Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 4

Carbohydrate

ประเภทของคาร์โบไฮเดรต แบ่งตามขนาดของโมเลกุล ได้เป็ น 3 กลุ่ม คือ

1. มอโนแซ็กคาไรด์ (Monosaccharide) หรือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว


เป็ นคาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดโมเลกุลเล็กที่สุด มีรสหวาน ละลายน้ำได้
และน้ำตาลที่พบมากในธรรมชาติจะมีอะตอมของธาตุคาร์บอน 5 และ 6
อะตอม
1.1 แบ่งตามหมู่ฟังก์ชัน (Function group)
โดยทั่วไปน้ำตาลจะมีหมู่ไฮดรอกซี (–OH group) เป็ นองค์ประกอบ
จำนวนมาก และมีหมู่ฟังก์ชันที่แสดงคุณสมบัติเฉพาะ แบ่งได้เป็ น 2 หมู่ฟัง
ก์ชั่น จึงเรียกน้ำตาลที่มีหมู่ฟังก์ชันอัลดีไฮด์ว่า น้ำตาลอัลโดส (aldose) และ
เรียกน้ำตาลที่มีหมู่ฟังก์ชันคีโตนว่า น้ำตาลคีโตส (ketose)
ตัวอย่างของน้ำตาลอัลโดส เช่น น้ำตาลกลีเซอรอลดีไฮด์ (C3)
น้ำตาลไรโบส (C5) น้ำตาลกลูโคส (C6)
ตัวอย่างของน้ำตาลคีโตส เช่น น้ำตาลไดไฮดรอกซีอะซีโตน (C3)
น้ำตาลไรบูโลส (C5) น้ำตาลฟรักโทส (C6)

1.2 แบ่งตามจำนวนอะตอมของธาตุคาร์บอน (Carbon atom)


โมเลกุลของน้ำตาลจะประกอบด้วยอะตอมของธาตุคาร์บอนตั้งแต่ 3-
7 อะตอม
คาร์บอน 3 อะตอม เรียกว่า น้ำตาลไตรโอส (triose) เช่น
- น้ำตาลกลีเซอรอลดีไฮด์ (glyceraldehyde) จะพบใน
กระบวนการสลายกลูโคสเพื่อให้ได้พลังงาน
คาร์บอน 4 อะตอม เรียกว่า น้ำตาลเทโทรส (tetrose) เช่น
- น้ำตาลอิริโทรส (erythrose) เป็ นน้ำตาลที่พบในวัฏจักรคัลวิน
ของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
คาร์บอน 5 อะตอม เรียกว่า น้ำตาลเพนโทส (pentose) เช่น
- น้ำตาลอะราบิโนส (arabinose) มักพบในพืช เมื่อเกิดเป็ นพอลิ
แซ็กคาไรด์จะให้เพคทิน บางครั้งอาจเรียกว่า น้ำตาลเพคทิน (pectin sugar)
จะเกิดในรูปของเจล มักเอาไปทำเป็ นเยลลี่
- น้ำตาลไซโลส (xylose) มักพบในพืช สามารถสกัดได้จาก
เยื่อไม้ (wood) บางครั้งจะเรียกว่า น้ำตาลเยื่อไม้
- น้ำตาลไรโบส (ribose) และน้ำตาลดิออกซีไรโบส
(deoxyribose) ทั้ง 2 ชนิด จะพบเป็ นองค์ประกอบของสาร
พันธุกรรม

คาร์บอน 6 อะตอม เรียกว่า น้ำตาลเฮกโซส (hexose) เช่น


- น้ำตาลกลูโคส (glucose) มีบทบาทสำคัญทางโภชนาการ
ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด รวมทั้งมนุษย์ด้วย จะพบมากในพืชสัตว์ บางครั้งอาจ
เรียกได้หลายชื่อขึ้นอยู่กับแหล่งที่พบ เช่น น้ำตาลองุ่น น้ำตาลข้าวโพด หรือ
น้ำตาลในเลือด นอกจากนี้อาจเรียก น้ำตาลกลูโคส ว่า น้ำตาลเด็กซ์โทรส
(dextrose)
- น้ำตาลกาแล็กโทส (galactose) และน้ำตาลแมนโนส
(mannose) โดยธรรมชาติพบในรูปของพอลิแซ็กคาไรด์ โดยพอลิเมอร์ของ
น้ำตาลแมนโนส จะเรียกว่า แมนแนน (mannan) ซึ่งพบในพืช
- น้ำตาลฟรักโทส (fructose) เป็ นน้ำตาลที่หวานที่สุด พบมาใน
ผลไม้และน้ำผึ้ง และยังเป็ นน้ำตาลเพียงชนิดเดียวที่พบในน้ำอสุจิของคน
คาร์บอน 7 อะตอม เรียกว่า น้ำตาลเฮปโทส (heptose) เช่น
- น้ำตาลซีโดเฮปทูโลส (sedoheptulose) เป็ นน้ำตาลที่พบใน
วัฏจักรคัลวินของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

น้ำตาลที่พบมากที่สุดในธรรมชาติ ได้แก่ น้ำตาลกลูโคส ฟรักโทส และ


กาแล็กโทส

2. โอลิโกแซ็กคาไรด์ (Oligosaccharide)
2.1 ไดแซ็กคาไรด์ (disaccharide) หรือน้ำตาลโมเลกุลคู่ ประกอบ
ด้วย น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวจำนวน 2 โมเลกุล จับกันด้วยพันธะไกลโคซิดิก
(glycosidic bond) ได้แก่ มอลโทส (maltose) แล็กโทส (lactose) ซูโครส
(sucrose) และเซลโลไบโอส (cellobiose)
เซลโลไบโอส ได้จากการสลายเซลลูโลสโดยใช้กรดที่เจือจาง ซึ่งประกอบ
ด้วย กลูโคส 2 โมเลกุลจับกันด้วยพันธะไกลโคซิดิก ชนิด b-1,4 เซลโลไบโอสจะไม่ถูก
ย่อยสลายด้วยเอนไซม์มอลเทส

2.2 ไตรแซ็กคาไรด์ (trisaccharide) ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุล


เดี่ยวจำนวน 3 โมเลกุล ที่พบในธรรมชาติ เช่น น้ำตาลราฟฟิโนส
ราฟฟิโนส (raffinose) หรืออาจเรียกว่า melitose เป็ นคาร์โบไฮเดรต
ประเภท oligosaccharide ที่ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 3 โมเลกุล
(trisaccharide) คือ น้ำตาลกาแล็กโทส (galactose) ต่อกับน้ำตาลซูโครส
(sucrose) ซึ่งเป็ นน้ำตาลโมเลกุลคู่ เชื่อมต่อกันด้วยพันธะ
Raffinose ไม่สามารถถูกย่อยได้ในระบบทางเดินอาหารของ
มนุษย์ แต่จะถูกย่อยโดยแบคทีเรียซึ่งสร้างแก๊สอยู่ในลำไส้ใหญ่ ทำให้เกิด
การหมักได้แก๊สออกมา หากบริโภคเข้าไปจะทำให้เกิดอาการท้องอืด
(flatulence) และต้องผายลม จึงจัดเป็ นสารต้านฤทธิ์สารอาหารชนิดหนึ่ง
น้ำตาล raffinose พบมากในถั่วเมล็ดแห้ง (legume) เช่น ถั่ว
ลิสง beans, peas, tree nut และในผักประเภท cruciferous ได้แก่ กะหล่ำปลี,
brussels sprout และบรอกโคลี (broccoli)
3. พอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide)
ตัวอย่างข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย
1. ข้อใดเป็ นสารประกอบที่ประกอบด้วย มอโนแซ็กคาไรด์มากกว่า 1 ชนิด
(มข.51)
1. ไกลโคเจน 2. เซลลูโลส 3. แลกโทส 4. มอลโทส
2. น้ำตาลราฟินโนสเป็ นโอลิโกแซคคาร์ไรด์ที่เกิดขึ้นจากน้ำตาลกาแลคโทส
1 โมเลกุลเชื่อมต่อกับ น้ำตาลซูโครส 1 โมเลกุล สูตรโมเลกุลของน้ำตาล
ราฟิโนส คือ (มข.52)
1. C18H32O16 2. C18H30O15 3. C18H36O18 4. C18H34O17

You might also like