7.พิธีชักธงในเรือ พ.ศ2523

You might also like

Download as doc, pdf, or txt
Download as doc, pdf, or txt
You are on page 1of 4

ระเบียบกองเรือยุทธการ

ว่าด้วยพิธีชักธงในเรือ
พ.ศ.๒๕๒๓
-----------------------
ด้วยเห็นเป็ นการสมควรปรับปรุงระเบียบกองเรือยุทธการ ว่าด้วย พิธีชักธงในเรือ พ.ศ.๒๕๑๒
ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงตราระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑. ระเบียบนี้เรียกว่า .ระเบียบกองเรือยุทธการ ว่าด้วยพิธีชักธงในเรือ พ.ศ.๒๕๒๓.
ข้อ ๒. ให้ยกเลิกระเบียบกองเรือยุทธการว่าด้วยพิธีชักธงในเรือ พ.ศ.๒๕๑๒ฉบับลงวันที่ ๓ กรกฎาคม
๒๕๑๒
ข้อ ๓. พิธีชักธงในเรือตามระเบียบนี้ประกอบด้วย พิธีชักธงประจําเรือ และพิธีชักธงยศหรือธงตําแหน่ง
ข้อ ๔. พิธีชักธงประจําเรือ ให้กําหนดความรับผิดชอบและวิธีปฏิบัติของผู้เกี่ยวข้อง ดังนี้.-
๔.๑ การเตรียมการเมื่อมีสัญญาณระวังธง
๔.๑.๑ นายยาม ดูแลความเรียบร้อยทั่วไปในเรือแล้ว ไปยืนประจําที่หลังจ่ายาม
๔.๑.๒ ยามใหญ่ ให้หัวหน้ายามใหญ่ (ใช้ผู้ช่วยนายยามหรือพันจ่ายามซึ่งมียศชั้นพันจ่า
ขึ้นไป ถ้าไม่มีให้นายยามเป็นหัวหน้ายามใหญ่) ดูแลให้ทหารแต่งกายให้เรียบร้อย ติดดาบปลายปื นพร้อมยืนคอย
อยู่ในที่อันควรหรือในที่กําบัง เมื่อก่อนจะถึงเวลา ชักธงขึ้น หรือลงประมาณ ๑-๒ นาที ให้หัวหน้ายามใหญ่ นํา
แถวเดินออกมาอย่างผึ่งผาย มาประจําที่หลังนายยามหรือจ่ายาม โดยจัดแถวหน้ากระดานเรียงหนึ่ง มีพลแตรอยู่
หัวแถวเตรียมพร้อมที่จะรับธง และเมื่อทําพิธีธงขึ้นหรือลงแล้ว ให้หัวหน้ายามใหญ่นําแถวกลับที่เดิม สั่งปลด
ดาบแล้วจึงเลิกแถว
๔.๑.๓ จ่ายามและพลแตรในเรือ ที่มีแต่จ่ายามไม่มีพลแตร ให้จ่ายามยืนอยู่ข้างหลัง
และระหว่างกลางคนชักธงท้ายเรือ ในเรือที่มีทั้งจ่ายามและพลแตรแต่ไม่มียามใหญ่ จ่ายามและพลแตรยืนคู่กัน
หลังคนชักธงท้ายเรือ โดยจ่ายามยืนทางขวา ในเรือที่มียามใหญ่ให้พลแตรแยกไปยืนอยู่หัวแถวยามใหญ่
๔.๑.๔ คนชักธง คนชักธงท้ายใช้ทหาร ๒ คน (ยามเข้ายามออก)แต่งกายแบบอยู่ยามแต่
ไม่สวมหมวก ยืนคู่กันสองข้างเสาธง คนหนึ่งเป็ นคนดึงสายเชือกอีกคนหนึ่งเป็ นคนหย่อนสายเชือกเรือใดที่ชัก
ธงหัวเรือให้จัดคนชักธงหัวเรือโดยใช้ยามหัวเรือถ้ายามหัวเรือไม่มี ให้จัดทหารแต่งกายแบบอยู่ยาม แต่ไม่สวม
หมวกเป็นคนชักธงหัวเรือ ๑ คน
๔.๑.๕ คนประจําเรือ แต่งกายเรียบร้อยสวมหมวกมาชุมนุมบริเวณที่ชักธงท้ายเรือ
ทั้งสองกราบ การชุมนุมนั้นให้เรียงแถวกันเข้าเองโดยไม่ต้องมีคําสั่งเป็ นการเข้าแถวตามลําพัง เป็ นระเบียบ
เรียบร้อยพอสมควร เป็ นแถวตอนจะจัดจํานวนแถวเท่าใดสุดแต่จํานวนคนประจําเรือและสถานที่บริเวณนั้น
จ่าอยู่หัวแถวถัดไปเป็นพลทหาร พลเรือนอยู่ท้ายแถว นายทหารยืนระหว่างแถวทหารทั้งสอบกราบ ถ้ามียามใหญ่
ให้ยืนอยู่ข้างหลังของยามใหญ่ พันจ่ายืนหลังนายทหารในเวลาเย็นถ้ามีทหารไปเล่นกีฬาบนบก และกลับเรือก่อน
ธงลง ถ้าไม่สามารถไปเปลี่ยนเครื่องแต่งกายได้ทัน อนุญาตให้แต่งกายกีฬามารับธงได้ แต่ให้อยู่ท้ายแถวสุด
๔.๒ การยืนตามข้อ ๔.๑ ให้ปฏิบัติดังนี้.-
๔.๒.๑ คนชักธงยืนในท่าตรง นอกนั้นยืนในท่าพัก
๔.๒.๒ คนชักธงหัวยืนหันหน้าไปทางหัวเรือ นอกนั้นจะยืนหันหน้าไปทางหัวเรือหรือ
ท้ายเรือ แล้วแต่ตํ าบลที่ชักธงท้ายและบริเวณที่ที่จะยืนรับธงในเรือ โดยให้กองเรือต้นสังกัดเป็ นผู้กําหนดให้เรือ
ประเภทเดียวกันปฏิบัติให้เหมือนกัน
๔.๓ การปฏิบัติขณะธงขึ้นหรือธงลง เมื่อถึงเวลาธงขึ้นหรือธงลง ให้ปฏิบัติดังนี้คือ.-
เรือที่มียามใหญ่ พลแตรเป่ าสัญญาณตรง พร้อมกับจ่ายามเป่ านกหวีด ดึงตึง
ทั้งหมดในเรืออยู่ในท่าพัก ทําท่าตรง หัวหน้ายามใหญ่บอกยามใหญ่ทําวันทยาวุธ ทั้งหมดในเรือทําท่าเคารพ
(เรือที่ไม่มียามใหญ่และไม่มีแตรทั้งหมดในเรือทําท่าเคารพต่อจากท่าตรงโดยไม่ต้องสั่ง)แตรเป่ าเพลงเคารพ ๓ จบ
นกหวีดเป่ าเพลงธงขึ้นพร้อมกับคนชักธงเริ่มชักธงและให้จบพอดีธงขึ้นอยู่ยอดเสาหรือลงเสร็จเรียบร้อย หัวหน้า
ยามใหญ่บอกยามใหญ่เรียบอาวุธ ทั้งหมดในเรือเอามือลง แตรเป่ าพัก (เรือที่ไม่มียามใหญ่และไม่มีพลแตร
ทั้งหมดในเรือเอามือลงเมื่อสิ้นเสียงเพลงนกหวีด) ถ้าเป็ นพิธีธงขึ้น นายยามกล่าวคําว่า “.ตายในสนามรบเป็ น
เกียรติของทหาร.” ทั้งหมดในเรือกล่าวตาม แล้ว จึงเลิกแถวไป ในพิธีธงลงซึ่งไม่มี การกล่าวทั้งหมดในเรือ
เลิกแถวภายหลังที่เอามือลง หัวหน้ายามใหญ่นําแถวยามใหญ่กลับ (การเลิกแถวให้กระทําพร้อมกับวิ่งไป ให้พ้น
จากบริเวณที่รับธงโดยเร็วโดยไม่ต้องสั่ง ถ้าจะต้องเลิกแถวไปในทิศทางตรงกันข้าม กับการยืน ให้กลับหลังหัน
พร้อมกันโดยไม่ต้องสั่งแล้วจึงวิ่งไป)
ข้อ ๕. การปฏิบัติอื่น ๆ เกี่ยวกับธงประจําเรือ
๕.๑ ในกรณี ที่ต้องสลุตธงเพื่อรับคํานับก่อนเวลาธงขึ้น เช่น เรือแล่นผ่านบริเวณที่มีเรือสินค้า
จอดอยู่ หรือเรือจอดอยู่บริเวณที่เรือสินค้าผ่านไปมา เพื่อความรวดเร็วทางเรือควรต่อธงราชนาวีไว้ก่อน โดยพับ
หรือม้วนให้มิดชิด และให้คลี่ออกได้รวดเร็วในเมื่อจะต้องสลุตธงเพื่อรับคํานับถ้ามีการรับสลุตธงเรือมากลําด้วย
กัน คงให้ชักธงขึ้นไว้ให้พร้อมที่จะรับสลุตธงลําต่อไปได้ เมื่อเห็นว่าหมดการรับสลุตธงแล้ว จึงให้เอาธงลงเก็บ
ได้
๕.๒ ในกรณีที่ชักธงประจําเรือไว้ก่อนธงขึ้น เมื่อถึงเวลาระวังธงเพื่อทําพิธีธงขึ้น ให้ชักธงประ
จําเรือลงเสียชั่วคราว เพื่อกระทําพิธีธงขึ้น ภายหลังพิธีธงลงหากจะต้องชักธงประจําเรือต่อไป ก็ให้ชักธงขึ้นเมื่อ
เสร็จพิธีธงลง
๕.๓ ถ้ามีการไว้ทุกข์ธง ให้มีพิธีธงขึ้นเสียก่อนแล้วจึงไว้ทุกข์ธง ก่อนพิธีธงลงให้ชักธงขึ้นเต็ม
เสา แล้วจึงให้ทําพิธีธงลงพิธีชักธงยศและธงตําแหน่ง
ข้อ ๖. การชักธงยศและธงตําแหน่งขึ้นหรือลงในเรือหลวงโอกาสที่ผู้บังคับบัญชาชั้นผู้ใหญ่ได้รับสิทธิ
ชักธงตามพระราชบัญญัติ รับตําแหน่งหรือพ้นตําแหน่งในเรือนั้นก็ดีหรือขึ้นประจําเรือเป็ นครั้งแรก และจากเรือ
เป็ นครั้งสุดท้ายก็ดี หรือเปลี่ยนยศหรือเปลี่ยนตําแหน่งก็ดี ให้เรือหลวงลํานั้นกระทําพิธีชักธงยศและธงตําแหน่ง
ขึ้นหรือลงดังต่อไปนี้.-
๖.๑ การทําพิธีชักธงยศและธงตําแหน่งตามระเบียบนี้ให้กระทําในระหว่างเวลา ๐๘๐๐ ถึงเวลา
ดวงอาทิตย์อัสดงคต
๖.๒ พิธีชักธงเมื่อผู้ครองตําแหน่งอยู่ในเรือ
๖.๒.๑ ให้จัดระเบียบแถวทั้งหมดโดยทํานองเดียวกับพิธีธงขึ้นและธงลง โดยให้มาเข้า
แถว ในบริเวณเสาที่ชักธงยศหรือธงตํ าแหน่งขึ้นลงนั้น โดยหันหน้าเข้าหาเสา
๖.๒.๒ ในขณะทําพิธีชักธงยศหรือธงตําแหน่ง พลแตรเป่ าสัญญาณตรง ( เรือที่ไม่มี
แตร นายยามบอกทั้งหมดตรง) แล้วนกหวีดเป่ าเพลงธงขึ้นหรือธงลง
๖.๒.๓ ในขณะที่นกหวีดเป่ าเพลงธงขึ้นหรือธงลงนี้ ถ้าหากว่าธงยศหรือธงตําแหน่งที่
ชักขึ้นลงนั้น ได้รับเกียรติตามข้อบังคับให้ใช้เครื่องบรรเลงเพลงเคารพอย่างใด ๆ แล้ว ก็ให้เรือที่มีเครื่องบรรเลง
ทําการบรรเลงตามกําหนด
๖.๒.๔ ถ้าผู้ครองตําแหน่งขึ้นประจําเรือ หรือจากเรือเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนหรือหลังจาก
เวลาตามข้อ ๖.๑ ย่อมไม่มีพิธีใด ๆ การชักธงยศหรือธงตําแหน่งให้รอไว้กระทําพร้อมกับพิธีชักธงประจําเรือ
เวลา ๐๘๐๐
๖.๒.๕ ถ้าพิธีชักธงยศและธงตําแหน่ง กระทําพร้อมกับพิธีชักธงประจําเรือ ให้ทําการ
เคารพสําหรับพิธีชักธงประจําเรือแต่อย่างเดียว ธงยศและธงตําแหน่ง คงมีแต่คนชักธงทําหน้าที่ชักธงเท่านั้น
ถ้าจะต้องมีการยิงสลุตก็ให้ปฏิบัติตามข้อบังคับทหาร ว่าด้วยการยิงสลุต
๖.๓ พิธีชักธงพร้อมกับการรับรองในขณะขึ้นเรือ
๖.๓.๑ นกหวีดเป่ าเพลงนายทหารขึ้นเรือท่อนที่หนึ่ง เมื่อเรือกระเชียงสั่งหัวเรือปล่อย
กระเชียง หรือเรือยนต์สั่งหยุดเครื่อง
๖.๓.๒ หัวหน้ายามใหญ่บอก .ระวัง. (ถ้ามี)เมื่อเรือเทียบบันไดเรียบร้อย
๖.๓.๓ เมื่อเริ่มก้าวขึ้นบันได เรือเล็กเอาธงที่ปักหัวเรือออก (ถ้ามี)แตรเป่ าสัญญาตรง ถ้า
ไม่มีแตร นายยามบอก .ทั้งหมดตรง. นกหวีดเริ่มเป่ าเพลงนายทหาร ขึ้นเรือท่อนที่สอง (ให้จบพอดีกับทําความ
เคารพธงท้ายเรือ) หัวหน้ายามใหญ่บอกวันทยาวุธ (ถ้ามี) เครื่องบรรเลงทําเพลงเคารพ (เมื่อผู้รับคํานับมีสิทธิได้
รับการเคารพด้วยเครื่องบรรเลง)คนชักธง เริ่มชักธงยศหรือธงตําแหน่งขึ้น (ความเร็วในการชักให้ดูพองามไม่ช้า
หรือเร็วเกินไปโดยพิจารณาตามความสูงของเสาประกอบด้วย ) ถ้าธงที่จะต้องชักธงลง ก็ให้เริ่มชักธงพร้อมกับธง
ที่จะชักขึ้นการปฏิบัติตามข้อนี้ให้เริ่มกระทําพร้อม ๆ กัน
๖.๓.๔ ผู้บังคับการเรือ นายยาม หัวหน้ายามใหญ่ (ถ้ามี) รายงานตามลําดับภายหลังที่
เสร็จการปฏิบัติตามข้อ ๖.๓.๓ ทุกอย่างแล้ว
๖.๓.๕ แตรเป่ าสัญญาณพัก ถ้าไม่มีแตรนายยามบอก .พัก. ภายหลังที่หัวหน้ายามใหญ่
นําตรวจแถวยามใหญ่เสร็จแล้ว
๖.๓.๖ หัวหน้ายามใหญ่บอกเรียบอาวุธ
๖.๔ พิธีชักธงพร้อมกับการรับรองในขณะลงจากเรือ
๖.๔.๑ หัวหน้ายามใหญ่บอก .ระวัง. (ถ้ามี) เมื่อกําลังเดินไปจวนจะถึงบริเวณบันได
๖.๔.๒ เมื่อเริ่มทําความเคารพท้ายเรือ แตรเป่ าสัญญาณตรง ถ้าไม่มีแตรนายยามบอก
.ทั้งหมดตรง. หัวหน้ายามใหญ่บอก .วันทยาวุธ. นกหวีดเป่ าเพลงนายทหารลงเรือ ท่อนที่หนึ่ง เครื่องบรรเลงทํา
เพลงเคารพ (เมื่อผู้รับคํานับมีสิทธิได้รับการเคารพด้วยเครื่องบรรเลง) คนชักธงเริ่มชักธงยศหรือธงตําแหน่งลง
ถ้ามีธงที่จะต้องชักขึ้นให้เริ่มชักขึ้นพร้อมกับธงที่ชักลงการปฏิบัติตามข้อนี้ให้เริ่มกระทําพร้อม ๆ กัน
๖.๔.๓ เมื่อเริ่มก้าวลงเรือเล็กทางเรือเล็กปักธงหัวเรือ (ถ้ามี)
๖.๔.๔ เมื่อหัวเรือผลักออก นกหวีดเป่ าเพลงนายทหารลงเรือท่อนที่สอง แตรเป่ า
สัญญาณพัก ถ้าไม่มีแตร นายยามบอก .พัก. หัวหน้ายามใหญ่บอกเรียบอาวุธ
ข้อ ๕. ให้ใช้ระเบียบนี้ ตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๒๓
(ลงชื่อ) พลเรือเอก อดุล ตุลยานนท์
( อดุล ตุลยานนท์ )
ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ หลักการและเหตุผลในการประกาศใช้ระเบียบนี้ เพื่อปรับปรุงระเบียบเดิมให้มี
รูปแบบการเขียนให้เป็นไปตามรูปแบบที่กําหนด

You might also like