Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 12

ใบความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ สารบริสุทธิ์
บทเรื่อง การจําแนกและองค์ประกอบของสารบริสทุ ธิ์

เรื่องที่ 1 :การจําแนกสารบริสุทธิ์

❖ สารเนื้อเดียว คือ สารเนื้อเดียวที่ประกอบด้วยสารเพียงชนิดเดียว ไม่มีสารอื่นเจือปน มีสมบัติที่เหมือนกัน


ทุกส่วน เช่น ทองคาแท่งและทองรูปพรรณ กลูโคส ออกซิเจน แบ่งเป็นสารบริสุทธิ์ และสารละลาย
❖ สารบริสุทธิ์ เป็นสารที่มีส่วนประกอบหรือองค์ประกอบเพียงชนิดเดียว มีสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
เฉพาะ เช่น จุดเดือดจุดหลอมเหลวคงที่ จัดเป็นสารเนื้อเดียว แบ่งเป็น ธาตุ และ สารประกอบ
❖ ธาตุ จัดเป็นสารเนื้อเดียวประเภทสารบริสุทธิ์ ประกอบด้วยอะตอมเพียงชนิดเดียว เช่น คาร์บอน (C),
ไนโตรเจน (N) แบ่งเป็น โลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ
❖ สารประกอบ จัดเป็นสารเนื้อเดียวประเภทสารบริสุทธิ์ สารที่เกิดจากการรวมตัวทางเคมีของธาตุตั้งแต่ 2
ธาตุขึ้นไป โดยมีอัตราส่วนขององค์ประกอบที่แน่นอน ตัวอย่างเช่น แก๊ส O2 ประกอบด้วย ธาตุ O (ออกซิเจน)
จานวน 2 ตัว โอโซน O3 ประกอบด้วย ธาตุ O (ออกซิเจน) จานวน 3 ตัว น้า H2O ประกอบด้วย ธาตุ H
(ไฮโดรเจน) จานวน 2 ตัว และ ธาตุ O (ออกซิเจน) จานวน 1 ตัว
❖ สารละลาย จัดเป็นสารเนื้อเดียว แต่มีจุดเดือด-จุดหลอมเหลว ไม่คงที่ มีขนาดอนุภาคเล็กกว่า 10-7
เซนติเมตร ประกอบด้วย “ตัวทําละลาย” และ “ตัวละลาย” (ตัวถูก) เกณฑ์การบอกว่า สารใดเป็นตัวทาละลาย
ตัวใดเป็นตัวถูกละลาย ถ้าอยู่ในสถานะเดียวกัน ให้ดูว่าจากปริมาณ ถ้าตัวใดมากกว่าตัวนั้นเป็น “ตัวทําละลาย”
สารที่มีปริมาณน้อยกว่า ตัวนั้นเป็น “ตัวละลาย”
❖ สารเนื้อผสม สารที่มองเห็นเป็นเนื้อผสม ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน แบ่งเป็น “สารแขวนลอย”
❖ คอลลอยด์ เป็นสารที่มีอนุภาคขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10-7 < คอลลอยด์ < 10-4 เซนติเมตร
❖ สารแขวนลอย จัดเป็นสารเนื้อผสมที่มีอนุภาคขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่มากกว่า 10-4 เซนติเมตร อนุภาค
สารไม่ละลายน้า แต่จะแขวนลอยอยู่ในตัวกลางและสามารถแยกอนุภาคได้ เมื่อตั้งทิ้งไว้จะตกตะกอนแต่ถ้าอนุภาค
สารแขวนลอยมีขนาดเล็กจะไม่ตกตะกอน ถ้าต้องการแยกอนุภาคขนาดเล็กออกสามารถทาได้โดยนาไปกรองใน
กระดาษกรอง

สารบริสุทธิ์

เป็นสารที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ด้วยวิธีทางกายภาพ เช่น การกรอง นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบ


ทางเคมีตายตัวและมีสมบัติชัดเจน แบ่งออกได้เป็นธาตุและสารประกอบ
สารบริสุทธิ์

ธาตุ สารประกอบ
เกิดจาก : องค์ประกอบชนิดเดียว เกิดจาก : องค์ประกอบย่อย
มากกว่า 1 ชนิด และสัดส่วนคงที่
1. ธาตุ (element) คือ สารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็ก เรียกว่า อะตอม (atom)
อะตอม คือ หน่วยที่เล็กที่สุดของธาตุ อะตอมของธาตุแต่ละชนิดมีสมบัติแตกต่างกัน ในธรรมชาติธาตุ
อาจอยู่เป็นอะตอม เดี่ยวหรือมีอะตอมของธาตุชนิดเดียวกันหลาย ๆ อะตอมอยู่รวมกัน เช่น แก๊สไฮโดรเจน
ประกอบด้วยอะตอมของ ไฮโดรเจน 2 อะตอม โอโซนประกอบด้วยอะตอมของออกซิเจน 3 อะตอม
❖ โลหะ มีคุณสมบัตินาไฟฟ้าและความร้อนได้ดี ผิวเป็นมันวาว มีความเหนียว และสามารถ เป็นแผ่นบางได้
ส่วนใหญ่อยู่ในสถานะของแข็ง เช่น ทองคา (Au) เงิน (Ag) เหล็ก (Fe)
❖ อโลหะ มีคุณสมบัติไม่นาไฟฟ้า มีความเปราะบางและแตกหักได้ง่าย เช่น แก๊สออกซิเจน (O2)
แก๊สไนโตรเจน (N2) ฟอสฟอรัส (P)
❖ กึ่งโลหะ มีคุณสมบัติระหว่างธาตุโลหะและอโลหะ นาไฟฟ้าได้ไม่ดี ณ อุณหภูมิห้อง แต่การนา ไฟฟ้า
เพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น มีความแข็งแรงแต่ก็มีความเปราะบางสูง เช่น ซิลิกอน (Si)
2) สารประกอบ (compound) คือ สารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยอะตอมของธาตุต่างชนิดกันรวมตัวกันใน
อัตราส่วนจานวนอะตอมคงที่ เช่น น้า ประกอบด้วยอะตอมของไฮโดรเจน 2 อะตอม และอะตอมของ
ออกซิเจน 1 อะตอม คงที่ โดยมีอัตราส่วนมวลของออกซิเจนต่อไฮโดรเจนเป็น 1:8
❖ เกลือแกง (NaCl) ซึ่งประกอบด้วยธาตุโซเดียมกับคลอไรด์
❖ น้า (H2O) ประกอบด้วยไฮโดรเจนกับออกซิเจน
❖ น้าตาลทราย (C12H22O11) ประกอบด้วยคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน
ตัวอย่างสารบริสุทธิ์ เช่น ตัวอย่างสารที่ไม่บริสุทธิ์ เช่น
- เกลือ (NaCl) - น้าปลา (น้า + น้าหมักของปลา + อื่นๆ)
- น้าตาลทราย (C12H22O11) - อากาศ (มีแก๊สหลายชนิด รวมทั้งฝุ่นและไอน้า)
- น้าเปล่า (H2O) - น้าเชื่อม (น้า + น้าตาล)
- แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) - น้าเกลือ (น้า + เกลือ)
- แก๊สออกซิเจน (O2)
- แก๊สไนโตรเจน (N2)
ธาตุ

- ธาตุทุกชนิดเป็นสารบริสุทธิ์
- ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กเรียกว่า อะตอม (atom)
- อะตอม คือ หน่วยที่เล็กที่สุดของธาตุ
- อะตอมของธาตุแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกัน
- ธาตุอาจอยู่เป็นอะตอมเดี่ยว หรืออะตอมของธาตุชนิดเดียวกันหลายอะตอมก็ได้

อะตอมเดี่ยว อะตอมชนิดเดียวกันหลายอะตอม
เนื่องจากธาตุมีหลายชนิดนักวิทยาศาสตร์จึงกาหนด สัญลักษณ์ของธาตุ (chemical symbol) แทน
การเขียนชื่อธาตุเพื่อให้เกิดความสะดวกและเข้าใจตรงกันเป็นสากล การกาหนดสัญลักษณ์ของธาตุส่วนใหญ่มา
จากชื่อในภาษาอังกฤษ โดยใช้ตัวอักษรตัวแรกของชื่อธาตุ เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ในกรณีที่ตัวอักษรตัวแรกของชื่อ
ธาตุซ้ากันให้ตามด้วยตัวอักษรตัวพิมพ์เล็กตัวอื่น นอกจากนี้ สัญลักษณ์ของธาตุบางชนิดกาหนดมาจากชื่อธาตุใน
ภาษาละติน ตารางสัญลักษณ์ของธาตุบางชนิดเป็นสารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยอะตอมของธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้น
ไปมารวมกัน ไม่สามารถแยกได้ด้วยวิธีทางกายภาพ
สารประกอบ
- เป็นสารบริสุทธิ์
- ประกอบด้วยอะตอมของธาตุต่างชนิดกันมารวมกันในสัดส่วนคงที่
ใบความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ สารบริสุทธิ์
บทเรื่อง การจําแนกและองค์ประกอบของสารบริสทุ ธิ์

เรื่องที่ 2 : โครงสร้างอะตอม

อะตอมของธาตุประกอบด้วย โปรตอน (proton), นิวตรอน (neutron) และ อิเล็กตรอน (electron)


อนุภาคทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของอะตอมของธาตุทุกธาตุ โดยโปรตอนและนิวตรอนจะอยู่รวมกัน
ตรงกลางของอะตอม เรียกว่า นิวเคลียส (nucleus) อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ได้ และอยู่รอบนิวเคลียส อะตอม
ประกอบด้วยที่ว่างเป็นส่วนใหญ่
โปรตอน ประจุบวก
นิวตรอน เป็นกลางทางไฟฟ้า
อิเล็กตรอน ประจุลบ

แบบจําลองอะตอม มี 5 แบบ ดังนี้

แบบจําลองอะตอมของดอลตัน
จอห์น ดอลตัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ พ.ศ. 2319-2387 (ค.ศ. 1776-1844) เป็นคนแรก ที่เสนอ
แบบจาลองอะตอม โดยใช้หลักฐานทางเคมีและฟิสิกส์เข้ามาประมวลแนวคิดเกี่ยวกับอะตอม จอห์น ดอลตัน ได้
เสนอทฤษฎีอะตอม ซึ่งมีสาระสาคัญดังนี้
1. ธาตุแต่ละชนิดประกอบด้วยอนุภาคเล็กที่สุด ซึ่งเรียกว่า อะตอม อะตอมไม่สามารถแยกออกไปได้อีก
และไม่สามารถถูกสร้างขึ้นหรือทาลายได้ในระหว่างเกิดปฏิกิริยาเคมี
2. อะตอมในธาตุเดียวกันจะมีมวลและสมบัติอื่น ๆ เหมือนกัน อะตอมในธาตุต่างชนิดกันจะมีสมบัติ
แตกต่างกัน
3. สารประกอบเคมีซึ่งเกิดจากอะตอมต่างชนิดมารวมกันนั้น การรวมกันของอะตอมจะเป็นอัตราส่วนที่
เป็นตัวเลขลงตัวต่า เช่น หนึ่งอะตอมของ A ต่อหนึ่งอะตอมของ B (AB) หนึ่งอะตอมของ A ต่อสองอะตอมของ B
(AB2) เป็นต้น
นักวิทยาศาสตร์ได้ทาการทดลอง และศึกษาค้นคว้าอะตอมเพิ่มมากขึ้น พบว่าการทดลองบางอย่าง
ให้ผลข้อมูลที่ไม่สามารถอธิบายตามทฤษฎีอะตอมของดอลตันได้ จึงมีการสร้างระบบจาลองอะตอมขึ้นมาอีก
หลายแบบจาลอง เพื่อให้สอดคล้องกับผลที่ได้จากการทดลอง
แบบจําลองอะตอม มี 5 แบบ ดังนี้

แบบจําลองอะตอมของทอมสัน

ทอมสัน เสนอแนวคิดแบบจาลองโดยเสนอว่า อะตอมมีลักษณะเป็นหมอกทรงกลมประจุ มีจานวน


อิเล็กตรอนเท่ากับประจุบวกฝังอยู่ จึงทาให้อะตอมมีสมบัติเป็นกลางทางไฟฟ้า ทอมสันเรียกทฤษฎีที่ให้
แบบจาลองอะตอมว่า ทฤษฎีขนมยัดไส้พลัม โดยอุปมาอุปไมยให้ไอศกรีมเป็นหมอกประจุบวก (โปรตอน)
ชิ้นช็อกโกแลตเป็นอิเล็กตรอน ธาตุมีสมบัติต่างกัน เพราะมีจานวนอิเล็กตรอนและโปรตอนต่างกัน และมี
การจัดอิเล็กตรอนและโปรตอนแตกต่างกัน เหมือนเช่นไอศกรีมในภาชนะกลมขนาดต่างกัน มีจานวนชิ้น
ช็อกโกแลตต่างกัน เช่น ไฮโดรเจนอะตอมประกอบด้วยหมอกของประจุบวกหนึ่งประจุมีหนึ่งอิเล็กตรอนฝัง
อยู่ ฮีเลียมอะตอมประกอบด้วยหมอกของประจุบวกสองประจุมีสองอิเล็กตรอนฝังอยู่ เป็นต้น

แบบจําลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด

ลอร์ดเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด พ.ศ. 2414-2480 (ค.ศ. 1871-1937) นักวิทยาศาสตร์ชาว


นิวซีแลนด์ ทาการทดลองยิงอนุภาคแอลฟาไปยังแผ่นทองคาในปี พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) รัทเทอร์ฟอร์ด ได้
เสนอแบบจาลองอะตอมโดยกล่าวว่า ประจุบวกรวมกันเป็นนิวเคลียส มีอิเล็กตรอนอยู่ล้อมรอบ แบบจาลอง
อะตอมของดอลตัน ไม่มีอนุภาคในอะตอม แบบจาลองอะตอมของทอมสัน ประจุบวกรวมกันเป็นหมอก มี
อิเล็กตรอนเท่ากับประจุบวกฝังอยู่ แบบจาลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด ประจุบวกรวมกันเป็นนิวเคลียส
มีอิเล็กตรอนอยู่ล้อมรอบ
แบบจําลองอะตอม มี 5 แบบ ดังนี้

แบบจําลองอะตอมของโบร์

จากข้อมูลสเปกตรัมของไฮโดรเจน นีลส์ โบร์ พ.ศ. 2428-2505 (ค.ศ. 1885-1962) ได้เสนอ


แบบจาลองอะตอมขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ. 2456 (ค.ศ. 1913) โดยปรับปรุงแบบจาลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด
ให้มีความเหมาะสมมากขึ้น โดยเห็นลักษณะของอิเล็กตรอนที่อยู่รอบนอกนิวเคลียส แบบจาลองอะตอมของ
โบร์ เป็นดังนี้
อิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่รอบนิวเคลียส และอยู่ในระดับพลังงานที่กาหนดแน่นอน ในแต่ละระดับ
พลังงานของอิเล็กตรอนมีค่าพลังงานเฉพาะ และมีหลายระดับพลังงานคล้าย ๆ กับวงจรของดาวเคราะห์รอบ
ดวงอาทิตย์ ระดับพลังงานอิเล็กตรอนที่อยู่ใกล้นิวเคลียสจะมีพลังงานน้อยกว่าระดับพลังงานอิเล็กตรอนที่อยู่
ใกล้นิวเคลียส

แบบจําลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก

นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ ลุย วิกตอร์ เดอ เบรย ในปี พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) และนักฟิสิกส์ ชาว
ออสเตรีย ชื่อ แคร์วิน ชเรอดิงเงอร์ ในปี พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) โดยสร้างมโนภาพว่าอะตอมประกอบด้วย
กลุ่มหมอกของอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียส ด้วยเหตุผลที่ว่าอิเล็กตรอนมีขนาดเล็กมาก และเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว
ตลอดเวลาไปทั่วอะตอม รายละเอียดของแต่ละแบบจาลองอะตอม นักเรียนศึกษาเพิ่มเติมในระดับชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน มีประจุไฟฟ้าแตกต่างกัน โดยโปรตอนมีประจุไฟฟ้าบวก นิวตรอน
เป็นกลางทางไฟฟ้า และอิเล็กตรอนมีประจุไฟฟ้าลบ อะตอมมีจานวนโปรตอนเท่ากับจานวนอิเล็กตรอน ดังนั้น
อะตอมจึงมีจานวนอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าบวกจะเท่ากับจานวนอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าลบ ทาให้อะตอมเป็น
กลางทางไฟฟ้า
ใบความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ สารบริสุทธิ์
บทเรื่อง การจําแนกและองค์ประกอบของสารบริสทุ ธิ์

เรื่องที่ 3 : การจําแนกธาตุและการใช้ประโยชน์

ธาตุโลหะ ธาตุอโลหะ

❖ คุณสมบัติ ❖ คุณสมบัติ :
- ผิวมันวาว - ผิวไม่มันวาว
- นาไฟฟ้า และนาความร้อนได้ดี - ไม่นาไฟฟ้า และไม่นาความร้อน
- จุดเดือด และจุดหลอมเหลวสูง - จุดเดือด และจุดหลอมเหลวต่า
- เหนียว และตีแผ่เป็นแผ่น หรือรีดเป็นเส้นได้ - เปราะบาง และ ตีแผ่เป็นแผ่นหรือรีดเป็นเส้นไม่ได้
- ส่วนใหญ่มีสถานะเป็นของแข็ง - ส่วนใหญ่มีสถานะเป็นแก๊ส
❖ ตัวอย่างของโลหะที่ข้อสอบออกบ่อย ๆ ❖ ตัวอย่างอโลหะที่ข้อสอบออกบ่อย ๆ
โลหะ ทองคา เงิน เหล็ก โซเดียม ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน คลอรีน อาร์กอน
แมกนีเซียม (สถานะ ของแข็ง) (สถานะแก๊ส) โบรมีน (สถานะของเหลว) ไอโอดีน
ปรอท (สถานะ ของเหลว) กามะถัน คาร์บอน แกรไฟต์ (สถานะของแข็ง)
❖ ประโยชน์ : ใช้ในเครื่องจักร อาคาร ภาชนะหุง ❖ ประโยชน์ : คาร์บอน ออกซิเจน ไนโตรเจน
ต้ม เครื่องใช้ไฟฟ้า อาจใช้เป็นโลหะผสม เช่น ฟอสฟอรัส เป็นส่วนประกอบสาคัญของสิ่งมีชีวิต และ
เหล็กกล้าไร้สนิม หรือสเตนเลสสตีลล์ สาริด เป็นส่วนประกอบของปุ๋ย
ทองเหลือง สายไฟภายในอาคาร

ธาตุกึ่งโลหะ

❖ คุณสมบัติ : เป็นกลุ่มธาตุที่มีสมบัติกกึ่งระหว่างโลหะและอโลหะ เช่น ธาตุซิลิคอน และเจอมาเนียมมี


สมบัติบางประการคล้ายโลหะ เช่น นาไฟฟ้าได้บ้างที่อุณหภูมิปกติ และนาไฟฟ้าได้มากขึ้นเมื่ออุณหภูมิ
เพิ่มขึ้น เป็นของแข็ง เป็นมันวาวสีเงิน จุดเดือดสูง แต่เปราะแตกง่าย คล้ายอโลหะ
❖ ตัวอย่างกึ่งโลหะ : ซิลิคอน, พลวง, โบรอน, สารหนู, เจอมาเนียม และเทลลูเรียม
❖ ประโยชน์ : ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะซิลิคอนเป็นสารกึ่งตัวนา
(semiconductor) ซึ่งนาไฟฟ้าได้ไม่ดีที่อุณหภูมิห้อง แต่นาไฟฟ้าได้ดีเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นใช้ในแบตเตอรี่
รถยนต์ สารดับเพลิง แผงเซลล์พลังแสงอาทิตย์ แผ่นซีดี ดีวีดี และบลูเรย์
ตารางเปรียบเทียบสมบัติของโลหะและอโลหะแบบง่าย

สมบัติ โลหะ อโลหะ กึ่งโลหะ


เป็นของแข็งในสภาวะ มีอยู่ได้ทั้ง 3 สถานะ ธาตุที่
1. สถานะ ปกติ ยกเว้นปรอทซึ่ง เป็นแก๊สในภาวะปกติเป็น
ของแข็ง
เป็นของเหลว อโลหะ
มีความวาว ขัดขึ้นเงา ส่วนมากไม่มีความวาว บางชนิดผิวมันวาว
2. ความมันวาว ยกเว้น แกรไฟต์และเกล็ด
ได้ บางชนิดผิวด้าน
ไอโอดีน
นาไฟฟ้าและนาความ นาไฟฟ้าและนาความร้อน
3. การนําไฟฟ้าและนํา ร้อนได้ดี เช่น ไม่ได้ ยกเว้น แกรไฟต์ซึ่งนา
บางชนิดนาไฟฟ้า
ความร้อน สายไฟฟ้ามักทาด้วย ไฟฟ้าได้ดี
ทองแดง
ส่วนมากเหนียว ดึงยึด อโลหะที่เป็นของแข็งมี
4. ความเหนียว เป็นเส้นลวดหรือตีเป็น ความเปราะดึงยืดออกเป็น
เปราะ
แผ่นบาง ๆ ได้ เส้นลวดหรือตีเป็นแผ่น
บาง ๆ ไม่ได้
บางชนิดความหนาแน่นมาก
5. ความหนาแน่น มีความหนาแน่นสูง มีความหนาแน่นต่า บางชนิดความหนาแน่น
ค่อนข้างมาก
6. จุดเดือดและจุด สูง ต่า บางชนิดสูง
หลอมเหลว
บางชนิดค่อนข้างสูง
7. การเกิดเสียงเมื่อ มีเสียงดังกังวาน ไม่มีเสียงดังกังวาน ไม่มีเสียงดังกังวาน
เคาะ
ประโยชน์ของธาตุในชีวิตประจําวัน

ในชีวิตประจาวันมีการนาธาตุโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

ธาตุโลหะ

ตะกั่ว (Pb) ใช้ผสมทาดีบุก อะลูมิเนียม (Al) ใช้ทาภาชนะ ทองแดง (Cu) ใช้ทาสายไฟฟ้า


ทาตะกั่วบัดกรี ทาฟิวส์ ในครัวเรือน สายไฟฟ้าแรงสูง ทาภาชนะเครื่องใช้
ทาแบตเตอรี่

เหล็ก (Fe) ใช้ทาสิ่งก่อสร้าง สังกะสี (Zn) ใช้ทาสังกะสีมุง ทองคํา (Au) ใช้ทาเครื่องประดับ


ภาชนะเครื่องใช้ ยานพาหนะ หลังคา (นาสังกะสีไปเคลือบเหล็ก) ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้าประกัน

ธาตุอโลหะ

ฟอสฟอรัส (P) ใช้ทายา ฟลูออรีน (F) ใช้ผสมในยาสีฟัน คาร์บอน (C) ใช้เป็นเชื้อเพลิง


เบื่อหนู ใช้ทาหัวไม้ขีดไฟ ช่วยป้องกันฟันผุ ใช้ทาไส้ดินสอ

กํามะถัน (S) ใช้เป็นส่วนผสม ฮีเลียม (He) ใช้บรรจุในบอลลูน นีออน (Ne) ใช้ไส้ในหลอดไฟฟ้า


ของดินปืน พลุ ฟลูออเรสเซนต์
กึ่งโลหะ

พอโลเนียม (Po) ใช้ทา สารหนู (As) ใช้ทาทองบรอนซ์ พลวง (Sb) ใช้ทาเซรามิก


แบตเตอรี่ พลังนิวเคลียร์ และทาดอกไม้ไฟ สารเคลือบผิวโลหะผสม

โบรอน (B) นิยมนามาเป็น ซิลิคอน (Si) เป็นส่วนประกอบ เยอร์เมเนียม (Ge) ใช้เป็น


ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ สาร หลักทาแก้ว เซรามิก เป็นวัตถุดิบ ส่วนประกอบของเครื่อง
ป้องกันจุลินทรีย์ ทาซิลิโคน ทรานซิสเตอร์

ธาตุกัมมันตรังสี

คุณสมบัติ : • ธาตุที่สามารถปล่อยรังสีที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เรียกว่า “ธาตุกัมมันตรังสี”


• ปรากฏการณ์ที่ธาตุกัมมันตรังสี แผ่รังสีออกมาอย่างต่อเนื่องเรียกว่า “กัมมันตภาพรังสี”
รังสีก่อประจุที่มักพบได้ 4 ชนิดหลัก ดังนี้

❖ รังสีแอลฟา เป็นสารหนักและเคลื่อนไหวระยะสั้น เป็นรังสีที่ไม่สามารถเจาะทะลุผิวหนังมนุษย์หรือเสื้อผ้า


ได้สารที่ปล่อยรังสีแอลฟาเป็นอันตรายถ้าสูดดม กลืน หรือซึมซับผ่านแผลเปิด
ตัวอย่าง เรเดียม เรดอน ยูเรเนียม และทอเรียม
❖ รังสีเบต้า เป็นสารเบาและเคลื่อนไหวในระยะสั้น สามารถทะลุทะลวงได้ปานกลาง ทะลุผิวหนัง มนุษย์ได้
ถึงชั้นที่ผลิตเซลล์ใหม่
ตัวอย่าง สตรอนเทียม-90, คาร์บอน-14, ทรีเทียม และซัลเฟอร์-35
❖ รังสีแกมมา และรังสีเอ็กซ์ เป็นรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังทะลุทะลวงสูง สามารถแผ่กระจายทาง
อากาศได้หลายเมตร ผ่านผิวหนังได้หลายนิ้ว และทะลุทะลวงวัตถุ ส่วนใหญ่รังสีแกมมาและรังสีเอ็กซ์
มักจะแผ่รวมกับรังสีแอลฟาและรังสีเบต้าในช่วงที่เกิดการสลายของสารกัมมันตรังสี
ตัวอย่าง ไอโอดีน-131 ซีเซียม-173 โคบอลต์-60 และเรเดียม-226
ในกรณีที่พบวัตถุหรือสถานที่ที่มีสัญลักษณ์ดังกล่าว ควรอยู่ให้ห่างจากบริเวณที่มีการ
แผ่รังสี หรือ กาบังด้วยวัสดุที่กันรังสี เช่น แผ่นตะกั่ว คอนกรีต
ประโยชน์ของธาตุกัมมันตรังสี

1) ด้านการแพทย์
• ใช้ไอโอดีน-131 (1-131) ในการติดตามเพื่อศึกษาความผิดปกติของต่อมไทรอยด์
• ใช้โคบอลต์-60 (Co-60) และเรเดียม-226 (Ra-226) ในการรักษามะเร็ง
2) ด้านการถนอมอาหาร
• ใช้รังสีแกมมาของโคบอลต์-60 (Co-60) ในการทาลายแบคทีเรียในอาหารจึงช่วยให้เก็บอาหารได้นานขึ้น
3) ด้านอุตสาหกรรม
• ใช้ธาตุกัมมันตรังสีตรวจหารอยตาหนิ
• ใช้ตรวจและควบคุมความหนาของวัตถุ
• ใช้รังสีฉายบนอัญมณีเพื่อให้มีสีสันสวยงาม
4) ด้านพลังงาน
• ใช้ยูเรเนียม-238 (U-238) ต้มน้าให้กลายเป็นไอแล้วผ่านไอน้าไปหมุนกังหันเพื่อผลิตไฟฟ้า
5) ด้านเกษตรกรรม
• ใช้ฟอสฟอรัส-32 (P-32) ศึกษาความต้องการปุ๋ยของพืช
• ใช้โพแทสเซียม-32 (K-32) ในการหาอัตราการดูดซึมของต้นไม้
6) ด้านธรณีวิทยา
• ใช้คาร์บอน-14 (C-14) คานวณหาอายุของวัตถุโบราณ

โทษของธาตุกัมมันตรังสี

1. ถ้าร่างกายได้รับจะทาให้โมเลกุลภายในเซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงไม่สามารถทางานตามปกติได้
ถ้าเป็นเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมก็จะเกิดการผ่าเหล่า
2. ส่วนผลที่ทาให้เกิดความป่วยไข้จากรังสี เมื่ออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้รับรังสี โมเลกุล
ของธาตุต่าง ๆ ที่ประกอบเป็นเซลล์จะแตกตัว ทาให้เกิดอาการป่วยไข้และเกิดมะเร็งได้

หลักในการป้องกันอันตรายจากกัมมันตภาพรังสี สรุปได้ดังนี้

1. เนื่องจากปริมาณกัมมันตภาพรังสีที่เราได้รับขึ้นกับเวลา ดังนั้นถ้าจาเป็นต้องเข้าใกล้บริเวณที่มีธาตุ
กัมมันตรังสี ควรใช้เวลาสั้นที่สุดเท่าที่จะทาได้
2. เนื่องจากปริมาณกัมมันตภาพรังสีจะลดลง ถ้าบริเวณนั้นอยู่ห่างจากแหล่งกาเนิดกัมมันตรังสีมาก
ขึ้น ดังนั้นจึงควรพยายามอยู่ห่างบริเวณที่มีธาตุกัมมันตรังสีให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
3. เนื่องจากกัมมันตภาพรังสีชนิดต่าง ๆ มีอานาจในการทะลุผ่านวัตถุได้ต่างกัน ดังนั้นจึงควรใช้
กัมมันตภาพรังสีทะลุผ่านได้ยากมาเป็นเครื่องกาบัง เช่น ใช้ตะกั่วหรือคอนกรีตเป็นเครื่องกาบังรังสีแกมมา
และอนุภาคบีตา ส่วนนิวตรอนนิยมใช้น้าเป็นเครื่องกาบัง เป็นต้น
การวัดปริมาณรังสีมีหน่วยเป็น มิลลิซีเวิร์ต (millisievert: mSv)

รังสีที่ได้รับ (mSv) ผลกระทบทางสุขภาพ ระยะเวลาที่อาการเริ่มแสดง


(หากไม่ได้รับการรักษา)
50 -100 ความเปลี่ยนแปลงของเคมีในเลือด
500 คลื่นไส้ ไม่กี่ชั่วโมง
550 เหนื่อยล้า
700 อาเจียน
750 ผมร่วง 2 – 3 สัปดาห์
900 ท้องร่วง
1,000 ตกเลือด
4,000 อาจถึงตาย ภายใน 2 สัปดาห์
10,000 เนื้อเยื่อบุผนังลาไส้ถูกทาลาย, เลือดตกใน, ตาย 1 – 2 สัปดาห์
20,000 ระบบประสาทส่วนกลางถูกทาลาย, หมดสติ, ตาย ภายในไม่กี่นาที
ภายในไม่กี่ชั่วโมงหรือวัน

การป้องกันอันตรายจากกัมมันตภาพรังสี อันตรายจากกัมมันตภาพรังสีขึ้นกับปริมาณพลังงาน
ของกัมมันตรังสีต่อมวลที่ถูกรังสี และความสาคัญของส่วนที่ถูกกัมมันตภาพรังสีต่อการดารงชีวิต ผู้ที่จะนา
กัมมันตภาพรังสีไปใช้ประโยชน์ ไม่ว่าในทางการแพทย์ ทางการเกษตร ทางอุตสาหกรรม ตลอดจนการ
ค้นคว้า ทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ จะต้องมีความรู้ทางด้านกัมมันตรังสีเป็นอย่างดี รู้จักวิธีใช้ที่ปลอดภัย และ
วิธีป้องกัน อันตรายจากกัมมันตภาพรังสีเหล่านั้นด้วย

You might also like