แผนการจัดการเรียนรู้ 3

You might also like

Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 11

โรงเรียนสมอทองปทีปพลีผลอุปถัมภ์

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
วิชา คณิตศาสตร์
รหัสวิชา ค 21101
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1
ภาคเรียนที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชื่อหน่วย ระบบจำนวนเต็ม
จำนวน 23 ชั่วโมง
หน่วยย่อยที่ 3 เรื่อง จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็ม
เวลาสอน 1 ชั่วโมง

1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
มาตรฐาน : มาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการ
ดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่าง การดำเนินการต่าง
ๆ และใช้การดำเนินการในการแก้ปั ญหา
ตัวชี้วัด : ค 1.2 ม.1/1 บวก ลบ คูณ หารจำนวนเต็ม และ
นำไปใช้แก้ปั ญหา ตระหนักถึงความสมเหตุสมผล ของคำตอบ อธิบายผล
ที่ เกิดขึ้นจากการบวก การลบ การคูณ การหาร และบอกความสัมพันธ์
ของ การบวกกับการลบ การคูณกับการหารของจำนวนเต็มได้

2. ความคิดรวบยอด
ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มใดๆ จะหาได้จากระยะที่จำนวนเต็มนั้น
อยู่ห่างจาก 0 บนเส้นจำนวน เช่น
ค่าสัมบูรณ์ของ 5 เท่ากับ 5 เนื่องจาก 5 อยู่ห่างจาก
0 เป็ นระยะ 5 หน่วย
ค่าสัมบูรณ์ของ -5 เท่ากับ 5 เนื่องจาก -5 อยู่ห่างจาก
0 เป็ นระยะ 5 หน่วย

3. จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านพุทธิพิสัย
นักเรียนสามารถบอกจำนวนตรงข้ามของจำนวนเต็มได้
ด้านทักษะพิสัย
นักเรียนสามารถหาจำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์ของ
จำนวนเต็มได้
ด้านจิตพิสัย
1. นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนและการทำงาน
2. นักเรียนมีความกล้าแสดงออกสามารถแสดงความคิดเห็น
และยอมรับฟั งความคิดเห็นของผู้อื่น

4. สาระการเรียนรู้
จำนวนตรงข้ามของจำนวนเต็ม
ถ้า a เป็ นจำนวนใดๆ จำนวนตรงข้ามของ a มีเพียงจำนวน
เดียว เขียนแทนด้วย -a

พิจารณาจากเส้นจำนวน
จำนวนเต็มบวกและจำนวนเต็มลบจะอยู่คนละข้างของศูนย์
(0) และอยู่ห่างจาก 0 เป็ นระยะเท่ากัน เช่น -3 กับ 3 เป็ นจำนวนตรง
ข้ามกัน

ซึ่งสรุปได้ว่า

สำหรับจำนวนเต็ม a ใดๆ จำนวนตรงข้ามของ a


คือ –a
และจำนวนตรงข้ามของ a คือ
–a
เนื่องจากจำนวนตรงข้ามของ(-a) เขียนแทนด้วย – (-
a)
ดังนั้น – (-a) = a
เช่น จำนวนตรงข้ามของ (-3) เขียนแทนด้วย –(-3)
คือ 3

ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็ม
สัญลักษณ์ของค่าสัมบูรณ์ ได้แก่ ||
ข้อสังเกต เมื่อ a แทนจำนวนใดๆ
พิจารณาจากเส้นจำนวนจะเห็นว่า

ค่าสัมบูรณ์ของ 2 เท่ากับ 2 เขียนในรูปสัญลักษณ์


|2|=2
ค่าสัมบูรณ์ของ -2 เท่ากับ 2 เขียนในรูปสัญลักษณ์
|−2|=2

ซึ่งสรุปได้ว่าค่า สัมบูรณ์ของจำนวนใดๆ เท่ากับระยะทางที่จำนวนนั้นอยู่


ห่างจาก 0 บนเส้นจำนวน

5. การบูรณาการกับสมรรถนะ
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปั ญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีความรับผิดชอบ
2. มีระเบียบวินัย
3. มีความซื่อสัตย์
4. มีความเชื่อมั่นในตนเอง
7. ชิ้นงาน/ภาระงาน
แบบฝึ กหัดเสริมทักษะ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม

8. กิจกรรมการเรียนรู้
วิธีการสอน สอนแบบอนุมาน
8.1 ขั้นนำ
1. ครูตั้งคำถามต่างๆ เพื่อทบทวนความรู้เกี่ยวกับ
จำนวนเต็ม เช่น จำนวนเต็มบวกคือจำนวนเช่นไร จงยกตัวอย่าง
จำนวนเต็มที่อยู่ทางซ้ายมือหรือขวามือของศูนย์บนเส้นจำนวน
จำนวนเต็มลบคือจำนวนเช่นไร จงยกตัวอย่างจำนวนเต็มลบ เราเรียก
ศูนย์ว่าจำนวนเต็มอะไร เป็ นต้น
2. ครูให้นักเรียนอาสาออกมาเขียนเส้นจำนวนบนกระดาน
พร้อมเขียนจำนวนเต็มตั้งแต่
–10 ถึง 10 บนเส้นจำนวนนั้น
8.2 ขั้นสอน
1. ครูให้นักเรียนช่วยกันพิจารณาระยะห่างระหว่าง
จำนวนเต็มแต่ละจำนวนกับ 0 เป็ นเท่าใด โดยพิจารณาจากเส้น
จำนวนตามข้อ 2. (ขั้นนำ) เช่น –5 อยู่ห่างจาก 0 กี่หน่วย หรือ
3 อยู่ห่างจาก 0 กี่หน่วย เป็ นต้น
2. ครูถามนักเรียนว่า มีจำนวนเต็มใดบ้างที่อยู่ห่างจาก 0
เป็ นระยะทางเท่ากัน โดยพิจารณาจาก เส้นจำนวนตามข้อ 2. และการ
ตอบคำถามในข้อ 1. (ขั้นสอน) ครูให้ข้อเสนอแนะแก่นักเรียนว่า เรา
เรียกจำนวนที่อยู่ห่างจาก 0 เป็ นระยะทางเท่ากันและอยู่คนละด้านบน
เส้นจำนวนว่า “จำนวนตรงข้าม” และถ้า a เป็ นจำนวนเต็มใดๆ เรา
เขียนแทนจำนวนตรงข้ามของ a ด้วย –a
3. ครูถามนักเรียนถึงระยะระหว่างจำนวนเต็มบางจำนวน
กับ 0 เป็ นเท่าใด โดยพิจารณาจาก เส้นจำนวนตาม ข้อ 2. (ขั้น
นำ) เช่น –9 อยู่ห่างจาก 0 กี่หน่วย หรือ 7 อยู่ห่างจาก 0 กี่
หน่วย ครูเสนอแนะนักเรียนว่า เราเรียกระยะระหว่างจำนวนใดกับ 0
ว่า “ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนนั้น” และถ้า a เป็ นจำนวนเต็มใดๆ
เราเรียกระยะระหว่างจุด a กับ 0 ว่า “ค่าสัมบูรณ์ของ a” และใช้
สัญลักษณ์  a แทนค่าสัมบูรณ์ของ a
4. ครูให้นักเรียนทำใบงาน เกี่ยวกับจำนวนตรงข้าม และ
ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มต่างๆ พร้อมทั้งช่วยกันเฉลยใบงาน
8.3 ขั้นสรุป
1. ครูสรุปถึงจำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็ม
ดังนี้
- จำนวนเต็มจะมีจำนวนตรงข้ามเป็ นจำนวนเต็ม
- 0 เป็ นจำนวนตรงข้ามของ 0
- จำนวนตรงข้ามกันจะมีค่าสัมบูรณ์เท่ากัน
- ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนใด ๆ เป็ นจำนวนบวกเสมอ
ยกเว้น 0
2. ครูสุ่มนักเรียนภายในห้องมา 5 คนเพื่อตอบคำถาม ถ้า
เด็กนักเรียนตอบถูก 2 คน แต่ตอบผิด 3 คน แสดงว่าเด็กยังไม่เข้าใจใน
เรื่องระบบจำนวนเต็ม ครูจึงต้องมีการปรับปรุงสื่อการสอนให้นักเรียน
สนใจมากขึ้น แต่ถ้านักเรียนตอบคำถามถูก 4 – 5 คน แสดงว่านักเรียน
ส่วนใหญ่เข้าใจในเรื่องที่สอนดี

8.4 สื่อการเรียนการสอน
1. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน คณิตศาสตร์เล่ม 1
2. ห้องสมุดโรงเรียน
3. อินเตอร์เน็ต

9. การวัดและการประเมินผล
วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์
ตรวจผลงาน แบบฝึ กหัดเสริม นักเรียนทำแบบฝึ กหัด
- แบบฝึ กหัดเสริม ทักษะเรื่อง ผ่านเกณฑ์ระดับ
ทักษะเรื่อง ระบบจำนวนเต็ม คุณภาพ 2 (พอใช้)
ระบบจำนวนเต็ม

สังเกตพฤติกรรม แบบประเมิน นักเรียนมีคุณลักษณะ


การทำงาน คุณลักษณะที่พึง ที่พึงประสงค์ผ่าน
ประสงค์ เกณฑ์ประเมินเฉลี่ยใน
ระดับ 2 คะแนนขึ้นไป
สังเกตทักษะ/ แบบประเมิน นักเรียนมีทักษะ/
กระบวนการทาง ทักษะ/กระบวนการ กระบวนการทาง
คณิตศาสตร์ผู้เรียน ทางคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ผ่าน
เกณฑ์ประเมินเฉลี่ยใน
ระดับ
2 คะแนนขึ้นไป
แบบฝึ กหัดเสริมทักษะ
วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 เรื่องจำนวนตรงข้าม
และค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็ม

ชื่อ-
สกุล………………………………………………………………………………….ชั้น…
…...............เลขที่…………………...

ข้อ 1. จงเขียนจำนวนตรงข้ามกันของจำนวนต่อไปนี้
1. –31 ตรงข้าม กับ ………………….
2. 1 ตรงข้าม กับ ………………….
3. –5ตรงข้าม กับ ………………….
4. 5 ตรงข้าม กับ ………………….
5. …………………. ตรงข้าม กับ 0
6. …………………. ตรงข้าม กับ 18
7. –13 ตรงข้าม กับ ………………….
8. …………………. ตรงข้าม กับ 12
9. 3 ตรงข้าม กับ ………………….
10. …………………. ตรงข้าม กับ -17
ข้อ 2 จงเติมเครื่องหมาย   หรือ  ลงในช่องว่างเพื่อให้ประโยค
เป็ นจริง
1.  -9 …….. 9
2. 0 ……….1
3.  -12………. -3
4. 0………… 3-1
5. 8…………. จำนวนตรงข้ามของ 8
6.  15………….. 3x5
7. 2+5…………. จำนวนตรงข้ามของ 7
8.  12x2………….. 26-2
9. 0 เป็ นจำนวนตรงข้ามของ …………….
10. 1 -1……….2

เฉลยแบบฝึ กหัดเสริมทักษะ
วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 เรื่องจำนวนตรงข้าม
และค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็ม
ชื่อ-
สกุล………………………………………………………………………………….ชั้น…
…...............เลขที่…………………...

ข้อ 1. จงเขียนจำนวนตรงข้ามกันของจำนวนต่อไปนี้
1. –31 ตรงข้าม กับ 31
2. 1 ตรงข้าม กับ -1
3. –5 ตรงข้าม กับ 5
4. 5 ตรงข้าม กับ -5
5. 0 ตรงข้าม กับ 0
6. -18 ตรงข้าม กับ 18
7. –13 ตรงข้าม กับ 13
8. -12 ตรงข้าม กับ 12
9. 3 ตรงข้าม กับ -3
10. 17 ตรงข้าม กับ -17

ข้อ 2 จงเติมเครื่องหมาย   หรือ  ลงในช่องว่างเพื่อให้ประโยค


เป็ นจริง
1.  -9 = 9
2. 0 < 1
3.  -12 >  -3
4. 0 <  3-1
5. 8 = จำนวนตรงข้ามของ 8
6.  15 =  3x5
7. 2+5 = จำนวนตรงข้ามของ 7
8.  12x2 =  26-2
9. 0 เป็ นจำนวนตรงข้ามของ 0
10. 1 -1 < 2

You might also like