Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 19

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบร่างกายมนุษย์

แผนฯ ที่ 4 ระบบประสาท

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4
ระบบประสาท
เวลา 3 ชั่วโมง
1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
ว 1.2 ม.2/10 ระบุอวัยวะและบรรยายหน้าที่ของอวัยวะในระบบ
ประสาทส่วนกลางในการควบคุมการทำงานต่าง ๆ ของ
ร่างกาย
ม.2/11 ตระหนักถึงความสำคัญของระบบประสาท โดยการ
บอกแนวทางในการดูแลรักษา รวมถึงการป้ องกันการก
ระทบกระเทือนและอันตรายต่อสมองและไขสันหลัง

2. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายโครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะในระบบประสาทได้ (K)
2. อธิบายการทำงานของระบบประสาทได้ (K)
3. เขียนการทำงานของระบบประสาทอย่างเป็ นลำดับขั้นได้ (P)
4. ตระหนักถึงความสำคัญของระบบประสาทและการดูแลรักษาอวัยวะ
ในระบบประสาท (A)
5. สนใจใฝ่ รู้ในการศึกษา (A)

3. สาระการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
- ระบบประสาทส่วนกลาง พิจารณาตามหลักสูตรของสถาน
ประกอบด้วยสมองและ ศึกษา

71
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบร่างกายมนุษย์
แผนฯ ที่ 4 ระบบประสาท

ไขสันหลัง จะทำหน้าที่ร่วมกับ
เส้นประสาท ซึ่งเป็ นระบบ
ประสาทรอบนอกในการ
ควบคุมการทำงานของอวัยวะ
ต่าง ๆ รวมถึงการแสดง
พฤติกรรมเพื่อการตอบสนอง
ต่อสิ่งเร้า
- เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นหน่วยรับ
ความรู้สึกจะเกิดกระแส
ประสาทส่งไปตามเซลล์
ประสาทรับความรู้สึกไปยัง
ระบบประสาทส่วนกลาง แล้ว
ส่งกระแสประสาทมาตามเซลล์
ประสาทสั่งการไปยังหน่วย
ปฏิบัติงาน เช่น กล้ามเนื้อ
- ระบบประสาทเป็ นระบบที่มี
ความซับซ้อนและมีความ
สัมพันธ์กับทุกระบบในร่างกาย
ดังนั้น จึงควรป้ องกันการเกิด
อุบัติเหตุที่กระทบ กระเทือน
ต่อสมอง หลีกเลี่ยงการใช้สาร
เสพติด หลีกเลี่ยงภาวะเครียด
และรับประทานอาหารที่มี
ประโยชน์ เพื่อดูแลรักษาระบบ

72
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบร่างกายมนุษย์
แผนฯ ที่ 4 ระบบประสาท

ประสาทให้ทำงานเป็ นปกติ

4. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
ระบบประสาทส่วนกลาง ประกอบด้วยสมอง ทำหน้าที่ควบคุมการ
ทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย ไขสันหลังทำหน้าที่ส่งผ่านกระแส
ประสาท และมีเส้นประสาทเป็ นระบบประสาทรอบนอกทำหน้าที่รับ-ส่ง
กระแสประสาทซึ่งมีเซลล์ประสาทอยู่จำนวนมาก
การทำงานของระบบประสาทเกิดจากการส่งกระแสประสาทจาก
อวัยวะรับความรู้สึกไปยังไขสันหลัง และส่งต่อไปยังสมอง ซึ่งสมองส่ง
กระแสประสาทผ่านไขสันหลังไปยังหน่วยปฏิบัติการต่าง ๆ เพื่อตอบ
สนองต่อสิ่งเร้าที่ได้รับ
ระบบประสาทเกี่ยวข้องกับการทำงานของทุกระบบจึงควรป้ องกัน
การกระทบกระเทือนของสมองและไขสันหลัง หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์และการใช้สารเสพติด รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีก
เลี่ยงภาวะเครียด เพื่อดูแลรักษาระบบประสาทให้ทำงานอย่างเป็ นปกติ

5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึง
ประสงค์
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. ความสามารถในการสื่อสาร 1. มีวินัย
2. ความสามารถในการคิด 2. ใฝ่ เรียนรู้
1) ทักษะการสำรวจค้นหา 3. มุ่งมั่นในการทำงาน
2) ทักษะการจำแนก

73
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบร่างกายมนุษย์
แผนฯ ที่ 4 ระบบประสาท

ประเภท
3) ทักษะการลงความเห็น
จากข้อมูล
3. ความสามารถในการใช้
เทคโนโลยี

6. กิจกรรมการเรียนรู้
 แนวคิด/รูปแบบการสอน/วิธีการสอน/เทคนิค : สืบเสาะหาความรู้
(5Es Instructional Model)

ชั่วโมงที่ 1

ขั้นนำ

กระตุ้นความสนใจ (Engage)
1. นักเรียนทำ Understanding Check จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์
ม.2 เล่ม 1 เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของตนเองก่อนเรียน

74
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบร่างกายมนุษย์
แผนฯ ที่ 4 ระบบประสาท

2. ถามคำถามเพื่อนำเข้าสู่บทเรียนว่า ระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ทำงาน


ประสานกันได้อย่างไร
(แนวตอบ ระบบต่าง ๆ ของร่างกายจะทำงานประสานกัน โดยมีระบบ
ประสาททำหน้าที่รับ-ส่งกระแสประสาทไปควบคุมการทำงานของ
ระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ให้เป็ นไปอย่างปกติ)
3. ถามคำถาม Prior Knowledge จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.2 เล่ม
1 เพื่อทบทวนความรู้เดิมกับนักเรียนว่าสมองทำหน้าที่อะไร
(แนวตอบ สมองทำหน้าที่เป็ นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของระบบ
ต่าง ๆ ของร่างกาย)

ขั้น
สำรวจค้นหา (Explore)
1. เกริ่นให้นักเรียนฟั งว่า ระบบประสาทเป็ นระบบควบคุมและประสาน
การทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง
และเส้นประสาท
2. นักเรียนศึกษาโครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะในระบบประสาท
ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาท โดยใช้แบบจำลอง
อวัยวะในระบบประสาท หรือภาพจากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.2
เล่ม 1

อธิบายความรู้ (Explain)
1. จับสลากหมายเลขของนักเรียน 9 คน อธิบายหน้าที่ของสมอง (เซรีบรัม
เซรีเบลลัม ไฮโพทาลามัส ทาลามัส พอนส์ เมดัลลาออบลองกาตา)
ไขสันหลัง และเส้นประสาท

75
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบร่างกายมนุษย์
แผนฯ ที่ 4 ระบบประสาท

2. ถามคำถามนักเรียน โดยใช้คำถามดังต่อไปนี้
- ระบบประสาทส่วนกลางประกอบด้วยอวัยวะใดบ้าง
(แนวตอบ ระบบประสาทส่วนกลาง ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง)
- เพราะเหตุใดมนุษย์จึงมีสมองส่วนเซรีบรัมขนาดใหญ่มาก
(แนวตอบ เนื่องจากมนุษย์เป็ นสิ่งมีชีวิตที่มีการใช้ความคิด ความจำ
และสติปั ญญามาก ซึ่งสมองส่วน เซรีบรัมทำหน้าที่ควบคุมความคิด
ความจำ สติปั ญญา และการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย จึงทำให้สมอง
ส่วนนี้มีขนาดใหญ่กว่าสมองส่วนอื่น ๆ)
- เซลล์ประสาทมีรูปร่างแตกต่างจากเซลล์อื่น ๆ อย่างไร
(แนวตอบ เซลล์ประสาทแบ่งออกเป็ นตัวเซลล์ซึ่งประกอบด้วย
นิวเคลียสและไซโทพลาซึมที่มีออร์แกเนลล์อยู่ภายใน ทำหน้าที่
สังเคราะห์สารที่จำเป็ นสำหรับเซลล์ประสาท และใยประสาทเป็ นส่วนที่
แยกออกมาจากตัวเซลล์ ทำหน้าที่รับ-ส่งกระแสประสาท ซึ่งมีลักษณะ
แตกต่างจากเซลล์อื่น ๆ)
- เดนไดรต์กับแอกซอนมีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร
(แนวตอบ เดนไดรต์เป็ นใยประสาทที่นำกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์
ส่วนแอกซอนเป็ นใยประสาทที่นำกระแสประสาทออกจากตัวเซลล์ ซึ่ง
เซลล์ประสาทแต่ละเซลล์ อาจมีเดนไดรต์เพียง 1 เส้น หรือหลายเส้น
แต่แอกซอนจะมีเพียงเส้นเดียวเท่านั้น)
2. ถามคำถามท้าทายการคิดขั้นสูง (H.O.T.S.) จากหนังสือเรียน
วิทยาศาสตร์ ม.2 เล่ม 1 กับนักเรียนว่า หากถูกทำร้ายโดยใช้ของแข็งตี
บริเวณท้ายทอยอย่างรุนแรง จะส่งผลต่อร่างกายอย่างไร
(แนวตอบ บริเวณทายทอยเปนบริเวณสมองส่วนเซรีเบลลัม ซึ่งทำ
หน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว และการทรงตัวของร่างกาย หากสมอง

76
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบร่างกายมนุษย์
แผนฯ ที่ 4 ระบบประสาท

ส่วนนี้ได้รับการกระทบกระเทือนอาจมีผลต่อการทรงตัว และการ
เคลื่อนไหวของร่างกายที่ผิดปกติ)
3. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับโครงสร้างและหน้าที่ของ
อวัยวะในระบบประสาท เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า ระบบประสาทประกอบ
ด้วยสมองทำหน้าที่เป็ นศูนย์กลางการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งสมอง
แต่ละส่วนจะทำหน้าที่แตกต่างกัน ไขสันหลังทำหน้าที่ส่งผ่านกระแส
ประสาทจากหน่วยรับความรู้สึกไปยังสมอง และจากสมองไปยังหน่วย
ปฏิบัติงาน และเส้นประสาททำหน้าที่ส่งผ่านกระแสประสาทไปยังส่วน
ต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งในสมองและไขสันหลังจะมีเซลล์ประสาทจำนวน
มาก ประกอบด้วยตัวเซลล์และใยประสาท (แอกซอนและเดนไดรต์)
4. นักเรียนทำใบงานที่ 1.5 เรื่อง ระบบประสาท

ชั่วโมงที่ 2

ขั้น

สำรวจค้นหา (Explore)
1. ทบทวนความรู้จากชั่วโมงที่แล้วให้นักเรียนทราบพอสังเขปว่า ระบบ
ประสาททำหน้าที่ควบคุมและประสานการทำงานของระบบต่าง ๆ ของ
ร่างกาย ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาท
2. ถามคำถามนักเรียนว่า เพราะเหตุใด เมื่อนักเรียนเดินเหยียบตะปู จะ
ยกเท้าหนีทันที
(แนวตอบ เนื่องจากมีการส่งกระแสประสาทจากเท้าไปยังสมอง ทำให้
สมองรับรู้ถึงความเจ็บปวดจากการเหยียบตะปู จึงสั่งการมายังกล้าม
เนื้อบริเวณขาให้ยกเท้าหนีออกทันที)

77
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบร่างกายมนุษย์
แผนฯ ที่ 4 ระบบประสาท

3. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ร่วมกันศึกษาการทำงานของระบบ


ประสาทเมื่อถูกหนามทิ่ม จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.2 เล่ม 1
หรือใช้วีดิทัศน์จากสื่อออนไลน์ เรื่อง การทำงานของระบบประสาท
เช่น
- https://www.youtube.com/watch?v=Nn2RHLWST-k
อธิบายความรู้ (Explain)
1. สุ่มเลือกกลุ่มนักเรียนอย่างน้อย 3 กลุ่ม เขียนแผนผังแสดงการทำงาน
ของระบบประสาทเมื่อถูกหนามทิ่ม
2. ถามคำถามนักเรียน โดยใช้คำถามดังต่อไปนี้
- เพราะเหตุใด เมื่อถูกหนามทิ่มหรือเดินเหยียบตะปู จึงรู้สึกเจ็บ
(แนวตอบ เนื่องจากมีการส่งกระแสประสาทไปยังไขสันหลังและสมอง
ทำให้สมองรับรู้ถึงความเจ็บปวด)
- กระแสประสาทจะส่งต่อไปยังไขสันหลังและสมองได้อย่างไร
(แนวตอบ กระแสประสาทถูกส่งไปยังสมองและไขสันหลังผ่านเส้น
ประสาท ซึ่งเส้นประสาทจะมีเซลล์ประสาทต่อกันเป็ นร่างแหเพื่อรับ-ส่ง
กระแสประสาท โดยแอกซอนของเซลล์ประสาทหนึ่งจะแตกออกเป็ น
กิ่งก้าน แล้วไปแนบชิดกับเดนไดรต์ของอีกเซลล์ประสาทหนึ่ง จึงมีการ
รับ-ส่งกระแสประสาทจากเซลล์ประสาทต่อ ๆ กัน จนไปถึงเซลล์
ประสาทที่ไขสันหลังและสมอง ตามลำดับ)
- ระบบประสาทมีการทำงานอย่างไร
(แนวตอบ เมื่อหน่วยรับความรู้สึกได้รับการกระตุ้น กลุ่มเซลล์รับความ
รู้สึกจะส่งกระแสประสาทไปยัง ไขสันหลัง แล้วส่งกระแสประสาท
ต่อไปยังสมอง ซึ่งสมองจะส่งกระแสประสาทผ่านไขสันหลังไปยังหน่วย

78
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบร่างกายมนุษย์
แผนฯ ที่ 4 ระบบประสาท

ปฏิบัติงาน เพื่อกระตุ้นหรือยับยั้งการทำงานของอวัยวะที่ได้รับการกระ
ตุ้น ให้แสดงพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ได้รับ)
3. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการทำงานของระบบประสาท
เมื่อถูกหนามทิ่ม เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า เมื่อถูกหนามทิ่ม หน่วยรับความ
รู้สึกบริเวณปลายนิ้วจะส่งกระแสประสาทไปยังไขสันหลัง และส่งต่อไป
ยังสมองทำให้รู้สึกเจ็บ และไขสันหลังจะส่งกระแสประสาทไปสั่งการให้
กล้ามเนื้อโคนแขนพับงอ และยกปลายนิ้วออกจากหนาม

ชั่วโมงที่ 3

ขั้น

สำรวจค้นหา (Explore)
1. ทบทวนความรู้จากชั่วโมงที่แล้วให้นักเรียนทราบพอสังเขปว่า ระบบ
ประสาททำหน้าที่รับ-ส่งกระแสประสาทไปกระตุ้นหรือยับยั้งการ
ทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งหากระบบประสาททำงานผิดปกติอาจส่ง
ผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา
2. นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับโรคอัมพฤกษ์และอัมพาต โรคอัลไซเมอร์ และ
การดูแลรักษาระบบประสาท จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.2
เล่ม 1

อธิบายความรู้ (Explain)
1. ถามคำถามนักเรียน โดยใช้คำถามต่อไปนี้

79
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบร่างกายมนุษย์
แผนฯ ที่ 4 ระบบประสาท

- โรคอัมพฤกษ์และอัมพาตเกิดจากสาเหตุใด
(แนวตอบ โรคอัมพฤกษ์และอัมพาตเกิดจากความผิดปกติของสมองใน
การควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ และการรับความรู้สึก ซึ่งความผิด
ปกติของสมองเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การอุดตันของหลอดเลือดแดง
ในสมองทำให้สมองขาดเลือดและสมองตาย การแตกของหลอดเลือด
แดงในสมองจากความดันเลือดสูง การได้รับการกระทบกระเทือน
บริเวณศีรษะ หรือเกิดจากโรคบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน ความดัน
เลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด)
- เพราะเหตุใดจึงมักพบการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ
(แนวตอบ โรคอัลไซเมอร์สามารถพบได้ทุกช่วงวัย แต่จะพบมากในผู้สูง
อายุ เนื่องจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เซลล์สมองหรือเซลล์ประสาท
เสื่อมลงจากการใช้งานมาก และยังเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น
พันธุกรรม การได้รับบาดเจ็บของสมอง การเป็ นโรคบางโรค เช่น โรค
เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง)
- การสวมใส่หมวกกันน็อกขณะขับขี่รถจักรยานยนต์มีประโยชน์อย่างไร
(แนวตอบ การสวมหมวกกันน็อกจะช่วยป้ องกันไม่ให้สมองได้รับการก
ระทบกระเทือน เมื่อเกิดอุบัติเหตุขณะขับขี่รถจักรยานยนต์)
- การรับประทานข้าวกล้อง เมล็ดธัญพืช และเครื่องในสัตว์ มีส่วนช่วย
บำรุงระบบประสาทอย่างไร
(แนวตอบ เนื่องจากอาหารดังกล่าวมีวิตามินบี 1 สูง ซึ่งเป็ นวิตามินที่
ช่วยบำรุงสมอง และช่วยให้ระบบประสาทบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย
ทำงานอย่างปกติ)
2. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบ
ประสาท เพื่อให้ได้ข้อสรุป ดังนี้ โรค อัมพฤกษ์และอัมพาตเกิด

80
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบร่างกายมนุษย์
แผนฯ ที่ 4 ระบบประสาท

จากความผิดปกติของสมองในการควบคุมกล้ามเนื้อแขนและขา ซึ่งอาจ
เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดในสมอง หรือการแตกของหลอด
เลือดในสมองทำให้สมองขาดเลือด การได้รับการกระทบกระเทือน
บริเวณศีรษะ หรือเกิดจากโรคบางโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน
โลหิตสูง โรคอัลไซเมอร์เกิดจากเซลล์สมองและเซลล์ประสาทในสมอง
เสื่อมหรือถูกทำลาย ส่งผลต่อความจำ มักพบในผู้สูงอายุ จึงควรดูแล
รักษาอวัยวะในระบบประสาท โดยระมัดระวังการกระทบกระเทือน
บริเวณศีรษะและไขสันหลัง รับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 1 หลีก
เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ สารเสพติด และยาบาง
ชนิดที่มีผลต่อระบบประสาท พักผ่อนให้เพียงพอและทำกิจกรรมผ่อน
คลายความเครียด

ขยายความเข้าใจ (Elaborate)
1. นักเรียนสืบค้นข้อมูล เรื่อง อวัยวะรับสัมผัสของมนุษย์ โดยเชื่อมโยง
ความสัมพันธ์ของอวัยวะรับสัมผัส ต่าง ๆ กับการทำงานของระบบ
ประสาทในรูปผังมโนทัศน์ลงกระดาษ A4 ส่งครูผู้สอน
2. นักเรียนทำ Topic Question ท้ายหัวข้อ เรื่อง ระบบประสาท จาก
หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.2 เล่ม 1
3. นักเรียนทำแบบฝึ กหัดในแบบฝึ กหัดวิทยาศาสตร์ ม.2 เล่ม 1
ขั้นสรุป
ตรวจสอบผล (Evaluate)
1. นักเรียนและครูร่วมกันสรุป เรื่อง ระบบประสาท ในประเด็นต่าง ๆ
ดังนี้
- ความสำคัญของระบบประสาท

81
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบร่างกายมนุษย์
แผนฯ ที่ 4 ระบบประสาท

- โครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะในระบบประสาท
- การทำงานของระบบประสาท
- การดูแลรักษาระบบประสาท
นักเรียนสรุปในรูปผังมโนทัศน์ลงกระดาษ A4 ส่งครูผู้สอน
2. ตรวจสอบผลจากผังมโนทัศน์ เรื่อง อวัยวะรับสัมผัสของมนุษย์
3. ตรวจสอบผลจากผังมโนทัศน์ เรื่อง ระบบประสาท
4. ตรวจสอบผลจากใบงานที่ 1.5 เรื่อง ระบบประสาท
5. ตรวจสอบผลจากการทำ Topic Question ท้ายหัวข้อ เรื่อง ระบบ
ประสาท
6. ตรวจสอบผลจากการทำแบบฝึ กหัดในแบบฝึ กหัดวิทยาศาสตร์ ม.2 เล่ม
1

7.การวัดและประเมินผล
รายการวัด วิธีวัด เครื่องมือ เกณฑ์การ
ประเมิน
7.1 การประเมิน - ตรวจผังมโน - แบบประเมิน - ระดับ
ชิ้นงาน/ ทัศน์ เรื่อง ชิ้นงาน คุณภาพ 2
ภาระงาน อวัยวะรับ ผ่านเกณฑ์
(รวบยอด) สัมผัสของ
มนุษย์ - แบบประเมิน - ระดับ
- ตรวจผังมโน ชิ้นงาน คุณภาพ 2
ทัศน์ เรื่อง ผ่านเกณฑ์
ระบบประสาท
7.2 ประเมิน

82
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบร่างกายมนุษย์
แผนฯ ที่ 4 ระบบประสาท

รายการวัด วิธีวัด เครื่องมือ เกณฑ์การ


ประเมิน
ระหว่าง
การจัด
กิจกรรม - ตรวจใบงานที่ - ใบงานที่ 1.5 - ร้อยละ 60
การเรียนรู้ 1.5 ผ่านเกณฑ์
1) ระบบ - Topic - ร้อยละ 60
ประสาท - ตรวจ Topic Question ผ่านเกณฑ์
Question - ร้อยละ 60
- ตรวจแบบ - แบบฝึ กหัด ผ่านเกณฑ์
ฝึ กหัด
2) - ประเมิน - ผลงานที่นำ - ระดับ
การนำ การนำเสนอ เสนอ คุณภาพ 2
เสนอผล ผลงาน ผ่านเกณฑ์
งาน
3) - สังเกต - แบบสังเกต - ระดับ
พฤติกรรม พฤติกรรม พฤติกรรม คุณภาพ 2
การ การทำงาน การทำงาน ผ่านเกณฑ์
ทำงาน ราย รายบุคคล รายบุคคล
บุคคล
4) - สังเกต - แบบสังเกต - ระดับ
พฤติกรรม พฤติกรรม พฤติกรรม คุณภาพ 2
การ การทำงาน การทำงาน ผ่านเกณฑ์
ทำงานกลุ่ม กลุ่ม กลุ่ม

83
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบร่างกายมนุษย์
แผนฯ ที่ 4 ระบบประสาท

รายการวัด วิธีวัด เครื่องมือ เกณฑ์การ


ประเมิน
5) - สังเกตความมี - แบบ - ระดับ
คุณลักษณะ วินัย ประเมิน คุณภาพ 2
อันพึง ใฝ่ เรียนรู้ และ คุณลักษณะ ผ่านเกณฑ์
ประสงค์ มุ่งมั่น อันพึงประสงค์
ในการทำงาน

8. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
8.1 สื่อการเรียนรู้
1) หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.2 เล่ม 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
ระบบร่างกายมนุษย์
2) แบบฝึ กหัดวิทยาศาสตร์ ม.2 เล่ม 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบ
ร่างกายมนุษย์
3) ใบงานที่ 1.5 เรื่อง ระบบประสาท
4) PowerPoint เรื่อง ระบบ
ประสาท
5)ภาพยนตร์สารคดีสั้น Twig

8.2 แหล่งการเรียนรู้
1) ห้องเรียน
2) ห้องสมุด
3)แหล่งข้อมูลสารสนเทศ

84
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบร่างกายมนุษย์
แผนฯ ที่ 4 ระบบประสาท

ใบงานที่ 1.5
เรื่อง ระบบประสาท
คำชี้แจง : จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. จงอธิบายหน้าที่ของสมองส่วนต่าง ๆ ต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1

3 5

1. สมอง 2. สมอง
ส่วน................................................. ส่วน.................................................
................... ...................
3. สมอง 4. สมอง
ส่วน................................................. ส่วน.................................................
85
................... ...................
5. สมอง 6. สมอง
ส่วน................................................. ส่วน.................................................
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบร่างกายมนุษย์
แผนฯ ที่ 4 ระบบประสาท

2. จงอธิบายลักษณะของเซลล์ประสาทต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

เฉลย
ใบงานที่ 1.5
เรื่อง ระบบประสาท
คำชี้แจง : จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. จงอธิบายหน้าที่ของสมองส่วนต่าง ๆ ต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1

2
86
3 5

4
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบร่างกายมนุษย์
แผนฯ ที่ 4 ระบบประสาท

เซรีบรัม ไฮโพทาลามัส
ควบคุมความคิด ความจำ ควบคุมอุณหภูมิ การเต้น
สติปั ญญา และเป็ นศูนย์ควบคุม ของหัวใจ ความดัน และความ
พอนส์ เมดัลลา ออบลองกาตา
ควบคุมการหายใจ การ ควบคุมการเต้นของหัวใจ
เคี้ยว การหลั่งน้ำลาย และการ การหายใจ ความดันเลือด การ
เซรีเบลลัม ทาลามัส
ควบคุมการเคลื่อนไหว การ ศูนย์รวบรวมกระแส
ทรงตัวของร่างกาย ประสาทเข้าและออกจากสมอง

2. จงอธิบายลักษณะของเซลล์ประสาทต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
เซลล์ประสาท ประกอบด้วยตัวเซลล์
เดนไดรต์
ที่มีนิวเคลียส และไซโทพลาซึมที่มี
ออร์แกเนลล์ต่าง ๆ ทำหน้าที่
สังเคราะห์สารที่จำเป็ นต่อการดำรง

แอกซอน ชีวิตของเซลล์ และใยประสาท เป็ น

87
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบร่างกายมนุษย์
แผนฯ ที่ 4 ระบบประสาท

9. ความเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

ข้อเสนอแนะ

ลงชื่อ
.................................
(
................................ )
ตำแหน่ง
.......

10. บันทึกผลหลังการสอน

Ÿ ด้านความรู้

Ÿ ด้านสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

Ÿ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์

Ÿ ด้านความสามารถทางวิทยาศาสตร์

Ÿ ด้านอื่น ๆ (พฤติกรรมเด่น หรือพฤติกรรมที่มีปั ญหาของนักเรียน


เป็ นรายบุคคล (ถ้ามี))

Ÿ ปั ญหา/อุปสรรค 88
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบร่างกายมนุษย์
แผนฯ ที่ 4 ระบบประสาท

89

You might also like