Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 21

1

บทที่ 7
สมการเชิงอนุพันธ์สามัญเบื้องต้น
(Introduction to Ordinary Differential Equations)
7.1 บทนำ
สมการเชิงอนุพันธ์เป็นสาขาหนึ่งที่สำคัญในทางคณิตศาสตร์ มีปัญหา
มากมายในทางวิทยาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งการแก้ปัญหาจะอยู่
ในรู ป ของสมการเชิ ง อนุ พั น ธ์ แ ทบทั้ ง สิ้ น เช่ น ปั ญ หาเกี่ ย วกั บ การเพิ่ ม
ประชากร ปัญหาเกี่ยวกับปฏิกิริยาทางเคมี ปัญหาเกี่ยวกับกฎการเคลื่อนที่
ของนิวตัน ปัญ หาของการนำความร้อนในแท่งโลหะ และปัญ หาการหา
ประจุหรือกระแสในวงจรไฟฟ้า เป็นต้น เนื้อหาในบทนี้จะกล่าวถึงสมการ
เชิงอนุพันธ์ที่สำคัญบางรูปแบบ การหาผลเฉลยของสมการเชิงอนุพันธ์ใน
แต่ละรูปแบบ และการประยุกต์ของสมการเชิงอนุพันธ์ทางวิทยาศาสตร์
2

สมการเชิ ง อนุ พั น ธ์ (differential equation) คื อ สมการที่ แ สดง


ความสัมพันธ์ระหว่างฟังก์ชันกับอนุพันธ์ของฟังก์ชันนั้น
ถ้าฟังก์ชันที่ปรากฏในสมการเชิงอนุพันธ์เป็นฟังก์ชันของตัวแปรอิสระ
เพียงตัวเดียว จะเรียกสมการเชิงอนุพันธ์นั้นว่า สมการเชิงอนุพันธ์สามัญ
(ordinary differential equation)
แต่ ถ้ าฟั งก์ ชัน ที่ ป รากฏในสมการเชิงอนุ พั น ธ์เป็ น ฟั งก์ ชัน ของตั วแปร
อิสระตั้งแต่สองตัวเป็นต้นไป จะเรียกสมการเชิงอนุพันธ์นั้นว่า สมการเชิง
อนุพันธ์ย่อย(partial differential equation)
ซึ่งในบทนี้เราจะกล่าวถึงเฉพาะสมการเชิงอนุพันธ์สามัญเบื้องต้น เพื่อ
เป็นความรู้พื้นฐานในการศึกษาเกีย่ วกับเรื่องนี้ต่อไป
หมายเหตุ เพื่อความสะดวก ในบทนี้เราจะเรียกสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ
ว่าสมการเชิงอนุพันธ์
3

ตัวอย่าง 7.1.1 สมการต่อไปนีเ้ ป็นสมการเชิงอนุพันธ์


dy
(1) y + xy - 5 = 0
dx

d2y æ dy ö
(2) xy 2 + x ç ÷ - 3xy = 0
dx è dx ø

( y '')
2
(3) + 2 xy '- 5x = 0

d3y d2y
(4) - 2 2 + xy = 0
dx3 dx
3
æ d2y ö æ dy ö
(5) xy ç 2 ÷ - x 2 ç ÷ + 5 = 0
è dx ø è dx ø
4

อั น ดั บ (order) ของสมการเชิ ง อนุ พั น ธ์ คื อ อั น ดั บ ของอนุ พั น ธ์ อั น ดั บ


สูงสุดที่ปรากฏในสมการ
ระดับขั้น (degree) ของสมการเชิงอนุพันธ์ คือ กำลังของอนุพันธ์อันดับ
สูงสุดที่ปรากฏในสมการ
ตัวอย่าง 7.1.2 จากสมการเชิงอนุพันธ์ในตัวอย่าง 7.1.1 จะได้ว่า
เป็นสมการเชิงอนุพันธ์อันดับ ระดับขั้น
dy
(1) y + xy - 5 = 0
dx

d2y æ dy ö
(2) xy 2 + x ç ÷ - 3xy = 0
dx è dx ø

(3) ( y '')
2
+ 2 xy '- 5x = 0

d3y d2y
(4) 3
- 2 2 + xy = 0
dx dx

3
æ d2y ö æ dy ö
(5) xy ç 2 ÷ - x 2 ç ÷ + 5 = 0
è dx ø è dx ø
5

ผลเฉลยของสมการเชิงอนุพันธ์ คือ ฟังก์ชันซึ่งไม่เป็นฟังก์ชันของอนุพันธ์


และสอดคล้องกับสมการเชิงอนุพันธ์ที่กำหนดให้

การตรวจสอบว่าฟั งก์ชันใดจะเป็นผลเฉลยของสมการเชิงอนุพั นธ์ที่


กำหนดหรือไม่ ก็สามารถตรวจสอบได้โดยการแทนค่าอนุพันธ์ต่างๆ ของ
ฟังก์ชันนั้นในสมการเชิงอนุพันธ์ ถ้าสมการนั้นเป็นจริงก็แสดงว่าฟังก์ชันนั้น
เป็นผลเฉลยของสมการเชิงอนุพันธ์
ตัวอย่าง 7.1.3 จงแสดงว่าฟังก์ชัน f ( x) = sin x + 3cos x เป็นผลเฉลย
ของสมการเชิงอนุพันธ์ y¢¢ + y = 0
วิธีทำ
6

ตัวอย่าง 7.1.4 จงแสดงว่าฟังก์ชันต่อไปนี้


(1) xy = 1
(2) xy = c เมื่อ c เป็นค่าคงตัว
dy
เป็นผลเฉลยของสมการเชิงอนุพันธ์ x +y=0
dx
วิธีทำ

(2) สามารถแสดงได้ในทำนองเดียวกันกับ 1) ว่าสมการ xy = c


dy
เมื่อ c เป็นค่าคงตัว เป็นผลเฉลยของสมการเชิงอนุพันธ์ x
dx
+y=0
7

ผลเฉลยของสมการเชิงอนุพันธ์อาจอยู่ในรูปของฟังก์ชันที่นิยามโดยชัด
แจ้ ง (explicit functions) หรื อ ฟั ง ก์ ชั น ที่ นิ ย ามโดยปริ ย าย (implicit
functions)
เราเรียกผลเฉลยของสมการเชิงอนุพันธ์ที่มีค่าคงตัวไม่เจาะจงว่า ผลเฉลย
ทั่วไป (general solution)
และเรี ย กผลเฉลยซึ่ ง กำหนดค่ า คงตั ว นั้ น ให้ มี ค่ า ที่ แ น่ น อนว่ า ผลเฉลย
เฉพาะ (particular solution)

เช่น จากตัวอย่าง 7.1.3 จะได้ว่า ฟังก์ชัน f ( x) = sin x + 3cos x เป็นผล


เฉลยเฉพาะที่ อ ยู่ ใ นรู ป ฟั ง ก์ ชั น โดยชั ด แจ้ ง ของสมการเชิ ง อนุ พั น ธ์
y¢¢ + y = 0

จากตัวอย่าง 7.1.4 จะได้ว่า ฟังก์ชัน xy = 1 เป็นผลเฉลยเฉพาะที่อยู่ใน


dy
รูปฟังก์ชันโดยปริยายของสมการเชิงอนุพันธ์ x +y=0
dx

และ xy = c เป็นผลเฉลยทั่วไปที่อยู่ในรูปฟังก์ชันโดยปริยายของสมการ
dy
เชิงอนุพันธ์ x +y=0
dx
8

ต่อไปเราจะกล่าวถึงวิธีการหาผลเฉลยของสมการเชิงอนุพันธ์ ซึ่งในบท
นี้เราจะศึกษาเฉพาะสมการเชิงอนุพันธ์อันดับหนึ่งระดับขั้นหนึ่งบางรูปแบบ
เท่านั้น
สมการเชิงอนุพันธ์อันดับหนึ่งระดับขั้นหนึ่ง สามารถเขียนให้อยู่ในรูป
dy
= f ( x, y )
dx

หรือ
M ( x, y ) dx + N ( x, y ) dy = 0

ได้ เราจะพิ จารณาวิธีการหาผลเฉลยของสมการเชิงอนุพั นธ์อันดับหนึ่ง


ระดับขั้นหนึ่ง 2 รูปแบบด้วยกันกล่าวคือ สมการแบบตัวแปรแยกกันได้
และสมการแบบเอกพันธ์ ดังจะได้กล่าวโดยละเอียดในหัวข้อ 7.2 และ 7.3
ต่อไป
ตัวอย่าง
dy
(1) y + xy - 5 = 0
dx
dy 3 y - xy
(2) = 2
dx x +1
9

7.2 ส ม ก า ร เชิ งอ นุ พั น ธ์ แ บ บ ตั ว แ ป ร แ ย ก กั น ได้ (Separable


Differential Equations)
dy
ถ้าสมการเชิงอนุพันธ์ = f ( x, y ) สามารถจัดให้อยู่ในรูป
dx

M ( x ) dx + N ( y ) dy = 0 ...................................(7.2.1)

โดยที่ M ( x) เป็นฟังก์ชันของตัวแปร x ตัวเดียว


N ( y) เป็นฟังก์ชันของตัวแปร y ตัวเดียว
แล้ ว จะเรีย กสมการเชิงอนุ พั น ธ์นี้ ว่า สมการเชิ งอนุ พั น ธ์แ บบตั วแปร
แยกกันได้
10

ตั ว อย่ า ง 7.2.1 จงแสดงว่ า สมการเชิ งอนุ พั น ธ์ ต่ อ ไปนี้ เป็ น สมการเชิ ง


อนุพันธ์แบบตัวแปรแยกกันได้
dy x + 1
(1) dx = y
dy 1 + y3
= 2
(2) dx xy (1 + x 2 )

วิธีทำ
11

สมการต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของสมการเชิงอนุพันธ์ที่ไม่เป็นสมการแบบตัว
แปรแยกกันได้

(1) ( - ) dx - 2xydy = 0
2 2
y x

(2) xdx - ydy = x2 + y 2 dx

การหาผลเฉลยของสมการเชิงอนุพันธ์แบบตัวแปรแยกกันได้ ทำได้
ดังนี้
จากสมการ
M ( x ) dx + N ( y ) dy = 0 ............................... (7.2.1)

จะเห็นว่า ถ้าหาปริพันธ์ จะได้

ò M ( x ) dx + ò N ( y ) dy = c ............................... ( 7.2.2 )

ซึ่งเป็นฟังก์ชันที่ไม่มีอนุพันธ์อยู่ด้วยและสอดคล้องกับสมการ ( 7.2.1) ดังนั้น


สมการ (7.2.2) จึงเป็นผลเฉลยทั่วไปของสมการ ( 7.2.1)
12

ตัวอย่าง 7.2.2 จงหาผลเฉลยทั่วไปของสมการเชิงอนุพันธ์


dy (2 x + 3) y
=
dx x( x + 3)
วิธีทำ
13

ตัวอย่าง 7.2.3 จงหาผลเฉลยเฉพาะของสมการเชิงอนุพันธ์


dy cos x
= 2 y
dx 3 y + e

เมื่อ y (0) = 2
วิธีทำ
14

7.3 สมการเชิงอนุ พั น ธ์แ บบเอกพั น ธ์ (Homogeneous Differential


Equations)

เร า จ ะ เรี ย ก ฟั ง ก์ ชั น f ( x, y ) ว่ า เป็ น ฟั ง ก์ ชั น เอ ก พั น ธ์
(Homogeneous function) ระดับขั้น 𝒏 ถ้ามีจำนวนเต็ม 𝑛 ที่ทำให้
f ( kx, xy ) = k n f ( x, y )

สำหรับทุก ๆ จำนวนจริงบวก 𝑘

ตั ว อย่ า ง 7.3.1 จงแสดงว่ า ฟั ง ก์ ชั น f ( x, y ) = x 4


- x 3
y เป็ น
ฟังก์ชันเอกพันธ์ระดับขั้น 4
วิธีทำ ให้ k เป็นจำนวนจริงบวกใด ๆ
15

ตัวอย่าง 7.3.2 จงแสดงว่าฟังก์ชัน f ( x, y ) = x2 + cos x sin y ไม่เป็น


ฟังก์ชันเอกพันธ์
วิธีทำ ให้ k เป็นจำนวนจริงบวกใด ๆ
จาก f ( x, y ) = x2 + cos x sin y

f ( kx, ky ) = ( kx ) + cos kx sin ky


2
จะได้
= k 2 x 2 + cos kx sin ky

จะเห็นว่า f (kx, xy ) ไม่สามารถจัดให้อยู่ในรูป k n f ( x, y) ได้


ดังนั้น f ( x, y ) ไม่เป็นฟังก์ชันเอกพันธ์
16

สมการเชิงอนุพันธ์
M ( x, y ) dx + N ( x, y ) dy = 0

จะเป็นสมการเชิงอนุพันธ์แบบเอกพันธ์
ถ้า M ( x, y ) และ N ( x, y ) เป็นฟังก์ชันเอกพันธ์ระดับขั้นเดียวกัน

ตัวอย่าง 7.3.3 จงแสดงว่า (x 2


- y 2 ) dx + 5xydy = 0 เป็นสมการ
แบบเอกพันธ์
วิธีทำ จาก (x 2
- y 2 ) dx + 5xydy = 0

จะได้ M ( x, y ) = x 2 - y 2 และ N ( x, y ) = 5xy

สำหรับจำนวนจริงบวก k ใด ๆ
จะได้ว่า
และ

ดั ง นั้ น M ( x, y ) และ N ( x, y ) เป็ น ฟั ง ก์ ชั น เอกพั น ธ์ ร ะดั บ ขั้ น


...........

นั่นคือ (x 2
- y 2 ) dx + 5xydy = 0 เป็นสมการแบบเอกพันธ์
17

æ y
ö y
x æ

ç1 + 2e ÷ dx + 2e ç1 - ÷ dy = 0
x
ตั ว อย่ า ง 7.3.4 จงแสดงว่ า è xø เป็ น
è ø
สมการแบบเอกพันธ์
æ y
ö y
x æ

ç1 + 2e ÷ dx + 2e ç1 - ÷ dy = 0
x
วิธีทำ จาก è xø
è ø
y
จะได้ M ( x, y) = 1 + 2e x
และ
y
æ yö
N ( x, y) = 2e ç1 -x
÷
è xø

สำหรับจำนวนจริงบวก k ใด ๆ จะได้ว่า
M ( kx, ky ) =

และ
N (kx, ky ) =
y
y æ yö
2e ç1 -
x
ดังนั้น 1 + 2e และ ÷
x ø เป็ น ฟั งก์ ชัน เอกพั น ธ์ระดั บ ขั้น
x
è
........
นั่นคือ
æ y
ö y
x æ

ç 1 + 2e x
÷ dx + 2e ç 1 - ÷ dy = 0
è ø è xø

เป็นสมการแบบเอกพันธ์
18

ตัวอย่าง 7.3.5 จงแสดงว่า ( x2 + y2 ) dx - ( xy2 - y3 ) dy = 0 ไม่เป็น


สมการแบบเอกพันธ์
วิธีทำ จาก (x 2
+ y 2 ) dx - ( xy 2 - y3 ) dy = 0

เราสามารถแสดงได้ว่า
M ( x, y ) = x 2 + y 2 เป็นฟังก์ชันเอกพันธ์ระดับขั้น.........
แต่ N ( x, y ) = xy 2 - y3 เป็นฟังก์ชันเอกพันธ์ระดับขั้น...........

ดังนั้น (x 2
+ y 2 ) dx - ( xy 2 - y3 ) dy = 0 ไม่เป็นสมการแบบเอกพันธ์
19

การหาผลเฉลยของสมการเชิงอนุพันธ์แบบเอกพันธ์ สามารถทำได้โดย
แปลงสมการเอกพันธ์ให้เป็นสมการแบบตัวแปรแยกกันได้ โดยการแทนค่า
y = vx
และ
dy = vdx + xdv
ในสมการแบบเอกพันธ์
M ( x, y ) dx + N ( x, y ) dy = 0

แล้วจะได้สมการใหม่อยู่ในรูปสมการแบบตัวแปรแยกกันได้ จากนั้นหาผล
เฉลยในรูปของตัวแปร x กับ v ก่อนแล้วแทนค่ากลับ จะได้ผลเฉลยใน
รูปของตัวแปร x กับ y ตามต้องการ
20

ตัวอย่าง 7.3.6 จงหาผลเฉลยทั่วไปของสมการเชิงอนุพันธ์


(x 2
- y 2 ) dx + 5xydy = 0

วิธีทำ จาก ตัวอย่าง 7.3.3 จะได้ว่า


(x 2
- y 2 ) dx + 5xydy = 0 เป็นสมการแบบเอกพันธ์

ดังนั้นให้ y = vx และ dy = vdx + xdv


แทนค่า
21

ตัวอย่าง 7.3.7 จงหาผลเฉลยเฉพาะของสมการเชิงอนุพันธ์


æ y
ö y
x æ

ç1 + 2e ÷ dy + 2e ç1 - ÷ dx = 0
x

è ø è xø

เมื่อ y ( 3) = 0
วิธีทำ จาก ตัวอย่าง 7.3.4 เราจะได้ว่า
æ y
ö y
x æ

ç1 + 2e ÷ dy + 2e ç1 - ÷ dx = 0
x

è xø
เป็นสมการแบบเอกพันธ์
è ø

ดังนั้นให้ y = vx และ dy = vdx + xdv


แทนค่า

You might also like