ส่วนหน้าแผนฯ 01

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 6

ทําไมต้องเรียนวิชาภาษาจีน

จุดมุ่งหมายของการเรียนภาษาจีนคือการสร้างศักยภาพในการใช้ภาษาจีนเพื่อสื่อสารกับชาวจีนหรือ
ผู้คนที่ใช้ภาษาจีนด้วยวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เช่นการทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศการศึกษาการท่องเที่ยวการ
ร่วมมือกันของภาครัฐและเอกชนการกระชับความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมแม้ต้นทางของการเรียนรู้
ภาษาต่างประเทศคือการศึกษา แต่เมื่อเข้าสู่อาชีพนั่นคือการดำเนินชีวิตด้วยเศรษฐกิจการมีงานทำพร้อมมี
รายได้และการเรียนรู้ตลอดชีวิตถือเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนตนให้มีความมั่นคงอันเป็นส่วนหนึ่งของการ
พัฒนาเศรษฐกิจชาติความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจนำมาซึ่งความมั่นคงในชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในสังคม
โลกปัจจุบันและอนาคตทักษะและความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศถือเป็นปัจจัยที่สำคัญของการ
สื่อสารแม้บุคคลจะมีศักยภาพโดดเด่นหลากหลายด้านในเชิงวิชาการหรือศาสตร์อื่น ๆ แต่หากอยความสามารถ
ด้านภาษาต่างประเทศศักยภาพที่มีอยู่ย่อมเสมือนลดทอนลงภาษาต่างประเทศที่สำคัญ ๆ ล้วนเป็นภาษาของ
ประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ซึ่งรัฐต่างประเทศต้องการร่วมทำการค้าด้วยอย่างเช่นสาธารณรัฐประชาชนจีน
ซึ่งมีเศรษฐกิจเติบโตก้าวหน้าในประชาคมโลกอย่างมั่นคงและต่อเนื่องภาษาจีนจึงเป็นภาษาต่างประเทศที่มี
ความสำคั ญ ตามอิ ท ธิ พ ลทางเศรษฐกิ จ ซึ ่ ง คนทั ่ ว โลกนิ ย มเรี ย นรู ้ อ ี ก ทั ้ ง ยั ง เป็ น ภาษาหนึ ่ ง ขององค์ ก าร
สหประชาชาติการเรียนรู้ภาษาจีนของคนไทยจึงมีความจำเป็นในการเพิ่มศักยภาพการสื่อสารกับประชากรใน
ประเทศจีนและในประชาคมโลกเพราะภาษาจีนมิใช่สื่อสารกันเพียงภายในประเทศจีนเท่านหากมีผู้นิยมใช้กัน
ทั่ว โลกและมีผ ู้นิย มใช้มากที่ส ุดด้ว ยการส่งเสริมให้คนไทยสามารถใช้ภาษาจีนได้จะส่งผลต่อการเพิ่มขีด
ความสามารถในการแข่ง ขัน ของประเทศในเวที ระหว่า งประเทศการมีส ั ม พันธไมตรี อั นดี กับสาธารณรั ฐ
ประชาชนจีน
การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนเป็นภาษาต่างประเทศที่สองในประเทศไทยได้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
เมื่อกระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เพิ่ม
การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมากขึ้นทันการณ์กับการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของโลกาภิวัตน์ซึ่งเกิดเสรีนิยมทาง
การค้าการพัฒนาเทคโนโลยีและการไหลเวียนสารสนเทศอย่างรวดเร็วทันทีที่ประกาศใช้หลักสูตรโรงเรียนระดับ
การศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งของรัฐและเอกชนจำนวนมากจัดการเรียนการสอนภาษาจีนเป็นวิชาเพิ่มเติมตั้งแต่ระดับ
อนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อสร้างสังคมฐานเศรษฐกิจที่อาศัยภาษาจีนเป็นเครื่อ งมือของการ
สื่อสารแต่ทว่ายังไม่มีหลักสูตรภาษาจีนโดยเฉพาะสถานศึกษาต่างจัดทำหลักสูตรของตนเองตามมาตรฐานสาระ
การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศจึงไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งเป็น
หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการตระหนักถึงความสำคัญใน
การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและเป็นไปตามมาตรฐานสากลของเจ้าของภาษา
รวมทั้งเพื่อให้การสื่อสารภาษาจีนของคนไทยมีประสิทธิภาพจึงได้จัดทำมาตรฐานสาระการเรียนรู้ภาษาจีน
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกรอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการ
เรียนรู้ภาษาต่างประเทศโดยกำหนดตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาจีนเป็นชั้นปีเพื่อเป็นแนวทางสำหรับ
สถานศึกษาในการนำไปออกแบบบทเรียนและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนให้เหมาะสมกับผู้เรียนและ
สภาพการเรียนการสอนในโรงเรียน

วิสัยทัศน์ภาษาจีน
1. ใช้ภาษาจีนสื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ
2. ใช้ภาษาจีนถ่ายทอดความรู้ ความคิด และวัฒนธรรมไทยได้อย่างสร้างสรรค์
3. มีเจตคติที่ดีต่อภาษาจีน
4. ใช้ภาษาจีนแสวงหาความรู้เพื่อศึกษาต่อและประกอบอาชีพ
5. มีความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรมจีน

เรียนรู้อะไรในภาษาจีน
จุดมุ่งหมายของการเรียนภาษาจีนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
คือ พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะและสามารถสื่อสารภาษาจีนขั้นพื้นฐานอย่างมีประสิทธิภาพตามสถานการณ์ต่าง ๆ
ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน และแสดงออก สามารถใช้ภาษาจีนในการแสวงหาความรู้ ศึกษาต่อ ประกอบอาชีพ
มีความรู้ความเข้าใจเรื่องราวและวัฒนธรรมจีน เพื่อเข้าถึงปรัชญา วิธีคิด และวิถีชีวิตของชาวจีน สามารถ
เปรียบเทียบและถ่ายทอดความคิด และวิถีชีวิตของชาวจีน สามารถเปรียบเทียบและถ่ายทอดความคิดและ
วัฒนธรรมไทยจีนด้วยภาษาจีนอย่างสร้างสรรค์ และมีเจตคติที่ดีต่อภาษาจีน ดังนั้นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
ดังกล่าวสาระสำคัญของการเรียนรู้ภาษาจีนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จึง
ประกอบด้วย
- การใช้ภาษาจีนในการฟัง พูด อ่าน เขียน แสดงออก แลกเปลี่ยน ข้อมูล ข่าวสาร แสดงความรู้สึก
และความคิดเห็น ตีความ สรุปความ นำเสนอข้อมูล ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้ง
สร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอย่างเหมาะสม
- การใช้ภาษาจีนตามแบบแผนและวัฒนธรรมจีน รู้และเข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง
ภาษาและวัฒนธรรมของจีนกับของไทย และนำไปใช้อย่างเหมาะสม
- การใช้ภาษาจีนในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ เป็นพื้นฐานในการพัฒนา
แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน
- การใช้ภาษาจีนในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ชุมชน และสังคมโลกเป็น
เครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อประกอบอาชีพ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอด
ความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์
อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้ง
ต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการ
สื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์ การ
คิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
เกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้อง
เหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลง
ของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการ
ตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
4. ความสามารถในการใช้ท ั ก ษะชีว ิ ต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่า ง ๆ ไปใช้ในการดำเนิ น
ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการ
สร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การ
ปรับตัวให้ทนั กับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์
ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะ
กระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การ
แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ
ดังนี้
1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
2. ซื่อสัตย์สุจริต
3. มีวินัย
4. ใฝ่เรียนรู้
5. อยู่อย่างพอเพียง
6. มุ่งมั่นในการทำงาน
7. รักความเป็นไทย
มีจิตสาธารณะ

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร
มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็น
อย่างมีเหตุผล
มาตรฐาน ต 1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึกและ
ความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรฐาน ต 1.3 นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการ
พูดและการเขียน

สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม
มาตรฐาน ต 2.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้ได้
อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ
มาตรฐาน ต 2.2 เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
กับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
มาตรฐาน ต 3.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็น
พื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน

สาระที่ 4 ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
มาตรฐาน ต 4.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และสังคม
มาตรฐาน ต 4.2 ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และ
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก

คุณภาพผู้เรียน
จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
1. ปฏิบัติตามคำแนะนำในคู่มือการใช้งานต่างๆ คำชี้แจง คำอธิบาย และคำบรรยายที่ฟังและอ่าน อ่านออก
เสียงข้อความ ข่าว ประกาศ โฆษณา บทร้อยกรอง และบทละครสั้นถูกต้องตามหลักการอ่าน อธิบายและเขียน
ประโยคและข้อความสัมพันธ์กับสื่อที่ไม่ใช่ความเรียงรูปแบบต่างๆ ที่อ่าน รวมทั้งระบุและเขียนสื่อที่ไม่ใช่ความ
เรียงรูปแบบต่างๆ สัมพันธ์กับประโยคและข้อความที่ฟังหรืออ่าน จับใจความสำคัญ วิเคราะห์ความ สรุปความ
ตีความ และแสดงความคิดเห็นจากการฟังและอ่านเรื่องที่เป็นสารคดีและบันเทิงคดี พร้อมทั้งให้เหตุผลและ
ยกตัวอย่างประกอบ
2. สนทนาและเขียนโต้ตอบข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเรื่องต่างๆ ใกล้ตัว ประสบการณ์ สถานการณ์ ข่าว/
เหตุการณ์ ประเด็นที่อยู่ในความสนใจและสื่อสารอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม เลือกและใช้คำขอร้อง คำชี้แจง
คำอธิบาย และให้คำแนะนำ พูดและเขียนแสดงความต้องการ เสนอและให้ความช่วยเหลือ ตอบรับและ
ปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์จริงอย่างเหมาะสม พูดและเขียนเพื่อขอ
และให้ข้อมูล บรรยาย อธิบาย เปรียบเทียบ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่อง/ประเด็น/ข่าว/เหตุการณ์ที่ฟัง
และอ่านอย่างเหมาะสม พูดและเขียนบรรยายความรู้สึกและแสดงความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ
กิจกรรม ประสบการณ์ และข่าว/เหตุการณ์อย่างมีเหตุผล
3. พูดและเขียนนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง/ประสบการณ์ ข่าว/เหตุการณ์ เรื่องและประเด็นต่างๆ ตามความ
สนใจ พูดและเขียนสรุปใจความสำคัญ แก่นสาระที่ได้จากการวิเคราะห์เรื่อง กิจกรรม ข่าว เหตุการณ์ และ
สถานการณ์ตามความสนใจ พูดและเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรม ประสบการณ์ และเหตุการณ์ ทั้ง
ในท้องถิ่น สังคม และโลก พร้อมทั้งให้เหตุผลและยกตัวอย่างประกอบ
4. เลือกใช้ภาษา น้ำเสียง และกิริยาท่าทางเหมาะกับระดับของบุคคล เวลา โอกาสและสถานที่ตามมารยาท
สังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา อธิบาย/อภิปรายวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อ และที่มาของ
ขนบธรรมเนียมและประเพณีของเจ้าของภาษา เข้าร่วม แนะนำ และจัดกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรม
อย่างเหมาะสม
5. อธิบาย/เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างโครงสร้างประโยค ข้อความ สำนวน คำพังเพย สุภาษิต และบท
กลอนของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย วิเคราะห์/อภิปรายความเหมือนและความแตกต่างระหว่างวิถีชีวิต
ความเชื่อ และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับของไทย และนำไปใช้อย่างมีเหตุผล
6. ค้นคว้า/สืบค้น บันทึก สรุป และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ และนำเสนอด้วยการพูดและการเขียน
7. ใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์จริง/สถานการณ์จำลองที่เกิดขึ้นในห้องเรียน สถานศึกษา ชุมชน และสังคม
ใช้ภาษาต่างประเทศในการสืบค้น/ค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์ และสรุปความรู้/ข้อมูลต่างๆ จากสื่อและแหล่ง
การเรียนรู้ต่างๆ ในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ เผยแพร่/ประชาสัมพันธ์ ข้อมูล ข่าวสาร ของโรงเรียน
ชุมชน และท้องถิ่น/ประเทศชาติ เป็นภาษาต่างประเทศ
8. มีทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ ) เน้นการฟัง-พูด-อ่าน-เขียน) สื่อสารตามหัวเรื่องเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว
โรงเรียน สิ่งแวดล้อม อาหาร เครื่องดื่ม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เวลาว่างและนันทนาการ สุขภาพและ
สวัสดิการ การซื้อ-ขาย ลมฟ้าอากาศ การศึกษาและอาชีพ การเดินทางท่องเที่ยว การบริการ สถานที่ ภาษา
และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายในวงคำศัพท์ประมาณ 3,600-3,750 คำ (คำศัพท์ที่มีระดับการใช้แตกต่าง
กัน)
9. ใช้ประโยคผสมและประโยคซับซ้อนสื่อความหมายตามบริบทต่างๆ ในการสนทนา ทั้งที่เป็นทางการและไม่
เป็นทางการ
สาระมาตรฐานการเรียนรู้/ผลการเรียนรู้
ผลการเรียนรู้
1. เข้าใจคำศัพท์ กลุ่มคำ และประโยคภาษาจีนพื้นฐานในสถานการณ์ต่าง ๆ
2. อ่านออกเสียงคำศัพท์ กลุ่มคำ ประโยค และบทความอย่างง่ายได้ถูกต้อง
3. เขียนสัทอักษรจีน และตัวอักษรจีนได้อย่างถูกต้องตามหลักการ
4. ใช้แอปพลิเคชัน สื่อ เทคโนโลยีในการสื่อสารทางภาษาจีนเพื่อสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
5. ใช้ภาษาจีนเพื่อกล่าวแสดงความต้องการ ความรู้สึก การปฏิสัมพันธ์ และบอกเล่าเกี่ยวกับตนเอง
บุคคลอื่น และสิ่งต่าง ๆ รอบตัวในเบื้องต้น
6. เข้าใจความแตกต่างระหว่างเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ คำ วลี และโครงสร้างประโยคทาง
ภาษาจีนและภาษาไทย
7. เข้าใจความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมจีนและวัฒนธรรมไทย
8. มีเจตคติที่ดีและตระหนักถึงคุณค่าของการเรียนภาษาจีน
9. มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน อยู่อย่างพอเพียง
10. เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารของโรงเรียน ชุมชน ท้องถิ่น และประเทศชาติเป็นภาษาจีน

You might also like