Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 36

Anti-Aging

รู้ก่อนใคร
ชะลอวัย
ก่อนเพื่อน
1
ใ ช้ ชี วิ ต แ บ บ ไ ห น . . .
แ ก่ ไ ว
โ ร ค ภั ย ถ า ม ห า
ทำอย่ า งไรถึ ง จะแก่ ช้ า ร่ า งกายแข็ ง แรง ไม่ มี โ รคภั ย
เบียดเบียน
น่าจะเป็นคำถามที่หลายคนสงสัยและอยากรู้คำตอบกันมาก
ที่สุดใช่ไหมครับ เพราะในยุคนี้ไม่ว่าจะหันหน้าไปทางไหน ก็มักเจอ
ผูค้ นรอบตัวทีป่ ว่ ยเป็นโรคต่าง ๆ มากมาย เช่น โรคเบาหวาน ความดัน
โลหิตสูง โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต รวมไปถึงโรคมะเร็ง
ว่าแต่โรคภัยเหล่านี้มาจากไหนกัน
แม้จ ะเป็นคำถามที่ตอบได้ยาก แต่ก็หนีไม่พ้นสาเหตุสำคัญ
ทั้งปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา เช่น มลพิษ สารพิษที่ปนเปื้อน
ในอากาศ น้ำ อาหารต่าง ๆ รวมไปถึงปัจจัยภายในที่แตกต่างกันไป
ในแต่ละบุคคล
หากจะถามต่อไปว่า อะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของปัญหา
สุขภาพในยุคนี้ คำตอบที่ทุกคนคงจะพูดเป็นเสียงเดียวกันก็คือ การ
ใช้ชีวิตหรือพฤติกรรมสุขภาพของเรา นั่นเองครับ

ยิ่งเน้นเร็ว เน้นสะดวก = ยิ่งอันตราย


ทุกวันนี้คงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า การใช้ชีวิตในแต่ละวันของ
เรานั้นเปลี่ยนไปจากเดิมมาก โดยเฉพาะคนเมืองที่ชีวิตในแต่ละวัน
จำเป็นต้องอยู่กับความเร่งรีบแทบจะตลอดเวลา ไม่ว่าจะเรื่องการเรียน
การทำงาน ฯลฯ จนทำให้ ค นเมื อ ง หรื อ แม้ แ ต่ ตั ว เราเองก็ ล ะเลย
พฤติกรรมสุขภาพที่ดีหลายอย่างไป
ไม่ ว่ า จะเป็ น เรื่ อ ง อาหารการกิ น ที่ ต้ อ งเน้ น ความสะดวกและ

4 A n t i - A g i n g รู้ ก่ อ น ใ ค ร ช ะ ล อ วั ย ก่ อ น เ พื่ อ น
รวดเร็ ว ไว้ ก่ อ น ทำให้ เ รามองข้ า มเรื่ อ งประโยชน์ แ ละคุ ณ ค่ า ทาง
โภชนาการไปโดยปริ ย าย ขาดการออกกำลั ง กาย เรามี เ วลาไป
ออกกำลั ง กายกั น น้ อ ยลง เนื่ อ งจากเวลาที่ ไ ม่ เ อื้ อ อำนวย ความ
เหนื่ อ ยล้ า จากการทำงาน บวกกั บ ชี วิ ต การทำงานของหลายคนใน
ตอนนี้ ซึ่ ง ส่ ว นใหญ่ นั่ ง ทำงานติ ด โต๊ ะ แทบไม่ ค่ อ ยได้ ลุ ก เดิ น ไปไหน
มาไหนเลยในแต่ละวัน เป็นต้น
ทั้ ง หมดที่ ว่ า มานี้ เ ป็ น เรื่ อ งสำคั ญ ที่ เ ป็ น ปั จ จั ย เสี่ ย งต่ อ การเกิ ด
โรคภัยต่าง ๆ ได้ง่าย รูปแบบการใช้ชีวิตแบบนั่ง ๆ นอน ๆ แบบนี้เรียกว่า
“Sedentary Lifestyle” หรื อ “รู ป แบบการใช้ ชี วิ ต ที่ ไ ม่ ค่ อ ยได้
เคลื่อนไหวร่างกายมาก” นั่นเอง

หมอหล่อฯขออัพเดต
ข้ อ มู ล ล่ า สุ ด จากองค์ ก ารอนามั ย โลก
(WHO) ปี ค.ศ. 2014 พบว่า การใช้ชีวิตแบบ
Sedentary Lifestyle ต่อเนื่องติดต่อกันเป็น
ระยะเวลานานเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการ
เกิ ด โรคต่ า ง ๆ ใน กลุ่ ม โรคที่ ไ ม่ ติ ด ต่ อ ชนิ ด
เรื้อรัง หรือกลุ่มโรค NCDs (Non-communi-
cable Diseases) ได้
โรคในกลุ่มนี้ได้แก่ ความดันโลหิตสูง
โรคหั ว ใจและหลอดเลื อ ด โรคอ้ ว น ไขมั น
ในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคระบบทางเดิน
หายใจเรื้อรัง และโรคมะเร็งบางชนิด เป็นต้น

ห ม อ ห ล่ อ ค อ เ ล่ า 5
สมัยนี้คนจำนวนไม่น้อยมีวิถีชีวิตแบบ Sedentary Lifestyle
ซึ่ ง อาจรวมถึ ง ตั ว คุ ณเองด้ วย จริง อยู่ ที่แ ม้ ว่าตอนนี้เราอาจจะยั ง ไม่
(ถึงขั้น) ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่อาจสังเกตเห็นว่า
ตนเองเริ่มมีอาการผิดปกติต่าง ๆ เกิดขึ้นในร่างกายแล้ว

ลองมาสังเกตตนเองดูว่าเรามีอาการ
หรือสัญญาณผิดปกติแบบนี้หรือไม่
เป็นเวลานาน
มีอาการเหนื่อยล้าอ่อนเพลียติดต่อกัน
น้ำหนักขึ้นง่ายแต่ลดยาก
อ้วนลงพุง
นอนไม่หลับ หรือหลับแต่ไม่ค่อยสนิท
ตื่นมาไม่สดชื่น
ออกกำลังกายไม่ค่อยไหว
ไม่มีเรี่ยวแรง
หน้าตาผิวพรรณดูหมองคล้ำ
ดูแก่กว่าวัย
มีอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ อีกมากมาย

6 A n t i - A g i n g รู้ ก่ อ น ใ ค ร ช ะ ล อ วั ย ก่ อ น เ พื่ อ น
หลายครั้งที่เราไปตรวจสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสุขภาพ
ประจำปีก็ดี หรือไปตรวจเมื่อรู้สึกว่าไม่สบาย มักพบว่าผลการตรวจ
ต่าง ๆ ออกมาปกติดี ไม่ว่าจะเป็นจากการตรวจเลือด เช่น ดูระดับ
น้ำตาล ไขมันในเลือด การทำงานของตับและไต เป็นต้น รวมไปถึง
การตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ปอด หรือแม้แต่การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ก็ตาม คุณหมอเองก็มักบอกว่าไม่มีความผิดปกติใด ๆ ซึ่งการตรวจ
เหล่านี้ก็ไม่สามารถอธิบายอาการผิดปกติหรือความเจ็บป่วยของเรา
ในขณะนั้นได้ เนื่องมาจากการตรวจเหล่านี้จะตรวจพบความผิดปกติ
แบบชัดเจนก็ต่อเมื่อร่างกายมีความผิดปกติที่เด่นชัดหรือเป็นโรคแล้ว
นั่นเอง เช่น ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงมากเกินระดับของการวินิจฉัย
โรคเบาหวาน หรือคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติจากการเป็นโรคหัวใจ
เป็นต้น
เอ๊ ะ! ถ้ า เป็ นแบบนี้ แล้ ว ปั ญหาต่ าง ๆ ที่ เรากำลั ง ประสบอยู่
มีสาเหตุมาจากอะไรกันแน่

You are what you do. ทำอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น


จากความรู้ในด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย (Anti-Aging Medicine)
ในปั จ จุ บั น เราพบว่า หากมีภาวะความผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกาย
ไม่ว่าจะเป็นการมี อนุมูลอิสระ (Free Radical) ในปริมาณที่มากเกิน
กว่าความสามารถของร่างกายจะกำจัดได้ หรือมีภาวะขาดสารอาหาร
ต่าง ๆ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ
หรือฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวนทำงานผิดปกติ หรือมีปริมาณลดน้อย

ห ม อ ห ล่ อ ค อ เ ล่ า 7
ถอยลงจากเดิม หรือแม้แต่มีสารพิษ สารเคมีต่าง ๆ สะสมในร่างกาย
มากขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยน-
แปลงตั้งแต่ระดับเซลล์ออกมาสู่เนื้อเยื่อ อวัยวะ และระบบการทำงาน
ต่าง ๆ ของร่างกายได้
ดั ง นั้ น อาการผิ ด ปกติ ข องร่ า งกายต่ า ง ๆ ที่ ว่ า มาข้ า งต้ น เช่ น
อาการเหนื่ อ ยล้ า อ่ อ นเพลี ย นอนไม่ ห ลั บ น้ ำ หนั ก ขึ้ น เร็ ว หรื อ
อาการอื่ น ๆ จึ ง เป็ น เหมื อ นสั ญ ญาณเตื อ นภั ย ที่ จ ะบอกให้ รู้ ว่ า
ร่างกายเราเริ่มมีการทำงานที่ผิดปกติแล้ว จำเป็นต้องให้ความใส่ใจ
และแก้ ไ ขให้ ทั น ท่ ว งที เ พื่ อ ป้ อ งกั น โรค หรื อ ป้ อ งกั น ความเสื่ อ มที่ จ ะ
เกิดขึ้นได้ในอนาคตอันใกล้นี้
คราวนี้ ล องมาสำรวจพฤติ ก รรมสุ ข ภาพของตั ว เรานะครั บ ว่ า
พฤติกรรมสุขภาพแบบไหนที่ทำให้แก่ไว โรคภัยถามหา ซึ่งเป็นต้นตอ
ของปัญหาสุขภาพที่เรากำลังเป็นอยู่ในตอนนี้
หมอขอสรุ ป พฤติ ก รรมสุ ข ภาพเด่ น ๆ ที่ พ บบ่ อ ยและมี ค วาม
เกี่ยวข้องกับปัญหาด้านสุขภาพมาให้อ่าน และลองสำรวจตัวเองกัน
นะครับ

ปัญหาที่ 1 อาหารการกินที่เน้นแค่ความสะดวก
ในยุคนี้เราต้องยอมรับว่าเป็นยุคของอาหารสะดวกซื้อ สะดวก
กินอย่างแท้จริง เพราะมีอาหารสำเร็จรูปมากมายวางขายตามท้องตลาด
ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซือ้ ต่าง ๆ ให้เราเลือกซือ้ ได้อย่างง่ายดาย
อาหารส่วนใหญ่มักเป็น อาหารที่ผ่านการแปรรูป (Processed
Food) มาทั้ ง สิ้ น เพี ย งแค่ อุ่ น ด้ ว ยเตาไมโครเวฟ หรื อ เติ ม น้ ำ ร้ อ น

8 A n t i - A g i n g รู้ ก่ อ น ใ ค ร ช ะ ล อ วั ย ก่ อ น เ พื่ อ น
ไม่กี่นาทีก็สามารถรับประทานได้แล้ว ซึ่งนับเป็นข้อดีอย่างเดียวของ
อาหารประเภทนี้ ส่ ว นข้ อ เสี ย กลั บ มี ม ากมาย ได้ แ ก่ สู ญ เสี ย สาร
อาหารต่ า ง ๆ โดยเฉพาะสารอาหารในกลุ่ ม วิ ต ามิ น เช่ น วิ ต ามิ น ซี
วิตามินบีทั้งหลาย ซึ่งมักสูญหายไปในขั้นตอนการแปรรูปและการปรุง
เพื่อรับประทาน
นี่จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้คนที่ชอบรับประทานอาหารสำเร็จรูป
รวมถึงคนที่รับประทานผักและผลไม้น้อย มีแนวโน้มที่จะขาดวิตามินบี
รวมถึงวิตามินอื่น ๆ (เช่น วิตามินซี วิตามินเอ เป็นต้น)
นอกจากนี้ การรับประทานอาหารที่มีแป้ง โปรตีน หรือน้ำตาล
มากเกินไป ก็เป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้ร่างกายจำเป็นต้องใช้สาร
อาหารในการเผาผลาญมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มวิตามินบีที่ทำหน้าที่
เป็นตัวช่วยเอนไซม์ต่าง ๆ หรือโคเอนไซม์ ในการเผาผลาญสารอาหาร
ประเภทคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน
ดังนั้นการรับประทานอาหารที่ผ่านการแปรรูปมากจนเกินไป
จึงทำให้ร่างกายต้องใช้วิตามินต่าง ๆ เหล่านี้มากขึ้น เมื่อใช้วิตามิน
ในกลุ่มนี้ไปมาก ๆ ก็จะทำให้ร่างกายเกิดภาวะพร่องวิตามิน (Vitamins
Insufficiency) จนเป็ น ที่ ม าของอาการต่ า ง ๆ เช่ น เหนื่ อ ยล้ า
อ่อนเพลียนั่นเอง
นอกจากนี้ การรับประทานอาหารทีม่ นี ำ้ ตาลสูง ๆ เช่น น้ำหวาน
กาแฟเย็น ชาเย็น น้ำอัดลม ขนมต่าง ๆ ระหว่างมื้ออาหาร ก็เป็น
อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการหลั่ง ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin)
ออกมาบ่อยและมากกว่าปกติ จนทำให้น้ำตาลส่วนที่เหลือใช้ถูกเก็บ
ให้อยู่ในรูปไขมันตามร่างกายแทน รวมทั้งเสี่ยงต่อภาวะดื้อฮอร์โมน
อินซูลิน จนเกิดเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (ร่างกายมีระดับฮอร์โมน

ห ม อ ห ล่ อ ค อ เ ล่ า 9
อินซูลินในเลือดสูง แต่ไม่สามารถทำหน้าที่ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้)
หรือกลุ่มโรคเมแทบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) ตามมา
ในอนาคตได้

ปัญหาที่ 2 ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ข้อนี้เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยมากขึ้นในยุคสมัยนี้ เนื่อง
มาจากรูปแบบการใช้ชีวิตของเราในปัจจุบันเปลี่ยนไป บางคนต้อง
ทำงานเหนื่อย กว่าจะเลิกงานก็ดึกแล้ว แถมสถานที่ออกกำลังกาย
ก็อยู่ไกลจากบ้านหรือที่พักเหลือเกิน จนอาจนำมาเป็นข้ออ้างให้กับ
ตัวเองว่าไม่มีเวลาออกกำลังกาย
ข้อมูลจากสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (AHA) เมื่อปี ค.ศ.
2015 และข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
(สสส.) ประเทศไทย ต่างก็แนะนำไว้อย่างชัดเจนว่า
“เราควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอให้ได้อย่างน้อย 20 - 30
นาที ต่ อ วั น 3 - 5 วั น ต่ อ สั ป ดาห์ แล้ ว แต่ ร ะดั บ ความหนั ก ของการ
ออกกำลังกาย (Intensity) ว่าเป็นชนิดที่มีระดับของความหนักเบา
หรือปานกลาง (Low to Moderate Intensity) เป็นต้น”
แต่นา่ ตกใจว่า น้อยคนนักทีจ่ ะทำได้ตามเป้า ยิง่ บวกกับวิถชี วี ติ
แบบ Sedentary Lifestyle แล้ ว ก็ ยิ่ ง ทำให้ เ ราแทบจะไม่ ค่ อ ยได้
เคลื่อนไหวร่างกายหรือออกกำลังกายเลย จนเป็นที่มาของภาวะอ้วน
และโรคต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั่นเองครับ

10 A n t i - A g i n g รู้ ก่ อ น ใ ค ร ช ะ ล อ วั ย ก่ อ น เ พื่ อ น
ปัญหาที่ 3 นักดื่มตัวยง
การดื่มเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์
เป็นประจำ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้ร่างกายมีอาการผิดปกติ
ต่าง ๆ ได้เช่นกัน เช่น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นง่ายกว่าปกติ มีอาการเหนื่อย
เพลียมากขึ้น ร่างกายทรุดโทรมลง
ทั้งนี้เนื่องมาจากแอลกอฮอล์เป็นสารที่ให้พลังงานสูง (1 กรัม
ให้ พลั ง งานประมาณ 7 แคลอรี) และยังดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เร็ว
ไม่เพียงเท่านั้น พฤติกรรมการดื่มเหล้าหรือเบียร์ยังมักมาพร้อมการ
รั บ ประทานกั บ แกล้ ม ต่ า ง ๆ จนอาจเป็ น ที่ ม าของปั ญ หาการบริ โ ภค
อาหารมากเกินกว่าความต้องการของร่างกายได้
การได้รับแอลกอฮอล์เข้าไปในร่างกายในปริมาณมาก ๆ และ
ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ พบว่า สามารถเปลี่ยนเป็นไขมันในรูป
ของไตรกลีเซอไรด์ในตับได้อกี ด้วย จนเป็นทีม่ าของ ภาวะไขมันเกาะตับ
และ ตับแข็ง ได้ในที่สุด
นอกจากนี้แล้วแอลกอฮอล์ยังเป็นสารพิษที่ต้องลดความเป็นพิษ
และกำจัดออกที่ตับ จึงจำเป็นต้องใช้สารอาหารหลาย ๆ ตัว รวมทั้ง
วิตามิน แร่ธาตุ กรดแอมิโนที่สำคัญ ๆ หลายอย่าง เพื่อมาช่วยใน
กระบวนการกำจัดความเป็นพิษ
ดั ง นั้ น ในคนที่ ดื่ ม เป็ น ประจำจึ ง มั ก พบว่ า มี ปั ญ หาการขาด
สารอาหาร โดยเฉพาะวิตามินบี 6 บี 12 และโฟเลตค่อนข้างมาก
นั่ น จึ ง ไม่ แ ปลกเลยว่ า ทำไมผู้ ที่ ช อบดื่ ม เครื่ อ งดื่ ม ประเภทนี้ ถึ ง มี ทั้ ง
อาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย และมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น

ห ม อ ห ล่ อ ค อ เ ล่ า 11
ปัญหาที่ 4 นอนดึก นอนน้อย และนอนไม่มีคุณภาพ
ปั ญ หาการนอน โดยเฉพาะการนอนดึ ก มี ห ลายงานวิ จั ย
ที่ พ บว่ า พฤติ ก รรมการนอนดึ ก หรื อ นอนหลั บ พั ก ผ่ อ นไม่ เ พี ย งพอ
เป็นสาเหตุที่สำคัญของการเกิดโรคอ้วนได้
สาเหตุที่พูดถึงกันมากก็เนื่องมาจาก “ฮอร์โมนคู่จิ้น 2 ตัว” ครับ
นั่นก็คือ ฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) และ ฮอร์โมนเลปติน (Leptin)
ที่ทำงานผิดปกติไปจากเดิม
โดยปกติแล้วฮอร์โมนเกรลินจะสร้างมาจากบริเวณกระเพาะ
อาหาร ทำหน้ า ที่ ก ระตุ้ น ให้ เ ราเกิ ด ความหิ ว ส่ ว นฮอร์ โ มนเลปติ น
สร้างมาจากเซลล์ไขมันต่าง ๆ ในร่างกายเรา ทำหน้าที่บอกว่าอิ่มแล้ว
ให้ ห ยุ ด รั บ ประทานได้ หากคู่ จิ้ น ที่ ว่ า นี้ ท ำงานได้ ส อดคล้ อ งและ
สมดุลกัน กลไกการควบคุมการรับประทานอาหารของร่างกายก็จะ
เป็นปกติ น้ำหนักเราก็จะคงที่
แต่เรือ่ งกลับไม่เป็นอย่างนัน้ สิครับ เมือ่ อยู่ ๆ เริม่ มีมอื ทีส่ ามอย่าง
การนอนดึกเข้ามาเกี่ยวข้อง เนื่องจากการนอนดึกเป็นปัจจัยสำคัญ
ที่ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเกรลินสูง เราจึงหิวบ่อยขึ้น และกินได้เรื่อย ๆ
เท่านั้นยังไม่พอ การนอนดึกยังทำให้ระดับฮอร์โมนเลปตินต่ำลงไปด้วย
ทำให้เราไม่รู้สึกอิ่ม จึงกินต่อไปได้เรื่อย ๆ
จากเหตุผลที่ว่ามานี้ จึงทำให้คนที่นอนดึกหรือนอนไม่เพียงพอ
มักจะมีปัญหาในการควบคุมน้ำหนักตัวนั่นเอง

12 A n t i - A g i n g รู้ ก่ อ น ใ ค ร ช ะ ล อ วั ย ก่ อ น เ พื่ อ น
ปัญหาที่ 5 เผชิญความเครียด
ทุกคนต่างก็ต้องประสบพบเจอกับความเครียดกันทุกวัน ไม่ว่า
จะเป็ น ทางกาย หรื อ ทางจิ ต ใจ หรื อ ทั้ ง สองอย่ า งรวมกั น สาเหตุ
ของความเครียดมีมากมายหลายอย่างครับ ไม่ว่าจะเป็นการอดนอน
ไม่ รั บ ประทานอาหารมื้ อ เช้ า หรื อ แม้ ก ระทั่ ง ความเครี ย ดที่ เ กิ ด ขึ้ น
จากการทำงาน ชีวิตส่วนตัว ครอบครัว ความรัก ฯลฯ
การรับมือกับความเครียดที่เข้ามาจึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่ถ้าหาก
ใครมี ค วามเครี ย ดมาก ๆ และหาวิ ธี รั บ มื อ ไม่ ไ ด้ ย่ อ มส่ ง ผลเสี ย ต่ อ
ร่ า งกายของเราได้ โดยไปมี ผ ลทำให้ ฮ อร์ โ มนที่ ชื่ อ คอร์ ติ ซ อล
(Cortisol) มีระดับสูงขึ้น
เมือ่ คอร์ตซิ อลสูงขึน้ เป็นระยะเวลานาน ๆ ร่างกายก็จะไม่สามารถ
ผลิ ต เจ้ า ฮอร์ โ มนตั ว นี้ อ อกมาได้ ทำให้ เ กิ ด เป็ น ภาวะที่ เ ราเรี ย กว่ า
ต่อมหมวกไตล้า (Adrenal Fatigue) ซึ่งทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย
มากมาย ทั้ ง อาการเหนื่ อ ยล้ า อ่ อ นเพลี ย เรื้ อ รั ง น้ ำ หนั ก ตั ว ขึ้ น ง่ า ย
อ้วนไว มีไขมันส่วนเกินสะสม (โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง) ภูมิคุ้มกัน
โรคของร่างกายตกลงไปจากเดิม ทำให้ป่วยบ่อยขึ้น เป็นต้น
นอกจากนี้แล้วฮอร์โมนคอร์ติซอลยังไปส่งผลต่อสมองให้หลั่ง
สารที่ชื่อ นิวโรเปปไทด์วาย (Neuropeptide Y) ออกมามากขึ้น สาร
ตั ว นี้ จ ะเป็ น ตั ว ที่ ท ำให้ เ กิ ด ความหิ ว มากขึ้ น อี ก โดยเฉพาะอาหาร
ประเภทที่ มี แ ป้ ง และน้ ำ ตาลสู ง เราจึ ง ได้ ยิ น กั น บ่ อ ยว่ า ถ้ า เครี ย ด
จะทำให้ กิ น เยอะขึ้ น จะเห็ น ได้ ว่ า ทั้ ง หมดนี้ ล้ ว นแล้ ว แต่ มี ที่ ม าจาก
ความเครียดนะครับ

ห ม อ ห ล่ อ ค อ เ ล่ า 13
ปัญหาที่ 6 ติดจอ ติดมือถือ
พฤติกรรมสุขภาพที่เห็นได้บ่อยในยุคนี้คือ พฤติกรรมการใช้
โทรศัพท์มือถือมากจนเกินไป
สมัยนี้ไม่ว่าเราจะเดินไปที่ไหนก็ตาม ก็มักจะเห็นแต่คนที่กำลัง
ก้มหน้าเล่นโทรศัพท์มอื ถือกันแทบทุกที่ ทุกเพศ และทุกวัย โดยเฉพาะ
การสื่อสารกันในสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก ไลน์ หรือ
อินสตาแกรม เป็นต้น จนทำให้เกิด พฤติ ก รรมการเสพติ ด สั ง คม
ออนไลน์ (Social Network Addict Behavior) หรือ พฤติกรรม
สังคมก้มหน้า กันมากขึ้น
สิ่ ง ที่ ต ามมานั้นทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพในหลายด้านครับ
ไม่ว่าจะเป็น โรค Text Neck หรือ โรคของกล้ามเนื้อ กระดูก และ
ระบบประสาทที่ผิดปกติบริเวณลำคอและไหล่ จากการก้มหน้าเล่น
โทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตมากเกินไป โรคนิว้ ล็อก (Trigger Finger)
ที่เกิดจากการใช้นิ้วในการพิมพ์ตัวอักษรหรือการสัมผัสหน้าจอต่าง ๆ
มากครั้งในแต่ละวัน รวมทั้งกลุ่มโรค Computer Vision Syndrome
ทีม่ อี าการผิดปกติตา่ ง ๆ เกิดขึน้ กับสายตาจากการมองหน้าจอในแต่ละวัน
เป็นเวลานาน เช่น อาการปวดตา แสบตา ตาแห้ง ตาแดง หรือ
แม้กระทั่งสายตาสั้นอีกด้วย
ส่วนผลเสียในด้านอื่น ๆ นั้นเรายังพบว่า การใช้โทรศัพท์มือถือ
หรือแท็บเล็ตมากเกินไปทำให้ สมาธิสั้นลง ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน ๆ และที่สำคัญ การเล่นแต่โทรศัพท์หรือแท็บเล็ต
มากเกินไปเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เราไม่ค่อยได้ขยับตัวไปไหน
สุดท้ายก็ลงเอยที่รูปแบบการใช้ชีวิตแบบ Sedentary Lifestyle นั่นเอง
ครับ

14 A n t i - A g i n g รู้ ก่ อ น ใ ค ร ช ะ ล อ วั ย ก่ อ น เ พื่ อ น
บทสรุป
จากที่ได้เล่ามาทั้งหมดนี้ หลายคนคงจะพอนึกออกแล้วนะครับ
ว่า การใช้ชีวิตแบบไหนที่จะทำให้แก่ไว เสื่อมไว และมีโรคภัยต่าง ๆ
ได้งา่ ยขึน้ ส่วนใหญ่แล้วปัญหาต่าง ๆ เหล่านีก้ ม็ าจากพฤติกรรมสุขภาพ
ที่ไม่เหมาะสมของเราทั้งสิ้น เหมือนพฤติกรรมทั้ง 6 ข้อข้างต้น
ดังนั้นวิธีการที่เราจะสามารถชะลอโรค ชะลอวัยได้ จะต้องเริ่ม
ที่ การปรั บ เปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต (Lifestyle Modification)
ของเราครั บ เพื่ อ สร้ า งพฤติ ก รรมสุ ข ภาพที่ ดี ขึ้ น มา ขณะเดี ย วกั น
ก็พยายามเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพเท่าที่เราจะสามารถทำได้
(เพราะคงไม่มใี ครทำได้ 100%) หันมาให้ความสำคัญกับการรับประทาน
อาหารที่ ดี ลด ละ เลี่ ย งอาหารที่ ไ ม่ ดี ต่ อ สุ ข ภาพ พยายามออก-
กำลั ง กายให้ ส ม่ ำ เสมอ และฝึ ก เป็ น คนที่ ก ระฉั บ กระเฉง ฝึ ก นิ สั ย
การนอนที่มีคุณภาพ ฝึกการรับมือ การจัดการกับความเครียดให้ได้
และรู้จักหาวิธีผ่อนคลายความเครียด
ถ้าทำอย่างนี้ได้ รับรองว่าชีวิตจะเริ่มห่างไกลจากความแก่
และความเสื่อมทีละน้อยๆ ครับ

ห ม อ ห ล่ อ ค อ เ ล่ า 15
เอกสารอ้างอิง
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2557). ออกกำลั ง กาย
อย่ า งไรดี ? . สื บ ค้ น เมื่ อ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 จาก http://www.thai
health.or.th
American Heart Association (AHA). (2015). The American Heart Association
Recommendations for Physical Activity in Adults. Retrieved June 20,
2016 from http://www.heart.org/HEARTORG/HealthyLiving/Physical
Activity/FitnessBasics/American-Heart-Association-Recommendations-
for-Physical-Activity-in-Adults_UCM_307976_Article.jsp
Dean Fishman (2015). Text Neck: A Global Epidemic. Retrieved May 20, 2015
from http://text-neck.com/
Leon Watson. Humans Have Shorter Attention Span Than Goldfish, Thanks
to Smartphones. The Telegraph; 15 May 2015, Retrieved May 20, 2015
from http://www.telegraph.co.uk/news/science/science-news/11607315/
Humans-have-shorter-attention-span-than-goldfish-thanks-to-smart
phones.html
Owen, N., Sparling, P.B., Healy, G.N., Dunstan, D.W. & Matthews, C.E.
(2014). Sedentary Behavior: Emerging Evidence for a New Health
Risk. Mayo Clin Proc. 2010 Dec, 85 ( 12), 1138 - 1141. doi: 10. 4065/
mcp.2010.0444.
Self Nutrition Data. (2014). Nutritional Effects of Food Processing. Retrieved
May 27, 2015 from http://nutritiondata.self.com/topics/processing
Smith, P. W. (2011). Why You Can’t Lose Weight: Why It’s So Hard to Shed
Pounds and What You Can Do About It. Canada. Square One
Publishers.
World Health Organization (WHO). ( 2015). Non-communicable Diseases
(NCDs). Retrieved May 26, 2015 from http://www.who.int/mediacentre/
factsheets/fs355/en/

16 A n t i - A g i n g รู้ ก่ อ น ใ ค ร ช ะ ล อ วั ย ก่ อ น เ พื่ อ น
2
บ อ ก ต่ อ
ช ะ ล อ วั ย
คำถามที่เพื่อน ๆ ถามเข้ามาทาง เพจหมอหล่อคอเล่า อยู่เสมอ
มักเป็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องของ การชะลอวัย หรือ Anti-Aging ครับ
หลายคนสงสัยกันว่า Anti-Aging เป็นเรือ่ งราวการดูแลสุขภาพเกีย่ วกับ
อะไรบ้าง
ดังนั้นในตอนนี้หมอหล่อฯจึงขอยกตัวอย่างคำถามจากเพื่อน ๆ
มาเล่าให้ฟังแล้วกันครับ
“สวั ส ดี ค่ ะ คุณหมอหล่อคอเล่า หนูเป็นแฟนคลับของเพจนี้
และติดตามมานานแล้ว ชอบอ่านทุกเรื่อง ทุกตอนที่หมอหล่อฯเขียน
ค่ะ มีคำถามมาถามคุณหมอเกี่ยวกับเรื่องของ Anti-Aging ค่ะ สรุป
ว่ามีจริงไหมคะ หรือเป็นแค่คำพูดที่ดูหรู ๆ เอาไว้ใช้โฆษณาขายของ
เท่านั้น เพราะเดี๋ยวนี้เวลาไปไหนมาไหนก็จะเห็นแต่คำว่า Anti-Aging
ตามคลินิกความงาม ร้านขายเครื่องสำอาง อาหารเสริมเต็มไปหมด
ค่ะ คุณหมอหล่อฯช่วยตอบหน่อยนะคะ ขอบคุณค่ะ”
คงจะเป็นจริงอย่างที่น้องพูดถึงครับ เพราะทุกวันนี้คำว่า Anti-
Aging อยู่รอบตัวเราจริง ๆ ไม่ว่าเราจะหันหน้าไปทางไหน หรือแม้แต่
หลับตาก็ยังได้ยินแต่คำคำนี้เต็มไปหมด
Anti-Aging เป็นศาสตร์ที่มีอยู่จริงหรือไม่ หรือเป็นแค่เพียง
คำบอกกล่าวในเชิงโฆษณาหรือการค้าเท่านั้น

ทำความรู้จัก Anti-Aging กันหน่อย


เป็นที่ทราบกันดีว่า ความแก่ชราเป็นสิ่งที่มนุษย์เราไม่ปรารถนา
ที่จะให้เกิดขึ้น หรืออยากให้เกิดขึ้นช้าที่สุดหากเป็นไปได้ เพราะภาพ

20 A n t i - A g i n g รู้ ก่ อ น ใ ค ร ช ะ ล อ วั ย ก่ อ น เ พื่ อ น
ที่ เ รามั ก นึ ก ถึ ง เสมอเวลาใครพู ด ถึ ง เรื่ อ งแก่ ก็ คื อ ใบหน้ า ที่ เ หี่ ย วย่ น
เต็ ม ไปด้ ว ยริ้ ว รอย มี ฝ้ า กระ จุ ด ด่ า งดำ ผมเริ่ ม หงอก บางคนก็
ประสบปั ญ หาผมร่ ว ง ผมบาง หั ว ล้ า น รวมไปถึ ง สภาพร่ า งกาย
ที่ ท รุ ด โทรม อ่ อ นเปลี้ ย เพลี ย แรง เป็ น ต้ น นั่ น จึ ง ทำให้ เ มื่ อ คำว่ า
Anti-Aging หรือการชะลอวัยแพร่เข้ามา เราจึงรู้สึกกระชุ่มกระชวย
ในหัวใจขึ้นมาทันที เพราะเริ่มมีความหวังเรืองรองที่จะกลับมา “ดูเด็ก”
ได้เหมือนเดิมอีกครั้ง จึงไม่แปลกเลยว่า ทำไมมีการนำคำคำนี้มาใช้
เพื่อจุดประสงค์ทางการตลาดอย่างมากมาย
ศาสตร์ความรู้เรื่อง Anti-Aging เกิดขึ้นมาจากคำถามที่ว่า
ทำไมเราถึงต้องแก่
ทำไมต้องมีความเสื่อมและต้องมีโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ มารบกวน
เป็นไปได้ไหมที่เราจะรู้ตัวได้ก่อน และป้องกันความเสื่อมเพื่อ
ไม่ให้เกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นน้อยที่สุด
ด้วยเหตุนจี้ งึ มีการนำความรูท้ างวิทยาศาสตร์สมัยใหม่หลากหลาย
สาขาวิ ช ามาผนวกเข้ า กั บ ความเจริ ญ ก้ า วหน้ า ทางการแพทย์ ใ นยุ ค
ปัจจุบัน เพื่อต้องการจะสืบให้รู้ว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เราแก่ เสื่อม
และเป็นโรคต่าง ๆ จึงทำให้มีการศึกษาค้นคว้าวิจัยตามมามากมาย
ดังนั้นคำว่า Anti-Aging จึงไม่ได้หมายถึง การทำอย่างไรให้
หน้าเด็ก ผิวสวยใสอย่างเดียว แต่หมายถึง องค์ความรูด้ า้ นการแพทย์
ใหม่ ๆ หลากหลายสาขาที่ จ ะเข้ า มาเติ ม เต็ ม ความรู้ ท างการแพทย์
ปัจจุบันเกี่ยวกับการป้องกัน รักษาโรค และส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง
สมบูรณ์ในทุกๆ ด้านนั่นเองครับ
เอาละครั บ มาถึ ง ตอนนี้ หมอหล่ อ ฯคิ ด ว่ า สิ่ ง ที่ ห ลายคนคง
อยากจะรู้ กั น แล้ ว คื อ เราจะทำอย่ า งไรให้ แ ก่ ช้ า เสื่ อ มช้ า และไม่

ห ม อ ห ล่ อ ค อ เ ล่ า 21
เจ็บป่วยเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมต่าง ๆ
วันนี้หมอหล่อฯเลยขออาสาที่จะพาทุกคนไปไขความลับ หา
คำตอบเกี่ยวกับเรื่องราวของการชะลอโรค ชะลอวัยกันครับ

หัวใจของ Anti-Aging
หัวใจสำคัญของ Anti-Aging ที่เราต้องรู้จักเพื่อที่จะได้ชะลอโรค
ชะลอวัยได้อย่างประสบผลสำเร็จก็คือ 3 วายร้าย ต้นตอความแก่
และความเสื่อม เพื่อที่จะได้รู้เท่าทันและสามารถป้องกันได้ล่วงหน้า
ได้แก่ อนุมูลอิสระที่พรั่งพรู (Oxidative Stress) การอักเสบเรื้อรัง
(Chronic Inflammation) และอาหารเร่งแก่ (Advanced Glycation
End-products: AGEs)

วายร้ายตัวที่ 1 อนุมูลอิสระที่พรั่งพรู
(Oxidative Stress)
วายร้ า ยตั ว แรกนี้ เ ป็ น ที่ รู้ จั ก กั น อย่ า งแพร่ ห ลายในปั จ จุ บั น
เนื่องจากมีที่มาจาก อนุมูลอิสระ หรือ Free Radical ซึ่งได้รับการ
พูดถึงในวงการแพทย์เป็นอย่างมากในช่วงระยะเวลาสิบกว่าปีมานี้
อนุมูลอิสระตามความหมายที่เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ โมเลกุลของ
สารที่ไม่เสถียรเพราะขาดอิเล็กตรอน ทำให้ต้องวิ่งไปแย่งชิงอิเล็กตรอน
จากโมเลกุลของสารอื่น ๆ
แน่นอนครับว่า โมเลกุลที่โดนแย่งอิเล็กตรอนไปนั้นย่อมเกิด
ความไม่เสถียรตามมา และไม่สามารถทำหน้าที่ของตัวเองต่อไปได้

22 A n t i - A g i n g รู้ ก่ อ น ใ ค ร ช ะ ล อ วั ย ก่ อ น เ พื่ อ น
͹Á
Ø ÅÙÍÊÔÃÐ ÍÒËÒÃàç‹á¡‹
¡ÒÃÍ¡ Ñ àʺ
àÃÍ้× Ã§Ñ

จำเป็นต้องสวมบทบาทเป็นผู้ร้ายต่อโดยการไปแย่งชิงอิเล็กตรอนของ
โมเลกุลอื่น ๆ อีก เป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด
อนุมลู อิสระเกิดขึน้ ได้ทง้ั จากภายในและภายนอกร่างกายของเรา
อนุ มู ล อิ ส ระภายในร่ า งกายส่ ว นใหญ่ ม าจากกระบวนการ
เผาผลาญในเซลล์และการสร้างพลังงาน โดยเฉพาะตำแหน่งที่เรียกว่า
ไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) ที่เป็นหน่วยย่อยเล็ก ๆ เสมือนโรงงาน
ผลิ ต พลั ง งานภายในเซลล์ เ รานั่ น เอง ทฤษฎี ข องความแก่ ช ราและ
ความเสื่อมในปัจจุบันได้ให้ความสนใจและมีการพูดถึงไมโตคอนเดรีย
กันมากขึ้น นั่นแสดงว่า ถ้าเรารับประทานอาหารเข้าไปมาก ร่างกาย
ก็ต้องเกิดการเผาผลาญมากขึ้น และแน่นอนครับว่า สิ่งที่ตามมาก็คือ
เกิดอนุมูลอิสระมากขึ้นนั่นเอง
ส่วนสาเหตุที่มาจากภายนอกที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระมากขึ้นนั้น
มาจากแสงแดด มลพิษ ควันบุหรี่ เชื้อโรคต่าง ๆ ทั้งแบคทีเรียและ
ไวรัส อาหารประเภทที่ให้พลังงานสูง เช่น แป้ง นํ้าตาล ไขมัน ใน

ห ม อ ห ล่ อ ค อ เ ล่ า 23
ปริมาณมาก อาหารประเภททอด ปิง้ ย่าง รวมไปถึงภาวะความเครียด
ทัง้ ทางร่างกาย (นอนน้อย อดข้าวอดนํา้ ออกกำลังกายหนัก เป็นต้น)
และทางจิตใจ
นั่ น เท่ า กั บ ว่ า ทุ ก วั น นี้ เ ราจะต้ อ งเผชิ ญ หน้ า กั บ อนุ มู ล อิ ส ระ
อยู่ทุกวันอย่างหลีกเลี่ยงได้ยากนั่นเองครับ
การที่เรามีอนุมูลอิสระในร่างกายมากเกินไป เราเรียกภาวะนี้ว่า
Oxidative Stress โดยปกติแล้ว ร่างกายเราจะมี สารต้านอนุมูล
อิ ส ระ หรื อ Antioxidant เข้ามาจัดการเหล่าอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น
เหล่านี้
แต่เมื่อไรก็ตามที่มีอนุมูลอิสระเกิดขึ้นมากเกินไป หรือสารต้าน
อนุมลู อิสระในร่างกายของเราไม่เพียงพอ เจ้าอนุมลู อิสระก็จะสบโอกาส
สามารถเข้าไปทำลายเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายอย่างรวดเร็ว จนเป็น
สาเหตุที่ทำให้เกิดความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายตามมา
เมื่อเซลล์ในแต่ละอวัยวะของเรามีความผิดปกติ การทำงาน
ก็ผิดเพี้ยนไป ไม่ตายก็กลายพันธุ์ไปในที่สุด (ทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็ง
นั่ น เอง) สิ่ ง ที่ ต ามมาก็คือ โรคภัยที่เกิดจากความเสื่อมของอวัยวะ
ต่าง ๆ ได้แก่ โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือด
สูง สมองเสื่อม ต้อกระจก โรคอ้วน หรือแม้กระทั่งโรคมะเร็ง ทำให้
ในปัจจุบันมีการพูดถึงสารต้านอนุมูลอิสระกันมากขึ้น อีกทั้งยังนิยม
รับประทานในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่าง ๆ ดังที่เห็นมากมาย
ในท้องตลาด
ในความเป็นจริงแล้ว สารต้านอนุมูลอิสระมีอยู่ทั้งในตัวเราเอง
และจากแหล่งอาหารภายนอก ภายในร่างกายของเราจะมีเอนไซม์
หลายชนิดรวมทั้งสารชีวเคมีต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

24 A n t i - A g i n g รู้ ก่ อ น ใ ค ร ช ะ ล อ วั ย ก่ อ น เ พื่ อ น
ส่วนแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระจากภายนอกที่เรารู้จักกันดี ได้แก่
วิ ต ามิ น ต่ า ง ๆ เช่ น วิ ต ามิ น ซี วิ ต ามิ น อี วิ ต ามิ น เอ กลู ต าไทโอน
เป็นต้น รวมไปถึงสารในกลุ่มที่ได้จากพืชพันธุ์ธรรมชาติต่าง ๆ ที่เรียกว่า
สารพฤกษเคมี (Phytonutrient) ด้วย
ดั ง นั้ น หากเราได้ รั บ สารต้ า นอนุ มู ล อิ ส ระเหล่ า นี้ ใ นปริ ม าณที่
เหมาะสม ย่อมช่วยลดอนุมูลอิสระในร่างกายที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งเท่ากับว่า
เป็นการป้องกันการเกิดโรคภัยต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง

หมอหล่อฯขออัพเดต
ปั จ จุ บั น เราสามารถตรวจเลื อ ดเพื่ อ ดู
ระดับอนุมูลอิสระในร่างกายได้ว่าอยู่ในระดับ
ใด รวมถึ ง ระดั บ ของสารต้ า นอนุ มู ล อิ ส ระ
ต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น วิตามินซี วิตามินอี
วิตามินเอ เบต้าแคโรทีน กลูตาไทโอน และ
โคเอนไซม์คิวเท็น
ทั้งนี้แพทย์จะสามารถอธิบายและให้
คำแนะนำเกี่ยวกับผลการตรวจ รวมทั้งการ
ปรั บ เปลี่ ย นแนวทางการใช้ ชี วิ ต เพื่ อ ที่ จ ะลด
อนุมูลอิสระและเพิ่มระดับสารต้านอนุมูลอิสระ
ในร่างกายของเราได้

ห ม อ ห ล่ อ ค อ เ ล่ า 25
เห็นไหมครับว่า หากเรารูจ้ กั ตัวการความแก่ตวั นีเ้ ป็นอย่างดีแล้ว
เราจะสามารถป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระในร่างกายได้ ขณะเดียวกัน
ก็ยงั สามารถลดปริมาณอนุมลู อิสระได้ดว้ ยการเสริมสารต้านอนุมลู อิสระ
ต่ า ง ๆ เข้ า ไป หรือแม้กระทั่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ดี
เพื่อเอื้อให้ร่างกายเรากำจัดอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด เท่านี้
ก็เปรียบเหมือนกับเรามียาอายุวัฒนะขนานเอกอยู่ในมือแล้วละครับ

วายร้ายตัวที่ 2 การอักเสบเรื้อรัง
(Chronic Inflammation)
การอั ก เสบเรื้ อ รั ง มีบทบาทและความสำคัญเกี่ยวกับความ
แก่ชรา ความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ และมีความเกี่ยวข้องกับโรคภัย
ต่าง ๆ มากมาย ปกนิตยสาร Time ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2004
ได้กล่าวถึงการอักเสบเรื้อรังว่าเป็น “เพชฌฆาตผู้ไร้เงา” หรือ The
Secret Killer และได้มีคำกล่าวเกริ่นนำไว้บนหน้าปกอย่างน่าสนใจว่า
“The surprising link between inflammation and heart
attacks, cancer, Alzheimer’s and other diseases. What you
can do to fight it?”
“ความเชือ่ มโยงทีเ่ หลือเชือ่ ระหว่างการอักเสบกับโรคหัวใจ มะเร็ง
อัลไซเมอร์ และโรคต่าง ๆ คุณคิดว่าจะต่อสู้กับมันได้อย่างไร”
จากข้ อ มู ล ที่ ป รากฏในการศึ ก ษาปั จ จุ บั น เชื่ อ ว่ า การอั ก เสบ
เรื้อรังเป็นสาเหตุที่ทำให้เราแก่ เสื่อม และเกิดโรคภัยต่าง ๆ มากมาย
ได้แก่ โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
อัลไซเมอร์ โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น SLE รูมาทอยด์ หรือ
แม้กระทัง่ โรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งลำไส้ ปอด ตับอ่อน เป็นต้น

26 A n t i - A g i n g รู้ ก่ อ น ใ ค ร ช ะ ล อ วั ย ก่ อ น เ พื่ อ น
หลายคนคงอาจสงสัยว่า การอักเสบเรื้อรังนี้แตกต่างจาก
การอักเสบทั่วไปอย่างไร
หมอขออธิบายสั้น ๆ ง่าย ๆ นะครับ การอักเสบที่เรารู้จักกันทั่วไป
คื อ การอั ก เสบแบบเฉี ย บพลั น (Acute Inflammation) เป็ น
กระบวนการที่ร่างกายเราพยายามซ่อมแซมตัวเองภายหลังจากเกิด
การบาดเจ็บ หรือการติดเชื้อในระยะเฉียบพลัน เป็นต้น โดยอาศัย
การทำงานของเซลล์ ใ นระบบภู มิ คุ้ ม กั น หลาย ๆ ตั ว ร่ ว มด้ ว ยช่ ว ยกั น
จนสามารถกำจั ด เชื้ อ โรคหรื อ ซ่ อ มแซมจนหายได้ ใ นที่ สุ ด ภายใน
ระยะเวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์
ส่ ว น การอั ก เสบเรื้ อ รั ง นั้ น กลั บ เป็ น กระบวนการที่ แ ตกต่ า ง
ออกไปจากการอักเสบเฉียบพลัน เพราะมีลักษณะเด่น คือ เป็นการ
อักเสบในระดับตํ่า ๆ (Low-grade Inflammation) ที่ค่อยเป็นค่อยไป
และคงอยู่ตลอด สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วทั้งร่างกาย อีกทั้งยังเกี่ยวข้อง
กับระบบภูมิคุ้มกันและสารที่บ่งชี้การอักเสบในร่างกายที่สูงขึ้น เป็นต้น
สาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังนั้น จะว่าไปแล้วก็ถือเป็น
เรือ่ งทีใ่ กล้ตวั เรามากครับ เพราะมาจากหลายอย่าง ไม่วา่ จะเป็นภาวะ
มีอนุมูลอิสระในร่างกายมากเกินไป (ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น) ภาวะ
ขาดสารอาหารที่มีประโยชน์ต่าง ๆ โดยเฉพาะการขาดสารต้านอนุมูล
อิสระ การรับประทานไขมันในปริมาณมากเกินไป (ทั้งไขมันอิ่มตัว
และไขมันทรานส์) การแพ้อาหารแฝง (Hidden Food Allergy หรือ
IgG Food Allergy) การติ ด เชื้ อ โรคต่ า ง ๆ เรื้ อ รั ง เช่ น เชื้ อ ไวรั ส
ตับอักเสบ แบคทีเรีย และพยาธิ การอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่มี
มลพิษ การสูบบุหรี่ ภาวะความเครียด (ทั้งทางร่างกายและจิตใจ)
ที่เกิดขึ้นติดต่อกันยาวนาน การออกกำลังกายที่มากเกินไป และที่จะ

ห ม อ ห ล่ อ ค อ เ ล่ า 27
ขาดไม่ได้ก็คือ ความอ้วน หรือการมีไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไป
โดยเฉพาะไขมันบริเวณหน้าท้อง (หรือพุงนั่นเอง)
นอกจากนี้ข้อมูลล่าสุดนี้ยังมีงานวิจัยที่พูดถึงเรื่องการเสื่อมของ
ไมโตคอนเดรีย (Mitochondrial Dysfunction) จากภาวะมีอนุมูล
อิสระในร่างกายมากเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุหลักให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง
อีกด้วยนะครับ
การอักเสบเรื้อรังทำให้เราแก่และมีความเสื่อมได้อย่างไร
สาเหตุหลักเกิดจากการมีปัจจัยที่เป็นสาเหตุดังข้างต้นมากระตุ้น
เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายเราโดยผ่านกลไกของภาวะการมีอนุมูลอิสระที่
มากมายจนกำจัดได้ไม่หมด ซึ่งจะทำให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันต่าง ๆ
สร้างสารที่กระตุ้นการอักเสบที่เรียกว่า ไซโตไคน์ (Cytokine) ออกมา
มากมาย ไซโตไคน์เหล่านี้จะทำให้เซลล์ต่าง ๆ ในแต่ละอวัยวะทำงาน
ได้น้อยลงและเกิดความเสื่อมขึ้นทีละน้อยแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่าง
ต่อเนื่อง จนวันดีคืนร้ายเมื่อเกิดความเสื่อมจนสุดขีดก็จะแสดงอาการ
ของโรคต่าง ๆ ออกมานั่นเอง
มาถึงตรงนีแ้ ล้ว จะเห็นได้วา่ ทัง้ ภาวะการมีอนุมลู อิสระทีม่ ากมาย
จนกำจัดได้ไม่หมดและการอักเสบเรื้อรังต่างก็ร้ายพอ ๆ กัน แถมยังมี
ความเกี่ยวดองซึ่งกันและกันอีกด้วย แล้วเราจะรับมือกับการอักเสบ
เรื้อรังกันอย่างไรดี
ขั้นแรก ต้องเริ่มที่การป้องกันหรือหลีกเลี่ยงไม่ให้มีสาเหตุของ
การอักเสบเรื้อรังก่อน ได้แก่ การเลี่ยงอาหารประเภทแป้ง นํ้าตาล
และไขมั น โดยเฉพาะไขมั น ชนิ ด ทรานส์ (Trans Fat) ไม่ สู บ บุ ห รี่
และไม่ รั บ ควั น บุ ห รี่ จ ากคนรอบข้ า ง หลี ก เลี่ ย งการอยู่ ใ นบริ เ วณที่ มี
มลพิษต่าง ๆ ลดความเสี่ยงในการได้รับเชื้อโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะเชื้อ

28 A n t i - A g i n g รู้ ก่ อ น ใ ค ร ช ะ ล อ วั ย ก่ อ น เ พื่ อ น
ไวรัสที่สามารถติดได้ง่าย เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบี ชนิดซี รวมถึง
ไวรัสเอชไอวี เป็นต้น
ขั้ น ที่ ส อง ต้ อ งหั น มาใส่ ใ จกั บ การรั บ ประทานผั ก ผลไม้ ที่ ส ด
สะอาด และปราศจากสารพิษ โดยการล้างนํ้าให้สะอาดมาก ๆ เพื่อ
ล้างสารพิษตกค้างออก โดยเฉพาะพวกโลหะหนักต้องล้างออกให้มาก
ที่สุดครับ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และเสริมสารต้านอนุมูล
อิ ส ระให้ กั บ ร่ า งกาย ปรั บ สภาพร่ า งกายและจิ ต ใจของเราให้ ส ดชื่ น
แจ่มใสอยู่เสมอ ฝึกการบริหารจัดการความเครียดที่อาจเจอในแต่ละ
วัน ที่สำคัญคือ อย่าปล่อยให้อ้วนหรือลงพุงนะครับ เพราะความอ้วน
คือบ่อเกิดของการอักเสบเรื้อรังที่น่ากลัวที่สุดในปัจจุบัน

หมอหล่อฯขออัพเดต
หากใครอยากลดการอักเสบเรื้อรังด้วย
การรั บ ประทานอาหารเสริ ม ต่ า ง ๆ แล้ ว ขอ
แนะนำสุ ด ยอดอาหารเสริ ม ต้ า นการอั ก เสบ
ครับ มีหลายตัวที่มีการศึกษาวิจัยรองรับว่า
สามารถลดการอักเสบเรื้อรังได้จริง
นํ้ามันปลา (Fish Oil) มีกรดไขมันที่
จำเป็นต่อร่างกายชนิดโอเมก้า - 3 (Omega - 3)
ทั้ ง DHA และ EPA ถื อ เป็ น พระเอกในการ
ต้านการอักเสบ
นํ้ า มั น มะกอก (Olive Oil) มี ก รด
ไขมันโอเลอิก (Oleic Acid) หรือโอเมก้า - 9

ห ม อ ห ล่ อ ค อ เ ล่ า 29
(Omega - 9) ที่ช่วยลดการอักเสบในร่างกาย
ได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ วิตามินซี วิตามินอี และ
วิตามินดี ก็มีส่วนช่วยในการต้านการอักเสบ
เช่นกัน รวมถึง สารสกัดจากชาเขียว (Green
Tea Extract) และ สารสกัดจากเปลือกองุ่น
(Resveratrol) หรือแม้กระทั่งสมุนไพรไทย
อย่าง ขมิ้นชัน (Curcumin) ของบ้านเรา ที่
กล่ า วมานี้ ล้ ว นมี ฤ ทธิ์ ใ นการต้ า นการอั ก เสบ
ด้วยกันทั้งสิ้น

ถึงตอนนี้เราก็รู้แล้วนะครับว่า จะรับมือกับสาเหตุของความแก่
เหล่ า นี้ ไ ด้ อ ย่ า งไร โดยเฉพาะการอั ก เสบเรื้ อ รั ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในร่ า งกาย
ของเรา

วายร้ายตัวที่ 3 อาหารเร่งแก่
(Advanced Glycation End-products: AGEs)
วายร้ า ยตั ว สุ ด ท้ า ยที่ เ ป็ น สาเหตุ ข องความแก่ ช ราและโรคภั ย
ต่าง ๆ ที่ไม่พดู ถึงไม่ได้ นั่นก็คือ Advanced Glycation End-products
หรือเรียกสั้น ๆ ว่า AGEs ครับ
AGEs อาจเป็นคำที่ไม่ค่อยคุ้นหูเรามากนักเพราะไม่ค่อยมีใคร
พู ด ถึ ง กั น มากเหมื อ นกั บ ตั ว อื่ น ๆ ที่ ผ่ า นมา แต่ เ รารู้ ห รื อ ไม่ ค รั บ ว่ า
AGEs คือหนึ่งในผู้ร้ายที่แฝงตัวมาเงียบ ๆ ในรูปแบบของอาหารต่าง ๆ

30 A n t i - A g i n g รู้ ก่ อ น ใ ค ร ช ะ ล อ วั ย ก่ อ น เ พื่ อ น
ที่สีสันและรสชาตินั้นเชิญชวนให้เรารับประทานอย่างมาก
AGEs เป็นผลผลิตที่เกิดมาจากการที่นํ้าตาล (เช่น นํ้าตาล
กลู โ คสที่ ม าจากนํ้ า ตาลทราย นํ้ า ตาลฟรั ก โทสที่ อ ยู่ ใ นอาหารและ
เครื่องดื่มรสหวานหลายชนิด) ทำปฏิกิริยา Maillard Reaction กับ
สารอาหารในกลุ่มโปรตีนและไขมัน โดยไม่ต้องอาศัยเอนไซม์เหมือน
กับปฏิกิริยาอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในร่างกายของเรา
ผลจากการทีม่ ี AGEs ในปริมาณมาก จะทำให้ AGEs ไปจับกับ
โมเลกุลของสารหรือโครงสร้างที่สำคัญ ๆ ของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย
เราเรียกปฏิกิริยานี้ว่าการเกิด “Cross-linkage” นั่นเองครับ AGEs เป็น
สารที่สามารถเกิด Cross-linkage กับอวัยวะและสารที่เป็นโครงสร้าง
ต่าง ๆ ภายในร่างกายได้มากมาย เช่น คอลลาเจนที่ผิวหนัง โมเลกุล
ของโปรตีนบริเวณผนังเส้นเลือดทั้งที่บริเวณหัวใจ สมอง ไต และ
อวัยวะอื่น ๆ รวมไปถึงบริเวณเส้นใยประสาทอีกด้วย
ผลที่ตามมาคือ อวัยวะต่าง ๆ ในส่วนนั้นก็จะมีความสามารถ
ในการทำงานลดลง เสื่อมลง และสูญเสียสภาพการทำงานไปในที่สุด
นี้เลยเป็นเหตุผลที่เล่ากันต่อ ๆ มาว่า
“ถ้ า ใครอยากผิ ว สวย ผิ ว เด้ ง กระชั บ ต้ อ งหลี ก เลี่ ย งการ
รับประทานอาหารรสหวานนั่นเอง”
เป็นคำกล่าวที่สอดคล้องกับเหตุผลในข้อนี้ครับ ปัจจุบันมีหลาย
การศึกษาวิจัยที่พบว่า AGEs มีความสัมพันธ์กับกลุ่มโรคที่เกิดจาก
ความเสือ่ มของร่างกายหลายชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคไตวายเรือ้ รัง
ข้ออักเสบรูมาทอยด์ โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ รวมไปถึงโรคอัลไซเมอร์
เป็นต้น
AGEs มาจากไหนได้บ้าง

ห ม อ ห ล่ อ ค อ เ ล่ า 31
เราพบว่า AGEs สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในร่างกายเราเองและยัง
ได้รับจากแหล่งภายนอกร่างกายอีกด้วยครับ กระบวนการเกิด AGEs
ขึน้ ในร่างกายของเรานัน้ มักมาจากการรับประทานอาหารและเครือ่ งดืม่
ที่มีแป้งและนํ้าตาลมากเกินไป ทำให้ระดับนํ้าตาลที่มีปริมาณมาก ๆ
นั้นมีโอกาสทำปฏิกิริยากับโปรตีนต่าง ๆ ในร่างกายได้มากขึ้น ตัวอย่าง
ที่ เ ราพอจะรู้ จั ก กั น ดี ก็ คื อ ค่ า HbA 1 C (Glycated Hemoglobin)
ซึ่งเป็นค่าที่บอกถึงระดับนํ้าตาลสะสมบนผิวเม็ดเลือดแดงนั่นเอง
นอกจากนี้แล้ว AGEs ยังอยู่ในรูปแบบของอาหารสำเร็จรูป
ที่รอเราหยิบเข้าปากตั้งแต่ภายนอกแล้ว ไม่อยากบอกเลยว่า อาหาร
อร่อย ๆ ที่เราชอบรับประทานกันเป็นประจำ ล้วนแล้วแต่เป็นอาหาร
ที่มีเจ้า AGEs แฝงตัวอยู่ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสเต๊กจานโปรด แกง
เขียวหวานกลิ่นหอม ไข่พะโล้เจ้าดัง ไก่ย่าง หมูย่าง เนื้อย่างชนิด
ต่าง ๆ รวมไปถึงอาหารสารพัดเมนูทอดต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นอาหาร
ที่มีการโคจรมาพบกันของ โปรตีน ไขมัน และ นํ้าตาล ทั้งสิ้น ซึ่ง
เมื่อนำไปผ่านกระบวนการปรุงอาหารที่ใช้ความร้อนสูง ก็มีโอกาสที่จะ
เกิดเป็น AGEs ได้ทั้งหมดครับ
นอกจากเจ้า AGEs จะทำให้เราแก่งา่ ยโดยผ่านการเกิด Cross-
linkage กับโครงสร้างอืน่ ๆ ในร่างกายแล้ว ตัวมันเองยังสามารถกระตุน้
ให้เกิดการอักเสบเรื้อรังผ่านภาวะการมีอนุมูลอิสระที่มากมายกำจัด
ไม่หมดได้อีกด้วย
จะเห็นได้ว่า นี่คือการทำงานที่ประสานกันของทั้ง 3 วายร้าย
ตัวการของความแก่ชราและโรคภัยต่าง ๆ ที่ช่วยกันส่งเสริมความแก่
และความเสื่อมให้เกิดขึ้นในร่างกายเรานั่นเองครับ
คราวนี้ เ ราคงอยากจะรู้ วิ ธี ที่ จ ะรั บ มื อ กั บ เจ้ า AGEs กั น แล้ ว

32 A n t i - A g i n g รู้ ก่ อ น ใ ค ร ช ะ ล อ วั ย ก่ อ น เ พื่ อ น
ใช่ไหมครับ ทำได้ดังนี้
1. ใส่ใจอาหารการกินให้มากขึ้น โดยพยายามหลีกเลี่ยงอาหาร
ที่มีแป้ง นํ้าตาล รวมถึงไขมันในปริมาณมาก ๆ หรือลด
อาหารประเภทหวานและมันนั่นเอง
2. หลีกเลี่ยงอาหารที่มี AGEs
3. เสริมด้วยอาหารเสริมในกลุ่มวิตามินและอาหารเสริมอื่น ๆ
ที่ ง านวิ จั ย พบว่ า มี ส่ ว นช่ ว ยลด AGEs ได้ แ ก่ วิ ต ามิ น ซี
(Vitamin C) วิตามินบี 6 (Pyridoxamine) กรดแอลฟา-
ไลโปอิก (Alpha Lipoic Acid : ALA) กรดแอมิโนชนิด
ทอรีน (Taurine) และคาร์โนซีน (Carnosine) เป็นต้น

บทสรุป
มาถึงบทสรุปในตอนนี้ เราจะเห็นได้ว่ามิติในการดูแลสุขภาพ
ในปัจจุบันเปลี่ยนไปจากเดิมมาก วันนี้ทุกคนสามารถดูแลสุขภาพของ
ตนเองก่อนที่จะเป็นโรคได้ โดยเริ่มที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
ให้ ดี ขึ้ น ลด ละ เลี่ ย ง ปั จ จั ย ที่ จ ะส่ ง ผลให้ เ ราเกิ ด ความแก่ แ ละ
ความเสื่อมต่าง ๆ อย่างที่ได้เล่ามาข้างต้น นอกจากนี้เรายังสามารถไป
ปรึ ก ษาแพทย์ เ พื่ อ ขอคำแนะนำเกี่ ย วกั บ แนวทางในการใช้ ชี วิ ต ที่ จ ะ
ทำให้เรามีสุขภาพแข็งแรงและห่างไกลจากโรคภัยต่าง ๆ ได้อีกด้วย
หมอหล่อฯหวังว่า หลังจากได้รู้สาเหตุที่เป็นต้นตอของ
ความแก่และความเสื่อมต่างๆ เหล่านี้แล้ว คำว่า “Anti-Aging”
ในมุมมองของผู้อ่านน่าจะชัดเจนยิ่งขึ้น และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า

ห ม อ ห ล่ อ ค อ เ ล่ า 33
ผู้อ่านจะสามารถนำเรื่องราวดีๆ เหล่านี้ไปบอกต่อให้กับคนใกล้
ตั ว เราที่ เ รารั ก ได้ รั บ ฟั ง กั น นะครั บ เพราะเรื่ อ งดี ๆ แบบนี้ ต้ อ ง
“บอกต่อชะลอวัย” กันเยอะๆ ครับ

เอกสารอ้างอิง
A. Rahal, A. Kumar, V. Singh, B.J.Yadav, R. Tiwari, S. Chakraborty & K.
Dhama. (2014). Oxidative Stress, Prooxidants, and Antioxidants: The
Interplay. BioMed Research International, 2014. Retrieved May 30,
2015 from http://dx.doi.org/10.1155/2014/761264
G. Pawelec, D. Goldeck & E. Derhovanessian. (2014). Inflammation, Ageing
and Chronic Disease. Current Opinion in Immunology, 29, 23 - 28.
Retrieved May 30, 2015 from http://www.sciencedirect.com/science/
article/pii/S0952791514000557
Life Extension. Health Concerns: Inflammation (Chronic). (2015). Retrieved
May 30, 2015 from http://www.lef.org/Protocols/Health-Concerns/
Chronic-Inflammation
Prasad, Y.D., Sonia, S., Balvinder, S. & Charan, C.R. ( 2013). Advanced
Glycation End Products: A Review. Sch. Acad. J. Biosci., 2013; 1 (2),
39 - 45 . Retrieved May 30 , 2015 from http://saspublisher.com/wp-
content/uploads/2013/07/SAJB-1239-45.pdf
Ramasamy, R., Vannucci, S. J., Shi Du Yan, S., Herold, K., Yan, S. F. and
Marie Schmidt, A. (2005). Advanced Glycation End Products and
RAGE: A Common Thread in Aging, Diabetes, Neurodegeneration,
and Inflammation, Review. Glycobiology, 15 (7), 16 - 28. Retrieved May
30, 2015 from http://glycob.oxfordjournals.org/content/15/7/16R.full.pdf+
html
R. Singh, A. Barden, T. Mori & L. Beilin. (2001). Advanced Glycation End-
Products: A Review. Diabetologia, 44, 129 - 146. Retrieved May 30, 2015
from http://link.springer.com/article/ 10.1007/s001250051591#page-1

34 A n t i - A g i n g รู้ ก่ อ น ใ ค ร ช ะ ล อ วั ย ก่ อ น เ พื่ อ น

You might also like