Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 91

ผลงานวิชาการฉบับเต็ม (Full Paper)

เรื่อง

การพัฒนารูปแบบการดูแลมารดาตั้งครรภ์ที่เสพสารเสพ
ติดชนิดเมทแอมเฟตามีน

โดย

นางสิริพร สิทธิศักดิ์
ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (ด้านการ
พยาบาล)

ตำแหน่งเลขที่ 66774 กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย สำนักงาน
สาธารณสุขจังหวัดเลย

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

กิตติกรรมประกาศ

การวิจัยเรื่อง“การพัฒนารูปแบบการดูแลมารดาตั้งครรภ์ที่เสพสาร
เสพติดชนิดเมทแอมเฟตามีน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย
จังหวัดเลย” ฉบับนี้สําเร็จลงได้ด้วยดี ผู้วิจัยต้องขอขอบคุณ ผู้มีส่วน

เกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ให้ความช่วยเหลือทุกระยะในการดําเนินการ ช่วยให้


ข้อเสนอแนะ ที่เป็ นประโยชน์ในการ

ปรับปรุงงานวิจัยในครั้งนี้ ขอขอบคุณผู้อํานวยการโรงพยาบาลสมเด็จพร
ยุพราชด่านซ้าย นายแพทย์สันทัด บุญเรือง, แพทย์หญิงทิพวรรณ เทพศิริ
สูตินรีแพทย์, แพทย์หญิงสุขุมาล หุนทนทาน กุมารแพทย์ พี่เลี้ยงที่ให้คํา
ปรึกษาด้านงานวิชาการ, ดร.ชินกร สุจิมงคล พยาลาลวิชาชีพชำนาญการ
พิเศษ และ คุณพรพิไล นิยมถิ่น พยาบาลวิชาชีพชํานาญการพิเศษ น้องๆ
ทีมบำบัดยาเสพติด กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติดทุกคน หัวหน้างาน
บริการฝากครรภ์ หัวหน้างานห้องคลอด และหัวหน้าตึกหลังคลอด รวม
ถึงมารดาตั้งครรภ์ที่มารับ

บริการฝากครรภ์ และมาคลอดในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย
ที่ร่วมในการศึกษาวิจัยให้ข้อมูลและ

และอํานวยความสะดวกในการเก็บข้อมูลซึ่งมีส่วนสําคัญอย่างมาก ที่ช่วย
ทําให้งานวิจัยครั้งนี้สําเร็จด้วยดี ขอกราบขอบพระคุณครูอาจารย์ทุกท่าน
ที่ให้ความกรุณาสั่งสอนให้ความรู้มาแต่อดีต จนถึงปั จจุบันให้มีวิชา

ความรู้ให้กับผู้วิจัยด้วยดีตลอดมา คุณประโยชน์ที่เกิดจากงานวิจัยนี้ ขอม


อบแด่ผู้มารับบริการของโรงพยาบาล

สมเด็จพระยุพราชด่านซ้ายทุกท่าน

สิริพร สิทธิ
ศักดิ์

เมษายน
2567

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการดูแลมารดาตั้งครรภ์ที่เสพสารเสพติดชนิด
เมทแอมเฟตามีน มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลมารดาตั้ง
ครรภ์ที่ใช้เสพติดเมทแอมเฟตามีนและนำผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนา
มาใช้ใน 4 ขั้นตอนดังนี้ 1.การคัดกรอง 2.การบำบัดยาเสพติด 3.การดูแล
เมื่อคลอด 4.การดูแลหลังคลอด วิธีการ เป็ นการวิจัยและพัฒนา (Rese
arch and Development) เก็บข้อมูลมารดาตั้งครรภ์ ที่มารับบริการฝาก
ครรภ์ เดือน พฤศจิกายน 2566 ถึง เดือน มีนาคม 2567 เก็บข้อมูลด้วย
แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของมารดาตั้งครรภ์ที่ใช้สารเสพติดและ
แบบคัดกรองและส่งต่อ ผู้ป่ วยที่ใช้ยาและสารเสพติดเพื่อรับการบำบัด
รักษา (V2) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา
ผลการศึกษา รูปแบบการพัฒนาแนวทางการดูแลมารดาตั้งครรภ์
เสพสารเสพติดชนิดเมทแอมเฟตามีน ผลการศึกษาพบว่า จำนวนมารดา
ตั้งครรภ์มารับบริการฝากครรภ์ทั้งหมด 216 คน พบมารดาตั้งครรภ์ เสพ
สารเสพติดชนิดเมทแอมเฟตามีน 4 คน พบว่ามารดาตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มี
ประวัติในครอบครัวคือ คู่สามีใช้ยาเสพติด ร้อยละ 75 ไม่มีคนใน
ครอบครัวใช้สารเสพติด ร้อยละ 25 เหตุผลในการเสพคือ ใช้ตามเพื่อน
หรือสามี ร้อยละ 50 เพื่อคลายเครียด ร้อยละ 25 ใช้เพราะมีกำลังทำงาน
ร้อยละ 25 มีระยะการใช้มากกว่า 1 ปี ร้อยละ 75 ใช้น้อยกว่า 1 ปี ร้อย
ละ 25 มีระดับการเสพติดมากที่สุดคือกลุ่มผู้ใช้ ร้อยละ 50 เป็ นผู้เสพ ร้อย
ละ 25 ผู้ติด ร้อยละ 25 มีแรงจูงใจในการเลิกเพื่อลูก ร้อยละ 100 มี
วางแผนจะเลิกโดยไม่กลับมาเสพอีก ร้อยละ 75 และอีกร้อยละ 25
วางแผนจะเลิกเสพในระหว่างตั้งครรภ์ มีการมารับบริการฝากครรภ์ตาม
นัด ร้อยละ 100 ทั้งหมดได้รับการดูแลตามรูปแบบที่สร้างขึ้นพบว่า
สามารถค้นหาได้เร็ว
สรุป การส่งเข้ารับการบำบัดสารเสพติดได้ตั้งแต่เริ่มมาฝากครรภ์
ส่งผลให้มารดาตั้งครรภ์กลับมาดูแลตนเองและดูแลทารกในครรภ์ได้ดีขึ้น
ทำให้มารดาตั้งครรภ์ดูแลใส่ใจสุขภาพและ มารับบริการฝากครรภ์ เพื่อ
ตรวจสุขภาพตามนัดดีขึ้น พบอัตราการมารับบริการฝากครรภ์ตามนัดใน
หญิงตั้งครรภ์ที่ใช้สารเสพติด ร้อยละ 100 ทีมสหสาขาที่นำรูปแบบมาใช้มี
ความพึงพอใจร้อยละ 91.1

สารบัญ
หน้า
กิตติกรรมประกาศ ก
บทคัดย่อ ข
สารบัญ ค
สารบัญตาราง ง
สารบัญรูปภาพ จ
บทที่ 1 บทนํา
1. ความเป็ นมาและความสําคัญของปั ญหา 1
2. วัตถุประสงค์ 3
3. กรอบแนวคิด 4
4. คําถามการวิจัย 5
5. ขอบเขตการวิจัย 5
6. คํานิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 7
7. ประโยชน์ที่จะได้รับ 8
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. แนวคิดการพัฒนารูปแบบ 9
2. แนวคิดการดูแลมารดาตั้งครรภ์ใช้สารเสพติด 10
2.1 แนวทางการคัดกรองผู้เสพยาเสพติด 11
2.2 แนวทางการบำบัดฟื้ นฟูผู้ใช้สารเสพติด 12
3. แนวทางการดูแลมารดาตั้งครรภ์ 14
4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 15

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 3 วิธีดําเนินการวิจัย
1. รูปแบบการวิจัย (Study Design) 18
1.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 20
1.2 ตัวแปร 20
1.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 20
1.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล 21
1.5 การวิเคราะห์ข้อมูล และสกัดสารที่ใช้ 22
บทที่ 4 ผลการวิจัย
1. ผลลัพธ์การพัฒนารูปแบบ 23
2. ผลลัพธ์จากการใช้รูปแบบการดูแลมารดาตั้งครรภ์ที่เสพสาร
เสพติดชนิดเมทแอมเฟตามีน 27
3. ผลลัพธ์การพัฒนา 33
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายและข้อเสนอแนะ
1. สรุปผลการวิจัย 34
2. การอภิปรายผลการวิจัย 35
3. ข้อเสนอแนะ 36
เอกสารอ้างอิง 37
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 39
ภาคผนวก ข หนังสือรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ 47
ภาคผนวก ค ประวัติผู้วิจัย 48

สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1 จํานวนและร้อยละข้อมูลส่วนบุคคลประชากรทั้งหมดที่มารับบ
บริการ N= 216 คน 27
ตารางที่ 2 จํานวนและร้อยละข้อมูลส่วนบุคคลกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่มา
รับบบริการ N= 4 คน 28
ตารางที 3 ผลลัพธ์ กลุ่มทีมสหสาขาที่ใช้รูปแบบ ทั้งหมด 23 คน 28
ตารางที่ 4 ข้อมูลทั่วไปจํานวนและร้อยละอายุกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่มารับ
บบริการ N= 4 คน 29
ตารางที่ 5 ข้อมูลทั่วไปของมารดาที่เสพสารเมทแอมเฟตามีนขณะตั้ง
ครรภ์ N=4 30
ตารางที่ 6 ข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึกของกลุ่มมารดาที่เสพสารเมทแอ
มเฟตามีนขณะตั้งครรภ์ 32

สารบัญรูปภาพ
หน้า
รูปภาพที่ 1 PDCA 5
รูปภาพที่ 2 Flow Chart การคัดกรองสารเสพติดในหญิง ANC 23
รูปภาพที่ 3 แนวทางการบำบัดหญิงตั้งครรภ์ในสารเสพติด 24
รูปภาพที่ 4 แนวทางการดูแลหลังคลอดมารดาและทารกใช้สารเสพติด
26
บทที่ 1
บทนำ

1. ความเป็ นมาและความสำคัญของปั ญหา


ปั จจุบัน สถานการณ์การแพร่ระบาด และข่าวที่เกี่ยวข้องกับยาเสพ
ติดในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สถิติของผู้ป่ วยสารเสพติดในไทย
กระทรวงสาธารณสุขในปี 2564 มีผู้เสพยาเสพติด จำนวน 135,795 ราย
ปี 2565 พบว่า มีผู้เข้ารับการบำบัด ทั้งหมด 120,915 ราย ปี 2566
จำนวน 131,777 ราย ทั้งนี้ส่วนหนึ่ง มีสาเหตุจากการที่ราคาของยาเสพ
ติดมีการลดลงอย่างต่อเนื่องจึงทำให้ผู้เสพเข้าถึงการซื้อได้ง่ายขึ้น โดย
เฉพาะพื้นที่ชายแดนที่ติดกับสาธารณประชาธิปไตยประชาชนลาว ตั้งแต่
พื้นที่ทางภาคเหนือ และชายแดน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม
ทั้งในพื้นที่จังหวัดเลย รวมทั้งอำเภอด่านซ้าย มีการลักลอบนำเข้าจำนวน
มาก
(คณะกรรมการป้ องกันและปราบปรามยาเสพติด,2566) กลุ่มอายุของผู้
เข้าบำบัดทั้งหมด ส่วนใหญ่ อยู่ใน กลุ่มอายุ 25 - 29 ปี ร้อยละ
18.24 รองลงมา คือ กลุ่มอายุ 20 - 24 ปี ร้อยละ 17.01 กลุ่มอายุ 30 -
34 ปี ร้อยละ 15.29 และกลุ่มอายุ 35 - 39 ปี ร้อยละ 13.78 ผู้เข้าบำบัด
รักษาส่วนใหญ่เป็ นผู้เสพ ร้อยละ 63.61 รองลงมาคือ ผู้ติด ร้อยละ 31.99
และผู้ใช้ ร้อยละ 4.40 ยาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดมากที่สุด คือ ยาบ้า (ร้
อยละ 79.20) รองลงมาคือ ไอซ์ (ร้อยละ 8.30) กัญชา (ร้อยละ 4.40) (ข้
อมูลจาก บสต.,2566)
ในประเทศไทยพบสถิติกลุ่มหญิงตั้งครรภ์พบอุบัติการณ์ของการเสพ
สารเสพติดในระหว่างตั้งครรภ์อยู่
ระหว่าง ร้อยละ 0.5 ถึง ร้อยละ 25 ซึ่งเมื่อมารดาตั้งครรภ์เสพจะทำเกิด
ผลต่อทารกในครรภ์ และทารก หลังคลอด ขึ้นอยู่กับปั จจัยที่
เกี่ยวข้องกับการเสพสาร เช่น ปริมาณ และความถี่ในการเสพ และระยะ
ของ การตั้งครรภ์ด้วย ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ เช่น ความผิดปกติ
ทางพัฒนาการของร่างกายของทารกในครรภ์ ภาวะคลอดก่อนกำหนด
ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำ มีการตายปริกำเนิด ภาวะหายใจลำบาก มี
อาการถอนสาร ชัก และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตกระทันหัน (sudden infan
t death syndrom,SIDS) ผลกระทบต่อมารดาที่เสพ ได้แก่ ความเสี่ยง
ของการได้รับสารเกินขนาดและเกิดภาวะพิษของสาร (intoxication) พบ
ปั ญหาทางสุขภาพจิตอารมณ์ วิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า นอนไม่หลับ รวม
ถึง ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ และการคลอด เช่น ภาวะรกรอกตัว
ก่อนกำหนด รกเกาะต่ำ ทารกในครรภ์เสียชีวิตภาวะถุงน้ำคร่ำ
อักเสบ(chorioamnionitis) ภาวะครรภ์เป็ นพิษ ทำให้เกิดการคลอดก่อน
กำหนด และตกเลือดหลังคลอดได้ (คู่มือจิตเวชศาสตร์การเสพติด,2565)
ผลการเสพสารเมทแอมเฟตามีนในระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้มารดาตั้งครรภ์
มีน้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนด มีภาวะครรภ์เป็ นพิษ มีภาวะซีด
ทารกน้ำหนักตัวน้อย อุณหภูมิแรกคลอดต่ำ และทำให้ต้องนอนโรง
พยาบาลนานขึ้น (อดิศักดิ์ ไวเขตการณ์,2564)
-2-
การเสพสารเมทแอมเฟตามีนตั้งแต่อายุครรภ์น้อย หรือมีการใช้ตลอดการ
ตั้งครรภ์ จะส่งผลให้อุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนในมารดาและ
ทารกเพิ่มมากขึ้น เมทแอมเฟตามีน เป็ นสารเสพติดที่เป็ นอนุพันธ์ของแอ
มเฟตามีน ออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นประสาทส่วนกลางโดยการกระตุ้นการ
หลั่งสารโดปามีน และยับยั้งการเก็บกลับ ทำให้ผู้เสพมีอาการไม่อยู่นิ่ง
ไม่มีสมาธิ ลดการอยากอาหาร ทารกโตช้าในครรภ์ และทารกคลอดมีน้ำ
หนักตัวน้อย และส่งผลต่อพัฒนาการและสมองของเทารก
(สุนทรี ศรีโกไสยและคณะ,2565) หากได้รับการส่งเสริมการให้ความรู้ใน
การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง จะทำให้มารดามีความรู้และความสามารถในการ
ปฏิบัติตัว ในขณะตั้งครรภ์ หลังคลอด และการดูแลทารกได้ดี (พรทิพย์
หอมเพชร และคณะ,2566)
ในพื้นที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยพบการใช้เสพสารเสพติด ปี
2564 จำนวน 223 คดี
จับกุมยาบ้าได้ 10,314,093 เม็ด ปี 2565 จำนวน 190 คดี จับกุมยาบ้า
ได้ 21,024 เม็ด
ปี 2566 จำนวน 149 คดีคนจับกุมยาบ้าได้207,100 เม็ด มีผู้สมัครใจบำบัด
ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้ายทั้งหมด 117 ราย ชาย 108
หญิง 9 ราย
ปี 2565 ผู้บำบัดทั้งหมด 70 ราย ชาย 63 ราย หญิง 7 ราย ปี 2566 ผู้
บำบัดทั้งหมด 78 ราย ชาย 70 ราย หญิงง 8 รายนอกจากนั้นใน
ปี พ.ศ.2564 ได้ทำการสุ่มตรวจปั สสาวะมารดาตั้งครรภ์ที่เคยมีประวัติการ
ใช้สารเสพติด พบสารเสพติดในปั สสาวะ 3 ราย
ปี 2565 มีการตรวจมารดาตั้งครรภ์ทั้งที่มาฝากครรภ์และมาคลอดในโรง
พยาบาลทั้งหมด 309 ราย พบสารเสพติดในปั สสาวะ 15 ราย
และปี 2566 ได้คัดกรองสารเสพติดในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์และมา
คลอด ทั้งหมด 326 ราย
พบสารเสพติดในปั สสาวะ 12 ราย ที่ผ่านมาพบว่าหญิงตั้งครรภ์จำนวน
หนึ่งไม่ได้ส่งมาบำบัด เนื่องจากยังไม่มีแนวทางร่วมกันระหว่างหน่วยงาน
บริการฝากครรภ์ และคลินิกบำบัดฟื้ นฟูยาเสพติดของโรงพยาบาล ในการ
ทบทวนประวัติหญิงตั้งครรภ์ที่เคยตรวจปั สสาวะ
Urine Amphatamine ที่เคยมีผลบวก ไม่ได้ส่งมาบำบัดทั้งหมด 3 ราย
และมีจำนวน 9 ราย ที่ไม่ได้รับการคัดกรองตั้งแต่เริ่มฝากครรภ์ แต่ได้มี
การตรวจปั สสาวะพบสารเสพติดในขณะมาคลอด ซึ่งอาจจส่งผลต่อทารก
แรกคลอด จากการทบทวนประวัติพบทารกแรกคลอดที่มารดามีผล
ปั สสาวะ
Urine Amphatamine เป็ นบวกมีความสัมพันธ์กับทารกที่คลอดมีภาวะ
หายใจเร็ว 3 ราย มีภาวะตัวเหลืองและได้รับการส่องไฟ 4 ราย ซึ่งทำให้
ต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้น จากการทบทวนประวัติย้อนหลัง มารดาที่
เสพสารเสพติดมีความผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้คลอดก่อนกำหนด 8
ราย คิดเป็ นร้อยละ 26.66 พบเกิดภาวะครรภ์เป็ นพิษ 3 ราย ร้อยละ 10

-3-
และยังพบว่ามารดาตั้งครรภ์ไม่มารับบริการฝากครรภ์ตามนัด 8 ราย
และมีจำนวน 2 ราย มาคลอดโดยไม่ได้ไปฝากครรภ์
จากการเก็บข้อมูลย้อนหลัง เด็กที่คลอดจากมารดาใช้สารเสพติด
จากการติดตามพัฒนาการ
พบล่าช้า 5 ราย วินิจฉัยเป็ น ออทิสติก 2 ราย ดาว์ซินโดรม 1 ราย มี
ความผิดปกติระบบประสาทสมองและการมองเห็น 1 ราย และ global
delay development 1 ราย
ในโรงพยาบาลยังไม่มีแนวทางในการดูแลมารดาตั้งครรภ์ที่เสพสาร
เสพติดที่ต่อเนื่องทั้งในระบบ การคัดกรอง การดูแลเมื่อคลอด
และการดูหลังคลอด รวมทั้งไม่มีแนวทางการบำบัดในกลุ่มมารดาที่
เสพสารเสพติด ทำให้เกิดผลกระทบสุขภาพทั้งมารดาและทารกตามที่
ทบทวนดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงได้พัฒนารูปแบบเพื่อนำผลการวิจัยมาใช้
ในการพัฒนาระบบการคัดกรอง การบำบัด การประเมินอาการผิดปกติที่
จะเกิดกับมารดาและทารกเมื่อมาคลอด กิจกรรมการให้ความรู้ การ
ป้ องกันตั้งแต่เริ่มมาฝากครรภ์ เพื่อให้มารดาตั้งครรภ์และทารกไม่เกิดผลก
ระทบจากสารเสพติด และการปรับปรุงการแนวทางการดูแลมารดาทารก
ที่คลอดจากมารดาใช้สารเสพติดชนิดเมทแอมเฟตามีน
ระหว่างตั้งครรภ์ นำไปใช้กับทุกจุดบริการ ที่มีการดูแลตั้งแต่ฝากครรภ์จน
คลอด และการดูแลหลังคลอด ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย
จังหวัดเลย
ในโรงพยาบาลยังไม่มีแนวทางในการดูแลมารดาตั้งครรภ์ที่เสพสาร
เสพติดที่ต่อเนื่อง ทั้งในระบบ การคัดกรอง การดูแลเมื่อคลอด
และการดูหลังคลอด รวมทั้งไม่มีแนวทางการบำบัดในกลุ่มมารดาที่
เสพสารเสพติด ทำให้เกิดผลกระทบสุขภาพทั้งมารดาและทารกตามที่
ทบทวนดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงได้พัฒนารูปแบบเพื่อนำผลการวิจัยมาใช้
ในการพัฒนาระบบการคัดกรอง การบำบัด การประเมินอาการผิดปกติที่
จะเกิดกับมารดาและทารกเมื่อมาคลอด กิจกรรมการให้ความรู้ การ
ป้ องกันตั้งแต่เริ่มมาฝากครรภ์ เพื่อให้มารดาตั้งครรภ์และทารกไม่เกิดผลก
ระทบจากสารเสพติด และการปรับปรุงการแนวทางการดูแลมารดาทารก
ที่คลอดจากมารดาใช้สารเสพติดชนิดเมทแอมเฟตามีน
ระหว่างตั้งครรภ์ นำไปใช้กับทุกจุดบริการที่มีการดูแลตั้งแต่การฝากครรภ์
จนคลอด และการดูแลหลังคลอด ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
ด่านซ้าย จังหวัดเลย
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลมารดาตั้งครรภ์ที่ใช้เสพติดเมทแอ

มเฟตามีน
2. เพื่อศึกษาผลการนำรูปแบบการพัฒนามาใช้เป็ นแนวทางการ
คัดกรอง และการให้การพยาบาลมารดาตั้งครรภ์ที่ใช้สารเสพติด

-4-
3. กรอบแนวคิด
การศึกษารูปแบบการดูแลมารดาตั้งครรภ์ใช้สารเสพติด โรง
พยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย ผู้วิจัยได้ใช้กรอบแนวคิด
การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องของวงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle)
มาเป็ นกรอบในการพัฒนา โดยใช้ประเด็นปั ญหาที่ได้จากการทบทวนสถิติ
ผลลัพธ์จากการดูแลผู้เสพ ยาเสพติด และผลลัพธ์จากมารดา
ตั้งครรภ์ที่ใช้สารเสพติดที่มาคลอด ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับทารกแรกคลอด
การทบทวนเวชระเบียน และจากการสัมภาษณ์ผู้ปกครอง มารดาเด็กที่มี
ปั ญหาพัฒนาการล่าช้า มาวิเคราะห์ปั จจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดปั ญหา
พัฒนาการ โดยพยาบาลเฉพาะทางด้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่น นักจิตวิทยา
ที่มีประสบการณ์การดูแล ผู้เสพยาเสพติด และพยาบาลแผนกฝากครรภ์
แผนกคลอด และแผนกหลังคลอดมาใช้วางแผนพัฒนาระบบ นำแผน
พัฒนาที่ได้มาใช้ปฏิบัติจริง ติดตามและประเมินผล ปรับเปลี่ยนแนวทาง
ปฏิบัติ จนเกิดเป็ นรูปแบบที่เหมาะสมกับองค์กร ประกอบด้วย
ระยะที่ 1 การวางแผน (Plan) นำปั ญหาที่ได้จากการทบทวนสถิติ
ผลลัพธ์จากการดูแลมารดาตั้งครรภ์ที่เสพยาเสพติด และการทบทวนเวช
ระเบียน และการสัมภาษณ์เชิงลึก งานบริการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ งานฝาก
ครรภ์ งานคลอด แผนกหลังคลอด ทีมผู้บำบัดสารเสพติด สูติแพทย์ และ
กุมารแพทย์ ในการดูแลมารดาตั้งครรภ์ ประชุมร่วมวางแผนการพัฒนา
แนวทางการพัฒนารูบแบบ
ระยะที่ 2 การปฏิบัติ (Do) ประชุมชี้แจงรูปแบบแนวทางการดูแล
มารดาตั้งครรภ์ใช้สารเสพติด นำแบบประเมินที่ออกแบบขึ้นมาใช้
ปฏิบัติจริง โดยพยาบาลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พยาบาลจุดบริการฝากครรภ์
พยาบาลแผนกผู้คลอด พยาบาลแผนกหลังคลอด วิชาชีพกลุ่มที่ให้การ
บำบัดสารเสพติด ได้แก่ นักจิตวิทยาคลินิก พยาบาลเฉพาะทางด้านจิตเวช
พยาบาลเฉพาะทางด้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่น
ระยะที่ 3 การติดตามและประเมินผล การปฏิบัติ (Check) ติดตาม
ประเมินผลแนวทางปฏิบัติที่นำ
ไปใช้
ระยะที่ 4 การปรับปรุงแนวปฏิบัติ (Action) ปรับแนวทางปฏิบัติ
จนได้รูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพการปฏิบัติงานจริง หลังจากนั้นนำมา
เป็ นแนวทางปฏิบัติใช้ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย

-5-
รูปภาพที่ 1 PDCA
4. คำถามการวิจัย
4.1 การใช้รูปแบบการดูแลมารดาตั้งครรภ์ที่เสพสารเสพติดชนิด
เมทแอมเฟตามีนที่พัฒนาขึ้น ทำให้มารดาและทารกได้รับการดูแลภาวะ
สุขภาพได้ครอบคลุม ถูกต้อง ปลอดภัยหรือไม่
5. ขอบเขตการวิจัย
การศึกษานี้เป็ นการวิจัยเป็ นการวิจัยและพัฒนา (Research and
Development) การเก็บข้อมูลมารดาตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์
ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย และศึกษาการนำรูปแบบที่
พัฒนามาใช้กับมารดาใช้สารเสพติดชนิดเมทแอมเฟตามีนตามรูปแบบที่
พัฒนาขึ้น ตั้งแต่ เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ถึง เดือน มีนาคม พ.ศ.
2567 ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย โดยมี
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ดังต่อไปนี้
5.1 ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง
5.1.1 ประชากร แบ่งเป็ น 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ทีมสหสาขาปฏิบัติงานการดูแลมารดาตั้งครรภ์
ทั้งหมด ประกอบด้วย สูติแพทย์ 2 คน กุมารแพทย์ 1 คน พยาบาลฝาก
ครรภ์ 4 คน พยาบาลห้องคลอดจํานวน 7 คน พยาบาลแผนก
หลังคลอด 5 คน ทีมวิชาชีพที่ให้การบำบัดสารเสพติดทั้งหมด 4 คน
ได้แก่ นักจิตวิทยาคลินิก 1 คน

-6-
พยาบาลเฉพาะทางด้านสุขภาพจิตและจิตเวช 1 คน พยาบาลเฉพาะทาง
ด้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่น 2 คน ยินดีเข้าร่วมการวิจัย
กลุ่มที่ 2 กลุ่มมารดาตั้งครรภ์ทั้งหมดที่มารับบริการฝาก
ครรภ์ ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ด่านซ้าย ตั้งแต่เดือน
พฤศจิกายน 2566 ถึงเดือน มีนาคม 2567

5.1.2 กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มที่ 1 ทีมสหสาขาที่พัฒนารูปแบบคัดเลือกทั้งหมด
จำนวน 23 คน ยินดีเข้าร่วมวิจัย
กลุ่มที่ 2 ได้แก่ มารดาตั้งครรภ์ที่ให้ประวัติใช้สารเสพติด
ระหว่างตั้งครรภ์ หรือมีการตรวจพบสารเสพติดในปั สสาวะ Urine
Amphetamine ให้ผลบวก ที่มารับบริการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล
สมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย ตามเกณฑ์คัดเลือกมารดาตั้งครรภ์
ที่มาฝากครรภ์ ที่แผนกฝากครรภ์อายุอยู่ในช่วง อายุ 18-45 ปี มีสัญชาติ
ไทย อ่านเขียนภาษาไทยได้ หรือเป็ นมารดาตั้งครรภ์ต่างชาติ ที่มาอยู่
อาศัยในประเทศไทย
มากกว่า 5 ปี อ่านเขียนภาษาไทยได้ สะดวกมาตามนัดและรับการ
ประเมิน มารดาตั้งครรภ์ที่ให้ประวัติการเสพสารเสพติดชนิดเมทแอมเฟ
ตามีนระหว่างตั้งครรภ์มากกว่า 1 ครั้งขึ้นไป เข้าร่วมการวิจัยด้วยความ
สมัครใจยินดีและเต็มใจให้ความร่วมมือในการทำวิจัย
กําหนดเกณฑ์อาสาสมัครในการคัดเข้า (Inclusion criteria)
ดังนี้
1. กลุ่มมารดาตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลสมเด็จพระ
ยุพราชด่านซ้าย
2. กลุ่มมารดาตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่มีๆอายุระหว่าง 18 - 45 ปี
3. มีสัญชาติไทย อ่านเขียนภาษาไทยได้
4. ต่างชาติ แต่มาอยู่อาศัยในประเทศไทยมากกว่า 5 ปี อ่านเขียน
ภาษาไทยได้
5. มารดาตั้งครรภ์ที่มีผลตรวจปั สสาวะพบสารเสพติดชนิดเมทแอ
มเฟตามีน
6. มารดาตั้งครรภ์ที่ให้ประวัติการใช้สารเสพติดชนิดเมทแอมเฟตา
มีนระหว่างตั้งครรภ์ 1 ครั้งขึ้นไป
7. เข้าร่วมการวิจัยด้วยความสมัครใจยินดีและเต็มใจให้ความร่วม
มือในการทำวิจัย
กำหนดเกณฑ์เลือกอาสาสมัครออกจากโครงการ (Exclusion
Critenion) ดังนี้
1. เป็ นมารดาตั้งครรภ์ที่มีโรคจิตเภท หรือมีอาการทางจิตประสาท
ที่ไม่สามารถควบคุมอาการได้
2. เป็ นมารดาตั้งครรภ์ที่ใช้สารเสพติดผู้บอกเลิกการบำบัด หรือถูก
จับดำเนินคดี
3. เป็ นมารดาที่มีภาวะแท้งในระหว่างการตั้งครรภ์

-7-
6. คำนิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
1.Urine Amphetamine (UAM ) คือการตรวจหาสารเสพติดชนิด
เมทแอมเฟตามีนโดยใช้วิธีตรวจ
ปั สสาวะด้วยชุดทดสอบ Bioline Methamphetamine Stip
2.แบบคัดกรอง V2 คือ แบบคัดกรองและส่งต่อผู้ป่ วยที่ใช้ยาและ
สารเสพติดเพื่อรับการบำบัดรักษา
กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งนำมาใช้เพื่อคัดกรองและประเมินระดับการใช้
สารเสพติด เป็ นระดับคะแนน
บอกผลกระทบจากการใช้ แบ่งกลุ่มประเภทผู้ป่ วย
คะแนนประเมินอยู่ระหว่าง 2-3 เป็ นระดับต่ำ ถือว่าเป็ นผู้ใช้
คะแนนประเมินอยู่ระหว่าง 4-26 เป็ นระดับปานกลาง ถือว่าเป็ น
ผู้เสพ
คะแนนประเมินมากกว่า 27 ขึ้นไป เป็ นระดับสูง ถือว่าเป็ นผู้ติด
3. สารเสพติดชนิดเมทแอมเฟตามีน หรือ alpha-
methylphenethylamine เป็ นวัตถุออกฤทธิ์ต่อ จิตประสาท แอมเฟ
ตามีน มีลักษณะเป็ นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสขมนิดๆ มีสูตรทางเคมีคือ
C9H13N เป็ นสารที่อยู่ในกลุ่มที่ออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง
(CNS stimulants) เป็ นสารถูกสังเคราะห์ขึ้นในรูปของแอมเฟตามีน
ซัลเฟต (Amphetamine Sulphate) และสังเคราะห์อนุพันธ์ของแอมเฟ
ตามีนได้อีกตัวหนึ่งคือ เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) ซึ่งออก
ฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางได้มากกว่า
4. breastfeeding คือ การป้ อนนมให้กับทารกหรือเด็กด้วยน้ำนม
จากหน้าอกของผู้หญิง ทารกจะมีกลไกอัตโนมัติในการดูดที่จะทำให้เขา
สามารถดูดและกลืนน้ำนมได้
1. BA (Brief Advice) คือรูปการให้คำแนะนำแบบสั้น
2. BI (Brief Intervention) การบำบัดแบบสั้น
3. MI (Motivational Interviewing) การบําบัดแบบเสริมสร้าง
แรงจูงใจ
4. Matrix Program เป็ น โปรแกรมเป็ นโปรแกรมบำบัดรักษา ผู้
ติดสารแอมเฟตามีนแบบผู้ป่ วยนอก เพื่อปรับเปลี่ยน
พฤติกรรม
5. ANC (Antenatal care) คือ การไปพบแพทย์ สูตินรีแพทย์
หรือบุคคลากรทางสาธารณสุขอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เริ่มตั้ง
ครรภ์ เพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ตอบข้อ
สงสัย ตรวจสุขภาพครรภ์ รวมถึงการจ่ายยา วิตามิน หรือสาร
อาหารบำรุงครรภ์อย่างปลอดภัย
6. Apgar score (AS) หมายถึง การประเมินสภาพทารกแรกเกิด
โดยการให้คะแนนแอปการ์ ด้วยการสังเกตสีผิว ชีพจร หรือ
อัตราการเต้นของหัวใจ ปฏิกิริยาการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น
การเคลื่อนไหวต่างๆ หรือความตึงตัวของกล้าม เนื้อ และการ
หายใจ ของทารก
-8-
โดยกระทำในนาทีแรกของการคลอดและทำซ้ำอีกในนาทีที่ 5
เมื่อแรกคลอด เพื่อให้การช่วยเหลือได้ถูกต้อง เหมาะสม
7. ประโยชน์ที่จะได้รับ
1. กลุ่มตัวอย่างโดยตรง
- มารดาตั้งครรภ์ที่ตรวจพบสารเสพติดแอมเฟตามีนในปั สสาวะ
ได้รับการบำบัดรักษา
- มารดาตั้งครรภ์และทารกที่คลอดจากมารดาใช้สารเสพติดได้รับ
การได้รับการคัดกรอง
และประเมิน ช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องตามมาตรฐาน
2. ประโยชน์ต่อชุมชน
งานสุขภาพจิตและยาเสพติดมีแนวทางการบำบัดหญิงตั้งครรภ์
ใช้สารเสพติด ลดอันตรายที่เกิดจากการใช้สารเสพติดทั้งด้านสภาพ
ร่างกาย และสุขภาพจิตและสามารถนำรูปแบบนี้ไปใช้ ในการให้ความรู้ใน
การป้ องกันการใช้สารเสพติด เป็ นแนวทางในการดูแลมารดาตั้งครรภ์ใช้
สารเสพติดในโรงพยาบาล ให้ครอบคลุมทั้งมารดาและทารก ในแผนกฝาก
ครรภ์ แผนกคลอด แผนกหลังคลอด คลินิกบำบัดยาเสพติดของโรง
พยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย
3. ประโยชน์ต่อสังคม
- ลดอันตรายจากการใฃ้สารเสพติดทั้งมารดา และทารก
- เป็ นแนวทางเพื่อใช้ในการดูแลมารดาตั้งครรภ์ที่ใช้สารเสพติด
ในโรงพยาบาลสมเด็จ
พระยุพราชด่านซ้ายและเครือข่าย

บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการดูแลมารดาตั้งครรภ์ใช้สารเสพ
ติดชนิดเมทแอมเฟตามีนในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย
จังหวัดเลย ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวของ
กับกระบวนการคัดกรอง บำบัดฟื้ นฟูมารดาและทารกที่มารดาใช้สารเสพ
ติด ตั้งแต่เริ่มมาฝากครรภ์จนกระทั่งคลอด เพื่อให้มารดาทารกได้รับกา
รดูลรักษาได้รวดเร็ว ครอบคลุมตามมาตรฐานการรักษา โดยสรุปสาระ
สำคัญที่เป็ นประโยชน์ต่อการวิจัย นำเสนอได้ดังต่อไปนี้
1.แนวคิดการพัฒนารูปแบบ
2.แนวคิดการดูแลมารดาตั้งครรภ์ใช้สารเสพติด
2.1 แนวคิดการคัดกรองผู้เสพยาเสพติด
2.2 แนวทางการบำบัดฟื้ นฟูผู้ใช้สารเสพติด
3. แนวทางการดูแลมารดาตั้งครรภ์ใช้สารเสพติด
3.1 พยาบาล ANC พยาบาลผู้คลอด และพยาบาลหลังคลอด
3.2 รูปแบบการดูแลมารดาตั้งครรภ์ใช้สารเสพติด
4. แนวทางการดูแลมารดาตั้งครรภ์
5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. แนวคิดการพัฒนารูปแบบ
รูปแบบเป็ นแบบจำลองอย่างง่ายที่ผ่านการศึกษาและพัฒนาขึ้นมา
อธิบายปรากฏการณ์ให้เข้าใจ
ได้ง่ายขึ้น สร้างหรือพัฒนาขึ้นจากหลักปรัชญาทฤษฎีหลักการ แนวคิด
และความเชื่อ เพื่อแสดงถึงโครงสร้างทางความคิดหรือองค์ประกอบ และ
ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบที่สำคัญ อย่างเป็ นขั้นเป็ นตอนเพื่อให้เกิด
ความรู้
เข้าใจได้ง่ายและกระชับถูกต้องวัดและตรวจสอบได้ลักษณะของรูปแบบ
ต้องเป็ นแนวทางที่นำสู่การทำนายผล
ที่ตามมา สามารถพิสูจน์ทดสอบได้เชิงประจักษ์ มีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
และโครงสร้างที่อธิบายได้
(พัฒนา พรหมณี,2560) การพัฒนารูปแบบเป็ นแบบอย่างของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
เพื่อเป็ นแนวทางในการสร้างหรือ การเลียนแบบเป็ นหลักการ
หรือแนวคิด เป็ นแบบจำลองอย่างง่ายหรืออย่างย่อส่วนของสิ่งต่างๆ ที่ได้
ศึกษาและพัฒนาขึ้นเพื่อแสดงหรืออธิบายปรากฏการณ์ให้เข้าใจง่ายขึ้น
เพื่อใช้เป็ นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป เพื่อช่วยในการจัดระบบความคิด
ในเรื่องนั้นให้ง่ายขึ้นและเป็ นระเบียบ สามารถเข้าใจลักษณะสำคัญๆ ของ
องค์ประกอบตามสถานการณ์นั้นๆ (สายสุดา โภชนากรณ์ ,2563 )
- 10 -
2. แนวคิดการดูแลมารดาตั้งครรภ์ใช้สารเสพติด
การดูแลมารดาตั้งครรภ์คือการการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพ
ทารกในครรภ์ การซักประวัติ ปั จจัยเสี่ยงในครอบครัวที่มีโรคทอดทาง
กรรมพันธุ์ซึ่งอาจเป็ นสาเหตุให้เกิดความพิการต่อทารก
การศึกษาพฤติกรรมการรับประทานอาหาร สิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย การใช้
สารเสพติด การติดเชื้อ การติดเชื้อไวรัส หัดเยอรมัน เริม อีสุกอีใส คางทูม
เอดส์ ไข้หวัดใหญ่ enterovirus โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่อาจส่งผลให้
ทารกมีความผิดปกติได้ การเฝ้ าระวังการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง
(highrisk pregnancy) ที่มีโอกาสให้ทารกพิการ หรือเกิดภาวะแทรกซ้อน
ต่อภาวะสุขภาพของมารดา มารดาตั้งครรภ์ที่มีประวัติติดเหล้า บุหรี่ หรือ
ใช้สารเสพติดระหว่างตั้งครรภ์ ถือว่าเป็ นมารดาตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง
เช่นกัน มารดาที่มีการใช้เสพสารเสพติดในระหว่างตั้งครรภ์ ทำเกิดผลต่อ
ทารกในครรภ์และ ทารกหลังคลอด และระยะของการตั้งครรภ์ ภาวะ
แทรกซ้อนที่พบได้ เช่น ความผิดปกติทางพัฒนาการของร่างกายทารกใน
ครรภ์ คลอดก่อนกำหนด ทารกมีน้ำหนักแรกน้อย การตายปริ
กำเนิด ภาวะหายใจลำบาก มีอาการถอนสาร (withdrawal syndromes)
ชัก (convulsions) และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตกระทันหัน ผลกระทบต่อ
มารดาที่เสพสารเสพติด อย่างเช่น การเกิดความเสี่ยงของ การ
ได้รับสารเกินขนาดและเกิดภาวะพิษของสาร (intoxication) การเกิด
ปั ญหาทางสุขภาพจิตอารมณ์ วิตกกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ รวมถึง
ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์และการคลอด เช่น ภาวะรกรอกตัวก่อน
กำหนด ภาวะรกเกาะต่ำ ทารกในครรภ์เสียชีวิต ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสพ
ภาวะครรภ์เป็ นพิษ การคลอดก่อนกำหนด และตกเลือดหลังคลอดได้ (คู่มื
อจิตเวชศาสตร์การเสพติด,2565) และนอกจากนั้น ผลการเสพสารเมทแอ
มเฟตามีนในระหว่างตั้งครรภ์ทำให้สตรีตั้งครรภ์น้ำหนักตัวน้อย คลอด
ก่อนกำหนด เกิดครรภ์เป็ นพิษ มีภาวะซีด ทารกน้ำหนักตัวน้อย อุณหภูมิ
แรกคลอดต่ำ อาจต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้นจากการเกิดภาวะ
แทรกซ้อน (อดิศักดิ์ ไวเขตการณ์,2564) การเสพสารเสพติดในมารดาตั้ง
ครรภ์ ส่งผลต่อการการเกิดภาวะรกเสื่อม และเกิดการตกเลือดหลังคลอด
ได้ และนอกจากนั้นยังทำให้มารดาตั้งครรภ์มีภาวะโภชนาการที่ไม่ดี ไม่มี
การฝากครรภ์ มีการติดเชื้อต่างๆ ระหว่างตั้งครรภ์ สารเสพติดกลุ่มแอมเฟ
ตามีนยังสามารถผ่านสู่นมแม่ได้ ทำให้ทารกเกิดความเสี่ยงต่อการได้รับ
สารในกรณีที่มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เมื่อเกิดภาวะตกเลือด ทำให้เกิด
การสูญเสียเลือดปริมาณมากส่งผลให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ขาด
ออกซิเจนและเสียสมดุล โดยเฉพาะสมองส่วนไฮโปทาลามัสและต่อมใต้
สมอง ที่ส่งผลต่อฮอร์โมนสำคัญในระยะหลังคลอด ถ้าได้รับการรักษาที่
ล่าช้า จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ได้แก่ Sheehan’s syndrom
e โลหิตจางรุนแรง ช็อก ทุพพลภาพ และเสียชีวิตได้ (สินี แจ่ม
กระจ่าง,2565 )

- 11 -
2.1 แนวทางการคัดกรองผู้เสพยาเสพติด
การคัดกรองผู้ใช้ยาและสารเสพติดเป็ นหลักการลำดับต้นที่มี
ความสำคัญที่ทำให้สามารถ จำแนกผู้ใช้ยาและสารเสพติดและผู้ไม่ใช้ยา
และสารเสพติดได้รวมทั้งบอกถึงระดับของความผิดปกติ ของการใช้ยา
และสารเสพติดที่เกิดขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถประเมินระดับความ
รุนแรง ความผิดปกติของการใช้สารเสพติดในเบื้องต้นได้และรวมถึงการ
พิจารณาให้การดูแลช่วยเหลือเบื้องต้น และส่งต่อเพื่อการบำบัดรักษาและ
ฟื้ นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิผล วิธีการคัดกรองมี
ดังนี้
1. สร้างสัมพันธภาพกับผู้เข้ารับการบำบัดรักษา ครอบครัวและ
ญาติโดยการทักทาย พูดคุย ตามเทคนิค Small talk เพื่อให้เกิดความไว้
วางใจ เกิดการยอมรับการดูแลช่วยเหลือ
2. คัดกรองปั ญหาเบื้องต้นทางร่างกาย จิตใจอารมณ์สังคม
ระดับความรุนแรงในการใช้ยา
เสพติด โรคทางจิตเวช ประวัติครอบครัว ประวัติอาชญากรรม การกระ
ทำความผิดทางกฎหมาย และความต้องการความช่วยเหลือทางสังคม
รวมทั้งระดับแรงจูงใจในการเข้ารับการบำบัดรักษา โดยการสังเกต
สัมภาษณ์และการตรวจร่างกาย รวมถึงการสืบหาข้อมูลจากครอบครัว
และชุมชน
3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น เช่น การตรวจหาสาร
เสพติดในปั สสาวะ
เพื่อประกอบการวินิจฉัย และการวางแผนดูแลรักษา ทั้งนี้ให้กระทำตาม
ความจำเป็ นและเป็ นประโยชน์
ต่อการสร้างแรงจูงใจ ความร่วมมือในการบำบัดรักษา และปฏิบัติด้วย
หลักสิทธิมนุษยชน มากกว่าการใช้ เป็ นหลักฐานการกระทำความผิด
4. รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ประเมินและวินิจฉัยปั ญหาเบื้อง
ต้น นำมาวางแผนการดูแล บำบัดรักษา หรือการส่งต่อที่เหมาะสม
รวดเร็ว และปลอดภัย
5. ให้คำปรึกษาแก่ผู้ติดยาเสพติดและครอบครัว โดยการให้คำ
แนะนำแบบสั้น
(Brief Advice : BA) หรือการบำบัดแบบสั้น (Brief Intervention : BI)
การบําบัดแบบเสริมสร้างแรงจูงใจ (Motivational Interviewing:MI)
การบำบัดฟื้ นฟูแบบจิตสังคมผู้ป่ วยนอก (Matrix Pregrame) ให้การช่วย
เหลือเพื่อลดอันตรายจากยาเสพติด (Harm reduction) หรือการส่งต่อ
เพื่อเข้ารับการ บำบัดรักษาที่สถานพยาบาลยาเสพติด สถานฟื้ นฟู
สมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในพื้นที่ตามความเหมาะสม (แนวทางการคัด
กรอง การประเมินความรุนแรง การบำบัดรักษา การฟื้ นฟูยาเสพติด
สำหรับศูนย์คัดกรอง สถานพยาบาลยาเสพติด และสถานฟื้ นฟูสมรรถภาพ
ผู้ติดยาเสพติดตามประมวลกฏหมายยาเสพติด,2565)
แนวคิดการคัดกรองผู้เสพยาเสพติดเป็ นจำแนกผู้ใช้ยาและสาร
เสพติด และผู้ไม่ใช้ยาและ สารเสพติดได้รวมทั้งบอกถึงระดับของ
ความผิดปกติของการใช้ยาและสารเสพติดที่เกิดขึ้นซึ่งทำให้ผู้ปฏิบัติงาน
สามารถประเมินระดับความรุนแรง ความผิดปกติของการใช้ยาและสาร
เสพติดในเบื้องต้นได้ และรวมถึง การพิจารณาให้การดูแลช่วย
เหลือเบื้องต้น
- 12 -
และส่งต่อ เพื่อการบำบัดรักษาและฟื้ นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดได้
อย่างมีประสิทธิผล การพัฒนาระบบการเข้าถึงบริการให้เร็วขึ้น เพื่อให้
มารดาใช้สารเสพติดได้เข้าสู่การบำบัด ลดอันตรายที่จะเกิดกับมารดาและ
ทารกในครรภ์
แนวทางการบำบัดฟื้ นฟูผู้ใช้สารเสพติดรวบรวมจากแนวทาง
การบำบัดผู้ใช้ยาเสพติดในกลุ่ม
อื่นๆ มาปรับให้เหมาะสำหรับมารดาตั้งครรภ์โดย ค้นหาแรงจูงใจในการ
เลิกเสพยา เน้นผลกระทบที่จะเกิดกับเด็ก โดยเฉพาะโอกาสต่อการเกิด
พัฒนาการล่าช้าการประเมินระดับปั ญหา
ของการติดยาเสพติด โดยทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น แพทย์ พยาบาล
นักจิตวิทยา กรณีประเมินความรุนแรงแล้วไม่เป็ นผู้ติดยาเสพติด สามารถ
ใช้วิธีการให้คำปรึกษา แก่ผู้ป่ วย และครอบครัว ด้วยรูปแบบการให้คำ
แนะนำแบบสั้น (Brief Advice : BA) หรือการบำบัดแบบสั้น (Brief Inter
vention:BI) และไม่จำเป็ นต้องให้การบำบัดรักษาด้วยยาและขั้นตอนการ
บำบัดอื่นๆ ยกเว้นมีการประเมินซ้ำว่ามีการเปลี่ยนระดับความรุนแรงว่ามี
การเสพติดที่รุนแรงขึ้น
การบำบัดด้วยยา หมายถึง การบำบัดรักษายาเสพติดด้วยวิธีทางการ
แพทย์มีการใช้ยา ในการรักษาอาการที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด
(Intoxication) การให้ยาชนิดอื่นทดแทนอาการขาดยา (Withdrawal sy
mptoms) การรักษาแบบประคับประคองอาการทางร่างกายและจิตใจ
ตลอดจนการรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากยาเสพติด เช่น อาการหลง
ผิด ประสาทหลอน หวาดระแวง
2.2 แนวทางการบำบัดฟื้ นฟูผู้ใช้สารเสพติด
การบำบัดรักษา หมายความว่าการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
ซึ่งรวมตลอดถึงการคัดกรอง การประเมินความรุนแรง การบำบัดด้วยยา
การฟื้ นฟูสมรรถภาพ การลดอันตราย และการติดตาม หลัง
การบำบัดรักษา การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด เป็ นการดำเนินงานเพื่อ
แก้ไขสภาพร่างกาย และจิตใจของ ผู้ติดยาเสพติดให้สามารถกลับไปดำรง
ชีวิตอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นได้ซึ่งประกอบด้วย การคัดกรอง การประเมิน
ความรุนแรง การบำบัดด้วยยา การฟื้ นฟูสมรรถภาพ การลดอันตรายจาก
ยาเสพติด การประเมินผล การบำบัดรักษา และการติดตามหลังการบำบัด
รักษา การคัดกรอง หรือสัมภาษณ์ผู้ป่ วยและญาติเกี่ยวกับปั จจัยที่นำไปสู่
การติดยาเสพติด ปั ญหาทางสุขภาพกาย ปั ญหาทางสุขภาพจิต รวมถึง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจหาสารเสพติดในร่างกาย
ตรวจปั สสาวะเพื่อคัดกรองโรค การประเมินระดับปั ญหาของการติดยา
เสพติด โดยทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา
นักสังคมสงเคราะห์ซึ่งสถานพยาบาล
ยาเสพติด หรือสถานฟื้ นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด สามารถใช้แบบ
ประเมินที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ กรณีประเมินความรุนแรงแล้วไม่เป็ นผู้
ติดยาเสพติด สามารถใช้วิธีการให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่ วย และครอบครัว
ด้วยรูปแบบการให้คำแนะนำแบบสั้น (Brief Advice : BA) หรือการบำบัด
แบบสั้น (Brief Intervention:BI)
- 13 -
และไม่จำเป็ นต้องให้การบำบัดรักษาด้วยยาและขั้นตอนการบำบัดอื่นๆ
ยกเว้นมีการประเมินซ้ำว่ามีการเปลี่ยนระดับความรุนแรงว่ามีการเสพติดที่
รุนแรงขึ้น
การบำบัดด้วยยา หมายถึง การบำบัดรักษายาเสพติดด้วยวิธีทางการ
แพทย์ มีการใช้ยาในการรักษาอาการที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด การให้ยา
ชนิดอื่นทดแทนอาการขาดยา การรักษาแบบประคับประคองอาการทาง
ร่างกายและจิตใจ ตลอดจนการรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากยาเสพติด
เช่น อาการหลงผิด ประสาทหลอน หวาดระแวง การฟื้ นฟูสมรรถภาพ
หมายถึงการกระทำใดๆ อันเป็ นการบำบัดพฤติกรรมการเสพยาเสพติด
และการฟื้ นฟูสภาพร่างกายและจิตใจผู้ติดยาเสพติดให้กลับคืนสู่สภาพ
ปกติ
การประเมินผลการบำบัดรักษา หมายถึง การประเมินผลลัพธ์การบำบัด
รักษาในผู้ป่ วยแต่ละราย เช่น การหยุดเสพ การคงอยู่ในระบบการ
รักษาการลดอันตรายจากยาเสพติดคุณภาพชีวิต และการประเมินมิติอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องกับแผนการรักษา แผนการจำหน่วย และกระบวนการบำบัด
รักษายาเสพติด หรือสถานฟื้ นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ทีมสหวิชาชีพ
ผู้ให้การบำบัดกำหนด
การติดตามหลังการบำบัดรักษา หมายถึง การติดตามผู้ป่ วยหลังการบำบัด
รักษายาเสพติด เพื่อช่วยเหลือประคับประคอง สนับสนุน ส่งเสริมกำลังใจ
ให้ผู้ป่ วยคงสภาพการหยุดใช้ยาเสพติดให้นานที่สุด จนสามารถปรับตัว
และค้นหาแนวทางในการหยุดใช้ยาเสพติดได้
การลดอันตรายจากยาเสพติด หมายถึง การลดปั ญหาหรือภาวะเสี่ยง
อันตราย การแพร่ระบาดของโรคติดต่อที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาเสพติด
การสูญเสียจากยาเสพติดที่อาจเกิดกับตัวบุคคล ชุมชนและสังคม เป็ นการ
ป้ องกันอันตราย โดยการทำให้เกิดพฤติกรรมที่เป็ นอันตรายลดลง ในขณะ
ที่ยังไม่สามารถหยุดยาเสพติดได้ เป็ นการยืดหยุ่นวิธีการรักษาที่ยึดความ
พร้อมของผู้ป่ วยเป็ นฐาน โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็ นมนุษย์มนุษยธรรม
สิทธิมนุษยชน และความเข้าใจธรรมชาติของผู้ใช้ยาเสพติด
การฟื้ นฟูสมรรถภาพด้วยรูปแบบการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรง
จูงใจ (Motivational Enhancement Therapy : MET) รูปแบบผู้ป่ วย
นอก เป็ นการกระตุ้นให้ผู้เข้ารับการบำบัด เกิดแรงจูงใจด้วยหลักการพื้น
ฐานทางจิตวิทยา ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงแรงจูงใจภายใน
องค์ประกอบของการบำบัด คือ การประเมิน การสะท้อนกลับ และการใช้
หลักการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้าง แรงจูงใจ (Motivational Interviewing
: MI) เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการบำบัดรักษามีจิตใจที่เข้มแข็ง ครอบครัวมี
ความเข้าใจซึ่งกันและกัน สามารถปรับปรุงพฤติกรรมและเลิกใช้ยาเสพติด
และอยู่ในสังคมอย่างมีคุณภาพได้ (แนวทางการคัดกรอง การประเมิน
ความรุนแรง การบำบัดรักษา การฟื้ นฟูยาเสพติด สำหรับศูนย์คัดกรอง
สถานพยาบาลยาเสพติด และสถานฟื้ นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตาม
ประมวลกฏหมายยาเสพติด,2565)
- 14 -
3. แนวทางการดูแลมารดาตั้งครรภ์
การบริการพยาบาลทางสูติกรรม เป็ นบริการพยาบาลดูแลมารดา
ตั้งครรภ์ ไปจนถึงคลอดบุตร โดยให้การดูแลก่อนคลอด ระหว่างคลอด
และหลังคลอด เพื่อให้มารดาและทารกมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์
ปลอดภัยทั้งมารดา และทารก ขอบเขตการให้บริการคือ การฝากครรภ์
(ANC) และการคลอด การประเมินภาวะสุขภาพ ค้นหาภาวะเสี่ยงของ
หญิงตั้งครรภ์ ให้ครอบคลุมอย่างต่อเนื่อง
1. ประเมินภาวะสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ
และสังคม
1.1 ด้านร่างกาย การซักประวัติเกี่ยวกับประวัติส่วนตัว การเจ็บ
ป่ วยในอดีตและปั จจุบัน โรคทางพันธุกรรม การตั้งครรภ์ในอดีตและ
ปั จจุบัน
1.1.1 การตรวจร่างกายทั่วไป เช่น การชั่งน้ำหนัก การวัดส่วน
สูง และวัดความดันโลหิต
1.1.2 การตรวจทางสูติกรรม เช่น การตรวจครรภ์และทารกใน
ครรภ์ การตรวจเต้านมและหัวนม
1.1.3 การตรวจทางห้องปฏิบัติการตามแนวทางปฏิบัติของ
แต่ละหน่วยงาน เช่น ตรวจเลือด CBC, HbsAg, VDRL เป็ นต้น
1.2 ด้านจิตสังคม รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ สถานภาพการสมรส
และฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมความพร้อมและความต้องการมีบุตร
สัมพันธภาพในครอบครัวและการสนับสนุนทางสังคมของบุคคลใน
ครอบครัว การรับรู้ต่อบทบาทการเป็ นมารดาและภาพลักษณ์ขณะตั้ง
ครรภ์ ความเชื่อทางวัฒนธรรมและศาสนา
ภาวะจิตใจที่เปลี่ยนแปลง ประเมินค้นหาภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ จาก
การรวบรวมข้อมูลอาการผิดปกติ และอาการที่เปลี่ยนแปลงของหญิงตั้ง
ครรภ์ ประเมินความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์ ประเมินภาวะ
สุขภาพในระยะต่อเนื่อง ประเมินความสมบูรณ์แข็งแรงของหญิงตั้งครรภ์
และทารกในครรภ์ พร้อมกับประเมินภาวะเสี่ยง ตามมาตรฐานการดูแล
หญิงตั้งครรภ์ในแต่ละไตรมาส
1.3 ประเมินภาวะจิตสังคมอย่างต่อเนื่อง
1.4 ประเมินปั ญหา/ความต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่อง
1.5 ประเมินผลการดูแลสุขภาพตนเองของหญิงตั้งครรภ์
2. ติดตามผลการประเมินความผิดปกติของทารกในครรภ์ จากผล
การตรวจทาง ห้องปฏิบัติการชนิดพิเศษ เช่น การเจาะน้ำคร่ำ การเจาะ
เลือดจากสายสะดือทารก เป็ นต้น
3. บันทึกข้อมูลการประเมินภาวะสุขภาพ รวมทั้งปั ญหา/ความ
ต้องการการดูแล ตามแบบฟอร์มการบันทึกภาวะสุขภาพของหญิงตั้ง
ครรภ์อย่างต่อเนื่อง (มาตรฐานการบริการพยาบาลทางสูติกรรม สำนัก
การพยาบาล กรมการแพทย์ 2554 )
- 15 -
4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
อดิศักดิ์ ไวเขตการณ์ (2564) ได้ศึกษาผลการเสพสารเสพติดชนิด
เมทแอมเฟตามีนในระหว่าง
ตั้งครรภ์ ทำให้มารดาตั้งครรภ์น้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนด มีภาวะ
ครรภ์เป็ นพิษ ภาวะซีด และทำให้ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักตัวน้อย เกิด
อุณหภูมิแรกคลอดต่ำ และทำให้ต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้น จากผลการ
ศึกษาพบว่าการที่มารดาตั้งครรภ์เสพสารเมทแอมเฟตามีนในขณะตั้ง
ครรภ์นั้น ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ทั้งมารดา และทารกดังนั้นการ
จัดทำระบบการดูแลมารดาตั้งครรภ์
ที่เสพสารเสพติดถือว่าเป็ นการดูแลกลุ่มเสี่ยงในการตั้งครรภ์ จึงควรมี
แนวทางการดูแลตั้งแต่ช่วงก่อนตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ ตลอดจนถึงหลังค
ลอด เพื่อป้ องกันการใช้สารเสพติดชนิดอื่นในขณะตั้งครรภ์
และลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นทั้งทางด้านสุขภาพ และปั ญหา
ด้านสังคม
สุนทรี ศรีโกไสย และคณะ (2565) ได้ศึกษาผลของการใช้สารเสพ
ติดในมารดาตั้งครรภ์ พบว่า เด็กที่มารดาใช้สารเสพติดเมทแอมเฟตามีน
ในขณะตั้งครรภ์พบปั ญหาการทำงานของสมอง
(cognitive problem) สูงกว่าเด็กที่มารดาไม่ใช้เมทแอมเฟตามีนระหว่าง
ตั้งครรภ์ 2.8 เท่า และทำให้เด็กมีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่งสูงกว่าเด็กที่คลอด
จากมารดาไม่ได้รับสารเสพติด และยังพบว่าเด็กที่ได้รับสารเมทแอมเฟตา
มีนขณะอยู่ในครรภ์มารดายังเพิ่มความเสี่ยงของ
การคลอดก่อนกำหนด และปั ญหาทางอารมณ์ พฤติกรรม
สินี แจ่มกระจ่าง (2565) การเสพสารเสพติดในมารดาตั้งครรภ์ ส่ง
ผลต่อการการเกิดภาวะรกเสื่อม และเกิดการตกเลือดหลังคลอด และ
ทำให้มารดาตั้งครรภ์มีภาวะโภชนาการที่ไม่ดี ไม่มารับการฝากครรภ์
มีการติดเชื้อต่างๆ ระหว่างตั้งครรภ์ สารเสพติดกลุ่มแอมเฟตามีนสามารถ
ผ่านสู่นมแม่ได้ ทำให้ทารกเกิด ความเสี่ยงต่อการได้รับสาร หาก
มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในภาวะที่มีการตกเลือดเมื่อเกิดภาวะตกเลือด
ทำให้เกิดการสูญเสียเลือดปริมาณมากส่งผลให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายขาด
ออกซิเจน และเสียสมดุลโดยเฉพาะสมองส่วนไฮโปทาลามัสและต่อมใต้
สมอง ที่ส่งผลต่อฮอร์โมนสำคัญในระยะหลังคลอด ถ้าได้รับการรักษาที่
ล่าช้าจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ได้แก่ Sheehan’s syndrome
โลหิตจางรุนแรง ช็อก ทุพพลภาพ และเสียชีวิตได้
พรทิพย์ หอมเพชร (2564) ได้ศึกษาผลการการวางแผนจำหน่าย
โดยการให้ความรู้ จากสหสาขาวิชาชีพ เกี่ยวกับผลเสียของเมทแอมเฟตา
มีนต่อมารดาและทารก พบว่าการได้แรงจูงใจ (motivation) ที่ต้องดูแล
ลูก ให้น้ำนมลูก และได้รับการบำบัดจากคลินิกยาเสพติด และเข้าสู่
โปรแกรมช่วยเหลือการฟื้ นฟูสภาพการป้ องกันการกลับไปซ้ำได้รับการ
พยาบาล
ตามรูปแบบการวางแผนจำหน่ายส่งผลให้มารดาหลังคลอด

- 16 -
กลุ่มทดลองมีความรู้ในการดูแลตนเองหลังคลอด มารดาหลังคลอดมีการก
ลับไปใช้สารเสพติดซ้ำ
น้อยกว่ากลุ่มมารดาใช้สารเสพติดที่ไมได้รับความรู้ในการวางแผนจำหน่าย
หลังคลอด
พัฒนา พรหมณี (2560) ได้ศึกษารูปแบบเป็ นแบบจำลองอย่างง่าย
ที่ผ่านการศึกษา
และพัฒนาขึ้นมาอธิบายปรากฏการณ์ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น สร้างหรือพัฒนา
ขึ้นจากหลักปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิด และ ความเชื่อ เพื่อแสดงถึง
โครงสร้างทางความคิดหรือองค์ประกอบและความสัมพันธ์ ขององค์
ประกอบที่สำคัญอย่างเป็ นขั้นเป็ นตอนเพื่อให้เกิดความรู้เข้าใจได้ง่าย และ
กระชับถูกต้อง
วัดและตรวจสอบได้ลักษณะของรูปแบบต้องเป็ นแนวทางที่นำไปสู่การ
ทำนายผลที่ตามมา
ที่สามารถพิสูจน์และทดสอบได้เชิงประจักษ์ มีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและ
โครงสร้าง
ที่สามารถอธิบายได้ช่วยสร้างจินตนาการความคิดรวบยอด
และช่วยขยายขอบเขตของการสืบเสาะความรู้ รูปแบบ มี 5 ประเภท
ได้แก่ 1) รูปแบบเชิงเปรียบเทียบ
2) รูปแบบเชิงภาษา 3) รูปแบบเชิงคณิตศาสตร์ 4) รูปแบบเชิงแผนผัง 5)
รูปแบบเชิงสาเหตุ โดยรูปแบบต้องประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์ของรูป
แบบ 2) ทฤษฎีพื้นฐานและหลักการ
3) ระบบงานและกลไก 4) วิธีการดำเนินงาน 5) แนวทางการประเมินผล
การดำเนินงาน
6) คำอธิบายประกอบรูปแบบ 7) เงื่อนไขการนำไปใช้ และ 8) คู่มือการใช้
ซึ่งมีหลักและวิธีการ
การสร้างและพัฒนารูปแบบ คือ 1) ศึกษาค้นคว้าข้อมูลพื้นฐาน 2)
กำหนดหลักการ เป้ าหมาย และองค์ประกอบ 3) กำหนดแนวทางการนำ
ไปใช้ 4) การประเมินรูปแบบ
5) การพัฒนา และปรับปรุงเมื่อพบข้อบกพร่อง รูปแบบที่สร้างและพัฒนา
ขึ้นแล้วต้องมีการตรวจสอบรูปแบบ โดยอาจตรวจสอบรูปแบบจากหลัก
ฐานเชิงปริมาณโดยใช้เทคนิคทางสถิติหรือการตรวจสอบจากหลักฐาน
เชิงประจักษ์คุณลักษณะโดยผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญว่ามีคุณภาพที่ดี
เหมาะสมในการนำไปใช้ในการดำเนินงานได้จริง ซึ่งการดำเนินงานด้าน
การสาธารณสุขมีความจำเป็ นอย่างยิ่ง ที่ต้องนำแนวทางการสร้างและ
พัฒนารูปแบบไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความรู้ เจตคติ และทักษะในการ
ดูแลตนเองให้เกิดกับประชาชนเพื่อการมีสุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดีต่อ
ไป
สายสุดา โภชนากรณ์ (2563) การพัฒนารูปแบบเป็ นแบบอย่าง
ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
เพื่อเป็ นแนวทางในการสร้างหรือทำซ้ำเป็ นตัวอย่่างเพื่อการเลียนแบบ
เป็ นหลักการหรือแนวคิด อาจเป็ นแผนภูมิ ซึ่งเป็ นตัวแทนของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
เป็ นชุดของปั จจัยที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เป็ นสัญลักษณ์ ซึ่งอาจ
เขียนเป็ นสูตรคณิตศาสตร์ หรือบรรยายเป็ นภาษาก็ได้เป็ นแบบจำลอง
อย่างง่าย หรืออย่างย่อส่วนของสิ่งต่าง ๆ ที่ได้ศึกษาและพัฒนาขึ้นเพื่อ
แสดงหรืออธิบายปรากฏการณ์ให้เข้าใจง่ายขึ้น เพื่อใช้เป็ นแนวทางในการ
ปฏิบัติต่อไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยในการจัดระบบความคิดในเรื่อง
นั้นให้ง่ายขึ้น และเป็ นระเบียบ สามารถเข้าใจลักษณะสำคัญๆ ขององค์
ประกอบตามสถานการณ์นั้นๆ
- 17 -
รูปแบบทางการศึกษาและ สังคมศาสตร์แบ่งเป็ น 4 ประเภท คือ รูปแบบ
เชิงเทียบเคียง รูปแบบเชิงข้อความ รูปแบบเชิงคณิตศาสตร์ และรูปแบบ
เชิงสาเหตุ รูปแบบประกอบด้วยแนวคิด หลักการ วัตถุประสงค์ องค์
ประกอบ ยุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน และเงื่อนไขของความสำเร็จการ
พัฒนา
รูปแบบไม่มีแบบที่ตายตัว พัฒนาได้ในหลายลักษณะเช่นเริ่มด้วยการ
ศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์แนวคิด และทฤษฎี ตลอดจนงานวิจัยที่
เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดของรูปแบบและองค์ประกอบต่าง ๆ
ส่วนการทดสอบรูปแบบทางการศึกษา ที่พัฒนาขึ้น
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย

วิจัยเรื่องนี้เป็ นวิจัยและพัฒนา (Research and Development)


เก็บข้อมูลมารดาตั้งครรภ์
ใช้สารเสพติดชนิดเมทแอมเฟตามีน ศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการดูแล
มารดาตั้งครรภ์ใช้สารเสพติดชนิด เมทแอมเฟตามีนที่มาฝาก
ครรภ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการดูแลมารดาตั้งครรภ์ที่ใช้เสพ
ติดเมทแอมเฟตามีน และการผลการนำรูปแบบการพัฒนามาใช้เป็ น
แนวทางการคัดกรอง และให้การพยาบาลมารดาตั้งครรภ์
ที่ใช้สารเสพติด ผู้วิจัยดําเนินการพัฒนารูปแบบการดูแลมารดาตั้งครรภ์ใช้
สารเสพติด
ชนิดเมทแอมเฟตามีน และทารกที่คลอดในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
ด่านซ้าย จังหวัดเลย โดยใช้กรอบแนวคิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
ของวงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle)
ซึ่งประกอบด้วยการวางแผน (Plan) การปฏิบัติ (Do) การติดตามและ
ประเมินผล การปฏิบัติ (Check)
และการปรับปรุงแนวปฏิบัติ (Action) มาเป็ นกรอบในการพัฒนาโดยใช้
ปั ญหาที่ได้จากการทบทวนสถิติผลลัพธ์จากการดูแลมารดาตั้งครรภ์
ใช้สารเสพติดชนิดเมทแอมเฟตามีน การทบทวนเวชระเบียน การ
สัมภาษณ์เชิงลึก ทีมสหสาขาวิชาชีพมาใช้ในการวางแผนพัฒนารูปแบบ
นํารูปแบบที่ได้ลงสู่การปฏิบัติจริง มีการติดตาม และประเมินผลปรับ
แนวทางปฏิบัติจนได้รูปแบบที่หมาะสมกับบริบทขององค์กร
และนำไปใช้ปฏิบัติงานได้จริง การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยนําแนวคิดดังกล่าวข้าง
ต้นมาใช้ เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลมารดาตั้งครรภ์ใช้สารเสพติดชนิดเมท
แอมเฟตามีน
และทารกที่คลอดจากมารดาใช้สารเสพติดระหว่างตั้งครรภ์ โรงพยาบาล
สมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย มีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลของการ
ศึกษามาช่วยสนับสนุนให้มีการนำแนวทางแบบประเมิน และรูปแบบการ
ดูแลมารดาตั้งครรภ์ใช้สารเสพติดมาใช้ดูแลมารดาตั้งครรภ์ และทารกที่
คลอดจากมารดาใช้สารเสพติดที่แผนกฝากครรภ์ แผนกคลอด แผนก
หลังคลอด คลินิกบำบัดฟื้ นฟูยาเสพติด ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
ด่านซ้าย จังหวัดเลย ผู้วิจัยดําเนินการศึกษาวิจัยระหว่าง พฤศจิกายน 25
66 ถึง มีนาคม 2567 โดยมีขอบเขตดังนี้
1. รูปแบบการวิจัย (Study Design)
เป็ นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) การ
เก็บข้อมูลมารดาตั้งครรภ์ เสพสารเสพติดชนิดเมทแอมเฟตา
มีนที่มารับบริการฝากครรภ์ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบ
การดูแลมารดาตั้งครรภ์ที่ใช้เสพติดเมทแอมเฟตามีน และการผลการนำ
รูปแบบการพัฒนามาใช้เป็ น
- 19 -
แนวทางการคัดกรอง และให้การพยาบาลมารดาตั้งครรภ์ที่ใช้สารเสพติด
ผู้วิจัยดําเนินการพัฒนารูปแบบ การดูแลมารดาตั้งครรภ์ใช้สาร
เสพติดชนิดเมทแอมเฟตามีน และทารกที่คลอด โรงพยาบาลสมเด็จพระ
ยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย ได้ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนและวิธีการดัง
ต่อไปนี้
ระยะที่ 1 ระยะก่อนการพัฒนา
1.1) ทำหนังสือขออนุญาตทำวิจัยผ่านคณะกรรมการจริยธรรมการ
วิจัยในมนุษย์
ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย เพื่อขออนุญาตเก็บข้อมูลในการวิจัย
1.2) ประชุมระดมความคิดด้วยกระบวนการแบบมีสวนร่วม จาก
บุคลากรทีมสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วย สูติแพทย์ กุมารแพทย์
พยาบาลแผนกฝากครรภ์ พยาบาลแผนกผู้คลอด พยาบาลแผนก
หลังคลอด ทีมผู้ให้การบำบัดฟื้ นฟูผู้ป่ วยยาเสพติด ได้แก่ พยาบาลเฉพาะ
ทางด้านสุขภาพจิตและจิตเวช นักจิตวิทยาคลินิก พยาบาลเฉพาะทาง
ด้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่น เพื่อให้ได้แนวทางการพัฒนารูปแบบมารดาตั้ง
ครรภ์ใช้สารเสพติดชนิดเมทแอมเฟตามีน และทารกที่คลอด โรงพยาบาล
สมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย อีกทั้งเพื่อเป็ นการแจ้งให้ทราบถึง
วัตถุประสงค์การวิจัยและวิธีการวิจัย
1.3) ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์การวิจัย ขั้นตอนการทำวิจัย การใช้
เครื่องมือ การเก็บขอมูล กับพยาบาลวิชาชีพในแผนกที่เกี่ยวข้อง
และทีมผู้ให้การบำบัดยาเสพติด
ระยะที่ 2 ระยะพัฒนารูปแบบการศึกษา/ฝึ กอบรม
2.1) ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รายงานการวิจัย
บทความ และวรรณกรรมที่เกี่ยวของกับการดูแลมารดาตั้งครรภ์ที่มีการ
เสพสารเสพติดชนิดเมทแอมเฟตามีน แล้วนำมาเป็ นแนวทางการพัฒนา
รูปแบบการดูแลมารดาตั้งครรภ์ที่มีการเสพสารเสพติดชนิดเมทแอมเฟตา
มีน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย
2.2) พัฒนารูปแบบการดูแลมารดาตั้งครรภ์ที่มีการเสพสารเสพติด
ชนิดเมทแอมเฟตามีน นำมาเป็ นแนวทางปฏิบัติ และนำเสนอใช้กับคณะ
กรรมการพัฒนาคุณภาพคลินิกบริการด้านแม่และเด็ก
(PCT-MCH) โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย
2.3) ประชุมชี้แจงกระบวนการวิจัยและการเก็บรวบรวมขอมูลกับ
พยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่าง
ระยะที่ 3 ระยะทดลองและประเมินผล
3.1) พยาบาลวิชาชีพกลุ่มตัวอย่างนำรูปแบบการดูแลมารดาตั้ง
ครรภ์
ที่มีการใช้สารเสพติดชนิดเมทแอมเฟตามีนที่พัฒนาขึ้นมา ทดลองใช้ที่
แผนกฝากครรภ์ แผนกผู้คลอด แผนกหลังคลอด คลินิกบำบัดฟื้ นฟูสาร
เสพติด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย

- 20 -
3.2) บันทึกและเก็บรวบรวมข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
3.3) รวบรวมขอมูลที่ได้จากการศึกษามาวิเคราะห์เพื่อประเมิน
ผลลัพธ์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
แบ่งเป็ น 2 กลุ่ม ดังนี้
ประชากร
กลุ่มที่ 1 ทีมสหสาขาปฏิบัติงานการดูแลมารดาตั้งครรภ์ทั้งหมด
ประกอบด้วย สูติแพทย์ 2 คน กุมารแพทย์ 1 คน พยาบาลฝากครรภ์ 4
คน พยาบาลห้องคลอดจํานวน 7 คน พยาบาลแผนกหลังคลอด
5 คน ทีมวิชาชีพที่ให้การบำบัดสารเสพติดทั้งหมด 4 คน ได้แก่ นัก
จิตวิทยาคลินิก 1 คน พยาบาลเฉพาะทางด้านสุขภาพจิตและจิตเวช 1 คน
พยาบาลเฉพาะทางด้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่น 2 คน
ยินดีเข้าร่วมการวิจัย
กลุ่มที่ 2 กลุ่มมารดาตั้งครรภ์ทั้งหมดที่มารับบริการฝากครรภ์
ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2566
ถึงเดือน มีนาคม 2567
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มที่ 1 ทีมสหสาขาปฏิบัติงานการดูแลมารดาตั้งครรภ์แบ
เลือกเฉพาะเจาะจงทั้งหมด 23 คน
กลุ่มที่ 2 มารดาตั้งครรภ์ที่ให้ประวัติใช้สารเสพติดระหว่างตั้ง
ครรภ์ หรือมีการตรวจพบสารเสพติดในปั สสาวะ Urine Amphetamine
ให้ผลบวก ที่มารับบริการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
ด่านซ้าย จังหวัดเลย เดือน พฤศจิกายน 2566 ถึง มีนาคม 2567 ตาม
เกณฑ์คัดเลือกคัดกรองพบสารเสพติดจำนวน 4 คน
1.2 ตัวแปร
1. ตัวแปรต้น คือ รูปแบบการดูแลมารดาใช้สารเสพติดที่พัฒนา
ขึ้นมาใช้การดูแลหญิงตั้งครรภ์
2. ตัวแปรตาม คือ มารดาใช้สารเสพติดชนิดเมทแอมเฟตามีน
ระหว่างตั้งครรภ์ มารับบริการตามนัด
1.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แบบการซักประวัติเบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้สารเสพติด ใน
โปรแกรม HOSxP โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย
2. แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลมารดาตั้งครรภ์ แบบสอบถาม
ข้อมูลทั่วไปของมารดา อายุ อาชีพขณะตั้งครรภ์ บุตร คนสุดท้องหรือบุตร
คนปั จจุบันและอาชีพปั จจุบัน รายได้ช่วงตั้งครรภ์และรายได้ปั จจุบัน
บุคคลที่อาศัยอยู่ด้วยกัน โรคประจำตัว ประวัติการใช้สารเสพติดใน
ครอบครัว ของ พรทิพย์ หอมเพชร
- 21 -
3. แบบคัดกรองและส่งต่อผู้ปวยที่ใช้ยาและสารเสพติดเพื่อรับ
การบาบำบัดรักษา (V2) นำมาจากกระทรวงสาธารณสุข (บคก.กสธ.)
ประเมินระดับการใช้ตลอดชีวิตที่ผ่านมา ความถี่ของการใช้ในปั จจุบัน
และความถี่หรือช่วงเวลาที่เกิดปั ญหาจากการใช้ การแปลผลคะแนนความ
เสี่ยง
4. แบบประเมินอาการผิดปกติ การเฝ้ าระวังขณะตั้งครรภ์
5. แบบประเมินอาการผิดปกติ การเฝ้ าระวังขณะคลอด
6. แบบประเมินอาการทารกหลังคลอดที่มารดาใช้สารเสพติด
ขณะตั้งครรภ์
7. แบบประเมินความพึงพอใจการใช้รูปแบบในทีมสหสาขา
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่
1. ทะเบียนการบำบัดฟื้ นฟูมารดาตั้งครรภ์ใช้สารเสพติด
2. ประวัติการรักษาในโปรแกรม Hosxp
3. ข้อมูลเก็บตัวชี้วัดผลสำเร็จของงาน เก็บจากแบบฟอร์ม
Google Sheet
เก็บข้อมูลการกลับมาเสพซ้ำโดยการตรวจสอบ จากเวชระเบียนของคลินิก
ยาเสพติดและการสัมภาษณ์จาก ผลการเยี่ยมบ้านและจากการ
มาตรวจตามนัด 1 เดือน ในวันที่ทำแบบทดสอบพฤติกรรมการดูแล
ตนเอง
1.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยสรุปการเก็บข้อมูลการดูแลมารดาตั้งครรภ์ที่เสพสารเสพ
ติดชนิดเมทแอเฟตามีนทั้งก่อนและหลัง ผู้วิจัยดําเนินการรวบรวมข้อมูล
ด้วยแบบประเมินโดยขอความร่วมมือ ในการตอบแบบประเมิน
การปฏิบัติตามรูปแบบการดูแลการปฏิบัติการตามแนวทางในงานบริการที่
เกี่ยวข้องในการดูแลมารดาตั้งครรภ์ที่มารับบริการในโรงพยาบาลสมเด็จ
พระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย เก็บแบบบันทึกผลลัพธ์ทางคลินิก
รวบรวมข้อมูลจนครบกลุ่มตัวอย่างที่กําหนดการพิทักษ์สิทธิ์ของกลุ่ม
ตัวอย่าง การวิจัยนี้ได้ขอความเห็นชอบและได้รับการอนุมัติจากคณะ
กรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย
ซึ่งผู้วิจัยต้องทําการเก็บรวบรวมข้อมูลตามหลักการพิทักษ์สิทธิ์ของผู้เข้า
ร่วมวิจัย และเมื่อผู้เข้าร่วมวิจัยยินยอมจึง ให้ลงลายมือชื่อไว้เป็ นหลักฐาน
ในใบยินยอมร่วมวิจัย
- ข้อมูลเก็บจากแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลมารดาตั้งครรภ์
แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของ
มารดา อายุ อาชีพ ขณะตั้งครรภ์บุตร คนสุดท้องหรือบุตรคน
ปั จจุบันและอาชีพปั จจุบัน รายได้ ช่วงตั้งครรภ์และรายได้
ปั จจุบัน บุคคลที่อาศัยอยู่ด้วยกัน โรคประจำตัว ประวัติการ
ใช้สารเสพติดในครอบครัว (ปกปิ ดข้อมูลผู้ป่ วย)
- ข้อมูลจากแบบประเมินการใช้สารเสพติด V2 เมทแอมเฟตา
มีน การใช้ตลอดชีวิตที่ผ่านมา ความถี่ของ การใช้ในปั จจุบัน
และความถี่หรือช่วงเวลาที่เกิดปั ญหาจากการเสพ การแปล
ผลคะแนนความเสี่ยง
- 22 -
- สรุปผลจากแบบประเมินแบบประเมินอาการผิดปกติ การเฝ้ า
ระวังขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด และหลังคลอดทั้งมารดาและ
ทารก
- ข้อมูลสรุปจากทะเบียนบำบัดฟื้ นฟูมารดาตั้งครรภ์เสพสาร
เสพติด
- ข้อมูลการรักษาของมารดาตั้งครรภ์เสพสารเสพติด เก็บจาก
โปรแกรม Hosxp, OPD scan
- ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกมารดาเสพสารเสพติด
- ข้อมูลจากแบบประเมินความพึงพอใจมารดาเสพสารเสพติด
- ข้อมูลความพึงพอใจ ข้อเสนอแนะการใช้รูปแบบของทีมสห
สาขาวิชาชีพ
1.5 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ
เก็บข้อมูลการพัฒนารูปแบบทางการพยาบาลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
การปฏิบัติตามแนวทางที่วางไว้ เปรียบเทียบผลการใช้แนวทางปฏิบัติ
ก่อนและหลังการพัฒนา
บทที่ 4
ผลการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็ นการวิจัยเชิงพัฒนา (development research)


เพื่อพัฒนาแนวการดูแลมารดาตั้งครรภ์ใช้สารเสพติดในโรงพยาบาล
สมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย ระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2566
ถึง เดือน มีนาคม 2567 โดยมีผลการวิจัยรายละเอียด เป็ นดังนี้
1. ผลลัพธ์การพัฒนารูปแบบ ได้แนวทางในการดูแลมารดาตั้ง
ครรภ์ที่เสพสารเสพติด ของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย
จังหวัดเลยเป็ นดังนี้
1.1 ได้แนวทางปฏิบัติในคัดกรองสารเสพติดในมารดาตั้ง
ครรภ์ ในหน่วยบริการฝากครรภ์

รูปภาพที่ 2 Flow Chart การคัดกรองสารเสพติดในหญิง ANC


- มารดาตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ตรวจคัดกรองสาร
เสพติดในปั สสาวะทุกราย
และให้คำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับผลกระทบของสารเสพ
ติดต่อมารดาและทารกทุกราย
- มารดาตั้งครรภ์ที่ตรวจพบสารเสพติดแอมเฟตามีนใน
ปั สสาวะทุกรายส่งเข้ารับการให้
คำปรึกษาเพื่อหาแรงจูงใจในการเลิก และรับการบำบัด
รักษา
- 24 -
1.2 ได้แนวทางการบำบัดสารเสพติดในมารดาตั้งครรภ์ ในหน่วย
บริการบำบัดยาเสพติด แนวทางการบำบัดมารดาตั้งครรภ์ที่เสพ
สารเสพติดชนิดเมทแอมเฟตามีนโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
ด่านซ้าย จังหวัดเลย
รูปภาพที่ 3 แนวทางการบำบัดหญิงตั้งครรภ์ในสารเสพติด
ได้แนวทางการบำบัดมารดาตั้งครรภ์ใช้สารเสพติด ประเมิน
คัดกรองการใช้สารเสพติดโดยใช้ V2 แบบประเมินระดับการเสพติดเมท
แอมเฟตามีน การใช้ตลอดชีวิตที่ผ่านมา ความถี่ของการใช้ในปั จจุบัน
และความถี่หรือช่วงเวลาที่เกิดปั ญหาจากการใช้ แปลผลคะแนนความ
เสี่ยงของการคะแนน
- ประเมินอยู่ระหว่าง 2-3 คะแนน เป็ นระดับต่ำ ถือว่าเป็ นผู้
ใช้ ให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่ วย และครอบครัว ด้วยรูปแบบการ
ให้คำแนะนำแบบสั้น (Brief Advice : BA) หรือการบำบัด
แบบสั้น (Brief Intervention:BI) การบําบัดแบบเสริม
สร้างแรงจูงใจ (Motivational Interviewing:MI)
- 25 -
จากผลกระทบที่เกิดกับทารกในครรภ์ที่ส่งผลต่อสมองและ
พัฒนาการและภาวะผิดปกติ
จากการใช้สารเสพติดทั้งมารดาและทารก ติดตามบำบัด
ทุก 1-2 เดือน
- ประเมินคะแนนประเมินอยู่ระหว่าง 4-26 คะแนน เป็ น
ระดับปานกลาง ถือว่าเป็ นผู้เสพ ให้การบำบัดแก่ผู้ป่ วยและ
ครอบครัว ด้วยรูปแบบการให้คำแนะนำแบบสั้น
(Brief Advice : BA) หรือการบำบัดแบบสั้น (Brief
Intervention:BI) การบําบัดแบบเสริมสร้างแรงจูงใจ
(Motivational Interviewing:MI)
จากผลกระทบที่เกิดกับทารกในครรภ์ที่ส่งผลต่อสมอง และ
พัฒนาการ และภาวะผิดปกติจากการใช้สารเสพติดทั้ง
มารดาและทารก ประเมินการใช้สารเสพติดในครอบครัว
หากมีให้คำแนะนำบุคคลในครอบครัว
ร่วมเข้ารับการบำบัด ติดตามบำบัดทุก 1 เดือน
- คะแนนประเมินมากกว่า 27 ขึ้นไป เป็ นระดับสูง ถือว่า
เป็ นผู้ติด ให้การประเมินสภาพจิต ภาวะซึมเศร้า ส่งพบ
แพทย์เพื่อให้การรักษาด้วยยา (Medication) หากโรคร่วม
ทางจิตเวช ประเมินการใช้สารเสพติดในครอบครัว ให้กา
รบําบัดแบบผู้ป่ วยนอกจิตสังคมบําบัด Matrix Program
ร่วมกับเสริมสร้างแรงจูงใจ (Motivational Interviewing:
MI) ในการเลิก ติดตามการบำบัดทุก 1-2 สัปดาห์ประเมิน
ความพร้อมในการตั้งครรภ์และดูแลบุตร
กรณีผู้เสพสารเสพติดไม่พร้อมในการตั้งครรภ์ ให้การช่วย
เหลือตามแนวทางการตั้งครรภ์ไม่พร้อม (OSCC) ของโรงพยาบาล และ
ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลือต่อไป
1.3 ได้แนวทางปฏิบัติการดูแลมารดาและทารกหลังคลอดที่เสพ
สารเสพติดขณะตั้งครรภ์ ในหน่วยบริการห้องคลอด และหน่วยบริการ
มารดาและทารกหลังคลอด

- 26 -
แนวทางการดูแลมารดาและทารกหลังคลอดกรณีมารดาตั้งครรภ์ใช้สาร
เสพติด
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย
รูปภาพที่ 4 แนวทางการดูแลหลังคลอดมารดาและทารกใช้สารเสพติด
- มารดาตั้งครรภ์ที่มาคลอดได้รับการคัดกรอง ตรวจสารเสพ
ติดในปั สสาวะทุกราย
- มารดาคลอดที่มีผลตรวจพบสารเสพติดงด
ให้Breastfeeding ดูแลตามแบบประเมินมารดา และ
ทารกที่คลอดจากมาดาใช้สารเสพติด
- ประเมินอาการผิดปกติ การเฝ้ าระวังขณะตั้งครรภ์ ได้แก่
ความดันโลหิตสูง BP มากกว่า 139/90 mmHg อัตราการ
เต้นหัวใจเร็ว มากกว่า 120 ครั้ง/นาที มีภาวะครรภ์เป็ นพิษ
เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด มีเลือดออกทางช่องคลอด
ปั ญหาการนอน มีภาวะซึมเศร้า อาการขาดสมาธิ
กระวนกระวาย ง่วงซึม อาการทางจิตประสาท หูแว่ว
ประสาทหลอน

- 27 -
- แนวทางการประเมินอาการผิดปกติจากการเสพสารเสพติด
การเฝ้ าระวังขณะตั้งครรภ์ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง BP
มากกว่า 139/90 mmHg อัตราการเต้นหัวใจเร็ว
มากกว่า 120 ครั้ง/นาที การเกิดภาวะครรภ์เป็ นพิษ เจ็บ
ครรภ์คลอดก่อนกำหนด มีเลือดออกทางช่องคลอด ปั ญหา
การนอน มีภาวะซึมเศร้า อาการขาดสมาธิ
- กระวนกระวาย ง่วงซึม อาการทางจิตประสาท หูแว่ว
ประสาทหลอน
- แนวทางการประเมินอาการผิดปกติทารก Apgar score
(AS) คือ การประเมินสภาพทารกแรกเกิดด้วยคลอดก่อน
ด้วยการสังเกตสีผิว ชีพจร หรืออัตราการเต้นของหัวใจ
ปฏิกิริยาการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น การเคลื่อนไหวต่างๆ
หรือความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และการหายใจของทารก
โดยกระทำในนาทีแรกของการคลอดและทำซ้ำอีกในนาทีที่
5 เมื่อแรกคลอด เฝ้ าระวังอาการถอนพิษยา ชักเกร็ง
กระตุก หายใจเร็ว ภาวะไข้ งดให้ breastfeeding กรณีผล
ตรวจปั สสาวะมารดา Urine Amphetamine ให้ผลเป็ น
บวก
2. ผลลัพธ์จากการใช้รูปแบบการดูแลมารดาตั้งครรภ์ที่เสพสาร
เสพติดชนิดเมทแอมเฟตามีน
2.1 ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง นําเสนอผลการวิเคราะห์
ข้อมูลตามลําดับ ดังนี้

ตารางที่ 1 จํานวนและร้อยละข้อมูลส่วนบุคคลประชากรทั้งหมดที่มารับ
บริการ N= 216 คน

ข้อมูลส่วน จํานวน ร้อย


บุคคล ละ
อายุ (ปี )

น้อยกว่า 18 ปี 12 ราย 5.55


18-20 ปี 14 ราย 6.48
20-24 ปี 44 ราย 20.37
25-29 ปี 64 ราย 29.62
30-34 ปี 46 ราย 21.29
35 ปี ขึ้นไป 36 ราย 16.66
อายุเฉลี่ย อายุสูงสุด อายุ
25-29 ปี 43 ปี ต่ำสุด 14 ปี
- 28 -
จากตารางที่ 1 พบว่าผู้มารับบริการฝากครรภ์ในโรงพยาบาล
สมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย
กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ยในช่วง 25-29 ปี (ร้อยละ) 29.62 อายุตํ่าสุด 14
ปี มีอายุสูงสุด 43 ปี
2.2 จํานวนและร้อยละข้อมูลส่วนบุคคลกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่
มารับบบริการ N= 4 คน
ตารางที่ 2 จํานวนและร้อยละข้อมูลส่วนบุคคลกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่มา
รับบบริการ N= 4 คน

ข้ อ มู ล ส่ ว น จํานวน ร้อยละ
บุคคล
อายุ (ปี )
25-29 ปี 1 ราย 25
30-34 ปี 1 ราย 25
35 ปี ขึ้นไป 2 ราย 50
อายุเฉลี่ย อายุสูงสุด 39 อายุ
มากกว่า ปี ต่ำสุด
35 ปี 29 ปี

จากตารางที่ 2 จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่นำรูปแบบไปใช้ ทั้งหมด 4


ราย อายุ 29 32 36 และ 39 ปี
ส่วนใหญ่มีการเสพสารเสพติดมากที่สุดในมารดาตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า
35 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 50
2.3 ผลลัพธ์ กลุ่มทีมสหสาขาที่ใช้รูปแบบ ทั้งหมด 23 คน
ตารางที่ 3 ผลลัพธ์ กลุ่มทีมสหสาขาที่ใช้รูปแบบ ทั้งหมด 23 คน

ข้อคำถามในเนื้อหา จำนวน( ร้อยละ


χ)

1. มีความถูกต้อง ครบถ้วน 4.86 97.3


2. เข้าใจง่าย 4.91 98.2
3. สอดคล้องกับความต้องการ 4.95 99.1
4. มีข้อมูลครบถ้วนตามต้องการ 4.91 98.2
5. มีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบ 4.95 99.1

ข้อเสนอแนะอื่นๆ
- แบบประเมินจัดเก็บยาก หากนำเข้าไปในระบบ HOSxP ได้จะดี
มาก
- ใช้ในกลุ่มตัวอย่างได้ดี

- 29 -
จากการประเมินผลลัพธ์จากทีมสหสาขา พบว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้น
แบบประเมินมารดาตั้งครรภ์ที่เสพสารเสพติดในส่วนของเนื้อหามีความถูก
ต้อง ครบถ้วน ร้อยละ 97.3 มีความเข้าใจง่ายร้อยละ 98.2 มีความ
สอดคล้องกับความต้องการ ร้อยละ 99.1 มีข้อมูลครบถ้วนตามความ
ต้องการร้อยละ 99.1 อัตราความพึงพอใจในการใช้ ร้อยละ 99.1 และจาก
การสัมภาษณ์เชิงลึก ทีมสหสาขาที่ใช้รูปแบบให้ข้อเสนอแนะการใช้รูป
แบบที่พัฒนาขึ้น มีเนื้อหาครอบคลุม นำมาใช้เป็ นแนวทางปฏิบัติในหน่วย
งานได้ แต่ยังพบปั ญหาในการจัดเก็บเอกสารจึงมีการเสนอแนะให้นำแบบ
ประเมินไว้ในระบบ HOSxP ในฐานข้อมูลในแบบประเมินผู้ป่ วยในของโรง
พยาบาลต่อไป
2.4 ผลลัพธ์ จากข้อมูลประชากรกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรกลุ่มตัวอย่าง มารดาที่ตรวจคัดกรองปั สสาวะพบ
สารเสพติด
ตารางที่ 4 ข้อมูลทั่วไปจํานวนและร้อยละอายุกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่มา
รับบบริการ N= 4 คน

ข้อมูลส่วนบุคคล จํานวน ร้อยละ


อายุ (ปี )
- 25-29 ปี 1 ราย 25
- 30-34 ปี 1 ราย 25
- 35 ปี ขึ้นไป 2 ราย 50
อ า ยุ เ ฉ ลี่ ย อายุสูงสุด 39 อาย
มากกว่า 35 ปี ปี ต่ำสุด
29 ปี

จากตารางที่ 4 จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่นำรูปแบบไปใช้ ทั้งหมด 4


ราย ส่วนใหญ่มีการเสพสารเสพติดมากที่สุดในมารดาตั้งครรภ์ที่มีอายุ
มากกว่า 35 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 50 มีอายุในช่วง 25-29 ปี ร้อยละ 25 และมี
ช่วงอายุ 30-34 ปี ร้อยละ 25 อายุมากที่สุดคือ 38 ปี น้อยที่สุดคือ 28 ปี

- 30 -
ตารางที่ 5 ข้อมูลทั่วไปของมารดาที่เสพสารเมทแอมเฟตามีนขณะตั้ง
ครรภ์ N=4

คุณลักษณะทั่วไป จำนวน ร้อยละ


อายุมารดาเฉลี่ย(ปี ) อายุมากกว่า 35 ปี ขึ้น
ไป
การศึกษาระดับ
- ไม่ได้เรียน 1 25
- ป.6 1 25
- ม.3 2 50
อาชีพ
- ว่างงาน 1 25
- เกษตรกรรม 2 50
- รับจ้าง 1 25
คุณลักษณะทั่วไป จำนวน ร้อยละ
อายุมารดาเฉลี่ย(ปี ) อายุมากกว่า 35 ปี ขึ้น
ไป
รายได้ต่อเดือน
- ต่ำกว่า 5,000 2 50
- 6,000 – 9,000 1 25
- 10,000 บาทขึ้นไป 1 25
สถานภาพ
- คู่อยู่ด้วยกัน 3 75
- หย่าร้าง 0 0
- แยกกันอยู่ 1 25
ค ว า ม สั ม พั น ธ์ ใ น
ครอบครัว 3 75
- ดี 1 25
- ไม่ดี
ก า ร ว า ง แ ผ น /ค ว า ม
ต้องการมีบุตร 1 25
- ตั้งใจมีลูก /พร้อง 3 75
เลี้ยง
- ไม่วางแผน แต่ดูแล
ได้
- 31 -
จากตารางที่ 5 พบว่ามารดาตั้งครรภ์ที่เสพสารเสพติดส่วนใหญ่มี
ระดับการศึกษาชั้น ม.3 ร้อยละ 50 ไม่ได้รับมีอายุมากกว่า 35 ปี ขึ้นไป
อาชีพทำเกษตรกรรมร้อยละ 50 ว่่างงานร้อยละ 25 รับจ้างร้อยละ 25 มี
สถานภาพคู่ร้อยละ 75 แยกกันอยู่ร้อยละ 25 มีความสัมพันธ์ใน
ครอบครัวดี ร้อยละ 75
ความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่ดี ร้อยละ 25 การวางแผนในการตั้ง
ครรภ์ ไม่ได้วางแผนแต่เลี้ยงดูได้ร้อยละ 75 ตั้งใจมี พร้อมในวางแผนใน
การตั้งครรภ์ ร้อยละ 25
- 32 -

คุณลักษณะทั่วไป จำนวน ร้อยละ


ประวัติการใช้สารเสพติดใน
ครอบครัว 1 25
- ไม่มีคนในครอบครัวใช้สาร 3 75
เสพติด
- สามีใช้สารเสพติด
เหตุผลที่ใช้สารเสพติด
- คลายเครียด 1 25
- มีกำลังในการทำงาน 1 25
- ใช้ตามสามีหรือเพื่อน 2 50
คุณลักษณะทั่วไป จำนวน ร้อยละ
ระยะเวลาที่ใช้สารเสพติด
(ปี ) 1 25
- น้อยกว่า 1 ปี 3 75
- มากกว่า 1 ปี
ระดับการเสพ
- ผู้ใข้ 2 50
- ผู้เสพ 1 25
- ผู้ติด 1 25
แรงจูงใจในการเลิก
- ไม่มี 0 0
- มีแรงจูงใจเพื่อลูก 4 100
การวางแผนการเลิกเสพ
- ไม่ได้วางแผน 0 0
- วางแผนจะหยุดเสพในช่วง 1 25
ตั้งครรภ์ 3 75
- วางแผนไม่กลับไม่เสพอีก
การฝากครรภ์ตามนัด
- ไม่ได้มาตามนัด 0 0
- มาตามนัด 4 100
ตารางที่ 6 ข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึกของกลุ่มมารดาที่เสพสารเมทแอ
มเฟตามีนขณะตั้งครรภ์
ข้อมูลมารดาที่เสพสารเมทแอมเฟตามีนขณะตั้งครรภ์หลังใช้รูปแบบ
- 33 -
จากตารางที่ 6 พบว่ามารดาตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มีประวัติใน
ครอบครัวคือคู่สามีใช้ยาเสพติด ร้อยละ 75 ไม่มีคนในครอบครัวใช้สาร
เสพติดร้อยละ 25 เหตุผลในการเสพ ใช้ตามเพื่อนหรือสามีร้อยละ 50
เพื่อคลายเครียด ร้อยละ 25 ใช้เพราะมีกำลังทำงาน ร้อยละ 25 มีระยะ
การใช้มากกว่า 1 ปี ร้อยละ 75 ใช้น้อยกว่า 1 ปี ร้อยละ 25 มีระดับการ
เสพติดมากที่สุดคือกลุ่มผู้ใช้ ร้อยละ 50 เป็ นผู้เสพ ร้อยละ 25 ผู้ติดร้อย
ละ 25 มีแรงจูงใจในการเลิกเพื่อลูกร้อยละ 100 มีวางแผนจะเลิกโดยไม่
กลับมาเสพอีก ร้อยละ 75 และอีกร้อยละ 25 วางแผนจะเลิกเสพใน
ระหว่างตั้งครรภ์ มีการมารับบริการฝากครรภ์ตามนัด ร้อยละ 100
3. ผลลัพธ์การพัฒนา
แบ่งเป็ น 2 ส่วนดังนี้
ผลลัพธ์ กลุ่มสหสาขาที่ใช้รูปแบบ มีอัตราความพึงพอใจ ร้อยละ
99.1
จากการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มสหสาขาวิชาชีพ ให้ข้อมูลการใช้รูปแบบที่
พัฒนาขึ้นมีเนื้อหาครอบคลุม นำมาใช้เป็ นแนวทางปฏิบัติในหน่วยงานได้
ผลลัพธ์กลุ่มตัวอย่าง ผลลัพธ์ของการใช้แนวทางการดูแล
มารดาตั้งครรภ์ที่ใช้สารเสพติดในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ด่านซ้าย
จังหวัดเลย ดีขึ้นกว่าก่อนการพัฒนา หลังนําแนวทางการดูแลมารดาตั้ง
ครรภ์ใช้สารเสพติดมาใช้ในการบริการฝากครรภ์ ในหน่วยบริการฝาก
ครรภ์ ทำให้ผู้รับบริการให้ความร่วมมือในการตรวจคัดกรองสารเสพติด
หน่วยบริการคลอดและหลังคลอด มีแนวทางการประเมินมารดาและ
ทารกที่ใช้ได้จริงกับมารดาตั้งครรภ์ทุกคนที่มาคลอดในโรงพยาบาล หน่วย
งานบำบัดสารเสพติด ใช้ประเมินแยกระดับการเสพติดเพื่อวางแผนการ
บำบัดต่อได้ และการให้ความรู้ในการป้ องกันการใช้สารเสพติด ผลกระทบ
ต่อสุขภาพมารดา ทารกในครรภ์ มีการส่งต่อมารดาที่มีการใช้สารเสพติด
มารับบริการบำบัดเพื่อให้มีแรงจูงใจในการเลิกอัตราการมารับบริการ ฝาก
ครรภ์ตามนัดดีขึ้น คิดเป็ นร้อยละ 100

บทที่ 5
สรุปผลการวิจัยอภิปรายและข้อเสนอแนะ

การวิจัยครั้งนี้เป็ นการวิจัยเชิงพัฒนา (Research and


development) เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลมารดาตั้งครรภ์เสพสารเสพ
ติดในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้ายจังหวัดเลย ระหว่างเดือน
พฤศจิกายน 2566 เดือน มีนาคม 2567 โดยสรุปและอภิปรายผลการวิจัย
รายละเอียดเป็ นดังนี้ผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ (Fre
quency) และร้อยละ (Percentage)
1. สรุปผลการวิจัย
ในงานวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูล 2 ส่วนคือ
1. จากการสัมภาษณ์กลุ่มสหสาขาที่ใช้รูปแบบและการเก็บข้อมูล
แบบสอบถาม
2. จากการการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างและรวบรวมข้อมูล
การรักษาในฐานข้อมูล
การรักษาในระบบ HOSxP ของโรงพยาบาล
สรุปผลการวิจัยจากทีมสหสาขาจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง
แนวทางการดูแลมารดาตั้งครรภ์ใช้สารเสพติดแสดงถึงการมีแนวทางที่
ชัดเจน สหสาขามีความรู้และทักษะในการดูแลมารดาตั้งครรภ์ตั้งแต่แรก
เริ่ม ตั้งแต่การคัดกรองอย่างเป็ นระบบ ส่งผลให้ค้นหาปั ญหาได้รวดเร็ว ส่ง
เข้าระบบการบำบัดรักษาสารเสพติดได้ถูกต้อง ส่งผลให้มารดาตั้งครรภ์
กลับมาดูแลตนเอง และดูแลทารก ในครรภ์ได้ดีขึ้น ส่งผลต่อการใส่ใจใน
การมาตรวจพบแพทย์ตามนัดดีขึ้น ทุกระยะมีการติดตามต่อเนื่อง ทําให้
เกิดผลลัพธ์ในการดูแลมารดาตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพจากผลการวิจัยพบ
ว่า
ผลลัพธ์ของการใช้แนวทางการดูแลมารดาตั้งครรภ์ที่ใช้สารเสพ
ติดในโรงพยาบาลสมเด็จ พระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย ดีขึ้นกว่าก่อน
การพัฒนา หลังนําแนวทางการดูแลมารดาตั้งครรภ์ใช้สารเสพติดมาใช้ใน
การบริการฝากครรภ์ ในหน่วยบริการฝากครรภ์ มีผู้รับบริการมารดาตั้ง
ครรภ์ให้ความร่วมมือในการตรวจคัดกรองสารเสพติดตามแนวทางจำนวน
ทั้งหมด ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2566 ถึง มีนาคม 2576 จำนวน 216
คน ได้รับการคัดกรองและให้ความรู้ และให้คำแนะนำผลกระทบจากสาร
เสพติดในมารดาตั้งครรภ์ทั้ง 216 คน ให้ความรู้กับสามีหญิงตั้งครรภ์ที่มา
รับบริการพร้อมมารดาตั้งครรภ์อีกจำนวน 205 คน พบมารดาเสพสารเสพ
ติดชนิดเมทแอมเฟตามีนจากการคัดกรองจำนวน 4 คน ทั้ง 4 คนได้รับ
การดูแลตามรูปแบบที่สร้างขึ้น ทำให้ผลลัพธ์ดีกว่าก่อนการพัฒนา คือ

- 35 –
1. สามารถส่งเข้ารับการบำบัดสารเสพติดได้ตั้งแต่เริ่มมาฝาก
ครรภ์
2. หน่วยงานบำบัดสารเสพติดใช้ประเมินแยก ระดับการเสพติด
เพื่อวางแผนการบำบัดต่อได้เร็ว 3. ส่งผลให้มารดาตั้งครรภ์กลับ
มาดูแลตนเองและดูแลทารกในครรภ์ได้ดีขึ้น จากการสัมภาษณ์เชิงลึก
มารดาตั้งครรภ์ที่เสพสารเสพติด 4 ราย มีแรงจูงใจในการเลิกเสพเพื่อลูก
ในครรภ์จะได้ไม่รับผลกระทบจากสารเสพติดทั้ง 4 รายคิดเป็ นร้อยละ
100 มีวางแผนจะเลิกเสพไปเลยร้อยละ 75 และวางแผนจะเลิกเสพช่วงตั้ง
ครรภ์ร้อยละ 25 จากการติดตามพบข้อมูลมารดาตั้งครรภ์ดูแลใส่ใจ
สุขภาพและมารับบริการฝากครรภ์ เพื่อตรวจสุขภาพตามนัดดีขึ้น พบ
อัตราการมาฝากครรภ์ตามนัดในหญิงตั้งครรภ์ที่ใช้สารเสพติดร้อยละ 100
2. การอภิปรายผลการวิจัย
การพัฒนารูปแบบการดูแลมารดาตั้งครรภ์เสพสารเสพติด ทําให้
เกิดแนวทางการดูแลมารดาตั้งครรภ์เสพสารเสพติดให้ได้รับการดูแลอย่าง
มีประสิทธิภาพ และการดูแลต่อเนื่อง ในการพัฒนารูปแบบการดูแล
มารดาตั้งครรภ์เสพสารเสพติดครั้งนี้ เกิดจากความร่วมมือระหว่าง ทีมสห
สาขา และทีมพยาบาลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พยาบาลจุดบริการฝากครรภ์
พยาบาลห้องคลอด และพยาบาลทีมดูแลมารดาหลังคลอด ทีมบำบัดสาร
เสพติดที่ร่วมกันวิเคราะห์ปั ญหา หาแนวทางแก้ไข ตั้งแต่การคัดกรอง การ
ให้ความรู้ผลกระทบสารเสพติดแก่มารดาที่มารับบริการฝากครรภ์ การ
ให้การบำบัดรักษาในมารดาที่เสพสารเสพติด การคัดกรองในระยะคลอด
เพื่อให้การพยาบาลตามแนวทางเฝ้ าระวังอันตรายที่เกิดจากสารเสพติด
และการดูแลหลังคลอดทั้งมารดาและทารก มีการทบทวนการปฏิบัติงาน
เมื่อมีปั ญหาในการบริการอย่างต่อเนื่อง โดยมีจุดหมายคือ การป้ องกัน
และลดความเสี่ยงจากอันตรายจากสารเสพติดที่จะเกิดกับมารดาและ
ทารก การรับบริการฝากครรภ์ต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้มารดาตั้งครรภ์มารับ
การดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม และมารับบริการตามนัด ในกลุ่มที่เสพ
สารเสพติดมีแรงจูงใจในการเลิกเสพ เพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากสารเสพ
ติดทั้งมารดาและทารก
การพัฒนารูปแบบที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับแนวความคิดในการ
พัฒนารูปแบบของ พัฒนา พรมมณี (2560) รูปแบบคือสร้างหรือพัฒนา
ขึ้นจากหลักปรัชญา ทฤษฎีหลักการ แนวคิด เพื่อแสดงถึง โครงสร้างทาง
ความคิด เป็ นแบบจำลองที่ผ่านการศึกษาและพัฒนาขึ้นมาอธิบาย
ปรากฏการณ์ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นเป็ นขั้นเป็ นตอนเพื่อให้เกิดความรู้ เข้าใจ
ได้ง่ายและกระชับถูกต้องวัดและตรวจสอบได้ รูปแบบต้องเป็ นแนวทางที่
นำสู่ผลที่ตามมาได้ การพัฒนารูปแบบการดูแลมารดาที่เสพสารเสพติดส่ง
ผลให้มารดาตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพตามแนวคิด
- 36 -
การดูแลมารดาตั้งครรภ์เสพสารเสพติด การคัดกรองเฝ้ าระวัง
ความเสี่ยงที่เกิดจากการเสพสารเสพติด การดูแลมารดาตั้งครรภ์ การการ
ตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพทารกในครรภ์
และมีการเฝ้ าระวังการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง (highrisk
pregnancy) สอดคล้องตามแนวทางการดูแมมารดาตั้งครรภ์เสพสาร
เสพติด คู่มือจิตเวชศาสตร์การเสพติด (2565) การเสพสารเสพติดใน
มารดาตั้งครรภ์ส่งผลกระทบด้านสุขภาพ เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อภาวะ
สุขภาพของมารดาตั้งครรภ์และทารกในครรภ์และ ทารกหลังคลอด
มารดาที่เสพสารเสพติดมักไม่ดูแลสุขภาพตนเอง ไม่มารับบริการฝาก
ครรภ์ หรือฝากครรภ์ไม่มีคุณภาพ ทำให้เกิผลกระทบด้านสุขภาพทั้ง
มารดาและทารกและนอกจากนั้นมารดาตั้งครรภ์ยังมีน้ำหนักตัวน้อย
คลอดก่อนกำหนด มีภาวะครรภ์เป็ นพิษ ภาวะซีด และทำให้ทารกแรก
คลอดมีน้ำหนักตัวน้อย เกิดอุณหภูมิแรกคลอดต่ำ และทำให้ต้องนอนโรง
พยาบาลนานขึ้นสอดคล้องกับการศึกษาของ อดิศักดิ์ ไวเขตการณ์ (2564)
พบว่าการไม่ฝากครรภ์หรือการฝากครรภ์ที่ไม่ครบตามเกณฑ์คุณภาพมี
ความสัมพันธ์กับ ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยและมีผลเพิ่มความเสี่ยง
ของภาวะเกิดก่อนกำหนดตามผลการศึกษาของ ทิพย์อุษา จันทร์ทองศรี
(2565)
3. ข้อเสนอแนะ
งานวิจัยนี้ได้นำมาใช้จริงในระบบการดูแลมารดตั้งครรภ์ของโรง
พยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้ายและเป็ นข้อมูลด้านบริหารในการกํา
หนดนโยบายการดําเนินการตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นควรประเมินผลลัพธ์
เป็ นระยะ กับทีมที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อไป
จากการใช้รูปแบบยังต้องพัฒนาต่อในประเด็นดังนี้
1. ในการจัดเก็บเอกสารควรนำแบบประเมินไว้ในระบบ HOSxP
ในฐานข้อมูลในแบบประเมินผู้ป่ วยในของโรงพยาบาลเพื่อให้ทีมผู้เกียวข้อ
มีข้อมูลการดูแลต่อเนื่อง
2. ในการเก็บข้อมูลและการวัดผลลัพธ์ที่นำมาศึกษาพบว่ากลุ่ม
ประชากรยังมีจำนวนน้อย ควรมีการขยายเวลาในจัดเก็บข้อมูลเพิ่มเพื่อให้
ได้ประชากรกลุ่มตัวอย่างมากขึ้น และการวัดผลที่มีประสิทธิภาพ
มากขึ้น

- 37 -

เอกสารอ้างอิง

ข้อมูลงานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
ด่านซ้าย ปี พ.ศ.2564-2566.เลย.

ข้อมูลรายงานจากรายงานข้อมูลการบำบัดรักษาในฐานข้อมูลการ
บำบัดรักษายาเสพติดในประเทศ ไทย (บสต.) ปี 2564 -2566
ณัฐพล โชคไมตรี และคณะ .(2565)คู่มือจิตเวชศาสตร์การเสพติด
ชมรมจิตเวชศาสตร์การเสพติดแห่งประเทศไทย พิมพ์ครั้งที่ 1
กรุงเทพ:ธนอรุณการพิมพ์ จำกัด.

ทิพย์อุษาจันทร์ทองศรีผลกระทบจากการเสพสารเมทแอมเฟตามีน
ของมารดาขณะตั้งครรภ์ต่อทารกในระยะแรกเกิด โรงพยาบาลเซกา
จังหวัดบึงกาฬ(OPEN ACCESS SAKON NAKHON PROVINCIAL PUBLIC H
EALTH page13 กรกฎาคม 2566)

พรทิพย์ หอมเพชร และคณะ. (2566)ประสิทธิผลของการใช้รูป


แบบการวางแผนจำหน่ายมารดาหลังคลอด ที่ใช้สารเสพติดเมทแอมเฟตา
มีนต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเองหลังคลอด การกลับมารักษาซ้ำ
และการกลับมาเสพซ้ำ ในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง (รายงานผลการ
วิจัย) วารสาร โรงพยาบาลสกลนคร ปี ที่ 26 ฉบับที่ 1 มกราคม –
เมษายน 2566,หน้า 12-13

พัฒนา พรมมณี, แนวคิดการสร้างและพัฒนารูปแบบเพื่อใช้ในการ


ดำเนินงานด้านการสาธารณสุขสำหรับนักสาธารณสุข (รายงานผลการ
วิจัย) วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระ
ราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปี ที่ 6 ฉบับ
ที่ 2 เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม 2560,หน้า 129-130
รายงานสถิติผู้ป่ วยยาเสพติดในไทยปี 2565-2566 ของศูนย์บำบัด
ยาเสพติดภูฟ้ า เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (เข้าถึงเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566) htt
ps://www.phufaresthome.com/blog/thailand-drugs-stats/

- 38 -

วีณา บุญแสง.คู่มือแนวทางการดำเนินงานด้านบำบัดรักษา และ


ฟื้ นฟูสมรรถภาพผู้ติดสุรา/ยา/สารเสพติดที่มีอาการทางจิตและโรคร่วม
ทางจิตเวชกรมสุขภาพจิต กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต,หน้า 31
พิมพ์ครั้งที่ 1 ดีน่าดู มีเดีย พลัส จำกัด 2564 ,หน้า 31-54

สุนทรี ศรีโกไสยและคณะ. (2565)ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สุรา


บุหรี่ และสารเสพติดของมารดาขณะตั้งครรภ์ กับการเกิดโรคออทิสติก
และโรคสมาธิสั้นในเด็ก (รายงานผลการวิจัย) วราสารสุขภาพจิตแห่ง
ประเทศไทย 2565 ,หน้า 45

สำนักงานคณะกรรมการป้ องกันและปราบปรามยาเสพติด
กรุงเทพมหานคร ;2566

อดิศักดิ์ ไวเขตการณ์. (2564) ผลลัพธ์การตั้งครรภ์ของมารดาและ


ทารกในสตรีตั้งครรภ์ที่เสพสารเมทแอมเฟตามีนระหว่างตั้งครรภ์ (รายงาน
ผลการวิจัย) วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม ปี่ ที่18 ฉบับที่2
(พฤษภาคม- สิงหาคม 2564),หน้า 109

- 39 -

ภาคผนวก ก
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา (หนังสือ
ขอใช้)

แบบซักประวัติมารดาที่เสพสารเสพติด
HN……………………….อายุ……………ปี วันที่มารับบริการ……………………………………
อายุครรภ์ปั จจุบัน ……………………….สัปดาห์
ประวัติการตั้งครรภ์ที่ผ่านมา
☐ เคยแท้ง ☐ ไม่เคยแท้ง ครรภ์นี้เป็ นบุตรคนที่ ☐ 1 ☐ 2 ☐3 ☐
4 .
ประวัติการคลอดที่ผ่านมา ☐ ครบกำหนด ☐ ก่อนกำหนด
วิธีคลอด ☐ คลอดปกติ ☐ ผ่าคลอด. (เพราะ)...................... ☐ คลอดโดยการ V/E
(เพราะ).................
ปั ญหาขณะตั้งครรภ์ ภาวะแทรกซ้อนระหว่างคลอด(บุตรคนก่อน ถ้าครรภ์แรกไม่
ตองตอบ) ☐ ไม่มี
☐ มี เช่น เลือดออก แพ้ท้องรุนแรง ครรภ์เป็ นพิษ อื่นๆ
ระบุ…………………………………………………………………
☐ ไม่เคย ☐ เคยมี/รักษาโรค อาการเครียด ภาวะซึมเศร้า ปั ญหาสุขภาพจิต
ระบุ………………………..….……
☐ ไม่เคย ☐ เคยใช้สารเสพติดมาก่อนการตั้งครรภ์ อายุที่เริ่มใช้…………ปั จจัย
กระตุ้นให้ใช้……………………
(ถ้าให้ประวัติมีบุตรมากกว่า 1 คน) คนเลี้ยงดูบุตรคนก่อนคือ ☐ แม่/พ่อ ☐ ปู่ ย่า
☐ ตา ยาย
☐ ญาติ ระบุความสัมพันธ์……………………☐ อื่นๆ …………………….
นิสัย/อารมณ์ผู้เลี้ยงดู……………………………………………
พัฒนาการบุตรคนที่แล้ว(กรณีครรภ์แรกไม่ต้องตอบข้อนี้) ☐ สมวัย ☐ ไม่
สมวัย
หากไม่สมวัยได้รับการส่งเสริมพัฒนาการ ☐ ส่งเสริมพัฒนาการ
ที่…………………………………..
☐ ไม่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการ (เพราะ
สาเหตุ)..................................................................
ประวัติครอบครัว
สถานภาพปั จจุบันคู่สมรส ☐ อยู่ด้วยกัน ☐แต่งงาน(จดทะเบียน) ☐ แต่งงาน
(ไม่จดทะเบียน
☐ ไม่ได้อยู่ด้วยกัน ระบุสาเหตุ
……………………………………………………………………..…………………………
สมาชิกในครอบครัวที่อยู่ด้วยปั จจุบัน………………คน
สมาชิกในครอบครัวมีประวัติใช้สารเสพติดหรือไม่ ☐ไม่มี ☐ มี
ระบุ……………………………………….
ความสัมพันธในครอบครัว ☐ ดี ☐ ไม่ดี
เพราะ………………………………………………….………………
คนในครอบครัวที่สามารถปรึกษาได้เมื่อมีความไม่สบายใจ
ระบุ…………………………………………………………
อาชีพปั จจุบัน(หญิงตั้งครรภ์) ☐ เกษตรกรรม…………… ☐ ค้าขาย ☐ รับจ้าง ☐
ขายลอตเตอรี่
- 40 -
☐ ลูกจ้าง……………. ☐ รับราชการ ☐ ไม่ได้ทำงาน ☐ อื่นๆ
ระบุ…………………………….……………………
รายได้ต่อเดือน ☐ ต่ำกว่า 5,000 บาท ☐ 5,000-10,000 บาท ☐
10,000-15,000 บาท
☐ 15,000-25,000 ☐ มากกว่า 25,000
อาชีพสามี(คู่) อาชีพ ☐ เกษตรกรรม…………… ☐ ค้าขาย ☐ รับจ้าง ☐ ขาย
ลอตเตอรี่
☐ ลูกจ้าง……………. ☐ รับราชการ ☐ ไม่ได้ทำงาน ☐ อื่นๆ
ระบุ……………………………………..……………
รายได้ต่อเดือน ☐ ต่ำกว่า 5,000 บาท ☐ 5,000-10,000 บาท ☐
10,000-15,000 บาท
☐ 15,000-25,000 ☐ มากกว่า 25,000
การวางแผนในการมีบุตร
ความพร้อม/การวางแผนในการตั้งครรภ์ครั้งนี้ ☐ พร้อมที่จะมี/ตั้งใจ ☐ ไม่พร้อม
แต่สามารถดูแลได้
☐ ไม่พร้อม/มีปั ญหาอุปสรรค(ที่อาจจะเกิดขึ้น
)………………………………………………………………………………….
(หากต้องการความช่วยเหลือ) อยากให้ช่วยเหลือ ในเรื่อง

……………………………………………..…………………
- 41 -

แบบคัดกรองประเมินระดับการเสพสารเสพติด (V2)
- 42 -
แบบประเมินอาการผิดปกติ /การเฝ้ าระวังขณะตั้งครรภ์ (F-Csg 04 ANC)
ชื่อ-สกุล……………………………………………………….HN……………………………
วันที่…………………………………………เวลา………………………………………..
สัญญาณชีพแรกรับ BP…../…………mmhg PP…………./min
RR………./min T……….C
คะแนน V2= ……………..คะแนน ระดับการเสพ ☐ ผู้ใช้ ☐ ผู้เสพ
☐ ผู้ติด

วันที่ บำ ใช้สาร การ ภาวะซึม อาการ อาการ อาการ อาการผิด


ประเ บั เสพ นอน เศร้า ขาด หงุดหงิด ง่วงซึม/ ปกติของ
มิน ด ติด หลับ (คะแนน สมาธิ / เหนื่อย การตั้ง
ครั้ ล่าสุด( 9Q 8Q) ก้าวร้าว ล้า ครรภ์
งที่ วันที่)
มี ไม่มี
- 43 -
แบบประเมินอาการ /การเฝ้ าระวังมารดาคลอด (F-Csg 04 LR)

ชื่อ-สกุล……………………………………………………….HN……………………………
วันที่…………………………………………เวลา………………………………………..
สัญญาณชีพแรกรับ BP…../…………mmhg PP…………./min
RR………./min T……….C คะแนน
V2= ……..คะแนน ระดับการเสพ ☐ ผู้ใช้ ☐ ผู้เสพ ☐ ผู้ติด
☐ ได้รับการบำบัด (เลิกใช้) ☐ ได้รับการบำบัด (ยังไม่เลิกใช้)
☐ ไม่เคยได้รับการบำบัดมาก่อน

วันที่ เวลาที่ สัญญาณ ผลตรวจสารเสพ ผลตรวจสารเสพติด สภาวะทางจิต


ประเ ประเมิ ชีพ ติด UAM UAM วันที่คลอด ไม่มีสมาธิ/
มิน น วันที่คลอด Positive ก้าวร้าว/
negative (งด หงุดหงิด/อื่นๆ
breastfeeding breastfeeding)
- 44 -

แบบประเมินอาการทารกหลังคลอดที่มารดาใช้สารเสพติดขณะตั้งครรภ์ (
F-Csg 04 IPD)

บุตรนาง …………………………………………….HN……………………………วันที่
คลอด …………………………………………เวลา……………………………………
น้ำหนักแรกคลอด…………………กรัม AS ……/………/……..วิธี
คลอด………………….ภาวะขาดออฺกซิเจนแรกคลอด ☐ มี ☐ ไม่มี
สัญญาณชีพแรกรับ PP…………./min RR………./min T……….C ระดับ
การเสพของมารดา
☐ ผู้ใช้ ☐ ผู้เสพ ☐ ผู้ติด
☐ ได้รับการบำบัด (เลิกใช้) ☐ ได้รับการบำบัด (ยังไม่เลิกใช้)
☐ ไม่เคยได้รับการบำบัดมาก่อน

วันที่ เวลาที่ สัญญาณ ได้รับการงด อาการ ลักษณ HR อาการ


ประเมิ ประเมิ ชีพ /ไม่งด breas ชัก/ ะการ ครั้ง/น ไข้
น น tfeeding เกร็ง/ หายใจ าที
กระตุก

- 45 -
ทะเบียนมารดาตั้งครรภ์เสพสารเสพติด

ทะเบียนมารดา UAM
ประเมินแรกรับ วันที่.....................คะแนน V2= คะแนน ระดับการเสพ ☐ ผู้ใช้ ☐ ผู้เสพ ☐ ผู้ติด ประเมินสภาพวะ
ทางจิต 9Q= 8Q= อาการทางจิต ☐ ไม่มี ☐ มี..........................................
ติดตาม
บำบัดครั้ง บำบัดครั้ง บำบัดครั้ง บำบัดครั้ง ประเมินวัน หลัง
H ชื่อ- ที่1.............. ที่2............... ที่3.............. ที่4............. บำบัดครั้ง คลอด.............. บำบัด........
N สกุล(แม่) อายุ .... ..... ...... ........ ที่5............ . ...
☐ แรง ☐ แรง
☐ แรงจูงใจ ☐ แรงจูงใจ ☐ แรงจูงใจ จูงใจ จูงใจ
มี................. มี................. มี............... มี............... มี............. ผลปั สสาวะ ☐ เลิก
................... ................... .................. .................. ..................
.......... .......... .......... ......... ......... ☐ negative ☐ ยังใช้อยู่
☐ ยังไม่มี ☐ ยังไม่มี ☐ ยังไม่มี ☐ ยังไม่มี ปั จจัย
☐ ยังไม่มี เพราะ......... เพราะ........ เพราะ........ เพราะ........ กระตุ้น......
เพราะ........ ... . . .... ☐ positive .........
☐ เคยได้รับ
................... ................... .................. .................. .................. การบำบัดมา
.......... .......... .......... ......... ......... ก่อน
☐ ไม่เคยได้รับ BA/
☐ รับทราบ การกลับไป การกลับไป การกลับไป การกลับไป การบำบัดมา BI..............
ผลกระทบ ใช้ซ้ำ ใช้ซ้ำ ใช้ซ้ำ ใช้ซ้ำ ก่อน ...........
☐ ☐ ☐ ☐
คือ.............. ใช้................ ใช้............... ใช้.............. ใช้.............. หลังคลอด csg
.............. ........... ............ ............. ............. มีแรงจูงใจ
................... ☐ ไม่ ☐ ไม่ ☐ ไม่ ☐ ไม่ ☐ เลิก
ที่อยู่ .......... ใช้............ ใช้............ ใช้.......... ใช้............. เพราะ...........
plan ☐ plan ☐ plan ☐ plan ☐ plan ☐ ☐ ไม่เลิก
เลิก ☐ ไม่ เลิก ☐ ไม่ เลิก ☐ ไม่ เลิก ☐ ไม่ เลิก ☐ ไม่ เพราะ.............
เลิก เลิก เลิก เลิก เลิก .......
F/U ครั้งถัดไป
ผลปั สสาวะ ผลปั สสาวะ ผลปั สสาวะ ผลปั สสาวะ ผลปั สสาวะ ............
F/U ครั้งถัด F/U ครั้งถัด F/U ครั้งถัด F/U ครั้ง F/U ครั้งถัด
ถัดไป
ไป ............ ไป ............ ไป ............ ............ ไป ............
ติดตามเด็กหลังคลอด
ประวัติอาการผิดปกติแรกคลอด .............................................................Admit...............วัน หลังคลอด
งด breastfeeding คลอด ..................วัน

ผลพัฒนา
ลูก
ผลพัฒนา ผลพัฒนา ผลพัฒนา การ 12 ผลพัฒนา
คลอ
H ชื่อ-สกุล ด การ 2 ด... การ 6 ด... การ 9 ด... ด............ การ 18 สรุปผลพัฒนา
N (ลูก) นน. ............. .............. ............. . ด........... การ

GM GM GM GM GM GM

FM FM FM FM FM FM

RL RL RL RL RL RL

EL EL EL EL EL EL

H ผลพัฒนา
N ลูก
ผลพัฒนา ผลพัฒนา ผลพัฒนา การ 12 ผลพัฒนา
คลอ
ชื่อ-สกุล ด การ 2 ด... การ 6 ด... การ 9 ด... ด............ การ 18 สรุปผลพัฒนา
(ลูก) นน. ............. .............. ............. . ด........... การ

PS PS PS PS PS PS

AS ปั ญหาอื่นๆ ปั ญหาอื่นๆ ปั ญหาอื่นๆ ปั ญหาอื่นๆ ปั ญหาอื่นๆ ปั ญหาอื่นๆ


- 47 -

ภาคผนวก ข
หนังสือรับรองจริยธรรมการวิจัยใน
มนุษย์
- 48 -

ภาคผนวก ค
ประวัติผู้วิจัย

ชื่อ-สกุล นางสิริพร สิทธิศักดิ์


วัน เดือน ปี เกิด วันที่ 13 ตุลาคม 2518
สถานที่เกิด อําเภอเอราวัณ
ที่อยู่ปั จจุบัน เลขที่ 14/2 หมู่ 1 ต.ด่านซ้าย อ.ด่านซ้าย จ.เลย
E-mail: th.siri919@gmail.com เบอร์โทร 0817857440
ตําแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชํานาญการ
สถานที่ปฏิบัติงาน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัด
เลย
ประวัติการศึกษา มัธยมศึกษาปี ที่ 6 โรงเรียนเลยพิทยาคม 2537
วุฒิการศึกษา ประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์เทียบเท่าปริญญา
ตรี (ต่อเนื่อง 2 ปี )
ชื่อสถาบัน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีลำปาง
ปี สําเร็จการศึกษา 2545
ประวัติการอบรม หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางด้านสุขภาพจิต
และจิตเวชเด็กและวัยรุ่น
ณ สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต 2554

You might also like