Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 18

รูปแบบการเขียนรายงานสหกิจศึกษาฉบับสมบูรณ์

หน่วยงานสหกิจศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
การเขียนรายงานสหกิจศึกษาฉบับสมบูรณ์
รายงานสหกิ จ ศึ ก ษาฉบั บ สมบู ร ณ์ ป ระกอบด้ ว ย 3 ส่ ว น คือ ส่ ว นนํ า ส่ ว นเนื้ อ หา และ
ส่วนอ้างอิง ดังนี้
1. ส่วนนํา ประกอบด้วย
1) สันปก (พิมพ์ชื่อโครงงานสหกิจศึกษา ปีการศึกษา 255_)
2) ปกนอก (ปกนอกด้านหน้าใช้ปกและเข้าเล่มเหมือนวิชาโครงงานทางวิศวกรรม/Project)
3) กระดาษรองปก (ใช้ กระดาษ A4 สีขาว )
4) ปกใน (รายละเอียดเหมือนปกนอก)
5) บทคัดย่อภาษาไทย
6) บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
7) กิตติกรรมประกาศ
8) สารบัญ
9) สารบัญตาราง (ถ้ามี)
10) สารบัญภาพ หรือสารบัญรูป (ถ้ามี)
2. ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย
บทที่ 1 บทนํา
1.1 ความเป็นมาและความสําคัญ
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.3 ขอบเขตของการวิจัย
1.4 วิธีดําเนินการวิจัย
1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง (หลักตามประเด็นให้ครอบคลุมเรื่องที่วิจัย)
2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีดําเนินการวิจัย
3.1
3.2
บทที่ 4 ผลการวิจัย
4.1
4.2
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ
5.1
5.2
หมายเหตุ ชื่อหัวข้อและจํานวนหัวข้อสามารถปรับให้สอดคล้องกับงานวิจัยได้ตามความเหมาะสม
3. ส่วนอ้างอิง ประกอบด้วย
1) เอกสารอ้างอิง
2) ภาคผนวก
3) กระดาษรองปกหลัง (ใช้กระดาษ A4 สีขาว)
4) ปกหลัง (กระดาษชนิดเดียวกับปกหน้าสีพื้น)
การพิมพ์รายงาน
1. กระดาษที่ใช้พิมพ์
กระดาษที่ใช้พิมพ์เนื้อหาเป็นกระดาษสีขาวไม่มีบรรทัด ขนาด A4 (กว้าง 210 มม. ยาว 297 มม.)
ชนิด 70 หรือ 80 แกรม พิมพ์ด้วยหมึกสีดํา (กรณีมีภาพสามารถใช้ภาพสีประกอบได้) และใช้เพียงหน้า
เดียว
2. การเว้นระยะห่างจากริมกระดาษ
- ระยะห่างจากด้านซ้าย 3 ซม. (1.5 นิ้ว)
- ระยะห่างจากด้านขวา 2-2.54 ซม. (1 นิ้ว)
- ระยะห่างจากด้านบนและด้านล่าง 2.54 ซม. (1 นิ้ว)
3. ตัวอักษรที่ใช้พิมพ์
ตัวอักษรที่พิมพ์รายงานต้องเป็นชนิดเดียวกันตลอดทั้งเล่ม โดยเลือกใช้ดังนี้ TH SarabunPSK หรือ TH
Sarabun New หรือ Angsana New/UPC หรือ Browallia New/UPC หรือ Cordia New/UPC
4. การลําดับหน้า
ส่วนนํา (ตั้งแต่บทคัดย่อถึงสารบัญภาพ (ถ้ามี)) ให้ใช้ตัวเลขโรมัน I II III IV V แสดงเลขหน้า โดย
พิมพ์ไว้ตรงกลางส่วนล่างของหน้า
ส่วนเนื้อหา ให้ใช้ตัวเลขอารบิค 1 2 3 4 5 แสดงเลขหน้าโดยพิมพ์ไว้ตรงกลางหน้าห่างจาก
ขอบกระดาษด้านบน 1.27 ซม. (0.5 นิ้ว) โดยไม่ใส่เลขหน้าในหน้าแรกของบท
5. การพิมพ์ส่วนต่างๆของงานวิจัย
ปกนอก ใช้กระดาษปกแข็ง ขนาด A4 มีรายละเอียดดังนี้
1) ตราสัญลักษณ์สถาบันฯ จัดกลางหน้ากระดาษ
2) รายงานสหกิจศึกษาฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ข้างล่างตราสัญลักษณ์สถาบันฯ 1 บรรทัด (อักษรขนาด
20) หรือตามความเหมาะสม ใช้ตัวอักษรขนาด 22 ตัวเข้ม และจัดกลางหน้ากระดาษ
3) ชื่อเรื่องงานวิจัยภาษาไทย พิมพ์ข้างล่างคําว่ารายงานสหกิจศึกษาฉบับสมบูรณ์ 1 บรรทัด (อักษร
ขนาด 20) หรือตามความเหมาะสม ใช้ตัวอักษรขนาด 20 ตัวเข้ม และจัดกลางหน้ากระดาษ
4) ชื่อสกุลนักศึกษา พิมพ์ข้างล่างชื่อเรื่องงานวิจัยภาษาไทย 3 บรรทัด (อักษรขนาด 20) หรือตาม
ความเหมาะสม ใช้ตัวอักษรขนาด 18 ตัวเข้ม และจัดกลางหน้ากระดาษ
5) ด้านล่างปก ใช้ตัวอักษรขนาด 18 ตัวเข้ม และจัดกลางหน้ากระดาษ ระบุคําว่า
สาขาวิชา..........................................
คณะวิศวกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ปีการศึกษา 25...
ปกใน ใช้กระดาษกระดาษสีขาวหรือสีพื้น ขนาด A4 มีรายละเอียดเหมือนปกนอก
กิตติกรรมประกาศ ใช้ตัวอักษรขนาด 18 ตัวเข้ม และจัดกลางหน้ากระดาษ
บทคัดย่อ ทั้งบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีรายละเอียดดังนี้
ชื่อโครงงานสหกิจศึกษา ชื่อ-สกุล นักศึกษา ชื่อ-สกุล อาจารย์นิเทศ ชื่อ-สกุล ผู้นิเทศงาน และ
ชื่อสถานประกอบการ ให้ใช้ตัวอักษรขนาด 16 ตัวเข้ม และจัดชิดริมซ้าย
บทคัดย่อ ใช้ตัวอักษรขนาด 18 ตัวเข้ม และจัดกลางหน้ากระดาษ
คําสําคัญ คําว่า “คําสําคัญ” ใช้ตัวอักษรขนาด 14 ตัวเข้ม และจัดชิดริมซ้าย มีจํานวนคํา 3-8 คํา
และใช้ตัวอักษรขนาด 16 ธรรมดา
ABSTRACT ใช้ตัวอักษรขนาด 18 ตัวเข้ม และจัดกลางหน้ากระดาษ
Keywords คําว่า “Keywords” ใช้ตัวอักษรขนาด 14 ตัวเข้ม และจัดชิดริมซ้าย มีจํานวนคํา 3-8 คํา
และใช้ตัวอักษรขนาด 16 ธรรมดา
สารบัญ ใช้ตัวอักษรขนาด 18 ตัวเข้ม และจัดกลางหน้ากระดาษ จากนั้นเว้น 1 บรรทัด พิมพ์คําว่า “บท
ที่” ไว้ด้านซ้าย และคําว่า “หน้า” ไว้ด้านขวา
สารบัญตาราง ใช้ตัวอักษรขนาด 18 ตัวเข้ม และจัดกลางหน้ากระดาษ จากนั้นเว้น 1 บรรทัด พิมพ์คํา
ว่า “ตารางที่” ไว้ด้านซ้าย และคําว่า “หน้า” ไว้ด้านขวา และเรียงลําดับตามบท เช่น ตารางที่ 1.1,
1.2, 1.3,… ในบทที่ 1 และตารางที่ 2.1, 2.2, 2.3… ในบทที่ 2 ถ้ามีตารางต่อกัน 2 หน้า ให้ใส่ (ต่อ) ไว้
ด้านบนของตารางที่นํามาต่อ
สารบัญภาพ ใช้ตัวอักษรขนาด 18 ตัวเข้ม และจัดกลางหน้ากระดาษ จากนั้นเว้น 1 บรรทัด พิมพ์คําว่า
“ภาพที่” ไว้ด้านซ้าย และคําว่า “หน้า” ไว้ด้านขวา และเรียงลําดับตามบท เช่น ภาพที่ 1.1,
1.2,1.3,...ในบทที่ 1 และภาพที่ 2.1, 2.2, 2.3…. ในบทที่ 2
คําอธิบายสัญลักษณ์และคําย่อที่ใช้ในการวิจัย (List of Abbreviations)
เนื้อความ ชื่อบทให้ใช้ตัวอักษรขนาด 18 ตัวเข้ม และจัดกลางหน้ากระดาษ ส่วนเนื้อหาให้ใส่หัวข้อ
เรียงตามชื่อบทใช้ตัวอักษรขนาด 16 ธรรมดา
บรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิง ให้ใช้ “บรรณานุกรม” เมื่ออ้างอิงแบบแทรกปนระบบนาม-ปี
และใช้ “เอกสารอ้างอิง” เมื่ออ้างอิงแบบแทรกปนระบบลําดับหมายเลข ทั้งนี้สามารถใช้แบบใดก็ได้แต่
ให้เป็นแบบเดียวกัน
ภาคผนวก เป็นส่วนที่ทําให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาของงานวิจัยได้ละเอียดชัดเจนยิ่งขึ้น หรือได้รับความรู้
เพิ่มขึ้นจากเนื้อเรื่อง เช่น แบบสัมภาษณ์ ข้อมูลการทดลอง วิธีการคํานวณ การเขียนโปรแกรม
คอมพิวเตอร์ ภาคผนวกอาจมีมากกว่า 1 โดยกําหนดเป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข หรือ
ภาคผนวก ค เป็นต้น
หมายเหตุ ข้อมูลที่จะนํามาลงในรูปเล่มต้องได้รับการยินยอมจากสถานประกอบการ หากข้อมูลใดเป็น
ความลับบริษัท อาจใช้ตัวแปร เช่น A, B, C,…. แทนได้
6. การจัดวางตาราง
เว้น 1 บรรทัด จากด้านบน จากนั้นพิมพ์ลําดับและชื่อของตาราง รวมทั้งตัวตาราง จัดวางตารางให้มี
ความสัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง
ลําดับและชื่อของตาราง พิมพ์ไว้เหนือตัวตาราง
พิมพ์คําว่า “ตารางที่” เว้น 1 ระยะตัวอักษร ตามด้วย “หมายเลขบท” ตามด้วย “เครื่องหมาย
มหัพภาค (.)” และตามด้วย “ลําดับของตาราง” โดยให้ใช้ตัวอักษรขนาด 16 ตัวเข้ม และจัดชิดซ้าย
จากนั้นให้เว้น 1 ระยะตัวอักษร พิมพ์ชื่อตาราง โดยให้ใช้ตัวอักษรขนาด 16 ธรรมดา

ตัวอย่างการจัดวางตาราง
ตารางที่ 1.1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง......

7. การจัดวางภาพ
เว้น 1 บรรทัด จากด้านบน จากนั้นพิมพ์ภาพ รวมทั้งลําดับและชื่อของภาพ จัดวางภาพให้มี
ความสัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง
ภาพ จัดวางภาพกลางหน้าของกระดาษ
ลําดับและชื่อของภาพ พิมพ์ไว้ใต้ภาพ
พิมพ์คําว่า “ภาพที่” เว้น 1 ระยะตัวอักษร ตามด้วย “หมายเลขบท” ตามด้วย “เครื่องหมาย
มหัพภาค (.)” และตามด้วย “ลําดับของภาพ” โดยให้ใช้ตัวอักษรขนาด 16 ตัวเข้ม และจัดกลาง
หน้ากระดาษ จากนั้นให้เว้น 1 ระยะตัวอักษร พิมพ์ชื่อภาพ โดยให้ใช้ตัวอักษรขนาด 16 ธรรมดา
กรณีอ้างอิงภาพจากแหล่งอื่น ให้พิมพ์คําว่า “ที่มา” เว้น 1 ระยะตัวอักษร ตามด้วย “เครื่องหมาย
ทวิภาค (:)” โดยให้ใช้ตัวอักษรขนาด 16 ตัวเข้มและจัดกลางหน้ากระดาษ จากนั้นให้เว้น 1 ระยะ
ตัวอักษร ตามด้วยการอ้างอิงที่มาของภาพ ดังนี้ “ชื่อ-นามสกุลของผู้แต่ง” ตามด้วย “เครื่องหมาย
จุลภาค (,)” เว้น 1 ระยะตัวอักษร ตามด้วย “ปีที่พิมพ์“ เว้น 1 ระยะตัวอักษร ตามด้วย “เครื่องหมาย
ทวิ ภาพ (:)” เว้ น 1 ระยะตั วอั กษร และตามด้ วย “หมายเลขหน้ า” โดยให้ ใ ช้ ตั วอั กษรขนาด 16
ธรรมดา

ตัวอย่างการจัดวางภาพ

ภาพที่ 1.1 ความเข้มของการเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ของรอยต่อวิวิธพันธุ์... [ref.]


2.54 ซม. 2.54 ซม.
ตัวอย่างปกนอก
3 ซม. 2.54 ซม.

ตัวอักษรขนาด 22 ตัวเข้ม จัดกลาง

เว้น 1 บรรทัด (ขนาด 20)


ตัวอักษรขนาด 20 ตัวเข้ม จัดกลาง
รายงานสหกิจศึกษาฉบับสมบูรณ์
เว้น 1 บรรทัด (ขนาด 20)
การประดิษฐ์ขั้วไฟฟ้าด้านหลังชนิดใหม่ที่เหมาะสมกับเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบาง
CdS/CdTe
Fabrication of Novel Back Contact Suitable for CdS/CdTe Thin Film
Solar Cells
ตัวอักษรขนาด 18 ตัวเข้ม จัดกลาง
เว้น 3 บรรทัด (ขนาด 20) หรือตามความเหมาะสม

นายฐิตินัย แก้วแดง

ตัวอักษรขนาด 18 ตัวเข้ม จัดกลาง

ภาควิชา.............................................
คณะวิศวกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ปีการศึกษา 25...

3 ซม. 2.54 ซม.

2.54 ซม. 2.54 ซม.


2.54 ซม. 2.54 ซม.
ตัวอย่างปกใน
3 ซม. (เหมือนปกนอก) 2.54 ซม.

ตัวอักษรขนาด 22 ตัวเข้ม จัดกลาง

เว้น 1 บรรทัด (ขนาด 20)


ตัวอักษรขนาด 20 ตัวเข้ม จัดกลาง
รายงานสหกิจศึกษาฉบับสมบูรณ์
เว้น 1 บรรทัด (ขนาด 20)
การประดิษฐ์ขั้วไฟฟ้าด้านหลังชนิดใหม่ที่เหมาะสมกับเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบาง
CdS/CdTe
Fabrication of Novel Back Contact Suitable for CdS/CdTe Thin Film
Solar Cells
ตัวอักษรขนาด 18 ตัวเข้ม จัดกลาง
เว้น 3 บรรทัด (ขนาด 20) หรือตามความเหมาะสม

นายฐิตินัย แก้วแดง

ตัวอักษรขนาด 18 ตัวเข้ม จัดกลาง

ภาควิชา.............................................
คณะวิศวกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ปีการศึกษา 25...

3 ซม. 2.54 ซม.

2.54 ซม. 2.54 ซม.


ตัวอย่างสารบัญ

สารบัญ ใช้อักษรขนาด 18 ตัวเข้ม จัดกลาง


(เว้น 1 บรรทัดพิมพ์)
ใช้อักษรขนาด 16 ตัวเข้ม จัดชิดขวา หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย ก หรือ I
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ข หรือ II
กิตติกรรมประกาศ ค หรือ III
สารบัญ ง หรือ I
สารบัญตาราง จ หรือ I
สารบัญภาพ ฉ หรือ I
บทที่/1//บทนํา 1
////////1.1//ความเป็นมาและความสําคัญ 1
////////1.2//วัตถุประสงค์ของการวิจัย 4
////////1.3//ขอบเขตของการวิจัย 5
////////1.4//วิธีดําเนินการวิจัย 5
////////1.5//ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 6
บทที่/2//ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกีย่ วข้อง
////////2.1//ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
////////2.2//งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่/3//วิธีดาํ เนินการวิจัย (ชื่อหัวข้อปรับให้เหมาะสมกับงานวิจัย ทางวิทยาศาสตร์/สังคมศาสตร์
////////3.1//
////////3.2//
บทที่/4//ผลการวิจัย
////////4.1//
////////4.2//
สารบัญ (ต่อ) ใช้อักษรขนาด 18 ตัวเข้ม จัดกลาง
(เว้น 1 บรรทัดพิมพ์)
หน้า
บทที่/5//สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ
////////5.1//สรุปผลการวิจยั
////////5.2//ข้อเสนอแนะ

เอกสารอ้างอิง
ภาคผนวก
////////ภาคผนวก//ก
////////ภาคผนวก//ข

หมายเหตุ
1. ชื่อหัวข้อและจํานวนบทสามารถปรับให้สอดคล้องกับงานวิจัยได้ตามความเหมาะสมของงานวิจัย
2. เครือ่ งหมาย / หมายถึง การเว้นวรรค 1 ระยะตัวอักษร
ตัวอย่างสารบัญตาราง
สารบัญตาราง ใช้อักษรขนาด 18 ตัวเข้ม จัดกลาง
(เว้น 1 บรรทัดพิมพ์)
ตารางที่ ใช้อักษรขนาด 16 ตัวเข้ม จัดชิดขวา หน้า
2.1//
2.2//
3.1//
3.2//
3.3//
4.1//
4.2//

หมายเหตุ เครื่องหมาย / หมายถึง การเว้นวรรค 1 ระยะตัวอักษร


ตัวอย่างสารบัญภาพ
สารบัญภาพ ใช้อักษรขนาด 18 ตัวเข้ม จัดกลาง
(เว้น 1 บรรทัดพิมพ์)
ภาพที่ ใช้อักษรขนาด 16 ตัวเข้ม จัดชิดขวา หน้า
2.1//
2.2//
3.1//
3.2//
3.3//
4.1//
4.2//

หมายเหตุ เครื่องหมาย / หมายถึง การเว้นวรรค 1 ระยะตัวอักษร


ตัวอย่างบทคัดย่อภาษาไทย

ชื่อโครงงานสหกิจศึกษา//
ชื่อ-สกุล นักศึกษา// หัวข้อ - ใช้อกั ษรขนาด 16 ตัวเข้ม
คณะ วิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชา// รายละเอียด - ใช้อักษรขนาด 16 ธรรมดา
ชื่อ-สกุล อาจารย์นิเทศ//
ชื่อ-สกุล ผูน้ ิเทศงาน//
ชื่อสถานประกอบการ//
(เว้น 1 บรรทัดพิมพ์)
บทคัดย่อ ใช้อักษรขนาด 18 ตัวเข้ม จัดกลาง
(เว้น 1 บรรทัดพิมพ์)
////////เริ่มพิมพ์ข้อความตัวอักษรตัวที่ 9 (ใช้อักษรขนาด 16 ธรรมดา มีความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ)

(เว้น 1 บรรทัดพิมพ์)
คําสําคัญ : ตัวอักษรขนาด 14 ธรรมดา จํานวน 3-8 คํา

หมายเหตุ เครื่องหมาย / หมายถึง การเว้นวรรค 1 ระยะตัวอักษร


ตัวอย่างบทคัดย่อภาษาอังกฤษ

Co-operative Title:
Student Intern Name: หัวข้อ - ใช้อกั ษรขนาด 16 ตัวเข้ม
Faculty: Engineering Department: รายละเอียด - ใช้อักษรขนาด 16 ธรรมดา
Advisor Name:
Mentor Name:
Company :
(เว้น 1 บรรทัดพิมพ์)
ABSTRACT ใช้อักษรขนาด 18 ตัวเข้ม จัดกลาง
(เว้น 1 บรรทัดพิมพ์)
////////เริ่มพิมพ์ข้อความตัวอักษรตัวที่ 9 (ใช้อักษรขนาด 16 ธรรมดา มีความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ)

(เว้น 1 บรรทัดพิมพ์)
Keywords : ตัวอักษรขนาด 14 ธรรมดา จํานวน 3-8 คํา

หมายเหตุ เครื่องหมาย / หมายถึง การเว้นวรรค 1 ระยะตัวอักษร


ตัวอย่างกิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศ
(เว้น 1 บรรทัดพิมพ์)
////////เริ่มพิมพ์ข้อความตัวอักษรตัวที่ 9 (ใช้อักษรขนาด 16 ธรรมดา มีความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ)
ใช้แสดงการขอบคุณผูท้ ชี่ ่วยเหลือหรือให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการทําวิจัย

(เว้น 1 บรรทัดพิมพ์)
(เว้น 1 บรรทัดพิมพ์)
(พิมพ์ชื่อนักศึกษา)

หมายเหตุ เครื่องหมาย / หมายถึง การเว้นวรรค 1 ระยะตัวอักษร


ตัวอย่างการพิมพ์ส่วนประกอบของเนือ้ เรื่องของรายงานวิจัย
บทที่ 1
ใช้อักษรขนาด 18 ตัวเข้ม จัดกลาง
บทนํา
(เว้น 1 บรรทัดพิมพ์)
////////เริ่มพิมพ์ข้อความตัวอักษรตัวที่ 9 (ใช้อักษรขนาด 16 ธรรมดา)

////////1.1 หัวข้อใหญ่ของบทที่ 1 (ใช้อักษรขนาด 16 ตัวเข้ม)


/////////////ข้อความ (ใช้อกั ษรขนาด 16 ธรรมดา

//////////////1.1.1 หัวข้อย่อย (ใช้อักษรขนาด 16 ธรรมดา)


///////////////////ข้อความ (ใช้อักษรขนาด 16 ธรรมดา

////////////////////1.1.1.1หัวข้อย่อยของ 1.1.1 (ใช้อักษรขนาด 16 ธรรมดา)


//////////////////////////////ข้อความ (ใช้อักษรขนาด 16 ธรรมดา

///////////////////////////////1) หัวข้อย่อยของ 1.1.1.1 (ใช้อักษรขนาด 16 ธรรมดา)


///////////////////////////////////ข้อความ(ใช้อักษรขนาด 16 ธรรมดา

หมายเหตุ
1. ไม่จําเป็นต้องแบ่งหัวข้อย่อยให้เหมือนกันทุกบท และโดยทั่วไปบทสรุปจะไม่มหี ัวข้อย่อย
2. เครือ่ งหมาย / หมายถึง การเว้นวรรค 1 ระยะตัวอักษร
ตัวอย่างเอกสารอ้างอิง

เอกสารอ้างอิง ใช้อักษรขนาด 18 ตัวเข้ม จัดกลาง


(เว้น 1 บรรทัดพิมพ์)
ให้ใช้ “บรรณานุกรม (Bibliography)” เมื่ออ้างอิงแบบแทรกปนระบบนาม-ปี และใช้ “เอกสารอ้างอิง
(References)” เมื่ออ้างอิงแบบแทรกปนระบบลําดับหมายเลข ทั้งนี้สามารถใช้แบบใดก็ได้แต่ให้เป็นแบบ
เดียวกัน
ตัวอย่างภาคผนวก

ภาคผนวก ใช้อักษรขนาด 22 ตัวเข้ม จัดกลาง


(เว้น 1 บรรทัดพิมพ์)
เป็นส่วนที่ทําให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาของงานวิจัยได้ละเอียดชัดเจนยิ่งขึ้น หรือได้รับความรู้เพิ่มขึ้นจากเนื้อเรื่อง
เช่น แบบสัมภาษณ์ ข้อมูลการทดลอง วิธีการคํานวณ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภาคผนวกอาจมี
มากกว่า 1 โดยกําหนดเป็นภาคผนวก ก ภาคผนวก ข หรือ ภาคผนวก ค เป็นต้น

You might also like