Download as doc, pdf, or txt
Download as doc, pdf, or txt
You are on page 1of 8

สรุปบทเรียนบทที่ 3

สังคมไทยกับสังคมชนบท

สังคม (Social) หมายถึง กลุ่มคนที่อยู่รวมกัน มีความสัมพันธ์กัน พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน


มีระเบียบกฎเกณฑ์และความเชื่อถือที่สำคัญร่วมกัน ตลอดจนมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกันเอง
และระหว่างบุคคลกับกลุ่มสังคม
สังคมไทย (Thai Social) หมายถึง กลุ่มชนชาติที่อาศัยอยู่ร่ วมกันในประเทศไทย มีขนบ
ธรรมเนียมประเพณีแบบไทย มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นต่างจากสังคมอื่น ได้แก่ ภาษาพูด
ภาษาเขียน การแต่งกาย ความเชื่อ มารยาท อาหาร การดำเนินชีวิตที่มีพุทธศาสนาเป็นพื้นฐาน เป็นต้น
สังคมไทย (Thai Social) หมายถึง กลุ่มคนที่อยู่ร่วมกัน ดำเนินชีวิตร่วมกัน อาจมีเชื้อชาติ
ศาสนาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แต่ยึดถือวัฒนธรรมไทยเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตร่วมกัน

สิ่งแวดล้อมที่เป็ นตัวกำหนดลักษณะของสังคม
1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
สังคมไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนที่มีฝนตกชุก ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ และ
อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณธัญญาหาร ทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่เป็นสังคมเกษตรกรรม
มาตั้งแต่อดีต
2. สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม
คือ ส่วนหนึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เราประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาเอง ซึ่งมักจะสอดคล้องกับสิ่ง
แวดล้อมทางธรรมชาติ และอีกส่วนหนึ่งเราได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากสังคมอื่น แล้วนำมา
ดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพการดำเนินชีวิตในสังคม
3. สิ่งแวดล้อมทางสังคม
เป็นสิ่งแวดล้อมที่มีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต เกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือมีอยู่
ตามธรรมชาติ เช่น อากาศ ดิน หิน แร่ธาตุ น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทร
พืชพรรณสัตว์ต่างๆ ภาชนะเครื่องใช้ต่างๆ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
โดยเฉพาะมนุษย์เป็นตัวการสำคัญยิ่งที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงทั้งในทางเสริมสร้างและ
ทำลาย

ลักษณะสังคมไทย
สังคมชนบท ชาวชนบทมักประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ขนาดของชุมชนมีขนาดเล็ก
จึงทำให้คนในชุมชนรู้จักมักคุ้นกัน ค่าครองชีพต่ำ คือสามารถอยู่หากินได้ดีกว่าชุมชนเมือง
ยังสามารถพึ่งพาอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ ความเจริญและเทคโนโลยีสมัยใหม่ยังไม่ทั่วถึง มีการ
รวมตัวกันง่ายกว่าชุมชนเมือง ซึ่งมีกลุ่มอาชีพผลประโยชน์แตกต่างกัน
สังคมเมือง มีความสะดวกสบายในด้านการคมนาคมขนส่ง การสื่อสาร มากกว่าชนบท
มีการพึ่งพาอาศัยกันน้อยกว่าในชนบท เพราะสามารถพึ่งตนเองได้ ชาวเมืองมีส่วนร่วมในกิจกรรม
ทางศาสนา สังคม น้อยกว่าชนบท มีการแบ่งชนชั้นทางสังคมด้วยฐานะทางเศรษฐกิจ ตำแหน่ง
หน้าที่สูงกว่าชนบท มีสถาบันทางเศรษฐกิจสังคมตั้งอยู่มากกว่าชนบท

สถาบันสังคมที่สำคัญของไทย
1. สถาบันครอบครัว
หมายถึง สถาบันสังคมที่เกี่ยวข้องกับแบบแผนการสมรส การอบรมเลี้ยงดูบุตร และ
แบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างเพศ ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าเป็นความถูกต้องทางสังคม สถาบัน
ครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานของสังคมมนุษย์ มีองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้
- องค์การ ได้แก่ ครอบครัว ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่อยู่อาศัยในครัวเรือนเดียวกัน เช่น
บิดา มารดา บุตร และวงศาคณาญาติที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องโดยสายโลหิตหรือโดยการสมรส หรือโดยการ
เป็นบุตรบุญธรรม
- องค์มติ คือ เลี้ยงดูสมาชิกใหม่ ถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมไปสู่สมาชิกใหม่ ซึ่ง
เป็นกระบวนการขัดเกลาทางสังคม เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม หน้าที่อื่นๆ ได้แก่ การ
สนองความต้องการทางจิตใจ ทำหน้าที่ให้ความรัก ความอบอุ่นแก่สมาชิก
- องค์พิธีการ สถาบันครอบครัวประกอบไปด้วยแบบแผนพฤติกรรม ซึ่งเป็นบรรทัดฐาน
ทางสังคม ได้แก่ ขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคมหลายประการ เช่น ประเพณีการหมั้น การสมรส
- องค์วัตถุ สัญลักษณ์ของสถาบันครอบครัวที่สำคัญ เช่น แหวนหมั้น แหวนแต่งงาน
เป็นต้น
2. สถาบันการศึกษา
หมายถึง สถาบันสังคมซึ่งเกี่ยวข้องกับแบบแผนการขัดเกลาและการถ่ายทอดวัฒนธรรม
การให้ความรู้ และการฝึกหัดทักษะอาชีพ เพื่อความเป็นสมาชิกที่เหมาะสมแก่สังคม สถาบัน การ
ศึกษามีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
- องค์การ ได้แก่ องค์การต่างๆ ในสถาบันการศึกษา เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย
สมาคมทางการศึกษา จะประกอบไปด้วย ครู อาจารย์ นักวิจัย วิทยากรผู้ให้การอบรม เป็นต้น
- องค์มติ ถ่ายทอดความรู้ วัฒนธรรม และทักษะ อันจำเป็นในการดำรงชีวิตของสมาชิก
ในสังคม การผลิตกำลังแรงงานทางเศรษฐกิจ ตามความต้องการทางสังคม
- องค์พิธีการ สถาบันการศึกษาประกอบไปด้วยแบบแผนพฤติกรรมต่างๆ เช่น
การจัดระบบการศึกษา แบบแผนการเรียนการสอน แบบแผนความประพฤติของนักเรียน นักศึกษา
เป็นต้น
- องค์วัตถุ สถาบันการศึกษาจะปรากฎในองค์การทางการศึกษาต่างๆ เช่น เข็มเครื่องหมาย
โรงเรียน สีประจำโรงเรียน เป็นต้น
3. สถาบันศาสนา
หมายถึง สถาบันสังคมที่เกี่ยวข้องกับแบบแผนระบบความเชื่อ และความศรัทธาต่อสิ่ง
ที่ควรเคารพบูชาของสมาชิกในสังคม สถาบันศาสนามีความสำคัญต่อการหล่อหลอมความเป็นอัน
หนึ่งอันเดียวกันของสมาชิกในสังคม สถาบันศาสนามีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
- องค์การ ได้แก่ คณะสงฆ์ กลุ่มผู้ปฏิบัติธรรม เป็นต้น โดยมีตำแหน่งหรือสถานภาพ
ทางสังคมแตกต่างกัน เช่น พระสังฆราช เจ้าอาวาส ภิกษุ สามเณร ฆราวาส เป็นต้น
- องค์มติ สร้างความเป็นปึ กแผ่นให้แก่สังคม ทำให้เกิดความสามัคคีและความเป็นอัน
หนึ่งอันเดียวกัน สร้างเสริมและถ่ายทอดวัฒนธรรมแก่สังคม ศาสนาเป็นบ่อเกิดแห่งวัฒนธรรมใน
สังคมอย่างมากมาย โดยเฉพาะวัฒนธรรมทางคติธรรม และวัฒนธรรมทางวัตถุที่มีคุณค่าแก่สังคม
- องค์พิธีการ ย่อมเป็นไปตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ และเป็นไปตามประเพณี
ทางศาสนานั้นๆ เช่น ประเพณีการบวช ประเพณีการทำบุญในวันสำคัญทางศาสนา เป็นต้น
- องค์วัตถุ สัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธรูป ใบเสมา ธรรมจักร เป็นต้น
สำหรับค่านิยมแตกต่างไปตามหลักสถาบันศาสนาของศาสนานั้นๆ เช่น พระพุทธศาสนามีค่านิยม
และความเชื่อในเรื่องบาปบุญที่แต่ละบุคคลกระทำ เป็นต้น
4. สถาบันเศรษฐกิจ
หมายถึง สถาบันสังคมที่เกี่ยวข้องกับแบบแผนการสนองความต้องการเกี่ยวกับความ
จำเป็นทางวัตถุเพื่อการดำรงชีวิต เป็นแบบแผนพฤติกรรมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การกระจาย
สินค้าและบริการไปสู่ผู้บริโภค ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ สถาบันเศรษฐกิจ
มีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
- องค์การ กลุ่มสังคมในสถาบันเศรษฐกิจมีเป็นจำนวนมาก เช่น กลุ่มบุคคลในบริษัท
ร้านค้า โรงงาน และองค์การทางเศรษฐกิจต่างๆ แต่ละกลุ่มสังคมประกอบไปด้วยตำแหน่งและบทบาท
หน้าที่ ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
- องค์มติ ผลิตสินค้า เพื่อสนองความต้องการของสมาชิกในสังคมชีพ เช่น อาหาร
เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค บ้านเรือนที่อยู่อาศัย และกระจายสินค้าที่ผลิตไปสู่สมาชิกในสังคม
อย่างทั่วถึง
- องค์พิธีการ ประกอบด้วย แบบแผนพฤติกรรมที่มีความสำคัญในการดำรงชีวิตร่วมกัน
ของสมาชิกในสังคม ได้แก่ แบบแผนในการผลิตสินค้า แบบแผนการจัดระบบการตลาดและการบริการ
แบบแผนของการประกอบอาชีพต่างๆ
- องค์วัตถุ สถาบันเศรษฐกิจส่วนใหญ่ เป็นสัญลักษณ์ขององค์การสังคมต่างๆ ของสถาบัน
เศรษฐกิจ เช่น เครื่องหมายการค้า สัญลักษณ์
5. สถาบันการเมืองการปกครอง
เป็นสถาบันสังคมที่เป็นแบบแผนที่เกี่ยวข้องกับการสนองความต้องการของสมาชิกในการ
ดำรงชีวิตตามกฎระเบียบของสังคม ควบคุมกลุ่มคนต่างๆ ในสังคมให้ดำรงชีวิตร่วมกันอย่างมีระเบียบ
และมีความปลอดภัย สถาบันการเมืองการปกครองมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
- องค์การ ประกอบด้วยกลุ่มสังคมต่างๆ ที่สำคัญ มีการจัดระเบียบอย่างชัดเจนที่เรียกว่า
องค์การ เช่น สภานิติบัญญัติ คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม พรรคการเมือง เป็นต้น
- องค์มติ สร้างระเบียบกฎเกณฑ์ให้แก่สังคม โดยมีองค์การที่ทำหน้าที่สร้างกฎหมาย
เพื่อคุ้มครองให้ระบบความสัมพันธ์ของสถาบันอื่นๆ ในสังคมดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ของ
สถาบันนั้น
- องค์พิธิการ ประกอบไปด้วยแบบแผนพฤติกรรม เพื่อสนองหน้าที่ต่างๆ ของสถาบัน
ให้บรรลุผล เช่น แบบแผนพฤติกรรมในการเลือกตั้ง แบบแผนพฤติกรรมในการประชุมรัฐสภา
แบบแผนการสอบสวนและพิจารณาคดี เป็นต้น
- องค์วัตถุ สัญลักษณ์ที่สำคัญของสถาบันการเมืองการปกครอง ได้แก่ ธงชาติ เพลงชาติ
เครื่องหมายสัญลักษณ์ขององค์การราชการแต่ละแห่ง เป็นต้น สำหรับค่านิยมของสถาบันการเมือง
การปกครอง มีความแตกต่างกันตามวัฒนธรรมของแต่ละสังคม เช่น ค่านิยมในการปกครองระบบ
ประชาธิปไตย

ค่านิยมของสังคมไทย
ค่านิยม (Value) คือ สิ่งที่กลุ่มสังคมหนึ่งๆ เห็นว่าเป็นสิ่งที่น่านิยม น่ากระทำ น่ายกย่อง
เป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม เหมาะสมที่จะยึดถือพึงปฏิบัติร่วมกันในสังคม
ค่านิยมเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม เนื่องจากมีการเรียนรู้ปลูกฝังและถ่ายทอดจากสมาชิก
รุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง สังคมแต่ละสังคมจึงมีค่านิยมแตกต่างกันไป ค่านิยมช่วยให้การดำเนินชีวิต
ในสังคมมีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน และทำให้การดำเนินชีวิตของสมาชิกมีเป้ าหมายช่วยสร้าง
ความปึ กแผ่นให้แก่สังคม ค่านิยมแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. ค่านิยมของบุคคล อาจจะแสดงออกได้จากการตัดสินใจแต่ละคน ตามความถนัดและ
ความสนใจของแต่ละบุคคล
2. ค่านิยมของกลุ่มหรือค่านิยมสังคม แสดงถึงบุคคลในสังคมปรารถนาอะไรใน
สถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง

ค่านิยมที่ควรปลูกฝังในสังคมไทย ได้แก่
1. การรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2. ความเอื้อเฟื้ อเผื่อแผ่
3. ความกตัญญูกตเวที
4. ความซื่อสัตย์สุจริต
5. การเคารพผู้อาวุโส
6. การนิยมของไทย
7. การประหยัด
ค่านิยมที่ควรแก้ไขในสังคมไทย ได้แก่
1. การเห็นคุณค่าของเงินตรา สิ่งของ มากกว่าคุณค่ามนุษย์
2. ยึดถือโชคลาง การเสี่ยงโชค
3. ขาดระเบียบวินัย
4. ไม่ประมาณตนในการดำเนินชีวิต
5. ชิงดีชิงเด่น
6. ความนิยมวัฒนธรรมตะวันตก

การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
การเปลี่ยนแปลงเป็นลักษณะธรรมชาติของสังคมมนุษย์และย่อมเกิดขึ้นในทุกสังคม แต่จะ
เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับกาลเวลา และอาจเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือเลวลงก็ได้
ประเภทของการเปลี่ยนแปลง เราอาจจำแนกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคม ออกเป็น
2 ประเภท คือ
1. การเปลี่ยนแปลงทางสังคม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมและระบบ
ความสัมพันธ์ของกลุ่มคน เช่น ความสัมพันธ์ในครอบครัวระหว่างพ่อ แม่ ลูก นายจ้าง ลูกจ้าง เป็นต้น
2. การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิต ความรู้
ความคิด ค่านิยม อุดมการณ์ และบรรทัดฐานทางสังคม ซึ่งรวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ
ของสังคม โดยรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาสู่วัฒนธรรมไทย เป็นเหตุให้ละเลยหรือหลงลืม
วัฒนธรรมไทยบางอย่าง
แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
สังคมไทยปัจจุบัน ผ่านเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์หรือโลกไร้พรมแดน ที่มีการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว โดยไม่อาจควบคุมด้วยเครื่องมือ เทคโนโลยี หรือกฎหมายของรัฐได้ สังคมไทย
จึงเป็นสังคมที่สามารถรับวัฒนธรรมจากทุกมุมโลก ทำให้เกิดการนำวัฒนธรรมหลายอย่างมาใช้ เช่น
แฟชั่นการแต่งกาย การตกแต่งร่างกาย การใช้คำพูดตามคำโฆษณา การใช้เวลาว่างตามห้างสรรพสินค้า
ปัญหาสังคมของไทยและแนวทางในการแก้ปัญหา
ปัญหาสังคม คือ ปัญหาหรือสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม และสภาวการณ์นั้นกระทบ
กระเทือนต่อคนส่วนมากในสังคม เป็นวิถีทางที่ไม่พึงปรารถนา
1. ปัญหาประชากร ปัจจุบันประเทศไทยประสบกับปัญหาประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
และมีจำนวนประชากรมากจนไม่อาจจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ให้เพียงพอได้
แนวทางแก้ปัญหา การวางแผนครอบครัวและการให้การศึกษาเรื่องประชากร
2. ปัญหาสิ่งเสพติด เป็นปัญหาสำคัญของชาติในปัจจุบัน เนื่องจากมีการระบาดอย่างรุนแรง
ทั้งในเขตเมืองและชนบท โดยเฉพาะกลุ่มของเยาวชน
แนวทางแก้ปัญหา การให้ความรู้เรื่องโทษของสิ่งเสพติด การร่วมมือระหว่างโรงเรียน
กับผู้ปกครองเพื่อดูแลความประพฤติของเด็กอย่างใกล้ชิด การส่งเสริมสุขภาพจิต
3. ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็ นพิษ สิ่งแวดล้อมเป็นพิเศษได้ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ
อากาศเสียเต็มไปด้วยควันไอเสียจากรถยนต์ ฝุ่ นละอองจากโรงงาน คนสูดอากาศเป็นพิษทำให้เกิด
อันตรายต่อสุขภาพ น้ำในลำคลองเน่าเหม็น ใช้อุปโภคบริโภคไม่ได้ เพราะโรงงานต่างๆ ปล่อยน้ำเสียลง
ไปในแม่น้ำ ลำคลอง ประชาชนทิ้งเศษขยะเน่าเหม็นลงแม่น้ำ ฯลฯ
แนวทางแก้ปัญหา การใช้มาตรการทางกฎหมายควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษที่เป็นปัญหา
สังคม
4. ปัญหาความยากจน สภาพการดำรงชีวิตของบุคคลที่มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย ไม่สามารถ
จะหาสิ่งจำเป็นมาสนองความต้องการทางร่างกายและจิตใจได้อย่างเพียงพอ จนทำให้บุคคลนั้นมีสภาพ
ความเป็นอยู่ที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่สังคมวางไว้ ความยากจนขึ้นอยู่กับมาตรฐานของแต่ละ
สังคม
แนวทางแก้ปัญหา พัฒนาด้านการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของประชากร
5. ปัญหาอาชญากรรม เป็นการกระทำที่มีความผิดทางอาญา อันมีผลกระทบต่อการอยู่
ร่วมกันของประชาชนในสังคม รัฐจำเป็นต้องออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ร่างกาย ชีวิต
และทรัพย์สินของประชาชน
แนวทางแก้ปัญหา รัฐต้องเร่งแก้ไขปัญหาความยากจน ปัญหาการว่างงาน ขาดแคลน
ที่ดินทำกิน
6. ปัญหาโรคเอดส์ เป็นปัญหาที่สำคัญในระดับชาติ เพราะการแพร่กระจายของโรคเอดส์
เป็นไปอย่างรวดเร็วและอาจลุกลามเข้าสู่สถาบันครอบครัวและประชาชนกลุ่มอื่นๆ โดยยากที่จะแก้ไข
จึงถือเป็นภารกิจเร่งด่วนและสำคัญประการหนึ่งที่จะต้องดำเนินการ เพื่อป้ องกันและควบคุมการ
ขยายตัว
แนวทางแก้ปัญหา ให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์และเพศศึกษา

สังคมไทยในอดีต
สังคมไทยโบราณ มีการแบ่งคนเป็นชนชั้นต่างๆ เพราะความต้องการแรงงานในการผลิต
และการสงคราม ลักษณะชนชั้นในสังคมไทย คือ
1. เป็นระบบอุปถัมถ์ คือ พึ่งพาอาศัยกัน
2. เลื่อนชั้นได้ตามความสามารถ
สมัยสุโขทัย
มีการแบ่งคนออกเป็น 2 ชั้น ได้แก่
1. ชนชั้นปกครอง ได้แก่ พระมหากษัตริย์และขุนนาง
2. ชนชั้นผู้ถูกปกครอง ได้แก่ ไพร่และข้า
สมัยอยุธยา
การควบคุมกำลังคน แบ่งเป็น 2 ระบบ คือ ระบบไพร่และระบบศักดินา
สังคมไทยในสมัยอยุธยา แบ่งออกเป็น 4 ชั้น ได้แก่ เจ้า ขุนนาง ไพร่ ทาส ส่วนพระสงฆ์
ถือเป็นชนชั้นพิเศษ
เจ้า หมายถึง พระมหากษัตริย์และเจ้านาย ซึ่งหมายถึง ผู้สืบเชื้อสายใกล้ชิดพระมหากษัตริย์
ได้แก่ เจ้าฟ้ า พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า ถือศักดินาลดหลั่นกันลงไป และมีสิทธิพิเศษ คือ ไม่ต้องถูก
เกณฑ์แรงงาน ไม่ต้องเสียภาษี ได้ผลประโยชน์จากไพร่ในสังกัด ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดประจำ
ปี
ขุนนาง (นาย, มูลนาย) คือ ข้าราชการมีบทบาทสำคัญด้านการปกครอง ถือศักดินา 400 –
10,000 ไร่ ประกอบด้วย ยศศักดิ์ 4 อย่าง คือ ยศ ตำแหน่ง ราชทินนาม ศักดินา
สิทธิของขุนนาง ได้แก่
1. ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน
2. ขุนนางผู้ใหญ่เข้าเฝ้ าพระมหากษัตริย์ใกล้ชิดได้
3. ได้ผลประโยชน์จากไพร่
4. ได้ผลประโยชน์จากตำแหน่งหน้าที่การงาน
ไพร่ คือ ประชาชน ซึ่งถือว่าเป็นคนกลุ่มใหญ่ของสังคม ถือศักดินา 10 – 25 ไร่ มีหน้าที่รับใช้
ราชการโดยสังกัดมูลนาย เพื่อจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ไพร่หลวง คือ คนของทางราชการ มีหน้าที่ทำงานให้กับทางราชการโดยการเกณฑ์แรงงาน
2. ไพร่สม คือ คนของขุนนาง มีหน้าที่ทำงานกับขุนนาง
การเกณฑ์แรงงาน หมายถึง การทำงานให้กับทางราชการ โดยไม่ได้ค่าตอบแทน ในสมัยอยุธยา
ความต้องการแรงงานมีมาก เกณฑ์แรงงานไพร่ปี ละ 6 เดือน โดยเกณฑ์เข้าเดือนออกเดือน
สิทธิหน้าที่ของไพร่ คือ
1. เสียภาษีอากร
2. มีสิทธิจับจองเป็นเจ้าของที่ดินได้
3. ต้องขึ้นทะเบียนสังกัดมูลนาย
4. ย้ายสังกัด กรมกอง ภูมิลำเนาไม่ได้
ทาส คือ กลุ่มชนชั้นต่ำที่สุดของสังคม ถือศักดินา 5 ไร่ ทาสมี 7 ชนิด ได้แก่
- ทาสสินไถ่
- ทาสในเรือนเบี้ย
- ทาสท่านให้
- ทาสได้มาแต่บิดามารดา
- ทาสที่ช่วยไว้ยามเมื่อต้องโทษทัณฑ์
- ท่านที่เลี้ยงไว้ยามข้าวยากหมากแพง
- ทาสเชลย
ทาสที่มีมากที่สุด คือ ทาสสินไถ่

ทาสที่ได้รับการปลดปล่อยเป็นอันดับแรก คือ ทาสในเรือนเบี้ย


ทาสเป็นอิสระได้โดย
1. ไถ่ถอนตัวเอง
2. โดยการบวช
3. แต่งงานกับนายเงิน หรือลูกหลานนายเงิน
4. ไปสงครามถูกจับเป็นเชลย หนีรอดกลับมาได้
5. ฟ้ องร้องนายเงินเป็นกบฎ สอบสวนแล้วเป็นความจริง
สังคมไทยในสมัยโบราณถึงต้นรัตนโกสินทร์ ผู้มีฐานะสูงสุดของสังคมคือ พระมหากษัตริย์
รองลงมาคือ มูลนาย (เจ้านายและขุนนาง) ชนชั้นที่มีจำนวนมากคือ ไพร่ พระสงฆ์ทำหน้าที่เป็น
ตัวกลางระหว่างมูลนายกับไพร่
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทย (ปี พ.ศ. 2394 – 2475) มีปัจจัยภายนอกทำให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลง คือ วัฒนธรรมและวิทยาการต่างๆ ของตะวันตกเข้ามาแพร่หลายตั้งแต่รัชกาลที่ 3 – 4
โดยมีความเจริญก้าวหน้าทางการศึกษาเข้ามาในประเทศไทย ส่วนปัจจัยภายใน คือ ทางด้านเศรษฐกิจ
มีการเปลี่ยนแปลงจากการผลิตแบบยังชีพไปเป็นการผลิตแบบการค้า การขยายที่ดินทำกิน การอพยพ
เคลื่อนย้ายแรงงาน
ผลกระทบต่อสังคมไทยที่สำคัญ คือ สนธิสัญญาบาวริง (พ.ศ. 2398) ทำให้ไทยเสียดินแดน
ให้กับฝรั่งเศส อังกฤษ พม่า จีน
รัชกาลที่ 5 ได้ยกเลิกระบบไพร่ ปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน เปิ ดโอกาสให้ทุกชั้นได้
รับการศึกษา
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทย (ปี พ.ศ. 2475 – ปัจจุบัน) มีการขยายการศึกษาอย่างกว้างขวาง
มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาคต่างๆ ทั้งภาคเหนือ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ (มหาวิทยาลัยขอนแก่น) และภาคใต้ (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) ในแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1, 2 (2504 – 2514)
สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปจากสมัยโบราณมากมาย แต่ลักษณะรูปแบบความสัมพันธ์
บางอย่างในสังคมยังคงได้รับการสืบทอดมากจนถึงปัจจุบัน คือ
1. ความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์ ผู้น้อยมีความจงรักภักดีผู้ใหญ่
2. การมีโครงสร้างของสังคมที่มีการแบ่งชนชั้น โดยพิจารณาจากทรัพย์สิน สถานภาพ
เกียรติยศ อำนาจ ระดับการศึกษา อาชีพ ความดี ชาติกำเนิด ยกย่องการเป็นเจ้าคนนายคน การยึดถือ
ตัวบุคคล

You might also like