11 Online D4 Unit11

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 17

หน่วยที่ 11

การสนับสนุนและสิทธิประโยชน์

อาจารย์ทวีศักดิ์ หมัดเนาะ
และ ผศ. ดร.อาทิตย์ คูณศรีสุข
ห น้ า | 2

หน่วยที่ 11 มาตรการทางภาษีเพื่อการส่งเสริมสหกิจศึกษา
และการบูรณาการการศึกษากับการทำงาน

11.1 ประเภทของสิทธิประโยชน์ทางภาษี
สหกิจศึกษาและการบูรณาการการศึกษากับการทำงาน เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง
สถาบันอุดมศึกษากับสถานประกอบการ สำหรับเหตุผลที่สถานประกอบการเข้าร่วมโครงการสหกิจ
ศึกษา นอกจากเป็นเพราะเห็นประโยชน์ที่จะได้มีโอกาสสรรหาคัดเลือกพนักงานที่มีคุณภาพ ช่วยลด
ระยะเวลาและค่าใช้จ ่ายในการฝึกอบรมเตรียมความพร้อมของพนักงาน รวมทั้งได้รับประโยชน์
โดยตรงจากการจัดทำโครงงานของนักศึกษา เช่น การปรับปรุงประสิ ทธิภาพการปฏิบัติงาน การลด
ต้นทุนในกระบวนการผลิต เป็นต้นแล้ว จากการวิจัยยังพบว่า สถานประกอบการส่วนใหญ่ มีความเห็น
ว่า รัฐควรให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่สถานประกอบการที่ร่วมจัดสหกิจศึกษาและการบูรณาการ
การศึกษากับการทำงานด้วย จึงจะสามารถจูงใจให้สถานประกอบการสนใจศึกษาและให้ความร่วมมือ
อย่างจริงจังและอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น
สำหรับสถานประกอบการที่ร่วมจัดสหกิจศึกษาและการบูรณาการการศึกษากับการทำงาน
สามารถใช้ช่องทางในการขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ สองช่องทาง ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ได้แก่ สิทธิป ระโยชน์ทางภาษีจ ากการฝึก อบรม และสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการสนั บ สนุ น
การศึกษา
11.1.1 สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการฝึกอบรม
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการฝึกอบรม คือ
พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือ
แรงงาน(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้รับ
การฝึกเตรียมเข้าทำงาน ลงวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2546 ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนา
ฝีมือแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบ รายละเอียดเกี่ยวกับ
การฝึกเตรียมเข้าทำงาน ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557 ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือ
แรงงาน เรื่อง กำหนดรายการค่าใช้จ่ายในการฝึกเตรียมเข้าทำงาน ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557 และ
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 437) พ.ศ.
2548
11.1.2 สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการสนับสนุนการศึกษา
กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการสนับสนุน
การศึกษา ได้แก่ พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่
1 พฤษภาคม 2562 พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
(ฉบับที่ 420) พ.ศ. 2547 พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้ว ยการยกเว้น
รัษฎากร (ฉบับที่ 476) พ.ศ. 2551 พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการ
ห น้ า | 3

ยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 655) พ.ศ. 2561 ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์


วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์
สำหรับ เงิน ได้ที่จ ่ายเป็น ค่าใช้จ ่ายเพื่ อการสนับสนุนการศึ กษา ลงวั นที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2548
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการสนับสนุน
การศึ ก ษา ลงวั น ที ่ 29 ธั น วาคม พ.ศ. 2551 และ ประกาศอธิ บ ดี ก รมสรรพากร เรื ่ อ ง กำหนด
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากร
แสตมป์ สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการสนับสนุนการศึกษา ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2562
11.2 สาระสำคัญของพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545
ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการจัดสหกิจศึกษา
11.2.1 ความเป็นมา
กรมพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรงในการ
พัฒนาฝีมือแรงงานของบุคคลที่อยู่ในวัยทำงานให้มีทั กษะฝีมือในการประกอบอาชีพ สามารถรองรับ
การขยายตัวของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมได้ และเพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนมุ่งเน้นการพัฒนาคน
เป็นหัวใจสำคัญ มีส่วนร่วมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการให้พัฒนาฝีมือแรงงานจึงได้มีการออก
กฎหมาย คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 เพื่อเป็นเครื่องมือให้กรม
พัฒนาฝีมือแรงงานใช้ในการส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาฝีมือแรงงานให้แก่
กำลังแรงงานทั้งในและนอกระบบการจ้างงาน โดยมีมาตรการทางด้านภาษีและการให้ความช่วยเหลือ
ในด้านต่าง ๆ เป็นแรงจูงใจ
11.2.2 การบังคับใช้
พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ได้มีการประกาศใช้ใน
ราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา เล่ม 119 ตอนที่ 98 /1 วันที่ 1 ตุลาคม 2545 มีผลบังคับใช้เมื่อพ้น
กำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป จึง มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่
29 มกราคม พ.ศ. 2546
11.2.3 กลุ่มเป้าหมาย
สถานประกอบการที ่ เ ป็ น กลุ ่ ม เป้ า หมายตามความในพระราชบั ญ ญั ต ิ ส ่ ง เสริ ม
การพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ดังนี้
1) ผู้ประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ที่ไม่อยู่ข่ายต้องส่งเงินสมทบ
ตามกฎหมาย แต่เป็นผู้ซึ่งจัดให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงานแก่ลูกจ้างของตนหรือบุคคลทั่วไปก่อนเข้า
ทำงานก็ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายด้วย
2) ผู้ประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ซึ่งอยู่ในข่ายที่ต้องส่งเงินสมทบ
ตามกฎหมาย เว้นแต่เป็นผู้ซึ่งจัดให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงานแก่ลูกจ้างของตนหรือบุคคลทั่วไปก่อน
เข้าทำงาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมด
ห น้ า | 4

11.2.4 ประเภทของการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน
การฝึกอบรมฝีมือแรงงานตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.
2545 มีสามประเภท คือ
1) การฝึกเตรียมเข้าทำงาน
หมายถึง การฝึกอบรมฝีมือแรงงานก่อนเข้าทำงาน เพื่อให้สามารถทำงานได้ตาม
มาตรฐานฝีมือแรงงาน ทั้งนี้ หลักสูตรต้องไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง
สถานประกอบการอาจรับนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษาเข้ารับการฝึก อบรมตาม
หลักสูตรของสถานศึกษา หรือหลักสู ตรของสถานประกอบการผู้ดำเนินการฝึกอบรม หรือหลักสูตรที่
สถานศึ ก ษากั บ สถานประกอบการผู ้ ดำเนิ น การฝึ ก อบรมได้ ร่ ว มกั น จั ดทำขึ ้น ก็ ไ ด้ ทั ้ ง นี้ สถาน
ประกอบการผู้ดำเนิน การฝึก อบรมต้องจัดส่งหลักสูตรการฝึกอบรมดังกล่าวไปยังนายทะเบีย น
(อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย) ก่อนเริ่มดำเนินการฝึกอบรม
2) การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน
หมายถึง การที่ผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นนายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน
เพิ่มเติมในสาขาอาชีพที่ลูกจ้างปฏิบัติงานอยู่ตามปกติ เพื่อให้ลูกจ้างได้มี ความรู้ ความสามารถและ
ทักษะในสาขาอาชีพนั้นสูงขึ้น ทั้งนี้ หลักสูตรต้องไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
3) การฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ
หมายถึง การที่ผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นนายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน
เพิ่มเติมในสาขาอาชีพอื่นที่ลูกจ้างมิได้ปฏิบัติงานอยู่ตามปกติ เพื่อให้ลูกจ้างได้มีความรู้ความสามารถ
ที่จะทำงานในสาขาอาชีพอื่นได้ด้วย ทั้งนี้หลักสูตรต้องไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง
หากผู้ประกอบการดำเนินการการฝึกอบรมทั้ง 3 ประเภท ดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์
และหน้าที่การเป็นผู้ดำเนินการฝึก อบรมตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ จะได้รับสิทธิป ระโยชน์ตามที่
กฎหมายกำหนด
11.2.5 หลักเกณฑ์และหน้าที่ของผู้ดำเนินการฝึกอบรม กรณีการฝึกเตรียมเข้าทำงาน
สถานประกอบการผู้ดำเนินการฝึกอบรมประเภทการฝึกเตรียมเข้าทำงานต้องมี
หน้าที่และดำเนินการตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
1) ต้องจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับการฝึกตามสาขาอาชีพที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
เสนอต่อนายทะเบียนเพื่อให้ความเห็นชอบก่อนการดำเนินการฝึกอบรม
2) ครูฝึกอบรมต้องมีคุณสมบัติตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมฯ ประกาศ
กำหนด
3) จัดให้มีข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการฝึกอบรม
4) จัดทำสัญญาการฝึกเป็นหนังสือกับผู้รับการฝึกอบรม
5) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้รับการฝึกอบรม ที่รัฐมนตรีประกาศ
กำหนดในเรื่อง วัน เวลาฝึก เวลาพัก วันหยุด วันลา เบี้ยเลี้ยงและสวัสดิการ เป็นต้น
6) จัดทำทะเบียนประวัติผู้รับการฝึกอบรมไว้เป็นหลักฐาน
ห น้ า | 5

7) ออกหนังสือรับรองแก่ผู้รับการฝึกที่สำเร็จการฝึก อบรมภายใน 15 วันนับแต่วัน


เสร็จสิ้นการวัดผลแล้วแจ้งให้นายทะเบียนทราบ
8) ห้ามเรียกหรือรับเงินค่าฝึก อบรม หรือค่าตอบแทนในลักษณะใด ๆ อันเกี่ยวกับ
การฝึกอบรมฝีมือแรงงานจากผู้รับการฝึกอบรม
ผู้ดำเนินการฝึก อบรมอาจส่งผู้รับการฝึก อบรมไปฝึกอบรมกับสถานฝึกอบรมฝีมือ
แรงงานในสถานศึกษา หรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงานของทางราชการหรือสถานฝึกอบรมฝีมือ
แรงงานอื่นที่นายทะเบียนเห็นชอบก็ได้
11.2.6 เงินสมทบที่ผู้ประกอบกิจการส่งเข้ากองทุน
พระราชบัญญัติฉบับนี้ประกอบกับประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องประเภท ชนิด
ขนาด จำนวนลูกจ้าง สัดส่วนของผู้รับการฝึกกับจำนวนลูกจ้างทั้งหมด และท้องที่ที่ผู้ประกอบกิจการ
ต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการประเภทอุตสาหกรรม
พาณิชยกรรมหรือธุรกิจอย่างอื่น ทีม่ ีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไปทุกท้องที่ ต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุน
พัฒนาฝีมือแรงงานในอัตราร้อยละ 1 ของค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ เว้นแต่เป็นผู้ซึ่ง
จัดให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงานในสัดส่วนร้อยละ 50 ของลูกจ้างทั้งหมด
11.2.7 สิทธิประโยชน์ของสถานประกอบการผู้ดำเนินการฝึกอบรม
เมื่อสถานประกอบการผู้ดำเนินการฝึกอบรมได้ดำเนินการฝึกอบรมฝีมือแรงงานตาม
หลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดแล้วสถานประกอบการจะได้รับสิทธิและประโยชน์ ดังนี้
1) มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เป็นกรณีพิเศษสำหรับค่าใช่จ่ายในการฝึกอบรมฝีมือ
แรงงาน
2) มีสิทธินำคนต่างด้าว ซึ่งเป็นช่างฝีมือหรือผู้ช ำนาญการเพื่อ ทำหน้าที่เป็น ครู
ฝึกอบรมเข้ามาในราชอาณาจักร
3) ได้รับคำปรึกษาแนะนำและความช่วยเหลือจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในด้าน
ต่างๆ
4) ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
5) ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน (เฉพาะกรณีฝึกเตรียมเข้า
ทำงาน)
6) ไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ (เฉพาะกรณีฝึกเตรียมเข้า
ทำงาน)
7) สิทธิและประโยชน์อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ห น้ า | 6

การฝึกอบรมฝีมือแรงงาน

หมวดที่ 1
การฝึกอบรมฝีมือแรงงาน

การฝึกเตรียมเข้าทำงาน การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน การฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ

อาจรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา


หรือบุคคลที่ทางราชการส่งมา
ดำเนินการฝึกอบรมเอง ส่งไปฝึกภายนอก
ฝึกเข้ารับการฝึก

สถานศึกษา
ฝึกในสถานประกอบการ ฝึกในศูนย์ฝึกอบรม
กิจการ / สถานที่อื่น ฝีมือแรงงาน สถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน
ของทางราชการ

สถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานอื่น
(มูลนิธิ สมาคมหรือนิตบิ ุคคล
ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย)

แผนภาพที่ 11.1 ประเภทการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน

11.3 การดำเนินการเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์
11.3.1 สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการจัดฝึกอบรม
ภายใต้ พ ระราชบั ญ ญั ต ิ ส ่ ง เสริ ม การพั ฒ นาฝี ม ื อ แรงงาน พ.ศ. 2545 สถาน
ประกอบการ อาจรับนักเรียน นิสิต นักศึกษาเข้ารับการฝึก อบรมตามหลักสูตรของสถานศึกษา หรือ
หลั ก สู ต รของสถานประกอบการผู ้ ด ำเนิ น การฝึ ก อบรม หรื อ หลั ก สู ต รที ่ ส ถานศึ ก ษากั บ สถาน
ประกอบการผู้ดำเนินการฝึกอบรมร่วมกันจัดทำขึ้นก็ได้
ดังนั้น กรณีสถานประกอบการรับนักเรียน นิสิต นักศึกษาเข้ารับการฝึกอบรม ทั้งใน
รู ป การจั ด สหกิ จ ศึ ก ษาและการบู ร ณาการการศึ ก ษากั บ การทำงาน (Cooperative & Work-
Integrated Education) การฝึ ก งาน (Apprentice) การฝึ ก อบรม ทวิ ภ าคี (Dual Vocational
Training) หรือการฝึกหัด (Internship) ต่างจัดเป็น การฝึกอบรมประเภทการฝึกเตรียมเข้าทำงาน
ซึ่งสถานประกอบการผู้ดำเนินการฝึกอบรม สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ภายใต้พระราชบัญญัติ
ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ได้เช่นเดียวกันทั้งหมด
ห น้ า | 7

11.3.1.1 ขั้นตอนการดำเนินการ
สถานประกอบการจะต้องยื่นคำขอให้นายทะเบียนรับทราบ ก่อนที่จะ
ดำเนินการจัดฝึกอบรม โดยยื่นเอกสารตามแบบที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานกำหนดไว้ ได้แก่
1) สถานประกอบการกับสถานศึกษาปรึกษาร่วมกัน เพื่อจัดทำหลักสูตร
ที่จะให้นิสิต นักศึกษาเข้ารับการฝึก ได้แก่ หัวข้อวิชา เนื้อหา และวิธีดำเนินการฝึกอบรม
2) สถานประกอบการยื่น เอกสารหลักฐานต่อ นายทะเบียน กรมการ
พัฒนาฝีมือแรงงานก่อนดำเนินการฝึก ได้แก่ สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนและวัตถุประสงค์
ของสถานประกอบการ คำขอรับความเห็นชอบ รายชื่อหลักสูตรที่ขอรับความเห็นชอบ รายละเอียด
เกี่ยวกับการฝึกเตรียมเข้าทำงาน สัญญาการฝึกเตรียมเข้าทำงาน
3) นายทะเบียนจะออกหนังสือรับรองไว้ให้สถานประกอบการเก็บไว้เป็น
หลักฐาน
4) สถานประกอบการดำเนินการฝึก หลังจากได้รับหนังสือรับทราบจาก
นายทะเบียน
5) เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการฝึก ให้สถานประกอบการยื่นแบบแจ้งผู้สำเร็จ
การฝึกเตรียมเข้าทำงาน และ ทะเบียนประวัติผู้รับการฝึกเตรียมเข้าทำงาน ต่อนายทะเบียน
6) หลักฐานค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปในระหว่างการฝึก เช่น ใบสำคัญแสดง
การรับเงินค่าเบี้ยเลียง ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันอุบัติเหตุ ใบเสร็จรับเงินค่าชุดฟอร์ม ฯลฯ ให้สถาน
ประกอบการเก็บไว้เป็นหลักฐานแสดงต่อสรรพากร พร้อมกับบันทึกค่าใช้จ่าย 2 เท่าในระบบบัญชีของ
สถานประกอบการ
7) สถานประกอบการยื่นแบบ ภงด. 50 ต่อสรรพากรภายใน 150 วัน
หลังจากสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี
ห น้ า | 8

สถานประกอบการ

ยื่นคำขอรับความเห็นชอบ รายชื่อ
หลักสูตรที่ขอรับความเห็นชอบ
รายละเอียดเกี่ยวกับการฝึกเตรียมเข้า
ทำงาน สัญญาการฝึกเตรียมเข้า
ทำงาน
นายทะเบียนรับทราบ

ดำเนินการจัดฝึกอบรม

ยื่นแบบแจ้งผู้สำเร็จการฝึกเตรียมเข้าทำงาน และ
ทะเบียนประวัติผู้รับการฝึกเตรียมเข้าทำงาน

หนังสือรับทราบและหลักฐานค่าใช้จ่ายเก็บ
รักษาไว้แสดงต่อสรรพากร / บันทึกค่าใช้จ่าย
สองเท่า
แผนภาพที่ 11.2 ขั้นตอนการดำเนินการเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์จากการฝึกอบรม

11.3.1.2 หน้าที่ของสถานประกอบการผู้ดำเนินการฝึกอบรม
สถานประกอบการผู้ดำเนินการฝึกอบรม มีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายและ
ประกาศที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) จัดทำสัญญาการฝึกอบรม
2) ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์คุ้มครองผู้รับ
การฝึกอบรม
3) ออกหนังสือรับรองให้แก่ผู้สำเร็จการฝึกอบรม
4) ไม่สามารถเรียกหรือรับเงินค่าฝึกอบรมหรือค่าตอบแทนจากผู้ รับการ
ฝึกอบรม
11.3.1.3 รายการค่าใช้จ่ายที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
สถานประกอบการที่ได้จ่ายค่าใช้จ่ายไปเพื่อการฝึก อบรม และดำเนินการ
ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 อย่างครบถ้วน จะได้รับสิทธิประโยชน์
ยกเว้นภาษีสองเท่าของค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อการฝึกอบรม ซึง่ ได้แก่ค่าใช้จ่าย ดังต่อไปนี้
ห น้ า | 9

1) ค่าสอนหรือค่าตอบแทนวิทยากร เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินชั่วโมงละ 1,200


บาท ไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง
2) ค่าพาหนะเดินทางสำหรับผู้เข้ารับการฝึกในวันที่มารายงานตัวเข้ารับ
การฝึกและในวันที่เดินทางกลับภูมิลำเนาเมื่อสำเร็จการฝึก เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเที่ยวละ 1,000 บาท
3) ค่าพาหนะเดินทางสำหรับผู้เข้ารับการฝึกในระหว่างเข้ารับการฝึ ก
เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินวันละ 100 บาท เฉพาะวันที่เข้ารับการฝึก
4) ค่าอาหารและค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการฝึก และ
ผู้สอนหรือวิทยากรเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินวันละ 200 บาทต่อวัน เฉพาะวันที่มีการฝึก
5) ค่าเบี้ยเลี้ยงสำหรับผู้เข้ารับการฝึก เท่าที่จ่ายจริงเฉพาะวันที่เข้ารับ
การฝึก
6) ค่าที่พักสำหรับผู้เข้ารับการฝึก เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 3,000
บาทหรือไม่เกินวันละ 100 บาท
7) ค่าเครื่องแต่งกายสำหรับผู้เข้ารับการฝึก เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 2,000
บาท
8) ค่าจัดทำเอกสารประกอบการฝึก เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินคนละ 3,000
บาท
9) ค่าอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล หรือเครื่องมือประจำตัวสำหรับ
ผู้เข้ารับการฝึก ที่จำเป็นต้องใช้ในการฝึก เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินคนละ 3,000 บาท
10) ค่าประกันอุบัติเหตุระหว่างการฝึกสำหรับผู้เข้ารับการฝึก เท่าที่จ่าย
จริงไม่เกินคนละ 3,000 บาท
สถานประกอบการจะต้องเก็บรักษาหลัก ฐานที่แสดงว่าได้มีการจ่า ย
ค่าใช้จ่ายจริง เช่น Payroll-Slip ใบสำคัญรับเงิน ใบเสร็จรับเงิน ฯลฯ ไว้เพื่อการตรวจสอบของ
สรรพากร
11.3.1.4 การยื่นแบบแสดงรายการภาษี ภงด. 50
ผู้ได้รับการยกเว้นภาษีที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จะต้องยื่น
แบบแสดงรายการภาษี ภงด. 50 ต่อกรมสรรพากร ภายใน 150 วันหลังจากสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี
ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น โดยจัดอยู่ในประเภท “รายจ่ายในการส่งลูกจ้างเข้ารับ
การศึกษาและฝึกอบรม”
11.3.1.5 การจ่ายเบี้ยเลี้ยงกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
สถานประกอบการที่ต้องการขอรับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเพิ่มอีก หนึ่ง
เท่าของค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อการฝึกอบรม ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
พ.ศ. 2545 ประกอบด้วย พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้น
รัษฎากร (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548 จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์คุ้มครองผู้รับการฝึก อบรมอย่าง
ครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถานประกอบการจะต้องจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้แก่ผู้รับการฝึก อบรมตาม
จำนวนวันฝึกอบรม ในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสูงสุด ตามกฎหมายค่าจ้าง
ขั้นต่ำที่มีผลบังคับใช้อยู่ในขณะนั้น ดังนั้น หากสถานประกอบผู้ดำเนิน การฝึกอบรมไม่จ่ายเบี้ยเลี้ยง
ห น้ า | 10

ให้แก่ผู้รับการฝึกอบรม หรือจ่ายน้อยกว่าอัตราที่กำหนด ก็ ไม่สามารถยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ ภายใต้


พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 ได้ สามารถบันทึกค่าใช้จ่ายได้เท่าที่จ่ าย
จริงตามปกติเท่านั้น
เงื่อนไขการจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้ผู้รับการฝึก อบรม ได้ระบุไว้ในสัญญารับ
นักเรียน นิสิต นักศึกษา จากสถานศึกษาหรือบุคคลที่ทางราชการส่งมาฝึก อบรม เข้าเป็นผู้รับการ
ฝึกอบรมด้วย
11.3.1.6 การประกันอุบัติเหตุ
หลักเกณฑ์คุ้มครองผู้รั บการฝึก อบรมกำหนดให้ สถานประกอบการ
ผู้ดำเนินการฝึกอบรมจะต้องจัดทำประกันอุบัติเหตุให้แก่ผู้รับการฝึก อบรม ให้ได้รับประโยชน์ไม่น้อย
กว่าที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยกองทุนเงินทดแทน ขณะเดียวกัน สัญญารับนักเรียน นิสิต นักศึกษา
จากสถานศึกษาหรือบุคคลที่ทางราชการส่งมาฝึก เข้าเป็นผู้รับการฝึก (แบบ ฝง 2 ข้อ 10) กำหนดว่า
หากผู้ดำเนินการฝึกอบรมไม่ได้จัดทำประกันอุบัติเหตุให้แก่ผู้รับการฝึกอบรม กรณีที่ผู้รับการฝึกอบรม
ประสบอันตรายหรือเจ็บ ป่ว ย หรือทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตายอันเนื่องมาจากการฝึก อบรม
ผู้ดำเนินการฝึกอบรมจะช่วยเหลือให้แก่ผู้รับการฝึกอบรม ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนเงินทดแทน
โดยทั่วไปพบว่า สถานศึกษาได้จัดทำประกันอุบัติเหตุให้แก่นิสิตนักศึกษา
ทุกคนอยู่แล้ว ดังนั้น จะต้องตรวจสอบว่า สิทธิประโยชน์ความคุ้มครองที่สถานศึกษาได้จัดซื้อไว้ตาม
กรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุนั้น จะต้องให้ความคุ้มครองแก่ผู้รับการฝึกอบรมได้ครอบคลุมและครบถ้วน
ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยกองทุนเงินทดแทน กล่าวคือ คุ้มครองกรณีเสียชีวิต ทุพพล
ภาพ และค่ารักษาพยาบาล อันมีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุ
อย่างไรก็ตาม ย่อมเป็นการดียิ่งกว่า หากสถานประกอบการผู้ดำเนินการ
ฝึกอบรม จะได้จัดทำประกันอุบัติเหตุด้วยเงื่อนไขความคุ้ม ครองตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนเงิน
ทดแทนให้แก่ผู้รับการฝึกอบรม เพราะค่าเบี้ยประกันภัยที่สถานประกอบการผู้ดำเนินการฝึก อบรมได้
จ่ายไป จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีสองเท่า
11.3.1.7 ภาษีเงินได้ของผูร้ ับการฝึกอบรม
สถานประกอบการที่ได้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวล
รัษฎากร ให้แก่ผู้รับการฝึก อบรม และเป็นเงินได้พึงประเมินที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีตามประมวล
รัษฎากร สถานประกอบการจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร และออก
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร รวมทั้งนำส่งภาษีหัก ณ
ที่จ่าย ตามมาตรา 52 แห่งประมวลรัษฎากร
ผู้รับการฝึกอบรมที่มีเงินได้ ต้องนำเงินได้พึงประเมินที่สถานประกอบการ
จ่ายให้ ไปยื่นแบบแสดงรายการตามมาตรา 56 และมาตรา 56 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และนำภาษี
ที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายถือเป็นเครดิต ตามมาตรา 60 แห่งประมวลรัษฎากร หรือขอคืนภาษีตามมาตรา 63
แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี
อย่า งไรก็ตาม หากพบว่า เงิน ได้ ส ุทธิ ที่ นั กศึ ก ษาได้รับ ในระหว่ า งการ
ฝึกอบรม คำนวณแล้วไม่ถึง 150,000 บาท สถานประกอบการไม่จำต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ให้แสดง
รายชื่อผู้มีเงินได้ลงในแบบ ภงด.1 และ ภงด1 ก. ที่ยื่นต่อกรมสรรพากร
ห น้ า | 11

11.3.1.8 การประกันสังคม
เนื่องจากสถานประกอบการที่จัดให้มีการฝึกอบรมเตรียมเข้าทำงาน ซึ่ง
รวมถึงกรณีที่รับนักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือบุคคลที่ราชการส่งมาฝึก อบรม ได้รับสิทธิประโยชน์ไม่
ต้องปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน จึงไม่ถือว่าผู้เข้ารับการฝึก อบรมเป็นลูกจ้างของสถาน
ประกอบการ อีกทั้งผู้รับการฝึกอบรม จะได้รับสวัสดิการ ตามที่กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์คุ้มครองผู้รับ
การฝึกอบรม ดังนั้น สถานประกอบการผู้ดำเนินการฝึก อบรม จึงไม่ต้องจัดทำประกันสังคมให้แก่ผู้รับ
การฝึกอบรม
11.3.2 สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการสนับสนุนการศึกษา
พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ.2562 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่
1 พฤษภาคม 2562 ยังส่งเสริมให้สถานศึกษาและหน่วยงานภาคเอกชนให้ความร่วมมือในการพัฒนา
นักเรียน นิสิต นักศีกษา ให้เป็นผู้มีความรู้ ทักษะ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่สอดคล้องกับความ
ต้องการของประเทศ โดยจูงใจด้วยสิทธิประโยชน์ต่างๆ และสิทธิประโยชน์ประการหนึ่งคือ สิทธิ
ประโยชน์ทางภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ในมาตราที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
“มาตรา 35 สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาพึ ง สร้ า งความร่ ว มมื อ กั บ หน่ ว ยงานภาครั ฐ
ภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรม เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของสถาบันอุดมศึก ษา
เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ โดยการปฏิบัติงานจริง และเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ สมรรถนะ
และคุณลักษณะอื่นให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ
สถาบันอุดมศึกษาอาจจัดทำข้อตกลงร่วมกับหน่วยงานตามวรรคหนึ่ง ในการจัด
หลักสูตรการศึกษา การเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล โดยผู้เรียนใช้เวลาส่วนหนึ่งใน
สถาบันอุดมศึกษาและ อีกส่วนหนึ่งในสถานประกอบการของหน่วยงานดังกล่าว
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง สถาบันอุดมศึกษาอาจอนุญาตให้
บุคลากรและ ผู้เรียนไปปฏิบัติงานในหน่วยงานดังกล่าวได้ ตามระเบียบที่สภาสถาบันอุดมศึก ษา
กำหนด
มาตรา 36 หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานภาคเอกชนที่ให้ความร่วมมือในการ
ดำเนินการ ตามมาตรา 35 อาจได้รับสิทธิประโยชน์ ดังต่อไปนี้
(1) การสนับสนุนด้านวิชาการและทรัพยากรตามสมควรแก่กรณี
(2) ได้รับการเชิดชูเกียรติ
(3) สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
(4) สิทธิประโยชน์อื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
การอุดมศึกษา”
โดยอ้างอิงพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ.2562 มาตรา 35 และมาตรา 36 (3)
ประกอบกับ พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ฉบับที่
476 พ.ศ.2551 มาตรา 3 วรรคสอง
ห น้ า | 12

“(3) จัดหาครู อาจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา หรือเป็นทุนการศึก ษา


การประดิ ษ ฐ์ การพั ฒ นา การค้ น คว้ า หรื อ การวิ จ ั ย สำหรั บ นั ก เรี ย น นิ ส ิ ต หรื อ นั ก ศึ ก ษาของ
สถานศึกษา”
ดังนั้น สถานประกอบการภาคเอกชนที่ให้ความร่วมมือกับสถานศึกษาของรัฐหรือ
สถานศึกษาเอกชน เพื่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษา ด้วยรูปแบบ การจัดสหกิจศึกษา
และการบู ร ณาการการศึ ก ษากั บ การทำงาน ( Cooperative & Work-Integrated Education)
ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายด้านการพัฒนานักเรียน นิสิต นักศึกษา และได้รับการยกเว้น
ภาษี ภายใต้พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ฉบับที่
476 พ.ศ.2551
11.3.2.1 รูปแบบการยกเว้นภาษี
1) สำหรับบุคคลธรรมดา ให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้พึงประเมิน
หลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนเป็นจำนวนสองเท่าของรายจ่ายที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อ
สนับสนุนการศึกษา แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่า
ลดหย่อนดังกล่าวนั้น
2) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับ
เงินได้เป็นจำนวนเงินหรือมูลค่าของทรัพย์สินเป็นจำนวน 2 เท่าของรายจ่ายที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อ
สนับสนุนการศึกษาแต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือ
เพื่อการสาธารณประโยชน์และเพื่อการศึกษา หรือเพื่อการกีฬา
11.3.2.2 หลักฐานแสดงการสนับสนุนค่าใช้จ่าย
ผู้ได้รับยกเว้นภาษีต้องมีหลักฐานจากสถานศึกษาที่พิสูจน์ได้ว่า ค่าใช้จ่าย
เพื่อสนับสนุนการศึกษานั้น เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาตามโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการ
ให้ความเห็นชอบ อันได้แก่ หนังสือรับรองออกโดยสถานศึกษา และเก็บไว้เพื่อการตรวจสอบจาก
สรรพากร
11.3.2.3 การยื่นแบบแสดงรายการภาษี ภงด. 50
ผู้ได้รับการยกเว้นภาษีที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จะต้องยื่น
แบบแสดงรายการภาษี ภงด.50 ต่อกรมสรรพากร ภายใน 150 วันหลังจากสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี
ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น
11.3.3 เปรียบเทียบสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการฝึกอบรมกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
จากการสนับสนุนการศึกษา
สถานประกอบการสามารถเลือกใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในช่องทางใดช่องทางหนึ่ง
มีข้อแตกต่างระหว่างการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีของสองช่องทางอย่างมีนัยสำคัญ แสดงได้ดังนี้
ห น้ า | 13

ตารางที่ 11.1 การเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์ทางภาษี 2 ช่องทาง


การฝึกอบรม การสนับสนุนการศึกษา
อยู่ภายใต้ พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ออกประกาศกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย
พ.ศ. 2545 ประกอบด้วย พรฎ. ออกตามความ และนวตกรรม โดยอ้างอิง มาตรา 35 และมาตรา 36
ในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (3) ของพ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ.2562
(ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548 ประกอบด้วย พรฎ. ออกตามความในประมวล
รัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 437)
พ.ศ. 2551
เกี่ยวข้องกับกรมการพัฒนาฝีมือแรงงาน และ เกี่ยวข้องกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
กรมสรรพากร และกรมกรมสรรพากร
มีขั้นตอนและแบบฟอร์มเอกสารมากมายที่ต้องยื่นต่อ มีเพียงหนังสือรับรองที่ออกโดยสถานศึกษาเพียงฉบับ
นายทะเบียน กรมพัฒนาฝีมือแรงงานให้การรับรอง เดียวเป็นหลักฐานแสดงต่อกรมสรรพากร
ประเภทค่าใช้จ่ายที่ได้รับการยกเว้นภาษี เช่น ค่าสอน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นผู้กำหนด
หรือค่าตอบแทนวิทยากร ค่าพาหนะสำหรับผู้เข้ารับ ประเภทค่าใช้จ่าย
การฝึกอบรม ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าประกันอุบัติเหตุ เป็นต้น
ออกประกาศกำหนดโดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สิทธิยกเว้นภาษี 2 เท่าของค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปในการ สิทธิยกเว้นภาษี 2 เท่าของรายจ่ายที่จ่ายไปใน
ฝึกอบรมทั้งหมด โครงการความร่วมมือสหกิจศึกษาและการบูรณาการ
การศึกษากับการทำงาน ( Cooperative & Work-
Integrated Education) แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10
ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ
หรือเพื่อการสาธารณประโยชน์และเพื่อการศึกษา
หรือเพื่อการกีฬา
11.3.4 สิทธิประโยชน์อื่นตามพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 มาตรา 36
จากหัวข้อ 11.3.2 สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการสนับสนุนการศึกษา ได้กล่าวถึง
พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ.2562 มาตรา 35 และมาตรา 36 (3) ในหัวข้อนี้จะเป็น การ
ยกตัวอย่างสิทธิประโยชน์อื่นตามพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 มาตรา 36 (1) และ
มาตรา 36 (2) ตามลำดับ ดังนี้
11.3.4.1 การสนับสนุนด้านวิชาการและทรัพยากรตามสมควรแก่กรณี
ตั ว อย่ า งการดำเนิ น งานของสำนั ก ปลั ด กระทรวงการอุ ด มศึ ก ษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ตามมาตรา 36 (1) ที่กำหนดให้ หน่วยงานของรัฐหรือ
หน่วยงานภาคเอกชนที่ให้ความร่วมมือในการดำเนินการตามมาตรา 35 อาจได้รับการสนับสนุนด้าน
วิชาการและทรัพยากรตามสมควรแก่กรณี มีดังนี้
1) การพั ฒ นา CWIE Platform เพื ่ อ ใช้ เ ป็ น กรอบแนวทางในการ
ขับเคลื่อนและส่งเสริม CWIE อย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน
ห น้ า | 14

2) การจั ด สรรงบประมาณให้ แ ก่ เ ครื อ ข่ า ยพั ฒ นาสหกิ จ ศึ ก ษาทั ้ ง 9


เครือข่าย สำหรับบริหารจัดการกิจกรรมของเครือข่ายและจัดทำโครงการที่สนับสนุนให้สถาบันสมาชิก
ของเครือข่ายจัด CWIE ได้อย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน
3) การร่วมกับสมาคมสหกิจศึกษาไทย พัฒนา “หลักสูตรคณาจารย์นิเทศ
และผู้ น ิ เ ทศ CWIE” “หลั ก สู ต รผู ้ บ ริ ห าร CWIE ในสถานศึ ก ษาและสถานประกอบการ” และ
“หลักสูตรผู้ปฏิบัติงาน CWIE ในสถาบันอุดมศึกษาและสถานประกอบการ” ให้ผู้ดำเนินงานด้าน
CWIE ได้แก่ ผู้บ ริห าร คณาจารย์ และผู้ปฏิบัติงานด้า น CWIE ในสถาบันอุดมศึ กษาและสถาน
ประกอบการ มีองค์ความรู้ ศักยภาพ และสมรรถนะด้าน CWIE ที่จะนำไปใช้ในการดำเนินการจัด
CWIE อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
4) การร่วมกับสมาคมสหกิจศึกษาไทยจัดอบรม “หลักสูตรคณาจารย์
นิ เ ทศและผู้ น ิ เ ทศ CWIE” และ “หลั ก สู ต รผู ้ ป ฏิ บ ั ติ ง าน CWIE ในสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาและสถาน
ประกอบการ” ให้แก่คณาจารย์ ผู้นิเทศ และผู้ปฏิบัติงานด้าน CWIE ในสถาบันอุดมศึกษาและสถาน
ประกอบการ
5) การจัดปาฐกถาและงานประชุ ม ทางวิช าการเพื ่อ ให้ ความรู ้แ ก่ ผ ู ้ ที่
เกี่ย วข้องกับ การดำเนิน งานด้าน CWIE เช่น การจัดปาฐกถาในงานวันสหกิจศึกษาไทยและงาน
วันสหกิจศึกษาบูรณาการกับการทำงาน เป็นต้น
6) การจั ด สรรงบประมาณแบบเหมาจ่า ยเป็ นค่ า ใช้จ ่ ายสนั บสนุน ให้
นักศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทของไทยเดินทางไปฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
ในประเทศเบลเยียมและเยอรมนี ระยะเวลา 2 – 6 เดือน ผ่านโครงการชื่อ ASEM Work Placement
Programme เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่าง
ทางวัฒนธรรมและการทำงานข้ามวัฒนธรรมให้แก่นักศึกษาที่ได้รับทุน
7) การพัฒ นา CWIE Database ที่มีข้ อมูล ด้ าน CWIE แบบครบวงจร
เพื่อเป็นฐานข้อมูลกลางให้แก่สถาบันอุดมศึกษา สถานประกอบการ และนักศึกษา สำหรับช่วยจับคู่
ตำแหน่งงาน (matching) ติดตามการปฏิบัติงาน CWIE ติดตามภาวะการมีงานทำของบัณฑิต CWIE
และเป็นข้อมูลที่ใช้เพื่อประโยชน์เชิงนโยบาย
8) การดำเนินการพัฒนามาตรฐานหลักสูตรสหกิจศึกษาและการศึกษา
เชิงบูรณาการกับการทำงาน โดยได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อร่วมกันจัดทำกรอบมาตรฐานหลักสูตรและ
การดำเนินงานสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน(Cooperative and Work
Integrated Education Standards Framework) เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการ
ดำเนินการจัดหลักสูตร CWIE ให้มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ
9) การสนั บ สนุ น ให้ ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษาดำเนิ น โครงการสร้ า งบั ณ ฑิ ต
พันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย
ในรูปแบบหลักสูตรประเภทปริญญา (Degree) และหลักสูตรประเภทประกาศนียบัตร (Non-degree)
ห น้ า | 15

11.3.4.2 ได้รับการเชิดชูเกียรติ
ตั ว อย่ า งการดำเนิ น งานของสำนั ก ปลั ด กระทรวงการอุ ด มศึ ก ษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ตามมาตรา 36 (2) ที่กำหนดให้ หน่วยงานของรัฐหรือ
หน่วยงานภาคเอกชนที่ให้ความร่วมมือในการดำเนินการ ตามมาตรา 35 อาจได้รับการเชิดชูเกียรติ
คือ สป.อว. ได้ดำเนินการคัดเลือกและตัดสินผลรางวัลผลงานสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการ
กับการทำงานดีเด่นระดับชาติ ที่เครือข่ายพัฒนาสหกิจศึกษาส่งเข้าประกวด โดยในปี พ.ศ. 2564
มีทั้งสิ้น 14 ประเภทรางวัล ดังนี้
1) สถานศึกษาดำเนินการสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับ
การทำงานดีเด่น
2) สถานศึกษาดำเนินการสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับ
การทำงานดาวรุ่ง
3) สถานศึกษาดำเนินการสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับ
การทำงานนานาชาติดีเด่น
4) สถานศึกษาดำเนินการนวัตกรรมสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการ
กับการทำงานดีเด่น
5) นักศึกษาสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานที่มี
โครงงาน/ผลการปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดีเด่น
6) นักศึกษาสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานที่มี
โครงงาน/ผลการปฏิบัติงานด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และการจัดการดีเด่น
7) นักศึกษาสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานที่มี
โครงงาน/ผลการปฏิบัติงานด้านนวัตกรรมสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน
ดีเด่น
8) นักศึกษาสหกิจ ศึ ก ษาและการศึ ก ษาเชิ งบู รณาการกับ การทำงาน
นานาชาติดเี ด่น
9) คณาจารย์นิเทศสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน
ดีเด่น
10) ที่ปรึกษาการทำงานในสถานประกอบการดีเด่น
11) ผู้ปฏิบัติการสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน
ในสถานศึกษาดีเด่น
12) ผู้ปฏิบัติการสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน
ในสถานประกอบการดีเด่น
13) สถานประกอบการขนาดใหญ่ ดำเนินการสหกิจศึกษาและการศึกษา
เชิงบูรณาการกับการทำงานดีเด่น
14) สถานประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ดำเนินการสหกิจศึกษา
และการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานดีเด่น
ห น้ า | 16

11.5 สื่อและเอกสารประกอบ

ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้รับการฝึกเตรียมเข้าทำงาน. (2546,


15 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนพิเศษ 107 ง. หน้า 50-53.
ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน เรื่อง กำหนดรายการค่าใช้จ่ายในการฝึก
เตรียมเข้าทำงาน (2557, 10 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 131 ตอนพิเศษ 56 ง.
หน้า 76-77.
ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้
ความเห็น ชอบ รายละเอีย ดเกี่ยวกับการฝึกเตรียมเข้า ทำงาน (2557, 10 กุมภาพันธ์) .
ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 131 ตอนพิเศษ 52 ง. หน้า 78.
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการ
สนับสนุนการศึกษา (2562, 22 มีนาคม).
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการ
สนับสนุนการศึกษา (2551, 29 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 126 ตอนพิเศษ 24 ง.
หน้า 65-66.
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการ
สนับสนุนการศึกษา. (2548, 5 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 122 ตอนที่ 16 ง. หน้า
22-23.
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 420) พ.ศ.
2547. (2547, 24 สิงหาคม) ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 121 ตอนพิเศษ 47 ก. หน้า 1-3.
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 437) พ.ศ.
2548. (2548, 15 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 122 ตอนที่ 97 ก.
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 476) พ.ศ.
2551. (2551, 6 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 92 ก. หน้า 18-20.
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 655) พ.ศ.
2561. (2561, 22 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 98 ก. หน้า 1-4.
พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562. (2562, 1 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอน
ที่ 57 ก. หน้า 54-77.
พระราชบั ญ ญั ต ิ ส ่ ง เสริ ม การพั ฒ นาฝี ม ื อ แรงงาน (ฉบั บ ที ่ 2) พ.ศ.2557. (2557, 26 ธั น วาคม).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 131 ตอนที่ 87 ก. หน้า 19-30.
พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545. (2545, 22 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา.
เล่ม 119 ตอนที่ 98/1 ก. หน้า 1-26.
ห น้ า | 17

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). คู่มือการขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับสถาน


ประกอบการ จากการดำเนินงานสหกิจศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักประสานและส่งเสริมกิจการ
อุดมศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

You might also like