Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 30

ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด

1. ที่ความเข้มข้นของสารตั้งต้นต่ำ อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้นเกือบเป็นเส้นตรงตามการเพิ่มของสารตั้งต้น
2. ที่ความเข้มข้นสูงขึ้น อัตราการเกิดปฏิกิริยาลดลงอย่างมาก
3. การอิ่มตัวของค่าอัตราการเกิดปฏิกิริยาสามารถเอาชนะได้ด้วยการเพิ่มความเข้มข้นของสารตั้งต้น
4. จากผลการทดลอง สาร X เป็นตัวยับยั้งแบบแข่งขันของเอนไซม์ A

เฉลย
1. ถูก เพราะ ในปฏิกิริยาที่มีเอนไซม์ปริมาณคงที่ อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะขึ้นกับปริมาณสารตั้งต้น ความ
เข้มข้นของสารตั้งต้นต่ำ เช่น 0 - 0.1 mM กราฟเกือบเป็นเส้นตรงตามการเพิ่มขึ้นของสารตั้งต้น
2. ผิด เพราะ ที่ความเข้มข้นสูงขึ้น อัตราการเกิดปฏิกิริยาไม่ได้ลดลง แต่อัตราการเพิ่มของอัตราการ
เกิดปฏิกิริยาลดลง
3. ผิด เพราะ ในภาวะที่มีความเข้มข้นของสารตั้งต้นเกินพอ เอนไซม์ทั้งหมดจะถูกเปลี่ยนไปเป็น enzyme-
substrate complex การเพิ่มความเข้มข้นของสารตั้งต้นจึงไม่สามารถเอาชนะการอิ่มตัวของค่าอัตราการ
เกิดปฏิกิริยาได้
4. ผิด เพราะ ถ้าสร้างกราฟของปฏิกิริยาที่เติมสาร X จะพบว่าค่าอัตราการเกิดปฏิกิริยาสูงสุดลดลงต่ำกว่า
อัตราการเกิดปฏิกิริยาสูงสุดในภาวะที่ไม่ได้เติมสาร X ดังนั้นสาร X จึงน่าจะเป็นตัวยับยั้งแบบไม่แข่งขัน

10. จากภาพเซลล์ E. coli ที่มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกยาว 2 m และมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 m น้ำหนักโมเลกุล


ของ genomic DNA เท่ากับ 3.1x109 g/mol กำหนดให้น้ำหนักโมเลกุลเฉลี่ยของคู่เบสของนิวคลีโอไทด์ใน
สาย DNA เท่ากับ 660 และความยาวเฉลี่ยของโปรตีนใน E. coli มีค่าประมาณ 400 เรซิดิวส์

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 19 19th Thailand Biology Olympiad 73


ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
1. จีโนม E. coli มีขนาดประมาณ 4.7 kb
2. โครโมโซมจาก E. coli มีความยาวประมาณ 1.6 mm
3. จำนวนโปรตีนที่พบในเซลล์ E. coli จะไม่เกิน 4,000 ชนิด
4. ปริมาตรของ DNA ภายในเซลล์ E. coli มีค่าน้อยกว่า 1% ของปริมาตรทั้งหมดของเซลล์

เฉลย
1. ผิด เพราะ จีโนม E. coli มีขนาดประมาณ 3.1x109 / 660 = 4,696,969  4.7 Mb  4,700 kb
2. ถูก เพราะ ความยาวระหว่างคู่เบสเท่ากับ 3.4 Å ดังนั้นโครโมโซมจาก E. coli มีความยาวประมาณ
4,696,969 x 3.4 Å = 1.6 mm
3. ถูก เพราะ จากจำนวนนิวคลีโอไทด์ทั้งหมดในจีโนม E. coli = 4,696,969 นิวคลีโอไทด์ และจากความยาว
เฉลี่ยของโปรตีนใน E. coli = 400 เรซิดิวส์ ซึ่งต้องมาจากลำดับเบสอย่างน้อย 1,200 นิวคลีโอไทด์
ดังนั้นจำนวนโปรตีนสูงสุดที่สามารถสร้างได้จากจีโนม E. coli จึงเท่ากับ 4,696,969 / 1,200 = 3,914 ชนิด
4. ถูก เพราะ
จีโนม E. coli มีปริมาตรประมาณ 3.14 x (0.001 m)2 x 1600 m = 0.005 m3
เซลล์ E. coli มีปริมาตรประมาณ 3.14 x (0.5 m)2 x 2 m = 1.57 m3
ดังนั้นปริมาตรภายในเซลล์ E. coli ที่มี DNA บรรจุอยู่จึงเท่ากับ 0.005/1.57 = 0.0032 หรือ 0.3% ซึ่งน้อย
กว่า 1% ของปริมาตรทั้งหมด

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 19 19th Thailand Biology Olympiad 74


II. Plant Physiology and Anatomy
11. จากภาพแสดงกลไกการออกจากระยะพักตัว (dormancy breaking) ของเมล็ดของพืชดอกชนิดหนึ่ง
โดยแสดงถึงบทบาทของ gibberellic acid (GA3) และแสงในการกระตุ้นกระบวนการงอกในเมล็ด

ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
1. โครงสร้างนี้เจริญมาจาก ovule ที่มีการเกิดปฏิสนธิซ้อน (double fertilization)
2. เมล็ดนี้เป็น albuminous seed และจะไม่พบใบเลี้ยงในเมล็ดนี้
3. เมล็ดพืชชนิดนี้ที่ดูดน้ำเต็มที่และได้รับแสงที่ความยาวคลื่น 730 nm จะงอกได้
4. เมื่อเกิด imbibition น้ำจะถูกนำไปใช้สลาย GA3 ผ่านปฏิกิริยา hydrolysis เพื่อกระตุ้นการงอกของเมล็ด

เฉลย
1. ถูก เพราะ หลังการปฏิสนธิ ovule เจริญไปเป็นเมล็ด ภายใน ovule มี embryo sac
ซึ่งประกอบไปด้วยเซลล์ไข่ และ polar nuclei ที่เกิดปฏิสนธิซ้อน (double fertilization) กับ sperm
แล้วพัฒนาเป็น embryo และ endosperm ตามลำดับ
2. ผิด เพราะ ในภาพเป็นเมล็ดที่มี endosperm จึงจัดเป็น albuminous seed ซึ่งยังมีใบเลี้ยง
เพราะสามารถพบใบเลี้ยงได้ในพืชดอกทั้งที่เป็น albuminous seed และ exalbuminous seed
3. ผิด เพราะ แสงที่กระตุ้นให้เกิดการงอกเป็นแสงที่ความยาวคลื่น 660 nm ที่จะเปลี่ยน Pr ให้เป็น Pfr
แล้วจึงกระตุ้นให้เกิดการแสดงออกของยีน (สร้าง RNA) ที่นำไปสู่การงอกของเมล็ดได้
4. ผิด เพราะ น้ำที่เข้าสู่เมล็ดโดยกระบวนการ imbibition จะกระตุ้นการสร้าง GA3
และทำให้เมล็ดออกจากระยะพักได้

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 19 19th Thailand Biology Olympiad 75


12. จากภาพตัดขวางของพืชชนิดหนึ่ง

AB

C D

E
F

ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
1. เซลล์บริเวณ A เจริญมาจาก cork cambium
2. เซลล์บริเวณ D มีการสะสม suberin ทำให้ไม่สามารถลำเลียงน้ำแบบ apoplast ได้
3. บริเวณ F ประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่เจริญมาจาก ground meristem
4. พืชชนิดนี้เกิด secondary growth เนื่องจากมีการสร้าง periderm และ lenticel

เฉลย
1. ผิด เพราะ บริเวณ A คือ epidermis เจริญมาจาก protoderm
2. ผิด เพราะ จากภาพเป็น x-section ของลำต้นพืช ซึ่งเซลล์บริเวณ D คือ vascular cambium
ซึ่งไม่มีการสะสมของ suberin และไม่เกี่ยวข้องกับลำเลียงน้ำแบบ apoplast
3. ถูก เพราะ บริเวณ F คือ บริเวณ pith ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ parenchyma เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจัดเป็น
permanent tissue ที่เจริญมาจาก ground meristem
4. ถูก เพราะ บริเวณ B คือ cork cambium และ รอยแตกที่เกิดขึ้น คือ lenticel ซึ่ง แสดงถึง secondary
growth

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 19 19th Thailand Biology Olympiad 76


13. เมื่อนำต้นกล้า (seedling) ของพืชชนิดหนึ่งดังภาพ มาศึกษาลักษณะทางกายวิภาค

ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
1. เมื่อตัด x-section ของลำต้นจะพบ interfascicular cambium
2. ในชั้น endodermis ของรากมี Casparian strip
3. เซลล์ในชั้น pericycle มี dedifferentiation
4. ในลำต้นจะพบ secondary phloem และ secondary xylem

เฉลย
1. ผิด เพราะข้าวโพดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวไม่มี vascular cambium จึงไม่พบทั้ง fascicular และ
interfascicular cambium
2. ถูก เพราะ Casparian strip เป็นลักษณะที่พบได้ในชั้น endodermis
ของรากทั้งพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่ และจะพบได้ง่ายกว่าในระยะที่รากยังอยู่ในการเติบโตระยะที่เป็น
primary growth
3. ถูก เพราะ จากลักษณะของรากที่แสดงมีรากแขนงแล้ว ดังนั้นจึงมีโอกาสพบ lateral root primordium
ที่เกิดจาก dedifferentiation ของเซลล์ในชั้น pericycle ได้
4. ผิด เพราะ ข้าวโพดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวไม่มี vascular cambium ดังนั้นจึงไม่พบ secondary xylem และ
secondary phloem

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 19 19th Thailand Biology Olympiad 77


14. เมื่อนำเซลล์พืชที่มีค่า water potential เท่ากับ − 0.9 MPa และมีค่า pressure potential เท่ากับ 0
MPa แช่ในบีกเกอร์ที่บรรจุสารละลายน้ำตาลซูโครสความเข้มข้น 0.4 M ซึ่งมีค่า water potential เท่ากับ
− 0.7 MPa แล้วปล่อยให้เซลล์เข้าสู่สมดุลในขณะที่แช่ในสารละลายน้ำตาลซูโครส

ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
1. เซลล์ที่จุดสมดุลจะมีสภาพเป็น turgid cell (เซลล์เต่ง)
2. water potential ของเซลล์ที่จุดสมดุลมีค่าเท่ากับ 0 MPa
3. osmotic potential ของเซลล์นี้ไม่เปลี่ยนแปลง
4. ที่จุดสมดุล water potential ของสารละลายน้ำตาลซูโครสมีค่าเท่ากับ water potential
ของเซลล์เมื่อเริ่มต้นการทดลอง

เฉลย
1. ถูก เพราะ เมื่อเริ่มต้นเซลล์มีค่า water potential ต่ำกว่าสารละลายน้ำตาลซูโครส และมีค่า pressure
potential เท่ากับ 0 น้ำจากสารละลายจะแพร่เข้าสู่เซลล์ และเมื่อเข้าสู่สมดุลเซลล์จะมี water potential
เท่ากับสารละลายภายนอกคือ − 0.7 MPa โดยที่มี osmotic potential คงที่ ดังนั้น เซลล์จะมี pressure
potential ที่สมดุล เท่ากับ 0.2 MPa ดังนั้นเซลล์มีลักษณะเป็น turgid cell
2. ผิด เพราะ ที่สมดุล water potential ภายในเซลล์ จะเท่ากับภายนอกเซลล์ ซึ่งเท่ากับ − 0.7 MPa
3. ถูก เพราะ ขนาดของเซลล์ไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์จึงคงที่ osmotic
potential คงที่ตลอดการทดลองจนถึงสมดุล
4. ผิด เพราะ สารละลายน้ำตาลมีปริมาตรมากกว่าเซลล์มาก
เมื่อเกิดการแพร่ของน้ำเข้าสู่เซลล์จะมีผลต่อความเข้มข้นของสารละลายน้ำตาลน้อยมาก ดังนั้น
ที่จุดสมดุลค่า water potential ของสารละลายน้ำตาลจะเท่าเดิมคือ − 0.7 MPa

15. การเปิดปิดปากใบควบคุมด้วยฮอร์โมนพืชและสารเคมีซึ่งเป็นสัญญาณภายในเซลล์
ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงความกว้างของปากใบ (stomatal aperture)
ของพืชชนิดหนึ่งเมื่อได้รับความเค็มจากเกลือแกง (NaCl) และการฉีดพ่นใบด้วย putrescine (Put)
รวมทั้งการให้สารต่าง ๆ ร่วมกับ Put และความเค็ม ได้แก่ D-Arg (ตัวยับยั้งการสังเคราะห์ Put), H2O2
และ DMTU (สารกำจัด H2O2) ได้ผลแสดงดังภาพ A และ ผลของ treatment ต่าง ๆ ที่มีต่อปริมาณ
ABA (ABA content) และการแสดงออกของยีน NCED (NCED expression level) ซึ่ง encode
ให้ยีนใน ABA biosynthesis pathway แสดงดังภาพ B

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 19 19th Thailand Biology Olympiad 78


ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
1. Put ชักนำให้ปากใบเปิดได้
2. การให้ Put เมื่อพืชได้รับความเค็มมีผลต่อกระบวนการสังเคราะห์ Put ภายในพืช
3. การตอบสนองของปากใบต่อ Put ในขณะที่ได้รับความเค็มเป็นกระบวนการที่มีการส่งสัญญาณผ่าน H2O2
4. Put มีบทบาทต่อกระบวนการสังเคราะห์ ABA เมื่อพืชได้รับความเค็ม

เฉลย
1. ผิด เพราะ การให้ Put เพียงอย่างเดียว stomatal aperture ไม่แตกต่างจากชุดควบคุม (ภาพ A)
2. ถูก เพราะ การชะลอการปิดปากใบด้วย Put เมื่อมีการให้ D-Arg ซึ่งเป็น Put biosynthesis inhibitor
แล้วพบว่าปากใบปิดได้เหมือนกับการได้รับ NaCl เพียงอย่างเดียว ดังนั้นจึงคาดได้ว่า การให้ Put
จากภายนอกมีผลต่อการสังเคราะห์ Put ภายในพืช และทำให้ชะลอการปิดปากใบ ไม่ได้เป็นผลจาก Put
ที่ให้จากภายนอกโดยตรงเพียงอย่างเดียว
3. ถูก เพราะ เมื่อให้ NaCl ร่วมกับ Put แล้วให้ DMTU ซึ่งเป็น H2O2 scavenger แล้วมีผลทำให้ Put
ไม่สามารถชะลอการปิดปากใบได้ แต่เมื่อให้ H2O2 เพิ่มเติม (NaCl + Put + DMTU + H2O2)
ทำให้ปากใบเปิดกว้างขึ้นได้ แสดงว่าบทบาทของ Put
ในการชะลอการปิดปากใบนี้เป็นการทำงานผ่านสัญญาณ H2O2
4. ถูก เพราะ เมื่อพืชได้รับ Put ในภาวะเค็มมีผลทำให้การแสดงออกของยีน NCED และ ปริมาณ ABA
แตกต่างจากการได้รับ NaCl เพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญ

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 19 19th Thailand Biology Olympiad 79


Ref: Ma, S., Zhou, X., Jahan, M. S., Guo, S., Tian, M., Zhou, R., . . . Shu, S. (2022). Putrescine
regulates stomatal opening of cucumber leaves under salt stress via the H 2O2-mediated
signaling pathway. Plant Physiology and Biochemistry, 170, 87-97.
doi:10.1016/j.plaphy.2021.11.028

16. ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง CO2 assimilation และ photosynthetic photon flux density


(PPFD) ในพืช A และพืช B เทียบระหว่างใบในที่ร่ม (shade leaves) กับใบที่อยู่กลางแจ้ง (sun leaves)
ได้ผลดังภาพ

ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
1. Sun leaves ของพืช B มี light compensation point ต่ำกว่า shade leaves
2. ที่ความเข้มแสงต่ำกว่า 600 μmol.m-2.s-1 แสงเป็นปัจจัยจำกัด (limiting factor)
ต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง ของพืช A ไม่ว่าจะเป็น sun leaves หรือ shade leaves
3. Sun leaves ในพืช A และพืช B มี light saturation point ที่ความเข้มแสงประมาณ 1000 μmol.m-2.s-
1

4. ถ้าพืชทั้งสองชนิดมีพื้นที่ใบที่สังเคราะห์ด้วยแสงใกล้เคียงกัน พืช B น่าจะมีการเจริญเติบโตสูงกว่าพืช A

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 19 19th Thailand Biology Olympiad 80


เฉลย
1. ถูก เพราะ sun leaves ของพืช B มี light compensation point ประมาณ 100 µmol.m-2.s-1 ในขณะที่
shade leaves จะมีค่า light compensation point ประมาณ 300 µmol.m-2.s-1
2. ถูก เพราะ พืช A ทั้ง sun leaves และ shade leaves ของพืช A มี light saturation point
ใกล้เคียงกันประมาณ 1000 µmol.m-2.s-1 ดังนั้น ที่ระดับความเข้มแสงที่ต่ำกว่า light saturation point
แสงจะเป็นปัจจัยจำกัด
3. ผิด เพราะ sun leaves ในพืช A มี light saturation point ที่ความเข้มแสงประมาณ 1000 µmol.m-2.s-
1 แต่พืช B ไม่สามารถระบุได้ เพราะอัตรา CO assimilation ยังคงเพิ่มขึ้นตามเข้มแสงที่เพิ่มขึ้น
2
4. ผิด เพราะ เมื่อเปรียบเทียบที่ความเข้มแสงเดียวกัน พืช B มีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงต่ำกว่าพืช A ดังนั้น
ถ้าพื้นที่ใบใกล้เคียงกันพืช B น่าจะมีการเจริญเติบโตต่ำกว่าพืช A
(ที่มาของภาพ Taylor, A. and Burns, K. 2016.Ecology. 97(4) pp. 819–825)

17. นักวิจัยศึกษาผลของความแล้ง (drought) ต่อต้นข้าวโพดสองพันธุ์คือพันธุ์ Yunuo 7 และ พันธุ์


Suyunuo 5 ในระยะออกไหม (หลังเกิดการถ่ายเรณู – days after pollination)
เก็บข้อมูลจากใบที่ติดกับฝักซึ่งเป็นใบหลักในการสร้างอาหารสำหรับการพัฒนาของเมล็ด
โดยเก็บข้อมูลปริมาณน้ำในเนื้อเยื่อ (water content) อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง (Pn)
และกิจกรรมของเอนไซม์รูบิสโก (RuBPCase) และเอนไซม์ phosphoenol pyruvate carboxylase
(PEPCase) โดยมีต้นที่ได้รับน้ำปกติเป็นชุดการทดลองควบคุม (control)
ns หมายถึงไม่มีความแตกต่างทางสถิติระหว่างชุดควบคุมและชุดที่ได้รับความแล้ง
* หมายถึงมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างชุดควบคุมและชุดที่ได้รับความแล้ง

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 19 19th Thailand Biology Olympiad 81


ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
1. ข้าวโพดพันธุ์ Suyunuo 5 ได้รับผลจากกรดแอบไซซิกน้อยกว่าพันธุ์ Yunuo 7
เมื่อพิจารณาจากการรักษาปริมาณน้ำภายในใบที่ดีกว่า
2. การลดลงของกิจกรรมของเอนไซม์รูบิสโกหลังจากการถ่ายเรณูเป็นผลมาจากความแล้ง
3. ความแล้งไม่มีผลต่อกิจกรรมของเอนไซม์ PEPCase ในข้าวโพดทั้งสองพันธุ์
4. ความแล้งน่าจะทำให้ผลผลิตของข้าวโพดพันธุ์ Yunuo 7 ลดลง แต่ไม่มีผลต่อพันธุ์ Suyunuo 5

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 19 19th Thailand Biology Olympiad 82


เฉลย
1. ผิด เพราะ ข้าวโพดพันธุ์ Suyunuo 5 น่าจะได้รับผลของกรดแอบไซซิกมากกว่า
เพราะมีการรักษาปริมาณน้ำในใบได้ดี น่าจะเป็นผลมาจากการควบคุมการปิดปากใบได้ดีมากกว่า
หรือไวกว่าพันธุ์ Yunuo 7 ซึ่งสอดคล้องกับการลดลงของอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพันธุ์ Suyunuo
5 ที่ลดลงมากกว่าพันธุ์ Yunuo 7
2. ผิด เพราะ ข้าวโพดทั้งสองพันธุ์ในชุดควบคุมมีกิจกรรมของเอนไซม์รูบิสโกหลังจากการถ่ายเรณูลดลง
ดังนั้นการลดลงของกิจกรรมของเอนไซม์รูบิสโกไม่ได้เป็นผลมาจากความแล้ง
3. ถูก เพราะ กิจกรรมของเอนไซม์ PEPCase
ในข้าวโพดทั้งสองพันธุ์ในภาวะแล้งไม่แตกต่างจากกิจกรรมของเอนไซม์ PEPCase
ในข้าวโพดชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ
4. ผิด เพราะ
ความแล้งทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของใบที่ติดกับฝักของข้าวโพดทั้งสองพันธุ์ลดลงอย่างมีนัยสำคั
ญทางสถิติ ดังนั้นจึงควรมีผลต่อการลดลงของผลผลิตในข้าวโพดทั้งสองสายพันธุ์
Reference: Ye, Y.-X., Wen, Z.-R., Yang, H., Lu, W.-P., Lu, D.-L. Effects of post-silking water deficit
on the leaf photosynthesis and senescence of waxy maize. (2020) Journal of Integrative
Agriculture, 19 (9), pp. 2216-2228.

18. การทดลองชักนำยอด (regeneration) จากแคลลัสของข้าวโพด 4 พันธุ์ ได้แก่ BML6, DHM117,


DMRH1301 และ DMRH1308 โดยใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต (plant growth regulators) IAA,
BAP และ kinetin เติมลงในอาหารสูตร RM ที่ความเข้มข้นต่าง ๆ โดยเรียกชื่อสูตรอาหาร (media) เป็น
RM1 – RM10 ได้ผลการทดลองดังตาราง

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 19 19th Thailand Biology Olympiad 83


Media Plant Growth Regeneration percentage (%)
Regulators (mg/L)
BML 6 DHM117 DMRH DMRH Average of all
1301 1308 four genotypes

RM1 RM without any PGRs 22.76BCD 11.10DEFG 32.40BC 22.75DE 22.25C

RM2 BAP (1.0) 12.78EFG 1.70G 2.28G 2.23GH 4.75FGHI

RM3 BAP (2.5) 2.76HIJ 2.31FG 1.82G 2.12GH 2.25HI

RM4 BAP (3.0) 0.00J 1.62G 1.67G 1.71GH 1.25HI

RM5 Kinetin (0.5) 35.80A 32.38A 53.70A 60.66A 45.63A

RM6 Kinetin (1.0) 21.84CDE 24.63ABC 40.17B 31.56C 29.55B

RM7 BAP (2.0) + Kinetin (1.0) 13.75DEF 16.93BCDE 31.49BC 49.96B 28.03B

RM8 IAA (0.5) + Kinetin (1.0) 26.88ABC 25.29AB 29.38CD 44.69B 31.56B

RM9 IAA (0.25) + BAP (1.0) 2.97HIJ 14.64BCDE 1.71G 2.35GH 5.42EFGH

RM10 IAA (0.5) + BAP (1.0) 12.46FG 22.87ABC 0.00G 1.95GH 9.32DEF
IAA = indole-3-acetic acid, BAP = 6-benzylaminopurine
อักษรที่แตกต่างกันเหนือตัวเลขในแนวตั้งแสดงความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญเมื่อทดสอบด้วย Tukey’s
HSD test ที่ P < 0.0001

ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
1. Cytokinin ไม่เหมาะสมสำหรับการชักนำยอดของข้าวโพด
2. การเติม BAP เพียงอย่างเดียวในอาหารสูตร RM ไม่เหมาะสมสำหรับการชักนำยอดข้าวโพดทั้ง 4 พันธุ์นี้
3. การใช้ IAA ร่วมกับ BAP สามารถส่งเสริมการเกิดยอดใหม่ของข้าวโพดบางพันธุ์ได้
4. การใช้ IAA ร่วมกับ kinetin สามารถส่งเสริมการเกิดยอดใหม่ของข้าวโพดได้ทั้ง 4 พันธุ์

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 19 19th Thailand Biology Olympiad 84


เฉลย
1. ผิด เพราะ kinetin ความเข้มข้น 0.5 mg/L (RM5)
ซึ่งเป็นสารกลุ่มไซโทไคนินเหมาะสมที่สุดสำหรับการชักนำให้เกิดยอดจากแคลลัสข้าวโพดทุกพันธุ์
2. ถูก เพราะ การเติม BAP เพียงอย่างเดียวในอาหารสูตร RM มีผลลดการเกิด regeneration
3. ถูก เพราะ อาหารสูตร RM ที่เติม IAA 0.5 mg/L ร่วมกับ BAP 1.0 mg/L (RM10)
สามารถชักนำให้ข้าวโพดพันธุ์ DHM117 มีการเกิด regeneration เพิ่มขึ้นได้
4. ผิด เพราะ การให้ IAA 0.5 mg/L ร่วมกับ kinetin 1.0 mg/L (RM8) ไม่สามารถชักนำให้มี regeneration
percentage ของข้าวโพดพันธุ์ BML 6 และ DMRH 1301 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
Reference: Kumar, K., Jha, A. K., Kumar, B., Karjagi, C. G., Abhishek, A., Gambhir, G., . . . Rakshit,
S. (2022). Development of an efficient and reproducible in vitro regeneration and
transformation protocol for tropical maize (Zea mays L.) using mature seed-derived nodal
explants. Plant Cell, Tissue and Organ Culture, 148(3), 557-571.

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 19 19th Thailand Biology Olympiad 85


III. Animal Physiology and Anatomy

19. ภาพ A แสดงความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ และภาพ B แสดงความเข้มข้นของแอลดีไฮด์


ในเลือดหนูทดลองที่ได้รับอาหารที่มีเอทานอล (EtOH) และ/หรือ สารสกัดจากหนอนไหม (SMSP)
เป็นส่วนประกอบ

★★★ หมายถึง ค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P<0.001


เมื่อเทียบกับหนูทดลองที่ไม่ได้รับ EtOH (-) และ SMSP (-)
#, ##, ### หมายถึง ค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P<0.05, P<0.01, P<0.001
ตามลำดับ เมื่อเทียบกับหนูทดลองที่ได้รับ EtOH (+) แต่ไม่ได้รับ SMSP (-)

ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
1. หนูทดลองที่ได้รับอาหารที่ไม่มีเอทานอลจะพบแอลกอฮอล์ในเลือดประมาณ 4 mM
2. หนูทดลองที่ได้รับอาหารที่มีเอทานอลจะมีความเข้มข้นของทั้งแอลกอฮอล์และแอลดีไฮด์ในเลือดสูงขึ้น
3. SMSP สามารถลดความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเลือดของหนูทดลองได้ แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า
SMSP สามารถลดความเข้มข้นของแอลดีไฮด์ในเลือดของหนูทดลองได้จริงหรือไม่
เนื่องจากความเข้มข้นของแอลดีไฮด์ในกราฟยังมีค่าใกล้เคียงกันอยู่
4. เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว เอทานอลส่วนใหญ่จะผ่านกระบวนการ metabolism ที่ตับด้วยเอนไซม์หลายชนิด
โดยเอนไซม์ที่สำคัญคือ alcohol dehydrogenase ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนเอทานอลให้เป็น acetaldehyde

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 19 19th Thailand Biology Olympiad 86


เฉลย
1. ถูก เพราะ พิจารณาจากกราฟ A
จะพบว่าหนูทดลองที่ได้รับอาหารที่ไม่มีเอทานอลจะพบแอลกอฮอล์ในเลือดประมาณ 4 mM
2. ถูก เพราะ จากกราฟ A และ B หนูทดลองที่ได้รับอาหารที่มีเอทานอล (EtOH (+) และ SMSP (-))
จะมีความเข้มข้นของทั้งแอลกอฮอล์และแอลดีไฮด์ในเลือดสูงขึ้นเมื่อเที่ยบกับหนูทดลองที่ไม่ได้รับอาหารที่
มีเอทานอล (EtOH (+) และ SMSP (-))
3. ผิด เพราะ จากกราฟ หนูทดลองที่ได้รับ EtOH และ SMSP
มีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์และแอลดีไฮด์ต่ำกว่าในหนูทดลองที่ได้รับ EtOH
เพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสามารถสรุปได้ว่า SMSP
สามารถลดความเข้มข้นของแอลกอฮอล์และแอลดีไฮด์ในเลือดของหนูทดลองได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
4. ถูก เพราะ เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว เอทานอลมากกว่า 90% จะผ่านกระบวนการ metabolism
ที่ตับด้วยเอนไซม์หลายชนิด โดยเอนไซม์ที่สำคัญและไวต่อแอลกอฮอล์ คือ alcohol dehydrogenase
ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนเอทานอลให้เป็น acetaldehyde
Reference: Lee, D.Y., Hong, K.S., Yun, S.M., Song, M.Y., Ji, S.D., Son, J.G., & Kim, E.H. (2017).
Mature silkworm powder reduces blood alcohol concentration and liver injury in ethanol-
treated rats. International Journal of Industrial Entomology, 35(2), 123-128.

20. จากภาพแสดงการเปลี่ยนแปลงขนาดของช่องอกและปอดและความดันภายในเยื่อหุ้มปอด (mm Hg)


ระหว่างการหายใจของคน

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 19 19th Thailand Biology Olympiad 87


ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
1. ภาพ 1 มีค่าความดันภายในปอด 760 mm Hg
2. ภาพ 3 มีค่าความดันภายในปอดสูงกว่า 760 mm Hg
3. อักษร D คือขนาดของช่องอกขณะที่กล้ามเนื้อกะบังลมคลายตัว
4. ค่าความดันภายในปอด C > A > B

เฉลย
1. ถูก เพราะ ภาพ 1 มีค่าความดันภายในปอด 760 mm Hg ซึ่งเท่ากับความดันบรรยากาศ
ทำให้ไม่เกิดการเคลื่อนที่ของอากาศ
2. ผิด เพราะ ภาพ 3 มีค่าความดันภายในปอดน้อยกว่า 760 mm Hg อากาศภายนอกจึงถูกดึงเข้ามา
เป็นการหายใจเข้า
3. ถูก เพราะ อักษร D คือขนาดของช่องอกขณะหายใจออก
กล้ามเนื้อกะบังลมคลายตัวทำให้ขนาดของปอดกลับมาเท่าปกติ ส่งผลให้ความดันภายในปอดเพิ่มขึ้น
เป็นการหายใจออก
4. ผิด เพราะ ค่าความดันภายในปอดของภาพ 1 = 760 มิลลิเมตรปรอท ส่วนภาพ 2 ค่าความดันมากกว่า 760
มิลลิเมตรปรอท และภาพ 3 ค่าความดันน้อยกว่า 760 มิลลิเมตรปรอท ดังนั้นค่าความดันภายในปอด B >
A>C

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 19 19th Thailand Biology Olympiad 88


21. จากภาพแสดงส่วนประกอบของระบบหมุนเวียนในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดหนึ่ง

ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
1. ความหนาของ endothelium ของหลอดเลือด A > C > B
2. ความดันเลือดในหลอดเลือด A มีค่าสูงกว่าความดันเลือดในหลอดเลือด C
3. หลอดเลือด C เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
4. เมื่อพิจารณาพื้นที่ตัดขวางของหลอดเลือดทั้งหมดในร่างกาย พบว่าหลอดเลือดชนิด B
มีพื้นที่ตัดขวางน้อยที่สุด

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 19 19th Thailand Biology Olympiad 89


เฉลย
A คือหลอดเลือดในระบบ artery ส่วน C คือ หลอดเลือด vein สังเกตจากความหนาของผนังเส้นเลือด
และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหลอดเลือด และลิ้นกั้น ส่วน B คือ หลอดเลือดฝอย
1. ผิด เพราะ ความหนาของ endothelium ของหลอดเลือดทั้งสามชนิดเท่ากัน
ความหนาของผนังหลอดเลือด A มากกว่าหลอดเลือด C ซึ่งมาจากความหนาที่แตกต่างกันของกล้ามเนื้อ
ขณะที่หลอดเลือด B ไม่มีชั้นกล้ามเนื้อมีเฉพาะชั้น endothelium
2. ถูก เพราะ A คือ หลอดเลือด artery ซึ่งรับเลือดจากหัวใจที่บีบไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ในขณะที่หลอดเลือด
vein (C) นำเลือดกลับสู่หัวใจ จึงมีแรงดันเลือดน้อยกว่า
3. ผิด เพราะ หลอดเลือด C คือ vein ซึ่งนำเลือดกลับสู่หัวใจ
4. ผิด เพราะ หลอดเลือดชนิด B คือ หลอดเลือดฝอย ซึ่งแตกแขนงไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่าง ๆ
จึงมีพื้นที่ตัดขวางรวมมากที่สุด

22. ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
1. โครงสร้าง chordae tendineae พบที่ semilunar valve
2. SA node พบที่ interatrial septum ใกล้กับ tricuspid valve
3. หลอดเลือด coronary artery เป็นแขนงของหลอดเลือด aorta
4. บริเวณ interventricular septum เกี่ยวข้องกับการนำคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

เฉลย
1. ผิด เพราะ chordae tendineae เป็นโครงสร้างที่มีลักษณะเหมือนเส้นด้าย ซึ่งปลายข้างหนึ่งยึดอยู่กับ
papillary muscle และปลายอีกข้างหนึ่งยึดกับแผ่นลิ้น AV valve
2. ผิด เพราะ SA node อยู่ที่รอยต่อระหว่างหลอดเลือด superior vena cava และ หัวใจห้องบนขวา
3. ถูก เพราะ ascending aorta ให้แขนง เป็น right coronary artery และ left coronary artery
เลี้ยงผนังหัวใจ
4. ถูก เพราะ บริเวณ interventricular septum มีโครงสร้าง bundle of His
เกี่ยวข้องกับการนำคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 19 19th Thailand Biology Olympiad 90


23. ในการทดลองปลูกถ่ายไตจากหมูสู่ลิงบาบูน
โดยใช้หมูดัดแปรพันธุกรรมเพื่อลดการต่อต้านจากระบบภูมิคุ้มกันร่วมกับการใช้สารกดภูมิคุ้มกัน
โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ตัว กลุ่ม A ได้รับสารกดภูมิชนิด A และกลุ่ม B
ได้รับสารกดภูมิชนิด B ได้ผลดังภาพ โดยภาพ ก แสดงเปอร์เซ็นต์ลิงที่รอดชีวิต และภาพ ข
แสดงเปอร์เซ็นต์ลิงที่รอดชีวิตและไม่พบการปฏิเสธ (rejection) อวัยวะ
เมื่อเทียบกับลิงที่นำมาทดลองทั้งหมด

ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
1. ลิงในกลุ่ม A ตายทั้งหมดภายใน 28 วันหลังได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ
2. ลิงในกลุ่ม B ไม่พบการปฏิเสธอวัยวะ
3. ในวันที่ 140 ลิงทุกตัวที่ตายในกลุ่ม B เกิดจากการปฏิเสธอวัยวะที่ได้รับการปลูกถ่าย
4. ในวันที่ 250 มีลิงในกลุ่ม B อยู่รอดและไม่ปฏิเสธอวัยวะจำนวน 1 ตัว

เฉลย
1.ผิด เพราะ จากกราฟ A ลิงในกลุ่ม A 25% สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้เกิน 28 วัน (32 วัน)
2.ผิด เพราะ จากกราฟ B พบการปฏิเสธอวัยวะ 25% ตั้งแต่หลังวันที่ 84
3.ผิด เพราะ ในวันที่ 140 ลิงที่ได้รับสารกดภูมิกลุ่ม B ตายไป 2 ตัว มีการปฏิเสธอวัยวะเพียง 1 ตัว
4.ถูก เพราะ ในวันที่ 250 มีลิงที่ได้รับสารกดภูมิกลุ่ม B อยู่รอด 25% (กราฟ A) และไม่ปฏิเสธอวัยวะ (กราฟ
B) จึงเท่ากับลิง 1 ตัว
Reference: DOI: 10.1097/TP.0000000000002796

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 19 19th Thailand Biology Olympiad 91


24. จากภาพ

ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
1. ปริมาณ nitrogenous waste ในบริเวณ n > b > c
2. การกรองของเสียออกจากเลือดจะเกิดขึ้นที่บริเวณหมายเลข 6
3. ความยาวของโครงสร้าง e มีผลต่อความเข้มข้นของน้ำปัสสาวะ
4. ถ้านำของเหลวบริเวณ l ในคนปกติ มาทดสอบกับสารละลายเบเนดิกต์ จะได้ของเหลวที่มีสีฟ้า

เฉลย
1. ผิด เพราะ ปริมาณ nitrogenous waste บริเวณ n > c > b (c คือ afferent arteriole, b คือ efferent
arteriole, n คือ distal convoluted tubule)
2. ผิด เพราะ การกรอง (filtration) ของเสียออกจากเลือดเกิดขึ้นที่ glomerulus ซึ่งอยู่ในเนื้อไตชั้นนอก
(cortex) (หมายเลข 1) ส่วนหมายเลข 6 คือ เนื้อไตชั้นใน (medulla)
3. ถูก เพราะ โครงสร้าง e คือ loop of Henle จะมีการดูดน้ำและ NaCl กลับ
ซึ่งความยาวของโครงสร้างนี้มีผลต่อความเข้มข้นของน้ำปัสสาวะ
4. ถูก เพราะ ของเหลวบริเวณ l (collecting duct) ของคนปกติ
เมื่อนำน้ำปัสสาวะมาทดสอบกับสารละลายเบเนดิกต์ จะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากไม่มีกลูโคส

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 19 19th Thailand Biology Olympiad 92


25. จากตารางแสดงผลการทดสอบผู้ป่วยกลุ่มอาการรังไข่มีถุงน้ำจำนวนมาก (polycystic ovary
syndrome: PCOS) จำนวน 12 คน และผู้หญิงที่ไม่มีกลุ่มอาการ PCOS ที่มีช่วงอายุและ body mass
index (BMI) ใกล้เคียงกัน (Controls) จำนวน 11 คน
Parameter PCOS (n = 12) Controls (n = 11) P

Age (ปี) 26.25 ± 4.58 28.36 ± 4.72 NS

Body mass index (kg/m2) 33.18 ± 6.32 29.90 ± 3.25 NS

Fasting glucose (mmol/liter) 4.98 ± 0.58 4.81 ± 0.32 NS

Fasting insulin (μU/ml) 23.56 ± 8.54 7.70 ± 1.83 <0.001

Testosterone (nmol/liter) 4.69 ± 0.76 2.66 ± 0.87 <0.001


NS, ค่าเฉลี่ยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
P<0.001, ค่าเฉลี่ยความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิดเกี่ยวกับผู้ที่มีกลุ่มอาการ PCOS
1. มี BMI ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม
2. มีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานใกล้เคียงกับกลุ่มควบคุม
3. อาจประสบปัญหาประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ทำให้มีบุตรยากกว่ากลุ่มควบคุม
4. อาจจะมีภาวะแอนโดรเจนเกิน ทำให้เกิดภาวะขนดก ผิวมันและมีสิวขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุม

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 19 19th Thailand Biology Olympiad 93


เฉลย
1. ถูก เพราะ ผู้ป่วย PCOS มีค่า BMI เฉลี่ย 33.18± 6.32 ซึ่งสูงกว่าค่า BMI ที่เป็นค่ามาตรฐานของคนทั่วไป
2. ผิด เพราะ จากตาราง ผู้ป่วย PCOS มี fasting insulin
สูงกว่าผู้หญิงที่ไม่มีภาวะดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มีความแตกต่างของค่า fasting glucose
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับภาวะดื้อต่ออินซูลิน (insulin resistance)
ที่เซลล์มีการตอบสนองต่ออินซูลินลดลง
ส่งผลให้ร่างกายของผู้ป่วยพยายามปรับตัวด้วยการสร้างและหลั่งอินซูลินเพิ่มขึ้น
ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่จะทำให้เกิดโรคเบาหวานในอนาคต
3. ถูก เพราะ ผู้ป่วย PCOS มี testosterone สูงกว่าผู้หญิงที่ไม่มีภาวะดังกล่าว
ซึ่งทำให้ประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ และนํามาสู่ภาวะมีบุตรยาก
4. ถูก เพราะ จากตาราง ผู้ป่วย PCOS มี testosterone
สูงกว่าผู้หญิงที่ไม่มีภาวะดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะทำให้เกิดภาวะขนดก ผิวมันและมีสิวขึ้นมากกว่า
Reference: Jayagopal, V., Kilpatrick, E.S., Holding, S., Jennings, P.E., & Atkin, S.L. (2002). The
biological variation of insulin resistance in polycystic ovarian syndrome. The Journal of Clinical
Endocrinology & Metabolism, 87(4), 1560-1562.

26. จากการทดลองกระตุ้น sciatic nerve ของกบด้วย threshold stimulus โดยเริ่มให้แรงกระตุ้นที่เวลา 0


msec พบการเกิด action potential (ภาพ A) และการตอบสนองของกล้ามเนื้อ gastrocnemius (ภาพ
B)

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 19 19th Thailand Biology Olympiad 94


ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
1. ภายหลังจากกระตุ้น sciatic nerve การเกิด action potential นี้จะเกิดตลอดความยาวของเส้นประสาท
2. ถ้าเพิ่มความถี่ของการกระตุ้นที่ sciatic nerve จะไม่ส่งผลต่อความแรงของการหดตัวของกล้ามเนื้อ
gastrocnemius
3. ถ้าหยดสาร curare ที่มีสมบัติเป็น acetylcholine receptor antagonist ไปที่ sciatic nerve
ก่อนการกระตุ้น จะพบว่าเกิด action potential ได้เช่นเดิม แต่ไม่พบการหดตัวของกล้ามเนื้อ
4. ที่ช่วงเวลา 100-200 msec ภายใน muscle fiber จะมีการหลั่ง Ca2+ ออกจาก sarcoplasmic reticulum
ทำให้เกิดการจับกันระหว่าง actin กับ myosin head

เฉลย
1. ถูก เพราะ การเกิด action potential ที่ sciatic nerve เป็นไปตามกฎ all or none
2. ผิด เพราะ
การตอบสนองของกล้ามเนื้อโครงร่างเมื่อเพิ่มความแรงหรือเพิ่มความถี่ของการกระตุ้นจะทำให้การหดตัวข
องกล้ามเนื้อเกิดได้แรงขึ้น (wave summation)
3. ถูก เพราะ curare ส่งผลให้เกิดการยับยั้งที่ postsynaptic neuron ดังนั้นการเกิด action potential ที่
axon ของ sciatic nerve จะยังคงเกิดได้ตามปกติ แต่ไม่พบการหดตัวของกล้ามเนื้อ
4. ผิด เพราะ ที่ช่วงเวลา 100-200 msec อยู่ในระยะที่กล้ามเนื้อมีการคลายตัว
ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่พบได้ใน muscle fiber คือ มีการดึง Ca2+ กลับไปที่ SR ทำให้ actin กับ myosin
หลุดออกจากกัน
5.

27. จากภาพแสดงบริเวณ presynaptic nerve terminal ของเซลล์ประสาท A และ B เมื่อหลั่ง


neurotransmitter ชนิด glutamate และ GABA ตามลำดับ ซึ่งจะมีผลต่อเยื่อหุ้มเซลล์ของ
postsynaptic cell คือ การเพิ่ม influx ของ Na+ และ Cl- ตามลำดับ

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 19 19th Thailand Biology Olympiad 95


ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
1. Synapse ทั้งสองจัดเป็น inhibitory synapse ทำให้เกิดศักย์ไฟฟ้าแบบ inhibitory postsynaptic
potential (IPSP)
2. GABA ทำให้เกิดภาวะ hyperpolarization ที่ postsynaptic cell
3. ถ้าให้สารที่ยับยั้งการทำงานของ gap junction จะทำให้เซลล์ B ไม่สามารถหลั่ง GABA ได้
4. Glutamate ทำให้ postsynaptic cell ที่เป็นเซลล์กล้ามเนื้อเกิด depolarization ได้เช่นกัน

เฉลย
1. ผิด เพราะ glutamate ทำให้เกิด excitatory postsynaptic potential (EPSP) ส่วน GABA ทำให้เกิด
inhibitory postsynaptic potential (IPSP)
2. ถูก เพราะ GABA ทำให้เกิดการเปิดของ Cl- channel เกิด Cl- influx และ เกิด hyperpolarization
3. ผิด เพราะ เซลล์ B เป็น chemical synapse จึงไม่มีการทำงานของ gap junction
4. ผิด เพราะ glutamate ไม่ใช่ neurotransmitter ของ neuromuscular junction แต่ acetylcholine
ทำหน้าที่นี้

28. จากการทดลองตัดกล้ามเนื้อน่องของกบที่ถูกทำให้เป็นอัมพาตมาเลี้ยงในจานที่มีสารละลายริงเกอร์
(Ringer's solution) จำลองการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อทำงานด้วยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อน

ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
1. ถ้าใส่ Ca2+ ลงไปในจานเลี้ยงกล้ามเนื้อหลังเกิด synapse ในปริมาณ 2
เท่าจากสภาวะปกติ กล้ามเนื้อจะเพิ่มความแรงและความเร็วในการกระตุก (muscle twitch)
มากกว่าปกติ 2 เท่าเช่นกัน
2. ถ้าหยด acetylcholinesterase ก่อนการเกิด depolarization จะทำให้ไม่มี Ca2+ ไปจับกับ troponin
ดังนั้นเส้นใย actin จึงไม่ถูกดึงให้ขยับ
3. ถ้าลดปริมาณ Na+ ในกล้ามเนื้อน่องที่เลี้ยง จะทำให้กล้ามเนื้อมีโอกาสเกิดตะคริว (muscle cramp)
4. ในกบที่มีชีวิต กล้ามเนื้อน่องจัดเป็นกล้ามเนื้อ extensor
ขณะกบกระโดดกล้ามเนื้อนี้จะดึงให้กระดูกหน้าแข้งและน่อง (tibiofibular) และกระดูกต้นขา
(femur) เหยียดตรง ทำให้สามารถดีดตัวได้

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 19 19th Thailand Biology Olympiad 96


เฉลย
1. ผิด เพราะ ปริมาณของ Ca2+ ไม่มีผลต่อการกระตุ้นการตอบสนองของกล้ามเนื้อ
เนื่องจากกล้ามเนื้อถูกควบคุมด้วยระบบประสาทและมีการตอบสนองแบบ all or none
ระยะเวลาและความเร็วในการหดตัวของกล้ามเนื้อมักขึ้นกับขนาดและประเภทของมัดกล้ามเนื้อนั้น
2. ถูก เพราะ acetylcholinesterase จะทำให้ acetylcholine สลายและไม่สามารถจับกับ acetylcholine
receptor จึงไม่มีการกระตุ้นให้ปลดปล่อย Ca2+ ออกจาก sarcoplasmic reticulum
3. ถูก เพราะ การเสียสมดุลของโซเดียม-โพแทสเซียม จะมีผลต่อการนำ Ca2+ กลับเข้าสู่ sarcoplasmic
reticulum และทำให้การจับแบบ cross-bridge ระหว่าง myosin กับ actin ยังคงอยู่
จึงทำให้กล้ามเนื้อหดตัวค้างในสภาพเดิม
4. ผิด เพราะ ในกบที่มีชีวิต กล้ามเนื้อน่องมีจุด origin ด้านหลังเข่า และ insertion
ต่อกับเส้นเอ็นร้อยหวายไปจนถึงฝ่าเท้า ซึ่งมีความสำคัญในการกระโดด
โดยจะดึงให้ฝ่าเท้าเหยียดหรือเขย่งออก เพิ่มแรงส่งขณะดีดตัว

29. จากภาพระดับฮอร์โมน A B C และ D ที่เกี่ยวข้องกับรอบประจำเดือนของคน

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 19 19th Thailand Biology Olympiad 97


ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
1. เพศชายที่มีระดับฮอร์โมน A สูงมากจะมี secondary sex characteristics ของเพศหญิงปรากฏ
2. ถ้าร่างกายมีระดับ cortisol สูงจะทำให้ยับยั้งการหลั่งฮอร์โมน B และทำให้ประจำเดือนมาไม่ตรงเวลา
3. Dominant follicle ในรังไข่จะหลั่ง inhibin เพื่อให้ต่อมใต้สมองส่วนหน้าหลั่งฮอร์โมน C ลดลง กลุ่ม
follicle อื่น ๆ จึงไม่สามารถพัฒนาต่อได้
4. ฮอร์โมน D มีผลยับยั้ง prostaglandin ทำให้กล้ามเนื้อในผนังมดลูกบีบตัวน้อยลง

เฉลย
1. ผิด เพราะ A คือ FSH ในเพศชายจะกระตุ้นการแบ่งเซลล์สร้างสเปิร์ม ส่วนฮอร์โมนที่ทำให้เกิด secondary
sex characteristics คือ estrogen (estradiol) หรือ อักษร C
2. ถูก เพราะ B คือ LH ซึ่งเป็นหนึ่งในฮอร์โมนที่จะถูกยับยั้งโดย cortisol และการยับยั้ง LH ส่งผลต่อการตกไข่
ทำให้ตกไข่ล่าช้า ประจำเดือนจึงมาช้ากว่าปกติ
3. ผิด เพราะ ฮอร์โมน C คือ estradiol หรือ estrogen ซึ่งหลั่งจากกลุ่ม follicle ในรังไข่ และ inhibin
มีผลยับยั้ง FSH (ฮอร์โมน A) จากต่อมใต้สมอง
4. ถูก เพราะ ฮอร์โมน D คือ progesterone ที่สามารถยับยั้งการทำงานของ prostaglandin
เพื่อลดการบีบตัวของมดลูกทำให้เอ็มบริโอฝังตัวได้

30. จากภาพ

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 19 19th Thailand Biology Olympiad 98


ข้อความต่อไปนี้ถูกหรือผิด
1. โครงสร้าง ก เจริญมาจาก yolk sac และ allantois
2. โครงสร้าง ข เป็น umbilical cord ซึ่งประกอบด้วย 2 umblical artery กับ 1 umbilical vein
3. หลอดเลือด artery ในโครงสร้าง ข ลำเลียง oxygenated blood ส่วน vein ลำเลียง deoxygenated
blood
4. หลอดเลือด artery ในโครงสร้าง ข ลำเลียงเลือดจากแม่ไปยัง fetus ส่วน vein ลำเลียงเลือดจาก fetus
กลับไปยังแม่

เฉลย
1. ถูก เพราะ โครงสร้าง ก เป็น placenta ซึ่งเจริญมาจาก yolk sac และ allantois
2. ถูก ดูภาพประกอบ

3. ผิด เพราะ หลอดเลือด artery ในโครงสร้าง ข ลำเลียง deoxygenated blood ส่วน vein ลำเลียง
oxygenated blood
4. ผิด เพราะ หลอดเลือด artery ในโครงสร้าง ข ลำเลียงเลือดจาก fetus ไปยังแม่ ส่วน umbilical vein
ลำเลียงเลือดจากแม่ไปยัง fetus
(ที่มา ของภาพ https://ipscell.com/2021/06/what-is-whartons-jelly-its-possible-clinical-uses/)

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 19 19th Thailand Biology Olympiad 99


IV. Ethology and Ecology
31. หนูตุ่นไร้ขน (naked mole rat)
เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่อำศัยเป็นฝูงขนำดใหญ่อยู่ใต้ดินโดยมีนำงพญำ 1 ตัว
สมำชิกในกลุ่มมีควำมสัมพันธ์ใกล้ชิดกันโดยมีแม่ตัวเดียวกันคือนำงพญำ
สมำชิกในกลุ่มส่วนใหญ่ทั้งตัวผู้และตัวเมียเป็นหนูตุ่นงำนหรือหนูตุ่นทหำร
ทำหน้ำที่ในกำรเลี้ยงและดูแลพี่น้อง Barker et al. (2021) พบว่ำ
หนูตุ่นแต่ละฝูงสื่อสำรกันด้วยเสียงและมีสำเนียงเฉพำะของแต่ละฝูง
นอกจำกนี้หนูตุ่นในฝูงยังกินมูลของนำงพญำเมื่อนำงพญำเริ่มตั้งท้อง
ทำให้หนูตุ่นไร้ขนในฝูงแสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อเสียงของหนูตุ่นไร้ขนที่เกิดใหม่

ข้อควำมต่อไปนี้ถูกหรือผิด
1. พฤติกรรมกำรเลี้ยงดูญำติภำยในฝูงของหนูชนิดนี้จัดเป็น altruistic behavior ซึ่งเกิดขึ้นตำมหลักกำร kin
selection
2. เมื่อหนูตุ่นไร้ขนที่ถูกเลี้ยงโดยฝูงอื่นตั้งแต่อำยุยังน้อยแล้วสำมำรถส่งเสียงร้องเหมือนฝูงที่เลี้ยงได้
แสดงว่ำกำรสื่อสำรนี้เป็น innate behavior
3. กำรที่หนูตุ่นในฝูงกินมูลของนำงพญำเมื่อนำงพญำเริ่มตั้งท้อง
แสดงว่ำมีกำรสื่อสำรของหนูตุ่นไร้ขนโดยใช้สำรเคมีด้วย
4. เมือ่ นำงพญำตัวเดิมตำย ตัวเมียที่เหลือจะมีกำรต่อสู้กันเพื่อเป็นนำงพญำตัวใหม่ พฤติกรรมนี้คือ female
mate-choice behavior

เฉลย
1. ถูก เพรำะ หนูตุ่นไร้ขนในฝูงทุกตัวมีควำมสัมพันธ์กับนำงพญำ คือ เป็นลูก ดังนั้น
กำรเลี้ยงดูหนูตุ่นไร้ขนเกิดใหม่ คือกำรเลี้ยงดูน้อง ซึ่งมีควำมใกล้ชิดทำงสำยเลือด
เรียกกำรคัดเลือกแบบนี้ว่ำ kin selection
2. ผิด เพรำะ กำรส่งเสียงร้องของลูกหนูตุ่นไร้ขนสำมำรถดัดแปลงไปตำมฝูงที่เลี้ยงได้
จึงจัดเป็นพฤติกรรมที่เกิดจำกกำรเรียนรู้ (learning) ไม่ใช่พฤติกรรมที่มีมำแต่กำเนิด (innate behavior)
3. ถูก เพรำะ ฮอร์โมน estrogen
ที่อยู่ในมูลของนำงพญำจะกระตุ้นให้หนูตุ่นไร้ขนในฝูงมีพฤติกรรมตอบสนองต่อเสียงของลูกหนูตุ่นไร้ขน
เป็นกำรสื่อสำรของนำงพญำไปยังลูกฝูงโดยใช้สำรเคมีผ่ำนทำงพฤติกรรมกำรกินมูล (coprophagy)
ของหนูตุ่นไร้ขน
4. ผิด เพรำะ กำรต่อสู้กันของตัวเมียเพื่อแข่งกันเป็นนำงพญำ จัดเป็น agonistic behavior
และเมื่อได้เป็นนำงพญำแล้ว จึงแสดง female mate-choice behavior ในกำรเลือกตัวผู้เป็นคู่

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 19 19th Thailand Biology Olympiad 100


32. จำกภำพผลกำรทดลองสังเกตพฤติกรรมในเขำวงกตของหนู 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1
ได้รับอำหำรเป็นรำงวัลหลังจำกกำรวิ่งในเขำวงกตตั้งแต่วันแรกที่ทดสอบ กลุ่มที่ 2
ไม่ได้รับอำหำรเป็นรำงวัลในช่วง 6 วันแรกแต่ได้รับอำหำรเป็นรำงวัลหลังจำกวันที่ 6 ของกำรทดลอง
และกลุ่มที่ 3 ไม่ได้รับอำหำรเป็นรำงวัลในช่วง 3 วันแรกแต่ได้รับอำหำรเป็นรำงวัลหลังจำกวันที่ 3
ของกำรทดลอง

ข้อควำมต่อไปนี้ถูกหรือผิด
1. หนูมีพฤติกรรมกำรเรียนรู้แบบ insight learning
2. พฤติกรรมของหนูในกำรทดลองนี้ได้รับอิทธิพลทั้งจำกยีนและสิ่งแวดล้อม
3. หนูที่ไม่ได้รับอำหำรเป็นรำงวัลในช่วงแรกของกำรทดลองเรียนรู้ได้ช้ำกว่ำหนูที่ได้รับอำหำรเป็นรำงวัลในช่ว
งแรก
4. พฤติกรรมนี้ของหนูและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลำยชนิดถูกควบคุมโดยสมองส่วน hippocampus
เฉลย
1. ผิด เพรำะ กำรทดลองนี้แสดงให้เห็นว่ำหนูสำมำรถเรียนรู้โดยเชื่อมโยงพฤติกรรมหนึ่ง ๆ
เข้ำกับกำรได้รับรำงวัล ซึ่งจัดว่ำเป็นกำรเรียนรู้แบบ operant conditioning
2. ถูก เพรำะ พฤติกรรมกำรเรียนรู้ (learning behavior) แสดงออกภำยใต้อิทธิพลของยีนและสิ่งแวดล้อม
3. ถูก เพรำะ หนูกลุ่มที่ 2 และ 3
มีจำนวนครั้งของควำมผิดพลำดเกิดขึ้นแม้ว่ำจะมีกำรให้อำหำรเป็นรำงวัลแล้ว แตกต่ำงจำกกลุ่มที่ 1
(กลุ่มควบคุม) ที่จำนวนควำมผิดพลำดลดลงทันทีหลังจำกได้รับรำงวัล
4. ถูก เพรำะ ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม สมองส่วน hippocampus เป็นส่วนหนึ่งของ limbic system
ทำหน้ำที่เกี่ยวข้องกับกำรเรียนรู้และควำมจำ

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 19 19th Thailand Biology Olympiad 101


33. จำกภำพสำยใยอำหำรในระบบนิเวศหนึ่ง (ภำพที่ 1) ซึ่งประกอบด้วยสิ่งมีชีวิต A-J
และร้อยละของกิจกรรมกำรหำอำหำรในแต่ละช่วงเวลำในรอบวันของสิ่งมีชีวิต C (ภำพที่ 2 บน) และ D
(ภำพที่ 2 ล่ำง)

ข้อควำมต่อไปนี้ถูกหรือผิด
1. ระบบนิเวศนี้มีสิ่งมีชีวิตที่เป็น secondary consumer 3 ชนิด
2. พลังงำนที่ H ได้รับมีค่ำประมำณ 0.01 เท่ำของพลังงำนที่มีอยู่ใน B
3. สัตว์ที่พบในสำยใยอำหำรนี้มีทั้ง herbivore และ carnivore แต่ไม่พบ omnivore
4. C และ D มีควำมสัมพันธ์แบบ competition ซึ่งอำจนำไปสู่กระบวนกำร competitive exclusion ของ C
หรือ D ได้
เฉลย
1. ผิด เพรำะ ระบบนิเวศนี้มีสิ่งมีชีวิตที่เป็น secondary consumer 4 ชนิด คือ F, G, I และ H
2. ถูก เพรำะ ตำมกฎกำรถ่ำยทอดพลังงำนในโซ่อำหำร ประมำณ 10% ของพลังงำนใน trophic level
ต่ำกว่ำจะถูกถ่ำยทอดไปสู่สิ่งมีชีวิตใน trophic level ถัดไป ดังนั้น E จะได้รับพลังงำนเป็น 0.1 เท่ำของ B
และ H จะได้รับพลังงำนเป็น 0.1 เท่ำของ E ซึ่งคิดเป็น 0.01 เท่ำของ B ซึ่งเป็นผู้ผลิต (producer)
3. ผิด เพรำะ C, D และ E เป็น herbivore G, H, I และ J เป็น carnivore ส่วน F เป็นชนิดเดียวที่เป็น
omnivore
4. ผิด เพรำะ C และ D กินอำหำรชนิดเดียวกันในระบบนิเวศนี้ก็จริง แต่สำมำรถอยู่ร่วมกันได้โดยไม่เกิด
competitive exclusion เนื่องจำกมี niche differentiation หรือ resource partitioning
คือมีช่วงเวลำกำรหำอำหำรไม่ทับซ้อนกัน (ภำพที่ 2) โดยส่วนใหญ่ C หำกินในช่วงเวลำประมำณ 06:00-
13:59 น. แต่ D หำกินในช่วงเวลำประมำณ 16:00-05:59 น.

การแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 19 19th Thailand Biology Olympiad 102

You might also like