8.แอปพลิเคชัน Agri-Map และ แอปพลิเคชัน เช็คแล้ง

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 8

โรงเรียนเกษตรทางไกล หลักสูตร “พืชสู้แล้งเงินล้าน”

กลุ่มวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร
สานักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร

เอกสารประกอบการเรียน
บทที่ 8
แอปพลิเคชัน Agri-Map และ แอปพลิเคชัน เช็คแล้ง
1

บทนำ
ภำวะโลกรวน หรือ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ส่งผลให้ภัยพิบัติทวีความรุนแรง
มากยิ่งขึ้น เช่น ภัยแล้ง อุทกภัย และพายุที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ เป็นต้น
ภัยแล้ง (Drought) คือ ภัยธรรมชาติที่เกิดจากการขาดแคลนน้้า และหยาดน้้าฟ้า (Precipitation) ในพื้นที่ใด
พื้นที่หนึ่งเป็นเวลานาน เนื่องจากปริมาณน้้าฝนต่้ากว่าค่าเฉลี่ยในสภาวะปกติ หรือฝนไม่ตกตามฤดูกาล จึงส่งผล
ให้ความชื้นในดิน ปริมาณน้้าใต้ดิน และแหล่งน้้าธรรมชาติลดลง จนกลายเป็นแห้งแล้งที่สร้างเสียหายแก่
ผลผลิตทางการเกษตรสภาวะการขาดแคลนน้้าที่กระทบต่อการด้า รงชีวิตของผู้คน และสมดุลของระบบนิเวศ
(National Geograpghy ฉบับภาษาไทย, 4 เมษายน 2566)
คู่มือการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตร (2551) ระบุว่า ภัยแล้ง คือ ภัยที่เกิดจากการขาด
แคลนน้้าในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นเวลานานจนก่อให้เกิดความแห้งแล้ง และส่งผลกระทบต่อชุมชน ส้าหรับ
ภัยแล้งในประเทศไทย ส่วนใหญ่เกิดจากฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง
ภัยแล้งในประเทศไทยจะเกิดใน 2 ช่วง ได้แก่
1. ช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องถึงฤดูร้อน ซึ่งเริ่มจากครึ่งหลังของเดือนตุลาคมเป็นต้นไป บริเวณประเทศไทย
ตอนบน (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก) จะมีปริมาณฝนลดลง
เป็ น ล้ าดั บ จนกระทั่ ง เข้ าสู่ ฤ ดู ฝน ในช่ ว งกลางเดื อ นพฤษภาคมของปี ถั ด ไป ซึ่ ง ภั ย แล้ ง ลั ก ษณะนี้
จะเกิดขึ้นประจ้าทุกปี
2. ช่วงกลางฤดูฝน ประมาณปลายเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคมจะมีฝนทิ้งช่วงเกิดขึ้น ภัยแล้ง
ลักษณะนี้ จะเกิดขึ้นเฉพาะท้องถิ่นหรือบางบริเวณ บางครั้งอาจครอบคลุม พื้นที่เป็นบริเวณกว้าง
เกือบทั้งประเทศ
ฝนแล้ ง หมายถึ ง สภาวะที่ มี ฝ นตกน้ อ ยหรื อ ไม่ มี ฝ นเลยในช่ ว งเวลาหนึ่ ง ซึ่ ง ตามปกติ ค วรจะต้ อ งมี ฝ น
(ภาวะปริมาณฝนตกน้อยกว่าปกติหรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล) โดยขึ้นกับสถานะที่ฤดูกาล ณ ที่นั้น ๆ ด้วย
ฝนทิ้งช่วง หมายถึง ช่วงที่มีปริมาณฝนตกไม่เกินวันละ 1 มิลลิเมตรติดต่อกันเกิน 15 วันในช่วงฤดูฝน เดือนที่มี
โอกาสเกิดฝนทิ้งช่วงสูง คือปลายเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม
การติดตามสภาวะแห้งแล้งในปัจจุบันเกษตรกรสามารถติดตามได้จากสื่อในหลายช่อ งทาง และในบทเรียนนี้
ขอแนะน้าการติดตามสภาวะแห้งแล้งจาก 2 แอปพลิเคชัน คือ Agri-Map เว็บแอปพลิเคชัน และ เช็คแล้ง
เว็บและโมบายแอปพลิเคชัน
1. แอปพลิเคชัน...
2

1. แอปพลิเคชัน Agri-Map คืออะไร


ระบบแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกออนไลน์ (Agri-Map) เป็นเครื่องมือแสดงผลข้อมูลเชิง
ภูมิสารสนเทศแบบเว็บแผนที่ออนไลน์ พร้อมระบบแนะน้าผลการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิตด้วยพืช
ทดแทน โดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ
คอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)

2. วิธีกำรใช้ แอปพลิเคชัน Agri-Map


1. เข้าเว็บ https://agri-map-online.moac.go.th/login , กดปุ่ม เริ่มใช้งาน

ภาพที่ 1 หน้าเว็บ Agri-Map

2. เลือกพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งแปลง โดยป้อนต้าแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์ หรือพิมพ์ชื่อสถานที่ ตรงแถบด้าน


บนสุดที่แสดง Header และ logo ของ Agri-Map ดังนี้
2.1 พิมพ์ชื่อสถานที่

2.2 ป้อนต้าแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์

2.3 ป้อนต้าแหน่ง...
3

2.3 ป้อนต้าแหน่งพิกัด UTM

เว็บจะแสดงผลข้อมูลด้านการเกษตร ณ ต้าแหน่งที่ค้นหา ประกอบด้วยพิกัดที่ตั้งของต้าแหน่งที่


ค้นหา ข้อมูลอากาศวันนี้ และคาดการณ์อากาศล่วงหน้า 7 วัน เกษตรกรรมในปัจจุบัน เกษตรกรรม
แนะน้า และข้อมูลชุดดิน ดังภาพที่ 2

ภาพที่ 2 แสดงผลการค้นหาข้อมูลตามการพิมพ์สถานที่หรือป้อนพิกัด

การดูค้าแนะน้าอื่น ๆ เพิ่มเติม
สามารถเปิดดูชั้นข้อมูลการเกษตรอื่น ๆ ได้ จากเมนู categories ที่ประกอบด้วย การบริหารจัดการ
เชิงรุก และเกษตรกรรมทดแทน ดังภาพที่ 3

ภาพที่ 3 แสดงชั้นข้อมูลการเกษตรอื่น ๆ
๓. แอปพลิเคชัน...
4

3. แอปพลิเคชัน เช็คแล้ง คืออะไร


แอปพลิเคชัน เช็คแล้ง หรือ Cropsdrought เป็นแอปพลิเคชันส้าหรับติดตามพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งตั้งแต่
ระดับจังหวัด อ้าเภอ และรายแปลง ในพืชเศรษฐกิจ 4 ชนิด (ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสาปะหลังโรงงาน
อ้อยโรงงาน) ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับหน่วยงานอีก 6 หน่วยงาน ได้แก่ ส้านักงานพัฒนา
เทคโนโลยี อวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) สานัก ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา สานักงานทรัพยากรน้าแห่งชาติ และกรมป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัย ภายใต้ทุนอุดหนุนการวิจัยและนวัตกรรมจาก สานักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจาปี 2566
ร่ ว มกั น วิ จั ย โครงการประเมิ น พื้ น ที่ เสี่ ย งภั ย แล้ ง และความเสี ย หายของพื ช เกษตรรายแปลงด้ ว ย
เทคโนโลยี ภู มิ ส ารสนเทศ เพื่ อ พั ฒ นาและปรั บ ปรุ ง แบบจ้ า ลองการประเมิ น พื้ น ที่ แ ห้ ง แล้ ง
และความเสี ย หายของพืช แบบจ าลองพยากรณ์พื้น ที่ เสี่ ย งภั ย แล้ ง และส่ง เสริ ม การใช้ ง านทั้ ง ใน
หน่วยงานส่วนกลางและระดับพื้นที่

4. วิธีกำรใช้ แอปพลิเคชัน เช็คแล้ง


1. เข้าเว็บ https://cropsdrought.gistda.or.th

ภาพที่ 4 หน้าเว็บ เช็คแล้ง


แถบเมนู ในแอปพลิเคชัน เช็คแล้ง ประกอบด้วย 5 เมนู ได้แก่ หน้าหลัก แผนที่เสี่ยงภัยแล้ง
สถานการณ์ภัยแล้งรายจังหวัด วาดแปลงเกษตรกรรม และดาวน์โหลดข้อมูล ดังภาพที่ 5

ภาพที่ 5 แสดงเมนูต่าง ๆ ของเว็บ เช็คแล้ง


๒. ไปที่แถบ...
5

2. ไปที่แถบเมนู สถานการณ์ภัยแล้งรายจังหวัด สามารถติดตามพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งระดับจังหวัด ณ


สัปดาห์นั้น ๆ

โดยพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตร จะมีระดับความเสี่ยงที่มากกว่า 80 และ


ให้สีสัญลักษณ์เป็นสีแดง
3. หากต้องการดูข้อมูล ระดับอ้าเภอ ต้าบล ให้คลิก ปุ่ม > ที่อยู่ด้านขวา

คลิกปุ่ม >
เพื่อดูพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง
ระดับอ้าเภอ/ต้าบล

๔. และเมื่อ...
6

4. และเมื่อต้องการย้อนกลับ ให้คลิกชื่อจังหวัด หรือ อ้าเภอ ที่ด้านบนของแผนที่

คลิก ชื่อจังหวัด/อ้าเภอ เพื่อย้อนกลับ

5. แล้วเรำใช้ประโยชน์จำกแอปฯ เหล่ำนี้อย่ำงไร
ตัวอย่ำงกำรติดตำมสถำนกำรณ์แห้งแล้งในแปลงเพำะปลูกของตนเองจำกเว็บ Agri-Map
1. ป้อนพิกัดต้าแหน่งแปลงเพาะปลูกของตนเอง

2. ติดตามสภาพอากาศวันนี้ และสภาพอากาศล่วงหน้า 7 วัน จากกล่องผลการค้นหาทางด้านขวา

๓. ทดลอง...
7

3. ทดลองเลือกพืชที่เหมาะสมที่จะปลูกทดแทนในแปลง ในเมนูเกษตรกรรมทดแทน ที่อยู่ด้านซ้าย

ทั้งนี้ เกษตรกรควรศึกษาวิธีการเพาะปลูกพืชทดแทน ความต้องการทางกายภาพของพืช ว่าเหมาะสมกับ


แปลงของตนเอง หรือไม่ด้วย พร้อมหาแหล่งตลาด

ข้อมูลโดย : กลุ่มเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมส่งเสริมการเกษตร
..............................................................................................
ติดตามโรงเรียนเกษตรทางไกล หลักสูตร พืชสู้แล้งเงินล้าน
ทุกวันอังคารเวลา 14.00 – 14.30 น. และออกอากาศอีกครั้งในวันพฤหัสบดี เวลา 14.00 14.30 น.
ทางคลื่นความถี่ AM 1386 KHz. และเว็บไซต์วิทยุออนไลน์ www.am1386.com
ผู้เรียนสามารถรับฟังรายการย้อนหลังผ่านห้องเรียน Google Classroom
หรือ Youtube : AM1386Radio

You might also like