ประวัติ

You might also like

Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 4

ประวัติ

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ มีนามเดิมว่า ช่วง เป็นบุตรชายคนโตของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) กับ


ท่านผู้หญิงจันทร์ เกิดปี มะโรง วันศุกร์ วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2351 ในรัชกาลที่ 1 มีพี่น้องร่วมบิดามารดารวม 9 คน แต่มีชีวิตจนเติบ
ใหญ่มาพร้อมกับท่านเพียง 4 คน ได้แก่ เจ้าคุณหญิงแข (เจ้าคุณตำหนักใหม่) เจ้าคุณหญิงปุก (เจ้าคุณกลาง) เจ้าคุณหรุ่น (เจ้าคุณน้อย)
และพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) การศึกษาในวัยเยาว์ เล่าเรียนที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร และเมื่อเติบ
ใหญ่ท่านจึงได้ศึกษาราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศและการปกครองมาจากบิดาของท่าน และเมื่อรับราชกาล มีตำแหน่ง
ราชกาลในระดับสูงคือ อัครมหาเสนาบดีที่สมุหกลาโหม ในสมัยรัชกาลที่ ๔

ผลงานสำคัญ
การติดต่อกับต่างประเทศ
โปรดเกล้าฯ ให้ไปรับคณะทูตนำโดยเซอร์จอห์น เบาริง ที่ปากน้ำ เพื่อเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาทางการค้าที่เฮนรี เบอร์นีเข้ามาทำไว้ใน
สมัยรัชกาลที่ 3 คือ สนธิสัญญาเบอร์นี แม้การเจรจาจะมีความยุ่งยากติดขัดในเรื่องต่างๆ ด้วยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ที่
เข้าใจขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวตะวันตก การเจรจาจึงสำเร็จลงด้วยความรวดเร็วและเรียบร้อย มีการลงนามสนธิสัญญาไมตรี
และพาณิชย์ฉบับใหม่ เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 ที่เรียกว่าสนธิสัญญาเบาริง
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ที่จะตั้งโรงเรียนแบบ public school ของอังกฤษโดยโปรดให้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการเรื่องนี้มี
เจ้าพระยาภาสกรวงศ์เสนาบดีกระทรวงธรรมการเป็นประธาน ที่ประชุมเห็นว่าจวนของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง
บุนนาค) ซึ่งพระยาสีหราชเดโชชัย หลานปู่ ของสมเด็จเจ้าพระยาฯได้น้อมเกล้าฯ ถวายไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๓๓ เป็นที่กว้างขวางใหญ่โต
เห็นสมควรจัดตั้งเป็นโรงเรียน ให้ชื่อว่า “โรงเรียนราชวิทยาลัย” และหลายปี ต่อได้รับพระราชทาน นามใหม่ว่า “สถาบันราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา”

พระราชกรณียกิจ
การก่อสร้างและการบำรุงการคมนาคม
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ได้สร้างประภาคารที่มีพระราชดำริมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 โดยบริจาคทรัพย์ส่วนตัวและ
ควบคุมการก่อสร้างด้วยตัวท่านเอง ประภาคารนี้มีชื่อว่า "ประภาคารสันดอนปากน้ำเจ้าพระยา" ประภาคารแห่งนี้เป็นประโยชน์อย่าง
มากในด้านการเดินเรือ นอกจากนี้ ท่านก็ยังได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นแม่กองในการก่อสร้างและบูรณะสถานที่ต่าง ๆ เช่น พระนคร
คีรี จังหวัดเพชรบุรี พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี รวมทั้ง เป็นแม่กองในการขุดคลองและก่อสร้างถนนต่าง ๆ เพื่อการ
คมนาคม ได้แก่ คลองผดุงกรุงเกษม คลองดำเนินสะดวก[32] ถนนเจริญกรุง ถนนตรง (ถนนพระรามที่ 4) และถนนสีลม[33] เป็นต้น
การบำรุงวรรณกรรม การละครและดนตรี
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มีความสนใจและมีบทบาทในการทะนุบำรุงและเผยแพร่วรรณกรรม โดยเฉพาะงาน
วรรณกรรมจีนซึ่งเป็นที่นิยมกันมาตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น สามก๊ก สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มักจัดให้มีนัก
ปราชญ์จีนมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อแปลพงศาวดารจีนออกเป็นภาษาสยาม โดยงานที่ท่านจัดให้มีการแปลมีทั้งหมด 19 เรื่อง เช่น
ไซจิ๋น ตั้งจิ๋น น่ำซ้อง ซ้องกั๋ง หนำอิดซือ และเม่งฮวดเชงฌ้อ

นอกจากวรรณกรรมจีนแล้ว สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ยังได้จัดพิมพ์วรรณกรรมสยาม เช่น พระราชนิพนธ์ของ


พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเรื่อง อิเหนา และเรื่องอื่น ๆ เผยแพร่ให้สามัญชนทั่วไปได้อ่านกันมากขึ้น

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้ชอบดูละครและฟังดนตรี ท่านจึงได้ส่งเสริมโดยการหาครูละครและดนตรีมาฝึกคณะ
ละครของท่านจนได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสมัยนั้น ท่านได้ให้ พระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร) หรือครูมีแขก แต่งเพลงขึ้นใหม่ ซึ่ง
ปรับปรุงมาจากเพลงเต่ากินผักบุ้ง พร้อมทั้งสอดแทรกทำนองมอญเข้าไปในเพลง ทำให้เกิดความไพเราะยิ่งขึ้น ท่านจึงโปรดปราน
เพลงนี้มาก และตั้งชื่อเพลงนี้ว่า "พระอาทิตย์ชิงดวง” ตามสร้อยราชทินนามและตราสุริมณฑลซึ่งเป็นตราประจำตำแหน่งของท่าน[35]

การรักษาความสงบภายในประเทศ

You might also like