วรรณกรรมพื้นบ้านภาคเหนือ เรื่องค่าวซอ

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 12

วรรณกรรมพื้นบ้านภาคเหนือ เรื่อง ค่าวซอ

จัดทำโดย
เด็กชายจิตติพัฒน์ ออดไธสง และคณะ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/5

เสนอ
นายสุทธิภัทร ใจนา

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท22102


ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
โรงเรียนพุทไธสง
วรรณกรรมพื้นบ้านภาคเหนือ เรื่อง ค่าวซอ

จัดทำโดย
เด็กชายคมศิลา มูลต้น เลขที่1
เด็กชายจิตติพัฒน์ ออดไธสง เลขที3่
เด็กชายจิรภัทร โสไธสง เลขที่4
เด็กหญิงจินตนา ไทรพวงโพธิ์ เลขที่17
เด็กหญิงชญากาน นกไธสงคฑา เลขที่18
เด็กหญิงสุวิชาดา เฉียดไธสง เลขที่34
เด็กหญิงมณฑกาญจน์ เกษไธสง เลขที่42
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/5

เสนอ
นายสุทธิภัทร ใจนา

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท22102


ภาคเรียนที2่ ปีการศึกษา 2564
โรงเรียนพุทไธสง

คำนำ
รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาภาษาไทย รหัส ท22102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มี
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและนำเสนอข้อมูลวรรณกรรมพื้นบ้านภาคเหนือ ค่าวซอ เกี่ยวกับนิทานพื้นบ้าน
ได้ฟังเสียงไพเราะจากผู้อ่านและได้รับความเพลิดเพลินจากเนื้อเรื่องนิทาน
ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียน นักศึกษา และผู้ที่มีความ
สนใจในวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องนี้ หากมีข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัย มา ณ
ที่นี้ด้วย

ผู้จัดทำ
เด็กชายจิตติพัฒน์ ออดไธสง และคณะ
กุมภาพันธ์ 2565

สารบัญ

เรื่อง หน้า
คำนำ ........................................................................................................................................................ก
สารบัญ .....................................................................................................................................................ข
สารบัญภาพ .............................................................................................................................................ค
บทที1่ ....................................................................................................................................................... 1
บทนำ ....................................................................................................................................................... 1
ที่มาและความสำคัญ ............................................................................................................................ 1
จุดมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่อง ......................................................................................................... 1
ขั้นตอนการดำเนินการ ......................................................................................................................... 1
บทที2่ ....................................................................................................................................................... 2
ผลการศึกษา ............................................................................................................................................ 2
วรรณกรรรมค่าวซอ.............................................................................................................................. 2
บทที่ 3 ..................................................................................................................................................... 5
สรุปผลการศึกษา...................................................................................................................................... 5
สรุปผลการศึกษา ................................................................................................................................. 5
ข้อเสนอแนะ ........................................................................................................................................ 5
บรรณานุกรม ........................................................................................................................................ 6
ภาคผนวก............................................................................................................................................. 7

สารบัญภาพ

ภาพที่ 1.1 นิทานพื้นบ้าน ........................................................................................................................ 4


ภาพที่ 2.1 ค่าวซอ .................................................................................................................................... 4
1

บทที่1
บทนำ

ที่มาและความสำคัญ
ภาคเหนือนับว่ามีประวัติศาสตร์อันยาวนานมากนั่นทำให้ภาคเหนือมีเรื่องราว นิทาน วรรณกรรม
ระดับท้องถิ่นอีกมากมาย อีกทั้งพวกเค้ายังมีวิธีการสร้างงานเขียน ฉันทลักษณ์งานเขียนที่ไม่เหมือนใครอีก
ด้วย ไหนจะภาษาเหนือที่ไพเราะนั่นอีกเรามาดูกันว่าวรรณกรรมท้องถิ่นภาคเหนือ
วรรณกกรรมค่าวซอ เป็นคำประพันธ์ภาคเหนือรูปแบบหนึ่ง เจริญรุ่งเรืองราว พ.ศ 2300-2470 คำว่าค่าว
ซอ มีความหมาย 2 นัย คือ หมายถึงฉันทลักษณ์ค่าวซออย่างหนึ่ง และหมายถึง วรรณกรรมประเภทค่าว
ซอ นิยมนำมาอ่านในที่ประชุมชน เรียกว่า เล่าค่าว หรือใส่ค่าวเนื้อเรื่องเป็นนิทานพื้นบ้าน เป็นที่นิยมของ
ชาวบ้าน เพราะได้ฟังเสียงไพเราะจากผู้อ่านและได้รับความเพลิดเพลินจากเนื้อเรื่องนิทาน การอ่านค่าว
นิยมในงานขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน บวชลูกแก้ว (บวชเณร) และงานปอยเข้าสังข์ (งานทำบุญอุทิศส่วน
กุศลแก่ผู้ล่วงลับ)
จุดมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่อง
จุดมุ่งหมาย : เพื่อให้ทราบถึงวรรณกรรมพื้นบ้านภาคเหนือเรื่องค่าวซอ
ขอบเขตของการศึกษา :นิทานพื้นบ้าน การเล่า เล่น และร้องเรื่องราวทีเ่ ป็นความสนุกสนานระดับชาวบ้าน
ขั้นตอนการดำเนินการ
1. เลือกหัวข้อรายงาน
2. กำหนดของเขตและจุดมุ่งหมาย
3. ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล
4. เขียนฉบับสมบูรณ์
5. เข้ารูปเล่ม
6. นำเสนอข้อมูล
2

บทที่2
ผลการศึกษา

วรรณกรรรมค่าวซอ
ค่าวซอ คือ การแสดงศิลปวัฒนธรรมล้านนาประจำท้องถิ่น เกี่ยวกับ จ๊อยซอ หรือค่าวคอ
การละเล่นจ๊อยตีข้าว มักจะเล่นกันในงานประเพณีขึ้นธาตุเดือน 9 ที่มาของค่าวล้านนา เป็นการนำเอา
ฉันทลักษณ์ประเภทค่าวซอมาแต่งเป็นวรรณกรรมนั้น ได้เริ่มขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2400 เป็นต้นมา โดยที่
พระยาโลมาวิสัยแต่งค่าวซอ เรื่อง “หงส์ผาคำ” เป็นเรื่องแรก จากการศึกษาของ ฉัตรยุพา สวัสดิ์พงษ์ นั้น
ได้กล่าวว่าพระยาโลมาวิสัยน่าจะเป็นผู้แต่งค่าวซอ เรื่อง “เจ้าสุวัตรนางบัวคำ” อีกด้วย หากเป็นเช่นนี้จริง
ก็อาจเป็นเพราะว่าเมื่อพระยาโลมาวิสัยเห็นว่าค่าวซอเรื่อง หงส์ผาคำ ได้รับการต้อนรับอย่างดี จึงมี
กำลังใจที่จะนำเอาชาดกนอกนิบาตมาแต่งเป็นค่าวซอเรื่อง เจ้าสุวัตรนางบัวคำ ในเวลาต่อมาความนิยม
ฉันทลักษณ์ประเภทค่าวนี้เห็นได้ชัดจากการที่ พระยาพรหมโวหารได้แต่ง ค่าวสี่บท หรือ ค่าวร่ำนางงาม
หรือ ค่าวร่ำนางศรีชม เพื่อเป็นการใช้เสน่ห์แห่งกวีนิพนธ์ ดึงดูดนางชมที่หนีไปนั้น ให้หวนกลับมาหาตนอีก
ครั้งหนึ่ง และสำนวนการเขียนของพระยาพรหมโวหารในครั้งนั้น (ประมาณ พ.ศ. 2480 – 2490) ก็เป็น
สำนวนโวหารนั้นเป็นที่จดจำกันอย่างแพร่หลาย และ เนื่องจากการแต่งค่าวซอนั้นไม่ต้องใช้ความรู้ทาง
อักษรศาสตร์มากนัก จึงเป็นเหตุให้ผู้นิยมฟังการ “เล่าค่าว – การขับทำนองเสนาะ” และการแต่งค่าว
อย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา โดยเฉพาะช่วงที่ยังไม่มีการพิมพ์อักษรล้านนานั้น บรรดาผู้ที่สนใจในตำรา
หรือกวีนิพนธ์ก็จะคัดลอกเอกสารเหล่านั้นต่อ ๆ กันไป ซึ่งเป็นเหตุให้เอกสารเหล่านั้นคลาดเคลื่อนไปจาก
ต้นฉบับได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ยังมีค่าวซออีกหลายเรื่องที่ยังตกสำรวจอยู่ คร่าว, ฅ่าว (อ่านว่า "ค่าว")
เป็นฉันทลักษณ์ที่ชาวบ้านล้านนานิยมใช้กันมากที่สุด ดังจะเห็นได้จากการใช้คำประพันธ์ประเภทนี้อย่าง
กว้างขวาง คือใช้ในการแต่ง - คร่าวก้อม ซึ่งเป็นโวหารที่กินใจ หรือ สุภาษิตสั้นๆ ที่มักใช้ประกอบการ
สนทนา - คำคร่าว คำเครือ เป็นสำนวนแบบฉบับที่หนุ่มสาวใช้เจรจาเป็นโวหารรัก - คร่าวใช้ เป็น
จดหมายที่มีไปมาระหว่างหนุ่มสาว เทียบได้กับเพลงยาวของภาคกลาง - คร่าวร่ำ ใช้พรรณนาเหตุการณ์
ต่างๆ คล้ายกับจดหมายเหตุ เช่น คร่าวร่ำน้ำนอง คร่าวร่ำครัวทานสลากย้อม คร่าวร่ำครูบา ศรีวิชัย -
คร่าวธัมม์ ใช้ในการแต่งเรื่องชาดก ซึ่งมีลักษณะคล้ายเรื่องประเภท จักรๆวงศ์ๆ เพื่ออ่านและ เล่าสู่กัน
ฟังทั่วไป และค่าว เป็นคำประพันธ์ที่มีแบบแผนของชาวล้านนามีฉันทลักษณ์ที่ระบุจำนวนคำในวรรค และ
สัมผัสระหว่างวรรค สรุปเป็นคำกล่าวสั้นๆ “สามตัวเหลียว เจ็ดตัวเตียว บาทหลัง บาทหน้า”
3

จ๊อย เป็นวิธีขับลำนำโดยใช้ค่าว เป็นเนื้อหาหลักบางทีเรียกว่า จ๊อยค่าว วิธีขับจ๊อยมักจะ


ดำเนินท่วงทำนองไปอย่างช้าๆ มีการเอื้อน อาจมีเครื่องดนตรี บรรเลงคลอประกอบหรือไม่ก็ได้ ลีลาและ
ทำนองจ๊อยที่นิยมใช้ ได้แก่ โก่งเฮียวบ่ง ม้าย่ำไฟ และทำนองวิงวอน
ซอ เป็นเพลงพื้นบ้านที่ใช้ค่าวเป็นเนื้อหาหลักแต่ฉันทลักษณ์ของค่าวจะเปลี่ยนแปลงไปตาม
ทำนองอาจสั้นลงหรือยาวขึ้นและมีการบังคับวรรณยุกต์แตกต่างกันไป
ซอ คือ ศิลปะการแสดงประเภทหนึ่งของล้านนามีลักษณะของการขับลำนำหรือการขับร้องด้วยทำนอง
ต่างๆ นิยมเล่นในแถบภาคเหนือตอนบน เนื้อหาสาระที่นำมาเป็นบทขับร้องเป็นองค์ความรู้ที่ได้รับการ
ถ่ายทอดมาจากพ่อครู แม่ครู บทประพันธ์ที่มีฉันทลักษณ์กล่าวถึงเหตุการณ์บ้านเมือง มาร้อยเรียงเป็นบท
การขับซอเป็นการขับขานที่มีเครื่องดนตรีประกอบโดยมีท่วงทำนองแตกต่างกันไป โดยมีทั้งหมดประมาณ
๑๐ ทำนอง ผู้ที่ขับร้องซอ เรียกว่า ช่างซอ มีนักดนตรีเรียกว่า ช่างซึง ช่างปี่ ทำหน้าที่บรรเลงดนตรี
ประกอบการขับซอ ถ้ามีการขับร้องโต้ตอบกันเป็นคู่ ระหว่างช่างซอชายและช่างซอหญิง จะเรียกว่าคู่ถ้อง
การขับซอจะขับบนเวที ซึ่งทางเหนือเรียกเวทีว่า ผามซอ
ซอ มีขนบประเพณีที่สามารถแยกได้เป็นสองสายหลักๆ คือ ซอเชียงใหม่กับซอน่าน ซึ่งมีข้อ
แตกต่างสำคัญ สองประการคือ ชุดของทำนองซอกับเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงร่วมการซอ ชุดทำนองของ
ซอเชียงใหม่ มีชุดที่มีชื่อว่า ตั้งเชียงใหม่ เป็นเพลงหลัก ส่วนสายซอน่าน มีชุดทำนองที่เรียกว่าล่องน่านเป็น
เพลงหลัก ซอตั้งเชียงใหม่ ประกอบด้วย ทำนองตั้งเชียงใหม่ตั้งกลายจะปุ จะปุ ละม้าย ซึ่งแต่ละบทมีคำ
ประพันธ์ที่ใช้ฉันทลักษณ์ต่างกัน มีเพียงจะปุ กับละม้ายเท่านั้น ที่คำซอใช้ฉันทลักษณ์เดียวกัน ซอน่าน มี
ซอดาดน่านลับแลงเป็นเพลงหลักทั้งสองบทนี้ใช้ฉันทลักษณ์เดียวกันแต่เพลงอื่นๆ คือ ปั่นฝ้าย และพระลอ
มีฉันทลักษณ์ที่แตกต่างกันไป ซอเชียงใหม่อาจมีทำนองอื่นๆ ใช้อีกก็ได้ เช่น จ๊อยเชียงแสน ซอเงี้ยว ซออื่อ
และซอพม่า ซึ่งทางสายน่านก็นิยมใช้เช่นเดียวกัน
เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงร่วมกับซอเชียงใหม่ได้แก่ ปี่จุมกับซึง ปี่จุมอาจเป็นปี่จุมสามหรือปี่จุม
สี่ แล้วแต่ความต้องการของคณะ ส่วนซึงที่ใช้นิยมใช้ซึงขนาดใหญ่ที่มีสองสายคือ สายล่างและสายบน
อย่างละหนึ่งเส้น เครื่องดนตรีสำหรับซอน่าน คือ พิณ (ปิน) สองคัน กับสะล้อหนึ่งคัน พิณทั้งสองคันเป็น
พิณขนาดกลางมีสายสี่สาย ขึ้นสายเป็นสายคู่สองคู่ สะล้อมีสองสาย มีนมหรือลูกนับติดตามความยาวของ
ทวน บุคคลสำคัญในด้านการประพันธ์ค่าว คือ นางสาคร พรมไชยา ซึ่งประพันธ์ค่าวออกเผยแพร่ทาง
วิทยุกระจายเสียง และเป็นวิทยาการถ่ายทอดวิชาแก่เยาวชน จนได้รับรางวัลหลายรางวัล ด้านค่าวซอ
4

ฉันทลักษณ์ของค่าว
ค่าวสั้นหรือค่าวก้อม นิยมแต่งเพียง ๔ วรรค ๆ ละ ๔ คำ แต่วรรคแรกอาจมี ๓ คำก็ได้ ตาม
ตัวอย่าง
สาวบ้านหมู่นี้ หน้าเหมือนแคบหมู
เอาหัวปลาทู จุ๊เอาก็ได้

ภาพที่ 1.1 นิทานพื้นบ้าน ภาพที


ภาพที่ ่2.1
1.1ค่นิาทวซอ
านพื้นบ้าน
5

บทที่ 3
สรุปผลการศึกษา
สรุปผลการศึกษา
วรรณกรรมค่าวซอ เป็นวรรณกรรมท้องถิ่นที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และปรากฏ
อยู่ในแต่ภาคเหนือหรือล้านาไทยสมัยก่อนดพียงแห่งเดียว ในปัจจุบันมิได้มีการแต่งวรรณกรรม
ลักษณะนี้กันขึ้นมาอีก คงเหลือแต่ของเก่าซึ่งนับวันต้นฉบับมีแต่จะชำรุดและสูญหายไปกาลเวลา
วรรณกรรมค่าวซอเป็นวรรณกรรมที่เคยมีปรากฏอย่างแพรหลายทั้งในรูปแบบของ
วรรณกรรมลายลักษณ์ และวรรณกรรมมุขปาฐะ ในปัจจุบันเหลือเพียงวรรณกรรมค่าวซอที่เป็น
ลายลักษณ์เท่านั้น โดยวรรณกรรมเหล่านี้ เคยเป็นที่นิยมอ่านและฟังกันมาก ในภาคเหนือตอนบนหรือ
ดินแดนล้านนาไทย กวีผู้ประพันธ์วรรณกรรมได้แต่งวรรณกรรมค่าวซอ จากเรื่องราวของชาดก
นอกนิบาตและนิทานพื้นบ้านที่นำมาจากชาดก โดยมึจุดประสงค์ที่จะให้เด็ก คนหนุ่มคนสาว และคนที่
ไม่ได้เข้าวัดฟังพระเทศน์ มีโอกาสได้รับฟังชาดก ในรูปแบบของความบันเทิง และได้หลักธรรม
คำสั่งสอนของพุทธศาสนาเป็นผลพลอยได้
ข้อเสนอแนะ
1. การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมค่าวซออย่างเจาะลึกเป็นเรื่องๆยังมีน้อยน่าจะมีการนำถาวรรณกรรม
ค่าวซอศึกษาอย่างละเอียดลึกซึ้งกันเพิ่มมากขึ้น
2. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบร้อยกรองหรือคำประพันธ์ท้องถิ่นในแต่ละถิ่นว่า
มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องหรือมีลักษณะร่วมลักษณะแตกต่างมากน้อยอย่างไรโดยนำวรรณกรรมค่าวซอ
ไปเปรียบเทียบวรรณกรรรมท้องถิ่นถิ่นอื่น
3. ควรมีการศึกษารวบรวมสัญลักษณ์ต่างๆของชาวบ้านที่ปรากฏในวรรรณกรรมค่าวซอ เพื่อนำไปสู่ความ
เข้าใจที่แท้จริง
6

บรรณานุกรม

สกุลรัตน์ กาสีไสย์. วรรณกรรมท้องถิ่นภาคเหนือ. ค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2565 จาก


https://sites.google.com/site/sakunrat84/wrrnkrrm-khaw-sx
บ้านจอมยุทธ. วรรรกรรมค่าวซอ ค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2565 จาก
https://www.baanjomyut.com/library_7/local_literature/02.html
ณัฐณิชา ขัติยะ. (2562). ค่าวซอ ค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2565 จาก
https://natnichakattiya.blogspot.com/
7

ภาคผนวก

You might also like