Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 10

วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาว

ไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่า เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติ


ไทย ตามปฏิ ท ิ น จั น ทรคติ ล ้ า นนา มั ก จะตกอยู ่ ใ นราว
เดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้ กำหนด
ขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่ คงคา
บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ ริมฝั่ง
แม่น้านัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบู ชาพระ
อุป คุ ต อรหั นต์ห รือ พระมหาสาวก สำหรั บ ประเทศไทย
ประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้า ลำคลอง
หรือ แหล่งน้าต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์
ทีน่ ่าสนใจแตกต่างกันไป
ประวัตค
ิ วามเป็นมาของวันลอยกระทง
ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่า
เริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกัน
มายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อ
ขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า “พิธี
จองเปรียญ” หรือ “การลอยพระประทีป” และมี
หลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผา
เทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุง
สุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงาน
ลอยกระทงอย่างแน่นอน
ในสมั ย ก่ อ นนั ้ น พิ ธ ี ล อยกระทงจะเป็ น การ
ลอยโคม โดยพระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า
เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษ ฐานว่า พิธี
ลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่ อบูชา
เทพเจ้ า 3 องค์ คื อ พระอิ ศ วร พระนารายณ์
และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไป
เกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูช าพระบรม
สารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาท
ของพระพุทธเจ้า ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้ าว
ศรี จ ุ ฬ าลั ก ษณ์ สนมเอกของพระร่ ว งจะคิ ด ค้ น
ประดิ ษ ฐ์ ก ระทงดอกบั ว ขึ ้ น เป็ น คนแรกแทนการ
ลอยโคม ดังปรากฏในหนังสือนางนพมาศที่ว่า
“ครั้ น วั น เพ็ ญ เดื อ น 12 ข้ า น้ อ ยได้ กระทำโคมลอย
คิด ตกแต่ งให้ง ามประหลาดกว่ าโคมสนมกำนัล ทั ้งปวงจึ ง
เลือกผกาเกษรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลี บบาน
รั บ แสงจั น ทร์ ใ หญ่ ป ระมาณเท่ า กงระแทะ ล้ ว นแต่ พ รรณ
ดอกไม้ซ้อนสีสลับให้เป็นลวดลาย…”เมื่อสมเด็จพระร่วง
เจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนาง
นพมาศก็ ท รงพอพระราชหฤทั ย จึ ง โปรดให้ ถ ื อ เป็ น
เยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุก
ปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัส
ที่ว่า “ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดั บกษัตริย์ในสยาม
ประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำ
โคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัม
มทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน” พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ ยน
รูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ประเพณีลอยกระทงสืบต่อกันเรื่อยมา จนถึง กรุง
รัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3
พระบรมวงศานุว งศ์ ต ลอดจนขุ น นางนิย มประดิษ ฐ์ ก ระทง
ใหญ่ เ พื ่ อ ประกวดประชั น กั น ซึ ่ ง ต้ อ งใช้ แ รงคนและเงิ น
จำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาล
ที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ย กเลิกการ
ประดิษฐ์กระทงใหญ่แข่งขัน และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์
ทำเรือ ลอยประทีป ถวายองค์ละลำแทนกระทงใหญ่ และ
เรียกชื่อว่า “เรือลอยประทีป” ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และ
รั ช กาลที ่ 6 ได้ ท รงฟื ้ น ฟู พ ระราชพิ ธ ี น ี ้ ข ึ ้ น มาอี ก ครั ้ ง
ปั จ จุ บ ั น การลอยพระประที ป ของพระบาทสมเด็ จ พระ
เจ้า อยู่ หั ว ทรงกระทำเป็ นการส่ วนพระองค์ต ามพระราช
อัธยาศัย
ประเพณีในแต่ละท้องถิน ่
ภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า “ลอยโคม”
หรือ “ว่าวฮม” หรือ “ว่าวควัน” ทำจากกระดาษบางๆ
กระดาษที่ใช้ทำว่าว แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปใน
อากาศอย่างบัลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า “ยี่
เป็ง” หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี(่ ซึ่งนับวันตาม
แบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)
– จังหวัดเชียงใหม่ มีประเพณี “ยี่เป็ง” เชียงใหม่ ในทุกๆ
ปีจะมีการจัดงานขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา และมีการ
ปล่อยโคมลอยขึ้นเต็มท้องฟ้า
– จังหวัดตาก จะลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไป
เป็นสาย เรียกว่า “กระทงสาย”
– จังหวัดสุโขทัย ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุ
ตะไล ไฟพะเนียง
ภาคอีสาน ในอดีตมีการเรียกประเพณีลอย
กระทงในภาคอีสานว่า สิบสองเพ็ง หมายถึงวันเพ็ญเดือน
สิบสองซึ่งจะมีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป เช่น
– จังหวัดร้อยเอ็ด มีชื่องานประเพณีว่า “สมมาน้าคืนเพ็ง
เส็งประทีป” ตามภาษาถิ่นมีความหมายถึงการขอขมาพระ
แม่คงคา ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง การประกวดประทีป
โคมไฟและกระทงอันสวยงาม มีการจำลองแห่หัวเมือง
สาเกตุนครทั้ง 11 หัวเมือง
– จังหวัดสกลนคร ในอดีตจะมีการลอยกระทงจากกาบ
กล้วย ลักษณะคล้ายกับการทำปราสาทผึ้งโบราณ เรียก
งานนี้ว่าเทศกาลลอยพระประทีปพระราชทาน สิบสองเพ็ง
ไทสกล
– จังหวัดนครพนม จะตกแต่งเรือแล้วประดับไฟ เป็นรูป
ต่างๆ เรียกว่า “ไหลเรือไฟ” โดยเฉพาะที่จังหวัดนครพนม
เพราะมีความงดงามและอลังการที่สุดในภาคอีสาน
ภาคกลาง มีการจัดประเพณีลอยกระทงขึ้นทั่วทุกจังหวัด
– กรุงเทพมหานคร จะมีงานภูเขาทอง เป็นรูปแบบงานวัด
เฉลิมฉลองราว 7-10 วัน ก่อนงานลอยกระทง และจบลง
ในช่วงหลังวันลอยกระทง
– จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการจัดงานประเพณีลอย
กระทงกรุงเก่าขึ้นอย่างยิ่งใหญ่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์
พระนครศรีอยุธยา ภายในงานมีการจัดแสดงแสง สี
เสียง อย่างงดงามตระการตา
ภาคใต้ อย่างที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ก็มีการจัด
งานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ในจังหวัดอื่นๆ ก็จะจัดงาน
วันลอยกระทงด้วยเช่นกัน
เพลงวันลอยกระทง
เพลงรำวงวันลอยกระทงแต่งโดยครูแก้ว อัจฉริยกุล ผู้ให้ทำนองคือ ครูเอื้อ สุนทร
สนาน แห่งสุนทราภรณ์ ซึ่งครูเอื้อได้แต่งเพลงนี้ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2498 ขณะที่ได้ไป
บรรเลงเพลงที่บริเวณคณะบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมีผู้ขอเพลงจากครู
เอื้อ ครูเอื้อจึงนั่งแต่งเพลงนี้ทรี่ ิมแม่น้าเจ้าพระยา ในระยะเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงจึงเกิด
เป็นเพลง
“รำวงลอยกระทง” มีเนื้อร้องว่าวันเพ็ญเดือนสิบสอง น้านองเต็มตลิ่งเราทั้งหลาย
ชายหญิง สนุกกันจริง วันลอยกระทง ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง
ลอยกระทงกันแล้วขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอย
กระทงบุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ

You might also like