Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 10

การจำลองพลศาสตร์ของไหลในอุปกรณ์นำส่งยาสูดเข้าสู่

ทางเดินหายใจชนิดผงแห้ง

จำนวนหน่วยกิจการศึกษาต่อเนือ่ ง ผู้เขียนบทความ
3.0 หน่วยกิต ชื่อ ผศ.ดร.ธันว์ สุวรรณเดชา
สังกัด สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

บทคัดย่อ
ยาสูดเข้าสู่ทางเดินหายใจชนิดผงแห้ง (dry powder inhalers, DPI) เป็นระบบนำส่งยา
ที่มุ่งเน้นนำส่งยาเข้าสู่ทางเดินหายใจเพื่ออกฤทธิ์เฉพาะที่หรือดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตเพื่อออก
ฤทธิ์ในส่วนอื่น ๆ ของร่างกายก็ได้ ประสิทธิภาพการนำส่งยาของยาสูดชนิดผงแห้งนั้นขึ้นกับขนาด
อนุภาคที่ออกมาจากอุปกรณ์นำส่งยา การออกแบบยาสูดชนิดผงแห้งที่มีคุณสมบัติข้างต้น ต้อง
อาศัยทั้งปัจจัยด้านสูตรตำรับ และอุปกรณ์นำส่งยาที่เหมาะสม โดยกระบวนการกระจายอนุภาค
ในระหว่ า งการสู ด หายใจให้ ย าชนิ ด ผงกระจายตั ว เป็ น อนุ ภาคขนาดเล็ ก มี ความซั บ ซ้ อ นสู ง
การจำลองพลศาสตร์ของไหลด้วยคอมพิวเตอร์จึงมีบทบาทสำคัญในการออกแบบสูตรตำรับและ
อุปกรณ์นำส่งยาสูดชนิดผงแห้ง

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. อธิบายหลักการการจำลองพลศาสตร์ของไหลด้วยคอมพิวเตอร์ของไหลเบื้องต้น
2. อธิบายกลไกการกระจายตัวของผงยา และการจำลองพลศาสตร์ของไหลในอุปกรณ์
นำส่งยาสูดชนิดผงแห้ง

คำสำคัญ ยาสูดเข้าสู่ทางเดินหายใจชนิดผงแห้ง, การจำลองพลศาสตร์ของไหล, อุปกรณ์นำส่งยา

การจำลองพลศาสตร์ของไหลในอุปกรณ์นำส่งยาสูดเข้าสู่ทางเดินหายใจชนิดผงแห้ง หน้า 1 จาก 10


บทนำ
การนาส่งยาเข้าสู่ทางเดินหายใจนั้นขนาดยาที่สูดเข้าสู่ทางเดินหายใจต้องมีขนาดที่เหมาะสมจึงจะท าให้
ตัวยาลงสู่ทางเดินหายใจส่วนล่างซึ่งเป็นเป้าหมายออกฤทธิ์ของยา โดยเฉพาะกระบวนการท าให้เกิดแอโรซอล
(aerosolization) ในยาสูดเข้าสู่ทางเดินหายใจชนิดผงแห้งนั้ นเริ่มต้นจากแรงสูดหายใจของผู้ป่วย ทาให้ผงยาที่บรรจุ
อยู่ในภาชนะเก็บถูกปลดปล่อยออกมา กระจายตัวและแตกตัวเป็นอนุภาคขนาดเล็ก และไหลตามกระแสอากาศสูด
หายใจเข้าสู่ทางเดินหายในส่วนล่างต่อไป ขนาดอนุภาคที่จะลงไปสู่ทางเดินหายใจส่วนล่างได้ต้องมี aerodynamic
diameter ไม่เกิน 5 ไมโครเมตรหรืออาจวัดออกมาในรูป fine particle fraction (FPF) กระบวนการกระจายตัวและ
แตกตัวเป็นอนุภาคขนาดเล็กต้องอาศัยพลังงานค่อนข้างมาก เพื่อเอาชนะแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของผงยา ซึ่ง
แรงสูดหายใจของผู้ป่วยอาจมีจากัด โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคทางเดินหายใจอุดกั้น อุปกรณ์นาส่งยาที่ดีจึงมีบทบาท
ส าคัญมากที่จะต้องท าให้เกิดการแตกตัวของอนุภาคได้ดี โดยอาศัยแรงสูดหายใจเพียงเล็กน้อย ซึ่งกระบวนการที่
เกิดขึ้นภายในอุปกรณ์นาส่งยาสูดชนิดผงแห้งนั้น เป็นกระบวนการที่อาศัยความเข้าใจด้านพลศาสตร์ของไหล และแรง
ที่เกิดขึ้นระหว่างอนุภาคกับอนุภาค และอนุภาคและอากาศ ซึ่งยากจะสังเกตเห็นได้ในการทดลอง การจ าลอง
พลศาสตร์ของไหลด้วยคอมพิวเตอร์จึงเข้ามาช่วยแก้ปัญหาได้

กำรจำลองพลศำสตร์ของไหลด้วยคอมพิวเตอร์
ของไหล (fluid) หมายถึง แก๊สหรือของเหลวที่เกิดการเปลี่ยนรูปร่างหรือไหลด้วยความเค้นเฉือน หรือแรง
ภายนอก พฤติกรรมการเคลื่อนที่ของของไหลและแรงที่เกิดขึ้น สามารถอธิบายได้ด้วยกลศาสตร์ของไหล (fluid
mechanics) ซึ่งแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ พฤติกรรมของของไหลขนาดหยุดนิ่ง หรืออยู่ในภาวะสมดุล (fluid static,
สถิ ต ยศาสตร์ ของไหล) และพฤติ กรรมของของไหลเมื ่ อมี การเคลื ่ อนที ่ (fluid dynamics, พลศาสตร์ ของไหล)
โดยพลศาสตร์ของไหลแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบคือการไหลแบบราบเรียบ (laminar flow) และ การไหลแบบปั่นป่วน
(turbulent flow) การไหลแบบราบเรียบ เป็นการเคลื่อนที่อย่างเป็นระเบียบ โดยชั้นของไหลที่อยู่ติดกันจะเลื่อนผ่าน
กันอย่างราบเรียบไม่ปะปนกัน และเส้นทางการไหลไม่ตัดกัน แต่หากของไหลมีความเร็วมากจนถึงค่าหนึ่ง การ
เคลื่อนที่ของของไหลจะเปลี่ยนเป็น การไหลแบบปั่นป่วน ซึ่งมีลักษณะยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบและมีรูปแบบที่ซับซ้อน
การไหลของของไหลจะเป็นแบบราบเรียบหรือแบบปั่นป่วนนั้นสามารถท านายได้จากเลขเรย์โนลด์ (Reynolds
number, Re) โดยหากเลขเรย์โนลด์มากกว่า 2,300 การไหลจะเริ่มเปลี่ยนจากการไหลแบบราบเรียบเป็นการไหล
แบบปั่นป่วน (laminar-turbulence transition) และเป็นการไหลแบบปั่นป่วนสมบูร์เมื่อเลขเรย์โนลด์มากกว่า 2,900
(พิรุณเกษตร, 2007)
การจาลองพลศาสตร์ของไหลด้วยคอมพิวเตอร์ หรือพลศาสตร์ของไหลเชิงคณนา (computational fluid
dynamics) เป็นวิธีการแก้ปัญหาพลศาสตร์ของไหลด้วยวิธีเชิงตัวเลข ซึ่งมีพื้นฐานมาจากสมการของไหลของ Navier–
Stokes (สมการที่ 1) และ Euler ซึ่งสร้างมาจากกฎอนุรักษ์มวล โมเมนตัม และพลังงาน (ANSYS Inc., 2013a, Tu
et al., 2008b)
∂(ρu) ∂(ρu2 +P) ∂(ρuv) ∂τxx ∂τxy
u momentum + + = +
∂t ∂x ∂y ∂x ∂y
∂(ρu) ∂(ρu2 +P) ∂(ρuv) ∂τxy ∂τxx
v momentum + + = +
∂t ∂y ∂x ∂x ∂y

การจำลองพลศาสตร์ของไหลในอุปกรณ์นำส่งยาสูดเข้าสู่ทางเดินหายใจชนิดผงแห้ง หน้า 2 จาก 10


สมการที่ 1 (Tu et al., 2008a)
u, v = องค์ประกอบคาร์ทีเซียนของความเร็วตามแนวแกน x และ y
ρ = ความหนาแน่นของของไหล
t = เวลา
u = ความเร็วของของไหล

กฎอนุรักษ์มวลแสดงในรูปของอัตราการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของของไหลที่ทางเข้าและทางออก
โดยผลรวมของระบบจะต้องเท่ากับศูนย์ ส าหรับกฎอนุรักษ์โมเมนตัม ผลคูณของมวลและความเร็วของของไหลใน
ปริมาตรจากัดจะต้องคงที่ ในระบบที่เป็น 3 มิติ สามารถแบ่งโมเมนตัมออกมาได้ เป็นเวกเตอร์ 2 แนว คือ u และ v
ตามแนวแกน x และ y ดังแสดงในสมการที่ 2

∂ρ ∂(ρu) ∂(ρu)
+ + =0
∂t ∂x ∂y
สมการที่ 2 (Tu et al., 2008a)
ρ = ความหนาแน่นของของไหล
t = เวลา
u = ความเร็วของของไหล
การอนุรักษ์พลังงานในระบบ เป็นไปตามกฏข้อแรกทางอุณหพลศาสตร์ คือพลังงานที่เพิ่มขึ้นในระบบเป็น
ผลรวมของพลังงานที่เข้ามา พลังงานที่ผิว แรงเนื่องจากน้าหนักของของไหล ความร้อนจากการนาความร้อน และ
ความร้อนจากปฏิกิริยาทางเคมี
สมการของ Navier–Stokes ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นสมการที่อธิบายได้เฉพาะการไหลแบบราบเรียบ แต่การ
ไหลของอากาศในอุปกรณ์น าส่งยา และทางเดินหายใจส่วนบนจะเป็นการไหลแบบปั่นป่วน จึงต้องมีการควบรวม
แบบจาลองการไหลแบบปั่นป่วนเข้ากับสมการของ Navier–Stokes ซึง่ แบบจาลองการไหลแบบปั่นป่วนที่ได้รับความ
นิ ย มเช่ น k-ε turbulence model ที ่ ม ี พ ื ้ น ฐานมาจากสมการ Reynolds-averaged Navier–Stokes (RANS)
(ANSYS Inc., 2013b)
สมการ Reynolds-averaged Navier–Stokes จะแยกปรากฏการการไหลแบบปั่นป่วนออกเป็นความเร็ว
เฉลี่ยของการไหล และการกระโชกของความเร็วการไหล (velocity fluctuation) โดยมีแบบจ าลองการไหลแบบ
ปั่นป่วนอยู่หลายแบบ เช่น k–ω SST, k-ε turbulence model นั้นอธิบายการไหลแบบปั่นป่วนด้วยสมการการ
ขนส่ง (transport equation) สองสมการ คือ k เป็นสมการเกี่ยวกับพลังงานในระบบการไหลแบบปั่นป่วน และ ε
เป็นสมการเกี่ยวความแรงและการกระจายของการไหลแบบปั่นป่วน นอกจากสมการของ k-ε ยังมีการใช้การจาลอง
ชนิด large eddy simulation เพื่อมาแก้ข้อจากัดของ k-ε ในกรณีรูปร่างของอุปกรณ์มีความซับซ้อนสูง แต่ต้องใช้
การคานวณที่ซับซ้อนขึ้นและใช้พลังการประมวลผลของคอมพิวเตอร์มากขึ้น (Stapleton et al., 2000)
นอกจากการจาลองการไหลของอากาศแล้วยังมีการจาลองการเคลื่อนที่ของอนุภาคผงยา โดยแบบจาลองที่
ใช้มีอยู่หลายรูปแบบเช่น discreate particle model (DPM) และ discrete element method (DEM) ซึ่งมีพื้นฐาน

การจำลองพลศาสตร์ของไหลในอุปกรณ์นำส่งยาสูดเข้าสู่ทางเดินหายใจชนิดผงแห้ง หน้า 3 จาก 10


มาจากการคานวณแรงกระทาต่าง ๆ ต่ออนุภาคคือ drag force, แรงจากความเร่งแรงโน้มถ่วง และแรงอื่น ๆ ในระบบ
ดั้งแสดงในสมการที่ 3 (ANSYS Inc., 2013c)

𝑑𝑢⃑𝑝 𝑔(𝜌𝑝 − 𝜌)
= 𝐹𝐷 (𝑢
⃑ −𝑢
⃑ 𝑝) + +𝐹
𝑑𝑡 𝜌𝑝
สมการที่ 3 แรงที่กระทาต่ออนุภาค (particle force balance)
FD = drag force
𝑔 = ความเร่งจากแรงโน้มถ่วง
𝑢
⃑ ,𝑢⃑ 𝑝 = ความเร็วของของไหล, อนุภาค
ρ, ρp = ความหนาแน่นของของไหล, อนุภาค
⃑F = แรงกระทาอื่นๆ
แรงกระทาอื่น ๆ ในระบบ (⃑F) อาจมีได้ในบางกรณี เช่นหากระบบมีความต่างของอุณหภูมิอาจพิจารณาเพิ่ม
thermophoretic force เข้ามาในสมการได้ หรือในกรณีอนุภาคเล็กกว่า 1 ไมโครเมตรอาจเพิ่ม Saffman's lift
force หรือ แรงการเคลื่อนที่แบบ Brownian เข้าในร่วมในการคานวณ

อุปกรณ์นำส่งยำสูดเข้ำสู่ทำงเดินหำยใจชนิดผงแห้งและกำรจำลองพลศำสตร์ของไหล
กลไกการกระจายตัวของผงยานั้นอาศัย แรงต้านอากาศ (drag force) และการกระแทกของผงยากับผงยา
และผงยากับอุปกรณ์น าส่งเป็นหลัก (ANSYS Inc., 2013c) (รูปที่ 1) อุปกรณ์ น าส่งยาสูดชนิดผงแห้งที่ได้รับการ
ออกแบบมาอย่างดีสามารถให้แรงต้านอากาศ และแรงกระแทกจากแรงกระทาของอากาศที่เพียงพอสาหรับการทาให้
เป็นแอโรซอลโดยไม่ต้องใช้ความพยายามในการสูด หรือลดการสูญเสียยาในอุปกรณ์ รูปทรงเรขาคณิตของอุปกรณ์
น าส่ ง ยามี ผ ลต่ อ ค่ า ทางอากาศพลศาสตร์ หลายประการ เช่ น แรงต้ า นของอุ ป กรณ์ พลั ง งานการไหลปั ่ น ป่ ว น
การกระแทกและอัตราความเค้น

รูปที่ 1 กลไกการกระจายตัวของผงยาในระหว่างการสูด

การจำลองพลศาสตร์ของไหลในอุปกรณ์นำส่งยาสูดเข้าสู่ทางเดินหายใจชนิดผงแห้ง หน้า 4 จาก 10


อุปกรณ์นาส่งยาสูดชนิดผงแห้งทางการค้าหลายชนิดถูกนามาศึกษาและดัดแปลง ตัวอย่างการศึกษาและการ
ออกแบบอุ ป กรณ์ น าส่ ง ยาสู ด เข้ าสู ่ ทางเดิ นหายใจชนิ ด ผงแห้ ง และการจ าลองพลศาสตร์ ของไหลเช่ น อุ ป กรณ์
Aerolizer® เป็นอุปกรณ์นาส่งยาสูดชนิดผงแห้ง ชนิด unit dose ที่นาส่งยาผงแห้งที่บรรจุในแคปซูล โดยอุปกรณ์มี
mouthpiece ลักษณะทรงกระบอก ที่ฐานของ mouthpiece มีตะแกรง (grid) ซึ่งเชื่อมต่อกับโพรงทรงกระบอก
ขนาดใหญ่ มีช่องอากาศเข้าทางด้านข้างสองช่อง ส่วนด้านฐานของอุปกรณ์เป็นช่องใส่แคปซูลมีเข็มส าหรับ เจาะ
แคปซูลก่อนการใช้งาน (รูปที่ 2) ระหว่างใช้งานแคปซูลจะมีการหมุนและกระแทกปลดปล่อยผงยาออกมาจากแคปซูล
และเกิดกระบวนการกระจายตัวให้ได้แอโรซอล (Suwandecha et al., 2014)

รูปที่ 2 มิติภายในของอุปกรณ์ Aerolizer®

การศึกษาผลของโครสร้างของตะแกรงพบว่า ความถี่ของตะแกรงมีผลต่อการไหลของอากาศในลั กษณะ


หมุนวน หากความถี่ของตะแกรงน้อยลงส่งผลให้การไหลแบบหมุนวนในช่วง mouthpiece สูงขึ้นและส่งผลให้ fine
particle fraction ลดลง นอกจากนี้การจ าลองการไหลของอากาศและการเคลื ่อนที่ ของอนุภาคภายในอุ ป กรณ์
Aerolizer® ยังแสดงให้เห็นการหมุนวนและการตกกระทบกับผนัง ดังแสดงในรูปที่ 3 นอกเหนือจากความถี่ของ
ตะแกรงแล้วตาแหน่งของตะแกรงยังมีผลต่อการกระจายตัวของอนุภาค โดยการวางตาแหน่งตะแกรงใกล้ทางเปิดของ
mouthpiece และใกล้ต าแหน่งโพรงบรรจุแคปซูล พบว่าเมื่อจ าลองการเคลื่อนที่ของอนุภาค วัดความถี่การชน
พลังงานการชนกระแทก และความน่าจะเป็นในการแตกตัว ของอนุภาคสูงขึ้น เมื่อวางตะแกรงใกล้กับตาแหน่งโพรง
แคปซูล

รูปที่ 3 การเคลื่อนที่ของอนุภาคใน Aerolizer® เมื่อมีตะแกรงแบบต่างๆ (Coates et al., 2004)

การจำลองพลศาสตร์ของไหลในอุปกรณ์นำส่งยาสูดเข้าสู่ทางเดินหายใจชนิดผงแห้ง หน้า 5 จาก 10


การศึกษาการไกของอากาศในโพรงหมุนวนส่วนที่ติดกับตะแกรงของ Aerolizer® พบว่าหากความสูงของ
โพรงหมุนวนลดลงจะทาให้การไหลแบบหมุนวน และการไหลแบบปั่นป่วนในอุปกรณ์ลดลง และการยึดติดของอนุภาค
ภายในอุปกรณ์ลดลงเช่นกัน เมื่อศึกษาโพรงหมุนวนร่วมกับแคปซูล พบว่าอากาศจากการหมุนวนเข้าไปในรูเจาะ
แคปซูลด้วยความเร็วสูงถึง 10 m/s ขึ้นกับมุมของแคปซูลด้วย กระแสอากาศที่เข้าไปในแคปซูลมีผลอย่างมากต่อการ
กระจายตัวของอนุภาคขนาดไม่เกิน 100 ไมโครเมตร ภายในแคปซูล (Coates et al., 2004)

รูปที่ 4 ลักษณะภายในของ Inhalator®

Suwandecha และคณะ (2014) ได้ ศึ กษาเปรี ย บเที ย บการไหลของอากาศภายในอุ ป กรณ์ 2 ชนิ ด คื อ


Aerolizer® และ Inhalator® โดย อุปกรณ์ Inhalator® นั้นเป็นอุปกรณ์น าส่งยาชนิด unit dose ที่มีลักษณะเป็น
ทรงกระบอกตรง และให้อากาศไหลผ่านตามแนวยาวของแคปซูลซึ่งถูกเจาะรูที่ปลายแคปซูลสองด้าน (รูปที่ 4) พบว่า
พลังงานจลน์การไหลแบบปั่นป่วน (turbulence kinetic energy) มีผลอย่างมากต่อการกระจายตัวของผงยาภายใน
อุปกรณ์ทั้งสองชนิด ซึ่งวัดได้จากการจาลองความน่าจะเป็นในการแตกตัวของผงยา และสัดส่วนอนุภาคละเอียด (fine
particle fraction) ที่มีค่าสูงขึ้น โดยจะมีผลเด่นชัดในสูตรตารับที่ใช้ตัวพา (carrier) ขนาดเล็ก เนื่องจากตัวพาขนาด
เล็กมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคสูงกว่าตัวพาขนาดใหญ่ และเมื่อติดตามการไหลของอากาศภายในอุปกรณ์ พบว่า
ส่วนโพรงหมุนวนของอุปกรณ์ Aerolizer® และ ตะแกรงของ Inhalator® มีบทบาทสาคัญต่อประสิทธิภาพการแตกตัว
ของผงยาระหว่างการสูดหายใจ (Suwandecha et al., 2014)
การทดลองในอุปกรณ์ Turbuhaler® ซึ่งเป็นอุปกรณ์แบบ multiple dose reservoir โดยใช้แบบจ าลอง
การไหลแบบปั่นป่วน k–ω และการติดตามการเคลื่อนที่ของอนุภาค พบว่าลักษณะการไหลของอากาศเป็นการไหล
แบบหมุนวนในบริเวณส่วนล่างของอุปกรณ์และมีลักษณะการไหลหมุนตามแนวขวาง (tangential flow) ในส่วน
ทางเดินอากาศที่เป็นเกลียว (รูปที่ 5) เมื่อทดลองจาลองการเคลื่อนที่ของอนุภาค lactose ที่มีค่ามัธยฐานเส้นผ่าน
ศูนย์กลาง 2.2 ไมโครเมตร พบว่าอนุภาคขนาดเล็กจะตกค้างในอุปกรณ์ประมาณร้อยละ 60 ส่วนอนุภาคขนาด 4
ไมโครเมตร จะตกค้างในอุปกรณ์ทั้งหมด และเมื่อเปรียบเทียบการตกค้างของอนุภาคภายในอุปกรณ์ในส่วนของช่อง

การจำลองพลศาสตร์ของไหลในอุปกรณ์นำส่งยาสูดเข้าสู่ทางเดินหายใจชนิดผงแห้ง หน้า 6 จาก 10


หมุนวนอากาศและ mouthpiece พบว่ามีการตกค้างประมาณร้อยละ 18-21 และ 25-27 ตามลาดับ ซึ่งสอดคล้อง
กับผลการทดลองในห้องปฏิบัติการ (Milenkovic et al., 2013)

รูปที่ 5 ความแรงของการไหลของอากาศในอุปกรณ์ Turbuhaler® (Milenkovic et al., 2013)

Longest และคณะ (2019) ได้ทดลองใช้ตัวแปรทางอากาศพลศาสตร์และการเคลื่อนที่ของอนุภาคในการ


ออกแบบอุปกรณ์นาส่งยาสูดชนิดผงแห้งที่ใช้ปริมาตรอากาศน้อย ให้ใช้ปริมาตรการสูดหายใจเพียง 10 mL (dose
aerosolization and containment, DAC) แ ล ะ ไ ด ้ ค ่ า emitted dose แ ล ะ mass median aerodynamic
diameter (MMAD) ในขนาดที่เหมาะสม โดยผู้วิจัยได้ออกแบบอุปกรณ์นาส่งยาให้มีขนาดและรูปทรงภายในแตกต่าง
กันออกไป โดยมีการปรับขนาดทางเข้าและทางออกของอากาศ ระยะและมุมของท่ออากาศที่เจาะเข้าสู่แคปซู ลบรรจุ
ผงยาขนาด 0 ดังรูปที่ 6

รูปที่ 6 รูปทรงภายในของอุปกรณ์นาส่งยาสูดชนิดผงแห้งที่ออกแบบโดย Longest และคณะ (2019)

การจ าลองการไหลด้วยอัตราการไหล 3 L/min และใช้แบบจ าลองการไหลแบบปั่นป่วน low Reynolds


number k–ω พบว่ามีอากาศจากทางเข้าไหลเข้าสู่แคปซูลในลักษณะพ่นออกมาเป็นสายด้วยความเร็วสูง (jet flow)
ที่ความเร็วประมาณ 100 m/s และความเร็วอากาศที่ผิวแคปซูลของ case 6 และ 9 ประมาณ 5 m/s ส่วน case 7

การจำลองพลศาสตร์ของไหลในอุปกรณ์นำส่งยาสูดเข้าสู่ทางเดินหายใจชนิดผงแห้ง หน้า 7 จาก 10


ซึ่งมีทางเข้าของอากาศท ามุมเฉียง 10 ความเร็วอากาศที่ผิวแคปซูล 10-20 m/s และเมื่อติดตามค่า turbulent
kinetic energy, turbulent length scale, และ exposure time ของอนุภาคในระบบพบว่ามีความสัมพันธ์กับการ
กระจายตัวของอนุภาค โดยค่า MMAD จะสัมพันธ์แบบ logarithm กับค่าเฉลี่ยต่อปริมาตรของพลังงานจลน์การไหล
แบบปั่นป่วนของกระแสอากาศ ส่วนค่า emitted dose จะมีความสัมพันธ์กับค่า พลังงานจลน์การไหลแบบปั่นป่วน
ของอนุภาค และค่าความเค้นเฉือนที่ผนังแคปซูล (wall shear stress) การเพิ่มค่าความเค้นเฉือนที่ผนัง จะช่วยให้
อนุภาคติดกับผนังแคปซูลน้อยลง ส่วนการเพิ่ม พลังงานจลน์การไหลแบบปั่นป่วนของอนุภาค จะช่วยให้การกระจาย
ตัวของอนุภาคดีขึ้น และทาให้ emitted dose สูงขึ้น ทว่าค่าเฉลี่ยต่อปริมาตรของพลังงานจลน์ การไหลแบบปั่นป่วน
ของกระแสอากาศที่สูงขึ้นกลับส่งผลให้ค่า MMAD เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งตรงกันข้ามกับงานวิจัยอื่น ๆ ซึ่งอาจเกิดจาก
อุปกรณ์ DAC มีการสร้างการไหลแบบปั่นป่วนที่รุนแรงในเวลาสั้น ๆ ทาให้เกิดการชนกันของอนุภาคที่รุนแรงมาก จน
เกิดการยึดติดกันใหม่ของอนุภาค และความสัมพันธ์ของพลังงานจลน์การไหลแบบปั่นป่วนกับ MMAD อาจจะเป็น
รูปแบบ hyperbola อย่างไรก็ตามค่าพลังงานจลน์การไหลแบบปั่นป่วนและค่าความเค้นเฉือนที่ผนัง สามารถนามา
ช่วยออกแบบอุปกรณ์นาส่งยาที่มีประสิทธิ์ภาพดีขึ้นได้ (Longest et al., 2019)
จากการทดลองกับอุปกรณ์หลายชนิดข้างต้นแสดงให้เห็นว่าการจาลองพลศาสตร์ของไหลสามารถใช้ในการ
ประเมินและออกแบบอุปกรณ์น าส่งยาสูดชนิดผงแห้ง โดยใช้พารามิเตอร์ต่าง ๆ เช่น รูปแบบการไหลของอากาศ
พลังงานการไหลแบบปั่นป่วน และการเคลื่อนที่และชนกันของอนุภาค เป็นต้น และนาไปสู่ การสร้างระบบนาส่งยาสู่
ทางเดินหายใจให้มีประสิทธิภาพสูงได้ นอกจากนี้ การจาลองพลศาสตร์ของไหลยังสามารถนาไปศึกษาการไหลของ
อากาศในทางเดินหายใจเพื่อนาส่งยาแบบมุ่งเป้าได้อีกด้วย

เอกสารอ้างอิง
มนตรี พิรุณเกษตร. 2007. กลศาสตร์ของไหล. ฉบับพิมพ์ที่ 1 พิมพ์ซ้าครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
ANSYS INC. 2013a. Chapter 1: Basic Fluid Flow. In: ANSYS INC. (ed.) ANSYS Fluent Theory Guide.
Cannonsburg, PA, USA: ANSYS Inc.
ANSYS INC. 2013b. Chapter 4 : Turbulence. In: ANSYS INC. ( ed. ) ANSYS Fluent Theory Guide.
Cannonsburg, PA, USA: ANSYS Inc.
ANSYS INC. 2013c. Chapter 16: Discrete Phase. In: ANSYS INC. ( ed. ) ANSYS Fluent Theory Guide.
Cannonsburg, PA, USA: ANSYS Inc.
Coates, M. S., Fletcher, D. F., Chan, H. K. & Raper, J. A. (2004). Effect of design on the performance
of a dry powder inhaler using computational fluid dynamics. Part 1: Grid structure and
mouthpiece length. Journal of Pharmaceutical Sciences, 93, 2863-2876.
Longest, W. , Farkas, D. , Bass, K. & Hindle, M. (2019). Use of Computational Fluid Dynamics ( CFD)
Dispersion Parameters in the Development of a New DPI Actuated with Low Air Volumes.
Pharmaceutical Research, 36, 110.
Milenkovic, J. , Alexopoulos, A. H. & Kiparissides, C. (2013). Flow and particle deposition in the
Turbuhaler: A CFD simulation. International Journal of Pharmaceutics, 448, 205-213.

การจำลองพลศาสตร์ของไหลในอุปกรณ์นำส่งยาสูดเข้าสู่ทางเดินหายใจชนิดผงแห้ง หน้า 8 จาก 10


Stapleton, K. W., Guentsch, E., Hoskinson, M. K. & Finlay, W. H. (2000). On the suitability of k-epsilon
turbulence modeling for aerosol deposition in the mouth and throat: A comparison with
experiment. Journal of Aerosol Science, 31, 739-749.
Suwandecha, T. , Wongpoowarak, W. , Maliwan, K. & Srichana, T. (2014). Effect of turbulent kinetic
energy on dry powder inhaler performance. Powder Technology, 267, 381-391.
Tu, J., Yeoh, G. H. & Liu, C. (2008a). Appendix A - Full Derivation of Conservation Equations. In: TU,
J. , YEOH, G. H. & LIU, C. ( eds. ) Computational Fluid Dynamics. Burlington: Butterworth-
Heinemann.
Tu, J., Yeoh, G. H. & Liu, C. (2008b). Chapter 3 - Governing Equations for CFD—Fundamentals. In: TU,
J. , YEOH, G. H. & LIU, C. ( eds. ) Computational Fluid Dynamics. Burlington: Butterworth-
Heinemann.

การเปิดเผยสถานภาพของผู้เขียนที่เกี่ยวข้องกับบทความ
.........................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................................

การอนุญาตให้เผยแพร่บทความทางวิชาการที่ได้รับหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่องฯ บน website ของ


สถาบันหลัก
 อนุญาต  ไม่อนุญาต

การจำลองพลศาสตร์ของไหลในอุปกรณ์นำส่งยาสูดเข้าสู่ทางเดินหายใจชนิดผงแห้ง หน้า 9 จาก 10


การจำลองพลศาสตร์ของไหลในอุปกรณ์นำส่งยาสูดเข้าสู่ทางเดินหายใจชนิดผงแห้ง หน้า 10
จาก 10

You might also like