Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 5

บทที่ 1

บทนำ

1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ภาษาอังกฤษมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวัน เช่น ใช้ในการสื่อสารทางธุรกิจและส่งเสริม


ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ภาษาอังกฤษมีความสำคัญต่อการศึกษาและการฝึกอบรมเนื่องจากเป็น
ภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษมีประโยชน์และเพิ่มรายได้ให้กับเรา นอกจากนี้ยังอำนวย
ความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล สื่อ และความบันเทิ งได้อย่างง่ายดาย (Reddy, 2016) และยังมี
ความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมโลก ทำให้การสื่อสารไร้พรมแดน การสื่อสารที่
มีประสิทธิภาพมีพลังที่จับต้องได้ซึ่งเชื่อมโยงผู้คนทั่วโลก (สำเริง อ่อนสัมพันธุ์, 2561)
การจั ด การเรี ย นการสอนภาษาอั ง กฤษตามหลั ก สู ต รการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานเป็ น การ
พัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทั้ง 4 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการ
อ่าน และทักษะการเขียน โดยทักษะการอ่านเป็นทักษะทางภาษาที่โดดเด่นมากที่สุด (Sadiku, 2015,
p.30) และทักษะการอ่านมีความสำคัญต่อการเรียนและการทำงาน เพราะการอ่านทำให้เกิ ดความรู้
มีความคิด มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มีความบันเทิงและความไพเราะในตัวภาษา นอกจากนี้การอ่านยัง
ช่วยในการสื่อสารและเพิ่มพูนคำศัพท์ซึ่งส่งผลต่อทักษะการพูดและการเขียนได้ดีขึ้นด้วย (สุรศักดิ์ คำ
สง, 2562, น. 10)
การอ่านเพื่อความเข้าใจจึงเป็นพื้ นฐานของกระบวนการคิด การทำความเข้าใจในสิ่งที่
อ่านจะช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้อ่านกับข้อความในแง่ของการจำเรื่องราว การจดบันทึก ความ
ท้าทาย การตอบคำถาม ฯลฯ และทำให้ผู้อ่านเชื่อมโยงกับข้อความที่อ่าน (Hildebrand, 2020) การ
ที่ผู้อ่านจะเข้าใจสิ่ งที่อ่านได้นั้ นต้องอาศัยพฤติกรรมหลายอย่าง เช่น ความเข้าใจและสามารถสรุป
ใจความได้ สรุปโครงเรื่องของสิ่งที่อ่าน สรุปและประเมินสิ่งที่อ่านโดยผสมผสานความรู้เก่ากับความรู้
ใหม่ในชีวิตประจำวัน การอ่านช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้ดีขึ้นในระยะยาว (กมลวรรณ เกตุ
ภูงาม, 2563, น. 19) ดังนั้นนักเรียนควรได้รับการฝึกฝนกลวิธีการอ่านเพื่อความเข้าใจ
จากผลการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน อ16101 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนวัด
ใหม่เพชรรัตน์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 14 คน พบว่า ระดับผลการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษ
เฉลี่ยอยู่ที่ 2.79 ซึง่ คะแนนเฉลี่ยต่ำตลอดระยะปีการศึกษา 2562 จนถึงปีการศึกษา 2565 และปัญหา
ที่พบจากการประกอบวิ ช าชีพ ครูในระดับ ชั้นประถมศึกษาเป็น ระยะเวลา 4 ปี การศึกษา ผู้ วิจัยมี
ข้อสังเกตพบว่า นักเรียนไม่สามารถระบุใจความสำคั ญ และรายละเอียดของเรื่องที่อ่าน ไม่สามารถ
ตีความ ไม่เข้าใจความหมายของคำศัพท์ และขาดเทคนิคการอ่านที่เหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับ พลอย
ไพริน ทร์ สโมทัย (2558) มณีรัตน์ เอกโยคยะ จันทรกานต์ จรรยา(2559) และเพ็ญ นภา ทัพพันธ์
(2560) ซึ่งพบว่า นักเรียนไม่เข้าใจหัวข้อที่กำลังอ่าน ไม่สามารถหาใจความหลักของเรื่องได้ หาข้อมูล
จากเนื้อเรื่องได้ช้า และไม่สามารถเดาคำศัพท์ยากจากบริบทได้ ส่งผลให้ผู้เรียนไม่สามารถอ่านเพื่อจับ
2

ใจความหรื อตั้ งเป้ าหมายในการหารายละเอียดในบทที่ อ่ านได้ ดั งนั้ น จึงจำเป็ น อย่างยิ่ งที่ จะต้ อ ง
ปรั บ ปรุ งการเรี ย นการสอนภาษาอั งกฤษ ค้ น หาเทคนิ ค วิ ธีก ารเรี ย นตามแนวคิ ด ใหม่ เพื่ อ พั ฒ นา
ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนให้มีประสิทธิภาพและเป็นนักอ่านที่ดี
จากปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงหาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาข้างต้น
และได้ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการอ่านเพื่อความเข้าใจ พบว่า มีวิธีการหนึ่งที่สามารถช่วย
พัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ เทคนิคการสอนอ่าน SQ4R ซึ่งเป็นเทคนิค
การสอนอ่านทีว่ อลเตอร์ พอค (Walter Pauk, 1984) ปรับปรุงจากการสอนแบบ SQ3R ของฟรานซิส
พี โรบินสัน (Francis P. Roninson) ผู้เชี่ยวชาญด้านการอ่านแห่งมหาวิทยาลัยโอไฮโอ เทคนิคการ
สอนอ่าน SQ4R สามารถช่วยให้ผู้เรียนเลือกสิ่งที่เขาคาดว่าจะรู้จากเรื่องที่อ่าน เข้าใจแนวคิดเรื่องที่
อ่านได้อย่างรวดเร็ว จดจำและทบทวนเรื่องที่อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ
1 ขั้น สำรวจ (Survey) 2 ขั้นตั้งคำถาม (Question) 3 ขั้นอ่านอย่างรอบคอบ (Read-R1) 4 ขั้นจด
บั น ทึ ก (Record-R2) 5 ขั้ น สรุ ป ใจความสำคั ญ (Recite-R3) และ 6 ขั้ น การวิ เคราะห์ วิ จ ารณ์
(Reflect-R4) เมื่อศึกษาขั้น ตอนทั้ง 6 ขั้น ของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอนอ่าน SQ4R
ถือได้ว่าเป็นวิธีที่พัฒ นาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจได้ดี นักเรียนจับใจความสำคัญ ได้
อย่างรวดเร็ว จดจำเรื่องที่อ่านได้นาน ช่วยให้รู้วิธีตั้งคำถามและคาดเดาคำตอบที่อ่านได้ ซึ่งสอดคล้อง
กับงานวิจัยของ กานต์ธิดา ทองจันทร์ (2564) ที่ศึกษาผลของการใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการใช้
ผังกราฟิกในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปรากฏว่า
ผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียน สูงกว่า
ก่ อ นเรี ย น ผลงานวิ จั ย ของ ฐิ ติ ว รดา พิ ม พ์ พ านนท์ (2560) พบว่ า ความสามารถในการอ่ า น
ภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ หลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้
แบบ SQ4R สูงกว่าก่อนเรียน และผลงานวิจัยของ อดิศยา ปรางทอง (2560) ซึ่งได้ศึกษาการพัฒนา
กิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิค SQ4R เรื่อง ปัญหาเกี่ยวกับวัยรุ่น สำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลปรากฏว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ
เพือ่ ความเข้าใจโดยใช้เทคนิค SQ4R หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
โดยใช้ เทคนิ ค การสอนอ่ า น SQ4R มาทดลองใช้ กั บ นั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 6 ในรายวิ ช า
ภาษาอังกฤษพื้นฐาน โดยมีการสำรวจขอบเขตของเนื้ อหาของบทอ่านตามความสนใจของนักเรียน
เพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษต่อไป ผู้วิจัยเชื่อว่าการใช้
เทคนิคการสอนอ่าน SQ4R นี้จะช่วยเพิ่มความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของ
นักเรียนได้

2. วัตถุประสงค์การวิจัย

เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจระหว่างก่อนและ
หลั ง เรี ย นของนั ก เรี ย นชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 6 โรงเรี ย นในสั ง กั ด สำนั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา
ประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 โดยใช้เทคนิคการสอนอ่าน SQ4R
3

3. กรอบแนวคิดในการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้เทคนิคการสอนอ่าน SQ4R ซึ่งดัดแปลงมาจากวิธีการสอนอ่าน


ของ วอลเตอร์ พอค (Walter Pauk, 1984) จากแนวคิดดังกล่าวผู้วิจัยจึงได้มาจัดเป็นกรอบแนวคิดใน
การวิจัยเรื่อง ผลของการใช้เทคนิคการสอนอ่าน SQ4R ที่มีต่อความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ
เพื่อความเข้าใจของนั กเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา
ประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 ดังนี้

เทคนิคการสอนอ่าน SQ4R ความสามารถในการอ่าน


ภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ

ภาพที่ 1.1 กรอบแนวคิดในการวิจัย

4. คำถามวิจัย

ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 หลังเรียนโดยใช้เทคนิค
การสอนอ่าน SQ4R สูงกว่าก่อนเรียนหรือไม่

5. สมมติฐานการวิจัย

ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 หลังการเรียนโดยใช้
เทคนิคการสอนอ่าน SQ4R สูงกว่าก่อนเรียน

6. ขอบเขตของการวิจัย

6.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
6.1.1 ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสั งกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 จำนวน 134 โรงเรียน จำนวน 2,450 คน
6.1.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดใหม่เพชรรัตน์
จังหวัดสุพรรณบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม
4

6.2 เนื้อหาทีใ่ ช้ในการวิจัย


เนื้ อหาที่ ใช้ เป็ น บทอ่ านที่ มี เนื้ อ หาตามหลั ก สู ต รแกนกลางการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน
พุทธศักราช 2551 ซึ่งได้มาจากการสำรวจความสนใจของนักเรียน จำนวน 5 บทอ่าน ได้แก่
- บทอ่านที่ 1 เรื่อง ……………………………..………….
- บทอ่านที่ 2 เรื่อง .................................................
- บทอ่านที่ 3 เรื่อง ..................................................
- บทอ่านที่ 4 เรื่อง ..................................................
- บทอ่านที่ 5 เรื่อง .................................................

6.3 ตัวแปรที่ศึกษาวิจัย ประกอบด้วย


6.3.1 ตัวแปรต้น คือ เทคนิคการสอนอ่าน SQ4R
6.3.2 ตัวแปรตาม คือ ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ

7. นิยามศัพท์เฉพาะ

7.1 เทคนิคการสอนอ่าน SQ4R หมายถึง กระบวนการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยดัดแปลง


มาจากวิธีการสอนอ่ านของ วอลเตอร์ พอค (Walter Pauk, 1984) ประกอบไปด้ว ย 3 ขั้น ด้วยกัน
ได้แก่ ขั้นที่ 1 กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน (Pre-Reading Activities) เป็นการสร้างความสนใจและปูพื้น
ความรู้ในเรื่องที่จะอ่าน ครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้นักเรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้างความ
เข้ าใจในบริ บ ทก่ อ นเริ่ ม ต้ น อ่ านสารที่ ก ำหนดให้ ขั้ น ที่ 2 กิ จ กรรมระหว่างอ่ าน (While-Reading
Activities) เป็นการทำความเข้าใจโครงสร้างและเนื้อความในเรื่องที่อ่าน ซึง่ ประกอบด้วยกระบวนการ
อ่าน 6 ขั้นตอน ได้แก่ (1) S (Survey) อ่านสำรวจเนื้อหาแบบคร่าว ๆ (2) Q (Question) ตั้งคำถาม
จากบทอ่ า น (3) R1 (Read) อ่ า นอย่ า งละเอี ย ดและหาคำตอบสำหรั บ คำถามที่ ได้ ต้ั ง ไว้ (4) R2
(Record) จดบั น ทึ ก ข้ อมู ล ที่ ได้ จ ากการอ่าน (5) R3 (Recite) สรุป ใจความสำคั ญ โดยใช้ภ าษาของ
ตนเอง และ (6) R4 (Reflect) วิเคราะห์วิจารณ์บทอ่านและแสดงความคิดเห็น และขั้นที่ 3 กิจกรรม
หลังการอ่าน (Post-Reading Activities) เป็นขั้นที่ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันสรุปผลการเรียนรู้
7.2 ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ หมายถึง ความสามารถใน
การอ่านบทอ่านแล้วบอกความหมายของคำศัพท์ ตีความ สรุปใจความสำคัญ และระบุรายละเอีย ด
ของเรื่องที่อ่านซึ่งวัดโดยแบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจที่ผู้วิจัย
สร้างขึ้นที่เป็นชนิดปรนัยแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ
7.3 นักเรียน หมายถึง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดใหม่เพชรรัตน์ จังหวัด
สุพรรณบุรี ทีเ่ รียนรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 18 คน
5

8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

8.1 เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคการสอน
อ่าน SQ4R ไปประยุกต์และพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรี ยน เพื่อยกระดับ
คุณภาพทางการศึกษาต่อไป
8.2 เป็นแนวทางในการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคการ
สอนอ่าน SQ4R ในกลุ่มผู้เรียนระดับอื่น ๆ

You might also like