Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 489

คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้
ฉบับปรับปรุงใหม่ 2559
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ ป. 6
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ ออกแบบการจัดการเรียนรู้มุ่งเน้น


ผู้เรียบเรียง
• ยึดหลักว่าผู้เรียนมีความสาคัญมากที่สุด
ดร.บัญชา แสนทวี กศ.บ., ค.ม., กศ.ด.
• ใช้แนวคิด Backward Design ผสมผสานกับแนวคิด
ชนิกานต์ นุ่มมีชัย กศ.บ., กศ.ม.
ทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ อย่างหลากหลาย
วารี โตพันธ์ วท.บ.
• ใช้มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดชั้นปีเป็นเป้าหมาย
บรรณาธิการ
• เสริมสร้างสมรรถนะสาคัญของผู้เรียนในการสื่อสาร
สุระ ดามาพงษ์ กศ.บ., กศ.ม.
การคิด การแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิต และการใช้เทคโนโลยี
นริสรา ศรีเคลือบ วท.บ., วท.ม.
• สร้างเสริมพหุปัญญาและความเข้าใจที่คงทนของผู้เรียน วีระพงษ์ ก๋าอินตา วท.บ., วท.ม.
• สร้างเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
• แบ่งแผนการจัดการเรียนรู้เป็นรายชั่วโมง สะดวก
ในการใช้
• ตามแนวทางการจัดทาแผนการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา
ที่มีองค์ประกอบครบถ้วน
• นาไปพัฒนาเป็นผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะได้

ผลิตและจัดจาหน่ายโดย บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด


วัฒนาพานิช สาราญราษฎร์
216–220 ถนนบารุงเมือง แขวงสาราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทร. 02 222 9394 • 02 222 5371–2 FAX 02 225 6556 • 02 225 6557
email: info@wpp.co.th

คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์


วิทยาศาสตร์ ป. 6
ฉบับปรับปรุงใหม่ 2559
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพืน้ ฐาน พุทธศักราช 2551
สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย
ห้ามละเมิด ท้าซ้า ดัดแปลง เผยแพร่
ส่วนหนึ่งส่วนใด เว้นแต่จะได้รับอนุญาต
ผู้เรียบเรียง
ดร.บัญชา แสนทวี ชนิกานต์ นุ่มมีชัย วารี โตพันธ์
บรรณาธิการ
สุระ ดามาพงษ์ นริสรา ศรีเคลือบ วีระพงษ์ ก๋าอินตา

ISBN 978-974-18-5822-4
พิมพ์ที่ บริษัท โรงพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด นายเริงชัย จงพิพัฒนสุข กรรมการผู้จัดการ

สื่อการเรียนรู้ ป. 1–ป. 6 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551


 หนังสือเรียน (ศธ. อนุญาต)  หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน  แบบฝึกหัด/แบบฝึกทักษะ  ฉบับสมบูรณ์แบบ
 แผนฯ (CD)  Audio CD  คูม ่ ือการสอน  PowerPoint
 หนังสือเรียน  แบบฝึกหัด  ฉบับสมบูรณ์แบบ  แผนฯ (CD)  คู่มือการสอน  PowerPoint ภาษาไทย ป. ๑–๖ เล่ม ๑–๒..............................................สุระ ดามาพงษ์ และคณะ
 หนังสือเรียน  คู่มือการสอน หลักการใช้ภาษาไทย ป. ๑–๖.................................................................................................................................................สุระ ดามาพงษ์ และคณะ
 หนังสือเรียน  แบบฝึกหัด  ฉบับสมบูรณ์แบบ  แผนฯ (CD)  คู่มือการสอน  PowerPoint คณิตศาสตร์ ป. 1–6 เล่ม 1–6................ดร.สุวรรณา จุย้ ทอง  ปทุมพร ศรีวัฒนกูล
 หนังสือเรียน  แบบฝึกทักษะ  ฉบับสมบูรณ์แบบ  แผนฯ (CD)  คู่มือการสอน  PowerPoint วิทยาศาสตร์ ป. 1–6...............................................ดร.บัญชา แสนทวี และคณะ
 หนังสือเรียน  แบบฝึกทักษะ  ฉบับสมบูรณ์แบบ  แผนฯ (CD)  คู่มือการสอน  PowerPoint สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป. 1–6..................สุเทพ จิตรชืน่ และคณะ
 หนังสือเรียน  แบบฝึกทักษะ  ฉบับสมบูรณ์แบบ  แผนฯ (CD)  คู่มือการสอน  PowerPoint สุขศึกษาและพลศึกษา ป. 1–6..............................ผศ.เชาวลิต ภูมิภาค และคณะ
 หนังสือเรียน  แบบฝึกทักษะ  ฉบับสมบูรณ์แบบ  แผนฯ (CD)  คู่มือการสอน  PowerPoint ศิลปะ ป. 1–6...............................................................ทวีศกั ดิ์ จริงกิจ และคณะ
 หนังสือเรียน  แบบฝึกทักษะ  ฉบับสมบูรณ์แบบ  แผนฯ (CD)  คู่มือการสอน  PowerPoint การงานอาชีพและเทคโนโลยี ป. 1–6.................................อรุณี ลิมศิริ และคณะ
 หนังสือเรียน  แบบฝึกทักษะ  ฉบับสมบูรณ์แบบ  แผนฯ (CD)  คู่มือการสอน  PowerPoint เทคโนโลยีสารสนเทศ ป. 1–6...............................................ณัฐกานต์ ภาคพรต
 หนังสือเรียน  แบบฝึกทักษะ  แผนฯ (CD)  คู่มือการสอน  PowerPoint ประวัติศาสตร์ ป. 1–6.......................................................................รศ. ดร.ไพฑูรย์ มีกุศล และคณะ
 หนังสือเรียน  แบบฝึกทักษะ  แผนฯ (CD)  คู่มือการสอน  PowerPoint พระพุทธศาสนา ป. 1–6...........................................................รศ. ดร.จรัส พยัคฆราชศักดิ์ และคณะ
 หนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติม  แผนฯ (CD) อาเซียนศึกษา ป. 1–6..................................................................................................................................สมพร อ่อนน้อม และคณะ
 หนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติม  แผนฯ (CD)  PowerPoint หน้าที่พลเมือง ๑–๖ ป. ๑–๖...................................................................................................สมพร อ่อนน้อม และคณะ

 หนังสือเรียน  แบบฝึกหัด  แผนฯ (CD)  Audio CD TOPS ป. 1–6....................................................................................................................Rebecca York Hanlon และคณะ
 หนังสือเรียน  แบบฝึกหัด  แผนฯ (CD)  Audio CD Gogo Loves English ป. 1–6.......................................................................................................Stanton Proctor และคณะ

สื่อการเรียนรู้ ฉบับสมบูรณ์แบบ  แผนฯ (CD) ภาษาอังกฤษ ป. 1–6.......................................................................................................................ดร.ประไพพรรณ เอมชู และคณะ


กิจกรรม ลูกเสือ–เนตรนารี ฉบับสมบูรณ์แบบ  แผนฯ (CD)  PowerPoint ป. 1–6.....................................................................................................ดร.อานาจ ช่างเรียน และคณะ
กิจกรรม ยุวกาชาด ฉบับสมบูรณ์แบบ  แผนฯ (CD)  PowerPoint ป. 1–6...................................................................................................................ดร.อานาจ ช่างเรียน และคณะ

คานา

คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 1–6 ชุดนี้เป็นสื่อการเรียนรู้ที่จัดทาขึ้นโดยยึดแนวทางการ


จัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา
โดยออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางผสมผสานกับแนวคิด Backward Design (BwD) โดยถือ
ว่าผู้เรียนสาคัญที่สุด คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ชุดนี้ส่งเสริมนักเรียนให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการ
เรียนรู้ทั้งเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วย
ตนเอง ส่งเสริมนักเรียนให้เชื่อมโยงความรู้ทั้งในและต่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ในเชิงบูรณาการด้วยวิธีการที่
หลากหลาย สร้างสถานการณ์การเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน โดยครูมีบทบาทหน้าที่ในการเอื้ออานวยความ
สะดวกให้แก่นักเรียนเพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพตามสาระ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดชั้นปี รวมทั้งพัฒนา
นักเรียนให้มีสมรรถนะสาคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่หลักสูตรกาหนด เพื่อให้นักเรียนสามารถ
ดารงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมไทยและสังคมโลกได้อย่างมีความสุข
การจัดทาคู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ชุดนี้ได้จัดทาตรงตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งครอบคลุมทุกสาระการเรียนรู้ ภายในเล่มได้นาเสนอแผนการจัดการเรียนรู้เป็นราย
ชั่วโมงตามหน่วยการเรียนรู้ เพื่อครูนาไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้สะดวก นอกจากนี้แต่ละหน่วยการเรียนรู้ยังมี
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจิตวิทยาศาสตร์ และ
ด้านทักษะ/กระบวนการ ทาให้ทราบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนแต่ละหน่วยการเรียนรู้ได้ทันที
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 1–6 ชุดนี้นาเสนอเนื้อหาแบ่งเป็น 3 ตอน คือ
ตอนที่ 1 แนวทางการจัดแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย แนว
ทางการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ แนวคิด หลักการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design (BwD) แนว
ทางการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตารางวิเคราะห์ความสอดคล้องของเนื้อหาในหน่วยการ
เรียนรู้กับสาระ มาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และตัวชี้วัดชั้นปี และโครงสร้างการแบ่งเวลารายชั่วโมงในการ
จัดการเรียนรู้
ตอนที่ 2 แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้เสนอแนะแนวทางการจัดการเรียนรู้
แต่ละหน่วยการเรียนรู้ในสื่อการเรียนรู้ สมบูรณ์แบบ และหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ซึ่งแบ่งเป็นแผนย่อยราย
ชั่วโมง แผนการจัดการเรียนรู้แต่ละแผนมีองค์ประกอบครบถ้วนตามแนวทางการจัดทาแผนการจัดการเรียนรู้ของ
สถานศึกษา
ตอนที่ 3 เอกสาร/ความรู้เสริมสาหรับครู ประกอบด้วยแบบทดสอบต่าง ๆ และความรู้เสริมสาหรับครูซึ่ง
บันทึกลงในซีดีรอม (CD-ROM)
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 1–6 ชุดนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการนาไป
ประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของนักเรียนต่อไป
คณะผู้จัดทา

สารบัญ

ตอนที่ 1 แนวทางการจัดแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์.....................................................1


1. แนวทางการใช้แผนการจัดการเรียนรู้.....................................................................................................................2
2. แนวคิด หลักการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design (BwD)..........................................................8
3. แนวทางการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ...............................................................................................................20
4. ตารางวิเคราะห์ความสอดคล้องของเนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้กับสาระ มาตรฐานการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ และตัวชี้วัดชั้นปี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6......................................27
5. โครงสร้างการแบ่งเวลารายชัว่ โมงในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรูว้ ิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6...........................................................................................................................................29
ตอนที่ 2 แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6........................................................................39
แผนการจัดการเรียนรู้ปฐมนิเทศ................................................................................................................40
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่างกายของเรา..........................................................................................................44
ผังมโนทัศน์เป้าหมายการจัดการเรียนรู้และขอบข่ายภาระงาน…...............................................................44
ผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design..........................................................................45
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย…................................................................................48
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 การทางานของระบบหายใจ..............................................................................53
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 การทางานของระบบย่อยอาหาร.......................................................................58
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 การทางานของระบบหมุนเวียนเลือด................................................................63
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 การทางานของระบบขับถ่าย.............................................................................68
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 การเจริญเติบโตและพัฒนาการ.........................................................................73
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 อาหารหลัก 5 หมู่และสารอาหารในอาหารหลัก 5 หมู่......................................79
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 พลังงานจากสารอาหาร.....................................................................................84
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม...........................................................................................................90
ผังมโนทัศน์เป้าหมายการจัดการเรียนรู้และขอบข่ายภาระงาน...................................................................90
ผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design..........................................................................91
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ..............................................................................96
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10 ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม...................................................101
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 11 ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกัน.........................................106
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 12 ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต........................................111
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 13 การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อม........................................116

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 14 ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น………..........................................................121
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 15 ประชากรมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติ........................................................126
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 16 มลพิษทางน้า.................................................................................................131
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 17 มลพิษทางอากาศ...........................................................................................136
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 18 มลพิษจากขยะมูลฝอย...................................................................................141
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สารในชีวิตประจาวัน.............................................................................................................147
ผังมโนทัศน์เป้าหมายการจัดการเรียนรู้และขอบข่ายภาระงาน.................................................................147
ผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design........................................................................148
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 19 สมบัติของของแข็งและของเหลว..................................................................151
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 20 สมบัติของแก๊ส..............................................................................................156
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 21 การจาแนกประเภทของสาร..........................................................................161
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 22 การแยกสารโดยการร่อน การกรอง...............................................................166
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 23 การแยกสารโดยการกลั่น การตกตะกอน การระเหยแห้ง..............................171
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 24 การแยกสารโดยการตกผลึก การระเหิด การสกัดสาร...................................176
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 25 สารในชีวิตประจาวัน....................................................................................183
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 26 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมีของสาร........................................190
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 27 การเปลี่ยนแปลงของสารที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม........................196
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ไฟฟ้า.....................................................................................................................................201
ผังมโนทัศน์เป้าหมายการจัดการเรียนรู้และขอบข่ายภาระงาน.................................................................201
ผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design........................................................................202
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 28 วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย.......................................................................................206
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 29 การต่อหลอดไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า.................................................................211
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 30 การต่อเซลล์ไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า...................................................................216
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 31 วงจรไฟฟ้าในบ้าน........................................................................................222
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 32 ตัวนาไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า.........................................................................228
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 33 แม่เหล็กไฟฟ้า...............................................................................................233
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 34 การใช้แม่เหล็กไฟฟ้า.....................................................................................239
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 หินบนผิวโลกและภายในโลก.................................................................................................244
ผังมโนทัศน์เป้าหมายการจัดการเรียนรู้และขอบข่ายภาระงาน.................................................................244
ผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design........................................................................245
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 35 ความหมายและประเภทของหิน....................................................................250

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 36 ประโยชน์ของหิน.........................................................................................256
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 37 แหล่งหินชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทย............................................................261
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 38 การผุพังอยู่กับที่............................................................................................266
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 39 การกร่อน......................................................................................................272
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 40 แผ่นดินไหว..................................................................................................278
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 41 ภูเขาไฟปะทุ..................................................................................................284
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 42 สึนามิ............................................................................................................290
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ปรากฏการณ์โลกและเทคโนโลยีอวกาศ.................................................................................296
ผังมโนทัศน์เป้าหมายการจัดการเรียนรู้และขอบข่ายภาระงาน.................................................................296
ผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design........................................................................297
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 43 ข้างขึ้น–ข้างแรม............................................................................................300
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 44 ฤดูกาล...........................................................................................................305
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 45 จันทรุปราคาและสุริยุปราคา.........................................................................311
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 46 การเดินทางไปอวกาศ...................................................................................316
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 47 ประโยชน์ของการสารวจอวกาศ...................................................................322
บรรณานุกรม .........................................................................................................................................................327
ตอนที่ 3 เอกสาร/ความรู้เสริมสาหรับครู................................................................................................................328
– มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดชั้นปี และสาระการเรียนรู้แกนกลาง
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ป. 6 .................................................................................................329
– กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์.....................................................336
– แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ...............................................................................................................343
– ผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design.....................................................................347
– รูปแบบแผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมง..............................................................................................348
– ใบกิจกรรม วิทยาศาสตร์ ป. 6...............................................................................................................349
– แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ประจาหน่วยการเรียนรู้.............................................................430
– เครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจิตวิทยาศาสตร์............................452
– เครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะ/กระบวนการ...........................................................458
– เครื่องมือวัดและประเมินสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์และภาระงานของนักเรียน
โดยใช้มิติคุณภาพ (Rubrics) ................................................................................................................464
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 1

ตอนที่ 1
แนวทางการจัดแผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 2

1. แนวทางการใช้แผนการจัดการเรียนรู้
1.1 องค์ประกอบของคู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์เล่มนี้จัดทาขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้ครูใช้
ประกอบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 ระดับประถมศึกษา
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในคู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้เล่มนี้
แบ่งเนื้อหาเป็น 6 หน่วย ซึ่งแต่ละหน่วยจัดแบ่งการจัดการเรียนรู้เป็นรายชั่วโมง สามารถใช้ควบคู่กับ
สื่อการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ สมบูรณ์แบบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน
วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ ดังนี้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่างกายของเรา
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สารในชีวิตประจาวัน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ไฟฟ้า
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 หินบนผิวโลกและภายในโลก
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ปรากฏการณ์โลกและเทคโนโลยีอวกาศ
รูปแบบของคู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์เล่มนี้แบ่งเนื้อหาเป็น 3 ตอน คือ
ตอนที่ 1 แนวทางการจัดแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ตอนนี้เป็นส่วนที่นาเสนอภาพกว้าง ๆ ของคู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ทั้งเล่ม ซึ่ง
ประกอบด้วย
1) แนวทางการใช้แผนการจัดการเรียนรู้
2) แนวคิด หลักการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design (BwD)
3) แนวทางการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
4) ตารางวิเคราะห์ความสอดคล้องของเนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้กับสาระ มาตรฐานการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ และตัวชี้วัดชั้นปี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
5) โครงสร้างการแบ่งเวลารายชั่วโมงในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6
ตอนที่ 2 แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ตอนนี้เป็นส่วนที่นาเสนอแผนการจัดการเรียนรู้รายหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งเป็นแนวทางการจัดการ
เรียนรู้อย่างละเอียดตามเนื้อหาของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งแผนการจัดการเรียนรู้แต่ละแผนมี
องค์ประกอบครบถ้วนตามแนวทางการจัดทาแผนการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 3

หน่วยการเรียนรู้แต่ละหน่วยมีรายละเอียด ซึ่งประกอบด้วย
1. ผังมโนทัศน์เป้าหมายการจัดการเรียนรู้และขอบข่ายภาระงาน
2. ผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design เป็นกรอบแนวคิดของการจัดการ
เรียนรู้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ แบ่งเป็น 3 ขั้น ได้แก่
ขั้นที่ 1 ผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
ขั้นที่ 2 ภาระงานและการประเมินผลการเรียนรู้ ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีผล
การเรียนรู้ตามที่กาหนดไว้อย่างแท้จริง
ขั้นที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบ WHERETO ผสมผสาน
กับการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทั้งนี้ได้ระบุว่าใน
หน่วยการเรียนรู้นี้แบ่งแผนการจัดการเรียนรู้ไว้กี่แผน และแต่ละแผนใช้เวลาในการจัดกิจกรรมกี่ชั่วโมง
3. แผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมง เป็นแผนการจัดการเรียนรู้แบบเรียงหัวข้อ ซึ่งประกอบด้วย
3.1 ชื่อแผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยลาดับที่ของแผน ชื่อแผน เวลาเรียน สาระที่ ชั้น
และหน่วยการเรียนรู้ เช่น แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เวลา 1 ชั่วโมง สาระที่ 1
สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดารงชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่างกายของเรา
3.2 สาระสาคัญ เป็นความคิดรวบยอดของเนื้อหาที่นามาใช้จัดการเรียนรู้ในแต่ละแผนการ
จัดการเรียนรู้
3.3 ตัวชี้วัดชั้นปี เป็นตัวชี้วัดที่ใช้ตรวจสอบนักเรียนหลังจากเรียนจบเนื้อหาที่นาเสนอในแต่
ละแผนการจัดการเรียนรู้นั้น ๆ ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร
3.4 จุดประสงค์การเรียนรู้ เป็นส่วนที่บอกจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นแก่นักเรียนภาย
หลังจากการเรียนจบในแต่ละแผน ทั้งในด้านความรู้ (K) ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจิตวิทยาศาสตร์ (A)
ด้านทักษะ/กระบวนการ (P) ซึ่งสอดคล้องสัมพันธ์กับตัวชี้วัดชั้นปีและเนื้อหาในแผนการจัดการเรียนรู้
นั้น ๆ
3.5 การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ เป็นการตรวจสอบผลการจัดการเรียนรู้ว่าหลังจาก
จัดการเรียนรู้ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้แล้ว นักเรียนมีพัฒนาการ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตาม
เป้าหมายที่คาดหวังไว้หรือไม่ และมีสิ่งที่จะต้องได้รับการพัฒนาปรับปรุงส่งเสริมในด้านใดบ้าง ดังนั้น
ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้จึงได้ออกแบบวิธีการและเครื่องมือในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ด้านต่าง ๆ ของนักเรียนไว้อย่างหลากหลาย เช่น การทาแบบทดสอบ การตอบคาถามสั้น ๆ การตรวจ
ผลงาน การสังเกตพฤติกรรมทั้งที่เป็นรายบุคคลและกลุ่ม เป็นต้น โดยเน้นการปฏิบัติให้สอดคล้องและ
เหมาะสมกับตัวชี้วัดและมาตรฐานการเรียนรู้ วิธีการและเครื่องมือในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
เหล่านี้ครูสามารถนาไปใช้ประเมินนักเรียนได้ ทั้งในระหว่างการจัดการเรียนรู้และการทากิจกรรมต่าง ๆ
ตลอดจนการนาความรู้ไปใช้ในชีวิตประจาวัน
3.6 สาระการเรียนรู้ เป็นหัวข้อย่อยที่นามาจัดการเรียนรู้ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่ง
สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้แกนกลาง
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 4

3.7 แนวทางการบูรณาการ เป็นการเสนอแนะแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่องที่


เรียนรู้ของแต่ละแผนให้เชื่อมโยงสัมพันธ์กับสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ สังคม
ศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และ
ภาษาต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวางและสร้างองค์ความรู้ได้เต็มตาม
ศักยภาพของแต่ละคน
3.8 กระบวนการจัดการเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นการเสนอแนวทางการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้แต่ละเรื่อง มีขั้นตอนหลัก 3 ขั้น ได้แก่ 1.ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน 2. ขั้นจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้ และ 3. ขั้นสรุป โดยขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ใช้การจัดการเรียนรู้โดยการสืบเสาะหาความรู้
(Inquiry Process) ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน (flipped classroom) แต่จะเน้นการจัดการเรียนรู้โดยการ
สืบเสาะหาความรู้ที่ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นสร้างความสนใจ ขั้นสารวจและ
ค้นหา ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป ขั้นขยายความรู้ และขั้นประเมิน ซึ่งรายละเอียดของการจัดกระบวนการ
เรียนรู้ดังกล่าว ครูสามารถศึกษาได้จากแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3 ในตอนต่อไป
3.9 กิจกรรมเสนอแนะ เป็นกิจกรรมเสนอแนะสาหรับให้นักเรียนได้พัฒนาเพิ่มเติมในด้าน
ต่าง ๆ นอกเหนือจากที่ได้จัดการเรียนรู้มาแล้วในชั่วโมงเรียน กิจกรรมเสนอแนะมี 2 ลักษณะ คือ
กิจกรรมสาหรับผู้ที่มีความสามารถพิเศษและต้องการศึกษาค้นคว้าในเนื้อหานั้น ๆ ให้ลึกซึ้งกว้างขวาง
ยิ่งขึ้น และกิจกรรมสาหรับผู้ที่ยังไม่เข้าใจเนื้อหา หรือยังไม่เกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมาย ซึ่งมีลักษณะเป็น
การเรียนซ้าหรือซ่อมเสริม
3.10 สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ เป็นรายชื่อสื่อการเรียนรู้ทุกประเภทที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ซึ่ง
มีทั้งสื่อธรรมชาติ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยี และสื่อบุคคล เช่น หนังสือ เอกสารความรู้ รูปภาพ เครือข่าย
อินเทอร์เน็ต วีดิทัศน์ และปราชญ์ชาวบ้าน
3.11 บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ เป็นส่วนที่ให้ครูบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ว่าประสบ
ความสาเร็จหรือไม่ มีปัญหาหรืออุปสรรคอะไรเกิดขึ้นบ้าง ได้แก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นอย่างไร และ
ข้อเสนอแนะสาหรับการจัดการเรียนรู้ครั้งต่อไป
ตอนที่ 3 เอกสาร/ความรู้เสริมสาหรับครู
ประกอบด้วยแบบทดสอบต่าง ๆ และความรู้เสริมสาหรับครู ได้บันทึกลงในซีดีรอม โดยมิได้
พิมพ์ไว้ในเล่มคู่มือครู เพื่อความสะดวกของครูในการนาไปใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่ง
ประกอบด้วย
1) มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดชั้นปี และสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ ป. 6 ประกอบด้วย
(1) มาตรฐานการเรียนรู้ เป็นข้อกาหนดคุณภาพของนักเรียนด้านความรู้ ความคิด ทักษะ/
กระบวนการเรียนรู้ คุณธรรม จริยธรรม และจิตวิทยาศาสตร์ เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 5

(2) ตัวชี้วัดชั้นปี เป็นตัวระบุสิ่งที่นักเรียนพึงรู้และสามารถปฏิบัติได้ รวมถึงคุณลักษณะของ


นักเรียนในแต่ละระดับชั้น ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร
(3) สาระการเรียนรู้ ประกอบด้วย องค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้และ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ซึ่งกาหนดให้นักเรียนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจาเป็นต้องเรียนรู้
ซึ่งกลุ่มวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 8 สาระ
2) กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป็นวิธีการหรือเทคนิคที่
นามาใช้ในกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
3) แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) เป็นการเก็บรวบรวมผลงานของนักเรียน โดยแสดงขั้นตอนใน
การจัดทาแฟ้มสะสมผลงาน และวิธีการคัดเลือกผลงานเพื่อเก็บในแฟ้มสะสมผลงาน
4) ผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design เป็นแบบฟอร์มเพื่อให้ครูสามารถ
ปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสภาพความพร้อมของนักเรียนและสถานการณ์เฉพาะ
หน้า รวมทั้งใช้เป็นผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะได้ แผนการจัดการเรียนรู้นี้ได้อานวยความสะดวกให้ครู
โดยได้พิมพ์โครงสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design ให้ครูเพิ่มเติม
เฉพาะส่วนที่ครูปรับปรุงเองไว้ด้วยแล้ว
5) รูปแบบแผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมง เป็นรูปแบบการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่บอก
รายละเอียดในแต่ละหัวข้อที่ปรากฏอยู่ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมง
6) ใบกิจกรรม วิทยาศาสตร์ ป. 6 เป็นกิจกรรมที่ฝึกให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง เพื่อให้เกิดการ
เรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งแบ่งเป็น กิจกรรมทดลอง กิจกรรมสังเกต กิจกรรมสารวจ และกิจกรรมสืบค้นข้อมูล
7) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ประจาหน่วยการเรียนรู้ เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย
และอัตนัย เพื่อวัดความรู้ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
8) เครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจิตวิทยาศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่
ใช้ประเมินด้านคุณธรรม จริยธรรม และจิตวิทยาศาสตร์ มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ และแบบ
มาตรประมาณค่า โดยใช้วิธีสังเกต สอบถาม หรือสัมภาษณ์ ซึ่งครูสามารถนาไปใช้ประเมินคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ของนักเรียนได้ ทั้งในระหว่างการจัดการเรียนรู้และการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งได้ใช้ตัว
บ่งชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของจิตวิทยาศาสตร์
9) เครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะ/กระบวนการ เป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินด้าน
ทักษะ/กระบวนการ มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและแบบมาตรประมาณค่า โดยใช้วิธีการสังเกต
สอบถาม หรือสัมภาษณ์ ซึ่งครูสามารถนาไปใช้ประเมินทักษะ/กระบวนการของนักเรียนได้ ทั้งใน
ระหว่างการจัดการเรียนรู้และการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งได้ใช้ตัวบ่งชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ
จิตวิทยาศาสตร์
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 6

10) เครือ่ งมือประเมินสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์และภาระงานของนักเรียนโดยใช้มิติคุณภาพ


(Rubrics) เป็นเครื่องมือในการประเมินผลตามสภาพจริง ที่ประกอบด้วยรายการในการประเมินหรือ
เกณฑ์ในการพิจารณา และคาอธิบายระดับคุณภาพ มีตัวอย่างเครื่องมือในการประเมินหลายประเภท
ได้แก่ การสังเกต การสารวจ การทดลอง การสืบค้นข้อมูล โครงงานวิทยาศาสตร์ โครงงานทั่วไป แฟ้ม
สะสมผลงาน
1.2 วิธีการใช้แผนการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ครูควรศึกษาคู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 และศึกษาสื่อการ
เรียนรู้ที่จะใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ หลังจากนั้นจึงวางแผนเตรียมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ก็จะช่วยให้
การจัดการเรียนรู้ของครูเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางของคู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 เล่มนี้จะมี
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างสูงสุดก็ต่อเมื่อครูได้เตรียมการล่วงหน้า และเลือกวิธีการจัดการเรียนรู้
ให้เหมาะสมกับนักเรียน ที่สาคัญสถานศึกษาแต่ละแห่งมีสภาพแวดล้อมการเรียนรู้และสภาพนักเรียนที่
แตกต่างกัน จึงเป็นไปไม่ได้ที่คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้เล่มใด ๆ จะเหมาะสมและดีเยี่ยมสาหรับ
สถานศึกษา ครู และนักเรียนทุกคน ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องเตรียมการจัดการเรียนรู้ พิจารณา
ปรับและเลือกสรรแผนการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสภาพการเรียนรู้จริงของนักเรียนและ
สถานศึกษา
1.3 สัญลักษณ์กระบวนการเรียนรู้
สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่กาหนดไว้ที่กิจกรรมนั้นมีจุดมุ่งหมายและจุดเน้นที่แตกต่างกันตามลักษณะ
ของกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องการให้นักเรียนได้เรียนรู้ ซึ่งมีความสอดคล้องกับธรรมชาติของกลุ่มสาระ
การเรียนรู้และจุดเน้นของหลักสูตร ดังนั้นสัญลักษณ์จึงเป็นแนวทางที่เอื้อประโยชน์ต่อนักเรียนที่จะ
ศึกษาหาความรู้ตามรายละเอียดของกิจกรรม ในคู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์เล่มนี้ได้
กาหนดสัญลักษณ์ไว้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

สัญลักษณ์หลักของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

การสืบค้นข้อมูล เป็นกิจกรรมที่กาหนดให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ
แล้วใช้ทักษะ/กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การลงสรุปข้อมูล เพื่อให้เกิดองค์ความรู้
ด้วยตนเอง
การสารวจ เป็นกิจกรรมที่กาหนดให้นักเรียนสารวจปรากฏการณ์ต่าง ๆ ตามความคิดรวบ
ยอดของแต่ละหัวเรื่อง แล้วใช้ทักษะ/กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การสังเกต การจัด
กระทาและสื่อความหมายข้อมูล การลงสรุปข้อมูล เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ด้วยตนเอง
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 7

การทดลอง เป็นกิจกรรมที่กาหนดให้นักเรียนได้ปฏิบัติการทดลองเพื่อพิสูจน์ความคิดรวบ
ยอดที่เรียนรู้ โดยการออกแบบการทดลอง ดาเนินการทดลอง และสรุปผลการทดลอง แล้ว
ใช้ทักษะ/กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การสังเกต การพยากรณ์ การจัดกระทาและสื่อ
ความหมายข้อมูล การลงสรุปข้อมูล เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ด้วยตนเอง

การสังเกต เป็นกิจกรรมที่กาหนดให้นักเรียนสังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ ตามความคิดรวบ


ยอดของแต่ละหัวเรื่อง แล้วใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การจาแนก การลง
สรุปข้อมูล เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ด้วยตนเอง

สัญลักษณ์เสริมของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

โครงงาน เป็นกิจกรรมโครงงานคัดสรรที่นาหลักการ แนวคิดของความคิดรวบยอดใน


หัวเรื่องที่เรียนรู้มาใช้แก้ปัญหา

การพัฒนากระบวนการคิด เป็นกิจกรรมที่กาหนดให้นักเรียนได้ใช้กระบวนการคิดเพื่อ
เพิ่มพูนทักษะการคิดของตนเอง

การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวัน เป็นกิจกรรมที่กาหนดให้นักเรียนต้องนาหลักการ
แนวคิดของความคิดรวบยอดในหัวเรื่องที่เรียนรู้มาใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์จริงของ
ชีวิตประจาวัน

การทาประโยชน์ให้สังคม เป็นกิจกรรมที่กาหนดให้นักเรียนนาความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้
ไปปฏิบัติเพื่อให้ตระหนักในการทาประโยชน์ให้สังคม

การปฏิบัติจริง/ฝึกทักษะ เป็นกิจกรรมที่กาหนดให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดและ
เพิ่มพูนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ความคิดสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่กาหนดให้นักเรียนได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการ
สร้างสรรค์ภาระงานเพื่อเพิ่มพูนทักษะการคิดของตนเอง
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 8

2. แนวคิด หลักการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design (BwD)


การจัดการเรียนรู้หรือการสอนเป็นงานที่ครูทุกคนต้องใช้กลวิธีต่าง ๆ มากมาย เพื่อให้นักเรียน
สนใจที่จะเรียนรู้และเกิดผลตามที่ครูคาดหวัง การจัดการเรียนรู้จัดเป็นศาสตร์ที่ต้องใช้ความรู้
ความสามารถตลอดจนประสบการณ์อย่างมาก ครูบางคนอาจจะละเลยเรื่องของการออกแบบการจัดการ
เรียนรู้หรือการออกแบบการสอน ซึ่งเป็นงานที่ครูจะต้องทาก่อนการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
การออกแบบการจัดการเรียนรู้ทาอย่างไร ทาไมจึงต้องออกแบบการจัดการเรียนรู้
ครูทุกคนผ่านการศึกษาและได้เรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบการจัดการเรียนรู้มาแล้ว ในอดีตการ
ออกแบบการจัดการเรียนรู้จะเริ่มต้นจากการกาหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ การวางแผนการจัดการเรียนรู้
การดาเนินการจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ปัจจุบันการเรียนรู้ได้มีการ
เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้จากสื่อและแหล่งการ
เรียนรู้ต่าง ๆ ที่มีอยู่รอบตัว ดังนั้นการออกแบบการจัดการเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการสาคัญที่ครู
จาเป็นต้องดาเนินการให้เหมาะสมกับศักยภาพของนักเรียนแต่ละบุคคล
วิกกินส์และแมกไท นักการศึกษาชาวอเมริกันได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบการจัดการ
เรียนรู้ ซึ่งเขาเรียกว่า Backward Design ซึ่งเป็นการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ครูจะต้องกาหนดผลลัพธ์
ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียนก่อน โดยเขาทั้งสองให้ชื่อว่า ความเข้าใจที่คงทน (Enduring
Understandings) เมื่อกาหนดความเข้าใจที่คงทนได้แล้ว ครูจะต้องบอกให้ได้ว่าความเข้าใจที่คงทนของ
นักเรียนนี้เกิดจากอะไร นักเรียนจะต้องมีหรือแสดงพฤติกรรมอะไรบ้าง ครูมีหรือใช้วิธีการวัดอะไรบ้างที่
จะบอกว่านักเรียนมีหรือแสดงพฤติกรรมเหล่านั้นแล้ว จากนั้นครูจึงนึกถึงวิธีการจัดการเรียนรู้ที่จะทาให้
นักเรียนเกิดความเข้าใจที่คงทนต่อไป
แนวคิดของ Backward Design
Backward Design เป็นการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ผลลัพธ์ปลายทางเป็นหลัก ซึ่งผลลัพธ์
ปลายทางนี้จะเกิดขึ้นกับนักเรียนก็ต่อเมื่อจบหน่วยการเรียนรู้ ทั้งนี้ครูจะต้องออกแบบการจัดการเรียนรู้
โดยใช้กรอบความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล มีความสัมพันธ์กัน จากนั้นจึงจะลงมือเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
ขยายรายละเอียดเพิ่มเติมให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพต่อไป
กรอบความคิดหลักของการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดย Backward Design มีขั้นตอนหลักที่
สาคัญ 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ 1 กาหนดผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
ขั้นที่ 2 กาหนดภาระงานและการประเมินผลการเรียนรู้ ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีผล
การเรียนรู้ตามที่กาหนดไว้อย่างแท้จริง
ขั้นที่ 3 วางแผนการจัดการเรียนรู้
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 9

ขั้นที่ 1 กาหนดผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
ก่อนที่จะกาหนดผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียนนั้น ครูควรตอบคาถามสาคัญ
ต่อไปนี้
– นักเรียนควรจะมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถทาสิ่งใดได้บ้าง
– เนื้อหาสาระใดบ้างที่มีความสาคัญต่อการสร้างความเข้าใจของนักเรียน และความเข้าใจที่
คงทน (Enduring Understandings) ที่ครูต้องการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนมีอะไรบ้าง
เมื่อจะตอบคาถามสาคัญดังกล่าวข้างต้น ให้ครูนึกถึงเป้าหมายของการศึกษามาตรฐานการเรียนรู้
ด้านเนื้อหาระดับชาติที่ปรากฏอยู่ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 รวมทั้ง
มาตรฐานการเรียนรู้ระดับเขตพื้นที่การศึกษาหรือท้องถิ่น
การทบทวนความคาดหวังของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
เนื่องจากมาตรฐานแต่ละระดับจะมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาสาระต่าง ๆ ซึ่งมีความแตกต่างลดหลั่นกันไป
ด้วยเหตุนี้ขั้นที่ 1 ของ Backward Design ครูจึงต้องจัดลาดับความสาคัญและเลือกผลลัพธ์ปลายทางของ
นักเรียน ซึ่งเป็นผลการเรียนรู้ที่เกิดจากความเข้าใจที่คงทนต่อไป
ความเข้าใจที่คงทนของนักเรียน
ความเข้าใจที่คงทนคืออะไร ความเข้าใจที่คงทนเป็นความรู้ที่ลึกซึ้ง ได้แก่ ความคิดรวบยอด
ความสัมพันธ์ และหลักการของเนื้อหาและวิชาที่นักเรียนเรียนรู้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นความรู้ที่อิง
เนื้อหา ความรู้นี้เกิดจากการสะสมข้อมูลต่าง ๆ ของนักเรียน และเป็นองค์ความรู้ที่นักเรียนสร้างขึ้นด้วย
ตนเอง
การเขียนความเข้าใจที่คงทนในการออกแบบการจัดการเรียนรู้
ถ้าความเข้าใจที่คงทนหมายถึงสาระสาคัญของสิ่งที่จะเรียนรู้แล้ว ครูควรจะรู้ว่าสาระสาคัญ
หมายถึงอะไร คาว่า สาระสาคัญ มาจากคาว่า Concept ซึ่งนักการศึกษาของไทยแปลเป็นภาษาไทยว่า
สาระสาคัญ ความคิดรวบยอด มโนทัศน์ มโนมติ และสังกัป ซึ่งการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้นิยมใช้คา
ว่า สาระสาคัญ
สาระสาคัญเป็นข้อความที่แสดงแก่นหรือเป้าหมายเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อให้ได้ข้อสรุป
รวมและข้อแตกต่างเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยอาจครอบคลุมข้อเท็จจริง กฎ ทฤษฎี ประเด็น และการ
สรุปสาระสาคัญและข้อความที่มีลักษณะรวบยอดอย่างอื่น
ประเภทของสาระสาคัญ
1. ระดับกว้าง (Broad Concept)
2. ระดับการนาไปใช้ (Operative Concept หรือ Functional Concept)
ตัวอย่างสาระสาคัญระดับกว้าง
– สุขภาพของตัวอ่อนในครรภ์ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตนของมารดา
– พืชมีหลายชนิด มีประโยชน์ต่างกัน
ตัวอย่างสาระสาคัญระดับการนาไปใช้
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 10

– สุขภาพของตัวอ่อนในครรภ์ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตนของมารดาในด้านการรับประทาน
อาหาร การเคลื่อนไหว และการรักษาสุขภาพจิต
– พืชมี 2 ประเภท คือ พืชล้มลุก และพืชยืนต้น พืชมีประโยชน์ในการทาให้มีความสมดุล
ทางธรรมชาติ เป็นที่อยู่อาศัย เป็นยารักษาโรค เป็นเครื่องนุ่งห่ม และทาให้โลกสวยงาม
แนวทางการเขียนสาระสาคัญ
1. ให้เขียนสาระสาคัญของทุกเรื่อง โดยแยกเป็นข้อ ๆ (จานวนข้อของสาระสาคัญจะเท่ากับ
จานวนเรื่อง)
2. การเขียนสาระสาคัญที่ดีควรเป็นสาระสาคัญระดับการนาไปใช้
3. สาระสาคัญต้องครอบคลุมประเด็นสาคัญครบถ้วน เพราะหากขาดส่วนใดไปแล้วจะทาให้
นักเรียนรับสาระสาคัญที่ผิดไปทันที
4. การเขียนสาระสาคัญที่จะให้ครอบคลุมประเด็นสาคัญวิธีการหนึ่งคือ การเขียนแผนผัง
สาระสาคัญ
ตัวอย่างการเขียนแผนผังสาระสาคัญ

ลักษณะของสัตว์ที่
นามาใช้แรงงาน
ด้านการใช้แรงงาน
ตัวอย่างสัตว์ที่นามา
ใช้แรงงานแต่ละด้าน

ส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ที่
นามาใช้เป็นอาหาร
ประโยชน์ของสัตว์ ด้านการใช้เป็นอาหาร
คุณค่าทางอาหารที่
ได้รับจากการบริโภค
เนื้อสัตว์

ลักษณะของสัตว์ที่
ด้านการเลี้ยงไว้ดูเล่น เลี้ยงไว้ดูเล่น
ตัวอย่างของสัตว์ที่
เลี้ยงไว้ดูเล่น
สาระสาคัญของประโยชน์ของสัตว์: ประโยชน์ของสัตว์แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการใช้
แรงงาน ด้านการใช้เป็นอาหาร และด้านการเลี้ยงไว้ดูเล่น
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 11

5. การเขียนสาระสาคัญเกี่ยวกับเรื่องใดควรเขียนลักษณะเด่นที่มองเห็นได้หรือนึกได้ออกมาเป็น
ข้อ ๆ แล้วจาแนกลักษณะเหล่านั้นเป็นลักษณะจาเพาะและลักษณะประกอบ
6. การเขียนข้อความที่เป็นสาระสาคัญ ควรใช้ภาษาที่มีการขัดเกลาอย่างดี เลี่ยงคาที่มีความหมาย
กากวมหรือฟุ่มเฟือย
ตัวอย่างการเขียนสาระสาคัญเรื่องแมลง
แมลง ลักษณะจาเพาะ ลักษณะประกอบ
มีสี - √
มี 6 ขา √ -
มีพิษ - √
ร้องได้ - √
มีปีก √ -
ลาตัวเป็นปล้อง √ -
มีหนวดคลาทาง 2 เส้น √ -
เป็นอาหารได้ - √
ไม่มีกระดูกสันหลัง √ -
สาระสาคัญของแมลง: แมลงเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ลาตัวเป็น 3 ปล้อง มี 6 ขา มีหนวด
คลาทาง 2 เส้น มีปีก 2 ปีก ตัวมีสีต่างกัน บางชนิดร้องได้ บางชนิดมีพิษ และบางชนิดเป็นอาหารได้
ขั้นที่ 2 กาหนดภาระงานและการประเมินผลการเรียนรู้ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีผล
การเรียนรู้ตามที่กาหนดไว้อย่างแท้จริง
เมื่อครูกาหนดผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียนแล้ว ก่อนที่จะดาเนินการขั้น
ต่อไปขอให้ครูตอบคาถามสาคัญต่อไปนี้
– นักเรียนมีพฤติกรรมหรือแสดงออกในลักษณะใด จึงทาให้ครูทราบว่านักเรียนบรรลุผลลัพธ์
ปลายทางตามที่กาหนดไว้แล้ว
– ครูมีหลักฐานหรือใช้วิธีการใดที่สามารถระบุได้ว่านักเรียนมีพฤติกรรมหรือแสดงออกตาม
ผลลัพธ์ปลายทางที่กาหนดไว้
การออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักการของ Backward Design เน้นให้ครูรวบรวมหลักฐาน
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่จาเป็นและมีหลักฐานเพียงพอที่จะกล่าวได้ว่า การจัดการเรียนรู้ทาให้
นักเรียนเกิดผลสัมฤทธิ์แล้ว ไม่ใช่เรียนแค่ให้จบตามหลักสูตรหรือเรียนตามชุดของกิจกรรมการเรียนรู้ที่
ครูกาหนดไว้เท่านั้น วิธีการของ Backward Design ต้องการกระตุ้นให้ครูคิดล่วงหน้าว่า ครูควรจะกาหนด
และรวบรวมหลักฐานเชิงประจักษ์อะไรบ้างก่อนที่จะออกแบบหน่วยการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
หลักฐานดังกล่าวควรจะเป็นหลักฐานที่สามารถใช้เป็นข้อมูลย้อนกลับที่มีประโยชน์สาหรับนักเรียนและ
ครูได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ครูควรใช้วิธีการวัดและประเมินผลแบบต่อเนื่องอย่างไม่เป็นทางการและเป็น
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 12

ทางการ ตลอดระยะเวลาที่ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดที่ต้องการให้


ครูทาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เรียกว่า สอนไปวัดผลไป
จึงกล่าวได้ว่าขั้นนี้ ครูควรนึกถึงพฤติกรรมหรือการแสดงออกของนักเรียน โดยพิจารณาจาก
ผลงานหรือชิ้นงานที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่านักเรียนเกิดผลลัพธ์ปลายทางตาม
เกณฑ์ที่กาหนดไว้แล้วและเกณฑ์ที่ใช้ประเมินควรเป็นเกณฑ์คุณภาพในรูปของมิติคุณภาพ (Rubrics)
อย่างไรก็ตาม ครูอาจจะมีหลักฐานหรือใช้วิธีการอื่น ๆ เช่น การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน การ
สัมภาษณ์ การศึกษาค้นคว้า การฝึกปฏิบัติขณะเรียนรู้ประกอบ ด้วยก็ได้
การกาหนดภาระงานและการประเมินผลการเรียนรู้ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีผลการ
เรียนรู้ตามผลลัพธ์ปลายทางที่กาหนดไว้แล้ว
หลังจากที่ครูได้กาหนดผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียนแล้ว ครูควรกาหนด
ภาระงานและวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีผลการเรียนรู้ตามผลลัพธ์
ปลายทางที่กาหนดไว้แล้ว
ภาระงาน หมายถึง งานหรือกิจกรรมที่กาหนดให้นักเรียนปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุตามจุดประสงค์
การเรียนรู้/ ตัวชี้วัดชั้นปี/มาตรฐานการเรียนรู้ที่กาหนดไว้ ลักษณะสาคัญของงานจะต้องเป็นงานที่
สอดคล้องกับชีวิตจริงในชีวิตประจาวัน เป็นเหตุการณ์จริงมากกว่ากิจกรรมที่จาลองขึ้นเพื่อใช้ในการ
ทดสอบ ซึ่งเรียกว่า งานที่ปฏิบัติเป็นงานที่มีความหมายต่อนักเรียน (Meaningful Task) นอกจากนี้ งาน
และกิจกรรมจะต้องมีขอบเขตที่ชัดเจน สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้/ตัวชี้วัดชั้นปี/ มาตรฐานการ
เรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
ทั้งนี้เมื่อได้ภาระงานครบถ้วนตามที่ต้องการแล้ว ครูจะต้องนึกถึงวิธีการและเครื่องมือที่จะใช้วัดและ
ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนซึ่งมีอยู่มากมายหลายประเภท ครูจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับภาระงาน
ที่นักเรียนปฏิบัติ
ตัวอย่างภาระงานเรื่อง อาหารหลัก 5 หมู่ และสารอาหารในอาหารหลัก 5 หมู่ รวมทั้งการ
กาหนดวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน ดังตาราง
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 13
ตัวอย่าง ภาระงาน/ผลงาน แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง อาหารหลัก 5 หมู่ และสารอาหารในอาหารหลัก 5 หมู่
สาระที่ 1 : สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดารงชีวิต
มาตรฐาน ว 1.1 : เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทางานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการ
สืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนาความรู้ไปใช้ในการดารงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
ภาระงาน/ การวัดและประเมินผล กิจกรรม
ตัวชี้วัดชั้นปี สาระการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้
ผลงาน/ชิ้นงาน วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์ การเรียนรู้
วิเคราะห์สารอาหาร อาหารหลัก 5 รายงานเรื่อง – ซักถามความรู้ – แบบสัมภาษณ์ – เกณฑ์คุณภาพ การสารวจสาร 1. ภาพอาหารต่าง ๆ
และอภิปรายความ หมู่ ความหมาย อาหารหลัก 5 หมู่ 4 ระดับ อาหารทีไ่ ด้ใน 2. ภาพเด็กที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
จาเป็นที่ร่างกาย และประเภท และสารอาหารใน – ตรวจผลงาน – แบบตรวจสอบ – เกณฑ์คุณภาพ แต่ละวัน และไม่แข็งแรง
ต้องได้รับ ของสารอาหาร อาหารหลัก 5 หมู่ ผลงาน 4 ระดับ 3. แผนภูมิพีระมิดอาหาร
สารอาหารใน – สังเกตการ – แบบสังเกตการ – เกณฑ์คุณภาพ 4. แบบบันทึกข้อมูลการสร้างคาถาม
สัดส่วนที่เหมาะสม รายงาน ทางานกลุ่ม 4 ระดับ ของนักเรียนจากประเด็นปัญหาที่ศึกษา
กับเพศและวัย – สังเกตการ – แบบประเมิน – เกณฑ์คุณภาพ 5. แบบบันทึกข้อมูลการอภิปรายจาก
ทางานกลุ่ม พฤติกรรมการ 4 ระดับ ประเด็นปัญหาทีศ่ ึกษา
ปฏิบัติกิจกรรม 6. แบบบันทึกความรู้
เป็นรายบุคคล 7. ใบงานที่ 1 สารวจสารอาหารที่ได้ใน
และเป็นกลุ่ม แต่ละวัน
8. ใบกิจกรรมที่ 1 เรื่อง สารอาหารใน
อาหารหลัก 5 หมู่
9. ใบกิจกรรมที่ 2 เรื่อง การสารวจสาร
อาหารในอาหารหลัก 5 หมู่
10. แบบทดสอบ เรื่อง สารอาหารใน
อาหารหลัก 5 หมู่
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 14

ความเข้าใจที่คงทนจะเกิดขึ้นได้ นักเรียนจะต้องมีความสามารถ 6 ประการ ได้แก่


1. การอธิบาย ชี้แจง เป็นความสามารถที่นักเรียนแสดงออกโดยการอธิบายหรือชี้แจงในสิ่งที่
เรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง สอดคล้อง มีเหตุมีผล และเป็นระบบ
2. การแปลความและตีความ เป็นความสามารถที่นักเรียนแสดงออกโดยการแปลความและ
ตีความได้อย่างมีความหมาย ตรงประเด็น กระจ่างชัด และทะลุปรุโปร่ง
3. การประยุกต์ ดัดแปลง และนาไปใช้ เป็นความสามารถที่นักเรียนแสดงออกโดยการนาสิ่งที่ได้
เรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผล มีประสิทธิภาพ และคล่องแคล่ว
4. การมีมุมมองที่หลากหลาย เป็นความสามารถที่นักเรียนแสดงออกโดยการมีมุมมองที่
น่าเชื่อถือ เป็นไปได้ มีความลึกซึ้ง แจ่มชัด และแปลกใหม่
5. การให้ความสาคัญใส่ใจในความรู้สึกของผู้อื่น เป็นความสามารถที่นักเรียนแสดงออกโดยการ
มีความละเอียดรอบคอบ เปิดเผย รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ระมัดระวังที่จะไม่ให้เกิดความ
กระทบกระเทือนต่อผู้อื่น
6. การรู้จักตนเอง เป็นความสามารถที่นักเรียนแสดงออกโดยการมีความตระหนักรู้ สามารถ
ประมวลผล ข้อมูลจากแหล่งที่หลากหลาย ปรับตัวได้ รู้จักใคร่ครวญ และมีความเฉลียวฉลาด
นอกจากนี้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กาหนดสมรรถนะ
สาคัญของนักเรียนหลังจากสาเร็จการศึกษาตามหลักสูตรไว้ 5 ประการ ดังนี้
1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถของนักเรียนในการถ่ายทอดความคิด ความรู้
ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเอง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์ อันจะเป็น
ประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อประนีประนอม การเลือกที่จะรับ
และไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มี
ประสิทธิภาพ โดยคานึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถของนักเรียนในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดเชิงคุณธรรม และการคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อ
นาไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศ เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจ
ความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกัน
และแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคานึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคม
และสิ่งแวดล้อม
4. ความสามารถในการใช้ทักษะ/กระบวนการและทักษะในการดาเนินชีวิต เป็นความสามารถ
ของนักเรียนในด้านการนากระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการดาเนินชีวิตประจาวัน การทางานและการอยู่
ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการและหาทางออกที่
เหมาะสมด้านความขัดแย้งและความแตกต่างระหว่างบุคคล การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 15
สังคมและสภาพแวดล้อม การสืบเสาะหาความรู้ และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่พึง
ประสงค์ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถของนักเรียนในการเลือกใช้เทคโนโลยี
ด้านต่าง ๆ ทั้งด้านวัตถุ แนวคิด และวิธีการในการพัฒนาตนเองและสังคมด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การ
ทางาน การแก้ปัญหา และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีคุณธรรม
นอกจากสมรรถนะสาคัญของนักเรียนหลังจากสาเร็จการศึกษาตามหลักสูตรที่กล่าวแล้วข้างต้น
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กาหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ
นักเรียนหลังจากสาเร็จการศึกษาตามหลักสูตรไว้ 8 ประการ ดังนี้
1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณลักษณะในฐานะพลเมืองไทย ต้องรู้คุณค่า หวงแหน และ
เทิดทูนสถาบันสูงสุดของชาติ
2. ซื่อสัตย์สุจริต เป็นคุณลักษณะที่นักเรียนมีจิตสานึก ค่านิยม และมีคุณธรรม จริยธรรมในการ
อยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข
3. มีวินัย เป็นคุณลักษณะของนักเรียนด้านการประพฤติปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมอย่างมี
ความรับผิดชอบและความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น
4. ใฝ่เรียนรู้ เป็นคุณลักษณะของนักเรียนด้านความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ อยากรู้
อยากเรียน รักการอ่าน การเขียน การฟัง รู้จักตั้งคาถามเพื่อหาเหตุผล ทั้งด้วยตนเองและร่วมกับผู้อื่นด้วย
ความขยันหมั่นเพียร และอดทน และเปิดรับความคิดใหม่ ๆ
5. อยู่อย่างพอเพียง เป็นคุณลักษณะของนักเรียนในการดารงชีวิตอย่างมีความพอประมาณ ใช้
สิ่งของอย่างประหยัด พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่บนหลักเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันที่ดี
6. มุ่งมั่นในการทางาน เป็นคุณลักษณะของนักเรียนที่มีจิตสานึกในการใช้ บริหารงานและ
ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน ในการทางานตามความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะและมุ่งมั่นต่อความสาเร็จ
ของงาน
7. รักความเป็นไทย เป็นคุณลักษณะของนักเรียนที่รู้จักหวงแหน อนุรักษ์พัฒนาวิถีชีวิตของคน
ไทย ประพฤติตามวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่คู่ไทย
8. มีจิตสาธารณะ เป็นคุณลักษณะที่นักเรียนได้ทาประโยชน์ตามความสามารถ ความถนัด และ
ความสนใจในลักษณะอาสาสมัคร เพื่อแสดงความรับผิดชอบ ความเสียสละ มีจิตมุ่งทาประโยชน์ต่อ
ครอบครัว ชุมชน สังคม
ดังนั้นการกาหนดภาระงานให้นักเรียนปฏิบัติ รวมทั้งการเลือกวิธีการและเครื่องมือประเมินผล
การเรียนรู้นั้น ครูควรคานึงถึงความสามารถของนักเรียน 6 ประการ ตามแนวคิดของ Backward Design
สมรรถนะสาคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนหลังจากสาเร็จการศึกษาตามหลักสูตรที่ได้
กล่าวไว้ข้างต้น เพือ่ ให้ภาระงาน วิธีการ และเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ครอบคลุมสิ่งที่
สะท้อนผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียนอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ การออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Backward Design ในขั้นที่ 2 นี้ ครู
จะต้องคานึงถึงภาระงาน วิธีการ เครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่มีความเที่ยงตรง เชื่อถือได้ มี
ประสิทธิภาพ ตรงกับสภาพจริง มีความยืดหยุ่น และให้ความสบายใจแก่นักเรียนเป็นสาคัญ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 16
ขั้นที่ 3 วางแผนการจัดการเรียนรู้
เมื่อครูมีความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับการกาหนดผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับ
นักเรียน รวมทั้งกาหนดภาระงานและการประเมินผลการเรียนรู้ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีผล
การเรียนรู้ตามที่กาหนดไว้อย่างแท้จริงแล้ว ขั้นต่อไปครูควรนึกถึงกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่จะจัดให้แก่
นักเรียน การที่ครูจะนึกถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะจัดให้นักเรียนได้นั้น ครูควรตอบคาถามสาคัญต่อไปนี้
– ถ้าครูต้องการจะจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนเกิดความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอด
หลักการ และทักษะ/กระบวนการต่าง ๆ ที่จาเป็นสาหรับนักเรียน ซึ่งจะทาให้นักเรียนเกิดผลลัพธ์
ปลายทางตามที่กาหนดไว้ รวมทั้งเกิดเป็นความเข้าใจที่คงทนต่อไปนั้น ครูสามารถจะใช้วิธีการง่าย ๆ
อะไรบ้าง
– กิจกรรมการเรียนรู้ที่จะช่วยเป็นสื่อนาให้นักเรียนเกิดความรู้และทักษะที่จาเป็นมีอะไรบ้าง
– สื่อและแหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสมและดีที่สุด ซึ่งจะทาให้นักเรียนบรรลุตามมาตรฐานของ
หลักสูตรมีอะไรบ้าง
– กิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่กาหนดไว้ควรจัดกิจกรรมใดก่อน และควรจัดกิจกรรมใดภายหลัง
– กิจกรรมต่าง ๆ ออกแบบไว้เพื่อตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียนหรือไม่
เพราะเหตุใด
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนเกิดผลลัพธ์ปลายทางตามแนวคิดของ Backward
Design นั้น วิกกินส์และแมกไทได้เสนอแนะให้ครูเขียนแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดของ
WHERETO (ไปที่ไหน) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
W แทน กิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดให้นั้นจะต้องช่วยให้นักเรียนรู้ว่าหน่วยการเรียนรู้นี้จะดาเนินไป
ในทิศทางใด (Where) และสิ่งที่คาดหวังคืออะไร (What) มีอะไรบ้าง ช่วยให้ครูทราบว่านักเรียนมีความรู้
พื้นฐานและความสนใจอะไรบ้าง
H แทน กิจกรรมการเรียนรู้ควรดึงดูดความสนใจนักเรียนทุกคน (Hook) ทาให้นักเรียนเกิดความ
สนใจในสิ่งที่จะเรียนรู้ (Hold) และใช้สิ่งที่นักเรียนสนใจเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้
E แทน กิจกรรมการเรียนรู้ควรส่งเสริม และจัดให้ (Equip) นักเรียนได้มีประสบการณ์
(Experience) ในแนวคิดหลัก/ความคิดรวบยอด และสารวจ (Explore) รวมทั้งวินิจฉัยในประเด็นต่าง ๆ ที่
น่าสนใจ
R แทน กิจกรรมการเรียนรู้ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้คิดทบทวน (Rethink) ปรับ (Revise)
ความเข้าใจในความรู้และงานที่ปฏิบัติ
E แทน กิจกรรมการเรียนรู้ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ประเมิน (Evaluate) ผลงานและสิ่งที่
เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้
T แทน กิจกรรมการเรียนรู้ควรออกแบบ (Tailored) สาหรับนักเรียนเป็นรายบุคคลเพื่อให้
สอดคล้องกับความต้องการ ความสนใจ และความสามารถที่แตกต่างกันของนักเรียน
O แทน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้เป็นระบบ (Organized) ตามลาดับการเรียนรู้ของ
นักเรียน และกระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้างองค์ความรู้ตั้งแต่เริ่มแรกและตลอดไป ทั้งนี้เพื่อ
การเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 17
อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่าการวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีการกาหนดวิธีการจัดการเรียนรู้
การลาดับบทเรียน รวมทั้งสื่อและแหล่งการเรียนรู้ที่เฉพาะเจาะจงนั้น จะประสบผลสาเร็จได้ก็ต่อเมื่อครู
ได้มีการกาหนดผลลัพธ์ปลายทาง หลักฐานและวิธีการวัดและประเมินผลที่แสดงว่านักเรียนมีผลการ
เรียนรู้ตามที่กาหนดไว้อย่างแท้จริงแล้ว การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นเพียงสื่อที่จะนาไปสู่เป้าหมาย
ความสาเร็จที่ต้องการเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ถ้าครูมีเป้าหมายที่ชัดเจนก็จะช่วยทาให้การวางแผนการจัดการ
เรียนรู้และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สามารถทาให้นักเรียนเกิดผลสัมฤทธิ์ตามที่กาหนดไว้ได้
โดยสรุปจึงกล่าวได้ว่า ขั้นนี้เป็นการค้นหาสื่อการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ และกิจกรรมการ
เรียนรู้ที่สอดคล้องเหมาะสมกับนักเรียน กิจกรรมที่กาหนดขึ้นควรเป็นกิจกรรมที่จะส่งเสริมให้นักเรียน
สามารถสร้างและสรุปเป็นความคิดรวบยอดและหลักการที่สาคัญของสาระที่เรียนรู้ ก่อให้เกิดความเข้าใจ
ที่คงทนรวมทั้งความรู้สึกและค่านิยมที่ดีไปพร้อม ๆ กับทักษะความชานาญ
เมื่อครูได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการและขั้นตอนตามแนวคิดแบบ Backward Design แล้ว
วิธีการที่จะช่วยให้ครูสามารถตรวจสอบความคิดโดยภาพรวมของตนเองเกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ ตาม
แนวคิดแบบ Backward Design ได้ก็คือ การกาหนดผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบ
Backward Design (BwD) ครูจะใช้ผังนี้ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ที่จะเน้นความ
เข้าใจที่คงทนของนักเรียนได้
ผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้ 1 หน้า ประกอบด้วยคาถามสาคัญที่แยกแยะตามขั้นตอนตาม
แนวคิดแบบ Backward Design ผังนี้จะแนะนาให้ครูทราบถึงองค์ประกอบที่สาคัญของการออกแบบการ
จัดการเรียนรู้เพื่อความเข้าใจที่คงทนของนักเรียน ถึงแม้ว่าผัง 1 หน้านี้ จะไม่ได้แสดงรายละเอียดทั้งหมด
ของการจัดการเรียนรู้ แต่ผังนี้ก็มีความสาคัญหลายประการ คือ
1. บรรยายภาพรวมขั้นตอนทั้งหมดตามแนวคิดแบบ Backward Design
2. ครูสามารถตรวจสอบได้อย่างรวดเร็วเกี่ยวกับขอบเขตการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ประจาหน่วยการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน และเป้าหมายการเรียนรู้ที่ต้องการ
3. ครูสามารถใช้ผังนี้ทบทวนสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏในหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งครูและหน่วยงานใน
ท้องถิ่นสามารถนาไปปรับปรุงและพัฒนาได้
4. ผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้ 1 หน้า เป็นเพียงขอบเขตเริ่มต้นของการออกแบบการ
จัดการเรียนรู้เท่านั้น ครูสามารถขยายรายละเอียดของการวางแผนการจัดการเรียนรู้ให้มากขึ้นหลาย ๆ
หน้าได้
จุดประสงค์ของการสร้างแบบฟอร์มของผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้ก็เพื่อนาเสนอการ
ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่กะทัดรัด เพราะส่วนประกอบของผังแต่ละส่วนจะเป็นแนวทางการออกแบบ
การจัดการเรียนรู้ให้ครู เมื่อครูออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามผังนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ครูสามารถนาผังไป
ใช้สาหรับการประเมินตนเองหรือให้เพื่อนครูประเมินเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ รวมทั้งครูสามารถนาผัง
การจัดการเรียนรู้ของหน่วยการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้อย่างสมบูรณ์แล้วไปแลกเปลี่ยนเพื่อเรียนรู้กับคน
อื่น ๆ ได้อีกด้วย
วิกกินส์และแมกไทได้นาเสนอผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้ (Backward Design Template)
และคาถามสาคัญสาหรับครูที่จะทาการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังนี้ไว้เป็นตัวอย่าง ดังนี้
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 18
ตัวอย่างผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design
หน่วยการเรียนรู้ที่_____________________

ขั้นที่ 1 ผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน

ตัวชี้วัดชั้นปี
1. _______________________________________________________________________________
2. _______________________________________________________________________________
ความเข้าใจทีค่ งทนของนักเรียน คาถามสาคัญที่ทาให้เกิดความเข้าใจทีค่ งทน
นักเรียนจะเข้าใจว่า...
1. ________________________________________ 1. ________________________________________
2. ________________________________________ 2. ________________________________________
ความรู้ของนักเรียนทีน่ าไปสู่ความเข้าใจทีค่ งทน ทักษะ/ความสามารถของนักเรียนที่นาไปสู่ความเข้าใจที่
นักเรียนจะรู้ว่า... คงทน นักเรียนจะสามารถ...
1. ________________________________________ 1. ________________________________________
2. ________________________________________ 2. ________________________________________
3. ________________________________________ 3. ________________________________________
ขั้นที่ 2 ภาระงานและการประเมินผลการเรียนรู้ซงึ่ เป็นหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีผลการเรียนรู้
ตามที่กาหนดไว้อย่างแท้จริง
1. ภาระงานที่นักเรียนต้องปฏิบตั ิ
- _____________________________________________________________________________________
- _____________________________________________________________________________________
2. วิธีการและเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ เครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
- _______________________________________ - ________________________________________
- _______________________________________ - ________________________________________
3. สิ่งที่มุ่งประเมิน
- _____________________________________________________________________________________
- _____________________________________________________________________________________
ขั้นที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้
- _____________________________________________________________________________________
- _____________________________________________________________________________________
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 19
เมื่อครูออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design
แล้ว ครูสามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เป็นรายชั่วโมงได้โดยใช้รูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้
แบบเรียงหัวข้อ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ชื่อแผน...(ระบุชื่อและลาดับที่ของแผนการจัดการเรียนรู้)
ชื่อเรื่อง...(ระบุชื่อเรื่องที่ใช้จัดการเรียนรู้)
สาระที่...(ระบุสาระที่ใช้จัดการเรียนรู้)
เวลา...(ระบุระยะเวลาที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ต่อ 1 แผน)
ชั้น...(ระบุชั้นที่จัดการเรียนรู้)
หน่วยการเรียนรู้ที่...(ระบุชื่อและลาดับที่ของหน่วยการเรียนรู้)
สาระสาคัญ...(เขียนความคิดรวบยอดหรือมโนทัศน์ของหัวเรื่องที่จะจัดการเรียนรู้)
ตัวชี้วัดชั้นปี...(ระบุตัวชี้วัดชั้นปีที่ใช้เป็นเป้าหมายของแผนการจัดการเรียนรู้)
จุดประสงค์การเรียนรู้...(กาหนดให้สอดคล้องกับสมรรถนะสาคัญและคุณลักษณะอันพึง
ประสงค์ของนักเรียนหลังจากสาเร็จการศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551 ซึ่งประกอบด้วย
ด้านความรู้ (Knowledge : K)
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจิตวิทยาศาสตร์ (Affective : A)
ด้านทักษะ/กระบวนการ (Performance : P))
การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้...(ระบุวิธีการและเครื่องมือวัดและประเมินผลที่สอดคล้อง
กับจุดประสงค์การเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน)
สาระการเรียนรู้...(ระบุสาระและเนื้อหาที่ใช้จัดการเรียนรู้ อาจเขียนเฉพาะหัวเรื่องก็ได้)
แนวทางการบูรณาการ...(เสนอแนะและระบุกิจกรรมของกลุ่มสาระอื่นที่บูรณาการร่วมกัน)
กระบวนการจัดการเรียนรู้...(กาหนดให้สอดคล้องกับธรรมชาติของกลุ่มสาระและการบูรณา
การข้ามสาระ)
กิจกรรมเสนอแนะ...(ระบุรายละเอียดของกิจกรรมที่นักเรียนควรปฏิบัติเพิ่มเติม)
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้...(ระบุสื่อ อุปกรณ์ และแหล่งการเรียนรู้ที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้)
บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้...(ระบุรายละเอียดของผลการจัดการเรียนรู้ตามแผนที่กาหนดไว้
อาจนาเสนอข้อเด่นและข้อด้อยให้เป็นข้อมูลที่สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการทาวิจัยในชั้นเรียนได้)
ในส่วนของการเขียนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นั้น ให้ครูเขียนโดยนาขั้นตอนหลักของเทคนิค
วิธีการของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เช่น การเรียนแบบแก้ปัญหา การศึกษาเป็น
รายบุคคล การอภิปรายกลุ่มย่อย/กลุ่มใหญ่ การฝึกปฏิบัติการ การสืบค้นข้อมูล ฯลฯ มาเขียนในขั้นการ
จัดการเรียนรู้ โดยให้คานึงถึงธรรมชาติของกลุ่มสาระการเรียนรู้
การใช้แนวคิดของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Backward Design จะช่วยให้
ครูมีความมั่นใจในการจัดการเรียนรู้และใช้แผนการจัดการเรียนรู้ของ ในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพต่อไป
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 20

3. แนวทางการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลาง


การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
วิทยาศาสตร์ทาให้คนได้พัฒนาชีวิต ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์
วิจารณ์ มีทักษะที่สาคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถ
ตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของ
โลกสมัยใหม่ ซึ่งเป็นสังคมแห่งความรู้ (knowledge based society) ทุกคนจึงจาเป็นต้องได้รับการพัฒนา
ให้รู้วิทยาศาสตร์ (scientific literacy for all) เพื่อที่จะมีความรู้ความเข้าใจโลกธรรมชาติและเทคโนโลยีที่
มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น และนาความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผล สร้างสรรค์ มีคุณธรรม ความรู้วิทยาศาสตร์ไม่
เพียงแต่นามาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี แต่ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจธรรมชาติอย่างสมดุล
และยั่งยืน และที่สาคัญอย่างยิ่งคือ ความรู้วิทยาศาสตร์ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจ
สามารถแข่งขันกับนานาประเทศและดาเนินชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมโลกได้อย่างมีความสุข การที่จะสร้าง
ความเข้มแข็งทางด้านวิทยาศาสตร์นั้น องค์ประกอบที่สาคัญประการหนึ่งคือ การจัดการศึกษาเพื่อเตรียม
คนให้อยู่ในสังคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคที่มีประสิทธิภาพ
วิทยาศาสตร์เป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้หลักในโครงสร้างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ตลอดจนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้มี
ความสาคัญอย่างยิ่งในการวางรากฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนแต่ละระดับชั้นให้ต่อเนื่อง
เชื่อมโยงตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ดังนั้น จึงจาเป็นที่จะต้องจัดหลักสูตร
แกนกลางที่มีการเรียงลาดับความยากง่ายของเนื้อหาสาระในแต่ละระดับชั้น การเชื่อมโยงความรู้กับ
กระบวนการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะทาให้นักเรียนพัฒนาความคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิด
สร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์วิจารณ์ มีทักษะที่สาคัญในการค้นคว้า และสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบ
เสาะหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์
พยานที่ตรวจสอบได้ มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลและการจัดการ รวมถึงมีการพัฒนา
ทักษะสาหรับการดารงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 ที่เรียกว่า ทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นการคิด
วิเคราะห์ การแก้ปัญหา การร่วมมือ และการสื่อสาร ซึ่งนักเรียนจะได้ฝึกฝนและเรียนรู้การลงมือทางาน
เป็นทีมมากกว่าการท่องจาข้อมูล และยังได้ฝึกฝนเกี่ยวกับการสื่อสารโดยการรับฟังผู้อื่นและถ่ายทอด
ความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างชัดเจน การอ่านข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งการเขียนหรืออธิบาย
ผ่านวิธีการต่าง ๆ ที่หลากหลายได้อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นทักษะที่นักเรียนจาเป็นต้องมีสาหรับการทางานให้
ประสบความสาเร็จ
การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เน้นกระบวนการที่นักเรียนเป็นผู้คิดลงมือปฏิบัติ
ศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งการปฏิบัติกิจกรรมภาคสนาม การสังเกต การ
สารวจตรวจสอบ การทดลองในห้องปฏิบัติการ การสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ
การทาโครงงานวิทยาศาสตร์ การศึกษาจากแหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น โดยคานึงถึงวุฒิภาวะ ประสบการณ์
เดิม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่ต่างกันที่นักเรียนรับรู้มาแล้วก่อนเข้าสู่ห้องเรียน การเรียนรู้ของนักเรียน
จะเกิดขึ้นระหว่างที่นักเรียนมีส่วนร่วมโดยตรงในการทากิจกรรมการเรียนเหล่านั้น จึงจะมีความสามารถ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 21
ในการสืบเสาะหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้พัฒนากระบวนการ
คิดขั้นสูง และคาดหวังว่ากระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวจะทาให้นักเรียนได้รับการพัฒนาจิตวิทยาศาสตร์ มี
คุณธรรม จริยธรรมในการใช้วิทยาศาสตร์อย่างสร้างสรรค์ มีเจตคติและค่านิยมที่เหมาะสมต่อวิทยาศาสตร์
รวมทั้งสามารถสื่อสารและทางานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดการเรียนรู้ครูต้องศึกษาเป้าหมายและปรัชญาของการจัดการเรียนรู้ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้
ทาความเข้าใจหลักการ ทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ ตลอดจนกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการและถือว่า
นักเรียนมีความสาคัญที่สุด แล้วพิจารณาเลือกนาไปใช้ ออกแบบกิจกรรมที่หลากหลายให้เหมาะสมกับ
เนื้อหาสาระ เหมาะกับสภาพแวดล้อมของโรงเรียน แหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่น และที่สาคัญคือศักยภาพของ
นักเรียนด้วย ดังนั้น ในเนื้อหาสาระเดียวกัน ครูแต่ละโรงเรียนย่อมจัดการเรียนการสอนและใช้สื่อการ
เรียนการสอนที่แตกต่างกันได้ด้วยเหตุผลที่กล่าวข้างต้น
วิธีการหรือเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
วิธีการหรือเทคนิคที่นามาใช้ในกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีอยู่มากมายหลายวิธี ซึ่งแต่ละ
วิธีจะมีประสิทธิผลในการสร้างความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และการให้โอกาสนักเรียนได้แสดงบทบาท
แตกต่างกันออกไป ดังนั้นในการพิจารณาเลือกวิธีการใดมาใช้ ครูต้องวิเคราะห์ผลการเรียนรูก้ ่อนว่า
ต้องการให้นักเรียนเกิดพฤติกรรมใด ในระดับใด จึงจะนามาปรับใช้ให้เหมาะสมกับนักเรียน ทั้งนี้เพื่อให้
การเรียนรู้ของนักเรียนบรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กาหนด
ในคู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้เล่มนี้ เป็นการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการความรู้กับเทคนิค
การจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายเข้าด้วยกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning: BBL)
การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเป็นการจัดการเรียนรู้ที่อิงผลการวิจัยทางประสาทวิทยา
ซึ่งได้เสนอแนะว่า ตามธรรมชาตินั้นสมองเรียนรู้ได้อย่างไร โดยได้กล่าวถึงโครงสร้างที่แท้จริงของ
สมองและการทางานของสมองมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามขั้นของการพัฒนา การจัดการเรียนรู้
แบบนี้จึงเน้นการเรียนรู้ที่ต้องใช้ทุกส่วนของร่างกายไปพร้อม ๆ กัน ทั้งการคิด ความรู้สึก และการลง
มือปฏิบัติ ซึ่งการจัดการเรียนรู้สามารถออกแบบให้อยู่ในรูปของคาถามหรือกิจกรรมที่นาไปใช้เป็น
กิจกรรมนาเข้าสู่บทเรียนหรือระหว่างการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนเกิดการเชื่อมโยงความรู้สู่การ
ปฏิบัติจริง โดยมุ่งพัฒนาศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของนักเรียน
การจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านชั้นเรียน (Flipped Classroom)
การจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านชั้นเรียนเป็นการปรับรูปแบบการเรียนการสอนซึ่งจากเดิมครูเป็น
ผู้บรรยายเนื้อหาในชั้นเรียน แล้วให้นักเรียนกลับไปทาสิ่งที่ครูมอบหมายที่บ้าน เปลี่ยนมาเป็นนักเรียน
กลับไปค้นคว้าความรู้ด้วยตนเองที่บ้าน แล้วนาข้อสงสัยต่าง ๆ มาซักถามพร้อมกับนาสิ่งที่ได้รับ
มอบหมายให้ไปทาที่บ้านมาทาที่ชั้นเรียนโดยมีครูคอยแนะนาแทน การจัดการเรียนการสอนแบบกลับ
ด้านชั้นเรียนนี้ การบรรยายของครูจะถูกบันทึกเป็นวิดีโอเพื่อให้นักเรียนนาไปศึกษาล่วงหน้าที่บ้าน เมื่อ
มาเข้าชั้นเรียนในวันรุ่งขึ้นนักเรียนจะซักถามข้อสงสัยต่าง ๆ จากการดูวิดีโอกับครู แล้วจึงให้นักเรียน
ทางานที่ได้รับมอบหมายและปฏิบัติกิจกรรมโดยมีครูคอยตอบข้อสงสัยและแนะนาช่วยเหลือ ซึ่งการ
จัดการเรียนการสอนแบบนี้ เป็นการปรับบทบาทและความสาคัญในชั้นเรียนจากครูไปให้ความสาคัญที่
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 22
ตัวนักเรียนมากขึ้น และทาให้ครูได้ใช้เวลาในการมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนแทนการบรรยายหน้าชั้นเรียน
เพียงอย่างเดียวอีกด้วย
จากหลักการดังกล่าว เพื่อเป็นการช่วยให้ครูได้นาหลักการจัดการเรียนการสอนแบบกลับด้าน
ชั้นเรียนไปใช้ได้สะดวกยิ่งขึ้น และเป็นการสนองนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ในคู่มือครู แผนการ
จัดการเรียนรู้เล่มนี้ จึงได้มีการประยุกต์การจัดการเรียนการสอนแบบกลับด้านชั้นเรียน โดยได้ปรับการ
บรรยายของครูโดยการบันทึกเป็นวิดีโอ มาเป็นการมอบหมายงานให้นักเรียนไปอ่านและศึกษาค้นคว้า
หรือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเองล่วงหน้าที่บ้านแทน แล้วในวันรุ่งขึ้นจึงให้นักเรียนนาข้อสงสัยที่
ได้จากการอ่าน ศึกษาค้นคว้า หรือจากการปฏิบัติกิจกรรมมาซักถาม อภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในชั้น
เรียน จากนั้นจึงให้นักเรียนทางานที่ได้รับมอบหมายและปฏิบัติกิจกรรมในชั้นเรียน เพื่อให้เกิดการ
เรียนรู้ร่วมกันอย่างยั่งยืนต่อไป
กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Process)
นอกจากการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว ในคู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้เล่ม
นี้ ยังเน้นวิธีการหรือเทคนิคที่นามาใช้ในกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยมีการจัดการเรียนรู้ที่เน้น
กระบวนการสืบเสาะหาความรูท้ ี่สอดคล้องกับแนวทางของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งกระบวนการสืบเสาะหาความรู้เป็นเทคนิคการจัดการเรียนรู้
ที่กระตุ้นให้นักเรียนได้สืบค้นหรือค้นหาคาตอบในเรื่องหรือประเด็นที่กาหนดขึ้น เน้นให้นักเรียนรู้จัก
รับผิดชอบกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง โดยที่ครูมีบทบาทในการให้ความกระจ่างและเป็นผู้อานวย
ความสะดวก ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสามารถค้นพบข้อมูลและจัดระบบความหมายของข้อมูลของตนเอง
นักเรียนต้องผ่านการฝึกทักษะและกระบวนการสืบเสาะหาความรู้จากครู ก่อนที่จะทาการสืบค้น
ข้อความรู้ หัวข้อหรือประเด็นที่นักเรียนศึกษานั้นควรสัมพันธ์กับหลักสูตรและสอดคล้องกับพัฒนาการ
ของนักเรียน ครูต้องตระหนักเสมอว่าต้องเน้นกระบวนการมากกว่า “ผลที่ได้จากกระบวนการ” และต้อง
ตรวจสอบว่าได้จัดสิ่งอานวยความสะดวก สื่อ และแหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสมที่จะเอื้ออานวยให้นักเรียน
ประสบความสาเร็จในการเรียน
ขั้นตอนกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลักดังนี้
1) สร้างความสนใจ
การสร้างความสนใจเป็นการนาเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ โดยที่ครูจัดสถานการณ์หรือ
เรื่องราวที่น่าสนใจเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนสังเกต สงสัยในเหตุการณ์หรือเรื่องราว หรืออาจเริ่มจากความ
สนใจของตัวนักเรียนเอง เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากข้อสงสัยที่ได้จากการอ่าน ศึกษาค้นคว้า หรือจากการ
ปฏิบัติกิจกรรมที่นักเรียนไปปฏิบัติล่วงหน้าจากการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านชั้นเรียน หรือเหตุการณ์ที่
กาลังเกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น หรือเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เรียนรู้มาแล้ว จะเป็นตัวกระตุ้นให้
นักเรียนสร้างคาถาม กาหนดประเด็นที่จะศึกษา เมื่อได้ประเด็นที่ต้องการศึกษา ทั้งครูและนักเรียน
ร่วมกันกาหนดขอบเขตและแจกแจงรายละเอียดของเรื่องที่จะศึกษาให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
2) สารวจและค้นหา
หลังจากทาความเข้าใจในประเด็นหรือคาถามที่สนใจจะศึกษาแล้ว นักเรียนวางแผนกาหนดแนว
ทางการสารวจตรวจสอบ ตั้งสมมุติฐาน และกาหนดทางเลือกที่เป็นไปได้แล้วลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 23
รวบรวมข้อมูลข้อสนเทศ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ วิธีการตรวจสอบอาจทาได้หลายวิธี เช่น การทดลอง
การทากิจกรรมภาคสนาม การศึกษาหาข้อมูลจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูล
อย่างเพียงพอ สรุปสิ่งที่คาดว่าจะเป็นคาตอบของปัญหาหรือสมมุติฐานนั้น
3) อธิบายและลงข้อสรุป
นักเรียนนาข้อมูล ข้อสนเทศที่ได้วิเคราะห์ แปลผล สรุปผล และนาเสนอผลในรูปแบบต่าง ๆ
เช่น การบรรยายสรุป การสร้างตาราง เป็นต้น ซึ่งการค้นพบในขั้นนี้อาจสนับสนุนหรือโต้แย้งกับ
สมมุติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่กาหนดไว้ แต่ไม่ว่าผลจะอยู่ในรูปใดก็ตาม ก็สามารถ
สร้างความรู้และช่วยให้เกิดความรู้ได้เช่นกัน
4) ขยายความรู้
เป็นขั้นตอนที่นักเรียนนาความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิม หรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้า
เพิ่มเติม หรือข้อสรุปที่ได้ไปอธิบายเหตุการณ์อื่น ๆ
5) ประเมิน
ครูประเมินการเรียนรูด้ ้วยกระบวนการต่าง ๆ ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมาก
น้อยเพียงใด จากขั้นนี้จะนาไปสู่การนาความรู้ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องหรือสถานการณ์อื่น ๆ
ขั้นการจัดการเรียนรู้ในคู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้เล่มนี้ได้บูรณาการกระบวนการสืบเสาะหา
ความรู้กับเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้อื่น ๆ ที่นิยมใช้สาหรับจัดการเรียนรู้ตามธรรมชาติของกลุ่มสาระ
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เช่น กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Process) การทดลอง (Experiment)
การฝึกปฏิบัติการ (Practice) การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion) กระบวนการแก้ปัญหา
(Problem solving process) กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจ (Cooperative Learning) และ
โครงงาน (Project Work) ซึ่งได้รวบรวมรายละเอียดบันทึกไว้ในซีดีรอม
อย่างไรก็ตาม ครูควรศึกษาธรรมชาติของวิชาวิทยาศาสตร์ ความยากง่ายของเนื้อหาสาระ ความรู้
ความสามารถนักเรียน สภาพความพร้อมด้านสื่ออุปกรณ์และแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ของโรงเรียน
เพื่อที่จะได้นาวิธีการจัดการเรียนรู้และเทคนิคต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ครูสามารถใช้
หลาย ๆ วิธีผสมผสานกันเพื่อสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ และที่สาคัญครูควรประเมินผลการจัดการ
เรียนรู้และบันทึกข้อมูลไว้เพื่อนาไปปรับปรุง และพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้หรือทาวิจัยในชั้นเรียน
ต่อไป
การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ เป็นขั้นตอนของการตรวจสอบผลการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้ว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และหลังจากจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้แล้ว นักเรียนมีพัฒนาการมีความสามารถ มีความสาเร็จทางการเรียนหรือบรรลุผลการเรียนตามที่
คาดหวังหรือไม่ และมีผลการเรียนรู้อยู่ในระดับใด ในคู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้เล่มนี้ ได้ออกแบบ
วิธีการและเครื่องมือสาหรับการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนไว้ ดังนี้
1. กิจกรรมฝึกทักษะ ได้ออกแบบไว้ทั้งที่เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยและอัตนัย เพื่อพัฒนา
ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ การเขียน การอ่าน การแสดงความคิดเห็น ซึ่งครูสามารถเลือกกิจกรรมที่เห็น
ว่าสาคัญมาเป็นเครื่องมือในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนได้
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 24
2. กิจกรรมสะเต็มศึกษา (STEM Education) ได้ออกแบบไว้เป็นกิจกรรมเสนอแนะ ครูสามารถ
นาไปใช้จัดกิจกรรมเสริมนอกเวลาเรียนได้ สะเต็มศึกษาเป็นแนวทางใหม่ในการจัดการเรียนรู้ที่บูรณา
การวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์เข้าด้วยกัน เพื่อนาความรู้เหล่านี้ไปใช้แก้ปัญหา
พัฒนานวัตกรรม และสร้างสรรค์ชิ้นงานที่เป็นประโยชน์ในชีวิตจริง ช่วยให้นักเรียนได้ใช้กระบวนการ
คิด การแก้ปัญหา การเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และส่งเสริมการพัฒนาทักษะใน
ศตวรรษที่ 21
3. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ได้ออกแบบไว้เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยเพื่อความ
สะดวกของครูในการตรวจสอบความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ของนักเรียน อนึ่งแบบทดสอบก่อนเรียน
และหลังเรียนนี้ ครูอาจนาไปใช้สาหรับการวิจัยในชั้นเรียนได้
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ ได้ออกแบบการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ไว้ 3
ด้าน ดังนี้
4.1 ด้านความรู้ ได้ออกแบบไว้เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยตามตัวชี้วัดชั้นปีของแต่ละ
หน่วยการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และสาระแกนกลาง ทั้งนี้เพื่อเป็นการตรวจสอบ
ความรู้ ความคิดของนักเรียนเกี่ยวกับเรื่องที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
4.2 ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจิตวิทยาศาสตร์ ได้ออกแบบไว้เป็นแบบตรวจสอบ
รายการและแบบมาตรประมาณค่า โดยใช้วิธีการสังเกต สอบถาม หรือสัมภาษณ์ ซึ่งครูสามารถนาไปใช้
ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนได้ ทั้งในระหว่างการจัดการเรียนรู้และการปฏิบัติ
กิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งได้ใช้ตัวบ่งชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของจิตวิทยาศาสตร์ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
เจตคติทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์
1) เจตคติทางวิทยาศาสตร์ เป็นลักษณะนิสัยของนักเรียนที่คาดหวังว่าจะได้รับการพัฒนา
ในตัวนักเรียนโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คุณลักษณะของเจตคติทางวิทยาศาสตร์
ประกอบด้วย
(1) ความสนใจใฝ่รู้หรือความอยากรู้อยากเห็น
(2) ความมุ่งมั่น อดทน รอบคอบ
(3) ความซื่อสัตย์
(4) ความประหยัด
(5) ความใจกว้าง ร่วมแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดของผู้อื่น
(6) ความมีเหตุผล
(7) การทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์
2) เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้สึกที่นักเรียนมีต่อการทากิจกรรมการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย คุณลักษณะของเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย
(1) พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
(2) ศรัทธาและซาบซึ้งในผลงานทางวิทยาศาสตร์
(3) เห็นคุณค่าและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(4) ตระหนักในคุณและโทษของการใช้เทคโนโลยี
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 25
(5) เรียนหรือเข้าร่วมกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์อย่างสนุกสนาน
(6) เลือกใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการคิดและปฏิบัติ
(7) ตั้งใจเรียนวิชาวิทยาศาสตร์
(8) ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมีคุณธรรม
(9) ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยใคร่ครวญ ไตร่ตรองถึงผลดีและ
ผลเสีย
4.3 ด้านทักษะ/กระบวนการ ได้ออกแบบไว้เป็นแบบตรวจสอบรายการ และแบบมาตรประมาณ
ค่า โดยใช้วิธีการสังเกต สอบถาม หรือสัมภาษณ์ ซึ่งครูสามารถนาไปใช้ประเมินทักษะ/กระบวนการของ
นักเรียนได้ ทั้งในระหว่างการจัดการเรียนรู้และการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนการนาความรู้ไปใช้ใน
ชีวิตประจาวัน ซึ่งได้ใช้ตัวบ่งชี้ที่เกี่ยวข้องกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการคิด ทักษะ
การเรียนรู้ ทักษะการแก้ปัญหา และทักษะกระบวนการทางานกลุ่ม ดังนี้
1) พฤติกรรมในการปฏิบัติกิจกรรม (เป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม) เช่น ความรับผิดชอบ ความ
รอบคอบ ความมีระเบียบวินัย ความขยันหมั่นเพียร ความซื่อสัตย์ ความสนใจ ความตั้งใจ เป็นต้น
2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ทักษะการสังเกต การลงความเห็นจากข้อมูล การ
จาแนกประเภท การวัด การใช้ตัวเลข การสื่อความหมาย การพยากรณ์ การตั้งสมมุติฐาน การกาหนด และ
ควบคุมตัวแปร การทดลอง การกาหนดนิยามเชิงปฏิบัติการของตัวแปร การหาความสัมพันธ์ระหว่าง
สเปซกับเวลา และการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
3) ทักษะการคิด ได้แก่ ความสามารถในการสรุปความคิด การแปลความ การวิเคราะห์หลักการ
การนาไปใช้ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
4) ทักษะการเรียนรู้ ได้แก่ ความสามารถในการแสวงหาข้อมูลความรู้โดยการอ่าน การฟังและ
การสังเกต ความสามารถในการสื่อสารโดยการพูด การเขียนและการนาเสนอ ความสามารถในการ
ตีความ การสร้างแผนภูมิ แผนที่ ตาราง เวลา และการจดบันทึก ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและ
สารสนเทศต่าง ๆ
5) ทักษะกระบวนการกลุ่ม ได้แก่ ความสามารถในการเป็นผู้นาและผู้ตามในการปฏิบัติงานกลุ่ม
การมีส่วนร่วมในการกาหนดเป้าหมายในการทางานกลุ่ม การปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจาก
กลุ่มด้วยความรับผิดชอบ ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ และความ
ภาคภูมิใจในผลงานของกลุ่ม
6) ทักษะการแก้ปัญหา ได้แก่ ความสามารถในการตั้งคาถามและการตั้งสมมุติฐานอย่างมีระบบ
การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การทดสอบสมมุติฐาน การแปลความหมายของข้อมูล การ
นาเสนอข้อมูล และการสรุปผล
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 26
อย่างไรก็ตาม การจัดการเรียนรู้และการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้จะเกิดประสิทธิผลและ
มีประสิทธิภาพได้ก็ต่อเมื่อครูได้เตรียมการสอนล่วงหน้า การฝึกทักษะในกิจกรรมต่าง ๆ ครูควรเปิด
โอกาสให้นักเรียนได้สืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง ดาเนินการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง
ทั้งนี้เนื่องจากโรงเรียนแต่ละแห่งมีสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้และสภาพนักเรียนที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุ
นี้ครูจึงต้องเตรียมการจัดการเรียนรู้และเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสภาพของ
นักเรียนและสภาพแวดล้อมของโรงเรียนของตน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 27
4. ตารางวิเคราะห์ความสอดคล้องของเนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้กับสาระ มาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
และตัวชี้วัดชั้นปี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
สาระ
1 2 3 5 6 7 8
มฐ. ว
เนื้อหา
1.1 2.1 2.2 3.1 3.2 5.1 6.1 7.1 7.2 8.1
ตัวชี้วัดชั้นปี
1 2 3 1 2 3 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 1 2 3 4 5 1 2 3 1 1 1 2 3 4 5 6 7 8
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่างกายของเรา
ตอนที่ 1 อวัยวะและระบบต่าง ๆ ใน
* * * * * * * * *
ร่างกาย
ตอนที่ 2 การเจริญเติบโตของเรา * * * * * * * * *
ตอนที่ 3 อาหารและสารอาหาร * * * * * * * * *
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สิ่งมีชีวิตกับ
สิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 1 ความสัมพันธ์ในสิ่งแวดล้อม * * * * * * * * * * *
ตอนที่ 2 การดูแลรักษาทรัพยากร
* * * * * * * * * * * * *
ธรรมชาติในท้องถิน่
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สารใน
ชีวิตประจาวัน
ตอนที่ 1 สมบัติของสารและการ
* * * * * * * * * *
จาแนก
ตอนที่ 2 การแยกสาร * * * * * * * * *
ตอนที่ 3 สารที่ใช้ในชีวิตประจาวัน * * * * * * * * * *
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 28

สาระ
1 2 3 5 6 7 8
มฐ. ว
เนื้อหา
1.1 2.1 2.2 3.1 3.2 5.1 6.1 7.1 7.2 8.1
ตัวชี้วัดชั้นปี
1 2 3 1 2 3 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 1 2 3 4 5 1 2 3 1 1 1 2 3 4 5 6 7 8
ตอนที่ 4 เมื่อสารเกิดการเปลี่ยนแปลง * * * * * * * * * * *
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ไฟฟ้า
ตอนที่ 1 วงจรไฟฟ้า * * * * * * * * * * *
ตอนที่ 2 ตัวนาไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า * * * * * * * * *
ตอนที่ 3 แม่เหล็กไฟฟ้าและการใช้
* * * * * * * * *
แม่เหล็กไฟฟ้า
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 หินบนผิวโลกและ
ภายในโลก
ตอนที่ 1 หิน * * * * * * * * * *
ตอนที่ 2 กระบวนการเปลี่ยนแปลง
* * * * * * * * *
ของเปลือกโลก
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ปรากฏการณ์
โลกและเทคโนโลยีอวกาศ
ตอนที่ 1 ปรากฏการณ์บนท้องฟ้า * * * * * * * * *
ตอนที่ 2 เทคโนโลยีอวกาศ * * * * * * * * *

หมายเหตุ สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดารงชีวิต สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร สาระที่ 5 พลังงาน


สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 29

5. โครงสร้างการแบ่งเวลารายชั่วโมงในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ หมายเหตุ


แผนการจัดการเรียนรู้ปฐมนิเทศ (1 ชั่วโมง) ชั่วโมงที่ 1 ปฐมนิเทศและข้อตกลงในการเรียน
หน่วยที่ 1 แผนที่ 1 อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ชั่วโมงที่ 2 อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย
ร่างกายของเรา (1 ชั่วโมง) 1. อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย
ตอนที่ 1 อวัยวะและ 1.1 ปอด
ระบบต่าง ๆ ในร่างกาย 1.2 หัวใจ
(5 แผน) 1.3 กระเพาะอาหาร ตับ และตับอ่อน
1.4 ลาไส้
1.5 ไต
แผนที่ 2 การทางานของระบบหายใจ ชั่วโมงที่ 3 การทางานของระบบหายใจ
(1 ชั่วโมง) 2. ความสัมพันธ์ของระบบต่าง ๆ
2.1 ระบบหายใจ
แผนที่ 3 การทางานของระบบย่อยอาหาร ชั่วโมงที่ 4 การทางานของระบบย่อยอาหาร
(1 ชั่วโมง) 2.2 ระบบย่อยอาหาร
แผนที่ 4 การทางานของระบบหมุนเวียนเลือด ชั่วโมงที่ 5–6 การทางานของระบบหมุนเวียนเลือด
(2 ชั่วโมง) 2.3 ระบบหมุนเวียนเลือด
แผนที่ 5 การทางานของระบบขับถ่าย ชั่วโมงที่ 7 การทางานของระบบขับถ่าย
(1 ชั่วโมง) 2.4 ระบบขับถ่าย
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 30

หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ หมายเหตุ


ตอนที่ 2 การเจริญเติบโต แผนที่ 6 การเจริญเติบโตและพัฒนาการ ชั่วโมงที่ 8–9 การเจริญเติบโตและพัฒนาการ
ของเรา (2 ชั่วโมง) 1. กราฟการเจริญเติบโต
(1 แผน) 2. การเจริญเติบโตและพัฒนาการ
ตอนที่ 3 อาหารและ แผนที่ 7 อาหารหลัก 5 หมู่และสารอาหารใน ชั่วโมงที่ 10–11 อาหารหลัก 5 หมู่และสารอาหารในอาหาร
สารอาหาร อาหารหลัก 5 หมู่ หลัก 5 หมู่
(2 แผน) (2 ชั่วโมง) 1. สารอาหารในอาหารหลัก
1.1 อาหารหลัก 5 หมู่
1.2 วิตามิน
1.3 เกลือแร่
แผนที่ 8 พลังงานจากสารอาหาร ชั่วโมงที่ 12–13 พลังงานจากสารอาหาร
(2 ชั่วโมง) 2. พลังงานจากสารอาหาร
3. การกินอาหารให้พอเหมาะกับเพศและวัย
3.1 การจัดรายการอาหารที่เหมาะสมกับเพศและวัย
หน่วยที่ 2 แผนที่ 9 สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ชั่วโมงที่ 14–15 สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ
สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม (2 ชั่วโมง) 1. สิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 1 ความสัมพันธ์ 2. ระบบนิเวศ
ในสิ่งแวดล้อม แผนที่ 10 ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับ ชั่วโมงที่ 16 ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
(5 แผน) สิ่งแวดล้อม 3. ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
(1 ชั่วโมง) 3.1 โซ่อาหาร
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 31

หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ หมายเหตุ


3.2 สายใยอาหาร
แผนที่ 11 ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่ ชั่วโมงที่ 17 ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่
อาศัยอยู่ร่วมกัน ร่วมกัน
(1 ชั่วโมง) 4. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกัน
4.1 ภาวะพึ่งพากัน
4.2 ภาวะอิงอาศัย
4.3 ภาวะการได้ประโยชน์รว่ มกัน
4.4 ภาวะปรสิต
แผนที่ 12 ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อม ชั่วโมงที่ 18–19 ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมกับ
กับสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิต
(2 ชั่วโมง) 5. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต
5.1 แสงสว่าง
5.2 อุณหภูมิ
5.3 น้า
5.4 ออกซิเจน
5.5 ดินและแร่ธาตุ
แผนที่ 13 การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับ ชั่วโมงที่ 20 การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับ
สภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อม
(1 ชั่วโมง) 6. การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 32

หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ หมายเหตุ


ตอนที่ 2 การดูแลรักษา แผนที่ 14 ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น ชั่วโมงที่ 21 ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
ทรัพยากรธรรมชาติ (1 ชั่วโมง) 1. ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
ในท้องถิ่น 1.1 ทรัพยากรป่าไม้
(5 แผน) 1.2 ทรัพยากรสัตว์ป่า
1.3 ทรัพยากรน้า
1.4 ทรัพยากรอากาศ
แผนที่ 15 ประชากรมนุษย์กับ ชั่วโมงที่ 22 ประชากรมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติ 2. ประชากรมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติ
(1 ชั่วโมง)
แผนที่ 16 มลพิษทางน้า ชั่วโมงที่ 23 มลพิษทางน้า
(1 ชั่วโมง) 2.1 มลพิษทางน้า
แผนที่ 17 มลพิษทางอากาศ ชั่วโมงที่ 24 มลพิษทางอากาศ
(1 ชั่วโมง) 2.2 มลพิษทางอากาศ
แผนที่ 18 มลพิษจากขยะมูลฝอย ชั่วโมงที่ 25 มลพิษจากขยะมูลฝอย
(1 ชั่วโมง) 2.3 มลพิษจากขยะมูลฝอย
3. แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 33

หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ หมายเหตุ


หน่วยที่ 3 แผนที่ 19 สมบัติของของแข็งและของเหลว ชั่วโมงที่ 26–27 สมบัติของของแข็งและของเหลว
สารในชีวิตประจาวัน (2 ชั่วโมง) 1. สมบัติของสาร
ตอนที่ 1 สมบัติของสาร 1.1 สมบัติของของแข็ง
และการจาแนก 1.2 สมบัติของของเหลว
(3 แผน) แผนที่ 20 สมบัติของแก๊ส ชั่วโมงที่ 28 สมบัติของแก๊ส
(1 ชั่วโมง) 1.3 สมบัติของแก๊ส
แผนที่ 21 การจาแนกประเภทของสาร ชั่วโมงที่ 29 การจาแนกประเภทของสาร
(1 ชั่วโมง) 2. การจาแนกประเภทของสาร
ตอนที่ 2 การแยกสาร แผนที่ 22 การแยกสารโดยการร่อน การกรอง ชั่วโมงที่ 30–31 การแยกสารโดยการร่อน การกรอง
(3 แผน) (2 ชั่วโมง) 1. การร่อน
2. การกรอง
แผนที่ 23 การแยกสารโดยการกลั่น ชั่วโมงที่ 32–33 การแยกสารโดยการกลั่น การตกตะกอน
การตกตะกอน การระเหยแห้ง การระเหยแห้ง
(2 ชั่วโมง) 3. การกลั่น
4. การตกตะกอน
5. การระเหยแห้ง
แผนที่ 24 การแยกสารโดยการตกผลึก ชั่วโมงที่ 34–35 การแยกสารโดยการตกผลึก การระเหิด
การระเหิด การสกัดสาร การสกัดสาร
(2 ชั่วโมง) 6. การตกผลึก
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 34

หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ หมายเหตุ


7. การระเหิด
8. การสกัดสาร
ตอนที่ 3 สารที่ใช้ใน แผนที่ 25 สารในชีวิตประจาวัน ชั่วโมงที่ 36–37 สารในชีวิตประจาวัน
ชีวิตประจาวัน (2 ชั่วโมง) 1. การจาแนกประเภทของสาร
(1 แผน) 1.1 สารปรุงแต่งอาหาร
1.2 สารทาความสะอาด
1.3 สารกาจัดแมลง
ตอนที่ 4 เมื่อสารเกิดการ แผนที่ 26 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและ ชั่วโมงที่ 38–39 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมี
เปลี่ยนแปลง ทางเคมีของสาร ของสาร
(2 แผน) (2 ชั่วโมง) 1. การเปลี่ยนแปลงของสาร
1.1 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
1.2 การเปลี่ยนแปลงทางเคมี
แผนที่ 27 การเปลี่ยนแปลงของสารที่มีผลต่อ ชั่วโมงที่ 40 การเปลี่ยนแปลงของสารที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและ
สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อม
(1 ชั่วโมง) 2. การเปลี่ยนแปลงของสารที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและ
สิ่งแวดล้อม
ทดสอบกลางปี ชั่วโมงที่ 41 ทดสอบกลางปี ปรับเปลี่ยนชั่วโมง
(1 ชั่วโมง) ทดสอบตามความ
เหมาะสม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 35

หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ หมายเหตุ


หน่วยที่ 4 แผนที่ 28 วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย ชั่วโมงที่ 42–43 วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย
ไฟฟ้า (2 ชั่วโมง) 1. วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย
ตอนที่ 1 วงจรไฟฟ้า แผนที่ 29 การต่อหลอดไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า ชั่วโมงที่ 44–45 การต่อหลอดไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า
(4 แผน) (2 ชั่วโมง) 1.1 การต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม
1.2 การต่อวงจรไฟฟ้าแบบขนาน
แผนที่ 30 การต่อเซลล์ไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า ชั่วโมงที่ 46–47 การต่อเซลล์ไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า
(2 ชั่วโมง) 1.1 การต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม
1.2 การต่อวงจรไฟฟ้าแบบขนาน
แผนที่ 31 วงจรไฟฟ้าในบ้าน ชั่วโมงที่ 48–49 วงจรไฟฟ้าในบ้าน
(2 ชั่วโมง) 2. วงจรไฟฟ้าในบ้าน
2.1 การวัดไฟฟ้า
ตอนที่ 2 ตัวนาไฟฟ้าและ แผนที่ 32 ตัวนาไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า ชั่วโมงที่ 50–51 ตัวนาไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า
ฉนวนไฟฟ้า (2 ชั่วโมง) 1. ตัวนาไฟฟ้า
(1 แผน) 2. ฉนวนไฟฟ้า
ตอนที่ 3 แม่เหล็กไฟฟ้า แผนที่ 33 แม่เหล็กไฟฟ้า ชั่วโมงที่ 52–53 แม่เหล็กไฟฟ้า
และการใช้แม่เหล็กไฟฟ้า (2 ชั่วโมง) 1. แม่เหล็กไฟฟ้า
(2 แผน) แผนที่ 34 การใช้แม่เหล็กไฟฟ้า ชั่วโมงที่ 54–55 การใช้แม่เหล็กไฟฟ้า
(2 ชั่วโมง) 2. การใช้แม่เหล็กไฟฟ้า
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 36

หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ หมายเหตุ


หน่วยที่ 5 แผนที่ 35 ความหมายและประเภทของหิน ชั่วโมงที่ 56–57 ความหมายและประเภทของหิน
หินบนผิวโลกและ (2 ชั่วโมง) 1. ประเภทของหิน
ภายในโลก 1.1 หินอัคนี
ตอนที่ 1 หิน 1.2 หินตะกอน
(3 แผน) 1.3 หินแปร
แผนที่ 36 ประโยชน์ของหิน ชั่วโมงที่ 58–59 ประโยชน์ของหิน
(2 ชั่วโมง) 2. ประโยชน์ของหิน
2.1 หินอัคนี
2.2 หินตะกอน
2.3 หินแปร
แผนที่ 37 แหล่งหินชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทย ชั่วโมงที่ 60–61 แหล่งหินชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทย
(2 ชั่วโมง) – แหล่งหินชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทย
ตอนที่ 2 กระบวนการ แผนที่ 38 การผุพังอยู่กับที่ ชั่วโมงที่ 62–63 การผุพังอยู่กับที่
เปลี่ยนแปลงของ (2 ชั่วโมง) 1. การผุพังอยู่กับที่
เปลือกโลก 1.1 การผุพังทางกายภาพ
(5 แผน) 1.2 การผุพังทางเคมี
แผนที่ 39 การกร่อน ชั่วโมงที่ 64–65 การกร่อน
(2 ชั่วโมง) 2. การกร่อน
2.1 การกร่อนทางกายภาพ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 37

หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ หมายเหตุ


2.2 การกร่อนทางเคมี
3. ผลที่เกิดจากการผุพังอยู่กับที่และการกร่อน
แผนที่ 40 แผ่นดินไหว ชั่วโมงที่ 66–67 แผ่นดินไหว
(2 ชั่วโมง) 4. แผ่นดินไหว
4.1 การป้องกันตนเองขณะเกิดแผ่นดินไหว
แผนที่ 41 ภูเขาไฟปะทุ ชั่วโมงที่ 68–69 ภูเขาไฟปะทุ
(2 ชั่วโมง) 5. ภูเขาไฟ
5.1 ประเภทของภูเขาไฟ
แผนที่ 42 สึนามิ ชั่วโมงที่ 70 สึนามิ
(1 ชั่วโมง) 6. สึนามิ
6.1 การป้องกันภัยจากสึนามิ
หน่วยที่ 6 แผนที่ 43 ข้างขึ้น–ข้างแรม ชั่วโมงที่ 71–72 ข้างขึ้น–ข้างแรม
ปรากฏการณ์โลกและ (2 ชั่วโมง) 1. ข้างขึ้น–ข้างแรม
เทคโนโลยีอวกาศ 1.1 เวลาขึ้น–เวลาตกของดวงจันทร์
ตอนที่ 1 ปรากฏการณ์ แผนที่ 44 ฤดูกาล ชั่วโมงที่ 73–74 ฤดูกาล
บนท้องฟ้า (2 ชั่วโมง) 2. ฤดูกาล
(3 แผน) แผนที่ 45 จันทรุปราคาและสุรยิ ุปราคา ชั่วโมงที่ 75–76 จันทรุปราคาและสุริยุปราคา
(2 ชั่วโมง) 3. จันทรุปราคา
4. สุริยุปราคา
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 38

หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ หมายเหตุ


4.1 พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
ตอนที่ 2 เทคโนโลยีอวกาศ แผนที่ 46 การเดินทางไปอวกาศ ชั่วโมงที่ 77–78 การเดินทางไปอวกาศ
(2 แผน) (2 ชั่วโมง) 1. การเดินทางไปอวกาศ
1.1 จรวด
1.2 ดาวเทียม
1.3 ยานอวกาศ
1.4 ยานขนส่งอวกาศหรือกระสวยอวกาศ
1.5 สถานีอวกาศ
แผนที่ 47 ประโยชน์ของการสารวจอวกาศ ชั่วโมงที่ 79 ประโยชน์ของการสารวจอวกาศ
(1 ชั่วโมง) 2. ประโยชน์ของการสารวจอวกาศ
2.1 ดาวเทียมสื่อสาร
2.2 ดาวเทียมสารวจทรัพยากรธรรมชาติ
2.3 ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา
ทดสอบปลายปี ชั่วโมงที่ 80 ทดสอบปลายปี ปรับเปลี่ยนชั่วโมง
(1 ชั่วโมง) ทดสอบตามความ
เหมาะสม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 39

ตอนที่ 2
แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 40

แผนการจัดการเรียนรู้ปฐมนิเทศ

แผนการจัดการเรียนรู้ปฐมนิเทศ เวลา 1 ชั่วโมง


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

1. สาระสาคัญ
การปฐมนิเทศเป็นการสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างครูกับนักเรียน เป็นการตกลงกันใน
เบื้องต้นก่อนที่จะเริ่มการเรียนการสอน ครูได้รู้จักนักเรียนดียิ่งขึ้น รับทราบความต้องการ ความรู้สึก
และเจตคติต่อวิชาที่เรียน ในขณะเดียวกันนักเรียนได้ทราบความต้องการของครู แนวทางในการจัดการ
เรียนการสอน และการวัดและประเมินผล สิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวจะนาไปสู่การเรียนการสอนที่มี
ประสิทธิภาพ ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม ช่วยให้นักเรียนคลายความวิตก
กังวล สามารถเรียนได้อย่างมีความสุข อันจะส่งผลให้นักเรียนประสบความสาเร็จบรรลุตามเป้าหมายที่
ได้กาหนดไว้

2. ตัวชี้วัดชั้นปี

3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. มีความรู้ความเข้าใจแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ และการวัดและ
ประเมินผลวิชาวิทยาศาสตร์ (K)
2. ชี้แจงเจตคติที่มีต่อวิทยาศาสตร์ได้ (A)
3. สื่อสารและนาความรู้ความเข้าใจเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)

4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
และจิตวิทยาศาสตร์ (A)
ซักถามความรู้เรื่อง แนวทางการ 1. ประเมินเจตคติทาง –
จัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เจตคติ วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล
ต่อวิชาวิทยาศาสตร์ และการวัด 2. ประเมินเจตคติต่อ
และประเมินผลวิชาวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 41

5. สาระการเรียนรู้
การปฐมนิเทศ
– แนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
– เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์
– การวัดและประเมินผลวิชาวิทยาศาสตร์

6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย แสดงความคิดเห็นและสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการจัดการ
เรียนรู้วิทยาศาสตร์ เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ และการวัดและ
ประเมินผลวิชาวิทยาศาสตร์

7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 1
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูแนะนาตนเองแล้วให้นักเรียนในห้องเรียนแนะนาตนเองทุกคน
2) ครูอาจให้นักเรียนแนะนาทีละกลุ่มตัวอักษร หรือตามลาดับหมายเลขประจาตัว หรือตามแถว
ที่นั่ง ตามความเหมาะสม
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1) ครูอธิบายข้อตกลงในการเรียนรายวิชาพื้นฐาน รวมถึงคาอธิบายรายวิชาพื้นฐาน โครงสร้าง
รายวิชาพื้นฐาน และเนื้อหาที่ต้องเรียนรู้ในรายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ว่ามี
อะไรบ้าง
2) ครูถามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ของนักวิทยาศาสตร์ว่า สิ่งประดิษฐ์ที่
นักเรียนใช้อยู่ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง แล้วให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันว่า สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้
อย่างไร
3) ให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันว่า การเรียนด้วยวิธีการ ให้นักเรียนค้นคว้าด้วยตนเอง จากการ
ทดลองและปฏิบัติจริงเหมือนนักวิทยาศาสตร์ นักเรียนคิดว่ามีประโยชน์หรือไม่
4) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามปัญหาเพื่อทาความเข้าใจร่วมกัน
5) ครูแนะนาวิธีการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ว่านักเรียนมีวิธีการเรียนรู้หลายแบบ เช่น
– ลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่บ้านและที่โรงเรียน
– ค้นข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ
– อภิปรายกลุ่มย่อย
– แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 42

6) ครูถามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ว่า การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้
ประสบความสาเร็จต้องมีลักษณะนิสัยอย่างไร
7) ครูให้นักเรียนร่วมกันตอบคาถามและแสดงความคิดเห็น (แนวคำตอบ 1. ช่ำงสังเกต เพรำะกำร
สังเกตทำให้ค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งนำไปสู่กำรค้นพบควำมรู้ใหม่ 2. อยำกรู้อยำกเห็น เพรำะกำรเป็นคน
อยำกรู้อยำกเห็น ช่ำงคิดช่ำงสงสัย มักคิดตั้งคำถำมเพื่อค้นหำคำตอบ ลักษณะนิสัยแบบนี้นำไปสู่กำร
ค้นพบควำมรู้ใหม่เสมอ 3) มีเหตุผล เพรำะควำมรู้ทำงวิทยำศำสตร์ต้องอธิบำยด้วยเหตุและผล เมื่อได้
ควำมรู้ใหม่ต้องอธิบำยได้ว่ำผลที่ได้เกิดจำกสำเหตุใด เมื่อทรำบสำเหตุแล้วก็อธิบำยได้ว่ำผลเป็นอย่ำงไร
โดยเชื่อในหลักฐำนที่สนับสนุน 4) มีควำมคิดริเริ่มสร้ำงสรรค์ เพรำะผู้ที่มีควำมคิดริเริ่มสร้ำงสรรค์เป็น
ผู้ที่อยำกคิดอยำกทำในสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ ซึ่งนำไปสู่กำรค้นพบควำมรู้ใหม่ได้ 5) มีควำมพยำยำมและ
อดทน เพรำะผลของคำตอบไม่ใช่ได้มำโดยกำรค้นคว้ำและทดลองเพียงครั้งเดียว แต่ต้องใช้ควำมพยำยำม
และควำมอดทนในกำรผ่ำนอุปสรรคต่ำง ๆ เพื่อให้ได้คำตอบ)
8) ครูแนะนาวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งมีอัตราส่วนคะแนน ดังนี้
(1) การวัดและประเมินผลด้านความรู้ (K) 60 คะแนน
สอบกลางปี (ตามกาหนดการของโรงเรียน) 30 คะแนน
สอบปลายปี (ตามกาหนดการของโรงเรียน) 30 คะแนน
(2) การวัดและประเมินผลด้านทักษะ/กระบวนการ (P) 30 คะแนน
– การประเมินการสังเกต
– การประเมินการสารวจ
– การประเมินการทดลอง
– การประเมินการสืบค้นข้อมูล
– การประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์
– การประเมินแฟ้มสะสมผลงาน
– การประเมินด้านทักษะ/กระบวนการ
– การประเมินด้านสมรรถนะสาคัญของนักเรียน
(3) การวัดและประเมินผลด้านคุณธรรม จริยธรรม
และจิตวิทยาศาสตร์ (A) 10 คะแนน
– การประเมินด้านเจตคติทางวิทยาศาสตร์ 10 คะแนน
คะแนนรวม 100 คะแนน

ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เจตคติ
ต่อวิชาวิทยาศาสตร์ และการวัดและประเมินผลวิชาวิทยาศาสตร์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 43

3) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปราย


ร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนฝึกเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้และรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายร่วมกับผู้อื่น

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
2. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
3. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์
วัฒนาพานิช จากัด
4. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้ ……….…….……………………………..…………….…
แนวทางการพัฒนา ………………………………..…………….……………..……………
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้ …………………………………………….……….…
แนวทางแก้ไข ……………………………………………………………….……………
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน ………………………………………………….…………..…
เหตุผล ………………………………………………….………………….………...……
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ ………………………….……..………..……...………

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 44

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่างกายของเรา เวลา 12 ชั่วโมง

ผังมโนทัศน์เป้าหมายการจัดการเรียนรู้และขอบข่ายภาระงาน

ความรู้
1. อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ทักษะ/กระบวนการ
2. ระบบหายใจ 1. การสังเกต
3. ระบบย่อยอาหาร 2. การสารวจ
4. ระบบหมุนเวียนเลือด 3. การสืบค้นข้อมูล
5. ระบบขับถ่าย 4. การนาความรู้ไปใช้ใน
6. การเจริญเติบโตและพัฒนาการ ชีวิตประจาวัน
7. สารอาหารในอาหารหลัก
8. พลังงานจากสารอาหาร

ร่างกายของเรา

ภาระงาน/ชิ้นงาน คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. รายงานการศึกษาลักษณะและการทางานของ 1. ใฝ่เรียนรู้
อวัยวะภายในร่างกายที่นักเรียนสนใจ 2. มุ่งมั่นในการทางาน
2. สังเกตลักษณะของอวัยวะในระบบหายใจขณะ 3. มีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์
หายใจเข้า–ออก 4. มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์
3. สังเกตอัตราการเต้นของหัวใจขณะทากิจกรรม 5. เห็นคุณค่าของการนาความรู้
ต่าง ๆ โดยการจับชีพจร ไปใช้ประโยชน์ใน
4. สังเกตสิ่งที่อยู่ในลมหายใจซึ่งเป็นของเสีย ชีวิตประจาวัน
ที่ร่างกายกาจัดออกทางปอด
5. สังเกตการเจริญเติบโตของตนเองและ
เปรียบเทียบกับการเจริญเติบโตของเพื่อน
6. รายงานการศึกษาชนิดของสารอาหารที่ได้จากการ
รับประทานอาหารในแต่ละวัน และเปรียบเทียบ
สารอาหารที่ตนเองได้รับกับเพื่อน
7. สังเกตและคานวณพลังงานที่ได้รับจากการ
รับประทานอาหารจานเดียว
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 45

ผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design


หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่างกายของเรา
ขั้นที่ 1 ผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
ตัวชี้วัดชั้นปี
1. อธิบายการเจริญเติบโตของมนุษย์จากวัยแรกเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่ (ว 1.1 ป. 6/1)
2. อธิบายการทางานที่สัมพันธ์กันของระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ และระบบหมุนเวียนเลือด
ของมนุษย์ (ว 1.1 ป. 6/2)
3. วิเคราะห์สารอาหารและอภิปรายความจาเป็นที่ร่างกายต้องได้รับสารอาหารในสัดส่วนที่
เหมาะสมกับเพศและวัย (ว 1.1 ป. 6/3)
ความเข้าใจที่คงทนของนักเรียน คาถามสาคัญที่ทาให้เกิดความเข้าใจที่คงทน
นักเรียนจะเข้าใจว่า...
1. ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆ 1. ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยอวัยวะใดบ้าง
ที่ทางานร่วมกันอย่างเป็นระบบ และมีการทางานร่วมกันในลักษณะใด
2. การเจริญเติบโตของร่างกายจากวัยเด็กสู่ 2. การเจริญเติบโตและพัฒนาการของคนในแต่ละ
วัยผู้ใหญ่ ขนาดของร่างกายและพัฒนาการ ช่วงวัยมีลักษณะใด
จะเปลี่ยนแปลงไปซึ่งมีความแตกต่างกัน 3. สารอาหารที่จาเป็นต่อการเจริญเติบโตของ
ในแต่ละช่วงวัย มนุษย์มีอะไรบ้าง และเราจะเลือกกินอาหาร
3. มนุษย์ต้องกินอาหารเพื่อการดารงชีวิต อาหาร อย่างไรให้เหมาะสมต่อความต้องการของ
ประกอบด้วย สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อ ร่างกาย
ร่างกาย เราจึงควรเลือกกินอาหารให้ถูกหลัก
โภชนาการ และเหมาะสมกับเพศและวัย
ความรู้ของนักเรียนที่นาไปสู่ความเข้าใจที่คงทน ทักษะ/ความสามารถของนักเรียนที่จะนาไปสู่
นักเรียนจะรู้ว่า... ความเข้าใจที่คงทน นักเรียนจะสามารถ...
1. คาสาคัญ ได้แก่ ถุงลม หน่วยไต กรวยไต 1. อธิบายลักษณะและหน้าที่ของอวัยวะภายใน
เซลล์อสุจิ เซลล์ไข่ อาหารหลัก 5 หมู่ พลังงาน ร่างกาย
สารอาหาร กิโลแคลอรี โภชนบัญญัติ 2. อธิบายการทางานที่สัมพันธ์กันของอวัยวะใน
2. ร่างกายของเราประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆ ระบบหายใจ
ที่ทางานอย่างเป็นระบบ ได้แก่ ระบบหายใจ ซึ่ง 3. สังเกตอัตราการเต้นของหัวใจและอธิบายปัจจัย
ประกอบด้วย จมูก ปอด ถุงลม กะบังลม และ ที่มีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ
กระดูกซี่โครง ระบบย่อยอาหาร ประกอบด้วย 4. สังเกตและอธิบายวิธีการขับถ่ายของเสียออกจาก
ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ตับ ตับอ่อน ร่างกายทางปอด
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 46

ลาไส้เล็ก และลาไส้ใหญ่ ระบบหมุนเวียนเลือด 5. สังเกตและเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของ


ประกอบด้วย หัวใจและหลอดเลือด และระบบ ตนเองกับเพื่อน
ขับถ่าย ซึ่งจะกาจัดของเสียออกทางไต ลาไส้ใหญ่ 6. สารวจประเภทของสารอาหารที่ได้รับจาก
ผิวหนัง และปอด อาหารในแต่ละวัน
3. สารอาหารที่เป็นองค์ประกอบของอาหาร ได้แก่ 7. ฝึกจัดรายการอาหารที่เหมาะสมกับเพศและวัย
โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ซึ่งเป็นสารอาหาร
ที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย และสารอาหารประเภท
เกลือแร่ และวิตามินที่ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย
การเลือกกินอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ
เหมาะสมกับเพศและวัย จะทาให้เรามีสุขภาพ
ร่างกายที่ดีและแข็งแรง
ขั้นที่ 2 ภาระงานและการประเมินผลการเรียนรู้ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีผลการเรียนรู้
ตามที่กาหนดไว้อย่างแท้จริง
1. ภาระงานที่นักเรียนต้องปฏิบัติ
– รายงานการศึกษาลักษณะและการทางานของอวัยวะภายในร่างกายที่นักเรียนสนใจ
– สังเกตลักษณะของอวัยวะในระบบหายใจขณะหายใจเข้า–ออก
– สังเกตอัตราการเต้นของหัวใจขณะทากิจกรรมต่าง ๆ โดยการจับชีพจร
– สังเกตสิ่งที่อยู่ในลมหายใจซึ่งเป็นของเสียที่ร่างกายกาจัดออกทางปอด
– สังเกตการเจริญเติบโตของตนเองและเปรียบเทียบกับการเจริญเติบโตของเพื่อน
– รายงานการศึกษาชนิดของสารอาหารที่ได้จากการรับประทานอาหารในแต่ละวัน และเปรียบเทียบ
สารอาหารที่ตนเองได้รับกับเพื่อน
– สังเกตและคานวณพลังงานที่ได้รับจากการรับประทานอาหารจานเดียว
2. วิธีการและเครือ่ งมือประเมินผลการเรียนรู้
วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ เครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
– การทดสอบ – แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
– การสนทนาซักถาม – แบบบันทึกการสนทนา
– การวัดเจตคติ – แบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์และเจตคติ
ต่อวิทยาศาสตร์
– การวัดทักษะ – แบบวัดทักษะ/กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
– การประเมินตนเอง – แบบประเมินตนเองของนักเรียน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 47

3. สิ่งที่มุ่งประเมิน
– ความสามารถในการอธิบาย ชี้แจง การแปลความและตีความ การประยุกต์ ดัดแปลง และ
นาไปใช้ การมีมุมมองที่หลากหลาย การให้ความสาคัญใส่ในใจความรู้สึกของผู้อื่น และการรู้จักตนเอง
– เจตคติทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล
– ทักษะ/กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
– ทักษะการคิด
– ทักษะการแก้ปัญหา
– พฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
ขั้นที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย 1 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 การทางานของระบบหายใจ 1 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 การทางานของระบบย่อยอาหาร 1 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 การทางานของระบบหมุนเวียนเลือด 2 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 การทางานของระบบขับถ่าย 1 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 การเจริญเติบโตและพัฒนาการ 2 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 อาหารหลัก 5 หมู่ และสารอาหารในอาหารหลัก 5 หมู่ 2 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 พลังงานจากสารอาหาร 2 ชั่วโมง
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 48

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย

สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดารงชีวิต เวลา 1 ชั่วโมง


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่างกายของเรา

1. สาระสาคัญ
ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆ เช่น ปอด หัวใจ กระเพาะอาหาร ลาไส้ และไต
ซึ่งทาหน้าที่แตกต่างกันไป
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
อธิบายการทางานที่สัมพันธ์กันของระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ และระบบหมุนเวียนเลือด
ของมนุษย์ (ว 1.1 ป. 6/2)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายลักษณะและหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายมนุษย์ได้ (K)
2. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
3. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
4. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สื่อสารและนาความรู้เรื่องอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
อวัยวะต่าง ๆ วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
ในร่างกาย 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
2. ประเมินกิจกรรม วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
ฝึกทักษะระหว่างเรียน 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
3. ทดสอบก่อนเรียน กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม

5. สาระการเรียนรู้
อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 49

6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับอวัยวะ
ต่าง ๆ ในร่างกาย
คณิตศาสตร์ จาแนก จัดประเภทหน้าที่กับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายที่
สัมพันธ์กัน
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายที่เรียนรู้หรือที่นักเรียนสนใจ

7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 2
ครูดาเนินการทดสอบก่อนเรียน โดยให้นักเรียนทาแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อตรวจสอบความ
พร้อมและพื้นฐานของนักเรียน
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูถามคาถามนักเรียนเพื่อกระตุ้นความสนใจ เช่น
– อวัยวะภายนอกของเรามีอะไรบ้าง
– อวัยวะภายในของเรามีอะไรบ้าง
– หัวใจของเราอยู่ที่บริเวณใด มองเห็นได้หรือไม่
2) นักเรียนร่วมกันตอบคาถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน แล้วครูและนักเรียนร่วมกัน
อภิปรายคาตอบ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่อง อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่ง
มีขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนแล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มนาเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ อวัยวะ
ต่าง ๆ ในร่างกาย ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้ าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง จากนั้นให้แต่ละกลุ่มส่ง
ตัวแทนมานาเสนอข้อมูลหน้าห้องเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทาภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้
– อวัยวะภายในร่างกายมีอะไรบ้าง (แนวคาตอบ ปอด หัวใจ กระเพาะอาหาร ลาไส้ และ
ไต)
– อวัยวะใดของร่างกายที่ทางานสัมพันธ์กันบ้าง (แนวคาตอบ หัวใจและปอด กระเพาะ
อาหารและลาไส้)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 50

(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทาภาระงานอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า
ร่างกายประกอบด้วยอวัยวะภายในต่าง ๆ ที่ทาหน้าที่แตกต่างกัน
2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครูตั้ง
คาถามกระตุ้นให้นักเรียนตอบดังนี้
– หัวใจทาหน้าที่อะไร
– กระเพาะอาหารทางานสัมพันธ์กับลาไส้หรือไม่ ลักษณะใด
(2) นักเรียนร่วมกันตอบคาถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน
(3) นักเรียนแบ่งกลุ่มและปฏิบัติกิจกรรม สืบค้นข้อมูลอวัยวะที่นักเรียนสนใจ ตามขั้นตอน
ทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกตดังนี้
– นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกสืบค้นข้อมูลอวัยวะภายในร่างกาย 1 อวัยวะ
– ช่วยกันหาข้อมูลอวัยวะที่เลือกจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ให้มากที่สุด
(4) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากใบงาน
(5) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คาถามต่อไปนี้
– กลุ่มของนักเรียนเลือกศึกษาอวัยวะใดในร่างกาย เพราะเหตุใดจึงเลือกศึกษาอวัยวะนี้ (แนว
คำตอบ ปอด เพรำะเป็นอวัยวะสำคัญในระบบหำยใจ)
– อวัยวะที่นักเรียนเลือกศึกษามีความสัมพันธ์กับอวัยวะอื่นในร่างกายหรือไม่ ลักษณะใด
(แนวคำตอบ มีควำมสัมพันธ์กัน เพรำะปอดเป็นอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบหำยใจ ช่วยแลกเปลี่ยนแก๊ส
ให้กับอวัยวะต่ำง ๆ ในร่ำงกำย)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า ภายใน
ร่างกายของเราประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆ ที่ทาหน้าที่เฉพาะอย่างและทางานร่วมกันอย่างเป็นระบบ
4) ขั้นขยายความรู้
(1) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายจากแหล่งความรู้
ต่าง ๆ เช่น หนังสือ วารสารวิทยาศาสตร์ และอินเทอร์เน็ต แล้วสรุปเป็นรายงานส่งครู
(2) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับอวัยวะต่าง ๆ ใน
ร่างกายจากหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 51

5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหารมีอะไรบ้าง
– อวัยวะที่ขับของเสียออกนอกร่างกายคืออะไร
ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่
ความคิดหรือผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อระบบหายใจ
3) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปราย
ร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
ให้นักเรียนทบทวนเกี่ยวกับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย โดยให้นักเรียนจับส่วนหนึ่งส่วนใดของ
ร่างกายแล้วลองคาดคะเนว่ามือของนักเรียนน่าจะอยู่ตรงกับอวัยวะใดของร่างกาย อวัยวะนั้นมีชื่อ
ภาษาต่างประเทศว่าอะไร มีรูปร่างลักษณะแบบใด และมีหน้าที่อะไร

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. แบบทดสอบก่อนเรียน
2. ใบกิจกรรมที่ 1 สืบค้นข้อมูลอวัยวะที่นักเรียนสนใจ
3. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
4. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
5. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
6. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 52

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 53

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
การทางานของระบบหายใจ

สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดารงชีวิต เวลา 1 ชั่วโมง


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่างกายของเรา

1. สาระสาคัญ
ระบบหายใจประกอบด้วยอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ ได้แก่ จมูก ปอด ถุงลม กะบังลม
และกระดูกซี่โครง การหายใจเข้า–ออกแต่ละครั้งเป็นกระบวนการที่ประกอบด้วยการสูดอากาศเข้าปอด
การแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างปอดกับเลือด และการสลายอนุภาคของอาหารเป็นพลังงาน
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
อธิบายการทางานที่สัมพันธ์กันของระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ และระบบหมุนเวียนเลือด
ของมนุษย์ (ว 1.1 ป. 6/2)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายการทางานที่สัมพันธ์กันของระบบหายใจได้ (K)
2. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
3. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
4. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สื่อสารและนาความรู้เรื่องการทางานของระบบหายใจไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
การทางานของระบบ วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
หายใจ 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
2. ประเมินกิจกรรม วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
ฝึกทักษะระหว่างเรียน 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือ
รายกลุ่ม

5. สาระการเรียนรู้
ระบบหายใจ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 54

6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการทางาน
ของระบบหายใจ
สังคมศึกษา ศาสนา สนทนา พูดคุยเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ของประชากรแต่ละ
และวัฒนธรรม ประเทศใดในกลุม่ สมาชิกอาเซียน
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และ เขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
การทางานของระบบหายใจที่เรียนรู้หรือที่นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 3
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูถามคาถามนักเรียนเพื่อกระตุ้นความสนใจ เช่น
– หลังวิ่งแข่ง นักเรียนหายใจถี่กว่าเดิมหรือไม่
– การหายใจของมนุษย์จะเกี่ยวข้องกับอวัยวะใดบ้าง
2) นักเรียนช่วยกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็นของคาตอบจากคาถามข้างต้นเพื่อเชื่อมโยง
ไปสู่การเรียนรู้เรื่อง ระบบหายใจ
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่ง
มีขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนแล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มนาเสนอข้อมูลเกี่ยวกับระบบ
หายใจ ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง จากนั้นให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมา
นาเสนอข้อมูลหน้าห้องเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทาภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้
– อวัยวะที่ทางานเกี่ยวกับระบบหายใจมีอะไรบ้าง (แนวคาตอบ จมูก หลอดลม ปอด
และถุงลม)
– ระบบหายใจทาหน้าที่อะไร (แนวคาตอบ กาจัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกนอก
ร่างกายและรับแก๊สออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทาภาระงานอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 55

(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า


ระบบหายใจประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่ทาหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊ส

2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาการทางานของระบบหายใจจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครูตงั้
คาถามกระตุ้นให้นักเรียนตอบดังนี้
– การเคลื่อนไหวของกะบังลมและกระดูกซี่โครงขณะหายใจเข้ากับหายใจออก แตกต่างกัน
หรือไม่ เพราะอะไร
– การแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างปอดกับเลือดเกิดขึ้นได้อย่างไร
(2) นักเรียนร่วมกันตอบคาถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน
(3) นักเรียนแบ่งกลุ่มและปฏิบัติกิจกรรม สังเกตกำรสูดลมหำยใจ ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์
โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกตดังนี้
– นักเรียนใช้มือสัมผัสบริเวณทรวงอกและหน้าท้องของตนเอง
– หายใจเข้าลึก ๆ แล้วกลั้นหายใจไว้อึดใจหนึ่งก่อนที่จะหายใจออก จากนั้นสังเกตการ
เคลื่อนไหวของกระดูกซี่โครงและหน้าท้อง ขณะที่หายใจเข้าและหายใจออก
(4) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากใบกิจกรรม
(5 ) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและเปิด
โอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคาถาม
ต่อไปนี้
– การหายใจเข้า–ออกสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวของกระดูกซี่โครงหรือไม่ ลักษณะใด
(แนวคำตอบ กำรหำยใจเข้ำ–ออกสัมพันธ์กับกำรเคลื่อนไหวของกระดูกซี่โครง โดยเมื่อหำยใจเข้ำ
กระดูกซี่โครงจะยกตัวสูงขึ้น แต่เมื่อหำยใจออกกระดูกซี่โครงจะลดต่ำลง)
– การหายใจเข้า–ออกแต่ละครั้งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของอวัยวะใดบ้าง (แนวคำตอบ
อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับกำรหำยใจ ได้แก่ จมูก โพรงจมูก ท่อลม ปอด หลอดลม ถุงลม กะบังลม และกระดูก
ซี่โครง)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า การหายใจเข้า
และการหายใจออกมีผลต่อการเคลื่อนไหวของกระดูกซี่โครง กะบังลม และหน้าท้อง
(4) ครูทาหน้าที่สรุปความรู้ให้นักเรียนเข้าใจว่า อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ ได้แก่ จมูก
ปอด ถุงลม กะบังลม และกระดูกซี่โครง ซึ่งทาหน้าที่สัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 56

4) ขั้นขยายความรู้
(1) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทางานของระบบหายใจจากแหล่งความรู้
ต่าง ๆ เช่น หนังสือ วารสารวิทยาศาสตร์ และอินเทอร์เน็ต แล้วสรุปเป็นรายงานส่งครู
(2) ครูเชื่อมโยงความรู้สู่อาเซียน โดยครูถามนักเรียนว่า บุหรี่เป็นสารเสพติดที่ทาลายปอด รู้
หรือไม่ว่า ประเทศใดในกลุ่มสมาชิกอาเซียนที่มีสถิตปิ ระชากรอายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไปสูบบุหรี่มากที่สุด จากนั้น
ครูให้ความรู้เกี่ยวกับการสูบบุหรีข่ องประชากรแต่ละประเทศใดในกลุ่มสมาชิกอาเซียนว่า
อันดับที่ 1 คือ ลาว มีจานวนร้อยละ 40 ของประชากรทั้งประเทศ
อันดับที่ 2 คือ อินโดนีเซีย มีจานวนร้อยละ 35 ของประชากรทั้งประเทศ
อันดับที่ 3 คือ ฟิลิปปินส์ มีจานวนร้อยละ 28 ของประชากรทั้งประเทศ
อันดับที่ 4 คือ ไทย มีจานวนร้อยละ 24 ของประชากรทั้งประเทศ
อันดับที่ 5 คือ เวียดนาม มีจานวนร้อยละ 24 ของประชากรทั้งประเทศ
อันดับที่ 6 คือ มาเลเซีย มีจานวนร้อยละ 23 ของประชากรทั้งประเทศ
อันดับที่ 7 คือ เมียนมา มีจานวนร้อยละ 22 ของประชากรทั้งประเทศ
อันดับที่ 8 คือ กัมพูชา มีจานวนร้อยละ 19.5 ของประชากรทั้งประเทศ
อันดับที่ 9 คือ บรูไนดารุสซาลาม มีจานวนร้อยละ 17.5 ของประชากรทั้งประเทศ
อันดับที่ 10 คือ สิงคโปร์ มีจานวนร้อยละ 14 ของประชากรทั้งประเทศ
(3) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับการทางานของระบบ
หายใจจากหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้าง ที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– เมื่อเราสูดอากาศเข้าปอด อวัยวะที่เกี่ยวข้องจะทางานสัมพันธ์กันอย่างไร
– การแลกเปลี่ยนแก๊สเกิดขึ้นที่ส่วนใดของปอด
– ถ้าปอดถูกทาลายจะส่งผลต่อร่างกายลักษณะใด
ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับระบบหายใจ โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิดหรือ
ผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อระบบย่อยอาหาร
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 57

3) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปราย


ร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนฝึกสังเกตลมหายใจของตนเองขณะเดิน วิ่ง นั่ง และนอน พร้อมทั้งจินตนาการว่ามีการ
เคลื่อนไหวของกะบังลมและกระดูกซี่โครงลักษณะใดบ้าง และถ้าอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งของระบบหายใจ
ไม่สามารถทาหน้าที่ได้ตามปกติจะเกิดผลอะไรบ้าง

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ใบกิจกรรมที่ 2 สังเกตการสูดลมหายใจ
2. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
3. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
4. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
5. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 58

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
การทางานของระบบย่อยอาหาร

สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดารงชีวิต เวลา 1 ชั่วโมง


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่างกายของเรา

1. สาระสาคัญ
ระบบย่อยอาหารประกอบด้วยอวัยวะหลายอย่างที่ทาหน้าที่เฉพาะและสัมพันธ์กับอวัยวะอื่น
ได้แก่ ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ตับ ตับอ่อน ลาไส้เล็กและลาไส้ใหญ่ โดยอวัยวะบางอย่างจะ
ไม่มีการย่อยอาหารแต่เป็นส่วนหนึ่งของระบบทางเดินอาหารเท่านั้น
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
อธิบายการทางานที่สัมพันธ์กันของระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ และระบบหมุนเวียนเลือด
ของมนุษย์ (ว 1.1 ป. 6/2)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายการทางานที่สัมพันธ์กันของระบบย่อยอาหารได้ (K)
2. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
3. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
4. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สื่อสารและนาความรู้เรื่องการทางานของระบบย่อยอาหารไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
การทางานของระบบ วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
ย่อยอาหาร 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
2. ประเมินกิจกรรม วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
ฝึกทักษะระหว่างเรียน 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือ
รายกลุ่ม

5. สาระการเรียนรู้
ระบบย่อยอาหาร
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 59

6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการ
ทางานของระบบย่อยอาหาร และเขียนรายงานการศึกษา
ค้นคว้าเกี่ยวกับกระบวนการย่อยอาหาร
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
การทางานของระบบย่อยอาหารที่เรียนรู้หรือที่นักเรียน
สนใจ

7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 4
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับอาหารที่รับประทานเข้าไปในร่างกาย แล้วอวัยวะต่าง ๆ ของ
ร่างกายจะช่วยกันทาให้อาหารมีขนาดเล็กลงจนสามารถนาไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้โดยตั้ง
คาถามดังนี้
– อาหารที่นักเรียนรับประทานเข้าไปในร่างกาย ซึ่งมีทั้งขนาดเล็ก–ใหญ่ไม่เท่ากัน หรือมีความ
แข็ง–อ่อนนุ่มไม่เท่ากัน ร่างกายต้องทาอย่างไรจึงจะนาอาหารต่าง ๆ ไปใช้ได้
– นักเรียนคิดว่าอวัยวะใดบ้างที่ทาให้อาหารที่เรารับประทานมีขนาดเล็กลงจนร่างกายสามารถ
นาไปใช้ได้
– กระบวนการที่อวัยวะต่าง ๆ ช่วยกันทาให้อาหารมีขนาดเล็กลงจนร่างกายสามารถนาไปใช้ได้
เรียกว่าอะไร
2) นักเรียนร่วมกันตอบคาถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน แล้วครูและนักเรียนร่วมกัน
อภิปรายคาตอบ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่อง ระบบย่อยอาหาร
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่ง
มีขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนแล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มนาเสนอข้อมูลเกี่ยวกับระบบย่อย
อาหาร ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง จากนั้นให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมา
นาเสนอข้อมูลหน้าห้องเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทาภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้
– อวัยวะที่ทางานเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารมีอะไรบ้าง (แนวคาตอบ ปาก หลอดอาหาร
กระเพาะอาหาร และลาไส้)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 60

– ระบบย่ อ ยอาหารท าหน้ า ที่ อ ะไร (แนวค าตอบ ย่ อ ยอาหารที่ รั บ ประทานเป็ น


สารอาหารเพื่อให้ร่างกายนาไปใช้สร้างพลังงาน)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทาภาระงานอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า
ระบบย่อยอาหารประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่ทาหน้าที่ย่อยอาหารให้เล็กลงจนเป็นสารอาหาร
2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาการทางานของระบบย่อยอาหารจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน
โดยครูช่วยเชื่อมโยงความรู้ใหม่จากบทเรียนกับความรู้เดิมที่เรียนรู้มาแล้ว ด้วยการใช้คาถามกระตุ้นให้
นักเรียนตอบจากความรู้และประสบการณ์ของนักเรียน
(2) แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการย่อยอาหาร โดยดาเนินการ
ตามขั้นตอนดังนี้
– แต่ละกลุ่มวางแผนการสืบค้นข้อมูลความสัมพันธ์ของอวัยวะกับการย่อยอาหารโดยแบ่ง
หัวข้อย่อยให้เพื่อนสมาชิกช่วยกันสืบค้นตามที่สมาชิกกลุ่มช่วยกันกาหนดหัวข้อย่อย เช่น อวัยวะที่
เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหาร ได้แก่ ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลาไส้เล็ก และลาไส้ใหญ่
– สมาชิกกลุ่มแต่ละคนหรือกลุ่มย่อยช่วยกันสืบค้นข้อมูลตามหัวข้อย่อยที่ตนเองรับผิดชอบ
โดยการสืบค้นจากใบความรู้ที่ครูเตรียมมาให้ หรือหนังสือ วารสารวิทยาศาสตร์ สารานุกรม และ
อินเทอร์เน็ต
– สมาชิกกลุ่มนาข้อมูลที่สืบค้นได้มารายงานให้เพื่อน ๆ สมาชิกในกลุ่มฟัง รวมทั้งร่วมกัน
อภิปรายซักถามจนคาดว่าสมาชิกทุกคนมีความรู้ความเข้าใจตรงกัน
– สมาชิกกลุ่มช่วยกันสรุปความรู้ที่ได้ทั้งหมดเป็นผลงานของกลุ่ม และช่วยกันจัดทารายงาน
การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกระบวนการย่อยอาหาร
(3) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คาถามต่อไปนี้
– กระเพาะอาหารทาหน้าที่อะไร (แนวคำตอบ ย่อยอำหำรประเภทโปรตีน)
– ลาไส้เล็กทางานร่วมกับอวัยวะใด (แนวคำตอบ ตับและตับอ่อน)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า เมื่ออาหาร
เข้าสู่ร่างกาย อาหารจะเคลื่อนที่ไปตามระบบย่อยอาหารโดยเริ่มจากปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร
ลาไส้เล็ก และลาไส้ใหญ่
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 61

4) ขั้นขยายความรู้
(1) นักเรียนฝึกจาแนกประเภทของอาหารที่นักเรียนรับประทาน และคาดคะเนว่าอาหารนั้น ๆ
จะมีการย่อยในอวัยวะใดของระบบย่อยอาหารในร่างกาย
(2) นักเรียนค้นคว้าคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับการทางานของระบบย่อยอาหาร จาก
หนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– การเคี้ยวอาหารให้ละเอียดมีผลดีต่อร่างกายหรือไม่ เพราะอะไร
– ลาไส้เล็กกับลาไส้ใหญ่ทาหน้าที่แตกต่างกันหรือไม่ ลักษณะใด
– ถ้าอาหารไม่ย่อยหรือย่อยยากจะส่งผลกระทบต่อระบบอื่น ๆ ของร่างกายในลักษณะใด
ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิด
หรือผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าระบบหมุนเวียนเลือด
3) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปราย
ร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มช่วยกันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการดูดซึมอาหารที่ได้
จากการย่อยไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และวิธีการขับกากอาหารที่เหลือจากการย่อยออกนอก
ร่างกายจัดทาเป็นรายงานส่งครู

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
2. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 62

3. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา


พานิช จากัด
4. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้…………………………………………………..……….…
แนวทางการพัฒนา…………………………………………………………………..………….
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้………………………………………….………………
แนวทางแก้ไข……………………………………………………………………………………
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน……………………………………………………………..………
เหตุผล……………………………………………………………………………………………
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้……………………………………………………………
(ลงชื่อ)___________________________________ ผูส้ อน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 63

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4
การทางานของระบบหมุนเวียนเลือด

สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดารงชีวิต เวลา 2 ชั่วโมง


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่างกายของเรา

1. สาระสาคัญ
ระบบหมุนเวียนเลือดทาหน้าที่ลาเลียงสารอาหารไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยจะมีอวัยวะที่
เกี่ยวข้อง คือ หัวใจ และเส้นเลือด ซึ่งการหดและขยายตัวของหลอดเลือดตามจังหวะการเต้นของหัวใจ
เรียกว่า ชีพจร
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
อธิบายการทางานที่สัมพันธ์กันของระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ และระบบหมุนเวียนเลือด
ของมนุษย์ (ว 1.1 ป. 6/2)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายการทางานที่สัมพันธ์กันของระบบหมุนเวียนเลือดได้ (K)
2. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
3. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
4. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สื่อสารและนาความรู้เรื่องการทางานของระบบหมุนเวียนเลือดไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
การทางานของระบบ วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
หมุนเวียนเลือด 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
2. ประเมินกิจกรรม วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
ฝึกทักษะระหว่างเรียน 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือ
รายกลุ่ม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 64

5. สาระการเรียนรู้
ระบบหมุนเวียนเลือด

6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการทางาน
ของระบบหมุนเวียนเลือด
คณิตศาสตร์ นับอัตราการเต้นของชีพจรก่อนและหลังการออกกาลังกาย
ศิลปะ ประดิษฐ์แผนภาพวงจรการทางานของระบบหมุนเวียน
เลือดและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
การทางานของระบบหมุนเวียนเลือดที่เรียนรู้หรือที่
นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 5
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูถามคาถามนักเรียน เพื่อทบทวนความรู้เดิมของนักเรียน เช่น
– แก๊สออกซิเจนเดินทางจากปอดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทางใด (แนวคำตอบ หลอด
เลือด)
– สารอาหารเดินทางจากลาไส้เล็กไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทางใด (แนวคำตอบ หลอด
เลือด)
2) นักเรียนช่วยกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็นของคาตอบจากคาถามข้างต้น
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่ง
มีขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนแล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มนาเสนอข้อมูลเกี่ยวกับระบบ
หมุนเวี ยนเลื อด ที่ ครู มอบหมายให้ไปเรียนรู้ ล่ว งหน้าให้ เพื่ อน ๆ ในกลุ่มฟัง จากนั้น ให้ แต่ละกลุ่ มส่ ง
ตัวแทนมานาเสนอข้อมูลหน้าห้องเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทาภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้
– อวัยวะสาคัญของระบบหมุนเวียนเลือดคืออะไร (แนวคาตอบ หัวใจ)
– ระบบหมุนเวียนเลือดทาหน้าที่อะไร (แนวคาตอบ ลาเลียงสารและแก๊สไปยังส่วน
ต่าง ๆ ของร่างกาย)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 65

(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทาภาระงานอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า
ระบบหมุนเวียนเลื อดประกอบด้ว ยส่ว นต่าง ๆ ที่ท าหน้าที่ลาเลียงสารและแก๊สไปยังส่ว นต่าง ๆ ของ
ร่างกาย
2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาการทางานของระบบหมุนเวียนเลือดจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน
โดยครูตั้งคาถามกระตุ้นให้นักเรียนตอบดังนี้
– นักเรียนสามารถรู้อัตราการเต้นของหัวใจได้ด้วยวิธีการใด
– ชีพจรคืออะไร
(2) นักเรียนร่วมกันตอบคาถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน
(3) นักเรียนแบ่งกลุ่มและปฏิบัติกิจกรรม สังเกตอัตรำกำรเต้นของหัวใจ ตามขั้นตอน
ทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกตดังนี้
– แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5 คน ให้นักเรียนในกลุ่มนั่งอยู่กับที่แล้วสังเกตอัตราการเต้นของ
หัวใจ โดยผลัดกันจับชีพจรบริเวณข้อมือ นับจานวนครั้งภายในเวลา 1 นาที บันทึกผลที่สังเกตได้
– ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มวิ่งรอบห้องเรียน 1 รอบ แล้วผลัดกันจับชีพจร นับจานวนครั้งที่
ชีพจรเต้นภายในเวลา 1 นาที บันทึกผลแล้วสรุปผลการสังเกต
(4) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากใบกิจกรรม
(5) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้ องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
ชั่วโมงที่ 6
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คาถามต่อไปนี้
– เพราะเหตุใดจึงวัดอัตราการเต้นของหัวใจได้จากการสัมผัสหลอดเลือดบริเวณข้อมือ (แนว
คำตอบ เพรำะหลอดเลือดจะหดและขยำยตัวตำมจังหวะกำรเต้นของหัวใจ)
– หลังออกกาลังกายเสร็จใหม่ ๆ อัตราการเต้นของชีพจรจะเป็นอย่างไร (แนวคำตอบ อัตรำ
กำรเต้นของชีพจรจะเร็วและแรงขึ้น)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า การออกกาลังกาย
มีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ ทาให้อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้นกว่าปกติ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 66

4) ขั้นขยายความรู้
(1) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทางานของระบบหมุนเวียนเลือดจาก
แหล่งความรู้ต่าง ๆ เช่น หนังสือ วารสารวิทยาศาสตร์ และอินเทอร์เน็ต แล้วสรุปเป็นรายงานส่งครู
(2) แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มจัดทาแผนภาพวงจรการทางานของระบบหมุนเวียน
เลือดและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง แล้วส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอแผนภาพหน้าชั้นเรียนให้เพื่อน ๆ ร่วมกัน
อภิปรายตรวจสอบความถูกต้อง
(3) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับการทางานของระบบ
หมุนเวียนเลือดจากหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศและอินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้
มีการแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– ระบบหมุนเวียนเลือดประกอบด้วยอวัยวะใด
– ระบบหมุนเวียนเลือดเกี่ยวข้องกับระบบหายใจและระบบย่อยอาหารลักษณะใด
ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับระบบหมุนเวียนเลือด โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่
ความคิดหรือผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อระบบขับถ่าย
3) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปราย
ร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
ให้นักเรียนสังเกตอัตราการเต้นของหัวใจในขณะทากิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจาวัน โดย
สังเกตว่ากิจกรรมที่ทาให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นมีอะไรบ้าง นาข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกับ
เพื่อนและอภิปรายร่วมกันถึงสาเหตุที่ทาให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ใบกิจกรรมที่ 3 สังเกตอัตราการเต้นของหัวใจ
2. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 67

3. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท


สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
4. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
5. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 68

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5
การทางานของระบบขับถ่าย

สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดารงชีวิต เวลา 1 ชั่วโมง


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่างกายของเรา

1. สาระสาคัญ
ระบบขับถ่ายประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆ ที่ทาหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกายมนุษย์จะขับถ่าย
ของเสียออกนอกร่างกายได้ 4 ลักษณะคือ กาจัดของเสียทางไต (ปัสสาวะ) กาจัดของเสียทางลาไส้ใหญ่
(อุจจาระ) กาจัดของเสียทางผิวหนัง (เหงื่อ) และกาจัดของเสียทางปอด (ลมหายใจออก)
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
อธิบายการทางานที่สัมพันธ์กันของระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ และระบบหมุนเวียนเลือด
ของมนุษย์ (ว 1.1 ป. 6/2)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายการทางานที่สัมพันธ์กันของระบบขับถ่ายได้ (K)
2. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
3. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
4. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สื่อสารและนาความรู้เรื่องการทางานของระบบขับถ่ายไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)

4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
การทางานของระบบ วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
ขับถ่าย 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
2. ประเมินกิจกรรม วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
ฝึกทักษะระหว่างเรียน 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือ
รายกลุ่ม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 69

5. สาระการเรียนรู้
ระบบขับถ่าย

6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการทางาน
ของระบบขับถ่าย
สุขศึกษาและพลศึกษา พูดคุยถึงการดูแลระบบขับถ่ายให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
สม่าเสมอ
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
การทางานของระบบขับถ่ายที่เรียนรู้หรือที่นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 7
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูถามคาถามนักเรียน เพื่อทบทวนความรู้เดิมของนักเรียน เช่น
– การเผาผลาญอาหารทาให้เกิดของเสียใด (แนวคำตอบ แก๊สคำร์บอนไดออกไซด์)
– ของเสียที่เกิดขึ้นถูกกาจัดออกจากร่างกายทางใด (แนวคำตอบ ปอด)
2) นักเรียนช่วยกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็นของคาตอบจากคาถามข้างต้น
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่ง
มีขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนแล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มนาเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ ระบบ
ขับถ่าย ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง จากนั้นให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมา
นาเสนอข้อมูลหน้าห้องเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทาภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้
– ร่างกายขับของเสียออกทางใดบ้าง (แนวค าตอบ ปั สสาวะ อุ จจาระ เหงื่ อ และลม
หายใจออก)
– ระบบขับถ่ายทาหน้าที่อะไร (แนวคาตอบ กาจัดของเสียออกจากร่างกาย)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทาภาระงานอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 70

(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า


ระบบขับถ่ายทาหน้าที่กาจัดของเสียออกจากร่างกาย

2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาการทางานของระบบขับถ่ายจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครู
ตั้งคาถามกระตุ้นให้นักเรียนตอบดังนี้
– ของเสียที่ถูกกาจัดออกนอกร่างกายทางไตคืออะไร
– ปอดกาจัดแก๊สชนิดใดออกนอกร่างกายพร้อมกับลมหายใจออกของเรา
– แก๊สทีถ่ ูกปอดกาจัดออกนอกร่างกายพร้อมกับลมหายใจออกของเราคืออะไร
– ถ้าระบบขับถ่ายเกิดความผิดปกติจะส่งผลกระทบต่อร่างกายในเรื่องใด
(2) นักเรียนร่วมกันตอบคาถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน
(3) นักเรียนแบ่งกลุ่มและปฏิบัติกิจกรรม สังเกตสิ่งที่อยู่ในลมหำยใจ ตามขั้นตอนทาง
วิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกตดังนี้
– ใส่น้าปูนใสลงในบีกเกอร์ แล้วสังเกตลักษณะของน้าปูนใสที่อยู่ในบีกเกอร์ก่อนเป่าลม
บันทึกสิ่งที่สังเกตได้
– เป่าลมจากปากผ่านหลอดกาแฟลงไปในน้าปูนใส สังเกตลักษณะของน้าปูนใส บันทึกผล
แล้วสรุปผลการสังเกต
(4) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากใบกิจกรรม
(5) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คาถามต่อไปนี้
– เมื่อเป่าลมหายใจลงน้าปูนใสจะเกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะใด เพราะอะไร (แนวคำตอบ
น้ำปูนใสจะขุ่น เพรำะในลมหำยใจออกมีแก๊สคำร์บอนไดออกไซด์)
– นักเรียนคิดว่านอกจากแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แล้วในลมหายใจออกยังมีอะไรอีกบ้าง
(แนวคำตอบ ไอน้ำ)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า เมื่อเป่าลมลง
ในน้าปูนใส น้าปูนใสจะขุ่น แสดงว่าลมหายใจออกของเรามีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ด้วย
4) ขั้นขยายความรู้
(1) ครูชี้แนะและอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า การดื่มน้าในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการ
ของร่างกายและการรับประทานผักผลไม้เป็นประจาเพื่อทาให้ระบบขับถ่ายทางานได้อย่างปกติเป็นเรื่อง
ที่สาคัญ เพราะจะทาให้เราไม่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบขับถ่าย เช่น ท้องผูก หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 71

(2) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทางานของระบบขับถ่ายจากแหล่งความรู้
ต่าง ๆ เช่น หนังสือ วารสารวิทยาศาสตร์ และอินเทอร์เน็ต แล้วสรุปเป็นรายงานส่งครู
(3) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับการทางานของระบบ
ขับถ่ายจากหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศและอินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– ขณะออกกาลังกาย ระบบหายใจ ระบบหมุนเวียนเลือด และระบบขับถ่ายจะทางาน
สัมพันธ์กันหรือไม่ ในลักษณะใด
– อธิบายการกาจัดของเสียออกนอกร่างกายของอวัยวะขับถ่ายแต่ละส่วน ได้แก่ ไต ลาไส้
ใหญ่ ผิวหนัง และปอด

ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับระบบขับถ่าย โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิดหรือ
ผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อกราฟการเจริญเติบโต โดยใช้ใบงาน สังเกต
ก่อนเรียน 1 ที่ครูจัดเตรียมไว้ให้ประกอบการศึกษาค้นคว้า (ในสื่อการเรียนรู้ PowerPoint วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด)
3) ครูอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมและมอบหมายให้นักเรียนไปปฏิบัติกิจกรรมที่บ้าน
พร้อมทั้งให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปรายร่วมกัน
ในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนฝึกสังเกตการกาจัดของเสียออกจากร่างกายของตนเองว่าเป็นปกติหรือไม่ เช่น ใน 1 วัน
นักเรียนปัสสาวะบ่อยหรือไม่ หรือมีอาการท้องผูกหรือไม่ นาข้อมูลที่สังเกตได้มาอภิปรายร่วมกันในชั้น
เรียนเพื่อหาสาเหตุของปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาร่วมกัน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 72

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ใบกิจกรรมที่ 4 สังเกตสิ่งที่อยู่ในลมหายใจ
2. ใบงานสังเกตก่อนเรียน 1
3. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
4. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
5. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
6. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 73

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6
การเจริญเติบโตและพัฒนาการ

สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดารงชีวิต เวลา 2 ชั่วโมง


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่างกายของเรา

1. สาระสาคัญ
การเจริญเติบโตของมนุษย์เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพของร่างกาย การเจริญเติบโตหลังคลอด
จากครรภ์มารดาที่เห็นได้ชัดเจนคือการเพิ่มความสูงและมวลของร่างกาย ซึ่งการเจริญเติบโตของเพศชาย
และเพศหญิงวัยต่าง ๆ จะมีความแตกต่างกัน พัฒนาการของมนุษย์จะเริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิ วัยทารก วัยเด็ก
วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุ การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ออกกาลังกายอยู่เสมอ และ
ไม่เสพสิ่งเสพติดจะทาให้ร่างกายแข็งแรงและเจริญเติบโตได้สัดส่วน มีพัฒนาการที่เหมาะสมกับเพศ
และวัย
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
อธิบายการเจริญเติบโตของมนุษย์จากวัยแรกเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่ (ว 1.1 ป. 6/1)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายการเจริญเติบโตในแต่ละช่วงวัยได้ (K)
2. วัดและนาข้อมูลจากการวัดมาเขียนเป็นกราฟการเจริญเติบโตได้ (K)
3. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
4. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
5. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
6. สื่อสารและนาความรู้เรื่องการเจริญเติบโตและพัฒนาการไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
การเจริญเติบโตและ วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
พัฒนาการ 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
2. ประเมินกิจกรรม วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
ฝึกทักษะระหว่างเรียน 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือ
รายกลุ่ม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 74

5. สาระการเรียนรู้
1. การเจริญเติบโตและพัฒนาการ
2. กราฟการเจริญเติบโต

6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการเจริญเติบโต
และพัฒนาการ
คณิตศาสตร์ วัดส่วนสูงและชั่งน้าหนัก โดยใช้เครื่องมือวัดที่เหมาะสมและ
นาข้อมูลที่ได้มาเขียนกราฟการเจริญเติบโตได้
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับการ
เจริญเติบโตและพัฒนาการที่เรียนรู้หรือที่นักเรียนสนใจ

7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 8
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูนาภาพเด็กวัยแรกเกิด เด็กก่อนวัยเรียน เด็กวัยเรียน วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุมาให้
นักเรียนดู แล้วตั้งคาถามกระตุ้นให้นักเรียนตอบดังนี้
– ถ้านักเรียนนารูปถ่ายสมัยก่อนของนักเรียนมาสังเกตดูจะเห็นการเปลี่ยนแปลงใดบ้าง
– ปัจจัย/เกณฑ์ที่ใช้พิจารณาการเปลี่ยนแปลงสภาพทางร่างกายมีอะไรบ้าง
2) นักเรียนร่วมกันตอบคาถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน แล้วครูและนักเรียนร่วมกัน
อภิปรายคาตอบ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่อง กราฟการเจริญเติบโต
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่ง
มีขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูให้นักเรียนนาใบงาน สังเกตก่อนเรียน 1 ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าที่บ้าน
มาอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทากิจกรรมที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับกิจกรรม ดังนี้
– กราฟการเจริญเติบโตของนักเรียนมีลักษณะใด (แนวคาตอบ ลักษณะคล้ายตัวเอส)
– กราฟแสดงความสูงและน้าหนักของนักเรียนมีลักษณะคล้ายกันหรือไม่ ลักษณะใด
(แนวคาตอบ คล้ายกัน คือ บางช่วงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และบางช่วงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 75

(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทากิจกรรมอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับ กิจกรรม สังเกตก่อนเรียน 1 โดยครูช่วยอธิบายให้
นักเรียนเข้าใจว่า ความสูงและน้าหนักนามาแสดงการเจริญเติบโตของร่างกายได้
2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาเรื่องการเจริญเติบโตและพัฒนาการจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน
โดยครูตั้งคาถามกระตุ้นให้นักเรียนตอบดังนี้
– ข้อมูลที่ใช้เขียนกราฟการเจริญเติบโตมีอะไรบ้าง
– กราฟการเจริญเติบโตแสดงความสัมพันธ์ของสิ่งใด
– การศึกษากราฟการเจริญเติบโตจะทาให้เรารู้เรื่องใด
– การเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์มีลักษณะใด
(2) นักเรียนร่วมกันตอบคาถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน
(3) นักเรียนแบ่งกลุ่มและปฏิบัติกิจกรรม สังเกตกำรเจริญเติบโตของตนเอง ตามขั้นตอน
ทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกตดังนี้
– แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 6 คน ให้เป็นนักเรียนชาย 3 คน นักเรียนหญิง 3 คน
– สังเกตการเจริญเติบโตโดยการวัดความสูง ชั่งมวล และวัดความยาวของช่วงแขนและขา
ของเพื่อนในกลุ่ม
– บันทึกความสูง มวล ความยาวของช่วงแขนและขาของเพื่อนที่สังเกตได้ แล้วสรุปผล
(4) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากใบกิจกรรม
(5) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา

ชั่วโมงที่ 9
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คาถามต่อไปนี้
– ขนาดร่างกายของนักเรียนที่วัดได้มีค่าเท่าใดบ้าง (แนวคำตอบ ควำมสูง 150 เซนติเมตร
น้ำหนัก 40 กิโลกรัม แขนยำว 60 เซนติเมตร และขำยำว 85 เซนติเมตร)
– ขนาดร่างกายของนักเรียนเมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อน ๆ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
(แนวคำตอบ แตกต่ำงกันทั้งควำมสูง มวล และควำมยำวแขนและขำ)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 76

(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรมโดยให้ได้ข้อสรุปว่า การวัดการ


เจริญเติบโตของเพื่อนแต่ละคนสามารถทาได้โดยการนาข้อมูลความสูงหรือน้าหนักในแต่ละปีที่ผ่านมา
เขียนเป็นกราฟ กราฟที่ได้จะเรียกว่า กราฟการเจริญเติบโต
4) ขั้นขยายความรู้
(1) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการจากแหล่ง
ความรู้ต่าง ๆ เช่น หนังสือ วารสารวิทยาศาสตร์ และอินเทอร์เน็ต แล้วสรุปเป็นรายงานส่งครู
(2) นักเรียนนาข้อมูลส่วนสูงและน้าหนักของตนเองขณะปัจจุบันและย้อนหลัง 1–2 ปี
มาเขียนเป็นกราฟการเจริญเติบโตของตนเอง นาเสนอข้อมูลหน้าชั้นเรียน ให้ครูและเพื่อน ๆ ร่วมกัน
อภิปรายและเปรียบเทียบกับกราฟการเจริญเติบโตของเพื่อนร่วมกัน
(3) ครูเชื่อมโยงความรู้สู่อาเซียน โดยครูถามนักเรียนว่า รู้หรือไม่ว่า ในประชาคมอาเซียน
ประเทศใดที่มีสัดส่วนของประชากรในวัยเด็กมากที่สุด และประเทศใดที่มีสัดส่วนของประชากรในวัย
ผู้สูงอายุมากที่สุด (ประเทศที่มีสัดส่วนของประชากรวัยเด็กมากที่สุด คือ ลาว ส่วนประเทศทีม่ ีสัดส่วน
ของประชากรในวัยสูงอายุมากที่สุด คือ ไทย) จากนั้นครูให้ความรู้เพิ่มเติมดังนี้
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทาการเปรียบเทียบจานวนประชากร
ในประชาคมอาเซียนในช่วงปี พ.ศ. 2555 พบว่า ลาว มีสัดส่วนของประชากรในวัยเด็กสูงสุดในอาเซียน
คิดเป็นร้อยละ 38 ของประชากรทั้งหมด ส่วนไทยมีสัดส่วนประชากรวัยสูงอายุมากที่สุดในอาเซียนคิด
เป็นร้อยละ 12 ของประชากรทั้งหมด เนื่องจากประชากรเกิดใหม่ลดลง และกาลังก้าวเข้าสู่การเป็น
ประเทศผู้สูงอายุ
ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพิ่มเติมว่า การที่ประเทศลาวมีประชากรในวัยเด็กมาก และ
การที่ประเทศไทยมีประชากรวัยสูงอายุมากจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไรในอนาคต
(4) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับการเจริญเติบโตและ
พัฒนาการจากหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– การเจริญเติบโตของร่างกายใช้ค่าใดเป็นมาตรฐาน
– วัยใดมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะภายนอกมาก
– กราฟการเจริญเติบโตอธิบายข้อมูลและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงขนาดของร่างกายมนุษย์
ได้หรือไม่ เพราะอะไร
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 77

ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับ กราฟการเจริญเติบโต โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่
ความคิดหรือผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อสารอาหารในอาหารหลัก โดยใช้ใบงาน สารวจ
ก่อนเรียน 2 ที่ครูจัดเตรียมไว้ให้ประกอบการศึกษาค้นคว้า (ในสื่อการเรียนรู้ PowerPoint วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด)
3) ครูอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมและมอบหมายให้นักเรียนไปปฏิบัติกิจกรรมที่บ้าน
พร้อมทั้งให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปรายร่วมกัน
ในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
(1) นักเรียนสืบค้นข้อมูลเรื่องพัฒนาการของมนุษย์ในแต่ละวัยจากหนังสือ วารสารวิทยาศาสตร์
และอินเทอร์เน็ต จัดทาเป็นรายงานส่งครู
(2) นักเรียนฝึกสังเกตการเจริญเติบโตของตนเองและคนในครอบครัวของตนเองว่ามีการ
เจริญเติบโตและพัฒนาการเหมาะสมกับวัยหรือไม่ ถ้ามีการเจริญเติบโตและพัฒนาการไม่เหมาะสมกับวัย
ให้นักเรียนหาสาเหตุของปัญหาดังกล่าว

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ภาพเด็กวัยแรกเกิด เด็กก่อนวัยเรียน เด็กวัยเรียน วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุ
2. ใบงานสังเกตก่อนเรียน 1
3. ใบกิจกรรมที่ 5 สังเกตการเจริญเติบโตของตนเอง
4. ใบงานสารวจก่อนเรียน 2
5. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
6. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
7. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
8. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 78

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 79

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7
อาหารหลัก 5 หมู่ และสารอาหารในอาหารหลัก 5 หมู่

สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดารงชีวิต เวลา 2 ชั่วโมง


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่างกายของเรา

1. สาระสาคัญ
อาหารเป็นปัจจัยสาคัญสาหรับการดารงชีวิตของมนุษย์ อาหารแบ่งเป็น 5 หมู่ ได้แก่ เนื้อสัตว์
แป้ง ผัก ผลไม้ และไขมัน อาหารหลักทั้ง 5 หมู่มีสารอาหารที่เป็นองค์ประกอบของอาหาร ได้แก่ โปรตีน
คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เกลือแร่ และวิตามิน โดยสารอาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน
และโปรตีน ส่วนสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ได้แก่ เกลือแร่และวิตามิน เราควรเลือก
รับประทานให้ได้สารอาหารครบทุกหมู่
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
วิเคราะห์สารอาหารและอภิปรายความจาเป็นที่ร่างกายต้องได้รับสารอาหารในสัดส่วนที่
เหมาะสมกับเพศและวัย (ว 1.1 ป. 6/3)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ระบุชื่อและประเภทของอาหารหลัก 5 หมู่ที่รับประทานในชีวิตประจาวันได้ (K)
2. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
3. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
4. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สื่อสารและนาความรู้เรื่องอาหารหลัก 5 หมู่ และสารอาหารในอาหารหลัก 5 หมู่ไปใช้ใน
ชีวิตประจาวัน (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
อาหารหลัก 5 หมู่ วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
และสารอาหารใน 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
อาหารหลัก 5 หมู่ วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
2. ประเมินกิจกรรม 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
ฝึกทักษะระหว่างเรียน กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือ
รายกลุ่ม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 80

5. สาระการเรียนรู้
สารอาหารในอาหารหลัก
6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับอาหารหลัก 5
หมู่และสารอาหารในอาหารหลัก 5 หมู่
สุขศึกษาและพลศึกษา ปฏิบัติตนตามสุขบัญญัติเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
อาหารหลัก 5 หมู่ และสารอาหารในอาหารหลัก 5 หมู่
ที่เรียนรู้หรือที่นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 10
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูนาภาพอาหารต่าง ๆ ให้นักเรียนดู และร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับคุณค่าของอาหารตาม
ความรู้และประสบการณ์ของนักเรียนเอง โดยครูตั้งคาถามกระตุ้นดังนี้
– อาหารในรูปประกอบด้วยอาหารหลักหมู่ใดบ้าง
– เพราะเหตุใดเราจึงต้องรับประทานอาหาร
2) นักเรียนร่วมกันตอบคาถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน แล้วครูและนักเรียนร่วมกัน
อภิปรายคาตอบ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่อง สารอาหารในอาหารหลัก
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่ง
มีขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูให้นักเรียนนาใบงาน สารวจก่อนเรียน 2 ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าที่บ้าน
มาอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทากิจกรรมที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับกิจกรรม ดังนี้
– นักเรียนได้รับสารอาหารใดบ้าง (แนวคาตอบ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และ
วิตามิน)
– นักเรียนได้รับสารอาหารใดมากที่สุด (แนวคาตอบ คาร์โบไฮเดรต)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทากิจกรรมอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 81

(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับกิจกรรม สารวจก่อนเรียน 2 โดยครูช่วยอธิบายให้


นักเรียนเข้าใจว่า อาหารแต่ละชนิดประกอบด้วยสารอาหารที่แตกต่างกัน
2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายประเด็นที่จะศึกษา โดยอาจเลือกใช้วิธีดังนี้
– สังเกตตัวอย่างอาหารเกี่ยวกับลักษณะ เครื่องปรุง รสชาติ กลิ่น และอื่น ๆ
– ให้นักเรียนศึกษาอาหารหลัก 5 หมู่และสารอาหารในอาหารหลัก 5 หมู่ จากใบความรู้หรือ
ในหนังสือเรียน
(2) นักเรียนแบ่งกลุ่มและปฏิบัติ กิจกรรม สำรวจสำรอำหำรทีไ่ ด้ในแต่ละวัน ตามขั้นตอน
ทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกตดังนี้
– นักเรียนสังเกตอาหารเช้าที่นักเรียนรับประทาน บันทึกรายการอาหารและบันทึกว่าอาหาร
ที่รับประทานมีสารอาหารใดบ้าง
– นักเรียนถามเพื่อนอีก 4 คนในห้องว่า อาหารเช้าทีร่ บั ประทานคืออะไร และมีสารอาหาร
ใดบ้าง บันทึกผลที่สังเกตได้ลงตาราง
– เปรียบเทียบสารอาหารที่นักเรียนและเพื่อนได้รับ
(3) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากใบกิจกรรม
(4) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
ชั่วโมงที่ 11
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คาถามต่อไปนี้
– นักเรียนได้รับสารอาหารครบถ้วนหรือไม่ (แนวคำตอบ ไม่ครบถ้วน)
– นักเรียนจะแนะนาให้เพื่อนรับประทานอาหารอะไรในมื้อเย็นเพื่อให้เพื่อนได้สารอาหาร
ครบถ้วน (แนวคำตอบ สลัดไก่อบ เพื่อให้เพื่อนคนที่ 2 และ 4 ได้วิตำมินและเกลือแร่จำกผักและผลไม้
และให้เพื่อนคนที่ 3 ได้โปรตีนจำกไก่อบ)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า อาหารที่
เพื่อนแต่ละคนรับประทานมีสารอาหารไม่เหมือนกัน
4) ขั้นขยายความรู้
(1) นักเรียนและครูร่วมกันกาหนดแนวทางการนาความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติกิจกรรมไป
ใช้ประโยชน์ โดยร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นตามประเด็นต่อไปนี้
– อาหารจานโปรดของนักเรียนมีสารอาหารครบหรือไม่
– เราจะสารวจสารอาหารแต่ละชนิดจากแหล่งอาหารต่าง ๆ ได้อย่างไร
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 82

(2) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาหารหลัก 5 หมู่และสารอาหารในอาหาร


หลัก 5 หมู่ จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ เช่น หนังสือ วารสารวิทยาศาสตร์ และอินเทอร์เน็ต แล้วสรุปเป็น
รายงานส่งครู
(3) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับอาหารหลัก 5 หมู่ และ
สารอาหารในอาหารหลัก 5 หมู่ จากหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– เพราะเหตุใดเราจึงต้องรับประทานอาหาร
– สารอาหารคืออะไร แบ่งเป็นกี่พวก อะไรบ้าง
– สารอาหารชนิดใดที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย และสารอาหารชนิดใดที่ไม่ให้พลังงานแก่
ร่างกาย
ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับสารอาหารในอาหารหลัก โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่
ความคิดหรือผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อพลังงานจากสารอาหาร
3) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปราย
ร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนฝึกวิเคราะห์และจาแนกหมู่อาหารที่เป็นองค์ประกอบอยู่ในอาหารที่เรารับประทาน
ในแต่ละมื้อ

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ภาพอาหารต่าง ๆ
2. ใบงานสารวจก่อนเรียน 2
3. ใบกิจกรรมที่ 6 สารวจสารอาหารที่ได้ในแต่ละวัน
4. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 83

5. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท


สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
6. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
7. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 84

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8
พลังงานจากสารอาหาร

สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดารงชีวิต เวลา 2 ชั่วโมง


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่างกายของเรา

1. สาระสาคัญ
พลังงานเป็นสิ่งที่ทาให้ร่างกายสามารถทางานหรือทากิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจาวันได้
พลังงานได้จากสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารหลัก 5 หมู่ อาหารแต่ละหมู่ให้พลังงานแตกต่างกัน บุคคล
แต่ละเพศแต่ละวัยต้องการพลังงานแตกต่างกัน ดังนั้นเราจึงควรรับประทานอาหารให้พอเหมาะตาม
ความต้องการพลังงานในแต่ละวัน
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
วิเคราะห์สารอาหารและอภิปรายความจาเป็นที่ร่างกายต้องได้รับสารอาหารในสัดส่วนที่
เหมาะสมกับเพศและวัย (ว 1.1 ป. 6/3)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. สารวจและคานวณพลังงานที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน (K)
2. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
3. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
4. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สื่อสารและนาความรู้เรื่องพลังงานจากสารอาหารไปใช้ในชีวิตประจาวัน (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
พลังงานจาก วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
สารอาหาร 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
2. ประเมินกิจกรรม วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
ฝึกทักษะระหว่างเรียน 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
3. ทดสอบหลังเรียน กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือ
รายกลุ่ม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 85

5. สาระการเรียนรู้
1. พลังงานจากสารอาหาร
2. การกินอาหารให้พอเหมาะกับเพศและวัย
6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์ เกี่ยวกับพลังงานจาก
สารอาหารและการกินอาหารให้พอเหมาะกับเพศและวัย
สุขศึกษาและพลศึกษา ปฏิบัติตนตามสุขบัญญัติเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร
คณิตศาสตร์ คิดคานวณเปรียบเทียบพลังงานที่ร่างกายต้องการและพลังงาน
ที่ได้จากสารอาหาร
สังคมศึกษา ศาสนา สนทนา พูดคุยเกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการเลือก
และวัฒนธรรม รับประทานอาหารให้เหมาะสมกับเพศและวัยและการดาเนินชีวิต
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับพลังงาน
จากสารอาหารที่เรียนรู้หรือที่นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 12
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูนาภาพกิจกรรมต่าง ๆ ที่เราปฏิบัติในแต่ละวัน เช่น นั่งเขียนหนังสือ ถูพื้น ขุดดิน วิ่ง
เล่นฟุตบอล และว่ายน้า ให้นักเรียนดูแล้วร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการใช้พลังงานเพื่อการปฏิบัติกิจกรรม
เหล่านั้นตามความรู้และประสบการณ์ของนักเรียนเอง โดยครูใช้คาถามกระตุ้นให้นักเรียนตอบดังนี้
– นักเรียนทากิจกรรมอะไรบ้างในแต่ละวัน
– นักเรียนคิดว่ากิจกรรมแต่ละอย่างที่ทาใช้พลังงานเท่ากันหรือไม่
2) นักเรียนร่วมกันตอบคาถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน แล้วครูและนักเรียนร่วมกัน
อภิปรายคาตอบ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่อง พลังงานจากสารอาหาร
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่ง
มีขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนแล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มนาเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพลังงาน
จากสารอาหาร ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง จากนั้นให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทน
มานาเสนอข้อมูลหน้าห้องเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทาภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 86

– โดยเฉลี่ ยแล้ ว วั ยใดที่ ต้อ งการพลั งงานจากสารอาหารมากที่ สุด (แนวค าตอบ วั ย


ผู้ใหญ่)
– ปั จจั ยที่มีผลต่อความต้อ งการพลังงานจากสารอาหารในแต่ล ะวั นคื อ อะไร (แนว
คาตอบ เพศ วัย และกิจกรรมที่ทา)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทาภาระงานอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า
เพศ วัย และกิจกรรมที่แตกต่างกัน ทาให้แต่ละคนต้องการพลังงานจากสารอาหารที่แตกต่างกัน
2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาพลังงานจากสารอาหารจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครูตั้ง
คาถามกระตุ้นให้นักเรียนตอบดังนี้
– เด็กและผู้ใหญ่ต้องการพลังงานแตกต่างกันหรือไม่ เพราะอะไร
– โภชนบัญญัติ 9 ประการคืออะไร
– รายการอาหารที่เหมาะสมกับเพศและวัยของนักเรียนคืออะไรบ้าง
(2) นักเรียนร่วมกันตอบคาถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน
(3) นักเรียนแบ่งกลุ่มและปฏิบัติกิจกรรม สังเกตพลังงำนที่เหมำะสมซึ่งได้รับจำกสำรอำหำร
ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกตดังนี้
– ให้นักเรียนคิดเมนูอาหารจานเดียว 3 อย่างที่ต้องรับประทานเป็นอาหารเช้า อาหารกลางวัน
และอาหารเย็น แล้วสังเกตพลังงานที่นักเรียนจะได้รับจากการรับประทานอาหารดังกล่าวใน 1 วัน โดย
คานวณพลังงานที่ได้จากการเทียบพลังงานในตารางแสดงค่าพลังงานของอาหารจานเดียวที่อยู่ใน
ภาคผนวกในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ป. 6
– บันทึกผลการสังเกตพลังงานที่นักเรียนได้รับ
– เปรียบเทียบและวิเคราะห์พลังงานที่นักเรียนได้รับจากการรับประทานอาหารทั้ง 3 อย่าง
กับเพื่อน
(4) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากใบกิจกรรม
(5) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
ชั่วโมงที่ 13
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนนาเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คาถามต่อไปนี้
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 87

– นักเรียนได้รับพลังงานรวมเท่าไร (แนวคำตอบ 1,728 กิโลแคลอรี)


– พลังงานที่นักเรียนได้รับมากหรือน้อยกว่าพลังงานจากตารางความต้องการพลังงานที่ควร
ได้รับใน 1 วัน และมีค่าต่างกันเท่าไร (แนวคำตอบ น้อยกว่ำ ถ้ำเป็นเด็กผู้ชำยอำยุ 10–12 ปี ควรได้รับ
พลังงำนใน 1 วัน เท่ำกับ 1,850 กิโลแคลอรี ทำให้ได้รับพลังงำนต่ำงกัน 122 กิโลแคลอรี)
– นักเรียนจะปรับเปลี่ยนรายการอาหารจานเดียวอย่างไร เพื่อให้ได้รับพลังงานที่พอเหมาะ
ต่อร่างกาย (แนวคำตอบ เปลี่ยนข้ำวหมูแดงเป็นก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ผัดซีอิ๊วหมูใส่ไข่)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรมโดยให้ได้ข้อสรุปว่า ความต้องการ
พลังงานที่ควรได้รับใน 1 วันของคนไทยนั้น เป็นพลังงานเฉลี่ยของการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจาวัน
แต่ถ้านักเรียนต้องออกกาลังกายหรือเล่นกีฬาซึ่งต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้นนักเรียนก็ควรปรับเปลี่ยนรายการ
อาหารเพื่อให้ได้รับพลังงานเพียงพอต่อความต้องการด้วย
4) ขั้นขยายความรู้
(1) แบ่งกลุ่มนักเรียนคิดค่าพลังงานจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยครูอธิบายการคิดค่าพลังงาน
ดังนี้
– สืบค้นความรู้การใช้พลังงานในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ
– นาค่าน้าหนักตัว (กิโลกรัม) × เวลาที่ทากิจกรรม (นาที) × พลังงาน (กิโลแคลอรี) จะได้ค่า
พลังงานที่ต้องการ
– คิดพลังงานทั้งหมดที่ต้องการใน 1 วัน = พลังงานที่ต้องการ (กิโลแคลอรี) + พลังงานจาก
การปฏิบัติกิจกรรม (กิโลแคลอรี)
– ให้นักเรียนฝึกคิดคานวณค่าพลังงานที่ต้องการในวันที่นักเรียนต้องออกกาลังกาย
เปรียบเทียบกับพลังงานที่นักเรียนได้รับว่าเพียงพอต่อความต้องการหรือไม่
– นักเรียนร่วมกันสรุปผลและนาเสนอผลการศึกษาค้นคว้า
– ครูยกตัวอย่างอาหารและค่าพลังงานที่ได้จากอาหารให้นักเรียนทราบประมาณ 4–5
รายการ
(2) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับพลังงานจากสารอาหารจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ
เช่น หนังสือ วารสารวิทยาศาสตร์ และอินเทอร์เน็ต แล้วสรุปเป็นรายงานส่งครู
(3) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับพลังงานจากสารอาหาร
จากหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 88

(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น


– เพราะเหตุใดเราจึงต้องจัดรายการอาหารให้เหมาะสมกับเพศและวัย
– ปริมาณความต้องการสารอาหารของแต่ละคนขึ้นอยู่กับสิ่งใด

ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับพลังงานจากสารอาหาร โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่
ความคิดหรือผังมโนทัศน์
2) ครูดาเนินการทดสอบหลังเรียน โดยให้นักเรียนทาแบบทดสอบหลังเรียนเพื่อวัด
ความก้าวหน้า/ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ของนักเรียน
3) ครูเชื่อมโยงเนื้อหาจากบทเรียนนี้กับบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อให้นักเรียนเตรียมความพร้อม
ในการเรียนชั่วโมงต่อไป โดยการใช้คาถามกระตุ้น ดังนี้
– คนกินพืชและสัตว์เป็นอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน แล้วสัตว์ในธรรมชาติกินอะไรเพื่อให้ได้
พลังงาน (แนวคาตอบ กินพืชและสัตว์ที่เป็นเหยื่อ)
4) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อสิ่งแวดล้อม
5) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปราย
ร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
1. นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับค่าพลังงานจากสารอาหารของอาหารที่รับประทานใน
ชีวิตประจาวันจากเอกสารของกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งฝึกคานวณค่า
พลังงานจากสารอาหารที่อยู่ในอาหารชนิดต่าง ๆ ด้วย
2. ครูเชื่อมโยงความรู้กับหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยแนะนานักเรียนว่า นอกจากนักเรียนจะรู้จัก
การเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับเพศและวัยเพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโตแล้ว นักเรียนต้องมี
หลักในการดาเนินชีวิตด้วย ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการนาหลักสหกรณ์มาใช้ในการดาเนินชีวิต ดังนี้
สหกรณ์ คือ กลุ่มบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของสมาชิกด้วย
วิธีการรวมกลุ่ม ช่วยเหลือตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการดารงธุรกิจภายใต้อุดมการณ์สหกรณ์
ซึ่งเป็นเป้าหมายที่จะให้บุคคลและสังคมอยู่ดีกินดีและมีสันติสุข
ปกติในชีวิตประจาวันคนเราจะต้องพบกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจพื้นฐานซึ่งมีลักษณะเป็นวงจร
5 ประการ ได้แก่ การผลิต การขาย การบริโภค การซื้อ และการเก็บออม การนาอุดมการณ์สหกรณ์มาใช้
ในชีวิตประจาวันของตนเอง สามารถนามาใช้ในลักษณะที่มุ่งเน้นเพื่อให้ช่วยตัวเองได้เป็นสาคัญ ซึ่ง
ลักษณะดังกล่าว ได้แก่
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 89

1. ความขยัน เด็กในวัยเรียนต้องขยันศึกษาเล่าเรียน และทางานที่ได้รับมอบหมายทั้งจากพ่อแม่


ผู้ปกครอง และจากครูที่โรงเรียนโดยไม่เกียจคร้าน และต้องรู้จักขวนขวายหาความรู้ที่เหมาะสมใส่ตัวอยู่
เสมอ ไม่ปล่อยเวลาให้เปล่าประโยชน์
2. ประหยัดอดออม ปัจจุบันค่าครองชีพและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ นับวันจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ เราต้องรู้จัก
ใช้จ่ายสิ่งของที่จาเป็นต่อการดารงชีวิตจริง ๆ ไม่ควรใช้จ่ายฟุ่มเฟือย สุรุ่ยสุร่าย ต้องรู้จักประหยัด ทั้ง
ค่าใช้จ่าย และประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ
3. การพัฒนาตนเอง โลกยุคใหม่มีความก้าวหน้ารวดเร็วมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ
ดังนั้นเด็กและเยาวชนจะต้องรู้จักใฝ่หาความรู้อย่างต่อเนื่อง และรอบรู้ทันเหตุการณ์ ตลอดจนต้องรู้จัก
พัฒนาตนเองให้เป็นคนทันสมัยภายใต้ความเป็นไทยอยู่เสมอ
4. การหลีกเลี่ยงอบายมุข อบายมุขเป็นสิ่งไม่ดี เป็นเครื่องจากัดความดีงาม เด็กและเยาวชนต้อง
มีจิตใจมั่นคง เข้มแข็ง ไม่เข้าไปข้องแวะกับอบายมุขทั้งปวง เช่น ไม่เสพยาเสพติด ไม่เล่นการพนัน ไม่
เที่ยวกลางคืน ไม่คบคนชั่วเป็นมิตร และไม่เกียจคร้านทางาน
9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ภาพกิจกรรมต่าง ๆ เช่น นั่ง เขียน หนังสือ ถู พื้น ขุดดิน วิ่ง ฯลฯ
2. ใบกิจกรรมที่ 7 สังเกตพลังงานที่เหมาะสมซึ่งได้รับจากสารอาหาร
3. แบบทดสอบหลังเรียน
4. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
5. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
6. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
7. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 90

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม เวลา 12 ชั่วโมง

ผังมโนทัศน์เป้าหมายการจัดการเรียนรู้และขอบข่ายภาระงาน

ความรู้
1. สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ
2. ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
3. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกัน
4. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต
ทักษะ/กระบวนการ
5. การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
1. การส้ารวจ
6. ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
2. การสังเกต
7. ประชากรมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติ
3. การทดลอง
8. มลพิษทางน้้า
4. การสืบค้นข้อมูล
9. มลพิษทางอากาศ
5. การน้าความรู้ไปใช้ใน
10. มลพิษจากขยะมูลฝอย
ชีวิตประจ้าวัน

สิ่งมีชีวิตกับ
สิ่งแวดล้อม

ภาระงาน/ชิ้นงาน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. ส้ารวจกลุ่มสิ่งมีชีวิต
1. ใฝ่เรียนรู้
2. ส้ารวจแหล่งที่มาของอาหาร
2. มุ่งมั่นในการท้างาน
3. สังเกตสภาพแวดล้อมแหล่งที่อยู่อาศัย
3. มีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์
ของไส้เดือนดิน
4. มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์
4. สังเกตการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต
5. เห็นคุณค่าของการน้าความรู้
ในบริเวณโรงเรียน
ไปใช้ประโยชน์ใน
5. สืบค้นข้อมูลป่าไม้ในท้องถิ่น
ชีวิตประจ้าวัน
6. ส้ารวจสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 91

ผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design


หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ขั้นที่ 1 ผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
ตัวชี้วัดชั้นปี
1. ส้ารวจและอภิปรายความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่ต่าง ๆ (ว 2.1 ป. 6/1)
2. อธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตในรูปของโซ่อาหารและสายใยอาหาร (ว 2.1 ป. 6/2)
3. สืบค้นข้อมูลและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการด้ารงชีวิตของสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น
(ว 2.1 ป. 6/3)
4. สืบค้นข้อมูลและอภิปรายแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละท้องถิ่นที่เป็นประโยชน์ต่อการด้ารงชีวิต
(ว 2.2 ป. 6/1)
5. วิเคราะห์ผลของการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ (ว 2.2 ป. 6/2)
6. อภิปรายผลต่อสิ่งมีชีวิตจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ทั้งโดยธรรมชาติและโดยมนุษย์ (ว 2.2 ป. 6/3)
7. อภิปรายแนวทางในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ว 2.2 ป. 6/4)
8. มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น (ว 2.2 ป. 6/5)
ความเข้าใจที่คงทนของนักเรียน คาถามสาคัญที่ทาให้เกิดความเข้าใจที่คงทน
นักเรียนจะเข้าใจว่า...
1. สิ่งมีชีวิตหลาย ๆ ชนิดทั้งพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ 1. กลุ่มสิ่งมีชีวิตและแหล่งที่อยู่หมายถึงอะไร
ร่วมกันในแหล่งที่อยู่หนึ่ง ๆ เรียกว่า ชุมนุม มีความสัมพันธ์กันในลักษณะใด
สิ่งมีชีวิต ซึ่งชุมนุมสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่หนึ่ง 2. ระบบนิเวศคืออะไรมีกี่แบบอะไรบ้าง
จะมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เช่น เป็นที่อยู่ 3. โซ่อาหารและสายใยอาหารคืออะไร
อาศัย เป็นแหล่งอาหาร เมื่อชุมนุมสิ่งมีชีวิต มีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตอื่นในระบบนิเวศ
เหล่านี้อยู่ร่วมกับสิ่งไม่มีชีวิต และมี ในลักษณะใด
ความสัมพันธ์กันทั้งทางตรงและทางอ้อมใน 4. ในธรรมชาติสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกัน
พื้นที่หรือบริเวณใดบริเวณหนึ่งเรียกว่า ระบบ มีความสัมพันธ์กันในรูปแบบใดบ้าง
นิเวศ 5. ถ้าสภาพแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่
2. ในระบบนิเวศชุมนุมสิ่งมีชีวิตในแต่ละแหล่ง เปลี่ยนแปลงไปจะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต
ที่อยู่มีความสัมพันธ์กันในเรื่องของการกินต่อกัน ในเรื่องใด
เป็นทอด ๆ พืชสร้างอาหารได้เอง จึงเป็นผู้ผลิต 6. การปรับตัวให้เข้ากับแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต
สัตว์ไม่สามารถสร้างอาหารได้เองเหมือนพืช มีความจ้าเป็นต่อสิ่งมีชีวิตเพียงใด
สัตว์จึงเป็นผู้บริโภค และยังมีสิ่งมีชีวิตจ้าพวก 7. ประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติอะไรบ้าง
แบคทีเรีย เห็ด รา ท้าหน้าที่ย่อยสลายซากพืช 8. มนุษย์ได้รับประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
ซากสัตว์จึงเป็นผู้ย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ แต่ละประเภทในลักษณะใด
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 92

ในระบบนิเวศ เมื่อน้าความสัมพันธ์เหล่านี้มา 9. การเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ก่อให้เกิดผลดี


เขียนแผนภาพแสดงการกินต่อกันเป็นทอด ๆ ผลเสียต่อทรัพยากรธรรมชาติหรือไม่ ลักษณะใด
ได้ในรูปของโซ่อาหาร ซึ่งความสัมพันธ์ของ 10. ผลกระทบที่เกิดจากปัญหามลพิษส่งผลต่อ
โซ่อาหารที่ซับซ้อนหลาย ๆ อัน เรียกว่า สายใย การด้ารงชีวิตของมนุษย์ในเรื่องใด
อาหาร 11. ถ้าเกิดมีปัญหามลพิษในบริเวณบ้านหรือ
3. สิ่งมีชีวิตที่อาศัยร่วมกันจะมีความสัมพันธ์กัน ท้องถิ่นที่นักเรียนอาศัยอยู่ นักเรียนจะมีวิธีการ
ในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ ภาวะพึ่งพากัน แก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างไร
ภาวะอิงอาศัย ภาวะการได้ประโยชน์ร่วมกัน 12. นักเรียนมีวิธีการหรือแนวทางการป้องกัน
และภาวะปรสิต ไม่ให้เกิดปัญหามลพิษได้อย่างไร
4. สิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม
ได้แก่ แสงสว่าง อุณหภูมิ น้้า ออกซิเจน ดิน
และแร่ธาตุ จะเห็นว่าสิ่งมีชีวิตยังต้องอาศัย
สิ่งแวดล้อมเพื่อการด้ารงชีวิตอยู่ร่วมกัน
5. สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่ที่แตกต่างกัน
จะมีโครงสร้างของร่างกายที่เหมาะสมต่อการ
ด้ารงชีวิตส้าหรับแหล่งที่อยู่นั้น ๆ
6. มนุษย์ต้องพึ่งพาอาศัยทรัพยากรธรรมชาติใน
การด้ารงชีวิต ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละ
ท้องถิ่นจะมีความหลากหลายแตกต่างกันไป
7. การเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ท้าให้ทรัพยากร
ธรรมชาติถูกน้ามาใช้มากขึ้น
8. มลพิษทางน้้าเป็นสภาวะของน้้าที่เสื่อมคุณภาพ
หรือมีคุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
เนื่องจากมีสารพิษเจือปนจนท้าให้เกิดความ
เสียหายต่อการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เป็น
อันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อม
9. มลพิษทางอากาศเป็นสภาวะที่มีสิ่งเป็นพิษ เช่น
ฝุ่น ควัน แก๊สพิษ เจือปนอยู่ในอากาศมาก
จนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ทั้งทางตรงและทางอ้อม
10. มลพิษจากขยะมูลฝอยเป็นสภาวะที่ไม่เหมาะสม
เนื่องมาจากขยะมูลฝอย เช่น การทิ้งขยะลงใน
แหล่งน้้าท้าให้น้าเน่าเสีย หรือการเกิดกลิ่น
เน่าเหม็นจากกองขยะ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 93

11. เราทุกคนควรตระหนักในปัญหาทรัพยากร
ธรรมชาติร่วมกัน และมีส่วนร่วมในการดูแล
รักษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
ความรู้ของนักเรียนที่นาไปสู่ความเข้าใจที่คงทน ทักษะ/ความสามารถของนักเรียนที่จะนาไปสู่
นักเรียนจะรู้ว่า... ความเข้าใจที่คงทนนักเรียนจะสามารถ...
1. ค้าส้าคัญ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม ประชากร 1. ส้ารวจชุมนุมสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่ต่าง ๆ
ชุมนุมสิ่งมีชีวิต แหล่งที่อยู่ ระบบนิเวศ ผู้ผลิต 2. อธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับ
สัตว์กินซากสัตว์ ผู้บริโภค ผู้สลายสารอินทรีย์ สิ่งแวดล้อม
โซ่อาหาร สายใยอาหาร ทรัพยากรธรรมชาติ 3. อธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต
มลพิษ ปรากฏการณ์เรือนกระจก แก๊สเรือน ในรูปของโซ่อาหารและสายใยอาหาร
กระจก 4. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่อาศัย
2. สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา มีทั้งสิ่งมีชีวิตและ อยูร่ ่วมกันและความสัมพันธ์ระหว่างสภาพ-
สิ่งไม่มีชีวิตรวมเรียกว่า สิ่งแวดล้อม แวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต
3. สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่ 5. สังเกตการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตในบริเวณต่าง ๆ
เดียวกันในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เรียกว่า 6. อธิบายประเภทและความส้าคัญของทรัพยากร
ประชากร ธรรมชาติในท้องถิ่น
4. ประชากรของสิ่งมีชีวิตที่มากกว่า 1 ชนิด อาศัย 7. สืบค้นข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
อยู่ร่วมกันในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง และมีความ 8. อธิบายผลของการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์
สัมพันธ์ซึ่งกันและกันเรียกว่า ชุมนุมสิ่งมีชีวิต ต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
5. บริเวณที่กลุ่มสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เรียกว่า แหล่งที่อยู่ 9. อธิบายผลกระทบที่เกิดกับสิ่งมีชีวิตจากการ
6. บริเวณที่มีกลุ่มของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตอยู่ เปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
ร่วมกันและมีความสัมพันธ์กันเรียกว่า ระบบ 10. เสนอแนะแนวทางการป้องกันและดูแลรักษา
นิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
7. ในระบบนิเวศจะมีผู้ผลิต ผู้บริโภค และ 11. มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรม-
ผู้สลายสารอินทรีย์ ชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
8. สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศจะมีความสัมพันธ์กันใน
เรื่องของการกินกันเป็นทอด ๆ เรียกว่า โซ่อาหาร
ความสัมพันธ์ของโซ่อาหารหลาย ๆ โซ่อาหาร
เรียกว่า สายใยอาหาร
9. สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันจะมีความสัมพันธ์กัน
ในหลายรูปแบบ รวมถึงการมีความสัมพันธ์
กับสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ด้วย
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 94

10. สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะมีการปรับตัวให้เข้ากับ
สภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่เพื่อการอยู่รอด
11. ทรัพยากรธรรมชาติมีความส้าคัญต่อการ
ด้ารงชีวิตของมนุษย์ ประเทศไทยมีทรัพยากร
ธรรมชาติที่หลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละ
ท้องถิ่น
12. ประชากรมนุษย์ที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ทรัพยากร
ธรรมชาติลดลงอย่างรวดเร็ว
13. การที่มนุษย์น้าทรัพยากรธรรมชาติมาใช้อย่าง
ฟุ่มเฟือย ท้าให้เกิดปัญหามลพิษที่ส่งผลต่อ
การด้ารงชีวิตของมนุษย์
14. เราทุกคนควรช่วยกันดูแลรักษาทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกัน
ขั้นที่ 2 ภาระงานและการประเมินผลการเรียนรู้ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีผลการเรียนรู้ตามที่
กาหนดไว้อย่างแท้จริง
1. ภาระงานที่นักเรียนต้องปฏิบัติ
– ส้ารวจกลุ่มสิ่งมีชีวิต
– ส้ารวจแหล่งที่มาของอาหาร
– สังเกตสภาพแวดล้อมแหล่งที่อยู่อาศัยของไส้เดือนดิน
– สังเกตการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตในบริเวณโรงเรียน
– สืบค้นข้อมูลป่าไม้ในท้องถิ่น
– ส้ารวจสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น
2. วิธีการและเครือ่ งมือประเมินผลการเรียนรู้
วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ เครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
– การทดสอบ – แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
– การสนทนาซักถาม – แบบบันทึกการสนทนา
– การวัดเจตคติ – แบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์และเจตคติ
ต่อวิทยาศาสตร์
– การวัดทักษะ – แบบวัดทักษะ/กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
– การประเมินตนเอง – แบบประเมินตนเองของนักเรียน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 95

3. สิ่งที่มุ่งประเมิน
– ความสามารถในการอธิบาย ชี้แจง การแปลความและตีความ การประยุกต์ ดัดแปลง และน้าไปใช้
การมีมุมมองที่หลากหลาย การให้ความส้าคัญใส่ในใจความรู้สึกของผู้อื่น และการรู้จักตนเอง
– เจตคติทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล
– ทักษะ/กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
– ทักษะการคิด
– ทักษะการแก้ปัญหา
– พฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
ขั้นที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ 2 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10 ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 1 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 11 ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกัน 1 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 12 ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต 2 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 13 การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อม 1 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 14 ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น 1 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 15 ประชากรมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติ 1 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 16 มลพิษทางน้้า 1 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 17 มลพิษทางอากาศ 1 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 18 มลพิษจากขยะมูลฝอย 1 ชั่วโมง
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 96

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9
สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ

สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม เวลา 2 ชั่วโมง


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

1. สาระสาคัญ
สิ่งมีชีวิตหลาย ๆ ชนิดทั้งพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในแหล่งที่อยู่หนึ่ง ๆ เรียกว่า ชุมนุม
สิ่งมีชีวิต ซึ่งชุมนุมสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่หนึ่งจะมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เช่น เป็นที่อยู่อาศัย
เป็นแหล่งอาหาร เมื่อชุมนุมสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อยู่ร่วมกับสิ่งไม่มีชีวิตและมีความสัมพันธ์กันทั้งทางตรงและ
ทางอ้อมในพื้นที่หรือบริเวณใดบริเวณหนึ่งเรียกว่า ระบบนิเวศ
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
ส้ารวจและอภิปรายความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่ต่าง ๆ (ว 2.1 ป. 6/1)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ระบุและบ่งชี้สิ่งมีชีวิตในแต่ละแหล่งที่อยู่ได้ (K)
2. อธิบายความหมายของประชากร ชุมนุมสิ่งมีชีวิต แหล่งที่อยู่ และระบบนิเวศได้ (K)
3. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
4. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
5. ท้างานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
6. สื่อสารและน้าความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศไปใช้ในชีวิตประจ้าวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
สิ่งแวดล้อมและ วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
ระบบนิเวศ 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
2. ประเมินกิจกรรม วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
ฝึกทักษะระหว่าง 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
เรียน กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือ
3. ทดสอบก่อนเรียน รายกลุ่ม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 97

5. สาระการเรียนรู้
1. สิ่งแวดล้อม
2. ระบบนิเวศ
6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
และระบบนิเวศตามประสบการณ์ของนักเรียน
ศิลปะ ตกแต่งและระบายสีภาพสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแต่ละ
แหล่งที่อยู่ตามจินตนาการของนักเรียนให้สวยงาม
สังคมศึกษา ศาสนา สนทนา พูดคุยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมแบบทะเลทรายใน
และวัฒนธรรม ประเทศเวียดนาม
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนค้าศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศที่ได้เรียนรู้หรือที่นักเรียน
สนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 14
ครูด้าเนินการทดสอบก่อนเรียน โดยให้นักเรียนท้าแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อตรวจสอบความ
พร้อมและพื้นฐานของนักเรียน
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูน้าภาพสิ่งแวดล้อมที่มีพืชและสัตว์หลาย ๆ ชนิดอาศัยอยู่ร่วมกันมาให้นักเรียนดู และ
ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศตามความรู้และประสบการณ์ของนักเรียนเอง โดยครู
ใช้ค้าถามกระตุ้นดังนี้
– ในภาพนี้นักเรียนเห็นสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตอะไรบ้าง
– สถานที่ที่สิ่งเหล่านี้อยู่เรียกว่าอะไร
– นักเรียนคิดว่าเมื่อสิ่งเหล่านี้อยู่ด้วยกันจะมีความสัมพันธ์กันในลักษณะใด
2) นักเรียนร่วมกันตอบค้าถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับค้าตอบของค้าถาม เพื่อเชื่อมโยง
ไปสู่การเรียนรู้เรื่อง สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่งมี
ขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนแล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มนาเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง จากนั้นให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมานาเสนอข้อมูล
หน้าห้องเรียน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 98

(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทาภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจากการ


จดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้
– สิ่งแวดล้อมคืออะไร (แนวคำตอบ สิ่งต่ำง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรำ)
– สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันที่อาศัยอยู่ในแหล่งเดียวกัน ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เรียกว่า
อะไร (แนวคำตอบ ประชำกร)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทาภาระงานอย่างน้อย
คนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความคิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า
สิ่งมีชีวิตหลาย ๆ ชนิดทั้งพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในแหล่งที่อยู่หนึ่ง ๆ เรียกว่า ชุมนุมสิ่งมี ชีวิต ซึ่ง
ชุมนุมสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่หนึ่งจะมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครู
ช่วยเชื่อมโยงความรู้ใหม่จากบทเรียนกับความรู้เดิมที่เรียนรู้มาแล้ว ด้วยการใช้ค้าถามกระตุ้นให้นักเรียน
ตอบจากความรู้และประสบการณ์ของนักเรียนดังนี้
– นักเรียนทราบหรือไม่ว่า สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันที่อาศัยอยู่ในแหล่งเดียวกันในช่วงเวลาใด
เวลาหนึ่ง เราเรียกว่าอะไร
– ประชากรของสิ่งมีชีวิตที่มากกว่า 1 ชนิด อาศัยอยู่ร่วมกันในบริเวณใดบริเวณหนึ่งและมี
ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เราเรียกว่าอะไร
– บริเวณที่กลุ่มสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ เราเรียกว่าอะไร
(2) แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5–6 คน ปฏิบัตกิ ิจกรรม สำรวจกลุ่มสิ่งมีชีวิต ตามขั้นตอนทาง
วิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกตดังนี้
– แต่ละกลุ่มเลือกระบบนิเวศที่ต้องการสังเกต 1 บริเวณ เช่น ใต้ต้นไม้ใหญ่ พุ่มไม้ แอ่งน้้า
เล็ก ๆ บ่อเลี้ยงปลา หรือใต้ขอนไม้ ก้าหนดขอบเขตที่จะศึกษาให้แน่นอน เช่น 2 × 2 ตารางเมตร หรือ 3 × 3
ตารางเมตร
– ถ้าเป็นแหล่งน้้า ใช้สวิงตักช้อนสิ่งมีชีวิต นับจ้านวนสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ ถ้าบริเวณที่
ส้ารวจเป็นพื้นดิน ให้ใช้เสียมขุดคุ้ย เขี่ยดินแล้วตักใส่ถาด นับจ้านวนสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ บันทึกผล
การส้ารวจ
หมายเหตุ การสังเกตครั้งนี้ครูควรจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับสภาพของแต่ละท้องถิ่น
(3) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากใบกิจกรรม
(4) ครูคอยแนะน้าช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 99

ชั่วโมงที่ 15
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มน้าเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวค้าถาม
ต่อไปนี้
– ในบริเวณที่นักเรียนสังเกตมีสิ่งมีชีวิตใดบ้าง ชนิดใดมีมากที่สุด (แนวคำตอบ สำหร่ำยหำง
กระรอก จอก จอกหูหนู ปลำหำงนกยูง จิงโจ้น้ำ และปลำหมอ โดยจะพบจอกหูหนูมำกที่สุด)
– สิ่งมีชีวิตในบริเวณที่ส้ารวจได้รับอาหารจากแหล่งใด (แนวคำตอบ พืชสร้ำงอำหำรโดย
กระบวนกำรสังเครำะห์ด้วยแสง สัตว์บำงชนิดได้รับอำหำรจำกกำรกินพืช และสัตว์บำงชนิดได้รับอำหำร
จำกกำรกินสัตว์ชนิดอื่น)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า สิ่งมีชีวิตที่
อาศัยอยู่ร่วมกันจะมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
4) ขั้นขยายความรู้
(1) ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความหมายของระบบนิเวศและยกตัวอย่างระบบนิเวศ
แบบต่าง ๆ เช่น ระบบนิเวศตามธรรมชาติ และระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น
(2) นักเรียนสังเกตสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศในชุมชนที่อาศัยอยู่ วาดภาพสิ่งแวดล้อมและ
ระบบนิเวศที่พบเห็น บอกจ้านวนกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ และอธิบายลักษณะแหล่งที่อยู่ น้าเสนอผลงาน
หน้าชั้นเรียน
(3) ครูเชื่อมโยงความรู้สู่อาเซียน โดยนาอภิปรายว่า ในอาเซียนของเราก็มีสภาพแวดล้อมแบบ
ทะเลทรายอยู่ด้วย ซึ่งอยู่ในบริเวณหมู่บ้านมุยเน (Mui Ne) ในจังหวัดบินทวน (Binh Thuan) ประเทศ
เวียดนาม ปกติหมู่บ้านแห่งนี้จะมีภูมิอากาศแห้งแล้ง ลมพัดแรง และมีฝนตกน้อยมาก การผ่านสภาพ
อากาศดังกล่าวเป็นระยะเวลายาวนาน ทาให้ในที่สุดที่ราบทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือกลายเป็นทะเลทราย
สีแดงเหมือนกับทะเลทรายสะฮารา ในทวีปแอฟริกา ส่วนทางทิศใต้เป็นทะเลทรายสีขาว และถัดออกไปอีก
ไม่ไกลมากนักจะพบทะเล ในอดีตหมู่บ้านมุยเนเคยเป็นหมู่บ้านชาวประมงมาก่อน
ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบนิเวศแบบทะเลทราย
(4) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและค้าศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและระบบ
นิเวศจากหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใดบ้าง
ที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามี ครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใดและได้มีการ
แก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการน้าความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 100

(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบค้าถาม เช่น


– สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่เดียวกันเรียกว่าอะไร
– สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันและมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันเรียกว่าอะไร
ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่
ความคิดหรือผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
3) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปราย
ร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป
8. กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนสร้างระบบนิเวศจ้าลองและสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิเวศที่สร้างขึ้นจากหนังสือใน
ห้องสมุดหรือจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ แล้วน้าเสนอผลการสืบค้นหน้าชั้นเรียน
9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. แบบทดสอบก่อนเรียน
2. ภาพสิ่งแวดล้อมที่มีพืชและสัตว์หลาย ๆ ชนิดอาศัยอยู่ร่วมกัน
3. ใบกิจกรรมที่ 8 ส้ารวจกลุ่มสิ่งมีชีวิต
4. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท ส้านักพิมพ์วัฒนาพานิช จ้ากัด
5. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
ส้านักพิมพ์วัฒนาพานิช จ้ากัด
6. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท ส้านักพิมพ์วัฒนา
พานิช จ้ากัด
7. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท ส้านักพิมพ์วัฒนา
พานิช จ้ากัด
10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความส้าเร็จในการจัดการเรียนรู้………………………………………………………………..
แนวทางการพัฒนา………………………………………………………………………………..
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้…………………………………………………………...
แนวทางแก้ไข……………………………………………………………………………………..
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน………………………………………………………………………
เหตุผล…………………………………………………………………………………………….
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้…………………………………………………………….
(ลงชื่อ)__________________________ ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 101

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม เวลา 1 ชั่วโมง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

1. สาระสาคัญ
ในระบบนิเวศชุมนุมสิ่งมีชีวิตในแต่ละแหล่งที่อยู่มีความสัมพันธ์กันในเรื่องของการกินต่อกัน
เป็นทอด ๆ พืชสร้างอาหารได้เองจึงเป็นผู้ผลิต สัตว์ไม่สามารถสร้างอาหารได้เองเหมือนพืช สัตว์จึงเป็น
ผู้บริโภค และยังมีสิ่งมีชีวิตจ้าพวกแบคทีเรีย เห็ด รา ท้าหน้าที่ย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ จึงเป็นผู้สลาย
สารอินทรีย์ในระบบนิเวศ เมื่อน้าความสัมพันธ์เหล่านี้มาเขียนแผนภาพแสดงการกินต่อกันเป็นทอด ๆ ได้
ในรูปของโซ่อาหาร ซึ่งความสัมพันธ์ของโซ่อาหารที่ซับซ้อนหลาย ๆ อัน เรียกว่า สายใยอาหาร
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
อธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในรูปของโซ่อาหารและสายใยอาหาร (ว 2.1 ป. 6/2)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของผู้ผลิต ผู้บริโภค และสลายสารอินทรีย์ได้ (K)
2. อธิบายและเขียนแผนภาพแสดงโซ่อาหารของชุมนุมสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่หนึ่ง ๆ ได้ (K)
3. อธิบายความหมายของสายใยอาหารได้ (K)
4. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
5. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
6. ท้างานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
7. สื่อสารและน้าความรู้เรื่องความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมไปใช้ในชีวิตประจ้าวัน
ได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
ความสัมพันธ์ของ วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
สิ่งมีชีวิตกับ 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
2. ประเมินกิจกรรม 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
ฝึกทักษะระหว่างเรียน กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือ
รายกลุ่ม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 102

5. สาระการเรียนรู้
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
– โซ่อาหาร
– สายใยอาหาร
6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์
ของสิ่งมีชีวิตกับสิง่ แวดล้อมตามประสบการณ์ของนักเรียน
สังคมศึกษา ศาสนา สนทนา พูดคุยเกี่ยวกับมังกรโคโมโดซึ่งอาศัยอยู่บนเกาะเล็ก ๆ ทาง
และวัฒนธรรม ตอนกลางของประเทศอินโดนีเซีย และบทบาทของมังกรโคโมโด
ในโซ่อาหาร
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนค้าศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับความ
สัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่ได้เรียนรู้หรือที่นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 16
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูถามค้าถามนักเรียนเพื่อกระตุ้นความสนใจ เช่น
– กระต่ายได้รับอาหารจากการกินสิ่งใด
– สัตว์แต่ละชนิดอาศัยอยู่ที่ใด
– สัตว์ได้รับอาหารจากการกินสิ่งใดบ้าง
2) นักเรียนร่วมกันตอบค้าถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับค้าตอบของค้าถาม เพื่อเชื่อมโยง
ไปสู่การเรียนรู้เรื่อง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครู แ บ่ ง กลุ่ ม นั ก เรี ย นแล้ ว เปิ ด โอกาสให้ นั ก เรี ย นในกลุ่ ม น าเสนอข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ
ความสัมพันธ์ข องสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ที่ ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่ว งหน้าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟั ง
จากนั้นให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมานาเสนอข้อมูลหน้าห้องเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทาภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจากการ
จดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้
– นักเรียนได้รับอาหารจากการกินสิ่งใดบ้าง (แนวคำตอบ พืชและสัตว์)
– พืชได้อาหารจากแหล่งใด (แนวคำตอบ พืชสำมำรถใช้พลังงำนจำกดวงอำทิตย์สร้ำง
อำหำรเองได้)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทาภาระงานอย่างน้อย
คนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความคิดเห็น
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 103

(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า ใน


ระบบนิเวศมีผู้ผลิต สิ่งมีชีวิตกินพืช สิ่งมีชีวิตกินสัตว์ สิ่งมีชีวิตกินพืชและสัตว์ และสัตว์กินซากสัตว์ ซึ่งจะ
กินกันเป็นทอด ๆ โดยมีผู้สลายสารอินทรีย์ทาหน้าที่ย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ที่ตายแล้วให้กลายเป็นแร่
ธาตุกลับคืนสู่ดิน
2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน
โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า ในระบบนิเวศจะมีผู้ผลิต ผู้บริโภคพืช ผู้บริโภคสัตว์ ผู้บริโภคทั้งพืช
และสัตว์ และผู้บริโภคซากพืชซากสัตว์ ซึ่งจะกินต่อกันเป็นทอด ๆ โดยมีผู้สลายสารอินทรีย์ ท้าหน้าที่ย่อย
สลายซากพืชซากสัตว์ที่ตายแล้วให้กลายเป็นแร่ธาตุกลับคืนสู่ดิน
(2) แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5–6 คน ปฏิบัตกิ ิจกรรม สำรวจแหล่งที่มำของอำหำร ตามขั้นตอนทาง
วิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกตและการส้ารวจดังนี้
– ท้ารายการชนิดของอาหารทีน่ ักเรียนได้รับประทานในมื้อเย็น หรือมื้อกลางวัน
– ให้บอกชื่อพืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตที่น้ามาท้าเป็นอาหารแต่ละชนิด เช่น ขนมปัง ท้ามาจากแป้ง
ซึ่งได้มาจากพืช คือ ข้าวสาลี ส่วนน้้าตาลได้มาจากอ้อย และนมได้มาจากสัตว์ คือ วัว ส่วนยีสต์ คือ
สิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์
– นับจ้านวนสิ่งมีชีวิตที่น้ามาท้าเป็นอาหาร จากนั้นบันทึกผลการส้ารวจ
(3) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากใบกิจกรรม
(4) ครูคอยแนะน้าช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและเปิด
โอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มน้าเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวค้าถาม
ต่อไปนี้
– อาหารของนักเรียนได้มาจากสิ่งมีชีวิตชนิดใดบ้าง (แนวคำตอบ พืชและสัตว์)
– ถ้าโลกนี้ไม่มีพืชจะเกิดสิ่งใดกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ (แนวคำตอบ มนุษย์และสัตว์อื่น ๆ ขำด
อำหำรและตำยในที่สุด)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรมโดยให้ได้ข้อสรุปว่า สิ่งมีชีวิตมี
ความสัมพันธ์ในเรื่องของการกินต่อกันเป็นทอด ๆ ภายในระบบนิเวศ
4) ขั้นขยายความรู้
(1) ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความหมายของโซ่อาหารและสายใยอาหาร และอธิบายถึง
ความสัมพันธ์ของโซ่อาหารและสายใยอาหารในธรรมชาติ ซึ่งท้าให้เกิดความสมดุลของประชากรใน
ระบบนิเวศร่วมกัน จากนั้นให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
แล้วน้าข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดท้าเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยน
เรียนรู้กัน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 104

(2) ครูเชื่อมโยงความรู้สู่อาเซียน โดยครูถามนักเรียนว่า รู้จักมังกรโคโมโดหรือไม่ สัตว์ชนิดนี้มี


บทบาทอย่างไรในโซ่อาหาร จากนั้นครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับมังกรโคโมโด

มังกรโคโมโด เป็นสัตว์ในตระกูลกิ้งก่าที่ตัวใหญ่ที่สุด
ในโลก เมื่อโตเต็มที่ลาตัวจะยาวประมาณ 3 เมตร หนักประมาณ
127 กิโลเมตร พบได้บนเกาะเล็ก ๆ ทางตอนกลางของประเทศ
อินโดนีเซีย มังกรโคโมโดเป็นสัตว์ที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหารหรือ
เป็นผู้ล่าเหยื่อ มีฟันที่แหลมคมมาก มีขากรรไกรทีแ่ ข็งแรง
น้าลายของสัตว์ชนิดนี้มแี บคทีเรียที่เป็นอันตรายเกือบ 15 ชนิด

สามารถล้มสัตว์ได้หลายชนิดทั้งควาย กวาง แพะ และกินกันเองด้วย แม้ว่ามังกรโคโมโดจะเป็นสัตว์ที่ดุร้ายแต่ก็


เป็นสัตว์ที่เหลือน้อยมาก เนื่องจากถูกมนุษย์รบกวน รัฐบาลอินโดนีเซียจึงอนุรักษ์ไว้โดยประกาศให้เกาะ 3 เกาะ
เป็นอุทยานแห่งชาติโคโมโด ได้แก่ เกาะโคโมโด เกาะริงกา และเกาะปาดาร์
(3) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและค้าศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของ
สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม จากหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรมมีจุดใดบ้าง
ที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มีการ
แก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการน้าความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบค้าถาม เช่น
– ผู้บริโภคมีกี่ชนิด อะไรบ้าง ยกตัวอย่างประกอบ
– ในระบบนิเวศ ผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้สลายสารอินทรีย์มีความสัมพันธ์กันในลักษณะใด
ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม โดยร่วมกัน
เขียนเป็นแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกัน
โดยใช้ ใ บงาน สำรวจก่ อ นเรี ย น 3 ที่ ค รู จัด เตรี ย มไว้ ใ ห้ ป ระกอบการศึ ก ษาค้ น คว้ า (ในสื่ อ การเรี ย นรู้
PowerPoint วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 105

3) ครูอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมและมอบหมายให้นักเรียนไปปฏิบัติกิจกรรมที่บ้าน
พร้อมทั้งให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปรายร่วมกัน
ในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม จากหนังสือ วารสาร
สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยส้าหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งน้าข้อมูลที่ค้นคว้าได้มา
จัดท้าเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ภาพการกินอาหารของคนและสัตว์
2. ใบกิจกรรมที่ 9 ส้ารวจแหล่งที่มาของอาหาร
3. ใบงานส้ารวจก่อนเรียน 3
4. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท ส้านักพิมพ์วัฒนาพานิช จ้ากัด
5. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
ส้านักพิมพ์วัฒนาพานิช จ้ากัด
6. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท ส้านักพิมพ์วัฒนา
พานิช จ้ากัด
7. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท ส้านักพิมพ์วัฒนา
พานิช จ้ากัด

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความส้าเร็จในการจัดการเรียนรู้………………………………………………………………..
แนวทางการพัฒนา………………………………………………………………………………..
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้…………………………………………………………...
แนวทางแก้ไข……………………………………………………………………………………..
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน………………………………………………………………………
เหตุผล…………………………………………………………………………………………….
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้…………………………………………………………….

(ลงชื่อ)__________________________ ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 106

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 11
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกัน

สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม เวลา 1 ชั่วโมง


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

1. สาระสาคัญ
สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันในธรรมชาติจะมีความสัมพันธ์กันในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ ภาวะ
พึ่งพากัน ภาวะอิงอาศัย ภาวะการได้ประโยชน์ร่วมกัน และภาวะปรสิต
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
สืบค้นข้อมูลและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการด้ารงชีวิตของสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อม
ในท้องถิ่น (ว 2.1 ป. 6/3)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บ่งชี้และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันในรูปแบบต่าง ๆ ได้ (K)
2. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
3. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
4. ท้างานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สื่อสารและน้าความรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันไปใช้ในชีวิต
ประจ้าวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
ความสัมพันธ์ วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่ 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
อาศัยอยู่ร่วมกัน วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
2. ประเมินกิจกรรม 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
ฝึกทักษะระหว่างเรียน กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือ
รายกลุ่ม
5. สาระการเรียนรู้
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกัน
– ภาวะพึ่งพากัน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 107

– ภาวะอิงอาศัย
– ภาวะการได้ประโยชน์ร่วมกัน
– ภาวะปรสิต
6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์
ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันตามประสบการณ์ของ
นักเรียน
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนค้าศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันที่ได้เรียนรู้
หรือที่นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 17
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูถามค้าถามนักเรียน เพื่อกระตุ้นความสนใจ เช่น
– นักเรียนคิดว่านอกจากความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในรูปแบบผู้ล่าเหยื่อและเหยื่อแล้ว ยังมี
ความสัมพันธ์ในรูปแบบอื่นหรือไม่
2) นักเรียนร่วมกันตอบค้าถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับค้าตอบของค้าถาม เพื่อเชื่อมโยง
ไปสู่การเรียนรู้เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกัน
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่งมี
ขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูให้นักเรียนนาใบงาน สำรวจก่อนเรียน 3 ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าที่บ้านมา
อภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทากิจกรรมที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจากการ
จดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับกิจกรรม ดังนี้
– มีสิ่งมีชีวิตที่มีความสัมพันธ์คล้ายคลึงกับดอกไม้กับแมลงหรือไม่ อะไรบ้าง (แนว
คำตอบ มี เช่น นกเอี้ยงกับควำย)
– ถ้าดอกไม้กับแมลงแยกจากกันจะสามารถดารงชีวิตอยู่ต่อไปได้หรือไม่ (แนวคำตอบ
ได้)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทากิจกรรมอย่างน้อย
คนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความคิดเห็น
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 108

(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับ กิจกรรม สำรวจก่อนเรียน 3 โดยครูช่วยอธิบายให้


นักเรียนเข้าใจว่า สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันในธรรมชาติมีความสัมพันธ์กันในรูปแบบต่า ง ๆ เช่น ภาวะ
พึ่งพากัน ภาวะอิงอาศัย ภาวะการได้ประโยชน์ร่วมกัน และภาวะปรสิต
2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันจากใบความรู้หรือใน
หนังสือเรียน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า ในระบบนิเวศนอกจากจะมีความสัมพันธ์ของการ
ล่าเหยื่อแล้ว ยังมีความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันอีกหลายรูปแบบ ซึ่งมีลักษณะของความ
สัมพันธ์ที่แตกต่างกัน
(2) แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5–6 คน สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่อาศัย
อยู่ร่วมกัน โดยด้าเนินการตามขั้นตอนดังนี้
– แต่ละกลุ่มวางแผนการสืบค้นข้อมูล โดยแบ่งหัวข้อความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่
ร่วมกันเป็นหัวข้อย่อย เช่น ภาวะพึ่งพากัน ภาวะอิงอาศัย ภาวะการได้ประโยชน์ร่วมกัน ภาวะปรสิต ให้
สมาชิกแต่ละกลุ่มช่วยกันสืบค้นตามหัวข้อที่ก้าหนด
– สมาชิกแต่ละกลุ่มช่วยกันสืบค้นข้อมูลตามหัวข้อที่กลุ่มของตนเองรับผิดชอบ โดยการ
สืบค้นจากหนังสือ วารสาร สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยส้าหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต
– สมาชิกกลุ่มน้าข้อมูลที่สืบค้นได้มารายงานให้เพื่อน ๆ สมาชิกในกลุ่มฟังรวมทั้งร่วมกัน
อภิปรายซักถามจนคาดว่าสมาชิกทุกคนมีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน
– สมาชิกกลุ่มช่วยกันสรุปความรู้ที่ได้ทั้งหมดเป็นผลงานของกลุ่ม
(3) ครูคอยแนะน้าช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มน้าเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวค้าถาม
ต่อไปนี้
– ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันมีอะไรบ้าง (แนวคำตอบ ภำวะพึ่งพำกัน
ภำวะอิงอำศัย ภำวะกำรได้ประโยชน์ร่วมกัน และภำวะปรสิต)
– ความสัมพันธ์แต่ละรูปแบบมีความแตกต่างกันในลักษณะใด (แนวคำตอบ กำรได้ประโยชน์
หรือเสียประโยชน์ของสิ่งมีชีวิตที่อำศัยอยู่ร่วมกัน)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า ความสัมพันธ์
ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันมีหลายรูปแบบ เช่น ภาวะพึง่ พากัน ภาวะอิงอาศัย ภาวะการได้
ประโยชน์ร่วมกัน ภาวะปรสิต ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีลักษณะของความสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน
4) ขั้นขยายความรู้
(1) นักเรียนจัดท้าตารางวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกัน โดย
ประกอบด้วยภาพความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต รูปแบบความสัมพันธ์ และค้าอธิบายลักษณะความสัมพันธ์
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 109

ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกัน แล้วน้าตารางที่ได้มาแสดงให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้


กัน
(2) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและค้าศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง
สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกัน จากหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใดบ้าง
ที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามี ครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มีการ
แก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการน้าความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบค้าถาม เช่น
– แบคทีเรียไรโซเบียมในปมรากพืชตระกูลถั่วมีรูปแบบความสัมพันธ์เป็นแบบใด
– หนอนผีเสื้อกินใบไม้เป็นอาหาร ท้าให้ต้นไม้ถูกท้าลาย เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตแบบใด
ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกัน โดย
ร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้ ง ต่อ ไป โดยให้ นั ก เรี ยนศึก ษาค้ นคว้ า ล่ ว งหน้ า ในหั ว ข้ อ ความสั มพั นธ์ ร ะหว่ างสภาพแวดล้ อ มกั บ
สิ่งมีชีวิต โดยใช้ใบงาน สำรวจก่อนเรียน 4 ที่ครูจัดเตรียมไว้ให้ประกอบการศึกษาค้นคว้า (ในสื่อการเรียนรู้
PowerPoint วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด)
3) ครูอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมและมอบหมายให้นักเรียนไปปฏิบัติกิจกรรมที่บ้าน
พร้อมทั้งให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปรายร่วมกัน
ในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันในท้องถิ่นของนักเรียน ว่ามี
ความสัมพันธ์เป็นแบบใดบ้าง รวบรวมรูปแบบความสัมพันธ์ที่ได้จัดเป็นรายงาน แล้วน้าเสนอหน้า
ชั้นเรียน

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ใบงานส้ารวจก่อนเรียน 3
2. ใบงานส้ารวจก่อนเรียน 4
3. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท ส้านักพิมพ์วัฒนาพานิช จ้ากัด
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 110

4. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท


ส้านักพิมพ์วัฒนาพานิช จ้ากัด
5. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท ส้านักพิมพ์วัฒนา
พานิช จ้ากัด
6. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท ส้านักพิมพ์วัฒนา
พานิช จ้ากัด

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความส้าเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 111

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 12
ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต

สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม เวลา 2 ชั่วโมง


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

1. สาระสาคัญ
สิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม ได้แก่ แสงสว่าง อุณหภูมิ น้้า ออกซิเจน ดิน
และแร่ธาตุ จะเห็นว่าสิ่งมีชีวิตยังต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมเพื่อการด้ารงชีวิตอยู่ร่วมกัน
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
สืบค้นข้อมูลและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการด้ารงชีวิตของสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อม
ในท้องถิ่น (ว 2.1 ป. 6/3)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการด้ารงชีวิตของสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อมได้ (K)
2. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
3. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
4. ท้างานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สื่อสารและน้าความรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิตไปใช้ใน
ชีวิตประจ้าวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
ความสัมพันธ์ระหว่าง วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
สภาพแวดล้อมกับ 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
สิ่งมีชีวิต วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
2. ประเมินกิจกรรม 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
ฝึกทักษะระหว่างเรียน กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 112

5 . สาระการเรียนรู้
ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต
– แสงสว่าง
– อุณหภูมิ
– น้้า
– ออกซิเจน
– ดินและแร่ธาตุ
6 . แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์
ระหว่างสภาพแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิตตามประสบการณ์ของ
นักเรียน
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนค้าศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิตที่ได้
เรียนรู้หรือที่นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 18
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูน้าภาพแสดงระบบนิเวศบนบกหรือระบบนิเวศในน้้ามาให้นักเรียนดู และร่วมกันอภิปราย
เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิตโดยครูใช้ค้าถามกระตุ้นดังนี้
– สิ่งมีชีวิตในภาพนี้ด้ารงชีวิตอยู่ได้เพราะเหตุใด
– นักเรียนคิดว่าในสภาพแวดล้อมของระบบนิเวศเหล่านี้ ถ้าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป สิ่งมีชีวิตจะ
ด้ารงชีวิตอยู่ได้หรือไม่ เพราะอะไร
2) นักเรียนร่วมกันตอบค้าถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับค้าตอบของค้าถามเพื่อเชื่อมโยง
ไปสู่การเรียนรู้เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่งมี
ขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูให้นักเรียนนาใบงาน สำรวจก่อนเรียน 4 ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าที่บ้านมา
อภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทากิจกรรมที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจากการ
จดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับกิจกรรม ดังนี้
– ปลาโผล่ขึ้นมาเหนือผิวน้าเพื่ออะไร (แนวคำตอบ ต้องกำรออกซิเจน)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 113

– น้า ดิน และแร่ธาตุมีผลต่อการดารงชีวิตของพืชในลักษณะใด (แนวคำตอบ พืชจะใช้น้ำ


ดิน และแร่ธำตุในกำรเจริญเติบโต และสร้ำงอำหำร)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทากิจกรรมอย่างน้อย
คนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความคิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับกิจกรรม สำรวจก่อนเรียน 4 โดยครูช่วยอธิบายให้
นักเรียนเข้าใจว่า สิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม ได้แก่ แสงสว่าง อุณหภูมิ น้า ออกซิเจน ดิน
และแร่ธาตุ
2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิตจากใบความรู้หรือใน
หนังสือเรียน โดยครูช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่า สภาพแวดล้อมของแต่ละแหล่งที่อยู่มีอิทธิพลต่อการ
ด้ารงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
(2) แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5–6 คน ปฏิบัตกิ ิจกรรม สังเกตสภำพแวดล้อมแหล่งที่อยู่อำศัย
ของไส้เดือนดิน ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกตดังนี้
– น้าดิน ก้อนหิน เศษไม้ และใบไม้วางลงบนผ้าพลาสติก รดน้้าบนดินเล็กน้อย แต่ไม่เปียกมาก
คลุกส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน แล้วน้าไปใส่กล่องพลาสติกใส
– วางไส้เดือนดินลงในกล่องพลาสติกใสจากข้อ 1 น้าไปวางในห้องมืดที่อุณหภูมิห้องและคอย
ดูแลให้ดินชื้นอยู่เสมอ
– หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยของไส้เดือนดิน บันทึกผล
– วัดอุณหภูมิของพื้นดินโดยเสียบเทอร์มอมิเตอร์ลงในดิน และบันทึกสภาพแวดล้อมที่เหมาะ
ส้าหรับทีอ่ ยูอ่ าศัยของไส้เดือนดิน
(3) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากใบกิจกรรม
(4) ครูคอยแนะน้าช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและเปิด
โอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา

ชั่วโมงที่ 19
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มน้าเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวค้าถาม
ต่อไปนี้
– ไส้เดือนดินอาศัยในแหล่งที่อยู่ที่มีลักษณะเป็นแบบใด (แนวคำตอบ ชื้น มืด และอุณหภูมิไม่สูง
มำกนัก)
– ถ้าสภาพแวดล้อมที่ไส้เดือนดินอาศัยอยู่เปลี่ยนแปลงไป จะส่งผลกระทบต่อการด้ารงชีวิตของ
ไส้เดือนดินในลักษณะใด (แนวคำตอบ ไส้เดือนดินต้องหำแหล่งที่อยู่ใหม่ที่เหมำะสม ไม่เช่นนั้นอำจทำให้
ไส้เดือนดินตำยได้)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 114

(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า สภาพแวดล้อม


ที่เหมาะสมจะท้าให้สิ่งมีชีวิตอยู่ได้
4) ขั้นขยายความรู้
(1) ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิตของแต่ละ
แหล่งที่อยู่ ซึ่งต้องประกอบด้วยแสงสว่าง อุณหภูมิ น้้า ออกซิเจน ดิน และแร่ธาตุที่เหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิต
ที่อาศัยอยู่ จากนั้นให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิตจาก
หนังสือวิทยาศาสตร์และอินเทอร์เน็ต โดยน้าข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดท้าเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศ
ให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
(2) ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจ้าศีลว่า อุณหภูมิมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมบางประการของ
สัตว์ เช่น ในฤดูหนาวกบจะหยุดพักกินอาหารและไม่เคลื่อนไหวเพื่อถนอมพลังงาน และซ่อนตัวอยู่ในรู
ใต้ดินเพื่อปรับอุณหภูมิในร่างกาย ลดอัตราการหายใจและการเต้นของหัวใจ สภาพดังกล่าวนี้เรียกว่า การ
จ้าศีล (estivation)
(3) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและค้าศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง
สภาพแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต จากหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใดบ้าง
ที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มีการ
แก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม
และการน้าความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบค้าถาม เช่น
– ถ้าสภาพแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เปลี่ยนแปลงไปจะส่งผลกระทบต่อการด้ารงชีวิตของ
สิ่งมีชีวิตในลักษณะใด
– แสงสว่าง อุณหภูมิ น้้า และออกซิเจน มีผลต่อการด้ารงชีวิตของสัตว์ในลักษณะใด

ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต โดย
ร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
3) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปราย
ร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 115

8. กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนสังเกตแหล่งที่อยู่ของพืชหรือสัตว์ที่นักเรียนสนใจ ว่ามีลักษณะของแหล่งที่อยู่เป็น
อย่างไร ประกอบด้วยสิ่งใดบ้าง บันทึกข้อมูลที่ได้แล้วน้ามาจัดท้าเป็นรายงาน น้าเสนอหน้าชั้นเรียน

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ภาพแสดงระบบนิเวศบนบกหรือระบบนิเวศในน้้า
2. ใบงานส้ารวจก่อนเรียน 4
3. ใบกิจกรรมที่ 10 สังเกตสภาพแวดล้อมแหล่งที่อยู่อาศัยของไส้เดือนดิน
4. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท ส้านักพิมพ์วัฒนาพานิช จ้ากัด
5. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
ส้านักพิมพ์วัฒนาพานิช จ้ากัด
6. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท ส้านักพิมพ์วัฒนา
พานิช จ้ากัด
7. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท ส้านักพิมพ์วัฒนา
พานิช จ้ากัด

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความส้าเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 116

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 13
การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม เวลา 1 ชั่วโมง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

1. สาระสาคัญ
สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่ที่แตกต่างกันจะมีโครงสร้างของร่างกายที่เหมาะสมต่อการ
ด้ารงชีวิตส้าหรับแหล่งที่อยู่นั้น ๆ
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
สืบค้นข้อมูลและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการด้ารงชีวิตของสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อม
ในท้องถิ่น (ว 2.1 ป. 6/3)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายวิธีการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ (K)
2. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
3. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
4. ท้างานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สื่อสารและน้าความรู้เรื่องการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อมไปใช้ในชีวิต
ประจ้าวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
การปรับตัวของ วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
สิ่งมีชีวิตให้เข้ากับ 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
สภาพแวดล้อม วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
2. ประเมินกิจกรรม 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
ฝึกทักษะระหว่างเรียน กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือ
รายกลุ่ม

5. สาระการเรียนรู้
การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 117

6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการปรับตัว
ของสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อมตามประสบการณ์
ของนักเรียน
ศิลปะ วาดรูปการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตบริเวณโรงเรียน
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนค้าศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับการ
ปรับตัวของสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่ได้เรียนรู้
หรือที่นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 20
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูถามค้าถามนักเรียนเพื่อกระตุ้นความสนใจ เช่น
– พืชที่เจริญเติบโตในทะเลทรายมีความแตกต่างจากพืชในบริเวณอื่น ๆ อย่างไร
2) นักเรียนช่วยกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็นของค้าตอบจากค้าถามข้างต้นเพื่อเชื่อมโยง
ไปสู่การเรียนรู้เรื่อง การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่งมี
ขั้นตอนดังนี้
1) ขัน้ สร้างความสนใจ
(1) ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนแล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มนาเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ การปรับตัว
ของสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง จากนั้นให้
แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมานาเสนอข้อมูลหน้าห้องเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทาภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจากการ
จดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้
– สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่บริเวณขั้วโลกเหนือมีความแตกต่างจากสัตว์ในบริเวณ
อื่น ๆ อย่างไร (แนวคำตอบ ทนต่อควำมหนำวเย็นได้ดี มีชั้นไขมันหนำ เพื่อสร้ำงควำมอบอุ่นให้ร่ำงกำย)
– สิ่งมีชีวิตมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในแหล่งที่อยู่เพื่ออะไร (แนวคำตอบ
เพื่อกำรอยู่รอดและสำมำรถสืบพันธุ์ต่อไปได้)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทาภาระงานอย่างน้อย
คนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความคิดเห็น
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 118

(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า


สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแหล่ งที่อยู่ที่แตกต่างกันจะมีโครงสร้างของร่างกายที่เ หมาะสมต่อการดารงชีวิ ต
สาหรับแหล่งที่อยู่นั้น ๆ

2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อมจากใบความรู้หรือใน
หนังสือเรียน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะมีการปรับตัวให้เข้ากับ
สภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่เพื่อการอยู่รอดและสืบพันธุ์ต่อไปได้
(2) แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5–6 คน ปฏิบัตกิ ิจกรรม สังเกตกำรปรับตัวของสิ่งมีชีวิตในบริเวณ
โรงเรียน ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกตดังนี้
– สังเกตการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตบริเวณโรงเรียน เช่น ผักตบชวา ต้าลึง และจิ้งจก บันทึกผล
การสังเกตและวาดรูปประกอบ
– อภิปรายและสรุปผลการสังเกต
(3) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากใบกิจกรรม
(4) ครูคอยแนะน้าช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มน้าเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวค้าถาม
ต่อไปนี้
– ยกตัวอย่างสิ่งมีชีวิตที่มีการปรับรูปร่างให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ (แนวคำตอบ ตั๊กแตน
กิ่งไม้ ตั๊กแตนใบไม้ และผีเสื้อกลำงคืน)
– ถ้าสิ่งมีชีวิตไม่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมจะเกิดสิ่งใดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ (แนว
คำตอบ ไม่สำมำรถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า สิ่งมีชีวิตจะมี
โครงสร้างและพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อการด้ารงชีวิตในแต่ละแหล่งที่อยู่ เป็นการปรับตัวให้เข้ากับ
สภาพแวดล้อมเพื่อการด้ารงพันธุ์ต่อไป
4) ขั้นขยายความรู้
(1) ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อมจาก
หนังสือวิทยาศาสตร์และอินเทอร์เน็ต โดยน้าข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดท้าเป็นรายงานหรือจัดป้ายนิเทศ
ให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
(2) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและค้าศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต
ให้เข้ากับสภาพแวดล้อม จากหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 119

5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใดบ้าง
ที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มีการ
แก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม
และการน้าความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบค้าถาม เช่น
– สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นของนักเรียนมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในลักษณะ
ใดบ้าง
– นักเรียนคิดว่าการสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์มีความเกี่ยวข้องกับการปรับตัวให้เข้ากับ
สภาพแวดล้อมหรือไม่ เพราะเหตุใด
ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อม โดย
ร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
3) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปราย
ร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อม จากหนังสือ
วารสาร สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยส้าหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งน้าข้อมูลที่
ค้นคว้าได้มาจัดท้าเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ภาพสัตว์และพืชที่อาศัยตามแหล่งที่อยู่ต่าง ๆ บนโลก เช่น ขั้วโลก ทะเลทราย
2. ใบกิจกรรมที่ 11 สังเกตการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตในบริเวณโรงเรียน
3. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท ส้านักพิมพ์วัฒนาพานิช จ้ากัด
4. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
ส้านักพิมพ์วัฒนาพานิช จ้ากัด
5. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท ส้านักพิมพ์วัฒนา
พานิช จ้ากัด
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 120

6. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท ส้านักพิมพ์วัฒนา


พานิช จ้ากัด

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความส้าเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 121

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 14
ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น

สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม เวลา 1 ชั่วโมง


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

1. สาระสาคัญ
มนุษย์ต้องพึ่งพาอาศัยทรัพยากรธรรมชาติในการด้ารงชีวิตตลอดเวลา เพราะมนุษย์ต้องใช้
ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้เพื่อผลิตอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ประเทศไทยพบว่า
มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย เช่น ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรสัตว์ป่า ทรัพยากรน้้า และทรัพยากรอากาศ
ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้มีความหลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
สืบค้นข้อมูลและอภิปรายแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละท้องถิ่นที่เป็นประโยชน์ต่อการ
ด้ารงชีวิต (ว 2.2 ป.6/1)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายเกี่ยวกับแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นประโยชน์และสาเหตุที่ท้าให้ทรัพยากร
ธรรมชาติถูกท้าลายได้ (K)
2. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
3. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
4. ท้างานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สื่อสารและน้าความรู้เรื่องทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นไปใช้ในชีวิตประจ้าวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
ทรัพยากรธรรมชาติใน วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
ท้องถิ่น 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
2. ประเมินกิจกรรม วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
ฝึกทักษะระหว่างเรียน 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 122

5. สาระการเรียนรู้
ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
– ทรัพยากรป่าไม้
– ทรัพยากรสัตว์ป่า
– ทรัพยากรน้้า
– ทรัพยากรอากาศ
6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับทรัพยากร
ธรรมชาติในท้องถิ่นตามประสบการณ์ของนักเรียน
สังคมศึกษา ศาสนา สนทนา พูดคุยเกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ
และวัฒนธรรม สมาชิกอาเซียน
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนค้าศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นที่ได้เรียนรู้หรือที่
นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 21
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูน้าภาพป่าไม้ที่มีน้าตกและต้นไม้มากมายหลายชนิดมาให้นักเรียนดู และช่วยกันอภิปราย
เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น โดยครูใช้ค้าถามกระตุน้ ดังนี้
– ในภาพนี้คือทรัพยากรธรรมชาติประเภทใด
– ในท้องถิ่นของนักเรียนมีทรัพยากรธรรมชาติประเภทนี้หรือไม่
– ถ้าขาดทรัพยากรธรรมชาติดังกล่าวแล้วจะมีผลต่อการด้ารงชีวิตของเราในเรื่องใด
– ป่าไม้ในท้องถิ่นของนักเรียนมีลักษณะเป็นแบบใด
2) นักเรียนร่วมกันตอบค้าถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับค้าตอบของค้าถาม เพื่อเชื่อมโยง
ไปสู่การเรียนรู้เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่งมี
ขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครู แ บ่ ง กลุ่ ม นั ก เรี ย นแล้ ว เปิ ด โอกาสให้ นั ก เรี ย นในกลุ่ ม น าเสนอข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ
ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง จากนั้นให้แต่ละ
กลุ่มส่งตัวแทนมานาเสนอข้อมูลหน้าห้องเรียน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 123

(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทาภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจากการ


จดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้
– ถ้าขาดทรัพยากรป่าไม้แล้วจะมีผลต่อการดารงชีวิตของเราในเรื่องใด (แนวคำตอบ มี
ผล เนื่องจำกป่ำไม้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธำร ซึ่งน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในกำรดำรงชีวิตของมนุษย์)
– ในท้ อ งถิ่ น ของนั ก เรี ย นมี ท รั พ ยากรธรรมชาติ ป ระเภทใดมากที่ สุ ด (แนวค ำตอบ
ทรัพยำกรป่ำไม้)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทาภาระงานอย่างน้อย
คนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความคิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า
ประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย เช่น ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรสัตว์ป่า ทรัพยากรน้า และ
ทรัพยากรอากาศ ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้มีความหลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น
2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียนโดยครู
ช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า ประเทศไทยมีทรัพยากรป่าไม้จ้าแนกได้หลายประเภท
(2) แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5–6 คน ปฏิบัตกิ ิจกรรม สืบค้นข้อมูลป่ำไม้ในท้องถิ่น ตามขั้นตอน
ทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกตและการส้ารวจดังนี้
– สืบค้นข้อมูลป่าไม้ในจังหวัดหรือในท้องถิ่นที่นักเรียนอาศัยอยู่ว่ามีลักษณะเป็นแบบใด
มีชนิดพันธุ์ของพืชมากน้อยเพียงใด มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าหรือไม่
– วิเคราะห์และสรุปว่าป่าไม้ในท้องถิ่นของนักเรียนเป็นป่าประเภทใด
(3) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากใบกิจกรรม
(4) ครูคอยแนะน้าช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มน้าเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวค้าถาม
ต่อไปนี้
– ป่าไม้ในจังหวัดหรือในท้องถิ่นที่นักเรียนอาศัยอยู่มีลักษณะเป็นแบบใด (แนวคำตอบ เป็นป่ำ
เบญจพรรณ มีลักษณะเป็นป่ำโปร่ง และมีพันธุ์พืชหลำยชนิด)
– สิ่งมีชีวิตทั้งที่เป็นพืชและสัตว์ที่นักเรียนส้ารวจพบมีอะไรบ้าง (แนวคำตอบ พืชที่พบ คือ ไม้
สัก แดง ประดู่ เสลำ ไผ่ ตะแบก และมะเกลือ ส่วนสัตว์ที่พบ คือ นกกำเหว่ำ ผีเสื้อ และหอยทำก)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า ป่าไม้ใน
ประเทศไทยมีหลายประเภท และเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ส้าคัญอย่างยิ่งส้าหรับมนุษย์
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 124

4) ขั้นขยายความรู้
(1) ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า ทรัพยากรน้้า และทรัพยากรอากาศ โดย
เน้นที่ประโยชน์ที่ได้รับจากทรัพยากรแต่ละประเภท รวมถึงสาเหตุที่ท้าให้ทรัพยากรแต่ละประเภทถูก
ท้าลาย จากนั้นให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นจากหนังสือวิทยาศาสตร์และ
อินเทอร์เน็ต โดยน้าข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดท้าเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
(2) ครูเชื่อมโยงความรู้สู่อาเซียน โดยให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับป่าไม้ของประเทศเพื่อนบ้าน
ดังนี้
ลาว อุดมไปด้วยทรัพยากรป่าไม้ เช่น ไม้ประดู่ ไม้มะค่า ไม้ตะเคียน ไม้สัก ไม้รัง และไม้ยาง
นอกจากนี้ยังมีไม้ที่น่าสนใจ คือ ไม้โลงเลง มีลาต้นขนาดใหญ่ ทนแดด ทนฝน และทนปลวกได้นานกว่า
ร้อยปี ชาวบ้านนิยมนามาทาหลังคาบ้าน และนามาทาเป็นโลงศพ ไม้โลงเลง หรือโหรงเหรง เป็นไม้วงศ์
เดียวกับสน เป็นไม้สีอ่อนสวย มีกลิ่นหอมแบบธรรมชาติจากน้ามันในเนื้อไม้ ต้านทานแบคทีเรียได้ พบมากทาง
ตอนเหนือของประเทศลาว
เมียนมา พื้นที่ครึ่งหนึ่งของประเทศยังคงเป็นผืนป่า เมียนมาจึงอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ทัง้
บนดิน ใต้ดิน และในน้า ไม้ที่สาคัญ ได้แก่ ไม้สักและไม้เนื้อแข็ง เป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุด
อินโดนีเซีย เป็นประเทศหนึ่งทีม่ ปี ่าไม้อุดมสมบูรณ์เนื่องจากอยู่ในเขตศูนย์สูตร ป่าไม้ส่วนใหญ่เป็น
ป่าดิบชื้น และป่าพรุ ซึ่งเป็นทั้งแหล่งต้นน้าธรรมชาติและทีอ่ ยู่อาศัยของสัตว์ป่าน้อยใหญ่และพืชนานาพันธุ์
(3) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและค้าศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติใน
ท้องถิ่น จากหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรมมีจุดใดบ้าง
ที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใดและได้มีการ
แก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการน้าความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบค้าถาม เช่น
– ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นของนักเรียนโดยเฉพาะป่าไม้มีความอุดมสมบูรณ์หรือไม่
ลักษณะใด
– มนุษย์ได้รับประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติแต่ละประเภทในลักษณะใดบ้าง
ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น โดยร่วมกันเขียนเป็นแผน
ที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 125

2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อประชากรมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติ
3) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปราย
ร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นจากหนังสือ วารสาร สารานุกรม
วิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยส้าหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งน้าข้อมูลที่ได้มาจัดท้าเป็นรายงาน
หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ภาพป่าไม้ที่มีน้าตกและต้นไม้มากมายหลายชนิด
2. ใบกิจกรรมที่ 12 สืบค้นข้อมูลป่าไม้ในท้องถิ่น
3. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท ส้านักพิมพ์วัฒนาพานิช จ้ากัด
4. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
ส้านักพิมพ์วัฒนาพานิช จ้ากัด
5. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท ส้านักพิมพ์วัฒนา
พานิช จ้ากัด
6. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท ส้านักพิมพ์วัฒนา
พานิช จ้ากัด

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความส้าเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 126

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 15
ประชากรมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติ

สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม เวลา 1 ชั่วโมง


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

1. สาระสาคัญ
การเพิ่มของประชากรมนุษย์มีผลท้าให้ทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ถูกน้ามาใช้มากขึ้น
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
วิเคราะห์ผลของการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ (ว 2.2 ป. 6/2)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและข้อจ้ากัดของทรัพยากรธรรมชาติกับความต้องการของ
มนุษย์ได้ (K)
2. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
3. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
4. ท้างานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สื่อสารและน้าความรู้เรื่องประชากรมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ในชีวิตประจ้าวันได้
(P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
ประชากรมนุษย์กับ วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
ทรัพยากรธรรมชาติ 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
2. ประเมินกิจกรรม วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
ฝึกทักษะระหว่างเรียน 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
5. สาระการเรียนรู้
ประชากรมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 127

6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับประชากร
มนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติตามประสบการณ์ของ
นักเรียน
สังคมศึกษา ศาสนา สนทนา พูดคุยเกี่ยวกับจานวนประชากรในกลุ่มประเทศ
และวัฒนธรรม สมาชิกอาเซียน
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนค้าศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
ประชากรมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติที่ได้เรียนรู้หรือ
ที่นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 22
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูน้าแผนภูมิแสดงการเพิ่มประชากรมนุษย์ของประเทศไทยติดบนกระดานให้นักเรียนดู
แล้วครูตั้งประเด็นการอภิปรายดังนี้
– แผนภูมินี้แสดงข้อมูลอะไร
– การเปลี่ยนแปลงของประชากรของประเทศไทยเป็นไปในลักษณะใด
– จากแผนภูมินี้แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงประชากรของประเทศไทยเป็นไปในลักษณะใด
2) นักเรียนร่วมกันตอบค้าถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับค้าตอบของค้าถาม เพื่อเชื่อมโยง
ไปสู่การเรียนรู้เรื่อง ประชากรมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติ
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่งมี
ขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนแล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มนาเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ ประชากร
มนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติ ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง จากนั้นให้แต่ละ
กลุ่มส่งตัวแทนมานาเสนอข้อมูลหน้าห้องเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทาภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจากการ
จดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้
– การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมต่า ง ๆ เกิดจากความต้องการในด้านใดของมนุษย์
(แนวคำตอบ ควำมต้องกำรในกำรบริโภคทรัพยำกรธรรมชำติ)
– นักเรียนมีวิธีการในการแก้ไขปัญหาการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร (แนว
คำตอบ ไม่ใช้ทรัพยำกรธรรมชำติฟุ่มเฟือย)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 128

(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทาภาระงานอย่างน้อย
คนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความคิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า การ
เพิ่มของประชากรมนุษย์ มีผลทาให้ทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ถูกนามาใช้มากขึ้น
2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาประชากรมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติจากใบความรู้หรือในหนังสือ
เรียน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า การเพิ่มของประชากรมนุษย์ท้าให้ทรัพยากรธรรมชาติลดลง
อย่างรวดเร็ว
(2) แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5–6 คน สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับประชากรมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติ
โดยด้าเนินการตามขั้นตอนดังนี้
– แต่ละกลุ่มวางแผนการสืบค้นข้อมูล โดยแบ่งหัวข้อประชากรมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติ
เป็นหัวข้อย่อย เช่น ประชากรกับป่าไม้ ประชากรกับสัตว์ป่า หรือประชากรกับความหลากหลายของ
สิ่งมีชีวิต ให้สมาชิกแต่ละกลุ่มช่วยกันสืบค้นตามหัวข้อที่ก้าหนด
– สมาชิกแต่ละกลุ่มช่วยกันสืบค้นข้อมูลตามหัวข้อที่กลุ่มของตนเองรับผิดชอบ โดยการ
สืบค้นจากหนังสือ วารสาร สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยส้าหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต
– สมาชิกกลุ่มน้าข้อมูลที่สืบค้นได้มารายงานให้เพื่อน ๆ สมาชิกในกลุ่มฟังรวมทั้งร่วมกัน
อภิปรายซักถามจนคาดว่า สมาชิกทุกคนมีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน
– สมาชิกกลุ่มช่วยกันสรุปความรู้ที่ได้ทั้งหมดเป็นผลงานของกลุ่ม
(3) ครูคอยแนะน้าช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มน้าเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวค้าถาม
ต่อไปนี้
– ความต้องการด้านต่าง ๆ ของมนุษย์มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติ
ในลักษณะใด (แนวคำตอบ ทำให้ทรัพยำกรธรรมชำติลดลงอย่ำงรวดเร็ว)
– นักเรียนมีวิธีการท้าให้ทรัพยากรธรรมชาติอยู่คู่กับโลกของเราต่อไปได้อย่างไร (แนวคำตอบ
ใช้ทรัพยำกรอย่ำงมีประสิทธิภำพและสร้ำงจิตสำนึกของประชำชนให้ตระหนักถึงควำมสำคัญของ
ทรัพยำกรธรรมชำติ)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า การเพิ่มของ
ประชากรท้าให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มขึ้นและก่อให้เกิดมลพิษซึ่งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม
4) ขั้นขยายความรู้
(1) ครูให้ความรู้เพิ่มเติมและชี้ให้เห็นถึงผลดีผลเสียของการเพิ่มประชากร จากนั้นให้นักเรียน
สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับประชากรมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติจากหนังสือ วารสาร สารานุกรมวิทยาศาสตร์
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 129

สารานุกรมไทยส้าหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งน้าข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดท้าเป็นรายงาน หรือ


จัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
(2) ครูเชื่อมโยงความรู้สู่อาเซียน โดยถามนักเรียนว่า ทราบหรือไม่ว่า ประเทศใดในอาเซียนที่
มีจานวนประชากรมากที่สุด (ประเทศอินโดนีเซีย) ครูให้ความรู้เพิ่มเติมดังนี้
อาเซียนประกอบด้วยประเทศสมาชิกถึง 10 ประเทศ ประเทศที่มีประชากรมากที่สุด คือ
ประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจากประเทศอินโดนีเซียมีขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน โดยมีพื้นที่ขนาดใหญ่กว่า
ประเทศไทยถึง 10 เท่า มีจานวนประชากรประมาณ 243 ล้านคน ส่วนประเทศที่มีจานวนประชากรน้อย
ที่สุดในอาเซียน คือ บรูไนดารุสซาลาม มีประชากรเพียง 414,000 คน (ข้อมูลปี 2553) และประเทศที่มี
จานวนประชากรหนาแน่นมากที่สุดในอาเซียน คือ สิงคโปร์ คือ มีประชากรเกือบ 7,300 คนต่อ 1 ตาราง
กิโลเมตร
(3) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและค้าศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับประชากรมนุษย์กับ
ทรัพยากรธรรมชาติจากหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใดบ้าง
ที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มีการ
แก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการน้าความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบค้าถาม เช่น
– ผลดีและผลเสียที่เกิดขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติอันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากร
มนุษย์และการกระท้าของมนุษย์มีอะไรบ้าง
– นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่กับการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับทรัพยากร
ธรรมชาติ เพราะอะไร

ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับประชากรมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติ โดยร่วมกันเขียน
เป็นแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อมลพิษทางน้า
3) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปราย
ร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 130

8. กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับประชากรมนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติจากหนังสือ วารสาร
สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยส้าหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งน้าข้อมูลที่ได้มาจัด
ท้าเป็นรายงานหรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. แผนภูมิแสดงการเพิ่มประชากรมนุษย์ของประเทศไทย
2. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท ส้านักพิมพ์วัฒนาพานิช จ้ากัด
3. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
ส้านักพิมพ์วัฒนาพานิช จ้ากัด
4. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท ส้านักพิมพ์วัฒนา
พานิช จ้ากัด
5. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท ส้านักพิมพ์วัฒนา
พานิช จ้ากัด

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความส้าเร็จในการจัดการเรียนรู้………………………………………………………………..
แนวทางการพัฒนา………………………………………………………………………………..
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้…………………………………………………………...
แนวทางแก้ไข……………………………………………………………………………………..
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน………………………………………………………………………
เหตุผล…………………………………………………………………………………………….
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้…………………………………………………………….

(ลงชื่อ)__________________________ ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 131

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 16
มลพิษทางน้า

สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม เวลา 1 ชั่วโมง


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

1. สาระสาคัญ
มลพิษทางน้้าเป็นสภาวะของน้้าที่เสื่อมคุณภาพหรือมีคุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
เนื่องจากมีสารพิษเจือปนจนท้าให้เกิดความเสียหายต่อการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เป็นอันตรายต่อ
สิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อม
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
1. อภิปรายผลต่อสิ่งมีชีวิตจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ทั้งโดยธรรมชาติและโดยมนุษย์
(ว 2.2 ป. 6/3)
2. อภิปรายแนวทางในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ว 2.2 ป. 6/4)
3. มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น (ว 2.2 ป. 6/5)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายสาเหตุของน้้าเสียได้ (K)
2. เสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์แหล่งน้้าตามธรรมชาติได้ (K)
3. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
4. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
5. ท้างานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
6. สื่อสารและน้าความรู้เรื่องมลพิษทางน้้าไปใช้ในชีวิตประจ้าวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
มลพิษทางน้้า วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
2. ประเมินกิจกรรม 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
ฝึกทักษะระหว่างเรียน วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 132

5. สาระการเรียนรู้
มลพิษทางน้้า
6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับมลพิษทาง
น้้าและการอนุรักษ์แหล่งน้้าตามประสบการณ์ของนักเรียน
สังคมศึกษา ศาสนา แสดงบทบาทสมมุติเกี่ยวกับแนวทางการป้องกันน้้าเสีย
และวัฒนธรรม และการอนุรักษ์แหล่งน้้าในชุมชน
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนค้าศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
มลพิษทางน้้าที่ได้เรียนรู้หรือที่นักเรียนสนใจ

7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 23
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูถามค้าถามนักเรียนเพื่อกระตุ้นความสนใจ เช่น
– ถ้ามีน้าเสียเช่นนี้ไหลลงสู่แม่น้าล้าคลองในบริเวณบ้านของเราจะเกิดอะไรขึ้น
– ผลกระทบที่เกิดจากน้้าเสียส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตในเรื่องใดบ้าง
2) นักเรียนร่วมกันตอบค้าถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับค้าตอบของค้าถาม เพื่อเชื่อมโยง
ไปสู่การเรียนรู้เรื่อง มลพิษทางน้้า
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่งมี
ขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนแล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มนาเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ มลพิษทาง
น้า ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง จากนั้นให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมานาเสนอ
ข้อมูลหน้าห้องเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทาภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจากการ
จดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้
– นั ก เรี ย นจะมี วิ ธี ก ารแก้ ไ ขไม่ ใ ห้ เ กิ ด น้ าเสี ย ได้ อ ย่ า งไร (แนวค ำตอบ รณรงค์ ไ ม่ ใ ห้
ประชำชนทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำและปลูกผักตบชวำเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แหล่งน้ำ)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทาภาระงานอย่างน้อย
คนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความคิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า
มลพิษทางน้าเป็นสภาวะของน้าที่เสื่อมคุณภาพหรือมีคุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 133

2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษามลพิษทางน้้าจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครูช่วยอธิบายให้
นักเรียนเข้าใจว่า น้้าเสียเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการด้ารงชีวิตของมนุษย์
(2) แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5–6 คน สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับมลพิษทางน้้าโดยด้าเนินการตาม
ขั้นตอนดังนี้
– แต่ละกลุ่มวางแผนการสืบค้นข้อมูล โดยแบ่งหัวข้อมลพิษทางน้้าเป็นหัวข้อย่อย เช่น
แหล่งที่มาของมลพิษทางน้้า ผลเสียที่เกิดจากมลพิษทางน้้า วิธีการลดและป้องกันมลพิษทางน้้าให้สมาชิก
แต่ละกลุ่มช่วยกันสืบค้นตามหัวข้อที่ก้าหนด
– สมาชิกแต่ละกลุ่มช่วยกันสืบค้นข้อมูลตามหัวข้อที่กลุ่มของตนเองรับผิดชอบ โดยการ
สืบค้นจากหนังสือ วารสาร สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยส้าหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต
– สมาชิกกลุ่มน้าข้อมูลที่สืบค้นได้มารายงานให้เพื่อน ๆ สมาชิกในกลุ่มฟัง รวมทั้งร่วมกัน
อภิปรายซักถามจนคาดว่าสมาชิกทุกคนมีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน
– สมาชิกกลุ่มช่วยกันสรุปความรู้ที่ได้ทั้งหมดเป็นผลงานของกลุ่ม
(3) ครูคอยแนะน้าช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มน้าเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวค้าถาม
ต่อไปนี้
– น้้าเสียเกิดจากสาเหตุใด (แนวคำตอบ กำรปล่อยน้ำเสียจำกบ้ำนเรือนลงสู่แหล่งน้ำ กำรปล่อย
น้ำทิ้งจำกโรงงำนอุตสำหกรรม และกำรปล่อยของเสียจำกกำรเกษตรกรรม)
– เราสามารถลดและป้องกันการเกิดมลพิษทางน้้าได้โดยวิธีใด (แนวคำตอบ ไม่ทิ้งของเสียลง
สู่แหล่งน้ำและบำบัดน้ำเสียก่อนระบำยลงสู่แหล่งน้ำสำธำรณะ)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า น้้าเสียเกิดจาก
การปะปนของสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ จนท้าให้คุณภาพของน้้าเปลี่ยนแปลงไป
4) ขั้นขยายความรู้
(1) นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับมลพิษทางน้้าและการอนุรักษ์แหล่งน้้าจากหนังสือ วารสาร
สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยส้าหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งน้าข้อมูลที่ค้นคว้าได้มา
จัดท้าเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
(2) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและค้าศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับมลพิษทางน้้าจากหนังสือ
เรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใดบ้าง
ที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 134

(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มีการ


แก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม
และการน้าความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบค้าถาม เช่น
– แหล่งน้้าในชุมชนของนักเรียนมีสิ่งใดที่บ่งชี้ถึงความสกปรกบ้าง
– ถ้านักเรียนพบว่าคูน้าบริเวณโรงเรียนมีน้าเสียส่งกลิ่นเหม็นรบกวนชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณ
โรงเรียน นักเรียนจะพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวได้ด้วยวิธีใด
ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับมลพิษทางน้้า โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิดหรือ
ผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้ อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้า ในหัวข้อมลพิษทางอากาศ โดยใช้ใบงาน สืบค้นข้อมูล
ก่อนเรียน 5 ที่ครูจัดเตรียมไว้ให้ประกอบการศึกษาค้นคว้า (ในสื่อการเรียนรู้ PowerPoint วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด)
3) ครูอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมและมอบหมายให้นักเรียนไปปฏิบัติกิจกรรมที่บ้าน
พร้อมทั้งให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปรายร่วมกัน
ในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
1. นักเรียนช่วยกันเขียนค้าขวัญและจัดป้ายนิเทศเชิญชวนให้ช่วยกันลดมลพิษทางน้้า
2. นักเรียนร่วมกันแสดงบทบาทสมมุติเกี่ยวกับแนวทางการป้องกันน้้าเสีย และการอนุรักษ์แหล่ง
น้้าในชุมชน

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ใบงานสืบค้นข้อมูลก่อนเรียน 5
2. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท ส้านักพิมพ์วัฒนาพานิช จ้ากัด
3. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
ส้านักพิมพ์วัฒนาพานิช จ้ากัด
4. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท ส้านักพิมพ์วัฒนา
พานิช จ้ากัด
5. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท ส้านักพิมพ์วัฒนา
พานิช จ้ากัด
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 135

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความส้าเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 136

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 17
มลพิษทางอากาศ

สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม เวลา 1 ชั่วโมง


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

1. สาระสาคัญ
มลพิษทางอากาศเป็นสภาวะที่มีสิ่งเป็นพิษ เช่น ฝุ่น ควัน แก๊สพิษ เจือปนอยู่ในอากาศในปริมาณ
มาก จนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
1. อภิปรายผลต่อสิ่งมีชีวิตจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมทั้งโดยธรรมชาติและโดยมนุษย์
(ว 2.2 ป. 6/3)
2. อภิปรายแนวทางในการดูแลรักษาทรัพยากรสิ่งแวดล้อม (ว 2.2 ป. 6/4)
3. มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น (ว 2.2 ป. 6/5)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายสาเหตุของอากาศเสียได้ (K)
2. เสนอแนะแนวทางการป้องกันอากาศเป็นพิษได้ (K)
3. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
4. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
5. ท้างานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
6. สื่อสารและน้าความรู้เรื่องมลพิษทางอากาศไปใช้ในชีวิตประจ้าวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
มลพิษทางอากาศ วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
2. ประเมินกิจกรรม 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
ฝึกทักษะระหว่างเรียน วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 137

5. สาระการเรียนรู้
มลพิษทางอากาศ

6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับมลพิษทาง
อากาศและแนวทางในการแก้ปัญหาตามประสบการณ์ของ
นักเรียน
สังคมศึกษา ศาสนา แสดงบทบาทสมมุติเกี่ยวกับแนวทางการป้องกันอากาศเสีย
และวัฒนธรรม ในชุมชน
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนค้าศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
มลพิษทางอากาศ รวมทั้งแนวทางการป้องกันในชุมชนที่
ได้เรียนรู้หรือที่นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 24
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูถามค้าถามนักเรียนเพื่อกระตุ้นความสนใจ เช่น
– ควันที่เกิดจากท่อไอเสียรถยนต์ที่ปล่อยออกมามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในลักษณะใด
– ในระหว่างที่นักเรียนเดินทางมาโรงเรียนหรือบริเวณใดในโรงเรียนหรือชุมชนที่นักเรียน
อาศัยอยู่มีฝุ่นละอองหรือควันมาก ๆ บ้างหรือไม่
2) นักเรียนร่วมกันตอบค้าถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับค้าตอบของค้าถาม เพื่อเชื่อมโยง
ไปสู่การเรียนรู้เรื่อง มลพิษทางอากาศ
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่งมี
ขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูให้นักเรียนนาใบงาน สืบค้นข้อมูลก่อนเรียน 5 ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าที่
บ้านมาอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทากิจกรรมที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจากการ
จดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับกิจกรรม ดังนี้
– ถ้ามีควันจากท่อไอเสียรถยนต์จานวนมาก ๆ จะส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศของโลก
หรือไม่ ลักษณะใด (แนวคำตอบ ส่งผลให้เกิดกำรสะสมของแก๊สที่ชั้นบรรยำกำศอย่ำงหนำแน่น จึงทำให้ชั้น
บรรยำกำศกักเก็บควำมร้อนจำกดวงอำทิตย์ไว้มำกขึ้น)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 138

– การตัดต้นไม้ส่งผลต่อมลพิษทางอากาศมากเพราะอะไร (แนวคำตอบ เพรำะต้นไม้เป็น


สิ่งมีชีวิตที่สำมำรถกำจัดแก๊สคำร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นแก๊สที่ทำให้เกิดมลพิษทำงอำกำศได้ถ้ำมีปริมำณ
เกินสมดุล)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสั ยจากการทากิจกรรมอย่างน้อย
คนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความคิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับกิจกรรม สืบค้นข้อมูลก่อนเรียน 5 โดยครูช่วยอธิบาย
ให้นักเรียนเข้าใจว่า มลพิษทางอากาศเป็นสภาวะที่มีสิ่งเป็นพิษ เช่น ฝุ่น ควัน แก๊สพิษ เจือปนอยู่ในอากาศ
ในปริมาณมาก จนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษามลพิษทางอากาศจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียนโดยครูช่วยอธิบายให้
นักเรียนเข้าใจว่า อากาศเสียเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการด้ารงชีวิตของมนุษย์
(2) แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5–6 คน สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ โดยด้าเนินการตาม
ขั้นตอนดังนี้
– แต่ละกลุ่มวางแผนการสืบค้นข้อมูลโดยแบ่งหัวข้อมลพิษทางอากาศเป็นหัวข้อย่อย เช่น
ปรากฏการณ์เรือนกระจก ผลจากมลพิษทางอากาศ วิธีปอ้ งกันและลดมลพิษทางอากาศ ให้สมาชิกแต่ละ
กลุ่มช่วยกันสืบค้นตามหัวข้อที่ก้าหนด
– สมาชิกแต่ละกลุ่มช่วยกันสืบค้นข้อมูลตามหัวข้อที่กลุ่มของตนเองรับผิดชอบโดยการสืบค้น
จากหนังสือ วารสาร สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยส้าหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต
– สมาชิกกลุ่มน้าข้อมูลที่สืบค้นได้มารายงานให้เพื่อน ๆ สมาชิกในกลุ่มฟัง รวมทั้งร่วมกัน
อภิปรายซักถามจนคาดว่า สมาชิกทุกคนมีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน
– สมาชิกกลุ่มช่วยกันสรุปความรู้ที่ได้ทั้งหมดเป็นผลงานของกลุ่ม
(3) ครูคอยแนะน้าช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดู รอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มน้าเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวค้าถาม
ต่อไปนี้
– แก๊สเรือนกระจกคืออะไร มีแก๊สอะไรบ้าง (แนวคำตอบ แก๊สเรือนกระจก คือ แก๊สที่มนุษย์
ปล่อยขึ้นสู่ชั้นบรรยำกำศจำกกิจกรรมต่ำง ๆ ของมนุษย์ แก๊สเหล่ำนี้จะสะสมอยู่ในชั้นบรรยำกำศ และกัก
เก็บควำมร้อนจำกดวงอำทิตย์ไว้ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น แก๊สเรือนกระจกที่สำคัญ ได้แก่ แก๊ส
คำร์บอนไดออกไซด์ แก๊สมีเทน แก๊สไนโตรเจนออกไซด์ และสำรซีเอฟซี)
– คนในชุมชนเมืองควรปลูกต้นไม้ เพื่อช่วยลดมลพิษทางอากาศ เนื่องจากต้นไม้มีส่วนช่วยลด
แก๊สชนิดใดจากอากาศ (แนวคำตอบ แก๊สคำร์บอนไดออกไซด์)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 139

(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า มลพิษทาง


อากาศเกิดจากอากาศมีสิ่งเป็นพิษเจือปนอยู่ในปริมาณมากจนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
4) ขั้นขยายความรู้
(1) ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลจากปรากฏการณ์เรือนกระจก ผลกระทบจากมลพิษทาง
อากาศ และวิธีการป้องกันและลดมลพิษทางอากาศ จากนั้นให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับมลพิษทาง
อากาศจากหนังสือ วารสาร สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยส้าหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต
รวมทั้งน้าข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดท้าเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยน
เรียนรู้กัน
(2) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและค้าศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศจาก
หนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใดบ้าง
ที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มีการ
แก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการน้าความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบค้าถาม เช่น
– ถ้านักเรียนต้องหายใจรับอากาศบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่นหรือถนนที่มีฝุ่นมาก ๆ หรือ
ควันจากการเผาขยะต่าง ๆ เข้าไปวันละ 1 ชั่วโมง จะเกิดผลต่อร่างกายของนักเรียนในลักษณะใด
– นักเรียนมีวิธีการหรือแนวทางการป้องกันไม่ให้เกิดอากาศเสียอย่างไร
ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิด
หรือผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อมลพิษจากขยะมูลฝอย
3) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปราย
ร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
1. นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศและปรากฏการณ์เรือนกระจกจากหนังสือ
วารสาร สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยส้าหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งน้าข้อมูลที่ได้
จากการปฏิบัติกิจกรรมและการค้นคว้ามาจัดท้าเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 140

2. นักเรียนร่วมกันแสดงบทบาทสมมุติเกี่ยวกับแนวทางการป้องกันอากาศเสียในชุมชน
9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ใบงานสืบค้นข้อมูลก่อนเรียน 5
2. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท ส้านักพิมพ์วัฒนาพานิช จ้ากัด
3. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
ส้านักพิมพ์วัฒนาพานิช จ้ากัด
4. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท ส้านักพิมพ์วัฒนา
พานิช จ้ากัด
5. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท ส้านักพิมพ์วัฒนา
พานิช จ้ากัด

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความส้าเร็จในการจัดการเรียนรู้………………………………………………………………..
แนวทางการพัฒนา………………………………………………………………………………..
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้…………………………………………………………...
แนวทางแก้ไข……………………………………………………………………………………..
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน………………………………………………………………………
เหตุผล…………………………………………………………………………………………….
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้…………………………………………………………….
(ลงชื่อ)__________________________ ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 141

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 18
มลพิษจากขยะมูลฝอย

สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม เวลา 1 ชั่วโมง


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

1. สาระสาคัญ
มลพิษจากขยะมูลฝอยเป็นสภาวะที่ไม่เหมาะสมเนื่องมาจากขยะมูลฝอย เช่น การทิ้งขยะลงใน
แหล่งน้้าท้าให้น้าเน่าเสีย หรือการเกิดกลิ่นเน่าเหม็นจากกองขยะ เราควรช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
ร่วมกัน โดยการมีส่วนร่วมในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เพื่อให้โลกนี้น่าอยู่
ตลอดไป
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
1. อภิปรายผลต่อสิ่งมีชีวิตจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ทั้งโดยธรรมชาติและโดยมนุษย์
(ว 2.2 ป. 6/3)
2. อภิปรายแนวทางในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ว 2.2 ป. 6/4)
3. มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น (ว 2.2 ป. 6/5)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายสาเหตุของมลพิษจากขยะมูลฝอยได้ (K)
2. เสนอแนะแนวทางการป้องกันมลพิษจากขยะมูลฝอยได้ (K)
3. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
4. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
5. ท้างานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
6. สื่อสารและน้าความรู้เรื่องมลพิษจากขยะมูลฝอยไปใช้ในชีวิตประจ้าวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
มลพิษจากขยะมูลฝอย วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
2. ประเมินกิจกรรม 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
ฝึกทักษะระหว่างเรียน วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
3. ทดสอบหลังเรียน 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 142

5. สาระการเรียนรู้
มลพิษจากขยะมูลฝอย
– แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับมลพิษจากขยะ
มูลฝอยและแนวทางการป้องกันมลพิษจากขยะมูลฝอย
ตามประสบการณ์ของนักเรียน
การงานอาชีพและเทคโนโลยี ออกแบบโครงการประดิษฐ์สิ่งของใช้ซ้า
สังคมศึกษา ศาสนา สนทนา พูดคุยเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมอนุรักษ์
และวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยใช้หลักเศรษฐกิจ
พอเพียง
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนค้าศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
มลพิษจากขยะมูลฝอย และแนวทางการป้องกันมลพิษจาก
ขยะมูลฝอยในชุมชนที่ได้เรียนรู้หรือที่นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 25
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนน้าสิ่งที่ตนคิดว่าเป็นขยะมา เช่น โฟม พลาสติก แก้ว หลอดไฟฟ้า และ
ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับมลพิษจากขยะมูลฝอย โดยครูใช้ค้าถามกระตุ้นดังนี้
– เพราะเหตุใดนักเรียนจึงคิดว่าสิ่งที่น้ามาเป็นขยะ
– ขยะที่นักเรียนน้ามานี้ส่วนใหญ่แล้วจะพบได้ที่บริเวณใด/แหล่งใด
– ขยะที่น้ามานี้สามารถจะน้ากลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกหรือไม่ ถ้าได้จะใช้วิธีการใด
– ในชุมชนของนักเรียนมักจะพบขยะจ้าพวกใดมากที่สุด
2) นักเรียนร่วมกันตอบค้าถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับค้าตอบของค้าถาม เพื่อเชื่อมโยง
ไปสู่การเรียนรู้เรื่อง มลพิษจากขยะมูลฝอย
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่งมี
ขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนแล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มนาเสนอข้อมูลเกี่ยวกับมลพิษจาก
ขยะมูลฝอย ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง จากนั้นให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมา
นาเสนอข้อมูลหน้าห้องเรียน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 143

(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทาภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจากการ


จดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้
– ถ้ า เราไม่ มี วิ ธี ก ารก าจั ด ขยะที่ ถู ก ต้ อ งและเหมาะสมแล้ ว ขยะเหล่ า นี้ จ ะส่ ง ผลต่ อ
ประชาชนในเรื่องใด (แนวคำตอบ เป็นแหล่งเพำะพันธุ์และแพร่เชื้อโรค)
– การเผาขยะมูลฝอยมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตเพราะอะไร (แนวคำตอบ เพรำะทำให้เกิด
แก๊ ส คำร์ บ อนไดออกไซด์ จ ำนวนมำก และถ้ ำ กำรเผำไหม้ เ กิ ด ไม่ ส มบู ร ณ์ จ ะท ำให้ เ กิ ด แก๊ ส
คำร์บอนมอนอกไซด์ที่เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตด้วย)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทาภาระงานอย่างน้อย
คนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความคิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิ บายให้นักเรียนเข้าใจว่า
มลพิษจากขยะมูลฝอยเป็นสภาวะที่ไม่เหมาะสมเนื่องมาจากขยะมูลฝอย เช่น การทิ้งขยะลงในแหล่งน้า
ทาให้น้าเน่าเสีย หรือการเกิดกลิ่นเน่าเหม็นจากกองขยะ

2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษามลพิษจากขยะมูลฝอยจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครูช่วย
อธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า ขยะเป็นสิ่งของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตและอุปโภค บริโภค ซึ่งแบ่งได้
หลายประเภทตามลักษณะและคุณสมบัติ เราสามารถช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมไม่ให้เสื่อมสภาพไป
อย่างรวดเร็วได้โดยอาศัยแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
(2) แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5–6 คน ปฏิบัตกิ ิจกรรม สำรวจสภำพแวดล้อมในท้องถิ่น ตาม
ขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกตและการส้ารวจดังนี้
– ให้แต่ละกลุ่มเลือกส้ารวจสถานที่ในท้องถิ่น กลุ่มละ 1 แห่ง เช่น โรงเรียน วัด ตลาด ฯลฯ
– ร่วมกันวางแผนจัดท้าโครงงานดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น โดยมีขั้นตอนการวางแผน
ดังนี้
• ศึกษาปัญหาว่าคืออะไร
• ศึกษาสาเหตุของปัญหาว่าเกิดจากอะไร
• ศึกษาแนวทางในการแก้ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม และปฏิบัติได้ในท้องถิ่น
• น้าเสนอวิธีการแก้ปัญหา
– ปฏิบัตติ ามขั้นตอนที่วางแผนไว้ โดยเขียนน้าเสนอในรูปของโครงงาน
– น้าผลที่ได้มาอภิปรายหน้าชั้นเรียนและเผยแพร่โดยการจัดนิทรรศการ
(3) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากใบกิจกรรม
(4) ครูคอยแนะน้าช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูร อบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 144

3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มน้าเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวค้าถาม
ต่อไปนี้
– เหตุใดจึงเลือกศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อมเรื่องนี้ (แนวคำตอบ เพรำะขยะส่งกลิ่นเหม็นรบกวน
นักเรียนขณะเรียน)
– นักเรียนมีแนวทางในการแก้ปัญหานี้โดยวิธีใด (แนวคำตอบ ใช้วิธีกำรคัดแยกขยะ เพื่อลด
ปัญหำกำรหมักหมมของขยะที่ย่อยสลำยได้ตำมธรรมชำติกับขยะที่ย่อยสลำยได้ยำก)
– โรงเรียนของนักเรียนมีแผนการจัดการรักษาสิ่งแวดล้อมหรือไม่ เพราะอะไร (แนวคำตอบ
มี เพรำะกำรรักษำสิ่งแวดล้อมภำยในโรงเรียน จะทำให้โรงเรียนน่ำอยู่)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า ขยะมี
หลายประเภท เช่น ขยะที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติและขยะที่ย่อยสลายได้ยาก ซึ่งขยะที่พบนั้นสามารถ
น้าไปผลิตใช้ใหม่หรือใช้ซ้าได้ ดังนั้นถ้าเราร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจังและมีจิตส้านึกในการช่วยกันดูแล
รักษาสภาพแวดล้อมไม่ให้ถูกท้าลาย ก็จะสามารถช่วยให้โลกของเราน่าอยู่ขึ้น
4) ขั้นขยายความรู้
(1) ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องแหล่งก้าเนิดของขยะมูลฝอย ผลเสียที่เกิดจากขยะมูลฝอย และ
การป้องกันและลดมลพิษจากขยะมูลฝอย จากนั้นให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับมลพิษของขยะมูลฝอย
จากข่าวหนังสือพิมพ์ สารานุกรมส้าหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งน้าข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดท้า
เป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
(2) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและค้าศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับมลพิษจากขยะมูลฝอย
จากหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใดบ้าง
ที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มีการ
แก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการน้าความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบค้าถาม เช่น
– การลดปริมาณขยะโดยการผลิตใช้ใหม่ท้าได้โดยวิธีใด
– นักเรียนมีแนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ก้าลังเป็นปัญหา
อย่างกว้างขวางนี้ได้โดยวิธีใด
– ผลเสียที่ส้าคัญที่สุดเมื่อเกิดมลพิษจากขยะมูลฝอยคืออะไร
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 145

ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับมลพิษจากขยะมูลฝอย โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่
ความคิดหรือผังมโนทัศน์
2) ครูด้าเนินการทดสอบหลังเรียน โดยให้นักเรียนท้าแบบทดสอบหลังเรียนเพื่อวัด
ความก้าวหน้า/ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ของนักเรียน
3) ครูเชื่อมโยงเนื้อหาจากบทเรียนนี้กับบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อให้นักเรียนเตรียมความพร้อม
ในการเรียนชั่วโมงต่อไป โดยการใช้คาถามกระตุ้น ดังนี้
– นักเรียนคิดว่าการเปลี่ยนแปลงของสารมีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ลักษณะ
ใด (แนวคำตอบ มี เช่น กำรเปลี่ยนแปลงทำงกำยภำพของน้ำแข็งในบริเวณขั้วโลกเหนือ ที่มีกำร
เปลี่ยนแปลงสถำนะจำกน้ำแข็งไปเป็นน้ำ ทำให้น้ำในมหำสมุทรมีปริมำณเพิ่มขึ้น ส่งผลให้หมีขำวมีก้อน
น้ำแข็งซึ่งที่อยู่อำศัยน้อยลง)
4) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อสมบัติของสาร โดยใช้ใบงาน สังเกตก่อนเรียน 6
ที่ครูจัดเตรียมไว้ให้ประกอบการศึกษาค้นคว้า (ในสื่อการเรียนรู้ PowerPoint วิทยาศาสตร์ ชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด)
5) ครูอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมและมอบหมายให้นักเรียนไปปฏิบัติกิจกรรมที่บ้าน
พร้อมทั้งให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปรายร่วมกัน
ในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
1. ให้นักเรียนประดิษฐ์สิ่งของใช้ซ้า โดยน้าขยะที่ไม่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ เช่น ขวดแชมพู
กระดาษ กล่องกระดาษ แล้วน้าผลงานที่ได้มาน้าเสนอหน้าชั้นเรียน
2. ครูเชื่อมโยงความรู้กับหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนี้
การเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็ว ทาให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นการ
ใช้ที่ไม่ประหยัดและไม่เกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนขาดจิตสานึกที่ดีในการใช้ ทาให้เกิดปัญหาความเสื่อม
โทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน การที่จะให้
รัฐบาลเป็นผู้ดาเนินการป้องกันและแก้ไขเพียงฝ่ายเดียวคงไม่สามารถกระทาได้ ทุกฝ่ายทั้งภาคเอกชน
ชุมชน และประชาชนจะต้องร่วมมือกันแก้ไข ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงจะฟื้นคืนสู่สภาพที่ดี
และมีให้ใช้ได้ยาวนานที่สุด ซึ่งอาจทาได้ 3 ลักษณะ คือ
1) การเป็นผู้ดู เช่น การให้ความสนใจต่อข่าวสารและการเปลีย่ นแปลง การพยายามชักชวน
ให้ผู้อื่นเห็นด้วยเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การร่วมประชาสัมพันธ์ในเรื่อง
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 146

2) การมีส่วนร่วม เช่น การติดต่อประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ


สิ่งแวดล้อม การเข้าร่วมชุมนุมฟังการอภิปรายหรือเข้าร่วมในเวทีสาธารณะในเรื่องการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเป็นสมาชิกกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
3) การทากิจกรรม เช่น การเป็นผู้นากลุ่มผลประโยชน์เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม การมีตาแหน่งและทางานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3. ให้นักเรียนเขียนคาขวัญเพื่อรณรงค์ให้ช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
คนละ 1 คาขวัญ จากนั้นร่วมกันคัดเลือกคาขวัญที่ดีที่สุด 3 อันดับมาจัดป้ายนิเทศ

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ขยะ เช่น โฟม พลาสติก แก้ว หลอดไฟฟ้า
2. ใบกิจกรรมที่ 13 ส้ารวจสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น
3. แบบทดสอบหลังเรียน
4. ใบงานสังเกตก่อนเรียน 6
5. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท ส้านักพิมพ์วัฒนาพานิช จ้ากัด
6. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
ส้านักพิมพ์วัฒนาพานิช จ้ากัด
7. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท ส้านักพิมพ์วัฒนา
พานิช จ้ากัด
8. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท ส้านักพิมพ์วัฒนา
พานิช จ้ากัด

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความส้าเร็จในการจัดการเรียนรู้………………………………………………………………..
แนวทางการพัฒนา………………………………………………………………………………..
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้…………………………………………………………...
แนวทางแก้ไข……………………………………………………………………………………..
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน………………………………………………………………………
เหตุผล…………………………………………………………………………………………….
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้…………………………………………………………….

(ลงชื่อ)__________________________ ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 147

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สารในชีวิตประจาวัน เวลา 15 ชั่วโมง

ผังมโนทัศน์เป้าหมายการจัดการเรียนรู้และขอบข่ายภาระงาน

ความรู้
1. สมบัติของของแข็ง ของเหลว และแก๊ส
2. การจาแนกประเภทของสาร
3. การแยกสารโดยการร่อน การกรอง การกลั่น
การตกตะกอน การระเหยแห้ง การตกผลึก ทักษะ/กระบวนการ
การระเหิด และการสกัดสาร 1. การสังเกต
4. สารในชีวิตประจาวัน 2. การสารวจ
5. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมีของสาร 3. การทดลอง
6. การเปลี่ยนแปลงของสารที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและ 4. การนาความรู้ไปใช้ในชีวิตประจาวัน
สิ่งแวดล้อม

สารในชีวิตประจาวัน

ภาระงาน/ชิ้นงาน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. สังเกตสมบัติด้านรูปร่างและปริมาตรของของแข็ง
1. ใฝ่เรียนรู้
โดยการแทนที่น้า
2. มุ่งมั่นในการทางาน
2. ทดลองการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและปริมาตรของน้า
3. มีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์
เมื่อใส่ในภาชนะรูปร่างต่าง ๆ
4. มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์
3. สังเกตสมบัติด้านรูปร่าง ปริมาตร และการฟุ้งกระจาย
5. เห็นคุณค่าของการนาความรู้
ของแก๊สในภาชนะ
ไปใช้ประโยชน์ในชีวิต
4. ทดลองแยกสารเนื้อผสมออกจากกันด้วยวิธีการกรอง
ประจาวัน
5. ทดลองแยกสารเนื้อเดียวที่เป็นสารละลายด้วยวิธีการ
ระเหยแห้ง
6. สังเกตวิธีการแยกของผสมที่ส่วนผสมหนึ่งมีสมบัติ
ระเหิดได้
7. ศึกษาการใช้ประโยชน์และสมบัติด้านกรด–เบสของ
สารที่ใช้ชีวิตประจาวัน
8. ทดลองการละลายของสารต่างชนิดกันในตัวทาละลาย
เดียวกัน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 148

ผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design


หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สารในชีวิตประจาวัน

ขั้นที่ 1 ผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
ตัวชี้วัดชั้นปี
1. ทดลองและอธิบายสมบัติของของแข็ง ของเหลว และแก๊ส (ว 3.1 ป. 6/1)
2. จาแนกสารเป็นกลุ่มโดยใช้สถานะหรือเกณฑ์อื่นที่กาหนดเอง (ว 3.1 ป. 6/2)
3. ทดลองและอธิบายวิธีการแยกสารบางชนิดที่ผสมกัน โดยการร่อน การตกตะกอน การกรอง การระเหิด
การระเหยแห้ง (ว 3.1 ป. 6/3)
4. สารวจและจาแนกประเภทของสารต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจาวัน โดยใช้สมบัติและการใช้ประโยชน์ของสาร
เป็นเกณฑ์ (ว 3.1 ป. 6/4)
5. อภิปรายการเลือกใช้สารแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย (ว 3.1 ป. 6/5)
6. ทดลองและอธิบายสมบัติของสาร เมื่อสารเกิดการละลายและเปลี่ยนสถานะ (ว 3.2 ป. 6/1)
7. วิเคราะห์และอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่ทาให้เกิดสารใหม่และมีสมบัติเปลี่ยนแปลงไป (ว 3.2 ป. 6/2)
8. อภิปรายการเปลี่ยนแปลงของสารที่ก่อให้เกิดผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม (ว 3.2 ป. 6/3)
ความเข้าใจที่คงทนของนักเรียน คาถามสาคัญที่ทาให้เกิดความเข้าใจที่คงทน
นักเรียนจะเข้าใจว่า...
1. สารมี 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส 1. สารในสถานะต่าง ๆ มีสมบัติแตกต่างกันในเรื่องใด
สารแต่ละสถานะมีสมบัติเฉพาะตัวแตกต่างกัน 2. การจาแนกประเภทของสารสามารถทาได้โดยใช้
2. การจาแนกประเภทของสารสามารถทาได้โดยใช้ เกณฑ์ใด
เกณฑ์ต่าง ๆ เช่น สถานะ เนื้อสาร การนาความร้อน 3. การแยกสารเนื้อผสมและสารเนื้อเดียวทีเ่ ป็น
และการนาไฟฟ้า สารละลายทาได้โดยใช้วิธีการใด
3. วิธีแยกสารแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับสมบัติของสารที่ 4. สารในชีวิตประจาวันจาแนกได้กี่ประเภท และมี
เป็นส่วนผสม วิธีการใช้ให้ปลอดภัยอย่างไร
4. สารที่ใช้ในชีวิตประจาวันมีทั้งสารที่อยู่ใน 5. การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีคอื อะไร เมื่อสาร
เครื่องอุปโภคและบริโภคซึ่งมีสมบัติแตกต่างกัน เกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วจะส่งผลกระทบต่อ
จึงต้องเลือกใช้ให้ตรงวัตถุประสงค์อย่างถูกต้อง สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมหรือไม่
เพื่อความปลอดภัย 6. ถ้าใช้สารอย่างไม่ระมัดระวังจะเกิดผลกระทบ
5. การเปลี่ยนแปลงของสารมี 2 ประเภท คือ การ ในเรื่องใด
เปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และการเปลี่ยนแปลง 7. การเรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะและสมบัติของสารมี
ทางเคมี ประโยชน์ในเรื่องใด
6. เมื่อสารเกิดการเปลี่ยนแปลงจะเกิดผลกระทบ
ทั้งต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 149

ความรู้ของนักเรียนที่นาไปสู่ความเข้าใจที่คงทน ทักษะ/ความสามารถของนักเรียนที่จะนาไปสู่
นักเรียนจะรู้ว่า... ความเข้าใจที่คงทนนักเรียนจะสามารถ...
1. คาสาคัญ ได้แก่ อนุภาค สารเนื้อเดียว สารเนื้อ 1. ทดลองและอธิบายสมบัติที่แตกต่างกันของ
ผสม โลหะ อโลหะ ตัวทาละลาย ตัวละลาย ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส
สารละลายอิ่มตัว ผลึก 2. ทดลองและอธิบายการแยกสารเนื้อผสมโดยวิธี
2. สมบัติของของแข็ง คือ มีปริมาตรคงที่และมี การกรอง และการแยกสารเนื้อเดียวที่เป็นสาร
รูปร่างที่แน่นอน สมบัติของของเหลว คือ มี ละลายโดยวิธีการระเหยแห้ง
ปริมาตรคงที่ แต่รูปร่างจะเปลี่ยนไปตามภาชนะ 3. อธิบายปรากฏการณ์ระเหิดของสาร และทดลอง
ที่บรรจุ ส่วนสมบัติของแก๊ส คือ มีปริมาตรและ แยกสารที่ผสมกันอยู่ด้วยวิธีการระเหิด
รูปร่างไม่คงที่ สามารถฟุ้งกระจายได้ 4. สารวจการใช้ประโยชน์และสมบัติด้าน
3. วิธีการแยกสารเนื้อผสม เช่น การร่อน การกรอง กรด–เบส ของสารที่ใช้ในชีวิตประจาวัน
การตกตะกอน ส่วนวิธีการแยกสารเนื้อเดียวที่ 5. ทดลองและอธิบายสมบัติด้านการละลายและ
เป็นสารละลาย เช่น การระเหยแห้ง การกลั่น การเปลี่ยนสถานะของสารที่แตกต่างกัน
4. สารที่ใช้ในชีวิตประจาวันจะมีสารเคมีเป็น
องค์ประกอบ ซึ่งมีสมบัติความเป็นกรด–เบส
แตกต่างกัน สามารถจาแนกตามการนาไปใช้
ประโยชน์ได้เป็นสารปรุงแต่งอาหาร สาร
ทาความสะอาด และสารกาจัดแมลง
5. สารที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพสามารถ
เปลี่ยนย้อนกลับมามีสมบัติเหมือนเดิมได้ แต่
สารที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเกิดเป็นสาร
ใหม่ที่มีสมบัติเปลี่ยนแปลงไปและไม่สามารถ
กลับมามีสมบัติเหมือนเดิมได้
6. การเปลี่ยนแปลงของสารบางชนิดจะเกิดผลเสีย
ต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น การเผาไหม้
เชื้อเพลิงทาให้เกิดควันพิษ และการทิ้งขยะลง
แหล่งน้าทาให้น้าเน่าเสีย
ขั้นที่ 2 ภาระงานและการประเมินผลการเรียนรู้ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีผลการเรียนรู้ตามที่
กาหนดไว้อย่างแท้จริง
1. ภาระงานที่นักเรียนต้องปฏิบัติ
– สังเกตสมบัติด้านรูปร่างและปริมาตรของของแข็งโดยการแทนที่น้า
– ทดลองการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและปริมาตรของน้าเมื่อใส่ในภาชนะรูปทรงต่าง ๆ
– สังเกตสมบัติด้านรูปร่าง ปริมาตร และการฟุ้งกระจายของแก๊สในภาชนะ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 150

– ทดลองแยกสารเนื้อผสมออกจากกันด้วยวิธีการกรอง
– ทดลองแยกสารเนื้อเดียวที่เป็นสารละลายด้วยวิธีการระเหยแห้ง
– ศึกษาการแยกสารเนื้อผสมที่ส่วนผสมหนึ่งมีสมบัติระเหิดได้
– ศึกษาการใช้ประโยชน์และสมบัติด้านกรด–เบสของสารที่ใช้ในชีวิตประจาวัน
– ทดลองการละลายของสารต่างชนิดกันในตัวทาละลายเดียวกัน
2. วิธีการและเครือ่ งมือประเมินผลการเรียนรู้
วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ เครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
– การทดสอบ – แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
– การสนทนาซักถาม – แบบบันทึกการสนทนา
– การวัดเจตคติ – แบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์และเจตคติ
ต่อวิทยาศาสตร์
– การวัดทักษะ – แบบวัดทักษะ/กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
– การประเมินตนเอง – แบบประเมินตนเองของนักเรียน
3. สิ่งที่มุ่งประเมิน
– ความสามารถในการอธิบาย ชี้แจง การแปลความและตีความ การประยุกต์ ดัดแปลง และนาไปใช้
การมีมุมมองที่หลากหลาย การให้ความสาคัญใส่ในใจความรู้สึกของผู้อื่น และการรู้จักตนเอง
– เจตคติทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล
– ทักษะ/กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
– ทักษะการคิด
– ทักษะการแก้ปัญหา
– พฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
ขั้นที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 19 สมบัติของของแข็งและของเหลว 2 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 20 สมบัติของแก๊ส 1 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 21 การจาแนกประเภทของสาร 1 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 22 การแยกสารโดยการร่อน การกรอง 2 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 23 การแยกสารโดยการกลั่น การตกตะกอน
การระเหยแห้ง 2 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 24 การแยกสารโดยการตกผลึก การระเหิด การสกัดสาร 2 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 25 สารในชีวิตประจาวัน 2 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 26 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมีของสาร 2 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 27 การเปลี่ยนแปลงของสารที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิต
และสิ่งแวดล้อม 1 ชั่วโมง
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 151

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 19
สมบัติของของแข็งและของเหลว

สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร เวลา 2 ชั่วโมง


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สารในชีวิตประจาวัน

1. สาระสาคัญ
สารที่มีสถานะเป็นของแข็งจะมีอนุภาคของสารอยู่ชิดกันมาก มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค
มากจึงมีปริมาตรคงที่และมีรูปร่างที่แน่นอนเฉพาะตัว ส่วนของเหลวจะมีปริมาตรคงที่ อนุภาคภายในอยู่
ห่างกัน รูปร่างของของเหลวจึงเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุได้
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
ทดลองและอธิบายสมบัติของของแข็ง ของเหลว และแก๊ส (ว 3.1 ป. 6/1)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ทดลองและอธิบายสมบัติของสารในสถานะของแข็งและของเหลวได้ (K)
2. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
3. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
4. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สื่อสารและนาความรู้เรื่องสมบัติของของแข็งและของเหลวไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
สมบัติของของแข็ง วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
และของเหลว 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
2. ประเมินกิจกรรม วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
ฝึกทักษะระหว่างเรียน 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
3. ทดสอบก่อนเรียน กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
5. สาระการเรียนรู้
1. สมบัติของของแข็ง
2. สมบัติของของเหลว
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 152

6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับสมบัติของ
ของแข็งและของเหลว
คณิตศาสตร์ จาแนก จัดประเภทสมบัติของสารกับสารที่เป็นของ
แข็งหรือของเหลว
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
สมบัติของของแข็งและของเหลวที่เรียนรู้หรือที่
นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 26
ครูดาเนินการทดสอบก่อนเรียน โดยให้นักเรียนทาแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อตรวจสอบความ
พร้อมและพื้นฐานของนักเรียน
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูถามคาถามนักเรียนเพื่อกระตุ้นความสนใจ เช่น
– น้าเปลี่ยนรูปร่างเป็นแบบต่าง ๆ ได้ เพราะอะไร
2) นักเรียนร่วมกันตอบคาถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน แล้วครูและนักเรียนร่วมกัน
อภิปรายคาตอบ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่อง สมบัตขิ องสาร
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่ง
มีขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูให้นักเรียนนาใบงาน สังเกตก่อนเรียน 6 ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าที่บ้าน
มาอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทากิจกรรมที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับกิจกรรม ดังนี้
– ยางลบมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ลักษณะใด (แนวคำตอบ ไม่เปลี่ยนแปลง)
– น้ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ลักษณะใด (แนวคำตอบ มี โดยรูปร่ำงเปลี่ยนไปตำม
ภำชนะ)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทากิจกรรมอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 153

(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับ กิจกรรม สังเกตก่อนเรียน 6 โดยครูช่วยอธิบายให้


นักเรียนเข้าใจว่า ของแข็งมีรูปร่างและปริมาตรคงที่ของเหลวมีรูปร่างเปลี่ยนไปตามภาชนะและปริมาตร
คงที่
2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาสมบัติของของแข็งและของเหลวจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน
โดยครูตั้งคาถามนาให้นักเรียนตอบประกอบการค้นคว้าดังนี้
– ของแข็งและของเหลวมีสมบัติแตกต่างกันในเรื่องใด
– สารที่มีสถานะเป็นของแข็งมีอะไรบ้าง
– สารที่มีสถานะเป็นของเหลวมีอะไรบ้าง
– สารใดบ้างที่มีสถานะเป็นของแข็ง และสารใดบ้างที่มีสถานะเป็นของเหลว
(2) นักเรียนแบ่งกลุ่ม ปฏิบัติกิจกรรม ทดลองสมบัติของของเหลว ตามขั้นตอนทาง
วิทยาศาสตร์ดังนี้
ขั้นที่ 1 กาหนดปัญหา
– น้าในภาชนะที่แตกต่างกันจะมีรูปร่างและปริมาตรต่างกันหรือไม่
ขั้นที่ 2 สมมุติฐาน
– รูปร่างของน้าจะเปลี่ยนไปตามรูปร่างของภาชนะที่บรรจุ แต่ยังคงมีปริมาตรเท่าเดิม
ขั้นที่ 3 ทดลอง
– แต่ละกลุ่มเทน้าใส่กระบอกตวง สังเกตรูปร่างของน้า และอ่านปริมาตร บันทึกผล
– เทน้าจากกระบอกตวงใส่ลงในภาชนะใบที่ 1 สังเกตรูปร่างของน้า แล้วเทน้าลงกระบอก
ตวงเพื่อหาปริมาตร บันทึกผล
– ทากิจกรรมขั้นที่ 2 ซ้า โดยใช้ภาชนะรูปทรงต่าง ๆ แล้วสรุปผลการสังเกต
ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ผลการทดลอง
– แปลความหมายข้อมูลที่ได้จากตารางบันทึกผลการทดลอง
– นาข้อมูลที่ได้มาพิจารณา เพื่ออธิบายว่าเป็นไปตามที่นักเรียนตั้งสมมุติฐานหรือไม่
ขั้นที่ 5 สรุปผลการทดลอง
– นักเรียนร่วมกันสรุปผลการทดลอง แล้วเขียนรายงานสรุปผลการทดลองส่งครู
(3) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
ชั่วโมงที่ 27
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คาถามต่อไปนี้
– น้ามีปริมาตรเปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุหรือไม่ (แนวคำตอบ ไม่เปลี่ยนแปลง)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 154

– น้ามีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุหรือไม่ (แนวคำตอบ เปลี่ยนแปลงไปตำม


ภำชนะที่บรรจุ)
– น้ามีสมบัติใดจึงถูกส่งผ่านไปตามท่อได้ (แนวคำตอบ น้ำมีรูปร่ำงไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงไป
ตำมภำชนะที่รองรับ และมีลักษณะไหลได้)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติแต่ละกิจกรรม โดยอธิบายให้นักเรียน
เข้าใจว่า การหาปริมาตรของก้อนหินทาได้โดยการแทนที่น้า ซึ่งปริมาตรของน้าที่ล้นออกมาจะเท่ากับ
ปริมาตรของก้อนหินที่หย่อนลงในน้า แล้วร่วมกันสรุปจนได้ความเข้าใจที่ตรงกันว่า ของแข็งมีปริมาตร
และรูปร่างคงที่ ส่วนของเหลวมีปริมาตรคงที่ แต่รูปร่างไม่คงที่ คือเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ
4) ขั้นขยายความรู้
(1) นักเรียนช่วยกันยกตัวอย่างสิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่มีสถานะของแข็ง และมีสถานะของเหลว
โดยครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นตามประเด็นต่อไปนี้
– สิ่งที่เป็นของแข็งและของเหลวที่นักเรียนยกตัวอย่างมีสมบัติใด
– ถ้าต้องการเปรียบเทียบมวลของก้อนหิน 2 ก้อน สามารถทาได้ด้วยวิธีการใด
– การบอกมวลและปริมาตรของสารที่เป็นของแข็งและของเหลว ใช้วิธีการหรือเครื่องมือใด
– นักเรียนคิดว่าสิ่งที่ทาให้สารมีสถานะเป็นของแข็งหรือของเหลวคืออะไร
หมายเหตุ ครูควรคอยชี้แนะหรือถามนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้ตอบคาถามและนาความรู้ที่
ได้สร้างเป็นองค์ความรู้ด้วยตนเอง
(2) นักเรียนค้นคว้าคาศัพท์ภาษาต่างประเทศที่เกี่ยวกับสมบัติของของแข็งและสมบัติของ
ของเหลวจากหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรมและ
การนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– ของแข็งมีสมบัติต่างจากของเหลวเพราะอะไร
– เราสามารถทาไอศกรีมจากน้าหวานได้หลายรูปทรงเพราะอะไร

ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับสมบัติของของแข็งและของเหลว โดยร่วมกันเขียนเป็น
แผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 155

2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อสมบัติของแก๊ส
3) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปราย
ร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
1. นักเรียนฝึกสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวว่ามีสมบัติใดบ้าง และมีลักษณะเฉพาะตัวที่จัดเป็น
ของแข็งหรือของเหลว
2. นักเรียนสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสมบัติของของแข็งและของเหลวเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้
ต่าง ๆ เช่น หนังสือ วารสารวิทยาศาสตร์ และอินเทอร์เน็ต แล้วนาข้อมูลที่ได้มาจัดทาเป็นรายงานส่งครู

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. แบบทดสอบก่อนเรียน
2. ใบงานสังเกตก่อนเรียน 6
3. ใบกิจกรรมที่ 14 ทดลองสมบัติของของเหลว
4. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
5. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
6. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
7. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 156

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 20
สมบัติของแก๊ส

สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร เวลา 1 ชั่วโมง


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สารในชีวิตประจาวัน

1. สาระสาคัญ
แก๊สเป็นสสารที่มีอนุภาคภายในอยู่ห่างกันมาก อนุภาคจะเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา จึงทาให้มี
ปริมาตรและรูปร่างไม่คงที่ สามารถฟุ้งกระจายได้
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
ทดลองและอธิบายสมบัติของของแข็ง ของเหลว และแก๊ส (ว 3.1 ป. 6/1)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายสมบัติของสารในสถานะแก๊สได้ (K)
2. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
3. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
4. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สื่อสารและนาความรู้เรื่องสมบัติของแก๊สไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
สมบัติของแก๊ส วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
2. ประเมินกิจกรรม 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
ฝึกทักษะระหว่างเรียน วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
5. สาระการเรียนรู้
สมบัติของแก๊ส
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 157

6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับสมบัติ
ของแก๊ส
ศิลปะ วาดภาพการจัดเรียงตัวอนุภาคของของแข็ง ของเหลว
และแก๊ส
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
สมบัติของแก๊สที่เรียนรู้หรือที่นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 28
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูถามคาถามเพื่อทบทวนความรู้เดิมของนักเรียน เช่น
– นักเรียนเคยเป่าลูกโป่งจนแตกหรือไม่ (แนวคำตอบ เคย)
– เมื่อลูกโป่งแตกลมในลูกโป่งหายไปไหน (แนวคำตอบ ลมฟุ้งกระจำยไปในอำกำศรอบ ๆ
ตัวเรำ)
2) นักเรียนช่วยกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็นของคาตอบจากคาถามข้างต้นเพื่อเชื่อมโยง
ไปสู่การเรียนรู้เรื่อง สมบัติของแก๊ส
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่ง
มีขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนแล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มนาเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ สมบัติ
ของแก๊ส ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง จากนั้นให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมา
นาเสนอข้อมูลหน้าห้องเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทาภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้
– แก๊สมีรูป ร่างลั กษณะใดเมื่อเปลี่ยนรูป ร่างของภาชนะ (แนวค ำตอบ แก๊ สมีรู ปร่ำง
เปลี่ยนไปตำมภำชนะที่ใส่)
– แก๊ ส มี ป ริ ม าตรลั ก ษณะใดเมื่ อ เปลี่ ย นปริ ม าตรของภาชนะ (แนวค ำตอบ แก๊ ส มี
ปริมำตรเปลี่ยนไปตำมภำชนะที่ใส่)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสั ยจากการทาภาระงานอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 158

(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า


แก๊สมีรูปร่างและปริมาตรไม่คงที่
2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาสมบัติของแก๊สจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครูตั้งคาถาม
กระตุ้นให้นักเรียนตอบดังนี้
– แก๊สมีสมบัติอะไรบ้าง
– เพราะอะไรแก๊สจึงฟุ้งกระจายในภาชนะที่บรรจุได้
(2) นักเรียนร่วมกันตอบคาถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน
(3) นักเรียนแบ่งกลุ่มและปฏิบัติกิจกรรม สังเกตสมบัติของแก๊ส ตามขั้นตอนทาง
วิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกตดังนี้
– จุดไม้ขีดไฟ 1 ก้าน ใส่ลงในขวด ใช้นิ้วมือปิดปากขวด แล้วสังเกตควันที่เกิดจากไม้ขีดไฟ
ทีด่ ับ บันทึกผล
– นาขวดที่มีขนาดเท่ากันมาคว่าประกบกับขวดใบแรก ให้ปากขวดสนิทกันพอดี สังเกตควัน
ในขวด บันทึกผล แล้วสรุปผลการสังเกต
(4) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากใบกิจกรรม
(5) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคาถาม
ต่อไปนี้
– ควันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร (แนวคำตอบ มีกำรแพร่กระจำยจำกขวดใบล่ำงขึ้นไปยัง
ขวดใบบน)
– แก๊สมีสมบัติแตกต่างจากของเหลวและของแข็งอย่างไร (แนวคำตอบ แก๊สจะมีรูปร่ำง
และปริมำตรไม่คงที่ ฟุ้งกระจำยไปในภำชนะที่บรรจุ)
– ยกตัวอย่างการฟุ้งกระจายของแก๊สที่นักเรียนพบเห็นได้ในชีวิตประจาวัน (แนวคำตอบ
กำรฟุ้งกระจำยของน้ำหอมที่ฉีด กำรฟุ้งกระจำยของสเปรย์ฉีดกันยุง)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยครูอธิบายให้นักเรียนฟังว่า
ภายในหลอดฉีดยาจะมีแก๊สอยู่ โดยปริมาตรของแก๊สที่อยู่ภายในจะเท่ากับปริมาตรของหลอดฉีดยา แล้ว
ร่วมกันสรุปให้ได้ความเข้าใจตรงกันว่า แก๊สมีรูปร่างและปริมาตรไม่คงที่ จะฟุ้งกระจายเต็มภาชนะที่
บรรจุ
4) ขั้นขยายความรู้
(1) แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มแต่ละกลุ่มวาดภาพการเรียงตัวอนุภาคของของแข็ง ของเหลว และ
แก๊ส แล้วส่งตัวแทนกลุ่มออกมานาเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 159

(2) นักเรียนและครูร่วมกันเปรียบเทียบการเรียงตัวของอนุภาคของของแข็ง ของเหลว และ


แก๊ส แล้วครูสรุปให้นักเรียนฟังว่า การเรียงตัวของอนุภาคแตกต่างกันทาให้สมบัติของของแข็ง ของเหลว
และแก๊สแตกต่างกัน
(3) นักเรียนค้นคว้าคาศัพท์ภาษาต่างประเทศที่เกี่ยวกับสมบัติของแก๊สจากหนังสือเรียนภาษา
ต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม และ
การนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– แก๊สมีปริมาตรไม่คงที่เพราะอะไร
– เราได้กลิ่นอาหารที่อยู่ห่างไกลจากเราเพราะอะไร
ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับสมบัติของแก๊ส โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิด
หรือผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อการจาแนกประเภทของสาร
3) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปราย
ร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
1. นักเรียนฝึกสังเกตและวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวว่าเกี่ยวข้องกับแก๊ส และสมบัติของแก๊ส
ในด้านใด
2. นักเรียนสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสมบัติของแก๊สเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ เช่น
หนังสือ วารสารวิทยาศาสตร์ และอินเทอร์เน็ต แล้วนาข้อมูลที่ได้มาจัดทาเป็นรายงานส่งครู

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ใบกิจกรรมที่ 15 สังเกตสมบัติของแก๊ส
2. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
3. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 160

4. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา


พานิช จากัด
5. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 161

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 21
การจาแนกประเภทของสาร

สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร เวลา 1 ชั่วโมง


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สารในชีวิตประจาวัน

1. สาระสาคัญ
การจาแนกสารเป็นการจัดกลุ่มสารต่าง ๆ โดยใช้เกณฑ์ 3 เกณฑ์ คือ สถานะ เนื้อสาร และ
ความสามารถในการนาความร้อนและการนาไฟฟ้า
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
จาแนกสารเป็นกลุ่มโดยใช้สถานะหรือเกณฑ์อื่นที่กาหนดเอง (ว 3.1 ป. 6/2)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกและจาแนกประเภทของสารโดยใช้เกณฑ์อื่นได้ (K)
2. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
3. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
4. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สื่อสารและนาความรู้เรื่องการจาแนกประเภทของสารไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
การจาแนกประเภท วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
ของสาร 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
2. ประเมินกิจกรรม วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
ฝึกทักษะระหว่างเรียน 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
5. สาระการเรียนรู้
การจาแนกประเภทของสาร
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 162

6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการจาแนก
ประเภทของสาร
คณิตศาสตร์ จาแนก จัดประเภทสารต่าง ๆ เป็นหมวดหมู่ตามเกณฑ์
ที่ได้เรียนรู้
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
การจาแนกประเภทของสารที่เรียนรู้หรือที่นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 29
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ให้นักเรียนนาของเล่นของใช้มากองรวมกัน แล้วแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มช่วยกัน
แยกสิ่งของออกเป็นกอง ๆ โดยครูตั้งคาถามกระตุ้นดังนี้
– ถ้านักเรียนต้องการรู้ว่าของเล่นของใช้ที่กองรวมกันอยู่นี้ มีกี่ประเภทหรือกี่พวก นักเรียนจะ
ทาอย่างไร
– นักเรียนสามารถแบ่งกลุ่มสิ่งเหล่านี้โดยใช้สถานะเป็นเกณฑ์ได้หรือไม่ ลักษณะใด
2) นักเรียนร่วมกันตอบคาถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย
คาตอบ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่อง การจาแนกประเภทของสาร
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่ง
มีขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูแบ่งกลุ่มนั กเรี ยนแล้ว เปิ ดโอกาสให้นักเรี ยนในกลุ่มนาเสนอข้ อมูลเกี่ ยวกั บการ
จาแนกประเภทของสาร ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง จากนั้นให้แต่ละกลุ่ม
ส่งตัวแทนมานาเสนอข้อมูลหน้าห้องเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทาภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้
– ถ้าต้องการแบ่งกลุ่มเราต้องกาหนดสิ่งใดก่อน (แนวคำตอบ เกณฑ์ในกำรแบ่งกลุ่ม)
– การใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์แบ่งกลุ่มสารได้กี่กลุ่ม อะไรบ้าง (แนวคำตอบ 2 กลุ่ม คือ
สำรเนื้อเดียว และสำรเนื้อผสม)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทาภาระงานอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 163

(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า


สารสามารถแบ่งกลุ่มได้โดยใช้สมบัติต่าง ๆ ของสารเป็นเกณฑ์
2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาการจาแนกประเภทของสารจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครู
ช่วยเชื่อมโยงความรู้ใหม่จากบทเรียนกับความรู้เดิมที่เรียนรู้มาแล้ว ด้วยการใช้คาถามกระตุ้นให้นักเรียน
ตอบจากความรู้และประสบการณ์ของนักเรียน
(2) แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการจาแนกประเภทของสาร โดยดาเนินการ
ตามขั้นตอนดังนี้
– แต่ละกลุ่มวางแผนการสืบค้นข้อมูล โดยแบ่งหัวข้อย่อยให้เพื่อนสมาชิกช่วยกันสืบค้น
ตามที่สมาชิกกลุ่มช่วยกันกาหนดหัวข้อย่อย เช่น การกาหนดเกณฑ์ที่ใช้จาแนกสาร เกณฑ์ที่ใช้จาแนก
สาร เช่น สถานะ เนื้อสาร และความสามารถในการนาความร้อน และการนาไฟฟ้า
– สมาชิกลุ่มแต่ละคนหรือกลุ่มย่อยช่วยกันสืบค้นข้อมูลตามหัวข้อย่อยที่ตนรับผิดชอบโดย
การสืบค้นจากใบความรู้ที่ครูเตรียมมาให้ หรือหนังสือ วารสาร สารานุกรม และอินเทอร์เน็ต
– สมาชิกกลุ่มนาข้อมูลที่สืบค้นได้มารายงานให้เพื่อน ๆ สมาชิกในกลุม่ ฟัง รวมทั้งร่วมกัน
อภิปรายซักถามจนคาดว่า สมาชิกทุกคนมีความรู้ความเข้าใจตรงกัน
– สมาชิกกลุ่มช่วยกันสรุปความรู้ที่ได้ทั้งหมดเป็นผลงานของกลุ่มและช่วยกัน จัดทารายงาน
การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการจาแนกประเภทของสาร
(3) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปเกณฑ์ที่ใช้จาแนกสาร โดยครูเน้นให้นักเรียนเข้าใจถึงการ
จาแนกโดยใช้สถานะ เนื้อสาร และความสามารถในการนาความร้อนและการนาไฟฟ้าเป็นเกณฑ์
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คาถามต่อไปนี้
– การใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์ต้องสังเกตด้วยวิธีใด (แนวคำตอบ สังเกตโดยใช้ตำดูว่ำสำรมี
เนื้อเดียวกันหรือเนื้อผสม)
– เมื่อใช้การนาไฟฟ้าเป็นเกณฑ์แบ่งกลุ่มสารได้ลักษณะใด (แนวคำตอบ แบ่งได้เป็น โลหะ
กับอโลหะ)
(3) ครูอธิบายเพิ่มเติมเรื่อง การจาแนกสาร โดยยกตัวอย่างสารเนื้อเดียว สารเนื้อผสม หรือ
สารที่เป็นโลหะ อโลหะ แล้วให้นักเรียนจาแนกสารเป็นประเภทต่าง ๆ ตามเกณฑ์ที่ใช้ นักเรียน
ตรวจสอบความถูกต้องของการทากิจกรรม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 164

4) ขั้นขยายความรู้
(1) แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มแต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจาแนกประเภทของสาร
โดยใช้เกณฑ์ต่าง ๆ นอกเหนือจากที่ได้เรียนรู้ จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น หนังสือ วารสารวิทยาศาสตร์
และอินเทอร์เน็ต แล้วนาข้อมูลที่ได้มาจัดทาเป็นรายงานส่งครู
(2) นักเรียนค้นคว้าคาศัพท์ภาษาต่างประเทศที่เกี่ยวกับการจาแนกประเภทของสาร จาก
หนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม และ
การนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– สารเนื้อเดียวแตกต่างจากสารเนื้อผสมในเรื่องใด
– โลหะกับอโลหะจาแนกออกจากกันได้โดยใช้เกณฑ์ใด
ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการจาแนกประเภทของสาร โดยร่วมกันเขียนเป็นแผน
ทีค่ วามคิดหรือผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้า ในหัวข้อการแยกสาร โดยใช้ใบงาน สำรวจก่อนเรียน 7
ที่ ค รู จั ดเตรี ยมไว้ ใ ห้ ป ระกอบการศึ ก ษาค้ น คว้ า (ในสื่ อ การเรี ยนรู้ PowerPoint วิ ท ยาศาสตร์ ชั้ น
ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด)
3) ครูอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมและมอบหมายให้นักเรียนไปปฏิบัติกิจกรรมที่บ้าน
พร้อมทั้งให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปรายร่วมกัน
ในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
ให้นักเรียนฝึกสังเกตและวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวแล้วแบ่งเป็นกลุ่ม โดยใช้เกณฑ์ ต่าง ๆ
ที่นอกเหนือจากในบทเรียน

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ของเล่นของใช้ชนิดต่าง ๆ
2. ใบงานสารวจก่อนเรียน 7
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 165

3. คู่มอื การสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด


4. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
5. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
6. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 166

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 22
การแยกสารโดยการร่อน การกรอง

สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร เวลา 2 ชั่วโมง


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สารในชีวิตประจาวัน

1. สาระสาคัญ
การร่อนเป็นการแยกของผสมที่เป็นของแข็ง มีขนาดแตกต่างกัน โดยใช้เครื่องแยกแกว่งสายไป
มาสารที่ละเอียดกว่าจะหลุดลงมาด้านล่าง ส่วนสารที่หยาบกว่าจะค้างอยู่ด้านบน
การกรองเป็นการแยกของผสมที่เป็นของแข็งที่ไม่ละลายออกจากของเหลว
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
ทดลองและอธิบายวิธีการแยกสารบางชนิดที่ผสมกันโดยการร่อน การตกตะกอน การกรอง
การระเหิด การระเหยแห้ง (ว 3.1 ป. 6/3)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายวิธีการแยกสารโดยการร่อนได้ (K)
2. ทดลองแยกสารด้วยวิธีการกรองได้ (K)
3. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
4. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
5. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
6. สื่อสารและนาความรู้เรื่องการแยกสารโดยการร่อน การกรองไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
การแยกสารโดย วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
การร่อน การกรอง 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
2. ประเมินกิจกรรม วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
ฝึกทักษะระหว่างเรียน 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
5. สาระการเรียนรู้
1. การร่อน
2. การกรอง
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 167

6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการแยกสาร
โดยการร่อน การกรอง
คณิตศาสตร์ จาแนก จัดประเภทวิธีการแยกสารที่เหมาะสมกับสมบัติ
ของสาร
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
การแยกสารโดยการร่อน การกรองที่เรียนรู้หรือที่นักเรียน
สนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 30
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูกระตุ้นความสนใจของนักเรียน โดยถามคาถามกับนักเรียนว่า
– เราควรพิจารณาสิ่งใดเพื่อหาวิธีการแยกสาร
2) นักเรียนร่วมกันตอบคาถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน แล้วครูและนักเรียนร่วมกัน
อภิปรายคาตอบ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่อง การแยกสาร
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่ง
มีขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูให้นักเรียนนาใบงาน สำรวจก่อนเรียน 7 ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าที่บ้าน
มาอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทากิจกรรมที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับกิจกรรม ดังนี้
– การแยกสารด้วยการร่อนใช้แยกสารลักษณะใด (แนวคำตอบ แยกของแข็งออกจำก
ของแข็ง)
– การแยกสารด้วยการกรองใช้แยกสารลักษณะใด (แนวคำตอบ แยกของแข็งออกจำก
ของเหลว)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทากิจกรรมอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับกิจกรรม สำรวจก่อนเรียน 7 โดยครูช่วยอธิบายให้
นักเรียนเข้าใจว่า วิธีแยกสารที่ต่างกันเหมาะกับการแยกสารลักษณะต่างกัน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 168

2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาการแยกสารโดยการร่อน การกรอง จากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน
โดยครูตั้งคาถามนาให้นักเรียนประกอบการค้นคว้าดังนี้
– การร่อนใช้แยกสารที่มีลักษณะใด
– วัสดุที่ใช้สาหรับกรองมีอะไรบ้าง
(2) ครูสาธิตวิธีการร่อนทรายให้นักเรียนดู จากนั้นให้นักเรียนอาสาสมัคร 2–3 คน ออกมา
แสดงวิธีการร่อนทรายให้เพื่อน ๆ ดู
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายจนได้ข้อสรุปว่า ทรายที่มีเศษวัสดุต่าง ๆ ปนอยู่จัดเป็น
สารเนื้อผสมที่สามารถแยกออกจากกันได้ด้วยวิธีการร่อนโดยใช้ตะแกรงร่อนทราย
(4) นักเรียนแบ่งกลุ่มและปฏิบัติกิจกรรม สังเกตกำรกรองน้ำ ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์
โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกตดังนี้
– แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3–5 คน แต่ละกลุ่มพับกระดาษกรอง แล้ววางลงบนกรวย
กรองจัดอุปกรณ์การกรอง
– ใส่น้าลงในบีกเกอร์ ปริมาณ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร แล้วตักทราย 1 ช้อนชา ใส่ลงใน
บีกเกอร์คนให้ทั่ว
– เทส่วนผสมในบีกเกอร์กรองผ่านกระดาษกรอง สังเกตสารที่กรองได้ และสารที่อยู่บน
กระดาษกรอง บันทึกผลการสังเกต แล้วสรุปผล
(5) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากใบกิจกรรม
(6) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
ชั่วโมงที่ 31
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คาถามต่อไปนี้
– สารที่ติดค้างอยู่บนกระดาษกรองคืออะไร เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น (แนวคำตอบ ทรำย
และก้อนกรวดขนำดเล็ก เพรำะมีขนำดอนุภำคใหญ่กว่ำรูของกระดำษกรอง จึงไม่สำมำรถกรองกระดำษ
กรองได้)
– ถ้านาน้าเชื่อมไปกรองผ่านกระดาษกรองเพื่อแยกน้าตาลทรายออกมาจะได้ผลอย่างไร
เพราะอะไร (แนวคำตอบ ไม่สำมำรถแยกน้ำตำลทรำยออกจำกน้ำได้ เพรำะน้ำตำลทรำยละลำยเป็นเนื้อ
เดียวกับน้ำ ทำให้ผ่ำนรูของกระดำษกรองได้)
– หลักการในการแยกสารโดยใช้วิธีการกรองคืออะไร (แนวคำตอบ กำรแยกสำรที่ผสมกัน
ระหว่ำงของแข็งที่ไม่ละลำยออกจำกของเหลว โดยกำรให้ของผสมผ่ำนวัสดุกรอง อนุภำคของของแข็งที่
มีขนำดใหญ่กว่ำรูของวัสดุกรองจะไม่สำมำรถผ่ำนไปได้ แต่อนุภำคของของเหลวจะผ่ำนไปได้)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 169

(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรมโดยให้ได้ข้อสรุปว่า การแยกสาร


ด้วยวิธีการร่อน เป็นการแยกสารเนื้อผสมที่เป็นของแข็งปนอยู่กับของแข็ง ส่วนวิธีการแยกสารโดยการ
กรองเป็นการแยกสารเนื้อผสมที่เป็นของแข็งปนอยู่กับของเหลว เช่น การแยกสารเนื้อผสมของทรายที่
ปนอยู่กับน้า ทรายจะติดอยู่บนกระดาษกรอง สารที่กรองได้จะใส
(4) ครูชี้แนะและให้ความรู้เพิ่มเติมกับนักเรียนว่า การกรองสารเนื้อเดียวบางชนิด เช่น น้า
ผสมเกลือแกง ซึ่งเป็นสารเนื้อเดียวที่เกิดจากสาร 2 ชนิด ผสมกันอยู่ในรูปของสารละลาย จะไม่สามารถ
แยกสารออกจากกันได้ด้วยวิธีการกรอง โดยวิธีการแยกสารเนื้อเดียวนั้นนักเรียนจะได้เรียนรู้ในครั้ง
ต่อไป
4) ขั้นขยายความรู้
(1) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสารเนื้อผสมและสารเนื้อเดียว แล้วนาความรู้
ที่ได้มาสรุปเขียนเป็นรายงานส่งครู
(2) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับการแยกสารโดยการ
ร่อนการกรอง จากหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม และ
การนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าในของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– สารที่ไม่สามารถแยกออกจากกันด้วยวิธีการกรองคือสารที่มีลักษณะใด
ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการแยกสารโดยการร่อน การกรอง โดยร่วมกันเขียน
เป็นแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อการแยกสารโดยการกลั่น การตกตะกอน การ
ระเหยแห้ง
3) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปราย
ร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
1) นักเรียนสังเกตวิธีการแยกสารโดยการร่อน การกรอง ที่อยู่รอบตัว เช่น การร่อนแป้ง การ
กรองน้า แล้วจัดจาแนกว่าเป็นการแยกสารด้วยวิธีการใด
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 170

2) ครูให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) จาก


สถานการณ์เรื่อง เครื่องร่อนแป้ง โดยใช้แนวการสอนในคู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ภาพหรือของจริงของขนมหวานต่าง ๆ เช่น แตงไทยน้ากะทิ ข้าวเหนียวถั่วดา ลอดช่อง
น้ากะทิ
2. ใบงานสารวจก่อนเรียน 7
3. ใบกิจกรรมที่ 16 สังเกตการกรองน้า
4. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
5. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
6. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
7. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 171

แผนการจัดการเรียนรูท้ ่ี 23
การแยกสารโดยการกลั่น การตกตะกอน การระเหยแห้ง
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร เวลา 2 ชั่วโมง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สารในชีวิตประจาวัน
1. สาระสาคัญ
การกลั่น เป็นการแยกของเหลวหรือของแข็งออกจากสารละลายที่เป็นของเหลว โดยอาศัยความ
แตกต่างระหว่างอุณหภูมิของจุดเดือด
การตกตะกอน เป็นการแยกของผสมที่เป็นของแข็งออกจากของเหลว โดยทาให้ของแข็งที่ปน
อยู่ตกลงก้นภาชนะ
การะเหยแห้ง เป็นการแยกของผสมที่เป็นของแข็งออกจากของเหลว โดยการให้ความร้อนจน
เหลือแต่ของแข็งติดอยู่ที่ภาชนะ
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
ทดลองและอธิบายวิธีการแยกสารบางชนิดที่ผสมกัน โดยการร่อน การตกตะกอน การกรอง
การระเหิด การระเหยแห้ง (ว 3.1 ป. 6/3)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายวิธีการแยกสารโดยการกลั่นได้ (K)
2. อธิบายวิธีการแยกสารโดยการตกตะกอนได้ (K)
3. ทดลองแยกสารด้วยวิธีการระเหยแห้งได้ (K)
4. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
5. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
6. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
7. สื่อสารและนาความรู้เรื่องการแยกสารโดยการกลั่น การตกตะกอน และการระเหยแห้งไปใช้
ในชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
การแยกสารโดย วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
การกลั่น การตกตะกอน 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
การระเหยแห้ง วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
2. ประเมินกิจกรรม 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
ฝึกทักษะระหว่างเรียน กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 172

5. สาระการเรียนรู้
– การกลั่น
– การตกตะกอน
– การระเหยแห้ง
6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการ
แยกสารโดยการกลั่น การตกตะกอน การระเหยแห้ง
คณิตศาสตร์ จาแนก จัดประเภทวิธีการแยกสารที่เหมาะสมกับ
สมบัติของสาร
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
การกลั่น การตกตะกอน การระเหยแห้งที่เรียนรู้หรือที่
นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 32
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูทบทวนความรู้เรื่องสารเนื้อผสมกับสารเนื้อเดียวที่นักเรียนได้เรียนรู้มาแล้ว โดยอธิบายให้
นักเรียนเข้าใจว่า สารเนื้อผสม เป็นสารผสมที่เนื้อสารไม่ผสมกลมกลืนกันทุกส่วน ยังคงมองเห็นส่วนที่
แตกต่างกันอยู่ ส่วนสารเนื้อเดียว เป็นสารที่มีเนื้อสารและมีสมบัติเหมือนกันโดยตลอด ซึ่งอาจจะเป็น
สารละลายหรือสารบริสุทธิ์ก็ได้
2) ครูสนทนากับนักเรียนเรื่อง การแยกสารเนื้อเดียว โดยใช้คาถามกระตุ้นให้นักเรียนตอบดังนี้
– นักเรียนเคยเห็นนาเกลือหรือไม่
– เกลือถูกแยกออกจากน้าทะเลได้ด้วยวิธีใด
– ถ้าต้องการทาให้น้ามีความบริสุทธิ์มากควรใช้วิธีการใด
3) นักเรียนร่วมกันตอบคาถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน แล้วครูและนักเรียนร่วมกัน
อภิปรายคาตอบ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่อง การแยกสารโดยการกลั่น การตกตะกอน และการ
ระเหยแห้ง
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่งมี
ขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนแล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มนาเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ การแยก
สารโดยการกลั่น การตกตะกอน การระเหยแห้ง ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่ม
ฟัง จากนั้นให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมานาเสนอข้อมูลหน้าห้องเรียน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 173

(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทาภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก


การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้
– การกลั่นใช้แยกสารเนื้อเดียวหรือเนื้อผสม (แนวคำตอบ สำรเนื้อเดียว)
– การตกตะกอนใช้แยกสารเนื้อเดียวหรือเนื้อผสม (แนวคำตอบ สำรเนื้อเดียว)
– การระเหยแห้งใช้แยกสารเนื้อเดียวหรือเนื้อผสม (แนวคำตอบ สำรเนื้อเดียว)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทาภาระงานอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า
สารที่แตกต่างกันเหมาะกับการใช้วิธีแยกสารที่ต่างกัน
2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาการแยกสารโดยการกลั่น การตกตะกอน การระเหยแห้ง จากใบความรู้
หรือในหนังสือเรียน โดยครูตั้งคาถามนาให้นักเรียนตอบประกอบการค้นคว้าดังนี้
– หลักการที่ใช้ในการกลั่นแยกสารคืออะไร
– ปัจจัยสาคัญที่ใช้ในการระเหยแห้งสารคืออะไร
– การตกตะกอนนิยมใช้แยกสารประเภทใด
(2) นักเรียนร่วมกันสรุปความหมายและวิธีการกลั่นและการตกตะกอนจากข้อมูลที่ค้นคว้า
(3) นักเรียนแบ่งกลุ่มและปฏิบัติกิจกรรม ทดลองกำรระเหยแห้ง ตามขั้นตอนทาง
วิทยาศาสตร์ ดังนี้
ขั้นที่ 1 กาหนดปัญหา
– การระเหยแห้งจะสามารถแยกสารที่เป็นสารละลายได้หรือไม่
ขั้นที่ 2 สมมุติฐาน
– เมื่อให้ความร้อนกับน้าปลา น้าน่าจะระเหยไปหมดเหลือแต่เกลือติดอยู่ที่ภาชนะ แต่เมื่อ
ให้ความร้อนกับน้า น่าจะไม่มีสารเหลือติดที่ภาชนะเลย
ขั้นที่ 3 ทดลอง
– ใส่น้าและน้าปลาลงในจานหลุมอย่างละหลุม
– นาจานหลุมไปวางให้ความร้อนด้วยตะเกียงแอลกอฮอล์ สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสาร
แต่ละชนิดในจานหลุม
ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ผลการทดลอง
– แปลความหมายข้อมูลที่ได้จากตารางบันทึกผลการทดลอง
– นาข้อมูลที่ได้มาพิจารณา เพือ่ อธิบายว่าเป็นไปตามที่นักเรียนตั้งสมมุติฐานไว้ หรือไม่
ขั้นที่ 5 สรุปผลการทดลอง
– นักเรียนร่วมกันสรุปผลการทดลอง แล้วเขียนรายงานสรุปผลการทดลองส่งครู
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 174

(4) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ


เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
ชั่วโมงที่ 33
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอธิบายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคาถาม
ต่อไปนี้
– การระเหยแห้งเป็นการแยกของผสมที่อยู่ในลักษณะใด (แนวคำตอบ ของผสมที่อยู่ในรูป
ของสำรละลำย โดยมีของแข็งละลำยอยู่ในของเหลว)
– ยกตัวอย่างการนาวิธีการระเหยแห้งไปใช้ประโยชน์ (แนวคำตอบ กำรทำนำเกลือ)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า การระเหยแห้ง
สามารถใช้แยกของผสมที่เป็นสารละลายที่เกิดจากของแข็งละลายอยู่ในของเหลวได้ เช่น ในการระเหย
แห้งน้าปลา น้าจะระเหยออกไปหมดเหลือแต่ผลึกของเกลือติดอยู่ที่ก้นภาชนะ ส่วนการกลั่นเป็นวิธีการ
แยกของเหลวหรือของแข็งออกจากสารละลาย โดยการให้ความร้อนกับสารละลายจนของเหลวที่มีจุด
เดือดต่ากลายเป็นไอออกมาก่อน แล้วจึงทาให้ควบแน่นกลับมาเป็นของเหลวที่บริสุทธิ์ได้ และการ
ตกตะกอนเป็นการแยกของผสมที่เกิดจากของแข็งปนอยู่กับของเหลว โดยการทาให้ของแข็งตกลง
ก้นภาชนะ
(4) ครูชี้แนะให้ความรู้เพิ่มเติมกับนักเรียนว่า การระเหยแห้งเหมาะสาหรับการแยก
สารละลายที่เป็นของแข็งปนอยู่ในของเหลว โดยของแข็งที่ปนอยู่นั้นจะมีขนาดเล็กมาก จนไม่สามารถ
แยกได้โดยใช้วิธีการกรองหรือการตกตะกอนได้
4) ขั้นขยายความรู้
(1) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแยกสารโดยการกลั่น การตกตะกอน การ
ระเหยแห้ง จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ เช่น หนังสือ วารสารวิทยาศาสตร์ และอินเทอร์เน็ต แล้วนาข้อมูลที่
ได้มาอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
(2) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับการแยกสารโดยการ
กลั่น การตกตะกอน การระเหยแห้ง จากหนังสือภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม และ
การนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 175

– หลักการของการระเหยแห้งคืออะไร
– สารที่ใช้การตกตะกอนในการแยกสารควรมีลักษณะใด
ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการแยกสารโดยการกลั่น การตกตะกอน การระเหย
แห้ง โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อการตกผลึก การระเหิด การสกัดสาร
3) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปราย
ร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป
8. กิจกรรมเสนอแนะ
1. นักเรียนยกตัวอย่างสารที่พบในชีวิตประจาวัน แล้วร่วมกันอภิปรายว่าสามารถแยกสารที่ผสม
อยู่ได้โดยใช้วิธีการกลั่น การตกตะกอน หรือการระเหยแห้ง แล้วนาเสนอผลการอภิปรายหน้าชั้นเรียน
2. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มช่วยกันสารวจว่าในชีวิตประจาวันมีการนาหลักการกลั่น
การตกตะกอน และการระเหยแห้งไปใช้ประโยชน์อะไรบ้าง นาข้อมูลที่ได้มาสรุปเป็นแผนที่ความคิด
หรือผังมโนทัศน์ส่งครู
9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ใบกิจกรรมที่ 17 ทดลองการระเหยแห้ง
2. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
3. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
4. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
5. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งทีไ่ ม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 176

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 24
การแยกสารโดยการตกผลึก การระเหิด การสกัดสาร
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร เวลา 2 ชั่วโมง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สารในชีวิตประจาวัน

1. สาระสาคัญ
การตกผลึกเป็นการแยกสารต่างชนิดที่มีความสามารถละลายได้เมื่ออุณหภูมิต่างกันออกจากกัน
การระเหิดเป็นการแยกของผสมที่เป็นของแข็ง ซึ่งมีสารที่มีสมบัติระเหิดได้ผสมอยู่ และการสกัดสารเป็น
การแยกสารโดยใช้ตัวทาละลายที่เหมาะสมแยกสารที่ผสมกันอยู่ออกจากกัน
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
ทดลองและอธิบายวิธีการแยกสารบางชนิดที่ผสมกัน โดยการร่อน การตกตะกอน การกรอง
การระเหิด การระเหยแห้ง (ว 3.1 ป. 6/3)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายวิธีการแยกสารโดยการตกผลึกได้ (K)
2. อธิบายวิธีการแยกสารโดยการระเหิดได้ (K)
3. อธิบายวิธีการแยกสารโดยการสกัดสารได้ (K)
4. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
5. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
6. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
7. สื่อสารและนาความรู้เรื่องการแยกสารโดยการตกผลึก การระเหิด การสกัดสารไปใช้ใน
ชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
การตกผลึก การระเหิด วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
การสกัดสาร 2. ประเมินเจตคติตอ่ 2. ประเมินทักษะการคิด
2. ประเมินกิจกรรม วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
ฝึกทักษะระหว่างเรียน 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 177

5. สาระการเรียนรู้
– การตกผลึก
– การระเหิด
– การสกัดสาร
6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการแยกสาร
โดยการตกผลึก การระเหิด การสกัดสาร
คณิตศาสตร์ จาแนก จัดประเภทวิธีการแยกสารที่เหมาะสมกับสมบัติ
ของสาร
สังคมศึกษา ศาสนา สนทนา พูดคุยเกี่ยวกับภูมิปัญญาชาวบ้านในการสกัด
และวัฒนธรรม น้ามันหอมระเหยจากพืชสมุนไพร และการนาไปใช้
ประโยชน์
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
การตกผลึก การระเหิด การสกัดสาร ที่เรียนรู้หรือที่
นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 34
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูถามคาถามเกี่ยวกับประสบการณ์เดิมของนักเรียน เช่น
– นักเรียนเคยใช้ลูกเหม็นหรือไม่ (แนวคำตอบ เคย)
– ถ้าวางลูกเหม็นทิ้งไว้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไร (แนวคำตอบ ลูกเหม็นมีขนำดเล็กลง)
2) นักเรียนร่วมกันตอบคาถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน แล้วครูและนักเรียนร่วมกัน
อภิปรายคาตอบ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่อง การแยกสารโดยการตกผลึก การระเหิด การสกัดสาร
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่ง
มีขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนแล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มนาเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ การตก
ผลึก การระเหิด การสกัดสาร ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง จากนั้นให้แต่ละ
กลุ่มส่งตัวแทนมานาเสนอข้อมูลหน้าห้องเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทาภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 178

– การตกผลึกต้องทาให้สารละลายมีลักษณะใด (แนวคำตอบ ทำให้เป็นสำรละลำยอิ่มตัว


ที่อุณหภูมิสูง)
– การระเหิดคืออะไร (แนวคำตอบ กำรที่ของแข็งเปลี่ยนเป็นไอที่อุณหภูมิห้อง)
– การสกัดสารต้องใช้สารใดช่วยในการแยกสาร (แนวคำตอบ ตัวทำละลำยที่เหมำะสม)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทาภาระงานอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า
การแยกสารแต่ละวิธีมีหลักการที่แตกต่างกัน
2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาการแยกสารโดยการตกผลึก การระเหิด การสกัดสารจากใบความรู้หรือ
ในหนังสือเรียน โดยครูตั้งคาถามนาให้นักเรียนตอบเพื่อประกอบการค้นคว้าดังนี้
– การตกผลึกใช้แยกสารประเภทใด
– หลักการแยกสารโดยวิธีการสกัดสารคืออะไร
– การระเหิดใช้แยกสารประเภทใด
– เราใช้ประโยชน์จากการตกผลึก การระเหิด และการสกัดสารในเรื่องใด
(2) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปข้อมูลที่ได้รับจากการศึกษา โดยสรุปความหมาย
และวิธีการแยกสารโดยการตกผลึก การระเหิด และการสกัดสาร จากนั้นปฏิบัติกิจกรรมเพื่อให้ได้ข้อมูล
ของวิธีการแยกสารทั้ง 3 วิธีดังนี้
การตกผลึกสาร
(1) แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการตกผลึกสาร โดยดาเนินการตามขั้นตอนดังนี้
– แต่ละกลุ่มวางแผนการสืบค้นข้อมูลโดยแบ่งหัวข้อย่อยให้เพื่อนสมาชิกช่วยกันสืบค้น
ตามที่สมาชิกกลุ่มช่วยกันกาหนดหัวข้อย่อย เช่น ลักษณะของสารที่นามาตกผลึก วิธีการตกผลึก
– สมาชิกกลุ่มแต่ละคนหรือกลุ่มย่อยช่วยกันสืบค้นข้อมูลตามหัวข้อย่อยที่ตนรับผิดชอบโดย
สืบค้นจากใบความรู้ที่ครูเตรียมมาให้ หรือหนังสือ วารสารวิทยาศาสตร์ สารานุกรม และอินเทอร์เน็ต
– สมาชิกกลุ่มนาข้อมูลที่สืบค้นได้มารายงานให้เพื่อน ๆ สมาชิกในกลุ่มฟัง รวมทั้งร่วมกัน
อภิปรายซักถามจนกว่าสมาชิกทุกคนมีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน
(2) สมาชิกกลุ่มช่วยกันสรุปความรู้ที่ได้ทั้งหมดเป็นผลงานกลุ่มและช่วยกันจัดทารายงาน
การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการตกผลึกสาร
(3) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
การระเหิด
(1) นักเรียนแบ่งกลุ่มและปฏิบัติกิจกรรม สังเกตกำรระเหิด ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์
โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกตดังนี้
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 179

– ปั้นดินน้ามันให้มีรูปร่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
– วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลูกเหม็น บันทึกผล
– กดลูกเหม็นลงบนก้อนดินน้ามัน ให้ลูกเหม็นจมลงไปในดินน้ามันประมาณครึ่งลูก สังเกต
รอยกดบนดินน้ามัน และบันทึกผล
– นาลูกเหม็นไปวางบนกระดาษนาน 2 สัปดาห์ นามาวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง แล้ววางลง
ในช่องดินน้ามันเดิม สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น บันทึกผลและสรุปผลการสังเกต
(2) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากใบกิจกรรม
(3) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
การสกัดสาร
(1) ครูนาใบเตยและดอกอัญชัน มาให้นักเรียนดู แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มอภิปราย
วิธีการแยกสีจากพืชที่ครูนามา แล้วส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอผลการอภิปรายหน้าชั้นเรียน
(2) ครูแสดงวิธีการแยกสีจากใบเตยให้นักเรียนดู โดยหั่นใบเตยที่เตรียมมาให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ
นาไปบดด้วยโกร่งบด ใส่น้า แล้วกรองด้วยผ้าขาวบางเอาแต่กากของใบเตยออกมา ให้นักเรียนสังเกตสี
ของน้าที่กรองได้
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปวิธีการแยกสารโดยการสกัดสารที่ได้จากการปฏิบัติกิจกรรม
(4) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา

ชั่วโมงที่ 35
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คาถามต่อไปนี้
– ขนาดของลูกเหม็นเปลี่ยนไปในลักษณะใด (แนวคำตอบ ขนำดของลูกเหม็นเล็กลง)
– นักเรียนคิดว่าลูกเหม็นเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวได้หรือไม่ เพราะอะไร (แนวคำตอบ
ลูกเหม็นเปลี่ยนสถำนะเป็นของเหลวไม่ได้ เพรำะจำกกำรสังเกตไม่พบของเหลวในบริเวณที่วำงลูก
เหม็น)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า การตกผลึก
สารเป็นการแยกสารที่มีความสามารถละลายได้เมื่ออุณหภูมิต่างกันออกจากกัน ทาให้ได้ของแข็งที่
บริสุทธิ์แยกออกมา การระเหิดเป็นการแยกของผสมที่เป็นของแข็งซึ่งมีส่วนผสมหนึ่งมีสมบัติระเหิดได้
เช่น ลูกเหม็น พิมเสน ส่วนการสกัดสารเป็นการแยกสารโดยใช้ตัวทาละลายที่เหมาะสม ทาให้สิ่งที่
ต้องการสกัดถูกแยกออกมาอยู่กับตัวทาละลาย แล้วจึงนาสารที่ได้ไปทาให้กลายเป็นสารบริสุทธิ์ต่อไปอีก
ครั้งหนึ่ง
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 180

4) ขั้นขยายความรู้
(1) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตกผลึก การระเหิด และการสกัดสารจาก
แหล่งความรู้ต่าง ๆ เช่น หนังสือ วารสารวิทยาศาสตร์ และอินเทอร์เน็ต แล้วสรุปเป็นรายงานส่งครู
(2) ครูเชื่อมโยงความรู้กับหลักเศรษฐกิจพอเพียง เกี่ยวกับภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยให้ความรู้
เพิ่มเติมเกี่ยวกับการสกัดน้ามันหอมระเหยจากพืชสมุนไพร และมีการนาน้ามันหอมระเหยเหล่านั้นไปใช้
ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
น้ำมันไพล สกัดได้จากเหง้าไพล โดยการกลั่นด้วยไอน้า มีลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี แต่
มีกลิ่นเฉพาะตัว มีคุณสมบัติสาคัญ คือ ช่วยแก้อาการฟกช้า เคล็ดขัดยอก ข้อเท้าแพลง
น้ำมันดอกกำนพลู สกัดได้จากดอกกานพลูที่ตูมและทาให้แห้งแล้ว โดยการกลั่นด้วยไอน้า มี
ลักษณะเป็นของเหลวใส สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นเฉพาะตัว มีคุณสมบัติสาคัญ คือ ช่วยบรรเทาอาการคัน
ลดการอักเสบ
น้ำมันตะไคร้ สกัดได้จากส่วนเหนือดินของต้นตะไคร้ โดยการกลั่นด้วยไอน้า มีลักษณะเป็น
ของเหลวใส สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นเฉพาะตัว มีคุณสมบัติสาคัญ คือ ช่วยในการขับลม แก้จุกเสียด ลดอาการ
ตึงเครียดของระบบประสาท ใช้เป็นสารปรุงแต่กลิ่นอาหารและเครื่องดื่ม
น้ำมันผิวมะกรูด สกัดได้จากผิวมะกรูด โดยการกลั่นด้วยไอน้า มีลักษณะเป็นของเหลวใส
สีเหลืองอมเขียว มีกลิ่นเฉพาะตัว มีคุณสมบัติสาคัญ คือ ช่วยในการแต่งกลิ่นรสอาหาร ช่วยผ่อนคลาย
ความกังวล ทาให้สดชื่น
น้ำมันโหระพำ สกัดจากใบโหระพาพันธุ์ไทย โดยการกลั่นด้วยไอน้า มีลักษณะเป็นของเหลว
ใส สีเหลืองอ่อน หรือเหลืองอมน้าตาล มีกลิ่นเฉพาะตัว มีคุณสมบัติสาคัญ คือ ช่วยในการแต่งกลิ่นรสใน
อุตสาหกรรมอาหาร
(3) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับการแยกสารโดยการตก
ผลึก การระเหิด และการสกัดสาร จากหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามี ครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม และ
การนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าในของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– ถ้าต้องการให้ลูกเหม็นระเหิดช้า ๆ ควรทาวิธีใด
– ถ้าใช้ตัวทาละลายไม่เหมาะสมกับการสกัดสารจะเกิดอะไรขึ้น
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 181

ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการแยกสารโดยการตกผลึก การระเหิด การสกัดสาร
โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อสารที่ใช้ในชีวิตประจาวัน โดยใช้ใบงาน สำรวจ
ก่อนเรียน 8 ที่ครูจัดเตรียมไว้ให้ประกอบการศึกษาค้นคว้า (ในสื่อการเรียนรู้ PowerPoint วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด)
3) ครูอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมและมอบหมายให้นักเรียนไปปฏิบัติกิจกรรมที่บ้าน
พร้อมทั้งให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปรายร่วมกัน
ในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มช่วยกันคิดหาวิธีแยกของผสมระหว่างพิมเสนกับเกลือ แล้วส่ง
ตัวแทนนาเสนอวิธีการแยกสารดังกล่าวหน้าชั้นเรียน ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุป
วิธีการที่เหมาะสมในการแยกพิมเสนออกจากเกลือ โดยให้ได้ข้อสรุปว่าอาจใช้วิธีการแยกโดยการทาให้
พิมเสนระเหิดไปเหลือแต่เกลือ หรือนาสารผสมไปละลายน้า เกลือจะละลายน้า ส่วนพิมเสนจะไม่ละลาย
แล้วจึงแยกพิมเสนออกได้โดยการกรอง ส่วนน้าทีก่ รองได้จะนาไปแยกเอาเกลือออกโดยใช้วิธีการระเหย
แห้งต่อไป

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ใบเตย
2. ดอกอัญชัน
3. มีด
4. ผ้าขาวบาง
5. โกร่งบด
6. ใบกิจกรรมที่ 18 สังเกตการระเหิด
7. ใบงานสารวจก่อนเรียน 8
8. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
9. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
10. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
11. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 182

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 183

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 25
สารในชีวิตประจาวัน
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร เวลา 2 ชั่วโมง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สารในชีวิตประจาวัน

1. สาระสาคัญ
สารที่ใช้ในชีวิตประจาวันที่เป็นเครื่องอุปโภคและบริโภค จะมีองค์ประกอบเป็นสารเคมีที่มี
สมบัติเป็นกรด เบส และเป็นกลาง ถ้าจาแนกสารที่ใช้ในชีวิตประจาวันตามเกณฑ์การนาไปใช้ประโยชน์
จะได้เป็นกลุ่มคือ สารปรุงแต่งอาหาร สารทาความสะอาด และสารกาจัดแมลง
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
1. สารวจและจาแนกประเภทของสารต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจาวัน โดยใช้สมบัติและการใช้
ประโยชน์ของสารเป็นเกณฑ์ (ว 3.1 ป. 6/4)
2. อภิปรายการเลือกใช้สารแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย (ว 3.1 ป. 6/5)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกประเภทของสารต่าง ๆ ในชีวิตประจาวัน ตามเกณฑ์สมบัติและการนาไปใช้ประโยชน์
ได้ (K)
2. เลือกใช้สารแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย (K)
3. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
4. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
5. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
6. สื่อสารและนาความรู้เรื่องสารในชีวิตประจาวันไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
สารในชีวิตประจาวัน วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
2. ประเมินกิจกรรม 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
ฝึกทักษะระหว่างเรียน วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 184

5. สาระการเรียนรู้
– สารปรุงแต่งอาหาร
– สารทาความสะอาด
– สารกาจัดแมลง
6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับสารใน
ชีวิตประจาวัน
สุขศึกษาและพลศึกษา เลือกใช้สารทาความสะอาดเพื่อดูแลสุขภาพร่างกายได้
อย่างถูกต้องเหมาะสม
คณิตศาสตร์ จัดจาแนก แบ่งประเภทของสารที่ใช้ในชีวิตประจาวัน
สังคมศึกษา ศาสนา สนทนา พูดคุยเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการใช้สาร
และวัฒนธรรม กาจัดแมลงในบ้าน โดยไม่ใช้สารเคมี และการทาสีผสม
อาหารโดยสีจากธรรมชาติ
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
สารในชีวิตประจาวันที่เรียนรู้หรือที่นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 36
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูถามคาถามนักเรียนเพื่อกระตุ้นความสนใจ เช่น
– กิจกรรมต่าง ๆ ที่เราทาตลอดทั้งวันเกี่ยวข้องกับสารอะไรบ้าง
– นักเรียนรู้จักและเคยใช้สารอะไรบ้าง และมีวิธีใช้อย่างไร
– หากเราจะจาแนกประเภทของสารที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจาวัน จะพิจารณาจากเกณฑ์อะไร
เพราะอะไร
2) นักเรียนร่วมกันตอบคาถามตามความคิดเห็นของแต่ละคนแล้วครูและนักเรียนร่วมกัน
อภิปรายคาตอบ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่อง สารในชีวิตประจาวัน
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่ง
มีขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูให้นักเรียนนาใบงาน สำรวจก่อนเรียน 8 ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าที่บ้าน
มาอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทากิจกรรมที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับกิจกรรม ดังนี้
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 185

– เกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งกลุ่มเป็นสมบัติประเภทใดของสาร (แนวคำตอบ สมบัติทำง


เคมี)
– ถ้านักเรียนเปลี่ยนเกณฑ์กลุ่มของสารจะเหมือนเดิมหรือไม่ (แนวคำตอบ ไม่
เหมือนเดิม)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทากิจกรรมอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับกิจกรรม สำรวจก่อนเรียน 8 โดยครูช่วยอธิบายให้
นักเรียนเข้าใจว่า สารที่ใช้ในชีวิตประจาวันมีความเป็นกรด–เบสแตกต่างกัน

2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) นักเรียนศึกษาเรื่องสารในชีวิตประจาวันจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครูช่วย
เชื่อมโยงความรู้จากบทเรียนกับความรู้เดิมที่เรียนรู้มาแล้ว ด้วยการใช้คาถามนากระตุ้นให้นักเรียนตอบ
จากความรู้และประสบการณ์ของนักเรียน เช่น
– การจาแนกสารตามสมบัติความเป็นกรด–เบส จะแบ่งได้กี่กลุ่มอะไรบ้าง
– การจาแนกสารตามการนาไปใช้ประโยชน์ จะแบ่งสารได้กี่กลุ่ม อะไรบ้าง
(2) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษา โดยสรุปการจาแนก
ประเภทของสารที่ใช้ในชีวิตประจาวันจากการนาไปใช้ประโยชน์เป็นเกณฑ์ แล้วครูแสดงวิธีการทดสอบ
สมบัติของสารด้านกรด–เบส ให้นักเรียนดูตามขั้นตอนดังนี้
– ละลายน้ายาล้างจานให้เจือจางด้วยน้า
– ใช้ไม้ชิ้นเล็ก ๆ แตะสารละลายน้ายาล้างจาน แล้วไปแตะที่กระดาษลิตมัสสีแดงและสี
น้าเงินให้นักเรียนสังเกตสีของกระดาษลิตมัสที่เปลี่ยนไป
– แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม ทดสอบความเป็นกรด–เบสของน้าผงซักฟอก น้าขี้เถ้า และ
น้าส้มสายชู โดยเน้นย้าว่าไม้ 1 อัน ใช้แตะสารได้ 1 ชนิดเท่านั้น เพื่อกันการผสมของสารซึ่งจะทาให้การ
เปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัสผิดพลาดได้ แล้วให้นักเรียนสังเกตสีของกระดาษลิตมัสที่เปลี่ยนไป
(3) นักเรียนแบ่งกลุ่มและปฏิบัติกิจกรรม สำรวจสำรต่ำง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ตาม
ขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกตดังนี้
– แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มสังเกตการใช้ประโยชน์และสมบัติของสารต่าง ๆ ที่ใช้ใน
ชีวิตประจาวัน บันทึกผลการสังเกตลงในตาราง แล้วสรุปผล
(4) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากใบกิจกรรม
(5) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 186

ชั่วโมงที่ 37
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คาถามต่อไปนี้
– สารที่ใช้ทาความสะอาดร่างกายมีอะไรบ้าง (แนวคำตอบ สบู่เหลว น้ำส้มสำยชู และเกลือ)
– ถ้าจาแนกสารในบ้านตามการนาไปใช้ประโยชน์จะจาแนกสารได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
(แนวคำตอบ 3 ประเภท คือ สำรปรุงแต่งอำหำร สำรทำควำมสะอำด และสำรกำจัดแมลง)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า สารที่นาไป
ทดสอบกับกระดาษลิตมัส ถ้าเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้าเงินแสดงว่าสารที่นามาทดสอบมี
สมบัติเป็นเบส เช่น น้ายาล้างจาน ผงซักฟอก และน้าขี้เถ้า ส่วนสารที่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้าเงิน
เป็นสีแดง แสดงว่าสารนั้นมีสมบัติเป็นกรด เช่น น้าส้มสายชู
นอกจากจะใช้สมบัติของสารด้านกรด–เบสเป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มสารแล้ว ยังสามารถใช้
เกณฑ์การนาไปใช้ประโยชน์จัดกลุ่มสารได้อีกด้วย โดยจะแบ่งสารได้ 3 กลุ่ม คือ สารปรุงแต่งอาหาร
สารทาความสะอาด และสารกาจัดแมลง
4) ขั้นขยายความรู้
(1) ครูอธิบายให้นักเรียนฟังว่า การจาแนกประเภทของสารอาจใช้เกณฑ์เดียวหรือใช้หลาย
เกณฑ์ประกอบกันก็ได้ แล้วแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายตั้งเกณฑ์เพื่อใช้จาแนกสาร
เป็นประเภทต่าง ๆ แล้วจัดจาแนกสารในชีวิตประจาวันเป็นกลุ่ม ๆ ตามเกณฑ์ที่สมาชิกในกลุ่มได้ ตกลง
ไว้ นาเสนอผลการจาแนกกลุ่มสารหน้าชั้นเรียน โดยนักเรียนแต่ละกลุ่มอาจใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกันได้
(2) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับสารในชีวิตประจาวัน
จากหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม และ
การนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– สารทาความสะอาดสามารถแบ่งตามการนาไปใช้ประโยชน์ได้กี่กลุ่ม อะไรบ้าง
– ข้อควรระวังในการใช้สารกาจัดแมลงมีอะไรบ้าง
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 187

ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับสารในชีวิตประจาวัน โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่
ความคิดหรือผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อการเปลี่ยนแปลงของสาร โดยใช้ใบงาน สำรวจ
ก่อนเรียน 9 ที่ครูจัดเตรียมไว้ให้ประกอบการศึกษาค้นคว้า (ในสื่อการเรียนรู้ PowerPoint วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด)
3) ครูอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมและมอบหมายให้นักเรียนไปปฏิบัติกิจกรรมที่บ้าน
พร้อมทั้งให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปรายร่วมกัน
ในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
1. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มช่วยกันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับฉลากที่ข้างขวดหรือกล่องของ
สารต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจาวัน และวิธีการเลือกใช้สารได้ถูกต้องและปลอดภัย แล้วเขียนสรุปเป็น
รายงานส่งครู
2. ครูเชื่อมโยงความรู้กับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ครูให้ความรูเ้ พิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้สารกาจัด
แมลงในบ้าน โดยไม่ใช้สารเคมี แต่ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน เช่น การกาจัดแมลงสาบ วิธีที่ได้ผลและทาได้
ง่ายก็คือ นาพริกไทยเม็ดไปวางไว้ตามจุดต่าง ๆ ที่แมลงสาบชอบมาไต่หรือแอบมากินอาหาร โดยวางไว้ที่
ละ 4–5 เม็ด แค่นี้แมลงสาบก็จะไม่มารบกวนอีก เพราะแมลงสาบไม่ถูกกับกลิ่นพริกไทยเม็ด พอกลิ่น
หมดก็เปลี่ยนใหม่ เท่านี้ก็สามารถกาจัดแมลงสาบได้ โดยไม่ต้องใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย
ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการทาสีผสมอาหาร ซึ่งเป็นสีจากธรรมชาติ
ดังนี้
สีเหลือง
– ขมิ้น นาเหง้าแก่ มาล้างให้สะอาด ปอกเปลือกแล้วนาไปบดให้ละเอียด เติมน้าลงไปแล้วคั้นและ
กรองจะได้น้าสีเหลืองเข้ม
– ลูกตาล นาผลตาลสุกมาปอกเปลือกออก เติมน้าลงไปเล็กน้อย นวดเอาเนื้อสีเหลืองออกจากใย
ให้หมด เทลงถุงผ้าหนา ๆ มัดปากถุงแล้วตากให้แห้ง จะได้เนื้อลูกตาลสีเหลือง
– ดอกกรรณิการ์ นาหลอดดอกในปริมาณ 1 ถ้วย ใส่ในผ้าขาวบาง หยดน้าใส่เล็กน้อยแล้วคั้นเอา
แต่น้าไปใช้
สีแดง
– กระเจี๊ยบ นาดอกมาต้มและเคี่ยวให้สีแดงออกมา กรองเอากากออก นาน้าที่ได้ไปใช้ในการแต่งสี
– เมล็ดถั่วแดง ล้างให้สะอาดแล้วต้มเคี่ยวกับน้า แล้วนาน้าสีแดงที่ได้ไปผสมกับอาหาร
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 188

สีเขียว
– ใบเตย น้าใบเตยสด ล้างน้าให้สะอาด หั่นเป็นท่อนตามขวาง ตาหรือโขลก เติมน้าลงไป
เล็กน้อยแล้วคั้น กรองด้วยผ้าขาวบางจะได้น้าสีเขียว
สีน้ำเงิน
– ดอกอัญชัน นากลีบดอกมาบด เติมน้าลงไปเล็กน้อย กรองด้วยผ้าขาวบาง คั้นน้าออกมาจะได้
น้าสีน้าเงิน
สีม่วง
– ดอกอัญชัน นากลีบดอกมาบด เติมน้าลงไปเล็กน้อย กรองด้วยผ้าขาวบาง คั้นน้าออกมาจะได้
น้าสีน้าเงิน เติมน้ามะนาวลงไปเล็กน้อยจะได้สีม่วง
– แก้วมังกร นาเนื้อแก้วมังกรที่มีข้างในสีม่วง มาคั้นแล้วกรองเอาน้า นาน้าที่ได้ไปใช้แต่งสีม่วง
ถ้าต้องการสีชมพูก็นาน้าไปใช้ผสมในปริมาณน้อยก็จะได้สีชมพู

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ใบงานสารวจก่อนเรียน 8
2. น้ายาล้างจาน
3. น้าผงซักฟอก
4. น้าขี้เถ้า
5. น้าส้มสายชู
6. ไม้ชิ้นเล็ก ๆ
7. กระดาษลิตมัสสีแดงและสีน้าเงิน
8. ใบกิจกรรมที่ 19 สารวจสารต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจาวัน
9. ใบงานสารวจก่อนเรียน 8
10. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
11. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
12. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
13. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 189

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 190

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 26
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมีของสาร
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร เวลา 2 ชั่วโมง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สารในชีวิตประจาวัน

1. สาระสาคัญ
การเปลี่ยนแปลงของสารแบ่งได้ 2 ประเภท คือ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพโดยสารที่
เปลี่ยนแปลงไปสามารถย้อนกลับไปมีสมบัติเหมือนเดิมได้ และการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่เมื่อสารเกิด
การเปลี่ยนแปลงแล้วจะไม่สามารถกลับมามีสมบัติเหมือนเดิมได้อีก
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
1. ทดลองและอธิบายสมบัติของสาร เมื่อสารเกิดการละลายและเปลี่ยนสถานะ (ว 3.2 ป. 6/1)
2. วิเคราะห์และอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่ให้เกิดสารใหม่และมีสมบัติของสารเปลี่ยนแปลงไป
(ว 3.2 ป. 6/2)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ทดลองการเปลี่ยนแปลงของสารเมื่อเกิดสารละลายได้ (K)
2. อธิบายสมบัติของสารเมื่อสารเปลี่ยนสถานะได้ (K)
3. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
4. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
5. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
6. สื่อสารและนาความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมีของสารไปใช้ใน
ชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
การเปลี่ยนแปลงทาง วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
กายภาพและทางเคมี 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
ของสาร วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
2. ประเมินกิจกรรม 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
ฝึกทักษะระหว่างเรียน กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 191

5. สาระการเรียนรู้
1. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
2. การเปลี่ยนแปลงทางเคมี
6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการ
เปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมีของสาร
ศิลปะ ปั้นและตกแต่งดินน้ามันเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ ตาม
จินตนาการ
คณิตศาสตร์ จาแนก จัดประเภทการเปลี่ยนแปลงของสาร เป็นการ
เปลี่ยนแปลงทางกายภาพและการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
ของสาร
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและเคมีของสารที่เรียนรู้
หรือที่นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 38
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มช่วยกันปั้นดินน้ามันเป็นรูปสัตว์ชนิดต่าง ๆ ตามจินตนาการ
แล้วครูใช้คาถามกระตุ้นให้นักเรียนตอบดังนี้
– ดินน้ามันมีสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิมหรือไม่
– นักเรียนสามารถทาให้ดินน้ามันกลับไปมีสมบัติเหมือนเดิมได้หรือไม่ อย่างไร
2) นักเรียนร่วมกันตอบคาถามตามความคิดเห็นของแต่ละคน แล้วครูและนักเรียนร่วมกัน
อภิปรายคาตอบ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมีของสาร
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่ง
มีขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูให้นักเรียนนาใบงาน สำรวจก่อนเรียน 9 ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าที่บ้าน
มาอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทากิจกรรมที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับกิจกรรม ดังนี้
– กิจกรรมที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ สารเกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะใด
(แนวคำตอบ เปลี่ยนแปลงรูปร่ำงหรือเกิดกำรละลำย)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 192

– กิจกรรมที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี สารเกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะใด (แนว


คำตอบ เกิดกำรเผำไหม้และเกิดขี้เถ้ำขึ้นเป็นสำรใหม่)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทากิจกรรมอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับกิจกรรม สำรวจก่อนเรียน 9 โดยครูช่วยอธิบายให้
นั ก เรี ย นเข้ า ใจว่ า น้ าเกิ ดการเปลี่ ย นแปลงได้ 2 ลั ก ษณะ คื อ การเปลี่ ย นแปลงทางกายภาพและการ
เปลี่ยนแปลงทางเคมี

2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมีของสารจากใบความรู้หรือใน
หนังสือเรียน โดยครูตั้งคาถามให้นักเรียนตอบประกอบการค้นคว้าดังนี้
– เมื่อสารเกิดการเปลี่ยนแปลง สารที่เกิดขึ้นจะเปลี่ยนไปจากเดิมในลักษณะใดบ้าง
– นักเรียนจะทราบได้อย่างไรว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นการเกิดปฏิกิริยาเคมีหรือไม่
(2) นักเรียนแบ่งกลุ่มและปฏิบัติกิจกรรม ทดลองกำรละลำย ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ดังนี้
ขั้นที่ 1 กาหนดปัญหา
– น้าตาลทราย เกลือ ทราย และดิน จะละลายน้าได้เท่ากันหรือไม่
ขั้นที่ 2 สมมุติฐาน
– เมื่อละลายน้าตาลทราย เกลือ ทราย และดินลงในน้า สารแต่ละชนิดน่าจะละลายน้าได้
เท่ากัน
ขั้นที่ 3 ทดลอง
– ใส่น้าลงในหลอดทดลอง หลอดละ 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร
– ใส่น้าตาลทราย เกลือ ทราย และดินอย่างละ 2 ช้อนเบอร์ 2 ลงในหลอดทดลองหลอดที่
1, 2, 3 และ 4 ตามลาดับ
– เขย่าหลอดทดลอง แล้วตั้งทิ้งไว้ 2 นาที สังเกตผลในแต่ละหลอดทดลอง บันทึกแล้ว
สรุปผล
ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ผลการทดลอง
– แปลความหมายข้อมูลที่ได้จากตารางบันทึกผลการทดลอง
– นาข้อมูลที่ได้มาพิจารณา เพื่ออธิบายว่าเป็นไปตามที่นักเรียนตั้งสมมุติฐานหรือไม่
ขั้นที่ 5 สรุปผลการทดลอง
– นักเรียนร่วมกันสรุปผลการทดลอง แล้วเขียนรายงานสรุปผลการทดลองส่งครู
(3) แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนสถานะของสาร โดยดาเนินการ
ตามขั้นตอนดังนี้
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 193

– แต่ละกลุ่มวางแผนการสืบค้นข้อมูล โดยแบ่งหัวข้อย่อยให้เพื่อนสมาชิกช่วยกันสืบค้น
ตามที่สมาชิกกลุ่มช่วยกันกาหนดหัวข้อย่อย เช่น สมบัติของน้าที่เปลี่ยนไป เมื่อเปลี่ยนสถานะ อุณหภูมิ
ขณะที่น้าเปลี่ยนสถานะ และสาเหตุที่ทาให้น้าเปลี่ยนสถานะ
– สมาชิกกลุ่มแต่ละคนหรือกลุ่มย่อยช่วยสืบค้นข้อมูลตามหัวข้อย่อยที่ตนรับผิดชอบ โดย
สืบค้นจากใบความรู้ที่ครูเตรียมมาให้ หรือหนังสือ วารสาร สารานุกรม และอินเทอร์เน็ต
– สมาชิกกลุ่มนาข้อมูลที่สืบค้นได้มารายงานให้เพื่อน ๆ สมาชิกในกลุ่มฟัง รวมทั้งร่วมกัน
อภิปรายซักถามจนกว่าสมาชิกทุกคนมีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน
– สมาชิกกลุ่มช่วยกันสรุปความรู้ที่ได้ทั้งหมดเป็นผลงานของกลุ่มและช่วยกันจัดทารายงาน
การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการเปลี่ยนสถานะของสาร
(4) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
ชั่วโมงที่ 39
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคาถาม
ต่อไปนี้
– สารใดละลายน้าได้หมด และสารใดละลายน้าได้บางส่วน (แนวคำตอบ น้ำตำลทรำยและ
เกลือละลำยน้ำได้หมด ส่วนดินละลำยน้ำได้บำงส่วน)
– สารใดเมื่อละลายน้าแล้วเกิดเป็นสารเนื้อเดียว และสารใดเมื่อละลายน้าแล้วเกิดเป็นสาร
เนื้อผสม (แนวคำตอบ น้ำตำลทรำยและเกลือเมื่อละลำยน้ำแล้วเกิดเป็นสำรเนื้อเดียว ส่วนทรำยและดิน
เมื่อละลำยน้ำแล้วเกิดเป็นสำรเนื้อผสม)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า สารแต่ละ
ชนิดจะละลายน้าได้ไม่เท่ากัน ทาให้สารใหม่ที่ได้มีสมบัติแตกต่างกัน คือสารที่ผสมกันแล้วรวมเข้า
ด้วยกันทุกส่วน ไม่สามารถบอกได้ว่าส่วนใดเป็นสารอะไร และแสดงสมบัติเหมือนกันทุกส่วน จะเรียก
สารผสมนี้ว่าสารละลาย ซึ่งเป็นสารเนื้อเดียว เช่น น้าเกลือ น้าเชื่อม ส่วนสารที่ผสมกันแล้วไม่รวมเข้ากัน
ทุกส่วนบางส่วนยังคงมองเห็นเป็นสารเดิม จะเรียกสารนี้ว่า สารเนื้อผสม เช่น เมื่อละลายดินและทรายใน
น้า
การเปลี่ยนสถานะของน้า น้าจะเปลี่ยนสถานะได้ 3 สถานะ คือ ถ้าเป็นของแข็งเรียกว่า
น้าแข็ง ถ้าเป็นของเหลวเรียกว่า น้า ถ้าเป็นแก๊สเรียกว่า ไอน้า การเปลี่ยนสถานะของน้าเกิดจากการเพิ่ม
หรือลดอุณหภูมิ โดยสารใหม่ที่ได้ยังคงเป็นสารเดิม
4) ขั้นขยายความรู้
(1) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมี
ของสารจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ หนังสือ วารสารวิทยาศาสตร์ และอินเทอร์เน็ต แล้วนาข้อมูลที่ได้มา
อภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 194

(2) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทาง
กายภาพและทางเคมีของสาร จากหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม และ
การนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– การต้มน้าจนเดือดกลายเป็นไอ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพหรือทางเคมีของน้า
เพราะอะไร
– การทากับข้าวเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะใด เพราะอะไร
ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมีของสาร โดย
ร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อการเปลี่ยนแปลงของสารที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและ
สิ่งแวดล้อม
3) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปราย
ร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
ให้นักเรียนยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของสารที่พบในชีวิตประจาวัน แล้วร่วมกันอภิปรายจัด
จาแนกว่าที่ยกตัวอย่างมาเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพหรือทางเคมีของสาร

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ดินน้ามัน
2. ใบงานสารวจก่อนเรียน 9
3. ใบกิจกรรมที่ 20 ทดลองการละลาย
4. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
5. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 195

6. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา


พานิช จากัด
7. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 196

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 27
การเปลี่ยนแปลงของสารที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร เวลา 1 ชั่วโมง


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สารในชีวิตประจาวัน

1. สาระสาคัญ
สารบางชนิดเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วจะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้ เช่น
การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงทาให้เกิดควันพิษ หรือการเน่าเสียของอาหาร
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
อภิปรายการเปลี่ยนแปลงของสารที่ก่อให้เกิดผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม (ว 3.2 ป. 6/3)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายการเปลี่ยนแปลงของสารที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้ (K)
2. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
3. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
4. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สื่อสารและนาความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงของสารที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและ
สิ่งแวดล้อมไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
การเปลี่ยนแปลงของ วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
สารที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิต 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
และสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
2. ประเมินกิจกรรม 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
ฝึกทักษะระหว่างเรียน กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
3. ทดสอบหลังเรียน

5. สาระการเรียนรู้
การเปลี่ยนแปลงของสารที่มผี ลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 197

6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการ
เปลี่ยนแปลงของสารที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ศิลปะ ประดิษฐ์ ตกแต่งป้ายนิเทศที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง
ของสารที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้สวยงาม
คณิตศาสตร์ จาแนก จัดประเภทประโยชน์ และโทษที่เกิดจากการ
เปลี่ยนแปลงของสาร
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
การเปลี่ยนแปลงของสารที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและ
สิ่งแวดล้อมที่เรียนรู้หรือที่นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 40
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูนาภาพการจราจรที่ติดขัดบนท้องถนนให้นักเรียนดู โดยอธิบายให้นักเรียนฟังว่า การเผาไหม้
ของเชื้อเพลิงภายในเครื่องยนต์เป็นสาเหตุทาให้เชื้อเพลิงหรือน้ามันภายในเครื่องยนต์เปลี่ยนแปลงไป
เป็นพลังงานที่ทาให้รถวิ่งได้ และได้แก๊สที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนซึ่งปล่อยออกมาทางท่อไอเสีย
รถยนต์ แล้วครูตั้งคาถามกระตุ้นให้นักเรียนตอบดังนี้
– นักเรียนเคยอยู่ในบริเวณที่มีการจราจรติดขัดหรือไม่ นักเรียนรู้สึกอย่างไร
– ควันพิษในรูปเกิดจากอะไร และมีผลต่อเราในลักษณะใด
– นักเรียนมีวิธีการหลีกเลี่ยงควันพิษที่ปล่อยออกมานี้ได้โดยวิธีการใด
2) นักเรียนร่วมกันตอบคาถามตามความคิดเห็นของแต่ละคนแล้วครูและนักเรียนร่วมกัน
อภิปรายคาตอบ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสารที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและ
สิ่งแวดล้อม
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่งมี
ขั้นตอนดังนี้
1) ขัน้ สร้างความสนใจ
(1) ครูแบ่งกลุ่มนั กเรี ยนแล้ว เปิ ดโอกาสให้นักเรี ยนในกลุ่มนาเสนอข้ อมูลเกี่ ยวกั บการ
เปลี่ยนแปลงของสารที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อน ๆ
ในกลุ่มฟัง จากนั้นให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมานาเสนอข้อมูลหน้าห้องเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทาภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 198

– การเปลี่ยนแปลงของสารที่เกิดผลดีต่อสิ่งมีชีวิตมีอะไรบ้าง (แนวคำตอบ กำรละลำย


ของปุ๋ยในน้ำทำให้พืชดูดไปใช้ได้)
– การเปลี่ยนแปลงของสารที่เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมมีอะไรบ้าง (แนวคำตอบ กำร
สร้ำงควันพิษทำให้เกิดมลพิษทำงอำกำศ)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทาภาระงานอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า
การเปลี่ยนแปลงของสารมีทั้งผลดีและผลเสียต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสารที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม จากใบ
ความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครูตั้งคาถามให้นักเรียนตอบประกอบการค้นคว้าดังนี้
– นักเรียนเคยเห็นการเปลี่ยนแปลงของสารหรือไม่อะไรบ้าง
– การเปลี่ยนแปลงที่นักเรียนสังเกตเห็นมีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมอย่างไร
(2) แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสารที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิต
และสิ่งแวดล้อม โดยดาเนินการตามขั้นตอนดังนี้
– แต่ละกลุ่มวางแผนการสืบค้นข้อมูล โดยแบ่งหัวข้อย่อยให้เพื่อนสมาชิกช่วยกันสืบค้น
ตามที่สมาชิกกลุ่มช่วยกันกาหนดหัวข้อย่อย เช่น ประเภทของการเปลี่ยนแปลงของสาร การเปลี่ยนแปลง
ของสารที่มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต การเปลี่ยนแปลงของสารที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
– สมาชิกกลุ่มแต่ละคนหรือกลุ่มย่อยช่วยกันสืบค้นข้อมูลตามหัวข้อย่อยที่ตนรับผิดชอบโดย
สืบค้นจากใบความรู้ที่ครูเตรียมมาให้ หรือหนังสือ วารสาร สารานุกรม และอินเทอร์เน็ต
– สมาชิกกลุ่มนาข้อมูลที่สืบค้นได้มารายงานให้เพื่อน ๆ สมาชิกในกลุ่มฟัง รวมทั้งร่วมกัน
อภิปรายซักถามจนกว่าสมาชิกทุกคนมีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน
– สมาชิกกลุ่มช่วยกันสรุปความรู้ที่ได้ทั้งหมดเป็นผลงานของกลุ่ม และช่วยกันจัดทารายงาน
การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสารที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คาถามต่อไปนี้
– การเปลี่ยนแปลงของสารที่นักเรียนสารวจพบมีผลดีหรือผลเสียอย่างไรบ้าง (แนวคำตอบ
ผลดี เช่น กำรละลำยของปุ๋ยทำให้พืชสำมำรถดูดซับธำตุอำหำรไปใช้สร้ำงอำหำรได้ ผลเสีย เช่น กำร
ละลำยของปุ๋ยที่ตกค้ำงในดินและไหลลงสู่แหล่งน้ำเมื่อฝนตกทำให้ผักตบชวำเจริญเติบโตเร็วเกินไป)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 199

– กิจกรรมใดในชีวิตประจาวันของนักเรียนที่ทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสารที่เกิดผลเสีย
ต่อสิ่งแวดล้อม (แนวคำตอบ กำรเทน้ำที่เหลือจำกกำรซักล้ำงลงสู่แหล่งน้ำ)
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า เมื่อสารบาง
ชนิดเกิดการเปลี่ยนแปลง สารใหม่ที่เกิดขึ้นมนุษย์สามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้ แต่บางชนิดจะเป็น
อันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น การเน่าเสียของอาหารหรือการเสื่อมคุณภาพของอาหาร
กระป๋อง ซึ่งจะทาให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค หรือการปล่อยควันพิษและน้าเสียของโรงงานอุตสาหกรรม
ในชุมชน จะทาให้เกิดผลเสียต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในบริเวณนั้นได้
4) ขั้นขยายความรู้
(1) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสารที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิต
และสิ่งแวดล้อมจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ เช่น หนังสือ วารสารวิทยาศาสตร์ และอินเทอร์เน็ต แล้วสรุปเป็น
รายงานส่งครู
(2) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและคาศัพท์ภาษาต่างประเทศ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของ
สารที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม จากหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามี ครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม และ
การนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– น้าเสียที่ปล่อยทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม จะทาให้แหล่งน้าเปลี่ยนแปลงไป อย่างไร
– กิจกรรมใดในชีวิตประจาวันของนักเรียนที่ทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสารที่เกิดผลเสีย
ต่อสิ่งแวดล้อม
ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสารที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและ
สิ่งแวดล้อม โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์
2) ครูดาเนินการทดสอบหลังเรียน โดยให้นักเรียนทาแบบทดสอบหลังเรียนเพื่อวัด
ความก้าวหน้า/ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ของนักเรียน
3) ครูเชื่อมโยงเนื้อหาจากบทเรียนนี้กับบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อให้นักเรียนเตรียมความพร้อม
ในการเรียนชั่วโมงต่อไป โดยการใช้คาถามกระตุ้น ดังนี้
– สารที่สามารถนาไฟฟ้าได้นาไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง (แนวคำตอบ นำไปทำ
สำยไฟฟ้ำ)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 200

4) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย
5) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปราย
ร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
ชั่วโมงที่ 41
ครูประเมินด้านความรู้ของนักเรียนตามตัวชี้วัดชั้นปี โดยให้นักเรียนทาแบบทดสอบกลางปี
เพื่อวัดความก้าวหน้า/ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1–3 ของนักเรียน

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ภาพการจราจรที่ติดขัดบนท้องถนน
2. แบบทดสอบหลังเรียน
3. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
4. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
5. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
6. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 201

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ไฟฟ้า เวลา 14 ชั่วโมง

ผังมโนทัศน์เป้าหมายการจัดการเรียนรู้และขอบข่ายภาระงาน

ความรู้
1. วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย ทักษะ/กระบวนการ
2. การต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมและ 1. การสืบค้นข้อมูล
แบบขนาน 2. การสังเกต
3. การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรมและ 3. การอธิบาย
แบบขนาน 4. การทดลอง
4. ตัวนาไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า 5. การนาความรู้ไปใช้ในชีวิตประจาวัน
5. แม่เหล็กไฟฟ้าและการใช้แม่เหล็กไฟฟ้า

ไฟฟ้า

ภาระงาน/ชิ้นงาน คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. รายงานเรื่องวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย วงจรปิด 1. ใฝ่เรียนรู้
และวงจรเปิด 2. มุ่งมั่นในการทางาน
2. การเปรียบเทียบการต่อหลอดไฟฟ้าแบบ 3. มีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์
อนุกรมและแบบขนาน 4. มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์
3. การเปรียบเทียบการต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบ 5. เห็นคุณค่าของการนาความรู้
อนุกรมและแบบขนาน ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจาวัน
4. รายงานเรื่องวงจรไฟฟ้าในบ้าน
5. รายงานเรื่องตัวนาไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า
6. การทดสอบการนาไฟฟ้า
7. การประดิษฐ์แม่เหล็กไฟฟ้า
8. การทดลองแรงแม่เหล็กไฟฟ้ากับจานวน
รอบของขดลวด
9. รายงานเรื่องการใช้แม่เหล็กไฟฟ้า
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 202

ผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design


หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ไฟฟ้า

ขั้นที่ 1 ผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
ตัวชี้วัดชั้นปี
1. ทดลองและอธิบายการต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย (ว 5.1 ป. 6/1)
2. ทดลองและอธิบายตัวนาไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า (ว 5.1 ป. 6/2)
3. ทดลองและอธิบายการต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรม และนาความรู้ไปใช้ประโยชน์ (ว 5.1 ป. 6/3)
4. ทดลองและอธิบายการต่อหลอดไฟฟ้าทั้งแบบอนุกรม แบบขนาน และนาความรู้ไปใช้ประโยชน์
(ว 5.1 ป. 6/4)
5. ทดลองและอธิบายการเกิดสนามแม่เหล็กรอบสายไฟที่มีกระแสไฟฟ้าผ่าน และนาความรู้ไปใช้
ประโยชน์ (ว 5.1 ป. 6/5)
ความเข้าใจที่คงทนของนักเรียน คาถามสาคัญที่ทาให้เกิดความเข้าใจที่คงทน
นักเรียนจะเข้าใจว่า...
1. วงจรไฟฟ้าอย่างง่ายเป็นเส้นทางที่กระแสไฟฟ้า 1. หลักการของวงจรไฟฟ้าอย่างง่ายคืออะไร เราใช้
ผ่านได้ครบรอบ ประกอบด้วยแหล่งกาเนิด ประโยชน์จากแผนภาพวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย
ไฟฟ้า สายไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้า ทาอะไร
2. วงจรไฟฟ้ามี 2 ลักษณะ คือ วงจรปิดเป็นวงจรที่ 2. การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรมแตกต่างจากการ
กระแสไฟฟ้าผ่านได้ครบรอบ และวงจรเปิดเป็น ต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบขนานในเรื่องใด
วงจรที่กระแสไฟฟ้าผ่านไม่ได้ 3. การต่อหลอดไฟฟ้าและอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า
3. การต่อเซลล์ไฟฟ้าและอุปกรณ์ในวงจรไฟฟ้า ภายในบ้านนิยมต่อแบบใด เพราะเหตุใด
ทาได้ 2 แบบ คือ แบบอนุกรมและแบบขนาน 4. ตัวนาไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้าคืออะไร มี
4. ตัวนาไฟฟ้าเป็นวัสดุที่กระแสไฟฟ้าผ่านได้ ส่วน ความสาคัญต่อวงจรไฟฟ้าในเรื่องใด
ฉนวนไฟฟ้าเป็นวัสดุที่กระแสไฟฟ้าผ่านไม่ได้ 5. แม่เหล็กไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กมีความ
5. สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ลวดตัวนา หรือ เกี่ยวข้องกับกระแสไฟฟ้าในลักษณะใด
สายไฟฟ้าเกิดจากกระแสไฟฟ้าที่ผ่านลวดตัวนา 6. เรานาความรู้เรื่องแม่เหล็กไฟฟ้าและสนาม
หรือสายไฟฟ้านั้น แม่เหล็กไฟฟ้าเกิดจาก แม่เหล็กมาใช้ประโยชน์ในเรื่องใดบ้าง
กระแสไฟฟ้าที่ผ่านขดลวดตัวนาหรือสายไฟฟ้า
แรงแม่เหล็กที่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณกระแสไฟฟ้า
และจานวนรอบของขดลวดที่พันรอบแกนเหล็ก
และสามารถนาแม่เหล็กไฟฟ้าไปใช้ประโยชน์
ได้
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 203

ความรู้ของนักเรียนที่นาไปสู่ความเข้าใจที่คงทน ทักษะ/ความสามารถของนักเรียนที่จะนาไปสู่
นักเรียนจะรู้ว่า... ความเข้าใจที่คงทนนักเรียนจะสามารถ...
1. คาสาคัญ ได้แก่ วงจรปิด วงจรเปิด วงจรไฟฟ้า 1. สืบค้นข้อมูลวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย วงจรปิด
แบบอนุกรม วงจรไฟฟ้าแบบขนาน และวงจรเปิด
สนามแม่เหล็ก แม่เหล็กไฟฟ้า 2. สังเกตการณ์เปรียบเทียบการต่อหลอดไฟฟ้า
2. วงจรไฟฟ้ามี 2 ลักษณะ คือ วงจรปิดเป็น แบบอนุกรมและแบบขนาน
วงจรไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านอุปกรณ์ 3. สังเกตการณ์เปรียบเทียบการต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบ
ที่ต่อครบวงจร กล่าวคือ เมื่อเปิดสวิตช์กระแส อนุกรมและแบบขนาน
ไฟฟ้าจะออกจากแหล่งกาเนิดไฟฟ้าทางขั้วบวก 4. สืบค้นข้อมูลวงจรไฟฟ้าในบ้าน
ผ่านอุปกรณ์ไฟฟ้าในวงจรไปยังขั้วลบของ 5. สืบค้นข้อมูลตัวนาไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า
แหล่งกาเนิดไฟฟ้า ส่วนวงจรเปิดเป็นวงจรไฟฟ้า 6. สังเกตทดสอบการนาไฟฟ้า
ที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าออกจากขั้วบวกของ 7. สังเกตการประดิษฐ์แม่เหล็กไฟฟ้า
แหล่งกาเนิดไฟฟ้าผ่านอุปกรณ์ไปยังขั้วลบ 8. ทดลองแรงแม่เหล็กไฟฟ้ากับจานวนรอบของ
ซึ่งอาจจะเกิดจากการนาอุปกรณ์ไฟฟ้าบางส่วน ขดลวด
ออกไป ทาให้กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลผ่าน 9. สืบค้นข้อมูลการใช้แม่เหล็กไฟฟ้า
วงจรได้
3. การต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม หลอดไฟฟ้า
หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าจะจัดต่อเรียงกันและ
กระแสไฟฟ้าจะผ่านหลอดไฟฟ้าหรืออุปกรณ์
เป็นปริมาณเดียวกัน ถ้าเป็นการต่อเซลล์ไฟฟ้า
จะทาให้มีกระแสไฟฟ้าผ่านวงจรมากขึ้น สังเกต
จากหลอดไฟฟ้าสว่างขึ้นแต่ถ้าหลอดไฟฟ้า
ดวงใดดวงหนึ่งขาดจะทาให้วงจรเปิด ไม่มี
กระแสไฟฟ้าผ่านวงจร ส่วนการต่อวงจรไฟฟ้า
แบบขนานหลอดไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าจะต่อ
กันที่จุดร่วม กระแสไฟฟ้าจะไหลแยกผ่านหลอด
ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ ถ้าหลอดไฟฟ้าหรืออุปกรณ์
ส่วนใดส่วนหนึ่งชารุด ส่วนที่เหลือจะยังคง
ทางานได้ตามปกติ การต่อแบบนี้จะช่วยทาให้
ระยะการใช้งานของเซลล์ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์
ยาวนานขึ้น
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 204

4. ตัวนาไฟฟ้าเป็นวัสดุที่กระแสไฟฟ้าผ่านได้ เช่น
ทองแดง เหล็ก สังกะสี และอะลูมิเนียม ส่วน
ฉนวนไฟฟ้าเป็นวัสดุที่กระแสไฟฟ้าผ่านไม่ได้
เช่น ยาง พลาสติก ไม้ และกระเบื้อง
5. เมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านลวดตัวนาหรือสายไฟฟ้า
จะเกิดสนามแม่เหล็กขึ้นรอบ ๆ ลวดตัวนาหรือ
สายไฟฟ้านั้น ถ้าทาให้ลวดตัวนาหรือสายไฟฟ้า
เป็นขดแล้วนาแท่งเหล็กวางไว้ในขดลวด เมื่อ
กระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดจะทาให้แท่งเหล็ก
กลายเป็นแม่เหล็กที่เรียกว่า แม่เหล็กไฟฟ้า และ
แรงแม่เหล็กที่ได้จะขึ้นอยู่กับปริมาณ
กระแสไฟฟ้าและจานวนรอบของขดลวดที่พัน
รอบแกนเหล็ก สิ่งประดิษฐ์ที่ใช้หลักการของ
แม่เหล็กไฟฟ้า เช่น กระดิ่งไฟฟ้าหรือออดไฟฟ้า
ปั้นจั่นยกของ
ขั้นที่ 2 ภาระงานและการประเมินผลการเรียนรู้ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีผลการเรียนรู้ตามที่
กาหนดไว้อย่างแท้จริง
1. ภาระงานที่นักเรียนต้องปฏิบัติ
– รายงานเรื่องวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย วงจรปิด และวงจรเปิด
– การเปรียบเทียบการต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน
– การเปรียบเทียบการต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน
– รายงานเรื่องวงจรไฟฟ้าในบ้าน
– รายงานเรื่องตัวนาไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า
– การทดสอบการนาไฟฟ้า
– การประดิษฐ์แม่เหล็กไฟฟ้า
– การทดลองแรงแม่เหล็กไฟฟ้ากับจานวนรอบของขดลวด
– รายงานเรื่องการใช้ประโยชน์จากแม่เหล็กไฟฟ้า
2. วิธีการและเครือ่ งมือประเมินผลการเรียนรู้
วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ เครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
– การทดสอบ – แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
– การสนทนาซักถาม – แบบบันทึกการสนทนา
– การวัดเจตคติ – แบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์และเจตคติ
ต่อวิทยาศาสตร์
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 205

– การวัดทักษะ – แบบวัดทักษะ/กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
– การประเมินตนเอง – แบบประเมินตนเองของนักเรียน
3. สิ่งที่มุ่งประเมิน
– ความสามารถในการอธิบาย ชี้แจง การแปลความและตีความ การประยุกต์ ดัดแปลง และนาไปใช้
การมีมุมมองที่หลากหลาย การให้ความสาคัญใส่ใจในความรู้สึกของผู้อื่น และการรู้จักตนเอง
– เจตคติทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล
– ทักษะ/กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
– ทักษะการคิด
– ทักษะการแก้ปัญหา
– พฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
ขั้นที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 28 วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย 2 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 29 การต่อหลอดไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า 2 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 30 การต่อเซลล์ไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า 2 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 31 วงจรไฟฟ้าในบ้าน 2 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 32 ตัวนาไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า 2 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 33 แม่เหล็กไฟฟ้า 2 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 34 การใช้แม่เหล็กไฟฟ้า 2 ชั่วโมง
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 206

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 28
วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย

สาระที่ 5 พลังงาน เวลา 2 ชั่วโมง


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ไฟฟ้า

1. สาระสาคัญ
วงจรไฟฟ้าเป็นเส้นทางที่กระแสไฟฟ้าผ่านได้ครบรอบ ประกอบด้วยแหล่งกาเนิดไฟฟ้า
สายไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้า วงจรไฟฟ้ามี 2 ลักษณะ คือ วงจรปิดเป็นวงจรที่กระแสไฟฟ้าผ่านได้
ครบรอบและวงจรเปิดเป็นวงจรที่กระแสไฟฟ้าผ่านไม่ได้
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
ทดลองและอธิบายการต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย (ว 5.1 ป. 6/1)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายหลักการและเขียนแผนภาพวงจรไฟฟ้าอย่างง่ายได้ (K)
2. ต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นวงจรไฟฟ้าอย่างง่ายได้ (K)
3. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
4. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
5. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
6. สื่อสารและนาความรู้เรื่องวงจรไฟฟ้าอย่างง่ายไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
2. ประเมินกิจกรรม 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
ฝึกทักษะระหว่างเรียน วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
3. ทดสอบก่อนเรียน 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
5. สาระการเรียนรู้
วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 207

6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย เขียนรายงานเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าอย่างง่ายจากการศึกษา
ค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและอินเทอร์เน็ต
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
วงจรไฟฟ้าอย่างง่ายที่ได้เรียนรู้หรือที่นักเรียนสนใจ

7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 42
ครูดาเนินการทดสอบก่อนเรียน โดยให้นักเรียนทาแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อตรวจสอบความ
พร้อมและพื้นฐานของนักเรียน
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูนาไฟฉายที่แยกชิ้นส่วนแสดงให้เห็นส่วนประกอบภายในหรือแผนภาพภายในของ
ไฟฉายมาให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย โดยครูตั้งประเด็นการอภิปราย ดังนี้
– ภาพนี้แสดงให้เห็นส่วนประกอบของอะไร
–ไฟฉายจะให้แสงสว่างได้นักเรียนต้องทาอย่างไร
2) นักเรียนร่วมกันตอบคาถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคาตอบของคาถาม เพื่อเชื่อมโยง
ไปสู่การเรียนรู้เรื่อง วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่ง
มีขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครู แ บ่ ง กลุ่ ม นั ก เรี ย นแล้ ว เปิ ด โอกาสให้ นั ก เรี ย นในกลุ่ ม น าเสนอข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ
วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง จากนั้นให้แต่ละกลุ่มส่ง
ตัวแทนมานาเสนอข้อมูลหน้าห้องเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทาภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้
– วงจรไฟฟ้ า อย่ า งง่ า ยประกอบด้ ว ยอะไรบ้ า ง (แนวค ำตอบ แหล่ ง ก ำเนิ ด ไฟฟ้ ำ
สำยไฟฟ้ำ และเครื่องใช้ไฟฟ้ำ)
– หน้าที่ของสวิตช์คืออะไร (แนวคำตอบ เปิดหรือปิดวงจรไฟฟ้ำ)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัย จากการทาภาระงานอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 208

(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้ าใจว่า


วงจรไฟฟ้าเป็นเส้นทางที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ครบรอบ วงจรไฟฟ้าอย่างง่ายประกอบด้วยถ่านไฟฉาย
ซึ่งเป็นแหล่งกาเนิดไฟฟ้า สายไฟฟ้า และหลอดไฟฟ้า

2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาวงจรไฟฟ้าอย่างง่ายจากใบความรู้และในหนังสือเรียน โดยครูช่วย
อธิบายให้นักเรียนได้เห็นว่าความรู้เรื่องวงจรไฟฟ้าอย่างง่ายที่นักเรียนศึกษานี้ เป็นสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้
มาบ้างแล้ว
(2) แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5–6 คน สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าอย่างง่ายโดยดาเนินการ
ตามขั้นตอนดังนี้
– แต่ละกลุ่มวางแผนการสืบค้นข้อมูล โดยแบ่งหัวข้อวงจรไฟฟ้าอย่างง่ายเป็นหัวข้อย่อย เช่น
วงจรไฟฟ้า วงจรปิด วงจรเปิด ให้สมาชิกแต่ละกลุ่มช่วยกันสืบค้นตามหัวข้อที่กาหนด
– สมาชิกแต่ละกลุ่มช่วยกันสืบค้นข้อมูลตามหัวข้อที่กลุ่มของตนเองรับผิดชอบ โดยการ
สืบค้นจากหนังสือ วารสาร สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชนและอินเทอร์เน็ต
– สมาชิกกลุ่มนาข้อมูลที่สืบค้นได้มารายงานให้เพื่อน ๆ สมาชิกในกลุ่มฟัง รวมทั้งร่วมกัน
อภิปรายซักถามจนคาดว่าสมาชิกทุกคนมีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน
– สมาชิกกลุ่มช่วยกันสรุปความรู้ที่ได้ทั้งหมดเป็นผลงานของกลุ่ม
(3) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา

ชั่วโมงที่ 43
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรมโดยใช้แนวคาถาม
ต่อไปนี้
– วงจรปิดกับวงจรเปิดแตกต่างกันในเรื่องใด (แนวคำตอบ วงจรปิด คือ วงจรไฟฟ้ำที่
กระแสไฟฟ้ำไหลได้ครบวงจร ส่วนวงจรเปิด คือ วงจรไฟฟ้ำที่กระแสไฟฟ้ำไม่สำมำรถไหลได้ครบ
วงจร)
– กระแสไฟฟ้ามีทิศทางออกจากขั้วไฟฟ้าใดผ่านวงจรไฟฟ้าไปยังขั้วไฟฟ้าใด (แนวคำตอบ
จำกขั้วบวกไปยังขั้วลบ)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ข้อสรุปว่า วงจรไฟฟ้าเป็น
เส้นทางที่กระแสไฟฟ้าผ่านได้ครบรอบ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 209

4) ขั้นขยายความรู้
นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าอย่างง่ายจากหนังสือ วารสารเกี่ยวกับไฟฟ้า
สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งนาข้อมูลที่ค้นคว้าได้มา
จัดทาเป็นรายงานหรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– วงจรไฟฟ้าคืออะไร
– วงจรไฟฟ้าครบวงจรหมายถึงอะไร
– วงจรปิดและวงจรเปิดหมายถึงอะไร

ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่
ความคิดหรือผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้า ในหัวข้อการต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน
โดยใช้ใบงาน สำรวจก่อนเรียน 10 ที่ครูจัดเตรียมไว้ให้ประกอบการศึกษาค้นคว้า (ในสื่อการเรียนรู้
PowerPoint วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด)
3) ครูอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมและมอบหมายให้นักเรียนไปปฏิบัติกิจกรรมที่บ้าน
พร้อมทั้งให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปรายร่วมกัน
ในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในวงจรไฟฟ้าอย่างง่ายจากหนังสือ วารสาร
เกี่ยวกับไฟฟ้า สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งนาข้อมูล
ที่ค้นคว้าได้มาจัดทาเป็นรายงานหรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 210

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. แบบทดสอบก่อนเรียน
2. ไฟฉายที่แยกชิ้นส่วนแสดงให้เห็นส่วนประกอบภายในหรือแผนภาพภายในของไฟฉาย
3. ใบงานสารวจก่อนเรียน 10
4. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
5. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
6. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
7. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 211

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 29
การต่อหลอดไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า
สาระที่ 5 พลังงาน เวลา 2 ชั่วโมง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ไฟฟ้า
1. สาระสาคัญ
การต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม หลอดไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าจะจัดต่อเรียงกันและ
กระแสไฟฟ้าจะผ่านหลอดไฟฟ้าหรืออุปกรณ์เป็นปริมาณเดียวกัน ถ้าเป็นการต่อเซลล์ไฟฟ้าจะทาให้มี
กระแสไฟฟ้าผ่านวงจรมากขึ้น สังเกตจากหลอดไฟฟ้าสว่างขึ้น แต่ถ้าหลอดไฟฟ้าดวงใดดวงหนึ่งขาดจะ
ทาให้วงจรเปิดไม่มีกระแสไฟฟ้าผ่านวงจร
การต่อวงจรไฟฟ้าแบบขนานเป็นการนาปลายข้างเดียวกัน (ขั้วเดียวกัน) ของแต่ละอุปกรณ์มา
รวมกันก่อนแล้วจึงต่อเข้ากับเซลล์ไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจะแยกผ่านอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละอย่าง โดย
กระแสไฟฟ้ารวมในวงจรเท่ากับกระแสไฟฟ้าที่แยกผ่านอุปกรณ์แต่ละอย่างรวมกัน
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
ทดลองและอธิบายการต่อหลอดไฟฟ้าทั้งแบบอนุกรม แบบขนาน และนาความรู้ไปใช้
ประโยชน์ (ว 5.1 ป. 6/4)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายหลักการต่อหลอดไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าได้ (K)
2. ต่อหลอดไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าแบบอนุกรมได้ (K)
3. ต่อหลอดไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าแบบขนานได้ (K)
4. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
5. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
6. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
7. สื่อสารและนาความรู้เรื่องการต่อหลอดไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
การต่อหลอดไฟฟ้า วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
ในวงจรไฟฟ้า 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
2. ประเมินกิจกรรม วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
ฝึกทักษะระหว่างเรียน 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 212

5. สาระการเรียนรู้
การต่อหลอดไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า
6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย เขียนรายงานเกี่ยวกับการต่อหลอดไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าจาก
การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและอินเทอร์เน็ต
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
การต่อหลอดไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าที่ได้เรียนรู้หรือที่
นักเรียนสนใจ

7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 44
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูนาชุดหลอดไฟฟ้าที่ใช้ประดับต้นไม้ ตู้โชว์ ต่อกับแหล่งกาเนิดไฟฟ้า แล้วเปิดสวิตช์ให้
หลอดไฟฟ้าสว่าง นักเรียนสังเกตผลที่เกิดขึ้น จากนั้นครูถอดหลอดไฟฟ้าออก 1 หลอด สังเกตผลที่
เกิดขึ้น แล้วครูใช้คาถามกระตุ้นดังนี้
– เพราะเหตุใดเมื่อถอดหลอดไฟฟ้าเพียง 1 หลอดออก หลอดไฟฟ้าทุกหลอดจึงดับ
– การต่อวงจรไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดในบ้านเหมือนกันทั้งหมดหรือไม่ เพราะ
อะไร
2) นักเรียนร่วมกันอภิปรายคาตอบของนักเรียน โดยที่ครูยังไม่เฉลย
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่งมี
ขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูให้นักเรียนนาใบงาน สำรวจก่อนเรียน 10 ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าที่
บ้านมาอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทากิจกรรมที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับกิจกรรม ดังนี้
– การต่อวงจรไฟฟ้ามีกี่แบบ อะไรบ้าง (แนวคำตอบ 2 แบบ ได้แก่ กำรต่อวงจรไฟฟ้ำ
แบบอนุกรมและกำรต่อวงจรไฟฟ้ำแบบขนำน)
– การต่อหลอดไฟฟ้าภายในบ้านควรต่อแบบใด เพราะอะไร (แนวคำตอบ ควรต่อแบบ
ขนำน เพรำะถ้ำหลอดไฟฟ้ำหลอดใดหลอดหนึ่งใช้งำนไม่ได้ หลอดอื่นที่เหลือก็ยังสว่ำง เนื่องจำกมี
กระแสไฟฟ้ำไหลผ่ำนในวงจรไฟฟ้ำ)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 213

(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทากิจกรรมอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่ วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับกิจกรรม สำรวจก่อนเรียน 10 โดยครูช่วยอธิบายให้
นักเรียนเข้าใจว่า การต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าแบ่งเป็น 2 แบบ คือ การต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม
และการต่อวงจรไฟฟ้าแบบขนาน

2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาการต่อหลอดไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนานจากใบ
ความรู้และในหนังสือเรียน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนได้เห็นว่าความรู้เรื่องที่นักเรียนศึกษานี้ เป็น
สิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้มาบ้างแล้ว
(2) แบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ 5–6 คน ปฏิบัตกิ ิจกรรม สังเกตกำรเปรียบเทียบกำรต่อหลอด
ไฟฟ้ำแบบอนุกรมและแบบขนำน ตามขั้นตอนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกต
ดังนี้
–ให้นักเรียนดูรูปของการต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรม (รูป ก) ใช้นิ้วลากไปตามเส้นทางที่
กระแสไฟฟ้าไหลไปในวงจร จากนั้นวาดรูปของวงจร และต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมให้เหมือนกับ
วงจรที่แสดงไว้ในรูป
– ถ้านักเรียนต่อเสร็จหลอดไฟฟ้าทั้งสองจะสว่าง และจะเกิดอะไรขึ้นถ้านักเรียนถอดหลอด
ไฟฟ้าออก 1 หลอด บันทึกการทานายของนักเรียนลงในตารางบันทึกผล
– ถอดหลอดไฟฟ้า 1 หลอด ออกจากวงจร สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและบันทึกผล
จากนั้นให้ใส่หลอดไฟฟ้ากลับคืนที่เดิม แล้วถอดสายไฟฟ้าออกจากจุดเชื่อมต่อ

รูป ก รูป ข

– ให้นักเรียนดูรูปของการต่อหลอดไฟฟ้าแบบขนาน (รูป ข) ใช้นิ้วลากไปตามเส้นทางที่


กระแสไฟไหลไปในวงจร จากนั้นวาดรูปของวงจรและต่อหลอดไฟฟ้าแบบขนานให้เหมือนกับวงจรที่
แสดงไว้ในรูป
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 214

– ดาเนินการเช่นเดียวกับขั้นตอนที่ 3 และ 4
– นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ อภิปราย และสรุปผลการสังเกต
(3) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากใบกิจกรรม
(4) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
ชั่วโมงที่ 45
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคาถามต่อไปนี้
– ถ้านักเรียนเพิ่มหลอดไฟฟ้าเข้าไปในวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นกับความ
สว่างของหลอดไฟฟ้าทั้งหมด (แนวคำตอบ หลอดไฟฟ้ำสว่ำงเท่ำกันทุกดวง)
– ถ้าเปรียบเทียบวงจรไฟฟ้ากับระบบไหลเวียนโลหิตของร่างกาย นักเรียนคิดว่าเส้นเลือดที่
อยู่ในอวัยวะต่าง ๆ ควรเชื่อมต่อกันคล้ายกับวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมหรือวงจรไฟฟ้าแบบขนาน เพราะ
อะไร (แนวคำตอบ คล้ำยกับวงจรไฟฟ้ำแบบขนำน เพรำะเส้นเลือดในร่ำงกำยมีหลำยเส้นแยกไปตำม
อวัยวะต่ำง ๆ เพื่อให้เลือดไหลผ่ำน)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า การต่อ
หลอดไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าทาได้ 2 แบบ คือ แบบอนุกรมและแบบขนาน
4) ขั้นขยายความรู้
นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการต่อหลอดไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนานจาก
หนังสือ วารสารเกี่ยวกับไฟฟ้า สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต
รวมทั้งนาข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดทาเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยน
เรียนรู้กัน
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– ข้อดีและข้อเสียของการต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนานคืออะไร
– อธิบายความแตกต่างของวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมและวงจรไฟฟ้าแบบขนาน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 215

ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการต่อหลอดไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า โดยร่วมกันเขียนเป็น
แผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อการต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน
(การต่อเซลล์ไฟฟ้า)
3) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปราย
ร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป
8. กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการต่อหลอดไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนานจาก
หนังสือ วารสารเกี่ยวกับไฟฟ้า สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมสาหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต
รวมทั้งนาข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดทาเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยน
เรียนรู้กัน
9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ใบงานสารวจก่อนเรียน 10
2. ชุดหลอดไฟฟ้าที่ใช้ประดับต้นไม้ ตู้โชว์
3. ใบกิจกรรมที่ 21 สังเกตการเปรียบเทียบการต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน
4. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
5. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
6. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
7. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 216

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 30
การต่อเซลล์ไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า
สาระที่ 5 พลังงาน เวลา 2 ชั่วโมง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยกาเรียนรู้ที่ 4 ไฟฟ้า

1. สาระสาคัญ
การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรมจะทาให้มีกระแสไฟฟ้าผ่านวงจรมากขึ้น ส่วนการต่อเซลล์ไฟฟ้า
แบบขนานจะช่วยทาให้อายุการใช้งานของเซลล์ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ยาวนานขึ้น
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
ทดลองและอธิบายการต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรม และนาความรู้ไปใช้ประโยชน์ (ว 5.1 ป. 6/3)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายหลักการต่อเซลล์ไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมและวงจรไฟฟ้าแบบขนานได้ (K)
2. ต่อเซลล์ไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนานได้ (K)
3. เปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นจากการต่อเซลล์ไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนานได้
(K)
4. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
5. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
6. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
7. สื่อสารและนาความรู้เรื่องการต่อเซลล์ไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
การต่อเซลล์ไฟฟ้าใน วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
วงจรไฟฟ้า 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
2. ประเมินกิจกรรม วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
ฝึกทักษะระหว่างเรียน 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม

5. สาระการเรียนรู้
การต่อเซลล์ไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 217

6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย เขียนรายงานเกี่ยวกับการต่อเซลล์ไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า
จากการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและ
อินเทอร์เน็ต
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
การต่อเซลล์ไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าที่ได้เรียนรู้หรือที่เรียน
สนใจ

7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 46
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูให้นักเรียนดูรูปการต่อหลอดไฟฟ้า 2 หลอด แบบอนุกรมและแบบขนานแล้วถามคาถาม
เพื่อทบทวนความรู้เดิมของนักเรียน เช่น
– ถ้าหลอดไฟฟ้าเสีย 1 หลอด วงจรไฟฟ้าในรูปใดจะใช้งานไม่ได้เลย เพราะอะไร (แนวคำตอบ
รูปกำรต่อหลอดไฟฟ้ำ 2 หลอด แบบอนุกรม เพรำะกระแสไฟฟ้ำไหลเป็นเส้นทำงเดียว เมื่อหลอดไฟฟ้ำ
เสีย 1 หลอด กระแสไฟฟ้ำจึงไหลกลับสู่แหล่งกำเนิดไฟฟ้ำไม่ได้ วงจรไฟฟ้ำจึงใช้งำนไม่ได้)
2) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายคาตอบของนักเรียน โดยที่ครูยังไม่เฉลยคาตอบ
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่งมี
ขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนแล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มนาเสนอข้อ มูลเกี่ยวกับการต่อ
วงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน (การต่อเซลล์ไฟฟ้า) ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้
เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง จากนั้นให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมานาเสนอข้อมูลหน้าห้องเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทาภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้
– การต่ อ หลอดไฟฟ้ า แบบอนุ ก รมและการต่ อ เซลล์ ไ ฟฟ้ า แบบอนุ ก รมมี ห ลั ก การ
เหมือนกันหรือไม่ ลักษณะใด (แนวคำตอบ มีหลักกำรเหมือนกัน คือ กระแสไฟฟ้ำไหลผ่ำนเซลล์ไฟฟ้ำ
สำยไฟฟ้ำ และเครื่องใช้ไฟฟ้ำทั้งหมดเส้นทำงเดียว)
– การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบใดทาให้พลังงานที่ได้จากเซลล์ไฟฟ้ามีระยะเวลาการใช้งาน
มากขึ้น (แนวคำตอบ กำรต่อเซลล์ไฟฟ้ำแบบขนำน)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 218

(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทาภาระงานอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นัก เรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า
การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรมจะทาให้มีกระแสไฟฟ้าผ่านวงจรมากขึ้น ส่วนการต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบ
ขนานจะช่วยทาให้อายุการใช้งานของเซลล์ไฟฟ้ายาวนานขึ้น

2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาการต่อวงจรไฟฟ้าแบบขนานจากใบความรู้และในหนังสือเรียน โดยครู
ช่วยอธิบายให้นักเรียนได้เห็นว่า ความรู้เรื่องที่นักเรียนศึกษานี้ เป็นสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้มาบ้างแล้ว
(2) แบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ 4–5 คน ปฏิบัตกิ ิจกรรม สังเกตกำรเปรียบเทียบกำรต่อเซลล์
ไฟฟ้ำแบบอนุกรมและแบบขนำน ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกตดังนี้
–ให้นักเรียนดูแผนภาพของการต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรม รูปที่ 1
– นาถ่านไฟฉาย 1 ก้อน หลอดไฟฟ้า และสวิตช์ ต่อกันเป็นวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมให้
เหมือนกับรูปที่ 1 สังเกตความสว่างของหลอดไฟฟ้า

รูปที่ 1 รูปที่ 2
– เพิ่มถ่านไฟฉายอีก 1 ก้อน เข้าไปในวงจรไฟฟ้า โดยเรียงต่อกันดังรูปที่ 2 สังเกตความ
สว่างของหลอดไฟฟ้าเปรียบเทียบกับเมื่อต่อกับถ่านไฟฉาย 1 ก้อน
– นาถ่านไฟฉาย 1 ก้อน สวิตช์ และหลอดไฟฟ้า มาต่อกันเป็นวงจรไฟฟ้าดังรูปที่ 3 สังเกต
ความสว่างของหลอดไฟฟ้า
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 219

รูปที่ 3 รูปที่ 4

– เพิ่มถ่านไฟฉายอีก 1 ก้อน เข้าไปในวงจรไฟฟ้า โดยวางถ่านไฟฉายให้ขนานและต่อ


สายไฟฟ้าดังรูปที่ 4 สังเกตความสว่างของหลอดไฟฟ้าเปรียบเทียบกับเมื่อต่อกับถ่านไฟฉาย 1 ก้อน
– นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ อภิปราย และสรุปผลการสังเกต
(3) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากใบกิจกรรม
(4) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
ชั่วโมงที่ 47
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คาถามต่อไปนี้
– ถ้าวางเรียงเซลล์ไฟฟ้ากลับขั้วกันในวงจรที่ต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรมแล้ว กระแสไฟฟ้า
ในวงจรจะมีค่าเท่าใด (แนวคำตอบ กระแสไฟฟ้ำในวงจรไฟฟ้ำจะมีค่ำลดลง)
– การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบขนาน กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านอุปกรณ์ไฟฟ้า (หลอดไฟฟ้า) แต่ละ
ตาแหน่งมีค่าเท่าใด (แนวคำตอบ มีค่ำเท่ำกับกำรใช้เซลล์ไฟฟ้ำอันเดียว)
– ข้อดีของการต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบขนานคืออะไร (แนวคำตอบ พลังงำนที่ได้จำกเซลล์ไฟฟ้ำ
มีอำยุกำรใช้งำนมำกขึ้น)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า การต่อ
เซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรม จะทาให้กระแสไฟฟ้าผ่านวงจรมากขึ้น ส่วนการต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบขนาน จะ
ช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ยาวนานขึ้น
4) ขั้นขยายความรู้
นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการต่อวงจรไฟฟ้าแบบขนานและการใช้ประโยชน์จากการต่อ
วงจรไฟฟ้าแบบนี้จากหนังสือ วารสารเกี่ยวกับไฟฟ้า สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยสาหรับ
เยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งนาข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดทาเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ
ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 220

5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรม และการนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– การต่อเซลล์ไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าแตกต่างจากการต่อหลอดไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าหรือไม่
เพราะอะไร
– ถ้านักเรียนจะต่อเซลล์ไฟฟ้าใช้ในชีวิตประจาวันนักเรียนจะต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบใด เพราะ
อะไร
ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการต่อเซลล์ไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า โดยร่วมกันเขียนเป็น
แผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อวงจรไฟฟ้าในบ้าน
3) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปราย
ร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนฝึกเขียนแผนภาพวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. รูปการต่อหลอดไฟฟ้า 2 หลอดแบบอนุกรมและแบบขนาน
2. ใบกิจกรรมที่ 22 สังเกตการเปรียบเทียบการต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน
3. แผนภาพวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน
4. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
5. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
6. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
7. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 221

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 222

แผนการจดการเรียนรู้ที่ 31
วงจรไฟฟ้าในบ้าน

สาระที่ 5 พลังงาน เวลา 2 ชั่วโมง


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ไฟฟ้า

1. สาระสาคัญ
วงจรไฟฟ้าในบ้านเป็นเส้นทางที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ
ภายในบ้านซึ่งนิยมต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์กับวงจรไฟฟ้าแบบขนาน
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
1. ทดลองและอธิบายการต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรม และนาความรู้ไปใช้ประโยชน์
(ว 5.1 ป. 6/3)
2. ทดลองและอธิบายการต่อหลอดไฟฟ้าทั้งแบบอนุกรม แบบขนาน และนาความรู้ไปใช้
ประโยชน์ (ว 5.1 ป. 6/4)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายหลักการต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่าง ๆ กับวงจรไฟฟ้าในบ้านได้ (K)
2. มีความใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
3. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
4. การทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สื่อสารและนาความรู้เรื่องวงจรไฟฟ้าในบ้านไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
วงจรไฟฟ้าในบ้าน วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
2. ประเมินกิจกรรม 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
ฝึกทักษะระหว่างเรียน วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
5. สาระการเรียนรู้
วงจรไฟฟ้าในบ้าน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 223

6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย เขียนรายงานเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าในบ้านและการใช้
ไฟฟ้าอย่างปลอดภัยจากการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารที่
เกี่ยวข้องและอินเทอร์เน็ต
การงานอาชีพและเทคโนโลยี นาหลักการของการต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไป
ใช้ในงานช่างไฟฟ้า
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
วงจรไฟฟ้าในบ้านที่ได้เรียนรู้หรือที่นักเรียนสนใจ
สังคมศึกษา ศาสนา สนทนา พูดคุยเกี่ยวกับ การช่วยกันประหยัดไฟฟ้าตาม
และวัฒนธรรม หลักเศรษฐกิจพอเพียง

7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 48
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูนาภาพเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ในห้องต่าง ๆ ภายในบ้านมาให้นักเรียนดู
แล้วใช้คาถามกระตุ้นดังนี้
– นักเรียนคิดว่า การต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในบ้านกับสายไฟฟ้านั้น ช่าง
ไฟฟ้าต่อในวงจรแบบใด เพราะอะไร
– อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในวงจรไฟฟ้ามีอะไรบ้าง
– ยกตัวอย่างการต่อวงจรไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่บ้านของนักเรียน
2) นักเรียนร่วมกันตอบคาถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคาตอบของคาถาม เพื่อเชื่อมโยง
ไปสู่การเรียนรู้เรื่อง วงจรไฟฟ้าในบ้าน
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่งมี
ขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครู แ บ่ ง กลุ่ ม นั ก เรี ย นแล้ ว เปิ ด โอกาสให้ นั ก เรี ย นในกลุ่ ม น าเสนอข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ
วงจรไฟฟ้าในบ้าน ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง จากนั้นให้แต่ละกลุ่มส่ง
ตัวแทนมานาเสนอข้อมูลหน้าห้องเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทาภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้
– แหล่งกาเนิดไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านมาจากที่ใดบ้าง (แนวคำตอบ ถ่ำนไฟฉำย แบตเตอรี่
และโรงไฟฟ้ำ)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 224

– ยกตัวอย่างอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรในบ้าน (แนวคำตอบ เบรกเกอร์และฟิวส์)


(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทาภาระงานอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่ า
ไฟฟ้าที่เราใช้อยู่ในบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย และสานักงานต่าง ๆ ได้มาจากโรงไฟฟ้า ซึ่งเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ

2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาการต่อวงจรไฟฟ้าในบ้านจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครู
ช่วยอธิบายให้นักเรียนได้เห็นว่าความรู้เรื่องที่นักเรียนศึกษานี้ เป็นสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้มาบ้างแล้ว
(2) แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5–6 คน สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าในบ้าน โดยดาเนินการ
ตามขั้นตอนดังนี้
– แต่ละกลุ่มวางแผนการสืบค้นข้อมูล โดยแบ่งหัวข้อวงจรไฟฟ้าในบ้านเป็นหัวข้อย่อย เช่น
การต่อวงจรไฟฟ้าแบบขนาน ไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับ อุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า
การวัดการใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจรให้สมาชิกแต่ละกลุ่มช่วยกันสืบค้นตาม
หัวข้อที่กาหนด
– สมาชิกแต่ละกลุ่ม ช่วยกันสืบค้นข้อมูลตามหัวข้อที่กลุ่มของตนเองรับผิดชอบ โดยการ
สืบค้นจากหนังสือ วารสาร สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต
– สมาชิกกลุ่มนาข้อมูลที่สืบค้นได้มารายงานให้เพื่อน ๆ สมาชิกในกลุ่มฟัง รวมทั้งร่วมกัน
อภิปรายซักถามจนคาดว่าสมาชิกทุกคนมีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน
– สมาชิกกลุ่มช่วยกันสรุปความรู้ที่ได้ทั้งหมดเป็นผลงานของกลุ่ม
(3) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา

ชั่วโมงที่ 49
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คาถามต่อไปนี้
– การต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าหลาย ๆ อย่างกับเต้ารับเพียงอันเดียวจะเกิดผลอะไร (แนวคำตอบ
เกิดไฟฟ้ำฟ้ำลัดวงจร เนื่องจำกมีกระแสไฟฟ้ำไหลผ่ำนในวงจรไฟฟ้ำมำกเกินไป)
– ไฟฟ้าที่ในบ้านเรือนทั่วไปเป็นไฟฟ้าประเภทใด (แนวคำตอบ ไฟฟ้ำกระแสสลับ )
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรมโดยให้ได้ข้อสรุปว่า วงจรไฟฟ้า
ในบ้านนิยมต่อแบบขนาน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 225

4) ขั้นขยายความรู้
(1) นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าภายในบ้านและการใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัยจาก
หนังสือ วารสารเกี่ยวกับไฟฟ้า สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต
รวมทั้งนาข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดทาเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยน
เรียนรู้กัน
(2) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าในบ้าน จาก
หนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรมมีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– ช่างไฟฟ้านิยมต่อเครื่องใช้ไฟฟ้ากับวงจรไฟฟ้าภายในบ้านแบบใด เพราะอะไร
– ไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้านได้มาจากแหล่งใดและเป็นไฟฟ้าประเภทใด
– อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรมีอะไรบ้าง ทาหน้าที่อย่างไร
– เครื่องมือที่สามารถบอกปริมาณการใช้ไฟฟ้าในแต่ละเดือนได้คืออะไร
ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าในบ้าน โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่
ความคิดหรือผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้า ในหัวข้อตัวนาไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า โดยใช้ใบงาน
สำรวจก่อนเรียน 11 ที่ ครูจัดเตรียมไว้ให้ประกอบการศึกษาค้นคว้า (ในสื่อการเรียนรู้ PowerPoint
วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด)
3) ครูอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมและมอบหมายให้นักเรียนไปปฏิบัติกิจกรรมที่บ้าน
พร้อมทั้งให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปรายร่วมกัน
ในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
1. นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าในบ้านจากหนังสือ วารสารเกี่ยวกับไฟฟ้า
สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งนาข้อมูลที่ค้นคว้าได้มา
จัดทาเป็นรายงานหรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 226

2. ครูเชื่อมโยงความรู้กับหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นให้นักเรียนเข้าใจว่าพลังงานไฟฟ้า เป็น


ปัจจัยสาคัญอย่างหนึ่งที่จาเป็นต่อชีวิต และมีผลต่อความเป็นอยู่ตั้งแต่ระดับครอบครัวไปจนถึง
ระดับประเทศ และทั่วโลก สาหรับประเทศไทยแม้ว่าจะมีทรัพยากรในการผลิตไฟฟ้า เช่น พลังน้า
ถ่านลิกไนต์ แก๊สธรรมชาติ รวมทั้งน้ามันดิบ แต่ก็ยังต้องพึ่งพาน้ามันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ เราทุกคน
จึงต้องช่วยกันประหยัดไฟฟ้าเพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับครอบครัวรวมทั้งยังเกิดประโยชน์ต่อ
ส่วนรวมอีกด้วย
การประหยัดไฟฟ้าต้องเริ่มต้นจากการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งมีข้อแนะนา 4 ประการ ดังนี้
1) ค่าใช้จ่ายในการใช้งาน คือ ค่าไฟฟ้าที่นามาใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้า
เหล่านั้นใช้ไฟฟ้ามากน้อยเพียงใด ปกติเครือ่ งใช้ไฟฟ้าจะมีแผ่นป้ายบอกไว้ที่ตัวเครื่องว่าใช้ไฟฟ้ากี่วัตต์
ดังนั้นเราจึงควรทราบวัตต์ของเครื่องใช้ไฟฟ้า ถ้าจานวนวัตต์มากก็ย่อมเสียค่าไฟฟ้ามากนั่นเอง
นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการใช้งานในแต่ละเดือนอีกด้วย
2) ความปลอดภัยและความไว้วางใจ ไฟฟ้ามีอันตรายเมื่อใช้ไม่ถูกวิธี จึงควรเลือกซื้อ
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการออกแบบที่ดีและเป็นที่ไว้วางใจได้ หากไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้า ก็ควรปรึกษา
กับช่างหรือผู้ชานาญเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ ก่อนจึงตัดสินใจซื้อ
3) ราคา ราคาของเครื่องใช้ไฟฟ้าก็เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาให้ดี เพราะการเลือกซือ้
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ราคาถูกบางครั้งก็ ไม่ประหยัดนัก เพราะอาจได้ของคุณภาพต่า ควรปรึกษาผูร้ ู้หรือ
เปรียบเทียบคุณภาพของสินค้าก่อนซื้อ และอย่าตัดสินใจซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาแพงเพราะแรงโฆษณา
4) ค่าติดตั้งและบารุงรักษา ก่อนซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าต้องพิจารณาถึงค่าติดตั้งและค่าบารุงรักษา
เครื่องด้วย หากซื้อมาแล้วต้องเดินสายไฟฟ้าใหม่ และค่าติดตั้งสูง บางทีอาจแพงกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ซื้อ
มา และควรพิจารณาถึงค่าซ่อม อะไหล่ ค่าบารุงรักษา ควรสอบถามจากผู้ที่เคยใช้ว่าเป็นอย่างไร แล้วจึง
ตัดสินใจเลือกซื้อ สาหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ซื้อจากร้านควรมีคู่มือการใช้แนบมาด้วย ผู้ใช้ควรอ่านให้เข้าใจ
และปฏิบัติตามคู่มือให้ถูกต้อง จะทาให้อายุการใช้งานยาวนานและทาให้ประหยัดค่าไฟฟ้าอีกด้วย

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ภาพเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ในห้องต่าง ๆ ภายในบ้าน
2. ใบงานสารวจก่อนเรียน 11
3. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
4. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
5. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
6. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 227

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 228

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 32
ตัวนาไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า

สาระที่ 5 พลังงาน เวลา 2 ชั่วโมง


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ไฟฟ้า

1. สาระสาคัญ
ตัวนาไฟฟ้าเป็นวัสดุที่กระแสไฟฟ้าผ่านได้ เช่น ทองแดง เหล็ก สังกะสี และอะลูมิเนียม ใช้ทา
สายไฟฟ้าและทาชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า
ฉนวนไฟฟ้าเป็นวัสดุที่กระแสไฟฟ้าผ่านไม่ได้ เช่น ยาง พลาสติก ไม้ และกระเบื้อง ใช้ทา
ชิ้นส่วนที่เป็นด้ามจับอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
ทดลองและอธิบายตัวนาไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า (ว 5.1 ป. 6/2)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของตัวนาไฟฟ้าได้ (K)
2. สังเกตการนาไฟฟ้าของวัสดุต่าง ๆ ได้ (K)
3. อธิบายความหมายของฉนวนไฟฟ้าได้ (K)
4. ระบุวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้าได้ (K)
5. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
6. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
7. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
8. สื่อสารและนาความรู้เรื่องตัวนาไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้าไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
ตัวนาไฟฟ้าและฉนวน วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
ไฟฟ้า 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
2. ประเมินกิจกรรม วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
ฝึกทักษะระหว่างเรียน 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 229

5. สาระการเรียนรู้
ตัวนาไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า
6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย เขียนรายงานเรื่องตัวนาไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้าจาก
การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและอินเทอร์เน็ต
การงานอาชีพและเทคโนโลยี นาหลักการเรื่องตัวนาไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้าไปใช้
งานช่างไฟฟ้า
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
ตัวนาไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้าที่ได้เรียนรู้หรือที่นักเรียน
สนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 50
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูนาภาพการใช้ไฟฟ้าที่ทาให้มีคนถูกไฟฟ้าดูดและไม่ถูกไฟฟ้าดูด มาให้นักเรียนดู แล้วครู
ใช้คาถามกระตุ้นดังนี้
– เพราะเหตุใดคนในภาพนี้จึงถูกไฟฟ้าดูด
– เพราะเหตุใดคนในภาพนี้จึงไม่ถูกไฟฟ้าดูด
– การที่ไฟฟ้าจะดูดหรือไม่นั้น นักเรียนคิดว่าขึ้นอยู่กับสิ่งใด
2) นักเรียนร่วมกันตอบคาถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคาตอบของคาถาม เพื่อเชื่อมโยง
ไปสู่การเรียนรู้เรื่อง ตัวนาไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่งมี
ขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูให้นักเรียนนาใบงาน สำรวจก่อนเรียน 11 ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าที่
บ้านมาอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทากิจกรรมที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับกิจกรรม ดังนี้
– ตัวนาไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้ามีสมบัติลักษณะใด (แนวคำตอบ ตัวนำไฟฟ้ำยอมให้
กระแสไฟฟ้ำไหลผ่ำน ส่วนฉนวนไฟฟ้ำไม่ยอมให้กระแสไฟฟ้ำไหลผ่ำน)
– เพราะเหตุใดวัตถุจาพวกยางและพลาสติก จึงทาให้วงจรไฟฟ้าไม่สมบูรณ์ (แนว
คำตอบ เพรำะยำงและพลำสติกเป็นฉนวนไฟฟ้ำ จึงไม่ยอมให้กระแสไฟฟ้ำไหลผ่ำน)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 230

(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทากิจกรรมอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับกิจกรรม สำรวจก่อนเรียน 11 โดยครูช่วยอธิบายให้
นักเรียนเข้าใจว่า ตัวนาไฟฟ้าเป็นวัสดุที่กระแสไฟฟ้ าผ่านได้ ฉนวนไฟฟ้าเป็นวัสดุที่กระแสไฟฟ้าผ่าน
ไม่ได้

2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาตัวนาไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้าจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครู
ช่วยอธิบายให้นักเรียนได้เห็นว่าความรู้เรื่องที่นักเรียนศึกษานี้เป็นสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้มาบ้างแล้ว
(2) แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5–6 คน ปฏิบัตกิ ิจกรรม สังเกตทดสอบกำรนำไฟฟ้ำ ตามขั้นตอน
ทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกตดังนี้
– นาถ่านไฟฉายใส่ลงในกล่อง ต่อสายไฟฟ้า กล่องถ่านไฟฉาย และหลอดไฟฟ้าเข้าด้วยกัน
– ทดสอบวงจรที่ทาขึ้นโดยนาปลายสายไฟฟ้าทั้ง 2 เส้นสัมผัสกัน ถ้าหลอดไฟฟ้าสว่าง
แสดงว่าวงจรไฟฟ้าสมบูรณ์หรือเป็นวงจรปิด จากนั้นจึงแยกสายไฟฟ้าออกจากกัน
– นาไม้จิ้มฟันวางลงบนโต๊ะเรียน ทานายว่า ไม้จิ้มฟันจะทาให้วงจรสมบูรณ์ และทาให้
หลอดไฟฟ้าสว่างหรือไม่ พร้อมทั้งเขียนผลการทานายลงในตารางบันทึกผล จากนั้นนาปลายสายไฟฟ้า
ทั้ง 2 เส้นสัมผัสกับปลายของไม้จิ้มฟันทั้ง 2 ด้าน สังเกตผลที่เกิดขึ้นและบันทึกผลลงในตารางบันทึกผล
– ดาเนินการเช่นเดียวกับข้อ 3 แต่ใช้เงินเหรียญ หลอดพลาสติก ลวดเสียบกระดาษ ยางรัด
แผ่นกระดาษแข็ง อะลูมิเนียมฟอยล์ เศษผ้า ช้อนโลหะ และทองแดงจากปลายสายไฟฟ้า
(3) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากใบกิจกรรม
(4) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา

ชั่วโมงที่ 51
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คาถามต่อไปนี้
– เพราะเหตุใดวัตถุจาพวกโลหะจึงทาให้วงจรไฟฟ้าสมบูรณ์ (แนวคำตอบ โลหะยอมให้
กระแสไฟฟ้ำไหลผ่ำน)
– เพราะเหตุใดวัตถุจาพวกไม้ แผ่นกระดาษ และพลาสติกจึงทาให้วงจรไฟฟ้าไม่สมบูรณ์
(แนวคำตอบ วัตถุจำพวกไม้ แผ่นกระดำษ และพลำสติกไม่ยอมให้กระแสไฟฟ้ำไหลผ่ำน)
– ผลสรุปของกิจกรรมนี้คืออะไร (แนวคำตอบ วัตถุจำพวกโลหะทำให้วงจรไฟฟ้ำสมบูรณ์)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 231

(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า ตัวนาไฟฟ้า


เป็นวัสดุที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ ส่วนฉนวนไฟฟ้าเป็นวัสดุที่ไม่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน
4) ขั้นขยายความรู้
(1) ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับตัวนาไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้าจากหนังสือ วารสาร
เกี่ยวกับไฟฟ้า สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งนาข้อมูล
ที่ค้นคว้าได้มาจัดทาเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
(2) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับตัวนาไฟฟ้าและฉนวน
ไฟฟ้า จากหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– ตัวนาไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้าแตกต่างกันในเรื่องใด
– ตัวนาไฟฟ้ามีความสัมพันธ์กับการต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าในลักษณะใด
– สายไฟที่ใช้ในงานช่างไฟฟ้าปัจจุบันนี้ใช้สิ่งใดเป็นตัวนาไฟฟ้า เพราะอะไร
ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับตัวนาไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า โดยร่วมกันเขียนเป็นแผน
ที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อแม่เหล็กไฟฟ้า
3) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปราย
ร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
1) นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับตัวนาไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้าจากหนังสือ วารสารเกี่ยวกับไฟฟ้า
สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งนาข้อมูลที่ค้นคว้าได้มา
จัดทาเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
2) ครูให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) จาก
สถานการณ์เรื่อง ไฟฉายฉุกเฉิน โดยใช้แนวการสอนในคู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 232

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ภาพการใช้ไฟฟ้าที่ทาให้มีคนถูกไฟฟ้าดูดและไม่ถูกไฟฟ้าดูด
2. ใบงานสารวจก่อนเรียน 11
3. ใบกิจกรรมที่ 23 สังเกตทดสอบการนาไฟฟ้า
4. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
5. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
6. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
7. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 233

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 33
แม่เหล็กไฟฟ้า
สาระที่ 5 พลังงาน เวลา 2 ชั่วโมง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ไฟฟ้า
1. สาระสาคัญ
เมื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดจะเกิดสภาพแม่เหล็กรอบ ๆ ขดลวด ถ้านาแท่งเหล็กใส่ไว้ใน
ขดลวดจะทาให้แท่งเหล็กนั้นมีสภาพเป็นแม่เหล็ก แรงแม่เหล็กที่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณกระแสไฟฟ้าและ
จานวนรอบของขดลวดที่พันรอบแกนเหล็ก
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
ทดลองและอธิบายการเกิดสนามแม่เหล็กรอบสายไฟที่มีกระแสไฟฟ้าผ่าน และนาความรู้ไปใช้
ประโยชน์ (ว 5.1 ป. 6/5)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของสนามแม่เหล็กได้ (K)
2. สังเกตและอธิบายการทาแม่เหล็กไฟฟ้าได้ (K)
3. บอกความสัมพันธ์ระหว่างความแรงของแม่เหล็กไฟฟ้ากับจานวนรอบและขนาดของ
กระแสไฟฟ้าได้ (K)
4. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
5. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
6. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
7. สื่อสารและนาความรู้เรื่องแม่เหล็กไฟฟ้าไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
แม่เหล็กไฟฟ้า วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
2. ประเมินกิจกรรม 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
ฝึกทักษะระหว่างเรียน วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
5. สาระการเรียนรู้
แม่เหล็กไฟฟ้า
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 234

6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย เขียนรายงานเรื่องแม่เหล็กไฟฟ้าจากการศึกษาค้นคว้าจาก
เอกสารที่เกี่ยวข้องและอินเทอร์เน็ต
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
แม่เหล็กไฟฟ้าที่ได้เรียนรู้หรือที่นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 52
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูนาภาพปั้นจั่นที่มีเครื่องดูดเศษเหล็กติดบนกระดานให้นักเรียนดู แล้วใช้คาถามกระตุ้น
ดังนี้
– เพราะเหตุใดเครื่องมือนี้จึงดูดเศษเหล็กได้
– เมื่อต้องการปล่อยเศษเหล็กลงพื้นจะต้องทาอย่างไร
2) นักเรียนร่วมกันตอบคาถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคาตอบของคาถาม เพื่อเชื่อมโยง
ไปสู่การเรียนรู้เรื่อง แม่เหล็กไฟฟ้า
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่งมี
ขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครู แ บ่ ง กลุ่ ม นั ก เรี ย นแล้ ว เปิ ด โอกาสให้ นั ก เรี ย นในกลุ่ ม น าเสนอข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ
แม่เหล็กไฟฟ้า ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง จากนั้นให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทน
มานาเสนอข้อมูลหน้าห้องเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทาภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้
– แม่เหล็กไฟฟ้าคืออะไร (แนวคำตอบ แม่เหล็กไฟฟ้ำคือกำรทำให้แท่งโลหะกลำยเป็น
แม่เหล็กด้วยไฟฟ้ำ)
– กระแสไฟฟ้ากับแรงแม่เหล็กไฟฟ้ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ มี
ควำมสัมพันธ์กัน คือ ถ้ำกระแสไฟฟ้ำมีค่ำมำก แรงแม่เหล็กไฟฟ้ำก็จะมีค่ำมำกและถ้ำกระแสไฟฟ้ำมีค่ำ
น้อย แรงแม่เหล็กไฟฟ้ำก็จะมีค่ำน้อย)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทาภาระงานอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า
ความแรงของแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นอยู่กับจานวนรอบของขดลวดและขนาดของกระแสไฟฟ้า
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 235

2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาแม่เหล็กไฟฟ้าจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครูช่วยอธิบายให้
นักเรียนได้เห็นว่าความรู้เรื่องที่นักเรียนศึกษานี้ เป็นสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้มาบ้างแล้ว
(2) แบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ 5–6 คนปฏิบัติกิจกรรม สังเกตกำรประดิษฐ์แม่เหล็กไฟฟ้ำ
ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกตดังนี้
– พันสายไฟฟ้ารอบตะปูเกลียว โดยเริ่มใช้สายไฟฟ้าห่างจากหัวตะปูเกลียวพอสมควร และ
พันรอบตะปูเกลียวให้แน่นจากหัวตะปูไปยังปลายแหลม
– วางเข็มทิศและลวดเสียบกระดาษบนโต๊ะให้ห่างกันพอสมควร จากนั้นจับตะปูเกลียวยื่น
เข้าใกล้เข็มทิศ สังเกตผลที่เกิดขึ้นและบันทึกลงในตารางบันทึกผล
– จับตะปูเกลียวยื่นเข้าใกล้ลวดเสียบกระดาษ สังเกตผลที่เกิดขึ้นและบันทึกลงในตาราง
บันทึกผล
– ประกอบสายไฟฟ้าทั้ง 2 ข้างเข้ากับกล่องถ่านไฟฉาย
– ดาเนินการเช่นเดียวกับขั้นตอนที่ 2 และ 3 บันทึกผลการสังเกต จากนั้นจึงปลดสายไฟฟ้า
ออกจากกล่องถ่านไฟฉาย
(3) แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5–6 คนปฏิบัติกิจกรรม ทดลองแรงแม่เหล็กไฟฟ้ำกับจำนวนรอบ
ของขดลวด ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ดังนี้
ขั้นที่ 1 กาหนดปัญหา
– จานวนรอบของขดลวดสายไฟฟ้าในแม่เหล็กไฟฟ้ามีผลต่อแรงแม่เหล็กของ
แม่เหล็กไฟฟ้าหรือไม่ เพราะอะไร
ขั้นที่ 2 สมมุติฐาน
– ถ้าเราเพิ่มจานวนรอบของขดสายไฟฟ้าจะทาให้แรงของแม่เหล็กไฟฟ้ามีค่าเพิ่มขึ้น
ขั้นที่ 3 ทดลอง
–จัดเตรียมสายไฟฟ้าเส้นเล็กยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ตะปูเกลียวธรรมดา ถ่านไฟฉาย
และลวดเสียบกระดาษที่เป็นเหล็ก
– พันสายไฟฟ้ารอบตะปูเกลียวจานวน 10 รอบ นาปลายทั้งสองต่อเข้ากับถ่านไฟฉาย
– นาลวดเสียบกระดาษมาดัดเป็นรูปตะขอ ดังรูป
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 236

– ยกลวดเสียบกระดาษรูปตะขอให้ลอยสูงขึ้นด้วยหัวตะปูเกลียว นาลวดเสียบกระดาษใส่
เข้าไปในตะขอทีละตัว จนกระทั่งลวดเสียบกระดาษรูปตะขอร่วงลงสู่พื้น นับจานวนลวดเสียบกระดาษที่
ใส่แล้วแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถดูดลวดเสียบกระดาษรูปตะขอลอยอยู่ได้ บันทึกผลที่เกิดขึ้นลงในตาราง
บันทึกผล
– ปลดสายไฟฟ้าออกจากถ่านไฟฉายและเพิ่มจานวนรอบของขดสายไฟฟ้าเป็น 20 รอบ
และ 30 รอบ ดาเนินการเช่นเดียวกับข้อ 4 บันทึกผล
ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ผลการทดลอง
– แปลความหมายข้อมูลที่ได้จากตารางบันทึกผลการทดลอง
– นาข้อมูลที่ได้มาพิจารณา เพือ่ อธิบายว่าเป็นไปตามที่นักเรียนคาดคะเนไว้หรือไม่
ขั้นที่ 5 สรุปผลการทดลอง
–นักเรียนร่วมกันสรุปผลการทดลอง แล้วเขียนเป็นรายงานสรุปผลการทดลองส่งครู
(4) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
ชั่วโมงที่ 53
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คาถามต่อไปนี้
กิจกรรม สังเกตกำรประดิษฐ์แม่เหล็กไฟฟ้ำ
– แม่เหล็กไฟฟ้าหมายถึงอะไร (แนวคำตอบ แม่เหล็กไฟฟ้ำ คือ ขดสำยไฟฟ้ำที่พันรอบตะปู
เกลียว ซึ่งต่อเป็นวงจรไฟฟ้ำกับถ่ำนไฟฉำย ตะปูเกลียวจะกลำยเป็นแม่เหล็กไฟฟ้ำได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้ำ
ไหลผ่ำนขดลวดเท่ำนั้น)
– เมื่อนาตะปูเกลียวที่พันด้วยสายไฟฟ้าที่ต่อกับถ่านไฟฉายเป็นวงจรไฟฟ้าไปวางไว้ใกล้ ๆ
กับเข็มทิศแล้วเข็มทิศกระดิกไปมาได้ เนื่องจากสาเหตุใด (แนวคำตอบ เข็มทิศมีสภำพเป็นแม่เหล็ก
เช่นเดียวกัน
กิจกรรม ทดลองแรงแม่เหล็กไฟฟ้ำกับจำนวนรอบของขดลวด
– สิ่งใดส่งผลต่อแรงของแม่เหล็กไฟฟ้า (แนวคำตอบ จำนวนรอบของขดสำยไฟฟ้ำ)
– ผลสรุปของการทดลองนี้คืออะไร (แนวคำตอบ แรงของแม่เหล็กไฟฟ้ำจะมำกหรือน้อย
ขึ้นอยู่กับจำนวนรอบของขดสำยไฟฟ้ำ)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรมแต่ละกิจกรรม
4) ขั้นขยายความรู้
(1) นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้าจากหนังสือ วารสารเกี่ยวกับไฟฟ้า
สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมสาหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งนาข้อมูลที่ค้นคว้าได้มา
จัดทาเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 237

(2) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้า จาก


หนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– แม่เหล็กไฟฟ้าเกิดจากสิ่งใด
– ความแรงของแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นอยู่กับสิ่งใด
– แรงของแม่เหล็กไฟฟ้ากับค่าของกระแสไฟฟ้ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่ เพราะเหตุใด
– ความหนาของฉนวนสายไฟฟ้ามีผลต่อจานวนรอบของสายไฟฟ้าหรือไม่ เพราะอะไร
– เมื่อเพิ่มจานวนถ่านไฟฉาย ปรากฏว่าสิ่งใดเพิ่มขึ้นบ้าง
– ถ้านักเรียนใช้ดินสอแทนตะปู ผลที่เกิดขึ้นจะเป็นเช่นเดียวกันหรือไม่ เพราะอะไร
ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้า โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิด
หรือผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อการใช้แม่เหล็กไฟฟ้า
3) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปราย
ร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้าไฟฟ้าจากหนังสือ วารสารเกี่ยวกับไฟฟ้า
สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ตรวม ทั้งนาข้อมูลที่ค้นคว้าได้มา
จัดทาเป็นรายงาน จัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ภาพปั้นจั่นที่มีเครื่องดูดเศษเหล็ก
2. ใบกิจกรรมที่ 24 สังเกตการประดิษฐ์แม่เหล็กไฟฟ้า
3. ใบกิจกรรมที่ 25 ทดลองแรงแม่เหล็กไฟฟ้ากับจานวนรอบของขดลวด
4. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 238

5. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท


สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
6. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
7. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 239

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 34
การใช้แม่เหล็กไฟฟ้า
สาระที่ 5 พลังงาน เวลา 2 ชั่วโมง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ไฟฟ้า
1. สาระสาคัญ
สิ่งประดิษฐ์ที่ใช้หลักการของแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น กระดิ่งไฟฟ้า หรือออดไฟฟ้า ปั้นจั่นยกของ
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
ทดลองและอธิบายการเกิดสนามแม่เหล็กรอบสายไฟที่มีกระแสไฟฟ้าผ่าน และนาความรู้ไปใช้
ประโยชน์ (ว 5.1 ป. 6/5)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากแม่เหล็กไฟฟ้าได้ (K)
2. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
3. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
4. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สื่อสารและนาความรู้เรื่องการใช้แม่เหล็กไฟฟ้าไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
การใช้แม่เหล็กไฟฟ้า วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
2. ประเมินกิจกรรม 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
ฝึกทักษะระหว่างเรียน วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
3. ทดสอบหลังเรียน 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
5. สาระการเรียนรู้
การใช้แม่เหล็กไฟฟ้า
6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย เขียนรายงานเรื่องการใช้ประโยชน์แม่เหล็กไฟฟ้าจาก
การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและอินเทอร์เน็ต
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
การใช้แม่เหล็กไฟฟ้าที่ได้เรียนรู้หรือที่นักเรียนสนใจ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 240

7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 54
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูถามคาถามนักเรียนเพื่อกระตุ้นความสนใจ เช่น
– แม่เหล็กไฟฟ้าถูกนามาใช้ประโยชน์อะไรบ้าง
2) นักเรียนร่วมกันตอบคาถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคาตอบของคาถาม เพื่อเชื่อมโยง
ไปสู่การเรียนรู้เรื่อง การใช้แม่เหล็กไฟฟ้า
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่งมี
ขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนแล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มนาเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ การใช้
แม่เหล็กไฟฟ้า ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง จากนั้นให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทน
มานาเสนอข้อมูลหน้าห้องเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทาภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้
– อุปกรณ์ที่ใช้ประโยชน์จากแม่เหล็กไฟฟ้ามีอะไรบ้าง (แนวคำตอบ กระดิ่งไฟฟ้ำและ
เครื่องแยกเศษเหล็ก)
– ยกตัวอย่างเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ประโยชน์จากแม่เหล็กไฟฟ้า (แนวคำตอบ พัดลมและ
เครื่องซักผ้ำ)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทาภาระงานอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า
หลักการของแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถนามาประดิษฐ์สิ่งของเพื่อใช้ในชีวิตประจาวันได้

2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาการใช้แม่เหล็กไฟฟ้าจากใบความรู้และในหนังสือเรียน โดยครูช่วย
อธิบายให้นักเรียนได้เห็นว่าความรู้เรื่องวงจรไฟฟ้าอย่างง่ายที่นักเรียนศึกษานี้ เป็นสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้
มาบ้างแล้ว
(2) แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5–6 คน สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการใช้แม่เหล็กไฟฟ้า โดยดาเนินการ
ตามขั้นตอนดังนี้
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 241

– แต่ละกลุ่มวางแผนการสืบค้นข้อมูล โดยแบ่งหัวข้อการใช้แม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหัวข้อย่อย
เช่น สิ่งประดิษฐ์ที่ใช้หลักการของแม่เหล็กไฟฟ้า การนาแม่เหล็กไฟฟ้าไปใช้ในชีวิตประจาวัน ให้สมาชิก
แต่ละกลุ่มช่วยกันสืบค้นตามหัวข้อที่กาหนด
– สมาชิกแต่ละกลุ่มช่วยนักสืบค้นข้อมูลตามหัวข้อที่กลุ่มของตนเองรับผิดชอบ โดยการ
สืบค้นจากหนังสือ วารสาร สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต
– สมาชิกกลุ่มนาข้อมูลที่สืบค้นได้มารายงานให้เพื่อน ๆ สมาชิกในกลุ่มฟัง รวมทัง้ ร่วมกัน
อภิปรายซักถามจนคาดว่าสมาชิกทุกคนมีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน
– สมาชิกกลุ่มช่วยกันสรุปความรู้ที่ได้ทั้งหมดเป็นผลงานของกลุ่ม
(3) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา

ชั่วโมงที่ 55
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คาถามต่อไปนี้
– สิ่งประดิษฐ์ที่มีส่วนประกอบของแม่เหล็กไฟฟ้ามีอะไรบ้าง (แนวคำตอบ กระดิ่งไฟฟ้ำ)
– การใช้แม่เหล็กไฟฟ้ามีผลดีอะไรบ้าง (แนวคำตอบ สำมำรถนำหลักกำรของ
แม่เหล็กไฟฟ้ำมำประดิษฐ์สิ่งของต่ำง ๆ ได้)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า หลักการ
ของแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถนามาประดิษฐ์สิ่งของเพื่อใช้ในชีวิตประจาวันได้
4) ขั้นขยายความรู้
นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการใช้แม่เหล็กไฟฟ้าจากหนังสือ วารสารเกี่ยวกับไฟฟ้า
สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งนาข้อมูลที่ค้นคว้าได้มา
จัดทาเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 242

(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น


– การสร้างสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่มีแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นส่วนประกอบจะใช้หลักการใด
– กระแสไฟฟ้ากับจานวนรอบของขดลวดมีความสัมพันธ์กันในลักษณะใด

ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการใช้แม่เหล็กไฟฟ้า โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่
ความคิดหรือผังมโนทัศน์
2) ครูดาเนินการทดสอบหลังเรียน โดยให้นักเรียนทาแบบทดสอบหลังเรียนเพื่อวัด
ความก้าวหน้า/ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ของนักเรียน
3) ครูเชื่อมโยงเนื้อหาจากบทเรียนนี้กับบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อให้นักเรียนเตรียมความพร้อม
ในการเรียนชั่วโมงต่อไป โดยการใช้คาถามกระตุ้น ดังนี้
– สิ่งประดิษฐ์ในบ้านของนักเรียนชนิดใดบ้างที่ทามาจากหิน (แนวคำตอบ สร้อยคอ โต๊ะ
เก้ำอี้ และครก)
4) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อความหมายและประเภทของหิน
5) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปราย
ร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งกาเนิดไฟฟ้าที่ใช้ประโยชน์จากแม่เหล็กไฟฟ้า จากหนังสือ
วารสารเกี่ยวกับไฟฟ้า สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้ง
นาข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดทาเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. แบบทดสอบหลังเรียน
2. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
3. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
4. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
5. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 243

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 244

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 หินบนผิวโลกและภายในโลก เวลา 15 ชั่วโมง

ผังมโนทัศน์เป้าหมายการจัดการเรียนรู้และขอบข่ายภาระงาน

ความรู้ ทักษะ/กระบวนการ
1. หิน ประเภทของหิน ประโยชน์ของหิน 1. การสังเกต
และแหล่งหินในประเทศไทย 2. การสารวจ
2. การผุพังอยู่กับที่ การกร่อน 3. การสืบค้นข้อมูล
3. การเกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟปะทุ 4. การทดลอง
และสึนามิ 5. การนาความรู้ไปใช้ในชีวิตประจาวัน

หินบนผิวโลก
และภายในโลก

ภาระงาน/ชิ้นงาน คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. การสารวจลักษณะของหิน 1. ใฝ่เรียนรู้
2. การสังเกตและจาแนกประเภทของหิน 2. มุ่งมั่นในการทางาน
3. รายงานเรื่องประโยชน์ของหินและ 3. มีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์
แหล่งหินในประเทศไทย 4. มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์
4. ทดลองการเกิดสนิมในฝอยเหล็ก 5. เห็นคุณค่าของการนาความรู้
5. สังเกตการกร่อน ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจาวัน
6. สารวจการเคลื่อนที่ของหินหนืด
7. รายงานการศึกษาการเกิดแผ่นดินไหว
8. รายงานการศึกษาประเภทและ
แหล่งกาเนิดภูเขาไฟ
9. รายงานการศึกษาการเกิดสึนามิ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 245

ผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design


หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 หินบนผิวโลกและภายในโลก

ขั้นที่ 1 ผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
ตัวชี้วัดชั้นปี
1. อธิบาย จาแนกประเภทของหิน โดยใช้ลักษณะของหิน สมบัติของหินเป็นเกณฑ์ และนาความรู้
ไปใช้ประโยชน์ (ว 6.1 ป. 6/1)
2. สารวจและอธิบายการเปลี่ยนแปลงของหิน (ว 6.1 ป. 6/2)
3. สืบค้นและอธิบายธรณีพิบัติภัยที่มีผลต่อมนุษย์และสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น (ว 6.1 ป. 6/3)
ความเข้าใจที่คงทนของนักเรียน คาถามสาคัญที่ทาให้เกิดความเข้าใจที่คงทน
นักเรียนจะเข้าใจว่า...
1. หินเป็นสารแข็งที่รวมตัวกันอยู่เป็นเปลือกโลก 1. นักวิทยาศาสตร์จาแนกประเภทของหิน
อาจประกอบด้วยแร่ชนิดเดียวหรือหลายชนิด โดยใช้เกณฑ์ใด
หินแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ หินอัคนี หินชั้น 2. มนุษย์ใช้ประโยชน์จากหินแต่ละประเภท
หรือหินตะกอน และหินแปร หินทุกประเภทมี ทาอะไรบ้าง
ประโยชน์ต่อชีวิตประจาวันของมนุษย์ การเลือก 3. การเปลี่ยนแปลงที่ทาให้เกิดการผุพังอยู่กับที่
หินไปใช้ประโยชน์จึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับ และการกร่อนของหินมีกี่ลักษณะ ลักษณะใด
การใช้งาน มีผลต่อหินรุนแรงมากที่สุด เพราะอะไร
2. การเปลี่ยนแปลงของหินในธรรมชาติเกิดจาก 4. การเกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟปะทุ และสึนามิ
การผุพังอยู่กับที่และการกร่อน โดยจาแนกเป็น มีความเกี่ยวข้องกันในลักษณะใด
2 ลักษณะ คือ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ 5. วิธีการป้องกันตนเองจากแผ่นดินไหว ภูเขา
และการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ไฟปะทุ และสึนามิทาได้อย่างไร
3. การเกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟปะทุ และสึนามิ
เป็นธรณีพิบัติภัยที่มีผลต่อมนุษย์และ
สภาพแวดล้อมในท้องถิ่น
ความรู้ของนักเรียนที่นาไปสู่ความเข้าใจที่คงทน ทักษะ/ความสามารถของนักเรียนที่จะนาไปสู่
นักเรียนจะรู้ว่า... ความเข้าใจที่คงทนนักเรียนจะสามารถ...
1. คาสาคัญ ได้แก่ หินอัคนี หินแปร หินตะกอน 1. สารวจลักษณะของหิน
การผุพังอยู่กับที่ การผุพังทางกายภาพ การผุพัง 2. สังเกตและจาแนกประเภทของหิน
ทางเคมี การกร่อน การกร่อนทางกายภาพ 3. สืบค้นข้อมูลประโยชน์ของหินและแหล่งหิน
การกร่อนทางเคมี แผ่นดินไหว ภูเขาไฟ สึนามิ ในประเทศไทย
2. หินเป็นสารแข็งที่รวมตัวกันอยู่เป็นเปลือกโลก 4. ทดลองการเกิดสนิมในฝอยเหล็ก
อาจประกอบด้วยแร่ชนิดเดียวหรือหลายชนิด 5. สังเกตการกร่อน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 246

หินแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 6. สารวจการเคลื่อนที่ของหินหนืด


หินอัคนี เกิดจากหินหลอมละลายที่อยู่ภายใต้ 7. สืบค้นข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหว
ความร้อนและความกดดันสูง ถูกดันขึ้นมา 8. สืบค้นข้อมูลประเภทและแหล่งกาเนิดภูเขาไฟ
ตามรอยแยกของเปลือกโลกหรือปล่องภูเขาไฟ 9. สืบค้นข้อมูลการเกิดสึนามิ
แล้วเย็นตัวลงและแข็งตัว กลายเป็นหินอัคนี
เช่น หินแกรนิต หินบะซอลต์ หินออบซิเดียน
และหินพัมมิซ
หินชั้นหรือหินตะกอน เป็นหินที่เกิดจากการ
ทับถมของตะกอน ตะกอนเหล่านี้เกิดจากการ
สลายผุพังของหินอัคนี หินแปร หรือหินตะกอน
เองที่กระแสน้าหรือกระแสลมพัดพามา เช่น
หินศิลาแลง หินทราย หินปูน และหินดินดาน
หินแปร เป็นหินที่แปรสภาพจากหินอัคนี
หรือหินตะกอน เนื่องจากความร้อน ความกดดัน
และการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก เช่น หินอ่อน
หินชนวน และหินไนส์
3. มนุษย์เลือกหินแต่ละประเภทไปใช้ประโยชน์
โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น หิน
ที่มีสีสวยนิยมนาไปใช้เป็นเครื่องประดับ หินที่มี
ความแข็งแรงทนทานนาไปใช้ในการก่อสร้าง
ต่าง ๆ รวมทั้งทาเป็นเครื่องใช้
4. การเปลี่ยนแปลงของหินในธรรมชาติเกิดจากการ
ผุพังอยู่กับที่และการกร่อน
การผุพังอยู่กับที่ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทาง
กายภาพ เช่น การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ การ
ขยายตัวของน้าแข็ง ลมฟ้าอากาศ และน้าฝน
รวมทั้งการกระทาของต้นไม้กับสิ่งมีชีวิตขนาด
เล็ก ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเป็นการ
สลายตัวของหินที่เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมี เช่น
การถูกฝนกรดและการเกิดสนิมในเนื้อหินที่มีแร่
ของธาตุเหล็กปนอยู่
การกร่อนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทาง
กายภาพ ตัวการที่ทาให้เกิดการกร่อน เช่น น้า
น้าแข็ง และลมที่พัดพากองเศษหินไป ขณะที่
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 247

พัดพาไปนั้น เศษหินจะบดหรือเสียดสีกับหิน
ก้อนอื่น ๆ ทาให้หินผุกร่อนและมีขนาดเล็กลง
ส่วนการกร่อนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
เป็นการกร่อนทีเ่ ปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของ
หิน สาเหตุเกิดจากความชื้นหรือน้าทาปฏิกิริยา
กับองค์ประกอบที่เป็นโครงสร้างของหิน เช่น
ทาให้เหล็กเกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นวัตถุที่มี
ความอ่อนกว่า เช่น เหล็กออกไซด์หรือสนิม และ
เมื่อคาร์บอนไดออกไซด์ทาปฏิกิริยากับน้าเกิด
เป็นกรดคาร์บอนิก เมื่อกรดคาร์บอนิกละลาย
ปะปนกับน้าฝนที่ตกกระทบก้อนหิน เช่น หินปูน
จะทาให้หินปูนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
ทาให้เนื้อหินแตกและหลุดได้
5. แผ่นดินไหว เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่
เกิดจากการเคลื่อนตัวอย่างกะทันหันของ
เปลือกโลกและเกิดขึ้นบริเวณใกล้กับแนวขอบ
แผ่นผิวโลก ส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณรอยแยกที่
อยู่ใกล้กับแนวขอบแผ่นผิวโลก นักวิทยาศาสตร์
สร้างเครื่องมือวัดความไหวสะเทือนของแผ่นดิน
และกาหนดมาตราริกเตอร์เป็นมาตรวัดเทียบ
ขนาดของการเกิดแผ่นดินไหว
6. ภูเขาไฟปะทุ เกิดจากหินหนืดที่อยู่ภายในโลก
ถูกแรงที่มีพลังมหาศาลดันออกมาตามรอยแยก
ของเปลือกโลกแล้วแตกออกอย่างรุนแรง เป็น
ลาวาพุ่งและไหลไปรอบบริเวณภูเขาไฟ
7. สึนามิ เป็นคลื่นน้าที่เกิดขึ้นหลังจากการเกิด
แผ่นดินไหวในมหาสมุทร ซึ่งโดยส่วนใหญ่
สึนามิเกิดจากแผ่นดินไหวใต้น้าที่มีขนาดตั้งแต่
7.5 ตามมาตราริกเตอร์ขึ้นไป
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 248

ขั้นที่ 2 ภาระงานและการประเมินผลการเรียนรู้ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีผลการเรียนรู้
ตามที่กาหนดไว้อย่างแท้จริง
1. ภาระงานที่นักเรียนต้องปฏิบัติ
– การสารวจลักษณะของหิน
– การสังเกตและจาแนกประเภทของหิน
– รายงานเรื่องประโยชน์ของหินและแหล่งหินในประเทศไทย
– ทดลองการเกิดสนิมในฝอยเหล็ก
– สังเกตการกร่อน
– สารวจการเคลื่อนที่ของหินหนืด
– รายงานการศึกษาการเกิดแผ่นดินไหว
– รายงานการศึกษาประเภทและแหล่งกาเนิดภูเขาไฟ
– รายงานการศึกษาการเกิดสึนามิ
2.วิธีการและเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ เครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
– การทดสอบ – แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
– การสนทนาซักถาม – แบบบันทึกการสนทนา
– การวัดเจตคติ – แบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์และเจตคติ
ต่อวิทยาศาสตร์
– การวัดทักษะ – แบบวัดทักษะ/กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
– การประเมินตนเอง – แบบประเมินตนเองของนักเรียน

3. สิ่งที่มุ่งประเมิน
– ความสามารถในการอธิบาย ชี้แจง การแปลความและตีความ การประยุกต์ ดัดแปลง และนาไปใช้
การมีมุมมองที่หลากหลาย การให้ความสาคัญใส่ใจในความรู้สึกของผู้อื่น และการรู้จักตนเอง
– เจตคติทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล
– ทักษะ/กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
– ทักษะกระบวนการคิด
– ทักษะการแก้ปัญหา
– พฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 249

ขั้นที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 35 ความหมายและประเภทของหิน 2 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 36 ประโยชน์ของหิน 2 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 37 แหล่งหินชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทย 2 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 38 การผุพังอยู่กับที่ 2 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 39 การกร่อน 2 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 40 แผ่นดินไหว 2 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 41 ภูเขาไฟปะทุ 2 ชั่วโมง
– แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 42 สึนามิ 1 ชั่วโมง
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 250

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 35
ความหมายและประเภทของหิน

สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก เวลา 2 ชั่วโมง


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 หินบนผิวโลกและภายในโลก

1. สาระสาคัญ
หินเป็นสารแข็งที่รวมตัวกันอยู่เป็นเปลือกโลก อาจประกอบด้วยแร่ชนิดเดียวหรือหลายชนิด
หินแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ หินอัคนี หินชั้น หรือหินตะกอน และหินแปร
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
อธิบาย จาแนกประเภทของหิน โดยใช้ลักษณะของหิน สมบัติของหินเป็นเกณฑ์ และนาความรู้
ไปใช้ประโยชน์ (ว 6.1 ป. 6/1)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของหินได้ (K)
2. จาแนกและจัดประเภทของหินโดยระบุเกณฑ์ที่ใช้จาแนกและยกตัวอย่างของหินได้ (K)
3. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
4. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
5. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
6. สื่อสารและนาความรู้เรื่องความหมายและประเภทของหินไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
ความหมายและ วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
ประเภทของหิน 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
2. ประเมินกิจกรรม วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
ฝึกทักษะระหว่างเรียน 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
3. ทดสอบก่อนเรียน กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม

5. สาระการเรียนรู้
ความหมายและประเภทของหิน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 251

6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์ และเขียนรายงาน
เรื่องความหมายและประเภทของหิน จากการศึกษา
ค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและอินเทอร์เน็ต
ศิลปะ ตกแต่งและระบายสีภาพวาดกระบวนการเกิดหินตาม
จินตนาการของนักเรียนให้สวยงาม จัดป้ายนิเทศแสดง
ผลงานเกี่ยวกับกระบวนการเกิดหิน จากการศึกษา
ค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและอินเทอร์เน็ต
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
ความหมายและประเภทของหินที่เรียนรู้หรือที่นักเรียน
สนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 56
ครูดาเนินการทดสอบก่อนเรียน โดยให้นักเรียนทาแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อตรวจสอบความ
พร้อมและพื้นฐานของนักเรียน
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูถามคาถามนักเรียนเพื่อกระตุ้นความสนใจ เช่น
– โลกประกอบด้วยอะไรบ้าง ส่วนประกอบใดมีปริมาณมากที่สุด
– เปลือกโลกมีสิ่งใดเป็นส่วนประกอบมากที่สุด
2) นักเรียนร่วมกันอภิปรายหาคาตอบของคาถาม เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่อง ความหมาย
และประเภทของหิน
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่งมี
ขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครู แ บ่ ง กลุ่ ม นั ก เรี ย นแล้ ว เปิ ด โอกาสให้ นั ก เรี ย นในกลุ่ ม น าเสนอข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ
ความหมายและประเภทของหิน ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง จากนั้นให้แต่
ละกลุ่มส่งตัวแทนมานาเสนอข้อมูลหน้าห้องเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทาภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้
– นักธรณีวิทยาจาแนกหินเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง (แนวคำตอบ 3 ประเภท ได้แก่ หิ น
อัคนี หินตะกอน และหินแปร)
– เมื่อหินหลอมเหลวเย็นตัวลงจะเกิดเป็นหินประเภทใด (แนวคำตอบ หินอัคนี)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 252

(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทาภาระงานอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า
หินเป็นสารแข็งที่รวมตัวกันเป็นเปลือกโลก อาจประกอบด้วยแร่ชนิดเดียวหรือหลายชนิด หินแบ่งเป็น 3
ประเภท คือ หินอัคนี หินตะกอน และหินแปร

2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) นักเรียนศึกษาความหมายและประเภทของหินจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียนโดยครู
ช่วยเชื่อมโยงความรู้ใหม่จากบทเรียนกับความรู้เดิมที่เรียนรู้มาแล้ว ด้วยการใช้คาถามนากระตุ้นให้
นักเรียนตอบจากความรู้และประสบการณ์ของนักเรียน
(2) แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 4–5 คน ปฏิบัติกิจกรรม สำรวจลักษณะของหิน ตามขั้นตอน
ทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกตดังนี้
– แต่ละกลุ่มวางแผนเก็บหินที่มีขนาดใกล้เคียงกันในบริเวณโรงเรียน 4–5 ก้อน หรือใช้หินที่
นักเรียนเตรียมมา
– ช่วยกันสังเกตหินอย่างละเอียดด้วยสายตา และชั่งมวลหิน จากนั้นคิดวิธีที่จะจัดหินเป็น
กลุ่ม ๆ จัดประเภทหินตามเกณฑ์การจัดกลุ่มของนักเรียน บันทึกลักษณะต่าง ๆ ของหิน
– เลือกหิน 1 ก้อน แล้วสังเกตอย่างละเอียดด้วยแว่นขยาย หินที่เลือกนี้มีสิ่งใดบ้างที่เหมือน
หรือแตกต่างจากก้อนอื่น ๆ ในกลุ่ม แล้วนาไปเปรียบเทียบกับหินตัวอย่างของครูว่ามีลักษณะใดที่เหมือน
หรือแตกต่างบ้าง บันทึกการสังเกตลงในตารางบันทึกผล
– อธิบายสื่อความหมายโดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลในตารางบันทึกผลกับเพื่อน ๆ ในกลุ่มอื่น
ให้เพื่อนหยิบหินออกมาตามที่นักเรียนได้อธิบายให้ฟัง จากนั้นนักเรียนเลือกหยิบหินออกมาตามที่เพื่อน
ได้อธิบายให้ฟัง
(3) แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5–6 คน ปฏิบัติกิจกรรม สังเกตแยกประเภทของหิน ตามขั้นตอน
ทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกตดังนี้
– สร้างตารางเพื่อใช้บันทึกข้อมูลการสังเกตของนักเรียน ดังนี้
คุณสมบัติ หินลาดับที่
สีอ่อน
สีแก่
ผลึกมองเห็นได้
ไม่เป็นผลึก
ไม่มีแร่ต่างชนิดกันตามที่เห็น
มีแร่ต่างชนิดกันตามที่เห็น
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 253

คุณสมบัติ หินลาดับที่
ไม่มีแร่ต่างชนิดกันตามที่เห็นเป็นผลึกที่มองเห็นได้
ไม่มีแร่ต่างชนิดกันตามที่เห็นไม่เป็นผลึก
เนื้อหินเป็นชั้น
เนื้อหินไม่เป็นชั้น

– ตัดกระดาษเป็นชิ้นเล็ก ๆ และเขียนตัวเลข 1 ถึง 7 ติดตัวเลขแปะกับหินแต่ละก้อน


– วางหินทั้งหมดบนโต๊ะ สังเกตหินแต่ละก้อนแล้วแยกประเภทหินเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีสี
อ่อนและกลุ่มทีม่ ีสีแก่ ดังรูป บันทึกหมายเลขของหินแต่ละกลุ่มลงในตารางข้อมูล
– นาหินทั้งหมดมากองรวมกัน สังเกตหินแต่ละก้อนโดยใช้แว่นขยาย ดังรูป แยกหินที่มีผลึก
แร่มองเห็นได้ หรือพื้นผิวแบน ส่องประกายไว้กลุ่มหนึ่ง และที่ไม่มีผลึกแร่ไปไว้อีกกลุ่มหนึ่ง บันทึกว่า
หินก้อนใดมีผลึกมองเห็นได้และก้อนใดไม่มี
– นาหินทั้งหมดมากองรวมกันอีกครั้ง สังเกตหินแต่ละก้อนด้วยแว่นขยาย แยกหินเป็น 2
กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีแร่ต่างชนิดกันตามที่มองเห็นมากกว่า 1 อย่าง (สีมากกว่า 1 สี) และกลุ่มที่ไม่มีแร่ต่าง
ชนิดกันตามที่มองเห็น (มีสีเดียวเท่านั้น) บันทึกข้อมูลที่สังเกตได้
– นากลุ่มของหินที่ไม่มีแร่ต่างชนิดกันตามที่มองเห็นมาแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีผลึก
มองเห็นได้และกลุ่มที่ไม่มีผลึก บันทึกข้อมูลที่สังเกตได้
(4) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากใบกิจกรรม
(5) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
ชั่วโมงที่ 57
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรม
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คาถามต่อไปนี้
กิจกรรมสำรวจลักษณะของหิน
– นักเรียนสามารถแบ่งกลุ่มหินเป็นกี่กลุ่ม อะไรบ้าง (แนวคำตอบ แบ่งหินเป็น 6 กลุ่ม คือ
หินที่มีสีเข้ม หินที่มีสีอ่อน หินที่มีเนื้อหยำบ หินที่มีเนื้อละเอียด หินที่มีมวลมำก และหินที่มีมวลน้อย)
– เกณฑ์ที่นักเรียนใช้แบ่งกลุ่มหินคืออะไร เพราะเหตุใดจึงใช้เกณฑ์ดังกล่าวนี้ (แนวคำตอบ
นักเรียนอำจแบ่งกลุ่มหินโดยใช้เกณฑ์จำกลักษณะของหินที่สังเกตได้ เช่น แบ่งกลุ่มตำมสี เนื้อหิน และ
มวล)
– ตัวอย่างหินทั้งหมดเหมือนหรือแตกต่างจากตัวอย่างหินที่ครูนามาให้ดูอย่างไร (แนว
คำตอบ แตกต่ำงกัน มีสีและเนื้อหินที่แตกต่ำงกัน)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 254

กิจกรรมสังเกตแยกประเภทของหิน
– ตัวอย่างหินทั้งหมดเป็นหินชนิดเดียวกันหรือไม่ เพราะอะไร (แนวคำตอบ ไม่ เพรำะมี
ส่วนประกอบที่แตกต่ำงกัน จัดเป็น 5 กลุ่ม ตำมสี ลักษณะของผลึก แร่ที่เป็นส่วนประกอบ ผลึกของแร่ที่
เป็นส่วนประกอบ และเนื้อหินเป็นชั้น)
– ข้อมูลในตารางให้ความรู้อะไรเกี่ยวกับหินบ้าง (แนวคำตอบ ข้อมูลในตำรำงใช้เป็นเกณฑ์
ในกำรแบ่งกลุ่มหรือจำแนกประเภทของหินได้)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลการปฏิบัติกิจกรรม โดยเน้นให้นักเรียนเข้าใจว่า หินแต่ละ
ประเภทมีลักษณะที่แตกต่างกันในเรื่องใดบ้าง หินแต่ละประเภทมีสิ่งใดเป็นองค์ประกอบบ้าง รวมทั้งให้
ความรู้เรื่องวัฏจักรของหินจากการดูแผนภาพวัฏจักรของหิน
(4) นักเรียนร่วมกันเขียนแผนที่ความคิดเกี่ยวกับประเภทของหิน
4) ขั้นขยายความรู้
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการจาแนกหินของนักธรณีวิทยา และ
วัฏจักรของหินจากใบความรู้ที่ครูจัดเตรียมไว้หรือจากหนังสือ วารสารทางธรณีวิทยา สารานุกรม
วิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งนาข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดทาเป็น
รายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
(2) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับความหมายและ
ประเภทของหินจากหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– นักธรณีวิทยาแบ่งหินเป็นกี่ประเภท
– หินอัคนี หินตะกอนหรือหินชั้น และหินแปรแตกต่างกันในเรื่องใดบ้าง
– วัฏจักรของหินเป็นอย่างไร
ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับความหมายและประเภทของหิน โดยร่วมกันเขียนเป็น
แผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้า ในหัวข้อประโยชน์ของหิน โดยใช้ใบงาน สำรวจก่อน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 255

เรียน 12 ที่ครูจัดเตรียมไว้ให้ประกอบการศึกษาค้นคว้า (ในสื่อการเรียนรู้ PowerPoint วิทยาศาสตร์ ชั้น


ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด)
3) ครูอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมและมอบหมายให้นักเรียนไปปฏิบัติกิจกรรมที่บ้าน
พร้อมทั้งให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปรายร่วมกัน
ในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
เมื่อนักเรียนได้เดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้พบเห็นหินต่าง ๆ ก็ให้ลองสังเกตหินที่พบว่า
จัดอยู่ในประเภทใด บริเวณที่พบมีลักษณะภูมิประเทศเป็นอย่างไร

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. แบบทดสอบก่อนเรียน
2. ใบกิจกรรมที่ 26 สารวจลักษณะของหิน
3. ใบกิจกรรมที่ 27 สังเกตแยกประเภทของหิน
4. ใบงานสารวจก่อนเรียน 12
5. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
6. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
7. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
8. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 256

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 36
ประโยชน์ของหิน
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก เวลา 2 ชั่วโมง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 หินบนผิวโลกและภายในโลก

1. สาระสาคัญ
หินทุกประเภทมีประโยชน์ต่อการดารงชีวิตของมนุษย์ การเลือกหินไปใช้ประโยชน์จึงต้อง
เลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น หินที่มีความแข็งแรงทนทานนาไปใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ รวมทั้ง
ทาเป็นเครื่องใช้ หินที่มีสีสวยนิยมนาไปใช้เป็นเครื่องประดับ
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
อธิบาย จาแนกประเภทของหิน โดยใช้ลักษณะของหิน สมบัติของหินเป็นเกณฑ์ และนาความรู้
ไปใช้ประโยชน์ (ว 6.1 ป. 6/1)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายประโยชน์ของหินได้ (K)
2. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
3. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
4. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สื่อสารและนาความรู้เรื่องประโยชน์ของหินไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
ประโยชน์ของหิน วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
2. ประเมินกิจกรรม 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
ฝึกทักษะระหว่างเรียน วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
5. สาระการเรียนรู้
ประโยชน์ของหิน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 257

6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์และเขียนรายงาน
เรื่องประโยชน์ของหินจากการศึกษาค้นคว้าจาก
เอกสารที่เกี่ยวข้องและอินเทอร์เน็ต
ศิลปะ ตกแต่งและระบายสีภาพวาดประโยชน์ของหินตาม
จินตนาการหรือประสบการณ์ของนักเรียนให้สวยงาม
จัดป้ายนิเทศแสดงผลงานเกี่ยวกับประโยชน์ของหิน
จากการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและ
อินเทอร์เน็ต
สังคมศึกษา ศาสนา สนทนา พูดคุยเกี่ยวกับปราสาทนครวัดในประเทศกัมพูชา
และวัฒนธรรม ที่สร้างจากหินทรายและศิลาแลง ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของหิน
ตะกอน
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
ประโยชน์ของหินที่เรียนรู้หรือที่นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 58
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูถามคาถามนักเรียน เพื่อกระตุ้นความสนใจ เช่น
– หินเกิดขึ้นได้อย่างไร
– หินแบ่งเป็นกี่ประเภท
– หินแต่ละประเภทมีลักษณะเด่นอะไรบ้าง
– วัฏจักรของหินหมายถึงอะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร
2) ครูร่วมสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับคาตอบที่นักเรียนตอบ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่อง
ประโยชน์ของหิน
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่ง
มีขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูให้นักเรียนนาใบงาน สำรวจก่อนเรียน 12 ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าที่
บ้านมาอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทากิจกรรมที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับกิจกรรม ดังนี้
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 258

– การเลือกใช้งานหินประเภทต่าง ๆ พิจารณาจากเกณฑ์ใด (แนวคำตอบ ลักษณะของ


หิน)
– หินตะกอนใช้ทาอะไรได้บ้าง (แนวคำตอบ ใช้ทำถนนและที่ลับมีด)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทากิจกรรมอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นั กเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับกิจกรรม สำรวจก่อนเรียน 12 โดยครูช่วยอธิบายให้
นักเรียนเข้าใจว่า หินแต่ละประเภทมีลักษณะแตกต่างกันการเลือกหินไปใช้ประโยชน์จึงต้องเลือกให้
เหมาะสมกับการใช้งาน

2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาประโยชน์ของหินจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครูช่วย
เชื่อมโยงความรู้ใหม่จากบทเรียนกับความรู้เดิมที่เรียนรู้มาแล้ว ด้วยการใช้คาถามนากระตุ้นให้นักเรียน
ตอบจากความรู้และประสบการณ์ของนักเรียน
(2) แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของหิน โดยดาเนินการตาม
ขั้นตอนดังนี้
– แต่ละกลุ่มวางแผนการสืบค้นข้อมูล โดยแบ่งหัวข้อย่อยให้เพื่อนสมาชิกช่วยกันสืบค้น
ตามที่สมาชิกกลุ่มช่วยกันกาหนดหัวข้อย่อย เช่น การก่อสร้าง เครื่องใช้ และอาวุธ
– สมาชิกกลุ่มแต่ละคนหรือกลุ่มย่อยช่วยกันสืบค้นข้อมูลตามหัวข้อย่อยที่ตนเองรับผิดชอบ
โดยการสืบค้นจากใบความรู้ที่ครูเตรียมมาให้ หรือจากหนังสือ วารสารทางธรณีวิทยา สารานุกรม
วิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต
– สมาชิกกลุ่มนาข้อมูลที่สืบค้นได้มารายงานให้เพื่อน ๆ สมาชิกในกลุ่มฟัง รวมทั้งร่วมกัน
อภิปรายซักถามจนคาดว่าสมาชิกทุกคนมีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน
– สมาชิกกลุ่มช่วยกันสรุปความรู้ที่ได้ทั้งหมดเป็นผลงานของกลุ่ม และช่วยกันจัดทารายงาน
การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประโยชน์ของหิน
(3) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้ องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
ชั่วโมงที่ 59
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คาถามต่อไปนี้
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 259

– หินชนิดใดใช้ทาเครื่องปั้นดินเผา เซรามิก ใช้เป็นส่วนประกอบทาปูนซีเมนต์ (แนวคำตอบ


หินดินดำน)
– ในท้องถิ่นของนักเรียนมีการใช้ประโยชน์จากหินในด้านใดบ้าง (แนวคำตอบ หินอ่อนใช้
ตกแต่งประดับอำคำร)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม
(4) นักเรียนร่วมกันเขียนแผนที่ความคิดเกี่ยวกับประโยชน์ของหิน
4) ขั้นขยายความรู้
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของหินจากใบความรู้หรือ
หนังสือ วารสารทางธรณีวิทยา สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต
รวมทั้งนาข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดทาเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยน
เรียนรู้กัน
(2) ครูเชื่อมโยงความรู้สู่อาเซียน โดยถามนักเรียนว่า รู้หรือไม่ว่าปราสาทนครวัดอยู่ที่
ประเทศใด และสร้างขึ้นจากหินชนิดใด
ปราสาทนครวัด เป็นสัญลักษณ์ของกัมพูชา
เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ตั้งอยู่ที่จังหวัดเสียมราฐ
ก่ อ สร้ า งในรั ชสมั ยของพระเจ้ า สุ ริ ย วรมั นที่ 2 เมื่ อ
ค.ศ. 1113 เพื่อเป็นเทวสถานถวายแด่พระวิษณุ ต่อมา
เปลี่ยนหน้าที่มาเป็นวัดในพระพุทธศาสนา ปราสาท
นครวัดสร้างจากหินทรายและศิลาแลง ซึ่งจัดอยู่ใน
กลุ่มของหินตะกอน (ศิลาแลงเป็นหินตะกอนชนิดหนึ่งลักษณะโดยทั่วไปจะมีรูพรุนทั้งก้อน มีสีแดงและ
สีน้าตาลแดง แข็งจับตัวเป็นก้อน เกิดจากการชะล้างแร่เหล็กและอะลูมิเนียมออกไซด์ลงไปสะสมในน้าใต้
ดินและมีการเปลี่ยนระดับน้าใต้ดินขึ้น –ลงตามฤดูกาล ทาให้แร่เหล็กและอะลูมิเนียมออกไซด์จับตัวเป็น
ก้อน)
(3) นักเรียนค้นคว้าคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับประโยชน์ของหิน จากหนังสือเรียน
ภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– มนุษย์เริ่มนาหินมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่เมื่อใด และนามาใช้ทาสิ่งใด
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 260

– หินประเภทใดที่นิยมนามาใช้ประโยชน์มากที่สุด เพราะอะไร
– มนุษย์นิยมใช้หินอัคนี หินตะกอน และหินแปรทาสิ่งใดบ้าง
ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับประโยชน์ของหิน โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิด
หรือผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อแหล่งหินชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทย จาก
หนังสือเรียนและแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ
3) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปราย
ร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป
8. กิจกรรมเสนอแนะ
เมื่อนักเรียนได้เดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้พบเห็นสิ่งก่อสร้างเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่
ทามาจากหิน ก็ให้ลองสังเกตว่าสิ่งเหล่านั้นทามาจากหินประเภทใด
9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ใบงานสารวจก่อนเรียน 12
2. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
3. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
4. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
5. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 261

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 37
แหล่งหินชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทย
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก เวลา 2 ชั่วโมง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 หินบนผิวโลกและภายในโลก

1. สาระสาคัญ
ประเทศไทยมีแหล่งหินประเภทต่าง ๆ มากมาย หินอัคนีพบมากในภูมิประเทศที่เป็นภูเขาและ
ตามชายทะเล หินตะกอนมีอยู่ทั่วไปทุกลักษณะภูมิประเทศ หรือบริเวณที่เป็นลาธาร น้าตก ชายทะเล
บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้า ส่วนหินแปรพบมากในภูมิประเทศที่เป็นภูเขา
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
อธิบาย จาแนกประเภทของหิน โดยใช้ลักษณะของหิน สมบัติของหินเป็นเกณฑ์ และนาความรู้
ไปใช้ประโยชน์ (ว 6.1 ป. 6/1)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1.ระบุแหล่งหินประเภทต่าง ๆ ในประเทศไทยได้ (K)
2. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
3. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
4. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สื่อสารและนาความรู้เรื่องแหล่งหินชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทยไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
แหล่งหินชนิดต่าง ๆ วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
ในประเทศไทย 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
2. ประเมินกิจกรรม วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
ฝึกทักษะระหว่างเรียน 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
5. สาระการเรียนรู้
แหล่งหินชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทย
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 262

6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์และเขียนรายงาน
เรื่องแหล่งหินชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทยจากการ
ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและอินเทอร์เน็ต
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
แหล่งหินชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทยที่เรียนรู้หรือที่
นักเรียนสนใจ

7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 60
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูถามคาถามนักเรียนเพื่อกระตุ้นความสนใจ เช่น
– ลักษณะภูมิประเทศของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นแบบใด
– ลักษณะภูมิประเทศของประเทศไทยน่าจะประกอบด้วยหินประเภทใดมาก เพราะอะไร
– เหตุผลที่สนับสนุนว่าประเทศไทยมีแหล่งหินประเภทต่าง ๆ คืออะไร
2) ครูร่วมสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับคาตอบที่นักเรียนตอบ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่อง
แหล่งหินชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทย
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่งมี
ขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนแล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มนาเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ แหล่งหิน
ชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทย ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง จากนั้นให้แต่ละ
กลุ่มส่งตัวแทนมานาเสนอข้อมูลหน้าห้องเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทาภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้
– แหล่งหินประเภทต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กับลักษณะภูมิประเทศในลักษณะใด (แนว
คำตอบ หินอัคนีพบมำกในภูมิประเทศที่เป็นภูเขำเนื่องจำกหินอัคนีเกิดจำกกำรหลอมเหลวภำยในโลกและ
ไหลออกมำตำมรอยแยกของเปลือกโลกเมื่อเกิดภูเขำไฟปะทุ ส่วนหินตะกอนมักพบบริเวณที่เป็นลำธำร
น้ำตก ชำยทะเล และบริเวณดินดอนสำมเหลี่ ยมปำกแม่น้ำ เนื่องจำกเป็นหินที่เ กิดจำกกำรสะสมของ
ตะกอน ส่วนหินแปรพบมำกในภูมิประเทศที่เป็นภูเขำ เนื่องจำกเป็นหินที่เกิดจำกกำรเปลี่ยนแปลงของ
เปลือกโลกภำยใต้อุณหภูมิและควำมดันสูง)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 263

(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทาภาระงานอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า
ประเทศไทยมีแหล่งหิ นประเภทต่าง ๆ มากมาย หินอั คนีพ บมากในภูมิป ระเทศที่ เป็นภูเขาและตาม
ชายทะเล หินตะกอนมีอยู่ทั่วไปทุกลักษณะภูมิประเทศ ส่วนหินแปรพบมากในภูมิประเทศที่เป็นภูเขา
2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาแหล่งหินชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทยจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน
โดยครูช่วยเชื่อมโยงความรู้ใหม่จากบทเรียนกับความรู้เดิมที่เรียนรู้มาแล้ว ด้วยการใช้คาถามนากระตุ้น
ให้นักเรียนตอบจากความรู้และประสบการณ์ของนักเรียน
(2) แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มปฏิบัติกิจกรรม สืบค้นข้อมูลประโยชน์ของหินและแหล่งหิน
ในประเทศไทย ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกตดังนี้
– แต่ละกลุ่มวางแผนการสืบค้นข้อมูล โดยแบ่งหัวข้อย่อยให้เพื่อนสมาชิกช่วยกันสืบค้น
ตามที่สมาชิกกลุ่มช่วยกันกาหนดหัวข้อย่อย เช่น แหล่งหินมีความสัมพันธ์กับลักษณะภูมิประเทศใน
ลักษณะใด ลักษณะภูมิประเทศที่มีหินประเภทต่าง ๆ แหล่งหินของประเทศไทย หินอัคนี หินชั้นหรือหิน
ตะกอน และหินแปรมีมากที่สุดที่จังหวัดใด
– สมาชิกกลุ่มแต่ละคนหรือกลุ่มย่อยช่วยกันสืบค้นข้อมูลตามหัวข้อย่อยที่ตนเองรับผิดชอบ
โดยการสืบค้นจากใบความรู้ที่ครูเตรียมมาให้หรือจากหนังสือ วารสารทางธรณีวิทยา สารานุกรม
วิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต
– สมาชิกกลุ่มนาข้อมูลที่สืบค้นได้มารายงานให้เพื่อน ๆ สมาชิกในกลุ่มฟัง รวมทั้งร่วมกัน
อภิปรายซักถามจนคาดว่าสมาชิกทุกคนมีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน
– สมาชิกกลุ่มช่วยกันสรุปความรู้ที่ได้ทั้งหมดเป็นผลงานของกลุ่ม และช่วยกันจัดทารายงาน
การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับแหล่งหินชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทย
(3) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา

ชั่วโมงที่ 61
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คาถามต่อไปนี้
– ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการนาหินมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจาวันคืออะไร ควรแก้ไข
อย่างไร (แนวคำตอบ อำจจะมีกำรระเบิดภูเขำเพื่อนำหินมำใช้ประโยชน์ ซึ่งจะทำลำยทรัพยำกรป่ำไม้และ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 264

หน้ำดินถูกทำลำย ดังนั้นกำรนำหินมำใช้ต้องพิจำรณำถึงควำมคุ้มค่ำและให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำลำย


สิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด)
– ลักษณะภูมิประเทศที่พบหินแต่ละประเภทมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบาย
พร้อมยกตัวอย่าง (แนวคำตอบ แตกต่ำงกัน เช่น หินแกรนิตและหินบะซอลต์พบมำกในภูมิประเทศที่เป็น
ภูเขำ ส่วนหินตะกอนพบมำกบริเวณที่เป็นลำธำร น้ำตก ชำยทะเล และบริเวณดินดอนสำมเหลี่ยมปำก
แม่น้ำ)
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม
(4) นักเรียนร่วมกันเขียนแผนที่ความคิดเกี่ยวกับแหล่งหินชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทย
4) ขั้นขยายความรู้
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งหินชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทยจาก
ใบความรู้หรือจากหนังสือและวารสารทางธรณีวิทยา สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยสาหรับ
เยาวชน และอินเทอร์เน็ต
(2) นักเรียนค้นคว้าคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับแหล่งหินชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทย
จากหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– หินอัคนี หินชั้นหรือหินตะกอน และหินแปรพบมากบริเวณใดของประเทศไทย
– ถ้าพบหินอัคนีมากในบริเวณใดแล้ว นักเรียนอาจสันนิษฐานได้ว่าในอดีตบริเวณนั้นเคย
เป็นที่ตั้งของภูเขาไฟมาก่อนใช่หรือไม่ เพราะเหตุใด
– ถ้าหากพบซากดึกดาบรรพ์มากในบริเวณใดแล้ว แสดงว่าบริเวณนั้นเป็นแหล่งของหิน
ประเภทใด หินเหล่านั้นบอกความเป็นมาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตในอดีตได้หรือไม่ เพราะอะไร
ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับแหล่งหินชนิดต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยร่วมกันเขียน
เป็นแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้า ในหัวข้อการผุพังอยู่กับที่ โดยใช้ใบงาน สืบค้นข้อมูล
ก่อนเรียน 13 ที่ครูจัดเตรียมไว้ให้ประกอบการศึกษาค้นคว้า (ในสื่อการเรียนรู้ PowerPoint วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 265

3) ครูอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมและมอบหมายให้นักเรียนไปปฏิบัติกิจกรรมที่บ้าน
พร้อมทั้งให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปรายร่วมกัน
ในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
เมื่อนักเรียนได้เดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้พบเห็นหินประเภทต่าง ๆ ก็ให้ลองสังเกตว่า
บริเวณที่พบหินประเภทนั้นมีลักษณะใด

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ใบกิจกรรมที่ 28 สืบค้นข้อมูลประโยชน์ของหินและแหล่งหินในประเทศไทย
2. ใบงานสืบค้นข้อมูลก่อนเรียน 13
3. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
4. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
5. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
6. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 266

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 38
การผุพังอยู่กับที่
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก เวลา 2 ชั่วโมง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 หินบนผิวโลกและภายในโลก

1. สาระสาคัญ
การผุพังอยู่กับที่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพของหินที่เกิดได้ 2 แบบ คือ การเปลี่ยนแปลงทาง
กายภาพและการเปลี่ยนแปลงทางเคมี การผุพังอยู่กับที่ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่น
การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ การขยายตัวของน้าแข็ง ลมฟ้าอากาศ และน้าฝน รวมทั้งการกระทาของ
ต้นไม้กับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เป็นการสลายตัวของหินที่เกิดจากปฏิกิริยา
ทางเคมี เช่น การถูกฝนกรด และการเกิดสนิมในเนื้อหินที่มีแร่ของธาตุเหล็กปนอยู่
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
สารวจและอธิบายการเปลี่ยนแปลงของหิน (ว 6.1 ป. 6/2)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายการผุพังอยู่กับที่ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพได้ (K)
2. อธิบายการผุพังอยู่กับที่ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีได้ (K)
3. ระบุผลกระทบที่เกิดจากการผุพังอยู่กับที่ของหินที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ ได้ (K)
4. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
5. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
6. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
7. สื่อสารและนาความรู้เรื่องการผุพังอยู่กับที่ไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
การผุพังอยู่กับที่ วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
2. ประเมินกิจกรรม 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
ฝึกทักษะระหว่างเรียน วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 267

5. สาระการเรียนรู้
การผุพังอยู่กับที่
6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์ และเขียนรายงาน
เรื่องการผุพังอยู่กับที่ จากการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร
ที่เกี่ยวข้องและอินเทอร์เน็ต
ศิลปะ ตกแต่งและระบายสีภาพวาดการผุพังอยู่กับที่ตามจินตนา-
การหรือประสบการณ์ของนักเรียนให้สวยงาม จัดป้าย
นิเทศแสดงผลงานเกี่ยวกับการผุพังอยู่กับที่ จากการ
ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและอินเทอร์เน็ต
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
การผุพังอยู่กับที่ที่เรียนรู้หรือที่นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 62
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูถามคาถามนักเรียน เพื่อกระตุ้นความสนใจ เช่น
– หินตามแหล่งต่าง ๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงได้เพราะสาเหตุใด
– ถ้าหินที่อยู่ในธรรมชาติเกิดการเปลี่ยนแปลง นักเรียนคิดว่าเกิดจากสาเหตุใด
2) ครูร่วมสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับคาตอบที่นักเรียนตอบ เพื่อนาไปสู่การเรียนรู้เรื่อง
การผุพังอยู่กับที่
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่งมี
ขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูให้นักเรียนนาใบงาน สืบค้นข้อมูลก่อนเรียน 13 ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้า
ที่บ้านมาอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทากิจกรรมที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับกิจกรรม ดังนี้
– นักเรียนคิดว่าการผุพังอยู่กับที่ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและการ
เปลี่ยนแปลงทางเคมี ลักษณะใดมีผลกระทบต่อหินและสิ่งต่าง ๆ มากที่สุด เพราะอะไร (แนวคำตอบ กำร
เปลี่ยนแปลงทำงเคมี เพรำะทำให้ส่วนประกอบที่เป็นโครงสร้ำงของหินเปลี่ยนแปลงไป เป็นสำเหตุให้หิน
ผุพังหรือเกิดสนิมในเนื้อหินที่มีแร่จำพวกเหล็กเป็นส่วนประกอบ)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 268

(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทากิจกรรมอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับกิจกรรม สืบค้นข้อมูลก่อนเรียน 13 โดยครูช่วย
อธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า การผุพังอยู่กับที่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพของหินที่เกิดได้ 2 แบบ คือ การ
เปลี่ยนแปลงทางกายภาพและการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาเรื่องการผุพังอยู่กับที่จากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครูช่วย
เชื่อมโยงความรู้ใหม่จากบทเรียนกับความรู้เดิมที่เรียนรู้มา แล้วด้วยการใช้คาถามนากระตุ้นให้นักเรียน
ตอบจากความรู้และประสบการณ์ของนักเรียน
(2) แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มปฏิบัติกิจกรรม ทดลองกำรเกิดสนิมในฝอยเหล็ก ตามขั้นตอน
ทางวิทยาศาสตร์ดังนี้
ขั้นที่ 1 กาหนดปัญหา
– เมื่อฝอยเหล็กชื้นจะเกิดปฏิกิริยาเคมี แล้วทาให้ฝอยเหล็กเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
ขั้นที่ 2 สมมุติฐาน
– เมื่อฝอยเหล็กชื้นน่าจะเกิดปฏิกิริยาเคมี แล้วทาให้ฝอยเหล็กเปลี่ยนแปลงไป
ขั้นที่ 3 ทดลอง
– แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 4–5 คน ทางานเป็นกลุ่มล่วงหน้าอย่างน้อย 1–2 วัน
– นาฝอยเหล็กมา 4 ก้อนในปริมาณที่เท่ากัน ฝอยเหล็กนี้ควรล้างด้วยน้าส้มสายชูให้สาร
เคลือบกันสนิมออกก่อน
– นาฝอยเหล็กทั้ง 4 ก้อนมาทากิจกรรมโดยเตรียม ดังนี้
ก้อนที่ 1 ฝอยเหล็กแห้ง
ก้อนที่ 2 ฝอยเหล็กชุบน้า
ก้อนที่ 3 ฝอยเหล็กแช่อยู่ในน้า
ก้อนที่ 4 ฝอยเหล็กอยู่ในดินที่ชุ่มน้า
–วางชุดการทดลองไว้ 1–2 วัน สังเกตและบันทึกผลที่เกิดขึ้น
ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ผลการทดลอง
– แปลความหมายข้อมูลที่ได้จากตารางบันทึกผลการทดลอง
– นาข้อมูลที่ได้มาพิจารณา เพือ่ อธิบายว่าเป็นไปตามที่นักเรียนตั้งสมมุติฐานไว้หรือไม่
ขั้นที่ 5 สรุปผลการทดลอง
– นักเรียนร่วมกันสรุปผลการทดลอง แล้วเขียนเป็นรายงานสรุปผลการทดลองส่งครู
(3) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 269

ชั่วโมงที่ 63
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คาถามต่อไปนี้
– นอกจากฝอยเหล็กแล้ว นักเรียนสามารถใช้วัสดุใดแทนได้ (แนวคำตอบ ผงตะไบเหล็ก
เส้นลวดขนำดเล็ก)
– เหตุผลที่เราใช้น้าส้มสายชูล้างฝอยเหล็กคืออะไร (แนวคำตอบ เพื่อล้ำงสำรเคลือบกัน
สนิมออก)
– สาเหตุที่ทาให้ฝอยเหล็กเกิดการเปลี่ยนแปลงคืออะไร (แนวคำตอบ ควำมชื้นและอำกำศ
(สิ่งที่อยู่ในอำกำศซึ่งทำปฏิกิริยำกับเหล็กที่ชื้นจนเหล็กกลำยเป็นสนิม คือ แก๊สออกซิเจน))
– นักเรียนคิดว่าฝอยเหล็กชิ้นใดมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด เพราะอะไร (แนวคำตอบ ฝอย
เหล็กชุบน้ำจะเกิดกำรเปลี่ยนแปลงมำกที่สุด เพรำะฝอยเหล็กสัมผัสอำกำศและควำมชื้นมำกที่สุด)
– ผลสรุปของการทดลองนี้คืออะไร (แนวคำตอบ ควำมชื้นและอำกำศทำให้ฝอยเหล็กเกิด
กำรเปลี่ยนแปลง บำงส่วนกลำยเป็นสนิม (มีสีน้ำตำลและบำงส่วนหลุดออกมำ))
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า เมื่อฝอย
เหล็กชื้นจะเกิดปฏิกิริยาเคมีกับอากาศ แล้วทาให้ฝอยเหล็กเปลี่ยนแปลงไป
4) ขั้นขยายความรู้
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการผุพังอยู่กับที่ จากหนังสือและวารสาร
เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และธรณีวิทยา สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน และ
อินเทอร์เน็ต รวมทั้งนาข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดทาเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
(2) นักเรียนค้นคว้าคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับการผุพังอยู่กับที่ จากหนังสือเรียนภาษา
ต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 270

(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น


– การผุพังอยู่กับที่ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและการเปลี่ยนแปลงทางเคมีมี
ความสัมพันธ์กันในลักษณะใด
– นักเรียนคิดว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับหินหรือสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่เป็นปูนเกิดจากสาเหตุใด
– ผลกระทบเนื่องจากการผุพังของหินจะส่งผลในเรื่องใดบ้าง เพราะอะไร

ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการผุพังอยู่กับที่ โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิด
หรือผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อการกร่อน โดยใช้ใบงาน สืบค้นข้อมูลก่อนเรียน
14 ที่ครูจัดเตรี ยมไว้ใ ห้ประกอบการศึกษาค้ นคว้า (ในสื่อ การเรียนรู้ PowerPoint วิ ทยาศาสตร์ ชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด)
3) ครูอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมและมอบหมายให้นักเรียนไปปฏิบัติกิจกรรมที่บ้าน
พร้อมทั้งให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปรายร่วมกัน
ในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนฝึกสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการผุพังอยู่กับที่จากหนังสือและวารสารเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
และธรณีวิทยา สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ใบงานสืบค้นข้อมูลก่อนเรียน 13
2. ใบกิจกรรมที่ 29 ทดลองการเกิดสนิมในฝอยเหล็ก
3. ใบงานสืบค้นข้อมูลก่อนเรียน 14
4. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
5. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
6. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
7. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 271

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 272

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 39
การกร่อน
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก เวลา 2 ชั่วโมง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 หินบนผิวโลกและภายในโลก

1. สาระสาคัญ
การกร่อนเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพของหินที่เกิดได้ 2 แบบ คือ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
และการเปลี่ยนแปลงทางเคมี การกร่อนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ มีตัวการที่ทาให้เกิดการ
กร่อน เช่น น้า น้าแข็ง และลมพัดพากองเศษหินไป ขณะที่พัดพาไปนั้น เศษหินจะบดหรือเสียดสีกับ
หินก้อนอื่น ๆ ทาให้หินผุกร่อนและมีขนาดเล็กลง ส่วนการกร่อนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเป็น
การกร่อนที่เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของหิน สาเหตุเกิดจากความชื้นหรือน้าทาปฏิกิริยากับ
องค์ประกอบที่เป็นโครงสร้างของหิน เช่น ทาให้เหล็กเกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นวัตถุที่มีความอ่อนกว่า
เช่น เหล็กออกไซด์หรือสนิม หรือการที่คาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศทาปฏิกิริยากับน้าเกิดเป็นกรด
คาร์บอนิก เมื่อกรดคาร์บอนิกละลายปะปนกับน้าฝนที่ตกกระทบก้อนหิน เช่น หินปูน จะทาให้หินปูน
เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีทาให้เนื้อหินแตกและหลุดได้
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
สารวจและอธิบายการเปลี่ยนแปลงของหิน (ว 6.1 ป. 6/2)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายการกร่อนซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพได้ (K)
2. อธิบายการกร่อนซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีได้ (K)
3. ระบุผลกระทบที่เกิดจากการกร่อนของหินที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ ได้ (K)
4. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
5. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
6. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
7. สื่อสารและนาความรู้เรื่องการกร่อนไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 273

4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
การกร่อน วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
2. ประเมินกิจกรรม 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
ฝึกทักษะระหว่างเรียน วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
5. สาระการเรียนรู้
การกร่อนของหิน
6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์และเขียนรายงาน
เรื่องการกร่อนของหิน จากการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร
ที่เกี่ยวข้องและอินเทอร์เน็ต
ศิลปะ ตกแต่งและระบายสีภาพวาดการกร่อนของหินตาม
จินตนาการหรือประสบการณ์ของนักเรียนให้สวยงาม
จัดป้ายนิเทศแสดงผลงานเกี่ยวกับการกร่อนของหิน
จากการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและ
อินเทอร์เน็ต
สังคมศึกษา ศาสนา สนทนา พูดคุยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของหินที่เกิดจาก
และวัฒนธรรม การกร่อนและการผุพังอยู่กับที่ เช่น หินบริเวณอุทยาน
แห่งชาติกุนุงมูลู บนเกาะบอร์เนียว ประเทศมาเลเซีย
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
การกร่อนของหินที่เรียนรู้หรือที่นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 64
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูถามคาถามนักเรียน เพื่อกระตุ้นความสนใจ เช่น
– หินที่อยู่ตามธรรมชาติมีขนาดเล็กลงได้หรือไม่ เพราะอะไร
2) ครูร่วมสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับคาตอบที่นักเรียนตอบ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่อง
การกร่อนของหิน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 274

ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่งมี
ขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูให้นักเรียนนาใบงาน สืบค้นข้อมูลก่อนเรียน 14 ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้า
ที่บ้านมาอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทากิจกรรมที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับกิจกรรม ดังนี้
– การกร่อนที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเกิดจากตัวการใดมากที่สุด (แนวคำตอบ กระแสน้ำ
เพรำะว่ำประเทศไทยมีแม่น้ำอยู่เป็นจำนวนมำก)
– ผลกระทบเนื่องจากการกัดกร่อนของหินส่งผลในเรื่องใดบ้าง เพราะอะไร (แนว
คำตอบ ทำให้พื้นผิวโลกเปลี่ยนแปลงไป เช่น ส่วนที่เคยเป็นที่สูงอำจพังทลำยลง บริเวณที่เป็นที่ต่ำมีกำร
ทับถมขึ้น มีกำรตกตะกอนในท้องน้ำ ทำให้ท้องน้ำตื้นเขินได้)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทากิจกรรมอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้ า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับ กิจกรรม สืบค้นข้อมูลก่อนเรียน 14 โดยครูช่วย
อธิ บายให้ นั ก เรี ย นเข้ า ใจว่ า การกร่ อ นเป็ น การเปลี่ ย นแปลงสภาพของหิ น ที่ เ กิ ดได้ 2 แบบ คื อ การ
เปลี่ยนแปลงทางกายภาพและการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาการกร่อนของหินจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน หนังสืออื่น ๆ จาก
ห้องสมุด หรืออินเทอร์เน็ต
(2) นักเรียนแบ่งกลุ่มและปฏิบัติกิจกรรม สังเกตกำรกร่อน ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์
โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกตดังนี้
– แต่ละกลุ่มนาชอล์ก 3 แท่ง มาแบ่งเป็นแท่งละ 3 ส่วน ใช้แว่นขยายสังเกตส่วนปลายของ
ชอล์กบริเวณรอยหักทีละอัน บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับชอล์กลงในตาราง แล้วแยกชอล์ก 3 ชิ้นไว้ เพื่อใช้
เป็นตัวอย่างเปรียบเทียบในการสังเกต
– สร้างแบบจาลองของการกร่อนและผุพัง โดยใส่หินก้อนเล็ก ๆ ลงในถ้วย ก 4–5 ก้อน
จากนั้นเติมน้าปริมาณ 3 ของถ้วย
4
– ใส่ชอล์ก 3 ชิ้น ลงไปในถ้วย ก ปิดฝาให้
แน่น ใช้กระดาษกาวปิดทับ ดังรูป จับบริเวณส่วนบน
ของฝาปิ ด แล้ ว เขย่ า ถ้ ว ยแรง ๆ ใช้ น าฬิ ก าจั บ เวลา
ประมาณ 4 นาที แล้วจึงเปิดฝาออก
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 275

– ใช้ช้อนตักชอล์กออก แล้ววางลงบนกระดาษชาระ ใช้แว่นขยายสังเกตชอล์ก เพื่อหา


ร่องรอยของการกร่อนและผุพัง เปรียบเทียบชอล์ก 3 ชิ้นนี้กับชอล์กอีก 3 ชิ้นที่แยกไว้ก่อนหน้านี้ บันทึก
ผลการสังเกต
– สร้างแบบจาลองของการกร่อนและผุพัง
แบบอื่น ๆ โดยนาน้าส้มสายชูใส่ในถ้วย ข ประมาณ
3 ของถ้วย ใส่ชอล์กที่เหลือ 3 ชิ้นลงไปในถ้วย ดังรูป
4
สังเกตชอล์กในน้าส้มสายชูประมาณ 4 นาที บันทึกผล
การสังเกต
– ดาเนินการซ้าขั้นตอนที่ 4
(3) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากใบกิจกรรม
(4) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา

ชั่วโมงที่ 65
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรม
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คาถามต่อไปนี้
– แท่งชอล์กในถ้วยใดเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และแท่งชอล์กในถ้วยใดเป็นการ
เปลี่ยนแปลงทางเคมี (แนวคำตอบ ถ้วยที่มีน้ำ ก้อนหินขนำดเล็ก และชอล์กแสดงถึงกำรเปลี่ยนแปลงทำง
กำยภำพ ถ้วยที่มีน้ำส้มสำยชูและชอล์กแสดงถึงกำรเปลี่ยนแปลงทำงเคมี)
– การกร่อนที่เกิดขึ้นในถ้วย ก ชัดเจนกว่าที่เกิดขึ้นในถ้วย ข หรือไม่ เพราะอะไร (แนว
คำตอบ ถ้วย ก (ที่มีน้ำ ก้อนหินขนำดเล็ก และชอล์ก) เกิดกำรเปลี่ยนแปลงชัดเจนกว่ำถ้วย ข (ที่มี
น้ำส้มสำยชูและชอล์ก) เนื่องจำกถ้วย ก เปรียบได้กับกำรเปลี่ยนแปลงทำงกำยภำพ ถ้วย ข เปรียบได้กับ
กำรเปลี่ยนแปลงทำงเคมี)
– ผลสรุปของการปฏิบัติกิจกรรมนี้คืออะไร (แนวคำตอบ กำรกร่อนของหินเกิดได้ 2
ลักษณะ คือ กำรกร่อนทำงกำยภำพและกำรกร่อนทำงเคมี)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลการปฏิบัติกิจกรรม โดยเน้นให้นักเรียนเข้าใจว่า การ
กร่อนเป็นการเปลี่ยนแปลงของหินที่มี 2 ลักษณะ คือ การกร่อนทางกายภาพและการกร่อนทางเคมี ซึ่งทั้ง
2 ลักษณะมีความแตกต่างกัน
(4) เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าเรื่องการกร่อนของหินจากการสังเกตและสืบค้นข้อมูลจาก
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 276

4) ขั้นขยายความรู้
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการกร่อนของหินในพื้นที่ต่าง ๆ จากใบ
ความรู้ หรือหนังสือ วารสาร สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต
รวมทั้งนาข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดทาเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยน
เรียนรู้กัน
(2) ครูเชื่อมโยงความรู้สู่อาเซียน โดยครูยกตัวอย่างและนารูปการเปลี่ยนแปลงของหินที่เกิด
จากการกร่อนและการผุพังอยู่กับที่มาให้นักเรียนดู เช่น หินบริเวณอุทยานแห่งชาติกุนุงมูลู (Gunung
Mulu National Park) บนเกาะบอร์เนียว รัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย ซึ่งอยู่ติดกับชายแดนประเทศ
บรูไนดารุสซาลาม อุทยานแห่งนี้มีภูมิประเทศแบบหินปูน การผุพังอยู่กับที่และการกร่อนของหินปูน
ทาให้พื้นที่บริเวณนี้มีลักษณะสูง ๆ ต่า ๆ มีหน้าผาสูงชันและยอดแหลม มักพบรอยแตกกว้างและลึกจน
กลายเป็นถ้า ถ้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ในอุทยานแห่งนี้ คือ ถ้าซาราวัค แซมเบอร์ (Sarawak
Chamber) ถ้าแห่งนี้มีความยาว 700 เมตร กว้าง 396 เมตร สูง 80 เมตร เมื่อคานวณพื้นที่แล้วสามารถ
บรรจุเครื่องบิน Boeing 747 ได้จานวนหลาย อุทยานแห่งชาติกุนุงมูลูได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดก
โลกเมื่อปี พ.ศ. 2543
(3) นักเรียนค้นคว้าคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับการกร่อนของหิน จากหนังสือเรียน
ภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– นักเรียนจะนาความรู้เรื่อง การกร่อนไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจาวันในเรื่องใดบ้าง
เพราะอะไร
– ผลกระทบเนื่องจากการกร่อนของหินจะส่งผลในเรื่องใดบ้าง เพราะอะไร
ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการกร่อน โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิดหรือผัง
มโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อแผ่นดินไหว
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 277

3) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปราย


ร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการกร่อนของหินในบริเวณต่าง ๆ ของประเทศไทย โดยนาข้อมูล
ที่ค้นคว้าได้มาจัดทาเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ใบงานสืบค้นข้อมูลก่อนเรียน 14
2. ใบกิจกรรมที่ 30 สังเกตการกร่อน
3. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
4. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
5. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
6. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 278

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 40
แผ่นดินไหว

สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก เวลา 2 ชั่วโมง


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 หินบนผิวโลกและภายในโลก
1. สาระสาคัญ
แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนตัวอย่างกะทันหันของ
เปลือกโลกและเกิดขึ้นบริเวณใกล้กับแนวขอบแผ่นผิวโลก ส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณรอยแยกที่อยู่ใกล้กับ
แนวขอบแผ่นผิวโลก นักวิทยาศาสตร์สร้างเครื่องมือวัดความไหวสะเทือนของแผ่นดินและกาหนด
มาตราริกเตอร์เป็นมาตรวัดเทียบขนาดของการเกิดแผ่นดินไหว
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
สืบค้นและอธิบายธรณีพิบัติภัยที่มีผลต่อมนุษย์และสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น (ว 6.1 ป. 6/3)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายการเกิดแผ่นดินไหวได้ (K)
2. อธิบายผลกระทบที่เกิดจากแผ่นดินไหวต่อการดาเนินชีวิตประจาวันได้ (K)
3. ระบุวิธีการป้องกันตนเองขณะเกิดแผ่นดินไหวได้ (K)
4. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
5. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
6. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
7. สื่อสารและนาความรู้เรื่องแผ่นดินไหวไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
แผ่นดินไหว วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
2. ประเมินกิจกรรม 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
ฝึกทักษะระหว่างเรียน วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
5. สาระการเรียนรู้
แผ่นดินไหว
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 279

6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์และเขียนรายงาน
เรื่องแผ่นดินไหว จากการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารที่
เกี่ยวข้องและอินเทอร์เน็ต
สังคมศึกษา ศาสนา สนทนา พูดคุยเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดแผ่นดินไหวใน
และวัฒนธรรม ประเทศไทย และแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศ
สมาชิกอาเซียน เช่น อินโดนีเซีย
ศิลปะ ตกแต่งและระบายสีภาพวาดแผ่นดินไหวตามจินตนาการ
หรือประสบการณ์ของนักเรียนให้สวยงาม จัดป้ายนิเทศ
แสดงผลงานเกี่ยวกับแผ่นดินไหวและการป้องกันตน
จากแผ่นดินไหว จากการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารที่
เกี่ยวข้อง และอินเทอร์เน็ต
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
แผ่นดินไหวที่เรียนรู้หรือที่นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 66
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูนาเสนอภาพข่าวหรือเหตุการณ์เกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหวมาให้นักเรียนดูประกอบ แล้ว
ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นที่มีต่อภาพหรือเหตุการณ์ดังกล่าว โดยใช้คาถามดังนี้
– นักเรียนคิดว่าการเกิดแผ่นดินไหวมีความเกี่ยวข้องกับลักษณะภูมิประเทศและที่ตั้งของ
ประเทศนั้น ๆ หรือไม่ เพราะเหตุใด
– นักเรียนคิดว่าสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวน่าจะเกิดจากอะไร
2) ครูร่วมสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับคาตอบที่นักเรียนตอบ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่อง
แผ่นดินไหว
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่งมี
ขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครู แ บ่ ง กลุ่ ม นั ก เรี ย นแล้ ว เปิ ด โอกาสให้ นั ก เรี ย นในกลุ่ ม น าเสนอข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ
แผ่นดินไหว ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง จากนั้นให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทน
มานาเสนอข้อมูลหน้าห้องเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทาภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 280

– เปลือกโลกเป็นแผ่นเดียวกันหมดหรือไม่ เปลือกโลกที่นักเรียนสังเกตได้มีลักษณะใด
(แนวคำตอบ ไม่ มีลักษณะแยกเป็นส่วน ๆ เรียกว่ำ แผ่นผิวโลก ซึ่งจะประกอบกันเหมือนชิ้นส่วนจิกซอว์
รวมกันเป็นเปลือกโลก)
– นักเรียนคิดว่าเปลือกโลกมีการเคลื่อนตัวได้หรือไม่ และมีสาเหตุมาจากอะไร (แนว
คำตอบ ได้ สำเหตุมำจำกแผ่นเปลือกโลกลอยอยู่บนชั้นหินหลอมเหลวที่อยู่ภำยในโลก ซึ่ งมีกำรเคลื่อนที่
อยู่ตลอดเวลำ)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทาภาระงานอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า
แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนตัวอย่างกะทันหันของเปลือกโลกและ
เกิดขึ้นบริเวณใกล้กับแนวขอบแผ่นผิวโลก
2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาแผ่นดินไหวจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน หนังสืออื่น ๆ จาก
ห้องสมุด หรืออินเทอร์เน็ต
(2) แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินไหว โดยดาเนินการตามขั้นตอนดังนี้
– แต่ละกลุ่มวางแผนการสืบค้นข้อมูลแผ่นดินไหว โดยแบ่งหัวข้อย่อยให้เพื่อนสมาชิก
ช่วยกันสืบค้นตามที่สมาชิกกลุ่มช่วยกันกาหนดหัวข้อย่อย เช่น สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว
ผลกระทบที่เกิดจากแผ่นดินไหวที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม และการปฏิบัติตนเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
– สมาชิกกลุ่มแต่ละคนหรือกลุ่มย่อยช่วยกันสืบค้นข้อมูลตามหัวข้อย่อยที่ตนเองรับผิดชอบ
โดยการสืบค้นจากใบความรู้ที่ครูเตรียมมาให้ หรือหนังสือ วารสารวิทยาศาสตร์ สารานุกรม และ
อินเทอร์เน็ต
– สมาชิกกลุ่มนาข้อมูลที่สืบค้นได้มารายงานให้เพื่อน ๆ สมาชิกในกลุ่มฟัง รวมทั้งร่วมกัน
อภิปรายซักถามจนคาดว่าสมาชิกทุกคนมีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน
– สมาชิกกลุ่มช่วยกันสรุปความรู้ที่ได้ทั้งหมดเป็นผลงานของกลุ่ม และช่วยกันจัดทารายงาน
การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหว
(3) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา

ชั่วโมงที่ 67
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 281

(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว


คาถามต่อไปนี้
– ประเทศที่ตั้งอยู่ในลักษณะภูมิประเทศแบบใดมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวได้มากที่สุด (แนว
คำตอบ ประเทศที่อยู่ใกล้บริเวณรอยแยกที่อยู่ใกล้กับแนวขอบแผ่นผิวโลกที่เรียกว่ำ วงแหวนไฟ คือ
บริเวณแนวล้อมรอบมหำสมุทรแปซิฟิก เช่น ประเทศชิลี เปรู อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น)
– ขนาดของแผ่นดินไหวใช้มาตรวัดใด (แนวคำตอบ มำตรำริกเตอร์)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า แผ่นดินไหวเกิด
จากหินที่หลอมเหลวอยู่ใต้พื้นโลก ซึ่งเป็นของเหลวที่มีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา ระหว่างที่เคลื่อนที่นั้น
มีแรงและพลังงานมหาศาลที่จะดันหรือทาให้หินหลอมเหลวทะลักออกมายังพื้นผิวโลกได้ รวมทั้ง
อธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า แผ่นเปลือกโลกที่เราอาศัยอยู่ลอยอยู่บนหินหลอมเหลวดังกล่าวนี้
(4) จัดทาป้ายนิเทศแสดงกระบวนการเกิดแผ่นดินไหว และการป้องกันตนจากแผ่นดินไหว
จากการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและอินเทอร์เน็ต
4) ขั้นขยายความรู้
(1) ครูอธิบายความรู้เกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหว การทางานของเครื่องวัดความไหว
สะเทือนขณะเกิดแผ่นดินไหว และมาตราริกเตอร์ที่นักวิทยาศาสตร์ใช้เป็นมาตรวัดขนาดของ
แผ่นดินไหวให้นักเรียนได้เรียนรู้และแสดงความคิดเห็น
(2) ครูเชื่อมโยงความรู้สู่อาเซียน โดยครูนาอภิปรายว่า ประเทศไทยของเราอยู่นอกรอยต่อ
ของแผ่นเปลือกโลก จึงมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวไม่มากนัก การเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยอาจจะมี
สาเหตุมาจากการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ภายนอกประเทศซึ่งอยู่ใกล้เคียง เช่น มีแหล่งกาเนิดจากตอน
ใต้ของประเทศจีน เมียนมา ลาว ทะเลอันดามัน และตอนเหนือของเกาะสุมาตรา แล้วส่งแรงสั่นสะเทือน
มายังประเทศไทย มีผลให้บริเวณภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันตก และภาคกลาง รู้สึกได้ถึง
แรงสั่นสะเทือน
ประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียนที่ต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟปะทุ แผ่นดินไหว
และสึนามิมากที่สุด คือ อินโดนีเซีย เนื่องจากเกือบทั้งประเทศตั้งอยู่ในแนว “วงแหวนไฟ” หรือรอยต่อ
ของแผ่นเปลือกโลกที่มีการเคลื่อนตัว ทาให้เกิดแรงสั่นสะเทือนมหาศาล
(3) นักเรียนค้นคว้าคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับแผ่นดินไหว จากหนังสือเรียน
ภาษาต่างประเทศ หรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 282

(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น


– แผ่นดินไหวเกิดจากสาเหตุใด
– แผ่นดินไหวเกิดขึ้นบริเวณใดของโลก และลักษณะภูมิประเทศแบบใดที่มักจะเกิด
แผ่นดินไหวอยู่บ่อย ๆ
– นักวิทยาศาสตร์คิดหาวิธีป้องกันการเกิดแผ่นดินไหวได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
– เครื่องมือวัดความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินไหวเรียกว่าอะไร และขนาดของแผ่นดินไหว
มีหน่วยการวัดที่ชื่อว่าอะไร

ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับแผ่นดินไหว โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิดหรือ
ผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อภูเขาไฟ
3) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปราย
ร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับประวัติของการเกิดแผ่นดินไหวบนโลกและของประเทศไทย
โดยนาข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดทาเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยน
เรียนรู้กัน

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ภาพข่าวเหตุการณ์เกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหว
2. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
3. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
4. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
5. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 283

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งทีไ่ ม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 284

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 41
ภูเขาไฟปะทุ
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก เวลา 2 ชั่วโมง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 หินบนผิวโลกและภายในโลก

1. สาระสาคัญ
ภูเขาไฟปะทุเกิดจากหินหนืดที่อยู่ภายในโลกถูกแรงที่มีพลังมหาศาลดันออกมาตามรอยแยก
ของเปลือกโลก แล้วแตกออกอย่างรุนแรงเป็นลาวาพุ่งและไหลไปรอบบริเวณภูเขาไฟ
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
สืบค้นและอธิบายธรณีพิบัติภัยที่มีผลต่อมนุษย์และสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น (ว 6.1 ป. 6/3)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายการเกิดภูเขาไฟปะทุได้ (K)
2. อธิบายผลกระทบที่เกิดจากภูเขาไฟปะทุต่อการดาเนินชีวิตประจาวันได้ (K)
3. ระบุวิธีการป้องกันตนเองขณะเกิดภูเขาไฟปะทุได้ (K)
4. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
5. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
6. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
7. สื่อสารและนาความรู้เรื่องภูเขาไฟปะทุไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
ภูเขาไฟปะทุ วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
2. ประเมินกิจกรรม 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
ฝึกทักษะระหว่างเรียน วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
5. สาระการเรียนรู้
ภูเขาไฟปะทุ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 285

6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์ และเขียนรายงาน
เรื่องภูเขาไฟปะทุ จากการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารที่
เกี่ยวข้องและอินเทอร์เน็ต
ศิลปะ ตกแต่งและระบายสีภาพวาดภูเขาไฟตามจินตนาการของ
นักเรียนให้สวยงาม จัดป้ายนิเทศแสดงผลงานเกี่ยวกับ
ภูเขาไฟและการป้องกันตนจากภูเขาไฟปะทุ จากการศึกษา
ค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและอินเทอร์เน็ต
สังคมศึกษา ศาสนา สนทนา พูดคุยเกี่ยวกับประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีภูเขาไฟ
และวัฒนธรรม อยู่เป็นจานวนมาก เช่น อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
ภูเขาไฟปะทุที่เรียนรู้หรือที่นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 68
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูนาเสนอภาพข่าวหรือเหตุการณ์เกี่ยวกับการเกิดภูเขาไฟปะทุในประเทศต่าง ๆ มาให้
นักเรียนดู แล้วให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นที่มีต่อภาพหรือเหตุการณ์ดังกล่าว โดยใช้คาถามดังนี้
– นักเรียนคิดว่าสาเหตุของการเกิดภูเขาไฟปะทุน่าจะเกิดจากอะไร
– นักเรียนคิดว่าการที่ภูเขาไฟปะทุมีความเกี่ยวข้องกับลักษณะภูมิประเทศและที่ตั้งของประเทศ
นั้น ๆ หรือไม่ เพราะเหตุใด
2) ครูร่วมสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับคาตอบที่นักเรียนตอบ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่อง
ภูเขาไฟปะทุ
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่งมี
ขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนแล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มนาเสนอข้อมูลเกี่ยวกับภูเขาไฟ ที่
ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง จากนั้นให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมานาเสนอข้อมูล
หน้าห้องเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทาภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้
– ภูเขาไฟที่มีอยู่บนโลกมีกี่ลักษณะ อะไรบ้าง (แนวคำตอบ 3 ลักษณะ ได้แก่ ภูเขำไฟที่มี
พลัง ภูเขำไฟที่มีกำรปะทุอย่ำงรุนแรง และภูเขำไฟที่สงบ)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 286

– ภูเขาไฟแตกต่างจากภูเขาทั่วไปอย่างไร (แนวคำตอบ ภูเขำไฟสำมำรถเกิดแรงปะทุ


หรือเกิดแรงระเบิดขึ้นได้ สำมำรถสร้ำงควำมเสียหำยให้กับสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่บริเวณโดยรอบได้
อย่ำงมหำศำล)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทาภาระงานอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า
ภูเขาไฟปะทุเกิดจากหินหนืดที่อยู่ภายในโลกถูกแรงที่มีพลังมหาศาลดันออกมาตามรอยแยกของเปลือก
โลก แล้วแตกออกอย่างรุนแรงเป็นลาวาพุ่งและไหลไปรอบบริเวณภูเขาไฟ
2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาภูเขาไฟปะทุจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครูช่วยเชื่อมโยง
ความรู้ใหม่จากบทเรียนกับความรู้เดิมที่เรียนรู้มาแล้ว ด้วยการใช้คาถามนากระตุ้นให้นักเรียนตอบจาก
ความรู้และประสบการณ์ของนักเรียน
(2) นักเรียนแบ่งกลุ่มและปฏิบัติกิจกรรม สืบค้นข้อมูลประเภทและแหล่งกำเนิดภูเขำไฟ
ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกตดังนี้
– แต่ละกลุ่มวางแผนการสืบค้นข้อมูล โดยแบ่งหัวข้อย่อยให้เพื่อนสมาชิกช่วยกันสืบค้น
ตามที่สมาชิกกลุ่มช่วยกันกาหนดหัวข้อย่อย เช่น ประเภทของภูเขาไฟ ลักษณะของภูเขาไฟที่จะเกิดการ
ปะทุหรือไม่เกิดการปะทุ บริเวณต่าง ๆ ของโลกที่มีภูเขาไฟ และรายชื่อภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงของโลก
– สมาชิกกลุ่มแต่ละคนหรือกลุ่มย่อยช่วยกันสืบค้นข้อมูลตามหัวข้อย่อยที่ตนเองรับผิดชอบ
โดยการสืบค้นจากใบความรู้ที่ครูเตรียมมาให้ หรือหนังสือ วารสารทางธรณีวิทยา สารานุกรม
วิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต
– สมาชิกกลุ่มนาข้อมูลที่สืบค้นได้มารายงานให้เพื่อน ๆ สมาชิกในกลุ่มฟัง รวมทั้งร่วมกัน
อภิปรายซักถามจนคาดว่าสมาชิกทุกคนมีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน
– สมาชิกกลุ่มช่วยกันสรุปความรู้ที่ได้ทั้งหมดเป็นผลงานของกลุ่ม และช่วยกันจัดทารายงาน
การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประเภทและแหล่งกาเนิดภูเขาไฟ
(3) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา

ชั่วโมงที่ 69
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คาถามต่อไปนี้
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 287

– ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปะทุของภูเขาไฟมีผลต่อการดารงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในเรื่อง
ใดบ้าง อธิบายพร้อมยกตัวอย่าง (แนวคำตอบ ลำวำร้อนจำกกำรปะทุของภูเขำไฟจะสร้ำงควำมเสียหำย
ให้กับชีวิตและทรัพย์สินของประชำชนที่ตั้งบ้ำนเรือนอยู่ใกล้เคียง ฝุ่นละอองจำกภูเขำไฟจะก่อให้เกิด
มลพิษทำงอำกำศ และมีผลเสียต่อกำรคมนำคมทำงอำกำศ)
– ลักษณะภูมิประเทศโดยรอบภูเขาไฟมีลักษณะเป็นแบบใด อธิบายพร้อมยกตัวอย่าง (แนว
คำตอบ มีลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเกำะ เนื่องจำกภูเขำไฟมักเกิดบริเวณรอยต่อระหว่ำงทวีปกับ
มหำสมุทร เมื่อขอบของแผ่นเปลือกโลกใต้มหำสมุทรมุดตัวลงใต้แผ่นเปลือกโลกส่วนที่เป็นทวีป แผ่น
เปลือกโลกที่มุดตัวลงไปจะถูกหลอมเหลวกลำยเป็นหินหนืดที่มีอุณหภูมิและแรงดันสูงมำก กลำยเป็น
ภูเขำไฟ ตัวอย่ำงเช่น ภูเขำไฟในหมู่เกำะฮำวำย)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม
(4) นักเรียนร่วมกันเขียนแผนที่ความคิดเกี่ยวกับภูเขาไฟปะทุ
4) ขั้นขยายความรู้
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับภูเขาไฟจากใบความรู้หรือหนังสือและ
วารสารทางธรณีวิทยา สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมสาหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งนา
ข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดทาเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กัน
(2) ครูเชื่อมโยงความรู้สู่อาเซียน โดยถามนักเรียนว่า รู้หรือไม่ว่าประเทศใดในอาเซียนที่มี
ภูเขาไฟมากที่สุด (อินโดนีเซีย) จากนั้นครูให้ความรู้เพิ่มเติมดังนี้
อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีภูเขาไฟมากที่สุดใน
อาเซี ยนและมากที่ สุดในโลก คื อ ประมาณ 150 ลู ก ใน
จ านวนนี้ ไ ม่ ต่ ากว่ า 127 ลู ก เป็ น ภู เ ขาไฟที่ ยั ง ไม่ ส งบ
เนื่องจากอินโดนีเซียตั้งอยู่ในแนววงแหวนไฟ ภูเขาไฟที่
สูงที่สุดในอินโดนีเซีย คือ ภูเขาไฟเซเมรู อยู่ฝั่งตะวันออก
ของเกาะชวา สูงถึง 3,676 เมตร
ส่วนประเทศฟิลิปปินส์ มีภูเขาไฟที่สวยที่สุดในโลก คือ ภูเขาไฟมายอน (mayon) อยู่ทางทิศ
ตะวันออกเฉียงใต้ของฟิลิปปินส์ ภูเขาไฟลูกนี้มีความสูงถึง 2,462 เมตร มีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยมเกือบ
สมมาตร
(3) นักเรียนค้นคว้าคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับภูเขาไฟปะทุ จากหนังสือเรียน
ภาษาต่างประเทศ หรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 288

(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี


การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– สิ่งที่เป็นสาเหตุทาให้เกิดภูเขาไฟปะทุคืออะไร
– สิ่งที่เป็นผลที่เกิดจากภูเขาไฟปะทุมีอะไรบ้าง
– ผลกระทบที่เกิดจากภูเขาไฟปะทุคืออะไร

ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภูเขาไฟปะทุ โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิดหรือ
ผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อสึนามิ
3) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปราย
ร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนสืบค้นข้อมูลความรู้เกี่ยวกับภูเขาไฟ แหล่งกาเนิด บริเวณที่เกิดบนทวีปต่าง ๆ และ
บริเวณประเทศไทย โดยนาข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดทาเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้
ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ภาพข่าวหรือเหตุการณ์เกี่ยวกับภูเขาไฟปะทุ
2. ใบกิจกรรมที่ 31 สืบค้นข้อมูลประเภทและแหล่งกาเนิดภูเขาไฟ
3. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
4. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
5. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
6. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 289

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 290

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 42
สึนามิ
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก เวลา 1 ชั่วโมง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 หินบนผิวโลกและภายในโลก
1. สาระสาคัญ
สึนามิเป็นคลื่นน้าที่เกิดขึ้นหลังจากการเกิดแผ่นดินไหวในมหาสมุทร ซึ่งโดยส่วนใหญ่สึนามิ
เกิดจากแผ่นดินไหวใต้น้าที่มีขนาดตั้งแต่ 7.5 ตามมาตราริกเตอร์ขึ้นไป
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
สืบค้นและอธิบายธรณีพิบัติภัยที่มีผลต่อมนุษย์และสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น (ว 6.1 ป. 6/3)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายการเกิดสึนามิได้ (K)
2. อธิบายผลกระทบที่เกิดจากสึนามิต่อการดาเนินชีวิตประจาวันได้ (K)
3. ระบุวิธีการป้องกันตนขณะเกิดสึนามิได้ (K)
4. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
5. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
6. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
7. สื่อสารและนาความรู้เรื่องสึนามิไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
สึนามิ วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
2. ประเมินกิจกรรม 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
ฝึกทักษะระหว่างเรียน วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
3. แบบทดสอบหลังเรียน 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
5. สาระการเรียนรู้
สึนามิ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 291

6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์ และเขียนรายงาน
เรื่องสึนามิ จากเอกสารที่เกี่ยวข้องและอินเทอร์เน็ต
ศิลปะ ตกแต่งและระบายสีภาพวาดสึนามิตามจินตนาการของ
นักเรียนให้สวยงาม จัดป้ายนิเทศแสดงผลงานเกี่ยวกับ
สึนามิและการป้องกันตนจากสึนามิ จากการศึกษาค้นคว้า
จากเอกสารที่เกี่ยวข้องและอินเทอร์เน็ต
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
สึนามิที่เรียนรู้หรือที่นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 70
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูนาเสนอภาพข่าวหรือเหตุการณ์เกี่ยวกับการเกิดสึนามิในประเทศไทยและประเทศแถบ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 มาให้นักเรียนดู แล้วให้นักเรียน
แสดงความคิดเห็นที่มีต่อภาพหรือเหตุการณ์ดังกล่าว โดยใช้คาถามนาดังนี้
– นักเรียนติดตามข่าวการเกิดสึนามิในประเทศไทยหรือไม่
– สึนามิในครั้งนั้นเกิดจากสาเหตุใด
– เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับการเกิดแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟปะทุหรือไม่ เพราะอะไร
– นักเรียนสามารถทานายการเกิดสึนามิได้หรือไม่ เพราะอะไร
2) ครูร่วมสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับคาตอบที่นักเรียนตอบ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่อง
สึนามิ
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่ง
มีขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนแล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มนาเสนอข้อมูล เกี่ยวกับสึนามิ ที่
ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง จากนั้นให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมานาเสนอข้อมูล
หน้าห้องเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทาภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้
– คลื่นสึนามิมีลักษณะการเคลื่อนที่อย่างไร (แนวคำตอบ คลื่นจะเคลื่อนที่ด้วยควำมเร็ว
จำกบริเวณน้ำลึกเข้ำสู่ชำยฝั่ง ซึ่งบริเวณชำยฝั่งจะมีระดับน้ำตื้น คลื่นจะเคลื่อนที่ช้ำลง แต่จะมีกำรยกตัว
สูงขึ้นมำก)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 292

– การเกิดแผ่นดินไหวในมหาสมุทรเกี่ยวข้องกับสึนามิอย่างไร (แนวคำตอบ สึนำมิจะ


เกิดขึ้นหลังจำกกำรเกิดแผ่นดินไหวในมหำสมุทรที่มีขนำดตั้งแต่ 7.5 ตำมมำตรำริกเตอร์ขึ้นไป)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทาภาระงานอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า
สึนามิเป็นคลื่นน้าที่เกิดขึ้นหลังจากการเกิดแผ่นดินไหวในมหาสมุทร ซึ่งโดยส่วนใหญ่สึนามิเกิดขึ้นจาก
แผ่นดินไหวใต้น้าตั้งแต่ 7.5 ตามมาตราริกเตอร์ขึ้นไป

2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับสึนามิจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครูช่วยเชื่อมโยง
ความรู้ใหม่จากบทเรียนกับความรู้เดิมที่เรียนรู้มาแล้ว ด้วยการใช้คาถามนากระตุ้นให้นักเรียนตอบจาก
ความรู้และประสบการณ์ของนักเรียน
(2) นักเรียนแบ่งกลุ่มและปฏิบัติกิจกรรม สืบค้นข้อมูลกำรเกิดสึนำมิ ตามขั้นตอนทาง
วิทยาศาสตร์โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกตดังนี้
– นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4–5 คน แล้วร่วมกันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดสึนามิและการ
ป้องกันภัยจากสึนามิ
– สมาชิกกลุ่มแต่ละคนช่วยกันสืบค้นข้อมูลตามหัวข้อที่ตนเองรับผิดชอบ โดยการสืบค้น
จากใบความรู้ที่ครูเตรียมมาให้ หรือจากหนังสือ วารสารทางธรณีวิทยา สารานุกรมวิทยาศาสตร์
สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต
– สมาชิกกลุ่มนาข้อมูลที่สืบค้นได้มารายงานให้เพื่อน ๆ สมาชิกในกลุ่มฟัง รวมทั้งร่วมกัน
อภิปรายซักถามจนคาดว่าสมาชิกทุกคนมีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน
– สมาชิกกลุ่มช่วยกันสรุปความรู้ที่ได้ทั้งหมดเป็นผลงานของกลุ่ม และช่วยกันทารายงาน
การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการเกิดสึนามิ
(3) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คาถามต่อไปนี้
– สึนามิเกิดขึ้นได้อย่างไร อธิบาย (แนวคำตอบ สึนำมิเกิดจำกกำรเกิดแผ่นดินไหวใน
มหำสมุทรที่มีขนำดตั้งแต่ 7.5 ตำมมำตรำริกเตอร์ขึ้นไป เมื่อเกิดแผ่นดินไหวอันเป็นผลมำจำกกำรเคลื่อน
ตัว อย่ำงกะทันหันในแนวดิ่งของแผ่นเปลือกโลกเป็นบริเวณกว้ำง จะทำให้น้ำในมหำสมุทรเกิดกำร
กระเพื่อมอย่ำงรุนแรง เกิดเป็นคลื่นยักษ์ขึ้น)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 293

– ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเกิดสึนามิคืออะไร ควรแก้ไขอย่างไร
(แนวคำตอบ
ผลของคลื่นสึนำมิที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีดังนี้
1) ทำให้สภำพพื้นที่ชำยฝั่งเปลี่ยนไปได้ในช่วงเวลำอันสั้น
2) สภำพที่อยู่อำศัยของสัตว์น้ำบำงประเภทเปลี่ยนแปลงไป
3) ประชำชนไร้ที่อยู่อำศัยและมีผลกระทบต่อสภำพจิตซึ่งอำจป่วยเป็นโรคจิตเวชคล้ำยกับ
เหยื่อของภัยพิบัติทุกชนิด เช่น พำยุ ไฟไหม้ น้ำท่วม ตึกถล่ม รถชน และเครื่องบินตก
4) ทำให้สิ่งก่อสร้ำงและสำธำรณูปโภคเสียหำย เช่น สำยไฟถูกทำลำย บ้ำน ที่อยู่อำศัย
โรงพยำบำล และโรงเรียนถูกน้ำท่วม
5) กระทบต่ออำชีพต่ำง ๆ เช่น ชำวประมง ธุรกิจรำยย่อย มัคคุเทศก์ และโรงแรม
วิธีกำรแก้ปัญหำ
1) ประชำสัมพันธ์และให้ควำมรู้แก่ประชำชนเรื่องกำรป้องกันและบรรเทำภัยจำกสึนำมิและ
แผ่นดินไหว
2) ติดตั้งระบบเตือนภัยสึนำมิที่สมบูรณ์เช่นเดียวกับประเทศในแถบมหำสมุทรแปซิฟิก)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม
(4) นักเรียนร่วมกันเขียนแผนที่ความคิดเกี่ยวกับสึนามิ
4) ขั้นขยายความรู้
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการเกิดสึนามิจากใบความรู้หรือ
หนังสือและวารสารทางธรณีวิทยา สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน และ
อินเทอร์เน็ตรวมทั้งนาข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดทาเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
(2) นักเรียนค้นคว้าคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับสึนามิจากหนังสือเรียน
ภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– สึนามิกับการเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟปะทุมีความสัมพันธ์กันในลักษณะใด
– ประเทศต่าง ๆ มีระบบเตือนภัยสึนามิหรือไม่ ทาอย่างไร
– ผลกระทบที่เกิดจากสึนามิส่งผลต่อมนุษย์ สิ่งมีชีวิต และสภาพแวดล้อมในลักษณะใด
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 294

ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับสึนามิ โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิดหรือผัง
มโนทัศน์
2) ครูดาเนินการทดสอบหลังเรียน โดยให้นักเรียนทาแบบทดสอบหลังเรียนเพื่อวัด
ความก้าวหน้า/ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ของนักเรียน
3) ครูเชื่อมโยงเนื้อหาจากบทเรียนนี้กับบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อให้นักเรียนเตรียมความพร้อม
ในการเรียนชั่วโมงต่อไป โดยการใช้คาถามกระตุ้น ดังนี้
– ถ้านักเรียนต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก นักเรียนสามารถใช้
บริการผ่านดาวเทียมประเภทใด (แนวคำตอบ ดำวเทียมสำรวจทรัพยำกรธรรมชำติ)
4) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อข้างขึ้น–ข้างแรม
5) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปราย
ร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
1) นักเรียนสืบค้นข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการเกิดสึนามิ การสร้างระบบเตือนภัยป้องกันก่อน
และขณะเกิดสึนามิ โดยนาข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดทาเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ
ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
2) ครูให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) จาก
สถานการณ์เรื่อง ป้ายเตือนสึนามิ โดยใช้แนวการสอนในคู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ภาพข่าวหรือเหตุการณ์เกี่ยวกับการเกิดสึนามิ
2. ใบกิจกรรมที่ 32 สืบค้นข้อมูลการเกิดสึนามิ
3. แบบทดสอบหลังเรียน
4. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
5. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
6. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
7. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 295

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 296

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ปรากฏการณ์โลกและเทคโนโลยีอวกาศ เวลา 9 ชั่วโมง

ผังมโนทัศน์เป้าหมายการจัดการเรียนรู้และขอบข่ายภาระงาน

ความรู้
1. ข้างขึ้น–ข้างแรม
ทักษะ/กระบวนการ
2. ฤดูกาล
1. การสังเกต
3. จันทรุปราคาและสุริยุปราคา
2. การทดลอง
4. การเดินทางไปอวกาศ
3. การนาความรู้ไปใช้ในชีวิตประจาวัน
5. ประโยชน์ของการสารวจอวกาศ

ปรากฏการณ์โลกและ
เทคโนโลยีอวกาศ

ภาระงาน/ชิ้นงาน คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. สังเกตการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง 1. ใฝ่เรียนรู้
ของดวงจันทร์ 2. มุ่งมั่นในการทางาน
2. ทดลองสาเหตุการเกิดฤดูกาล 3. มีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์
3. สร้างแบบจาลองการเกิด 4. มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์
จันทรุปราคา 5. เห็นคุณค่าของการนาความรู้
4. สร้างแบบจาลองการเกิด ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจาวัน
สุริยุปราคา
5. สังเกตการเคลื่อนที่ของจรวด
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 297

ผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design


หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ปรากฏการณ์โลกและเทคโนโลยีอวกาศ

ขั้นที่ 1 ผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
ตัวชี้วัดชั้นปี
1. สร้างแบบจาลองและอธิบายการเกิดฤดู ข้างขึ้น–ข้างแรม สุริยุปราคา จันทรุปราคา และนาความรู้
ไปใช้ประโยชน์ (ว 7.1 ป. 6/1)
2. สืบค้น อภิปรายความก้าวหน้าและประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศ (ว 7.2 ป. 6/1)
ความเข้าใจที่คงทนของนักเรียน คาถามสาคัญที่ทาให้เกิดความเข้าใจที่คงทน
นักเรียนจะเข้าใจว่า...
1. ข้างขึ้น–ข้างแรมเป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์ 1. ข้างขึ้น–ข้างแรมเกิดขึ้นได้อย่างไร
โคจรรอบโลก โดยขณะที่โคจรไปนั้นก็ได้รับ 2. เหตุใดส่วนต่าง ๆ ของโลกจึงได้รับความร้อน
แสงจากดวงอาทิตย์และสะท้อนมายังโลก ทาให้ จากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน
คนบนโลกมองเห็นแสงที่สะท้อนจากดวง 3. บริเวณซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้มีฤดูกาล
อาทิตย์แตกต่างกันตามตาแหน่งของดวงจันทร์ เหมือนหรือแตกต่างจากบริเวณเส้นศูนย์สูตร
ที่โคจรรอบโลก เพราะเหตุใด
2. เนื่องจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ในลักษณะที่ 4. การเกิดจันทรุปราคา โลก ดวงจันทร์ และ
แกนของโลกเอียง 23.5 องศากับแนวตั้งฉาก ดวงอาทิตย์มีการโคจรในลักษณะใด
ของระนาบทางโคจร ทาให้ส่วนต่าง ๆ ของโลก 5. การเกิดสุริยุปราคา โลก ดวงจันทร์ และ
ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน ดวงอาทิตย์มีการโคจรในลักษณะใด
ลักษณะดังกล่าวทาให้เกิดฤดูกาลขึ้นบนโลก 6. เงามืด เงามัวแตกต่างกันในลักษณะใด
3. เมื่อโลกโคจรมาอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับ 7. ยานพาหนะที่ใช้ในการสารวจอวกาศมีอะไรบ้าง
ดวงจันทร์ เงาของโลกจะทาบไปบนดวงจันทร์ และมีหลักการทางานและภารกิจที่แตกต่างกัน
ทาให้คนบนโลกเห็นดวงจันทร์มืดทั้งดวงหรือ ในลักษณะใด
บางส่วน ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า จันทรุปราคา 8. มนุษย์ได้รับประโยชน์โดยตรงจากการสารวจ
4. เมื่อดวงจันทร์โคจรมาอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์ อวกาศในด้านใด
กับโลกเงาของดวงจันทร์จะทาบไปบนโลก 9. การสารวจอวกาศมีข้อดี ข้อเสียอะไรบ้าง
ทาให้คนบนโลกเห็นดวงอาทิตย์มืดทั้งดวง
หรือบางส่วน ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า สุริยุปราคา
5. การศึกษาด้านอวกาศมีความเจริญก้าวหน้า
มาเป็นลาดับ มนุษย์ได้ประดิษฐ์เครื่องมือและ
ยานพาหนะต่าง ๆ ที่ช่วยในการศึกษา เพื่อช่วย
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 298

ให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับดวงดาวต่าง ๆ มากขึ้น
6. มนุษย์ได้รับประโยชน์จากการสารวจอวกาศ
โดยผ่านระบบดาวเทียม
ความรู้ของนักเรียนที่นาไปสู่ความเข้าใจที่คงทน ทักษะ/ความสามารถของนักเรียนที่จะนาไปสู่
นักเรียนจะรู้ว่า... ความเข้าใจที่คงทนนักเรียนจะสามารถ...
1. คาสาคัญ ได้แก่ ข้างขึ้น–ข้างแรม ฤดูกาล 1. อธิบายการเกิดข้างขึ้น–ข้างแรม
จันทรุปราคา สุริยุปราคา อวกาศ ยานอวกาศ 2. สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะของ
2. ปรากฏการณ์ที่เห็นส่วนสว่างของดวงจันทร์ ดวงจันทร์
ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนเต็มดวงเรียกว่า ข้างขึ้น และ 3. อธิบายการเกิดฤดูกาลบนโลก
เห็นส่วนสว่างของดวงจันทร์ค่อย ๆ ลดลง 4. อธิบายการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาและ
จนมองไม่เห็นดวงจันทร์เลย เรียกว่า ข้างแรม สุริยุปราคา
3. เนื่องจากแกนของโลกเอียงทามุม 23.5 องศา 5. สังเกตการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาและ
ขณะที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ทาให้ส่วน สุริยุปราคาบนท้องฟ้า
ต่าง ๆ บนโลกได้รับความร้อนไม่เท่ากัน บริเวณ 6. อธิบายความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศ
ที่แสงตกกระทบเป็นมุมฉากอากาศจะร้อน 7. อธิบายประโยชน์ที่ได้รับจากการสารวจอวกาศ
ส่วนบริเวณที่แสงตกกระทบเป็นมุมเฉียงอากาศ
จะเย็นลง ลักษณะดังกล่าวทาให้เกิดฤดูกาล
ขึ้นบนโลก
4. จันทรุปราคาเกิดจากโลกโคจรอยู่ระหว่าง
ดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ ทาให้โลกบังแสง
อาทิตย์เกิดเป็นเงามืดบนดวงจันทร์
5. สุริยุปราคาเกิดจากดวงจันทร์โคจรอยู่ระหว่าง
ดวงอาทิตย์กับโลก ทาให้เงาดวงจันทร์บังแสง
อาทิตย์ทจี่ ะส่องมายังโลก คนบนโลกทีอ่ ยู่ใต้เงา
ของดวงจันทร์จึงเห็นดวงอาทิตย์มืดไป
6. การสารวจอวกาศต้องใช้เครื่องมือและยานพาหนะ
พิเศษ เช่น จรวด ดาวเทียม ยานอวกาศ ยานขนส่ง
อวกาศ และสถานีอวกาศ เพือ่ ช่วยในการเก็บ
ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับอวกาศ
7. การสารวจอวกาศทาให้มนุษย์ได้รับประโยชน์
มากมายจากการใช้บริการผ่านดาวเทียม 3 ระบบ
คือ ดาวเทียมสื่อสาร ดาวเทียมสารวจ
ทรัพยากรธรรมชาติ และดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 299

ขั้นที่ 2 ภาระงานและการประเมินผลการเรียนรู้ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีผลการเรียนรู้
ตามที่กาหนดไว้อย่างแท้จริง
1. ภาระงานที่นักเรียนต้องปฏิบัติ
– สังเกตการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของดวงจันทร์
– ทดลองสาเหตุการเกิดฤดูกาล
– สร้างแบบจาลองการเกิดจันทรุปราคา
– สร้างแบบจาลองการเกิดสุริยุปราคา
– สังเกตการเคลื่อนที่ของจรวด
2. วิธีการและเครือ่ งมือประเมินผลการเรียนรู้
วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ เครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
– การทดสอบ – แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
– การสนทนาซักถาม – แบบบันทึกการสนทนา
– การวัดเจตคติ – แบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์และ
เจตคติต่อวิทยาศาสตร์
– การวัดทักษะ – แบบวัดทักษะ/กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
– การประเมินตนเอง – แบบประเมินตนเองของนักเรียน
3. สิ่งที่มุ่งประเมิน
– ความสามารถในการอธิบายชี้แจงการแปลความและตีความการประยุกต์ดัดแปลงและนาไปใช้
การมีมุมมองที่หลากหลายการให้ความสาคัญใส่ใจในความรู้สึกของผู้อื่นและการรู้จักตนเอง
– เจตคติทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล
– ทักษะ/กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
– ทักษะการคิด
– ทักษะการแก้ปัญหา
– พฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
ขั้นที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้
–แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 43 ข้างขึ้น–ข้างแรม 2 ชั่วโมง
–แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 44 ฤดูกาล 2 ชั่วโมง
–แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 45 จันทรุปราคาและสุริยุปราคา 2 ชั่วโมง
–แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 46 การเดินทางไปอวกาศ 2 ชั่วโมง
–แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 47 ประโยชน์ของการสารวจอวกาศ 1 ชั่วโมง
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 300

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 43
ข้างขึ้น–ข้างแรม
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ เวลา 2 ชั่วโมง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ปรากฏการณ์โลกและเทคโนโลยีอวกาศ

1. สาระสาคัญ
เมื่อดวงจันทร์โคจรรอบโลกในขณะที่โลกก็โคจรรอบดวงอาทิตย์ทาให้เกิดข้างขึ้น–ข้างแรม
และขณะที่ดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองก็โคจรรอบโลก 1 รอบโดยใช้เวลาเท่ากัน จึงทาให้ผู้ที่อยู่บนโลก
มองเห็นดวงจันทร์ด้านเดียวเสมอ
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
สร้างแบบจาลองและอธิบายการเกิดฤดู ข้างขึ้น–ข้างแรม สุริยปุ ราคา จันทรุปราคา และนา
ความรู้ไปใช้ประโยชน์ (ว 7.1 ป. 6/1)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายเกี่ยวกับการเกิดข้างขึ้น–ข้างแรมได้ (K)
2. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
3. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
4. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สื่อสารและนาความรู้เรื่องข้างขึ้น–ข้างแรมไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
ข้างขึ้น–ข้างแรม วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
2. ประเมินกิจกรรม 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
ฝึกทักษะระหว่างเรียน วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
3. ทดสอบก่อนเรียน 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม

5. สาระการเรียนรู้
ข้างขึ้น–ข้างแรม
– เวลาขึ้น–เวลาตกของดวงจันทร์
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 301

6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับประเพณี
วัฒนธรรมในท้องถิ่นที่เกี่ยวกับข้างขึ้น–ข้างแรมจาก
ประสบการณ์ของนักเรียน
ศิลปะ ตกแต่งและระบายสีภาพวาดที่เกี่ยวกับข้างขึ้น–ข้างแรม
ตามประสบการณ์หรือจินตนาการของนักเรียนให้สวยงาม
จัดป้ายนิเทศแสดงผลงานเกี่ยวกับข้างขึ้น–ข้างแรมจาก
การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและอินเทอร์เน็ต
สังคมศึกษา ศาสนา แสดงบทบาทสมมุติเกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมใน
และวัฒนธรรม ท้องถิ่นที่เกี่ยวกับข้างขึ้น–ข้างแรม
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
ข้างขึ้น–ข้างแรมและประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่นที่
เกี่ยวกับข้างขึ้น–ข้างแรมที่ได้เรียนรู้หรือที่นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 71
ครูดาเนินการทดสอบก่อนเรียนโดยให้นักเรียนทาแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อตรวจสอบความ
พร้อมและพื้นฐานของนักเรียน
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเรื่องราวประเพณีและวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับดวงจันทร์ โดย
ครูตั้งประเด็นคาถามดังนี้
– ทุกคืนที่เราเห็นดวงจันทร์เต็มดวงนั้น เรามองเห็นภาพในดวงจันทร์เหมือนเดิมหรือไม่
นักเรียนคิดว่าเป็นเพราะเหตุใด
– ทุกคืนเราเห็นดวงจันทร์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเพราะอะไร
– เราใช้ดวงจันทร์เป็นเกณฑ์ในการกาหนดวันที่เกี่ยวกับประเพณีหรือวัฒนธรรมใดบ้าง
2) นักเรียนร่วมกันตอบคาถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคาตอบของคาถาม เพื่อเชื่อมโยง
ไปสู่การเรียนรู้เรื่อง ข้างขึ้น–ข้างแรม
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่งมี
ขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนแล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนในกลุ่มนาเสนอข้อมูลเกี่ยวกับข้างขึ้น –
ข้างแรม ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง จากนั้นให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมา
นาเสนอข้อมูลหน้าห้องเรียน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 302

(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทาภาระงานที่ได้รั บมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก


การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้
– ประเพณีหรือ วัฒนธรรมใดของไทยที่ตรงกับวันดวงจั นทร์เต็มดวง (แนวคำตอบ
ประเพณีลอยกระทง)
– คืนที่มองไม่เห็นดวงจันทร์ส่องสว่างบนท้องฟ้าตรงกับวันใด (แนวคำตอบ แรม 15
คำ)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทาภาระงานอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า
เมื่อดวงจันทร์โคจรรอบโลกในขณะที่โลกก็โคจรรอบดวงอาทิตย์ทาให้เกิดข้างขึ้น–ข้างแรม
2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาข้างขึ้น–ข้างแรมจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครูช่วยอธิบาย
ให้นักเรียนเข้าใจว่า การที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกทาให้ดวงจันทร์เปลี่ยนแปลงตาแหน่งไปทุกวัน
(2) แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5–6 คนปฏิบัติกิจกรรม สังเกตการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของดวง
จันทร์ ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกตดังนี้
– ทาการสังเกตในห้องมืด เปิดโคมไฟแล้วชูลูกบอลไปข้างหน้าให้สูงเหนือศีรษะเล็กน้อย
และสูงในระดับเดียวกับแสงไฟจากโคมไฟ หันหน้าไปทางโคมไฟ (กาหนดให้นักเรียนเป็นผู้ที่มองดวง
จันทร์อยู่บนโลก โคมไฟเป็นเหมือนดวงอาทิตย์ให้แสงสว่าง ลูกบอลเป็นเหมือนดวงจันทร์)
– หมุนรอบตัวเองช้า ๆ จากซ้ายมือไปขวามือครั้งละ 90 องศา ขณะหมุนรอบตัวเองถือลูก
บอลอยู่ตรงหน้าตลอดเวลา สังเกตส่วนสว่างและส่วนมืดของลูกบอลขณะหมุนตัว จนกระทั่งกลับมาที่
ตาแหน่งเริ่มต้น บันทึกผลพร้อมวาดภาพประกอบ
– อภิปรายและร่วมกันสรุปผลการสังเกต
(3) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากใบกิจกรรม
(4) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบั ติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา

ชั่วโมงที่ 72
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คาถามต่อไปนี้
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 303

– เพราะเหตุใดจึงให้นักเรียนถือลูกบอลอยู่ตรงหน้าตลอดเวลา (แนวคาตอบ เพราะเรา


มองเห็นดวงจันทร์ด้านเดียวเท่านั้น)
– ถ้าลูกบอลเป็นดวงจันทร์ที่โคจรรอบโลก ตาแหน่งใดที่เห็นดวงจันทร์มืดทั้งดวง และสว่าง
ทั้งดวง (แนวคาตอบ ตาแหน่งที่ 0 องศา และ 360 องศา เห็นดวงจันทร์มืดทั้งดวงและที่ตาแหน่งที่ 180
องศา เห็นดวงจันทร์สว่างทั้งดวง)
– การหมุนรอบตัวเองของดวงจันทร์ 1 รอบ กินเวลาประมาณเท่าใด (แนวคาตอบ ประมาณ
29–30 วัน)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า การที่คนบน
โลกมองเห็นดวงจันทร์ได้ เพราะดวงจันทร์สะท้อนแสงที่ได้รับจากดวงอาทิตย์มายังโลก และการที่
ดวงจันทร์โคจรรอบโลก ทาให้คนบนโลกเห็นส่วนสว่างของดวงจันทร์แตกต่างกัน
4) ขั้นขยายความรู้
(1) ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องการเกิดข้างขึ้น–ข้างแรม และเวลาขึ้น–เวลาตกของดวงจันทร์
โดยใช้แผนภาพการเกิดข้างขึ้น–ข้างแรม และแผนภาพการโคจรของดวงจันทร์รอบโลกประกอบการ
อธิบาย
(2) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับข้างขึ้น–ข้างแรม จาก
หนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– ข้างขึ้น–ข้างแรมเกิดขึ้นได้อย่างไร
– ถ้านักเรียนอยู่บนดวงจันทร์แล้วมองมายังโลก นักเรียนจะมองเห็นปรากฏการณ์ข้างขึ้น–
ข้างแรมหรือไม่ เพราะเหตุใด
– เดือนเต็มและเดือนดับคืออะไร
– นักเรียนคิดว่า 1 ปีมีข้างขึ้นกี่ครั้ง ข้างแรมกี่ครั้ง
ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับข้างขึ้น–ข้างแรม โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิด
หรือผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อฤดูกาล โดยใช้ใบงาน สำรวจก่อนเรียน 15 ที่ครู
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 304

จัดเตรียมไว้ให้ประกอบการศึกษาค้นคว้า (ในสื่อการเรียนรู้ PowerPoint วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา


ปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด)
3) ครูอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมและมอบหมายให้นักเรียนไปปฏิบัติกิจกรรมที่บ้าน
พร้อมทั้งให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปรายร่วมกัน
ในชั้นเรียนครั้งต่อไป
8. กิจกรรมเสนอแนะ
1. ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเรื่องข้างขึ้น–ข้างแรมจากหนังสือ วารสาร สารานุกรมวิทยาศาสตร์
สารานุกรมสาหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งนาข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดทาเป็นรายงาน หรือจัด
ป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
2. นักเรียนร่วมกันแสดงบทบาทสมมุติเกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่นที่เกี่ยวกับข้างขึ้น–
ข้างแรม
9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. แบบทดสอบก่อนเรียน
2. ใบกิจกรรมที่ 33 สังเกตการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของดวงจันทร์
3. ใบงานสารวจก่อนเรียน 15
4. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
5. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
6. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
7. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 305

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 44
ฤดูกาล
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ เวลา 2 ชั่วโมง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ปรากฏการณ์โลกและเทคโนโลยีอวกาศ

1. สาระสาคัญ
โลกมีสัณฐานกลมและโคจรรอบดวงอาทิตย์ในลักษณะที่แกนของโลกเอียง 23.5 องศากับ
แนวตั้งฉากของระนาบทางโคจร ลักษณะดังกล่าวทาให้เกิดฤดูกาลขึ้นบนโลก
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
สร้างแบบจาลองและอธิบายการเกิดฤดู ข้างขึ้น–ข้างแรม สุริยปุ ราคา จันทรุปราคา และ
นาความรู้ไปใช้ประโยชน์ (ว 7.1 ป. 6/1)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ทดลองและอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดฤดูกาลได้ (K)
2. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
3. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
4. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สื่อสารและนาความรู้เรื่องฤดูกาลไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
ฤดูกาล วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
2. ประเมินกิจกรรม 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
ฝึกทักษะระหว่างเรียน วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม

5. สาระการเรียนรู้
ฤดูกาล
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 306

6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับฤดูกาล
จากประสบการณ์ของนักเรียน
ศิลปะ ตกแต่งและระบายสีภาพวาดที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง
ของฤดูกาลต่าง ๆ ที่นักเรียนสนใจให้สวยงาม จัดป้ายนิเทศ
แสดงผลงานเกี่ยวกับฤดูกาลต่าง ๆ จากการศึกษาค้นคว้า
จากเอกสารที่เกี่ยวข้องและอินเทอร์เน็ต
สังคมศึกษา ศาสนา สนทนา พูดคุยเกี่ยวกับฤดูกาลต่าง ๆ ของประเทศสมาชิก
และวัฒนธรรม อาเซียน
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
ฤดูกาลที่ได้เรียนรู้หรือที่นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 73
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับการเกิดฤดูกาลบนโลก โดยครูใช้คาถามกระตุ้นดังนี้
– สาเหตุที่ทาให้สภาพภูมิอากาศในแต่ละช่วงเดือนมีความแตกต่างกันคืออะไร
– ผลของการได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ของโลกในลักษณะต่าง ๆ กันนั้น นักเรียนคิดว่า
มีผลต่อบรรยากาศโลกในลักษณะใด
2) นักเรียนร่วมกันตอบคาถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคาตอบของคาถามเพื่อเชื่อมโยง
ไปสู่การเรียนรู้เรื่อง ฤดูกาล
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่ง
มีขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูให้นักเรียนนาใบงาน สำรวจก่อนเรียน 15 ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าที่
บ้านมาอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทากิจกรรมที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับกิจกรรม ดังนี้
– นักเรียนคิดว่าพื้นที่ต่าง ๆ บนโลก มีสภาพภูมิอากาศเหมือนกันหรือไม่ เพราะอะไร (แนว
คำตอบ ไม่เหมือนกัน เพรำะส่วนต่ำง ๆ ของโลกได้รับควำมร้อนและแสงสว่ำงจำกดวงอำทิตย์ไม่เท่ำกัน)
– การหมุนรอบตัวเองและการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลก ทาให้โลกได้รับแสงสว่างจาก
ดวงอาทิตย์ในลักษณะใด (แนวคำตอบ ได้รับแสงสว่ำงไม่เท่ำกัน เนืองจำกมุมทีแสงอำทิตย์ตกกระทบกับ
ผิวโลกแตกต่ำงกัน)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 307

(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทากิจกรรมอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูใ ห้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับกิจกรรม สำรวจก่อนเรียน 15 โดยครูช่วยอธิบายให้
นักเรียนเข้าใจว่า ฤดูกาลเกิดจากการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์จากซ้ายไปขวา และขณะที่โลกโคจรรอบ
ดวงอาทิตย์นนั้ แกนของโลกเอียงทามุม 23.5 องศา ทาให้ส่วนต่าง ๆ บนโลกได้รับความร้อนและแสงสว่าง
จากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน

2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาฤดูกาลจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครูช่วยอธิบายให้
นักเรียนเข้าใจว่า การที่ส่วนต่าง ๆ บนโลกได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน ทาให้เกิดฤดูกาล
ต่าง ๆ ขึ้น
(2) แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5–6 คน ปฏิบัตกิ ิจกรรม ทดลองสาเหตุการเกิดฤดูกาล ตามขั้นตอน
ทางวิทยาศาสตร์ดังนี้
ขั้นที่ 1 กาหนดปัญหา
– กระดาษดาบนกระดาษลูกฟูกที่วางราบกับพื้นกับที่วางทามุม 90 องศาได้รับความร้อน
จากโคมไฟเท่ากันหรือไม่
ขั้นที่ 2 สมมุติฐาน
– กระดาษดาบนกระดาษลูกฟูกที่วางราบกับพื้นกับที่วางทามุม 90 องศา จะได้รับความร้อน
ไม่เท่ากัน
ขั้นที่ 3 ทดลอง
– เตรียมกระดาษ 2 แผ่น โดยใช้กระดาษดาวางบนกระดาษลูกฟูก นาแผ่นที่ 1 วางราบกับพื้น
แผ่นที่ 2 วางทามุม 90 องศากับพื้น เปิดไฟจากโคมไฟแทนแสงจากดวงอาทิตย์
– ปิดไฟแล้วเปรียบเทียบความร้อนของกระดาษ โดยใช้ความรู้สึกของนักเรียนจากการสัมผัส
– วัดอุณหภูมิโดยเสียบเทอร์มอมิเตอร์ใต้กระดาษดา วัดความร้อนที่เวลา 2, 4, 6, 8, 10 นาที
บันทึกผล
– อภิปราย วิเคราะห์ และสรุปผลการทดลอง
ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ผลการทดลอง
– แปลความหมายข้อมูลที่ได้จากตารางบันทึกผลการทดลอง
– นาข้อมูลที่ได้มาพิจารณา เพือ่ อธิบายว่าเป็นไปตามที่นักเรียนคาดคะเนไว้หรือไม่
ขั้นที่ 5 สรุปผลการทดลอง
– นักเรียนร่วมกันสรุปผลการทดลอง แล้วเขียนเป็นรายงานสรุปผลการทดลองส่งครู
(3) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 308

ชั่วโมงที่ 74
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คาถามต่อไปนี้
– อากาศร้อนและอากาศหนาวบริเวณขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่า
บริเวณเส้นศูนย์สูตร เพราะเหตุใด (แนวคาตอบ เนื่องจากแกนโลกเอียงทามุม 23.5 องศา กับระนาบวง
โคจรของโลกทาให้รับแสงจากดวงอาทิตย์ในแนวเฉียง จึงมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิมากกว่าบริเวณ
เส้นศูนย์สูตร)
– นักเรียนทราบหรือไม่ว่า ประเทศไทยมีกี่ฤดูกาล ได้แก่ฤดูใดบ้าง (แนวคาตอบ มี 3 ฤดูกาล
ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า อุณหภูมิของ
กระดาษดาบนกระดาษลูกฟูกที่วางราบกับพื้นจะสูงกว่าอุณหภูมิของกระดาษดาบนกระดาษลูกฟูกที่วาง
ทามุม 90 องศากับพื้น เปรียบได้กับบริเวณของโลกที่ได้รับแสงตั้งฉากกับแสงอาทิตย์ จะได้รับพลังงาน
ความร้อนจากดวงอาทิตย์มากกว่าบริเวณของโลกที่รับจากแสงอาทิตย์ในแนวเฉียง
4) ขั้นขยายความรู้
(1) ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเกิดฤดูกาลบนโลกและประเทศไทย จากนั้นให้นักเรียน
สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับฤดูกาลจากหนังสือ วารสาร สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยสาหรับ
เยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งนาข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดทาเป็นรายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ
ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
(2) ครูเชื่อมโยงความรู้สู่อาเซียน โดยครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับฤดูกาลของประเทศ
ต่าง ๆ ในประชาคมอาเซียน และให้ความรู้เพิ่มเติมดังนี้
อินโดนีเซีย มีอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร จึงมี 2 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูร้อน (เดือนพฤษภาคมถึง
ตุลาคม) และฤดูฝน (เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน) อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 20–30 องศาเซลเซียส
เวียดนำม อยู่ในเขตมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะภูมิศาสตร์ของประเทศแตกต่างกัน ส่งผล
ให้ภาคเหนือมีฤดูกาลถึง 4 ฤดู ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ส่วนภาคกลางและ
ภาคใต้มีสภาพภูมิอากาศที่ค่อนข้างร้อนตลอดทั้งปี จึงมีเพียง 2 ฤดู ได้แก่ ฤดูฝนและฤดูแล้ง อุณหภูมิ
เฉลี่ยประมาณ 22 องศาเซลเซียส
มำเลเซีย อยู่ในเขตร้อนบริเวณเส้นศูนย์สูตร จึงมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น อากาศร้อนอบอุ่นและ
ชื้นตลอดทั้งปี ลักษณะอากาศคล้ายทางภาคใต้ของไทย อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 28 องศาเซลเซียส
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 309

บรูไนดำรุสซำลำม มีลักษณะอากาศร้อนชื้น ฝนตกชุกตลอดทั้งปี ฝนตกชุกมากเป็นพิเศษช่วง


เดือนกันยายน–มกราคม ส่วนช่วงเดือนมีนาคม– เมษายน จะเป็นช่วงที่อากาศเย็นสบายที่สุด อุณหภูมิ
เฉลี่ยอยู่ที่ 28–32 องศาเซลเซียส
ลำว อยู่ในเขตร้อนชื้น ทางตอนเหนืออากาศหนาวเย็น ทางตอนกลางและตอนใต้คล้ายคลึงกับ
ประเทศไทย คือ มีภูมิอากาศแบบป่าฝนเมืองร้อน ฝนตกเกือบตลอดปี ประกอบกับได้รับอิทธิพลจากลม
มรสุมในทะเลจีนใต้ จึงทาให้แบ่งสภาพภูมิอากาศได้เป็น 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน เริ่มต้นตั้งแต่เดือน
กุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม และฤดูหนาว เริ่มต้นตั้งแต่
เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม
(3) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับฤดูกาลจากหนังสือ
เรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– บริเวณใดของโลกที่ได้รับแสงตรงและแสงเฉียงจากดวงอาทิตย์ทั้ง 2 บริเวณ ได้รับความ
ร้อนจากดวงอาทิตย์เหมือนหรือแตกต่างกัน เพราะอะไร
– บริเวณซีกโลกทางเหนือและซีกโลกทางใต้จะเข้าสู่ฤดูกาลที่เหมือนหรือแตกต่างกัน เพราะ
อะไร
– อากาศร้อนและอากาศหนาวบริเวณขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่า
บริเวณเส้นศูนย์สูตร เพราะเหตุใด
– ถ้าแกนของโลกตั้งตรงไม่เอียงทามุม 23.5 องศาแล้ว นักเรียนคิดว่าจะเกิดฤดูกาลขึ้นบน
โลกหรือไม่ เพราะอะไร

ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับฤดูกาล โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่ความคิดหรือผัง
มโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อจันทรุปราคาและสุริยุปราคา
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 310

3) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปราย


ร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนฝึกสังเกตการเกิดฤดูกาลบนโลก โดยทาการทดลองคล้ายกับกิจกรรมที่เรียนรู้ไปแล้ว
แต่ใช้ลูกโลกจาลองเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้น บันทึกข้อมูลที่ได้แล้วนาเสนอหน้าชั้นเรียน

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ใบงานสารวจก่อนเรียน 15
2. ใบกิจกรรมที่ 34 ทดลองสาเหตุการเกิดฤดูกาล
3. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
4. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
5. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
6. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 311

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 45
จันทรุปราคาและสุริยุปราคา
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ เวลา 2 ชั่วโมง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ปรากฏการณ์โลกและเทคโนโลยีอวกาศ

1. สาระสาคัญ
เมื่อโลกโคจรมาอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์เงาของโลกจะพาดไปบังดวงจันทร์
ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า การเกิดจันทรุปราคา และเมื่อดวงจันทร์โคจรเข้ามาอยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์
คนบนโลกจะมองเห็นดวงอาทิตย์ถูกบัง ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า การเกิดสุริยุปราคา
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
สร้างแบบจาลองและอธิบายการเกิดฤดู ข้างขึ้น–ข้างแรม สุริยปุ ราคา จันทรุปราคา และนา
ความรู้ไปใช้ประโยชน์ (ว 7.1 ป. 6/1)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายการเกิดเงามืดและเงามัวได้ (K)
2. อธิบายการเกิดจันทรุปราคาและสุริยุปราคาได้ (K)
3. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
4. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
5. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
6. สื่อสารและนาความรู้เรื่องจันทรุปราคาและสุริยุปราคาไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
จันทรุปราคาและ วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
สุริยุปราคา 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
2. ประเมินกิจกรรม วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
ฝึกทักษะระหว่างเรียน 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
5. สาระการเรียนรู้
จันทรุปราคา
สุริยุปราคา
–พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 312

6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับประเพณี
วัฒนธรรมในท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการเกิดจันทรุปราคาและ
การเกิดสุริยุปราคาจากประสบการณ์ของนักเรียน
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
การเกิดสุริยุปราคาและการเกิดจันทรุปราคาที่ได้เรียนรู้
หรือที่นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 75
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูถามคาถามนักเรียน เพื่อกระตุ้นความสนใจ เช่น
– ปรากฏการณ์จันทรุปราคาที่เกิดขึ้นนั้น เนื่องจากการโคจรของโลก ดวงจันทร์ และดวง
อาทิตย์มีลักษณะใด
2) นักเรียนร่วมกันตอบคาถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคาตอบของคาถาม เพื่อเชื่อมโยง
ไปสู่การเรียนรู้เรื่อง จันทรุปราคาและสุริยุปราคา
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่ง
มีขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครู แ บ่ ง กลุ่ ม นั ก เรี ย นแล้ ว เปิ ด โอกาสให้ นั ก เรี ย นในกลุ่ ม น าเสนอข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ
จันทรุปราคาและสุริยุปราคา ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง จากนั้นให้แต่ละ
กลุ่มส่งตัวแทนมานาเสนอข้อมูลหน้าห้องเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทาภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้
– จั นทรุ ป ราคาเกิ ดขึ้ นเมื่ อ ใด และเกิ ด ขึ้ น ได้ อ ย่า งไร (แนวค ำตอบ เกิ ด ขึ้ นในตอน
กลำงคืนของวันขึ้น 15 คำ หรือวันแรม 15 คำ เกิดขึ้นจำกกำรทีดวงอำทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรมำอยู่
ในแนวเดียวกัน)
– การเกิดสุริยุปราคาจะมีผลกระทบต่อพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตหรือไม่ ในลักษณะใด
(แนวคำตอบ มีผลกระทบต่อสัตว์บำงชนิด เช่น นกรีบบินกลับรัง เพรำะเข้ำใจว่ำเป็นเวลำคำแล้ว)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทาภาระงานอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 313

(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า


จันทรุปราคาเป็นปรากฏการณ์ที่ เกิดขึ้นในเวลากลางคืน เกิดจากการที่ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์
โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน โดยโลกอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ สุริยุปราคาเป็นปรากฏการณ์ที่
เกิดขึ้นในเวลากลางวัน เกิดจากการที่ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน โดยดวง
จันทร์อยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก
2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาจันทรุปราคาและสุริยุปราคาจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครู
ช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า จันทรุปราคาเกิดขึ้นในตอนกลางคืน ส่วนสุริยุปราคาเกิดขึ้นใน
ตอนกลางวัน
(2) แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5–6 คนปฏิบัติกิจกรรม สร้างแบบจาลองการเกิดจันทรุปราคา
ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกตดังนี้
– เจาะรูเล็ก ๆ ที่ลูกปิงปองและลูกบอลพลาสติก แล้วใช้ไม้เสียบเสียบไว้สาหรับถือ ใช้เทป
กาวติดให้แน่นกันไม่ให้หลุด
– สร้างแบบจาลองการเกิดจันทรุปราคา โดยทาการสังเกตในห้องมืด วางไฟฉายไว้บนโต๊ะ
ส่งตัวแทนให้ถือลูกบอลพลาสติกระหว่างไฟฉายและลูกปิงปอง เปิดไฟฉายให้ส่องผ่านลูกบอลพลาสติก
โดยให้เงาจากลูกบอลพลาสติกทอดไปยังลูกปิงปอง สังเกตและบันทึกผล
(3) แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5–6 คน ปฏิบัตกิ ิจกรรม สร้างแบบจาลองการเกิดสุริยุปราคา
ตามขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกตดังนี้
– ทาการสังเกตในห้องมืดเช่นเดียวกับการศึกษาการเกิดจันทรุปราคา
– สร้างแบบจาลองการเกิดสุริยุปราคา โดยนาไฟฉายวางบนโต๊ะ วัดขนาดของลูกปิงปองกับ
กระจกไฟฉาย ปิดตาข้างเดียวแล้วปรับระยะใกล้–ไกล เพื่อให้ลูกปิงปองมีขนาดใกล้เคียงกับกระจกไฟ
ฉาย เมื่อได้ระยะแล้วเปิดไฟให้ส่องผ่านลูกปิงปอง ค่อย ๆ เลื่อนลูกปิงปองผ่านหน้าไฟฉาย ให้นักเรีย น
เป็นผู้สังเกตบนโลก บันทึกผลการสังเกต
(4) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากใบกิจกรรม
(5) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา

ชั่วโมงที่ 76
3) ขัน้ อธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คาถามต่อไปนี้
กิจกรรมสร้างแบบจาลองการเกิดจันทรุปราคา
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 314

– ถ้าให้เปรียบเทียบแสงจากไฟฉาย ลูกบอลพลาสติก และลูกปิงปอง กับดวงอาทิตย์ โลก


และดวงจันทร์ ของแต่ละอย่างเทียบได้กับอะไร (แนวคาตอบ ไฟฉายเทียบได้กับดวงอาทิตย์ ลูกบอล
พลาสติกเทียบได้กับโลก ลูกปิงปองเทียบได้กับดวงจันทร์)
– เมื่อเงาของลูกบอลพลาสติกตกไปบนลูกปิงปอง เรียกว่าเกิดปรากฏการณ์ใด (แนวคาตอบ
ปรากฏการณ์จันทรุปราคา)
กิจกรรมสร้างแบบจาลองการเกิดสุริยุปราคา
– นักเรียนมองเห็นดวงอาทิตย์มีรูปร่างอย่างไร เมื่อลูกปิงปองบังหน้ากระจกไฟฉาย (แนว
คาตอบ มีรูปร่างเปลี่ยนไป และค่อย ๆ บังจนหมดดวง)
– นักเรียนคิดว่าการเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคามีประโยชน์หรือไม่ ลักษณะใด (แนวคาตอบ
มีประโยชน์ในการศึกษาเกี่ยวกับดวงอาทิตย์ โดยเฉพาะบรรยากาศรอบนอกที่เรียกว่า แสงคอโรนา)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรมแต่ละกิจกรรม
4) ขั้นขยายความรู้
(1) ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย จากนั้นให้นักเรียนสืบค้นข้อมูล
เกี่ยวกับปรากฏการณ์จันทรุปราคาและสุริยุปราคาจากหนังสือ วารสาร สารานุกรมวิทยาศาสตร์
สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งนาข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดทาเป็นรายงาน หรือ
จัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
(2) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับจันทรุปราคาและ
สุริยุปราคาจากหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรมมี จุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– ปรากฏการณ์สุริยุปราคาที่เกิดขึ้นนั้น เนื่องจากการโคจรของโลก ดวงจันทร์ และดวง
อาทิตย์มีลักษณะใด
– ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้เรื่องจันทรุปราคาและสุริยุปราคาคืออะไร เกี่ยวข้องกับการ
ดาเนินชีวิตของนักเรียนอย่างไร

ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับจันทรุปราคาและสุริยุปราคา โดยร่วมกันเขียนเป็นแผน
ที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 315

2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อการเดินทางไปอวกาศ
3) ครูให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปราย
ร่วมกันในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ สังเกตเงามืด เงามัว โดยนาปลายแหลมเสียบลูกบอล
แล้วใช้กระดาษกาวติดให้แน่น นากาแพงหรือแผ่นกระดาษมากั้นเป็นฉากรับแสง ทาการสังเกตในห้อง
มืด โดยฉายไฟฉายเข้ากับฉาก แล้วนาลูกบอลไปอยู่กลางระหว่างฉากกับไฟฉาย สังเกตลักษณะเงาบน
ฉาก แล้วเลื่อนลูกบอลออกจากไฟฉายไปทางฉาก สังเกตลักษณะเงา บันทึกผลการสังเกต แล้วส่งตัวแทน
ออกมานาเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ใบกิจกรรมที่ 35 สร้างแบบจาลองการเกิดจันทรุปราคา
2. ใบกิจกรรมที่ 36 สร้างแบบจาลองการเกิดสุริยุปราคา
3. ใบกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ 1 สังเกตเงามืด เงามัว
4. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
5. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
6. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
7. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 316

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 46
การเดินทางไปอวกาศ
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ เวลา 2 ชั่วโมง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ปรากฏการณ์โลกและเทคโนโลยีอวกาศ

1. สาระสาคัญ
การศึกษาด้านอวกาศมีความเจริญก้าวหน้ามาเป็นลาดับ ตั้งแต่สมัยกรีก โรมัน จนกระทั่ง
ปัจจุบัน มนุษย์ให้ความสนใจศึกษาดวงดาวต่าง ๆ บนท้องฟ้า โดยมนุษย์ได้ประดิษฐ์เครื่องมือที่ช่วยใน
การศึกษา ได้แก่ กล้องโทรทรรศน์ จากนั้นได้มีการพัฒนามากขึ้น มีการประดิษฐ์จรวด ดาวเทียม
ยานอวกาศ ยานขนส่งอวกาศ และสถานีอวกาศสาหรับใช้ในการศึกษาด้านอวกาศ เพื่อช่วยให้มนุษย์
ได้รับความรู้เกี่ยวกับโลกและดวงดาวต่าง ๆ มากขึ้น
2. ตัวชี้วัดชั้นปี
สืบค้น อภิปรายความก้าวหน้าและประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศ (ว 7.2 ป. 6/1)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายการเดินทางไปอวกาศซึ่งทาให้มนุษย์เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุท้องฟ้าได้ (K)
2. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
3. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
4. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สื่อสารและนาความรู้เรื่องการเดินทางไปอวกาศไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
การเดินทางไปอวกาศ วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
2. ประเมินกิจกรรม 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
ฝึกทักษะระหว่างเรียน วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 317

5. สาระการเรียนรู้
การเดินทางไปอวกาศ
– จรวด
– ดาวเทียม
– ยานอวกาศ
– ยานขนส่งอวกาศหรือกระสวยอวกาศ
– สถานีอวกาศ
6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับความรู้
เรื่องการเดินทางไปอวกาศจากประสบการณ์ของนักเรียน
ศิลปะ ตกแต่งและระบายสีภาพวาดที่เกี่ยวกับกล้องโทรทรรศน์
จรวด ยานอวกาศ ดาวเทียม หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวกับ
การศึกษาด้านอวกาศตามจินตนาการของนักเรียนให้
สวยงาม จัดป้ายนิเทศแสดงผลงานเกี่ยวกับการศึกษาด้าน
อวกาศจากการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและ
อินเทอร์เน็ต
สังคมศึกษา ศาสนา สนทนา พูดคุยเกี่ยวกับการส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศของ
และวัฒนธรรม ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์และเวียดนาม
การงานอาชีพและเทคโนโลยี ประดิษฐ์กล้องดูดาว ดาวเทียม จรวด ยานอวกาศ
ยานขนส่งอวกาศที่นักเรียนสนใจตามจินตนาการของ
นักเรียน
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
การเดินทางไปอวกาศที่ได้เรียนรู้หรือที่นักเรียนสนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 77
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูนาภาพท้องฟ้าที่มีดวงดาวมากมาย ภาพอวกาศที่ถ่ายโดยนักบินอวกาศ ภาพดาวเทียมและ
อื่น ๆ ที่เกี่ยวกับอวกาศมาให้นักเรียนดู และร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการเดินทางไปอวกาศ โดยครูใช้
คาถามกระตุ้นดังนี้
– นักเรียนคิดว่ามนุษย์เริ่มสนใจศึกษาวัตถุท้องฟ้าตั้งแต่เมื่อใด เพราะเหตุใด
2) นักเรียนร่วมกันตอบคาถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคาตอบของคาถาม เพื่อเชื่อมโยง
ไปสู่การเรียนรู้เรื่อง การเดินทางไปอวกาศ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 318

ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่งมี
ขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูแบ่งกลุ่มนั กเรี ยนแล้ว เปิ ดโอกาสให้นักเรี ยนในกลุ่มนาเสนอข้ อมูลเกี่ ยวกั บ การ
เดินทางไปอวกาศ ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟัง จากนั้นให้แต่ละกลุ่มส่ง
ตัวแทนมานาเสนอข้อมูลหน้าห้องเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทาภาระงานที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับภาระงาน ดังนี้
– เครื่องมือที่มนุษย์ใช้ช่วยในการศึกษาความรู้เกี่ยวกับอวกาศคืออะไร (แนวคำตอบ
กล้องโทรทรรศน์)
– กิจกรรมของนักบินอวกาศแตกต่างจากบนโลกหรือ ไม่ เพราะอะไร (แนวคำตอบ
แตกต่ำงกัน เพรำะอวกำศปรำศจำกแรงโน้มถ่วง)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทาภาระงานอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับภาระงาน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า
การเดินทางออกสู่อวกาศต้องใช้ยานพาหนะพิเศษที่เรียกว่า ยานอวกาศ ยานอวกาศจะถูกส่งจากโลกโดย
จรวด
2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาการเดินทางไปอวกาศจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดยครูช่วย
อธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า การเดินทางไปอวกาศต้องอาศัยยานพาหนะพิเศษเพื่อป้องกันอันตราย
อันเนื่องมาจากสภาพความดันอากาศที่ต่ามาก
(2) แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5–6 คน ปฏิบัตกิ ิจกรรม สังเกตการเคลื่อนที่ของจรวด ตามขั้นตอน
ทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ทักษะ/กระบวนการสังเกตดังนี้
– เป่าลูกโป่งจนมีขนาดใหญ่ ใช้มือปิดปากลูกโป่งไว้
– ปล่อยลูกโป่งให้เคลื่อนที่ออกไปอย่างอิสระ สังเกตการเคลื่อนที่ของลูกโป่งขณะปล่อย
ออกไปบันทึกผลการสังเกต
(3) นักเรียนและครูร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากใบกิจกรรม
(4) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 319

ชั่วโมงที่ 78
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คาถามต่อไปนี้
– สิ่งใดพุ่งออกจากปากลูกโป่ง และมีผลต่อการเคลื่อนที่ของลูกโป่งในลักษณะใด (แนว
คาตอบ อากาศทาให้ลูกโป่งเคลื่อนที่ไปข้างหน้า)
– ถ้าต้องการให้ลูกโป่งเคลื่อนที่ไปได้ไกล ๆ นักเรียนจะออกแบบลูกโป่งอย่างไร (แนว
คาตอบ ออกแบบให้มีลักษณะใหญ่และยาวขึ้น)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า เมื่อเปิดปาก
ลูกโป่ง อากาศจะดันลูกโป่งไปในทิศทางตรงข้ามกับทิศการเคลื่อนที่ของอวกาศ
4) ขั้นขยายความรู้
(1) ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องดาวเทียม ยานอวกาศ ยานขนส่งอวกาศหรือกระสวยอวกาศ
และสถานีอวกาศ โดยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่ายานพาหนะแต่ละชนิดมีภารกิจอะไรบ้าง จากนั้นให้
นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทางไปอวกาศจากหนังสือ วารสาร สารานุกรมวิทยาศาสตร์
สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งนาข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดทาเป็นรายงาน หรือ
จัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
(2) ครูเชื่อมโยงความรู้สู่อาเซียน ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ
ของประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ดังนี้
สิงคโปร์ ได้ส่งดาวเทียมเอ็กซ์-แซท ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงแรกที่ผลิตในสิงคโปร์ร้อยเปอร์เซ็นต์
ขึ้นสู่อวกาศ เมื่อปี พ.ศ. 2554 ดาวเทียมดวงนี้ได้ถูกออกแบบและสร้างโดยทีมนักวิทยาศาสตร์จาก
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยางและทีมวิจัยด้านการป้องกันประเทศของรัฐบาล ดาวเทียมเอ็กซ์-แซท
น้าหนัก 105 กิโลกรัม ได้ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวดนาส่งขององค์การวิจัยแห่งชาติของอินเดียหรือ
ไอเอสอาร์โอ โดยดาวเทียมดวงนี้มีหน้าที่ถ่ายภาพเพื่อบันทึกความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
โดยเฉพาะการตรวจสอบปัญหาการกัดเซาะหน้าดินทั่วโลก ซึ่งถือเป็นความสาเร็จที่รัฐบาลสิงคโปร์
รอคอย หลังแผนการปล่อยดาวเทียมครั้งนี้ต้องล่าช้ามานานกว่า 4 ปี
เวียดนาม ได้ส่งดาวเทียม F-1 ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงแรกที่ผลิตเองสู่อวกาศ เมื่อปี พ.ศ. 2555
ดาวเทียมดวงนี้มีขนาดเล็กเพียง 10 × 10 × 10 เซนติเมตร มีน้าหนักรวม 1 กิโลกรัม ซึ่งถูกส่งไปพร้อม ๆ
กับดาวเทียมขนาดเล็กอีก 4 ดวงของประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยการส่งดาวเทียมขนาดเล็ก F-1
ของเวียดนามขึ้นสู่วงโคจรในครั้งนี้นับเป็นความสาเร็จอีกครั้งหนึ่งของสายวิทยาศาสตร์และ
อุตสาหกรรมอวกาศของประเทศเวียดนามในการประยุกต์ใช้ผลสาเร็จทางด้านเทคโนโลยีอวกาศเพื่อมา
สนับสนุนกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม รักษาความมั่นคงและการป้องกันประเทศ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 320

(3) นักเรียนค้นคว้ารายละเอียดและคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับการเดินทางไปอวกาศ
จากหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจดุ
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– การเคลื่อนที่ของลูกโป่งและจรวดใช้หลักการเคลื่อนที่เหมือนหรือแตกต่างกัน เพราะเหตุใด
– กิจกรรมต่าง ๆ ของการสารวจอวกาศสามารถปฏิบัติได้เหมือนอยู่บนพื้นโลกหรือไม่
เพราะอะไร
ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการเดินทางไปอวกาศ โดยร่วมกันเขียนเป็นแผนที่
ความคิดหรือผังมโนทัศน์
2) ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าเนื้อหาของบทเรียนชั่วโมงหน้า เพื่อจัดการเรียนรู้
ครั้งต่อไป โดยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าล่วงหน้าในหัวข้อประโยชน์ของการสารวจอวกาศ โดยใช้ใบงาน
สำรวจก่อนเรียน 16 ที่ ครูจัดเตรียมไว้ให้ประกอบการศึกษาค้นคว้า (ในสื่อการเรียนรู้ PowerPoint
วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด)
3) ครูอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติกิ จกรรมและมอบหมายให้นักเรียนไปปฏิบัติกิจกรรมที่บ้าน
พร้อมทั้งให้นักเรียนเตรียมประเด็นคาถามที่สงสัยมาอย่างน้อยคนละ 1 คาถาม เพื่อนามาอภิปรายร่วมกัน
ในชั้นเรียนครั้งต่อไป

8. กิจกรรมเสนอแนะ
ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ ประดิษฐ์ยานพาหนะจาลองสารวจดาวอังคาร โดย
วาดภาพและออกแบบยานพาหนะบนแผ่นกระดาษ แล้วใช้เศษวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นมาประดิษฐ์ เช่น
เศษกระป๋อง เศษโลหะ ลวด จากนั้นส่งตัวแทนออกมานาเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ภาพท้องฟ้าที่มีดวงดาว ภาพอวกาศที่ถ่ายโดยนักบินอวกาศ ภาพดาวเทียม
2. ใบกิจกรรมที่ 37 สังเกตการเคลื่อนที่ของจรวด
3. ใบงานสารวจก่อนเรียน 16
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 321

4. ใบกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ 2 ประดิษฐ์ยานพาหนะจาลองสารวจดาวอังคาร
5. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
6. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
7. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด
8. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 322

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 47
ประโยชน์ของการสารวจอวกาศ

สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ เวลา 1 ชั่วโมง


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ปรากฏการณ์โลกและเทคโนโลยีอวกาศ

1. สาระสาคัญ
การศึกษาด้านอวกาศทาให้มนุษย์มีความรู้เกี่ยวกับวัตถุท้องฟ้าในระบบสุริยะมากขึ้น นอกจากนี้
มนุษย์ยังได้ประโยชน์โดยตรงจากการสารวจอวกาศโดยผ่านดาวเทียม 3 ระบบ คือ ดาวเทียมสื่อสาร
ดาวเทียมสารวจทรัพยากรธรรมชาติ และดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา

2. ตัวชี้วัดชั้นปี
สืบค้น อภิปรายความก้าวหน้าและประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศ (ว 7.2 ป. 6/1)
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศที่มนุษย์ใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้ (K)
2. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
3. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
4. ทางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สื่อสารและนาความรู้เรื่องประโยชน์ของการสารวจอวกาศไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ (P)
4. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ
ด้านความรู้ (K) ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
จิตวิทยาศาสตร์ (A)
1. ซักถามความรู้เรื่อง 1. ประเมินเจตคติทาง 1. ประเมินทักษะ/กระบวนการทาง
ประโยชน์ของการ วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล วิทยาศาสตร์
สารวจอวกาศ 2. ประเมินเจตคติต่อ 2. ประเมินทักษะการคิด
2. ประเมินกิจกรรม วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล 3. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา
ฝึกทักษะระหว่างเรียน 4. ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติ
3. ทดสอบหลังเรียน กิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 323

5. สาระการเรียนรู้
ประโยชน์ของการสารวจอวกาศ
– ดาวเทียมสื่อสาร
– ดาวเทียมสารวจทรัพยากรธรรมชาติ
– ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา
6. แนวทางการบูรณาการ
ภาษาไทย สนทนา พูดคุย หรือเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับประโยชน์
ของการสารวจอวกาศจากประสบการณ์ของนักเรียน
ศิลปะ ตกแต่งและระบายสีภาพการสารวจอวกาศตามจินตนาการ
ของนักเรียนให้สวยงาม จัดป้ายนิเทศแสดงผลงานเกี่ยวกับ
การสารวจอวกาศ จากการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารที่
เกี่ยวข้องและอินเทอร์เน็ต
ภาษาต่างประเทศ ฟัง พูด อ่าน และเขียนคาศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับ
ประโยชน์ของการสารวจอวกาศที่ได้เรียนรู้หรือที่นักเรียน
สนใจ
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 79
ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
1) ครูถามคาถามนักเรียน เพื่อกระตุ้นความสนใจ เช่น
– การเดินทางไปอวกาศมีประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านใด
2) นักเรียนร่วมกันตอบคาถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคาตอบของคาถาม เพื่อเชื่อมโยง
ไปสู่การเรียนรู้เรื่อง ประโยชน์ของการสารวจอวกาศ
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบกลับด้านชั้นเรียน ซึ่งมี
ขั้นตอนดังนี้
1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูให้นักเรียนนาใบงาน สำรวจก่อนเรียน 16 ที่ครูมอบหมายให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าที่
บ้านมาอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
(2) ครูตรวจสอบว่านักเรียนทากิจกรรมที่ได้รับมอบหมายไปหรือไม่ โดยตรวจสอบจาก
การจดบันทึกของนักเรียน และถามคาถามเกี่ยวกับกิจกรรม ดังนี้
– นักเรียนคิดว่าตนเองเคยได้รับประโยชน์จากการศึกษาและสารวจด้านอวกาศหรือไม่
เพราะอะไร (แนวคำตอบ เคย เพรำะได้ทรำบข่ำวกำรก่อตัวและเคลือนตัวของพำยุ)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 324

– เทคโนโลยีอวกาศมีประโยชน์ต่อการสารวจอวกาศอย่างไร (แนวคำตอบ ทำให้เรำได้


เรียนรู้เกียวกับระบบสุริยะเพิมขึ้น)
(3) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนตั้งประเด็นคาถามที่นักเรียนสงสัยจากการทากิจ กรรมอย่าง
น้อยคนละ 1 คาถาม ซึ่งครูให้นักเรียนเตรียมมาล่วงหน้า และให้นักเรียนช่วยกันตอบและแสดงความ
คิดเห็น
(4) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับกิจกรรม สำรวจก่อนเรียน 16 โดยครูช่วยอธิบายให้
นักเรียนเข้าใจว่า มนุษย์ยังได้ประโยชน์โดยตรงจากการสารวจอวกาศโดยผ่านดาวเทียม 3 ระบบ คือ
ดาวเทียมสื่อสาร ดาวเทียมสารวจทรัพยากรธรรมชาติ และดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา
2) ขั้นสารวจและค้นหา
(1) ให้นักเรียนศึกษาประโยชน์ของการสารวจอวกาศจากใบความรู้หรือในหนังสือเรียน โดย
ครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า การสารวจอวกาศมีประโยชน์ต่อการดารงชีวิตของมนุษย์มากมาย
(2) แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5–6 คน สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของการสารวจอวกาศ
โดยดาเนินการตามขั้นตอนดังนี้
– แต่ละกลุ่มวางแผนการสืบค้นข้อมูล โดยแบ่งหัวข้อประโยชน์ของการสารวจอวกาศเป็น
หัวข้อย่อย เช่น ดาวเทียมสื่อสาร ดาวเทียมสารวจทรัพยากรธรรมชาติ ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา ให้สมาชิก
แต่ละกลุ่มช่วยกันสืบค้นตามหัวข้อที่กาหนด
– สมาชิกแต่ละกลุ่มช่วยกันสืบค้นข้อมูลตามหัวข้อที่กลุ่มของตนเองรับผิดชอบโดยการ
สืบค้นจากหนังสือ วารสาร สารานุกรมวิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต
– สมาชิกกลุ่มนาข้อมูลที่สืบค้นได้มารายงานให้เพื่อน ๆ สมาชิกในกลุ่มฟัง รวมทั้งร่วมกัน
อภิปรายซักถามจนคาดว่าสมาชิกทุกคนมีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน
– สมาชิกกลุ่มช่วยกันสรุปความรู้ที่ได้ทั้งหมดเป็นผลงานของกลุ่ม
(3) ครูคอยแนะนาช่วยเหลือนักเรียนขณะปฏิบัติกิจกรรม โดยครูเดินดูรอบ ๆ ห้องเรียนและ
เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนซักถามเมื่อมีปัญหา
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มนาเสนอข้อมูลจากการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและหาข้อสรุปจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนว
คาถามต่อไปนี้
– ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากการสารวจอวกาศหรือไม่ เพราะอะไร (แนวคาตอบ
ได้รับประโยชน์ เพราะประเทศไทยได้ประโยชน์โดยตรงจากการสารวจอวกาศผ่านดาวเทียม โดยใช้
บริการผ่านดาวเทียม 3 ระบบ คือ ดาวเทียมสื่อสาร ดาวเทียมสารวจทรัพยากรธรรมชาติ และดาวเทียม
อุตุนิยมวิทยา)
(3) นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า ดาวเทียม
แต่ละประเภทให้ประโยชน์ต่อการดารงชีวิตของมนุษย์แตกต่างกัน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 325

4) ขั้นขยายความรู้
นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของการสารวจอวกาศจากหนังสือ วารสาร สารานุกรม
วิทยาศาสตร์ สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน และอินเทอร์เน็ต รวมทั้งนาข้อมูลที่ค้นคว้าได้มาจัดทาเป็น
รายงาน หรือจัดป้ายนิเทศให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุด
ใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
(2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มี
การแก้ไขอย่างไรบ้าง
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติ
กิจกรรมและการนาความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคาถาม เช่น
– ประโยชน์ของการสารวจอวกาศมีข้อดี ข้อเสียอะไรบ้าง
– นักเรียนได้รับประโยชน์จากดาวเทียมต่าง ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมเรื่องใดบ้าง
– นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่ถ้าประเทศไทยจะให้ความสนใจเรื่องการสารวจอวกาศในด้าน
ต่าง ๆ เพราะเหตุใด
ขั้นสรุป
1) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับประโยชน์ของการสารวจอวกาศ โดยร่วมกันเขียนเป็น
แผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์
2) ครูดาเนินการทดสอบหลังเรียน โดยให้นักเรียนทาแบบทดสอบหลังเรียนเพื่อวัด
ความก้าวหน้า/ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ของนักเรียน

8. กิจกรรมเสนอแนะ
ชั่วโมงที่ 80
ครูประเมินด้านความรู้ของนักเรียนตามตัวชี้วัดชั้นปี โดยให้นักเรียนทาแบบทดสอบปลายปี
เพื่อวัดความก้าวหน้า/ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 4–6 ของนักเรียน

9.สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. ใบงานสารวจก่อนเรียน 16
2. แบบทดสอบหลังเรียน
3. คู่มือการสอน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
4. สื่อการเรียนรู้ PowerPoint รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท
สานักพิมพ์วัฒนาพานิช จากัด
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 326

5. แบบฝึกทักษะ รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา


พานิช จากัด
6. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บริษัท สานักพิมพ์วัฒนา
พานิช จากัด

10. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
1. ความสาเร็จในการจัดการเรียนรู้................................................................................................
แนวทางการพัฒนา.......................................................................................................................
2. ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................
แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................
3. สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................
เหตุผล...........................................................................................................................................
4. การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

(ลงชื่อ)____________________________ผู้สอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 327

บรรณานุกรม

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สานักงาน.หลากหลายวิธีการสอนของครูต้นแบบ 2541 วิชา


วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดกี ารพิมพ์, 2542.
ชัยฤทธิ์ ศิลาเดช. คู่มือการเขียนแผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ ระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: แม็ค,
2545.
ทิศนา แขมมณี. 14 วิธีสอนสาหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
2544.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. เทคนิคและกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ ตามหลักสูตรการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค, 2545.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตาม
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม
สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2551.
สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์ และคณะ. สื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สมบูรณ์แบบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.
กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์วัฒนาพานิช, 2547.
__________.หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชุดปฏิรูป: รู้วิธีการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์วัฒนาพานิช, 2547.
สุวิทย์ มูลคา และอรทัย มูลคา. 21 วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. พิมพ์ครัง้ ที่2,
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์, 2545.
Wiggins, G., and McTighe, J. Understanding by Design. Expanded 2nd ed., Virginia USA:
Association for Supervision and Curriculum Development (ASCD), 2005.
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 328

ตอนที่ 3 เอกสาร/ความรู้เสริมสาหรับครู

เอกสาร/ความรู้เสริมสาหรับครู ประกอบด้วย ส่วนต่าง ๆ ดังนี้


 มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดชั้นปี และสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ ป. 6
 กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
 แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio)
 ผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design
 รูปแบบแผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมง
 ใบกิจกรรม วิทยาศาสตร์ ป. 6
 แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน ประจาหน่วยการเรียนรู้
 เครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจิตวิทยาศาสตร์
 เครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะ/กระบวนการ
 เครื่องมือวัดและประเมินสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์และภาระงานของนักเรียนโดย
ใช้มิติคุณภาพ (Rubrics)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 329

มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดชั้นปี และสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการ


เรียนรู้วิทยาศาสตร์ ป. 6

สาระที่ 1 : สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดารงชีวิต
มาตรฐาน ว 1.1 : เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของ
ระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทางานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้
และนาความรู้ไปใช้ในการดารงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1. อธิบายการเจริญเติบโตของมนุษย์ – มนุษย์มีการเจริญเติบโตและมีการเปลี่ยนแปลง
จากวัยแรกเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่ ทางด้านร่างกายตั้งแต่แรกเกิดจนเป็นผู้ใหญ่
2. อธิบายการทางานที่สัมพันธ์กันของระบบ – ระบบย่อยอาหาร ทาหน้าที่ย่อยอาหารให้เป็น
ย่อยอาหาร ระบบหายใจ และระบบหมุนเวียน สารอาหารขนาดเล็กแล้วจะถูกดูดซึมเข้าสู่
เลือดของมนุษย์ ระบบหมุนเวียนเลือด แก๊สออกซิเจนที่ได้จาก
ระบบหายใจจะทาให้สารอาหารเกิดการ
เปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นพลังงานที่ร่างกาย
นาไปใช้ได้
3. วิเคราะห์สารอาหารและอภิปรายความจาเป็น – สารอาหารได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน
ที่ร่างกายต้องได้รับสารอาหารในสัดส่วนที่ แร่ธาตุ วิตามิน และน้า มีความจาเป็นต่อ
เหมาะสมกับเพศและวัย ร่างกาย มนุษย์จาเป็นต้องได้รับสารอาหาร
ในสัดส่วนทีเ่ หมาะสมกับเพศและวัย เพื่อการ
เจริญเติบโตและการดารงชีวติ
สาระที่ 2 : ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2.1 : เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนาความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1. สารวจและอภิปรายความสาคัญของกลุ่ม – กลุ่มสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่ต่าง ๆ มีความ
สิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่ต่าง ๆ สัมพันธ์กัน และมีความสัมพันธ์กับแหล่งที่อยู่
ในลักษณะของแหล่งอาหาร แหล่งที่อยู่อาศัย
แหล่งสืบพันธุ์ และแหล่งเลี้ยงดูลูกอ่อน
2. อธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต – ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตใน
ในรูปของโซ่อาหารและสายใยอาหาร รูปของโซ่อาหารและสายใยอาหาร ทาให้เกิดการ
ถ่ายทอดพลังงานจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 330

ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง
3. สืบค้นข้อมูลและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง – สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแต่ละแหล่งที่อยู่จะมี
การดารงชีวิตของสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อม โครงสร้างที่เหมาะสมต่อการดารงชีวิตในแหล่ง
ในท้องถิ่น ที่อยู่นั้น และสามารถปรับตัวให้เข้ากับ
สภาพแวดล้อมเพื่อหาอาหารและมีชีวิตอยู่รอด

มาตรฐาน ว 2.2 : เข้าใจความสาคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับ


ท้องถิ่น ประเทศ และโลก นาความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
อย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1. สืบค้นข้อมูลและอภิปรายแหล่งทรัพยากร – ทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ในแต่ละท้องถิ่น
ธรรมชาติในแต่ละท้องถิ่นที่เป็นประโยชน์ต่อ มีประโยชน์ต่อการดารงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
การดารงชีวิต
2. วิเคราะห์ผลของการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ – การเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ทาให้ทรัพยากร
ต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ธรรมชาติถูกใช้มากขึ้น เป็นผลทาให้ทรัพยากร
ธรรมชาติลดน้อยลง และสิ่งแวดล้อมเปลี่ยน
แปลงไป
3. อภิปรายผลต่อสิ่งมีชีวิตจากการเปลี่ยนแปลง – ภัยพิบัติจากธรรมชาติและการกระทาของ
สิ่งแวดล้อม ทั้งโดยธรรมชาติและโดยมนุษย์ มนุษย์ ทาให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง เป็นผล
ทาให้พืชและสัตว์ป่าบางชนิดสูญพันธุ์
4. อภิปรายแนวทางการดูแลรักษาทรัพยากร – การสร้างจิตสานึกในการอนุรักษ์ เฝ้าระวัง
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนการปลูกต้นไม้
เพิ่มขึ้นเพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการดูแลรักษา
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5. มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม – ร่วมจัดทาโครงการเฝ้าระวังรักษาคุณภาพของ
ในท้องถิ่น สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 331

สาระที่ 3 : สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3.1 : เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้าง
และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่
เรียนรู้และนาความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1. ทดลองและอธิบายสมบัติของของแข็ง ของเหลว – สารอาจปรากฏในสถานะของแข็ง ของเหลว หรือ
และแก๊ส แก๊ส สารทั้งสามสถานะมีสมบัติบางประการ
เหมือนกันและบางประการแตกต่างกัน
2. จาแนกสารเป็นกลุม่ โดยใช้สถานะหรือเกณฑ์ – การจาแนกสารอาจจาแนกโดยใช้สถานะ
อื่นที่กาหนดเอง การนาไฟฟ้า การนาความร้อน หรือสมบัติอื่น
เป็นเกณฑ์ได้
3. ทดลองและอธิบายวิธีการแยกสารบางชนิดที่ – ในการแยกสารบางชนิดที่ผสมกันออกจากกัน
ผสมกัน โดยการร่อน การตกตะกอน การกรอง ต้องใช้วิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสม ซึ่งอาจจะทา
การระเหิด การระเหยแห้ง ได้โดยการร่อน การตกตะกอน การกรอง
การระเหิด การระเหยแห้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
สมบัติของสารที่เป็นส่วนผสมในสารผสมนั้น ๆ
4. สารวจและจาแนกประเภทของสารต่าง ๆ ที่ – จาแนกประเภทของสารต่าง ๆ ที่ใช้ใน
ใช้ในชีวิตประจาวันโดยใช้สมบัติและการใช้ ชีวิตประจาวันตามการใช้ประโยชน์ แบ่งได้เป็น
ประโยชน์ของสารเป็นเกณฑ์ สารปรุงรสอาหาร สารแต่งสีอาหาร สารทาความ
สะอาด สารกาจัดแมลงและศัตรูพืช ซึ่งสารแต่ละ
ประเภท มีความเป็นกรด–เบสแตกต่างกัน
5. อภิปรายการเลือกใช้สารแต่ละประเภทได้อย่าง – การใช้สารต่าง ๆ ในชีวิตประจาวัน ต้องเลือกใช้
ถูกต้องและปลอดภัย ให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
ปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

มาตรฐาน ว 3.2 : เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิด


สารละลาย การเกิดปฏิกิริยาเคมี มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้
และนาความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วดั สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1.ทดลองและอธิบายสมบัติของสาร เมื่อสารเกิด – เมื่อสารเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นสารละลาย
การละลายและเปลี่ยนสถานะ หรือเปลี่ยนสถานะ สารแต่ละชนิดยังคงแสดง
สมบัติของสารเดิม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 332

ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง
2. วิเคราะห์และอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่ทาให้ – การเปลี่ยนแปลงทางเคมี หรือการเกิดปฏิกิริยา
เกิดสารใหม่และมีสมบัติเปลี่ยนแปลงไป เคมี ทาให้มีสารใหม่เกิดขึ้นและสมบัติของสาร
จะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
3. อภิปรายการเปลี่ยนแปลงของสารที่ก่อให้เกิด – การเปลี่ยนแปลงของสาร ทั้งการละลาย การ
ผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิง่ แวดล้อม เปลี่ยนสถานะและการเกิดสารใหม่ต่างก็มีผลต่อ
สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

สาระที่ 5 : พลังงาน
มาตรฐาน ว 5.1 : เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดารงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบ
เสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนาความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1. ทดลองและอธิบายการต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย – วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย ประกอบด้วยแหล่งกาเนิด
ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า
2. ทดลองและอธิบายตัวนาไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า – วัสดุที่กระแสไฟฟ้าผ่านได้เป็นตัวนาไฟฟ้า ถ้า
กระแสไฟฟ้าผ่านไม่ได้เป็นฉนวนไฟฟ้า
3. ทดลองและอธิบายการต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบ – เซลล์ไฟฟ้าหลายชนิดต่อเรียงกัน โดยขั้วบวก
อนุกรม และนาความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของเซลล์ไฟฟ้าเซลล์หนึ่งต่อกับขั้วลบของอีก
เซลล์หนึ่ง เป็นการต่อแบบอนุกรม ทาให้มี
กระแสไฟฟ้าผ่านอุปกรณ์ไฟฟ้าในวงจรเพิ่มขึ้น
– การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรมสามารถนาไปใช้
ประโยชน์ในชีวิตประจาวัน เช่น การต่อเซลล์
ไฟฟ้าในไฟฉาย
4. ทดลองและอธิบายการต่อหลอดไฟฟ้าทั้งแบบ – การต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมจะมี
อนุกรม แบบขนาน และนาความรู้ไปใช้ กระแสไฟฟ้าปริมาณเดียวกันผ่านหลอดไฟฟ้า
ประโยชน์ แต่ละหลอด
– การต่อหลอดไฟฟ้าแบบขนาน กระแสไฟฟ้าจะ
แยกผ่านหลอดไฟฟ้าแต่ละหลอด สามารถนา
ไปใช้ประโยชน์ เช่น การต่อหลอดไฟฟ้าหลาย
ดวงในบ้าน
5. ทดลองและอธิบายการเกิดสนามแม่เหล็กรอบ – สายไฟที่มีกระแสไฟฟ้าผ่านจะเกิดสนาม
สายไฟทีม่ ีกระแสไฟฟ้าผ่าน และนาความรู้ไป แม่เหล็กรอบสายไฟ สามารถนาไปใช้ประโยชน์
ใช้ประโยชน์ เช่น การทาแม่เหล็กไฟฟ้า
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 333

สาระที่ 6 : กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6.1 : เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์
ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก
มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิง่ ที่เรียนรู้และนาความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1. อธิบาย จาแนกประเภทของหิน โดยใช้ลักษณะ – หินแต่ละชนิดมีลักษณะแตกต่างกัน จาแนก
ของหิน สมบัติของหินเป็นเกณฑ์ และนาความรู้ ตามลักษณะที่สังเกตได้เป็นเกณฑ์ เช่น สี
ไปใช้ประโยชน์ เนื้อหิน ความแข็ง ความหนาแน่น
– นักธรณีวิทยา จาแนกหินตามลักษณะการเกิด
ได้ ๓ ประเภท คือ หินอัคนี หินตะกอน และ
หินแปร
– ลักษณะหินและสมบัติของหินที่แตกต่างกัน
นามาใช้ให้เหมาะกับงานทั้งในด้านก่อสร้าง
ด้านอุตสาหกรรม และด้านอื่น ๆ
2. สารวจและอธิบายการเปลี่ยนแปลงของหิน – การเปลี่ยนแปลงของหินในธรรมชาติ โดยการ
ผุพังอยู่กับที่ การกร่อน ทาให้หินมีขนาดเล็กลง
จนเป็นส่วนประกอบของดิน
3. สืบค้นและอธิบายธรณีพิบัติภัยที่มีผลต่อ – มนุษย์ควรเรียนรู้ละปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจาก
มนุษย์และสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น ธรณีพิบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นในท้องถิ่น เช่น น้าป่า
ไหลหลาก น้าท่วม แผ่นดินถล่ม แผ่นดินไหว
สึนามิ และอื่น ๆ

สาระที่ 7 : ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7.1 : เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซี และเอกภพ การปฏิสัมพันธ์
ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนาความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1. สร้างแบบจาลองและอธิบายการเกิดฤดู – การที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ในเวลา 1 ปี
ข้างขึ้น ข้างแรม สุริยุปราคา จันทรุปราคา ในลักษณะที่แกนโลกเอียงกับแนวตั้งฉากของ
และนาความรู้ไปใช้ประโยชน์ ระนาบทางโคจร ทาให้บริเวณส่วนต่าง ๆ ของ
โลกรับพลังงานจากดวงอาทิตย์แตกต่างกัน
เป็นผลให้เกิดฤดูต่าง ๆ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 334

ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง
– ดวงจันทร์ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง แสงสว่างที่
เห็นเกิดจากแสงอาทิตย์ตกกระทบดวงจันทร์
แล้วสะท้อนมายังโลก การที่ดวงจันทร์โคจร
รอบโลก ขณะที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์
ดวงจันทร์จึงเปลี่ยนตาแหน่งไป ทาให้มองเห็น
แสงสะท้อนจากดวงจันทร์แตกต่างกันในแต่ละ
คืน ซึ่งเรียกว่า ข้างขึ้น ข้างแรม และนามาใช้
จัดปฏิทินในระบบจันทรคติ
– การที่โลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์อยู่ในแนว
เส้นตรงเดียวกัน ทาให้ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์
เรียกว่า เกิดสุริยุปราคา และเมื่อดวงจันทร์
เคลื่อนที่เข้าไปอยู่ในเงาของโลก เรียกว่า
จันทรุปราคา

มาตรฐาน ว 7.2 : เข้าใจความสาคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นามาใช้ในการสารวจอวกาศและ


ทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนาความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม

ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1. สืบค้น อภิปรายความก้าวหน้า และประโยชน์ – ความก้าวหน้าของจรวด ดาวเทียม และ
ของเทคโนโลยีอวกาศ ยานอวกาศ
– ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศได้นามาใช้
ในการสารวจข้อมูลของวัตถุท้องฟ้า ทาให้ได้
เรียนรู้เกี่ยวกับระบบสุริยะทั้งในและนอกระบบ
สุริยะเพิ่มขึ้นอีกมากมาย และยังมีประโยชน์
ในการพัฒนาเทคโนโลยีในด้านการสารวจ
ทรัพยากรธรรมชาติ การสื่อสาร การสารวจ
สภาพอากาศ ด้านการแพทย์ และด้านอื่น ๆ
อีกมากมาย
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 335

สาระที่ 8 : ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8.1: ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้
การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบาย
และตรวจสอบได้ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้น ๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
1. ตั้งคาถามเกี่ยวกับประเด็น หรือเรื่อง หรือสถานการณ์ ที่จะศึกษาตามที่กาหนดให้และตาม
ความสนใจ
2. วางแผนการสังเกต เสนอการสารวจตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้า และคาดการณ์สิ่งที่จะพบ
จากการสารวจตรวจสอบ
3. เลือกอุปกรณ์ และวิธีการสารวจตรวจสอบที่ถูกต้องเหมาะสมให้ได้ผลที่ครอบคลุมและ
เชื่อถือได้
4. บันทึกข้อมูลในเชิงปริมาณและคุณภาพ วิเคราะห์ และตรวจสอบผลกับสิ่งที่คาดการณ์ไว้
นาเสนอผลและข้อสรุป
5. สร้างคาถามใหม่เพื่อการสารวจตรวจสอบต่อไป
6. แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ อธิบาย ลงความเห็นและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
7. บันทึกและอธิบายผลการสารวจตรวจสอบตามความเป็นจริง มีเหตุผลและมีประจักษ์พยาน
อ้างอิง
8. นาเสนอ จัดแสดงผลงานโดยอธิบายด้วยวาจา และเขียนรายงานแสดงกระบวนการ และ
ผลของงานให้ผู้อื่นเข้าใจ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 336

กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
วิธีการหรือเทคนิคที่นามาใช้ในกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีอยู่มากมายหลายวิธี ซึ่งแต่ละ
วิธีจะมีประสิทธิผลในการสร้างความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และการให้โอกาสนักเรียนได้แสดงบทบาท
แตกต่างกันออกไป ดังนั้นในการพิจารณาเลือกวิธีการใดมาใช้ ครูต้องวิเคราะห์ผลการเรียนรูก้ ่อนว่า
ต้องการให้นักเรียนเกิดพฤติกรรมใด ในระดับใด จึงจะนามาปรับใช้ให้เหมาะสมกับนักเรียน ทั้งนี้เพื่อให้
การเรียนรู้ของนักเรียนบรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กาหนด
ในคู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้เล่มนี้ นอกจากกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry
Process) แล้วในแผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมงยังได้บูรณาการเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้อื่น ๆ ที่
สอดคล้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไว้ ซึ่งแต่ละเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ มีสาระพอสังเขป
ดังนี้
1. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Process)
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการพื้นฐานที่สามารถใช้ในการศึกษา ค้นคว้า การ
ตรวจสอบ และการลงข้อสรุป เป็นกระบวนการที่เน้นให้นักเรียนดาเนินการหรือเรียนรู้ด้วยตนเอง
เพื่อให้เกิดทักษะการคิด การแก้ปัญหา และการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
ขั้นตอนของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีดังนี้
1) การกาหนดปัญหาและการวิเคราะห์ปัญหา
นักเรียนอาจยกปัญหาหรือประเด็นที่น่าสนใจมาเสนอต่อกลุ่ม โดยปัญหาที่นามาศึกษานี้
อาจจะนามาจากที่ต่าง ๆ เช่น ปัญหาจากความสนใจของนักเรียนเอง เนื้อหาในบทเรียน พบเห็นใน
ชีวิตประจาวัน และปัญหาที่กาหนดโดยครู
2) การตั้งสมมุติฐาน
นักเรียนพยายามใช้ความรู้ ประสบการณ์ รวมไปถึงความคิดรวบยอด หลักการต่าง ๆ ที่ได้
เรียนรู้มาแล้ว นามาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มว่า สาเหตุของปัญหาอาจเกิดจากอะไร ซึ่ง
เป็นการทานายหรือคาดคะเนคาตอบ แล้วจึงหาแนวทางเพื่อพิสูจน์ว่าคาตอบที่กาหนดขึ้นมานั้นมีความ
ถูกต้องอย่างไร
3) การเก็บรวบรวมข้อมูล
นักเรียนลงมือปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ว่าคาตอบหรือสมมุติฐานที่กาหนดไว้มีความถูกต้องอย่างไร
โดยนักเรียนจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เช่น ตาราเรียน งานวิจัย การทดลอง การสัมภาษณ์
การสังเกต และสถิติต่าง ๆ รวบรวมข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่
4) การวิเคราะห์ข้อมูล
เป็นขั้นตอนที่นักเรียนนาข้อมูลที่ได้รวบรวมเป็นหมวดหมู่แล้วมาพิจารณาว่าน่าเชื่อถือ
หรือไม่ เพื่อนาข้อมูลนั้น ๆ ไปพิสูจน์สมมุติฐานอีกครั้งหนึ่ง
5) การสรุปผล
นักเรียนนาข้อมูลที่วิเคราะห์แล้วมาตอบคาถามหรืออธิบายปัญหาที่กาหนดไว้ แล้วตั้งเป็น
กฎเกณฑ์หรือหลักการต่อไป
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 337

2. การทดลอง (Experiment)/การฝึกปฏิบัติการ (Practice)


วิธีการเรียนรู้โดยใช้การทดลองหรือการฝึกปฏิบัติการ เป็นกระบวนการที่นักเรียนสามารถเกิด
การเรียนรู้จากการเห็นผลประจักษ์ชัดจากการคิดและการปฏิบัติของตน ทาให้การเรียนรู้นั้นตรงกับความ
เป็นจริง มีความหมายสาหรับนักเรียนและจาได้นาน ซึ่งการจัดการเรียนรู้โดยการทดลอง ครูหรือนักเรียน
ต้องกาหนดปัญหาและสมมุติฐานในการทดลอง และกาหนดกระบวนการหรือขั้นตอนในการดาเนินการ
ทดลองให้ชัดเจน รวมทั้งจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ที่จะใช้ในการทดลองให้พร้อม
ขั้นตอนของการทดลอง มีดังนี้
1) กาหนดปัญหาและสมมุติฐานการทดลอง
นักเรียนกาหนดปัญหาและสมมุติฐานการทดลอง หรือครูอาจเป็นผู้นาเสนอก็ได้ แต่ถ้า
ปัญหามาจากตัวนักเรียนเอง จะทาให้การเรียนรู้หรือการทดลองนั้นมีความหมายยิ่งขึ้น
2) เสนอความรู้ที่จาเป็นต่อการทดลอง
ครูให้ขั้นตอนและรายละเอียดของการทดลองแก่นักเรียน โดยใช้วิธีการต่าง ๆ ตามความ
เหมาะสม ซึ่งครูเป็นผู้กาหนดขั้นตอนและรายละเอียดหรืออาจให้นักเรียนร่วมกันวางแผนกาหนดก็ได้
แล้วแต่ความเหมาะสมกับสาระ แต่การให้นักเรียนมีส่วนร่วมดาเนินการนั้นจะช่วยให้นักเรียนพัฒนา
ทักษะต่าง ๆ และนักเรียนจะกระตือรือร้นมากขึ้น ครูจาเป็นต้องคอยให้คาปรึกษาและความช่วยเหลือ
อย่างใกล้ชิด
3) นักเรียนลงมือทดลองโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่จาเป็นตามขั้นตอนที่กาหนดและบันทึกข้อมูลการ
ทดลอง
การทดลองทาได้หลายรูปแบบ ครูอาจให้นักเรียนลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่กาหนดไว้แล้ว
คอยสังเกตและให้คาแนะนา หรือครูอาจลงมือทาการทดลองให้นักเรียนคอยสังเกตแล้วทาตามคาแนะนา
ไปทีละขั้น ครูควรฝึกฝนทักษะ/กระบวนการทางวิทยาศาสตร์แก่นักเรียนก่อนทาการทดลอง หรือไม่ก็ฝึก
ไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งทักษะ/กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย
 ทักษะการสังเกต  ทักษะการกาหนดและควบคุมตัวแปร
 ทักษะการลงความคิดเห็นข้อมูล  ทักษะการทดลอง
 ทักษะการจาแนกประเภท  ทักษะการตั้งสมมุติฐาน
 ทักษะการวัด  ทักษะการกาหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
 ทักษะการใช้ตัวเลข  ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเปซ
และสเปซกับเวลา
 ทักษะการสื่อความหมาย  ทักษะการตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป
 ทักษะการพยากรณ์
4) นักเรียนวิเคราะห์และสรุปผลการทดลอง
ขั้นตอนนี้นักเรียนต้องวิเคราะห์และสรุปผลการทดลอง โดยที่ครูคอยให้คาแนะนาแก่
นักเรียนเกี่ยวกับวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลและการสรุปผล ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะ/
กระบวนการคิดและทักษะ/กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถนาไปใช้ประโยชน์ในเรื่องอื่น ๆ ได้
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 338

5) ครูและนักเรียนอภิปรายผลการทดลองและสรุปการเรียนรู้
ขั้นตอนนี้ทั้งครูและนักเรียนต้องร่วมกันอภิปรายผลที่ได้จากการทดลองและสรุปการเรียนรู้
ในเรื่องนั้น ๆ
3. วิธีสอนโดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion)
วิธีนี้เป็นกระบวนการที่ครูใช้ในการช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กาหนด
โดยการจัดนักเรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 4–8 คน ให้นักเรียนในกลุ่มพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูล ความ
คิดเห็น และประสบการณ์ในเรื่องหรือประเด็นที่กาหนด แล้วสรุปผลการอภิปรายออกมาเป็นข้อสรุปของ
กลุ่ม ซึ่งการจัดการเรียนรู้โดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อยนี้ จะช่วยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการ
เรียนรู้อย่างทัว่ ถึง มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ จะช่วยให้นักเรียนเกิดการ
เรียนรู้ในเรื่องที่เรียนกว้างขึ้น
ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้โดยใช้การอภิปรายกลุ่ม มีดังนี้
1) ครูจัดนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ ประมาณ 48 คน ควรเป็นกลุ่มที่ไม่เล็กเกินไปและไม่
ใหญ่เกินไปเพราะถ้ากลุ่มเล็กจะไม่ได้ความคิดที่หลากหลายเพียงพอ ถ้ากลุ่มใหญ่สมาชิกกลุ่มจะมีโอกาส
แสดงความคิดเห็นได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งการแบ่งกลุ่มอาจทาได้หลายวิธี เช่น วิธีสุ่มเพื่อให้นักเรียนมีโอกาสได้
ร่วมกลุ่มกับเพื่อนไม่ซ้ากัน จาแนกตามเพศ วัย ความสนใจ ความสามารถ หรือเลือกอย่างเจาะจงตาม
ปัญหาที่มีก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของครูและสิ่งที่จะอภิปราย
2) ครูหรือนักเรียนกาหนดประเด็นในการอภิปราย ให้มีวัตถุประสงค์ของการอภิปรายที่ชัดเจน
โดยที่การอภิปรายแต่ละครั้งไม่ควรมีประเด็นมากจนเกินไป เพราะจะทาให้นักเรียนอภิปรายได้ไม่เต็มที่
3) นักเรียนเริ่มอภิปรายโดยการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์กันตาม
ประเด็นที่กาหนดในการอภิปรายแต่ละครั้ง ควรมีการกาหนดบทบาทหน้าที่ที่จาเป็นในการอภิปราย เช่น
ประธานหรือผู้นาในการอภิปราย เลขานุการ ผู้จดบันทึก และผู้รักษาเวลา นอกจากนี้ครูควรบอกให้
สมาชิกกลุ่มทุกคนทราบถึงบทบาทหน้าที่ของตน ให้ความรู้ ความเข้าใจ หรือคาแนะนาแก่กลุ่มก่อนการ
อภิปราย และควรย้าถึงความสาคัญของการให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วมในการอภิปรายอย่างทั่วถึง
เพราะวัตถุประสงค์หลักของการอภิปราย คือ การให้นักเรียนมีโอกาสแสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึง และ
ได้รับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนมีความคิดที่ลึกซึ้งและรอบคอบขึ้น ในกรณีที่มี
หลายประเด็น ควรมีการจากัดเวลาของการอภิปรายแต่ละประเด็นให้มีความเหมาะสม
4) นักเรียนสรุปสาระที่สมาชิกกลุ่มได้อภิปรายร่วมกันเป็นข้อสรุปของกลุ่ม ครูควรให้สัญญาณ
แก่กลุ่มก่อนหมดเวลา เพื่อที่แต่ละกลุ่มจะได้สรุปผลการอภิปรายเป็นข้อสรุปของกลุ่ม หลังจากนั้นอาจ
ให้แต่ละกลุ่มนาเสนอผลการอภิปรายแลกเปลี่ยนกันหรือดาเนินการในรูปแบบอื่นต่อไป
5) นาข้อสรุปของกลุ่มมาใช้ในการสรุปบทเรียน หลังจากการอภิปรายสิ้นสุดลง ครูจาเป็นต้อง
เชื่อมโยงความรู้ที่นักเรียนได้ร่วมกันคิดกับบทเรียนที่กาลังเรียนรู้ โดยนาข้อสรุปของกลุ่มมาใช้ในการ
สรุปบทเรียนด้วย
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 339

4. กระบวนการแก้ปัญหา (Problem solving process)


วิธีนี้เน้นให้นักเรียนฝึกการคิดแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอน มีเหตุผล ซึ่งเป็นแนวทางในการนาไปใช้
แก้ปัญหาในชีวิตประจาวันได้ โดยอาศัยแนวคิดแก้ปัญหาด้วยการนาวิธีสอนแบบนิรนัย (Deductive) คือ
การสอนจากกฎเกณฑ์ไปหาความจริงย่อยไปผสมผสานกับวิธีการสอนแบบอุปนัย (Inductive) คือ การ
สอนจากตัวอย่างย่อยมาหาเกณฑ์ กระบวนการคิดทั้งสองอย่างนี้รวมกันทาให้เกิดรูปแบบการสอนแบบ
แก้ปัญหา ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
1) ทาความเข้าใจปัญหา
ครูเน้นให้นักเรียนทาความเข้าใจถึงสภาพของปัญหาว่า ปัญหาเกิดจากอะไร มีข้อมูลใดแล้ว
บ้าง และมีเงื่อนไขหรือต้องการข้อมูลใดเพิ่ม
2) วางแผนแก้ปัญหา
เป็นการนาข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 และข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นมาใช้
ประกอบการวางแผนแก้ปัญหา ถ้าปัญหานั้นต้องตรวจสอบโดยการทดลอง ในขั้นวางแผนก็จะ
ประกอบด้วยการตั้งสมมุติฐาน กาหนดวิธีการทดลอง และกาหนดแนวทางในการประเมินผลการ
แก้ปัญหา
3) ดาเนินการแก้ปัญหาและประเมินผล
นาข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์และทดสอบสมมุติฐานและประเมินว่าวิธีการแก้ปัญหา
หรือผลการทดลองเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ อย่างไร
4) ตรวจสอบการแก้ปัญหา
ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบ วิธีการแก้ปัญหา และผลจากการแก้ปัญหาว่ามีผลกระทบ
ต่อสิ่งอื่นหรือไม่ รวมไปถึงการนาวิธีการแก้ปัญหาไปประยุกต์ใช้ต่อไป
5. กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจ (Cooperative Learning)
วิธีการนี้เป็นการผสมผสานหลักการอยู่ร่วมกันในสังคมและความสามารถทางวิชาการเข้า
ด้วยกัน โดยให้นักเรียนที่มีความรู้ความสามารถแตกต่างกันมาทางานร่วมกัน คนที่เก่งกว่าจะต้อง
ช่วยเหลือคนที่อ่อนกว่า ทุกคนต้องมีโอกาสได้แสดงความสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นและปฏิบัติจริง
โดยถือว่าความสาเร็จของแต่ละบุคคล คือ ความสาเร็จของกลุ่ม
ขั้นตอนของการเรียนแบบร่วมแรงร่วมใจ มีดังนี้
1) ขั้นเตรียม
แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม แนะนาแนวทางในการทางานกลุ่ม บทบาทหน้าที่ของสมาชิกใน
กลุ่ม และแจ้งวัตถุประสงค์ของการทางาน
2) ขั้นสอน
นาเข้าสู่บทเรียน แนะนาเนื้อหาสาระ แหล่งความรู้ แล้วมอบหมายงานให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 340

3) ขั้นทากิจกรรม
นักเรียนร่วมกันทากิจกรรมในกลุ่มย่อย โดยสมาชิกแต่ละคนมีบทบาทหน้าที่ตามที่ได้รับ
มอบหมาย ซึ่งในการทากิจกรรมกลุ่มครูจะใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น คู่คิด เพื่อนเรียน ปริศนาความคิด กลุ่ม
ร่วมมือ การทากิจกรรมแต่ละครั้งจะต้องเลือกเทคนิคให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการเรียนแต่ละเรื่อง
โดยอาจใช้เทคนิคเดียวหรือหลายเทคนิครวมกันก็ได้
4) ขั้นตรวจสอบผลงาน
เมื่อทากิจกรรมเสร็จแล้ว ต้องมีการตรวจสอบการปฏิบัติงานว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่
โดยเริ่มจากการตรวจภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม เพื่อนาข้อบกพร่องในการปฏิบัติงานไปปรับปรุงให้ดี
ขึ้น
5) ขั้นสรุปบทเรียนและประเมินผล
ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปบทเรียน ครูอธิบายเพิ่มเติมในส่วนที่นักเรียนยังไม่เข้าใจ และ
ช่วยกันประเมินผลการทางานกลุ่มว่า จุดเด่นของงานคืออะไร และอะไรคือสิ่งที่ควรปรับปรุงและแก้ไข
ตัวอย่างเทคนิคการเรียนแบบร่วมแรงร่วมใจ
1) เพื่อนเรียน (Partners)
ให้นักเตรียมจับคู่กันทาความเข้าใจเนื้อหาและสาระสาคัญของเรื่องที่ครูกาหนดให้ โดยคู่ที่
ยังไม่เข้าใจอาจขอคาแนะนาจากครูหรือคู่อื่นที่เข้าใจดีกว่า เมื่อคู่นั้นเกิดความเข้าใจดีแล้ว ก็ถ่ายทอด
ความรู้ให้เพื่อนคู่อื่นต่อไป
2) ปริศนาความคิด (Jigsaw)
แบ่งกลุ่มนักเรียนโดยคละความสามารถ เก่ง–อ่อน เรียกว่า “กลุ่มบ้าน” (Home Groups) ครู
แบ่งเนื้อหาออกเป็นหัวข้อย่อย ๆ เท่ากับจานวนสมาชิกกลุ่ม ให้สมาชิกในกลุ่มศึกษาหัวข้อที่แตกต่างกัน
นักเรียนที่ได้รับหัวข้อเดียวกันมารวมกลุ่มเพื่อร่วมกันศึกษา เรียกว่า “กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ” (Expert Groups)
เมื่อร่วมกันศึกษาจนเข้าใจแล้ว สมาชิกแต่ละคนออกจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลับไปกลุ่มบ้านของตนเอง
จากนั้นถ่ายทอดความรู้ที่ตนศึกษามาให้เพื่อน ๆ ในกลุ่มฟังจนครบทุกคน
3) กลุ่มร่วมมือ (Co-op Co-op)
แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มคละความสามารถกัน แต่ละกลุ่มเลือกหัวข้อที่จะศึกษา เมื่อได้
หัวข้อแล้วสมาชิกในกลุ่มช่วยกันกาหนดหัวข้อย่อย แล้วแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ โดยศึกษาคนละ 1
หัวข้อย่อย จากนั้นสมาชิกนาผลงานมารวมกันเป็นงานกลุ่ม ช่วยกันเรียบเรียงเนื้อหาให้สอดคล้องกัน
และเตรียมทีมนาเสนอผลงานหน้าห้องเรียน เมื่อนาเสนอผลงานแล้ว ทุกกลุ่มช่วยกันประเมินผลการ
ทางานและผลงานกลุ่ม
4) กลุ่มร่วมกันคิด (Numbered Heads Together : NHT)
วิธีนี้เหมาะสาหรับการทบทวนความรู้ให้นักเรียน ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
(1) แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละความสามารถกัน แต่ละคนมีหมายเลข
ประจาตัว
(2) ครูถามคาถามหรือมอบหมายงานให้ทา
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 341

(3) นักเรียนช่วยกันอภิปรายในกลุ่มย่อยจนมั่นใจว่าสมาชิกทุกคนมั่นใจในคาตอบ
(4) ครูสุ่มถามโดยเรียกหมายเลขประจาตัวคนใดคนหนึ่งในกลุ่มตอบ
(5) ครูให้คาชมเชยแก่สมาชิกกลุ่มที่สามารถตอบคาถามได้มากที่สุด และอธิบายข้อคาถาม
ที่นักเรียนยังไม่เข้าใจ
6. โครงงาน (Project Work)
โครงงานเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติและศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
ตามแผนการดาเนินงานที่นักเรียนได้จัดขึ้น โดยครูช่วยให้คาแนะนาปรึกษา กระตุ้นให้คิด และติดตาม
การปฏิบัติงานจนบรรลุเป้าหมาย โครงงานแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1) โครงงานประเภทสารวจ รวบรวมข้อมูล
2) โครงงานประเภททดลอง ค้นคว้า
3) โครงงานที่เป็นการศึกษาความรู้ ทฤษฎี หลักการหรือแนวคิดใหม่
4) โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์
การเรียนรู้ด้วยโครงงานมีขั้นตอน ดังนี้
(1) กาหนดหัวข้อที่จะศึกษา
นักเรียนคิดหัวข้อโครงงาน ซึ่งอาจได้มาจากความอยากรู้อยากเห็นของนักเรียนเอง หรือได้
จากการอ่านหนังสือ บทความ การไปทัศนศึกษาดูงาน โดยนักเรียนต้องตั้งคาถามว่า “จะศึกษาอะไร”
“ทาไมต้องศึกษาเรื่องดังกล่าว”
(2) ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องและปรึกษาครู หรือผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขา
นั้น ๆ
(3) เขียนเค้าโครงของโครงงานหรือสร้างแผนผังความคิด
โดยทั่วไปเค้าโครงของโครงงานจะประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้
 ชื่อโครงงาน
 ชื่อผู้ทาโครงงาน
 ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน
 ระยะเวลาดาเนินการ
 หลักการและเหตุผล
 วัตถุประสงค์
 สมมุติฐานของการศึกษา (ในกรณีที่เป็นโครงงานทดลอง)
 ขั้นตอนการดาเนินงาน
 ปฏิบัติโครงงาน
 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
 เอกสารอ้างอิง/บรรณานุกรม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 342

(4) การปฏิบัติโครงงาน
ลงมือปฏิบัติงานตามแผนงานที่กาหนดไว้ ในระหว่างปฏิบัติงานควรมีการจดบันทึกข้อมูล
ต่าง ๆ ไว้อย่างละเอียดว่าทาอย่างไร ได้ผลอย่างไร มีปัญหาหรืออุปสรรคอะไรและมีแนวทางแก้ไข
อย่างไร
(5) การเขียนรายงาน
เป็นการรายงานสรุปผลการดาเนินงาน เพื่อให้ผู้อื่นได้ทราบแนวคิด วิธีดาเนินงาน ผลที่
ได้รับ และข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงาน ซึ่งการเขียนรายงานนี้ควรใช้ภาษาที่กระชับ เข้าใจง่าย
ชัดเจน และครอบคลุมประเด็นที่ศึกษา
(6) การแสดงผลงาน
เป็นการนาผลของการดาเนินงานมาเสนอ อาจจัดได้หลายรูปแบบ เช่น การจัดนิทรรศการ
การทาเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อมัลติมีเดีย หรืออาจนาเสนอในรูปของการแสดงผลงาน การนาเสนอด้วยวาจา
บรรยาย อภิปรายกลุ่ม และสาธิต
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 343

แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
แฟ้มสะสมผลงาน หมายถึง แหล่งรวบรวมเอกสาร ผลงาน หรือหลักฐาน เพื่อใช้สะท้อนถึง
ผลสัมฤทธิ์ ความสามารถ ทักษะ และพัฒนาการของนักเรียน มีการจัดเรียบเรียงผลงานไว้อย่างมีระบบ
โดยนาความรู้ ความคิด และการนาเสนอมาผสมผสานกัน ซึ่งนักเรียนเป็นผู้คัดเลือกผลงานและมีส่วนร่วม
ในการประเมิน แฟ้มสะสมผลงานจึงเป็นหลักฐานสาคัญที่จะทาให้นักเรียนสามารถมองเห็นพัฒนาการ
ของตนเองได้ตามสภาพจริง รวมทั้งเห็นข้อบกพร่องและแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นต่อไป
ลักษณะสาคัญของการประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน
1. ครูสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามความก้าวหน้าของนักเรียนเป็นรายบุคคลได้เป็น
อย่างดี เนื่องจากมีผลงานสะสมไว้ ครูจะทราบจุดเด่น จุดด้อยของนักเรียนแต่ละคนจากแฟ้มสะสม
ผลงาน และสามารถติดตามพัฒนาการได้อย่างต่อเนื่อง
2. มุ่งวัดศักยภาพของนักเรียนในการผลิตหรือสร้างผลงาน มากกว่าการวัดความจาจากการทา
แบบทดสอบ
3. วัดและประเมินโดยเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง คือ นักเรียนเป็นผู้วางแผน ลงมือปฏิบัติงาน
รวมทั้งประเมินและปรับปรุงตนเอง ซึ่งมีครูเป็นผู้ชี้แนะ เน้นการประเมินผลย่อยมากกว่าการประเมินผล
รวม
4. ฝึกให้นักเรียนรู้จักการประเมินตนเอง และหาแนวทางปรับปรุงพัฒนาตนเอง
5. นักเรียนเกิดความมั่นใจและภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง รู้ว่าตนเองมีจุดเด่นในเรื่องใด
6. ช่วยในการสื่อความหมายเกี่ยวกับความรู้ ความสามารถ ตลอดจนพัฒนาการของนักเรียนให้ผู้
ที่เกี่ยวข้องทราบ เช่น ผู้ปกครอง ฝ่ายแนะแนว ตลอดจนผู้บริหารของโรงเรียน
ขั้นตอนการประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน
การจัดทาแฟ้มสะสมผลงานมี 10 ขั้นตอน ซึ่งแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียด ดังนี้
1. การวางแผนจัดทาแฟ้มสะสมผลงาน การจัดทาแฟ้มสะสมผลงานต้องมีส่วนร่วมระหว่างครู
นักเรียน และผู้ปกครอง
ครู การเตรียมตัวของครูต้องเริ่มจากการศึกษา และวิเคราะห์หลักสูตร คู่มือครู คาอธิบายรายวิชา
วิธีการวัดและประเมินผลในหลักสูตร รวมทั้งครูต้องมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินโดยใช้แฟ้ม
สะสมผลงาน จึงสามารถวางแผนกาหนดชิ้นงานได้
นักเรียน ต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับจุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระ การประเมินผลโดยใช้
แฟ้มสะสมงาน การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ การกาหนดชิ้นงาน และบทบาทในการทางานกลุ่ม
โดยครูต้องแจ้งให้นักเรียนทราบล่วงหน้า
ผู้ปกครอง ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการคัดเลือกผลงาน การแสดงความคิดเห็น และรับรู้
พัฒนาการของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นก่อนทาแฟ้มสะสมผลงาน ครูต้องแจ้งให้ผู้ปกครองทราบหรือ
ขอความร่วมมือ รวมทั้งให้ความรู้ในเรื่องการประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมผลงานแก่ผู้ปกครองเมื่อมี
โอกาส
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 344

2. การรวบรวมผลงานและจัดระบบแฟ้ม ในการรวบรวมผลงานต้องออกแบบการจัดเก็บหรือ
แยกหมวดหมู่ของผลงานให้ดี เพื่อสะดวกและง่ายต่อการนาข้อมูลออกมาใช้ แนวทางการจัดหมวดหมู่
ของผลงาน เช่น
 จัดแยกตามลาดับ วัน เวลาที่สร้างผลงานขึ้นมา
 จัดแยกตามความซับซ้อนของผลงาน เป็นการแสดงถึงทักษะหรือพัฒนาการของนักเรียนที่
มากขึ้น
 จัดแยกตามวัตถุประสงค์ เนื้อหา หรือประเภทของผลงาน
ผลงานทีอ่ ยู่ในแฟ้มสะสมผลงานอาจมีหลายเรื่อง หลายวิชา ดังนั้นนักเรียนจะต้องทาเครื่องมือ
ในการช่วยค้นหา เช่น สารบัญ ดัชนีเรื่อง จุดสี และแถบสีติดไว้ที่ผลงานโดยมีรหัสที่แตกต่างกัน
3. การคัดเลือกผลงาน ในการคัดเลือกผลงานนั้นควรให้สอดคล้องกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่
โรงเรียน ครู หรือนักเรียนร่วมกันกาหนดขึ้นมา และผู้คัดเลือกผลงานควรเป็นนักเรียนเจ้าของแฟ้มสะสม
ผลงาน หรือมีส่วนร่วมกับครู เพื่อน และผู้ปกครอง
ผลงานที่เลือกเข้าแฟ้มสะสมผลงาน ควรมีลักษณะดังนี้
 สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
 เป็นผลงานชิ้นที่ดีที่สุด มีความหมายต่อนักเรียนมากที่สุด
 สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการของนักเรียนในทุกด้าน
 เป็นสื่อที่จะช่วยให้นักเรียนมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับครู ผู้ปกครอง และเพื่อน ๆ
ส่วนจานวนชิ้นงานนั้นให้กาหนดตามความเหมาะสม ไม่ควรมีมากเกินไป เพราะอาจจะทาให้
ผลงานบางชิ้นไม่มีความหมาย แต่ถ้ามีน้อยเกินไปจะทาให้การประเมินไม่มีประสิทธิภาพ
4. สร้างสรรค์แฟ้มสะสมผลงานให้มีเอกลักษณ์ของตนเอง โครงสร้างหลักของแฟ้มสะสม
ผลงานอาจเหมือนกัน แต่นักเรียนสามารถตกแต่งรายละเอียดย่อยให้แตกต่างกันตามความคิดสร้างสรรค์
ของแต่ละบุคคล โดยอาจใช้ภาพ สี สติกเกอร์ ตกแต่งให้สวยงามเน้นเอกลักษณ์ของเจ้าของแฟ้มสะสม
ผลงาน
5. การแสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึกต่อผลงาน ในขั้นตอนนี้นักเรียนจะได้รู้จักการ
วิพากษ์วิจารณ์ หรือสะท้อนความคิดเกี่ยวกับผลงานของตนเอง ตัวอย่างข้อความที่ใช้แสดงความรู้สึกต่อ
ผลงาน เช่น
 ได้แนวคิดจากการทาผลงานชิ้นนี้มาจากไหน
 เหตุผลที่เลือกผลงานชิ้นนี้คืออะไร
 จุดเด่น จุดด้อยของผลงานชิ้นนี้คืออะไร
 รู้สึกพอใจกับผลงานชิ้นนี้มากน้อยเพียงใด
 ได้ข้อคิดอะไรจากการทาผลงานชิ้นนี้
6. ตรวจสอบความสามารถของตนเอง เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ประเมินความสามารถ
ของตนเอง โดยพิจารณาตามเกณฑ์ย่อย ๆ ที่ครูและนักเรียนช่วยกันกาหนดขึ้น เช่น นิสัยการทางาน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 345

ทักษะทางสังคม การทางานเสร็จตามระยะเวลาที่กาหนด การขอความช่วยเหลือเมื่อมีความจาเป็น


นอกจากนี้การตรวจสอบความสามารถตนเองอีกวิธีหนึ่ง คือ การให้นักเรียนเขียนวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย
ของตนเอง และสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไข
7. การประเมินผลงาน เป็นขั้นตอนที่สาคัญเนื่องจากเป็นการสรุปคุณภาพของงานและ
ความสามารถหรือพัฒนาการของนักเรียน การประเมินแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ การประเมินโดย
ไม่ให้ระดับคะแนน และการประเมินโดยให้ระดับคะแนน
การประเมินโดยไม่ให้ระดับคะแนน ครูกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า แฟ้มสะสมผลงานมีไว้เพื่อศึกษา
กระบวนการทางาน ศึกษาความคิดเห็น ความรู้สึกของนักเรียนที่มีต่อผลงานของตนเอง ตลอดจนดู
พัฒนาการหรือความก้าวหน้าของนักเรียนอย่างไม่เป็นทางการ ครู ผู้ปกครอง และเพื่อนสามารถให้คา
ชี้แนะแก่นักเรียนได้ ซึ่งวิธีการนี้จะทาให้นักเรียนได้เรียนรู้และปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องกังวลว่า
จะได้คะแนนมากน้อยเท่าไร
การประเมินโดยให้ระดับคะแนน มีทั้งการประเมินตามจุดประสงค์การเรียนรู้ การประเมิน
ระหว่างภาคเรียน และการประเมินปลายภาค ซึ่งจะช่วยในวัตถุประสงค์ด้านการปฏิบัติเป็นหลัก การ
ประเมินแฟ้มสะสมผลงานต้องกาหนดมิติการให้คะแนน (scoring rubrics) ตามเกณฑ์ที่ครูและนักเรียน
ร่วมกันกาหนดขึ้น การให้ระดับคะแนนมีทั้งการให้คะแนนเป็นรายชิ้นก่อนเก็บเข้าแฟ้มสะสมผลงาน
และการให้คะแนนแฟ้มสะสมผลงานทั้งแฟ้ม ซึ่งมาตรฐานคะแนนนั้นต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
การจัดทาแฟ้มสะสมผลงาน และมุ่งเน้นพัฒนาการของนักเรียนแต่ละคนมากกว่าการนาไปเปรียบเทียบ
กับบุคคลอื่น
8. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้อื่น มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับฟังความ
คิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ เพื่อน ครู และผู้ปกครอง อาจทาได้หลายรูปแบบ เช่น การจัด
ประชุมในโรงเรียนโดยเชิญผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาร่วมกันพิจารณาผลงาน การสนทนาแลกเปลี่ยนระหว่าง
นักเรียนกับเพื่อน การส่งแฟ้มสะสมผลงานไปให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องช่วยให้ข้อเสนอแนะหรือคาแนะนา
ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์นั้นนักเรียนจะต้องเตรียมคาถามเพื่อถามผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่ง
จะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงงานของตนเอง ตัวอย่างคาถาม เช่น
 ท่านคิดอย่างไรกับผลงานชิ้นนี้
 ท่านคิดว่าควรปรับปรุงแก้ไขส่วนใดอีกบ้าง
 ผลงานชิ้นใดที่ท่านชอบมากที่สุด เพราะอะไร
 ฯลฯ
9. การปรับเปลี่ยนผลงาน หลังจากที่นักเรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และได้รับคาแนะนา
จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว จะนามาปรับปรุงผลงานให้ดีขึ้น นักเรียนสามารถนาผลงานที่ดีกว่าเก็บเข้า
แฟ้มสะสมผลงานแทนผลงานเดิม ทาให้แฟ้มสะสมผลงานมีผลงานที่ดี ทันสมัย และตรงตามจุดประสงค์
ในการประเมิน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 346

10. การประชาสัมพันธ์ผลงานของนักเรียน เป็นการแสดงนิทรรศการผลงานของนักเรียน โดย


นาแฟ้มสะสมผลงานของนักเรียนทุกคนมาจัดแสดงร่วมกัน และเปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง ครู และ
นักเรียนทั่วไปได้เข้าชมผลงาน ทาให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง
ผู้ที่เริ่มต้นทาแฟ้มสะสมผลงานอาจไม่ต้องดาเนินการทั้ง 10 ขั้นตอนนี้ อาจใช้ขั้นตอนหลัก ๆ
คือ การรวบรวมผลงานและการจัดระบบแฟ้ม การคัดเลือกผลงาน และการแสดงความคิดเห็นหรือ
ความรู้สึกต่อผลงาน

องค์ประกอบสาคัญของแฟ้มสะสมผลงาน มีดังนี้

1. ส่วนนา ประกอบด้วย
 ปก
 คานา
 สารบัญ
 ประวัติส่วนตัว
 จุดมุ่งหมายของการทาแฟ้ม
สะสมผลงาน
2. ส่วนเนื้อหาแฟ้ม ประกอบด้วย
 ผลงาน
 ความคิดเห็นที่มีต่อผลงาน
 Rubrics ประเมินผลงาน

3. ส่วนข้อมูลเพิ่มเติม ประกอบด้วย
 ผลการประเมินการเรียนรู้
 การรายงานความก้าวหน้าโดยครู
 ความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วน
เกี่ยวข้อง เช่น เพื่อน ผู้ปกครอง
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 347

ผังการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design


หน่วยการเรียนรู้ที่......
ขั้นที่ 1 ผลลัพธ์ปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน
ตัวชี้วัดชั้นปี...............................................................................................................
ความเข้าใจที่คงทนของนักเรียน คาถามสาคัญที่ทาให้เกิดความเข้าใจที่คงทน
นักเรียนจะเข้าใจว่า…
1. ................................................ 1. ....................................................................
2. ............................................... 2. ....................................................................
ความรู้ของนักเรียนที่นาไปสู่ความเข้าใจที่คงทน ทักษะ/ความสามารถของนักเรียนที่จะนาไปสู่ความเข้าใจที่คงทน
นักเรียนจะรู้ว่า… นักเรียนจะสามารถ...
1. ................................................. 1. ..................................................................
2. ................................................. 2. ..................................................................
3. ................................................. 3. ...................................................................
ขั้นที่ 2 ภาระงานและการประเมินผลการเรียนรู้ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนมีผลการเรียนรู้ตามที่กาหนดไว้
อย่างแท้จริง
1. ภาระงานที่นักเรียนต้องปฏิบัติ
...........................................................................................................................
..........................................................................................................................
2. วิธีการวัดและเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้
............................................... ...............................................
............................................... ...............................................
3. สิ่งที่มุ่งประเมิน
...............................................................................................................................
...............................................................................................................................
ขั้นที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้
.......................................................................................................................
.......................................................................................................................
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 348

รูปแบบแผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมง
เมื่อครูออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Backward Design แล้ว ครูสามารถเขียน
แผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมงโดยใช้รูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้แบบเรียงหัวข้อ ซึ่งมี
รายละเอียดดังนี้
ชื่อแผน...(ระบุชื่อและลาดับที่ของแผนการจัดการเรียนรู้)
ชื่อเรื่อง...(ระบุชื่อเรื่องที่ใช้จัดการเรียนรู้)
สาระที่...(ระบุสาระที่ใช้จัดการเรียนรู้)
เวลา...(ระบุระยะเวลาที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ต่อ 1 แผน)
ชั้น...(ระบุชั้นที่จัดการเรียนรู้)
หน่วยการเรียนรู้ที่...(ระบุชื่อและลาดับที่ของหน่วยการเรียนรู้)
สาระสาคัญ...(เขียนความคิดรวบยอดหรือมโนทัศน์ของหัวเรื่องที่จะจัดการเรียนรู้)
ตัวชี้วัดชั้นปี...(ระบุตัวชี้วัดชั้นปีที่ใช้เป็นเป้าหมายของแผนการจัดการเรียนรู้)
จุดประสงค์การเรียนรู้...(กาหนดให้สอดคล้องกับสมรรถนะสาคัญและคุณลักษณะอันพึง
ประสงค์ของนักเรียนหลังจากสาเร็จการศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551 ซึ่งประกอบด้วย
ด้านความรู้ความคิด (Knowledge: K)
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจิตวิทยาศาสตร์ (Affective: A)
ด้านทักษะ/กระบวนการ (Performance: P))
การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้...(ระบุวิธีการและเครื่องมือวัดและประเมินผลที่สอดคล้อง
กับจุดประสงค์การเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน)
สาระการเรียนรู้...(ระบุสาระและเนื้อหาที่ใช้จัดการเรียนรู้ อาจเขียนเฉพาะหัวเรื่องก็ได้)
แนวทางการบูรณาการ...(เสนอแนะและระบุกิจกรรมของกลุ่มสาระอื่นที่บูรณาการร่วมกัน)
กระบวนการจัดการเรียนรู้...กาหนดให้สอดคล้องกับธรรมชาติของกลุ่มสาระและการบูรณาการ
ข้ามสาระ
กิจกรรมเสนอแนะ...(ระบุรายละเอียดของกิจกรรมที่นักเรียนควรปฏิบัติเพิ่มเติม)
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้...(ระบุสื่อ อุปกรณ์ และแหล่งการเรียนรู้ที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้)
บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้...(ระบุรายละเอียดของผลการจัดการเรียนรู้ตามแผนที่
กาหนดไว้ อาจนาเสนอข้อเด่นและข้อด้อยให้เป็นข้อมูลที่สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการทาวิจัยใน
ชั้นเรียนได้)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 349

ใบกิจกรรม วิทยาศาสตร์ ป. 6

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่างกายของเรา

ใบกิจกรรมที่ 1

สืบค้นข้อมูล อวัยวะที่นักเรียนสนใจ

ปัญหา อวะยวัต่าง ๆ ในร่างกายจัทาหน้าที่เหมือนกะนหรือไม่


ขั้นตอน
ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
1. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มเลือกสืบค้น
1. การลงความคิดเห็นข้อมูล
ข้อมูลอวัยวะภายในร่างกาย 1 อวัยวะ
2. การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
2. ช่วยกันหาข้อมูลอวัยวะที่เลือกจากแหล่งข้อมูล
3. การตีความหมายข้อมูลและการลง
ต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด
ข้อสรุป
3. แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนนาเสนอข้อมูลที่ได้จาก
การศึกษาหน้าชั้นเรียน อุปกรณ์
1. ดินสอ/ปากกา 1 แท่ง/ด้าม
2. สมุด 1 เล่ม
3. ห้องสมุดและเว็บไซต์
ที่เกี่ยวข้องทางอินเทอร์เน็ต

บันทึกผลการสืบค้นข้อมูล

รายการบันทึกผลการสืบค้นข้อมูล
วันที่ 3 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2559
แนวคาตอบ ศึกษาเกี่ยวกับปอด
ปอด มีลักษณะโป่งและหยุ่นคล้ายฟองน้า พบอยู่ในช่องอก ประกอบด้วยถุงลมเล็ก ๆ จานวนมาก
รอบ ๆ ถุงลมมีหลอดเลือดฝอยหุ้มอยู่ ทาหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่อยู่ภายในร่างกาย
กับแก๊สออกซิเจนที่รับมาจากภายนอก
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 350

สรุปผล
พิจารณาจากคาตอบนะกเรียน
แนวคำตอบ ถ้านะกเรียนเลือกศึกษาเกี่ยวกะบปอดควรได้ข้อสรุปดะงนี้
ปอด มีละกษณัโป่งแลัหยุ่นคล้ายฟองน้า พบอยู่ในช่องอก ปรักอบด้วยถุงลมเล็ก ๆ จานวนมาก
รอบ ๆ ถุงลมจัมีเส้นเลือดฝอยหุ้มอยู่ ทาหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่อยู่ภายในร่างกายกะบ
แก๊สออกซิเจนที่ระบมาจากภายนอก

คาถามประกอบกิจกรรม
1. กลุ่มของนักเรียนเลือกศึกษาอวัยวะใดในร่างกาย เพราะเหตุใดจึงเลือกศึกษาอวัยวะนี้
พิจารณาจากคาตอบนะกเรียน
แนวคำตอบ
ปอด เพราัเป็นอวะยวัสาคะญในรับบหายใจ
2. อวัยวะที่นักเรียนเลือกศึกษามีความสัมพันธ์กับอวัยวะอื่นในร่างกายหรือไม่ ลักษณะใด
พิจารณาจากคาตอบนะกเรียน
แนวคำตอบ
มีความสะมพะนธ์กะน เพราัปอดเป็นอวะยวัที่เกี่ยวข้องกะบรับบหายใจ ช่วยแลกเปลี่ยนแก๊สให้กะบ
อวะยวัต่าง ๆ ในร่างกาย
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 351

ใบกิจกรรมที่ 2

สังเกต การสูดลมหายใจ

ปัญหา ขณัที่เราหายใจเข้า–ออก อวะยวัต่าง ๆ จัเคลื่อนไหวในละกษณัใด

1. นักเรียนใช้มือสัมผัสบริเวณทรวงอกและหน้าท้อง ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
ของตนเอง 1. การสังเกต
2. หายใจเข้าลึก ๆ แล้วกลั้นหายใจไว้อึดใจหนึ่งก่อนที่ 2. การลงความคิดเห็นข้อมูล
จะหายใจออก จากนั้นสังเกตการเคลื่อนไหวของกระดูกซี่โครง 3. การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
และหน้าท้อง ขณะที่หายใจเข้าและหายใจออก 4. การตีความหมายข้อมูลและการลง
3. บันทึกผลการสังเกตแล้วสรุปผล ข้อสรุป
อุปกรณ์
กิจกรรมนี้ใช้ร่างกายของนักเรียนเป็น
อุปกรณ์

ใช้มือสะมผะสบริเวณทรวงอกแลัหน้าท้องของตนเอง

บันทึกผลการสังเกต
การทากิจกรรม สิ่งที่สังเกตได้
สังเกตการเคลื่อนไหวของ ขณะหายใจเข้า: กรัดูกซี่โครงยกตะวสูงขึ้น
กระดูกซี่โครงและหน้าท้อง กล้ามเนื้อกับะงลมหดตะว ท้องจัป่องออก
ขณะหายใจออก: กรัดูกซี่โครงลดต่าลง
กล้ามเนื้อกับะงลมคลายตะว ท้องจัแฟบลง

สรุปผล
การหายใจเข้าแลัหายใจออกจัมีผลต่อการเคลื่อนไหวของกรัดูกซี่โครง กับะงลม แลัหน้าท้อง
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 352

คาถามประกอบกิจกรรม
1. การหายใจเข้า–ออกจะสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวของกระดูกซี่โครงหรือไม่ ลักษณะใด
การหายใจเข้า–ออกจัสะมพะนธ์กะบการเคลื่อนไหวของกรัดูกซี่โครง โดยเมื่อหายใจเข้า กรัดูก
ซี่โครงจัยกตะวสูงขึ้น แต่เมื่อหายใจออก กรัดูกซี่โครงจัลดต่าลง
2. การหายใจเข้า–ออกแต่ละครั้งเกี่ยวข้องกับอวัยวะใดบ้าง
อวะยวัที่เกี่ยวข้องกะบการหายใจ ได้แก่ จมูก โพรงจมูก ท่อลม ปอด หลอดลม ถุงลม กับะงลม แลั
กรัดูกซี่โครง
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 353

ใบกิจกรรมที่ 3

สังเกต (09) อัตราการเต้นของหัวใจ

ปัญหา ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
ขั้นตอน 1. การสังเกต
1. แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5 คน ให้นักเรียนในกลุ่มนั่ง 2. การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
อยู่กับที่แล้วสังเกตอัตราการเต้นของหัวใจ โดยผลัดกันจับชีพจร 3. การตีความหมายข้อมูลและการ
บริเวณข้อมือ นับจานวนครั้งภายในเวลา 1 นาที บันทึกผลที่สังเกต ลงข้อสรุป
ได้ อุปกรณ์
2. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มวิ่งรอบห้องเรียน 1 รอบ แล้ว 1. ดินสอ/ปากกา 1 แท่ง/ด้าม
ผลัดกันจับชีพจร นับจานวนครั้งที่ชีพจรเต้นภายในเวลา 1 นาที 2. สมุด 1 เล่ม
บันทึกผลแล้วสรุปผลการสังเกต 3. นาฬิกาจับเวลา 1 เรือน

ผละดกะนจะบชีพจร สะงเกตอะตราการเต้นของหะวใจ

บันทึกผลการสังเกต
กิจกรรม อัตราการเต้นของหัวใจ (ครั้ง/นาที)
ขณะนั่งปกติ 85
หลังจากวิ่งรอบห้อง 90

สรุปผล
การออกกาละงกายจัมีผลต่ออะตราการเต้นของหะวใจ ทาให้อะตราการเต้นของหะวใจสูงขึ้นกว่าปกติ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 354

คาถามประกอบกิจกรรม
1. เพราะเหตุใดจึงวัดอัตราการเต้นของหัวใจได้จากการสัมผัสหลอดเลือดที่บริเวณข้อมือ
เพราัหลอดเลือดจัหดแลัขยายตะวตามจะงหวัการเต้นของหะวใจ
2. หลังออกกาลังกายเสร็จใหม่ ๆ อัตราการเต้นของชีพจรจะเป็นอย่างไร
อะตราการเต้นของชีพจรจัเร็วแลัแรงขึ้น
3. ผลสรุปของกิจกรรมนี้คืออะไร
การออกกาละงกายจัมีผลต่ออะตราการเต้นของหะวใจ ทาให้อะตราการเต้นของหะวใจสูงกว่าปกติ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 355

ใบกิจกรรมที่ 4
สังเกต สิ่งที่อยู่ในลมหายใจ

ปัญหา แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ถูกขะบออกมาพร้อม ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน


กะบลมหายใจออกจริงหรือไม่ 1. การสังเกต
ขั้นตอน 2. การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
1. ใส่น้าปูนใสลงในบีกเกอร์ แล้วสังเกตลักษณะ 3. การตีความหมายข้อมูลและการ
ของน้าปูนใสที่อยู่ในบีกเกอร์ก่อนเป่าลม บันทึกสิ่งที่ ลงข้อสรุป
สังเกตได้ อุปกรณ์
2. เป่าลมจากปากผ่านหลอดกาแฟลงไปในน้าปูน 1. บีกเกอร์ขนาด 250 ลบ.ซม. 1 ใบ
ใส สังเกตลักษณะของน้าปูนใส บันทึกผล แล้วสรุปผล 2. น้าปูนใส 100 ลบ.ซม.
การสังเกต 3. หลอดกาแฟ 1 หลอด

เป่าลมจากปากลงไปในน้าปูนใส

บันทึกผลการสังเกต

ลักษณะของน้าปูนใส
ก่อนเป่าลม หลังเป่าลม
ใส ขุ่น
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 356

สรุปผล
เมื่อเป่าลมลงไปพบว่าน้าปูนใสจัขุ่น แสดงว่าลมหายใจออกของเรามีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
อยู่ด้วย เพราัแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จัทาให้น้าปูนใสขุ่นได้

คาถามประกอบกิจกรรม
1. เมื่อเป่าลมลงน้าปูนใสจะเกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะใด เพราะอะไร
น้าปูนใสจัขุ่น เพราัในลมหายใจออกมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
2. นักเรียนคิดว่านอกจากแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว ในลมหายใจออกยังมีอะไรอีกบ้าง
ไอน้า
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 357

ใบกิจกรรมที่ 5
สังเกต การเจริญเติบโตของตนเอง

ปัญหา การเจริญเติบโตของนะกเรียนกะบเพื่อนมีความ ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน


แตกต่างกะนหรือไม่ 1. การสังเกต
ขั้นตอน 2. การวัด
1. แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 6 คน ให้เป็นนักเรียนชาย 3. การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
3 คน นักเรียนหญิง 3 คน 4. การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป
2. สังเกตการเจริญเติบโตโดยการวัดความสูง อุปกรณ์
ชั่งมวล และวัดความยาวของช่วงแขนและขาของเพื่อนใน 1. กระดาษ 1 แผ่น
กลุ่ม 2. ดินสอ/ปากกา 1 แท่ง/ด้าม
3. บันทึกความสูง มวล ความยาวของช่วงแขนและ 3. เครื่องวัดส่วนสูง 1 เครื่อง
ขาของเพื่อนที่สังเกตได้ แล้วสรุปผล 4. เครื่องชั่งมวล 1 เครื่อง
5. สายวัดตัวหรือไม้บรรทัด 1 ม้วน/อัน

วะดความสูง ชะ่งมวล วะดความยาวแขนแลัขา


คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 358

บันทึกผลการสังเกต
ขนาดของร่างกายที่วัดได้
เพื่อน ความสูง มวล ความยาวของแขน ความยาวของขา
(ซม.) (กก.) (ซม.) (ซม.)
เพศชาย 1 150 40 60 85
เพศหญิง 2 153 45 60 87
เพศชาย 3 140 35 53 75
เพศชาย 4 150 50 62 83
เพศหญิง 5 158 55 65 90

สรุปผล
การเจริญเติบโตของนะกเรียนจัใกล้เคียงกะน โดยเฉลี่ยแล้วนะกเรียนหญิงจัมีส่วนสูง มวล
ความยาวแขน แลัความยาวขามากกว่านะกเรียนชาย

คาถามประกอบกิจกรรม
1. ขนาดร่างกายของนักเรียนที่วัดได้มีค่าเท่าใดบ้าง
แนวคาตอบ ความสูง 150 เซนติเมตร น้าหนะก 40 กิโลกระม แขนยาว 60 เซนติเมตร แลัขายาว 85
เซนติเมตร
2. ขนาดร่างกายของนักเรียนเมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อน ๆ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
แนวคาตอบ แตกต่างกะนทะ้งความสูง มวล แลัความยาวแขนแลัขา
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 359

ใบกิจกรรมที่ 6

สารวจ สารอาหารที่ได้ในแต่ละวัน

ปัญหา อาหารที่เราระบปรัทานแต่ลัวะนมีสารอาหารครบ ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน


หรือไม่ 1. การสังเกต
ขั้นตอน 2. การเปรียบเทียบ
1. นักเรียนสังเกตอาหารเช้าที่นักเรียนรับประทาน 3. การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
บันทึกรายการอาหารและบันทึกว่าอาหารที่รับประทาน 4. การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป
มีสารอาหารใดบ้าง อุปกรณ์
2. นักเรียนถามเพื่อนอีก 4 คนในห้อง สารวจว่า 1. ดินสอ/ปากกา 1 แท่ง/ด้าม
อาหารเช้าทีร่ ับประทานคืออะไร และมีสารอาหารใดบ้าง 2. สมุด 1 เล่ม
บันทึกผลที่สังเกตได้ลงตาราง 3. ห้องสมุดและเว็บไซต์
3. เปรียบเทียบสารอาหารที่นักเรียนและเพื่อน ที่เกี่ยวข้องทางอินเทอร์เน็ต
ได้รับ

สะงเกตแลับะนทึกรายการอาหารเช้า
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 360

บันทึกผลการสารวจ
รายการอาหาร สารอาหาร
คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่
1. ข้าวผัดหมูใส่ไข่     
2. ขนมปังไส้กรอก   
3. ข้าวกับแกงส้มผักรวมเจ    
4. ข้าวมันไก่ไม่ใส่ผัก   
5. เส้นใหญ่ราดหน้าไก่     

สรุปผล
อาหารแต่ลัชนิดมีสารอาหารไม่เหมือนกะน

คาถามประกอบกิจกรรม
1. กลุ่มของนักเรียนได้รับสารอาหารครบถ้วนหรือไม่
แนวคาตอบ ไม่ครบถ้วน
2. นักเรียนจะแนะนาให้เพื่อนรับประทานอาหารอะไรในมื้อเย็นเพื่อให้เพื่อนได้สารอาหารครบถ้วน
แนวคาตอบ สละดไก่อบ เพื่อให้เพื่อนคนที่ 2 แลั 4 ได้วิตามินแลัเกลือแร่จากผะกแลัผลไม้ แลั
ให้เพื่อนคนที่ 3 ได้โปรตีนจากไก่อบ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 361

ใบกิจกรรมที่ 7

สังเกต พลังงานที่เหมาะสมซึ่งได้รับจากสารอาหาร

ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
ปัญหา เราได้ระบพละงงานเพียงพอในแต่ลัวะนหรือยะง
1. การสังเกต
2. การใช้ตัวเลข
1. ให้นักเรียนคิดเมนูอาหารจานเดียว 3 อย่างที่
3. การเปรียบเทียบ
ต้องการรับประทานเป็นอาหารเช้า อาหารกลางวัน และอาหาร
4. การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
เย็น แล้วสังเกตพลังงานที่นักเรียนจะได้รับจากการ
5. การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป
รับประทานอาหารดังกล่าวใน 1 วัน โดยคานวณพลังงานที่ได้
อุปกรณ์
จากการเทียบพลังงานในตารางแสดงค่าพลังงานของอาหาร
1. ดินสอ/ปากกา 1 แท่ง/ด้าม
จานเดียวที่อยู่ในภาคผนวกในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน
2. สมุด 1 เล่ม
วิทยาศาสตร์ ป. 6
2. บันทึกผลการสังเกตพลังงานที่นักเรียนได้รับ
3. เปรียบเทียบและวิเคราะห์พลังงานที่นักเรียนได้รับจากการรับประทานอาหารทั้ง 3 อย่างกับ
เพื่อน

คิดแลัคานวณพละงงานที่จัได้ระบจากอาหารจานเดียว
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 362

บันทึกผลการสังเกต
รายการอาหาร พลังงาน (กิโลแคลอรี)
1. ข้าวหมูแดง 540
2. หมี่กรอบ 574
3. ข้าวคลุกกัปิ 614
พลังงานรวม 1,728

สรุปผล
พละงงานที่นะกเรียนได้ระบในแต่ลัวะนขึ้นอยู่กะบอาหารที่ระบปรัทาน

คาถามประกอบกิจกรรม
1. นักเรียนได้รับพลังงานรวมเท่าไร
1,728 กิโลแคลอรี
2. พลังงานที่นักเรียนได้รับมากหรือน้อยกว่าพลังงานจากตารางความต้องการพลังงานที่ควรได้รับใน 1 วัน
และมีค่าต่างกันเท่าไร
น้อยกว่า ถ้าเป็นเด็กผู้ชายอายุ 10–12 ปี ควรได้ระบพละงงานใน 1 วะน เท่ากะบ 1,850 กิโลแคลอรี
ทาให้ได้ระบพละงงานต่างกะน 122 กิโลแคลอรี
3. นักเรียนจะปรับเปลี่ยนรายการอาหารจานเดียวอย่างไร เพื่อให้ได้รับพลังงานที่พอเหมาะต่อร่างกาย
แนวคาตอบ เปลี่ยนข้าวหมูแดงเป็นก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ผะดซีอิ๊วหมูใส่ไข่
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 363

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

ใบกิจกรรมที่ 8
สารวจ กลุ่มสิ่งมีชีวิต

ปัญหา สิ่งมีชีวิตแต่ลัแห่งมีอัไรบ้าง
ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
ขั้นตอน
1. การลงความคิดเห็นข้อมูล
1. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5–6 คน แต่ละกลุ่ม
2. การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
เลือกระบบนิเวศที่ต้องการสังเกต 1 บริเวณ เช่น ใต้ต้นไม้
3. การตีความหมายข้อมูลและการลง
ใหญ่ พุ่ ม ไม้ แอ่ ง น้ าเล็ ก ๆ บ่ อ เลี้ ย งปลา หรื อใต้ ข อนไม้
ข้อสรุป
กาหนดขอบเขตที่จะศึกษาให้แน่นอน เช่น 2 × 2 ตาราง
อุปกรณ์
เมตร หรือ 3 × 3 ตารางเมตร
1. สวิง 1 ปาก
2. ถ้าเป็นแหล่งน้า ใช้สวิงตักช้อนสิ่งมีชีวิต นับจานวน
2. เสียม 1 เล่ม
สิ่ ง มี ชี วิ ต ทั้ ง พื ช และสั ต ว์ ถ้ า บริ เ วณที่ ส ารวจเป็ น พื้ น ดิ น
3. ถาด 1 ใบ
ให้ใช้เสียมขุดคุ้ย เขี่ยดินแล้วตักใส่ถาด นับจานวนสิ่งมีชีวิต
ทั้งพืชและสัตว์ บันทึกผลการสารวจ
3. อภิปรายและสรุปผลการสารวจ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 364

บันทึกผลการสารวจ
บริเวณที่สารวจ สิ่งมีชีวิตที่พบ
พืช จานวน สัตว์ จานวน
สรัน้า สาหร่ายหางกรัรอก 5 ต้น ปลาหางนกยูง 15 ตะว
หน้าโรงเรียน จอก 20 ต้น จิงโจ้น้า 2 ตะว
จอกหูหนู 25 ต้น ปลาหมอ 3 ตะว

สรุปผล
พิจารณาจากคาตอบนะกเรียน
แนวคาตอบ
สิ่งมีชีวิตที่พบในสรัน้าหน้าโรงเรียน ได้แก่ สาหร่ายหางกรัรอก จานวน 5 ต้น จอก จานวน
20 ต้น จอกหูหนู จานวน 25 ต้น ปลาหางนกยูง จานวน 15 ตะว จิงโจ้น้า จานวน 2 ตะว แลัปลาหมอ จานวน
3 ตะว

คาถามประกอบกิจกรรม
1. ในบริเวณที่นักเรียนสังเกตมีกลุ่มสิ่งมีชีวิตชนิดใดบ้าง ชนิดใดมีมากที่สุด
สาหร่ายหางกรัรอก จอก จอกหูหนู ปลาหางนกยูง จิงโจ้น้า แลัปลาหมอ โดยจัพบจอกหูหนู
มากที่สุด
2. สิ่งมีชีวิตในบริเวณที่สารวจได้รับอาหารจากแหล่งใด
พืชสร้างอาหารโดยกรับวนการสะงเคราัห์ด้วยแสง สะตว์บางชนิดได้ระบอาหารจากการกินพืช
แลัสะตว์บางชนิดได้ระบอาหารจากการกินสะตว์ชนิดอื่น
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 365

ใบกิจกรรมที่ 9
สารวจ แหล่งที่มาของอาหาร

ปัญหา ในมื้อหนึ่ง ๆ เราระบปรัทานพืชแลัสะตว์อัไรบ้าง


ขั้นตอน
1. ทารายการชนิดของอาหารที่นักเรียนได้รับประทานใน ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
มื้อเย็น หรือมื้อกลางวัน 1. การสังเกต
2. ให้บอกชื่อพืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตที่นามาทาเป็นอาหาร 2. การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
แต่ละชนิด เช่น ขนมปัง ทามาจากแป้งซึ่งได้มาจากพืช คือ ข้าว 3. การตีความหมายข้อมูลและการลง
สาลี ส่วนน้าตาลได้มาจากอ้อย และนมได้มาจากสัตว์ คือ วัว ข้อสรุป
ส่วนยีสต์ คือ สิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ อุปกรณ์
3. นับจานวนสิ่งมีชีวิตที่นามาทาเป็นอาหาร จากนั้น 1. ดินสอ/ปากกา 1 แท่ง/ด้าม
บันทึกผลการสารวจ 2. กระดาษ 1 แผ่น
4. นาเสนอผลการสารวจ อภิปราย และสรุปผลการ
สารวจ
บันทึกผลการสารวจ
แหล่งที่มา
รายการอาหาร ส่วนประกอบในอาหาร
พืช สัตว์
1. ข้าว – 
2. ผะดคัน้าหมูกรอบ ผะกคัน้า 
หมู
น้าปลา (ปลากะบเกลือ) 

น้ามะน (ราข้าว) 
3. นม – 
รวม 3 3

สรุปผล
พืชที่นามาทาเป็นอาหาร ได้แก่ ข้าว ผะกคัน้า ส่วนสะตว์ที่นามาทาเป็นอาหาร ได้แก่ หมูแลัปลา
คาถามประกอบกิจกรรม
1. อาหารของนักเรียนได้มาจากสิ่งมีชีวิตชนิดใดบ้าง
พืชแลัสะตว์
2. ถ้าโลกนี้ไม่มีพืชจะเกิดสิ่งใดกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ
มนุษย์แลัสะตว์อื่น ๆ ขาดอาหารแลัตายในที่สุด
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 366

ใบกิจกรรมที่ 10

สังเกต สภาพแวดล้อมแหล่งที่อยู่อาศัยของไส้เดือนดิน

ปัญหา สภาพแวดล้อมละกษณัใดที่เหมาัสมกะบไส้เดือนดิน ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน


1. การสังเกต
ขั้นตอน
2. การจัดกระทาและสื่อความหมาย
1. นาดิน ก้อนหิน เศษไม้ และใบไม้วางลงบนผ้า
ข้อมูล
พลาสติก รดน้าบนดินเล็กน้อย แต่ไม่เปียกมาก คลุกส่วนผสม
3. การตีความหมายข้อมูลและการลง
ทั้งหมดให้เข้ากัน แล้วนาไปใส่กล่องพลาสติกใส
ข้อสรุป
2. วางไส้เดือนดินลงในกล่องพลาสติกใสจากข้อ 1 นาไป
วางในห้องมืดที่อุณหภูมิห้องและคอยดูแลให้ดินชื้นอยู่เสมอ อุปกรณ์
3. หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ 1. ดิน 1 ถุง
อาศัยของไส้เดือนดิน บันทึกผล 2. ก้อนหิน 8–10 ก้อน
4. วัดอุณหภูมิของพื้นดินโดยเสียบเทอร์มอมิเตอร์ลง 3. เศษไม้ 10–15 อัน
ในดิน และบันทึกสภาพแวดล้อมที่เหมาะสาหรับทีอ่ ยู่ 4. ใบไม้ 1 กอง
อาศัยของไส้เดือนดิน 5. ผ้าพลาสติก 1 ผืน
5. ร่วมกันสรุปผลการสังเกต 6. กล่องพลาสติกใส 1 กล่อง
7. เทอร์มอมิเตอร์ 1 อัน
8. บัวรดน้า 1 ใบ
9. ไส้เดือนดิน 5–6 ตัว

รดน้าให้ชื้นแลัคลุกให้เข้ากะน วางไส้เดือนดินลงในกล่องพลาสติกใส
นาไปใส่ในกล่องพลาสติกใส นาไปวางในห้องมืด
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 367

บันทึกผลการสังเกต
สภาพแวดล้อม ผลการสังเกต
อุณหภูมิของพื้นดิน 25oC
ความชื้น มาก
แสงสว่าง น้อย

สรุปผล
ไส้เดือนดินอาศะยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง มีแสงสว่างน้อย แลัอุณหภูมิของพื้นดินไม่สูง
มากนะก

คาถามประกอบกิจกรรม
1. ไส้เดือนดินอาศัยในแหล่งที่อยู่อาศัยที่มีลักษณะเป็นแบบใด
ชื้น มืด แลัอุณหภูมิไม่สูงมากนะก
2. ถ้าสภาพแวดล้อมที่ไส้เดือนดินอาศัยอยู่เปลี่ยนแปลงไป จะส่งผลกระทบต่อไส้เดือนดินในลักษณะใด
ไส้เดือนดินต้องหาแหล่งที่อยู่ใหม่ที่เหมาัสม ไม่เช่นนะ้นอาจทาให้ไส้เดือนดินตายได้
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 368

ใบกิจกรรมที่ 11

สังเกต การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตในบริเวณโรงเรียน

ปัญหา สิ่งมีชีวิตในบริเวณโรงเรียนมีการประบตะวให้เข้ากะบสภาพแวดล้อมที่อาศะยอยู่ในละกษณัใด
ขั้นตอน
1. สังเกตการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตบริเวณ ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
โรงเรียน เช่น ผักตบชวา ตาลึง และจิ้งจก บันทึกผล 1. การสังเกต
การสังเกตและวาดรูปประกอบ 2. การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
2. อภิปรายและสรุปผลการสังเกต 3. การตีความหมายข้อมูลและการลง
ข้อสรุป
อุปกรณ์
1. ดิน/ปากกา 1 แท่ง/ด้าม
2. สมุด 1 เล่ม

บันทึกผลการสังเกต
สิ่งมีชีวิต การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต ภาพประกอบ
ผักตบชวา มีช่องว่างภายในก้านใบ ช่วยให้ลอยตะว
เหนือน้าได้

ตาลึง มียอดที่ยืดตะวเคลื่อนเข้าหาแสง

จิ้งจก มีผิวกลมกลืนกะบผนะงที่เกาั

สรุปผล
ผะกตบชวามีการประบตะวโดยมีช่องว่างภายในก้านใบ ช่วยให้ลอยตะวเหนือน้าได้ ตาลึงมียอดที่ยืดตะว
เคลื่อนเข้าหาแสง ส่วนจิ้งจกมีการประบสีผิวให้กลมกลืนกะบผนะงที่เกาั
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 369

คาถามประกอบกิจกรรม
1. ยกตัวอย่างสิ่งมีชีวิตที่มีการปรับรูปร่างให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่
ตะ๊กแตนกิ่งไม้ ตะ๊กแตนใบไม้ แลัผีเสื้อกลางคืน
2. ถ้าสิ่งมีชีวิตไม่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมจะเกิดสิ่งใดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ
ไม่สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้
3. การสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์เกี่ยวข้องกับการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมหรือไม่ ลักษณะใด
เกี่ยวข้อง โดยพืชแลัสะตว์ที่ประบตะวให้เข้ากะบสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปไม่ได้ก็จัทาให้
สูญพะนธุ์ไป
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 370

ใบกิจกรรมที่ 12

สืบค้นข้อมูล ไม้ใ ท้ น

ปัญหา ในท้องถิ่นของเรามีละกษณัป่าไม้เป็นแบบใด
ขั้นตอน
1. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3–5 คน ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
2. สืบค้นข้อมูลป่าไม้ในจังหวัดหรือในท้องถิ่นที่ 1. การสังเกต
นักเรียนอาศัยอยู่ว่ามีลักษณะเป็นแบบใด มีชนิดพันธุ์ 2. การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
ของพืชมากน้อยเพียงใด มีความอุดมสมบูรณ์ของป่า 3. การตีความหมายข้อมูลและการลง
หรือไม่ ข้อสรุป
3. วิเคราะห์และสรุปว่าป่าไม้ในท้องถิ่นของ อุปกรณ์
นักเรียนเป็นป่าประเภทใด 1. ดิน/ปากกา 1 แท่ง/ด้าม
2. สมุด 1 เล่ม
3. ห้องสมุดและเว็บไซต์ที่
เกี่ยวข้องทางอินเทอร์เน็ต
บันทึกผลการสืบค้นข้อมูล
รายการบันทึกผลการสืบค้นข้อมูล
วันที่ 20 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2559
แนวคาตอบ
ป่าไม้ที่สารวจพบในบริเวณท้องถิ่นส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นป่าโปร่ง มีชนิดพันธุ์ของพืช
หลากหลายชนิด เช่น ไม้สัก แดง ประดู่ เสลา ไผ่ ตะแบก และมะเกลือ ซึ่งเป็นป่าที่มีความอุดม-
สมบูรณ์มาก

สรุปผล
ป่าไม้ในแต่ลัท้องถิ่นจัมีชนิดพะนธุ์ของพืชแลัความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกะน ทาให้มีความ
หลากหลายทางชีวภาพสูง
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 371

คาถามประกอบกิจกรรม
1. ป่าไม้ในจังหวัดหรือในท้องถิ่นที่นักเรียนอาศัยอยู่มีลักษณะเป็นแบบใด
เป็นป่าเบญจพรรณ มีละกษณัเป็นป่าโปร่ง แลัมีพะนธุ์พืชหลายชนิด
2. สิ่งมีชีวิตทั้งที่เป็นพืชและสัตว์ที่นักเรียนสารวจพบมีอะไรบ้าง
แนวคาตอบ พืชที่พบ คือ ไม้สะก แดง ปรัดู่ เสลา ไผ่ ตัแบก แลัมัเกลือ ส่วนสะตว์ที่พบ คือ
นกกาเหว่า ผีเสื้อ แลัหอยทาก
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 372

ใบกิจกรรมที่ 13
สารวจ สภาพแวดล้อมในท้องถิ่น

ปัญหา เราจัร่วมกะนพะฒนาแลัอนุระกษ์ทระพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นของเราได้อย่างไร
ขั้นตอน
1. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3–5 คน ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
2. ให้แต่ละกลุ่มเลือกสารวจสถานที่ในท้องถิ่น 1. การสังเกต
กลุ่มละ 1 แห่ง เช่น โรงเรียน วัด ตลาด ฯลฯ 2. การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
3. ร่วมกันวางแผนจัดทาโครงงานดูแลรักษา 3. การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อ
สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น โดยมีขั้นตอนการวางแผน ดังนี้ สรุป
3.1 ศึกษาปัญหาว่าคืออะไร อุปกรณ์
3.2 ศึกษาสาเหตุของปัญหาว่าเกิดจากอะไร 1. ดินสอ/ปากกา 1 แท่ง/ด้าม
3.3 ศึกษาแนวทางในการแก้ปัญหาและวิธีการ 2. สมุด 1 เล่ม
แก้ปัญหาที่เหมาะสม และปฏิบัติได้ในท้องถิ่น
3.4 นาเสนอวิธีการแก้ปัญหา
4. ปฏิบัติตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ โดยเขียนนาเสนอในรูปของโครงงาน
5. นาผลที่ได้มาอภิปรายหน้าชั้นเรียนและเผยแพร่โดยการจัดนิทรรศการ

แบบบันทึกโครงงาน
โครงงานเรื่อง การกาจะดกลิ่นขยัในโรงอาหารของโรงเรียน
ปัญหา ที่ทิ้งขยับริเวณโรงอาหารมีกลิ่นเหม็นรบกวนนะกเรียนในห้องเรียน
แนวทางการแก้ปัญหา คะดแยกขยัเป็นปรัเภทต่าง ๆ ได้แก่ ขยัที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เช่น
เศษอาหาร เปลือกผลไม้ เศษกรัดาษ แลัขยัที่ย่อยสลายได้ยาก เช่น พลาสติก ขวดแก้ว กล่องโฟม
กรัป๋องสเปรย์ เพื่อเป็นการป้องกะนการหมะกหมม ทาให้เกิดกลิ่นเหม็น
วิธีการแก้ปัญหา นาขยัที่แยกปรัเภทแล้วไปทิ้งในถะงหรือภาชนัที่จะดเตรียมไว้ให้ถูกปรัเภท เพื่อนา
กละบไปกาจะดด้วยวิธีที่ถูกต้องแลัเหมาัสมต่อไป
ผลการแก้ปัญหา กลิ่นขยัหายไป ไม่มีแมลงวะนมารบกวน สิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนสัอาดขึ้น

คาถามประกอบกิจกรรม
1. เหตุใดจึงเลือกศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อมเรื่องนี้
พิจารณาจากคาตอบนะกเรียน
แนวคำตอบ
เพราัขยัส่งกลิ่นเหม็นรบกวนนะกเรียนขณัเรียน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 373

2. นักเรียนมีแนวทางในการแก้ปัญหานี้โดยวิธีใด
แนวคำตอบ
ใช้วิธีการคะดแยกขยั เพื่อลดปัญหาการหมะกหมมของขยัที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติกะบขยัที่ย่อย
สลายได้ยาก ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดกลิ่นเหม็นรบกวน
3. โรงเรียนของนักเรียนมีแผนการจัดการรักษาสิ่งแวดล้อมหรือไม่ เพราะอะไร
มี เพราัการระกษาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน จัทาให้โรงเรียนเป็นสถานที่ที่น่าอยู่
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 374

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สารในชีวิตประจาวัน

ใบกิจกรรมที่ 14

ทดลอง สมบัติของของเหลว

ขั้นตอนการทดลอง ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
ปัญหา น้าในภาชนัแตกต่างกะนจัมีรูปร่างแลัปริมาตร 1. การตั้งสมมุติฐาน
ต่างกะนหรือไม่ 2. การลงความคิดเห็นข้อมูล
3. การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
รูปร่างของน้าน่าจัเปลี่ยนไปตามรูปร่างของภาชนั 4. การตีความหมายข้อมูลและการลง
ที่บรรจุ แต่ยะงคงมีปริมาตรเท่าเดิม ข้อสรุป
ทดลอง อุปกรณ์
1. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3–5 คน แต่ละกลุ่ม 1. กระบอกตวงขนาด
เทน้าใส่กระบอกตวง สังเกตรูปร่างของน้า และอ่าน 500 ลบ.ซม. 1 ใบ
ปริมาตร บันทึกผล 2. ภาชนะรูปทรงต่าง ๆ
2. เทน้าจากกระบอกตวงใส่ลงในภาชนะใบที่ 1 3. น้า 250 ลบ.ซม.
สังเกตรูปร่างของน้า แล้วเทน้าลงกระบอกตวงเพื่อหา
ปริมาตร บันทึกผล
3. ทากิจกรรมขั้นที่ 2 ซ้า โดยใช้ภาชนะรูปทรงต่าง ๆ แล้วสรุปผลการสังเกต

อ่านปริมาตรของน้าในกรับอกตวง สะงเกตรูปร่างของน้าในภาชนัต่าง ๆ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 375

รวบรวมข้อมูล
รวบรวมข้อมูลโดยบันทึกการเปลี่ยนแปลงที่นักเรียนสังเกตได้ลงในตารางบันทึกผล

บันทึกผลการสังเกต
ภาชนะ รูปร่างของน้า ปริมาตรน้า (ลบ.ซม.)
กระบอกตวง ทรงกระบอก 250
แก้วน้า ทรงถ้วย 250
ขวดก้นกลม ทรงกลม 250
กล่องทรงสี่เหลี่ยม ทรงสี่เหลี่ยม 250
แก้วทรงกระบอก ทรงกระบอก 250

แปลความหมายข้อมูล
รูปร่างของน้าจัเปลี่ยนไปตามรูปร่างของภาชนัที่บรรจุ แลัเมื่อวะดปริมาตรของน้าในแต่ลั
ภาชนัจัเท่ากะน

สรุปผล
น้าเป็นของเหลว เมื่อใส่ในภาชนัใดก็จัมีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไปตามภาชนัที่บรรจุ แต่จัมีปริมาตร
คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง

คาถามประกอบกิจกรรม
ก่อนการทดลอง
1. ปริมาตรของน้าในกระบอกตวงก่อนการทากิจกรรมมีค่าเท่าใด
250 ลูกบาศก์เซนติเมตร
2. นักเรียนนาภาชนะที่มีรูปร่างแบบใดมาทากิจกรรมบ้าง
ทรงกรับอก ทรงถ้วย ทรงกลม แลัทรงสี่เหลี่ยม
ระหว่างการทดลอง
3. น้ามีปริมาตรเปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุหรือไม่
ปริมาตรของน้าไม่เปลี่ยนแปลงไปตามภาชนัที่บรรจุ
4. น้ามีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุหรือไม่
รูปร่างของน้าจัเปลี่ยนแปลงไปตามภาชนัที่บรรจุ
5. ในระหว่างการทากิจกรรมมีอุปสรรคหรือไม่ และแก้ไขด้วยวิธีใด
พิจารณาจากคาตอบนะกเรียน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 376

หลังการทดลอง
6. จากกิจกรรมนักเรียนจะสรุปสมบัติของน้าได้ว่าอย่างไร
น้าเป็นของเหลว เมื่อใส่ในภาชนัใดก็จัมีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไปตามภาชนัที่บรรจุ แต่จัมีปริมาตร
คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง
7. น้ามีสมบัติใดจึงถูกส่งผ่านไปตามท่อได้
น้ามีรูปร่างไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงไปตามภาชนัที่รองระบ แลัมีละกษณัไหลได้
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 377

ใบกิจกรรมที่ 15

สังเกต สมบัติของแก๊ส
ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
1. การสังเกต
ปัญหา แก๊สมีสมบะติเหมือนของเหลวกะบของแข็ง
2. การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
หรือไม่
3. การตีความหมายข้อมูลและการลง
ข้อสรุป
1. จุดไม้ขีดไฟ 1 ก้าน ใส่ลงในขวด ใช้นิ้วมือ
อุปกรณ์
ปิดปากขวด แล้วสังเกตควันที่เกิดจากไม้ขีดไฟทีด่ ับ
1. ไม้ขีดไฟ 1 กล่อง
บันทึกผล
2. ขวดแก้วใส 2 ใบ
2. นาขวดที่มีขนาดเท่ากันมาคว่าประกบกับขวด
ใบแรก ให้ปากขวดสนิทกันพอดี สังเกตควันในขวด
บันทึกผล แล้วสรุปผลการสังเกต

สะงเกตการเคลื่อนที่ของควะนที่อยู่ในขวด

หมายเหตุ ควรระมัดระวังไม่ให้เปลวไฟถูกมือ เพราะจะทาให้ผิวหนังไหม้ได้

บันทึกผลการสังเกต
ลักษณะการเคลื่อนที่ของควัน
เมื่อใช้นิ้วมือปิดปากขวด เมื่อนาขวดอีกใบมาคว่าประกบ
ควะนจัลอยกรัจายอยู่ในขวด ควะนจัลอยขึ้นด้านบน เข้าไปยะงขวดใบบน

สรุปผล
ควะนเป็นแก๊สที่มีรูปร่างแลัปริมาตรไม่คงที่ จัฟุ้งกรัจายไปในภาชนัที่บรรจุ ควะนจึงลอยขึ้นไปอยู่
ในขวดด้านบนได้
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 378

คาถามประกอบกิจกรรม
1. ควันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
มีการแพร่กรัจายจากขวดใบล่างขึ้นไปยะงขวดใบบน
2. แก๊สมีสมบัติแตกต่างจากของเหลวและของแข็งอย่างไร
แก๊สจัมีรูปร่างแลัปริมาตรไม่คงที่ ฟุ้งกรัจายไปในภาชนัที่บรรจุ
3. ยกตัวอย่างการฟุ้งกระจายของแก๊สที่นักเรียนพบเห็นได้ในชีวิตประจาวัน
การฟุ้งกรัจายของน้าหอมที่ฉีด การฟุ้งกรัจายของสเปรย์ฉีดกะนยุง
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 379

ใบกิจกรรมที่ 16
สังเกต การกรองน้า

ปัญหา การกรองสามารถแยกสารออกจากน้าได้หรือไม่ ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน


ขั้นตอน 1. การสังเกต
1. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3–5 คน แต่ละกลุ่ม 2. การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
พับกระดาษกรอง แล้ววางลงบนกรวยกรอง จัดอุปกรณ์ 3. การตีความหมายข้อมูลและการลง
การกรอง ดังรูป ข้อสรุป
2. ใส่น้าลงในบีกเกอร์ ปริมาณ 100 ลูกบาศก์ อุปกรณ์
เซนติเมตร แล้วตักทราย 1 ช้อนชา ใส่ลงในบีกเกอร์ 1. กระดาษกรอง 1 แผ่น
คนให้ทั่ว 2. กรวยกรอง 1 อัน
3. เทส่วนผสมในบีกเกอร์กรองผ่านกระดาษกรอง 3. ทราย 1 ช้อนชา
สังเกตสารที่กรองได้ และสารที่อยู่บนกระดาษกรอง 4. น้า 100 ลบ.ซม.
บันทึกผลการสังเกต แล้วสรุปผล 5. แท่งแก้วคนสาร 1 อัน
6. ช้อนตักสาร 1 คัน
7. บีกเกอร์ขนาด 250 ลบ.ซม. 2 ใบ
8. ขาตั้งหลอดทดลอง 1 ชุด

ขะ้นตอนการพะบกรัดาษกรอง การกรองด้วยกรัดาษกรอง

บันทึกผลการสังเกต

ผลการสังเกต
กิจกรรม
สารที่อยู่บนกระดาษกรอง สารที่กรองได้
กรองน้าผสมทราย เม็ดทรายแลัก้อนกรวดขนาดเล็ก สารลัลายใส
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 380

สรุปผล
เมื่อกรองน้าผสมทรายผ่านกรัดาษกรอง อนุภาคของทรายมีขนาดใหญ่กว่ารูของกรัดาษกรอง
จึงไม่สามารถผ่านกรัดาษกรองได้ แสดงว่าการกรองสารสามารถแยกของแข็งที่ไม่ลัลายออกจาก
ของเหลวได้ โดยของแข็งต้องมีขนาดอนุภาคใหญ่กว่ารูของวะสดุที่ใช้กรอง

คาถามประกอบกิจกรรม
1. วัสดุที่ใช้กรองในกิจกรรมนี้คืออะไร
กรัดาษกรอง
2. สารที่ติดค้างอยู่บนกระดาษกรองคืออะไร เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น
ทรายแลัก้อนกรวดขนาดเล็ก เพราัมีขนาดอนุภาคใหญ่กว่ารูของกรัดาษกรอง จึงไม่สามารถ
กรองกรัดาษกรองได้
3. ถ้านาน้าเชื่อมไปกรองผ่านกระดาษกรองเพื่อแยกน้าตาลทรายออกมาจะได้ผลอย่างไร เพราะอะไร
ไม่สามารถแยกน้าตาลทรายออกจากน้าได้ เพราัน้าตาลทรายลัลายเป็นเนื้อเดียวกะบน้า ทาให้
ผ่านรูของกรัดาษกรองได้
4. หลักการในการแยกสารโดยใช้วิธีการกรองคืออะไร
การแยกสารทีผ่ สมกะนรัหว่างของแข็งที่ไม่ลัลายออกจากของเหลว โดยการให้ของผสมผ่าน
วะสดุกรอง อนุภาคของของแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่ารูของวะสดุกรองจัไม่สามารถผ่านไปได้ แต่อนุภาคของ
ของเหลวจัผ่านไปได้
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 381

ใบกิจกรรมที่ 17

ทดลอง

ขั้นตอนการทดลอง
ปัญหา การรัเหยแห้งจัสามารถแยกสารที่เป็นสารลัลาย ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
ได้หรือไม่ 1. การตั้งสมมุติฐาน
กาหนดสมมุติฐาน 2. การลงความคิดเห็นข้อมูล
เมื่อให้ความร้อนกะบน้าปลา น้าน่าจัรัเหยไปหมด 3. การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
เหลือแต่เกลือติดอยู่ที่ภาชนั แต่เมื่อให้ความร้อนกะบน้า 4. การตีความหมายข้อมูลและการลง
น่าจัไม่มีสารเหลือติดที่ภาชนัเลย ข้อสรุป
ทดลอง อุปกรณ์
1. ใส่น้าและน้าปลาลงในจานหลุม อย่างละหลุม 1. น้า 1 ช้อนชา
2. นาจานหลุมไปวางให้ความร้อนด้วยตะเกียง 2. น้าปลา 1 ช้อนชา
แอลกอฮอล์ สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสารแต่ละชนิด 3. ช้อนตักสาร 1 คัน
ในจานหลุม 4. จานหลุม 1 ใบ
3. บันทึกผลการสังเกต แล้วสรุปผล 5. ตะเกียงแอลกอฮอล์
พร้อมที่กั้นลม 1 ชุด
6. ไม้ขีดไฟ 1 กล่อง

ใส่น้าแลัน้าปลาลงในจานหลุม แล้วให้ความร้อน

รวบรวมข้อมูล
รวบรวมข้อมูลโดยบันทึกการเปลี่ยนแปลงที่นักเรียนสังเกตได้ลงในตารางบันทึกผล
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 382

บันทึกผลการทดลอง
ผลการทดลอง
สาร
ก่อนให้ความร้อน หลังให้ความร้อน
น้า สารลัลายใส ไม่มีสารติดอยู่ที่จานหลุม
น้าปลา สารลัลายใสสีน้าตาล มีผลึกเกลือติดที่จานหลุม

แปลความหมายข้อมูล
เมื่อให้ความร้อนกะบน้าปลา น้าจัรัเหยไปจนหมดเหลือแต่ผลึกของเกลือติดอยู่ที่จานหลุม แต่เมื่อให้
ความร้อนกะบน้าพบว่า น้าจัรัเหยไปจนหมดไม่เหลือสารติดอยู่ที่จานหลุม

สรุปผล
เมื่อให้ความร้อนกะบน้าปลาพบว่า น้าจัรัเหยไปจนหมดเหลือแต่ผลึกของเกลือติดอยู่ที่ภาชนั แสดง
ว่าการรัเหยแห้งสามารถใช้แยกของผสมที่เป็นสารลัลายที่เกิดจากของแข็งลัลายอยู่ในของเหลวได้
เพราัเมื่อให้ความร้อน ของเหลวจัรัเหยไปจนหมดเหลือแต่ของแข็งติดอยู่ที่ภาชนั

คาถามประกอบกิจกรรม
ก่อนการทดลอง
1. กิจกรรมนี้ต้องการทดสอบเรื่องใด
การรัเหยแห้ง
2. นักเรียนตั้งปัญหาในการทากิจกรรมนี้ว่าอย่างไร
การรัเหยแห้งจัสามารถแยกสารที่เป็นสารลัลายได้หรือไม่
ระหว่างการทดลอง
3. ในระหว่างการทากิจกรรมมีอุปสรรคหรือไม่ และแก้ไขด้วยวิธีใด
พิจารณาจากคาตอบนะกเรียน
หลังการทดลอง
4. การระเหยแห้งเป็นการแยกของผสมที่อยู่ในลักษณะใด
ของผสมที่อยู่ในรูปของสารลัลาย โดยมีของแข็งลัลายอยู่ในของเหลว
5. ยกตัวอย่างการนาวิธีการระเหยแห้งไปใช้ประโยชน์
การทานาเกลือ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 383

ใบกิจกรรมที่ 18
สังเกต การระเหิด

ปัญหา ลูกเหม็นเกิดการรัเหิดได้จริงหรือไม่
ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
1. ปั้นดินน้ามันให้มีรูปร่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 1. การสังเกต
2. วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลูกเหม็น บันทึกผล 2. การวัด
3. กดลูกเหม็นลงบนก้อนดินน้ามัน ให้ลูกเหม็นจมลง 3. การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
ไปในดินน้ามันประมาณครึ่งลูก สังเกตรอยกดบนดินน้ามัน 4. การตีความหมายข้อมูลและการลง
และบันทึกผล ข้อสรุป
4. นาลูกเหม็นไปวางบนกระดาษนาน 2 สัปดาห์ นามา อุปกรณ์
วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง แล้ววางลงในช่องดินน้ามันเดิม 1. ดินน้ามัน 1 ก้อน
สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น บันทึกผลและสรุปผลการ 2. ลูกเหม็น 1 ลูก
สังเกต 3. ไม้บรรทัด 1 อัน
4. กระดาษ 1 แผ่น

วะดขนาดแลัสะงเกตรอยกดของลูกเหม็นบนดินน้ามะน

บันทึกผลการสังเกต
สิ่งที่สังเกตได้
กิจกรรม
ก่อนวางทิ้งไว้ 2 สัปดาห์ หลังวางทิ้งไว้ 2 สัปดาห์
วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร 1.6 เซนติเมตร
นาไปกดบนดินน้ามัน มีขนาดเต็มหลุมพอดี มีขนาดเล็กกว่าหลุม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 384

สรุปผล
เมื่อวางลูกเหม็นทิ้งไว้ 2 สะปดาห์ ขนาดลูกเหม็นจัเล็กลง แสดงว่าลูกเหม็นซึ่งเป็นของแข็งเกิดการ
รัเหิดกลายเป็นไอได้ จึงทาให้ลูกเหม็นมีขนาดเล็กลง

คาถามประกอบกิจกรรม
1. ขนาดของลูกเหม็นเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะใด
ขนาดของลูกเหม็นเล็กลง
2. นักเรียนคิดว่าลูกเหม็นเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวได้หรือไม่ เพราะอะไร
ลูกเหม็นเปลี่ยนสถานัเป็นของเหลวไม่ได้ เพราัจากการสะงเกตไม่พบของเหลวในบริเวณที่วาง
ลูกเหม็น
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 385

ใบกิจกรรมที่ 19

สารวจ สารต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจาวัน


ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
1. การสังเกต
ปัญหา สารต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตปรัจาวะนมีสมบะติอย่างไร
2. การลงความคิดเห็นข้อมูล
ขั้นตอน
3. การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มสังเกตการใช้
4. การตีความหมายข้อมูลและการลง
ประโยชน์และสมบัติของสารต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจาวัน
ข้อสรุป
บันทึกผลการสังเกตลงในตาราง แล้วสรุปผล
อุปกรณ์
1. สมุด 1 เล่ม
2. ดินสอ/ปากกา 1 แท่ง/ด้าม

บันทึกผลการสารวจ
ชื่อสาร การใช้ประโยชน์ สมบัติด้านกรด–เบส สมบัติด้านอื่น ๆ
สบู่เหลว ทาความสะอาดร่างกาย เบส ของเหลว สารเนื้อเดียว
น้าส้มสายชู ปรุงอาหาร กรด ของเหลวใส ไม่มีสี
เกลือ ปรุงอาหาร กลาง ของแข็ง สีขาว

สรุปผล
สารที่ใช้ในชีวิตปรัจาวะน มีการนาไปใช้ปรัโยชน์ได้แตกต่างกะน แบ่งเป็นกลุ่มได้ 3 กลุ่ม คือ สาร
ปรุงแต่งอาหาร สารทาความสัอาด แลัสารกาจะดแมลง ซึ่งสารแต่ลัชนิดจัมีสมบะติความเป็นกรด–เบส
แตกต่างกะน

คาถามประกอบกิจกรรม
1. สารที่ใช้ทาความสะอาดร่างกายมีอะไรบ้าง
ยาสีฟัน สบู่ ยาสรัผม
2. ถ้าจาแนกสารในบ้านตามการนาไปใช้ประโยชน์จะจาแนกสารได้กี่ประเภท และอะไรบ้าง
3 ปรัเภท คือ สารปรุงแต่งอาหาร สารทาความสัอาด แลัสารกาจะดแมลง
3. สารทาความสะอาดห้องน้าและเครื่องสุขภัณฑ์ส่วนใหญ่มีสมบัติเป็นกรดหรือเบส เพราะอะไร
มีสมบะติเป็นกรด เพราัสามารถกะดกร่อนปูนที่อยู่ตามร่องรัหว่างแผ่นกรัเบื้องปูพื้นได้
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 386

ใบกิจกรรมที่ 20
ทดลอง การละลาย

ขั้นตอนการทดลอง
ปัญหา น้าตาลทราย เกลือ ทราย แลัดิน จัลัลายน้าได้ ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
เท่ากะนหรือไม่ 1. การตั้งสมมุติฐาน
2. การลงความคิดเห็นข้อมูล
เมื่อลัลายน้าตาลทราย เกลือ ทราย แลัดิน ลงในน้า สาร 3. การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
แต่ลัชนิดน่าจัลัลายน้าได้เท่ากะน 4. การตีความหมายข้อมูลและการลง
ทดลอง ข้อสรุป
1. ใส่น้าลงในหลอดทดลอง หลอดละ 5 ลูกบาศก์ อุปกรณ์
เซนติเมตร 1. หลอดทดลองขนาดกลาง 4 หลอด
2. ใส่น้าตาลทราย เกลือ ทราย และดินอย่างละ 2 ช้อน 2. น้า 20 ลบ.ซม.
เบอร์ 2 ลงในหลอดทดลองหลอดที่ 1, 2, 3 และ 4 ตามลาดับ 3. น้าตาลทราย 2 ช้อน
3. เขย่าหลอดทดลอง แล้วตั้งทิ้งไว้ 2 นาที สังเกตผล 4. เกลือ 2 ช้อน
ในแต่ละหลอดทดลอง บันทึกแล้วสรุปผล 5. ทราย 2 ช้อน
6. ดิน 2 ช้อน
7. ช้อนตักสาร 1 คัน
8. ที่ตั้งหลอดทดลอง 1 อัน

ใส่น้าตาลทราย เกลือ ทราย แลัดิน


ลงในแต่ลัหลอดทดลอง

รวบรวมข้อมูล
รวบรวมข้อมูลโดยบันทึกการเปลี่ยนแปลงที่นักเรียนสังเกตได้ลงในตารางบันทึกผล
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 387

บันทึกผลการทดลอง

หลอดทดลอง สิ่งที่สังเกตได้
1. น้า + น้าตาลทราย น้าตาลทรายลัลายน้าได้หมด ได้เป็นของเหลวใส
2. น้า + เกลือ เกลือลัลายน้าได้หมด ได้เป็นของเหลวใส
3. น้า + ทราย ทรายไม่ลัลายน้า จัตกอยู่ที่ก้นหลอด
4. น้า + ดิน ดินลัลายน้าได้บางส่วน มีดินตกอยู่ที่ก้นหลอด

แปลความหมายข้อมูล
น้าตาลทรายแลัเกลือลัลายน้าได้ ดินลัลายน้าได้เล็กน้อย ส่วนทรายไม่ลัลายน้า

สรุปผล
สารแต่ลัชนิดลัลายน้าได้ไม่เท่ากะน โดยเมื่อลัลายน้าตาลทรายแลัเกลือในน้าจัเกิดเป็นสารเนื้อ
เดียว ส่วนทรายแลัดินเมื่อลัลายน้าจัเกิดเป็นสารเนื้อผสม

คาถามประกอบกิจกรรม
ก่อนการทดลอง
1. กิจกรรมนี้ทดสอบการละลายน้าของสารใด
น้าตาลทราย เกลือ ทราย แลัดิน
2. กิจกรรมนี้มีสารใดเป็นตัวทาละลาย และสารใดเป็นตัวละลาย
น้าเป็นตะวทาลัลาย แลัมีน้าตาลทราย เกลือ ทราย แลัดิน เป็นตะวลัลาย
ระหว่างการทดลอง
3. การเขย่าสารในแต่ละหลอดทดลองมีผลต่อการละลายของสารหรือไม่ อย่างไร
การเขย่าสารจัมีผลต่อการลัลายของสาร ทาให้สารลัลายได้มากขึ้น
4. ในระหว่างการทากิจกรรมมีอุปสรรคหรือไม่ และแก้ไขด้วยวิธีใด
พิจารณาจากคาตอบนะกเรียน
หลังการทดลอง
5. สารใดละลายน้าได้หมด และสารใดละลายน้าได้บางส่วน
น้าตาลทรายแลัเกลือลัลายน้าได้หมด ส่วนดินลัลายน้าได้บางส่วน
6. สารใดเมื่อละลายน้าแล้วเกิดเป็นสารเนื้อเดียว และสารใดเมื่อละลายน้าแล้วเกิดเป็นสารเนื้อผสม
น้าตาลทรายแลัเกลือเมื่อลัลายน้าแล้วเกิดเป็นสารเนื้อเดียว ส่วนทรายแลัดินเมื่อลัลายน้าแล้วเกิด
เป็นสารเนื้อผสม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 388

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ไฟฟ้า
ใบกิจกรรมที่ 21

สังเกต การเปรียบเทียบการต่อวงจร

ปัญหา หลอดไฟฟ้าที่ต่อกะนแบบอนุกรมแตกต่างจากหลอดไฟฟ้า
ที่ต่อแบบขนานในละกษณัใด ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
ขั้นตอน 1. การสังเกต
1. แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5–6 คน 2. การจัดกระทาและสื่อความหมาย
2. ให้นักเรียนดูรูปของการต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรม ข้อมูล
(รูป ก) ใช้นิ้วลากไปตามเส้นทางที่กระแสไฟฟ้าไหลไปในวงจร 3. การตีความหมายข้อมูลและการลง
จากนั้นวาดรูปของวงจร และต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมให้ ข้อสรุป
เหมือนกับวงจรที่แสดงไว้ในรูป อุปกรณ์
3. ถ้านักเรียนต่อเสร็จหลอดไฟฟ้าทั้งสองจะสว่าง และ 1. หลอดไฟฟ้า 2 หลอด
จะเกิดอะไรขึ้นถ้านักเรียนถอดหลอดไฟฟ้าออก 1 หลอด บันทึก 2. ถ่านไฟฉาย 2 ก้อน
การทานายของนักเรียนลงในตารางบันทึกผล 3. สายไฟฟ้าพร้อมปากคีบ 4 เส้น
4. ถอดหลอดไฟฟ้า 1 หลอดออกจากวงจร สังเกตการ
เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและบันทึกผล จากนั้นให้ใส่หลอดไฟฟ้ากลับคืนที่เดิม แล้วถอดสายไฟฟ้าออกจากจุด
เชื่อมต่อ

รูป ก รูป ข

5. ให้นักเรียนดูรูปของการต่อหลอดไฟฟ้าแบบขนาน (รูป ข) ใช้นิ้วลากไปตามเส้นทางที่


กระแสไฟไหลไปในวงจร จากนั้นวาดรูปของวงจรและต่อหลอดไฟฟ้าแบบขนานให้เหมือนกับวงจรที่
แสดงไว้ในรูป
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 389

6. ดาเนินการเช่นเดียวกับขั้นตอนที่ 3 และ 4
7. นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ อภิปราย และสรุปผลการสังเกต

บันทึกผลการสังเกต
รูปเส้นทางการไหล
การทานาย การสังเกต
ของกระแสไฟฟ้า
ถอดหลอดไฟฟ้า 1 หลอด หลอดไฟฟ้า หลอดไฟฟ้า
ออกจากการต่อหลอด ที่เหลือจัดะบ ที่เหลือดะบ
ไฟฟ้าแบบอนุกรม

ถอดหลอดไฟฟ้า 1 หลอด หลอดไฟฟ้า หลอดไฟฟ้า


ออกจากการต่อหลอด ที่เหลือจัดะบ ที่เหลือไม่ดะบ
ไฟฟ้าแบบขนาน

สรุปผล
กรณีกำรต่อหลอดไฟฟ้ำแบบอนุกรม
การต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมมีเส้นทางการไหลของกรัแสไฟฟ้าเพียงเส้นทางเดียว ดะงนะ้นเมื่อ
ถอดหลอดไฟฟ้าออก 1 หลอด วงจรไฟฟ้าจักลายเป็นวงจรเปิดแลักรัแสไฟฟ้าจัไม่ไหล จึงทาให้
หลอดไฟฟ้าที่เหลือไม่ทางาน
กรณีกำรต่อหลอดไฟฟ้ำแบบขนำน
การต่อหลอดไฟฟ้าแบบขนานมีเส้นทางการไหลของกรัแสไฟฟ้ามากกว่า 1 เส้นทาง เมื่อถอด
หลอดไฟฟ้าหลอดใดหลอดหนึ่งออก วงจรไฟฟ้าที่ถอดหลอดไฟฟ้าออกจัเป็นวงจรเปิด แต่ยะงมีเส้นทาง
อื่นอีกที่ไม่ได้ถอดหลอดไฟฟ้าออกยะงคงเป็นวงจรปิด กรัแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านได้ จึงทาให้หลอด
อื่น ๆ ที่เหลือยะงคงสว่างเหมือนเดิม อาจกล่าวได้ว่า การต่อหลอดไฟฟ้าแบบขนาน เมื่อหลอดไฟฟ้าหลอด
ใดหลอดหนึ่งเสียหรือดะบจัไม่มีผลต่อการสว่างของหลอดอื่น ๆ

คาถามประกอบกิจกรรม
1. หลอดไฟฟ้าแต่ละหลอดเปรียบเสมือนสิ่งใดในวงจรไฟฟ้า
สวิตช์หรือสัพานไฟ
2. ความสว่างของหลอดไฟฟ้าแต่ละหลอดจาเป็นต้องเท่ากันหรือไม่
ไม่จาเป็น ขึ้นอยู่กะบจานวนวะตต์ของหลอด
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 390

3. การต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมและต่อหลอดไฟฟ้าแบบขนาน แสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าแตกต่างกัน
หรือไม่ ลักษณะใด
หลอดไฟฟ้าที่ต่อแบบอนุกรมทะ้ง 2 หลอด สว่างเท่ากะน แลัหลอดไฟฟ้าที่ต่อแบบขนานทะ้ง 2
หลอด สว่างเท่ากะน แต่หลอดไฟฟ้าที่ต่อแบบอนุกรมสว่างน้อยกว่าหลอดไฟฟ้าที่ต่อแบบขนาน
4. กระแสไฟฟ้าที่ผ่านหลอดไฟฟ้าในการต่อแต่ละแบบแตกต่างกันหรือไม่ สังเกตจากอะไร
แตกต่างกะน กรัแสไฟฟ้าที่ผ่านหลอดไฟฟ้าทะ้ง 2 หลอด ที่ต่อแบบขนานมีค่ามากกว่า
กรัแสไฟฟ้าที่ผ่านหลอดไฟฟ้าทะ้ง 2 หลอด ที่ต่อแบบอนุกรม สะงเกตจากหลอดไฟฟ้าที่ต่อแบบขนานสว่าง
กว่าหลอดไฟฟ้าที่ต่อแบบอนุกรม
5. อธิบายความแตกต่างของการต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมและการต่อหลอดไฟฟ้าแบบขนาน
การต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมมีเส้นทางการไหลของกรัแสไฟฟ้าเพียงเส้นทางเดียว ส่วนการ
ต่อหลอดไฟฟ้าแบบขนานมีเส้นทางการไหลของกรัแสไฟฟ้ามากกว่า 1 เส้นทาง ดะงนะ้นเมื่อถอดหลอด
ไฟฟ้าออกจากวงจรแบบอนุกรม 1 หลอด วงจรไฟฟ้าจักลายเป็นวงจรเปิด จึงทาให้หลอดไฟฟ้าที่เหลือ
ไม่ทางาน เพราัมีเส้นทางของวงจรไฟฟ้าเพียงเส้นทางเดียวนะ่นเอง ส่วนการต่อหลอดไฟฟ้าแบบขนานเมื่อ
ถอดหลอดไฟฟ้าออก 1 หลอด ถึงแม้เส้นทางที่ถอดหลอดไฟฟ้าออกจัเป็นวงจรเปิด แต่เส้นทางที่เหลือก็
ยะงเป็นวงจรปิด กรัแสไฟฟ้าจึงยะงคงสามารถไหลผ่านได้ ทาให้หลอดไฟฟ้าหลอดอื่น ๆ จัยะงคงทางานได้
ต่อไป
6. หลอดไฟฟ้าขนาดเล็กที่ใช้ประดับต้นไม้หรือตามงานเทศกาลต่าง ๆ พบว่าเมื่อมีหลอดไฟฟ้าชารุด 1
หลอด หลอดไฟฟ้าหลอดอื่น ๆ จะดับไปด้วย แสดงว่าหลอดไฟฟ้าประดับนั้นต่อกันแบบใด
หลอดไฟฟ้าปรัดะบทุกหลอดต่อกะนแบบอนุกรม
7. ถ้านักเรียนเพิ่มหลอดไฟฟ้าเข้าไปในวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นกับความสว่างของ
หลอดไฟฟ้าทั้งหมด
หลอดไฟฟ้าสว่างเท่ากะนทุกดวง
8. ถ้าเปรียบเทียบวงจรไฟฟ้ากับระบบไหลเวียนโลหิตของร่างกาย นักเรียนคิดว่าเส้นเลือดที่อยู่ในอวัยวะ
ต่าง ๆ ควรเชื่อมต่อกันคล้ายกับวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมหรือวงจรไฟฟ้าแบบขนาน เพราะอะไร
คล้ายกะบวงจรไฟฟ้าแบบขนาน เพราัเส้นเลือดในร่างกายมีหลายเส้นแยกไปตามอวะยวัต่าง ๆ
เพื่อให้เลือดไหลผ่าน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 391

ใบกิจกรรมที่ 22

สังเกต การเปรียบเทียบการต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรม
ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
และแบบขนาน 1. การสังเกต
ปัญหา เซลล์ไฟฟ้าที่ต่อแบบอนุกรมแตกต่างจาก เซลล์ไฟฟ้าที่ต่อ 2. การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
แบบขนานในละกษณัใด 3. การตีความหมายข้อมูลและการลง
ขั้นตอน ข้อสรุป
1. แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5–6 คน อุปกรณ์
2. ให้นักเรียนดูแผนภาพของการต่อเซลล์ไฟฟ้า 1. หลอดไฟฟ้า 1 หลอด
แบบอนุกรม รูปที่ 1 2. ถ่านไฟฉาย 2 ก้อน
3. นาถ่านไฟฉาย 1 ก้อน หลอดไฟฟ้า และสวิตช์ ต่อกัน 3. สายไฟฟ้าพร้อมปากคีบ 7 เส้น
เป็นวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรมให้เหมือนกับรูปที่ 1 สังเกตความสว่าง 4. สวิตช์ 1 ตัว
ของหลอดไฟฟ้า

รูปที่ 1 รูปที่ 2

4. เพิ่มถ่านไฟฉายอีก 1 ก้อน เข้าไปในวงจรไฟฟ้า โดยเรียงต่อกันดังรูปที่ 2 สังเกตความสว่างของ


หลอดไฟฟ้าเปรียบเทียบกับเมื่อต่อกับถ่านไฟฉาย 1 ก้อน
5. นาถ่านไฟฉาย 1 ก้อน สวิตช์ และหลอดไฟฟ้า มาต่อกันเป็นวงจรไฟฟ้าดังรูปที่ 3 สังเกตความ
สว่างของหลอดไฟฟ้า
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 392

รูปที่ 3 รูปที่ 4

6. เพิ่มถ่านไฟฉายอีก 1 ก้อน เข้าไปในวงจรไฟฟ้า โดยวางถ่านไฟฉายให้ขนานและต่อสายไฟฟ้า


ดังรูปที่ 4 สังเกตความสว่างของหลอดไฟฟ้าเปรียบเทียบกับเมื่อต่อกับถ่านไฟฉาย 1 ก้อน
7. นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ อภิปราย และสรุปผลการสังเกต

บันทึกผลการสังเกต

รูปเส้นทางการไหลของกระแสไฟฟ้า การสังเกต

ต่อถ่านไฟฉาย 1 ก้อน หลอดไฟฟ้าสว่าง


แบบอนุกรม

ต่อถ่านไฟฉาย 2 ก้อน หลอดไฟฟ้าสว่างมากกว่า


แบบอนุกรม ใช้ถ่านไฟฉาย 1 ก้อน

ต่อถ่านไฟฉาย 2 ก้อน หลอดไฟฟ้าสว่างเท่ากะบ


แบบขนาน ใช้ถ่านไฟฉาย 1 ก้อน

สรุปผล
กรณีต่อเซลล์ไฟฟ้ำแบบอนุกรม
การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรมเมื่อเพิ่มจานวนเซลล์ไฟฟ้ามากขึ้นจัทาให้หลอดไฟฟ้ามีความ
สว่างมากขึ้น แสดงว่าวงจรไฟฟ้ามีกรัแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 393

กรณีต่อเซลล์ไฟฟ้ำแบบขนำน
การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบขนานเมื่อเพิ่มจานวนเซลล์ไฟฟ้ามากขึ้น หลอดไฟฟ้ามีความสว่างเท่าเดิม
หรือเท่ากะบที่ใช้ถ่านไฟฉายเพียงก้อนเดียว

คาถามประกอบกิจกรรม
1. การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรม กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านอุปกรณ์ไฟฟ้า (หลอดไฟฟ้า) แต่ละตาแหน่งมีค่า
เท่าใด
มีค่าเท่ากะนหรือใกล้เคียงกะน
2. เมื่อเราเพิ่มเซลล์ไฟฟ้าเข้าไปในวงจรไฟฟ้า โดยเรียงต่อกันแบบอนุกรม จะเกิดผลอะไรขึ้น
ทาให้ปริมาณกรัแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าเพิ่มขึ้น สะงเกตได้จากหลอดไฟฟ้าที่ต่ออยู่ในวงจรไฟฟ้า
มีความสว่างมากขึ้น
3. ถ้าวางเรียงเซลล์ไฟฟ้ากลับขั้วกันในวงจรที่ต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรมแล้ว กระแสไฟฟ้าในวงจรจะมีค่า
เท่าใด
กรัแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าจัมีค่าลดลง
4. การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบขนาน กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านอุปกรณ์ไฟฟ้า (หลอดไฟฟ้า) แต่ละตาแหน่งมีค่า
เท่าใด
มีค่าเท่ากะบการใช้เซลล์ไฟฟ้าอะนเดียว
5. ข้อดีของการต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบขนานคืออะไร
พละงงานที่ได้จากเซลล์ไฟฟ้ามีอายุการใช้งานมากขึ้น
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 394

ใบกิจกรรมที่ 23
สังเกต ทดสอบการนาไฟฟ้า

ปัญหา วะตถุใดบ้างที่สามารถทาให้วงจรไฟฟ้าสมบูรณ์หรือเป็นวงจรปิด

ขั้นตอน
1. แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 4–5 คน
2. นาถ่านไฟฉายใส่ลงในกล่อง ต่อสายไฟฟ้า ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
กล่องถ่านไฟฉาย และหลอดไฟฟ้าเข้าด้วยกัน ดังรูป 1. การสังเกต
2. การทานาย
3. การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
4. การตีความหมายข้อมูลและการลง
ข้อสรุป
อุปกรณ์
1. ถ่านไฟฉาย 4 ก้อน
พร้อมกล่อง 1 ชุด
2. หลอดไฟฟ้า 1 หลอด
3. สายไฟฟ้าพร้อมปากคีบ 2 เส้น
3. ทดสอบวงจรที่ทาขึ้นโดยนาปลายสายไฟฟ้า 4. ไม้จิ้มฟัน 1 อัน
ทั้ง 2 เส้นสัมผัสกัน ถ้าหลอดไฟฟ้าสว่างแสดงว่า 5. เงินเหรียญ 1 เหรียญ
วงจรไฟฟ้าสมบูรณ์หรือเป็นวงจรปิด จากนั้นจึงแยก 6. หลอดพลาสติก 1 หลอด
สายไฟฟ้าออกจากกัน 7. ลวดเสียบกระดาษ 1 ตัว
4. นาไม้จิ้มฟันวางลงบนโต๊ะเรียน ทานายว่า 8. ยางรัด 1 เส้น
ไม้จิ้มฟันจะทาให้วงจรสมบูรณ์ และทาให้หลอดไฟฟ้า 9. แผ่นกระดาษแข็ง 1 แผ่น
สว่างหรือไม่ พร้อมทั้งเขียนผลการทานายลงในตาราง 10. อะลูมิเนียมฟอยล์ 1 แผ่น
บันทึกผล จากนั้นนาปลายสายไฟฟ้าทั้ง 2 เส้นสัมผัสกับ 11. เศษผ้า 1 ชิ้น
ปลายของไม้จิ้มฟันทั้ง 2 ด้าน ดังรูป สังเกตผลที่เกิดขึ้น 12. ช้อนโลหะ 1 คัน
และบันทึกผลลงในตารางบันทึกผล 13. ทองแดง
จากปลายสายไฟฟ้า 1 เส้น
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 395

5. ดาเนินการเช่นเดียวกับข้อ 4 แต่ใช้เงินเหรียญ หลอดพลาสติก ลวดเสียบกระดาษ ยางรัด


แผ่นกระดาษแข็ง อะลูมิเนียมฟอยล์ เศษผ้า ช้อนโลหะ และทองแดงจากปลายสายไฟฟ้า

บันทึกผลการสังเกต
วัตถุ การทานาย ผลการสังเกต
ไม้จิ้มฟัน หลอดไฟฟ้าไม่สว่าง หลอดไฟฟ้าไม่สว่าง
เงินเหรียญ หลอดไฟฟ้าสว่าง หลอดไฟฟ้าสว่าง
หลอดพลาสติก หลอดไฟฟ้าไม่สว่าง หลอดไฟฟ้าไม่สว่าง
ลวดเสียบกระดาษ หลอดไฟฟ้าสว่าง หลอดไฟฟ้าสว่าง
ยางรัด หลอดไฟฟ้าไม่สว่าง หลอดไฟฟ้าไม่สว่าง
แผ่นกระดาษแข็ง หลอดไฟฟ้าไม่สว่าง หลอดไฟฟ้าไม่สว่าง
อะลูมิเนียมฟอยล์ หลอดไฟฟ้าสว่าง หลอดไฟฟ้าสว่าง
เศษผ้า หลอดไฟฟ้าไม่สว่าง หลอดไฟฟ้าไม่สว่าง
ช้อนโลหะ หลอดไฟฟ้าสว่าง หลอดไฟฟ้าสว่าง
ทองแดงจากปลายสายไฟฟ้า หลอดไฟฟ้าสว่าง หลอดไฟฟ้าสว่าง

สรุปผล
วะตถุที่นามาทดสอบถ้าเป็นพวกโลหั ได้แก่ เงินเหรียญ ลวดเสียบกรัดาษ อัลูมิเนียมฟอยล์
ช้อนโลหั แลัทองแดงจากปลายสายไฟฟ้า จัทาให้วงจรไฟฟ้าสมบูรณ์ สะงเกตได้จากหลอดไฟฟ้าสว่าง
วะตถุที่ไม่ใช่โลหั ได้แก่ ไม้จิ้มฟัน หลอดพลาสติก ยางระด แผ่นกรัดาษแข็ง แลัเศษผ้าจัทาให้
วงจรไฟฟ้าไม่สมบูรณ์ สะงเกตได้จากหลอดไฟฟ้าไม่สว่าง
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 396

คาถามประกอบกิจกรรม
1. เพราะเหตุใดวัตถุจาพวกโลหะจึงทาให้วงจรไฟฟ้าสมบูรณ์
เพราัวะตถุจาพวกโลหัยอมให้กรัแสไฟฟ้าไหลผ่าน
2. เพราะเหตุใดวัตถุจาพวกไม้ แผ่นกระดาษ และพลาสติก จึงทาให้วงจรไฟฟ้าไม่สมบูรณ์
เพราัวะตถุจาพวกไม้ แผ่นกรัดาษ แลัพลาสติกไม่ยอมให้กรัแสไฟฟ้าไหลผ่าน
3. ผลสรุปของการปฏิบัติกิจกรรมนี้คืออะไร
วะตถุจาพวกโลหัทาให้วงจรไฟฟ้าสมบูรณ์
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 397

ใบกิจกรรมที่ 24

สังเกต การประดิษฐ์แม่เหล็กไฟฟ้า

ปัญหา ไฟฟ้าทาให้แท่งโลหักลายเป็นแม่เหล็กได้หรือไม่ ละกษณัใด

ขั้นตอน ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
1. แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 4–5 คน 1. การสังเกต
2. พันสายไฟฟ้ารอบตะปูเกลียว โดยเริ่มใช้ 2. การลงความคิดเห็นข้อมูล
สายไฟฟ้าห่างจากหัวตะปูเกลียวพอสมควร และพันรอบ 3. การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
ตะปูเกลียวให้แน่นจากหัวตะปูไปยังปลายแหลม 4. การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป
3. วางเข็มทิศและลวดเสียบกระดาษบนโต๊ะ อุปกรณ์
ให้ห่างกันพอสมควร จากนั้นจับตะปูเกลียวยื่นเข้าใกล้ 1. ตะปูเกลียวยาว 1 นิ้ว 1 ตัว
เข็มทิศ สังเกตผลที่เกิดขึ้นและบันทึกลงในตารางบันทึกผล 2. สายไฟฟ้าหุ้มฉนวนที่ปลาย
4. จับตะปูเกลียวยื่นเข้าใกล้ลวดเสียบกระดาษ ลอกฉนวนออกยาว 30 ซม. 1 เส้น
สังเกตผลที่เกิดขึ้นและบันทึกลงในตารางบันทึกผล 3. ลวดเสียบกระดาษ 3 ตัว
5. ประกอบสายไฟฟ้าทั้ง 2 ข้างเข้ากับกล่อง 4. ถ่านไฟฉาย 1 ก้อน
ถ่านไฟฉาย ดังรูป พร้อมกล่อง 1 ชุด
5. เข็มทิศ 1 อัน

6. ดาเนินการเช่นเดียวกับข้อ 3 และ 4 บันทึกผลการสังเกต จากนั้นจึงปลดสายไฟฟ้าออกจาก


กล่องถ่านไฟฉาย
หมายเหตุ ขณะปฏิบัติกิจกรรมถ้าตะปูเกลียวและถ่านไฟฉายเริ่มร้อนให้ปลดสายไฟฟ้าออกจาก
ถ่านไฟฉายแล้วปล่อยให้เย็น
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 398

บันทึกผลการสังเกต
ผลที่เกิดขึ้นเมื่อวางตะปูไว้ใกล้
เข็มทิศ ลวดเสียบกระดาษ
เมื่อยังไม่ต่อวงจรไฟฟ้า กรัดิกเล็กน้อย ตัปูเกลียวไม่ดูดลวดเสียบกรัดาษ
เมื่อต่อวงจรไฟฟ้า กรัดิกไปมาอย่างรวดเร็ว ตัปูเกลียวดูดลวดเสียบกรัดาษ

สรุปผล
เมื่อยะงไม่ได้ต่อสายไฟฟ้าเข้ากะบถ่านไฟฉาย ตัปูเกลียวที่พะนด้วยสายไฟฟ้าจัไม่ดูดลวดเสียบ
กรัดาษ แลัเข็มทิศกรัดิกเพียงเล็กน้อยเท่านะ้น เนื่องจากตัปูเกลียวยะงไม่มีอานาจแม่เหล็ก
เมื่อต่อสายไฟฟ้าเข้ากะบถ่านไฟฉาย ตัปูเกลียวที่พะนด้วยสายไฟฟ้าจัดูดลวดเสียบกรัดาษแลั
เข็มทิศกรัดิกไปมาอย่างรวดเร็ว เนื่องจากตัปูเกลียวกลายเป็นแม่เหล็กมีอานาจดึงดูดลวดเสียบกรัดาษ
ให้ลอยสูงขึ้นได้

คาถามประกอบกิจกรรม
1. แม่เหล็กไฟฟ้าหมายถึงอะไร
แม่เหล็กไฟฟ้า คือ ขดสายไฟฟ้าที่พะนรอบตัปูเกลียว ซึ่งต่อเป็นวงจรไฟฟ้ากะบถ่านไฟฉาย ตัปู
เกลียวจักลายเป็นแม่เหล็กไฟฟ้าได้เมื่อมีกรัแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดเท่านะ้น
2. เมื่อนาตะปูเกลียวที่พันด้วยสายไฟฟ้าที่ต่อกับถ่านไฟฉายเป็นวงจรไฟฟ้าไปวางไว้ใกล้ ๆ กับเข็มทิศแล้ว
เข็มทิศกระดิกไปมาได้ เนื่องจากสาเหตุใด
เข็มทิศมีสภาพเป็นแม่เหล็กเช่นเดียวกะน
3. จุดประสงค์ของการพันสายไฟฟ้ารอบตะปูเกลียวหลาย ๆ รอบเพื่ออะไร
เพิ่มความเข้มของสนามแม่เหล็ก
4. กิจกรรมที่นักเรียนปฏิบัตินั้น นักเรียนคิดว่านอกจากสายไฟฟ้าแล้ว สามารถใช้วัสดุอื่นแทนได้หรือไม่
เพราะอะไร
ได้ ถ้าสามารถใช้วะสดุที่เป็นโลหั เพราัโลหัเป็นตะวนาไฟฟ้าที่ดี
5. ผลสรุปของกิจกรรมนี้คืออะไร
เส้นลวดตะวนาใด ๆ ที่มีกรัแสไฟฟ้าไหลผ่านจัสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาเสมอ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 399

ใบกิจกรรมที่ 25

ทดลอง แรงแม่เหล็กไฟฟ้ากับจานวนรอบของขดลวด

ขั้นตอนการทดลอง
ปัญหา ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
1. การตั้งสมมุติฐาน
พ 2. การพยากรณ์
กาหนดสมมุติฐาน 3. การทดลอง
ถ้าเราเพิ่มจานวนรอบของขดสายไฟฟ้าจัทา 4. การจัดกระทาและสื่อความหมาย
ให้แรงของแม่เหล็กไฟฟ้ามีค่าเพิ่มขึ้น ข้อมูล
ทดลอง 5. การตีความหมายข้อมูลและการ
1. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4–6 คน ลงข้อสรุป
ช่วยกันคิดวางแผนและปฏิบัติกิจกรรม อุปกรณ์
2. จัดเตรียมสายไฟฟ้าเส้นเล็กยาวประมาณ 1. สายไฟฟ้าเส้นเล็ก
50 เซนติเมตร ตะปูเกลียวธรรมดา ถ่านไฟฉาย และ ยาวประมาณ 50 ซม. 1 เส้น
ลวดเสียบกระดาษที่เป็นเหล็ก 2. ตะปูเกลียว 1 ตัว
3. พันสายไฟฟ้ารอบตะปูเกลียวจานวน 10 3. ถ่านไฟฉายขนาด AAA 1 ก้อน
รอบ นาปลายทั้งสองต่อเข้ากับถ่านไฟฉาย 4. ลวดเสียบกระดาษ 10–20 ตัว
4. นาลวดเสียบกระดาษมาดัดเป็นรูปตะขอ
ดังรูป

5. ยกลวดเสียบกระดาษรูปตะขอให้ลอยสูงขึ้นด้วยหัวตะปูเกลียว นาลวดเสียบกระดาษใส่เข้าไป
ในตะขอทีละตัว จนกระทั่งลวดเสียบกระดาษรูปตะขอร่วงลงสู่พื้น นับจานวนลวดเสียบกระดาษที่ใส่แล้ว
แม่เหล็กไฟฟ้าสามารถดูดลวดเสียบกระดาษรูปตะขอลอยอยู่ได้ บันทึกผลที่เกิดขึ้นลงในตารางบันทึกผล
6. ปลดสายไฟฟ้าออกจากถ่านไฟฉายและเพิ่มจานวนรอบของขดสายไฟฟ้าเป็น 20 รอบ และ 30
รอบ ดาเนินการเช่นเดียวกับข้อ 5 บันทึกผล
7. วิเคราะห์ อภิปราย และสรุปผลการทดลอง
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 400

รวบรวมข้อมูล
รวบรวมข้อมูลโดยบันทึกผลการเปลี่ยนแปลงที่นักเรียนสังเกตได้ลงในตารางบันทึกผล

บันทึกผลการทดลอง
จานวนรอบของขดสายไฟฟ้า
การทดลองครั้งที่ จานวนลวดเสียบกระดาษ
ที่สร้างแม่เหล็กไฟฟ้า
1 10 3
2 20 7
3 30 12

แปลความหมายข้อมูล
แม่เหล็กไฟฟ้าที่มีจานวนรอบของขดสายไฟฟ้า 30 รอบ ดูดลวดเสียบกรัดาษได้มากที่สุด
รองลงมา ได้แก่ แม่เหล็กไฟฟ้าที่มีจานวนรอบของขดสายไฟฟ้า 20 รอบ แลั 10 รอบ ตามลาดะบ

สรุปผล
ผลการทดลองเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตะ้งไว้ คือ ถ้าเราเพิ่มจานวนรอบของขดสายไฟฟ้าจัทาให้
แรงของแม่เหล็กไฟฟ้ามีค่าเพิ่มขึ้น

คาถามประกอบกิจกรรม
ก่อนการทดลอง
1. กิจกรรมนี้เป็นการทดลองเพื่อหาความสัมพันธ์ของสิ่งใด
แรงของแม่เหล็กไฟฟ้ากะบจานวนรอบของขดสายไฟฟ้า
ระหว่างการทดลอง
2. ในระหว่างการทดลองมีอุปสรรคหรือไม่ นักเรียนแก้ไขอย่างไร
พิจารณาจากคาตอบนะกเรียน
หลังการทดลอง
3. สิ่งใดส่งผลต่อแรงของแม่เหล็กไฟฟ้า
จานวนรอบของขดสายไฟฟ้า
4. สิ่งที่ต้องควบคุมขณะทาการทดลองมีอะไรบ้าง
ขนาดของถ่านไฟฉาย (จานวนโวลต์มากหรือน้อย)
5. ผลสรุปของการทดลองครั้งนี้คืออะไร
แรงของแม่เหล็กไฟฟ้าจัมากหรือน้อยขึ้นอยู่กะบจานวนรอบของขดสายไฟฟ้า
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 401

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 หินบนผิวโลกและภายในโลก

ใบกิจกรรมที่ 26
สารวจ ลักษณะของหิน
ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
ปัญหา อัไรทาให้หินแต่ลัชนิดมีความแตกต่างกะน
1. การสังเกต
ขั้นตอน
2. การจัดประเภท
1. แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 4–5 คน วางแผนเก็บหินที่มี
3. การเปรียบเทียบ
ขนาดใกล้เคียงกันในบริเวณโรงเรียน 4–5 ก้อน หรือใช้หินที่
4. การจัดกระทาและสื่อความหมาย
นักเรียนเตรียมมา
ข้อมูล
2. ช่วยกันสังเกตหินอย่างละเอียดด้วยสายตา และชั่ง
5. การตีความหมายข้อมูลและการ
มวลหิน จากนั้นคิดวิธีที่จะจัดหินเป็นกลุ่ม ๆ จัดประเภทหิน
ลงข้อมูล
ตามเกณฑ์การจัดกลุ่มของนักเรียน บันทึกลักษณะต่าง ๆ ของ
อุปกรณ์
หิน
1. หินก้อนเล็ก ๆ
3. เลือกหิน 1 ก้อน แล้วสังเกตอย่างละเอียดด้วยแว่น
ชนิดต่าง ๆ 4–5 ก้อน
ขยาย หินที่เลือกนี้มีสิ่งใดบ้างที่เหมือนหรือแตกต่างจากก้อน
2. แว่นขยาย 1 อัน
อื่น ๆ ในกลุ่ม แล้วนาไปเปรียบเทียบกับหินตัวอย่างของครูว่ามี
3. กระดาษ 1 แผ่น
ลักษณะใดที่เหมือนหรือแตกต่างบ้าง บันทึกการสังเกตลงใน
4. เครื่องชั่งมวล 1 เครื่อง
ตารางบันทึกผล
5. ตัวอย่างหินชนิดต่าง ๆ
4. อธิบายสื่อความหมายโดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลใน
เช่น หินแกรนิต
ตารางบันทึกผลกับเพื่อน ๆ ในกลุ่มอื่น ให้เพื่อนหยิบหิน
หินทราย และหินอ่อน
ออกมาตามที่นักเรียนได้อธิบายให้ฟัง จากนั้นนักเรียนเลือก
6. ดินสอ/ปากกา 1 แท่ง/ด้าม
หยิบหินออกมาตามที่เพื่อนได้อธิบายให้ฟัง

สะงเกตละกษณัของหินด้วยแว่นขยายแลัเครื่องชะ่งมวล
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 402

บันทึกผลการสารวจ
ลักษณะที่สังเกต ลักษณะที่สังเกต มวล ลักษณะที่เหมือน/แตกต่าง
หินก้อนที่
ด้วยสายตา ด้วยแว่นขยาย (กรัม) จากหินตัวอย่าง
1 มีสีอ่อน เนื้อลัเอียด 86 มีสีอ่อนเหมือนหินอ่อน
2 มีสีเข้ม เนื้อลัเอียด 47 มีเม็ดทรายเหมือนหินทราย
3 มีสีเข้ม เนื้อหยาบ 70 ผลึกโตเหมือนหินแกรนิต
4 มีสีเข้มมาก เนื้อลัเอียดมาก 53 –
5 มีสีเข้ม เนื้อลัเอียด 95 –

สรุปผล
การสะงเกตหินด้วยแว่นขยายช่วยให้เห็นส่วนปรักอบของหินแต่ลัก้อนได้ชะดเจนขึ้น จากตาราง
เราสามารถแบ่งกลุ่มหิน โดยใช้เกณฑ์เกี่ยวกะบสี ละกษณัของผลึก เนื้อหิน แลัมวล

คาถามประกอบกิจกรรม
1. นักเรียนสามารถแบ่งกลุ่มหินเป็นกี่กลุ่ม อะไรบ้าง
แนวคำตอบ
แบ่งหินเป็น 6 กลุ่ม คือ หินที่มีสีเข้ม หินที่มีสีอ่อน หินที่มีเนื้อหยาบ หินที่มีเนื้อลัเอียด หินที่มี
มวลมาก แลัหินที่มีมวลน้อย
2. เกณฑ์ที่นักเรียนใช้แบ่งกลุ่มหินคืออะไร เพราะเหตุใดจึงใช้เกณฑ์ดังกล่าวนี้
แนวคำตอบ
นะกเรียนอาจแบ่งกลุ่มหินโดยใช้เกณฑ์จากละกษณัของหินที่สะงเกตได้ เช่น แบ่งกลุ่มตามสี เนื้อหิน
แลัมวล
3. ตัวอย่างหินทั้งหมดเหมือนหรือแตกต่างจากตัวอย่างหินที่ครูนามาให้ดูอย่างไร
แตกต่างกะน มีสีแลัเนื้อหินที่แตกต่างกะน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 403

ใบกิจกรรมที่ 27
สังเกต การแยกประเภทของหิน

ปัญหา หินมีกี่ปรัเภท อัไรบ้าง แต่ลัปรัเภทมีละกษณัเป็นแบบใด ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน


ขั้นตอน 1. การสังเกต
1. สร้างตารางเพื่อใช้บันทึกข้อมูลการสังเกตของนักเรียน ดังนี้ 2. การจัดประเภท
3. การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
คุณสมบัติ หินลาดับที่ 4. การตีความหมายข้อมูลและการลง
สีอ่อน ข้อสรุป
อุปกรณ์
สีแก่
1. หิน 7–8 ก้อน
ผลึกมองเห็นได้ 2. แว่นขยาย 1 อัน
ไม่เป็นผลึก 3. กรรไกร 1 เล่ม
ไม่มีแร่ต่างชนิดกันตามที่เห็น 4. กระดาษ 1 แผ่น
มีแร่ต่างชนิดกันตามที่เห็น 5. ปากกาเมจิกหรือปากกาเคมี 1 ด้าม
6. กาว 1 กระปุก
ไม่มีแร่ต่างชนิดกันตามที่เห็น
เป็นผลึกที่มองเห็นได้
ไม่มีแร่ต่างชนิดกันตามที่เห็น
ไม่เป็นผลึก
เนื้อหินเป็นชั้น
เนื้อหินไม่เป็นชั้น

2. ตัดกระดาษเป็นชิ้นเล็ก ๆ และเขียนตัวเลข 1 ถึง 7 ติดตัวเลขแปะกับหินแต่ละก้อน


3. วางหินทั้งหมดบนโต๊ะ สังเกตหินแต่ละก้อน
แล้วแยกประเภทหินเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีสีอ่อนและ
กลุ่มทีม่ ีสีแก่ ดังรูป บันทึกหมายเลขของหินแต่ละกลุ่ม
ลงในตารางข้อมูล
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 404

4. นาหินทั้งหมดมากองรวมกัน สังเกตหินแต่ละ
ก้อนโดยใช้แว่นขยาย ดังรูป แยกหินที่มีผลึกแร่มองเห็นได้
หรือพื้นผิวแบน ส่องประกายไว้กลุ่มหนึ่ง และที่ไม่มี ผลึก
แร่ไปไว้อีกกลุ่มหนึ่ง บันทึกว่าหินก้อนใดมีผลึกมองเห็นได้
และก้อนใดไม่มี
5. นาหินทั้งหมดมากองรวมกันอีกครั้ง สังเกตหิน
แต่ละก้อนด้วยแว่นขยาย แยกหินเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีแร่
ต่างชนิดกันตามที่มองเห็นมากกว่า 1 อย่าง (สีมากกว่า 1 สี)
และกลุ่ ม ที่ ไ ม่ มี แ ร่ ต่ า งชนิ ด กั น ตามที่ ม องเห็ น (มี สี เ ดี ย ว
เท่านั้น) บันทึกข้อมูลที่สังเกตได้
6. นากลุ่มของหินที่ไม่มีแร่ต่างชนิดกันตามที่มองเห็นมาแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีผลึกมองเห็น
ได้และกลุ่มที่ไม่มีผลึก บันทึกข้อมูลที่สังเกตได้

สรุปผล
การสะงเกตก้อนหินด้วยแว่นขยายช่วยให้เห็นส่วนปรักอบของหินแต่ลัก้อนได้ชะดเจนขึ้น จาก
ตารางเราสามารถแบ่งกลุ่มหินเป็น 5 กลุ่ม โดยใช้เกณฑ์เกี่ยวกะบสี ละกษณัของผลึก แร่ที่เป็นส่วนปรักอบ
ผลึกของแร่ที่เป็นส่วนปรักอบ แลัเนื้อหินเป็นชะ้น

คาถามประกอบกิจกรรม
1. ตัวอย่างหินทั้งหมดเป็นหินชนิดเดียวกันหรือไม่ เพราะอะไร
ไม่ เพราัมีส่วนปรักอบที่แตกต่างกะน จะดเป็น 5 กลุ่ม ตามสี ละกษณัของผลึก แร่ที่เป็น
ส่วนปรักอบ ผลึกของแร่ที่เป็นส่วนปรักอบ แลัเนื้อหินเป็นชะ้น
2. ข้อมูลในตารางให้ความรู้เกี่ยวกับหินอะไรบ้าง
พิจารณาจากคาตอบนะกเรียน
แนวคำตอบ
ข้อมูลในตารางใช้เป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มหรือจาแนกปรัเภทของหินได้
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 405

ใบกิจกรรมที่ 28

สืบค้นข้อมูล ประโยชน์ของหินและแหล่งหินในประเทศไทย

ปัญหา เรานาหินมาใช้ปรัโยชน์ในเรื่องใด แลัแหล่งหิน ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน


ของปรัเทศไทยมีอยู่ที่ใดบ้าง 1. การลงความคิดเห็นข้อมูล
ขั้นตอน 2. การจัดกระทาและสื่อความหมาย
1. แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 4–5 คน ข้อมูล
2. แต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของ 3. การตีความหมายข้อมูลและการ
หินและแหล่งหินในประเทศไทย พร้อมทั้งยกตัวอย่าง ลงข้อสรุป
3. เสนอผลการสืบค้นข้อมูลและอภิปรายร่วมกัน อุปกรณ์
ในชั้นเรียน 1. ดินสอ/ปากกา 1 แท่ง/ด้าม
2. สมุด 1 เล่ม
3. ห้องสมุดและเว็บไซต์
เกี่ยวข้องทางอินเทอร์เน็ต
บันทึกผลการสืบค้นข้อมูล
รายการบันทึกผลการสืบค้นข้อมูล
วะนที่ 24 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2558
แนวคาตอบ
หินออบซิเดียน ใช้ทาใบหอกแลัหะวธนู ไม่พบแหล่งหินออบซิเดียนในปรัเทศไทย
หินดินดาน ใช้ทาเครื่องปั้นดินเผา เซรามิก ใช้เป็นส่วนปรักอบทาปูนซีเมนต์ พบทะ่วทุกภาคของ
ปรัเทศ
หินไนส์ ใช้ทาเครื่องปรัดะบ หินแกัสละก แลัหินก่อสร้าง พบมากในภาคเหนือ เช่น จะงหวะด
เชียงใหม่ ตาก ภาคตัวะนตก เช่น จะงหวะดกาญจนบุรี ปรัจวบคีรีขะนธ์ ภาคตัวะนออก เช่น จะงหวะดชลบุรี
รัยอง แลัพบบ้างในภาคใต้ เช่น จะงหวะดนครศรีธรรมราช นราธิวาส

สรุปผล
ชื่อหิน ประโยชน์ของหิน แหล่งหินในประเทศไทย
หินอัคนี
1. หินแกรนิต ใช้ทาหินปรัดะบ หินแกัสละก พบครอบคลุมพื้นที่ 1 ใน 8 ของ
ทาอนุสาวรีย์ แลัวะสดุก่อสร้าง ปรัเทศ มี 3 แนว คือ
(1) แนวจะงหวะดเลย น่าน ตาก
เพชรบูรณ์ สรัแก้ว แลัจะนทบุรี
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 406

ชื่อหิน ประโยชน์ของหิน แหล่งหินในประเทศไทย


(2) แนวจะงหวะดเชียงใหม่ ลาปาง
อุทะยธานี เพชรบุรี นครศรีธรรมราช
สงขลา แลัยัลา
(3) แนวจะงหวะดแม่ฮ่องสอน
กาญจนบุรี รันอง แลัภูเก็ต
หินอัคนี
2. หินบัซอลต์ ใช้ทาใยหิน ฉนวนกะนความ พบเป็นหย่อม ๆ ในจะงหวะด
ร้อน วะสดุก่อสร้าง แม่ฮ่องสอน ลาปาง แพร่ เลย
บุรีระมย์ อุบลราชธานี นครราชสีมา
จะนทบุรี ตราด แลักาญจนบุรี
3. หินออบซิเดียน ใช้ทาใบหอกแลัหะวธนู –
4. หินพะมมิซ ใช้เป็นวะสดุกรอง วะสดุก่อสร้าง เขตพื้นที่ลานารายณ์ อาเภอ
แลัใช้ทาผงขะดพื้น ชะยบาดาล จะงหวะดลพบุรี
5. หินแอนดีไซต์ ใช้ทาเครื่องปรัดะบ ทาครก พบหินกลุ่มนี้ในทุกภาคของ
แลัวะสดุก่อสร้าง ปรัเทศ ยกเว้นที่ราบสูงโคราช
หินตะกอน
1. หินกรวดมน ใช้ทาหินปรัดะบ หินก่อสร้าง พบมากในกลุ่มหินทรายแดงชุด
โคราช โดยเฉพาัในจะงหวะดที่อยู่ใน
ที่ราบสูง ภาคตัวะนออกเฉียงเหนือ
ของปรัเทศไทย เช่น จะงหวะด
นครราชสีมา ชะยภูมิ อุบลราชธานี
ขอนแก่น ฯลฯ
2. หินทราย ใช้ทาหินปรัดะบ หินแกัสละก พบมากในกลุ่มหินตักอน เช่น
หินละบมีด หินทรายแดงชุดโคราช ภาค
ตัวะนออกเฉียงเหนือ เช่น จะงหวะด
เลย นครราชสีมา ฯลฯ
3. หินดินดาน ใช้ทาเครื่องปั้นดินเผา เซรามิก ใช้ พบเกิดรวมกะบหินชะ้นกลุ่มต่าง ๆ
เป็นส่วนปรักอบทาปูนซีเมนต์ ทะ่วทุกภาคของปรัเทศ
4. หินปูน ใช้ทาเครื่องปรัดะบ ปูนซีเมนต์ พบมากเกือบทุกภาคทะ่วปรัเทศ
ปูนขาว แลัอุตสาหกรรมเคมี ยกเว้นบริเวณที่ราบสูงโคราช
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 407

ชื่อหิน ประโยชน์ของหิน แหล่งหินในประเทศไทย


หินแปร
1.หินไนส์ ใช้ทาเครื่องปรัดะบ หินแกัสละก พบมากในภาคเหนือ เช่น จะงหวะด
แลัหินก่อสร้าง เชียงใหม่ ตาก ภาคตัวะนตก เช่น
จะงหวะดกาญจนบุรี ปรัจวบคีรีขะนธ์
ภาคตัวะนออก เช่น จะงหวะดชลบุรี
รัยอง แลัพบบ้างในภาคใต้ เช่น
จะงหวะดนครศรีธรรมราช นราธิวาส
2. หินควอตไซต์ ใช้ทาหินก่อสร้าง พบทะ่ว ๆ ไป โดยเฉพาัในกลุ่ม
อุตสาหกรรมแก้ว ทาครก หินยุคเก่า ๆ ยกเว้นบริเวณกลาง
ที่ราบสูงโคราช
3. หินชนวน ใช้ทากรัดานชนวน หินปรัดะบ พบมากในบริเวณอาเภอปากช่อง
แลักรัเบื้องมุงหละงคา จะงหวะดนครราชสีมา แลักาญจนบุรี
4. หินอ่อน ใช้ทาหินปรัดะบ หินแกัสละก พบมากในบริเวณจะงหวะดสรับุรี
อุตสาหกรรมเคมี ตาก ยัลา อาเภอปากช่อง จะงหวะด
นครราชสีมา อาเภอพรานกรัต่าย
จะงหวะดกาแพงเพชร

คาถามประกอบกิจกรรม
1. ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการนาหินจานวนมากมาใช้ประโยชน์คืออะไร ควรแก้ไขอย่างไร
พิจารณาจากคาตอบนะกเรียน
แนวคำตอบ
อาจจัมีการรัเบิดภูเขาเพื่อนาหินมาใช้ปรัโยชน์ ซึ่งจัทาลายทระพยากรป่าไม้แลัหน้าดินถูก
ทาลาย ดะงนะ้นการนาหินมาใช้ต้องพิจารณาถึงความคุ้มค่าแลัให้เกิดปรัโยชน์สูงสุด ทาลายสิ่งแวดล้อม
น้อยที่สุด
2. ลักษณะภูมิประเทศที่พบหินแต่ละประเภทมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายพร้อม
ยกตัวอย่าง
แตกต่างกะน เช่น หินแกรนิตแลัหินบัซอลต์พบมากในภูมิปรัเทศที่เป็นภูเขา ส่วนหินตักอน
พบมากบริเวณที่เป็นลาธาร น้าตก ชายทัเล แลับริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้า
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 408

ใบกิจกรรมที่ 29

ทดลอง การเกิดสนิมในฝอยเหล็ก

ขั้นตอนการทดลอง
ปัญหา ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
เมื่อฝอยเหล็กชื้นจัเกิดปฏิกิริยาเคมี แล้วทาให้ 1. การตั้งสมมติฐาน
ฝอยเหล็กเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ 2. การลงความคิดเห็นข้อมูล
กาหนดสมมุติฐาน 3. การจัดกระทาและสื่อความหมาย
เมื่อฝอยเหล็กชื้นจัเกิดปฏิกิริยาเคมี แล้วทาให้ ข้อมูล
ฝอยเหล็กเปลี่ยนแปลงไป 4. การตีความหมายข้อมูลและการ
ทดลอง ลงข้อสรุป
1. แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 4–5 คน ทางานเป็นกลุ่ม อุปกรณ์
ล่วงหน้าอย่างน้อย 1–2 วัน 1. ฝอยเหล็ก 4 ก้อน
2. นาฝอยเหล็กมา 4 ก้อนในปริมาณที่เท่ากัน ฝอย 2. ภาชนะแก้ว 1 ใบ
เหล็กนี้ควรล้างด้วยน้าส้มสายชูให้สารเคลือบกันสนิมออก 3. แก้วพลาสติก 1 ใบ
ก่อน 4. ดิน 1 ถ้วยเล็ก
3. นาฝอยเหล็กทั้ง 4 ก้อนมาทากิจกรรมโดยเตรียม 5. น้า 1 แก้ว
ดังนี้

ก้อนที่ 1 ก้อนที่ 2 ก้อนที่ 3 ก้อนที่ 4


ฝอยเหล็กแห้ง ฝอยเหล็กชุบน้า ฝอยเหล็กแช่อยู่ในน้า ฝอยเหล็กอยู่ในดิน
ที่ชุ่มน้า
4. วางชุดการทดลองไว้ 1–2 วัน สังเกตและบันทึกผลที่เกิดขึ้น

รวบรวมข้อมูล
รวบรวมข้อมูลโดยบันทึกการเปลี่ยนแปลงที่นักเรียนสังเกตได้ลงในตารางบันทึกผล
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 409

บันทึกผลการทดลอง
การทดลอง ผลที่สังเกตได้
ฝอยเหล็กแห้ง ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง
ฝอยเหล็กชุบน้า บริเวณด้านนอกของฝอยเหล็กมีสีน้าตาลเข้มแลัฝอยเหล็กผุ
เป็นผงสีน้าตาลจานวนมาก
ฝอยเหล็กแช่อยู่ในน้า มีผงสีน้าตาลตกอยู่โดยรอบ แต่ฝอยเหล็กยะงไม่ผุหมด
ฝอยเหล็กอยู่ในดินที่ชุ่มน้า บริเวณด้านนอกของฝอยเหล็กเปลี่ยนเป็นสีน้าตาลแลัเปื่อย
ยุ่ยพอสมควร

แปลความหมายข้อมูล
ฝอยเหล็กแห้ง ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง
ฝอยเหล็กชุบน้า จัเห็นว่าบริเวณด้านนอกของฝอยเหล็กมีสีน้าตาลเข้มแลัฝอยเหล็กผุเป็นผงสี
น้าตาลจานวนมาก
ฝอยเหล็กแช่อยู่ในน้าจัมองเห็นผงสีน้าตาลตกอยู่โดยรอบ แต่ฝอยเหล็กยะงไม่ผุหมด
ฝอยเหล็กอยู่ในดินที่ชุ่มน้า บริเวณด้านนอกของฝอยเหล็กเปลี่ยนเป็นสีน้าตาลแลัเปื่อยยุ่ย
พอสมควร

สรุปผล
เมื่อฝอยเหล็กชื้นจัเกิดปฏิกิริยาเคมีกะบอากาศแล้วทาให้ฝอยเหล็กเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นไปตาม
สมมุติฐานที่กาหนดไว้

คาถามประกอบกิจกรรม
ก่อนการทดลอง
1. นอกจากฝอยเหล็กแล้ว นักเรียนสามารถใช้วัสดุใดแทนได้
ผงตัไบเหล็ก เส้นลวดขนาดเล็ก
2. เหตุผลที่เราใช้น้าส้มสายชูล้างฝอยเหล็กคืออะไร
เพื่อล้างสารเคลือบกะนสนิมออก
ระหว่างการทดลอง
3. ในระหว่างการทดลอง นักเรียนพบปัญหาและอุปสรรคหรือไม่ อะไรคือปัญหาและอุปสรรค
พิจารณาจากคาตอบนะกเรียน
4. นักเรียนแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในขณะทาการทดลองด้วยวิธีใด
พิจารณาจากคาตอบนะกเรียน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 410

หลังการทดลอง
5. สาเหตุที่ทาให้ฝอยเหล็กเกิดการเปลี่ยนแปลงคืออะไร
ความชื้นแลัอากาศ (สิ่งที่อยู่ในอากาศซึ่งทาปฏิกิริยากะบเหล็กที่ชื้นจนเหล็กกลายเป็นสนิม คือ
แก๊สออกซิเจน)
6. นักเรียนคิดว่าฝอยเหล็กชิ้นใดที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด เพราะอะไร
ฝอยเหล็กชุบน้าจัเกิดการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด เพราัฝอยเหล็กสะมผะสอากาศมากที่สุด
7. ผลสรุปของการทดลองนี้คืออะไร
ความชื้นแลัอากาศทาให้ฝอยเหล็กเกิดการเปลี่ยนแปลง บางส่วนกลายเป็นสนิม (มีสีน้าตาลแลั
บางส่วนหลุดออกมา)
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 411

ใบกิจกรรมที่ 30
สังเกต การกร่อน
ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
ปัญหา การกร่อนของหินเกิดขึ้นได้อย่างไร 1. การสังเกต
ขั้นตอน 2. การสร้างและใช้แบบจาลอง
1. แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 4–5 คน แต่กลุ่มนาชอล์ก 3. การลงความคิดเห็นข้อมูล
3 แท่ง มาแบ่งออกเป็นแท่งละ 3 ส่วน ใช้แว่นขยายสังเกต 4. การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
ส่วนปลายของชอล์กบริเวณรอยหักทีละอัน บันทึก 5. การตีความหมายข้อมูลและการลง
รายละเอียดเกี่ยวกับชอล์กลงในตาราง แล้วแยกชอล์ก 3 ข้อสรุป
ชิ้นไว้ เพื่อใช้เป็นตัวอย่างเปรียบเทียบในการสังเกต อุปกรณ์
2. สร้างแบบจาลองของการกร่อนและผุพัง โดย 1. ชอล์ก 3 แท่ง
ใส่หินก้อนเล็ก ๆ ลงในถ้วย ก 4–5 ก้อน จากนั้นเติมน้า 2. แว่นขยาย 1 อัน
3. หินขนาดเล็ก 4–5 ก้อน
ปริมาณ 3 ของถ้วย
4 4. ถ้วยพลาสติก 2 ใบ
3. ใส่ชอล์ก 3 ชิ้นลงไปในถ้วย ก ปิดฝาให้แน่น 5. ฝาปิดพลาสติก 1 ฝา
ใช้กระดาษกาวปิดทับ ดังรูป จับบริเวณส่วนบนของฝาปิด 3 ถ้วย
6. น้า
แล้วเขย่าถ้วยแรง ๆ ใช้นาฬิกาจับเวลาประมาณ 4 นาที 4
แล้วจึงเปิดฝาออก 7. กระดาษกาว 1 ม้วน
8. ช้อนพลาสติก 1 คัน
9. นาฬิกาจับเวลา 1 เรือน
10. กระดาษชาระ 4–5 แผ่น
11. น้าส้มสายชู 3 ถ้วย
4

4. ใช้ช้อนตักชอล์กออก แล้ววางลงบนกระดาษชาระ ใช้แว่นขยายสังเกตชอล์ก เพื่อหาร่องรอย


ของการกร่อนและผุพัง เปรียบเทียบชอล์ก 3 ชิ้นนี้กับชอล์กอีก 3 ชิ้น ที่แยกไว้ก่อนหน้านี้ บันทึกผลการ
สังเกต
5. สร้างแบบจาลองของการกร่อนและผุพังแบบ
3
อื่น ๆ โดยนาน้าส้มสายชูใส่ในถ้วย ข ประมาณ ของถ้วย
4
ใส่ชอล์กที่เหลือ 3 ชิ้นลงไปในถ้วย ดังรูป สังเกตชอล์ก
ในน้าส้มสายชูประมาณ 4 นาที บันทึกผลการสังเกต
6. ดาเนินการซ้าข้อที่ 4
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 412

บันทึกผลการสังเกต
รายการ ผลการสังเกต
ชอล์กที่หัก บริเวณปลายแท่งชอล์กที่หะกขรุขรั มีผงชอล์กหลุดออกมา
ชอล์กหลังจากเขย่า 4 นาที บริเวณรอบแท่งชอล์กเกิดการสึกกร่อน
ชอล์กหลังจากใส่ลงไปในน้าส้มสายชู เกิดฟองอากาศขึ้นที่บริเวณแท่งชอล์ก
ชอล์กหลังจากนาออกมาจากน้าส้มสายชู แท่งชอล์กเปื่อยยุ่ย บางส่วนหลุดออกจากกะน

สรุปผล
ชอล์กที่อยู่ในถ้วยพลาสติกที่บรรจุน้าแลัก้อนหินขนาดเล็ก แล้วเขย่าปรัมาณ 4 นาที เกิดการ
เปลี่ยนแปลง โดยมีการสึกกร่อน มีชิ้นชอล์กเล็ก ๆ หลุดออกมา เรียกการกร่อนละกษณันี้ว่า การกร่อนทาง
กายภาพ
ชอล์กที่อยู่ในถ้วยพลาสติกที่บรรจุน้าส้มสายชู แท่งชอล์กทาปฏิกิริยากะบน้าส้มสายชู สะงเกตจาก
เกิดฟองอากาศ เมื่อนาชอล์กออกมา แท่งชอล์กจัเปื่อยยุ่ย มีบางส่วนหลุดออกมา เรียกการกร่อนละกษณั
นี้ว่า การกร่อนทางเคมี

คาถามประกอบกิจกรรม
1. แท่งชอล์กในถ้วยใดเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และแท่งชอล์กในถ้วยใดเป็นการเปลี่ยนแปลงทาง
เคมี
ถ้วยที่มีน้า ก้อนหินขนาดเล็ก แลัชอล์ก แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางภาพ
ถ้วยที่มีน้าส้มสายชูแลัชอล์ก แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
2. การกร่อนที่เกิดขึ้นในถ้วย ก ชัดเจนกว่าที่เกิดขึ้นในถ้วย ข หรือไม่ เพราะอะไร
ถ้วย ก (ที่มีน้า ก้อนหินขนาดเล็ก แลัชอล์ก) เกิดการเปลี่ยนแปลงชะดเจนกว่าถ้วย ข (ที่มี
น้าส้มสายชูแลัชอล์ก) เนื่องจากถ้วย ก เปรียบได้กะบการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ถ้วย ข เปรียบได้กะบการ
เปลี่ยนแปลงทางเคมี
3. ผลสรุปของการปฏิบัติกิจกรรมนี้คืออะไร
การกร่อนของหินเกิดได้ 2 ละกษณั คือ การกร่อนทางกายภาพแลัการกร่อนทางเคมี
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 413

ใบกิจกรรมที่ 31

สืบค้นข้อมูล ประเภทและแหล่งกาเนิดภูเขาไฟ

ปัญหา ภูเขาไฟมีกี่ปรัเภท แลัแหล่งกาเนิดของภูเขาไฟอยู่ที่ ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน


ใดบ้าง 1. การลงความคิดเห็นข้อมูล
ขั้นตอน 2. การจัดกระทาและสื่อความหมาย
1. แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 4–5 คน ข้อมูล
2. แต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับประเภทและ 3. การตีความหมายข้อมูลและการ
แหล่งกาเนิดภูเขาไฟ ลงข้อสรุป
3. เสนอผลการจัดกลุ่มและอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน อุปกรณ์
1. ดินสอ/ปากกา 1 แท่ง/ด้าม
2. สมุด 1 เล่ม
3. ห้องสมุดและเว็บไซต์
ที่เกี่ยวข้องทางอินเทอร์เน็ต

บันทึกผลการสืบค้นข้อมูล
รายการบันทึกผลการสืบค้นข้อมูล
วะนที่ 27 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2558
แนวคาตอบ
ภูเขาไฟแบ่งเป็น 4 ชนิด คือ กรวยภูเขาไฟสละบชะ้นหรือภูเขาไฟแบบรูปผสม โดมภูเขาไฟ ภูเขาไฟ
รูปโล่ แลัภูเขาไฟรูปกรวยกรวดภูเขาไฟ ซึ่งแหล่งภูเขาไฟของโลกมะกจัอยู่บริเวณเดียวกะบที่เกิด
แผ่นดินไหว ซึ่งเป็นบริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟปัทุมากกว่าบริเวณอื่น ๆ

สรุปผล
นะกธรณีวิทยาแบ่งชนิดภูเขาไฟเป็น 4 ชนิด คือ
1. กรวยภูเขาไฟสละบชะ้นหรือภูเขาไฟแบบรูปผสม เป็นภูเขา
ไฟที่มีการสละบชะ้นของหินลาวาแลัหินตักอน ภูเขาไฟชนิดนี้ก่อตะว
มาจากขี้เถ้า เถ้าถ่าน แลัเศษหิน กรวยภูเขาไฟสละบชะ้นจัมีด้านข้างสูง
ชะ น มาก ขณัปัทุ จ ัรุ น แรงสละ บ กะ บ การไหลของลาวาแลัมี ก าร
จะดเรียงชะ้นหินไม่ ดี ภูเขาไฟชนิด นี้มีการปัทุแล้วหยุดไปรัยัหนึ่ ง
แล้วจึงปัทุขึ้นใหม่อีก ตะวอย่างของภูเขาไฟชนิดนี้ ได้แก่ ภูเขาไฟฟุ จิ
ปรัเทศญี่ปุ่น ภูเขาไฟวิซูเวียส ปรัเทศอิตาลี แลัภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์
ปรัเทศสหระฐอเมริกา
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 414

2. โดมภูเขาไฟ เป็นภูเขาไฟที่ก่อรูปจากหินไรโอไลต์ที่มี
ความหนืดมาก ภูเขาไฟชนิดนี้มีขนาดเล็ก มีด้านข้างสูงชะนแลัมีมวล
ของลาวาที่เดือดอยู่ภายในปากปล่องภูเขาไฟ ตะวอย่างภูเขาไฟชนิดนี้
ได้แก่ ภูเขาไฟเคลลูท ปรัเทศอินโดนีเซีย

3. ภูเขาไฟรูปโล่ เป็นภูเขาไฟที่ก่อรูปจากลาวาของหินบัซอลต์
เมื่อลาวาของหินบัซอลต์ที่มีความหนืดต่าไหลขึ้นมาถึงพื้น ผิวโลกจั
เกิดการไหลกรัจายออกไปโดยรอบศูนย์กลางของปล่องภูเขาไฟ ทาให้
ด้านข้างของภูเขาไฟมีความชะนปรัมาณ 2–20 องศา ตะวอย่างภูเขาไฟ
ชนิดนี้ ได้แก่ ภูเขาไฟในหมู่เกาัฮาวาย ปรัเทศสหระฐอเมริกา ภูเขาไฟ
เฮลกาเฟล แลัภูเขาไฟลากี ปรัเทศไอซ์แลนด์
4. ภูเขาไฟรูปกรวยกรวดภูเขาไฟ เป็นภูเขาไฟที่ก่อรูปจากการ
ปัทุ อ ย่ า งรุ น แรงแลัพ่ น เศษลาวาที่ อ ยู่ ใ นรู ป ของเถ้ า ถ่ า นออกมา
ภายนอก เถ้าถ่านจัรวมตะวกะนโดยรอบปากปล่องภูเขาไฟแลัทาให้
ด้านข้างของภูเขาสูงชะนขึ้นมีความชะนปรัมาณ 35–40 องศา ตะวอย่าง
ภูเขาไฟชนิดนี้ ได้แก่ ภูเขาไฟคาพูลิน ปรัเทศสหระฐอเมริกา แลัภูเขา
ไฟพีลี บนหมู่เกาัมาร์ตินีก
แหล่งภูเขาไฟของโลกมะกจัอยู่บริเวณเดียวกะบที่เกิดแผ่นดินไหว ซึ่งเป็นบริเวณที่มีโอกาสเกิด
ภูเขาไฟปัทุมากกว่าบริเวณอื่น ๆ คือ บริเวณขอบทวีปหรือบริเวณแนวรอยต่อรัหว่างแผ่นเปลือกโลก
โดยเฉพาับริเวณขอบทวีปที่มีการมุดตะวของแผ่นเปลือกโลกใต้พื้นมหาสมุทรไปสู่ใต้เปลือกโลกที่เป็น
ส่วนของทวีป
ในส่วนของปรัเทศไทยนะกธรณีวิทยารับุว่า เมื่อปรัมาณ 400 ล้านปีมาแล้วมีภูเขาไฟเกิดขึ้นใน
ปรัเทศไทย โดยส่วนมากจัมีการปัทุที่ไม่รุนแรง จัเป็นการแทรกดะนขึ้นมาตามรอยแตกของหิน
ปัจจุบะนยะงไม่ปรากฏว่ามีภูเขาไฟที่เกิดจากการปัทุได้ในปรัเทศไทย บริเวณที่เป็นภูเขาไฟในอดีต เช่น
ภาคเหนือพบที่จะงหวะดลาปาง น่าน อุตรดิตถ์ ตาก แลัสุโขทะย ภาคตัวะนออกเฉียงเหนือ พบที่จะงหวะดเลย
นครราชสีมา บุรีระมย์ สุรินทร์ แลัศรีสัเกษ บริเวณที่ราบสูงภาคกลาง พบที่จะงหวะดสรับุรี ลพบุรี แลั
เพชรบูรณ์
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 415

คาถามประกอบกิจกรรม
1. ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปะทุของภูเขาไฟมีผลต่อการดารงชีวิตของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมในเรื่อง
ใดบ้าง อธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ลาวาร้อนจากการปัทุของภูเขาไฟจัสร้างความเสียหายให้กะบชีวิตแลัทระพย์สินของปรัชาชน
ที่ตะ้งบ้านเรือนอยู่ใกล้เคียง ฝุ่นลัอองจากภูเขาไฟจัก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศแลัมีผลเสียต่อการ
คมนาคมทางอากาศ
2. แนวการเกิดภูเขาไฟและแผ่นดินไหวมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ ลักษณะใด
มีความสะมพะนธ์กะน แนวการเกิดภูเขาไฟแลัแผ่นดินไหวมะกเป็นแนวเดียวกะน คือ บริเวณแนว
รอยต่อรัหว่างแผ่นเปลือกโลก โดยเฉพาับริเวณขอบทวีปที่มีการมุดตะวของแผ่นเปลือกโลกใต้พื้น
มหาสมุทรไปสู่ใต้เปลือกโลกที่เป็นส่วนของทวีป
3. ลักษณะภูมิประเทศโดยรอบภูเขาไฟมีลักษณะเป็นแบบใด อธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
มีละกษณัภูมิปรัเทศที่เป็นเกาั เนื่องจากภูเขาไฟมะกเกิดบริเวณรอยต่อรัหว่างทวีปกะบมหาสมุทร
เมื่อขอบของแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรมุดตะวลงใต้แผ่นเปลือกโลกส่วนที่เป็นทวีป แผ่นเปลือกโลกที่
มุดตะวลงไปจัถูกหลอมเหลวกลายเป็นหินหนืดที่มีอุณหภูมิแลัแรงดะนสูงมาก กลายเป็นภูเขาไฟ
ตะวอย่างเช่น ภูเขาไฟในหมู่เกาัฮาวาย
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 416

ใบกิจกรรมที่ 32
สืบค้นข้อมูล การเกิดสึนามิ
ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
ปัญหา สึนามิคืออัไร เกิดขึ้นได้อย่างไร 1. การลงความคิดเห็นข้อมูล
ขั้นตอน 2. การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
1. แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 4–5 คน 3. การตีความหมายข้อมูลและการลง
2. แต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดสึนามิ ข้อสรุป
และการป้องกันภัยจากสึนามิ อุปกรณ์
3. เสนอผลการสืบค้นข้อมูลและอภิปรายร่วมกัน 1. ดินสอ/ปากกา 1 แท่ง/ด้าม
ในชั้นเรียน 2. สมุด 1 เล่ม
3. ห้องสมุดและเว็บไซต์
ที่เกี่ยวข้องทางอินเทอร์เน็ต

บันทึกผลการสืบค้นข้อมูล
รายการบันทึกผลการสืบค้นข้อมูล
วะนที่ 3 เดือน กะนยายน พ.ศ. 2558
แนวคาตอบ
สึนามิเป็นคลื่นน้าที่เกิดขึ้นหละงจากการเกิดแผ่นดินไหวในมหาสมุทรที่มีขนาดตะ้งแต่ 7.5 ตามมาตรา
ริกเตอร์ขึ้นไป โดยคลื่นจัเคลื่อนที่ด้วยความเร็วจากบริเวณน้าลึกเข้าสู่บริเวณชายฝั่ง เมื่อเข้าใกล้ฝั่ง
ความเร็วของคลื่นจัลดลง ความสูงของคลื่นจัก่อตะวสูงขึ้นโดยเฉพาัอย่างยิ่งเมื่อสึนามิขึ้นฝั่ง คลื่นจัโถม
เข้าฝั่งอย่างรวดเร็ว ซึ่งจัส่งผลให้ความสูงของยอดคลื่นยิ่งเพิ่มมากขึ้น

สรุปผล
สึนามิเป็นคาที่มาจากภาษาญี่ปุ่น ปรักอบด้วยคา 2 คา คือ tsu แปลว่า ท่าเรือ แลั nami แปลว่า
คลื่น เมื่อรวม 2 คา จึงมีความหมายว่า คลื่นท่าเรือ สึนามิเป็นคลื่นที่อยู่ในทัเล มีความยาวคลื่นปรัมาณ
80–200 กิโลเมตร มะกจัเกิดขึ้นภายหละงจากเกิดการสะ่นสัเทือนของแผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม การรัเบิด
หรือการปัทุของภูเขาไฟในท้องมหาสมุทรอย่างรุนแรงจนทาให้เกิดรอยแยก น้าทัเลจัถูกดูดเข้าไปใน
รอยแยกนี้ ทาให้เกิดภาวัน้าลดลงอย่างรวดเร็ว ต่อจากนะ้นแรงอะดใต้เปลือกโลกจัดะนน้าทัเลขึ้นมา
ก่อให้เกิดพละงอย่างมหาศาล
สึนามิจัเคลื่อนที่ด้วยความเร็วจากบริเวณน้าลึกเข้าสู่บริเวณฝั่ง เมื่อเข้าใกล้ฝั่งความเร็วของคลื่น
จัลดลง ความสูงของคลื่นจัก่อตะวสูงขึ้นโดยเฉพาัอย่างยิ่งเมื่อสึนามิขึ้นฝั่ง คลื่นจัโถมเข้าฝั่งอย่าง
รวดเร็ว ซึ่งจัส่งผลให้ความสูงของยอดคลื่นยิ่งเพิ่มมากขึ้น แลัเมื่อคลื่นเข้าปัทัแผ่นดิน พละงงานของ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 417

คลื่นจัสูญเสียไป เนื่องจากการสัท้อนกละบของคลื่นที่ปัทัชายฝั่ง ในขณัที่พละงงานของคลื่นที่แผ่เข้าสู่


ฝั่งจัถูกทาให้กรัจายพละงงานสู่ด้านล่างแลัเกิดกรัแสหมุนวน ทะ้งนี้การสูญเสียพละงงานนี้ไม่ได้ทาให้
สึนามิลดความรุนแรงลง คลื่นยะงคงเคลื่อนตะวเข้าปัทัฝั่งด้วยพละงงานอะนมหาศาล คลื่นมีพละงงานในการ
กะดเซาั พะงทลาย โดยเฉพาัชายฝั่งที่เป็นหาดทรายจัถูกน้าท่วม รัดะบน้าจัสูงขึ้นแลัการเคลื่อนที่ของน้า
ทีร่ วดเร็วจัปัทับ้านเรือนสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ความสูงของสึนามินะ้นบางคระ้งสูงกว่ารัดะบน้าทัเลตะ้งแต่
10–20 เมตร แลัอาจจัสูงถึง 30 เมตร

คาถามประกอบกิจกรรม
1. สึนามิเกิดขึ้นได้อย่างไร อธิบาย
สึนามิเกิดจากการเกิดแผ่นดินไหวในมหาสมุทรที่มีขนาดตะ้งแต่ 7.5 ตามมาตราริกเตอร์ขึ้นไป เมื่อ
เกิดแผ่นดินไหวอะนเป็นผลมาจากการเคลื่อนตะว อย่างกัทะนหะนในแนวดิ่งของแผ่นเปลือกโลกเป็นบริเวณ
กว้าง จัทาให้น้าในมหาสมุทรเกิดการกรัเพื่อมอย่างรุนแรง เกิดเป็นคลื่นยะกษ์ขึ้น
2. ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเกิดสึนามิคืออะไร ควรแก้ไขอย่างไร
ผลของคลื่นสึนำมิที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมมีดังนี้
1) ทาให้สภาพพื้นที่ชายฝั่งเปลี่ยนไปได้ในช่วงเวลาอะนสะ้น
2) สภาพที่อยู่อาศะยของสะตว์น้าบางปรัเภทเปลี่ยนแปลงไป
3) ปรัชาชนไร้ที่อยู่อาศะยแลัมีผลกรัทบต่อสภาพจิตซึ่งอาจป่วยเป็นโรคจิตเวชคล้ายกะบเหยื่อ
ของภะยพิบะติทุกชนิด เช่น พายุ ไฟไหม้ น้าท่วม ตึกถล่ม รถชน แลัเครื่องบินตก
4) ทาให้สิ่งก่อสร้างแลัสาธารณูปโภคเสียหาย เช่น สายไฟถูกทาลาย บ้านที่อยู่อาศะย โรงพยาบาล
แลัโรงเรียนถูกน้าท่วม
5) กรัทบต่ออาชีพต่าง ๆ เช่น ชาวปรัมง ธุรกิจรายย่อย มะคคุเทศก์ แลัโรงแรม
วิธีกำรแก้ปัญหำ
1) ปรัชาสะมพะนธ์แลัให้ความรู้แก่ปรัชาชนเรื่องการป้องกะนแลับรรเทาภะยจากคลื่นสึนามิแลั
แผ่นดินไหว
2) ติดตะ้งรับบเตือนภะยสึนามิที่สมบูรณ์เช่นเดียวกะบปรัเทศในแถบมหาสมุทรแปซิฟิก
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 418

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ปรากฏการณ์โลกและเทคโนโลยีอวกาศ

ใบกิจกรรมที่ 33

สังเกต การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของดวงจันทร์

ปัญหา ดวงจะนทร์มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปในละกษณัใด
ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
ขั้นตอน
1. การสังเกต
1. ทาการสังเกตในห้องมืด เปิดโคมไฟแล้วชูลูกบอลไป
2. การจัดกระทาและสื่อความหมาย
ข้างหน้าให้สูงเหนือศีรษะเล็กน้อย และสูงในระดับเดียวกับแสงไฟ
ข้อมูล
จากโคมไฟ หันหน้าไปทางโคมไฟ (กาหนดให้นักเรียนเป็นผู้ที่มอง
3. การตีความหมายข้อมูลและการ
ดวงจันทร์อยู่บนโลก โคมไฟเป็นเหมือนดวงอาทิตย์ให้แสงสว่าง
ลงข้อสรุป
ลูกบอลเป็นเหมือนดวงจันทร์)
อุปกรณ์
2. หมุนรอบตัวเองช้า ๆ จากซ้ายมือไปขวามือครั้งละ 90 องศา
1. โคมไฟ 1 ดวง
ขณะหมุนรอบตัวเองถือลูกบอลอยู่ตรงหน้าตลอดเวลา สังเกตส่วน
2. ลูกบอล 1 ลูก
สว่างและส่วนมืดของลูกบอลขณะหมุนตัว จนกระทั่งกลับมาที่
ตาแหน่งเริ่มต้น บันทึกผลพร้อมวาดภาพประกอบ
3. อภิปรายและร่วมกันสรุปผลการสังเกต
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 419

บันทึกผลการสังเกต
การหมุน (องศา) รูปส่วนสว่างและส่วนมืดบนลูกบอล

90

180

270

360

สรุปผล
การที่คนบนโลกมองเห็นดวงจะนทร์ได้ เพราัดวงจะนทร์สัท้อนแสงที่ได้ระบจากดวงอาทิตย์มายะง
โลก แลัการที่ดวงจะนทร์โคจรรอบโลกทาให้คนบนโลกเห็นส่วนสว่างของดวงจะนทร์แตกต่างกะน จาก
การศึกษา ณ ตาแหน่งที่ 0 องศา จัไม่เห็นดวงจะนทร์ เพราัดวงจะนทร์หะนด้านมืดมาทางโลก เมื่อดวงจะนทร์
อยู่ในตาแหน่งที่ 90 องศา จัสว่างครึ่งดวง มืดครึ่งดวง จนกรัทะ่งดวงจะนทร์มาอยู่ ณ ตาแหน่งที่ 180 องศา
ด้านที่หะนเข้าหาโลกจัเป็นด้านสว่างทะ้งหมด จึงเห็นดวงจะนทร์เป็นรูปวงกลม แลัเมื่อหมุนต่อไปที่
ตาแหน่ง 270 องศา ความสว่างก็จัค่อย ๆ ลดลง จนกรัทะ่งกละบมาที่ตาแหน่งเดิมจัมองเห็นมืดทะ้งดวงอีก
คระ้ง
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 420

คาถามประกอบกิจกรรม
1. เพราะเหตุใดจึงให้นักเรียนถือลูกบอลอยู่ตรงหน้าตลอดเวลา
เพราัเรามองเห็นดวงจะนทร์ด้านเดียวเท่านะ้น
2. ถ้าลูกบอลเป็นดวงจันทร์ที่โคจรรอบโลก ตาแหน่งใดที่เห็นดวงจันทร์มืดทั้งดวง และสว่างทั้งดวง
ตาแหน่งที่ 0 องศา แลั 360 องศา เห็นดวงจะนทร์มืดทะ้งดวง แลัที่ตาแหน่งที่ 180 องศา เห็นดวง
จะนทร์สว่างทะ้งดวง
3. การหมุนรอบตัวเองของดวงจันทร์ 1 รอบ กินเวลาประมาณเท่าใด
ปรัมาณ 29–30 วะน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 421

ใบกิจกรรมที่ 34
ทดลอง สาเหตุการเกิดฤดูกาล

ขั้นตอนการทดลอง
ปัญหา กรัดาษดาบนกรัดาษลูกฟูกที่วางราบกะบพื้นกะบที่วางทามุม ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
90 องศาได้ระบความร้อนจากโคมไฟเท่ากะนหรือไม่ 1. การสังเกต
กาหนดสมมุติฐาน กรัดาษดาบนกรัดาษลูกฟูกที่วางราบกะบพื้นกะบ 2. การทดลอง
ที่วางทามุม 90 องศาจัได้ระบความร้อนไม่เท่ากะน 3. การจัดกระทาและสื่อความหมาย
ทดลอง ข้อมูล
1. เตรียมกระดาษ 2 แผ่นโดยใช้กระดาษดาวางบนกระดาษ 4. การตีความหมายข้อมูลและการลง
ลูกฟูก นาแผ่นที่ 1 วางราบกับพื้น แผ่นที่ 2 วางทามุม 90 องศากับพื้น ข้อสรุป
เปิดไฟจากโคมไฟแทนแสงจากดวงอาทิตย์ อุปกรณ์
2. ปิดไฟแล้วเปรียบเทียบความร้อนของกระดาษ โดยใช้ 1. กระดาษดา 2 แผ่น
ความรู้สึกของนักเรียนจากการสัมผัส 2. กระดาษลูกฟูก 2 แผ่น
3. วัดอุณหภูมิโดยเสียบเทอร์มอมิเตอร์ใต้กระดาษดา วัด 3. โคมไฟ 1 ดวง
ความร้อนทีเ่ วลา 2, 4, 6, 8, 10 นาที บันทึกผล 4. เทอร์มอมิเตอร์ 1 อัน
4. อภิปราย วิเคราะห์ และสรุปผลการทดลอง 5. นาฬิกาจับเวลา 1 เรือน

รวบรวมข้อมูล
รวบรวมข้อมูลโดยบันทึกการเปลี่ยนแปลงที่นักเรียนสังเกตลงในตารางบันทึกผล
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 422

บันทึกผลการทดลอง
อุณหภูมิที่วัดโดยใช้เทอร์มอมิเตอร์ (องศาเซลเซียส)
เวลา (นาที)
วางราบกับพื้น วางทามุม 90 องศากับพื้น
2 27 26
4 27 26
6 28 27
8 28 28
10 29 28

แปลความหมายข้อมูล
เมื่อวะดเทอร์มอมิเตอร์กะบกรัดาษดาบนกรัดาษลูกฟูกที่วางราบกะบพื้น พบว่าอ่านอุณหภูมิได้สูง
กว่าเมื่อวะดเทอร์มอมิเตอร์กะบกรัดาษดาบนกรัดาษลูกฟูกที่วางทามุม 90 องศากะบพื้น

สรุปผล
อุณหภูมิของกรัดาษดาบนกรัดาษลูกฟูกที่วางราบกะบพื้นจัสูงกว่าอุณหภูมิของกรัดาษดาบน
กรัดาษลูกฟูกที่วางทามุม 90 องศากะบพื้น เปรียบได้กะบบริเวณของโลกที่ได้ระบแสงตะ้งฉากกะบแสงอาทิตย์
จัได้ระบพละงงานความร้อนจากดวงอาทิตย์มากกว่าบริเวณของโลกที่ระบแสงจากดวงอาทิตย์ในแนวเฉียง
ทาให้อุณหภูมิในพื้นที่ที่ระบแสงโดยตรงสูงกว่าพื้นที่ที่ระบแสงแนวเฉียง

คาถามประกอบกิจกรรม
ก่อนการทดลอง
1. มีการเตรียมกระดาษ 2 แผ่น วางตรงตาแหน่งที่แตกต่างกันในลักษณะใด
กรัดาษแผ่นที่ 1 วางราบกะบพื้น ส่วนกรัดาษแผ่นที่ 2 วางทามุม 90 องศากะบพื้น
ระหว่างการทดลอง
2. ในระหว่างการทากิจกรรมมีอุปสรรคหรือไม่ และแก้ไขด้วยวิธีใด
พิจารณาจากคาตอบนะกเรียน
หลังการทดลอง
3. อากาศร้อนและอากาศหนาวบริเวณขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าบริเวณเส้น
ศูนย์สูตร เพราะเหตุใด
เนื่องจากแกนโลกเอียงทามุม 23.5 องศากะบรันาบวงโคจรของโลกทาให้ระบแสงจากดวงอาทิตย์
ในแนวเฉียง จึงมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิมากกว่าบริเวณเส้นศูนย์สูตร
4. นักเรียนทราบหรือไม่ว่า ประเทศไทยมีกี่ฤดูกาล ได้แก่ฤดูใดบ้าง
มี 3 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน แลัฤดูหนาว
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 423

ใบกิจกรรมที่ 35

สร้าง แบบจาลองการเกิดจันทรุปราคา

ปัญหา จะนทรุปราคาเกิดขึ้นได้อย่างไร ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน


ขั้นตอน 1. การสังเกต
1. เจาะรูเล็ก ๆ ที่ลูกปิงปองและลูกบอลพลาสติก แล้วใช้ 2. การจัดกระทาและสื่อความหมาย
ไม้เสียบเสียบไว้สาหรับถือ ใช้เทปกาวติดให้แน่นกันไม่ให้หลุด ข้อมูล
2. สร้างแบบจาลองการเกิดจันทรุปราคา โดยทาการสังเกต 3. การตีความหมายข้อมูลและการลง
ในห้องมืด วางไฟฉายไว้บนโต๊ะ ส่งตัวแทนให้ถือลูกบอลพลาสติก ข้อสรุป
ระหว่างไฟฉายและลูกปิงปอง เปิดไฟฉายให้ส่องผ่านลูกบอล อุปกรณ์
พลาสติก โดยให้เงาจากลูกบอลพลาสติกทอดไปยังลูกปิงปอง 1. ลูกปิงปอง 1 ลูก
สังเกตและบันทึกผล 2. ลูกบอลพลาสติก 1 ลูก
3. ร่วมกันอภิปรายและสรุปผล 3. ไม้เสียบ 2 อัน
4. เทปกาว 1 ม้วน
5. ไฟฉาย 1 กระบอก

บันทึกผลการปฏิบัติกิจกรรม
รายการ ผลการศึกษา
เมื่อเปิดไฟฉาย เมื่อฉายไฟไปยะงลูกบอลพลาสติก เงามืดของลูกบอล
พลาสติกจัไปบะงลูกปิงปองให้มืดไปด้วย

สรุปผล
การเกิดจะนทรุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ โลก แลัดวงจะนทร์โคจรมาอยู่ในรันาบเดียวกะน เมื่อ
ดวงอาทิตย์ส่องแสงมายะงโลก แลัเงาของโลกก็ไปบะงดวงจะนทร์จนไม่สามารถเห็นดวงจะนทร์
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 424

คาถามประกอบกิจกรรม
1. ถ้าให้เปรียบเทียบแสงจากไฟฉาย ลูกบอลพลาสติก และลูกปิงปอง กับดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์
ของแต่ละอย่างเทียบได้กับอะไร
ไฟฉายเทียบได้กะบดวงอาทิตย์ ลูกบอลพลาสติกเทียบได้กะบโลก ลูกปิงปองเทียบได้กะบดวงจะนทร์
2. เมื่อเงาของลูกบอลพลาสติกตกไปบนลูกปิงปองคล้ายกับการเกิดปรากฏการณ์ใด
ปรากฏการณ์จะนทรุปราคา
3. นักเรียนเคยเห็นจันทรุปราคาหรือไม่ รู้สึกอย่างไร
พิจารณาจากคาตอบนะกเรียน
แนวคำตอบ
เคยเห็น รู้สึกตื่นเต้น
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 425

กิจกรรมเสริมการเรียนรู้ 1 สังเกตเงามืด เงามัว

ขั้นตอน
1. นาไม้ปลายแหลมเสียบลูกบอล ใช้กระดาษกาวติดให้แน่น
ใช้กาแพงหรือกระดาษเป็นฉากรับแสง
ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
1. การสังเกต
2. การจัดกระทาและสื่อความหมาย
ฉาก ข้อมูล
3. การตีความหมายข้อมูลและการ
ลงข้อสรุป
อุปกรณ์
2. ทาการสังเกตในห้องมืด ฉายไฟฉายเข้าหาฉาก แล้วนาลูกบอล 1.ไฟฉาย 1 กระบอก
ไปไว้ตรงกลางระหว่างฉากกับไฟฉาย สังเกตลักษณะเงาบนฉาก แล้ว 2. ลูกบอล 1 ลูก
เลื่อนลูกบอลออกจากไฟฉายไปทางฉาก สังเกตลักษณะเงา บันทึกผล 3. แผ่นกระดาษ 1 แผ่น
4. กระดาษกาว 1 ม้วน
5. ไม้ปลายแหลม 1 อัน

คาถามประกอบกิจกรรม
1. เมื่อเลื่อนลูกบอลเข้าหาฉาก เกิดการเปลี่ยนแปลงบนฉากในลักษณะใด
ทาให้เกิดเงามืดบนฉาก
2. เงามืด เงามัวเกิดจากสาเหตุใด
เกิดจากรัยัห่างรัหว่างแหล่งกาเนิดแสงที่ส่องไปยะงวะตถุกะบฉากต่างกะน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 426

ใบกิจกรรมที่ 36

สร้าง แบบจาลองการเกิดสุริยุปราคา

ปัญหา สุริยุปราคาเกิดขึ้นได้อย่างไร
ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
ขั้นตอน
1. การสังเกต
1. ทาการสังเกตในห้องมืดเช่นเดียวกับการศึกษาการเกิด
2. การจัดกระทาและสื่อความหมาย
จันทรุปราคา
ข้อมูล
2. สร้างแบบจาลองการเกิดสุริยุปราคา โดยนาไฟฉายวาง
3. การตีความหมายข้อมูลและการ
บนโต๊ะ วัดขนาดของลูกปิงปองกับกระจกไฟฉาย ปิดตาข้างเดียว
ลงข้อสรุป
แล้วปรับระยะใกล้–ไกล เพื่อให้ลูกปิงปองมีขนาดใกล้เคียงกับ
อุปกรณ์
กระจกไฟฉาย เมื่อได้ระยะแล้วเปิดไฟให้ส่องผ่านลูกปิงปอง
1. ลูกปิงปอง 1 ลูก
ค่อย ๆ เลื่อนลูกปิงปองผ่านหน้าไฟฉาย ให้นักเรียนเป็นผู้สังเกต
2. ไม้เสียบ 1 อัน
บนโลก บันทึกผลการสังเกต
3. เทปกาว 1 ม้วน
4. ไฟฉาย 1 กระบอก

บันทึกผลการปฏิบัติกิจกรรม
รายการ ผลการศึกษา
เมื่อเปิดไฟฉาย เมื่อเลื่อนลูกปิงปองมาบะงแสงจากไฟฉาย ลูกปิงปอง
จัค่อย ๆ บะงแสงของไฟฉายจนหมดดวง
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 427

สรุปผล
ไฟฉายเปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ ลูกปิงปองเปรียบเหมือนดวงจะนทร์ เมื่อใช้ลูกปิงปองบะงแสงเป็น
การจาลองปรากฏการณ์ที่ดวงจะนทร์โคจรเข้าไปรัหว่างโลก แลัดวงอาทิตย์ในแนวเส้นตรงเดียวกะน ทาให้
เงาของดวงจะนทร์บะงแสงอาทิตย์เกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคา

คาถามประกอบกิจกรรม
1. นักเรียนมองเห็นดวงอาทิตย์มีรูปร่างอย่างไร เมื่อลูกปิงปองบังหน้ากระจกไฟฉาย
มีรูปร่างเปลี่ยนไป แลัค่อย ๆ บะงจนหมดดวง
2. นักเรียนคิดว่าการเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคามีประโยชน์หรือไม่ ลักษณะใด
พิจารณาจากคาตอบนะกเรียน
แนวคำตอบ
มีปรัโยชน์ในการศึกษาเกี่ยวกะบดวงอาทิตย์ โดยเฉพาับรรยากาศรอบนอกที่เรียกว่า แสงคอโรนา
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 428

ใบกิจกรรมที่ 37

สังเกต การเคลื่อนที่ของจรวด
ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
ปัญหา จรวดเคลื่อนที่ขึ้นสู่อวกาศได้อย่างไร 1. การสังเกต
ขั้นตอน 2. การจัดกระทาและสื่อความหมายข้อมูล
1. เป่าลูกโป่งจนมีขนาดใหญ่ ใช้มือปิดปากลูกโป่งไว้ 3. การตีความหมายข้อมูลและการลง
ข้อสรุป
อุปกรณ์
ลูกโป่ง 1–2 ลูก

2. ปล่อยลูกโป่งให้เคลื่อนที่ออกไปอย่างอิสระ สังเกตการเคลื่อนที่ของลูกโป่งขณะปล่อยออกไป
บันทึกผล
3. อภิปราย วิเคราะห์ และสรุปผลการสังเกต

บันทึกผลการสังเกต
รายการ ผลการสังเกต
เมื่อปล่อยลูกโป่ง ลูกโป่งพุ่งไปข้างหน้า แลัแฟบลงเรื่อย ๆ

สรุปผล
เมื่อปิดปากลูกโป่ง อากาศภายในลูกโป่งมีความดะนเท่ากะนทุกทิศทุกทาง เมื่อเปิดปากลูกโป่ง
อากาศที่ออกจากปากลูกโป่งจัดะนลูกโป่งในทิศทางตรงข้ามกะบทิศการเคลื่อนที่ของอากาศ ทาให้ลูกโป่ง
เคลื่อนที่ไปข้างหน้า

คาถามประกอบกิจกรรม
1. สิ่งใดพุ่งออกจากปากลูกโป่ง และมีผลต่อการเคลื่อนที่ของลูกโป่งหรือไม่
อากาศ ทาให้ลูกโป่งเคลื่อนที่ไปข้างหน้า
2. ถ้าต้องการให้ลูกโป่งเคลื่อนที่ไปได้ไกล ๆ นักเรียนจะออกแบบลูกโป่งอย่างไร
ออกแบบให้มีละกษณัใหญ่แลัยาวขึ้น
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 429

กิจกรรมเสริมการเรียนรู้ 2 ประดิษฐ์ยานพาหนะจาลองสารวจดาวอังคาร
ขั้นตอน
1. แบ่งนักเรียนกลุ่มละ 5–6 คน วางแผนประดิษฐ์ยานพาหนะ
ทักษะสร้างเสริมความเข้าใจที่คงทน
จาลองสารวจดาวอังคาร
การสังเกต
2. ออกแบบยานพาหนะจาลองสารวจดาวอังคารที่สามารถ
อุปกรณ์
ปีนขึ้นลงบริเวณหุบเขาบนดาวอังคารได้ดี
1. ดินสอ 1 แท่ง
3.วาดภาพและออกแบบยานพาหนะบนแผ่นกระดาษ แล้ว
2. กระดาษ 1 แผ่น
ประดิษฐ์ตัวยานโดยใช้เศษวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น เช่น กระป๋อง
3. กระป๋อง 1 ใบ
ลวด และกาว
4. ลวด 1 ใบ
5. กาว 1 กระปุก
คาถามประกอบกิจกรรม
1. อธิบายวิธีการสร้างยานพาหนะสารวจดาวอังคารอย่างเป็นขั้นตอน
พิจารณาจากคาตอบนะกเรียน
2. นักเรียนรู้สึกเช่นไรเมื่อได้สร้างยานพาหนะจาลองสารวจดาวอังคาร
พิจารณาจากคาตอบนะกเรียน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 430

แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ประจาหน่วยการเรียนรู้
แบบทดสอบก่อนเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่างกายของเรา
คาชี้แจง เลือกคาตอบที่ถูกที่สุดเพียงคาตอบเดียว
1. ข้อความใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับลมหายใจเข้า 6. การเจริญเติบโตช่วงใดที่สมองมีการพัฒนา
ก ช่องอกขยายใหญ่ มากที่สุด
ข กะบังลมเลื่อนต่าลง ก วัยรุ่น
ค กระดูกซี่โครงยกตัวสูง ข วัยเรียน
ง แก๊สออกซิเจนออกจากถุงลมไปนอกร่างกาย ค วัยผู้ใหญ่
2. อวัยวะคู่ใดทางานอยู่ในระบบเดียวกัน ง ก่อนวัยเรียน
ก ลาไส้เล็ก–ตับ 7. “เด็กจะเริ่มยืนและเดินได้เอง ฟันซี่แรกเริ่มขึ้น”
ข ตับอ่อน–ผิวหนัง เป็นการเจริญเติบโตของเด็กอายุเท่าใด
ค กะบังลม–ลาไส้ใหญ่ ก 2–4 เดือน
ง กระเพาะอาหาร–หัวใจ ข 9–12 เดือน
3. “เลือดที่ได้รับออกซิเจนจากการหายใจจะ ค 1–3 ปี
หมุนเวียนไปทุกส่วนของร่างกายโดยมีหัวใจเป็น ง 4–5 ปี
อวัยวะสูบฉีด” ประโยคดังกล่าวเป็นการทางาน 8. ข้าว เนื้อหมู ไข่ น้าตาล เผือก นม น้ามันพืช
ร่วมกันของระบบใด ถั่วลิสง เนย อาหารทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น
ก หายใจ ขับถ่าย มีกี่หมู่
ข ย่อยอาหาร หายใจ ก 2
ค หายใจ หมุนเวียนเลือด ข 3
ง หมุนเวียนเลือด ขับถ่าย ค 4
4. อวัยวะใดเกี่ยวข้องกับการขับถ่ายปัสสาวะ ง 5
ก ไต 9. คนที่เป็นโรคปากนกกระจอกเนื่องจากขาดวิตามิน
ข ถุงน้าดี ชนิดใด
ค ตับอ่อน ก วิตามินอี
ง ลาไส้ใหญ่ ข วิตามินเอ
5. การสังเกตการเจริญเติบโตของตนเองจะทาให้รู้ ค วิตามินบี 1
สิ่งใด ง วิตามินบี 2
ก ส่วนสูง
ข น้าหนัก
ค พัฒนาการทางร่างกาย
ง โรคที่ทาให้ร่างกายผิดปกติ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 431

10. สารอาหารประเภทโปรตีนมีประโยชน์ต่อเด็กแรกเกิดในเรื่องใด
ก การพัฒนาของสมอง
ข ป้องกันและต้านทานโรค
ค ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
ง ให้พลังงานในการทากิจกรรมต่าง ๆ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 432

แบบทดสอบหลังเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่างกายของเรา
คาชี้แจง เลือกคาตอบที่ถูกที่สุดเพียงคาตอบเดียว
1. ขณะหายใจ หน้าอกจะขยับขึ้น–ลง 6. ช่วงวัยใดที่ร่างกายของเราจะไม่มีการเจริญเติบโต
เพราะการทางานสัมพันธ์กันของอวัยวะใด ก วัยรุ่น
ก ปอด–ท่อลม ข วัยชรา
ข โพรงจมูก–จมูก ค วัยทารก
ค หลอดลม–ถุงลม ง ทารกในครรภ์
ง กะบังลม–กล้ามเนื้อซี่โครง 7. วัยรุ่นหญิงมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่สังเกต
2. การลาดับระบบย่อยอาหารใดถูกต้อง ได้ชัดเจนในเรื่องใด
ก ปาก  ลาไส้ใหญ่  ลาไส้เล็ก ก เสียงแตก
ข ปาก  ลาไส้เล็ก  กระเพาะอาหาร ข ไหล่ขยายกว้าง
ค ปาก  กระเพาะอาหาร  หลอดอาหาร ค กล้ามเนื้อแข็งแรง
ง ปาก  หลอดอาหาร  กระเพาะอาหาร ง รูปร่างมีส่วนโค้งส่วนเว้า
3. ขณะที่เราออกกาลังกายระบบใดในร่างกายที่ 8. ข้าว เนื้อหมู ไข่ น้าตาล เผือก นม น้ามันพืช ถั่วลิสง
ทางานสัมพันธ์กันมากที่สุด เนย อาหารหมู่ใดมีมากที่สุด และหมู่ใดมีน้อยที่สุด
ก ขับถ่าย หายใจ ก หมู่ที่ 1 มีมากที่สุด และหมู่ที่ 2 มีน้อยที่สุด
ข หายใจ ย่อยอาหาร ข หมู่ที่ 1 มีมากที่สุด และหมู่ที่ 5 มีน้อยที่สุด
ค หายใจ หมุนเวียนเลือด ค หมู่ที่ 2 มีมากที่สุด และหมู่ที่ 4 มีน้อยที่สุด
ง ย่อยอาหาร หมุนเวียนเลือด ง หมู่ที่ 3 มีมากที่สุด และหมู่ที่ 5 มีน้อยที่สุด
4. อวัยวะที่ทาหน้าที่ขับของเสียในรูปปัสสาวะ 9. การรับประทานส้ม ฝรั่ง กล้วย และมะเขือเทศ
คืออะไร ช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินชนิดใด
ก ไต ก วิตามินเอ
ข ปอด ข วิตามินบี
ค ลาไส้เล็ก ค วิตามินซี
ง ลาไส้ใหญ่ ง วิตามินอี
5. เกณฑ์ที่ใช้วัดการเจริญเติบโตของนักเรียน 10. นักเรียนควรรับประทานอาหารในหมู่เดียวกัน
คืออะไร ให้หลากหลายชนิดหรือไม่ เพราะอะไร
ก อายุ ความสูง ก ควร เพราะดีต่อระบบย่อยอาหาร
ข น้าหนัก ความสูง ข ควร เพราะได้รับสารอาหารครบถ้วน
ค อายุ เส้นรอบเอว ค ไม่ควร เพราะได้รับสารอาหารมากเกินไป
ง น้าหนัก เส้นรอบเอว ง ไม่ควร เพราะร่างกายได้รับสารปนเปื้อนจาก
อาหารมากขึ้น
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 433

แบบทดสอบก่อนเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
คาชี้แจง เลือกคาตอบที่ถูกที่สุดเพียงคาตอบเดียว
1. สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่ 5. ลักษณะใดไม่ใช่การปรับตัวของสัตว์ให้เข้ากับ
เดียวกันในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเรียกว่าอะไร สภาพแวดล้อม
ก สิ่งมีชีวิต ก อูฐมีโหนกเพื่อสะสมอาหาร
ข ประชากร ข สุนัขที่เลี้ยงมีไขมันสะสมมาก
ค ระบบนิเวศ ค หมีขาวมีขนหนาปกคลุมลาตัว
ง ชุมนุมสิ่งมีชีวิต ง ตั๊กแตนใบไม้มีลาตัวคล้ายใบไม้
2. สถานที่ใดพบพืชสีเขียวเจริญเติบโตมากที่สุด 6. ประโยชน์โดยตรงที่มนุษย์ได้รับจากทรัพยากร
ก ตึกร้าง ป่าไม้คืออะไร
ข ก้อนหิน ก เป็นแหล่งปัจจัยสี่
ค บึงน้าจืด ข ลดแรงปะทะจากลมพายุ
ง รางรถไฟ ค เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้
3. จากรูปจะไม่พบสิ่งมีชีวิตชนิดใดในระบบนิเวศนี้ ง ป้องกันการถูกกัดเซาะและพัดพาของหน้าดิน
7. อากาศบริสุทธิ์ที่เหมาะสมต่อการอาศัยของ
สิ่งมีชีวิตควรมีลักษณะใด
ก ไม่มีสิ่งที่เป็นพิษเจือปน
ข มีฝุ่นละอองขนาดเล็กจานวนมาก
ก มด
ค มีเขม่าและขี้เถ้าเป็นส่วนประกอบ
ข ปลวก
ง มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณสูง
ค ลูกอ๊อด
8. ประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อปัญหาใด
ง ตะขาบ
เป็นอันดับแรก
4. โซ่อาหารที่ซับซ้อนหลาย ๆ โซ่อาหาร เรียกว่า
ก การว่างงาน
อะไร
ข การประกอบอาชีพ
ก ระบบนิเวศ
ค การบริการสาธารณสุข
ข กลุ่มสิ่งมีชีวิต
ง การขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ
ค สายใยอาหาร
9. กิจกรรมใดเป็นสาเหตุที่ทาให้เกิดมลพิษทางน้า
ง พลังงานกับโซ่อาหาร
ก การตัดถนนผ่านแหล่งน้า
ข การขุดลอกคูคลองในเมือง
ค การสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า
ง การทิ้งขยะจากบ้านเรือนลงสู่แหล่งน้า
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 434

10. กิจกรรมใดช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
ก ซื้อกล้วยไม้ป่า
ข ปลูกผักกินเอง
ค ใช้กระดาษ 2 หน้า
ง ซื้อเฟอร์นิเจอร์ที่ทาจากหวาย
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 435

แบบทดสอบหลังเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
คาชี้แจง เลือกคาตอบที่ถูกที่สุดเพียงคาตอบเดียว
1. แหล่งกาเนิดพลังงานของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด 4. ความสัมพันธ์ใดเหมือนกับแบคทีเรีย
มาจากแหล่งใด ในปมรากถั่ว
ก น้า ก รากับสาหร่าย
ข สัตว์ ข กาฝากกับต้นไม้
ค พืชสีเขียว ค ดอกไม้กับแมลง
ง ดวงอาทิตย์ ง ฉลามกับเหาฉลาม
2. จากข้อมูลต่อไปนี้ โซ่อาหารใดเขียนถูกต้อง 5. ปลาที่โผล่ขึ้นมาบนผิวน้าเพราะต้องการสิ่งใด
1 แมลง ก อาหาร
2 กบ ข อุณหภูมิ
3 งูเขียว ค แสงสว่าง
ก 1→2→3 ง แก๊สออกซิเจน
ข 1→3→2 6. สิ่งใดไม่ใช่ทรัพยากรธรรมชาติ
ค 2→3→1 ก เขื่อน
ง 3→1→3 ข ป่าไม้
3. จากแผนภาพ สิ่งมีชีวิตใดคือผู้บริโภคลาดับที่ 1 ค อากาศ
ง สัตว์ป่า
7. ภัยธรรมชาติใดที่ทาให้ป่าไม้เปลี่ยนแปลง
ก การเกิดไฟป่า
ข การลักลอบตัดไม้
ค การลักลอบเผาป่า
ก ข้าว ง การบุกรุกพื้นที่ป่า
ข นกฮูก 8. สิ่งใดไม่ใช่ผลกระทบที่เกิดจากปรากฏการณ์
ค สุนัขจิ้งจอก เรือนกระจก
ง หนูและกระต่าย ก เกิดปัญหาน้าท่วม
ข น้าแข็งที่ขั้วโลกละลาย
ค อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น
ง ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 436

9. ความสัมพันธ์คู่ใดไม่ถูกต้อง 10. ถ้านักเรียนอาศัยอยู่ในชุมชนที่มีโรงงาน


ก ใช้ซ้า–นาถุงพลาสติกไปใส่ของ อุตสาหกรรมเป็นจานวนมาก นักเรียนจะมีวิธี
ข ซ่อมแซม–นากะละมังไปปะรูรั่ว แนะนาให้เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมจัดการ
ค ผลิตใช้ใหม่–นาเสื้อเก่าไปเช็ดพื้น กับน้าเสีย โดยวิธีใด
ง ลดการใช้–ปิดไฟเมื่อออกจากห้อง ก นาน้าไปรดต้นไม้
ข นาน้าไปใช้เลี้ยงสัตว์
ค สร้างบ่อบาบัดน้าเสีย
ง ต่อท่อเพื่อปล่อยลงสู่ลาคลอง
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 437

แบบทดสอบก่อนเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สารในชีวิตประจาวัน
คาชี้แจง เลือกคาตอบที่ถูกที่สุดเพียงคาตอบเดียว
1. ข้อความใดแสดงสมบัติของน้าดังรูป 4. การแยกสารที่มีความสามารถในการละลายได้
ต่างกันออกจากกัน เป็นหลักการแยกสารโดยใช้
วิธีการใด
ก การกรอง
ข การระเหิด
ก มีปริมาตรคงที่ ค การตกผลึก
ข ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่า ง การตกตะกอน
ค มีอณ ุ หภูมิเท่ากับอุณหภูมิห้อง 5. สารชนิดใดใช้ปรุงรสอาหาร
ง มีระยะห่างระหว่างอนุภาคมาก ก ผงฟู
2. สิ่งที่ต้องคานึงถึงในการจาแนกสารเป็นกลุ่ม ข เกลือ
คือ อะไร ค น้านมแมว
ก ชนิดของสาร ง น้าดอกอัญชัน
ข จานวนของสาร 6. ก่อนใช้สารทุกชนิดควรปฏิบัติอย่างไร
ค ระยะเวลาในการจาแนกสาร ก เขย่าก่อนใช้
ง เกณฑ์ที่ใช้ในการจาแนกสาร ข อ่านฉลากให้เข้าใจ
3. จากรูป เป็นการแยกสารโดยใช้วิธีการใด ค สวมเสื้อผ้าให้มิดชิด
ง ล้างมือให้สะอาดก่อนใช้
7. การใช้สารกาจัดศัตรูพืชทาให้เกิดผลเสีย
ในลักษณะใด
ก พืชผักได้ผลผลิตดีขึ้น
ก การร่อน ข เกิดสารพิษสะสมในดิน
ข การกลั่น ค เกษตรกรต้องลงทุนเพิ่มขึ้น
ค การกรอง ง แมลงศัตรูพืชมีปริมาณลดลง
ง การระเหยแห้ง 8. สิ่งใดเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
ก การต้มไข่
ข การละลาย
ค การเผาไหม้
ง การสลายตัวของสาร
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 438

9. การกระทาใดทาให้เกิดการเปลีย่ นแปลงทางเคมี 10. การเปลี่ยนแปลงของอาหารกระป๋องแบบใด


ก เทน้าตาลทรายในน้า เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคน้อยที่สุด
ข เป่าลูกโป่งให้ใหญ่ขึ้น ก ขึ้นสนิม
ค บีบน้ามะนาวลงในหินปูน ข กระป๋องบวม
ง ปั้นดินน้ามันจากทรงกลมให้เป็นสี่เหลี่ยม ค ฉลากอาหารไม่ชัดเจน
ง สีของอาหารเปลี่ยนไป
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 439

แบบทดสอบหลังเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สารในชีวิตประจาวัน
คาชี้แจง เลือกคาตอบทีถ่ ูกที่สุดเพียงคาตอบเดียว
1. ถ้าให้แก๊สอยู่ในภาชนะเปิดจะเกิดเหตุการณ์ใด 6. ในชีวิตประจาวันเราจะได้รับสารพิษจากสาร
ก ภาชนะลอยได้ กลุ่มใดมากที่สุด
ข ฟุ้งกระจายไปทั่ว ก สารกาจัดแมลง
ค รูปร่างเหมือนเดิม ข สารปรุงแต่งอาหาร
ง มีปริมาตรเท่าภาชนะ ค สารทาความสะอาด
2. สารในกลุ่มใดมีสถานะเดียวกันทั้งหมด ง ยาและเครื่องสาอาง
ก น้าแข็ง ทราย เกลือ 7. ข้อความใดเป็นวิธีการใช้สารกาจัดศัตรูพืช
ข ผ้า น้ามะนาว น้าตาล ไม่ถูกต้อง
ค น้ามัน แก้วน้า น้าเชื่อม ก ปกปิดร่างกายให้มิดชิด
ง กาแฟ นมสด กระดาษทิชชู ข ควรยืนใต้ลมขณะฉีดพ่นยา
3. เจี๊ยบได้รับมอบหมายให้แยกสารชนิดหนึ่ง เจี๊ยบ ค อ่านวิธีการใช้และข้อควรระวังก่อนใช้
จึงเลือกใช้ผ้าขาวบางเป็นวัสดุที่ใช้แยก นักเรียน ง ทาความสะอาดร่างกายทันทีหลังการใช้ยา
คิดว่าเจี๊ยบได้รับมอบหมายให้แยกสารใด 8. วิธีการใดเป็นการเปลี่ยนสถานะจากไอน้าเป็นน้า
ก น้ากะทิ ก ลดปริมาตร
ข น้าเกลือ ข ลดอุณหภูมิ
ค น้ากลั่น ค เพิ่มปริมาตร
ง น้ามันมะกรูด ง เพิ่มอุณหภูมิ
4. สารผสมใดสามารถแยกออกได้โดยการร่อน 9. วิธีการใดได้สารใหม่ที่มีสมบัติต่างไปจากสารเดิม
ก กรวดในแม่น้า ก ทาขนมปัง
ข เกลือในน้าทะเล ข ฉีกกระดาษ
ค น้าตาลในน้าเชื่อม ค หลอมเทียนไข
ง เม็ดทรายที่มีขนาดต่างกัน ง ต้มน้าจนเดือด
5. สารกลุ่มใดจัดกลุ่มโดยใช้เกณฑ์การนาไปใช้ 10. การเปลี่ยนแปลงทางเคมีแบบใดไม่เกิดผลเสีย
ประโยชน์ไม่ถูกต้อง ต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ก สบู่ แชมพู ก การเกิดสนิมของเหล็ก
ข น้าปลา น้าส้มสายชู ข การสร้างอาหารของพืช
ค สารกันบูด ยาฆ่าแมลง ค การทิ้งขยะลงสู่แหล่งน้า
ง ยาหยอดตา ทิงเจอร์ไอโอดีน ง การปล่อยควันของโรงงานอุตสาหกรรม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 440

แบบทดสอบก่อนเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ไฟฟ้า
คาชี้แจง เลือกคาตอบที่ถูกที่สุดเพียงคาตอบเดียว
1. วงจรไฟฟ้าพื้นฐานประกอบด้วยสิ่งใด 4. ถ้านาหลอดไฟฟ้า A และ B ที่มีจานวนวัตต์
ก เครื่องใช้ไฟฟ้า สวิตช์ เท่ากันมาต่อแบบอนุกรม ข้อความใดถูกต้อง
ข ตัวนาไฟฟ้า ฉนวนไฟฟ้า ก หลอดไฟฟ้า A และ B สว่างไม่เท่ากัน
ค แหล่งกาเนิดไฟฟ้า สวิตช์ ข ถ้าหลอดไฟฟ้า A ดับ หลอดไฟฟ้า B จะไม่
ง แหล่งกาเนิดไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า ดับ
2. ทุกครั้งที่เราเปิดไฟในห้องเรียน แสดงว่าเรากาลัง ค ถ้าหลอดไฟฟ้า B ดับ หลอดไฟฟ้า A จะไม่
ทาอะไร ดับ
ก ปิดวงจรเปิด ง ถ้าหลอดไฟฟ้า A ดับ หลอดไฟฟ้า B จะดับ
ข เปิดวงจรปิด ด้วย
ค ให้แหล่งพลังงานแก่วงจรไฟฟ้า 5. ถ้าฟ้าใส่ถ่านไฟฉายในกระบอกไฟฉายที่ใช้
ง ย้ายแหล่งพลังงานจากวงจรไฟฟ้า ถ่านไฟฉาย 2 ก้อน สลับขั้ว 1 ก้อน จะเกิดอะไรขึ้น
3. จากรูป นักเรียนคิดว่าหลอดไฟฟ้าจะสว่างหรือไม่ ก กระแสไฟฟ้าลดลง
ถ้าไม่สว่าง นักเรียนจะแก้ปัญหาด้วยวิธีใด ข กระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
ค พลังงานไฟฟ้าลดลง
ง ไม่มีกระแสไฟฟ้า
6. กระแสไฟฟ้าจะไม่ไหลในวงจรไฟฟ้าเมื่อใด
ก วงจรไฟฟ้าปิด
ก สว่าง ข สวิตช์ไฟฟ้าเปิด
ข ไม่สว่าง แก้ไขโดยเพิ่มสวิตช์ไฟฟ้า ค เส้นทางของวงจรไม่ขาด
ค ไม่สว่าง แก้ไขโดยสลับขั้วถ่านไฟฉาย ง ลวดตัวนาเป็นฉนวนไฟฟ้า
ก้อนที่ 1 7. การแบ่งกลุ่มใดถูกต้อง
ง ไม่สว่าง แก้ไขโดยให้สายไฟต่อกับหลอด
ไฟฟ้าในตาแหน่งเดียวกัน ก



คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 441

8. ถ้านักเรียนต้องประดิษฐ์เครื่องใช้ไฟฟ้า 1 ชิ้น 10. ปิงปองที่วางอยู่บนโต๊ะใกล้แม่เหล็กจะถูกผลัก


นักเรียนจะเลือกวัสดุที่มีสมบัติใดเป็นส่วนที่ผู้ใช้ ตกจากโต๊ะได้ ถ้า X มีลักษณะใด
ต้องสัมผัสเสมอ
ก ราคาถูก
ข หลอมเหลวยาก
ค ต้านทานไฟฟ้าได้ดี ก ขั้วใต้
ง นากระแสไฟฟ้าได้ดี ข ขั้วเหนือ
9. สายไฟฟ้าแรงสูงที่มีขนาดใหญ่ทาด้วยโลหะใด ค มีขนาดใหญ่
ก เงิน ง เริ่มร้อนมาก
ข เหล็ก
ค ทองแดง
ง อะลูมิเนียม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 442

แบบทดสอบหลังเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ไฟฟ้า
คาชี้แจง เลือกคาตอบที่ถูกที่สุดเพียงคาตอบเดียว
1. จากรูป ถ้าหลอดไฟฟ้า R ระเบิด หลอดไฟฟ้าใด 4. เรียงลาดับเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่ใช้พลังงาน
ยังคงสว่างอยู่ ไฟฟ้าจากน้อยไปมาก
1 พัดลม 2 หลอดฟลูออเรสเซนต์
3 โทรทัศน์ 4 ตู้เย็น
ก 1243
ข 2143
ค 2134
ก Q และ S ง 2314
ข P และ Q 5. สมบัติของฉนวนไฟฟ้าคืออะไร
ค P, Q และ S ก ต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้า
ง หลอดไฟฟ้าดับหมด ข ทาให้กระแสไฟฟ้าไหลอยู่ในเส้นทาง
2. "เราควรต่อหลอดไฟฟ้าที่ประดับตามแนวรั้วแบบ ค ทาให้ลวดตัวนาร้อนและเกิดพลังงาน
ขนาน” นักเรียนคิดว่าผู้ต่อวงจรมีจุดประสงค์ใด ง ปิดวงจรไฟฟ้าและทาให้กระแสไฟฟ้าไหลได้
ก เพื่อเพิ่มความสว่างของหลอดไฟฟ้า 6. แก้วต่อวงจรไฟฟ้าดังรูป ปรากฏว่าเมื่อแก้วเปิด
ข เพื่อเพิ่มระยะการใช้งานของเซลล์ไฟฟ้า สวิตช์ หลอดไฟฟ้าสว่าง นักเรียนคิดว่า X ไม่ควร
ค เพื่อเพิ่มระยะการใช้งานของหลอดไฟฟ้า เป็นวัสดุใด
ง ป้องกันไม่ให้หลอดไฟฟ้าดับหมดเมื่อมีหลอด
ใดหลอดหนึ่งชารุด
3. จากรูป เป็นการต่อวงจรไฟฟ้าแบบใด

ก ตะกั่ว
ข สังกะสี
ก แบบผสม ค เซรามิก
ข แบบขนาน ง แกรไฟต์
ค แบบอนุกรม
ง แบบใดก็ได้
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 443

7. ถ้าแก้วพบว่า X เป็นวัสดุที่ไม่ใช่โลหะ นักเรียน 9. ข้อสรุปใดที่ทาให้แม่เหล็กไฟฟ้ามีแรงดึงดูด


คิดว่าจะพบ X เป็นส่วนประกอบใดของสิ่งของ มากที่สุด
ก กระแสมาก จานวนรอบมาก
ข กระแสมาก จานวนรอบน้อย
ค กระแสน้อย จานวนรอบมาก
ง กระแสน้อย จานวนรอบน้อย
10. เมื่อนาขดลวดพันรอบแท่งเหล็กแล้วต่อเข้ากับ
ก ขาโต๊ะ ถ่านไฟฉาย ดังรูป ข้อความใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ
ข ไส้ดินสอ แท่งเหล็กทั้ง 2 อัน
ค หัวเข็มขัด
ง ด้ามจับไขควง
8. โลหะชนิดใดนาไฟฟ้าได้ดีที่สุด
ก เงิน
ข เหล็ก ก แสดงอานาจแม่เหล็กได้
ค ทองคา ข แสดงขั้วแม่เหล็กที่ต่างกัน
ง อะลูมิเนียม ค ทาให้เข็มทิศเกิดการเบี่ยงเบนได้
ง ดูดลวดเสียบกระดาษได้จานวนไม่เท่ากัน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 444

แบบทดสอบก่อนเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 หินบนผิวโลกและภายในโลก
คาชี้แจง เลือกคาตอบที่ถูกที่สุดเพียงคาตอบเดียว
1. หินชนิดใดเกิดจากกระบวนการแปรสภาพโดย 4. จากข้อมูลในตาราง N คือหินชนิดใด
ความร้อนและความกดดันภายในโลก
ก หินแปร
ข หินอัคนี
ค หินทราย ก หินปูน
ง หินตะกอน ข หินไนส์
2. D คือหินชนิดใด
ก หินปูน
ข หินไนส์
ค หินดินดาน
ง หินบะซอลต์
ก หินปูน 5. จากตาราง กลุ่ม B ควรเป็นหินประเภทใด
ข หินอ่อน
ค หินแกรนิต
ง หินดินดาน
3. จากข้อมูลในตารางกล่าวถึงหินประเภทใด
ก หินแปร
ข หินอัคนี
ค หินตะกอน
ง หินภูเขาไฟ
6. จากแผนผัง C ควรเป็นอะไร

ก หินแปร
ข หินอัคนี
ค หินตะกอน
ก ลม
ง หินอัคนีและหินตะกอน
ข ฝนกรด
ค แสงแดด
ง สิ่งมีชีวิต
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 445

7. การกร่อนและการผุพังของหินทางเคมีเกิดจาก 9. สถานการณ์ใดในชีวิตประจาวันที่คล้ายกับการ
การทาปฏิกิริยาระหว่างสารคู่ใด ปะทุของภูเขาไฟ
ก น้ากับแก๊สออกซิเจน ก การทอดไข่
ข น้ากับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ข การใส่ก้อนน้าแข็งลงในน้า
ค แก๊สออกซิเจนกับแก๊สไนโตรเจน ค การเขย่าขวดน้าเปล่าแล้วเปิด
ง แก๊สไนโตรเจนกับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ง การเขย่ากระป๋องน้าอัดลมแล้วเปิด
8. การเคลื่อนตัวอย่างกะทันหันของเปลือกโลกทาให้ 10. ข้อความใดไม่สัมพันธ์กับการเกิดสึนามิ
เกิดสิ่งใด ก เกิดขึ้นหลังจากการเกิดแผ่นดินไหวใต้
ก ดินถล่ม มหาสมุทร
ข แผ่นดินไหว ข เกิดขึ้นจากแรงสั่นสะเทือนจากการปะทุ
ค ภูเขาไฟปะทุ ของภูเขาไฟ
ง การเคลื่อนที่ของหินหนืด ค ก่อนเกิดคลื่นสึนามิน้าทะเลอาจลดระดับลง
อย่างรวดเร็ว
ง เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหวใต้น้าขนาด 7.5 ตาม
มาตราริกเตอร์ขึ้นไป
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 446

แบบทดสอบหลังเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 หินบนผิวโลกและภายในโลก
คาชี้แจง เลือกคาตอบที่ถูกที่สุดเพียงคาตอบเดียว
1. หินแปรเกิดจากอะไร 4. กระเบื้องมุงหลังคาทามาจากหินชนิดใด
ก การเย็นตัวของหินหนืดเมื่อออกมาสู่ผิวโลก ก หินอ่อน
ข การสลายตัวผุพังและทับถมกันของหินอัคนี ข หินชนวน
และหินตะกอน ค หินแกรนิต
ค การแปรสภาพของหินอัคนีและหินตะกอน ง หินดินดาน
เนื่องจากความร้อนและความกดดัน 5. จากตาราง P ควรเป็นหินชนิดใด
ง การเปลี่ยนแปลงของหินตะกอนเมื่อถูกความ
ร้อน ความกดดัน และสารเคมีบางชนิด
2. A คือหินชนิดใด

ก หินอ่อน
ข หินชนวน
ค หินดินดาน
ง หินบะซอลต์
ก หินแปร
6. จากแผนผัง A ควรเป็นอะไร
ข หินอ่อน
ค หินดินดาน
ง หินบะซอลต์
3. จากข้อมูลในตาราง M คือหินชนิดใด

ก การกร่อน
ข การพัดพาโดยน้า
ค การผุพังเนื่องจากสิ่งมีชีวิต
ง การผุพังอยู่กับที่ทางกายภาพ
ก หินปูน
ข หินไนส์
ค หินดินดาน
ง หินออบซิเดียน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 447

7. การทดลองโดยนาชอล์กแท่งเล็ก ๆ ใส่ลงใน 9. หินหนืดที่พ่นออกมานอกโลกขณะที่เกิดการปะทุ


บีกเกอร์ที่บรรจุน้าส้มสายชูแล้วจะเกิดอะไรขึ้น ของภูเขาไฟเรียกว่าอะไร
ก ชอล์กจะละลาย เพราะชอล์กทาปฏิกิริยากับ ก ลาวา
น้าส้มสายชูที่เป็นกรด ข แมกมา
ข ชอล์กจะละลาย เพราะชอล์กทาปฏิกิริยากับ ค หินอัคนี
น้าส้มสายชูที่เป็นเบส ง หินบะซอลต์
ค ชอล์กไม่ละลาย เพราะชอล์กทาด้วยสาร 10. เหตุการณ์สึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547
สังเคราะห์ที่ไม่ละลายน้า ที่ส่งผลกระทบถึงประเทศไทยของเราเกิดจาก
ง ชอล์กไม่ละลาย เพราะชอล์กจะทาปฏิกิริยา สาเหตุใด
เฉพาะกับน้าบริสุทธิ์เท่านั้น ก ภูเขาไฟปะทุในทะเล
8. เหตุใดบริเวณรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกจึงมี ข ดินถล่มที่พื้นท้องทะเล
โอกาสเกิดแผ่นดินไหวมากกว่าบริเวณอื่น ค อุกกาบาตตกลงในทะเล
ก มีการเคลื่อนที่ของหินหนืด ง แผ่นดินไหวใต้มหาสมุทร
ข มีแรงสั่นสะเทือนจากภูเขาไฟ
ค เปลือกโลกมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา
ง โครงสร้างของหินมีความแตกต่างกันมาก
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 448

แบบทดสอบก่อนเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ปรากฏการณ์โลกและเทคโนโลยีอวกาศ
คาชี้แจง เลือกคาตอบที่ถูกที่สุดเพียงคาตอบเดียว
1. เรามองเห็นดวงจันทร์สว่างได้เพราะอะไร 6. ถ้าโลกทางซีกเหนือหันออกจากดวงอาทิตย์
ก ดวงจันทร์อยู่ใกล้กับโลกมาก บริเวณซีกโลกใต้จะเป็นฤดูอะไร
ข ดวงจันทร์มีแสงสว่างในตัวเอง ก ฤดูร้อน
ค ดวงจันทร์ได้รับแสงสว่างจากโลก ข ฤดูหนาว
ง ดวงจันทร์สะท้อนแสงอาทิตย์มายังโลก ค ฤดูใบไม้ ผลิ
2. บริเวณใดของโลกที่ได้รับความร้อนจาก ง ฤดูใบไม้รว่ ง
ดวงอาทิตย์มากที่สุด 7. เพื่อนของเราไปต่างประเทศ แล้วโทรมาเล่า
ก ขั้วโลกใต้ ข่าวสารให้เราฟัง เป็นการใช้บริการจากดาวเทียม
ข ขั้วโลกเหนือ ประเภทใด
ค บริเวณศูนย์สูตร ก ดาวเทียมสื่อสาร
ง บริเวณใต้ศูนย์สูตร ข ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา
3. ประเทศไทยไม่มีฤดูกาลใด ค ดาวเทียมสารวจทรัพยากรธรรมชาติ
ก ฤดูฝน ง ดาวเทียมเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
ข ฤดูร้อน 8. พาหนะที่นานักบินอวกาศออกไปสารวจ
ค ฤดูหนาว ดวงจันทร์และดาวเคราะห์ต่าง ๆ ในอวกาศ
ง ฤดูใบไม้ร่วง คืออะไร
4. ปรากฏการณ์ราหูอมจันทร์ตรงกับข้อใด ก จรวด
ก สุริยุปราคา ข ดาวเทียม
ข จันทรุปราคา ค ยานอวกาศ
ค ข้างขึ้น ข้างแรม ง ยานขนส่งอวกาศ
ง กลางวัน กลางคืน 9. มนุษย์อวกาศคนแรกของโลกคือใคร
5. สุริยุปราคาเกิดจากสาเหตุใด ก ยูริ กาการิน
ก เงาของโลกบังดวงจันทร์ ข นีล อาร์มสตรอง
ข เงาของดวงอาทิตย์บังดวงจันทร์ ค ไมเคิล คอลลินส์
ค โลกบังแสงอาทิตย์ทาให้เกิดเงามืดบน ง เอดวิน อี. อัลดริน
ดวงจันทร์
ง เงาของดวงจันทร์บังแสงอาทิตย์ที่จะส่อง
มายังโลก
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 449

10. ดาวเทียมไทยคมเป็นดาวเทียมที่ใช้ประโยชน์ในด้านใด
ก สื่อสาร
ข ทางการทหาร
ค อุตุนิยมวิทยา
ง สารวจทรัพยากรธรรมชาติ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 450

แบบทดสอบหลังเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ปรากฏการณ์โลกและเทคโนโลยีอวกาศ
คาชี้แจง เลือกคาตอบที่ถูกที่สุดเพียงคาตอบเดียว
1. ขณะที่เป็นช่วงเวลาข้างขึ้น ดวงจันทร์ 5. ประเทศไทยมีฤดูกาลเพียง 3 ฤดู ในขณะที่
จะหันด้านสว่างไปทางทิศใด ประเทศญีป่ ุ่นมีฤดูกาลถึง 4 ฤดูเป็นเพราะเหตุใด
ก ใต้ ก ประเทศไทยมีขนาดใหญ่กว่า
ข เหนือ ข ประเทศไทยมีส่วนที่ติดทะเลน้อยกว่า
ค ตะวันตก ค ประเทศไทยตั้งอยู่บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร
ง ตะวันออก ง ประเทศไทยอยู่บริเวณที่รับแสงจาก
2. คืนเดือนมืดและคืนวันเพ็ญตรงกับวันใด ดวงอาทิตย์ได้น้อย
ตามลาดับ 6. ดาวเทียมดวงแรกของโลกมีชื่อว่าอะไร
ก ขึ้น 15 ค่า แรม 8 ค่า ก ไทยคม
ข แรม 15 ค่า ขึ้น 15 ค่า ข สปุตนิก
ค ขึ้น 8 ค่า แรม 15 ค่า ค แลนด์แซต
ง แรม 8 ค่า ขึ้น 15 ค่า ง เอกซ์พลอเรอร์
3. การที่ส่วนต่าง ๆ ของโลกได้รับแสงสว่างและ 7. ชาวประมงใช้ประโยชน์จากดาวเทียมชนิดใด
ความร้อนจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากันทาให้เกิด มากที่สุด
ปรากฏการณ์ใด ก ดาวเทียมสื่อสาร
ก ฤดูกาล ข ดาวเทียมจารกรรม
ข สุริยุปราคา ค ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา
ค ข้างขึ้น–ข้างแรม ง ดาวเทียมสารวจทรัพยากรธรรมชาติ
ง กลางวันกลางคืน 8. ดาวเทียมดวงใดเป็นดาวเทียมสื่อสาร
4. วิธีการที่ดีที่สุดในการสังเกตการเกิดสุริยุปราคา ก สปุตนิก
คือวิธีใด ข จีเอ็มเอส
ก ใช้กล้องส่องดู ค เทลสตาร์
ข มองด้วยตาเปล่า ง แลนด์แซต
ค มองด้วยแว่นขยาย
ง มองผ่านแว่นตาสุริยะ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 451

9. ภารกิจหลักของสถานีอวกาศคืออะไร 10. ดาวเทียมธีออสมุ่งใช้ประโยชน์ในด้านใด


ก สารวจอุณหภูมิของโลก ก การสื่อสาร
ข สารวจข้อมูลในการทาแผนที่ ข การพยากรณ์อากาศ
ค สารวจดาวเคราะห์และดวงจันทร์ ค การสารวจทรัพยากร
ง ศึกษาการดารงชีวิตของมนุษย์ในอวกาศ ง การศึกษาวิทยาศาสตร์
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 452

เครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจิตวิทยาศาสตร์

แบบวัดความรู้สึกต่อการเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่างกายของเรา

ชื่อ........................................................เลขที่..................ชั้น............
คาชี้แจง ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย  ทับรูปภาพที่ตรงกับความรู้สึกของนักเรียน

1. นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อครูให้เล่าเรื่องร่างกายของเราให้เพื่อนฟัง
  
2. นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อครูให้ทาแบบฝึกหัดเรื่องร่างกายของเรา
  
3. นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อครูให้ทางานคนเดียว
  
4. นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อครูให้ทางานเป็นกลุ่ม
  
5. นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อครูสอนเรื่องร่างกายของเรา
  

สรุปผลการประเมินตนเอง นักเรียนมีความรู้สึกต่อการเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่างกายของเรา


อยู่ในระดับ ระดับคะแนน
 พอใจ (8–10 คะแนน)  = 2 คะแนน
 เฉย ๆ (5–7 คะแนน)  = 1 คะแนน
 ไม่พอใจ (น้อยกว่า 5 คะแนน)  = 0 คะแนน

ชื่อนักเรียน.............................................
ประเมินเมื่อวันที่.........เดือน...................................พ.ศ. ................
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 453

แบบวัดความรู้สึกต่อการเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

ชื่อ........................................................เลขที่..................ชั้น............
คาชี้แจง ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย  ทับรูปภาพที่ตรงกับความรู้สึกของนักเรียน
1. นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อครูให้เล่าเรื่องสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมให้เพื่อนฟัง
  
2. นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อครูให้ทาแบบฝึกหัดเรื่องสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
  
3. นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อครูให้ทางานคนเดียว
  
4. นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อครูให้ทางานเป็นกลุ่ม
  
5. นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อครูสอนเรื่องสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
  

สรุปผลการประเมินตนเอง นักเรียนมีความรู้สึกต่อการเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม


อยู่ในระดับ ระดับคะแนน
 พอใจ (8–10 คะแนน)  = 2 คะแนน
 เฉย ๆ (5–7 คะแนน)  = 1 คะแนน
 ไม่พอใจ (น้อยกว่า 5 คะแนน)  = 0 คะแนน

ชื่อนักเรียน.............................................
ประเมินเมื่อวันที่.........เดือน...................................พ.ศ. ................
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 454

แบบวัดความรู้สึกต่อการเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สารในชีวิตประจาวัน

ชื่อ........................................................เลขที่..................ชั้น............
คาชี้แจง ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย  ทับรูปภาพที่ตรงกับความรู้สึกของนักเรียน
1. นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อครูให้เล่าเรื่องสารในชีวิตประจาวันให้เพื่อนฟัง
  
2. นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อครูให้ทาแบบฝึกหัดเรื่องสารในชีวิตประจาวัน
  
3. นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อครูให้ทางานคนเดียว
  
4. นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อครูให้ทางานเป็นกลุ่ม
  
5. นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อครูสอนเรื่องสารในชีวิตประจาวัน
  

สรุปผลการประเมินตนเอง นักเรียนมีความรู้สึกต่อการเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3


สารในชีวิตประจาวัน อยู่ในระดับ
ระดับคะแนน
 พอใจ (8–10 คะแนน)
 = 2 คะแนน
 เฉย ๆ (5–7 คะแนน)
 = 1 คะแนน
 ไม่พอใจ (น้อยกว่า 5 คะแนน)
 = 0 คะแนน

ชื่อนักเรียน.............................................
ประเมินเมื่อวันที่.........เดือน...................................พ.ศ. ...............
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 455

แบบวัดความรู้สึกต่อการเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ไฟฟ้า

ชื่อ........................................................เลขที่..................ชั้น............
คาชี้แจง ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย  ทับรูปภาพที่ตรงกับความรู้สึกของนักเรียน
1. นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อครูให้เล่าเรื่องไฟฟ้าให้เพื่อนฟัง
  
2. นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อครูให้ทาแบบฝึกหัดเรื่องไฟฟ้า
  
3. นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อครูให้ทางานคนเดียว
  
4. นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อครูให้ทางานเป็นกลุ่ม
  
5. นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อครูสอนเรื่องไฟฟ้า
  

สรุปผลการประเมินตนเอง นักเรียนมีความรู้สึกต่อการเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ไฟฟ้า


อยู่ในระดับ ระดับคะแนน
 พอใจ (8–10 คะแนน)  = 2 คะแนน
 เฉย ๆ (5–7 คะแนน)  = 1 คะแนน
 ไม่พอใจ (น้อยกว่า 5 คะแนน)  = 0 คะแนน

ชื่อนักเรียน.............................................
ประเมินเมื่อวันที่.........เดือน...................................พ.ศ. ...............
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 456

แบบวัดความรู้สึกต่อการเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 หินบนผิวโลกและภายในโลก

ชื่อ........................................................เลขที่..................ชั้น............
คาชี้แจง ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย  ทับรูปภาพที่ตรงกับความรู้สึกของนักเรียน
1. นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อครูให้เล่าเรื่องหินบนผิวโลกและภายในโลกให้เพื่อนฟัง
  
2. นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อครูให้ทาแบบฝึกหัดเรื่องหินบนผิวโลกและภายในโลก
  
3. นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อครูให้ทางานคนเดียว
  
4. นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อครูให้ทางานเป็นกลุ่ม
  
5. นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อครูสอนเรื่องหินบนผิวโลกและภายในโลก
  

สรุปผลการประเมินตนเอง นักเรียนมีความรู้สึกต่อการเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 หินบนผิวโลกและ


ภายในโลก อยู่ในระดับ
ระดับคะแนน
 พอใจ (8–10 คะแนน)  = 2 คะแนน
 เฉย ๆ (5–7 คะแนน)  = 1 คะแนน
 ไม่พอใจ (น้อยกว่า 5 คะแนน)
 = 0 คะแนน

ชื่อนักเรียน.............................................
ประเมินเมื่อวันที่.........เดือน...................................พ.ศ...............
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 457

แบบวัดความรู้สึกต่อการเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ปรากฏการณ์โลกและเทคโนโลยีอวกาศ

ชื่อ........................................................เลขที่..................ชั้น............
คาชี้แจง ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย  ทับรูปภาพที่ตรงกับความรู้สึกของนักเรียน
1. นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อครูให้เล่าเรื่องปรากฏการณ์โลกและเทคโนโลยีอวกาศให้เพื่อนฟัง
  
2. นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อครูให้ทาแบบฝึกหัดเรื่องปรากฏการณ์โลกและเทคโนโลยีอวกาศ
  
3. นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อครูให้ทางานคนเดียว
  
4. นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อครูให้ทางานเป็นกลุ่ม
  
5. นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่อครูสอนเรื่องปรากฏการณ์โลกและเทคโนโลยีอวกาศ
  

สรุปผลการประเมินตนเอง นักเรียนมีความรู้สึกต่อการเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ปรากฏการณ์โลก


และเทคโนโลยีอวกาศ อยู่ในระดับ
ระดับคะแนน
 พอใจ (8–10 คะแนน)
 = 2 คะแนน
 เฉย ๆ (5–7 คะแนน)
 = 1 คะแนน
 ไม่พอใจ (น้อยกว่า 5 คะแนน)
 = 0 คะแนน

ชื่อนักเรียน.............................................
ประเมินเมื่อวันที่.........เดือน...................................พ.ศ. ...............
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 458

เครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะ/กระบวนการ

แบบประเมินทักษะการทางาน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่างกายของเรา

คาชี้แจง นักเรียนปฏิบัติตนตามข้อความต่อไปนี้มากน้อยเพียงใด
ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย  ลงในช่องว่างที่นักเรียนปฏิบัติ

ข้อความ ประจา นาน ๆ ครั้ง ไม่เคย


  
1. ใช้ประสาทสัมผัส (ฟัง ดู ดมกลิ่น ชิม
และจับ) เพื่อรับรู้สิ่งต่าง ๆ
2. คิดขั้นตอนก่อนทางาน
3. ลงมือทาตามที่คิดไว้
4. ฝึกเพื่อเพิ่มความเก่ง
5. ฝึกจนทาได้เอง
รวมคะแนนที่ได้ทั้งหมด

สรุปผลการประเมินตนเอง นักเรียนมีทักษะการทางานอยู่ในระดับ ระดับคะแนน


 ดี (13–15 คะแนน)  = 3 คะแนน
 พอใช้ (10–12 คะแนน)  = 2 คะแนน
 ต้องปรับปรุง (น้อยกว่า 10 คะแนน)  = 1 คะแนน

ชื่อนักเรียน.............................................
ประเมินเมื่อวันที่.........เดือน...................................พ.ศ...............
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 459

แบบประเมินทักษะการทางาน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

คาชี้แจง นักเรียนปฏิบัติตนตามข้อความต่อไปนี้มากน้อยเพียงใด
ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย  ลงในช่องว่างที่นักเรียนปฏิบัติ

ข้อความ ประจา นาน ๆ ครั้ง ไม่เคย


  
1. ใช้ประสาทสัมผัส (ฟัง ดู ดมกลิ่น ชิม
และจับ) เพื่อรับรู้สิ่งต่าง ๆ
2. คิดขั้นตอนก่อนทางาน
3. ลงมือทาตามที่คิดไว้
4. ฝึกเพื่อเพิ่มความเก่ง
5. ฝึกจนทาได้เอง
รวมคะแนนที่ได้ทั้งหมด

สรุปผลการประเมินตนเอง นักเรียนมีทักษะการทางานอยู่ในระดับ ระดับคะแนน


 ดี (13–15 คะแนน)  = 3 คะแนน
 พอใช้ (10–12 คะแนน)  = 2 คะแนน
 ต้องปรับปรุง (น้อยกว่า 10 คะแนน)  = 1 คะแนน

ชื่อนักเรียน.............................................
ประเมินเมื่อวันที่.........เดือน...................................พ.ศ...............
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 460

แบบประเมินทักษะการทางาน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สารในชีวิตประจาวัน

คาชี้แจง นักเรียนปฏิบัติตนตามข้อความต่อไปนี้มากน้อยเพียงใด
ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย  ลงในช่องว่างที่นักเรียนปฏิบัติ

ข้อความ ประจา นาน ๆ ครั้ง ไม่เคย


  
1. ใช้ประสาทสัมผัส(ฟัง ดู ดมกลิ่น ชิม
และจับ) เพื่อรับรู้สิ่งต่าง ๆ
2. คิดขั้นตอนก่อนทางาน
3. ลงมือทาตามที่คิดไว้
4. ฝึกเพื่อเพิ่มความเก่ง
5. ฝึกจนทาได้เอง
รวมคะแนนที่ได้ทั้งหมด

สรุปผลการประเมินตนเอง นักเรียนมีทักษะการทางานอยู่ในระดับ ระดับคะแนน


 ดี (13–15 คะแนน)  = 3 คะแนน
 พอใช้ (10–12 คะแนน)  = 2 คะแนน
 ต้องปรับปรุง (น้อยกว่า 10 คะแนน)  = 1 คะแนน

ชื่อนักเรียน.............................................
ประเมินเมื่อวันที่.........เดือน...................................พ.ศ...............
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 461

แบบประเมินทักษะการทางาน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ไฟฟ้า

คาชี้แจง นักเรียนปฏิบัติตนตามข้อความต่อไปนี้มากน้อยเพียงใด
ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย  ลงในช่องว่างที่นักเรียนปฏิบัติ

ข้อความ ประจา นาน ๆ ครั้ง ไม่เคย


  
1. ใช้ประสาทสัมผัส (ฟัง ดู ดมกลิ่น ชิม
และจับ) เพื่อรับรู้สิ่งต่าง ๆ
2. คิดขั้นตอนก่อนทางาน
3. ลงมือทาตามที่คิดไว้
4. ฝึกเพื่อเพิ่มความเก่ง
5. ฝึกจนทาได้เอง
รวมคะแนนที่ได้ทั้งหมด

สรุปผลการประเมินตนเอง นักเรียนมีทักษะการทางานอยู่ในระดับ ระดับคะแนน


 ดี (13–15 คะแนน)  = 3 คะแนน
 พอใช้ (10–12 คะแนน)  = 2 คะแนน
 ต้องปรับปรุง (น้อยกว่า 10 คะแนน)  = 1 คะแนน

ชื่อนักเรียน.............................................
ประเมินเมื่อวันที่.........เดือน...................................พ.ศ...............
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 462

แบบประเมินทักษะการทางาน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 หินบนผิวโลกและภายในโลก

คาชี้แจง นักเรียนปฏิบัติตนตามข้อความต่อไปนี้มากน้อยเพียงใด
ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย  ลงในช่องว่างที่นักเรียนปฏิบัติ

ข้อความ ประจา นาน ๆ ครั้ง ไม่เคย


  
1. ใช้ประสาทสัมผัส (ฟัง ดู ดมกลิ่น ชิม
และจับ) เพื่อรับรู้สิ่งต่าง ๆ
2. คิดขั้นตอนก่อนทางาน
3. ลงมือทาตามที่คิดไว้
4. ฝึกเพื่อเพิ่มความเก่ง
5. ฝึกจนทาได้เอง
รวมคะแนนที่ได้ทั้งหมด

สรุปผลการประเมินตนเอง นักเรียนมีทักษะการทางานอยู่ในระดับ ระดับคะแนน


 ดี (13–15 คะแนน)  = 3 คะแนน
 พอใช้ (10–12 คะแนน)  = 2 คะแนน
 ต้องปรับปรุง (น้อยกว่า 10 คะแนน)  = 1 คะแนน

ชื่อนักเรียน.............................................
ประเมินเมื่อวันที่.........เดือน...................................พ.ศ...............
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 463

แบบประเมินทักษะการทางาน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ปรากฏการณ์โลกและเทคโนโลยีอวกาศ

คาชี้แจง นักเรียนปฏิบัติตนตามข้อความต่อไปนี้มากน้อยเพียงใด
ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย  ลงในช่องว่างที่นักเรียนปฏิบัติ

ข้อความ ประจา นาน ๆ ครั้ง ไม่เคย


  
1. ใช้ประสาทสัมผัส (ฟัง ดู ดมกลิ่น ชิม
และจับ) เพื่อรับรู้สิ่งต่าง ๆ
2. คิดขั้นตอนก่อนทางาน
3. ลงมือทาตามที่คิดไว้
4. ฝึกเพื่อเพิ่มความเก่ง
5. ฝึกจนทาได้เอง
รวมคะแนนที่ได้ทั้งหมด

สรุปผลการประเมินตนเอง นักเรียนมีทักษะการทางานอยู่ในระดับ ระดับคะแนน


 ดี (13–15 คะแนน)  = 3 คะแนน
 พอใช้ (10–12 คะแนน)  = 2 คะแนน
 ต้องปรับปรุง (น้อยกว่า 10 คะแนน)  = 1 คะแนน

ชื่อนักเรียน.............................................
ประเมินเมื่อวันที่.........เดือน...................................พ.ศ...............
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 464

เครื่องมือวัดและประเมินสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์และภาระงานของนักเรียน
โดยใช้มิติคุณภาพ (Rubrics)
1. มิติคุณภาพ (Rubrics) ของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

การสังเกต (Observation) เป็นวิธีการหาข้อมูลโดยตรงโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ การดู การดม


การฟัง การชิม และการสัมผัส
ตัวอย่าง
แบบประเมินกิจกรรมการสังเกต
เรื่อง...............................................................................................กลุ่มที่...........
ภาคเรียนที่.......................ชั้น...................................................

ระดับคุณภาพ
รายการประเมิน
4 3 2 1
1. การดาเนินการสังเกต
2. การใช้ประสาทสัมผัส
3. การบอกรายละเอียดของสิ่งที่สังเกต
4. บันทึกผลการสังเกตอย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง
5. ความปลอดภัยขณะสังเกต
เกณฑ์การประเมิน แยกตามองค์ประกอบย่อย 5 ด้าน
1. การดาเนินการสังเกต
4 หมายถึง ดาเนินการสังเกตตามลาดับขั้นตอนได้ดีและทันตามเวลาที่กาหนด
3 หมายถึง ดาเนินการสังเกตได้ตามลาดับขั้นตอน ต้องการความช่วยเหลือจากครูเป็นบางครั้ง
2 หมายถึง ดาเนินการสังเกตค่อนข้างจะผิดพลาด ไม่สามารถปฏิบัติได้บางขั้นตอน ทาให้
ดาเนินการเสร็จไม่ทันเวลา
1 หมายถึง ดาเนินการสังเกตผิดพลาด ต้องให้ความช่วยเหลือตลอดเวลา
2. การใช้ประสาทสัมผัส
4 หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันได้เหมาะสมกับสิ่งที่
สังเกต ทาให้ได้ข้อมูลมากที่สุด
3 หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันได้ค่อนข้างเหมาะสม
กับสิ่งที่สังเกต แต่ต้องได้รับคาแนะนาจากครูเป็นบางครั้ง
2 หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันไม่เหมาะสมกับสิ่งที่
สังเกต ทาให้ได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่
1 หมายถึง ใช้การคาดเดามากกว่าใช้ประสาทสัมผัส
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 465

3. การบอกรายละเอียดของสิ่งที่สังเกต
4 หมายถึง บอกหรืออธิบายลักษณะของสิ่งที่สังเกตได้อย่างสมบูรณ์และครบถ้วน
3 หมายถึง บอกหรืออธิบายองค์ประกอบหลักของสิ่งที่สังเกตได้
2 หมายถึง บอกหรืออธิบายองค์ประกอบหลักของสิ่งที่สังเกตได้เพียงบางส่วน
1 หมายถึง บอกหรืออธิบายสิ่งที่สังเกตได้น้อยมาก
4. บันทึกผลการสังเกตอย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง
4 หมายถึง มีการบันทึกผลการสังเกตอย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง ไม่แสดงความ
คิดเห็นหรือใช้เหตุผลประกอบ
3 หมายถึง มีการบันทึกผลการสังเกตอย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริงและแสดงความ
คิดเห็นหรือใช้เหตุผลประกอบบ้างเล็กน้อย
2 หมายถึง มีการบันทึกผลการสังเกตตามความเป็นจริงบางส่วนและแสดงความคิดเห็นหรือให้
เหตุผลประกอบเป็นส่วนใหญ่
1 หมายถึง มีการบันทึกผลการสังเกตตามความคิดเห็นของตนเอง
5. ความปลอดภัยขณะสังเกต
4 หมายถึง สังเกตด้วยความระมัดระวังและสามารถแนะนาเพื่อนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยได้
3 หมายถึง สังเกตด้วยความระมัดระวัง ครูต้องดูแลและชี้แนะเป็นบางครั้ง
2 หมายถึง สังเกตด้วยความระมัดระวัง ครูต้องดูแลและชี้แนะบ่อยครั้ง
1 หมายถึง ขาดความระมัดระวัง ทาให้เกิดอันตรายขณะที่สังเกต

เกณฑ์การประเมินกิจกรรมการสังเกตโดยภาพรวม
ระดับคุณภาพ รายการประเมิน
4 ดาเนินการสังเกตตามลาดับขั้นตอนได้อย่างรวดเร็ว ใช้ประสาทสัมผัสได้เหมาะสมกับสิ่งที่
สังเกต คานึงถึงความปลอดภัยขณะที่สังเกต บอกรายละเอียดของสิ่งที่สังเกตได้สมบูรณ์
ครบถ้วน และบันทึกผลการสังเกตอย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง
3 ดาเนินการสังเกตได้ตามลาดับขั้นตอน ใช้ประสาทสัมผัสได้ค่อนข้างเหมาะสมกับสิ่งที่สังเกต
สังเกตด้วยความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัย บอกรายละเอียดของสิ่งที่สังเกตได้เพียง
องค์ประกอบหลัก และบันทึกผลการสังเกตตามความเป็นจริง แสดงความคิดเห็นบ้างเล็กน้อย
2 ดาเนินการสังเกตได้บางขั้นตอน ใช้ประสาทสัมผัสไม่เหมาะสมกับสิ่งที่สังเกต ต้องการความ
ช่วยเหลือ แนะนาเพื่อให้เกิดความปลอดภัย บอกรายละเอียดของสิ่งที่สังเกตได้เพียง
องค์ประกอบหลักบางส่วน และบันทึกผลการสังเกตตามความเป็นจริงบางส่วน รวมทั้งใส่
ความคิดเห็นเพิ่มเติม
1 ดาเนินการสังเกตผิดพลาด ใช้การคาดเดามากกว่าใช้ประสาทสัมผัส ต้องคอยดูแลเพื่อให้เกิด
ความปลอดภัย บอกรายละเอียดของสิ่งที่สังเกตได้น้อยมาก และบันทึกผลการสังเกตตาม
ความคิดเห็นของตนเอง ขาดการสังเกตที่น่าเชื่อถือ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 466

การสารวจ (Exploration) เป็นวิธีการหาข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ โดยใช้วิธีการและเทคนิคต่าง ๆ เช่น การ


สังเกต การสัมภาษณ์ และการเก็บตัวอย่าง เพื่อนามาวิเคราะห์ จาแนกหรือหาความสัมพันธ์
ตัวอย่าง
แบบประเมินกิจกรรมการสารวจ
เรื่อง...............................................................................................กลุ่มที่...........
ภาคเรียนที่.......................ชั้น...................................................

ระดับคุณภาพ
รายการประเมิน
4 3 2 1
1. การเลือกใช้อุปกรณ์/เครื่องมือในการสารวจ
2. การดาเนินการสารวจ
3. การจัดจาแนกประเภทข้อมูล
4. การบันทึกผลการสารวจตามข้อเท็จจริง
5. ความปลอดภัยขณะทาการสารวจ
เกณฑ์การประเมิน แยกตามองค์ประกอบย่อย 5 ด้าน
1. การเลือกใช้อุปกรณ์/เครื่องมือในการสารวจ
4 หมายถึง เลือกใช้อุปกรณ์ได้ถูกต้อง เหมาะสม และสอดคล้องกับวิธีการสารวจทุกขั้นตอน
3 หมายถึง เลือกใช้อุปกรณ์ได้ถูกต้องและสอดคล้องกับวิธีการสารวจเป็นส่วนใหญ่
2 หมายถึง เลือกใช้อุปกรณ์ได้ถูกต้องบางส่วนและสอดคล้องกับวิธีการสารวจเป็นบางขั้นตอน
1 หมายถึง เลือกใช้อุปกรณ์ไม่ถูกต้องและไม่สอดคล้องกับวิธีการสารวจ
2. การดาเนินการสารวจ
4 หมายถึง สามารถดาเนินการสารวจตามลาดับขั้นตอนได้ในเวลาที่กาหนด รวมทั้งใช้เทคนิค
หรือวิธีการที่เหมาะสมทาการสารวจ
3 หมายถึง สามารถดาเนินการสารวจตามลาดับขั้นตอนและนาเทคนิคหรือวิธีการมาใช้ทาการ
สารวจ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือแนะนาจากครูเป็นบางครั้ง
2 หมายถึง การดาเนินการไม่เป็นไปตามลาดับขั้นตอน ใช้เวลามาก และครูต้องให้ความ
ช่วยเหลือหรือแนะนาบ่อยครั้ง
1 หมายถึง การดาเนินการผิดพลาด ใช้เวลาเกินที่กาหนดไว้ และครูต้องให้ความช่วยเหลือหรือ
แนะนาตลอดเวลา
3. การจัดจาแนกประเภทข้อมูล
4 หมายถึง สามารถจัดจาแนกประเภทของสิ่งที่ทาการสารวจเป็นหมวดหมู่ ทาให้ง่ายต่อการทา
ความเข้าใจ รวมทั้งระบุเกณฑ์การจาแนกได้
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 467

3 หมายถึง สามารถจัดจาแนกประเภทของสิ่งที่ทาการสารวจเป็นหมวดหมู่ได้ตามเกณฑ์ที่ครู
แนะนา
2 หมายถึง สามารถจัดจาแนกประเภทของสิ่งที่ทาการสารวจเป็นหมวดหมู่ได้บางส่วน โดยที่ครู
และเพื่อนต้องให้ความช่วยเหลือหรือแนะนาเกี่ยวกับเกณฑ์การจาแนก
1 หมายถึง สามารถจัดจาแนกประเภทของสิ่งที่ทาการสารวจได้น้อยมาก โดยที่ครูและเพื่อน
ต้องให้ความช่วยเหลือหรือแนะนาเกี่ยวกับเกณฑ์การจาแนก
4. การบันทึกผลการสารวจตามข้อเท็จจริง
4 หมายถึง บันทึกข้อมูลตามข้อเท็จจริง ทุกขั้นตอน มีรายละเอียดครบถ้วน
3 หมายถึง บันทึกข้อมูลตามข้อเท็จจริง แต่ขาดการอธิบายรายละเอียดบางขั้นตอน
2 หมายถึง บันทึกข้อมูลตามข้อเท็จจริงเป็นบางส่วนและใส่ความคิดเห็นของตนเอง รวมทั้ง
รายละเอียดบางส่วนขาดหายไป
1 หมายถึง บันทึกข้อมูลได้น้อยมาก ขาดความน่าเชื่อถือ
5. ความปลอดภัยขณะทาการสารวจ
4 หมายถึง สารวจด้วยความระมัดระวังและสามารถแนะนาเพื่อนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยได้
3 หมายถึง สารวจด้วยความระมัดระวัง ครูต้องดูแลและชี้แนะเป็นบางครั้ง
2 หมายถึง สารวจด้วยความระมัดระวัง ครูต้องดูแลและชี้แนะบ่อยครั้ง
1 หมายถึง ขาดความระมัดระวัง ทาให้เกิดอันตรายขณะที่สารวจ

เกณฑ์การประเมินกิจกรรมการสารวจโดยภาพรวม
ระดับคุณภาพ รายการประเมิน
4 เลือกใช้อุปกรณ์ได้ถูกต้อง เหมาะสม ดาเนินการสารวจได้รวดเร็ว ใช้เทคนิคหรือ
วิธีการได้เหมาะสม คานึงถึงความปลอดภัยขณะที่ทาการสารวจ จัดจาแนกประเภท
ของสิ่งที่ทาการสารวจเป็นหมวดหมู่ รวมทั้งบอกเกณฑ์การจาแนกได้ และบันทึกผล
การสารวจตามข้อเท็จจริง มีรายละเอียดครบถ้วน
3 เลือกใช้อุปกรณ์ได้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ ดาเนินการสารวจตามลาดับขั้นตอน สารวจ
ด้วยความระมัดระวัง เพื่อให้เกิดความปลอดภัย สามารถจัดจาแนกประเภทของสิ่งที่
สารวจเป็นหมวดหมู่ได้ บันทึกผลการสารวจตามข้อเท็จจริง
2 เลือกใช้อุปกรณ์ได้ถูกต้องเป็นบางส่วน การดาเนินการสารวจต้องใช้เวลามาก ไม่
สามารถปฏิบัติได้บางขั้นตอน ต้องคอยช่วยเหลือแนะนาเพื่อให้เกิดความปลอดภัย
ขณะที่สารวจ จัดจาแนกประเภทของข้อมูลได้เพียงบางส่วน บันทึกผลการสารวจ
ตามข้อเท็จจริงบางส่วน รายละเอียดบางส่วนหายไป
1 เลือกใช้อุปกรณ์ไม่สอดคล้องกับวิธีการสารวจ การดาเนินการสารวจผิดพลาด ต้อง
คอยดูแลเพื่อให้เกิดความปลอดภัยขณะที่ทาการสารวจ ไม่สามารถจัดจาแนก
ประเภทของสิ่งที่สารวจได้และบันทึกผลการสารวจน้อยมาก ขาดความน่าเชื่อถือ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 468

การทดลอง (Experiment) เป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อค้นหาคาตอบหรือตรวจสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้ด้วย


การใช้ทักษะ/กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยการออกแบบวิธีการทดลอง กาหนดตัวแปร ตั้งสมมุติฐาน
เลือกและใช้เครื่องมือการทดลองหรือวัสดุอุปกรณ์ ปฏิบัติการทดลอง บันทึกผลการทดลองและสรุปผลการทดลอง
ตัวอย่าง
แบบประเมินกิจกรรมการทดลอง
เรื่อง...............................................................................................กลุ่มที่...........
ภาคเรียนที่.......................ชั้น...................................................
การดาเนินการ ผลการทดลอง
การวางแผนและการออกแบบการทดลอง
ทดลอง และสรุปผล

การเก็บรักษาอุปกรณ์

การแปลความหมายข้อมูล
การจัดกระทาข้อมูล

และสรุปผลการทดลอง

รวม
การตั้งสมมุติฐาน

ความถูกต้องของ
วิธีการใช้อุปกรณ์
เลขที่ ชื่อ–สกุล ตัวแปรควบคุม
วิธีการทดลอง
ตัวแปรตาม

การทดลอง
ตัวแปรต้น
ชื่อเรื่อง
ปัญหา

ข้อมูล
2 2 3 1 1 1 4 1 1 3 2 2 2 25
1
2
3
4
5
หมายเหตุ อาจลดประเด็นในการประเมินหรือลดคะแนนในแต่ละประเด็นได้ตามความเหมาะสม
เกณฑ์การให้คะแนน
1. การวางแผนและการออกแบบการทดลอง
1.1 ชื่อเรื่อง
– สอดคล้องกับปัญหา ให้ 1 คะแนน
– ไม่สอดคล้องกับปัญหา ให้ 0 คะแนน
– ชื่อเรื่องมีความชัดเจน ให้ 1 คะแนน
– ชื่อเรื่องไม่ชัดเจน ให้ 0 คะแนน
1.2 ปัญหา
– สอดคล้องกับชื่อเรื่อง ให้ 1 คะแนน
– ไม่สอดคล้องกับชื่อเรื่อง ให้ 0 คะแนน
– ครอบคลุมเรื่อง ให้ 1 คะแนน
– ไม่ครอบคลุมเรื่อง ให้ 0 คะแนน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 469

1.3 การตั้งสมมุติฐาน
– ตั้งสมมุติฐานได้สอดคล้องกับปัญหา ให้ 2 คะแนน
– ตั้งสมมุติฐานไม่สอดคล้องกับปัญหา ให้ 0 คะแนน
– ตั้งสมมุติฐานได้อย่างมีเหตุผล ให้ 1 คะแนน
– ตั้งสมมุติฐานไม่มีเหตุผล ให้ 0 คะแนน
1.4 ตัวแปรต่าง ๆ ทั้ง 3 ตัวแปร
– มีตัวแปรต่าง ๆ และถูกต้องให้คะแนนตัวแปรละ 1 คะแนน
– มีตัวแปรต่าง ๆ แต่ไม่ถูกต้อง หรือไม่มีตัวแปร ให้ 0 คะแนน
1.5 วิธีการทดลอง
– ระบุอุปกรณ์การทดลองครบถ้วน ให้ 1 คะแนน
– ระบุอุปกรณ์การทดลองไม่ครบถ้วน ให้ 0 คะแนน
– ระบุอุปกรณ์การทดลองเหมาะสม ให้ 1 คะแนน
– ระบุอุปกรณ์การทดลองไม่เหมาะสม ให้ 0 คะแนน
– มีวิธีการทดลองเหมาะสม ให้ 2 คะแนน
– วิธีการทดลองข้ามขั้นตอนหรือสลับซับซ้อน ให้ 1 คะแนน
– มีวิธีการทดลองไม่เหมาะสม ให้ 0 คะแนน
2. การดาเนินการทดลอง
2.1 การทดลอง
– ดาเนินการทดลองสอดคล้องกับแผนการทดลอง ให้ 1 คะแนน
– ดาเนินการทดลองไม่สอดคล้องกับแผนการทดลอง ให้ 0 คะแนน
2.2 วิธีการใช้อุปกรณ์
– มีวิธีการใช้อุปกรณ์ถูกต้อง ให้ 1 คะแนน
– มีวิธีการใช้อุปกรณ์ไม่ถูกต้อง ให้ 0 คะแนน
2.3 การเก็บรักษาอุปกรณ์
– อุปกรณ์มีความสะอาด ให้ 1 คะแนน
– อุปกรณ์ไม่มีความสะอาด ให้ 0 คะแนน
– จัดเก็บอุปกรณ์เป็นระเบียบเรียบร้อย ให้ 1 คะแนน
– จัดเก็บอุปกรณ์ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ให้ 0 คะแนน
– อุปกรณ์ไม่ชารุด ให้ 1 คะแนน
– อุปกรณ์ชารุด ให้ 0 คะแนน
3. ผลการทดลองและสรุปผล
3.1 การจัดกระทาข้อมูล
– นาเสนอข้อมูลเข้าใจง่าย ให้ 1 คะแนน
– นาเสนอข้อมูลไม่เหมาะสม ให้ 0 คะแนน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 470

– นาเสนอข้อมูลเป็นลาดับขั้นตอน ให้ 1 คะแนน


– นาเสนอข้อมูลไม่เป็นลาดับขั้นตอน ให้ 0 คะแนน
3.2 ความถูกต้องของข้อมูล
– ข้อมูลที่นาเสนอมีความถูกต้อง ให้ 2 คะแนน
– ข้อมูลที่นาเสนอมีความเป็นไปได้ ให้ 1 คะแนน
– ข้อมูลที่นาเสนอไม่ถูกต้อง ให้ 0 คะแนน
3.3 การแปลความหมายข้อมูลและสรุปผลการทดลอง
– แปลความหมายข้อมูลได้ถูกต้อง ให้ 1 คะแนน
– แปลความหมายข้อมูลไม่ถูกต้อง ให้ 0 คะแนน
– สรุปผลข้อมูลได้สอดคล้องกับจุดประสงค์การทดลอง ให้ 1 คะแนน
– สรุปผลการทดลองไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์การทดลอง ให้ 0 คะแนน

เกณฑ์การประเมิน แยกตามองค์ประกอบย่อย 4 ด้าน


ระดับคุณภาพ รายการประเมิน
1. การวางแผนวิธีดาเนินการทดลอง
4 – วางแผนการทดลองและออกแบบการทดลองได้ถูกต้อง เหมาะสมกับเวลา
สามารถเลือกใช้เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ในการทดลองได้ถูกต้อง เหมาะสม
และครบถ้วน
3 – วางแผนการทดลองและออกแบบการทดลองได้ถูกต้องและเหมาะสมกับเวลา แต่
การเลือกใช้เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ยังไม่เหมาะสมหรือไม่ครบถ้วน
2 – วางแผนการทดลองและออกแบบการทดลองไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสมกับเวลา
ต้องได้รับความช่วยเหลือในการเลือกใช้เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์
1 – ไม่สามารถวางแผนและออกแบบการทดลองได้เอง ต้องได้รับความช่วยเหลืออย่าง
มากในการวางแผนการทดลองการออกแบบการทดลอง และการเลือกใช้
เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์
2. การปฏิบัติการทดลอง
4 – ดาเนินการทดลองเป็นขั้นตอนและใช้เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง
3 – ดาเนินการทดลองได้เอง แต่ต้องการคาแนะนาการใช้เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์
เป็นบางครั้ง
2 – ต้องได้รับความช่วยเหลือเป็นบางครั้งในการดาเนินการทดลองและการใช้
เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์
1 – ต้องได้รับความช่วยเหลือตลอดเวลาในการดาเนินการทดลองและการใช้เครื่องมือ
และวัสดุอุปกรณ์
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 471

ระดับคุณภาพ รายการประเมิน
3. ความคล่องแคล่วในการทาการทดลอง
4 – ดาเนินการทดลองและใช้อุปกรณ์ทาการทดลองได้เหมาะสม มีความปลอดภัย และ
ทาได้เสร็จทันเวลา
3 – ทาการทดลองและใช้อุปกรณ์ได้ทันเวลาที่กาหนด แต่ยังต้องการคาแนะนาการใช้
อุปกรณ์บ้างเป็นครั้งคราว
2 – ทาการทดลองไม่ทันเวลาที่กาหนด แต่ใช้เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ได้ถูกต้อง
และไม่เกิดความเสียหาย
1 – ทาการทดลองไม่ทันเวลาที่กาหนดและทาเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้บาง
ชิ้นชารุดเสียหาย
4. การนาเสนอ (บันทึกผลการทดลองและเขียนรายงานการทดลอง)

4 – บันทึกผลการทดลองและสรุปผลการทดลองถูกต้อง รัดกุม เขียนรายงานการ


ทดลองได้อย่างสมบูรณ์เป็นขั้นตอนที่ชัดเจน
3 – บันทึกผลการทดลองและสรุปผลการทดลองได้เอง เขียนรายงานการทดลอง
ยังไม่เป็นขั้นตอนที่สมบูรณ์
2 – ต้องได้รับคาแนะนาเป็นบางครั้งในการบันทึกผลการทดลอง การสรุปผลการ
ทดลอง รวมทั้งการเขียนรายงานการทดลอง
1 – ต้องได้รับความช่วยเหลืออย่างมากในการบันทึกผลการทดลอง การสรุปผล
การทดลอง รวมทั้งการเขียนรายงานการทดลอง

เกณฑ์การประเมินกิจกรรมการทดลองโดยภาพรวม
ระดับคุณภาพ รายการประเมิน
4 วางแผนวิธีการทดลองและปฏิบัติการทดลองได้คล่องแคล่ว ใช้เครื่องมือและวัสดุ
อุปกรณ์ได้ถูกต้องเหมาะสม ผลการทดลองที่ได้ถูกต้องสมบูรณ์
3 วางแผนวิธีการทดลองและปฏิบัติการทดลองได้คล่องแคล่ว ใช้เครื่องมือและวัสดุ
อุปกรณ์ได้ถูกต้องเหมาะสม ผลการทดลองที่ได้ถูกต้องแต่ยังไม่ครบถ้วน
2 วางแผนวิธีการทดลองและปฏิบัติการทดลองได้บ้าง แต่ไม่คล่องแคล่ว ต้องการ
ความช่วยเหลือแนะนาการใช้เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ให้ถูกต้องและปลอดภัย
1 ไม่สามารถวางแผนวิธีการทดลองและปฏิบัติการทดลองได้เอง
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 472

การสืบค้นข้อมูล (Search) เป็นการหาข้อมูลหรือข้อสนเทศที่มีผู้รวบรวมไว้แล้วจากแหล่ง


ต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด เครือข่ายอินเทอร์เน็ต และภูมิปัญญาท้องถิ่น

ตัวอย่าง
แบบประเมินรายงานการสืบค้นข้อมูล
เรื่อง...............................................................................................กลุ่มที่...........
ภาคเรียนที่.......................ชั้น...................................................

รายการประเมิน สรุป

รวมจานวนรายการที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่า
เนื้อหาสาระครบถ้วนตรงตามประเด็น

ความถูกต้องของเนื้อหาสาระ

ค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้ที่

รูปแบบการนาเสนอน่าสนใจ

ประเมินปรับปรุงและแสดง
เลข
ชื่อ–สกุล ไม่
ภาษาถูกต้องเหมาะสม

ที่ ผ่าน

ความรู้สกึ ต่อชิ้นงาน
ผ่าน
หลากหลาย

1
2
3
4
5

เกณฑ์การประเมิน แยกตามองค์ประกอบย่อย 6 ด้าน


1. เนื้อหาสาระครบถ้วนตรงตามประเด็น
4 หมายถึง มีเนื้อหาสาระครบถ้วนตามประเด็นที่กาหนดทั้งหมด
3 หมายถึง มีเนื้อหาสาระค่อนข้างครบถ้วนตามประเด็นที่กาหนดทั้งหมด
2 หมายถึง มีเนื้อหาสาระไม่ครบถ้วนตามประเด็นแต่ภาพรวมของสาระทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์พอใช้
1 หมายถึง มีเนื้อหาสาระไม่ครบถ้วน ภาพรวมของสาระทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์ต้องปรับปรุง
2. ความถูกต้องของเนื้อหาสาระ
4 หมายถึง เนื้อหาสาระทั้งหมดถูกต้องตามข้อเท็จจริงและหลักวิชา
3 หมายถึง เนื้อหาสาระเกือบทั้งหมดถูกต้องตามข้อเท็จจริงและหลักวิชา
2 หมายถึง เนื้อหาสาระบางส่วนถูกต้องตามข้อเท็จจริง หลักวิชาต้องแก้ไขบางส่วน
1 หมายถึง เนื้อหาสาระส่วนใหญ่ไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง หลักวิชาต้องแก้ไขเป็นส่วนใหญ่
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 473

3. ภาษาถูกต้องเหมาะสม
4 หมายถึง สะกดการันต์ถูกต้อง ถ้อยคาสานวนเหมาะสมดีมาก ลาดับความได้ชัดเจน เข้าใจง่าย
3 หมายถึง สะกดการันต์ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ ถ้อยคาสานวนเหมาะสมดี ลาดับความได้ดีพอใช้
2 หมายถึง สะกดการันต์มีผิดอยู่บ้าง ถ้อยคาสานวนเหมาะสมพอใช้ ลาดับความพอเข้าใจ
1 หมายถึง สะกดการันต์ผิดมาก ถ้อยคาสานวนไม่เหมาะสม ลาดับความได้ไม่ชัดเจน
4. ค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย
4 หมายถึง ค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายตั้งแต่ 4 แหล่งขึ้นไป
3 หมายถึง ค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้ 3 แหล่ง
2 หมายถึง ค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้ 2 แหล่ง
1 หมายถึง ค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้เพียงแหล่งการเรียนรู้เดียว
5. รูปแบบการนาเสนอน่าสนใจ
4 หมายถึง รูปแบบการนาเสนองานแปลกใหม่ น่าสนใจดี ลาดับเรื่องราวได้ดีมาก
3 หมายถึง รูปแบบการนาเสนองานน่าสนใจ ลาดับเรื่องราวได้ดี
2 หมายถึง รูปแบบการนาเสนองานน่าสนใจพอใช้ ลาดับเรื่องราวได้พอใช้
1 หมายถึง รูปแบบการนาเสนอผลงานไม่น่าสนใจ ลาดับเรื่องราวได้ไม่ดี
6. ประเมินปรับปรุงและแสดงความรู้สึกต่อชิ้นงาน
4 หมายถึง วิเคราะห์ข้อเด่น ข้อด้อยของงานได้ชัดเจน ปรับปรุงพัฒนางานได้เหมาะสม และแสดง
ความรู้สึกต่องานทั้งกระบวนการทางานและผลงานได้อย่างชัดเจน
3 หมายถึง วิเคราะห์ข้อเด่น ข้อด้อยของงานได้บางส่วน ปรับปรุงพัฒนางานได้บ้าง แสดงความรู้สึก
ต่องานได้แต่ไม่ครบถ้วน
2 หมายถึง วิเคราะห์ข้อเด่น ข้อด้อยของงานได้เล็กน้อย ปรับปรุงพัฒนางานด้วยตนเองไม่ได้ต้อง
ได้รับคาแนะนาจากผู้อื่น แสดงความรู้สึกต่องานได้แต่ไม่ครบถ้วน
1 หมายถึง วิเคราะห์ข้อเด่น ข้อด้อยของงานไม่ได้ ไม่ปรับปรุงพัฒนางาน แสดงความรู้สึกต่องานได้
เล็กน้อยหรือไม่แสดงความรู้สึกต่องาน
เกณฑ์การตัดสินผลการประเมิน
นักเรียนต้องมีพฤติกรรมในแต่ละรายการอย่างน้อยระดับ 2 ขึ้นไป จานวน 4 ใน 5 รายการ

เกณฑ์การประเมินรายงานการสืบค้นข้อมูลโดยภาพรวม
ระดับคุณภาพ รายการประเมิน
4 – บันทึกผลงานได้ถูกต้องตามจุดประสงค์ เขียนบันทึกได้ชัดเจน แนวคิดหลัก
ถูกต้อง มีประเด็นสาคัญครบถ้วน
– ใช้ภาษาได้อย่างเหมาะสม ศัพท์วิทยาศาสตร์ถูกต้อง
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 474

ระดับคุณภาพ รายการประเมิน
3 – บันทึกผลงานได้ตรงตามจุดประสงค์ เขียนบันทึกที่มีบางส่วนยังไม่ชัดเจน
แนวคิดหลักถูกต้อง มีประเด็นสาคัญครบถ้วน
– ใช้ภาษา ศัพท์วิทยาศาสตร์ไม่ถูกต้องในบางส่วน
2 – บันทึกผลงานยึดตามจุดประสงค์ เขียนบันทึกไม่ชัดเจน แนวคิดหลักบางส่วนไม่
ถูกต้อง ส่วนที่เป็นประเด็นสาคัญมีไม่ครบถ้วน
– ใช้ภาษา ศัพท์วิทยาศาสตร์ไม่ถูกต้องในบางส่วน
1 – บันทึกผลงานไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์ เขียนบันทึกไม่ชัดเจน และแนวคิด
หลักส่วนใหญ่ไม่ถูกต้อง
– ใช้ภาษา ศัพท์วิทยาศาสตร์ไม่ถูกต้อง

โครงงานวิทยาศาสตร์ (Scientific Project) เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการสืบเสาะหาความรู้ การปฏิบัติ


จริง และการสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยผู้ทาโครงงานมีอิสระในการนาความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์เดิม
และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการแก้ปัญหา โครงงานวิทยาศาสตร์จาแนกเป็น 4 ประเภท คือ โครงงาน
ประเภทสารวจ โครงงานประเภททดลอง โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ และโครงงานประเภททฤษฎี

การประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์ได้กาหนดเป้าหมายการเรียนรู้และจุดประสงค์ของการประเมินไว้ ดังนี้
เป้าหมายการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ความรู้ความคิด 1.1 มีความเข้าใจหลักการ แนวคิดหลักทางวิทยาศาสตร์
1.2 ใช้ศัพท์เฉพาะทางวิทยาศาสตร์ได้ถูกต้อง
1.3 มีความรู้เกิดขึ้นใหม่และสร้างความรู้ด้วยตนเอง
ฯลฯ
2. กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจาก
การทาโครงงาน
2.1 โครงงานประเภทสารวจและ 1) สามารถกาหนดปัญหาและสมมุติฐานที่สอดคล้องกัน
โครงงานประเภททดลอง 2) สามารถออกแบบการสารวจหรือทดลอง การเก็บรวบรวมข้อมูล
และการควบคุมตัวแปร
3) สามารถจัดกระทาและนาเสนอข้อมูลที่เข้าใจง่าย
4) สามารถแปลผลสอดคล้องกับข้อมูลที่รวบรวมได้
5) สามารถบันทึกการทางานอย่างมีเหตุผล
ฯลฯ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 475

เป้าหมายการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้
2.2 โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ 1) สามารถเลือกวัสดุที่นามาใช้ประดิษฐ์
2) สามารถออกแบบตรงตามวัตถุประสงค์ การใช้ประโยชน์
ความคงทน ความประณีต และน่าสนใจ
ฯลฯ
2.3 โครงงานประเภททฤษฎี 1) สามารถเสนอแนวคิดที่มีเหตุผล
2) สามารถอธิบายและสรุปแนวคิดหลักบนพื้นฐานของข้อตกลง
เบื้องต้น
ฯลฯ
3. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 3.1 มีความแปลกใหม่ ก่อให้เกิดประโยชน์
3.2 มีความแปลกใหม่ในการออกแบบ
ฯลฯ
4. การเขียนรายงานหรือการแสดง 4.1 ความถูกต้องของข้อมูล ศัพท์วิทยาศาสตร์ การเรียบเรียงข้อความ
ผลงาน และรูปแบบการนาเสนอตาราง แผนภูมิ กราฟ รูปภาพ
4.2 สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ได้อย่างชัดเจน เหมาะสม น่าสนใจ
ฯลฯ

เกณฑ์การประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์โดยภาพรวม
ระดับคุณภาพ รายการประเมิน
4 มีการแสดงออกถึงความเข้าใจปัญหา การวางแผนวิธีการทาโครงงาน โดยออกแบบ
หรือคิดค้นขึ้นเอง ลงมือปฏิบัติจนทาโครงงานได้เสร็จและประสบความสาเร็จ เขียน
รายงานเป็นลาดับได้ชัดเจนและครบถ้วน
3 มีหลักฐาน ร่องรอยที่แสดงถึงความเข้าใจปัญหา การวางแผนวิธีการทาโครงงานได้
ถูกต้อง ลงมือปฏิบัติจนเสร็จและประสบความสาเร็จ และเขียนรายงานได้ชัดเจน
2 มีหลักฐาน ร่องรอยที่แสดงถึงความเข้าใจปัญหา การวางแผนวิธีการทาโครงงาน
ถูกต้องบางส่วน ลงมือปฏิบัติประสบความสาเร็จบางส่วน และเขียนรายงานยังไม่
ชัดเจน
1 ใช้เวลานานมากในการทาความเข้าใจปัญหา ต้องอาศัยการแนะนาเกี่ยวกับการวางแผน
วิธีการทาโครงงาน มีความยากลาบากในการลงมือปฏิบัติและเขียนรายงานสับสนไม่
ชัดเจน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 476

แบบบันทึกผลการประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์
คะแนนที่ได้
รายการประเมิน หมายเหตุ
4 3 2 1
1. การกาหนดปัญหาและการตั้งสมมุติฐาน
2. ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงประกอบการทาโครงงาน
3. การออกแบบการทดลอง
4. อุปกรณ์และเครื่องมือในการทดลอง
5. การดาเนินการทดลอง
6. การบันทึกข้อมูล
7. การจัดกระทาข้อมูล
8. การแปลความหมายข้อมูลและการสรุปผลของข้อมูล
9. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
10. การเขียนรายงานหรือการแสดงผลงาน
รวม

หมายเหตุ การประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์ทาได้โดยการสังเกต การสัมภาษณ์ และการบันทึกการ


ปฏิบัติงานหรือบันทึกพฤติกรรมของนักเรียนเป็นรายบุคคลและเป็นรายกลุ่มอย่างต่อเนื่อง
และผู้ประเมินหลายคน รวมทั้งการประเมินตนเองของนักเรียน

เกณฑ์การประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์ แยกตามองค์ประกอบย่อย 10 ด้าน โครงงานประเภททดลอง


ระดับคุณภาพ รายการประเมิน
1. การกาหนดปัญหาและการตั้งสมมุติฐาน
4 สมมุติฐานสอดคล้องกับปัญหาและแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลอย่างชัดเจน
3 สมมุติฐานสอดคล้องกับปัญหาและแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลแต่ยังไม่ชัดเจน
2 สมมุติฐานสอดคล้องกับปัญหา แต่ไม่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล
1 สมมุติฐานไม่สอดคล้องกับปัญหา
2. ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงประกอบการทาโครงงาน
4 มีการศึกษาค้นหาข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับปัญหาอย่างชัดเจนครอบคลุม
3 มีการศึกษาค้นหาข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับปัญหา แต่ยังไม่ครอบคลุม
2 มีการศึกษาค้นหาข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเพียงบางส่วน
1 มีการศึกษาหาข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ไม่เกี่ยวข้องกับปัญหา
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 477

ระดับคุณภาพ รายการประเมิน
3. การออกแบบการทดลอง
4 สอดคล้องกับสมมุติฐาน ควบคุมตัวแปรได้ถูกต้องสมบูรณ์ และมีแนวทางการเก็บรวบรวม
ข้อมูล
3 สอดคล้องกับสมมุติฐานและควบคุมตัวแปรได้ครบถ้วนสมบูรณ์
2 สอดคล้องกับสมมุติฐานและควบคุมตัวแปรได้บางส่วน
1 สอดคล้องกับสมมุติฐานแต่ไม่มีการควบคุมตัวแปร
4. อุปกรณ์และเครื่องมือในการทดลอง
4 เลือกใช้อุปกรณ์และเครื่องมือได้ถูกต้องและเหมาะสม
3 เลือกใช้อุปกรณ์และเครื่องมือได้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่
2 เลือกใช้อุปกรณ์และเครื่องมือได้ถูกต้องเป็นบางส่วน
1 เลือกใช้อุปกรณ์และเครื่องมือไม่เหมาะสม
5. การดาเนินการทดลอง
4 ดาเนินการทดลองได้ถูกต้องครบสมบูรณ์
3 ดาเนินการทดลองได้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่
2 ดาเนินการทดลองได้ถูกต้องเป็นบางส่วน
1 ดาเนินการทดลองไม่เหมาะสม
6. การบันทึกข้อมูล
4 บันทึกข้อมูลตรงจุดประสงค์ที่ต้องการศึกษาถูกต้องและครบสมบูรณ์
3 บันทึกข้อมูลตรงจุดประสงค์ที่ต้องการศึกษาและถูกต้อง
2 บันทึกข้อมูลตรงจุดประสงค์ที่ต้องการศึกษา
1 บันทึกข้อมูลไม่ตรงจุดประสงค์ที่ต้องการศึกษา
7. การจัดกระทาข้อมูล
4 มีการจัดกระทาข้อมูลถูกต้อง ชัดเจน ละเอียด และครบสมบูรณ์
3 มีการจัดกระทาข้อมูลถูกต้อง ชัดเจน แต่ยังไม่ครบสมบูรณ์
2 มีการจัดกระทาข้อมูลถูกต้อง แต่ไม่ชัดเจนเพียงพอ
1 มีการจัดกระทาข้อมูลไม่ถูกต้องเป็นส่วนมาก
8. การแปลความหมายข้อมูลและการสรุปผลของข้อมูล
4 แปลความหมายถูกต้องและสรุปผลสอดคล้องกับข้อมูล
3 แปลความหมายถูกต้อง แต่สรุปผลไม่สอดคล้องกับข้อมูลบางส่วน
2 แปลความหมายถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ แต่สรุปผลไม่สอดคล้องกับข้อมูล
1 แปลความหมายไม่ถูกต้องบางส่วน และไม่สรุปผล
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 478

ระดับคุณภาพ รายการประเมิน
9. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
4 โครงงานแสดงให้เห็นถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสามารถนาไปประยุกต์ใช้ได้
3 โครงงานแสดงให้เห็นถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
2 โครงงานบางส่วนมีความแปลกใหม่จากโครงงานที่มีผู้ทาแล้ว
1 โครงงานคล้ายคลึงกับสิ่งที่เคยทาแล้ว
10. การเขียนรายงานหรือการแสดงผลงาน
4 มีการนาเสนอเป็นขั้นตอนสมบูรณ์และชัดเจน
3 มีการนาเสนอเป็นขั้นตอนแต่ยังไม่ชัดเจน
2 มีการนาเสนอบางส่วนเป็นขั้นตอนแต่ยังไม่ชัดเจน
1 มีการนาเสนอไม่ชัดเจน ไม่เป็นขั้นตอน
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 479

ตัวอย่าง
แบบประเมินโครงงาน (ทั่วไป)
ชื่อโครงงาน...............................................................................กลุ่มที่...........
ภาคเรียนที่.......................ชั้น...................................................

รายการประเมิน สรุป
รวม
จานวน

สามารถนาไปใช้แก้ปัญหา
การแก้ปัญหาได้เหมาะสม
วางแผนกาหนดขั้นตอน
กาหนดประเด็นปัญหา

เขียนรายงานนาเสนอ
รายการ

ลงมือปฏิบัติตามแผน
เลขที่ ชื่อ–สกุล ไม่

ในชีวิตประจาวัน
ที่ผ่าน ผ่าน
ผ่าน
เกณฑ์
ชัดเจน

ขั้นต่า
1
2
3
4
5

เกณฑ์การประเมิน แยกตามองค์ประกอบย่อย 5 ด้าน


1. กาหนดประเด็นปัญหาชัดเจน
4 หมายถึง กาหนดประเด็นปัญหาได้ด้วยตนเอง ปัญหาที่กาหนดมีความเฉพาะเจาะจงชัดเจนดี
มาก
3 หมายถึง กาหนดประเด็นปัญหาได้ด้วยตนเอง ปัญหาที่กาหนดมีความเฉพาะเจาะจงชัดเจนดี
2 หมายถึง กาหนดประเด็นปัญหาได้ด้วยตนเองเป็นบางส่วน ปัญหาที่กาหนดมีความ
เฉพาะเจาะจงชัดเจนพอใช้
1 หมายถึง กาหนดประเด็นปัญหาด้วยตนเองไม่ได้
2. วางแผนกาหนดขั้นตอนการแก้ปัญหาได้เหมาะสม
4 หมายถึง ออกแบบวิธีการ ขั้นตอนการแก้ปัญหา ระบุควบคุมตัวแปรได้ถูกต้องเหมาะสม
3 หมายถึง ออกแบบวิธีการ ขั้นตอนการแก้ปัญหา ระบุควบคุมตัวแปรได้ค่อนข้างเหมาะสม
2 หมายถึง ออกแบบวิธีการ ขั้นตอนการแก้ปัญหา ระบุควบคุมตัวแปรได้เหมาะสมพอใช้
1 หมายถึง ออกแบบวิธีการ ขั้นตอนการแก้ปัญหา ระบุควบคุมตัวแปรได้ไม่เหมาะสม
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 480

3. ลงมือปฏิบัติตามแผน
4 หมายถึง ลงมือแก้ปัญหาตามขั้นตอนที่กาหนดไว้อย่างครบถ้วนจริงจัง สามารถค้นพบความรู้
ข้อคิด แนวทางการปฏิบัติตามประเด็นปัญหาที่ตั้งไว้ด้วยตนเองทั้งหมด
3 หมายถึง ลงมือแก้ปัญหาตามขั้นตอนที่กาหนดไว้อย่างครบถ้วนจริงจัง สามารถค้นพบความรู้
ข้อคิด แนวทางการปฏิบัติตามประเด็นปัญหาที่ตั้งไว้ด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่
2 หมายถึง ลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่กาหนดบ้าง แต่ไม่ครบถ้วน สามารถค้นพบความรู้
ข้อคิด แนวทางการปฏิบัติตามประเด็นปัญหาที่ตั้งไว้ด้วยตนเองเป็นบางส่วน
1 หมายถึง ลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่กาหนดได้น้อยมาก ไม่สามารถค้นพบความรู้ ข้อคิด
แนวทางการปฏิบัติตามประเด็นปัญหาที่ตั้งไว้
4. สามารถนาไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจาวัน
4 หมายถึง นาข้อค้นพบ วิธีปฏิบัติไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจาวันได้ครบถ้วน ถูกต้องและ
ต่อเนื่อง
3 หมายถึง นาข้อค้นพบ วิธีปฏิบัติไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจาวันได้ครบถ้วน ถูกต้องแต่ขาด
ความต่อเนื่อง
2 หมายถึง นาข้อค้นพบ วิธีปฏิบัติไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจาวันได้เป็นบางส่วน และต้อง
กระตุ้นเตือนให้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
1 หมายถึง นาข้อค้นพบ วิธีปฏิบัติไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจาวันได้น้อยมาก หรือไม่นาไปใช้
เลย
5. เขียนรายงานนาเสนอ
4 หมายถึง บันทึกผลการศึกษาค้นคว้าและนาเสนอข้อมูลได้ถูกต้องชัดเจน แสดงให้เห็นถึง
ขั้นตอนการวางแผน การลงมือแก้ปัญหาและข้อค้นพบที่ได้ครบถ้วน
3 หมายถึง บันทึกผลการศึกษาค้นคว้าและนาเสนอข้อมูลได้ถูกต้องชัดเจน แสดงให้เห็นถึง
ขั้นตอนการวางแผน การลงมือแก้ปัญหา และข้อค้นพบที่ได้ค่อนข้างครบถ้วน
2 หมายถึง บันทึกผลการศึกษาค้นคว้าและนาเสนอข้อมูลได้บ้าง แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการ
วางแผน การลงมือแก้ปัญหา และข้อค้นพบที่ได้เพียงบางส่วน
1 หมายถึง บันทึกผลการศึกษาค้นคว้าและนาเสนอข้อมูลได้น้อยมาก เห็นขั้นตอนการวางแผน
การลงมือแก้ปัญหา และข้อค้นพบที่ได้ไม่ชัดเจน
เกณฑ์การตัดสินผลการประเมิน
นักเรียนต้องมีพฤติกรรมในแต่ละรายการอย่างน้อยระดับ 2 ขึ้นไป จานวน 3 ใน 5 รายการ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 481

แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เป็นแหล่งรวบรวมผลงานของนักเรียนอย่างเป็นระบบ ที่นามาใช้ประเมิน


สมรรถภาพของนักเรียน เพื่อช่วยให้นักเรียน ครู ผู้ปกครองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจและมองเห็นอย่างเป็น
รูปธรรมได้ว่า การปฏิบัติงานและผลงานของนักเรียนมีคุณภาพมาตรฐานอยู่ในระดับใด
แฟ้มสะสมผลงานเป็นเครื่องมือประเมินผลตามสภาพจริงที่ให้โอกาสนักเรียนได้ใช้ผลงานจากที่ได้ปฏิบัติ
จริงสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจถึงความสามารถที่แท้จริงของตน ซึ่งผลงานที่เก็บสะสมในแฟ้มสะสมผลงานมีหลาย
ลักษณะ เช่น การเขียนรายงาน บทความ การศึกษาค้นคว้า สิ่งประดิษฐ์ การทาโครงงาน บันทึกการบรรยาย บันทึก
การทดลอง บันทึกการอภิปราย บันทึกประจาวัน แบบทดสอบ

แบบบันทึกความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินชิ้นงานในแฟ้มสะสมผลงาน
ชื่อชิ้นงาน...........................................................................วันที่.......... เดือน................... พ.ศ..............
หน่วยการเรียนรู้ที่.............เรื่อง................................................................

รายการประเมิน บันทึกความคิดเห็นของนักเรียน
1. เหตุผลที่เลือกชิ้นงานนี้ไว้ในแฟ้มสะสมผลงาน .................................................................................
.................................................................................
2. จุดเด่นและจุดด้อยของงานชิ้นนี้มีอะไรบ้าง .................................................................................
.................................................................................
3. ถ้าจะปรับปรุงงานชิ้นนี้ให้ดีขึ้นควรปรับปรุง .................................................................................
อย่างไร .................................................................................
.................................................................................
4. งานชิ้นนี้ควรได้คะแนนเท่าใด เพราะเหตุใด (ถ้า .................................................................................
กาหนดให้คะแนนเต็ม 10 คะแนน) .................................................................................
.................................................................................
.................................................................................

ความเห็นของครูหรือที่ปรึกษา ความเห็นของผู้ปกครอง

........................................................................ ......................................................................
........................................................................ ......................................................................
....................................................................... ......................................................................
............................................... .............................................
ผลการประเมินของครูหรือทีป่ รึกษา
...............................................
......
................................................................................................................

............................................................................
............................................................................
............................................................................
.........................................
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 482

ตัวอย่าง
แบบประเมินแฟ้มสะสมผลงาน
เรื่อง...............................................................................................กลุ่มที่...........
ภาคเรียนที่.......................ชั้น...................................................
ระดับคุณภาพ
รายการประเมิน
4 3 2 1
1. โครงสร้างและองค์ประกอบ
2. แนวความคิดหลัก
3. การประเมินผล
4. การนาเสนอ
เกณฑ์การประเมิน แยกตามองค์ประกอบย่อย 4 ด้าน
ระดับคุณภาพ รายการประเมิน
1. โครงสร้างและองค์ประกอบ
4 ผลงานมีองค์ประกอบที่สาคัญครบถ้วนและจัดเก็บได้อย่างเป็นระบบ
3 ผลงานมีองค์ประกอบที่สาคัญเกือบครบถ้วนและส่วนใหญ่จัดเก็บอย่างเป็นระบบ
2 ผลงานมีองค์ประกอบที่สาคัญเป็นส่วนน้อย แต่บางชิ้นงานมีการจัดเก็บที่เป็นระบบ
1 ผลงานขาดองค์ประกอบที่สาคัญและการจัดเก็บไม่มีระบบ
2. แนวความคิดหลัก
4 ผลงานสะท้อนแนวความคิดหลักของนักเรียนที่ได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มีหลักฐานแสดง
ว่ามีการนาความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้มาก
3 ผลงานสะท้อนแนวความคิดหลักของนักเรียนที่ได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มีหลักฐานแสดง
ว่าสามารถนาความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ตัวอย่างได้
2 ผลงานสะท้อนแนวความคิดหลักของนักเรียนว่าได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์บ้าง มีหลักฐาน
แสดงถึงความพยายามที่จะนาไปใช้ประโยชน์
1 ผลงานจัดไม่เป็นระบบ มีหลักฐานแสดงว่ามีความรู้ทางวิทยาศาสตร์น้อยมาก
3. การประเมินผล
4 มีการประเมินความสามารถและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและผลงาน รวมทั้งมีการ
เสนอแนะโครงการที่เป็นไปได้ที่จะจัดทาต่อไปไว้อย่างชัดเจนหลายโครงการ
3 มีการประเมินความสามารถและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและผลงาน รวมทั้งการ
เสนอแนะโครงการที่ควรจัดทาต่อไป
2 มีการประเมินความสามารถและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและผลงานบ้าง รวมทั้งมีการ
เสนอแนะโครงการที่จะทาต่อไปแต่ไม่ชัดเจน
1 มีการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและผลงานน้อยมากและไม่มีข้อเสนอแนะใด ๆ
คู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ป. 6 483

ระดับคุณภาพ รายการประเมิน
4. การนาเสนอ
4 เขียนบทสรุปและรายงานที่มีระบบดี มีขั้นตอน มีข้อมูลครบถ้วน มีการประเมินผล
ครบถ้วน แสดงออกถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
3 เขียนบทสรุปและรายงานแสดงให้เห็นว่ามีขั้นตอนการจัดเก็บผลงาน มีการประเมินผลงาน
เป็นส่วนมาก
2 เขียนบทสรุปและรายงานแสดงให้เห็นว่ามีขั้นตอนการจัดเก็บผลงาน มีการประเมินผลเป็น
บางส่วน
1 เขียนบทสรุปและรายงานแสดงให้เห็นว่ามีขั้นตอนการจัดเก็บผลงาน แต่ไม่มีการ
ประเมินผล

เกณฑ์การประเมินแฟ้มสะสมผลงานโดยภาพรวม
ระดับคุณภาพ รายการประเมิน
4 ผลงานมีรายละเอียดมากเพียงพอ ไม่มีข้อผิดพลาดหรือแสดงถึงความไม่เข้าใจ มีความเข้าใจ
ในเรื่องที่ศึกษาโดยมีการบูรณาการหรือเชื่อมโยงแนวความคิดหลักต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
3 ผลงานมีรายละเอียดมากเพียงพอและไม่มีข้อผิดพลาดหรือแสดงถึงความไม่เข้าใจ แต่ข้อมูล
ต่าง ๆ เป็นลักษณะของการนาเสนอที่ไม่ได้บูรณาการระหว่างข้อมูลกับแนวความคิดหลัก
ของเรื่องที่ศึกษา
2 ผลงานมีรายละเอียดที่บันทึกไว้ แต่พบว่าบางส่วนมีความผิดพลาดหรือไม่ชัดเจน หรือ
แสดงถึงความไม่เข้าใจเรื่องที่ศึกษา
1 ผลงานมีข้อมูลน้อย ไม่มีรายละเอียดบันทึกไว้

You might also like