เล่ม 2 (กรุงเทพฯ : ศึกษิตสยาม, ๒๔๑๑), น. ๙๖.
๒๐ Smyth, Five Years, I, p. .
๒๑ สยำมรัฐ ๒๖ ธันวาคม ๒๔๖๖ อ้างใน Scot Barmè, Woman, Man, Bangkok :
Love, Sex and Popular Culture in Thailand (Lanham: Rowman and
i lefield, ), p. .

บทที ๕
๑ อ้างใน มัทนา เกษกมล “การเมืองและการปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระ
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว” สังคมศำสตร์ปริทัศน์ ๑๔, ๓-๔ (๒๕๑๙), น. ๗๑.
๒ พระราชด�ารัส วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๔๖๘ ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า
เจ้าอยู่หัว, พระราชด�ารัสและพระบรมราโชวาท (พระนคร, พระจันทร์, ๒๕๐๑),
น. ๕๖.
๓ ชนิดา พรหมพยัคฆ์ เผือกสม, การเมืองในประวัติศาสตร์ธงชาติไทย (กรุงเทพฯ :
ศิลปวัฒนธรรม, ๒๕๔๗), น. ๙๐-๑.
๔ ชนิดา, การเมืองในประวัติศาสตร์ธงชาติไทย, น. ๘๔.
๕ “สภาพคนไทยในปัจจุบัน” ศรีกรุง วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๔๗๑.

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


๖ อ้างใน อรรถจักร์, กำรเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์, น. ๑๗๕.
๗ อ้างใน อรรถจักร์, กำรเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์, น. ๑๗๓.
๘ กุหลาบ สายประดิษฐ์, สงครำมชีวิต (กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๔๘), น. ๑๖๙.
๙ Stephen L. W. Greene, Absolute Dreams: Thai Government nder
Rama VI, - (Bangkok : White Lotus, ), p. .
๑๐ หลวงวิจิตร “ความเจริญ” ๒๔๗๕ อ้างใน อรรถจักร์, กำรเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์,
น. ๒๕๒.
๑๑ ขุนธราภาคพาที ๒๔๔๗ อ้างใน อรรถจักร์, กำรเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์, น. ๒๕๐.
๑๒ “ท่านฟังเป็นรสไหม?” สุภำพบุรุษ, ๑ เมษายน ๒๔๗๓.
๑๓ ศรีกรุง, ๑๒ กรกฎาคม ๒๔๗๕, อ้างใน นครินทร์, กำรป ิวัติสยำม, น. ๘๓.
๑๔ เบื้องหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ อ้างใน นครินทร์, กำรป ิวัติสยำม, น. ๘๓.
๑๕ “เหตุใดความเจริญจึงรวมอยู่แต่ในกรุงเทพฯ” สยำมรำษ ร์ ๒๔ ธันวาคม ๒๔๖๖.
๑๖ อ้างใน จ�ารัส สุขุมวัฒนะ, แผนกำรป ิวัตร เล่ำโดย พระประศำสน์พิทยำยุทธ์
เขียนโดย จ�ำรัส สุขุมวั นะ (พระนคร, รัฐภักดี, ๒๔๙๑), น. ๒๓.
๑๗ อ้างใน จ�ารัส, แผนกำรป ิวัตร, น. ๒๓.
๑๘ กรุงเทพ เดลิเมล์ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๒ อ้างใน นครินทร์, กำรป ิวัติสยำม,
น. ๙๔.
๑๙ เฉลิมเกียรติ ผิวนวล, ประชำธิปไตยแบบไทย : ควำมคิดทำงกำรเมืองของทหำร
ไทย (๒๕๑ -๒๕๒ ) (กรุ ง เทพฯ : สถาบัน ไทยคดีศึก ษา มหาวิท ยาลัย ธรรม
ศาสตร์, ๒๕๓๓), น. ๑๘, ๒๑.
๒๐ เหล็ง ศรีจันทร์ , “ว่า ด้วยความเสื่อมซามแลความเจริญของประเทศ” ใน ร.ต.
เหรียญ ศรีจันทร์ และ ร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์, ป ิวัติ ร.ศ. ๑ ๐ (กรุงเทพฯ :
ศิลปวัฒนธรรม, ๒๕๕๖) น. ๒๔๖-๗.
๒๑ เหล็ง, “ว่าด้วยความเสื่อมซามแลความเจริญของประเทศ”, น. ๒๔๗.
๒๒ เบนจามิน เอ. บัทสัน, อวสำนสมบูร ำ ำสิทธิรำชย์ในสยำม, พรรณงาม เง่า-
ธรรมสาร, สดใส ขันติวรพงศ์, ศศิธร รัชนี ณ อยุธยา แปล, กาญจนี ละอองศรี
ยุพา ชุมจันทร์ บรรณาธิการ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการต�าราสังคมศาสตร์และ
มนุษยศาสตร์, ๒๕๔๓), น. ๔๑-๒.
๒๓ ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอังกฤษว่า “Some kind of guarantee must be found
against an unwise king.” Benjamin A. Batson, Siam’s Political
Future : Documents from the End of the Absolute Monarchy
(Ithaca : Cornell niversity Data Paper , ), p. .
๒๔ ไทยหนุ่ม ๒ ธันวาคม ๒๔๗๑ อ้างใน นครินทร์, กำรป ิวัติสยำม, น. ๑๐๔.

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
๒๕ ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอังกฤษว่า “the authority and prestige of the King
would suffer in the eyes of the People.” Batson, Siam’s Political
Future, p. .
๒๖ เดิมเป็นภาษาอังกฤษว่า “the King is the father of his people and...treats
them as children rather than subjects. The obedience the king
receives is the obedience of love not of fear.” New York Times,
April .
๒๗ ขุนวิจิตรมาตรา, หลักไทย (กรุงเทพฯ : รวมสาส์น, ๒๔๗๑), น. ๙-๑๐.
๒๘ ขุนวิจิตรมาตรา, หลักไทย, น. ๖.
๒๙ ศรีกรุง, ๑๓ พฤศจิกายน ๒๔๗๒.
๓๐ Seksan, ‘Transformation of the Thai state’, p. .
๓๑ อัศวพาหุ (พระนามแฝงของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) พวกยิวแห่ง
บูรพำทิศ (เจริญรัฐ สพานหินวัดสามปลื้ม, ไม่มีวันที่ ๒๔๕๖ ), น. ๓๐.
๓๒ บัทสัน, อวสำนสมบูร ำ ำสิทธิรำชย์ในสยำม, น. ๕๕.
๓๓ สุรียะ, ๑๒ สิงหาคม ๒๔๗๔.
๓๔ ธ�ารงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, ๒๔๗๕ และ ๑ ปีหลังกำรป ิวัติ (กรุงเทพฯ : สถาบัน
เอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิโครงการต�าราสังคมศาสตร์และ
มนุษยศาสตร์, ๒๕๔๓), น. ๓๓.
๓๕ กุหลาบ สายประดิษฐ์, เบื้องหลังกำรป ิวัติ ๒๔๗๕ (กรุงเทพฯ : มิ่งมิตร ๒๕๔๓)
น. ๑๑๐.
๓๖ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, ควำมคิด ควำมรู้ และอ�ำนำจกำรเมืองในกำรป ิวัติสยำม
๒๔๗๕ (กรุงเทพฯ : ฟ้าเดียวกัน, ๒๕๔๖), น. ๓๒๖.
๓๗ เบนจามิน เอ. บัทสัน, อวสำนสมบูร ำ ำสิทธิรำชย์ในสยำม, พรรณงาม เง่าธรรม-
สาร, สดใส ขันติวรพงศ์, ศศิธร รัชนี ณ อยุธยา แปล, กาญจนี ละอองศรี ยุพา
ชุมจันทร์ บรรณาธิการ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการต�าราสังคมศาสตร์และมนุษย
ศาสตร์, ๒๕๔๓), น. ๒๙๕.
๓๘ ๒๖ พฤษภาคม ๒๔๗๔ อ้างใน นครินทร์, ควำมคิด ควำมรู้และอ�ำนำจกำรเมือง,
น. ๒๒๒.
๓๙ ชัยอนันต์ และ ขัตติยา, เอกสำรทำงกำรเมือง-กำรปกครอง, น. ๒๐๙-๑๑.
๔๐ บันทึกความทรงจ�าของ เจ้าพระยามหิธร อ้างใน ธ�ารงศักดิ์, ๒๔๗๕ และ ๑ ปีหลัง
กำรป ิวัติ, น. ๘๐.
๔๑ ๑๑ กรกฎาคม ๒๔๗๕ อ้ า งใน ธ� า รงศั ก ดิ์ , ๒๔๗๕ และ ๑ ปี ห ลั ง กำรป ิ วั ติ ,
น. ๒๒๗.

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


๔๒ สุพจน์ แจ้งเร็ว, “คดียึดพระรำชทรัพย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ”. ศิลปวั น
ธรรม ๒๓. ๘ (มิถุนายน ๒๕๔๕), น. ๖๘.
๔๓ ธ�ารงศักดิ์, ๒๔๗๕ และ ๑ ปีหลังกำรป ิวัต,ิ น. ๒๙๐.
๔๔ อ้างใน ธ�ารงศักดิ์, ๒๔๗๕ และ ๑ ปีหลังกำรป ิวัต,ิ น. ๒๙๕.
๔๕ ณัฐพล ใจจริง, ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ : ความเคลื่อนไหวของขบวนการ
ปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม (พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๕๐๐) (กรุงเทพฯ : ฟ้าเดียวกัน, ๒๕๕๖),
น. ๒๒-๗.
๔๖ แนวควำมคิดประชำธิปไตยของปรีดี พนมยงค์ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิปรีดี พนมยงค์
๒๕๓๕) น. ๒๕๓.
๔๗ สยำมรีวิว, ๗ ธันวาคม ๒๔๗๘ อ้างใน Barmè, Man, Woman, Bangkok,
p. .
๔๘ J. A. Stowe, Siam Becomes Thailand : A Story of Intrigue (Honolulu
: niversity of Hawaii Press), p. .
๔๙ ม.จ.ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน. ๑ ศตวรรษ ศุภสวัสดิ์ (กรุงเทพฯ : อมรินทร์,
๒๕๔๓), น. ๕๑๑.
๕๐ Kobkua, Phibun, p. .
๕๑ สายชล สัตยานุรักษ์, ควำมเปลี่ยนแปลงในกำรสร้ำงชำติไทยและควำมเป็นไทย
โดย หลวงวิจิตรวำทกำร (กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๔๕), น. ๘๖.
๕๒ สายชล, ควำมเปลี่ยนแปลง, น. ๑๓๗.
๕๓ สายชล, ควำมเปลี่ยนแปลง, น. ๔๐-๑, ๕๔.
๕๔ สายชล, ควำมเปลี่ยนแปลง, น. ๑๓๗, ๑๔๑.
๕๕ สายชล, ควำมเปลี่ยนแปลง, น. ๖๓, ๑๒๒.
๕๖ สายชล, ควำมเปลี่ยนแปลง, น. ๖๔.
๕๗ สายชล, ควำมเปลี่ยนแปลง, น. ๔๙.
๕๘ สายชล, ควำมเปลี่ยนแปลง, น. ๗๘, ๘๑, ๘๒.
๕๙ เออิจิ มูราชิมา, กำรเมืองจีนสยำม : กำรเคลื่อนไหวทำงกำรเมืองของชำวจีนโพ้น
ทะเลในประเทศไทย ค.ศ. ๑ ๒๔-๑ ๔๐ (กรุงเทพฯ : ศูนย์จีนศึกษา จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๙), น. ๑๖๘.
๖๐ นครินทร์, ควำมคิด ควำมรู้และอ�ำนำจกำรเมือง, น. ๓๔๖, ๓๕๘.
๖๑ สายชล, ควำมเปลี่ยนแปลง, น. ๓๑.
๖๒ สายชล, ควำมเปลี่ยนแปลง, น. ๓๑.
๖๓ ก้องสกล กวินรวีกุล, “กำรสร้ำงร่ำงกำยพลเมืองไทยในสมัยจอมพล ป. พิบูลสง-
ครำม พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๗”, วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต
(มานุษยวิทยา) มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๕, น. ๒๔.

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
๖๔ สายชล, ควำมเปลี่ยนแปลง, น. ๑๓๕.
๖๕ ยงค์ ชุติมา, “ท�ำไมต้องป ิรูปอำหำรกำรกินของชำติ ”, น. ๓๗ อ้างใน ทวีศักดิ์
เผือกสม, เชื้อโรค ร่ำงกำย และรัฐเวชกรรม : ประวัติศำสตร์กำรแพทย์สมัยใหม่
ในสังคมไทย (กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๐)
๖๖ อ้ า งใน Kobkua Suwannathat-Pian, Thailand’s Durable Premier :
Phibun through Three Decades, 1932-1957 (Kuala Lumpur : O ford
niversity Press, ), p. .
๖๗ อ้างใน E. Bruce Reynolds, Thailand and Japan’s Southern Advance
- (St. Martin’s Press, ), p. .
๖๘ Reynolds, Thailand and Japan’s Southern Advance, p. .
๖๙ สายชล, ควำมเปลี่ยนแปลง, น. ๑๓๖.
๗๐ เนตร เขมะโยธิน, งำนใต้ดินของพันเอกโยธี (กรุงเทพฯ : ธนะการพิมพ์, ๒๕๐๐),
น. ๑.

บทที ๖
๑ ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอังกฤษว่า “frightened because they think their
property might be confi ca ed ” and “the e tremists among them still
hope against hope for a restoration of the Absolute Monarchy as
a means of restoring their own lost privileges.” บันทึก ๒๐ มิถุนายน
๒๔๙๐ ใน ม.จ.ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท, ๑ ศตวรรษ ศุภสวัสดิ,์ น. ๕๑๔, ๕๓๓.
๒ ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอังกฤษว่า “We could never get over the suspicion
that Pridi was a Communist.” อ้ า งใน J. K. Ray, Portraits of Thai
Politics (New elhi : rient Longman, ), p. .
๓ ตราน วัน เกียว (Tran van Giau) อ้างใน C. F. Goscha, Thailand and the
Southeast Asian Networks of the Vietnamese Revolution, -
(London : Curzon, ), p. .
๔ ทักษ์ เฉลิมเตียรณ, กำรเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จกำร, พรรณี ฉัตรพล-
รักษ์, ม.ร.ว.ประกายทอง สิริสุข, ธ�ารงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ แปล (กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๒๖), น. ๕๒.
๕ อ้างใน Kobkua, Thailand’s Durable Premier, p. .
๖ วิชัย ประสังสิต, อำนันทมหิดล รัชกำลที่ ๘ ถูกคนร้ำยลอบปลงพระชนม์ (ธนบุรี,
ธรรมเสวี, ๒๕๑๓) น. ๒๘๗.
๗ อ้างใน D. Fineman, A Special Relationship : The United States and
Military Government in Thailan , - (Honolulu: niversity of
Hawaii Press, ), p. .

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


๘ อ้างใน Fineman, Special Relationship, p. .
๙ Fineman, Special Relationship, p. .
๑๐ อ้างใน สายชล, ควำมเปลี่ยนแปลง, น. ๑๕๑.
๑๑ ไทยรำยวัน, ๒๖ มิถุนายน ๒๕๐๐ อ้างใน ณัฐพล ใจจริง, “จุดเปลี่ยน ๒๕๐๐ ใน
สายตาอเมริกา” ฟำเดียวกัน ๑๐, ๒ (๒๕๕๕), น. ๑๘๖.
๑๒ ภาพยนตร์นี้สร้างจากหนังสือ “ควำมทรงจ�ำของแอนนำ เลียวโนเวนส์” เป็นครูสอน
หนังสือให้กับพระราชโอรสของรัชกาลที่ ๔ เมื่อทศวรรษ ๒๔๐๐ เป็นตัวแบบจินต
นาการเกี่ยวกับสังคมตะวันออกของชาวอเมริกัน ฮอลลีวู้ดเสริมแต่งให้รัชกาลที่ ๔
และแอนนา มีโรแม้นซ์ และเพิ่มเติมเรื่องอื่นๆ ซึ่งไม่มีปรากฏในหนังสือต้นฉบับ
หลายอย่าง
๑๓ Fineman, Special Relationship, p. .
๑๔ ณัฐพล, ขอ ันใ ใน ันอันเหลือเชื่อ, น. ๓๒๑.
๑๕ ทักษ์, กำรเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จกำร, น. ๒๗๒.
๑๖ ทักษ์, กำรเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จกำร, น. ๒๗๓.
๑๗ ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอังกฤษว่า “pariah entrepreneurs.” F. W. Riggs, Thai-
land : The Modernization of a Bureaucratic Polity (Honolulu : East-
West Center Press, ).
๑๘ โบตัน (สุภา สิริสิงห), จดหมำยจำกเมืองไทย (กรุงเทพฯ : บรรณกิจ, ๒๕๑๓),
น. ๕๖๖.
๑๙ Takashi Tomosugi, A Structural Analysis of Thai Economic History :
A Case Study of a Northern Chao Phraya Delta Village (Tokyo :
Institute of Developing Economies, ), p. - .
๒๐ พุ่มพวง ดวงจันทร์ “เศรษฐีเมืองสุพรรณ” อัลบั้ม จูบก่อนจำก.
๒๑ คุณหญิง มณี สิริวรสาร, ชีวิตเหมือน ัน (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรุงเทพฯ, ๒๕๓๐)

บทที ๗
๑ ทักษ์, กำรเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จกำร, น. ๑๙๓.
๒ ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอังกฤษว่า “buy Thai goods; love Thailand and love
to be a Thai; live a Thai life, speak Thai, and esteem Thai culture.”
เป็นภาษิตในต�าราโรงเรียนสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ อ้างใน C. F. Keyes
(ed.), Reshaping Local Worlds: Formal Education and Cultural
Change in Rural Southeast Asia (New Haven: ale Southeast Asian
Studies, ), p. .

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
๓ ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอังกฤษว่า “ ifie himself as the King of Right-
eousness.” Prince Dhani Nivat, “The old Siamese conception of the
monarchy,” Journal of the Siam Society , ( ), p. .
๔ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร พระนิพนธ์บำงเรื่อง (กรุงเทพฯ :
ตีรณสาร, ๒๕๑๒) น. ๓๗-๘.
๕ พระยาศรีวิสารวาจา, พระมหำกษัตริย์ในประเทศไทย พิมพ์แจกในงานอายุครบ ๕
รอบ วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๐, น. ๓.
๖ ต้ น ฉบั บ เดิ ม เป็ น ภาษาอั ง กฤษว่ า “ever kept before the public eye in
literature, in sermons, and in any other channel of publicity.” Prince
Dhani Nivat, “The old Siamese conception of the monarchy,” p. .
๗ ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอังกฤษว่า “corrupt and uncouth” เอกอัครราชทูตอังกฤษ
อ้างใน Kobkua Suwannathat-Pian, Kings, Country and Constitutions :
Thailand’s Political Development 1932-2000 (London : Routledge
Curzon, ), p. .
๘ อ้างใน ทักษ์, กำรเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จกำร, น. ๑๖๕.
๙ อ้างใน ทักษ์, กำรเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จกำร, น. ๑๘๗.
๑๐ อ้างใน ทักษ์, กำรเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จกำร, น. ๒๐๑.
๑๑ อ้างใน ทักษ์, กำรเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จกำร, น. ๑๙๑-๒.
๑๒ พระยาอนุมานราชธน “ชีวิตของชาวนา” ใน ประเพ ีเบ็ดเตล็ดของเสฐียรโกเศศ
(กรุงเทพฯ : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, ๒๖๐๘), น. ๑๙๓-๔.
๑๓ “ศรีบูรพา, ขอแรงหน่อยเถอะ (กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า, ๒๕๔๕) น. ๒๑๘.
๑๔ Somsak Jeamteerasakul, “The communist movement in Thailand”,
PhD thesis, Monash niversity ( ), p. .
๑๕ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, “ประวัติ พคท. ฉบับ พคท. (๑)”, ฟำเดียวกัน ๑, ๑ (๒๕๔๖),
น. ๑๘๓.
๑๖ ต้ น ฉบั บ เดิ ม เป็ น ภาษาอั ง กฤษ พล.อ. สายหยุ ด เกิ ด ผล “The inescapable
reality is the insurgents and communist revolutionaries...have grown
steadily, virtually untouched, for as much as ten years...they are
largely secure in their jungle and forest base areas where the
government forces, police or military, rarely care to venture.” Saiyud
Kerdphol, The Struggle for Thailand: Counter Insurgency 1965-1985
(Bangkok : S. Research Center, ), p. .
๑๗ ต้ น ฉบับ เดิม เป็ น ภาษาอัง กฤษ แปลจากภาษาอัง กฤษ. สุ ลัก ษ ์ ศิว รัก ษ์ . “By
, there were no intellectuals left...The universities were con-

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


trolled entirely by the military.” Sulak Sivaraksa, When Loyalty
Demands Dissent: Autobiography of an Engaged Buddhist (Bangkok
: Thai Inter-religious Commission for Development, ), p. .
๑๘ พระราชทานแก่คณะข้าราชการพ่อค้าประชาชนจังหวัดชลบุรี วันพฤหัสบดี ๕ มิถุ-
นายน ๒๕๑๒ from www.ohm.go.th
๑๙ ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอังกฤษว่า “students must be controlled...kept in
check” as student demonstrations were “very wrong.” Kobkua, Kings,
Country and Constitutions, p. .
๒๐ ต้ น ฉบั บ เดิ ม เป็ น ภาษาอั ง กฤษว่ า Bangkok World, November ,
“Never, in my long political career, have MPs caused such trouble
to government administration as in these recent times. Some of
them even attacked me over my private affairs.” อ้างใน D. Morell,
‘Thailand : military checkmate’, Asian Survey, , ( ), p. .
๒๑ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ “๑ ตุลำ บันทึกประวัติศำสตร์” หนังสือใน CD (กรุงเทพฯ :
มูลนิธิโครงการต�าราฯ ๒๔๕๘) น. ๓๕.
๒๒ จิตร ภูมิศักดิ์, โฉมหน้ำศักดินำไทย (กรุงเทพฯ : ดอกหญ้า ๒๕๔๓).
๒๓. Somboon Suksamran, Buddhism and Politics in Thailand (Singapore :
Institute of Southeast Asian Studies, ), p. .
๒๔ K. A. Bowie, Rituals of National Loyalty: An Anthropology of the
State and the Village Scout Movement in Thailand (New ork :
Columbia niversity Press, ), p. .
๒๕ ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ จัตุรัส ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๕๑ (๒๙ มิถุนายน ๒๕๑๙).
๒๖ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล, ปำกค�ำประวัติศำสตร์: บทสัมภำษ ์คัดสรรในรอบสอง
ทศวรรษ (กรุงเทพฯ : สามัญชน, ๒๕๓๑), น. ๒๐๕.
๒๗ เสกสรรค์, ปำกค�ำประวัติศำสตร์, น. ๔๔.

บทที ๘
๑ ต้ น ฉบั บ เดิ ม เป็ น ภาษาอั ง กฤษว่ า “I have a vision. It is of S dollars,
Deutschmarks all in into Thailand, millions and millions of them.”
The Nation ๒๖ มกราคม ๒๕๒๐ อ้างใน M. K. Connors, Democracy and
National Identity in Thailand (New ork and London: Routledge
Curzon, ), p. .
๒ บัญญัติ สุรการวิทย์, “ความสัมพันธ์ ไทย-ญี่ปุ่น : ภาพพจน์ที่ไม่เปลี่ยนแปลง,”
มติชนรำยวัน, ๒ พฤษภาคม ๒๕๒๖.

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
๓ รัฐกร อัสดรธีรยุทธ์, บุญชู โรจนเสถียร. ำร์เศรษฐกิจ ผู้ไม่รู้จักค�ำว่ำชนะ. (กรุง
เทพฯ : ดอกเบี้ย, ๒๕๓๖), น. ๓๘-๔๔.
๔ นิธิ เอียวศรีวงศ์ , กำรเมืองไทยสมัยพระเจ้ำกรุงธนบุรี (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒน
ธรรม, ๒๕๒๙), ค�าน�า.
๕ ธนวัฒน์ ทรัพย์ไพบูลย์, ต�ำนำนชีวิตเจ้ำสัว : ๕๕ ตระกูลดัง ภาค ๑ และ ภาค ๒
(กรุงเทพฯ : เนชั่น ๒๕๔๔).
๖ เกษียร เตชะพีระ, แลลอดลายมังกร : รวมข้อเขียนว่าด้วยความเป็นจีนในสยาม
(กรุงเทพฯ : คบไฟ, ๒๕๓๗), น. ๑๖.
๗ เกษียร เตชะพีระ, แลลอดลำยมังกร, น. ๑๒๖-๗.
๘ ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอังกฤษว่า “ per cent Cantonese born in Thai-
land.” สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง ใน The Nation, April , .
๙ พงษ์สิทธิ์ ค�าภีร์ “บ้าน” อัลบั้ม ค�ำนึงถึงบ้ำน ๒๕๔๐.
๑๐ สมชัย ภัทรธนานันท์, “การเมืองของสังคมหลังชาวนา : เงื่อนไขการก่อตัวของคน
เสื้อแดงในภาคอีสาน”, ฟำเดียวกัน, ๑๐, ๒ (๒๕๕๕), น. ๑๓๒.
๑๑ เสรี พงศ์พิศ. “จากภูมิปัญญาสู่เครือข่ายและเศรษฐศาสตร์ชาวบ้าน” ใน ภูมิปั ำ
ชำวบ้ำนกับกำรพั นำชนบท. เสรี พงศ์พิศ บรรณาธิการ (กรุงเทพฯ : อมรินทร์
๒๕๓๖) น. ๔๖๗.
๑๒ วีระพล โสภา. อ้างใน ประภาส ปิ่นตบแต่ง, กำรเมืองบนท้องถนน วัน “สมัชชำ
คนจน” (กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยและผลิตต�ารา. มหาวิทยาลัยเกริก, ๒๕๔๐), น. ๑๕๐.
๑๓ สมชัย ภัทรธนานันท์ เขียน อัญชลี มณีโรจน์ แปล. “การเมืองของสังคมหลังชาวนา
: เงื่อนไขการก่อตัวของคนเสื้อแดงในภาคอีสาน”. ฟำเดียวกัน ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๒
(๒๕๕๕) น. ๑๓๒.
๑๔ สุจิตต์ วงษ์เทศ, คนไทยอยู่ที่นี่ (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, ๒๕๒๙) หลังจาก
สุจิตต์ไปพบกลุ่มคนไทอาศัยอยู่ในเมืองจีนทางใต้ ปรับเป็น คนไทยอยู่ที่นี่ ที่
อุษำคเนย์ (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ ส�านักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม,
๒๕๓๗).
๑๕ ธิดา สาระยา, อำรยธรรมไทย (กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๓๙).

บทที ๙
๑ อุดมกำร ์ของชำติ (กรุงเทพฯ : คณะอนุกรรมการอุดมการณ์ของชาติในคณะ
กรรมการเอกลักษณ์ของชาติ, ๒๕๒๖), น. ๒๐.
๒ ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอังกฤษว่า “the king found it impossible to manage
the nation’s affairs single-handedly” National Identity fice fice

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


of the Prime Minister, Thailand in the 1980s (Bangkok : Muang
Boran Publishing House, ), pp. - .
๓ ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอังกฤษว่า “where democracy is practiced in its
purest form” fice of the Prime Minister, Thailand in the 1980s,
pp. - .
๔ ประจักษ์ สว่ำงจิตร อ้างใน Chai-Anan Samudavanija, The Thai oung
Turks (Singapore : Institute of Southeast Asian Studies, ), p. .
๕ “ค�าสั่งส�านักนายกรัฐมนตรีที่ ๖๕ ๒๕๒๕ เรื่องแผนรุกทางการเมือง” ข้อ ๗.๒.๔.๑
ใน ชวลิต ยงใจยุทธ, ยุทธศำสตร์กำรต่อสู้เพื่อเอำชนะคอมมิวนิสต์ (กรุงเทพฯ :
อุดมศึกษา, ๒๕๓๒), น. ๑๘๔.
๖ อ้างใน Suchit Bunbongkarn ( ), The Military in Thai Politics 1981-
86 (Singapore : Institute of Southeast Asian Studies, ), p. .
๗ “ค� า สั่ ง ส� า นั ก นายกรั ฐ มนตรี ที่ ๖๖ ๒๕๒๓ เรื่ อ ง นโยบายการต่ อ สู ้ เ พื่ อ เอาชนะ
คอมมิวนิสต์” ข้อ ๔.๓ ใน ชวลิต, ยุทธศำสตร์กำรต่อสู้เพื่อเอำชนะคอมมิวนิสต์,
น. ๑๗๗.
๘ “ค�าสั่งส�านักนายกรัฐมนตรีที่ ๖๕ ๒๕๒๕ เรื่องแผนรุกทางการเมือง” ข้อ ๗.๒.๔.๑.๒
๙ ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอังกฤษว่า “we had a ‘hunting unit’. It was easy.
We got a list of communist leaders, then...bang That’s it. Then we
went home and rested”. Bangkok Post, September .
๑๐ พระรำชด�ำรัสพระรำชทำนแก่ค ะบุคคลต่ำง ที่เข้ำเ ำ ถวำยชัยมงคลในโอกำส
วันเฉลิมพระชนมพรรษำ วันพุธที่ ๔ ธันวำคม ๒๕ ๔ (กรุงเทพฯ : อมรินทร์,
๒๕๓๕).
๑๑ ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอังกฤษว่า “Misunderstandings arise between people
in rural areas and the rich, so-called civilized people in Bangkok.
People in rural Thailand say they are neglected and we try to fill
that gap by staying with them in remote areas.” D. D. Grey (ed.),
The King of Thailand in World Focus (Bangkok: FCCT, ), p. .
๑๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง “ประกาศเปลี่ยนธรรมเนียมใหม่
ให้ ผู ้ น ้ อ ยเลิ ก หมอบคลานกราบไหว้ ต ่ อ เจ้ า นายและผู ้ มี บ รรดาศั ก ดิ์ จุ ล ศั ก ราช
๑๒๓๕” (พ.ศ. ๒๔๑๖) เนื่องในพระราชพิธีราชาภิเษกครั้งที่ ๒ พระชนมายุ ๒๐
พรรษา, ประกาศในหนังสือ รำชกิจจำนุเบกษำ เล่มที่ ๑, จุลศักราช ๑๒๓๕.
๑๓ ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอังกฤษว่า“not out of any divine right, but by the
consent of his fellow peers,” and hence “a Thai King is judged by

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
the sole criterion of how much enefi and happiness he could bring
to the country.” fice of His Majesty’s Principal Private Secretary,
A Memoir of His Majesty King Bhumibol Adulyadej of Thailand, to
Commemorate the Sixtieth Royal Birthday Anniversary (Bangkok,
), p. .
๑๔ ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอังกฤษว่า “If the people do not want me, they can
throw me out, eh?” D. D. Grey (ed.), The King of Thailand in World
Focus (Bangkok: FCCT, ), p. .
๑๕ มติชน ๑๘ และ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๓๘.
๑๖ ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอังกฤษว่า “French in foundation and American in
ideal.” Tongnoi Tongyai, Entering the Thai Heart (Bangkok : Bang-
kok Post, ), p. .
๑๗ ต้ น ฉบับ เดิม เป็ น ภาษาอัง กฤษว่ า “an alien concept.” National Identity
fice, Thailand in the 1980s, p. .
๑๘ ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา. พระมหำชนก-The story
of Mahajanaka (กรุงเทพฯ : อมรินทร์, ๒๕๓๙) น. ๑๔๐.
๑๙ ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอังกฤษว่า “beacon of hope...symbol of unity...pillar
of stability,” working to overcome “the ‘forces of greed’ represented
by the collaboration of unscrupulous private investors, politicians,
and public o ficial ”. King Bhumibol Adulyadej: Thailand’s Guiding
Light (Bangkok : Post Publishing, ), pp. - , .
๒๐ ประมวล รุจนเสรี, พระรำชอ�ำนำจ http: power.manager.co.th ๒๙ กรกฎาคม
๒๕๔๘.
๒๑ ไทยรัฐ, ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๓.
๒๒ ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาอังกฤษว่า “the army could not claim they had the
full support of the country.” โคทม อารี ย า อ้ า งใน W. A. Callahan,
Imagining Democracy : Reading “The Events of May” in Thailand
(Singapore : ISEAS, ), p. .
๒๓ “ประมวลพระราชด� ารัสและพระบรมราโชวาท ที่พระราชทานในโอกาสต่างๆ ปี
พุทธศักราช ๒๕๒๓”, น. ๔๕๓-๔, http: www.opsmoac.go.th article
attach Royal speech .pdf
๒๔ อ้างใน Callahan, Imagining Democracy, p. .

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


๒๕ กระทรวงกลาโหม, ยุทธศำสตร์กำรปองกันประเทศ ฉบับ ๒๕ ๗ (กรุงเทพฯ :
กระทรวงกลาโหม, ๒๕๓๗) น. ๒๖.
๒๖ ชัยอนันต์ สมุทวณิช, โลกำนุวัตรกับอนำคตของประเทศไทย (กรุงเทพฯ : ผู้จัด
การ, ๒๕๓๗), น. ๖๙.
๒๗ ธีรยุทธ บุญมี, สังคมเข้มแข็ง : ควำมคิด-ปรัช ำของธีรยุทธ บุ มี (กรุงเทพฯ :
มิ่งมิตร, ๒๕๓๖).
๒๘ เอนก เหล่าธรรมทัศน์, สองนคราประชาธิปไตย : แนวทำงกำรป ิรูปกำรเมือง
เศรษฐกิจ เพื่อประชำธิปไตย (กรุงเทพฯ : คบไฟ, ๒๕๕๐), น. ๗๙-๘๐.
๒๙ “สรุปสาระส�าคัญ” ใน แผนพั นำเศรษฐกิจและสังคมแห่งชำติ ฉบับที่ ๘ พ.ศ.
๒๕๔๐-๒๕๔๔ (กรุงเทพฯ : ส�านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ, ๒๕๓๙).
๓๐ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) “ความร่มเย็นในวิกฤตไทย: พุทธวิธีในการแก้ปัญหา
วิกฤตของชาติ” ใน พิทยา ว่องกุล, ไทยยุควั นธรรมทำส (กรุงเทพฯ : วิถีทรรศน์,
๒๕๔๑), น. ๓.
๓๑ http: www.opsmoac.go.th article attach Royal speech .pdf
น. ๖๓๑, ๖๓๖.
๓๒ ประเวศ วะสี, เศรษฐกิจพอเพียงและประชำสังคม แนวทำงพลิกฟนเศรษฐกิจ
สังคม (กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน, ๒๕๔๒), น. ๕๙.
๓๓ ค�ากล่าวเปิดงานสัมมนา ใน เอกสารประกอบการสัมมนาประจ� าปี ๒๕๔๒ เรื่อง
“เศรษฐกิจพอเพียง”, http: tdri.or.th seminars yearend
๔ ค�ำประกำศชำตินิยมใหม่. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ บรรณาธิการ (กรุงเทพฯ : ศูนย์
ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๓) น. ๒๘.
๓๕ ชุ ม พร ภั ท รพร, ทั ก ษิ รวยเท่ ำ ไรแน่ (กรุ ง เทพฯ : ธวั ช ชั ย พื ช ผล, ๒๕๔๕)
น. ๑๐๕.
๓๖ “พระราชด�ารัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคลในโอกาส
วันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดาพระราชวังดุสิตฯ วัน
อังคารที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ (ฉบับไม่เป็นทางการ)”, http: kanchana-
pisek.or.th speeches .th.html
๓๗ ส�านักราชเลขาธิการ, ประมวลพระรำชด�ำรัส และพระบรมรำโชวำท ที่พระรำชทำน
ในโอกำสต่ำง พุทธศักรำช ๒๕๔ , น. ๔๓๐.
๓๘ ส�านักราชเลขาธิการ, ประมวลพระรำชด�ำรัส และพระบรมรำโชวำท ที่พระรำชทำน
ในโอกำสต่ำง พุทธศักรำช ๒๕๔ , น. ๔๒๖.
๓๙ มติชนรำยวัน, ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๔๙ น. ๒.

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 
๔๐ ส�านักราชเลขาธิการ, ประมวลพระรำชด�ำรัส และพระบรมรำโชวำท ที่พระรำชทำน
ในโอกำสต่ำง พุทธศักรำช ๒๕๔ , น. ๔๓๑.
๔๑ มติชนรำยวัน, ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๒.
๔๒ อ้างใน Naruemon Thabchumphon and Duncan McCargo, “ rbanized
villagers in the Thai Redshirt protests,” Asian Survey ,
( ), p. .

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


เ กี ย ว กั บ ผู้ เ ขี ย น

คริส เบเคอร์ เกิดที่ประเทศอังกฤษ จบปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับ ๑ และปริญญาเอก


ประวัติศาสตร์อินเดียที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ สอนประวัติศาสตร์เอเชีย
อยู่ที่นั่นเมื่อเกือบสิบปี กระทั่งย้ายมาพ�านักอยู่ที่เมืองไทย เมื่อปี ๒๕๒๒ มีต�าแหน่งเป็น
ผู้อ�านวยการฝ่ายเทคนิคบริษัทวิจัย ผู้จัดการใหญ่บริษัทลินตาสสิงคโปร์ ผู้อ�านวยการฝ่าย
การตลาดบริษัทจอห์นนี่วอล์คเกอร์ ศาสตราจารย์รับเชิญมหาวิทยาลัยเกียวโต
มีผลงานแปลภาษาอังกฤษ อาทิ ปำฐกถำว่ำด้วยประวัติศำสตร์ของรัชกำลที่ ๕
แปลและบรรณาธิการ ปำกไก่และใบเรือ ของนิธิ เอียวศรีวงศ์, ก ม เ ียรบำลในก หมำย
ตรำสำมดวง บรรณาธิการ, ยูเอ็นดีพี Thailand National Human Development ๓
ฉบับ ปัจจุบันเป็นนักวิชาการอิสระ บรรณาธิการกิตติมศักดิ์วารสาร Asian Review จุฬา
ลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Journal of the Siam Society

 คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร


ผาสุก พงษ์ไพจิตร จบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ปัจจุบัน
ด�ารงต�าแหน่งศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหา
วิทยาลัย ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ
เป็นเมธีวิจัยอาวุโส สกว. (๒ ครั้ง) ได้รับทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น เป็นศาสตรา
จารย์ รับ เชิญ ที่ม หาวิท ยาลัย จอห์ น ฮอบกิ้น มหาวิท ยาลัย วอชิง ตัน ที่ซ านดิเ อโก กริฟ ฟิ ซ
เกียวโต โตเกียว (๒ ครั้ง) มีผลงานวิจัยเกี่ยวกับเศรษฐกิจภาคทางการและเศรษฐกิจนอก
ระบบเป็นจ�านวนมาก ผลงานวิจัยเรื่องแรก จำกท้องนำถึงอ่ำงน�้ำอุ่น หรือ From Peasant
Girls to Bangkok Masseuses เป็นเบสท์เซลเล่อร์ขององค์การไอแอลโอที่เจนีวา แปลเป็น
ภาษาญี่ปุ่น คอร์รัปชั่นกับประชำธิปไตยไทย ผลงานร่วม ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น จาก
ป.ป.ช.

นักเขียนทั้งสองมีผลงานร่วมกันหลายเล่ม อาทิ Thailand’s Boom and Bust,


Thaksin แปลเป็นภาษาอังกฤษ เวียดนาม เกาหลี, Thai Capital: After the 1997 Crisis
ฉบับภาษาไทยคือ กำรต่อสู้ของทุนไทย เล่ม ๑-๒, งานแปลผลงานบางเรื่องของนายปรีดี
พนมยงค์ Pridi by Pridi, The Thai Village Economy in the Past ของฉัตรทิพย์
นาถสุภา, งานเขียนร่วม เศรษฐกิจกำรเมืองไทยสมัยกรุงเทพ ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดี
เยี่ยมจากสภาวิจัยแห่งชาติ ฉบับภาษาอังกฤษพิมพ์โดย O ford niversity Press แปล
เป็นภาษาญี่ปนุ่ , งานแปลร่วม The Tale of Khun Chang Khun Phaen ได้รับรางวัล
เบ็คเคอร์ส�าหรับงานแปลวรรณคดีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี ๒๕๕๖ จากสมาคมศึกษา
เอเชียที่สหรัฐอเมริกา (AAS) นอกจากนั้นทั้งสองยังเขียนคอลัมน์ให้กับหนังสือพิมพ์รายวัน
ไทยและอังกฤษ และหนังสือพิมพ์ระหว่างประเทศ อาทิ New York Times และ Wall
Street Journal

ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย 

You might also like