ใบความรู้ เรื่อง เสภาสามัคคีเสวก

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 8

บทเสภาสามัคคีเสวก

ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประวัติผู้แต่ง

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ ัวได้เสด็จไปศึกษาวิชาที่ประเทศอังกฤษ พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์
ที่ 6 ในพระบรมราชจักรีวงศ์ พระองค์ทรงเป็นทั้งนักปราชญ์และจินตกวี ทรงเชี่ยวชาญทั้งอักษร
ศาสตร์ โบราณคดี ทรงพระราชนิพนธ์งานวรรณคดีประเภทต่างๆ ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง
มากกว่า 200 เรื่อง ชาวไทยได้ถวายสมัญญาแด่พระองค์ว่า “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” ผลงาน
พระราชนิพนธ์ที่สาคัญๆ เช่น หัวใจนักรบ มัทนะพาธา เวนิสวาณิช สาวิตรี ธรรมาธรรมะสงคราม
เป็นต้น

ที่มาของเรื่อง

มาจากเรื่อง “บทเสภาขับระหว่างชุดระบาสามัคคีเสวก”
จุดมุ่งหมายในการแต่ง

เป็นบทเสภาสาหรับขับอธิบายนาเรื่องในการฟ้อนราตอนต่างๆ เพื่อให้พิณพาทย์ได้พัก
เหนื่อย

ลักษณะคาประพันธ์

เป็นกลอนสุภาพ

๑. บท บทหนึ่งมี ๔ วรรค
วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ วรรคที่สองเรียกวรรครับ วรรคที่สามเรียกวรรครอง วรรคที่สี่เรียก
วรรคส่ง แต่ละวรรคมีแปดคา จึงเรียกว่า กลอนแปด

๒. เสียงคา กลอนทุกประเภทจะกาหนดเสียงคาท้ายวรรคเป็นสาคัญ กาหนดได้ ดังนี้


คาท้ายวรรคสดับ กาหนดให้ใช้ได้ทุกเสียง
คาท้ายวรรครับ กาหนดห้ามใช้เสียงสามัญกับตรี
คาท้ายวรรครอง กาหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี
คาท้ายวรรคส่ง กาหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี

๓. สัมผัส
ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
คาสุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคาที่สามหรือที่หา้ ของวรรคที่สอง (วรรครับ)
คาสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคาสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง) และคาที่สาม
หรือที่ห้าของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง)

สัมผัสระหว่างบท ของกลอนแปด คือ


คาสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) เป็นคาที่ส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัสที่คาสุดท้ายของ
วรรคที่สอง (วรรครับ)
ข. สัมผัสใน ในแต่ละวรรคของกลอนแปด แบ่งช่วงจังหวะออกเป็นสามช่วง ดังนี้
หนึ่งสองสาม – หนึ่งสอง – หนึ่งสองสาม ฉะนั้นสัมผัสในจึงกาหนดได้ตามช่วงจังหวะในแต่ละวรรค
นั่นเอง ดังตัวอย่าง
อันกลอนแปด – แปด คา – ประจาวรรค
วางเป็นหลัก – อักษร – สุนทรศรี

เนื้อเรื่อง
บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน วิศวกรรมา
ชาติใดที่มีศึกสงครามไม่มีความสงบสุขในแผ่นดิน ประชาชนย่อมไม่มีจืตใจสนใจความ
งดงามของศิลปะแต่หากประเทศใด(ชาติใด)บ้านเมืองสงบสุขปราศจากสงคราม ประชาชนก็จะ
ทานุบารุงการศิลปกรรมทั้งปวงให้เจริญรุ่งเรือง ชาติใดที่ปราศจากช่างศิลป์ ก็เปรียบเสมือน
หญิงสาวที่ไม่มีความงามไม่เป็นที่ต้องตาต้องใจของใคร มีแต่จะถูกเยาะเย้ยให้ได้อาย อัน
ศิลปกรรมนั้นช่วยทาให้จิตใจคลายเศร้า ช่วยทาให้ความทุกข์หมด ทาให้จิตใจของเรามี
ความสุขซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงไปด้วย(ทาให้สุขภาพ ใจและกายดี) ตรงกันข้าม หาก
ใครไม่เห็นคุณค่าความงามของศิลปะ เมื่อเผชิญความทุกข์ก็ไม่มีสิ่งใดมาเป็นยาช่วยรสมาน
บาดแผลของจิตใจ เขาเหล่านั้นจึงเป๋นคนที่น่าสงสารยิ่งนัก เพราะความรู้ทางช่างศิลป์สาคัญ
เช่นนี้ นานาประเทศจึงนิยมยกย่องคุณค่าของศิลปะและความสามารถเชิงช่างของช่างศิลป์ ว่า
เป็นเกียรติยศ ความรุ่งเรืองของแผ่นดิน คนที่ไม่เห็นคุณค่าของศิลปะก็เหมือนคนป่าคน
ดง ป่วยการอธิบาย พูดด้วยก็เปลืองน้าลายเปล่า แต่ประเทศไทยของเรานั้นเห็นคุณค่าของงาน
ช่างศิลป์ เช่น ช่างปั้น ช่างเขียน ช่างสถาปัตย์ ช่างทองรูปพรรณ ช่างเงิน ช่างถมและช่างอัญ
มณี ซึ่งเราควรสนับสนุนงานช่างศิลป์ไทยให้ก้าวหน้ารุ่งเรืองอย่าให้ด้อยน้อย หน้ากว่านานา
ประเทศ ชาวต่างชาติเมื่อมาเยือนเมืองไทยจะได้ซ้อหางานศิลปะเหล่านีก้ ลับไปเพราะเห้น ใน
คุณค่า การช่วยสนับสนุนงานศิลปกรรม และส่งเสริมช่างศิลปฺไทยให้สร้างสรรงานศิลปะขึ้นจึง
เท่ากัยได้ช่วยพัฒนา ชาติ ให้เจริญพัฒนาอย่าถาวร

บทเสภาสามัคคีเสวก ตอน สามัคคีเสวก


สิ่งหนึ่งที่เราควรมีไว้ในจิตใจคือ พระเจ้าแผ่นดินเปรียบเสมือนพ่อบังเกิดเกล้าที่เราควร
เกรงใจและเคารพนับถือ เราต้องไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากเกินไป ควรนึกว่าพวกเราก็เป็น
ข้ารับใช้ของพระเจ้าแผ่นดินคนหนึ่งเหมือนลูกเรือที่ อยู่ในเรือกลางทะเลจาเป็นที่จะต้องมีความ
สามัคคีต่อกันและกัน ถ้าลูกเรือเชื่อฟังกัปตันก็จะต้องช่วยกัปตันอย่างแข็งขัน ต้องตั้งใจฟังคาสั่ง
ของกัปตันเรือก็จะรอดไปถึงจุดหมาย แต่ถ้าลูกเรือไม่เชื่อฟังกัปตันและเริ่มแตกคอกัน เวลาคลื่น
ลมแรงเรือก็จะโคลงเคลง ต่อมาเรือก็จะจม ถ้าลูกเรือมัวแต่ทะเลาะกัน กัปตันก็จะไม่มีกาลังมา
ต่อสู้ ถ้าไม่เคร่งครัดต่อกฏระเบียบเวลาที่เกิดภัยอะไรขึ้นจะเดือดร้อนกัปตันสั่งอะไรก็ไม่ฟังพอถึง
เวลาก็มีข้อขัดแย้งต่อมาก็จะเกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้น ในที่สุดเรือก็จะล่มกลางทะเล ถึงจะเป็นข้า
รับใช้ของพระเจ้าแผ่นดินก็ไม่ควรขาดความสามัคคีปรองดองกัน เหตุการณ์ในพระราชสานักก็
เปรียบเสมือนเรือที่แล่นอยู่ตามทะเลมหาสมุทร เหล่าข้าราชการในราชสานักก็เหมือนเป็น
กะลาสีควรให้ความสาคัญกับหน้าที่ที่ ต้องทาเป็นหลัก ปฏิบัติตนตามกฏตามระเบียบวินยั อย่าง
เคร่งครัดและสามัคคีจงรักภักดีต่อพระ เจ้าแผ่นดินไม่ควรแยกฝ่ายเลือกที่จะเคารพเชื่อฟังใคร
ควรที่จะสามัคคีปรองดองกันในหมู่ข้าราชการเพื่อเป็นพลังในการทาความดีให้สม กับที่มีพระ
เจ้าแผ่นดินพระองค์เดียวกัน
ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

๑ ศิลปะมีความสาคัญในฐานะเป็นเครื่องแสดงความเจริญและแสดงความเจริญและแสดง
เกียรติภูมิของประเทศ

๒ ชาติไทยมีศิลปะที่งดงามแขนงต่างๆ เป็นมรดกตกทอดอันทรงคุณค่า

๓ คนไทยควรสนับสนุนศิลปินและวิชาช่างไทยให้คงอยู่ถาวรสืบไป

๔ ศิลปะเป็นสิ่งทีมีคุณค่า ช่วยคลายความทุกข์โศก ทาให้จิตใจและร่างกายสบาย

ลักษณะเด่นของเรื่อง

๑.เป็นกลอนที่ใช้ถ้อยคาภาษาง่ายๆ แต่ฟังไพเราะ มีการอุปมาอุปไมย เปรียบอย่างสมเหตุ


สมผลบางตอนบางบทของเสภานี้จึงเป็นที่จดจาติดปากของคนไทยเรา เช่น

อันชาติใดไร้ช่างชานาญศิลป์ เหมือนนารินไร้โฉมบรรโลมสง่า

ใครๆ เห็นไม่เป็นที่จาเริญตา เขาจะพากันเย้ยให้อับอาย


๒.เป็นเรื่องที่โน้นน้าวใจให้ผู้อ่านมีความรัก ความนิยมในงานศิลปะ ชี้ให้เห็นความสาคัญ
และคุณค่าของศิลปะอันงดงามของไทยอันเป็นมรดกตกทอดมาแต่บรรพบุรุษ

สาระสาคัญ

บทเสภาสามัคคีเสวกมีลักษณะต่างจากเสภาเรื่องอื่นๆ คือ เป็นบทเสภาขนาดสั้น แบ่ง


ออกเป็น ๔ ตอน แต่ละตอนมุ่งเสนอแนวคิดมากกว่าการเล่าเรื่อง โดยมีความคิดสาคัญ ที่ผูกร้อย
แต่ละตอนเข้าด้วยกันคือ ความสมานสามัคคีและความจงรักภักดีของข้าราชการต่อองค์
พระมหากษัตริย์และต่อประเทศชาติ เนือ้ หาสาระโดยสรุปของแต่ละตอนมีดังนี้

ตอนที่ ๑ กิจการแห่งพระนนที มีเนื้อความสรรเสริญพระนนทีผู้เป็นเทพเสวก เมื่อพระ


อิศวรจะเสด็จไปแห่งมดพระนนทีจะแปลงเป็นโคอุสุภราชหะพระอิศวรประทับ เมื่อขับเสภาจบเป็น
การแสดงระบาซึ่งมีเรื่องราวเกี่ยวกับพระอิศวรและพระอุมาเสด็จออกให้เทวดาเฝ้า ยักษ์กาลเนมี
เข้ามาก่อกวนไล่จับนางฟ้า พระนนทีจึงให้เหล่าเทพเสวกช่วยกันจับยักษ์และชาระความ จากนั้น
พระอินทร์และท้าวจัตุโลกบาลจึงออกมาเฝ้าพระอิศวร

ตอนที่ ๒ กรีนิรมิต มีเนื้อความสรรเสริญพระคเณศเทพเจ้าแห่งศิลปวิทยาและเป็นผู้สร้าง


ช้างต่างๆ ในแผ่นดินเพื่อประดับพระยศของพระมหากษัตริย์ การแสดงระบาเริม่ ต้นด้วยช้างประจา
ทิศทั้ง 8 ออกมาถวายบังคมพระคเณศและจับระบายักษ์กาลเนมีออกมาไล่จับช้าง พระคเณศโกรธ
จึงไล่ลงไปต่อสู้กับยักษ์และขับไล่ยกั ษ์ไปได้ พระคเณศได้มอบช้างประจาแต่ละทิศให้ท้าวโลกบาล
ทั้ง 8 และร่ายมนต์สร้างพระยาช้างเผือกจากนั้นให้หมอเฒ่าจับช้างเผือกแล้วตั้งกระบวนแห่พระยา
ช้างเผือก

ตอนที่ ๓ วิศวกรรมา มีเนื้อความสรรเสริญพระวิศวกรรมผู้เป็นเทพเจ้าแห่งการก่อสร้าง


และการช่างนานาชนิดกล่าวถึงความสาคัญของศิลปะที่มีต่อชาติ การแสดงระบาเริ่มจากพระ
วิศวกรรมออกมารา ต่อนางวิจิตรเลขามาราทาท่าวาดภาพถวาย และพระรูปการมาราทาท่าปั้นรูป
ถวาย จากนั้นมีการแสดงอาวุธที่ประดิษฐ์ขึ้นอย่างงดงาม และปิดท้ายด้วยระบานพรัตน์

ตอนที่ ๔ สามัคคีเสวก มีเนื้อความกล่าวถึงการสมานสามัคคีในหมู่ข้าราชการ ให้บรรดา


ข้าราชการเหล่านั้นมีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ซื่อตรง รักษาเกียรติยศและขยันทางาน
การแสดงระบาเริ่มด้วยราชเสวก ๒๘ หมู่ เดินแถวสวนสนามและร้องเพลงแสดงความจงรักภักดี
อาขยานบทหลัก

บทเสภาสามัคคีเสวก

ตอน วิศวกรรมา
อันชาติใดไร้ศานติสุขสงบ ต้องมัวรบราญรอนหาผ่อนไม่
ณ ชาตินั้นนรชนไม่สนใจ ในศิลปะวิไลละวาดงาม
แต่ชาติใดรุ่งเรืองเมืองสงบ ว่างการรบอริพลอันล้นหลาม
ย่อมจานงศิลปะสง่างาม เพื่ออร่ามเรืองระยับประดับประดา
อันชาติใดไร้ช่างชานาญศิลป์ เหมือนนารินไร้โฉมบรรโลมสง่า
ใครใครเห็นไม่เป็นที่จาเริญตา เขาจะพากันเย้ยให้อับอาย
ศิลปกรรมนาใจให้สร่างโศก ช่วยบรรเทาทุกข์ในโลกให้เหือดหาย
จาเริญตาพาใจให้สบาย อีกร่างกายก็จะพลอยสุขสราญ
แม้ผู้ใดไม่นิยมชมสิ่งงาม เมื่อถึงยามเศร้าอุราน่าสงสาร
เพราะขาดเครื่องระงับดับราคาญ โอสถใดจะสมานซึ่งดวงใจ
เพราะการช่างนี้สาคัญอันวิเศษ ทุกประเทศนานาทั้งน้อยใหญ่
จึงยกย่องศิลปกรรม์นั้นทั่วไป ศรีวิไลวิลาศดีเป็นศรีเมือง

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

You might also like