Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 27

1

บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
กล้วยหอม เป็นไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ เช่น กล้วยหอมจันท์ กล้วยหอมทอง
กล้วยหอมเขียว โดยกล้วยหอมเขียวหรือกล้วยหอมคาเวนดิชเป็นกล้วยหอมที่นิยมปลูกกันโดยทั่วไปจัดเป็น
ผลไม้ที่อุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารครบถ้วนตามหลักทางโภชนาการ เช่น มีวิตามิน ใยอาหารที่ช่วยใน
การขับถ่าย กล้วยหอมถูกจัดเป็นผลไม้เมืองร้อน สามารถปลูกได้ในทุกประเทศที่มีภูมิอากาศร้อนชื้นหลาย
แห่ง สำหรับประเทศไทย สามารถปลูกกล้วยหอมได้ทั่วทุกภาค
กล้วยน้ำว้า เป็นกล้วยพันธุ์หนึ่ง พัฒนามาจากลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี บริโภคกัน
อย่างแพร่หลาย ปลูกง่าย รสชาติดี รสชาติอร่อยคล้ายกล้วยน้ำว้าขาว สำหรับกล้วยตีบเหมาะที่จะ
รับประทานผลสด เพราะเมื่อนำไปย่าง หรือต้มจะมีรสฝาด
กล้วยมีวิวัฒนาการมาถึง ๕๐ ล้านปี มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อินเดียเป็นประเทศที่ปลูกกล้วยมากที่สุดในโลก และมีพันธุ์กล้วยมาก จนมีผู้กล่าวว่า "กล้วยเป็นผลไม้ของ
ชาวอินเดีย ประเทศไทยมีการปลูกกล้วยกันมาช้านาน กล้วยที่ปลูกมีมากมายหลายชนิด พันธุ์กล้วยที่ใช้
ปลูกในประเทศไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณนั้น มีทั้งพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิม และพันธุ์ที่นำเข้ามาจากประเทศ
ใกล้เคียง และในปัจจุบันจังหวัดสุโขทัยก็ยังมีการปลูกกล้วยมากที่สุด
ปัจจุบันมีการเพาะปลูกกล้วยหอมและกล้วยน้ำว้าซึ่งอาชีพปลูกกล้วยเป็นที่นิยมของเกษตรกร
เนื่องจากในปีก่อนๆกล้วยมีราคาสูง แต่ในปัจจุบันราคาของกล้วยตกต่ำลงและมีการปลูกกล้วยหลากหลาย
สายพันธุ์ โดยเฉพาะกล้วยหอมและกล้วยน้ำว้าและในชุมชนยังมีกล้วยจำนวนมากจึงเห็นปัญหากล้วยล้น
ตลาดจึงทำให้รายได้จากการปลูกกล้วยลดลง
จากที่มาและความสำคัญดังกล่าว คณะผู้จัดทำได้เล็งเห็นว่าควรนำมาทำซีเรียลโดยใช้กล้วยหอม
และกล้วยน้ำว้าเพื่อเพิ่มมูลค่าของกล้วยและยังสามารถสร้างรายได้ให้แก่ผู้จัดทำและยังสามารถนำความรู้
เหล่านี้ไปเผยแพร่ให้คนในชุมชนเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างอาชีพ
2

วัติถุประสงค์ของโครงงาน
1.เพื่อหาศึกษาวิธีการทำซีเรียลจากกล้วยหอมและกล้วยน้ำว้า
2.ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อซีเรียลจากกล้วยหอมและกล้วยน้ำว้า
3.เพื่อสามารถนำไปต่อยอดสร้างรายได้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.เพิ่มมูลค่าให้แก่กล้วยหอมและกล้วยน้ำว้า
2.สร้างรายได้หรือเพิ่มรายได้ให้แก่ตนเองและผู้ศึกษา
ระยะเวลาในการดำเนินงาน
21 พฤศจิกายน 2566 – 6 มกราคม 2567
ความสำคัญในการศึกษาค้นคว้า
การศึกษาโครงงานเรื่อง การศึกษาวิธีการทำซีเรียลจากกล้วยหอมและกล้วยน้ำว้า สามารถลด
ปัญหากล้วยล้นตลาดและยังสร้างมูลค่าให้แก่กล้วยหอมและกล้วยน้ำว้า และยังสร้างรายได้หรือเพิ่มรายได้
ให้แก่ตนเองและผู้ศึกษา
1.เนื้อหา
การศึกษาค้นคว้าในเรื่องนี้มุ่งศึกษาการศึกษาเปรียบเทียบวิธีทำซีเรียลจากกล้วยหอมและกล้วย
น้ำว้า การนำกล้วยหอมและกล้วยน้ำว้า มาแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ให้น่ารับประทานและน่าสนใจมาก
ยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มความแปลกใหม่และเปรียบเทียบความอร่อยของกล้วยทั้ง 2 ชนิด ว่าชนิดไหนเหมาะแก่การ
ทำซีเรียล
3

2.ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2.1 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในเรื่องนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนเด็กดีพิทยาคม ปีการศึกษา2566
2.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในเรื่องนี้ ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนเด็กดีพิทยาคม
ปีการศึกษา2566 จำนวน 20 คน ใช้วิธีสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling)
4

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ในการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ การศึกษาวิธีการทำซีเรียลจากกล้วยหอมและกล้วยน้ำว้า ผู้
ศึกษาได้ค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องโดยลำดับเนื้อหาที่เป็นสาระสำคัญดังต่อไปนี้
1.ประวัติของกล้วย
2.ลักษณะของกล้วยหอมและกล้วยน้ำว้า
3.การจำแนกชนิดของกล้วยตามลักษณทางพันธุกรรม
4.ประโยชน์ของกล้วยหอมและกล้วยน้ำว้า
5.วิธีการทำซีเรียลจากกล้วยหอมและกล้วยน้ำว้า

ประวัติของกล้วย
กล้วยเป็นผลไม้ของชาวอินเดียพบมีอยู่มากในแถบเอเชียตอนใต้ โดยเฉพาะทางตอนเหนือของ
ประเทศอินเดีย พม่า เขมร จีนตอนใต้ หมู่เกาะอินโดนีเซีย เกาะบอร์เนียว ฟิลิปปินส์ และไต้หวัน กล้วยใน
ประเทศที่กล่าวถึงนั้น เป็นกล้วยป่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งต่อมาเมื่อมนุษย์สังเกตเห็นว่าสัตว์ต่างๆ กิน
กล้วยเป็นอาหารได้ มนุษย์จึงลองกินกล้วยดู และเมื่อเห็นว่ากล้วยกินเป็นอาหารได้ มนุษย์จึงเริ่มรู้จัก
วิธีการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด หน่อ ติดตัวไปยังสถานที่ที่อพยพไป ทำให้กล้วยแพร่หลายไปยังถิ่นต่างๆ
มากยิ่งขึ้น จนมีผู้กล่าวว่า กล้วยเป็นอาหารชนิดแรกของมนุษย์ และเป็นพืชชนิดแรกที่มีการปลูกเลี้ยงไว้
ตามบ้านในพระพุทธศาสนา มีการวาดภาพต้นกล้วยในงานจิตรกรรม ในภาพวาดเป็นการนำกล้วยไป
สักการะพระเจ้ากาละ จีนโบราณมีการบันทึกไว้ว่า มีกล้วยอยู่ 12 ชนิด ได้แก่ ปารู กัน-เชียว ยาเชียว ปา
เชียว นันเชียว เทียนเชียว ชีเชียว ชุงเชียว เมเจนเชียว โปโชวเชียว ยงเชียวเชียว ยูฟูเชียว กล้วยเหล่านี้ปลูก
มากที่กวางตุ้ง ฟูเกียง ฯลฯ กล้วยมีเส้นทางการเผยแพร่ราวกว่าเมื่อประมาณปี ค.ศ.200 บริเวณเมดิเตอร์
เรเนียนยังไม่มีการปลูกกล้วย จนถึง ค.ศ.650 เมื่อชาวอาหรับเดินทางติดต่อค้าขายกับแอฟริกา พวก
อาหรับได้นำกล้วยมาเผยแพร่ที่แอฟริกาด้วย ในราวศตวรรษที่15เมื่อชาวยุโรปเดินทางไปยังดินแดนต่างๆ
5

เพื่อ การสำรวจและแสวงหาดินแดนใหม่ ณ เวลานั้นปรากฏว่า แถบชายฝั่งของแอฟริกาตะวันตก


ประชาชนนิยมปลูกกล้วยกันอย่างแพร่หลาย การเดินทางของกล้วยมิได้หยุดอยู่แค่นั้นเพราะในปี ค.ศ.
1400 ชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นนักเดินเรือผู้เก่งกล้าสามารถได้นำกล้วยไปยังหมู่เกาะคานารีด้วยปัจจุบันหมู่
เกาะคานารีเป็นแหล่งปลูกกล้วยที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก หมู่เกาะนี้ในเวลาต่อมาได้รับการยกย่องว่าเป็น
เกาะประวัติศาสตร์ของการแพร่พันธุ์กล้วยสู่โลกใหม่

ประวัติของกล้วยในประเทศไทย
ประเทศไทยมีการปลูกกล้วยกันมาช้านาน กล้วยที่ปลูกมีมากมายหลายชนิด พันธุ์กล้วยที่ใช้ปลูก
ในประเทศไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณนั้น มีทั้งพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิม และนำเข้ามาจากประเทศใกล้เคียง
กล้วยที่รู้จักกันในสมัยสุโขทัยคือ กล้วยตานี และปัจจุบันในจังหวัดสุโขทัยก็ยังมีการปลูกกล้วยตานีมาก
ที่สุด แต่เรากลับไม่พบกล้วยตานีในป่า ทั้งๆ ที่กล้วยตานีก็เป็นกล้วยป่าชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอน
ใต้ของประเทศอินเดีย จีน และพม่า ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่า กล้วยตานีน่าจะนำเข้ามาปลูกในประเทศไทย
ตั้งแต่สมัยสุโขทัยตอนต้น หรือช่วงการอพยพของคนไทยมาตั้งถิ่นฐานที่สุโขทัย ในสมัยอยุธยา เดอลาลู
แบร์ อัครราชทูตชาวฝรั่งเศสที่เดินทางมาเมืองไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ พ.ศ.
๒๒๓๐ ได้เขียนบันทึกถึงสิ่งที่เขาได้พบเห็นในเมืองไทยไว้ว่า ได้เห็นกล้วยงวงช้าง ซึ่งก็คือ กล้วยร้อยหวีใน
ปัจจุบัน ที่ส่วนใหญ่ปลูกไว้เพื่อเป็นไม้ประดับนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีตำนานเล่ากันมาว่า มีการค้าขายกล้วย
ตีบอีกด้วย แสดงให้เห็นว่า ได้มีการปลูกกล้วยทั้งเพื่อความสวยงาม และเพื่อการบริโภคกันมาช้านานแล้ว
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๗ ในรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
ซึ่งเป็นปรมาจารย์ทางด้านภาษาไทย ได้เขียนหนังสือ พรรณพฤกษากับสัตวาภิธาน เพื่อเป็นแบบเรียน
ภาษาไทยสำหรับใช้ในโรงเรียน กล่าวถึงชื่อของพรรณไม้และสัตว์ชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ในเมืองไทย โดยเรียบ
เรียงเป็นกาพย์ฉบัง ๑๖ เพื่อให้ไพเราะและจดจำได้ง่าย ในหนังสือดังกล่าวมีข้อความที่พรรณนาถึงชื่อ
กล้วยชนิดต่างๆ
6

ลักษณะของกล้วยหอมและกล้วยน้ำว้า
1.1 กล้วยหอม
ราก รากกล้วยหอมเป็นแบบ adventitious root ที่แตกออกจากหน่อ ซึ่งหน่อจะแตกออกจาก
เหง้า รากมีความยาวได้มากกว่า 5 เมตร ลึกลงดินได้ถึง 5 - 7.5 เมตร
ลำต้น มีลำต้นจริงเป็นหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน และมีลำต้นที่อยู่เหนือดินสูง 2.5 - 3.5 เมตร เส้น
ผ่านศูนย์กลางมากกว่า 20 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีประดำ ด้านในสีเขียวอ่อนและมีเส้นลายสี
ชมพู
ใบ เป็นใบเดี่ยว เป็นแบบขนาน ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้าง และมีปีก เส้นกลางใบสีเขียว ใบอาจ
ยาวได้มากถึง 3 เมตร
ดอก/ปลี ดอกหรือปลีจะแทงออกจากหยวกตรงกลางปลายยอด เมื่อแทงออกช่วงแรกจะตั้งตรง
และค่อยๆโค้งงอลงด้านล่าง ด้านบนสีแดงอมม่วง มีไข่ ด้านในสีแดงซีด บรรจุน้ำข้างในผล กล้วยหอมติด
ผลเป็นเครือ เครือหนึ่งมี 4 - 6 หวี หวีหนึ่งมี 12 - 16 ผล กว้าง 3 - 4 เซนติเมตร ยาว 21 - 25

1.2 กล้วยน้ำว้า
ลำต้น มีลำต้นเดี่ยว ตั้งตรง ลำต้นมีลักษณะกลมๆ มีกาบเปลือกหุ้มล้อมรอบ มีผิวลื่นเรียบ มีสี
เขียวปนสีน้ำตาล มีหน่อเหง้างอกโผล่ออกมาจากดิน
ราก มีระบบรากแก้ว รากมีลักษณะกลมๆ จะมีรากแขนงฝอยๆ มีสีน้ำตาล
ใบ เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว เรียกว่าใบตอง ยอดอ่อนมีสีเขียวอ่อน ใบเป็นแบบขนาน มีลักษณะแบนยาว
ใหญ่ มีก้านใบใหญ่ตรงกลาง มีใบล้อมรอบ ปลายใบปลายมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบมัน ด้านบนมีสี
เขียวสด ด้านล่างมีสีเขียวเข้ม มีนวลสีขาว
ดอก มีดอกเป็นช่อ ห้อยลงมาเป็นเครือ จะมีปลีออกที่ปลายยอด มีใบประดับหุ้มอยู่ มีลักษณะ
โคนกลมปลายรี มีสีแดงม่วง ในเครือจะมีหวีเรียงซ้อนกันอยู่ และมีจะดอกยาวเล็ก โคนดอกมีสีขาว ปลาย
ดอกสีเหลือง เรียงอยู่ในหวีคล้ายพัด และต่อมาจะกลายเป็นผล
7

ผล มีลักษณะกลมทรงรี เรียงอยู่ในหวีคล้ายพัด มีผิวลื่นเรียบ ปลายผลเป็นจุก ผลอ่อนเปลือกจะ


มีสีเขียว ผลสุกแก่ เปลือกจะมีสีเหลือง ข้างในจะมีเนื้อสีขาว เนื้อนุ่ม จะมีรสชาติหวานหอม

การจำแนกชนิดของกล้วยตามลักษณทางพันธุกรรม
หลังจากที่นักวิชาการชาวตะวันตกได้เริ่มจำแนกชนิดของกล้วยตามลักษณะทางพันธุกรรม โดยใช้จีโนม
ของกล้วยเป็นตัวกำหนดในการแยกชนิดตามวิธีของซิมมอนดส์ และเชบเฟิร์ด ดังได้กล่าวแล้วข้างต้น จึง
กล่าวได้ว่า กล้วยที่บริโภคกันอยู่ในปัจจุบันมีบรรพบุรุษอยู่เพียง ๒ ชนิดเท่านั้น คือ กล้วยป่า และกล้วย
ตานี กล้วยที่มีกำเนิดจากกล้วยป่ามีจีโนมทางพันธุกรรมเป็น AA ส่วนกล้วยที่มีกำเนิดจากกล้วยตานีมีจี
โนม เป็น BB และกล้วยลูกผสมของทั้ง ๒ ชนิด มีจีโนมเป็น AAB, ABB, AABB และ ABBB นอกจากนี้
ซิมมอนดส์ยังได้จำแนกชนิดของกล้วยในประเทศไทยว่ามีอยู่ ๑๕ พันธุ์ ต่อมา นักวิชาการไทยได้
ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพันธุ์และชนิดของกล้วย คือ ใน พ.ศ. ๒๕๑๐ วัฒนา เสถียรสวัสดิ์ และปวิณ
ปุณศรี ได้ทำการรวบรวมพันธุ์กล้วยที่พบในประเทศได้ ๑๒๕ สายพันธุ์ และจากการจำแนกจัดกลุ่มแล้ว
พบว่ามี ๒๐ พันธุ์ หลังจากนั้นในระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๓ - ๒๕๒๖ เบญจมาศ ศิลาย้อย และฉลองชัย แบบ
ประเสริฐ แห่งภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำการสำรวจพันธุ์กล้วยในประเทศไทย
และรวบรวมพันธุ์ไว้ที่สถานีวิจัยปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยรวบรวมได้ทั้งหมด ๓๒๓ สายพันธุ์ แต่
เมื่อจำแนกชนิดแล้ว พบว่ามีอยู่เพียง ๕๓ พันธุ์ หลังจากสิ้นสุดโครงการ ยังได้ทำการรวบรวมเรื่อยมาจนถึง
ปัจจุบัน พบว่ามีอยู่ ๗๑ พันธุ์ รวมทั้งกล้วยป่าและกล้วยประดับ ทั้งนี้ไม่นับรวมพันธุ์กล้วยที่ได้มีการนำเข้า
มาจากต่างประเทศ ซึ่งมีอีกหลายพันธุ์ ปัจจุบันกล้วยในเมืองไทย ซึ่งจำแนกชนิดตามจีโนม มีดังนี้
1. กลุ่ม AA
ที่พบในประเทศไทยมี กล้วยป่า สำหรับกล้วยกินได้ในกลุ่มนี้มีขนาดเล็ก รสหวาน กลิ่นหอม
รับประทานสด ได้แก่ กล้วยไข่ กล้วยเล็บมือนาง กล้วยหอมจันทร์ กล้วยไข่ทองร่วง กล้วยไข่จีน กล้วย
น้ำนม กล้วยไล กล้วยสา กล้วยหอม กล้วยหอมจำปา กล้วยทองกาบดำ
8

2. กลุ่ม AAA
กล้วยกลุ่มนี้มีจำนวน โครโมโซม 2n = 33 ผลจึงมีขนาดใหญ่กว่ากลุ่มแรก รูปร่างผลเรียวยาว มี
เนื้อนุ่ม รสหวาน กลิ่นหอม รับประทานสดเช่นกันได้แก่ กล้วยหอมทอง กล้วยนาก กล้วยครั่ง กล้วยหอม
เขียว กล้วยกุ้งเขียว กล้วยหอมแม้ว กล้วยไข่พระตะบอง กล้วยคลองจัง
3. กลุ่ม BB
ในประเทศไทยจะมีแต่กล้วยตานี ซึ่งเป็นกล้วยป่าชนิดหนึ่ง แต่ไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย
รับประทานผลอ่อนได้ โดยนำมาใส่แกงเผ็ด ทำส้มตำ ไม่นิยมรับประทานผลแก่ เพราะมีเมล็ดมาก แต่คน
ไทยและคนเอเชียส่วนใหญ่รับประทานปลีและหยวก ไม่มีกล้วยกินได้ในกลุ่ม BB ในประเทศไทย แต่พบว่า
มีที่ประเทศฟิลิปปินส์
4. กลุ่ม BBB
กล้วยในกลุ่มนี้เกิดจากกล้วยตานี (Musa balbisiana) เนื้อไม่ค่อยนุ่ม ประกอบด้วยแป้งมาก เมื่อ
สุกก็ยังมีแป้งมากอยู่ จึงไม่ค่อยหวาน ขนาดผลใหญ่ เมื่อนำมาทำให้สุกด้วยความร้อน จะทำให้รสชาติดีขึ้น
เนื้อเหนียวนุ่ม เช่น กล้วยเล็บช้างกุด
5. กลุ่ม AAB
กล้วยกลุ่มนี้เกิดจากการผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี เมื่อผลสุก มีรสชาติดีกว่ากล้วยกลุ่ม
ABB ได้แก่ กล้วยน้ำ กล้วยน้ำฝาด กล้วยนมสวรรค์ กล้วยนิ้วมือนาง กล้วยไข่โบราณ กล้วยทองเดช กล้วย
ศรีนวล กล้วยขม กล้วยนมสาว แต่มีกล้วยกลุ่ม AAB บางชนิดที่มีความคล้ายกับ ABB กล่าวคือ เนื้อจะ
ค่อนข้างแข็ง มีแป้งมาก เมื่อสุกเนื้อไม่นุ่ม ทั้งนี้อาจได้รับเชื้อพันธุกรรมของกล้วยป่าที่ต่าง sub species
กัน จึงทำให้ลักษณะต่างกัน กล้วยในกลุ่มนี้เรียกว่า plantain subgroup ซึ่งจะต้องทำให้สุกโดยการต้ม
ปิ้ง เผา เช่นเดียวกับกลุ่ม ABB ได้แก่ กล้วยกล้าย กล้วยงาช้าง กล้วยนิ้วจระเข้ กล้วยหิน กล้วยพม่าแหก
คุก
9

6. กลุ่ม ABB
กล้วยกลุ่มนี้เป็นลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี มีแป้งมาก ขนาดผลใหญ่ ไม่นิยม
รับประทานสด เพราะเมื่อสุกรสไม่หวานมาก บางครั้งมีรสฝาด เมื่อนำมาต้ม ปิ้ง ย่าง และเชื่อม จะทำให้
รสชาติดีขึ้น ได้แก่ กล้วยหักมุกเขียว กล้วยหักมุกนวล กล้วยเปลือกหนา กล้วยส้ม กล้วยนางพญา กล้วย
นมหมี กล้วยน้ำว้า สำหรับกล้วยน้ำว้าแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด ตามสีของเนื้อ คือ น้ำว้าแดง น้ำว้าขาว และ
น้ำว้าเหลือง คนไทยรับประทานกล้วยน้ำว้า ทั้งผลสด ต้ม ปิ้ง และนำมาประกอบอาหาร นอกจากนี้ยังมี
กล้วยน้ำว้าดำ ซึ่งเปลือกมีสีครั่งปนดำ แต่เนื้อมีสีขาว รสชาติอร่อยคล้ายกล้วยน้ำว้าขาว สำหรับกล้วยตีบ
เหมาะที่จะรับประทานผลสด เพราะเมื่อนำไปย่าง หรือต้มจะมีรสฝาด
๗. กลุ่ม ABBB
กล้วยในกลุ่มนี้เป็นลูกผสมเช่นกัน จึงมีแป้งมาก และมีอยู่พันธุ์เดียวคือ กล้วยเทพรส หรือกล้วย
ทิพรส ผลมีขนาดใหญ่มาก บางทีมีดอกเพศผู้หรือปลี บางทีไม่มี ถ้าหากไม่มีดอกเพศผู้ จะไม่เห็นปลี และมี
ผลขนาดใหญ่ ถ้ามีดอกเพศผู้ ผลจะมีขนาดเล็กกว่า มีหลายหวีและหลายผล การมีปลีและไม่มีปลีนี้เกิด
จากการกลายพันธุ์แบบกลับไปกลับมาได้ ดังนั้นจะเห็นว่า ในกอเดียวกันอาจมีทั้งกล้วยเทพรสมีปลี และไม่
มีปลี หรือบางครั้งมี ๒ - ๓ ปลี ในสมัยโบราณเรียกกล้วยเทพรสที่มีปลีว่า กล้วยทิพรส กล้วยเทพรสที่สุก
งอมจะหวาน เมื่อนำไปต้มมีรสฝาด
๘. กลุ่ม AABB
เป็นลูกผสมมีเชื้อพันธุกรรมของกล้วยป่ากับกล้วยตานี กล้วยในกลุ่มนี้มีอยู่ชนิดเดียวในประเทศ
ไทย คือ กล้วยเงิน ผลขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายกล้วยไข่ เมื่อสุกผิวสีเหลืองสดใส เนื้อผลสีส้ม มีแป้งมาก
รับประทานผลสด
10

ประโยชน์ของกล้วยหอมและกล้วยน้ำว้า
1.1 กล้วยหอม
1.บำรุงกระดูกให้แข็งแรง
กล้วยหอมมีฟอสฟอรัสสูง ซึ่งเป็นสารอาหารที่จะช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง และยังมี
แคลเซียมที่จะช่วยบำรุงกระดูกทุกส่วนของร่างกายให้แข็งแรง
2.ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
ในกล้วยมีวิตามินซีสูง จึงเป็นผลไม้ช่วยต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่ง อีกทั้งวิตามินซีจากกล้วยหอมก็
ยังบำรุงหลอดเลือดให้มีความแข็งแรง นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันโรคลิกปิดลักเปิดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
3.ช่วยลดความเครียด
เมื่อไรที่เราเครียด ความดันเลือดจะเพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีอาการไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวและทำให้
เกิดอาการปวดหัวตุบๆ ตามมาได้ แต่โพแทสเซียมและวิตามินที่มีอยู่ในกล้วยหอมจะช่วยลดความดันเลือด
ให้กลับมาสู่ภาวะที่เป็นปกติได้ ส่งผลทำให้ร่างกายสามารถลดระดับความเครียดลงได้ในเวลาต่อมา
4.ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น
ในกล้วยหอมมีกรดอะมิโนและทริปโตเฟน ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญต่อกระบวนการผลิตเซโรโท
นิน ฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความผ่อนคลายและทำให้นอนหลับ
5.บำรุงสายตา
ในกล้วยหอมมีวิตามินเอและเบต้าแคโรทีน สารอาหารสำคัญที่มีดีต่อสุขภาพดวงตา โดยมีส่วน
บำรุงการทำงานของระบบประสาท กินเป็นประจำจะช่วยบำรุงสายตาและช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น
6.เติมพลังงานให้แก่ร่างกาย
วิตามินซีในกล้วยหอมนับว่าเป็นสารอาหารสำคัญที่มีต่อกระบวนการผลิตพลังงานภายในร่างกาย
11

7.บำรุงหัวใจ
กล้วยหอมอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดที่เป็นผลดีต่อการบำรุงสุขภาพหัวใจ ทั้งยังมี
สารต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจได้ด้วย นอกจากนี้ ยังมีเบต้าแคโรทีนที่มีส่วนเสริม
ความแข็งแรงของหลอดเลือด
8.แก้อาการท้องผูก
ในกล้วยหอมมีไฟเบอร์สูง และเป็นไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำได้ กินไปแล้วจะก่อให้เกิดการดูดซับน้ำ
มาเก็บไว้และยังเป็นผลดีต่อระบบขับถ่าย

1.2 กล้วยน้ำว้า
1.แก้อาการนอนไม่หลับ
มีส่วนช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ช่วยลดอาการหงุดหงิดของผู้หญิงที่อยู่ในช่วงมีประจำเดือน
รักษาโรคซึมเศร้า และช่วยลดความเครียดได้ เนื่องจากสารอาหารบางชนิด เช่น โปรตีน ทริปโตเฟน ที่อยู่
ในกล้วยมีส่วนช่วยในการผลิตสารเซโรโทนิน หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อฮอร์โมนแห่งความสุข จึงเป็นเหตุผล
ว่าทำไมเมื่อรับประทานแล้วจึงทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายและอารมณ์ดีขึ้นได้
2.บรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร และป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้
หากกำลังเผชิญปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่าย ถ่ายเป็นเลือดหรือเป็นโรคริดสีดวงทวาร กล้วยน้ำว้า
ช่วยได้ เพราะมีกากใยจำนวนมาก ทำให้อุจจาระนุ่ม จึงมีส่วนช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการป้องกันการเกิดมะเร็งในลำไส้ด้วย
3.รักษาโรคโลหิตจาง
เนื่องจากกล้วยน้ำว้าอุดมไปด้วยธาตุเหล็กสูง จึงช่วยในการผลิตฮีโมโกลบินในเลือด ผู้ที่มีปัญหา
โลหิตจางจึงสามารถรับประทานเพื่อช่วยบรรเทาอาการได้
12

4.บรรเทาโรคกระเพาะอาหาร
กล้วยน้ำว้าดิบมีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ โดยจะออกฤทธิ์สมานแผลและช่วย
เพิ่มความแข็งแรงให้กับเนื้อเยื่อเมือกในกระเพาะ และยังช่วยลดอาการเสียดท้อง รวมถึงช่วยลดกรดใน
กระเพาะอาหารด้วย ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะหรือกระเพาะอักเสบ ควรรับประทานเป็นประจำทุกวัน เพื่อ
ช่วยรักษาแผลลำไส้ชนิดเรื้อรัง เพราะกล้วยน้ำว้านั้นมี มีเซโรโทนิน ซึ่งช่วยให้กระเพาะหลั่งเมือกมาปก
คลุม ทำให้กรดไม่สามารถกัดกะเพราะได้
5.แก้อาการท้องเสีย
กล้วยน้ำว้าอุดมไปด้วยสารแทนนิน ซึ่งมีส่วนช่วยรักษาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่รุนแรง (แทนนิน
ทำให้ท้องผูก)
13

วิธีทำการทำซีเรียลจากกล้วยหอมและกล้วยน้ำว้า
1. อุ่นเตาอบไว้ล่วงหน้าด้วยความร้อนระดับต่ำสุด ใช้อุณหภูมิระหว่าง 50-90°C (125-200°F)
การใช้อุณหภูมิที่สูงกว่านี้อาจทำให้กล้วยไหม้ด้านนอก ในขณะที่ภายในยังมีความชื้นลงเหลืออยู่
2.ปอกเปลือกกล้วยและหั่นเป็นชิ้น(ใช้กล้วยดิบ) หากต้องการทำกล้วยอบแบบแผ่นบางๆ หั่น
กล้วยให้มีความหนาประมาณชิ้นละ 0.6 ซม. แต่ถ้าต้องการชิ้นที่หนาหน่อย ให้หันกล้วยตามแนวยาว 2
ครั้งแล้วจึงค่อยแบ่งเป็นชิ้น เล็กๆ ตามต้องการ
3.แช่ในน้ำที่ผสมเกลือเล็กน้อย นอกจากจะเพิ่มรสชาติแล้ว การนำกล้วยไปแช่ในน้ำเกลือยัง
ป้องกันไม่ให้ กล้วยเปลี่ยนเป็นสีเข้มได้
• สามารถเลือกใช้น้ำสัปปะรด น้ำมะนาว หรือน้ำผลไม้อื่นๆ ที่มีฤทธิ์เป็นกรดได้ วิตามินซีชนิดเม็ด
สามารถใช้ได้เช่นเดียวกัน โดยให้บดละเอียดแล้วนำไปผสมน้ำก่อน
4.นํากล้วยวางบนตะแกรงเหล็ก การนำกล้วยไปวางไว้บนตะแกรงเหล็กที่ยกสูงขึ้นจะทำให้อากาศ
ถ่ายเทได้ สะดวก นอกจากนี้ความชื้นที่อยู่ในกล้วยยังถูกออกมาได้ง่าย หลังตากนั้นให้นำไปตากแดดไล่
ความชื้น
• ไม่ควรวางกล้วยช้อนหรือทับกัน
• หากไม่มีตะแกรงเหล็ก สามารถใช้กระด้งหรือถาดก็ได้
5.เมื่อกล้วยแห้งได้ที่แล้วให้นำมาคลุกกับน้ำผึ้ง เพื่อเพิ่มรสชาติและคุณประโยชน์จากน้ำผึ้ง
6.นำกล้วยใส่ในเตาหรือหม้ออบลมร้อน นำกล้วยใส่เตาอบที่ได้อุ่นไว้ก่อนแล้ว โดยสามารถวาง
กล้วยบนตะแกรงเล็กหรือใช้เป็นกระดาษสำหรับอบก็ได้
7.ใช้เวลาอบตามขนาดของชิ้นกล้วย และให้มีความกรอบในระดับที่ชื่นชอบ สำหรับกล้วยแบบ
แผ่น อาจใช้เวลาในการอบประมาณ 1 ชั่วโมง ส่วนกล้วยที่หั่นเป็นชิ้นใหญ่ๆ จะใช้เวลานานถึง 2 ชั่วโมง
ซึ่งถ้าใช้เวลาอบนานเท่าไร กล้วยก็จะยิ่งกรอบมากขึ้น เมื่ออบได้สักพัก ให้กลับด้านกล้วยเพื่อไล่ความชื้น
ออก และให้กล้วยแห้งทั้ง 2 ด้าน ขั้นตอนนี้ สําคัญมากหากวางกล้วยไว้บนกระดาษรองอบโดยตรง
14

• ควรนำกล้วยออกจากเตาอบตอนที่กล้วยยังนิ่มกว่าที่ต้องการอยู่ เมื่อกล้วยอบโดนลมและเริ่ม
เย็นลงกล้วยก็จะกรอบขึ้นเอง
8.ปล่อยไว้ให้เย็น วางกล้วยไว้บนตะแกรงเหล็กและพักไว้จนกระทั่งกล้วยเย็น เมื่อได้ที่แล้ว กล้วย
จะแห้งสนิทและกรอบ หากไม่มีตะแกรงเหล็ก สามารถใช้ที่คว่ำชามหรือใช้จานแทน
9.เก็บกล้วยอบแห้งไว้ในภาชนะสุญญากาศ หากอบกล้วยได้แห้งสนิท จะสามารถเก็บไว้ได้นาน
15

บทที่ 3
วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการดำเนินการ
วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้าเรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบวิธีการทำซีเรียลจากกล้วยหอมและ
กล้วยน้ำว้า ผู้ศึกษาได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าโดยลำดับดังนี้
1.ประชากร / กลุ่มตัวอย่าง
2.เครื่องมือและวิธีการสร้างเครื่องมือ
3.การเก็บรวบรวมข้อมูล
4.การวิเคราะห์ข้อมูล
5.สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ประชากร / กลุ่มตัวอย่าง
2.1 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในเรื่องนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนเด็กดีพิทยาคม ปีการศึกษา2566
2.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในเรื่องนี้ ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนเด็กดีพิทยา
คม ปีการศึกษา2566 จำนวน 20 คน ใช้วิธีสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling)
เครื่องมือและวิธีการสร้างเครื่องมือ
เครื่องมือ
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็น แบบสอบถามความพึงแบบสอบถามความพึงพอใจ
ที่มีตอ่ ซีเรียลจากกล้วยหอมและกล้วยน้ำว้า ซึ่งคณะผู้ศึกษาได้จัดทำขึ้น แบ่งออกเป็นขั้นตอนดังนี้
ตอนที่ 1 ศึกษาวิธีการทำซีเรียลจากกล้วยหอมและกล้วยน้ำว้า
ตอนที่ 2 แบบสอบถามศึกษาแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อซีเรียลจากกล้วยหอมและกล้วย
น้ำว้า
16

วิธีสร้างเครื่องมือ
1.ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
2.ศึกษาวัตถุประสงค์
3.สร้างข้อคำถาม
4.นำข้อคำถามไปให้ครูที่ปรึกษาตรวจ
5.นำมาปรับปรุงร่างแบบสอบถาม
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้ศึกษาได้ดำเนินการเก็บรวมรวมโดยวิธีการ จัดทำแบบสอบถาม ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้ศึกษาดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
1.วิเคราะห์สภาพทั่วไปของ นักเรียนโรงเรียนเด็กดีพิทยาคม ปีการศึกษา 2566 จำนวน 20 คน
โดยใช้วิธีสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) จำแนกตามเพศกำเนิด โดยใช้ค่าเฉลี่ย เสนอใน
รูปแบบตาราง
2.นำผลการวิเคราะห์ทางสถิติมาแปลผลดังนี้
การแปลผลของข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ โดยใช้เกณฑ์ของ (Likert technique)
ค่าเฉลี่ย 4.00 - 5.00 แปลความหมายว่า มีความพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
ค่าเฉลี่ย 3.00 - 4.00 แปลความหมายว่า มีความพอใจอยู่ในระดับมาก
ค่าเฉลี่ย 3.00 - 2.00 แปลความหมายว่า มีความพอใจอยู่ในระดับปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 2.00 - 3.00 แปลความหมายว่า มีความพอใจอยู่ในระดับน้อย
ค่าเฉลี่ย 1.00 - 2.00 แปลความหมายว่า มีความพอใจอยู่ในระดับน้อยที่สุด
17

การให้คะแนนแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อซีเรียลกล้วยหอมและซีเรียลกล้วยน้ำว้า
มากที่สุด ให้ 5 คะแนน
มาก ให้ 4 คะแนน
ปานกลาง ให้ 3 คะแนน
น้อย ให้ 2 คะแนน
น้อยที่สุด ให้ 1 คะแนน
18

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ค่าเฉลี่ย = คะแนนทั้งหมด/จำนวนคนทั้งหมด
แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อซีเรียลจากกล้วยหอมและกล้วยน้ำว้า
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
1. เพศ ชาย หญิง
2. ระดับชั้น ม.
ตอนที่ 2 ความพึงพอใจที่มีต่อซีเรียลจากกล้วยหอมและกล้วยน้ำว้า
รายการ ระดับความพึงพอใจ
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด รวมทั้งหมด
1 กล้วยหอม
1.1 กลิ่น
1.2 รสชาติ
1.3 สีสัน
1.4 ขนาดของซีเรียล
รวม
2 กล้วยน้ำว้า
2.1 กลิ่น
2.2 รสชาติ
2.3 สีสัน
2.4 ขนาดของซีเรียล
รวม
ข้อเสนอแนะ
......................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................
19

เกณฑ์การให้คะแนน
มากที่สุด ให้ 5 คะแนน
มาก ให้ 4 คะแนน
ปานกลาง ให้ 3 คะแนน
น้อย ให้ 2 คะแนน
น้อยที่สุด ให้ 1 คะแนน
20

บทที่4
ผลการสำรวจความพึงพอใจที่มีต่อซีเรียล

ผลการสำรวจจากระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายโดยเลือกแบบวิธีการสุ่ม
จำนวน 20 คน โดยผู้ร่วมการสำรวจ เป็นนักเรียนชาย จำนวน 9 คน
เป็นนักเรียนหญิง จำนวน 11 คน

ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจที่มีต่อกล้วยหอมและกล้วยน้ำว้า
ค่าเฉลี่ย = คะแนนทั้งหมด
จำนวนคนทั้งหมด

กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า
342 334
x = x =
20 20
x = 17.1% x = 16.7%
21

บทที่ 5
สรุปผลการดำเนินงาน
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
1.เนื้อหา
การศึกษาค้นคว้าในเรื่องนี้มุ่งศึกษาการศึกษาเปรียบเทียบวิธีทำซีเรียลจากกล้วยหอมและ
กล้วยน้ำว้า การนำกล้วยหอมและกล้วยน้ำว้า มาแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ให้น่ารับประทานและ
น่าสนใจมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มความแปลกใหม่และเปรียบเทียบความอร่อยของกล้วยทั้ง 2 ชนิด ว่า
ชนิดไหนเหมาะแก่การทำซีเรียล
2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2.1 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในเรื่องนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนเด็กดีพิทยาคม ปีการศึกษา2566
2.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในเรื่องนี้ ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนเด็กดีพิทยา
คม ปีการศึกษา2566 จำนวน 20 คน ใช้วิธีสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling)

สรุปผลการดำเนินงาน
จากการศึกษาวิธีการทำซีเรียลจากกล้วยหอมและกล้วยน้ำว้าพบว่ามีขั้นตอนการทำที่
คล้ายๆกันเมื่อทำสำเร็จพบว่ามีลักษณะคล้ายกันมากๆและจากการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อ
ซีเรียลจากกล้วยหอมและกล้วยน้ำว้าพบว่านักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มแบบบังเอิญชอบ
ชีเรียลที่ทำจากกล้วยหอมมากกว่าซีเรียลที่ทำจากกล้วยน้ำว้าโดยเฉลี่ยชอบซีเรียลกล้วยหอม
17.1% และซีเรียลกล้วยน้ำว้า 16.7%
22

อภิปรายผลการดำเนินงาน
1. วิธีการทำซีเรียลจากกล้วยหอมและกล้วยน้ำว้ามีขั้นตอนที่ไม่ต่างกันมากและเมื่อทำ
สำเร็จพบว่ามีลักษณะต่างๆคล้ายกัน
2. นักเรียนโรงเรียนเด็กดีพิทยาคม ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา2566 จำนวน 20 คน
ใช้วิธีสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) ผลปรากฏว่ามีนักเรียนชอบซีเรียลที่ทำจากกล้วย
หอมเฉลี่ย 11.8% และชอบซีเรียลที่ทำจากกล้วยน้ำว้าเฉลี่ย 9.95% จีงทราบว่านักเรียนกลุ่ทตัวอ
ย่างชอบซีเรียลที่ทำจากกล้วยหอมมากกว่ากล้วยน้ำว้า

ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะสำหรับการนำไปใช้
1.ควรทานคู่กับนมหรือน้ำผึ้งเพื่อเพิ่มความอร่อย ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาค้นคว้า
อิสระต่อไป
2.นำไปศึกษาค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องกล้วยและการทำซีเรียลจากกล้วยหอมและ
กล้วยน้ำว้าได้แต่ห้ามคัดลอกและดัดแปลง
23

บรรณานุกรม
ประวัติของกล้วย. ออนไลน์จาก.
https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=30&chap=6&page=t30-6-
infodetail01.html
สืบค้นวันที่วันที่ 15 ตุลาคม 2564
ลักษณะของกล้วยหอม. ออนไลน์จาก.
https://th.wikipedia.org/wiki/กล้วยหอม,
สืบค้นวันที่ 17 ตุลาคม 2564
ลักษณะของกล้วยน้ำว้า. ออนไลน์จาก.
https://www.thai-thaifood.com/th/กล้วยน้ำว้า/,
สืบค้นวันที่17 ตุลาคม 2564
การจำแนกชนิดของกล้วยตามลักษณะทางพันธุกรรม. ออนไลน์จาก.
https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=30&chap=6&page=t30-6-
infodetail04.html
สืบค้นวันที่ 20 ตุลาคม 2564
ประโยชน์ของกล้วยหอม. ออนไลน์จาก.
https://www.sanook.com/women/60339/
สืบค้นวันที่ 25 ตุลาคม 2564
ประโยชน์ของกล้วยน้ำว้า. ออนไลน์จาก.
http://region6.cbo.moph.go.th/WB/?name=webboard&file=read&id=12
สืบค้นวันที่ 25 ตุลาคม 2564
24

ภาคผนวก
25
26
27

ข้อมูลและประวัติส่วนตัวของผู้จัดทำ

1. นางสาวเขมมิกา คลาปูน เกิดวันที่ 11 กรกฎาคม ปี พ.ศ.2550 บ้านเลขที่ 97 หมู่ 18


ตำบลยางฮอม อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย

2. นางสาวเยาวมาลย์ สถาน เกิดวันที่ 21 มกราคม ปีพ.ศ 2550 บ้านเลขที่121 หมู5่


ตําบลหงาว อําเภอเทิง จังหวัดเชียงราย

3. นางสาวธมลวรรณ ปราศรัย เกิดวันที่ 30 มกราคม ปีพ.ศ 2549 บ้านเลขที่529 หมู1่


ตําบลเวียง อําเภอเทิง จังหวัดเชียงราย

4. นายรัชพล หงษ์กันทะ เกิดวันที่ 25 กันยายน ปี พ.ศ2550 บ้านเลขที่18 หมู่13


ตําบลหงาว อําเภอเทิง จังหวัดเชียงราย

You might also like