Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 13

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม

แผนฯ ที่ 1 การระเหยแห้ง

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
การระเหยแห้ง
เวลา 2 ชั่วโมง
1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
ว. 2.1 ม.2/1 อธิบายการแยกสารผสมโดยการระเหยแห้ง การตกผลึก
การกลั่นอย่างง่าย โครมาโท-กราฟี แบบกระดาษ การ
สกัดด้วยตัวทำละลาย โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
ม.2/2 แยกสารโดยการระเหยแห้ง การตกผลึก การกลั่นอย่าง
ง่าย โครมาโทกราฟี แบบกระดาษ การสกัดด้วยตัวทำ
ละลาย

2. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายการแยกสารโดยการระเหยแห้งได้ (K)
2. ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้การระเหยแห้งในการแยกสารในชีวิต
ประจำวันได้ (K)
3. แยกสารโดยการระเหยแห้งได้ (P)
4. ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง (P)
5. สนใจใฝ่ รู้ในการศึกษา (A)

3. สาระการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
- การแยกสารผสมให้เป็ นสาร พิจารณาตามหลักสูตรของ
บริสุทธิ์ทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับ สถานศึกษา
สมบัติของสารนั้น ๆ การระเหย

122
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 1 การระเหยแห้ง

แห้งใช้แยกสารละลายซึ่ง
ประกอบด้วยตัวละลายที่เป็ น
ของแข็งในตัวทำละลายที่เป็ น
ของเหลว โดยใช้ความร้อนระเหย
ตัวทำละลายออกไปจนหมด
เหลือแต่ตัวละลาย การตกผลึกใช้
แยกสารละลายที่ประกอบด้วยตัว
ละลายที่เป็ นของแข็งในตัวละลาย
ที่เป็ นของเหลว โดยทำให้
สารละลายอิ่มตัว แล้วปล่อย
ให้ตัวทำละลายระเหยออกไปบาง
ส่วน ตัวละลายจะตกผลึกแยก
ออกมา การกลั่นอย่างง่ายใช้แยก
สารละลายที่ประกอบด้วยตัว
ละลายและตัวทำละลายที่เป็ น
ของเหลวที่มีจุดเดือดต่างกันมาก
วิธีนี้จะแยกของเหลวบริสุทธิ์ออก
จากสารละลายโดยให้ความร้อน
กับสารละลาย ของเหลวจะเดือด
และกลายเป็ นไอแยกจาก
สารละลายแล้วควบแน่นกลับเป็ น
ของเหลวอีกครั้ง ขณะที่ของเหลว
เดือด อุณหภูมิของไอจะคงที่
โครมาโทกราฟี แบบกระดาษเป็ น
วิธีการแยกสารผสมที่มีปริมาณ

123
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 1 การระเหยแห้ง

น้อยโดยใช้แยกสารที่มีสมบัติการ
ละลายในตัวทำละลายและการ
ถูกดูดซับด้วย ตัวดูดซับแตก
ต่างกัน ทำให้สารแต่ละชนิด
เคลื่อนที่ไปบนตัวดูดซับได้ต่างกัน
สารจึงแยกออกจากกันได้
อัตราส่วนระหว่างระยะทางที่สาร
องค์ประกอบแต่ละชนิดเคลื่อนที่
ได้บนตัวดูดซับกับระยะทางที่ตัว
ทำละลายเคลื่อนที่ได้เป็ นค่า
เฉพาะตัวของสารแต่ละชนิดในตัว
ทำละลายและตัวดูดซับหนึ่ง ๆ
การสกัดด้วยตัวทำละลายเป็ นวิธี
การแยกสารผสมที่มีสมบัติการ
ละลายในตัวทำละลายที่ต่างกัน
โดยชนิดของตัวทำละลายมีผลต่อ
ชนิดและปริมาณของสารที่สกัดได้
การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำใช้
แยกสารที่ระเหยง่าย ไม่ละลาย
น้ำ และไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำออก
จากสารที่ระเหยยากโดยใช้ ไอ
น้ำเป็ นตัวพา

4. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

124
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 1 การระเหยแห้ง

การระเหยแห้งเป็ นการแยกสารละลายที่ประกอบด้วยตัวละลายที่
เป็ นของแข็งในตัวทำละลายที่เป็ นของเหลวโดยใช้ความร้อน ซึ่งตัวทำ
ละลายจะระเหยกลายเป็ นไอจนหมด จึงเหลือเฉพาะตัวละลายที่เป็ น
ของแข็ง เช่น การผลิตเกลือสมุทร

5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึง
ประสงค์
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. ความสามารถในการสื่อสาร 1. มีวินัย
2. ความสามารถในการคิด 2. ใฝ่ เรียนรู้
1) ทักษะการสังเกต 3. มุ่งมั่นในการทำงาน
2) ทักษะสำรวจค้นหา
3) ทักษะการทดลอง
4) ทักษะการลงความเห็น
จากข้อมูล
3. ความสามารถในการใช้
เทคโนโลยี
6. กิจกรรมการเรียนรู้
 แนวคิด/รูปแบบการสอน/วิธีการสอน/เทคนิค : สืบเสาะหาความรู้
(5Es Instructional Model)

ชั่วโมงที่ 1-

ขั้นนำ

125
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 1 การระเหยแห้ง

กระตุ้นความสนใจ (Engage)
1. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสาร
ผสม
2. นำเกลือหรือน้ำตาลทรายละลายน้ำจนมีลักษณะเป็ นเนื้อเดียวกัน แล้ว
ถามคำถาม Big Question จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.2 เล่ม 1
กับนักเรียนว่า สารมากกว่า 1 ชนิด ที่รวมเป็ นเนื้อเดียวกันจะแยกออก
จากกันได้อย่างไร
(แนวตอบ คำตอบขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของครูผู้สอน จากตัวอย่าง
เป็ นการแยกเกลือหรือน้ำตาลทรายออกจากน้ำ ซึ่งอาจใช้วิธีการระเหย
แห้งหรือการกลั่นแบบธรรมดา)
3. นักเรียนทำ Understanding Check จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์
ม.2 เล่ม 1 เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของตนเองก่อนเรียน
4. ถามคำถาม Prior Knowledge จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.2 เล่ม
1 เพื่อทบทวนความรู้เดิมกับนักเรียนว่า น้ำเชื่อมประกอบด้วยสารใด
เป็ นตัวทำละลาย และสารใดเป็ นตัวละลาย
(แนวตอบ น้ำเชื่อมประกอบด้วยน้ำเป็ นตัวทำละลายและน้ำตาลเป็ นตัว
ละลาย)

ขั้น
สำรวจค้นหา (Explore)
1. เกริ่นให้นักเรียนฟั งเกี่ยวกับสารผสมว่า สารผสมเป็ นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่
2 ชนิดขึ้นไปมาผสมกันในอัตราส่วนไม่คงที่ ซึ่งสารแต่ละชนิดยังคง
แสดงสมบัติของสารเดิมอยู่ เช่น น้ำเกลือประกอบด้วยน้ำและ

126
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 1 การระเหยแห้ง

โซเดียม- คลอไรด์ผสมกัน สารผสมสามารถพบในรูปสารผสมเนื้อเดียว


และและสารผสมเนื้อผสม
2. ถามคำถามนักเรียนว่า นักเรียนรู้จักการแยกสารผสมด้วยวิธีใดบ้าง
(แนวตอบ นักเรียนสามารถตอบการแยกสารผสมได้หลายวิธี เช่น
การกรอง การระเหยแห้ง การตกผลึก การกลั่น การสกัดด้วยตัวทำ
ละลาย)
3. นักเรียนศึกษาการระเหยแห้งและหลักการระเหยแห้ง จากหนังสือเรียน
วิทยาศาสตร์ ม.2 เล่ม 1 หรือจาก QR Code เรื่อง การระเหยแห้ง
4. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ทำกิจกรรม การระเหยแห้ง เพื่อแยก
ตัวละลายออกจากตัวทำละลาย โดยวิธีการระเหยแห้ง จากหนังสือ
เรียนวิทยาศาสตร์ ม.2 เล่ม 1
5. นักเรียนศึกษาการผลิตเกลือสมุทร ซึ่งเป็ นการประยุกต์ใช้ประโยชน์จาก
หลักการระเหยแห้ง จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.2 เล่ม 1 หรือวีดิ
ทัศน์จากสื่อออนไลน์ เรื่อง การผลิตเกลือสมุทร เช่น
- https://www.youtube.com/watch?v=rDhNly4gL-0
- https://www.youtube.com/watch?
v=0vVyw2rVA4Q&t=175s

อธิบายความรู้ (Explain)
1. สุ่มเลือกกลุ่มนักเรียนอย่างน้อย 5 กลุ่ม นำเสนอผลการทำกิจกรรม
การระเหยแห้ง
2. ถามคำถามท้ายกิจกรรมกับนักเรียน โดยใช้คำถามต่อไปนี้
- ภายหลังการระเหย สารละลายทั้ง 3 ชนิด มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

127
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 1 การระเหยแห้ง

(แนวตอบ หลุมที่บรรจุสารละลายโซเดียมคลอไรด์และหลุมที่บรรจุ
สารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตเกิดผลึกของแข็งเหลืออยู่ ส่วน
หลุมที่บรรจุสารละลายกรดแอซีติกไม่เหลือผลึกของแข็งเหลืออยู่)
- สารละลายชนิดใดประกอบด้วยตัวละลายที่เป็ นของแข็ง
(แนวตอบ สารละลายโซเดียมคลอไรด์และสารละลายโพแทสเซียม
เปอร์แมงกาเนตเป็ นสารละลายที่มี ตัวละลายเป็ นของแข็ง
เนื่องจากเหลือผลึกของแข็งอยู่ภายในหลุม ส่วนสารละลายกรดแอซีติก
เป็ นสารละลายที่มีตัวละลายเป็ นของเหลว ตัวละลายจึงระเหยออกไป
จนหมด จึงไม่เหลือสารอยู่ในหลุม)
3. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายผลกิจกรรม การระเหยแห้ง เพื่อให้ได้
ข้อสรุป ดังนี้ เมื่อให้ความร้อนกับสารละลายจนน้ำระเหยออกจนหมด
หลุมที่บรรจุสารละลายโซเดียมคลอไรด์เกิดผลึกสีขาว หลุมที่บรรจุ
สารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตเกิดผลึกสีม่วง ส่วนหลุมที่บรรจุ
สารละลายกรดแอซีติกไม่มีผลึกเกิดขึ้น แสดงว่า สารละลายโซเดียม
คลอไรด์และสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตเป็ นสารละลายที่มี
ของแข็งเป็ นตัวละลาย ส่วนสารละลายกรดแอซีติกเป็ นสารละลายที่มี
ของเหลวเป็ นตัวละลาย
4. ถามคำถามนักเรียน โดยใช้คำถามต่อไปนี้
- การระเหยแห้งใช้แยกสารประเภทใด
(แนวตอบ การระเหยแห้งใช้แยกสารละลายที่ประกอบด้วยตัวละลายที่
เป็ นของแข็งออกจากตัวทำละลายที่เป็ นของเหลว)
- การระเหยแห้งมีหลักการอย่างไร
(แนวตอบ การระเหยแห้งอาศัยหลักการระเหยกลายเป็ นไอของสาร
เมื่อสารละลายได้รับความร้อน สารที่มีจุดเดือดต่ำกว่าจะระเหยกลาย

128
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 1 การระเหยแห้ง

เป็ นไอออกมาก่อน ซึ่งเป็ นตัวทำละลายที่เป็ นของเหลว จึงเหลือเฉพาะ


ตัวละลายที่เป็ นของแข็ง)
- การผลิตเกลือสมุทรใช้หลักการระเหยแห้งอย่างไร
(แนวตอบ การผลิตเกลือสมุทรเป็ นการแยกเกลือหรือโซเดียมคลอไรด์ที่
ละลายอยู่ในน้ำทะเลในรูปไอออน โดยการใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์
ทำให้น้ำระเหยกลายเป็ นไอออกไป จึงเหลือเฉพาะผลึกเกลือสมุทรหรือ
ผลึกโซเดียมคลอไรด์)
5. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการระเหยแห้ง เพื่อให้ได้
ข้อสรุปว่า การระเหยแห้งเป็ นการแยกสารที่ประกอบด้วยตัวละลายที่
เป็ นของแข็งในตัวทำละลายที่เป็ นของเหลวโดยใช้ความร้อน ทำให้
ตัวทำละลายที่เป็ นของเหลวระเหยกลายเป็ นไอออกไปจนหมด เหลือ
เฉพาะตัวละลายที่เป็ นของแข็ง หลักการระเหยแห้งถูกใช้ประโยชน์ใน
การผลิตเกลือสมุทร เมื่อน้ำทะเลซึ่งมีไอออนของโซเดียมคลอไรด์
+ -
ละลายอยู่ในรูปไอออน (Na Cl ) ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ น้ำจะ
ระเหยกลายเป็ นไอออกไป จึงเหลือผลึกโซเดียมคลอไรด์หรือผลึกเกลือ
สมุทรอยู่ในนาเกลือ

ขยายความเข้าใจ (Elaborate)
1. นักเรียนทำ Topic Question ท้ายหัวข้อ เรื่อง การระเหยแห้ง
2. นักเรียนทำแบบฝึ กหัดในแบบฝึ กหัดวิทยาศาสตร์ ม.2 เล่ม 1

ขั้นสรุป
ตรวจสอบผล (Evaluate)
1. นักเรียนและครูร่วมกันสรุป เรื่อง การระเหยแห้ง โดยมีประเด็น ดังนี้

129
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 1 การระเหยแห้ง

- หลักการระเหยแห้ง
- การประยุกต์ใช้ประโยชน์จากการระเหยแห้ง
นักเรียนเขียนสรุปลงในสมุดบันทึกของนักเรียน
2. ตรวจสอบผลจากแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยก
สารผสม
3. ตรวจสอบผลจากการสรุป เรื่อง การระเหยแห้ง
4. ประเมินผลจากการทำกิจกรรม การระเหยแห้ง
5. ตรวจสอบผลจากการทำ Topic Question ท้ายหัวข้อ เรื่อง การ
ระเหยแห้ง
6. ตรวจสอบผลจากการทำแบบฝึ กหัดในแบบฝึ กหัดวิทยาศาสตร์ ม.2 เล่ม
1

7.การวัดและประเมินผล
รายการวัด วิธีวัด เครื่องมือ เกณฑ์การ
ประเมิน
7.1 การประเมิน - ตรวจการสรุป - แบบประเมิน - ระดับ
ชิ้นงาน/ เรื่อง ชิ้นงาน คุณภาพ 2
ภาระงาน การระเหยแห้ง ผ่านเกณฑ์
(รวบยอด)
7.2 การประเมิน
ก่อนเรียน - ตรวจแบบ - แบบทดสอบ - ประเมินตาม
- แบบ ทดสอบ ก่อน ก่อนเรียน สภาพจริง
ทดสอบ เรียน
ก่อนเรียน

130
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 1 การระเหยแห้ง

รายการวัด วิธีวัด เครื่องมือ เกณฑ์การ


ประเมิน
หน่วยการ
เรียนรู้ที่ 1

7.3 ประเมิน
ระหว่าง
การจัด
กิจกรรม - ตรวจ Topic - Topic - ร้อยละ 60
การเรียนรู้ Question Question ผ่านเกณฑ์
1) การ - ตรวจแบบ - ร้อยละ 60
ระเหยแห้ง ฝึ กหัด - แบบฝึ กหัด ผ่านเกณฑ์
2) - ประเมิน - แบบประเมิน - ระดับ
การนำ การนำเสนอ การนำเสนอ คุณภาพ 2
เสนอผล ผลงาน ผลงาน ผ่านเกณฑ์
งาน
3)การปฏิบัติ - ประเมินการ - แบบประเมิน - ระดับ
การ ปฏิบัติการ ปฏิบัติการ คุณภาพ 2
ผ่านเกณฑ์
4) - สังเกต - แบบสังเกต - ระดับ
พฤติกรรม พฤติกรรม พฤติกรรม คุณภาพ 2
การ การทำงาน การทำงาน ผ่านเกณฑ์
ทำงาน ราย รายบุคคล รายบุคคล
บุคคล

131
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 1 การระเหยแห้ง

รายการวัด วิธีวัด เครื่องมือ เกณฑ์การ


ประเมิน
5) - สังเกต - แบบสังเกต - ระดับ
พฤติกรรม พฤติกรรม พฤติกรรม คุณภาพ 2
การ การทำงาน การทำงาน ผ่านเกณฑ์
ทำงานกลุ่ม กลุ่ม กลุ่ม
6) - สังเกตความมี - แบบ - ระดับ
คุณลักษณะ วินัย ประเมิน คุณภาพ 2
อันพึง ใฝ่ เรียนรู้ และ คุณลักษณะ ผ่านเกณฑ์
ประสงค์ มุ่งมั่น อันพึงประสงค์
ในการทำงาน

8. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
8.1 สื่อการเรียนรู้
1) หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.2 เล่ม 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การ
แยกสารผสม
2) แบบฝึ กหัดวิทยาศาสตร์ ม.2 เล่ม 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การ
แยกสารผสม
3)แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
4) PowerPoint เรื่อง การ
ระเหยแห้ง
5) QR Code เรื่อง การระเหยแห้ง

8.2 แหล่งการเรียนรู้

132
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 1 การระเหยแห้ง

1) ห้องเรียน
2) ห้องสมุด
3)แหล่งข้อมูลสารสนเทศ

9. ความเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

ข้อเสนอแนะ

ลงชื่อ ....
.............................
(
................................ )
ตำแหน่ง
.......

10. บันทึกผลหลังการสอน

Ÿ ด้านความรู้

Ÿ ด้านสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

Ÿ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์

Ÿ ด้านความสามารถทางวิทยาศาสตร์

133
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การแยกสารผสม
แผนฯ ที่ 1 การระเหยแห้ง

Ÿ ด้านอื่น ๆ (พฤติกรรมเด่น หรือพฤติกรรมที่มีปั ญหาของนักเรียน


เป็ นรายบุคคล (ถ้ามี))

Ÿ ปั ญหา/อุปสรรค

Ÿ แนวทางการแก้ไข

134

You might also like