Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 19

ฟิสิกส์ เล่ม 5 บทที่ 15 | แม่เหล็กและไฟฟ้า 1

15.1 สนามแม่เหล็ก (เวลาที่ใช้ 6 ชั่วโมง)


จุดประสงค์การเรียนรู้
1. สังเกตและอธิบายสนามแม่เหล็กและเส้นสนามแม่เหล็ก
2. อธิบายและคำ�นวณฟลักซ์แม่เหล็กในบริเวณที่กำ�หนด รวมทั้งปริมาณที่เกี่ยวข้อง
3. สังเกตและอธิบายสนามแม่เหล็กของลวดตัวนำ�เส้นตรง ลวดตัวนำ�วงกลม และโซเลนอยด์
เมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่าน

สิ่งที่ครูต้องเตรียมล่วงหน้า
กรณีครูสาธิตกิจกรรมวัตถุใดเป็นแท่งแม่เหล็ก
1. แท่งแม่เหล็ก 2 แท่ง (ไม่ระบุขั้ว) แท่งเหล็ก แท่งอะลูมิเนียม รูปทรงเหมือนกัน
2. เข็มทิศ

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�เข้าสู่หัวข้อ 15.1 โดยครูยกสถานการณ์หรือใช้สื่อที่แสดงถึงการประยุกต์ใช้ประโยชน์จาก
แม่เหล็ก เช่น เครื่องคัดแยกเศษเหล็ก ไขควงที่สามารถดูดสกรู เข็มทิศ จากนั้นให้นักเรียนอภิปรายร่วมกัน
จนสรุปได้ว่า แม่เหล็กสามารถดึงดูดเหล็กได้ และประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย
ครู อ อกแบบกิ จ กรรมหรื อ ยกสถานการณ์ เช่ น ทำ � เครื่ อ งหมายที่ ป ลายแท่ ง แม่ เ หล็ ก แล้ ว แขวน
แท่งแม่เหล็กด้วยเส้นด้าย โดยให้แท่งเหล็กวางตัวในแนวราบโดยสามารถเคลือ
่ นตัวได้อย่างอิสระ จากนัน
้ ให้
นักเรียนผลักให้แท่งแม่เหล็กเบนไปจากแนวเดิมที่ตำ�แหน่งต่าง ๆ แล้วปล่อย จากนั้นสังเกตการวางตัวของ
แท่งแม่เหล็กเมือ
่ หยุดนิง่ เทียบกับแนวการวางตัวของเข็มทิศ ทำ�ซ้�
ำ 2 – 3 ครัง้ แล้วนำ�อภิปรายจนสรุปได้วา่
แท่งแม่เหล็กที่วางตัวในแนวราบและหมุนได้อย่างอิสระ เมื่อหยุดนิ่งจะวางตัวในแนวทิศเหนือใต้เสมอ
และปลายทีช
่ ไี้ ปทางทิศเหนือ เรียกว่า ขัว้ เหนือ ปลายทีช
่ ไี้ ปทางทิศใต้ เรียกว่า ขัว้ ใต้ ทัง้ นีร้ ะหว่างทำ�กิจกรรม
ควรวางเข็มทิศให้อยู่ห่างแท่งแม่เหล็กพอสมควร
ครูใช้คำ�ถามว่า แม่เหล็กดึงดูดกับเหล็กได้ แล้วแม่เหล็กกับแม่เหล็กดึงดูดกันหรือไม่อย่างไร โดยครู
อาจตัง้ คำ�ถามให้นก
ั เรียนแสดงความคิดเห็นถึงวิธก
ี ารตรวจสอบการเกิดแรงระหว่างแท่งแม่เหล็ก จากนัน
้ ครู
ยกสถานการณ์ ตามรูป 15.2 ในหนังสือเรียน และอภิปรายร่วมกัน จนสรุปได้วา่ ขัว้ แม่เหล็กทีเ่ หมือนกันจะ
ผลักกัน และขั้วแม่เหล็กที่ต่างกันจะดึงดูดกัน
ครูอาจถามคำ�ถามชวนคิดในหน้า 6 แล้วให้นักเรียนอภิปรายร่วมกัน โดยครูเปิดโอกาสให้นักเรียน
แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ จากนั้นครูนำ�อภิปรายจนได้แนวคำ�ตอบดังนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2 บทที่ 15 | แม่เหล็กและไฟฟ้า ฟิสิกส์ เล่ม 5

แนวคำ�ตอบชวนคิด

หากนำ�แท่งแม่เหล็กแท่งหนึ่งดังรูป ก. มาตัดแบ่งเป็นสองแท่ง ดังรูป ข. ตรงปลายที่ตัดแบ่งจะมีขั้ว


แม่เหล็กหรือไม่ อย่างไร

N N
?
S ?
S

ก. แท่งแม่เหล็กก่อนตัดแบ่ง ข. แท่งแม่เหล็กหลังตัดแบ่ง

แนวคำ�ตอบ ปลายที่ตัดแบ่งจะมีขั้วแม่เหล็กโดยแท่งแม่เหล็กส่วนที่เป็นขั้วใต้ ปลายที่ถูกตัดแบ่งจะ


เป็นขั้วเหนือ และ แท่งแม่เหล็กส่วนที่เป็นขั้วเหนือ ปลายที่ถูกตัดแบ่งจะเป็นขั้วใต้ดังรูป

N
S
N
S

15.1.1 เส้นสนามแม่เหล็ก

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน แนวคิดที่ถูกต้อง

1. แม่เหล็กดึงดูดกับโลหะได้ทุกชนิด 1. แม่เหล็กดึงดูดเฉพาะสารแม่เหล็กหรือวัตถุ
ที่มีสารแม่เหล็กเป็นองค์ประกอบ

2. เส้นสนามแม่เหล็กสามารถตัดกันได้ 2. เส้นสนามแม่เหล็กไม่ตัดกัน

สิ่งที่ครูต้องเตรียมล่วงหน้า
กรณีครูใช้กิจกรรมสำ�รวจวัตถุที่แม่เหล็กดึงดูด
1. แท่งแม่เหล็ก 1 แท่ง
2. วัตถุทแี่ ม่เหล็กดึงดูดอย่างน้อย 2 ชิน
้ เช่น เหรียญบาทรุน
่ ทีแ่ ม่เหล็กดูดได้ ลวดเสียบกระดาษ
ตะปู ลวดเหล็ก
3. วัตถุที่ไม่ใช่สารแม่เหล็กอย่างน้อย 2 ชิ้น เช่น ยางลบ อะลูมิเนียม ลวดทองแดง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์ เล่ม 5 บทที่ 15 | แม่เหล็กและไฟฟ้า 3

กรณีครูสาธิตกิจกรรมการเรียงตัวของผงเหล็กและเข็มทิศ
1. ผงเหล็ก 1 ขวด
2. กระดาษขาว 1 แผ่น
3. แท่งแม่เหล็กที่ระบุขั้ว 2 แท่ง
4. เข็มทิศ 1 อัน

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้ข้อที่ 1 ของหัวข้อ 15.1 ตามหนังสือเรียน
ครูน�ำ เข้าสูห
่ วั ข้อ 15.1.1 โดยใช้กจิ กรรมสำ�รวจวัตถุทแี่ ม่เหล็กดึงดูด โดยตัง้ คำ�ถามว่า นอกจากเหล็ก
แล้วยังมีวัตถุอื่นหรือไม่ที่แม่เหล็กดึงดูด เปิดโอกาสให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันจนสรุปได้ว่า นอกจากเหล็ก
แล้ ว ยั ง มี วั ต ถุ อื่ น ที่ แ ม่ เ หล็ ก ดึ ง ดู ด เช่ น นิ ก เกิ ล โคบอลต์ โดยเรี ย กวั ต ถุ ทุ ก ชนิ ด ที่ ดึ ง ดู ด กั บ แม่ เ หล็ ก ว่ า
สารแม่เหล็ก วัตถุที่มีสารแม่เหล็กเป็นส่วนประกอบ ก็จะสามารถดึงดูดกับแม่เหล็กได้ เช่น เหรียญบาทซึ่ง
มีเหล็กหรือนิกเกิลเป็นส่วนผสม สังกะสีมุงหลังคาซึ่งเป็นเหล็กเคลือบด้วยสังกะสี
ครูนำ�อภิปรายทบทวนแนวความคิดเกี่ยวกับสนามไฟฟ้าจากบทที่ 13 ว่ารอบๆ จุดประจุจะมี
สนามไฟฟ้าโดยถ้าจุดประจุดเป็นบวก สนามไฟฟ้าจะมีทศ
ิ ทางชีอ
้ อก แต่ถา้ จุดประจุเป็นลบสนามไฟฟ้าจะมี
ทิศทางชีเ้ ข้า แล้วตัง้ คำ�ถามว่าบริเวณรอบแท่งแม่เหล็กจะมีสนามแม่เหล็กหรือไม่ ทิศทางอย่างไร จากนัน
้ ให้
นักเรียนสังเกตการเรียงตัวของผงเหล็กและเข็มทิศ จากสถานการณ์ในหนังสือเรียนรูป 15.3 และ 15.4 หรือ
โดยการสาธิตด้วยผงเหล็กและเข็มทิศ ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน
ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการเรียงตัวของผงเหล็กและเข็มทิศ จนสรุปได้ว่า ผงเหล็ก
เปรียบเสมือนเข็มทิศขนาดเล็ก บริเวณทีม
่ แี รงจากแท่งแม่เหล็กกระทำ�กับผงเหล็กหรือเข็มทิศเป็นบริเวณที่
มีสนามแม่เหล็ก และเรียกเส้นที่เขียนแทนการเรียงตัวของผงเหล็กหรือเข็มทิศว่า เส้นสนามแม่เหล็ก โดย
เส้นสนามแม่เหล็กนอกแท่งแม่เหล็กจะมีทศ
ิ ทางออกจากขัว้ เหนือเข้าสูข
่ วั้ ใต้ ดังรูป 15.4 ข. ในหนังสือเรียน
ให้นักเรียนคาดคะเนว่า ถ้านำ�แท่งแม่เหล็ก 2 แท่งมาวางใกล้กัน การเรียงตัวของผงเหล็กจะเป็น
อย่างไร จากนั้นอาจสาธิตหรือใช้สถานการณ์ในหนังสือเรียนตามรูป 15.5 และ 15.6 นำ�อภิปรายเกี่ยวกับ
สนามแม่เหล็กและเส้นสนามแม่เหล็กระหว่างขั้วแม่เหล็กสองขั้ว เมื่อขั้วแม่เหล็กเหมือนกันใกล้กันจะมี
จุดสะเทิน ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4 บทที่ 15 | แม่เหล็กและไฟฟ้า ฟิสิกส์ เล่ม 5

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำ�หรับครู

ในการโรยผงเหล็กรอบ ๆ แท่งแม่เหล็ก อาจใช้ผ้าพันแผล 2-3 ทบ ปิดบริเวณปากขวดที่บรรจุ


ผงเหล็ก ดังรูป เพื่อให้ผงเหล็กไม่ออกมามากเกินไปในขณะที่โรยผงเหล็ก และควรโรยผงเหล็กให้
กระจายสม่ำ�เสมอ

รูป ปากขวดที่บรรจุผงเหล็กที่พันผ้าพันแผล

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์ เล่ม 5 บทที่ 15 | แม่เหล็กและไฟฟ้า 5

15.1.2 ฟลักซ์แม่เหล็ก

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน แนวคิดที่ถูกต้อง

1. ฟลักซ์แม่เหล็กคือเส้นสนามแม่เหล็ก 1. ฟลักซ์แม่เหล็กคือจำ�นวนเส้นสนามแม่เหล็ก
ที่ผ่านพื้นที่พิจารณา

2. สนามแม่เหล็กที่เกิดจากแท่งแม่เหล็กเป็น 2. สนามแม่เหล็กที่เกิดจากแท่งแม่เหล็กมีทุก
ระนาบในสองมิติ ทิศทางรอบแท่งแม่เหล็กในสามมิติ

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้ข้อที่ 2 ของหัวข้อ 15.1 ตามหนังสือเรียน
ครูนำ�เข้าสู่หัวข้อที่ 15.1.2 โดยทบทวนการพิจารณาเส้นสนามแม่เหล็กตามรูป 15.3 และ 15.4
เป็นการพิจารณาสนามแม่เหล็กแบบ 2 มิติ ถ้าพิจารณาสนามแม่เหล็กจากรูป 15.7 ก. จะมีลกั ษณะเป็นอย่างไร
ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายจนสรุปได้วา่ สนามแม่เหล็กทีเ่ กิดจากแท่งแม่เหล็กมีทกุ ทิศทางรอบแท่งแม่เหล็ก
ในสามมิติ (อาจใช้สื่อที่แสดงสนามแม่เหล็กแบบสามมิติประกอบ) หรือให้สังเกตจากอุปกรณ์สาธิต โดยใช้
แท่งแม่เหล็กขนาดเล็ก (ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร) แขวนในขวดที่ใส่กลีเซอรีน และผงเหล็กไว้เล็กน้อย
เขย่าขวดให้ผงเหล็กกระจายตัง้ ทิง้ ไว้ ผงเหล็กจะเรียงตัวเป็นเส้นสนามแม่เหล็กในสามมิติ จากนัน
้ ตัง้ คำ�ถามว่า
เมื่อพิจารณาพื้นที่ขนาดเท่ากัน ณ ตำ�แหน่งซึ่งอยู่ห่างจากขั้วแม่เหล็กต่างกันดังรูป 15.8 ในหนังสือเรียน
จำ � นวนเส้ น สนามแม่ เ หล็ ก ที่ ผ่ า นพื้ น ที่ ท้ั ง สองมี ค่ า เท่ า กั น หรื อ ไม่ อย่ า งไร และเส้ น สนามแม่ เ หล็ ก มี
ความหนาแน่นแตกต่างกันหรือไม่ แล้วครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายจนสรุปได้ว่า ความหนาแน่นของ
เส้นสนามแม่เหล็กบริเวณที่พิจารณาแสดงถึงความเข้มหรือขนาดของสนามแม่เหล็ก (B) บริเวณนั้น โดย
บริเวณใกล้ขั้วแม่เหล็กความหนาแน่นของเส้นสนามแม่เหล็กมีค่ามากกว่าบริเวณที่ห่างออกไป
ครูยกสถานการณ์โดยใช้รูป 15.9 แล้วอภิปรายร่วมกันจนสรุปได้ว่าฟลักซ์แม่เหล็กคือจำ�นวน
เส้ น สนามแม่ เ หล็ ก ที่ ผ่ า นพื้ น ที่ ที่ พิ จ ารณาและอั ต ราส่ ว นระหว่ า งฟลั ก ซ์ แ ม่ เ หล็ ก ต่ อ พื้ น ที่ ที่ ตั้ ง ฉากกั บ
สนามแม่เหล็กเรียกว่า ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็กหรือขนาดของสนามแม่เหล็ก ตามสมการ (15.1)
และใช้ตาราง 15.1 แสดงตัวอย่างสนามแม่เหล็กขนาดต่าง ๆ ของแหล่งกำ�เนิดบางชนิด
ให้นักเรียนศึกษาตัวอย่าง 15.1 และ 15.2 โดยครูเป็นผู้ให้คำ�แนะนำ�

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
6 บทที่ 15 | แม่เหล็กและไฟฟ้า ฟิสิกส์ เล่ม 5

15.1.3 สนามแม่เหล็กจากกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นลวดตัวนำ�

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

สิ่งที่ครูต้องเตรียมล่วงหน้า
กรณีสาธิตกิจกรรมการทดลองของเออร์สเตด
1. สายไฟ
2. สวิตซ์
3. แบตเตอรี่ 1.5 โวลต์ 4 ก้อน พร้อมกระบะ
4. เข็มทิศ

แนวการจัดการเรียนรู้
ครูชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้ข้อที่ 3 ของหัวข้อ 15.1 ตามหนังสือเรียน
ครู นำ � เข้ า สู่ หั ว ข้ อ ที่ 15.1.3 โดยให้ นั ก เรี ย นทำ � กิ จ กรรมตามการทดลองของเออร์ ส เตด โดย
วางเข็มทิศบนพื้นราบ เข็มทิศจะวางตัวในแนวเหนือใต้ ต่อสายไฟกับแบตเตอรี่ 6 โวลต์ โดยสายไฟ
วางพาดบนเข็มทิศ ไปตามแนวการวางตัวของเข็มทิศ แล้วกดสวิตซ์ให้กระแสไฟฟ้าผ่าน สังเกตการเบน
ของเข็มทิศ ตั้งคำ�ถามว่า เข็มทิศเบนไปจากเดิมเพราะเหตุใด สนามแม่เหล็กนั้นมาจากไหน เกิดขึ้นเมื่อไร
โดยครู นำ � นั ก เรี ย นร่ ว มกั น อภิ ป รายผลที่ เ กิ ด ขึ้ น จนสรุ ป ได้ ว่ า กระแสไฟฟ้ า ทำ � ให้ เ กิ ด สนามแม่ เ หล็ ก
ซึ่งค้นพบโดยเออร์สเตด ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน จากนั้นครูตั้งคำ�ถามว่า สนามแม่เหล็กที่เกิดจาก
กระแสไฟฟ้าที่ผ่านลวดตัวนำ�มีลักษณะอย่างไร เพื่อนำ�เข้าสู่การทำ�กิจกรรม 15.1 สนามแม่เหล็กที่เกิดจาก
กระแสไฟฟ้าผ่านลวดตัวนำ� ตามรายละเอียดในหนังสือเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์ เล่ม 5 บทที่ 15 | แม่เหล็กและไฟฟ้า 7

กิจกรรม 15.1 สนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าผ่านลวดตัวนำ�

จุดประสงค์
1. เพือ
่ สังเกตทิศทางของสนามแม่เหล็กทีเ่ กิดจากกระแสไฟฟ้าผ่านลวดตัวนำ�เส้นตรง ลวดตัวนำ�
วงกลม และโซเลนอยด์

เวลาที่ใช้ 50 นาที

วัสดุและอุปกรณ์
1. ลวดตัวนำ�เส้นตรง 1 เส้น
2. ลวดตัวนำ�วงกลม 1 ขด
3. โซเลนอยด์์ 1 ขด
4. แบตเตอรี่ขนาด 1.5 โวลต์ 4 ก้อน พร้อมกระบะ 1 ชุด
5. เข็มทิศ 5 อัน
6. ผงเหล็ก 1 กล่อง
7. สายไฟ 4 เส้น
8. กระดาษแข็งขนาด 8 cm × 10 cm 3 แผ่น
9. สวิตซ์ 1 อัน

แนะนำ�ก่อนทำ�กิจกรรม
1. ลวดตัวนำ�เส้นตรง ใช้ลวดทองแดงเบอร์ 22 ลวดตัวนำ�ตรงเพียงหนึ่งเส้นอาจไม่เพียงพอที่
จะทำ�ให้สงั เกตได้ชด
ั เจน ควรเพิม
่ จำ�นวนเส้นของลวดตัวนำ�โดยพันเป็นกรอบสีเ่ หลีย่ มมากกว่า
5 รอบ

รูป การพันลวดตัวทำ�เป็นกรอบสี่เหลี่ยม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
8 บทที่ 15 | แม่เหล็กและไฟฟ้า ฟิสิกส์ เล่ม 5

2. ลวดตัวนำ�วงกลม 1 รอบ อาจไม่เพียงพอที่จะทำ�ให้สังเกตได้ชัดเจน ควรเพิ่มจำ�นวนรอบของ


ลวดตัวนำ�ประมาณ 5 - 10 รอบ โดยใช้การพันรอบท่อ PVC ขนาด 2.5 เซนติเมตร
แล้วถอดท่อออก จัดให้ลวดชิดกันเป็นวงกลม ส่วนการทำ�โซเลนอยด์ ใช้วิธีเดียวกับการทำ�
ลวดตัวนำ�วงกลม แต่จะต่างกันโดยพันเส้นลวดให้เรียงเส้นรอบท่อ PVC ประมาณ 20-30 รอบ
แล้วถอดท่อออก จากนั้นดึงให้ขดลวดยืดออกเป็นทรงกระบอก
3. ตัดกระดาษแข็งไว้ล่วงหน้า ให้ร่องบนกระดาษแข็งห่างกันประมาณ 2.5 เซนติเมตร
4. ตำ�แหน่งต่างๆ ของเข็มทิศทีจ่ ะวางบนกระดาษแข็ง ควรห่างจากลวดตัวนำ�ไม่เกิน 2 เซนติเมตร
5. ในการทำ�กิจกรรมแต่ละครั้ง ควรแนะนำ�ให้นักเรียนใช้เวลาในการเปิดสวิตซ์น้อยที่สุดไม่เกิน
1 นาที
6. ขณะทำ�กิจกรรมไม่ควรมีสารแม่เหล็กและแม่เหล็กอยู่ในบริเวณนั้น

ตัวอย่างผลการทำ�กิจกรรม

ก. แนวการเรียงตัวของผงเหล็ก ข. แนวการเรียงตัวของผงเหล็ก
รอบลวดตัวนำ�เส้นตรง รอบลวดตัวนำ�วงกลม

ค. แนวการเรียงตัวของผงเหล็กรอบโซเลนอยด์
รูป ตัวอย่างผลการทำ�กิจกรรม 15.1

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์ เล่ม 5 บทที่ 15 | แม่เหล็กและไฟฟ้า 9

แนวคำ�ตอบคำ�ถามท้ายกิจกรรม

□ แนวการเรียงตัวของผงเหล็กของสามกรณีเมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านลวดตัวนำ�เหมือนหรือต่างกัน
อย่างไร
แนวคำ�ตอบ แตกต่างกันโดย
กรณีลวดตัวนำ�เส้นตรงผงเหล็กจะเรียงตัวเป็นวงกลมรอบเส้นลวด
กรณีลวดตัวนำ�วงกลม บริเวณใกล้ ๆ ลวดตัวนำ� ผงเหล็กจะเรียงตัวเป็นวงกลมรอบเส้นลวด
คล้ายกรณีลวดตัวนำ�เส้นตรง แต่บริเวณกึ่งกลางของลวดตัวนำ�วงกลม ผงเหล็กมีการเรียงตัว
ตั้งฉากกับระนาบลวดตัวนำ�วงกลม
กรณีโซเลนอยด์ บริเวณภายในโซเลนอยด์ผงเหล็กมีการเรียงตัวอยู่ในแนวแกนโซเลนอยด์
ภายนอกรอบๆ โซเลนอยด์ ผงเหล็กจะเรียงตัวคล้ายกับการเรียงตัวของผงเหล็กรอบแท่งแม่เหล็ก

□ ขณะไม่มกี ระแสไฟฟ้าในลวดตัวนำ�กับเมือ่ มีกระแสไฟฟ้าในลวดตัวนำ� การวางตัวของเข็มทิศต่างกัน


หรือไม่ อย่างไร
แนวคำ�ตอบ ขณะที่ยังไม่มีกระแสไฟฟ้าผ่านลวดตัวนำ� เข็มทิศ ณ ตำ�แหน่งต่างๆ วางตัวอยู่ใน
แนวเดียวกัน (ในแนวสนามแม่เหล็กโลก) ส่วนกรณีทม
ี่ ก
ี ระแสไฟฟ้าผ่านลวดตัวนำ� จะเห็นเข็มทิศ
แต่ละตำ�แหน่งเบนไปจากแนวเดิม

อภิปรายหลังการทำ�กิจกรรม

ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามท้ายกิจกรรม จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลการทำ�
กิจกรรม 15.1 โดยใช้รูป 15.10 15.11 และ 15.12 จนสรุปได้ดังนี้ี
∙ ลวดตัวนำ�เส้นตรงที่มีกระแสไฟฟ้าผ่าน สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นมีลักษณะเป็นวงกลม
รอบเส้นลวดตัวนำ� ทิศทางของสนามแม่เหล็กที่เกิดจากลวดตัวนำ�เส้นตรง หาได้โดยใช้นิ้วหัวแม่มือ
ของมือขวาชี้ไปตามทิศทางของกระแสไฟฟ้า จากนั้นกำ�มือขวารอบลวดตัวนำ�ตรง ทิศทางการวน
ของนิ้วทั้งสี่จะแสดงทิศทางของสนามแม่เหล็ก

ครูอาจถามคำ�ถามชวนคิดในหน้า 19 ให้นักเรียนอภิปรายร่วมกัน โดยครูเปิดโอกาสให้นักเรียน


แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ แล้วครูนำ�อภิปรายจนได้แนวคำ�ตอบดังนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
10 บทที่ 15 | แม่เหล็กและไฟฟ้า ฟิสิกส์ เล่ม 5

แนวคำ�ตอบชวนคิด

จากรูป 15.11 เมื่อกลับทิศทางของกระแสไฟฟ้า สนามแม่เหล็กจะมีทิศทางอย่างไร


แนวคำ�ตอบ สนามแม่เหล็กจะมีทศ
ิ ทางตรงข้ามกับสนามแม่เหล็กก่อนกลับทิศทางของกระแสไฟฟ้า
เช่น จากรูป 15.11 สนามแม่เหล็กมีทิศทางทวนเข็มนาฬิกา เมื่อกลับทิศทางของกระแสไฟฟ้า
สนามแม่เหล็กจะมีทิศทางตามเข็มนาฬิกา

จากนั้นครูใช้ผลการทำ�กิจกรรมและรูป 15.13 15.14 และ 15.15 ร่วมกันอภิปรายจนสรุปได้ดังนี้

∙ ลวดตัวนำ�วงกลมที่มีกระแสไฟฟ้าผ่าน สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นรอบเส้นลวดตัวนำ�มี
ลักษณะเป็นวงกลมคล้ายลวดตัวนำ�เส้นตรง แต่บริเวณภายในของลวดตัวนำ�วงกลมสนามแม่เหล็ก
จะอยู่ ใ นแนวตั้ ง ฉากกั บ ระนาบขดลวด ทิ ศ ทางของสนามแม่ เ หล็ ก ที่ เ กิ ด จากลวดตั ว นำ � วงกลม
หาได้โดยใช้วิธีเช่นเดียวกับลวดตัวนำ�เส้นตรง หรือใช้มือขวา กำ�มือให้นิ้วทั้งสี่วนตามทิศทางของ
กระแสไฟฟ้า นิ้วหัวแม่มือจะชี้ไปตามทิศทางของสนามแม่เหล็ก

ครูอาจถามคำ�ถามชวนคิดในหน้า 21 ให้นก
ั เรียนอภิปรายร่วมกัน โดยครูเปิดโอกาสให้นก
ั เรียนแสดง
ความคิดเห็นอย่างอิสระ แล้วครูนำ�อภิปรายจนได้แนวคำ�ตอบดังนี้

แนวคำ�ตอบชวนคิด

หากกลับทิศทางของกระแสไฟฟ้าในลวดตัวนำ� ทศ
ิ ทางของสนามแม่เหล็กทีผ
่ า่ นพืน
้ ทีข
่ ดลวดจะเป็น
อย่างไร
แนวคำ�ตอบ ทิศทางของสนามแม่เหล็กที่ผ่านพื้นที่ขดลวดจะมีทิศทางตรงข้ามกับทิศทางของ
สนามแม่เหล็ก ก่อนกลับทิศทางของกระแสไฟฟ้า

จากนั้นครูใช้ผลการทำ�กิจกรรมและรูป 15.16 15.17 15.18 และ 15.19 อภิปรายร่วมกันจนสรุป


ได้ดังนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์ เล่ม 5 บทที่ 15 | แม่เหล็กและไฟฟ้า 11

∙ โซเลนอยด์ที่มีกระแสไฟฟ้าผ่าน สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นคล้ายกับสนามแม่เหล็กจาก
แท่งแม่เหล็ก การระบุทิศทางของสนามแม่เหล็กที่เกิดจากโซเลนอยด์ ใช้วิธีเช่นเดียวกับลวดตัวนำ�
วงกลม หรือให้นิ้วทั้งสี่ของมือขวากำ�ไปตามทิศของกระแสไฟฟ้าที่วนผ่านขดลวด หัวแม่มือจะชี้
ทิศทางของสนามแม่เหล็กกลางโซเลนอยด์

ครูใช้รูป 15.20 นำ�อภิปรายเกี่ยวกับการเขียนสัญลักษณ์สนามแม่เหล็ก ที่มีทิศทางชี้เข้าตั้งฉากกับ


กระดาษและมีทิศทางชี้ออกตั้งฉากกับกระดาษ
ครูอาจถามคำ�ถามชวนคิดในหน้า 23 ให้นก
ั เรียนอภิปรายร่วมกัน โดยครูเปิดโอกาสให้นก
ั เรียนแสดง
ความคิดเห็นอย่างอิสระ แล้วครูนำ�อภิปรายจนได้แนวคำ�ตอบดังนี้

แนวคำ�ตอบชวนคิด

จงเขียนสัญลักษณ์ × และ ∙ แสดงทิศทางของสนามแม่เหล็กในระนาบกระดาษที่เกิดจาก


กระแสไฟฟ้าผ่านลวดตัวนำ�เส้นตรง ทางด้านซ้ายและทางด้านขวาของลวดตัวนำ�ของรูป ก. และ
ทางด้านบนและด้านล่างของลวดตัวนำ�ในรูป ข.

ก. ลวดตัวนำ�วางตัวในแนวดิ่ง ข. ลวดตัวนำ�วางตัวในแนวระดับ
รูป ลวดตัวนำ�เส้นตรงที่มีกระแสไฟฟ้าผ่าน

แนวคำ�ตอบ เมือ
่ ใช้มอ
ื ขวาหาทิศทางของสนามแม่เหล็กทีเ่ กิดจากกระแสไฟฟ้าในลวดตัวนำ� จะเขียน

เขียนสัญลักษณ์ × และ แสดงทิศทางสนามแม่เหล็กของเส้นลวด ได้ดงั รูป

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
12 บทที่ 15 | แม่เหล็กและไฟฟ้า ฟิสิกส์ เล่ม 5

I
I

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู

การประยุกต์ทางแม่เหล็กไฟฟ้า

ขดลวด ขดลวด
สวิตซรีเลย สวิตซรีเลย

12 V สวิตซทำงาน 12 V สวิตซทำงาน
ดวยแสง ดวยแสง
ออดไฟฟา ออดไฟฟา
แสง

ก. ขณะมีแสงตกกระทบสวิตซ์ทำ�งานด้วยแสง ข. ขณะไม่มีแสงตกกระทบสวิตซ์ทำ�งานด้วยแสง

รูป 15.14 วงจรไฟฟ้าของอุปกรณ์ป้องกันขโมย

ก. อุปกรณ์ป้องกันขโมย ที่ใช้สวิตช์ทำ�งานด้วยแสง เมื่อแสงตกกระทบตลอดเวลาออดไฟฟ้า


จะไม่ดัง เมื่อมีผู้เดินตัดลำ�แสง ออดไฟฟ้าจะดังขึ้น อธิบายได้ดังนี้
เมื่อมีแสงตกกระทบสวิตช์ทำ�งานด้วยแสงจะต่ อ วงจรให้ มีกระแสไฟฟ้าผ่ านขดลวดของ
สวิตซ์รเี ลย์ เกิดเป็นแม่เหล็กดึงดูดให้สวิตช์รเี ลย์ตด
ั วงจรไฟฟ้า ออดไฟฟ้าจึงไม่ท�ำ งาน ดังรูป 15.14 ก.
เมือ่ มีวต
ั ถุไปบังแสงมีผลให้สวิตช์ท�ำ งานด้วยแสงตัดวงจรไฟฟ้าของขดลวด ทำ�ให้ขดลวดไม่เป็นแม่เหล็ก
สวิตช์รเี ลย์จงึ ถูกสปริงดึงกลับไปต่อวงจรของออดไฟฟ้าให้มก
ี ระแสไฟฟ้าผ่าน ทำ�ให้ออดไฟฟ้าทำ�งาน
มีเสียงดัง ดังรูป 15.14 ข.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์ เล่ม 5 บทที่ 15 | แม่เหล็กและไฟฟ้า 13

ข. สวิิตช์์อััตโนมััติิชนิิดแม่่เหล็็กไฟฟ้้า A
สวิิ ต ซ์์ อัั ต โนมัั ติิ ช นิิ ด แม่่ เ หล็็ ก ไฟฟ้้ า หลอดไฟ
ใช้้ตััดวงจรไฟฟ้้าในขณะที่่�เกิิดการลััดวงจร หรืือมีี B

กระแสไฟฟ้้าในวงจรไฟฟ้้ามากเกิินที่่�กำำ� หนดไว้้
ก. ขณะกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวด
เนื่่�องจากขนาดของสนามแม่่ เ หล็็ ก ที่่�เกิิ ด จาก
โซเลนอยด์ไม่เกินมาตรฐาน
แม่่ เ หล็็ ก ไฟฟ้้ า ขึ้้�นอยู่่�กัั บ ค่่ า ของกระแสไฟฟ้้ า ที่่�
A
ผ่่ า นโซเลนอยด์์ ดัั ง นั้้�น เมื่่�อเกิิ ด ลัั ด วงจรหรืื อ
หลอดไฟ
กระแสไฟฟ้้ า มากเกิิ น ที่่�กำำ � หนดไว้้ จะทำำ � ให้้ B
กระแสไฟฟ้้ า ผ่่ า นโซเลนอยด์์ A มีี ค่่ า มากกว่่ า
ปกติิ เ ป็็ น ผลให้้ ส นามแม่่ เ หล็็ ก ที่่�เกิิ ด ขึ้้�นมีี ค่่ า ข. ขณะกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวด
มากพอที่่�จะดึึ ง ดูู ด แท่่ ง เหล็็ ก B ให้้ เ คลื่่�อนที่่� โซเลนอยด์เกินมาตรฐาน

วงจรไฟฟ้้าก็็จะขาด ดัังรููป 15.15 รูป 15.15 วงจรไฟฟ้าภายในสวิตช์อัตโนมัติ

หลังจากที่สวิตช์ทำ�การตัดวงจรไฟฟ้าแล้ว แท่งเหล็ก B จะถูกล็อกให้ค้างอยู่จนกว่าเรา


จะใช้มือดันที่ล็อกให้แท่งเหล็ก B กลับไปต่อให้ครบวงจรอีกครั้งหนึ่งด้วยกลไกที่ใช้สปริงทำ�งาน แต่
ถ้ายังไม่ได้แก้ไขจุดที่เกิดลัดวงจรให้เรียบร้อย สวิตช์จะทำ�งานตัดวงจรไฟฟ้าอีก สวิตช์อัตโนมัติชนิด
แม่เหล็กไฟฟ้าสามารถทำ�งานได้แม้จะอยู่ในบริเวณที่มีอุณหภูมิค่อนข้างสูง

แนวการวัดและประเมินผล
1. ความรู้เกี่ยวกับสนามแม่เหล็ก เส้นสนามแม่เหล็ก ฟลักซ์แม่เหล็ก และสนามแม่เหล็กจาก
กระแสไฟฟ้าผ่านเส้นลวดตัวนำ� จากการอภิปรายร่วมกัน คำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจและ
แบบฝึกหัด 15.1
2. ทักษะการสังเกต สือ
่ สารสารสนเทศและการรูเ้ ท่าทันสือ
่ และความร่วมมือ การทำ�งานเป็นทีมและ
ภาวะผู้นำ� จากการอภิปรายร่วมกัน การทำ�กิจกรรม และการบันทึกผลการทำ�กิจกรรม 15.1
3. ทักษะการใช้จำ�นวนจากคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจและแบบฝึกหัด 15.1

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
y
14 บทที่ 15 | แม่เหล็กและไฟฟ้า ฟิสิกส์ เล่ม 5
y


แนวคำ�ตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้
B าใจ 15.1
x

B
x
1. จงหาฟลักซ์แม่เหล็กในแต่ละข้อzต่อไปนี้ โดยพื
พื้น้นที่ทีA่ A มีค่าเท่ากับ 0.8 ตารางเมตร และมี
สนามแม่เหล็กสม่ำ�เสมอตลอดพื้นที่เท่ากับ 0.5 เทสลา ในแนวแกน
z
x
y
พื้นที่ A
1.1 พื้นที่ A อยู่ในระนาบ yz 1.2 พื้นที่ A อยู่ในระนาบ xy
พื้นที่ A
y y
พื้นที่ A

B
 x
 B
B x
x
z

z z
พื้นที่ A
1.3 พื้นที่ A ระนาบทำ�มุม 45 องศา กับแกน z
y
พื้นที่ A y

y


B

B x
 x
B
z
45 x
z
พื้นที่ A
45
z
แนวคำ�ตอบ กรณีสนามแม่เหล็กสม่ำ�เสมอผ่านตั้งฉากกับพื้นที่ หาฟลักซ์แม่เหล็พืก้นได้ทีจ่ Aากสมการ
φ = BA
y
กรณีที่สนามแม่เหล็ กไม่ต้ังฉากกับระนาบขดลวด หาฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านขดลวดจากสมการ
φ = BAsinθ โดย θ คือ มุมระหว่างสนามแม่เหล็กกับระนาบขดลวด


B
x

สถาบันส่งเสริมzการสอนวิท45

ยาศาสตร์และเทคโนโลยี
พื้นที่ A
ฟิสิกส์ เล่ม 5 บทที่ 15 | แม่เหล็กและไฟฟ้า 15

1.1 จากรูป สนามแม่เหล็กตั้งฉากกับพื้นที่ดังนั้น ฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านพื้นที่ A หาได้จาก


φ = BA
= (0.5T)(0.8m2)
= 0.4 Wb
1.2 จากรูป สนามแม่เหล็กขนานกับพื้นที่ A ดังนั้น ฟลักซ์แม่เหล็กที่ตั้งฉากกับพื้นที่ A จึง
เป็นศูนย์
1.3 จากรูป สนามแม่เหล็กทำ�มุม 45˚ กับพื้นที่ A ฟลักซ์แม่เหล็กที่ตั้งฉากพื้นที่ A หาได้จาก
φ = BAsin45˚
 2
( 0.5T ) ( 0.8 m 2 )  
 2 
= 0.28 Wb

2. จงบอกทิศทางของเส้นสนามแม่เหล็กโลกบริเวณเส้นศูนย์สูตรของโลก บริเวณขั้วโลกเหนือและ
บริเวณขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์
แนวคำ�ตอบ ขั้วใต้ของขั้วแม่เหล็กโลกอยู่บริเวณขั้วเหนือทางภูมิศาสตร์ และขั้วเหนือของ
ขั้วแม่เหล็กโลกอยู่บริเวณขั้วใต้ทางภูมิศาสตร์ ดังนั้นเส้นสนามแม่เหล็กโลกจะมีทิศทางชี้ออก
จากขั้วใต้ทางภูมิศาสตร์ เข้าสู่ขั้วเหนือทางภูมิศาสตร์ และทิศทางของเส้นสนามแม่เหล็กโลก
บริเวณเส้นศูนย์สูตรของโลกจะขนานกับพื้นโลกและมีทิศทางชี้ไปทางขั้วเหนือทางภูมิศาสตร์
โดยบริเวณขั้วโลกเหนือทางภูมิศาสตร์สนามแม่เหล็กโลกจะมีทิศทางชี้ลงโค้งเข้าหาบริเวณ
ขั้วแม่เหล็กโลก และบริเวณขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์สนามแม่เหล็กโลกมีทิศทางชี้ขึ้นโค้งออก
จากบริเวณขั้วแม่เหล็กโลก

3. เมื่อวางแท่งแม่เหล็กแท่งหนึ่งไว้ที่บริเวณเส้นศูนย์สูตรโลกในลักษณะทิศทางการวางตัวดังรูป
บริเวณใดบ้างที่อาจมีจุดสะเทิน
N B C D

A E

H G F

รูป ประกอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจข้อ 3

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
16 บทที่ 15 | แม่เหล็กและไฟฟ้า ฟิสิกส์ เล่ม 5

แนวคำ � ตอบ จุ ด สะเทิ น คื อ ตำ � แหน่ ง ที่ ส นามแม่ เ หล็ ก มี ค่ า เป็ น ศู น ย์ ซึ่ ง เป็ น ตำ � แหน่ ง ที่ มี
สนามแม่เหล็กมากกว่า 1 แหล่งรวมกันแบบหักล้าง ในกรณีมีสนามแม่เหล็กจากแหล่งกำ�เนิด
2 แหล่ง สนามแม่เหล็กทัง้ สองจะต้องมีทศ
ิ ตรงข้ามกัน ในทีน
่ ม
ี้ ส
ี นามแม่เหล็กจากสนามแม่เหล็ก
โลก และสนามแม่เหล็กจากแท่งแม่เหล็ก โดยสนามแม่เหล็กโลกจะมีทศ
ิ ทางชีไ้ ปทางขัว้ เหนือทาง
ภูมศ
ิ าสตร์ สนามแม่เหล็กจากแท่งแม่เหล็กมีทิศทางขั้วเหนือไปขั้วใต้ดังรูป

N B C D
N

A E

S
H G F

รูป ประกอบแนวคำ�ตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจข้อ 3

ดังนั้นบริเวณสนามแม่เหล็กจากแท่งแม่เหล็กกับสนามแม่เหล็กโลกมีทิศตรงข้ามกัน คือบริเวณ
A และ E เป็นบริเวณที่อาจมีจุดสะเทิน

4. วางลวดตัวนำ�เส้นตรงที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าผ่าน ให้อยู่ในแนวดิ่งและใกล้เข็มทิศ ดังรูป



ลวดตัวนำ

เข็มทิศ

รูป ประกอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจข้อ 4

ต่อมาให้กระแสไฟฟ้าขนาดมากพอ ผ่านลวดตัวนำ�นี้ในทิศทางจากล่างขึ้นบน เข็มทิศจะชี้ไป


ทิศทางใด
แนวคำ�ตอบ ตอนแรกเข็มทิศจะวางตัวในแนวสนามแม่เหล็กโลก เมือ
่ มีกระแสไฟฟ้ามากพอผ่าน
ลวดตัวนำ�เส้นตรงในทิศทางจากล่างขึ้นบน จะเกิดสนามแม่เหล็กรอบลวดตัวนำ�นั้นและมีค่าสูง
กว่าสนามแม่เหล็กโลก โดยทิศทางของสนามแม่เหล็กหาได้โดยใช้มอ
ื ขวาให้นวิ้ หัวแม่มอ
ื ชีท
้ ศ
ิ ทาง
ของกระแสไฟฟ้า นิ้วทั้งสี่ที่วนรอบเส้นลวดจะชี้ทิศทางของสนามแม่เหล็กของเส้นลวด ทำ�ให้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์ เล่ม 5 บทที่ 15 | แม่เหล็กและไฟฟ้า 17

เข็มทิศเบนไปอยูใ่ นทิศทางของสนามแม่เหล็กของลวดตัวนำ� จะได้วา่ เข็มของเข็มทิศจะชีไ้ ปทาง


ทิศทาง ดังรูป

I

ลวดตัวนำ
เข็มทิศ

รูป ประกอบแนวคำ�ตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจข้อ 4

เฉลยแบบฝึกหัด 15.1

1. สนามแม่เหล็กขนาดสม่ำ�เสมอ 1.0 เทสลา จงหาฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านระนาบขดลวดที่มีพ้น


ื ที่
10 ตารางเซนติเมตร ขณะระนาบขดลวดทำ�มุม 0 องศา และ 90 องศา กับสนามแม่เหล็ก
วิธีทำ� ขณะระนาบขดลวดทำ�มุม 0 องศาและ 90 องศา กับสนามแม่เหล็ก มีลักษณะดังรูป ก.
และ ข. ตามลำ�ดับ
y y

 
B B
x x

z z
พื้นที่ขดลวด A พื้นที่ขดลวด A
ก. ระนาบขดลวดทำ�มุม 0 องศากับสนามแม่เหล็ก ข. ระนาบขดลวดทำ�มุม 90 องศากับสนามแม่เหล็ก
รูป ประกอบวิธีทำ�สำ�หรับแบบฝึกหัดข้อ 1
ู ก. หาฟลักซ์แม่เหล็กผ่านระนาบขดลวดจาก φ = BAsinθ โดย θ เท่ากับ 0 ได้
กรณีรป
φ = (1.0T)(10 × 10-4 m2)sin (0˚)
= 0 Wb

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
18 บทที่ 15 | แม่เหล็กและไฟฟ้า ฟิสิกส์ เล่ม 5

กรณีรูป ข. หาฟลักซ์แม่เหล็กผ่านระนาบขดลวดจาก φ = BA ได้


φ = (1.0T)(10 × 10-4 m2)
= 1.0 × 10-3 Wb
ตอบ ขณะระนาบขดลวดทำ�มุม 0 องศา ฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านระนาบขดลวดเป็นศูนย์
ขณะระนาบขดลวดทำ�มุม 90 องศา ฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านระนาบขดลวดเท่ากับ
1.0 × 10-3 เวเบอร์

2. ฟลักซ์แม่เหล็ก 6.28 × 10-3 เวเบอร์ ผ่านตัง้ ฉากกับระนาบของขดลวดวงกลมรัศมี 10 เซนติเมตร


จงหาความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก
วิธีทำ� จากโจทย์แสดงได้ดังรูป
y


B
x

z
พื้นที่ขดลวด A

รูป ประกอบวิธีทำ�สำ�หรับแบบฝึกหัดข้อ 2

หาความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็กจากสมการ
B φ
A
แทนค่าจะได้
6.28 ×10−3 Wb
B
π (10 ×10−2 m )
2

= 2.0 × 10-1 T
ตอบ ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็กเท่ากับ 0.20 เทสลา

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์ เล่ม 5 บทที่ 15 | แม่เหล็กและไฟฟ้า 19

3. ถ้ามีสนามแม่เหล็กสม่ำ�เสมอขนาด 0.20 เทสลา ผ่านขดลวดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีด้านยาว


20 เซนติเมตร และด้านกว้าง 10 เซนติเมตร ในทิศทำ�มุม 30 องศา กับระนาบของขดลวด
จงหาฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านขดลวด
วิธีทำ� สนามแม่เหล็กไม่ตั้งฉากกับระนาบขดลวด หาฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านขดลวดจากสมการ
φ = BAsinθ
โดย θ คือ มุมระหว่างสนามแม่เหล็กกับระนาบขดลวด
1
แทนค่า φ ( 0.20 T ) ( 0.20 m )( 0.10 m ) 
2
= 2.0 × 10-3 Wb
ตอบ ฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านขดลวดเท่ากับ 2.0 × 10-3 เวเบอร์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

You might also like