Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 5

โครงการเสวนาวรรณกรรมไทย-วรรณกรรมเช็ก และประกวดการเขียนบทกวี-เรื่ องสัน้

ในโอกาสฉลองครบรอบ ๕๐ ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ ทางการทูต


ระหว่ างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรั ฐเช็ก
โดยสมาคมนักเขียนแห่ งประเทศไทย
ร่ วมกับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรั ฐเช็ก และสานักงานศิลปวัฒนธรรมร่ วมสมัย

ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ
The Thai-Czech Literary Talks & Poetry-Short Story Contests in Commemoration of the
50th Anniversary of the Establishment of Diplomatic Relations between The Kingdom of Thailand
and the Czech Republic

๑. หลักการและเหตุผล
สาธารณรัฐเช็กเป็ นมิตรประเทศที่ มีความสัมพันธ์ อันดีกับราชอาณาจักรไทยมายาวนานและมี
ความร่วมมือกันในด้ านต่าง ๆ เช่น การค้ า การลงทุน การทหาร การท่องเที่ยว และการสาธารณสุข โดยใน
ปี พ.ศ. ๒๕๖๗ นับเป็ นวาระครบรอบ ๕๐ ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตของทังสองประเทศ ้ ใน
การนี ้ สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็กและสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยได้ ประสานความร่วมมือ
กันเพื่อจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ที่ม่งุ เน้ นการแลกเปลี่ยนมรดกทางวัฒนธรรมอันสาคัญยิ่ง นัน่
คือ วรรณกรรม เพื่อสร้ างความตระหนักรู้แก่สาธารณชน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ผ้ ซู ึ่งจะนาประโยชน์ไปใช้ ใน
การสร้ าง Soft Power อันจะนาไปสูเ่ ศรษฐกิจสร้ างสรรค์ (creative economy) ต่อไป
สาธารณรัฐเช็กมีนกั เขียนชันน้ าระดับโลก ทังฟรานซ์
้ คาฟคา ผู้บกุ เบิกงานเขียนเชิงอัตถิภาวนิยม
(existentialism) และมิลาน คุนเดอรา นักเขียนนวนิยายเชิงปรัชญาที่ ยวั่ ล้ อการเมือง (political comedy)
ผู้เพิ่งถึงแก่อนิจกรรมในปี ที่ผ่านมาด้ วยวัย 94 ปี รวมทัง้ โบฮุมิล ฮราบาล กวีและนักเขียนแนวเหนือจริ ง
(surrealism) ฟรานซ์ คาฟคาและมิลาน คุนเดอรามีงานหลายเล่มที่ได้ รับการแปลออกเป็ นภาษาต่างๆ
รวมถึงภาษาไทยมายาวนาน ส่วนโบฮุมิล ฮราบาลมีนวนิยายขนาดสันที ้ ่แปลเป็ นภาษาไทยล่าสุดเพียงเล่ม
เดียว ชื่อ “ความเปลี่ยวดายอันกึกก้ องเกินต้ าน” ซึ่งแปลจากต้ นฉบับภาษาเช็ก โดย รศ.ดร.วริ ตตา ศรี รัตนา
จากหลักสูตรยุโรปศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้มีส่วนผลักดันให้ งานวรรณกรรม
เช็กเป็ นที่ร้ ูจกั ในประเทศไทยมากขึ ้น จนเป็ นชาวไทยคนแรกที่ได้ รับรางวัล Gratias Agit อันทรงเกียรติจาก
กระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐ เช็ก อย่างไรก็ ดี ยังมี งานเขี ยนอีกมากที่ น่าสนใจ ดังที่สถานี
วิทยุกระจายเสียงแห่งชาติสาธารณรัฐเช็กได้ นามารวบรวมไว้ เป็ นซีรีส์ชื่อ “The Czech Books You Must
Read” ซึ่งมีการแนะนาหนังสือน่าอ่านของประเทศพร้ อมเรื่ องย่อและความสาคัญในแง่วรรณกรรมจานวน
๒๘ เล่ม (อ้ างอิงจาก https://english.radio.cz/czech-books-you-must-read-8506310 )
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยในฐานะหน่วยงานที่ มี ภ ารกิ จเกี่ ยวกับการดาเนินการส่งเสริ ม
สนับ สนุน และผลัก ดัน งานวรรณกรรมหลายรู ป แบบในบริ บ ทต่า งๆ จนเป็ น ที่ รั บ รู้ และยอมรั บ ทัง้ ใน
ระดับประเทศและระดับสากลมาอย่างต่อเนื่อง ด้ วยการปลูกฝังวัฒนธรรมการอ่านและการเขียนให้ หยัง่ ราก
ลึก ตลอดจนเสริ มสร้ างพลังความคิ ดใหม่ๆ และสร้ างสรรค์มรดกทางวัฒ นธรรมที่มีความร่ วมสมัยและมี
โอกาสต่ อ ยอดในรู ป แบบของเศรษฐกิ จ สร้ างสรรค์ ในวาระฉลองครบรอบ ๕๐ ปี การสถาปนา
ความสัมพันธ์ ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐเช็ก สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
จึงเล็ งเห็นโอกาสอันดีที่จะจัดกิจกรรมร่ วมกับ สถานเอกอัครราชทูต สาธารณรัฐเช็ก ซึ่งประกอบด้ วยเวที
เสวนาวรรณกรรมไทย-วรรณกรรมเช็ก ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครัง้ ที่ ๕๒ ประจาปี พ.ศ. ๒๕๖๗
และการจัดประกวดการเขียนบทกวีและเรื่ องสัน้ ในหัวข้ อ ด้ านวรรณกรรมสัม พันธ์ ของสองประเทศ (อยู่
ระหว่างการกาหนดธี มร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็ก) เพื่อผลักดันให้ วรรณกรรมของแต่ละ
ประเทศเป็ นที่ร้ ูจกั มากขึ ้นในสังคมแห่งการอ่านและการเขียนอันเป็ นรากฐานของการขยายรูปแบบออกเป็ น
ศิลปะแขนงอื่นๆ ทังละคร ้ ซีรีส์ หรื อภาพยนตร์ ซึ่งสอดคล้ องกับนโยบายภาครัฐที่ต้องการสร้ างมูลค่าเพิ่ม
ให้ แก่มรดกทางวัฒนธรรม
๒. วัตถุประสงค์ ของโครงการ
๒.๑ เพื่อสร้ างความเข้ าใจในวัฒนธรรมต่างทวีปผ่านการแลกเปลี่ยนเรี ยนรู้แนวคิดและเนื ้อหาด้ าน
วรรณกรรมของราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐเช็กบนเวทีเสวนางานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครัง้ ที่ ๕๒
๒.๒ เพื่ อ ส่ง เสริ ม วัฒ นธรรมการอ่า นและการเขี ย นระหว่างสองประเทศ เพื่ อ สร้ างมรดกทาง
วัฒนธรรมผ่านวรรณกรรมสัมพันธ์ที่สามารถนาไปต่อยอดเชิงเศรษฐกิจสร้ างสรรค์
๒.๓ เพื่ อสนับ สนุน ถ่ ายทอดความรู้ วิถีชี วิต และวัฒ นธรรมโดยใช้ การประกวดงานเขี ย นเป็ น
สื่อกลางในการกระชับความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศให้ แน่นแฟ้น ยิ่งขึ ้นเนื่องในวาระฉลองครบรอบ ๕๐ ปี
การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต
๓. กลุ่มเป้ าหมาย
นักการทูตจากสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็ก กรรมการและสมาชิกสมาคมนักเขียนแห่ง
ประเทศไทย นักเขียนไทยและต่างชาติ นักอ่าน ผู้เข้ าร่วมงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครัง้ ที่ ๕๒ (ระหว่าง
วันที่ ๒๙ มีนาคม – ๘ เมษายน ๒๕๖๗) และผู้สนใจงานวรรณกรรม ตลอดจนนักเรี ยนนักศึกษา ครูอาจารย์
และบุคลากรทางการศึกษา ข้ าราชการกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงวัฒนธรรม ผู้สนใจงานด้ าน
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
๔. ลักษณะและรู ปแบบของการดาเนินโครงการ
๔.๑ งานเสวนาวรรณกรรมไทย-วรรณกรรมเช็ก บนเวทีเสวนางานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครัง้ ที่
๕๒ (ระหว่างวันที่ ๒๙ มีนาคม – ๘ เมษายน ๒๕๖๗) จานวนหนึ่งครัง้ โดยมีแขกรับเชิญ ในประเทศและ
ต่างประเทศที่คดั สรรโดยสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็กและสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
๔.๒ การประกวดงานเขียนบทกวีและเรื่ องสัน้ เพื่อเป็ นสื่อกลางในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศเนื่องในวาระฉลองครบรอบ ๕๐ ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ ทางการทูต โดยจะมีการกาหนด
หัวข้ อที่มีความร่วมสมัยและสะท้ อนมุมมองทางสังคมและวัฒนธรรมของทังสองประเทศ้
๕. ระยะเวลาของการดาเนินโครงการ
๖ เดือน (มีนาคม – สิงหาคม ๒๕๖๗) โดยแบ่งเป็ นสองช่วง คือ ช่วงแรกปลายเดือนมีนาคมหรื อต้ น
เดือนเมษายนจะจัดงานเสวนาวรรณกรรมบนเวทีเสวนางานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครัง้ ที่ ๕๒ และช่วงที่
สองจะจัดการประกวดงานเขียนบทกวีและเรื่ องสัน้ โดยจะตัดสินและมอบรางวัลให้ แล้ วเสร็ จภายในเดือน
สิงหาคม
๖. สถานที่ในการจัดกิจกรรม
๖.๑ เวทีเสวนางานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครัง้ ที่ ๕๒ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต์ิ กรุงเทพฯ
๖.๒ สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็กประจาประเทศไทย และที่ทาการสมาชิกสมาคมนักเขียน
แห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ
๗. แผนปฏิบัตกิ าร/ขัน้ ตอนการดาเนินการของโครงการ
๗.๑ โครงการเสวนาวรรณกรรมไทย-วรรณกรรมเช็ก
๗.๑.๑ กรรมการสมาคมนัก เขี ย นแห่ ง ประเทศไทยเข้ า ร่ ว มประชุม หารื อ กับ เอกอัค รราชทู ต
สาธารณรั ฐ เช็ ก เพื่ อคัด สรรแขกรับ เชิ ญ บนเวที เสวนา เบื อ้ งต้ น ประกอบด้ วยนัก เขี ย น-นัก วิ ช าการไทย
ผู้ทรงคุณวุฒิไทยและต่างประเทศ ผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็ก นักเขียน-นักวิชาการชาว
เช็ก พร้ อมติดต่อทาบทามตามรายชื่อเพื่อออกหนังสือเชิญอย่างเป็ นทางการ
๗.๑.๒ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยจองเวทีเสวนางานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครัง้ ที่ ๕๒ ผ่าน
สมาคมผู้จดั พิมพ์และผู้จาหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย
๗.๑.๓ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยร่ วมกับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐ เช็ก จัดทาสื่ อ
ประชาสัมพันธ์ในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ รวมทังท ้ าจดหมายเชิญสื่อมวลชน องค์กรและหน่วยงาน
ต่างๆ ให้ สง่ ตัวแทนเข้ าร่วมงานเสวนา
๗.๑.๔ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็กรับรองแขกรับ
เชิญและผู้เข้ าร่วมงานเสวนา รวมทังจั้ ดทาแบบประเมินความพึงพอใจ
๗.๑.๕ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยทารายงานปิ ดโครงการส่งสานักงานศิลปวัฒนธรรมร่วม
สมัย
๗.๒ การประกวดงานเขียนบทกวีและเรื่ องสั้น
๗.๒.๑ กรรมการสมาคมนัก เขี ย นแห่ ง ประเทศไทยเข้ า ร่ ว มประชุม หารื อ กับ เอกอัค รราชทู ต
สาธารณรั ฐ เช็ ก เพื่ อ ก าหนดหัว ข้ อ ส าหรั บ งานเขี ย น ๒ ประเภท คื อ บทกวี และเรื่ อ งสัน้ รวมทัง้ ระบุ
รายละเอี ยดคุณ สมบัติผ้ ูส่งงานเข้ าประกวด ระยะเวลา รู ปแบบการส่งงาน ตลอดจนแต่งตัง้ กรรมการ
ดาเนินการจัดประกวด แบ่งเป็ น ๒ คณะ คือ คณะกรรมการคัดสรร และคณะกรรมการตัดสิน
๗.๒.๒ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยร่ วมกับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็ก จัดทาสื่ อ
ประชาสัมพันธ์ ในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ รวมทังท ้ าจดหมายแจ้ งสื่อมวลชน องค์กรและหน่วยงาน
ต่างๆ เพื่อขอความร่วมมือประชาสัมพันธ์ออกไปในวงกว้ าง
๗.๒.๓ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยร่ วมกับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐ เช็ก รวบรวม
ผลงานที่ส่งเข้ าประกวด ตรวจสอบความถูกต้ องของรู ปแบบและคุณสมบัติ ก่อนจัดส่งให้ คณะกรรมการ
ต่อไป
๗.๒.๔ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยร่ วมกับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็ก ร่ วมกันจัด
งานมอบรางวัล โดยเชิญสื่อมวลชนมาทาข่าว ก่อนจัดทาแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดงาน
๗.๑.๕ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยทารายงานปิ ดโครงการส่งสานักงานศิลปวัฒนธรรมร่วม
สมัย
๘. งบประมาณ
งบประมาณโดยภาพรวมทัง้ โครงการ
งบประมาณที่ใช้ ในการดาเนินการ เป็ นเงินจานวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้ าแสนบาทถ้ วน)
รายละเอียดการใช้ จ่ายงบประมาณแยกตามโครงการ ดังนี ้
๘.๑ โครงการเสวนาวรรณกรรมไทย-วรรณกรรมเช็ก
งบประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ บาท
๘.๒ การประกวดงานเขียนบทกวีและเรื่ องสั้น
งบประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ บาท
๙. วิธีการประเมินผล
๙.๑ จานวนผู้เข้ าร่วมเสวนา
๙.๒ การลงข่าวประชาสัมพันธ์ในสื่อต่างๆ
๙.๓ การตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ
๑๐. เป้ าหมาย/ตัวชีว้ ัดความสาเร็จของโครงการ/ผลที่คาดว่ าจะได้ รับ
๑๐.๑ จานวนผู้เข้ าร่วมเสวนา มากกว่า ๕๐ ราย
๑๐.๒ การลงข่าวประชาสัมพันธ์ในสื่อต่างๆ โดยลงข่าวในสื่อกระแสหลัก เช่น สื่อโทรทัศน์ สื่อ
สิ่งพิมพ์
๑๐.๓ การตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ มากกว่า ๕๐ ราย โดยผลสารวจระบุคะแนนความพึง
พอใจมากกว่าร้ อยละ ๘๐ ขึ ้นไป
๑๐.๔ เป้าหมายเชิงคุณภาพ คือ การตระหนักรู้ถึงวรรณกรรมสองประเทศ ที่จะนาไปสู่การ
แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม เช่น นักเขียนไทยได้ รับเชิญไปเสวนาในงานที่จดั โดยสาธารณรัฐเช็ก หรื อไปเป็ น
นักเขียนในพานักที่สาธารณรัฐเช็ก งานวรรณกรรมไทยได้ รับการแปลเป็ นภาษาเช็ก หรื อตีพิมพ์เผยแพร่แก่
ผู้อา่ นในทวีปยุโรปตะวันออก
๑๐.๕ ผลที่คาดว่าจะได้ รับ คือ นักเขียนไทยเป็ นที่ร้ ูจกั มากขึ ้นในระดับสากล และสมาคมนักเขียน
แห่งประเทศไทยร่วมกับสานักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยสามารถสร้ างเครื อข่ายการส่งเสริมและสนับสนุน
มรดกทางวัฒนธรรมด้ านการอ่านและการเขียนในระดับนานาชาติเพื่อนาร่องสูก่ ารต่อยอดเศรษฐกิจ
สร้ างสรรค์ผา่ นภูมิพลังทางวัฒนธรรม (Soft Power) ตามนโยบายของรัฐบาล

You might also like