Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 22

EQ (Emotional Quotient : ความฉลาดทางอารมณ์)

กิจกรรม “Check – In”

เวลาที่ใช้ 1 ชั่วโมง
อุปกรณ์ / สื่อ
1. ปากกาเมจิก
2. กระดาษโน้ตกาวหลากหลี
3. กระดาษบรุ๊ฟ
4. กระดาน
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ร่วมกิจกรรมเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึก ความต้องการ และ
ความคาดหวังของตนเอง
ก่อนเริ่มกิจกรรม
1. แบ่งผู้ร่วมกิจรรมออกเป็ นกลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กัน
2. แจกอุปกรณ์การเขียน และกระดาษโน้ตกาวหลากสีให้แต่ละกลุ่ม
3. เตรียมกระดานอารมณ์ที่แบ่งไว้จำนวน 3 ช่อง คือ
3.1 ความรู้สึก
3.2 สิ่งที่อยากบอก
3.3 ความคาดหวัง
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
1. ผู้ดำเนินกิจกรรมแจกกระดาษโน้ตกาวหลากสีให้ผู้ร่วมกิจกรรมทุก
คน โดยชี้แจงว่า กระดาษโน้ตกาวหลากสีนี้ เปรียบเหมือนช่อง
สถานะ (Status) ใน Face book ของเรา
2. ผู้ดำเนินกิจกรรมตั้งคำถามให้ผู้ร่วมกิจกรรมทุกคนตอบคำถามลงใน
กระดาษโน้ตกาว ดังนี้
2.1 บอกความรู้สึกทั้งด้านดีและด้านไม่ดีในชีวิตที่ผ่านมา
2.2 อยากบอกอะไรกับตนเองในอนาคต
2.3 คาดหวังกิจกรรมในครั้งนี้อย่างไรบ้าง
3. เมื่อผู้ร่วมกิจกรรมเขียนคำตอบเสร็จ ให้นำกระดาษโน้ตกาวหลาก
สีมาติดให้ตรงกับคำถามทั้ง 3 ช่องบนกระดานที่เตรียมไว้
4. ผู้ดำเนินกิจกรรมสุ่มอ่านคำตอบบนกระดานในแต่ละช่อง ช่องละ
10-15 แผ่น
5. ผู้ดำเนินกิจกรรมถามคำถามสำคัญ ดังนี้
5.1 อารมณ์ ความรู้สึก ของแต่ละช่วงเวลาสะท้อนความเป็ นตัวตน
อย่างไร
5.2 หากความคาดหวัง กับสิ่งที่อยากบอกไม่สามารถทำได้สำเร็จ
จะมีวิธีการจัดการตนเองอย่างไร
6. ผู้ดำเนินกิจกรรมสรุปกิจกรรม โดยอธิบายถึงการเรียนรู้และเข้าใจ
อารมณ์ความรู้สึกของตนเอง
และผู้อื่น รวมทั้งวิธีการจัดการอารมณ์ที่ถูกต้อง

EQ (Emotional Quotient : ความฉลาดทางอารมณ์)


กิจกรรม “ผู้นำ 4 ทิศ”

เวลาที่ใช้ 1 ชั่วโมง
อุปกรณ์ที่ใช้
1. กระดาษบรุ๊ฟ
2. ปากกาเมจิก
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เล่นเข้าใจตัวเองมากขึ้น ศึกษา เรียนรู้อุปนิสัยของกันและ
กัน และทำให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ง่ายขึ้นครับ
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
1. ให้ผู้เล่นศึกษาอุปนิสัย ข้อดี ข้อเสีย ของสัตว์แต่ละชนิด
2. เมื่อผู้เล่นศึกษาอุปนิสัย ข้อดี ข้อเสียแล้ว ให้ผู้เล่นแยกเข้ากลุ่ม
กันตามสัตว์แต่ละชนิด
3. ให้ผู้เล่นตั้งวงสนทนาพูดคุยเรื่องอุปนิสัย ข้อเด่น ข้อด้อยที่เห็น
ชัดเจน และนำเสนอ
4. ให้ผู้ดำเนินกิจกรรม ชวนคุยและตั้งประเด็นคำถามเรื่อง
พฤติกรรม อารมณ์ กระบวนการทำงานเป็ นทีม กระบวนการขัดการความ
ขัดแย้งในกลุ่ม
5. ให้แต่ละกลุ่มเสนอ ในประเด็นที่ชวนคุย

ข้อแนะนำ
เน้นย้ำผู้เล่นให้ศึกษาอุปนิสัย ข้อดี ข้อเสีย ของสัตว์แต่ละชนิดให้ดี
เพราะบางทีอุปนิสัย ข้อดี ข้อเสียอาจจะไม่ตรง ทำให้การทำกิจกรรมไม่
เป็ นไปตามวัตถุประสงค์

ใบงานกิจกรรมผู้นำ 4 ทิศ

ผู้นำทิศเหนือ เปรียบเสมือน : กระทิง เป็ นดั่งฐานกาย อยู่ในธาตุไฟ


บุคลิกลักษณะ : มีนิสัยรวดเร็ว ทันใจ หวังผลเลิศ ชอบลงมือทำงาน
ด้วยตนเอง แบบออกแอคชั่นด้วยตนเองมากกว่าฟั งคนอื่นว่าตามกันมา
ดังนั้นความรู้ที่ได้สั่งสมมาจึงมาจากประสบการณ์ตรงของตัวเอง
จึงไม่เชื่อทฤษฎี โดยบุคลิกแล้วจะมีลักษณะดุดัน กล้าชน กล้าเผชิญหน้า
มีความมุ่งมั่น จริงใจ เคลื่อนไหวรวดเร็วอย่างมีเป้ าหมาย ชอบเห็นผลเร็ว
ชอบอยู่แนวหน้า กล้าแสดงออก ชอบใช้พลัง มีปฏิกิริยาตอบสนอง
ต่อปั ญหาต่างๆ อย่างรวดเร็ว เหมือนวัวกระทิงที่เจอสีแดงแล้วจะวิ่งชน
ทันที ถือว่าเป็ นทิศของนักรบ เพราะมีความกล้าเสี่ยง กล้าท้าทาย ชอบวิ่ง
ชนกับปั ญหา ผู้นำลักษณะนี้เหมือนเถ้าแก่ยุคแรกเริ่มในการทำธุรกิจของ
เจ้าสัวชาวจีน อยู่ในธาตุหยางตามหลักความเชื่อของชาวจีน นักการเมือง
สื่อสารมวลชน ทนายความ มักจะมีบุคลิกของความเป็ นกระทิงอยู่สูง
ข้อดี : พร้อมปกป้ องดูแลลูกน้องแบบเป็ นแม่ไก่กางปี กปกป้ องลูกไก่
เป็ นคนเอาพรรคเอาพวก ชอบอยู่เป็ นกลุ่มก้อน ถือว่าเป็ นทิศแห่งการยืน
หยัด พร้อมเผชิญหน้ากับความขัดแย้งทุกรูปแบบ ท้าทายอำนาจอย่างเปิ ด
เผย
ข้อเสียควรแก้ไข : ควรที่จะยอมผิดพลาดบ้าง รู้จักที่จะช้าๆ กับ
บางเรื่อง รู้จักอดทนรอคอย อย่าคิดเร็วทำเร็ว หัดทบทวนการตัดสินใจ
ของตัวเองดูอีกครั้งว่าถูกต้องแม่นยำจริงๆ แล้วหรือไม่ เพราะอาจแฝงไว้
ด้วยความมีความเป็ นตัวตนสูง หรืออาจจะทำให้ดูเป็ นคนชอบใช้อำนาจ
มากเกินไป

ผู้นำทิศใต้ เปรียบเสมือน : หนู ซึ่งตกอยู่ในธาตุน้ำ ถือว่าเป็ นทิศที่อยู่


ในฐานใจ
บุคลิกลักษณะ : ให้ความสำคัญกับความรู้สึกและอารมณ์สูง ชอบ
ใช้ใจมากกว่าการใช้กำลัง มีบุคลิกรวดเร็ว ว่องไว ปราดเปรียว ขี้เล่น ขับ
เคลื่อนพลังด้วยความรู้สึกที่ใส่ใจ ชอบช่วยเหลือดูแลคนรอบข้างแบบ
อบอุ่น ใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ หล่อเลี้ยงและดูแลดึงคนมารวม
กันอยู่ด้วยหัวใจได้อย่างมากมาย
จะทำทุกวิถีทางที่ทำให้คนรอบข้างตัวรู้สึกดีอยู่เสมอ ถือว่ามีความเป็ นผู้ให้
สูง โดยลักษณะของหนูนั้นจะไม่เรียกร้อง เป็ นคนไม่เปิ ดเผย มีแบบแผน
และชอบสนองความต้องการของผู้อื่นมากกว่าความต้องการของตนเอง
ข้อดี : จะเป็ นผู้ที่หลีกเลี่ยงความขัดแย้งรุนแรง ไม่ชอบปะทะหรือใช้
กำลังทำลายล้าง จะได้กลิ่นของความขัดแย้ง หรือความไม่ลงรอยกันได้
อย่างรวดเร็ว หน่วยงานใดที่ได้ผู้นำหรือผู้ร่วมงานแบบนี้จะโชคดี เพราะ
จะแก้ไขปั ญหาความขัดแย้งได้รวดเร็วและราบรื่น
ข้อเสีย : แต่ที่โชคร้ายก็คือ องค์กรแบบนี้มักจะไม่ค่อยเจอผู้นำใน
แบบหนู เพราะหนูจะลาออกไปเสียก่อน เนื่องจากไม่สามารถจะอยู่ใน
ท่ามกลางความขัดแย้งรุนแรงได้ และอาจจะถูกข่ม เนื่องจากมีความอ่อน
โยน และประนีประนอมมากเกินไป เพราะจะเป็ นผู้นำแบบขี้สงสาร ชอบ
ความสงบ และรักสันติ ในหน่วยงานต่างๆ มักจะพบผู้นำในแบบกระทิง
มากกว่าผู้นำแบบหนู

ผู้นำทิศตะวันตก เปรียบเสมือน : การเป็ นผู้นำแบบหมี ซึ่งจัดอยู่ในธาตุ


ดิน โดยจัดอยู่ในฐานความคิด
บุคลิกลักษณะ : เป็ นแบบเสถียร คือต้องการความมั่นคงสูง เป็ นคน
หนักแน่นแบบช้าแต่มั่นใจ (ช้าแต่ชัวร์นั่นเอง) มีนิสัยชอบวิเคราะห์วิจัย มี
แบบแผนวิธีการทำงานที่ลงตัว หรือจะเรียกว่ามีระเบียบวินัยสูง มีความ
เชื่อว่าความเป็ นระบบจะทำให้เกิดความสำเร็จ ไม่ชอบความวุ่นวาย มี
ความรอบคอบ จะมองทุกอย่างไปข้างหน้าเสมอ คิดล่วงหน้า ชอบ
วางแผน มีขั้นตอนมีตรรกวิทยา ซึ่งจะต่างกับกระทิง ที่จะไม่ชอบวางแผน
ทำงานแบบบุกตะลุย ประสบความสำเร็จแบบไม่มีกระบวนท่า
ข้อดี : จะเป็ นผู้นำที่หาความผิดพลาดได้ยาก เพราะมีหลักการ
ทำงานแบบมีระบบระเบียบ เคร่งครัดต่อกฎเกณฑ์ มีปรัชญาในการ
ทำงานในลักษณะที่เรียกว่าป้ องกันดีกว่าแก้ไข
ข้อเสีย : มีลักษณะการทำงานที่เคร่งเครียด ไม่มีความยืดหยุ่น ไม่
ชอบการเปลี่ยนแปลง ผู้นำแบบหมีนั้นควรจะมีความเป็ นอินทรีหรือ
กระทิงผสมอยู่ในการทำงานจะทำให้มี การทำงานมีความสุขและประสบ
ความสำเร็จได้ง่ายขึ้น

ผู้นำทิศตะวันออก เปรียบเสมือน : เหยี่ยวหรืออินทรี เป็ นพวกธาตุลม


มีญาณทัศนะ มีเจตจำนงสูง
บุคลิกลักษณะ : เป็ นคนชอบมองภาพรวมใหญ่ๆ เชื่อมโยงเครือข่าย
แบบสร้างสรรค์ ไม่ค่อยสนใจรายละเอียด มีจินตนาการสูง เป็ นนักคิดนัก
ฝั นสูง ชอบเรียนรู้เรื่องราวใหม่ๆ ชอบคิดนอกกรอบ แสวงหาความรู้ใหม่ๆ
อยู่เสมอ มักจะไปที่ที่ไม่เคยไป เป็ นจอมโครงการเจ้าโปรเจ็กต์ บางครั้ง
เหมือนพวกฝั นกลางวัน ขายฝั นเก่ง สนใจทุกเรื่องราว อยากทำทุกเรื่อง
จนบางครั้งทำงานแบบไม่มีเป้ าหมายที่ชัดเจน เพราะสนใจไปหมดทุกเรื่อง
ทั้งยังไม่มีลำดับความสำคัญก่อนหลัง จะเรียกว่าเป็ นผู้นำแบบจับจดก็ได้
เพราะเป็ นคนเบื่อง่าย ไม่อยู่กับอะไรนานๆ จึงควรยึดอะไรให้มั่น ทำงาน
หลักๆ ให้ได้เสียก่อนว่าชอบอะไรแน่ แล้วอะไรควรทำก่อน-หลัง
ข้อดี : จะมีชีวิตการทำงานที่มีสีสัน สนุกสนาน แต่หาสาระแก่นสาร
ไม่ได้ หรือยากที่จะประสบความสำเร็จได้โดยง่าย เพราะอาจดูกลายเป็ น
คนจับจดหยิบโหย่ง ด้วยความเป็ นคนไม่ชอบความซ้ำซากจำเจ
จึงอาจกลายเป็ นคนทำงานไม่ต่อเนื่องได้
ข้อเสีย : ต้องฝึ กการวางแผนการจัดลำดับความสำคัญของสิ่งต่าง ๆ
ทำงานทีละอย่างเพิ่มการทำงาน
ที่เป็ นแบบมากขึ้น ควรลงมือทำร่วมกับทีมงานให้มากขึ้น ควรเอาใจเขา
มาใส่ใจเรา

EQ (Emotional Quotient : ความฉลาดทางอารมณ์)


กิจกรรม “สะท้อนตัวตน”

เวลาที่ใช้ 1.30 ชั่วโมง


อุปกรณ์ / สื่อ
1. กระดาษ A4
2. ปากกาเมจิก
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ร่วมกิจกรรมเรียนรู้และเข้าใจอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น
สามารถควบคุมและจัดการ กับอารมณ์ของตนเองได้อย่างเหมาะ
สม ตลอดจนพัฒนากระบวนทัศน์ของตนเองในทางที่สร้างสรรค์
ก่อนเริ่มกิจกรรม
1. ผู้ดำเนินกิจกรรมชี้แจงให้ผู้ร่วมกิจกรรมทุกคนทราบว่า กิจกรรมนี้
ทุกคนสามารถถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกของตนเองออกมาได้
อย่างเต็มที่ ใช้เวลาทั้งหมดกับการสร้างความเข้าใจชีวิตของตนเอง
ให้มากที่สุด
2. ผู้ดำเนินกิจกรรมแจกกระดาษ A4 และปากกาเมจิกให้ผู้เล่น
กิจกรรมทุกคน
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
1. ผู้ดำเนินกิจกรรมชี้แจงให้ผู้ร่วมกิจกรรมเดินหาพื้นที่ที่มั่นใจว่า
ปลอดภัยของตนเอง เพื่อใช้เวลา ในการตอบคำถามและเป็ น
พื้นที่สำหรับการทำความเข้าใจตนเองให้มากที่สุด
2. ผู้ร่วมกิจกรรมทำสมาธิเป็ นเวลา 5 นาที พร้อมกับให้ทบทวนเรื่อง
ราวต่าง ๆ ที่ผ่านมาในชีวิต
3. ผู้ดำเนินกิจกรรม อธิบายคำว่า “อัตลักษณ์” เมื่อเสร็จแล้วให้ผู้ร่วม
กิจกรรมเขียนความเป็ นอัตลักษณ์ของตนเองด้านมุมบนขวาของ
กระดาษ A4
4. ผู้ดำเนินกิจกรรมถามคำถาม จำนวน 5 คำถาม ได้แก่
4.1 อะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิต
4.2 สิ่งที่เคยทำแล้วภาคภูมิใจมากที่สุด
4.3 ตัวตนของเราที่ดีที่สุดนั้นมีน้ำเสียงและพูดจาอย่างไร
4.4 สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดคืออะไร
4.5 ตอนนี้ต้องทำอย่างไร เพื่อให้เราเป็ นคนที่ดีที่สุด
5. ผู้ร่วมกิจกรรมเขียนคำถามไว้ด้านไว้ด้านซ้าย และคำตอบไว้ด้านขวา
ของกระดาษ A4 โดยการเขียนคำตอบในคำถามข้อที่ 1-4 สามารถ
ตอบได้เพียง 1 บรรทัด และในที่ 5 สามารถตอบได้มากกว่า 1
บรรทัด
6. ผู้ดำเนินกิจกรรมสรุปกิจกรรมโดยใช้คำถามสำคัญ คือ รู้สึกอย่างไร
เมื่อต้องใช้ความคิดของเราเพียง คนเดียว โดยไม่ต้องมีคนอื่น
หรือปั จจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง
คำแนะนำ ในระหว่างการทำกิจกรรม เพื่อสร้างบรรยากาศ และ
กระตุ้นอารมณ์ ควรเปิ ดเพลงด้วย
IQ (Emotional Quotient : ความฉลาดทางสติปั ญญา)
กิจกรรม “5W1H”

เวลาที่ใช้ 1 ชั่วโมง
อุปกรณ์ / สื่อ
1. กระดาษบรุ๊ฟ
2. รูปภาพปั ญหา/สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
3. ปากกาเมจิกคละสี
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ร่วมกิจกรรมวิเคราะห์ประเด็นปั ญหา/สถานการณ์ต่าง ๆ ที่
เกิดขึ้นในสังคม และหาวิธีการ/แนวทางในการแก้ไขปั ญหาอย่างถูกต้อง
เหมาะสม
ก่อนเริ่มกิจกรรม
1. แบ่งผู้ร่วมกิจกรรมออกเป็ นกลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กัน
2. แจกอุปกรณ์การเขียน และกระดาษบรุ๊ฟให้แต่ละกลุ่ม กลุ่มละ 1
แผ่น
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
1. ผู้ดำเนินกิจกรรมชี้แจงให้แต่ละกลุ่มกำหนดหัวข้อเกี่ยวกับประเด็น
ปั ญหา/สถานการณ์ทางสังคม ที่เกิดขึ้น
2. ทุกกลุ่มระดมความคิด แล้วเขียนเล่าเรื่องราวของปัญหาหรือ
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในภาพจำนวน 5 บรรทัด
3. ผู้ดำเนินกิจกรรมอธิบายขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วย 5W1H
Analytical thinking with 5W1H โดยแบ่งทักษะกระบวนการแก้ไข
ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ใหม่เป็น 4 ขั้นตอน คือ
1.Clarify วิเคราะห์ข้อมูลและสาเหตุของปัญหา
2.Ideate การหาไอเดียใหม่ ๆ ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
3.Develop การนำไอเดียต่างมาประเมินและเลือกไอเดียที่แก้ไข
ปัญหาได้ดีที่สุดมาพัฒนาแก้ไขปัญหา
4.Implement กำหนดแผนงาน และแนวทางในการแก้ไขปัญหา
มีขั้นตอนที่สำคัญ 3 ขั้นตอนคือ
ขั้นตอนที่ 1 คือ การเข้าใจปั ญหาและตั้งเป้ าหมาย เป็นขั้นตอนการ
ระบุและอธิบายความสำคัญ ของสถานการณ์ที่เป็นปัญหา
ในมุมมองของตนเองและผู้อื่น การสร้างความคิดที่เหมาะสมต่อปัญหา
ขั้นตอนที่ 2 คือ การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปั ญหา
(Analytical the problem/data) ศึกษารายละเอียดของสถานการณ์
หรือสาเหตุของปัญหาที่ต้องการวิเคราะห์ให้เข้าใจอย่างชัดเจน
ขั้นตอนที่ 3 คือการระบุปั ญหา ขั้นนี้เป็นการพิจารณาเปรียบเทียบ
เหตุทั้งหลาย ของปัญหาแล้วจัดลำดับความสำคัญเพื่อเลือกสาเหตุที่
สำคัญที่สุดเป็นประเด็นสำหรับค้นหาวิธีแก้ไขต่อไป เป็นการตัดสินว่า
สถานการณ์ที่ต้องแก้ไขนั้นปัญหาใดเป็น “ปัญหาที่แท้จริง” ที่มีผลกระ
ทบสูง หากไม่รีบแก้ไข พร้อมกับวางเป้าหมายในการแก้ปัญหา
4. แต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี 5W1H ดังนี้
1. Who
- ใครคือต้นเหตุของปัญหา
- ใครเป็นคนพูดหรือระบุปัญหานี้
- ใครได้รับผลกระทบจากปัญหานี้
2. What
- อะไรจะเกิดขึ้นถ้าปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไข
- มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
- ผลที่กระทบคืออะไร
3. Where
- ปัญหานี้เกิดขึ้นที่ไหน
- ปัญหานี้เกิดผลกระทบที่ไหน
4. When
- ปัญหานี้เกิดขึ้นเมื่อไร
- เมื่อไรที่ปัญหาเริ่มเกิดขึ้น
5. Why
- ทำไมปัญหานี้จึงเกิดขึ้น
6. How
- คนที่อยู่กับปัญหานี้รับมืออย่างไร
- มีกระบวนการหรือวิธีการแก้ไขอย่างไร
5. แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานของตนเอง และเปิดโอกาสให้กลุ่มอื่น ๆ
แสดงความคิดเห็น
6. ผู้ดำเนินกิจกรรมสรุปกิจกรรมโดยการถามคำถามสำคัญ ดังนี้
6.1 ขั้นตอนใดที่ยากที่สุดในการวิเคราะห์ตามหลักการ 5W1H
6.2 การหาวิธีการ/แนวทางการแก้ไขต้องคำนึงถึงสิ่งใด
6.3 ระหว่างการทำงานกลุ่ม สมาชิกแต่ละคนมีส่วนร่วมอย่างไรบ้าง
6.4 สุ่มถามผู้ร่วมกิจกรรม ว่าได้เรียนรู้สิ่งใดจากกิจกรรมนี้ และจะนำ
ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันอย่างไร

SQ (Social Quotient : ความฉลาดทางสังคม)


กิจกรรม “โรงงานนรก”

เวลาที่ใช้ 2 ชั่วโมง
อุปกรณ์ / สื่อ
1. กระดาษ A4
วัตถุประสงค์
1. เพื่อจำลองสถานการณ์ทางสังคมในสถานการณ์วิกฤต
2. เพื่อให้ผู้ร่วมกิจกรรมสามารถบริหารจัดการชีวิตของตนเองได้อย่าง
ถูกต้อง เหมาะสม
ก่อนเริ่มกิจกรรม
1. แบ่งผู้ร่วมกิจกรรมออกเป็ นกลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กัน
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
1. ผู้ดำเนินกิจกรรมชี้แจงกติกาในการทำกิจกรรม คือ ทุกกลุ่มงดใช้
เสียง สัญลักษณ์ ท่าทาง หรืออวัจนภาษาอื่น ๆ จะ
สามารถทำได้ ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากผู้ดำเนินกิจกรรมเท่านั้น
และหากกลุ่มใดละเมิดกติกาที่กำหนด จะถูกหักคะแนนทุกครั้ง
2. ผู้ดำเนินกิจกรรมแจกกระดาษ A4 ให้สมาชิกกลุ่มทุกคน คนละ 1
แผ่น
3. นำตัวอย่างกล่องที่สมบูรณ์ ให้แต่ละกลุ่ม กลุ่มละ 1 กล่อง จากนั้น
ให้ผู้ร่วมกิจกรรมพับกล่อง ให้เสร็จภายในเวลา 3 นาที โดย
ต้องไม่เกะหรือจับกล่องตัวอย่างเด็ดขาด
4. ผู้ดำเนินกิจกรรมเก็บกล่องตัวอย่าง และกล่องของสมาชิกกลุ่มทุก
คน
5. ผู้ดำเนินกิจกรรมเปิ ดสอนวิธีการพับกล่องที่ถูกต้อง โดยกำหนด
อัตราค่าสอน หากกลุ่มใดที่จะเข้าเรียนการทำกล่องต้องจ่ายเงินตาม
ที่ผู้ดำเนินกิจกรรมกำหนด
6. ผู้ดำเนินกิจกรรมให้แต่ละกลุ่มนำเสนอว่าจะใช้กระดาษจำนวนกี่
แผ่น ราคาของกระดาษจะถูกกำหนดจากผู้ดำเนินกิจกรรม และ
หากพับกล่องไม่สำเร็จหรือไม่สมบูรณ์ตามตัวอย่างก็จะถูกหัก
คะแนนมากกว่าราคาที่ซื้อ
7. ผู้ร่วมกิจกรรมที่เข้าเรียนการทำกล่องมาแล้ว ให้กลับมาสอนสมาชิก
ภายในกลุ่ม โดยต้องทำตามกติกาที่กำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 1 ใช้เวลา
5 นาที
8. ผู้ดำเนินกิจกรรมรับซื้อกล่องที่สมบูรณ์จากแต่ละกลุ่ม และหัก
คะแนนของกลุ่มที่กล่องไม่สมบูรณ์
9. ผู้ดำเนินกิจกรรมสรุปผลคะแนน และสรุปกิจกรรม โดยถามคำถาม
สำคัญ ดังนี้
9.1 มีความรู้สึกอย่างไรที่ไม่ได้พูดหรือวางแผนการทำงาน
9.2 การทำงานที่ไม่มีการวางแผนจะเป็ นอย่างไร
9.3 วิธีการสื่อสารโดยไม่ใช้การพูดเคย จะมีวิธีการใดอีกบ้าง
9.4 ต้องเลือกคนที่เหมาะสมกับงานอย่างไร

CQ (Creativity Quotient : ความฉลาดในการริเริ่ม


สร้างสรรค์)
เวลาที่ใช้ 1 ชั่วโมง
อุปกรณ์ / สื่อ
1. ปากกาเมจิก
2. สีไม้
3. รูปภาพผลิตภัณฑ์
4. กระดาษบรุ๊ฟ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ร่วมกิจกรรมฝึ กฝนกระบวนการคิดและการทำงานอย่าง
สร้างสรรค์
ก่อนเริ่มกิจกรรม
1. แบ่งผู้ร่วมกิจกรรมออกเป็ นกลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กัน
2. แจกรูปภาพผลิตภัณฑ์ให้ทุกกลุ่ม กลุ่มละ 1 รูปภาพ
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
1. ผู้ดำเนินกิจกรรมตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์
ของผู้ร่วมกิจกรรมว่า ผลิตภัณฑ์ ที่แต่ละกลุ่มได้รับสามารถนำไป
ต่อยอดทำอะไรได้บ้าง จะมีรูปแบบวิธีการอย่างไรเพื่อเพิ่มมูลค่า
ให้กับผลิตภัณฑ์
2. ให้เวลากลุ่มละ 25 นาที ในการสร้างสรรค์ผลงาน พร้อมกับเขียน
รายละเอียดให้ชัดเจน ลงในกระดาษบรุ๊ฟ รวมทั้งต้อง
นำเสนอในรูปแบบที่แปลกใหม่ สร้างสรรค์ มีความน่าสนใจ
ทำให้ผู้บริโภคต้องการซื้อมากที่สุด
3. ผู้ร่วมกิจกรรมออกมานำเสนอผลงานการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์กลุ่ม
ของตนเอง
4. คณะกรรมการซักถาม และเสนอแนะ
5. ผู้ร่วมกิจกรรมทุกคนร่วมกันลงคะแนน และหากลุ่มที่ได้รับผล
คะแนนสูงสุดเป็ นผู้ชนะ
คำแนะนำ
1. รูปภาพผลิตภัณฑ์ต้องสามารถนำไปต่อยอดใช้ได้จริง
2. ควรมีการควบคุมระยะเวลาให้เหมาะสม
PQ (Play Quotient : ความฉลาดในการเล่น)
กิจกรรม “มหกรรมงานวัดพาเพลิน”

เวลาที่ใช้ 3 ชั่วโมง
อุปกรณ์ / สื่อ
1. ลูกโป่ ง 2. ลูกปิ งปอง
3. ดินน้ำมัน 4. ลูกเทนนิส
5. ไหมพรม 6. กระดาษบรุ๊ฟ
7. เทปกาว 8. เชือกฟาง
9. ลูกดอกปาโป่ ง 10. กระดาษแก้ว
11. ช้อนพลาสติก 12. ฟิ วเจอร์บอร์ด
13. หนังยาง 14. หลอดดูด
15. กระป๋ อง 16. ริปบิ้น
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะการเรียนรู้กระบวนการทำงาน
เป็ นทีม รู้จักการวางแผน การเคลื่อนไหว พัฒนาร่างกาย จิตใจ
อารมณ์และสังคมให้เหมะสม
ก่อนเริ่มกิจกรรม
1. แบ่งผู้ร่วมกิจกรรมออกเป็ นกลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กัน
2. แจกอุปกรณ์ให้ทุกกลุ่ม กลุ่มละ 1 ชุด
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
1. ผู้ดำเนินกิจกรรม ชี้แจงให้แต่ละกลุ่มร่วมกันออกแบบกิจกรรมงานวัน
คิดการละเล่นกลุ่มของตนเอง โดยใช้อุปกรณ์ตามที่แจกให้
2. ผู้ดำเนินกิจกรรมแจกเงินให้ทุกกลุ่ม โดยให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมา
จับถุงเงิน แต่ละถุงเงินจะมีจำนวนเงินที่ไม่เท่ากัน
3. แต่ละกลุ่มร่วมกันระดมความคิด และออกแบบกิจกรรมกลุ่มของตนเอง
กำหนดกติกา วิธีการเล่น การแลกเปลี่ยน/ต่อรองเงิน ใช้
เวลา 1 ชั่วโมง
4. เริ่มกิจกรรมงานวัดพาเพลิน กำหนดเวลา 1.30 ชั่วโมง แต่ละกลุ่มต้อง
เชิญชวนให้สมาชิกในกลุ่มอื่น ร่วมกิจกรรมกับกลุ่มของ
ตนเอง ร่วมกันหาวิธีการการเจรจา ต่อรอง เพื่อให้ได้เงินมากที่สุด
5. ผู้ดำเนินกิจกรรม สรุปจำนวนเงินของทุกกลุ่ม และมอบรางวัลให้กลุ่มผู้
ชนะ
6. ผู้ดำเนินกิจกรรม สรุปกิจกรรม โดยให้แต่ละกลุ่มสรุปองค์ความรู้ที่เกิด
ขึ้น พร้อมทั้งนำเสนอประเด็นปัญหา/ อุปสรรค และแนวทางการ
แก้ไข ครูเชื่อมโยงให้เห็นถึงกระบวนการทำงานกลุ่ม การวางแผน การ
บริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
AQ ( Adversity Quotient : ความฉลาดในการแก้ไข
ปั ญหา)

เวลาที่ใช้ 30 นาที

อุปกรณ์ / สื่อ -

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีความสามารถในการปรับตัวในการแก้ไขปั ญหาได้
ดี และพยายามเอาชนะอุปสรรคความยากลำบากด้วยต้นเอง ไม่ย่อท้อ
มองปั ญหาเป็ นเรื่องท่าท้ายและช่วยกันวางแผนกระบวนแก้ไขปั ญหาอย่าง
เป็ นระบบ

ก่อนเริ่มกิจกรรม
1. แบ่งผู้ร่วมกิจกรรมออกเป็ นกลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กัน หรือ
2. พิจารณาเล่นกับผู้ร่วมกิจกรรมทั้งหมด โดยเป็ น 1 กลุ่มขนาดใหญ่
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม

1. ผู้ดำเนินกิจกรรมให้ผู้ร่วมกิจกรรมทุกกลุ่มจับมือกันเป็ นวงกลม
2. ผู้ดำเนินกิจกรรมสั่งให้ผู้ร่วมกิจกรรมทุกกลุ่มหลับตา
3. วิทยากรประจำกลุ่ม จับมือกลุ่มเป้ าหมายในกลุ่ม 1 คน แล้วเดิน
สลับไปมา จนมือของผู้ร่วมกิจกรรมพันกันเป็ นปม
4. ผู้ดำเนินกิจกรรมสั่งให้ผู้ร่วมกิจกรรมทุกคนลืมตา และให้ร่วมกันแก้
ปมที่พันกันอยู่นั้นให้กลับมาเป็ นวงกลมเหมือนเดิม
5. ผู้ดำเนินกิจกรรมสรุปกิจกรรม ด้วยคำถามสำคัญ ดังนี้
5.1 มีความรู้สึกอย่างไรหากกลุ่มตนเองแก้ไขสำเร็จก่อนกลุ่ม
อื่น
5.2 มีความรู้สึกอย่าไรเมื่อกลุ่มเราแก้ไขปั ญหาช้ากว่ากลุ่ม
อื่น
5.3 มีวิธีการจัดการกับความผิดพลาดของกลุ่มอย่างไร

ข้อเสนอแนะ

1. สามารถเล่นกลุ่มเล็กก่อนแล้วค่อยเล่นเป็ นใหญ่
2. กิจกรรมอาจจะช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับการแก้ไขปั ญหาของผู้เล่น หาก
กิจกรรมเสร็จเร็ว ควรมีกิจกรรมสำรองด้วย

MQ ( Moral Quotient : ความฉลาดทางศีลธรรม


จริยธรรม)

เวลาที่ใช้ 1.30 ชั่วโมง


อุปกรณ์
1. กระดาษบรุ๊ฟ
2. สี/ดินสอ
3. ปากกาเคมี
4. โพสต์อิท
วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างการเรียนรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบกติกาของสังคม ซึ่งเป็ นส่วน
หนึ่งของการกำหนดพฤติกรรม
ก่อนเริ่มกิจกรรม
1. แบ่งผู้ร่วมกิจกรรมออกเป็ นกลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กัน
2. แจกอุปกรณ์สำหรับวาดภาพเมืองในฝั นให้ทุกกลุ่ม กลุ่มละ 1 ชุด
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
1. ผู้ดำเนินกิจกรรมให้ผู้ร่วมกิจกรรมแต่ละกลุ่มร่วมกันระดมความคิด
เห็น ออกแบบเมือง/ชุมชนในฝั นของตนเอง โดยการวาดภาพ
ระบายสีลงในกระดาษบรุ๊ฟที่แจกให้
2. ผู้ดำเนินกิจกรรมให้ผู้ร่วมกิจกรรมกำหนดกฎ กติกา ระเบียบ
กฎหมายหรือข้อปฏิบัติในการใช้ชีวิต อยู่ด้วยกัน โดยยืดพื้นฐาน
ของศีลธรรม จริยธรรม คุณธรรม เขียนลงในกระดาษโพสต์อิท
ของแต่ละกลุ่ม แล้วติดลงบนภาพวาดเมืองในฝั น
3. ผู้ดำเนินกิจกรรมให้ผู้ร่วมกิจกรรมทุกกลุ่มพูดคุยปรึกษาและคัด
เลือกกฎหมายที่เหมาะสม
4. นำเสนอเมืองในฝั นของแต่ละกลุ่ม
5. ผู้ดำเนินกิจกรรมสรุปกิจกรรม โดยมีคำถามสำคัญ ดังนี้
5.1 เมื่อมีการตั้งกฎระเบียบขึ้นมา หากกฎนั้นมีผลกระทบกับคน
กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จะมีวิธีการจัดการ
อย่างไร
5.2 หากเราเป็ นผู้มีอำนาจในการตั้งสินใจซึ่งมีผลกระทบการบาง
กลุ่ม บางคน จะมีวิธีการจัดการ
อย่างไร
ข้อเสนอแนะ
ควรมีการกำหนดสร้างเมืองในฝั นในรูปแบบที่สร้างสรรค์ ไม่ขัดกับ
คุณธรรม ศีลธรรม และจารีต อันดีงามของสังคม

You might also like