47น้ำมันและไขมันในสิ่งแวดล้อมกับห้องปฏิบัติการ

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 2

น้ํามันและไขมัน(Grease and Oil) ในสิ่งแวดล้อม

กับห้องปฏิบตั ิการ
พวงเดือน ชุ่มศิริ
นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชํานาญการพิเศษ

ด้วยความที่เป็นผู้ที่ทํางานอยู่ในห้องปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อม ทําให้เข้าใจดีว่าการที่จะพูดคุยอะไรที่
เกี่ยวข้องในห้องปฏิบัติการกับคนทั่วๆไป เป็นสิ่งที่ทําได้ยากมาก เพราะจะเป็นเรื่องของวิชาการ ที่มีศัพท์ทางด้าน
เทคนิคเยอะมาก คนส่วนใหญ่ก็มักจะปิดทางการรับรู้เพราะคิดว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก ผู้เขียนและเรียบเรียงจะ
พยายามทําให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ขอให้ลองอ่านดู เพราะอะไรๆในห้องปฏิบัติการจะเป็นวิทยาศาสตร์…… ที่เป็นความ
จริงที่พิสูจน์ได้ โดยครั้งนี้ขอเสนอเรื่องน้ํามันและไขมัน (Grease and Oil) ในสิ่งแวดล้อม คะ
หลายครั้ง เมื่อเอ่ยถึงน้ํามันและไขมัน ที่อยู่ในน้ําเสีย ไม่ว่าจะเป็นน้ําเสียจากอุตสาหกรรม น้ําเสียจาก
ครัวเรือนและชุมชน มักจะนึกถึงลักษณะทางกายภาพของน้ํามันและไขมันที่ลอยอยู่บนผิวหน้าของน้ําเสียเท่านั้น
คอลัมน์นี้จึงอยากจะพาไปรู้จักว่า น้ํามันและไขมัน(Grease and Oil) ตามความหมายที่ทําการวิเคราะห์กันใน
ห้องปฏิบัติการนั้นเป็นอย่างไร จะได้ไขข้อกระจ่างเมื่อพบผลวิเคราะห์ที่ออกจากห้องปฏิบัติการ และพบว่าไม่
เป็นไปตามลักษณะทางกายภาพของน้ําที่เห็น
น้ํามันและไขมันทางวิชาอินทรีย์เคมี หมายถึงสารประกอบเอสเตอร์ต่างๆ ซึ่งเป็นสารอาหารหลักหมู่หนึ่ง
เท่านั้น แต่ในทางสิ่งแวดล้อมมีความหมายมากกว่านั้นคือ หมายถึงสารประกอบอินทรีย์ต่างๆ ที่สามารถสกัดได้
ด้วยตัวทําละลาย เช่น เฮกเซน เป็นต้น ขอย้ํานะคะว่า เป็นอะไรก็ตามที่สามารถสกัดได้ด้วยตัวทําละลาย
ประเภทของน้ํามันและไขมัน
สถานะของน้ํามันและไขมันในน้ํา สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. น้ํามันละลายน้ํา โดยทั่วไปมักคิดกันว่า น้ํามันไม่เข้ากับน้ํา หรือน้ํามันไม่ละลายน้ํา แท้จริงแล้ว น้ํามัน
สามารถละลายน้ําได้ ซึ่งความสามารถในการละลายน้ําขึ้นอยู่กับลักษณะสมบัติประจําตัวของน้ํามัน
ไฮโดรคาร์บอนที่ระเหยได้ง่าย(น้ําหนักโมเลกุลต่ํา) มักละลายน้ําได้ดี โมเลกุลที่ไม่อิ่มตัว โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งไฮโดรคาร์บอนที่มีวงแหวนเบนซินจะละลายได้ดี เช่น น้ํามันเบนซินสามารถละลายน้ําได้ถึง
1,650 มิลลิกรัมต่อลิตร น้ํามันละลายน้ํามักมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่อาจรับรู้ได้ เช่นการได้กลิ่น
เป็นต้น
2. น้ํามันลอยบนผิวน้ํา เป็นน้ํามันหรือไฮโดรคาร์บอนส่วนใหญ่มักมีความหนาแน่นต่ํากว่าน้ํา จึงเป็นเรื่อง
ปกติที่จะพบว่ามีน้ํามันลอยอยู่เหนือผิวน้ําเป็นฝ้าหรือเป็นฟิล์ม ซึ่งขวางกั้นการถ่ายทอดออกซิเจนหรือ
บังแสง
3. น้ํามันในรูปอิมัลชัน เป็นน้ํามันที่อยู่ในรูปอนุภาคขนาดเล็กคล้ายคอลลอยด์ ดังนั้นจึงมองเห็นเป็น
ความขุ่นในน้ํา น้ํามันละลายน้ําหรือน้ํามันลอยน้ําอาจกลายเป็นอิมัลชันได้เมื่อถูกกระทําด้วยแรง
ภายนอก เช่ น แรงสู บ จากเครื่ อ งสู บ น้ํ า เป็ น ต้ น และถ้ า ในน้ํ า มี ส ารประเภทสารลดแรงตึ ง ผิ ว
(Detergent) จะทําให้น้ํามันอยู่ในรูปอิมัลชันเพิ่มขึ้น
การวิเคราะห์น้ํามันและไขมัน
โดยปกติมักไม่พบน้ํามันและไขมันในแหล่งน้ําธรรมชาติ น้ํามันและไขมันในน้ําเสียชุมชนมักเป็นชนิดที่มา
จากพืชและสัตว์ เช่น น้ํามันพืช น้ํามันสัตว์ ไขมัน ขี้ผึ้ง และกรดไขมัน ส่วนน้ําเสียอุตสาหกรรม อาจเป็นชนิดที่มา
จากพืชและสัตว์ รวมถึงสารประกอบเอสเตอร์ ซึ่งเป็นเกลืออินทรีย์ที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีระหว่างแอลกอฮอล์และ
กรดอินทรีย์ ทั้งนี้รวมถึงน้ํามันหล่อลื่นด้วย
การวิเคราะห์น้ํามันและไขมัน เป็นการวัดปริมาณรวมของกลุ่มน้ํามันและไขมันที่มีคุณสมบัติทางกายภาพ
ใกล้เคียงกัน ซึ่งสามารถละลายรวมกันได้ในตัวทําละลาย ทําให้สามารถสกัดออกมาจากตัวอย่างน้ําได้ เช่น เฮกเซน
เป็นต้น วิธีการมาตรฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์น้ํามันและไขมัน ในน้ํามี 3 วิธี ซึ่งแต่ละวิธีล้วนใช้ตัวทําละลายในการ
สกัดหาปริมาณน้ํามันและไขมัน ทั้งสิ้น ได้แก่
™ วิธีพาร์ทิชั่น-ชั่งน้ําหนัก (Partition - gravimetric method) เป็นการหาปริมาณโดยใช้ตัวทํา
ละลายเฮกเซน สกัดน้ํามันและไขมันออกจากตัวอย่างน้ํา จากนั้นแยกตัวทําละลายออกเพื่อนําไป
ระเหยให้เหลือแต่น้ํามันและไขมัน ซึ่งชั่งเป็นน้ําหนักได้
™ วิธีพาร์ทิชั่น-อินฟราเรด (Partition - infrared method) เป็นการหาปริมาณโดยใช้ตัวทําละลาย
เฮกเซน สกัดน้ํามันและไขมันออกจากตัวอย่างน้ํา จากนั้นแยกตัวทําละลายออกแล้วนําไปวัดด้วย
เครื่อง Infrared spectrometer แบบไล่คลื่นแสง เพื่อวัดปริมาณโดยเปรียบเทียบกับสาร
มาตรฐาน
™ วิธีซอกฮ์เลต (Soxhlet) เป็นวิธีการหาปริมาณ โดยวิธีนี้ใช้ในกรณีที่ตัวอย่างมีความสกปรกสูง ซึ่ง
สิ่งต่างๆในน้ําอาจขัดขวางการสกัดด้วยตัวทําละลาย วิธีการนี้จะทําให้น้ํามันไขมันแยกตัวจากน้ํา
โดยการเติมกรดเกลือ (HCl) หรือกรดซัลฟูริค (H2SO4)ให้ได้pH (ความเป็นกรดด่าง) น้อยกว่า 2
เพื่อปลดปล่อยกรดไขมัน กรดไขมันที่มีน้ําหนักโมเลกุลสูงมักเป็นสารไม่ละลายน้ํา ซึ่งสามารถ
กรองออกจากน้ําด้วยกระดาษกรอง เมื่อนํากระดาษกรองไปอบแห้งเพื่อไล่น้ํา จะเหลือเฉพาะ
น้ํามันและไขมันบนกระดาษกรอง จากนั้นจึงใช้ตัวทําละลายสกัดออก และเมื่อนําตัวทําละลายไป
ระเหยให้แห้ง น้ําหนักที่เพิ่มขึ้นก็คือ ปริมาณน้ํามันและไขมัน นั่นเอง
หวังว่าสิ่งที่พุดคุยข้างต้น จะสามารถช่วยให้ท่าน ได้เข้าใจในข้อมูลส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับห้องปฏิบัติการ ทีไม่หนัก
สมองจนเกินไปนะคะ

You might also like