โครงสร้างชีววิทยาเล่ม 1

You might also like

Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 12

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชา ชีววิทยา 1 รหัสวิชา รายวิชาเพิ่ม ชั้นมัธยมศึกษา


ว 31241 เติม ปี ที่ 4
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาคเรียนที่ 1
เวลาเรียน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ 40 ชั่วโมง/ภาคเรียน จำนวน 1
หน่วยกิต
ครูผู้สอน นางสาวณัฐชา ม่วงคลา

ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต ลักษณะเฉพาะของสิ่งมี
ชีวิต แขนงวิชาที่เกี่ยวข้องกับชีววิทยาและการใช้ความรู้ทาง
ชีววิทยาที่เป็ นประโยชน์ต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ชีววิทยากับการ
ดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ความตระหนักในเรื่องของชีวจริยธรรม การ
ศึกษาชีววิทยาโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งการศึกษาวิธี
การทำงานของนักวิทยาศาสตร์ และการนำความรู้เกี่ยวกับชีววิทยา
มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน การทำกิจกรรมสะเต็มศึกษาโดยใช้
กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อแก้ปั ญหาในชีวิตจริง ศึกษา
เคมีที่เป็ นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต โครงสร้าง และหน้าที่ของสารต่างๆ
ที่เป็ นองค์ประกอบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต และปฏิกิริยาเคมีในเซลล์
ของสิ่งมีชีวิต ศึกษาส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์ใช้แสง หลัก
การทำงาน วิธีการใช้ รวมทั้งการดูแลและเก็บรักษา ศึกษา
โครงสร้างและหน้าที่ของส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาซึม และ
นิวเคลียส การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ การหายใจระดับ
เซลล์ซึ่งเป็ นกระบวนการที่เซลล์สร้างพลังงานจากการสลายสาร
อาหารสำหรับนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ ของเซลล์และการแบ่งเซลล์
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบ
เสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล การสังเกต วิเคราะห์ เปรียบเทียบ
อธิบาย อภิปราย และสรุป เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ มีความ
สามารถในการตัดสินใจ มีทักษะปฏิบัติการ ทางวิทยาศาสตร์ รวม
ทั้งทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในด้านการใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศ ด้านการคิดและการแก้ปั ญหา ด้านการสื่อสาร สามารถ
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตของตนเอง
มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

1. ผลการเรียนรู้
1) อธิบายและสรุปสมบัติที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต และความ
สัมพันธ์ของการจัดระบบในสิ่งมีชีวิตที่ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตอยู่ได้
2) อภิปรายและบอกความสำคัญของการระบุปั ญหา ความ
สัมพันธ์ระหว่างปั ญหา สมมติฐาน และวิธีการตรวจสอบสมมติฐาน
รวมทั้งออกแบบการ ทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐาน
3) สืบค้นข้อมูล อธิบายเกี่ยวกับสมบัติของน้ำและบอกความ
สำคัญของน้ำที่มีต่อสิ่งมีชีวิต และยกตัวอย่างธาตุชนิดต่างๆ ที่มี
ความสำคัญต่อร่างกายสิ่งมีชีวิต
4) สืบค้นข้อมูล อธิบายโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต ระบุกลุ่ม
ของคาร์โบไฮเดรต รวมทั้งความสำคัญของคาร์โบไฮเดรตที่มีต่อสิ่งมี
ชีวิต
5) สืบค้นข้อมูล อธิบายโครงสร้างของโปรตีน และความ
สำคัญของโปรตีนที่มีต่อสิ่งมีชีวิต 6) สืบค้น
ข้อมูล อธิบายโครงสร้างของลิพิด และความสำคัญของลิพิดที่มีต่อ
สิ่งมีชีวิต 7) อธิบายโครงสร้างของกรดนิวคลิอิก
และระบุชนิดของกรดนิวคลิอิกและความสำคัญของกรดนิวคลิอิกที่
มีต่อสิ่งมีชีวิต
8) สืบค้นข้อมูลและอธิบายปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต
9) อธิบายการทำงานของเอนไซม์ในการเร่งปฏิกิริยาเคมีในสิ่ง
มีชีวิตและระบุปั จจัยที่มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์
10) บอกวิธีการและเตรียมตัวอย่างสิ่งมีชีวิตเพื่อศึกษาภายใต้
กล้องจุลทรรศน์ใช้แสง วัดขนาดโดยประมาณและวาดภาพที่ปรากฏ
ภายใต้กล้อง บอก วิธีการใช้ และการดูแลรักษากล้องจุลทรรศน์ใช้
แสงที่ถูกต้อง
11) อธิบายโครงสร้างและหน้าที่ของส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ของ
เซลล์พืชและเซลล์สัตว์ 12) สืบค้นข้อมูล อธิบาย
และระบุชนิดและหน้าที่ของออร์แกเนลล์
13) อธิบายโครงสร้างและหน้าที่ของนิวเคลียส
14) อธิบายและเปรียบเทียบการแพร่ ออสโมซิส การแพร่
แบบฟาซิลิเทต และ แอกทีฟทรานสปอร์ต
15) สืบค้นข้อมูล อธิบาย และเขียนแผนภาพการลำเลียงสาร
โมเลกุลใหญ่ออกจากเซลล์ด้วยกระบวนการเอกโซไซโทซิสและการ
ลำเลียงสารโมเลกุล ใหญ่เข้าสู่เซลล์ด้วยกระบวนการ
เอนโดไซโทซิส
16) สังเกตการแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิสและแบบไมโอซิส
จากตัวอย่างภายใต้กล้องจุลทรรศน์พร้อมทั้งอธิบายและเปรียบ
เทียบการแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิสและแบบไมโอซิส
17) อธิบาย เปรียบเทียบ และสรุปขั้นตอนการหายใจระดับ
เซลล์ในภาวะที่มีออกซิเจนเพียงพอและภาวะที่มีออกซิเจนไม่เพียง
พอ
รวมทั้งหมด 17 ผลการเรียนรู้
หน่วย

คะแนนราย

เวลาเรียน
การ ผลการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้
เรียนรู้

หน่วย 1) อธิบายและ • สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ และ 13 10


การ สรุปสมบัติที่สำคัญ อธิบายลักษณะเฉพาะที่สำคัญของ
เรียนรู้ที่ ของสิ่งมีชีวิต และ สิ่งมีชีวิต
1 การ ความสัมพันธ์ของ • ออกแบบ ทดลอง และอธิบาย
ศึกษา การจัดระบบในสิ่ง เกี่ยวกับการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของ
ชีววิทยา มีชีวิตที่ทำให้สิ่งมี สิ่งมีชีวิต
ชีวิตดำรงชีวิตอยู่ • สืบค้นข้อมูล ออกแบบ และ
ได้ ทดลองเกี่ยวกับอุณหภูมิของสภาพ
แวดล้อมที่มีผลต่อการรักษา
ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
• อธิบายความสัมพันธ์ของการ
จัดระบบในสิ่งมีชีวิตที่ทำ ให้สิ่งมี
ชีวิตดำ รงชีวิตอยู่ได้
• สืบค้นข้อมูล อภิปราย และ
สรุปขอบข่ายของศาสตร์ต่างๆ ทาง
ด้านชีววิทยา
• สืบค้นข้อมูล อภิปราย และ
ยกตัวอย่างประโยชน์ของการศึกษา
ชีววิทยาต่อคุณภาพชีวิต
ของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
• สืบค้นข้อมูล อภิปราย และ
ยกตัวอย่างเกี่ยวกับชีวจริยธรรม
2) อภิปราย • อธิบายวิธีทางวิทยาศาสตร์
และบอกความ และยกตัวอย่างนักวิทยาศาสตร์ของ
สำคัญของการระบุ ไทยและผลงานที่ศึกษา
ปั ญหา ความ • อภิปราย และระบุความ
สัมพันธ์ระหว่าง สำคัญของการตั้งปั ญหา ความ
หน่วย

คะแนนราย

เวลาเรียน
การ ผลการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้
เรียนรู้

5) อธิบาย • อธิบายโครงสร้างและองค์
โครงสร้างของกรด ประกอบของนิวคลีโอไทด์ DNA
นิวคลิอิก และระบุ และ RNA
ชนิดของกรด • เปรียบเทียบความแตกต่าง
นิวคลิอิกและความ ระหว่างโครงสร้างของ DNA กับ
สำคัญของกรด RNA
นิวคลิอิกที่มีต่อสิ่งมี • ระบุความสำคัญของกรด
ชีวิต นิวคลิอิกที่มีต่อสิ่งมีชีวิต
6) สืบค้นข้อมูล • อธิบายและเปรียบเทียบ
และอธิบายปฏิกิริยา ปฏิกิริยาดูดพลังงานและปฏิกิริยา
เคมีที่เกิดขึ้นในสิ่งมี คายพลังงานที่เกิดขึ้นในเซลล์
ชีวิต ของสิ่งมีชีวิต
• อธิบายความสำคัญของการ
เกิดปฏิกิริยาควบคู่กันระหว่าง
ปฏิกิริยาดูดพลังงานและ
ปฏิกิริยาคายพลังงานในสิ่งมีชีวิต
• อธิบายความหมายและ
ประเภทของเมแทบอลิซึม
7) อธิบายการ • อธิบายกลไกการทำงานของ
ทำงานของเอนไซม์ เอนไซม์ในการเร่งปฏิกิริยาเคมีใน
ในการเร่งปฏิกิริยา สิ่งมีชีวิต และการยับยั้ง
เคมีในสิ่งมีชีวิตและ การทำงานของเอนไซม์
ระบุปั จจัยที่มีผลต่อ • ระบุปั จจัยที่มีผลต่อการทำ
การทำงานของ งานของเอนไซม์ และอธิบายผล
เอนไซม์ ของปั จจัยนั้นๆที่มีต่อ
ประสิทธิภาพ
ในการทำ งานของเอนไซม์
3. กิจกรรมการเรียนรู้
1) การเรียนรู้แบบสืบเสาะ (Inquiry cycle:5Es)
2) การสอนแบบเปรียบเทียบ (analogy)
3) การลงมือปฏิบัติจริง (hands on)
4) บรรยายแบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Lecture)
5) อภิปรายกลุ่ม (Group Discussion)
6) การทดลอง (Laboratory)
7) การนำเสนองาน (Presentation)
8) ทำกิจกรรมตามภาระงาน/ แบบฝึ กหัด
9) การตอบคำถาม

4. การวัดและประเมินผล/ อัตราส่วนการให้คะแนน
อัตราส่วนการให้คะแนน แบ่งเป็ น
ลำดั วิธีการประเมินผล ร้อย
บที่ ละ
1 คะแนนด้านความรู้ 70
2 คะแนนด้านทักษะกระบวนการ 20
3 คะแนนด้านลักษณะอันพึงประสงค์ / 10
เจตคติ
รวม 100
 คะแนนด้านความรู้ ( 70 คะแนน ) ประกอบด้วย
1) คะแนนการสอบย่อย 20 คะแนน
2) คะแนนสอบกลางภาค 20 คะแนน
3) คะแนนสอบปลายภาค 30 คะแนน
 คะแนนด้านทักษะกระบวนการ (20 คะแนน) ประกอบ
ด้วย
1) แบบฝึ กหัดในชั้นเรียน 5 คะแนน
2) การทำการทดลอง 5 คะแนน
3) การใช้อุปกรณ์และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ 5
คะแนน
4) การเขียนรายงานการทดลอง 5 คะแนน
 คะแนนด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (10 คะแนน)
ประกอบด้วย
1) เวลาเรียน 5 คะแนน
(ขาด 1 คาบ หัก 0.5 คะแนน, สาย 2 ครั้ง เท่ากับขาด 1
ครั้ง)
2) การส่งงาน 5
คะแนน
(ไม่ส่งงาน 1 ครั้ง หัก 1 คะแนน)

5. เกณฑ์การผลการเรียนรู้โดยใช้การประเมินแบบอิงเกณฑ์
ระดับคะแนน ระดับผลการเรียน
80-100 4 (ดีเยี่ยม)
75-79 3.5 (ดีมาก)
70-74 3 (ดี)
65-69 2.5 (ค่อนข้างดี)
60-64 2 (น่าพอใจ)
55-59 1.5 (พอใช้)
50-54 1 (ผ่านเกณฑ์ขั้น
ต่ำ)
ต่ำกว่า 50 0 (ต่ำกว่าเกณฑ์)

หมายเหตุ: ผู้เรียนที่มีเวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ 80 ของเวลา


เรียนในรายวิชานี้ จะไม่มีสิทธิ์สอบปลายภาคในรายวิชานี้ ให้ได้รับ
ผลการเรียนเป็ น “มส.”

6. สื่อการเรียนรู้/ แหล่งการเรียนรู้
- หนังสือเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (พื้นฐาน)
- Power point
- รูป , วีดีทัศน์ , Simulation ,แบบจำลอง
- ห้องสมุด
- บทความทางวิทยาศาสตร์
- แหล่งเรียนรู้ด้วยตนเองอื่นๆ

7. วิธีการจัดการเรียนการสอน
 การบรรยาย  การอภิปราย 
การนำเสนอ
 การใช้กระบวนการกลุ่ม  การระดมสมอง 
การสาธิต
 การทดลอง  กระบวนการแก้ปั ญหา 
การปฏิบัติจริง
 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การฝึ กทักษะ
 อื่น ๆ (โปรด
ระบุ)..................................................................................................
...........
8. ข้อตกลงรายวิชา
การเข้าเรียน
1) เข้าเรียนตรงต่อเวลา (เข้าเรียนช้ากว่า 10 นาที จะถือว่า
“สาย” หากสาย 3 ครั้ง จะเท่ากับขาดเรียน)
2) นักเรียนต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 จึงจะมีสิทธิ์
ในการสอบปลายภาคและประเมินผลการเรียนรู้
การเรียนภายในชั้นเรียน
1) ไม่รับประทานอาหารและเครื่องดื่มในชั้นเรียน (ยกเว้นน้ำ
เปล่า)
2) มีปั ญหาหรือข้อสงสัยใดๆ ให้ถามครูหรือเพื่อนในชั้นเรียน
ทันที
3) ห้ามใช้เครื่องมือสื่อสารที่นอกเหนือจากกิจกรรมการเรียน
การสอนในชั้นเรียน
4) การจดบันทึกนักเรียนสามารถจดบันทึกสิ่งที่นักเรียนเรียนรู้
ลงในสมุดได้เลย ไม่จำเป็ นต้องรอคำสั่งจากครู
การส่งงาน
1) ส่งงานตรงเวลา หากช้ากว่ากำหนด คะแนนของชิ้นงานจะ
ลดลง “ครึ่งหนึ่ง” ของคะแนนเต็มชิ้นงานนั้นๆ
2) ห้ามคัดลอกชิ้นงานผู้อื่นมาส่ง “เด็ดขาด” หากพบการลอก
กันจะถูกตัดคะแนน ด้านลักษณะอันพึงประสงค์ / เจตคติ
จาก 10 คะแนน เหลือ 0 คะแนน และ เรียกเข้าพบครูประจำ
วิชาเป็ นรายบุคคล

9. คุณธรรมในการเรียน
การเรียนการสอนในรายวิชานี้เน้นการพัฒนาให้นักเรียนเป็ นผู้
ที่มีคุณธรรมและจริยธรรมในทางวิชาการ ดังนั้นจึงได้กำหนด
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ดังต่อไปนี้
1) มีความสนใจ ตั้งใจ ใฝ่ เรียนรู้ เช่น ไม่คุยกันเสียงดัง ถาม
คำถามที่อยากรู้ ไม่หลับขณะเรียน ฯลฯ
2) มีวินัยและความรับผิดชอบ เช่น ทำงานด้วยตนเอง เข้า
เรียนสม่ำเสมอ ร่วมกิจกรรม ฯลฯ
3) มีความซื่อสัตย์สุจริต เช่น ไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น ไม่นำงาน
ของผู้อื่นมาใช้ประโยชน์โดยไม่อ้างอิง
4) ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เช่น แสดงความคิดเห็นในกิจกรรม
กลุ่ม ทำงานร่วมกันในกลุ่ม
5) มีความประณีต รอบคอบ เช่น มีผลงานเรียบร้อย สะอาด
พัฒนาชิ้นงานให้ดีที่สุดตามความสามารถ
6) มีจิตสาธารณะ เช่น ช่วยเหลือเพื่อนอย่างเหมาะสม อาสา
ทำงานส่วนรวมตามศักยภาพของตนเอง
นักเรียนทุกคนต้องพัฒนาตนเองตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ดังกล่าว และมีส่วนรับผิดชอบในการกำกับดูแล และให้คำแนะนำ
เพื่อนในชั้นไม่ให้ปฏิบัติในสิ่งที่ไม่เหมาะสม เพื่อร่วมกันพัฒนา
ตนเองและเพื่อนๆให้เป็ นผู้ที่มีคุณธรรมและจริยธรรมสมกับ
สถานภาพของนักเรียนโรงเรียนรามราชพิทยาคมและเป็ นแบบอย่าง
ที่ดีงานแก่บุคคลทั่วไป
-

You might also like