คู่มือเตรียมสอบ 38 ค (2) ภาค ก-ข

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 250

 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ.

ประวัติกระทรวงศึกษาธิการ

กระทรวงศึกษาธิการ แต่เดิมมีชื่อว่า กระทรวงธรรมการตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน รัตนโกสินทร์ศก


111 ปี มะโรง ตรงกับพุทธศักราช 2435 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทรวงธรรมการ
ในระยะแรกมีหน้าที่จัดการพระศาสนา การศึกษา การพยาบาล และพิพิธภัณฑ์ มีกรมในสังกัด 5 กรมคือ
กรมธรรมการกลาง กรมศึกษาธิการ กรมพยาบาล กรมพิพิธภัณฑ์ และกรมสังฆการี ชื่อของกระทรวงนี้ ได้มี
การเปลี่ยนชื่อกลับไปกลับมาหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 ก็ได้ใช้ชื่อว่า กระทรวงศึกษาธิการ
ตั้งแต่นั้นมา โดยมีที่ทำการอยู่ที่วังจันทรเกษมจนถึงปัจจุบัน
กระทรวงศึกษาธิการ ในปัจจุบันนี้ มีหน้าที่หลักในด้านการศึกษาการศาสนา และวัฒนธรรมมีหน่วยงาน
ระดับสำนักงานในสังกัด 5 หน่วยงาน และมีหน่วยงานที่เป็นองค์การ มหาชน/หน่วยงานในกำกับที่ทำการ
กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบันนี้ได้มีการย้ายมาหลายแห่งด้วยกัน

ตรากระทรวง

เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)


ได้มีการก่อตั้ง “กระทรวงธรรมการ” ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ดูแลศาสนา การศึกษา การพยาบาล และพิพิธภัณฑ์
(ต่อมาได้มีการแยกหน่วยงานต่าง ๆ ออกไป) ซึ่งกระทรวงธรรมการมีการเปลี่ยนชื่อไปมาหลายครั้งระหว่างชื่อ
“กระทรวงธรรมการ” และ “กระทรวงศึกษาธิการ” สมัยที่กระทรวงศึกษาธิการยังเป็นกระทรวงธรรมการอยู่
ทรงพระราชทานตราบุษบกประทีป ซึ่งเป็นพระราชลัญจกรเก่า เป็นตราตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการ
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2436 โปรดให้เลื่อนตราบุษบกตามประทีปไปเป็นตราตำแหน่งอธิบดีกรมศึกษาธิการ
จึงพระราชทานตราพระเพลิงทรงระมาดซึ่งเป็นตราเก่าให้เป็นตราตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการใช้ดำเนิน
กระแสพระบรมราชโองการไปในที่ต่าง ๆ คู่กับตราเสมาธรรมจักรซึ่งใช้ดำเนินกระแสพระบรมราชโองการที่มีถึง
พระสงฆ์
สมัยรัชกาลที่ 6 โปรดให้ยกเลิกตราพระเพลิงทรงระมาด แล้วให้สร้างตราเสมาธรรมจักร “เหตุที่ทรง
เปลี่ยน โดยที่ทรงพระราชดำริว่า นามเสนาบดีกระทรวงธรรมการก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นไว้ตาม
นามในตำแหน่งเดิมแล้ว (คือ เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีซึ่งในพระธรรมนูญใช้ตรากล่าวว่า ถือตราเสมา
ธรรมจักร) ”แต่ตราเก่าเป็นรูปจักราวุธอยู่ในบุษบก แล้วมีใบเสมาขนาบอยู่สองข้าง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎ
เกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ชอบพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ทำตราเสมาธรรมจักรขึ้นใหม่ ตราเสมาธรรมจักรที่โปรดให้
สร้างขึ้นใหม่รูปกลม มีลายเสมาตั้งบนฐาน มีอักษรขอม ทุ. ส. นิ. ม. หัวใจพระอริยสัจ อยู่ที่ขอบเบื้องบนเสมา
กระทรวงธรรมการมีการเปลี่ยนชื่อไปมาหลายครั้งระหว่างชื่อ “กระทรวงธรรมการ” และ “กระทรวง
ศึกษาธิการ” อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 ก็ได้ใช้ชื่อว่า “กระทรวงศึกษาธิการ” ตั้งแต่นั้นมา เหตุที่ตรา
กระทรวงศึกษาธิการเป็นรูปเสมาธรรมจักร น่าจะเป็นเพราะว่าแต่ก่อนดูแลกิจการในพระศาสนาด้วย โดยมีการ
รวมการศึกษา และศาสนาเข้าด้วยกัน และมีการแยกออกจากกันและกลับมารวมกันอีกหลายครั้ง ปัจจุบัน
กรมการศาสนา ย้ายไปสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม เครื่องหมายราชการของกระทรวงธรรมการ (ปัจจุบัน คือ
กระทรวงศึกษาธิการ) แห่งราชอาณาจักรไทย มีลักษณะดังนี้ “เครื่องหมายราชการของกระทรวงธรรมการ
เป็นรูปเสมาธรรมจักร”

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

ตราบุษบกตามประทีป ตราพระเพลิงทรงระมาด ตราเสมาธรรมจักร (เดิม) ตราเสมาธรรมจักร (ใหม่)

วิสัยทัศน์กระทรวงศึกษาธิการ

มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ คู่คุณธรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความสุขในสังคม

พันธกิจกระทรวงศึกษาธิการ
1. ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ/ประเภทสู่สากล
2. เสริมสร้างโอกาสเข้าถึงบริการทางการศึกษาของประชาชนอย่างทั่วถึง เท่าเทียม
3. พัฒนาระบบบริหารจัดการการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล

ยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ
1. พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล
2. ผลิต พัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
3. ผลิตและพัฒนากำลังคน รวมทั้งงานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนาประเทศ
4. ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
5. ส่งเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา
6. พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

เป้าประสงค์กระทรวงศึกษาธิการ
1. คุณภาพการศึกษาของไทยดีขึ้น คนไทยมีคุณธรรมจริยธรรม มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง และ
การพัฒนาประเทศในอนาคต
2. กำลังคนได้รับการผลิตและพัฒนา เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของประเทศ
3. มีองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม สนับสนุนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
4. คนไทยได้รับโอกาสในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
5. ระบบบริหารจัดการการศึกษามีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

หน้า ๒ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

ทำเนียบผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ

พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

นายสุเทพ แก่งสันเทียะ
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

นายอรรถพล สังขวาสี
เลขาธิการสภาการศึกษา

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๓


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา


เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

นายยศพล เวณุโกเศศ
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

นายประวิต เอราวรรณ์
เลขาธิการคณะกรรมการ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

หน้า ๔ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

พระบรมราโชบาย
ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ กับการพัฒนาการศึกษา

การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน ๔ ด้าน
๑. มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง ๒. มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง
๓. มีงานทำ มีอาชีพ ๔. เป็นพลเมืองดี

๑. มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง
๑.๑ มีความรู้ความเข้าใจที่มีต่อชาติบ้านเมือง
๑.๒ ยึดมั่นในศาสนา
๑.๓ มั่นคงในสถาบันพระมหากษัตริย์
๑.๔ มีความเอื้ออาทรต่อครอบครัวและชุมชนของตน
๒. มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง
๒.๑ รู้จักแยกแยะสิ่งที่ผิด-ชอบ/ชั่ว-ดี
๒.๒ ปฏิบัติแต่สิ่งที่ชอบที่ดีงาม
๒.๓ ปฏิเสธสิ่งที่ผิดสิ่งที่ชั่ว
๒.๔ ช่วยกันสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง
๓. มีงานทำ มีอาชีพ
๓.๑ การเลี้ยงดูลูกหลานในครอบครัว หรือการฝึกฝนอบรมในสถานศึกษาต้องมุ่งให้เด็กและ
เยาวชนรักงาน สู้งาน ทำจนงานสำเร็จ
๓.๒ การฝึกฝนอบรมทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตรต้องมีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนทำงานเป็น
และมีงานทำในที่สุด
๓.๓ ต้องสนับสนุนผู้สำเร็จหลักสูตรมีอาชีพ มีงานทำจนสามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัว
๔. เป็นพลเมืองดี
๔.๑ การเป็นพลเมืองดี เป็นหน้าที่ของทุกคน
๔.๒ ครอบครัว-สถานศึกษา และสถานประกอบการ ต้องส่งเสริมให้ทุกคนมีโอกาสทำหน้าที่
เป็นพลเมืองดี
๔.๓ การเป็นพลเมืองดี คือ “เห็นอะไรที่จะทำเพื่อบ้านเมืองได้ก็ต้องทำ” เช่น งานอาสาสมัคร
งานบำเพ็ญประโยชน์ งานสาธารณกุศลให้ทำด้วยความมีน้ำใจ และความเอื้ออาทร

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๕


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580

ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี รัฐบาลได้กำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย ในการดำเนินงานไว้ ดังนี้

วิสัยทัศน์
“ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง” และเป็นคติพจน์ประจำชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”

เป้าหมาย
1. ประเทศมีความมั่นคง
1.1 การมีความมั่นคงปลอดภัย จากภัยและการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในประเทศและภายนอก
ประเทศในทุกระดับ ทั้งระดับประเทศ สังคม ชุมชน ครัวเรือน และปัจเจกบุคคล และมีความมั่นคงในทุกมิติ
ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการเมือง
1.2 ประเทศมีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย มีสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ที่
เข้มแข็งเป็นศูนย์กลางและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน ระบบการเมืองที่มั่นคงเป็นกลไกที่นาไปสู่การ
บริหารประเทศที่ต่อเนื่องและโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล
1.3 สังคมมีความปรองดองและความสามัคคี สามารถผนึกกำลังเพื่อพัฒนาประเทศ ชุมชน
มีความเข้มแข็ง ครอบครัว มีความอบอุ่น
1.4 ประชาชนมีความมั่นคงในชีวิต มีงานและรายได้ที่มั่นคงพอเพียงกับการดำรงชีวิต มีที่อยู่
อาศัยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
1.5 ฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงของอาหาร พลังงาน และน้ำ

2. ประเทศมีความมั่งคั่ง
2.1 ประเทศไทยมีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ยกระดับเป็นประเทศในกลุ่มประเทศ
รายได้สูงความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาลดลง ประชากรได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น
2.2 เศรษฐกิจ มีความสามารถในการแข่งขันสูง สามารถสร้างรายได้ทั้งจากภายในและภายนอก
ประเทศสร้างรายได้ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ สร้างฐานเศรษฐกิจและสังคมแห่งอนาคต และเป็น
จุดสำคัญของการเชื่อมโยงในภูมิภาคทั้งการคมนาคมขนส่ง การผลิต การค้า การลงทุน และการทำธุรกิจ
มีบทบาทสำคัญในระดับภูมิภาคและระดับโลก เกิดสายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าอย่างมีพลัง
2.3 ความสมบูรณ์ในทุนที่จะสามารถสร้างการพัฒนาต่อเนื่อง ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา
ทุนทางการเงิน ทุนที่เป็นเครื่องมือเครื่องจักร ทุนทางสังคม และทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

หน้า ๖ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
3. ประเทศมีความยั่งยืน
3.1 การพัฒนาที่สามารถสร้างความเจริญ รายได้ และคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่ไม่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเกินพอดี ไม่สร้างมลภาวะ
ต่อสิ่งแวดล้อมจนเกินความสามารถในการรองรับและเยียวยาของระบบนิเวศน์
3.2 การผลิตและการบริโภคเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับกฎระเบียบของประชาคม
โลกซึ่งเป็น ที่ย อมรับ ร่ว มกัน ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้ อมมีคุณภาพดี ขึ้ น
คนมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเอื้ออาทร เสียสละเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม
3.3 ประชาชนทุกภาคส่วนในสังคม ยึดถือและปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๗


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579


สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

แนวคิดการจัดการศึกษา
แนวคิดการจัดการศึกษา (Conceptual Design) ตามแผนการศึกษาแห่งชาติประกอบด้วย หลักการ
จัดการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for All) หลักการจัดการศึกษาเพื่อความเท่าเทียมและทั่วถึง (Inclusive
Education) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) และหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาค
ส่วนของสังคม (All for Education) อีกทั้งยึดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development
Goals : SDGs 2030) ประเด็นภายใน ประเทศ (Local Issues) โดยนำยุทธศาสตร์ชาติ (National Strategy)
มาเป็นกรอบความคิดสำคัญในการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ วิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมาย เป้าหมาย ยุทธศาสตร์
และตัวชี้วัด ดังนี้

วิสัยทัศน์
“คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิต อย่างเป็นสุข สอดคล้อง
กับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21”

พันธกิจ
1. พัฒนาระบบและกระบวนการจัดการศึกษาที่คนไทยทุกคนเข้าถึงโอกาสในการศึกษาและเรียนรู้
ตลอดชีวิต สร้างความเสมอภาคด้านการศึกษาแก่ผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย ยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพ
ของการจัดการศึกษาทุกระดับ และจัดการศึกษาที่สอดคล้องและรองรับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก
ศตวรรษที่ 21
2. พัฒนาคุณภาพของคนไทยให้เป็นผู้มีความรู้ คุณลักษณะ และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
สามารถพัฒนาศักยภาพและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
3. สร้างความมั่น คงแก่ป ระเทศชาติ โดยสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และสังคม
คุณธรรม จริยธรรมที่คนไทยทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างปลอดภัย สงบสุข และพอเพียง
4. พัฒนาศักยภาพ และความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย เพื่อการก้าวข้ามกับดักประเทศ
รายได้ปานกลาง สู่การเป็นประเทศในโลกที่หนึ่ง และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมด้วยการเพิ่มผลิตภาพของกำลัง
แรงงาน (productivity) ให้มีทักษะ และสมรรถนะที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงาน และการพัฒนา
ประเทศ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่เป็นพลวัตของโลกศตวรรษที่ 21 ภายใต้ยุคเศรษฐกิจและสังคม 4.0

หน้า ๘ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาระบบและกระบวนการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นพลเมืองดี มีคุณลักษณะ ทักษะและสมรรถนะที่สอดคล้องกับบทบัญญัติ
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และยุทธศาสตร์ชาติ
3. เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณธรรม จริยธรรม รู้รักสามัคคี และร่วมมือ
ผนึกกำลังมุ่งสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. เพื่อนำประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และความเหลื่อมล้ำภายในประเทศ
ลดลง

เป้าหมายด้านผู้เรียน
(Learner Aspirations) โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้
ในศตวรรษที่ 21 (3Rs 8Cs)

เป้าหมายของการจัดการศึกษา 5 ประการ ดังนี้


1. ประชากรทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานอย่างทั่วถึง (Access) มีตัวชี้วัดที่สำคัญ
เช่น ประชากรกลุ่มอายุ 6 - 14 ปี ทุกคนได้เข้าเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า
ที่รัฐต้องจัดให้ฟรี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้เรียนพิการได้รับการพัฒนาสมรรถภาพหรือบริการทางการศึกษาที่
เหมาะสมทุกคน และประชากรวัยแรงงานมีการศึกษาเฉลี่ยเพิ่มขึ้น เป็นต้น
2. ผู้เรียนทุกคน ทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานอย่างเท่าเทียม
(Equity) มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น ผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคนได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการศึกษา
15 ปี เป็นต้น
3. ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ สามารถพัฒ นาผู้เรียนให้บรรลุขีดความสามารถเต็มตามศักยภาพ
(Quality) มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น นักเรียนมีคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET)
แต่ละวิชาผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 50 ขึ้นไปเพิ่มขึ้น และคะแนนเฉลี่ย ผลการทดสอบโครงการประเมินผล
นั ก เรี ย นร่ ว มกั บ นานาชาติ (Programme for International Student Assessment : PISA) ของนั ก เรี ย น
อายุ 15 ปีสูงขึ้น เป็นต้น
4. ระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการลงทุนทางการศึกษาที่คุ้มค่าและบรรลุ
เป้าหมาย (Efficiency) มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น ร้อยละของสถานศึกษาขนาดเล็กที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
คุณภาพภายนอกลดลง มีระบบการบริหารงานบุคคล ครู และบุคลากรทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและเป็นไป
ตามเกณฑ์มาตรฐาน รวมทั้งมีกลไกส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษา เป็นต้น
5. ระบบการศึ ก ษาที ่ ส นองตอบและก้ า วทั น การเปลี ่ ย นแปลงของโลกที ่ เ ป็ น พลวั ต และบริ บ ท
ที่เปลี่ยนแปลง (Relevancy) ตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น อันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้านการศึกษา
ดีขึ้น สัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับผู้เรียนสามัญศึกษา และจำนวนสถาบันอุดมศึกษาที่ติดอันดับ
200 อันดับแรกของโลกเพิ่มขึ้น เป็นต้น

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย และแนวทางการพัฒนา

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ

เป้าหมาย
1. คนทุกช่วงวัยมีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. คนทุกช่วงวัยในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่พิเศษได้รับการศึกษา
และเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
3. คนทุกช่วงวัยได้รับการศึกษา การดูแลและป้องกันจากภัยคุกคามในชีวิตรูปแบบใหม่

แนวทางการพัฒนา
1. พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ
และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. ยกระดับคุณภาพและส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัด
ชายแดนภาคใต้
3. ยกระดับคุณภาพและส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาในพื้นที่พิเศษ (พื้นที่สูงพื้นที่ตามแนว
ตะเข็บชายแดน และพื้นที่เกาะแก่ง ชายฝั่งทะเล ทั้งกลุ่มชนต่างเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มชนชายขอบ
และแรงงานต่างด้าว)
4. พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อการจัดระบบการดูแลและป้องกันภัยคุกคาม
ในรูปแบบใหม่ อาทิ อาชญากรรมและความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ยาเสพติด ภัยพิบัติจากธรรมชาติภัยจาก
โรคอุบัติใหม่ ภัยจากไซเบอร์ เป็นต้น

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการ


แข่งขันของประเทศ
เป้าหมาย
1. กำลังคนมีทักษะที่สำคัญจำเป็นและมีสมรรถนะตรงตามความต้องการของตลาดงานและการพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
2. สถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่จัดการศึกษาผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศเฉพาะด้าน
3. การวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ

แนวทางการพัฒนา
1. ผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะในสาขาที่ตรงตามความต้องการของตลาดงานและการ
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
2. ส่งเสริมการผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศเฉพาะด้าน
3. ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและมูลค่าเพิ่มทาง
เศรษฐกิจ

หน้า ๑๐ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้


เป้าหมาย
1. ผู้เรียนมีทักษะและคุณลักษณะพื้นฐานของพลเมืองไทยและทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็น
ในศตวรรษที่ 21
2. คนทุกช่วงวัยมีทักษะความรู้ความสามารถและสมรรถนะตามมาตรฐานการศึกษาและมาตรฐาน
วิชาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ตามศักยภาพ
3. สถานศึกษาทุกระดับการศึกษาสามารถจัดกิจกรรม/กระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรได้อย่างมี
คุณภาพและมาตรฐาน
4. แหล่งเรียนรู้ สื่อตำราเรียน นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้มีคุณภาพและมาตรฐาน และประชาชน
สามารถเข้าถึงได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่
5. ระบบและกลไกการวัด การติดตามและประเมินผลมีประสิทธิภาพ
6. ระบบการผลิตครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาได้มาตรฐานระดับสากล
7. ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐาน

แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริม สนับสนุนให้คนทุกช่วงวัยมีทักษะ ความรู้ความสามารถและการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่าง
เหมาะสม เต็มตามศักยภาพในแต่ละช่วงวัย
2. ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อตำราเรียน และสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และ
ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่
3. สร้างเสริมและปรับเปลี่ยนค่านิยมของคนไทยให้มีวินัย จิตสาธารณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์
4. พัฒนาระบบและกลไกการติดตาม การวัดและประเมินผลผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ
5. พัฒนาคลังข้อมูล สื่อ และนวัตกรรมการเรียนรู้ ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
6. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการผลิตครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
7. พัฒนาคุณภาพครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษา


เป้าหมาย
1. ผู้เรียนทุกคนได้รับโอกาสและความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ
2. การเพิ่มโอกาสทางการศึกษาผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาสำหรับคนทุกช่วงวัย
3. ระบบข้อมูลรายบุคคลและสารสนเทศทางการศึกษาที่ครอบคลุม ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน เพื่อการวาง
แผนการบริหารจัดการศึกษา การติดตามประเมิน และรายงานผล

แนวทางการพัฒนา
1. เพิ่มโอกาสและความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ
2. พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาสำหรับคนทุกช่วงวัย
3. พัฒนาฐานข้อมูลด้านการศึกษาที่มีมาตรฐาน เชื่อมโยงและเข้าถึงได้

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๑


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เป้าหมาย
1. คนทุกช่วงวัย มีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ
2. หลักสูตร แหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คุณธรรม
จริยธรรม และการนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ
3. การวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับ
สิ่งแวดล้อม

แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริม สนับสนุนการสร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และนำแนวคิดตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในการดำเนินชีวิต
2. ส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กับการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
3. พัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัย และนวัตกรรม ด้านการสร้างเสริมคุณภาพชีวิต ที่เป็นมิตรกับ
สิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา
เป้าหมาย
1. โครงสร้าง บทบาท และระบบการบริหารจัดการการศึกษามีความคล่องตัว ชัดเจนและสามารถ
ตรวจสอบได้
2. ระบบการบริหารจัดการศึกษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลส่งผลต่อคุณภาพและมาตรฐาน
การศึกษา
3. ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน
และพื้นที่
4. กฎหมายและรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษารองรับลักษณะที่แตกต่างกัน
ของผู้เรียน สถานศึกษา และความต้องการกำลังแรงงานของประเทศ
5. ระบบบริหารงานบุคคลของครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษามีความเป็นธรรม สร้างขวัญ
กำลังใจ และส่งเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มตามศักยภาพ

แนวทางการพัฒนา
1. ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการศึกษา
2. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา
3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา
4. ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับระบบการเงินเพื่อการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพและประสิทธิภาพการจัด
การศึกษา
5. พัฒนาระบบบริหารงานบุคคลของครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา

หน้า ๑๒ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

แผนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๖๕)

แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐) เป็นแผนแม่บทหลักในการพัฒนาประเทศ


ที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๒ และถือเป็นส่วนสำคัญ ในการ
ถ่ายทอดเป้าหมายและประเด็นยุทธศาสตร์ของยุทธศาสตร์ชาติลงสู่แผนระดับต่าง ๆ รวมทั้งแผนในระดับ
กระทรวง โดยแผนแม่บทฯ จะแบ่งช่วงเวลาออกเป็น ๔ ช่วง ช่วงละ ๕ ปี ซึ่งการพัฒนาประเทศในช่วงเวลา
ของยุทธศาสตร์ชาติ จะมุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในรูปแบบประชารัฐ ดังนั้น ภายใต้วิสัยทัศน์ “กระทรวงศึกษาธิการวางระบบ
เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ – ทักษะ มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรมมีงานทำ
มีอาชีพ และเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง” ของแผนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๖๕) ฉบับนี้
จึงได้มีการกำหนดเป้าหมายหลักและวางยุทธศาสตร์ที่เน้นการปรับสภาวการณ์ของกระทรวงฯ สามารถ
ตอบสนอง ต่อแนวทางการพัฒนาที่สำคัญของแผนแม่บทฯ ในช่วงแรก ซึ่งได้แก่
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ ยุทธศาสตร์พัฒ นาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมิ นผล
ที่มีเป้าหมายเพื่อให้ยกระดับคุณภาพของการจัดศึกษา ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น มีทักษะการเรียนรู้ที่ครอบคลุมทั้งด้านวิชาการ วิชาชีพ วิชาชีวิต สอดคล้อง
กับทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ และทักษะในด้านพหุปัญญา
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ ยุทธศาสตร์พัฒ นาครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีเป้าหมายเพื่อให้คุณภาพ
การศึกษาของไทยดีขึ้น ครูมีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ มีจรรยาบรรณของวิชาชีพ มีองค์ความรู้และ
มีความเป็น มืออาชีพ สามารถใช้ศักยภาพในการสอนแก่ผู้เรียนได้อย่างเต็มที่
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ ยุทธศาสตร์ผลิตและพัฒนากำลังคน รวมทั้งงานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการ
ของประเทศ ที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างขีดความสามารถให้ผู้เรียนได้รับการเพิ่มเติมความรู้ ทักษะในการประกอบ
อาชีพ ที่ตรงกับสภาพตลาดแรงงาน กำลังคนได้รับการผลิตและพัฒนาตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ รวมทั้งมีองค์
ความรู้ นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ ที่สนับสนุนการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาในพื้นที่
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ ยุทธศาสตร์เพิ่มโอกาสให้คนทุกช่วงวัยเข้าถึงบริการทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอด
ชีวิต ที่มีเป้าหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้ผู้เรียนสามารถได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพในทุกระดับ และประเภท
การศึกษา และมีการเตรียมความพร้อมผู้เรียนปฐมวัย สถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภูมิภาคได้รับ การยกระดับ
ในการให้บริการ รวมทั้งมีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้แก่ประชาชน
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ ยุทธศาสตร์ส่งเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ที่มีเป้าหมาย
เพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้ผู้เรียน สถานศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษาทุกระดับทุกประเภทการศึกษาเข้าถึง
ทรัพยากรพื้นฐานระบบดิจิทัลแพลตฟอร์มรองรับการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอนแบบดิจิทัล ที่ทันสมัยและ
มีระบบฐานข้อมูลกลางทางการศึกษาที่ถูกต้องเป็นปัจจุบัน
ยุทธศาสตร์ที่ ๖ ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ในการ
จัดการศึกษา ที่มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มคล่องตัวในการรองรับความหลากหลายของการจัดการศึกษา ระบบและ
วิธีการคัดเลือกเพื่อการศึกษาต่อได้รับการปรับปรุงพัฒนา มีการใช้ทรัพยากรทั้งด้านงบประมาณ และบุคลากร

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๓


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีกลไกการส่งเสริมพลังทางสังคมให้เข้ามาร่วมและสนับสนุนทรัพยากรในส่วน
ภูมิภาคโดยรูปแบบพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
โดยในขั้นตอนของการกำหนดเป้าหมายหลักและวางยุทธศาสตร์ของกระทรวงฯ ในข้างต้นจะให้
ความสำคัญกับการวิเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่ รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ คำสั่งหัว หน้าคณะรักษาความสงบแห่ งชาติ ที่ ๑๙ /๒๕๖๐
พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๒ พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒
พระราชบั ญ ญั ติ ร ะเบี ย บบริ ห ารราชการกระทรวงศึ ก ษาธิก าร (ฉบั บ ที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ พระราชบั ญญัติ
การอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๖๒ และ
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งมีผลให้
กระทรวงศึกษาธิการต้องทบทวนภารกิจ หลังจากที่มีการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ
นวัตกรรมขึ้นมาใหม่ ตลอดจนการวิเคราะห์มติคณะรัฐมนตรีสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ
คือ มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑ และกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง ที่จะส่งผลต่อผลลัพธ์
ที่พึงประสงค์ของผู้เรียนโดยตรง ที่สำคัญคือได้วิเคราะห์ เป้าหมาย/แนวทางการพัฒนาของแผนแม่บทภายใต้
ยุทธศาสตร์ชาติ ในช่วงแรก (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๕) วัตถุประสงค์ของแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา
และแผนการปฏิรูปประเทศ ๑๑ ด้าน ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา มากำหนดเป็นกรอบหลักการสำหรับ
การกำหนดเป้าหมายหลัก รวมทั้งใช้ผลการประเมินแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ ๑๒
(พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ระยะครึ่งแผนฯ และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งในส่วน
ของจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ซึ่งทำให้พบว่าการวางทิศทางของกระทรวงศึกษาธิการ ในระยะ ๓ ปี
ข้างหน้า ควรจะวางยุทธศาสตร์ที่ให้น้ำหนักจากการใช้ประโยชน์จากโอกาสภายนอก เพื่อมาลดจุดอ่อนภายใน
กระทรวงศึกษาธิการ โดยเน้นไปที่การวางระบบบริหารจัดการให้เกิดความคล่องตัว ในการทำงานร่วมกับภาคส่วน
ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ระดับจังหวัด และระดับภาคภูมิศาสตร์ เพื่อให้
สามารถบรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้
สำหรับการนำแผนยุทธศาสตร์กระทรวงฯ ไปสู่การปฏิบัติ ในลำดับแรก จำเป็นที่จะต้อง มีการสื่อสาร
ในระดับยุทธศาสตร์แก่หน่วยงานและบุคลากรในสังกัดให้ได้รับรู้ มีความเข้าใจที่ถูกต้องชัดเจน และเกิดการ
ยอมรับในสาระสำคัญของแผนยุทธศาสตร์กระทรวงฯ หลังจากนั้น ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
ควรจะดำเนินการวิเคราะห์ถ่ายทอดสาระสำคัญของแผนยุทธศาสตร์กระทรวงฯ ไปสู่การจัดทำแผนระดับต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นแผนปฏิบัติราชการ แผนปฏิบัติการ แผนงบประมาณรวมทั้งการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากร
ที่เหมาะสมเพียงพอให้แก่หน่วยงานทั้งในส่วนกลางระดับกรมและหน่วยงานในระดับภูมิภาค โดยควรคำนึงถึง
ผลผลิตและผลลัพธ์ที่จ ะเกิดขึ้น จากการจัดทำแผนงาน โครงการ กิจกรรมภายใต้ยุทธศาสตร์กระทรวงฯ
เป็น ข้อสำคัญในการพิจ ารณา ทั้งนี้ ในส่ว นของการประเมินความสำเร็จของแผนยุทธศาสตร์กระทรวงฯ
เมื่อสิ้นสุดปี ๒๕๖๕ จะเป็นการรวบรวมข้อมูลสถิติต่าง ๆ ที่สะท้อนผลการดำเนินงาน ในแต่ละตัวชี้วัดตาม
เป้าหมายหลัก และนำมาเปรียบเทีย บกับค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งผลของการประเมินฯ จะเป็นฐานที่
สามารถนำไปสู่การวิเคราะห์เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการฉบับใหม่ (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐)
ให้สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติต่อไป
วิสัยทัศน์ :
“กระทรวงศึกษาธิการวางระบบเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ - ทักษะ มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง
มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม มีงานทำ มีอาชีพ และเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง”

หน้า ๑๔ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

เป้าหมายหลัก :
๑. คุณภาพการศึกษาของไทยดีขึ้น ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ
๒. ครูมีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ
๓. สถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภูมิภาค มีทรัพยากรพื้นฐานที่เพียงพอตามเกณฑ์มาตรฐาน
๔. ผู้เรียนทุกกลุ่มทุกช่วงวัยได้รับโอกาสในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
๕. ระบบและวิธีการคัดเลือกเพื่อการศึกษาต่อ ได้รับการพัฒนา ปรับปรุงแก้ไข
๖. ผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา ได้รับการเพิ่มเติมความรู้ ทักษะในการประกอบอาชีพ ที่ตรงกับ
สภาพตลาดแรงงานในพื้นที่ชุมชน สังคม จังหวัด และภาค
๗. กำลังคนได้รับการผลิตและพัฒนาตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ
๘. ผู้เรียนปฐมวัยได้รับการเตรียมความพร้อมในด้านสุขภาพและโภชนาการ ร่วมกับหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง
๙. มีองค์ความรู้ นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ ที่สนับสนุนการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดและภาค
๑๐. ระบบบริหารจัดการการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ เพื่อ
รองรับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาร่วมกับทุกภาคส่วน

พันธกิจ :
๑. ยกระดับคุณภาพของการจัดการศึกษา
๒. ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
๓. มุ่งความเป็นเลิศและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
๔. ปรับปรุงระบบบริหารจัดการการศึกษาให้มีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร เพิ่มความคล่องตัวใน
การรองรับความหลากหลายของการจัดการศึกษา และสร้างเสริมธรรมาภิบาล

ยุทธศาสตร์ :
๑. พัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล
๒. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
๓. ผลิตและพัฒนากำลังคน รวมทั้งงานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ
๔. เพิ่มโอกาสให้คนทุกช่วงวัยเข้าถึงบริการทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
๕. ส่งเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา
๖. พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๕


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

วิสัยทัศน์ และพันธกิจ
ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์ ปี พ.ศ. 2566


“สร้างคุณภาพผู้เรียน สู่สังคมอนาคตอย่างยั่งยืน”
(ผู้เรียนมีความรู้ และสมรรถนะที่จำเป็น มีความสุข และมีเป้าหมาย ได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ
เพื่อพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ)

วิสัยทัศน์ ปี พ.ศ. 2567 - 2570


“ผู้เรียนมีความรู้ และสมรรถนะที่จำเป็น มีความสุข และมีเป้าหมาย
ได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ เพื่อพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ”

พันธกิจ
1) ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศของผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามศักยภาพ และเพิ่มขีด
ความสามารถในการแข่งขัน และพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามหลักสูตร และทักษะที่จำเป็น
ในศตวรรษที่ 21
2) พัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความเชี่ยวชาญในการจัดการศึกษาที่
ตอบสนองทิศทางการพัฒนาประเทศ
3) พัฒนาสถานศึกษาและระบบการบริหารจัดการศึกษาทุกระดับให้มีความปลอดภัย และจัดการ
ศึกษาเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) เสริมสร้าง
ความมั่นคงของมนุษย์ และพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง
4) เพิ่มโอกาส ความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ ให้ผู้เรียนทุกคนได้รับบริการทางการศึกษาอย่าง
ทั่วถึงและเท่าเทียม
5) พัฒนาระบบการบริหารจัดการของหน่วยงานในสังกัดให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลเหมาะสม
กับบริบท

หน้า ๑๖ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง นโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 – 2568

ตามที่คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินที่ยึดมั่นการปกครองใน
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมีความสอดคล้องกับหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ
และหมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ตลอดจนยุทธศาสตร์
ชาติ พุทธศักราช 2561 – 2580 คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 11 – 12 กันยายน
พุทธศักราช 2566 นโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล จะดำเนินนโยบายปฏิรูปการศึกษาและสร้างสังคมแห่ง
การเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งส่งเสริมให้เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ รวมทั้งเสริมสร้างศั กยภาพของผู้เรียนตาม
ความถนัด ส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างอนาคต สร้างรายได้ กระจายอำนาจการศึกษาให้ผู้เรียนได้เข้าถึงการ
เรียนรู้ อย่างทั่วถึง มีอุปกรณ์การเรียนที่เหมาะสมต่อผู้เรียนแต่ละวัย และใช้ระบบเทคโนโลยีการศึกษาสมัยใหม่
จัดทำหลักสูตร และให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับความรู้ความสนใจของผู้เรียน ส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนา ทั้งใน
ด้านสังคม ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science) และการวิจัยขั้นแนวหน้า (Frontier Research)
เพื่อต่อยอดให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยไม่ละเลยการศึกษาประวัติศาสตร์ความ
เป็นมาของประเทศและการปลูกฝังความรักในสถาบันหลักของชาติ เพื่อให้มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง
ทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของโลกสมัยใหม่อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม ให้ความสำคัญต่อความมี
คุณภาพของครูทั้งประเทศ รวมไปถึงครูแนะแนว เพื่อช่วยให้นักเรียนได้รับคำแนะนำด้านเนื้อหาของวิชาการ
และการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเลือกเรียนและประกอบอาชีพ รวมไปถึงการดูแลสุขภาพ
กาย และสุขภาพใจของนักเรียนทุกคน ส่งเสริมการสร้ างรายได้ให้แก่นักเรียน นักศึกษา ทั้งสายวิชาการ และ
สายอาชีพให้มีรายได้จากวิชาที่เรียน โอกาสฝึกงานระหว่างเรียน เพื่อสร้างบุคลากรที่มีทักษะและความสามารถ
ตรงต่อความต้องการของการจ้างงาน และที่สำคัญที่สุดรัฐบาลจะดำเนินการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการ
ศึกษาที่เป็นรากฐานสำคัญของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ต่อมาเมื่อวันที่ 14 กันยายน
2566 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประชุมมอบนโยบายการศึกษาให้แก่ทุกหน่วยงานในสังกัดและ
ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริห าร
ราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงประกาศนโยบายการศึกษา
ของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 – 2568 โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้รับการ
พัฒนาในทุกมิติ ทั้งในด้านโอกาส ความเท่าเทียม ความเสมอภาค คุณภาพและสมรรถนะที่สำคัญจำเป็น ตาม
บริบทของประเทศและสังคมโลก โดยเน้นให้ผู้เรียน “เรียนดี มีความสุข” ใช้หลักการมีส่วนร่วมในการจัด
การศึกษาจากทุกภาคส่วน ดังที่กล่าวไว้ว่า “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” เพื่อเป็นแนวทางให้ทุกหน่วยงานในสังกัด
และในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการนำไปใช้ในการขับเคลื่อนนโยบาย ดังนี้

1. ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา
1.1 พัฒนาวิธีการประเมินวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษา มุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
เป็นสำคัญ

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๗


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
1.2 พัฒนาหลักเกณฑ์ วิธีการแต่งตั้ง โอน ย้ายของครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้สามารถ
ปฏิบัติหน้าที่ในภูมิลำเนา ที่ตรงกับความประสงค์ของตนเอง เน้นพิจารณาด้วยความโปร่งใส และไม่มีการทุจริต
คอร์รัปชัน
1.3 แก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เห็นผลเป็นรูปธรรม
1.4 จัดหาอุปกรณ์การสอนและสวัสดิการให้เพียงพอและเหมาะสม

2. ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง
2.1 เรีย นได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime) เรียนฟรี มีงานทำ “ยึดผู้เรียน เป็น
ศูนย์กลาง” มีระบบหรือแพลตฟอร์มการเรียนรู้ โดยผู้เรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อสร้างความเสมอภาคทาง
การศึกษา
2.2 จัดให้มีโรงเรียนคุณภาพ 1 โรงเรียน ต่อ 1 อำเภอ
2.3 พัฒนาระบบการแนะแนวการเรียน (Coaching) และเป้าหมายชีวิตให้เป็นรูปธรรม
2.4 การจัดทำระบบวัดผลรับรองมาตรฐานวิชาชีพ (Skill Certificate) ผู้เรียนสามารถเรียน
เพิ่มเพื่อรับประกาศนียบัตรในการประกอบอาชีพ
2.5 การจัดทำระบบวัดผลเทียบระดับการศึกษา และประเมินผลการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนที่มี
ความสามารถเป็นเลิศ ไม่ต้องเสียเวลาเรียนในระบบ ประหยัดเวลาและประหยัดค่าใช้จ่าย
2.6 ผู้เรียนเรียนรู้และมีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทำ (Learn to Earn)

ให้ ส ่ ว นราชการ หน่ ว ยงานในสั ง กั ด กระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร นำนโยบายการศึ ก ษาของ


กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 – 2568 ข้างต้น ไปเป็นกรอบแนวทางในการจัด
การศึ ก ษา โดยดำเนิ น การจั ด ทำแผนปฏิบ ั ต ิ ราชการให้ ส อดคล้อ งกั บ นโยบายดั ง กล่ า ว และรายงานต่ อ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อพิจารณาต่อไป

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน 2566 เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

หน้า ๑๘ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

แนวข้อสอบ
นโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖7 - 2568

1. กระทรวงศึกษาธิการมุ่งมั่นดำเนินการภารกิจหลักตามแผนใด
ก. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี
ข. แผนการศึกษาแห่งชาติ
ค. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ก.
2. นโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖7 – 2568 กำหนดให้
ส่งเสริมเรื่องใดบ้าง
ก. ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์
ข. ด้านการวิจัยขั้นแนวหน้า
ค. การศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของประเทศ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
3. นโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖7 – 2568 มุ่งหวังในเรื่องใด
ก. ให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาในทุกมิติ
ข. ให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาทั้งในด้านโอกาส
ค. ให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้รับความเท่าเทียม ความเสมอภาค
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
4. นโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖7 – 2568 ได้มุ่งเน้นให้
นักเรียนเป็นเช่นไร
ก. เรียนดี มีความสุข
ก. นักเรียนดี มีความสุข
ข. จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ก.
5. ข้อใดเป็นหลักการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาจากทุกภาคส่วน เพื่อเป็นแนวทางให้ทุกหน่วยงานในสังกัด
และในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการนำไปใช้ในการขับเคลื่อนนโยบาย
ก. เรียนดี มีความสุข
ข. นักเรียนดี มีความสุข
ค. จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ค.
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๙
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
6. นโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖7 – 2568 มีกี่ข้อ
ก. 2 ข้อ ข. 3 ข้อ
ค. 5 ข้อ ง. 7 ข้อ
ตอบ ก.
7. นโยบายการศึกษาข้อแรก ของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖7 – 2568 คือ
ก. มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ข. ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง
ค. พลิกโฉมการศึกษาสู่ยุคดิจิทัล ง. ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตอบ ง.
8. นโยบายการศึกษาข้อที่ 2 ของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖7 – 2568 คือ
ก. มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ข. ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง
ค. พลิกโฉมการศึกษาสู่ยุคดิจิทัล ง. ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตอบ ข.
9. การพัฒนาวิธีการประเมินวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษา มุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ
เกี่ยวข้องกับนโยบายข้อใด
ก. มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ข. ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง
ค. พลิกโฉมการศึกษาสู่ยุคดิจิทัล ง. ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตอบ ง.
10. โครงการโรงเรียนคุณภาพ 1 โรงเรียน ต่อ 1 อำเภอ เกี่ยวข้องกับนโยบายข้อใด
ก. มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ข. ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง
ค. พลิกโฉมการศึกษาสู่ยุคดิจิทัล ง. ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตอบ ข.
11. การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา เกี่ยวข้องกับนโยบายข้อใด
ก. มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ข. ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง
ค. พลิกโฉมการศึกษาสู่ยุคดิจิทัล ง. ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตอบ ง.
12. การเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime) เรียนฟรี มีงานทำ “ยึดผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง”
เกี่ยวข้องกับนโยบายข้อใด
ก. มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ข. ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง
ค. พลิกโฉมการศึกษาสู่ยุคดิจิทัล ง. ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตอบ ข.
13. การพัฒนาระบบการแนะแนวการเรียน (Coaching) และเป้าหมายชีวิต เกี่ยวข้องกับนโยบายข้อใด
ก. มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ข. ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง
ค. พลิกโฉมการศึกษาสู่ยุคดิจิทัล ง. ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตอบ ข.
14. การจัดหาอุปกรณ์การสอนและสวัสดิการให้เพียงพอและเหมาะสม เกี่ยวข้องกับนโยบายข้อใด
ก. มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ข. ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง
ค. พลิกโฉมการศึกษาสู่ยุคดิจิทัล ง. ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตอบ ง.

หน้า ๒๐ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
15. การจัดทำระบบวัดผลรับรองมาตรฐานวิชาชีพ (Skill Certificate) เกี่ยวข้องกับนโยบายข้อใด
ก. มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ข. พลิกโฉมการศึกษาสู่ยุคดิจิทัล
ค. ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง ง. ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตอบ ค.
16. ผู้เรียนเรียนรู้และมีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทำ (Learn to Earn) เกี่ยวข้องกับนโยบายข้อใด
ก. มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ข. พลิกโฉมการศึกษาสู่ยุคดิจิทัล
ค. ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง ง. ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตอบ ค.
17. ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นำนโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2567 – 2568 ไปใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดการศึกษา โดยดำเนินการจัดทำ
แผนปฏิบัติราชการให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว แล้วรายงานต่อใครเพื่อพิจารณา
ก. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ค. นายกรัฐมนตรี
ง. คณะรัฐมนตรี
ตอบ ข.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๒๑


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ - ๒๕๖8 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win)
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
-----------------

ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ออกประกาศสำนักงานคณะกรรมการ


การศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยน้อมนำพระบรมราโชบายด้าน
การศึกษา ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หั ว
การศึกษาต้องมุ่ง สร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน ๔ ด้าน คือ ๑) มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง ๒) มีพื้นฐานชีวิตที่
มั่นคง มีคุณธรรม ๓) มีงานทำ มีอาชีพ และ ๔) เป็นพลเมืองดี สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ.
๒๕๖๑-๒๕8๐) แผนแม่บ ทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕8๐) ที่เกี่ยวข้องกับด้านการศึกษา
แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) โดยเฉพาะหมุดหมายที่ ๑๒
แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙ รวมทั้งนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) นั้น

เนื่องจาก ได้มีค ำแถลงนโยบายของคณะรัฐ มนตรีที่แถลงต่อรัฐ สภา เมื่อวันที่ ๑๑ - ๑๒


กันยายน ๒๕๖๖ กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ประกาศข้อสั่งการและแนวทางปฏิบัติให้หน่วยงานในสังกัด และ
หน่วยงานในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ นำนโยบายด้านการศึกษาของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา และ
นโยบายของรัฐ มนตรีว ่าการกระทรวงศึกษาธิการ ไปดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภ าพและ
ประสิทธิผล เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนและประชาชนทุกคน ดังนั้น เพื่อให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เป็น ไปตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา นโยบายของรัฐ บาล และนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงกำหนดนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ – ๒๕๖8 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win)
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ดังนี้

นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. ๒๕6๗ – ๒๕๖8
๑. ปลูกฝังความรักในสถาบันหลักของชาติ และน้อมนําพระบรมราโชบายด้านการศึกษา
สู่การปฏิบัติ
๑.๑ ขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา เพื่อการบรรลุเป้าหมาย
การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑.๒ ขับเคลื่อนพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ สู่การปฏิบัติ
๑.๓ ปลูกฝังความรักในสถาบันหลักของชาติ

หน้า ๒๒ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
๒. จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และประชาธิปไตย
๒.๑ พัฒนาการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และประชาธิปไตย
ในสังคมร่วมสมัย
๒.๒ พัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม
ประชาธิปไตย และส่งเสริมความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ สู่ห้องเรียนวิถีใหม่ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

3. ปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ทันสมัยและหลากหลาย
๓.๑ ส่งเสริมให้มีการต่อยอดแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อ
พัฒนา สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
๓.๒ พัฒนาศักยภาพและคุณลักษณะผู้เรียนตามความถนัด ความสนใจ ด้วยการเรียนรู้
อย่างมีความสุข
๓.๓ ส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม และมีจิตสำนึกในการ
อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๔. ส่งเสริมการอ่าน เพื่อเป็นวิถีในการค้นหาความรู้และต่อยอดองค์ความรู้ที่สูงขึ้น
๔.๑ ส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
๔.๒ พัฒนาความสามารถด้านการอ่านตามแนวทางการประเมิน PISA

๕. ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
๕.๑ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะด้านการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม การมีจิตอาสา ทำ
ความดีด้วยหัวใจ
๕.๒ สร้างผู้น ำด้วยกระบวนการลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บ ำเพ็ญประโยชน์ และ
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอื่น ๆ
๕.๓ ส่งเสริมกิจกรรมสภานักเรียน ชุมนุม ชมรม และการมีส่วนร่วมให้เกิดวิถีประชาธิปไตย
ในโรงเรียน เป็นพลเมืองที่ดี และแสดงออกอย่างสร้างสรรค์

6. จัดการศึกษาแบบเรียนรวม
๖.๑ พัฒนาองค์ความรู้ เจตคติและทักษะการจัดการเรียนรู้ส ำหรับเด็กที่มีความต้องการ
จำเป็นพิเศษ
๖.๒ สร้างเครือข่ายบูรณาการความร่วมมือช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
ระหว่างสถานศึกษากับทีมสหวิชาชีพ
๖.๓ นิเทศ กำกับ ติดตาม โดยร่วมมือกับเครือข่ายในทุกภาคส่วน

๗. จัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ
๗.๑ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามพหุปัญญา
๗.๒ พัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ ด้านคณิตศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านภาษา ด้าน
ทัศนศิลป์ ด้านดนตรี ด้านนาฏศิลป์ ด้านกีฬา และด้านอื่น ๆ
๗.๓ ส่ ง เสริ ม ความเป็น เลิศ ของผู ้ มี ค วามสามารถพิเ ศษ และ Soft Power อย่ า งเต็ม
ศักยภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๒๓
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
8. เสริมสร้างความปลอดภัยของสถานศึกษา
8.๑ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพของสถานศึกษา เพื่อให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย
อบอุ่น มีความสุข เอื้อต่อการเรียนรู้
8.๒ สร้างเครือข่ายและกลไกในการดูแลความปลอดภัยให้กับผู้เรียน ครูและบุคลากร ทาง
การศึกษา และสถานศึกษา
8.๓ สร้างภูมิคุ้มกันผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ไม่ให้เข้าไปข้องเกี่ยวกับยาเสพติด
๘.๔ รับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ ดูแลความปลอดภัยของผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา ผ่านระบบ OBEC Safety Center

9. เพิ่มโอกาสและสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา
9.๑ พัฒนาระบบการป้องกัน การเฝ้าระวัง และการดูแลช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยง เด็กตก
หล่น เด็กออกกลางคัน เด็กไร้สัญชาติ เด็กพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดารและพื้นที่เกาะ ตามความต้องการจ ำเป็น
รายบุคคล เพื่อไม่ให้หลุดจากระบบการศึกษา โดยบูรณาการความร่วมมือกับบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
9.๒ ส่งเสริม สนับสนุนให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส
ได้รับโอกาสเข้าถึงการศึกษา แหล่งเรียนรู้ และการฝึกอาชีพที่หลากหลายเหมาะสมตามศักยภาพ เพื่อให้มี
ทักษะ ในการดำเนินชีวิต สามารถพึ่งตนเองได้

๑๐. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
10.๑ พัฒนาผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารการศึกษา
ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรส่วนกลาง ให้เป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์ นำนโยบายสู่การปฏิบัติ และมีทักษะในการ
บริหารสถานการณ์
๑๐.๒ พัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ ในการนิเทศ และการชี้แนะ ( Coaching)
๑๐.๓ พัฒนาสมรรถนะครู ด้านภาษาอังกฤษ ภาษาจีน เทคโนโลยีดิจิทัล การจัดการเรียนรู้
จิตวิญญาณความเป็นครู และทักษะอื่นที่จำเป็น
๑๐.๔ พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้และสมรรถนะด้านวิชาการ ด้าน
ทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

นโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน


ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗

ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา
๑. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคล
๑.๑ ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการ การแต่งตั้ง การย้าย การช่วยราชการ และการขอมี
และเลื่อนวิทยฐานะ
๑.๒ พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

๒. การแก้ไขปัญหาหนี้สินครู
2.1 จัดตั้งศูนย์และสถานีแก้หนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับ

หน้า ๒๔ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
๒.๒ จัดทำข้อมูลสารสนเทศ และแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา
๒.๓ ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา

๓. การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
๓.๑ จัดทำแผนการบริห ารจั ดการโรงเรีย นขนาดเล็ ก และโรงเรียนขยายโอกาสทาง
การศึกษา
๓.๒ จัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียน
ขยายโอกาสทางการศึกษา
๓.๓ เสนอปรับเกณฑ์อัตรากำลังผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรสายสนับสนุน
๓.๔ จัดทำคำสั่งมอบอำนาจเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ โดยให้
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ดำเนินการแทนโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนไม่เกิน 60 คน
๓.๕ จัดทำรูปแบบการบริหารเจ้าหน้าที่ธุรการ ในโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขยาย
โอกาสทางการศึกษา
๓.๖ สร้างและใช้แพลตฟอร์มการเรียนรู้ในระบบดิจิทัล และส่งเสริมการใช้ DLTV

๔. ลดภาระการประเมินของสถานศึกษา
๔.๑ สำรวจรายการประเมิน การรายงานข้อมูล และโครงการของสถานศึกษา
๔.๒ จัดทำรูปแบบและแนวทางการประเมินเพื่อลดภาระของสถานศึกษา
๔.๓ ติดตามผลการประเมินตามแนวทางเพื่อลดภาระการประเมินของสถานศึกษา

๕. สร้างความตระหนักในการป้องกันการทุจริต
๕.๑ เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๕.๒ สรรหา บรรจุและแต่งตั้ง โยกย้าย ตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ยึดถือ
ระบบคุณธรรม และความโปร่งใส
๕.๓ จัดซื้อจัดจ้างวัสดุ ครุภัณฑ์ อาหารกลางวัน อย่างมีคุณภาพและถูกต้องตามระเบียบ
กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง

6. การสื่อสาร และประชาสัมพันธ์องค์กร
๖.๑ พัฒนาการสื่อสารทุกช่องทาง
6.๒ ติดตามและวิเคราะห์ประเด็นข่าวที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
๖.๓ ผลิตและเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ สพฐ.
๖.๔ สร้างเครือข่าย และประยุกต์ใช้ AI เพื่อการประชาสัมพันธ์

ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง
๑. การเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime) ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
๑.๑ จัดหาเครื่องมือ พร้อมอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัยสำหรับการเรียนรู้
๑.๒ จัดหาระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของสถานศึกษา

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๒๕


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
๑.๓ พั ฒ นา ส่ ง เสริ ม และขั บ เคลื ่ อ นการจั ด การเรี ย นรู้ ผ ่ านแพลตฟอร์ ม การเรียนรู้
เทคโนโลยีดิจิทัล ให้แก่ผู้เรียนทุกที่ทุกเวลา

๒. สร้างความเข้มแข็งระบบแนะแนว การชี้แนะ (Coaching) และการดูแลสุขภาพกาย


และสุขภาพจิตของผู้เรียน
๒.๑ พัฒนาระบบการแนะแนวและการชี้แนะแนวทาง (Coaching)
๒.๒ พัฒนาครูแนะแนวแกนนํา และพัฒนาให้ครูทุกคนให้การแนะแนวนักเรียนได้
๒.๓ ส่งเสริมสุขภาพจิตนักเรียนวิถีใหม่ด้วย School Health Hero และส่งเสริม สุขภาพ
กายรอบด้าน
๓. ส่งเสริมระบบธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank)
3.1 พัฒนาระบบการเทียบโอนความรู้ และประสบการณ์เพื่อใช้ในการสะสมหน่ว ยกิต
และผลการเรียนของผู้เรียน ผ่านระบบธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank)
๓.๒ พัฒนาระบบธนาคารหน่วยกิตดิจิทัล
๓.๓ เชื่อมโยง API ระหว่างสถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด และระบบธนาคารหน่วยกิ
ตแห่งชาติ
๔. ๑ อำเภอ ๑ โรงเรียนคุณภาพ
๔.๑ จัดทำแผนการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพ
๔.๒ กำหนดเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนคุณภาพ
๔.๓ สนับสนุนและพัฒนาโรงเรียนคุณภาพที่สอดคล้องกับบริบทและความต้องการ เพื่อ
การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ

๕. เสริมสร้างทักษะอาชีพ และการมีรายได้ระหว่างเรียน
๕.๑ พัฒนานักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์
๕.๒ ส่งเสริมให้นักเรียนทำงานหารายได้ในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน
๕.๓ ส่งเสริมประสบการณ์อาชีพของนักเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
๕.๔ พัฒนาต่อยอดห้องแล็บสอนอาชีพ ในโรงเรียนต้นแบบสหกรณ์โรงเรียน
๕.๕ ส่งเสริมการศึกษาร่วมหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ทวิศึกษา) ระดับมัธยมศึกษา
ตอนปลาย

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๖

ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา


เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

หน้า ๒๖ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

แนวข้อสอบ
นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗-๒๕๖8 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win)
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗

1. นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๗ - ๒๕๖8 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
ได้ดำเนินการภารกิจหลักตามแผนใด
ก. น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษา รัชการลที่ 10
ข. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ค. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
2. นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ - ๒๕๖8 กำหนดให้ส่งเสริมเรื่องใดบ้าง
ก. ปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ทันสมัยและหลากหลาย
ข. จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และประชาธิปไตย
ค. ปลูกฝังความรักในสถาบันหลักของชาติ และน้อมนําพระบรมราโชบายด้านการศึกษา
สู่การปฏิบัติ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
3. นโยบายการศึกษาข้อแรก ของนโยบายและจุดเน้น สพฐ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ - ๒๕๖8 คือ
ก. ปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ทันสมัยและหลากหลาย
ข. จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และประชาธิปไตย
ค. ส่งเสริมการอ่าน เพื่อเป็นวิถีในการค้นหาความรู้และต่อยอดองค์ความรู้ที่สูงขึ้น
ง. ปลูกฝังความรักในสถาบันหลักของชาติ และน้อมนําพระบรมราโชบายด้านการศึกษา
สู่การปฏิบัติ
ตอบ ง.
4. นโยบายการศึกษาข้อสุดท้าย ของนโยบายและจุดเน้น สพฐ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ - ๒๕๖8 คือ
ก. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
ข. ปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ทันสมัยและหลากหลาย
ค. จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และประชาธิปไตย
ง. ส่งเสริมการอ่าน เพื่อเป็นวิถีในการค้นหาความรู้และต่อยอดองค์ความรู้ที่สูงขึ้น
ตอบ ก.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๒๗


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
5. การส่งเสริมความเป็นเลิศของผู้มีความสามารถพิเศษ และ Soft Power อย่างเต็มศักยภาพ เพื่อเพิ่มขีด
ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เกี่ยวข้องกับนโยบายข้อใด
ก. จัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ
ข. ปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ทันสมัยและหลากหลาย
ค. จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และประชาธิปไตย
ง. ส่งเสริมการอ่าน เพื่อเป็นวิถีในการค้นหาความรู้และต่อยอดองค์ความรู้ที่สูงขึ้น
ตอบ ก.
6. การปลูกฝังความรักในสถาบันหลักของชาติ เกี่ยวข้องกับนโยบายข้อใด
ก. ปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ทันสมัยและหลากหลาย
ข. จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และประชาธิปไตย
ค. ส่งเสริมการอ่าน เพื่อเป็นวิถีในการค้นหาความรู้และต่อยอดองค์ความรู้ที่สูงขึ้น
ง. ปลูกฝังความรักในสถาบันหลักของชาติ และน้อมนําพระบรมราโชบายด้านการศึกษา
สู่การปฏิบัติ
ตอบ ง.
7. การนิเทศ กำกับ ติดตาม โดยร่วมมือกับเครือข่ายในทุกภาคส่วนประเทศ เกี่ยวข้องกับนโยบายข้อใด
ก. จัดการศึกษาแบบเรียนรวม
ข. จัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ
ค. ปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ทันสมัยและหลากหลาย
ง. ส่งเสริมการอ่าน เพื่อเป็นวิถีในการค้นหาความรู้และต่อยอดองค์ความรู้ที่สูงขึ้น
ตอบ ก.
8. นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ - ๒๕๖8 มีกี่ข้อ
ก. 5 ข้อ ข. 7 ข้อ
ค. 10 ข้อ ง. 12 ข้อ
ตอบ ค.
9. นโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ มีกี่ประเด็น
ก. 2 ประเด็น ข. 3 ประเด็น
ค. 4 ประเด็น ง. 5 ประเด็น
ตอบ ก.
10. นโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ประเด็นแรก คือ
ก. มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ข. พลิกโฉมการศึกษาสู่ยุคดิจิทัล
ค. ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง ง. ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตอบ ง.
11. นโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ประเด็นที่ 2 คือ
ก. มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ข. พลิกโฉมการศึกษาสู่ยุคดิจิทัล
ค. ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง ง. ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตอบ ค.

หน้า ๒๘ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
12. นโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ประเด็นเรื่อง ลดภาระครูและ
บุคลากรทางการศึกษา มีกี่ข้อ
ก. 5 ข้อ ข. 6 ข้อ
ค. 7 ข้อ ง. 8 ข้อ
ตอบ ข.
13. นโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ประเด็นเรื่อง ลดภาระนักเรียน
และผู้ปกครอง มีกี่ข้อ
ก. 5 ข้อ ข. 6 ข้อ
ค. 7 ข้อ ง. 8 ข้อ
ตอบ ก.
14. การแก้ไขปัญหาหนี้สินครู เกี่ยวข้องประเด็นใด ของนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
ก. มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ข. พลิกโฉมการศึกษาสู่ยุคดิจิทัล
ค. ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง ง. ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตอบ ง.
15. โครงการ ๑ อำเภอ ๑ โรงเรียนคุณภาพ เกี่ยวข้องประเด็นใด ของนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win)
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
ก. มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ข. พลิกโฉมการศึกษาสู่ยุคดิจิทัล
ค. ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง ง. ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตอบ ค.
15. จัดหาเครื่องมือ พร้อมอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัยสำหรับการเรียนรู้ เกี่ยวข้องกับนโยบายข้อใด
ก. ส่งเสริมระบบธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank)
ข. เสริมสร้างทักษะอาชีพ และการมีรายได้ระหว่างเรียน
ค. การเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime) ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
ง. สร้างความเข้มแข็งระบบแนะแนว การชี้แนะ (Coaching) และการดูแลสุขภาพกาย และสุขภาพจิต
ของผู้เรียน
ตอบ ค.
16. การจัดทำคำสั่งมอบอำนาจเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ โดยให้ สำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาเป็นผู้ดำเนินการแทนโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนไม่เกิน 60 คน เกี่ยวข้องกับนโยบายข้อใด
ก. การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
ข. สร้างความตระหนักในการป้องกันการทุจริต
ค. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคล
ง. การสื่อสาร และประชาสัมพันธ์องค์กร
ตอบ ก.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๒๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

แนวข้อสอบ
ความรู้เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง
อำนาจหน้าที่ ภารกิจ นโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ
และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1. ข้อใดเป็นชื่อภาษาอังกฤษของกระทรวงศึกษาธิการ
ก. Ministry of Industry
ข. Ministry of Education
ค. Ministry of Public Health
ง. Ministry of Foreign Affairs
ตอบ ข.
2. ข้อใดคือตราสัญลักษณ์ของกระทรวงศึกษาธิการ
ก. รูปคบเพลิงและมีงูพันคบเพลิง
ข. รูปคบเพลิงมีปีกและมีงูพันคบเพลิง
ค. รูปคบเพลิงสามแฉก
ง. รูปเสมาธรรมจักร
ตอบ ง.
3. ข้อใดคือสายด่วนกระทรวงศึกษาธิการ
ก. โทร. 1330 ข. โทร. 1579
ค. โทร. 1546 ง. โทร. 1565
ตอบ ข.
4. ข้อใดคือเว็บไซต์ของกระทรวงศึกษาธิการ
ก. www.moe.go.th ข. www.moc.go.th
ค. www.moph.go.th ง. www.mof.go.th
ตอบ ก.
5. ข้อใดคือเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)
ก. www.nfe.go.th ข. www.obec.go.th
ค. www.ops.moe.go.th ง. www.vec.go.th
ตอบ ข.
6. ข้อใดเป็นชื่อภาษาอังกฤษของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)
ก. Office of the Education Council
ข. Office of the Basic Education Commission
ค. Office of the vocational Education Commission
ง. office of the non - formal and informal education
ตอบ ข.

หน้า ๓๐ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
7. ข้อใดคือเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คนปัจจุบัน
ก. นายสุภัทร จำปาทอง ข. นายอัมพร พินะสา
ค. ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา ง. นายสุรศักดิ์ อินศรีไกร
ตอบ ค.
8. วิสัยทัศน์ของกระทรวงศึกษาธิการ คือข้อใด
ก. มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ คู่คุณธรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขในสังคม
ข. ผู้เรียนมีความรู้ และสมรรถนะที่จำเป็น มีความสุข และมีเป้าหมาย ได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ
เพื่อพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ
ค. คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิต อย่างเป็นสุข
สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21
ง. คนไทยได้รับโอกาสการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ สามารถดำรงชีวิตที่เหมาะสม
กับช่วงวัย สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีทักษะที่จำเป็นในโลกศตวรรษที่ 21
ตอบ ก.
9. วิสัยทัศน์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2567 - 2570 คือข้อใด
ก. มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ คู่คุณธรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความสุขในสังคม
ข. ผู้เรียนมีความรู้ และสมรรถนะที่จำเป็น มีความสุข และมีเป้าหมาย ได้รับการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ
เพื่อพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ
ค. การบริหารและจัดการศึกษาแบบบูรณาการมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่าง
มีคุณภาพและมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
ง. คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิต อย่างเป็นสุข
สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21
ตอบ ข.
10. อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา มีจำนวนทั้งหมดกี่คน
ก. 11 คน ข. 13 คน
ค. 15 คน ง. 17 คน
ตอบ ก.
11. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีจำนวนทั้งหมดกี่เขต
ก. 245 เขต ข. 260 เขต
ค. 262 เขต ง. 280 เขต
ตอบ ก.
12. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามีจำนวนทั้งหมดกี่เขต
ก. 62 เขต ข. 63 เขต
ค. 183 เขต ง. 184 เขต
ตอบ ค.
13. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามีจำนวนทั้งหมดกี่เขต
ก. 62 เขต ข. 63 เขต
ค. 183 เขต ง. 184 เขต
ตอบ ก.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๓๑


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
14. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คนปัจจุบัน หมายถึงข้อใด
ก. พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ
ข. นายสาธิต ปิตุเตชะ
ค. นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ
ง. นางสาวตรีนุช เทียนทอง
ตอบ ก.
15. ข้อใด ไม่ใช่ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ DLIT
ก. คลังวิชาการ
ข. คลังสื่อการเรียนการสอน
ค. Digital Library
ง. คลังข้อสอบ
ตอบ ก.
16. การศึกษาระดับใด ที่มุ่งเน้นทักษะด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ
ก. ปฐมวัย ข. ประถมศึกษา
ค. มัธยมศึกษาตอนต้น ง. มัธยมศึกษาตอนปลาย
ตอบ ข.
17. ผู้ที่ประสงค์จะยื่นขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในระบบออนไลน์ให้ใช้ระบบใด
ก. KSP SCHOOL ข. KPS SCHOOL
ค. TEPE Online ง. KPS BUNDIT
ตอบ ก.
18. ข้อใด ไม่ใช่ พระบรมราโชบาย ในพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ กับการพัฒนาการศึกษา
ต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน
ก. มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง ข. เทคโนโลยี
ค. มีงานทำ มีอาชีพ ง. เป็นพลเมืองดี
ตอบ ข.
19. ข้อใด ไม่ใช่ ส่วนประกอบของ STEM
ก. Science ข. English
ค. Technology ง. Mathematics
ตอบ ข.
20. โรงเรียนเรียนต้นทาง ของ DLTV ตั้งอยู่ที่จังหวัดใด
ก. กรุงเทพมหานคร ข. เพชรบุรี
ค. ราชบุรี ง. ประจวบคีรีขันธ์
ตอบ ง.
21. ข้อใด ไม่ใช่ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เด็กและเยาวชนควรมี
ก. Writing ข. Reading
ค. Arithmetic ง. community
ตอบ ง.

หน้า ๓๒ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
22. ข้อใด ไม่ใช่ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามที่มาของนิยาม “3 ห่วง 2 เงื่อนไข”
ก. ความพอประมาณ - การบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
ข. ความมีเหตุผล - การตัดสินใจอย่างมีเหตุผล
ค. มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี - การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ
ง. ความรู้ - ระมัดระวัง รู้กว้าง รู้ลึก
ตอบ ง.
23. แนวทางการจัดการศึกษาต้องยึดหลักตามข้อใด
ก. ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
ข. ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ
ค. ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
24. วงจรเด็มมิ่ง (Deming Cycle) หมายถึงข้อใด
ก. PDCA ข. SWOT
ค. POCCC ง. CIPPA
ตอบ ก.
25. ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สนับสนุนแนวคิด “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”คือ ทฤษฎีใด ต่อไปนี้
ก. ทฤษฎีของธอร์นไดด์ ข. ทฤษฎีของสกินเนอร
ค. ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ง. ทฤษฎีของโรเจอร์ส
ตอบ ค.
26. การปรับเพิ่มอัตราค่าอาหารกลางวันของนักเรียน ตั้งแต่ระดับเด็กเล็กจนถึงประถมศึกษาปีที่ 6
เริ่มใช้ปีงบประมาณใด
ก. ปีงบประมาณ 2565 ข. ปีงบประมาณ 2566
ค. ปีงบประมาณ 2567 ง. ปีงบประมาณ 2568
ตอบ ค.
27. การพัฒนาสาระของหลักสูตรเป็นอำนาจหน้าที่ของใคร
ก. สถานศึกษา
ข. กระทรวงศึกษาธิการ
ค. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ง. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตอบ ค.
28. ใครเป็นผู้กำหนดวิธีการและเงื่อนไขการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งครูและ
บุคลากรทางการศึกษา
ก. คุรุสภา
ข. กระทรวงศึกษาธิการ
ค. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง. คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตอบ ง.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๓๓


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
29. ข้อใดเป็นความหมายของการศึกษา
ก. การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ
ข. กระบวนการเรียนรู้เพื่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
ค. การจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะพัฒนาตนเอง
ง. กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม
ตอบ ง.
30. ข้อใดคือการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก. การศึกษาภาคบังคับ ข. การศึกษาระดับมัธยมศึกษา
ค. การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา ง. การศึกษาในระดับประถมศึกษา
ตอบ ค.
31. ข้อใด ไม่ใช่ หน่วยงานหลักของกระทรวงศึกษาธิการ โครงการ “พาน้องกลับมาเรียน”
ก. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ข. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ค. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ตอบ ง.
32. ข้อใด ไม่ใช่ มาตรการ 3 ป. ตามนโยบายความปลอดภัยในสถานศึกษา
ก. ปราบปราม ข. ปกป้อง
ค. ป้องกัน ง. ปลูกฝัง
ตอบ ข.
33. เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวการศึกษาขั้นพื้นฐานมีกี่รายการ
ก. 2 รายการ
ข. 3 รายการ
ค. 4 รายการ
ง. 5 รายการ
ตอบ ง.
34. ระบบจับคู่ครูคืนถิ่น หมายถึงข้อใด
ก. ATM ข. TMS
ค. MTS ง. M&M
ตอบ ข.
35. การลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning) เกี่ยวข้องกับนโยบายข้อใด
ก. การยกระดับคุณภาพการศึกษา
ข. การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย
ค. การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ง. การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัย
ตอบ ก.

หน้า ๓๔ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
36. ข้อใดหมายถึงศูนย์ความปลอดภัยกระทรวงศึกษาธิการ
ก. MOE Safety Center
ข. MOE Security Center
ค. MOE Protect Center
ง. MOE Suppress Center
ตอบ ก.
37. การแข่งขันศิลปหัตถกรรม สังกัด สพฐ. ที่จะจัดแข่งขันในปี 2566 - 2567 เป็นการจัดงานครั้งที่เท่าไหร
ก. ครั้งที่ 69 ข. ครั้งที่ 70
ค. ครั้งที่ 71 ง. ครั้งที่ 72
ตอบ ค.
38. ครม.มีมติที่สำคัญอย่างยิ่งในการปรับเพิ่มอัตราค่าอาหารกลางวันของนักเรียน ตั้งแต่ระดับเด็กเล็กจนถึง
ประถมศึกษาปีที่ 6 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. นักเรียน 1-40 คน ได้รับเงินค่าอาหารกลางวัน 29 บาท/คน/วัน
ข. นักเรียน 41-100 คน ได้รับเงินค่าอาหารกลางวัน 27 บาท/คน/วัน
ค. นักเรียน 101-120 คน ได้รับเงินค่าอาหารกลางวัน 24 บาท/คน/วัน
ง. นักเรียนตั้งแต่ 121 คนขึ้นไป ได้รับเงินค่าอาหารกลางวัน 22 บาท/คน/วัน
ตอบ ก.
39. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มอบคำขวัญวันครู 2567 ประจำวันที่ 16 มกราคม 2567
ว่าอย่างไร
ก. ครูวางฐานคิด ส่งเสริมศิษย์สร้างสรรค์
ข. ครูดีสอนดี ศิษย์ดีเรียนดี มีความสุข
ค. จับมือกันไว้ แล้วไปด้วยกัน
ง. เรียนดี มีความสุข
ตอบ ก.
40. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มอบคำขวัญ เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2567 ว่าอย่างไร
ก. มองโลกกว้าง คิดสร้างสรรค์ เคารพความแตกต่าง ร่วมกันสร้างประชาธิปไตย
ข. ครูดีสอนดี ศิษย์ดีเรียนดี มีความสุข
ค. จับมือกันไว้ แล้วไปด้วยกัน
ง. เรียนดี มีความสุข
ตอบ ก.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๓๕


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

ประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ตามที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 76 วรรคสาม ได้กำหนดให้รัฐจัดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรม


โดย พ.ร.บ. มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรม โดยมี
หลักการจัดทำประมวลจริยธรรม ดังนี้
1. ประมวลจริยธรรมต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ใน มาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. มาตรฐานทาง
จริยธรรม พ.ศ. 2562
2. แสดงให้เห็นถึงอุดมการณ์คุณลักษณะของการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดี
3. สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน ตามหลักการของรัฐธรรมนูญ ยุตรศาสตร์ชาติบริบทที่เป็น
สากล และจรรยาบรรณ วิชาชีพ
สำนักงาน ก.ค.ศ. ในฐานะหน่วยงานกลางการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา ได้จัดทำประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ภายใต้หลักการส่งเสริม สนับสนุน
และพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้เป็นข้าราชการที่ดีมีจริยธรรม ซึ่งได้เผยแพร่ทางเว็บไซต์
ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา
โดยที่เป็นการสมควรให้มีประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่ออนุวัติให้เป็นไป
ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ.2562 ซึ่งกำหนดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรม
เป็นหลักเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อใช้เป็นหลักสำคัญในการจัดทำ
ประมวลจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562
ก.ค.ศ. ในฐานะองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจึงกำหนดประมวล
จริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อใช้เป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติของข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษานี้ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวัน
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ 2 “ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา” หมายความว่า ข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ข้อ 3 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตนเพื่อรักษาจริยธรรมที่กำหนดไว้
อย่างเคร่งครัดอยู่เสมอ ดังนี้
(1) ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(2) ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และต่อผู้เกี่ยวข้องในฐานะข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษา
(3) กล้าคิด กล้าตัดสินใจ กล้าแสดงออก และกระทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม
(4) มีจิตอาสา จิตสาธารณะ มุ่งประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัวหรือพวกพ้อง
(5) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน มุ่งมั่นในการปฏิบัติงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ ที่สะท้อนถึงคุณภาพ
ผู้เรียนและคุณภาพการศึกษา
(6) ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ
(7) ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
หน้า ๓๖ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
(8) เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คำนึงถึงสิทธิเด็ก และยอมรับความแตกต่างของบุคคล
ข้อ 4 หากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดจะต้องยึดถือหรือปฏิบัติตามจรรยาบรรณของ
วิชาชีพตามกฎหมายหรือข้อบังคับอื่นใดที่กำหนดไว้โดยเฉพาะ นอกจากจะต้องรักษาจริยธรรมตามที่บัญญัติไว้
ในประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษานี้แล้ว จะต้องยึดมั่นในจรรยาบรรณของวิชาชีพ
นั้นด้วย
ข้อ 5 การจัดทำแนวทางการประพฤติปฏิบัติตนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตาม
ประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษานี้ ให้เป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
ข้อ 6 ให้พนักงานราชการ ครูอัตราจ้าง ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานการศึกษาประพฤติ
ปฏิบัติตนตามประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษานี้ด้วย
ข้อ 7 ให้ประธาน ก.ค.ศ. รักษาการตามประมวลจริยธรรมนี้

ประกาศ ณ วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564


ตรีนุช เทียนทอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.ค.ศ.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๓๗


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

แนวข้อสอบ
ประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

1. ประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เกิดขึ้นจากกฎหมายใด
ก. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ข. พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒
ค. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕46
ง. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
ตอบ ข.
2. “ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา” หมายถึง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตามกฎหมายใด
ก. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ข. พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒
ค. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕46
ง. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
ตอบ ง.
3. บุคคลตามข้อใดปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในด้านมีจิตอาสา
จิตสาธารณะ มุ่งประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัวหรือพวกพ้อง
ก. ครูแดงนำสินค้ามาขายในโรงเรียนเพื่อนำรายได้ไปช่วยเหลือเด็กพิการ
ข. ครูดำสอนซ่อมเสริมนักเรียนที่สอบไม่ผ่านในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์
ค. ครูขาวมาปฏิบัติราชการตรงเวลาแต่มักขาดประชุมของทางโรงเรียน
ง. ครูเขียวไปอบรมที่เขตทุกครั้งที่ได้รับมอบหมายแม้ว่าเป็นวันหยุดราชการ
ตอบ ง.
๔. ความรู้จริยธรรม หมายถึงข้อใด
ก. การใช้ความคิดความเชื่อตัดสินว่าสิ่งใดควรกระทำ
ข. การแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ต่อสาธารณะชน
ค. การใช้เหตุผลเป็นเกณฑ์ในการเลือกหรือไม่เลือกการกระทำ
ง. การใช้ความรู้จากบริบทในสังคมตัดสินการกระทำว่าควรหรือไม่ควรทำ
ตอบ ก.
5. ครูสมศรีเห็นว่าอาชีพครูมีประโยชน์ มีเกียรติ มีกุศล ทำแล้วได้บุญ ซึ่งท่านมีความภาคภูมิใจ ทุ่มเทแรงกาย
แรงใจเพื่อสั่งสอนศิษย์ ท่านอุทิศทำงานทั้งในและนอกเวลาราชการ ตรงกับอุดมการณ์ความเป็นครูข้อใด
ก. เต็มรู้
ข. เต็มใจ
ค. เต็มเวลา
ง. เต็มศักยภาพ
ตอบ ค.

หน้า ๓๘ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
6. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตนเพื่อรักษาจริยธรรมที่บัญญัติไว้ใน
ประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวนกี่ข้อ
ก. 5 ข้อ ข. 7 ข้อ
ค. 8 ข้อ ง. 9 ข้อ
ตอบ ค.
7. ใครเป็นผู้จัดทำแนวทางการประพฤติปฏิบัติตนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ก. ก.ค.ศ. ข. สป.ศธ.
ค. สพฐ. ง. คุรุสภา
ตอบ ก.
8. ใครเป็นผู้รักษาการตามประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ก. ประธาน ก.ค.ศ. ข. นายกรัฐมนตรี
ค. เลขาธิการ ก.ค.ศ. ง. เลขาธิการคุรุสภา
ตอบ ก.
9. บุคคลใดที่จะต้องประพฤติปฏิบัติตนตามประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษานี้
ก. ครู ข. ครูอัตราจ้าง
ค. ผู้อำนวยการสถานศึกษา ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
10. ประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ประกาศวันที่
ก. 30 กรกฎาคม ๒๕๖4 ข. 9 สิงหาคม ๒๕๖4
ค. 30 สิงหาคม ๒๕๖4 ง. 9 กันยายน ๒๕๖4
ตอบ ก.
11. ประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษานี้ มีผลใช้บังคับตั้งแต่
ก. วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข. เมื่อพ้น 30 วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ค. เมื่อพ้น 30 วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ง. เมื่อพ้น 30 วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ตอบ ก.
12. บุคคลตามข้อใดที่จะต้องยึดถือหรือปฏิบัติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพตามกฎหมายหรือข้อบังคับอื่นแล้ว
จะต้องรักษาจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษานี้ด้วย
ก. ครู ข. นิติกร
ค. นักการภารโรง ง. นักจิตวิทยาโรงเรียน
ตอบ ก.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

1. มีผลบังคับใช้ 9 ธ.ค. 2540


2. ของข่ายของ พ.ร.บ. 7 หมวด 1 บทเฉพาะกาล 43 มาตรา
3. คำศัพท์เฉพาะที่สำคัญในพระราชบัญญัตินี้
ข้อมูลข่าวสาร หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริง ข้อมูล หรือสิ่งใด ๆ ไม่ว่า
การสื่อสารความหมายนั้นจะทำได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใด ๆ และไม่ว่าจะได้จัดทำไว้ใน
รูปของเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผ่นผับ แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ฟิล์ม การบัน ทึกภาพหรือเสียงการ
บันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่บันทึกไว้ปรากฏได้
ข้อมูลข่าวสารของราชการ หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแล
ของหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐหรือข้อมูลข่าวสาร
เกี่ยวกับเอกชนข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคล เช่น
การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม หรือประวัติการทำงาน บรรดาที่มีชื่อของผู้นั้น
หรือมีเลขหมาย รหัส หรือสิ่งของลักษณะอื่นที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้นได้ เช่นลายพิมพ์นิ้วมือ แผ่นบันทึกลักษณะเสียง
ของคน หรือรูปถ่าย และให้หมายความรวมถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของผู้ที่ถึงแก่กรรมแล้วด้วย

หมวด 1 การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
1. หน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ ในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร (ม. 7) ต้องส่งข้อมูลข่าวสาร ดังต่อไปนี้
พิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาเพื่อเปิดเผย ดังนี้
1) โครงสร้างและการจัดองค์กรในหน่วยงาน
2) สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน
3) สถานที่รับหรือติดต่อข้อมูลข่าวสารหรือการติดต่อกับหน่วยงานรัฐ
4) กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบ แบบแผน ฯลฯ ที่เพื่อให้มีผล
บริการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้อง
5) ข้อมูลอื่น ๆ ที่คณะกรรมการกำหนด
2. สิทธิของประชาชน (ม. 9)
1) เข้าตรวจดู ขอสำเนาหรือสำเนาที่มีคำรับรอง (ม. 9 วรรคสอง)
2) ร้องเรียนต่อคณะกรรมการ กรณีที่เห็นว่าหน่วยงานของรัฐไม่จัดพิมพ์ข้อมูลข่าวสาร หรือ
เปิดเผยข้อมูลข่าวสารช้า (ม. 13)
3. หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ ในการเปิดเผยข้อมูลที่ประชาชนขอดู (ม.9)
1) ให้ลบหรือตัดทอนส่วนที่ต้องห้ามตามมาตรา 14 หรือ 15 เพื่อไม่ให้มีการเปิดเผยข้อมูล
ข่าวสารนั้นกำหนดหลักเกณฑ์หรือค่าธรรมเนียมในการสำเนาข้อมูลข่าวสาร
2) ส่งคำขอให้หน่วยงานที่จัดทำข้อมูลอนุญาต กรณีที่ข้อมูลที่มีผู้ร้องขอเป็นข้อมูลของหน่วยงาน
อื่น และได้ระบุห้ามการเปิดเผย (ม.12 วรรค 2)
4. หน้าที่ของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารเมื่อได้รับคำร้องเรียนคณะกรรมการจะต้องพิจารณาให้แล้ว
เสร็จภายใน 30 วัน (ถ้ามีความจำเป็นขยาย สามารถขยายได้ไม่เกิน 60 วัน)

หน้า ๔๐ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
หมวดที่ 2 ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผย
1. ข้อมูลที่ไม่ต้องเปิดเผย มี 2 อย่าง คือ
1) ข้อมูลข่าวสารของราชการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ (ม.14)
2) ข้อมูลที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เปิดเผยเนื่องจาก (ม.15)
ก. เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ
ข. เมื่อเปิดเผยแล้วทำให้การบังคับใช้เกิดความเสื่อมประสิทธิภาพ
ค. ข้อมูลที่เป็นความเห็นหรือคำแนะนำในหน่วยงานของรัฐ แต่ไม่รวมถึงรายงานทางวิชาการ
รายงานข้อเท็จจริง หรือข้อมูลที่นำมาใช้ในการทำความเห็น หรือคำแนะนำภายใน
ง. การเปิดเผยทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือความปลอดภัยของบุคคลหนึ่งบุคคลใด
จ. รายงานการแพทย์หรือข้อมูลข่าวสารที่เป็นการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร
ฉ. ข้อมูลที่มีการคุ้มครองไม่ให้เปิดเผย หรือข้อมูลข่าวสารที่มีผู้ให้มาโดยไม่ประสงค์ให้เปิดเผย
ช. อื่น ๆ ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
2. การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ที่อาจกระทบกระเทือนต่อผู้หนึ่งผู้ใด ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินการ
ดังต่อไปนี้ ก่อนเปิดเผยข้อมูลคือ (ม.17)
2.1 แจ้งให้เจ้าของข้อมูลทำการคัดค้านภายในเวลาที่กำหนด แต่ไม่น้อยกว่า 15 วันนับแต่วันที่
ได้รับแจ้ง
2.2 เจ้าของข้อมูลต้องดำเนินการคัดค้านโดยทำเป็นหนังสือ
2.3 เมื่อเจ้าของข้อมูลคัดค้านแล้ว หากเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ฟังคำคัดค้าน เจ้าหน้าที่จะต้องรอ
1) จนกว่าล่วงเลยระยะเวลาอุทธรณ์ข้อมูลต่อคณะกรรมการวินิจฉัย คือภายใน 15 วัน
2) พ้นระยะเวลาคณะกรรมการวินิจฉัยแล้วจึงจะเปิดเผยข้อมูลได้ให้แล้วเสร็จ คือ 60 วัน
3. เจ้าหน้าที่ของรัฐเปิดเผยข้อมูลไม่ต้องรับผิดหากว่าได้ดำเนินการถูกต้องตามระเบียบและ
กฎหมาย คือ
1) เปิดเผยตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
2) เจ้าหน้าที่ดำเนินการเปิดเผยตามกฎกระทรวงเพื่อการทั่วไป หรือเฉพาะแก่บุคคลเพื่อ
ประโยชน์สาธารณะ หรือชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรือประโยชน์อื่นของบุคคลและคำสั่งนั้นได้กระทำโดยสมควร
แก่เหตุ กฎกระทรวงกำหนดผู้เปิดเผยให้เป็นข้าราชการตั้งแต่ระดับ 6 ขึ้นไป (ม.16)

หมวดที่ 3 ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
1. ข้อมูลส่วนบุคคลคือข้อมูลบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทยหรือบุคคลต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
2. หน่วยงานของรัฐจะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของบุคคลไว้เพื่อกาลในหน่วยงาน ดังนี้ (ม.23)
1) มีข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่เกี่ยวข้องและจำเป็น
2) เก็บข้อมูลข่าวสารโดยตรงจากเจ้าของข้อมูล
3) จัดให้มีการพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาและแก้ไขให้ถูกต้องอยู่เสมอ
4) จัดระบบรักษาความปลอดภัยให้แก่ระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามความเหมาะสมเพื่อ
ป้องกันมิให้มีการนำไปใช้โดยไม่เหมาะสมหรือเป็นผลร้ายต่อเจ้าของข้อมูล
3. หน่วยงานของรัฐเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากความยินยอมของเจ้าของข้อมูลไม่ได้
ยกเว้น (ม. 24)
1) เพื่อการนำไปใช้ตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้น
2) นำไปใช้ตามปกติภายในวัตถุประสงค์ของการจัดให้มีระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลนั้น
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๔๑
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
3) นำไปวางแผนหรือการสถิติหรือสำมะโนต่าง ๆ
4) เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยโดยไม่ระบุชื่อหรือส่วนที่ทำให้รู้ว่าเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่
เกี่ยวกับบุคคลใด
5) ต่อหอจดหมายเหตุแห่งชาติเพื่อการตรวจดูคุณค่าในการเก็บรักษา
6) ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อการป้องกันการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
7) เป็นการให้ซึ่งจำเป็นเพื่อการป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพของบุคคล
8) ต่อศาล และเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะขอ
ข้อเท็จจริง
9) กรณีอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
4. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีอำนาจดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลดังนี้ (ม.25 วรรค 2)
1) ยื่นขอให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนที่ไม่ถูกต้องได้ หากเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ไม่ดำเนินการแก้ไขให้ตามคำขอ
2) เจ้าของข้อมูลยื่นต่อคณะกรรมการวินิจฉัยเปิดเผยข้อมูลภายใน 30 วัน โดยยื่นต่อ
คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ

หมวดที่ 4 เอกสารประวัติศาสตร์
1. ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ประสงค์เก็บรักษาหรือหมดอายุครบกำหนดแล้วให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการ
ดังนี้
1.1 ส่งมอบให้แก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
1.2 หน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้า
2. ระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลข่าวสาร (ม.26 วรรค สอง)
2.1 ข้อมูลข่าวสารทีเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ ตาม ม. 14 เมื่อครบ 75 ปี
2.2 ข้อมูลข่าวสารของรัฐที่เจ้าหน้าที่ไม่เปิดเผย ตาม ม. 15 เมื่อครบ 20 ปี
3. แต่ถ้าหน่วยงานของรัฐมีความประสงค์จะขอขยายเวลาในการเก็บก็สามารถที่จะขยายได้โดย
กำหนดขยายไม่เกินคราวละ 5 ปี และให้ดำเนินขยายภายใน 3 เดือนก่อนครบกำหนด
4. ผู้ที่กำหนดให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐให้ทำลายหรืออาจทำลายโดยไม่ต้องเก็บรักษา คือ
คณะรัฐมนตรี (ม.26 วรรค สาม)

หมวด 5 คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
1. คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ประกอบด้วย
• คณะกรรมการโดยตำแหน่ง มีรัฐมนตรีที่นายกมอบหมายเป็นประธาน
• คณะกรรมการที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ โดยคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง 9 คน วาระคราวละ 3 ปี
• ข้าราชการในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี คนหนึ่งเป็นเลขาอีก 2 คน
เป็นผู้ช่วยเลขา
2. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการที่สำคัญ
1) ทำรายงานเสนอคณะรัฐมนตรี ปีละ 1 ครั้ง
2) วินิจฉัยเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล

หน้า ๔๒ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
2.1 เมื่อมีการร้องขอให้หน่วยงานของรัฐเปิดเผยแต่หน่วยงานของรัฐไม่ยอมเปิดเผยหรือ
ดำเนินการเปิดเผยล่าช้า (ตาม ม.11)
2.2 เมื่อมีการขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนตัวที่รัฐมีไว้ให้ถูกต้องแต่รัฐไม่ยอมแก้ไขให้
3) รับคำอุทธรณ์และส่งคำอุทธรณ์ให้คณะกรรมการวินิจฉัยข้อมูลข่าวสารภายใน 7 วันนับแต่วันที่
ได้รับแจ้งการอุทธรณ์
4) รับคำร้องจากประชาชน และเข้าดำเนินการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารของทางราชการ กรณีที่
หน่วยงานปฏิเสธแก่ประชาชนว่าไม่มีข้อมูลข่าวสาร แต่ประชาชนไม่เชื่อว่ามี (ม.33)

หมวดที่ 6 คณะกรรมการวินิจฉัยข้อมูลข่าวสาร
1. คณะกรรมการวินิจฉัยข้อมูลข่าวสาร
• แต่งตั้งโดยรัฐมนตรีตามข้อเสนอของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารฯ จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน
• ให้ข้าราชการที่คณะกรรมการฯ แต่งตั้งเป็นเลขานุการ
2. หน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อมูลข่าวสาร
1) วินิจฉัยเกี่ยวกับการขอเปิดเผยข้อมูล
1.1 ข้อมูลที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ (ตามมาตรา 14)
1.2 ข้อมูลข่าวสารที่เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เปิดเผยเนื่องจากความมั่นคงหรืออื่น ๆ
1.3 เมื่อมีการขอแก้ไขข้อมูลส่วนตัวที่รัฐมีไว้ให้ถูกต้องแต่เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ยอมแก้ไขให้
1.4 กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ฟังคำคัดค้านจะเปิดเผยข้อมูล แต่เจ้าของข้อมูลไม่ยอมให้เปิด
2) ดำเนินการวินิจฉัยข้อมูลให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องขยายให้ขยายได้
แต่ขยายแล้วไม่เกิน 60 วัน
3) ประกาศวิธีพิจารณาและวินิจฉัยและองค์คณะในการพิจารณาและวินิจฉัยไว้ในราชกิจจานุเบกษา

หมวดที่ 7 บทกำหนดโทษ
1. ผู้ใดฝ่าฝืนไม่มาให้ถ้อยคำหรือส่งวัตถุเอกสารหรือพยานให้คณะกรรมการฯ เมื่อคณะกรรมการฯ
ร้องขอ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. เจ้าหน้าที่ที่ไม่มีอำนาจไปเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๔๓


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

แนวข้อสอบ
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

1. สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการมีชื่อย่อว่าอะไร
ก. สขร. ข. สขม.
ค. สขก. ง. สขช.
ตอบ ก.
2. พระราชบัญญัติ ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 บังคับใช้วันที่
ก. 9 มกราคม 2540 ข. 9 ธันวาคม 2539
ค. 9 ธันวาคม 2540 ง. 8 ธันวาคม 2540
ตอบ ค.
3. วัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540 นี้มีขึ้นเพื่อรับรองสิทธิใดของประชาชนต่อรัฐ
ก. สิทธิได้รู้ ข. สิทธิเลือกตั้ง
ค. สิทธิในการประกอบอาชีพ ง. สิทธิที่จะชุมนุมโดยปราศจากอาวุธ
ตอบ ก.
4. ข้อมูลข่าวสารคือ
ก. สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริงข้อมูล หรือสิ่งใด ๆ
ข. การสื่อสารถึงกัน
ค. ข่าวที่นักข่าวนำเสนอ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ก.
5. ข้อใดไม่เป็นข้อมูลข่าวสาร
ก. แฟ้ม ข. รูปถ่าย
ค. ภาพวาด ง. ภาพถ่าย
ตอบ ข.
6. ข้อมูลข่าวสารของราชการ หมายถึง
ก. ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ
ข. ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของเอกชน
ค. ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของรัฐและเอกชน
ง. ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของมูลนิธิ
ตอบ ก.
7. ข้อใด ไม่ใช่ หน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
ก. ราชการส่วนท้องถิ่น
ข. ราชการสังกัดรัฐสภา
ค. ศาล
ง. ศาลเฉพาะที่ไม่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดี
ตอบ ค.

หน้า ๔๔ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
8. ข้อใด ไม่ใช่ ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
ก. รูปถ่าย
ข. ประวัติการทำงาน
ค. ฐานะการเงิน
ง. การบันทึกภาพหรือเสียง
ตอบ ง.
9. ข้อใดคือความหมาของคนต่างด้าว
ก. บุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย แต่ไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
ข. บุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย แต่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
ค. บุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย และมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
ง. บุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย และไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
ตอบ ง.
10. ให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าสารขึ้นในหน่วยงานใด
ก. สำนักนายกรัฐมนตรี
ข. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ค. สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
ง. สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
ตอบ ข.
11. ข้อมูลข่าวสารตามข้อใดต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา
ก. โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน
ข. สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคับและวิธีดำเนินงาน
ค. สถานที่ติดต่อเพื่อของรับข้อมูลข่าวสาร
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
12. ข้อมูลข่าวสารตามข้อใดต้องจัดไว้ให้ประชาชนได้เข้าตรวจดู
ก. ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน
ข. แผนงาน โครงการ งบประมาณรายจ่ายปะจำปี
ค. สัญญาสัมปทานที่เป็นการผูกขาดตัดตอน
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
13. ผู้ใดเห็นว่าหน่วยงานของรัฐไม่จัดข้อมูลข่าวสารให้ประชาได้เข้าตรวจดูสามารร้องเรียนต่อหน่วยงานใด
ก. คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
ข. คณะกรรมการวินิจฉัยข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
ค. ศาลปกครอง
ง. คตส.
ตอบ ก.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๔๕


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
14. ข้อมูลข่าวสารตามข้อใดจะเปิดเผยมิได้
ก. ข้อมูลข่าวสารที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
ข. มติคณะรัฐมนตรี
ค. รายงานแพทย์
ง. ข้อมูลส่วนตัว
ตอบ ก.
15. ข้อมูลข่าวสารข้อใดที่หน่วยงานของรัฐอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผย
ก. ข้อมูลข่าวสารที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ
ข. การเปิดเผยอาจทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพ
ค. การเปิดเผยอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
16. เจ้าหน้าที่ของรัฐเห็นว่าการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอาจกระทบกับส่วนได้เสียของผู้ใดให้เจ้าหน้าที่แจ้ง
ให้ผู้นั้นคัดค้านภายในกี่วัน
ก. 15 วัน ข. 30 วัน ค. 45 วัน ง. 60 วัน
ตอบ ก.
17. ถ้าเจ้าหน้าที่มีคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารผู้นั้นอาจอุทธรณ์ต่อคณะกรรมวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูล
ข่าวสารภายในกี่วัน
ก. 15 วัน ข. 30 วัน ค. 45 วัน ง. 60 วัน
ตอบ ก.
18. ถ้าเจ้าหน้าที่มีคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านของผู้มีประโยชน์ได้เสียผู้นั้น อาจอุทธรณ์ต่อคณะกรรมวินิจฉัย
การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายในกี่วัน
ก. 15 วัน ข. 30 วัน
ค. 45 วัน ง. 60 วัน
ตอบ ก.
19. หน่วยงานของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลได้ในกรณีใด
ก. ได้โดยไม่ต้องได้ความยินยอม
ข. ไม่ได้เลยไม่ว่ากรณีใด ๆ
ค. ถ้าได้รับความยินยอมเป็นหนังสือไว้ล่วงหน้า
ง. ได้ถ้าบุคคลที่เกี่ยวข้องยินยอม
ตอบ ค.
20. หน่วยงานของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมได้ในกรณีใดบ้าง
ก. ต่อหน่วยงายของรัฐด้านการวางแผน
ข. เป็นการให้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย
ค. ต่อจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.

หน้า ๔๖ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
21. ผู้ใดเห็นว่าข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลเกี่ยวกับตนไม่ถูกต้องให้ ยืนคำร้องเพื่อขอแก่ไขเปลี่ยนแปลง
ถ้าหน่วยงานของรัฐไม่แก่ไข เปลี่ยนแปลง ให้อุทธรณ์ต่อใคร
ก. คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
ข. คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ค. หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแล
ง. ศาลปกครอง
ตอบ ข.
22. ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ประสงค์จะเก็บรักษา หรือมีอายุครบกำหนดให้ส่งมอบให้แก่หน่วยงานใด
ก. สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
ข. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
ค. กระทรวงวัฒนธรรม
ง. กรมการศาสนา
ตอบ ข.
23. ข้อมูลข่าวสารที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ จะจัดให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้า
เมื่อมีอายุครบกี่ปี
ก. 60 ปี ข. 75 ปี
ค. 80 ปี ง. 100 ปีขึ้นไป
ตอบ ข.
24. ข้อมูลที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงขอประเทศ จะจัดให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้าเมื่อมี
อายุครบกี่ปี
ก. 20 ปี ข. 25 ปี
ค. 35 ปี ง. 75 ปีขึ้นไป
ตอบ ก.
25. รายงานแพทย์ซึ่งการเปิดเผยจะเป็นการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร จะจัดให้ประชาชนได้ศึกษา
ค้นคว้าเมื่อมีอายุครบกี่ปี
ก. 20 ปี ข. 25 ปี
ค. 35 ปี ง. 75 ปีขึ้นไป
ตอบ ก.
26. หน่วยงานของรัฐเห็นว่าข้อมูลข่าวสารใดไม่สมควรเปิดเผย ให้ขยายเวลาได้ไม่เกินคราวละกี่ปี
ก. 2 ปี ข. 3 ปี
ค. 5 ปี ง. 7 ปี
ตอบ ค.
27. บุคคลใดเป็นประธานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ง. รองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
ตอบ ข.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๔๗


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
28. ใครเป็นผู้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
ก. คณะรัฐมนตรี ข. รัฐสภา
ค. นายกรัฐมนตรี ง. พระมหากษัตริย์
ตอบ ก.
29. ใครเป็นเลขานุการคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
ก. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ข. บุคคลที่ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง
ค. เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ง. บุคคลที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง
ตอบ ข.
30. ใครเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ก. คณะรัฐมนตรี ข. รัฐสภา
ค. นายกรัฐมนตรี ง. พระมาหากษัตริย์
ตอบ ก.
31. ให้คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการส่งคำอุทธรณ์ให้คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูล
ข่าวสารภายในกี่วัน นับแต่ที่ได้รับคำอุทธรณ์
ก. 7 วัน ข. 12 วัน
ค. 15 วัน ง. 30 วัน
ตอบ ก.
32. ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อจำกัดหรือเงือนไขที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกำหนด (ตามมาตรา 20)
ต้องระวางโทษตามข้อใด
ก. จำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. จำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. จำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ตอบ ข.
33. ใครเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ก.

หน้า ๔๘ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

1. ประกาศใช้เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2542 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2542


2. มีการแก้ไขแล้ว (ฉบับที่ 2) เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2545
3. ขอบข่าย มี 9 หมวด 1 บทเฉพาะกาล 78 มาตรา

หมวด 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ


1. ส่วนที่เป็นหัวใจหรือปรัชญาการศึกษาของไทย (ม.6)
การศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคน ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ ความรู้ และ
คุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
2. หลักการในการจัดการศึกษาประกอบด้วย (ม.8)
1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิต สำหรับประชาชน
2) สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
3) พัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
3. การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษายึดหลัก 6 ประการคือ (ม.9)
1) มีความเป็นเอกภาพในนโยบาย แต่หลากหลายในการปฏิบัติ
2) กระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
3) กำหนดมาตรฐานการศึกษา และระบบประกันคุณภาพการศึกษา
4) ส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพ
5) ระดมทรัพยากรมาใช้ในการจัดการศึกษา
6) การมีส่วนร่วมของบุคคล และชุมชน องค์กรและสถานบันต่าง ๆ

หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
1. ประชาชนมีสิทธิและโอกาสได้รับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ต้องไม่น้อยกว่า 12 ปี โดย (ม.10)
1) อย่างทั่วถึง
2) มีคุณภาพ
3) ไม่เก็บค่าใช้จ่าย
2. สิทธิประโยชน์ของบิดา มารดา หรือผู้ปกครองในการจัดการศึกษา และอบรมเลี้ยงดูได้แก่ (ม.13)
1) ความรู้
2) เงินอุดหนุน
3) ลดหย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษี

หมวด 3 ระบบการศึกษา
1. การจัดระบบการศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้แบ่งออกเป็น 3 ระบบคือ (ม.15)
1) การศึกษาในระบบ ถือจุดมุ่งหมาย วิธีการ หลักสูตร ระยะเวลา การวัดและประเมินเป็นเงื่อนไข
แห่งความสำเร็จที่แน่นอน

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๔๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการ
ระยะเวลา การวัดผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขในการสำเร็จการศึกษาโดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมกับ
สภาพปัญหา และความต้องการของผู้เรียนแต่ละกลุ่ม
3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการเรียนรู้ตามความสนใจ ตามศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส
โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ ฯลฯ
2. การจัดการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ (ม.16)
1) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2) การศึกษาระดับอุดมศึกษา แบ่งเป็น
- การศึกษาต่ำกว่า ปริญญา
- การศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาขึ้นไป
3. การศึกษาภาคบังคับ 9 ปี ถืออายุและการสอบได้ชั้นปีที่ 9 คือ (ม.17)
1) อายุย่างเข้าปีที่ 7 ถึงอายุย่างเข้าปีที่ 16 หรือ
2) การจบการศึกษา สอบได้ชั้นปีที่ 9
4. สถานที่จัดการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ (ม.18)
1) สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
2) โรงเรียน
3) ศูนย์การเรียน

หมวด 4 แนวทางการจัดการศึกษา
1. การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า (ม.22 สำคัญที่สุด)
1) ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้
2) ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
2. การจัดการศึกษา เน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม ในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ (ม.23) ความรู้เกี่ยวกับ
1) ตนเอง
2) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3) ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม การกีฬา
4) คณิตศาสตร์ ภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
5) การประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
3. การจัดการเรียนการสอน สถานศึกษาจะต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (ม.24)
1) จัดเนื้อหาสาระ และกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด และความแตกต่าง
2) ฝึกทักษะ การคิด การจัดการ เผชิญกับสภาพที่แท้จริง
3) การจัดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน
4) จัดโดยผสมผสาน
5) จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน
6) จัดให้สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาทุกสถานที่
4. การประเมินผลการเรียนพิจารณาจาก (ม.26) พัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกต
พฤติกรรม การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอน

หน้า ๕๐ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
5. การจัดทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ม.27) ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
หลักสูตรแกนกลาง เพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองดีของชาติ การดำรงชีวิต การประกอบอาชีพและเพื่อ
การศึกษาต่อ ให้สถานศึกษาจัดทำ และกำหนดหลักสูตรท้องถิ่นที่เกี่ยวกับสภาพในชุมชนและสังคมภูมิปัญญา
ท้องถิ่น และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
6. การจัดการและส่งเสริมให้ดำเนินการวิจัย (ม.30) ให้ดำเนินการในทุกระดับชั้น

หมวด 5 การบริหารและการจัดการศึกษา
1. อำนาจของกระทรวงศึกษาธิการ (ม.31)
1) การส่งเสริมและกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับทุกประเภท
2) กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา
3) สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
4) ส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และการกีฬาเพื่อการศึกษา
5) ติดตามตรวจสอบและประเมินการจัดการศึกษา และราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนด
2. การจัดระเบียบบริหารราชการในกระทรวงศึกษาธิการในรูปของคณะกรรมการแบ่งออกเป็น 3
องค์กรหลัก (ม.32)
1) สภาการศึกษา
2) คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3) คณะกรรมการการอาชีวศึกษา
3. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่ (ม.34) พิจารณาเสนอนโยบายแผนพัฒนา มาตรฐานและ
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการ
ศึกษาแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากรการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4. องค์ประกอบของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 15 คน (ม.38)
1) ประธานกรรมการ
2) กรรมการโดยตำแหน่ง 1 คน คือ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นกรรมการและ
เลขานุการ
3) ผู้แทนองค์กรชุมชน 1 คน
4) ผู้แทนองค์กรเอกชน 1 คน
5) ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 คน
6) ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพครู 1 คน
7) ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพบริหารการศึกษา 1 คน
8) ผู้แทนสมาคมผู้ปกครองและครู 1 คน
9) ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน (เป็นประธานกรรมการ 1 คน)
5. อำนาจหน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา (ม.38)
1) กำกับดูแลและจัดตั้ง ยุบรวม หรือเลิกสถานศึกษา ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2) ประสาน ส่งเสริม และสนับสนุน การจัดการศึกษาของเอกชน
3) ประสาน ส่งเสริม การจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4) ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาของบุคคล องค์กร หรือหน่วยงาน
6. กระทรวงศึกษาธิการกระจายอำนาจบริหารและการจัดการศึกษาไปให้คณะกรรมการและ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา 4 ด้าน (ทำเป็นกฎกระทรวง)
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๕๑
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
1) ด้านวิชาการ
2) งบประมาณ
3) การบริหารงานบุคคล
4) การบริหารทั่วไป
7. ให้มีคณะกรรมการสถานศึกษา เรียกว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ทำหน้าที่และมี
องค์ประกอบ (เป็นแบบพหุภาคี)

องค์ประกอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
1) ประธานกรรมการ
2) กรรมการโดยตำแหน่ง คน คือ ผู้บริหารสถานศึกษา
3) ผู้แทนองค์กร 2 คน คือ ผู้แทนองค์กรชุมชน และผู้แทนองค์กรปกครองท้องถิ่น
4) ผู้แทน 4 หรือ 5 คน คือ ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนครู ผู้แทนศิษย์เก่า และผู้แทนผู้นำศาสนา
5) ผู้ทรงคุณวุฒิ กำหนด 1 หรือ 6 คน ตามขนาดของโรงเรียน (300 คนลงมา หรือตั้งแต่ 301 คน)

จำนวนของคณะกรรมการ (ตามกฎกระทรวง)
โรงเรียนที่มีนักเรียน ไม่เกิน 300 คน มี 9 คน
โรงเรียนที่มีนักเรียน ตั้งแต่ 301 คน มี 15 คน

หน้าที่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
กำกับ ดูแล ส่งเสริมการจัดการศึกษาของสถานศึกษาคณะกรรมการฯ มีทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ระดับอุดมศึกษา ระดับต่ำกว่าปริญญาและสถานศึกษาอาชีวศึกษา
1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใดระดับหนึ่งหรือทุกระดับตามความพร้อม
ความเหมาะสม และความต้องการภายในท้องถิ่น (ม.41)
2. กระทรวงศึกษาธิการกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ม.42)
1) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น
2) มีหน้าที่ประสานและส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้อง
กับนโยบายและได้มาตรฐานการศึกษา
3) เสนอแนะการจัดสรรงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น
3. การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชน
1) ให้มีความเป็นอิสระ โดยการกำกับ ติดตาม การประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของรัฐ
และเข้าสู่ระบบการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเช่นเดียวกับรัฐ
2) สถานศึกษาเอกชนที่เป็นโรงเรียนเป็นนิติบุคคล และมีคณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วย
ผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน, ผู้รับใบอนุญาต, ผู้แทนผู้ปกครอง, ผู้แทนองค์กรชุมชน, ผู้แทนครู, ผู้แทนศิษย์เก่า
และผู้ทรงคุณวุฒิ (เป็นไปตามกฎกระทรวง)
3) สถานศึกษาเอกชน จัดการศึกษาได้ทุกระดับและทุกประเภทการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
4) การกำหนดนโยบายและแผนการจัดการศึกษาของรัฐ ของเขตพื้นที่การศึกษา หรือองค์กร

หน้า ๕๒ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
5) ปกครองส่วนท้องถิ่นให้คำนึงถึงผลกระทบต่อการจัดการศึกษาของเอกชนโดยหน่วยงาน
ดังกล่าวจะต้องรับฟังความคิดเห็นของเอกชนและประชาชนประกอบการพิจารณาด้วย
6) สถานศึกษาเอกชนที่จัดการศึกษาระดับปริญญา ดำเนินการได้โดยอิสระ มีความคล่องตัวมี
เสรีภาพทางวิชาการภายใต้การกำกับดูแลของสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาของเอกชน
7) รัฐต้องให้การสนับสนุนด้านเงินอุดหนุนการลดหย่อน หรือยกเว้นภาษี หรือสิทธิประโยชน์
อย่างอื่น แก่สถานศึกษาเอกชนตามความเหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิชาการให้สถานศึกษา
เอกชนมีมาตรฐานและสามารถพึ่งตนเองได้

หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา (ม.47-51)


1. ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ
ประกอบด้วยระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก ซึ่งจะต้องออก
กฎกระทรวง
2. การจัดระบบการประกันคุณภาพภายใน เป็นหน้าที่ของสถานศึกษาและต้นสังกัด และให้ถือว่าการ
ประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
3. วัตถุประสงค์ของการประเมินภายใน (ม.47)
1) เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานให้เท่าเทียมกัน
2) เพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก
4. การจัดทำรายงานการจัดการศึกษาประจำปี (SAR) ให้ดำเนินการรายงาน เสนอต่อหน่วยงาน
ต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน (ม.48)
1) ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) มีฐานะเป็นองค์การ
มหาชน ทำหน้าที่ พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษา
เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษาโดยคำนึงถึงความมุ่งหมาย หลักการ และแนวทางการจัด
การศึกษาในแต่ละระดับ
2) การประเมินภายนอกหากสถานศึกษาใดไม่ได้มาตรฐานให้ดำเนินการดังนี้ (ม.51)
(1) ให้ (สมศ.) จัดทำข้อเสนอแนะให้สถานศึกษาปรับปรุง ต่อหน่วยงานต้นสังกัดภายในเวลาที่
กำหนด
(2) สถานศึกษาดำเนินการปรับปรุงดำเนินการภายในเวลาที่กำหนด ถ้าหากไม่สามารถที่จะ
ปรับปรุงได้ทัน หรือไม่ดำเนินการปรับปรุงตามที่ (สมศ.) เสนอแนะ
(3) ให้ (สมศ.) ดำเนินการรายงานต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3) การกำหนดระยะเวลาในการประเมินภายในและภายนอก
(1) การประเมินภายในให้ดำเนินการประจำทุกปี
(2) การประเมินภายนอก ประเมินโดย (สมศ.) โดยจะประเมินไม่น้อย 1 ครั้งในรอบ 5 ปี

หมวด 7 ครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
1. ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา มีฐานะเป็นองค์กรอิสระภายใต้
การบริหารของสภาวิชาชีพในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจหน้าที่ กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออก
และเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับดูแล การปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
รวมทั้งพัฒนาวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๕๓


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
2. การจัดทำใบประกอบวิชาชีพสำหรับ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากร
ทางการศึกษาอื่น (ม.53)
3. การจัดระบบครู กระบวนการผลิตพัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและ
มาตรฐาน ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ
4. รัฐพึงจัดสรรงบประมาณและจัดตั้งกองทุนพัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่าง
เพียงพอ
5. มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ กำหนดไว้ดังต่อไปนี้
1) มาตรฐานวิชาชีพประกอบด้วย
(1) มาตรฐานด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
(2) มาตรฐานการปฏิบัติงาน
(3) มาตรฐานการปฏิบัติตน
2) จรรยาบรรณวิชาชีพประกอบด้วย
(1) จรรยาบรรณ ต่อตนเอง
(2) จรรยาบรรณ ต่อวิชาชีพ
(3) จรรยาบรรณ ต่อผู้รับบริการ
(4) จรรยาบรรณ ต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(5) จรรยาบรรณ ต่อสังคม
6. ให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งของหน่วยงาน
ทางการศึกษา ในระดับสถานศึกษาของรัฐและระดับเขตพื้นที่การศึกษา เป็นข้าราชการในสังกัดองค์กรกลาง
บริหารงานบุคคลของข้าราชการครู โดยยึดหลักการกระจายอำนาจ การบริหารงานบุคคลสู่เขตพื้นที่การศึกษา
และสถานศึกษา (ม.54)
7. ให้มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นสำหรับข้าราชการครูฯ

หมวด 8 ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา (มี 5 มาตรา 58-62)


1. การระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณ การเงินและทรัพย์สินทั้งของรัฐ องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล และครอบครัว ฯลฯ มาใช้จัดการศึกษาดังนี้ (ม.58)
1) รัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเก็บภาษีเพื่อการศึกษาตามกฎหมาย
2) ให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน ฯลฯ เป็นผู้จัดและส่วนร่วมในการจัดการศึกษา บริจาคทรัพย์สิน
และมีส่วนร่วมกับภาระค่าใช้จ่าย
2. สถานศึกษาสามารถจัดหารายได้และผลประโยชน์ได้จากแหล่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (ม.59) ผลประโยชน์
จากการปกครองดูแลทรัพย์สินของสถานศึกษาที่เป็นที่ราชพัสดุจัดหาจากการบริการของสถานศึกษา จัดเก็บ
ค่าธรรมเนียมการศึกษาอสังหาริมทรัพย์จากผู้อุทิศให้ หรือ จากการแลกเปลี่ยน จากรายได้ของสถานศึกษา
ผลประโยชน์จากที่ราชพัสดุ เบี้ยปรับจากผิดสัญญาศึกษาต่อสัญญาเช่าซื้อ/จ้างทำของ โดยใช้งบประมาณ
3. การจัดสรรงบประมาณรัฐได้ดำเนินการจัดสรรได้โดย (ม.60)
1) เงินอุดหนุนทั่วไปจัดให้การศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐและของเอกชน
เท่าเทียมกัน
2) กองทุนกู้ยืม สำหรับทุนการศึกษา จัดให้สำหรับผู้มีรายได้น้อย ให้ตามความเหมาะสมและ
จำเป็นงบประมาณ สำหรับการศึกษาพิเศษ

หน้า ๕๔ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
3) งบดำเนินการ งบลงทุน จัดสรรตามนโยบายและแผนพัฒนาการศึกษา และกำลังของ
สถานศึกษาโดยคำนึงถึงคุณภาพและความเสมอภาค
4) เงินอุดหนุนทั่วไป จัดสำหรับอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคลและสถานศึกษาในกำกับของรัฐ
หรือองค์การมหาชน
5) กองทุนเพื่อการศึกษา จัดเพื่อพัฒนาการศึกษาของรัฐและเอกชน
4. การจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนให้กับ บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์ประชาชนองค์กร
วิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันอื่น ให้คำนึงถึงความเหมาะสมและความจำเป็น (ม.61)
5. ระบบการตรวจสอบติดตามงบประมาณ และประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล การใช้จ่าย
งบประมาณให้คำนึงถึง (ม.62) หลักการศึกษา แนวทางการจัดการศึกษา และมาตรฐานการศึกษา

หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (ม.63-69)


1. การจัดสรรคลื่นความถี่จากรัฐ (ม.63) ให้ดำเนินการโดย การจัดสรรเพื่อประโยชน์สำหรับ
การศึกษา การทำนุบำรุงศาสนาและวัฒนธรรม
2. การผลิตและพัฒนาแบบเรียนตำราสื่อ (ม.64) ดำเนินการโดย : ให้มีการเปิดเสรี
3. ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิตและผู้ใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อให้มีความรู้ความสามารถ
และทักษะในการผลิตรวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมีคุณภาพและประสิทธิภาพ (ม.65)
4. วัตถุประสงค์ของการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์ : อันดับแรก
เพื่อให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่องและตลอดชีวิต (ม.66)
5. รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อการศึกษารวมทั้งการ
ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (ม.67)
6. ให้มีการระดมทุน จัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษ
ในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อการพัฒนาคนและสังคม (ม.68)
7. รัฐต้องจัดให้มีหน่วยงานกลาง ทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผน ส่งเสริมและประสานการวิจัย
การพัฒนา และการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อ
การศึกษา

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๕๕


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

แนวข้อสอบ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
และแก้ไขเพิ่มเติม

1. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ สอดคล้องกับข้อใดมากที่สุด
ก. กฎหมายแม่บทการจัดการศึกษา
ข. แนวทางจัดการศึกษาของรัฐบาล
ค. การปรับปรุงการศึกษาสอดคล้องรัฐธรรมนูญ
ง. การปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทยครั้งใหญ่
ตอบ ก.
2. วัตถุประสงค์ของการจัดทำพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 เพื่ออะไร
ก. ปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย
ข. ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
ค. พัฒนาคนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ง. พัฒนาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็กไทย
ตอบ ข.
3. จุดที่ต่างกันของการศึกษาระบบต่าง ๆ ที่สำคัญคือข้อใด
ก. ตัวผู้เข้ารับการศึกษา
ข. จุดหมาย วิธีการ หลักสูตร
ค. ระยะเวลา ที่จัดการศึกษา
ง. สถานที่จัดการศึกษา
ตอบ ข.
4. ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ คือใคร
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. ปลัดกระทวงศึกษาธิการ
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ
ง. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตอบ ค.
5. หลักในการจัดการศึกษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นไปตามข้อใด
ก. เป็นการศึกษาตลอดชีวิตของประชาชน
ข. ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
ค. พัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.

หน้า ๕๖ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
6. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้รัฐต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน
ในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่ากี่ปี
ก. 7 ปี ข. 10 ปี
ค. 12 ปี ง. 15 ปี
ตอบ ค.
7. รูปแบบของการจัดการศึกษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กำหนดไว้กี่รูปแบบ
ก. รูปแบบเดียว ข. 2 รูปแบบ
ค. 3 รูปแบบ ง. 4 รูปแบบ
ตอบ ค.
8. การศึกษาในระบบแบ่งออกเป็นกี่ระดับ
ก. มีระดับเดียว ข. 2 ระดับ
ค. 3 ระดับ ง. 4 ระดับ
ตอบ ข.
9. ข้อใดเป็นการศึกษาระดับอุดมศึกษา
ก. ระดับต่ำกว่าปริญญา
ข. ระดับปริญญา
ค. การศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง. ถูกเฉพาะข้อ ก และข้อ ข
ตอบ ง.
10. ระดับที่กำหนดไว้สำหรับการศึกษาในระบบ คือข้อใด
ก. การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา
ข. ระดับต่ำกว่าปริญญา และระดับปริญญา
ค. การศึกษาภาคบังคับ และการศึกษาระดับอุดมศึกษา
ง. การศึกษาภาคบังคับ การศึกษาระดับอุดมศึกษา และการอาชีวศึกษา
ตอบ ก.
11. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 นี้ได้กำหนดการศึกษาภาคบังคับไว้จำนวนกี่ปี
ก. 5 ปี ข. 7 ปี
ค. 9 ปี ง. 12 ปี
ตอบ ค.
12. เด็กต้องเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเมื่อมีอายุเท่าใด
ก. ย่างเข้าปีที่ 5 ข. ย่างเข้าปีที่ 7
ค. ย่างเข้าปีที่ 9 ง. ย่างเข้าปีที่ 11
ตอบ ข.
13. กำหนดระยะเวลาในการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งเป็นไปตามข้อใด
ก. อย่างน้อย 1 ครั้งทุกๆ ปี
ข. อย่างน้อย 1 ครั้งทุก 3 ปี
ค. อย่างน้อย 1 ครั้งทุก 5 ปี
ง. อย่างน้อย 2 ครั้งในแต่ละปี
ตอบ ค.
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๕๗
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
14. ข้อใด ไม่ใช่ ความหมายของ “คณาจารย์” แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562
ก. บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา
ระดับปริญญาของรัฐ
ข. บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา
ระดับปริญญาของเอกชน
ค. คณาจารย์ที่สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ค.
15. แนวการจัดการศึกษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ยึดหลักตามข้อใด
ก. ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเท่ากัน
ข. ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
ค. หลักสูตรมีความสำคัญที่สุด
ง. กระบวนการเรียนการสอนสำคัญที่สุด
ตอบ ข.
16. ข้อใด ไม่ใช่ หลักการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ก. เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
ข. ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
ค. การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ง. การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญาอารมณ์และสังคม
ตอบ ง.
17. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2540 มาตราใด
ก. มาตรา 43 ข. มาตรา 81
ค. มาตรา 289 ง. มาตรา 336
ตอบ ข.
18. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิ์จัดการศึกษาระดับใด
ก. การศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข. การศึกษาอุดมศึกษา
ค. การศึกษานอกโรงเรียน
ง. ทุกระดับ
ตอบ ง.
19. จุดเน้นของการจัดการศึกษาตามแนวการจัดการศึกษาคือข้อใด
ก. ความรู้คู่คุณธรรม
ข. ความรู้ คุณธรรม และกระบวนการเรียนรู้
ค. ความรู้กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการ
ง. ความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสม
ตอบ ง.

หน้า ๕๘ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
20. ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ไม่ได้กำหนดสิทธิในการรับการศึกษาสำหรับคนพิการในเรื่องใด
ก. สิ่งอำนวยความสะดวก ข. สื่อ บริการ
ค. ความช่วยเหลืออื่นใด ง. เงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐาน
ตอบ ง.
21. การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งได้เป็น 3 ระดับยกเว้นข้อใด
ก. ระดับก่อนประถมศึกษา ข. ระดับประถมศึกษา
ค. ระดับมัธยมศึกษา ง. ระดับก่อนอุดมศึกษา
ตอบ ง.
22. การจัดการศึกษาเพื่อมุ่งวางรากฐานเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทั้งด้านคุณธรรม
จริยธรรม ด้านความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐานหมายถึงการจัดการศึกษาระดับใด
ก. ระดับก่อนประถมศึกษา ข. ระดับประถมศึกษา
ค. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ง. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ตอบ ข.
23. การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามความถนัดความสนใจ ศักยภาพและความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน
เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
ก. ระดับประถมศึกษา
ข. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ค. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายประเภทสามัญศึกษา
ง. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายประเภทอาชีวศึกษา
ตอบ ค.
24. การนับอายุเด็กเพื่อเข้ารับการศึกษาภาคบังคับในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้นับตามข้อใด
ก. ครบ 7 ปีในปีใดนับเด็กอายุย่างเข้าปีที่ 7 ในปีนั้น
ข. นับตามปีงบประมาณ
ค. นับตามปีปฏิทิน
ง. ข้อ ก และ ค ถูกต้อง
ตอบ ค.
25. การจัดการศึกษาระดับใดเป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพให้เป็น
กำลังแรงงานที่มีฝีมือหรือการศึกษาต่อระดับในระดับอาชีพชั้นสูงต่อไป
ก. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ข. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายประเภทสามัญศึกษา
ค. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายประเภทอาชีวศึกษา
ง. ระดับที่ต่ำกว่าปริญญา
ตอบ ค.
26. การจัดการศึกษาเพื่อวางรากฐานชีวิตและการเตรียมความพร้อมของเด็กทั้งร่างกายและจิตใจสติปัญญา
อารมณ์ บุคลิกภาพและการอยู่ร่วมกันในสังคม
ก. การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา ข. การศึกษาระดับประถมศึกษา
ค. การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ง. การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ตอบ ก.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๕๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
27. ความมุ่งหมายของการจัดการศึกษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ นี้ ได้แก่
ก. ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
ข. ปฏิรูปการศึกษาของไทย
ค. พัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ
ง. พัฒนาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ตอบ ค.
28. สมศ. หมายถึง
ก. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา
ข. สำนักงานรับรองมาตรฐานและเมินคุณภาพการศึกษา
ค. สำนักรับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา
ง. สำนักรับรองมาตรฐานและเมินคุณภาพการศึกษา
ตอบ ข.
29. ข้อใดเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ก. สภาการศึกษา
ข. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ค. คณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ง. เลขาธิการสภาการศึกษา
ตอบ ง.
30. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก. มี 3 ระดับ คือ ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และก่อนอุดมศึกษา
ข. มี 3 ระดับ คือ ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา
ค. มี 4 ระดับ คือ ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย
ง. มี 5 ระดับ คือ ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และ
ระดับอาชีวศึกษา
ตอบ ข.
31. การศึกษาในระบบมีกรี่ ะดับ
ก. 2 ระดับ คือ การศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข. 2 ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาอุดมศึกษา
ค. 3 ระดับ คือ ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา
ง. 4 ระดับ คือ ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาและอุดมศึกษา
ตอบ ข.
32. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการศึกษาภาคบังคับของผู้ปกครอง
ก. เป็นสิทธิ ข. เป็นหน้าที่
ค. เป็นเสรีภาพ ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ข.

หน้า ๖๐ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
33. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มีสถานภาพตามข้อใด
ก. เป็นส่วนราชการ ข. องค์การมหาชน
ค. เป็นรัฐวิสาหกิจ ง. เป็นเอกชน
ตอบ ข.
34. ข้อใดคือเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545
ก. รัฐบาลมีนโยบายในกาปฏิรูประบบราชการ
ข. ปรับปรุงการบริหารและการจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา
ค. ให้มีคณะกรรมการอาชีวศึกษาทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนามาตรฐานและหลักสูตร
สอดคล้องกับความต้องการ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
35. เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553 เพื่อสิ่งใดต่อไปนี้
ก. การบริหารและการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ
ข. การพัฒนาการศึกษาแก่นักเรียนทั้งสองระดับ
ค. นักเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา พัฒนาการศึกษาให้มีสัมฤทธิ์ผลและมีคุณภาพยิ่งขึ้น
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
36. เหตุผล ในการประกาศใช้ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562
ก. เพื่อกำหนดขอบเขตในการดำเนินการของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ข. เพื่อกำหนดขอบเขตในการดำเนินการของกระทรวงศึกษาธิการ ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่
ที่เปลี่ยนแปลงไป
ค. เพื่อการจัดการเรียนการสอนสู่ ศตวรรษที่ 21
ง. การจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
ตอบ ข.
37. ใครเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2562
ก. นายวิษณุ เครืองาม
ค. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ข. นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ
ง. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
ตอบ ข.
38. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙ เป็นแผนระยะยาว ๒๐ ปี เพื่อให้มีความสอดคล้องกับเรื่องใด
ก. วิสัยทัศน์ประเทศไทยระยะ ๒๐ ปี
ข. ยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี
ค. พันธกิจประเทศไทยระยะ ๒๐ ปี
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ข.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๖๑


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

พระราชบัญญัติ
การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล
พ.ศ. ๒๕๖๒

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
เป็นปีที่ ๔ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบ
ดิจิทัล
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภา
นิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการ
ภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒”
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“ดิจิทัล” หมายความว่า เทคโนโลยีที่ใช้วิธีการนำสัญลักษณ์ศูนย์และหนึ่ง หรือสัญลักษณ์อื่น
มาแทนค่าสิ่งทั้งปวง เพื่อใช้สร้างหรือก่อให้เกิดระบบต่าง ๆ เพื่อให้มนุษย์ใช้ประโยชน์
“รัฐบาลดิจิทัล” หมายความว่า การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงาน
ภาครัฐและการบริการสาธารณะ โดยปรับปรุงการบริหารจัดการและบูรณาการข้อมูลภาครัฐและการทำงานให้
มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างมั่นคงปลอดภัยและมีธรรมาภิบาล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและ
อำนวยความสะดวกในการให้บริการประชาชน ในการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐต่อสาธารณชน และสร้างการมีส่วน
ร่วมของทุกภาคส่วน
“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วน
ท้องถิ่น รัฐ วิส าหกิจ องค์การมหาชน รัฐ สภา ศาล องค์กรอิส ระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรอัยการ สถาบัน
อุดมศึกษาของรัฐ และหน่วยงานอิสระของรัฐ
“สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)

หน้า ๖๒ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
มาตรา ๔ เพื่อให้การบริหารงานภาครัฐและการจัดทำบริการสาธารณะเป็นไปด้วยความ
สะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อการให้บริการและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการบริหารงานและการจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบและช่องทางดิจิทัลโดยมีการ
บริหารจัดการและการบูรณาการข้อมูลภาครัฐและการทำงานให้มีความสอดคล้องกันและเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน
อย่างมั่นคงปลอดภัยและมีธรรมาภิบาล โดยมุ่งหมายในการเพิ่ม ประสิทธิภาพและอำนวยความสะดวกในการ
ให้บริการและการเข้าถึงของประชาชน และในการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐต่อสาธารณะและสร้างการมีส่วนร่วมของ
ทุกภาคส่วน
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
(๑) การนำระบบดิจิทัลที่เหมาะสมมาใช้ในการบริหารและการให้บริการของหน่วยงานของรัฐทุก
แห่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและให้มีการใช้ระบบดิจิทัลอย่างคุ้มค่าและเต็มศักยภาพ
(๒) การพัฒนามาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับระบบดิจิทัล และพัฒนาโครงสร้าง
พื้น ฐานด้านดิจ ิทัล ที่จำเป็น ให้เป็น ไปตามมาตรฐานสากล เพื่อสร้างและพัฒ นากระบวนการทำงานของ
หน่วยงานของรัฐให้มีความสอดคล้องและมีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน รวมทั้งมีความมั่นคง
ปลอดภัยและน่าเชื่อถือ โดยมีการบูรณาการและสามารถทำงานร่วมกันอย่างเป็น เอกภาพเกิดการพัฒนาการ
บริการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพและนำไปสู่การบริหารราชการและการบริการประชาชนแบบบูรณาการ รวมทั้งให้
ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวก
(๓) การสร้างและพัฒ นาระบบความมั่นคงปลอดภัยในการใช้ระบบดิจิทัล และมาตรการ
ปกป้องคุ้มครองข้อมูลที่อาจกระทบถึงความมั่นคงหรือความเป็นส่วนตัวของประชาชนที่มีความพร้อมใช้และ
น่าเชื่อถือ
(๔) การเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะที่หน่วยงานของรัฐจัดทำและครอบครองใน
รูปแบบและช่องทางดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวก มีส่วนร่วมและตรวจสอบการดำเนินงานของ
รัฐ และสามารถนำข้อมูลไปพัฒนาบริการและนวัตกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในด้านต่าง ๆ
(๕) การรักษาวินัยการเงินการคลังภาครัฐและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณให้
เกิดความคุ้มค่าและเป็น ไปตามเป้ าหมาย โดยมีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินความคุ้มค่าในการ
ดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามการบริหารงานภาครัฐและการจัดทำบริการสาธารณะผ่านระบบดิจิทัล รวมทั้ง
พัฒนาให้มีกลไกการใช้ข้อมูลเพื่อลดความซ้ำซ้อนและเกิดความสอดคล้องกับแผนงานและโครงการต่าง ๆ ของ
หน่วยงานของรัฐ
มาตรา ๕ ให้มีแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเพื่อกำหนดกรอบและทิศทางการบริหารงานภาครัฐ
และการจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบของเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาประเทศ มีการปฏิบัติงานที่
สอดคล้องกัน ระหว่างหน่ว ยงานของรัฐ และมีกรอบการพัฒ นาและแผนการดำเนินงานของประเทศโดย
สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๔ ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนระดับชาติที่เกี่ยวข้อง
ในแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลตามวรรคหนึ่ง อาจกำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจเกี่ยวข้อง
กันจัดทำระบบบูรณาการข้อมูลดิจิทัลระหว่างกัน และกำหนดรายชื่อหน่วยงานของรัฐที่ต้องเผยแพร่ข้อมูลที่
ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐไว้ด้วยได้
เมื่อมีการประกาศใช้แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการตามแผน
ดังกล่าวและต้องจัดทำหรือปรับ ปรุงแผนปฏิบัติการหรือแผนงานของหน่ว ยงานของรัฐ ให้ส อดคล้ อ งกั บ
แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล พร้อมทั้งส่งแผนปฏิบัติการหรือแผนงานดังกล่าวให้สำนักงานทราบด้วย

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๖๓


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
มาตรา ๖ ให้มีคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ประกอบด้วย
(๑) นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ
(๒) รัฐ มนตรีว ่าการกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจ และสัง คม ปลัดสำนักนายกรัฐ มนตรี
ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนา
ระบบราชการ และเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการ
(๓) กรรมการอื่นจำนวนห้าคน ซึ่งมาจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของ
ราชการ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
แห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวมอบหมายคณะละหนึ่งคน เป็นกรรมการ ทั้งนี้ ต้องเป็นผู้ซึ่งมีความรู้ความ
เชี่ยวชาญอันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
ให้ผ ู้อำนวยการสำนักงานเป็นกรรมการและเลขานุการ และอาจแต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานใน
สำนักงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการได้ไม่เกินสองคน
กรรมการตาม (๓) หากพ้นจากการเป็นกรรมการหรือต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมการ
ที่ตนได้รับมอบหมาย ให้พ้นจากการเป็นกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลด้วย
ในกรณีที่มีเหตุไม่ว่าด้ว ยประการใด ๆ อันทำให้ไม่มีกรรมการตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ใน
ตำแหน่งใด ให้คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลประกอบด้วยกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ เว้นแต่มีกรรมการไม่
ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
การปฏิบ ัติห น้าที่และการประชุมของคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ให้เป็นไปตาม
ระเบียบที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด ในกรณีที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลยังมิได้กำหนด
เกี่ยวกับการประชุมในเรื่องใด ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครองตาม
กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในเรื่องนั้นมาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการพัฒนา
รัฐบาลดิจิทัลโดยอนุโลม
มาตรา ๗ ให้คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอแนะนโยบายและจัดทำแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลตามมาตรา ๕ ต่อคณะรัฐมนตรี
(๒) จัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐเพื่อเป็นหลักการและแนวทางในการดำเนินการให้เป็นไป
เพื่อพิจารณาอนุมัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๓) กำหนดมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระบบดิจิทัลเพื่อดำเนินการให้เป็นไป
ตามวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๔ วรรคสอง และตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
(๔) กำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรภาครัฐเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานและการ
ให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล
(๕) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในการจัดให้มีหรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นไป
ตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๔ และอาจเสนอต่อผู้รักษาการตามกฎหมายในการพิจารณายกเว้น
หรือลดค่าธรรมเนียม ค่าบริการ ค่าปรับ หรือค่าใช้จ่ายอื่นใด เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการ ให้เป็นไปตาม
วัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัตินี้
(๖) ให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะแก่หน่วยงานของรัฐในการดำเนินการตามแผนพัฒ นา
รัฐบาลดิจิทัล และตามพระราชบัญญัตินี้

หน้า ๖๔ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
(๗) กำกับและติดตามให้หน่วยงานของรัฐมีการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนพัฒนารัฐบาล
ดิจิทัล รวมทั้งเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ เป้าหมาย และโครงการใน
แผนดังกล่าว
(๘) กำกับและติดตามการดำเนินงานของศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลาง และศูนย์กลางข้อมูล
เปิดภาครัฐ
(๙) ออกระเบียบหรือประกาศเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย หรือตามที่มีกฎหมาย
กำหนดให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลอาจแต่งตั้ง
คณะอนุกรรมการหรือบุคคลใดเพื่อปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลมอบหมาย
แผนพัฒ นารัฐบาลดิจิทัลตาม (๑) และการกำหนดมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์
ตาม (๓) และระเบียบหรือประกาศตาม (๙) เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
มาตรา ๘ ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐตามมาตรา ๗ (๒) อย่างน้อยต้องประกอบด้วย
(๑) การกำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบในการบริหารจัดการข้อมูลของหน่วยงาน
ของรัฐ รวมถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้ครอบครองหรือควบคุมข้อมูลดังกล่าวในทุกขั้นตอน
(๒) การมีระบบบริหารและกระบวนการจัดการและคุ้มครองข้อมูลที่ครบถ้วน ตั้งแต่การจัดทำ
การจัดเก็บ การจำแนกหมวดหมู่ การประมวลผลหรือใช้ข้อมูล การปกปิดหรือเปิดเผยข้อมูล การตรวจสอบ
และการทำลาย
(๓) การมีมาตรการในการควบคุมและพัฒนาคุณภาพข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง
ครบถ้วน พร้อมใช้งาน เป็นปัจจุบัน สามารถบูรณาการและมีคุณสมบัติแลกเปลี่ยนกันได้ รวมทั้งมีการวัดผลการ
บริหารจัดการข้อมูลเพื่อให้หน่วยงานของรัฐมีข้อมูลที่มีคุณภาพและต่อยอดนวัตกรรมจากการใช้ข้อมูลได้
(๔) การกำหนดนโยบายหรือกฎเกณฑ์การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ชัดเจนและมี
ระบบบริหารจัดการ รวมทั้งมีมาตรการและหลักประกันในการคุ้มครองข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองให้มี
ความมั่นคงปลอดภัยและมิให้ข้อมูลส่วนบุคคลถูกละเมิด
(๕) การจัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐ เพื่อให้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้าง
ของข้อมูล เนื้อหาสาระ รูปแบบการจัดเก็บ แหล่งข้อมูล และสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล
มาตรา ๙ ให้ประธานกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล กรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล หรือ
อนุกรรมการและบุคคลซึ่งคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลแต่งตั้งได้รับเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทนตาม
หลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๑๐ ให้ ส ำนั ก งานทำหน้ า ที ่ อ ำนวยการและสนั บ สนุ น การปฏิ บ ั ต ิ ง านตามที่
คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลมอบหมาย รวมทั้งรับผิดชอบงานธุรการและวิชาการของคณะกรรมการ
พัฒนารัฐบาลดิจิทัล และให้สำนักงานดำเนินการดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) จัดทำร่างแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลตามแนวทางที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
กำหนดและร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ตามมาตรา ๗ (๓) เสนอคณะกรรมการพัฒนารัฐบาล
ดิจิทัล

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๖๕


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
(๒) ประสานงาน แนะนำ และให้ความช่วยเหลือแก่หน่วยงานของรัฐในการดำเนินการให้เป็นไป
ตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลตามมาตรา ๗ (๑) และมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ตามมาตรา ๗ (๓)
และตามพระราชบัญญัตินี้
(๓) สำรวจเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และวิจัย เพื่อจัดทำตัวชี้วัด ดัชนีสนับสนุนการพัฒนา
รัฐบาลดิจิทัลเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
(๔) ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลตามมาตรา ๗ (๑)
มาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ตามมาตรา ๗ (๓) และแผนปฏิบัติการหรือแผนงานของหน่วยงานของรัฐ
ตามมาตรา ๕ วรรคสาม เพื่อรายงานผลต่อคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
(๕) สนับสนุนการเชื่อมโยงบริการดิจิทัลของหน่วยงานของรัฐให้เกิดบริการสาธารณะแบบ
เบ็ดเสร็จตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน
(๖) ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการทางวิชาการและความรู้เกี่ยวกับระบบดิจิทัลเพื่อ
ยกระดับทักษะความรู้ความสามารถของเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่และดำเนินการตาม
พระราชบัญญัตินี้
(๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด
มาตรา ๑๑ เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานภาครัฐและการบริการประชาชนในรูปแบบและ
ช่องทางดิจิทัล ในกรณีที่กฎหมาย กฎ หรือระเบียบใดกำหนดให้ผู้ขอรับอนุมัติ อนุญาต หรือใบอนุญาต หรือผู้
ยื่นขอจดทะเบียนหรือจดแจ้ง หรือผู้แจ้ง ต้องใช้เอกสารหรือหลักฐานของทางราชการที่หน่วยงานของรัฐออก
ให้ เพื่อประกอบการพิจารณาหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ หรือระเบียบ ให้ผู้มีอำนาจอนุมัติ อนุญาต ออก
ใบอนุญาต รับจดทะเบียน รับจดแจ้ง หรือรับแจ้งนั้น ดำเนินการให้หน่วยงานของรัฐที่ออกเอกสารหรือหลักฐาน
ของราชการเช่นว่านั้น ส่งข้อมูลหรือสำเนาเอกสารหรือหลักฐานดังกล่าวผ่านช่องทางดิจิทัลมาเพื่อประกอบการ
พิจารณาหรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ หรือระเบียบดังกล่าว ในการนี้ ห้ามมิให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดจาก
การทำสำเนาดังกล่าวจากหน่วยงานของรัฐที่ขอเอกสาร เว้นแต่กฎหมาย กฎ หรือระเบียบดังกล่าวกำหนดไว้เป็น
อย่างอื่น
ในกรณีที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลดิจิทัลจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ถือว่า
ได้มีการยื่นเอกสารหรือหลักฐานมาแสดงตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐนั้นแล้ว
มาตรา ๑๒ เพื่อให้การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัลเป็นไปตาม
วัตถุประสงค์ตามมาตรา ๔ และเกิดการบูรณาการร่วมกัน ให้หน่วยงานของรัฐจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
ในระดับหน่วยงาน และดำเนินการดังต่อไปนี้ให้เป็นไปตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐตามมาตรา ๘
(๑) จัดทำข้อมูลตามภารกิจให้อยู่ในรูปแบบข้อมูลดิจิทัล โดยเป็นข้อมูลที่มีความสมบูรณ์
เชื่อถือได้ และสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน สามารถแลกเปลี่ยนกับ
หน่วยงานของรัฐแห่งอื่นและนำไปประมวลผลต่อไปได้
(๒) จัดทำกระบวนการหรือการดำเนินงานทางดิจิทัลเพื่อการบริหารราชการแผ่นดิน และการ
ให้ บ ริ การประชาชน กระบวนการหรือ การดำเนิ นงานทางดิจิ ทัล นั้ นต้อ งทำงานร่ ว มกั นได้ ตาม มาตรฐาน
ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด เพื่อให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยง
ระหว่างหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นได้ โดยมุ่งเน้นถึงการอำนวยความสะดวกและการเข้าถึงของประชาชนที่เป็นไป
ตามมาตรฐานและมีการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐเป็นสำคัญ

หน้า ๖๖ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
(๓) จัดให้มีร ะบบการชำระเงินทางดิจิทัล อี กช่องทางหนึ่ง กรณีที่มีกฎหมายกำหนดให้
หน่วยงานของรัฐสามารถเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียม ค่าบริการ ค่าปรับ หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดจากประชาชนจาก
การให้บริการของหน่วยงานของรัฐนั้น และอาจตกลงกับหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นให้จัดเก็บเงินดังกล่าวแทนได้
(๔) จัดให้มีระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความ
สะดวกในการบริการประชาชน ซึ่งมีมาตรฐานและแนวทางที่สอดคล้องกันตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาล
ดิจิทัลกำหนด
(๕) จัดให้มีมาตรการหรือระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการเข้าสู่บริการดิจิทัล ของ
หน่วยงานของรัฐ เพื่อให้มีความพร้อมใช้ น่าเชื่อถือ และสามารถตรวจสอบได้ โดยอย่างน้อยต้องจัดให้มีระบบ
ป้องกันหรือรับมือกับภัยคุกคามหรือความเสี่ยงทางไซเบอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัย
ไซเบอร์
(๖) จัดให้มีการพัฒนาทักษะบุคลากรภาครัฐให้มีความรู้ความสามารถในการดำเนินงานด้าน
การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล ให้เป็นไปตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
(๗) ให้มีการทบทวนแผนปฏิบัติการหรือแผนงาน นโยบาย และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับ การ
บริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัลของหน่วยงานของรัฐ โดยต้องจัดให้มีการประเมินผล
การดำเนินงานตามแผน นโยบาย และแนวปฏิบัติดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
การจัดทำข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลตาม (๑) ให้เป็นไปตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์
ที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด
กรณีหน่วยงานของรัฐจะจัดทำข้อมูลดิจิทัลตาม (๑) เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานของ
หน่วยงานของตน หากมีหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นซึ่งมีหน้าที่และอำนาจรับผิดชอบในการจัดทำหรือรวบรวมข้อมูล
ดิจิทัลนั้นไว้เป็นข้อมูลหลักในเรื่องดังกล่าวแล้วไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้หน่วยงานของรัฐดังกล่าวจัดให้มี
การเชื่ อ มโยงและแลกเปลี่ ย นข้ อ มู ล ดิ จิทั ล นั้น ระหว่า งกั น โดยไม่ จ ำต้อ งจั ดทำข้อมูลขึ้นใหม่ทั้งหมด โดย
คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลอาจวางระเบียบในการดำเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ ภายใต้ธรรมาภิบาลข้อมูล
ภาครัฐ
มาตรา ๑๓ เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินและการให้บริ การประชาชน ให้
หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลที่มีการจัดทำและครอบครองตามที่หน่วยงาน
ของรัฐแห่งอื่นร้องขอ ที่จะเกิดการบูรณาการร่วมกัน
มาตรา ๑๔ หน่วยงานของรัฐผู้รับข้อมูลดิจิทัลตามมาตรา ๑๓ ต้องใช้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์
ในหน้าที่และอำนาจของตนเท่านั้น และต้องดูแลรักษาข้อมูลให้มีความมั่นคงปลอดภัย ไม่ มีการเปิดเผยหรือ
โอนข้อมูลไปยังบุคคลที่ไม่มีสิทธิเข้าถึงข้อมูล
มาตรา ๑๕ ให้มีศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ดิจิทัลและทะเบียนดิจิทัลระหว่างหน่วยงานของรัฐ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในการ
ให้บริการประชาชนผ่านระบบดิจิทัล และดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดนโยบายและมาตรฐานเกี่ยวกับการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลเสนอต่อ
คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลให้ความเห็นชอบ

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๖๗


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
(๒) ประสานและให้ความช่วยเหลือแก่หน่วยงานของรัฐในการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูล
ดิจิทัลระหว่างกัน รวมทั้งกำกับติดตามให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปในแนวทางและมาตรฐานเดียวกันตาม
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด
(๓) จั ด ทำคำอธิ บ ายชุ ด ข้ อ มู ล ดิ จิ ทั ล ของภาครั ฐ และจั ด เก็ บ บั น ทึ ก หลั ก ฐานของการ
เชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัล
(๔) เรื่องอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลมอบหมาย
มาตรา ๑๖ ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีที่
หน่วยงานของรัฐได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลหรือมีข้อมูลส่วนบุคคลอยู่ในความครอบครอง หากหน่วยงานของ
รัฐประสงค์จะใช้ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการ แผ่นดิน
หน่วยงานของรัฐนั้นสามารถขอเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคลนั้นจากหน่วยงานของรัฐที่ครอบครอง
เพื่อนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผลได้
มาตรา ๑๗ ให้หน่วยงานของรัฐจัดทำข้อมูลที่ต้องเปิดเผยตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสาร
ของราชการในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลต่อสาธารณะ โดยต้องให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีโดยไม่
เสียค่าใช้จ่าย และสามารถนำไปเผยแพร่ ใช้ประโยชน์ หรือพัฒนาบริการและนวัตกรรมในรูปแบบต่าง ๆ
ได้ ทั้งนี้ มาตรฐานและหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด
ซึ่งต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการเข้าถึงข้อมูล
มาตรา ๑๘ เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการแก่ประชาชนและการดำเนินงานของ
หน่วยงานของรัฐผ่านระบบดิจิทัล ให้มีศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐในสำนักงานทำหน้าที่ในการประสานงานให้
หน่วยงานของรัฐจัดส่งหรือเชื่อมโยงข้อมูลตามมาตรา ๑๗ และเปิดเผยแก่ประชาชน
ให้คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนดประเภท รูปแบบ และมาตรฐานของข้อมูล ที่
เปิดเผยแก่ประชาชนโดยศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ ทั้งนี้ ต้องเป็นแนวทางและมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้ง
สอดคล้องกับหลักการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นสากล
มาตรา ๑๙ ในวาระเริ่มแรก ให้สำนักงานดำเนินการให้มีศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางตามมาตรา
๑๕ เป็นการชั่วคราวแต่ไม่เกินสองปี เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
พิจารณาความจำเป็นและเหมาะสมเกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐที่จะมาดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูล
กลาง ทั้งนี้ ในกรณีที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเห็นควรให้หน่วยงานของรัฐแห่งอื่นใดทำหน้าที่แทน
สำนักงาน ให้เสนอแนวทางการดำเนินการ การโอนภารกิจ งบประมาณ ทรัพย์สินและหนี้สิน ภาระผูกพัน และ
บุคลากรไปยังหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นนั้นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
มาตรา ๒๐ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

หน้า ๖๘ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีความก้าวหน้า และเป็น


ส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตและการประกอบธุรกิจของประชาชน ซึ่งในการบริหารงานและการให้ บริการภาครัฐที่ผ่าน
มายังมิได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนได้อย่าง
เต็มที่ และโดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้มีการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
โดยให้มีการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการบริห ารราชการแผ่ น ดิ น และการจั ด ทำบริ ก าร
สาธารณะ และให้มีการบูรณาการฐานข้อมูลของหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานเข้าด้วยกันเพื่อให้เป็นระบบ
ข้อมูล เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินและเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน สมควรให้มี
กฎหมายในการขับเคลื่อนให้เกิดการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินและการบริการประชาชนตามบทบัญญัติ
แห่งรัฐธรรมนูญ และเพื่อยกระดับการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐให้อยู่ในระบบดิจิทัล อันจะนำไปสู่
การเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่มีระบบการทำงานและข้อมูลเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานของรัฐอย่างมั่นคงปลอดภัย
มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว เปิดเผยและโปร่งใส รวมทั้งประชาชนได้รับความสะดวกในการรับบริการและสามารถ
ตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๖๗ ก/หน้า ๕๗/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๒

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๖๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

แนวข้อสอบ
พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒

๑. การปฏิรูประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีได้โดยมอบหมายให้สำนักงานพัฒนา
รัฐบาลดิจ ิทัล (องค์การมหาชน) จัด ประชุมเพื่อฟังความคิดเห็น ของประชาชน และตราเป็น ร่า ง
พระราชบัญญัติใด
ก. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยรัฐบาลดิจิทัล พ.ศ. ….
ข. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยรัฐบาลดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒
ค. ร่างพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ….
ง. ร่างพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒
ตอบ ก.
๒. ข้อใด ไม่ใช่ คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ
ข. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
ค. เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
ง. เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ตอบ ก.
๓. ข้อใดไม่ได้กล่าวถึงประโยชน์ในพรบ.การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล
พ.ศ. 2562
ก. เพื่อลดความซ้ำซ้อนกับการทำงานของรัฐบาลกับหน่วยงานอื่น ๆ
ข. เพื่อรักษาวินัยทางการคลังของรัฐบาล
ค. เพื่อสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
ง. เพื่อพัฒนาประเทศด้านดิจิทัล
ตอบ ก.
๔. พรบ. การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 มีผลบังคับใช้เมื่อใด
ก. ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ข. ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ค. ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ง. ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๒
ตอบ ง.
๕. พรบ. การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล ฯ นิยามคำว่า “ดิจิทัล” ว่าอย่างไร
ก. ดิจิทัล หมายถึง เทคโนโลยีที่ช่วยทำให้มนุษย์สามารถสื่อสารได้รวดเร็วขึ้น
ข. ดิจิทัล หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้นวัตกรรมมาทำให้มนุษย์สื่อสารได้รวดเร็วขึ้น
ค. ดิจิทัล หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์มาช่วยอำนวยความสะดวกให้มนุษย์มากขึ้น
ง. ดิจิทัล หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้วิธีการนำสัญลักษณ์ศูนย์และหนึ่ง หรือสัญลักษณ์อื่นมาแทนสิ่งทั้งปวง
ตอบ ง.

หน้า ๗๐ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
6. ข้อใดสรุปความหมายของ “รัฐบาลดิจิทัล” ตามพรบ. การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐ
ผ่านระบบดิจิทัล ฯ ได้ครอบคลุมที่สุด
ก. การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือบริหารงานภาครัฐและการบริการสาธารณะ เพื่ออำนวย
ความสะดวกในการบริการประชาชน ในการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ และสร้างการมีส่วนร่วมของ
ทุกภาคส่วน
ข. การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือในการใช้ประโยชน์ของรัฐบาลได้อย่างรวดเร็ว สะดวก
ถูกต้อง ตามหลักธรรมภิบาลและสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ค. การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์ต่อยอดนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนางาน
ของรัฐบาลในยุคดิจิทัล ทั้งภาครัฐและเอกชนได้อย่างเป็นระบบ ถูกต้อง และสะดวก
ง. การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือในการส่งข้อมูลจากรัฐบาลสู่หน่วยงานภายนอกได้อย่างเป็น
ระบบ สะดวก รวดเร็ว มีธรรมภิบาล เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ตอบ ก.
๗. ข้อใดกล่าวถึงประโยชน์ของพรบ. การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล ฯ
ต่อประชาชนไม่ถูกต้อง
ก. ประชาชนได้ข้อมูลจากภาครัฐอย่างรวดเร็ว
ข. ได้รับบริการดิจิทัลภาครัฐที่ดีขึ้น
ค. ลดขั้นตอนระยะเวลาดำเนินการ นำเทคโนโลยีมาใช้
ง. ค่าธรรมเนียมในการใช้บริการภาครัฐมีแนวโน้มลดลงในอนาคต
ตอบ ค.
๘. ข้อใด ไม่ใช่ ประโยชน์ของภาครัฐในรัฐบาลดิจิทัล
ก. ภาครัฐโปร่งใส ประชาชนมีส่วนร่วม
ข. ลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในการขอข้อมูล
ค. เกิดการบูรณาการร่วมกัน ลดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อน
ง. เจ้าหน้าที่ได้รับการพัฒนายกระดับทักษะด้านดิจิทัล
ตอบ ข.
๙. ข้อใด ไม่ใช่ ชื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตราพระราชบัญญัตกิ ารบริหารงานและการให้บริการภาครัฐ
ผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒ ในปัจจุบัน
ก. สรอ. ข. ก.พ.ร.
ค. ดศ ง. สพร.
ตอบ ก.
๑๐. ข้อใดคือเว็บไซต์ของสำนักงานใดที่มีหน้าที่โดยตรงในการพัฒนา อบรม และช่วยรัฐบาลดูแล
ระบบดิจิทัล
ก. www.dla.go.th ข. www.dga.or.th
ค. www.dgo.go.th ง. www.digital.go.th
ตอบ ข.
๑๑. ข้อใดกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการนำไทยสู่ดิจิทัลได้ไม่ถูกต้อง
ก. ต้องการช่วยภาครัฐเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลเปิดแบบดิจิทัล ผ่านรูปแบบหรือ
ช่องทางดิจิทัล
ข. ต้องการช่วยภาครัฐใช้กฎหมายยืนยันตัวตน พิสูจน์บุคคลได้อย่างถูกต้องเม่นยำ มีความน่าเชื่อถือ
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๗๑
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ค. เพื่อต้องการช่วยภาครัฐได้บริการข้อมูล การบริการสาธารณะเบ็ดเสร็จแบบ One Stop Service
ง. ต้องการช่วยภาครัฐบูรณาการข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ และพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมต่าง ๆ
เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้
ตอบ ก.
๑๒. ข้อใด ไม่ใช่ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดิจิทัล
ก. เสนอแนะนโยบายต่อรัฐบาลในการจัดทำแผนดิจิทัล
ข. จัดทำธรรมธิบาลข้อมูลภาครัฐ
ค. กำหนดมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระบบดิจิทัล
ง. เสนอแนวทางพิจารณายกเว้นหรือลดค่าธรรมเนียม ค่าบริการ ค่าปรับ หรือค่าใช้จ่ายอื่นใด
ตอบ ก.
๑๓. ข้อใด ไม่ใช่ หน้าที่ของรัฐบาลดิจิทัล
ก. มีหน้าทีใ่ ห้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ข. มีหน้าที่พัฒนามาตรฐานและแนวปฏิบัติด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ค. มีหน้าที่ให้คำปรึกษาและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ง. มีหน้าที่บริการประชาชนในรูปแบบและช่องทางดิจิทัล
ตอบ ง.
๑๔. ใครเป็นผู้รักษาการในพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล
พ.ศ. ๒๕๖๒
ก. คณะรัฐมนตรี ข. คณะรัฐบาล
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ง. นายกรัฐมนตรี
ตอบ ง.
๑๕. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของพรบ. การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่าน
ระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒
ก. นำระบบดิจิทัลมาใช้ในการบริหารงานของหน่วยงานภาครัฐให้มีความมั่นคง น่าเชื่อถือ และบูรณา
การร่วมกับหลายภาคส่วน
ข. พัฒนามาตราฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับดิจิทัล มาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล
ที่จำเป็น
ค. เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของภาครัฐได้อย่างสะดวก ตรวจสอบการทำงานของรัฐ และสามารถนำ
ข้อมูลมาพัฒนาสร้างนวัตกรรมพัฒนาประเทศใดด้านต่าง ๆ
ง. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐให้เกิดความคุ้มค่าและเป็นไปตามเป้าหมาย
ตอบ ค.
๑๖. ข้อใดกล่าวถึงประโยชน์ของภาครัฐในการใช้ พรบ. การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่าน
ระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ถูกต้องที่สุด
ก. ภาครัฐไม่สามารถเรียกเก็บเงินหน่วยงานอื่นในหน่วยงานของรัฐได้
ข. ภาครัฐไม่สามารถขอข้อมูลของหน่วยงานอื่นเพื่อนำมาพัฒนา วิจัยได้
ค. ภาครัฐไม่สามารถขอสำเนาเอกสารทางราชที่หน่วยงานของรัฐออกให้ได้
ง. ภาครัฐไม่สามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายรูปแบบอื่น นอกจากสำเนาที่ขอเอกสารได้
ตอบ ค.

หน้า ๗๒ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
๑๗. จากสถานการณ์ที่กำหนดให้ผู้ใดใช้ประโยชน์จากรัฐบาลดิจิทัลมากที่สุด
ก. สมยงค์มาขอใบอนุญาตร้านเกมโดยไม่ใช้สำนำบัตรประชาชน
ข. แก้วตาขอหนังสืออนุญาตจากหน่วยงานของรัฐบาลเพียงจุดเดียว
ค. ปรานีขอเอกสารจากหน่วยงานของรัฐผ่านดิจิทัลเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานของรัฐบาล
ง. สุมนเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการ ค่าปรับ และค่าใช้จ่าย อื่นๆ จากประชาชนที่มาใช้บริการ
และยังจัดเก็บเงินของหน่วยงานอื่นที่ตกลงกันไว้อีกด้วย
ตอบ ง.
๑๘. ข้อใดคืออำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
ก. มีหน้าที่รับผิดชอบงานวิชาการและงานธรุการให้สำนักงานของภาครัฐ
ข. มีหน้าที่ทำตัวชี้วัด วิเคราะห์ผลที่ได้จากการทำงานด้านดิจิทัล
ค. มีหน้าที่เชื่อมโยงบริการดิจิทัลให้เกิดบริการสาธารณะแบบเบ็ดเสร็จ
ง. มีหน้าที่กำกับติดตามการดำเนินงานของศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลาง
ตอบ ง.
๑๙. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ การธรรมภิบาลข้อมูลภาครัฐ
ก. หน่วยงานของรัฐมีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบในการบริหารข้อมูล
ข. หน่วยงานของรัฐไม่มีสิทธิที่จะเลือกปกปิด หรือ เปิดเผยข้อมูลที่จำเป็น
ค. หน่วยงานของรัฐสามารถให้ข้อมูลส่วนบุคคลผู้ถูกละเมิดได้
ง. หน่วยงานของรัฐไม่สามารถจำกัดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของประชาชน
ตอบ ก.
๒๐. การทบทวนแผนปฏิบัติงานการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐกำหนดให้
ทบทวนแผนงานอย่างน้อยกี่ครั้ง
ก. ปีละหนึ่งครั้ง
ข. ปีละสองครั้ง
ค. ทุกไตรมาสของปี
ง. กี่ครั้งก็ได้เท่าที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเห็นสมควร
ตอบ ก.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๗๓


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546

1. ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2549 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2546


2. ขอบข่าย แบ่งออกเป็น 5 หมวด 1 บทเฉพาะกาล 82 มาตรา

หมวด 1 การจัดระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง
1. การจัดระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ แบ่งออกเป็น
1) ส่วนกลาง
2) เขตพื้นที่การศึกษา
3) สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาตรีที่เป็นนิติบุคคล
2. ส่วนราชการส่วนกลาง ให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี ได้แก่
1) สำนักงานรัฐมนตรี
2) สำนักงานปลัดกระทรวง
3) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
4) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ทุกส่วนราชการ มีฐานะเป็นนิติบุคคล ยกเว้น
สำนักงานรัฐมนตรี
3. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่
1) เสนอนโยบาย แผนพัฒนามาตรฐานและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2) สนับสนุนทรัพยากร
3) การติดตามตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4) เสนอแนะในการออกระเบียบหลักเกณฑ์และประกาศที่เกี่ยวข้องกับการบริหารของสำนักงาน

ความพร้อมในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและยังมีหน้าที่ต่อองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น คือ
1) ประสานส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดการศึกษาได้
2) เสนอแนะการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

หมวด 2 การจัดระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา
1. การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่ แบ่งเป็นเขตพื้นที่โดยยึด
1) ปริมาณสถานศึกษา
2) จำนวนประชากร
3) วัฒนธรรม
4) ความเหมาะสมอื่น
โดยให้รัฐมนตรีมีอำนาจในราชกิจจานุเบกษา โดยคำแนะนำของสภาการศึกษา

หน้า ๗๔ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

2. การจัดระเบียบของส่วนราชการ
1) การจัดระเบียบของเขตพื้นที่การศึกษา การกำหนดกลุ่มภารกิจให้กระทรวงจัดทำเป็นประกาศ
โดยคำแนะนำ ของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานการกำหนดกลุ่มงาน ให้จัดทำเป็นประกาศของสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
2) สถานศึกษา การกำหนดกลุ่มงาน ตามระเบียบของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาแต่ละเขต
พื้นที่การศึกษา
3) สถานศึกษาที่เป็นโรงเรียนมีฐานะเป็นนิติบุคคล และสิ้นสุดเมื่อยุบเลิกสถานศึกษา

3. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
1) กำกับดูแล จัดตั้ง ยุบรวมหรือเลิกล้มสถานศึกษา
2) ประสาน ส่งเสริม และสนับสนุนสถานศึกษาเอกชน
3) ประสาน ส่งเสริม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4) ส่งเสริม และสนับสนุน การจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรเอกชน องค์กร
5) ชุมนุม องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษา
6) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

4. อำนาจหน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ม.37)
1) บริหารและการจัดการศึกษาและพัฒนาสาระของหลักสูตรสถานศึกษา
2) พัฒนางานวิชาการและจัดระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาร่วมกับสถานศึกษา
3) พิจารณาแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษาของสถานศึกษา และของสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษา
4) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่กฎหมายกำหนด
5) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีอำนาจหน้าที่กำกับ ส่งเสริม และสนับสนุนกิจการของ
สถานศึกษา

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๗๕


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

แนวข้อสอบ
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕46
และที่แก้ไขเพิ่มเติม

1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 เกิดจากกฎหมายในข้อใด


ก. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ข. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
ค. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
ง. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
ตอบ ก.
2. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษา พ.ศ. 2546 มีผลบังคับใช้วันใด
ก. 1 กรกฎาคม 2546 ข. 6 กรกฎาคม 2546
ค. 7 กรกฎาคม 2546 ง. 8 กรกฎาคม 2546
ตอบ ค.
3. ใครเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ค. รองนายกรัฐมนตรี
ง. ปลัดกระทรวงกระทรวงศึกษาธิการ
ตอบ ข.
4. ข้อใด ไม่ใช่ การจัดระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ก. ระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง
ข. ระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา
ค. ระเบียบบริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล
ง. ระเบียบบริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล
ตอบ ค.
5. ปัจจุบันการแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางในกระทรวงศึกษาธิการมีกี่ส่วนราชการ
ก. 3 ส่วนราชการ ข. 4 ส่วนราชการ
ค. 5 ส่วนราชการ ง. 6 ส่วนราชการ
ตอบ ค.
6. ข้อใดไม่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ
ก. สำนักงานปลัดกระทรวง
ข. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
ค. สำนักงานรัฐมนตรี
ง. มีฐานะเป็นกรมทั้ง ก ข และ ค
ตอบ ค.

หน้า ๗๖ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
7. การแบ่งส่วนราชการภายในส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ต้องทำเป็นกฎหมายใด
ก. พระราชกฤษฎีกา
ข. ประกาศกระทรวง
ค. กฏกระทรวง
ง. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตอบ ค.
8. การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดตามข้อใด
ก. ประกาศคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข. ยึดกฎกระทรวง
ค. ยึดระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง. เขตพื้นที่การศึกษา
ตอบ ง.
9. ใครเป็นผู้มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษา
ก. ปลัดกระทรวงตามคำแนะนำของสภาการศึกษา
ข. รัฐมนตรีตามคำแนะนำของสภาการศึกษา
ค. รัฐมนตรีตามคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง. เลขาธิการตามคำแนะนำสภาการศึกษา
ตอบ ข.
10. กรณีที่สถานศึกษาใดจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้ยึดตามข้อใด
ในการอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษา
ก. เป้าหมายการจัดการศึกษา ข. ระดับการศึกษาของสถานศึกษา
ค. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ง. ที่ตั้งของสถานศึกษา
ตอบ ข.
11. ข้อใด ไม่ใช่ เหตุผลในการประกาศใช้ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2553
ก. ความไม่คล่องตัวในการบริหารราชการ
ข. ให้การบริหารการศึกษามีประสิทธิภาพ
ค. ให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
ง. ให้การบริหารและการจัดการศึกษามีประสิทธิผล
ตอบ ง.
12. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นฉบับที่เท่าไร
ก. ฉบับที่ 1 ข. ฉบับที่ 2
ค. ฉบับที่ 3 ง. ฉบับที่ 4
ตอบ ค.
13. เหตุผล ในการประกาศใช้ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๖๒
ก. การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ประเทศไทย 4.0
ข. เพื่อกำหนดโครงสร้างและตำแหน่งต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่เปลี่ยนแปลงไป
ค. เพื่อการจัดการเรียนการสอนสู่ ศตวรรษที่ 21
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๗๗
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ง. การจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
ตอบ ข.
14. สำนักงานศึกษาธิการภาค ทั้งสิบแปดภาค สังกัดหน่วยงานใด
ก. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ข. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ค. สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ
ง. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด
ตอบ ค.
15. ให้ส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ยกเว้นข้อใด
ก. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ข. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ค. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ง. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ตอบ ง.
16. ส่วนราชการในส่วนกลางในกระทรวงศึกษาธิการที่มีฐานะเป็นกรมมีกี่ส่วนราชการ
ก. 3 ส่วนราชการ ข. 4 ส่วนราชการ
ค. 5 ส่วนราชการ ง. 6 ส่วนราชการ
ตอบ ข.
17. ข้อใด ไม่ใช่ ส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการที่เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบ
บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ก. สำนักอำนวยการ ข. สำนักงานรัฐมนตรี
ค. สำนักงานปลัดกระทรวง ง. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
ตอบ ก.
18. ผู้รักษาการในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ คือผู้ใด
ก. นายกรัฐมนตรี ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ค. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ง. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ตอบ ข.
19. ใครเป็นประธานคณะกรรมการสภาการศึกษา
ก. นายกรัฐมนตรี ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ค. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ง. รัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย
ตอบ ข.
20. ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งใดหรือผู้รักษาราชการแทนผู้ดำรงรงตำแหน่งนั้นมอบหมาย หรือมอบอำนาจ
ให้ผู้ดำรงตำแหน่ง อื่นทำหน้าที่บางอย่างแทนตัวเองข้อใดปฏิบัติได้ถูกต้อง
ก. รักษาการในตำแหน่ง ข. รักษาราชการแทน
ค. ปฏิบัติหน้าที่แทน ง. ปฏิบัติราชการแทน
ตอบ ง.
21. การมอบอำนาจตามมาตรานี้ให้ทำข้อใดถูกต้อง
ก. เป็นหนังสือ ข. เป็นคำสั่ง
ค. เป็นประกาศ ง. เป็นระเบียบ
ตอบ ก.

หน้า ๗๘ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
22. ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ดำเนินการตามข้อใด
ก. การรักษาราชการแทน ข. การปฏิบัติหน้าที่แทน
ค. การปฏิบัติราชการแทน ง. การรักษาการในตำแหน่ง
ตอบ ก.
23. ให้จัดระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง ตรงกับข้อใด
ก. สำนักงานปลัดกระทรวง
ข. ส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ค. สำนักงานเขตเขตพื้นที่การศึกษา
ง. ข้อ ก และ ข
ตอบ ง.
24. ส่วนราชการที่มีฐานะไม่เป็นนิติบุคคลและเป็นกรม ตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตรงกับข้อใด
ก. สำนักงานรัฐมนตรี ข. สำนักงานปลัดกระทรวง
ค. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ง. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ตอบ ก.
25. ข้อใดกล่าวผิด การจัดระเบียบราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ก. ระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง
ข. ระเบียบบริหารราชการในส่วนท้องถิ่น
ค. ระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา
ง. ระเบียบบริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล
ตอบ ข.
26. ข้อใดคือหน้าที่ผู้ตรวจราชการของกระทรวง
ก. ศึกษา สังเคราะห์ ติดตาม และประเมินผลระดับนโยบาย
ข. ศึกษา ติดตาม ตรวจสอบคุณภาพ และประเมินผลระดับนโยบาย
ค. ศึกษา ติดตาม ประเมินผลการจัดการศึกษา และประเมินผลระดับนโยบาย
ง. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ติดตาม และประเมินผลระดับนโยบาย
ตอบ ง.
27. ผู้ใดไม่ได้เป็นกรรมการคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
ก. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ข. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ค. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ง. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตอบ ก.
28. คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาพิเศษ ในสังกัดหน่วงงานใด
ก. สำนักงานรัฐมนตรี
ข. สำนักงานปลัดกระทรวง
ค. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ตอบ ค.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๗๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
29. หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่าปลัดกระทรวง ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. คุรุสภา
ข. เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ค. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง. เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตอบ ง.
30. หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในกฎกระทรวงการแบ่งส่วนราชการ
ในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. สภาการศึกษา
ข. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ค. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ง. สำนักงานงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตอบ ก.
31. ข้อใด คือบทบาทของกระทรวงศึกษาธิการที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ก. ประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษา
ข. เสนอแนะการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการ จัดการศึกษา
ค. ประสานส่งเสริมการจัดการศึกษา
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
32. กระทรวงใดที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2562
ก. กระทรวงวัฒนธรรม
ข. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ค. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ง. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ตอบ ง.

หน้า ๘๐ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

1. ประกาศใช้เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2547 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2547


2. มีการแก้ไขแล้ว (ฉบับที่ 2) เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551
3. ขอบข่าย มี 9 หมวด 1 บทเฉพาะกาล 140 มาตรา

หมวด 1 คณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1. อำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา (ม.23) ปัจจุบันเป็นอำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการ
จังหวัดตามคำสั่ง คสช.ที่ 19/2560 ลงวันที่ 3 เมษายน 2560
1) พิจารณากำหนดนโยบายการบริหารงานบุคคล กำหนดจำนวนอัตราตำแหน่งและเกลี่ยอัตรา
ตำแหน่ง พิจารณาดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์
2) พิจารณาให้ความเห็นชอบการบรรจุแต่งตั้ง และการบริหารงานบุคคลของสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษา
3) ให้ความเห็นชอบพิจารณาความดีความชอบ
4) ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาสร้างขวัญกำลังใจ
5) กำกับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลการบริหารงานบุคคล
6) จัดทำฐานข้อมูล และรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล
7) ปฏิบัติงานอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่น หรือตามที่ ก.ค.ศ.มอบหมาย
2. อำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ม.24) เป็นผู้บังคับบัญชาของ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1) รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการที่เป็นอำนาจของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา และตามที่
อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามอบหมาย
2) เสนอแนะการบรรจุแต่งตั้ง และการบริหารงานบุคคลในเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ.
เขตพื้นที่การศึกษา
3) พิจารณาความดีความชอบของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาในหน่วยงานทาง
การศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
4) จัดทำแผนและส่งเสริมการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานทาง
การศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
5) จัดทำทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
6) จัดทำมาตรฐานคุณภาพงาน กำหนดภาระงานขั้นต่ำและเกณฑ์การประเมินผลงานสำหรับ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
7) ประเมินคุณภาพการบริหารงานบุคคลและจัดทำรายงานเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
เพื่อเสนอ ก.ค.ศ. ต่อไป
8) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่น หรือตามที่ ก.ค.ศ.
3. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษา (ม.26)
1) กำกับดูแลการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
หลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ ก.ค.ศ. และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษากำหนด
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๘๑
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
2) เสนอความต้องการจำนวน และอัตราตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน
สถานศึกษา เพื่อเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณา
3) ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน
สถานศึกษาต่อผู้บริหารสถานศึกษา
4) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่น หรือตามที่ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่
การศึกษามอบหมาย
4. อำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสถานศึกษา (ม.27) เป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษา
1) ควบคุม ดูแลให้การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาสอดคล้องกับนโยบาย กฎระเบียบ
ข้อบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ ก.ค.ศ. และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษากำหนด
2) พิจารณาความดีความชอบของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา
3) ส่งเสริม สนับสนุนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาให้มีการพัฒนาอย่าง
ต่อเนื่อง
4) จัดทำมาตรฐาน ภาระงานสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา
5) ประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเสนอ
อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่นหรือตามที่ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่
การศึกษาหรือคณะกรรมการสถานศึกษามอบหมาย

หมวดที่ 2 บททั่วไป
1. การดำเนินงานตาม พ.ร.บ. นี้ให้ดำเนินการตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยยึดหลัก
ระบบคุณธรรม ความเสมอภาคระหว่างบุคคล และหลักการได้รับการปฏิบัติและการคุ้มครองสิทธิอย่างเสมอ
ภาคเท่าเทียมกัน
2. การเป็นผู้ประกอบอาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา จะต้องมีคุณสมบัติทั่วไปภายใต้ พ.ร.บ.
สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
3. ข้าราชครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ (ม.30) มีสัญชาติไทย
3.1 มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
3.2 เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตย
3.3 ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
3.4 ไม่เป็นผู้ไร้ความสามารถหรือจิตฟั่นเฟือนหรือโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.ค.ศ.
3.5 ไม่อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ สั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือถูกสั่งพักหรือเพิกถอน
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
3.6 ไม่บกพร่องในศีลธรรมอันดี
3.7 ไม่เป็นกรรมการพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง
3.8 ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
3.9 ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่การกระทำโดยประมาทหรือลหุโทษ
3.10 ไม่เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก
3.11 ไม่เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัย

หน้า ๘๒ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
3.12 ไม่เคยทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ
4. การให้ได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่ง ให้ได้รับตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน
เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่ง ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ยกเว้นบุคลากรทางการ
ศึกษาตามมาตรา 38 ค (2) ให้นำบัญชีอัตราเงินเดือน และเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนมาบังคับ
ใช้โดยอนุโลม
5. คณะรัฐมนตรีอาจวางระเบียบและวิธีการให้กระทรวงการคลังหักเงินเดือนของข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษา เป็นเงินสะสมโดยคิดดอกเบี้ยเงินสะสมให้ในอัตราไม่ต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำของ
ธนาคารพาณิชย์ เงินสะสมและดอกเบี้ยจะจ่ายคืนให้กู้ยืมตามโครงการสวัสดิการสำหรับข้าราชการครูและ
บุคคลากรทางการศึกษา ตามระเบียบที่กระทรวงกำหนดโดยความเห็นขอบของคณะรัฐมนตรี
6. การได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตามระเบียบที่ ก.ค.ศ. กำหนดโดยความเห็นชอบ
ของคณะรัฐมนตรี
7. การได้เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระ
ราชกฤษฎีกา
8. ก.ค.ศ. กำหนดเกี่ยวกับวันเวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และ
การลาหยุดราชการ (ถ้ายังไม่กำหนดให้นำหลักเกณฑ์ที่ใช้กับข้าราชการพลเรือนมาใช้ก่อน)
9. เครื่องแบบและระเบียบการแต่งเครื่องแบบให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
10. บำเหน็จบำนาญให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

หมวด 3 การกำหนดตำแหน่ง
1. พ.ร.บ.ได้กำหนดตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มี 3 ประเภท คือ
1) ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา
2) ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา
3) ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น โดยกำหนดตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้สอนในหน่วยงาน
การศึกษา (ม.38 ก.) ได้แก่
1) ครูผู้ช่วย
2) ครู
3) อาจารย์
4) ผู้ช่วยศาสตราจารย์
5) รองศาสตราจารย์
6) ศาสตราจารย์
ตำแหน่งใน (3) ถึง (6) มีในหน่วยงานการศึกษาที่สอนระดับปริญญา
ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา (ม.38 ข.) ได้แก่
1) รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
2) ผู้อำนวยการสถานศึกษา
3) รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
4) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
5) รองอธิการบดี
6) อธิการบดี
7) ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๘๓
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ตำแหน่ง (1) และ (2) มีในสถานศึกษาและหน่วยงานการศึกษาตามประกาศกระทรวง
ตำแหน่ง (3) และ (4) ให้มีในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ตำแหน่ง (5) และ (6) มีในหน่วยงานการศึกษาที่สอนระดับปริญญา
ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น (ม.38 ค.) ได้แก่
1) ศึกษานิเทศก์
2) ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด หรือตำแหน่งของข้าราชการที่ ก.ค.ศ.
นำมาใช้กำหนดให้เป็นตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้
2. ให้ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีวิทยฐานะดังต่อไปนี้ (ม.39)
ก. ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะ ดังต่อไปนี้
1) ครูชำนาญการ
2) ครูชำนาญการพิเศษ
3) ครูเชี่ยวชาญ
4) ครูเชี่ยวชาญพิเศษ
ข. ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา มีวิทยฐานะ ดังต่อไปนี้
1) รองผู้อำนวยการชำนาญการ
2) รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
3) รองผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ
4) ผู้อำนวยการชำนาญการ
5) ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
6) ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ
7) ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญพิเศษ
ค. ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะ ดังต่อไปนี้
1) รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชำนาญการพิเศษ
2) รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ
3) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ
4) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญพิเศษ
ง. ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ มีวิทยฐานะ ดังต่อไปนี้
1) ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ
2) ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
3) ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ
4) ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญพิเศษ
จ. ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่ ก.ค.ศ. กำหนดให้มีวิทยฐานะ
3. ให้ตำแหน่งคณาจารย์เป็นตำแหน่งทางวิชาการ
ก. อาจารย์
ข. ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ค. รองศาสตราจารย์
ง. ศาสตราจารย์

หน้า ๘๔ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
4. ก.ค.ศ. จะต้องกำหนดว่าตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจะมีหน่ายงานการศึกษา
ใด จำนวนเท่าใด และจะต้องมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งสำหรับตำแหน่งอย่างไร (ม.41)
5. การจัดทำมาตรฐานการกำหนดตำแหน่งวิทยฐานะและมาตรฐานตำแหน่งทางวิชาการให้คำนึงถึง
(ม.42)
5.1 มาตรฐานวิชาชีพ
5.2 คุณวุฒิการศึกษา
5.3 การอบรมประสบการณ์
5.4 ระยะเวลาการปฏิบัติงาน
5.5 คุณภาพการปฏิบัติงาน หรือผลงานที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่
6. องค์ประกอบของมาตรฐานตำแหน่งประกอบด้วย ชื่อตำแหน่ง ความรับผิดชอบ ปริมาณงานและ
คุณภาพงานของตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๘๕


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

แนวข้อสอบ
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

1. ข้อใด คือหลักการของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547


ก. ให้มีกฎหมายว่าด้วยพระราชบัญญัติข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา
ข. ให้มีกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ค. ให้มีกฎหมายว่าด้วยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา
ง. ให้เป็นกฎหมายว่าด้วยพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา
ตอบ ข.
2. เหตุผลสำคัญที่ต้องตราพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
ก. มาตรา 54 หมวด 7 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กำหนดให้บัญญัติขึ้น
ข. เพื่อให้มีระบบข้าราชการครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาขึ้นมาใหม่
ค. ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลขององค์กรกลางเดียวกัน
ง. เพื่อกระจายอำนาจการบริหารงานบุคคลสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
ตอบ ค.
3. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มีผลบังคับใช้เมื่อใด
ก. 23 พฤศจิกายน 2547 ข. 23 ธันวาคม 2547
ค. 24 พฤศจิกายน 2547 ง. 24 ธันวาคม 2547
ตอบ ง.
4. ข้อใด ไม่ใช่ บุคลากรทางการศึกษาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ. 2547
ก. ครู ข. ผู้บริหารสถานศึกษา
ค. ผู้บริหารการศึกษา ง. ผู้สนับสนุนการศึกษาทำหน้าที่บริการ
ตอบ ก.
5. ข้อใด ไม่ใช่ หน่วยงานทางการศึกษาพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ. 2547
ก. สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐ
ข. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ค. สำนักงานการศึกษานอกโรงเรียน
ง. หน่วยงานตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด
ตอบ ก.
6. คณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เรียกชื่อย่อว่า ก.ค.ศ.
ซึ่งมีทั้งหมด 28 คน มีใครเป็นรองประธานกรรมการ
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ข. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ค. เลขาธิการ ก.ค.ศ ง. ผู้ที่คณะกรรมการเลือก
ตอบ ข.

หน้า ๘๖ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
7. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.ค.ศ. ซึ่ง ครม.แต่งตั้งจำนวน 9 คน ไม่ได้แต่งตั้งจากบุคคลที่มีความรู้
ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงในด้านใด
ก. ด้านการศึกษา ด้านการศึกษาพิเศษ หรือด้านกฎหมาย
ข. ด้านการบริการจัดการภาครัฐ ด้านการบริหารองค์กร หรือการบริหารงานบุคคล
ค. ด้านบริหารธุรกิจ หรือด้านเศรษฐศาสตร์
ง. ด้านรัฐศาสตร์ การเมืองการปกครอง
ตอบ ง.
8. กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่นใน ก.ค.ศ. ต้องมีคุณสมบัติด้านวุฒิการศึกษา
และประสบการณ์ตามข้อใด
ก. ไม่กำหนดคุณวุฒิแต่มีประสบการณ์ด้านสนับสนุนการศึกษาไม่น้อยกว่า 5 ปี
ข. คุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีและมีประสบการณ์ด้านสนับสนุนไม่น้อยกว่า 5 ปี
ค. คุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีและมีประสบการณ์ ด้านสนับสนุนการศึกษาไม่น้อย กว่า 15 ปี
ง. คุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษาและ มีประสบการณ์สนับสนุนการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 ปี
ตอบ ค.
9. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน ก.ค.ศ.
มีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี และเป็นได้กี่วาระ
ก. คราวละ 3 ปี/เป็นได้ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน
ข. คราวละ 3 ปี/เป็นติดต่อกันกี่วาระก็ได้
ค. คราวละ 4 ปี/เป็นได้ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน
ง. คราวละ 4 ปี/เป็นติดต่อกันกี่วาระก็ได้
ตอบ ค.
10. ข้อใด ไม่ใช่ อำนาจหน้าที่ของ ก.ค.ศ.
ก. ส่งเสริมสนับสนุน ประสานงานและให้คำปรึกษา แนะนำการบริหารงานบุคคลแก่
เขตพื้นที่การศึกษา
ข. กำหนดค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่ต้องดำเนินการตาม พระราชบัญญัตินี้
ค. จัดทำทะเบียนประวัติและควบคุมการเกษียณอายุราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ง. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
ตอบ ค.
11. สำนักงาน ก.ค.ศ.มีฐานะเป็นกรมอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อบุคคลใด
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ข. นายกรัฐมนตรี
ค. ปลัดกระทรวง ง. คณะรัฐมนตรี
ตอบ ก.
12. ข้อใด ไม่ใช่ อำนาจหน้าที่ของสำนักงาน ก.ค.ศ.
ก. พัฒนาข้อมูลและจัดทำแผนอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ข. กำกับติดตามตรวจสอบการปฏิบัติของหน่วยงานทางการศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษา
ค. จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ง. พัฒนาหลักเกณฑ์ วิธีการ มาตรฐานการบริหารบุคคล พิทักษ์ระบบคุณธรรม
ตอบ ง.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๘๗


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
13. ข้อใดเป็นหลักการการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ก. ระบบคุณธรรม
ข. ความเสมอภาคระหว่างบุคคล
ค. การปฏิบัติและการคุ้มครองสิทธิอย่างเสมอภาค
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
14. คุณสมบัติทั่วไปของผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนดไว้ในมาตราใด
ของ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
ก. มาตรา 29 ข. มาตรา 30
ค. มาตรา 31 ง. มาตรา 32
ตอบ ข.
15. บุคคลมีคุณสมบัติตามข้อใดอาจสามารถขอเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้
ก. เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ข. ถูกสั่งพักราชการ ถูกสั่งให้ออกจากราชการถูกสั่งพักหรือเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพ
ค. ทุพลภาพและไร้ความสามารถ เป็นโรคตาม กฎ ก.ค.ศ.
ง. ถูกลงโทษทางวินัยปลดออกมาแล้ว 5 ปี
ตอบ ง.
16. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอาจได้รับเงินเพิ่มเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบหมายถึงข้อใด
ก. เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่ง
ข. เงินกู้ยืมโครงการสวัสดิการ
ค. เงินสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ
ง. เงินค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจ
ตอบ ค.
17. ข้อใดคือตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น
ก. ครูผู้ช่วย ข. อธิการบดี
ค. ผู้บริหารสถานศึกษา ง. ศึกษานิเทศก์
ตอบ ง.
18. ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งใดที่มีวิทยฐานะ
ก. ตำแหน่งครู ข. ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา
ค. ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
19. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในข้อใดที่ให้เป็นตำแหน่งที่มีวิทยฐานะ
ก. รองผู้อำนวยการสถานศึกษาเชี่ยวชาญ
ข. รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ
ค. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียวชาญพิเศษ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.

หน้า ๘๘ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
20. ใครเป็นผู้กำหนดว่าหน่วยงานการศึกษาใด จะต้องมีจำนวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเท่าใด
และมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งอย่างไร
ก. ก.ค.ศ. ข. อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
ค. กพร. ง. คณะรัฐมนตรี
ตอบ ก.
21. ตำแหน่งของผู้บริหารสถานศึกษาใดต่อไปนี้เป็นตำแหน่ง ไม่ใช่ วิทยฐานะ
ก. รองผู้อำนวยการสถานศึกษาชำนาญการพิเศษ
ข. รองผู้อำนวยการเชี่ยวชาญพิเศษ
ค. ผู้อำนวยการสถานศึกษาเชียวชาญ
ง. ผู้อำนวยการสถานศึกษาเชี่ยวชาญพิเศษ
ตอบ ข.
22. การกำหนดระดับตำแหน่งและการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งคณาจารย์เป็นไปตามข้อใด
ก. ตามที่ ก.ม. กำหนด ข. ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
ค. ตามที่ ก.พ. กำหนด ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ก.
23. ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจะมีในหน่วยงานทางการศึกษาใด จำนวนเท่าใด
และต้องใช้คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งอย่างไร ใครเป็นผู้กำหนด
ก. ตามที่ ก.ม. กำหนด ข. ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
ค. ตามที่ ก.พ. กำหนด ง. กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
ตอบ ข.
24. การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรณีใดให้บรรจุตามลำดับ
ที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้
ก. บรรจุตามมาตรา 36 ข. บรรจุตามมาตรา 45
ค. บรรจุตามมาตรา 50 ง. บรรจุตามาตรา 51
ตอบ ข.
25. ข้อใดเป็นคุณสมบัติของผู้สมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ก. คุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30
ข. คุณสมบัติเฉพาะตามมาตรา 42
ค. คุณสมบัติพิเศษตามมาตรา 48
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
26. บุคคลที่ขาดคุณสมบัติตามข้อใด มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้แต่จะบรรจุแต่งตั้งได้เมื่อพ้นจากตำแหน่งนั้นแล้ว
ก. ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น
ข. ไม่เป็นกรรมการพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
ค. ไม่เป็นกรรมการผู้จัดการห้างร้านหรือบริษัท
ง. ข้อ ก. และ ข. เท่านั้น
ตอบ ง.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๘๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
27. การบรรจุบุคคลเข้าเป็นราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งผู้บริหารที่เป็นสัญญาจ้างปฏิบัติงาน
รายปีจะดำเนินการได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานใด
ก. กศจ.
ข. ก.ค.ศ.
ค. กระทรวงศึกษาธิการ
ง. กระทรวงการคลัง
ตอบ ง.
28. ใครเป็นผู้มีอำนาจบรรจุแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ
ก. เลขาธิการ
ข. เลขาธิการฯโดยเห็นชอบ ก.ค.ศ.
ค. เลขาธิการฯโดยอนุมัติ ก.ค.ศ.และ รมต.ศธ.นำทูลเกล้าฯ
ง. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาโดยความเห็นชอบ ก.ค.ศ.
ตอบ ค.
29. ใครมีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ
ก. รมต.ศึกษาธิการ
ข. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ค. เลขาธิการ สพฐ.โดยความเห็นชอบ ก.ค.ศ.
ง. เลขาธิการ สพฐ.โดยอนุมัติ ก.ค.ศ.
ตอบ ง.
30. การบรรจุแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งใดที่กฎหมายกำหนดให้มีคณะกรรมการ
เพื่อสรรหาบุคคลเข้าสู่ตำแหน่ง
ก. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ข. รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ค. ผู้บริหารสถานศึกษาที่มาจากบุคคลภายนอก
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ก.
31. ใครมีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วย
ก. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ข. ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ค. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาโดยอนุมัติ กศจ.
ง. ผู้อำนวยการสถานศึกษาโดยอนุมัติ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา
ตอบ ง.
32. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่มีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้งบุคคลใด
ก. รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
ข. ครูชำนาญการ
ค. ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ
ง. รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา
ตอบ ง.

หน้า ๙๐ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
33. ใครมีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้งบุคลากรทางการศึกษาอื่นในสถานศึกษา
ก. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ข. ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ค. ผู้อำนวยการสถานศึกษาโดยอนุมัติ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา
ง. ผู้อำนวยการสถานศึกษาโดยอนุมัติคณะกรรมการสถานศึกษา
ตอบ ค.
34. ข้อควรคำนึงในการให้ข้าราชการครูมีวิทยฐานะ หรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะใดตามมาตรฐานวิทยฐานะ
ก. ความประพฤติด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ
ข. ประสบการณ์และคุณภาพการปฏิบัติงาน
ค. ความชำนาญการ ความเชี่ยวชาญและผลงาน ในด้านการเรียนการสอน
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ค.
35. ข้อใดเป็นเหตุผลสำคัญที่กำหนดให้มีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะผู้มีใบประกอบวิชาชีพ
ก. เพราะดำรงความเป็นมาตรฐานวิชาชีพข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ข. เพราะเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดเอาไว้
ค. เพราะดำรงไว้ซึ่งความรู้ ความสามารถความชำนาญการ ความเชี่ยวชาญในตำแหน่งและวิทยฐานะ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
36. ข้อใด ไม่ใช่ ประเภทการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ก. กรณีปกติ ข. กรณีพิเศษ
ค. กรณีจำเป็น ง. กรณีประโยชน์ราชการ
ตอบ ค.
37. ข้อใดไม่จัดอยู่ในประเภทการย้ายกรณีปกติ
ก. ติดตามคู่สมรส ข. อยู่ร่วมคู่สมรส
ค. กลับภูมิลำเนา ง. ดูแลบิดามารดา
ตอบ ก.
38. กรณีที่เป็นการย้ายกรณีพิเศษ
ก. ติดตามคู่สมรส ข. ถูกปองร้าย
ค. เป็นโรคร้ายแรง ง. ดูแลบิดามารดา
ตอบ ง.
39. ข้อใด ไม่ใช่ ประเภทการเปลี่ยนตำแหน่ง
ก. สมัครใจ ข. ผู้บังคับบัญชากำหนด
ค. เพื่อประโยชน์ราชการ ง. ถูกพักใช้ใบอนุญาต
ตอบ ข.
40. การสอบคัดเลือกได้ ต้องเปลี่ยนตำแหน่งตามข้อใด
ก. สมัครใจ ข. ผู้บังคับบัญชากำหนด
ค. เพื่อประโยชน์ราชการ ง. ถูกพักใช้ใบอนุญาต
ตอบ ก.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๙๑


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
41. ข้อใดไม่จัดว่าเป็นการพัฒนา
ก. การลาศึกษาต่อ ข. การเข้ารับการอบรม
ค. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ง. การค้นคว้า ศึกษาด้วยตนเอง
ตอบ ค.
42. การลาศึกษาต่อจัดอยู่ในกลุ่มใด
ก. การบรรจุแต่งตั้ง ข. การพัฒนาบุคลากร
ค. การธำรงรักษา ง. การดำเนินการทางวินัย
ตอบ ข.
43. โทษทางวินัยที่ถูกจัดว่าเป็นโทษร้ายแรง
ก. ไล่ออก ข. ปลดออก
ค. ให้ออก ง. เฉพาะข้อ ก และ ข
ตอบ ง.
44. หากไม่พอใจผลการลงโทษทางวินัย
ก. ร้องทุกข์ ข. อุทธรณ์
ค. ร้องเรียน ง. ฟ้องศาล
ตอบ ข.

หน้า ๙๒ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

พระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พ.ศ. ๒๕๔๖

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
เป็นปีที่ ๕๘ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับ


มาตรา ๓/๑ และมาตรา ๗๑/๑๐ (๕) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ จึงทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธ ี ก าร


บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖”

มาตรา ๒[๑] พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา


เป็นต้นไป

มาตรา ๓ การปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้ในเรื่องใดสมควรที่ส่วนราชการใดจะปฏิบัติ
เมื่อใด และจะต้องมีเงื่อนไขอย่างใด ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามข้อเสนอแนะของ ก.พ.ร.

มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้
“ส่วนราชการ” หมายความว่า ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง
กรม และหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหาร แต่ไม่รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
“รัฐวิสาหกิจ” หมายความว่า รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา
“ข้าราชการ” หมายความรวมถึงพนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการ

มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๙๓


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

หมวด ๑
การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

มาตรา ๖ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย


ดังต่อไปนี้
(๑) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
(๒) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
(๓) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
(๔) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
(๕) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
(๖) ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
(๗) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

หมวด ๒
การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน

มาตรา ๗ การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน หมายถึง การปฏิบัติราชการที่


มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ความสงบและปลอดภัยของสังคมส่วนรวม
ตลอดจนประโยชน์สูงสุดของประเทศ

มาตรา ๘ ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดำเนินการ


โดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จ ะได้รับ การบริการจากรัฐ และจะต้องมีแนวทางการบริหารราชการ
ดังต่อไปนี้
(๑) การกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๗ และ
สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
(๒) การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปโดยซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจสอบได้
และมุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น
(๓) ก่อนเริ่มดำเนิน การ ส่ว นราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผ ลดีและผลเสียให้
ครบถ้วนทุกด้าน กำหนดขั้นตอนการดำเนินการที่โปร่งใส มีกลไกตรวจสอบการดำเนินการในแต่ละขั้นตอน ใน
กรณีที่ภารกิจใดจะมีผลกระทบต่อประชาชน ส่วนราชการต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนหรื อ
ชี้แจงทำความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงประโยชน์ที่ส่วนรวมจะได้รับจากภารกิจนั้น
(๔) ให้เป็นหน้าที่ของข้าราชการที่จะต้องคอยรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคม
โดยรวมและประชาชนผู้รับบริการ เพื่อปรับปรุงหรือเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้มีการปรับปรุงวิธีปฏิบัติ
ราชการให้เหมาะสม

หน้า ๙๔ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
(๕) ในกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการ ให้ส่วนราชการดำเนินการ แก้ไข
ปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว ในกรณีที่ปัญหาหรืออุปสรรคนั้นเกิดขึ้นจากส่วนราชการอื่นหรือระเบี ยบ
ข้อบังคับที่ออกโดยส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการแก้ไข
ปรับปรุงโดยเร็วต่อไป และให้แจ้ง ก.พ.ร. ทราบด้วย
การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ส่วนราชการกำหนดวิธีปฏิบัติให้เหมาะสมกับภารกิจแต่ละ
เรื่อง ทั้งนี้ ก.พ.ร. จะกำหนดแนวทางการดำเนินการทั่วไปให้ส่วนราชการปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรานี้ด้วยก็ได้

หมวด ๓
การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ

มาตรา ๙ การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ส่วนราชการปฏิบัติ


ดังต่อไปนี้
(๑) ก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการ
ล่วงหน้า
(๒) การกำหนดแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการตาม (๑) ต้องมีรายละเอียดของขั้นตอน
ระยะเวลาและงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดำเนินการของแต่ละขั้นตอน เป้าหมายของภารกิจ ผลสัมฤทธิ์ของ
ภารกิจ และตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ
(๓) ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการตาม
หลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น ซึ่งต้องสอดคล้องกับมาตรฐานที่ ก.พ.ร. กำหนด
(๔) ในกรณีที่การปฏิบัติภารกิจ หรือการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการเกิดผลกระทบต่อ
ประชาชน ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่จะต้องดำเนินการแก้ไขหรือบรรเทาผลกระทบนั้น หรือเปลี่ยน
แผนปฏิบัติราชการให้เหมาะสม

มาตรา ๑๐ ในกรณีที่ภารกิจใดมีความเกี่ยวข้องกับหลายส่วนราชการหรือเป็นภารกิจที่
ใกล้เคียงหรือต่อเนื่องกัน ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องนั้นกำหนดแนวทางการปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิด การ
บริหารราชการแบบบูรณาการร่วมกัน โดยมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
ให้ส่วนราชการมีหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติราชการของผู้ว่าราชการจังหวัดหรือหัวหน้าคณะ
ผู้แทนในต่างประเทศ เพื่อให้การบริหารราชการแบบบูรณาการในจังหวัดหรือในต่างประเทศ แล้วแต่กรณี
สามารถใช้อำนาจตามกฎหมายได้ครบถ้วนตามความจำเป็นและบริหารราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มาตรา ๑๑ ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การ


แห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อ
นำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริม
และพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากร
ที่มีประสิทธิภาพและมีการเรีย นรู้ร ่ว มกัน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการของส่ว นราชการให้
สอดคล้องกับการบริหารราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามพระราชกฤษฎีกานี้

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๙๕


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
มาตรา ๑๒ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ก.พ.ร. อาจเสนอต่อ
คณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดมาตรการกำกับการปฏิบัติราชการ โดยวิธีการจัดทำความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร
หรือโดยวิธีการอื่นใด เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ

มาตรา ๑๓[๒] (ยกเลิก)


มาตรา ๑๔[๓] (ยกเลิก)
มาตรา ๑๕[๔] (ยกเลิก)

มาตรา ๑๖ ให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้นโดยจัดทำเป็นแผน
ห้าปี ซึ่งต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา และแผนอื่นที่เกี่ยวข้อง[๕]
ในแต่ ล ะปี ง บประมาณ ให้ ส ่ ว นราชการจั ด ทำแผนปฏิ บ ั ต ิ ราชการประจำปี โดยให้ ร ะบุ
สาระสำคัญเกี่ยวกับนโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน รวมทั้ง
ประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่จะต้องใช้ เสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ
เมื่อรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการใดตามวรรคสองแล้ว ให้
สำนั ก งบประมาณดำเนิ น การจั ดสรรงบประมาณเพื ่ อ ปฏิบ ั ติ ง านให้ บรรลุผ ลสำเร็ จในแต่ ล ะภารกิจ ตาม
แผนปฏิบัติราชการดังกล่าว
ในกรณีที่ส่วนราชการมิได้เสนอแผนปฏิบัติราชการในภารกิจใดหรือภารกิจใดไม่ได้รับความ
เห็นชอบจากรัฐมนตรี มิให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณสำหรับภารกิจนั้น
เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้ส่วนราชการจัดทำรายงานแสดงผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการ
ประจำปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรี

มาตรา ๑๗ ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณกำหนดให้ส่วนราชการต้องจัดทำ
แผนปฏิบัติราชการเพื่อขอรับงบประมาณ ให้สำนักงบประมาณและ ก.พ.ร. ร่วมกันกำหนดแนวทางการจัดทำ
แผนปฏิบัติราชการตามมาตรา ๑๖ ให้สามารถใช้ได้กับแผนปฏิบัติราชการที่ต้องจัดทำตามกฎหมายว่าด้วย
วิธีการงบประมาณ ทั้งนี้ เพื่อมิให้เพิ่มภาระงานในการจัดทำแผนจนเกินสมควร

มาตรา ๑๘ เมื่อมีการกำหนดงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามแผนปฏิบัติราชการของส่วน
ราชการใดแล้ว การโอนงบประมาณจากภารกิจหนึ่งตามที่กำหนดในแผนปฏิบัติราชการไปดำเนินการอย่างอื่น
ซึ่งมีผลทำให้ภารกิจเดิมไม่บรรลุเป้าหมายหรือนำไปใช้ในภารกิจใหม่ที่มิได้กำหนดในแผนปฏิบัติราชการ
จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ปรับแผนปฏิบัติราชการให้สอดคล้องกันแล้ว
การปรับแผนปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่งจะกระทำได้เฉพาะในกรณีที่งานหรือภารกิจใดไม่
อาจดำเนินการตามวัตถุประสงค์ต่อไปได้ หรือหมดความจำเป็นหรือไม่เป็นประโยชน์ หรือหากดำเนินการต่อไป
จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็น หรือมีความจำเป็นอย่างอื่นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ที่ จะต้องเปลี่ยนแปลง
สาระสำคัญของแผนปฏิบัติราชการ
(ยกเลิก)[๖]

หน้า ๙๖ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
มาตรา ๑๙ เมื่อนายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ให้หัวหน้าส่วนราชการมีหน้าที่สรุปผลการ
ปฏิบัติราชการและให้ข้อมูลต่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ตามที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่สั่งการ ทั้งนี้ เพื่อนายก-
รัฐมนตรีคนใหม่จะได้ใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณากำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินต่อไป

หมวด ๔
การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพ
และเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

มาตรา ๒๐ เพื่อให้การปฏิบัติราชการภายในส่วนราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ส่วน


ราชการกำหนดเป้าหมาย แผนการทำงาน ระยะเวลาแล้วเสร็จของงานหรือโครงการ และงบประมาณที่จะต้อง
ใช้ในแต่ละงานหรือโครงการ และต้องเผยแพร่ให้ข้าราชการและประชาชนทราบทั่วกันด้วย

มาตรา ๒๑ ให้ส่วนราชการจัดทำบัญชีต้นทุนในงานบริการสาธารณะแต่ละประเภทขึ้น ตาม


หลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด
ให้ส่วนราชการคำนวณรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะที่อยู่ในความรับผิดชอบของ
ส่วนราชการนั้นตามระยะเวลาที่กรมบัญชีกลางกำหนด และรายงานให้สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และ
ก.พ.ร. ทราบ
ในกรณีที่รายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะใดของส่วนราชการใดสูงกว่ารายจ่ายต่อ
หน่วยของงานบริการสาธารณะประเภทและคุณภาพเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันของส่วนราชการอื่น ให้ส่วน
ราชการนั้นจัดทำแผนการลดรายจ่ายต่อหน่ว ยของงานบริการสาธารณะดังกล่าวเสนอสำนักงบประมาณ
กรมบัญชีกลาง และ ก.พ.ร. ทราบ และถ้ามิได้มีข้อทักท้วงประการใดภายในสิบห้าวันก็ให้ส่วนราชการดังกล่าว
ถือปฏิบัติตามแผนการลดรายจ่ายนั้นต่อไปได้

มาตรา ๒๒ ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนัก


งบประมาณร่วมกันจัดให้มีการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการดำเนินการอยู่ เพื่อ
รายงานคณะรัฐมนตรีสำหรับเป็นแนวทางในการพิจารณาว่าภารกิจใดสมควรจะได้ดำเนินการต่อไปหรือยุบเลิก
และเพื่อประโยชน์ในการจัดตั้งงบประมาณของส่วนราชการในปีต่อไป ทั้งนี้ ตามระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรี
กำหนด
ในการประเมินความคุ้มค่าตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงประเภทและสภาพของแต่ละภารกิจ
ความเป็นไปได้ของภารกิจหรือโครงการที่ดำเนินการ ประโยชน์ที่รัฐและประชาชนจะพึงได้และรายจ่ายที่ต้อง
เสียไปก่อนและหลังที่ส่วนราชการดำเนินการด้วย
ความคุ้มค่าตามมาตรานี้ ให้หมายความถึงประโยชน์หรือผลเสียทางสังคม และประโยชน์หรือ
ผลเสียอื่น ซึ่งไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้ด้วย

มาตรา ๒๓ ในการจัดซื้อหรือจัดจ้าง ให้ส่วนราชการดำเนินการโดยเปิดเผยและเที่ยงธรรม


โดยพิจารณาถึงประโยชน์และผลเสียทางสังคม ภาระต่อประชาชน คุณภาพ วัตถุประสงค์ที่จะใช้ ราคา และ
ประโยชน์ระยะยาวของส่วนราชการที่จะได้รับประกอบกัน

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๙๗


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ในกรณีที่วัตถุประสงค์ในการใช้เป็นเหตุให้ต้องคำนึงถึงคุณภาพและการดูแลรักษาเป็นสำคัญ
ให้สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องถือราคาต่ำสุดในการเสนอซื้อหรือจ้างเสมอไป
ให้ส่วนราชการที่มีหน้าที่ดูแลระเบียบเกี่ยวกับการพัสดุปรับปรุงระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้
ส่วนราชการดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

มาตรา ๒๔ ในการปฏิบัติภารกิจใด หากส่วนราชการจำเป็นต้องได้รับอนุญาต อนุมัติ หรือ


ความเห็นชอบจากส่วนราชการอื่นตามที่มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือมติคณะรัฐมนตรี
กำหนด ให้ส่วนราชการที่มีอำนาจอนุญาต อนุมัติ หรือให้ความเห็นชอบดังกล่าว แจ้งผลการพิจารณาให้ส่วน
ราชการที่ยื่นคำขอทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ
ในกรณีที่เรื่องใดมีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนด
ขั้นตอนการปฏิบัติไว้ และขั้นตอนการปฏิบัตินั้นต้องใช้ระยะเวลาเกินสิบห้าวัน ให้ส่วนราชการที่มีอำนาจ
อนุญาต อนุมัติ หรือให้ความเห็นชอบ ประกาศกำหนดระยะเวลาการพิจารณาไว้ให้ส่วนราชการอื่นทราบ
ส่วนราชการใดที่มีอำนาจอนุญาต อนุมัติ หรือให้ความเห็นชอบ มิได้ดำเนินการให้แล้วเสร็จตาม
วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หากเกิดความเสียหายใดขึ้น ให้ถือว่าข้าราชการซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องและหัวหน้าส่วน
ราชการนั้นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความล่าช้านั้นมิได้เกิดขึ้นจากความผิดของตน

มาตรา ๒๕ ในการพิจ ารณาวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาใด ๆ ให้เป็นหน้าที่ของส่ว นราชการที่


รับผิดชอบในปัญหานั้น ๆ จะต้องพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดโดยเร็ว การตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาวินิจฉัย
ให้ดำเนินการได้เท่าที่จำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ในการพิจารณาเรื่องใด ๆ โดยคณะกรรมการ เมื่อคณะกรรมการมีมติเป็นประการใดแล้ว
ให้มติของคณะกรรมการผูกพันส่วนราชการซึ่งมีผู้แทนร่วมเป็นกรรมการอยู่ด้วย แม้ว่าในการพิจารณาวินิจฉัย
เรื่องนั้นผู้แทนของส่วนราชการที่เป็นกรรมการจะมิได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยก็ตาม ถ้ามีความเห็นแตกต่างกัน
สองฝ่าย ให้บันทึกความเห็นของกรรมการฝ่ายข้างน้อยไว้ให้ปรากฏในเรื่องนั้นด้วย
ความผูกพันที่กำหนดไว้ในวรรคสอง มิให้ใช้บังคับกับการวินิจฉัยในปัญหาด้านกฎหมาย

มาตรา ๒๖ การสั ่ ง ราชการโดยปกติ ใ ห้ก ระทำเป็ นลายลั ก ษณ์ อ ั ก ษร เว้ น แต่ ใ นกรณีที่
ผู้บังคับบัญชามีความจำเป็นที่ไม่อาจสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรในขณะนั้น จะสั่งราชการด้วยวาจาก็ได้ แต่ให้ผู้รับ
คำสั่งนั้นบัน ทึกคำสั่งด้วยวาจาไว้เป็น ลายลักษณ์อักษรและเมื่อได้ปฏิบัติราชการตามคำสั่งดังก ล่าวแล้ว
ให้บันทึกรายงานให้ผู้สั่งราชการทราบ ในบันทึกให้อ้างอิงคำสั่งด้วยวาจาไว้ด้วย

หมวด ๕
การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน

มาตรา ๒๗ ให้ส่วนราชการจัดให้มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจเกี่ยวกับการสั่ง การอนุญาต


การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการอื่นใดของผู้ดำรงตำแหน่งใดให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่
รับผิดชอบในการดำเนินการในเรื่องนั้นโดยตรง เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและลดขั้นตอนการปฏิ บัติราชการ ทั้งนี้
ในการกระจายอำนาจการตัดสินใจดังกล่าวต้องมุ่งผลให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการบริการประชาชน

หน้า ๙๘ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
เมื ่ อ ได้ ม ี ก ารกระจายอำนาจการตั ด สิ น ใจตามวรรคหนึ ่ ง แล้ ว ให้ ส ่ ว นราชการกำหนด
หลักเกณฑ์การควบคุม ติดตาม และกำกับดูแลการใช้อำนาจและความรับผิดชอบของผู้รับมอบอำนาจและ
ผู้มอบอำนาจไว้ด้วย หลักเกณฑ์ดังกล่าวต้องไม่สร้างขั้นตอนหรือการกลั่นกรองงานที่ไม่จำเป็นในการปฏิบัติงาน
ของข้าราชการ ในการนี้ หากสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือโทรคมนาคมแล้วจะเป็นการลดขั้นตอน
เพิ่มประสิทธิภาพและประหยัดค่าใช้จ่าย รวมทั้งไม่เกิดผลเสียหายแก่ราชการ ให้ส่วนราชการดำเนินการให้
ข้าราชการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหรือโทรคมนาคมตามความเหมาะสมและกำลังเงินงบประมาณ
เมื่อส่ว นราชการใดได้มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจตามวรรคหนึ่ง หรือได้มีการใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศหรือโทรคมนาคมตามวรรคสองแล้ว ให้ส่วนราชการนั้นเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
เป็นการทั่วไป

มาตรา ๒๘ เพื่อประโยชน์ในการกระจายอำนาจการตัดสินใจตามมาตรา ๒๗ ก.พ.ร. ด้วย


ความเห็นชอบของคณะรัฐ มนตรีจ ะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการหรือแนวทางในการกระจายอำนาจการ
ตัดสินใจ ความรับผิดชอบระหว่างผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ และการลดขั้นตอนในการปฏิบัติราชการ
ให้ส่วนราชการถือปฏิบัติก็ได้

มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการบริการประชาชนหรือการติดต่อประสานงาน
ระหว่างส่วนราชการด้วยกัน ให้ส่วนราชการแต่ละแห่งจัดทำแผนภูมิขั้นตอนและระยะเวลา การดำเนินการ
รวมทั้งรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในแต่ละขั้นตอนเปิดเผยไว้ ณ ที่ทำการของส่วนราชการและในระบบ
เครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการ เพื่อให้ประชาชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจดูได้
การบริการประชาชนและการติดต่อประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกัน ต้องกระทำ
โดยใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลกลางที่สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) กำหนดด้วย [๗]

มาตรา ๓๐ ในกระทรวงหนึ่ง ให้เป็นหน้าที่ของปลัดกระทรวงที่จะต้องจัดให้ส่วนราชการ


ภายในกระทรวงที่รับผิดชอบปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริการประชาชนร่วมกันจัดตั้งศูนย์บริการร่วม เพื่ออำนวย
ความสะดวกแก่ประชาชนในการที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือกฎอื่นใด ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถ
ติดต่อสอบถาม ขอทราบข้อมูล ขออนุญาต หรือขออนุมัติในเรื่องใด ๆ ที่เป็น อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการใน
กระทรวงเดียวกัน โดยติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์บริการร่วมเพียงแห่งเดียว

มาตรา ๓๑ ในศูนย์บริการร่วมตามมาตรา ๓๐ ให้จัดให้มีเจ้าหน้าที่รับเรื่องราวต่าง ๆ และ


ดำเนินการส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป โดยให้มีข้อมูลและเอกสารที่
เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของทุกส่วนราชการในกระทรวง รวมทั้งแบบคำขอต่าง ๆ ไว้ให้พร้อมที่จะบริการ
ประชาชนได้ ณ ศูนย์บริการร่วม
ให้เป็นหน้าที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่จะต้องจัดพิมพ์รายละเอียดของเอกสารหลักฐานที่
ประชาชนจะต้องจัดหามาในการขออนุมัติหรือขออนุญาตในแต่ละเรื่องมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ของศูนย์บริการร่วม
และให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการร่วมที่จะต้องแจ้งให้ประชาชนที่มาติ ดต่อได้ทราบในครั้งแรกที่มา
ติดต่อและตรวจสอบว่าเอกสารหลักฐานที่จำเป็นดังกล่าวนั้นประชาชนได้ยื่นมาครบถ้วนหรือไม่ พร้อมทั้งแจ้งให้
ทราบถึงระยะเวลาที่จะต้องใช้ดำเนินการในเรื่องนั้น
ในการยื่นคำร้องหรือคำขอต่อศูนย์บริการร่วมตามมาตรา ๓๐ ให้ถือว่าเป็นการยื่นต่อส่วน
ราชการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดตามที่ระบุไว้ในกฎหมายหรือกฎแล้ว
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๙๙
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หากมีปัญหาหรืออุปสรรคในการปฏิบัติราชการให้เป็นไปตาม
หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎหมายหรือกฎในเรื่องใด ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องแจ้งให้ ก.พ.ร. ทราบ
เพื่อดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการตามกฎหมายหรือกฎนั้นต่อไป

มาตรา ๓๒ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ


จัดให้ส่วนราชการที่รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการบริการประชาชนในเรื่องเดียวกันหรือต่อเนื่องกันใน
จังหวัด อำเภอ หรือกิ่งอำเภอนั้น ร่วมกันจัดตั้งศูนย์บริการร่วมไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่ าการอำเภอ หรือ
ที่ว่าการกิ่งอำเภอ หรือสถานที่อื่นตามที่เห็นสมควร โดยประกาศให้ประชาชนทราบ และให้นำความในมาตรา
๓๐ และมาตรา ๓๑ มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม

หมวด ๖
การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ

มาตรา ๓๓ ให้ส่วนราชการจัดให้มีการทบทวนภารกิจของตนว่าภารกิจใดมีความจำเป็น หรือ


สมควรที่จะยกเลิก ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงการดำเนินการต่อไปหรือไม่ โดยคำนึงถึงยุทธศาสตร์ชาติ แผน
แม่บท แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อ
รัฐ สภา และแผนอื่น ที่เกี่ย วข้อง รวมถึงกำลังเงินงบประมาณของประเทศ ความคุ้มค่าของภารกิจ และ
สถานการณ์อื่นประกอบกัน[๘]
กำหนดเวลาในการจัดให้มีการทบทวนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่ ก.พ.ร. กำหนด
ในกรณี ที ่ส ่ วนราชการเห็ นควรยกเลิ ก ปรับปรุง หรือเปลี่ ยนแปลงภารกิ จ ให้ส ่วนราชการ
ดำเนินการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ โครงสร้าง และอัตรากำลัง ของส่วนราชการให้สอดคล้องกัน และเสนอ
คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อดำเนินการต่อไป
ในกรณีที่ ก.พ.ร. พิจารณาแล้วเห็นว่าภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการใดรับผิดชอบดำเนินการอยู่
สมควรเปลี่ย นแปลง ยกเลิก หรือเพิ่มเติม ให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา เมื่อคณะรัฐ มนตรี เห็นชอบ
แล้ว ให้ส่วนราชการนั้นดำเนินการปรับปรุงภารกิจ อำนาจหน้าที่ โครงสร้างและอัตรากำลังของส่วนราชการนั้น
ให้สอดคล้องกัน

มาตรา ๓๔[๙] ในกรณีที่มีการยุบเลิก โอน หรือรวมส่วนราชการใดทั้งหมดหรือบางส่วน ห้าม


มิให้จัดตั้งส่วนราชการที่มีภารกิจหรืออำนาจหน้าที่ที่มีลักษณะเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันกับส่วนราชการ
ดังกล่าวขึ้นอีก เว้นแต่มีเหตุผลและความจำเป็นเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ หรือ
รักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน และโดยได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ.ร.

มาตรา ๓๕ ส่ว นราชการมีหน้าที่สำรวจ ตรวจสอบ และทบทวนกฎหมาย กฎ ระเบียบ


ข้อบังคับ และประกาศ ที่อยู่ในความรับผิดชอบ เพื่อดำเนินการยกเลิก ปรับปรุง หรือจัดให้มีกฎหมาย กฎ
ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศขึ้นใหม่ ให้ทันสมัยและเหมาะสมกับสภาวการณ์ หรือสอดคล้องกับความจำเป็น
ทางเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความสะดวกรวดเร็วและลดภาระของ
ประชาชนเป็นสำคัญ

หน้า ๑๐๐ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ในการดำเนิน การตามวรรคหนึ ่ง ให้ส ่ว นราชการนำความคิดเห็นหรือ ข้ อเสนอแนะของ
ประชาชนมาประกอบการพิจารณาด้วย

มาตรา ๓๖ ในกรณี ท ี ่ ส ำนั ก งานคณะกรรมการกฤษฎีก าเห็ นว่า กฎหมาย กฎ ระเบียบ


ข้อบังคับ หรือประกาศ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใด ไม่สอดคล้องหรือเหมาะสมกับสถานการณ์
ในปัจจุบัน ไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศ เป็นอุปสรรคต่อการประกอบกิจการหรือการดำรงชีวิตของ
ประชาชน หรือก่อให้เกิดภาระหรือความยุ่งยากต่อประชาชนเกินสมควร ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
เสนอแนะต่อส่วนราชการนั้นเพื่อดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง หรือยกเลิกโดยเร็วต่อไป
ในกรณีที่ส่วนราชการที่ได้รับการเสนอแนะไม่เห็นชอบด้วยกับคำเสนอแนะของสำนักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกา ให้เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาวินิจฉัย

หมวด ๗
การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน

มาตรา ๓๗ ในการปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้องกับการบริการประชาชนหรือติดต่อประสานงาน
ระหว่างส่วนราชการด้วยกัน ให้ส่วนราชการกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานแต่ละงาน และประกาศให้
ประชาชนและข้าราชการทราบเป็นการทั่วไป ส่วนราชการใดมิได้กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานใด และ
ก.พ.ร. พิจารณาเห็นว่างานนั้นมีลักษณะที่สามารถกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จได้ หรือส่วนราชการได้กำหนด
ระยะเวลาแล้วเสร็จไว้ แต่ ก.พ.ร. เห็นว่าเป็นระยะเวลาที่ล่าช้าเกินสมควร ก.พ.ร. จะกำหนดเวลาแล้วเสร็จให้
ส่วนราชการนั้นต้องปฏิบัติก็ได้
ให้เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาที่จะต้องตรวจสอบให้ข้าราชการปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จตาม
กำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง

มาตรา ๓๘ เมื่อส่วนราชการใดได้รับการติดต่อสอบถามเป็นหนังสือจากประชาชน หรือจาก


ส่วนราชการด้วยกันเกี่ยวกับงานที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการนั้น ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้นที่
จะต้องตอบคำถามหรือแจ้งการดำเนินการให้ทราบภายในสิบห้าวันหรือภายในกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ตาม
มาตรา ๓๗

มาตรา ๓๙ ให้ส่วนราชการจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการเพื่ออำนวย
ความสะดวกให้แก่ประชาชนที่จะสามารถติดต่อสอบถามหรือขอข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการ
ปฏิบัติราชการของส่วนราชการ
ระบบเครือข่ายสารสนเทศตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดทำในระบบเดียวกับที่กระทรวงเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสารจัดให้มีขึ้นตามมาตรา ๔๐

มาตรา ๔๐ เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่ประชาชนในการติดต่อกับส่วน
ราชการทุกแห่ง ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศกลางขึ้น
ในกรณีที่ส่วนราชการใดไม่อาจจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการได้ อาจร้อง
ขอให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารดำเนินการจัดทำระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วน
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๐๑
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ราชการดังกล่าวก็ได้ ในการนี้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะขอให้ส่วนราชการให้ความ
ช่วยเหลือด้านบุคลากร ค่าใช้จ่าย และข้อมูลในการดำเนินการก็ได้

มาตรา ๔๑ ในกรณีที่ส่วนราชการได้รับคำร้องเรียน เสนอแนะ หรือความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธี


ปฏิบัติราชการ อุปสรรค ความยุ่งยาก หรือปัญหาอื่นใดจากบุคคลใด โดยมีข้อมูลและสาระตามสมควร ให้เป็น
หน้าที่ของส่วนราชการนั้นที่จะต้องพิจารณาดำเนินการให้ลุล่วงไป และในกรณีที่มีที่อยู่ของบุคคลนั้น ให้แจ้งให้
บุคคลนั้นทราบผลการดำเนินการด้วย ทั้งนี้ อาจแจ้งให้ทราบผ่านทางระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วน
ราชการด้วยก็ได้
ในกรณีการแจ้งผ่านทางระบบเครือข่ายสารสนเทศ มิให้เปิดเผยชื่อหรือที่อยู่ของผู้
ร้องเรียน เสนอแนะ หรือแสดงความคิดเห็น

มาตรา ๔๒ เพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภ าพและเกิดความสะดวก


รวดเร็ว ให้ส่วนราชการที่มีอำนาจออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ เพื่อใช้บังคับกับส่วนราชการอื่น
มีหน้าที่ตรวจสอบว่ากฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศนั้น เป็นอุปสรรคหรือ ก่อให้เกิดความยุ่งยาก ซ้ำซ้อน
หรือความล่าช้า ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการอื่นหรือไม่ เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม
โดยเร็วต่อไป
ในกรณีที่ได้รับการร้องเรียนหรือเสนอแนะจากข้าราชการหรือส่วนราชการอื่นในเรื่องใด
ให้ส่วนราชการที่ออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศนั้นพิจารณาโดยทันที และในกรณีที่เห็นว่าการ
ร้องเรียนหรือเสนอแนะนั้นเกิดจากความเข้าใจผิดหรือความไม่เข้าใจในกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ ให้
ชี้แจงให้ผู้ร้องเรียนหรือเสนอแนะทราบภายในสิบห้าวัน
การร้องเรียนหรือเสนอแนะตามวรรคสอง จะแจ้งผ่าน ก.พ.ร. ก็ได้
ในกรณีที่ ก.พ.ร. เห็นว่า กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศใดมีล ั กษณะตามวรรคหนึ่ ง
ให้ ก.พ.ร. แจ้งให้ส่วนราชการที่ออก กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศนั้นทราบเพื่อดำเนินการปรับปรุง
แก้ไข หรือยกเลิก ต่อไปโดยเร็ว

มาตรา ๔๓ การปฏิบัติราชการในเรื่องใดๆ โดยปกติให้ถือว่าเป็นเรื่องเปิดเผย เว้นแต่ กรณีมี


ความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของประเทศ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การรักษา
ความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล จึงให้กำหนดเป็นความลับได้เท่าที่จำเป็น

มาตรา ๔๔ ส่วนราชการต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายแต่ล ะปี


รายการเกี่ยวกับการจัดซื้อหรือจัดจ้างที่จะดำเนินการในปีงบประมาณนั้น และสัญญาใด ๆ ที่ได้มี การอนุมัติ
ให้จัดซื้อหรือจัดจ้างแล้ว ให้ประชาชนสามารถขอดูหรือตรวจสอบได้ ณ สถานที่ทำการของส่วนราชการ และ
ระบบเครือข่ายสารสนเทศของส่วนราชการ ทั้งนี้ การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต้องไม่ก่อให้เกิดความได้เปรียบ
หรือเสียเปรียบหรือความเสียหายแก่บุคคลใดในการจัดซื้อหรือจัดจ้าง
ในการจัดทำสัญญาจัดซื้อหรือจัดจ้าง ห้ามมิให้มีข้อความหรือข้อตกลงห้ามมิให้เปิดเผย
ข้อความหรือข้อตกลงในสัญญาดังกล่าว เว้นแต่ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูล ที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมาย กฎ
ระเบียบ หรือข้อบังคับที่เกี่ยวกับการคุ้มครองความลับทางราชการ หรือในส่วนที่เป็นความลับทางการค้า

หน้า ๑๐๒ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

หมวด ๘
การประเมินผลการปฏิบัติราชการ

มาตรา ๔๕ นอกจากการจัดให้มีการประเมินผลตามมาตรา ๙ (๓) แล้ว ให้ส่วนราชการจัดให้


มีคณะผู้ประเมินอิสระดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ
คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ ความคุ้มค่าในภารกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และระยะเวลาที่ ก.พ.ร.กำหนด

มาตรา ๔๖ ส่วนราชการอาจจัดให้มีการประเมินภาพรวมของผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับหรือ
หน่วยงานในส่วนราชการก็ได้ ทัง้ นี้ การประเมินดังกล่าวต้องกระทำเป็นความลับและเป็นไปเพื่อประโยชน์แห่ง
ความสามัคคีของข้าราชการ

มาตรา ๔๗ ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการเพื่อประโยชน์ในการบริหารงาน
บุคคล ให้ส่วนราชการประเมินโดยคำนึงถึงผลการปฏิบัติงานเฉพาะตัวของข้าราชการผู้นั้นในตำแหน่งที่ปฏิบัติ
ประโยชน์และผลสัมฤทธิ์ที่หน่วยงานที่ข้าราชการผู้นั้นสังกัดได้รับจากการปฏิบัติงานของข้าราชการผู้นั้น

มาตรา ๔๘ ในกรณีที่ ส ่ว นราชการใดดำเนิน การให้ บริ การที่ มี ค ุณภาพและเป็ น ไปตาม


เป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งเป็นที่พึงพอใจแก่ประชาชน ให้ ก.พ.ร. เสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรรเงินเพิ่มพิเศษเป็น
บำเหน็จความชอบแก่ส่วนราชการหรือให้ส่วนราชการใช้เงินงบประมาณเหลือจ่ายของส่วนราชการนั้น เพื่อ
นำไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือจัดสรรเป็นรางวัลให้ข้าราชการในสังกัด ทั้งนี้ ตาม
หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.ร. กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี

มาตรา ๔๙ เมื่อส่วนราชการใดได้ดำเนินงานไปตามเป้าหมาย สามารถเพิ่มผลงาน และ


ผลสัมฤทธิ์โดยไม่เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายและคุ้มค่าต่อภารกิจของรัฐหรือสามารถดำเนินการตามแผนการลด
ค่าใช้จ่ายต่อหน่วยได้ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.ร. กำหนด ให้ ก.พ.ร. เสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรรเงินรางวัลการเพิ่ม
ประสิทธิภาพให้แก่ส่วนราชการนั้น หรือให้ส่วนราชการใช้เงินงบประมาณเหลือจ่ายของส่วนราชการนั้น เพื่อ
นำไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือจัดสรรเป็นรางวัลให้ข้าราชการในสังกัด ทั้งนี้ ตาม
หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.ร. กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี

หมวด ๙
บทเบ็ดเตล็ด

มาตรา ๕๐ เพื่อให้การบริหารราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าในเชิงภารกิจของ
รัฐ ก.พ.ร. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี อาจกำหนดให้ส่วนราชการต้องปฏิบัติการใดนอกเหนือจากที่
กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ รวมทั้งกำหนดมาตรการอื่นเพิ่มเติมจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๘ และมาตรา
๔๙ ก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๐๓
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

มาตรา ๕๑ ในกรณีที่พระราชกฤษฎีกานี้กำหนดให้ส่วนราชการต้องจัดทำแผนงานในเรื่องใด
และมีกฎหมายฉบับอื่นกำหนดให้ส่วนราชการต้องจัดทำแผนงานในเรื่องเดียวกันทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อส่วน
ราชการได้จัดทำแผนงานตามกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งแล้วให้ถือว่าส่วนราชการนั้นได้จัดทำแผนตามพระราช
กฤษฎีกานี้ด้วยแล้ว
มาตรา ๕๒ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้ โดยอย่างน้อยต้องมีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และ
การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชนที่สอดคล้องกับบทบัญญัติในหมวด ๕
และหมวด ๗
ให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยดูแลและให้ความช่วยเหลือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในการจัดทำหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง

มาตรา ๕๓ ให้ อ งค์ ก ารมหาชนและรั ฐ วิ ส าหกิ จ จั ด ให้ ม ี ห ลัก เกณฑ์ ก ารบริห ารกิ จ การ
บ้านเมืองที่ดีตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้
ในกรณีที่ ก.พ.ร. เห็นว่าองค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจใดไม่จัดให้มีหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง
หรือมีแต่ไม่สอดคล้องกับ พระราชกฤษฎีกานี้ ให้แจ้งรัฐ มนตรีซึ่งมีห น้าที่กำกับดูแลองค์การมหาชนหรือ
รัฐวิสาหกิจ เพื่อพิจารณาสั่งการให้องค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจนั้นดำเนินการให้ถูกต้องต่อไป

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มีการปฏิรูประบบราชการ เพื่อให้การ


ปฏิบัติงานของส่วนราชการตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศและให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ยิ่งขึ้น ซึ่งการบริหารราชการและการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการนี้ ต้องใช้วิธีการบริ หารกิจการบ้านเมืองที่ดี
เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มี
ประสิทธิภาพ เกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกินความจำเป็น และประชาชน
ได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ รวมทั้งมีการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
อย่างสม่ำเสมอ และเนื่องจากมาตรา ๓/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่ง
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ บัญญัติให้การ
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติราชการและการสั่งการให้ส่วนราชการและข้าราชการปฏิบัติราชการ
เพื่อให้เกิดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีกระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราช
กฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒[๑๐]

มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป

หน้า ๑๐๔ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

มาตรา ๙ ในวาระเริ่มแรก การจัดทำแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการเป็น แผนห้าปี


ตามมาตรา ๑๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกานี้ ให้จัดทำเป็นแผนสามปีโดยมีห ้วงระยะเวลาตั้งแต่ ปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๓ ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕

มาตรา ๑๐ ในวาระเริ่มแรก ให้สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) จัดให้มี


แพลตฟอร์มดิจิทัลกลางเพื่อให้ส่วนราชการใช้ในการบริการประชาชนและการติดต่อประสานงานระหว่างกันได้
ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
ให้เป็นหน้าที่ของหัวหน้าส่วนราชการที่จะต้องดำเนินการให้การบริการประชาชนและการ
ติดต่อประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกัน โดยการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลกลางให้แล้วเสร็จภายในสองปีนับ
แต่พ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
ในกรณีที่ส่วนราชการใดมีเหตุผลความจำเป็นที่ไม่สามารถดำเนินการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล
กลางได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดในวรรคสอง ให้หัวหน้าส่วนราชการนั้นเสนอ ก.พ.ร. เพื่อพิจารณาขยาย
ระยะเวลาดังกล่าวได้

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์


และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ กำหนดให้คณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดให้มี
แผนการบริหารราชการแผ่นดินและแผนนิติบัญญัติขึ้น เพื่อเป็นกรอบในการบริหารราชการแผ่นดินให้มีความ
ชัดเจน แต่เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้กำหนดให้รัฐจัดให้มียุทธศาสตร์
ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์
ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ และพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๐ ขึ้น
ซึ่งกฎหมายดังกล่าวได้กำหนดให้มีการจัดทำกรอบในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนไว้ในรูปยุทธศาสตร์ชาติซึ่ง
ทุกหน่วยงานต้องปฏิบัติตาม ประกอบกับได้ มีการจัดทำแผนการปฏิรูปประเทศเพื่อเป็นกลไก วิธีการ และ
ขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศในด้ า นต่ า ง ๆ ขึ้ น แล้ ว จึ ง ไม่ มี ค วามจำเป็ น ที่ จ ะต้ อ งจั ด ทำแผนการ
บริ ห ารราชการแผ่ น ดิ น และแผนนิ ติ บั ญ ญั ติ ใ ห้ ซ้ ำ ซ้ อ นกั น อี ก สมควรยกเลิ ก การจั ด ทำแผนการบริ ห าร
ราชการแผ่น ดิน และแผนนิติ บัญญัติ และปรับปรุงการจัดทำแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการให้สอดคล้อง
กับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายของ
คณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา และแผนอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสมควรกำหนดให้ การ ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
กับการบริการประชาชนและการติดต่อประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกันต้องกระทำโดยใช้แพลตฟอร์ม
ดิจิทัลกลางเพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิรูปประสิทธิภาพในการปฏิบัติ ราชการและการบริหารราชการแผ่นดิน
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๑๐๐ ก/หน้า ๑/๙ ตุลาคม ๒๕๔๖
[๑๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนที่ ๕๖ ก/หน้า ๒๕๓/๓๐ เมษายน ๒๕๖๒

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๐๕


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

แนวข้อสอบ
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และ
วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และแก้ไขเพิ่มเติม

1. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ฉบับปัจจุบันคือ
ก. พ.ศ. 2542 ข. พ.ศ. 2546
ค. พ.ศ. 2552 ง. พ.ศ. 2562
ตอบ ง.
2. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มีกี่หมวดกี่มาตรา
ก. 9 หมวด 53 มาตรา ข. 8 หมวด 52 มาตรา
ค. 9 หมวด 54 มาตรา ง. 8 หมวด 54 มาตรา
ตอบ ก.
3. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ให้ไว้ ณ วันใด
ก. 9 มกราคม 2546 ข. 9 ตุลาคม 2546
ค. 9 กุมภาพันธ์ 2546 ง. 9 พฤศจิกายน 2546
ตอบ ข.
4. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ประกาศใน
รากิจจานุเบกษา วันใด
ก. 9 มกราคม 2546 ข. 9 ตุลาคม 2546
ค. 9 กุมภาพันธ์ 2546 ง. 9 พฤศจิกายน 2546
ตอบ ข.
5. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 บังคับใช้ วันใด
ก. 7 ตุลาคม 2546 ข. 8 ตุลาคม 2546
ค. 9 ตุลาคม 2546 ง. 10 ตุลาคม 2546
ตอบ ง.
6. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562
ให้ไว้ ณ วันใด
ก. 26 มกราคม 2562 ข. 26 เมษายน 2562
ค. 26 กุมภาพันธ์ 2562 ง. 26 พฤษภาคม 2562
ตอบ ข.
7. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษา วันใด
ก. 27 เมษายน 2562 ข. 28 เมษายน 2562
ค. 29 เมษายน 2562 ง. 30 เมษายน 2562
ตอบ ง.

หน้า ๑๐๖ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
8. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562
มีผลบังคับใช้วันใด
ก. 28 เมษายน 2562 ข. 29 เมษายน 2562
ค. 30 เมษายน 2562 ง. 1 พฤษภาคม 2562
ตอบ ง.
9. ผู้รักษาการตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 คือ
ก. นายกรัฐมนตรี ข. คณะรัฐมนตรี
ค. วุฒิสภา ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ตอบ ก.
10. การปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้ในเรื่องใดสมควรที่ส่วนราชการใดจะปฏิบัติเมื่อใดและจะต้องมีเงื่อนไข
อย่างใด ให้เป็นไปตามที่ผู้ใดกำหนด
ก. คณะรัฐมนตรี ข. นายกรัฐมนตรี
ค. ประธานรัฐสภา ง. ประธานศาลฎีกา
ตอบ ก.
11. การปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้ในเรื่องใดสมควรที่ส่วนราชการใดจะปฏิบัติเมื่อใดและจะต้องมีเงื่อนไข
อย่างใด ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และจะต้องได้รับข้อเสนอแนะจากผู้ใด
ก. ก.พ. ข. ก.พ.ร.
ค. อ.ก.ค. ง. อ.ก.พ.
ตอบ ข.
12. ตามพระราชกฤษฎีนี้ คำว่า “ส่วนราชการ” ไม่รวมถึง
ก. องค์การบริหารส่วนจังหวัด ข. การปกครองส่วนภูมิภาค
ค. การปกครองส่วนกลาง ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตอบ ง.
13. “ข้าราชการ” ตามพระราชกฤษฎีกานี้หมายความรวมถึงใครบ้าง
ก. พนักงาน ข. ลูกจ้าง
ค. ผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการ ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
14. รัฐวิสาหกิจ หมายความว่า อย่างไร
ก. รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ
ข. รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฏีกา
ค. รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยกฎกระทรวง
ง. ถูกหมดทั้ง ก. และ ข.
ตอบ ง.
15. ข้อใดคือการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ก. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
ข. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
ค. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่า
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๐๗
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
16. การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน หมายถึงการปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อสิ่งใด
ก. เพื่อให้เกิดความผาสุก
ข. ความเป็นอยู่ดีของประชาชน
ค. ความสงบและปลอดภัยของสังคมส่วนรวม
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
17. การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ต้องถือเอาผู้ใดเป็นศูนย์กลาง
ก. รัฐ ข. ประชาชน
ค. ถูกทั้งสองข้อ ง. ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
ตอบ ข.
18. การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ต้องดำเนินการอย่างไรก่อน
ก. จัดทำแผนปฏิบัติการไว้ล่วงหน้า
ข. กำหนดแผนปฏิบัติราชการ
ค. ติดตามและประเมินผล
ง. แก้ไขและบรรเทาผลกระทบ
ตอบ ก.
19. เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ก.พ.ร. อาจเสนอต่อผู้ใดเพื่อกำหนดมาตรการกำกับ
การปฏิบัติราชการ
ก. คณะรัฐมนตรี ข. สำนักงาน ก.พ.
ค. นายกรัฐมนตรี ง. รัฐสภา
ตอบ ก.
20. เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์นั้น ผู้ใดอาจนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนด
มาตรการกำกับการปฏิบัติราชการ
ก. ก.พ.ร. ข. ก.พ.
ค. ก.ตร. ง. หัวหน้าส่วนราชการ
ตอบ ก.
21. เมื่อคณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้วนั้น ให้ผู้ใดจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินร่วมกัน
ก. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ข. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ค. สำนักงบประมาณร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
22. แผนการบริหารราชการแผ่นดิน ถ้าทำเสร็จให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในกี่สิบวันนับแต่วันที่
คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
ก. 30 วัน ข. 60 วัน
ค. 90 วัน ง. 120 วัน
ตอบ ค.

หน้า ๑๐๘ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
23. ในวาระเริ่มแรกให้จัดทำแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้นต้องกระทำเป็นแผนกี่ปี
(ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2562)
ก. แผน 2 ปี ข. แผน 3 ปี
ค. แผน 4 ปี ง. แผน 5 ปี
ตอบ ข.
24. ในสาระสำคัญของการจัดทำแผนบริหารราชการแผ่นดินนั้น ต้องมีเนื้อหาสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องใด
ก. การกำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน
ข. การติดตามประเมินผล
ค. ประมาณรายได้และรายจ่าย
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
25. เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้ส่วนราชการจัดทำรายงานแสดงผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการนำเสนอต่อผู้ใด
ก. หัวหน้าส่วนราชการ
ข. คณะรัฐมนตรี
ค. ก.พ.ร.
ง. ก.พ.
ตอบ ข.
26. เมื่อนายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ให้หัวหน้าส่วนราชการมีหน้าที่ต้องกระทำสิ่งใดและให้ข้อมูลต่อ
นายกรัฐมนตรีคนใหม่
ก. ประเมินผลการปฏิบัติราชการ
ข. รวบรวมข้อมูลการปฏิบัติราชการ
ค. สรุปผลการปฏิบัติราชการ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ค.
27. ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้นโดยจัดทำเป็นแผน 5 ปี ซึ่งต้องสอดคล้องกับข้อใด
ก. แผนการปฏิรูปประเทศ
ข. ยุทธศาสตร์ชาติ /แผนแม่บท
ค. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
28. การบริการประชาชนและการติดต่อประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกัน ต้องกระทำโดย
ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลกลางที่หน่วยงานใด
ก. สำนักงานข้อมูลข่าวสารทางราชการ
ข. สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ค. สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ค.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๐๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
29. แผนการลดรายจ่ายถ้ามิได้มีข้อทักท้วงประการใดภายในกี่วันก็ให้ส่วนราชการดังกล่าวถือปฏิบัติ
ตามแผนการลดรายจ่ายนั้นต่อไปได้
ก. 15 วัน ข. 30 วัน
ค. 60 วัน ง. 90 วัน
ตอบ ก.
30. ในการประเมินความคุ้มค่านั้น ให้คำนึงถึงสิ่งใดเป็นหลัก
ก. ประเภทและสภาพของแต่ละภารกิจ
ข. ความเป็นไปได้ของภารกิจ
ค. ประโยชน์ที่รัฐและประชาชนจะพึงได้
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
31. เหตุผลในการให้ส่วนราชการจัดให้มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจเกี่ยวกับการสั่งการอนุญาตการอนุมัติ
การปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการอื่นใดของผู้ดำรงตำแหน่งให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่รับผิดชอบ
ในการดำเนินการในเรื่องนั้นโดยตรง ด้วยสาเหตุใด
ก. เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติ
ข. เพื่อความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการ
ค. เพื่อลดขั้นตอนในการปฏิบัติราชการ
ง. ถูกทั้งข้อ ข. และ ข้อ ค.
ตอบ ง.
32. การที่ส่วนราชการจัดให้มีการทบทวนภารกิจของตนว่าภารกิจใดมีความจำเป็นหรือสมควรที่จะดำเนินการ
ต่อไปหรือไม่ ให้คำนึงถึงสิ่งใด
ก. แผนการบริหารราชการแผ่นดิน
ข. นโยบายของคณะรัฐมนตรี
ค. ความคุ้มค่าของภารกิจ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
33. ในวาระแรกให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการโดยให้จัดทำเป็นแผน 3 ปีโดยมีห้วงระยะเวลาใด
ก. พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2562
ข. พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2563
ค. พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2564
ง. พ.ศ. 2563 - พ.ศ. 2565
ตอบ ง.
34. ส่วนราชการใดได้รับการติดต่อสอบถามเป็นหนังสือจากประชาชน จะต้องตอบคำถามหรือแจ้ง
การดำเนินการให้ทราบภายในระยะเวลาใด
ก. ภายใน 3 วัน ข. ภายใน 7 วัน
ค. ภายใน 15 วัน ง. ภายใน 30 วัน
ตอบ ค.

หน้า ๑๑๐ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
35. การปฏิบัติราชการในเรื่องใด ๆ โดยปกติให้ถือว่าเป็นเรื่องเปิดเผย เว้นแต่กรณีใด
ก. ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
ข. การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ค. เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของประเทศ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
36. ให้สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจ ิทัล (องค์การมหาชน) จัดให้มีแพลตฟอร์มดิจิทัลกลางเพื่อให้ส ่วนราชการ
ใช้ในการบริการประชาชนและการติดต่อประสานงานระหว่างกันได้ภายในกี่วันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกา
นี้ใช้บังคับ
ก. 30 วัน ข. 60 วัน
ค. 90 วัน ง. 120 วัน
ตอบ ค.
37. ในกรณีที่ส่วนราชการใดดำเนินการให้บริการที่มีคุณภาพและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งเป็น
ที่พึงพอใจแก่ประชาชนให้ ก.พ.ร. เสนอต่อผู้ใดในการจัดสรรเงินเพิ่มพิเศษเป็นบำเหน็จความชอบแก่
ส่วนราชการดังกล่าว
ก. ก.พ.
ข. คณะรัฐมนตรี
ค. สำนักงบประมาณแผ่นดิน
ง. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ตอบ ข.
38. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ตามข้อใด
ก. ไม่มีขั้นตอนในการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
ข. การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปโดยซื่อสัตย์สุจริต
ค. ให้เป็นหน้าที่ขอข้าราชการที่จะต้องคอยรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคม
ง. ก่อนเริ่มดำเนินการส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วนทุกด้าน
ตอบ ก.
39. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อบรรลุเป้าหมาย มีเป้าหมายทั้งหมดกี่ข้อ
ก. 5 ข้อ ข. 7 ข้อ
ค. 9 ข้อ ง. 10 ข้อ
ตอบ ข.
40. ข้อใดคือ การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
ก. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
ข. มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
ค. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
ง. ในกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการ ให้ส่วนราชการดำเนินการแก้ไขปัญหา
และอุปสรรคนั้นโดยเร็ว
ตอบ ง.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๑๑


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
41. อย่างน้อยต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามหมวดใด
ก. หมวด 2 และ หมวด 3
ข. หมวด 3 และ หมวด 4
ค. หมวด 4 และ หมวด 5
ง. หมวด 5 และ หมวด 7
ตอบ ง.
42. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและหน่วยงานใดมีหน้าที่ในการร่วมกันพิจารณาจัดทำแผนนิติบัญญัติ
ก. ก.พ.ร.
ข. สำนักงบประมาณ
ค. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ง. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ตอบ ค.
43. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานใดมีหน้าที่ร่วมกันจัดให้มี
การประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการดำเนินการอยู่เพื่อรายงาน
ก. ก.พ.ร.
ข. สำนักงบประมาณ
ค. สำนักงานรัฐมนตรี
ง. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ตอบ ข.
44. หน่วยงานใดมีหน้าที่ร่วมกันกำหนดแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ
ก. ก.พ.ร.
ข. สำนักงบประมาณ
ค. สำนักงบประมาณและ ก.พ.ร.
ง. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ตอบ ค.
45. เพื่อประโยชน์ในการกระจายอำนาจการตัดสินใจ ใครจะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการหรือแนวทางใน
การกระจายอำนาจการตัดสินใจ ความรับผิดชอบระหว่างผู้รับมอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจและ
การลดขั้นตอนในการปฏิบัติราชการให้ส่วนราชการถือปฏิบัติได้
ก. คณะรัฐมนตรี
ข. นายกรัฐมนตรี
ค. เลขาธิการ ก.พ.ร.
ง. เลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ตอบ ก.
46. แผนการบริหารราชการแผ่นดินไม่มีมีผลผูกผันผู้ใด
ก. ส่วนราชการ ข. คณะรัฐมนตรี
ค. ส.ส. ง. รัฐมนตรี
ตอบ ค.

หน้า ๑๑๒ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
47. รัฐวิสาหกิจใดไม่ได้อยู่ในบังคับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พ.ศ. 2546
ก. โรงพิมพ์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ข. การยางแห่งประเทศไทย
ค. องค์การคลังสินค้า
ง. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ตอบ ก.
48. ส่วนราชการใดไม่อยู่ในบังคับของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พ.ศ. 2546
ก. กรมที่ดิน ข. กรมการปกครอง
ค. เทศบาล ง. กระทรวงมหาดไทย
ตอบ ค.
49. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการใน พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ
บ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 คือใคร
ก. พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ข. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ค. นายสมัคร สุนทรเวช ง. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ตอบ ก.
50. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 คือใคร
ก. นายวิษณุ เครืองาม ข. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ค. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ง. นางสาวยิ่งลักษ์ ชินวัตร
ตอบ ค.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๑๓


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยงานสารบรรณ
พ.ศ. ๒๕๒๖[๑]

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๐๖


เสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น คณะรัฐมนตรีจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖”

ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๒๖ เป็นต้นไป

ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
๓.๑ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๐๖
๓.๒ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลงชื่อในหนังสือราชการ พ.ศ. ๒๕๐๗
๓.๓ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลงชื่อในหนังสือราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๖
บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ มติของคณะรัฐมนตรี และคำสั่งอื่นใด ในส่วนที่กำหนดไว้แล้วใน
ระเบียบนี้ หรือซึ่งขัด หรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน เว้นแต่กรณีที่กล่าวในข้อ ๕

ข้อ ๔ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่ส่วนราชการ
ส่วนราชการใดมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติงานสารบรรณนอกเหนือไปจากที่ได้กำหนดไว้ใน
ระเบียบนี้ให้ขอทำความตกลงกับผู้รักษาการตามระเบียบนี้

ข้อ ๕[๒] ในกรณีที่กฎหมาย ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ หรือระเบียบว่า


ด้วยการรักษาความลับของทางราชการ กำหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับงานสารบรรณไว้เป็นอย่างอื่น ให้ถือปฏิบัติ
ตามกฎหมาย หรือระเบียบว่าด้วยการนั้น

ข้อ ๖ ในระเบียบนี้
“งานสารบรรณ” หมายความว่า งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่การจัดทำ
การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลาย
“หนังสือ” หมายความว่า หนังสือราชการ
“อิเล็กทรอนิ กส์ ”[๓] หมายความว่า การประยุกต์ใช้ว ิธ ี การทางอิเล็ก ตรอน ไฟฟ้า คลื่ น
แม่เหล็กไฟฟ้าหรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการ
ทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีต่างๆ เช่นว่านั้น
“ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ”[๔] หมายความว่า การรับส่งข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือผ่าน
ระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

หน้า ๑๑๔ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
“ส่วนราชการ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม สำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ
ทั้งในราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือในต่างประเทศและ
ให้หมายความรวมถึงคณะกรรมการด้วย
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากทางราชการให้ปฏิบัติงาน
ในเรื่องใด ๆ และให้หมายความรวมถึงคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือคณะบุคคลอื่นที่ปฏิบัติงานใน
ลักษณะเดียวกัน

ข้อ ๗ คำอธิบายซึ่งกำหนดไว้ท้ายระเบียบ ให้ถือว่าเป็นส่วนประกอบที่ใช้ในงานสารบรรณ


และให้ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ

ข้อ ๘ ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความและ


วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวกและจัดทำคำอธิบายกับให้มี
หน้าที่ดำเนินการฝึกอบรมเกี่ยวกับงานสารบรรณ
การตีความ การวินิจฉัยปัญหา และการแก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวก และคำอธิบายตามวรรคหนึ่ง
ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจ ะขอความเห็นจากคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนาระเบียบสำนัก
นายกรัฐมนตรีเพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้

หมวด ๑
ชนิดของหนังสือ

ข้อ ๙[๕] หนังสือราชการ คือ เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่


๙.๑ หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ
๙.๒ หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือที่มีไปถึง
บุคคลภายนอก
๙.๓ หนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือบุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ
๙.๔ เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการ
๙.๕ เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ
๙.๖ ข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือที่ได้รับจากระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์

ข้อ ๑๐ หนังสือ มี ๖ ชนิด คือ


๑๐.๑ หนังสือภายนอก
๑๐.๒ หนังสือภายใน
๑๐.๓ หนังสือประทับตรา
๑๐.๔ หนังสือสั่งการ
๑๐.๕ หนังสือประชาสัมพันธ์
๑๐.๖ หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้น หรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๑๕


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

ส่วนที่ ๑
หนังสือภายนอก

ข้อ ๑๑ หนังสือภายนอก คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีโดยใช้กระดาษตราครุฑเป็น


หนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการมีถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่ว นราชการ หรือที่มีถึง
บุคคลภายนอก ให้จัดทำตามแบบที่ ๑ ท้ายระเบียบ โดยกรอกรายละเอียดดังนี้
๑๑.๑ ที่ ให้ลงรหัสตัวพยัญชนะและเลขประจำของเจ้าของเรื่อง ตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก
๑ ทับเลขทะเบียนหนังสือส่ง สำหรับหนังสือของคณะกรรมการให้กำหนดรหัสตัวพยัญชนะเพิ่มขึ้นได้ตามความ
จำเป็น
๑๑.๒ ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ ให้ลงชื่อส่วนราชการ สถานที่ราชการ หรือคณะกรรมการ
ซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือนั้น และโดยปกติให้ลงที่ตั้งไว้ด้วย
๑๑.๓ วัน เดือน ปี ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออก
หนังสือ
๑๑.๔ เรื่อง ให้ลงเรื่องย่อที่เป็นใจความสั้นที่สุดของหนังสือฉบับนั้น ในกรณีที่เป็นหนังสือ
ต่อเนื่อง โดยปกติให้ลงเรื่องของหนังสือฉบับเดิม
๑๑.๕ คำขึ้นต้น ให้ใช้คำขึ้นต้นตามฐานะของผู้รับหนังสือตามตารางการใช้คำขึ้นต้นสรรพนาม
และคำลงท้าย ที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๒ แล้วลงตำแหน่งของผู้ที่หนังสือนั้นมีถึง หรือ ชื่อบุคคลในกรณีที่มีถึง
ตัวบุคคลไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่
๑๑.๖ อ้างถึง (ถ้ามี) ให้อ้างถึงหนังสือที่เคยมีติดต่อกันเฉพาะหนังสือที่ส่วนราชการผู้รับ
หนังสือได้รับมาก่อนแล้ว จะจากส่วนราชการใดก็ตาม โดยให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของหนังสือและเลขที่
หนังสือ วันที่ เดือน ปีพุทธศักราช ของหนังสือนั้น
การอ้างถึง ให้อ้างถึงหนังสือฉบับสุดท้ายที่ติดต่อกันเพียงฉบับเดียว เว้นแต่มีเรื่องอื่นที่
เป็นสาระสำคัญต้องนำมาพิจารณา จึงอ้างถึงหนังสือฉบับอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นโดยเฉพาะให้ทราบด้วย
๑๑.๗ สิ่งที่ส่งมาด้วย (ถ้ามี) ให้ลงชื่อสิ่งของ เอกสาร หรือบรรณสารที่ส่งไปพร้อมกับหนังสือนั้น
ในกรณีที่ไม่สามารถส่งไปในซองเดียวกันได้ ให้แจ้งด้วยว่าส่งไปโดยทางใด
๑๑.๘ ข้อความ ให้ลงสาระสำคัญของเรื่องให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย หากมีความประสงค์หลาย
ประการให้แยกเป็นข้อๆ
๑๑.๙ คำลงท้าย ให้ใช้คำลงท้ายตามฐานะของผู้รับหนังสือตามตารางการใช้คำขึ้นต้นสรรพ
นาม และคำลงท้าย ที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๒
๑๑.๑๐ ลงชื่อ ให้ลงลายมือชื่อเจ้าของหนังสือ และให้พิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้
ลายมือชื่อ ตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๓
๑๑.๑๑ ตำแหน่ง ให้ลงตำแหน่งของเจ้าของหนังสือ
๑๑.๑๒ ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง หรือหน่วยงานที่ออก
หนังสือ ถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับกระทรวง หรือทบวง ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องทั้ง
ระดับกรมและกอง ถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับกรมลงมา ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องเพียง
ระดับกองหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ

หน้า ๑๑๖ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
๑๑.๑๓ โทร. ให้ลงหมายเลขโทรศัพท์ของส่วนราชการเจ้าของเรื่อง หรือหน่วยงานที่ออก
หนังสือและหมายเลขภายในตู้สาขา (ถ้ามี) ไว้ด้วย
๑๑.๑๔ สำเนาส่ง (ถ้ามี) ในกรณีที่ผู้ส่งจัดทำสำเนาส่งไปให้ส่วนราชการ หรือบุคคลอื่นทราบ
และประสงค์จะให้ผู้รับทราบว่าได้มีสำเนาส่งไปให้ผู้ใดแล้ว ให้พิมพ์ชื่อเต็ม หรือชื่อย่อของส่วนราชการหรือชื่อ
บุคคลที่ส่งสำเนาไปให้ เพื่อให้เป็นที่เข้าใจระหว่างผู้ส่งและผู้รับ ถ้าหากมีรายชื่อที่ส่งมากให้พิมพ์ว่าส่งไปตาม
รายชื่อที่แนบ และแนบรายชื่อไปด้วย

ส่วนที่ ๒
หนังสือภายใน

ข้อ ๑๒ หนังสือภายใน คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอกเป็น


หนังสือติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน ใช้กระดาษบันทึกข้อความ และให้จัดทำตาม
แบบที่ ๒ ท้ายระเบียบ โดยกรอกรายละเอียดดังนี้
๑๒.๑ ส่วนราชการ ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง หรือหน่วยงานที่ออกหนังสือโดยมี
รายละเอียดพอสมควร โดยปกติถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับกรมขึ้นไป ให้ลงชื่อส่วนราชการ
เจ้าของเรื่องทั้งระดับกรมและกอง ถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับต่ำกว่ากรมลงมาให้ ลงชื่อส่วน
ราชการเจ้าของเรื่องเพียงระดับกอง หรือส่วนราชการเจ้าของเรื่องพร้อมทั้งหมายเลขโทรศัพท์ (ถ้ามี)
๑๒.๒ ที่ ให้ลงรหัสตัวพยัญชนะและเลขประจำของเจ้าของเรื่อง ตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก
๑ ทับเลขทะเบียนหนังสือส่ง สำหรับหนังสือของคณะกรรมการให้กำหนดรหัสตัวพยัญชนะเพิ่มขึ้นได้ตามความ
จำเป็น
๑๒.๓ วันที่ ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกหนังสือ
๑๒.๔ เรื่อง ให้ลงเรื่องย่อที่เป็นใจความสั้นที่สุดของหนังสือฉบับนั้น ในกรณีที่เป็นหนังสือ
ต่อเนื่อง โดยปกติให้ลงเรื่องของหนังสือฉบับเดิม
๑๒.๕ คำขึ้นต้น ให้ใช้คำขึ้นต้นตามฐานะของผู้รับหนังสือตามตารางการใช้คำขึ้นต้นสรรพนาม
และคำลงท้าย ที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๒ แล้วลงตำแหน่งของผู้ที่หนังสือนั้นมีถึง หรือชื่อบุคคลในกรณีที่มีถึง
ตัวบุคคลไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่
๑๒.๖ ข้อความ ให้ลงสาระสำคัญของเรื่องให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย หากมีความประสงค์หลาย
ประการให้แยกเป็นข้อ ๆ ในกรณีที่มีการอ้างถึงหนังสือที่เคยมีติดต่อกันหรือมีสิ่งที่ส่งมาด้วยให้ระบุไว้ในข้อนี้
๑๒.๗ ลงชื่อและตำแหน่ง ให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๑.๑๐ และข้อ ๑๑.๑๑ โดยอนุโลม
ในกรณีที่กระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดใดประสงค์จะกำหนดแบบการเขียนโดยเฉพาะเพื่อ
ใช้ตามความเหมาะสมก็ให้กระทำได้

ส่วนที่ ๓
หนังสือประทับตรา

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๑๗


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ข้อ ๑๓ หนังสือประทับตรา คือ หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่ว น
ราชการระดับกรมขึ้นไป โดยให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกอง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการ
ระดับกรมขึ้นไป เป็นผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อกำกับตรา
หนังสือประทับตราให้ใช้ได้ทั้งระหว่างส่วนราชการกับส่วนราชการ และระหว่างส่วนราชการ
กับบุคคลภายนอก เฉพาะกรณีที่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ ได้แก่
๑๓.๑ การขอรายละเอียดเพิ่มเติม
๑๓.๒ การส่งสำเนาหนังสือ สิ่งของ เอกสาร หรือบรรณสาร
๑๓.๓ การตอบรับทราบที่ไม่เกี่ยวกับราชการสำคัญ หรือการเงิน
๑๓.๔ การแจ้งผลงานที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ
๑๓.๕ การเตือนเรื่องที่ค้าง
๑๓.๖ เรื่องซึ่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปกำหนดโดยทำเป็นคำสั่ง ให้ใช้หนังสือ
ประทับตรา

ข้อ ๑๔ หนังสือประทับตรา ใช้กระดาษตราครุฑ และให้จัดทำตามแบบที่ ๓ ท้ายระเบียบโดย


กรอกรายละเอียดดังนี้
๑๔.๑ ที่ ให้ลงรหัสตัวพยัญชนะและเลขประจำของเจ้าของเรื่อง ตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก
๑ ทับเลขทะเบียนหนังสือส่ง
๑๔.๒ ถึง ให้ลงชื่อส่วนราชการ หน่วยงาน หรือบุคคลที่หนังสือนั้นมีถึง
๑๔.๓ ข้อความ ให้ลงสาระสำคัญของเรื่องให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย
๑๔.๔ ชื่อส่วนราชการที่ส่งหนังสือออก ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ส่งหนังสือออก
๑๔.๕ ตราชื่อส่วนราชการ ให้ประทับตราชื่อส่วนราชการตามข้อ ๗๒ ด้วยหมึกแดงและให้
ผู้รับผิดชอบลงลายมือชื่อย่อกำกับตรา
๑๔.๖ วัน เดือน ปี ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือนและตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออก
หนังสือ
๑๔.๗ ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง หรือหน่วยงานที่ออก
หนังสือ
๑๔.๘ โทร. หรือที่ตั้ง ให้ลงหมายเลขโทรศัพท์ของส่วนราชการเจ้าของเรื่อง และหมายเลข
ภายในตู้สาขา (ถ้ามี) ด้วย ในกรณีที่ไม่มีโทรศัพท์ ให้ลงที่ตั้งของส่วนราชการเจ้าของเรื่องโดยให้ลงตำบลที่อยู่
ตามความจำเป็น และแขวงไปรษณีย์ (ถ้ามี)

ส่วนที่ ๔
หนังสือสั่งการ

ข้อ ๑๕ หนังสือสั่งการ ให้ใช้ตามแบบที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนด


แบบไว้โดยเฉพาะ
หนังสือสั่งการมี ๓ ชนิด ได้แก่ คำสั่ง ระเบียบ และข้อบังคับ

หน้า ๑๑๘ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ข้อ ๑๖ คำสั่ง คือ บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมายใช้
กระดาษตราครุฑ และให้จัดทำตามแบบที่ ๔ ท้ายระเบียบ โดยกรอกรายละเอียดดังนี้
๑๖.๑ คำสั่ง ให้ลงชื่อส่วนราชการ หรือตำแหน่งของผู้มีอำนาจที่ออกคำสั่ง
๑๖.๒ ที่ ให้ลงเลขที่ที่ออกคำสั่ง โดยเริ่มฉบับแรกจากเลข ๑ เรียงเป็นลำดับไปจนสิ้นปีปฏิทิน
ทับเลขปีพุทธศักราชที่ออกคำสั่ง
๑๖.๓ เรื่อง ให้ลงชื่อเรื่องที่ออกคำสั่ง
๑๖.๔ ข้อความ ให้อ้างเหตุที่ออกคำสั่ง และอ้างถึงอำนาจที่ให้ออกคำสั่ง (ถ้ามี)ไว้ด้วย แล้วจึง
ลงข้อความที่สั่ง และวันใช้บังคับ
๑๖.๕ สั่ง ณ วันที่ ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกคำสั่ง
๑๖.๖ ลงชื่อ ให้ลงลายมือชื่อผู้ออกคำสั่ง และพิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้ลายมือชื่อ
๑๖.๗ ตำแหน่ง ให้ลงตำแหน่งของผู้ออกคำสั่ง

ข้อ ๑๗ ระเบียบ คือ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้ โดยจะอาศัยอำนาจของ


กฎหมายหรือไม่ก็ได้ เพื่อถือเป็นหลักปฏิบัติงานเป็นการประจำ ใช้กระดาษตราครุฑ และให้จัดทำตามแบบที่ ๕
ท้ายระเบียบ โดยกรอกรายละเอียดดังนี้
๑๗.๑ ระเบียบ ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกระเบียบ
๑๗.๒ ว่าด้วย ให้ลงชื่อของระเบียบ
๑๗.๓ ฉบับที่ ถ้าเป็นระเบียบที่กล่าวถึงเป็นครั้งแรกในเรื่องนั้น ไม่ต้องลงว่าเป็นฉบับที่เท่าใด
แต่ถ้าเป็นระเบียบเรื่องเดียวกันที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมให้ลงเป็น ฉบับที่ ๒ และที่ถัดๆ ไปตามลำดับ
๑๗.๔ พ.ศ. ให้ลงตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกระเบียบ
๑๗.๕ ข้อความ ให้อ้างเหตุผลโดยย่อ เพื่อแสดงถึงความมุ่งหมายที่ต้องออกระเบียบและอ้าง
ถึงกฎหมายที่ให้อำนาจออกระเบียบ (ถ้ามี)
๑๗.๖ ข้อ ให้เรียงข้อความที่จะใช้เป็นระเบียบเป็นข้อๆ โดยให้ข้อ ๑ เป็นชื่อระเบียบ ข้อ ๒
เป็นวันใช้บังคับกำหนดว่าให้ใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใด และข้อสุดท้าย เป็นข้อผู้รักษาการ ระเบียบใดถ้ามีมากข้อ
หรือหลายเรื่อง จะแบ่งเป็นหมวดก็ได้ โดยให้ย้ายข้อผู้รักษาการไปเป็นข้อสุดท้ายก่อนที่จะขึ้นหมวด ๑
๑๗.๗ ประกาศ ณ วันที่ ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราช
ที่ออกระเบียบ
๑๗.๘ ลงชื่อ ให้ลงลายมือชื่อผู้ออกระเบียบ และพิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้
ลายมือชื่อ
๑๗.๙ ตำแหน่ง ให้ลงตำแหน่งของผู้ออกระเบียบ

ข้อ ๑๘ ข้อบังคับ คือ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้โดยอาศัยอำนาจของ


กฎหมายที่บัญญัติให้กระทำได้ ใช้กระดาษตราครุฑ และให้จัดทำตามแบบที่ ๖ ท้ายระเบียบ โดยกรอก
รายละเอียดดังนี้
๑๘.๑ ข้อบังคับ ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกข้อบังคับ
๑๘.๒ ว่าด้วย ให้ลงชื่อของข้อบังคับ
๑๘.๓ ฉบับที่ ถ้าเป็นข้อบังคับที่กล่าวถึงเป็นครั้งแรกในเรื่องนั้น ไม่ต้องลงว่าเป็นฉบับที่เท่าใด
แต่ถ้าเป็นข้อบังคับเรื่องเดียวกันที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมให้ลงเป็นฉบับที่ ๒ และที่ถัดๆ ไปตามลำดับ
๑๘.๔ พ.ศ. ให้ลงตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกข้อบังคับ
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๑๙
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
๑๘.๕ ข้อความ ให้อ้างเหตุผลโดยย่อเพื่อแสดงถึงความมุ่งหมายที่ต้องออกข้อบังคับและอ้าง
ถึงกฎหมายที่ให้อำนาจออกข้อบังคับ
๑๘.๖ ข้อ ให้เรียงข้อความที่จะใช้บังคับเป็นข้อ ๆ โดยให้ ข้อ ๑ เป็นชื่อข้อบังคับข้อ ๒ เป็นวัน
ใช้บังคับกำหนดว่าให้ใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใด และข้อสุดท้ายเป็นข้อผู้รักษาการ ข้อบังคับใดถ้ามีมากข้อหรือหลาย
เรื่องจะแบ่งเป็นหมวดก็ได้ โดยให้ย้ายข้อผู้รักษาการไปเป็นข้อสุดท้ายก่อนที่จะขึ้นหมวด ๑
๑๘.๗ ประกาศ ณ วันที่ ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราช
ที่ออกข้อบังคับ
๑๘.๘ ลงชื่อ ให้ลงลายมือชื่อผู้ออกข้อบังคับ และพิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้
ลายมือชื่อ
๑๘.๙ ตำแหน่ง ให้ลงตำแหน่งของผู้ออกข้อบังคับ

ส่วนที่ ๕
หนังสือประชาสัมพันธ์

ข้อ ๑๙ หนังสือประชาสัมพันธ์ ให้ใช้ตามแบบที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ เว้นแต่จะมีกฎหมาย


กำหนดแบบไว้โดยเฉพาะ
หนังสือประชาสัมพันธ์มี ๓ ชนิด ได้แก่ ประกาศ แถลงการณ์ และข่าว

ข้อ ๒๐ ประกาศ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบ หรือแนะ


แนวทางปฏิบัติ ใช้กระดาษตราครุฑ และให้จัดทำตามแบบที่ ๗ ท้ายระเบียบ โดยกรอกรายละเอียดดังนี้
๒๐.๑ ประกาศ ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกประกาศ
๒๐.๒ เรื่อง ให้ลงชื่อเรื่องที่ประกาศ
๒๐.๓ ข้อความ ให้อ้างเหตุผลที่ต้องออกประกาศและข้อความที่ประกาศ
๒๐.๔ ประกาศ ณ วันที่ ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราช
ที่ออกประกาศ
๒๐.๕ ลงชื่อ ให้ลงลายมือชื่อผู้ออกประกาศ และพิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้
ลายมือชื่อ
๒๐.๖ ตำแหน่ง ให้ลงตำแหน่งของผู้ออกประกาศ
ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ทำเป็นแจ้งความ ให้เปลี่ยนคำว่าประกาศ เป็น แจ้งความ

ข้อ ๒๑ แถลงการณ์ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการของ


ทางราชการ หรือเหตุการณ์หรือกรณีใด ๆ ให้ทราบชัดเจนโดยทั่วกัน ใช้กระดาษตราครุฑ และให้จัดทำตาม
แบบที่ ๘ ท้ายระเบียบ โดยกรอกรายละเอียดดังนี้
๒๑.๑ แถลงการณ์ ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกแถลงการณ์
๒๑.๒ เรื่อง ให้ลงชื่อเรื่องที่ออกแถลงการณ์
๒๑.๓ ฉบับที่ ใช้ในกรณีที่จะต้องออกแถลงการณ์หลายฉบับในเรื่องเดียวที่ต่อเนื่องกัน ให้ลง
ฉบับที่เรียงตามลำดับไว้ด้วย

หน้า ๑๒๐ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
๒๑.๔ ข้อความ ให้อ้างเหตุผลที่ต้องออกแถลงการณ์และข้อความที่แถลงการณ์
๒๑.๕ ส่วนราชการที่ออกแถลงการณ์ ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกแถลงการณ์
๒๑.๖ วัน เดือน ปี ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออก
แถลงการณ์

ข้อ ๒๒ ข่าว คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ทราบ ให้จัดทำตาม


แบบที่ ๙ ท้ายระเบียบ โดยกรอกรายละเอียดดังนี้
๒๒.๑ ข่าว ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกข่าว
๒๒.๒ เรื่อง ให้ลงชื่อเรื่องที่ออกข่าว
๒๒.๓ ฉบับที่ ใช้ในกรณีที่จะต้องออกข่าวหลายฉบับในเรื่องเดียวที่ต่อเนื่องกันให้ลงฉบับที่
เรียงตามลำดับไว้ด้วย
๒๒.๔ ข้อความ ให้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องของข่าว
๒๒.๕ ส่วนราชการที่ออกข่าว ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกข่าว
๒๒.๖ วัน เดือน ปี ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกข่าว

ส่วนที่ ๖
หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ

ข้อ ๒๓ หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ คือ หนังสือที่ทางราชการ


ทำขึ้นนอกจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น หรือหนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือบุคคลภายนอกมี
มาถึงส่วนราชการ และส่วนราชการรับไว้เป็นหลักฐานของทางราชการ มี ๔ ชนิด คือหนังสื อรับรอง รายงาน
การประชุม บันทึก และหนังสืออื่น

ข้อ ๒๔ หนังสือรับรอง คือ หนังสือที่ส่วนราชการออกให้เพื่อรับรองแก่ บุคคล นิติบุคคลหรือ


หน่วยงาน เพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดให้ปรากฏแก่บุคคลโดยทั่วไปไม่จำเพาะเจาะจง ใช้กระดาษตรา
ครุฑ และให้จัดทำตามแบบที่ ๑๐ ท้ายระเบียบ โดยกรอกรายละเอียดดังนี้
๒๔.๑ เลขที่ ให้ลงเลขที่ของหนังสือรับรองโดยเฉพาะ เริ่มตั้งแต่เลข ๑ เรียงเป็นลำดับไปจนถึง
สิ้นปีปฏิทิน ทับเลขปีพุทธศักราชที่ออกหนังสือรับรอง หรือลงเลขที่ของหนังสือทั่วไปตามแบบหนังสือภายนอก
อย่างหนึ่งอย่างใด
๒๔.๒ ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ ให้ลงชื่อของส่วนราชการซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือนั้น และจะ
ลงสถานที่ตั้งของส่วนราชการเจ้าของหนังสือด้วยก็ได้
๒๔.๓ ข้อความ ให้ลงข้อความขึ้นต้นว่า หนังสือฉบับนี้ให้ไว้เพื่อรับรองว่าแล้วต่อด้วยชื่อบุคคล
นิติบุคคล หรือหน่วยงานที่ทางราชการรับรอง ในกรณีเป็นบุคคลให้พิมพ์ชื่อเต็มโดยมีคำนำหน้านาม ชื่อ
นามสกุล ตำแหน่งหน้าที่ และสังกัดหน่วยงานที่ผู้นั้นทำงานอยู่อย่างชัดแจ้งแล้วจึงลงข้อความที่รับรอง
๒๔.๔ ให้ไว้ ณ วันที่ ให้ลงตัวเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่
ออกหนังสือรับรอง
๒๔.๕ ลงชื่อ ให้ลงลายมือชื่อหัวหน้าส่วนราชการผู้ออกหนังสือ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายและ
พิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้ลายมือชื่อ
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๒๑
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
๒๔.๖ ตำแหน่ง ให้ลงตำแหน่งของผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือ
๒๔.๗ รูปถ่ายและลายมือชื่อผู้ได้รับการรับรอง ในกรณีที่การรับรองเป็นเรื่องสำคัญที่ออก
ให้แก่บุคคลให้ติดรูปถ่ายของผู้ที่ได้รับการรับรอง ขนาด ๔ × ๖ เซนติเมตร หน้าตรง ไม่สวมหมวกประทับตรา
ชื่อส่วนราชการที่ออกหนังสือบนขอบล่างด้านขวาของรูปถ่ายคาบต่อลงบนแผ่นกระดาษและให้ผู้นั้นลงลายมือ
ชื่อไว้ใต้รูปถ่ายพร้อมทั้งพิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้ลายมือชื่อด้วย

ข้อ ๒๕ รายงานการประชุม คือ การบันทึกความคิดเห็นของผู้มาประชุม ผู้เข้าร่วมประชุม


และมติของที่ประชุมไว้เป็นหลักฐาน ให้จัดทำตามแบบที่ ๑๑ ท้ายระเบียบ โดยกรอกรายละเอียดดังนี้
๒๕.๑ รายงานการประชุม ให้ลงชื่อคณะที่ประชุม หรือชื่อการประชุมนั้น
๒๕.๒ ครั้งที่ ให้ลงครั้งที่ประชุม
๒๕.๓ เมื่อ ให้ลงวัน เดือน ปีที่ประชุม
๒๕.๔ ณ ให้ลงสถานที่ที่ประชุม
๒๕.๕ ผู้มาประชุม ให้ลงชื่อและหรือตำแหน่งของผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุมซึ่งมา
ประชุม ในกรณีที่มีผู้มาประชุมแทนให้ลงชื่อผู้มาประชุมแทน และลงว่ามาประชุมแทนผู้ใดหรือตำแหน่งใด
๒๕.๖ ผู้ไม่มาประชุม ให้ลงชื่อและหรือตำแหน่งของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุม ซึ่งมิ
ได้มาประชุมพร้อมทั้งเหตุผล (ถ้ามี)
๒๕.๗ ผู้เข้าร่วมประชุม ให้ลงชื่อและหรือตำแหน่งของผู้ที่มิได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุม
ซึ่งได้เข้าร่วมประชุม (ถ้ามี)
๒๕.๘ เริ่มประชุมเวลา ให้ลงเวลาที่เริ่มประชุม
๒๕.๙ ข้อความ ให้บันทึกข้อความที่ประชุม โดยปกติให้เริ่มต้นด้วยประธานกล่าวเปิดประชุม
และเรื่องที่ประชุม กับมติ หรือข้อสรุปของที่ประชุมในแต่ละเรื่องตามลำดับ
๒๕.๑๐ เลิกประชุมเวลา ให้ลงเวลาที่เลิกประชุม
๒๕.๑๑ ผู้จดรายงานการประชุม ให้ลงชื่อผู้จดรายงานการประชุมครั้งนั้น

ข้อ ๒๖ บันทึก คือ ข้อความซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอต่อผู้บังคับบัญชา หรือผู้บังคับบัญชาสั่ง


การแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือข้อความที่เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานระดับต่ำกว่าส่วนราชการระดับกรมติดต่อกัน
ในการปฏิบัติราชการ โดยปกติให้ใช้กระดาษบันทึกข้อความ และให้มีหัวข้อดังต่อไปนี้
๒๖.๑ ชื่อหรือตำแหน่งที่บันทึกถึง โดยใช้คำขึ้นต้นตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๒
๒๖.๒ สาระสำคัญของเรื่อง ให้ลงใจความของเรื่องที่บันทึก ถ้ามีเอกสารประกอบก็ให้ระบุไว้ด้วย
๒๖.๓ ชื่อและตำแหน่ง ให้ลงลายมือชื่อและตำแหน่งของผู้บันทึก และในกรณีที่ไม่ใช้กระดาษ
บันทึกข้อความ ให้ลงวัน เดือน ปีที่บันทึกไว้ด้วย
การบันทึกต่อเนื่อง โดยปกติให้ผู้บันทึกระบุคำขึ้นต้น ใจความบันทึก และลงชื่อเช่นเดียวกับที่
ได้กล่าวไว้ข้างต้น และให้ลงวัน เดือน ปี กำกับใต้ลายมือชื่อผู้บันทึก หากไม่มีความเห็นใดเพิ่มเติมให้ลงชื่อและ
วัน เดือน ปี กำกับเท่านั้น

ข้อ ๒๗[๖] หนังสืออื่น คือ หนังสือหรือเอกสารอื่นใดที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปฏิบัติงานของ


เจ้าหน้าที่เพื่อเป็นหลักฐานในราชการ ซึ่งรวมถึงภาพถ่าย ฟิล์ม แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ และสื่อกลาง
บันทึกข้อมูลด้วย หรือหนังสือของบุคคลภายนอก ที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ และเจ้าหน้าที่ได้รับเข้าทะเบียนรับหนังสือ

หน้า ๑๒๒ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ของทางราชการแล้ว มีรูปแบบตามที่กระทรวง ทบวง กรม จะกำหนดขึ้นใช้ตามความเหมาะสมเว้นแต่มีแบบ
ตามกฎหมายเฉพาะเรื่องให้ทำตามแบบ เช่น โฉนด แผนที่ แบบ แผนผัง สัญญา หลักฐานการสืบสวนและ
สอบสวน และคำร้อง เป็นต้น
สื่อกลางบันทึกข้อมูลตามวรรคหนึ่ง หมายความถึง สื่อใด ๆ ที่อาจใช้บันทึกข้อมูลได้ด้วย
อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น แผ่นบันทึกข้อมูล เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก แผ่นซีดี-อ่านอย่างเดียวหรือแผ่น
ดิจิทัลอเนกประสงค์ เป็นต้น

ส่วนที่ ๗
บทเบ็ดเตล็ด

ข้อ ๒๘ หนังสือที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติ เป็นหนังสือที่ต้องจัดส่งและดำเนินการทางสาร


บรรณด้วยความรวดเร็วเป็นพิเศษ แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ
๒๘.๑ ด่วนที่สุด ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติในทันทีที่ได้รับหนังสือนั้น
๒๘.๒ ด่วนมาก ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยเร็ว
๒๘.๓ ด่วน ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติเร็วกว่าปกติ เท่าที่จะทำได้
ให้ระบุชั้นความเร็วด้วยตัวอักษรสีแดงขนาดไม่เล็กกว่าตัวพิมพ์โป้ง ๓๒ พอยท์ ให้เห็นได้ชัด
บนหนังสือและบนซอง ตามที่กำหนดไว้ในแบบที่ ๑ แบบที่ ๒ แบบที่ ๓ และแบบที่ ๑๕ ท้ายระเบียบโดยให้
ระบุคำว่า ด่วนที่สุด ด่วนมาก หรือด่วน สำหรับหนังสือตามข้อ ๒๘.๑ ข้อ ๒๘.๒ และข้อ ๒๘.๓ แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่ต้องการให้หนังสือส่งถึงผู้รับภายในเวลาที่กำหนด ให้ระบุคำว่า ด่วนภายใน แล้วลง
วัน เดือน ปี และกำหนดเวลาที่ต้องการให้หนังสือนั้นไปถึงผู้รับ กับให้เจ้าหน้าที่ส่งถึงผู้รับซึ่งระบุบนหน้าซอง
ภายในเวลาที่กำหนด

ข้อ ๒๙[๗] การติดต่อราชการนอกจากการจะดำเนินการโดยหนังสือที่เป็นเอกสารสามารถ


ดำเนินการด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ได้
ในกรณีที่ติดต่อราชการด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้ส่งตรวจสอบผลการส่งทุกครั้ง
และให้ผู้รับแจ้งตอบรับ เพื่อยืนยันว่าหนังสือได้จัดส่งไปยังผู้รับเรียบร้อยแล้ว และส่วนราชการผู้ส่งไม่ต้องจัดส่ง
หนังสือเป็นเอกสาร เว้นแต่กรณีเป็นเรื่องสำคัญจำเป็นต้องยืนยันเป็ นเอกสาร ให้ทำเอกสารยืนยันตามไปทันที
การส่งข้อความทางเครื่องมือสื่อสาร เช่น โทรเลข วิทยุโทรเลข โทรพิมพ์ โทรศัพท์ วิทยุสื่อสารวิทยุกระจายเสียง
หรือวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น ให้ผู้รับปฏิบัติเช่นเดียวกับได้รับหนังสือ ในกรณีที่จำเป็นต้องยืนยันเป็นหนังสือให้ทำ
หนังสือยืนยันตามไปทันที
การส่งข้อความทางเครื่องมือสื่อสารซึ่งไม่มีหลักฐานปรากฏชัดแจ้ง เช่น ทางโทรศัพท์ วิทยุ
สื่อสารวิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น ให้ผู้ส่งและผู้รับบันทึกข้อความไว้เป็นหลักฐาน

ข้อ ๓๐ หนังสือที่จัดทำขึ้นโดยปกติให้มีสำเนาคู่ฉบับเก็บไว้ที่ต้นเรื่อง ๑ ฉบับ และให้มีสำเนา


เก็บไว้ที่หน่วยงานสารบรรณกลาง ๑ ฉบับ
สำเนาคู่ฉบับให้ผู้ลงชื่อลงลายมือชื่อ หรือลายมือชื่อย่อ และให้ผู้ร่าง ผู้พิมพ์ และผู้ตรวจลง
ลายมือชื่อ หรือลายมือชื่อย่อไว้ที่ข้างท้ายขอบล่างด้านขวาของหนังสือ

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๒๓


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ข้อ ๓๑ หนังสือที่เจ้าของหนังสือเห็นว่ามีส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องควรได้รับทราบด้วยโดย
ปกติให้ส่งสำเนาไปให้ทราบโดยทำเป็นหนังสือประทับตรา
สำเนาหนังสือตามวรรคหนึ่งให้มีคำรับรองว่า สำเนาถูกต้อง โดยให้ข้าราชการพลเรือนหรือ
พนักงานส่วนท้องถิ่นประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ หรือประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน ขึ้นไป หรือเจ้าหน้าที่
ของรัฐอื่นที่เทียบเท่า หรือพนักงานราชการ ซึ่งเป็นเจ้าของเรื่องที่ทำสำเนาหนังสือนั้น ลงลายมือชื่อรับรอง พร้อม
ทั้งลงชื่อตัวบรรจง ตำแหน่ง และวัน เดือน ปีที่รับรอง ไว้ที่ขอบล่างของหนังสือ[๘]

ข้อ ๓๒ หนังสือเวียน คือ หนังสือที่มีถึงผู้รับเป็นจำนวนมาก มีใจความอย่างเดียวกัน ให้เพิ่ม


รหัสตัวพยัญชนะ ว หน้าเลขทะเบียนหนังสือส่ง ซึ่งกำหนดเป็นเลขที่หนังสือเวียนโดยเฉพาะ เริ่มตั้งแต่เลข ๑
เรียงเป็นลำดับไปจนถึงสิ้นปีปฏิทิน หรือใช้เลขที่ของหนังสือทั่วไปตามแบบหนังสือภายนอกอย่างหนึ่งอย่างใด
เมื่อผู้รับได้รับหนังสือเวียนแล้วเห็นว่าเรื่องนั้นจะต้องให้หน่วยงาน หรือบุคคลในบังคับบัญชา
ในระดับต่าง ๆ ได้รับทราบด้วย ก็ให้มีหน้าที่จัดทำสำเนา หรือจัดส่งให้หน่วยงาน หรือบุคคลเหล่านั้นโดยเร็ว

ข้อ ๓๓ สรรพนามที่ใช้ในหนังสือ ให้ใช้ตามฐานะแห่งความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของหนังสือ


และผู้รับหนังสือตามภาคผนวก ๒

ข้อ ๓๔ หนังสือภาษาต่างประเทศ ให้ใช้กระดาษตราครุฑ


หนังสือที่เป็นภาษาอังกฤษ ให้ทำตามแบบที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๔
สำหรับหนังสือที่เป็นภาษาอื่นๆ ซึ่งมิใช่ภาษาอังกฤษ ให้เป็นไปตามประเพณีนิยม

หมวด ๒
การรับและส่งหนังสือ

ส่วนที่ ๑
การรับหนังสือ

ข้อ ๓๕[๙] หนังสือรับ คือ หนังสือที่ได้รับเข้ามาจากภายนอก ให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสาร


บรรณกลางปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้
การรับหนังสือที่มีชั้นความลับ ในชั้นลับหรือลับมาก ด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ให้
ผู้ใช้งานหรือผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับการแต่งตั้งให้เข้าถึงเอกสารลับแต่ละระดับ เป็นผู้รับผ่านระบบการรักษาความ
ปลอดภัย โดยให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ

ข้อ ๓๖ จัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของหนังสือเพื่อดำเนินการก่อนหลัง และให้ผู้


เปิดซองตรวจเอกสาร หากไม่ถูกต้องให้ติดต่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง หรือหน่วยงานที่ออกหนังสือเพื่อ
ดำเนินการให้ถูกต้อง หรือบันทึกข้อบกพร่องไว้เป็นหลักฐาน แล้วจึงดำเนินการเรื่องนั้นต่อไป

หน้า ๑๒๔ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ข้อ ๓๗ ประทับตรารับหนังสือตามแบบที่ ๑๒ ท้ายระเบียบ ที่มุมบนด้านขวาของหนังสือโดย
กรอกรายละเอียดดังนี้
๓๗.๑ เลขรับ ให้ลงเลขที่รับตามเลขที่รับในทะเบียน
๓๗.๒ วันที่ ให้ลงวัน เดือน ปีที่รับหนังสือ
๓๗.๓ เวลา ให้ลงเวลาที่รับหนังสือ

ข้อ ๓๘ ลงทะเบียนรับหนังสือในทะเบียนหนังสือรับตามแบบที่ ๑๓ ท้ายระเบียบ โดยกรอก


รายละเอียดดังนี้
๓๘.๑ ทะเบียนหนังสือรับ วันที่ เดือน พ.ศ. ให้ลงวัน เดือน ปีที่ลงทะเบียน
๓๘.๒ เลขทะเบียนรับ ให้ลงเลขลำดับของทะเบียนหนังสือรับเรียงลำดับติดต่อกันไปตลอดปี
ปฏิทิน เลขทะเบียนของหนังสือรับจะต้องตรงกับเลขที่ในตรารับหนังสือ
๓๘.๓ ที่ ให้ลงเลขที่ของหนังสือที่รับเข้ามา
๓๘.๔ ลงวันที่ ให้ลงวัน เดือน ปีของหนังสือที่รับเข้ามา
๓๘.๕ จาก ให้ลงตำแหน่งเจ้าของหนังสือ หรือชื่อส่วนราชการ หรือชื่อบุคคลในกรณีที่ไม่มี
ตำแหน่ง
๓๘.๖ ถึง ให้ลงตำแหน่งของผู้ที่หนังสือนั้นมีถึง หรือชื่อส่วนราชการ หรือชื่อบุคคลในกรณีที่
ไม่มีตำแหน่ง
๓๘.๗ เรื่อง ให้ลงชื่อเรื่องของหนังสือฉบับนั้น ในกรณีที่ไม่มีชื่อเรื่องให้ลงสรุปเรื่องย่อ
๓๘.๘ การปฏิบัติ ให้บันทึกการปฏิบัติเกี่ยวกับหนังสือฉบับนั้น
๓๘.๙ หมายเหตุ ให้บันทึกข้อความอื่นใด (ถ้ามี)

ข้อ ๓๙ จัดแยกหนังสือที่ลงทะเบียนรับแล้วส่งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการ โดยให้


ลงชื่อหน่วยงานที่รับหนังสือนั้นในช่อง การปฏิบัติ ถ้ามีชื่อบุคคล หรือตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการรับหนังสือให้
ลงชื่อหรือตำแหน่งไว้ด้วย
การส่งหนังสือที่ลงทะเบียนรับแล้วไปให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามวรรคหนึ่งจะ
ส่งโดยใช้สมุดส่งหนังสือตามข้อ ๔๘ หรือให้ผู้รับหนังสือลงชื่อและวัน เดือน ปีที่รับหนังสือไว้เป็นหลักฐานใน
ทะเบียนรับหนังสือก็ได้
การดำเนินการตามขั้นตอนนี้ จะเสนอผ่านผู้บังคับบัญชาผู้ใดหรือไม่ ให้เป็นไปตามที่หัวหน้า
ส่วนราชการกำหนด
ถ้าหนังสือรับนั้นจะต้องดำเนินเรื่องในหน่วยงานนั้นเองจนถึงขั้นได้ตอบหนังสือไปแล้วให้
ลงทะเบียนว่าได้ส่งออกไปโดยหนังสือที่เท่าใด วัน เดือน ปีใด

ข้อ ๔๐ การรับหนังสือภายในส่วนราชการเดียวกัน เมื่อผู้รับได้รับหนังสือจากหน่วยงานสาร


บรรณกลางแล้ว ให้ปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าวข้างต้นโดยอนุโลม

ส่วนที่ ๒
การส่งหนังสือ

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๒๕


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ข้อ ๔๑[๑๐] หนังสือส่ง คือ หนังสือที่ส่งออกไปภายนอก ให้ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้
การส่งหนังสือที่มีชั้นความลับ ในชั้นลับหรือลับมาก ด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ให้
ผู้ใช้งานหรือผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับการแต่งตั้งให้เข้าถึงเอกสารลับแต่ละระดับ เป็นผู้ส่งผ่านระบบการรักษาความ
ปลอดภัย โดยให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ

ข้อ ๔๒ ให้เจ้าของเรื่องตรวจความเรียบร้อยของหนังสือ รวมทั้งสิ่งที่จะส่งไปด้วยให้ครบถ้วน


แล้วส่งเรื่องให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสารบรรณกลางเพื่อส่งออก

ข้อ ๔๓ เมื่อเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสารบรรณกลางได้รับเรื่องแล้ว ให้ปฏิบัติดังนี้


๔๓.๑ ลงทะเบียนส่งหนังสือในทะเบียนหนังสือส่งตามแบบที่ ๑๔ ท้ายระเบียบโดยกรอก
รายละเอียดดังนี้
๔๓.๑.๑ ทะเบียนหนังสือส่ง วันที่ เดือน พ.ศ. ให้ลงวัน เดือน ปี ที่ลงทะเบียน
๔๓.๑.๒ เลขทะเบียนส่ง ให้ลงเลขลำดับของทะเบียนหนังสือส่งเรียงลำดับติดต่อกันไปตลอดปี
ปฏิทิน
๔๓.๑.๓ ที่ ให้ลงรหัสตัวพยัญชนะ และเลขประจำของส่วนราชการเจ้าของเรื่องในหนังสือที่
จะส่งออก ถ้าไม่มีที่ดังกล่าว ช่องนี้จะว่าง
๔๓.๑.๔ ลงวันที่ ให้ลงวัน เดือน ปีที่จะส่งหนังสือนั้นออก
๔๓.๑.๕ จาก ให้ลงตำแหน่งเจ้าของหนังสือ หรือชื่อส่วนราชการ หรือชื่อบุคคลในกรณีที่ไม่มี
ตำแหน่ง
๔๓.๑.๖ ถึง ให้ลงตำแหน่งของผู้ที่หนังสือนั้นมีถึง หรือชื่อส่วนราชการหรือชื่อบุคคลในกรณีที่
ไม่มีตำแหน่ง
๔๓.๑.๗ เรื่อง ให้ลงชื่อเรื่องของหนังสือฉบับนั้น ในกรณีที่ไม่มีชื่อเรื่องให้ลงสรุปเรื่องย่อ
๔๓.๑.๘ การปฏิบัติ ให้บันทึกการปฏิบัติเกี่ยวกับหนังสือฉบับนั้น
๔๓.๑.๙ หมายเหตุ ให้บันทึกข้อความอื่นใด (ถ้ามี)
๔๓.๒ ลงเลขที่ และวัน เดือน ปีในหนังสือที่จะส่งออกทั้งในต้นฉบับ และสำเนาคู่ฉบับให้ตรง
กับเลขทะเบียนส่ง และวัน เดือน ปีในทะเบียนหนังสือส่งตามข้อ ๔๓.๑.๒ และข้อ ๔๓.๑.๔

ข้อ ๔๔ ก่อนบรรจุซอง ให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานสารบรรณกลางตรวจความเรียบร้อยของ


หนังสือตลอดจนสิ่งที่ส่งไปด้วยอีกครั้งหนึ่ง แล้วปิดผนึก
หนังสือที่ไม่มีความสำคัญมากนัก อาจส่งไปโดยวิธีพับยึดติดด้วยแถบกาว กาว เย็บด้วยลวด
หรือวิธีอื่นแทนการบรรจุซอง

ข้อ ๔๕ การจ่าหน้าซอง ให้ปฏิบัติตามแบบที่ ๑๕ ท้ายระเบียบ


สำหรับหนังสือที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติ ให้ปฏิบัติตามข้อ ๒๘
ในกรณีไม่ใช้สมุดส่งหนังสือ ให้มีใบรับหนังสือตามข้อ ๔๙ แนบติดซองไปด้วย

ข้ อ ๔๖ การส่ ง หนั ง สื อ โดยทางไปรษณี ย ์ ให้ ถ ื อ ปฏิ บ ั ต ิ ต ามระเบี ย บ หรื อ วิ ธ ี ก ารที่


การสื่อสารแห่งประเทศไทยกำหนด

หน้า ๑๒๖ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
การส่งหนังสือซึ่งมิใช่เป็นการส่งโดยทางไปรษณีย์ เมื่อส่งหนังสือให้ผู้รับแล้ว ผู้ส่งต้องให้ผู้รับ
ลงชื่อรับในสมุดส่งหนังสือ หรือใบรับ แล้วแต่กรณี ถ้าเป็นใบรับให้นำใบรับนั้นมาผนึกติดไว้ที่สำเนาคู่ฉบับ

ข้อ ๔๗ หนังสือที่ได้ลงทะเบียนส่ง ในกรณีที่เป็นการตอบหนังสือซึ่งรับเข้ามาให้ลงทะเบียนว่า


หนังสือนั้นได้ตอบตามหนังสือรับที่เท่าใด วัน เดือน ปีใด

ข้อ ๔๘ สมุดส่งหนังสือ ให้จัดทำตามแบบที่ ๑๖ ท้ายระเบียบ โดยกรอกรายละเอียดดังนี้


๔๘.๑ เลขทะเบียน ให้ลงเลขทะเบียนหนังสือส่ง
๔๘.๒ จาก ให้ลงตำแหน่ง หรือชื่อส่วนราชการ หรือชื่อบุคคลที่เป็นเจ้าของหนังสือ
๔๘.๓ ถึง ให้ลงตำแหน่งของผู้ที่หนังสือนั้นมีถึง หรือชื่อส่วนราชการ หรือชื่อบุคคลในกรณีที่
ไม่มีตำแหน่ง
๔๘.๔ หน่วยรับ ให้ลงชื่อส่วนราชการที่รับหนังสือ
๔๘.๕ ผู้รับ ให้ผู้รับหนังสือลงชื่อที่สามารถอ่านออกได้
๔๘.๖ วันและเวลา ให้ผู้รับหนังสือลงวัน เดือน ปี และเวลาที่รับหนังสือ
๔๘.๗ หมายเหตุ ให้บันทึกข้อความอื่นใด (ถ้ามี)

ข้อ ๔๙ ใบรับหนังสือ ให้จัดทำตามแบบที่ ๑๗ ท้ายระเบียบ โดยกรอกรายละเอียดดังนี้


๔๙.๑ ที่ ให้ลงเลขที่ของหนังสือฉบับนั้น
๔๙.๒ ถึง ให้ลงตำแหน่งของผู้ที่หนังสือนั้นมีถึง หรือชื่อส่วนราชการ หรือชื่อบุคคลในกรณีที่
ไม่มีตำแหน่ง
๔๙.๓ เรื่อง ให้ลงชื่อเรื่องของหนังสือฉบับนั้น ในกรณีที่ไม่มีชื่อเรื่องให้ลงสรุปเรื่องย่อ
๔๙.๔ รับวันที่ ให้ผู้รับหนังสือลงวัน เดือน ปีที่รับหนังสือ
๔๙.๕ เวลา ให้ผู้รับหนังสือลงเวลาที่รับหนังสือ
๔๙.๖ ผู้รับ ให้ผู้รับหนังสือลงชื่อที่สามารถอ่านออกได้

ส่วนที่ ๓
บทเบ็ดเตล็ด

ข้อ ๕๐ เพื่อให้การรับและส่งหนังสือดำเนินไปโดยสะดวกเรียบร้อยและรวดเร็ว ส่วนราชการ


จะกำหนดหน้าที่ของผู้ปฏิบัติตลอดจนแนวทางปฏิบัตินั้นไว้ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ให้มีการสำรวจทะเบียนหนังสือรับ
เป็นประจำว่าหนังสือตามทะเบียนรับนั้นได้มีการปฏิบัติไปแล้วเพียงใด และให้มีการติดตามเรื่องด้วยในการนี้
ส่วนราชการใดเห็นสมควรจะจัดให้มีบัตรตรวจค้นสำหรับหนังสือรับและหนังสือส่งเพื่อความสะดวกในการ
ค้นหาก็ได้ตามความเหมาะสม

ข้อ ๕๑ บัตรตรวจค้น ให้จัดทำตามแบบที่ ๑๘ ท้ายระเบียบ โดยกรอกรายละเอียดดังนี้


๕๑.๑ เรื่อง รหัส ให้ลงเรื่องและรหัสตามหมวดหมู่ของหนังสือ
๕๑.๒ เลขทะเบียนรับ ให้ลงเลขทะเบียนตามที่ปรากฏในทะเบียนหนังสือรับ
๕๑.๓ ที่ ให้ลงเลขที่ของหนังสือ
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๒๗
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
๕๑.๔ ลงวันที่ ให้ลงวัน เดือน ปี ของหนังสือ
๕๑.๕ รายการ ให้ลงเรื่องย่อของหนังสือเพื่อให้ทราบว่า หนังสือนั้นมาจากที่ใดเรื่องอะไร
๕๑.๖ การปฏิบัติ ให้บันทึกการปฏิบัติเกี่ยวกับหนังสือนั้นเพื่อให้ทราบว่าส่งไปที่ใดเมื่อใด

หมวด ๓
การเก็บรักษา ยืม และทำลายหนังสือ

ส่วนที่ ๑
การเก็บรักษา

ข้อ ๕๒ การเก็บหนังสือแบ่งออกเป็น การเก็บระหว่างปฏิบัติ การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว


และการเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ

ข้อ ๕๓ การเก็บ ระหว่างปฏิบัติ คือ การเก็บหนังสือที่ปฏิบัติยังไม่เสร็จให้อยู่ในความ


รับผิดชอบของเจ้าของเรื่องโดยให้กำหนดวิธีการเก็บให้เหมาะสมตามขั้นตอนของการปฏิบัติงาน

ข้อ ๕๔ การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว คือ การเก็บหนังสือที่ปฏิบัติเสร็จเรียบร้อยแล้ว และไม่มี


อะไรที่จะต้องปฏิบัติต่อไปอีก ให้เจ้าหน้าที่ของเจ้าของเรื่องปฏิบัติดังนี้
๕๔.๑ จัดทำบัญชีหนังสือส่งเก็บตามแบบที่ ๑๙ ท้ายระเบียบ อย่างน้อยให้มีต้นฉบับและ
สำเนาคู่ฉบับสำหรับเจ้าของเรื่องและหน่วยเก็บ เก็บไว้อย่างละฉบับ โดยกรอกรายละเอียดดังนี้
๕๔.๑.๑ ลำดับที่ ให้ลงเลขลำดับเรื่องของหนังสือที่เก็บ
๕๔.๑.๒ ที่ ให้ลงเลขที่ของหนังสือแต่ละฉบับ
๕๔.๑.๓ ลงวันที่ ให้ลงวัน เดือน ปีของหนังสือแต่ละฉบับ
๕๔.๑.๔ เรื่อง ให้ลงชื่อเรื่องของหนังสือแต่ละฉบับ ในกรณีที่ไม่มีชื่อเรื่องให้ลงสรุปเรื่องย่อ
๕๔.๑.๕ อายุการเก็บหนังสือ ให้ลงวัน เดือน ปีที่จะเก็บถึง ในกรณีให้เก็บไว้ตลอดไป
ให้ลงคำว่า ห้ามทำลาย
๕๔.๑.๖ หมายเหตุ ให้บันทึกข้อความอื่นใด (ถ้ามี)
๕๔.๒ ส่งหนังสือและเรื่องปฏิบัติทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับหนังสือนั้น พร้อมทั้งบัญชีหนังสือส่งเก็บ
ไปให้หน่วยเก็บที่ส่วนราชการนั้น ๆ กำหนด

ข้อ ๕๕ เมื่อได้รับเรื่องจากเจ้าของเรื่องตามข้อ ๕๔ แล้ว ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเก็บ


หนังสือปฏิบัติดังนี้
๕๕.๑ ประทับตรากำหนดเก็บหนังสือตามข้อ ๗๓ ไว้ที่มุมล่างด้านขวาของกระดาษแผ่นแรก
ของหนังสือฉบับนั้น และลงลายมือชื่อย่อกำกับตรา
๕๕.๑.๑ หนังสือที่ต้องเก็บไว้ตลอดไป ให้ประทับตราคำว่า ห้ามทำลายด้วยหมึกสีแดง

หน้า ๑๒๘ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
๕๕.๑.๒ หนังสือที่เก็บโดยมีกำหนดเวลา ให้ประทับตราคำว่า เก็บถึงพ.ศ. .... ด้วยหมึก
สีน้ำเงิน และลงเลขของปีพุทธศักราชที่ให้เก็บถึง
๕๕.๒ ลงทะเบี ย นหนั ง สือ เก็ บไว้ เป็ นหลัก ฐานตามแบบที่ ๒๐ ท้ า ยระเบี ยบ โดยกรอก
รายละเอียดดังนี้
๕๕.๒.๑ ลำดับที่ ให้ลงเลขลำดับเรื่องของหนังสือที่เก็บ
๕๕.๒.๒ วันเก็บ ให้ลงวัน เดือน ปีที่นำหนังสือนั้นเข้าทะเบียนเก็บ
๕๕.๒.๓ เลขทะเบียนรับ ให้ลงเลขทะเบียนรับของหนังสือแต่ละฉบับ
๕๕.๒.๔ ที่ ให้ลงเลขที่ของหนังสือแต่ละฉบับ
๕๕.๒.๕ เรื่อง ให้ลงชื่อเรื่องของหนังสือแต่ละฉบับ ในกรณีที่ไม่มีชื่อเรื่องให้ลงสรุปเรื่องย่อ
๕๕.๒.๖ รหัสแฟ้ม ให้ลงหมายเลขลำดับหมู่ของการจัดแฟ้มเก็บหนังสือ
๕๕.๒.๗ กำหนดเวลาเก็บ ให้ลงระยะเวลาการเก็บตามที่กำหนดในตรากำหนดเก็บ
หนังสือตามข้อ ๕๕.๑
๕๕.๒.๘ หมายเหตุ ให้บันทึกข้อความอื่นใด (ถ้ามี)

ข้อ ๕๖ การเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ คือ การเก็บหนังสือที่ปฏิบัติเสร็จเรียบร้อยแล้วแต่


จำเป็นจะต้องใช้ในการตรวจสอบเป็นประจำ ไม่สะดวกในการส่งไปเก็บยังหน่วยเก็บของส่วนราชการตามข้อ
๕๔ ให้เจ้าของเรื่องเก็บเป็นเอกเทศ โดยแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ขึ้นรับผิดชอบก็ได้ เมื่อหมดความจำเป็นที่จะต้องใช้ใน
การตรวจสอบแล้ว ให้จัดส่งหนังสือนั้นไปยังหน่วยเก็บของส่วนราชการโดยให้ถือปฏิบัติตามข้อ ๕๔ และข้อ ๕๕
โดยอนุโลม

ข้อ ๕๗[๑๑] อายุการเก็บหนังสือ โดยปกติให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี เว้นแต่หนังสือดังต่อไปนี้


๕๗.๑ หนังสือที่ต้องสงวนเป็นความลับ ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบว่าด้วยการรักษาความ
ปลอดภัยแห่งชาติ หรือระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ
๕๗.๒ หนังสือที่เป็นหลักฐานทางอรรถคดี สำนวนของศาลหรือของพนักงานสอบสวนหรือ
หนังสืออื่นใดที่ได้มีกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนกำหนดไว้เป็นพิเศษแล้ว การเก็บให้เป็นไปตามกฎหมายและ
ระเบียบแบบแผนว่าด้วยการนั้น
๕๗.๓ หนังสือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ทุกสาขาวิชา และมีคุณค่าต่อการศึกษาค้นคว้า
วิจัย ให้เก็บไว้เป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติตลอดไป หรือตามที่สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
กรมศิลปากร กำหนด
๕๗.๔ หนังสือที่ได้ปฏิบัติงานเสร็จสิ้นแล้ว และเป็นคู่สำเนาที่มีต้นเรื่องจะค้นได้จากที่อื่นให้
เก็บไว้ไม่น้อยกว่า ๕ ปี
๕๗.๕ หนังสือที่เป็นเรื่องธรรมดาสามัญซึ่งไม่มีความสำคัญ และเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำ
เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า ๑ ปี
๕๗.๖ หนังสือหรือเอกสารเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน หรือการก่อหนี้ผูกพันทางการเงินที่
ไม่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิในทางการเงินรวมถึงหนังสือหรือเอกสาร
เกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน หรือการก่อหนี้ผูกพันทางการเงินที่หมดความจำเป็นในการใช้เป็นหลักฐานแห่ง
การก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิในทางการเงินเพราะได้มีหนังสือหรือเอกสารอื่นที่สามารถ
นำมาใช้อ้างอิงหรือทดแทนหนังสือหรือเอกสารดังกล่าวแล้วเมื่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบแล้ว
ไม่มีปัญหา และไม่มีความจำเป็นต้องใช้ประกอบการตรวจสอบหรือเพื่อการใดๆ อีก ให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า ๕ ปี
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๒๙
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
หนังสือเกี่ยวกับการเงิน ซึ่งเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องเก็บไว้ถึง ๑๐ ปี หรือ ๕ ปี แล้วแต่กรณี
ให้ทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง

ข้อ ๕๘[๑๒] ทุกปีปฏิทินให้ส่วนราชการจัดส่งหนังสือที่มีอายุครบ ๒๐ ปี นับจากวันที่ได้จัดทำ


ขึ้นที่เก็บไว้ ณ ส่วนราชการใด พร้อมทั้งบัญชีส่งมอบหนังสือครบ ๒๐ ปี ให้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติกรม
ศิลปากร ภายในวันที่ ๓๑ มกราคม ของปีถัดไป เว้นแต่หนังสือดังต่อไปนี้
๕๘.๑ หนังสือที่ต้องสงวนเป็นความลับให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบว่าด้วยการรักษาความ
ปลอดภัยแห่งชาติ หรือระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ
๕๘.๒ หนังสือที่มีกฎหมาย ข้อบังคับ หรือระเบียบที่ออกใช้เป็นการทั่วไปกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
๕๘.๓ หนังสือที่ส่วนราชการมีความจำเป็นต้องเก็บไว้ที่ส่วนราชการนั้นให้จัดทำบัญชีหนังสือ
ครบ ๒๐ ปีที่ขอเก็บเอง ส่งมอบให้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร

ข้อ ๕๙[๑๓] บัญชีส่งมอบหนังสือครบ ๒๐ ปี และบัญชีหนังสือครบ ๒๐ ปีที่ขอเก็บเอง อย่าง


น้อยให้มีต้นฉบับและสำเนาคู่ฉบับ เพื่อให้ส่วนราชการผู้มอบและสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
ผู้รับมอบยึดถือไว้เป็นหลักฐานฝ่ายละฉบับ
๕๙.๑ บัญชีส ่งมอบหนังสือครบ ๒๐ ปี ให้จัดทำตามแบบที่ ๒๑ ท้ายระเบียบโดยกรอก
รายละเอียดดังนี้
๕๙.๑.๑ ชื่อบัญชีส่งมอบหนังสือครบ ๒๐ ปี ประจำปี ให้ลงตัวเลขของปีพุทธศักราชที่
จัดทำบัญชี
๕๙.๑.๒ กระทรวง ทบวง กรม กอง ให้ลงชื่อส่วนราชการที่จัดทำบัญชี
๕๙.๑.๓ วันที่ ให้ลงวัน เดือน ปีที่จัดทำบัญชี
๕๙.๑.๔ แผ่นที่ ให้ลงเลขลำดับของแผ่นบัญชี
๕๙.๑.๕ ลำดับที่ ให้ลงเลขลำดับเรื่องของหนังสือที่ส่งมอบ
๕๙.๑.๖ รหัสแฟ้ม ให้ลงหมายเลขลำดับหมู่ของการจัดแฟ้มเก็บหนังสือ
๕๙.๑.๗ ที่ ให้ลงเลขที่ของหนังสือแต่ละฉบับ
๕๙.๑.๘ ลงวันที่ ให้ลงวัน เดือน ปีของหนังสือแต่ละฉบับ
๕๙.๑.๙ เลขทะเบียนรับ ให้ลงเลขทะเบียนรับของหนังสือแต่ละฉบับ
๕๙.๑.๑๐ เรื่อง ให้ลงชื่อเรื่องของหนังสือแต่ละฉบับ ในกรณีที่ไม่มีชื่อเรื่องให้ลงสรุป
เรื่องย่อ
๕๙.๑.๑๑ หมายเหตุ ให้บันทึกข้อความอื่นใด (ถ้ามี)
๕๙.๑.๑๒ ลงชื่อผู้มอบ ให้ผู้มอบลงลายมือชื่อและวงเล็บชื่อและนามสกุลด้วยตัวบรรจง
พร้อมทั้งลงตำแหน่งของผู้มอบ
๕๙.๑.๑๓ ลงชื่อผู้รับมอบ ให้ผู้รับมอบลงลายมือชื่อและวงเล็บชื่อและนามสกุลด้วยตัว
บรรจงพร้อมทั้งลงตำแหน่งของผู้รับมอบ
๕๙.๒ บัญชีหนังสือครบ ๒๐ ปี ที่ขอเก็บเอง ให้จัดทำตามแบบที่ ๒๒ ท้ายระเบียบโดยกรอก
รายละเอียดดังนี้
๕๙.๒.๑ ชื่อบัญชีหนังสือครบ ๒๐ ปีที่ขอเก็บเองประจำปี ให้ลงตัวเลขของปีพุทธศักราช
ที่จัดทำบัญชี

หน้า ๑๓๐ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
๕๙.๒.๒ กระทรวง ทบวง กรม กอง ให้ลงชื่อส่วนราชการที่จัดทำบัญชี
๕๙.๒.๓ วันที่ ให้ลงวัน เดือน ปีที่จัดทำบัญชี
๕๙.๒.๔ แผ่นที่ ให้ลงเลขลำดับของแผ่นบัญชี
๕๙.๒.๕ ลำดับที่ ให้ลงเลขลำดับเรื่องของหนังสือที่ขอเก็บเอง
๕๙.๒.๖ รหัสแฟ้ม ให้ลงหมายเลขลำดับหมู่ของการจัดแฟ้มเก็บหนังสือ
๕๙.๒.๗ ที่ ให้ลงเลขที่ของหนังสือแต่ละฉบับ
๕๙.๒.๘ ลงวันที่ ให้ลงวัน เดือน ปีของหนังสือแต่ละฉบับ
๕๙.๒.๙ เรื่อง ให้ลงชื่อเรื่องของหนังสือแต่ละฉบับ ในกรณีที่ไม่มีชื่อเรื่องให้ลงสรุปเรื่องย่อ
๕๙.๒.๑๐ หมายเหตุ ให้บันทึกข้อความอื่นใด (ถ้ามี)

ข้อ ๖๐ หนังสือที่ยังไม่ถึงกำหนดทำลาย ซึ่งส่วนราชการเห็นว่าเป็นหนังสือที่มีความสำคัญ


และประสงค์จะฝากให้กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร เก็บไว้ ให้ปฏิบัติดังนี้
๖๐.๑ จัดทำบัญชีฝากหนังสือตามแบบที่ ๒๓ ท้ายระเบียบ อย่างน้อยให้มีต้นฉบับและสำเนา
คู่ฉบับ โดยกรอกรายละเอียดดังนี้
๖๐.๑.๑ ชื่อบัญชีฝากหนังสือ ประจำปี ให้ลงตัวเลขของปีพุทธศักราชที่จัดทำบัญชี
๖๐.๑.๒ กระทรวง ทบวง กรม กอง ให้ลงชื่อส่วนราชการที่จัดทำบัญชี
๖๐.๑.๓ วันที่ ให้ลงวัน เดือน ปีที่จัดทำบัญชี
๖๐.๑.๔ แผ่นที่ ให้ลงเลขลำดับของแผ่นบัญชี
๖๐.๑.๕ ลำดับที่ ให้ลงเลขลำดับเรื่องของหนังสือ
๖๐.๑.๖ รหัสแฟ้ม ให้ลงหมายเลขลำดับหมู่ของการจัดแฟ้มเก็บหนังสือ
๖๐.๑.๗ ที่ ให้ลงเลขที่ของหนังสือแต่ละฉบับ
๖๐.๑.๘ ลงวันที่ ให้ลงวัน เดือน ปีของหนังสือแต่ละฉบับ
๖๐.๑.๙ เลขทะเบียนรับ ให้ลงเลขทะเบียนรับของหนังสือแต่ละฉบับ
๖๐.๑.๑๐ เรื่อง ให้ลงชื่อเรื่องของหนังสือแต่ละฉบับ ในกรณีที่ไม่มีชื่อเรื่องให้ลงสรุป
เรื่องย่อ
๖๐.๑.๑๑ หมายเหตุ ให้บันทึกข้อความอื่นใด (ถ้ามี)
๖๐.๑.๑๒ ลงชื่อผู้ฝาก ให้ผู้ฝากลงลายมือชื่อและวงเล็บชื่อและนามสกุลด้วยตัวบรรจง
พร้อมทั้งลงตำแหน่งของผู้ฝาก
๖๐.๑.๑๓ ลงชื่อผู้รับฝาก ให้ผู้รับฝากลงลายมือชื่อและวงเล็บชื่อและนามสกุลด้วยตัว
บรรจงพร้อมทั้งลงตำแหน่งของผู้รับฝาก
๖๐.๒ ส่งต้นฉบับและสำเนาคู่ฉบับบัญชีฝากหนังสือพร้อมกับหนังสือที่จะฝากให้กองจดหมาย
เหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
๖๐.๓ เมื่อกองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ตรวจหนังสือและรับฝากหนังสือแล้วให้ลง
นามในบัญชีฝากหนังสือ แล้วคืนต้นฉบับให้ส่วนราชการผู้ฝากเก็บไว้เป็นหลักฐาน
หนังสือที่ฝากเก็บไว้ที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ให้ถือว่าเป็นหนังสือของส่วน
ราชการผู้ฝาก หากส่วนราชการผู้ฝากต้องการใช้หนังสือหรือขอคืน ให้ทำได้โดยจัดทำหลักฐานต่อกันไว้ให้ชัดแจ้ง
เมื่อถึงกำหนดการทำลายแล้ว ให้ส่วนราชการผู้ฝากดำเนินการตามข้อ ๖๖

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๓๑


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ข้อ ๖๑ การรักษาหนังสือ ให้เจ้าหน้าที่ระมัดระวังรักษาหนังสือให้อยู่ในสภาพใช้ราชการได้
ทุกโอกาส หากชำรุดเสียหายต้องรีบซ่อมให้ใช้ราชการได้เหมือนเดิม หากสูญหายต้องหาสำเนามาแทนถ้าชำรุด
เสียหายจนไม่สามารถซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมได้ ให้รายงานผู้บังคับบัญชาทราบและให้หมายเหตุไว้ในทะเบียน
เก็บด้วย
ถ้าหนังสือที่สูญหายเป็นเอกสารสิทธิตามกฎหมายหรือหนังสือสำคัญที่เป็นการแสดงเอกสาร
สิทธิก็ให้ดำเนินการแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน

ส่วนที่ ๒
การยืม

ข้อ ๖๒ การยืมหนังสือที่ส่งเก็บแล้ว ให้ปฏิบัติดังนี้


๖๒.๑ ผู้ยืมจะต้องแจ้งให้ทราบว่าเรื่องที่ยืมนั้นจะนำไปใช้ในราชการใด
๖๒.๒ ผู้ยืมจะต้องมอบหลักฐานการยืมให้เจ้าหน้าที่เก็บ แล้วลงชื่อรับเรื่องที่ยืมไว้ในบัตรยืม
หนังสือและให้เจ้าหน้าที่เก็บรวบรวมหลักฐานการยืม เรียงลำดับวัน เดือน ปีไว้เพื่อติดตามทวงถาม ส่วนบัตรยืม
หนังสือนั้นให้เก็บไว้แทนที่หนังสือที่ถูกยืมไป
๖๒.๓ การยืมหนังสือระหว่างส่วนราชการ ผู้ยืมและผู้อนุญาตให้ยืมต้องเป็นหัวหน้าส่วน
ราชการระดับกองขึ้นไป หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
๖๒.๔ การยืมหนังสือภายในส่วนราชการเดียวกัน ผู้ยืมและผู้อนุญาตให้ยืมต้องเป็นหัวหน้า
ส่วนราชการระดับแผนกขึ้นไป หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ ๖๓ บัตรยืมหนังสือ ให้จัดทำตามแบบที่ ๒๔ ท้ายระเบียบ โดยกรอกรายละเอียดดังนี้


๖๓.๑ รายการ ให้ลงชื่อเรื่องหนังสือที่ขอยืมไปพร้อมด้วยรหัสของหนังสือนั้น
๖๓.๒ ผู้ยืม ให้ลงชื่อบุคคล ตำแหน่ง หรือส่วนราชการที่ยืมหนังสือนั้น
๖๓.๓ ผู้รับ ให้ผู้รับหนังสือนั้นลงลายมือชื่อ และวงเล็บชื่อกำกับพร้อมด้วยตำแหน่งในบรรทัดถัดไป
๖๓.๔ วันยืม ให้ลงวัน เดือน ปีที่ยืมหนังสือนั้น
๖๓.๕ กำหนดส่งคืน ให้ลงวัน เดือน ปีที่จะส่งหนังสือนั้นคืน
๖๓.๖ ผู้ส่งคืน ให้ผู้ส่งคืนลงลายมือชื่อ
๖๓.๗ วันส่งคืน ให้ลงวัน เดือน ปีที่ส่งหนังสือคืน

ข้อ ๖๔ การยืมหนังสือที่ปฏิบัติยังไม่เสร็จหรือหนังสือที่เก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบให้ถือ
ปฏิบัติตามข้อ ๖๒ โดยอนุโลม

ข้อ ๖๕ การให้บุคคลภายนอกยืมหนังสือจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะให้ดูหรือคัดลอกหนังสือ


ทั้งนี้ จะต้องได้รับอนุญาตจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกองขึ้นไป หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายก่อน
ส่วนที่ ๓
การทำลาย

หน้า ๑๓๒ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

ข้อ ๖๖ ภายใน ๖๐ วันหลังจากวันสิ้นปีปฏิทิน ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเก็บหนังสือ


สำรวจหนังสือที่ครบกำหนดอายุการเก็บในปีนั้น ไม่ว่าจะเป็นหนังสือที่เก็บไว้เองหรือที่ฝากเก็บไว้ที่กองจดหมาย
เหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร แล้วจัดทำบัญชีหนังสือขอทำลายเสนอหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมเพื่อพิจารณา
แต่งตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือ
บัญชีหนังสือขอทำลาย ให้จัดทำตามแบบที่ ๒๕ ท้ายระเบียบ อย่างน้อยให้มีต้นฉบับและ
สำเนาคู่ฉบับโดยกรอกรายละเอียดดังนี้
๖๖.๑ ชื่อบัญชีหนังสือขอทำลาย ประจำปี ให้ลงตัวเลขของปีพุทธศักราชที่จัดทำบัญชี
๖๖.๒ กระทรวง ทบวง กรม กอง ให้ลงชื่อส่วนราชการที่จัดทำบัญชี
๖๖.๓ วันที่ ให้ลงวัน เดือน ปีที่จัดทำบัญชี
๖๖.๔ แผ่นที่ ให้ลงเลขลำดับของแผ่นบัญชี
๖๖.๕ ลำดับที่ ให้ลงเลขลำดับเรื่องของหนังสือ
๖๖.๖ รหัสแฟ้ม ให้ลงหมายเลขลำดับหมู่ของการจัดแฟ้มเก็บหนังสือ
๖๖.๗ ที่ ให้ลงเลขที่ของหนังสือแต่ละฉบับ
๖๖.๘ ลงวันที่ ให้ลงวัน เดือน ปีของหนังสือแต่ละฉบับ
๖๖.๙ เลขทะเบียนรับ ให้ลงเลขทะเบียนรับของหนังสือแต่ละฉบับ
๖๖.๑๐ เรื่อง ให้ลงชื่อเรื่องของหนังสือแต่ละฉบับ ในกรณีที่ไม่มีชื่อเรื่องให้ลงสรุปเรื่องย่อ
๖๖.๑๑ การพิจารณา ให้คณะกรรมการทำลายหนังสือเป็นผู้กรอก
๖๖.๑๒ หมายเหตุ ให้บันทึกข้อความอื่นใด (ถ้ามี)

ข้อ ๖๗ ให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมแต่งตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือ ประกอบด้วย


ประธานกรรมการ และกรรมการอีกอย่างน้อยสองคน โดยปกติให้แต่งตั้งจากข้าราชการพลเรือนหรือพนักงาน
ส่วนท้องถิ่น ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ หรือประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน ขึ้นไป หรือเจ้าหน้าที่ข อง
รัฐอื่นที่เทียบเท่า[๑๔]
ถ้าประธานกรรมการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคน
หนึ่งทำหน้าที่ประธาน
มติของคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมาก ถ้ากรรมการผู้ใดไม่เห็นด้วยให้ทำบันทึกความเห็น
แย้งไว้

ข้อ ๖๘ คณะกรรมการทำลายหนังสือ มีหน้าที่ดังนี้


๖๘.๑ พิจารณาหนังสือที่จะขอทำลายตามบัญชีหนังสือขอทำลาย
๖๘.๒ ในกรณีที่คณะกรรมการมีความเห็นว่าหนังสือฉบับใดไม่ควรทำลาย และควรจะขยาย
เวลาการเก็บไว้ ให้ลงความเห็นว่าจะขยายเวลาการเก็บไว้ถึงเมื่อใด ในช่อง การพิจารณาตามข้อ ๖๖.๑๑ ของ
บัญชีหนังสือขอทำลาย แล้วให้แก้ไขอายุการเก็บหนังสือในตรากำหนดเก็บหนังสือโดยให้ประธานกรรม การ
ทำลายหนังสือลงลายมือชื่อกำกับการแก้ไข
๖๘.๓ ในกรณี ท ี ่ ค ณะกรรมการมี ค วามเห็ น ว่ า หนั ง สื อ เรื ่ อ งใดควรให้ ท ำลาย ให้ ก รอก
เครื่องหมายกากบาท (×) ลงในช่อง การพิจารณา ตามข้อ ๖๖.๑๑ ของบัญชีหนังสือขอทำลาย
๖๘.๔ เสนอรายงานผลการพิจารณาพร้อมทั้งบันทึกความเห็นแย้งของคณะกรรมการ (ถ้ามี)
ต่อหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมเพื่อพิจารณาสั่งการตามข้อ ๖๙
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๓๓
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
๖๘.๕ ควบคุมการทำลายหนังสือซึ่งผู้มีอำนาจอนุมัติให้ทำลายได้แล้ว โดยการเผาหรือวิธีอื่น
ใดที่จะไม่ให้หนังสือนั้นอ่านเป็นเรื่องได้ และเมื่อทำลายเรียบร้อยแล้วให้ทำบันทึกลงนามร่วมกันเสนอผู้มีอำนาจ
อนุมัติทราบ

ข้อ ๖๙ เมื่อหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมได้รับรายงานตามข้อ ๖๘.๔ แล้ว ให้พิจารณาสั่ง


การดังนี้
๖๙.๑ ถ้าเห็นว่าหนังสือเรื่องใดยังไม่ควรทำลาย ให้สั่งการให้เก็บหนังสือนั้นไว้จนถึงเวลาการ
ทำลายงวดต่อไป
๖๙.๒ ถ้าเห็นว่าหนังสือเรื่องใดควรทำลาย ให้ส่งบัญชีหนังสือขอทำลายให้กองจดหมายเหตุ
แห่งชาติ กรมศิลปากร พิจารณาก่อน เว้นแต่หนังสือประเภทที่ส่วนราชการนั้นได้ขอทำความตกลงกับกรม
ศิลปากรแล้ว ไม่ต้องส่งไปให้พิจารณา

ข้อ ๗๐ ให้กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร พิจารณารายการในบัญชีหนังสือขอ


ทำลายแล้วแจ้งให้ส่วนราชการที่ส่งบัญชีหนังสือทำลายทราบดังนี้
๗๐.๑ ถ้ากองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร เห็นชอบด้วย ให้แจ้งให้ส่วนราชการนั้น
ดำเนินการทำลายหนังสือต่อไปได้ หากกองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ไม่แจ้งให้ทราบอย่างใดภายใน
กำหนดเวลา ๖๐ วัน นับแต่วันที่ส่วนราชการนั้นได้ส่งเรื่องให้กองจดหมายเหตุแห่งชาติกรมศิลปากร ให้ถือว่า
กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และให้ส่วนราชการทำลายหนังสือได้
๗๐.๒ ถ้ากองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร เห็นว่าหนังสือฉบับใดควรจะขยายเวลาการ
เก็บไว้อย่างใดหรือให้เก็บไว้ตลอดไป ให้แจ้งให้ส่วนราชการนั้นทราบ และให้ส่วนราชการนั้นๆ ทำการแก้ไข
ตามที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร แจ้งมา หากหนังสือใดกองจดหมายเหตุแห่งชาติกรมศิ ลปากร
เห็นควรให้ส่งไปเก็บไว้ที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ก็ให้ส่วนราชการนั้น ๆ ปฏิบัติตาม
เพื่อประโยชน์ในการนี้ กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิล ปากร จะส่งเจ้าหน้าที่มาร่วม
ตรวจสอบหนังสือของส่วนราชการนั้นก็ได้

หมวด ๔
มาตรฐานตรา แบบพิมพ์ และซอง

ข้อ ๗๑ ตราครุฑสำหรับแบบพิมพ์ ให้ใช้ตามแบบที่ ๒๖ ท้ายระเบียบ มี ๒ ขนาด คือ


๗๑.๑ ขนาดตัวครุฑสูง ๓ เซนติเมตร
๗๑ ๒ ขนาดตัวครุฑสูง ๑.๕ เซนติเมตร

ข้อ ๗๒ ตราชื่อส่วนราชการให้ใช้ตามแบบที่ ๒๗ ท้ายระเบียบ มีลักษณะเป็นรูปวงกลมสอง


วงซ้อนกันเส้นผ่าศูนย์กลางวงนอก ๔.๕ เซนติเมตร วงใน ๓.๕ เซนติเมตร ล้อมครุฑตามข้อ ๗๑.๑ ระหว่างวง
นอกและวงในมีอักษรไทยชื่อกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม หรือ
จังหวัดอยู่ขอบล่างของตรา

หน้า ๑๓๔ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ส่วนราชการใดที่มีการติดต่อกับต่างประเทศ จะให้มีชื่อภาษาต่างประเทศเพิ่มขึ้นด้วยก็ได้โดย
ให้อักษรไทยอยู่ขอบบนและอักษรโรมันอยู่ขอบล่างของตรา

ข้อ ๗๓ ตรากำหนดเก็บหนังสือ คือ ตราที่ใช้ประทับบนหนังสือเก็บ เพื่อให้ทราบกำหนด


ระยะเวลาการเก็บหนังสือนั้นมีคำว่า เก็บถึง พ.ศ. .... หรือคำว่า ห้ามทำลาย ขนาดไม่เล็กกว่าตัวพิมพ์ ๒๔
พอยท์

ข้อ ๗๔ มาตรฐานกระดาษและซอง
๗๔.๑ มาตรฐานกระดาษโดยปกติให้ใช้กระดาษปอนด์ขาว น้ำหนัก ๖๐ กรัมต่อตารางเมตร
มี ๓ ขนาด คือ
๗๔.๑.๑ ขนาดเอ ๔ หมายความว่า ขนาด ๒๑๐ มิลลิเมตร × ๒๙๗ มิลลิเมตร
๗๔.๑.๒ ขนาดเอ ๕ หมายความว่า ขนาด ๑๔๘ มิลลิเมตร × ๒๑๐ มิลลิเมตร
๗๔.๑.๓ ขนาดเอ ๘ หมายความว่า ขนาด ๕๒ มิลลิเมตร × ๗๔ มิลลิเมตร
๗๔.๒ มาตรฐานซอง โดยปกติให้ใช้กระดาษสีขาวหรือสีน้ำตาล น้ำหนัก ๘๐ กรัมต่อตารางเมตร
เว้นแต่ซองขนาดซี ๔ ให้ใช้กระดาษน้ำหนัก ๑๒๐ กรัมต่อตารางเมตร มี ๔ ขนาด คือ
๗๔.๒.๑ ขนาดซี ๔ หมายความว่า ขนาด ๒๒๙ มิลลิเมตร × ๓๒๔ มิลลิเมตร
๗๔.๒.๒ ขนาดซี ๕ หมายความว่า ขนาด ๑๖๒ มิลลิเมตร × ๒๒๙ มิลลิเมตร
๗๔.๒.๓ ขนาดซี ๖ หมายความว่า ขนาด ๑๑๔ มิลลิเมตร × ๑๖๒ มิลลิเมตร
๗๔.๒.๔ ขนาดดีแอล หมายความว่า ขนาด ๑๑๐ มิลลิเมตร × ๒๒๐ มิลลิเมตร

ข้อ ๗๕ กระดาษตราครุฑ ให้ใช้กระดาษขนาดเอ ๔ พิมพ์ครุฑตามข้อ ๗๑.๑ ด้วยหมึกสีดำ


หรือทำเป็นครุฑดุน ที่กึ่งกลางส่วนบนของกระดาษ ตามแบบที่ ๒๘ ท้ายระเบียบ

ข้อ ๗๖ กระดาษบันทึกข้อความ ให้ใช้กระดาษขนาดเอ ๔ หรือขนาดเอ ๕ พิมพ์ครุฑตามข้อ


๗๑.๒ ด้วยหมึกสีดำที่มุมบนด้านซ้าย ตามแบบที่ ๒๙ ท้ายระเบียบ

ข้อ ๗๗ ซองหนังสือ ให้พิมพ์ครุฑตามข้อ ๗๑.๒ ด้วยหมึกสีดำที่มุมบนด้านซ้ายของซอง


๗๗.๑ ขนาดซี ๔ ให้สำหรับบรรจุหนังสือกระดาษตราครุฑ โดยไม่ต้องพับ มีชนิดธรรมดาและ
ขยายข้าง
๗๗.๒ ขนาดซี ๕ ใช้สำหรับบรรจุหนังสือกระดาษตราครุฑพับ ๒
๗๗.๓ ขนาดซี ๖ ใช้สำหรับบรรจุหนังสือกระดาษตราครุฑพับ ๔
๗๗.๔ ขนาดดีแอล ใช้สำหรับบรรจุหนังสือกระดาษตราครุฑพับ ๓
ส่วนราชการใดมีความจำเป็นต้องใช้ซองสำหรับส่งทางไปรษณีย์อากาศโดยเฉพาะ อาจใช้ซอง
พิเศษสำหรับส่งทางไปรษณีย์อากาศและพิมพ์ตราครุฑตามที่กล่าวข้างต้นได้โดยอนุโลม

ข้อ ๗๘ ตรารับหนังสือ คือ ตราที่ใช้ประทับบนหนังสือ เพื่อลงเลขทะเบียนรับหนังสือตาม


แบบที่ ๑๒ ท้ายระเบียบ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด ๒.๕ เซนติเมตร × ๕ เซนติเมตรมีชื่อส่วน
ราชการอยู่ตอนบน

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๓๕


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ข้อ ๗๙ ทะเบียนหนังสือรับ ใช้สำหรับลงรายการหนังสือที่ได้รับเข้าเป็นประจำวัน โดย
เรียงลำดับลงมาตามเวลาที่ได้รับหนังสือ มีขนาดเอ ๔ พิมพ์สองหน้า มีสองชนิด คือ ชนิดเป็นเล่มและชนิดเป็น
แผ่นตามแบบที่ ๑๓ ท้ายระเบียบ

ข้อ ๘๐ ทะเบียนหนังสือส่ง ใช้สำหรับลงรายการหนังสือที่ได้ส่งออกเป็นประจำวัน โดย


เรียงลำดับลงมาตามเวลาที่ได้ส่งหนังสือ มีขนาดเอ ๔ พิมพ์สองหน้า มีสองชนิด คือ ชนิดเป็นเล่มและชนิดเป็น
แผ่นตามแบบที่ ๑๔ ท้ายระเบียบ

ข้อ ๘๑ สมุดส่งหนังสือและใบรับหนังสือ ใช้สำหรับลงรายการละเอียดเกี่ยวกับการส่งหนังสือ


โดยให้ผู้นำส่งถือกำกับไปกับหนังสือเพื่อให้ผู้รับเซ็นรับแล้วรับกลับคืนมา
๘๑.๑ สมุดส่งหนังสือ เป็นสมุดสำหรับใช้ลงรายการส่งหนังสือ มีขนาดเอ ๕ พิมพ์สองหน้า
ตามแบบที่ ๑๖ ท้ายระเบียบ
๘๑.๒ ใบรับหนังสือ ใช้สำหรับกำกับไปกับหนังสือที่นำส่งโดยให้ผู้รับเซ็นชื่อรับแล้วรับกลับคืน
มา มีขนาดเอ ๘ พิมพ์หน้าเดียว ตามแบบที่ ๑๗ ท้ายระเบียบ

ข้อ ๘๒ บัตรตรวจค้น เป็นบัตรกำกับหนังสือแต่ละรายการเพื่อให้ทราบว่าหนังสือนั้นๆ ได้มี


การดำเนินการตามลำดับขั้นตอนอย่างใด จนกระทั่งเสร็จสิ้น บัตรนี้เก็บเรียงลำดับกันเป็นชุดในที่เก็บโดยมี
กระดาษติดเป็นบัตรดรรชนี ซึ่งแบ่งออกเป็นตอนๆ เพื่อสะดวกแก่การตรวจค้น มีขนาดเอ ๕ พิมพ์สองหน้า ตาม
แบบที่ ๑๘ ท้ายระเบียบ
ข้อ ๘๓ บัญชีหนังสือส่งเก็บ ใช้สำหรับลงรายการหนังสือที่จะส่งเก็บ มีขนาดเอ ๔ พิมพ์หน้า
เดียวตามแบบที่ ๑๙ ท้ายระเบียบ

ข้อ ๘๔ ทะเบียนหนังสือเก็บ เป็นทะเบียนที่ใช้ลงรายการหนังสือเก็บ มีขนาดเอ ๔ พิมพ์สอง


หน้ามีสองชนิด คือ ชนิดเป็นเล่ม และชนิดเป็นแผ่น ตามแบบที่ ๒๐ ท้ายระเบียบ

ข้อ ๘๕ บัญชีส่งมอบหนังสือครบ ๒๕ ปี เป็นบัญชีที่ใช้ลงรายการหนังสือที่มีอายุครบ ๒๕ ปี


ส่งมอบเก็บไว้ที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร มีลักษณะเป็นแผ่นขนาดเอ ๔ พิมพ์สองหน้าตามแบบที่
๒๑ ท้ายระเบียบ

ข้อ ๘๖ บัญชีหนังสือครบ ๒๕ ปี ที่ขอเก็บเอง เป็นบัญชีที่ใช้ลงรายการหนังสือที่มีอายุครบ


๒๕ ปี ซึ่งส่วนราชการนั้นมีความประสงค์จะเก็บไว้เอง มีลักษณะเป็นแผ่นขนาดเอ ๔ พิมพ์สองหน้าตามแบบที่
๒๒ ท้ายระเบียบ

ข้อ ๘๗ บัญชีฝากหนังสือ เป็นบัญชีที่ใช้ลงรายการหนังสือที่ส่วนราชการนำฝากไว้กับกอง


จดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร มีลักษณะเป็นแผ่นขนาดเอ ๔ พิมพ์สองหน้า ตามแบบที่ ๒๓ ท้ายระเบียบ

ข้อ ๘๘ บัตรยืมหนังสือ ใช้สำหรับเป็นหลักฐานแทนหนังสือที่ให้ยืมไป มีขนาดเอ ๔ พิมพ์


หน้าเดียว ตามแบบที่ ๒๔ ท้ายระเบียบ

หน้า ๑๓๖ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

ข้อ ๘๙ บัญชีหนังสือขอทำลาย เป็นบัญชีที่ใช้ลงรายการหนังสือที่ครบกำหนดเวลาการเก็บมี


ลักษณะเป็นแผ่นขนาดเอ ๔ พิมพ์สองหน้า ตามแบบที่ ๒๕ ท้ายระเบียบ

บทเฉพาะกาล

ข้อ ๙๐ แบบพิมพ์ และซอง ซึ่งมีอยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะหมด

ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๖


พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๘[๑๕]

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐[๑๖]

ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๑/๒๓ กันยายน ๒๕๔๘
[๑๕]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๓๒/๒๓ กันยายน ๒๕๔๘
[๑๖]
ราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๒๕ ง/หน้า ๕/๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๐

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๓๗


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

แนวข้อสอบ
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
และที่แก้ไขเพิ่มเติม

1. ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ คือข้อใด
ก. งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม
จนถึงการทำลาย
ข. การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน
ค. การรับส่งข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือ ผ่านระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ง. หนังสือราชการ
ตอบ ค.
2. ข้อใด ไม่ใช่ เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ
ก. หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ
ข. เอกสารที่ทางเอกชนจัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการ
ค. เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ
ง. ข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือที่ได้รับจากระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
ตอบ ข.
3. ข้อใดถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับ หนังสือราชการ
ก. เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ
ข. เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ
ค. เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการ
ง. ข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือที่ได้รับจากระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
ตอบ ก.
4. หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธี คือหนังสือใด
ก. หนังสือภายนอก ข. หนังสือประทับตรา
ค. หนังสือสั่งการ ง. หนังสือประชาสัมพันธ์
ตอบ ก.
5. หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีโดยใช้ตราครุฑเป็นหนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการ
มีถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ เรียกว่า
ก. หนังสือภายใน ข. หนังสือภายนอก
ค. หนังสือสั่งการ ง. หนังสือประทับตรา
ตอบ ข.
6. หนังสือที่ใช้ประทับตรา ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับใดขึ้นไป
ก. กรม ข. กอง
ค. แผนก ง. สำนัก
ตอบ ก.

หน้า ๑๓๘ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
7. บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้โดยจะอาศัยอำนาจของกฎหมายหรือไม่ก็ได้ เพื่อถือเป็นหลัก
ปฏิบัติงานเป็นการประจำ คือ
ก. ประกาศ ข. ข้อบังคับ
ค. คำสั่ง ง. ระเบียบ
ตอบ ง.
8. ข้อใดต่อไปนี้เป็น หนังสือเวียน
ก. มีใจความอย่างเดียวกัน
ข. หนังสือที่มีผู้รับจำนวนมาก
ค. มีพยัญชนะ ว หน้าเลขทะเบียนหนังสือส่ง
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
9. หนังสือภาษาต่างประเทศใช้กระดาษ ชนิดใด
ก. กระดาษตราครุฑ ข. กระดาษบันทึกข้อความ
ค. กระดาษพิมพ์เขียว ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ก.
10. หนังสือที่รับเข้ามาจากภายนอก คือ
ก. หนังสือส่ง ข. หนังสือรับ
ค. หนังสือภายนอก ง. หนังสือที่รับเข้ามา
ตอบ ข.
11. หนังสือที่ส่งออกไปภายนอก คือ
ก. หนังสือส่ง ข. หนังสือรับ
ค. หนังสือภายนอก ง. หนังสือที่รับเข้ามา
ตอบ ก.
12. การเก็บหนังสือแบ่งได้กี่ประเภท
ก. 1 ประเภท ข. 2 ประเภท
ค. 3 ประเภท ง. 4 ประเภท
ตอบ ค.
13. การเก็บหนังสือที่ปฏิบัติยังไม่เสร็จ ให้อยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าของเรื่อง
ก. การเก็บระหว่างปฏิบัติ ข. การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว
ค. การเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ ง. การเก็บไว้เพื่อปฏิบัติอีกครั้ง
ตอบ ก.
14. การเก็บหนังสือที่ปฏิบัติเสร็จเสร็จเรียบร้อยแล้วและไม่มีอะไรที่จะต้องปฏิบัติต่อไปอีก
ก. การเก็บระหว่างปฏิบัติ ข. การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว
ค. การเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ ง. การเก็บไว้เพื่อปฏิบัติอีกครั้ง
ตอบ ข.
15. การเก็บหนังสือที่ปฏิบัติเสร็จเสร็จเรียบร้อยแล้วแต่จำเป็นต้องใช้ในการตรวจสอบเป็นประจำ
ก. การเก็บระหว่างปฏิบัติ ข. การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว
ค. การเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ ง. การเก็บไว้เพื่อปฏิบัติอีกครั้ง
ตอบ ค.
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๓๙
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
16. หนังสือที่ต้องการเก็บไว้ตลอดไป ให้ประทับตราคำว่า....ด้วยหมึกสี
ก. ห้ามทิ้ง / แดง ข. ห้ามทิ้ง / น้ำเงิน
ค. ห้ามทำลาย / แดง ง. เก็บตลอดไป / แดง
ตอบ ค.
17. หนังสือที่ต้องการเก็บโดยมีกำหนดเวลา ให้ประทับตราคำว่า....ด้วยหมึกสี
ก. เก็บตลอดไป / แดง ข. ห้ามทิ้ง / น้ำเงิน
ค. ห้ามทำลาย / แดง ง. เก็บถึง พ.ศ. ......... / น้ำเงิน
ตอบ ง.
18. ตราชื่อส่วนราชการมีลักษณะเป็นวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลางวงนอกกี่เซนติเมตร และเส้นผ่านศูนย์กลาง
วงในกี่เซนติเมตร
ก. 5 ซม. และ 3 ซม. ข. 4.5 ซม. และ 3.5 ซม.
ค. 4.5 ซม. และ 2.5 ซม. ง. 3.5 ซม. และ 2.5 ซม.
ตอบ ข.
19. มาตรฐานกระดาษโดยปกติแบ่งได้กี่ขนาด
ก. 2 ขนาด ข. 3 ขนาด
ค. 4 ขนาด ง. 5 ขนาด
ตอบ ข.
20. ข้อบังคับใช้กระดาษแบบใด
ก. กระดาษตราครุฑ ข. กระดาษบันทึกข้อความ
ค. กระดาษคำสั่ง ง. กระดาษขนาด A4
ตอบ ก.
21. บรรดาข้อความที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ทราบ เรียกว่า
ก. ประกาศ ข. แถลงการณ์
ค. ข่าว ง. คำสั่ง
ตอบ ค.
22. หนังสือรับรอง ในกรณีที่การรับรองเป็นเรื่องสำคัญที่ออกให้แก่บุคคล ให้ติดรูปถ่ายของผู้ที่ได้รับ
การรับรอง ขนาดใด
ก. 1 x 2 เซนติเมตร ข. 3 x 4 เซนติเมตร
ค. 4 x 5 เซนติเมตร ง. 4 x 6 เซนติเมตร
ตอบ ง.
23. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ มีกี่ชนิด
ก. 2 ชนิด ข. 3 ชนิด
ค. 4 ชนิด ง. 5 ชนิด
ตอบ ค.
24. รายงานการประชุม ให้ทำการบันทึกความคิดเห็นไว้เป็นหลักฐาน ยกเว้นข้อใด
ก. ผู้มาประชุม ข. ผู้ไม่มาประชุม
ค. ผู้เข้าร่วมประชุม ง. มติของที่ประชุม
ตอบ ข.

หน้า ๑๔๐ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
25. ข้อใดคือหนังสือที่ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติเร็วกว่าปกติ เท่าที่จะทำได้
ก. ด่วนมาก ข. ด่วน
ค. ด่วนที่สุด ง. ด่วนในทันที
ตอบ ข.
26. หนังสือที่ได้ปฏิบัติงานเสร็จสิ้นแล้ว และเป็นคู่สำเนาที่มีต้นเรื่องจะค้นได้จากที่อื่นให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่ากี่ปี
ก. 1 ปี ข. 5 ปี
ค. 10 ปี ง. 25 ปี
ตอบ ข.
27. อายุการเก็บหนังสือ โดยปกติให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่ากี่ปี
ก. 1 ปี ข. 3 ปี
ค. 5 ปี ง. 10 ปี
ตอบ ง.
28. ทุกปีปฏิทินให้ส่วนราชการจัดส่งหนังสือที่มีอายุครบกี่ปี นับจากวันที่ได้จัดทำขึ้น ให้กองจดหมายเหตุ
แห่งชาติ กรมศิลปากร
ก. 10 ปี ข. 15 ปี
ค. 20 ปี ง. 25 ปี
ตอบ ค.
29. ตราครุฑสำหรับแบบพิมพ์ มีกี่ขนาด
ก. 1 ขนาด ข. 2 ขนาด
ค. 3 ขนาด ง. 4 ขนาด
ตอบ ข.
30. มาตรฐานซอง โดยปกติให้ใช้กระดาษสีขาวหรือสีน้ำตาล น้ำหนักกี่กรัมต่อ ตารางเมตร
ก. 20 กรัม ข. 40 กรัม
ค. 60 กรัม ง. 80 กรัม
ตอบ ง.
31. มาตรฐานกระดาษ โดยปกติให้ใช้กระดาษปอนด์ขาว น้ำหนักกี่กรัมต่อ ตารางเมตร
ก. 20 กรัม ข. 40 กรัม
ค. 60 กรัม ง. 80 กรัม
ตอบ ค.
32. ตราชื่อส่วนราชการ มีลักษณะเป็นรูปวงกลมสองวงซ้อนกันล้อมครุฑ เส้นผ่าศูนย์กลางวงในกี่เซนติเมตร
ก. 2.0 เซนติเมตร ข. 3.5 เซนติเมตร
ค. 4.5 เซนติเมตร ง. 5.0 เซนติเมตร
ตอบ ข.
33. ให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมแต่งตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือ ประกอบด้วยประธานกรรมการ
และกรรมการอีกอย่างน้อยกี่คน
ก. 1 คน ข. 2 คน
ค. 3 คน ง. 4 คน
ตอบ ข.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๔๑


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
34. ใครเป็นผู้รักษาการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ค. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ตอบ ค.
35. หนังสือ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 มีกี่ชนิด
ก. 4 ชนิด ข. 6 ชนิด
ค. 8 ชนิด ง. 10 ชนิด
ตอบ ข.
36. หนังสือภายใน หนังสือภายใน ครุฑสูงขนาดเท่าใด
ก. 4.5 ซม. ข. 3.0 ซม.
ค. 3.5 ซม. ง. 1.5 ซม.
ตอบ ง.
37. หนังสือประทับตรา ผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อกำกับตรา ต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับใดขึ้นไป
ก. หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
ข. หัวหน้าส่วนราชการระดับกอง
ค. หัวหน้าส่วนราชการระดับสำนัก
ง. หัวหน้าส่วนราชการระดับแผนก
ตอบ ข.
38. บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้ โดยจะอาศัยอำนาจของกฎหมายหรือไม่ก็ได้เพื่อถือเป็นหลัก
ปฏิบัติงานเป็นการประจำ คือ
ก. คำสั่ง ข. ระเบียบ
ค. ข้อบังคับ ง. หลักเกณฑ์
ตอบ ข.
39. หนังสือประชาสัมพันธ์มี 3 ชนิด ได้แก่
ก. แถลงการณ์ ประกาศ และข่าว ข. ประกาศ ระเบียบ และข่าว
ค. ข่าว คำสั่ง แถลงการณ์ ง. คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ
ตอบ ก.
40. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ มีกี่ชนิด
ก. 3 ชนิด ข. 4 ชนิด
ค. 5 ชนิด ง. 6 ชนิด
ตอบ ข.
41. หนังสือที่ ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยเร็ว เป็นหนังสือที่ต้องจัดส่งและดำเนินการทางสารบรรณ
ด้วยความรวดเร็วเป็นพิเศษ ชนิดใด
ก. ด่วน ข. ด่วนโดยเร็ว
ค. ด่วนมาก ง. ด่วนที่สุด
ตอบ ค.

หน้า ๑๔๒ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
42. ชั้นความเร็วของหนังสือ ให้ระบุชั้นความเร็วด้วยตัวอักษรสีแดงขนาดไม่เล็กกว่าตัวพิมพ์โป้งกี่พอยท์
ก. 16 พอยท์ ข. 18 พอยท์
ค. 24 พอยท์ ง. 32 พอยท์
ตอบ ง.
43. สำเนาคู่ฉบับให้ผู้ลงชื่อลงลายมือชื่อ หรือลายมือชื่อย่อ และให้ผู้ร่าง ผู้พิมพ์ และผู้ตรวจลงลายมือชื่อ
หรือลายมือชื่อย่อไว้ที่
ก. ข้างท้ายขอบล่างด้านขวาของหนังสือ
ข. ข้างท้ายขอบล่างตรงกลางของหนังสือ
ค. ข้างท้ายขอบล่างใต้ชื่อส่วนราชการที่ออกหนังสือ
ง. ข้างท้ายขอบล่างด้านซ้ายของหนังสือ
ตอบ ก.
44. หนังสือที่เจ้าของหนังสือเห็นว่ามีส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องควรได้รับทราบด้วย โดยปกติให้ส่งสำเนา
ไปให้ทราบโดยทำเป็น
ก. หนังสือประชาสัมพันธ์ ข. หนังสือประทับตรา
ค. หนังสือภายนอก ง. หนังสือภายใน
ตอบ ข.
45. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ หนังสือเวียน
ก. มีใจความอย่างเดียวกัน
ข. หนังสือที่มีถึงผู้รับเป็นจำนวนมาก
ค. กำหนดเป็นเลขที่หนังสือเวียนโดยเฉพาะ
ง. เพิ่มรหัสตัวพยัญชนะ ว ท้ายเลขทะเบียนหนังสือส่ง
ตอบ ง.
46. ขั้นตอนในการรับหนังสือข้อใดถูกต้องที่สุด
ก. จัดแยกหนังสือส่งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง-ประทับตรารับหนังสือ-ลงทะเบียนรับหนังสือ
-จัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วน
ข. ลงทะเบียนรับหนังสือ-ประทับตรารับหนังสือ-จัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วน
-จัดแยกหนังสือส่งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
ค. ประทับตรารับหนังสือ-ลงทะเบียนรับหนังสือ-จัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วน
-จัดแยกหนังสือส่งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
ง. จัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วน-ประทับตรารับหนังสือ-ลงทะเบียนรับหนังสือ
-จัดแยกหนังสือส่งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
ตอบ ง.
47. ข้อใด ไม่ใช่ การเก็บหนังสือ
ก. การเก็บระหว่างปฏิบัติ
ข. การเก็บระหว่างการตรวจสอบ
ค. การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว
ง. การเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ
ตอบ ข.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๔๓


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
48. หนังสือที่ได้ปฏิบัติงานเสร็จสิ้นแล้ว และเป็นคู่สำเนาที่มีต้นเรื่องจะค้นได้จากที่อื่น ให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่ากี่ปี
ก. 1 ปี ข. 2 ปี
ค. 3 ปี ง. 5 ปี
ตอบ ง.
49. การยืมหนังสือภายในส่วนราชการเดียวกัน ผู้ยืมและผู้อนุญาตให้ยืมต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับใดขึ้นไป
ก. หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ข. หัวหน้าส่วนราชการระดับกอง
ค. หัวหน้าส่วนราชการระดับสำนัก ง. หัวหน้าส่วนราชการระดับแผนก
ตอบ ง.
50. ภายในกี่วันหลังจากวันสิน้ ปีปฏิทินให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเก็บหนังสือสำรวจหนังสือที่ครบกำหนด
อายุการเก็บในปีนั้น เพื่อเสนอขอทำลาย
ก. 30 วัน ข. 45 วัน
ค. 60 วัน ง. 90 วัน
ตอบ ค.
51. ตราชื่อส่วนราชการ มีลักษณะเป็นรูปวงกลมสองวงซ้อนกันเส้นผ่าศูนย์กลางวงนอกกี่เซนติเมตร
ก. 2.0 เซนติเมตร ข. 3.5 เซนติเมตร
ค. 4.5 เซนติเมตร ง. 5.0 เซนติเมตร
ตอบ ค.
52. มาตรฐานกระดาษขนาด 210 มิลลิเมตร × 297 มิลลิเมตร เป็นกระดาษแบบใด
ก. ขนาดเอ 0 ข. ขนาดเอ 4
ค. ขนาดเอ 5 ง. ขนาดเอ 8
ตอบ ข.
53. ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ หนังสือมีกี่ชนิด
ก. 2 ชนิด ข. 3 ชนิด
ค. 6 ชนิด ง. 9 ชนิด
ตอบ ค.
54. หนังสือ ติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน คือหนังสือตามข้อใด
ก. หนังสือสั่งการ
ข. หนังสือภายใน
ค. หนังสือภายนอก
ง. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้น หรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ
ตอบ ข.
55. การให้บุคคลภายนอกยืมหนังสือจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะให้ดูหรือคัดลอกหนังสือ ทั้งนี้ จะต้องได้รับ
อนุญาตจากหัวหน้าส่วนราชการระดับใดขึ้นไป
ก. หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม
ข. หัวหน้าส่วนราชการระดับกอง
ค. หัวหน้าส่วนราชการระดับสำนัก
ง. หัวหน้าส่วนราชการระดับแผนก
ตอบ ข.

หน้า ๑๔๔ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
56. การประทับตรารับหนังสือ ข้อใดกล่วถูกต้อง
ก. มุมบนด้านขวาของหนังสือ ข. มุมบนด้านซ้ายของหนังสือ
ค. มุมล่างด้านขวาของหนังสือ ง. มุมล่างด้านซ้ายของหนังสือ
ตอบ ก.
57. หนังสือภาษาต่างประเทศ ให้ใช้กระดาษชนิดใด
ก. กระดาษตราครุฑ ข. กระดาษบันทึกข้อความ
ค. กระดาษของกระทรวงการต่างประเทศ
ง. กระดาษตามที่ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด
ตอบ ก.
58. ชั้นความเร็วของหนังสือที่ระบุว่า ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยเร็ว คือข้อใด
ก. ด่วนที่สุด ข. ด่วนมาก
ค. ด่วนภายใน ง. ด่วน
ตอบ ข.
59. รายงานการประชุมไม่ต้องบันทึกสิ่งใดไว้เป็นหลักฐาน
ก. ผู้มาประชุม ข. มติของที่ประชุม
ค. ผู้เข้าร่วมประชุม ง. ผู้ไม่มาประชุม
ตอบ ง.
60. หนังสือรับรอง ให้ใช้กระดาษชนิดใด
ก. กระดาษตราครุฑ ข. กระดาษบันทึกข้อความ
ค. กระดาษรับรองโดยเฉพาะ ง. กระดาษที่จัดทำตามแบบ
ตอบ ก.
61. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ มีกี่ชนิด
ก. 3 ชนิด ข. 4 ชนิด
ค. 5 ชนิด ง. 6 ชนิด
ตอบ ข.
62. หนังสือประชาสัมพันธ์มีกี่ชนิด
ก. 3 ชนิด ข. 4 ชนิด
ค. 5 ชนิด ง. 6 ชนิด
ตอบ ก.
63. บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมาย ที่บัญญัติให้กระทำได้เรียกว่า
ก. คำสั่ง ข. ระเบียบ
ค. ข้อบังคับ ง. กฎหมาย
ตอบ ค.
64. ข้อใดไม่สมควรใช้หนังสือประทับตรา
ก. การเตือนเรื่องที่ค้าง
ข. การตอบรับทราบเกี่ยวกับการเงิน
ค. การส่งสำเนาหนังสือ สิ่งของ เอกสาร หรือบรรณสาร
ง. การแจ้งผลงานที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ
ตอบ ข.
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๔๕
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
65. ซองขนาดใดใช้สำหรับบรรจุหนังสือกระดาษตราครุฑพับ 3
ก. ขนาดซี 4 ข. ขนาดซี 5
ค. ขนาดซี 6 ง. ขนาด DL
ตอบ ง.
66. ตรารับหนังสือ มีขนาดตามข้อใด
ก. ขนาด 2.0 เซนติเมตร × 4 ข. ขนาด 2.5 เซนติเมตร × 4
ค. ขนาด 2.0 เซนติเมตร × 5 ง. ขนาด 2.5 เซนติเมตร × 5
ตอบ ง.
67. กระดาษ A4 ที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบันมีขนาดตามข้อใด
ก. ขนาด 210 มม. × 297 มม. ข. ขนาด 210 มม. × 290 มม.
ค. ขนาด 200 มม. × 290 มม. ง. ขนาด 200 มม. × 295 มม.
ตอบ ก.
68. ตราครุฑสำหรับแบบพิมพ์ มีกี่ขนาด
ก. 1 ขนาด ข. 2 ขนาด
ค. 3 ขนาด ง. 4 ขนาด
ตอบ ข.
69. คณะกรรมการทำลายหนังสือโดยปกติให้แต่งตั้งจากข้าราชการตั้งแต่ระดับใดขึ้นไป
ก. ระดับปฏิบัติการ ข. ระดับปฏิบัติงาน
ค. ระดับชำนาญงาน ง. ถูกทั้ง ก และ ค
ตอบ ง.
70. ภายในกี่วัน ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเก็บหนังสือสำรวจหนังสือที่ครบกำหนดอายุการเก็บในปีนั้น
เพื่อขอทำลาย
ก. 30 วันหลังจากวัน 1 มกราคม ของปีปัจจุบัน
ข. 30 วันหลังจากวันสิ้นปีปฏิทิน
ค. 60 วันหลังจากวัน 1 มกราคม ของปีปัจจุบัน
ง. 60 วันหลังจากวันสิ้นปีปฏิทิน
ตอบ ง.
71. ขนาดซอง 229 มิลลิเมตร × 328 มิลลิเมตร เป็นซองขนาดใด
ก. ขนาดซี 4 ข. ขนาดซี 5
ค. ขนาดซี 6 ง. ขนาดDL
ตอบ ก.
72. ข้อใด ไม่ใช่ องค์ประกอบของ กระดาษตราครุฑ
ก. ให้ใช้กระดาษขนาดเอ 4
ข. พิมพ์ครุฑด้วยหมึกสีดำ
ค. ทำเป็นครุฑดุน
ง. พิมพ์ที่กึ่งกลางส่วนล่างของกระดาษ
ตอบ ง.

หน้า ๑๔๖ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
73. ตรารับหนังสือ มีลักษณะเป็นรูปทรงแบบใด
ก. สี่เหลี่ยมผืนผ้า ข. สี่เหลี่ยมจัตุรัส
ค. สามเหลี่ยม ง. ทรงกระบอก
ตอบ ก.
74. ทะเบียนหนังสือส่ง ใช้สำหรับลงรายการหนังสือที่ได้ส่งออกเป็นประจำวัน ใช้กระดาษขนาดเท่าใด
ก. เอ 4 ข. เอ 5
ค. บี 5 ง. เอ 8
ตอบ ก.
75. ขนาดตัวครุฑนอกจากจะมีขนาดสูง 3 เซนติเมตรแล้ว ยังมีขนาดใดอีก
ก. 1.0 ซม. ข. 1.5 ซม.
ค. 2.0 ซม. ง. 2.5 ซม
ตอบ ข.
76. หนังสือที่จัดทำขึ้นโดยปกติให้มีสำเนาคู่ฉบับเก็บไว้ที่ต้นเรื่องกี่ฉบับ
ก. 1 ฉบับ ข. 2 ฉบับ
ค. 3 ฉบับ ง. 4 ฉบับ
ตอบ ก.
77. ข้อใด ไม่ใช่ สื่อกลางบันทึกข้อมูล
ก. แถบบันทึกเสียง ข. จานแม่เหล็ก
ค. เทปแม่เหล็ก ง. แผ่นบันทึกข้อมูล
ตอบ ก.
78. ชั้นความเร็วของหนังสือให้ระบุชั้นความเร็วด้วยตัวอักษรสีแดงขนาดไม่เล็กกว่าตัวพิมพ์โป้งกี่พอยท์
ก. 16 พอยท์ ข. 18 พอยท์
ค. 24 พอยท์ ง. 32 พอยท์
ตอบ ง.
79. หนังสือเวียน ให้เพิ่มรหัสตัวพยัญชนะใดหน้าเลขทะเบียนหนังสือส่ง
ก. ว ข. นว
ค. หสว ง. ว/
ตอบ ก.
80. สำเนาคู่ฉบับไม่ต้องลงลายมือชื่อผู้ใด
ก. ผู้ร่าง ข. ผู้ทาน
ค. ผู้ตรวจ ง. ผู้พิมพ์
ตอบ ข.
81. หนังสือที่ได้ปฏิบัติงานเสร็จสิ้นแล้ว และเป็นคู่สำเนาที่มีต้นเรื่องจะค้นได้จากที่อื่น ให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่ากี่ปี
ก. 1 ปี ข. 5 ปี
ค. 10 ปี ง. 20 ปี
ตอบ ข.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๔๗


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
82. อายุการเก็บหนังสือ โดยปกติให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่ากี่ปี
ก. 1 ปี ข. 5 ปี
ค. 10 ปี ง. 20 ปี
ตอบ ค.
83. ทุกปีปฏิทินให้ส่วนราชการจัดส่งหนังสือที่มีอายุครบ 20 ปี ส่งให้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
กรมศิลปากร ภายในวันที่
ก. 31 มกราคม ของปีถัดไป
ข. 31 ธันวาคม ของปีที่ลวงมา
ค. 1 มกราคม ของปีถัดไป
ง. 1 ธันวาคม ของปีที่ลวงมา
ตอบ ก.
84. หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีโดยใช้กระดาษตราครุฑ เป็นหนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ
หรือส่วนราชการมีถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีถึงบุคคลภายนอกคือ
ก. หนังสือสั่งการ
ข. หนังสือประชาสัมพันธ์
ค. หนังสือประทับตรา
ง. หนังสือภายนอก
ตอบ ง.
85. หนังสือที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติ เป็นหนังสือที่ต้องจัดส่งและดำเนินการทางสารบรรณ
ด้วยความรวดเร็วเป็นพิเศษ แบ่งเป็นกี่ประเภท
ก. 3 ประเภท ข. 4 ประเภท
ค. 5 ประเภท ง. 6 ประเภท
ตอบ ก.
86. ส่วนราชการที่มีการติดต่อกับต่างประเทศ ตราชื่อส่วนราชการอักษรโรมันให้อยู่จุดใดของตรา
ก. ขอบล่าง ข. ขอบบน
ค. ด้านซ้าย ง. ด้านขวา
ตอบ ก.
87. ตรากำหนดเก็บหนังสือต้องมีขนาดไม่เล็กกว่าตัวพิมพ์กี่พอยท์
ก. 16 พอยท์ ข. 18 พอยท์
ค. 24 พอยท์ ง. 32 พอยท์
ตอบ ค.
88. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการรักษาหนังสือ
ก. ให้เจ้าหน้าที่ระมัดระวังรักษาหนังสือให้อยู่ในสภาพใช้ราชการได้ทุกโอกาส
ข. หากชำรุดเสียหาย ต้องรีบรายงานผู้บังคับบัญชาทราบ
ค. หากสูญหายต้องหาสำเนามาแทน
ง. ถ้าชำรุดเสียหายจนไม่สามารถซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมได้ ให้รายงานผู้บังคับบัญชาทราบ
ตอบ ข.

หน้า ๑๔๘ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
89. การยืมหนังสือที่ส่งเก็บแล้ว ต้องปฏิบัติอย่างไร
ก. ผู้ยืมจะต้องแจ้งให้ทราบว่าเรื่องที่ยืมนั้นจะนำไปใช้ในราชการใด
ข. การยืมหนังสือระหว่างส่วนราชการ ผู้ยืมและผู้อนุญาตให้ยืมต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการ
ระดับกองขึ้นไป หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ค. การยืมหนังสือภายในส่วนราชการเดียวกัน ผู้ยืมและผู้อนุญาตให้ยืมต้องเป็นหัวหน้าส่วนราชการ
ระดับแผนกขึ้นไป หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
90. ในกรณีที่คณะกรรมการมีความเห็นว่าหนังสือเรื่องใดควรให้ทำลาย ให้กรอกเครื่องหมายใดลงใน
ช่องการพิจารณา
ก. ถูกต้อง ข. กากบาท
ค. ขีดทบ ง. ดอนจัน
ตอบ ข.
91. ซองขนาด ซี 6 มีขนาดเท่าใด
ก. ขนาด 229 x 324 มม. ข. ขนาด 162 x 229 มม.
ค. ขนาด 114 x 162 มม. ง. ขนาด 110 x 220 มม.
ตอบ ค.
92. ซองขนาด DL มีขนาดเท่าใด
ก. ขนาด 229 x 324 มม. ข. ขนาด 162 x 229 มม.
ค. ขนาด 114 x 162 มม. ง. ขนาด 110 x 220 มม.
ตอบ ง.
93. กระดาษตราครุฑใช้กระดาษชนิดใด
ก. เอ 3 ข. เอ 4
ค. เอ 5 ง. เอ 8
ตอบ ข.
94. กระดาษบันทึกข้อความใช้กระดาษชนิดใด
ก. เอ 4 ข. เอ 4 และ เอ 5
ค. เอ 5 และ เอ 8 ง. เอ 8
ตอบ ข.
95. ซองหนังสือให้พิมพ์ครุฑด้วยหมึกสีดำที่มุมด้านใด
ก. มุมบนด้านขวา ข. มุมบนด้ายซ้าย
ค. มุมล่างด้านขวา ง. มุมล่างด้านซ้าย
ตอบ ข.
96. ซองชนิดใดให้กระดาษตราครุฑพับ 2
ก. ขนาดซี 4 ข. ขนาดซี 5
ค. ขนาดซี 6 ง. ขนาดDL
ตอบ ข.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๔๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
97. ซองชนิดใดให้กระดาษตราครุฑพับ 3
ก. ขนาดซี 4 ข. ขนาดซี 5
ค. ขนาดซี 6 ง. ขนาดDL
ตอบ ง.
98. ซองชนิดใดให้กระดาษตราครุฑพับ 4
ก. ขนาดซี 4 ข. ขนาดซี 5
ค. ขนาดซี 6 ง. ขนาด DL
ตอบ ค.
99. ซองชนิดใดให้กระดาษตราครุฑแบบไม่ต้องพับ
ก. ขนาดซี 4 ข. ขนาดซี 5
ค. ขนาดซี 6 ง. ขนาด DL
ตอบ ก.
100. ตรารับหนังสือ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด
ก. 2.5 x 4 เซนติเมตร ข. 2.5 x 5 เซนติเมตร
ค. 2 x 4 เซนติเมตร ง. 3 x 5.5 เซนติเมตร
ตอบ ข.
101. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2564 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันใด
ก. 23 พฤษภาคม 2564 ข. 25 พฤษภาคม 2564
ค. 26 พฤษภาคม 2564 ง. 29 พฤษภาคม 2564
ตอบ ข.
102. กรณีที่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบอีเมลขยะหรืออีเมลโฆษณา เช่น Spam mail หรือ Junk mail
หรือ Hoax mail ให้ดำเนินการอย่างไร
ก. ตอบกลับ ข. เปิดเอกสาร
ค. ลบอีเมลนั้นทิ้งทันที ง. คลิกลิงก์ที่แนบมากับอีเมลนั้น
ตอบ ง.
103. ข้อใดเป็นการตั้งชื่อไฟล์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2564
ที่ถูกต้องที่สุด
ก. ๒๕๖๔_OPM๐๙๑๓_๕๖.pdf
ข. 2564_OPM0913_56.pdf
ค. ๒๕๖๔/OPM๐๙๑๓/๕๖.pdf
ง. 2564/OPM0913/56.pdf
ตอบ ข.

หน้า ๑๕๐ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการลาของข้าราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๕

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการให้มีความเหมาะสมและ
สอดคล้องกับการปฏิบัติราชการ

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ (๘) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน


พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบไว้ดังนี้

ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ.


๒๕๕๕”

ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(๑) ระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๕
(๒) ระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๙
(๓) ระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒

ข้อ ๔ ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้ และมีอำนาจตีความและวินิจฉัย


ปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้

หมวด ๑
บททั่วไป

ข้อ ๕ ในระเบียบนี้
“ปลั ด กระทรวง” ให้ ห มายความรวมถึ ง ปลัด สำนั ก นายกรั ฐ มนตรี ปลั ด ทบวง และรอง
ปลัดกระทรวง ผู้เป็นหัวหน้ากลุ่มภารกิจ
“หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง” หมายความว่า ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงหรือ
ปลัดทบวง ในฐานะผู้บังคับบัญชาสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวงหรือสำนักงาน
ปลัดทบวง แล้วแต่กรณี หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะหรือไม่มีฐานะเป็นกรมซึ่งขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือ
รัฐมนตรี หรือหัวหน้าส่วนราชการที่มีกฎหมายกำหนดให้การปฏิ บัติราชการขึ้นตรงหรืออยู่ภายใต้การบังคับ
บัญชาของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๕๑


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
“หัวหน้าส่วนราชการ” หมายความว่า อธิบดี หัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมี
ฐานะเป็นกรม หัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีฐานะเป็นอธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัดและให้
หมายความรวมถึงเลขานุการรัฐมนตรีในฐานะผู้บังคับบัญชาสำนักงานรัฐมนตรีด้วย
“เข้ารับการตรวจเลือก” หมายความว่า เข้ารับการตรวจเลือกเพื่อรับราชการเป็นทหารกอง
ประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
“เข้ารับการเตรียมพล” หมายความว่า เข้ารับการระดมพล เข้ารับการตรวจสอบพล เข้ารับ
การฝึกวิชาทหาร หรือเข้ารับการทดลองความพรั่งพร้อม ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
“ลาติดตามคู่สมรส” หมายความว่า ลาติดตามสามีหรือภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายที่เป็น
ข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งไปปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือไปปฏิบัติงานในต่างประเทศหรือทางราชการ
สั่งให้ไปปฏิบัติงานในต่างประเทศตั้งแต่ ๑ ปีขึ้นไปตามความต้องการของทางราชการตามพระราชกฤษฎีกา
เกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทำการซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ
แต่ไม่รวมถึงกรณีที่คู่สมรสลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย หรือดูงาน ณ ต่างประเทศ

ข้อ ๖ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพล
เรือน ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบัน
อุดมศึกษา ข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง และข้าราชการตำรวจตาม
กฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ
ในกรณีที่กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเทียบเท่ากรมมี
เหตุพิเศษซึ่งจะต้องวางหลักเกณฑ์และขั้นตอนวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลาประเภทใดเพิ่มเติมหรือแตกต่างไปจากที่
ระเบียบนี้กำหนด ให้ดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติให้กำหนดระเบียบเป็นการเฉพาะได้ ทั้งนี้ให้ปลัด
สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

ข้อ ๗ การลาทุกประเภทตามระเบียบนี้ ถ้ามีกฎหมาย ระเบียบ หรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนด


เกี่ยวกับการลาประเภทใดไว้เป็นพิเศษ ผู้ลาและผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ หรือมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการลาประเภทนั้นด้วย

ข้อ ๘ ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลา และการใช้อำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลา


สำหรับข้าราชการแต่ละประเภท ให้เป็นไปตามตารางที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้
ส่วนราชการหรือหน่วยงานใดมีข้าราชการหลายประเภท ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาต
การลาของส่วนราชการหรือหน่วยงานนั้นมีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาสำหรับข้าราชการทุกประเภทที่
อยู่ในสังกัดส่วนราชการหรือหน่วยงานนั้น
ในกรณีที่ผู้มีอำนาจอนุญาตการลาตามระเบียบนี้ไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ และมี
เหตุจำเป็นเร่งด่วนไม่อาจรอขออนุญาตจากผู้มีอำนาจอนุญาตได้ ให้ผู้ลาเสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้มีอำนาจ
อนุญาตชั้นเหนือขึ้นไปเพื่อพิจารณา และเมื่ออนุญาตแล้วให้แจ้งให้ผู้มีอำนาจอนุญาตตามระเบียบนี้ทราบด้วย
ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาจะมอบหมายหรือมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้แก่
ผู้ดำรงตำแหน่งอื่น เป็นผู้พิจารณาหรืออนุญาตแทนก็ได้โดยให้คำนึงถึงระดับตำแหน่งและความรับผิดชอบของ
ผู้รับมอบอำนาจเป็นสำคัญ

หน้า ๑๕๒ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
การลาของข้าราชการในช่วงก่อนและหลังวันหยุดราชการประจำสัปดาห์หรือวันหยุดราชการ
ประจำปีเพื่อให้มีวันหยุดต่อเนื่องกัน ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตใช้ดุลพินิจตามความเหมาะสมและ
จำเป็นที่จะอนุญาตให้ลาได้ โดยมิให้เสียหายแก่การปฏิบัติราชการ

ข้อ ๙ ข้าราชการผู้ใดได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการ ณ หน่วยงานอื่นใดของทางราชการ หาก


ประสงค์จะลาป่วย ลาคลอดบุตร ลากิจส่วนตัว ลาพักผ่อน หรือลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียม
พลในระหว่างเวลาที่ไปช่วยราชการ ให้เสนอขออนุญาตลาต่อผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานที่ไปช่วยราชการ แล้ว
ให้หน่วยงานนั้นรายงานจำนวนวันลาให้หน่วยงานต้นสังกัดของผู้นั้นทราบอย่างน้อยปีละครั้ง
การลาประเภทอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ให้เสนอขออนุญาตลาต่อผู้มีอำนาจพิจารณา
หรืออนุญาตการลาของส่วนราชการเจ้าสังกัดตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับการลาประเภทนั้น

ข้อ ๑๐ การนับวันลาตามระเบียบนี้ให้นับตามปีงบประมาณ
การนับวันลาเพื่อประโยชน์ในการเสนอหรือจัดส่งใบลา อนุญาตให้ลา และคำนวณวันลาให้นับ
ต่อเนื่องกันโดยนับวันหยุดราชการที่อยู่ในระหว่างวันลาประเภทเดียวกันรวมเป็นวันลาด้วย เว้นแต่การนับเพื่อ
ประโยชน์ในการคำนวณวันลาสำหรับวันลาป่วยที่มิใช่วันลาป่วยตามกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์ข้าราชการผู้
ได้รับอันตรายหรือการป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติราชการ วันลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตรวันลากิจส่วนตัว
และวันลาพักผ่อน ให้นับเฉพาะวันทำการ
การลาป่วยหรือลากิจส่วนตัวซึ่งมีระยะเวลาต่อเนื่องกัน จะเป็นในปีงบประมาณเดียวกัน
หรือไม่ก็ตาม ให้นับเป็นการลาครั้งหนึ่ง ถ้าจำนวนวันลาครั้งหนึ่งรวมกันเกินอำนาจของผู้มีอำนาจอนุญาตระดับ
ใด ให้นำใบลาเสนอขึ้นไปตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต
ข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร ลากิจส่วนตัวซึ่งมิใช่ล ากิจ
ส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรตามข้อ ๒๒ หรือลาพักผ่อน ซึ่งได้หยุดราชการไปยังไม่ครบกำหนด ถ้ามีราชการจำเป็น
เกิดขึ้น ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจอนุญาตจะเรียกตัวมาปฏิบัติราชการระหว่างการลาก็ได้
การลาของข้าราชการที่ถูกเรียกกลับมาปฏิบัติราชการระหว่างการลา ให้ถือว่าสิ้นสุดก่อนวัน
มาปฏิบัติราชการ เว้นแต่ผู้มีอำนาจอนุญาตเห็นว่าการเดินทางต้องใช้เวลา ให้ถือว่าสิ้นสุดก่อนวันเดินทางกลับ
การลาครึ่งวันในตอนเช้าหรือตอนบ่าย ให้นับเป็นการลาครึ่งวันตามประเภทของการลานั้น ๆ
ข้าราชการซึ่งได้รับอนุญาตให้ลา หากประสงค์จะยกเลิกวันลาที่ยังไม่ได้หยุดราชการ ให้เสนอ
ขอยกเลิกวันลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตให้ลา และให้ถือว่าการลาเป็นอันสิ้นสุดก่อน
วันมาปฏิบัติราชการ

ข้อ ๑๑ เพื่อควบคุมให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ให้ส่วนราชการจัดทำบัญชีลงเวลาการปฏิบัติ


ราชการของข้าราชการในสังกัด โดยมีสาระสำคัญตามตัวอย่างท้ายระเบียบนี้ หรือจะใช้เครื่องบันทึกเวลาการ
ปฏิบัติราชการแทนก็ได้
ในกรณีจำเป็น หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงหรือหัวหน้าส่วนราชการจะกำหนดวิธีลงเวลาการ
ปฏิบัติราชการ หรือวิธีควบคุมการปฏิบัติราชการของข้าราชการที่มีการปฏิบัติราชการในลักษณะพิเศษเป็น
อย่างอื่นตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่จะต้องมีหลักฐานให้สามารถตรวจสอบวันเวลาการปฏิบัติราชการได้ด้วย

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๕๓


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ข้อ ๑๒ การลาให้ใช้ใบลาตามแบบท้ายระเบียบนี้ เว้นแต่ในกรณีจำเป็นหรือรีบด่วนจะใช้
ใบลาที่มีข้อความไม่ครบถ้วนตามแบบหรือจะลาโดยวิธีการอย่างอื่นก็ได้ แต่ต้องส่งใบลาตามแบบในวันแรกที่มา
ปฏิบัติราชการ
ส่วนราชการอาจนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ในการเสนอใบลา อนุญาตให้ลาและ
ยกเลิกวันลา สำหรับการลาป่วย ลาพักผ่อน หรือลากิจส่วนตัวซึ่งมิใช่ลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรตามข้อ ๒๒ ก็
ได้ ทั้งนี้ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวจะต้องเป็นระบบที่มีความปลอดภัย รัดกุม สามารถตรวจสอบตัวบุคคล
และเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการลาเป็นหลักฐานในราชการได้

ข้อ ๑๓ ข้าราชการซึ่งประสงค์จะไปต่างประเทศในระหว่างการลาตามระเบียบนี้ หรือใน


ระหว่างวันหยุดราชการ ให้เสนอขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงหรือ
หัวหน้าส่วนราชการ
ในกรณีที่ข้าราชการตามวรรคหนึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงให้เสนอขออนุญาตต่อ
รัฐมนตรีเจ้าสังกัด ถ้าเป็นหัวหน้าส่วนราชการให้เสนอขออนุญาตต่อปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้น
ตรง แล้วแต่กรณี
การอนุญาตของหัวหน้าส่วนราชการตามวรรคหนึ่ง เมื่ออนุญาตแล้วให้รายงานปลัดกระทรวง
หรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง แล้วแต่กรณี ทราบด้วย

ข้อ ๑๔ การขออนุญาตไปต่างประเทศซึ่งอยู่ติดเขตแดนประเทศไทย ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด


และนายอำเภอในท้องที่ที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศนั้นมีอำนาจอนุญาตให้ข้าราชการในราชการบริหารส่วน
ภูมิภาคในสังกัดจังหวัดหรืออำเภอนั้น ๆ ไปประเทศนั้นได้ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๗ วัน และ ๓ วัน ตามลำดับ

ข้อ ๑๕ ข้าราชการผู้ใดไม่สามารถมาปฏิบัติราชการได้อันเนื่องมาจากพฤติการณ์พิเศษซึ่งเกิด
ขึ้นกับบุคคลทั่วไปในท้องที่นั้น หรือพฤติการณ์พิเศษซึ่งเกิดขึ้นกับข้าราชการผู้นั้นและมิได้เกิดจากความ
ประมาทเลินเล่อหรือความผิดของข้าราชการผู้นั้นเอง โดยพฤติการณ์พิเศษดังกล่าวร้ายแรงจนเป็นเหตุขัดขวาง
ทำให้ไม่สามารถมาปฏิบัติราชการ ณ สถานที่ตั้งตามปกติ ให้ข้าราชการผู้นั้นรีบรายงานพฤติการณ์ที่เกิดขึ้น
รวมทั้งอุปสรรคขัดขวางที่ทำให้มาปฏิบัติราชการไม่ได้ต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงหัวหน้าส่วนราชการขึ้น
ตรงหรือหัวหน้าส่วนราชการทันทีในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ
ในกรณีที่ข้าราชการตามวรรคหนึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงให้รายงานต่อรัฐมนตรีเจ้า
สังกัด ถ้าเป็นหัวหน้าส่วนราชการให้รายงานต่อปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่รัฐมนตรีเจ้าสังกัด ปลัดกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง หรือหัวหน้าส่วน
ราชการเห็นว่าการที่ข้าราชการผู้นั้นไม่สามารถมาปฏิบัติราชการได้เป็นเพราะพฤติการณ์พิเศษตามวรรคหนึ่งให้
สั ่ ง ให้ ก ารหยุด ราชการของข้ าราชการผู ้ น ั ้น ไม่ นั บ เป็น วั น ลาตามจำนวนวั นที ่ไ ม่ ม าปฏิ บั ต ิร าชการได้อัน
เนื่องมาจากพฤติการณ์พิเศษดังกล่าว ถ้าเห็นว่าไม่เป็นพฤติการณ์พิเศษ ให้ถือว่าวันที่ข้าราชการผู้นั้นไม่มา
ปฏิบัติราชการเป็นวันลากิจส่วนตัว

ข้อ ๑๖ การให้ได้รับเงินเดือนระหว่างการลา ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเกี่ยวกับการ


จ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน

หน้า ๑๕๔ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

หมวด ๒
ประเภทการลา

ข้อ ๑๗ การลาแบ่งออกเป็น ๑๑ ประเภท ดังต่อไปนี้


(๑) การลาป่วย
(๒) การลาคลอดบุตร
(๓) การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร
(๔) การลากิจส่วนตัว
(๕) การลาพักผ่อน
(๖) การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์
(๗) การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
(๘) การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย หรือดูงาน
(๙) การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
(๑๐) การลาติดตามคู่สมรส
(๑๑) การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ

ส่วนที่ ๑
การลาป่วย

ข้อ ๑๘ ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาป่วยเพื่อรักษาตัว ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อ


ผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตก่อนหรือในวันที่ลา เว้นแต่ในกรณีจำเป็น จะเสนอหรือจัดส่ง
ใบลาในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการก็ได้
ในกรณีที่ข้าราชการผู้ขอลามีอาการป่วยจนไม่สามารถจะลงชื่อในใบลาได้ จะให้ผู้อื่นลาแทนก็
ได้แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้แล้ว ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาโดยเร็ว
การลาป่วยตั้งแต่ ๓๐ วันขึ้นไป ต้องมีใบรับรองของแพทย์ซึ่งเป็นผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนและรับ
ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแนบไปกับใบลาด้วย ในกรณีจำเป็นหรือเห็นสมควร ผู้มีอำนาจ
อนุญาตจะสั่งให้ใช้ใบรับรองของแพทย์อื่นซึ่งผู้มีอำนาจอนุญาตเห็นชอบแทนก็ได้
การลาป่วยไม่ถึง ๓๐ วัน ไม่ว่าจะเป็นการลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งติดต่อกัน ถ้าผู้มีอำนาจ
อนุญาตเห็นสมควร จะสั่งให้มีใบรับรองของแพทย์ตามวรรคสามประกอบใบลา หรือสั่งให้ผู้ลาไปรับการตรวจ
จากแพทย์ของทางราชการเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตก็ได้

ส่วนที่ ๒
การลาคลอดบุตร

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๕๕


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ข้อ ๑๙ ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาคลอดบุตร ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตาม
ลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตก่อนหรือในวันที่ลา เว้นแต่ไม่สามารถจะลงชื่อในใบลาได้ จะให้ผู้อื่นลาแทนก็ได้
แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้แล้ว ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาโดยเร็ว โดยไม่ต้องมีใบรับรองของแพทย์
การลาคลอดบุตรจะลาในวันที่คลอด ก่อน หรือหลังวันที่คลอดบุตรก็ได้ แต่เมื่อรวมวันลาแล้ว
ต้องไม่เกิน ๙๐ วัน
ข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ลาคลอดบุตรและได้หยุดราชการไปแล้ว แต่ไม่ได้คลอดบุตรตาม
กำหนด หากประสงค์จะขอยกเลิกวันลาคลอดบุตรที่หยุดไป ให้ผู้มีอำนาจอนุญาตอนุญาตให้ยกเลิกวันลาคลอด
บุตรได้ โดยให้ถือว่าวันที่ได้หยุดราชการไปแล้วเป็นวันลากิจส่วนตัว
การลาคลอดบุตรคาบเกี่ยวกับการลาประเภทใดซึ่งยังไม่ครบกำหนดวันลาของการลาประเภท
นั้นให้ถือว่าการลาประเภทนั้นสิ้นสุดลง และให้นับเป็นการลาคลอดบุตรตั้งแต่วันเริ่มวันลาคลอดบุตร

ส่วนที่ ๓
การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร

ข้อ ๒๐ ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาไปช่วยเหลือภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายที่คลอดบุตรให้
เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตก่อนหรือในวันที่ลาภายใน ๙๐ วัน นับ
แต่วันที่คลอดบุตร และให้มีสิทธิลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตรครั้งหนึ่งติดต่อกันได้ไม่เกิน ๑๕ วันทำการ
ผู้มีอำนาจอนุญาตตามวรรคหนึ่งอาจให้แสดงหลักฐานประกอบการพิจารณาอนุญาตด้วยก็ได้

ส่วนที่ ๔
การลากิจส่วนตัว

ข้อ ๒๑ ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลากิจส่วนตัว ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชา


ตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะหยุดราชการได้ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นไม่
สามารถรอรับอนุญาตได้ทัน จะเสนอหรือจัดส่งใบลาพร้อมระบุเหตุจำเป็นไว้ แล้วหยุดราชการไปก่อนก็ ได้แต่
จะต้องชี้แจงเหตุผลให้ผู้มีอำนาจอนุญาตทราบโดยเร็ว
ในกรณีมีเหตุพิเศษที่ไม่อาจเสนอหรือจัดส่งใบลาก่อนตามวรรคหนึ่งได้ ให้เสนอหรือจัดส่งใบลา
พร้อมทั้งเหตุผลความจำเป็นต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตทันทีในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ

ข้อ ๒๒ ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรตามข้อ ๑๙ แล้ว หากประสงค์จะลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดู


บุตรให้มีสิทธิลาต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน ๑๕๐ วันทำการ

ส่วนที่ ๕
การลาพักผ่อน

หน้า ๑๕๖ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ข้อ ๒๓ ข้าราชการมีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีในปีงบประมาณหนึ่งได้ ๑๐ วันทำการ เว้นแต่
ข้าราชการดังต่อไปนี้ไม่มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีในปีที่ได้รับบรรจุเข้ารับราชการยังไม่ถึง ๖ เดือน
(๑) ผู้ซึ่งได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครั้งแรก
(๒) ผู้ซึ่งลาออกจากราชการเพราะเหตุส่วนตัว แล้วต่อมาได้รับบรรจุเข้ารับราชการอีก
(๓) ผู้ซึ่งลาออกจากราชการเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้งแล้ว
ต่อมาได้รับบรรจุเข้ารับราชการอีกหลัง ๖ เดือน นับแต่วันออกจากราชการ
(๔) ผู้ซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการในกรณีอื่น นอกจากกรณีไปรับราชการทหารตามกฎหมาย
ว่าด้วยการรับราชการทหาร และกรณีไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ แล้วต่อมาได้รับ
บรรจุเข้ารับราชการอีก

ข้อ ๒๔ ถ้าในปีใดข้าราชการผู้ใดมิได้ลาพักผ่อนประจำปี หรือลาพักผ่อนประจำปีแล้วแต่ไม่


ครบ ๑๐ วันทำการ ให้สะสมวันที่ยังมิได้ลาในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อ ๆ ไปได้ แต่วันลาพักผ่อนสะสมรวมกับวันลา
พักผ่อนในปีปัจจุบันจะต้องไม่เกิน ๒๐ วันทำการ
สำหรับผู้ที่ได้รับราชการติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี ให้มีสิทธินำวันลาพักผ่อนสะสม
รวมกับวันลาพักผ่อนในปีปัจจุบันได้ไม่เกิน ๓๐ วันทำการ

ข้อ ๒๕ ให้ข้าราชการที่ประจำการในต่างประเทศในเมืองที่กำลังพัฒนาซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาค
แอฟริกา ลาตินอเมริกา และอเมริกากลาง หรือเมืองที่มีความเป็นอยู่ยากลำบาก เมืองที่มีภาวะความเป็นอยู่ไม่
ปกติ และเมืองที่มีสถานการณ์พิเศษ มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีในปีหนึ่งได้เพิ่มขึ้นอีก ๑๐ วันทำการ สำหรับวัน
ลาตามข้อนี้มิให้นำวันที่ยังมิได้ลาในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อไป
การกำหนดรายชื่อเมืองตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีประกาศ
กำหนดอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

ข้อ ๒๖ ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาพักผ่อน ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชา


ตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะหยุดราชการได้

ข้อ ๒๗ การอนุญาตให้ลาพักผ่อน ผู้มีอำนาจอนุญาตจะอนุญาตให้ลาครั้งเดียวหรือหลายครั้ง


ก็ได้ โดยมิให้เสียหายแก่ราชการ

ข้อ ๒๘ ข้าราชการประเภทใดที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาและมีวันหยุดภาคการศึกษา หากได้


หยุดราชการตามวันหยุดภาคการศึกษาเกินกว่าวันลาพักผ่อนตามระเบียบนี้ ไม่มีสิทธิลาพักผ่อนตามที่กำหนดไว้
ในส่วนนี้

ส่วนที่ ๖
การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์

ข้อ ๒๙ ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา หรือข้าราชการที่นับถือ


ศาสนาอิสลามซึ่งประสงค์จะลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ให้เสนอหรือจัดส่ง

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๕๗


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตก่อนวันอุปสมบทหรือก่อนวันเดินทางไป
ประกอบพิธีฮัจย์ไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน
ในกรณีมีเหตุพิเศษไม่อาจเสนอหรือจัดส่งใบลาก่อนตามวรรคหนึ่ง ให้ชี้แจงเหตุผลความ
จำเป็นประกอบการลา และให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตที่จะพิจารณาให้ลาหรือไม่ก็ได้

ข้อ ๓๐ ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาอุปสมบทหรือได้รับอนุญาต
ให้ลาไปประกอบพิธีฮัจย์ตามข้อ ๒๙ แล้ว จะต้องอุปสมบทหรือออกเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ภายใน ๑๐ วัน
นับแต่วันเริ่มลา และจะต้องกลับมารายงานตัวเข้าปฏิบัติราชการภายใน ๕ วันนับแต่วันที่ลาสิกขาหรือวั นที่
เดินทางกลับถึงประเทศไทยหลังจากการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ทั้งนี้ จะต้องนับรวมอยู่ภายในระยะเวลาที่
ได้รับอนุญาตการลา
ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาอุปสมบทหรือได้รับอนุญาตให้ลาไป
ประกอบพิธีฮัจย์และได้หยุดราชการไปแล้ว หากปรากฏว่ามีปัญหาอุปสรรคทำให้ไม่สามารถอุปสมบทหรือไป
ประกอบพิธีฮัจย์ตามที่ขอลาไว้ เมื่อได้รายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการตามปกติและขอยกเลิกวันล าให้ผู้มี
อำนาจตามข้อ ๒๙ พิจารณาหรืออนุญาตให้ยกเลิกวันลาอุปสมบทหรือไปประกอบพิธีฮัจย์โดยให้ถือว่าวันที่ได้
หยุดราชการไปแล้วเป็นวันลากิจส่วนตัว

ส่วนที่ ๗
การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล

ข้อ ๓๑ ข้าราชการที่ได้รับหมายเรียกเข้ารับการตรวจเลือก ให้รายงานลาต่อผู้บังคับบัญชา


ก่อนวันเข้ารับการตรวจเลือกไม่น้อยกว่า ๔๘ ชั่วโมง ส่วนข้าราชการที่ได้รับหมายเรียกเข้ารับการเตรียมพลให้
รายงานลาต่อผู้บังคับบัญชาภายใน ๔๘ ชั่วโมงนับแต่เวลารับหมายเรียกเป็นต้นไปและให้ไปเข้ารับการตรวจ
เลื อ ก หรื อ เข้ า รั บ การเตรี ย มพลตามวั น เวลาในหมายเรี ย กนั ้ น โดยไม่ ต ้ อ งรอรั บ คำสั ่ ง อนุ ญ าต และให้
ผู้บังคับบัญชาเสนอรายงานลาไปตามลำดับจนถึงหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงหรือหัวหน้าส่วนราชการ
ในกรณีที่ข้าราชการตามวรรคหนึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงให้รายงานลาต่อรัฐมนตรีเจ้า
สังกัด ถ้าเป็นหัวหน้าส่วนราชการให้รายงานลาต่อปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง แล้วแต่กรณี

ข้อ ๓๒ เมื่อข้าราชการที่ลานั้นพ้นจากการเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพลแล้ว
ให้มารายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการตามปกติต่อผู้บังคับบัญชาภายใน ๗ วัน เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจำเป็น
ปลัดกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง หัวหน้าส่วนราชการ หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดตามข้ อ ๓๑ อาจขยาย
เวลาให้ได้แต่รวมแล้วไม่เกิน ๑๕ วัน

ส่วนที่ ๘
การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย หรือดูงาน

หน้า ๑๕๘ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ข้อ ๓๓ ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย หรือดูงานในประเทศ
หรือต่างประเทศ ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงหัวหน้าส่วนราชการ ยกเว้นผู้ว่า
ราชการจังหวัด หรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาอนุญาต
การอนุญาตของหัวหน้าส่วนราชการตามวรรคหนึ่ง เมื่ออนุญาตแล้วให้รายงานปลัดกระทรวง
หรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง แล้วแต่กรณี ทราบด้วย
ในกรณีที่ข้าราชการตามวรรคหนึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อ
รัฐมนตรีเจ้าสังกัด ถ้าเป็นหัวหน้าส่วนราชการให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าส่วนราชการ
ขึ้นตรง แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาอนุญาต

ส่วนที่ ๙
การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ

ข้อ ๓๔ ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ให้เสนอหรือ


จัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อพิจารณาอนุญาต โดยถือปฏิบัติตาม
หลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทำการซึ่งให้
นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ

ข้อ ๓๕ ข้าราชการที่ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศที่มีระยะเวลาไม่เกิน ๑ ปี
เมื่อปฏิบัติงานแล้วเสร็จ ให้รายงานตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันครบกำหนดเวลาและ
ให้รายงานผลเกี่ยวกับการลาไปปฏิบัติงานให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดทราบภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่กลับมาปฏิบัติ
หน้าที่ราชการ
การรายงานผลเกี่ยวกับการลาไปปฏิบัติงานตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้แบบรายงานตามที่กำหนดไว้
ท้ายระเบียบนี้

ส่วนที่ ๑๐
การลาติดตามคู่สมรส

ข้อ ๓๖ ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาติดตามคู่สมรส ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชา


ตามลำดับจนถึงปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาอนุญาตให้ลาได้ไม่เกิน
๒ ปี และในกรณีจำเป็นอาจอนุญาตให้ลาต่อได้อีก ๒ ปี แต่เมื่อรวมแล้วต้องไม่เกิน ๔ ปี ถ้าเกิน ๔ ปีให้ลาออก
จากราชการ
ในกรณีที่ข้าราชการตามวรรคหนึ่งเป็นปลัดกระทรวง หรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงให้เสนอ
หรือจัดส่งใบลาต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด

ข้อ ๓๗ การพิจารณาอนุญาตให้ข้าราชการลาติดตามคู่สมรส ผู้มีอำนาจอนุญาตจะอนุญาตให้


ลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งก็ได้โดยมิให้เสียหายแก่ราชการ แต่เมื่อรวมแล้วจะต้องไม่เกินระยะเวลาตามที่กำหนด

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๕๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ในข้อ ๓๖ และจะต้องเป็นกรณีที่คู่สมรสอยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือปฏิบัติงานในต่างประเทศเป็นระยะเวลา
ติดต่อกัน ไม่ว่าจะอยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือปฏิบัติงานในประเทศเดียวกันหรือไม่

ข้อ ๓๘ ข้าราชการที่ได้ลาติดตามคู่สมรสครบกำหนดระยะเวลาตามข้อ ๓๖ ในระหว่างเวลา


ที่คู่สมรสอยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือปฏิบัติงานในต่างประเทศติดต่อกันคราวหนึ่งแล้ว ไม่มีสิทธิขอลาติดตามคู่
สมรสอีก เว้นแต่คู่สมรสจะได้กลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือปฏิบัติงานประจำในประเทศไทยแล้วต่อมาได้รับ
คำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือไปปฏิบัติงานในต่างประเทศอีก จึงจะมีสิทธิขอลาติดตามคู่สมรสตามข้อ
๓๖ ได้ใหม่

ส่วนที่ ๑๑
การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ

ข้อ ๓๙ ข้าราชการผู้ใดได้รับอันตรายหรือการป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติราชการในหน้าที่หรือ
ถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่ จนทำให้ตกเป็นผู้ทุพพลภาพหรือพิการ หากข้าราชการผู้นั้น
ประสงค์จะลาไปเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
หรือที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ แล้วแต่กรณี มีสิทธิลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพครั้งหนึ่งได้ตาม
ระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรที่ประสงค์จะลา แต่ไม่เกิน ๑๒ เดือน
ข้าราชการที่ได้รับอันตรายหรือการป่วยเจ็บจนทำให้ตกเป็นผู้ทุพพลภาพหรือพิการเพราะเหตุ
อื่น นอกจากที่กำหนดในวรรคหนึ่ง และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุพิจารณาแล้วเห็นว่ายังสามารถรับราชการต่อไปได้
หากข้าราชการผู้นั้นประสงค์จะลาไปเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการฟื้นฟูส มรรถภาพที่จำเป็นต่อการ
ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตพิจารณาให้ลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพดังกล่าว
ครั้งหนึ่งได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรที่ประสงค์จะลา แต่ไม่เกิน ๑๒ เดือน
หลักสูตรตามวรรคหนึ่งและวรรคสองต้องเป็นหลักสูตรที่ส่วนราชการ หน่วยงานอื่นของรัฐ
องค์กรการกุศลอันเป็นสาธารณะหรือสถาบันที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของทางราชการ เป็นผู้จัดหรือ
ร่วมจัด

ข้อ ๔๐ ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพตามข้อ ๓๙ ให้เสนอหรือ


จัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตพร้อมแสดงหลักฐานเกี่ยวกับ
หลักสูตรที่ประสงค์จะลา และเอกสารที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) เพื่อพิจารณาอนุญาต และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะ
หยุดราชการเพื่อไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพได้

หมวด ๓
การลาของข้าราชการการเมือง

ข้อ ๔๑ การลาทุกประเภทและการไปต่างประเทศของนายกรัฐมนตรี ให้อยู่ในดุลพินิจของ


นายกรัฐมนตรี และแจ้งให้คณะรัฐมนตรีทราบ

หน้า ๑๖๐ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

ข้อ ๔๒ การลาทุกประเภทและการไปต่างประเทศของข้าราชการการเมือง ให้เป็นอำนาจของ


นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล หรือในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัด รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด
แล้วแต่กรณี เป็นผู้พิจารณาอนุญาต

ข้อ ๔๓ การลาทุกประเภทและการไปต่างประเทศของข้าราชการการเมืองกรุงเทพมหานคร
ซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง ให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานครหรือประธานสภากรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี เป็นผู้พิจารณาอนุญาต

ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕


ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี

[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๒๒ ง/หน้า ๑/๒๔ มกราคม ๒๕๕๕

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๖๑


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

แนวข้อสอบ
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555

1. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 มีผลใช้บังคับเมื่อใด


ก. 23 มกราคม 2555
ข. 24 มกราคม 2555
ค. 25 มกราคม 2555
ง. 26 มกราคม 2555
ตอบ ค.
2. ข้อใดกล่าวสอดคล้องเกี่ยวกับ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
ก. ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555
ข. ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555
ค. ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555
ง. ประกาศราชกิจจานุเบกษา วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555
ตอบ ข.
3. ใครเป็นผู้รักษาการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ค. เลขาธิการ ก.พ.
ง. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ตอบ ข.
4. กรณีการลาตามระเบียบมีปัญหาผู้มีอำนาจตีความวินิจฉัยคือใคร
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. รองนายกรัฐมนตรี
ค. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ง. หัวหน้าหน่วยงานต้นสังกัด
ตอบ ข.
5. การนับวันลา นับเวลาตามข้อใด
ก. ปี พ.ศ.
ข. ปีงบประมาณ
ค. ปีการศึกษา
ง. ปีการศึกษาและหรือปีงบประมาณ
ตอบ ข.
6. การลาที่เพิ่มขึ้นจากเดิมของข้าราชการมีกี่ประเภท
ก. 1 ประเภท ข. 2 ประเภท
ค. 3 ประเภท ง. 4 ประเภท
ตอบ ข.

หน้า ๑๖๒ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
7. จากข้อ 6 หมายถึงข้อใดบ้าง
ก. การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร
ข. การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
ค. ทั้งข้อ ก และ ข ถูก
ง. ข้อ ก ถูก ข้อ ข ผิด
ตอบ ค.
8. การลาคลอดข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. ลาก่อนหรือหลังวันคลอด ได้ไม่เกิน 90 วัน
ข. ลาก่อนหรือหลังวันคลอด ได้ไม่เกิน 90 วันทำการ
ค. ลาก่อนวันคลอด ได้ไม่เกิน 90 วัน
ง. ลาหลังวันคลอด ได้ไม่น้อยกว่า 90 วันทำการ
ตอบ ก.
9. การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตรกระทำได้ตามข้อใด
ก. ครั้งเดียว ไม่เกิน 15 วันติดต่อกัน
ข. ครั้งหนึ่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 15 วันทำการ
ค. ครั้งเดียว ไม่เกิน 15 วันทำการติดต่อกัน
ง. ครั้งหนึ่งไม่ติดต่อกันได้ไม่เกิน 15 วันทำการ
ตอบ ข.
10. การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจากลาคลอดกระทำได้ตามข้อใด
ก. 150 วัน
ข. ไม่เกิน 150 วันทำการ
ค. ไม่น้อยกว่า 150 วัน
ง. ไม่เกินกว่า 150 วัน
ตอบ ข.
11. ข้าราชการสามารถสะสมวันลาพักผ่อน 30 วันทำการในกรณีที่รับราชการมาแล้วกี่ปี
ก. 10 วัน ข. 20 วัน
ค. 30 วัน ง. 40 วัน
ตอบ ก.
12. การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพกระทำได้ตามหลักสูตรที่ประสงค์จะลาตามข้อใด
ก. 1 ปี
ข. ไม่เกิน 12 เดือน
ค. ไม่น้อยกว่า 12 เดือน
ง. ไม่เกิน 2 ปี
ตอบ ข.
13. การลาไปต่างประเทศของนายกรัฐมนตรีให้อยู่ในดุลยพินิจของใคร
ก. พระมหากษัตริย์ ข. นายกรัฐมนตรี
ค. คณะรัฐมนตรี ง. พระมหากษัตริย์และคณะรัฐมนตรี
ตอบ ข.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๖๓


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
14. การลาทุกประเภทของข้าราชการการเมือง เป็นอำนาจของใคร
ก. นายกรัฐมนตรี ข. รองนายกรัฐมนตรี
ค. รัฐมนตรีเจ้าสังกัด ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
15. การลาทุกประเภทและการลาไปต่างประเทศของข้าราชการเมืองกรุงเทพมหานครเป็นอำนาจของใคร
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. ผู้ว่าราชการ กทม.
ค. ประธานสภา กทม.และผู้ว่าราชการ กทม.
ง. ผู้ว่าราชการ กทม.หรือ ประธานสภา กทม.
ตอบ ง.
16. การลาป่วยจำนวนกี่วัน จึงต้องแนบใบรับรองแพทย์
ก. 25 วัน ข. 30 วัน
ค. แล้วแต่ผู้บังคับบัญชาเห็นสมควร ง. ข้อ ข และ ค
ตอบ ข.
17. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการลาคลอด
ก. ลาในวันที่คลอด ก่อน หลังวันที่คลอดก็ได้
ข. ไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ รวมแล้ว ไม่เกิน 90 วัน
ค. กรณีลาคลอดแล้วไม่คลอด ประสงค์ยกเลิกวันลาคลอด ให้ถือวันที่ไม่คลอดเป็นการลากิจส่วนตัว
ง. การลาคลอดคาบเกี่ยวการลาประเภทใดที่ไม่สิ้นสุด ถือว่าหมดลง ให้เริ่มนับลาคลอดตั้งแต่วันเริ่ม
ขอลาคลอด
ตอบ ง.
18. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องในการเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
ก. กรณีตรวจเลือกให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชา ไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง
ข. กรณีเตรียมพลให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชา ภายใน 48 ชั่วโมง นับแต่เวลารับหมายเรียก
ค. เมื่อรายงานผู้บังคับบัญชาแล้ว แล้วรายงานตัวโดยไม่ต้องรอรับคำสั่งอนุญาต
ง. เมื่อพ้นจากการเตรียมพลหรือระดมพลให้รายงานตัวเข้าปฏิบัติราชการ ภายใน 15 วัน
กรณีมีเหตุจำเป็นขยายเวลาได้แต่รวมแล้วไม่เกิน 30 วัน
ตอบ ง.
19. อธิการบดี มีอำนาจอนุญาตให้ข้าราชการทุกตำแหน่งในสังกัดลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพได้ตามข้อใด
ก. ไม่มีอำนาจ ข. 6 เดือน
ค. ไม่น้อยกว่า 6 เดือน ง. 12 เดือน
ตอบ ข.
20. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติไม่มีอำนาจที่จะอนุญาตการลาของข้าราชการในสังกัดตามข้อใด
ก. ลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
ข. ลาศึกษาอบรมต่างประเทศ
ค. ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
ง. ลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร
ตอบ ค.

หน้า ๑๖๔ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
21. นายอำเภอแม่สาย สามารถอนุญาตให้ข้าราชการครูไปต่างประเทศ คือ ประเทศพม่า จำนวนกี่วัน
ก. 3 วัน ข. 7 วัน
ค. ไม่สามารถอนุญาตได้ ง. ไม่เกิน 3 วัน
ตอบ ข.
22. ข้อใดกล่าวผิดตามระเบียบว่าด้วยการลาปี พ.ศ. 2555
ก. ลากิจธุระ
ข. ลาติดตามคู่สมรส
ค. ลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร
ง. ลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
ตอบ ก.
23. การลาของข้าราชการมีทั้งหมดกี่ประเภท
ก. 11 ประเภท ข. 10 ประเภท
ค. 9 ประเภท ง. 5 ประเภท
ตอบ ก.
24. หัวหน้าส่วนราชการหมายความว่าอย่างไร
ก. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ข. อธิการบดี
ค. เลขานุการรัฐมนตรีในฐานะผู้บังคับบัญชาสำนักงานรัฐมนตรี
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
25. เข้ารับการตรวจเลือก หมายความว่าอย่างไร
ก. การเข้ารับการตรวจเลือกรับราชการทหาร
ข. การเข้ารับการคัดเลือกให้ทำงานในหน่วยงานราชการ
ค. การสอบคัดเลือกเข้ารับการอบรม
ง. การสอบชิงทุนศึกษาต่างประเทศ
ตอบ ก.
26. “เข้ารับการเตรียมพล” หมายความว่าอย่างไร
ก. การเข้ารับการตรวจเลือกรับราชการทหาร
ข. การเข้ารับการคัดเลือกให้ทำงานในหน่วยงานราชการ
ค. เข้ารับการระดมพล เข้ารับการตรวจสอบพล เข้ารับการฝึกวิชาทหาร
ง. การเข้ารับการตรวจเลือกรับราชการทหาร
ตอบ ค.
27. ข้าราชการตามข้อใดต่อไปนี้มีสิทธิลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
ก. ข้าราชการที่เกษียณอายุราชการแล้ว
ข. ข้าราชการที่ตกเป็นผู้ทุพพลภาพหรือพิการ
ค. ข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ง. ข้าราชการทีปฏิบัติหน้าที่ในประเทศที่กำลังพัฒนา
ตอบ ข.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๖๕


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
28. ข้าราชการที่ได้รับคำสั่งไปช่วยราชการ ณ หน่วยงานอื่นหากประสงค์ลาจะต้องลากับหน่วยงานใด
ก. ต้นสังกัด ข. หน่วยงานที่ไปช่วยราชการ
ค. กระทรวงศึกษาธิการ ง. สำนักนายกรัฐมนตรี
ตอบ ข.
29. ข้าราชการมีสิทธิ์ลาพักผ่อนประจำปีในปีงบประมาณหนึ่งได้กี่วัน
ก. 5 วัน ข. 10 วัน
ค. 15 วัน ง. 20 วัน
ตอบ ข.
30. ในกรณีที่ข้าราชการผู้ใดมิได้ลาพักผ่อนประจำปี หรือลาผักผ่อนไม่ครบ 10 วันทำการ สามรถนำมาสะสม
กับปีต่อๆ ไปได้ไม่เกินกี่วัน ก. ไม่เกิน 12 วันทำการ
ข. ไม่เกิน 15 วันทำการ ค. ไม่เกิน 20 วัน ทำการ
ง. ไม่เกิน 25 วันทำการ
ตอบ ค.
31. ในการลาคลอดบุตรจำนวนวันที่ลาต้องไม่เกินกี่วัน
ก. ไม่เกิน 30 วัน ข. ไม่เกิน 45 วัน
ค. ไม่เกิน 60 วัน ง. ไม่เกิน 90 วัน
ตอบ ง.
32. ข้าราชการที่ประสงค์จะลาไปช่วยเหลือภรรยาคลอดบุตรมีสิทธิ์ลาครั้งหนึ่งติดต่อกันได้กี่วัน
ก. ไม่เกิน 15 วัน ข .ไม่เกิน 30 วัน
ค. ไม่เกิน 60 ง. ไม่เกิน 90 วัน
ตอบ ก.
33. ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรแล้วหากประสงค์จะลากิจเพิ่มเติม เพื่อเลี้ยงดูบุตรสามารถลาต่อเนื่องได้ไม่เกินกี่วัน
ก. ไม่เกิน120 วัน ข. ไม่เกิน 150 วัน
ค. ไม่เกิน 180 วัน ง. ไม่เกิน 190 วัน
ตอบ ข.
34. การลาอุปสมบทหรือลาประกอบพิธีฮัจย์ในศาสนาอิสลามต้องยื่นใบลาไม่น้อยกว่ากี่วัน
ก. ไม่น้อยกว่า 30 วัน
ข. ไม่น้อยกว่า 45 วัน
ค. ไม่น้อยกว่า 60 วัน
ง. ไม่น้อยกว่า 90 วัน
ตอบ ค.
35. ในกรณีที่มีอุปสรรคทำให้ไม่สามารถอุปสมบทหรือประกอบพิธีฮัจย์ได้ตามปกติและขอยกเลิกวันลา
จะถือว่าเป็นวันลาประเภทใด
ก. การลากิจส่วนตัว
ข. การลาพักผ่อน
ค. การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์
ง. การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย หรือดูงาน
ตอบ ก.

หน้า ๑๖๖ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
36. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร
ก. ให้ข้าราชการที่ประสงค์จะลาไปช่วยเหลือภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายที่คลอดบุตรให้จัดส่งใบลา
ก่อนหรือในวันที่ลาภายใน 60 วันนับแต่วันที่คลอดบุตร
ข. ให้มีสิทธิลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตรครั้งหนึ่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 16 วันทำการ
ค. ให้มีสิทธิ์ลากิจเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้ไม่เกิน 30 วันทำการ
ง. ไม่มีข้อใดกล่าวถูก
ตอบ ก.
37. ข้อใดกล่าวสอดคล้องเกี่ยวกับข้าราชการที่ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
ก. มีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ข. มีระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี
ค. มีระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี ง. มีระยะเวลาไม่เกิน 4 ปี
ตอบ ก.
38. จากข้อ 37 เมื่อปฏิบัติงานเสร็จแล้ว ให้รายงานตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการภายในข้อใด
ก. ให้รายงานตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการภายใน 10 วัน และรายงานผลเกี่ยวกับการลาไปปฏิบัติงาน
ให้ รัฐมนตรีเจ้าสังกัดทราบภายใน 15 วัน
ข. ให้รายงานตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการภายใน 15 วัน และรายงานผลเกี่ยวกับการลาไปปฏิบัติงาน
ให้ รัฐมนตรีเจ้าสังกัดทราบภายใน 30 วัน
ค. ให้รายงานตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการภายใน 20 วัน และรายงานผลเกี่ยวกับการลาไปปฏิบัติงาน
ให้ รัฐมนตรีเจ้าสังกัดทราบภายใน 45 วัน
ง. ให้รายงานตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการภายใน 30 วัน และรายงานผลเกี่ยวกับการลาไปปฏิบัติงาน
ให้ รัฐมนตรีเจ้าสังกัดทราบภายใน 60 วัน
ตอบ ข.
39. ข้าราชการที่ประสงค์จะลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ ข้อใดต่อไปนี้กล่าวสอดคล้อง
ก. มีสิทธิลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพครั้งหนึ่งได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรที่ประสงค์
จะลา แต่ไม่เกิน 60 วัน
ข. มีสิทธิลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพครั้งหนึ่งได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน หลักสูตรที่ประสงค์
จะลา แต่ไม่เกิน 6 เดือน
ค. มีสิทธิลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพครั้งหนึ่งได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรที่ประสงค์
จะลา แต่ไม่เกิน 120 วัน
ง. มีสิทธิลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพครั้งหนึ่งได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรที่ประสงค์
จะลา แต่ไม่เกิน 12 เดือน
ตอบ ง.
40. เพื่อเป็นการควบคุมให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการลาปี 2555 ลักษณะการจะดำเนินการอย่างไร
จึงจะชอบด้วยระเบียบ
ก. จัดทำบัญชีลงเวลาปฏิบัติราชการ ข. ใช้เครื่องบันทึกเวลาปฏิบัติราชการ
ค. ผู้บริหารจะกำหนดแบบใดก็ได้ ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๖๗


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

นโยบายรัฐบาล

ประกาศ
แต่งตั้งรัฐมนตรี
----------------------
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรม


ราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายเศรษฐา ทวีสิน เป็น
นายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖แล้ว นั้น
บัดนี้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้เลือกสรรผู้ที่สมควรดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเพื่อบริห าร
ราชการแผ่นดินสืบต่อไปแล้ว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรด
เกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
นายภูมิธรรม เวชยชัย เป็นรองนายกรัฐมนตรีและ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นรองนายกรัฐมนตรี
นายปานปรีย์ พหิทธานุกร เป็นรองนายกรัฐมนตรีและ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
นายอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นรองนายกรัฐมนตรีและ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ เป็นรองนายกรัฐมนตรีและ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นรองนายกรัฐมนตรีและ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด เป็นรัฐมนตรีประจาสานักนายกรัฐมนตรี
นายสุทิน คลังแสง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
อีกตำแหน่งหนึ่ง
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
นายจักรพงษ์ แสงมณี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
นายวราวุธ ศิลปอาชา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์

หน้า ๑๖๘ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
นางสาวศุภมาส อิศรภักดี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร


และสหกรณ์
นายไชยา พรหมา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์
นายอนุชา นาคาศัย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
นางมนพร เจริญศรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล
เพื่อเศรษฐกิจและสังคม
นายนภินทร ศรีสรรพางค์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
นายเกรียง กัลป์ตินันท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายทรงศักดิ์ ทองศรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายชาดา ไทยเศรษฐ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นายชลน่าน ศรีแก้ว เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
นายสันติ พร้อมพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ เป็นปีที่ ๘ ในรัชกาลปัจจุบัน

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
เศรษฐา ทวีสิน
นายกรัฐมนตรี

ประกาศราชกิจจานุเบกษา ๒ กันยายน ๒๕๖๖

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๖๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ

ความเป็นมาของระบบราชการ 4.0

ด้วยวิสัยทัศน์ของประเทศไทย “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว


ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” โดยมีฐานคิดหลักคือ เปลี่ยนจากการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่
สินค้าเชิงนวัตกรรม เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี
ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม และเปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้าไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น

เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าว รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะใช้โมเดลขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม
เพื่อพัฒนาประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 ดังนั้นระบบราชการจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อสอดรับ
กับบริบทที่จะเกิดขึ้นจากการเป็นประเทศไทย 4.0 โดยภาครัฐหรือระบบราชการจะต้องทำงานโดยยึดหลัก
ธรรมาภิบาล เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก (Better Governance, Happier Citizens) หมายความว่า
ระบบราชการไทยจะต้องปฎิรูปขนานใหญ่ เพื่อให้สามารถเป็นที่ไว้วางใจและเป็นพึ่งของประชาชนได้อย่าง
แท้จริง กล่าวคือภาครัฐต้องปรับตัวและต้องพลิกโฉมเข้าสู่ยุคดิจิทัล ยกระดับประสิทธิภาพภาครัฐ สู่สังคมดิจิทัล
ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน และอำนวยความสะดวกในการ
ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในยุคดิจิทัลท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและไม่สามารถคาด
เดาได้ ดังนั้น ภาครัฐ จึงต้องมุ่งเน้นความคล่องตัว เพื่อขับเคลื่อนภารกิจพิเศษ (Agenda-based) และนำ
เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาพลิกโฉมหน่วยงานภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 (Government 4.0หรือ Gov. 4.0)
อันเป็นฟันเฟืองและเสาหลักที่ส ำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล ให้สามารถปฏิบัติงานได้ อย่าง
สอดคล้องกับทิศทางในการบริหารงานของประเทศให้ก้าวสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งจะส่งผลให้กลไก
การพัฒนาระบบราชการมีการปรับตัวต่อความท้าทายใหม่ๆ อีกทั้งเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับ
นานาประเทศ และยังเป็นการยกระดับสมรรถนะของหน่วยงานภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เป้าหมายการพัฒนาสู่ระบบราชการ 4.0
จากแนวคิดของการพัฒนาหน่วยงานภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 เพื่อให้รองรับต่อการเปลี่ยนแปลง
และการเป็นประเทศไทย 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาล ดังนั้น การพัฒนาสู่ระบบราชการ 4.0 จึงมีเป้าหมาย
หลักเพื่อให้ภาครัฐสามารถเป็นที่พึ่ง ที่เชื่อถือและไว้วางใจได้ของประชาชน โดยได้กำหนดเป้าหมายในกา ร
พัฒนาระบบราชการไว้ ดังนี้

ยึดหลักธรรมาภิบาล เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
(Better Governance, Happier Citizens)

1. ระบบราชการที่เปิดกว้างและเชื่อมโยงถึงกัน (Open & Connected Government) ต้องมีความ


เปิดเผยโปร่งใสในการทำงาน โดยบุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการหรือมี การ
แบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกันและสามารถเข้ามาตรวจสอบการทำงานได้ ตลอดจนเปิดกว้างให้กลไกหรือภาคส่วน
อื่นๆ เช่น ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ได้เข้ามามีส่วนร่วม และโอนถ่ายภารกิจที่ภาครัฐไม่ควรดำเนินการเอง

หน้า ๑๗๐ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ออกไปให้แก่ภาคส่วนอื่น ๆ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการแทน โดยการจัดระเบียบความสัมพันธ์ในเชิงโครงสร้าง
ให้สอดรับกับการทำงานในแนวระนาบ ในลักษณะของเครือข่าย มากกว่าตามสายการบังคับบัญชาในแนวดิ่ง
ขณะเดียวกัน ก็ย ังต้องเชื่อมโยงการทำงานภายในภาครัฐ ด้วยกันเองให้มีเอกภาพและสอดรับประสานกัน
ไม่ว่าจะเป็นการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น

2. ระบบราชการที่ยึดประชาชนเป็น ศูนย์กลาง (Citizen-Centric Government) ต้องทำงานในเชิง


รุก และมองไปข้างหน้า โดยตั้งคำถามกับตนเองเสมอว่าประชาชนจะได้อะไร มุ่งเน้นแก้ไข ปัญหาความต้องการ
และตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยไม่ต้องรอให้ประชาชนเข้ามาติดต่อขอรับบริการหรือร้องขอ
ความช่วยเหลือจากทางราชการ (Proactive Public Services) รวมทั้งใช้ประโยชน์จากข้อมูลของทางราชการ
(Big Government Data) และระบบดิจิทัลสมัยใหม่ในการจัดบริการสาธารณะที่ตรงกับความต้องการของ
ประชาชน (Personalized หรือ Tailored Services) พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกโดยมีการเชื่อมโยงกันเอง
ของหน่วยงานราชการเพื่อให้บริการต่าง ๆ สามารถเสร็จสิ้นในจุดเดียว ประชาชนสามารถใช้บริการของทาง
ราชการได้ตลอดเวลาตามความต้องการ และสามารถติดต่อได้หลายช่องทางผสมผสานกัน ทั้งการติดต่อด้วย
ตนเอง ติดต่อผ่านอินเตอร์เน็ต เว็ปไซต์ โซเชียลมีเดีย หรือแอปพลิเคชัน ทางโทรศัพท์มือถือ

3. หน่วยงานของรัฐมีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย (Smart & High Performance Government)


ต้องทำงานอย่างเตรียมการณ์ไว้ล่วงหน้า มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงสร้างนวัตกรรมหรือความคิดริเริ่มและ
ประยุกต์องค์ความรู้ในแบบสหสาขาวิชาเข้ามาใช้ในการตอบโต้กับโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
เพื่อสร้างคุณค่า มีความยืดหยุ่นและความสามารถในการตอบสนองกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างทันเวลา
ตลอดจนเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง และปรับตัวเข้าสู่สภาพความเป็นสำนักงานสมัยใหม่ รวมทั้ง ทำให้
ข้าราชการมีความผูกพันต่อการปฏิบัติราชการและ ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมกับบทบาทของตน กล่าวคือ
1) ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนการทำงานของรัฐบาล จะต้องให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ตั้งอยู่บน
พื้นฐานของข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้อง เชิงลึกและสามารถนำไปปฏิบัติให้บังเกิดผลได้จริง และเกิดความคุ้มค่า
2) ในฐานะเป็นผู้กำกับดูแล จะต้องมีความเป็นกลางและตรงไปตรงมา รวมทั้ งวางกฎระเบียบให้
เหมาะสม (Smart Regulation) และยกเลิกการควบคุมที่ไม่เกิดประโยชน์ลง เพื่อไม่ให้เป็นภาระหรืออุปสรรค
ต่อประชาชนหรือการประกอบธุรกิจ
3) ในฐานะเป็นผู้ปฏิบัติ ก็จะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตรับผิดชอบต่อหน้าที่ ทำงานร่วมมือกันระหว่าง
หน่วยงานต่าง ๆ ในทุกระดับได้ และสามารถบูรณาการเชื่อมโยงการทำงานตามห่วงโซ่ยุทธศาสตร์ตั้งแต่ต้นจน
จบ รวมทั้งใช้ทรัพยากรและบริการต่าง ๆ ร่วมกัน

ความสำเร็จของการพัฒนาไปสู่ระบบราชการ 4.0 ดังกล่าวต้องอาศัยปัจจัยสำคัญ ๆ อย่างน้อย


3 ประการ ได้แก่
1. การสานพลัง ทุกภาคส่ วน ระหว่า งภาครั ฐและภาคส่ ว นอื ่น ๆ ในสังคม (Collaboration)
เป็ น การยกระดั บ การทำงานให้ ส ู ง ขึ ้ น ไปกว่ า การประสานงานกั น (Coordination) หรื อ ทำงานด้ ว ยกั น
(Cooperation) ไปสู่การร่วมมือกัน (Collaboration)อย่างแท้จริง โดยจัดระบบให้มีการวางแผนเพื่อให้บรรลุ
วัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการร่วมกัน มีการระดมและนำ_เอาทรัพยากรทุกชนิดเข้ามาแบ่งปันและใช้
ประโยชน์ร่วมกัน มีการยอมรับความเสี่ยงและรับผิดชอบต่อผลสำเร็จที่เกิดขึ้นร่วมกัน เพื่อพัฒนาประเทศหรือ

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๗๑


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
แก้ปัญหาความต้องการของประชาชนที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น จนไม่มีภาคส่วนใดในสังคมจะสามารถ
ดำเนินการได้ลุล่วงด้วยตนเองโดยลำพังอีกต่อไป หรือเป็นการบริหารกิจการบ้านเมืองในรูปแบบ “ประชารัฐ”
2. การสร้างนวัตกรรม (Innovation) เป็นการคิดค้นและแสวงหาวิธีการหรือแนวทาง (Solutions)
ใหม่ๆ อันจะเกิดผลกระทบมหาศาล (Big Impact) เพื่อปรับปรุงและออกแบบการให้บริการสาธารณะและ
นโยบายสาธารณะให้ ส ามารถตอบโจทย์ ค วามท้ า ทายของประเทศหรื อ ตอบสนองปั ญ หาความต้อ งการ
ของประชาชนได้อย่างมีคุณภาพ อัน แปรผัน ไปตามสภาพพลวัตของการเปลี่ยนแปลง โดยอาศัยรูปแบบ
ห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ (Government Innovation Lab) และใช้กระบวนการความคิดเชิงออกแบบ
(Design Thinking) ในลักษณะที่ให้ป ระชาชนเข้ามามีส ่วนร่วมเพื่อสร้างความเข้าใจและเข้าถึงความรู้ สึก
ของประชาชน (Empathize) นำข้อมูลมาวิเคราะห์ถึงปัญหา (Define) และใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้าง
ไอเดีย(Ideate) สำหรับ พัฒนาต้นแบบ (Prototype) และทำการทดสอบปฏิบัติจริง (Test) ก่อนนำไปขยายผล
ต่อไป หรือเป็นการนำเอาศาสตร์พระราชาว่าด้วย “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”มาประยุกต์ใช้
3. การปรับเข้า สู่การเป็น ดิจ ิทัล (Digitization/Digitalization) เป็นการผสมผสานกันของการ
จัดเก็บและประมวลข้อมูลผ่านคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) อุปกรณ์ประเภทสมาร์ทโฟน (Smart
Phone) และการทำงานร่วมกันผ่านเครื่องมือต่างๆ (Collaboration Tools) ทำให้สามารถติดต่อกันได้อย่าง
เรียลไทม์ (Real Time) ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่สลับซับซ้อนต่างๆ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมของประชาชน เกิดผลกระทบอย่างสูง และสามารถตอบสนองต่อความคาดหวังในการให้บริการของ
ทางราชการที่จะต้องดำเนินการได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกอุปกรณ์ และทุกช่องทางได้อย่างมั่นคง ปลอดภัย
และประหยัดในส่วนของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องได้รับการปรับเปลี่ยนกระบวนการทางความคิด
(Mindset) ให้ ต นเองมี ค วามเป็ น ผู ้ ป ระกอบการสาธารณะ (Public Entrepreneurship) เพิ ่ ม ทั ก ษะให้ มี
สมรรถนะที่จำเป็นและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตน อันจะช่วยทำให้สามารถแสดงบทบาทของการเป็นผู้นำ
การเปลี่ยนแปลง (Change Leader) เพื่อสร้างคุณค่า (Public Value) และประโยชน์สุขให้แก่ประชาชน

หน้า ๑๗๒ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

ประกาศ
เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐)

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๖๕ บัญญัติให้รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติ
เป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่าง ๆ
ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว และต่อมาได้มีการตรา
พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อ
รับผิดชอบในการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ และเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนาขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อมีพระบรมราชโองการประกาศใช้เป็น
ยุทธศาสตร์ชาติต่อไป
บัดนี้ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติได้ดาเนินการจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติเป็นที่เรียบร้อย
แล้วและคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๑ เห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบกับในคราว
ประชุ ม สภานิ ต ิบ ัญ ญั ติ แ ห่ ง ชาติเ มื่ อ วั น ที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ที ่ ป ระชุ ม ได้ ล งมติ ใ ห้ ค วามเห็ นชอบร่าง
ยุทธศาสตร์ชาติแล้ว ดังมีสาระสาคัญตามที่แนบท้ายนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ยุทธศาสตร์ชาติ
(พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๑ เป็นปีที่ ๓ ในรัชกาลปัจจุบัน

ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๑

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๗๓


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐)

คำนำ

โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๖๕ กำหนดให้รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติ


เป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่าง ๆ
ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว โดยให้เป็นไปตามที่
กำหนดในกฎหมายว่า ด้ว ยการจัด ทำยุ ทธศาสตร์ช าติ และต่อมาได้ม ี การตราพระราชบัญ ญั ติ ก ารจั ด ทำ
ยุ ท ธศาสตร์ ช าติ พ.ศ. ๒๕๖๐ มี ผ ลบั ง คั บ ใช้ เ มื ่ อ วั น ที่ ๑ สิ ง หาคม ๒๕๖๐ โดยกำหนดให้ ม ี ก ารแต่ ง ตั้ ง
คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
เพื่อรับผิดชอบในการจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติ กำหนดวิธีการ การมีส่วนร่วมของประชาชนใน
การจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติ ในการติดตาม การตรวจสอบ และการประเมินผล รวมทั้งกำหนดมาตรการ
ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนทุกภาคส่วนดำเนินการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติเพื่อให้เป็นไปตามที่
กำหนดในพระราชบัญญัติการจัดทำ ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติได้แต่งตั้ง
คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านต่าง ๆ รวม ๖ คณะอันประกอบด้วย คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์
ชาติ ด ้ า นความมั ่ น คง คณะกรรมการจั ด ทำยุ ท ธศาสตร์ ช าติ ด ้ า นการสร้ า งความสามารถในการแข่ ง ขั น
คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ คณะกรรมการ
จัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ
ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้าน
การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อรับผิดชอบในการดำเนินการจัดทำร่างยุทธศาสตร์
ชาติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด ตลอดจนได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของ
ประชาชนและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางเพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติ
ตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว
ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐) เป็นยุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกของประเทศไทย
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งจะต้องนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์“ประเทศ
ไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
ภายในช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อความสุขของคนไทยทุกคน

หน้า ๑๗๔ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

สถานการณ์ แนวโน้ม วิสัยทัศน์ และเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ


๑. บทนำ
การพัฒนาประเทศไทยนับตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ เป็นต้นมา ได้ส่งผล
ให้ประเทศมีการพัฒนาในทุกมิติ ทั้งในด้านเศรษฐกิจที่ประเทศไทยได้รับการยกระดับเป็นประเทศในกลุ่มบน
ของกลุ่มประเทศระดับรายได้ป านกลาง ในด้านสังคมที่มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนส่งผลให้
ประเทศไทยหลุด พ้ น จากการเป็ น ประเทศยากจน และในด้านสิ่ ง แวดล้ อมที่ป ระเทศไทยมีข ้ อ ได้เปรี ย บ
ในความหลากหลายเชิงนิเวศ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังมีความท้าทายต่อการพัฒนาที่สำคัญ อาทิ อัตรา
การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี ๒๕๖๐ ที่ร้อยละ ๓.๙ ถือว่าอยู่ในระดับต่ำกว่าศักยภาพ เมื่อเทียบกับร้อยละ
๖.๐ ต่อปี ในช่วงเวลาเกือบ ๖ ทศวรรษที่ผ่านมา โดยมีสาเหตุหลักจากการชะลอตัวของการลงทุนภายในประเทศ
และสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวได้เต็มที่ โครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่สามารถขับเคลื่อนด้วย
นวัตกรรมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ภาคบริการและภาคเกษตรมีผลิตภาพการผลิตในระดับต่ำ ขาดการนำ
เทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ประกอบกับแรงงานไทยยังมีปัญหาเรื่องคุณภาพและสมรรถนะที่
ไม่สอดคล้องกับความต้องการในการขับเคลื่อนการพัฒนาของประเทศ
นอกจากนั้น ศักยภาพและคุณภาพของประชากรไทยทุกช่วงวัยยังคงเป็นปัจจัยท้าทายสำคัญต่อการ
พัฒนาประเทศ แม้ว่าการเข้าถึงระบบบริการสาธารณะ การศึกษา บริการสาธารณสุข โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ
และการคุ้มครองทางสังคมอื่น ๆ ของคนไทยมีความครอบคลุมเพิ่มมากขึ้น แต่ยังคงมีปัญหาเ รื่องคุณภาพ
การให้บริการที่มีมาตรฐานแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ประเทศไทยยังคงมีปัญหา
ความเหลื่อมล้ำในหลายมิติ ขณะที่ปัญหาด้านความยากจนยังคงเป็นประเด็นท้าทายในการยกระดับการพัฒนา
ประเทศให้ประชาชนมีรายได้สูงขึ้นและแก้ปัญหาความเหลื่ อมล้ำอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันการวางกลยุทธ์
ระยะยาวในการฟื้นฟู การใช้ และการรักษาทรัพยากรอย่างบูรณาการเพื่อการพัฒนาประเทศที่ผ่านมายังขาด
ความชัดเจน ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศยังมีปัญหาการใช้อย่างสิ้นเปลืองและ
เสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวข้างต้นมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐ การพัฒนา
ประเทศขาดความต่อเนื่องและความยืดหยุ่นในการตอบสนองต่อความต้องการและปัญหาของประชาชน
ขณะที่ความมั่นคงภายในประเทศยังมีหลายประเด็นที่ต้องเสริมสร้างให้เกิดความเข้มแข็ง ลดความขัดแย้ง
ทางความคิดและอุดมการณ์ที่มีรากฐานมาจากความเหลื่อมล้ำ ความไม่เสมอภาค การขาดความเชื ่ อ มั่น
ในกระบวนการยุติธรรม และปัญหาการขาดเสถียรภาพทางการเมือง ตลอดจนส่งเสริมคนในชาติให้ยึดมั่น
สถาบันหลักเป็นศูนย์รวมจิตใจให้เกิดความรักความสามัคคี
ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีสัดส่วนประชากรวัยแรงงานและวัยเด็ก
ที่ลดลงและประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่จะทำให้การพัฒนาประเทศ
ในมิติต่าง ๆ มีความท้าทายมากขึ้น ทั้งในส่วนของเสถียรภาพทางการเงินการคลังของประเทศในการจั ด
สวัสดิการเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น การลงทุนและการออม การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
ความมั่นคงทางสังคม การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ซึ่งจะเป็นประเด็นท้าทายต่อการ
ขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้ว

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๗๕


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
๒. ปัจจัยและแนวโน้มที่คาดว่าจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ
แม้ว่าประเทศไทยจะมีตำแหน่งที่ตั้งที่สามารถเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงในภูมิภาคและเป็นประตู
สู่เอเชีย แต่การที่มีอาณาเขตติดกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ ทำให้ปัญหาด้านเขตแดนกับประเทศ
เพื่อนบ้านยังคงเป็นความท้าทายด้านความมั่นคงในอนาคต นอกจากนี้ ประเทศไทยยังคงต้องให้ความสำคัญ
กับปัญหาด้านความมั่นคงอื่น ๆ ที่มีความซับซ้อน ละเอียดอ่อน และมีความเชื่อมโยงกันหลายมิติ ที่อาจเป็น
ประเด็นท้าทายต่อการสร้างบรรยากาศความไว้วางใจระหว่างรัฐ กับประชาชนและระหว่างประชาชนกับ
ประชาชน ซึ่งรวมถึงการสร้างความสามัคคีของคนในชาติที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม
ประชากรไทยที่มีแนวคิดและความเชื่อที่แตกต่างกันอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ การขยายอิ ทธิ พลและการเพิ่ มบทบาทของประเทศมหาอำนาจที่ อ าจก่ อ ให้เ กิ ด การ
เปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบหลายขั้วอำนาจ หรือเกิดการย้ายขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อ
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต ขณะที่องค์กรที่ไม่ใช่รัฐ อาทิ องค์การระหว่างประเทศ แล ะ
บรรษัทข้ามชาติ จะมีบทบาทมากขึ้นในการกำหนดกฎ ระเบียบ ทิศทางความสัมพันธ์ และมาตรฐานสากล
ต่าง ๆ ทั้งในด้านความมั่นคง และเศรษฐกิจ รวมทั้งการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ และการเปิดเสรีในภูมิภาคที่นำไปสู่
ความเชื่อมโยงในทุกระบบ อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านอาชญากรรมข้ามชาติและเศรษฐกิจนอกระบบ รวมทั้ง
ปัญหายาเสพติด การค้ามนุษย์ และการลักลอบเข้าเมือง
ในทางกลับกัน ความเปลี่ยนแปลงจากโลกาภิวัตน์และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ที่ได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดจะก่อให้เกิดนวัตกรรมอย่างพลิกผัน อาทิ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
อิน เทอร์เน็ตในทุกสิ่ง การวิเคราะห์ข้อมูล ขนาดใหญ่ หุ่นยนต์และโดรน เทคโนโลยีพันธุกรรมสมัยใหม่
และเทคโนโลยีทางการเงิน ซึ่งตัวอย่างแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดเหล่านี้ คาดว่าจะเป็น
ปัจจัยสนับสนุนหลักที่ช่วยทำให้เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะกลับมาขยายตัวได้เข้มแข็งขึ้น
แนวโน้มสำคัญที่จำเป็นต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด อาทิ การรวมกลุ่มทางการค้าและการลงทุนที่จะมีความ
หลากหลายเพิ่มมากขึ้น การแข่งขันที่คาดว่าจะรุนแรงขึ้นในการเพิ่มผลิตภาพและสร้างความหลากหลายของ
สินค้าและบริการที่ตอบโจทย์รูปแบบชีวิตใหม่ ๆ
นอกจากนั้น ประเทศไทยคาดว่าจะเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอดในปี ๒๕๗๔ จะก่อให้เกิด
โอกาสใหม่ ๆ ในการตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคสูงอายุที่จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งการคาดการณ์ว่าครอบครัว ไทยจะมีขนาดเล็กลงและมีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น ประชากรใน
ประเทศไทยจะมีช่วงอายุที่แตกต่างกันและจะมีกลุ่มคนช่วงอายุใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อทัศนคติและ
พฤติกรรมที่แตกต่างกัน ดังนั้น การเตรียมความพร้อมของประชากรให้มีคุณภาพและการนำเทคโนโลยีที่
เหมาะสมมาใช้ในการผลิตและการบริการของประเทศจะเป็นความท้าทายสำคัญในระยะต่อไป
ในขณะเดียวกัน โครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคมสูงวัย อาจทำให้เกิดความต้องการแรงงานต่างชาติ
เพิ่มมากขึ้นเพื่อทดแทนจำนวนแรงงานไทยที่ลดลง ซึ่งปัจจัยด้านการเปิดเสรีในภูมิภาคและความก้าวหน้าของ
การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งในภูมิภาคจะทำให้การเคลื่อนย้ายแรงงานและการย้ายถิ่นมีความสะดวกมากขึ้น
และเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายประชากรเข้าออกประเทศเพิ่ มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่ม
ประชากรที่มีศักยภาพซึ่งมีแนวโน้มในการเคลื่อนย้ายไปเรียนหรือทำงานในทั่วทุกมุมโลกสูงขึ้น ทั้งนี้ การย้าย
ถิ่นส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น จึงอาจจะเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะยังคง
เป็นประเทศผู้รับของประชากรจากประเทศเพื่อนบ้าน ขณะที่ประชากรไทยโดยเฉพาะแรงงานทักษะอาจมี
แรงจูงใจในการย้ายถิ่นไปยังประเทศที่มีระดับการพัฒนาที่ดีกว่า อาจทำให้การแย่งชิงแรงงานมีความรุนแรง
มากขึ้น ซึ่งจะยิ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงของบริบทสังคมไทย

หน้า ๑๗๖ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
นอกจากนี้ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคาดว่าจะมีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งในเชิง
ความผันผวน ความถี่ และขอบเขตที่กว้างขวางมากขึ้น ซึ่งจะสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ระบบ
โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ตลอดจนระบบผลิตทางการเกษตรที่สัมพันธ์ต่อเนื่องกับความมั่นคงด้านอาหารและน้ำ
ขณะที่ระบบนิเวศต่าง ๆ มีแนวโน้มเสื่อมโทรมลง และมีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูงในการสูญเสียความสามารถ
ในการรองรับความต้องการของมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี ระดับความรุนแรงของผลกระทบอัน
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกและความเสื่ อมโทรมของระบบนิเวศต่าง ๆ ดังกล่าวที่แต่ละประเทศ
จะต้องเผชิญจะมีความแตกต่างกัน ทำให้การเป็นสังคมสีเขียว การรักษาและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการจะได้รับความสำคัญและความสนใจจากนานาประเทศรวมทั้งประเทศไทยเพิ่ม
มากขึ้น พลังงานทดแทนและพลั งงานทางเลือก รวมถึงการสร้างสมดุลความมั่นคงด้านพลังงานและอาหารมี
แนวโน้มที่จะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น กฎระเบียบและข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมจะมีความเข้มข้นและเข้มงวดขึ้น
โดยกรอบการพัฒนาตามข้อตกลงระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และบันทึ ก
ความตกลงปารีส จะได้รับการนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังมากยิ่งขึ้น
แนวโน้มเหล่านี้จะก่อให้เกิดความท้าทายต่อการพัฒนาประเทศในหลายมิติ ทั้งในส่วนของการจ้างงาน
และอาชีพ สาขาการผลิตและบริการใหม่ ๆ ความมั่นคงของประเทศอันเกิดจากภัยคุกคามและความเสี่ยงด้าน
อื่น ๆ ที่ซับซ้อนขึ้น อาชญากรรมไซเบอร์ รูปแบบการก่อสงครามที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ การเคลื่อนย้าย
อย่างเสรีและรวดเร็วของผู้คน เงินทุน ข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ เทคโนโลยี และสินค้าและบริการ การปรับตัว
ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รวดเร็วและคาดการณ์ได้ยาก การเกิดขึ้นของโรคระบาด และโรคอุบัติ
ใหม่ที่จะส่งผลให้การเฝ้าระวังด้านการสาธารณสุขในประเทศมีความสำคัญมากขึ้น อาจนำไปสู่ปัญหาความ
เหลื่อมล้ำที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นได้ หากไม่มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและรองรับผลกระทบ
ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งรวมถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและ
นวัตกรรมแบบพลิกผันที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการเข้าถึงเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐาน
และองค์ความรู้สมัยใหม่มีระดับความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มประชากรต่าง ๆ โดยการเปลี่ยนแปลงทาง
เทคโนโลยีและนวัตกรรมดังกล่าวจะส่งผลต่อทั้งการจ้างงานและอาชีพที่จะมีรูปแบบและลั กษณะงานที่
เปลี่ยนไป มีความต้องการแรงงานที่มีสมรรถนะสูงเพิ่มมากขึ้น หลายอาชีพอาจหายไปจากตลาดงานในปัจจุบัน
และบางอาชีพจะถูกทดแทนด้วยระบบอัตโนมัติโดยเฉพาะอาชีพที่ต้องการทักษะระดับต่ำ ก่อให้เกิดความเสี่ยง
ต่อความมั่นคงและคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ปรับตัวไม่ทันหรือ ขาดความรู้และทักษะที่ทันกับยุคสมัยที่
เปลี่ยนแปลงไป กระแสโลกาภิวัตน์ที่จะทำให้เกิดการพัฒนาขยายความเป็นเมือง วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปอย่าง
รวดเร็ว รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่อาจจะมีความแปรปรวนมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจัยทั้งหมด
ดังกล่าวจะส่งผลให้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำของประเทศมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
จากปัจจัยและแนวโน้มที่คาดว่าจะส่งผลต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศในมิติต่าง ๆ ข้างต้น
เห็นได้ว่าบริบทและสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกประเทศมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
มีพลวัตสูง และมีความซับซ้อนหลากหลายมิติ ซึ่งจะส่งผลต่ออนาคตการพัฒนาประเทศอย่างมาก ดังนั้น
การพัฒนาประเทศจึงจำเป็นต้องมียุทธศาสตร์การพัฒนาที่ครอบคลุมทุกมิติและทุกด้านการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
มีความร่วมมือในลักษณะประชารัฐจากภาคส่วนต่าง ๆ ในรูปแบบของหุ้นส่วนการพัฒนาที่เป็นการดำเนินงาน
อย่างบูรณาการ เนื่องจากทุกมิติการพัฒนามีความเกี่ยวข้อ งซึ่งกันและกัน โดยประเทศไทยจำเป็น ต้ องมี
ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ มีความรู้ สมรรถนะ และทักษะที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ สามารถ
รู้เท่าทันและปรับตัวให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข มีอาชีพที่มั่นคง สร้างรายได้ ท่ามกลางความ
เปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์และกติก าใหม่ ๆ และมาตรฐานที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่าง

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๗๗


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
รวดเร็ว ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบและปัจจัยส่งเสริมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องไปพร้อมกัน ทั้งในส่วนของระบบ
การเรียนการสอน และการพัฒนาทักษะฝีมือที่สอดคล้องกันกับการพัฒนาของคนในแต่ละช่วงวัย ระบบบริการ
สาธารณะ โครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้ประเทศ
ไทยสามารถยกระดับเป็นเจ้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมก้าวทันโลก จากการต่อยอดการพัฒนาบนพื้นฐาน
นโยบายไทยแลนด์ ๔.๐ ส่งผลให้เกิดการสร้างห่วงโซ่มูลค่าทางเศรษฐกิจในทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตร
และภาคบริการ กระจายผลประโยชน์จากการพัฒนา ลดปั ญหาความเหลื่อมล้ำ และนำไปสู่การเสริมสร้าง
คุณภาพชีวิตของประชาชนทุกภาคส่วน
นอกจากนี้ ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลความมั่นคงด้านพลังงานและอาหาร
รักษาไว้ซึ่งความหลากหลายเชิงนิเวศ การส่งเสริมการดำเนินชีวิตและธุรกิจ และการพัฒนาและขยายความเป็น
เมืองที่เติบโตอย่างต่อเนื่องที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมกับการมีข้อกำหนดของรู ปแบบและกฎเกณฑ์ที่
เกี่ยวเนื่องกับลักษณะการใช้พื้นที่ที่ชัดเจน ขณะที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ กฎหมาย
ระบบภาษีต้องมีกลยุทธ์การพัฒนาที่สามารถอำนวยความสะดวกและส่งเสริมให้ประเทศมีศักยภาพการแข่งขัน
ที่สูงขึ้น และสามารถใช้จุดแข็งในเรื่องตำแหน่งที่ตั้ งทางภูมิศาสตร์ของประเทศให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนา
ประเทศมากขึ้น รวมทั้งให้ความสำคัญของการรวมกลุ่มความร่วมมือกับนานาประเทศในระดับภูมิภาคและ
ระดับโลก เพื่อกระชับและสร้างสัมพันธไมตรี เสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต ซึ่งจะก่อให้เกิดการสร้างพลัง
ทางเศรษฐกิจและรักษาความมั่นคงของประเทศ โดยจำเป็นต้องสร้างความพร้อมในการที่จะยกระดับมาตรฐาน
และมีการปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบกติกาสากลในด้านต่าง ๆ ขณะเดียวกันประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งให้มี
การปฏิรูประบบราชการและการเมืองเพื่อให้เกิดการบริหารราชการที่ดีและเสถียรภาพทางการเมือง มี การ
ส่งเสริมคนในชาติให้ยึดมั่นสถาบันหลักเป็นศูนย์รวมจิตใจเพื่อให้เกิดความรักความสามัคคี และลดความขัดแย้ง
ภายในประเทศ โดยที่นโยบายการพัฒนาต่าง ๆ จำเป็นต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับโครงสร้างและลักษณะ
พฤติกรรมของประชากรที่อาจจะมีความแตกต่างจากปัจจุบันมากขึ้น
ดั ง นั้ น ภายใต้ เ งื่ อ นไขโครงสร้ า งประชากร โครงสร้ า งเศรษฐกิ จ สภาพสั ง คม สภาพภู มิ อ ากาศ
สิ่งแวดล้อม และปัจจัยการพัฒนาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการวางแผนการพัฒนาที่
รอบคอบและครอบคลุม อย่างไรก็ตาม หลายประเด็นพัฒนาเป็นเรื่องที่ต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินงาน
เพื่อให้เกิดการปรับตัวซึ่งจะต้องหยั่งรากลึกลงไปถึงการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้าง การขับเคลื่อนการพัฒนา
ให้ประเทศเจริญก้าวหน้าไปในอนาคตจึงจำเป็นต้องกำหนดวิสัยทัศน์ในระยะยาวที่ต้องบรรลุ พร้อมทั้งแนว
ยุทธศาสตร์หลักในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นกรอบในการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างเป็นบูรณาการบนพื้นฐานประชา
รัฐเพื่อยกระดับจุดแข็งและจุดเด่นของประเทศ และปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อนและจุดด้อยต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
โดยยุทธศาสตร์ชาติจะเป็นเป้าหมายใหญ่ในการขับเคลื่อนประเทศ และถ่ายทอดไปสู่แผนในระดับอื่น ๆ
เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติทั้งในระดับยุทธศาสตร์ ภารกิจ และพื้นที่ ซึ่งรวมถึงพื้นที่พิเศษต่าง ๆ อาทิ เขตเศรษฐกิจ
พิเศษชายแดน เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อให้การพัฒนาประเทศสามารถดำเนินการได้อย่างมั่นคง
มั่งคั่ง และ ยั่งยืน
๓. วิสัยทัศน์ประเทศไทย
“ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง” หรือเป็นคติพจน์ประจำชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อสนองตอบต่อผลประโยชน์
แห่งชาติ อันได้แก่ การมีเอกราช อธิปไตย การดำรงอยู่อย่างมั่นคง และยั่งยืนของสถาบันหลักของชาติและ
ประชาชนจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ การอยู่ร่วมกันในชาติอย่างสันติสุขเป็นปึกแผ่น มีความมั่ นคงทางสังคม

หน้า ๑๗๘ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ท่ามกลางพหุสังคมและการมีเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ความเจริญเติบโตของชาติ ความเป็นธรรม
และความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ความยั่งยืนของฐานทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางพลังงาน
และอาหาร ความสามารถในการรักษาผลประโยชน์ของชาติภ ายใต้การเปลี่ยนแปลง ของสภาวะแวดล้ อ ม
ระหว่างประเทศ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติประสานสอดคล้องกันด้านความมั่นคงในประชาคมอาเซียนและ
ประชาคมโลกอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี
ความมั่นคง หมายถึง การมีความมั่นคงปลอดภัยจากภัยและการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในประเทศและ
ภายนอกประเทศในทุกระดับ ทั้งระดับประเทศ สังคม ชุมชน ครัวเรือน และปัจเจกบุคคล และมีความมั่นคง
ในทุกมิติ ทั้งมิติทางการทหาร เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการเมือง เช่น ประเทศมีความมั่นคงในเอกราช
และอธิปไตย มีการปกครองระบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สถาบันชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์มีความเข้มแข็งเป็นศูนย์กลางและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน มีระบบการเมืองที่มั่นคง
เป็นกลไกที่นำไปสู่การบริหารประเทศที่ต่อเนื่องและโปร่ งใสตามหลักธรรมาภิบาล สังคมมีความปรองดองและ
ความสามัคคี สามารถผนึกกำลังเพื่อพัฒนาประเทศ ชุมชนมีความเข้มแข็ง ครอบครัวมีความอบอุ่น ประชาชน
มี ค วามมั ่ น คงในชี ว ิ ต มี ง านและรายได้ ท ี ่ ม ั ่ น คงพอเพี ย งกั บ การดำรงชี ว ิ ต มี ก ารออมสำหรั บ วั ย เกษียณ
ความมั่นคงของอาหาร พลังงาน และน้ำ มีที่อยู่อาศัย และความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน

ความมั่งคั่ง หมายถึง ประเทศไทยมีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและมีความยั่งยืนจนเข้าสู่


กลุ่มประเทศรายได้สูง ความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาลดลง ประชากรมีความอยู่ดีมีสุขได้รับผลประโยชน์จาก
การพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น และมีการพัฒนาอย่างทั่วถึงทุกภาคส่วน มีคุณภาพชีวิต ตามมาตรฐาน
ขององค์การสหประชาชาติ ไม่มีประชาชนที่อยู่ในภาวะความยากจน เศรษฐกิจในประเทศมีความเข้มแข็ง
ขณะเดียวกันต้องมีความสามารถในการแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ ทั้งในตลาดโลกและตลาดภายในประเทศ
เพื่อให้สามารถสร้างรายได้ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ตลอดจนมีการสร้างฐานเศรษฐกิจและสังคม
แห่งอนาคตเพื่อให้สอดรับกับบริบทการพัฒนาที่เปลี่ยนแปลงไป และประเทศไทยมีบทบาทที่สำคัญในเวทีโลก
และมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าอย่างแน่นแฟ้นกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย เป็นจุดสำคัญของ
การเชื่อมโยงในภูมิภาค ทั้งการคมนาคมขนส่ง การผลิต การค้า การลงทุน และการทำธุรกิจ เพื่อให้เป็นพลัง
ในการพัฒนา นอกจากนี้ ยังมีความสมบูรณ์ในทุนที่จะสามารถสร้างการพัฒนาต่อเนื่องไปได้ ได้แก่ ทุนมนุษย์
ทุนทางปัญญา ทุนทางการเงิน ทุนที่เป็นเครื่องมือเครื่องจักร ทุนทางสังคม และทุนทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม

ความยั่งยืน หมายถึง การพัฒนาที่สามารถสร้างความเจริญ รายได้ และคุณภาพชีวิตของประชาชน


ให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่อยู่บนหลักการใช้ การรักษาและการฟื้นฟูฐาน
ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ไม่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติจนเกินพอดี ไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมจนเกิน
ความสามารถในการรองรับ และเยียวยาของระบบนิเวศ การผลิตและการบริโภคเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้ อ ม
และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทรัพยากรธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นและสิ่งแวดล้อม
มีคุณภาพดีขึ้น คนมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเอื้ออาทร เสียสละเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม รัฐบาล
มีนโยบายที่มุ่งประโยชน์ส่วนรวมอย่างยั่งยืน และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน และทุกภาค
ส่วนในสังคมยึดถือและปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างสมดุล มีเสถียรภาพ
และยั่งยืน

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๗๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
โดยมีเป้าหมายการพัฒนาประเทศ คือ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนา
อย่า งต่อเนื่อง สังคมเป็น ธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน ” โดยยกระดับศักยภาพของประเทศใน
หลากหลายมิติ พัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ สร้างโอกาสและความเสมอ
ภาคทางสังคม สร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีภาครัฐของประชาชนเพื่อ
ประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม โดยการประเมินผลการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย
๑) ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทย
๒) ขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้
๓) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ
๔) ความเท่าเทียมและความเสมอภาคของสังคม
๕) ความหลากหลายทางชีวภาพ คุณภาพสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ
๖) ประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐ

ประเด็นยุทธศาสตร์ชาติ

เพื่อให้ประเทศไทยสามารถยกระดับการพัฒนาให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง


ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และเป้าหมายการพัฒนา
ประเทศข้างต้น จึงจำเป็นต้องกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศระยะยาวที่จะทำให้ประเทศไทยมีความ
มั่นคงในเอกราชและอธิปไตย มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศในทุกมิติ
ทุกรูปแบบและทุกระดับ ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริ การของประเทศได้รับการพัฒนา
ยกระดับไปสู่การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสร้างมูลค่าเพิ่ม และพัฒนากลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อน
เศรษฐกิจใหม่ที่จะสร้างและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ เพื่อยกระดับฐานรายได้ของประชาชนใน
ภาพรวมและกระจายผลประโยชน์ไปสู่ภาคส่วนต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม คนไทยได้รับการพัฒนาให้เป็นคนดี เก่ง
มีวินัย คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม และมีศักยภาพในการคิดวิเคราะห์ สามารถ “รู้ รับ ปรับใช้” เทคโนโลยีใหม่ได้อย่าง
ต่อเนื่อง สามารถเข้าถึงบริการพื้นฐาน ระบบสวัสดิการ และกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มี
ใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
การพัฒนาประเทศในช่วงระยะเวลาของยุทธศาสตร์ชาติ จะมุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนา
ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในรูปแบบ“ประชารัฐ ”
โดยประกอบด้ว ย ๖ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ช าติด้านความมั่นคง ยุทธศาสตร์ช าติด้านการสร้าง
ความสามารถในการแข่ ง ขัน ยุ ท ธศาสตร์ ช าติด ้ านการพั ฒ นาและเสริ ม สร้า งศั ก ยภาพทรั พ ยากรมนุษย์
ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบน
คุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหาร
จัดการภาครัฐ โดยแต่ละยุทธศาสตร์มีเป้าหมายและประเด็นการพัฒนา ดังนี้
๑. ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญ คือ ประเทศชาติมั่นคง ประชาชน
มีความสุข เน้นการบริหารจัดการสภาวะแวดล้อมของประเทศให้มีความมั่นคง ปลอดภัย เอกราช อธิปไตย และ
มีความสงบเรียบร้อยในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชาติ สังคม ชุมชน มุ่งเน้นการพัฒนาคน เครื่องมือ เทคโนโลยี
และระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ให้มีความพร้อมสามารถรับมือกับภัยคุกคามและภัยพิบัติได้ทุกรูปแบบ และทุก
ระดับความรุนแรง ควบคู่ไปกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่อาจจะ
หน้า ๑๘๐ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
เกิดขึ้นในอนาคต ใช้กลไกการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการทั้งกับส่วนราชการ ภาคเอกชน ประชาสังคม และ
องค์ ก รที ่ ไ ม่ ใ ช่ ร ั ฐ รวมถึ ง ประเทศเพื ่ อ นบ้ า นและมิ ต รประเทศทั ่ ว โลกบนพื ้ น ฐานของหลั ก ธรรมาภิบาล
เพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการดำเนินการของยุทธศาสตร์ชาติด้านอื่น ๆ ให้สามารถขับเคลื่อนไปได้ตาม
ทิศทางและเป้าหมายที่กำหนด
๒. ยุทธศาสตร์ชาติด้า นการสร้า งความสามารถในการแข่งขัน มีเป้าหมายการพัฒนาที่มุ่ งเน้น
การยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ บนพื้นฐานแนวคิด ๓ ประการ ได้แก่ (๑) “ต่อยอดอดีต”
โดยมองกลับไปที่รากเหง้าทางเศรษฐกิจ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และจุดเด่นทางทรัพยากร
ธรรมชาติที่หลากหลาย รวมทั้งความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของประเทศในด้านอื่น ๆ นำมาประยุก ต์
ผสมผสานกั บ เทคโนโลยี แ ละนวัต กรรม เพื ่ อ ให้ ส อดรั บ กั บ บริ บ ทของเศรษฐกิ จ และสั ง คมโลกสมั ยใหม่
(๒) “ปรับปัจจุบัน” เพื่อปูทางสู่อนาคต ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในมิติต่าง ๆ ทั้งโครงข่าย
ระบบคมนาคมและขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และดิจิทัล และการปรับสภาพแวดล้อม
ให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการอนาคต และ (๓) “สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต” ด้วยการเพิ่ม
ศักยภาพของผู้ประกอบการ พัฒนาคนรุ่นใหม่ รวมถึงปรับรูปแบบธุรกิจ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ
ของตลาด ผสมผสานกับยุทธศาสตร์ที่รองรับอนาคต บนพื้นฐานของการต่อยอดอดีตและปรับปัจจุบัน พร้อมทั้ง
การส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐให้ประเทศไทยสามารถสร้างฐานรายได้และการจ้างงานใหม่ ขยายโอกาส
ทางการค้าและการลงทุนในเวทีโลก ควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้และการกินดีอยู่ดี รวมถึงการเพิ่มขึ้น
ของคนชั้นกลาง และลดความเหลื่อมล้ำของคนในประเทศได้ในคราวเดียวกัน
3. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มีเป้าหมายการพัฒนาที่
สำคัญเพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ โดยคนไทยมีความพร้อมทั้งกาย
ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย มีจิตสาธารณะรับผิดชอบต่อสังคมและ
ผู้อื่น มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินั ย รักษาศีลธรรม และเป็นพลเมืองดีของชาติ มีหลักคิดที่ถูกต้อง
มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ มีทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาที่สามและอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น
มีนิสัยรักการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอย่ างต่อเนื่องตลอดชีวิต สู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูง เป็นนวัตกร
นักคิด ผู้ประกอบการ เกษตรกรยุคใหม่และอื่น ๆ โดยมีสัมมาชีพตามความถนัดของตนเอง
4. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้า งโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม มีเป้าหมายการพัฒนา
ที่สำคัญที่ให้ความสำคัญกับการดึงเอาพลังของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชน ประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่น
มาร่วมขับเคลื่อน โดยการสนับสนุนการรวมตัวของประชาชนในการร่วมคิดร่วมทำเพื่อส่วนรวม การกระจาย
อำนาจและความรับผิดชอบไปสู่กลไกบริหารราชการแผ่นดินในระดับท้องถิ่น การเสริ มสร้างความเข้มแข็ง
ของชุมชนในการจัดการตนเอง และการเตรียมความพร้อมของประชากรไทยทั้งในมิติสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม
และสภาพแวดล้อมให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพ สามารถพึ่งตนเองและทำประโยชน์แ ก่ครอบครัว ชุมชน และ
สังคมให้นานที่สุด โดยรัฐให้หลักประกันการเข้าถึงบริการและสวัสดิการที่มีคุณภาพอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง
5. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมาย
การพัฒ นาที่ส ำคัญเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒ นาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ
สิ่งแวดล้อม ธรรมาภิบาล และความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างกันทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่าง
บูรณาการ ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งในการกำหนดกลยุทธ์และแผนงาน และการให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วน
ร่วมในแบบทางตรงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยเป็นการดำเนินการบนพื้นฐานการเติบโตร่วมกัน ไม่ว่าจะ
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๘๑
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
เป็นทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต โดยให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลทั้ง ๓ ด้าน อันจะนำไปสู่
ความยั่งยืนเพื่อคนรุ่นต่อไปอย่างแท้จริง
6. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ มีเป้าหมายการ
พัฒนาที่สำคัญเพื่อปรับเปลี่ยนภาครัฐที่ยึดหลัก “ภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม”
โดยภาครัฐต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับบทบาทภารกิจ แยกแยะบทบาทหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ในการกำกับ
หรือในการให้บริการในระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขัน มีสมรรถนะสูง ยึดหลักธรรมาภิบาล ปรับวัฒนธรรมการ
ทำงานให้มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส ่ว นรวม มีความทันสมัย และพร้อมที่จะปรับตัว ให้ทันต่อการ
เปลี่ยนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ ระบบการ
ทำงานที่เป็นดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างคุ้มค่า และปฏิบัติงานเทียบได้กับมาตรฐานสากล รวมทั้งมีลักษณะ
เปิดกว้าง เชื่อมโยงถึงกันและเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อตอบสนองความต้องการของ
ประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และโปร่งใส โดยทุกภาคส่วนในสังคมต้องร่วมกันปลูกฝังค่านิยม ความซื่อสัตย์
สุจ ริต ความมัธ ยัส ถ์ และสร้างจิ ตสำนึก ในการปฏิเสธไม่ย อมรับ การทุ จริต ประพฤติ มิช อบอย่ างสิ้ น เชิ ง
นอกจากนั้น กฎหมายต้องมีความชัดเจน มีเพียงเท่าที่จำเป็น มีความทันสมัย มีความเป็นสากล มีประสิทธิภาพ
และนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำและเอื้อต่อการพัฒนา โดยกระบวนการยุติธรรมมีการบริหาร ที่มีประสิทธิภาพ
เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และการอำนวยความยุติธรรมตามหลักนิติธรรม

หน้า ๑๘๒ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

ประกาศ
เรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐)

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ
พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรม
ราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศว่า
โดยที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นสมควรให้ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่
๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) ซึ่งเป็นแผนพัฒนา ฯ ที่ภาคีทุกภาคส่วนในสังคมไทยทุกระดับ ได้มีส่วนร่วม
ดำเนินการ เพื่อใช้เป็นแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ดังมีสาระสำคัญตามที่แนบ
ท้ายนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓
(พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๗๐

ประกาศ ณ วันที่ 24 ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖5 เป็นปีที่ 7 ในรัชกาลปัจจุบัน

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๕

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๘๓


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐)

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) มีสถานะเป็นแผนระดับที่


๒ ซึ่งเป็นกลไกที่ส ำคัญในการแปลงยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ และใช้เป็นกรอบสำหรับการจัดทำแผน
ระดับที่ ๓ เพื่อให้การดำเนินงานของภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องสามารถสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายตาม
ยุทธศาสตร์ชาติตามกรอบระยะเวลาที่คาดหวังไว้ได้ โดยพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑ บัญญัติให้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ มีผลบังคับใช้ถึงวันที่ ๓๐
กันยายน ๒๕๖๕ ส่งผลให้กรอบระยะเวลา ๕ ปีของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ เริ่มต้น
ณ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ ครอบคลุมปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐ ซึ่งเป็นระยะ ๕ ปีที่สองของ
ยุทธศาสตร์ชาติ
ทั้งนี้ การจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๓ อยู่บนความตั้งใจที่จะให้แผนมีจุดเน้นและเป้าหมายของการ
พัฒนาที่เป็นรูปธรรม สามารถบ่งบอกทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจนที่ประเทศควรมุ่งไปในระยะ ๕ ปีถัดไป โดย
เป็นผลที่เกิดจากกระบวนการสังเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้าน ทั้งสถานะของทุนในมิติต่าง ๆ บทเรียนของการ
พัฒนาที่ผ่านมาตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยและเงื่อนไขที่จะมีอิทธิพลต่อองคาพยพต่าง ๆ ของประเทศ
รวมถึงการสนับสนุนให้ภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่า ง
กว้างขวางตั้งแต่ในขั้นตอนการกำหนดกรอบทิศทางของแผนไปจนถึงการยกร่างแผน
นอกจากนี้ การจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๓ ยังอยู่ในช่วงเวลาที่ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยต้องเผชิญ
กับข้อจำกัดหลากหลายประการที่เป็นผลสืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -๑๙ ซึ่งไม่เพียงแต่
ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของประชากร แต่ยังส่งผลให้เกิดเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและการด ำเนินชีวิต
ของประชาชนทุกกลุ่ม นอกจากนี้ ในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๓ ยังเป็นช่วงเวลาที่มีแนวโน้มของการ
พัฒนาของเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นการเป็นสังคม
สูงวัยของประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลก ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ
ดังนั้น การขับ เคลื่ อนการพัฒ นาประเทศท่า มกลางกระแสแนวโน้ ม การเปลี่ยนแปลงดัง กล่ าวจึ งต้ อ งให้
ความสำคัญกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งจากภายในให้สามารถเติบโตต่อไปได้อย่างมั่นคงท่ามกลางความผัน
แปรที่เกิดขึ้นรอบด้าน และคานึงถึงผลประโยชน์ของประเทศทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ในการกำหนดทิศทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๓ ให้ประเทศสามารถก้าวข้ามความท้าทายต่าง ๆ
เพื่อให้ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง” ตามเจตนารมณ์ของยุทธศาสตร์ชาติ ได้อาศัยหลักการและแนวคิด ๔ ประการ ดังนี้
๑. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยสืบสาน รักษา ต่อยอดการพัฒนาตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง ผ่านการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศอย่างมี เหตุผล ความพอประมาณ ภูมิคุ้มกัน
บนฐานของความรู้ คุณ ธรรม และความเพียร โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับสถานการณ์และเงื่อนไข
ระดับประเทศและระดับโลกทั้งในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ และศักยภาพของทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม
และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความสมดุลในมิติ
ต่าง ๆ ทั้งความสมดุลระหว่างการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศกับความสามารถในการ
พึ่งตนเองได้อย่างมั่นคง ความสมดุลของการกระจายโอกาสเพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มคนและพื้นที่ และ
ความสมดุลทางธรรมชาติเพื่อให้ คนอยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืนรวมถึงการ
บริหารจัดการองคาพยพต่าง ๆ ของประเทศให้พร้อมรับกับความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและ

หน้า ๑๘๔ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ภายในประเทศ นอกจากนี้ ในการวางแผนและการขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติต้องอาศัยองค์ความรู้ทาง
วิชาการที่รอบด้านและพิจารณาด้วยความรอบคอบ ควบคู่กับการยึดถือผลประโยชน์ของประชาชนส่วนรวมเป็น
ที่ตั้ง และมุ่งมั่นผลักดันให้การพัฒนาบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
๒. การสร้างความสามารถในการ “ล้มแล้ว ลุกไว” โดยมุ่งเน้นการพัฒนาใน ๓ ระดับ ประกอบด้วย
๑) การพร้อมรับ หรือ ระดับ “อยู่รอด” ในการแก้ไขข้อจำกัดหรือจุดอ่อนที่มีอยู่ ซึ่งเป็นผลให้ประชาชน
ประสบความยากลาบากในการดำรงชีวิต หรือทำให้ประเทศมีความเปราะ บางต่อการเปลี่ยนแปลงจาก
ภายนอกและภายใน รวมถึงการสร้างความพร้อมในทุกระดับในการรับมือกับสภาวะวิกฤติที่อาจเกิดขึ้นให้
สามารถฟื้นคืนสู่ภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว ๒) การปรับตัว หรือ ระดับ “พอเพียง” ในการปรับเปลี่ยนปัจจัยที่
จาเป็นเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ในระดับครอบครัว ชุมชนพื้นที่
และประเทศ รวมถึงปรับทิศทาง รูปแบบ และแนวทางการพัฒนาให้สอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก
ยุคใหม่ และ ๓) การเปลี่ยนแปลงเพื่อพร้อมเติบโตอย่างยั่งยืน หรือ ระดับ “ยั่งยืน” ในการผลักดันให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในมิติต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความสามารถของบุคคลและสังคมในการพัฒนาอย่าง
ต่อเนื่อง รวมทั้งเพื่อสนับสนุนให้ประเทศสามารถเติบโตได้อย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
๓. เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ โดยกำหนดทิศทางการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐาน
ของแนวคิด “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” มุ่งเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่ม ทั้งในมิติของการมี
ปัจจัยที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานที่เพียงพอ การมีสภาพแวดล้อมที่ดี การมีปัจจัยสนับสนุนให้มี
สุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ การมีโอกาสที่จะใช้ศักยภาพของตนในการสร้างความเป็นอยู่ที่ดี
และการมุ่งส่งต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดีไปยังคนรุ่นต่อไป
๔. การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว โดยให้ความสำคัญกับการ
ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสมัยใหม่ และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
ทางเศรษฐกิจ ควบคู่กับการรักษาความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากร
ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิต การให้บริการและการ
บริโภคเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนา
การพัฒนาประเทศในระยะ ๕ ปี ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๓ ให้สามารถก้าวข้ามความท้าทายที่เป็น
อุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ จำเป็นจะต้องเร่งแก้ไขจุดอ่อนและข้อจำกัดของประเทศที่
มีอยู่เดิม รวมทั้งเพิ่มศักยภาพในการรับมือกับความเสี่ยงสำคัญที่มาจากการเปลี่ยนแปลงของบริบททั้งจาก
ภายนอกและภายใน ตลอดจนการเสริมสร้างความสามารถในการสร้างสรรค์ประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้นได้
อย่างเหมาะสมและทันท่วงที ด้วยเหตุนี้ การกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่
๑๓ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ พลิกโฉมประเทศไทยสู่ “สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน” ซึ่ง
หมายถึงการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ครอบคลุมตั้งแต่ระดับโครงสร้าง นโยบาย และกลไก เพื่อมุ่งเสริมสร้าง
สังคมที่ก้าวทันพลวัตของโลก และเกื้อหนุนให้คนไทยมีโอกาสที่จะพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ พร้อมกับ
การยกระดับกิจกรรมการผลิตและการให้บริการให้สามารถสร้างมูลค่า เพิ่มที่สูงขึ้นโดยอยู่บนพื้นฐานของความ
ยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ข้างต้น แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๓ จึงได้กาหนดเป้าหมาย
หลักของการพัฒนาจำนวน ๕ ประการ ประกอบด้วย

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๘๕


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
๑. การปรับโครงสร้างภาคการผลิตและบริการสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม มุ่งยกระดับขีดความสามารถ
ในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการสำคัญ ผ่านการผลักดันส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มโดยใช้นวัตกรรม
เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ ที่ตอบโจทย์พัฒนาการของสังคมยุคใหม่และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อม
ทั้งให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจท้องถิ่นและผู้ประกอบการรายย่อยกับห่วงโซ่มูลค่าของภาคการผลิต
และบริการเป้าหมาย รวมถึงพัฒนาระบบนิเวศที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนและนวัตกรรม
๒. การพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่ มุ่งพัฒนาให้คนไทยมีทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสมกับโลก
ยุคใหม่ ทั้งทักษะในด้านความรู้ ทักษะทางพฤติกรรม และคุณลักษณะตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคมและเร่งรัด
การเตรียมพร้อมกำลังคนให้มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และเอื้อต่อการปรับ
โครงสร้างเศรษฐกิ จ ไปสู ่ภ าคการผลิต และบริ การเป้ าหมายที ่ม ี ศั กยภาพและผลิ ตภาพสูง ขึ ้น รวมทั้ ง ให้
ความสำคัญกับการสร้างหลักประกันและความคุ้มครองทางสังคมที่สามารถส่งเสริมความมั่นคงในชีวิต
๓. การมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม มุ่งลดความเหลื่อมล้าทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งใน
เชิงรายได้ พื้นที่ ความมั่งคั่ง และการแข่งขันของภาคธุรกิจ ด้วยการสนับสนุนช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางและ
ผู้ด้อยโอกาสให้มีโอกาสในการเลื่อนสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม กระจายโอกาสทางเศรษฐกิจและจัดให้มี
บริการสาธารณะที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมในทุกพื้นที่ พร้อมทั้งเพิ่มโอกาสในการแข่งขันของภาค
ธุรกิจให้เปิดกว้างและเป็นธรรม
๔. การเปลี่ยนผ่านการผลิตและบริโภคไปสู่ความยั่งยืน มุ่งลดการก่อมลพิษ ควบคู่ไปกับการผลักดัน
ให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับขีดความสามารถในการรองรับของ
ระบบนิเวศ ตลอดจนลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลาง
ทางคาร์บอนภายในปี ๒๕๙๓ และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ๒๖๐๘
๕. การเสริมสร้างความสามารถของประเทศในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและความเสี ่ย ง
ภายใต้บริบทโลกใหม่ มุ่งสร้างความพร้อมในการรับมือและแสวงหาโอกาสจากการเป็นสังคมสูงวัยการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยโรคระบาด และภัยคุกคามทางไซเบอร์ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและกลไกทาง
สถาบันที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล รวมทั้งปรับปรุงโครงสร้างและระบบการบริหารงานของภาครัฐให้
สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ย นแปลงของบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีได้อย่างทันเวลามี
ประสิทธิภาพ และมีธรรมาภิบาล

หมุดหมายการพัฒนา
เพื่อถ่ายทอดเป้าหมายหลักไปสู่ภาพของการขับเคลื่อนที่ชัดเจนในลักษณะของวาระการพัฒนาที่เอื้อให้
เกิดการทำงานร่วมกันของหลายหน่วยงานและหลายภาคส่วนในการผลักดันการพัฒนาเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้เกิด
ผลได้อย่างเป็นรูปธรรม แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๓ จึงได้ก ำหนดหมุดหมายการพัฒนา จำนวน ๑๓ หมุดหมาย
ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงสิ่งที่ประเทศไทยปรารถนาจะ “เป็น” หรือมุ่งหวังจะ “มี” เพื่อสะท้อนประเด็นการพัฒนา
ที่มีลำดับความสำคัญสูงต่อการพลิกโฉมประเทศไทยสู่ “สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน” โดย
หมุดหมายทั้ง ๑๓ ประการ แบ่งออกได้เป็น ๔ มิติ

หน้า ๑๘๖ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

สรุป แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐)

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 มีเป้าหมายที่จะทำให้


ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งได้มี
การออกแบบแผนนี้มาจากฐานคิดรวม 4 ประการ
1. เศรษฐกิจพอเพียง
2. ความสามารถในการที่จะล้มแล้วลุกให้ไว เดินไปข้างหน้าให้ได้
3. เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ
4. การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว

ทั้งนี้ เป้าหมายหลักของแผนฯ ฉบับที่ 13 ได้กำหนดหลัก 5 ประการ 1.การปรับโครงสร้างการผลิตสู่


เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม 2.การพัฒนาคนสู่โลกยุคใหม่ 3.การมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม 4.การ
เปลี่ยนผ่านการผลิตและการบริโภคไปสู่ความยั่งยืน และ 5.การเสริมสร้างความสามารถของไทยในการรับมือ
กับความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลงภายใต้โรคอุบัติใหม่

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๘๗


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

แนวข้อสอบ
ความรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 นโยบายรัฐบาล
นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
สังคมและการเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน

1. แผนใดต่อไปนี้ต้องจัดทำให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล
ก. ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
ข. แผนปฏิรูปประเทศ
ค. แผนบริหารราชการแผ่นดิน
ง. แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการต่าง ๆ
ตอบ ง.
2. ผู้รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ คณะรัฐมนตรี ตรงกับข้อใด
ก. คสช. ข. นายกรัฐมนตรี
ค. ประธานรัฐสภา ง. ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ตอบ ข.
3. ข้อใด ไม่ใช่ จังหวัดในภาคตะวันออกที่มีนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
ก. ฉะเชิงเทรา ข. ชลบุรี
ค. จันทบุรี ง. ระยอง
ตอบ ค.
4. นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่เท่าไหร่
ก. คนที่ 28 ข. คนที่ 29
ค. คนที่ 30 ง. คนที่ 31
ตอบ ค.
5. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2562 เป็นฉบับที่เท่าไหร่
ก. ฉบับที่ 16 ข. ฉบับที่ 17
ค. ฉบับที่ 18 ง. ฉบับที่ 19
ตอบ ง.
6. ปัจจุบันกระทรวงและส่วนราชการทีมีฐานะเป็นกระทรวง ตาม พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง
กรม พ.ศ. ๒๕๖๒ มีจำนวนเท่าใด
ก. 18 กระทรวง ข. 20 กระทรวง
ค. 22 กระทรวง ง. 19 กระทรวง
ตอบ ข.
7. คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการปรับปรุงองค์ประกอบและแต่งตั้งเพิ่มเติมคณะกรรมการปฏิรูปด้านต่าง ๆ
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ๒๕๖๓ มีทั้งหมดกี่ด้าน
ก. 7 ด้าน ข. 9 ด้าน
ค. 11 ด้าน ง. 13 ด้าน
ตอบ ง.

หน้า ๑๘๘ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
8. การปฏิรูปประเทศ จะต้องดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายใด
ก. ประชาชนมีความสุข
ข. สังคมมีความสงบสุข
ค. ประเทศชาติมีความสงบเรียบร้อย
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
9. ประธานองคมนตรี คนปัจจุบันคือใคร
ก. พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข
ข. พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา
ค. พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
ง. พลเอกกัมปนาท รุดดิษฐ์
ตอบ ค.
10. กลุ่ม G7 หมายถึง กลุ่มใด
ก. กลุ่มประเทศเกษตรกรรม
ข. กลุ่มประเทศอุตสาหกรรม
ค. กลุ่มประเทศผลิตยางพารา
ง. กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
ตอบ ข.
11. แผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ 3 ฝ่าย (IMT - GT) ประกอบด้วยประเทศใด
ก. ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย
ข. ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย
ค. ไทย ลาว มาเลเซีย
ง. ไทย เวียดนาม มาเลเซีย
ตอบ ก.
12. ข้อใดไม่ได้อยู่ในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน +6
ก. ประเทศออสเตรเลีย
ข. ประเทศอังกฤษ
ค. ประเทศอินเดีย
ง. ประเทศนิวซีแลนด์
ตอบ ข.
13. ข้อใดคือ วิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนประเทศของรัฐบาล
ก. มั่งคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
ข. ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง
ค. ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ง. มุ่งมั่นให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในศตวรรษที่ 21
ตอบ ง.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๘๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
14. จำนวนรัฐมนตรีในคณะนั้นเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้
คณะรัฐมนตรีมีรัฐมนตรีได้จำนวนเท่าใด
ก. 35 คน ข. ไม่เกิน 35 คน
ค. 36 คน ง. ไม่เกิน 35 คน
ตอบ ข.
15. ศาลประเภทใดมีอำนาจพิจารณาพิพากษาความผิดทางอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ก. ศาลยุติธรรม ข. ศาลปกครอง
ค. ศาลทหาร ง. ศาลรัฐธรรมนูญ
ตอบ ก.
16. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้น้อมนำมาใช้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ตั้งแต่ฉบับที่เท่าใด
ก. ฉบับที่ 5 ข. ฉบับที่ 6
ค. ฉบับที่ 7 ง. ฉบับที่ 9
ตอบ ง.
17. ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ถูกกำหนดจากยุทธศาสตร์
กี่ด้าน ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
ก. 6 ด้าน ข. 8 ด้าน
ค. 9 ด้าน ง. 10 ด้าน
ตอบ ก.
18. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นหน่วยงานที่ทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ปัจจุบันสังกัดส่วนราชากรใด
ก. สำนักนายกรัฐมนตรี ข. สำนักงานปลัดนายกรัฐมนตรี
ค. กระทรวงการคลัง ง. องค์กรอิสระ
ตอบ ก.
19. Thailand 4.0 เป็นโมเดลเศรษฐกิจ ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. ทำมาก ได้มาก ข. ทำน้อย ได้น้อย
ค. ทำมาก ได้น้อย ง. ทำน้อย ได้มาก
ตอบ ง.
20. Thailand 4.0 เป็นโมเดลที่ได้นำหลักใด มาเป็นแนวคิดหลักในการพัฒนาประเทศ
ก. หลักทฤษฎีใหม่
ข. หลัก เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา
ค. หลักความปรองดอง สามัคคี
ง. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตอบ ง.
21. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่เท่าไหร่
ก. ฉบับที่ 10 ข. ฉบับที่ 11
ค. ฉบับที่ 12 ง. ฉบับที่ 13
ตอบ ง.

หน้า ๑๙๐ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
22. ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี อนาคตประเทศไทยเพื่อความ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน จะต้องใช้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ กี่ฉบับ
ก. 3 ฉบับ ข. 4 ฉบับ
ค. 5 ฉบับ ง. 6 ฉบับ
ตอบ ข.
23. ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี อนาคตประเทศไทยเพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน จะต้องใช้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่แผนใดถึงแผนใด
ก. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ ที่ 12 ถึง ฉบับที่ 14
ข. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ ที่ 12 ถึง ฉบับที่ 15
ค. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ ที่ 12 ถึง ฉบับที่ 16
ง. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ ที่ 12 ถึง ฉบับที่ 17
ตอบ ข.
24. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นแผนระยะใด
ก. แผนระยะสั้น ข. แผนระยะกลาง
ค. แผนระยะยาว ง. แผนระยะปานกลาง
ตอบ ข.
25. ข้อใดคือแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ตามรัฐธรรมนูญ
ก. รัฐพึงส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ
ข. รัฐดำเนินการเกี่ยวกับที่ดิน ทรัพยากรน้ำและพลังงาน
ค. รัฐพึงจัดให้มี และส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
26. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 เป็นฉบับที่เท่าไร
ก. ฉบับที่ 18 ข. ฉบับที่ 19
ค. ฉบับที่ 20 ง. ฉบับที่ 21
ตอบ ค.
27. ข้อใด คือ อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย
ก. รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล
ข. คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอิสระ
ค. รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และองค์กรอิสระ
ง. รัฐสภา รัฐบาล และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ตอบ ก.
28. การจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติ เป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน เกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด
ก. หน้าที่ของรัฐ
ข. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
ค. หน้าที่ของรัฐและปวงชนชาวไทย
ง. หน้าที่ของ คณะรัฐมนตรีและรัฐสภา
ตอบ ข.
29. แผนใดที่จะเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติ สู่การปฏิบัติได้ผลดีที่สุด
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๙๑
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ก. นโยบายของรัฐบาล
ข. แผนปฏิบัติการของหน่วยงานต่างๆ
ค. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ง. แผนนโยบายภาครัฐ และส่วนราชการต่างๆ
ตอบ ค.
30. ยุทธศาสตร์ชาติข้อแรกคือข้อใด
ก. ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง
ข. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
ค. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน
ง. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาค และเท่าเทียมกันทางสังคม
ตอบ ก.
31. ข้อใดคือแผนแม่บทหลักของการพัฒนาประเทศไทย
ก. นโยบายรัฐบาล
ข. โมเดลไทยแลนด์ 4.0
ค. ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
ง. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ตอบ ค.
32. หน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ก. คณะรัฐมนตรี
ข. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ค. สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
ง. คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ตอบ ง.
33. ประเทศใด ไม่ใช่ สมาชิกกลุ่ม GMS ระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
ก. ไทย ข. บูรไน
ค. กัมพูชา ง. ลาว
ตอบ ข.
34. ใครเป็นประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
ก. นายกรัฐมนตรี ข. ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ค. ประธานวุฒิสภา ง. รัฐมนตรี
ตอบ ก.
35. รัฐสภาแห่งใหม่ของประเทศไทย ชื่อว่า
ก. ตึกไทยคู่ฟ้า
ข. ตึกนารีสโมสร
ค. ตึกสันติไมตรี
ง. สัปปายะสภาสถาน
ตอบ ง.

หน้า ๑๙๒ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
36. กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หมายถึงข้อใด
ก. EU ข. APEC
ค. OPEC ง. AFTA
ตอบ ข.
37. ข้อใด ไม่ใช่ หลักธรรมาภิบาล
ก. หลักนิติธรรม ข. หลักคุณธรรม
ค. หลักนิติรัฐ ง. หลักความคุ้มค่า
ตอบ ค.
38. จังหวัดในข้อใดที่อยู่ในนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
ก. จันทบุรี /ฉะเชิงเทรา/ชลบุรี
ข. ฉะเชิงเทรา/ชลบุรี/ตราด
ค. จันทบุรี /ฉะเชิงเทรา/ตราด
ง. ระยอง /ฉะเชิงเทรา/ชลบุรี
ตอบ ง.
39. BCG Model หมายถึงข้อใด
ก. เศรษฐกิจแบบองค์รวม
ข. เศรษฐกิจแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ค. เศรษฐกิจแบบสมดุลใหม่
ง. เศรษฐกิจแบบบริหารเชิงระบบ
ตอบ ก.
40. ข้อใด ไม่ใช่ องค์ประกอบของ BCG Model
ก. Big Economy ข. Bio Economy
ค. Green Economy ง. Circular Economy
ตอบ ก.
41. APEC มีสมาชิกทั้งหมดกี่เขตเศรษฐกิจ
ก. จำนวน 20 เขตเศรษฐกิจ
ข. จำนวน 21 เขตเศรษฐกิจ
ค. จำนวน 22 เขตเศรษฐกิจ
ง. จำนวน 23 เขตเศรษฐกิจ
ตอบ ข.
42. การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค APEC 2024 ประเทศใดเป็นเจ้าภาพ
ก. เปรู ข. แคนาดา
ค. รัสเซีย ง. สหรัฐ
ตอบ ก.
43. ข้อใด ไม่ใช่ จังหวัดนำร่อง นโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว
ก. จังหวัดแพร่ ข. จังหวัดขอนแก่น
ค. จังหวัดเพชรบุรี ง. จังหวัดนราธิวาส
ตอบ ข.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๙๓


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
44. มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ที่กำหนให้มีการมอบหมายเป็นภาระของครูในการเข้าเวรยาม เคยมีมติไว้ตั้งแต่
เมื่อใด
ก. 6 ก.ค. 2542 ข. 6 พ.ค. 2543
ค. 6 ก.ค. 2544 ง. 6 พ.ค. 2545
ตอบ ก.
45. โครงการ Landbridge เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ที่จะเป็นส่วนสำคัญ
ของการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC)
ซึ่งครอบคลุมพื้นที่จังหวัดต่างๆ ยกเว้นจังหวัดใด
ก. จังหวัดชุมพร ข. จังหวัดสงขลา
ค. จังหวัดระนอง ง. จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ตอบ ข.
46. ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13
ก. ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
ข. พลิกโฉมประเทศไทยสู่สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน
ค. เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ข.
47. วัตถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 มี่กี่ประการ
ก. 5 ประการ ข. 6 ประการ
ค. 7 ประการ ง. 10 ประการ
ตอบ ก.
48. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ ประกาศให้ใช้ตั้งแต่วันที่
ก. ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๗๐
ข. 31 ธันวาคม ๒๕๖๕ จนถึงวันที่ 30 กันยายน ๒๕๗๐
ค. ๑ ตุลาคม ๒๕๖6 จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๗1
ง. 31 ธันวาคม ๒๕๖6 จนถึงวันที่ 30 กันยายน ๒๕๗1
ตอบ ก.
49. รัฐสภาประกอบด้วย
ก. สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
ข. สภาผู้แทนราษฎร
ค. วุฒิสภา
ง. ส.ส. 500 คน และ ส.ว. 150 คน
ตอบ ก.
50. ใครเป็นรองประธานรัฐสภา
ก. ประธานวุฒิสภา ข. ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ค. ส.ส.สังกัดพรรคที่มีจำนวนมากที่สุด ง. ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน
ตอบ ก.

หน้า ๑๙๔ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
51. สมาชิกวุฒิสภา จำนวนตามข้อใด
ก. ไม่เกิน 200 คน ข. 200 คน
ค. ไม่เกิน 250 คน ง. 250 คน
ตอบ ค.
52. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้กำหนดสภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน
ก. 250 คน ข. 350 คน
ค. 500 คน ง. 700 คน
ตอบ ค.
53. ในปี 2566 ยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนประเพณีใดของไทยเป็นมรดกโลกวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
ก. บุญบั้งไฟ ข. สงกรานต์
ค. ลอยกระทง ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ข.
54. ข้อใด ไม่ใช่ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม “ที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ” ของประเทศไทย
ก. โนรา ข. นวดไทย
ค. มวยไทย ง. สงกรานต์ไทย
ตอบ ค.
55. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต
ก. อายุ 16 ปีขึ้นไป
ข. รายได้ไม่เกิน 70,000 บาท/ต่อเดือน
ค. รายได้ไม่เกิน 70,000 บาท/ต่อปี
ง. เงินฝากไม่เกิน 500,000 บาท
ตอบ ค.
56. สำหรับคนไม่ได้รับสิทธิ์โครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท สามารถใช้เงื่อนไข e-Refund คือการนำ
ค่าซื้อสินค้าและบริการมาใช้ในการลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกินกี่บาท
ก. 20,000 บาท ข. 30,000 บาท
ค. 50,000 บาท ง. 70,000 บาท
ตอบ ค.
57. นโยบบายแก้หนี้นอกระบบสามารถลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่แอปพลิเคชันใด
ก. ThaiID ข. แก้หนี้นอกระบบ
ค. ทางรัฐ ง. เราชนะหนี้
ตอบ ก.
58. โครงการ Digital wallet จะพัฒนาประเทศไทยอย่างไร
ก. ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น เเก้ปัญหาเชิงโครงสร้างระยะสั้น
ข. ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจระยะยาว เเก้ปัญหาเชิงโครงสร้างระยะยาว
ค. ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจระยะยาว เเก้ปัญหาเชิงโครงสร้างระยะสั้น
ง. ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น เเก้ปัญหาเชิงโครงสร้างระยะยาว
ตอบ ง.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๙๕


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
59. ครม. เห็นชอบหลักการ ปรับเงินเดือนข้าราชการบรรจุใหม่ ปีที่ 1 เริ่มต้นเดือนละกี่บาท
ก. 16,500 บาท ข. 17,500 บาท
ค. 18,000 บาท ง. 18,150 บาท
ตอบ ก.
60. ครม. เห็นชอบหลักการ ปรับเงินเดือนข้าราชการบรรจุใหม่ ปีที่ 2 เริ่มต้นเดือนละกี่บาท
ก. 16,500 บาท ข. 17,500 บาท
ค. 18,000 บาท ง. 18,150 บาท
ตอบ ง.
61. ข้อใด ไม่ใช่ นโยบาย “ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง”
ก. เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime)
ข. จัดให้มีโรงเรียนคุณภาพ 1 โรงเรียน ต่อ 1 อำเภอ
ค. จัดหาอุปกรณ์การสอนและสวัสดิการให้เพียงพอและเหมาะสม
ง. จัดทำระบบวัดผลรับรองมาตรฐานวิชาชีพ (Skill Certificate)
ตอบ ค.
62. ประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล หรือ PISA รอบการประเมินถัดไปคือปีใด
ก. ปี พ.ศ. 2567 ข. ปี พ.ศ. 2568
ค. ปี พ.ศ. 2569 ง. ปี พ.ศ. 2570
ตอบ ข.
63. ข้อใดเป็นนโยบาย ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา และลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง
ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ)
ก. ลดการบ้าน เพิ่มการเรียนรู้ ข. ลดเวลาเรียน เพิ่มการเรียนรู้
ค. ลดการบ้าน เพิ่มเวลาความรู้ ง. ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลาความรู้
ตอบ ก.
64. การแก้ไขปัญหาหนี้สินครู เป็นนโยบายในข้อใดของนโยบายเร่งด่วน (Quick Win)
ก. ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา ข. ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง
ค. ลดภาระครูและผู้ปกครอง ง. ลดภาระครูและนักเรียน
ตอบ ก.
65. นโยบาย 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ ของ สพฐ. โรงเรียนระดับประถมศึกษามีกี่โรงเรียน
ก. 109 โรงเรียน ข. 709 โรงเรียน
ค. 901 โรงเรียน ง. 907 โรงเรียน
ตอบ ค.
66. นโยบาย 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ ของ สพฐ. โรงเรียนระดับมัธยมศึกษามีกี่โรงเรียน
ก. 109 โรงเรียน ข. 709 โรงเรียน
ค. 901 โรงเรียน ง. 907 โรงเรียน
ตอบ ง.

หน้า ๑๙๖ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม


ประชาธิปไตย และความสำคัญของสถาบันหลักของชาติ

➢ ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทย โดยย่อ
ราวพุทธศตวรรษที่ 5 การติดต่อค้าขายจากอินเดีย เป็นแรงพักดันให้ชุมชนเหล่านั้นได้รวมตัวกันเป็น
ชุมชนใหญ่ขึ้น ดังเช่นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลางตอนล่างได้เกิดเป็น อาณาจักรทวารดี พุทธศตวรรษที่ 11
หรือ 12- 18)
อาณาจักรสุโขทัยเป็นอาณาจักรแรกของไทย ก่อตั่งเมื่อ พ.ศ.1781 ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
เป็นช่วงที่รุ่งเรืองถึงที่สุดในทุกด้าน ทรงประดิษฐ์ลายสือไทยเมื่อ พ.ศ.1826 ในสมัยพระยาลิไทพระพุทธศาสนา
ได้รับการทำนุบำรุงเป็นอย่างมาก อาณาจักรเจริญรุ่งเรืองมาถึงปี 1891 อาณาจักรจึงถูกผนวกรวมเข้ากับ
อาณาจักรอยุธยา
ในปี พ.ศ.1893 พระเจ้าอู่ทองได้สถาปนาอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีการปฏิรูปทางด้าน
การทหาร กฎหมาย การปกครอง อีกทั้งยังเป็นยุครุ่งเรืองของศิลปวัฒนธรรม มีความสัมพันธไมตรีและติดต่อกับ
ชาวตะวันตก ทว่าสงครามกับพม่าที่มีมาอย่างต่อเนื่องเป็นเหตุทำให้นำไปสู่การเสียกรุงทั้ง 2 ครั้ง ครั้งแรกในปี
พ.ศ 2112 ซึ่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชสามารถกู้กรุงคืนได้ในอีก 15 ปีต่อมา ครั้งที่สองเกิดขึ้นในปี พ.ศ.
2310 ซึ่งเป็นการสิ้นสุดของอาณาจักรที่ดำเนินมา ถึง 417 ปี มีกษัตริย์ปกครอง 33 พระองศ์ 5 ราชวงศ์
หลักจากอาณาจักรอยุธยาเสียกรุงให้แก่พม่า แม่ทัพอยุธยาคนหนึ่งนามว่า พระยาตาก (สิน) สามารถ
รวบรวมชาวไทยกู้กรุงคืนได้ในปีเดียวกันนั้น ได้สถาปนาเมืองธนบุรีเป็นราชธานี ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้า
กรุงธนบุรี ในปี พ.ศ. 2311 ทรงทำศึกสงครามกับต่างชาติและปราบก๊กต่าง ๆ ตลอดราชการเป็นเวลา 15 ปี
เพื่อรวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่น บ้านเมืองมีความเข้มแข็งกลายเป็นศูนย์กลางทางอำนาจในภูมิภาคนี้อีกครั้ง
ปลายราชการพระองศ์เกิดสติวิปลาส บ้านเมืองเกิดการจลาจล ในปี 2325 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
ทรงได้ปราดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ สถาปนาราชวงศ์จักรีขึ้น แล้วย้ายเมืองหลวงมาทางฝั่งรัตนโกสินทร์ สถาปนา
กรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวง
ในตอนต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการพัฒนาประเทศทุก ๆ ด้าน มีการสร้างและบูรณะวัดวาอารม
และพระพุทธรูป มีการขุดคลองเพื่อให้เป็นเส้นทางคมนาคม ชำระกฎหมาย สังคายนาพระไตรปิฎก และฟื้นฟู
ศิลปะวิทยาการมากมาย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงได้นำพาความก้าวหน้าจากชาติตะวันตกมา
สู่ประเทศ สืบเนื่องจากรัชกาลที่ 4 ทรงเริ่มไว้ ทรงปฏิรูปการเมือง การปกครอง เลิกทาส นำพาประเทศสู่ความ
เป็นอารยะประเทศ ในรัชกาลนี้เป็นเวลาที่ชาติตะวันตกกำลังแผ่อิทธิผลมาสู่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทรง
ดำเนินนโยบายทางการเมืองและการทูตได้อย่างเหมาะสม ทำให้ประเทศยังคงรักษาความเป็นเอกราชไว้ได้ แม้
จะต้องเสียดินแดนบางส่วนเพื่อเป็นการแลกก็ตาม
ในปี พ.ศ. 2475 ประเทศได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็น
ประชาธิปไตยตรงกับสมัยรัชกาลที่ 7
สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เปลี่ยนชื่อจากสยาม มาเป็นประเทศไทย แต่ประเทศก็ประสบกับ
ปัญหาล้มลุกคลุกคลานทั้งในด้านการเมืองภายใน และจากภายนอกอันเนื่องมาจากสงครามโลก แต่ประเทศก็
ยังรักษาเอกราชเอาไว้ได้อีกครั้ง

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๙๗


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ประเทศไทยในยุคปัจจุบันได้ขยายตัวและพัฒนาไปสู่ความเป็นตะวันตกอย่างรวดเร็วในทุก ๆ ด้าน เป็น
เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่อุดมไปด้วยทรั พยากรธรรมชาติและแฝงไว้ด้วยวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม วิถีชีวิตของ
ประชาชน ที่เป็นเอกลักษณ์ที่มีเสน่ห์เฉพาะตัวไม่เหมือนที่ใด จนกลายเป็นประเทศที่คนทั่วโลกต่างต้องการมา
สัมผัส ค้นหา และชื่นชมให้ได้อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต

➢ หน้าที่พลเมือง
ความหมายของพลเมือง
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ให้ความหมายของคำว่า “พลเมือง” “วิถี” และ
“ประชาธิปไตย” ไว้ดังนี้
พลเมือง หมายถึง ประชาชน ราษฎร ชาวประเทศ
วิถี หมายถึง สาย แนว ถนน ทาง
ประชาธิปไตย หมายถึง ระบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่ การถือเสียงข้างมากเป็นใหญ่
ดังนั้น คำว่า “พลเมืองที่ดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย” หมายถึง พลเมืองที่มีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ เป็น
ผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต พลเมือง
หมายถึง คนที่มีสิทธิและหน้าที่ในฐานะประชาชนของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือประชาชนที่อยู่ภายใต้
ผู้ปกครองเดียวกัน มักมีวัฒนธรรมเดียวกัน เช่น คนไทยทุกคนควรทำตัวเป็นพลเมืองดี คือนอกจากตระหนักถึง
สิทธิของตนเองแล้ว ยังต้องทำหน้าที่ที่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดและปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม โดย
มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อันจะก่อให้เกิด การพัฒนาสังคมและประเทศชาติเพื่อให้เป็นสังคมและเป็นประเทศ
ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ตามหลักการ ทางประชาธิปไตย
กล่าวโดยสรุป คำว่า “พลเมือง” มีความแตกต่างจากคำว่า “ประชาชน” และ “ราษฎร” ตรงที่ว่า
พลเมืองจะแสดงออกถึงความกระตือรือร้นในการรักษาสิทธิต่าง ๆ ของตน รวมถึงการมีส่วนร่วมทางการเมือง
โดยการแสดงออกซึ่งสิทธิ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
หลักการเป็นพลเมืองในวิถีระบอบประชาธิปไตย
การปกครองในระบอบประชาธิปไตย เป็นการปกครองที่ประชาชนทุกคน มีส่วนร่วมในการปกครอง
ประเทศ ซึ่งจะประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องสร้างความเป็นพลเมืองให้ประชาชนสามารถปกครองตนเองได้
การสร้างพลเมืองให้มีความเป็นพลเมือง ในวิถีระบอบประชาธิปไตย มีหลักพื้นฐานสำคัญอยู่ ๓ ประการ ดังนี้
๑. เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ที่ทุกคนเกิดมามีคุณค่าเท่ากันมิอาจล่วงละเมิดได้ การมีอิสรภาพ
และความเสมอภาค การยอมรับในเกียรติภูมิของแต่ละบุคคล โดยไม่คำนึงถึงสถานภาพทางสังคม ยอมรับความ
แตกต่างของทุกคน
๒. เคารพสิทธิ เสรีภาพ และกฎกติกาของสังคมที่เป็นธรรม โดยให้ความสำคัญต่อสิทธิ เสรีภาพ การ
มีกฎกติกาที่วางอยู่บนความยุติธรรมและชอบธรรม มีหลักนิติรัฐ ในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพมิให้ถูกละเมิด
๓. รับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น สังคม และประเทศชาติ โดยตระหนักถึงบทบาทหน้าที่และความ
รับผิดชอบของตนเอง ต่อสังคม การดำรงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคมช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ใช้สติปัญญาในการ
แก้ไขปัญหาด้วยเหตุและผล

หน้า ๑๙๘ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
หน้าที่ของพลเมืองไทย
ประเทศไทยมี ก ารปกครองระบอบประชาธิ ป ไตยอั น มี พ ระมหากษั ต ริ ย ์ ท รงเป็ น ประมุ ข โดยมี
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ได้ก ำหนดให้อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย
พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อ ำนาจนั้น ทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล นอกจากนี้ ประชาชน
ซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิหรือเจ้าของสิทธิในอำนาจอธิปไตย ยังสามารถมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศตามระบอบ
ประชาธิปไตยโดยทางตรงและทางอ้อม คือ
๑. ประชาธิปไตยทางตรง หรือที่เรียกว่า “การเมืองภาคพลเมืองหรือภาคประชาชน” เช่น การใช้สิทธิ
ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดด้วยตนเองหรือต้องทำร่วมกับผู้อื่น โดยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย การร่วมเวที
ประชาคม การทำประชาพิจารณ์ เป็นต้น
๒. ประชาธิปไตยทางอ้อม หรือที่เรียกว่า “การเมืองภาคตัวแทน” เป็นการเลือกตั้ง ทั้งในระดับ
ท้องถิ่น ได้แก่ การเลือกตั้ง อบต. เทศบาล อบจ. เมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร เป็นต้น และระดับชาติ เพื่อ
ทำหน้าที่แทนประชาชน ได้แก่ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เป็นต้น
ดังนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้ก ำหนดให้ ปวงชนชาวไทย มีหน้าที่
๑๐ ประการ ดังนี้
๑. พิทักษ์ร ักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๒. ป้องกันประเทศ พิทักษ์รักษาเกียรติภูมิ ผลประโยชน์ของชาติ รวมตลอดทั้ง สาธารณสมบัติของ
แผ่นดิน และให้ความร่วมมือในการบรรเทาสาธารณภัย
๓. ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
๔. เข้ารับการศึกษาอบรมในการศึกษาภาคบังคับ
๕. รับราชการทหารตามที่กฎหมายบัญญัติ
๖. เคารพและไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น และไม่กระทำการใดที่อาจก่อให้เกิดความ
แตกแยกหรือเกลียดชังในสังคม
๗. ไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือลงประชามติอย่างอิสระ โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเป็น
สำคัญ
๘. ร่วมมือและสนับสนุนการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลาย
ทางชีวภาพ รวมทั้งมรดกทางวัฒนธรรม
๙. เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ
๑๐. ไม่ร่วมมือหรือสนับสนุนการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ

➢ ศีลธรรม
ความสำคัญของศีลธรรม จริยธรรมและค่านิยม
- ศีลธรรม จริยธรรมและค่านิยมคือสิ่งที่กำหนดมาตรฐานความประพฤติของสมาชิกในสังคมให้ปฏิบัติ
ตามแนวทางที่สังคมได้กำหนดว่าเป็นสิ่งดีงาม เหมาะสมกับสภาพสังคมนั้น ๆ รวมทั้งเป็นมาตรฐานที่ใช้ตัดสิน
การกระทำว่าถูกหรือผิด ดีหรือชั่ว ในสังคม เพื่อให้สังคมดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุข ซึ่ งเป็นสิ่งสำคัญที่มีอยู่คู่กับ
การดำเนินชีวิตเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับร่วมกัน
- ค่านิยม และจริยธรรม ที่เป็นตัวกำหนดความเชื่อของแต่ละบุคคล เป็นค่านิยมและจริยธรรมที่
ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ช่ว ยในการพัฒ นาสังคม รวมทั้งบุคคลให้มีความตั้งมั่นอยู่ในความดีความ
รับผิดชอบ ความเสียสละ ความกตัญญูรู้คุณ ความมีวินัย ความกล้าหาญ และความเชื่อมั่นในคำสอนของศาสนา
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๙๙
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
จะต้องเป็นค่านิยมและจริยธรรมที่มีจุดมุ่งหมายในการละเว้นการกระทำความชั่ว อันเป็นสิ่งที่สมาชิกของสังคม
มีความศรัทธา ยึดถือเป็นแบบแผน แบบอย่างการดำรงชีวิต

ตัวกำหนดความเชื่อของแต่ละบุคคลเพื่อขจัดความขัดแย้งค่านิยมและศีลธรรมที่เป็นตัวกำหนด
ความเชื่อ ของแต่ละบุคคลเพื่อขจัดความขัดแย้ง
1) การรู้จักเคารพในความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น มีความสำนึกในสิทธิ เสรีภาพความเสมอภาค
ของแต่ละบุคคล ไม่ว่าจะเป็นของตนเองและผู้อื่น เป็นการยอมรับสติปัญญา ความคิดเห็นของผู้อื่นเท่ากับของ
ตน โดยไม่หลอกตนเอง หรือมีความดื้อรั้นเอาแต่ความคิดของตนเองเป็นใหญ่ และเหยี ยดหยามผู้อื่น เป็นการ
ฝึกให้เป็นคนมีเหตุผล รับฟังความคิดเห็นรอบด้าน แล้วนำมาพิจารณา ด้วยตนเองเพื่อขจัดปัญหาความขัดแย้ง
2) มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น หมายถึงมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง เพื่ออยู่ในความไม่
ประมาท ขยันขันแข็งในหน้าที่การงาน มีความรับผิดชอบในสิ่งที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งมีความซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น
ประพฤติปฏิบัติตรงไปตรงมาอย่างสม่ำเสมอ ไม่คิดโกงหรือคิดทรยศหักหลัง หรือชักชวน ไปในทางเสื่อมเสียเพื่อ
หาผลประโยชน์ส่วนตน
3) ความมีวิจารณญาณในการตัดสินปัญหาต่าง ๆ หรือความมีเหตุผลในการพิจารณาไตร่ตรอง ไม่
หลงเชื่อสิ่งใดง่าย ๆ รู้จักควบคุมกาย วาจา โดยใช้สติอย่างรอบคอบ ไม่ทำตามอารมณ์ มีจิตใจสงบเยือกเย็น ไม่
วู่วาม สามารถรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นที่ขัดแย้งกับตนอย่างใจกว้าง ไม่แสดงความโกรธหรือไม่พอใจไม่มี
ฐิติมานะ

ตัวกำหนดความเชื่อของแต่ละบุคคลเพื่อนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
ค่านิยมและจริยธรรมที่เป็นตัวกำหนดความเชื่อของแต่ละบุคคล เพื่อนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างมีสันติสุข
1) การไม่เบียดเบียน และก่อความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น ทั้งการเบียดเบียนทางกาย วาจา ใจ เช่น การ
ใช้คำพูดที่ส่อเสียด เยาะเย้ยถากถาง ดูหมิ่นผู้อื่น รวมทั้งการกลั่นแกล้ง ทำลายทรัพย์สินผู้อื่น
2) ความเสียสละ โดยเป็นผู้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้แก่ผู้อื่น โดยไม่หวังผลตอบแทน ลดละความเห็นแก่ตัว
ช่วยเหลือผู้อื่นในยามที่มีความจำเป็นได้ทั้งกำลังกาย และกำลังทรัพย์ หรือกำลังทางสติปัญญาเพื่อการอยู่
ร่วมกันอย่างสงบสุขในสังคมโดยรวม
3) มีความกล้าหาญทางคุณธรรม จริยธรรม หมายถึง การทำในสิ่งที่เห็นว่าถูกต้อง ตามทำนองคลอง
ธรรม และละเลิกไม่กระทำความผิดอันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ตนเอง และส่วนรวมหรือทำให้ตนเอง
และส่วนรวมเสียผลประโยชน์ก็ตาม

➢ ประชาธิปไตย
ประชาธิปไตย คือ ระบอบการปกครองที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ โดย
อาศัยหลักการของการแบ่งแยกอำนาจ และหลักการที่ว่าด้วยความถูกต้องแห่งกฎหมาย ผู้ปกครองประเทศที่มา
จากการเลือกตั้งของประชาชน เป็นเพียงตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจให้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชน ซึ่ง
ระบอบการปกครองตนเองของประชาชน โดยผ่านการเลือกสมาชิกผู้แทนราษฎรไปบริหารและดูแลเรื่อ ง
กฎหมาย เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ และโดยการตรวจสอบควบคุมดูแลของประชาชนโดยตรง
หรือการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน เช่น การยื่นเสนอหรือแก้ไขกฎหมาย การยื่นถอดถอนนักการเมืองที่ป ระพฤติมิ
ชอบ การแสดงความคิดในการทำประชาพิจารณ์ การออกเสียงในการทำประชามติระบอบนี้มีลักษณะเด่นอยู่ที่

หน้า ๒๐๐ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
การแข่งขันอย่างเสรีระหว่างกลุ่มหรือพรรคการเมืองต่างๆ เพียงเพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน
ส่วนมากใน

หลักการของระบอบประชาธิปไตย
1. อำนาจอธิปไตย หรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ หรือบางทีก็เรียกกันว่า อำนาจของรัฐ
(state power) เป็น อำนาจที่มาจากปวงชน และผู้ที่จะได้อำนาจปกครองจะต้องได้รับความยินยอมจาก
ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ
2. ประชาชนมีสิทธิที่จะมอบอำนาจปกครองให้แก่ประชาชนด้วยกันเอง โดยการออกเสียงเลือกตั้ง
ตัวแทนเพื่อไปใช้สิทธิใช้เสียงแทนตน เช่น การเลือก สส. หรือ สว. โดยมีการกำหนดวันเลือกตั้งและมีวาระการ
ดำรงตำแหน่ง เช่น ทุก 4 ปี หรือ 6 ปีเป็นต้น
3. รัฐบาลจะต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน อาทิ สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในชีวิต
เสรีภาพในการพูด การเขียน การแสดงความคิดเห็น การชุมนุม โดยรัฐบาลจะต้องไม่ละเมิดสิทธิเล่านี้ เว้นแต่
เพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือเพื่อรักษาศีลธรรมอันดีงามของประชาชน
4. ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสมอกันในการที่จะได้รับบริการทุกชนิดที่รัฐจัดให้แก่ประชาชน เช่น สิทธิใน
การ ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
5. รัฐบาลถือกฎหมายและความเป็นธรรมเป็นบรรทัดฐานในการปกครอง และในการแก้ปัญหาความ
ขัดแย้งต่าง ๆ ระหว่างกลุ่มชน รวมทั้งจะต้องไม่ออกกฎหมายที่มีผลเป็นการลงโทษบุคคลย้อนหลัง

รูปแบบของระบอบประชาธิปไตย
ระบอบประชาธิปไตยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และแบบที่มี
ประธานาธิบดีเป็นประมุข
1. แบบแรกมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ได้แก่ อังกฤษ เนเธอแลนด์ เบลเยี่ยม เดนมาร์ก นอร์เวย์
สวีเดน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และไทย
2. แบบที่สองมีประธานาธิบดีเป็นประมุข ได้แก่ ฝรั่งเศส อินเดีย สหรัฐอเมริกา เป็นต้น

1. ประชาธิปไตยทางตรง คือ รูปแบบการปกครองโดยที่พลเมืองสามารถมีส่วนร่วมกับการตัดสินใจใด


ๆ ได้โดยตรง โดยไม่ต้องอาศัยคนกลางหรือผู้ทำหน้าที่แทนตน ประชาธิปไตยทางตรงปัจจุบันเป็นเพียงรูปแบบ
ที่ไม่ค่อยแพร่หลายนัก เนื่องจากรูปแบบการปกครองดังกล่าวสามารถใช้ได้กับชุมชนที่มีกลุ่มคนขนาดเล็ ก
เท่านั้น
2. ประชาธิปไตยทางอ้อม เป็นการปกครองโดยที่ประชาชนมีหน้าที่เลือกผู้แทนไปทำหน้าที่แทนตนใน
รัฐสภา โดยการเลือกตั้งจะคัดเอาผู้ที่มีคะแนนเสียงเหนือกว่าเป็นมาตรฐาน ผู้แทนดังกล่าวนอกเหนือจากจะ
สามารถมาจากการเลือกตั้งโดยตรงแล้ว ยังอาจเข้ามาจากการสรรหาตามรัฐธรรมนูญ หรืออาจมาจากการ
กำหนดผู้แทนโดยพรรคการเมือง หรืออาจใช้รูปแบบผสมผสานกัน

➢ ความสำคัญของสถาบันหลักของชาติ
เอกลักษณ์ของชาติ หมายถึง ลักษณะเด่นหรือความดีเฉพาะที่ร่วมกันของชาติไทย เอกลักษณ์ของชาติ
ประกอบด้วย สถาบันหลัก ๔ สถาบัน คือ ๑. สถาบันชาติ ๒. สถาบันศาสนา ๓. สถาบันพระมหากษัตริย์
๔. สถาบันการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๒๐๑


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
๑. สถาบันชาติ ประกอบด้วย
๑.๑ ดินแดน ประเทศไทยตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเนื้อที่ ๕๑๓,๑๑๕ ตารางกิโลเมตร
ลักษณะขอบเขตประเทศไทยคล้ายรูปขวาน ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและความได้เปรียบของทำเลที่ตั้งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผืนแผ่นดิน
นี้เจริญรุ่งเรืองมานับตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยจึงปรากฏอยู่ในแผนที่โลก เป็นการแสดงให้โลกรู้
ว่าอาณาเขตตรงนี้ของพื้นโลกคือ ประเทศไทย
๑.๒ ประชากร ประชากรประมาณ ๓ ใน ๔ มีเชื้อสายไทย นอกจากนี้ยังมีคนไทยเชื้อสายจีนเป็น
จำนวนมาก รวมทั้งคนไทยเชื้อสายอื่นที่กลมกลืนกันไป เรียกว่า “คนไทย”
๑.๓ ความเป็นเอกราชและอธิปไตย ประเทศไทยมิได้ตกเป็นเมืองขึ้นหรือเป็นอาณานิคมของประเทศใด
แต่ประเทศไทยมีเอกราชและอธิปไตยโดยสมบูรณ์
๑.๔ รัฐบาลและการปกครอง ประเทศไทยมีรัฐบาลและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย โดยมี
อำนาจในการบริหารประเทศของตนเอง คืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ
๑.๕ ภาษาไทย ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของชาติ มีบรรพบุรุษของไทยฉลาดที่ได้คิดค้น
ให้มีภาษาไทยใช้ ทั้งภาษาเขียนและภาษาพูด พร้อมทั้งกำหนดให้มีเลขไทยใช้ในราชการไทย ประเทศต่างๆ อีก
มากมายในโลกนี้ที่ไม่มีภาษาประจำชาติของตนเอง คนไทยจึงควรภูมิใจและร่วมกันอนุรักษ์ภาษาไทยให้ยั่งยืน
สืบไป
๑.๖ วัฒนธรรมไทย เป็นเอกลักษณ์ของชาติที่สำคัญอย่างหนึ่ง วัฒนธรรมไทยคือวิถีชีวิตความเป็นอยู่
แบบไทยๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ ดังนี้
ก. ศิลปะ
- วิจติ รศิลป์ ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม นาฎกรรม ดนตรี ภาษา
พิมพ์ ภาพยนตร์

- ศิลปะประยุกต์ ได้แก่ มัณฑนาศิลป์ อุตสาหกรรมศิลป พาณิชยศิลป์ ออกแบบ


เทคนิคศิลป์ หัตถกรรม ศิลปะพื้นบ้าน
ข. วิถีชวี ิตและความเป็นอยู่ เกี่ยวข้องกับการดำรงชีพแบบไทย การใช้เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายไทย
ยารักษาโรคแผนไทย บ้านพักอาศัยแบบไทย มารยาทไทย นับถือศาสนา กิริยาวาจา
ค. ประเพณีไทย มีที่ใช้เป็นลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ๔ คำ คือ
(๑) ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย หมายถึง กิจกรรมที่คนไทยถือปฏิบัติตามความเชื่อถือ
ศรัทธาเรื่องศาสนา จารีต กฎ ระเบียบ ที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน
(๒) จารีตประเพณี หมายถึง ประเพณีส่วนที่เกี่ยวกับศีลธรรมและจิตใจ เช่น การเคารพต่อ
ผู้ใหญ่
(๓) ขนบประเพณี หมายถึง ประเพณีที่ประพฤติปฏิบัติกันทั่วไปมี ๒ ประการ คือ
ประการที่หนึ่ง กำหนดไว้แน่นอนตายตัว เช่น กฎหมาย
ประการที่สอง ไม่กำหนดไว้แน่นอน ได้แก่ พิธีการต่างๆ เช่น พิธีศพ
(๔) ธรรมเนียมประเพณี หมายถึง ประเพณีเกี่ยวกับการปฏิบัติระหว่างบุคคลที่สังคมยอมรับ
เช่น การไหว้ การวันทยาวุธ วันทยหัตถ์ เรียบอาวุธ ประเพณีไทยแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ
ประเภทที่ ๑ ประเพณีเกี่ยวกับครอบครัว เช่น การบวช การแต่งงาน การทำบุญบ้าน
ประเภทที่ ๒ ประเพณีสังคม เช่น การทำบุญปีใหม่ ทำบุญตามวันสำคัญทางศาสนา

หน้า ๒๐๒ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ประเภทที่ ๓ ประเพณีท้องถิ่น เช่น การแต่งกายประจำภาค บุญบ้องไฟ การแสดงหนัง
ตะลุง การรำวงภาคกลาง
ประเภทที่ ๔ รัฐพิธีกับราชพิธี เช่น รัฐพิธีบรมราชานุสรณ์ พระราชพิธีเฉลิมพระ
ชนมพรรษา
ง.อาหารไทยและขนมไทย
อาหารไทย ประกอบด้วยอาหารประจำภาคต่างๆ คือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
ขนมไทย ประกอบด้วยขนมต่างๆ แล้วแต่จะผลิตจากส่วนประกอบตามท้องถิ่น
จ. การแต่งกายไทย
แต่งตามยุคสมัยและกาลเทศะ แล้วแต่วิวัฒนาการการแต่งกายไทย ด้วยผ้าไทย ประเภท ผ้า
ทอ ผ้าไหม ผ้าฝ้าย
ฉ. ภูมิปัญญาไทย/ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งบรรพบุรุษไทยได้ประดิษฐานคิดค้น จนปัจจุบันภูมิ
ปัญญาไทย มีเกือบทุกด้านทั้งปัจจัย ๔ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ยารักษาโรค-อาหารเสริม ที่อยู่อาศัย
ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องใช้ เครื่องตกแต่ง และอื่นๆ ที่สามารถพัฒนาจนเป็นสินค้ายอดนิยม ที่แพร่หลายทั้งใน
และต่างประเทศ ด้วยปรากฏฝีมืออันละเอียดประณีตของคนไทยโดยแท้
ช. มรดกโลก ได้รับเป็นมรดกโลก โดย UNESCO แบ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและมรดกทาง
ธรรมชาติ เช่น อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งทุ่งใหญ่นเรศวร

๑.๗ เกียรติภูมิประเทศ
ชนชาติไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ภูมิใจในเกียรติภูมิของชาติที่เป็นเอกราช มีดินแดนของตนเอง
มีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ มีเลขไทย มีศาสนากล่อมเกลาจิตใจ มีพระมหากษัตริย์เป็นที่พึ่งที่ยิงใหญ่
มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งสอดคล้องกับอุปนิสัยของคนไทยที่รัก
อิสระ มีเสรีภาพที่จะทำอะไรก็ได้ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ขนบธรรมเนียมประเพณี และศีลธรรม
ความภูมิใจในภูมิปัญญาไทย คนไทยเป็นนักประดิษฐ์คิดค้นมาแต่โบราณกาล ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า
เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย ผลิตผลและผลิตภัณฑ์ต่างๆ จนปัจจุบันภูมิปัญญาไทยสู่สากล
เป็นที่ยอมรับในความฉลาด ความมีศิลปะ ความละเอียดอ่อน วิจิตรประณีต ประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ ด้วยความ
วิริยะ อุตสาหะ เพื่อให้ได้ผลงานที่ยอดเยี่ยมจนปรากฏเป็นที่ยอมรับของนานาอารยประเทศ ด้วยความภูมิใจใน
ภูมิปัญญาไทยในนาม OTOP หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งเราชาวไทยควรภูมิใจในภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษได้สั่ง
สมมาจนเรามีชื่อเสียงระบือไปทั่วโลก

๑.๘ ทรัพยากรธรรมชาติ ประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่ายิ่ง ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อ


การพาณิชย์ การอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว

๒. สถาบันศาสนา
ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ แต่ศาสนิกชนของทุกศาสนา สามารถอยู่ร่วมกันได้
ภายใต้ธงไตรรงค์ และภายใต้บารมีแห่งองค์ศาสนูปถัมภกคือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงคุณอเนก
อนันต์ต่อประชาชนไทยทุกศาสนาให้อยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุข
คำสอนของทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีมีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ ศาสนาจึงเป็นสถาบันที่สำคัญใน
การกล่อมเกลาจิตใจให้มนุษย์รักสงบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รักใคร่ปองดอง และอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๒๐๓
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

๓. สถาบันพระมหากษัตริย์
ตั้งแต่อดีตกาลพระมหากษัตริย์ไทยยอมเสียเลือดเนื้อเพื่อปกป้องคุ้มครองแผ่นดินและประชาชนไทย
มิให้ตกเป็นทาสของชาติอื่นใด พร้อมทั้งทรงพัฒนาประเทศชาติด้วยพระขันติ วิริยะ และพระอัจฉริยะภาพใน
ทุกด้าน จนทำให้ไทยยังคงมีแผ่นดิน มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยะประเทศตราบเท่าทุกวันนี้
สถาบันพระมหากษัตริย์จึงเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้คนไทยรักและสามัคคีต่อกัน

๔. สถาบันการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ชนชาติไทยมีความรัก อิสระ ชอบเสรีภาพ ไม่ชอบเป็นข้าทาสถูกบังคับ ถูกข่มเหง ฉะนั้น การปกครอง
ระบอบประชาธิปไตยจึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องกับนิสัยของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะใครจะทำอะไรก็ได้ตามใจ
ชอบ ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ศีลธรรม และจารีตประเพณี การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงเป็นสถาบันที่มีค่ายิ่งต่อคนไทย

หน้า ๒๐๔ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

แนวข้อสอบ
ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม
ประชาธิปไตย และความสำคัญของสถาบันหลักของชาติ

1. การนับมหาศักราชที่ไทยได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย มีหลักฐานปรากฏอยู่ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นใด
ก. พงศาวดารสุโขทัย
ข. พงศาวดารอยุธยา
ค. จดหมายเหตุกรุงศรี
ง. ศิลาจารึกสมัยก่อนสุโขทัย
ตอบ ง.
2. กษัตริย์พระองค์ใดทรงริเริ่มศักราชรัตนโกสินทร์ศกขึ้น
ก. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ข. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ค. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ง. พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
ตอบ ข.
๓. แนวคิดถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย แนวคิดใดได้รับความน่าเชื่อถือน้อยที่สุด
ก. แนวคิดที่เชื่อว่าชนชาติไทยอยู่บริเวณตอนกลางของจีน
ข. แนวคิดที่เชื่อว่าชนชาติไทยอยู่บริเวณเทือกเขาอัลไต
ค. แนวคิดที่เชื่อว่าชนชาติไทยตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน
ง. แนวคิดที่เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณคาบสมุทรอินโดจีน
ตอบ ข.
4. อาณาจักรสุโขทัยมีการปกครองแบบใด
ก. ราชาธิปไตย ข. อำมาตยาธิปไตย
ค. ประชาธิปไตย ง. ธนาธิปไตย
ตอบ ก.
5. การปกครองในสมัยอยุธยาตอนต้นได้รับอิทธิพลการปกครองมาจากอาณาจักรใดมากที่สุด
ก. อาณาจักรกัมพูชา ข. อาณาจักรมอญ
ค. อาณาจักรสุโขทัย ง. อาณาจักรหริภุญชัย
ตอบ ก.
6. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงใช้หลักการใดในการปฏิรูปการปกครอง
ก. รวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง
ข. แบ่งแยกหน้าที่และถ่วงดุลอำนาจ
ค. ถ่วงดุลอำนาจและลดอำนาจเจ้านาย
ง. รวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางและถ่วงดุลอำนาจ
ตอบ ง.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๒๐๕


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
7. ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจะเสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์เคยดำรงตำแหน่งใด
มาก่อน
ก. เจ้าพระยาจักรี ข. พระยายมราช
ค. เจ้าพระยาสุรสีห์ ง. พระยาอุทัยรณฤทธิ์
ตอบ ก.
8. เศรษฐกิจในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้เปรียบทางการค้ากับชาติตะวันตก เพราะดำเนินนโยบายการค้า
แบบใด
ก. ผูกขาดทางการค้าโดยพระคลังสินค้า
ข. ประชาชนสามารถติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตก
ค. ชาติตะวันตกสามารถทำการค้ากับประชาชนโดยตรงได้
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ก.
9. บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทยคือข้อใด
ก. กรมหลวงชุมพร ข. นายปรีดี พนมยงค์
ค. กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ง. กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ตอบ ง.
10. ข้อใดกล่าวถึงการปกครองของอาณาจักรอยุธยาได้ถูกต้อง
ก. สมุหพระกลาโหมมีหน้าที่ดูแลควบคุมกรมนา กรมวัง
ข. คลังสมุหพระกลาโหมมีหน้าที่ดูแลงานราชการพลเรือน
ค. สมุหนายกมีหน้าที่ดูแลควบคุมเกี่ยวกับราชการทหาร
ง. สมุหพระกลาโหมมีหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับราชการทหาร
ตอบ ง.
11. การมีจิตสาธารณะมีลักษณะตรงกับข้อใดมากที่สุด
ก. การอดออม ประหยัดมัธยัสถ์
ข. การเข้าเรียนตรงต่อเวลา
ค. การพูดจาไพเราะ อ่อนหวาน
ง. การช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน
ตอบ ง.
12. จริยธรรม ตามพจนานุกรมราชบัญฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึงข้อใด
ก. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ข. คำสั่งสอน
ค. หลักปฏิบัติในทางศาสนา ง. ไม่มีข้อถูก
ตอบ ก.
13. ความรู้จริยธรรม หมายถึงข้อใด
ก. การมีความรู้สึกต่อพฤติกรรมต่าง ๆ
ข. การแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ต่อสังคม
ค. ความรู้เกี่ยวกับสังคมสามรถบอกได้ว่า การกระทำใดดี การกระทำใดไม่ดีเหมาะสมมากน้อยเพียงใด
ง. เหตุผลที่ใช้เป็นเกณฑ์ใสการเลือกหรือไม่เลือกกระทำ
ตอบ ค.

หน้า ๒๐๖ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
14. พฤติกรรมเชิงจริยธรรม หมายถึงข้อใด
ก. การแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของสังคมและปฏิเสธการแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
ของสังคม
ข. เบื้องหลังการกระทำของบุคคลใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกกระทำ
ค. ความรู้สึกต่อพฤติกรรมต่างๆ ในทางที่ชอบหรือไม่ชอบ
ง. ไม่มีข้อถูก
ตอบ ก.
15. “จรรยา” มีความหมายเช่นเดียวกับคำใด
ก. กริยา ข. จริยา
ค. มรรยาท ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ข.
16. สังคหวัตถุ 4 คือ คุณธรรมในข้อใด
ก. เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจคน
ข. เป็นเครื่องทำให้ประสบความสำเร็จ
ค. เป็นคุณธรรมของผู้ครองเรือน
ง. เป็นคุณธรรมของผู้เป็นผู้ใหญ่
ตอบ ก.
17. คุณธรรมที่ทำให้ประสบความสำเร็จ หมายถึงข้อใด
ก. พรหมวิหาร 4 ข. สังคหวัตถุ 4
ค. ธรรมของฆราวาส 4 ง. อิทธิบาท 4
ตอบ ง.
18. การที่คนเรารู้จักแยกแยะว่าสิ่งนี้เป็นเหตุแห่งสุขสิ่งนี้เป็นแห่งเหตุตรงกับสัปปุริธรรม 7 ข้อใด
ก. อัตตญญุตา ข. ธัมมัญญุตา
ค. อัตถัญญตา ง. มัตตัญญุตา
ตอบ ข.
19. หลักธรรมข้อใด ส่งเสริมให้คนรู้จักหน้าที่ อันจะพึงปฏิบัติต่อกัน
ก. ทิศ ๖ ข. พลธรรม ๕
ค. อิทธิบาท ๔ ง. ฆราวาสธรรม ๔
ตอบ ก.
20. อคติ 4 คือ คุณธรรมข้อใด
ก. ธรรมที่ควรรักษาไว้เป็นนิจ
ข. ธรรมของผู้ครองเรือน
ค. ธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจคน
ง. ธรรมที่ไม่ควรประพฤติ
ตอบ ง.
21. ธรรมอะไร ควบคุมชาวโลกให้อยู่เย็นเป็นสุข
ก. ขันติ - โสรัจจะ ข. หิริ - โอตตัปปะ
ค. สติ - สัมปชัญญะ ง. กตัญญูกตเวที
ตอบ ข.
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๒๐๗
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
22. หลักธรรมที่สร้างมนุษยสัมพันธ์ คือ
ก. พรหมวิหาร 4 ข. อิทธบาท 4
ค. สังคหวัตถุ 4 ง. คุณธรรม 4
ตอบ ค.
23. คุณธรรมของผู้ครองเรือน คือ
ก. สังคหวัตถุ 4 ข. ฆราวาสธรรม 4
ค. พรหมวิหาร 4 ง. อิทธิบาท 4
ตอบ ข.
24. ความเป็นผู้รู้จัดประมาณ ตรงกับข้อใด
ก. ธัมมัญญุตา ข. มัตตัญญุตา
ค. กาลัญญุตา ง. ปริสัญญุตา
ตอบ ข.
25. วัฒนธรรมแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
ก. ๒ ประเภท ได้แก่ วัฒนธรรมทางวัตถุ และวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ
ข. ๓ ประเภท ได้แก่ วัฒนธรรมทางวัตถุ วัฒนธรรมทางจิตใจ และวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ
ค. ๔ ประเภท ได้แก่ วัฒนธรรมทางวัตถุ วัฒนธรรมทางจิตใจ วัฒนธรรมทางเทคโนโลยี และ
วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ
ง. ๕ ประเภท ได้แก่ วัฒนธรรมทางวัตถุ วัฒนธรรมทางจิตใจ วัฒนธรรมทางเทคโนโลยี วัฒนธรรมทาง
วิชาการ และวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ
ตอบ ก.
26. การแต่งกายประจำชาติไทยเรียกว่าชุดอะไร
ก. ชุดผ้าซิ่นไทย
ข. ชุดไทยประยุกต์
ค. ชุดไทยพระราชนิยม
ง. ชุดโจงกระเบน
ตอบ ค.
27. สถาบันทางสังคมข้อใดที่มีบทบาทในการขัดเกลาทางสังคมมากที่สุด
ก. ศาสนา
ข. การศึกษา
ค. เศรษฐกิจ
ง. การเมืองการปกครอง
ตอบ ข.
28. สิ่งที่ควบคุมพฤติกรรมของคนให้เป็นไปตามที่สังคมต้องการคือข้อใด
ก. กฎหมาย
ข. บรรทัดฐาน
ค. สถาบันสังคม
ง. กลุ่มสังคม
ตอบ ข.

หน้า ๒๐๘ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
29. ความสำคัญอันดับแรกในการอยู่ร่วมกันของสังคมมนุษย์คือข้อใด
ก. อยู่รวมกันเป็นหมู่เป็นพวก
ข. พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
ค. ติดต่อสื่อสารกันอย่างทั่วถึง
ง. ร่วมกันสร้างสรรค์ทางสังคม
ตอบ ข.
30. แบบแผนของสังคมที่เกี่ยวข้องกับ ความดี ความชั่ว คือข้อใด
ก. ความเชื่อ ข. ค่านิยม
ค. จารีต ง. ประเพณี
ตอบ ค.
31. การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี ด้วยการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยข้อใด
ก. หลักเสียงข้างมาก ข. หลักสิทธิ เสรีภาพ
ค. หลักความเสมอภาค ง. หลักเหตุผล
ตอบ ง.
32. พฤติกรรมใดเป็นการปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ของพลเมืองดีในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ก. เดินขบวนประท้วงนโยบายเรื่องค่าจ้างแรงงาน
ข. ยืนร้องต่อศาลปกครองว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากหน่วยราชการ
ค. เป็นอาสาจราจรช่วยตำรวจจราจรด้วยสมัครใจ
ง. ลงสมัครรับเลือกตั้ง อบต. เมื่ออายุครบตามเกณฑ์
ตอบ ข.
33. ความเสมอภาคของประชาชน จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับข้อใด
ก. รัฐบาล
ข. วัฒนธรรม
ค. ลักษณะของสังคม
ง. ระบบการเมืองการปกครอง
ตอบ ง.
34. รูปแบบในการปกครองประชาธิปไตยมีแนวความคิดพื้นฐานมาจากความเชื่อในข้อใด
ก. อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชน
ข. ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน
ค. ประชาชนทุกคนต้องเท่าเทียมกัน
ง. ทุกคนเกิดมามีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ตอบ ง.
35. หลักการที่สำคัญที่สุดในการปกครองระบอบประชาธิปไตยคือข้อใด
ก. สิทธิเสรีภาพเป็นของประชาชน
ข. อำนาจสูงสุดของรัฐเป็นของประชาชน
ค. การปกครองประเทศเป็นของประชาชน
ง. ประชาชนทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ตอบ ข.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๒๐๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
36. การมีรัฐธรรมนูญ การจัดตั้งพรรคการเมือง การเลือกตั้งทั่วไป และการมีรัฐสภาเป็นการแสดงออกเรื่องใด
ในระบอบประธิปไตย
ก. ลักษณะของระบอบประชาธิปไตย
ข. เอกลักษณ์ของระบอบประชาธิปไตย
ค. กิจกรรมของระบอบประชาธิปไตย
ง. สัญลักษณ์ของระบอบประชาธิปไตย
ตอบ ค.
37. อำนาจตุลาการสามารถที่จะคานอำนาจกับฝ่ายนิติบัญญัติได้โดยวิธีการใด
ก. พิจารณาโทษฝ่ายนิติบัญญัติที่ล่วงเกินฝ่ายตุลาการ
ข. การวินิจฉัยกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
ค. การตรวจสอบทรัพย์สินของฝ่ายนิติบัญญัติ
ง. การกำหนดคุณสมบัติของฝ่ายนิติบัญญัติ
ตอบ ข.
38. หลักการคานอำนาจของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทย อำนาจตุลาการสามารถคานอำนาจ
กับฝ่ายบริหารได้โดยวิธีใด
ก. การออกกฎหมายควบคุมฝ่ายบริหาร
ข. การเข้าไปมีส่วนคัดเลือกฝ่ายบริหาร
ค. การตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร
ง. การตัดสินพิพากษาลงโทษอย่างหนักต่อฝ่ายบริหารที่กระทำผิด
ตอบ ค.
39. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับหมายความว่าอย่างไร
ก. มีผลใช้บังคับตลอดไป
ข. ประชาชนทุกคนต้องปฏิบัติตาม
ค. ผู้ใดฝ่าฝืนย่อมได้รับโทษ
ง. ไม่มีผู้ใดฝ่าฝืนกฎหมายได้
ตอบ ค.
40. ประเทศไทยใช้หลักกฎหมายระบบใดในปัจจุบัน
ก. กฎหมายมหาชน
ข. กฎหมายสารบัญญัติ
ค. กฎหมายจารีตประเพณี
ง. กฎหมายลายลักษณ์อักษร
ตอบ ง.
41. สิทธิข้อใดต่อไปนี้เป็นสิทธิตามกฎหมายมหาชน
ก. สิทธิทางการเมือง
ข. สิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน
ค. สิทธิเกี่ยวกับครอบครัว
ง. สิทธิในการสมรส
ตอบ ก.

หน้า ๒๑๐ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
42. ข้อใดมีความหมายตรงกับคำว่า การขัดเกลาทางสังคม
ก. ความสัมพันธ์ทางสังคม
ข. การจัดระเบียบสังคม
ค. การถ่ายทอดวัฒนธรรมอันดีงาม
ง. การอบรมสั่งสอน
ตอบ ค.
43. ข้อใดเป็นความต้องการพื้นฐานของประชาชนที่นำไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย
ก. ความเสมอภาค หน้าที่
ข. สิทธิ เสรีภาพ
ค. สิทธิ หน้าที่
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
44. โครงสร้างการปกครองของไทยประกอบด้วยข้อใด
ก. รัฐธรรมนูญ อำนาจอธิปไตย
ข. พระมหากษัตริย์ อำนาจอธิปไตย
ค. พระมหากษัตริย์ รัฐธรรมนูญ
ง. พระมหากษัตริย์ รัฐธรรมนูญและอำนาจอธิปไตย
ตอบ ง.
45. สถาบันศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในแง่ใด
ก. เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต
ข. มีถาวรวัตถุที่มีลักษณะเฉพาะ
ค. มีพิธีกรรมที่ต้องยึดปฏิบัติ
ง. มีความเชื่อเรื่องมนุษย์ ธรรมชาติ จักรวาล
ตอบ ก.
46. อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองของไทย มีลักษณะการใช้อำนาจในลักษณะใด
ก. การใช้อำนาจตามคำสั่งของรัฐบาล
ข. การคานอำนาจซึ่งกันและกัน
ค. การใช้อำนาจที่มีความสอดคล้องกัน
ง. การแยกกันใช้อำนาจจากกันอย่างเด็ดขาด
ตอบ ข.
47. ศาลในข้อใดที่ถือว่าเป็นที่พึ่งแหล่งสุดท้ายของประชาชน
ก. ศาลปกครอง ข. ศาลยุติธรรม
ค. ศาลรัฐธรรมนูญ ง. ศาลทหาร
ตอบ ข.
48. ศาลสูงสุดที่ทำหน้าที่พิพากษาคดีเป็นครั้งสุดท้าย คือศาลใด
ก. ศาลชั้นต้น ข. ศาลฎีกา
ค. ศาลอุทธรณ์ ง. ศาลปกครอง
ตอบ ข.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๒๑๑


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
49. ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย พระมหากษัตริย์เกี่ยวข้องกับอำนาจอธิปไตยอย่างไร
ก. ทรงเป็นที่มาและเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
ข. ทรงใช้อำนาจอธิปไตยทางองคมนตรี
ค. ทรงมีส่วนร่วมทางการปกครองโดยอาศัยอำนาจอธิปไตย
ง. ทรงใช้อำนาจอธิปไตยทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล
ตอบ ง.
50. ข้อใดถูกต้องในเรื่องลักษณะของโครงสร้างทางสังคม
ก. เป็นลักษณะพื้นฐานที่ทำให้สังคมอยู่ได้
ข. เป็นปัจจัยส่งเสริมความเจริญของประเทศ
ค. เป็นลักษณะที่เกี่ยวข้องกันในสังคมไทย
ง. เป็นรูปแบบของการรักษาวัฒนธรรมเดิมไว้
ตอบ ก.
51. สถาบันที่มีบทบาทต่อสังคมชนบทมากที่สุดคือข้อใด
ก. ครอบครัว ข. ศาสนา
ค. การศึกษา ง. การเมืองการปกครอง
ตอบ ข.
52. บุคคลที่ขาดจริยธรรมนั้น ถือว่าเป็นพลเมืองที่ขาดสิ่งใดมากที่สุด
ก. การประพฤติปฏิบัติที่ดี ข. ฐานะทางการเงินที่ดี
ค. การศึกษาดี ง. การยอมรับจากสังคม
ตอบ ง.
53. ข้อใดเป็นการกระทำความดีของพลเมืองดีของชาติ
ก. ทำให้คนส่วนใหญ่สรรเสริญ
ข. ทำให้คนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์
ค. ทำให้คนส่วนใหญ่ภาคภูมิใจ
ง. ทำให้คนส่วนใหญ่ยอมรับนับถือ
ตอบ ง.
54. การที่พลเมืองมีความซื่อสัตย์ทางด้านใดจึงจะส่งผลให้เกิดความซื่อสัตย์สุจริตรด้านอื่นได้
มากที่สุด
ก. ทางวาจา ข. ทางใจ
ค. ทางกาย ง. ทางการแสดงออก
ตอบ ข.
55. พลเมืองที่มีความกล้าทางจริยธรรมตามข้อใดจึงจะก่อให้เกิดผลดีต่อสังคม
ก. ร่วมเดินขบวนเรียกร้องค่าแรงเพิ่ม
ข. กล้าต่อสู้เพื่อขจัดปัญหาสังคม
ค. กล้าต่อต้านกลุ่มผู้มีอิทธิพล
ง. กล้าต่อต้านนโยบายของรัฐบาล
ตอบ ข.

หน้า ๒๑๒ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
56. สังคมควรปลูกฝังคุณธรรม ข้อใดให้กับพลเมืองของสังคมก่อน จึงจะทำให้พลเมืองรักษาคุณธรรมข้ออื่นๆ ได้
ก. ความซื่อสัตย์ ข. ความกล้าหาญ
ค. ความรับผิดชอบ ง. ความมีระเบียบวินัย
ตอบ ง.
57. พลเมืองดีตามข้อใด ที่จะช่วยให้สังคมเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด
ก. เฉลียวฉลาด ข. มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
ค. มีความกล้าหาญ ง. มีจริยธรรม
ตอบ ง.
58. การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคทำให้เกิดผลดีอย่างไร
ก. ประชาชนมีโอกาสปกครองตนเองมากขึ้น
ข. ประชาชนได้รับการบริการจากรัฐบาลเร็วขึ้น
ค. ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศมากขึ้น
ง. สนองความต้องการของประชาชนได้อย่างเต็มที่
ตอบ ค.
59. “การปกครองเป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน” หมายถึงข้อใด
ก. รัฐบาลให้ความเสมอภาคแก่ประชาชน
ข. ประชาชนทุกคนใช้สิทธิในการปกครองตนเอง
ค. ประชาชนเลือกผู้แทนราษฎรไปบริหารประเทศ
ง. รัฐและประชาชนมีอภิสิทธิ์ในทางกฎหมายเท่าเทียมกัน
ตอบ ก.
60. ปัจจัยข้อใดสำคัญที่สุดที่ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่คู่สังคมไทยมาตลอด
ก. ทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก
ข. ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่เป็นประโยชน์สม่ำเสมอ
ค. ความจงรักภักดีของประชาชนที่มีต่อพระมหากษัตริย์
ง. ด้วยพระบารมีขององค์พระมหากษัตริย์ไทยแต่โบราณกาลตลอดมา
ตอบ ค.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๒๑๓


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ภาคก ก. ความรู้ความสามารถทั่วไป (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)
แนวข้อสอบ วิชาความสามารถทั่วไป
(คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
คำชี้แจง ให้พิจารณาหาคำตอบที่ถูกต้องจาก ก-ง
1. 12 19 29 44 66......
ก. 77 ข. 88 ค. 97 ง. 106
ตอบ ค.
2. 350 222 130 68 30......
ก. 10 ข. 12 ค. 14 ง. 16
ตอบ ก.
3. 9 21 39 66 105......
ก. 158 ข. 159 ค. 160 ง. 162
ตอบ ข.
4. 243 256 125 36.......
ก. 5 ข. 7 ค. 9 ง. 11
ตอบ ข.
5. 10 9 11 8 13 5.......
ก. 9 ข. 13 ค. 18 ง. 21
ตอบ ค.
6. กำหนด 1 , 2 , 4 , 10 , 16 , 40 , 64 , k จงหาค่า k
ก. 88 ข. 102 ค. 120 ง. 168
ตอบ ค.
7. รถยนต์ ก ขับ x ไมล์ต่อลิตร รถยนต์ ข ขับ y ต่อลิตร (y>x) ถ้าใช้น้ำมัน 2 ลิตร เท่ากับ รถยนต์ ข
จะวิ่งได้ไกลกว่า รถยนต์ ก เท่าไร
ก. 2(x-y) ข. 2(y-x)
−2 x−𝑦
ค. ง.
x−y 2
ตอบ ข.
8. หมู่บ้าน ก มีประชากร 6,800 คน ลดลง ปีละ 120 คน หมู่บ้าน ข มีประชากร 4,200 คน เพิ่มปีละ 80 คน
จะใช้เวลากี่ปีที่ทั้งสองหมู่บ้านจะมีประชากรเท่ากัน
ก. 10 ปี ข. 11 ปี
ค. 13 ปี ง. 14 ปี
ตอบ ค.
หน้า ๒๑๔ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
9. ขายสินค้า 2 ชิ้น ชิ้นแรก ราคา 500.- ลดให้ 10% หลังจากลดให้ก็ลดได้อีก 20% ชิ้นที่ 2 ราคา 490.-
ลดราคา 20% จงเปรียบเทียบราคาของสินค้าทั้ง 2 ชิ้นนี้
ก. สินค้าชิ้นแรกแพงกว่า 32 บาท
ข. สินค้าชิ้นที่ 2 แพงกว่า 32 บาท
ค. สินค้าชิ้นแรกแพงกว่า 58 บาท
ง. สินค้าชิ้นที่ 2 แพงกว่า 58 บาท
ตอบ ข.
10. นาย ก เงินเดือนขึ้น 25% แต่ได้เงินเดือนเท่าเดิม อยากทราบว่า นาย ก โดนตัดเงินเดือนกี่เปอร์เซ็นต์
ก. 10% ข. 15%
ค. 20% ง. 25%
ตอบ ค.

จงใช้ข้อมูลจากตารางนี้ตอบคำถาม ข้อที่ 11-13

ตกภาค ข. ตกภาค ก.
26% 20%
6% ตกภาค ค.
ตกคะแนนรวม 10%
8% 30%
ได้บรรจุ ขึ้นบัญชี

11. ถ้ามีคนสอบทั้งหมด 70,000 คน จะมีคนสอบได้กี่คน


ก. 22,600 คน ข. 26,600 คน
ค. 32,600 คน ง. 36,600 คน
ตอบ ข.
12. จงหาอัตราส่วนของคนที่สอบได้
ก. 30% ข. 38%
ค. 62% ง. 70%
ตอบ ข.
13. ถ้ามีคนสอบทั้งหมด 50,000 คน จะมีคนได้บรรจุกี่คน
ก. 2,000 คน ข. 2,500 คน
ค. 3,000 คน ง. 4,000 คน
ตอบ ง.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๒๑๕


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
14. ใช้ธนบัตรใบละ 100 บาท ซื้อของ 2 ชิ้น ราคา X และ Y บาทตามลำดับ จะได้รับเงินทอนเท่าใด
ก. 100 - X + Y บาท
ข. 100 + (X - Y) บาท
ค. 100 - (X + Y) บาท
ง. 100 - XY บาท
ตอบ ค.
15. ถ้าเอา X คูณ y5 แล้วได้ผลคูณเป็น 10 เท่าของ Y ข้อใดถูกต้อง
ก. Y = 2x ข. X = 2Y
ค. 4 = Y ง. XY = 2
ตอบ ข.
16. เงินต้น a บาท ฝากธนาคารได้ดอกเบี้ย b% ต่อปี พอสิ้นปีจะได้เงินรวมเท่าใด
ก. a + b บาท
a
ข. + a บาท
100
ab
ค. + ab บาท
100
ab
ง. + a บาท
100
ตอบ ง.
17. ฝากเงิน 4,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี ฝากเงินนาน 6 เดือนจะได้ดอกเบี้ยเท่าไร
ก. 400 บาท ข. 200 บาท
ค. 100 บาท ง. 50 บาท
ตอบ ค.
18. ถ้า X มีค่าอยู่ระหว่าง 2 ถึง 9 และ Y มีค่าอยู่ระหว่าง 18 ถึง 54 อยากทราบว่า Y มีค่าระหว่างใด
ก. 6 ถึง 9 ข. 6 ถึง 12
ค. 3 ถึง 9 ง. 2 ถึง 27
ตอบ ง.
19. ถ้าสี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปหนึ่ง ความยาวของด้านกว้างเพิ่มขึ้น 30% แต่ด้านยาวลดลง 10% ถามว่าพื้นที่
ของสี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปดังกล่าวจะมีพื้นที่เพิ่มขึ้น กี่เปอร์เซ็นต์
ก. 17 ข. 20
ค. 21 ง. 23
ตอบ ก.

หน้า ๒๑๖ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
20. พายเรือได้ทาง 6 กิโลเมตร ใช้ความเร็ว 500 เมตรต่อ 10 นาที ขากลับพายเรือตามน้ำถึงที่เดิมใช้เวลา
1 ชั่วโมง จงหาอัตราเร็วของกระแสน้ำ
ก. 1.5 กม./ชม. ข. 2.0 กม./ชม.
ค. 2.5 กม./ชม. ง. 3.0 กม./ชม.
ตอบ ก.
21. ว่ายน้ำในน้ำนิ่ง 100 เมตร ในเวลา 1 นาที ถ้าว่ายในแม่น้ำตามกระแสน้ำซึ่งไหล ชั่วโมงละ 4 กิโลเมตร
เขาจะว่ายน้ำได้ชั่วโมงละกี่กิโลเมตร
ก. 8 ข. 10
ค. 12 ง. 14
ตอบ ข.
22. เวลา 8.00 น. เข็มสั้นจะทำมุมกับเข็มยาวกี่องศา
ก. 60 องศา ข. 90 องศา
ค. 120 องศา ง. 150 องศา
ตอบ ค.
23. ในเวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง เข็มนาทีจะเดินเป็นมุมกี่องศา
ก. 360 องศา ข. 420 องศา
ค. 480 องศา ง. 540 องศา
ตอบ ง.
24. 23 ของ 45 นาที ต่างกันกับ 13 ของ 1 ชั่วโมงอยู่เท่าไร
ก. 5 นาที ข. 10 นาที
ค. 15 นาที ง. 20 นาที
ตอบ ข.
25. ระหว่างเวลา 16.00 น. ถึง 17.00 น. เข็มยาวจะตั้งฉากกับเข็มสั้นครั้งแรกเมื่อเวลาผ่าน 16.00 น. ไปกี่นาที
3 5
ก. 4 11 นาที ข. 5 11 นาที

3 2
ค. 6 11 นาที ง. 7 11 นาที
ตอบ ข.
26. 15 จะมีค่าเป็น 75% ของเลขจำนวนใด
ก. 20 ข. 25
ค. 30 ง. 35
ตอบ ก.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๒๑๗


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
27. 40% ของ 80% ของ 1,500 มีค่าเท่าไร
ก. 400 ข. 480
ค. 520 ง. 1,200
ตอบ ข.
28. 20% ของจำนวนผู้ชายเท่ากับ 25% ของจำนวนผู้หญิง ถ้ามีคนทั้งหมด 90 คน จะมีผู้ชายมากกว่าผู้หญิงกี่
คน
ก. 5 ข. 10
ค. 15 ง. 20
ตอบ ข.
29. คน 15 คน ทำงานชิ้นหนึ่งเสร็จในเวลา 20 วัน ถ้ามีคนเพียง 10 คน จะทำงานให้เสร็จต้องเพิ่มเวลาอีก
กี่เปอร์เซ็นต์
ก. 20% ข. 25%
ค. 50% ง. 75%
ตอบ ค.
30. ในงานปาร์ตี้แห่งหนึ่งมีข้อตกลงว่าทุกคนที่มาในงานจะต้องจับมือกันและกันทุกๆ คน อยากทราบว่าจะมี
การจับมือกันทั้งหมดกี่ครั้ง ถ้ามีคนที่มาในงาน 40 คน
ก. 400 ครั้ง ข. 680 ครั้ง
ค. 780 ครั้ง ง. 800 ครั้ง
ตอบ ค.
31. คน 10 คน ทำงานชิ้นหนึ่งเสร็จในเวลา 20 วัน ถ้ามีคนเพียง 8 คน ทำงานชิ้นนั้นในอัตราเร็วเดียวกันจะ
เสร็จในเวลากี่วัน
ก. 14 วัน ข. 16 วัน
ค. 18 วัน ง. 25 วัน
ตอบ ง.
32. ขายเทปไปเครื่องหนึ่งเป็นเงิน 2,200 บาท ได้กำไร 10% ของราคาทุน ราคาต้นทุนของเทปเครื่องนี้
เป็นเท่าไร
ก. 1,800 บาท ข. 2,000 บาท
ค. 2,100 บาท ง. 2,300 บาท
ตอบ ข.
33. หมู เป็ด ไก่ นับขารวมกันได้ 24 ขา ถ้ามีจำนวนสัตว์ทั้งสามอย่างละเท่าๆ กัน จะมีอย่างละกี่ตัว
ก. 2 ตัว ข. 3 ตัว
ค. 4 ตัว ง. 5 ตัว
ตอบ ข.
หน้า ๒๑๘ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
34. นายแดงมีนกเขาและหนูพุกอยู่ในบ้านรวมกัน 12 ตัว ถ้านับขารวมกันได้ขาของนกเขามากกว่าขาหนูพุก
6 ขา อยากทราบว่านายแดงมีหนูพุกกี่ตัว
ก. 1 ตัว ข. 2 ตัว
ค. 3 ตัว ง. 4 ตัว
ตอบ ค.
35. วงกลมวงหนึ่งถ้าเพิ่มรัศมีเป็น 3 เท่า พื้นที่จะเพิ่มขึ้นเป็นกี่เท่า
ก. 3 ข. 6
ค. 9 ง. 12
ตอบ ค.
36. ในการเล่นต่อแต้ม 150 แต้ม หนิง ชนะ หน่อย 30 แต้ม ถ้าเล่น 100 แต้ม หนึ่งต้องต่อให้หน่อยกี่แต้ม
จึงจะเสมอกัน
ก. 10 ข. 20
ค. 30 ง. 40
ตอบ ข.
37. รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีด้านยาวยาว 2X หน่วย ด้านกว้างยาวเป็นครึ่งหนึ่งของด้านยาว จงหาว่าเส้นรอบรูป
ของรูปสี่เหลี่ยมรูปนี้ยาวกี่หน่วย
ก. 2X ข. 4X
ค. 6X ง. 8X
ตอบ ค.
38. ในเวลา 1 วัน เข็มยาวและเข็มสั้นของนาฬิกาจะตั้งฉากกันกี่ครั้ง
ก. 12 ครั้ง ข. 24 ครั้ง
ค. 36 ครั้ง ง. 44 ครั้ง
ตอบ ง.
39. เสาไฟฟ้าปักห่างกันต้นละ 20 เมตร ระยะจากต้นที่ 1 ถึงต้นที่ 12 จะห่างกันกี่เมตร
ก. 120 ข. 220
ค. 200 ง. 240
ตอบ ข.
40. 25% ของเงิน 1,280 บาท เท่ากับเท่าไร
ก. 300 บาท ข. 320 บาท
ค. 340 บาท ง. 360 บาท
ตอบ ข.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๒๑๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
41. เลข 2 จำนวนเรียงกันคูณกันได้ 4,422 เลข 2 จำนวนนี้บวกกันจะได้เท่าไร
ก. 122 ข. 132
ค. 133 ง. 143
ตอบ ค.
42. จำนวนนักเรียนในโรงเรียนแห่งหนึ่งเพิ่มจาก 1,200 คนเป็น 1,500 คน นักเรียนเพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์
ก. 15% ข. 25%
ค. 30% ง. 45%
ตอบ ข.
43. เมื่อ 5 ปีที่แล้วเปรมวดีอายุ 18 ปี อีกกี่ปีข้างหน้าเปรมวดีจะมีอายุ 35 ปี
ก. 10 ข. 12
ค. 11 ง. 13
ตอบ ข.
คำชี้แจง ให้ท่านพิจารณาดูว่าคำใดจาก ก-ง ที่ตรงข้ามกับคำที่กำหนดให้มากที่สุด
44. แจ้ง
ก. เช้า ข. สว่าง
ค. มืดมัว ง. ลบเลือน
ตอบ ค.
45. ชมเชย
ก. ว่ากล่าว ข. ติเตียน
ค. ดูถูก ง. สั่งสอน
ตอบ ข.
46. แขก
ก. เพื่อน ๆ ข. ญาติ ๆ
ค. คนแปลกหน้า ง. เจ้าภาพ
ตอบ ง.
47. ทันสมัย
ก. เก่า ข. ใหม่
ค. เคร่า ง. คร่ำครึ
ตอบ ง.
48. เขาเป็นคนคล่องแคล่วมาก
ก. เงียบ ข. ทันใจ
ค. เชื่องช้า ง. เฉื่อยชา
ตอบ ค.
หน้า ๒๒๐ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
49. ฉันมีฟันโยกอยู่ซี่หนึ่ง
ก. หัก ข. ขยับ
ค. ปวด ง. แน่น
ตอบ ง.
50. ควรอะลุ้มอล่วย ต่อกันบ้าง
ก. เข้มงวด ข. ขู่เข็ญ
ค. ปองร้าย ง. หลอกลวง
ตอบ ก.
51. ปรียานั่งฟังอย่างสำรวม
ก. รีบร้อน ข. เรียบร้อย
ค. กระปรี้กระเปร่า ง. ลุกลี้ลุกลน
ตอบ ง.
52. แต่ไม่เคยท้อแท้ต่อการเรียน
ก. อดทน ข. มานะ
ค. เข้มแข็ง ง. เด็ดเดี่ยว
ตอบ ข.
53. หล่อนขับรถด้วยความระมัดระวัง
ก. สุขุม ข. ชักช้า
ค. ใจเย็น ง. ประมาท
ตอบ ง.
54. ช้างช่วยลากซุง
ก. ไส ข. ดึง
ค. จูง ง. ดัน
ตอบ ง.
55. รักยาวให้มั่นรักสั้นให้ต่อ
ก. ย่อ ข. ย่น
ค. ลด ง. ตัด
ตอบ ง.
คำชี้แจง ให้ท่านพิจารณาว่าคำตอบใดจาก ก-ง ที่มีความหมายใกล้เคียงกันกับคำที่กำหนดให้มากที่สุด
56. ตรวจตรา
ก. ตีตรา ข. คัดเลือก
ค. จัดระบบ ง. พิจารณา
ตอบ ง.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๒๒๑


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
57. เปราะ
ก. เบา ข. หัก
ค. แตก ง. บาง
ตอบ ง.
58. ก้างขวางคอ
ก. ขว้างงูไม่พ้นคอ ข. แกว่งเท้าหาเสี้ยน
ค. ปลาหมอตายเพราะปาก ง. หมูจะหามเอาคานเข้ามาสอด
ตอบ ง.
59. เขาเป็นคนปากเปราะมาก
ก. พูดเก่ง ข. พูดมาก
ค. พูดเพราะ ง. พูดพล่อย
ตอบ ง.
60. หน้าบานเป็นจานเชิง
ก. ร่าเริง ข. ภูมิใจ
ค. หัวเราะ ง. ยิ้มแย้ม
ตอบ ง.
61. กฎหมาย
ก. อำนาจ ข. วิธีการ
ค. ข้อบังคับ ง. หลักเกณฑ์
ตอบ ค.
62. คล้องช้าง
ก. ยึด ข. ผูก
ค. มัด ง. จับ
ตอบ ง.
63. จับปลาสองมือ
ก. นกสองหัว ข. นกมีหูหนูมีปีก
ค. เหยียบเรือสองแคม ง. นายว่าขี้ข้าพลอย
ตอบ ค.

คำชี้แจง ให้อ่านข้อความข้างล่างนี้แล้วตอบคำถามข้อ 64-66


“ความกล้าหาญกับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นั้นจะประสานสัมพันธ์กันไป ย่อมไม่มีใครในโลกนี้จะมี
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้ ถ้าในความคิดจิตใจของเขามีความกลัว คนที่จะมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นี้ จะต้อง
มีความกล้า คือกล้าที่จะคิด กล้าที่จะพูด และกล้าที่จะทำ”
หน้า ๒๒๒ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
64. ข้อใดสัมพันธ์กันมากที่สุด
ก. ความคิด-ความสำเร็จ ข. ความคิด-การกระทำ
ค. ความกล้า-ความสำเร็จ ง. ความกล้า-ความคิด
ตอบ ง.
65. ข้อใดไม่สอดคล้องกับข้อความนี้
ก. กล้านักมักบิน ข. ใจไม่กล้าไม่ได้ขี่ช้างงางาม
ค. ถ้ากล้าไม่กลัว ถ้ากลัวไม่ทำ ง. คิดก่อนทำก่อนแล้วนอนสบาย
ตอบ ก.
66. ข้อใดเรียงลำดับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้ถูกต้อง
ก. ทำ คิด กล้า ข. กล้า คิด ทำ
ค. คิด กล้า ทำ ง. คิด ทำ กล้า
ตอบ ข.
คำชี้แจง ใช้คำประพันธ์นี้ตอบข้อ 67-69
คนจะงามงามน้ำใจใช่ใบหน้า คนจะสวยสวยจรรยาใช่ตาหวาน
คนจะแก่แก่ความรู้ใช่อยู่นาน คนจะรวยรวยศีลทานใช่บ้านโต
67. จากคำประพันธ์นี้มุ่งเน้นเรื่องใด
ก. ความงาม ข. ความรวย
ค. ความสวย ง. ความดี
ตอบ ง.
68. คำประพันธ์นี้ต้องการยกย่องคนในด้านใด
ก. ความสวย-ความรวย ข. ความรู้-คุณธรรม
ค. ความรวย-ความดี ง. ความรู้-ความรวย
ตอบ ข.
69. คำประพันธ์นี้ใช้วิธีจูงใจผู้อ่านด้วยวิธีใด
ก. อธิบาย ข. ให้เหตุผล
ค. เปรียบเทียบ ง. ยกตัวอย่าง
ตอบ ค.
คำชี้แจง ให้พิจารณาหาข้อสรุปจากข้อความที่กำหนดให้แล้วเลือกตอบจาก ก-ง
70. ถ้ามานีมาบ้านฉันในวันหยุด ฉันจะว่ายน้ำกับมานี เมื่อวันหยุดที่ผ่านมาฉันไม่ได้ว่ายน้ำกับมานี
ก. มานีมาบ้านฉัน ข. มานีไม่มาบ้านฉัน
ค. ฉันไม่มีเวลาว่าง ง. ฉันไปว่ายน้ำคนเดียว
ตอบ ข.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๒๒๓


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
71. ยามรักน้ำต้มผักว่าหวาน เมื่อวานนี้ชาตรีกินน้ำต้มผักไม่หวาน ฉะนั้น
ก. ชาตรีลืมใส่น้ำตาล ข. ชาตรีขัดใจกับคนรัก
ค. ชาตรีต้องอกหักซ้ำสอง ง. ยังสรุปแน่นอนไม่ได้
ตอบ ง.
72. นายสมชายเป็นเพื่อนกับนายสมัคร นายสมัครเป็นเพื่อนกับนายสกล นายสกลเป็นเพื่อนกับนายสันติฉะนั้น
ก. นายสันติเป็นเพื่อนกับนายสมชาย ข. นายสันติเป็นเพื่อนของนายสมัคร
ค. นายสกลเป็นเพื่อนนายสมชาย ง. ยังสรุปแน่นอนไม่ได้
ตอบ ง.
73. ห้องเรียนต้องมีครู ห้องนั้นไม่มีครู ฉะนั้น
ก. ครูลาป่วย ข. ครูอยู่นอกห้อง
ค. ห้องนั้นไม่ใช่ห้องเรียน ง. ยังสรุปแน่นอนไม่ได้
ตอบ ค.
74. นายทักษิณบอกว่าจะไปทำงานหรือไม่ก็ไปโรงพยาบาล แต่นายทักษิณไม่ได้ไปโรงพยาบาล ฉะนั้น
ก. นายทักษิณไปดูหนัง ข. นายทักษิณไปทำงาน
ค. นายทักษิณไม่ไปทำงาน ง. ยังสรุปแน่นอนไม่ได้
ตอบ ข.
75. ถ้าคนเป็นนกแล้วจะบินได้ แต่คนไม่ใช่นก ฉะนั้น
ก. คนบินไม่ได้ ข. คนเป็นนกชนิดหนึ่ง
ค. คนไม่มีปีกบินไม่ได้ ง. สรุปแน่นอนไม่ได้
ตอบ ง.

คำชี้แจง ใช้ข้อความตอบคำถามข้อ 76-78


จุดเด่นของประวัติศาสตร์อยู่ที่ข้อเท็จจริงและหลักฐาน นักประวัติศาสตร์จึงต้องอาศัยหลักฐานในการ
วินิจฉัยประวัติศาสตร์หลักฐานในประวัติศาสตร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ หลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้น
รอง หลักฐานชั้นต้นหมายถึงบันทึกหรือคำบอกเล่าของผู้พบเหตุการณ์หรือผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ห รื อ
หลักฐานทางโบราณคดี เช่น ป้อมปราการเจดีย์ รูปปั้นและอื่น ๆ เป็นต้น หลักฐานชั้นรองหมายถึงบันทึกหลังที่
เหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว เช่น บันทึกเกี่ยวกับธุรกิจ คำบอกเล่าและอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม หลักฐานทั้งสองประเภทนี้
จะสำคัญมากน้อยเพียงไร ผู้ใช้ย่อมต้องอาศัยหลักหลายประการเข้าประกอบในการชั่งน้ำหนักของความจริง
เช่น ต้องพิจารณาถึงช่วงระยะเวลาของเหตุการณ์และการบันทึก เพราะยิ่งบันทึกได้ทันเหตุการณ์มากเท่าไร
ความถูกต้องย่อมมีมากขึ้นเท่านั้น
นอกจากนี้ นักประวัติศาสตร์ที่ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บันทึกเหตุการณ์ มีส่วนช่วยให้หลักฐานมี
คุณค่ามากขึ้น ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าวิชาประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของการประสานงานกันระหว่างหลักฐานและนัก

หน้า ๒๒๔ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ประวัติศาสตร์ เพราะหลักฐานแม้จะแน่นอนถูกต้องเพียงไร ถ้านักประวัติศาสตร์ไม่นำมาใช้ก็หมดคุณค่าหรือไร้
ความหมาย นักประวัติศาสตร์และหลักฐานจึงต้องเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับซึ่งกันและกัน

76. บทความนี้เน้นถึงความสำคัญในเรื่องอะไร
ก. ข้อเท็จจริงของประวัติศาสตร์ ข. หลักฐานทางประวัติศาสตร์
ค. การวินิจฉัยประวัติศาสตร์ ง. ความสำคัญของประวัติศาสตร์
ตอบ ข.
77. ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด
ก. ประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่แน่นอนเชื่อถือได้
ข. นักประวัติศาสตร์มีความสำคัญมากกว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ค. ประวัติศาสตร์อาจจะเปลี่ยนแปลงได้
ง. หลักฐานชั้นรองส่วนใหญ่เชื่อถือไม่ได้
ตอบ ค.
78. ที่ว่า “นักประวัติศาสตร์และหลักฐานเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับซึ่งกันและกัน” หมายความว่า
ก. นักประวัติศาสตร์เป็นผู้สร้างหลักฐานขึ้น
ข. นักประวัติศาสตร์เป็นผู้นำหลักฐานมาใช้
ค. นักประวัติศาสตร์เป็นผู้ตีความหลักฐานในขณะที่หลักฐานให้ความจริง แก่ประวัติศาสตร์
ง. นักประวัติศาสตร์เป็นผู้เห็นคุณค่าของหลักฐานในขณะที่หลักฐานช่วยให้เกิดประวัติศาสตร์
ตอบ ค.
คำชี้แจง ใช้ข้อความตอบคำถามข้อ 79-85
ในชีวิตการดำเนินงานหรือการปฏิบัติของทุก ๆ ท่าน ย่อมต้องการความสำเร็จ และเมื่อท่านได้ปฏิบัติ
สำเร็จครั้งหนึ่งแล้วท่านย่อมจะทำซ้ำ ๆ เดิม คงแบบแผนขั้นตอนอย่างเดิมไว้เพื่อให้เกิดความสำเร็จเหมือนเดิม
เริ่มมาตั้งแต่แบบแผนในอดีต การยกทัพออกรบจะต้องมีพิธีตัดไม้ข่มนาม การวางกำลังรบตามตำรับพิชัยสงคราม
การนำเอาสิ่งยึดถือศรัทธาติดตัวไปเพื่อให้เกิดความมั่นใจ และการปฏิบัติตนให้เหมือนกับที่ได้ปฏิบัติไปแล้ว
เมื่อคราวก่อนที่ได้รับชัยชนะมา จนกระทั่งมาถึงปัจจุบัน ถ้าท่านไปพูดต้นไม้ได้เลขมาแล้วถูกรางวัล ท่านก็จะไปพูด
ต้นไม้ทกุ ๆ ต้นเพื่อให้ได้ตัวเลขมา ความคิดยึดอยู่กับแบบแผนเดิม ๆ การปฏิบัติซ้ำแนวเดิมนี้เอง เป็นรูปแบบหนึ่ง
ของทักษะกระบวนการ เป็นเรื่องที่ท่านยึดถือปฏิบัติในแนวเดิมเพื่อให้เกิดผลอย่างเดิม
79. บทความนี้ผู้เขียนมีจุดมุ่งหมายอย่างไร
ก. ชี้ให้เห็นรูปแบบปฏิบัติเพื่อความสำเร็จ
ข. การปฏิบัติงานให้เกิดผลสำเร็จต้องมีแบบแผน
ค. การปฏิบัติซ้ำ ๆ กันทำให้เกิดผลสำเร็จ
ง. อธิบายรูปแบบของทักษะกระบวนการ
ตอบ ง.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๒๒๕


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
80. การที่ทำซ้ำ ๆ กับสิ่งที่เคยปฏิบัติที่เกิดผลสำเร็จมาแล้ว มีความประสงค์เพื่อสิ่งใด
ก. ต้องการให้เป็นทักษะกระบวนการ
ข. ต้องการปฏิบัติให้เกิดความสำเร็จยิ่งขึ้น
ค. เพื่อให้เกิดผลเช่นเดิม
ง. เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่
ตอบ ค.
81. พิธีตัดไม้ข่มนาม เปรียบได้กับสุภาษิตในข้อใด
ก. ยกตนข่มท่าน ข. น้ำขึ้นให้รีบตัก
ค. รักวัวให้ผูกรักลูกให้ดี ง. เขียนเสือให้วัวกลัว
ตอบ ง.
82. ทักษะกระบวนการมีแนวคิดอย่างไร
ก. การปฏิบัติตามแบบแผนเดิมทำให้เกิดผลสำเร็จ
ข. การปฏิบัติซ้ำๆ กันทำให้เกิดผลสำเร็จ
ค. การปฏิบัติในแนวเดิมคือให้เกิดผลอย่างเดิม
ง. การปฏิบัติที่ไม่เหมือนเดิมย่อมไม่เกิดผลสำเร็จ
ตอบ ค.
83. ถ้าท่านไปพูดต้นไม้ได้เลขมาแล้วถูกรางวัล เมื่อไปขูดอีกจะให้ผลอย่างไร
ก. ถูกรางวัลอีก ข. ไม่ถูกรางวัลอีกเลย
ค. ถูกบ้างเป็นบางครั้ง ง. ยังสรุปไม่ได้
ตอบ ง.
84. ข้อใดใช้ภาษาได้ถูกต้อง
ก. ห้ามนักเรียนตัดผมยาว
ข. สมศักดิ์อยู่กินกับคุณพ่อตั้งแต่อายุได้ 1 ขวบ
ค. คุณพ่อไปทุกประเทศในยุโรปยกเว้นปารีสกับลอนดอน
ง. บ้านหลังนี้ใหญ่โตโอฬารจริงๆ
ตอบ ง.
85. ข้อใดมีเนื้อความขัดแย้งกัน
ก. เธอไม่ไปเที่ยวหัวหินหรือ
ข. กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้
ค. เพราะเขาขยันเขาถึงสอบได้คะแนนดี
ง. พอครูเข้ามานักเรียนก็แสดงความเคารพ
ตอบ ข.

หน้า ๒๒๖ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ข้อสอบเงื่อนไขสัญลักษณ์
= หมายถึง เท่ากับ ≠ หมายถึง ไม่เท่ากับ
> หมายถึง มากกว่า < หมายถึง น้อยกว่า
≥ หมายถึง มากกว่าหรือเท่ากับ ≤ หมายถึง น้อยกว่าหรือเท่ากับ
≯ หมายถึง ไม่มากกว่า ซึ่งอาจจะน้อยกว่าหรือเท่ากับก็ได้ เปลี่ยนเป็น ≤ ได้
≮ หมายถึง ไม่น้อยกว่า ซึ่งอาจจะมากกว่าหรือ เท่ากับก็ได้ เปลี่ยนเป็น ≥ ได้

คำชี้แจง โจทย์แต่ละข้อประกอบด้วยเงื่อนไข และข้อสรุปเป็นคู่ ๆ ซึ่งอยู่ในรูปของตัวอักษร และเครื่องหมาย


ให้ศึกษาทำความเข้าใจกับเงื่อนไขที่กำหนดให้ก่อน แล้วจึงอาศัยความรู้จากเงื่อนไขดังกล่าวมาพิจารณาข้อสรุป
ทั้งสองนั้น เพื่อเลือกตอบข้อสรุปที่ตรงกันกับหลักการต่อไปนี้
ก. ถ้าข้อสรุปทั้งสอง ถูกด้องหรือเป็นจริง ตามเงื่อนไข
ข. ถ้าข้อสรุปทั้งลอง ผิดหรือไม่เป็นจริง ตามเงื่อนไข
ค. ถ้าข้อสรุปทั้งสอง สรุปไม่แน่นอน หรือไม่สามารถสรุปได้แน่ชัด ว่าถูกต้องหรือผิดตามเงื่อนไข
ง. ถ้าข้อสรุปทั้งสองสรุปไม่เหมือนกัน คือ มีข้อสรุปใดข้อสรุปหนึ่งที่เป็นจริง หรือไม่เป็นจริง
หรือไม่แน่ชัด ซึ่งไม่เท่ากับอีกข้อสรุปหนึ่ง
86. จงอ่านเงื่อนไขต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามข้อ (ทุกตัวอักษรมีค่ามากกว่าศูนย์)
A > 4B < C = D ≤ E
F > 2D ≥ M = 3G
ข้อสรุปที่ 1: A > M
ข้อสรุปที่ 2: A = E
ตอบ ค.
87. จงอ่านเงื่อนไขต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามข้อ (ทุกตัวอักษรมีค่ามากกว่าศูนย์)
A > 4B < C = D ≤ E
F > 2D ≥ M = 3G
ข้อสรุปที่ 1: B = M
ข้อสรุปที่ 2: C > F
ตอบ ง.
88. จงอ่านเงื่อนไขต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามข้อ (ทุกตัวอักษรมีค่ามากกว่าศูนย์)
A > 4B < C = D ≤ E
F > 2D ≥ M = 3G
ข้อสรุปที่ 1: 3M > 2E
ข้อสรุปที่ 2 G < E
ตอบ ง.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๒๒๗


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
79. จงอ่านเงื่อนไขต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามข้อ (ทุกตัวอักษรมีค่ามากกว่าศูนย์)
A > 4B < C = D ≤ E
F > 2D ≥ M = 3G
ข้อสรุปที่ 1 F > M
ข้อสรุปที่ 2 C ≠ F
ตอบ ก.
80. จงอ่านเงื่อนไขต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามข้อ (ทุกตัวอักษรมีค่ามากกว่าศูนย์)
A > 4B < C = D ≤ E
F > 2D ≥ M = 3G
ข้อสรุปที่ 1: D ≤ B
ข้อสรุปที่ 2: 2B ≥ 2C
ตอบ ข.

คำชี้แจง
โจทย์แต่ละข้อจะประกอบด้วยเงื่อนไขหรือข้อมูลที่กำหนดให้และข้อสรุปเป็นคู่ๆ จากเงื่อนไขนั้น ให้
ศึกษาทำความเข้าใจกับเงื่อนไขที่กำหนดให้ก่อน แล้วจึงอาศัยความรู้ที่ได้จากเงื่อนไขดังกล่าว มาพิจารณา
ข้อสรุปทั้งสองนั้น เพื่อเลือกตอบข้อสรุปที่ตรงกับหลักการต่อไปนี้
ตอบ ก ถ้าข้อสรุปทั้งสองเป็นจริงตามเงื่อนไข
ตอบ ข ถ้าข้อสรุปทั้งสองไม่เป็นจริงตามเงื่อนไข
ตอบ ค ถ้าข้อสรุปทั้งสองไม่แน่ชัด คือไม่สามารถสรุปได้แน่นอนว่าจริงหรือไม่จริงจากเงื่อนไข
ตอบ ง ถ้าข้อสรุปทั้งสองมีข้อสรุปใดข้อสรุปหนึ่งเป็นจริงหรือไม่จริงหรือไม่แน่ชัดเพียงข้อเดียว

- มีสามีและภรรยา 3 คู่กำลังสนทนากัน
- คุณญาญ่าเป็นภรรยาของณเดช
- คุณปกรณ์พูดแต่สิ่งที่เป็นความเท็จทุกประโยค
- สามีของเจนนี่ชื่อมาริโอ้
- มาริโอ้พูดในสิ่งที่เป็นความจริงทุกประโยค
- คนที่ชอบพูดจริงบ้างเท็จบ้างคือณเดช
- มีคนพูดว่า “วันนี้ฝนตก” แต่ความจริงแล้วฝนไม่ตก
- แต้วและเจนนี่ชอบดื่มนม
- “ภรรยาของผมไม่ชอบดื่มนม”
- “ภรรยาของผมชื่อแต้ว”

หน้า ๒๒๘ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
ข้อสอบ (เงื่อนไขทางด้านภาษา)
91. ข้อสรุป 1 คนที่พูดว่า “วันนี้ฝนตก” คือ ปกรณ์
ข้อสรุป 2 ภรรยาของณเดชชอบดื่มนม
ตอบ ค.
92. ข้อสรุป 1 แต้วเป็นภรรยาของปกรณ์
ข้อสรุป 2 มาริโอ้ไม่ใช่คนที่พูดว่า “วันนี้ฝนตก”
ตอบ ก.
93. ข้อสรุป 1 ณเดชเป็นคนพูดว่า “ภรรยาของผมไม่ชอบดื่มนม”
ข้อสรุป 2 ญาญ่าพูดเท็จทุกประโยค
ตอบ ค.
94. ข้อสรุป 1 สามีของเจนนี่เป็นคนพูดว่า “วันนี้ฝนตก”
ข้อสรุป 2 ภรรยาของปกรณ์ไม่ชอบดื่มนม
ตอบ ข.
95. ข้อสรุป 1 ณเดชเป็นคนพูดว่า “วันนี้ฝนตก”
ข้อสรุป 2 ภรรยาของปกรณ์ไม่ชอบดื่มนม
ตอบ ง.
96. ข้อสรุป 1 แต้วเป็นคนพูดว่า “วันนี้ฝนตก”
ข้อสรุป 2 มาริโอ้เป็นคนพูดว่า “ภรรยาของผมชื่อแต้ว”
ตอบ ง.
97. ข้อสรุป 1 สามีของเจนนี่พูดแต่ความจริง
ข้อสรุป 2 ภรรยาของมาริโอ้ คือ เจนนี่
ตอบ ก.
98. ข้อสรุป 1 ภรรยาของมาริโอ้พูดแต่สิ่งที่เป็นความจริงทุกประโยค
ข้อสรุป 2 มาริโอ้ไม่ได้พูดว่า “ภรรยาของผมไม่ชอบดื่มนม”
ตอบ ง.
99. ข้อสรุป 1 ปกรณ์เป็นคนพูดว่า “ภรรยาของผมชื่อ แต้ว”
ข้อสรุป 2 ภรรยาของมาริโอ้ไม่ชอบดื่มนม
ตอบ ข.
100. ข้อสรุป 1 ณเดชเป็นคนพูดว่า “ภรรยาของผมชื่อแต้ว”
ข้อสรุป 2 มาริโอ้ไม่ใช่คนพูดว่า “ภรรยาของผมชื่อแต้ว”
ตอบ ก.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๒๒๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

แนวข้อสอบ วิชาภาษาไทย
(คะแนนเต็ม 100 คะแนน)

คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. ภาษาแบ่งออกได้เป็นกชนิด
ก. 2 ชนิด ข. 3 ชนิด
ค. 4 ชนิด ง. 5 ชนิด
ตอบ ข.
2. หลักภาษาไทยแบ่งออกเป็นกี่ภาค
ก. 3 ภาค ข. 4 ภาค
ค. 5 ภาค ง. 6 ภาค
ตอบ ข.
3. ไวยากรณ์ หมายถึงอะไร
ก. วิชาว่าด้วยระเบียบของภาษา ข. ว่าด้วยการใช้ภาษาให้ถูกต้อง
ค. ว่าด้วยเรื่องการแยกประโยค ง. เรื่องการอ่านเขียน
ตอบ ก.
4. เสียงที่ใช้สื่อความหมายในภาษาไทยแบ่งออกเป็นกี่ชนิด
ก. 4 ชนิด ข. 6 ชนิด
ค. 8 ชนิด ง. 3 ชนิด
ตอบ ง.
5. เสียงสระในภาษาไทย ตามหลักภาษาศาสตร์ปัจจุบันถือว่ามีกี่รูปกี่เสียง
ก. 21 รูป 32 เสียง ข. 20 รูป 32 เสียง
ค. 21 รูป 21 เสียง ง. 44 รูป 21 เสียง
ตอบ ค.
6. คำที่เขียนผิดคือข้อใด
ก. ขี้ทูด ข. อัยกา
ค. หงส์ ง. ใยไพ
ตอบ ง.
7. ข้อใดสะกดผิด
ก. ปริมณฑล ข. ประภัสสร
ค. ปริศนา ง. ปราศัย
ตอบ ง.
หน้า ๒๓๐ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
8. “ผลิตภัณฑ์
ก. ผะ-หลิ-ตะ-พัน ข. ผะ-หลิด-ตะ-พัน
ค. ผลิด-ตะ-พัน ง. ผลิด-พัน
ตอบ ข.
9. บ้านเลขที่ “27/443” อ่านอย่างไรถูกต้อง
ก. ยี่สิบเจ็ดทับสี่ร้อยสี่สิบสาม ข. สองเจ็ดทับสี่ร้อยสี่สิบสาม
ค. ยี่สิบเจ็ดทับสี่สี่สาม ง. สองเจ็ดทับสี่สี่สาม
ตอบ ค.
10. คำ “รัฐมนตรีว่าการ” ใช้ตัวย่ออย่างไร
ก. รมว ข. ร.มว.
ค. รมว. ง. รม.ว.
ตอบ ค.
11.จงเลือกข้อที่อ่านผิดเพียงข้อเดียว
ก. คุณวุฒิ อ่านว่า คุน-นะ-วุด-ทิ ข. ศีลธรรม อ่านว่า สีน-ละ-ทำ
ค. อาชญากร อ่านว่า อาด-ยา-กอน ง. พรรณนา อ่านว่า พัน-ระ-นา
ตอบ ง.
12. “เฉลิมพระชนมพรรษา” อ่านว่าอย่างไร
ก. ฉะ-เหลิม-พระ-ชน-พัน-สา ข. ฉะ-เหลิม-พระ-ชน-มะ-พัน-สา
ค. ฉะ-เหลิม-พระ-ชะ-มะ-พัน-สา ง. ฉะ-เหลิม-พระ-ชะ-นะ-พัน-ขา
ตอบ ข.
13. คำใดอ่านถูกต้อง
ก. กรณียกิจ อ่านว่า กะ-ระ-นี-ยะ-กิด ข. คุณโทษ อ่านว่า คุน-นะ-โทด
ค. กาลสมัย อ่านว่า กาน-สะ-หมัย ง. กาลเวลา อ่านว่า กา-ละ-เว-ลา
ตอบ ก.
14. 3 ฯ 5 อ่านว่าอย่างไร
4
ก. วันอังคาร เดือนห้า แรมสี่ค่ำ ข. วันอังคาร เดือนห้า ขึ้นสี่ค่ำ
ค. วันอังคาร เดือนสี่ ขึ้นห้าค่ำ ง. วันอังคาร เดือนสาม แรมสี่ค่ำ
ตอบ ก.
15. เมื่อเด็กๆ เขาแสนพยศ
ก. ขี้โมโห ข. หนีโรงเรียน
ค. เกกมะเหรก ง. ดื้อ
ตอบ ง.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๒๓๑


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
คำชี้แจง จงหาคำอธิบายศัพท์ที่ใช้ตัวหนา
16. นักศึกษาหมกมุ่น อยู่กับตำรามากเกินไปก็ไม่รู้
ก. สนใจ ข. เอาใจใส่
ค. ตั้งใจ ง. รวมหัวกัน
ตอบ ข.
17. “นี่เธออย่ามาทำตาปริบๆ นะฉันไม่ชอบ”
ก. จองเขม็ง ข. จ้องตาไม่กะพริบ
ค. หลิ่วตา ง. กะพริบตามอง
ตอบ ง.
18. “นักการเมืองนี่แสนจะงี่เง่า
ก. โง่ ข. เชย
ค. น่าเบื่อ ง. ไม่รู้เรื่อง
ตอบ ก.
คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว
19. สินบน มีความหมายว่าอย่างไร
ก. เงินค่าไถ่
ข. เงินรางวัล
ค. ทรัพย์หรือสิ่งของเพื่อผลประโยชน์
ง. ทรัพย์หรือสิ่งของเพื่อตอบแทนในผลสำเร็จ
ตอบ ค.
20. คำว่า “กาฝาก” ตรงกับความหมายข้อใด
ก. เด็กอาศัยพ่อแม่อยู่ ข. พ่อแม่ต้องเลี้ยงดูจนลูกแก่
ค. เด็กวัดอาศัยพระ ง. พึงราชการ
ตอบ ข.
21. ความหมาย “ผู้ดีเดินตรอก ขี้ครอกเดินถนน” ตรงกับข้อความใด
ก. ผู้ที่อาศัยอยู่ตามตรอก ข. ผู้ดีกับขี้ครอกเดินคนละทาง
ค. ผู้ดีมักเจียมตัวขี้ข้ามักโอ้ ง. ผู้ดีจะรังเกียจขี้ข้าเสมอ
ตอบ ค.
22. “ทุกข์เพิ่นบ่ว่าดี มีเพิ่นจั่งว่าพี่น้อง ลุงป้าเอิ้นว่าหลาน” มีความหมายเทียบกับสำนวนไทยว่าอย่างไร
ก. เชื้อไม่ทิ้งแถว ข. คนล้มอย่าข้าม
ค. น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า ง. มีเงินนับว่าเป็นน้อง มีทองนับว่าเป็นพี่
ตอบ ง.

หน้า ๒๓๒ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
23. สำนวนว่า “กระโถนท้องพระโรง” หมายความว่าอย่างไร
ก. กระโถนใบใหญ่มีราคาแพง ข. ต้องรับภาระมากเกินไปจนเกินกำลัง
ค. ต้องรับคำติเตียนอยู่เสมอ ง. ต้องถูกกล่าวร้ายเสมอ
ตอบ ค.
24. ศัพท์ข้อใดมีความหมายไม่เกี่ยวกับดอกไม้
ก. มาลี ข. ผกา
ค. บุษบา ง. นขา
ตอบ ง.
25. คิดบัญชี หมายความว่าอย่างไร
ก. การทำบัญชีรับจ่าย ข. งานของพนักงานบัญชี
ค. การคำนวณ ง. การแก้แค้น
ตอบ ค.
26. “กลับหน้ามือ เป็นหลังมือ”
ก. กลับไปกลับมา ข. พลิกกลับ
ค. เปลี่ยนแปลงตรงกันข้าม ง. เปลี่ยนไปข้างโน้นที่ข้างนี้ที่
ตอบ ค.
27. มะนาวไม่มีน้ำ หมายความว่าอย่างไร
ก. มะนาวลูกเล็กอยู่ ข. มะนาวที่หล่นแห้ง
ค. การพูดจาที่ไม่น่าฟัง ง. การแสดงสีหน้าบึ่งตึง
ตอบ ค.
28. คำว่า “กด” ในข้อใดมีความหมายว่า “ทับ”
ก. เอาเข็มหมุดกดลงที่กระดาษ ข. เอามือกดกระดาษไว้
ค. เอามือกดคอไว้ ง. เอาถ่อกดลึกลงไปทีละน้อยๆ
ตอบ ข.
29. การรื้อฟื้นเรื่องเดิม ๆ ขึ้นมากล่าวเรียกว่า
ก. ขุด ข. ขู่
ค. ขวาง ง. ขาน
ตอบ ก.
30. พูดจากลับกลอก เชื่อถือไม่ได้
ก. สัพยอก ข. สัปคับ
ค. สับปลับ ง. สัปดน
ตอบ ค.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๒๓๓


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
คำชี้แจง จงเลือกคำที่เหมาะสมที่สุดเติมในช่องว่าง
31. เครื่องยนต์เกิดขัดข้องเครื่องบินจึง.................ลงมา
ก. หล่น ข. ร่วง
ค. ตก ง. ร่วงตก
ตอบ ค.
32. ผู้ใดประสงค์จะเปลี่ยนชื่อใหม่ ต้องทำคำร้องยื่น.............อำเภอ
ก. กับ ข. แก่
ค. ต่อ ง. เฉพาะ
ตอบ ค.
33. งาช้างทั้งสอง...........นี้งามมาก
ก. อัน ข. กิ่ง
ค. อ่อน ง. ลำ
ตอบ ข.
34. ป่านี้มีฤาษี................หนึ่งอาศัยอยู่
ก. รูป ข. ตน
ค. องค์ ง. คน
ตอบ ข.
35. เขาเป็นคน...................พูดตรงอย่างไม่เกรงใจใคร
ก. ทองไม่รู้ร้อน ข. ขวานผ่าซาก
ค. น้ำนิ่งไหลลึก ง. ทะลุกลางปล้อง
ตอบ ข.
36. เขาช่วยกันปั่นฝ้ายเป็น..............แล้วจึงนำไปทอ
ก. ใจ ข. เข็ด
ค. กลุ่ม ง. เส้น
ตอบ ก.
37. เราควรบำเพ็ญประโยชน์...............ส่วนรวม
ก. กับ ข. เพื่อ
ค. ต่อ ง. แก่
ตอบ ข.
38. ตาของเขาแดง...........เพราะพิษไข้
ก. ก่ำ ข. กรำ
ค. กร่ำ ง. กล่ำ
ตอบ ก.
หน้า ๒๓๔ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙
 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
39. ธรรมชาติที่ภูหลวงสามารถ...............นักท่องเที่ยวให้ไปเยือนปีละหลายแสนคน
ก. ชักจูง ข. ดึงดูด
ค. เชิญชวน ง. เรียกร้อง
ตอบ ข.
40. วัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลก เป็น...................ที่น่าสนใจมาก
ก. โบราณสถาน ข. โบราณวัตถุ
ค. พิพิธภัณฑสถาน ง. ศิลปวัตถุ
ตอบ ก.
41. คำว่า “กาน” ข้อใดแปลว่าที่รัก
ก. กาญจนบุรี ข. จันทรกานต์
ค. อุดมการณ์ ง. กาฬสินธุ์
ตอบ ข.
42. ข้อใดเป็นคำอุปมา
ก. เจ้าเนื้อ ข. เจ้านาย
ค. เจ้าขา ง. เจ้าไม่มีศาล
ตอบ ง.
43. อักษรในข้อใดผันได้ 5 เสียง
ก. อักษรต่ำคำเป็น ข. อักษรกลางคำเป็น
ค. อักษรสูงคำเป็น ง. อักษรสูงคำตาย
ตอบ ข.
44. ข้อใดเป็นลักษณะของคำไทย
ก. คำไทยส่วนมากไม่มีการันต์
ข. ส่วนมากมักเป็นคำที่มีพยางค์เดียวโดดๆ
ค. คำเดียวกันอาจมีความหมายได้หลายอย่าง
ง. ถูกหมดทุกข้อ
ตอบ ง.
45. จงพิจารณาข้อความที่กำหนดให้ แล้วเลือกตอบที่เรียงข้อความให้ถูกต้องที่สุด
1. จากชนกลุ่มน้อยค่อยเติบใหญ่ 2. บรรพชนก่อร่างสร้างแผ่นดิน
3. กว่าจะได้เป็นเขตประเทศถิ่น 4. หลั่งเลือดรินรักษามาเนิ่นนาน
ก. 1, 2, 3, 4 ข. 2, 1, 3, 4
ค. 3, 1, 2, 4 ง. 1, 3, 2, 4
ตอบ ง.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๒๓๕


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
46. ข้อความใดควรอยู่ในลำดับที่ 2
ก. ปัจจัยอย่างหนึ่งก็คือ
ข. ความมั่นคงของชาตินั้น
ค. สังคมภายในชาติของเรา
ง. มีปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่เราต้องช่วยกันสร้างขึ้นเป็นส่วนประกอบ
ตอบ ง.
47. ข้อความใดควรอยู่ในลำดับที่ 3
ก. ทำให้เกิดการโจรกรรม
ข. เกิดการกู้หนี้ยืมสินรีดดอกเบี้ย
ค. สนามม้าเป็นแหล่งทำลายเศรษฐกิจ
ง. เพื่อนำมาแทงม้าซึ่งมีกลโกงอยู่ตลอดเวลา
ตอบ ข.
48. ข้อความใดควรอยู่ในลำดับสุดท้าย
ก. แทนการบรรยายในห้องเรียน
ข. คณะรัฐมนตรีได้มีอนุมัติในหลักการ
ค. โดยกรมประชาสัมพันธ์จะเป็นเจ้าของเรื่อง
ง. ให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีการสอบทบทวนทางสื่อมวลชน
ตอบ ค.
49. ข้อความใดควรอยู่ในลำดับแรก
ก. เมื่อทรงเห็นว่าทุกสิ่งล้วนเป็นอนิจจัง
ข. ถึงการมีอยู่ของเนื้อหาอภิปรัชญาใดๆ ทั้งสิ้น
ค. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงไม่ประสงค์ที่จะยอมรับ
ง. โดยตรรกวิสัยก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากจุดยืนขั้นมูลฐานของพระพุทธองค์นั่นเอง
ตอบ ก.
50. ประโยคใดถูกต้องและสละสลวย เป็นภาษาเขียนที่ดี
ก. หล่อนมาในชุดสีชมพู
ข. เขาอยู่บ้านในเวลากลางคืน
ค. พอปลายเดือนเราก็เป็นโรคทรัพย์จาง
ง. ข้อสอบยากเราก็ทำไม่ได้ ข้อสอบง่ายก็ไม่สมศักดิ์ศรี
ตอบ ข.

หน้า ๒๓๖ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 

ภาค ข. ความรู้ความสามรถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง

แนวข้อสอบ ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน
(คะแนนเต็ม 100 คะแนน)

1. คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการปรับปรุงองค์ประกอบและแต่งตั้งเพิ่มเติมคณะกรรมการปฏิรูปด้านต่าง ๆ
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ๒๕๖๓ มีทั้งหมดกี่ด้าน
ก. 7 ด้าน ข. 9 ด้าน
ค. 11 ด้าน ง. 13 ด้าน
ตอบ ง.
2. ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการปรับปรุงองค์ประกอบและแต่งตั้งเพิ่มเติมคณะกรรมการปฏิรูปด้าน
ต่าง ๆ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ๒๕๖๓ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา อยู่ลำดับที่เท่าไหร่
ก. คณะกรรมการปฏิรูปประเทศชุดที่ 1
ข. คณะกรรมการปฏิรูปประเทศชุดที่ 6
ค. คณะกรรมการปฏิรูปประเทศชุดที่ 12
ง. คณะกรรมการปฏิรูปประเทศชุดที่ 13
ตอบ ค.
3. ใครเป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา
ก. นายวรากรณ์ สามโกเศศ ข. นายนิธิ มหานนท์
ค. นายพรชัย รุจิประภา ง. นายภักดี โพธิศิริ
ตอบ ก.
4. ข้อใด ไม่ใช่ จังหวัดในภาคตะวันออกที่มีนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
ก. ฉะเชิงเทรา ข. ชลบุรี
ค. จันทบุรี ง. ระยอง
ตอบ ค.
5. ข้อใดคือ วิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนประเทศของรัฐบาล
ก. มั่งคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
ข. ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง
ค. ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ง. มุ่งมั่นให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในศตวรรษที่ 21
ตอบ ง.
6. การดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียน จนจบการศึกษาภาคบังคับ
อย่างมีคุณภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเป็นหน้าที่ของใคร
ก. หน่วยงานของรัฐ ข. รัฐละเอกชน
ค. รัฐ ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ค.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๒๓๗


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
7. คำว่า Coding หมายถึงข้อใด
ก. ขั้นตอนแก้ปัญหา ข. การช่วยเหลือ
ค. การแนะนำ ง. การให้คำปรึกษา
ตอบ ก.
8. องค์การยูเนสโกประกาศให้จังหวัดใด เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายระดับโลกด้านเมืองแห่งการเรียนรู้
ของยูเนสโกแห่งแรกของประเทศไทย
ก. ขอนแก่น ข. เชียงราย
ค. ชลบุรี ง. สุโขทัย
ตอบ ข.
9. “ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา” หมายถึง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตามกฎหมายใด
ก. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ข. พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒
ค. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕46
ง. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
ตอบ ง.
10. ครูสมศรีเห็นว่าอาชีพครูมีประโยชน์ มีเกียรติ มีกุศล ทำแล้วได้บุญ ซึ่งท่านมีความภาคภูมิใจ ทุ่มเทแรงกาย
แรงใจเพื่อสั่งสอนศิษย์ ท่านอุทิศทำงานทั้งในและนอกเวลาราชการ ตรงกับอุดมการณ์ความเป็นครูข้อใด
ก. เต็มรู้ ข. เต็มใจ
ค. เต็มเวลา ง. เต็มศักยภาพ
ตอบ ค.
11. หลักในการจัดการศึกษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นไปตามข้อใด
ก. เป็นการศึกษาตลอดชีวิตของประชาชน
ข. ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
ค. พัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
12. รูปแบบของการจัดการศึกษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กำหนดไว้กี่รูปแบบ
ก. รูปแบบเดียว ข. 2 รูปแบบ
ค. 3 รูปแบบ ง. 4 รูปแบบ
ตอบ ค.
13. การศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล
เป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน หมายถึงการศึกษารูปแบบใด
ก. การศึกษาในระบบ
ข.การศึกษานอกระบบ
ค. การศึกษาตามอัธยาศัย
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ก.

หน้า ๒๓๘ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
14. การศึกษาในระบบแบ่งออกเป็นกี่ระดับ
ก. มีระดับเดียว ข. 2 ระดับ
ค. 3 ระดับ ง. 4 ระดับ
ตอบ ข.
15. ข้อใดเป็นการศึกษาระดับอุดมศึกษา
ก. ระดับต่ำกว่าปริญญา ข. ระดับปริญญา
ค. การศึกษาขั้นพื้นฐาน ง. ถูกเฉพาะข้อ ก และข้อ ข
ตอบ ง.
16. จุดที่ต่างกันของการศึกษาในระบบ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่สำคัญคือข้อใด
ก. ระยะเวลาที่จัดการศึกษา
ข. สถานที่จัดการศึกษา
ค. ตัวผู้เข้ารับการศึกษา
ง. จุดหมาย วิธีการ หลักสูตร
ตอบ ง.
17. แนวการจัดการศึกษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ยึดหลักตามข้อใด
ก. ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเท่ากัน
ข. ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
ค. หลักสูตรมีความสำคัญที่สุด
ง. กระบวนการเรียนการสอนสำคัญที่สุด
ตอบ ข.
18. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิ์จัดการศึกษาระดับใด
ก. การศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข. การศึกษาอุดมศึกษา
ค. การศึกษานอกโรงเรียน
ง. ทุกระดับ
ตอบ ง.
19. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบประกันคุณภาพภายในได้แก่
ก. สถานศึกษาเท่านั้น
ข. สถานศึกษาและเขตพื้นที่
ค. สถานศึกษา เขตพื้นที่ คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ง. สถานศึกษา เขตพื้นที่ คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ตอบ ง.
20. การนับอายุเด็กเพื่อเข้ารับการศึกษาภาคบังคับในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้นับตามข้อใด
ก. ครบ 7 ปีในปีใดนับเด็กอายุย่างเข้าปีที่ 7 ในปีนั้น
ข. นับตามปีงบประมาณ
ค. นับตามปีปฏิทิน
ง. ข้อ ก และ ค ถูกต้อง
ตอบ ค.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๒๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
21. ข้อใด ไม่ใช่ บุคลากรทางการศึกษาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ. 2547
ก. ครู
ข. ผู้บริหารสถานศึกษา
ค. ผู้บริหารการศึกษา
ง. ผู้สนับสนุนการศึกษาทำหน้าที่บริการ
ตอบ ก.
22. ข้อใด ไม่ใช่ หน่วยงานทางการศึกษาพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ. 2547
ก. สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐ
ข. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ค. สำนักงานการศึกษานอกโรงเรียน
ง. หน่วยงานตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด
ตอบ ก.
23. ข้อใด ไม่ใช่ อำนาจหน้าที่ของ ก.ค.ศ.
ก. ส่งเสริมสนับสนุน ประสานงานและให้คำปรึกษา แนะนำการบริหารงานบุคคลแก่
เขตพื้นที่การศึกษา
ข. กำหนดค่าธรรมเนียมต่างๆที่ต้องดำเนินการตาม พระราชบัญญัตินี้
ค. จัดทำทะเบียนประวัติและควบคุมการเกษียณอายุราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ง. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
ตอบ ค.
24. สำนักงาน ก.ค.ศ.มีฐานะเป็นกรมอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อบุคคลใด
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ข. นายกรัฐมนตรี
ค. ปลัดกระทรวง
ง. คณะรัฐมนตรี
ตอบ ก.
25. คุณสมบัติทั่วไปของผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนดไว้ในมาตราใด
ของ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
ก. มาตรา 29 ข. มาตรา 30
ค. มาตรา 31 ง. มาตรา 32
ตอบ ข.
26. บุคคลตามข้อใดที่จะต้องยึดถือหรือปฏิบัติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพตามกฎหมายหรือข้อบังคับอื่นแล้ว
จะต้องรักษาจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษานี้ด้วย
ก. ครู ข. นิติกร
ค. นักการภารโรง ง. นักจิตวิทยาโรงเรียน
ตอบ ก.

หน้า ๒๔๐ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
27. ข้อใด ไม่ใช่ การจัดระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ก. ระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง
ข. ระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา
ค. ระเบียบบริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล
ง. ระเบียบบริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล
ตอบ ค.
28. ข้อใดไม่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ
ก. สำนักงานปลัดกระทรวง
ข. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
ค. สำนักงานรัฐมนตรี
ง. มีฐานะเป็นกรมทั้งข้อ ก. ข. และ ค.
ตอบ ค.
29. เหตุผล ในการประกาศใช้ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๖๒
ก. การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ประเทศไทย 4.0
ข. เพื่อกำหนดโครงสร้างและตำแหน่งต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่เปลี่ยนแปลงไป
ค. เพื่อการจัดการเรียนการสอนสู่ ศตวรรษที่ 21
ง. การจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
ตอบ ข.
30. การมอบอำนาจตามมาตรานี้ให้ทำข้อใดถูกต้อง
ก. เป็นหนังสือ ข. เป็นคำสั่ง
ค. เป็นประกาศ ง. เป็นระเบียบ
ตอบ ก.
31. ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ดำเนินการตามข้อใด
ก. การรักษาราชการแทน ข. การปฏิบัติหน้าที่แทน
ค. การปฏิบัติราชการแทน ง. การรักษาการในตำแหน่ง
ตอบ ก.
32. ข้อใดคือหน้าที่ผู้ตรวจราชการของกระทรวง
ก. ศึกษา สังเคราะห์ ติดตาม และประเมินผลระดับนโยบาย
ข. ศึกษา ติดตาม ตรวจสอบคุณภาพ และประเมินผลระดับนโยบาย
ค. ศึกษา ติดตาม ประเมินผลการจัดการศึกษา และประเมินผลระดับนโยบาย
ง. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ติดตาม และประเมินผลระดับนโยบาย
ตอบ ง.
33. ข้อใด ไม่ใช่ ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
ก. รูปถ่าย
ข. ประวัติการทำงาน
ค. ฐานะการเงิน
ง. การบันทึกภาพหรือเสียง
ตอบ ง.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๒๔๑


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
34. ข้อใด ไม่ใช่ คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ
ข. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
ค. เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
ง. เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ตอบ ก.
35. กระทรวงใดที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2562
ก. กระทรวงวัฒนธรรม
ข. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ค. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ง. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ตอบ ง.
36. พรบ. การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล ฯ นิยามคำว่า “ดิจิทัล” ว่าอย่างไร
ก. ดิจิทัล หมายถึง เทคโนโลยีที่ช่วยทำให้มนุษย์สามารถสื่อสารได้รวดเร็วขึ้น
ข. ดิจิทัล หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้นวัตกรรมมาทำให้มนุษย์สื่อสารได้รวดเร็วขึ้น
ค. ดิจิทัล หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์มาช่วยอำนวยความสะดวกให้มนุษย์มากขึ้น
ง. ดิจิทัล หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้วิธีการนำสัญลักษณ์ศูนย์และหนึ่ง หรือสัญลักษณ์อื่นมาแทนสิ่งทั้งปวง
ตอบ ง.
3๗. ข้อใดกล่าวถึงประโยชน์ของพรบ. การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล ฯ
ต่อประชาชนไม่ถูกต้อง
ก. ประชาชนได้ข้อมูลจากภาครัฐอย่างรวดเร็ว
ข. ได้รับบริการดิจิทัลภาครัฐที่ดีขึ้น
ค. ลดขั้นตอนระยะเวลาดำเนินการ นำเทคโนโลยีมาใช้
ง. ค่าธรรมเนียมในการใช้บริการภาครัฐมีแนวโน้มลดลงในอนาคต
ตอบ ค.
3๘. ข้อใด ไม่ใช่ ประโยชน์ของภาครัฐในรัฐบาลดิจิทัล
ก. ภาครัฐโปร่งใส ประชาชนมีส่วนร่วม
ข. ลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในการขอข้อมูล
ค. เกิดการบูรณาการร่วมกัน ลดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อน
ง. เจ้าหน้าที่ได้รับการพัฒนายกระดับทักษะด้านดิจิทัล
ตอบ ข.
39. ข้อใด ไม่ใช่ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดิจิทัล
ก. เสนอแนะนโยบายต่อรัฐบาลในการจัดทำแผนดิจิทัล
ข. จัดทำธรรมธิบาลข้อมูลภาครัฐ
ค. กำหนดมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระบบดิจิทัล
ง. เสนอแนวทางพิจารณายกเว้นหรือลดค่าธรรมเนียม ค่าบริการ ค่าปรับ หรือค่าใช้จ่ายอื่นใด
ตอบ ก.

หน้า ๒๔๒ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
40. ข้อใด ไม่ใช่ หน้าที่ของรัฐบาลดิจิทัล
ก. มีหน้าทีใ่ ห้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ข. มีหน้าที่พัฒนามาตรฐานและแนวปฏิบัติด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ค. มีหน้าที่ให้คำปรึกษาและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ง. มีหน้าที่บริการประชาชนในรูปแบบและช่องทางดิจิทัล
ตอบ ง.
41. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ฉบับปัจจุบันคือ
ก. พ.ศ. 2542 ข. พ.ศ. 2546
ค. พ.ศ. 2552 ง. พ.ศ. 2562
ตอบ ง.
42. ผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ก. นายกรัฐมนตรี ข. คณะรัฐมนตรี
ค. วุฒิสภา ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ตอบ ก.
43. ตามพระราชกฤษฎีนี้ คำว่า “ส่วนราชการ” ไม่รวมถึง
ก. องค์การบริหารส่วนจังหวัด ข. การปกครองส่วนภูมิภาค
ค. การปกครองส่วนกลาง ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตอบ ง.
44. “ข้าราชการ” ตามพระราชกฤษฎีกานี้หมายความรวมถึงใครบ้าง
ก. พนักงาน ข. ลูกจ้าง
ค. ผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการ ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
45. การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน หมายถึงการปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อสิ่งใด
ก. เพื่อให้เกิดความผาสุก
ข. ความเป็นอยู่ดีของประชาชน
ค. ความสงบและปลอดภัยของสังคมส่วนรวม
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
46. การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ต้องถือเอาผู้ใดเป็นศูนย์กลาง
ก. รัฐ ข. ประชาชน
ค. ถูกทั้งสองข้อ ง. ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
ตอบ ข.
47. เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ก.พ.ร. อาจเสนอต่อผู้ใดเพื่อกำหนดมาตรการกำกับ
การปฏิบัติราชการ
ก. คณะรัฐมนตรี ข. สำนักงาน ก.พ.
ค. นายกรัฐมนตรี ง. รัฐสภา
ตอบ ก.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๒๔๓


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
48. แผนการบริหารราชการแผ่นดิน ถ้าทำเสร็จให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในกี่สิบวันนับแต่วันที่
คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
ก. 30 วัน ข. 60 วัน
ค. 90 วัน ง. 120 วัน
ตอบ ค.
49. ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้นโดยจัดทำเป็นแผน 5 ปี ซึ่งต้องสอดคล้องกับข้อใด
ก. แผนการปฏิรูปประเทศ
ข. ยุทธศาสตร์ชาติ /แผนแม่บท
ค. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
50. ให้สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจ ิทัล (องค์การมหาชน) จัดให้มีแพลตฟอร์มดิจิทัลกลางเพื่อให้ส ่วนราชการ
ใช้ในการบริการประชาชนและการติดต่อประสานงานระหว่างกันได้ภายในกี่วันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกา
นี้ใช้บังคับ
ก. 30 วัน ข. 60 วัน
ค. 90 วัน ง. 120 วัน
ตอบ ค.
51. สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการมีชื่อย่อว่าอะไร
ก. สขร. ข. สขม.
ค. สขก. ง. สขช.
ตอบ ก.
52. วัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540 นี้มีขึ้นเพื่อรับรองสิทธิใดของประชาชนต่อรัฐ
ก. สิทธิได้รู้ ข. สิทธิเลือกตั้ง
ค. สิทธิในการประกอบอาชีพ ง. สิทธิที่จะชุมนุมโดยปราศจากอาวุธ
ตอบ ก.
53. ข้อมูลข่าวสารคือ
ก. สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริงข้อมูล หรือสิ่งใด ๆ
ข. การสื่อสารถึงกัน
ค. ข่าวที่นักข่าวนำเสนอ
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ก.
54. ข้อมูลข่าวสารของราชการ หมายถึง
ก. ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ
ข. ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของเอกชน
ค. ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของรัฐและเอกชน
ง. ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของมูลนิธิ
ตอบ ก.

หน้า ๒๔๔ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
55. ข้อใด ไม่ใช่ หน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
ก. ราชการส่วนท้องถิ่น
ข. ราชการสังกัดรัฐสภา
ค. ศาล
ง. ศาลเฉพาะที่ไม่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดี
ตอบ ค.
56. ให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าสารขึ้นในหน่วยงานใด
ก. สำนักนายกรัฐมนตรี
ข. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ค. สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
ง. สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
ตอบ ข.
57. ข้อใด ไม่ใช่ หน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าสาร
ก. ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานวิชาการและธุรการให้แก่ คณะกรรมการ
ข. ให้คำปรึกษาแก่เอกชนในการปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติ นี้
ค. ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ
ง. ให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานรัฐในการปฏิบัติตาม พระราชบัญญัตินี้
ตอบ ง.
58. ข้อมูลข่าวสารตามข้อใดต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา
ก. โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน
ข. สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคับและวิธีดำเนินงาน
ค. สถานที่ติดต่อเพื่อของรับข้อมูลข่าวสาร
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
59. ข้อมูลข่าวสารตามข้อใดต้องจัดไว้ให้ประชาชนได้เข้าตรวจดู
ก. ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน
ข. แผนงาน โครงการ งบประมาณรายจ่ายปะจำปี
ค. สัญญาสัมปทานที่เป็นการผูกขาดตัดตอน
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
60. ข้อมูลข่าวสารข้อใดที่หน่วยงานของรัฐอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผย
ก. ข้อมูลข่าวสารที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ
ข. การเปิดเผยอาจทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพ
ค. การเปิดเผยอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๒๔๕


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
61. ข้อใดคือ คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ที่เพิ่มขึ้นมา
ตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 19/2560
ก. ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ค. รัฐมนตรีช่วยว่าการระทรวงศึกษาธิการ
ง. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ตอบ ก.
62. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นให้มีคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) มีจำนวนกี่คน
ก. 4 คน ข. 6 คน
ค. 8 คน ง. 10 คน
ตอบ ข.
67. สำนักงาน ก.ค.ศ.มีฐานะเป็นกรมอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อบุคคลใด
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ข. นายกรัฐมนตรี
ค. ปลัดกระทรวง
ง. คณะรัฐมนตรี
ตอบ ก.
68. บุคคลมีคุณสมบัติตามข้อใดอาจสามารถขอเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้
ก. เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ข. ถูกสั่งพักราชการ ถูกสั่งให้ออกจากราชการถูกสั่งพักหรือเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพ
ค. ทุพลภาพและไร้ความสามารถ เป็นโรคตาม กฎ ก.ค.ศ.
ง. ถูกลงโทษทางวินัยปลดออกมาแล้ว 5 ปี
ตอบ ง.
69. ข้อใดคือตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น
ก. ครูผู้ช่วย ข. อธิการบดี
ค. ผู้บริหารสถานศึกษา ง. นักวิชาการศึกษา
ตอบ ง.
70. ตำแหน่งของผู้บริหารสถานศึกษาใดต่อไปนี้เป็นตำแหน่ง ไม่ใช่ วิทยฐานะ
ก. รองผู้อำนวยการสถานศึกษาชำนาญการพิเศษ
ข. รองผู้อำนวยการเชี่ยวชาญพิเศษ
ค. ผู้อำนวยการสถานศึกษาเชียวชาญ
ง. ผู้อำนวยการสถานศึกษาเชี่ยวชาญพิเศษ
ตอบ ข.
71. ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจะมีในหน่วยงานทางการศึกษาใด จำนวนเท่าใด
และต้องใช้คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งอย่างไร ใครเป็นผู้กำหนด
ก. ตามที่ ก.ม. กำหนด ข. ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
ค. ตามที่ ก.พ. กำหนด ง. กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
ตอบ ข.

หน้า ๒๔๖ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
72. โทษทางวินัยที่ถูกจัดว่าเป็นโทษร้ายแรง
ก. ไล่ออก ข. ปลดออก
ค. ให้ออก ง. เฉพาะข้อ ก และ ข
ตอบ ง.
73. ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีกี่ประเภท
ก. 2 ประเภท ข. 3 ประเภท
ค. 4 ประเภท ง. 5 ประเภท
ตอบ ข.
74. มาตรา ๓๘ ค.(๑) หมายถึงข้อใด
ก. ครูผู้ช่วย ข. ครู
ค. รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ง. ศึกษานิเทศก์
ตอบ ง.
75. ข้อใดต่อไปนี้เป็น หนังสือเวียน
ก. มีใจความอย่างเดียวกัน
ข. หนังสือที่มีผู้รับจำนวนมาก
ค. มีพยัญชนะ ว หน้าเลขทะเบียนหนังสือส่ง
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.
76. หนังสือภาษาต่างประเทศใช้กระดาษ ชนิดใด
ก. กระดาษตราครุฑ
ข. กระดาษบันทึกข้อความ
ค. กระดาษพิมพ์เขียว
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ก.
77. รายงานการประชุม ให้ทำการบันทึกความคิดเห็นไว้เป็นหลักฐาน ยกเว้นข้อใด
ก. ผู้มาประชุม
ข. ผู้ไม่มาประชุม
ค. ผู้เข้าร่วมประชุม
ง. มติของที่ประชุม
ตอบ ข.
78. ข้อใดคือหนังสือที่ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติเร็วกว่าปกติ เท่าที่จะทำได้
ก. ด่วนมาก ข. ด่วน
ค. ด่วนที่สุด ง. ด่วนในทันที
ตอบ ข.
79. หนังสือที่ได้ปฏิบัติงานเสร็จสิ้นแล้ว และเป็นคู่สำเนาที่มีต้นเรื่องจะค้นได้จากที่อื่นให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่ากี่ปี
ก. 1 ปี ข. 5 ปี
ค. 10 ปี ง. 25 ปี
ตอบ ข.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๒๔๗


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
80. หนังสือประชาสัมพันธ์มี 3 ชนิด ได้แก่
ก. แถลงการณ์ ประกาศ และข่าว
ข. ประกาศ ระเบียบ และข่าว
ค. ข่าว คำสั่ง แถลงการณ์
ง. คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ
ตอบ ก.
81. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ มีกี่ชนิด
ก. 3 ชนิด ข. 4 ชนิด
ค. 5 ชนิด ง. 6 ชนิด
ตอบ ข.
82. ใครเป็นผู้รักษาการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
ก. นายกรัฐมนตรี ข. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ค. เลขาธิการ ก.พ. ง. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ตอบ ข.
83. การลาคลอดข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. ลาก่อนหรือหลังวันคลอด ได้ไม่เกิน 90 วัน
ข. ลาก่อนหรือหลังวันคลอด ได้ไม่เกิน 90 วันทำการ
ค. ลาก่อนวันคลอด ได้ไม่เกิน 90 วัน
ง. ลาหลังวันคลอด ได้ไม่น้อยกว่า 90 วันทำการ
ตอบ ก.
84. ข้าราชการสามารถสะสมวันลาพักผ่อน 30 วันทำการในกรณีที่รับราชการมาแล้วกี่ปี
ก. 10 วัน ข. 20 วัน
ค. 30 วัน ง. 40 วัน
ตอบ ก.
85. การลาของข้าราชการมีทั้งหมดกี่ประเภท
ก. 11 ประเภท ข. 10 ประเภท
ค. 9 ประเภท ง. 5 ประเภท
ตอบ ก.
86. วันกองทัพไทย ตรงกับวันใด
ก. วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ข. วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ค. วันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์
ง. วันพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตอบ ข.
87. อาณาจักรสุโขทัยมีการปกครองแบบใด
ก. ราชาธิปไตย ข. อำมาตยาธิปไตย
ค. ประชาธิปไตย ง. ธนาธิปไตย
ตอบ ก.

หน้า ๒๔๘ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
88. บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทยคือข้อใด
ก. กรมหลวงชุมพร ข. นายปรีดี พนมยงค์
ค. กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ง. กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ตอบ ง.
89. สังคหวัตถุ 4 คือ คุณธรรมในข้อใด
ก. เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจคน
ข. เป็นเครื่องทำให้ประสบความสำเร็จ
ค. เป็นคุณธรรมของผู้ครองเรือน
ง. เป็นคุณธรรมของผู้เป็นผู้ใหญ่
ตอบ ก.
90. คุณธรรมที่ทำให้ประสบความสำเร็จ หมายถึงข้อใด
ก. พรหมวิหาร 4 ข. สังคหวัตถุ 4
ค. ธรรมของฆราวาส 4 ง. อิทธิบาท 4
ตอบ ง.
91. หลักธรรมข้อใด ส่งเสริมให้คนรู้จักหน้าที่ อันจะพึงปฏิบัติต่อกัน
ก. ทิศ ๖ ข. พลธรรม ๕
ค. อิทธิบาท ๔ ง. ฆราวาสธรรม ๔
ตอบ ก.
92. สถาบันทางสังคมข้อใดที่มีบทบาทในการขัดเกลาทางสังคมมากที่สุด
ก. ศาสนา ข. การศึกษา
ค. เศรษฐกิจ ง. การเมืองการปกครอง
ตอบ ข.
93. การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี ด้วยการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยข้อใด
ก. หลักเสียงข้างมาก ข. หลักสิทธิ เสรีภาพ
ค. หลักความเสมอภาค ง. หลักเหตุผล
ตอบ ง.
94. รูปแบบในการปกครองประชาธิปไตยมีแนวความคิดพื้นฐานมาจากความเชื่อในข้อใด
ก. อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชน
ข. ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน
ค. ประชาชนทุกคนต้องเท่าเทียมกัน
ง. ทุกคนเกิดมามีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ตอบ ง.
95. หลักการที่สำคัญที่สุดในการปกครองระบอบประชาธิปไตยคือข้อใด
ก. สิทธิเสรีภาพเป็นของประชาชน
ข. อำนาจสูงสุดของรัฐเป็นของประชาชน
ค. การปกครองประเทศเป็นของประชาชน
ง. ประชาชนทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ตอบ ข.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๒๔๙


 คู่มือเตรียมสอบ ข้าราชการ 38 ค.(2) สพฐ. 
96. ประเทศไทยใช้หลักกฎหมายระบบใดในปัจจุบัน
ก. กฎหมายมหาชน ข. กฎหมายสารบัญญัติ
ค. กฎหมายจารีตประเพณี ง. กฎหมายลายลักษณ์อักษร
ตอบ ง.
97. ข้อใดมีความหมายตรงกับคำว่า การขัดเกลาทางสังคม
ก. ความสัมพันธ์ทางสังคม ข. การจัดระเบียบสังคม
ค. การถ่ายทอดวัฒนธรรมอันดีงาม ง. การอบรมสั่งสอน
ตอบ ค.
98. นโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ประเด็นแรก คือ
ก. มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ข. พลิกโฉมการศึกษาสู่ยุคดิจิทัล
ค. ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง
ง. ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตอบ ง.
99. นโยบายการศึกษาข้อแรก ของนโยบายและจุดเน้น สพฐ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ - ๒๕๖8 คือ
ก. ปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ทันสมัยและหลากหลาย
ข. จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และประชาธิปไตย
ค. ส่งเสริมการอ่าน เพื่อเป็นวิถีในการค้นหาความรู้และต่อยอดองค์ความรู้ที่สูงขึ้น
ง. ปลูกฝังความรักในสถาบันหลักของชาติ และน้อมนําพระบรมราโชบายด้านการศึกษา
สู่การปฏิบัติ
ตอบ ง.
100. การปลูกฝังความรักในสถาบันหลักของชาติ เกี่ยวข้องกับนโยบายข้อใด
ก. ปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ทันสมัยและหลากหลาย
ข. จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และประชาธิปไตย
ค. ส่งเสริมการอ่าน เพื่อเป็นวิถีในการค้นหาความรู้และต่อยอดองค์ความรู้ที่สูงขึ้น
ง. ปลูกฝังความรักในสถาบันหลักของชาติ และน้อมนําพระบรมราโชบายด้านการศึกษา
สู่การปฏิบัติ
ตอบ ง.

หน้า ๒๕๐ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙

You might also like