Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 14

ส ังคมศึกษา @ คอร์สล่วงหน้า ม.

5 “ปัญญาหล ักแหลม สมองเฉียบคม” (สงวนลิขสิทธิต


� าม
กฎหมาย)
หองเรียนติวเขม U EASY PASS วิชาสังคมศึกษา อาจารย ดร.กนก จันทรา

การอานแผนที่ ภาพถายทางอากาศและภาพจากดาวเทียม

แผนที่ (map) หมายถึง การเขียนหรือแสดงลักษณะของผิวโลกลงบนพื้นราบดวยการยอสวนให เล็กลงตามขนาดที่ตองการ


แผนที่เปรียบเสมือนภาพถายของพื้นผิวโลกที่ถายจากอวกาศ แลวยอสวน หรือจำลองจากพื้นที่จริงของผิวโลกที่มีขนาดใหญมาก
มาเปนแผนที่ขนาดเล็ก จึงจะสะดวกที่จะนำติดตัวไปที่ใดก็ได ทำใหสามารถเขาใจสิ่งที่ปรากฏในพื้นที่จริงไดงายขึ้น

ชนิดของแผนที่ แบงไดหลายชนิด ชนิดที่สำคัญไดแก


1. แผนที่กายภาพ (physical map) หมายถึง แผนที่ซึ่งแสดงลักษณะทางกายภาพของ
พื้นที่แหงใดแหงหนึ่ง แบงเปน 3 ชนิด ไดแก
1. แผนที่ภูมิประเทศ (topographic map) แผนที่ชนิดนี้มีประโยชนมากที่สุด เปนแผนที่มูลฐาน (base
map) สำหรับศึกษาเรื่องตาง ๆ ไดเปนอยางดี
2. แผนที่อุทกศาสตร (hydrological map) หรือแผนที่เดินเรือ (nautical map) ใชแสดงขอมูลเกี่ยวกับ
พื้นน้ำ ไดแก ความลึก กระแสน้ำ ลักษณะทองน้ำ เกาะหินโสโครก ฯลฯ
3. แผนที่ลมฟาอากาศ (weather map) หรือแผนที่พยากรณอากาศ (synoptic map) จะแสดงขอมูล
เกี่ยวกับ อุณหภูมิ ความกดอากาศ ลม เมฆ ฝน หมอก ฯลฯ
2. แผนที่รัฐกิจ (political map) หมายถึง แผนที่แสดงลักษณะทางการเมือง การปกครองของรัฐตาง ๆ เชน
ประเทศ เมือง
3. แผนที่ เฉพาะเรื่ อ ง (thematic map) หมายถึ ง แผนที่ ที่ แ สดงรายละเอี ย ดเฉพาะเรื่ อ ง โดยมุ งแสดง
คุณลักษณะ และปริมาณ เชน แผนที่ลักษณะทางธรณีวิทยา แผนที่ชนิดของปาไม แผนที่ชนิดของดิน แผนที่แสดงปริมาณฝน
แผนที่แสดงการกระจายประชากร ฯลฯ

องคประกอบของแผนที่

1. ทิศ (direction)

2. พิกัดภูมิศาสตร (geographic coordinate) คือ การแสดงตำแหนงที่ตั้งของจุดตาง ๆ บนผิวโลก เปนคา


ละติจูดและลองจิจูด
ละติจูด (latitude) คือ ระยะทางเชิงมุมบนพื้นผิวโลกในแนวทิศเหนือ – ใต โดยถือเอาเปนศูนยสูตรเปน
จุดเริ่มตน เสนศูนยสูตรจะมีคาละติจูดเปน 0 องศา ไปทางเหนือ 90 องศา ไปทางใต 90 องศา
ลองจิจูด (longitude) คือ ระยะทางเชิงมุมบนพื้นผิวโลกในแนวทิศตะวันตก–ตะวันออก โดยถือ เอาเสนเม
ริเดียนที่ลากผานตำบลกรีนิชใกลนครลอนดอน ประเทศอังกฤษ เปนจุดเริ่มตน เสนเมริเดียนกรีนิชเปนลองจิจูด 0 องศา
ไปทางตะวันออก 180 องศา ไปทางตะวันตก 180 องศา

3. เสนโครงแผนที่ (map projection) เสนโครงแผนที่ คื อ ระบบการเขีย นเสนขนาน ละติจู ดและเสนเม


ริเดียนลองจิจูดลงในแผนที่ เพื่อใหแผนที่มีคุณสมบัติตามตองการ
เสนขนาน (parallels) คือ เสนสมมุติที่ลากขนานกับเสนศูนยสูตรไปทางเหนือ 90 องศา และทางใต 90
องศา โดยลากผานคาของมุมละติจูดเดียวกันไปรอบโลก
เสนขนานละติจูด เปนเสนที่บอกคาละติจูดของตำบลสถานที่ตาง ๆ เสนขนานละติจูดแตละเสนมีลักษณะเปน
วงกลม ขนานกันระหวางเสนศูนยสูตรกับขั้วโลกทั้งสอง หางกันองศาละ 111 กิโลเมตร หรือ 69 ไมล

สถาบ ันวิชาการสูงส่ง High score 1


www.100highscore.com
ส ังคมศึกษา @ คอร์สล่วงหน้า ม.5 “ปัญญาหล ักแหลม สมองเฉียบคม” (สงวนลิขสิทธิต
� าม
กฎหมาย)
หองเรียนติวเขม U EASY PASS วิชาสังคมศึกษา อาจารย ดร.กนก จันทรา

เสนเมริเดียน (meridians) คือ เสนสมมุติที่ลากเชื่อมขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใตเปนครึ่งวงกลม โดยผานคา


ของมุมลองจิจูดเดียวกัน เสนเมริเดียนลองจิจูด เปนเสนที่บอกคาลองจิจูดของตำบล สถานที่ตางๆ เสนเมริเดียนลองจิจูดแตละ
เสนมีลักษณะเปนครึ่งวงกลม ลากจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต ยาวเทากันหมดทุกเสน มีระยะหางกันมากที่สุด เมื่อตัดกับ
เสนศูนยสูตร คือ 111 กิโลเมตร หรือ 69 ไมล

สถาบ ันวิชาการสูงส่ง High score 2


www.100highscore.com
ส ังคมศึกษา @ คอร์สล่วงหน้า ม.5 “ปัญญาหล ักแหลม สมองเฉียบคม” (สงวนลิขสิทธิต
� าม
กฎหมาย)
หองเรียนติวเขม U EASY PASS วิชาสังคมศึกษา อาจารย ดร.กนก จันทรา

เสนเมริเดียนที่สำคัญ
1. เสนเมริเดียนแรก (prime meridian) คือ เสนเมริเดียนเริ่มแรกที่ถือเปนหลัก ไดแก เสนศูนยองศา
ซึ่งลากผานหอดูดาวที่ตำบลกรีนิช กรุงลอนดอน (ตามขอตกลงระหวางชาติ ปพ.ศ. 2427)
2. เสนเขตวัน (International Date Line) คือ เสน เมริเดียนที่ 180 องศา ซึ่งตรงขามกับเสนเมริเดียนแรก
แตเสนนี้จะไมตรงตามแนว 180 องศาทีเดียว เพราะเสนนี้จะตองลากผานพื้นน้ำเทานั้น ถาขามเสนนี้ไปทางซีกโลกตะวันออก
จะตองเพิ่ม 1 วัน แตไปทางซีกโลกตะวันตกตองลด 1 วัน

เสนเมริเดียนกับเวลา
1. เวลามาตรฐาน (standard time) คือ เวลาที่คิดตามเสนเมริเดียน โดยกำหนดให เสนเมริเดียนทุก 15
องศา เวลาจะตางกัน 1 ชั่วโมง เสนเมริเดียนแตละ 15 องศา จะเปนแนวแบงเขตเวลา (time zone) ขางละ
1
7 องศา แตเวลาของโลกมี 24 เขต และเมริเดียนตอไปนี้จะเป นเสนกลางเขต คือ เมริเดียนที่ 15, 30, 45,
2
60, 75, 90, 105, 120, 135, 150, 165, 180 องศา ทั้งตะวันออกและตะวันตก
2. หลักเกณฑการแบงเวลามาตรฐาน
1. ใหแบงดินแดนตาง ๆ ของโลกออกเปนเขตเวลา มีทั้งหมด 24 เขต แตละเขตใชเวลามาตรฐาน
แตกตางกันหนึ่งชั่วโมง
2. แตละเขตเวลามีความกวางทางลองจิจูด 15 องศา โดยใชเสนเมริเดียนเหลานี้เปนแนวกึ่ง กลางของ
แตละเขต
3. เวลามาตรฐานที่ใชกันในแตละเขตเวลาใหเทียบความแตกตางเร็วหรือชาโดยใชเวลาปานกลางกรีนิช
เปนเกณฑ (เวลาปานกลางกรีนิช คือ เวลามาตรฐานของเขตเวลาที่มีเสนเมริเดียนที่เปนแนว
กึ่งกลาง)
3. เวลาฤดูรอนในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา
เวลาฤดู ร อ น หมายถึ ง การเลื่ อ นเวลาให เร็ วขึ้ น กว าเดิ ม หนึ่ งชั่ ว โมงสำหรับ ในประเทศอั งกฤษ และ
สหรัฐอเมริกา เฉพาะระหวางฤดูรอนเทานั้น
4. เวลาทองถิ่น (local time) หรือ place mean time (P.M.T.) คือ เวลาที่เปนจริงตามความแตกตางของ
เมริเดียนแตละองศา โดยจะตางกัน 4 นาทีตอ 1 องศา
5. เวลามาตรฐานของประเทศไทย ใชเวลาตามแนวเมริเดียนที่ 105 องศาตะวันออก (ประกาศใช พ.ศ.
2463) ซึ่งผานจังหวัดอุบลราชธานี
เขตเวลา (time zone) เดียวกัน(กรุงเทพฯ จะอยูที่ลองจิจูด 100 องศาตะวันออก) เวลาของประเทศไทย
จะเร็วกวาเวลาที่กรีนิช 7 ชั่วโมงพอดี และเร็วกวานิวยอรก 12 ชั่วโมง ชากวาจีน 1 ชั่วโมง ชากวาญี่ปุน 2
ชั่วโมง
6. เสนเวลามาตรฐานกรีนิช (Greennich Mean Time หรือ G.M.T.) คือ เสนเมริเดียนที่ศูนยองศา ซึ่ง
ใชเปนหลักเทียบเวลาทั่วโลก
7. โครโนมิเตอร (chronometer) คือ นาิกาบอกเวลามาตรฐานกรีนิช

4. มาตราส ว นในแผนที่ (scale) คื อ การย อ ส ว นระยะทางจริ ง ๆ บนพื้ น ผิ ว โลกลงเป น ระยะทางบน


แผนกระดาษ มาตราสวนมีทั้งหมด 3 แบบ ดังนี้
1. มาตราสวนเปนตัวเลขหรือมาตราสวนเศษสวน คือ มาตราสวนที่บอกไวเปนตัวเลข เช น 1 : 50,000
1
หรือ
50 ,000
2. มาตราสวนเสนหรือมาตราสวนกราฟก คือ มาตราสวนที่แสดงไวเปนเสนหรือเปนแทง
3. มาตราสวนคำพูด คือ มาตราสวนที่บอกไวเปนคำพูด เชน 1 ซ.ม. ตอ 5 ก.ม.
สถาบ ันวิชาการสูงส่ง High score 3
www.100highscore.com
ส ังคมศึกษา @ คอร์สล่วงหน้า ม.5 “ปัญญาหล ักแหลม สมองเฉียบคม” (สงวนลิขสิทธิต
� าม
กฎหมาย)
หองเรียนติวเขม U EASY PASS วิชาสังคมศึกษา อาจารย ดร.กนก จันทรา

การวัดเนื้อที่บนแผนที่ การวัดเนื้อที่บนแผนที่อาศัยการเทียบมาตราสวนเหมือนระยะทาง แตตองคิดเปน


กำลังสองของมาตราสวนเสมอ ดังตัวอยาง เชน
มาตราสวน 1 : 50,000 ถาคิดเปนระยะทาง 1 เซนติเมตร จะเทากับ 1 กิโลเมตร
2
1
แตถาคิดเปนเนื้อที่ 1 ตารางเซนติเมตร จะเทากับ ตารางกิโลเมตร
4
มาตราสวน 1 : 100,000 ถาคิดเปนระยะทาง 1 เซนติเมตร จะเทากับ 1 กิโลเมตร
ถาคิดเปนเนื้อที่ 1 ตารางเซนติเมตร จะเทากับ 1 ตารางกิโลเมตร

มาตราสวนแผนที่ สวนมากใชระบบตัวเลขโดยใชมาตราเมตริก ไดแก ระบบเซนติเมตร ตัวอยาง เชน


มาตราสวน 1 : 100,000 หมายความวา ระยะทางในแผนที่ 1 เซนติเมตร เทากับระยะทางจริง 100,000
ซ.ม. หรือ 1 กิโลเมตร เพราะ 100,000 เซนติเมตรเทากับ 1 กิโลเมตร
ถาใชมาตราสวน 1 : 100,000 หมายความวา ระยะทางในแผนที่ 1 เซนติเมตรเท ากับ ระยะทางจริง 10
กิโลเมตร
พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง หากใชมาตราสวนแผนที่ขนาดใหญจะใหขอมูลเกี่ยวกับพื้นที่นั้นไดชัดเจนกวามาตรา
สวนขนาดเล็ก
ตัวอยาง เชน มาตราสวน 1 : 50,000 เปนมาตราสวนขนาดใหญจะใหรายละเอียดไดมากกวามาตราสวน 1
: 100,000 ซึ่งเปนมาตราสวนขนาดเล็ก
มาตราสวนตัวเลข
มาตราสวนตัวเลข

มาตราสวนกราฟก
ขนาดของมาตราสวน
พื้นทีใ่ ดพื้นหนึ่ง หากใชมาตราสวนขนาดใหญจะสามารถใหขอมูลเกี่ยวกับพื้นที่นั้นไดชัดเจนกวามาตราสวนขนาดเล็ก

มาตราสวนใหญ มาตราสวนปานกลาง มาตราสวนเล็ก


(มากกวา 1 : 250,000) (1:250,000 – 1:1,000,000) (นอยกวา 1 : 1,000,000)

สถาบ ันวิชาการสูงส่ง High score 4


www.100highscore.com
ส ังคมศึกษา @ คอร์สล่วงหน้า ม.5 “ปัญญาหล ักแหลม สมองเฉียบคม” (สงวนลิขสิทธิต
� าม
กฎหมาย)
หองเรียนติวเขม U EASY PASS วิชาสังคมศึกษา อาจารย ดร.กนก จันทรา

5. สัญลักษณในแผนที่ (symbol) แบงเปน 2 ประเภท


5.1.1 สัญลักษณทางสังคม เชน เสนแบงเขตแดน หมูบาน วัด สะพาน เขื่อน เปนตน
5.1.2 สัญลักษณทางกายภาพ เชน ภูเขา แมน้ำ ทะเล เปนตน
สัญลักษณ คือ เครื่องหมายตาง ๆ ที่แสดงเนื้อหาในแผนที่ เชน
1. สัญลักษณที่แสดงภูมิประเทศ มีหลายรูปแบบ ไดแก
การใชสีแสดงความสูงต่ำของพื้นที่ สีเขียวแทนพื้นที่ระดับต่ำ สีเหลือง สีสม
สีน้ำตาล แทนพื้นที่ระดับสูง
การใชเสนชั้นความสูง แสดงความสูงต่ำของพื้นที่
การใชเสนสีดำทึบ แทนทิวเขา
2. สัญลักษณที่แสดงขอมูลเชิงปริมาณ ไดแก ปริมาณน้ำฝน จำนวนประชากร พื้นที่
ปาไม ปริมาณแรธาตุ และพืชผลตาง ๆ ซึ่งสวนมากจะใชจุด
3. สัญลักษณที่แสดงรายละเอียดอื่น ๆ เชน ทางรถไฟ ถนน คลอง แมน้ำ ลำธาร
เขื่อน ฯลฯ ก็จะมีเครื่องหมายแตกตางกันออกไป

รี โ มตเซนซิ ง (Remote Sensing) หรื อ การ


สำรวจขอมูลระยะไกล (การรับรูระยะไกล) เปนศัพทเทคนิคที่ใชเปนครั้ง
แรกในประเทศสหรัฐอเมริกาใน พ.ศ. 2503 หมายถึง วิทยาศาสตรและ
เทคโนโลยี แ ขนงหนึ่ ง ที่ บั น ทึ ก คุ ณ ลั ก ษณะของวั ต ถุ (object) หรื อ
ปรากฏการณ (phenomena) ตางๆจากการสะทอนแสงหรือ การแผรังสี
พลังงานแม เหล็กไฟฟ า (electromagnetic energy) โดยใชเครื่องวัด /
อุปกรณบันทึกที่ติดอยูกับยานสำรวจ การใชรีโมตเซนซิ่งเริ่มแพรหลาย
นั บ ตั้ ง แต ส หรั ฐ อเมริ ก าได ส ง ดาวเที ย มสำรวจทรั พ ยากรดวงแรก
LANDSAT-1 ขึ้นใน พ.ศ. 2515

การหาคุณลักษณะของวัตถุไดจากลักษณะการสะทอนหรือ
การแผพลังงานแมเหล็กไฟฟาจากวัตถุนั้น ๆ คือ “วัตถุแตละชนิด จะมี
ลักษณะการสะทอนแสงหรือการแผรังสีที่เฉพาะตัวและแตกตางกันไป
ถาวัตถุหรือสภาพแวดลอมเปนคนละประเภทกัน ” คุณสมบัติของคลื่น
แม เ หล็ ก ไฟฟ า เป น สื่ อ ในการได ม าของข อ มู ล รี โ มตเซนซิ ง จึ ง เป น
เทคโนโลยีที่ใชในการจำแนก เขาใจวัตถุหรือสภาพแวดลอมตางๆ จาก
ลักษณะเฉพาะตัวในการสะทอนแสงหรือแผรังสี

ขอมูลที่ไดจากการสำรวจระยะไกล ในที่นี้จะหมายถึง ขอมูลที่ไดจากการถายภาพทางเครื่องบินในระดับต่ำที่


เรียกวา รูปถายทางอากาศ (aerial photo) และขอมูลที่ไดจากการบัน ทึกภาพจากดาวเทียมในระดับสูงกวา เรียกวา
ภาพถายจากดาวเทียม (satellite image)
ภาพถายทางอากาศ (aerial photography) คือ การถายภาพจากทีส่ ูงในอากาศเหนือพื้นโลกโดยใชเครื่องบิน ยาน
อวกาศ หรือบอลลูนที่มีการติดตั้งกลองถายภาพ แลวบินเหนือบริเวณที่ตองการภาพถาย เมื่อกลองถายภาพบันทึกภาพนั้นไวแลว
จึงนำมาเรียงตอกันก็จะเห็นรายละเอียดของสิ่ง ตาง ๆ ที่ปรากฏอยูจริงบนผิวโลกอยางละเอียด มีหลักการแปลความหมายภาพ
ดังนี้

สถาบ ันวิชาการสูงส่ง High score 5


www.100highscore.com
ส ังคมศึกษา @ คอร์สล่วงหน้า ม.5 “ปัญญาหล ักแหลม สมองเฉียบคม” (สงวนลิขสิทธิต
� าม
กฎหมาย)
หองเรียนติวเขม U EASY PASS วิชาสังคมศึกษา อาจารย ดร.กนก จันทรา

1. ความแตกตางของโทนสี ขาว-ดำ แหลงน้ำฤดูฝนเปนสีดำ แหลงน้ำในฤดูแลงเปนสีขาว


บริเวณตื้นลึกก็ใหสีที่แตกตางกัน วัตถุที่สะทอนแสงมากจะปรากฏออกมาเปนสีขาว
ในภาพถาย ปาไมพื้นที่ผิวขรุขระ ไรนาที่ใกลเก็บเกี่ ยวจะเปนสีดำ สีจะไมคงที่ขึ้นอยู
อิทธิพลของดวงอาทิตย ฤดูกาลเพาะปลูก ความชื้น
2. ขนาดและรูปราง การมองภาพจากที่สูงลงมาจะไมเหมือนมองจากที่ราบ
3. เนื้อภาพและรูปแบบ ลักษณะรูปแบบที่ปรากฏจะชวยใหเราทราบวัตถุบนผิวโลก เชน
ไรนา การตั้งถิ่นฐาน รูปแบบบานจัดสรร การระบายน้ำ จะมีรูปแบบที่แตกตางกัน ซึ่งมี
ลักษณะเฉพาะตัวชวยในการแปลความหมายได
4. ความสูงและเงา การทอดของเงาตนไม อาคาร ภูเขา จะทำใหเห็นความแตกตางของ
วัตถุเหลานั้น
5. ตำแหนงและความสัมพันธ เชน บานเรือนตองอยูริมถนน ใกลทางแยก หรือแมน้ำ
ปม น้ำมันตองอยูติดถนน โรงเรียนจะตางจากสถาบันอื่นเพราะจะตองมีสนามขนาดใหญ
6. ขอมูลประกอบ
7. สามัญสำนึก ผูแปลจะตองมีความรูและใชประสบการณในอดีต รวมกับการออกภาค
สนามสำรวจพื้นที่จริงประกอบ

ภาพถายจากดาวเทียม (satellite imagery) คือ การถายภาพและบันทึกขอมูลเชิงตัวเลขจากดาวเทียมที่ติดตั้ง


อุปกรณที่อาศัยกระบวนการบันทึกพลังงานที่สะทอน หรือสงผานของวัตถุแลวสงขอมูลเหลานั้นมายังสถานีรับภาพพื้นดิน
ภาพถายที่ไดอาศัยคุณสมบัติที่วาวัตถุแตละชนิดสะทอนแสงไมเทากัน ภาพที่ปรากฏจึงไมสามารถแปลความหมายได
งายเหมือนภาพถายทางอากาศ แต ตองอาศั ยผูเชี่ ยวชาญและเครื่องมือในการชวยแปลความหมาย ป จจุบัน เทคโนโลยีการ
ถายภาพจากดาวเทียมไดพัฒนาไปมาก จนสามารถถายภาพไดรายละเอียดและชัดเจนเทาภาพถายทางอากาศ เชน ภาพถายจาก
ดาวเทียมไอโคนอส (IKONOS) ดาวเทียมควิกเบิรด (QUICKBIRD) เปนตน

ระบบกำหนดตำแหน งบนพื้ น โลก (Global Positioning System – GPS) คือ การนำ


คลื่นสัญญาณจากดาวเทียมบอกตำแหนงมาบอกคาพิกัดของสิ่งตาง ๆ บนพื้นโลก ระบบดังกลาวเกิดจากการสงดาวเทียมจำนวน
24 ดวง ขึ้นสูหวงอวกาศ โดยดาวเทียมทั้งหมดจะถูกบอกตำแหนงการโคจรมีดาวเที ยมประจำการอยูจำนวน 4 ดวง เพื่อทำ
หนาที่สงคลื่นสัญญาณบอกตำแหนงการโคจรมายังสถานีควบคุมดาวเทียมภาคพื้ นดิน และเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม โดย
เครื่องรับสัญญาณจากดาวเทียมจะนำสัญญาณจากดาวเทียมอยางนอย 4 ดวงมาคำนวณหาคาพิกัดละติจูด และลองจิจูดของ
ตำแหนงตางๆ ทั้งที่อยูบนโลกและเหนือพื้นผิวโลกขึ้นไป
ระบบนี้จึงมีประโยชนตอการบอกตำแหนง และทิศทางการเดินทางทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ มีความสำคัญ
ดานการทหาร การคมนาคมขนสง
ปจจุบันเครื่อง GPS ถูกพัฒนาขึ้นใชอยางกวางขวาง ทั้งในหนวยงานของรัฐและเอกชนใชเชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร
เพื่อแสดงผลและวิเคราะหได
 ประเทศไทยอยูในตำแหนงโซนที่ 47 (ดานตะวันตกของประเทศไทย)
และโซนที่ 48 (ดานตะวันออกเฉียงเหนือของไทย)
 ประโยชนของระบบกำหนดตำแหนงบนผิวโลก
1. กิจการทหาร
2. กิจการดานภูมิศาสตร เชน การสำรวจภาคสนาม การสรางแผนที่
3. กิจการขนสง เชน ระบบนำรองเครื่องบิน ระบบนำทางของเรือ และรถยนต
4. กิจการกูภัย เชน ภัยธรรมชาติ หลงปา ยานพาหนะอับปาง

สถาบ ันวิชาการสูงส่ง High score 6


www.100highscore.com
ส ังคมศึกษา @ คอร์สล่วงหน้า ม.5 “ปัญญาหล ักแหลม สมองเฉียบคม” (สงวนลิขสิทธิต
� าม
กฎหมาย)
หองเรียนติวเขม U EASY PASS วิชาสังคมศึกษา อาจารย ดร.กนก จันทรา

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร (Geographic Information System – GIS) คือ เครื่องมือ


ทางภู มิ ศ าสตร ที่ ชวยในการจั ดเก็ บ จัด การ จั ด ทำ วิ เคราะห ทำแบบจำลองและการแสดงข อ มู ลเชิ งพื้ น ที่ ด วยระบบ
คอมพิวเตอร
องคประกอบของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร
1. ขอมูลเชิงภูมิศาสตร (geographical data) ประกอบดวย
1.1 ขอมูลเชิงพื้นที่ (spatial data) เชน ตำแหนงที่ตั้งของพื้นที่
ขอมูลเชิงพื้นที่ เปนขอมูลที่สามารถอางอิงกับตำแหนงภูมิศาสตรบน
พื้นผิวโลก
สามารถแสดงสัญลักษณได 3 รูปแบบ คือ
- จุด (point) เชน ที่ตั้ง หมูบาน ตำบล อำเภอ เมือง หรือสถานที่ตาง ๆ
- เสน (line) เชน ทางรถไฟ ถนน ลำคลอง แมน้ำ
- พื้นที่หรือรูปเหลี่ยมตาง ๆ (area or polygons) เชน นาขาว ปาไม พื้นที่
เกษตร พื้นที่อำเภอ
1.2 ขอมูลอธิบายพื้นที่ (non-spatial data or attribute data) ไดแก ขอมูลตาง ๆ ที่ไมใชขอมูลเชิง
พื้นที่ เชน คุณสมบัติ คุณลักษณะเฉพาะ จำนวน อัตราสวน การใชประโยชนของพื้นที่
1.3 เวลา (time) เชน เหตุการณนั้น หรือสิ่งนั้น เกิดขึ้นในชวงเวลาใด
2. ฮารดแวร (hardware) คือ ตัวเครื่องคอมพิวเตอร จอภาพ สายไฟ เครื่องพิมพ ที่จะชวยอำนวยความสะดวก
ในการสืบคนขอมูล จัดเก็บขอมูลที่มีปริมาณมาก และสามารถรองรับการทำงานของsoftware ไดเปนอยางดี
3. ซอฟแวร (software) คือ ชุดคำสั่ง โปรแกรมใหคอมพิวเตอรทำงานตามที่เราตองการ เชน โปรแกรม MS
Office โปรแกรม Map Info
4. บุ คลากร (peopleware/user) คื อ ผูที่ ท ำหน าที่จั ดการให องคป ระกอบทั้ ง 3 ประการข างต น ทำงาน
ประสานกันอยางมีประสิทธิภาพ เพื่อใหไดผลตามที่ตองการ จึงตองเปนบุคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะทาง และมีความรูใน
สาขาตาง ๆ เพื่อที่จะนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตรไปประยุกตใช

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร เปนเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง ที่ชวยในการวิเคราะห คำนวณและแสดงผลในรูป


ของตาราง กราฟ แผนภูมิ แผนภาพ และแผนที่ ซึ่งในปจจุบันหนวยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ไดนำระบบสารสนเทศ
ภูมิศาสตรมาใชวางแผน และวิเคราะหงานดานตาง ๆ เชน กรมปาไม ไดนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตรมาใชในการวางแผน
ปลูกปา และจำแนกประเภทของปา กรมพัฒ นาที่ดินไดนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตรมาใชในการวางแผนดานการเกษตร
เปนตน

สถาบ ันวิชาการสูงส่ง High score 7


www.100highscore.com
ส ังคมศึกษา @ คอร์สล่วงหน้า ม.5 “ปัญญาหล ักแหลม สมองเฉียบคม” (สงวนลิขสิทธิต
� าม
กฎหมาย)
หองเรียนติวเขม U EASY PASS วิชาสังคมศึกษา อาจารย ดร.กนก จันทรา

แนวขอสอบเขามหาวิทยาลัย
1. ในคาบเรียนวิชาภูมิศาสตร ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ครูไดแบงกลุมใหนักเรียนทำแผนที่ชุมชนรอบๆ โรงเรียน ดวยวิธี
นับกาวในมาตราสวน 1 : 500 และใหเวลาทำงานชิ้นนี้ 2 สัปดาห การทำงานขั้นสำรวจและเก็บรวบรวมขอมูล นักเรียนตอง
ใชเครื่องมือภูมิศาสตรชุดใดมากที่สุด
1. เข็มทิศ เทปวัดระยะทาง และแบบบันทึกขอมูลสนาม
2. เข็มทิศ เครื่องวัดพื้นที่ในแผนที่ และแบบสำรวจขอมูล
3. กลองสามมิติ เทปวัดระยะทาง และแบบสัมภาษณขอมูล
4. ภาพถายทางอากาศ กลองระดับ แบบบันทึกและการสำรวจ
5. ภาพจากดาวเทียม กลองสามมิติ และแบบรวบรวมขอมูลทุติยภูมิ

2. ความผิดพลาดจากการแปลภาพถายทางอากาศ และภาพจากดาวเทียม สามารถแกปญหาไดถูกตองที่สุดดวยวิธีการใด


1. พิจารณาสีและความเขมจากการสะทอนของรังสีชวงคลื่นตางๆ
2. เลือกใชรูปถายที่ตอเนื่องบนแนวบินเดียวกันที่ปราศจากเมฆ
3. สังเกตขนาด รูปราง รูปแบบ เงา ความสูง และผิวสัมผัส
4. ใชความรูทางสหศาสตรชวยวิเคราะหและแปลภาพ
5. ออกภาคสนามสำรวจตรวจสอบตามพื้นที่จริง

3. ผูประกอบการธุรกิจการขนสง ควรเลือกใชเครื่องมือทางภูมิศาสตรใดจึงจะติดตามการเคลื่อนที่ของยานพาหนะขนสงสิ่งของ
ไดตลอดเวลา
1. แผนที่
2. วิทยุสื่อสาร
3. ภาพจากดาวเทียม
4. ระบบกำหนดตำแหนง
5. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร

4. การรังวัดภาคพื้นดินและงานรังวัดทางวิศวกรรมของการวางแผนระบบชลประทานในชุมชน ควร
เลือกใชเครื่องมือและขอมูลทางภูมิศาสตรตามขอใด
1. ภาพถายทางอากาศและภาพถายจากดาวเทียมพรอมเครื่องมือชุดแปลภาพ
2. เครื่องมือที่ใชในการสำรวจและกลองระดับ
3. ระบบแผนที่และเครื่องมือชุดการทำแผนที่
4. ระบบการกำหนดตำแหนงบนโลก
5. ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร

5. ระบบเนวิเกเตอรในรถยนต เรือ หรือในสมารทโฟนที่ใชบอกเสนทาง และจุดหมายปลายทางในการเดินทาง อาศัยเครื่องมือ


และเทคโนโลยีทางภูมิศาสตรใดสำคัญที่สุด
1. ระบบ RS
2. ระบบ GPS
3. ระบบ GIS
4. ระบบ MIS
5. ระบบ RS

สถาบ ันวิชาการสูงส่ง High score 8


www.100highscore.com
ส ังคมศึกษา @ คอร์สล่วงหน้า ม.5 “ปัญญาหล ักแหลม สมองเฉียบคม” (สงวนลิขสิทธิต
� าม
กฎหมาย)
หองเรียนติวเขม U EASY PASS วิชาสังคมศึกษา อาจารย ดร.กนก จันทรา

6. การฝกสูรบในเวลากลางคืนของนักศึกษาวิชาทหาร ชั้นปที่ 3 ครูฝกตองการใหนักศึกษาเดินทางจากที่พักบริเวณเขาชนไกไป


ยังลำตะเพิน นักศึกษาไดวัดระยะทางในแผนที่มาตราสวน 1: 50,000 ไดระยะทาง 3.5 เซนติเมตร แสดงวาระยะทางจริงที่
นักศึกษาจะตองเดินทางในเวลากลางคืนเปนเทาใด
1. 1,550 เมตร
2. 1,650 เมตร
3. 1,750 เมตร
4. 1,850 เมตร
5. 1,950 เมตร

7. ในการวิเคราะหสถานการณน้ำเพื่อการวางแผนปองกันอุทกภัยบริเวณที่ราบลุมแมน้ำ
เจาพระยาควรใชเครื่องมือใด
1. แผนที่การใชที่ดิน
2. แผนที่ภูมิประเทศ
3. การรับรูจ ากระยะไกล
4. ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร
5. ระบบกำหนดตำแหนงบนพื้นโลก

8. แอปพลิเคชั่นกูเกิลแมพ (Google Map) เปนการผสมผสานของเครื่องมือทางภูมิศาสตรใดบาง


1. แผนที่ + ภาพถายทางอากาศ + ระบบกำหนดตำแหนงบนพื้นโลก (GPS)
2. ภาพถายทางอากาศ + ภาพจากดาวเทียม + ระบบกำหนดตำแหนงบนพื้นโลก(GPS)
3. แผนที่ + ระบบสารเทศภูมิศาสตร (GIS) + ระบบกำหนดต่ำแหนงบนพื้นโลก(GPS)
4. ภาพจากดาวเทียม + ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร (GIS) + ระบบกำหนดตำแหนงบนพื้นโลก (GPS)
5. แผนที่ + ภาพจากดาวเทียม + ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร (GIS) + ระบบกำหนดตำแหนงบนพื้นโลก (GPS)
9. การใชอากาศยานไรคนขับ (Unmanned Aerial Vehiicle : UAV) กับพื้นที่ที่ไดรับผลกระทบจากอุทกภัยนัน้ ใชแทนได
ดวยเครื่องมือทางภูมิศาสตรประเภทใด
1. แผนที่
2. ภาพถายทางอากาศ
3. ภาพจากดาวเทียม
4. จีพีเอส
5. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร

10. อุปกรณใดใชศึกษาขอมูลทางภูมศิ าสตรไดอยางถูกตอง


1. แผนที่ภูมิประเทศแสดงการตั้งถิ่นฐานไดชัดเจน
2. จีพีเอสแสดงขอมูลไดเฉพาะบริเวณที่เครื่องผาน
3. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตรแสดงขอมูลหลาย ๆ ประเภทพรอมกัน
4. ภาพจากดาวเทียมแสดงใหเห็นขอบเขตการปกครองแตละประเทศ
5. ภาพถายทางอากาศแสดงใหเห็นลักษณะลมฟาอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป

สถาบ ันวิชาการสูงส่ง High score 9


www.100highscore.com
ส ังคมศึกษา @ คอร์สล่วงหน้า ม.5 “ปัญญาหล ักแหลม สมองเฉียบคม” (สงวนลิขสิทธิต
� าม
กฎหมาย)
หองเรียนติวเขม U EASY PASS วิชาสังคมศึกษา อาจารย ดร.กนก จันทรา

จากแผนที่ ใชตอบคำถามขอ 11-12

11. ความตางระดับของแตละเสนชัน้ ความสูงเทา (Contour Line) มีคากี่เมตร


1. 5 2. 10 3. 15 4. 20 5. 25

12 ระยะทางจริงระหวางยอดเขาสูงสุด (ภูดานอีปอง) 1,271 เมตร ถึงยอดเขาอีกแหงหนึ่งสูง 633 เมตร วัดได 22.5 กิโลเมตร
ถาระยะทางในแผนที่วัดได 9 เซนติเมตร แผนที่นี้ใชมาตราสวนเทาใด
1. 1 : 50,000
2. 1 : 22,500
3. 1 : 125,000
4. 1 : 225,000
5. 1 : 250,000
13. เวลามาตรฐานของไทยกำหนดตามเสนมอริเดียนหรือลองจิจูดที่ 105 องศา
ตะวันออก ซึ่งผานจังหวัดอุบลราชธานี แตดานตะวันตกของประเทศอยูที่
ลองจิจูด 97 องศาตะวันออก ถานักเรียนในจังหวัดอุบลราชธานีเขาชั้นเรียนเวลา
08.30 น. นักเรียนในบริเวณตะวันตกของประเทศไทยจะเขาชั้นเรียน
ตามเวลาทองถิ่นจริงในเวลาใด
1. 09.20 นาิกา
2. 08.30 นาิกา
3. 07.58 นาิกา
4. 07.48 นาิกา
5. 07.38 นาิกา
สถาบ ันวิชาการสูงส่ง High score 10
www.100highscore.com
ส ังคมศึกษา @ คอร์สล่วงหน้า ม.5 “ปัญญาหล ักแหลม สมองเฉียบคม” (สงวนลิขสิทธิต
� าม
กฎหมาย)
หองเรียนติวเขม U EASY PASS วิชาสังคมศึกษา อาจารย ดร.กนก จันทรา

เฉลยคำตอบ

สถาบ ันวิชาการสูงส่ง High score 11


www.100highscore.com
ส ังคมศึกษา @ คอร์สล่วงหน้า ม.5 “ปัญญาหล ักแหลม สมองเฉียบคม” (สงวนลิขสิทธิต
� าม
กฎหมาย)
หองเรียนติวเขม U EASY PASS วิชาสังคมศึกษา อาจารย ดร.กนก จันทรา

สถาบ ันวิชาการสูงส่ง High score 12


www.100highscore.com
ส ังคมศึกษา @ คอร์สล่วงหน้า ม.5 “ปัญญาหล ักแหลม สมองเฉียบคม” (สงวนลิขสิทธิต
� าม
กฎหมาย)
หองเรียนติวเขม U EASY PASS วิชาสังคมศึกษา อาจารย ดร.กนก จันทรา

สถาบ ันวิชาการสูงส่ง High score 13


www.100highscore.com

You might also like