Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 5

4/3/67 01:57 4684/2528

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4684/2528 พนักงานอัยการประจำศาลแขวงนครศรีธรรมราช โจทก์


โจทก์ร่วม โจทก์
บริษัทหาดทิพย์ จำกัด โจทก์
นายมนัส มหรรพานุรักษ์ จำเลย

ป.อ. มาตรา 352, 353


ป.พ.พ. มาตรา 797, 810, 825
ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4), 120, 121

การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการของโจทก์ร่วมหลอกลวงลูกค้าของโจทก์ร่วมว่า โจทก์ร่วมขึ้นราคาสินค้า ลูกค้าหลงเชื่อซื้อ


ตามนั้น เงินส่วนที่ขายเกินกำหนดเป็นเงินของลูกค้าส่งมอบให้จำเลยเพราะถูกจำเลยหลอกลวง มิใช่เป็นเงินที่จำเลยได้รับไว้เกี่ยว
ด้วยการเป็นตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810 จึงเป็นเงินของลูกค้าผู้ถูกหลอกลวง หาใช่เงินของโจทก์
ร่วมไม่ โจทก์ร่วมจึงมิใช่ผู้เสียหาย เมื่อลูกค้าผู้เป็นเจ้าของเงินซึ่งเป็นผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง (ประชุมใหญ่
ครั้งที่ 12/2528)

___________________________

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้รับมอบหมายจากบริษัทหาดทิพย์ จำกัด ให้เป็นผู้จัดการควบคุมครอบครองดูแลกิจการและ


ทรัพย์สินของบริษัท ได้เบียดบังยักยอกเอาเงินค่าขายสินค้าไปเป็นของตนโดยทุจริต อันเป็นการกระทำผิดหน้าที่ของตนด้วย
ประการใด ๆ โดยทุจริต จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของบริษัทขอให้ลงโทษตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352, 353
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้บริษัทหาดทิพย์ จำกัด ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วม
จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์ร่วมอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ร่วมฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามที่ศาลชั้นต้นฟังมาว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ควบคุมเขตหรือผู้จัดการของโจทก์ร่วม
สาขาจังหวัดนครศรีธรรมราชสั่งให้พนักงานขายของโจทก์ร่วมหลอกลวงลูกค้าของโจทก์ร่วมว่า โจทก์ร่วมขึ้นราคาน้ำอัดลมซึ่งเป็น
สินค้าของโจทก์ร่วมจากลังละ 48 บาท เป็น 50 บาท ความจริงโจทก์ร่วมมิได้ขึ้นราคาน้ำอัดลม เมื่อพนักงานขายเก็บเงินค่าน้ำ
อัดลมมาส่งจำเลยแล้วจำเลยส่งให้แก่โจทก์ร่วมเพียงลังละ 48 บาท ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่า การที่จำเลยกับพวก
หลอกลวงลูกค้าว่า โจทก์ร่วมกำหนดให้ขายลังละ 50 บาท ลูกค้าหลงเชื่อจึงส่งเงินให้พวกของจำเลยลังละ 50 บาท เงินส่วนที่เกิน

deka.supremecourt.or.th/printing/deka# 1/2
4/3/67 01:57 4684/2528

ไปลังละ 2 บาท เป็นเงินที่ลูกค้าส่งมอบให้พวกของจำเลยเพราะถูกจำเลยกับพวกหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ


มิใช่เป็นเงินที่จำเลยได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810 จึงเป็นเงินของลูกค้าผู้
ถูกหลอกลวงหาใช่เงินของโจทก์ร่วมไม่ โจทก์ร่วมจึงมิใช่ผู้เสียหาย คดีนี้เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวโจทก์ร่วมเป็นผู้แจ้งความร้อง
ทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ลูกค้าผู้เป็นเจ้าของเงินซึ่งเป็นผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
พิพากษายืน

(บุญส่ง คล้ายแก้ว-ธิรพันธุ์ รัศมิทัต-เฉลิม การปลื้มจิตต์)

แหล่งที่มา กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

แผนก

หมายเลขคดีแดงศาลชั้นต้น

หมายเหตุ

deka.supremecourt.or.th/printing/deka# 2/2
4/3/67 01:54 15558/2555

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15558/2555 พนักงานอัยการจังหวัดสงขลา โจทก์


นายสาธร เปรื่องเปรมจิตต์ จำเลย

ป.อ. มาตรา 352


ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4)

จำเลยเป็นลูกจ้างประจำของเทศบาลนครหาดใหญ่ มีหน้าที่เก็บเงินค่าธรรมเนียมตั้งแผงลอยขายอาหาร ทำสัญญาเช่าโต๊ะ


วางขายของและเก็บเงินค่าเช่าโต๊ะประจำเดือน ทั้งจัดทำใบนำส่งเงินให้เจ้าหน้าที่รับเงินเป็นประจำทุกวัน การที่จำเลยเรียกเก็บเงิน
ค่าวางแผงขายของจากพ่อค้าแม่ค้าผู้เช่าแผงขายสินค้าจากเทศบาลนครหาดใหญ่เกินกว่าจำนวนแผงขายสินค้าในพื้นที่ของ
เทศบาลนครบาลหาดใหญ่ทั้งที่เช่าจากเทศบาลนครนครหาดใหญ่และไม่ได้เช่าจากเทศบาลนครหาดใหญ่ตามความเป็นจริงแล้ว
จำเลยนำส่งเงินให้แก่เทศบาลนครหาดใหญ่เป็นจำนวนตามแผงที่พ่อค้าแม่ค้าเช่าจากเทศบาลนครหาดใหญ่ แต่ไม่นำส่งเงินที่เรียก
เก็บเกินจากพ่อค้าแม่ค้าให้แก่เทศบาลนครหาดใหญ่ โดยจำเลยระบุจำนวนเงินลงในต้นฉบับใบเสร็จรับเงินตามจำนวนแผงวางขาย
สินค้าที่พ่อค้าแม่ค้าวางแผงขายสินค้า แต่ระบุจำนวนเงินลงในสำเนาใบเสร็จรับเงินตามจำนวนแผงที่พ่อค้าแม่ค้าเช่าจากเทศบาล
นครหาดใหญ่ ถือว่าพ่อค้าแม่ค้าที่วางแผงเกิน ประสงค์จะจ่ายเงินตามจำนวนเงินที่วางแผงเกินให้แก่เทศบาลนครหาดใหญ่แล้ว
เมื่อจำเลยรับเงินไว้ต้องถือว่ารับแทนเทศบาลนครหาดใหญ่ การที่จำเลยเบียดบังเงินดังกล่าวไปเป็นประโยชน์ส่วนตนโดยไม่นำ
เงินส่งแก่เทศบาลนครหาดใหญ่ ย่อมเป็นการยักยอกเงินของเทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลนครหาดใหญ่จึงเป็นผู้เสียหายและมี
อำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานยักยอกได้ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
ผู้เสียหายมีนายกเทศมนตรีเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย การที่ ส. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานจัด
เก็บรายได้อันเป็นเจ้าหน้าที่ระดับล่างของผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดจะถือว่าผู้เสียหายรู้ด้วยหาได้ไม่ เมื่อ
นายกเทศบาลนครหาดใหญ่มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2542 และคณะกรรมการสอบสวนได้
ทำการตรวจสอบและทำบันทึกสรุปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2542 และผู้เสียหาย
ร้องทุกข์เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2542 ยังไม่เกิน 3 เดือน คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

___________________________

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 147, 157, 265, 268


จำเลยให้การปฏิเสธ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคแรก จำคุก 2 ปี คำเบิกความของ
จำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง และจำเลยได้บรรเทาความเสียหายแก่ผู้เสียหายแล้ว ลดโทษให้หนึ่งในสี่ตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน ข้อหาอื่นให้ยก
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรค
แรก ด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

deka.supremecourt.or.th/printing/deka# 1/3
4/3/67 01:54 15558/2555

โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยไม่ได้โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติว่า จำเลยเป็นลูกจ้างประจำของเทศบาล
นครหาดใหญ่ มีหน้าที่เก็บเงินค่าธรรมเนียมตั้งแผงลอยขายอาหาร ทำสัญญาเช่าโต๊ะวางขายของและเก็บเงินค่าเช่าโต๊ะประจำ
เดือน ทั้งจัดทำใบนำส่งเงินให้เจ้าหน้าที่รับเงินเป็นประจำทุกวัน ตามคำสั่งเทศบาลเมืองหาดใหญ่ที่ 676/2536 ลงวันที่ 23
พฤศจิกายน 2536 ต่อมาเทศบาลนครหาดใหญ่ตรวจสอบพบว่าจำเลยเรียกเก็บเงินค่าวางแผงหรือโต๊ะขายของจากพ่อค้า แม่ค้าผู้
เช่าแผงขายสินค้าจากเทศบาลนครหาดใหญ่เกินกว่าจำนวนแผงขายสินค้าที่ผู้เช่าได้เช่าจากเทศบาลนครหาดใหญ่ โดยพ่อค้า
แม่ค้าวางแผงขายสินค้าเพิ่มเติมในพื้นที่ของเทศบาลนครหาดใหญ่โดยพลการ เมื่อจำเลยเก็บเงินค่าวางแผงจากพ่อค้า แม่ค้าตาม
จำนวนแผงที่วางขายสินค้าในพื้นที่ของเทศบาลนครหาดใหญ่ตามความเป็นจริงแล้ว จำเลยนำส่งเงินให้แก่เทศบาลนครหาดใหญ่
เป็นจำนวนตามแผงที่พ่อค้าแม่ค้าเช่าจากเทศบาลนครหาดใหญ่ แต่ไม่นำส่งเงินที่เรียกเก็บเกินจากพ่อค้าแม่ค้าให้แก่เทศบาลนคร
หาดใหญ่ รวมเป็นเงินจำนวน 136,755 บาท ต่อมาจำเลยนำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระแก่เทศบาลนครหาดใหญ่ สำหรับความผิด
ฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ฐานปลอมเอกสารราชการและใช้เอกสารปลอมศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ไม่อุทธรณ์
จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า เทศบาลนครหาดใหญ่เป็นผู้เสียหายหรือไม่ เห็นว่า จำเลยเป็นลูกจ้างประจำ
ของเทศบาลนครหาดใหญ่ มีหน้าที่เก็บเงินค่าธรรมเนียมตั้งแผงลอยขายอาหาร ทำสัญญาเช่าโต๊ะวางขายของและเก็บเงินค่าเช่า
โต๊ะประจำเดือน ทั้งจัดทำใบนำส่งเงินให้เจ้าหน้าที่รับเงินเป็นประจำทุกวัน การที่จำเลยเรียกเก็บเงินค่าวางแผงขายของจากพ่อค้า
แม่ค้าผู้เช่าแผงขายสินค้าจากเทศบาลนครหาดใหญ่เกินกว่าจำนวนแผงขายสินค้าที่ได้เช่าจากเทศบาลนครหาดใหญ่ โดยพ่อค้า
แม่ค้าวางแผงขายสินค้าเพิ่มเติมในพื้นที่ของเทศบาลนครหาดใหญ่โดยพลการ เมื่อจำเลยเก็บเงินค่าวางแผงจากพ่อค้าแม่ค้าตาม
จำนวนแผงที่วางขายสินค้าในพื้นที่ของเทศบาลนครหาดใหญ่ทั้งที่เช่าจากเทศบาลนครหาดใหญ่และไม่ได้เช่าจากเทศบาลนคร
หาดใหญ่ตามความเป็นจริงแล้ว จำเลยนำส่งเงินให้แก่เทศบาลนครหาดใหญ่เป็นจำนวนตามแผงที่พ่อค้าแม่ค้าเช่าจากเทศบาล
นครหาดใหญ่ แต่ไม่นำส่งเงินที่เรียกเก็บเกินจากพ่อค้าแม่ค้าให้แก่เทศบาลนครหาดใหญ่ โดยจำเลยระบุจำนวนเงินลงในต้นฉบับ
ใบเสร็จรับเงินตามจำนวนแผงวางขายสินค้าที่พ่อค้าแม่ค้าวางแผงขายสินค้า แต่ระบุจำนวนเงินลงในสำเนาใบเสร็จรับเงินตาม
จำนวนแผงที่พ่อค้าแม่ค้าเช่าจากเทศบาลนครหาดใหญ่ ถือว่าพ่อค้าแม่ค้าที่วางแผงเกินประสงค์จะจ่ายเงินตามจำนวนที่วางแผง
เกินให้แก่เทศบาลนครหาดใหญ่แล้ว เมื่อจำเลยรับเงินไว้ต้องถือว่ารับแทนเทศบาลนครหาดใหญ่ การที่จำเลยเบียดบังเงินดังกล่าว
แล้วไม่นำเงินส่งแก่เทศบาลนครหาดใหญ่ ย่อมเป็นการยักยอกเงินของเทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลนครหาดใหญ่จึงเป็นผู้เสีย
หายและมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานยักยอกได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง นอกจากนี้ จำเลยนำเงินดังกล่าว
ไปใช้เป็นส่วนตัว จำเลยจึงมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษามานั้น ศาลฎีกา
ไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น
เนื่องจากจำเลยอุทธรณ์ปัญหาเรื่องอายุความด้วย ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 9 ยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหานี้ ศาลฎีกาเห็นสมควร
วินิจฉัยปัญหานี้ไปเสียทีเดียว โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยอีก ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า นางสุปรียารู้เรื่อง
การกระทำความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดก่อนวันที่ 2 เมษายน 2542 แต่ผู้เสียหายไปร้องทุกข์วันที่ 5 กรกฎาคม 2542 คดีจึง
ขาดอายุความนั้น เห็นว่า ผู้เสียหายมีนายกเทศมนตรีเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย การที่นางสุ
ปรียา ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้อันเป็นเจ้าหน้าที่ระดับล่างของผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดจะถือว่า
ผู้เสียหายรู้ด้วยหาได้ไม่ เมื่อนายกเทศบาลนครหาดใหญ่มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2542 และ
คณะกรรมการสอบสวนได้ทำการตรวจสอบและทำบันทึกสรุปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยเมื่อวันที่ 28
พฤษภาคม 2542 และผู้เสียหายร้องทุกข์เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2542 ยังไม่เกิน 3 เดือน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

deka.supremecourt.or.th/printing/deka# 2/3
4/3/67 01:54 15558/2555

(พฤษภา พนมยันตร์-อาวุธ ปั้นปรีชา-อธิป จิตต์สำเริง)

ศาลจังหวัดสงขลา - นายอภัยรัตน์ ศรีราม


ศาลอุทธรณ์ภาค 9 - นายจิรพงษ์ ทัศน์เอี่ยม

แหล่งที่มา กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

แผนก

หมายเลขคดีแดงศาลชั้นต้น อ604/2550

หมายเหตุ

deka.supremecourt.or.th/printing/deka# 3/3

You might also like