Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 16

47

แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4
ตัวแปร

หัวข้อประจำบท
1. ความหมายของตัวแปร
2. ประเภทของตัวแปร
3. วิธีการควบคุมตัวแปรเกิน
4. ระดับของการวัด
5. สรุป
6. คำถามท้ายบท
7. เอกสารอ้างอิง

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
หลังจากนักศึกษาได้เรียนรู้ในบทที่ 4 แล้วต้องมีความรู้ความสามารถ ดังนี้
1. บอกความหมายและประเภทของตัวแปรได้ถูกต้อง
2. ระบุตัวแปรจากหัวข้อการวิจัยที่กำหนดให้ได้ถูกต้อง
3. จำแนกตัวแปรตามเกณฑ์ที่กำหนดให้ได้ถูกต้อง
4. แสดงคุณลักษณะของข้อมูลตามมาตรการวัดได้ถูกต้อง
5. ให้นิยามเชิงปฏิบัติการตัวแปรได้ถูกต้อง

จำนวนชั่วโมงที่สอน
2 ชั่วโมง

กิจกรรมการเรียนการสอน
1. บรรยายและอธิบาย พร้อมยกตัวอย่าง ประกอบกับการใช้โปรแกรมนำเสนอด้วย
คอมพิวเตอร์ (PowerPoint)
2. กิจกรรมกลุ่ม โดยมีขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม ดังนี้
2.1 แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละประมาณ 5 คน
48

2.2 นักศึกษาฝึกวิเคราะห์ จำแนก ระบุ และแสดงคุณลักษณะของตัวแปร มาตราวัด


และ นิยามเชิงปฏิบัติการ
2.3 นักศึกษาแต่ละกลุ่มร่วมกันพิจารณา โดยการอภิปรายร่วมกัน และส่งตัวแทน
เสนอผลหน้าชั้น
3. แนะนำแหล่งศึกษาเพิ่มเติม
4. ตอบคำถามท้ายบท

สื่อการสอน
1. เอกสารประกอบการสอนวิชาวิจัยทางการศึกษา
2. ตัวอย่างงานวิจัย
3. โปรเจคเตอร์
4. โน๊ตบุ๊ค (Notebook)
5. พาวเวอร์พอยท์ (PowerPoint)

การประเมินผล
1. ซักถามผู้เรียนเกี่ยวกับเนื้อหาวิชา
2. ประเมินผลงานที่นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม และรายบุคคล
3. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายในชั้นเรียน
4. ตรวจคำถามท้ายบท
49

บทที่ 4
ตัวแปร

ในการทำวิจัย ผู้วิจัยมุ่งศึกษาผลของตัวแปรที่นำมาศึกษา ซึ่งมาจากการที่ผู้วิจัยได้กำหนด


ปัญหาการวิจัยแล้วนำปัญหาที่ได้กำหนดเป็นชื่อเรื่องที่จะทำวิจัย กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย
ขอบเขตการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ตัวแปรที่ศึกษา ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัยที่ใช้เป็น
แนวทางในการหาคำตอบของการทำวิจัย เมื่อผู้วิจัยสามารถเลือกหัวข้อปัญหาในการวิจัยได้แล้ว สิ่งที่
ควรทราบต่อมาคือ ต้องทราบว่า หัวข้อปัญหาวิจัยนั้น ผู้วิจัยจะศึกษาตัวแปรอะไร อะไรเป็นตัวแปร
อิสระ ต้องใช้ตัวแปรอิสระกี่ตัวจึงจะตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้ และอะไรเป็นตัวแปรตาม ผู้วิจัย
จะควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนอย่างไรที่จะทำให้งานวิจัยมีความน่าเชื่อถือมากที่สุด ในบทนี้จะนำเสนอ
ความหมาย ประเภทของตัวแปร วิธีการควบคุมตัวแปรเกิน และระดับของการวัด

ความหมายของตัวแปร
มีนักวิชาการได้วิเคราะห์ และสังเคราะห์ความหมายของตัวแปร ไว้ดังนี้
อรุณี อ่อนสวัสดิ์ (2551 : 44) ให้ความหมายคำว่า ตัวแปร หมายถึง คุณลักษณะ
หรือคุณสมบัติของสิ่งใด ๆ ที่สนใจศึกษาซึ่งแปรค่าได้ เช่น ความสูงของนักเรียน ความสามารถใน
การกระโดดของนักกีฬา พัฒนาการทางคำศัพท์ของนักเรียนปฐมวัย รายได้ต่อเดือนของผู้ปกครอง
อาชีพ ศาสนา เป็นต้น
50

รัตนะ บัวสนธ์ (2552 : 49) ให้ความหมายคำว่า ตัวแปร หมายถึง ปรากฏการณ์ หรือ


สรรพสิ่งทั้งหลายที่แปรค่า หรือไม่คงที่ สามารถแปรเปลี่ยนได้
บุญชม ศรีสะอาด (2554 : 26) ให้ความหมายของตัวแปรไว้ว่า ตัวแปร หมายถึง
คุณลักษณะหรือสภาวการณ์ต่าง ๆ ซึ่งแบ่งออกเป็นพวกหรือเป็นระดับ หรือมีค่าได้หลายค่า เช่น เพศ
เป็นตัวแปรตัวหนึ่ง แบ่งออกเป็นเพศชายและเพศหญิง เป็นต้น
เคอร์ลิเจอร์ (Kerlinger. 1986 : 27) ให้ความหมายของตัวแปรไว้ว่า ตัวแปร หมายถึง
คุณลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งต่าง ๆ ที่สามารถแปรค่าได้ (thing that vary) การแปรเปลี่ยนค่า
อาจจะแตกต่างกันออกไปในเชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพ (คุณลักษณะ) เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง อายุ
เพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับสติปัญญา เชื้อชาติ เป็นต้น
จากความหมายที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่า ตัวแปร หมายถึง คุณลักษณะหรือ
ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษาซึ่งแปรค่าได้ หรือไม่คงที่สามารถแปรเปลี่ยนได้ เช่น เพศ
เป็นตัวแปรตัวหนึ่ง แบ่งออกเป็นเพศชาย และเพศหญิง เป็นต้น

ประเภทของตัวแปร
ในการวิจัยมีตัวแปรที่มาเกี่ยวข้องหลายประเภทในการจัดประเภทของตัวแปรนักวิจัย
อาจจะสร้างเกณฑ์ในการจำแนกตัวแปรดังนี้ (สมบัติ ท้ายเรือคำ. 2555 : 33-34)
1. จำแนกตามผลการวัด (Measurement) แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1.1 ตัวแปรเชิงคุณภาพหรือตัวแปรเชิงคุณลักษณะ เป็นตัวแปรที่เมื่อแทนตัวเลขให้กับ
คุณลักษณะที่ต้องการวัดแล้วค่าที่อยู่ระหว่างตัวเลข 2 ตัวใด ๆ ไม่มีความหมาย เช่น เพศ วิธีสอน
สถานภาพสมรส ศาสนา เป็นต้น เช่น วิธีสอนแบบ 4MAT แทนด้วยเลข 1 หรือวิธีที่ 1 วิธีสอนแบบ
ปกติแทนด้วยเลข 2 หรือวิธีที่ 2 หรือ เลข 1 แทนคนนับถือศาสนาพุทธ เลข 2 แทนคนที่นับถือ
ศาสนาคริสต์ และเลข 3 แทนคนที่นับถือศาสนาอิสลาม โดยตัวเลขที่แทนตัวแปรเหล่านี้ไม่สามารถ
นำไปเปรียบเทียบ หรือนำไปบวก ลบ คูณ หารกันได้
1.2 ตัวแปรเชิงปริมาณ หรือตัวแปรต่อเนื่อง เป็นตัวแปรที่เมื่อแทนตัวเลขให้กับ
คุณลักษณะที่ต้องการวัดแล้วค่าที่อยู่ระหว่างตัวเลข 2 ตัวใด ๆ มีความหมาย เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง
คะแนนสอบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นต้น เช่น ส่วนสูงของนักศึกษา หรือเกรดเฉลี่ยสะสม (GPA)
ของนักศึกษา เป็นต้น
2. จำแนกตามการกระทำกับตัวแปร (Manipulate) ในการวิจัยโดยทั่ว ๆ ไป มักจะ
แบ่งตัวแปรออกเป็น 2 ชนิดคือ
51

2.1 ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (Independent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นสาเหตุที่


ก่อให้เกิดผลหรือก่อให้เกิดการแปรผันของปรากฏการณ์ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยกำหนดหรือจัดกระทำได้
เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากตัวแปรนี้
2.2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลง
ค่าของตัวแปรอิสระ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยมุ่งวัดเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับนำมาวิเคราะห์เพื่อตอบคำถามของ
การวิจัยว่าเป็นผลมากจากสิ่งใด
นอกจากนี้ยังมีตัวแปรอื่นที่ผู้วิจัยมิได้มุ่งศึกษาโดยตรง แต่เป็นตัวแปรที่อาจมีผลกระทบต่อ
ตัวแปรตามได้ (ศิริชัย กาญจนวาสี. 2550 : 17-18)
3. จำแนกตามภาวะแทรกซ้อน เป็นตัวแปรแทรกซ้อนหรือตัวแปรเกิน (Extraneous
Variable) เป็นตัวแปรอิสระที่ไม่อยู่ในขอบข่ายของการศึกษา แต่มีผลต่อตัวแปรตามที่มุ่งศึกษา
โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
3.1 ตัวแปรปรับ (Moderator Variable) เป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อตัวแปรตามร่วมกันกับ
ตัวแปรอิสระ หรือตัวแปรอิสระกับตัวแปรปรับมีปฏิสัมพันธ์กัน (Interaction) ดังภาพประกอบ 4.1
X Y

Z
X แทน ตัวแปรอิสระ
Y แทน ตัวแปรตาม
Z แทน ตัวแปรปรับ

ภาพประกอบ 4.1 ตัวแปรปรับ


ที่มา : ศิริชัย กาญจนวาสี (2550 : 17)
ตัวอย่าง ตัวแปรปรับ
ชื่อเรื่องวิจัย : การเปรียบเทียผ ลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การบวก ของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ใช้วิธีการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนกับวิธีการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง
ผลการวิจัย พบว่า เมื่อเปรียบเทียบระหว่างวิธีการสอน 2 วิธี (X) พบว่า ผลสัฤทธิ์ทางการ
เรียน (Y) ไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศ (Z) นักเรียนชายและนักเรียนหญิง พบว่า
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน ดังนั้น หากนักวิจัยไม่สนใจตัวแปรปรับ ก็อาจจะทำให้ผลการวิจัย
คลาดเคลื่อนได้
52

3.2 ตัวแปรสอดแทรก (Intervening Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นผลของตัวแปรอิสระ


และเป็นเหตุของตัวแปรตาม ถ้าไม่มีตัวแปรสอดแทรกเกิดขึ้นมาคั่นกลางระหว่างตัวแปรอิสระกับ
ตัวแปรตาม ตัวแปรอิสระก็จะไม่ส่งผลต่อตัวแปรตาม ดังภาพประกอบ 4.2

X Z Y

X แทน ตัวแปรอิสระ
Y แทน ตัวแปรตาม
Z แทน ตัวแปรสอดแทรก

ภาพประกอบ 4.2 ตัวแปรสอดแทรก


ที่มา : ศิริชัย กาญจนวาสี (2550 : 17)

ตัวอย่าง ตัวแปรสอดแทรก
ชื่อเรื่องวิจัย : การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การบวก ของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ใช้วิธีการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนกับวิธีการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง
ผู้วิจัยได้ทำการสอนนักเรียนด้วยวิธีการสอน (X) ที่กำหนดไว้ และเมื่อสิ้นสุดการสอนได้ทำ
การทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Y) ของนักเรียนหลังเรียน (Posttest) ซึ่งในระหว่างที่ทำการ
ทดลองนั้นมีนักเรียนบางคนท้องเสีย (Z) ไม่สามารถทำข้อสอบต่อไปได้ ดังนั้น ตัวแปร Z เป็นตัวแปรที่
ผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมได้ หรืออาจจะมีตัวแปรอื่น ๆ เช่น ความวิตกกังวล ความเหนื่อยหน่ายในการ
สอบ เป็นต้น
3.3 ตัวแปรกดดัน (Suppressor variable) เป็นตัวแปรที่กดดันให้ตัวแปรอิสระส่งผลต่อตัว
แปรตาม หากไม่นำเอาตัวแปรกดดันเข้าศึกษาด้วย จะไม่พบอิทธิพลของตัวแปรอิสระที่มีต่อตัวแปร
ตาม ดังภาพประกอบ 4.3

Z X Y
53

X แทน ตัวแปรอิสระ
Y แทน ตัวแปรตาม
Z แทน ตัวแปรกดดัน

ภาพประกอบ 4.3 ตัวแปรกดดัน


ที่มา : ศิริชัย กาญจนวาสี (2550 : 18)

ตัวอย่าง ตัวแปรกดดัน
ชื่อเรื่องวิจัย : การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การบวก ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ใช้วิธีการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนกับวิธีการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง
ตัวแปรอิสระ ได้แก่ วิธีการสอน (X) 2 วิธี ได้แก่ แบบเพื่อนช่วยเพื่อน และกรณีตัวอย่าง
ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Y)
ตัวแปรกดดัน คือ (Z) คือ ความตั้งใจในการสอนของครู
ความตั้งใจในการสอนของครูมีผลต่อคุณภาพการสอน ซึ่งจะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนของนักเรียน ดังนั้นหากไม่นำมาศึกษาก็อาจจะพบว่า วิธีการสอน 2 วิธีไม่แตกต่างกัน
ตัวแปรเกินอาจเกิดขึ้นจากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้ (สมบัติ ท้ายเรือคำ. 2558 : 28)
1. จากกลุ่มตัวอย่างหรือกลุ่มประชากร เป็นตัวแปรที่กลุ่มตัวอย่างมีมาก่อนจะมีการวิจัย
เช่น อายุ เพศ ระดับสติปัญญา ความถนัด เชื้อชาติ บุคลิกภาพ สภาพครอบครัว เป็นต้น
2. จากวิธีการดำเนินการทดลอง และทดสอบในการวิจัยเชิงทดลอง เช่น ความผิดพลาดใน
วิธีดำเนินการ คุณภาพเครื่องมือที่ใช้ทดสอบ เวลาที่ใช้ทดสอบ เป็นต้น
3. จากแหล่งภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม เช่น เสียงรบกวน สถานที่ไม่เหมาะสมและมีตัวแปร
อีกประเภทหนึ่งที่อาจมีผลกระทบต่อตัวแปรตาม แต่เราไม่อาจรู้ได้ล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่จึงไม่
สามารถควบคุมได้ ตัวแปรเหล่านี้เรียกว่า ตัวแปรสอดแทรก (Intervening variable) เช่น ภาวะ
สุขภาพ ความวิตกกังวล ความตื่นเต้น ความโกรธ แรงจูงใจ เป็นต้น

วิธีการควบคุมตัวแปรเกิน
การควบคุมตัวแปรเกินหรือตัวแปรแทรกซ้อน มี 2 ชนิด คือ ตัวแปรเกี่ยวกับกลุ่มตัวอย่าง
และตัวแปรเกี่ยวกับสภาพการณ์ มีรายละเอียดดังนี้ (ชูศรี วงศ์รัตนะ และองอาจ นัยพัฒน์. 2551 :
27-29)
54

1. ใช้สมาชิกที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมากที่สุด (Homogeneous Group) ในลักษณะของ


ตัวแปรเกินแต่การควบคุมตัวแปรวิธีนี้จำกัดขอบเขตการอ้างอิงผลการวิจัยไปใช้ให้แคบลง
2. จัดสมาชิกเข้ากลุ่มโดยการสุ่ม (Random Assignment) การจัดสมาชิกเข้ากลุ่มโดย
การสุ่มจะทำให้โอกาสหรือความน่าจะเป็นที่ค่าตัวแปรตามของกลุ่มทดลอง หรือกลุ่มควบคุมไม่
แตกต่างกันมีมากกว่าโอกาสที่จะแตกต่างกันก่อนทำการทดลอง
3. จับคู่สมาชิกบนพื้นฐานของตัวแปรเกิน แล้วจัดสมาชิกของแต่ละคู่เข้ากลุ่ม โดยการสุ่ม
ตัวแปรที่จะมาใช้เป็นเกณฑ์ในการจับคู่นั้น ควรจะเป็นตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามโดยมี
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.50 หรือมากกว่า เช่น ระดับสติปัญญา (I.Q.) มีความสัมพันธ์กับ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
4. ควบคุมสภาพการณ์ในการทดลองให้มีความคงที่
5. นำตัวแปรเกินมาใช้ในการวิจัยโดยพิจารณาให้เป็นตัวแปรอิสระอีกตัวหนึ่ง
6. ควบคุมด้วยสถิติโดยการใช้ การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA)
สรุป การควบคุมความแปรผันของตัวแปรหรือความแปรปรวน ซึ่งก็คือ การจัดกระทำให้
ค่าแปรผันของตัวแปรนั้น ๆ มีค่ามากน้อยตามความต้องการอันจะทำให้เราทราบอิทธิพลของตัวแปร
ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่เราต้องการรักษาได้แน่ชัด หรือขจัดอิทธิพลนี้ออกไป จะช่วยให้มีผล
การทดลอง หรือการวิจัยเป็นไปอย่างชัดเจนไม่คลุมเครือละจะนำไปสู่การสรุป ผลการวิจัยได้อย่าง
ถูกต้อง ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุดซึ่ง ความแปรปรวน ในที่นี้หมายถึง ความแปรปรวนที่จะเกิด
กับตัวแปรตามอันเป็นผลมาจากตัวแปรต้น

ระดับของการวัด (Level of Measurement)


ข้อมูลในการวิจัยจำนวนมากได้มาจากการวัด ซึ่งการวัด (Measurement) หมายถึง
การกำหนดตัวเลข หรือสัญลักษณ์อื่น ๆ แทนปริมาณหรือคุณภาพหรือคุณลักษณะ ของสิ่งที่วัด
มาตราการวัดมี 4 ระดับ คือ (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2556 : 20 – 23 ; สมบัติ ท้ายเรือคำ. 2555 :
62-64 และ Kothari. 2004 : 17 - 18)
1. มาตรานามบัญญัติ (Nominal Scale or Classification Scale) เป็นระดับการวัดที่
ต่ำที่สุด เป็นการกำหนดตัวเลขแทนชื่อคน แทนคุณลักษณะต่าง ๆ แทนเหตุการณ์ต่างๆ หรือแทนสิ่ง
ต่าง ๆ เช่น เบอร์นักฟุตบอล เลขทะเบียนรถต่าง ๆ การกำหนดให้เลข 0 แทนเพศหญิง เลข 1 แทน
เพศชาย คุณสมบัติที่สำคัญของมาตรานี้ก็คือ ตัวเลขที่กำหนดให้จะเพียงแต่ชี้ถึง ความแตกต่างกัน คือ
ชี้ว่าไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ไม่ได้แทนอันดับ ขนาด ปริมาณหรือคุณภาพใด ๆ ซึ่งตัวเลขหรือค่าต่าง ๆ ที่
55

กำหนดให้นั้นนำมาบวก ลบ คูณ หารกันไม่ได้ และจากการที่ไม่ได้ชี้ปริมาณหรือคุณภาพดังกล่าว


นักจิตวิทยาบางท่านจึงไม่ยอมรับการวัดชนิดนี้ว่าเป็นการวัด (Measurement)
การจัดจำแนกหน่วยวิเคราะห์ออกเป็นกลุ่มถือว่าเป็นระดับการวัดที่ต่ำสุด เพราะทราบ
แต่เพียงว่ามีคุณสมบัติแตกต่างกัน เช่น เพศ และเขตที่อยู่อาศัย แต่ไม่ทราบว่าแตกต่างกันมากน้อย
เพียงใด ในวงการวิจัย ตัวแปร/ข้อมูลที่มีคุณสมบัติทางด้านการวัดในลักษณะดังกล่าวนี้ มักถูกเรียกว่า
ตัวแปร/ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Variable) เพราะไม่สามารถวัดปริมาณของความแตกต่างได้
2. มาตราเรียงลำดับ (Ordinal Scale) เป็นระดับของการวัดที่สูงกว่ามาตรานามบัญญัติ
เป็นการกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์เพื่อชี้ถึงอันดับ เช่น หลังจากพิจารณาภาพที่นักเรียนวาดมาแล้ว
ก็ได้อันดับจากภาพที่ดีที่สุดเป็นอันดับ 1 รองลงมาเป็นอันดับ 2 , 3 ,… ตามลำดับ เป็นต้น จะเห็นได้
ว่าในมาตรานี้มีคุณสมบัติของมาตรานามบัญญัติคือ ความแตกต่าง อันดับ 1 และอันดับ 2 จะเป็นคน
ละคน ไม่เหมือนกัน สิ่งที่เราทราบเพิ่มขึ้นจากมาตรานามบัญญัติคือ ทิศทาง ของความแตกต่าง
อันดับ 1 อยู่เหนือกว่าอันดับ 2 เนื่องจากมีปริมาณหรือคุณภาพมากกว่า อย่างไรก็ตาม แม้จะทราบ
ว่าใครมากกว่า น้อยกว่า แต่ไม่อาจทราบว่ามากกว่ากันเท่าใด และช่วงระหว่างอันดับต่าง ๆ มักไม่
เท่ากัน เช่น อันดับที่ 1 อาจมีคุณภาพเหนือกว่าอันดับที่ 2 มาก ขณะที่อันดับที่ 2 มีคุณภาพห่างจาก
อันดับที่ 3 เพียงเล็กน้อย เป็นต้น จากการที่ช่วงอันดับไม่เท่ากันดังกล่าว จึงไม่สามารถนำเอาตัวเลขใน
มาตรานี้มาบวก ลบ คูณ หรือหารกันได้ หากนำมาบวกหรือลบหรือคูณหรือหารกัน ค่าที่ได้ออกมาไม่มี
ความหมายแน่นอน และจะขึ้นอยู่กับรหัสตัวเลขที่ผู้วิจัยใช้กำหนดแทนคุณสมบัตินั้น ๆ จึงไม่สามารถ
นำมากำหนดความแตกต่างในเชิงปริมาณจากลักษณะของการวัดที่นำมาใช้กับตัวแปรนั้น ๆ ได้
จะเห็นได้ว่า แม้ว่าจะสามารถจัดอันดับว่าอะไรมาก่อน มาหลัง กลุ่มใดมาก กลุ่มใดน้อย
ได้ แต่ไม่สามารถทราบปริมาณความห่าง (Interval) ว่า แต่ละหน่วยวิเคราะห์ห่างกันหรือแตกต่างกัน
มากน้อยเพียงใดในคุณสมบัติที่นำมาศึกษา ตัวแปรที่มีการวัดเชิงอันดับ จึงจัดอยู่ในประเภทของตัว
แปรเชิงคุณภาพ (Qualitative variables) เช่นเดียวกับตัวแปรประเภทนามบัญญัติ
3. มาตราอันตรภาค (Interval Scale) เป็นระดับของการวัดที่สูงกว่าสองมาตราที่กล่าว
มา โดยมีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นอีก 2 ประการ คือ มี ศูนย์สมมุติ (Arbitrary Zero or Relative Zero)
และมีหน่วยของการวัดที่เท่ากัน ตัวอย่างของมาตรานี้ ได้แก่ การวัดอุณหภูมิ เช่น ในหน่วยวัดอุณหภูมิ
แบบเซลเซียส จะกำหนดจุดที่น้ำกลายเป็นน้ำแข็งเป็น 0๐C เป็นศูนย์เทียม ไม่ได้หมายความว่า ณ
อุณหภูมิ 0๐C นี้ไม่มีความร้อนอยู่เลย แต่เป็นเพียงจุดที่น้ำกลายเป็นน้ำแข็ง จากการที่มีหน่วยของ
การวัดที่เท่ากัน และมีศูนย์เทียม จึงสามารถเปรียบเทียบปริมาณ หรือคุณภาพได้ว่ามากกว่ากันเท่าไร
เช่น 40๐C จะมีอุณหภูมิสูงกว่า 30๐C อยู่ 10๐C และสามารถพูดได้ว่าอุณหภูมิ 20๐C สูงกว่าอุณหภูมิ
15๐C เท่ากับอุณหภูมิ 14๐C สูงกว่าอุณหภูมิ 9๐C เพราะต่างก็สูงกว่ากัน 5๐C (ไม่อาจพูดได้ว่า
56

อุณหภูมิ 60๐C ร้อนเป็นสองเท่าของอุณหภูมิ 30๐C เพราะความร้อนไม่ได้เริ่มที่จุด 0๐C หรือ 60๐C


เท่ากับ 2 คูณ 30๐C ซึ่งปริมาณความร้อนของสสาร 60๐C ไม่เท่ากับ 2 คูณด้วยความร้อนของสสาร
30๐C)
นักพฤติกรรมศาสตร์มักถือเอาว่าคะแนนการสอบเป็นการวัดในมาตรานี้ จึงตีความใน
ลักษณะเดียวกันกับกรณีของอุณหภูมิที่กล่าวมา เช่น ในแบบทดสอบที่มีจำนวน 60 ข้อ ถ้า ด.ช. ก
สอบได้ 50 คะแนน ด.ช. ข สอบได้ 30 คะแนน ด.ช. ค สอบได้ 25 คะแนน และ ด.ช. ง สอบได้
5 คะแนน ก็กล่าวว่า ด.ช. ก ได้คะแนนมากกว่า ด.ช. ข 20 คะแนน ด.ช. ข ได้คะแนนมากกว่า ด.ช. ง
25 คะแนน ด.ช. ก ได้คะแนนมากกว่า ด.ช. ข เท่ากับ ด.ช. ค ได้คะแนนมากกว่า ด.ช. ง (เพราะห่าง
กันเท่ากับ 20 คะแนน) แต่ไม่สามารถตีความได้ว่า ด.ช. ก มีความรู้เป็น 2 เท่าของ ด.ช. ค เพราะ
จุดเริ่มต้นไม่ใช้ศูนย์แท้ ผู้สอบได้คะแนนศูนย์ไม่ได้หมายความว่าไม่มีความรู้ในวิชานั้น เป็นเพียงแต่ว่า
ทำข้อสอบชุดนั้นไม่ได้ ถ้าออกข้อสอบมากกว่านั้น หรือง่ายกว่านั้นเขาอาจทำได้บ้าง มาตราอันตรา
ภาคนับว่าเป็นมาตราที่เป็นตัวแปรเชิงปริมาณ (Quantitative Variables) อย่างแท้จริง ค่าตัวเลข
ของตัวแปรที่มีการวัดระดับนี้มีค่าเชิงเลขคณิตศาสตร์ที่สามารถนำมาบวก ลบ คูณ หาร เชิงเลข
คณิตศาสตร์แสดงปริมาณความแตกต่างของแต่ละหน่วยวิเคราะห์ได้
4. มาตราอัตราส่วน (Ratio Scale) เป็นระดับของการวัดที่สูงที่สุด มีความสมบูรณ์
มากกว่ามาตราวัดอันตรภาค นอกจากจะมีคุณสมบัติเหมือนมาตราวัดอันตรภาคแล้วยังมี ศูนย์แท้
(Absolute Zero) ในขณะที่มาตราอันตรภาคมีเพียงศูนย์สมมุติ กล่าวคือ ตัวแปรที่มีการวัดที่มี
มาตรฐานสากลเชิงเปรียบเทียบ มีมาตรฐานสากลเปรียบเทียบใช้ได้มีค่าเท่ากันทุกแห่งมาตรวัดใน
ลักษณะดังกล่าวนี้มีจุดเริ่มต้นเท่ากัน คือ เริ่มจาก 0 เสมอ ตัวอย่างการวัดในมาตรานี้ได้แก่ การวัด
ความยาว น้ำหนัก ส่วนสูง อายุแต่ละหน่วยของความยาวจะมีช่วงเท่ากันแต่ละหน่วยของ น้ำหนัก
มีขนาดเท่ากัน เช่น เอื้อมพร หนัก 60 กิโลกรัม จะหนักเป็น 2 เท่าของนิตยารัตน์ ซึ่งหนัก
30 กิโลกรัม การที่กล่าวเช่นนี้ได้เนื่องจากแต่ละหน่วยกิโลกรัมมีน้ำหนักเท่ากัน และเริ่มจากศูนย์แท้
น้ำหนักศูนย์กิโลกรัมก็คือไม่มี น้ำหนักเลยเนื่องจากการวัดระดับนี้มีความสมบูรณ์ทุกประการ จึง
สามารถนำมาจัดกระทำตามหลักคณิตศาสตร์ได้ทุกประการ เช่น บวก ลบ คูณ หาร ถอดราก และ
ยกกำลังได้

สรุป
ตัวแปร หมายถึง คุณลักษณะหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษาซึ่งแปรค่าได้ หรือไม่
คงที่สามารถแปรเปลี่ยนได้ เช่น เพศ เป็นตัวแปรตัวหนึ่ง แบ่งออกเป็นเพศชาย และเพศหญิง สามารถ
จำแนกตัวแปรเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ (Qualitative variable) และตัวแปรเชิงปริมาณ
57

(Quantitative variable) หรืออาศัยเกณฑ์ในการจำแนกตามความเป็นเหตุเป็นผลต่อกัน สามารถ


จำแนกเป็นตัวแปรต้น (Independent variable) และตัวแปรตาม (Dependent variable)
การนิยามตัวแปรซึ่งตัวแปรจะมีลักษณะที่เป็นรูปธรรมและตัวแปรที่เป็นนามธรรมต้องนิยามให้ชัดเจน
โดยมากจะนิยามตัวแปรในเชิงปฏิบัติการ ในการวัดตัวแปรแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ มาตรานามบัญญัติ
มาตราเรียงอันดับ มาตราอันตรภาค และมาตราอัตราส่วน ในการทำวิจัยบางครั้งต้องมีการควบคุม
ตัวแปรเกินหรือตัวแปรแทรกซ้อนเพื่อไม่ให้ตัวแปรเกินหรือตัวแปรแทรกซ้อนเข้ามามีอิทธิพลต่อ
ผลการวิจัย ซึ่งเป็นการจัดกระทำให้ค่าแปรผันของตัวแปรนั้น ๆ มีค่ามากน้อยตามความต้องการอันจะ
ทำให้ทราบอิทธิพลของตัวแปรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่เราต้องการรักษาได้แน่ชัด ซึ่งจะนำไปสู่
การสรุปผลการวิจัยได้อย่างถูกต้อง
58

คำถามท้ายบท

คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1. จงบอกความหมายของตัวแปร
2. ตัวแปรแบ่งได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
3. จงอธิบายความหมายของตัวแปรปรับ หมายถึง
4. จงอธิบายความหมายของตัวแปรสอดแทรก หมายถึง
59

5. จงอธิบายความหมายของตัวแปรกดดัน หมายถึง
6. ระดับของการวัดมีกี่ระดับ อะไรบ้าง
7. จงอธิบายความหมาย ความเหมือน และความต่างของมาตรานามบัญญัติ มาตราเรียงอันดับ
มาตราอันตรภาค และมาตราอัตราส่วน
8. จงบอกระดับการวัดต่อไปนี้ว่าอยู่มาตราใด
8.1 เบอร์เสื้อนักกีฬาฟุตบอล
8.2 การวัดอุณหภูมิร่างกาย
8.3 รายการโทรทัศน์ที่ชอบดู
8.4 อาชีพของนักศึกษาเมื่อเรียนจบปริญญาตรี
8.5 วุฒิการศึกษา
9. การควบคุมตัวแปรเกินมีวิธีอะไรบ้าง พร้อมอธิบาย
10. ให้นักศึกษาพิจารณาหัวข้อการวิจัย เรื่อง
“การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่าง
การสอนแบบ 4MAT กับการสอนตามคู่มือครู”
จากหัวข้อการวิจัยนี้ ให้ตอบคำถามดังต่อไปนี้
10.1 ตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม คืออะไร
10.2 ตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อตัวแปรตามที่ควรควบคุมในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่อะไรบ้าง
10.3 จงบอกระดับการวัดของตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม
10.4 ให้นิยามเชิงปฏิบัติการตัวแปรอิสระ และตัวแปรตามในหัวข้อวิจัยนี้
60
61

เอกสารอ้างอิง

ชูศรี วงศ์รัตนะ และองอาจ นัยพัฒน์. (2551). แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองและสถิติวิเคราะห์


แนวคิดพื้นฐานและวิธีการ. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทริโรฒ. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
บุญเรียง ขจรศิลป์. (2533). วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์
การพิมพ์.
รัตนะ บัวสนธ์. (2552). ปรัชญาวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2558). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. มหาสารคาม : ภาควิชาวิจัยและพัฒนา
การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
. (2555). ระเบียบวิธีวิจัย สำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5
มหาสารคาม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2556). การใช้สถิติในงานวิจัยอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานสากล.
พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.
อรุณี อ่อนสวัสดิ์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัย. พิษณุโลก : ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Kerlinger, F. N. (1986). Foundations of Behavioral Research. 3rd ed. New York.
Winston, Inc.
Kothari, C. R. (2004). Research methodology: Methods and techniques. New Delhi :
New Age International Publishers.
62

You might also like