Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 12

บทที่ 3

วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการทดลอง

3.1 วิธีดำเนินการวิจัย
ในการศึกษานี้วางแผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์
(Completely Randomized Design; CRD) และใช้ถั่วเขียวทั้งหมด 10
พันธุ์/สายพันธุ์ ลักษณะเฉพาะและต้นกำเนิดได้อธิบายไว้ในตารางที่...
โดยทำการเก็บข้อมูลสัญฐานวิทยาของถั่วงอกและไมโครกรีนจำนวน 6
ซ้ำ แต่ละซ้ำประกอบไปด้วย 20 ตัวอย่าง (ต้น) รวมทั้งคุณค่าทาง
โภชนาการ ได้แก่ ความชื้น ไขมัน เยื่อใยหยาบ และเถ้า ด้วยวิธีการ
วิเคราะห์พรอกซิเมทต่อทรีตเมนต์ จำนวน 3 ซ้ำ

ตารางที่.... ข้อมูลพันธุ์/สายพันธุ์ถั่วเขียวที่ใช้ในการทดลอง

พันธุ์/สาย แหล่ง
แหล่งที่มา ลักษณะเฉพาะ
พันธุ์ กำเนิด
a
CN3 คัดเลือกจากการกลายพันธุ์ ประเทศ เมล็ดใหญ่ ผลผลิตสูง และสุกแก่สม่ำเสมอ
ของพันธุ์ CN36 ไทย
b
SUT1 อู่ทอง 1 x NP-29 ประเทศ ผลผลิตสูง มีความเหมาะสมในการเก็บเกี่ยว และมีความ
d e
ไทย ต้านทานต่อโรค PM และ CLS ปานกลาง
CN84-1 คัดเลือกจากการกลายพันธุ์ ประเทศ เมล็ดใหญ่ ผลผลิตสูง และมีร้อยละของแป้ งสูง
ของพันธุ์ CN36 ไทย
c
S5 พัฒนามาจาก สายพันธุ์ ประเทศ มีความต้านทานต่อโรค PM และ CLS สูง
f
ลูกผสมคู่ [(CN72×V4758 ) ไทย
f
× (CN72×V4718 )] ×
[(CN72×V4718) ×
f
(CN72×V4785 )]
P08 ประเทศ เมล็ดใหญ่ สุกแก่สม่ำเสมอ และมีความต้านทานต่อโรค PM
คัดเลือกจากการผสมกลับ
ไทย และ CLS ปานกลาง
ระหว่างพันธุ์ CN84-1 และ
P12 ประเทศ เมล็ดใหญ่ ผลผลิตสูง สุกแก่สม่ำเสมอ มีความทนแล้งค่อนข้าง
สายพันธุ์ลูกผสมคู่
ไทย ดี และมีความต้านทานต่อโรค PM สูง และ CLS ปานกลาง
[(CN72×V4758) ×
P22 ประเทศ ผลผลิตสูง สุกแก่สม่ำเสมอ และมีความต้านทานต่อโรค PM
(CN72×V4718)] ×
ไทย และ CLS ปานกลาง
[(CN72×V4718) ×
P24 ประเทศ เมล็ดใหญ่ สุกแก่สม่ำเสมอ และมีความต้านทานต่อโรค PM
(CN72×V4785)]
ไทย และ CLS ปานกลาง
W5 คัดเลือกจากการผสมกลับ ประเทศ น้ำหนักเมล็ดต่อต้นสูง มีความเหมาะสมในการเก็บเกี่ยวสูง
ระหว่างพันธุ์ CN72 และสาย ไทย และมีความต้านทานต่อโรค PM และ CLS สูง
พันธุ์ลูกผสมคู่
[(CN72×V4758) ×
(CN72×V4718)] ×
[(CN72×V4718) ×
(CN72×V4785)]
D5 คัดเลือกจากการผสมกลับ ประเทศ ผลผลิตสูง มีความเหมาะสมในการเก็บเกี่ยวสูง มีขนฝั กน้อย มี
ระหว่างพันธุ์ SUT1 และสาย ไทย ความต้านทานต่อโรค PM และ CLS ปานกลาง
พันธุ์ลูกผสมคู่
[(CN72×V4758) ×
(CN72×V4718)] ×
[(CN72×V4718) ×
(CN72×V4785)]
H3 คัดเลือกจากการผสมกลับ ประเทศ เมล็ดใหญ่ มีความเหมาะสมในการเก็บเกี่ยวสูง มีขนฝั กน้อย
g
ระหว่างพันธุ์ KING และสาย ไทย ความต้านทานต่อโรค PM และ CLS ปานกลาง
พันธุ์ลูกผสมคู่
[(CN72×V4758) ×
(CN72×V4718)] ×
[(CN72×V4718) ×
(CN72×V4785)]
a b c
พันธุ์ถั่วเขียวที่ได้รับการรับรองจากศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท พันธุ์ถั่วเขียวที่ได้รับการรับรองจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ถั่วเขียวพันธุ์ต้านทานที่
d e
พัฒนาโดย ภควัตร ภูคำศักดิ์ และคณะ (ข้อมูลที่ยังไม่ได้เผยแพร่) ประเทศไทย โรคราแป้ ง (Powdery midew) โรคใบจุดสีน้ำตาล (Cercospora
f g
leaf spot) สายพันธุ์ถั่วเขียวมีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย และ สายพันธุ์ถั่วเขียวมีต้นกำเนิดมาจากประเทศออสเตรเลีย
3.2 วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี
3.2.1 เครื่องชั่งทศนิยม 2 ตำแหน่ง (precision balance 2 digits)
3.2.2 เครื่องชั่งทศนิยม 4 ตำแหน่ง (analytical balance 4 digits)
3.2.3 ไม้บรรทัด (ruler)
3.2.4 เวอร์เนียคาลิปเปอร์ (vernier calipers)
3.2.5 กระดาษเพาะเมล็ด (germination test paper)
3.2.6 ขุยมะพร้าว (coconut coir)
3.2.7 พีทมอส (peat moss)
3.2.8 ถาดเพาะไมโครกรีน (micro green tray)
3.2.9 บีกเกอร์ (beaker)
3.2.10 ตู้อบลมร้อน (hot air oven)
3.2.11 เครื่องกวนสารละลาย (hotplate stirrer)
3.2.12 โถดูดความชื้น (desiccator)
3.2.13 จานเพาะเลี้ยง (petri dich)
3.2.14 กระดาษกรอง (filtering paper)
3.2.15 เตาเผา (muffle furnace)
3.2.16 ถ้วยกระเบื้องเคลือบ (crucible)
3.2.17 ถ้วยกรองแบบแก้ว (glass crucible)
3.2.18 หลอดกระดาษกรอง (cellulose thimble)
3.2.19 บีกเกอร์สกัดสาร (extraction beaker)
3.2.20 เครื่องสกัดไขมันยี่ห้อ Soxtex 2050
3.2.21 เครื่องวิเคราะห์เยื่อใยอาหารยี่ห้อ Fibertec 8000
3.2.22 ตู้ควบคุมสภาพแวดล้อม (growth chamber)
3.2.23 เครื่องบดย่อยขนาดยี่ห้อ Pulverisette 11
3.2.24 กรดซัลฟิ วริก (sulfuric acid; H2SO4)
3.2.25 โซเดียมไฮดรอกไซด์ (sodium hydroxide; NaOH)
3.2.26 ปิ โตรเลียมอีเธอร์ (petroleum ether; C6H14)
3.2.27 อะซิโตน (acetone; C3H6O)

3.3 สถานที่ทำการทดลอง
3.3.1 ห้องปฏิบัติการปรับปรุงพันธุ์ อาคารศูนย์เครื่องมือ 3
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
3.3.2 ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีอาหาร อาคารศูนย์เครื่องมือ 3
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
3.3.3 ห้องปฏิบัติการ อาคารเกษตรภิวัฒน์ (อาคารศูนย์เครื่องมือ 14)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
3.4 ระยะเวลาทำการทดลอง
20 พฤษจิกายน 2566 – 5 มิถุนายน 2567

3.5 วิธีการทดลอง
3.5.1 การเตรียมตัวอย่างถั่วงอกและไมโครกรีน
นำเมล็ดถั่วเขียวมาล้างทำความสะอาดเพื่อกำจัดสิ่งสกปรก
จากนั้นนำเมล็ดใส่ในบีกเกอร์ เติมน้ำอุ่นอุณหภูมิ 40 องศา
เซลเซียส จากนั้นแช่ทิ้งไว้นาน 8 ชั่วโมง
3.5.1.1 การเพาะถั่วงอก: หลังจากแช่เมล็ดแล้ว นำมาเพาะถั่วงอก
โดยใช้วิธีเพาะเมล็ดพันธุ์แบบวางระหว่างกระดาษเพาะ
(Between Paper) เรียงเมล็ดให้กระจายสม่ำเสมอ 50
เมล็ด ใส่ลงในกล่องพลาสติกทึบเพื่อป้ องกันแสง วางไว้ในตู้
ควบคุมสภาพแวดล้อมอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส รดน้ำ
ปริมาตร 1 ลิตรจำนวน 2 ครั้งต่อวัน ตอนเช้า 9.00 น.
และตอนเย็น 17.00 น. เป็ นเวลา 72 ชั่วโมง หรือ 3 วัน
3.5.1.2 การเพาะไมโครกรีน: ผสมขุยมะพร้าวกับพีทมอสใน
อัตราส่วน 1:1 โดยปริมาตร จากนั้นนำมาใส่ถาดเพาะ
ไมโครกรีนและเกลี่ยวัสดุปลูกให้เรียบ โดยมีความหนาของ
วัสดุปลูกประมาณ 1 นิ้ว จากนั้นโรยเมล็ดถั่วเขียวที่ผ่าน
การแช่ลงในถาดเพาะไมโครกรีน กระจายเมล็ดให้มีความ
สม่ำเสมอทั่วทั้งถาด กลบด้วยวัสดุปลูกบาง ๆ จากนั้นวาง
ถาดเพาะใน ตู้ควบคุมสภาพแวดล้อมอุณหภูมิ 25 องศา
เซลเซียล รดน้ำให้ชุ่มตลอดเวลา โดยเก็บไว้ในที่มืดนาน 3
วัน และให้แสงสว่างด้วยแสงเทียม (artificial light) ความ
เข้มข้น Photosynthetic Photon Flux Density (PPFD)
2
ที่ 400 - 700 nm เท่ากับ 20.19 µmol/m •s และ
Photon Flux Density (PFD) ที่ 380 – 780 nm เท่ากับ
21.46 µmol/m2•s ตลอดเวลานาน 4 วัน รวมเป็ นระยะ
เวลา 7 วัน

3.6 การบันทึกข้อมูลลักษณะทางสัณฐานวิทยา
3.6.1 การบันทึกข้อมูลสัณฐานวิทยาของถั่วงอก
3.6.1.1 ความยาวของลำต้นของถั่วงอกวัดด้วยไม้บรรทัดจาก
บริเวณโคนรากจนถึงปลายยอด รายงานในหน่วย
เซนติเมตร (ซม.)
3.6.1.2 ความยาวรากของถั่วงอกวัดด้วยไม้บรรทัดบริเวณโคนราก
จนถึงปลายราก รายงานในหน่วย เซนติเมตร (ซม.)
3.6.1.3 ความกว้างลำต้นของถั่วงอกวัดด้วยเวอร์เนียคาลิปเปอร์
บริเวณกึ่งกลางของลำต้น รายงานในหน่วย มิลลิเมตร
(มม.)
3.6.2 การบันทึกข้อมูลสัณฐานวิทยาของไมโครกรีน
3.6.2.1 ความยาวลำต้นของไมโครกรีนวัดด้วยไม้บรรทัดตั้งแต่โคน
รากถึงปลายยอด รายงานในหน่วย เซนติเมตร (ซม.)
3.6.2.2 ความยาวใบของไมโครกรีนวัดด้วยไม้บรรทัด จากบริเวณ
โคนใบถึงปลายใบ รายงานในหน่วย เซนติเมตร (ซม.)
3.6.2.3 ความกว้างใบของไมโครกรีนวัดด้วยไม้บรรทัด จากบริเวณ
จุดที่กว้างที่สุดของใบ รายงานในหน่วย เซนติเมตร (ซม.)
3.6.3 การคำนวณ Output ratio

สามารถคำนวณ Output ratio ได้จากสมการ ดังนี้

Output ratio = น้ำหนักผลผลิตสด (ก.)

น้ำหนักเมล็ด (ก.)

3.7 การวิเคราะห์สารอาหารด้วยวิธีพรอกซิเมท (AOAC, 2000)

3.7.1 การเตรียมตัวอย่างสำหรับวิเคราะห์สารอาหาร
3.7.1.1 นำตัวอย่างพืชไปอบที่อุณหภูมิ 105 องศาเซลเซียสนาน
24 ชั่วโมง จากนั้นบดให้ละเอียด และเก็บไว้ที่อุณหภูมิ -
20 องศาเซลเซียสสำหรับใช้วิเคราห์ปริมาณไขมัน เยื่อใย
หยาบ และเถ้า
3.7.2 การวิเคราะห์ความชื้น
3.7.2.1 ชั่งน้ำหนักคงที่ของจานเพาะเลี้ยง โดยอบในตู้อบลมร้อนที่
อุณหภูมิ 105 องศาเซลเซียส นาน 3 ชั่วโมง
3.7.2.2 ชั่งตัวอย่างสดของพืชใส่ในจานเพาะเลี้ยงที่ทราบน้ำหนักที่
แน่นอน อบในตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ105 องศาเซลเซียส
นาน 3 ชั่วโมง หรือจนกว่าจะแห้งสนิท
3.7.2.3 นำตัวอย่างออกใส่ในโถดูดความชื้นนาน 20 นาที หรือจน
กระทั่งอุณหภูมิภาชนะเท่ากับอุณหภูมิห้อง แล้วชั่งน้ำหนัก
ภาชนะพร้อมตัวอย่างแห้งด้วยเครื่องชั่งทศนิยม 4
ตำแหน่ง
3.7.2.4 อบซ้ำที่อุณหภูมิ 105 องศาเซลเซียส นาน 1 ชั่วโมง แล้ว
ชั่งอีกครั้ง หรือจนกระทั่งน้ำหนักแตกต่างกันไม่เกิน 3
มิลลิกรัม

ปริมาณความชื้น = น้ำหนักของภาชนะและตัวอย่างก่อนอบ - น้ำ x10


หนักของภาชนะและตัวอย่างหลังอบ
(%w/w) น้ำหนักของภาชนะและตัวอย่างก่อนอบ – น้ำ
หนักภาชนะสำหรับหาความชื้น

3.7.3 ปริมาณไขมัน
3.7.3.1 อบและชั่งน้ำหนักคงที่ของบีกเกอร์สกัดสาร โดยอบที่
อุณหภูมิ 105 องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 3 ชั่วโมงและทิ้งไว้
ให้เย็นใน โถดูดความชื้นนาน 20 นาที
3.7.3.2 ชั่งน้ำหนักตัวอย่างปริมาณ 1.5 – 2 กรัม ใส่ลงในกระดาษ
กรอง จากนั้นพับกระดาษกรองพร้อมตัวอย่างใส่ในหลอด
กระดาษกรองประกอบเข้ากับเครื่องสกัดไขมัน กดให้
หลอดกระดาษกรองอยู่ในตำแหน่งพร้อมสกัด
3.7.3.3 เติมปิ โตรเลียมอีเธอร์ปริมาตร 80 มิลลิลิตร ลงในบีกเกอร์
สกัดสารแต่ละใบ จากนั้นประกอบเข้ากับเครื่องสกัดไขมัน
และตั้งอุณหภูมิการสกัดที่ 150 องศาเซลเซียส โดย
กำหนดโปรแกรมการทำงาน ดังนี้
Extraction phase: สกัดตัวอย่างด้วยความร้อนนาน
30 นาที
Rinsing phase: ล้างตัวอย่างนาน 1 ชั่วโมง 30 นาที
Drying phase: ระเหยตัวทำละลายนาน 15 นาที
3.7.3.4 หลังจากเสร็จโปรแกรม นำบีกเกอร์สกัดสารที่มีไขมันไปอบ
แห้งที่อุณหภูมิ 105 องศาเซลเซียสนาน 3 ชั่วโมง จากนั้น
ทิ้งไว้ให้เย็นในโถดูดความชื้นนาน 20 นาที หรือจนกระทั่ง
อุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิห้อง แล้วชั่งน้ำหนักบันทึกผล

ร้อยละของไขมัน (%) = น้ำหนักบีกเกอร์สกัดสารที่มีไขมันที่สกัดได้


X10
- น้ำหนักของบีกเกอร์สกัดสาร
น้ำหนักตัวอย่าง

3.7.4 ปริมาณเยื่อใยหยาบ
3.7.4.1 ชั่งน้ำหนักตัวอย่างที่บดแล้วประมาณ 0.5 - 1.0 กรัม ใส่ใน
ถ้วยกรองแบบแก้ว แล้วนำตัวอย่างไปเข้าเครื่องวิเคราะห์
เยื่อใยอาหาร
3.7.4.2 เติมกรดซัลฟิ วริก 1.25% (H2SO4) (ร้อน) ปริมาณหลอดละ
150 มิลลิลิตร ต้มตัวอย่างจนเดือดโดยใช้ความร้อนที่ระดับ
3 - 4 จับเวลา 45 นาที
3.7.4.3 กรองตัวอย่างและล้างด้วยน้ำร้อน 3 รอบ
3.7.4.4 เติม 1.25%NaOH (ร้อน) ปริมาณหลอดละ 150 มิลลิลิตร
ต้มตัวอย่างจนเดือดโดยใช้ความร้อนที่ระดับ 3 - 4 จับ
เวลา 45 นาที
3.7.4.5 กรองตัวอย่างและล้างด้วยน้ำร้อน 3 รอบ
3.7.4.6 นำตัวอย่างออกจากเครื่องวิเคราะห์เยื่อใยอาหาร จากนั้น
ล้างตัวอย่างด้วยอะซีโตน ปริมาณ 2 - 3 ครั้ง ๆ ละ 25
มิลลิลิตร
3.7.4.7 นำถ้วยกรองแบบแก้วที่มีตัวอย่าง อบที่อุณหภูมิ 105
องศาเซลเซียส นาน 3 ชั่วโมง และทำให้เย็นในโถดูด
ความชื้น นาน 20 นาที หรือจนกระทั่งอุณหภูมิเท่ากับ
อุณหภูมิห้อง แล้วชั่งน้ำหนักหลังอบ
3.7.4.8 เผาถ้วยกรองแบบแก้วที่มีตัวอย่างที่อบแล้วในเตาเผาที่
อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมง เมื่ออุณหภูมิ
ต่ำกว่า 250 องศาเซลเซียสจึงสามารถเปิ ดเตาได้ จากนั้น
ทิ้งไว้ให้เย็นในโถดูดความชื้น นาน 20 นาที หรือจนกระทั่ง
อุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิห้อง แล้วชั่งน้ำหนักหลังเผา
ปริมาณเยื่อใยหยาบ (%) = น้ำหนักตัวอย่างหลังการอบ
x10
- น้ำหนักตัวอย่างหลังการเผา
น้ำหนักตัวอย่างเริ่มต้น

3.7.5 ปริมาณเถ้า
3.7.5.1 อบและชั่งน้ำหนักคงที่ของถ้วยกระเบื้องเคลือบ โดยอบที่
อุณหภูมิ 105 องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 3 ชั่วโมงและทิ้งไว้
ให้เย็นในโถดูดความชื้นนาน 20 นาที หรือจนกระทั่ง
อุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิห้อง แล้วชั่งน้ำหนักหลังอบ
3.7.5.2 ชั่งน้ำหนักตัวอย่างที่บดแล้วประมาณ 2 - 3 กรัม ใส่ลงใน
ถ้วยกระเบื้องเคลือบ เผาบนเตาไฟฟ้ าจนหมดควัน แล้วจึง
นำไปเผาต่อที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียสนาน 2 ชั่วโมง
หรือจนกระทั่งได้เถ้าสีเทาอ่อน หรือสีขาวสม่ำเสมอ เมื่อ
อุณหภูมิต่ำกว่า 250 องศาเซลเซียสจึงสามารถเปิ ดเตาได้
จากนั้นทิ้งไว้ให้เย็นในโถดูดความชื้น นาน 20 นาที หรือ
จนกระทั่งอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิห้อง แล้วชั่งน้ำหนัก
บันทึกผล

ปริมาณเถ้า (%) = (น้ำหนัก Crucible และตัวอย่างหลังอบ - น้ำหนัก


x10
Crucible)
น้ำหนักตัวอย่าง
3.7.6 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติตามแผนการทดลองแบบสุ่มอย่าง
สมบูรณ์โดยใช้โปรแกรมทางสถิติ SPSS version 16.0 (Levesque and
SPSS, 2016)

You might also like