แบบฝึกหัด เรื่อง ต่อมไร้ท่อ - สำเนา

You might also like

Download as doc, pdf, or txt
Download as doc, pdf, or txt
You are on page 1of 7

เอกสารประกอบการสอน วิชา โรคไร้เชื้อในระบบต่อมไร้ท่อ (PH2121)

แบบฝึ กหัด
เรื่อง โรคไร้เชื้อในระบบต่อมไร้ท่อ
1. โรคอะโครเมกาลี (Acromagaly) เป็นโรคที่เกิดจากการมีฮอร์โมนใดมาก เมื่อตอนเป็นผู้ใหญ่
ก. growth hormone จาก posterior pituitary
ข. growth hormone จาก anterior pituitary
ค. gonadotrophins จาก posterior pituitary
ง. thyroxin จาก thyroid gland
2. โรคคอพอกชนิด simple goiter เกิดขึ้นจาก
ก. ต่อมไทรอยด์ไม่สร้างฮอร์โมน ไทรอกซิน
ข. ต่อมใต้สมองไม่สร้างไทรอยด์สติมูเรตติงฮอร์โมน (thyroid )
ค. ต่อมใต้สมองสร้างฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไปจนผิดปกติ
ง. ร่างกายขาดสารไอโอดีน
จ. ข้อ ก และ ข ถูกต้อง
3. โรค Grave’s disease มีสาเหตุเกิดจากอะไร
ก. ต่อมไทรอยด์ไม่สร้างฮอร์โมน ไทรอกซิน
ข. ต่อมใต้สมองไม่สร้างไทรอยด์สติมูเรตติงฮอร์โมน (thyroid )
ค. ต่อมใต้สมองสร้างฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไปจนผิดปกติ
ง. ร่างกายขาดสารไอโอดีน
4. จากข้อ 3 ลักษณะอาการที่ปรากฏอย่างชัดเจนของผู้ป่วย คือ
ก. ภาวะคอพอก ร่วมกับ กระดูกพรุน
ข. ภาวะคอพอก ร่วมกับ ตาโปน
ค. ผอมลง ร่วมกับ กระดูกพรุน
ง. ผอมลง ร่วมกับ ตาโปน
จ. มีทุกอาการร่วมกัน
5. ต่อมไร้ท่อที่มีบทบาทคุมการใช้แคลเซียม ได้แก่
ก. ต่อมไทรอยด์ ข. ต่อมไทรอยด์และต่อมหมวกไต
ค ต่อมไทรอยด์และไทมัส ง. ต่อมไทรอยด์และพาราไทรอยด์
จ ถูกทุกข้อ
6. หากร่างกายไม่ได้รับสารไอโอดีนติดต่อเป็นระยะเวลานาน โรคที่น่าจะเป็นได้ง่ายที่สุดควรจะเป็น
ก. คอพอก และ ตาโปน ข. โรคมิกซีดีมา (Myxedema)
ค. คอพอก และ มิกซีดีมา (Myxedema) ง. Grave’s disease
7. ข้อใดต่อไปนี้ จัดอยู่ในต่อมไร้ท่อ
ก. ต่อมน้ำลาย ข. ต่อมเหงื่อ
เอกสารประกอบการสอน วิชา โรคไร้เชื้อในระบบต่อมไร้ท่อ (PH2121)

ค ต่อมน้ำตา ง. ต่อมหมวกไต
จ. ต่อมลูกหมาก
8. ข้อความใดที่ไม่ถูกเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์
ก. ควบคุมระดับไอโอดีนในเลือด ข. ควบคุมการทำงานของต่อมพาราไทรอยด์
ค ควบคุมเมตาบอลิซึมของร่างกาย ง. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
จ ควบคุมสมดุลของแร่ธาตุในร่างกาย
9. สารไอโอดีนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ
ก. ผลิตไทรอนสติมูเรตติง ฮอร์โมน (TSH) จากต่อมใต้สมอง
ข. ผลิตไทรอกซิน (thyroxin) จากต่อมไทรอยด์
ค. ห้ามไม่ให้เกิดคอพอก
ง. ทำหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนเมตาบอลิซึมทั่วไป
จ. ถูกทุกข้อ
10. ภาวะไฮเปอร์ไทรอยด์ คือ กลุ่มอาการใด
ก. การสร้างฮอร์โมนไทรอยด์น้อยผิดปกติ ข. หน้าที่ของฮอร์โมนสูญเสียไปจากเดิม
ค. การสร้างฮอร์โมนไทรอยด์มากผิดปกติ ง. ภาวะที่ฮอร์โมนทำหน้าที่มากผิดปกติ
จ ต่อมไทรอยด์มีขนาดใหญ่มากผิดปกติ
11. ภาวะอาการคอพอก (goiter) มีความเป็นไปได้เนื่องจากสาเหตุตามข้อใด
ก. การสร้างฮอร์โมนไทรอยด์น้อยผิดปกติ ข. หน้าที่ของฮอร์โมนสูญเสียไปจากเดิม
ค. การสร้างฮอร์โมนไทรอยด์มากผิดปกติ ง. ภาวะที่ต่อมธัยรอยด์ทำหน้าที่มากผิดปกติ
จ ถูกทั้งข้อ ก ค และ ง
12. สภาพต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับต่อมไธรอยด์ทั้งสิ้น ยกเว้น ข้อใดต่อไปนี้
1 = คอหอยพอก 2 = มิกซีดีมา
3 = คริตินิซึม 4 = อัตราเมตาบอลิซึมสูง
5 = อะโครเมกาลี 6 = ร่างกายมีขนาดใหญ่มากผิดปกติ
ก. เฉพาะข้อ 2 และ 4 ข. เฉพาะข้อ 5 และ 6
ค เฉพาะข้อ 2 3 และ 5 ง. เฉพาะข้อ 1 3 4 1 และ 6
จ ถูกทุกข้อ
13. เด็กคนหนึ่งอายุ 13 ปี สูง 194 เซนติเมตร ลักษณะเช่นนี้ น่าจะเกิดความผิดปกติของต่อมใด
ก. ต่อมธัยรอยด์ ข. ต่อมไพเนียล
ค ต่อมพาราธัยรอยด์ ง. ต่อมใต้สมอง จ. ต่อมหมวกไต
14. จากข้อ 13 โรคดังกล่าวโรคชนิดใด คือ
ก. Acromegaly ข. Giantism
ค Dwarfism ง. Simon’s disease จ. Myxedema
เอกสารประกอบการสอน วิชา โรคไร้เชื้อในระบบต่อมไร้ท่อ (PH2121)

15. โรคคุชชิง ซินโดรม (Cushing’s syndrome) มีสาเหตุเกิดจากต่อมใดสร้างฮอร์โมนมากเกินไป


ก. ต่อมธัยรอยด์ ข. อะดรีนัล คอร์เทกซ์
ค อะดรีนัล เมดุลลา ง. ต่อมใต้สมองส่วนหน้า
จ ต่อมพิทูอิตารี
16. จากข้อ 15 อวัยวะดังกล่าว สร้างออร์โมนชนิดใด
ก. Adrenaline ข. Insulin
ค Cortisol ง. Epinephrine
จ testosterone
17. โรคคอพอกเป็นพิษ (toxic goiter) มีสาเหตุมาจากสิ่งใดต่อไปนี้
1 = ร่างกายขาดธาตุไอโอดีน
2 = ระดับธัยรอกซินในเลือดมากกว่าปกติ
3 = ต่อมธัยรอยด์ถูกกระตุ้นให้ทำงานหนักตลอดเวลา
4 = ต่อมสร้างธัยรอกซินไม่เพียงพอที่จะยังยั้งการหลั่ง TSH
ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง
ก. ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 4 ข. ถูกเฉพาะข้อ 2 และ 3
ค. ถูกเฉพาะข้อ 3 และ 4 ง. ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 3
จ. ถูกทุกข้อ
18. ผู้ที่เป็นโรคไฮเปอร์ธัยรอยด์ พารามิเตอร์ชี้วัดทางชีวเคมีจะมีลักษณะเป็นอย่างไร
ก. ค่า T3 สูง T4 สูง และ TSH สูง
ข. ค่า T3 ต่ำ T4 ต่ำ และ TSH ต่ำ
ค. ค่า T3 สูง T4 ต่ำ และ TSH ต่ำ
ง. ค่า T3 ต่ำ T4 สูง และ TSH สูง
จ. ค่า T3 สูง T4 ต่ำ และ TSH สูง
19. ผลของการที่ร่างกายสร้าง growth hormone น้อยเกินไปในเด็ก ทำให้เกิดโรคใด
ก. โรคคุชชิง ซินโดรม ข. โรคอะโครเมกาลี
ค dwarfism disease ง. Simon’s disease
จ โรคคอพอกเป็นพิษ
20. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ สาเหตุของการเกิดโรคไฮเปอร์ไทรอยด์ (Hyperthyroids)
ก. Hashimoto’s thyroiditis ข. บริโภคกะหล่ำปลีดิบเป็นประจำ
ค รับประทานอาหารที่มีส่วนผสมเกลือสินเธาว์
ง รับประทานอาหารทะเลเป็นประจำ
จ ไม่มีข้อใดถูก
21. การดูดซึมและการใช้แคลเซียมถูกควบคุมโดยฮอร์โมนใด
เอกสารประกอบการสอน วิชา โรคไร้เชื้อในระบบต่อมไร้ท่อ (PH2121)

ก. พาราฮอร์โมน ข. ไธรอกซิน
ค อัลโดสเตอโรน ง. แอนติไดยูเรติก ฮอร์โมน
จ growth hormone
22. ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ใช่ กลุ่มอาการที่พบในคนไข้ที่เป็นโรคอะโครเมกาลี(Acromegaly)
ก. กระดูกมีขนาดใหญ่ ข. มือ เท้า มีขนาดใหญ่
ค ปากหนา ลิ้นหนา ง. หัวใจโต ต่อมธัยรอยด์โตขึ้น
จ ความรู้สึกทางเพศลดลง
23. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ
ก. ระบบประสาทเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการควบคุมต่อมไร้ท่อให้สามารถทำงานได้ตามเป้าหมาย
ข. เซลล์ทุกเซลล์ของร่างกายจะมีชีวิตอยู่ร่วมกันได้โดยต่างก็ตอบสนองต่อฮอร์โมนที่หลั่งกายจาก
ต่อมไร้ท่อทุกต่อม
ค. ฮอร์โมนขนาดเล็กทุกชนิดสามารถเข้าเซลล์ได้ ส่วนฮอร์โมนขนาดใหญ่จะไม่เข้าเซลล์ แต่จะ
กระตุ้นหน่วยรับบนเยื่อหุ้มเซลล์
ง. ต่อมไร้ท่อจะหลั่งฮอร์โมนเพื่อปรับอัตราของปฏิกิริยาชีวเคมีที่มีอยู่แล้วในเซลล์อวัยวะเป้าหมาย
โดยมิได้ก่อให้เกิดปฏิกิริยาขึ้นมาใหม่
จ. ถูกทุกข้อ

24. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่อาการที่เกิดจากภาวะไฮเปอร์ไทรอยด์ (Hyperthyroid)


ก. มือสั่น ใจสั่น ข. ตาโปน
ค ไม่มีเรี่ยวแรง ง. ต่อมธัยรอยด์โตผิดปกติ
จ มวลกระดูกลดลง แตกง่าย
25. ภาวะแทรกซ้อนสำคัญ ที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากภาวะไฮเปอร์ไทรอยด์
ก. โรคเส้นเลือดในสมองตีบ ข. โรคพาร์กินสัน
ค. ภาวะไตวาย ง. โรคหัวใจขาดเลือด
จ. โรคคอพอกเป็นพิษ
26. โรคใดต่อไปนี้ไม่ได้มีสาเหตุที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์
ก. Acromegaly ข. Grave’ s disease
ค toxic goiter ง. Simon’s disease
จ ถูกทั้งข้อ ก และ ง
27. นายโรเบิร์ต อายุ 45 ปี มีลักษณะรูปร่างสูงใหญ่ กระดูกแผ่หนา กว้างขึ้น ทั้งมือ เท้าและใบหน้า
ใหญ่ยาวผิดปกติ กระดูกขากรรไกรยื่นออก กรามใหญ่ ลักษณะอาการดังกล่าว คือ อาการของโรคใด
ก. Acromegaly ข. Grave’ s disease
ค toxic goiter ง. Simon’s disease
เอกสารประกอบการสอน วิชา โรคไร้เชื้อในระบบต่อมไร้ท่อ (PH2121)

จ. dwarfism
28. การเกิดโรคคอพอก (goiter) มีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนสองชนิดอย่างไร
ก. ธัยรอยด์ฮอร์โมน สูงขึ้น ธัยรอยด์ สติมูเรตติง ฮอร์โมน สูงขึ้น
ข. ธัยรอยด์ฮอร์โมน ลดลง ธัยรอยด์ สติมูเรตติง ฮอร์โมน ลดลง
ค. ธัยรอยด์ฮอร์โมน สูงขึ้น ธัยรอยด์ สติมูเรตติง ฮอร์โมน ลดลง
ง. ธัยรอยด์ฮอร์โมน ลดลง ธัยรอยด์ สติมูเรตติง ฮอร์โมน สูงขึ้น
จ. ไม่มีข้อใดถูก
29. โดยสภาวะปกติ ร่างกายของคนเราต้องการสารไอโอดีน ต่อวันกี่ไมโครกรัม
ก. 50-100 ไมโครกรัม ข. 100 – 150 ไมโครกรัม
ค 150 – 200 ไมโครกรัม ง. 200 - 250 ไมโครกรัม
จ 250 -300 ไมโครกรัม
30. โรคใดต่อไปนี้เป็นโรคแทรกซ้อนที่มีโอกาสพบสูงมากในระบบทางเดินอาหารผู้ป่วยที่เป็นโรคอะโคร
เมการี (Acromegaly)
ก. โรคมะเร็งลำไส้ ข. โรคลำไส้อุดตัน
ค โรคกระเพาะ ง. โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ
จ ถูกทุกข้อ
31. โรคใดต่อไปนี้เป็นผลเนื่องมาจากการสร้าง (growth hormone ; GH) น้อยเกินไป
ก. Gigantism ข. Acromegaly
ค Dwarfism disease ง. Simon’s disease
จ ถูกทั้งข้อ ค และ ง
32. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่สาเหตุของการเกิดโรคคุชชิง ซินโดรม (Cushing’s syndrome)
ก. บริโภคยาลูกกลอนเป็นประจำ
ข. เนื้องอกที่ต่อมหมวกไตชั้นนอก
ค. รับประทานยาในกลุ่ม glucocorticoid เพื่อรักษาอาการโรคข้อ
ง. เป็นโรคกรวยไตอักเสบ
จ. เกิดพยาธิสภาพขึ้นที่ไต
33. กลุ่มอาการใดต่อไปนี้ของคนไข้โรค cushing’s syndrome ที่พบร่วมกับคนไข้ diabetes type 2
1. รอยแตกตามผิวหนัง 2. กล้ามเนื้ออ่อนแรง
3 ความดันโลหิตสูง 4 Depression or Psychosis
5 หัวใจล้มเหลว 6. ปัสสาวะบ่อย
ก. 1 2 และ 3 ข. 2 3 และ 5
ค 2 3 4 และ 5 ง. 3 4 5 และ 6 จ. ถูกทุกข้อ
เอกสารประกอบการสอน วิชา โรคไร้เชื้อในระบบต่อมไร้ท่อ (PH2121)

34. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงรูปร่างภายนอกของคนไข้ที่เป็นโรคคุชชิง ซินโด


รม(cushingnoid appearance)
ก. Moon face ข. ภาวะอ้วน (central obesity)
ค รอยแตกตามผิวหนัง ง. น้ำหนักลดอย่างผิดปกติ
จ ประจำเดือนมาผิดปกติ
35. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่แนวทางการรักษาผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ
ก. การรักษาโดยใช้ยา ข. การรักษาโดยใช้ radioactive iodine
ค การผ่าตัด ง. การฉายแสง จ. ถูกทุกข้อ

36. ข้อใดต่อไปนี้ไม่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนไทรอกซิน
1. ควบคุมกระบวนการเมตาบอลิซมของร่างกาย
2. เปลี่ยนไกลโครเจน ให้กลายเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว
3. ถูกสร้างจากต่อมหมวกไต
4. ถ้าขาดจะทำให้เกิดโรค grave’s disease
5. เป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย
ก. 1 และ 2 ข. 2 และ 3
ค 3 และ 4 ง. 2 3 และ 4 จ. 1 2 3 4 และ 5
37. สาเหตุใดต่อไปนี้ของผู้ป่วยที่เป็นโรคต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ (toxic goiter) เกี่ยวข้องกับปัจจัยทาง
พันธุกรรม
ก. ขาดสารไอโอดีน ข. ภาวะออโต อิมมูน
ค ภาวะความดันโลหิตสูง ง. การรับประทานยาลูกกลอนมากเกินไป
จ. ถูกทุกข้อ
38. การรับประทานพืชตระกูลกะหล่ำมากเกินไป ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไร
ก. ทำให้ภาวะ hypothyroid ข. ทำให้เกิดภาวะ hyperthyroid
ค ทำให้เกิดโรค grave’s disease ง. ทำให้เกิดระดับของสารไอโอดีนในกระแสเลือดมากเกินไป
จ. ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นพิษ
39. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่กลุ่มอาการแทรกซ้อนที่พบในคนที่เป็นโรคคุชชิง ซินโดรม
ก. โรคเบาหวาน ข. ความดันโลหิตสูง
ค โรคหัวใจวาย ง. มะเร็งลำไส้ใหญ่ จ. ภาวะคอพอกเป็นพิษ
40. ลักษณะที่ปรากฏที่เด่นชัดบนใบหน้าในคนไข้ที่เป็นโรคคุชชิง ซินโดรม
ก. มีขนอ่อนขึ้นคล้ายหนวด ข. หน้ากลมเป็นพระจันทร์
ค หน้าตกสะเก็ด ง. มีแถบเป็นริ้วแดงๆ บนใบหน้า
เอกสารประกอบการสอน วิชา โรคไร้เชื้อในระบบต่อมไร้ท่อ (PH2121)

จ ถูกทุกข้อ
…………………………………………….

You might also like