คู่มือการใช้งานQGIS3

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 193

คู่มือ

การใช้งานโปรแกรม QGIS 3
สำหรับการสำรวจระยะไกล

โดย

นางสาวสมจิตต์ เลิศดิษยวรรณ
นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ

กลุ่มวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดิน
กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
กรมพัฒนาที่ดิน
ตุลาคม 2563

เอกสารวิชาการเลขที่ 01/02/2563
คำนำ
Quantum GIS หรือ QGIS เป็นโปรแกรม Desktop GIS ประเภทหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มของซอฟต์แวร์รหัส
เปิด (Free and Open Source Software: FOSS) ที่ใช้งานง่าย ลักษณะการใช้งานเป็นแบบ Graphic User
Interface ซึ่งสะดวกต่อการใช้งาน QGIS ถูกพัฒนาขึ้นโดยกลุ่มนักพัฒนาซอฟต์แวร์จากประเทศเยอรมันในปี
พ.ศ. 2545 เริ่มที่เวอร์ชัน 0.001-alpha และได้มีการพัฒนาโปรแกรมอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันปี พ.ศ.
2563 เวอร์ชันล่าสุดคือ QGIS 3.14 'Pi'
ประสิทธิภาพของโปรแกรม QGIS สามารถเรียกใช้ข้อมูลเชิงเส้น (Vector) และข้อมูลเชิงภาพ (Raster)
ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานแพร่หลาย เช่น Shapefile และ GeoTIFF สามารถใช้งานได้หลายระบบปฏิบัติการ
ทั้ง Window Mac Linux และ Android จึงมีผู้เข้าใช้งานจำนวนมากและมีผู้ร่วมพัฒนากันอย่างจริงจัง จน
ทำให้ปัจจุบันสามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆได้ง่าย โดยไม่จำเป็นต้องใช้ซอฟแวร์ราคาแพง ๆ อีก
คู่มือการใช้งานโปรแกรม QGIS3 สำหรับการสำรวจระยะไกล จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่จะใช้งาน
โปรแกรม QGIS ตั้งแต่พื้นฐานการติดตั้งโปรแกรม การนำเข้าข้อมูลด้วยแถบเครื่องมือต่างๆ การวิเคราะห์
ข้อมูลเชิงเส้นและข้อมูลเชิงภาพ การวิเคราะห์การใช้ที่ดินปัจจุบันด้วยภาพถ่ายจากดาวเทียม และยังสามารถ
นำเข้าข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอื่นๆได้ ตลอดจนจัดการส่งออกในรูปของแผนที่
คู่มือเล่มนี้ได้ทำการศึกษา รวบรวมข้อมูลความรู้จากหลายแหล่ง ทั้งเอกสาร การฝึกอบรม หน้าเวบหลัก
และที่เกี่ยวข้อง และวิดีโอที่สอนวิธีการใช้งาน ร่วมกับประสบการณ์ทำงานที่ใช้งานโปรแกรมด้วยตนเองมา
ตั้งแต่เวอร์ชั่น Quantum GIS 1.7 จนถึงปัจจุบัน พบว่า ยิ่งใช้งานง่ายขึ้นเรื่อยๆ มีความสามารถในการรองรับ
ข้อมูลขนาดใหญ่ ๆ ระดับประเทศได้ ซึ่งผู้เขียนมีความมุ่งหวังให้เอกสารเล่มนี้เป็นแนวทางแก่ผู้ใช้งานหรือผู้
เริ่มต้นใช้งานได้เล็งเห็นถึงประโยชน์อันมหาศาลของโปรแกรม QGIS นี้ เพื่อส่งต่อให้ผู้ใช้งานรุ่นต่อ ๆ ไป

นางสาวสมจิตต์ เลิศดิษยวรรณ
นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ
กลุ่มวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดิน
กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
กรมพัฒนาที่ดิน
23 ตุลาคม 2563
i

สารบัญ
หน้า

1 การใช้งานโปรแกรม QGIS 1
1.1 การติดตั้งโปรแกรม QGIS 1
1.2 คำสั่งและเครื่องมือของโปรแกรม QGIS 7
1.3 การสร้างโครงการและกำหนดระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ 13
1.4 การบันทึกโครงการ 15

2 การทำงานร่วมกับข้อมูลเชิงเส้น (Vector) 17
2.1 การสร้างชั้นข้อมูลเชิงเส้น (Vector) 18
และตารางคุณลักษณะ (Attribute Table)
2.1.1 การสร้างข้อมูลแบบจุด (Point) 18
2.1.2 การสร้างข้อมูลแบบเส้น (Line) 23
2.1.3 การสร้างข้อมูลแบบพื้นที่รูปปิด (Polygon) 25
2.2 การนำเข้าชั้นข้อมูลเชิงเส้น (Vector) 28
2.3 การกำหนดสัญลักษณ์ให้กับชั้นข้อมูลเชิงเส้น (Vector) 30
2.3.1 การกำหนดสัญลักษณ์ข้อมูลแบบจุด (Point) 30
2.3.2 การกำหนดสัญลักษณ์ข้อมูลแบบเส้น (Line) 31
2.3.3 การกำหนดสัญลักษณ์ข้อมูลแบบพื้นที่รูปปิด (Polygon) 34
2.3.4 การปรับแต่งสัญลักษณ์ข้อมูล 40
2.4 การกำหนด Labels ให้กับชั้นข้อมูลเชิงเส้น (Vector) 42
2.5 การนำเข้าข้อมูลด้วยเครื่องมือ Advance Digitizing Tools 44
2.5.1 การกำหนดค่า Digitizing และ Snapping 44
2.5.2 การใช้เครื่องมือ Add Polygon Feature 45
2.5.3 การใช้เครื่องมือ Add Polygon Feature เชื่อมต่อระหว่างสองพื้นที่ 47
2.5.4 การใช้เครื่องมือ Select Features 48
2.2.5 การใช้เครื่องมือ Merge Selected Feature 48
2.2.6 การใช้เครื่องมือ Add Ring 51
2.2.7 การใช้เครื่องมือ Delete Ring 53
2.2.8 การใช้เครื่องมือ Fill Ring 54
2.2.9 การใช้เครื่องมือ Reshape Features 55
2.2.10 การใช้เครื่องมือ Split Features 57
2.2.11 การใช้เครื่องมือ Split Parts 58
2.2.12 การใช้เครื่องมือ Deselect Features 60
2.2.13 การใช้เครื่องมือ Delete Part 61
ii

สารบัญ
หน้า

2.2.14 การใช้เครื่องมือ Undo และ Redo 62


2.2.15 การใช้เครื่องมือ Save Layer Edits 63

3 การทำงานร่วมกับข้อมูลเชิงภาพ (Raster) 64
3.1 การนำเข้าชั้นข้อมูลเชิงภาพ (Raster) 64
3.2 การกำหนดสัญลักษณ์ให้กับชั้นข้อมูลเชิงภาพ (Raster) 66
3.2.1 การกำหนดค่าในแถบ Symbology 66
3.2.2 การกำหนดค่าในแถบ Transparency 66
3.3 การเพิ่มข้อมูลแผนที่ฐาน (Base Map) ออนไลน์ 68
3.3.1 การเพิ่มข้อมูลแผนที่ฐานด้วยวิธีการ XYZ Tiles 68
3.3.2 การเพิ่มข้อมูลแผนที่ฐานด้วย QuickMapServices Plugins 73
3.3.3 การเพิ่มข้อมูลแผนที่ฐานด้วย ArcGISMapServer 75

4 การแปลงข้อมูลเชิงเส้นไปเป็นข้อมูลเชิงภาพและการแปลงระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ 78
4.1 การแปลงข้อมูลเชิงเส้นไปเป็นข้อมูลเชิงภาพ 78
4.2 การแปลงข้อมูลเชิงภาพไปเป็นข้อมูลเชิงเส้น 81
4.3 การแปลงระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ 84

5 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเส้น (Vector) 87
5.1 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Geoprocessing Tools 87
5.1.1 การสร้าง Buffer 88
5.1.2 การตัดข้อมูลด้วยเครื่องมือ Clip 89
5.1.3 การรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือ Dissolve 90
5.1.4 การตัดกันของข้อมูลด้วยเครื่องมือ Intersection 91
5.1.5 การรวมกันของข้อมูลด้วยเครื่องมือ Union 92
5.1.6 การรวมข้อมูลที่เลือกไว้ด้วยเครื่องมือ Eliminate Selected Polygons 93
5.2 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Geometry Tools 94
5.2.1 การแยกส่วนของข้อมูลออกจากกันด้วยเครื่องมือ Multipart to Singleparts 95
5.2.2 การแปลงข้อมูลพื้นที่เป็นเส้นด้วยเครื่องมือ Polygons to Lines 96
5.3 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Research Tools 97
5.3.1 การสร้างกริดด้วยเครื่องมือ Create Grid 98
5.3.2 การสุ่มกริดเพื่อใช้เป็นพื้นที่ตรวจสอบด้วยเครื่องมือ Random Selection 99
iii

สารบัญ
หน้า

5.4 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Data Management Tools 100


5.4.1 การรวมข้อมูลเชิงเส้นหลายไฟล์เข้าด้วยกันด้วยเครื่องมือ Merge Vector Layers 101
5.4.2 การเปลี่ยนพิกัดภูมิศาสตร์ให้กับข้อมูลเชิงเส้นด้วยเครื่องมือ Reproject Layer 102

6 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงภาพ (Raster) 103


6.1 การต่อข้อมูลภาพ (Raster Mosaicing) 103
6.2 การตัดข้อมูลภาพ (Raster Clipping) 106
6.2.1 การตัดข้อมูลภาพด้วยขอบเขต 106
6.2.2 การตัดข้อมูลภาพด้วยข้อมูลเชิงเส้น 109
6.3 การผสมสีให้กับข้อมูลภาพดาวเทียม (Bands Combination) 112
6.4 การ classify ภาพ ด้วย Semi-Automatic Classification Plugin (SCP) 117
6.4.1 การติดตั้ง Semi-Automatic Classification Plugin 117
6.4.2 การใช้งาน Semi-Automatic Classification Plugin 119
6.4.3 การทำ Band combinations ด้วย SCP 123
6.4.4 การ Download products ด้วย SCP 126
6.4.5 การสร้าง ROI ด้วย SCP 131
6.4.6 การ Classification ด้วย SCP 140
6.5 การคำนวณข้อมูลภาพ (Raster Calculator) 145
6.5.1 การคำนวณค่าดัชนีพืชพรรณ 148
6.5.2 การคำนวณค่าทั่วๆไป 150

7 การวิเคราะห์ข้อมูลตาราง (Attribute Table) 152


7.1 การเพิ่มและลบ field ของตาราง 152
7.1.1 การเพิ่ม field ของตาราง 152
7.1.2 การลบ field ของตาราง 155
7.2 การอัปเดตข้อมูล 157
7.3 การคำนวณเนื้อที่ (Area) เส้นรอบรูป (Perimeter) และเนื้อที่เป็นไร่ 159
7.3.1 การคำนวณเนื้อที่ (Area) 159
7.3.2 การคำนวณเส้นรอบรูป (Perimeter) 160
7.3.3 การคำนวณเนื้อที่เป็นไร่ 162
7.4 การคำนวณค่าพิกัด X และ Y 163
iv

สารบัญ
หน้า

8 การสร้างองค์ประกอบต่างๆของแผนที่และการพิมพ์ 166
8.1 การเพิ่มภาพแผนที่ 169
8.2 การปรับย้ายตำแหน่งภาพแผนที่ 170
8.3 การเพิ่มภาพแผนที่ภาพรวม 171
8.4 การเพิ่มเครื่องหมายทิศเหนือ 173
8.5 การเคลื่อนย้าย item 174
8.6 การเพิ่มแถบมาตราส่วนแผนที่ 175
8.7 การเพิ่มแถบสัญลักษณ์แผนที่ 176
8.8 การเพิ่มกริดในแผนที่ 177
8.9 การเพิ่มข้อความหัวเรื่อง 179
8.10 การเพิ่มโลโก้หน่วยงาน 180
8.11 การเพิ่มขอบเขตหรือกรอบแผนที่ 182
8.12 การส่งออกแผนที่ 183

เอกสารอ้างอิง 187
คู่มือ
การใช้งานโปรแกรม QGIS3 สำหรับการสำรวจระยะไกล
1 การใช้งานโปรแกรม QGIS
Quantum GIS หรือ QGIS เป็นโปรแกรม Desktop GIS ประเภทหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มของซอฟต์แวร์รหัส
เปิด (Free and Open Source Software: FOSS) ที่ใช้งานง่าย ลักษณะการใช้งานเป็นแบบ Graphic User
Interface ซึ่งสะดวกต่อการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการเรียกใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่ ทั้งข้อมูลเชิงเส้น (Vector) และ
ข้อมูลเชิงภาพ (Raster) และข้อมูล ตาราง (Attribute Table) สามารถสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ข้อมู ล และ
นำเสนอข้อมูลได้ในรูปแบบแผนที่ ตาราง หรือกราฟ อย่างที่มีประสิทธิภาพ QGIS สามารถเรียกใช้ข้อมู ลเชิง
เส้ น (Vector) และข้ อ มู ล เชิ ง ภาพ (Raster) ในรู ป แบบที ่ เ ป็ น มาตรฐานแพร่ ห ลาย เช่ น Shapefile และ
GeoTIFF สามารถใช้ ง านได้ ห ลายระบบปฏิ บ ั ติ ก ารทั ้ ง Window Mac Linux และ Android สามารถ
Download ได้ที่ www.qgis.org

1.1 การติดตั้งโปรแกรม QGIS


ไปที่ www.qgis.org เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรม QGIS สามารถใช้งานได้หลายระบบปฏิบัติการ
ทัง้ Window Mac Linux และ Android คลิกเลือกที่ Download for Windows
2

สามารถเลือกได้ทั้งแบบเวอร์ชันล่าสุด Latest release) หรือเวอร์ชันระยะยาว (Long term release) ซึ่งเป็น


รุ่นที่มีความเสถียรกว่า เนื่องจากรุ่นนี้จะมีข้อผิดพลาดน้อยและไม่มีการปรับปรุงฟีเจอร์ใหม่มากนัก และรองรับ
ทั้ง 32 bit และ 64 bit คลิกเลือกดาวน์โหลด QGIS 3.10 (Long term release)
3

จะได้ ไ ฟล์ ช ื ่ อ QGIS-OSGeo4W-3.10.6-1-Setup-x86_64 ดั บ เบิ ้ ล คลิ ก ไฟล์ เ พื ่ อ ติ ด ตั ้ ง โปรแกรม QGIS


จากนั้นให้คลิก Next

โปรแกรมจะขึ้น License Agreement เพื่อให้เรายอมรับลิขสิทธิ์ของโปรแกรม คลิก I Agree


4

กำหนดโฟลเดอร์ที่ต้องการติดตั้ง ส่วนใหญ่จะติดตั้งไว้ที่ C:\Program Files\QGIS 3.10 แล้วคลิก Next

ถ้าไม่เลือกข้อมูลตัวอย่างจากโปรแกรม ให้คลิก Install


5

โปรแกรมดำเนินการติดตั้งจนเสร็จ ให้คลิก Finish

หลังจากติดตั้งเสร็จเรียบร้อย จะสร้างโฟลเดอร์โปรแกรมไว้ที่ Desktop


6

สามารถเปิดโปรแกรม QGIS ได้จาก QGIS Desktop 3.10.6 หรือ QGIS Desktop 3.10.6 with GRASS 7.8.3
7

1.2 คำสั่งและเครื่องมือของโปรแกรม QGIS

Graphic User Interface ของโปรแกรม QGIS มีส่วนประกอบของหน้าจอหลักๆ ดังนี้

แถบเมนู

แถบเครื่องมือ

หน้าต่าง หน้าต่างแสดงแผนที่
ชั้นข้อมูล

แถบสถานะ

- แถบเมนู (Manu Bar)


- แถบเครื่องมือ (Tool Bar)
- หน้าต่างชั้นข้อมูล (Panels)
- หน้าต่างแสดงแผนที่ (Map View)
- แถบสถานะ (Status Bar)
8

1.2.1 แถบเมนู (Manu Bar) เป็นแถบคำสั่งต่างๆทั้งหมดของโปรแกรม QGIS โดยจัดหมวดหมู่ไว้


เป็น 11 หมวดหลัก แต่ละหมวดมีเมนูย่อยลงไป ซึ่งสามารถเรียกใช้ได้โดยการคลิกเลือกคำสั่งนั้นๆ เช่น

1) Project 2) Edit 3) View


9

4) Layer 5) Settings 6) Vector

7) Raster 8) SCP
10

1.2.2 แถบเครื่องมือ (Tool Bar) เป็นชุดคำสั่งที่ใช้งานบ่อยของโปรแกรม QGIS มีลักษณะเป็น


กลุ่มไอคอน (icon) จัดไว้เป็นหมวดหมู่เดียวกัน เพื่อง่ายและสะดวกในการใช้งาน และสามารถย้ายและเปิดปิด
ได้ตามความถนัดของผู้ใช้งาน
1) Project Toolbar ใช้สำหรับสร้างโครงการใหม่ เปิดโครงการ บันทึกโครงการ และ
จัดการส่งออกแผนที่

2) Manage Layers Toolbar ใช้สำหรับเปิดข้อมูลประเภทต่างๆ เช่น เวกเตอร์


ราสเตอร์ XYZ Tiles WMS/WMTS WCS WFS Oracle ArcGisMapServer และ ArcGisFeatureServer
เป็นต้น

3) View Toolbar ใช้สำหรับเคลื่อนย้ายแผนที่ ย่อขยายแผนที่เข้าออก ซูมแผนที่ตามที่


เลือกไว้ การย้อนไปย้อนกลับของการซูมเดิม และรีเฟรชภาพให้เป็นปัจจุบัน

4) Attributes Toolbar ใช้สำหรับ จัดการตารางข้อมูล เช่น เรียกดูข้อมูล โดยให้แสดง


ตารางออกมา เพิ่มรายละเอียดข้อมูล คัดเลือกและไม่คัดเลือกข้อมูล ปรับปรุงและคำนวณข้อมูลในตาราง
เครื่องมือวัดความยาว และการตั้งค่าต่างๆ เป็นต้น

5) Digitizing Toolbar ใช้สำหรับการเลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการแก้ไข การสร้า งข้อมูลใหม่


การปรับแก้node การลบ การตัด คัดลอก และวางข้อมูลที่เลือกไว้

6) Advanced Digitizing Toolbar ใช้สำหรับแก้ไขข้อมูล ได้แก่ การเคลื่อนย้าย การเพิ่ม


ช่องว่าง การปิดช่องว่าง และการเพิ่มข้อมูลใหม่ลงตรงกลางข้อมูลเดิม การปรับแต่งขอบเขต การตัดแบ่ง การ
ตัดแบ่งเป็นส่วน และการรวมข้อมูล
11

1.2.3 หน้าต่างชั้น ข้อมูล (Layers Panels) และการเชื่อมต่อกั บไฟล์ ข้อ มูล ต่า งๆ (Browser
Panels) คือ ส่วนแสดงรายชื่อชั้นข้อมูลที่มีอยู่ และยังใช้จัดการลำดับ ปรับแต่งการแสดงผล และเปิด -ปิด ชั้น
ข้อมูลอีกด้วย

Layers Panel Browser Panel


12

1.2.4 หน้าต่างแสดงแผนที่ (Map View) คือ ส่วนการแสดงผลแผนที่ทั้งหมดตามที่ได้กำหนดไว้


ใน Panels และ ผู้ใช้งานยังสามารถปรับแต่ง ลบ-เพิ่ม รายละเอียดของชั้นข้อมูลต่าง ๆ ได้ในส่วนนี้

1.2.5 แถบสถานะ (Status Bar) แสดงตำแหน่งปัจจุบันที่ mouse pointer ชี้อยู่ (ซึ่งสามารถ


เปลี่ยนเป็นแสดงขอบเขตของแผนที่ที่แสดงอยู่ได้โดยคลิกไอคอนด้านซ้ายสุดของแถบ Status Bar) นอกจากนี้
ยังบอกมาตราส่วนและระบบพิกัดแผนที่ที่ใช้อยู่อีกด้วย

Current map coordinate Current CRS

Current map Current


map coordinate
13

1.3 การสร้างโครงการและกำหนดระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์
การสร้างโครงการและกำหนดระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ เริ่มจาก New Project แล้วคลิกเลือก
แถบเมนู Project เลื่อนลงไปคลิกเลือก Project Properties
ในหน้าต่าง Project Properties
1.3.1 แถบ General สามารถกำหนด
1) General Setting ได้แก่ ชื่อโครงการ เปลี่ยนสีในการเลือก และพื้นหลังได้
2) Measurements ใช้กำหนด Ellipsoid ที่ใช้สำหรับคำนวณระยะทางและพื้นที่ และ
กำหนดหน่วยการวัด
3) Coordinate Display ใช้กำหนดรูปแบบการแสดงพิกัด
4) Project Predefined Scales ใช้กำหนดมาตราส่ว นต่างๆ เพื่อสะดวกในการเลื อ ก
มาตราส่วนย่อหรือขยาย
14

1.3.2 แถบ CRS (Project Coordinate Reference System) ใช้ ใ นการกำหนดพิ กั ด


ภูมิศาสตร์ที่ต้องการ ประเทศไทยใช้ ระบบพิกัด Universal Transverse Mercator (UTM) โซน WGS84 /
UTM zone 47 N และโซน WGS84 / UTM zone 48 N (ทางด้ า นตะวั น ออกของประเทศไทย) หรื อ
Authority ID เป็น EPSG:32647 และ EPSG:32648
15

1.4 การบันทึกโครงการ
เมื่อทำการกำหนดค่าต่างๆเรียบร้อยแล้ว ไปที่แถบเมนู Project เลือก save หรือคลิกที่ปุ่ม Save
Project

เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บไฟล์ ตั้งชื่อไฟล์แล้วคลิกปุ่ม save ได้ทั้งแบบ *.qgz หรือ *.qgs


16

เมื่อบันทึกเสร็จเรียบร้อย ชื่อโครงการจะแสดงที่มุมบนซ้ายของหน้าต่าง
17

2 การทำงานร่วมกับข้อมูลเชิงเส้น (Vector)
ก่อนทำการสร้างข้อมูล shapefile ใหม่ หรือทำการดิจิไตซ์ข้อมูลเพิ่มเติม ต้องทำการกำหนดค่า snap
เพื่อให้ข้อมูลมีความต่อเนื่องกัน หรือไม่เกิดข้อผิดพลาด เช่น เกิดช่องว่าง หรือเกิดการซ้อนกันแบบทั้งหมดหรือ
บางส่วน ไปที่แถบ Settings คลิกเลือก Options

ในหน้าต่าง Options คลิกเลือกแถบ Digitizing ไปกำหนดค่า Default snap mode และ Default
snapping tolerance ที่ Snapping คลิก OK
18

2.1 การสร้างชั้นข้อมูลเชิงเส้น (Vector) และตารางคุณลักษณะ (Attribute Table)


2.1.1 การสร้างข้อมูลแบบจุด (Point)
1) ไปที่แถบเมนู Layer เลือก Create Layer >> New Shapefile Layer

ในหน้าต่าง New Shapefile Layer


2) กำหนดชื่อไฟล์ ในช่อง File name
File encoding เลือกเป็น UTF-8 (หรือ TIS-620 เพื่อรองรับภาษาไทย)
Geometry type เลือกเป็น Point
19

3) CRS เลือกเป็น EPSG:32647 - WGS84 / UTM zone 47 N


4) New Field กำหนดชื่อในช่อง name กำหนด Type เป็น text data กำหนดความ
ยาว 80 ตัวอักษร ถ้าเป็นตัวเลข ต้องกำหนดเป็น Whole หรือ Decimal number คลิกปุ่ม Add to Fields
List เมือ่ กำหนดรายละเอียดตารางเรียบร้อยแล้ว คลิก OK
20

5) การดิจิไตซ์ข้อมูล เริ่มโดยเลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ คลิกปุ่ม Toggle Editing เพื่อให้ปุ่ม


ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดิจิไตซ์สามารถใช้งานได้

6) คลิกที่ปุ่ม Add Point Feature แล้วทำการดิจิไตซ์แบบจุดลงในหน้าต่างแสดง


แผนที่
21

7) โปรแกรมจะขึ้นหน้าต่าง Feature Attributes เพื่อให้เราสามารถกรอกรายละเอียด


ต่างๆของข้อมูลตามที่ได้กำหนดไว้ แล้วคลิก OK ก็จะได้ข้อมูลแบบจุดปรากฏในหน้าต่าง ซึ่งสามารถดิจิไตซ์
และกรอกรายละเอียดต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นตามต้องการ

8) สามารถเรียกดูตาราง Attribute ได้โดยเลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ คลิกขวาเลือก Open


Attribute Table หรือคลิกปุ่ม Open Attribute Table ตารางของชั้นข้อมูลดังกล่าวก็จะแสดงออกมา
22

9) แสดงข้อมูลในตาราง

10) ทำการบันทึกชั้นข้อมูล โดยการคลิกปุ่ม Save Layer Edits


23

2.1.2 การสร้างข้อมูลแบบเส้น (Line)


1) ไปที่แถบเมนู Layer เลือก Create Layer >> New Shapefile Layer
ในหน้าต่าง New Shapefile Layer
กำหนดชื่อไฟล์ ในช่อง File name
File encoding เลือกเป็น UTF-8 (หรือ TIS-620 เพื่อรองรับภาษาไทย)
Geometry type เลือกเป็น Line
CRS เลือกเป็น EPSG:32647 - WGS84 / UTM zone 47 N
New Field กำหนดชื่อในช่อง name กำหนด Type เป็น text data กำหนดความ
ยาว 80 ตัวอักษร ถ้าเป็นตัวเลข ต้องกำหนดเป็น Whole หรือ Decimal number คลิกปุ่ม Add to Fields
List เมื่อกำหนดรายละเอียดตารางเรียบร้อยแล้ว คลิก OK

2) การดิจิไตซ์ข้อมูล เริ่มโดยเลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ คลิกปุ่ม Toggle Editing เพือ่ ให้ปุ่ม


ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดิจิไตซ์สามารถใช้งานได้
คลิกที่ป ุ่ม Add Line Feature แล้ว ทำการดิจิไตซ์แบบเส้นลงในหน้าต่าง
แสดงแผนที่ โดยคลิกตามแนวเส้นที่ต้องการ (อาจต้องใช้ภาพเบื้องหลัง) เมื่อได้เส้นตามต้องการแล้วคลิกขวา
เพื่อออกจากการดิจิไตซ์เส้นดังกล่าว
24

3) โปรแกรมจะขึ้นหน้าต่าง Feature Attributes เพื่อให้เราสามารถกรอกรายละเอียด


ต่างๆของข้อมูลตามที่ได้กำหนดไว้ แล้วคลิก OK ก็จะได้ข้อมูลแบบเส้นปรากฏในหน้าต่าง ซึ่งสามารถดิจิไตซ์
และกรอกรายละเอียดต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นตามต้องการ
25

สามารถเรียกดูตาราง Attribute ได้โดยเลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ คลิกขวาเลือก Open


Attribute Table หรือคลิกปุ่ม Open Attribute Table ตารางของชั้นข้อมูลดังกล่าวก็จะแสดงออกมา
4) ทำการบันทึกชั้นข้อมูล โดยการคลิกปุ่ม Save Layer Edits

2.1.3 การสร้างข้อมูลแบบพื้นที่รูปปิด (Polygon)


1) ไปที่แถบเมนู Layer เลือก Create Layer >> New Shapefile Layer
ในหน้าต่าง New Shapefile Layer
กำหนดชื่อไฟล์ ในช่อง File name
File encoding เลือกเป็น UTF-8 (หรือ TIS-620 เพื่อรองรับภาษาไทย)
Geometry type เลือกเป็น Polygon
CRS เลือกเป็น EPSG:32647 - WGS84 / UTM zone 47 N
New Field กำหนดชื่อในช่อง name กำหนด Type เป็น text data กำหนดความ
ยาว 80 ตัวอักษร ถ้าเป็นตัวเลข ต้องกำหนดเป็น Whole หรือ Decimal number คลิกปุ่ม Add to Fields
List เมือ่ กำหนดรายละเอียดตารางเรียบร้อยแล้ว คลิก OK
26

การดิจิไตซ์ข้อมูล เริ่มโดยเลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ คลิกปุ่ม Toggle Editing เพื่อให้ปุ่ม


ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดิจิไตซ์สามารถใช้งานได้
2) คลิกที่ปุ่ม Add Polygon Feature แล้วทำการดิจิไตซ์แบบพื้นที่รูปปิดลงใน
หน้าต่างแสดงแผนที่ โดยคลิกตามแนวพื้นที่ที่ต้องการ (อาจต้องใช้ภาพเบื้องหลัง) เมื่อได้พื้นที่รูปปิดตาม
ต้องการแล้วคลิกขวาเพื่อออกจากการดิจิไตซ์พื้นที่รูปปิดดังกล่าว
27

3) โปรแกรมจะขึ้นหน้าต่า ง Feature Attributes เพื่อให้เราสามารถกรอกรายละเอียด


ต่างๆของข้อมูลตามที่ได้กำหนดไว้ แล้วคลิก OK ก็จะได้ข้อมูลแบบพื้นที่รูปปิดปรากฏในหน้าต่าง ซึ่งสามารถ
ดิจิไตซ์และกรอกรายละเอียดต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นตามต้องการ
สามารถเรียกดูตาราง Attribute ได้โดยเลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ คลิกขวาเลือก Open
Attribute Table หรือคลิกปุ่ม Open Attribute Table ตารางของชั้นข้อมูลดังกล่าวก็จะแสดงออกมา

4) ทำการบันทึกชั้นข้อมูล โดยการคลิกปุ่ม Save Layer Edits


28

2.2 การนำเข้าชั้นข้อมูลเชิงเส้น (Vector)


ข้อมูลเชิงเส้น คือ ข้อมูลที่ใช้รูปทรงเรขาคณิตในการแสดงข้อมูลเชิงพื้นที่ ในรูปแบบของจุด
(Point) เส้น (Line) และพื้นที่รูปปิด (Polygon) ที่ประกอบด้วยพิกัดทางแนวราบ(X,Y)
1) ไปที่แถบเมนู Layer เลือก Add Layer >> Add Vector Layer หรือคลิกปุ่ม
Add Vector Layer

ในหน้าต่าง Data Source Manager ไปที่แถบ Vector


2) File encoding เลือกเป็น UTF-8 (หรือ TIS-620 เพื่อรองรับภาษาไทย)
29

3) ที่ช่อง Vector Dataset(s) เลือกไฟล์ข้อมูลที่ต้องการนำเข้า (.shp หรือ รูปแบบอื่นๆ)


คลิก OK

4) ภาพแผนที่จะปรากฏในหน้าต่างแสดงแผนที่ โดยที่ชั้นข้อมูลแสดงใน Layer Panel


30

2.3 การกำหนดสัญลักษณ์ให้กับชั้นข้อมูลเชิงเส้น (Vector)


2.3.1 การกำหนดสัญลักษณ์ข้อมูลแบบจุด (Point)
1) เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ คลิกขวาเลือก Properties

ในหน้าต่าง Layer Properties ไปที่แถบ Symbology


2) เลือกรูปแบบของการแสดงสัญลักษณ์ ได้แก่ แบบ Single symbol (สัญลักษณ์รูปแบบ
เดียว) แบบ Categorized (สัญลักษณ์หลายรูปแบบ) และแบบ Graduated (สัญลักษณ์หลายรูปแบบอย่าง
ต่อเนื่อง)
Symbology Type เลือกเป็น Single marker และสามารถเปลี่ยนรูปแบบสัญลักษณ์
ขนาด และสีได้
เราสามารถบันทึก Style เพื่อเก็บเอาไว้ใช้ครั้งต่อไปหรือกับไฟล์อื่นๆ โดยคลิกปุ่ม
Style >>Save Style เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บไฟล์ ตั้งชื่อไฟล์แล้วคลิกปุ่ม save ได้ทั้งแบบ *.qml หรือ
*.sld
จากไฟล์ที่บันทึกไว้ สามารถเรียกสัญลักษณ์มาแสดงได้อีก โดยคลิกปุ่ม Style >>Load
Style
เลือกไฟล์จากโฟลเดอร์ที่เก็บไว้ แล้วคลิกปุ่ม Load Style ก็จะได้สัญลักษณ์ตามที่เคย
กำหนดไว้
31

2.3.2 การกำหนดสัญลักษณ์ข้อมูลแบบเส้น (Line)


1) เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ คลิกขวาเลือก Properties

ในหน้าต่าง Layer Properties ไปที่แถบ Symbology


32

2) เลือกรูปแบบของการแสดงสัญลักษณ์ ได้แก่ แบบ Single symbol (สัญลักษณ์รูปแบบ


เดียว)แบบ Categorized (สัญลักษณ์หลายรูปแบบ) และแบบ Graduated (สัญลักษณ์หลายรูปแบบอย่าง
ต่อเนื่อง)
Symbology Type เลือกเป็น Categorized
Value เลือกข้อมูลที่ต้องการแสดงผลออกมา เลือกเป็น Name แล้วคลิกปุ่ม Classify

3) เราสามารถบันทึก Style เพื่อเก็บเอาไว้ใช้ครั้งต่อไปหรือกับไฟล์อื่น ๆ โดยคลิกปุ่ม


Style >>Save Style เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บไฟล์ ตั้งชื่อไฟล์แล้วคลิกปุ่ม save ได้ทั้งแบบ *.qml หรือ
*.sld
33

4) จากไฟล์ที่บันทึกไว้ สามารถเรียกสัญลักษณ์มาแสดงได้อีก โดยคลิกปุ่ม Style >>Load


Style เลือกไฟล์จากโฟลเดอร์ที่เก็บไว้ แล้วคลิกปุ่ม Load Style ก็จะได้สัญลักษณ์ตามที่เคยกำหนดไว้
34

2.3.3 การกำหนดสัญลักษณ์ข้อมูลแบบพื้นที่รูปปิด (Polygon)


1) เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ คลิกขวาเลือก Properties

2) ในหน้าต่าง Layer Properties ไปที่แถบ Symbology


35

3) เลือกรูปแบบของการแสดงสัญลักษณ์ ได้แก่ แบบ Single symbol (สัญลักษณ์รูปแบบ


เดียว) แบบ Categorized (สัญลักษณ์หลายรูปแบบ) และแบบ Graduated (สัญลักษณ์หลายรูปแบบอย่าง
ต่อเนื่อง)

4) Symbology Type เลือกเป็น Categorized


Value เลื อ กข้ อ มู ล ที ่ ต ้ อ งการแสดงผลออกมา เลื อ กเป็ น LUCODE แล้ ว คลิ ก ปุ่ ม
Classify
36

5) เราสามารถบันทึก Style เพื่อเก็บเอาไว้ใช้ครั้งต่อไปหรือกับไฟล์อื่นๆ โดยคลิกปุ่ม


Style >>Save Style

6) เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บไฟล์ ตั้งชื่อไฟล์แล้วคลิกปุ่ม save ได้ทั้งแบบ *.qml หรือ


*.sld
37

7) จากไฟล์ที่บันทึกไว้ สามารถเรียกสัญลักษณ์มาแสดงได้อีก โดยคลิกปุ่ม Style >>Load


Style

8) เลือกไฟล์จากโฟลเดอร์ที่เก็บไว้ แล้วคลิกปุ่ม Load Style ก็จะได้สัญลักษณ์ตามที่เคย


กำหนดไว้
38

9) อาจเลือกใช้แถบสีจาก Color ramp ที่โปรแกรมกำหนดไว้ ทั้งจากแถบ All Color


Ramps

10) แถบ Create New Color ramp


39

11) ในหน้าต่าง Color ramp type เลือก Catalog: cpt-city

12) แสดงแถบสี อ ี ก หลากหลายแบบ เช่ น QGIS Topography Precipitation หรื อ


Temperature เป็นต้น
40

2.3.4 การปรับแต่งสัญลักษณ์ข้อมูล
1) เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ คลิกขวาเลือก Properties ในหน้าต่าง Layer Properties
ไปที่แถบ Symbology เลือกสัญลักษณ์ที่ ต้องการปรับแต่ง (เช่น สัญลักษณ์ F1 : ป่าไม่ผลัดใบที่มีสีน้ำเงิน
ต้องการเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม) ดับเบิล้ คลิกทีแ่ ถบสีนำ้ เงิน
2) ในหน้าต่าง Symbol Selector ที่ปรากฏขึ้น ทำการปรับแต่ง โดย Symbol layer
type เลือกเป็น Simple fill

3) Fill color และ Fill style ใช้กำหนดสี รูปแบบ ทึบ โปร่ง ลวดลายที่ต้องการให้กับ
พื้นที่
41

4) Stroke color Stroke width และ Stroke style ใช้กำหนดสี ขนาด รูปแบบ ทึบ
โปร่ง เส้นทึบ เส้นประของเส้นขอบพื้นที่

5) เมื่อปรับแต่งเรียบร้อยแล้ว คลิกปุ่ม OK สามารถปรับแต่งได้ตามต้องการ


42

2.4 การกำหนด Labels ให้กับชั้นข้อมูลเชิงเส้น (Vector)


1) เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ คลิกขวาเลือก Properties
ในหน้าต่าง Layer Properties ไปที่แถบ Labels
2) Label type เลือกเป็น Single labels
Value เลือกข้อมูลที่ต้องการแสดงผลออกมา เลือกเป็น LUCODE
3) แถบ Text ใช้กำหนดตัวอักษร ทั้งชนิด รูปแบบ ขนาด สี ความโปร่งแสง

4) แถบ Buffer ใช้กำหนดขอบของตัวอักษร ทั้งขนาด สี ความโปร่งแสง


43

5) คลิกเลือกที่ Draw text buffer


6) แถบ Placement ใช้กำหนดตำแหน่งของตัวอักษรที่ต้องการ

7) เมื่อกำหนดค่าต่างๆ เรียบร้อย คลิกปุ่ม OK จะได้ภาพแผนที่ที่แสดง Labels ให้เห็น


44

2.5 การนำเข้าข้อมูลด้วยเครื่องมือ Advance Digitizing Tools


2.5.1 การกำหนดค่า Digitizing และ Snapping
1) ไปที่แถบเมนู View เลือก Toolbars
2) เลือก Advanced Digitizing Toolbar และ
3) เลือก Snapping Toolbar
หรือคลิกขวาที่แถบเครื่องมือ คลิกเลือก Advanced Digitizing Toolbar และ Snapping
Toolbar

4) ไปที่แถบเครื่องมือ Snapping Toolbar คลิกที่ปุ่ม Enable Snapping


เพื่อให้เครื่องมือทำงาน
5) คลิกที่ปุ่ม Advanced Configuration เลือก Open Snapping Options

ในหน้าต่าง Snapping Toolbar


6) Layer คลิกเลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ และสามารถเลือกชั้นข้อมูลที่ทำงานได้พร้ อมกัน
หลายชั้นข้อมูล
Type เลือกเป็น vertex and segment
Tolerance เลือกเป็น 2
Units เลือกเป็น pixels
7) คลิกเลือกที่ Avoid overlap
8) คลิกเลือกที่ Topological Editing และ Snapping on Intersection
45

2.5.2 การใช้เครื่องมือ Add Polygon Feature


ผู้ใช้งานสามารถดิจิไตซ์พื้นที่รูปปิด ไปที่แถบเครื่องมือ Digitizing Toolbar
1) เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ แล้วคลิกที่ปุ่ม Toggle Editing เพื่อให้ชั้นข้อมูลและ
เครื่องมือทำงาน
2) ไปที่แถบเครื่องมือ Digitizing Toolbar คลิกที่ปุ่ม Add Polygon Feature

3) ทำการดิจิไตซ์แบบพื้นที่รูปปิดลงในหน้าต่างแสดงแผนที่ โดยคลิกตามแนวพื้นที่ที่
ต้องการ (อาจต้องใช้ภาพเบื้องหลัง) เมื่อได้พื้นที่รูปปิดตามต้องการแล้วคลิกขวาเพื่อออกจากการดิจิไตซ์พื้นที่
รูปปิดดังกล่าว
46

4) โปรแกรมจะขึ้นหน้าต่าง Feature Attributes เพื่อให้เราสามารถกรอกรายละเอียด


ต่างๆของข้อมูลตามที่ได้กำหนดไว้ แล้วคลิก OK ก็จะได้ข้อมูลแบบพื้นที่รูปปิดปรากฏในหน้าต่าง ซึ่งสามารถดิ
จิไตซ์และกรอกรายละเอียดต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นตามต้องการ

สามารถเรียกดูตาราง Attribute ได้โดยเลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ คลิกขวาเลือก Open


Attribute Table หรือคลิกปุ่ม Open Attribute Table ตารางของชั้นข้อมูลดังกล่าวก็จะแสดงออกมา
ทำการบันทึกชั้นข้อมูล โดยการคลิกปุ่ม Save Layer Edits
47

2.5.3 การใช้เครื่องมือ Add Polygon Feature เชื่อมต่อระหว่างสองพื้นที่


ผู้ใช้งานสามารถดิจิไตซ์พื้นที่รูปปิดเชื่อมต่อระหว่างสองพื้นที่ได้ โดยไปที่แถบเครื่องมือ
Digitizing Toolbar
1) คลิกที่ปุ่ม Add Polygon Feature แล้วทำการดิจิไตซ์แบบพื้นที่รูปปิดลงใน
หน้าต่างแสดงแผนที่ โดยคลิกตามแนวพื้นที่ที่ต้องการ และให้ลากพื้นที่ที่สร้างใหม่เข้าไปในพื้นที่รูปปิดทั้งสอง
ข้าง เมื่อได้พื้นที่รูปปิดตามต้องการแล้วคลิกขวาเพื่อออกจากการดิจิไตซ์พื้นที่รูปปิดดังกล่าว

2) จะได้พื้นที่รูปปิดที่ถูกตัดขอบเขตและ snap เข้ากับพื้นที่รูปปิดเดิม


48

2.5.4 การใช้เครื่องมือ Select Features


ผู้ใช้งานสามารถเลือกพื้นที่รูปปิดได้ โดย
1) ไปที่แถบเครื่องมือ Attributes Toolbar เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ แล้วคลิกที่ปุ่ม
Select Features by area or single click
2) คลิกเลือกพื้นที่รูปปิดที่สร้างใหม่ เพื่อตรวจสอบขอบเขตและการซ้อนทับของพื้นที่

2.2.5 การใช้เครื่องมือ Merge Selected Feature


ผู ้ ใ ช้ ง านสามารถรวมพื ้น ที่ รูป ปิด ตั ้ง แต่ ส องพื ้น ที่ ขึ ้น ไปได้ โดยไปที ่แ ถบเครื ่องมือ
Attributes Toolbar
1) เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ แล้วคลิกที่ปุ่ม Select Features by area or single
click
49

2) คลิกเลือกพื้นที่รูปปิดตั้งแต่สองพื้นที่ขึ้นไป หรือใช้ปุ่ม Ctrl + คลิก ในการช่วยเลือกได้


3) ไปที ่ แ ถบเครื ่ อ งมื อ Advanced Digitizing Toolbar คลิ ก ที ่ ปุ่ ม Merge
Selected Features
ในหน้าต่าง Merge Feature Attributes
4) ผู้ใช้งานสามารถคลิกเลือกพื้นที่รูปปิดแต่ละอัน ซึ่งจะแสดงเป็น highlight ในหน้าต่าง
การทำงาน
5) ใช้ attributes ดังกล่าวในการรวมพื้นที่ โดยคลิกเลือกพื้นที่รูปปิดที่ต้องการ แล้วคลิก
ปุ่ม Take attributes from selected feature

6) โดย attributes ที่ใช้ในการรวมพื้นที่ จะเข้ามาอยู่ในช่อง Merge คลิก OK


หรือไม่ใช้ attributes ใดเลยในการรวมพื้นที่ โดยคลิกเลือกพื้นที่รูปปิดที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม Skip
all fields
50

7) หรือเลือกพื้นที่รูปปิดที่ไม่ต้องการออก โดยคลิกเลือกพื้นที่รูปปิดที่ไม่ต้องการ แล้วคลิก


ปุ่ม Remove feature from selection
8) จะได้พื้นที่รูปปิดที่ถูกรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งอาจจะมี vertex ที่ไม่สวยงาม

ผู้ใช้งานสามารถแก้ไขพื้นที่รูปปิดได้ โดยไปที่แถบเครื่องมือ Digitizing Toolbar


9) เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ แล้วคลิกที่ปุ่ม Vertex Tool เพื่อแก้ไขพื้นที่รูปปิด
คลิกเลือก vertex ที่ต้องการลบ จะขึ้นสัญลักษณ์วงกลมใหญ่ล้อมรอบ แล้วกดปุ่ม Delete ที่แป้นพิมพ์
51

10) จะได้พื้นที่รูปปิดที่มี vertex ที่สมบูรณ์ขึ้น

2.5.6 การใช้ เครื่องมือ Add Ring


ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มช่องว่างลงในพื้นที่รูปปิดได้ โดย
1) ไปที่แถบเครื่องมือ Advanced Digitizing Toolbar คลิกที่ปุ่ม Add Ring
52

2) ทำการดิจิไตซ์แบบพื้นที่รูปปิดลงในหน้าต่างแสดงแผนที่ โดยคลิกสร้างพื้นที่ที่ต้องการ
ให้ซ้อนทับกับพื้นที่รูปปิดเดิม แล้วคลิกขวาเพื่อออกจากการดิจิไตซ์พื้นที่รูปปิดดังกล่าว

3) จะได้พื้นที่รูปปิดที่มีช่องว่างตรงกลาง
53

2.5.7 การใช้ เครื่องมือ Delete Ring


ผู้ใช้งานสามารถลบช่องว่างออกจากพื้นที่รูปปิดได้ โดย
1) ไปที่แถบเครื่องมือ Advanced Digitizing Toolbar คลิกที่ปุ่ม Delete Ring

2) คลิกไปที่บริเวณช่องว่างตรงกลางพื้นที่รูปปิด ช่องว่างนั้นก็จะหายไป
54

2.5.8 การใช้ เครื่องมือ Fill Ring


ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มพื้นที่รูปปิดใหม่ลงในพื้นที่รูปปิดเดิมได้ โดย
1) ไปที่แถบเครื่องมือ Advanced Digitizing Toolbar คลิกที่ปุ่ม Fill Ring

2) ทำการดิจิไตซ์แบบพื้นที่รูปปิดลงในหน้าต่างแสดงแผนที่ โดยคลิกสร้างพื้นที่ที่ต้องการ
ให้ซ้อนทับกับพื้นที่รูปปิดเดิม แล้วคลิกขวาเพื่อออกจากการดิจิไตซ์พื้นที่รูปปิดดังกล่าว
55

3) จะได้พื้นที่รูปปิดขนาดเล็กอยู่ตรงกลางในพื้นที่รูปปิดเดิม

2.5.9 การใช้ เครื่องมือ Reshape Features


ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งรูปร่างของพื้นที่รูปปิดได้ โดย
1) ไปที่แถบเครื่องมือ Advanced Digitizing Toolbar คลิกที่ปุ่ม Reshape
Features
56

2) ในหน้ า ต่ า งแสดงแผนที ่ คลิ ก สร้ า งพื ้ น ที ่ ใ หม่ ต ่ อ จากพื ้ น ที ่ ร ู ป ปิ ด เดิ ม (อาจเห็ น


เครื่องหมาย snap ที่เป็นกากบาทสีชมพู) แล้วให้วนกลับมาบรรจบที่พื้นที่รูปปิดเดิมเท่านั้น แล้วคลิกขวาเพื่อ
ออกจากการดิจิไตซ์พื้นที่รูปปิดดังกล่าว

3) จะได้พื้นที่รูปปิดที่มีรูปร่างเปลี่ยนไป เช่น ใหญ่ขึ้น หรือเล็กลงก็ได้


57

2.5.10 การใช้ เครื่องมือ Split Features


ผู้ใช้งานสามารถตัดแบ่งพื้นที่รูปปิดเดิมออกเป็นพื้นที่รูปปิดใหม่ได้ โดย
1) ไปที่แถบเครื่องมือ Advanced Digitizing Toolbar คลิกที่ปุ่ม Split Features

2) ในหน้าต่างแสดงแผนที่ คลิกลากแนวที่ต้องการ ตัดแบ่งพื้นที่ รูปปิดเดิมออกเป็นพื้นที่


รูปปิดใหม่ได้ อาจจะตัดแบ่งได้หลายพื้นที่พร้อมกัน แล้วคลิกขวาเพื่อออกจากการดิจิไตซ์
58

3) จะได้พื้นที่รูปปิดที่ถูกตัดแบ่งออกเป็นพื้นที่รูปปิดใหม่พร้อมกัน โดยสังเกตจาก legend


ที่สร้างขึ้นใหม่เป็นสี่ตัว

2.5.11 การใช้ เครื่องมือ Split Parts


ผู้ใช้งานสามารถตัดแบ่งพื้นที่รูปปิดออกเป็นส่วน ๆ ได้ และยังคงเป็นข้อมูลเดียวกัน โดย
ไปที่แถบเครื่องมือ Advanced Digitizing Toolbar
1) คลิกที่ปุ่ม Split Parts
59

2) ในหน้าต่างแสดงแผนที่ คลิกลากแนวที่ต้องการ ตัดแบ่งพื้นที่รูปปิดเดิมออกเป็นส่วนๆ


แล้วคลิกขวาเพื่อออกจากการดิจิไตซ์

3) จะได้พื้นที่รูปปิดที่ถูกตัดแบ่งออกเป็นสองส่วนและยังคงเป็นข้อมูลเดียวกัน โดยสังเกต
จาก legend ยังคงเท่าเดิม คลิกที่ปุ่ม Select Features by area or single click คลิกเลือกพื้นที่รูป
ปิดที่สร้างขึ้น หรือคลิกที่ปุ่ม Identify Features คลิกเลือกพื้นที่รูปปิด ที่สร้างขึ้น หรือดูจากตาราง
Attribute เพื่อตรวจสอบได้ว่าเป็นข้อมูลเดียวกัน
60

2.5.12 การใช้ เครื่องมือ Deselect Features


ผู ้ ใ ช้ ง านสามารถเลือกหรือยกเลิ ก การเลื อ กได้ โดยไปที่แถบเครื ่ องมื อ Attributes
Toolbar
1) คลิกที่ปุ่ม Select Features by area or single click คลิกเลือกพื้นที่รูปปิด
ที่ต้องการ จะปรากฏ highlight ขึ้นที่พื้นที่รูปปิดนั้นในหน้าต่างการทำงาน

2) สามารถคลิกที่ปุ่ม Deselect Features from All Layers เพื่อยกเลิกการเลือก


ดังกล่าว
61

2.5.13 การใช้ เครื่องมือ Delete Part


ผู้ใช้งานสามารถลบบางส่วนของข้อมูลเดียวกันออกได้ โดย
1) ไปที่แถบเครื่องมือ Advanced Digitizing Toolbar คลิกที่ปุ่ม Delete Part

2) คลิกไปที่บริเวณส่วนของข้อมูลที่ต้องลบออก ส่วนของข้อมูลนั้นก็จะหายไป
62

2.5.14 การใช้ เครื่องมือ Undo และ Redo


ผู้ใ ช้งานสามารถย้อนกลับการทำงานที่ผ่านมาได้ โดยไปที่แถบเครื่องมือ Digitizing
Toolbar
1) คลิกที่ปุ่ม Undo และปุ่ม Redo การทำงานก็จะย้อนกลับทีละครั้ง

2) บริเวณส่วนของข้อมูลที่หายไปจะย้อนกลับมาเหมือนเดิม
63

2.5.15 การใช้ เครื่องมือ Save Layer Edits


ผู ้ ใ ช้ ง านสามารถดิ จ ิ ไ ตซ์ ด ้ ว ยเครื ่ อ งมื อ Digitizing Toolbar Advanced Digitizing
Toolbar และ Attributes Toolbar และกรอกรายละเอียดต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นตามต้องการ โดยการดิจิ ไ ตซ์
จะต้องอยู่ใน Editing mode เพื่อให้ชั้นข้อมูล แถบเมนูและเครื่องมือทำงานได้ เมื่อเสร็จเรียบร้อย
1) ให้ทำการบันทึกชั้นข้อมูล โดยการคลิกปุ่ม Save Layer Edits

2) ชั้นข้อมูลจะถูกบันทึกไว้เรียบร้อย
64

3 การทำงานร่วมกับข้อมูลเชิงภาพ (Raster)
3.1 การนำเข้าชั้นข้อมูลเชิงภาพ (Raster)
ข้อมูลเชิงภาพ (Raster) เป็นข้อมูลที่มีการจัดเก็บเป็นช่องตารางสี่เหลี่ยมหรือที่เรียกว่า จุดภาพ (Pixels)
จะเก็บข้อมูลตัวเลขชุดหนึ่ง แต่ละจุดภาพมีขนาดเท่ากัน ซึ่งระบบพิกัดภูมิศาสตร์ถูกกำหนดไว้ที่จุดภาพแรก
และขนาดจุดภาพเป็นตัวกำหนดพิกัดของจุดภาพอื่น ๆ โดยทั่วไปข้อมูลเชิงภาพมักเป็นข้อมูลภาพถ่ายทาง
อากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม หรือแผนที่ที่ถูกสแกนจากกระดาษ และข้อมูลเชิงภาพก็ยังสามารถเก็บข้อมูลอื่น ๆ
เช่น ระดับความสูง ได้เช่นกัน
1) ไปที่แถบเมนู Layer เลือก Add Layer >> Add Raster Layer หรือคลิกปุ่ม Add
Raster Layer

ในหน้าต่าง Data Source Manager ไปที่แถบ Raster


2) ที่ช่อง Raster Dataset(s) เลือกไฟล์ข้อมูลที่ต้องการนำเข้า (*.tif, *.jpg หรือรูปแบบอื่นๆ)
คลิก Add
65

3) ภาพแผนที่จะปรากฏในหน้าต่างแสดงแผนที่ โดยที่ชั้นข้อมูลแสดงใน Layer Panel เลือกชั้น


ข้อมูลภาพดังกล่าว คลิกขวาเลือก Zoom to Layer เพื่อดูภาพทั้งหมด
66

3.2 การกำหนดสัญลักษณ์ให้กับชั้นข้อมูลเชิงภาพ (Raster)


เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ คลิกขวาเลือก Properties
3.2.1 การกำหนดค่าในแถบ Symbology
1) ในหน้าต่าง Layer Properties ไปที่แถบ Symbology
2) Render type เลือกรูปแบบการสร้างภาพ ได้แก่ แบบ Multiband color (แบบหลาย
สี ) แบบ Paletted/Unique values (แบบสี เ ดี ย ว) Singleband gray (แบนด์ เ ดี ย วสี เ ทา) Singleband
pseudocolor (แบนด์เดียวหลายสี)และแบบ Hillshade (แบบเชิงเงา)
Render type เลือกเป็น Multiband color ซึ่งสามารถกำหนดค่าสีได้ในทุกแบนด์สี
ทั้งแดง เขียวและน้ำเงิน
Min/Max Value Setting ใช้ในการกำหนดช่วงค่าที่ใช้แสดงภาพ
3) Color Rendering ใช้ในการปรับแต่งสี ความสว่าง ความคมชัด
เมื่อปรับแต่งข้อมูลที่ต้องการแสดงผลเรียบร้อยแล้ว คลิกปุ่ม OK

3.2.2 การกำหนดค่าในแถบ Transparency


1) ในหน้าต่าง Layer Properties ไปที่แถบ Transparency
2) Global Opacity ใช้ในการปรับค่าความโปร่งแสงและทึบแสง เพื่อให้สามารถมองเห็น
ภาพที่ซ้อนอยู่เบื้องหลังได้
3) No Data Value สามารถเพิ่มค่าที่ต้องการกำหนดเป็น No data
4) Custom Transparency Options ใช้ในการปรับค่าความโปร่งแสงและทึบแสง แบบ
แยกแบนด์
67

5) เมื่อปรับแต่งข้อมูลที่ต้องการแสดงผลเรียบร้อยแล้ว คลิกปุ่ม OK

เราสามารถบันทึก Style เพื่อเก็บเอาไว้ใช้ครั้งต่อไปหรือกับไฟล์อื่นๆ โดยคลิกปุ่ม Style


>>Save Style เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บไฟล์ ตั้งชื่อไฟล์แล้วคลิกปุ่ม save ได้ทั้งแบบ *.qml หรือ *.sld
จากไฟล์ที่บันทึกไว้ สามารถเรียกสัญลักษณ์มาแสดงได้อีก โดยคลิกปุ่ม Style >>Load
Style เลือกไฟล์จากโฟลเดอร์ที่เก็บไว้ แล้วคลิกปุ่ม Load Style ก็จะได้สัญลักษณ์ตามที่เคยกำหนดไว้
68

3.3 การเพิ่มข้อมูลแผนที่ฐาน (Base Map) ออนไลน์


3.3.1 การเพิ่มข้อมูลแผนที่ฐานด้วยวิธีการ XYZ Tiles
1) ที่ Browser Panel
2) ไปที่แถบ XYZ Tiles
3) คลิกขวาเลือก New Connection
69

ในหน้าต่าง XYZ Connection>> Connection Details


4) Name กำหนดเป็น Google Satellite
5) URL กำหนดเป็น https://mt1.google.com/vt/lyrs=s&x={x}&y={y}&z={z}
คลิก OK

6) ภาพ Google Satellite จะแสดงในหน้าต่างชั้นข้อมูลและหน้าต่างแสดงแผนที่


70

7) ในหน้าต่าง XYZ Connection>> Connection Details


Name กำหนดเป็น HYBRID
URL กำหนดเป็น https://mt1.google.com/vt/lyrs=y&x={x}&y={y}&z={z}
คลิก OK

8) ภาพ Google Hybrid จะแสดงในหน้าต่างชั้นข้อมูลและหน้าต่างแสดงแผนที่


71

9) ในหน้าต่าง XYZ Connection>> Connection Details


Name กำหนดเป็น OpenStreetMap
URL กำหนดเป็น https://tile.openstreetmap.org/{z}/{x}/{y}.png
คลิก OK

10) ภาพ OpenStreetMap จะแสดงในหน้าต่างชั้นข้อมูลและหน้าต่างแสดงแผนที่


72

หมายเหตุ ปัจจุบันมีแหล่งให้เรียกใช้แผนที่ฐาน เช่น


Google Maps: https://mt1.google.com/vt/lyrs=r&x={x}&y={y}&z={z}
Google Roads: https://mt1.google.com/vt/lyrs=h&x={x}&y={y}&z={z}
Google Satellite: https://mt1.google.com/vt/lyrs=s&x={x}&y={y}&z={z}
Google Terrain: https://mt1.google.com/vt/lyrs=p&x={x}&y={y}&z={z}
Google Hybrid: https://mt1.google.com/vt/lyrs=y&x={x}&y={y}&z={z}
OpenStreetMap: https://tile.openstreetmap.org/{z}/{x}/{y}.png
Stamen Terrain: https://tile.stamen.com/terrain/{z}/{x}/{y}.jpg
73

3.3.2 การเพิ่มข้อมูลแผนที่ฐานด้วย QuickMapServices Plugins


1) ไปที่แถบเมนู Plugins เลือก Manage and Install Plugins

ในหน้าต่าง Plugins ไปที่แถบ All


2) เลือก QuickMapServices Plugin
3) คลิกปุ่ม Install Plugin
74

4) ไปที่แถบเมนู Web เลือก QuickMapServices ซึ่งมีแหล่งข้อมูลแผนที่ฐานมากมายที่


รวบรวมไว้
5) คลิกเลือก Google >> Google Terrain

6) ภาพ Google Terrain จะแสดงในหน้าต่างชั้นข้อมูลและหน้าต่างแสดงแผนที่


75

3.3.3 การเพิ่มข้อมูลแผนที่ฐานด้วย ArcGISMapServer


1) ไปที่แถบเครื่องมือ Manage Layers Toolbar
2) คลิกที่ปุ่ม Add ArcGIS MapServer Layer

ในหน้าต่าง Data Source Manager | ArcGIS Map Server


3) Server Connections คลิกที่ปุ่ม New
ในหน้าต่าง Create a New ARCGISMAPSERVER Connection>>Connection Details
4) Name กำหนดเป็น LDD_Ortho
URL กำหนดเป็น
http://eis.ldd.go.th/ArcGIS/rest/services/LDD_RASTER_WM_CACHE/MapServer
คลิก OK
76

กลับมาที่หน้าต่าง Data Source Manager | ArcGIS Map Server


5) Server Connections คลิกที่ปุ่ม Connect
จะได้ชั้นข้อมูลภาพ Ortho สีของกรมพัฒนาที่ดินขึ้นมาให้เลือก
77

6) คลิกเลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ (ldd.LDDADMIN.admin_wm)
7) คลิก Add

8) ชั้นข้อมูล ldd.LDDADMIN.admin_wm จะปรากฏขึ้นใน Layers Panel และหน้าต่าง


การทำงานเพื่อใช้เป็นแผนที่ฐานต่อไป
78

4 การแปลงข้อมูลเชิงเส้นไปเป็นข้อมูลเชิงภาพและการแปลงระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์
4.1 การแปลงข้อมูลเชิงเส้นไปเป็นข้อมูลเชิงภาพ
1) ไปที่แถบเมนู Raster เลือก Conversion
2) เลือก Rasterize (Vector to Raster)

3) ในหน้าต่าง Rasterize (Vector to Raster)


Input layers เลือกไฟล์ข้อมูลภาพที่ต้องการ
Field to use for a burn-in value เลือก field ที่ต้องการใช้เป็นค่า DN ของภาพ
Output raster size units เลือกเป็น Georeferenced units
Width/Horizontal resolution เลือกเป็น 30 เมตร หรือตามต้องการ
Height/Vertical resolution เลือกเป็น 30 เมตร หรือตามต้องการ
Output extent เลือกเป็น Use Canvas Extent
Rasterized เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บ และตั้งชื่อไฟล์ *.tif
คลิก Run
79
80

4) จะได้ข้อมูลภาพใหม่ที่มีลักษณะเป็นจุดภาพ ขนาดตามที่กำหนดและแบ่งสีตาม field ที่เลือก


ให้กับข้อมูล
81

4.2 การแปลงข้อมูลเชิงภาพไปเป็นข้อมูลเชิงเส้น
1) ไปที่แถบเมนู Raster เลือก Conversion
2) เลือก Polygonize (Raster to Vector)

3) ในหน้าต่าง Polygonize (Raster to Vector)


Input layer เลือกไฟล์ข้อมูลภาพที่ต้องการ
82

Band number เลือกแบนด์ของภาพ


Name of the field to create ตั้งชื่อ field ที่สร้าง (Default กำหนดเป็น DN)
Vectorized เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บ และตั้งชื่อไฟล์ *.shp
4) คลิก Run

5) เมื่อโปรแกรมดำเนินการเสร็จเรียบร้อย
83

6) จะได้ข้อมูลเชิงเส้นใหม่ที่มีลักษณะเป็นเหลี่ยมตามจุดภาพเดิม

7) ข้อมูลที่ได้ จะมีค่า DN อยู่ในตาราง Attribute


84

4.3 การแปลงระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์
1) เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ คลิกขวาเลือก Properties
ในหน้าต่าง Layer Properties ไปที่แถบ Source
Setting บ่งบอกคุณสมบัติของไฟล์ข้อมูลที่เลือกไว้ เช่น ชื่อไฟล์ และชนิดของ encoding
Geometry and Coordinate Reference System บ่งบอกระบบพิกัดทางภูม ิศาสตร์ ข อง
ไฟล์ข้อมูลที่เลือกไว้
เช่ น LU_PYO_2561 มี encoding แบบ UTF-8 และระบบพิ ก ั ด ทางภู มิ ศ าสตร์ เ ป็ น
EPSG:32647 - WGS84 / UTM zone 47 N

2) ถ้าต้องการเปลี่ยนระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์จาก EPSG:32647 - WGS84 / UTM zone 47 N


เป็น EPSG:4326 - WGS84 โดยไปที่เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ คลิกขวาเลือก Export
3) เลือก Save Features As
85

ในหน้าต่าง Save Vector Layer as


4) Format เลือกเป็น ESRI Shapefile
File name เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บ และตั้งชื่อไฟล์ *.shp
5) CRS เลือกเป็น EPSG:4326 - WGS84
6) Encoding เลือกเป็น UTF-8
86

7) Select fields to export and their export options สามารถเลื อ ก field บางส่ ว นหรื อ
ทั้งหมดได้ คลิก OK
8) ตรวจสอบไฟล์ข้อมูลที่ได้ เลือกชั้นข้อมูลดังกล่าว คลิกขวาเลือก Properties
ในหน้าต่าง Layer Properties ไปที่แถบ Source
ใน Geometry and Coordinate Reference System เปลี่ยนเป็น EPSG:4326 - WGS84 แล้ว
87

5 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเส้น (Vector)
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเส้น มีเครื่องมือหลายอย่างช่วยในการวิเคราะห์ ได้แก่
5.1 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Geoprocessing Tools
เครื่องมือสำคัญที่ช่วยในการวิเคราะห์ เช่น Buffer Clip Dissolve Intersection Union และ
Eliminate Selected Polygons เป็นต้น
88

5.1.1 การสร้าง Buffer


ไปที่แถบเมนู Vector เลือก Geoprocessing Tools >> Buffer
ในหน้าต่าง Buffer
1) Input layer เลือกไฟล์ข้อมูลที่ต้องการ
2) Distance กำหนดระยะทางที่ต้องการ
3) Buffered เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บ และตั้งชื่อไฟล์ *.shp
คลิก Run
89

5.1.2 การตัดข้อมูลด้วยเครื่องมือ Clip


ไปที่แถบเมนู Vector เลือก Geoprocessing Tools >> Clip
ในหน้าต่าง Clip
1) Input layer เลือกไฟล์ข้อมูลที่ต้องการ
2) Overlay layer เลือกไฟล์ข้อมูลที่ใช้สำหรับ clip
3) Clipped เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บ และตั้งชื่อไฟล์ *.shp
คลิก Run
90

5.1.3 การรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือ Dissolve


ไปที่แถบเมนู Vector เลือก Geoprocessing Tools >> Dissolve
ในหน้าต่าง Dissolve
1) Input layer เลือกไฟล์ข้อมูลที่ต้องการ
2) Dissolve field(s) เลือกฟิลด์ข้อมูลที่ใช้สำหรับ dissolve
3) Dissolved เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บ และตั้งชื่อไฟล์ *.shp
คลิก Run
91

5.1.4 การตัดกันของข้อมูลด้วยเครื่องมือ Intersection


ไปที่แถบเมนู Vector เลือก Geoprocessing Tools >> Intersection
ในหน้าต่าง Intersection
1) Input layer เลือกไฟล์ข้อมูลที่ต้องการ
2) Overlay layer เลือกไฟล์ข้อมูลที่ใช้สำหรับ Intersection
สามารถเลือกฟิลด์ข้อมูลที่ต้องการ Intersection ได้ทั้ง Inputs layer และ Overlay
layer ในช่อง Input fields to keep และ Overlay fields to keep
3) Intersection เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บ และตั้งชื่อไฟล์ *.shp
คลิก Run
92

5.1.5 การรวมกันของข้อมูลด้วยเครื่องมือ Union


ไปที่แถบเมนู Vector เลือก Geoprocessing Tools >> Union
ในหน้าต่าง Union
1) Input layer เลือกไฟล์ข้อมูลที่ต้องการ
2) Overlay layer เลือกไฟล์ข้อมูลที่ใช้สำหรับ union
3) Union เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บ และตั้งชื่อไฟล์ *.shp
คลิก Run
93

5.1.6 การรวมข้อมูลที่เลือกไว้ด้วยเครื่องมือ Eliminate Selected Polygons


ไปที่แถบเมนู Vector เลือก Geoprocessing Tools >> Eliminate Selected Polygons
ในหน้าต่าง Eliminate Selected Polygons
1) Input layer เลือกไฟล์ข้อมูลที่ต้องการ
2) Eliminated เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บ และตั้งชื่อไฟล์ *.shp
คลิก Run
94

5.2 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Geometry Tools


เครื่องมือ สำคัญที่ ช ่ว ยในการวิเ คราะห์ เช่น Multipart to Singleparts และ Polygons to
Lines เป็นต้น
95

5.2.1 การแยกส่วนของข้อมูลออกจากกันด้วยเครื่องมือ Multipart to Singleparts


ไปที่แถบเมนู Vector เลือก Geometry Tools >> Multipart to Singleparts
ในหน้าต่าง Multipart to singleparts
1) Input layer เลือกไฟล์ข้อมูลที่ต้องการ
2) Single parts เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บ และตั้งชื่อไฟล์ *.shp
คลิก Run
96

5.2.2 การแปลงข้อมูลพื้นที่เป็นเส้นด้วยเครื่องมือ Polygons to Lines


ไปที่แถบเมนู Vector เลือก Geometry Tools >> Polygons to Lines
ในหน้าต่าง Polygons to lines
1) Input layer เลือกไฟล์ข้อมูลที่ต้องการ
2) Lines เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บ และตั้งชื่อไฟล์ *.shp
คลิก Run
97

5.3 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Research Tools


เครื่องมือสำคัญที่ช่วยในการวิเคราะห์ เช่น Create Grid และ Random Selection เป็นต้น
98

5.3.1 การสร้างกริดด้วยเครื่องมือ Create Grid


ไปที่แถบเมนู Vector เลือก Research Tools >> Create Grid
ในหน้าต่าง Create grid
1) Grid type เลือกชนิดข้อมูลที่ต้องการ
2) Grid extent เลือกเป็น Use Canvas Extent หรือตามต้องการ
3) Horizontal เลือกเป็น 1,000 เมตร หรือตามต้องการ
Vertical spacing เลือกเป็น 1,000 เมตร หรือตามต้องการ
4) Grid CRS เลือกเป็น EPSG:32647 - WGS84 / UTM zone 47 N
5) Grid เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บ และตั้งชื่อไฟล์ *.shp
คลิก Run
99

5.3.2 การสุ่มกริดเพื่อใช้เป็นพื้นที่ตรวจสอบด้วยเครื่องมือ Random Selection


ไปที่แถบเมนู Vector เลือก Research Tools >> Random Selection
ในหน้าต่าง Random selection
1) Input layer เลือกไฟล์ขอ้ มูลที่ต้องการ
2) Method เลือกเป็น Number of selected features หรือ Percentage of selected
features
3) Number/percentage of selected features ใส่จำนวนหรือเปอร์เซ็นต์ที่ต้องการ
คลิก Run

4) กริดที่ส ุ่มเลือกได้ จะแสดงในไฟล์ที่นำเข้า จากนั้น ให้ ทำการบันทึกข้อมูลออกมา


เฉพาะกริดที่เลือกไว้ ด้วย Export >> Save Selected Features As
100

5.4 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Data Management Tools


เครื่องมือสำคัญที่ช่ว ยในการวิเคราะห์ เช่น Merge Vector Layers และ Reproject Layer
เป็นต้น
101

5.4.1 การรวมข้อมูลเชิงเส้นหลายไฟล์เข้าด้วยกันด้วยเครื่องมือ Merge Vector Layers


ไปที่แถบเมนู Vector เลือก Data Management Tools >> Merge Vector Layers
ในหน้าต่าง Merge vector layers
1) Input layers เลือกไฟล์ข้อมูลที่ต้องการ สามารถเลือกได้ครั้งละหลาย ๆ ไฟล์
2) Destination CRS เลือกเป็น EPSG:32647 - WGS84 / UTM zone 47 N
3) Merged เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บ และตั้งชื่อไฟล์ *.shp
คลิก Run
102

5.4.2 การเปลี่ยนพิกัดภูมิศาสตร์ให้กับข้อมูลเชิงเส้นด้วยเครื่องมือ Reproject Layer


ไปที่แถบเมนู Vector เลือก Data Management Tools >> Reproject Layer
ในหน้าต่าง Reproject Layer
1) Input layer เลือกไฟล์ข้อมูลที่ต้องการ
2) Target CRS เลือกเป็น EPSG:4326 - WGS84
3) Reprojected เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บ และตั้งชื่อไฟล์ *.shp
คลิก Run
103

6 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงภาพ (Raster)
6.1 การต่อข้อมูลภาพ (Raster Mosaicing)
1) เป็นเทคนิคที่ใช้สร้างภาพเพียงภาพเดียว จากภาพข้อมูลดาวเทียมในบริเวณที่ติดกันหรือ
ใกล้เคียงกันหลายภาพ การทำ Mosaic จะได้ภาพใหม่ที่มีการลดหรือขจัดความแตกต่างระหว่างภาพในส่วนที่
มีการซ้อนทับกัน (Overlap) ในบริเวณรอยต่อของทั้งสองภาพ

2) ไปที่แถบเมนู Raster เลือก Miscellaneous


3) เลือก Merge
104

ในหน้าต่าง Merge
4) Input layers เลือกไฟล์ข้อมูลภาพที่ต้องการรวมกัน
5) คลิกเลือกช่อง Grab pseudocolor table from first layer
6) Merged เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บ และตั้งชื่อไฟล์ *.tif

7) คลิก Run
105

8) จะได้ภาพใหม่ที่มีการรวมเป็นไฟล์เดียวกัน
106

6.2 การตัดข้อมูลภาพ (Raster Clipping)


6.2.1 การตัดข้อมูลภาพด้วยขอบเขต
1) เป็นการตัดภาพให้ได้ตามขนาดขอบเขตหน้าต่างการทำงานที่ต้องการ

2) ไปที่แถบเมนู Raster เลือก Extraction


3) เลือก Clip Raster by Extent
107

ในหน้าต่าง Clip Raster by Extent


4) Input layers เลือกไฟล์ข้อมูลภาพที่ต้องการ

5) Clipping extent เลือก Select Extent on Canvas จากนั้นให้เลือกบริเวณที่ต้องการ


ตัดภาพในหน้าต่างการทำงาน
108

6) Clipped เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บ และตั้งชื่อไฟล์ *.tif


7) คลิก Run

8) จะได้ภาพใหม่ที่มีขอบเขตเท่ากับขอบเขตหน้าต่างการทำงานที่กำหนด
109

6.2.2 การตัดข้อมูลภาพด้วยข้อมูลเชิงเส้น
1) เป็นการตัดภาพให้ได้ขนาดของข้อมูลเชิงเส้นที่ความต้องการ เช่น ขอบเขตอำเภอ เป็น
ต้น

2) ไปที่แถบเมนู Raster เลือก Extraction


3) เลือก Clip Raster by Mask Layer
110

ในหน้าต่าง Clip Raster by Mask Layer


4) Input layers เลือกไฟล์ข้อมูลภาพที่ต้องการ
5) Mask layer เลือกไฟล์ข้อมูลเชิงเส้นที่ใช้เป็นขอบเขต (สามารถเลือกเป็นบางส่วนหรือ
ทั้งหมดก็ได้)
6) Source CRS เลือกเป็น EPSG:32647 - WGS84 / UTM zone 47 N
Target CRS เลือกเป็น EPSG:32647 - WGS84 / UTM zone 47 N
7) X resolution to output bands เลื อ กเป็ น 30 เมตร ตามขนาดภาพดาวเที ย ม
LANDSAT
Y resolution to output bands เลื อ กเป็ น 30 เมตร ตามขนาดภาพดาวเที ย ม
LANDSAT
8) Clipped (mask) เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บ และตั้งชื่อไฟล์ *.tif
คลิก Run
111

9) จะได้ภาพใหม่ที่มีขอบเขตเท่ากับขอบเขตอำเภอ
112

6.3 การผสมสีโดยใช้ Bands Combination


เนื่องจากภาพที่ใช้ในการแสดงวิธีผสมสีภาพ เป็นภาพดาวเทียม LANDSAT8 ที่เกิดจากการรวม
แบนด์ 2 3 4 5 6 และ 7 จากทั้งหมด 11 แบนด์ ทำให้
Band 1 เป็น Blue Band 2 เป็น Green Band 3 เป็น Red
Band 4 เป็น NIR Band 5 เป็น SWIR1 และ Band 6 เป็น SWIR2 ตามลำดับ

1) เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ คลิกขวาเลือก Properties


113

ในหน้าต่าง Layer Properties ไปที่แถบ Symbology


Render type เลือกรูปแบบการสร้างภาพ ได้แก่ แบบ Multiband color (แบบหลายสี)
แบบ Paletted/Unique values (แบบสี เ ดี ย ว) Singleband gray (แบนด์ เ ดี ย วสี เ ทา) Singleband
pseudocolor (แบนด์เดียวหลายสี)และแบบ Hillshade (แบบเชิงเงา)
2) การผสมสีจ ริงของภาพดาวเทียม LANDSAT8 ใช้ Band Red Green และ Blue
เรียงแบบ 4-3-2
3) Render type เลือกเป็น Multiband color ซึ่งสามารถกำหนดค่าสีได้
Red band เลือกเป็น Band 3 ช่วง min 7135.01 max 10652.3
Green band เลือกเป็น Band 2 ช่วง min 7920.11 max 9878.44
Blue band เลือกเป็น Band 1 ช่วง min 8892 max 10163.5
Min/Max Value Setting ใช้ในการกำหนดช่วงค่าที่ใช้แสดงภาพ
เมื่อปรับแต่งข้อมูลที่ต้องการแสดงผลเรียบร้อยแล้ว คลิกปุ่ม OK
114

4) จะได้ภาพสีผสมจริงของภาพดาวเทียม LANDSAT8 ที่พืชพรรณเป็นสีเขียว

ในหน้าต่าง Layer Properties ไปที่แถบ Symbology


5) การผสมสีเท็จของภาพดาวเทียม LANDSAT8 ใช้ Band NIR Red และ Green เรียง
แบบ 5-4-3
6) Render type เลือกเป็น Multiband color ซึ่งสามารถกำหนดค่าสีได้
Red band เลือกเป็น Band 4 ช่วง min 10434.8 max 17656.4
Green band เลือกเป็น Band 3 ช่วง min 6938.86 max 10846.1
Blue band เลือกเป็น Band 2 ช่วง min 7776.34 max 10236.2
Min/Max Value Setting ใช้ในการกำหนดช่วงค่าที่ใช้แสดงภาพ
เมื่อปรับแต่งข้อมูลที่ต้องการแสดงผลเรียบร้อยแล้ว คลิกปุ่ม OK
115

7) จะได้ภาพสีผสมเท็จของภาพดาวเทียม LANDSAT8 ที่พืชพรรณเป็นสีแดง

และสามารถผสมสีตามต้องการเพื่อให้เห็นข้อมูลบางอย่างที่ชัดเจนขึ้น
ในหน้าต่าง Layer Properties ไปที่แถบ Symbology
8) การผสมสีเท็จของภาพดาวเทียม LANDSAT8 โดยใช้ Band Red NIR และ SWIR2
เรียงแบบ 4-5-7
116

9) Render type เลือกเป็น Multiband color ซึ่งสามารถกำหนดค่าสีได้


Red band เลือกเป็น Band 3 ช่วง min 6978.16 max 10220.3
Green band เลือกเป็น Band 4 ช่วง min 10345.5 max 17181.6
Blue band เลือกเป็น Band 6 ช่วง min 6340.06 max 13437.5
Min/Max Value Setting ใช้ในการกำหนดช่วงค่าที่ใช้แสดงภาพ
เมื่อปรับแต่งข้อมูลที่ต้องการแสดงผลเรียบร้อยแล้ว คลิกปุ่ม OK

10) จะได้ภาพสีผสมเท็จของภาพดาวเทียม LANDSAT8 ตามต้องการ


117

6.4 การ classify ภาพ ด้วย Semi-Automatic Classification Plugin (SCP)


6.4.1 การติดตั้ง Semi-Automatic Classification Plugin
1) ไปทีแ่ ถบเมนู Plugins เลือก Manage and Install Plugins

ในหน้าต่าง Plugins ไปที่แถบ All


2) เลือก Semi-Automatic Classification Plugin
3) คลิกปุ่ม Install Plugin
118

4) ในแถบ Panels จะมี SCP Dock Panel ขึ้นมา พร้อมกับ SCP Editor Toolbar และ
SCP Working Toolbar ใน แถบ Toolbar
119

6.4.2 การใช้งาน Semi-Automatic Classification Plugin


1) ใน SCP Dock Panel คลิกปุ่ม หรือไปที่แถบเมนู SCP เลือก Band set

2) ในหน้าต่าง Semi-Automatic Classification Plugin ไปที่แถบ Band set


120

3) Multiband image list คลิกปุ่ม Open a file


4) เลือกเปิดไฟล์ข้อมูลภาพดาวเทียม LANDSAT8 ทั้งหมด 11 แบนด์
5) ชั ้ น ข้ อ มู ล ภาพจะแสดงขึ ้น มาใน Single band list และ Band set definition>>
Band set 1

6) ลบชั้น ข้อมูล ภาพที่ ไ ม่ ต้ อ งการ โดยเลือกชั้น ข้ อ มูล ภาพใน Band set 1 คลิกปุ่ ม
Delete row ให้ลบภาพแบนด์ 1 8 9 10 และ 11 ออกไป
121

7) ที่ Quick wavelength settings เลือกเป็น Landsat 8 OLI [ bands 2, 3, 4, 5 ,6,


7]

8) ที่ Band set tools คลิกเลือก Create virtual raster of band set
Create raster of band set (stack bands)
Build band overviews
Band calc expressions
คลิกปุ่ม RUN
122

9) เลือกโฟลเดอร์ที่จัดเก็บ

10) จะได้ภาพดาวเทียม LANDSAT8 ที่มี 6 bands รวมกันในไฟล์เดียว


123

6.4.3 การทำ Band combinations ด้วย SCP


1) ใน SCP Dock Panel คลิ ก ปุ ่ ม หรื อ ไปที ่ แ ถบเมนู SCP เลื อ ก Basic
tools>>RGB list

2) ในหน้าต่าง Semi-Automatic Classification Plugin


ไปที่แถบ Basic tools>>RGB list
Band combinations คลิกที่ปุ่ม Add all combinations of bands
124

3) โปรแกรมจะสร้าง Band combinations ให้ทุกแบบ


4) ใน RGB list จะแสดงการผสมสีของแบนด์ต่างๆ ในทุกรูปแบบทั้งหมด

5) คลิกที่ปุ่ม เพื่อเพิ่ม Band combinations ตามความต้องการ เช่น 3-2-1


หรือ 4-3-2 เป็นต้น
125

6) จะได้ภาพดาวเทียม LANDSAT8 ที่เป็นภาพสีผสมจริง (3-2-1)

7) จะได้ภาพดาวเทียม LANDSAT8 ที่เป็นภาพสีผสมเท็จ (4-3-2)

และสามารถปรับแต่งภาพด้วยปุ่ม Local cumulative cut stretch of band set และ Local


standard deviation stretch of band set
126

6.4.4 การ Download products ด้วย SCP


ใน SCP Dock Panel คลิ ก ปุ ่ ม หรื อ ไปที ่ แ ถบเมนู SCP เลื อ ก Download
products
1) ใ น ห น ้ า ต ่ า ง Semi-Automatic Classification Plugin ไ ป ท ี ่ แ ถ บ Download
products
แถบ Login data ผู้ใช้งานจะต้อง login เข้าสู่ห น้าเว็บ ที่ต้ องการ download ได้แ ก่
https://ers.cr.usgs.gov/login/ ,
https://urs.earthdata.nasa.gov/ หรือ https://scihub.copernicus.eu/apihub

2) แถบ Search ที่ Search parameters คลิกที่ปุ่ม Set area in the map
127

3) แล้วกลับไปเลือกที่หน้าต่างการทำงาน โดยคลิกซ้ายเพื่อเลือกพิกัด Upper Left แล้ว


คลิกขวาเพื่อเลือกพิกัด Lower Right ค่าพิกัดที่ได้จะไปปรากฏที่ UL และ LR ใน Search parameters

4) Products เลือกเป็น L8 OLI/TIRS


Date from to เลือกช่วงวันที่ต้องการ เลือกเป็น 2020-02-10 to 2020-05-30
Max cloud cover (%) เลือกเป็น 10
5) คลิกที่ปุ่ม Find images เพื่อค้นหาภาพดาวเทียม LANDSAT8 ในช่วงวันเวลา
ที่กำหนด
128

6) ภาพดาวเทียม LANDSAT8 ที่ค้นหาได้ จะปรากฏใน Product list สามารถคลิกเลือก


ที่ชั้นข้อมูลภาพเพื่อดูภาพในช่อง Preview

แถบ Download options ผู้ใช้งานสามารถเลือก download ทั้งหมด 11 แบนด์ หรือ


คลิกเลือกเป็นบางแบนด์ก็ได้
129

7) คลิกเลือกภาพดาวเทียม LANDSAT8 ที่ไม่ต้องการออก โดยเลือกชั้นข้อมูลภาพ แล้ว


คลิกที่ปุ่ม Delete row และคลิกเลือก Preprocess images ออก

8) ก่อน download ภาพ ให้เลือกชั้นข้อมูลภาพ คลิกที่ปุ่ม Display preview


of highlighted images in map เพื่อให้ภาพดังกล่าวไปแสดงขึ้นที่หน้าต่างการทำงานใน QGIS ซึ่งเป็น *.vrt
130

9) กลับมาที่หน้าต่าง Semi-Automatic Classification Plugin แถบ Search คลิกปุ่ม


RUN

10) เลือกโฟลเดอร์ที่จัดเก็บ

หมายเหตุ อย่างไรก็ตาม การ download ภาพ ยังขึ้นอยู่กับความเร็วของอินเตอร์เน็ท ผู้ใช้งานสามารถ


export link เพื่อทำการ download จากแหล่งอื่น ๆ ได้ โดยคลิกที่ปุ่ม Export table to text file
131

6.4.5 การสร้าง ROI ด้วย SCP


1) ใน SCP Dock Panel ไปที่แถบ Training input
คลิกปุ่ม Create a new training input เพื่อตั้งชื่อไฟล์ (*.scp) จากนั้นไฟล์
ดังกล่าวจะไปปรากฏที่ Layers Panel
132

2) ใน SCP Dock Panel ไปที ่ แ ถบ Training input >> ROI Options สามารถเลื อ ก
Display เป็น NDVI EVI หรือเป็น Custom ก็ได้ ซึ่งค่า NDVI จะไปแสดงขึ้นที่ห น้าต่างการทำงานเมื่อ
Curser เคลื่อนที่ไปยังพิกเซลนั้นๆ

3) ที่ SCP Working Toolbar คลิกที่ปุ่ม Create a ROI polygon


133

เริ่มการสร้าง ROI โดยคลิกวาดพื้นที่ตัวอย่าง Bare soil ตามต้องการ แล้วคลิกขวาเพื่อปิด polygon


4) ใน SCP Dock Panel ไปที ่ แ ถบ Training input >> ROI Signature list ให้ ก รอก
ข้อมูลต่างๆ ลงในช่อง MC ID MC Info และช่อง C ID C Info เช่น

ช่อง MC ID เป็น 1 ช่อง MC Info เป็น Bare Soil


ช่อง C ID เป็น 1 ช่อง C Info เป็น BS1
5) คลิกปุ่ม Save temporary ROI to training input

6) คลิกวาดพื้นที่ตัวอย่าง Water ตามต้องการ แล้วคลิกขวาเพื่อปิด polygon


ใน SCP Dock Panel ไปที่แถบ Training input >> ROI Signature list ให้กรอกข้อมูล
ช่อง MC ID เป็น 2 ช่อง MC Info เป็น Water
ช่อง C ID เป็น 2 ช่อง C Info เป็น Lake
คลิกปุ่ม Save temporary ROI to training input
134

7) คลิกวาดพื้นที่ตัวอย่าง Vegetation ตามต้องการ แล้วคลิกขวาเพื่อปิด polygon


ใน SCP Dock Panel ไปที่แถบ Training input >> ROI Signature list ให้กรอกข้อมูล
ช่อง MC ID เป็น 3 ช่อง MC Info เป็น Vegetation
ช่อง C ID เป็น 3 ช่อง C Info เป็น Crop
คลิกปุ่ม Save temporary ROI to training input
135

8) คลิกวาดพื้นที่ตัวอย่าง Forest ตามต้องการ แล้วคลิกขวาเพื่อปิด polygon


ใน SCP Dock Panel ไปที่แถบ Training input >> ROI Signature list ให้กรอกข้อมูล
ช่อง MC ID เป็น 4 ช่อง MC Info เป็น Forest
ช่อง C ID เป็น 4 ช่อง C Info เป็น F1
คลิกปุ่ม Save temporary ROI to training input

9) คลิกวาดพื้นที่ตัวอย่าง Built-up ตามต้องการ แล้วคลิกขวาเพื่อปิด polygon


ใน SCP Dock Panel ไปที่แถบ Training input >> ROI Signature list ให้กรอกข้อมูล
ช่อง MC ID เป็น 5 ช่อง MC Info เป็น Built-up
ช่อง C ID เป็น 5 ช่อง C Info เป็น U1
คลิกปุ่ม Save temporary ROI to training input
136

10) ซึง่ ROI ทั้งหมด แสดง Class อยู่ในแถบ ROI Signature list
137

11) แสดง Macroclass อยู่ในแถบ Macroclass list

ข้อมูลรายละเอียดของ ROI แต่ะละตัว


1) สามารถดูรายละเอียดของ ROI ได้จากปุ่ม Add highlighted signatures to
spectral signature plot
138

2) ในหน้าต่าง SCP: Spectral Signature Plot รายละเอียดเกี่ยวกับ ROI ที่สร้างขึ้น จะ


แสดงเป็นกราฟ ในแถบ Plot

3) จะแสดงเป็นตารางในแถบ Signature details


139

4) หรือดูรายละเอียดของ ROI ได้จากปุ่ม Add highlighted items to scatter


plot

5) ในหน้าต่าง SCP: Scatter Plot รายละเอียดเกี่ยวกับ ROI จะแสดงเป็นกราฟการ


กระจาย ซึ่งสามารถปรับแต่งการแสดงของกราฟได้ตามต้องการ
140

6.4.6 การ Classification ด้วย SCP


1) ใน SCP Dock Panel ไปที่แถบ Classification

ในหน้าต่าง Classification
2) Use เลือกเป็น MC ID หรือ C ID
Algorithm เลือกเป็น Maximum Likelihood
3) คลิกปุ่ม Activate classification preview pointer
141

4) จะได้ภาพ preview ที่ classify แล้ว ปรากฏในหน้าต่างการทำงาน

5) ที่ SCP Working Toolbar


ช่อง S สามารถขยายขนาดการ preview ได้ โดยใส่ขนาดเพิ่ม -ลดได้ แล้วคลิกที่ปุ่ม Redo the
classification preview at the same point เพื่อคำนวณในขนาดพื้นทีใหม่
142

6) จะได้ภาพ preview ที่ classify แล้ว ขนาด 300 พิกเซล

7) คลิกที่ปุ่ม Zoom to the classification preview เพื่อดูภาพทั้งหมด


143

8) ที่ SCP Working Toolbar


ช่อง T สามารถปรับแต่งความโปร่งแสงได้ โดยใส่ขนาดเพิ่ม -ลดได้ แล้วคลิก ที่ปุ่ม Redo the
classification preview at the same point เพื่อคำนวณความโปร่งแสงใหม่ในขนาดพื้นทีเดิม

9) ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่ง ROI ให้เหมาะสมที่ส ุด และเมื่อต้องการ Classify ภาพ


ออกมา
ในหน้าต่าง Classification
Use เลือกเป็น MC ID หรือ C ID
Algorithm เลือกเป็น Maximum Likelihood
คลิกปุ่ม RUN
144

10) จะได้ชั้นข้อมูลภาพทั้งหมดที่ classify แล้ว


145

6.5 การคำนวณข้อมูลภาพ (Raster Calculator)


ข้อมูลภาพดาวเทียม LANDSAT8 มีทั้งหมด 11 bands โดยมีความยาวคลื่นและขนาดพิกเซล
แตกต่างกัน ดังนี้

เนื่องจากภาพที่ใช้ในการคำนวณครั้งนี้ เป็นภาพดาวเทียม LANDSAT8 ที่เกิดจากการรวมแบนด์


2 3 4 5 6 และ 7 จากทั้งหมด 11 แบนด์ ทำให้
Band 1 เป็น Blue Band 2 เป็น Green Band 3 เป็น Red
Band 4 เป็น NIR Band 5 เป็น SWIR1 และ Band 6 เป็น SWIR2 ตามลำดับ
ซึ่งผู้ใช้งานจำเป็นต้องศึกษาความเป็นประโยชน์และการใช้งานของข้อมูลแต่ละแบนด์ ก่อนการ
คำนวณค่าดัชนีพืชพรรณ (NDVI) ดัชนีเน้นภาพพืชพรรณ (EVI) ดัชนีพืชพรรณปรับแก้ดิน (SAVI) หรือค่าดัชนี
ต่าง ๆ ตามต้องการ ตัวอย่างเช่น
ดัชนีพืชพรรณ (Normalized Difference Vegetation Index (NDVI)) เป็นหนึ่งในตัวบ่งชี้ถึง
พื ้ น ที ่ ภ ั ย แล้ ง ที ่ ไ ด้ ม าจากการคำนวณค่ า การสะท้ อ นในภาพถ่ า ยจากดาวเที ย ม เมื ่ อ คลื ่ น แสงหรื อ คลื่ น
แม่เหล็กไฟฟ้าที่ถูกปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์ตกกระทบลงบนใบไม้ คลอโรฟิลล์ในใบไม้จะคอยดูดซับคลื่น
แสงที่ตามองเห็น โดยเฉพาะช่วงคลื่นแสงสีน้ำเงินและแสงสีแดง เพื่อกระบวนการสังเคราะห์แสงผลิตเป็น
อาหารหล่อเลี้ยงให้แก่ต้นพืช (ใบไม้ส่วนมากจะสะท้อนแสงสีเขียวออกมา จึงทำให้เราเห็นใบไม้เป็นสีเขียว)
ส่วนคลื่นอินฟราเรดจะถูกส่วนประกอบอื่น ๆ ภายในโครงสร้างเซลล์ของใบไม้สะท้อนออกมา ในสัดส่วนที่
ค่อนข้างสูงมาก พืชต่างชนิดกัน มีองค์ประกอบเซลล์ต่างกัน ก็สะท้อนคลื่นในสัดส่วนที่ต่างกัน ส่วนพืชชนิด
เดียวกัน แต่มีอายุหรือความสมบูรณ์ที่แตกต่างกัน ก็สะท้อนคลื่นในสัดส่วนที่แตกต่างกันด้วยเช่นกัน
146

พืชที่สมบูรณ์ คือ พืชที่ได้รับน้ำและสารอาหารเพียงพอต่อการเติบโต มักจะมีค่าสะท้อนในช่วง


คลื่นอินฟราเรดสูงกว่าช่วงคลื่นแสงสีแดง (ในกลุ่มคลื่นแสงที่ตามองเห็น) และสำหรับพืชที่ไม่สมบูรณ์จะมีค่า
สะท้อนในช่วงคลื่นอิน ฟราเรดใกล้เคียงหรือต่ำกว่าช่วงคลื่นสีแดง จากการสะท้อนที่แตกต่างกันนี้ จึงนำมาสู่
การคำนวณสัดส่วนความแตกต่างระหว่าง 2 ช่วงคลื่นดังกล่าว ทำให้เราแยกพื้นที่ระหว่างพืชที่สมบูรณ์กับพืชที่
ไม่สมบูรณ์ออกจากกันได้ ค่า NDVI ที่คำนวณได้จะมีค่าตั้งแต่ -1 ถึง 1 แบ่งเป็น บริเวณพืชที่สมบูรณ์ ค่า NDVI
ที่คำนวณได้จะมีค่าใกล้เคียง 1 ส่วนบริเวณพืชไม่สมบูรณ์หรือบริเวณที่เกิดความแห้งแล้ง ค่า NDVI ที่คำนวณ
ได้จะมีค่าใกล้เคียง -1 หมายถึงแห้งแล้งมาก พืชทิ้งใบไม้ หรือเป็นพื้นที่ที่ไม่มีต้นไม้เลย
147

การใช้ประโยชน์ดัชนีพืชพรรณ เช่น การศึกษาติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคใบร่วง


ยางพาราในเขตภาคใต้ การประมาณผลผลิตต่อไร่ของข้าวนาปรังด้วยข้อมูลดาวเทียม SMMS โดยใช้ดัชนีพืช
พรรณ (NDVI) กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
นอกจากนี้ย ัง คำนวณหาการเปลี่ย นแปลงของพื้น ที่การเกษตร โดยใช้ ค่า NDVI แบบหลาย
ช่วงเวลา (Muti temporal) มาทำการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา และยังสามารถประยุกต์เทคนิค
นี้ กับการทำ time series analysis ได้อีกด้วย
148

6.5.1 การคำนวณค่าดัชนีพืชพรรณ
1) ไปที่แถบเมนู Raster เลือก Raster Calculator

ในหน้าต่าง Raster Calculator แถบ Result layer


2) Output layer กำหนดชื่อไฟล์ข้อมูลภาพที่ต้องการ
3) Output format เลือกประเภทไฟล์ข้อมูลภาพ
4) คลิก Selected Layer Extent เพื่อกำหนดขนาดของภาพที่ต้องการ ซึ่งค่าพิกัดจะไป
ขึ้นที่ Xmin Xmax Ymin และ Ymax
5) Output CRS เลือกเป็น EPSG:32647 - WGS84 / UTM zone 47 N
6) ในช่อง Raster Calculator Expression สามารถคำนวณค่า DN ของพิกเซลได้ โดย
ดับเบิ้ลคลิกเลือก bands ของภาพที่ต้องการในแถบ Raster Bands และใช้เครื่องมือการคำนวณในแถบ
Operators ที่โปรแกรมกำหนดให้ เช่น ต้องการคำนวณ สมการดัชนีพืชพรรณ (Normalized Difference
Vegetation Index, NDVI)

( Band Near Infrared – Band Red )


NDVI =
( Band Near Infrared + Band Red )

โดยคำนวณตามสูตรเป็น
( "LC08_L1TP_130047_20200210_6bands@4" - "LC08_L1TP_130047_20200210_6bands@3")
/ ( "LC08_L1TP_130047_20200210_6bands@4" + "LC08_L1TP_130047_20200210_6bands@3")
คลิก OK
149

7) จะได้ชั้นข้อมูลภาพใหม่ ที่คำนวณค่า DN ของพิกเซล เป็นค่า NDVI ระหว่าง -1 ถึง 1


แล้ว
150

8) ปรับแต่งภาพด้วย Layer Properties

6.5.2 การคำนวณค่าทัว่ ๆไป


เช่น คำนวณหาค่า NDVI < 0.3 โดย
ในหน้าต่าง Raster Calculator แถบ Result layer
1) Output layer กำหนดชื่อไฟล์ข้อมูลภาพที่ต้องการ
2) Output format เลือกประเภทไฟล์ข้อมูลภาพ
3) คลิก Selected Layer Extent เพื่อกำหนดขนาดของภาพที่ต้องการ ซึ่งค่าพิกัดจะไป
ขึ้นที่ Xmin Xmax Ymin และ Ymax
4) Output CRS เลือกเป็น EPSG:32647 - WGS84 / UTM zone 47 N
5) ในช่อง Raster Calculator Expression คำนวณเป็น "NDVI_130047@1" < 0.3
คลิก OK
151

6) จะได้ชั้นข้อมูลภาพใหม่ ที่คำนวณค่า DN ของพิกเซลเป็นค่าทางตรรกะศาสตร์ คือ ค่า


0 เป็นเท็จ ค่า 1 เป็นจริง หมายถึง ค่า NDVI ที่น้อยกว่า 0.3 แสดงค่าภาพเป็น 1 (พื้นที่สีขาว)
152

7 การวิเคราะห์ข้อมูลตาราง (Attribute Table)


ข้อมูล ตาราง (Attribute data) เป็ น รายละเอียดที่ส ามารถอธิบายความสัมพันธ์ กับข้ อมูล เชิ ง เส้ น
เหล่านั้น เช่น ชื่อถนน, ลักษณะ พื้นผิว และจำนวนช่องทางวิ่งของเส้นถนนแต่ละเส้น เป็นต้น
7.1 การเพิ่มและลบ field ของตาราง
7.1.1 การเพิ่ม field ของตาราง
1) เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ คลิกขวาเลือก Open Attribute Table หรือคลิกที่ปุ่ม
ที่แถบเครื่องมือ

ในหน้าต่างตารางของชั้นข้อมูล
2) คลิกเลือกปุ่ม Toggle editing mode เพื่อให้แถบเมนูและเครื่องมือในการ
แก้ไขเริ่มทำงาน
3) คลิกเลือกปุ่ม New field เพื่อสร้าง field ข้อมูลใหม่
153

ในหน้าต่าง Add Field


4) Name ตั้งชื่อฟิลด์เป็น Area
Type เลือกเป็น Decimal number(real)
Length เลือกเป็น 15
Precision เลือกเป็น 3 คลิก OK
154

ในหน้าต่าง Add Field


5) Name ตั้งชื่อฟิลด์เป็น Perimeter
Type เลือกเป็น Decimal number(real)
Length เลือกเป็น 15
Precision เลือกเป็น 3 คลิก OK

ในหน้าต่าง Add Field


6) Name ตั้งชื่อฟิลด์เป็น Rai
Type เลือกเป็น Decimal number(real)
Length เลือกเป็น 15
Precision เลือกเป็น 0 คลิก OK

จะได้ตาราง attribute ที่มีช่อง Area Perimeter และ Rai เพิ่มขึ้นมา แต่ยังไม่มีข้อมูล


155

7.1.2 การลบ field ของตาราง


เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ คลิกขวาเลือก Open Attribute Table หรือคลิกที่ปุ่ม
ที่แถบเครื่องมือ
ในหน้าต่างตารางของชั้นข้อมูล
1) คลิกเลือกปุ่ม Toggle editing mode เพื่อให้แถบเมนูและเครื่องมือในการ
แก้ไขเริ่มทำงาน
2) คลิกเลือกปุ่ม Delete field เพื่อลบ field ข้อมูลที่ไม่ต้องการ

ในหน้าต่าง Delete Fields


3) สามารถเลือกลบฟิลด์ ได้ครั้งละหลายฟิลด์ โดยการคลิกเลือกฟิลด์ได้ตามต้องการ
คลิก OK
156

4) จะได้ตาราง attribute ที่มีช่อง Rai ถูกลบไปแล้ว


157

7.2 การอัปเดตข้อมูล
การอัปเดตข้อมูล หรือการคำนวณข้อมูล สามารถคำนวณได้ทั้ง ที่เป็นตัว อักษร ตัวเลขทาง
คณิตศาสตร์ ตรรกะศาสตร์ ตัวเลขเนื้อที่และระยะทางตามภูมิศาสตร์ของโลก และวันเวลา เป็นต้น ด้วย
เครื่องมือ Field Calculator
เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ คลิกขวาเลือก Open Attribute Table หรือคลิกที่ปุ่ม ที่แถบ
เครื่องมือ
ในหน้าต่างตารางของชั้นข้อมูล
1) คลิกเลือกปุ่ม Toggle editing mode เพื่อให้แถบเมนูและเครื่องมือในการ
แก้ไขเริ่มทำงาน
2) คลิกเลือกปุ่ม Open field Calculator ในแถบเครื่องมือ (Toolbar) ที่อยู่ใน
หน้าต่างการทำงานหรือตารางก็ได้

ในหน้าต่าง Field Calculator


3) คลิกที่ช่อง Create a new Field
4) Output field name ตั้งชื่อ Field ใหม่
Output field type เลือกชนิดข้อมูล ว่าเป็นตัวอักษรหรือตัวเลข
Output field length เลือกความกว้างของ field และจำนวนทศนิยมในกรณีที่เป็น
ตัวเลข
5) Expression พิ ม พ์ ข ้ อ ความสำหรั บ ในการคำนวณ ถ้ า เป็ น ตั ว อั ก ษร ให้ ใ ส่ single
quotes ทั้งหน้าหลังข้อความ
คลิก OK
158

6) จะได้ตาราง attribute ที่มีช่อง Prov เพิ่มขึ้นและมีข้อมูลคือ จ.พะเยา


159

7.3 การคำนวณเนื้อที่ (Area) เส้นรอบรูป (Perimeter) และเนื้อที่เป็นไร่


การคำนวณเนื้อที่ เส้นรอบรูป และเนื้อที่เป็นไร่ สามารถคำนวณได้จากเครื่องมือ Field
Calculator
เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ คลิกขวาเลือก Open Attribute Table หรือคลิกที่ปุ่ม ที่แถบ
เครื่องมือ
ในหน้าต่างตารางของชั้นข้อมูล
คลิกเลือกปุ่ม Toggle editing mode เพื่อให้แถบเมนูและเครื่องมือในการแก้ไข
เริ่มทำงาน
คลิกเลือกปุ่ม Open field Calculator ในแถบเครื่องมือ (Toolbar) ที่อยู่ใ น
หน้าต่างการทำงานหรือตารางก็ได้

7.3.1 การคำนวณเนื้อที่ (Area)


ในหน้าต่าง Field Calculator
1) คลิกที่ช่อง Update existing field เลือก Field ที่ต้องการอัปเดต เลือกเป็น Area
2) ในแถบ row_number จะมีฟังก์ชั่นหลากหลายแบบ เพื่อใช้ในการคำนวณตัวเลข
ตัวอักษร วันเวลา และอื่นๆ เลือกที่ Geometry >> $area เพื่อคำนวณเนื้อที่ตามภูมิศาสตร์ของโลก
3) ในแถบ Expression จะปรากฏ $area ขึ้น และ Output preview จะแสดงค่าที่ได้
4) ถ้าสร้างฟังก์ชั่นผิด จะขึ้นข้อความว่า Expression is invalid
คลิก OK
160

5) จะได้ตาราง attribute ทีช่ ่อง Area มีข้อมูลเนื้อที่ที่คำนวณแล้ว

7.3.2 การคำนวณเส้นรอบรูป (Perimeter)


ในหน้าต่าง Field Calculator
1) คลิ ก ที ่ ช ่ อ ง Update existing field เลื อ ก Field ที ่ ต ้ อ งการอั ป เดต เลื อ กเป็ น
Perimeter
2) ในแถบ row_number จะมีฟังก์ชั่นหลากหลายแบบ เพื่อใช้ในการคำนวณตัวเลข
ตัวอักษร วันเวลา และอื่นๆ เลือกที่ Geometry >> $perimeter เพื่อคำนวณเส้นรอบรูปตามภูมิศาสตร์
ของโลก
161

3) ในแถบ Expression จะปรากฏ $perimeter ขึ้น และ Output preview จะแสดง


ค่าที่ได้
4) ถ้าสร้างฟังก์ชั่นผิด จะขึ้นข้อความว่า Expression is invalid
คลิก OK

5) จะได้ตาราง attribute ที่ช่อง Perimeter มีข้อมูลเส้นรอบรูปที่คำนวณแล้ว


162

7.3.3 การคำนวณเนื้อที่เป็นไร่
ในหน้าต่าง Field Calculator
1) คลิกที่ช่อง Create a new Field
2) Output field name ตั้งชื่อ Field ใหม่ เป็น Rai
Output field type เลือกชนิดข้อมูล เป็นตัวเลข
Output field length เลือกความกว้างของ field เป็น 10 และไม่มจี ำนวนทศนิยม
3) ในแถบ row_number จะมีฟังก์ชั่นหลากหลายแบบ เพื่อใช้ในการคำนวณตัวเลข
ตัวอักษร วันเวลา และอื่นๆ เลือกที่ Fields and Values >> Area ที่คำนวณค่าเนื้อที่แล้ว
ในแถบ Expression จะปรากฏ “Area” ขึ้น กดเครื่องหมาย / แล้วพิมพ์ 1600
4) Output preview จะแสดงค่าที่ได้ ถ้าสร้างฟังก์ ชั่นผิด จะขึ้นข้อความว่า Expression
is invalid คลิก OK

5) จะได้ตาราง attribute ทีส่ ร้างช่อง Rai ขึ้นมาใหม่และมีเนื้อที่เป็นไร่ที่คำนวณได้


163

7.4 การคำนวณค่าพิกัด X และ Y


เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการ คลิกขวาเลือก Open Attribute Table หรือคลิกที่ปุ่ม ที่แถบ
เครื่องมือ
ในหน้าต่างตารางของชั้นข้อมูล
คลิกเลือกปุ่ม Toggle editing mode เพื่อให้แถบเมนูและเครื่องมือในการแก้ไข
เริ่มทำงาน
คลิกเลือกปุ่ม Open field Calculator ในแถบเครื่องมือ (Toolbar) ที่อยู่ใ น
หน้าต่างการทำงานหรือตารางก็ได้

ในหน้าต่าง Field Calculator


1) คลิกที่ช่อง Create a new Field
2) Output field name ตั้งชื่อ Field ใหม่ เป็น X
Output field type เลือกชนิดข้อมูล เป็นตัวเลข
Output field length เลือกความกว้างของ field เป็น 10 และไม่มีจำนวนทศนิยม
3) ในแถบ row_number จะมีฟังก์ชั่นหลากหลายแบบ เพื่อใช้ในการคำนวณตัวเลข
ตัวอักษร วันเวลา และอื่นๆ เลือกที่ Geometry >> $X เพื่อคำนวณพิกัดทางภูมิศาสตร์ในแนวแกน X
4) ในแถบ Expression จะปรากฏ $X ขึ้น
5) Output preview จะแสดงค่าที่ได้ ถ้าสร้างฟังก์ชั่นผิด จะขึ้นข้อความว่า Expression
is invalid
คลิก OK
164

ในหน้าต่าง Field Calculator


6) คลิกที่ช่อง Create a new Field
Output field name ตั้งชื่อ Field ใหม่ เป็น Y
Output field type เลือกชนิดข้อมูล เป็นตัวเลข
Output field length เลือกความกว้างของ field เป็น 10 และไม่มีจำนวนทศนิยม
7) ในแถบ row_number จะมีฟังก์ชั่นหลากหลายแบบ เพื่อใช้ในการคำนวณตัวเลข
ตัวอักษร วันเวลา และอื่นๆ เลือกที่ Geometry >> $Y เพื่อคำนวณพิกัดทางภูมิศาสตร์ในแนวแกน Y
8) ในแถบ Expression จะปรากฏ $Y ขึ้น
9) Output preview จะแสดงค่าที่ได้ ถ้าสร้างฟังก์ชั่นผิด จะขึ้นข้อความว่า Expression
is invalid
คลิก OK
165

10) จะได้ตาราง attribute ทีส่ ร้างช่อง X และ Y ขึ้นมาใหม่และมีค่าพิกัดที่คำนวณแล้ว


166

8 การสร้างองค์ประกอบต่างๆของแผนที่และการพิมพ์
ก่อนการจัดพิมพ์แผนที่ต้องปรับแต่งรูปแบบสัญลักษณ์ต่างๆของแผนที่ตามต้องการให้เรียบร้อย

1) ไปที่แถบเมนู Project เลือก New Print Layout หรือคลิกปุ่ม New Print Layout
167

2) ในหน้าต่าง Create print layout Title ตั้งชื่อแผนที่ คลิก OK

หน้าต่าง Layout จะแยกออกมาจากหน้าต่างหลักของโปรแกรม


3) ในหน้าต่าง Layout ประกอบด้วยแถบ Panels แถบเครื่องมือต่างๆ และหน้าต่าง
แสดงแผนที่
168

4) ไปที่แถบเมนู Layout เลือก Page Setup หรือคลิกขวาเลือก Page Properties

5) ในหน้าต่าง Page Properties กำหนดขนาดกระดาษแผนที่ตามต้องการ เลือก


เป็น A4
169

8.1 การเพิ่มภาพแผนที่
ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มภาพแผนที่เข้ามายังหน้าต่างแสดงผลของ Layout ได้ โดย
1) ไปที่แถบเครื่องมือ Toolbox คลิกที่ปุ่ม Adds a new Map to the layout

2) คลิกลากขอบเขตที่ต้องการลงในหน้าต่างแสดงผล
170

3) จะปรากฏภาพแผนที่จากหน้าต่างหลักที่ได้จัดเตรียมไว้ ตามขอบเขตที่กำหนด

8.2 การปรับย้ายตำแหน่งภาพแผนที่
ผู้ใช้งานสามารถปรับย้ายตำแหน่งภาพได้ โดย
1) ไปที่แถบเครื่องมือ Toolbox คลิกที่ปุ่ม Move item content
2) เคลื่อนย้ายภาพให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ และ
3) ปรับมาตราส่วนในหน้าต่าง Item Properties กำหนดเป็น 800000
171

8.3 การเพิ่มภาพแผนที่ภาพรวม
ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มภาพแผนที่อีกภาพเพื่อใช้เป็นภาพแสดงตำแหน่งในมาตราส่วนใหญ่ได้ โดย
1) ในหน้าต่าง Item Properties >> Map1 >> Layers
2) คลิกเลือก Lock layers และ Lock styles for layers เพื่อบังคับภาพใน Map1 ให้คง
เดิม แม้หน้าต่างหลักถูกเปลี่ยนไป

3) ไปที่แถบเครื่องมือ Toolbox คลิกที่ปุ่ม Adds a new Map to the layout


คลิกลากขอบเขตที่ต้องการลงในหน้าต่างแสดงผล จะปรากฏภาพแผนที่จากหน้าต่างหลักที่ได้จัดเตรียมไว้
ตามขอบเขตที่กำหนด
172

4) กลับไปที่หน้าต่างหลักของโปรแกรม เลือกชั้นข้อมูลที่ต้องการแสดงภาพใน
มาตราส่วนใหญ่ (prov_2556) แล้วคลิกขวาเลือก Zoom to Layer

5) กลับไปที่หน้าต่าง Layout ในหน้าต่างแสดงผลจะปรากฏภาพแผนที่จากหน้าต่างหลัก


ที่ได้จัดเตรียมไว้ หากไม่ปรากฏภาพขึ้นมา ไปที่หน้าต่าง Item Properties ให้คลิกที่ปุ่ม Update
Map Preview

6) ในหน้าต่างแสดงผลของ Layout คลิกเลือกที่ Map2


7) ในหน้าต่าง Item Properties >> Map2 >> Overviews คลิกที่ปุ่ม
8) Map frame เลือกเป็น Map1
จากนั้น ในหน้าต่าง Map2 จะปรากฏแถบสีที่บริเวณที่ใช้งานใน Map1
173

8.4 การเพิ่มเครื่องหมายทิศเหนือ
ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มเครื่องหมายทิศเหนือเข้ามายังหน้าต่างแสดงผลของ Layout ได้ โดย
1) ไปที่แถบเครื่องมือ Toolbox คลิกที่ปุ่ม Adds a new North Arrow to the
layout

คลิกลากขอบเขตที่ต้องการลงในหน้าต่างแสดงผล จะปรากฏเครื่องหมายทิศเหนือ และ


สามารถเลือกรูปแบบของเครื่องหมายได้ โดย
2) ในหน้าต่าง Item Properties >> Picture >> Search Directories
3) คลิกเลือกรูป แบบของเครื่องหมายได้ตามต้องการ หรือเลือกจากไฟล์ ภ าพได้จาก
Image search paths
4) เครื่องหมายทิศเหนือจะแสดงขึ้นมา
174

8.5 การเคลื่อนย้าย item


ผู้ใช้งานสามารถเคลื่อนย้าย item ต่างๆไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้ โดย
1) ไปที่แถบเครื่องมือ Toolbox คลิกที่ปุ่ม Select/Move item

2) คลิกลาก item ที่ต้องการไปยังตำแหน่งต่างๆในหน้าต่างแสดงผล


175

8.6 การเพิ่มแถบมาตราส่วนแผนที่
ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มแถบมาตราส่วนแผนที่เข้ามายังหน้าต่างแสดงผลของ Layout ได้ โดย
1) ไปที่แถบเครื่องมือ Toolbox คลิกที่ปุ่ม Adds a new Scale Bar to the
layout

2) คลิกลากขอบเขตที่ต้องการลงในหน้าต่างแสดงผล จะปรากฏแถบมาตราส่วนแผนที่
และสามารถเลือกรูปแบบของแถบมาตราส่วนได้ โดย
ในหน้าต่าง Item Properties >> Scalebar
3) Main Properties >> Map เลือกเป็น Map1
Style เลือกเป็น Double Box
4) Segments >>Segments เลือกเป็น left 3 right 2
176

8.7 การเพิ่มแถบสัญลักษณ์แผนที่
ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มแถบสัญลักษณ์แผนที่เข้ามายังหน้าต่างแสดงผลของ Layout ได้ โดย
1) ไปที่แถบเครื่องมือ Toolbox คลิกที่ปุ่ม Adds a new Legend to the
layout

2) คลิกลากขอบเขตที่ต้องการลงในหน้าต่างแสดงผล จะปรากฏแถบสัญลักษณ์ขึ้น และ


สามารถปรับแต่งรูปแบบของแถบสัญลักษณ์ได้ โดย
177

3) ในหน้าต่าง Item Properties >> Legend


4) Main Properties >> Map เลือกเป็น Map1
5) Legend Items แสดงสัญลักษณ์ทั้งหมด
6) ถ้าต้องการปรับแต่งสัญลักษณ์ ให้คลิกที่ Auto update ออก เพื่อให้แถบเครื่องมือ
แก้ไขทำงาน โดยสามารถเพิ่ม-ลด เรียงลำดับขึ้น-ลง และแก้ไขข้อความใหม่ให้เหมาะสมได้

8.8 การเพิ่มกริดในแผนที่
ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มกริดเข้ามายังหน้าต่างแสดงผลของ Layout ได้ โดย
1) ในหน้าต่าง Item Properties >> Map1 >> Grids
178

2) คลิกที่ปุ่ม
3) คลิกที่ปุ่ม Modify Grid
4) ในหน้าต่าง Item Properties >> Map Grid Properties
แถบ Appearance
Grid type เลือกเป็น Cross
CRS เลือกเป็น EPSG:32647
Interval เลือกเป็น Map Unit
X เลือกเป็น 20000
Y เลือกเป็น 20000
แถบ Frame
Frame style เลือกเป็น Interior Ticks
Frame size เลือกเป็น 2.0
แถบ Draw Coordinates
คลิกเลือกที่ Draw Coordinates เพื่อเริ่มการทำงาน
Left เลือกเป็น Vertical ascending หรือ Vertical descending
Right เลือกเป็น Vertical ascending หรือ Vertical descending
Coordinate precision เลือกเป็น 0
นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดรูปแบบของตัวอักษร ขนาด สี และระยะห่างของตัวอักษร
จากขอบได้อีกด้วย
179

8.9 การเพิ่มข้อความหัวเรื่อง
ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มข้อความเพื่อใช้เป็นหัวเรื่องเข้ามายังหน้าต่างแสดงผลของ Layout ได้ โดย
1) ไปที่แถบเครื่องมือ Toolbox คลิกที่ปุ่ม Adds a new Label to the layout

2) คลิกลากขอบเขตที่ต้องการลงในหน้าต่างแสดงผล จะปรากฏแถบข้อความขึ้น มา
สามารถพิมพ์ข้อความที่ต้องการ และปรับแต่งรูปแบบของข้อความได้ โดย
180

ในหน้าต่าง Item Properties >> Label


3) แถบ Main Properties
พิมพ์ข้อความลงในช่องว่างได้ตามต้องการ แล้ว ข้อความดังกล่าวจะไปปรากฏที่
หน้าต่างแสดงผล
4) แถบ Appearance
สามารถกำหนดรู ป แบบของตัว อั ก ษร ขนาด สี และการวางแนวตั ้ง และแนวนอน
นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดตำแหน่ง ขนาด กรอบข้อความ และอื่น ๆ ได้อีกด้วย
5) ข้อความหัวเรื่องจะแสดงในหน้าต่างแสดงผล

8.10 การเพิ่มโลโก้หน่วยงาน
ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มโลโก้หน่วยงานหรือรูปภาพเข้ามายังหน้าต่างแสดงผลของ Layout ได้ โดย
1) ไปที่แถบเครื่องมือ Toolbox คลิกที่ปุ่ม Adds a new Picture to the layout
คลิกลากขอบเขตที่ต้องการลงในหน้า ต่างแสดงผล จะปรากฏแถบรูปภาพขึ้น มา
สามารถเลือกภาพที่ต้องการ และปรับแต่งรูปแบบของภาพได้ โดย
181

ในหน้าต่าง Item Properties >> Picture


2) แถบ Main Properties
Image source เลือกไฟล์ภาพที่ต้องการ
3) ภาพดังกล่าวจะไปปรากฏที่หน้าต่างแสดงผล
สามารถกำหนดรูปแบบ ขนาด สี การวาง การหมุน ตำแหน่ง เส้นกรอบ และอื่น ๆ ได้
อีกด้วย
182

4) ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มข้อความอธิบายรายละเอียดได้ โดยไปที่แถบเครื่องมือ Toolbox


คลิกที่ปุ่ม Adds a new Label to the layout
5) สร้างข้อความที่ต้องการลงใน Label >>Main Properties
6) ข้อความดังกล่าวจะไปปรากฏที่หน้าต่างแสดงผล

8.11 การเพิ่มขอบเขตหรือกรอบแผนที่
ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มขอบเขตหรือกรอบแผนที่เข้ามายังหน้าต่างแสดงผลของ Layout ได้ โดย
1) ไปที่แถบเครื่องมือ Toolbox คลิกที่ปุ่ม Adds Shape
183

2) คลิกลากขอบเขตที่ต้องการลงในหน้าต่างแสดงผล จะปรากฏรูปร่างตามต้องการขึ้นมา
สามารถปรับแต่งรูปแบบของรูปร่างได้

8.12 การส่งออกแผนที่
เมื่อจัดแต่งองค์ประกอบแผนที่ได้ตามต้องการแล้ว ผู้ใช้งานสามารถส่งออกแผนที่ได้หลายรูปแบบ
ทั้งการพิมพ์ออกมาโดยตรงจากเครื่องพิมพ์ บันทึกออกมาเป็นไฟล์ภาพ ที่เป็น *.jpg *.png หรือ *.tif
หรือบันทึกออกมาเป็นไฟล์ *.svg หรือเป็นไฟล์ *.pdf ก็ได้ เพื่อสะดวกในการนำไปใช้งานต่อไป
1) ไปที่แถบเครื่องมือ Toolbox คลิกที่ปุ่ม Export as image เลือกบันทึก
ออกมาเป็นไฟล์ภาพ ที่เป็น *.jpg *.png หรือ *.tif
184

หน้าต่าง Image Export Options จะปรากฎขึ้นมา


2) Export Options ค่าที่โปรแกรมกำหนดให้เป็น 300 dpi
คลิกเลือก Generate world file เพื่อให้ภาพที่ export มีพิกัดติดไปด้วย

3) เมื่อ export เรียบร้อย โปรแกรมจะขึ้นข้อความบอกว่า export เสร็จสมบูรณ์และ


ตำแหน่งการจัดเก็บไฟล์
185

4) ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเปิดไฟล์ภาพดังกล่าวได้จากโปรแกรมทางด้านรูปภาพได้เลย

หมายเหตุ การทำแผนที่สภาพการใช้ที่ดินจังหวัด..........ปี.............ของกลุ่มวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดินกอง
นโยบายและแผนการใช้ที่ดิน เพื่อนำขึ้นเผยแพร่ทางเว็บไซต์ เป็นขนาดกระดาษ A4
โดยจัดกลุ่มของประเภทการใช้ที่ดินดังนี้
1) U=พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง
2) A1=พื้นที่นา
3) A2=พืชไร่
4) A3=ไม้ยืนต้น
5) A4=ไม้ผล
6) A5=พืชสวน
7) A6=ไร่หมุนเวียน
8) A7=ทุ่งหญ้าและโรงเรือนเลี้ยงสัตว์
9) A8=พืชน้ำ
10) A9=สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
11) A0=เกษตรผสมผสาน/ไร่นาสวนผสม
12) F=ป่าสมบูรณ์
13) F0=ป่ารอสภาพฟื้นฟู
14) W=พื้นที่น้ำ
15) M2=พื้นที่ลุ่ม
16) M1 M3 M4=พื้นที่เบ็ดเตล็ดอื่น ๆ
186

และกำหนดการใช้ค่าสี ใน legend ดังนี้


1) U ใช้สี ค่า R=255 G=0 B=0
2) A1 ใช้สี ค่า R=255 G=255 B=0
3) A2 ใช้สี ค่า R=254 G=172 B=0
4) A3 ใช้สี ค่า R=173 G=164 B=254
5) A4 ใช้สี ค่า R=255 G=0 B=255
6) A5 ใช้สี ค่า R=186 G=165 B=0
7) A6 ใช้สี ค่า R=205 G=92 B=92
8) A7 ใช้สี ค่า R=224 G=255 B=255
9) A8 ใช้สี ค่า R=194 G=254 B=194
10) A9 ใช้สี ค่า R=0 G=255 B=225
11) A0 ใช้สี ค่า R=208 G=174 B=150
12) F ใช้สี ค่า R=1 G=129 B=0
13) F0 ใช้สี ค่า R=108 G=254 B=0
14) W ใช้สี ค่า R=0 G=0 B=225
15) M2ใช้สี ค่า R=186 G=0 B=224
16) M1 M3 M4ใช้สี ค่า R=120 G=120 B=120
187

เอกสารอ้างอิง

ชิงชัย หุมห้อง. 2562. คู่มือการใช้งานโปรแกรม QGIS อย่างมืออาชีพ. บริษัท แมพพิเดีย จำกัด


มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก, 398 หน้า.

ภราดร กาญจนสุธรรม และคณะ. 2557. การประมาณผลผลิตต่อไร่ของข้าวนาปรังด้วยข้อมูลดาวเทียม


SMMS โดยใช้ดัชนีความแตกต่างพืชพรรณ (NDVI) กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี.
โครงการบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการใช้ที่ดินและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 22(1): 55-66.

ภาคภูมิ เหล่าตระกูล. 2563. รับมือภัยแล้ง...กับความเข้าใจ NDVI. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและ


ภูมิสารสนเทศ สำนักงานใหญ่ (ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550)
https://www.gistda.or.th/main/th/node/3681.

สรรเพชญ ชื้อนิธิไพศาล. 2555. เอกสารประกอบการอบรมการใช้งาน Quantum GIS. ภาควิชาวิศวกรรม


สำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร, 209 หน้า.

ส่วนภูมิสารสนเทศ. 2562. คู่มือการประยุกต์ใช้งานโปรแกรม Quantum GIS (QGIS) สำหรับการทำงาน


ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรุงเทพมหานคร, 169 หน้า.

ศตววรษ อาหรับ. 2556. คู่มืออบรมหลักสูตร : การอบรมระบบภูมิสารสนเทศพื้นฐานโดยใช้โปรแกรม


QGIS. http://gisrspsu.blogspot.com/search/label/QGIS, 171 หน้า.

Chaipat ncm. 2562. Vegetation Change Detection. Geo Data Science.


https://medium.com/geo-datascience/vegetation-change-detection-517ab0a582f6 .

You might also like