Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 122

แนวคิดทฤษฎีการศึกษา

คุณยืนอยู่ตรงหน้าประตูทางเข้าปราสาท
คุณคิดว่ามันจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร
MORE INFORMATIONS

ประตูธรรมดา ประตูที่ปกคลุมด้วยเถาวัล ประตูไม้บานใหญ่พร้อมเหล็ก


หาค่อนข้างยาก ดูน่ากลัว
คุณเดินผ่านประตูปราสาทเข้าไปแล้วพบว่า
เป็นปราสาทร้าง คุณเห็นอะไรเป็นสิ่งแรก
คุณมองไปรอบๆ เพื่อหาบันไดขึ้นไปชั้นบน
บันไดนั้นมีหน้าตาอย่างไร
เมื่อคุณขึ้นไปชั้นบนแล้ว คุณเข้าไปห้อง
เล็กห้องหนึ่ง ที่มีหน้าต่างอยู่บานหนึ่ง
หน้าต่างนั้นใหญ่แค่ไหน
คุณเข้าไปห้องเล็กห้องหนึ่ง ที่มีหน้าต่างอยู่
บานหนึ่ง หน้าต่างนั้นใหญ่แค่ไหน
คุณมองออกนอกหน้าต่างไปแล้วเห็นอะไร
คุณกลับลงมาชั้นล่าง และอยู่ตรงจุดเดียวกับ
ที่คุณเข้ามาครั้งแรก
แล้วเปิดประตูห้องที่อยู่หลังสุดของปราสาท
คุณก้าวออกไปเจอกับสวน
สวนนั้นมีหน้าตาเป็นอย่างไร
การศึกษา
คืออะไร ?
MORE INFORMATIONS
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
การศึกษา หมายถึง กระบวนการเรียนรู้เพื่อ
ความเจริญงอกงาม ของบุคคลและสังคมโดย
การถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การ
สืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์ จรรโลง
ความก้าวหน้ าทางวิชาการ การสร้างองค์ ความรู้
อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การ
เรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่าง
ต่อเนื่องตลอดชีวิต
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
การศึกษา คือ การเล่าเรียน ฝึกฝน และอบรม
ท่านพุ ทธทาสภิกขุ
การศึกษา หมายถึง กระบวนการสร้างปัญญา
และคุณธรรมอันเป็นส่วนประกอบอย่างอื่น ๆ
ที่จะช่วยให้มนุษย์สามารถแก้ไขปัญหา ล่วงพ้น
สิ่งบีบคั้นขัดข้อง นำชีวิตให้เจริญงอกงาม ไปสู่
ความเป็นอยู่ที่ดีที่สุดและเสวยผลแห่งความมี
ชีวิตได้โดยสมบูรณ์
ม.ล.ปิ่น มาลากุล
การศึกษาเป็นเครื่องหมายที่ทำให้เกิดความ
เจริญงอกงามในตัวบุคคล

ดร.สาโรช บัวศรี
การศึกษา หมายถึง การเจริญงอกงาม
ของขันธ์ 5
รุสโซ
การศึกษา คือ การนำความสามารถใน
ตัวบุคคลมาใช้ให้เกิดประโยชน์

เฟรดริค วิสแฮม เฟรอเบล


การศึกษา หมายถึง การพัฒนา
บุคลิกภาพของเด็กเพื่อให้เด็กพัฒนา
ตนเอง
จอห์น ดิวอี้
การศึกษา คือ ชีวิต ไม่ใช่เตรียมตัวเพื่อชีวิต

การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม

การศึกษา คือ กระบวนการทางสังคม

การศึกษา คือ การสร้างประสบการณ์ แก่ชีวิต


คาร์เตอร์ วี กู๊ด
การศึกษา หมายถึง กระบวนการต่าง ๆ ที่บุคคลนำมาใช้
ในการพัฒนาความรู้ความสามารถ เจตคติ ความประพฤติที่
ดีมีคุณค่า และมีคุณธรรมเป็นที่ยอมรับนับถือของสังคม

การศึกษาเป็นกระบวนการทางสังคมที่ทำให้บุคคลได้รับความ
รู้ความสามารถจากสิ่งแวดล้อมที่โรงเรียนจัดขึ้น

การศึกษา หมายถึง การถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้


อย่างเป็นระเบียบให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษา
ปรัชญาการศึกษา
“Philosophy” มาจากภาษากรีกว่า
Philosophia ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำ 2 คำ คือ
Philos : Love of / Loving of
Sophia : Wisdom / Knowledge
ปรัชญา หมายถึง ความเชื่อ แนวความคิดที่
รวบรวมรายละเอียดต่าง ๆ ของโลกและสิ่งมีชีวิต
ทั้งหมด พยายามหาคำตอบที่เป็นจริงที่เป็นนิรันดร์
สามารถอธิบายสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้โดยใช้วิธีทาง
ตรรกวิทยาในการค้นหาความจริง ซึ่งเป็นวิธีคิด
อย่างมีเหตุมีผล เนื้อหาของปรัชญาเปลี่ยนแปลงได้
ตามยุคตามสมัยแล้วแต่ความสนใจเรื่อใดหรือ
ปัญหาใดอันจะก่อให้เกิดต่อมนุษยชาติ
ความหมายของปรัชญาการศึกษา
แนวความคิด หลักการและกฏเกณฑ์ในการกำหนด
แนวทางในการจัดการศึกษาซึ่งนักการศึกษาได้ยึด
เป็นหลักในการดำเนินการทางการศึกษาเพื่อให้บรรลุ
เป้าหมาย นอกจากนี้ยังพยายามวิเคราะห์และ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษา ทำให้สามารถมอง
เห็นปัญหาของการศึกษาได้อย่างชัดเจน ปรัชญาการ
ศึกษาจึงเปรียบเหมือนเข็มทิศนำทางให้นักการศึกษา
ดำเนินการทางการศึกษาอย่างเป็นระบบ ชัดเจน
สมเหตุสมผล
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาสารนิยมหรือสารัตถนิยม (Essentialism)

ปรัชญาสัจวิทยานิยมหรือนิรันตรนิยม
(Perenialism)
ปรัชญาพิพัฒนาการนิยมหรือวิวัฒนาการนิยม
(Progressivism)

ปรัชญาสาขาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism)

ปรัชญาอัตถิภาวนิยม (Existentialism)
ปรัชญาสารัตถนิยม
(Essentialism)
ให้ความสนใจในเนื้อหาเป็นหลักสำคัญ
วิลเลี่ยม ซี แบคลี
การศึกษาควรมุ่งพัฒนาความสามารถ
ที่มนุษย์มีอยู่แล้ว
จุดมุ่งหมายของการศึกษา

ระดับกว้าง: การถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมเพื่อสังคมมีความ
เฉลียวฉลาด
ระดับแคบ: มุ่งพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์เพื่อให้มี
ความเฉลียวฉลาด มีความประพฤติที่ดี เป็นแบบอย่าง
ที่ดีงามของคนรุ่นหลัง
หลักสูตร

ยึดเนื้อหาวิชาเป็นสำคัญ เนื้อหาที่เป็นวิชาพื้นฐาน ได้แก่


ภาษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และเนื้อหาที่
เกี่ยวกับศิลปะ ค่านิยม และวัฒนธรรม หลักสูตรจะเป็น
แบบแผนเดียวกันทั่วประเทศ และจัดเตรียมโดยครู
หรือผู้เชี่ยวชาญโดยจัดเรียงลำดับตามความยากง่าย
หลักสูตร

เน้นทักษะที่จำเป็นในการแสวงหาความรู้ในการดำรงชีวิตมีการ
ปฏิบัติจนสามารถทำได้

ถ่ายทอดทัศนคติ ค่านิยม คุณงามความดีตามมาตรฐาน


ที่สังคมยอมรับว่าเหมาะสมมีคุณค่าสูงสุด
ครู

เป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมากการศึกษาจะต้องมาจากครู
เท่านั้นครูจะทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้ เพราะครูเป็นผู้ที่รู้เนื้อหา
ที่ถูกต้องที่สุด ครูเป็นผู้กำหนดกิจกรรมในห้องเรียน การกำหนด
มาตรฐานการเรียนรู้ ครูเป็นต้นแบบที่นักเรียนจะต้อง
ทำตามเปรียบเสมือนแม่พิมพ์
นักเรียน
จะต้องเป็นผู้สืบทอดค่านิยมไว้และถ่ายทอดไปยังคนรุ่นหลัง ผู้
เรียนจะต้องเชื่อฟังคำสั่งสอนของครูหรือผู้ใหญ่ที่ได้กำหนดเนื้อ
หารสาระไว้ นักเรียนเป็นผู้รับฟังและทำความเข้าใจในเนื้อหา
วิชาต่างๆ แล้วจดจำไว้ เพื่อจะนำไปถ่ายทอดต่อไป
นักเรียนไม่จำเป็นต้องมีความคิดริเริ่ม คอยรับฟัง
อย่างเดียวและจดจำไว้เท่านั้น
โรงเรียน
มีบทบาทในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสังคม สังคมมอบ
หมายให้ทำอย่างไรก็ให้เป็นไปตามนั้น หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า
โรงเรียนเป็นเครื่องมือของสังคม ทำหน้าที่ตามที่สังคมมอบหมาย
เท่านั้น ไม่ต้องไปแนะนำ หรือเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่ง
อย่างใดแก่สังคม มีหน้าที่อนุรักษ์สิ่งที่มีอยู่และ
ถ่ายทอดต่อไป เพราะถือว่าทุกอย่างในสังคมดีแล้ว
การจัดการเรียนการสอน
ขึ้นอยู่กับครูเป็นสำคัญ ครูเป็นผู้อธิบาย ชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจ
วิธีการเรียนการสอนจึงเน้นการสอนแบบบรรยายเป็นหลัก
นอกจากนี้การเรียนการการสอนยังฝึกฝนการเป็นผู้นำในกลุ่ม ซึ่ง
ผู้นำจะต้องมีระเบียบวินัย ควบคุมและรักษาตนเองได้ดี
เป็นแบบอย่างที่ดี จัดตารางสอน จัดห้องเรียน
แผนผังที่นั่งในห้องเรียน ครูเป็นผู้กำหนดแต่ผู้เดียว
ปรัชญานิรันตรนิยม
(Perennialism)
เน้นความสำคัญของความคงที่ ความไม่
เปลี่ยนแปลง ธรรมชาติของมนุษย์ คือ
เป็นผู้ที่มีความสามารถที่จะใช้ความคิด
ความสามารถให้เหตุผล ตัดสินแยกแยะ
ทุกคนต้องมีความคิดและเหตุผล และใช้
สิ่งเหล่านี้ตลอดเวลา ยึดถือหลักความ
ซิ น จริงและความดีสูงสุดไม่เปลี่ยนแปลง
เบิ ร์ ต เอ็ ม ฮั ท
โร
จุดมุ่งหมายของการศึกษา
เป็นการทำให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิด สติปัญญาเป็นเลิศ
และแสวงหาความจริงอันเป็นนิรันดร์
หลักสูตร
เรียนวิชาหลัก 7 วิชา ได้แก่ ศิลปะการพูด ตรรกวิทยา ไวยกรณ์
คณิตศาสตร์ เรขาคณิต ดาราศาสตร์ และดนตรี
ต้องถ่ายทอดวิชาการให้ทุกคนเหมือนกัน
เน้นให้ฝึกการใช้เหตุผล มีวินัย และการพัฒนาทางปัญญา
ผู้ทรงคุณวุฒิและนักการศึกษา ถือว่าเป็นผู้มีสติปัญญาเป็นเลิศ
เป็นผู้สร้างหลักสูตรให้ผู้เรียนทุกคนต้องเรียน
หลักสูตร
เนื้อหาทั้งหมดที่จัดไว้ในหลักสูตรเป็นเนื้อหาที่สำคัญที่ทุกคนต้องการ
เรียนรู้
การเรียนจะต้องเรียนจากพื้นฐาน ไปสู่การเรียนที่มีระดับสูงกว่า
การเรียนรู้จะต้องมีการใช้เอกสาร ตำรา การถ่ายทอดความจริง
จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ
มีการประเมินผลโดยการทดสอบความรู้
ครู
ปรัชญาการศึกษานี้มีความเชื่อว่าเด็กเป็นผู้มีเหตุผลและมีชีวิตมีวิญญาณ
ครูจะต้องรักษาวินัยทางจิตใจ และเป็นผู้นำทางวิญญาณของนักเรียนทุก
คน ครูต้องเป็นผู้ใฝ่รู้อยู่เสมอ เข้าใจเนื้อหาวิชาที่สอนอย่างถูกต้อง
ชัดเจน มีความคิดยาวไกล เป็นผู้ดูแลรักษาระเบียบวินัย
ควบคุมความประพฤติของผู้เรียน เป็นแบบอย่าง
ในการประพฤติปฏิบัติที่ดี
ผู้เรียน
โดยธรรมชาติเป็นผู้มีเหตุผลมี สติ มีศักยภาพในตัวเองที่สามารถพัฒนา
ไปสู่ความมีเหตุผล ถือว่าผู้เรียนมีความสนใจใคร่เรียนรู้ อยู่แล้ว ผู้เรียน
ทุกคนมีโอกาสเรียนเท่าเทียมกันหมด ใช้หลักสูตรเดียวกันทั้งเด็กเก่งและ
เด็กอ่อน ถ้าเด็กอ่อนเข้าใจช้าก็ต้องฝึกฝนบ่อยๆ
หรือทำซ้ำๆกันเพื่อไปให้ถึงมาตรฐานเดียวกันกับเด็กเก่ง
โรงเรียน
ไม่มีบทบาทต่อสังคมโดยตรง เพราะเน้นที่ตัวบุคคลเป็นหลักใหญ่ เพราะ
ถือว่า ถ้าเกิดการพัฒนาในตัวบุคคลแล้วก็สามารถทำให้สังคมนั้นดีขึ้นด้วย
โรงเรียนจึงเป็นเสมือนตัวกลางในการเตรียมผู้เรียนให้เกิดความก้าวหน้าที่ดี
งามที่สุดของวัฒนธรรมที่มีมาแต่อดีต โรงเรียนจะ
สร้างบรรยากาศและจัดสภาพแวดล้อมให้มีลักษณะ
สร้างความนิยมในวัฒนธรรมที่มีอยู่และเคร่งครัดในระเบียบวินัย
โดยเน้นการประพฤติปฏิบัติ
การจัดการเรียนการสอน
ฝึกให้ใช้ความคิดหาเหตุผลโดยอาศัยหลักวิชาที่เรียนรู้ไว้แล้วเป็นแนวทาง
พื้นฐานแห่งความคิด เพื่อพัฒนาสติปัญญาหรือเน้นด้านพุทธิศึกษา ที่เรียก
ว่า Intellectual Education
รุสโซ
ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม
(Progressivism)
การศึกษาคือชีวิต มิใช่เป็นการเตรียม
ตัวเพื่อชีวิต
เปสตาลอซซี
โรงเรียนถ่ายทอดวัฒนธรรมอันเป็น
มรดกของสังคมไปสู่ชนรุ่นหลัง
ความรู้เกิดจากประสบการณ์ที่ได้จาก
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนและสิ่งแวดล้อม
หลักสูตร
จัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
เน้นการเรียนรู้แบบ Problem Solving, learning by doing ซึ่งจะทำให้ผู้
เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยประสบการณ์ที่ตนเองได้พบเจอ
วิชาที่นำมาจัดในหลักสูตร ต้องทำให้เกิดการพัฒนาด้านความรู้ ทักษะ และ
ทัศนคติ
เน้นกระบวนการคิด และความร่วมมือในกลุ่ม
ครู
จัดประสบการณ์ ตามความสนใจของผู้เรียนและทำให้เกิดการพัฒนาทั้ง 3
ด้าน
มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

ช่วยเหลือเด็ก สำรวจปัญหา ความต้องการ ความสนใจ แนะนำ


เรื่องการแก้ปัญหาและชี้แหล่งความรู้
ผู้เรียน
ผู้เรียนจะได้ประสบการณ์ด้วยการลงมือกระทำด้วยตนเอง (Learning
bydoing) ผู้เรียนจะต้องมีอิสระในการเลือกตัดสินใจและต้องทำงานร่วมกัน
(Participation) เพื่อให้การเรียนการสอนตรงกับความถนัดความสนใจและ
ความสามารถของผู้เรียน
โรงเรียน
เป็นแบบจำลองสังคม โดยเฉพาะแบบจำลองที่ดีงามของชีวิตและ
ประสบการณ์ในสังคม โดยการจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับวุฒิภาวะ
ของผู้เรียนในแต่ละกลุ่ม
การจัดการเรียนการสอน
เป็นการสอนที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง(Child centered) โดยให้ผู้เรียนมี
บทบาทมากที่สุด การเรียนเป็นเรื่องการกระทำ (Doing)มากกว่ารู้ (Knowing)
การเรียนการสอนจึงให้ผู้เรียนลงมือกระทำเพื่อให้เกิดประสบการณ์และการ
เรียนรู้ การกระทำทำให้สามารถแก้ปัญหาได้ ครูต้องจัดประสบการณ์
และสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
การเรียนการสอนใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบวิทยาศาสตร์
(Problem solving)
ปรัชญาปฏิรูปนิยม
(Reconstructionism)
การศึกษาควรเป็นเครื่องมือโดยตรง
สำหรับการเปลี่ยนแปลงสังคมทำให้
เกิดการสร้างสังคมใหม่ ซึ่งจะเป็น
สังคมประชาธิปไตยที่แท้จริง

โอดอร์ บราเมลด์
จุดมุ่งหมายการศึกษา
การศึกษาจะต้องมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์ระบบสังคมขึ้นมาใหม่จากพื้นฐานเดิม
ที่มีอยู่ และสังคมใหม่ที่สร้างขึ้นนั้นจะต้องอยู่บนรากฐานของประชาธิปไตย
การศึกษาจะต้องส่งเสริมการพัฒนาสังคม ให้ผู้เรียนนำความรู้ไปพัฒนา
สังคมโดยตรง
หลักสูตร
เน้นสังคมเป็นศูนย์กลาง เพื่อการสร้างสังคมที่ดี เพื่อการสร้างสังคมใหม่
ต้องเรียนวิชาที่เกี่ยวกับสังคม เช่น สังคมศึกษา หน้าที่พลเมือง
ให้ผู้เรียนรู้ถึงสภาพสังคมที่แท้จริง

ดึงปัญหาสังคมมาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ เพื่อให้สามารถมองเห็น
ปัญหาทางสังคมและแก้ไขปัญหาทางสังคมได้
ครู
ทำหน้าที่รวบรวม สรุป วิเคราะห์ปัญหาของสังคมแล้วเสนอแนวทางให้ผู้
เรียนแก้ปัญหาของสังคม ครูจะต้องให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการคิด
พิจารณาในการแก้ปัญหาต่างๆและเห็นความจำเป็นที่จะต้องสร้างสรรค์
สังคมขึ้นมาใหม่ และเชื่อมั่นว่าจะกระทำได้โดยวิถีทางแห่งประชาธิปไตย
ผู้เรียน
ผู้เรียนคือผู้ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาสังคม และมีความ
ยุติธรรมดังนั้น ผู้เรียนจะได้รับการปลูกฝังให้ตระหนักในปัญหาสังคมเรียนรู้
วิธีการทำงานร่วมกัน
โรงเรียน
โรงเรียนจะมีบทบาทต่อสังคมโดยตรง โดยมีส่วนในการรับรู้ปัญหาของ
สังคม ร่วมกันแก้ปัญหาของสังคม รวมทั้งสร้างสังคมใหม่ที่เหมาะสม ดีงาม
โรงเรียนจะต้องใฝ่หาว่า อนาคตของสังคมจะเป็นเช่นไร แล้วนำทางให้ผู้
เรียนไปพบกับสังคมใหม่
กระบวนการเรียนการสอน
ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง และลงมือกระทำเอง สามารถมองเห็นปัญหา
และเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ด้วนตนเอง โดยใช้วิธีการต่างๆ หลายวิธี เช่น
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientificmethod) วิธีการโครงสร้าง (Project
method) และวิธีการแก้ปัญหา (Problem solving) เป็นเครื่องมือ
ปรัชญาอัตถิภาวนิยม
(Existentialism)
การมีชีวิตอยู่จริงของมนุษย์ มนุษย์จะ
ต้องเข้าใจและรู้จักตนเอง มนุษย์ทุก
คนมีความสำคัญและมีลักษณะเด่น
เฉพาะตนเอง ทุกคนมีเสรีภาพที่จะ
เลือกตัดสินใจในการกระทำสิ่งใดๆแต่
จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำนั้น
จุดมุ่งหมายการศึกษา
ทำให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง ให้อิสรภาพและเสรีภาพในการพัฒนาธรรมชาติ
และศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคนเป็นสำคัญ รับผิดชอบในสิ่งที่เลือก
นอกจากนี้ยังมุ่งให้ผู้เรียนเป็นผู้มีวินัยในตนเอง (Self discipline)
หลักสูตร
เป็นอิสระให้ผู้เรียนเลือกเนื้อหาได้ตามความถนัดและความสนใจ ซึ่งจะ
ทำให้คนมีพัฒนาการในด้านความเป็นตัวของตัวเอง
ให้แต่ละคนสามารถเลือกสิ่งที่ตนเองต้องการทำได้โดยเชื่อว่ามนุษย์
สามารถเลือกการกระทำของตนเอง เป็นผู้กำหนดแนวทางชีวิตและโชค
ชะตาชีวิตของตนเอง
เน้นเรื่องความสามารถและความโน้มเอียงในการเลือก
แนวทางจริยธรรมของตนเองและยึดถือปฏิบัติอยู่ในห้องเรียน
ครู
หน้าที่คอยกระตุ้นหรือเร้าให้ผู้เรียนตื่นตัว ให้เข้าใจตนเอง สามารถใช้
ความถนัดและความสามารถเฉพาะตัวออกมาให้เป็นประโยชนให้มากที่สุด
ผู้เรียน
ถือว่าผู้เรียนเป็นผู้ที่สำคัญที่สุดในกระบวนการศึกษาและเชื่อว่าผู้เรียนเป็น
ผู้ที่มีความคิด มีความสามารถในตนเองมีเสรีภาพอย่างแท้จริง เป็นผู้ที่เลือก
แนวทางที่จะพัฒนาตนเองด้วยตนเอง
โรงเรียน
ต้องสร้างบรรยากาศแห่งเสรีภาพทั้งในและนอกห้องเรียนและจัดสิ่งแวดล้อม
ให้ผู้เรียนเกิดความพอใจที่จะเรียน สร้างคนให้เป็นตัวของตนเอง คือให้
นักเรียนเลือกอย่างอิสระ ส่วนแนวทางในด้านจริยธรรม ทางโรงเรียนจะ
ไม่กำหนดตายตัวแต่จะให้ผู้เรียนได้เลือกแนวทางของตนเอง
กระบวนการเรียนการสอน
เน้นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด ให้ผู้เรียนพบความเป็น
จริงด้วยตัวเอง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเรียนด้วยตนเองของเขาเอง
การเรียนจะต้องเรียนรู้จากสิ่งภายในก่อน หมายถึงจะต้องให้ผู้เรียนรู้ว่า
ตนเองพอใจอะไรมีความต้องการอะไรอย่างแท้จริง แล้วเลือกเรียนในสิ่งที่
พอใจหรือต้องการ
ความสำคัญ
ของการศึกษา

ดอกไม้ในกองขยะ
นักศึกษา
คิดว่าการศึกษา
มีความสำคัญ
อย่างไร
ความมุ่งหมายของการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553
และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562 ได้ตั้งเป้าหมายของ
การจัดการศึกษาอยู่ที่ การพัฒนาคนไทยทุกคนให้เป็น
“คนเก่ง คนดี และมีความสุข”

พัฒนาคนตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ทั้งในด้าน
REGISTER
สุขภาพร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้ และทักษะ
คุณธรรม และจิตสำนึกที่พึงประสงค์ และอยู่ในสังคมได้อย่าง
ปกติสุข ซึ่งความมุ่งหมายของการจัดการศึกษาในแต่ละระดับจะ
แตกต่างกันไป
ความมุ่งหมายของการศึกษา
สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการ
ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจสังคมและสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย
จุดมุ่งหมายการศึกษาตามมาตรฐานคุณลักษณะที่
พึงประสงค์ดังนี้
1. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย และมีคุณลักษณะที่ดี
2. กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่าง
คล่องแคล่วและ ประสานสัมพันธ์กัน
3. มีสุขภาพจิตดี และมีความสุข
4. มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจดีงาม
5. ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี
การศึกษาระดับปฐมวัย การเคลื่อนไหว และรักการออกกำลังกาย
ความมุ่งหมายของการศึกษา
6. ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมตามวัย
7. รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย
8. อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และปฏิบัติตนเป็น
สมาชิกที่ดีของสังคม ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหา
กษัตริย์เป็นประมุข
9. ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
10. มีความสามารถในการคิดและแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับ
วัย
11. มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
12. มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และทักษะในการแสวงหา
ความรู้
การศึกษาระดับปฐมวัย
ความมุ่งหมายของการศึกษา
จุดมุ่งหมายการศึกษาตามมาตรฐานคุณลักษณะที่
พึงประสงค์ดังนี้
1. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัย และปฏิบัติตนตามหลัก
ธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ
ยึดหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การ
แก้ปัญหา การใช้ เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต
3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และ
รักการออกกำลังกาย
การศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน
ความมุ่งหมายของการศึกษา
4. มีความรักชาติ มีจิตส านึกในความเป็นพลเมือง
ไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถี ชีวิตและ การปกครอง
ตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรง
เป็นประมุข
5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและ
ภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มี
จิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่ง ที่ดีงามใน
สังคม และอยู่ร่วมกันในสังคม อย่างมีความสุข

การศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน
ความมุ่งหมายของการศึกษา
มุ่งเน้นทักษะพื้นฐานด้านการอ่าน การเขียน การคิด
ระดับชั้นประถมศึกษา คำนวณ ทักษะการคิดพื้นฐาน ทักษะการสื่อสาร
(ชั้น ป.1-6) กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม และพื้นฐานความเป็น
มนุษย์

มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้สำรวจความถนัดและความสนใจ
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ส่งเสริมการพัฒนา มีทักษะในการคิดวิจารณญาณ
(ชั้น ม.1-3) คิดสร้างสรรค์ และคิดแก้ปัญหา มีทักษะในการดำเนิน
ชีวิต

มุ่งเน้นการเพิ่มพูนความรู้และทักษะเฉพาะด้าน สนอง
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตอบความถนัดและความสนใจของผู้เรียนแต่ละคนทั้ง
(ชั้น ม.4-6) ด้านวิชาการและวิชาชีพ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์
ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ
ความมุ่งหมายของการศึกษา
จุดมุ่งหมายการศึกษาตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึง
ประสงค์ดังนี้
1. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีภาวะผู้นำ
2. สามารถใช้ความรู้แก้ไขปัญหาทางวิชาชีพ และแก้ไขปัญหา
ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์
3. ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ พัฒนาตนเองและเรียนรู้ตลอดชีวิต
การศึกษาระดับอุดมศึกษา 4. มีคุณธรรมจริยธรรม มีความรับผิดชอบสูงต่อวิชาชีพ
ตนเอง สังคม ประเทศและโลก

5. สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพด้วยตนเองและเป็นกลุ่มในสถานการณ์ที่หลากหลาย
6. สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพในการพูด การเขียน รวมทั้งการใช้เทคโนโลยี
7. ธำรงไว้ สืบทอด ถ่ายทอด พัฒนามรดกทางวัฒนธรรมของชาติ และเป็นผู้มีจิต
สาธารณะ
ความมุ่งหมายของการศึกษา
การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
เป็นการศึกษาที่มุ่งส่งเสริมผู้เรียนได้พัฒนาความรู้
และทักษะวิชาชีพในระดับกลาง รวมทั้งมีความ
สามารถในการริเริ่มประกอบการ

การศึกษาปริญญาตรี
เป็นการศึกษาที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้
การศึกษาระดับอุดมศึกษา ความสามารถในสาขาวิชาต่าง ๆ ในระดับสูง โดยเฉพาะ
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีไปสสู่การปฏิบัติ

การศึกษาสูงปริญญาตรี
มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้และทักษะในสาขาวิชาการเฉพาะทาง ให้มี
ความชำนาญมากขึ้น มุ่งสร้างสรรค์ความก้าวหน้าและความเเป็นเลิศทางวิชาการ
นิทานสะท้อน
การศึกษาไทย
นิทานสะท้อนการศึกษาไทย
นิทานสะท้อนการศึกษาไทย
นิทานสะท้อนการศึกษาไทย
นิทานสะท้อนการศึกษาไทย
นิทานสะท้อนการศึกษาไทย
นิทานสะท้อนการศึกษาไทย
นิทานสะท้อนการศึกษาไทย
คำถามชวนคิด
นักศึกษาคิดอย่างไร กับ การศึกษาไทยในปัจจุบัน

ระบบการศึกษา คุณครู ผู้เรียน


ถอดบทเรียนจากนิทานสะท้อนการศึกษาไทย
ถอดบทเรียนจากนิทานสะท้อนการศึกษาไทย
ถอดบทเรียนจากนิทานสะท้อนการศึกษาไทย
ถอดบทเรียนจากนิทานสะท้อนการศึกษาไทย
ถอดบทเรียนจากนิทานสะท้อนการศึกษาไทย

การศึกษาไทยต้องเน้นผู้เรียนทั้งในระดับนโยบายและระดับการสอน
โดยการกำหนดนโยบายการศึกษาที่คำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ
เปิดโอกาสให้ผู้เรียน เรียนรู้ตามวิธีที่ถนัดและสนใจ เรียนอย่างสนุก เล่นให้ได้
ความรู้ มีความสุขกับการเรียน ครูสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญเปิดโอกาสให้
ผู้เรียนได้คิด วิเคราะห์ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเองและมีความสุขกับการ
เรียน

การจัดการศึกษา
ความสำคัญของการศึกษา
ช่วยเสริมสร่างให้บุคคลมีสุขภาพที่ดีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ มี
ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรง เหมาะสมกับวัย มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

ช่วยเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงาม

ช่วยให้คนรู้จัดคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ มีวิจารณญาณ

ช่วยเสริมสร้างให้คนมีความรู้ และมีทักษะในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม
ด้วยตนเอง และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

ช่วยเสริมสร้างให้คนมีความรู้ในการประกอบอาชีพทุกด้าน

ช่วยเสริมสร้างให้คนได้พัฒนาให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ ซึ่งสามารถส่ง
ผลถึงความเจริญมั่นคงของประเทศและพัฒนาความก้าวหน้าตลอดไป
สถานการณ์การเปลี่ ยนแปลง
ของโลกและสังคม
Maga Trend คือแรงผลักดันการพัฒนา
เศรษฐกิจมหภาคในระดับโลกที่กระทำ
ให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจ เศรษฐกิจ
สังคม วัฒนธรรม และการดำรงชีวิต
ของมนุษย์ให้เป็นไปตามแรงขับ
เคลื่อนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและ
ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะเกิดขึ้นใน
ลักษณะที่ผันผวนและมีแนวโน้มจะเกิด
ขึ้นในช่วงเวลาสั้นลงเรื่อยๆ
ความก้าวหน้า
ทางเทคโนโลยี
ขณะนี้โลกอยู่ในยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
ครั้งที่ 4
เป็นยุคแห่งการประยุกต์ใช้ความก้าวหน้าทาง
เทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด
การพัฒนานวัตกรรมเน้นการต่อยอดและผสม
ผสานเทคโนโลยีต่างสาขาเข้าด้วยกัน เช่น
เทคโนโลยีทางกายภาพ ชีวภาพ ดิจิทัลและ
พลังงาน เพื่อใช้ประโยชน์ในส่วนต่างๆอย่าง
กว้างขวางในรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม
ส่งผลให้วิถีชีวิตรวมถึงการดำเนินกิจกรรม
ทางเศรษฐกิจและสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็วในหลากหลายมิติ
เช่นการใช้ระบบอัตโนมิในกระบวนการผลิต การ
ใช้นาโนเทคโนโลยีและวัสดุสมัยใหม่ในการสร้าง
มูค่าทางเศรษฐกิจ การวิเคราะห์ข้อมูลขนาด
ใหญ่และการใช้ปัญญาประดิษฐ์
นโยบายและการขับเคลื่อนการศึกษาไทย
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้จัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติระยะยาว 20 ปี(
พ.ศ.2560-2570)เพื่อเป็นแผนแม่บทสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นกรอบแนวทาง
ในการพัฒนาการศึกษาในช่วงระยะเวลาดังกล่าว
แผนแม่บทในการพัฒนาประเทศไทย
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13( พ.ศ.2566-2570)เป็นแผนพัฒนาฉบับ
แรกที่เริ่มต้นกระบวนการยกร่างกรอบแผนภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และจะมีผลในการ
ใช้เป็นกรอบเพื่อกำหนดแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิบัติการในชวง 5 ปี
โยการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะของแผนพัฒนาฯได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียงมาเป็นหลักในการขับเคลื่อนและวางแผนพัฒนาประเทศที่สอดคล้องกับเป้าหมาย
การพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก และมุ่งพัฒนาประเทศไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมยุค 4.0
ความจำเป็นในการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ
ความท้าทายที่เป็นพลวัตของโลกศตวรรษที่ 21 ทั้งในส่วนที่เป็นแรงกดดันภายนอกได้แก่การ
เปลี่ยนแปลงของบะริบทเศรษฐกิจและสังคมโลก อันเนื่องจากการปฏิวัติดิจิทัล( Digital
Development:SDGs 2030
การเปลี่ยนแปลงสู่อุตสาหกรรม 4.0( The Fourth Industrial Revolution)
การดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ 2573( Sustainable
Development Goals:SDGs 2030)ที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบัน รวมทั้งผลกระทบของการเป็น
ประชาคมอาเซียนและความต้องการกำลังคนที่มีทักษะในศตวรรษที่ 21
ประกอบกับแรงกดดันจากภายในประเทศจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่ส่งผลให้
ประเทศเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในอนาคตอันใกล้ กับการติดกับดักที่ประเทศมีรายได้
ปานกลาง ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรมและพฤติกรรมของประชากรที่ปรับเปลี่ยน
ไปตามกระแสโลกาภิวัตน์
สภาวการณ์และบริบทแวดล้อมที่มีผลต่อการ
พัฒนาการศึกษาของชาติ
ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแบบก้าวกระโดดที่ส่งผลต่อ
ระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ภูมิภาคโลก
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร
สภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของโลก
ทักษะของประชากรในศตวรรษที่ 21: ความต้องการกำลังคนยุค4.0
แนวคิดการจัดการศึกษา ( Conceptual Design)
แนวคิดการจัดการศึกษาตามแผนการศึกษาชาติ ยึดหลักสำคัญในการจัดการศึกษา ประกอบ
ด้วย
หลักการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน( Education for All)
หลักการจัดการศึกษาเพื่อความเท่าเทียมและทั่วถึง(Inclusive Education)
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง( Sufficiency Economy)และ
หลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม(All for Education)อีกทั้งยึดตามเป้าหมายการ
พัฒนาที่ยั่งยืน( Sustainable Development Goals:SDGs 2030)
แนวคิดการจัดการศึกษา ( Conceptual Design)
ประเด็นภายในประเทศ( Local Issues) อาทิ คุณภาพของคนทุกช่วงวัยการเปลี่ยนแปลง
โครงสร้างประชากรของประเทศ ความเหลื่อมล้ำของคนในสังคม
แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2060-2579การกระจายรายได้และวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อม โดยนำ
ยุทธศาสตร์ชาติ( National Strategy)มาเป็นกรอบความคิดในการจัดทำแผนการศึกษาแห่ง
ชาติ
วิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมาย เป้าหมาย ตัวชี้วัด และ
ยุทธศาสตร์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ
จากแนวคิดการจัดการศึกษาดังกล่าวข้างต้น แผนการศึกษาชาติฉบับนี้ จึงกำหนดวิสัย
ทัศน์(Vision)ไว้ดังนี้
“คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่าง
เป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่
21”
วัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษามี 4 ประการ ดังนี้
1.เพื่อพัฒนาระบบและกระบวนการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ
2.เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นพลเมืองดี มีคุณลักษณะทักษะและสมรรถนะที่สอดคล้องกับ
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและ
ยุทธศาสตร์ชาติ
3.เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณธรรม จริยธรรม รู้รักสามัคคีและ
ร่วมมือผนึกกำลังมุ่งสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4.เพื่อนำประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศทามีรายได้ปานหลางและความเหลื่อมล้ำภายใน
ประเทศลดลง
เป้าหมายของแผนการศึกษาชาติ
เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และจุดมุ่งหมายในการจัดการศึกษาข้างต้นแผนการศึกษาชาติได้วางเป้า
หมายไว้ 2 ด้านคือ
ด้านที่ 1 เป้าหมายด้านผู้เรียน( Learner Aspirations) โยมุ่งหวังให้ผู้เรียนทุกคนมี
คุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21( 3 Rs 8Cs)
เป้าหมายของแผนการศึกษาชาติ
ด้านที่ 2 เป้าหมายด้านการจัดการศึกษา(Aspirations) 5 ประการ ซึ่งมีตัวชี้วัดเพื่อการบรรลุ
เป้าหมาย 53 ตัวชี้วัด ดังนี้
1.ประชากรทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานอย่างทั่วถึง(Access)
2.ผู้เรียนทุกคน ทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานเท่าเทียม
(Equity)
3.ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุขีดความสามารถเมตามศักยภาพ
(Quality)
เป้าหมายของแผนการศึกษาชาติ
4.ระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพเพื่อการลงทุนทางการศึกษาที่คุ้มค่าและบรรลุ
เป้าหมาย (Efficiency)
5.ระบบการศึกษาที่สนองตอบและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เป็นพลวัตและบริบทที่
เปลี่ยนแปลง (Relevancy)
การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและ
ประเทศชาติ มีเป้าหมายดังนี้
1.คนทุกช่วงวัยมีความรักในสถาบันหลักของชาติและยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2.คนทุกช่วงวัยในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่พิเศษได้รับการ
ศึกษาและเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
3.คนทุกช่วงวัยได้รับการศึกษา ดูแลและป้องกันจากภัยคุกคามในชีวิตรูปแบบใหม่
การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและ
ประเทศชาติ มีเป้าหมายดังนี้
1.คนทุกช่วงวัยมีความรักในสถาบันหลักของชาติและยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2.คนทุกช่วงวัยในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่พิเศษได้รับการ
ศึกษาและเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
3.คนทุกช่วงวัยได้รับการศึกษา ดูแลและป้องกันจากภัยคุกคามในชีวิตรูปแบบใหม่
หลักใน
การจัดการศึกษา
หลักการจัดการศึกษาตาม พรบ.การศึกษา

มาตรา ๖ การจัดการ มาตรา 22 “การจัดการ


ศึกษาต้องเป็นไปเพื่อ ศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้
พัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ เรียนทุกคนมีความสามารถ
ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และถือว่าผู้เรียนมีความ
และคุณธรรม มีจริยธรรม สำคัญที่สุด กระบวนการ
และวัฒนธรรมในการดำรง จัดการศึกษาต้องส่งเสริม
ชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้ ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา
อื่นได้อย่างมีความสุข ตามธรรมชาติและเต็ม
ศักยภาพ”
หลักการจัดการศึกษาตาม พรบ.การศึกษา
(ต่อ) มาตรา 24
1. จัดเนื้อหาสาระและ
มาตรา 23 “ต้องเน้นความ กิจกรรมให้สอดคล้องกับ
สำคัญทั้งความรู้ ความสนใจและความถนัด
คุณธรรม กระบวนการ ของผู้เรียน โดยคำนึงถึง
เรียนรู้และบูรณาการ” ความแตกต่างระหว่าง
บุคคล
2. ฝึกทักษะ กระบวนการ
คิด การจัดการ การเผชิญ
สถานการณ์และการ
ประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อ
ป้องกันและแก้ไขปัญหา
หลักการจัดการศึกษาตาม พรบ.การศึกษา (ต่อ)
5. ส่งเสริมสนับสนุนผู้สอน
3. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้
สามารถจัดบรรยากาศ
เรียนรู้จากประสบการณ์จริง
สภาพแวดล้อม สื่อการ
ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิด
เรียนและอำนวยความ
เป็น ทำเป็น รักการอ่านและ
สะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิด
เกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
การเรียนรู้และมีความรอบรู้
4. จัดการเรียนการสอนโดย
รวมทั้งสามารถใช้การวิจัย
ผสมผสานสาระด้านต่างๆ
เป็นส่วนหนึ่งของ
อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน
กระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้
รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม
ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้
ค่านิยมที่ดีงามและ
ไปพร้อมกัน จากสื่อการ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
เรียนการสอนและแหล่ง
ไว้ในทุกวิชา
วิทยาการประเภทต่างๆ
หลักการจัดการศึกษาตาม พรบ.การศึกษา (ต่อ)
6. จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น
ได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการ
ประสานความร่วมมือกับ
บิดา มารดา ผู้ปกครองและ
บุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อ
ร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตาม
ศักยภาพ
About Education
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore
magna aliqua. Ut enim ad minim veniam, quis nostrud exercitation ullamco laboris nisi ut aliquip ex ea commodo
consequat. Duis aute irure dolor in reprehenderit in voluptate velit esse

MORE INFORMATIONS
School Period
For First Year
First Period

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing


elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et
dolore magna aliqua. Ut enim

Second Period

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing


elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et
dolore magna aliqua. Ut enim
Teacher Profile

Aaron Loeb
89%

79%

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed


do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna
aliqua. Ut enim

MORE PROFILE
School Contact
Information
+123-456-7890

hello@reallygreatsite.com

www.reallygreatsite.com

123 Anywhere ST., Any City, ST 12345


Thank
You
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod
tempor incididunt ut labore et dolore magna aliqua. Ut enim

You might also like